ม้อนน้อยที่รัก โชติ ศรีสุวรรณ
กรุงเทพมหานคร • M Young, ส�ำนักพิมพ์มติชน • ๒๕๕๖
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน
พลิกผืนดินปลูกหม่อน ๑๕ นิทานบนชานกว้าง ๒๔ กุ๊ก...กุ๊ก...เลี้ยงลูก ๓๕ ฝ้ายค�ำ ๔๔ ตาแตกกิ่ง ๕๓ เล่นวัวติ่งต่าง ๖๒ ผัดหมี่โคราช ๗๒ ความรักของผีเสื้อไหม ๘๒ ต�ำข้าวครกกระเดื่อง ๙๒ เอาบุญกลางบ้าน ๑๐๒ เพลงโคราช ๑๑๑ ไหว้ผีปู่ตา ๑๑๘ ชีวิตไม่ไร้ค่าของผีเสื้อไหม ๑๒๖ อาหารมื้อแรก ๑๓๖ เรื่องประหลาด ๑๔๕
๗ ๙
หัวค�่ำคืนนั้น ๑๕๔ การบ้านของก้าน ๑๕๗ กล้วยสุกเป็นเหตุ ๑๖๖ ด�ำนาผีตาแฮก ๑๗๕ เพราะแมงกว่างแท้ๆ ๑๘๓ สาวน้อยในสวนหม่อน ๑๙๑ วันหยุดเรียนของก้าน ๑๙๙ แมลงวันเสือวายร้ายตัวไหม ๒๐๖ ค�ำทายก่อนนอน ๒๑๕ งูกินกบ ๒๒๑ ลูกนกตกรัง ๒๒๘ ไหมใหญ่ ไหมน้อย ๒๓๖ วันสาวไหมเสร็จ ๒๔๔ เอาบุญเข้าพรรษา ๒๕๑ ฟาง...ทองคลุมดิน ๒๖๒ ขบวนการทอผ้า ๒๖๙ กว่าจะเป็นผืนผ้า ๒๗๔ พ่อค้าขายลูกหมู ๒๘๓ เรือบินแมลงปอ ๒๙๑ ข้าวเม่าอ่อน ๒๙๙ บุญข้าวประดับดิน ๓๐๗ ภาคผนวก ๓๑๖ เกี่ยวกับผู้เขียน ๓๑๘
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
“ปอยไหม” ผู ก พั น กั บ ครอบครั ว เธอเกิ ด และเติ บ โตใน ชนบท วันๆ ต้องช่วยพ่อแม่ท�ำงานทุกอย่างในบ้าน หน้าที่หลัก ของเธอคือเลีย้ ง “ม้อน” หรือตัวหนอนไหม ด้วยการเก็บใบหม่อน เลี้ยงตัวไหมวันละหลายครั้ง และเฝ้าประคบประหงมดูแลให้เจ้า หนอนไหมตั ว เล็ กๆ ผอมๆ กลายเป็ น หนอนอ้ ว น กิ น อิ่ ม นอน หลับอย่างเป็นสุข เพื่อเตรียมพร้อมส�ำหรับการสร้างรังไหม ปอยไหมเรียนรู้โลกและชีวิตจากงานเลี้ยงไหมทอผ้าสืบ ต่อจากแม่ รอบตัวของเธอมีแต่เรือกสวนไร่นาซึ่งสะท้อนให้เห็น ถึงวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงไหมทอ ผ้าเสริมรายได้ ฤดูกาลที่หมุนเปลี่ยนคือสัญญาณบอกถึงการ เริ่มต้นท�ำสิ่งใหม่ๆ และเมื่อผลผลิตงอกงามเติบโตก็น�ำมาซึ่ง เทศกาลเริงรื่นแห่งชีวิต ม้อนน้อยที่รัก 7
เมื่อวันเวลาเคลื่อนผ่าน เด็กน้อยค่อยเติบโตเป็นเด็กสาว ไปพร้อมๆ กับตัวหนอนที่เธอคอยเก็บใบหม่อนให้กินจนอ้วนปุ๊ก และนอนอุ่นอยู่ในถุงดักแด้ รอวันเวลาอันสมควรที่ดักแด้ไหม จะลอกคราบกลายเป็นผีเสื้อตัวไหม หรือที่คนพื้นถิ่นเรียกว่า “ตัวบี้” ครั้นได้สร้างคุณค่าให้ไว้แก่โลก คือผืนผ้าแพรไหมสีสัน สวยงามก็สูญสลายไปตามวัฏจักรธรรมชาติ เช่ น เดี ย วกั น เมื่ อ ถึ ง วั น หนึ่ ง ชี วิ ต ของเด็ ก น้ อ ยก็ ถึ ง จุ ด เปลี่ยน เพื่อเรียนรู้ความเป็นไปของโลกในอีกมุมหนึ่งว่าทุกสิ่ง บนโลกใบนีไ้ ม่ได้มแี ต่ความสวยงามเสมอไป ปอยไหมต้องเรียน รู้สิ่งเหล่านี้ด้วยใจของเธอเอง ทว่า...แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร ภาพชีวิตที่อบอุ่น และความสุขในวัยเยาว์ก็ยังคงประทับอยู่ในความทรงจ�ำของ เธอตลอดไป และประสบการณ์ชีวิตเหล่านี้เองที่จะช่วยหล่อ หลอมให้ปอยไหมเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่รู้คุณค่าของสิ่งต่างๆ และไม่ย่อท้อต่อการท�ำความดี ส�ำนักพิมพ์มติชน
8 โชติ ศรีสุวรรณ
ค�ำน�ำผู้เขียน
ต้นหม่อนในสวนมีล�ำต้นใหญ่แผ่กิ่งก้านแข็งแรงพอที่ฉัน และน้องจะป่ายปีนขึ้นเก็บใบหม่อนไปให้แม่เลี้ยงตัวไหม บาง วันตอนพ่อแม่ออกไปท�ำนา น้องสามคนต่างไปโรงเรียน ฉัน เพิ่งเรียนจบชั้น ป.๔ พ่อ แม่ และพี่ๆ จึงมอบหน้าที่ให้อยู่เฝ้า บ้าน ซึ่งตอนนั้นอายุฉันเลยสิบขวบนิดหน่อย พ่อแม่ไม่มีเงิน ให้เรียนต่อเหมือนเพื่อนบางคนที่บ้านของเขามีฐานะ หน้าที่เฝ้า บ้านของฉันยังต้องรับภาระงานบ้านเท่าที่เรี่ยวแรงของเด็กอายุ สิบขวบจะท�ำได้ ซึ่งฉันก็พยายามท�ำอย่างเต็มที่ ด้วยต้องการ แบ่งเบาการงานของแม่และพี่สาวซึ่งต้องตื่นขึ้นไปถอนกล้าด�ำ นาตลอดวัน งานตักน�้ำ ต�ำข้าว ขุนอาหารหมู เป็ด ไก่ที่เลี้ยงไว้ แม้ กระทั่งหุงข้าว ต้มแกง และเลี้ยงตัวไหมแทนแม่...ฉันก็ท�ำได้ แม่เลี้ยงตัวไหมรุ่นต่อรุ่น ไม่เคยเว้นตลอดสามฤดู ช่วง ฤดูฝนขณะแม่ไปด�ำนาช่วยพ่อ หน้าทีเ่ ก็บใบหม่อนเลีย้ งไหมเป็น ม้อนน้อยที่รัก 9
งานที่ฉันต้องรับช่วงดูแลแทน หลังเช็ดถูท�ำความสะอาดบ้าน ล้างถ้วยชามเก็บ ขุนอาหารหมูที่เลี้ยงไว้ในคอกสองตัว และให้ อาหารเป็ดไก่เสร็จ ฉันจะสะพายกะต่า (ตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ แบบง่ายๆ มักท�ำสายสะพายด้วยเชือกเส้นใหญ่ หรือไม่ก็เศษ ผ้าฟั่นเกลียว) ลูกใหญ่สานด้วยไม้ไผ่ฝีมือพ่อ แล้วเดินเข้าไป ในสวน กะต่าสานของพ่อนั้นมีขนาดใหญ่พอที่ฉันและเพื่อนวัย เดียวกันสามารถเข้าไปนั่งเล่นหมากเก็บได้สบายๆ ถึงสองคน-- ฉันจึงไม่อยากเรียกว่า “ตะกร้า” เพราะเดี๋ยวคุณผู้อ่านที่ไม่ใช่ คนภาคอีสานจะเข้าใจไปว่ามันคงมีขนาดเท่ากับตะกร้าที่เขา นิยมใช้หิ้วไปจ่ายกับข้าวกันทั่วไป แต่คนทุกวันนี้ก็คงไม่นิยม หิ้วตะกร้าไปตลาดเหมือนตอนที่ฉันยังเด็กกันแล้ว แต่กลับหิ้ว ถุงก๊อบแก๊บเพิ่มภาวะโลกร้อนแทน คิดแล้วก็อยากให้ใครๆ หันมาหิ้วตะกร้าหรือถุงผ้ากันมากกว่าจะได้ลดขยะถุงพลาสติก --ฉันฝันอยากเห็นเช่นนั้นจริงๆ ตอนยังเด็ก...ฉันสะพายกะต่าใบใหญ่ตะกายขึน้ ต้นหม่อน เก็บใบหม่อนใส่กะต่าก�ำแล้วก�ำเล่า ปากก็ร้องเพลงหมอล�ำไป ด้วย หากเสียงเพลงหมอล�ำเงียบไปนั่นคือปากไม่ว่าง เพราะ มือเล็กๆ ของฉันท�ำหน้าที่เก็บผลหม่อนสุกสีคล�้ำจนเกือบด�ำ เมื่อผลสุกจัดเข้าปากเคี้ยว รสหวานอมเปรี้ยวนิดๆ ชวนให้กิน เพลินจนเจ้านกปรอดส่งเสียงกร๊อดๆๆ ประท้วงว่าฉันแย่งกิน อาหารของมัน 10 โชติ ศรีสุวรรณ
เสียงเพลงหมอล�ำเคล้ากลิ่นหอมดอกข้าวโพด กลิ่นใบ หม่อน และดอกฟักทองอวบฝนที่ตกหนักแต่เมื่อคืนโชยมาตาม สายลมไม่ขาดระยะ ฉันร้องชวน “ถุงแป้ง” สาวน้อยเพื่อนบ้าน ข้างเคียงมาช่วยเก็บใบหม่อน แล้วตะเบ็งร้องเพลงหมอล�ำ เพลง ลูกทุ่งดังๆ แข่งเสียงกันอย่างสนุกสนาน...ฉันกับถุงแป้งลงจาก ต้นหม่อนต้นนี้ ขึ้นต้นนั้น จนกว่าใบหม่อนในกะต่าเต็มพูนจน ยัดไม่ลงนั่นแหละจึงจะช่วยกันหิ้วกะต่าออกจากสวนไปให้ตัว ไหมกิน จากนั้นก็สะพายกะต่าอีกลูกเข้าสวนอีกครั้ง ขณะถุงแป้ง ผละกลับเรือนไปท�ำงานของเธอเช่นกัน คราวนี้ฉันเก็บผักขม มานั่งสับใส่ปี๊บใบใหญ่ที่มีแม่เติมน�้ำผสมปลายข้าวและร�ำอ่อน ยกขึ้นตั้งไฟรอไว้แล้ว เมื่อหม้อข้าวหมูสุกราไฟจากเตาปล่อย ควันลอยกรุน่ ฉันผละขึน้ เรือนเข้าครัวกินข้าวเทีย่ งเอาตอนบ่ายๆ ข้าวอิ่มท้องไม่ทันได้นั่งย่อยอาหารก็สะพายกะต่าสานลูกเก่า เข้าสวนเป็นรอบที่สาม เพื่อเก็บใบหม่อนรอแม่ไว้ให้อาหารตัว ไหมตอนค�่ำก่อนเข้านอนอีกมื้อ ในสวน...พ่อปลูกหม่อนไว้หลายแปลงก�ำลังงอกงาม แต่ ฉันชอบป่ายปีนขึ้นต้นหม่อนเก่าแก่ที่ปู่-ย่าปลูกไว้ให้เห็นรอย มื อ รอยเท้ า ของท่ า น แม้ ทั้ ง สองจะล่ ว งลั บ ลาโลกไปนมนาน แต่ฉันก็ยังได้ร้องเพลงหมอล�ำบนต้นหม่อนต้นนั้น ยังได้แย่งลูก หม่อนสุกกินจากนกปรอด...นับเป็นความสุขในวัยเด็กของฉัน
ม้อนน้อยที่รัก 11
และนั่นคือที่มาของวรรณกรรมเยาวชนกลิ่นอายลูกอีสาน “ม้อนน้อยที่รัก” ที่คุณผู้อ่านก�ำลังถืออยู่ในมือเวลานี้ ขอให้ม ี ความสุขในการอ่านครับ โชติ ศรีสุวรรณ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
12 โชติ ศรีสุวรรณ
พลิกผืนดินปลูกหม่อน
พอย่างเข้าเดือนหกไม่กี่วันก็มีฝนตกแรงๆ สามสี่ครั้งจนมี น�้ำขังตามท้องไร่ท้องนา บรรดากบ เขียด และอึ่งอ่างพากันส่ง เสี ย งร้ อ งรั บ น�้ ำ ใหม่ อ ย่ า งเริ ง ร่ า หลั ง จากฝั ง ตั ว จ� ำ ศี ล อยู ่ ใ นรู บ้างก็ตามหลืบดินตลอดช่วงแล้งผ่านมาหลายเดือน “บ๊ะ!...ปีนี้ฝนท่าจะมาเร็ว ยังไม่ทันเอาบุญกลางบ้านก็มี ฝนตกหลายครั้งแล้ว” นายไสวเอ่ยขึ้นอย่างแจ่มใส “นั่นสิ” นางวันดีรับค�ำสามีขณะเดินตามกันออกจากสวน นางเพิ่งลงเรือนไปเก็บลูกแฟง (พืชผักตระกูลฟักเขียว) บนร้าน ปลูกและใบแมงลักไปใส่แกงปลาช่อนเป็นอาหารเช้า หลังจากตื่นนอนด้วยใบหน้าสดชื่น ล้างหน้าล้างตาแล้ว นายไสวก็ลงเรือนเดินเข้าไปในสวนหลังบ้านที่ทิ้งว่างอยู่สองไร่ ม้อนน้อยที่รัก
15
เศษๆ รกเรื้ อ ด้ ว ยหญ้ า ตี น ตุ ๊ ก แกและวั ช พื ช ด้ ว ยภรรยาเคย ปรารภกับเขาหลายครั้งว่าอยากปลูกต้นหม่อนเพิ่มเติมจากรุ่น แรกที่ตอนนี้งอกงามอยู่ในสวนอีกฟากหนึ่งให้เก็บใบหม่อนมา เลี้ยงตัวไหมได้ผลผลิตไปหลายรุ่นแล้ว ต้นหม่อนที่มีอยู่ปลูกไว้ราวไร่เศษๆ ตอนนี้ไม่เพียงพอ เลี้ยงตัวไหมของแม่เสียแล้ว ฟากสวนด้านนี้นอกจากมีหม่อน แล้วยังปลูกกล้วยน�้ำว้าและไม้ผลจ�ำพวกมะม่วง ขนุน น้อยหน่า อย่างละหลายต้นไว้ให้ลูกๆ เก็บผลโดยไม่ต้องซื้อกิน ส่วนพื้นที่ สวนใกล้เรือนปลูกผักสวนครัวจ�ำพวกพริก มะเขือ กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้ แมงลัก และผักอืน่ ๆ ไว้ปรุงอาหาร ถ้าหากกินไม่หมด ยังเก็บล้างน�้ำสะอาดแล้วมัดเป็นก�ำๆ ขายได้เงินมาใช้จ่ายภาย ในครอบครัวอีกด้วย นางวันดีพูดต่อมาว่า “ก่อนจะลงนา พ่อกับสมานช่วยไถ สวนปลูกหม่อนให้ด้วยนะ” เด็กหนุ่มวัยสิบหกลูกชายคนโตของครอบครัวเพิ่งลงเรือน เดินมาหยุดต่อหน้า พ่อจึงเอ่ยขึ้นว่า “สมาน...เอาควายออกคอกไถสวนนะลูก” สมานรับค�ำ เบาๆ แล้วเดินไปเปิดประตูคอกจูงควายออกมาเทียมแอกเตรียม ไถสวนตามพ่อบอก สมานเป็นพี่ของน้องสองคน คือปอยไหมน้องสาววัยสิบ สี่ และก้านน้องชายคนเล็กวัยแปดขวบ ก�ำลังเรียนอยู่ชั้น ป.๒ โรงเรียนประชาบาลในหมู่บ้าน 16 โชติ ศรีสุวรรณ
ก้านตื่นล้างหน้าล้างตาแล้วลงเรือนหายไปเล่นกับเพื่อนๆ วัยเดียวกันที่มีบ้านเรือนใกล้เคียง วันนี้เป็นวันเสาร์ เด็กๆ จึง ไม่ต้องไปโรงเรียน ก้านจะโผล่หน้ากลับบ้านก็ต่อเมื่อท้องร้อง หิวข้าวตอนสายๆ โน่นแหละ สมานกับปอยไหมเรียนจบแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ซึ่ง เป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนสมัยนั้น (การศึกษาสมัยเมื่อ ๔๐-๖๐ ปีผ่านมา) ทั้งสองไม่ได้เรียนต่อระดับมัธยมเพราะพ่อแม่ขาด แคลนเงินส่งเรียน จึงต้องออกจากโรงเรียนมาช่วยพ่อแม่ท�ำนา ท�ำสวนไปตามสภาพ ปอยไหมช่วยแม่ท�ำงานบ้านทุกอย่าง นอกจากอาชีพท�ำ นาแล้วแม่ยังเลี้ยงม้อน (ตัวหนอนไหม-ภาษาถิ่นอีสานเรียกสั้นๆ ว่าม้อน หรือตัวไหม) เพื่อสาวเอาเส้นไหมมาทอผ้าไหม ทอผ้า มัดหมี่ ทอผ้าซิ่นหมี่ บางครั้งแม่ก็ทอผ้าโสร่งไหมและผ้าขาวม้า ไหมให้พ่อกับสมานไว้นุ่งห่มในงานส�ำคัญๆ แม่มีฝีมือทอผ้า ไหมและผ้ามัดหมี่ที่เรียนรู้จากยายตั้งแต่ตอนยังสาว ยายมีฝี มือมัดหมี่ผ้าไหมเป็นลวดลายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลายสัตว์สวย งามอย่างเช่น ลายนกยูงร�ำแพน ลายนาคเลื้อย ลายพรรณไม้ ดอกไม้ ลายดอกแก้ว ลายสายฝน ลายสายน�้ำ และอีกมาก มายหลายลายจนปอยไหมจ�ำไม่หวาดไม่ไหว และหากเอ่ยชื่อ “ยายเกิด บ้านตะคุ อ�ำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา” รับรอง ว่าใครๆ ก็รู้ว่าอ�ำเภอนี้มีช่างทอผ้าไหม-ผ้ามัดหมี่ฝีมือที่มีชื่อ เสี ย งของภาคอี ส านอี ก แห่ ง หนึ่ ง ลั ก ษณะผ้ า มั ด หมี่ - ผ้ า ไหม ม้อนน้อยที่รัก
17
ทอของปักธงชัยมีลักษณะพิเศษคือเนื้อเรียบแน่นละเอียดและ บางพลิ้ว เพราะเป็นผ้าไหมน�้ำหนักเบา สีแดงเข้มที่ย้อมด้วย ครั่งก็สดใส ส่วนสีอื่นๆ ก็ล้วนสวยงาม นับเป็นผ้าไหมที่มีชื่อ เสียงมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ หลังฤดูท�ำนาจึงเป็นช่วงที่ปอยไหมได้ช่วยแม่ของเธอท�ำ ผ้าไหม สาวไหม บ้างก็ทอผ้ามัดหมี่ที่ปอยไหมค่อยๆ ซึมซับ ความรู้จากแม่เรื่อยมา ยายเสียชีวิตเมื่อสองปีที่แล้วด้วยวัย เจ็ดสิบแปดปี ทิ้งความรู้เรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการ ท� ำ ผ้ า ไหมมั ด หมี่ ล วดลายต่ า งๆ ไว้ เ ป็ น มรดกตกทอดให้ ลู ก หลานสืบทอดต่อมาอีกนานแสนนานเลยทีเดียว นางวันดีวางแฟงลูกสีเขียวอ่อนลงข้างๆ ลูกสาวซึ่งก�ำลัง นั่งหั่นปลาช่อนตัวเขื่องที่ขอดเกล็ดแล้วบนเขียง “ปอยไหม หั่นปลาเสร็จแล้วปอกแฟงหั่นเป็นชิ้นให้แม่ ด้วยนะ” วันดีบอกลูกสาวแล้วก็เดินเข้าครัวไป แม่ของปอยไหมอยู่ในวัยสี่สิบห้าปีเศษ ส่วนพ่อคือนาย ไสวแก่กว่าแม่สามปีและเป็นคนร่างสูงใหญ่บึกบึน พูดเสียงดัง ฟังชัด พ่อกับแม่ชอบช่วยเหลือญาติพี่น้องและผู้คนในหมู่บ้าน บ้านใดมีงานบุญ งานแต่ง บวชนาค กระทั่งงานศพไม่ว่าตั้งศพ บ�ำเพ็ญกุศลที่บ้านหรือที่วัด พ่อจะกุลีกุจอไปช่วยงานโดยเจ้า ภาพไม่ต้องเอ่ยปาก ปอยไหมเคยได้ยินพ่อพูดกับแม่ว่าโอกาส หน้าพ่อจะสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้าน เพราะลุงบุญชูผู้ใหญ่บ้านคน ปัจจุบันอายุใกล้เกษียณเต็มทีแล้ว 18 โชติ ศรีสุวรรณ
เสียงแม่โขลกเครื่องแกงอยู่ในครัวดังโขลก! โขลก! พร้อม กลิ่นกระชาย ตะไคร้ ใบมะกรูดกระจายฟุ้งออกมาถึงด้านนอก น�้ำในหม้อดินเผาใบเขื่องก�ำลังเริ่มเดือดเพราะปอยไหมตั้งหม้อ แกงรอไว้บนเตาไฟ หม้อข้าวหม้อแกงในครัวล้วนท�ำด้วยดินเผา ส่วนเตาไฟในครัวที่ใช้แผ่นกระดานปีกไม้ตีเข้ารูปทรงสี่เหลี่ยม จัตุรัสก็ท�ำจากฝีมือพ่อล้วนๆ และดูแข็งแรงดีเพราะพ่อมีฝีมือ ช่างไม้ ตอนที่ท�ำเตาไฟนี้พ่อขนทรายมาใส่รางไม้สี่เหลี่ยมจัตุรัส จนเต็ม และเป็นเตาไฟทีก่ ว้างพอจะวางก้อนหินขนาดใหญ่หน่อย เพื่อท�ำเป็นเสาแบบที่เรียกว่าก้อนเส้าได้ถึงหกก้อน เพื่อแม่จะ ได้หุงข้าวต้มแกงพร้อมกันทีเดียวสองเตาโดยไม่ต้องคอยให้ เสียเวลา ยิ่งช่วงฤดูท�ำนาอย่างนี้การงานทุกอย่างจะต้องรีบเร่ง ขณะตั้งหม้อข้าวรอเดือดก็ตั้งหม้อต้มแกงอีกเตา หรือจะเผาพริก ย่างปลา ลวกผักก็ท�ำได้เลย ปอยไหมยกชามแฟงทีป่ อกเปลือกหัน่ พอค�ำพูนชามพร้อม จานเนื้อปลาช่อนหั่นแว่นไปส่งให้ แม่รับชามแฟงเทลงในหม้อ แกงที่น�้ำเริ่มเดือด ไอร้อนจากหม้อแกงส่งกลิ่นหอมฉุย แม่ใช้ ทัพพีคนนิดๆ แล้วรอให้น�้ำเดือดพล่านขึ้นอีกครั้งจึงเทเนื้อปลา ช่อนลงหม้อ ระหว่างรอหม้อแกงเดือดใหม่ แม่บอกปอยไหม ยกหม้อข้าวที่ดงไฟอ่อนๆ ไว้อีกเตาหนึ่งลง แล้วยกกระทะขึ้น วางแทน ปอยไหมเอาหอมหัวแดงลงไปคั่วในกระทะก่อนแล้ว ตามด้วยพริกสด พอพริกส่งกลิน่ ฉุนและหอมหัวแดงเปลือกเหีย่ ว ก็ยกเทลงครก เวลาต�ำจะแหลกง่ายกว่าต�ำพริกสดๆ แต่ต�ำพริก ม้อนน้อยที่รัก
19
ที่ยังร้อนๆ อยู่แบบนี้ต้องระวังอย่าให้กระเด็นถูกหน้าหรือเข้าตา แค่พริกกระเด็นเข้าตาก็ปวดแสบสุดทนอยู่แล้ว หากเพิ่มความ ร้อนในความเผ็ดของพริกจะทรมานเพียงใด เรื่องต�ำพริกนี้แม่มีเคล็ดลับบอกปอยไหมว่าก่อนต�ำให้ เหยาะเกลือลงไปสักเล็กน้อย เวลาต�ำพริกจะไม่กระเด็นออก นอกครก หรือหากพริกกระเด็นเข้าตาก็ให้รีบอมเกลือแล้วล้าง หน้า อาการแสบร้อนจะค่อยบรรเทาลง ปอยไหมแกะเนื้อปลาช่อนที่แม่ต้มไว้ในหม้อปลาร้าลง ครก หม้อปลาร้านี้เป็นของคู่ครัวของคนภาคอีสานที่จะขาดไม่ ได้ เหมือนการกินข้าวทุกมื้อต้องมีน�้ำพริกกินแนมกับผัก ไม่ว่า จะเป็นน�้ำพริกปลาต้ม น�้ำพริกปลาทู หรือพริกแจ่วบองปลาร้า ก็ต้องมีผักสดผักลวกจิ้ม และแม้อาหารมื้อนั้นจะเป็นต้ม แกง ย�ำ ผัด ทอด หรือนึง่ ก็ตาม “น�ำ้ พริก-ผัก” ก็ยงั เป็นอาหารส�ำคัญ ที่ขาดไม่ได้เลยส�ำหรับอาหารแต่ละมื้อของคนอีสาน *** สมานจูงควายเจ้าเขาลอมเทียมไถ หลังออกจากโรงเรียน ได้สองปี พ่อก็สอนให้สมานไถนาขณะเขาอายุเพียงย่างสิบสองปี สมานใส่แอกเข้าคอเจ้าเขาลอมที่ยืนแกว่งหูไล่แมลงวันอย่าง รู้งาน พอสมานเทียมไถเจ้าเขาลอมเสร็จก็เดินมาเอาแอกเข้า เทียมไถเจ้าหน้าแด่น แล้วยืนรอพ่อซึ่งกลับขึ้นไปผลัดเปลี่ยน เสื้อผ้าบนเรือน ควายทั้งคู่รู้งาน แม้จะถูกเทียมไถ หากเจ้าของ 20 โชติ ศรีสุวรรณ
ยังไม่จับหางไถและเส้นเชือกผูกสนตะพาย มันก็จะไม่ยอมขยับ เดินออกจากที่ เจ้าเขาลอมกับเจ้าหน้าแด่นเป็นควายหนุ่มที่ถูกตอนแล้ว มันทั้งสองตัวสูงใหญ่อ้วนท้วนผิวหนังด�ำเป็นมัน นอกจากใช้ เที ย มไถเพื่ อ ไถนาแล้ ว ควายหนุ ่ ม ทั้ ง คู ่ ยั ง ถู ก ใช้ ล ากล้ อ ซึ่ ง มี รูปร่างคล้ายเกวียนแต่สูงใหญ่กว่า วงล้อรองด้วยเหล็กแผ่นทั้ง สองล้อ นิยมใช้ควายเทียมเพราะตัวใหญ่และรับน�้ำหนักบรรทุก ข้าวของได้มากกว่าวัว คนในครอบครัวเรียกชื่อควายทั้งสอง ตัวตามรูปร่างของมัน เจ้าเขาลอมมีเขาคู่งามโค้งเข้าหากัน ปลายเขาทั้งคู่ห่างกันเพียงคืบเศษๆ ส่วนเจ้าหน้าแด่นมีขนสี ขาวรูปใบโพอยู่กลางแสกหน้าโดดเด่น ควายทั้งสองเป็นสมบัติ ที่ทุกคนรักและเอาใจใส่เท่ากับสมาชิกในครอบครัว เพียงสมานจับหางไถขยับเชือกกระทบสีข้างเจ้าเขาลอม มันก็ออกก้าวเดินพาไถตรงไปยังพื้นสวนที่ปล่อยรกร้างไว้นาน หญ้าตีนตุ๊กแกและหญ้าอื่นๆ ถูกฝนใหม่ต่างถอดยอดขึ้นเบียด กันเขียวชอุ่ม ดีแต่สองสามวันที่ผ่านมานี้สมานไม่ได้น�ำควาย ทั้ ง สองไปเลี้ ย งที่ ทุ ่ ง นา แต่ ล ่ า มเชื อ กมั น ให้ กิ น หญ้ า ในสวน บริเวณนี้ พอตกบ่ายแดดเริงแรงจึงต้อนลงทุ่งนาใกล้บ้านให้ มันกินน�้ำและนอนแช่ปลัก ครั้นแดดอ่อนก็จูงกลับมาผูกให้กิน หญ้าจนเตียน สมานปักคมไถลงดินเป็นร่องลึก เจ้าเขาลอมออกแรง เดินไปตามความยาวของพื้นสวน คมไถพลิกผืนดินค่อนข้างร่วน ม้อนน้อยที่รัก
21
ซุยแหวกพลิกเป็นทาง คมไถกินรากหญ้าพลิกดินชื้นฝนส่งกลิ่น ดินกลิ่นหญ้าโชยขึ้นมาตลอดเวลา ขณะสมานจับหางไถเดิน ตามเจ้าเขาลอมที่ดุ่มเดินตามร่องไถอย่างรู้งาน นกเอี้ยงสี่ห้า ตัวบินลงมาไล่จับแมลงกินตามก้อนขี้ไถ ส่วนมากเป็นตั๊กแตน ที่ อ ยู ่ ต ามพื้ น หญ้ า พอถู ก คมไถพลิ ก ดิ น ถอนหญ้ า ทั บ จมดิ น ตั๊กแตนตัวเล็กๆ กระโดดพรูให้ฝูงนกเอี้ยงไล่จับกินสบาย สมานไถดิ น ไปได้ ส องสามร่ อ งสวน พ่ อ จึ ง ลงเรื อ นมา ขยับเชือกให้เจ้าหน้าแด่นลากไถเดินตามร่องดิน สองแรงสอง คมไถช่วยกันพลิกผืนดินจึงค่อยๆ มองเห็นรอยไถกว้างออก พื้น สวนว่างเปล่ากว่าสองไร่ส�ำหรับเช้าแรกที่สองพ่อลูกลงมือค่อน ข้างสาย เสร็จไปงานเศษๆ พ่อก็บอกให้สมานปลดไถปล่อย ควายกินหญ้า พอดีปอยไหมลงเรือนมาเรียกพ่อกับพี่ชายไปกินข้าวเช้า ในเวลาสายมากแล้ว พื้นที่ที่จะปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสองไร่เศษ นี้พ่อกับสมานช่วยกันไถผ่านไปสี่เช้า ครั้นเช้าที่ห้าจึงเป็นการ ไถคราดพลิกดินพลิกหญ้าขึ้นตากแดดและพรวนดินให้ร่วนซุย ระหว่างนั้นปอยไหมคอยช่วยสมานเก็บหญ้าไปกองรวมกันใน จุดที่พ่อเตรียมไว้ท�ำปุ๋ยหมัก ทิ้งให้หญ้าเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยพืชสด ส�ำหรับต้นมะม่วง ขนุน น้อยหน่า และกล้วยน�้ำว้า แม้แต่ต้น หม่ อ นส� ำ หรั บ เลี้ ย งไหมก็ ต ้ อ งใส่ ปุ ๋ ย ให้ แ ตกยอดอ่ อ นมี ใ บดก หนาพอเพียงเลี้ยงตัวไหมแต่ละรุ่น พ่อบอกว่าหญ้าแห้งพวกนี้หากเผาทิ้งก็เป็นเถ้าฝุ่นปลิว 22 โชติ ศรีสุวรรณ
ตามลม ไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่ถ้าทิ้งไว้ในหลุมนานๆ ปล่อย ให้ฝนตกใส่จนเน่าเปื่อยจะกลายเป็นปุ๋ยให้ขนไปใส่พืชผักอย่าง พริกหรือไม้ผลในสวนจะงอกงามและเป็นประโยชน์มากกว่า ปอยไหมกับสมานจึงได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยพืชผักจากพ่อ เช่นนี้เสมอมา
ม้อนน้อยที่รัก
23