เที่ยวเอเธนส์โบราณ วันละ 5 แดรกมา
Published by arrangement with Thames and Hudson Ltd., London, © 2010 Thames & Hudson Ltd., London This edition first published in Thailand 2014 by Matichon Publishing House Thai edition © 2014 Matichon Publishing House
เที่ยวเอเธนส์โบราณ วันละ 5 แดรกมา
Philip Matyszak เขียน ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2557
เที่ยวเอเธนส์โบราณ วันละ 5 แดรกมา • ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
จากเรื่อง ANCIENT ATHENS ON FIVE DRACHMAS A DAY ของ Philip Matyszak Copyright © 2008 by Philip Matyszak Thai Language Copyright © 2014 by Matichon Publishing House. All rights reserved including the right of reproduction in whole or in part in any form. พิมพ์ครั้งแรก : ส�ำนักพิมพ์มติชน, กันยายน 2557 ราคา 195 บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม มาทีแชก, ฟิลิป. เที่ยวเอเธนส์โบราณ วันละ 5 แดรกมา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557. 184 หน้า. 1. กรีซ-ประวัติศาสตร์ 2. กรีซ--ความเป็นอยุ่และประเพณี 3. กรีซ--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว I. ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์, ผู้แปล II. ชื่อเรื่อง 915.15 ISBN 978 - 974 - 02 - 1333 - 8 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี ผู้ช่วยบรรณาธิการ : เฉลิมพล แพทยกุล • พิสูจน์อักษร : เมตตา จันทร์หอม กราฟิกเลย์เอาต์ : อัสรี เสณีวรวงศ์ • ออกแบบปก-ศิลปกรรม : อริญชย์ ลิ้มพานิช ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม • นักศึกษาฝึกงานแผนกประชาสัมพันธ์ : ฐิมาภรณ์ โพธิ์ขวัญ หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012
www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองการเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่ 5 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี 11110 โทรศัพท์ 0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้แปล
7 9
1. ไปเอเธนส์ เทอร์โมปิแล • เดลฟี อัตติกา • มาราธอน
13
2. ปิแรอัส ท่าเรือ • ชาวปิแรอัส ก�ำแพงยาว
34
3. ค�ำแนะน�ำเบื้องต้น เที่ยวรอบๆ เมือง • พักที่ไหน สังคมเอเธนส์โบราณ
49
4. งานอดิเรกของชาวเอเธนส์ อคาเดมี • ชนไก่ • โรงเหล้า ช้อปปิ้ง • เงินตรา
81
5. พบกับชาวเอเธนส์ ไฮเปอร์โบลอส • เปริคลีส • โซเครตีส ทูซีดิดีส • ฟิเดียส • เอสคีลัส โซโฟคลีส • อริสโตเฟนีส
95
6. กิจกรรม เช้าที่ปินีกซ์ • บ่ายโรงละคร • เย็นซิมโปเซียม
111
7. นครแห่งเทพเจ้า เฮแฟสตอส & ผองเพื่อน • อาเธน่า & ปานาเทเนีย ความลึกลับของเอลิวซีเนียน • เวทมนตร์คาถาและโชคลาง
133
8. พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน เกณฑ์ทหาร • งานศพ • งานแต่งงาน
149
9. สถานที่ที่ไม่ควรพลาด ในอโกร่า : บูลิวเตริออน • โทลอส สโตอาหลวง • สโตอาแห่งเซอุส เอลิวเทรอส ฮิปปาร์คิออน • สโตอาภาพวาด สโตอาใต้ & บนอโครโปลิส : โปรปิแลอา เอเรคทิออน • ปาร์เทนอน
157
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
ขอต้อนรับสู่เอเธนส์โบราณในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช ยุคทอง ของนครรัฐอันเป็นศูนย์กลางแหล่งก�ำเนิดศิลปะและวิทยาการส�ำคัญๆ ทั้ง หลายในโลกปัจจุบัน หลังจบสงครามกับเปอร์เซีย (ที่กลายมาเป็นหนังเรื่อง “300”) และความขัดแย้งกับเพื่อนบ้านสุดแกร่งอย่างสปาร์ตายุติลง นี่เป็น ช่วงรุ่งเรืองสุดขีดของเอเธนส์ เป็นยุคแห่งการระเบิดพลังสร้างสรรค์และการ ถกเถียงทางปัญญา ยุคที่เหล่านักคิด นักเขียน นักการละครชื่อดัง ไม่ว่าจะเกิดในนครรัฐ กรีกอื่นๆ หรือมาจากอารยธรรมอื่น ยังต้องถ่อมาให้ถึงเอเธนส์ในยุคนี้ให้ได้ (ไม่นับทาสหรือเชลยศึก) หนังสือเล่มนี้อธิบายสังคมเอเธนส์โบราณด้วยสไตล์ไกด์เที่ยวย้อน เวลา ด้วยงบวันละ 5 แดรกมา (ค่าเงินของเอเธนส์ยุคนั้น ซึ่งอันที่จริงนับว่า แพงพอตัวส�ำหรับคนต่างถิ่น ที่คงไม่อาจหาทุนส�ำรองในเอเธนส์ยุคนั้นได้ รายละเอียดอัตราแลกเปลี่ยนดูเพิ่มเติมได้ในหนังสือ) แต่อันที่จริง หากท�ำ ตามค�ำแนะน�ำอย่างละเอียด อาจจะได้มิตรใหม่ในเอเธนส์เป็นผู้ดูแลคุณ ตลอดการไปเยือนโดยไม่เสียสตางค์แม้แต่แดงเดียว คุณสามารถเที่ยวชมสถาปัตยกรรมแบบกรีกแท้ๆ อันลือลั่น เดินดู ของตามอโกร่า หรือจะขึ้นไปชมทิวทัศน์อันงดงามของแผ่นดินอัตติกาจาก อโครโปลิส เสร็จแล้วค่อยเจอกับคนดังแห่งยุค เช่น อริสโตเฟนีส นักเขียน เที่ยวเอเธนส์โบราณ วันละ 5 แดรกมา 7
บทละครตลกชื่อดัง ผู้กวาดรางวัลละครยอดเยี่ยมแห่งปีครั้งแล้วครั้งเล่า กระทั่งเข้าขอค�ำปรึกษาปัญหาชีวิตกับเทพธิดาพยากรณ์แห่งเดลฟี (การตี ความค�ำท�ำนายเป็นความรับผิดชอบของตัวผู้ขอค�ำปรึกษา) ถ้ า ชื่ น ชอบการถกเถี ย งทางปั ญ ญา ก็ ต ้ อ งลองพู ด คุ ย กั บ เหล่ า นั ก ปรัชญาดังๆ ต้องบอกก่อนว่า จริงๆ แล้วโซเครตีสเป็นคนที่ค่อนข้างคุยง่าย ชอบกินเหล้า ทั้งยังกลัวเมียอีกต่างหาก (แต่ก็ควรระมัดระวังเวลาอยู่กับเขา เพราะทางการเอเธนส์ถึงกับหมายหัวเป็นตัวอันตราย...) และหากโชคดี คุณ ยังมีโอกาสได้ไปร่วมเสวนาปรัชญาในงานเลี้ยงสไตล์กรีกโบราณ (กรุณาสอบ ถามให้ละเอียดว่าเป็นงานแบบไหน...โดยเฉพาะงานที่มีแต่ผู้ชายล้วนและ ตัวคุณก็เป็นผู้ชาย) หากนั่นยังไม่น่าสนเท่าไร ก็ต้องลองเข้าร่วมเทศกาลชื่อดังในแบบ ออริจินัล ชมการแข่งขันอันเป็นที่มาของกีฬาโอลิมปิกในปัจจุบัน (ขอเตือน ก่อนว่านักกีฬากรีกโบราณไม่สวมอะไรลงแข่ง ดังนัน้ โปรดพิจารณาดีๆ ก่อน!) หรือจะลองไปดูกระบวนการประชาธิปไตยของแท้แบบเอเธนส์ (ไม่รับประกัน ความปลอดภัยทางร่างกายขณะร่วมชม) น่าเสียดายที่ยุคทองนี้ด�ำรงอยู่แค่สั้นๆ เท่านั้น สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บันทึกหรือสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ล้วนผุพังสาบสูญ ด้วยความหลงลืม ละเลยไปช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ จึงเป็นโอกาสอันดีที่หนังสือ เล่มนี้จะพาคุณไปทัวร์ดินแดนแห่งสติปัญญาในสมัยที่ยังมีชีวิตชีวาให้สัมผัส ส�ำนักพิมพ์มติชน
8 ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
ค�ำน�ำผู้แปล
การเดินทางท่องเที่ยวไปในต่างแดน ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ เปิด โลกของเราให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เอเธนส์เป็นเมืองหนึ่งที่เป็นจุดหมายปลาย ทางการท่องเที่ยวที่นิยมกันในฐานะเมืองที่มีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ ยาวนานนับพันๆ ปี และเป็นแหล่งก�ำเนิดอารยธรรมตะวันตกในระยะเวลา ต่อมา หนังสือท่องเที่ยวเอเธนส์เล่มนี้แตกต่างจากหนังสือท่องเที่ยวทั่วไป ด้วยกลวิธีการน�ำเสนอเสมือนหนึ่งพาผู้อ่านย้อนหลังไปในอดีตอันไกลโพ้น แล้วเริม่ ย�ำ่ ไปตามรอยเท้าประวัตศิ าสตร์ ให้เราได้เห็นภาพของเอเธนส์โบราณ ในทุกมิติ ทั้งด้านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ อาศัยการเล่าเรื่องอย่างมีชีวิตชีวา สนุกสนาน และเห็นภาพราวกับ พาเรานั่งไทม์แมชชีนย้อนกลับไปมีชีวิตร่วมยุคร่วมสมัยในเวลานั้นจริงๆ แม้ ไม่คิดจะเดินทางไปเที่ยวเอเธนส์ก็อ่านได้อย่างเพลิดเพลิน แค่อยากรู้เรื่อง เกี่ยวกับเอเธนส์โบราณก็อาศัยหนังสือเล่มนี้น�ำทางได้เป็นอย่างดี ยิ่งหากจะไปเอเธนส์ด้วยแล้ว หนังสือเล่มนี้จะยิ่งช่วยให้การเดินทาง เต็มอิ่มยิ่งขึ้น ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์
เที่ยวเอเธนส์โบราณ วันละ 5 แดรกมา 9
เที่ยวเอเธนส์โบราณ วันละ 5 แดรกมา
1 ไปเอเธนส์
เทอร์โมปิแล • เดลฟี อัตติกา • มาราธอน
เทอร์โมปิแล อากาศของกรีซขึ้นชื่อว่าบริสุทธิ์แจ่มใส ดังนั้น นักเดินทางผู้โชคดีจะได้เห็น จุดเริ่มต้นของถนนสู่เอเธนส์แต่ไกลข้ามผ่านผืนน�้ำสีครามของอ่าวมาลีอา ที่ซึ่งยอดเขาโอเอตาปกคลุมด้วยเมฆปรากฏขึ้นรางๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ มีหน้าผาของเทอร์โมปิแล (Thermopylae) อยู่ด้านหน้าเป็นปราการคุ้มกัน
คู่รักนักเดินทาง เท้าเปล่าเปลือย ชาว
เอเธนส์บางคนใช้ชีวิตแบบเท้าเปล่า
คนขี่ม้า หอกเป็นตัวเลือกเสริม แต่การ
เดินทางเป็นกลุ่มใหญ่ผ่านดินแดนอันตราย ถือเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย เที่ยวเอเธนส์โบราณ วันละ 5 แดรกมา 13
ประตูสู่กรีซตอนใต้ มันเป็นฤดูใบไม้ผลิ ดังนั้น ที่ความสูง 4,000 ฟุตของเขาคัลลิโดรมอน (Kallidromon) ป่าโอ๊กบนลาดเขาจึงเต็มไปด้วยความสดชื่นเขียวชอุ่ม การ เดินทางสู่เอเธนส์ซึ่งเริ่มต้นเมื่อชั่วรุ่นคนที่แล้ว ผู้มาเยือนกรีซอีกคนหนึ่งได้ รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ณ บริเวณซึ่งได้รับชื่ออย่างเหมาะเหม็งว่า “ประตู ร้อน” แขกผู้มาเยือนคนนั้นคือ เซอร์เซส (Xerxes) กษัตริย์เปอร์เซียผู้เป็น ราชาแห่งกษัตริย์ทั้งปวงซึ่งมาพร้อมด้วยทหารมากมายก่ายกอง และที่นี่เอง ที่พระองค์ประสบความปราชัยเป็นครั้งแรกในการรุกรานกรีซ การป้องกัน เทอร์โมปิแลของชาวสปาร์ตาครั้งนั้นเป็นหนึ่งในการรบซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดใน สงครามเปอร์เซีย สงครามเหล่านี้สร้างเอเธนส์ขึ้นในปี 431 ก่อนคริสตกาล เมืองที่ไม่ว่าอะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้น จึงเหมาะที่การเดินทางจะเริ่มต้นกันตรง ชายฝั่งด้านนี้ ที่ซึ่ง เลโอนิดาส (Leonidas) และวีรบุรุษชาวสปาร์ตา 300 คนของเขาถูกกลบฝัง ท่าเทียบเรือแห่งแรกคือส่วนของแผ่นดินลื่นๆ ที่ยื่นออกมาบนชายหาด แคบๆ ของ อันเธลา (Anthela) หมู่บ้านเล็กๆ ที่แทรกอยู่ในช่องหน้าผาตรง
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับเทอร์โมปิแล ที่จริงแล้ว แม้ว่าจะมีฉากการรบพุ่งดุเดือดซ�้ำแล้วซ�้ำเล่าในรอบ 1,000 ปี ชื่อ “ประตูร้อน” (Hot Gates) นั้นตั้งตามน�้ำพุภูเขาไฟเดือดพล่านในบริเวณนั้น มีชาวสปาร์ตา 2 คนรอดชีวิตจากการสู้รบ คนหนึ่งฆ่าตัวตายในภายหลังด้วยความอับอายที่รอดชีวิตมาได้ ก่อนออกรบเสี่ยงชีวิต ชาวสปาร์ตาจะหมกมุ่นกับการแต่งผม หลังการรบสิ้นสุดลง เซอร์เซสผู้พยาบาทสั่งให้เอาศีรษะ ของเลโอนิดาสเสียบประจานไว้บนเสา มีชาวทีบ (ของชนชาติกรีก) 400 คนอยู่ในสมรภูมิเทอร์โมปิแลด้วย (แต่พวกเขายอมจ�ำนน) 14 ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
“ประตูตะวันตก” ซึ่งเป็นช่องทางที่อยู่ค่อนไปทางตะวันตกมากที่สุดในบรรดา ทางแคบๆ 3 สายระหว่างหน้าผาและทะเลที่ประกอบกันขึ้นเป็นเทอร์โมปิแล ภารกิจแรกคือการหาที่พัก เพราะแม้กระทั่งถึงตอนนี้ 40 ปีหลังสงคราม บริเวณดังกล่าวก็ยังคงดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นจ�ำนวนมาก บางครั้งท่าม กลางนักท่องเที่ยวเหล่านี้ยังรวมถึงสุภาพบุรุษผมยาวท่าทางจริงจังที่มาเยือน หลุมศพบรรพบุรุษของพวกเขา เลโอนิดาส กษัตริย์แห่งสปาร์ตา รู้ว่าพระ องค์ก�ำลังน�ำคนของพระองค์ 300 คน ปฏิบัติภารกิจพลีชีพ และคัดตัวพวก เขาด้วยตัวพระองค์เอง โดยเลือกเฉพาะคนที่มีบุตรชายที่ยังมีชีวิตเพื่อดูแล ครอบครัวของพวกเขาต่อไป ช่วง 2-3 วันอันล�้ำค่านั้น ชาวสปาร์ตายืนหยัด ตั้งรับกองทหารหลายพันนายของเซอร์เซส ขณะที่ชาวกรีกที่เหลือตระเตรียม การป้องกันอย่างลนลาน ทายาทของทหารสปาร์ตา 300 นายคงเล่าเรื่องราว น่าหวาดเสียวของการต่อสูแ้ บบเอาชีวติ เข้าแลกในครัง้ นัน้ หากเลือกทีจ่ ะเล่า แต่อาจจะไม่ก็ได้ ชาวสปาร์ตาขึ้นชื่อว่าพูดน้อย (Laconic) ที่จริงแล้วค�ำนี้ ประดิษฐ์ขนึ้ มาเพือ่ พวกเขาโดยเฉพาะ มีความหมายว่า “ผูค้ นแห่งลาโคเนีย” (Lakonia) บริเวณของกรีซซึ่งเมืองสปาร์ตาตั้งอยู่ เมื่อคุยกับคนสปาร์ตาทั่วๆ ไป เขาจะพูดน้อยมากจนดูเหมือน โง่เขลา แต่สุดท้ายแล้ว ราวนายธนูมือฉมัง เขาจะแสดงความ คิดเห็นสั้นกระชับจนท่านรู้สึกเหมือนเป็นเด็กอ่อนหัดไปเลย โปรตากอรัส (Protagoras) • 342 โดย เพลโต
การส�ำรวจเทอร์โมปิแลที่ถูกต้องเหมาะสมควรเริ่มทางด้านตะวันตก ของอันเธลา ที่ซึ่งแม่น�้ำสเปร์คิออสไหลลงทะเลใกล้กับผาตราคีเนียน ด้าน หลังของภูเขาโอเอตา ที่ซึ่งต�ำนานเล่าว่า เฮราคลีส (Herakles - ที่ชาวโรมัน เรียก ‘เฮอร์คิวลีส’) เสียชีวิตลงหลังปฏิบัติภารกิจอันลือลั่นส�ำเร็จ เชิงตะกอน ของเขาน่าจะมอบทัศนียภาพอันงดงามให้แก่เทอร์โมปิแล และที่มั่นสุดท้าย เที่ยวเอเธนส์โบราณ วันละ 5 แดรกมา 15
ของเลโอนิดาส บุรุษที่เชื่อกันว่าเป็นทายาทโดยตรงของเฮราคลีส ที่ราบ ขนาดเล็กระหว่างแม่น�้ำสเปร์คิออสกับอโซปัส แม่น�้ำสายเล็กกว่า เป็นที่ซึ่ง ทัพเปอร์เซียตั้งค่าย จากตรงนั้นเดินไปใกล้ๆ จะถึงเนินเขาเตี้ยๆ ที่เซอร์เซส เคยใช้นั่งเฝ้าดูการรบ ซึ่งบางครั้งก็ลุกพรวดขึ้นด้วยความตกตะลึงและโกรธ เกรี้ยว เมื่อพวกสปาร์ตายันทัพของเขาล่าถอยมาครั้งแล้วครั้งเล่า จุดที่เกิดการปะทะกันจริงๆ อยู่เลยไปทางตะวันออกผ่านอันเธลา ที่ ซึ่งสันเขาด้านล่างของคัลลิโดรมอนขยายเส้นทางสายนั้นให้กว้างขึ้นราวๆ 30 หลา ที่นี่ “ประตูกลาง” มีซากปรักหักพังของก�ำแพงที่ชาวกรีกใช้เป็นฐาน ครั้งแรก ภายหลังเมื่อถึงคราวสิ้นหวัง พวกเขาจึงถอยร่นมาทางตะวันออก และสู้ตายอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ ลูกหนึ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้มีสิงโตหินตัวหนึ่งยืนอยู่เพื่อ ตราตรึงความทรงจ�ำของพวกเขา ถัดไปเป็นเสาหินอ่อน 3 ต้นตั้งอยู่ใกล้กับ “ประตูตะวันออก” เสา ต้นแรกมีบทกวีร�ำลึกถึงเมจิสเทียสผู้หยั่งรู้ (Megistias) ซึ่งเห็นเค้าลางแห่ง หายนะ ทว่ายังคงเลือกอยู่เคียงข้างชาวสปาร์ตาทั้ง 300 คน กวีบทนี้เขียน โดยซิโมนิเดส (Simonides) สหายของเมจิสเทียส โศกนาฏกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่ พ�ำนักอยู่ในเอเธนส์ตราบจนชีวิตหาไม่ใน 20 ปีให้หลังสงคราม เบื้องหน้าท่าน คือหลุมศพของเมจิสเทียสผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สังหาร ชาวเมดาสที่เพิ่งข้ามล�ำธารสเปร์คิออส ปราชญ์ผู้หยั่งรู้ความ ตายของตนล่วงหน้าแจ่มชัด ทว่าไม่ละทิ้งจุดมุ่งหมายของชาว สปาร์ตา ซิโมนิเดส
เสาต้นที่สองอุทิศให้ชาวกรีกทั้งมวลที่ต่อสู้ในสงคราม “สี่พันต้านคน นับล้าน” เสาต้นสุดท้ายอุทิศให้เลโอนิดาสคนเดียว และใช้ข้อความเรียบง่าย “จงไปเถิด นักเดินทาง บอกกับชาวสปาร์ตาว่าพวกเราตายที่นี่ ในหน้าที่ที่ได้ รับมอบหมาย” 16 ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
หลังจากชมอนุสรณ์แห่งความทรงจ�ำเหล่านี้แล้ว หากมีเวลา ให้ย้อน กลับไปยังทางคดเคี้ยวผ่านภูเขาคัลลิโดรมอน เส้นทางนี้เรียกว่า อโนเปีย (Anopaea) ใช้ชื่อเดียวกับภูเขาที่มันพาดผ่านและแม่น�้ำข้างทางที่ไหลย้อน ไปลงทะเล ที่นี่คุณจะก้าวซ�้ำรอยเท้าของหน่วย “ผู้เป็นอมตะ” (Immortals) แห่งกองทัพเปอร์เซีย 5,000 คน ซึ่งเดินทางอ้อมตลบหลังลอบจู่โจม ยังความ หายนะให้แก่กองก�ำลังของเลโอนิดาส ท่ามกลางบรรยากาศของโศกนาฏ กรรมสะเทือนใจอันใหญ่หลวงนี้ น่าประหลาดใจที่การมาท่องเที่ยวเทอร์โมปิแลมักจบลง ณ บริเวณโขดหินเกลี้ยงเกลาที่คนท้องถิ่นเรียกว่า “สะโพกด�ำ” (black buttock) ย้อนกลับไปยังอันเธลา ได้เวลาหาลาสักตัวและผ้าคลุมสักผืน (ชาว กรีกนิยมแต่งตัวน้อยชิ้นไม่มากเรื่องมากความ ผ้าคลุมดังกล่าวเรียกว่า ฮิมาตอน (Himaton) เป็นสิ่งเดียวที่สหายนักเดินทางของคุณบางคนจะใช้ ห่มคลุม) คุณยังจ�ำเป็นต้องมีร้องเท้าบู๊ตทนๆ หมวกปีกกว้าง และอาหาร เลี้ยงท้องระหว่างเดินทางไปยังเดลฟี ได้เวลาเผชิญกับถนนกรีกและค้นพบ กันแล้วว่า เหตุใดเหล่านักเดินทางที่จริงจังในกรีซจึงเลือกที่จะเดินทางทาง ทะเลเมื่อใดก็ตามที่ท�ำได้
เดลฟี
ถนน (หากทางคดเคี้ยวในภูเขาเช่นนี้สมควรเรียกว่าถนน) สายนี้จะน�ำนักเดิน ทางลงใต้ไปยังสถานที่ในต�ำนานซึ่งเหยี่ยวของเซอุส (Zeus) บินไปพบศูนย์ กลางของโลก ที่นี่ ภูเขาปาร์นาสซัสตระหง่านเหนือท้องทุ่งและป่ามะกอก ที่ทอดยาวไปจรดอ่าวคอรินธ์ ปาร์นาสซัสคือดินแดนของเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) ผู้เปล่งวจนะผ่านศาสดาพยากรณ์ของเขาในเดลฟี ดินแดนต้อง ค�ำสาปในต�ำนานปรัมปราแห่งนี้เองที่ถนนแยกเป็นทางสามแพร่งเบื้องหน้า เดลฟี ซึ่งอีดิปัส (Oedipus - ที่มาของศัพท์ทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “ปมอีดิปัส”) พบบิดาของตนและสังหารเขาโดยไม่รู้ตัวตนที่แท้จริง ถนนแห่งเดลฟีจะท�ำให้เข้าใจแจ่มชัดในทันทีว่าท�ำไมจึงควรมีไม้เท้า แข็งแรงๆ และลาไว้ขนกระเป๋าเดินทางของคุณ ภูเขาปาร์นาสซัสสูงกว่า 1 เที่ยวเอเธนส์โบราณ วันละ 5 แดรกมา 17
ไมล์ ทัง้ ชันและขรุขระด้วยหิน หนักหนาสาหัสเสียจนนักเขียนนามปอซาเนียส (Pausanias) ซึ่งใช้เส้นทางนี้เดินทางในอีก 500 กว่าปีถัดมา ต้องบ่นว่า “ช่างล�ำบากล�ำบนแม้แต่กับคนที่แข็งแรง” อย่างไรก็ตาม มันเป็นการเดิน ทางที่คุ้มค่า เพราะสิ่งที่ตั้งอยู่ในแมกไม้ใบลอเรลบนด้านข้างของภูเขาลูกนี้คือ เดลฟี ถิ่นก�ำเนิดของเทศกาลกีฬาปีเทีย (Pythian games)* และค�ำพยากรณ์ ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก เดลฟีเป็นเมืองที่พลุกพล่านมาก และมากอย่างหาสิ่งใดเทียบไม่ได้ เลยเมื่อปีเทีย (Pythia) นักบวชหญิงของอพอลโลเตรียมประกาศค�ำพยากรณ์ ของเธอ (เธอพยากรณ์ทุกวันที่ 7 ของเดือน ยกเว้นในฤดูหนาวที่อพอลโล ลาพักไปอาบแดดอุ่นๆ ที่อื่น) ไม่แนะน�ำให้มาเยือนในเทศกาลกีฬาปีเทีย เว้นแต่คุณตั้งใจพักอยู่ที่นี่มากกว่าหนึ่งวัน เนื่องจากฝูงชนมักแน่นขนัดเกิน กว่าจะทานทนได้ นี่ไม่ได้หมายความว่าการแข่งขันไม่คุ้มค่าที่จะดู มันมีทั้ง การแข่งขันศิลปะและกรีฑาผสมกัน รวมถึงการประกวดดนตรีด้วย (อย่างไร ก็ดี คุณจะไม่ได้เห็นขลุ่ย เพราะเครื่องดนตรีพวกนี้มักเล่นกันในงานศพและ งานเลี้ยงสังสรรค์ ไม่เหมาะส�ำหรับงานครื้นเครงอย่างการแข่งขันกีฬา) มี การแข่งขันรถม้าและการแข่งวิ่งเร็วโดยคนในชุดเกราะเหล็กเต็มพิกัดอีกด้วย แต่การแข่งขันพวกนี้เพิ่มจ�ำนวนฝูงชนขึ้นมากมายจากที่เดิมก็แน่นขนัดอยู่ แล้ว ท�ำให้ยากที่จะได้ชื่นชมความงาม ความสงบ และแปลกตาที่เดลฟีหยิบ ยื่นให้ การแข่งขันจัดขึ้นทุกๆ 4 ปีมาตั้งแต่ 582 ปีก่อนคริสตกาล แต่ถึงแม้ ไม่ใช่ช่วงเทศกาล ก็ยังคุ้มค่าที่จะหาทางไปดูสถานที่แข่งขันดังกล่าว แอ่ง ธรรมชาติบนลาดเขาของที่นี่จุผู้ชมได้หลายพันคน สามารถมองข้ามเวทีเลย ขึ้นไปยังทัศนียภาพแบบพาโนรามาอันน่าตื่นตาตื่นใจ เมื่อไปตามเส้นทาง คดเคี้ยวทางซ้ายของสนามขึ้นไปยังส่วนสูงที่สุดของเดลฟี ก็จะมาถึงสเตเดียม ที่ใช้จัดแข่งขันกรีฑา สเตเดียมนี้สร้างให้เป็นเนินลาด ส่วนที่อยู่ทางเหนือ * กีฬาปีเทียเป็นหนึ่งในเทศกาลแข่งขันกีฬาแพนเฮเลนิค (Panhellenic games) ทั้ง 4 (ที่โด่งดังที่สุดคือกีฬาโอลิมปิก) ที่ซึ่งชาวกรีกโบราณจากนครรัฐต่างๆ มารวมตัวกันเพื่อ เฉลิมฉลองสันติภาพและเทพอพอลโลที่เดลฟี มงกุฎมะกอกที่เห็นในงานโอลิมปิก ปัจจุบันก็มีต้นก�ำเนิดจากกีฬาปีเทีย – บรรณาธิการ
18 ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
ตัดเว้าเข้าไปในด้านข้างของภูเขา และส่วนที่อยู่ตอนใต้มีเทอร์เรซกั้นก�ำแพง พยุงไว้ ลู่วิ่งนี้รูปร่างเหมือนกิ๊บหนีบผมรูปตัวยู และที่ปลายลู่ด้านหนึ่งมีหลุม เล็กๆ เจาะเข้าไปในหินให้นักวิ่งใช้ยันเท้าเพื่อออกตัว แต่ไม่ว่ายังไง ชนบท กรีกเบื้องล่างนั้นกลับวิเศษเสียยิ่งกว่า ใช้เวลาสัก 2-3 ชัว่ โมงตระเวนดูตามคลังสมบัตลิ ำ�้ ค่าต่างๆ ทุกๆ เมือง ในกรีซต่างมีคลังสมบัติของตนเองในเดลฟี ที่อุทิศให้อพอลโลเป็นการเฉพาะ เมืองต่างๆ ทีเ่ กิดภาวะขัดสนทางการเงินสามารถยืมกลับไปได้ เทพเจ้าไม่วา่ อะไรในเรื่องนี้...ตราบเท่าที่ช�ำระคืนตามก�ำหนดพร้อมดอกเบี้ย ลักษณะ ดังกล่าวของเมืองอันแปลกประหลาดแห่งเดลฟีเป็นเหตุให้ในเวลาต่อมา มัน เป็นที่รู้จักอย่างคลาดเคลื่อนว่า “ธนาคารกลางแห่งกรีซโบราณ” แต่ละเมือง พยายามจะข่มเมืองอื่นๆ ด้วยทรัพย์สมบัติของพวกเขา ทว่าไม่ใช่ด้วย (ทวย เทพทรงห้าม!) ขนาดสะดุดตาหรือด้วยความอลังการ แต่ด้วยการแข่งกันเป็น อัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมที่บ่งบอกรสนิยมอันวิจิตร ขณะเดียวกันก็บ่งบอก นัยอันซับซ้อนว่า เมืองที่สร้างมันขึ้นมานั้น หากต้องการเป็นพิเศษ ก็สามารถ สร้างอนุสรณ์สถานที่หรูหราฟู่ฟ่าได้ยิ่งกว่านั้นมาก โดยปกติแล้วตัวอย่าง พื้นฐานของเรื่องนี้ก็คือคลังสมบัติเอเธนส์ในเตเมนอส (tenemos-ลานกว้าง) ของอพอลโล นี่คืออาคารหลังเล็กสไตล์ดอริก (ดูหน้า 169) สร้างด้วยหิน อ่อนเปอร์เซีย (หินอ่อนเนื้อละเอียดแวววาวสีขาวบริสุทธิ์กึ่งโปร่งใสจากเกาะ ปารอส) พื้นผิวผนังด้านหน้าและด้านหลังตกแต่งด้วยลายสลักมีชีวิตชีวา ซึ่งหลักๆ แล้วเป็นเทเซอุส (Theseus) วีรบุรุษของชาวเอเธนส์ (ดูหน้า 52) ผู้สังหารมิโนตอร์ (Minotaur) ผนังแต่ละด้านยังใช้เป็นกระดานข่าวขนาด ใหญ่ที่ชาวเอเธนส์จารึกถ้อยค�ำยกย่องเทิดทูนและค�ำอุทิศ ภายในเป็นทรัพย์ สีทองเปล่งประกายบนหน้าจั่ว, หญิงเจ้าเสน่ห์ขับขานบทเพลง, บทกวี เปอัน (Paean) ที่ 11 โดย ปินดาร์
ถนนระหว่างเดลฟีกับติทอเรีย (Tithorea) ไม่ ได้เป็นภูเขาไปตลอดทาง ความจริง หลายช่วงของระยะทาง 25 ไมล์นั้นครั้ง หนึ่ ง เคยพู ด กั น ว่ า เหมาะส� ำ หรั บ ยาน พาหนะ เดสคริปชั่น ออฟ กรีซ (The Descrip- tion of Greece) • 10.5 โดย พอซาเนียส เที่ยวเอเธนส์โบราณ วันละ 5 แดรกมา 19