“ข้อเสียของนาฬิกามันมีอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ถึงเราหมุนกลับไปแค่ไหนก็ตาม แต่มันก็จะเดินก้าวหน้าต่อไปอีกไม่ยอมหยุด เดินมาถึงจุดที่เราไม่อยากให้มันมาถึงจนได้สักวันหนึ่ง”
โมงยามไม่ผันแปร
นิธิ เอียวศรีวงศ์
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๘
โมงยามไม่ผันแปร • นิธิ เอียวศรีวงศ์ พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, มีนาคม ๒๕๕๘ ราคา ๒๔๐ บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรม นิธิ เอียวศรีวงศ์. โมงยามไม่ผันแปร. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๓๓๖ หน้า. ๑. ไทย--การเมืองและการปกครอง. I. ชื่อเรื่อง ๓๒๐.๙๕๙๓ ISBN 978 - 974 - 02 - 1389 - 5
ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : สุพรรณี สงวนพงษ์ • นักศึกษาฝึกงาน : กรกฎ ไพศาลยุทธนากุล พิสูจน์อักษร : ชัยรัตน์ เลิศรัตนาพร • กราฟิกเลย์เอาต์ : กรวลัย เจนกิจณรงค์ ออกแบบปก : กุลวัฒน์ กาญจนสุนทรี • ศิลปกรรม : ประภาพร ประเสริฐโสภา ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
www.matichonbook.com บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พมิ พ์ส-ี ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน
๗ ๙
เผด็จการกับประชาธิปไตย ๑๗ - ส่วนรวมกับประชาธิปไตย ๑๙ - ตรรกะพิสดาร ๒๖ - ไม่ได้เป็นนายกฯ เสียที ๓๒ - งานศพผิดวัดครั้งใหม่ (๑-๒) ๔๐ - นักเลงโบราณในสังคมที่เปลี่ยนไป ๕๖ - ความสงบของรัฐประหารไทย ๖๖ - อนาคตของเผด็จการ ปาฐกถา “ห้องเรียนประชาธิปไตย” ครั้งที ่ ๒ ๗๓ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต - มองการเมืองไทยผ่านกรัมชี่ ๑๐๔ - ล่มเรือแป๊ะ ๑๑๒
มวลชน กระฎุมพี และอื่นๆ ที่ไม่ถูกนิยาม - การเมืองมวลชนกับกระฎุมพี - กบฏกระฎุมพี - เวสสันดรถีบหน้าชูชก - ทุนนิยมสามานย์และนีโอคอนไทย - ประวัติศาสตร์สำ� นึก - ประวัติศาสตร์ความยากจน
๑๒๑ ๑๒๓ ๑๘๓ ๑๙๕ ๒๐๒ ๒๒๑ ๒๒๙
วัฒนธรรมและการเมือง - ชนบทนิยมในการเมืองไทย - การเมืองของเอ็นจีโอ - การเมืองของคอร์รัปชั่น - ชาตินิยมไทยที่เปลี่ยนแปลง - ปัญญาชนไทยกับความทันสมัย - บนยุทธภูมิทางวัฒนธรรม
๒๔๓ ๒๔๕ ๒๕๗ ๒๖๕ ๒๗๒ ๒๘๖ ๒๙๓
ภาคผนวก - ‘นิธิ’ กับ ๒๐ ปีให้หลัง ปาฐกถาว่าด้วยนาฬิกา และวัฒนธรรมไทย - กระฎุมพี การเมืองมวลชน และชุดพระราชทาน
๒๙๙
๓๐๑ ๓๐๗
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
ปัจจุบันประเทศไทยก�ำลังเผชิญกับปัญหาเรื่องใดบ้าง
เป็นค�ำถามที่กว้างขณะที่หลายคนต้องการค�ำตอบที่แคบ และเฉพาะเจาะจง เลาๆ ว่าหากรู้เห็นปัญหาแล้วก็จ�ำเป็นที่จะต้อง มองไปที่ “แก่น” ของปัญหา เพื่อหาทางออกที่ “แท้จริง” ให้ได้ แต่เคยรู้สึกไหมว่ายิ่งมองหาค�ำตอบที่ “สมบูรณ์แบบ” มาก เท่าใด ก็มักจะพบว่าเราก�ำลังว่ายวนอยู่แต่ในปัญหา เป็นทัง้ ปัญหาเก่าทีเ่ ต็มไปด้วยปัญหาใหม่หลายต่อหลายเรือ่ ง หรือไม่ก็พบปัญหาใหม่ที่โยงใยถึงใครต่อใครไม่จบไม่สิ้น สิ่งที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์กล่าวไว้ใน โมงยามไม่ผันแปร ไม่ใช่ค�ำตอบที่ถูกต้องทั้งหมด เป็นเพียง “ข้อเสนอ” ที่ได้ทิ้งร่องรอย ส�ำคัญที่จะท�ำให้เราพบตัวปัญหาและเรื่องรายล้อมอื่นๆ เพื่อน�ำไป ใช้ส�ำรวจตรวจสอบ ทบทวนความคิดของตัวเองและสังคม โดย อาศัยการอ้างอิงเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ ผลงานของนักวิชาการ ไทยและต่างประเทศ รวมถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของกลุ่มคน ที่หลากหลาย โมงยามไม่ผันแปร 7
เป็นข้อเสนอที่มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องน�ำไปแลกเปลี่ยน -ถกเถียงกันต่อไป หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น ๓ หัวเรื่องใหญ่ : เผด็จการกับประ ชาธิปไตย เป็นการมองสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาและที่ เป็นอยู ่ ซึง่ ท�ำให้เราไม่ “สิน้ หวัง” จนเกินไปนัก มวลชน กระฎุมพี และอื่นๆ ที่ไม่ถูกนิยาม ถูกมองเป็นเรื่องรองของสังคมไทยเสมอ เพราะสงครามชนชั้นเป็นเรื่องที่ยังไม่มีทางออก แต่เวลานี้ “สังคม อุปถัมภ์” อาจไม่เป็นค�ำตอบสุดท้ายอีกแล้ว ส่วนเรื่อง วัฒนธรรม และการเมือง เป็นฐานทางงานเขียนและงานวิชาการของอาจารย์ นิธิที่ได้รับการกล่าวถึงอยู่เสมอ ทั้งสองอย่างนี้แม้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่ก็แยกขาดจากกันไม่ได้ ทั้งที่อยู่ในระดับชีวิตประจ�ำวัน และที่ส่ง ผลซึ่งกันและกันไปด้วย เช่น ชนบทนิยม ชาตินิยม คอร์รัปชั่น ฯลฯ นอกจากนีย้ งั ส่งท้ายด้วย ๒ บทความพิเศษทีท่ �ำให้หนังสือเล่ม นี้ครบรสในแง่ของการทบทวนความคิดที่ทิ้งไว้ในงานเขียน มุมมอง ที่ได้จึงลงลึกมากขึ้น คือปาฐกถาจากงานเสวนา ‘นิธิ’ กับ ๒๐ ปีให้ หลัง ปาฐกถาว่าด้วยนาฬิกาและวัฒนธรรมไทย และทัศนะวิพากษ์ เรื่อง “กระฎุมพี การเมืองมวลชน และชุดพระราชทาน” ซึ่งเป็นผล งานของเว็บไซต์ประชาไทและนิตยสารฟ้าเดียวกัน ทางส�ำนักพิมพ์ ต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย จริงๆ แล้ว โมงยามไม่ผันแปรเป็นสัจธรรมที่แทบไม่ต้อง หาข้อพิสูจน์ เหมือนสภาวะทางการเมืองในตอนนี้ที่ถูกทวนเข็ม และสุดท้ายก็จะต้องพบ “ความจริง” ว่าในที่สุดเวลาย่อมหมุนไป ข้างหน้าเสมอ และคงไม่เกินไปนักที่อาจารย์นิธิจะเสนอความจริงที่ว่า ไม่มีใครในโลกจะทนอยู่ภายใต้ระบอบแห่งความน่าสะพรึง กลัวที่เผด็จการสถาปนาขึ้นได้ เว้นแต่ถูกกล่อมเกลาให้ชีวิตมีความ หมายไม่มากกว่าการหายใจ ส�ำนักพิมพ์มติชน 8 นิธิ เอียวศรีวงศ์
ค�ำน�ำผู้เขียน
เมืองไทยมีปญั หาแน่ มีมานานแล้วด้วย ไม่แต่เฉพาะปัญหา
ทางการเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น เราก�ำลังติดกับดักของประเทศรายได้ปานกลางแน่นหนาขึ้นทุกที การศึกษาของไทยไร้คุณภาพ ยิ่งเมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวด เร็วเช่นทุกวันนี้ ความไร้คุณภาพก็ยิ่งปรากฏชัดเจนขึ้น เราผลิตคน ให้มีทักษะในงานอาชีพใหม่ๆ ในตลาดงานที่ก�ำลังเปลี่ยนแปลงไม่ ได้ แม้แต่ผลิตคนให้มีความสุขในโลกที่ไม่เหมือนเดิมใบนี้ก็ยังท�ำ ไม่ได้ ยิ่งในระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมา การแข่งขันทางการเมืองของไทย กลายเป็นการตะลุมบอนกันอย่างไร้กติกาและอารยธรรม โอกาสที่ เราจะปรับตัว ปรับระบบเศรษฐกิจ ปรับระบบกระจายรายได้ ปรับ ระบบการศึกษา ปรับสถาบันเก่าและใหม่ให้รับกับความเปลี่ยน แปลงที่หลีกหนีไม่พ้น ปรับฐานความรู้และความคิดที่แตกต่างจาก โมงยามไม่ผันแปร 9
เดิมโดยสิ้นเชิง ฯลฯ ก็ท�ำไม่ได้ เพราะผู้น�ำส�ำคัญในการปรับตัวคือ “รัฐ” อ่อนแอเสียจนแม้จะด�ำรงตนให้คงอยู่ต่อไปยังแทบจะเป็นไป ไม่ได้ ในรัฐสมัยใหม่ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐมี บทบาทสูงมากในการน�ำการปรับตัว ยิ่งในรัฐไทยซึ่งครอบง�ำสังคม มาอย่างแน่นหนาและยาวนาน สังคมแทบริเริ่มอะไรไม่ออกเลย นอกจากรณรงค์ห้ามสูบบุหรี่และเสพสุราด้วยงบประมาณมหาศาล แล้วก็ไม่ค่อยได้ผล ท่ามกลางความติดขัดทางเศรษฐกิจและสังคม และปั่นป่วน วุ่นวายทางการเมือง ยังมีอุบัติการณ์ใหญ่ที่ซ้อนทับลงมาอีกอย่าง หนึ่ง นั่นคือการเปลี่ยนผ่านทางสังคมครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีการ เปลี่ยนผ่านทางสังคมครั้งใดที่มีความเข้มข้นและไพศาลเท่าครั้งนี้ ในประวัติศาสตร์ไทย ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งด�ำเนินมาหลายทศวรรษแล้ว ท�ำให้มวลชนคนระดับล่างเข้ามา อยู่ในตลาด, ใน “ชาติ” และในสังคมไทย เต็มตัว มีความคาดหวัง ต่อรัฐบาล, ต่อโรงเรียน, ต่อโรงพยาบาล, ต่อ อปท., ต่อต�ำรวจ, ต่อองคมนตรี, ต่อพ่อค้า, ต่อนายทุนเงินกู้, ต่อธนาคาร ฯลฯ แตก ต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง เพราะเขาคาดหวังต่อชีวิตไปคนละอย่างกับ ที่ปู่ย่าตายายเคยคาดหวังมา ดังนั้น การปรับตัวต่อปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้ารัฐและสังคมไทย จึงไม่อาจใช้ค�ำตอบเก่าได้อกี แล้ว ต้องน�ำเอา “มวลชนคนระดับล่าง” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของค�ำตอบด้วยเสมอ เช่นนิคมอุตสาหกรรมที ่ ท�ำลายสิ่งแวดล้อมและชีวิตของผู้คนใกล้เคียง เพื่อแลกกับงานจ้าง ราคาถูกในนิคม ก็ไม่ใช่ค�ำตอบของการปรับตัวอีกต่อไป ด้วยความเข้าใจต่อสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ผมจึงไม่เชื่อ ตลอดมาว่า “การรัฐประหาร” จะเป็นค�ำตอบให้แก่ประเทศไทยได้ 10 นิธิ เอียวศรีวงศ์
แม้แต่จะแค่ท�ำให้รัฐเข้มแข็งขึ้นด้วยอ�ำนาจ รัฐประหารก็ยังท�ำไม่ ได้ อย่างเก่งก็เพียงท�ำให้กลไกรัฐทุกหน่วยไม่กล้าหืออย่างออกหน้า เท่านั้น แต่พลังขับเคลื่อนของรัฐไม่ได้มาจากความไม่กล้าหือของ บุคลากร ต้องมาจากแรงบันดาลใจทีใ่ หญ่และลึกกว่านัน้ ในทุกระดับ ไม่มีคณะรัฐประหารใดสามารถให้แรงบันดาลใจเช่นนั้นได้ โดย เฉพาะรัฐประหารของกองทัพซึ่งไม่เคยได้ชื่อว่าเข้าใจอะไรได้มาก ไปกว่ายุทธภูมิ เมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว กองทัพอาจท�ำได้ส�ำเร็จ แต่ครั้งนั้นตลาด รัฐ และสังคมยังแคบมาก ประกอบด้วยชนชั้นน�ำ เพียงกลุม่ เล็กๆ เท่านัน้ ผลประโยชน์จากการพัฒนาเพียงอย่างเดียว ก็ให้แรงบันดาลใจแก่คนกลุ่มนี้เพียงพอที่จะผลักดันให้รัฐกลายเป็น ผู้น�ำที่เข้มแข็งในการน�ำเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การผลิตที ่ ทันสมัย แต่ก็จ�ำกัดเฉพาะการผลิตในหมู่ชนชั้นน�ำเล็กๆ นั้น แต่รัฐประหารโดยกองทัพก็เกิดขึ้นจนได้ ท�ำให้การเปลี่ยน ผ่านทางสังคมของไทยยิ่งสลับซับซ้อนยุ่งยากขึ้น ในขณะที่ความ จ�ำเป็นในการปรับตัวเข้าสู่อนาคตของโลกที่เปลี่ยนไปแล้วก็เป็นไป ไม่ได้เอาเสียเลย ยกเว้นแต่ปรับตัวด้วยค�ำตอบเดิม ซึ่งจะยิ่งท�ำให้ ความตึงเครียดในสังคมสูงขึ้น จนยากที่เราจะสามารถเปลี่ยนผ่าน ไปได้อย่างไม่นองเลือด ซ�ำ้ ร้ายไปกว่านัน้ การรัฐประหารครัง้ นีเ้ กิดขึน้ ท่ามกลางความ ล่มสลายของโครงสร้างทางการเมือง หรือจะพูดว่าเป็นความล่ม สลายของรัฐและสังคมก็ว่าได้ ดังนั้น จึงเป็นการยากแก่คณะรัฐ ประหารที่จะหาคนดีมีฝีมือมาช่วยงาน ค.ร.ม.ที่คณะรัฐประหารตั้ง ขึ้นเป็น ค.ร.ม.ที่ขี้ริ้วที่สุดเท่าที่เคยมีในประเทศไทย เกือบทุกคนมี ผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ในทางวัตถุก็ทางการเล่นพรรคพวก ทั้งนี้ ยังไม่พดู ถึงองค์กรทางการเมืองอีกหลายอย่างทีค่ ณะรัฐประหารสร้าง ขึ้น กองทัพรัฐประหารนั้นแตกต่างจากกองทัพยึดครอง แม้เวลา โมงยามไม่ผันแปร 11
ผ่านไปจนเกือบจะครบปี แล้ว กองทัพยังไม่สามารถเปลี่ยนตัวเอง จากกองทัพยึดครองเป็นกองทัพรัฐประหารได้ ผมต้องสารภาพว่าการรัฐประหารครั้งนี้ท�ำให้ผมอับจนทาง สติปัญญา เพราะมองไม่เห็นว่าจะมีทางออกทางการเมืองโดยสงบ และไม่นองเลือดได้อย่างไร หากเราอาจกลับไปสู่เส้นทางประชา ธิปไตยได้อีกในเร็ววัน รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็จะถูกบ่อน ท�ำลายลงด้วยวิธีนอกกติกาเหมือนเดิม สถาบันประชาธิปไตยไทย จึงขาดโอกาสที่จะปรับตัวให้เกิดระบบที่มีการถ่วงดุลอย่างเป็นธรรม ถูกตรวจสอบโดยสังคมได้มากขึ้น และถูกยับยั้งการใช้อ�ำนาจอย่าง ไม่ชอบธรรมได้โดยไม่ต้องตอบโต้ด้วยความรุนแรง ส่วนการปล่อย ให้กองทัพคุมการเมืองต่อไปอย่างเปิดเผยหรืออยู่เบื้องหลังก็ตามที ย่อมเห็นได้ชัดแล้วว่ากองทัพไทยเองนั่นแหละ คือสถาบันโบราณ ที่นอกจากไม่สามารถน�ำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงโดยสงบและเป็น ธรรมแก่ทุกฝ่ายได้แล้ว ยังสมควรจะถูกปฏิรูปขนานใหญ่ด้วย เพื่อ ท�ำให้กองทัพเป็นสถาบันทางการเมืองที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ องค์กรที่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ไม่ว่าจะออกทางไหนก็ตันทั้งนั้น เราหมุนเข็มนาฬิกา กลับไปก่อนวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ไม่ได้ ถึงหมุนได้มัน ก็จะเดินมาถึงวันนั้นอีกจนได้ ในทางกฎหมาย ทางออกคือการล้มล้างผลพวงการรัฐประหาร ทั้งใน พ.ศ.๒๕๔๙ และครั้งนี้ เพื่อจะเริ่มกันใหม่บนวิถีทางประชา ธิปไตยและความเป็นธรรม แต่ในทางการเมืองอันเป็นศิลปะของ ความเป็นไปได้ ดูจะไม่มีทางเป็นไปได้เอาเสียเลย นอกจากต้อง ผ่านการนองเลือดครั้งใหญ่ ชนิดที่แม้แต่ผู้กระหายเลือดยังตะลึง กว่าที่สังคมไทยจะสามารถมองเห็นทางจากทางตันครั้งนี้ ร่วมกันได้คงต้องใช้เวลาอีกนาน กว่าที่คนจ�ำนวนมากจะต้องเห็น 12 นิธิ เอียวศรีวงศ์
พ้องกับคนอื่นว่าการรัฐประหารและเผด็จการไม่น�ำไปสู่อะไรเลย นอกจากทางที่ตันมากขึ้น กว่าที่จะเห็นร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ได้ว่า เราต้องรักษาหลักการประชาธิปไตยไว้ให้มั่นคงในยามที่สังคมไทย ก�ำลังเปลีย่ นผ่านครัง้ ใหญ่ซงึ่ จะต้องเกิดความขัดแย้งอีกมาก เพราะ เป็นหนทางเดียวทีเ่ ราไม่ตอ้ งฆ่ากัน กว่าทีจ่ ะเห็นได้วา่ เหตุใดค�ำตอบ ที่เคยใช้ได้ผลมาก่อนจึงใช้ไม่ได้ในสังคมใหม่ที่เราเผชิญอยู่ กว่าจะ มีฉันทามติที่แรงกล้าพอจะร่วมกันผลักดันให้สถาบันประชาธิปไตย ทั้งหลายพัฒนาตนเอง กว่าจะ...กว่าจะ...อีกเป็นสิบเป็นร้อยอย่าง สิ่งเดียวที่คนเล็กๆ อย่างผมจะท�ำได้ เพื่อเป็นหนทางไปสู ่ ทางออกจากทางตันที่เราเผชิญอยู่ ก็คือพยายามสร้างความเข้าใจ ในสังคมถึงสถานะและความเป็นไปที่แท้จริงซึ่งเราต้องเผชิญอยู่ ขณะนี้ โต้ตอบความตื้นเขินของบริวารรัฐประหารซึ่งพยายามท�ำให้ ทุกอย่างกลายเป็นเรื่องของคนดี-คนชั่ว อันเป็นการน�ำคุณธรรมไป สู่การนองเลือด เพราะเราไม่มีทางจัดการกับคนชั่วได้นอกจากขจัด ออกไป-ไปจากการเมือง, ไปจากอ�ำนาจ, ไปจากสิทธิพลเมือง, ไป จากสังคม และในอารมณ์ที่รุนแรงของโลกที่มีแต่ดี-ชั่ว ก็หมายถึง ขจัดออกไปจากการมีชีวิตด้วย แต่เพราะเป็นความเข้าใจของสังคม ไม่ใช่ของผมคนเดียว จึงอยากย�้ำเตือนว่าสิ่งที่ผมเสนอทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัว มีผิดมีถูกเหมือนความเห็นของคนอื่น เสนอเพื่อให้เกิดการ พิจารณาหรือถกเถียง ซึ่งจะท�ำให้สังคมมีญาณทัศนะต่อสิ่ง เหล่านี้ได้ลึกขึ้นและกว้างขึ้น อันเป็นพลังส�ำคัญที่จะท�ำให้เรา หลุดพ้นจากทางตันและเห็นทางก้าวเดินต่อไปจากทางตันนี้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ โมงยามไม่ผันแปร 13
โมงยามไม่ผันแปร
เผด็จการกับประชาธิปไตย
การเมืองประชาธิปไตยจึงเกิดขึน้ ได้ โดยไม่ตอ้ งอาศัยความ รูพ ้ เิ ศษของพลเมือง (โดยเฉพาะความรูข้ องด๊อกเตอร์และ ศาสตราจารย์ ซึง่ ไม่เกีย่ วอะไรกับประชาธิปไตยเลย) แต่สงิ่ ที่ขาดไม่ได้ในการเมืองประชาธิปไตยคือ เสรีภาพและเสมอ ภาคต่างหาก
ส่วนรวมกับประชาธิปไตย
ในรายการทีวีรายการหนึ่ง ผู้ด�ำเนินรายการเชิญแขกต่างประเทศ
มาร่วมรายการ แขกผู้นั้นอยากเสนอประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง “พลเมือง” เพราะโลกปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก คนถือสัญชาติอื่น จ�ำนวนมากเข้าไปมีชวี ติ ในอีกประเทศหนึง่ เป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะ ในอียูที่ผู้คนเดินทางตั้งภูมิล�ำเนาข้ามไปข้ามมาอยู่มากและสม�่ำ เสมอ พลเมืองมากับสิทธิการเลือกตั้ง และการเลือกตั้งเป็นผลให้ จัดการทรัพยากรด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง อันย่อมมีผลกระทบต่อ ชีวิตของทุกคนในดินแดนนั้น ไม่ว่าจะถือสัญชาติอะไร ด้วยเหตุ ดังนัน้ เธอจึงเสนอว่าสิทธิการเลือกตัง้ ควรขยายออกไปจากพลเมือง ไปสู่คนต่างด้าวที่อยู่ประจ�ำและอยู่นานในระดับหนึ่ง ผู้ด�ำเนินรายการท้วงว่าในประเทศไทย แม้แต่พลเมืองที่ถือ สัญชาติไทยยังก�ำลังถูกกีดกันจากสิทธิเลือกตั้ง จะมาพูดถึงคนต่าง ด้าวอย่างแขกรับเชิญให้มาร่วมก�ำหนดชะตากรรมของประเทศไทย ได้อย่างไร โมงยามไม่ผันแปร 19
ผมรู้สึกตัวว่าได้ความกระจ่างใจบางอย่างขึ้นมาทันที เมื่อ แขกรับเชิญซึ่งเป็นชาวตะวันตกคิดถึงสิทธิเลือกตั้ง (หรือประชาธิป ไตย) เขาก�ำลังคิดถึงสิทธิและส่วนได้ส่วนเสียของปัจเจกบุคคล การเมืองของประชาธิปไตยคือการให้โอกาสที่เท่าเทียมกันแก่ทุก คนในการต่อรองในเรื่องการจัดการทรัพยากรของส่วนรวม เพื่อเขา จะได้ปกป้องผลประโยชน์ของเขาด้วยตัวเขาเอง หากจ�ำเป็นต้อง ประนีประนอม (ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อทุกคนมีสิทธิต่อรอง เท่าเทียมกัน) ก็ประนีประนอมเท่าที่เขาพอจะรับได้ แต่คนไทยไม่ได้คิดอย่างนั้น คนไทยคิดว่าประชาธิปไตยคือ เรื่องของส่วนรวม เรื่องของชะตากรรมบ้านเมือง ไม่ใช่ผลประโยชน์ ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จะรักษาผลประโยชน์ที่ดีสุดของบ้านเมือง ได้อย่างไร กลุม่ หนึง่ คิดว่าต้องมีคนเก่งคนดีมาจัดการบริหารทรัพยา กรอย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ อีกกลุ่มหนึ่งคิดว่าคนอย่างนั้น ไม่มี ถึงมีก็อาจเสียคนได้ในภายหลัง จึงสู้การเปิดให้ทุกคนได้เข้า มาช่วยกันคิดช่วยกันต่อรองไม่ได้ เวลาเราพูดถึง “กัมมันตพลเมือง” ดูเหมือนเราก�ำลังคิดถึง คนทีใ่ ส่ใจจะเข้ามามีสว่ นร่วมในกิจการสาธารณะ โดยเฉพาะเข้ามา ท�ำอะไรที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม (ที่เรียกกันว่ามีจิตสาธารณะ) และด้ ว ยเหตุ ดั ง นั้ น จึ ง ต้ อ งเป็ น ผู ้ ที่ ใ ส่ ใ จเรี ย นรู ้ ป ั ญ หาเศรษฐกิ จ ปัญหาสังคม ปัญหาวัฒนธรรม ฯลฯ ที่สังคมของตนก�ำลังเผชิญอยู่ ยิ่งกว่านั้นยังต้องใช้เวลาครุ่นคิดว่า “กัมมันตพลเมือง” ในฐานะ ปัจเจกบุคคลจะมีส่วนเข้าไปช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไร หนึ่งใน สิ่งที่พูดกันเสมอก็คือต้องรวมกลุ่ม “กัมมันตพลเมือง” เช่นนีม้ ที ไี่ หนในโลกหรือครับ ผมมีประสบ การณ์ตา่ งประเทศน้อย อาจมีจริงทีไ่ หนสักแห่งนอกจินตนาการของ 20 นิธิ เอียวศรีวงศ์
นักปราชญ์ไทยก็ได้ แต่สมัยที่ผมเรียนในสหรัฐ มีฝรั่งถามผมว่า ไทยแลนด์คือไต้หวันใช่ไหมอยู่เสมอ คนอเมริกันชอบคิดว่าเขาคือ ผู้จัดระเบียบของโลกทั้งใบ แต่มีพลเมืองที่คิดไม่ออกว่าไทยแลนด์ อยู่ที่ไหน ทั้งๆ ที่อยู่ในช่วงสงครามเวียดนามด้วย ดังนั้น ส่วนใหญ่ ของชาวบ้านอเมริกันก็ไม่ใช่ “กัมมันตพลเมือง” แน่ และนักคิดของ กปปส.คงไม่ให้สิทธิเลือกตั้งแก่เขา จะให้คน เช่นนี้มาร่วมก�ำหนดชะตากรรมของชาติได้อย่างไร แต่ถ้าคิดแบบชาวตะวันตก (สมัยใหม่) คือคิดจากปัจเจก บุคคล แม้ว่านายแจ๊กซึ่งรับจ้างเลี้ยงวัวอยู่ชายทุ่งไม่ใช่ “กัมมันต พลเมือง” อีกทั้งไม่มีความรู้เกี่ยวกับส่วนรวมมากไปกว่าเพื่อจะหา กินด�ำรงชีวิตไปวันๆ ใครจะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์และความอยู่ดี มีสุขของเขาได้ดีไปกว่าตัวเขาเอง หากพรรคการเมืองหนึ่งหาเสียง ว่าจะขึน้ ค่าแรงขัน้ ต�ำ่ แก่แรงงานรับจ้างในไร่นา แจ๊กจะต้องใช้ความ รู้อะไรมากนักเพื่อวิเคราะห์ว่าเขาควรสนับสนุนนโยบายนั้นหรือไม่ แน่นอนว่าแจ๊กย่อมคิดโดยอาศัยผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที ่ ตั้ง แต่ผลประโยชน์ส่วนตัวของคนหลากหลายประเภท (plurality) ย่อมคานกันเอง ฉะนั้น ผลประโยชน์ส่วนตัวจึงไม่จ�ำเป็นต้องน�ำ ไปสู ่ ค วามพิ น าศของผลประโยชน์ ส ่ ว นรวมเสมอไป เช่ น แจ๊ ก ใน ฐานะลูกจ้างเลี้ยงวัวมานานย่อมรู้ดีว่าหากขึ้นค่าแรงของเขามาก เกินไป ผลก็คือจะไม่มีผู้ลงทุนเลี้ยงวัวอีกต่อไป (เพราะนายทุนย่อม ขนทุนไปเลี้ยงวัวในประเทศที่ค่าจ้างแรงงานถูกกว่า) ตัวเขาก็จะตก งาน พรรคการเมืองที่เสนอนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต�่ำ จึงต้องเสนอ แต่พอที่จะเป็นผลดีในระยะยาวแก่ทั้งนายทุนเจ้าของไร่ปศุสัตว์ และแรงงานรับจ้างในไร่ หากเสนอมากเกินไป นอกจากจะไม่ สามารถส่งมอบผลได้ในทางปฏิบัติแล้ว ยังอาจท�ำให้เสียคะแนน เสียงไปด้วย โมงยามไม่ผันแปร 21