ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว ยุวดี ศิริ
ราคา ๑๖๐ บาท
ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว • ยุวดี ศิริ พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม ๒๕๕๘ ราคา ๑๖๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ยุวดี ศิริ. ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๑๙๒ หน้า.- -(ประวัตศิ าสตร์). ๑. กรุงเทพฯ- -ประวัตศิ าสตร์ ๒. ไทย- -ประวัตศิ าสตร์. I. ชือ่ เรือ่ ง. 959.3 ISBN 978 - 974 - 02 - 1409 - 0
• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน I พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง • ศิลปกรรม - ออกแบบปก : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ • ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม
หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน
บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand
สารบัญ
ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
ค�ำนิยม ค�ำน�ำผู้เขียน
(๖) (๙)
๑ ถนนบางขุนนนท์ ๒ คลองชักพระ ๓ โรงก๋วยเตี๋ยว ๔ เรือก๋วยเตี๋ยวบ้านอากง ๕ ศาลาท่าน�้ำ ๖ สารพัดก๋วยเตี๋ยว ๗ ขนมแม่เอ๊ยยยยย ๘ เรือขายหมู-ขายผัก-ขายปลา ๙ เรือขนส่งและเรือโดยสาร ๑ ๐ “ก๋วยเตี๋ยว” จากน�้ำขึ้นบก ๑๑ บทส่งท้าย ตลาดน�้ำและก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต
๒ ๑๗ ๓๒ ๔๘ ๖๓ ๘๑ ๙๘ ๑๑๓ ๑๒๗ ๑๔๔ ๑๖๐
ภาคผนวก ถนนบางขุนนนท์...ขุนพลแห่งก๋วยเตี๋ยว
๑๗๗
ค�ำนิยม
ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
ถนนที่แยกจากจรัญสนิทวงศ์ฝั่งธนบุรี ระหว่างทางรถไฟสายใต้ (ตลิง่ ชัน) กับสีแ่ ยกตัดกับถนนบรมราชชนนี และอยูต่ รงข้ามถนนแยกเข้า วัดทอง บางกอกน้อยหรือวัดสุวรรณารามนั้น สมัยผมยังรุ่นๆ เข้ามา เรียนหนังสือในกรุงเทพฯ ใหม่ๆ รู้จักชื่อว่าถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน เวลานี้เรียกใหม่ว่าถนนบางขุนนนท์ ส่วนจะเป็นอนุสรณ์แก่ท่านขุน ที่มีชื่อเต็มว่าอะไรหรือไม่ก็ช่างเถอะ เพราะยังสืบสาวราวเรื่องไม่ได้ แต่ ชอบใจที่อาจารย์ยุวดี ศิริ เรียกเสียใหม่เอี่ยมเรี่ยมเร้กว่านั้นว่า “ถนน เส้นก๋วยเตี๋ยว” หรือ “ถนนก๋วยเตี๋ยว” ท�ำเป็นเล่นไป อีกหน่อย กทม. อาจปิ๊งขึ้นมาเลยเปลี่ยนชื่อตามนี้จริงๆ ก็ได้ ค�ำว่าถนนเส้นก๋วยเตี๋ยวหรือที่ดินเส้นก๋วยเตี๋ยว วงการที่ดิน เคยใช้อยู่โดยมุ่งหมายถึงถนนหรือที่ดินที่หน้าแคบ แต่ยาวลึกไปถึง ไหนๆ เป็นอันว่าท�ำเลแบบนี้กินก็ไม่ได้ ขายก็ไม่ออก ราคาตก แต่ถนน บางขุนนนท์เป็นถนนที่พัฒนาแล้ว ขยายแล้ว และหน้ากว้างขนาด รถยนต์หลายคันวิ่งสวนกันได้ ทั้งยังยาวข้ามคลองหลายแห่งลึกเข้าไป ในเรือกสวนไร่นาจนถึงคลองชักพระ สองข้างทางที่เคยเป็นสวนทุเรียน บัดนี้เป็นตึกรามบ้านช่อง สถานที่ราชการ วัดวาอาราม สมัยหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของบ้าน “คุ้มขุนพล” ของผู้ยิ่งใหญ่ทาง การเมืองท่านหนึ่ง วันนี้อะไรต่ออะไรแถวนั้นจึงยกระดับขึ้นชั้นจาก ขุนนนท์เป็นขุนพลไปหมด ข้อส�ำคัญคือขุนพลทางก๋วยเตี๋ยวเพราะมี ร้านขายก๋วยเตี๋ยวอร่อยๆ สารพัดชนิดตั้งอยู่สองฟากฝั่งถนน ถ้าวิ่ง รถมาจากปากทางตัดกับจรัญสนิทวงศ์ขา้ มคลองชักพระแถวกรมบังคับ (6) ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
คดี ต่อไปจนออกถนนบรมราชชนนีที่มาจากสะพานพระปิ่นเกล้า หรือ จะย้อนมาจากพุทธมณฑลก็ได้ ก็จะยิ่งพบเห็นร้านก๋วยเตี๋ยวหนาแน่น ขึ้นไปอีก แต่ละร้านห่างกันไม่เกิน ๑๐๐ เมตร อะไรก็ไม่เท่ากับว่า ก๋วยเตี๋ยวแถวนี้ “เก่าแก่” “รสชาติดี” และ “ราคาถูก” ถนนสายนี ้ ทั้งสาย จึงได้สมมตินามตามท้องเรื่องว่าเป็นขุนพลแห่ง “ถนนเส้น ก๋วยเตี๋ยว” หรือ “ถนนก๋วยเตี๋ยว” ก๋วยเตี๋ยวที่ว่านี้มีตั้งแต่ ก๋วยเตี๋ยวหมู ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ก๋วยเตี๋ยว ผัดไทยใส่กุ้งแห้ง กุ้งสด ก๋วยเตี๋ยวไก่ ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา ก๋วยเตี๋ยว ลูกชิน้ เนือ้ ก๋วยเตีย๋ วเป็ด ก๋วยเตีย๋ วแคะ ก๋วยเตีย๋ วเรือ ก๋วยเตีย๋ วลุยสวน แถมยังมีเจ้าหมูสะเต๊ะ น�้ำแข็งไส ไอติม ขนมไทยอร่อยๆ อีกหลายเจ้า ก๋วยเตี๋ยวหมูน้ันมีทั้งชนิดใส่ใบต�ำลึง ใบโสม ใบโหระพา ถั่วงอก และถั่วฝักยาว ส่วนใหญ่เคยลอยเรือขายตามล�ำคลองมาก่อน ขาย เช้าบ้างเย็นบ้างสุดแต่เวลาน�้ำขึ้นน�้ำลง นับเป็นวิถีชีวิตพ่อค้าแม่ขาย ชาวสวนอีกแบบหนึง่ เห็นแล้วนึกถึงเพลงลูกทุง่ ทีว่ า่ “ลอยเรือในคลอง เก็บดอกโสน” วันนี้เรือพวกนี้ขึ้นจากน�้ำมาตั้งหาบขายบนบกหรือไม่ก็เซ้งตึก แถวเปิดร้านขายกันเกือบหมดแล้ว และส�ำนวนล้อเลียนข�ำขันทีว่ า่ “เล็ก แห้ง ไม่ลึง” “เหลาลึง ไม่งอก” ก็มาจากถนนก๋วยเตี๋ยวสายนี้แหละ ส่วนส�ำนวน “เรือแป๊ะ” นั้นไม่เกี่ยว เพราะเป็นเรือโดยสาร ไม่ใช่เรือ ก๋วยเตี๋ยว เมือ่ ไม่นานมานี ้ คุณหมอสุรพล อิสรไกรศีล ราชบัณฑิต แพทย์ ฝีมือดีชื่อเสียงโด่งดังจากศิริราชยังเคยโทรศัพท์มาบอกกล่าวว่าท่านไป ค้นพบก๋วยเตี๋ยวราดหน้าอร่อยนักหนาริมถนนสายนี้ใกล้กรมบังคับคดี อีกเจ้า อยากให้ลองไปชิม ผมเคยตั้งท่าจะไปชิมหลายหนแล้ว แต่ไม่ร ู้ ยังไงครับคุณหมอ พอถึงร้านเจ๊ปราณีตรงข้ามกรมบังคับคดีที่ขายเส้นเล็กต้มย�ำ ใส่เครื่องในหมูและขนมผักกาด (หน้าร้านมีขนมใส่ไส้ และหมูสะเต๊ะ อร่อย) หรือร้านลูกชิ้นปลานายเงี๊ยบ หรืออุตส่าห์ย้อนมาจากถนนบรม ราชชนนีพอเห็นร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อเพ็ญจันทร์ ก๋วยเตี๋ยวหมูนายแกละ ยุวดี ศิริ (7)
ผมก็ตะบะแตกแวะจอดสัง่ แห้งชามน�ำ้ ชามจนอิม่ แปล้เสียก่อน เลยไม่ถงึ ร้านราดหน้าสักที ก็เด็กมันยั่วนี่ครับ! อาจารย์ยุวดี ศิริ เป็นคนแถวนั้น ญาติวงศ์พงศาก็อยู่แถวนั้น เพราะพูดถึงอากงอาม่าและวิถีชีวิตของผู้คนละแวกนั้นอย่างชัดเจน นั บ ว่ า สามารถหยิ บ ยกเอาสิ่ ง ละอั น พั น ละน้ อ ยมาร้ อ ยเรี ย งได้ อ ย่ า ง สนุกสนาน ทั้งยังให้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์อย่างดี ซึ่ง เรื่องนี้อาจารย์คงตั้งใจให้ความรู้ด้านนี้โดยเฉพาะยิ่งกว่าเรื่องชวนชิม เพราะอาจารย์เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องวิถีชีวิตแบบย้อนยุคสนุกๆ มาหลายเล่มแล้ว พออ่านเรื่องนี้แล้วอยากไปเที่ยว อยากไปชิมจริงๆ ผมเองเวลาไปแถวนั้น ยังจินตนาการหรือ “มโน” เห็นเสธ. ทวีออก เดินมอร์นิ่ง วอล์ค อยู่ริมถนนสายนั้น สุนทรภู่นั่งบอกสักวาอยู่แถวนั้น ก็บ้านสวนทุเรียนของพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ อดีตผู้ยิ่งใหญ่ ทางการเมืองและการทหารเมื่อ ๔๐-๕๐ ปีก่อน อยู่ริมถนนสายนั้น วัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดารามที่สุนทรภู่เคยเรียนหนังสือก็อยู่แถวนั้น นี่แหละวิถีชีวิตชาวบางขุนนนท์ ความจริง ถนนสายนีจ้ ะว่าเป็นถนนก๋วยเตีย๋ วไปเสียหมดทัง้ สาย ก็ไม่ใช่ เพราะหลายคนอาจติดใจบะหมีเ่ หลือง เส้นหมีข่ าว ก๋วยจับ๊ ขนม จีนน�้ำเงี้ยว ข้าวซอย ขนมจีนน�้ำพริก น�้ำยา แกงไก่ แกงไตปลา ข้าว ราดแกงเนื้อ แกงลูกชิ้น ผัดสารพัด ต้มเลือดหมู ขนมใส่ไส้ หมูสะเต๊ะ น�้ำแข็งไส ไอศกรีม ลอดช่อง ขนมเบื้อง ซึ่งถนนสายนี้มีเจ้าอร่อยระดับ ขุนพลอยู่หลายเจ้าเหมือนกัน ขอบคุณอาจารย์ยุวดีที่ให้ความรู้และ ความบันเทิง ต่อไปนี้การไปเที่ยวไปลิ้มชิมรสก๋วยเตี๋ยวและของกิน ย่านนีน้ า่ จะอร่อยขึน้ อีกโขถ้าได้อา่ นหนังสือเล่มนี ้ เพราะได้รทู้ งั้ “อรรถ” และ “รส” ครบถ้วนด้วยประการทั้งปวง
(8) ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
นายวิษณุ เครืองาม
ค�ำน�ำผู้เขียน ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
ถือเป็นความกรุณาของส�ำนักพิมพ์มติชนที่ได้รวบรวมบทความ เรื่อง “ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว” ซึ่งทยอยลงเป็นตอนๆ อยู่ในนิตยสารศิลป วัฒนธรรมมาร่วม ๑ ปี กลายมาเป็นหนังสือเรือ่ ง “ถนนเส้นก๋วยเตีย๋ ว” ดังที่ท่านผู้อ่านได้ถืออยู่ในมือ ณ ขณะนี้ ต้องขอเรียนท่านผูอ้ า่ นตามตรงว่าคอลัมน์ “ถนนเส้นก๋วยเตีย๋ ว” นั้น เกิดขึ้นประการหนึ่งเพราะความ “เสียหน้า” ของผู้เขียนเอง เป็น อาการเสียหน้าทีพ่ บว่าวันหนึง่ อาจารย์วษิ ณุ เครืองาม เจ้าของคอลัมน์ “เดินดินกินข้าวแกง” ได้แวะมากินก๋วยเตีย๋ วทีร่ า้ นของน้าสาวซึง่ ผูเ้ ขียน รู้ประวัติความเป็นมาเป็นอย่างดี เพราะเดินส่งก๋วยเตี๋ยวมาตั้งแต่เด็ก แต่เพราะความคุน้ เคยจึงไม่คดิ ว่าจะมีเรื่องน่าสนใจใดๆ ให้ต้องเขียนถึง จนเมื่ออาจารย์วิษณุเขียนแนะน�ำร้านพร้อมทั้งเล่าประวัติความเป็นมา ตั้งแต่สมัยที่อากงพายเรือขายก๋วยเตี๋ยวจนร้านตกทอดมาถึงน้าสาว ลงในคอลัมน์ “เดินดินกินข้าวแกง” ในอีก ๑ สัปดาห์ถัดมา สืบเสาะ ไปมาจึงได้ความว่าอาจารย์วิษณุเป็นลูกค้าประจ�ำของทางร้านมาร่วม สิบกว่าปี และเขียนแนะน�ำร้านนี้ไปแล้วถึง ๒ ครั้ง ลงทั้งหนังสือพิมพ์ ข่าวสดและหนังสือพิมพ์มติชน ความเสียหน้าแบบใกล้เกลือกินด่าง จึงน�ำมาสู่อาการยอมไม่ได้ (ฮา) แต่อย่างที่เขียนเกริ่นไว้ในตอนแรก ของหนังสือว่า ถ้าจะให้ผู้เขียนแนะน�ำร้านอาหารบ้าง ผู้เขียนก็คงสู ้ ส�ำนวนกูรูนักชิมอย่างอาจารย์วิษณุไม่ได้แน่นอน ในเมือ่ เสียหน้าไปแล้ว ผูเ้ ขียนจึงพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เมือ่ กูร ู นักชิมระดับอาจารย์วิษณุเปิดหัวให้แล้ว ผู้เขียนจึงน�ำเรื่องราวเกี่ยวกับ ยุวดี ศิริ (9)
ประวัตคิ วามเป็นมาของร้านก๋วยเตีย๋ วในย่านถนนบางขุนนนท์ ทีต่ า่ งคน ต่างก็เคยมีบรรพบุรุษพายเรือขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ในคลองชักพระมาเล่า ให้คุณสุพจน์ แจ้งเร็ว บรรณาธิการนิตยสารศิลปวัฒนธรรมฟัง ซึ่ง ตอนแรกผูเ้ ขียนคิดเพียงจะเขียนเล่าประวัตคิ วามเป็นมาเพียงตอนเดียว แต่ เ มื่ อ ผู ้ เ ขี ย นกั บ คุ ณ สุ พ จน์ เ ริ่ ม แลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ต่ า งๆ กั น ไปมา จากแค่ประวัติความเป็นมาของร้านก๋วยเตี๋ยวเพียงไม่กี่ร้านก็ก่อให้เกิด เป็นเรื่องราวของประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชุมชนของคนในย่านคลอง ชักพระ ที่มีบริบทความลงตัวของการผสมผสานหลายสิ่งหลายอย่าง เข้าด้วยกันเป็นอย่างดี ทั้งผู้คนในชุมชน ท�ำเลที่ตั้ง ลักษณะการค้าการ ท�ำมาหากิน รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนต่างพื้นที่โดยความเชื่อมโยง ผ่านแม่น�้ำล�ำคลอง ฯลฯ จึงท�ำให้เกิดอาการเลยเถิดจากประวัติร้าน ก๋วยเตี๋ยวในย่านถนนบางขุนนนท์เพียงตอนเดียวกลายเป็นคอลัมน์ “ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว” ความยาว ๑๑ ตอนจบ และแถมเรื่องบังเอิญ ที่ได้รู้มาเกี่ยวกับเรื่องก๋วยเตี๋ยวเรือคลองรังสิตพร้อมเสิร์ฟให้ได้ลิ้มรส ไปด้วยในคราวเดียวกัน บทความทั้งสิ้น ๑๑ ตอนจบจึงกลายเป็นบทต่างๆ ในหนังสือ เล่มนี้ เป็นเรื่องราวที่บอกเล่าความเป็นมาของการด�ำเนินชีวิตของผู้คน ที่อาศัยอยู่ริมคลองชักพระผ่านเรื่องราวของเรือขายก๋วยเตี๋ยวที่ผู้เขียน คุ้นเคยมาตั้งแต่จ�ำความได้ จนน�ำมาซึ่งการก่อเกิดร้านก๋วยเตี๋ยวเป็น จ�ำนวนมากของถนนบางขุนนนท์ มากจนครัง้ หนึง่ อาจารย์วษิ ณุให้ฉายา ว่า มากราวกับเป็นกองทัพ และความเป็นเลิศของแต่ละร้านก็เปรียบ เสมือนเป็น “ขุนพล” ที่อยู่ในกองทัพนั้น ผู้เขียนเข้าใจว่าค�ำที่อาจารย์ วิษณุกล่าวเช่นนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากที่ตั้งของ “คุ้มขุนพล” ในอดีตที่ตั้ง อยู่บนถนนสายนี้อันน�ำพาความเจริญเข้ามาเช่นในปัจจุบัน หนังสือเล่มนีส้ ำ� เร็จลุลว่ งลงได้ ผูเ้ ขียนใคร่ขอขอบคุณคุณสุพจน์ แจ้งเร็ว ผู้จุดประกาย ขอบคุณคุณธัชชัย ยอดพิชัย และคุณอพิสิทธิ ์ ธีระจารุวรรณ ทีช่ ว่ ยเหลือในการจัดหาภาพประกอบและปรับปรุงเนือ้ หา ให้มคี วามสมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ และขอบคุณเป็นอย่างยิง่ ส�ำหรับอาจารย์วษิ ณุ เครืองาม ที่ท�ำให้อาการเสียหน้าของผู้เขียนเกิดเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา (10) ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
รวมทั้งความเมตตาที่กรุณามอบค�ำนิยมให้กับหนังสือเล่มนี้ ท้ายสุดในฐานะผู้เขียนต้องขอสารภาพโดยตรงว่า ข้อมูลส่วน ใหญ่อาศัยปะติดปะต่อจากความทรงจ�ำในวัยเด็ก ชัดเจนบ้าง รางเลือน บ้าง มีที่มาที่ไปบ้าง ไม่มีที่มาที่ไปบ้าง ข้อมูลส่วนใหญ่จึงไม่ได้ผ่านการ ค้นคว้าทางประวัติศาสตร์อย่างมากมายเท่าที่ใครจะสามารถเอาไปใช้ ยืนยันได้วา่ เป็นเรือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร์ใดๆ ทัง้ สิน้ ข้อมูลส่วนใหญ่ จึงเป็นเพียงเรือ่ งเล่าทีผ่ า่ นภาพจ�ำในอดีต ส่วนทีร่ างเลือนไปบ้างก็ได้แต่ สอบถามจากแม่และน้าสาวที่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อฉายภาพจ�ำเหล่า นั้นให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อให้คนในรุ่นนั้นได้เล่าเรื่องราวในอดีต แล้วก็พบว่า มีข้อมูลอีกหลายเรื่องที่ผู้เขียนหลงลืมไปแล้วซึ่งน่าสนใจ ควรแก่การบันทึกและจดจ�ำ จนบางครั้งผู้เขียนก็อดคิดไม่ได้ว่า หาก หมดคนในรุ่นราวเหล่านี้ไปเสียแล้ว ประวัติศาสตร์ของผู้คนในพื้นถิ่น หรือย่านชุมชนที่เคยมีความส�ำคัญในอดีตหลายๆ แห่งนั้น จะมีใคร ได้บันทึกหรือเขียนเป็นเรื่องราวเล่าไว้บ้างหรือไม่ และหากหนังสือ เล่มนี้จะจุดประกายให้ผู้คนตามถิ่นฐานย่านต่างๆ ในอดีตได้หันมา บันทึกความเป็นไปของถิ่นฐานบ้านเรือนในย่านของท่านบ้าง ผู้เขียน ก็จะรู้สึกยินดีไม่น้อย ดังที่กล่าวแล้วว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือทางประวัติศาสตร์ เป็นเพียงเรือ่ งเล่าในอดีตผ่านวิถชี วี ติ ของผูค้ นตามริมแม่นำ�้ ล�ำคลองผ่าน เรือขายก๋วยเตีย๋ ว เรือขายขนม ศาลาท่าน�ำ้ ฯลฯ ผูเ้ ขียนจึงขอแนะน�ำว่า อย่าอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างเป็นจริงเป็นจัง หากจะอ่านให้ได้อรรถรส นอกจากมือหนึง่ ถือหนังสือ อีกมือหนึง่ ควรถือตะเกียบคีบเส้นก๋วยเตีย๋ ว ใส่ปากไปเรื่อยๆ แถมด้วยโอเลี้ยงสักแก้วระหว่างที่อ่านหนังสือเล่มนี้ ไปด้วยท่านก็จะสุขใจมากยิ่งขึ้น ขอให้เอร็ดอร่อยกับหนังสือเล่มนี้ค่ะ ยุวดี ศิริ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ยุวดี ศิริ (11)
ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
ถนนบางขุนนนท์
๑
วันหนึ่งผู้เขียนแวะไปที่ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูเชิงสะพานข้ามคลอง ชักพระ ตัง้ อยู่ฝ่งั ตรงข้ามกรมบังคับคดี มีโอกาสพบเจอ อาจารย์วษ ิ ณุ เครืองาม เจ้าของคอลัมน์ “เดินดินกินข้าวแกง” ในหนังสือพิมพ์ มติชน ทักทายสวัสดีท่านตามสมควรแต่ไม่แนะน�ำตัวอะไร อาจารย์ วิ ษ ณุ ก็ ค งคิ ด ว่ า ผู ้ เ ขี ย นเป็ น ลู ก ค้ า คนหนึ่ ง ที่ บั ง เอิ ญ คุ ้ น หน้ า อาจารย์ ผ่ า นไปอี ก ๒ สั ป ดาห์ ผู ้ เ ขี ย นแวะไปที่ ร ้ า นนี้ อี ก ครั้ ง น้ า สาวที่ เ ป็ น เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวหยิบหนังสือพิมพ์ให้ดู บอกว่าอาจารย์วิษณุเขียน แนะน�ำร้านก๋วยเตี๋ยวลงในคอลัมน์เรียบร้อยแล้ว มีลูกค้ามากินตาม ที่อาจารย์เขียนแนะน� ำ เลยทิ้งหนังสือพิมพ์ที่ถือเป็นลายแทงติดมือ มาไว้ให้ดู สาเหตุที่ผู้เขียนแวะไปบ่อยขนาดนั้น ไม่ใช่เพราะผู้เขียนเป็น ลูกค้าประจ�ำหรือใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นเพราะผู้เขียนเติบโตมากับร้านนี้ ถ้าในแง่ของคนจีนก็จะเรียกว่าร้านก๋วยเตี๋ยวนี้เป็นธุรกิจ “กงสี” คือลูกหลานทุกคนต้องมาช่วยกันท�ำมาหากิน ตั้งแต่เล็กเมื่อเริ่มรู้ความ ผู้เขียนก็ถูกส่งให้มาช่วยล้างชาม ส่งก๋วยเตี๋ยว หยิบเครื่องก๋วยเตี๋ยว จนโตพอท�ำก๋วยเตี๋ยวเป็น คลุกคลีอยู่ที่ร้านนี้ตั้งแต่เด็กจนได้ท�ำงาน เป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ทุกวันนี้พอมีเวลาว่างก็ยังแวะเวียนไปช่วยที่ร้าน บ้างตามสมควร มารู้สึกเสียหน้าเอาก็ตอนที่อาจารย์วิษณุเขียนถึงร้านก๋วยเตี๋ยว นี้ ทั้งๆ ที่ผู้เขียนก็เป็นนักเขียนอยู่ในค่ายมติชนเช่นกัน แต่ไม่เคย คิดว่าจะต้องเขียนถึง ว่าแล้วอาการ “ยอมไม่ได้” จึงเกิดขึ้น แต่การจะ เขียนถึงร้านก๋วยเตี๋ยวหมูริมคลองชักพระเช่นเดียวกับอาจารย์วิษณุ ผู้เขียนก็คงสู้ส�ำนวนนักชิมระดับอาจารย์ไม่ได้แน่นอน แต่ท่ีน่าจะพอสู้ได้ก็คือ ประวัติความเป็นมาที่ท�ำให้ถนน สายนี้กลายเป็นถนนสายที่มีร้านก๋วยเตี๋ยวมากที่สุดในกรุงเทพฯ การเกิดขึ้นของร้านก๋วยเตี๋ยวจ�ำนวนมากและคงอยู่มานานไม่น้อยกว่า ๕๐-๖๐ ปีนั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่ทุกอย่างล้วนมีที่มาที่ไปและน่าจะ ถูกบันทึกเป็นเสน่ห์ด้านหนึ่งของผู้คนที่อาศัยริมคลองชักพระเป็นที่ตั้ง บ้านเรือน อันเป็นที่มาของ “ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว” แห่งนี้ ยุวดี ศิริ 3
จากเดิมคนจีนส่วนใหญ่พายเรือขายก๋วยเตี๋ยวในคลองชักพระ ก่อนที่ถนน บางขุนนนท์จะเจริญขึน้ จึงทยอยขึน้ มาขายบนบก รูปนีถ้ า่ ยประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๗ เมื่อมีสะพานคลองชักพระแล้ว ด้านหลังติดกับสะพานจะเห็นท่าน�้ำ ถัดมาจะเป็น อู่จอดเรือหลังคาโค้งส�ำหรับใช้จอดเรือยอชต์ของคุ้มขุนพล
ค อ ลั ม น ์ เ ดิ น ดิ น กินข้าวแกง โดยอาจารย์ วิ ษ ณุ เครื อ งาม ผู ้ ส ร้ า ง แรงขั บให้ ผู ้ เ ขี ย นลุ ก ขึ้ น มาเขียนเรื่อง “ถนนเส้น ก๋วยเตี๋ยว” 4 ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
แผนที่ธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ แสดงให้เห็นลักษณะคลองจ�ำนวนมากใน ย่านฝั่งธนบุรี ท�ำให้การสัญจรทางน�้ำมีโครงข่ายที่เชื่อมโยงกัน [ภาพจาก ถัด พรหมมาณพ. ภูมิศาสตร์มณฑลกรุงเทพฯ (พ.ศ. ๒๔๗๔), น. ๕.]
ครัง้ หนึง่ ผูเ้ ขียนสอนหนังสือเรือ่ งกฎหมายทีด่ นิ เลยถามลูกศิษย์ เล่นๆ ว่า “รู้จักค�ำว่าที่ดินเส้นก๋วยเตี๋ยวมั้ย” ๑ หลายคนบอกเคยได้ยิน แต่ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร รู้แต่เขาเรียกที่ดินย่านถนนรังสิต-นครนายก ว่าทีด่ นิ เส้นก๋วยเตีย๋ ว มีลกู ศิษย์บางคนพยายามยกมือตอบว่า “เพราะว่า ย่านนี้มีก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตขายมากที่สุด” ได้ฮากันไปตามสมควร ยุวดี ศิริ 5
แต่ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ผู้เขียนจะเล่าให้ฟังนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้อง อะไรกับที่ดินเส้นก๋วยเตี๋ยวในย่านถนนรังสิต-นครนายก แต่เป็นเพราะ ถนนสายนี้มีคนกล่าวขานไว้ตามหนังสือชวนชิมอาหารหลายๆ เล่ม ว่าเป็นถนนสายที่มีจ�ำนวนร้านก๋วยเตี๋ยวตั้งอยู่เป็นจ�ำนวนมาก แม้ว่า จะไม่มีสถิติเก็บไว้ว่ามากเท่าไหร่ แต่เชื่อว่าทุก ๑๐๐ เมตร ก็น่าจะเจอ ร้านก๋วยเตี๋ยว ๑ ร้านเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ยังไม่ได้นับส่วนที่อยู่ในตรอก ในซอย ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ผู้เขียนจะพูดถึงนี้ คือ ถนนบางขุนนนท์ (เดิมเรียกว่าถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นถนนบาง ขุนนนท์เมือ่ สิบกว่าปีทผี่ า่ นมา) ถนนสายนีแ้ ยกมาจากถนนจรัญสนิทวงศ์ ตรงบริเวณก่อนถึงเชิงสะพานข้ามคลองบางกอกน้อยกับทางรถไฟสาย ใต้ (ตลิ่ง ชัน ) ยาวเรื่อ ยมาจนสุ ด ทางที่เ ชิง สะพานข้ า มคลองชัก พระ แต่ ใ นส่ ว นที่ ผู ้ เ ขี ย นจะเขี ย นถึ ง นั้ น คงยาวข้ า มสะพานคลองชั ก พระ จนไปจบถนนชักพระถึงส่วนที่ตัดกับถนนบรมราชชนนี ร้านก๋วยเตี๋ยวที่ตั้งอยู่เรียงรายทั้ง ๒ ฝั่งข้างถนน ที่ผู้คน ต่างถิน ่ คุน ้ ชือ่ มากว่า ๕๐-๖๐ ปี ไม่วา่ จะเป็นก๋วยเตีย๋ วหมูรมิ คลอง ชักพระ (หน้ากรมบังคับคดี) ก๋วยเตี๋ยวหมูนายเพ้ง ก๋วยเตี๋ยวหมู นายแกละ ก๋วยเตี๋ยวหมูนายอ้วน ฯลฯ เหล่านี้เมื่อสืบประวัติไป ในอดีตแล้วจะพบว่าก๋วยเตี๋ยวหมูแทบทุกร้าน เดิมในรุ่นพ่อรุ่น แม่นั้นต่างก็พายเรือขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ในคลองชักพระแทบทั้งสิ้น ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า อะไรคือมูลเหตุที่ท�ำให้คนจีนจ�ำนวนหนึ่ง มาอยู่อาศัยและพายเรือขายก๋วยเตี๋ยวกันที่คลองชักพระ ทั้งสิ้นทั้งปวง ไม่ ใ ช่ เ หตุ บัง เอิญ แต่ มีที่ม าของเรื่อ งราวที่ก ลายเป็ น เสน่ ห ์ ใ นชุ ม ชน จนท�ำให้เกิดถนนสายที่มีร้านก๋วยเตี๋ยวมากที่สุดในกรุงเทพฯ ปัจจัย ทั้งหมดเกิดขึ้นที่คลองชักพระแห่งนี้นี่เอง ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูเชิงสะพานข้ามคลองชักพระ เป็นก๋วย เตี๋ยวหมูเจ้าแรกในถนนบางขุนนนท์ที่ย้ายจากการขายในคลองชักพระ ขึน้ มาอยูบ่ นบก ในสมัยเมือ่ ห้าหกสิบปีกอ่ นถ้าบอกว่าจะมากินก๋วยเตีย๋ ว หมูในย่านบางขุนนนท์ ตลิ่งชัน หรือชัยพฤกษ์ ก็จะมีเจ้านี้ขายอยู่เจ้า 6 ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
ถนนบางขุนนนท์ เดิมชื่อถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน ตลอดสองข้างทางมี ร้านก๋วยเตี๋ยวจ�ำนวนมาก จนสามารถขนานนามได้ว่าเป็น “ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว”
เดียว เพราะในยุคนั้นก๋วยเตี๋ยวเจ้าอื่นๆ ยังไม่มีใครกล้าเปลี่ยนจาก การพายเรือขายมาขายบนบก ทั้งนี้เพราะการพายเรือขายนั้นแต่ละเจ้า ต่างก็มีลูกค้าประจ�ำที่แน่นอนอยู่แล้ว อีกส่วนหนึ่งก็เพราะบ้านเรือน อยู่อาศัยก็ยังคงอยู่ริมคลอง เลยไม่รู้จะขยับขยายขึ้นบกกันไปทางไหน เพราะถนนหนทางยุคนั้นเป็นขนัดสวนและไม่ได้เจริญอย่างที่เห็นกัน ในปัจจุบัน นายบักจัว๊ แซ่ปงึ หรือถ้าเป็นคนจีนก็จะเรียกว่า “ปึงบักจัว๊ ” ส่วนคนไทยหรือคนอื่นๆ ในย่านนั้นก็จะเรียก “แป๊ะจั๊ว” บ้าง “เจ๊กจั๊ว” บ้าง ใครจะเรียกอะไรก็ช่างแต่ผู้เขียนเรียกว่า “อากง” เพราะผู้เขียน กับแป๊ะจั๊วเกี่ยวข้องเป็นตาเป็นหลานกัน ในช่วงที่อากงเริ่มพายเรือขาย ก๋วยเตี๋ยวอยู่ในคลองชักพระประมาณช่วง พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๙๐ ถนน บางขุ น นนท์ ส มั ย นั้ น ยั ง เป็ น ทางลู ก รั ง แยกจากถนนจรั ญ สนิ ท วงศ์ ยาวมาจนสุดทางที่เชิงสะพานข้ามคลองชักพระ ในอดีตสุดทางยังไม่มี ยุวดี ศิริ 7
สะพานข้ามคลองอย่างในปัจจุบัน มีเพียงท่าน�้ ำและเรือพายรับจ้าง (ถนนฝั่งนี้อยู่ในเขตบางกอกน้อย ถ้าข้ามฝั่งมาจะเป็นเขตตลิ่งชัน หากจะข้ามมาเขตตลิ่งชันก็ต้องพายเรือข้ามฝั่งมาเท่านั้น) ทางราชการ เพิ่งมาก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กให้ใช้ข้ามคลองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ ในอดีตสองข้างถนนส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้ มีผลไม้หลายๆ ชนิดปะปนกันอยู่ สวนส่วนใหญ่จะปลูกไม้ผลที่ได้ราคาดี เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด กระท้อน และมีไม้ผลที่เจ้าของสามารถตัดกินตัดขาย ได้ทั้งปี เช่น มะพร้าว กล้วยน�้ำว้า ฯลฯ เป็นต้น เด็กๆ อย่างผู้เขียน เดินผ่านจากสวนหนึ่งไปสวนหนึ่ง เด็ดมะไฟบ้าง ชมพู่บ้าง หรือฝรั่ง ขี้นกบ้าง กินออกบ่อยๆ คุณยายเจ้าของสวนก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะ สมัยนั้นเจ้าของสวนไม่ได้หวังรายได้จากการขายผลไม้พวกนี้เท่าไหร่ นัก เป็นการปลูกแซมต้นไม้ใหญ่เสียมากกว่า เด็กๆ หรือคนที่เดิน ผ่านไปมา ก็เด็ดแค่ลูกสองลูกพอกินให้หายอยาก ความที่ผลไม้ในย่านบางขุนนนท์-ตลิ่งชัน เป็นผลไม้ที่มีรสชาติ ดี นอกจากขายผลไม้แล้ว ก็ยงั ขายกิง่ พันธุ ์ กิง่ พันธุท์ ขี่ ายกันอยูม่ ตี งั้ แต่ เพาะจากเมล็ด กิ่งพันธุ์ที่ทาบแบบติดตา และตอนกิ่ง๒ ผู้เขียนเพิ่งมา รู้เอาเมื่อตอนน�้ำท่วมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ นี่เองว่า ต้นไม้ที่ปลูกจากกิ่ง พันธุ์เหล่านี้มีความแตกต่างกัน ถ้ากิ่งพันธุ์ที่เพาะจากเมล็ดจะมีราก แก้วมีความทนแล้ง-ทนน�ำ้ สูง โอกาสที่นำ�้ ท่วมแล้วจะตายเป็นไปได้ยาก ส่วนกิ่งพันธุ์ที่ไม่มีรากแก้วมีแต่รากฝอยแช่น�้ำอยู่เพียงไม่กี่วันรากก็จะ เน่าและตายเร็วมาก เล่ากันว่า ชาวสวนในย่านฝั่งธนบุรีนั้นจะท�ำสวนแบบ “ยกร่อง”๓ คือ ขุดร่องน�้ำสลับแนวดินเพื่อให้เกิดเป็นร่องสวนแล้วเปิดให้น�้ำไหล เข้ามา (เรียกว่า “ขนัด”) ร่องน�้ำจะกว้างประมาณ ๒ เมตร ลึกประมาณ ๑-๑.๕ เมตร ส่วนแนวดินจะกว้างประมาณ ๔-๕ เมตร ส่วนด้านยาว ก็ยาวจนเกือบหมดเนื้อที่สวน สวนบางแห่งท�ำประตูน�้ำให้ยกขึ้นยกลง ได้ เพื่อกักน�ำ้ ไว้ใช้รดต้นไม้ในช่วงหน้าแล้ง พอถึงช่วงน�ำ้ หลากก็เปิดให้ น�้ำไหลผ่าน ตอนช่วงน�้ำหลากพอน�้ำเหนือไหลมาก็จะพัดเอาตะกอนดิน 8 ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
ชาวสวนย่านบางขุนนนท์-ตลิ่งชัน นอกจากขายไม้ผลแล้ว กิ่งพันธุ์ยังเป็น ทีต่ อ้ งการของคนทัว่ ไป มาหาซือ้ น�ำไปปลูก กิง่ พันธุท์ เี่ ป็นทีน่ ยิ มได้แก่ มะม่วง ฝรัง่ มะนาว มะกรูด ฯลฯ ไม้ไทยพันธุด์ อก เช่น จันทน์กะพ้อ สารภี กระดังงา ปีบ ฯลฯ
ชาวสวนย่านฝั่งธนบุรีนิยมท�ำสวนแบบ “ยกร่อง” เพื่อกักน�้ำไว้ในร่องสวน ใช้รดต้นไม้ในหน้าแล้ง และท�ำให้ดินชุ่มชื่นตลอดเวลา การท�ำสวนลักษณะนี้ แพร่หลายเข้ามาพร้อมกับผู้คนจากจีนตอนใต้ที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในย่าน ธนบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ยุวดี ศิริ 9
เอาปุ๋ยมา ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์ เมื่อน�้ำทะเลหนุนความกร่อยของ น�้ำทะเลก็ท�ำให้เกิดแร่ธาตุ แต่เมื่อน�้ำผลักดันกันไปมา ก็ท�ำให้น�้ำเกิด การหมุนเวียน เหล่านี้ล้วนเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณที่เห็นความ เป็นไปของธรรมชาติและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับวิถีชีวิต นอกจากการไหลเวียนของน�้ำแล้ว ในแต่ละปีคนสวนก็จะมีวิธี การให้ปุ๋ยกับต้นไม้ โดยวิธีการ “ลอกท้องร่อง” การลอกท้องร่องก็คือ การขุดเอาดินขีโ้ คลนจากท้องร่องทีม่ เี ศษใบไม้ของต้นไม้ใหญ่ทชี่ าวสวน ปลูกไว้ให้ร่มเงากับไม้ผล ด้วยการโกยขี้โคลนขึ้นมาเพิ่มหน้าดินด้าน บนซึ่งจะเป็นปุ๋ยอย่างดี (การลอกท้องร่องนอกจากจะท�ำให้ต้นไม้ได้ปุ๋ย ธรรมชาติแล้ว ยังท�ำให้ร่องน�้ำมีความลึกขึ้นเกิดเป็นแก้มลิงรับน�้ำได้ มากขึ้นในหน้าน�้ำหลาก) ไม้ใหญ่ที่นิยมปลูกให้ร่มเงากันมากที่สุดก็คือ ต้นทองหลาง โดยเฉพาะสวนที่มีต้นทุเรียน คนสวนจะปลูกต้นทอง หลางแซมไว้ในสวนด้วย เพราะใบทองหลางจะมีเยื่อใบหนาและแน่น เมื่อร่วงก็จะกลายเป็นปุ๋ยอย่างดี ท�ำให้เนื้อดินที่มีใบทองหลางผสมอยู่ เนื้อดินไม่แน่นมากเกินไป (ดินในย่านนี้เป็นดินเหนียว) ทุเรียนก็จะมี รสชาติหอมหวาน ้ ผูเ้ ขียนเพิง่ มาได้ความรูว้ า่ ใบทีเ่ ราน�ำไปห่อเมีย่ งค�ำกินนัน จริงๆ แล้วคนโบราณเรียกว่า “ต้นทองโหลง” ไม่ใช่ทองหลาง แต่ทองโหลงกับทองหลางเป็นไม้ตระกูลเดียวกัน (ไม้ตระกูล ถั่ว) ล�ำต้นเหมือนกัน ลักษณะใบก็เหมือนกัน แต่ต่างกันที่ใบ ทองหลางจะมีขนแหลมเล็กที่ใต้ใบและต้นมีหนาม ส่วนใบทอง โหลงไม่มี ฉะนั้นใบที่เรากินกับเมี่ยงค�ำความจริงแล้วคือใบทอง โหลง (แต่ทุกคนเข้าใจว่าเรียกว่าทองหลาง จึงเรียกแบบนั้นกัน ต่อมา) เพราะถ้าเรากินใบทองหลางเราก็จะเจอขนแหลมเล็กๆ เคี้ยวไปก็จะระคายปากเป็นแน่ กิ่ ง พั น ธุ ์ ที่ ค นทั่ ว ไปนิ ย มมาซื้ อ กั น มากได้ แ ก่ มะม่ ว ง มะนาว มะกรูด ส้มซ่า ส้มจี๊ด ฯลฯ มะม่วงยังมีอีกหลายพันธุ์ทั้งเขียวเสวย มันขุนศรี พราหมณ์ขายเมีย ฯลฯ กิ่งฝรั่งอย่างฝรั่งขี้นกก็เป็นที่นิยม พันธุ์ไม้ดอกของไทยอย่างจันทน์กะพ้อ สารภี กระดังงาไทย ปีบ ฯลฯ 10 ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
ไม้ไทยพวกนี้คนสวนจะเพาะเมล็ด ท� ำให้ได้ต้นลูกที่แข็งแรงเป็นที่ นิยม๔ ดังนั้น ในอดีตตลอดสองข้างทางถนนบางขุนนนท์ ตั้งแต่แยก ถนนจรัญสนิทวงศ์เป็นต้นมา เมื่อเข้ามาก็จะเห็นแต่สวนผลไม้สลับกับ บ้านเรือนเป็นระยะๆ มีวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยาตั้งอยู่ เช่น วัดใหม่ ยายแป้น วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) วัดเจ้าอาม ฯลฯ เป็นต้น อากงพายเรือขายก๋วยเตี๋ยวไปตามคลองชักพระ เรื่อยไปจนถึง วัดตลิ่งชัน ส่วนที่มักจอดเป็นประจ�ำและนานเป็นพิเศษก็ตรงท่าน�้ำ สุดถนน (เดิมตรงนั้นเป็นคันสวน) จนวันหนึ่งคนขายกาแฟชื่อ “แป๊ะ ย้ง” ชวนให้อากงขึ้นมาขายบนบกด้วยกัน แป๊ะย้งเปลี่ยนมาขายกาแฟ (เดิมพายเรือขายก๋วยเตี๋ยวเนื้อ) ให้อากงขายก๋วยเตี๋ยวเพราะอากง มีลูกค้าประจ�ำอยู่เยอะ อากงเห็นว่าร้านอยู่ไม่ไกลจากท่าน�้ ำที่ขายอยู่ มากนัก เพราะร้านของแป๊ะย้งอยู่ถัดจากท่าน�ำ้ ขึ้นไปไม่ถึง ๑๐๐ เมตร ลูกค้าประจ�ำที่เดินลงมากินที่ท่าน�้ ำก็น่าจะมีอยู่ มีร้านเป็นหลักเป็น แหล่งลูกค้าจะมากินเวลาไหนก็ได้ ไม่ต้องมาคอยดักรอ และนั่งห้อยขา กินที่ท่าน�้ำให้ล�ำบาก มีร้านมีที่นั่ง ที่ส�ำคัญอยู่ไม่ไกลจากที่เดิม อากง เลยตัดสินใจขึ้นบก ร้านกาแฟและก๋วยเตี๋ยวตั้งอยู่เชิงสะพานชักพระ เป็นบ้านไม้ ๒ ชั้น มีชานบ้านยื่นออกมาด้านหน้ายาวประมาณ ๕-๖ เมตร ด้าน ซ้ายตั้งหม้อขายกาแฟ ด้านขวาตั้งหม้อขายก๋วยเตี๋ยว ตั้งโต๊ะได้ ๔ ตัว ผู้เขียนจ�ำได้ว่าด้วยความที่มีโต๊ะจ�ำนวนน้อย แทนที่จะเป็นโต๊ะเบอร์ ๑, ๒, ๓ และ ๔ เราก็เรียกโต๊ะตามลักษณะที่ตั้งอยู่ เช่น โต๊ะพนักนอก คือโต๊ะที่ตั้งติดกับพนักเก้าอี้ยาวด้านนอก โต๊ะพนักใน คือโต๊ะที่ ตั้ง ติด กับ พนัก เก้ า อี้ย าวด้ า นใน โต๊ ะ กลาง คือ โต๊ ะ ที่อ ยู ่ ต รงกลาง แล้วก็โต๊ะริม คือโต๊ะที่อยู่ริมสุด เมื่อกิจการดีขึ้นก็ขยับขยายไปด้าน ข้างบ้าน มุงหลังคาตรงที่โล่ง ตั้งโต๊ะเพิ่มขึ้นได้อีกจ�ำนวนหนึ่ง พอโต๊ะ ที่ติดข้างบ้านก็มีชื่อโต๊ะข้างฝานอก โต๊ะข้างฝาใน เพราะสองโต๊ะนี้ ตั้งอยู่ติดฝาผนังบ้าน จากนั้นเมื่อมีโต๊ะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะตั้งชื่อตาม ต�ำแหน่งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ ยุวดี ศิริ 11
ร้ า นก๋ ว ยเตี๋ ย วแห่ ง นี้ ไ ม่ มี ชื่ อ ร้ า น แต่ อ ยู ่ ๆ ก็ มี ค นตั้ ง ชื่ อ ให้ เหมือนที่เราตั้งชื่อโต๊ะ ทั้งนี้เพราะฝั่งตรงข้ามร้านเป็นบ้านพักอีกแห่ง ของจอมพลประภาส จารุเสถียร ตอนนั้นคนทั่วไปเรียกบ้านหลังนี้ของ ท่านว่า “คุ้มขุนพล” เพราะตรงประตูทางเข้าท่านติดตราอะไรไว้ก็จ�ำ ไม่ได้ แต่ตรงตรานั้นเขียนด้านล่างว่าคุ้มขุนพล ผู้เขียนจ�ำได้ว่าเด็กๆ ยังได้เคยเข้าไปวิ่งเล่น มีมะลิกอใหญ่มากออกดอกให้เก็บได้เสมอ ภายในคุ้มขุนพลมีบ้านจ�ำนวน ๓ หลัง เรียกว่า “บ้าน ๓ ฤดู” หลังหนึ่งเป็นบ้านทรงจีนแปดเหลี่ยมเหมือนเก๋งจีน (บ้านฤดูฝน) มี สระน�้ำล้อมรอบ หลังกลางเป็นเรือนไทยใต้ถุนสูง (บ้านฤดูร้อน) ที่จ�ำ ได้แม่นคือมีรูปวาดสงครามชนช้างยุทธหัตถีบานใหญ่ติดไว้ที่ฝาปะกน ด้านหนึ่ง ส่วนหลังที่อยู่ติดริมคลองเป็นบ้านทรงยุโรป (บ้านฤดูหนาว)
ร้านก๋วยเตีย๋ วหน้าคุม้ ขุมพลในอดีตเมือ่ ๔๐ กว่าปีทแ่ี ล้ว มองเห็นพนักเก้าอี้ ยาวตลอด โต๊ะก๋วยเตี๋ยวด้านขวาเรียกกันว่า “โต๊ะพนักนอก” ส่วนโต๊ะด้านซ้าย เรียกกันว่า “โต๊ะพนักใน” แนวรั้วที่อยู่ไกลออกไปคือ แนวเขตที่ดินของ “คุ้ม ขุนพล” บ้านพักของจอมพลประภาส จารุเสถียร 12 ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
คุม้ ขุนพล ด้านหลังจะ เห็นเรือนไทย (บ้านฤดูรอ้ น) ภายในคุ้มขุนพล (บ้านพัก ๓ ฤดูของจอมพลประภาส จารุเสถียร) ถ่ายเมือ่ ประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๐ เมือ่ มีการขยาย ถนนบางขุนนนท์และถนน ถูกถมจนสูงบังรั้วด้านหน้า หายไปครึ่ ง หนึ่ ง ปั จ จุ บั น พื้ น ที่ นี้ ก ลายเป็ น ที่ ตั้ ง ของ กรมบังคับคดี
เป็นบ้านชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน ประตู-หน้าต่างเป็นกระจกสีๆ นอกจาก บ้าน ๓ หลังแล้ว ด้านที่ติดริมคลองตรงท่าน�ำ้ มีอู่สำ� หรับเก็บเรือยอชต์ และด้านหลังที่ดินที่ถูกปล่อยไว้เป็นสวนก็มีบ่อน�้ำขนาดใหญ่ไว้เลี้ยง จระเข้ (จ�ำได้ว่าพอหน้าน�้ำหลากทีไร ก็จะมีคนร�่ำลือว่าจระเข้จากคุ้ม ขุนพลหลุดออกมา เพราะรู้ว่าข้างในบ้านมีบ่อจระเข้ แต่หากใครที่เคย เห็นบ่อจระเข้จริงๆ ก็จะรู้ว่า ไม่มที างทีจ่ ระเข้จะหลุดไปได้อย่างแน่นอน เพราะปากบ่อก่อเป็นผนังคอนกรีตสูงราว ๑.๕๐ เมตร และมีรวั้ ตะแกรง เหล็กสูงอีกราว ๓ เมตร ส่วนก้นบ่อก็เทคอนกรีตป้องกันไม่ให้จระเข้ ขุดดินออกไปได้๕ ผู้เขียนจึงนึกไม่ออกว่าจระเข้จะหลุดไปทางไหน) ภายหลังเมื่อเกิดเหตุการณ์เดือนตุลาฯ คุ้มขุนพลถูกยึดทรัพย์เป็นของ ทางราชการ ปัจจุบันนี้กลายเป็นที่ตั้งของกรมบังคับคดี ดังนั้น เมื่อขึ้นบกใหม่ๆ ร้านก๋วยเตี๋ยวนี้คนทั่วไปจึงเรียกว่า “ร้านก๋วยเตี๋ยวหน้าคุ้มขุนพล” เมื่อคุ้มขุนพลถูกทุบสร้างเป็นกรม ยุวดี ศิริ 13
ถ่ายหน้าบ้านสไตล์ยโุ รปประยุกต์ (บ้านฤดูหนาว) ภายในคุ้มขุนพล ที่เห็น ประตูและหน้าต่างเป็นกระจกสีน�ำเข้าจากยุโรป
ถ่ายจากฝั่งคลองชักพระตรงข้ามคุ้มขุนพล ด้านซ้ายเห็นศาลาท่าน�้ำ ด้าน ขวาเป็นบ้านสไตล์ยุโรปประยุกต์
14 ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
บังคับคดี ร้านนี้ก็ถูกเรียกว่า “ร้านก๋วยเตี๋ยวหน้ากรมบังคับคดี” แต่ ที่รู้ๆ ก็คือร้านนี้ไม่เคยมีชื่อร้านเลย ใครจะเรียกอะไรก็ว่ากันไปตามนั้น รู้แต่ว่าร้านนี้อยู่ติดสะพานข้ามคลองชักพระเท่านั้นก็พอ ตอนที่อากงพายเรือขายอยู่ริมคลองชักพระนั้น อากงเช่าบ้าน ของคุ ณ ยายมู ล อยู ่ ถั ด จากบ้ า นเช่ า ของคุ ณ ยายมู ล ไปอี ก ประมาณ ๒๐ เมตร ก็มีบ้านเช่าของคุณลุงวินัย ลุงวินัยปลูกบ้านเช่าเป็นเรือน ไม้ ๒ แถว มีทางเดินตรงกลาง แบ่งบ้านเช่าเป็นห้องๆ มีประมาณ ๑๐ ห้อง เตี่ยของนายอ้วน (ก๋วยเตี๋ยวเรือนายอ้วน) เช่าอยู่ ๒-๓ ห้อง ส่วนนายอ้วนพายเรือขายในคลองชักพระมาอีกนาน เพิ่งมาขึ้น บกและตั้งร้านอยู่ตรงตึกแถวข้างหอพักพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ใกล้ ๆ กั บ ร้ า นก๋ ว ยเตี๋ ย วลู ก ชิ้ น ปลานายเงี๊ ย บเมื่ อ เกื อ บ ๒๐ ปี ที่ ผ่านมานี่เอง ส่วนก๋วยเตี๋ยวหมูนายเพ้งกับนายแกละ สองคนนี้เป็นพี่น้อง กัน บ้านนี้ยังมีพี่น้องที่พายเรือขายอีก ๒ ล�ำ แต่มีเพียงสองพี่น้องนี้ เท่านั้นที่ขึ้นมาบนบก ร้านนายเพ้งอยู่ตรงใกล้ๆ กับองค์การสงเคราะห์ การท�ำสวนยาง ส่วนร้านนายแกละอยู่มาทางถนนชักพระ ข้ามสะพาน คลองชักพระก่อนออกถนนบรมราชชนนี เตีย่ ของนายเพ้งกับนายแกละ ก็เช่าบ้านคุณลุงวินัยอยู่เช่นเดียวกับเตี่ยของนายอ้วน ถัดจากบ้านเช่าของคุณลุงวินัย เลยไปอีกไม่ไกลก็มีบ้านเช่าของ อาเหล่าอึ้ม เป็นที่อยู่ของก๋วยเตี๋ยวหมูนายแช นายแชเปลี่ยนมาขาย บนบกเมื่อ ๑๐ กว่าปีที่แล้ว แต่กิจการไม่ค่อยรุ่งเรือง เลยกลับไปขาย ในคลองอี ก ครั้ ง แต่ ค ราวนี้ เ ปลี่ ย นไปขายประจ� ำ ที่ ต ลาดน�้ ำ ตลิ่ ง ชั น (ปัจจุบันรุ่นลูกของนายแชไม่มีใครสืบทอดกิจการแล้ว) ดังนั้น จะเห็นว่าก่อนที่ก๋วยเตี๋ยวร้านดังๆ ในย่านนี้จะ ทยอยขึ้นบกมาเปิดขายย่านบางขุนนนท์นั้น เดิมบรรพบุรุษจะ พายเรือขายก๋วยเตีย๋ วในคลองชักพระแทบทัง้ สิน ้ บทต่อไปผูเ้ ขียน จะเล่าถึงจ�ำนวนบ้านเรือนแต่ละหลังว่ามีเรือพายขายของในคลอง ชักพระกันมากมายขนาดไหน
ยุวดี ศิริ 15