เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่

Page 1




กรุงเทพมหานคร • ส�ำนักพิมพ์มติชน • ๒๕๕๗


เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่ • อาจินต์ ปัญจพรรค์ พิมพ์ครั้งแรก :  สำ�นักพิมพ์มติชน, มีนาคม ๒๕๕๗ ราคา  ๔๔๐  บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรม อาจินต์  ปัญจพรรค์. เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๕๖๐ หน้า. ๑. เรื่องสั้น--รวมเรื่อง  I. ชื่อเรื่อง ๘๙๕.๙๑๓๐๑ ISBN 978 - 974 - 02 - 1250 - 8

ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์  ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, ศิริพงษ์  วิทยวิโรจน์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี หัวหน้ากองบรรณาธิการ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม • บรรณาธิการเล่ม : วีระยศ ส�ำราญสุขทิวาเวทย์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : โมน สวัสดิ์ศรี  • พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ, เมตตา จันทร์หอม กราฟิกเลย์เอาต์  : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง • ออกแบบปก-ศิลปกรรม : สิริพงษ์  กิจวัตร ประชาสัมพันธ์  : ตรีธนา น้อยสี

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่  บริษัทงานดี  จ�ำกัด โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

www.matichonbook.com บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕  โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองพิมพ์สี  บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่  ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์  ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี  ๑๑๑๒๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖  โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co.,Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ เสมือนค�ำน�ำ ตามรอยลุยทะเลคนนอกเหมือง ค�ำนิยม

เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก สัญญาต่อหน้าเหล้า พระ พระเจ้าอยู่หัว พ่อ และลุง กฎหมายไม่เคยเปลี่ยน พ่อเป็นห่วง ชัยชนะของลุงม้วน ตาแย้มเล่นละคร ตาจ้อย มือเก่าทั้งคู่ พระ สองพ่อหม้าย อหิวาต์

๙ ๑๒ ๑๖ ๒๕ ๓๓ ๔๒ ๔๙ ๕๔ ๖๑ ๖๖ ๗๒ ๗๙ ๘๖ ๙๑ ๙๖ ๑๐๑


อยู่ในขวด ชายใจบุญ แมนรุ่นปู่ ที่ระลึกจากบางกอก เลือดไอ้ทึ่ม กรีดเลือด เรือจ้างชีวิต วัฒนชน เทกระเป๋า ไปท�ำบุญ เจ้าพ่อยังขลัง อนุสาวรีย์บนขวดเหล้า ชาวนาในเมืองหลวง รอด--! พระเอกไม่ต้องมา สวัสดีบางกอก ไปไม่รอด ทีวีขึ้นสมอง ความรักของนายพิสดาร วิธีใช้เงิน ๑ ล้านบาทของนายพิสดาร กฎหมายรัก ความรักชาติอย่างพิสดาร ระเบียบพิสดาร หัว เรื่องเหลวไหล ดูหนังอย่างพิสดาร ข้าพเจ้าจ�ำนน เหยื่อพิษของนายพราน ขบวนการต้มมนุษย์

๑๐๗ ๑๑๐ ๑๑๒ ๑๑๔ ๑๑๘ ๑๒๓ ๑๒๗ ๑๓๓ ๑๓๗ ๑๔๓ ๑๕๐ ๑๕๕ ๑๖๒ ๑๗๐ ๑๗๗ ๑๘๒ ๑๙๒ ๑๙๗ ๒๐๒ ๒๑๕ ๒๒๑ ๒๒๔ ๒๓๐ ๒๓๔ ๒๓๙ ๒๔๒ ๒๔๕ ๒๔๙ ๒๕๒


มฤตยูหยุดยิ้ม ประดับไว้ในไทยแลนด์ เจ้าแม่ธรณี อารมณิสต์ ขี้ฝุ่น เวรแห่งชีวิต จรรยาช่าง เงินอักเสบ ดาบนั้นคืนสนอง น�้ำตาพ่อ พ่อตัวอย่าง พลิกต�ำราไม่ทัน มีเงินจะเล่าเรียน อ�ำนาจเอกชน “บ้าหวย” กามเทพแก่เลี้ยว แด่คุณครูด้วยกรรมเก่า ถ้ามันบ้า-ปล่อยมันไป ผู้หญิงชื่อแสนห่วง ความก้าวหน้า สาวใช้ในเมืองหลวง ดาวโป๊เซ็นเซอร์ตัวเอง ในสลัมมีนิยาย วีรสตรี เบอร์ที่ได้โบว์ จากผ้าซิ่นสู่ฮ้อตแพนต์ นกแขกเต้าตัวเมีย ล�ำน�ำนางนอน ขออภัยเถิด เมียเช่า

๓๐๘ ๓๑๒ ๓๑๕ ๓๒๑ ๓๒๕ ๓๒๗ ๓๒๙ ๓๓๑ ๓๓๓ ๓๓๕ ๓๓๘ ๓๔๓ ๓๔๕ ๓๔๘ ๓๕๒ ๓๕๕ ๓๕๗ ๓๖๐ ๓๖๒ ๓๖๔ ๓๖๖ ๓๖๘ ๓๗๐ ๓๗๘ ๓๘๓ ๓๘๖ ๓๙๔ ๔๐๑ ๔๐๔


บนบ่าแม่ค้าขนมจีน สวัสดีซิคเคนนอล ค�ำให้การของคนเมาค้าง จดหมายร้องทุกข์ ในขวดเหล้ามีนิยาย ผ้าขี้ริ้วห่อคน ฉันรักลุง ความรักในท้องนา ชนชั้นชนบท คนบาปท�ำบุญ คนปากหมา หมากรุกกล นางเอก พระเอก และแม่น�้ำ โรงหมอกับโรงยา ไอ้จุนหนีโรงเรียน กรงนกของนักโทษ แผ่นดินและเรื่องราวที่รอคนเขียนนวนิยาย คุณอยู่ไหนเมื่อไฟดับ? อุดมการณ์ของคนเป่าแคน ความรักกับความใคร่ นักเขียน ๒ บรรทัด ชื่อเรื่องส�ำคัญกว่าการหักมุม วันดวลเหล้า เหนือรัก ผู้หญิงสูบบุหรี่ ศิลปินคลั่ง พญาครุฑ

๔๐๖ ๔๐๙ ๔๑๕ ๔๑๘ ๔๒๑ ๔๒๕ ๔๓๐ ๔๓๕ ๔๔๐ ๔๔๖ ๔๕๓ ๔๖๐ ๔๖๕ ๔๗๒ ๔๗๖ ๔๘๐ ๔๘๕ ๔๘๙ ๔๙๒ ๔๙๖ ๔๙๙ ๕๐๒ ๕๐๔ ๕๓๔ ๕๓๘ ๕๔๕ ๕๔๙

๕๕๖

ประวัติผู้เขียน


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

ยุคสมัยของงานวรรณกรรมนับเนือ่ งมาแต่ครัง้ ทีก่ จิ การโรงพิมพ์ปรากฏ  ตัว สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือบุคคลผู้สรรค์สร้างงานประพันธ์อันเป็นที่  ยอมรับนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน นิยามที่กล่าวได้ว่าเป็น “นักเขียนชั้นครู” จึงมิได้หมายถึงบุคคลสูงอายุ  ที่เคยเขียนหนังสือมาก่อน หากแต่แฝงไว้ด้วยเชิงชั้น ประสบการณ์เคี่ยวกร�ำ  ปรากฏการณ์ในยุคสมัยของพวกเขาแล้วถ่ายทอดลงบนกระดาษ เรียงร้อย  ความลวง-ความจริงในทุกมิติ  ทุกตัวอักษร ยิง่  “นักเขียน” ผูอ้ าวุโสนัน้  ควบรวมกับการเป็น “บรรณาธิการ” อยูด่ ว้ ย  แล้ว ฝีไม้ลายมือของบุคคลดังกล่าวย่อมไม่ธรรมดา “อาจินต์  ปัญจพรรค์” นักเขียนชั้นครูผู้ถ่ายทอดผลงานของตนลงบน  แผ่นกระดาษ ทุ่มเทกลั้วเกลือกหมึกพิมพ์เพื่อสรรค์สร้างงานอักษร สื่อไปถึง  จิตใจผู้อ่าน ไม่ว่าจะในฐานะ “สี่มือทอง” หรือหนึ่งในคอลัมนิสต์ชื่อดังของสยามรัฐ ไม่ว่าจะในฐานะ “บรรณาธิการ” ฟ้าเมืองไทย และนิตยสารอีกหลาย  ต่อหลายฉบับ สร้างนักเขียนหน้าใหม่ให้เติบโตสู่โลกบรรณพิภพ ยิ่งเฉพาะงานประพันธ์ซึ่ง “อาจินต์” ไม่เคยเลือกว่าจะจ�ำกัดอยู่ใน  รูปแบบใดแบบหนึ่ง หากแต่เขาได้ก้าวข้ามขีดจ�ำกัดของงานเขียนด้วยการ  เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   9


สร้างงานข้ามสายพันธุ์  นับแต่การเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย คอลัมน์  เฉกเดียว  กับการท�ำงานของนักหนังสือพิมพ์ในยุคเดียวกันที่สามารถผลิตงานได้ทุก  ประเภท พิสูจน์ได้จากนวนิยายเรื่องยาว “เจ้าพ่อ เจ้าเมือง” ซึ่งเขียนขึ้นจาก  ความทรงจ�ำผสมผสานกับจินตนาการ ถ่ายทอดให้คนรุน่ ปัจจุบนั ได้เห็นรอยต่อ  ความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย อันหาได้แตกต่างจากรวมเรื่องสั้นชุด “เหมือง  แร่” ซึ่งเปรียบได้กับชีวประวัติของ “อาจินต์” ด้วยหากเอ่ยถึงนักเขียนท่านนี ้ ย่อมต้องมีชื่อชั้นของงานมาสเตอร์พีซเล่มดังกล่าวปรากฏอยู่ด้วย และในบริบทเดียวกัน หนังสือ “เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่” จึงถือก�ำเนิด  ขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยการรวบรวมเรื่องสั้นที่กระจัดกระจายโดยมิได้จัดอยู่ใน  รวมเรื่องสั้น “เหมืองแร่” มาเรียบเรียงไว้เป็นปึกแผ่น เนื่องจากอาจินต์  ปัญจพรรค์  มิได้เขียนเรื่องสั้นอยู่เพียง “เหมืองแร่”  เพียงเล่มเดียว หากแต่สรรค์สร้างงานเรื่องสั้นไว้ตามที่ต่างๆ มากมายหลาย  แห่ง หลายนามปากกา ถ้าถือเสมือนว่า รวมเรื่องสั้น “เหมืองแร่” คือชีวประวัติวัยบุกเบิกของ  อาจินต์  ปัญจพรรค์ “เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่” ก็เปรียบได้กับการหลุดออกจากการแสวงหา  ตัวตนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากรวมเรื่องสั้นเล่มนี้เต็มไปด้วยกลิ่นอายของบุคคลผู้เจนโลก  นับแต่บุรุษผู้ท�ำงานสิ่งพิมพ์  ชุมชนชาวบ้านที่เคี่ยวกร�ำภูมิปัญญาท้องถิ่น เล่ห ์ ร้ายแกมหยิกแกมหยอกของหญิงสาวทีห่ ว่านโปรยเสน่หล์ งบนหัวใจบุรษุ  จนถึง  เรื่องลึบลับนักสืบเชิงฆาตกรรมอ�ำพรางน่าหวาดเสียว โดยทุกเรื่องก็ยังไว้ลายในฝีมือประพันธ์สไตล์  “อาจินต์  ปัญจพรรค์”  อีกทั้งยังมีอีกหลายต่อหลายเรื่องที่หักมุมจนเอวเคล็ด ในโอกาสเดียวกัน การตีพมิ พ์ของหนังสือรวมเรือ่ งสัน้ เล่มนีก้ ไ็ ด้พยายาม  ค้นคว้า “เอกสารชั้นต้น” หรือการระบุถึงหมายเหตุการตีพิมพ์ครั้งแรกมาไว้ใน  ท้ายเรื่อง แม้อาจไม่ครบถ้วนทุกเรื่อง แต่อย่างน้อยก็เป็นความพยายามที่จะ  ท�ำให้งานประพันธ์อันทรงคุณค่าได้รับการสืบค้นอย่างถูกขนบ 10


ทัง้ หมดก็เพือ่ ให้นกั อ่านทุกท่านได้มโี อกาสค้นคว้าต้นก�ำเนิดในเรือ่ งราว  ของ “อาจินต์  ปัญจพรรค์” บุรษุ ทีป่ กั หมุดชีวติ เพือ่ ให้ผอู้ นื่ เห็นความส�ำคัญของ  การสร้างงานวรรณกรรมในเมืองไทย ผู้เป็นดุจแรงผลักดันให้อนุชนรุ่นต่อไป  ได้รับความเพลิดเพลิน ได้ศึกษาเรียนรู้ และได้รบั แรงบันดาลใจในการธ�ำรงรักษาคุณค่างานประพันธ์  สืบต่อไป ส�ำนักพิมพ์มติชน

เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   11


เสมือนค�ำน�ำ

ท่านสุภาพสตรี สุภาพบุรุษ ผู้ถือปากกา... ขอโทษ-ท่านอาจจะใช้เครื่องพิมพ์ดีด (typewriter) แต่ถึงแม้ว่าท่าน  จะใช้ปากกา ดินสอ หรือเครื่องพิมพ์ดีดก็ตาม ท่านจะต้องไม่ลืมกระดาษ  ข้าพเจ้าคิดว่า บัดนี้  เรามีทั้งเครื่องเขียนพร้อมทั้งกระดาษแล้ว พวกเราชาว  เอเชียและแอฟริกาที่มา ณ ที่นี้คือเครื่องเขียน และสหภาพนักเขียนโซเวียต-  ผู้เป็นเจ้าภาพคือกระดาษ หรือเปรียบเทียบอีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่มาคือรถยนต์  และท่านเจ้าภาพเป็นถนน ข้าพเจ้าเป็นรถยนต์คันหนึ่งในจ�ำนวนนี้  ข้าพเจ้าขอขอบคุณต่อถนน  เป็นอย่างยิ่ง ที่ให้รถยนต์ได้แล่นไป ห้องนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนแผ่นกระดาษ ผู้ที่นั่งเรียงเป็นระเบียบอยู่นี้เป็นตัวหนังสือ เราอ่านหนังสือตั้งแต่เมื่อ  วานนี้และวันนี้ไปหลายประโยคแล้ว บัดนี้  ข้าพเจ้า ตัวหนังสือเล็กๆ ตัวหนึ่ง  จะได้อ่านตัวของข้าพเจ้าเองให้ท่านผู้มีเกียรติฟังบ้าง เมื่อวานนี้  หลายท่านได้พูดในแง่ของวิชาการอันเต็มไปด้วยคุณค่า  มีสาระ ซึ่งข้าพเจ้าได้จดและจ�ำไว้  เพื่อค้นคว้าต่อไป  บัดนี้  ข้าพเจ้าจะขอพูด  เรื่องที่มิใช่วิชาการโดยตรง แต่จะพูดถึงความเป็นอยู่และความเป็นจริงใน  วงการเรื่องสั้นของประเทศไทย ตามความคิดเห็นและข้อสังเกตเป็นส่วนตัว  12


ในชีวิตของการเขียนเรื่องสั้นด้วยเวลาประมาณ ๒๐ ปีของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอกระโดดออกนอกวง ๒๐ ปีที่กล่าวนี้ออกไปสักแวบหนึ่ง  เพือ่ ชีใ้ ห้ทา่ นดูหนังสือไทยตัวแรก ซึง่ พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชของไทยในอดีต  ได้ทรงคิดสร้างขึ้น และให้จารึกไว้เป็นเรื่องราวบนแท่งศิลารูปสี่เหลี่ยม แท่ง  ศิลาจารึกนั้นนับเป็นหนังสือไทยเล่มแรก, โดยใช้เหล็กสกัดเป็นปากกา ใช้  แท่งศิลาเป็นกระดาษ เรือ่ งราวอันนัน้ เป็นทัง้ หนังสือ เป็นทัง้ หลักฐานทางประวัติ  ศาสตร์  และเป็นทั้งหลักแรกที่ตั้งไว้เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อให้มีพัฒนาการในการ  เขียนและการอ่าน แล้วสมัยต่อมาจึงดัดแปลงตัวหนังสือไทยมาเป็นแบบอย่าง  ในปัจจุบัน ต่อมาเหล็กสกัดกลายเป็นปากกา แท่งศิลาก็กลายมาเป็นกระดาษ ขอให้ข้าพเจ้ากระโดดกลับมาสู่วง ๒๐ ปีตามที่ได้สัญญาไว้ เรือ่ งสัน้ เกิดขึน้ ในประเทศไทย ก่อนหน้าข้าพเจ้าเริม่ เขียนเรือ่ งประมาณ  ๒๐ ปีเหมือนกัน  ข้าพเจ้าไม่ขอพูดถึงเรื่องราวที่จ�ำได้ไม่แม่นย�ำนั้น แต่จะพูด  ถึงในระยะ ๒๐ ปี  ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเลือกการเขียนเรื่องสั้น-เป็นจุดส�ำคัญ  เพราะเชื่อว่าชีวิตของคน-ชีวิตของโลก คือการเดินทาง  - เมื่อเดินทางด้วยเท้า เราจะได้ผลลัพธ์เป็นกิโลเมตร - แต่ถ้านับเข็มนาฬิกา เราจะได้ผลลัพธ์เป็นอดีต คนเราเหมือนกันหมด คือเกิดมาแล้วเดินไปสู่ความตาย  แต่ถ้าเราเอาชีวิตคนมาขึงไว้ดังเส้นเชือก แล้วเลือกตัดเป็นท่อนๆ ให้  เหมาะ เราก็จะได้เรื่องสั้นแปลกๆ เป็นจ�ำนวนมากมาย เรื่องสั้นมีลักษณะ  น่าเขียนและน่าอ่านเช่นนี้ สมัยอดีตในประเทศไทยมีผู้นิยมอ่านเรื่องยาวมากกว่า เพราะเรื่องยาว  เกิดก่อน-ครอบครองความคุ้นเคยของผู้อ่านมาก่อน แต่ชีวิตในปัจจุบันมีความ  รีบร้อนมากขึน้  คนอ่านมีเวลาอ่านน้อยลง ผูเ้ ขียนก็มเี วลาเขียนน้อยลง เรือ่ งสัน้   จึงต้องเกิดขึ้นมาทดแทน เรื่องสั้นก�ำลังจะครอบครองผู้อ่านต่อไป แต่ทางด้านส�ำนักพิมพ์ที่จัดจ�ำหน่ายหรือนิตยสารส่วนมาก ยังไม่ยอม  เสี่ยงที่จะพิมพ์เรื่องสั้น เพราะพ่อค้าย่อมคิดก�ำไรมากกว่าเรื่องใดๆ กระนั้น  เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   13


ก็ตามยังมีนักเขียนจ�ำนวนหนึ่งเขียนเรื่องสั้นอย่างบากบั่น แต่แล้วเขาต้อง  พ่ายแพ้ละทิ้งเรื่องสั้นไปเสีย เพราะว่าเรื่องสั้นจะท�ำให้ชีวิตของเขาสั้นลงด้วย  เหตุผลทางเศรษฐกิจ เรื่องสั้นเขียนยาก มีคนเขียนน้อยคน แต่ละคนเขียนน้อยเรื่อง เพราะ  ต้องแบ่งเวลาไปประกอบอาชีพทางอืน่   เรือ่ งสัน้ ต้องใช้เวลาในการวางเค้าโครง  นาน ต้องใช้สมองคิดมาก แต่ใช้เวลาอ่านน้อย และมีค่าตอบแทนน้อย สิ่งใด  น้อย สิ่งนั้นย่อมมีบทบาทน้อย แต่แล้วเรื่องสั้นก็ก�ำลังคึกคักในประเทศไทยเพราะเหตุผลง่ายๆ คือ  สิ่งใดที่มีน้อย คนเรากลับอยากได้  นิตยสารในประเทศไทยต้องการเรื่องสั้น  ไปลงพิ ม พ์   บรรณาธิ ก ารนิ ต ยสารรายเดื อ นมี ชื่ อ เสี ย งมากที่ สุ ด ฉบั บ หนึ่ ง  “ชาวกรุง” ลงพิมพ์เรื่องสั้นเป็นประจ�ำ บอกข้าพเจ้าว่า มีผู้แต่งเรื่องสั้นไปให้  พิจารณามากมาย แสดงว่านักเขียนหน้าใหม่นิยมเรื่องสั้น นั่นคือ กระจกที่  ส่องให้เห็นว่า นักเขียนหน้าใหม่อยากอ่านเรื่องสั้น-นิยมเรื่องสั้น เมื่อหาอ่าน  ได้น้อย เขาจึงลงมือเขียนเสียเอง เมื่อเรื่องสั้นมีน้อยลง ความต้องการอ่านจึงกลับมีมากขึ้นเช่นนี้  แม้ว่า  ส�ำนักพิมพ์จ�ำหน่ายไม่นิยมรับพิมพ์  แต่หนังสือพิมพ์รายวันและนิตยสาร  ที่มองเห็นคุณค่าก็ยังต้องการอยู่  วิทยุก็อยากจะเล่นละครจากเรื่องสั้น และ  โทรทัศน์  (television) ก็ได้เริ่มเสนอละครสั้นเดือนละ ๕ เรื่องเป็นที่นิยม  อย่างมากมา ๒ เดือนแล้ว และจะเสนอต่อไปเดือนละ ๕ เรื่อง  เรื่องสั้นดึงดูดใจกว่าเรื่องประเภทอื่น เพราะมันเป็นเหมือนค�ำถาม  ให้ผู้อ่าน อ่านไป ทายไป ว่าจะจบอย่างไร และแล้วเมื่อจบ ผู้อ่านก็ได้รับ  ค�ำตอบจากประโยคท้ า ยๆ  นั้ น   ตั ว ข้ า พเจ้ า พยายามที่ จ ะจบเรื่ อ งสั้ น ด้ ว ย  ประโยคที่สั้นที่สุด แต่ให้มีความหมายมากที่สุด ข้าพเจ้าใฝ่ฝันที่จะจบเรื่อง  สั้นด้วยจุดฟุลสต๊อปให้จงได้ ในการเขียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้นหรือเรื่องยาว ชีวิตที่ผู้เขียนประสบ  และฝังใจ และเขียนอย่างแน่นอนใจ ย่อมท�ำให้เรือ่ งทีเ่ ขียนมีรส มีฤทธิ ์ ราวกับ  ตัวหนังสือเต้นได้  พูดได้, อ้อนวอนได้, ชักจูงใจได้, ปลอบใจได้ 14


ข้าพเจ้าจึงภูมิใจนักที่เป็นนักเขียน และภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้มาอยู่ร่วม  ในบรรดานักเขียน ซึ่งย่อมมีญาณพิเศษร่วมกันและเข้าใจกัน การสัมมนา  ครั้งนี้จะได้แง่มุมใหม่ๆ ให้ข้าพเจ้าฝึกฝนต่อไป และน�ำไปบอกเล่าใประเทศ  ไทย ข้าพเจ้าอยากจะจบลงแล้ว เพราะข้าพเจ้าฝึกฝนการพูดน้อยกว่าการ  เขียน อาจินต์ ปัญจพรรค์

ขอขอบคุณ-สปาสิโบ จาก สุนทรพจน์ของอาจินต์  ปัญจพรรค์  ต่อหน้าที่ประชุม ในการประชุมแอฟโฟร  อาเซียน มีตติง้   จัดโดยสมาคมนักเขียนมอสโก ทีก่ รุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมือ่ วันที ่ ๒๙  มิถุนายน ๑๙๖๕ (๒๕๐๘)

เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   15


ตามรอยลุยทะเลคนนอกเหมือง

ราวเดือนสิงหาคม ปี ๒๕๓๑ ก่อนนิตยสาร “ฟ้าเมืองไทย” จะปิดตัวลง  อีก ๒ เดือนข้างหน้า ผมในฐานะเด็กน้อยในกองบรรณาธิการยังไม่ทราบชะตา  กรรมของตัวเองว่าหลังจากนั้นจะไปทางไหน? ในช่วงเวลานั้น สิ่งเดียวที่ท�ำได้  คือเร่งรัดหัดเขียนหนังสือเพื่อเป็นนักเขียนอาชีพเหมือนบรรณาธิการอาจินต์  ปัญจพรรค์  หรือนักเขียนประจ�ำคนอื่นๆ ’รงค์  วงษ์สวรรค์, ค�ำพูน บุญทวี  ฯลฯ  ผมมั่นใจว่า หากผมเขียนหนังสือเป็น ผมก็พอจะมีผลงานเขียนลงนิตยสาร  ต่างๆ หาเงินยังชีพได้ต่อไปในเส้นทางนักเขียน ก่อนหน้านั้นสามปี  ผมเลิกอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นแล้วเริ่มหัดอ่านหนังสือ  วรรณกรรมอย่างจริงจัง เพือ่ ให้เหมาะกับการท�ำงานในฟ้าเมืองไทย  ผมหัดอ่าน  หนังสือวรรณกรรมทุกประเภท รวมเรือ่ งสัน้  นวนิยาย และงานแปลวรรณกรรม  หลายชาติ  อ่านงานของนักเขียนวรรณกรรมทุกคนที่พบเห็นบนแผงแบกะดิน  หรือในร้านหนังสือ  ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์  ผมก็ตื่นแต่เช้า นั่งรถเมล์ไปเดิน  จตุจักร ตลาดปีนัง จนเย็นจึงหอบหนังสือเก่าที่ได้มาใหม่ๆ กลับบ้าน หรือวัน  ธรรมดาก็ไปเดินหาหนังสือตรงแผงหนังสือสนามหลวงเก่าหลังพระแม่ธรณี  บีบมวยผม หอบมาใส่ชั้นหนังสือที่สร้างเองตรงฝาห้องจนเต็มทุกผนัง ท่ามกลางหนังสือที่มากมายที่ออกตามเก็บ ในช่วงเวลาสุดท้ายของ  ชีวิตในกองบรรณาธิการฟ้าเมืองไทย ในวันที่  ๒๘ กันยายน ๒๕๓๑ ผมพบ  16


หนังสือรวมเรือ่ งสัน้ ของอาจินต์  ปัญจพรรค์  เป็นเล่มแรกในชีวติ  หนังสือเล่มนัน้   คือ “เหมืองน�้ำหมึก” (ตะลุยเหมืองแร่  เล่ม ๒) ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ๒๕๐๘  นับเป็นครั้งแรกที่ผมได้มีโอกาสอ่านงานเขียนของอาจินต์  ปัญจพรรค์  ในฐานะนักเขียนวรรณกรรมที่ใครต่อใครกล่าวถึงอย่างชื่นชม นอกเหนือจาก  ได้อ่านงานประจ�ำทุกสัปดาห์อย่าง บทบรรณาธิการ, ตอบจดหมาย, เขียน  บทความทรงจ�ำเป็นชุด อาทิ  การหลงทางอันแสนสุข หรือ อาจินต์สไตล์  และ  เรื่องยาวที่ลงเป็นประจ�ำอย่างนวนิยาย เช่น ดาววิดีโอ หรือ เจ้าพ่อ-เจ้าเมือง “เหมืองน�้ำหมึก” เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นที่แปลกส�ำหรับผมในเวลานั้น  ค�ำน�ำ “อาจินต์  บุก” เป็นงานเขียนที่แตกต่างจากตัวจริงของอาจินต์ในปี  ๒๕๓๑  หนั ง สื อ   “เหมื อ งน�้ ำ หมึ ก ”  เต็ ม ไปด้ ว ยการบอกเล่ า เกี่ ย วกั บ ชี วิ ต  นักเขียนวัยฉกรรจ์ทยี่ อมแลกกับอนาคตด้วยการพิมพ์หนังสือขายเอง เพือ่ ทีจ่ ะ  เป็ น อนาคตของผู ้ เ ขี ย น  และส่ ง ท้ า ยด้ ว ยประโยคชวนฮึ ก เหิ ม ตรงปกหลั ง  ความว่า “ข้าพเจ้าจะเขียนหนังสือทิ้งไว้  และเวลาก็จะกินข้าพเจ้าจนเกลี้ยง เกลาหมดตัวไม่ได้  ข้าพเจ้าจะเขียนจ�ำลองชีวิตเอาไว้  มิยอมให้ความตายมา พิชิตมันโดยง่าย เอาเถอะ ให้กาลเวลามันกินข้าพเจ้ากร้วมๆ เรื่อยไป แต่ชีวิต ในเหมืองแร่ของข้าพเจ้าจะเป็นเศษกระดูกแห่งนามธรรมของตัวข้าพเจ้าที่จะ หลุดรอดเขี้ยวฟันของมฤตยูให้มันถ่มทิ้งไว้  ข้าพเจ้ากลัวความตาย แต่ไม่ยอม แพ้  ข้าพเจ้าจะสู้กับมันด้วยความรู้สึกนึกคิดในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เช่นบัดนี ้ ดังนัน้  เมือ่ ร่างกายของข้าพเจ้าตายสนิทแล้ว ตัวหนังสือเหล่านีก้ จ็ ะเป็นตัวแทน กวักมือเรียกร้องท้ามฤตยูต้องเสียเวลาหวนกลับไปกินมันซ�้ำอีกทีหนึ่ง” ผมอ่าน “เหมืองน�้ำหมึก” หมดเล่มแล้วก็เศร้าใจอย่างเงียบๆ แรง  บันดาลใจดันมาตอนจบ ผมคงไม่มีสนามเรื่องสั้นในฟ้าเมืองไทยให้ลงอีกแล้ว  แต่ผมยังมีพลัง ก�ำลังใจ และแรงบันดาลใจในการลงมือเขียนหนังสืออย่าง  มากมาย ด้วยว่า “เหมืองน�ำ้ หมึก” เป็นหนังสือส�ำแดงเหตุบรรณาธิการว่าท่าน  เป็นนักเขียนยอดฝีมือแบบนี้เอง แถมยังมีลูกเล่นในการน�ำเสนอรวมเรื่องสั้น  ให้แปลกใจ “เหมืองน�้ำหมึก” แบ่งออกเป็น ๓ บท โดยบทแรกเป็นรวมค�ำน�ำ  คนเขียนและรวมค�ำน�ำของคนอื่นๆ  บทสอง น�ำเสนอประวัติและเรื่องสั้นชื่อ  เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   17


“เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก”  และบทสาม รวมเรือ่ งสัน้ เกีย่ วกับเหมืองแร่  ๑๑  เรื่อง ท่ามกลางเรื่องสั้นทั้งหมดในเหมืองน�้ำหมึก เรื่องสั้น “เศรษฐศาสตร์  กลางทะเลลึก” กลับโดดเด่นเป็นหนึ่งเดียวในดวงใจของผม  อย่างแรก เป็น  เรื่องสั้นประหลาดๆ เรื่องหนึ่ง มิใช่เรื่องสั้นในเหมืองแร่  เป็นเรื่องสั้นโดดเดี่ยว  ที่ตั้งอยู่ในทะเล มันแสนประทับใจในการอ่าน มีการหักเหลี่ยมเฉือนคมกัน  สารพัดในเรือบดล�ำเล็กๆ แต่สะเทือนใจเมื่ออ่านจบ  เรื่องสั้นๆ แต่เต็มไปด้วย  แรงบันดาลใจทางการเขียนให้ผมมากมาย ผมเกิดแรงจินตนาการจนทะลุ  กระดาษ อยากจะเขียนเรื่องสั้นออกมาให้สนุกและประทับใจแบบเดียวกัน  แต่หลังจากฟ้าเมืองไทยปิดตัวลงอย่างเป็นทางการ บรรณาธิการอาจินต์  ปัญจพรรค์  ท�ำนิตยสาร “ฟ้า” ต่อ แต่ให้ทุนผมกลับไปเรียนศิลปะที่วิทยาลัย  ช่างศิลป์  ลาดกระบัง ผมจึงห่างเหินจากแวดวงวรรณกรรมออกไปทุกวันๆ  ผมไปเรียนศิลปะ วาดรูป แต่ก็ยังคิดถึงวรรณกรรมทุกเวลา และว่างๆ ก็แต่ง  เรื่องเอาไว้อ่านเล่น หากมีโอกาสคุยกับเพื่อนฝูง ผมก็มักจะเล่าเรื่อง “เศรษฐ-  ศาสตร์กลางทะเลลึก” ให้พวกเขาฟัง เล่าไป ก็เสริมภาพนึกฝันตามการเล่า  อันตื่นเต้นอยู่เสมอๆ  ผมเรียนศิลปะวาดรูปด้วยความคิดถึงตัวหนังสือวรรณกรรมมาโดย  ตลอด พอผมเรียนชั้นปี  ๒ ผมคิดถึงวรรณกรรมอย่างรุนแรง จึงตัดสินใจปลีก  วิเวก ฝังตัวในห้องสมุดของวิทยาลัย มุมเล็กๆ บนชั้นสองของตึกผู้อ�ำนวยการ  วิทยาลัย ห้องสมุดมีคนเข้ามาประจ�ำราวสองสามคนต่อสัปดาห์  หนึ่งในนั้น  คือผม ผู้เข้าไปอ่านวรรณกรรมมากกว่ามาเรียนวาดรูป ผมได้กลับมาพบโลก  วรรณกรรม ก็หายคิดถึง ชีวิตมีความสุขท่ามกลางหนังสือวรรณกรรมต่างๆ  ที่พอจะหาอ่านโดยไม่ต้องซื้อหา และแล้วในที่สุด ผมก็พบหนังสือรวมเรื่อง  สั้นของอาจินต์  ปัญจพรรค์  เล่มอื่นอีกครั้ง  หนังสือเล่มนั้นคือ “ลุยทะเลคน” “ลุยทะเลคน” รวมเรื่องสั้นของอาจินต์  ปัญจพรรค์  เป็นหนังสือปกแข็ง  หน้าปกเป็นรูปวาดแบบแยกสีท�ำบล็อก เป็นรูปการ์ตูนเด็กต่างชาติ  ๔ คน  กระจายบนปกหนังสือ หนังสือพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๐๓ คล้ายๆ เหมือง  น�้ำหมึก คือมีเรื่องสั้นเหมืองแร่  ๒ เรื่อง สารคดี  ๒ เรื่อง นอกนั้นอีก ๒๕ เรื่อง  18


เป็นเรื่องสั้นนอกเหมืองแร่ทั้งหมด แม้ว่า “ลุยทะเลคน” ฉบับปกแข็ง จะไม่มีเรื่องสั้น “เศรษฐศาสตร์  กลางทะเลลึก” รวมอยู่ด้วย แต่ก็มีเรื่องสั้นอื่นที่ผมอ่านแล้วมันเพิ่มพลังทาง  ความคิดเป็นหลายเท่า เช่นเรื่องสั้นอย่าง รอด, พระ, สัญญาต่อหน้าเหล้า,  ชัยชนะของลุงม้วน, ตาจ้อย, กฎหมายไม่เคยเปลีย่ น, ความรักของนายพิสดาร,  พระ พระเจ้าอยูห่ วั  พ่อ และลุง, อหิวาต์, กรีดเลือด เป็นตัวอย่างส่วนหนึง่ ของ  เรื่องสั้นประทับใจและจดจ�ำอยู่ในใจผมมาโดยตลอด ตัวละครอันหลากหลาย  ต่างก็วนเวียนอยู่ในหัวของผม เวลาผมมองใครรอบตัวก็มักจะเห็นเป็นภาพ  ของนักเขียนไส้แห้ง, คนขุดพระ, คนทรงเจ้า, ขอทาน, ขี้เหล้า, สามล้อถีบ,  คนพิการ, คนบ้า, คนแก่, คนแทงม้า, นายต�ำรวจ, หนุ่มสาว, คนเสียสติ,  คนวิตถาร, ภารโรง, ชาวนา, ต่างเป็นตัวละครที่ผมสัมผัสจากตัวหนังสือใน  ลุยทะเลคน หลายปีต่อมา ผมพบค�ำตอบจากอาจินต์  ปัญจพรรค์ว่า ท�ำไม  หนังสือจึงชื่อ “ลุยทะเลคน” ก็เพราะว่าผู้คนมากมายบนโลกเวียนว่ายกัน  หนาแน่นและมีเรื่องราวให้เขียนไม่หมด อาจินต์อุปมาให้ฟัง และก่อนหน้า  จะพิมพ์ออกมา ยังเคยจะใช้ชอื่ ว่า “ตะลุยทะเลคน” แต่ตดั ค�ำว่า “ตะ” ออกไป  ก่อนเข้าโรงพิมพ์  ก่อนจะใช้เป็นชือ่ หนังสือรวมเรือ่ งสัน้ พิมพ์เองเล่มแรก “ตะลุย  เหมืองแร่” ในเวลาต่อมา หลังจากนั้น ผมแวะเวียนไปช่วยงานเล็กน้อยที่ส�ำนักงานหนังสือ “ฟ้า”  ของอาจินต์  และแน่งน้อย ปัญจพรรค์  ก่อนจะปิดตัวลงเพราะอาจินต์  ปัญจ-  พรรค์  ประสบปัญหาด้านสุขภาพ ผมจึงย้ายตัวเองไปท�ำหนังสือกับแดนอรัญ  แสงทอง นักเขียนนักแปลและบรรณาธิการหนุ่มที่ยังไม่มีใครรู้จักมากนัก แต่  พอจะมีคนรู้ว่าเขาเป็นนักเขียนที่สร้างผลงานส�ำคัญเอาไว้เรื่องหนึ่ง ผมจึงมี  โอกาสช่วยงานผลิตหนังสือในส�ำนักพิมพ์ของเขา และช่วยจัดท�ำนวนิยาย  “เงาสีขาว” ออกมาสู่แวดวงวรรณกรรมไทย  แดนอรัญ แสงทอง เป็นศิษย์เก่า “ฟ้าเมืองไทย” คนหนึ่ง เขามีเรื่องสั้น  แปลลงในฟ้าเมืองไทย ปกฉบับอาลัยในมรณกรรมของครูนิมิตร ภูมิถาวร  นักเขียนคนส�ำคัญผู้เขียนนวนิยาย “สร้อยทอง” แดนอรัญท�ำให้ครูในโรงเรียน  ของเขาตะลึงเมื่ออ่านพบงานแปลของเขาก่อนเรียนจบมัธยมฯ ที่โรงเรียน  เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   19


ในจังหวัดเพชรบุร ี แดนอรัญเป็นนักอ่านชนิดบ้าเลือด ผลงานของอาจินต์  ปัญจ-  พรรค์ทุกชิ้นอยู่ในหัวของเขา แดนอรัญเป็นนักเขียนที่จดจ�ำผลงานของอาจินต์  ได้หมด สมัยอาจินต์  ปัญจพรรค์เป็นบรรณาธิการฟ้าเมืองทอง แดนอรัญ  เคยได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดเรื่องสั้น และไปรับรางวัลจากอาจินต์  และอาจินต์ได้บันทึกการสนทนาและบุคลิกอันแปลกประหลาดของเขาลงใน  บทบรรณาธิการฟ้าเมืองทอง  ผมจ�ำได้ว่าในช่วงเวลาที่ผมท�ำงานอยู่กับแดนอรัญ แสงทอง นอกจาก  เราจะคุยกันถึงโฟลแบรต์, มาร์เกซ, ฟุตบอลโลก, ครูเหม เวชกร, ประมูล  อุณหธูป, หรือนายร�ำคาญ แต่ทุกครั้งเราจะคุยกันถึงอาจินต์  ปัญจพรรค์  และ  งานชุดเหมืองแร่  บางคืนเราคุยกันถึงตัวละครชื่อพี่จอน บางครั้งแดนอรัญ  บอกผมว่า “ผมรู้สึกเหมือนพี่จอนนั่งลืมหมวกอยู่ข้างๆ คุณว่ะ” และเรื่องสั้น  นอกเหมืองแร่ของอาจินต์ก็อยู่ในหัวของเขา เมื่อเขาเล่าออกมา ผมจะได้ยิน  แง่มุมใหม่ๆ เสมอๆ ซึ่งมีเรื่องยาวเรื่องหนึ่งที่แดนอรัญโปรดปรานมาก เป็น  เรื่องราวที่พระเอกเป็นนักสืบอยู่ในอยุธยา (นักต้มมนุษย์)  นอกจากนั้น ใน  กองหนังสือของเขามีงานของอาจินต์หลายสิบเล่ม ในตอนนัน้  แดนอรัญมีความ  ตั้งใจที่จะพิมพ์งานของอาจินต์  ปัญจพรรค์  แต่เพราะนายทุนของเขาก่อเหตุ  ด้านค่าเรือ่ ง แดนอรัญจึงไม่กล้าทีจ่ ะไปพบอาจินต์ทงั้ ๆ ทีเ่ ขาอยากไปหาทุกวัน  เขาตั้งใจจะพิมพ์งานรวมเรื่องสั้นนอกเหมืองแร่ทั้งหมดของอาจินต์เป็นคนแรก  แต่ทา่ มกลางการผลิตหนังสือทีย่ ากล�ำบากในช่วงปี  ๒๕๓๖ ส�ำนักพิมพ์ปาปิรสั   ของแดนอรัญ แสงทอง ผลิตหนังสือวรรณกรรมออกมามากมาย แต่มีคนอ่าน  น้อยมาก งานแปลของนักเขียนระดับโลกระดับรางวัลโนเบลอย่างคนุต แฮมซุน,  กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, เออร์เนสต์  เฮ็มมิ่งเวย์  ขายไม่ออก หลังจากท�ำใจ  กับความจริง เขาจึงผลิตหนังสือผี  ประสบการณ์ทางวิญญาณ ยังชีพ โดยมี  ผมเป็นผู้ช่วย พิมพ์ออกมามากกว่า ๒๐ เล่ม จนกระทั่งเราพอจะมีเงินกินข้าว  และท�ำงานอย่างเบาใจ จึงตัดสินใจพิมพ์  “เงาสีขาว” เพือ่ เป็นอนุสรณ์ของชะตา  กรรมที่ยากจะคาดเดา ก่อนจะแยกย้ายกันไปตามยถากรรม  ย้อนกลับไปในปี  ๒๕๓๔ อาจินต์  ปัญจพรรค์  ได้รับการยกย่องเป็น  “ศิลปินแห่งชาติ” ผลงานเขียนต่างๆ ถูกจัดพิมพ์ออกมาหลายเล่ม รวมถึง  20


เรือ่ งสัน้ เหมืองแร่  ชุดสมบูรณ์  ทีร่ วบรวมออกมาจนเกือบหมด แต่ขณะเดียวกัน  รวมเรื่องสั้นนอกเหมืองแร่กลับยังไม่มีโอกาสพิมพ์  คงมีเพียงรวมเรื่องสั้นเล่ม  เล็กๆ ชือ่  “ลุยทะเลคน บนถนนเรือ่ งสัน้ ของอาจินต์  ปัญจพรรค์” ผลงานคัดสรร  เรื่องสั้นบางส่วนและเรื่องสั้นจากรวมเรื่องสั้นนอกเหมืองแร่เล่มอื่นบางเรื่องที ่ อาศัยอยู่ในหนังสือเล่มอื่นๆ ของอาจินต์  ปัญจพรรค์  คัดสรรและบรรณาธิการ  โดย แน่งน้อย ปัญจพรรค์  จัดพิมพ์ในนามส�ำนักพิมพ์เริงรมย์  ผลิตออกมา  นานแล้วเมื่อปี  ๒๕๓๐ เป็นรวมเรื่องสั้นที่ผมพบเจอเป็นครั้งแรกในตอนที ่ นิตยสารฟ้าปิดตัวลง  เมื่อผมมาช่วยท�ำเครื่องหมายกาแดงคาดสันหนังสือ  ของของส�ำนักพิมพ์เริงรมย์ที่วางจ�ำหน่ายแล้ว ส�ำหรับขายทอดตลาดในร้าน  มือสองต่อไป “ลุยทะเลคน” ของเริงรมย์จ�ำนวนหนึ่ง ผมเองได้ขอเก็บเอาไว้  หนึ่งมัด เพื่อพกติดตัวอ่านและแจกพรรคผู้อ่านที่ชอบเรื่องสั้นของอาจินต์  ทุกคน และคิดฝันว่า หากมีโอกาสจะพิมพ์ใหม่  และในเวลาต่อมา “ลุยทะเล  คน” ของเริงรมย์ก็เป็นแรงบันดาลใจในการรวบรวมเรื่องสั้นนอกเหมืองแร่  ทั้งหมด อันเป็นที่มาของรวมเรื่องนอกเหมืองแร่เล่มนี้นั่นเอง จากปี  ๒๕๓๑ จนถึงปี  ๒๕๕๒ ผมพบหนังสือของอาจินต์  ปัญจพรรค์  ในช่วงเวลาต่างๆ จนรวมครบ ๕๒ เล่ม ประกอบด้วย รวมเรื่องสั้นจากเหมือง  แร่  รวมเรื่องสั้นนอกเหมืองแร่  รวมบทความ สารคดีท่องเที่ยว สารคดีแปล  บทความ จดหมาย สัมภาษณ์  ผมค่อยๆ อ่านผลงานแต่ละเล่ม อ่านทีละชิ้น  อย่างช้าๆ ลืมบ้าง อ่านใหม่บ้าง ท�ำบันทึก และคัดเลือกเรื่องสั้นต่างๆ ที่เป็น  เรื่องสั้นประเภทนอกเหมืองแร่  นับจากรวมเรื่องสั้นชุด ลุยทะเลคน (๒๕๐๓)  และลุยทะเลคน เล่ม ๑-๒ ฉบับพิมพ์เมื่อปี  ๒๕๐๙ โดยส�ำนักพิมพ์อาจินต์  ปัญจพรรค์  นอกจากนั้นยังมี  ลุยทะเลคน ฉบับพิมพ์ควบเป็นเล่มเดียว โดย  น�ำปกของส�ำนักพิมพ์อาจินต์มาพิมพ์  จัดพิมพ์รวมกันเป็นปกหน้ามาจาก  เล่ม ๑ ปกหลังมาจากเล่ม ๒ จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์มิตรนรา (ไม่ปรากฏ  วันเดือนปีพิมพ์) นอกจากนั้นยังตรวจสอบรวมเรื่องสั้นชุด “ไกลเตียง” รวม  เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่อีกเล่มหนึ่งซึ่งจัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์บรรณกิจ เมื่อปี  ๒๕๑๙ รวมเรื่องสั้นชุด “ไกลเตียง” เป็นรวมเรื่องสั้นที่คัดมาจาก “ลุยทะเล  คน” ทุกเรื่อง เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   21


ส�ำหรับเรื่องสั้นนอกเหมืองแร่บางเรื่องที่พิมพ์รวมพิมพ์จากเล่มอื่น  ประกอบด้วยเรื่องสั้นจาก เหมืองน�้ำหมึก (๒๕๐๘) ธุรกิจบนขาอ่อน (๒๕๐๘)  อาจินต์  โชว์  (๒๕๐๙) เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน (๒๕๐๙) รอบชีวิต (๒๕๑๐) เหมือง  มนุษย์  (๒๕๑๑) แร่นอกเหมือง (๒๕๑๑) แผ่นดินแร่  (๒๕๑๑) หมึกกระจาย  (๒๕๑๒) จากเหมืองแร่สู่เมืองหลวง (๒๕๑๔) ขุดเหมืองจากผู้หญิง (๒๕๑๕)  เจ้านกขมิ้นจากเหมืองแร่  (๒๕๑๖) วัยบริสุทธิ์  (๒๕๒๒) ราษฎรหางเครื่อง  (๒๕๒๓) วันดวลเหล้า (๒๕๔๕) และ เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก และ  รวมเรื่องสั้นอึดใจจบ (๒๕๕๒) นอกจากนั้นยังมีเรื่องสั้นที่ปรากฏอยู่ในรวม  เรื่องสั้น รักและแค้น อีก ๑ เล่ม  รวมเรื่องสั้นนอกเหมืองแร่  ยังน�ำเรื่องสั้นที่เพิ่งค้นพบจากนิตยสาร  ต่างๆ จากโฆษณาสาร, ฟ้าเมืองไทย, บีอาร์, โลกดารา, นิตยสาร WRITER,  ช่อการะเกด และศิลปวัฒนธรรม  หลังจากเขียนบทความพิเศษ “ตามรอยเหมืองแร่” ให้กับนิตยสาร  มติ ช นสุ ด สั ป ดาห์ ใ นปี   ๒๕๔๘  ผมลองเสนองานรวบรวมเรื่ อ งสั้ น ที่ ไ ม่ ใ ช่  เหมืองแร่ของอาจินต์  ปัญจพรรค์ให้กับทางส�ำนักพิมพ์  ซึ่งก็ได้รับค�ำตอบดี  จากคณะบรรณาธิการ และก็ด�ำเนินงานเรื่อยมาจนกระทั่งเป็นรูปเป็นร่างใน  ปลายปี  ๒๕๕๖  ในการเรียบเรียง รวมเรื่องสั้นนอกเหมืองแร่  เดิมผมตั้งใจจะเรียงตาม  ล�ำดับเวลา และเสนอให้พัฒนาการเขียนเรื่องสั้นของอาจินต์  ปัญจพรรค์  แต่เมื่อค้นหาเครดิตการตีพิมพ์ในแต่ละเรื่องมาลงท้ายรวมเรื่องสั้นทั้งหมด  ในเล่มแล้ว ผมจึงเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงน�ำเสนอเป็นบทๆ จัดเป็นกลุ่มเป็น  ก้อนเหมือนรวมงานของอาจินต์  ปัญจพรรค์  เคยจัดเรียงเป็นบทๆ มาแล้ว  ในหนังสือเล่มก่อนๆ ของอาจินต์  โดยเริ่มต้นจากบทแรกที่ว่าด้วยเรื่องสั้นที่ได้  รับการยกย่อง เรื่องสั้นเรื่องแรกที่สร้างชื่อเสียง เรื่องสั้นชั้นครู  และเรื่องสั้น  ชั้นเยี่ยม (เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก, สัญญาต่อหน้าเหล้า, พระ พระเจ้า  อยู่หัว พ่อ และลุง, กฎหมายไม่เคยเปลี่ยน, พ่อเป็นห่วง) บทต่อมาว่าด้วย  พฤติกรรมของคนแก่เก๋าโลก (ชัยชนะของลุงม้วน, ตาแย้มเล่นละคร, ตาจ้อย,  มือเก่าทั้งคู่, พระ) บทต่อมาเสนอเรื่องราวของภาวะมนุษย์  (สองพ่อหม้าย,  22


อหิวาต์, อยู่ในขวด, ชายใจบุญ, แมนรุ่นปู่, ที่ระลึกจากบางกอก, เลือดไอ้ทึ่ม,  กรีดเลือด, เรือจ้างชีวิต, วัฒนชน, เทกระเป๋า, ไปท�ำบุญ, เจ้าพ่อยังขลัง,  อนุสาวรีย์บนขวดเหล้า, ชาวนาในเมืองหลวง) ในบทต่อมาเสนอเรื่องราวของ  ผู้ชายและผู้หญิง (รอด--!, พระเอกไม่ต้องมา, สวัสดีบางกอก, ไปไม่รอด, ทีว ี ขึ้นสมอง) บทต่อมาเป็นเรื่องราวเป็นชุดของชายผู้ชื่อนายพิสดาร ซึ่งอาจินต์  น�ำมาจากบุคลิกของเพือ่ นนักเรียนวิศวะ ชือ่  วิตถาร (ความรักของนายพิสดาร,  วิธใี ช้เงิน ๑ ล้านบาทของนายพิสดาร, กฎหมายรัก, ความรักชาติอย่างพิสดาร,  ระเบียบพิสดาร, หัว, เรื่องเหลวไหล, ดูหนังอย่างพิสดาร, ข้าพเจ้าจ�ำนน)  จากนัน้ ก็เป็นบทเรือ่ งสัน้ ทีไ่ ด้รบั อิทธิพลจากภาพยนตร์  (เหยือ่ พิษของนายพราน,  ขบวนการต้มมนุษย์) ตามด้วยบทว่าด้วยเรือ่ งสั้นบรรยากาศเป็นสากล (มฤตยู  หยุดยิ้ม, ประดับไว้ในไทยแลนด์, เจ้าแม่ธรณี, อารมณิสต์) จากนั้นก็เป็น  บทเรื่องสั้นขนาดสั้น (ขี้ฝุ่น, เวรแห่งชีวิต, จรรยาช่าง, เงินอักเสบ, ดาบนั้น  คืนสนอง) และเรื่องราวที่กล่าวถึงพ่อ (น�้ำตาพ่อ, พ่อตัวอย่าง, พลิกต�ำรา  ไม่ทัน, มีเงินจะเล่าเรียน, อ�ำนาจเอกชน, บ้าหวย, กามเทพแก่เลี้ยว, แด่คุณ  ครูด้วยกรรมเก่า, ผู้หญิงชื่อแสนห่วง, ความก้าวหน้า) และบทที่กล่าวถึง  ผู้หญิงอันเป็นเรื่องราวที่หาอ่านยากในงานของอาจินต์  (สาวใช้ในเมืองหลวง,  ดาวโป๊เซ็นเซอร์ตวั เอง, ในสลัมมีนยิ าย, วีรสตรี, เบอร์ทไี่ ด้โบว์, จากผ้าซิน่ สูฮ่ อ้ ท  แพนท์, นกแขกเต้าตัวเมีย, ล�ำน�ำนางนอน, บนบ่าแม่ค้าขนมจีน, สวัสดี  ซิคเคนอล) เช่นเดียวกับบทของเหล้า (จดหมายร้องทุกข์, ค�ำให้การของคน  เมาค้าง, ในขวดเหล้ามีนิยาย) และบทของวัยเด็กและชีวิตยามสงครามโลก  สมัยอาจินต์เป็นวัยรุ่น (ฉันรักลุง, ความรักในท้องนา, ชนชั้นชนบท, คนปาก  หมา, คนบาปท�ำบุญ, หมากรุกกล, นางเอก พระเอก และแม่น�้ำ, โรงหมอ  โรงยา, ไอ้จุนหนีโรงเรียน, กรงนกของนักโทษ) จากนั้นก็เป็นบทของการเขียน  เรื่องในมุมมองของนักประพันธ์  (แผ่นดินและเรื่องราวที่รอคนเขียนนวนิยาย,  คุณอยู่ไหนเมื่อไฟดับ, อุดมการณ์ของคนเป่าแคน, ความรักกับความใคร่,  ชื่อเรื่องส�ำคัญกว่าการหักมุม) แล้วก็เรื่องสั้นขนาดยาวอันเป็นเรื่องสั้นที่ใคร  ต่อใครอ่านแล้วชื่นชม (วันดวลเหล้า) และส่งท้ายด้วยบทเรื่องสั้นสมัยแรก  เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   23


ตั้งแต่ปี  ๒๔๙๓ จนถึงเรื่องสั้นที่อาจินต์เรียกว่าเรื่องสั้นวัฒนธรรมที่เขียนใน  ช่วงปี  ๒๕๑๙-๒๕๓๗ (เหนือรัก, ผู้หญิงสุบบุหรี่, ศิลปินคลั่ง, พญาครุฑ) ผมหวังว่าการจัดเรียงเรื่องราวเป็นกลุ่มเป็นก้อนในแบบของผม จะ  ท�ำให้ผู้อ่านเห็นภาพ ทะเลคน อันหนาแน่นของมวลมนุษย์ในรวมเรื่องสั้น  นอกเหมืองแร่ครั้งนี้ได้อย่างที่ตั้งใจ และชวนให้ผู้อ่านร่วม “ลุยทะเลคน”  ตามความตั้งใจของอาจินต์  ปัญจพรรค์  จากการสั่งสมประสบการณ์ในช่วง  ชี วิ ต ต่ า งๆ  ความคิ ด ที่ ค ้ น และเค้ น ออกมาจากความจริ ง และความทรงจ�ำ  รวมกั น   และจิ น ตนาการของตนที่ เ กิ ด จากการขยายภาพชี วิ ต อั น แจ่ ม ชั ด  ของผู้คนในสภาวะต่างๆ กัน และกลายเป็นนักประพันธ์เอกตามเส้นทาง  เดินเหมือนนักเขียนคนส�ำคัญอย่าง ศรีบูรพา, อิศรา อมันตกุล, หรือ เสนีย์  เสาวพงศ์  ผมเชื่ อ ว่ า   ยั ง มี เ รื่ อ งสั้ น ที่ ยั ง อยู ่ น อกเหมื อ งอี ก จ�ำนวนหนึ่ ง ซึ่ ง หลงหู  หลงตาผม และก็เป็นหน้าที่ของผมในโอกาสหน้าที่จะต้องค้นหากันต่อไป  ในอนาคต  จนกว่ า จะครบทุ ก เรื่ อ งเพื่ อ ความสมบู ร ณ์   และหากว่ า มี ข ้ อ  บกพร่ อ ง  ข้ อ ผิ ด พลาด  ผมขอรั บ ผิ ด ชอบและขอรั บ แก้ ไ ขแต่ เ พี ย งผู ้ เ ดี ย ว  หากมีความดีและความชื่นชมตามมา ผมขอให้เป็นของอาจินต์  ปัญจพรรค์  แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ท้ า ยสุ ด   ผมขอกราบขอบพระคุ ณ   อาจิ น ต์   ปั ญ จพรรค์ ,   แน่ ง น้ อ ย  ปั ญ จพรรค์   และขอขอบคุ ณ   แดนอรั ญ   แสงทอง,  เวี ย ง  วชิ ร ะ  บั ว สนธ์ ,  ธนิต สุขเกษม, จารุณี  ธรรมยู, ณัฐพล สมชาติ, พงษ์ธร วราศัย และกอง  บรรณาธิ ก ารส�ำนั ก พิ ม พ์ ม ติ ช นทุ ก ท่ า น  ในการสนั บ สนุ น ให้ ร วมเรื่ อ งสั้ น  นอกเหมื อ งแร่ จั ด พิ ม พ์ เ ป็ น ความจริ ง ออกมา  สุ ด ท้ า ยขอขอบคุ ณ ทุ ก ท่ า น  ที่อ่านเรื่องสั้นนอกเหมืองแร่ของอาจินต์  ปัญจพรรค์  ทุกคน ขอให้มีความสุข  ในการลุยทะเลคนนอกเหมืองในครั้งนี้นะครับ ขอบคุณครับ 24

วีระยศ  ส�ำราญสุขทิวาเวทย์ ๑๐ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๗ ๐๗:๔๐ น.


ค�ำนิยม

“ถ้าอาจินต์  ปัญจพรรค์  หาเค้าเรื่องดีๆ เขียนออกเป็นนวนิยายยาวๆ  สักเรือ่ ง ก็แน่ใจว่าวงการหนังสือไทยจะได้บนั เทิงคดีทจี่ ะอวดกับประเทศอืน่ ได้” เปลื้อง ณ นคร “ตลอดเวลา ๕ ปีเศษที่อาจินต์กับข้าพเจ้าได้ร่วมงานกันมาในไทยทีว ี ช่อง ๔ ข้าพเจ้ารู้แต่ว่าเขาเป็นคนช่างคิดช่างเขียน ไม่เคยอยู่ว่าง” จ�ำนง รังสิกุล “ผมมั่นใจว่า ‘ลุยทะเลคน’ ของคุณอาจินต์  ปัญจพรรค์  นักเขียนหนุ่ม  ที่ผมนับถือในลีลาการด�ำเนินเรื่องซึ่งมีแนวเป็นของตนเองไม่ซ�้ำแบบใคร คง  ให้ความสุขแก่นักอ่านหนังสือในชุมนุมนวนิยายของเขาเล่มนี้ได้  ไม่น้อยหน้า  หนังสือเล่มใดซึ่งตีพิมพ์ออกสู่ตลาดในรอบปีนี้เป็นแน่” ประยูร จรรยาวงษ์ “ในบรรดาเพื่อนของผม คุณอาจินต์  ปัญจพรรค์  อยู่ในอันดับหลัง  เพราะอาวุโส แต่ในบรรดางานประพันธ์ที่ผมชอบ คุณอาจินต์  ปัญจพรรค์  อยู่ในอันดับหน้าคนหนึ่ง” สันตสิริ เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   25


“ถ้าบังเอิญข้าพเจ้าเป็นคนใหญ่คนโตในวงการภาษาและหนังสือของ  เมืองไทยกับเขาสักหน่อย ข้าพเจ้าเห็นจะต้องว่าเป็นเคราะห์ดีของวงการ  ประพันธ์ที่ได้อาจินต์  ปัญจพรรค์เข้ามาร่วมวงด้วยอีกคนหนึ่ง แต่นี่ข้าพเจ้า  เป็นแต่เพียงข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงว่าเป็นโชคดีของท่านผูอ้ า่ นทีอ่ าจินต์  ปัญจพรรค์  เข้ามาแต่งหนังสือขายกับพวกเราด้วยอีกคนหนึ่ง” ประหยัด ศ. นาคะนาท “เรื่องที่อาจินต์  ปัญจพรรค์เขียน ไม่เพียงแต่สนุก มีเสน่ห์น่าติดใจ  เท่านัน้  ยังชวนให้ฉกุ นึกขึน้ มาถึงเพือ่ นมนุษย์ทหี่ มกอยูต่ ามทีไ่ กลๆ อีกมากมาย  นัก...ท�ำให้ฟุ้งซ่านดีพิลึก” อุษณา เพลิงธรรม “คุณอาจินต์คนนี้  ถึงสมมุติว่าจะท�ำอะไรไม่เป็นเลยนอกจากเขียน  หนังสือ ก็ยังไม่เสียทีที่เกิดมา แล้วนี่แกท�ำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง ท�ำเก่งเสีย  ด้วย” สรรพสิริ วิริยศิริ “อาจินต์ใช้พลังความใหม่สดสร้างประโยคที่ทรงศิลป์ทางการประพันธ์  อยูเ่ นือ่ งๆ เขามีค�ำคมซึง่ ต่อไปจะกลายเป็นสุภาษิตของชาติอย่างไม่ตอ้ งสงสัย” เจือ สตะเวทิน “อาจินต์เขียนหนังสือจากตาและสมองจริงๆ ใช้มือช่วยเพียงนิดเดียว” นายหนหวย “ข้าพเจ้ารู้จักตัวหนังสือของอาจินต์ก่อนที่จะรู้จักอาจินต์  ทุกเรื่องที่เขา  เขียนไม่เคยซ�้ำใคร ไม่ว่าจะด้วยส�ำนวนโวหารหรือเค้าโครงเรื่อง ข้าพเจ้านิยม  เขาเพราะเหตุนี้” นพพร บุณยฤทธิ์ 26


“หนังสือของอาจินต์  ปัญจพรรค์เหมาะส�ำหรับคนอ่านทุกคน โดยเฉพาะ  อย่างยิ่งเหมาะส�ำหรับคนผิดหวัง เขาเป็นคนหนึ่งในจ�ำนวนคนผิดหวังของโลก  ทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ สังคม เพราะเขาเอาความผิดหวังนัน้ มาเปลีย่ นเป็นพลังงาน  สร้างความส�ำเร็จขึ้นมาได้” รัตนะ ยาวะประภาษ “หนังสือของอาจินต์  ถ้าอ่านตอนเช้าอร่อยกว่ากาแฟด�ำผสมเหล้า” ’รงค์ วงษ์สวรรค์ “พูดถึงนักเขียนแล้วผมรู้สึกว่าผมยังชอบใจคุณอาจินต์  ปัญจพรรค์  เพราะเหตุว่าคุณอาจินต์เขียนหนังสือง่าย ต่างจากนักเขียนหลายคน รวมทั้ง  ตัวผมเองตรงทีว่ า่ เขียนแล้วไม่ตอ้ งบรรยายชักแม่นำ�้ ทัง้ ห้า อ่านแล้วเข้าใจทันที  แล้วพล็อตของคุณอาจินต์ก็เป็นพล็อตที่คนธรรมดาเข้าถึงง่าย ไม่จ�ำเป็นต้อง  ไปศึกษาหาความรู้  คือเรียกง่ายๆ เป็นนักเขียนของสามัญชนยึดถือเป็นครูได้  ในเรื่องของภาษา เพราะใช้ภาษากะทัดรัด อ่านแล้วไม่ต้องไปเปิดดิกชันนารี” พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร “พ่อเป็นครูคนที่หนึ่ง พี่อาจินต์เป็นครูคนที่สองในทางวรรณกรรม” ค�ำพูน บุญทวี “นักเขียนรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นมาทุกวันนี้  ก็มีพื้นฐานมาจากนักเขียนรุ่นพ่อ  รุ่นพี่  เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางที่มีมาช้านาน, ยังด�ำรงอยู่  และจะคงอยู่ต่อไป  ในบทบาทใหม่ๆ ทีเ่ พิม่ ขึน้  แปลกขึน้  พีอ่ าจินต์เป็นหนึง่ ในจ�ำนวนนี ้ และเป็นทัง้   ในฐานะของบรรณาธิการที่ผมเคารพรักด้วย บรรณาธิการในบ้านเราที่ไม่เห็น  นักเขียนเป็น ‘ของประดับ’ มีอยู่ไม่กี่คนนักหรอก คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง, คุณ  สุวรรณี  สุคนธา และพี่อาจินต์  รวมอยู่ในบุคลเหล่านี้” สุชาติ สวัสดิ์ศรี เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   27


“คนอย่างพี่อาจินต์นี่  เท่าที่ผมรู้จักได้อย่างหนึ่งคือแกได้ชื่อว่าเป็น  บ.ก.หนังสือที่หินมากเลย เป็น บ.ก.ที่สร้างนักเขียนให้เกิดขึ้นมากที่สุดเลย” สุรชัย จันทิมาธร “ผมอ่าน ‘วันดวลเหล้า’ ตั้งแต่ครั้งลงใน ‘ไฮคลาส’ ผมชอบบรรยา  กาศและวิ ธี ก ารเล่ า เรื่ อ งมาก  ยั ง จ�ำได้ ม าถึ ง ทุ ก วั น นี้   ครั้ น มาอ่ า นอี ก ตอน  รวมเล่ ม  ความชอบของผมก็ ยั ง ไม่ เ ปลี่ ย นแปลง ขอบคุ ณ พี่ อี ก ครั้ ง ที่ เ ขี ย น  เรื่องดีๆ ออกมาให้ผู้อ่าน ‘อิ่มใจ’” ชาติ กอบจิตติ  “อาจินต์  ปัญจพรรค์  เท่ากับบันลือสีหนาถ เท่ากับเสียงค�ำรามของ  ราชสีห์” แดนอรัญ แสงทอง

28



วางรูปถ่าย เต็ม ๒

30


ย ลุงอาจินต์ ๒ หน้า

เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   31



เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก

กะลาสีผลักเรือบดลงน�้ำแล้วกระโจนตามลงไป ก็พอดีคลื่นมหึมาก้อน  หนึ่งฟาดโครมลงบนเรือใหญ่และฮุบมันหายไปกับตา ลูกทะเลเกร็งข้อ จับขอบเรือของเขาไว้มนั่ คงขณะทีม่ นั ถูกโยนและโคลง ราวกับชิ้นไม้เล็กๆ บนผิวน�้ำ  เมื่อเขาลืมตาขึ้นก็เห็นในเดี๋ยวนั้นเองว่า มีคนอีก คนหนึ่งซุกตัวเป็นก้อนกลมอยู่หัวเรือบดล�ำเล็กๆ ของเขานี้ “คงเป็นคนโดยสารคนหนึ่ง” เขาคิดท�ำนาย เพราะต้องหลับตาและหด คอลงไปในไหล่เพื่อหลบความบ้าคลั่งของคลื่น “หมายความว่าเราจะต้องมี เพื่อนรอดตายอีกคนหนึ่ง แต่...” เขาคิดถึงขนมปังสองแถวและกระติกน�้ำจืดใบเล็กๆ ที่เขาคว้าติดมือ ก่อนโดดลงจากเรือใหญ่  ด้วยความรอบคอบ มันจะต้องถูกเฉลี่ยส�ำหรับสอง ปาก แทนที่จะเป็นของเขาแต่ผู้เดียว ในระหว่างการเดินทางโดยแขวนชีวิตไว้ กับโชคชะตานี้  มันไม่แน่เลยว่า เรือน้อยล�ำนี้จะกระเถิบเข้าใกล้ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ได้  หรือว่าจะกลับเท้งเต้งไกลแผ่นดินออกไปทุกที  การเดินทางตามยะถากรรม หมายถึงเวลาอันเนิ่นนาน และเวลาอันเนิ่นนานหมายถึงจ�ำนวนอาหาร ซึ่ง บัดนี้ก�ำลังจะต้องถูกเฉลี่ย เพราะมันมีกระเพาะของคนอยู่สองคน คนสองคนต่อขนมปังสองแถว กระติกน�้ำจืดพร่องๆ ใบเล็ก ลูกทะเล ร่างยักษ์คิดไป คล�ำดูมันอย่างอุ่นใจระคนเสียดาย เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   33


เรือบดล�ำเล็กกระจิดหริด ถูกฟัดเหวี่ยงด้วยความดีเดือดของทะเล อยู่ต่อไปอย่างน่าใจหายใจคว�่ำ  ชั่วโมงอันหวาดเสียวซึ่งยาวนานด้วยความ ประหวั่นใจ และเสียงสวดมนต์อยู่ในล�ำคอลากข้ามผ่านไปอย่างล�ำบากล�ำบน แล้วฟ้าก็โปร่งขึ้นจนแดดจ้า ผิวน�้ำเหนื่อยแรงและสงบลง การหยุดบ้าของ ทะเลพ่วงเอาความปลอดภัยเข้ามาด้วย  แม้วา่ มันจะไม่เชิงปลอดภัยนักส�ำหรับ เรือเล็กอย่างนี้กลางน�้ำเขียวที่มองไม่พบฝั่ง แต่มันก็พอจะท�ำให้คนทั้งสองนั้น เริ่มปราศรัยต่อกัน “แทบตาย” คนที่หัวเรือยิ้มผูกมิตรมา ขณะที่เขายกท่อนแขนขึ้นฟาด ความเปียกของน�้ำซึ่งเกาะอยู่เต็มหน้า กะลาสีมองเห็นสายทองค�ำของนาฬิกา ข้อมือ มองเห็นประกายจากหัวแหวนวูบวาบล้อแสงแดดอันเจิดจ้า ซึ่งแผด จากอาทิตย์ที่เยี่ยมหน้ามาในฟ้าโปร่ง “ตั้งแต่เกิดมาก็เพิ่งโดนนี่แหละ เคราะห์ ดีเหลือเกินที่โดดลงมาด้วยกับพี่ชายทันการณ์  ไม่งั้น...” “พี่ชาย” หนอยแน่  กะลาสีทวนค�ำในล�ำคออย่างแค้น ขณะหนึ่งเมื่ออยู่ บนเรือใหญ่  เขาถูกเรียกว่าไอ้  แต่ขณะนี้ในเรือเล็กซึ่งเขาเป็นผู้ควบคุม ท่าน เศรษฐีเรียกเขาว่าพี่ชาย  เขาไม่พูดอะไรด้วย มีแต่ความรู้สึกหมั่นไส้  เขากัด กรามทอดสายตาไปจับระดับน�้ำซึ่งขังอยู่เกือบครึ่งล�ำเรือ แล้วก็ช�ำเลืองไปดู ปลายรองเท้าหนังอย่างดีของเพื่อนเดินทางจ�ำเป็นที่ไม่จ�ำเป็น ซึ่งโผล่หัวขึ้น มาจากระดับน�้ำในล�ำเรือ ในที่สุดก็ถอนใจฮึด แล้วก้มหน้าก้มตาวิดน�้ำทิ้ง ด้วยมือเทอะทะของเขา “แย่” ท่านเศรษฐีผู้นั้นช่างพูดต่อไป “นี่เราจะเข้าฝั่งกันได้ยังไง เจ้า ประคู้ณ ขอให้มีเรืออะไรผ่านมาพบเข้าทีเถอะน่า แดดก็ร้อนขึ้นทุกที  เรา...” “หยุดทีเถอะ” กะลาสีตวาด “ช่วยกันวิดน�้ำเรือดีกว่านั่งพูดให้เรือกระ เทือน” ท่านเศรษฐีเงียบกริบ พยายามใช้มืออันบอบบางของเขากอบน�้ำตาม อย่างกะลาสีอย่างเก้งก้างและไม่ค่อยได้ผล “รองเท้ายังไงล่ะเอามาวิดน�้ำซี” ไม่มีใครปริปากพูดกันอีก จนกระทั่งน�้ำหมดไปจากเรือ และด้วยแดด อันร้อนแรงท้องเรือก็ค่อยๆ หมาดและแห้ง  ท่านเศรษฐีถอดเสื้อออกมาคลุม 34


หัวเพราะร้อนแดด ในขณะเดียวกันกะลาสีกถ็ อดเสือ้ ยืดงัดเอาขนมปังสองแถว ขึ้นมาจากอกเสื้อวางผึ่งให้หมดความชื้น นั่นมันเป็นภาพที่ยั่วยวนความหิว ระโหยของอีกคนหนึ่ง ซึ่งเบิ่งตามองออกมาจากผ้าคลุมหัวอย่างสุดประมาณ กะลาสีปลดกระติกน�้ำที่สะพายบ่าขึ้นจิบ แล้วส่งไปให้เพื่อนร่วมมืออัน คับแคบ อีกฝ่ายหนึ่งยื่นมืออันสั่นเทาออกมารับอย่างตะกละตะกลาม “กินน้อยๆ เพียงแต่ทาลิ้นเอาไว้ก็พอ” กะลาสีเตือน “เราอาจจะไม่ได้ กินอีกเลยจนตาย” ท่านเศรษฐีกลั้วคออันแห้งผากด้วยน�้ำจืดแล้วก็สดชื่นขึ้น  เขาปิดฝา กระติกอย่างระมัดระวัง แล้วยงโย่ยงหยกจะคืนส่งเจ้าของจนเรือเอียงวูบ “โธ่” กะลาสีค�ำราม “เรือเล็กออกอย่างนี้ยังท�ำอย่างกับอยู่บนบ้าน เก็บ ไว้เถอะผมไม่หวงหรอก แล้วก็อย่ายืดแข้งยืดขาบ่อยนัก ถ้าอยากเอาสบาย กันละก็โดดลงไปในน�้ำนั่นน่ะ มันกว้างขวางดีนัก” อีกฝ่ายหนึ่งรับค�ำประชดประชันและขู่ตะคอกโดยดุษณี  เขาสงบนิ่งอยู่ ช้านาน ในสมองมีความคิดสะระตะ เขาคิดถึงกิจการค้าที่ค้างเติ่ง คิดถึงบ้าน และเมีย คิดถึงสวัสดิภาพในขณะนี้  และแล้วก็คิดถึงอาหาร  สักประเดี๋ยว กระเพาะก็เริ่มแผลงฤทธิ์  ความหิวดิ้นเร่าๆ ฟาดตัวอยู่อย่างไม่ละลด เขามอง ไปทีข่ นมปังสองแถวสีเหลืองอร่ามทีก่ ะลาสีพลิกเหลีย่ มให้ถกู แดดทัว่ กันทุกด้าน แล้วก็รู้สึกว่าต่อมน�้ำลายข้างกระพุ้งแก้มกรูเกรียวไปด้วยความเปรี้ยว “ถ้าเราจะขอขนมปังเขาสักปอนด์หนึ่ง หรือสักครึ่งหนึ่ง” ท่านเศรษฐี คิดด้วยความรู้สึกที่หมดอาย “ฮึ  ที่ถูกเราต้องซื้อเขา...ต้องซื้อเขา แพงเท่าไหร่ ช่างมัน...” พูดถึงซื้อก็นึกถึงเงิน เขาตาลีตาลานควักกระเป๋า แล้วดึงเอาซอง หนังใบเขื่องออกมาได้  มันชื้นและมีน�้ำซึมเข้าไปบ้าง เจ้าของจึงงัดเอาใบละ ร้อยใหม่เอี่ยม หลายต่อหลายใบ คลี่ออกจนสีแดงบาดตาของมันวูบวาบไป เข้าตาของกะลาสี  ธนบัตรเหล่านั้นเปียกน�้ำตามริมๆ ตากแดดเสียพักเดียวก็ คงแห้ง ท่านก็จะได้เห็นภาพนั้น... มันเป็นโลกใหม่อกี โลกหนึง่  มีชวี ติ เพียงสองดวง ลอยเท้งเต้งอยูต่ อ่ หน้า เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   35


ดวงอาทิตย์  ประจันหน้ากันอยู่กลางทะเล ซึ่งบัดนี้ราบเรียบเป็นแผ่นแก้วไกล สุดตา ไกลจนกล่าวได้ว่า มีชีวิตอยู่เพียงสองดวงนี้เท่านั้น คนหนึ่งผิวด�ำคล�้ำแดด ร่างกายก�ำย�ำเพราะเป็นกะลาสีเรือ ตลอดชีวิต ของเขามีแต่กลิ่นเหล้า คาวทะเล และงานๆๆ ซึ่งหนักอึ้งจนกล้ามเนื้อทุกอณู พองขึ้นมาต้อนรับความตรากตร�ำเหล่านั้น อีกคนหนึ่งผิวขาวเพราะเคยอยู่แต่ในชายคาตึกและประทุนรถเก๋ง ข้อ มือเล็กแต่มากด้วยเนื้อเพราะบริบูรณ์อาหารการกิน มีนาฬิกาและแหวนราคา แพงเท่าค่าอาหารของคนจนเป็นปีๆ แต่ทนี่  ี่ โลกใหม่แห่งนี ้ มีชวี ติ สองชีวติ  นอกจากนัน้ ยังมีสงิ่ หนึง่ ย่างกราย เข้ามาแล้ว...ความหิว! ต่อหน้ากะลาสีที่สมบัติของเขาคือขนมปังสองแถว และต่อหน้าเศรษฐี มีธนบัตร ขณะนี้ต่างคนต่างน�ำมันออกมาตากแดด ดูท่าทางราวกับนักการ พนันสองคนที่ก�ำลังคุมเชิงกันอยู่ ท่านเศรษฐีคิดต่อไปว่า “ถ้าเราจะขอซื้อ เขาก็ต้องขึ้นราคาสูงๆ แต่ถ้า เราขอเฉยๆ เขาจะเพียงพูดถึงราคา  เอาละเราต้องเริ่มต้นด้วยการขอ” คิดแล้ว ด้วยเสียงแหบๆ แต่เต็มไปด้วยชั้นเชิงของตัวเลข ท่านเศรษฐี จึงพูดว่า “พี่ชาย...ขอฉันสักหน่อยหนึ่งเถอะ  ฉันหิวจะเป็นลมอยู่แล้ว” “ขอ” กะลาสีหัวเราะก้องฟ้าอย่างขบขันเสียเต็มประดา  “นี่แน่ะคุณ เดีย๋ วก่อนเถอะพูดถึงเรื่องขอท�ำให้ผมเพิง่ นึกได้ว่าคุณยังไม่คืนกระติกน�้ำให้ผม เลย” “อ้าว ไหนบอกว่าให้ฉันเก็บไว้  ว่าไม่หวง” “ฮะฮ้า” กะลาสีเค้นหัวเราะอย่างสะใจ “ผมคิดว่าคุณจะเป็นผู้ดีพอจะ หยั่งในมรรยาทไพร่ที่ผมฝืนปฏิบัติเสียอีก ที่แท้ก็เปล่า  เศรษฐีเข้าไม่ถึงจิตใจ ของไพร่...นี่หมายความว่าอย่างไรกัน การเป็นเศรษฐีสอนให้คุณดื่มน�้ำของ ผมได้หน้าตาเฉย ครั้นเมื่อผมพูดว่าให้เก็บไว้ก่อน คุณก็กลับตีขลุมเอาเสียเลย นี่คือความหมายของเศรษฐี  และนี่คือวิธีท�ำตัวให้กลายเป็นเศรษฐี  รวมทุก อย่าง เก็บทุกอย่างที่มีโอกาสจะท�ำได้  ใช่ไหมล่ะ” 36


เป็นการด่าอย่างเจ็บแสบที่สุด ถูกต้องตรงจุดสุดที่แม้จะหยาบคายเย้ย หยัน แต่ท่านเศรษฐีก็ต้องหัวเราะเก้อๆ และส่งกระติกน�้ำคืนเจ้าของไป “ในเรือล�ำนี้ไม่ควรมีการซื้อขาย” กะลาสีพูดต่อไปอย่างใจป�้ำ  “มันควร แต่จะมีมิตรจิตมิตรใจ มันควรจะมีแต่การเห็นอกเห็นใจและการแบ่งปัน  แต่ ว่า...ที่ใดมีเศรษฐีกับคนจนรวมกัน ที่นั่นต้องมีการสูบเลือดและอาฆาต ผม ให้คุณไม่ได้แม้แต่กลิ่นของมัน ผมจะต้องขาย” “ตกลง” ท่านเศรษฐีรับค�ำเอาง่ายๆ “พี่ชายขาย--ฉันซื้อ” กะลาสียกมือขึน้ ท�ำท่าราวกับจะสวดอ้อนวอนเทวดา พูดเสียงแจ่มใสว่า “ฟังนะ ผมจะตั้งราคา ผมจะขายขนมปังส่วนหนึ่งให้คุณ โดยตั้งราคา ว่าต้องแลกกันด้วยสมบัติทุกๆ ชิ้นที่มีอยู่ในตัวคุณ เงิน, เสื้อ, นาฬิกา, แหวน เอาทั้งหมด กระทั่งผ้าเช็ดหน้า บุหรี่  ไม้ขีด เข้าใจหรือยัง” เขาหัวเราะเหมือน คนบ้า “ทุกๆ ชิ้นในตัวคุณเอามา เอามากองตรงนี้แล้วเอาขนมปังไปครึ่งหนึ่ง” ท่านเศรษฐีเงียบกริบ ด้วยความครุ่นคิดและตกลงใจ ขณะเดียวกัน ความหิวโอดครวญอยู่ในกระเพาะรุนแรงขึ้น  เขานับธนบัตรที่มีอยู่อย่างเสีย ดายและลังเล กลับนึกเกลียดเจ้าสมบัติเหล่านี้เสียแล้ว เกลียดเพราะมันเป็น สิ่งที่ประกาศความพ่ายแพ้และเสียเปรียบของเขา “บนบก” กะลาสีพูดขึ้นลอยๆ “ในเมือง ขนมปังสองแถวนี้มีราคาเพียง สองบาท แต่ทว่าในเมืองเป็นถิ่นที่เศรษฐีเดินบนหัวคนจน เปล่านะ! ไม่ใช่เดิน เฉยๆ เดินไปพลางถือปฏักทิ่มหลังสูบเลือดไปพลาง  เดี๋ยวนี้เป็นโอกาสของ คนจนบ้างละ ขนมปังกับน�้ำจืดนี่แหละ จะท�ำให้ผมตั้งเนื้อตั้งตัวได้เสียที  ถึง ฝั่งเมื่อไหร่ก็สบายเมื่อนั้น คุณก็เป็นนักตักตวงโอกาสอยู่แล้ว คงเห็นใจที่ผม ตั้งราคาเกินธรรมดา” “เงินเกือบหมื่น นาฬิกา แหวน แล้วอะไรๆ แลกกับขนมปังสองแถว แค่นั้น” “ใครบอกสองแถวล่ะ ผมให้คุณแถวเดียวเท่านั้น คุณน่ะโชคดีที่มีของ ติดตัวมาน้อย ไม่งั้นอาจจะช�้ำใจมากกว่านี้  ผมแบ่งขายแถวเดียวเท่านั้นจะ ซื้อหรือไม่ซื้อก็ตามใจ ส่วนอีกแถวหนึ่ง ผมต้องกินมันเสียเดี๋ยวนี้ละ” เขาจบค�ำพูดด้วยการเคี้ยวขนมปังอย่างช้าๆ ยั่วตาอีกฝ่ายหนึ่ง เคี้ยว เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   37


พลางกลั้วคอด้วยน�้ำจืดไปพลาง ท่านเศรษฐีก็สุดที่จะทนต่อไป “มา! ส่งขนมปังมา แล้วก็เอาไอ้สมบัติบ้าๆ ทุกอย่างของฉันไป เอาไป ฉันทนดูแกกินไม่ไหวแล้ว” ขนมปัง ๑ แถว มีราคาเกือบหมื่น รวมทั้งนาฬิกาเรือนทองสายทอง แหวนเพชร กล่องบุหรี่นาก ท้ายที่สุด ผ้าคลุมหัว ซึ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับ ดินฟ้าอากาศที่ร้อนปานไฟ วันแห่งความอาฆาตนั้นจบลงด้วยราตรี  เศรษฐีบรรจุกระเพาะของเขา แล้ว กะลาสีก็ได้บรรจุกระเป๋าของเขา มันก็ยุติธรรมดี คืนนัน้ มีสายลมเย็นยะเยือกตลอดเวลา กะลาสีกอดเงินและสมบัตใิ หม่ๆ ของเขาหลับอย่างเป็นสุข มีเสื้อตัวหนาคลุมกายอีกชั้นหนึ่ง เขาคาดนาฬิกา อย่างเห่อนอนฟังเสียงเต้นติ๊กๆ ของมันหลับไป ในความฝันอันเกรียวกราว ด้วยเสียงคลี่ธนบัตร ส่วนท่านเศรษฐีกอดอกตัวเองเพราะความหนาวเย็นของ ลมและน�้ำค้าง ไม่ได้หลับลงเลย กระทั่งเช้า เรือบดล�ำน้อยก็คงเคว้งคว้างอยู่บริเวณที่เดิม กะลาสีตื่นขึ้น ด้วยแสงแดดที่แทงนัยน์ตา ก่อนอื่นก็รีบคล�ำดูสมบัติต่างๆ เมื่อรู้ว่ามันอยู่ครบ บริบูรณ์แล้วจึงมองไปทางหัวเรือ ยิ้มให้อีกฝ่ายหนึ่งที่ลืมตาโพลงอยู่ “คิดว่าตายเสียแล้ว แต่ไม่ยักตาย” กะลาสีโปรยค�ำเสียดแทงใจแต่เช้า “พวกเศรษฐีนี่ทนชะมัดญาติแฮะ หรือว่าเสียดายสมบัติจนไม่เป็นอันหลับอัน นอน” “นอนกะผีอะไรกับเสื้อยืดตัวเดียว มันหนาวยังกับอะไรดี  ลมก็แรง” “ผมไม่ยักหนาว อุ่นอก อุ่นกระเป๋า อ้อ คุณว่าลมแรงรึ  ดีจริงลมแรง เท่าไหร่  เราก็ได้เข้าฝั่งเร็วเท่านั้น  จะบอกให้  เรือใหญ่ของเราน่ะ แล่นทวนลม ออกจากฝั่ง เพราะอย่างนั้นยิ่งลมพัดแรง เรือบดของเราก็จะยิ่งกลับคืนเข้าฝั่ง เรื่อยๆ เมื่อถึงฝั่งผมก็สบาย” “ฉันไม่อยากให้ถึงฝั่งเสียแล้วละซี” “แน่ละซีคุณ คุณกลัวใครๆ จะเห็นความถังแตกของคุณใช่ไหมล่ะ” “เปล่าเลย” 38


“ท�ำไมจะเปล่า คุณอิจฉาผมใช่ไหมล่ะที่ผมจะได้ตั้งตัวจากสมบัติของ คุณ โธ่! ไม่น่าจะอิจฉาผมเลย เงินเท่านี้คุณหมดตัวเลยเชียวรึ” “ไม่ใช่  ไม่ใช่เรื่องเงินเรื่องทองหรอก แต่ฉันไม่อยากให้เรือถึงฝั่งก่อนที่ เราคนใดคนหนึ่งจะเกิดความหิวอย่างไส้แทบขาดอีกครั้งหนึ่ง” “คุณไม่น่าจะอาฆาตผมเลย ท�ำไมคุณอยากให้เราหิวตายเสียกลาง ทะเลนี่รึ  อย่ากลัวเลย ขนมปังแถวหนึ่งที่เป็นส่วนของผม ที่ผมกินเข้าไปจะ ต้องถ่วงเวลาน�้ำย่อยได้นานเชียวน่า เชื่อผมเถอะ  อย่างมากก็เที่ยงๆ นี่แหละ เราจะได้เห็นฝั่ง” กะลาสียกนาฬิกาข้อมือขึ้นดูอย่างจะแหย่ให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียดาย เขา พูดชมเชยความงามของมันอยู่คนเดียว “อีกไม่กี่ชั่วโมงก็จะถึงฝั่งเราจะขึ้นบก แล้วก็...ฮา เงินเกือบหมื่นนี่ก็จะได้ส�ำแดงคุณค่าของมันว่าจะมีแค่ไหน” “มันอาจจะมีราคาเท่ากับขนมปังค�ำเดียว” เสียงกัดกรามมาจากหัวเรือ “ผมหมายถึงบนบกนะ” “อ๋อ! ถ้าบนบกก็แล้วไป แต่ถ้าเราไม่มีวันจะขึ้นบกล่ะ” “ถึงงั้นความปลื้มของผม ความเห่อเงินของผมก็คงจะต่อชีวิตได้ไปอีก นาน คุณซีเป็นฝ่ายเสียดายจะตายเร็วเข้า เพราะคนเรายิง่ กลุม้ มันก็ยงิ่ หิวจัด...” “สมมุติว่าเราต่างคนต่างหิวกันอีกครั้งหนึ่ง” ท่านเศรษฐีพูดขึ้นลอยๆ “อ๋อ! ผมคงหิวทีหลังคุณ เพราะผมอดทนกว่าคุณ” ท่านเศรษฐีเงียบไป ไม่ใช่เงียบเพราะแพ้คารม หากแต่ดูเหมือนเขามี ความมั่นใจอะไรสิ่งหนึ่ง มันเป็นการเงียบที่อัดเอาไว้รอการระเบิดหัวเราะให้ คุ้มในภายหลัง สาย...แล้วก็เที่ยง...จนตะวันตรงศีรษะเริ่มแผดเผาคนทั้งสอง แล้วก็ คล้อยไปเมือ่ เวลาบ่าย และแล้วก็เย็น ยังไม่มวี แี่ ววของชายฝัง่ ปรากฏในสายตา “มันยังอีกไกลเหลือเกิน” กะลาสีเริ่มวิตกเมื่อรู้สึกว่าตัวเริ่มหิว “แม้แต่ นกนางนวลก็ยังบินมาไม่ถึง” ความหิวเริ่มบุกรุกเข้ามาในกระเพาะกะลาสีบ้างแล้ว ความมีร่างยักษ์ หมายถึงกระเพาะยักษ์  และกระเพาะยักษ์ก็หมายถึงปริมาณอาหาร คนที่หัวเรือแสยะยิ้มด้วยใบหน้าที่เกรียมด้วยแดด “ฉันยังมองไม่เห็น เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   39


ฝั่งเลยแฮะ ว่าไงนายกัปตัน ดูนาฬิกาซิว่ากี่โมงเข้าไปแล้ว” “เถอะน่า” กะลาสีเอาใจตัวเองเมือ่ มองดูนาฬิกา “เพิง่ ห้าโมงเย็นเท่านัน้ ” “ห้าโมงเย็นเรอะ” เศรษฐีพูดเรื่อยๆ แล้วล้วงมือไปข้างหน้า ควานหา อะไรอยู่สักพัก แล้วก็พูดต่อไปว่า “ห้าโมงเย็นได้เวลาอาหารแล้วสินะ” สิ่งที่ติดมือเขาออกมา คือขนมปังแถวนั้นซึ่งเขากินมันเข้าไปเพียงนิด เดียวเท่านั้น อุตส่าห์เก็บซ่อนเอาไว้ข้างหลัง “อะไรกันน่ะ เหลืออีกตัง้ แยะอย่างนัน้ เชียวรึ” กะลาสีตาลุกโพลงพูดเสียง สะท้าน “อ๋อ กระเพาะเล็กๆ อย่างฉัน กินทีละน้อยก็พอ นี่ฉันจะกินอีกสักสอง ค�ำแล้วเก็บไว้อีก” “คุณไม่แบ่งผมบ้างรึ” กะลาสีวิงวอน “ขายคืนให้ผมสักนิดซี” “อ๋อ! ได้ซีถ้าจะซื้อ” ท่านเศรษฐีเริ่มหัวเราะบ้างแล้ว “เมื่อวานแกขาย ฉันราคาเท่าไรจ�ำได้ไหมล่ะ คราวนี้ฉันจะขายแกบ้าง เอาขนมปังไปค�ำหนึ่ง แล้วเอาของทุกอย่างของฉันคืนมา น�้ำจืดในกระติกด้วยแล้วก็ลองค้นกระเป๋า ของตัวแกเองดูซีว่ามีอยู่เท่าไหร่ฉันเอาหมด” “มันควรถูกลงตามส่วนซี” “อย่า...ป่วยการพูดเรื่องสัดส่วน เพราะมันไม่ใช่บนบก เดี๋ยวนี้แม้ว่าจะ เป็นเศษขนมปังนิดเดียวก็ต้องซื้อกันจนหมดตัว มันไม่ได้อยู่ที่จ�ำนวนสิ่งของ แต่มันอยู่ที่ความต้องการ ลงแกต้องการละก็เป็นเสร็จฉันละ” กะลาสีตะโกนสบถออกมาอย่างอยาบคาย “ลองดูซิว่ามันจะตายด้วย ความหิว, ไม่ซื้อ...ข้าไม่ซื้อแก ข้าจะทนหิว...” “อ้าว! อย่าให้ความโลภหรือทิฐิมาฆ่าตัวเองเสียซี  สมมุติว่าถ้าตาย เพราะหิว แล้วสมบัติที่แกกกกอดไว้เหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร...อย่าๆ อย่า พยายามท�ำร้ายฉันนะ ฉันฉลาดพอที่จะคว�่ำเรือ ไหนๆ ตายก็ให้มันตายด้วย กัน...” กะลาสีขบฟันครุ่นคิด ระงับกิริยาที่จะโผเข้าใส่ฝ่ายตรงข้ามลงทันที ค�ำรามว่า “อดเอา อดเอา คนจนๆ อย่างเราอดได้  อดตายดีกว่าให้สมบัตถิ กู เปลีย่ น 40


มือ” “นั่นไม่ใช่ความใจแข็งละมั้ง” เศรษฐียั่ว “แล้วมันจะเป็นอะไรล่ะ” “มันเป็นเพราะยังไม่หิวจัดต่างหาก” ท่านเศรษฐีหัวเราะต่อท้ายค�ำพูด แล้วบิขนมปังใส่ปาก เคี้ยวช้าๆ ล่อ ใจอีกฝ่ายหนึ่งเกือบจะเป็นกิริยาเดียวกับที่เขาเคยถูกยั่วมาแล้ว  ความจริง เขาไม่อยากได้สมบัติกลับคืนมามากไปกว่าต้องการยืนยันชัยชนะซึ่งจะต้อง เป็นของนายทุนในบั้นปลาย หนังสือพิมพ์ลงข่าวคืบหน้าเกี่ยวกับการอับปางของเรือเดินสมุทรล�ำนั้น ว่า “...ต่อมาในวันที่ห้า มีเรือบดลำ�เล็กลอยเข้ามาใกล้ฝั่ง ชาวประมง  ช่วยกันออกไปรับเข้ามา และได้พบว่ามีบุคคลสิ้นชีวิตแล้วสองศพอยู่ใน  เรือนัน้  สันนิษฐานว่าคนหนึง่ เป็นพ่อค้าใหญ่ทโี่ ดยสารไปในเรือเทีย่ วนัน้   เพราะมีนาฬิกา แหวน กระเป๋าธนบัตรใบใหญ่  มีนามบัตรและเอกสาร  ต่างๆ อีกคนหนึ่งมีเพียงเสื้อยืดกับกางเกงติดกาย เข้าใจว่าคงเป็นคน  รับใช้ หรือกุ๊กประจำ�เรือ”

พิมพ์ครั้งแรก : นิตยสารรายสัปดาห์  พิมพ์ไทยวันจันทร์  พ.ศ.๒๔๙๔ นามปากกา “จินตเทพ”, รวมพิมพ์ครัง้ แรก เหมืองน�ำ้ หมึก สิงหาคม ๒๕๐๘, รวมพิมพ์ครัง้ ที ่ ๒ เศรษฐศาสตร์ กลางทะเลลึก และรวมเรื่องสั้นอึดใจจบ ตุลาคม ๒๕๕๒ ส�ำนักพิมพ์  ๑

เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   41


สัญญาต่อหน้าเหล้า

กรุงเทพฯ นี่แปลก! มีอะไรหลายอย่างที่แปลก แต่ทว่าตามความเห็น  ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าว่ามันเป็นความแปลกแบบทุยๆ ไม่เข้าเรือ่ งเข้าราว  เพือ่ น ของข้าพเจ้าคนหนึ่งเคยให้ค�ำจ�ำกัดความกรุงเทพฯ ว่า “กรุงเทพฯ นี่มันกว้างเกินไปส�ำหรับคนกระเป๋าแคบ แต่ขณะเดียวกัน กรุงเทพฯ ก็แคบเกินไปส�ำหรับคนที่มีมโนธรรมกว้างๆ”  เขาหัวเราะอย่าง ภูมิใจนักหนาที่เขาสามารถมีส�ำนวนยอดเยี่ยมอย่างนี้  แล้วก็แถมพกให้อีก ว่า “กรุงเทพฯ มีแต่ความเห่อซึ่งผู้คนพากันเกาให้มันเห่อยิ่งขึ้น แล้วก็เรียก ผลลัพธ์ที่ได้จากการเกานี้ว่า แฟชั่น...” แน่ละ! หมอนั่นคงเคยโดนหมัดเด็ดหมัดใดหมัดหนึ่งของกรุงเทพฯ เข้า ให้แล้ว แต่เขาก็เกิดในกรุงเทพฯ เรียนหนังสือในกรุงเทพฯ ท�ำมาหากินอยู่ ในกรุงเทพฯ และข้าพเจ้าก็พบเขาอยู่เสมอไม่เห็นว่าเขามีท่าทีจะหนีไปจาก กรุงเทพฯ เลยสักนิดเดียว... ข้าพเจ้านั่งอยู่ในร้านเหล้าร้านหนึ่งแถวสามเสน วันนี้เป็นวันเงินเดือน ออก กรุงเทพฯ จึงขวักไขว่ด้วยผู้คนผิดกว่าวันธรรมดา ร้านนั้นทั้งร้านก�ำลัง แออัดด้วยมนุษย์ขี้เมาที่ลืมบ้านลืมเมีย  ข้าพเจ้าชอบดูคนเมาเหล้าเขาคุยกัน เพราะอย่างน้อยสิ่งเหล่านั้นก็เตือนให้ข้าพเจ้ารู้ตัวว่า เมื่อข้าพเจ้าเมา ข้าพเจ้า ท�ำและพูดอย่างไรบ้าง 42


ข้าพเจ้านั่งกินข้าวผัดอยู่เงียบๆ ฟังดูเขาแผลงฤทธิ์กันครั้งหนึ่งที่สถานี รถไฟสายปากน�้ำ  ข้าพเจ้าเคยเห็นคนเมาเคี้ยวแก้วเหล้าแล้วกลืนลงคออย่าง หน้าตาเฉย  ที่ล�ำปางข้าพเจ้าเคยเห็นคนชาวเหนือซึ่งสักเต็มตัวเมาเหล้าแล้ว ปล�้ำกับเสาไฟฟ้าอย่างเอาจริงเอาจังไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทั้งฟัดด้วยช่วงแขน ทั้งชนด้วยศีรษะ  และในกรุงเทพฯ นี่เอง ข้าพเจ้าเคยเห็นสุภาพบุรุษแต่งตัว หลุดลุ่ยเพราะความเมา ลงนั่งกับพื้นรถรางชั้นหนึ่งแทนที่จะนั่งบนเบาะ เขา ยิ้มกับคนขายตั๋วแล้วบอกว่าข้างล่างนั่งสบายกว่า เพราะเหยียดเท้าได้เต็มที่ คนเมาท�ำอะไรได้หลายอย่าง แล้วเขาก็เก็บเอาไปคิดละอายตัวเองอยู่เงียบๆ เมื่อสร่าง ในร้านที่ข้าพเจ้าก�ำลังนั่งอยู่ก็เหมือนกัน โต๊ะแล้วโต๊ะเล่า คนนี้หัวทิ่ม ออกไปคนโน้นหัวทิ่มเข้ามา กลุ่มนี้ออกจากร้าน กลุ่มโน้นเข้ามาผลัดเปลี่ยน ทั้งร้านเอะอะด้วยเสียงเกือกที่เขากระแทกลงบนพื้นอย่างไม่จ�ำเป็น  เสียง หัวเราะอย่างไม่จ�ำเป็น จนกระทั่งเสียงร้องไห้โดยไม่จ�ำเป็นก็มี ขณะนั้นเป็นเวลาเกือบจะห้าทุ่มอยู่แล้ว จึงมีแต่คนออกจากร้านไม่มี คนเข้า ความเอะอะก็เบาบางลง และความวุ่นวายก็ค่อยๆ ว่างลงทีละโต๊ะ จนว่างหมดทั้งร้าน  ตาแป๊ะเจ้าของร้านก�ำลังนั่งอมยิ้มนับเงินอยู่คนเดียว บาง ครั้งก็ดีดลูกคิดเสียงกิ๊กก๊อกไปตามเรื่องของเขา  ข้าพเจ้าดูดโอเลี้ยงล้างปาก อยู ่ ดูดไปพลางคิดไปพลาง มองดูตาแป๊ะไปพลาง แล้วก็มองดูตวั เองไปพลาง... ชายสองคนกอดคอกันเซปั้ดๆ เข้ามาในร้าน ค�ำแรกที่คนหนึ่งพูดขึ้น... อ๋อ...จะมีอะไรอีกล่ะ... “เฮ้ย! เอาเหล้ามาขวดหนึ่ง” “ครับ ครับ ครับ ครับ” นี่เป็นเสียงของตาแป๊ะ เขารวบรวมเงินที่ยังนับ ไม่เสร็จขยุ้มใหญ่ยัดใส่กระเป๋ากางเกง แล้วกระวีกระวาดไปหยิบขวดเหล้า ยิงฟันแหงถามว่า “โซดา? กับแกล้ม?” “ไม่เอา” เสียงหนึ่งในสองเสียงนั้นตวาด ข้าพเจ้านั่งดูดโอเลี้ยงและเคี้ยวน�้ำแข็งเล่นต่อไป ไม่ได้เอาใจใส่กับคน สองคนซึ่งก�ำลังทิ้งตัวลงนั่งอย่างเมาจัด เพียงแต่ชายตาไปดูแว่บเดียว แลเห็น เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   43


ว่าคนหนึ่งอ้วน คนหนึ่งผอม แต่ไม่ใช่อ้วนผอมถึงขนาดตลกในหนัง แต่งเนื้อ แต่งตัวคล้ายๆ กัน  เปล่า ข้าพเจ้าไม่ได้พูดถึงสีหรือเนื้อผ้าของเสื้อกางเกง ข้าพเจ้าหมายถึงความยับยู่ยี่ที่ทั้งสองคนมีพอๆ กันต่างหาก บางครั้งข้าพเจ้าได้ยินเขาท่องโคลงสี่ต่อกันคนละวรรค แล้วก็ดื่มเหล้า แข่งกันเสร็จแล้วจึงหันมาต่อกลอนสด จบเรื่องโคลงฉันท์กาพย์กลอน เขาก็ หันไปปรึกษาเรื่องการเมือง แล้วก็การบ้าน แล้วจึงวกวนไปถึงเหตุการณ์สมัย ที่เขาเป็นเพื่อนนักเรียนตัวเล็กๆ อะไรต่ออะไรหลายอย่าง ข้าพเจ้าควักสตางค์จะให้ค่าข้าวผัดและโอเลี้ยง แต่แล้วก็ชะงักเมื่อได้ ยินการสนทนาของเขาทั้งสองไปสรุปลงที่เรื่องผู้หญิงและเมีย ฟังเขาต่อไป บอกตามตรง ตอนนี้ข้าพเจ้าสนใจ ฮือ! จะมีเรื่องอะไรสนุกไปกว่าเรื่องผู้หญิง ใครคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า กระบวนเรื่องที่คุยกันไม่รู้จักจบละก็  มีอยู่สองเรื่อง คือ ๑. เรื่องกิน ๒. เรื่อง ผู้หญิง และในที่สุดเรื่องผู้หญิงจะคุยกันได้นานกว่าเรื่องกิน คนอ้วนตบไหล่คนผอมแรงๆ ดังบึ้ก ซึ่งถ้าไม่ใช่ในเวลาเมาเหล้าอย่าง นั้นข้าพเจ้าแน่ใจว่าคนผอมจะต้องร้องว่าเจ็บ แต่ขณะนี้ข้าพเจ้าเห็นเขาเฉย คนอ้วนตบไหล่เพื่อนแล้วก็เขย่า พูดว่า “เฮ้ย...อั้วชอบเมียลื้อว่ะ” “ท�ำไมล่ะ” คนผอมปลดมือเพื่อนออกอย่างเกรงใจ แล้วก็สนใจกับการ ดื่มต่อไป “ท�ำไม? ก็เมียลื้อดีน่ะซี  จะบอกให้  อั้วรักเมียลื้อ รู้มั้ยล่ะ” ข้าพเจ้าขนลุกไปทั้งตัว นึกไปถึงครั้งหนึ่งหลายปีมาแล้ว เมื่อข้าพเจ้า หากินอยู่ที่เหมืองแร่ทางปักษ์ใต้  ข้าพเจ้าเคยได้ยินเรื่องอย่างนี้  คนพูดเป็นฝรั่ง ผู้จัดการเหมือง จะหยอกล้อหรือจะครึ่งเล่นครึ่งจริงก็ไม่ทราบ เขาพูดแบบนี้ กับคนขับรถของเขาซึ่งเพิ่งแต่งงานใหม่ๆ กับผู้หญิงสวยคนหนึ่ง ผลปรากฏว่า ชายคนขับรถเล่นงานนายเสียปางตาย ทั้งต่อยด้วยสนับและตีซ�้ำด้วยเหล็กงัด ยาง  ข้าพเจ้าขนลุกเพราะนึกว่าเดี๋ยวเถอะสองเกลอคู่นี้คงได้อ้างข้าพเจ้าเป็น พยานที่โรงพักแน่ๆ แต่! ท่านที่รัก  ชายผอมตอบว่า 44


“เป็นอะไรไปล่ะ ลื้อรักเมียอั้ว อั้วก็รักเมียลื้อเหมือนกัน” “งั้นแลกกันเอาไหมล่ะ” คนอ้วนตะคอก “จริงเหรอ?” เพื่อนของเขาหัวเราะอย่างขบขัน “จริงๆ น่ะซีวะ เอาไหมล่ะ เรามาแลกเมียกัน” ชายผอมรินเหล้าลงใส่แก้วทั้งสองใบอย่างดุเดือด เขาเลื่อนใบหนึ่งไป ตรงหน้าเพื่อน แล้วถืออีกใบหนึ่งไว้  เขาพูดว่า “มาชนแก้วกัน เพื่อเป็นเครื่องรับรองว่า ตกลง!!” ชายอ้วนหัวเราะหน้าแหงน คว้าเหล้าขึน้ ดืม่ อัก้ ๆ จนหมด แล้วกระแทก ถ้วยแก้วลงบนโต๊ะค่อนข้างแรง เขาล้วงกระเป๋าหลังกางเกงอย่างทุลักทุเลงัด เอากระดาษขึ้นมาปึกหนึ่ง... “ต้องสัญญา เรื่องนี้ต้องเขียนเป็นสัญญา” “เออ! เอาให้เป็นลายลักษณ์อักษรเชียวแหละ” แล้วคนทั้งสองก็ช่วยกันเลือกกระดาษว่างในปึกนั้นอย่างตั้งอกตั้งใจ เมื่อได้แล้ว ชายคนผอมก็กระชากปากกาหมึกซึมออกมาจากกระเป๋าเสื้อ ท�ำ ท่าราวกับว่ากระหายหนักหนาที่จะได้เขียนอะไรสักอย่างหนึ่ง หาไม่แล้วคงจะ ไม่ยอมเก็บปากกา ข้าพเจ้าเรียกตาแป๊ะมาคิดสตางค์...ข้าพเจ้าทนดูความบ้าของคน กรุงเทพฯ ต่อไปอีกไม่ได้แล้ว แต่เมื่อข้าพเจ้าสาวเท้าเดินผ่านโต๊ะนั้น ชายอ้วนก็เรียกข้าพเจ้าไว้ “คุณ” เขายิ้มตาปรือ “ขอโทษเถอะครับ ช่วยเป็นพยานให้เราหน่อยซี” “พยาน!” ข้าพเจ้าท�ำเป็นไม่รู้เรื่อง “พยานอะไรกันครับ?” “เราจะแลกเมียกัน” คนผอมช่วยอธิบาย “คุณช่วยเซ็นชื่อเป็นพยาน ด้วยซี” “เอ! มันจะดีหรือครับ ผมไม่รู้จักคุณเลยนี่” “ไม่รู้จักซีครับดี  ยุติธรรมดี” “อ้าว!” ข้าพเจ้าอุทานออกไปอย่างโง่ๆ “เอาหน่อยน่าคุณ” คนอ้วนคะยั้นคะยอ “ทีเขาทีเรา ทีหลังถ้าคุณมี ธุระปะปังอะไรละก้อ ใช้ผมบ้างก็ได้  นั่งซีครับ” เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   45


อะไรก็ไม่ทราบ ที่ท�ำให้ข้าพเจ้าลงนั่งร่วมวงกับเขา ชายคนผอมเรียกแก้วเหล้าเปล่าจากตาแป๊ะเพื่อจะรินให้ข้าพเจ้า แต่ ข้าพเจ้าห้ามไว้  บอกว่า “ผมไม่ดื่ม” “ตายละคุณ” เขาหัวเราะเยาะ “ต้องดื่มซี  เป็นคนต้องดื่ม” “ผมเพิ่งหยุด” ข้าพเจ้าบอกเขา “หมอห้ามเด็ดขาด หมอบอกว่า ถ้ายัง อยากอยู่ดูประกวดนางงามปีหน้าละก็อย่ากินเหล้าต่อไป” “อ้อ”  สองคนนั่นหัวเราะอย่างขบขันเสียเต็มประดา แล้วชายคนผอมก็ลงมือ เขียนสัญญา สัญญาวิตถารนั่นท�ำขึ้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน บอกชื่อ นามสกุล ของ คู่สัญญา ตลอดจนอายุ  อาชีพ สัญชาติ  เชื้อชาติ  อะไรต่ออะไรต่ออะไรถี่ยิบ สัญญาท�ำขึ้นไว้สามฉบับ คู่สัญญาถือคนละหนึ่ง และข้าพเจ้าผู้เป็นพยานถูก ยัดเยียดเอาไว้หนึ่ง มีใจความว่า คนทั้งสองจะแลกภรรยากันด้วยความสมัคร ใจ และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงวรรคหนึ่งวรรคใด ค�ำหนึ่งค�ำใดในสัญญานี้ เป็นอันขาด  เขาซื้ออากรแสตมป์ปิด และขีดฆ่าลงวันที่อย่างที่จะให้มันเป็น สัญญาที่สมบูรณ์ที่สุด ข้าพเจ้าเซออกมาจากร้านเหล้าร้านนั้น เปล่า, ไม่ใช่เมาเพราะเป็น พยานให้เขาแล้วจะปะเหลาะกินเหล้าก้นขวดเขา ข้าพเจ้าเซเพราะสัญญา วิตถารใบนี้ ตั้งแต่คืนนั้น ข้าพเจ้าเก็บกระดาษสัญญาติดตัวไว้เสมอ ในใจเป็นห่วง ว่าอีกไม่นานหรอก หนังสือพิมพ์คงจะได้พาดหัวข่าววิตถารนี ้ โดยมีชอื่ ข้าพเจ้า ติดร่างแหไปด้วยในฐานะพยาน แต่แล้วข้าพเจ้าก็คอยหาย จนลืมเรื่องนี้ไป เสียสนิท ล่วงมาหลายเดือน เวลาเกือบจะตรงกับวันก่อน ชายสองคนนั่นก็กอด คอกันเซแซ่ดๆ เข้ามาในร้านนี้อีกตามเคย “เฮ้ย เอาเหล้าขวดนึง” “ครับ ครับ ครับ ครับ โซดา? กับแกล้ม?” ตาแป๊ะก็ถามตายเคย 46


“ไม่เอา” คนอ้วนตวาด ข้าพเจ้าควักสตางค์ให้ตาแป๊ะ เตรียมพร้อมที่จะหลบชายสองคนนี้ ออกไป แต่เจ้ากรรม มือข้าพเจ้าควานไปถูกใบสัญญาใบนั้นเข้าให้  ในทันที นั้นข้าพเจ้าก็เปลี่ยนใจที่จะออกไปจากร้าน กลับเดินเข้าไปถือวิสาสะนั่งร่วม วงกับเขา ตรงเก้าอี้ที่ข้าพเจ้าเคยนั่งในคืนเขียนสัญญานั้น “อะไรกันคุณ” คนอ้วนตีหน้าตื่น “อะไร” คนผอมมองหน้าข้าพเจ้าแล้วก็สบตากับเพื่อน “อ้าว ลืมผมแล้วหรือ” ข้าพเจ้ายิ้มแฉ่งแนะน�ำตัวเอง “ผมเป็นพยาน ในใบสัญญาของคุณยังไงล่ะ” “สัญญา! สัญญาอะไรไม่ทราบครับ?” “ก็สัญญาที่คุณ...คุณแลกเมียกัน...” “สัญญาแลกเมีย” คนอ้วนพูดอย่างใช้ความจ�ำ  “ใครกัน ใครจะแลก เมียกับคุณ” ข้าพเจ้าหัวเราะ “ไม่ใช่แลกกับผม คุณสองคนนั่นแหละจะแลกกันเอง แล้วขอให้ผม เป็นพยานยังไงล่ะ ดูเหมือนสองเดือนก่อน  นี่ไงครับ ใบสัญญาที่คุณให้ผม เก็บไว้ใบหนึ่ง” ข้าพเจ้าล้วงสิ่งที่พูดออกมาคลี่วางตรงหน้าชายคนอ้วน ขณะตาแป๊ะ น�ำเหล้ามาวาง ชายอ้วนหัวเราะก้าก เรียกแก้วมาเพิ่มเพื่อข้าพเจ้าอีกใบหนึ่ง ฝ่ายคนผอมก็ขมวดคิ้วพูดลอยๆ ขึ้นว่า “สัญญานี่ยังอยู่อีกหรือ” “ผมเก็บไว้อย่างระมัดระวังเชียวครับ” ข้าพเจ้าบอกเขา “อ้า...ผมอยาก ทราบว่า เรื่องเป็นอย่างไรกันบ้าง” ทั้งสองสหายหัวเราะพร้อมๆ กัน คนใดคนหนึ่งพูดว่า “เรียบร้อยครับ ไม่มีอะไรมาก...” “งั้นผมก็ดีใจด้วย” ข้าพเจ้าสอด “เป็นอันว่า สัญญาฉบับที่ผมถืออยู่นี่ น่ะฉีกทิ้งไปได้นะฮะ ไม่จ�ำเป็นต้องใช้พยานแล้วนี่” เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   47


“ครับไม่จ�ำเป็นเลย กินเหล้าดีกว่าน่าคุณ” ชายคนอ้วนเลื่อนแก้ว  เหล้าที่รินแล้วมาให้ข้าพเจ้า “เรื่องมันไม่มีอะไรมากหรอกครับ...อ้า...  เราทั้งสองคนนี่ยังไม่เคยมีเมียเลย...”

พิมพ์ครัง้ แรก : สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์  ฉบับปฐมฤกษ์  ๒๗ มิถนุ ายน ๒๔๙๗ นามปากกา “จินตเทพ”, รวมพิมพ์ครั้งแรก ลุยทะเลคน กันยายน ๒๕๐๓ ส�ำนักพิมพ์ก้าวหน้า

48


พระ พระเจ้าอยู่หัว พ่อ และลุง

พ่อเล่าให้ฟังว่า เมื่อพ่ออายุได้  ๒๕ ปี  มีผ้าม่วงผืนเดียว เสื้อนอกตัว  เดียว พระก�ำแพงห้อยคอหนึ่งองค์  ตะกรุดคาดเอวอีกเส้นหนึ่ง กับต�ำแหน่ง ปลัดอ�ำเภอบางเลน พ่อได้กับแม่ที่นี่  พี่ชายของแม่เป็นนักเลงใหญ่  ออกชื่อได้ทั่วตั้งแต่งิ้ว รายไปจนถึงเดิมบางนางบวช ปลูกตลาดให้คนเช่าอยู่บางไทร ซึ่งอยู่ในเขต ของอ�ำเภอบางเลน  พ่อเป็นข้าราชการ ท�ำไมจึงได้แม่ซึ่งเป็นน้องของนักเลง ตอนนี้พ่อไม่ได้เล่า พ่อกับลุงเป็นคนละชัน้ กันเลย เทียบกันไม่ได้แน่  ลุงกินจอนนี  วอล์คเกอร์ ทุกมื้อ มีไก่ตอนแกล้ม นอนกินบนเก้าอี้ผ้าใบ มีคนพัด ๑ คน คนนวดอีก ๑ คน มีเมียนับสิบประจ�ำการอยู่ตลอดวันยังค�่ำคืนยังรุ่ง พอลุงเบื่อไก่ตอนที่นั่น ลุงจะไปเทีย่ วบางกอก เหมาเสียโปทัง้ หาบ กินกับบริวาร ซือ้ กางเกงแพรปังลิน้ ดูละครแม่บุนนาค แล้วยกพวกกลับบางไทร ทั้งขาไปขากลับนั่งเรือเมล์ฟรี หมดทุกคน ส่วนพ่อ กินแต่ข้าว คร�่ำเคร่งอยู่กับราชการ และแม่ต้องหาบน�้ำใส่ตุ่ม เอง ท�ำไมพ่อจึงจน ท�ำไมลุงจึงรวย เพราะพ่อเป็นข้าราชการเล็กๆ ผู้ซื่อสัตย์  แต่ลุงเป็นนายบ่อนการพนัน ผู้มีอิทธิพล เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   49


ไม่มใี ครปราบลุงได้  เพราะลุงมียามคอยอยูฟ่ ากแม่น�้ำตรงข้ามฝัง่ อ�ำเภอ พอมีคำ� สัง่ จับบ่อนของลุง พรรคพวกก็จะโบกมือให้สญ ั ญาณ เจ้าหน้าทีผ่ จู้ บั กุม ก็ลงเรือจ้าง แจวจากบางเลนมาบางไทร พอมาถึงก็พบว่าไม่มแี ม้แต่ไพ่ตวั เดียว ในบ้านของลุง ทั้งนี้เพราะคนของลุงมาถึงก่อนเจ้าหน้าที่  พวกเจ้าหน้าที่มาเรือ จ้าง แต่คนของลุงขี่ม้ามา เขาจึงพากันพูดว่า เพราะพ่อเป็นน้องเขยจึงไม่ถูกจับสักที  เขาหาว่า พ่อนี่แหละเป็นสายให้ลุง แล้วเขาก็สั่งให้พ่อไปจับลุงดูบ้าง พ่อไปคนเดียว ไป เรือจ้าง ไม่มีปืน มีแต่พระก�ำแพงกับตะกรุดคาดเอวเส้นนั้น ยามของลุงขี่ม้ามาบอกลุงว่า พ่อก�ำลังลงเรือมาแล้ว มาคนเดียว ลุง จึงบอกว่า ถ้างั้นเล่นกันต่อไปไม่ต้องหยุด มาคนเดียวจะท�ำอะไรกูได้ พ่อขึ้นเรือจ้างหน้าตลาดของลุง เดินเข้าบ่อน ทางเข้าเป็นซอกแคบๆ และไกล  ลุงท�ำไว้เพื่อบังคับให้คนที่จะเข้าบ่อนต้องเดินเรียงหนึ่ง และเมื่อจะ จุกหัวจุกท้ายซอกนี้เพื่อปิดประตูตีแมว ก็จะท�ำได้โดยง่าย ปากซอกมียามคน หนึ่ง ยกมือไหว้พ่อ ปล่อยให้พ่อผ่านไปถึงก้นซอก ซึ่งมีประตูเปิดเข้าในบ่อน คนยามอีกคนหนึ่งก็ยกมือไหว้พ่อ และเปิดประตูให้เข้าไปโดยดี ลุงนอนกินเหล้าบนเก้าอีผ้ า้ ใบ ไฮโลก�ำลังคลัง่  เผสองวงเสียงลัน่  จับยีก่ ี ก�ำลังโกยเงิน ไพ่จีนก็ไม่เลว พอเสียงประตูเปิด ลุงเอี้ยวตัวมองแล้วทักว่า อ้อ ปลัดมา พ่อยกมือไหว้แล้วว่า สบายดีหรือพี่ คนทั้งหมดแตกฮือเหมือนไฟพะเนียง ฝาเฝืองแทบพัง แต่คนเข้ามา อยู่ในนี้แล้วออกไปไหนไม่ได้เหมือนกัน ก�ำแพงบ่อนของลุงท�ำด้วยสังกะสี หนาสองชั้น สูงท่วมหัวสองช่วงตัวคน คนทั้งหลายตะปบเงินยุ่งไปหมด ลุงตะโกนว่า อยู่เฉยๆ โว้ย ไม่มีอะไร ไม่มีอะไร พ่อตะโกนซ�้ำว่า อยู่เฉยๆ อย่าหนี ทุกคนเงียบไม่กระดุกกระดิก เหมือนถูกสาปด้วยค�ำสั่งของข้าราชการ เล็กๆ ผู้นี้ ลุงถามพ่อว่า มาธุระอะไร พ่อตอบสั้นๆ ว่า จับ 50


ลุงหัวเราะร่วน ยกเหล้าขึ้นกินแล้วว่า จะไหวหรือวะ พ่อบอกว่า ไหวไม่ไหวก็ต้องท�ำ ลุงว่า จะท�ำอีท่าไหน พ่อตอบ ก็เอาตัวไปอ�ำเภอทุกคน ลุงว่า ข้าหากินมานานแล้ว ยังไม่เคยขึ้นอ�ำเภอเลย แหละข้าจะไม่ ยอมขึ้นเป็นอันขาด พ่อว่า เดี๋ยวนี้อ�ำเภอก็อุตส่าห์ลงมาหาพี่แล้ว มาเชิญมามือเปล่า ลุงว่า ยิ่งมือเปล่า ยิ่งไม่มีวันส�ำเร็จ  ข้าจะยิงแกเสียก็ได้  ปลัด พ่อว่า ก็เชิญ ลุงว่า กลัวน้องสาวข้าจะเป็นหม้ายเสียเท่านั้นแหละวะ พ่อว่า ตอนนี้อย่าเอาเรื่องวงศ์ญาติมาพูดกันเลย ฉันมาราชการ  เร็ว เข้า ทุกคนไปลงเรือ ลุงว่า แกคนเดียวคุมเขาไหวหรือ พอปล่อยออกไปข้างนอกมันก็วิ่ง เปิดตูดกันไปหมด พ่อว่า นั่นต้องแล้วแต่พี่  พี่คุมไป ไม่ใช่ฉันคุม  พี่คุมคนพวกนี้  ฉันคุมพี่ อีกทีหนึ่ง ลุงว่า พูดแปลกๆ อย่างนี้  เฮ้ย ใครหยิบปืนให้กูทีเถอะวะ สมุนส่งปืนให้ลุง ลุงยังคงนอนอยู่บนเก้าอี้ผ้าใบ รับปืนมาเดาะเล่นใน มือ แล้วถามว่า ยังจะต้องจับอยู่อีกหรือ พ่อยืนยัน ลุงส่ายหน้าแล้วว่า ท�ำไมคนที่มาจับข้าจะต้องเป็นแก ท�ำไมไม่ส่งคน อื่นมา ท�ำไมข้าจะต้องยิงน้องเขยของข้า พ่ออธิบายให้ฟังว่า เขาพูดกันว่า การที่พี่ปิดบ่อนได้ทันทุกทีนั้นเป็น เพราะมีน้องเขยเป็นปลัดอ�ำเภอ ฉันต้องมาพิสูจน์ให้คนเห็น  ยิงฉันเสียก็ดี  จะ ได้รู้กันชัดๆ ว่าปลัดอ�ำเภอคนนี้มิได้เข้าข้างผู้ทุจริตเลย ลุงตวาดว่า การเล่นการพนันนี้ทุจริตตรงไหนวะ พ่อว่า มันนอกกฎหมาย อะไรๆ นอกกฎหมายทุจริตทั้งนั้น ลุงยกปืนขึน้ ส่อง คนหลบกันเป็นแถบๆ แต่พอ่ ยืนนิง่ ๆ ลุงบอกว่า ตลอด เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   51


ชีวิตข้าก็ดูเหมือนท�ำนอกกฎหมายทั้งนั้น การยิงคนก็นอกกฎหมาย ข้าท�ำมา นานจนเคยมือ ท�ำอีกสักทีคงจะไม่กระไรนัก พ่อยืดอก สายตะกรุดทีเ่ อวเสียดสีอยูท่ เี่ อว พระก�ำแพงเต้นอยูท่ หี่ น้าอก พ่อพูดว่า ฉันมาราชการของพระเจ้าอยู่หัว ใครยิงฉันก็เท่ากับหมิ่นพระบรม เดชานุภาพ ลุงลดปืน ราวกับว่ามันหนักอึ้งขึ้นมาจนคอนไว้ไม่ไหวสะบัดหัวงงๆ ลุง เคยเป็นมหาดเล็กในกรมพระองค์หนึ่งมาแล้ว พระบารมีนั่นเองที่ท�ำให้ลุงเป็น นักเลงใหญ่ได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ พูดกันง่ายๆ ลุงก็เป็นชีวิตหนึ่งใต้ร่มพระบารมี พระเจ้าอยู่หัวเหมือนกับพ่อ เลิกแล้วต่อกันสักทีไม่ได้หรือ ปลัด เลิกไม่ได้  มามือเปล่า กลับไปต้องมีของติดมือ ลุงโยนปืนทิง้ แล้วว่า ข้าจะต้องวิง่ เต้นให้แกย้ายไปอยูอ่ ำ� เภออืน่ เสียแล้ว ละ ปลัด พ่อว่า ดีซ ี พีจ่ ะได้เปิดบ่อนได้สะดวก ฉันไม่อยากอยูอ่ ำ� เภอนีเ้ หมือนกัน ถ้าอยู่ก็ต้องจับกันเรื่อยอย่างนี้แหละ ลุงว่า ข้าพูดจริงๆ นา พ่อว่า ฉันก็พูดจริง อยู่อ�ำเภอนี้ต้องจับคนด้วยมือเปล่า อยากไปที่อื่น อยากถือปืนจับคนเสียบ้าง ถึงตอนนี้ลุงนิ่งอึ้ง พิจารณาใบหน้าอันซื่อเศร้าและวิงวอนของพ่ออยู่ เป็นเวลานาน แล้วลุกขึ้นเอามือไพล่หลังเดินไปเดินมา ผลสุดท้ายมาหยุดตรง หน้าพ่อ แล้วว่า เอาวะ ข้ายอม ข้าแพ้  จับก็จับ คงไม่เท่าไหร่หรอก พ่อว่า ถ้างั้นก็ไปลงเรือ ทุกคน ลุงไม่ตกลง บอกว่า ไม่ได้แน่  แกจะคุมข้าไปไม่ได้หรอก มันไม่น่าเชื่อ และอีกประการหนึ่ง คนอย่างข้าถูกใครคุมไม่ได้  ขอทีเถอะวะ พ่อว่า อ้าว ไหนว่ายอม ลุงว่า ก็ยอม แต่ไม่ต้องคุมไป ให้เกียรติแก่ข้าสักครั้งเถอะ แกกลับไป ก่อน พรุ่งนี้ข้าจะเอาไอ้พวกนี้ทุกคนไปใส่ห้องขังคอยท่าก่อนแกตื่น 52


พ่อยืนนิ่งตัดสินใจ แล้วว่า ถ้างั้นขอกระดาษดินสอจดชื่อคนพวกนี้ให้ ครบหมดทุกคน ฉันจะยึดบัญชีชื่อไว้  พรุ่งนี้พี่พาไปถึงอ�ำเภอเมื่อไหร่  ฉันจะได้ ตรวจถูก ลุงว่า ข้อนั้น ไม่ขัดข้อง พ่อลงเรือจ้างกลับไปพร้อมด้วยบัญชีรายชื่อ คนทั้งอ�ำเภอมองพ่ออย่าง เหยียดๆ บางคนมองทะลุเข้าไปเห็นมัดเงินเป็นปึกๆ ในกระเป๋าพ่อ คงพากัน คิดว่าพ่อเหลวกลับมาด้วยถูกเงินติดสินบน แต่พ่อเดินหงอยๆ กลับบ้าน บอกแม่ด้วยเสียงสั่นๆ ว่าฉันไปจับพี่เขา มาแล้ว แม่ร้องลั่นบ้านว่า ตายแล้ว พ่อว่าเกือบไป แล้วเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง แม่นอนร้องไห้ทั้งคืน พ่อก็พลอยนอนตาไม่หลับไปด้วย รุ่งขึ้น ลุงยกขบวนพวกเล่นการพนันมาจริงๆ เอาเรือแท็กซี่ของลุงเอง ขนมา แน่นยังกับคนจะไปทอดกฐิน  ลุงแต่งด�ำทั้งชุด กางเกงแพร และเสื้อ กุยเฮง เคี้ยวหมากหยับๆ นั่งพิงหมอนสามเหลี่ยมอยู่หัวเรือ มองเห็นเด่นกว่า ใคร จอดเรือที่ท่าหน้าอ�ำเภอ ต้อนคนทั้งหลายไปอ�ำเภอ ไต่สวนกันอย่างละเอียดลออ ซื่อเข้าหากันทั้งสองฝ่าย ตกลงเป็นการ ปรับ ลุงรับออกค่าปรับทั้งหมดแต่ผู้เดียวเป็นเงินหลายชั่ง ซึ่งพ่อได้รับรางวัล น�ำจับ ชักจากเงินนีถ้ งึ สองชัง่  เสร็จธุระ ลุงก็ยกพวกกลับ ไม่แวะไปเยีย่ มแม่เลย พ่อถือเงินสองชั่งกลับบ้าน เล่าเรื่องทั้งหมดให้แม่ฟังและปรึกษาว่า ฉัน จะเอาเงินสองชั่งนี้ไปคืนพี่เขาเย็นนี้แหละ แม่พูดว่า คราวนี้เขายิงแน่ละ แล้วแม่ก็เป็นลม

พิมพ์ครั้งแรก : ชาวกรุง, รวมพิมพ์ครั้งแรก ลุยทะเลคน กันยายน ๒๕๐๓ ส�ำนักพิมพ์ ก้าวหน้า

เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   53


กฎหมายไม่เคยเปลี่ยน

“ใครอยู่ข้างใน” กระท่อมสับปะรังเคหลังนั้นเงียบกริบ “เฉิด...อยู่รึเปล่า” เงียบ นายร้อยต�ำรวจเอกประวัติ  ปราบพาล ขยับปืนในมือขวาให้ถนัด มือ ซ้ายที่แนบกับล�ำตัวก�ำแน่นขึ้นมาเอง เขากลั้นใจถีบประตูสุดแรง แล้วสปริง ตัวไปด้านขวาเบียดแน่นกับฝาขัดแตะทีก่ ำ� ลังกระเทือน เพราะบานประตูสะบัด เข้าไปกระทบด้านใน เงียบกริบ เขาค่อยๆ ยืดคอจนพ้นขอบประตู  มองเข้าไปข้างในขณะนั้น แดดยาม บ่ายยังส่องแสงจ้าอยู่  แต่ภายในกระท่อมนั้นมืดตื้อจนตาลาย เสือสันติบาล รู้สึกว่ากล้ามเนื้อของเขาทุกส่วนเต้นริกอยู่ในช่วงเวลาอันเงียบงันจนได้ยิน เสียงหายใจฝืดๆ ของตัวเอง เขาเขม้นตาให้ประสาทชินกับความมืดแล้วจึง เห็นร่างตะคุ่มมัวๆ อยู่บนแคร่ติดฝา พร้อมกันนั้นเสียงครางเบาๆ จากร่างนั้น ก็ดังชัดเจนขึ้นทุกที เฉิดไม่ใช่หมู  นายร้อยต�ำรวจเอกประวัติ  ปราบพาลเตือนตัวเอง เฉิด เหลี่ยมจัดเหมือนเลี้ยงผี  เมื่อสี่ปีก่อนนี้ชื่อของนายร้อยต�ำรวจเอกเฉิด ใจหาญ 54


ดังไปทั่วประเทศ ในฐานะมือปืนของนักการเมืองส�ำคัญผู้กุมอ�ำนาจปกครอง บ้านเมือง แต่คนเรามีขึ้นมีลง พอเจ้านายของเฉิดตก เฉิดก็หลบเข้าป่า ปีเศษ ไม่มใี ครรูร้ อ่ งรอยของเฉิดเลย จวบจนกระทัง่ สายลับรายงานทีอ่ ยูอ่ นั แน่นอนไป ยังสันติบาล นายร้อยต�ำรวจเอกประวัติ  ปราบพาลเป็นผู้เหมาะสมที่สุดที่จะ มาควานตัวเฉิด เพราะประวัติเป็นลูกจังหวัดนี้  ช�ำนาญภูมิประเทศนี้  เขาทั้ง คู่ฝีไม้ลายมือไล่เลี่ยกัน เป็นนักเรียนนายร้อยรุ่นเดียวกัน จบพร้อมกัน ผิดกัน แต่ว่า มีเจ้านายคนละคนและเป็นคนละฝ่าย เมื่อเจ้านายของเฉิดตก เจ้านาย ของประวัติก็ขึ้น และเฉิดก็กลายเป็นผู้มีคดีการเมืองซึ่งรัฐบาลชุดที่ก�ำลังครอง อ�ำนาจต้องการตัว นายร้อยต�ำรวจเอกประวัติ  ปราบพาลเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยไม่ สวมเครื่องแบบ เขาลอบมาถึงต�ำบลนี้ไม่ผ่านหรือพักที่สถานีต�ำรวจใดๆ เขา มาด้วยแผนที่ที่ได้จากสายลับ ด้วยปืนซึ่งมีกระสุนเต็มอัตราและกุญแจมือ จากจังหวัด เขาใช้เวลาวันกับคืนเต็มๆ จึงถึงกระท่อมหลังนี้  ซุ่มดูอยู่ตั้งแต่เช้า จนบ่าย และทนดูความเงียบกริบอยู่ต่อไปไม่ไหว จึงตัดสินใจจู่โจมเข้ามาดังนี้ เฉิดจะมือแน่แค่ไหนก็ตาม ปีเศษทีล่ ว่ งไปโดยปราศจากบริวารแวดล้อม คงจะท�ำให้น�้ำใจห่อเหี่ยวลง แต่เขา นายร้อยต�ำรวจเอกประวัติ  ปราบพาลนี่ ต่างหากที่ก�ำลังจะโด่งดัง และมาที่นี่ในนามของกฎหมาย เขาปลอบตนเองเช่นนั้นแล้วก็ก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไป อากาศข้างใน เย็นเยือกและมีกลิ่นอับ ก้าวแรก...ก้าวที่สอง...ปืนของเขาเบนปากกระบอก ไปทุกทิศ พร้อมที่จะยิงได้ทุกจุด เขาหมุนตัวรอบหนึ่ง และหยุดก้าวที่สามลง กึ่งกลางกระท่อมอันคับแคบ ประสาททุกส่วนถูกกระตุ้นขึ้นมาให้พร้อมที่จะ รับหรือให้ต่อทุกเหตุการณ์ เสียงครางถนัดหูขึ้น นายร้อยต�ำรวจเอกประวัติจ้องปืนไปยังเจ้าของ เสียงบนแคร่นั้น เขาสืบเท้าเข้าไปจนชิดฝาด้านหนึ่งและรอคอย “เฉิด” “น�้ำ...ขอน�้ำ...” เป็นเสียงตอบอย่างแผ่วเบา ประวัติเตือนตัวเองว่า ในวินาทีหนึ่งวินาทีใดนี้  เฉิดจะต้องสปริงตัว เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   55


พรวดขึ้นมาบิดข้อมือที่ถือปืนของเขา แล้วอาจจะฟาดเขาลงไปนอนจุกด้วย เชิงยูโดที่เฉิดเคยครองแชมเปี้ยนสมัยอยู่โรงเรียน “เฉิด” เขาเรียกลองเชิงไปอีก “น�้ำ...ไหอยู่ปลายตีน” เขาช�ำเลืองมองไปทางนั้น เห็นสิ่งของตะคุ่มอยู่  ไม่แน่ใจว่านั่นจะเป็น ไหน�้ำหรือเครื่องลวงให้ตายใจ “มืดฉิบหาย ไม่เห็นหรอก” “ตะเกียงอยู่ใต้แคร่” เขาชั่งใจอยู่ครู่หนึ่ง จึงก้าวช้าๆ เข้ามาชิดแคร่  แหย่เท้าเข้าไปควาน เกือกบู๊ตกระทบกับสิ่งเบาๆ สิ่งหนึ่ง มันคงเป็นตะเกียง-เขาคิด และด้วยมือ ซ้าย เขาล้วงไม้ขีดเบ็นซินออกมาจุดแชะ เปลวของมันสาดไปในรัศมีแคบๆ เขาก้มตัวลงไปจุดตะเกียงที่ท�ำจากกระป๋องนมใบนั้น หย่อนไม้ขีดลงกระเป๋า แล้วมือซ้ายที่ว่างอยู่ก็ยกตะเกียงขึ้นชูเฉียงๆ ออกห่างตัว แสงสว่างกระจายไปลูบไล้ทั่วกระท่อมเป็นสีแดงเรืองๆ ขณะนี้เขามอง เห็นร่างคนบนแคร่นั้นอย่างชัดเจน ร่างที่ห่อหุ้มด้วยเสื้อกางเกงชาวนาหลุดลุ่ย เพราะความกระสับกระส่ายของเจ้าตัว เมื่อร่างนั้นพลิก เสียงแคร่ลั่น นายร้อย ต�ำรวจเอกประวัติ  ปราบพาลก็โหย่งปลายเท้าโดยสัญชาตญาณ แต่เมื่อไม่มี อะไรเกิดขึ้น เขาก็คงยืนอยู่กับที่มองดูใบหน้าที่หันมาสู่แสงตะเกียง นี่หรือนายร้อยต�ำรวจเอกเฉิด ใจหาญ ซึ่งเคยรุ่งเรืองอ�ำนาจวาสนา ที่ เคยอ้วนพีมีน�้ำมีนวล ที่เคยยิงคนเป็นว่าเล่นมานับศพไม่ถ้วน บัดนี้  ใบหน้าซูบ เบ้าตาลึกลงไป และโหนกแก้มเด่นขึน้ มา หนวดเคราเปรอะ ผมยาวรุงรัง เปียก แฉะด้วยเหงื่อที่จอนและหน้าผาก “ได้หรือยัง...น�้ำ...” นายร้อยต�ำรวจเอกประวัติรู้สึกว่าปากกระบอกปืนของเขาห้อยต�่ำลง ไปเอง และไม่สามารถบังคับให้มันเงยขึ้นจ้องไปยังร่างนั้นได้อีก  เขาก้าวเท้า ไปวางตะเกียงที่หิ้ง แล้วตักน�้ำในไหเล็กด้วยกระป๋องสังกะสีที่เกี่ยวอยู่ปากไห เขาเดินมาที่แคร่  มือหนึ่งถือปืนซึ่งมั่นใจว่าจะต้องได้ยิง  แต่อีกมือหนึ่งถือ กระป๋องน�้ำเพื่อให้คนที่เขาจะต้องยิงนั้นดื่ม 56


เขาสอดปืนลงซอง นัง่ หมิน่ ๆ ทีร่ มิ แคร่  ช้อนคอคนเจ็บขึน้  พิษไข้รอ้ นฉ่า จากท้ายทอยคนเจ็บขึ้นมาสัมผัสกับท่อนแขนของเขา เขาจัดการให้คนเจ็บ ดื่มน�้ำอย่างทุลักทุเล คนเจ็บเคี้ยวปากหยับๆ เหมือนว่าน�้ำนั้นเป็นของแข็ง หลับตาพริ้มอยู่ในวงแขนของเขานั่นเอง เขานึกถึงแอสไพรินที่มีติดตัวมา เทออกจากกล่องสี่เม็ดซ้อนยัดเข้าไป ในปากคนเจ็บ และตักน�้ำอีกกระป๋องหนึ่งกรอกเข้าไป  และก็เลยดื่มน�้ำก้น กระป๋องที่เหลืออยู่นั้นเสียเอง วางคนเจ็บลงแล้ว เขาเดินช้าๆ มาเกาะประตูมองออกไปภายนอก ด้วยความครุ่นคิดอยู่ว่า นี่เขาจะมาจับผู้ร้ายหรือจะมาช่วยชีวิตคนเจ็บหนัก เขามองดูปา่ โปร่งรอบๆ กระท่อมทีส่ ว่างอยูด่ ว้ ยแสงแดด ภูเขาเป็นทิวล้อมรอบ ส่อให้เห็นว่าเฉิดคงอยู่ที่นี่อย่างเดียวดายและสิ้นหนทาง มีชีวิตอย่างชาวป่า แต่เลวกว่าชาวป่าตรงที่ไม่มีเสรีพอที่จะไปปรากฏตัวแม้แต่ในหมู่บ้านใดๆ เขาจุดบุหรี่สูบแล้วนั่งคร่อมธรณีประตู  ขาข้างหนึ่งอยู่ในกระท่อม อีก ข้างหนึ่งอยู่ข้างนอก หลังพิงไปตามขอบประตู  เมื่อเหยียดขาไปสุดความยาว เสียงกุญแจมือในกระเป๋ากางเกงดิ้นดังกรุ๋งกริ๋ง เหมือนเตือนว่าเขาจะวางใจ ในสิ่งใดไม่ได้  แต่เขาต้องท�ำงานให้ส�ำเร็จ จึงเปลี่ยนท่านั่งครึ่งๆ กลางๆ นั้น เป็นหันหน้าเข้าในกระท่อม และเริ่มส�ำรวจตรวจตราภายในอย่างละเอียด หม้อดินเก่าๆ วางคาอยู่บนหินสามเส้าที่ท�ำเป็นเตาไฟ ปี๊บใบหนึ่งวาง อยู่ข้างๆ คงเป็นปี๊บข้าวสาร ขวดมัวๆ สองสามใบวางอยู่เหนือท่อนไม้หน้าตัด ที่ใช้แทนโต๊ะ นี่คือห้องอาหาร เครื่องแต่งกระท่อมไม่มีสิ่งใดอีกเลย นอกจาก มีดเหน็บเล่มยาวเท่าศอกเสียบอยู่ข้างฝา ชีวิตในป่าควรจะมีปืนยาวยิงสัตว์ สักกระบอกหนึ่ง แต่นี่ไม่มี... บุหรี่หมดมวน พอดีคนเจ็บขยับตัว ยันกายขึ้นนั่งสะบัดศีรษะและตบ ท้ายทอยตัวเอง และเริ่มฉงนที่เห็นแสงตะเกียง พอหันมาทางประตู  นายร้อย ต�ำรวจเอกประวัติก็พรวดถึงตัว “เฉิด จ�ำอั๊วได้ไหม” เขากะพริบตาถี่  มองดูหน้าประวัติแล้วไล่สายตาลงมา สะดุ้งนิดหน่อย เมื่อเห็นซองปืน เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   57


“หวัด” “ฮื่อ อั๊วเอง” “ลื้อมาจับอั๊วรึ” นายร้อยต�ำรวจเอกประวัติพยักหน้าแทนค�ำตอบ เฉิดก้มหน้าอย่างอ่อนเพลียแล้วไม่พูดอะไรออกมาเลย “เฉิด ลื้อคงเข้าใจค�ำว่าหน้าที่  และลื้อคงไม่อยากให้ใครอ่อนแอต่อค�ำ นั้นด้วย” เฉิดผงกศีรษะรับ “มันช่วยไม่ได้นะ” ฝ่ายถือกฎหมายว่าต่อไป “เขาใช้อวั๊ มา อัว๊ ก็ตอ้ งมา” “อั๊วแย่  มาลาเรียมันกินเสียงอม เดี๋ยวจับเดี๋ยวหาย” “แล้วอยู่ยังไงกันนี่” “คนเดียว” “กินอะไรเข้าไปล่ะ” “เมื่อก่อนไม่ล�ำบากเพราะมีปืนยิงสัตว์กิน--” “แล้วไปไหนเสียล่ะปืน” “ตอนหลังต้องขาย เนือ้ สัตว์อย่างเดียวกินเข้าไปยังไง มันต้องข้าว ต้อง เกลือ ต้อง...ขายไปแล้วซื้อข้าว” “มีคนเข้ามาถึงที่นี่หรือ” “มี  และอั๊วก็รู้ด้วยว่าไอ้คนที่มาติดต่อซื้อปืน ขายข้าวนั่นแหละ เป็น สายให้ลื้อมาถูก” “อั๊วไม่ได้คิดข้อนั้น” นายร้อยต�ำรวจเอกประวัติพูดอย่างจริงใจ “อั๊วมา เห็นลื้อก�ำลังไข้จับ แอสไพรินสี่เม็ดของอั๊วแก้ได้เพียงชั่วสูบบุหรี่ตัวเดียว” “มีเรอะ บุหรี่” มือกฎหมายดึงซองบุหรี่ออกมาจากกระเป๋าเสื้อ อีกฝ่ายหนึ่งรับไปคาบ ด้วยมือและริมฝีปากสั่นริก เมื่อจุดให้แล้วประวัติก็ว่า “อัว๊ อยากเจอกับลือ้ ในตอนทีล่ อื้ ยังแข็งแรงมากกว่านี ้ มันจะได้ยตุ ธิ รรม หน่อย นี่ลื้อเจ็บนอนแบ็บยังงี้ล�ำบากใจว่ะ” “ตามหน้าที่ของลื้อเถอะ” เฉิดพ่นควันบุหรี่ออกมาอย่างชื่นใจ “อั๊วทอด 58


อาลัยเสียแล้ว” “คดีของลื้อก็ไม่มีอะไรมาก” “เฮ่ย อย่าฝืนใจพูดดีกว่า อั๊วตัดใจแล้วว่าทีใครก็ทีใคร” “แต่เรายังเป็นเพื่อนกันอยู่นะ” ประวัติว่า “ใช่  อย่างน้อยลื้อก็ไม่ยิงอั๊วอีตอนอั๊วไข้จับ แต่ลื้อกลับช่วยให้ไข้หาย” เฉิดพูดชัดถ้อยชัดค�ำ  “อั๊วเองก็ตั้งใจจะเข้าอ�ำเภอวันนี้เหมือนกัน แต่มันจับไข้ เสียก่อน” “เข้าอ�ำเภอ” ประวัติอุทาน “ลื้อหมายความว่า” “ฮื่อ อั๊วจะมอบตัว ทนไม่ไหวแล้ว ไอ้ฤทธิ์เดชเก่าๆ ที่จะใจแข็งทนไป จนกว่าจะถึงเวลาฟ้าใหม่นะ่ มันมีอยูแ่ ต่เพียงเดือนแรกๆ ลือ้ คิดดูซ ี อด-เปลีย่ วใครจะทนไหว ข้อส�ำคัญไอ้ไข้นสี่  ิ อัว๊ คิดว่าถึงจะตาย ก็ขอตายให้คนเห็นศพ...” “ดีเหมือนกัน ถ้าลื้อคิดจะมอบตัว แต่อั๊ว...” “แน่ละ” เฉิดสอด “ลื้อต้องคุมตัวอั๊วไปให้คุ้มกับที่ลื้ออุตส่าห์มาจนถึง ความดีความชอบใครๆ ก็ต้องการ อั๊วเห็นใจลื้อจะออกเดินทางเดี๋ยวนี้หรือ” “ลื้อแข็งแรงพอหรือยัง เฉิด” “ไม่ส�ำคัญ ถ้าจะไปอั๊วไปได้ทันที” นายร้อยต�ำรวจเอกประวัติดึงบุหรี่ขึ้นมาจุดสูบบ้าง เขาพึมพ�ำว่า “อั๊วไม่อยากให้มันง่ายขนาดนี้เลย อั๊วตั้งใจว่าการมาครั้งนี้  อั๊วเอาชีวิต เป็นทุนเหมือนกัน ถูกละเราเป็นเพือ่ นกัน แต่เรือ่ งของเบือ้ งบนเป็นอีกเรือ่ งหนึง่ อั๊วคิดว่าอีตอนที่อั๊วถีบประตูกระท่อมเข้ามา เลือดอั๊วต้องหยดเพราะน�้ำมือลื้อ แน่  แต่นี่เปล่า” เขาเดินไปเดินมาแล้วขว้างบุหรี่ที่เพิ่งจุดลงกับพื้นบดขยี้มัน ด้วยเกือกอย่างพลุ่งพล่าน “มันง่ายเกินไป” เฉิดเดินโซเซเข้ามาตบไหล่เพื่อนเก่าด้วยมือที่มีแต่หนังกับกระดูก “อย่าคิดมากไปเลยหวัด ทีนี้เป็นทีของลื้อ อั๊วยอมให้ลื้อจับ” เขาหยุด อึดใจหนึ่งแล้วตบกระเป๋ากางเกงทั้งสองของเพื่อนเก่า “เอากุญแจมือมาหรือ เปล่า” อีกฝ่ายหนึ่งถอนใจออกมา “อย่าถึงกับอย่างนั้นเลย อั๊วใส่กุญแจลื้อไม่ลงหรอก” เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   59


“อย่าโง่  ถ้าอั๊วไปมอบตัวเอง ที่ไหนจะดีเท่าไปในนามถูกลื้อจับ เอา กุญแจมือออกมาซี” “เฉิด ท�ำไมเราถึงไม่มีเจ้านายคนเดียวกันวะ” “นั่นซี” เฉิดหัวเราะหึๆ “แต่เราก็ผลัดกันได้ดีคนละหนแล้วนี่” “แต่อั๊วจะใส่กุญแจมือลื้อได้ยังไง อั๊วท�ำไม่ลง” “ใส่อั๊วข้างหนึ่งใส่ลื้อข้างหนึ่ง เสมอกันโว้ย” ประวัติรู้ดีว่า เบื้องหลังค�ำพูดติดตลกของเพื่อนเก่านั้นแฝงไว้ด้วยความ รู้สึกหลายอย่างหลายประการที่ยากนักจะมีคนหยั่งถึง ถ้าไม่ใช่ลูกผู้ชายใจ นักเลงที่แท้จริง ด้วยกุญแจมือสวมติดกันทั้งสองคน นายร้อยต�ำรวจประวัติและเฉิด ก้าวขึน้ ไปบนสถานีตำ� รวจของกิง่ อ�ำเภอในตอนเช้ามืดวันรุง่ ขึน้  นายร้อยหัวหน้า สถานีเผ่นมาจากบ้านพักที่อยู่ในบริเวณนั้น ประวัติไขกุญแจมือพลางพูดว่า “ผมคือนายร้อยต�ำรวจเอกประวัต ิ ปราบพาล และนีน่ ายร้อยต�ำรวจเอก เฉิด ใจหาญ” “สารวัตรเฉิด ใจหาญ” นายร้อยหนุ่มหัวหน้าสถานีเบิกตาโตด้วยความ ปีติพลางชิดเท้าให้เฉิดดังสนั่น “ใช่แล้วสารวัตรเฉิดผมจ�ำได้  สารวัตรพบนายร้อยต�ำรวจเอก  ประวัติ  ปราบพาลที่ไหนครับ ทันการทีเดียว เมื่อคืนนี้ที่กรุงเทพฯ เกิด  รัฐประหาร มีโทรเลขด่วนมาทีน่  ี่ สัง่ จับนายร้อยต�ำรวจเอกประวัต ิ ปราบ-  พาล บอกว่าก�ำลังอยู่ในท้องที่นี้”

รวมพิมพ์ครั้งแรก : ลุยทะเลคน กันยายน ๒๕๐๓ ส�ำนักพิมพ์ก้าวหน้า

60


พ่อเป็นห่วง

ข้าพเจ้าก�ำพร้าแม่เมือ่ อายุได้ ๕ ขวบ ขณะนัน้ พ่อเป็นนายอ�ำเภอ พ่อ  จับผู้ร้ายด้วยวาจามากกว่าใช้ลูกปืน กิตติศัพท์ข้อนี้ท�ำให้พ่อจับผู้ร้ายได้ผลดี กว่าคนอื่น เพราะผู้ร้ายต้องการลองดี  แล้วในที่สุดก็จะกลับใจอ่อนยอมสวามิภักดิ์เพื่อหวังบารมีอันถูกท�ำนองคลองธรรม ด้วยความสามารถเช่นนี้พ่อจึง ถูกย้ายบ่อยๆ เพื่อไปเผชิญกับผู้ร้ายส�ำคัญตามอ�ำเภอยากๆ ข้าพเจ้าเรียนหนังสือไม่เป็นหลักแหล่งเพราะต้องติดตามไปกับพ่อ มี ชีวิตกระโดดข้ามๆ สิ่งที่ควรจะต่อเนื่องก็เพราะการย้ายนี้เอง เติบโตมาอย่าง ว้าเหว่เพราะขาดแม่  ข้าพเจ้าต้องกินข้าวกับคนใช้หรือกินคนเดียว นานๆ พ่อ จึงอยู่บ้านตรงเวลาอาหาร แม้ว่าจะได้ไปเที่ยว ข้าพเจ้าก็ต้องเที่ยวคนเดียวมาตั้งแต่เด็ก เช่นว่า เมื่อพ่อว่าง พ่อจะจูงข้าพเจ้าไปฝากโรงหนัง ให้นั่งดูภายในห้องฉายหนัง พอ หนังเลิกพ่อจึงจะกลับบ้าน แล้วสองพ่อลูกจึงจะได้จูงมือกันกลับบ้าน ในตอน นี้เองข้าพเจ้ายังจ�ำเข้าไปในประสาท ถึงยามดึกตามถนนอันมืด ไฟฉายของ พ่อส่องสว่างไปข้างหน้า อากาศเย็นอยู่รอบๆ ตัว มีความอุ่นอยู่แห่งเดียวที่ฝ่า มือแข็งๆ ของพ่อซึ่งกุมมือเล็กๆ ของข้าพเจ้า เราไม่ได้พูดอะไรกันเลย พ่อคง จะนึกถึงการงานของพ่อเพลินไป พ่อไม่ได้ถามว่าหนังสนุกไหม และข้าพเจ้า ก็ไม่ได้ถามว่าเมื่อพ่อทิ้งข้าพเจ้าไว้ในห้องฉายหนังแล้วพ่อไปไหนมา เราไม่ได้ เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   61


พูดกันด้วยปาก แต่มอื ของข้าพเจ้าพูดกับมือของพ่อ พูดด้วยภาษาเงียบ ภาษา ของความรู้สึก ภาษาของสายโลหิต มือของข้าพเจ้ากระซิบบอกมือของพ่อว่า ข้าพเจ้าเป็นสุขในขณะนั้น มือของพ่อมือเดียวพอแล้ว ข้าพเจ้าไม่ต้องการมือ อื่นใดในโลกนี้อีกเลย มืออันแข็งแรงของพ่อไม่เคยหยิบไม้เรียว พ่อไม่เคยเฆี่ยนลูกด้วยไม้ แม้ว่าระหว่างพ่อกับผู้ร้าย พ่อก็ใช้นิ้วส�ำหรับชี้มากกว่าลั่นไกปืน แล้วเหตุไฉน พ่อจะใช้มอื นัน้ มาเฆีย่ นตีลกู เล็กๆ เล่า พ่อเฆีย่ นด้วยค�ำพูดต่างหาก สิง่ นีท้ ำ� ให้ ข้าพเจ้ากลัวยิ่งขึ้น-กลัวจะถึงเวลาที่จะต้องถูกเฆี่ยนด้วยไม้สักครั้งหนึ่ง-เมื่อไร มันจะถึงวันนั้นก็ไม่รู้ เมื่อข้าพเจ้าจบชั้นประถมฯ และพอดีกับพ่อจะต้องย้ายไปอ�ำเภอที่ กันดารยิ่งขึ้น พ่อจึงน�ำข้าพเจ้าเข้ามาฝากญาติในกรุงเทพฯ ให้ได้เล่าเรียน เป็นเรื่องเป็นราว ข้าพเจ้าไม่อยากจากกับพ่อ อยากตามพ่อไปอย่างเคย แต่ ข้าพเจ้าก็ยงั เด็กเกินกว่าทีจ่ ะขอร้องสิง่ ใดๆ ทัง้ สิน้  เมือ่ พ่ออยากให้ขา้ พเจ้าเรียน ในกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าก็เรียน วันเดือนปีผา่ นไป ความห่างไกลและห่างเหินได้ยดื ความใกล้ชดิ ระหว่าง พ่อกับข้าพเจ้าออกให้เหลือที่ว่างตรงกลาง และเจ้าความกระดากกระเดื่องก็ ไม่รอท่า มันแทรกเข้ามาในที่ตรงนั้นทันที พ่อกับลูกทีแ่ ยกกันอยูโ่ ดยทีไ่ ม่มแี ม่เชือ่ มกลาง กลายเป็นผูช้ ายผูต้ า่ งวัย สองคนที่มีภาระต่อกัน พ่อมีหน้าที่ให้การเล่าเรียน และลูกมีหน้าที่เรียนให้คุ้ม ค่ากับเงินทองที่เสียไป ไม่มีมือเล็กๆ ในมือใหญ่อีกต่อไป มีแต่ลายมือซึ่งเขียน จดหมายติดต่อกัน พ่อเขียนจดหมายส่งเงินมาให้  ข้าพเจ้าเขียนตอบไป จาก มือต่อมือ วันเวลาที่ล่วงไปมันได้ท�ำให้กลายเป็นลายมือไปเสียแล้ว ชีวิตคู่อัน ดูดดืม่ ของพ่อลูกก็กลายเป็นชีวติ เดีย่ วๆ นีเ่ ป็นเรือ่ งร้ายกาจหรือ ไม่ใช่แน่  ความ ทารุ ณ ร้ า ยกาจไม่ มี สิ ท ธิ์ ที่ จ ะมาอาศั ย เกิ ด บนเนื้ อ ของความรั ก   และความ ปรารถนาดีที่พ่อมีต่อลูกอย่างแน่นอน พ่อของข้าพเจ้าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เป็นที่ส�ำหรับเคารพบูชาและเชื่อฟัง โดยไม่มีข้อแม้  พ่อเป็นนักปกครองผู้เฉียบขาดในระเบียบวินัย สิ่งนี้ซึมเข้ามา ในวิธีการที่พ่อใช้ต่อข้าพเจ้าด้วย มีแต่ค�ำสั่งและการปฏิบัติตาม ไม่มีข้อแม้ 62


ไม่มกี ารหัวเราะต่อกระซิก ไม่มขี องเล่นในชีวติ ของเรา มันเป็นเช่นนัน้ จนกระทัง่ ข้าพเจ้าเรียนจบมัธยมปลาย ข้าพเจ้าต้องการเป็นผู้ชายอย่างพ่อ เป็นสิ่งสมถะที่อยู่แยกต่างหาก จากมนุษย์อื่นๆ ข้าพเจ้าอยากเรียนกฎหมายเพื่อด�ำเนินรอยตามพ่อ แต่พ่อ ห้ามขาด พ่อบอกว่าชีวิตระหกระเหินที่พ่อได้รับนั้นเป็นบทเรียนที่เพียงพอแล้ว อย่าให้มันต้องเกิดกับลูกของพ่ออีกเลย และพร้อมกันนั้นพ่อก็ได้ชี้อนาคตให้ ข้าพเจ้า-เป็นนายช่าง นี่เป็นเรื่องบาดใจและทรมานใจเรื่องหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้รับเมื่อชีวิตก�ำลัง เริ่มงอกงาม และก�ำลังจะแตกกิ่งก้านสาขาไปหาทิศแดดลมที่ตัวต้องการ แต่ ถูกบิดกลับไปเสียอีกทิศหนึ่ง ไม่เป็นไร เมื่อพ่อต้องการให้ข้าพเจ้าเป็นช่าง ข้าพเจ้าก็เรียนช่าง ข้าพเจ้าล้มเหลวในการเรียนช่างอย่างไม่เป็นท่า พ่อมากรุงเทพฯ พบ ข้าพเจ้าเรียนค�ำนวณเวลาและส่วนคูณหารอยู่ในสนามม้า เรียนเรขาคณิตชั้น สูงจากการวิ่งของลูกบิลเลียด เรียนวิธีกะจังหวะอยู่หน้าโรงจ�ำน�ำ  พ่อไม่ได้ พูดอะไรสักค�ำเดียว เราก็รู้กันด้วยภาษาเงียบ ภาษาของสายโลหิต พ่อไม่เคย เฆี่ยน ข้าพเจ้ากลัวยิ่งกว่าถูกเฆี่ยน เพราะแทนที่จะเจ็บที่ร่างกายของข้าพเจ้า มันกลับไปปวดร้าวที่ประสาทอันมีค่าคือนัยน์ตาของพ่อ พ่อพูดอย่างยุติธรรมจนเกินไปว่า “เมื่อให้เรียนแกไปเรียน ทีนี้พ่อจะให้แกท�ำงาน” ข้าพเจ้ายินดีรับโทษครั้งนี้  พ่อน�ำข้าพเจ้าออกจากกรุงเทพฯ ไปยัดไว้ ในเหมืองแร่ที่ปักษ์ใต้  พ่อจะให้ท�ำงานข้าพเจ้าก็ท�ำ ข้าพเจ้าเป็นผู้เป็นคนขึ้นมาในเหมืองแร่  มือซึ่งทุบตีชีวิตดีๆ ของตัวเอง ให้เหลวแหลก ได้เปลีย่ นท่าใหม่เป็นมือทีป่ ระคับประคองการงานอย่างรอบคอบ ก่อนอื่นข้าพเจ้าเป็นหนุ่มซึ่งต้องท�ำงานเพื่อตัวเอง แต่ในที่สุดข้าพเจ้าก็ปฏิเสธ ไม่ได้ว่าข้าพเจ้าท�ำงานครั้งนี้เพราะพ่อสั่งนั่นเอง ข้าพเจ้ามักจะคิดว่าพ่อเป็นนักปกครอง เพราะฉะนัน้ ข้าพเจ้าก็ยอ่ มเป็น ผู้อยู่ในความปกครอง แต่ข้าพเจ้าก็ต้องคิดซ�้ำอีกทุกครั้งไปว่า พ่อรับผิดชอบ เต็มตัวในชีวิตของข้าพเจ้า พ่อต้องการให้ข้าพเจ้าได้ดีต่างหาก เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   63


มันเป็นเรื่องที่โทษใครไม่ได้เลย เมื่อเหมืองแร่ที่ข้าพเจ้าท�ำอยู่นั้นเลิก ล้มกิจการ ขณะนั้นข้าพเจ้าอายุเกือบจะ ๓๐ กลับเข้ากรุงเทพฯ พ่อเองก็ครบ เกษียณอายุราชการแล้ว เป็นข้าราชการกินบ�ำนาญ พ่อกับลูกพบกันอีกครั้ง หนึ่งในกรุงเทพฯ พ่อยังห่วงใยอนาคตของข้าพเจ้าอยู่เช่นเคย บางทีข้าพเจ้าคิดได้ว่า บัดนี้ข้าพเจ้าได้มีอายุเท่าพ่อเมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าเองเพิ่งเกิด แต่พ่อยังมองดู ข้าพเจ้าเหมือนเมื่อเด็กๆ มองข้าพเจ้าเป็นลูกเล็กๆ ที่พ่อจะต้องจูงมืออีกตาม เคย พ่อจึงวางโครงการอาชีพให้ข้าพเจ้า พ่อต้องการให้ข้าพเจ้าใช้ความ ช�ำนาญจากเหมืองแร่ในปักษ์ใต้  ไปท�ำงานในเหมืองแร่ทางภาคเหนือซึ่งพ่อ มีเพื่อนสนิทเป็นใหญ่เป็นโตอยู่ในวงการนั้น ส่วนข้าพเจ้า ผู้เหน็ดเหนื่อยกับชีวิตบ้านนอกคอกนาก�ำลังมีความต้อง การที่จะเลือกอาชีพของข้าพเจ้าเองในกรุงเทพฯ แต่พ่อบงการว่า “เตรียมตัว จัดกระเป๋า เราจะไปแม่เมาะ พ่อจะไปฝากแกท�ำเหมือง วูลแฟมที่นั่น” ข้าพเจ้ากลั้นใจ เหมือนอยากให้โลกนี้ขาดใจ สุดสิ้นลงไปเป็นเวลา ๑ ชั่วระยะอึดใจที่นานที่สุดของคนเราแล้ว ข้าพเจ้าตอบด้วยเสียงที่สั่นพร่าว่า “พ่อครับ ตลอดชีวิต ผมท�ำแต่สิ่งที่พ่อต้องการ ตอนนี้ผมขอท�ำสิ่งที่ ผมต้องการสักครั้งได้ไหมครับ” พ่อนิ่งอึ้ง ๑ ชั่วระยะอึดใจที่นานที่สุดของพ่อเหมือนกัน  พ่อไม่เคย เฆี่ยนตีข้าพเจ้า ซึ่งท�ำให้ข้าพเจ้ายิ่งกลัว...กลัวจะถึงเวลานั้น แก้มและกกหู แถบใดแถบหนึง่ ของข้าพเจ้าเกือบหยุดเดิน มันเป็นไปตามธรรมชาติ  มันก�ำลัง รอฝ่ามืออันแข็งของพ่อทุกเมื่อ...ตบเถิดครับพ่อ...ลูกซึ่งไม่เคยขัดใจพ่อเลยใน ชีวิต ได้บังอาจอวดดีแสดงความเห็นขึ้นมาต่อนักปกครองตัวยงแล้ว พ่อพูดเรื่อยๆ ว่า “สิ่งที่แกต้องการคืออะไร” “ผมเบื่องานเหมืองแร่-ผมต้องการอยู่ในกรุงเทพฯ” 64


“แกจะท�ำอะไรกิน” “เขียนหนังสือขาย” พ่อไม่ได้หัวเราะอย่างที่ข้าพเจ้าเดา แต่พ่อพูดเรียบๆ ว่า “ตลอดชีวิตของพ่อรอฟังค�ำพูดค�ำนี้  ค�ำพูดที่แกเลือกชีวิตของตัว  เอง รับผิดชอบตัวเองโดยไม่ต้องให้พ่อคอยเป็นพี่เลี้ยงอยู่ตลอดไป แก  จะท�ำอะไรก็ตามใจ ข้อส�ำคัญมันอยู่ที่แกได้รู้จักตัดสินชีวิตของแกเอง  แล้ว พ่อก็หมดห่วง”

พิมพ์ครั้งแรก : ชาวกรุง, รวมพิมพ์ครั้งแรก ธุรกิจบนขาอ่อน กันยายน ๒๕๐๘ ส�ำนักพิมพ์ อาจินต์  ปัญจพรรค์, รวมพิมพ์ครั้งที่  ๒ วัยบริสุทธิ์  กุมภาพันธ์  ๒๕๒๒ ส�ำนักพิมพ์อาจินต์ ปัญจพรรค์

เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   65


ชัยชนะของลุงม้วน

ลุงม้วนไม่ใช่นักการเมือง ไม่ใช่พ่อค้า ไม่ใช่ข้าราชการ แกเป็นเพียง  คนถีบสามล้อคนหนึ่งเท่านั้นเอง ถ้าคนอย่างแกมีสิทธิที่จะภูมิใจในตัวเองกับ เขาบ้าง แกก็เลือกภูมิใจเอาตรงที่แกบวชแล้ว และเป็นทหารแล้วนั่นแหละ อาชีพถีบสามล้อไม่ใช่ปมด้อยของลุงม้วนเลย เพราะแกส�ำนึกอยู่เสมอ ว่า กระท่อมที่แกอาศัยอยู่กับป้าอ่อนสองคนผัวเมียทุกวันนี้  สร้างขึ้นบนอาน รถสามล้อนี่เอง นอกจากนั้นเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และอาหารที่แกมีพอ เพียงมาทุกวันนี้และจะมีต่อไปก็เพราะอาชีพถีบสามล้อ แกมั่นใจอย่างนี้  และ ความมั่นใจของแกคงไม่ใช่เรื่องที่น่าหัวเราะนัก ลุงม้วนกับป้าอ่อนอยูก่ นิ กันมานาน นอกจากจะไม่เคยทะเลาะเบาะแว้ง กันแล้ว แกยังไม่มีลูกด้วยกันเสียอีกด้วย เรื่องนี้ใครจะเป็นหมัน หรือเป็นกัน ทั้งสองฝ่ายนั้น ไม่ควรที่เราจะไปสนใจ ในเมื่อแกทั้งสองคนก็ไม่เคยวิตกกังวล เมื่อไม่มีลูก แกก็ไปขอหลานชายลูกของพี่สาวแกมาเลี้ยง เจ้านั่นอยู่กับลุง ม้วนมาตั้งแต่เด็กจนรุ่นกระทง คบเพื่อนคบฝูงไปตามเรื่อง ผลสุดท้ายไปเป็น กระเป๋ารถเมล์  ตั้งแต่นั้นก็ไม่กลับมาบ้านอีกเลย ซึ่งทั้งนี้ก็มิได้เป็นที่เดือดร้อน ของลุงม้วนนัก แกเพียงแต่ไปแจ้งให้พ่อแม่ของเด็กรับรู้ไว้เท่านั้น ไปเสียได้ก็ ดีแล้ว เพราะว่าตลอดเวลาที่อยู่มันลักเล็กขโมยน้อยอยู่เสมอ ลุงม้วนกับป้าอ่อนมีสิ่งซึ่งอีกหลายคนในตรอกเดียวกันต้องได้อาย คือ 66


กิจวัตรการใส่บาตรของแก คนในตรอกรู้ทั่วกันว่า แกทั้งคู่เป็นคนธรรมะธัมโม ใจกว้างออกมาจากกระท่อมอันแคบ วันดีคืนดี  ป้าอ่อนจะแกงบวดด้วยฝีมือ แม่ค้าข้าวแกงเก่าออกแจกเพื่อนบ้านเสียด้วย สามล้อคู่ชีวิตของลุงม้วนแก่ชราเข้าชุดกับตัวแก ตัวถังมันยังเป็นไม้ ตามแบบรุ่นแรกทั้งคัน ซ่อมแซมเรื่อยมาจนเกือบไม่มีอะไรที่เป็นของเดิมเหลือ อยู่นอกจากโครงรถและตัวถังไม้  ถึงอย่างนั้น ลุงม้วนก็กล้าอวดได้ว่า ผ้าปู เบาะของแกสะอาดที่สุดในกรุงเทพฯ ด้วยว่าป้าอ่อนเอาใจใส่ผลัดเปลี่ยนและ ซักถี่ถ้วนยิ่งกว่าแบบฟอร์มที่แกสวมถีบสามล้อเสียอีก แกออกรถไม่ได้เช้ามืดเหมือนเมื่อหนุ่มๆ เดี๋ยวนี้อย่างเก่งก็สองโมงเช้า ไปรับลูกคุณหลวงบ้านปากตรอกส่งโรงเรียนหัวถนน  ว่ากันเป็นเดือน แกมี ความวิตกอยู่ข้อหนึ่งว่า ถ้าหากเด็กนั้นโตแล้วย้ายไปโรงเรียนหลวงใหญ่ๆ ก็ คงไม่ต้องพึ่งแกอีก และในระยะนั้นจะมีเด็กอื่นในแถบนั้นต้องอาศัยแกไป โรงเรียนหัวถนนมาแทนที่อีกหรือไม่หนอ เมือ่ แกส่งเด็กถึงโรงเรียนแล้ว แกมิได้มอี ฐั ฬสติดกระเป๋าเหมือนสามล้อ หนุ่มๆ โดยทั่วไป แกจึงไม่มีสิทธิกินกาแฟร้อนตามร้านแถวนั้น แกจะต้องถีบ รถย้อนกลับมาบ้าน กินข้าวเช้าที่ป้าอ่อนเตรียมไว้ด้วยกับข้าวที่เหลือจากเมื่อ เย็นมาอุ่นใหม่  กินน�้ำร้อนสักถ้วยแก้คาว แล้วมวนใบจากสูบพลางจูงรถออก อีกทีหนึ่ง ถีบเรื่อยๆ ไปด้วยก�ำลังคนแก่  เหนื่อยนักก็หาที่จอด นี่ว่ากันถึงใน ยามกลางวัน ถ้าเป็นกลางคืนละก็แกจะถีบเรื่อยไม่ยอมจอด เพราะในยาม กลางคืนทีจ่ อดก็ควรจะเป็นหน้าโรงหนัง แต่ตวั ถังไม้รนุ่ โบราณของแกนัน้ เตือน ให้แกรู้ส�ำนึกว่า จะไม่มีใครที่ออกมาจากโรงหนังพิศวาสนักหรอก ค�่ำวันหนึ่งตอนปลายเดือน ตามธรรมดาจะไม่ค่อยมีใครออกรถ แต่ ลุงม้วนคิดในมุมกลับด้วยความช�ำนาญว่า เมื่อต่างคนต่างไม่ออก รถก็มีน้อย คันเข้า และนั่นเองเป็นโอกาสให้แกจะได้คนโดยสาร ลุงม้วนไม่ได้ถีบสามล้อ ด้วยก�ำลังขาอย่างเดียว แกใช้สมองด้วย แกจึงน�ำรถของแกเรื่อยๆ มาจาก บ้านที่สนามเป้า ถึงประตูน�้ำก็ยังไม่ได้ผู้โดยสาร ฝนตั้งเค้า แต่แกไม่จอด ยัง ถีบเรื่อยมาตามถนนเพชรบุรี  มาออกหลานหลวง เข้าราชด�ำเนินแล้วเลียบ คลองหลอดข้างวัดศิริ  ฝนเริ่มลงเม็ดเปาะแปะเหมือนจะลองใจ แล้วก็หยุดไป เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   67


แกเหลียวดูนาฬิกาในร้านข้างทางเห็นว่าสองทุ่มแล้ว จึงคิดว่าแกจะต้องเลี้ยว รถกลับบ้านเห็นจะดีกว่า ได้คนก็ได้ระหว่างทาง ถ้าไม่ได้ก็กลับบ้านเลย เกือบถึงสี่กั๊กพระยาศรี  มีเสียงเรียก “สามล้อ สามล้อ” แกเบรกดังพรืด สั่นสะเทือนไปทั้งคัน หันหลังมามองเห็นผู้หญิงวัย กลางคนหอบของพะรุงพะรังเดินไล่หลังมา แกลงจากอาน รุนรถถอยหลังไปหา “ไปรองเมือง เท่าไหร่” “ไปแท็กซี่ไม่ดีกว่าหรือครับ” แกถามเหมือนตัวเองเป็นผู้โดยสารคน หนึ่ง “ท�ำไมล่ะ...ว้า รถเก่าจัง” “นั่นน่ะซีครับ ผมถึงว่า คุณนายไปแท็กซี่ดีกว่า รถก็เก่า คนก็แก่  ทาง ก็ไกล” หญิงอ้วนท้วนแต่งตัวแสดงว่ามีสตางค์ตอบว่า “ไม่ค่อยชอบแท็กซี่ ว่าไง รองเมืองเท่าไหร่” “มันไกลเหลือเกินครับ คงถึงช้าหน่อย...” “ชั่งเถอะ ว่าแต่จะเอาเท่าไหร่ว่ามา” “สิบบาทก็แล้วกันครับ” “สิบบาท” หญิงนั้นทวนค�ำเสียงหลง “สิบบาทฉันไปแท็กซี่ไม่ดีกว่ารึ” “นั่นน่ะซีครับ” “ห้า ไปไหมล่ะ” “โธ่  คุณนาย รองเมืองไม่ใช่ใกล้ๆ เลย ฝนก็จะตก” “หกเอ้า” แกนิ่ง...สี่กั๊กพระยาศรี  ถึงรองเมืองหกบาท...ขณะนั้นฝนเริ่มลงเม็ด ประปราย ถ้าเป็นสามล้อคันอื่นๆ เขาจะต้องยืนค�ำที่สิบบาทนี่แหละ แต่นี่เป็น แก แกกลัวผู้โดยสารท่าทางเป็นผู้ดีนี้จะเปียกฝน แกจึงรีบเอาผ้าลง เปิดพนัก หลัง  หยิบผ้าบังหน้ามากาง พร้อมกันก็หยิบเสื้อคลุมพลาสติกที่ป้าอ่อนเย็บ ให้ขึ้นมาคลุมตัวเอง 68


“เอา ขึ้นเถอะครับ เดี๋ยวจะเปียก” ฝนลงหนาเม็ดขึ้น ขณะที่แกน�ำรถมาถึงเสาชิงช้าตรงไปประตูผีก�ำลัง จะออกส�ำราญราษฎร์ “ถึงไหน” เสียงถามมาจากในประทุน “ออกส�ำราญราษฎร์แล้วครับ” “ตายจริง เดี๋ยว เดี๋ยว หยุดก่อน” “ท�ำไมล่ะครับ” “เลี้ยวกลับไปสะพานใหม่หน่อย ฉันลืมของไว้ที่นั่น” หกบาท...ลุงม้วนร�ำพึงเมื่อแกกลับรถ หกบาทจากสี่กั๊กพระยาศรีไป รองเมือง มีการย้อนกลับไปสะพานใหม่...หกบาท กลางฝน...เวรแท้ๆ เชียว ม้วนเอ๋ย... ฝนหนาเม็ดเข้าทุกที  ลมก็แรงต้านรถ ลุงม้วนสามล้อเก่าๆ ใช้เรี่ยวแรง ของแกเพื่ออาชีพอันสุจริตอยู่ท่ามกลางความเปียกปอน แต่แกไม่ได้นึกอะไร เลย การถีบรถกลางฝนเป็นของธรรมดาเสียแล้ว แต่การย้อนกลับไปกลับมา ต่างหากเป็นเรื่องที่สามล้อทุกคนน้อยใจ มาถึงหน้าวัดเลียบ แกหันไปถามข้างในว่า “สะพานใหม่ทางไหนครับ ซ้ายหรือขวา” “นี่  นี่  กลับเถอะ ฉันไม่แวะแล้วละ ฝนตกมากลงไปประเดี๋ยวเปียก กลับเถอะ” เรี่ยมแท้ๆ เชียวแม่คุณเอ๋ย ลุงม้วนหัวเราะอยู่ในความลึกซึ้งของหัวใจ ซึ่งมันย่อมถูกเสียงฝนกลบเสียหมดสิ้น แกพารถเข้าเส้นทางเก่า จากส�ำราญราษฎร์ไปสะพานด�ำ  จากสะพาน ด�ำใกล้สะพานกษัตริย์ศึกเข้าไปทุกที  แกเหลียวมองดูตะเกียงสองดวงข้างรถ ด้วยความไม่ประมาท ปรากฏว่าดับไปดวงหนึ่ง จึงแอบรถเข้าข้างทาง “หยุดท�ำไมล่ะ” “ตะเกียงดับครับ จุดก่อน ที่สี่แยกกษัตริย์ศึกมีจราจร”  “ว้า ชักช้ายังงี้  กว่าจะถึงก็ตายกัน” ตายซี  ลุงม้วนเถียงกับตัวเอง ขณะที่ล้วงไม้ขีดมาจากอกเสื้อ  ป้อง เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   69


ประคองจุดตะเกียง ตายซี  ตาย ในประทุนอบอุน่  แต่แกเองน่ะไม่รจู้ กั ตายหรือ ข้างนอกทั้งเปียกทั้งหนาว มือที่เปียกจนน�้ำหยด และลมที่เป่าอย่างรุนแรง ท�ำ ให้แกเสียไม้ขีดเกือบครึ่งกล่องกว่าจะจุดส�ำเร็จ แล้วก็ออกรถอีกครั้งหนึ่ง สะพานกษัตริย์ศึกยามฝนตกหนัก ลื่น และดูเหมือนจะชันกว่าปกติ สักร้อยเท่าในความรู้สึกของสามล้อแก่ๆ อย่างลุงม้วน ตอนจูงรถขึ้นสะพาน นั้น แกไม่ได้นึกถึง ๖ บาท หรือหกร้อยที่ไหนอีกแล้ว คงนึกอย่างเดียวที่จะไม่ ให้รถลื่นถอยหลัง แกกัดฟันท�ำงานของแก เพื่อตัวของแกเอง ถ้ามันลื่นลง รถ คงจะเสียหาย และแกเองคงจะเจ็บตัว ถึงกลางสะพาน ล�ำบากเหมือนเมื่อหนุมานขึ้นเขาไปหาเครื่องยามาทา แผลหอกโมกขศักดิ์บนอกพระลักษมณ์ทีเดียวนะม้วนนะ แกบอกกับตัวแกเอง อย่างนี้  ต่อไปนี้ก็ไม่ใช่จะสบาย แกค่อยบรรจงขึ้นอาน ไสรถลงช้าๆ ส้นเท้า แตะทีเ่ บรก กดมันไว้  ค่อยๆ ปล่อยออกช้าๆ เป็นจังหวะ กระนัน้ รถก็ยงั ส่ายไป ส่ายมา “เข็ด ฉันเข็ด” เสียงในประทุนล่องลอยมาอีก “ทีหลังพอกันทีเรื่องสาม ล้อ” ถึงฉันก็พอกันที  เรื่องสี่กั๊กพระยาศรีไปรองเมือง ลุงม้วนเถียงคนเดียว และในที่สุด แกก็พารถไปจนถึงที่หมาย หน้าตึกใหญ่โตมโหฬาร สว่างไสวทั้งในตึกและประตูใหญ่หน้าบ้าน แกเปิดผ้าบังหน้าให้คุณนายประดักเดิดลงจากรถวิ่งเข้าไปแอบฝนในซุ้มข้าง ประตู  คุณนายนับเงินหกบาทชักช้าเหมือนเงินหกร้อยส่งให้  ลุงม้วนก็รับมา อย่างไม่ไยดี  หากแต่นึกอยู่ว่า กลับบ้านละวะทีนี้  ตั้งแต่นี้ไปจะไม่ผ่านแถว สี่กั๊กอีกเลย ถึงรองเมืองนี่ก็ด้วย เมื่อแกเก็บรถเข้าใต้ถุนกระท่อม แกได้พบห่อกระดาษหนาๆ หนักอึ้ง วางอยู่บนเบาะ ยายนั่นลืมไว้  แกก็ถือติดมือขึ้นบนเรือน ป้าอ่อนถามว่า “ซื้ออะไรมากินรึนั่น” “ไม่ใช่  ผู้หญิงเขาลืมไว้บนรถ ข้าก็เพิ่งเห็นเดี๋ยวนี้แหละ” “อะไรของเขานั่น” ป้าอ่อนถามอย่างไม่สนใจนัก 70


ลุงม้วนแก้ห่อออก และพบว่า เงินใบละร้อยทั้งนั้น เบียดกันเป็นปึกๆ ทีเดียว แกตกตะลึงนัยน์ตาค้าง ป้าอ่อนร้องว่า “ตายแล้วกู  พี่ม้วนไปปล้นเขามารึ  หือ ไปท�ำอะไรมา” “ข้าบอกแล้วว่าคนเขาลืมไว้บนรถ” “เอาไปคืนเขาทีเดียว เอาไปคืน ตะรางนา พี่ม้วนตะราง” ลุงม้วนเห็นเงินเหล่านั้นเป็นสายฝนที่ทารุณกับแกมาตลอดทาง เห็น ท่าทางของผู้หญิงคนนั้น นึกถึงการเลี้ยวรถจากส�ำราญราษฎร์ไปสะพานใหม่ แล้วย้อนกลับฟรีๆ นึกถึงเสียงข่มขู่  ตะเกียงดับ สะพานที่ลื่น “หกบาท” แกละเมอออกมา “บ้า” ป้าอ่อนหมั่นไส้  “หกหมื่นละว่าไม่ถูก” “ข้าว่าถึงว่า ยายคนนั้นจ้างข้าจากสี่กั๊กถึงรองเมืองหกบาท แล้วข่มขู่ ข้าต่างๆ นานา ฮ่ะฮ่ะ ถึงทีพ่อมั่งละวะ” “อย่านา พี่ม้วน รีบไปคืนเขาเสียเดี๋ยวนี้” “ข้าไม่คืน” แกตวาด “โอยพี่ม้วน อย่าโลภ” ป้าอ่อนเสียงสั่นเหมือนจะร้องไห้  “อย่าไปเอา ของเขา” “ข้าก็ไม่ได้ว่าข้าจะเอา” “เอ้า ก็ไหนว่าไม่คืน” “มันท�ำข้าเจ็บนัก ข้าจะเก็บไว้สักสองวันให้ยายนั่นมันทรมานใจ  เล่น แล้วถึงจะไปคืน”

พิมพ์ครัง้ แรก : สยามสมัย ปีท ี่ ๑๒ ฉบับที ่ ๕๖๕ จันทร์ท ี่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๐๑ และ สยาม รัฐสัปดาหวิจารณ์  ฉบับวันอาทิตย์   ๙ มีนาคม ๒๕๐๑,  รวมพิมพ์ครั้งแรก ลุยทะเลคน กันยายน ๒๕๐๓ ส�ำนักพิมพ์ก้าวหน้า

เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่   71


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.