ราชสำนักจีนหันซ้าย โลกหันขวา

Page 1


ราชส�ำนักจีนหันซ้าย โลกหันขวา


《天朝向左, 世界向右》by Wang Long

Copyright © 2010 by 王龙 Published by arrangement with : Wang Long Thai translation copyright © 2016 by Matichon Publishing House  Through Yilan Culture Transmission Co., Ltd.


ราชส�ำนักจีนหันซ้าย โลกหันขวา

หวังหลง เขียน เขมณัฏฐ์ ทรัพย์เกษมชัย และ สุดารัตน์ วงศ์กระจ่าง แปล

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  2559


ราชสำ�นักจีนหันซ้าย โลกหันขวา เขมณัฏฐ์ ทรัพย์เกษมชัย และ สุดารัตน์ วงศ์กระจ่าง แปล จากเรื่อง《天朝向左, 世界向右》ของ หวังหลง Copyright © 2010 by 王龙 Published by arrangement with : Wang Long Thai translation copyright © 2016 by Matichon Publishing House  Through Yilan Culture Transmission Co., Ltd. พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, มกราคม 2559

ราคา  450  บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม หวังหลง. ราชสำ�นักจีนหันซ้าย โลกหันขวา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559. 552 หน้า. 1. จีน- -ประวัติศาสตร์.  I. เขมณัฏฐ์  ทรัพย์เกษมชัย, II. สุดารัตน์  วงศ์กระจ่าง, ผู้แปล  III. ชื่อเรื่อง 951 ISBN 978 - 974 - 02 - 1456 - 4

ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์  ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์  ธีระจารุวรรณ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี หัวหน้ากองบรรณาธิการ : ทิมา เนื่องอุดม • บรรณาธิการเล่ม : จันทรัตน์  สิงห์โตงาม บรรณาธิการต้นฉบับ : อารยา เทพสถิตย์ศิลป์, พงศ์ศิษฏ์  อุดหนุนสมบัติ พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ • กราฟิกเลย์เอาต์  : อรอนงค์  อินทรอุดม ออกแบบปก-ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์  • ประชาสัมพันธ์  : ตรีธนา น้อยสี

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วดั  ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษทั งานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9013 www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์  บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่  5 ถนนสุขาประชาสรรค์  2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี  11120  โทรศัพท์  0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co.,  Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้แปล โดย เขมณัฏฐ์ ทรัพย์เกษมชัย ค�ำน�ำผู้แปล โดย สุดารัตน์ วงศ์กระจ่าง ค�ำน�ำเสนอ - ราชวงศ์สวรรค์ท่ยี ืนลังเลอยู่บนทางแยก โดย หวังซู่เจิง - ทางแยกมากมาย ควรเลือกไปทางใด โดย สือเหนียนข่านไฉ จักรวรรดิที่หลงทาง —ความแตกต่างในการปกครองประเทศของจักรพรรดิคังซีกับซาร์ปีเตอร์ที่ 1 1. ครองราชย์บนกองเลือด - “จักรพรรดิผู้รู้รอบ” ที่ถือก�ำเนิดมาบนความยากล�ำบาก - ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ในวัยเยาว์ผู้ประสบแต่ความโชคร้าย 2. เส้นทางการบริหารประเทศที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง - แผนการบริหารประเทศของจักรพรรดิคังซี  - ใช้อาวุธปลุกเร้าให้รัสเซียเดินสู่ความเจริญ - “จักรพรรดิผู้มีเมตตาในอุดมคติของส�ำนักหรูเจีย”    พ่ายแพ้แก่ “จิ๋นซีฮ่องเต้” แห่งรัสเซีย

12 14 15 16 19 24 28

33


3. จักรพรรดิจีนผู้ชื่นชอบศาสตร์ตะวันตก - “จักรพรรดิผู้หลงใหลวิทยาศาสตร์มากที่สุดในประวัติศาสตร์จีน” - “ความหวานชื่น” ของจักรพรรดิคังซีกับเหล่าอาจารย์ชาวต่างชาติ 4. ข้าพเจ้าเป็นนักเรียนที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ - ซาร์แห่งรัสเซียกลายเป็น “ช่างฝีมือเยี่ยม” - สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ≠ “พิพิธภัณฑ์หรูอี้” ในพระราชวัง 5. ความแตกต่างของการเลียนแบบตะวันตกระหว่างจักรพรรดิคังซี    กับซาร์ปีเตอร์ที่ 1 - “ตุลาการวิทยาศาสตร์” กับ “เครื่องมือทรงอ�ำนาจ” - คุณอวี๋ชิวอวี่ประเมินจักรพรรดิคังซีไว้อย่างสูงส่ง 6. ความรุ่งโรจน์และล่มสลายใครก�ำหนด ความรุ่งเรืองและตกต�่ำย่อมมีเหตุ - ต่อต้านการรุกรานจากภายนอกมิสู้รุกรานเพื่อขยายอาณาเขต - จักรพรรดิคังซีถูกขังไว้นอกประตูโลก 7. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ย่อมต้องมีสาเหตุ - ความขัดแย้งของสองวัฒนธรรม - ผมเปียของชาวจีน หนวดเคราของชาวรัสเซีย 8. คิดการก่อนท�ำ สิ่งที่ท�ำจะเป็นเหมือนบทเพลงลอยก้องมิรู้หาย - “เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กตั้งอยู่บนคราบน�้ำตาและกองซากศพ” - ฤดูใบไม้ร่วงของนักเผด็จการ ความแตกต่างระหว่างขุนนางใหญ่กับนายกรัฐมนตรี —ละครชีวิตที่โศกเศร้าระคนขบขันของหลี่หงจางและอิโต ฮิโระบุมิ 1. นามของท่านจะถูกกล่าวขานชั่วดินฟ้าสลาย ทว่าก่อนตายต้องเปล่าเปลี่ยว - ว่าด้วยละครโทรทัศน์เรื่อง “ก้าวสู่สาธารณรัฐ” - คนหนึ่งอยู่ในช่วงรุ่งเรือง อีกคนหนึ่งอยู่ในช่วงพังพินาศ 2. ฐานะเดิมต่างกัน จึงเดินไปคนละทิศคนละทาง - ขื่อคานของราชวงศ์ชิงที่ช่วยปกป้องยามบ้านเมืองมีภัย - เสียงหวูดเรือรบท�ำให้อิโต ฮิโระบุมิตื่นตกใจ 3. การแสดงบทบาทการทูตบนเวทีโลก - มวยไทเก๊กของหลี่หงจางในที่สุดก็หมดประโยชน์ - บุกเบิกขยายอาณาเขต แผ่อานุภาพไปทั่วทุกสารทิศ

42 50

55 62 68 74

80 83

90 97


4. “ลีลาหมัด” ที่สวยงามกับ “วิชามวย” ที่อันตรายถึงชีวิต - หลี่หงจาง “ช่างติดกระดาษฝ้าเพดาน” แห่งราชวงศ์ชิง - ใครเป็นผู้ได้รับบัตรผ่านของโลกตะวันตกที่แท้จริง 5. สภาวะแวดล้อมเปลี่ยน สรรพสิ่งก็เปลี่ยนตาม - ประเทศญี่ปุ่นที่ฮึกเหิมกับประเทศจีนที่เยือกเย็น - หลี่หงจางผู้เดินทางไกลอย่างเดียวดาย 6. กฎเกณฑ์ธรรมชาติผันแปรเสมอ ใครเล่าจะเปลี่ยนได้ - เกิดในยุคขาลง ชะตาจึงอับเฉา - ปิดฝาโลงมาร้อยปีรอการตัดสินชี้ขาด ยุคสมัยแห่งความพลิกผันของสองสตรี —พระนางซูสีไทเฮามีจุดไหนสู้พระราชินีวิกตอเรียไม่ได้ 1. สองสตรี สองพรหมลิขิต - ดีร้ายปะปน สุขโศกคละเคล้า - ใครคือสตรีผู้โชคดีกว่า 2. งดงามตามธรรมชาติและปรีชาสามารถเหนือผู้คนปานกัน - ยุคทองเริ่มขึ้นแล้ว - แท้จริงแล้วพระนางซูสีไทเฮาทรงมีฝีมือมากความสามารถ 3. สตรีปกครองประเทศ ลิขิตไว้แล้วว่า “หญิงงามน�ำมาซึ่งภัยพิบัติ” - พระนางซูสีไทเฮาเลวร้ายถึงเพียงนั้นจริงหรือ - เหตุใดพระนางจึงโดนผู้คนก่นด่า 4. เมื่อเผชิญความปรารถนาอ�ำนาจ คนทุกคนก็เหมือนกันหมด - พระราชินีวิกตอเรียไม่ได้รักษาใจให้สงบ ลดความปรารถนาลงเลย - พระนางซูสีไทเฮาจะก้าวหรือจะถอยล้วนยากล�ำบาก 5. ราชินีก็มิอาจอยู่เหนือกฎหมายและกฎสวรรค์   - กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย กษัตริย์อยู่ในรัฐสภา - พระราชินีวิกตอเรียยอมศิโรราบ 6. เงื่อนตายของชาวจีนที่มีมานานนับพันปี - ใต้หล้าล้วนเป็นแผ่นดินของจักรพรรดิ - ประเทศจีนมาถึงยุคที่ไม่ต้องเอาอย่างใครแล้วจริงหรือ

106

116

125

132 136

143

150

159

167

174


วีรบุรุษผู้น่าเศร้า ยากจะแยกค�ำติฉินและค�ำชื่นชม  —เกียรติยศและความอัปยศ ทุกข์และสุขของหงซิ่วเฉวียนกับไซโง ทะกะโมะริ 1. สองวีรบุรุษผู้อับจนหนทางกับจุดจบแห่งความตายที่ต่างกัน - เถ้ากระดูกของหงซิ่วเฉวียนถูกปืนใหญ่ยิงขึ้นฟ้า - ไซโง ทะกะโมะริมอบชีวิตนี้ให้มวลชน - ลมฤดูสารทฝังกระดูก ณ บ้านเกิด 2. ฐานะ “กบฏผู้ก่อความวุ่นวาย” บดบังฐานะ “ผู้น�ำกบฏชาวนา” - จบสิ้นเทพนิยายเรื่อง “แดนสวรรค์” - ไซโง ทะกะโมะริ จากกบฏสู่วีรบุรุษ 3. ใครคือวีรบุรุษตัวจริง - โฉมหน้าประวัติศาสตร์ที่แท้จริงของหงซิ่วเฉวียน - จิตวิญญาณซามูไรจะคงอยู่ตลอดกาล ดุจขุนเขาสูงตระหง่าน   ดั่งสายน�้ำทอดยาว - วีรบุรุษไม่อาจถือก�ำเนิดในโอ่งหมักวัฒนธรรม 4. หงซิ่วเฉวียนขาดกระดูกชิ้นไหนไป - บุคลิกทรงเกียรติ vs ฉวยโอกาสหลบหลีก - มีความสามารถและวิสัยทัศน์ vs โง่เขลาและแข็งขืน - เสน่ห์ทางอารมณ์ vs หลอกตนเองและผู้อื่น 5. จุดจบของเหล่า “ผู้ก่อการปฏิวัติ” เหตุใดจึงไม่เหมือนกัน - ด้านหนึ่งก็หลั่งเลือดต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม อีกด้านขุนนางใหญ่ก็ต้องเป็น - หวังเพียงให้มีผู้ไว้อาลัยที่ปลอบใจผู้ก่อการปฏิวัติมากขึ้นสักหน่อย

184 188

202 213

223

240

ใครคือผู้มองเห็นโลกกว้าง —เหตุใดหลินเจ๋อสวีจึงไม่สามารถมองการณ์ ไกลได้มากกว่าวะตะนะเบะ คะซัน 250 1. เมื่อครั้งยังมีชีวิตโดนโจมตีครั้งแล้วครั้งเล่า ตายไปกลับสว่างไสวเจิดจ้า 254 2. ประเทศญี่ปุ่นก็มี “หลินเจ๋อสวี” 257 3. หลินเจ๋อสวีกลายเป็น “นักโทษตลอดกาล” ไปแล้วหรือ 265 4. ความผิดพลาดชั้นต�่ำอันเหลือเชื่อ 271 5. ประวัติศาสตร์ไม่ให้โอกาสที่เหมือนกันแก่เขา 276 6. จีนและญี่ปุ่นได้ข้อสอบฉบับเดียวกัน แต่เหตุใดค�ำตอบกลับแยกเป็น 2 ทาง 281 7. ระบบการสอบเคอจวี่กลายเป็นเชือกพันธนาการราชวงศ์ชิงจนตาย 286 8. หลินเจ๋อสวีผู้สู้รบเพียงล�ำพัง 297


เกมกระดานชีวิตของ “ทูตนอกรีต” กับ “ทูตเทวดา”  —มองการทูตของประเทศแข็งแกร่งกับประเทศอ่อนแอ ผ่านกัวซงเทาและมุสึ มุเนะมิสึ 1. กัวซงเทา “คนขายชาติ” ผู้หยั่งรู้ - “ส่วนเกิน” ของราชส�ำนักชิง - ผู้ที่เข้าใจตะวันตกศึกษามากที่สุด - เขากลายเป็น “ศัตรู” ของราชส�ำนักชิง 2. ชีวิตที่ประสบความส�ำเร็จของมุสึ มุเนะมิสึ - จากนักโทษในเรือนจ�ำสู่รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ - ยิ่งกว่าผู้กำ� กับใหญ่แห่งฮอลลีวู้ด 3. สงครามใหญ่จีน-ญี่ปุ่นจากเบื้องหลัง “ทูตนอกรีต” กับ “ทูตเทวดา” - ลูกศิษย์ขงจื่อปะทะหน่วย “เต่าทะเล” - “ราชวงศ์สวรรค์” ที่ขี้อาย - ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ญี่ปุ่นของ “ทูตนอกรีต” กับ “ทูตเทวดา” 4. ราชวงศ์สวรรค์ตื่นจากฝันแล้ว

306 310

322 330

343

จักรพรรดิกวงซวี่หันซ้าย จักรพรรดิเมจิหันขวา —ช่วงเวลาส�ำคัญของการปฏิรูปประเทศจีนและญี่ปุ่นในยุคใกล้ 348 1. ฝึกมาด้วยนมแพะกับเลี้ยงด้วยนมหมาป่า 351 - จักรพรรดิที่อาภัพที่สุดในประวัติศาสตร์ - จักรพรรดิเมจิผู้โตมาด้วยนมหมาป่า   - กวงซวี่จะหลุดพ้นจากเงื้อมมือของซูสีไทเฮาได้หรือไม่ 2. ประยุกต์ใช้ศาสตร์ตะวันตกบนรากฐานความเป็นจีนกับจิตวิญญาณตะวันตก 362 - ใครเป็นอาจารย์ ใครเป็นศิษย์ - จักรพรรดิทั้งสองหันเข้าหาตะวันตกพร้อมกัน - กวงซวี่ผู้ทึ้งผมเปียเพื่อออกโบยบิน - ตะวันตกเพียงผิวเผินกับแก่นสารของอารยธรรม 3. ความพินาศของราชวงศ์สวรรค์กับความยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น 378 - การรู้จักใช้คนของจักรพรรดิเมจิ - ในที่สุดจักรพรรดิกวงซวี่ก็ทรงพิโรธ - การปฏิรูปอู้ซวีกลายเป็น “การรักษาด้วยการช็อตไฟฟ้า” - ปฏิรูปเมจิ : การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่


4. ความรุ่งโรจน์ยามอาทิตย์อัสดงและความกังวลของประเทศหมู่เกาะ 396 - หนังสือเล่มหนึ่งที่อดกล่าวถึงไม่ได้ - วัยรุ่นที่แอบขึ้นเรือด�ำของอเมริกา 5. อุปสรรคที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก และโอกาสทองที่สวรรค์ประทาน 407 - ราชส�ำนักชิงไม่มีโชคเท่าญี่ปุ่น - โศกนาฏกรรมและสุขนาฏกรรมทางประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ปิดฉากลง ศึกชี้ชะตาด้วยปลายปากกา —เส้นทางที่จุดประกายโดยคังโหย่วเหวยและฟุคุซะวะ ยูคิจิ 1. ม่านแห่งประวัติศาสตร์ที่ปิดลงอย่างเยือกเย็น - สภาวะหนีเสือปะจระเข้ของการปฏิรูปอู้ซวี - เหตุใดใบหน้าของเขาจึงปรากฏบนเงินเยนมาจนปัจจุบัน 2. โครงสร้างทางบุคลิกที่แตกต่างกันระหว่างปัญญาชนจีนและญี่ปุ่น - คังโหย่วเหวยชื่อเสียงขจรขจายทั่วหล้า แต่ก็ถูกก่นด่าไปทั่วเมือง - ฟุคุซะวะ ยูคิจิผู้มุ่งมั่นตั้งใจจริง - จุดด้อยของบุคลิกเฉพาะตัวกลายเป็นชนวนแห่งความพ่ายแพ้ - กลุ่มปัญญาชนของต้าชิงขาดอะไรไป 3. บัณฑิตบุ๋นกับแวดวงขุนนาง ปัญหาหนักที่แก้ไม่เคยตก - คังโหย่วเหวยก้มหน้าหลั่งน�้ำตา - เหตุใดฟุคุซะวะ ยูคิจิจึงปฏิเสธการรับราชการ 4. ชนะเพราะลัทธิขงจื่อ แพ้ก็เพราะลัทธิขงจื่อ - คังโหย่วเหวยผู้ “คุกเข่าก่อการกบฏ” - ฟุคุซะวะ ยูคิจิเปิดศึกใหญ่กับลัทธิขงจื่อ - ตรงสี่แยก พวกเขาแยกกันไปคนละทาง 5. เดินวนไปวนมาระหว่างจีนกับตะวันตก - “ความไม่แตกฉาน” ด้านตะวันตกศึกษาของคังโหย่วเหวย - ยืมวิธีจากต่างแดน แต่ปฏิบัติสวนทางกัน - ญี่ปุ่นไม่ได้มีฟุคุซะวะ ยูคิจิเพียงคนเดียว - หนทางแห่งความคิดริเริ่มของจีนนั้นยังอีกยาวไกล

414 417

424

441 450

459


กวีเอกในประวัติศาสตร์ ใครน่าอนาถกว่ากัน  —หนทางเดียวกันแต่ต่างโชคชะตาของเฉาเสวี่ยฉินกับเชกสเปียร์ 472 1. นักอักษรศาสตร์ใช่ว่าจะอยู่ดีกินดีกันทุกคน 476 - ค�ำว่า “ข้าทาส” เขียนอย่างไร - เฉาเสวี่ยฉินมิได้โชคดีเฉกเช่นเชกสเปียร์ 2. ยุคสมัยที่ดีที่สุดกับยุคสมัยที่เลวร้ายที่สุด 487 - นึกไม่ถึงว่าพระราชินีจะทรงยอมให้เชกสเปียร์เสียดสีพระนาง - ความฝันในหอแดง แท้จริงแล้วคือบันทึกหยาดเหงื่อและน�้ำตาของวีรบุรุษ 3. ความกดดันในชีวิตกับศักดิ์ศรีแห่งตน สิ่งไหนส�ำคัญกว่ากัน 493 - โต๊ะหนังสือของกวีควรตั้งไว้ในวังหลวงหรือกลางทุ่งนา - พวกเขาล้วนแต่เป็นนักเดินทางผู้โดดเดี่ยวและทุกข์ระทม 4. ระหว่างเฉาเสวี่ยฉินกับเชกสเปียร์ ใครเก่งกว่ากัน 502 - เสียงตะโกนจากห้องเหล็กกับค�ำป่าวประกาศใต้แสงตะวัน - ไม่ใช่แค่สำ� หรับคนในยุค แต่เป็นสมบัติล�้ำค่าทุกสมัย ชะตากรรมของ “บิดาผู้สร้างชาติ” —เหตุใดซุนยัตเซ็นจึงไม่อาจเป็น “จอร์จ วอชิงตันของจีน” 1. จอร์จ วอชิงตันกลายเป็น “ต�ำนานทางการเมือง” ในสายตาชาวจีน - พวกฝรั่งก็มี “เหยาซุ่น” กับเขาด้วย - เหตุใดผู้ตรวจการของราชวงศ์ชิงจึงได้รบั การยกย่องจากชาวอเมริกัน 2. อยากได้ระบอบที่ดี หรืออยากได้กษัตริย์ที่ดี - ความขัดแย้งอันรุนแรงระหว่างซุนยัตเซ็นกับหวงซิง - กษัตริย์ภูฏานให้บทเรียนแก่ทั้งโลก 3. ชะตากรรมของ “ต�ำนานจอร์จ วอชิงตัน” ในประเทศจีน - ซุนยัตเซ็นมองโลกในแง่ดีเร็วเกินไปหน่อย - เหตุใดจอร์จ วอชิงตันถึงไม่ยอมเป็นกษัตริย์ - มีลักษณะอย่างจอร์จ วอชิงตัน แต่ไม่มีแผ่นดินอย่างอเมริกา

บทส่งท้าย : ความฝันถึงศตวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของมาตุภูม ิ

512 515

524 533

546


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารเปลี่ ย นผ่ า นนั บ ตั้ ง แต่ ช ่ ว งปลายราชวงศ์ ชิ ง ไปจนถึ ง การ

สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ.1949 คือช่วงที่การเมืองภายในและความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีนเข้มข้นที่สุด สูญเสียมากที่สุด และน่าเสียดายที่สุด ช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 วงโคจรของประวัติศาสตร์หมุนให้ตะวันตกและ ตะวันออกมาเผชิญหน้ากัน ราชส�ำนักจีนผู้ทระนงตนว่าเป็น “ราชวงศ์สวรรค์” อัน ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ละยิ่ ง ใหญ่ เ กรี ย งไกรที่ สุ ด ในใต้ ห ล้ า  ต้ อ งเผชิ ญ กั บ สิ่ ง ที่ ค นจี น เรี ย กว่ า “ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”  ค�ำกล่าวนี้มีนัยยะว่าสถานะของ “ราชวงศ์สวรรค์” เริ่มสั่นคลอน เมื่อลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกบุกมาพร้อมเรือกลไฟ และอาวุธยุทโธปกรณ์ล�้ำสมัยอันเป็นผลพวงจากปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ขณะนั้นคนจีน ยังรบด้วยดาบและต�ำรากลยุทธ์โบราณ “ราชวงศ์สวรรค์” จึงย่อมอับจนหนทางโดย ปริยาย เวลานี้เอง ชนชั้นน�ำหัวก้าวหน้าบางกลุ่มก็เริ่มตระหนักแล้วว่าจีนต้องปฏิรูป ทว่าการปฏิรูปการเมืองหรือปฏิวัติระบอบการปกครองในจีนมิใช่แค่คิดจะท�ำก็ ท�ำได้  จีนมีจักรพรรดิเป็นผู้ปกครองมานานหลายพันปี ความเชื่อและความศักดิ์สิทธิ์ ของระบอบกษัตริย์หยั่งรากลึกในหมู่ประชาชน ถึงขั้นมีค�ำกล่าวอันเป็นส�ำนึกร่วมกัน ว่า “ประเทศชาติไม่อาจขาดจักรพรรดิได้แม้แต่วันเดียว” และยิ่งไม่อาจจินตนาการได้ เลยว่าประเทศที่ “ปกครองโดยประชาชน” นั้นเป็นอย่างไร  กรอบความคิดเหล่านี้เป็น เสมือนขวากหนามที่มองไม่เห็น สร้างบาดแผลให้ประเทศจีนและเหล่านักปฏิวัติครั้ง 12 หวังหลง  เขียน


แล้วครั้งเล่าเพื่อแลกกับการก้าวสู่สมัยใหม่ หวังหลง ใคร่ครวญถึงความสูญเสียและความน่าเสียดายหลายครั้งหลายหน ที่จีนพลาดโอกาสในการปฏิรูปประเทศ ใคร่ครวญถึงทางเลือกของเหล่าชนชั้นน�ำใน อดีตและผลกระทบที่ตามมา พยายามหาทางออกให้ประเทศจีนไม่เดินซ�้ำรอยเก่าจนน�ำ ไปสู่ความสูญเสียครั้งใหญ่อย่างสงครามฝิ่นหรือสงครามจีน-ญี่ปุ่นอีก เขาจึงเลือกวิเคราะห์บุคคลส�ำคัญในประวัติศาสตร์จีนโดยจับคู่เปรียบเทียบจาก ผู้มีภูมิหลังและประสบการณ์คล้ายคลึงกันของประเทศมหาอ�ำนาจ ทั้งมหาราช กษัตรี จักรพรรดินักปฏิรูป นายกรัฐมนตรี ผู้น�ำกบฏรากหญ้า ปัญญาชน นักการเมือง นัก การทูต กวีเอก และบิดาผู้สร้างชาติ  บุคคลแต่ละคู่ล้วนมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน ทว่ากลับเดินสวนทางกันโดยสิ้นเชิง  คนหนึ่งรุ่งโรจน์ อีกคนหนึ่งล้มเหลว ซึ่งชะตาของ พวกเขาเหล่านี้ล้วนเกี่ยวพันถึงชะตาของประเทศชาติ  หากมิได้มองย้อนกลับไป ชาวจีนอาจไม่เคยตระหนักเลยว่าตนหลับหูหลับตา เทิดทูนจักรพรรดิและยกย่องวีรบุรุษ โดยมิได้ค�ำนึงว่าเมื่อบุคคลเหล่านี้ยืนอยู่บนเวที โลก การกระท�ำและทางเลือกของพวกเขาล้าหลังและด้อยความสามารถเพียงใด ดัง ค�ำกล่าวที่ว่า “ไม่อ่านประวัติศาสตร์จีน ก็ไม่รู้ว่าจีนยิ่งใหญ่ ไม่อ่านประวัติศาสตร์โลก ก็ไม่รู้เลยว่าจีนล้าหลัง” หวังหลงค้นคว้าด้วยความอุตสาหะอย่างมหาศาล วิเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์และร้อยเรียงค�ำอธิบายเหตุปัจจัยต่างๆ ไว้อย่างละเอียด รังสรรค์เป็นผลงาน ชิ้นเอก ราชส�ำนักจีนหันซ้าย โลกหันขวา เล่มนี้  บทความหลายชิ้นในเล่มคว้ารางวัล บทความดีเด่นจากหลายส�ำนัก และได้รับค�ำชื่นชมอย่างล้นหลามจากบุคคลผู้มีชื่อเสียง ในประเทศจีน  ราชส�ำนักจีนหันซ้าย โลกหันขวา จึงมิใช่เพียงต�ำราที่เล่าประวัติศาสตร์ ให้จดจ�ำ แต่เป็นหนังสือประวัติศาสตร์วิจารณ์ที่ชวนให้ขบคิด วิเคราะห์ตาม เพื่อหา ค�ำตอบให้อดีตและเลือกทางเดินให้อนาคต ส�ำนักพิมพ์มติชน

ราชสำ�นักจีนหันซ้าย 13 โลกหันขวา


ค�ำน�ำผู้แปล

ในหน้าประวัติศาสตร์โลกมีการกล่าวขาน จารึกชื่อของบุคคลผู้เสียสละ หรือ

ที่เรียกว่า “วีรบุรุษ” ที่ก่อเกิดขึ้นจากสถานการณ์และเหตุจูงใจต่างๆ อยู่มากมาย  พวก เขาอาจเป็นที่รู้จักในวงกว้างหรือไม่เป็นที่รู้จักก็ตาม  แต่บุคคลเหล่านี้ล้วนมีบทบาท ส�ำคัญต่อการเปลี่ยนผันประวัติศาสตร์แทบทั้งสิ้น ราชส�ำนักจีนหันซ้าย โลกหันขวา เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่หยิบยกบุคคล ส�ำคัญในประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์โลกมาเปรียบเทียบกัน โดยให้บุคคล เหล่านั้นเป็นตัวละครบอกเล่าเรื่องราวชีวิตและเหตุการณ์ส�ำคัญๆ ในประวัติศาสตร์จาก แง่มุมที่แตกต่างและให้ความรู้สึกที่หลากหลาย  แม้จะเป็นหนังสือเล่มหนาแต่ผู้เขียน ก็ถ่ายทอดออกมาได้อย่างไม่น่าเบื่อและแฝงไว้ซึ่งคุณค่าทางสังคมมากมาย ผู้แปลขอขอบคุณบรรณาธิการเล่มที่ได้ตรวจสอบความถูกต้องและขัดเกลา ส�ำนวนภาษาของผู้แปลอย่างพิถีพิถัน  ขอบคุณครอบครัวและอาจารย์ทุกท่านที่สร้าง รากฐานอันมั่นคงไว้ให้แก่ศิษย์ผู้นี้ หวังเพียงว่าท่านผู้อ่านจะเก็บเกี่ยวประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ได้อย่างเต็มที่ สิ่งใดที่ท่านผู้อ่านเห็นว่าเป็นข้อผิดพลาดในการแปลงานชิ้นนี้ ผู้แปลขอน้อมรับความ เห็นและค�ำแนะน�ำจากท่านผู้อ่านทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง  เขมณัฏฐ์  ทรัพย์เกษมชัย

14 หวังหลง  เขียน


ค�ำน�ำผู้แปล

ครั้งแรกที่ได้รับการติดต่อจากส�ำนักพิมพ์มติชนให้แปลหนังสือเรื่อง ราชส�ำนัก

จีนหันซ้าย โลกหันขวา ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่างานแปลชิ้นนี้น่าสนใจมาก เมื่อเริ่มลงมือแปล ก็รู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้ไม่เพียงแต่น่าสนใจ แต่ยัง “น่าอ่านมาก”  หนังสือเล่มนี้น�ำพา ข้าพเจ้าย้อนเวลากลับไปสู่ยุคใกล้ของประเทศจีน แนะน�ำให้ข้าพเจ้ารู้จักกับบุคคลส�ำคัญ ในประวัติศาสตร์จีนอย่างลึกซึ้ง ตั้งแต่หลินเจ๋อสวี กัวซงเทา เฉาเสวี่ยฉิน คังโหย่วเหวย ซุนยัตเซ็น ไปจนถึงจักรพรรดิกวงซวี่และพระนางซูสีไทเฮา และยังได้ท�ำความรู้จักกับ บุคคลส�ำคัญในประวัติศาสตร์โลก อาทิ เชกสเปียร์ จอร์จ วอชิงตัน อิโต ฮิโระบุมิ จักรพรรดิเมจิ ซาร์ปีเตอร์แห่งรัสเซีย ฯลฯ  วิธีการถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ผ่านการวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวบุคคล ของผู้เขียนท�ำให้ข้าพเจ้าเห็นภาพชัดเจน  ประเด็นต่างๆ ที่ผู้เขียนหยิบยกขึ้นมาแม้จะ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตแต่ก็ยังคงความทันสมัยอยู่เสมอ  ข้าพเจ้าสัมผัสได้ถึงความ ทุ่มเทอย่างมหาศาลของผู้เขียน จึงตัง้ ใจจะถ่ายทอดความรู้สกึ นัน้ ไปสู่ผู้อ่านให้มากทีส่ ุด เมื่อเริ่มลงมือแปลแล้วข้าพเจ้าก็ยากจะหยุดตัวเองได้ จึงหวังว่าผู้อ่านจะสนุกกับการ อ่านจนหยุดไม่ได้เช่นกัน สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าขอขอบคุณ คุณพาสนินทร์ วงศ์วุฒิสาโรช คุณนพเก้า แซ่เขา และบรรณาธิการเล่ม ส�ำหรับความช่วยเหลือและค�ำปรึกษาจนท�ำให้งานแปลชิ้นนี้ สามารถส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สุดารัตน์ วงศ์กระจ่าง ราชสำ�นักจีนหันซ้าย 15 โลกหันขวา


ราชวงศ์สวรรค์ที่ยืนลังเลอยู่บนทางแยก หวังซู่เจิง

ประเทศจีนยุคปัจจุบันที่เดินทางผ่านกาลเวลามายาวนาน เต็มไปด้วยความ

แคลงใจและฝันร้ายที่ยังวนเวียนตราตรึงอยู่ในความทรงจ�ำอย่างยากจะก�ำจัด  ประวัติศาสตร์อันยาวนานคลุกเคล้าไปด้วยการต่อสู้และความทุกข์ยาก ความฮึกเหิมและ ความฝัน ทั้งยังมีความวุ่นวายในประเทศชาติบวกกับปัญหาปากท้องของประชาชนใน ช่วง 100 ปีที่ผ่านมา  อาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคใหม่ของสังคมจีนเป็น กระบวนการอันยากล�ำบาก กินระยะเวลายาวนาน และต้องจ่ายค่าตอบแทนสูงที่สุด ในโลก ประวัติศาสตร์ที่ปกคลุมด้วยหมอกหนาทึบนั้นยากจะหาทางออกได้ มีความ แคลงใจนานัปการรายล้อมเราอยู่ นั่นคือ เหตุใดประเทศจีนจึงพลาดโอกาสในการ ปฏิวัติอุตสาหกรรมโลก  ท�ำไมการปฏิรูปในรัชสมัยจักรพรรดิเมจิของญี่ปุ่นจึงมีประสิทธิภาพ แต่การปฏิรูปอู้ซวี1ในรัชสมัยจักรพรรดิกวงซวี่แห่งราชวงศ์ชิงกลับเกิดขึ้น แล้วหายไปในชั่วพริบตา  เพราะอะไรการท�ำสงครามต่อสู้เพื่อเอกราชของอเมริกาจึง สร้างวีรบุรุษนามจอร์จ วอชิงตันผู้ยิ่งใหญ่เปี่ยมเมตตาขึ้นมาได้ แต่ประเทศจีนที่ผ่าน สงครามมามากมายกลับสร้างนายพลอย่างหยวนซื่อข่ายออกมาเหลือคณานับ 1

หรือปฏิรูปร้อยวัน การปฏิรูปกฎหมายของชนชั้นปัญญาชนหัวก้าวหน้าใน ค.ศ.1898 มีคัง โหย่วเหวยและเหลียงฉี่เชาเป็นแกนน�ำ โดยเคลื่อนไหวผ่านจักรพรรดิกวงซวี่ 16 หวังหลง  เขียน


หวังหลง นักเขียนหนุ่มผู้นี้เข้าใจดีว่า สภาวะแวดล้อมทั้งหมดที่ราชวงศ์ต้อง เผชิญในต�ำราเอ้อร์สือซื่อสื่อ2ไม่ได้เลวร้ายหรือซับซ้อนไปกว่าสภาวะแวดล้อมที่ประเทศ จีนยุคปัจจุบันเผชิญอยู่  ศึกทั้งภายนอกภายในที่ทุกราชวงศ์ต้องเจอก็ไม่ได้หนักหนา รุนแรงไปกว่า “การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่” เขาจึงลองยืนอยู่บนประเทศ จีนแล้วมองออกไปยังโลกทั้งใบ วิเคราะห์แยกแยะ “ราชวงศ์สวรรค์” บนกระดาน หมากรุกยักษ์ของประวัติศาสตร์โลกยุคใกล้ น�ำพาเราผ่านภูเขาน�้ำแข็งและกระแสน�้ำ เชี่ยวกราก ข้ามโขดหินโสโครก ฝ่าฝุ่นควันฟุ้งตลบบนเส้นทางแห่งประวัติศาสตร์ที่ ยาวนาน ให้สัมผัสความรู้สึกเข้าใจและซาบซึ้งเฉกเช่นยามได้ยินเสียงระฆังในค�่ำคืน เงียบสงัด และตกใจตื่นจากความฝัน  ส�ำหรับท่านผู้อ่านแล้ว นี่เป็นการเดินทางสู่ ประวัติศาสตร์ที่แปลกใหม่และสนุกสนานอย่างไม่ต้องสงสัย หนังสือเล่มนี้เขียนถึงนิสัยใจคอและการใช้อ�ำนาจของประมุข นายพล และ เสนาบดีของจีนและตะวันตกในยุคใกล้ที่เห็นได้ไม่บ่อยนัก กล่าวถึงผู้มีอัจฉริยภาพ แต่ไม่พาดพิงถึงความลับของราชส�ำนัก  หวังหลงจุดคบไฟ เปิดประตูบานใหญ่มืดมน ออกด้วยตัวเอง ค่อยๆ ก้าวไปสู่จุดลึกสุดของอุโมงค์แห่งประวัติศาสตร์อันมืดด�ำโดย ไม่สนใจความยากล�ำบาก  บุคคลแต่ละกลุ่มที่เขายกมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ เช่น จักรพรรดิคังซีกับซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย หลี่หงจางกับอิโต ฮิโระบุมิ จักรพรรดิ กวงซวี่กับจักรพรรดิเมจิ  บ้างก็เป็นวีรบุรุษตกม้าตาย บ้างก็เป็นคนที่สร้างผลงาน โดดเด่นในคราเดียว บ้างใกล้ประสบความส�ำเร็จแต่แล้วก็ล้มเหลว บ้างก็เป็นผู้มีอานุภาพแผ่ไพศาล  โชคชะตาของพวกเขาแต่ละคนล้วนสะท้อนโชคชะตาของประชาชน ในประเทศ สะท้อนถึงจุดจบที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นซึ่งเกิดจากวัฒนธรรมทางการเมืองที่ แตกต่างกันระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก  ผู้เขียนมองทะลุจุดเชื่อมต่อส�ำคัญ ของการประชันขันแข่งระหว่างจีนและตะวันตกยุคใกล้ วิเคราะห์ถึงมูลเหตุอันลึกซึ้ง ที่กุมชะตาประเทศชาติให้รุ่งเรืองและตกต�่ ำ ช่วยถ่ายภาพเอ็กซเรย์ทางจิตวิทยาใน วัฒนธรรมของชาวจีน ค้นหาแสงไฟที่ท�ำให้มองทะลุผ่านเมฆหมอกหนาทึบบนเส้นทาง ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานให้แก่ประเทศจีน  หวังหลงเขียนไว้ว่า “การปกครองประเทศ ชาติทั้งหมดทั้งมวลถ้าไม่ก้าวหน้าก็ต้องถอยหลัง หากยึดถือการอนุรักษ์เป็นเป้าหมาย เพียงอย่างเดียว ย่อมยากจะรักษาอ�ำนาจไว้ให้ยาวนานได้  นี่คือค�ำสอนอันยิ่งใหญ่ ที่กษัตริย์ผู้หลงทางพระองค์หนึ่งเหลือไว้ให้” 2

ต�ำราประวัติศาสตร์ของจีนที่ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงศตวรรษที่ 17 ในยุคราชวงศ์หมิง 二十四史

ราชสำ�นักจีนหันซ้าย 17 โลกหันขวา


นักเขียนงานประวัติศาสตร์ที่ดีไม่ควรยึดความคิดในการอธิบายประวัติศาสตร์ แต่ควรยึดข้อเท็จจริงเป็นหลัก ไม่ควรใช้หลักคุณธรรมมาแทนที่การศึกษาพิจารณา ด้วยหลักเหตุผล  หนังสือเล่มนี้อ้างอิงเกร็ดประวัติและบันทึกชีวประวัติตามความ จริง ประสานท่วงท�ำนองการเขียนและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ไว้ด้วยกัน มอง รายละเอียดปลีกย่อยไล่ไปสู่จุดส�ำคัญ สืบค้นจากเรื่องเล็กน้อยไล่ไปหาแนวโน้มใหญ่ ตะลุยไปในโลกยุคโบราณและปัจจุบันอย่างน่าสนใจ คล้ายมีเสียงฟ้าผ่าครืนครั่นในยาม สงบ  หนังสือเล่มนี้ยังฟื้นคืนภาพลักษณ์อันซับซ้อนของบุคคลในห้วงประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเขียนถึงพระนางซูสีไทเฮาหรือราชินีวิกตอเรีย ล้วนไม่เห็นถึงความโหดร้าย ทารุณเกินขอบเขตและความเมตตาของ “สมเด็จย่าแห่งยุโรป” ดังเช่นที่อยู่ในความคิด เราเลย  หวังหลงมีคุณูปการต่อความคิดที่ “แข็งกระด้าง” อันเป็นลักษณะนิสัยของ คนจีน ความกลัดกลุ้มกับความทุกข์สุข สติปัญญากับความงงงวย ความกล้าหาญกับ ความจ�ำใจของบุคคลในประวัติศาสตร์เหล่านั้นต่างแสดงให้เห็นถึงภาพอีกด้านของ ยุคสมัยหนึ่ง  หวังหลงไม่ใช่ผู้ชมที่อยากรู้อยากเห็น งานเขียนของเขาเดินทางอยู่ ระหว่างประเทศจีนกับโลกตะวันตก ศึกษาค้นคว้าอย่างรอบด้านก่อนจะน�ำมาเขียน อย่างระมัดระวัง ความเกลียดซึมลึกเข้ากระดูก ความรักคลออยู่ในน�้ ำตา เราจะเห็น ความจริงใจอย่างเปี่ยมล้นของนักเขียนคนหนึ่งผ่านงานชิ้นนี้ หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงบุคคลในประวัติศาสตร์ของจีนและตะวันตกทั้งสิ้น 10 คู่ รวมเป็น 20 ท่าน  งานวิจัยเกี่ยวกับพวกเขาเหล่านั้นมีมากมาย หวังหลงต้องใช้ความ กล้าหาญอย่างมากในการเลือกเขียนหัวข้อนี้  การเตรียมความรู้อย่างพร้อมสรรพท�ำให้ การเรียบเรียงข้อความของเขาราบรื่นและมีชีวิตชีวา  ส�ำหรับคนรุ่นใหม่ในยุค 70 คน หนึ่งแล้วถือเป็นเรื่องที่ท�ำได้ยากมาก  และที่ส�ำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา พิจารณาวัฒนธรรมโบราณของจีนที่มีมากว่าพันปี หรือการสะสางความคิดของระบบ แบบเก่า ล้วนท�ำให้เรามองเห็นการทบทวนอย่างสุขุมต่อวิถีของผู้คน ความจริงใจในการ แสวงหาอนาคตของประเทศ และความลึกซึ้งทางความคิดของนักเขียนรุ่นใหม่คนหนึ่ง ข้อสรุปทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวของหนังสือเล่มนี้อาจไม่เหมาะ แก่การค้นคว้า  หนังสือเล่มนี้เป็นเพียงอาณาจักรกว้างใหญ่ที่ปล่อยให้ความคิดโบยบิน ได้ตามอ�ำเภอใจ  แต่กาลเวลาที่เปลี่ยนผันและความก้าวหน้าของโลกใบนี้ จะท�ำให้การ ศึกษาพิจารณาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจีนและตะวันตกมีความส� ำคัญยิ่งขึ้น ในสังคมที่ก�ำลังพัฒนาของเรา  ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้วพลังชีวิตของหนังสือเล่มนี้จะมี อายุยาวนาน  หนังสือที่มพี ลังชีวิตยาวนานย่อมต้องเป็นหนังสือที่ดีแน่นอน 18 หวังหลง  เขียน


ทางแยกมากมาย ควรเลือกไปทางใด สือเหนียนข่านไฉ

ช่วงวิถีที่ก้าวไปข้างหน้าของชนกลุ่มหนึ่งก็เหมือนกับการเจริญเติบโตของคน

คนหนึ่ง ท่ามกลางกาลเวลาที่ยาวนาน  แท้จริงแล้วหัวใจส�ำคัญก็อยู่ที่การก้าวย่างเพียง ไม่กี่ก้าวนั่นเอง  แต่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อส�ำคัญนั้น การเลือกเป้าหมายที่จะเดินไป และวิถีทางที่จะเดินไป ย่อมส่งผลกระทบชี้ขาดต่อโชคชะตาหลังจากนี้  เมื่อคนคนหนึ่ง ย่างก้าวเข้าสู่วัยชราแล้วหันกลับไปมองเรื่องราวในอดีต หากไม่มีเรื่องให้ต้องเสียใจ ก็จะรู้สึกดีใจว่าก้าวย่างที่เดินมานั้นถูกทางแล้ว  แต่หากเป็นตรงกันข้ามก็จะรู้สึกเสียใจ ว่าเดินก้าวแรกไม่ระมัดระวังพอ ท�ำให้สูญเสียหนทางที่ราบเรียบและกว้างใหญ่ ในยุคจ้านกั๋วมีคนผู้หนึ่งชื่อหยางจูจื่อ เขาได้ยินมาว่าเพื่อนบ้านก�ำลังตามหา แพะที่หายไป แต่ก็ต้องกลับมาตัวเปล่า นั่นเป็นเพราะว่า “บนทางแยกก็มีทางแยกย่อย ไปอีก ข้าไม่รู้จะไปทางไหน จึงกลับมา” แล้วสีหน้าก็เปลี่ยนเป็นระทมทุกข์  หลี่ไป๋ กวี ผู้โด่งดังในยุคราชวงศ์ถังทอดถอนใจถึงชีวิตคนเราว่า “เดินทางยากล�ำบาก เดินทาง ยากล�ำบาก ทางแยกมากมาย ควรเลือกไปทางใด” ความล�ำบากในการเลือกเส้นทางบน ทางแยกเป็นสัจธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คนหนึ่งคนก็เหมือนกับชนหนึ่งกลุ่ม การเลือกเส้นทางที่คิดว่าถูกต้องเมื่อเผชิญ ทางแยก โดยหลักแล้วขึ้นอยู่กับการบงการโดยสมองของคนผู้นั้น และสติปัญญาหรือ นิสัยเดิมของผู้มีอ�ำนาจซึ่งเป็นผู้ก�ำหนดโชคชะตาของชนกลุ่มนั้น รวมถึงผลกระทบ จากสภาพโดยรวมในช่วงเวลาหนึ่งของคนผู้นั้นหรือชนทั้งกลุ่ม  ในหนังสือ ราชส�ำนัก ราชสำ�นักจีนหันซ้าย 19 โลกหันขวา


จีนหันซ้าย โลกหันขวา คุณหวังหลงได้น�ำอัจฉริยภาพและโชคชะตาของบุคคลส�ำคัญ ของจีนที่มีชีวิตอยู่ในยุคราชวงศ์ชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลาย มาเปรียบเทียบกับ บุคคลส�ำคัญของโลกตะวันตกรวมถึงบุคคลส�ำคัญของญี่ปุ่นในยุคเดียวกัน ซึ่งผลที่ได้ รับเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง  บุคคลที่มีชื่อเสียงในหนังสือบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ จีนเหล่านี้ เมื่อน�ำไปเปรียบเทียบกับบุคคลยอดเยี่ยมของประเทศอื่นๆ ในช่วงเวลา เดียวกัน ดูยังห่างชั้นกันไกลอย่างเลี่ยงไม่ได้  เนื้อหาจากปลายปากกาของคุณหวังหลง ไม่ว่าจะกล่าวถึงจักรพรรดิคังซี “ผู้ปราดเปรื่อง” หรือพระนางซูสีไทเฮาผู้เฉียบขาดและ เฉียบแหลม เปรียบเทียบกับซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียและราชินีวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร หรือจะเป็นหลี่หงจางอัครเสนาบดีผู้พิชิตข้าศึกด้วยการเจรจาทางการทูต เปรียบเทียบกับอิโต ฮิโระบุมิ นักการเมืองญี่ปุ่น หรือหงซิ่วเฉวียนกบฏผู้เป็นวีรบุรุษ เปรียบเทียบกับไซโง ทะกะโมะริ หนึ่งในซามูไรผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของญี่ปุ่น หรือจะ เป็นคังโหย่วเหวยผู้จุดประกายปัญญาชน เปรียบเทียบกับฟุคุซะวะ ยูคิจินักปฏิวัติด้าน การศึกษาชาวญี่ปุ่น  ความสามารถของบุคคลกลุ่มแรกไม่ได้ด้อยไปกว่าบุคคลกลุ่มหลัง ที่น�ำมาเปรียบเทียบเลย ทว่าความสุขที่เจ้าของชื่อเสียงเกรียงไกรในประวัติศาสตร์จีน เหล่านี้มอบให้ประชาชนชาวจีนทั้งประเทศก็ยังห่างชั้นกับบทบาทที่บุคคลกลุ่มหลังมีต่อ ประชาชนในประเทศของพวกเขาอย่างเด่นชัด  แม้ว่าบุคคลที่โดดเด่นของประเทศจีน ยุคใกล้เหล่านี้จะเคยพยายามทุ่มเทสุดก�ำลัง แต่ก็ไม่สามารถน�ำพาชนชาติจีนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานไปสู่เส้นทางที่ถูกต้องได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนกับญี่ปุ่นที่เป็นชาติ ตะวันออกเหมือนกัน มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และมีความสัมพันธ์ ที่แน่นแฟ้นซับซ้อน  แต่เมื่อเผชิญโอกาสเดียวกันกลับหันเดินไปคนละทิศคนละทาง ซึ่งความแตกต่างอย่างมหาศาลนี้เองท�ำให้ชนรุ่นหลังต้องอยู่อย่างยากล�ำบาก แผ่นดินจีนไม่ขาดแคลนแหล่งทรัพยากร ชนชาติจีนไม่ขาดแคลนบุคคลที่มี ความสามารถ  แต่เมื่อต้องยืนอยู่บนทางแยกและเผชิญกับความลังเลหลายหน เหตุใด ประเทศจีนในช่วงหลายร้อยปีมานี้จึงมักก้าวเดินไปบนเส้นทางที่นักประวัติศาสตร์เห็น ว่าไม่ควรเดินไปอย่างยิ่ง  สาเหตุมีเพียงว่าประชากรของจีนมีมาก ท�ำให้สถานการณ์ ซับซ้อน หรือเป็นเพราะบุคคลในชนชั้นปกครองขาดระบบและวิสัยทัศน์ ยากที่จะท�ำให้ ดีขึ้นได้ หรือเป็นเพราะวัฒนธรรมของบรรพบุรุษชาวจีนได้ละลายปัจจัยการปฏิรูปใหม่ ไปหมดแล้ว ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นเพียงพรหมลิขิตของชาวจีน เท่านั้นหรือ นี่อาจเป็นค�ำถามจากสวรรค์ที่ยังหาค�ำอธิบายไม่ได้มาหลายร้อยปีนับตั้งแต่ยุค ปลายราชวงศ์ชิงเป็นต้นมา หรืออาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์หมิง   20 หวังหลง  เขียน


“อ่านสามก๊กแล้วร้องไห้ เป็นทุกข์แทนคนในสมัยโบราณ” สุภาษิตนี้มิอาจหมาย ความเพียงว่าผู้อ่านในยุคหลังมีจิตคิดฟุ้งซ่าน แต่หมายถึงคนที่เติบโตในระบบวัฒนธรรมเดียวกันนั้น จะสร้างจินตนาการทางประวัติศาสตร์แต่ละแบบให้เป็นไปตามความ คาดหวังของตน โดยยึดเอาการรับรู้ในสภาพชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง  ด้วยเหตุนี้การอ่าน ประวัติศาสตร์จึงจ�ำเป็นต้องมีการเลือกรับคุณค่าและแนวโน้มทางอารมณ์  เมื่อได้อ่าน ประวัติศาสตร์ในช่วง 300 ปีมานี้ นับตั้งแต่ยุคราชวงศ์หมิงล่มสลายถึงยุครุ่งเรืองของ ราชวงศ์ชิงเรื่อยมาจนถึงการสละราชบัลลังก์ของจักรพรรดิแห่งราชส�ำนักชิง บางครั้งผม ก็อดเศร้าใจขึ้นมาไม่ได้ ท�ำตัวเป็นผู้รู้หลังเกิดเรื่องแล้ว วินิจฉัยเรื่องราวได้ชัดเจน  ใน สงครามรับมือกับ “โจรพเนจร” และพวกโฮ่วจิน3 จักรพรรดิฉงเจินอยู่ในภาวะกลืนไม่ เข้าคายไม่ออก เมื่อถึงช่วงเวลาส�ำคัญที่ขุมอ�ำนาจต่างๆ ก�ำลังฟาดฟันกัน เขาขบคิดอยู่ เนิ่นนานแต่กลับทิ้งไพ่ที่ไม่ควรทิ้งที่สุดลงไปราวกับเล่นไพ่นกกระจอกมือไม่ขึ้น  ด้วย เหตุนี้จึงท�ำให้ราชวงศ์ชิงฉกฉวยโอกาสนี้ขึ้นเป็นผู้ครอบครองดินแดนที่ราบภาคกลาง (จงหยวน) ได้ส�ำเร็จ  ในชั่วระยะเวลาอันสั้น นักปกครองของราชวงศ์ชิงก็ส�ำแดงความ เป็นเผด็จการออกมาถึงขั้นสุด เข้าควบคุมความก้าวหน้าของวัฒนธรรมทางความคิด หลังสิ้นสุดสงครามฝิ่น นักปกครองแห่งราชวงศ์ชิงน� ำวิธีการปกครองในสมัยปลาย ราชวงศ์หมิงที่เคยล้มเหลวกลับมาใช้อีกครั้ง ซึ่งถือเป็นข้อผิดพลาดในช่วงเวลาส�ำคัญ ที่ยากจะพลิกสถานการณ์ได้  ยกตัวอย่างเช่น “การปฏิรูปอู้ซวี” ที่ล้มเหลวตั้งแต่ เพิ่งเริ่ม เช่น “การเตรียมรัฐธรรมนูญ” ที่หลอกลวงเจตนารมณ์ของประชาชนครั้งแล้ว ครั้งเล่า เช่น “การน�ำพระบรมวงศานุวงศ์มาเป็นคณะรัฐมนตรี” ซึ่งสุดท้ายท�ำให้ประชาชนผิดหวังอย่างที่สุด  การใช้อ�ำนาจช่วงชิงทรัพย์สินของประชาชนอย่างโจ่งแจ้งจนน�ำ มาซึ่ง “ขบวนการปกป้องทางรถไฟ (the railway project crisis)”  ก่อนตัดสินใจไป ผูกคอตายที่ภูเขาเหมยซาน จักรพรรดิฉงเจินเพิ่งจะรู้ว่าตนเลือกสิ่งที่ผิดพลาดมากมาย ส่วนหวังไจ่เฟิงผู้ส�ำเร็จราชการแทน เมื่อถึงตอนประกาศสละราชสมบัติ จึงเพิ่งรู้สึก ส�ำนึกว่ามิได้คว้าโอกาสที่มีมากมายไว้ หวังหลงก็เหมือนนักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์หลายคนในยุคปัจจุบัน ชอบเปรียบ เทียบประเทศจีนกับญี่ปุ่น  แม้ว่าการยกความส�ำเร็จของการปฏิรูปในรัชสมัยจักรพรรดิ เมจิของญี่ปุ่นมาเปรียบเทียบกับความล้มเหลวในการปฏิรูปอู้ซวีของราชวงศ์ชิงจะท�ำให้ ผู้คนรู้สึกเสียดายก็ตาม แต่เราก็ควรมองย้อนกลับไปว่าหลังจากลัทธิทหารนิยมของ 3

หรือราชวงศ์โฮ่วจิน เป็นชื่อราชวงศ์ที่นู่เอ่อร์ฮาฉื้อก่อตั้งขึ้นบริเวณแมนจูเรีย (เขตตะวัน ออกเฉียงเหนือของจีนในปัจจุบัน) ก่อนจะบุกเข้าด่านและสถาปนาราชวงศ์ชิง 后金

ราชสำ�นักจีนหันซ้าย 21 โลกหันขวา


ญี่ปุ่นน�ำพาภัยพิบัติมาสู่ประชาชนทั้งประเทศ ญี่ปุ่นที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม กลับสามารถก่อตั้งระบบบังคับและควบคุมดูแลที่มีประสิทธิภาพภายใต้การยึดครอง ของอเมริกาได้ ประชาชนทั้งประเทศกลับมายืนหยัดหลังแพ้สงครามได้อย่างรวดเร็ว ช่วงวิถีเช่นนี้ควรค่าแก่การให้พวกเราเก็บไปคิดพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่มีชนชาติใดที่ขึ้นชื่อว่ายอดเยี่ยมไม่เคยผิด พลาด สิ่งส�ำคัญที่สุดคือเรามีกลไกแก้ไขข้อผิดพลาดหรือไม่  เมื่อเราได้รับบทเรียน จากความผิดพลาดแล้ว จะไม่เดินซ�้ำรอยเดิมอีกได้หรือไม่ คนหนึ่งคนหรือชนหนึ่งกลุ่มมักได้รับโอกาสเพียงครั้งเดียว เมื่อเราท�ำผิดพลาด ไปครั้งหนึ่งแล้วก็ยากจะมีโอกาสให้แก้ตัว  และหากท�ำผิดครั้งแล้วครั้งเล่า ผู้คนก็จะ พิจารณาว่า เหตุใดการสร้างกลไกการเลือกที่สมเหตุสมผลของคนคุมหางเสือประจ�ำ ชาติตลอดหลายยุคหลายสมัยจึงเป็นเรื่องยากเย็นนัก คุณหวังหลงผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นนักเขียนทหารที่ยังอายุน้อยคนหนึ่ง เขา ไม่เหมือนนักเขียนทหารคนอื่นๆ อีกมากที่ให้ความสนใจแต่เรื่องยุทธศาสตร์การทหาร นายทหารผู้เป็นต�ำนาน หรือวิพากษ์วิจารณ์ส่วนดีส่วนเสียของยุทธการในการรบเพียง อย่างเดียว แต่สายตาของเขามองไปถึงเส้นทางทั้งหมดที่ผู้คนเคยเลือกไว้ในช่วงหลาย ร้อยปีที่ผ่านมา ยกบุคคลโดดเด่นของชาติจีนไปเปรียบเทียบกับบุคคลยอดเยี่ยมของ ชาติอื่น จนเกิดวิสัยทัศน์อันกว้างไกล เพราะมีเพียงการใช้วิสัยทัศน์อันกว้างไกลนี้มอง ประวัติศาสตร์และความเป็นจริงเท่านั้น จึงสามารถหลีกเลี่ยงการดูถูกตนเองและยกตน ข่มท่านได้  ทุกวันนี้การรวมก�ำลังของชาติจีนเพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว คนหนุ่มสาว ในประเทศจ�ำนวนมากมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ ประเทศจีนก�ำลังเผชิญ หน้ากับการเปลี่ยนรูปแบบทางสังคมครั้งใหญ่ ซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง การเดินอยู่บนทางแยก การเลือกไปทางใดทางหนึ่งจะตัดสินชะตาของกลุ่มชน ดวง ชะตาของกลุ่มชนมีความเชื่อมโยงกับดวงชะตาของเราทุกคนอย่างแนบแน่น  กว่าจะ เดินมาถึงวันนี้ได้บรรพบุรุษต้องผ่านความทุกข์ยากมามากมาย ต้องผ่านบทเรียนจาก หยดเลือดและเปลวไฟมานับไม่ถ้วน  ตอนนี้เรามีวิสัยทัศน์และปณิธานที่มีเหตุผล สุขุม รอบคอบ กว้างขวางและยาวไกล เพื่อเตรียมพร้อมเผชิญหน้ากับทางแยกแล้วหรือยัง ผมเชื่อว่า เมื่อได้อ่านหนังสือของคุณหวังหลงเล่มนี้จนจบ จะต้องมีคนจ�ำนวน ไม่น้อยที่เริ่มใคร่ครวญถึงโชคชะตาของประเทศชาติและความเป็นอยู่ของประชาชน อย่างลึกซึ้งไปอีกขั้น  ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอแนะน�ำหนังสือเรื่อง ราชส�ำนักจีนหันซ้าย โลกหันขวา เล่มนี้แก่ท่านผู้อ่านอย่างเป็นทางการ 22 หวังหลง  เขียน


ราชส�ำนักจีนหันซ้าย โลกหันขวา


จักรวรรดิที่หลงทาง

V จักรพรรดิคังซี (1654-1722)


ความแตกต่างในการปกครองประเทศ ของจักรพรรดิคังซีกับซาร์ปีเตอร์ที่ 1

S ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย (1672-1725)


จักรพรรดิคังซีและซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ต่างเป็นกษัตริย์ระดับต�ำนานผู้ทรงอ�ำนาจ  คนหนึ่งเป็นจักรพรรดินักวางแผนและผู้กอบกู้ภาวะวิกฤตของประเทศจีน  อีกคนเป็นกษัตริย์รัสเซียผู้มีปณิธานแน่วแน่ในการปฏิรูปและผลักดันประ-  เทศอย่างบ้าคลั่ง  ทั้งสองไม่เพียงเกิดยุคเดียวกันและขึ้นครองราชย์ในช่วง  เวลาเดียวกันเท่านั้น หากยังมีอัจฉริยภาพและแผนการล�้ำลึกเหนือปุถุชน  คนธรรมดา  คังซีน�ำพาประเทศผ่านพ้นเหตุการณ์ความไม่สงบในยุคปลาย  ราชวงศ์หมิงถึงต้นราชวงศ์ชิง จนท�ำให้จีนกลายเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุด  ในดินแดนตะวันออก  ส่วนซาร์ปีเตอร์ท่ี 1 ก็พาประเทศรัสเซียทะยานขึ้นจาก  ความล้าหลัง สู่การเป็นประเทศเข้มแข็งที่เหล่ามหาอ�ำนาจในยุโรปต้องยกย่อง  ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ผลักดันรัสเซียขึ้นสู่เส้นทางการเปลี่ยนประเทศให้เป็นสมัย  ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เข้าครอบครองพื้นที่ทั้งยุโรปและเอเชีย กวาดสายตา  มองทั่วโลกด้วยความโอหัง  แต่คังซีนั้นสุดท้ายกลับไม่สามารถข้ามผ่าน  ระบอบศักดินาไปได้ ราชส�ำนักอันรุ่งเรืองที่พระองค์สร้างขึ้นตกต�่ำลงในช่วง  รุ่งโรจน์ถึงขีดสุดเนื่องเพราะพลาดโอกาสในการปฏิวัติอุตสาหกรรม จึงเผชิญ  กับความตกต�่ำอย่างรวดเร็ว


สมมุติว่าดวงอาทิตย์และดวงจันทร์โคจรมาพบกันในวันฟ้าใส นั่นคงจะเป็น

ภาพอันงดงามตระการตา  นี่คือความบังเอิญที่มหัศจรรย์เหนือความคาดหมาย  การ  เปลี่ยนผ่านระหว่างศตวรรษที่ 17 กับศตวรรษที่ 18 เปรียบเหมือนแสงไฟที่เจิดจ้า  ดาวฤกษ์สองดวงอันน่าตื่นตะลึงปรากฏขึ้นพร้อมกันเหนือฟากฟ้าของจีนและรัสเซีย  พวกเขาก็คือจักรพรรดิคังซีและซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ผู้สร้างคุณูปการยิ่งใหญ่อันมีผลสืบ  เนื่องมาจนปัจจุบัน ทั้งสองต่างเป็นกษัตริย์ระดับต�ำนานผู้ทรงอ�ำนาจ คนหนึ่งเป็นจักรพรรดินักวาง  แผนและผู้กอบกู้ภาวะวิกฤตของประเทศจีน อีกคนเป็นกษัตริย์รัสเซียผู้มีปณิธาน  แน่วแน่ในการปฏิรูปและผลักดันประเทศอย่างบ้าคลั่ง  ทั้งสองไม่เพียงเกิดยุคเดียวกัน  และขึ้นครองราชย์ในช่วงเวลาเดียวกันเท่านั้น หากยังมีอัจฉริยภาพและแผนการล�ำ้ ลึก  เหนือปุถุชนคนธรรมดา  ทั้งสองทุ่มเทก�ำลังสร้างประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง ใน  ศตวรรษที่ 17 ถึงศตวรรษที่ 18 ก็น�ำพาประเทศของตนก้าวสู่ความเจริญเฟื่องฟู  คังซี  น�ำพาประเทศผ่านพ้นเหตุการณ์ความไม่สงบในยุคปลายราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง  จนท�ำให้จีนกลายเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในดินแดนตะวันออก  ส่วนซาร์ปีเตอร์ที่ 1  ก็พาประเทศรัสเซียทะยานขึ้นจากความล้าหลัง สู่การเป็นประเทศเข้มแข็งที่เหล่ามหา  อ�ำนาจในยุโรปต้องยกย่อง  แต่พวกเขาก็เหมือนคนคุมหางเสือเรือล�ำใหญ่ 2 ล�ำ ซึ่ง  หันหัวเรือไปยังทิศทางตรงข้ามกันในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อส�ำคัญของประวัติศาสตร์  ราชสำ�นักจีนหันซ้าย 27 โลกหันขวา


ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ผลักดันรัสเซียเข้าสู่เส้นทางการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นสมัยใหม่  ได้อย่างรวดเร็ว เข้าครอบครองพื้นที่ทั้งยุโรปและเอเชีย กวาดสายตามองทั่วโลกด้วย  ความโอหัง แต่คังซีนั้นสุดท้ายกลับไม่สามารถข้ามผ่านระบอบศักดินาไปได้  ราชส�ำนัก  อันรุ่งเรืองที่พระองค์สร้างขึ้นตกต�่ำลงในช่วงรุ่งโรจน์ถึงขีดสุดเนื่องเพราะพลาดโอกาส  ในการปฏิวัติอุตสาหกรรม จึงเผชิญกับความตกต�่ำอย่างรวดเร็ว  เมื่อราชส�ำนักอัน  เกรียงไกรผู้กระหยิ่มยิ้มย่องในตนเองร่วงหล่นลงสู่ภาวะล้าสมัยและตกเป็นเป้าโจมตี  อย่างฉับพลัน ท�ำให้จีนต้องเผชิญการรุกรานย�่ำยีจากรัสเซียไปพร้อมๆ กับถูกมหา  อ�ำนาจตะวันตกกลืนกิน คาร์ล มาร์กซ์ซึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนตะวันตกก็อดไม่ได้ที่จะร� ำพึงออกมาว่า  “นี่ช่างเป็นเพลงเศร้าในรูปแบบกลอนคู่ที่น่าอัศจรรย์จนกวีคนใดก็ไม่กล้าคิดฝัน” ทุกวันนี้เมื่อเรากลับมาพลิกดูประวัติศาสตร์ยุคนี้อีกครั้งก็อดตั้งค�ำถามไม่ได้ว่า  นี่คือกฎที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของวัฏจักรความรุ่งโรจน์และตกต�่ำในประวัติศาสตร์ หรือ  เทพธิดาแห่งความโชคดีบงั เอิญมาถึงประเทศจีนแล้วผ่านเลยไป  นีค่ อื บทเพลงไว้อาลัย  อันโศกเศร้าวังเวงบทหนึ่งที่มีทั้งทุกข์สุขปนกันไป ท�ำให้ผู้คนต้องย้อนกลับมาครุ่นคิด  พิจารณาอีกครั้ง

1. ครองราชย์บนกองเลือด “จักรพรรดิผู้รู้รอบ” ที่ถือก�ำเนิดมาบนความยากล�ำบาก หากไม่ใช่เพราะสวรรค์เข้าแทรกแซง ใครก็ไม่สามารถอธิบายเหตุแห่งความ  บังเอิญอันลึกลับซับซ้อนที่จักรพรรดิคังซีและซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ต้องถูกคลื่นโหมซัดสาด  มาทั้งชีวิตได้  ทั้งคู่ต่างขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ยังเยาว์วัย ต่างก็มีความรู้ลึกซึ้งและกว้าง  ขวาง เก่งกาจด้านการปกครอง แม้แต่ชะตาพลิกผันในวัยเยาว์ก็ยังบังเอิญเหมือนกัน  ราวกับพยากรณ์ไว้ ชีวิตวัยเยาว์ของจักรพรรดิคังซีและซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ  พระนางถงเจีย พระมารดาของเสวียนเย่ (ชื่อเดิมของคังซี) ก็เป็นเพียงนางสนมผู้ไม่เป็น  ที่โปรดปราน  ตอนที่เสวียนเย่เกิด ฮ่องเต้ซุ่นจื้อพระบิดาของพระองค์กำ� ลังหลงพระนาง  ต่งเอ้อ (นางต่งเสียวหว่าน นางคณิกาเลื่องชื่อสมัยปลายราชวงศ์หมิงตามพงศาวดาร)  บุตรสาวขุนนางชั้นผู้ใหญ่ชาวแมนจูอย่างหัวปักหัวป�ำ จะเอากะจิตกะใจที่ไหนไปสนใจ  ดูแลโอรสที่ไม่ได้รับเชิญพระองค์นี้  เกิดมาได้ไม่นาน เสวียนเย่ก็เป็นไข้ฝีดาษที่ผู้คน  28 หวังหลง  เขียน


ในสมัยนั้นมองว่าโหดร้ายทัดเทียมกับอุทกภัย ชีวิตแขวนบนเส้นด้าย แม้จะโชคดี  รอดตายมาได้ด้วยพลังชีวิตอันแข็งแกร่ง แต่ก็ท�ำให้จักรพรรดิคังซีต้องมีพระพักตร์  ที่เต็มไปด้วยริ้วรอยแผลเป็นไม่น่าดู  ความโชคร้ายยังคงทยอยมาไม่ขาดสาย พระองค์  สูญเสียพระบิดาขณะอายุ 8 ปี และเมื่ออายุ 10 ปีก็ยังสูญเสียพระมารดาที่รักพระองค์  มากไปอีกคน ทั้งพระบิดาและพระมารดาจากไปในระยะเวลาเพียง 2 ปี ต้องอยู่อย่าง  โดดเดี่ยว สร้างความเจ็บปวดบาดลึกให้กับจิตใจพระองค์  เมื่อครั้งที่พระมารดาป่วย  พระองค์เฝ้าดูแลอยู่ข้างเตียงทั้งวันทั้งคืนอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง  ตอนที่พระมารดา  จากไปพระองค์ก็เอาแต่ร้องไห้ไม่กินข้าวกินปลา  เมื่อถึงวัยชรา คังซีก็หวนนึกถึงภาพ  ความทรงจ�ำฉากนี้อีกครั้งและพูดด้วยความโศกเศร้าว่า ตั้งแต่ได้เป็นโอรสของพระบิดา  และพระมารดาพระองค์ไม่เคยได้รับความสุขเลยสักวัน “นี่คือสิ่งที่เจิ้น (สรรพนามแทน  พระองค์ของจักรพรรดิจีน) เสียใจมาตลอด 60 ปี” แต่เสวียนเย่ก็ยังโชคดี พระองค์มีพระอัยยิกาที่โอบอ้อมอารีอย่างพระนางเซี่ยว  จวงไทเฮา พระนางทรงเป็นห่วงการเติบโตของพระองค์อย่างยิ่ง  พระอัยยิกาผู้ชาญ  ฉลาดเรื่องการปกครองและมีศีลธรรมเลี้ยงดูเสวียนเย่ด้วยสติปัญญาและก�ำลังอย่าง  เต็มที่ ท�ำให้พระองค์กลายเป็นกษัตริย์ผู้เฉลียวฉลาด สามารถวางรากฐานอันแข็งแกร่ง  พระนางมักเล่าอดีตของพระอัยกาสมัยที่ยังติดอาวุธครบมือ ก่อร่างสร้างราชส�ำนักด้วย  ความล�ำบากให้หลานชายฟัง ปลุกเร้าให้พระองค์เจริญรอยตามบรรพบุรุษที่เข้มแข็ง  กล้าหาญ เป็นบุคคลที่มีปณิธานและมีผลงาน  พระนางอบรมหลานชายด้วยมาตรฐาน  การเป็นกษัตริย์อย่างเข้มงวดอยู่เสมอ พร้อมทั้งสอนพระองค์ว่าจะต้อง “เปี่ยมเมตตา  อ่อนน้อมถ่อมตน” กระทั่งทุกอากัปกิริยาก็ต้อง “สง่างามและเรียบร้อย” อยู่ในกฎเกณฑ์ เกิดมาบนความยากล�ำบาก ตายบนความเปรมปรีดิ์  ความโชคร้ายในวัยเยาว์  กระตุ้นให้เสวียนเย่มุมานะกับการเรียนมากขึ้น  เริ่มจากตอนอายุ 5 ขวบ พระองค์ตื่น  แต่เช้าเข้านอนดึก ไม่ว่าอากาศจะหนาวเหน็บหรือร้อนอบอ้าวก็ไม่เคยหยุด  หลังจาก  สูญเสียพระบิดาพระมารดา พระองค์ก็ย่ิงพยายามเรียนรู้วิถีการปกครองประเทศให้  มั่นคงเข้มแข็ง ตั้งใจศึกษาคัมภีร์ของส�ำนักหรูเจีย1 พากเพียรฝึกฝนวิชาขี่ม้ายิงธนูกับ  อาซูม่อเอ่อร์เกิน องครักษ์ผู้มีวิทยายุทธ์เก่งกล้า  คังซียิงธนูล่าสัตว์บนหลังม้า 10 ดอก  1

儒家 หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ลัทธิขงจื่อ” หมายถึงกระแสธารปรัชญาที่มีต้นก�ำเนิดจากขงจื่อ    มหาปรัชญาเมธีในยุคจ้านกั๋ว สืบทอดมาในแผ่นดินจีนหลายยุคสมัย แตกแขนงเป็นหลาย  สาขา ปราชญ์คนส�ำคัญของกระแสนี้ได้แก่ ขงจื่อ เมิ่งจื่อ และจูซี เป็นแนวความคิดหลักที ่ บรรดาจักรพรรดิเลือกใช้ในการปกครองแผ่นดินจีน  ราชสำ�นักจีนหันซ้าย 29 โลกหันขวา


เข้าเป้า 9 ดอก องอาจกล้าหาญเหนือธรรมดา  พระองค์มักขอค�ำปรึกษาจากคนรอบ  ข้างอย่างถ่อมตัวเสมอ ไม่อายที่จะถามแม้กระทั่งขันทีข้างกาย งานการศึกษาอันหนักอึ้ง  กดทับจนสุขภาพพระองค์ทรุดโทรม พระองค์เหนื่อยจนอาเจียนเป็นเลือด แต่ก็ยัง  ยืนหยัดไม่ท้อถอย  ต่อมาโรคก�ำเริบหนักขึ้นจนต้องรักษาด้วยการฝังเข็มและอังความ  ร้อน  หลายปีต่อมาเพียงได้กลิ่นสมุนไพรที่ใช้อังความร้อนฮ่องเต้คังซีก็หวาดผวาแล้ว ตลอดชีวิตของคังซี พระองค์ฝึกฝนวัฒนธรรมขี่ม้ายิงธนูของชาวแมนจู ได้รับ  การขัดเกลาจากวัฒนธรรมเขตทุ่งหญ้าของมองโกเลีย และยังได้รับอิทธิพลวัฒนธรรม  ส�ำนักหรูเจียของชาวฮั่นอีกด้วย กล่าวได้ว่าพระองค์คือ “จักรพรรดิผู้รู้รอบ”  การอบรม  สั่งสอนที่เข้มงวดเช่นนี้ได้บ่มเพาะวิชาความรู้อันลึกซึ้งกว้างขวางและทรงพลังให้คังซี  รวมทั้งหล่อหลอมให้พระองค์มีบุคลิกเฉียบขาดและเข้มแข็ง ปี 1669 คังซีขึ้นบริหารราชการแผ่นดินด้วยตนเองอย่างเป็นทางการ  กษัตริย์  เยาว์วยั ผู้นเี้ ตรียมพร้อมต่อสู้อยู่เสมอ เมือ่ ได้ขนึ้ นัง่ บนบัลลังก์กษัตริย์อนั มีอำ� นาจสูงสุด  ก็แสดงปณิธานอันยิ่งใหญ่ในการปกครองประเทศออกมาอย่างไม่ยับยั้ง  เมื่ออายุได้  14 ปีพระองค์ก็สามารถวางแผนขุดรากถอนโคนอ๋าวป้ายขุนนางผู้ชอบใช้อ�ำนาจบาตร  ใหญ่ พระองค์ปราบกบฏสามหัวเมืองอิสระ ท�ำศึกตอบโต้รัสเซียในดินแดนตะวันออก  เฉียงเหนือ ปราบปรามกบฏหยางเวยที่ดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือ แผ่บารมีทั้งในและ  นอกประเทศ  ส่วนภายในพระองค์ก็จัดการแม่น�้ำแก้ไขปัญหาอุทกภัย ท�ำให้บ้านเมือง  สงบสุข มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ จัดระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่น จนก่อเกิดเป็น “ยุค  รุ่งเรืองในรัชสมัยคังซีและเฉียนหลง”  ตลอดชีวิตของจักรพรรดิคังซี ทั้งบุกตะลุยและ  วางแผนในสนามรบ ทั้งปกครองประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงและมั่งคั่ง นับว่า  สอบผ่าน “คุณสมบัติของการเป็นกษัตริย์” ตามมาตรฐานส�ำนักหรูเจีย กษัตริย์ที่มา  ไกลถึงเพียงนี้ หากมิได้อยู่ในราชวงศ์เผด็จการที่ไร้อารยธรรมในท้ายที่สุด ก็อาจนับได้  ว่าเป็น “กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่อันดับหนึ่งตลอดกาล”

ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ในวัยเยาว์ผู้ประสบแต่ความโชคร้าย อีกมุมหนึ่งของโลก ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ซึ่งเกิดช้ากว่าคังซี 18 ปี ก็ต้องประสบกับ  เรื่องร้ายๆ เช่นเดียวกัน  ต�ำแหน่งกษัตริย์ที่มิใช่ได้มาอย่างง่ายดายเต็มไปด้วยกลิ่น  คาวเลือด  ซาร์อเล็กซีที่ 1 พระบิดาของซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มีโอรสตอนอายุมากแล้ว  พระองค์ดีใจเป็นอย่างมาก ทั้งรักทั้งหลงซาร์ปีเตอร์  แต่น่าเสียดายที่ช่วงเวลาแห่ง  ความสุขไม่ยืนนาน  เมื่อซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มีอายุได้เพียง 4 ขวบ ซาร์ผู้แก่ชราก็ล้มป่วย  และลาโลกไป เหลือเพียงสองคนแม่ลูกที่แทบไม่มีพลังอ�ำนาจ จึงต้องตกอยู่ในสถาน-  30 หวังหลง  เขียน


การณ์ล่อแหลม  ในปีที่ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 อายุครบ 10 ปี เขาต้องผ่านการต่อสู้อันนอง  เลือดอย่างต่อเนื่อง เจ้าหญิงโซเฟียพี่น้องต่างมารดาของเขาลงมือตัดไฟแต่ต้นลม  พระนางอาศัยค�ำโกหกและค�ำมั่นสัญญาเรียกการสนับสนุนจากกองพลปืน น�ำทัพ  มาล้อมพระราชวัง ราชินีและญาติพี่น้องฝ่ายที่สนับสนุนซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ถูกตัดศีรษะ  คนแล้วคนเล่า ศีรษะชุ่มเลือดถูกเสียบบนปลายหอกแหลมของกองพลปืนหัวแล้ว  หัวเล่า  พระนางโซเฟียกลายเป็นฝ่ายได้เปรียบในการต่อสู้  ภาพเหตุการณ์เหล่านี ้ ท�ำให้ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 สะเทือนใจอย่างสุดซึ้ง พระนางโซเฟียผู้ปลิ้นปล้อนหน้าเนื้อใจเสือ  ลูกไม้การเมืองอันซับซ้อนของพระนางส่งผลกระทบที่ลึกซึ้งต่อซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ที่ยัง  เยาว์วัย  ชีวิตของเขาเริ่มนิยมอ�ำนาจป่าเถื่อนนับแต่นั้นมา และเรียนรู้การใช้พระเดช  พระคุณต่อศัตรูด้วยความเหี้ยมโหดไร้ปรานี ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 กับพระมารดาต้องอยู่อย่างอกสั่นขวัญแขวนภายใต้คมดาบของ  พระนางโซเฟีย ซึ่งก็เหมือนคังซีในวัยเด็กที่ต้องอยู่ภายใต้เงาของอ๋าวป้ายผู้ทะเยอทะยาน  แม้ว่าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 จะได้ชื่อว่าเป็นซาร์ แต่อ�ำนาจที่แท้จริงกลับถูกพระนางโซเฟีย  ยึดไว้  พวกเขาถูกพระนางโซเฟียเนรเทศออกจากกรุงมอสโกไปอยู่ชนบท ทว่าในเรื่องร้ายย่อมมีเรื่องดี ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ผู้มีก�ำลังวังชาเต็มเปี่ยม กระตือ  รือร้นศึกษาเล่าเรียนเหมือนนกที่หลุดจากกรง กางปีกบินร่อนอย่างอิสระ สิ่งหนึ่งที่เขา  ไม่เหมือนคังซีผู้เติบโตอยู่ในรั้วในวัง ได้ใส่เสื้อผ้างดงาม ได้รับประทานอาหารดีๆ ก็คือ  ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ไม่คิดว่างานช่างฝีมือเป็นเรื่องต้อยต�ำ่  เขาสนใจงานฝีมือประยุกต์อย่าง  บ้าคลั่ง ภายในห้องท�ำงานมีทั้งอุปกรณ์งานช่างไม้ ช่างหิน และช่างเหล็กครบชุด  เขา  ช�ำนาญด้านการช่าง 12 ประเภท  ในประวัติศาสตร์จีนก็มีกษัตริย์หลายพระองค์ที่ม ี กิจกรรมยามว่างแปลกประหลาดแตกต่างกันไป มีทั้งชอบงานไม้ ชอบออกแบบท่อ  ระบายน�้ำ ชอบท�ำธุรกิจ บ้างก็ชอบแต่งตัวออกเดินขอทานเหมือนจักรพรรดิเกาเหว่ย  จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เป่ยฉี  แต่ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 กลับไม่ได้หลงใหลงาน  อดิเรกของตนเพียงอย่างเดียว เขาเน้นเรียนรู้และบูรณาการเพื่อน�ำไปใช้จริง  เขาสนใจ  ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับปืนใหญ่และการต่อเรืออย่างมาก แต่สิ่งที่เขา  หลงใหลจนไม่ลืมหูลืมตาก็คือเกมสงคราม  ชนบทที่กว้างใหญ่กลายเป็นสนามฝึกซ้อม  ที่ดีที่สุดของเขา  ของเล่นเด็กของเขาล้วนเป็นดาบทหารม้า กลองรบ และปืนใหญ่  กระบอกเล็กๆ  เมื่ออายุได้ 11 ปีเขาก็สามารถเรียนรู้การยิงปืนใหญ่ ตอนอายุ 13 ปี  สามารถใช้ปืนและปืนเมาเซอร์ได้ เขาสร้างค่ายทหารที่มีหอคอยติดปืนใหญ่ไว้ใกล้ๆ  บ้านพัก ขุดคูเมืองและสนามเพลาะไว้รอบๆ เขามักจะรวบรวมเด็กๆ ในหมู่บ้านมาเล่น  เกมสงคราม น�ำเด็กๆ พวกนั้นบุกตะลุยต่อสู้กัน ราชสำ�นักจีนหันซ้าย 31 โลกหันขวา


ในเวลาต่อมา ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ในวัยหนุ่มเกิดฉุกคิดขึ้นได้ เขายื่นหนังสือถึง  พระนางโซเฟียเพื่อขออาวุธและดินปืน  พระนางโซเฟียแอบล�ำพองใจอยู่เงียบๆ เด็ก  หนุ่มไม่รู้จักโตคนนี้คือความกังวลซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อการยึดอ�ำนาจของพระนางมา  ตลอด  วันนี้เห็นเขายังเอาแต่เล่นเรื่อยเปื่อย ไม่สนใจเรื่องราวบนโลก ความปรารถนา  ของพระนางโซเฟียเป็นจริงขึ้นมาอย่างเหนือความคาดหมาย  พระนางไม่เพียงจะส่งปืน  และลูกกระสุนชุดใหญ่ ยังมอบปืนใหญ่และจัดสรรก�ำลังพลอย่างเป็นทางการไปให้เขา  พระนางโซเฟียคงไม่คิดฝันว่า สิ่งที่ดูเหมือนการเล่นเกมเหล่านี้จะมาท�ำลายอ�ำนาจของ  พระนางในภายหลัง ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 เสาะหาและรวบรวมกองก�ำลังต่างประเทศจ�ำนวนหนึ่ง รับสมัคร  ลูกเสือ 600 นาย ตั้งปณิธานไว้ว่าจะฝึกฝนคนเหล่านี้ให้เป็นกองก�ำลังทหารที่เด็ดขาด  และมีวินัย  เขารับหน้าที่เป็นมือกลองปลุกขวัญและก�ำลังใจทหารด้วยตนเอง จัดการ  ซ้อมรบจริงขึ้นจนท�ำให้ต้องสูญเสีย “ทหาร” ไป 20 นาย  แต่เด็กที่เล่นและเติบโตมา  พร้อมๆ กับซาร์ปีเตอร์ที่ 1 เหล่านี้ท่ีต่อมาได้กลายเป็นขุนนางของเขาก็มีจำ� นวนไม่น้อย  เช่นกัน อาทิ คนที่สมัยเด็กเคยเป็นคนเลี้ยงหมูได้เป็นผู้บัญชาการกรมสืบสวน  เมนชี-  คอฟผู้เคยขายพายเนื้อและเป็นคนเลี้ยงม้าได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก และลูกเสือกอง  นี้ก็กลายมาเป็นกองทัพของรัสเซียอย่างเป็นทางการ เกรียงไกรกว่ากองพลปืนที่รัฐบาล  เป็นผู้ควบคุม กว่าพระนางโซเฟียจะรู้ตัวว่าแท้จริงแล้วซาร์ปีเตอร์ที่ 1 คือไข่งูที่กำ� ลังฟักตัวก็  สายไปเสียแล้ว  ในปีที่ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 อายุครบ 17 ปี เขาน�ำ “กองทัพวัยรุ่น” ที่ตน  ก่อตั้งขึ้นมาบดขยี้คณะผู้ส�ำเร็จราชการแทนของพระนางโซเฟีย ส่งตัวแกรนด์ดัชเชส  ผู้โหดร้ายรายนี้เข้าสู่ส�ำนักชี แล้วตนเองก็เริ่มใช้อ�ำนาจกษัตริย์  เหตุการณ์นี้เหมือน  ที่คังซีใช้ก�ำลังของกองทัพแมนจูรุ่นเยาว์ “ซ่านพูอิ๋ง” จับกุมตัวอ๋าวป้าย แต่พระนางโซเฟียไม่ยอมพ่ายแพ้ ฉวยโอกาสขณะที่ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ไปเรียน  ต่างประเทศ ปลุกระดมกองพลปืนให้ลุกขึ้นมาก่อรัฐประหารอีกครั้งในปี 1698 แต่ก็  ถูกนายพลอเล็กซี เชน ผู้จงรักภักดีต่อซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ปราบปรามอย่างรวดเร็ว  เหตุ  การณ์ครั้งนี้ท�ำให้ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ตามคิดบัญชีรวบยอด  เขาลงโทษศัตรูด้วยวิธีที่โหด  เหี้ยมที่สุด สั่งฆ่าคนไปทั้งสิ้นพันกว่าคน ส่วนพวกตระกูลขุนนางที่เสียชีวิตไปแล้วก็ถูก  ขุดศพออกมาเฆี่ยนตี  เขาถือดาบของทหารม้าออกฟันคอกบฏกองพลปืนด้วยตนเอง  และบีบบังคับให้เหล่าขุนนางชั้นผู้ใหญ่มาร่วมมือกับเขา แล้วน�ำศีรษะของเหล่าผู้ก่อ  กบฏไปแขวนไว้นอกหน้าต่างห้องพระนางโซเฟีย เพื่อต้องการให้สตรีผู้นี้รับรู้ว่าการ  ตั้งตนเป็นศัตรูกับเขาจะต้องลงเอยเช่นนี้ 32 หวังหลง  เขียน


ซาร์ปีเตอร์ท่ี 1 สร้างอ�ำนาจเบ็ดเสร็จของเขาท่ามกลางทะเลเลือดแห่งความโกรธ  แค้น  ม่านผืนใหญ่เพิ่งเปิดออก ทุกสิ่งอย่างเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น เหมือนที่คาร์ล มาร์กซ์  กล่าวไว้ว่า “ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ใช้ความป่าเถื่อนปราบความป่าเถื่อนของรัสเซีย” อุปนิสัยเป็นตัวก�ำหนดโชคชะตา  ปัจจุบันจิตวิทยาพิสูจน์แล้วว่า ชีวิตช่วงแรกๆ  ของคนเราส�ำคัญต่อการก่อตัวของอุปนิสัย สัจธรรมข้อนี้ใช้ได้กับจักรพรรดิคังซีและ  ซาร์ปีเตอร์ที่ 1  คังซีขึ้นครองราชย์ขณะที่อายุเพียง 8 ปี ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ก็ข้ึนครอง  ราชย์ขณะอายุเพียง 10 ปี  ทั้งคู่ต่างเคยเป็นกษัตริย์หุ่นเชิดที่ถูกคนอื่นควบคุม และใช้  อ�ำนาจป่าเถื่อนคล้ายคลึงกันแย่งชิงอ�ำนาจกษัตริย์ของตนกลับคืนมา แสดงให้เห็นถึง  ความใจกล้า สติปัญญา และความสามารถเหนือคนทั่วไป  คาวเลือดและความโหด  ร้ายของการต่อสู้ภายในราชส�ำนัก กลายเป็นสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมอุปนิสัยของ  พวกเขาในวัยเยาว์  แต่ในก้าวแรกแห่งชีวิตของพวกเขา ความแตกต่างทางวัฒนธรรม  และถิ่นก�ำเนิดได้สร้างนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน  ช่วงชีวิตวัยหนุ่มที่ต้องใช้วิธีตาต่อตา  ฟันต่อฟันเหล่านั้น ท�ำให้ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 นิยมการใช้อ�ำนาจบาตรใหญ่ตลอดชีวิตของ  เขา เป็นคนหัวกบฏอย่างรุนแรง และกระตุ้นให้เขาใช้วิธีบ้าคลั่งท�ำให้รัสเซียทะยานไป  ข้างหน้า  ส่วนคังซีนั้นนิยมชมชอบวัฒนธรรมของส�ำนักหรูเจียมาตั้งแต่เด็ก ศรัทธา  แนวคิดการปกครองแบบเมตตาธรรม และบริหารประเทศชาติด้วยหลักการนี้มาตลอด  ชีวิต

2. เส้นทางการบริหารประเทศที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แผนการบริหารประเทศของจักรพรรดิคังซี ทั้งจักรพรรดิคังซีและซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ต่างก็มีชีวิตอยู่ในช่วงส�ำคัญแห่งการ  เปลี่ยนผ่านจากยุคโบราณเข้าสู่ยุคสมัยใหม่  เมื่ออยู่บนลู่วิ่งเดียวกัน พวกเขาต่างก็  ระมัดระวัง ขยัน อดทน เพื่อบุกเบิกเส้นทางสู่ความอุดมสมบูรณ์และเข้มแข็งให้ประ-  เทศชาติ  แต่ทั้งจักรพรรดิคังซีและซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ต่างก็ผ่านการหล่อหลอมของชนเผ่า  ตนเอง และถูกลิขติ ให้ต้องมาขับเคีย่ วกันบนเส้นขนานทีไ่ ม่มวี นั บรรจบกันได้  คังซีเป็น  มหาบุรษุ ผู้ยงิ่ ใหญ่ดงั่ เขาไท่ซานทีเ่ กิดจากการทับถมของธุลดี นิ แห่งวัฒนธรรมจีนโบราณ  ส่วนซาร์ปีเตอร์ที่ 1 เป็นเสมือนต้นไม้ใหญ่สูงระฟ้าที่เติบโตอย่างอิสรเสรีบนทุ่งหญ้า  อันกว้างใหญ่ไพศาลของรัสเซีย  หากคังซีเหมือนตึกใหญ่ที่ก่อด้วยความเคร่งครัด  รอบคอบ  ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ก็เหมือนกระแสน�้ำเชี่ยวกรากที่กร่อนเซาะทุกสิ่งทุกอย่าง  ราชสำ�นักจีนหันซ้าย 33 โลกหันขวา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.