เกียวโตที่รัก โตเกียวที่คิดถึง

Page 1


เกียวโตที่รัก โตเกียวที่คิดถึง



เกียวโตที่รัก โตเกียวที่คิดถึง

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  2558


เกียวโตที่รัก โตเกียวที่คิดถึง • ฮิมิโตะ ณ เกียวโต และณัฐพงศ์ ไชยวานิชย์ผล พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, กุมภาพันธ์  2558 ราคา  220  บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรม ฮิมิโตะ ณ เกียวโต. เกียวโตที่รัก โตเกียวที่คิดถึง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2558.  272 หน้า.- - (สารคดี  (ความเรียง)). 1. ญี่ปุ่น- -ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว.  I. ณัฐพงศ์  ไชยวานิชย์ผล.  II. ชื่อเรื่อง. 915.2 ISBN  978 - 974 - 02 - 1380 - 2 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์ ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : เตือนใจ นิลรัตน์, สุพรรณี  สงวนพงษ์  • นักศึกษาฝึกงาน : กรกฎ ไพศาลยุทธนากุล, อัจฉราพร ลาพิมล พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ • กราฟิกเลย์เอาต์  : อรอนงค์  อินทรอุดม ออกแบบปก-ศิลปกรรม : ประภาพร ประเสริฐโสภา • ภาพประกอบ : ชมพูนุท ชมภูรัตน์  Facebook.com/woodworkstudio ประชาสัมพันธ์  : สุชาดา ฝ่ายสิงห์ หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่  บริษัทงานดี  จ�ำกัด โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012

www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 1235  โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์  บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่  5 ถนนสุขาประชาสรรค์  2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี  11120  โทรศัพท์  0-2584-2133, 0-2582-0596  โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


ค�ำน�ำ ส�ำนักพิมพ์

คุณรู้จักประเทศญี่ปุ่นในแง่มุมไหนบ้าง  เดินทางไปยังไง...เที่ยวที่ไหน...ราเมนร้านไหนอร่อย  ...ย่านช้อปปิ้งตรงไหนที่ต้องไม่พลาด... อยากรู้เรื่องไหน แค่ใส่ค�ำค้นในกูเกิล บรรดาข้อมูล  มหาศาลก็มีมาให้อ่านอย่างท่วมท้น แต่ยังมีเรือ่ งเล็กๆ น้อยๆ  ที่บ่งบอก “ความเป็นญี่ปุ่น” อีกมากมายที่เรายังไม่รู้ “เกียวโตที่รัก-โตเกียวที่คิดถึง” อยากเล่ามุมมองเหล่า  นี้ให้แก่คุณผู้อ่าน ฮิมิโตะ ณ เกียวโต เป็นนักเขียนที่ได้ไปอยู่เกียวโตกว่า  7 ปี การได้กลับไปดูความเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เปลี่ยนไป  ท�ำให้เธอคันไม้คันมือ อยากจะเขียนๆๆๆ อีกหลายๆ ครั้ง  5 / โตเกียวที่คิดถึง


ดูจากนามปากกาและผลงานที่ผ่านมาของเธอ อย่าง จดหมายรัก จากเกียวโต หรือ ครัวหรรษา จากปลาร้าถึงวาซาบิ ก็รู้ได้เลยว่า  เธอต้องติดใจเรื่องญี่ปุ๊นญี่ปุ่นเอามากๆ ณัฐพงศ์ ไชยวานิชย์ผล หรือ นัทคุง นักเขียนมือดีที่แจ้งเกิด  จากหนังสือเจ๋งๆ มาแล้วอย่าง JAPAN DID หรือ เอ๊ะ!! เจป๊อป A GUIDE TO JAPANESE POPULATION ก็มาเล่ามุมคิดต่อ  เมือง “โตเกียว” ในมุมต่าง เพราะมีประสบการณ์จากการไปท�ำงาน  ที่นั่น (และปัจจุบันก็ยังไปบ่อยๆ)  ดูจากสรรพคุณแล้ว เรื่องญี่ปุ่นในมุมใหม่ๆ จึงต้องเป็นของ  สองคนนี้เท่านั้น! นอกจากการเล่าเรื่องแบบ “อินดี้สไตล์” ที่หาไม่ได้ในไกด์บุ๊ก  ญี่ปุ่นที่บอกไป หนังสือเล่มนี้ยังตั้งใจจะเสิร์ฟความสนุกด้วยสไตล์  การจัดเลย์เอาต์แบบกลับหัวกลับหาง พลิกอ่านข้างหน้าหรือเปิดดู  ข้างหลังก่อนก็ได้ ไม่มีกติกา  แต่ก่อนจะพลิกไปอ่าน ต้องขอเล่าถึง  “ความเก๋า” ของทั้งสองเมืองให้ฟังนิดนึง เกียวโต-เมืองพี่-เกิดก่อนเป็นพันปี มีจุดเด่นตรงทีท่ ัศนียภาพ  อันงดงาม ห้อมล้อมด้วยขุนเขา และมีเอกลักษณ์โดดเด่นทางศิลป  วัฒนธรรม ดูได้จากวัดวาอาราม ปราสาทไม้ และบ้านเรือนเก่าแก่  หลายแห่ง โตเกียว-เมืองน้อง-รับไม้ต่อในการเป็นเมืองหลวง เป็นศูนย์  กลางการปกครองของประเทศ เมืองที่กลับมาผงาดในเวทีระดับโลก  หลังบอบช�้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จนตอนนี้กลายเป็นเมืองที่ม ี ค่าครองชีพสูงลิบลิ่วไปแล้ว 6 / เกียวโตที่รัก


แม้ทั้งสองเมืองจะเจริญก้าวหน้าไปเพียงใด วิถีชีวิตของผู้คน  ก็ยังคงความน่าสนใจ ผสมผสานทั้งความทันสมัยและความดั้งเดิม  อันมีเสน่ห์ เขาและเธอจะพาเราไปรู้จักผู้คน ท�ำความเข้าใจพื้นที่ เปิด  มุมมองใหม่ๆ ต่อญี่ปุ่นและคนญี่ปุ่น และยังท�ำให้หันกลับมาดู “เมือง  ไทย” ที่เราใช้ชีวิตอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน “เกียวโตที่รัก-โตเกียวที่คิดถึง” เป็นพื้นที่พูดคุยส�ำหรับคนที่  อยากแบ่งปันเรื่อง “ญี่ปุ่นๆ” ในมุมที่หลายคนเคยแอบคิดในใจเวลา  ที่ได้ไปสัมผัส กิน-ดื่ม ท่องเที่ยว อ่านข่าวเกี่ยวกับเกียวโต-โตเกียว แม้จะเป็นค�ำชมที่ดูเช้ยเชย แต่ส�ำนักพิมพ์รับรองว่า อ่าน  แล้วต้องอุทานในใจ... “เฮ้ย มีแบบนี้ด้วยอะ!” ส�ำนักพิมพ์มติชน

7 / โตเกียวที่คิดถึง



เกียวโตที่รัก ฮิมิโตะ ณ เกียวโต


สารบัญ

ค�ำน�ำผู้เขียน : ฮิมิโตะ ณ เกียวโต  บทน�ำ ร้อนและร่วงโรย City for All : เมืองมนุษย์ เมืองห้ามมั่ว โอฮารา ชงชา เล่าเรื่องฮอกไกโด เมืองจักรยาน กายส�ำคัญกว่าจิต รสชาติวัฒนธรรม บทส่งท้าย รู้จักผู้เขียนและนักวาดภาพประกอบ

11 15 23 33 39 53 67 89 117 133 143 153 157-159


ค�ำน�ำ ผู้เขียน

งานเขียนเรื่อง “เกียวโต” ในเล่มนี้ไม่อาจเรียกได้เต็ม  ปากเต็มค�ำว่าเป็น “งานเขียน”  แต่เป็นเหมือน “งานเล่า”  เสียมากกว่า และผู้เขียนก็จงใจที่จะเรียกสรรพนามแทนตัว  เองว่า “แขก” เพราะในขณะที่เขียน แขกนึกภาพว่าตัวเอง  ก�ำลังนั่ง “เล่า” ให้ใครสักคนที่เมืองไทยฟัง ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต มีโครงการเชิญนักวิชาการ  นักคิดนักเขียน ไปประจ�ำที่มหาวิทยาลัยเสมอ ในรอบ 3  เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง  ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ปี  2013 แขกได้รับเชิญจากบัณฑิตวิทยาลัยเอเชียและแอฟริกัน  ศึกษา สถาบันนี้แยกตัวออกมาจาก “ศูนย์ศึกษาเอเชียตะวัน  ออกเฉียงใต้” ที่แขกเคยเรียนอยู่ที่นั่นถึง 7 ปี  กลับไปครานี้  จึงเหมือนกลับไปที่โรงเรียนเก่า ผิดกันแต่ว่าเปลี่ยนสถานะ  11 / เกียวโตที่รัก


จากนักเรียนเป็น “นักวิจัย” และเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันมารวม  ถึงรุน่ น้องก็กลายมาเป็นครูบาอาจารย์กันไปหมดแล้ว เนื่องจากเป็นการเล่าถึงเกียวโตที่แสนจะคุ้นเคย แขกจึงไม่  เล่าถึง “สถานที่ท่องเที่ยว” หรือความตื่นตาตื่นใจใดๆ แต่เล่าถึง  ความประทับใจในชีวิตประจ�ำวัน และความประทับใจสูงสุดที่แขก  ได้รับใน 3 เดือนที่ไปอยู่ครั้งนี้คือ เป็นครั้งแรกที่แขกตระหนักว่า  การออกแบบเมืองเมืองหนึ่งนั้น น่าจะตั้งอยู่บนฐานคิดใดคิดหนึ่ง  ก่อนจะแปรออกมาเป็นถนน เป็นตรอก เป็นซอย เป็นทางเท้า เป็น  คลอง เป็นต้นไม้ เป็นก้อนหินที่ใช้ปูริมคลองหรือคันดินทางเดินริม  แม่น�้ำ เดือนสิงหาคมที่แขกไปถึงนั้นอุณหภูมิของเมืองสูงเฉียดๆ  40 องศาเซลเซียส สิ่งที่เตะตาอย่างยิ่งคือ แผงปลูกมะระขี้นกบ้าง  แผงปลูกมะเขือเทศบ้าง แผงปลูกบวบบ้าง ที่ปลูกกันทั่วไปขนานกับ  แนวตึกหรือระเบียงอพาร์ตเมนต์ แผงต้นไม้เขียว มีอายุประมาณ  3 เดือนนี้เป็นโครงการรณรงค์จากส�ำนักผังเมืองของเทศบาลเพื่อ  ใช้แทนม่านกันแสงแดด และเพื่อลดความร้อน ลดการใช้แอร์และ  เพื่อประหยัดไฟ เรื่องที่จะเล่าต่อไปในหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวท�ำนองนี้ คือ  ว่าด้วยเมืองที่ท�ำให้คนที่อยู่ในเมืองนั้นรู้สึกว่าตนเองได้รับการเอา  ใจใส่ ได้รู้สึกถึงความพยายามของรัฐบาลท้องถิ่นที่จะท�ำทุกอย่าง  เพื่อให้คุณภาพชีวิตของประชากรในเมืองดีขึ้น ค�ำว่า “คุณภาพชีวิต”  ในที่นี้ไม่ได้หมายความแค่โครงสร้างพื้นฐานอย่างน�้ำ ไฟ ถนน แต่  12 / ฮิมิโตะ ณ เกียวโต


หมายถึงการจัดการเมืองให้มีมิติของศิลปะ สุนทรียะความงามแทรก  อยู่ในทุกๆ ย่างก้าวของการใช้ชีวิตในเมือง   แขกเชื่อว่า สิ่งแวดล้อมที่ได้รับการคิดและออกแบบมาอย่าง  ดีจะช่วยขัดเกลาจิตใจของคนที่อยู่อาศัยในที่นั้นๆ ผิดหรือถูกไม่รู ้ แขกเชื่อว่ามนุษย์พึงมีสิทธิที่จะได้ฝึกฝนผัสสะที่ละเอียดอ่อน แขก  เชื่อว่าเราพึงได้รับสิทธิที่จะสละความหยาบกระด้างออกไปจากใจ เมืองที่ได้รับการออกแบบและดูแลอย่างดีจากรัฐบาลท้องถิ่น  อย่างเกียวโตได้มอบสิทธินั้นให้กับพลเมือง – สิทธิที่จะขัดเกลา  ผัสสะและฝนสายตาให้อ่อนไหวเฉียบคมกับความงาม เรื่องเล่าสั้นบ้าง ยาวบ้าง และไม่มีอะไรต่อเนื่องกันเลยที่จะ  ได้อ่านต่อไปในหนังสือเล่มนี้คือความพยายามของแขกที่จะสะท้อน  แนวคิดนี้ผ่านกิจกรรมสามัญในชีวิต มันอาจไม่ใช่งานเขียนที่ดีงาม แต่มันทะเยอทะยานอยาก บอกเล่าถึง “ความงาม” ด้วยรัก ฮิมิโตะ ณ เกียวโต

13 / เกียวโตที่รัก



Kyoto

บทน�ำ (1) คิดอยู่นานทีเดียวว่าจะขึ้นต้น “เกียวโตที่รัก” อย่างไรดี แขกมาเกียวโตครั้งแรกปี 1995 (อายุเพิ่งจะ 23 ปี) และ  นั่นคือการนั่งเครื่องบินครั้งแรกในชีวิต  แน่นอนว่าเป็นการเดินทาง  ออกนอกประเทศครั้งแรกในชีวิต  ย้อนกลับไปวันนั้น...จ�ำไม่ได้ว่าตื่นเต้นไหม?  ดูเหมือนจะไม่ตื่นเต้นมากเท่าไหร่ ส�ำหรับเด็กสาวที่ใช้เวลา  ตลอดชีวิตในหมู่บ้านเล็กๆ มาตลอดชีวิต  การโบยบินสู่โลกกว้างคือความฝัน คือแรงทะยานอยากเรียน  รู้ ดิ้นรนจะออกไปให้ไกลบ้าน ให้เท่าที่จะไกลได้ ไม่มีแม้แต่ความ  กลัวสักนิด ไม่ว่าจะเป็นความกลัวของการต้องใช้ชีวิตตามล�ำพัง  ความกลัวที่ต้องออกจากอกพ่อแม่ (ไม่มีอะไรเร้าใจไปกว่าการได้ไป  15 / เกียวโตที่รัก


อยู่ให้ไกลจากสายตาของพ่อแม่อีกแล้ว – ในวันนั้น) ไม่มีความคิด  เรื่องอาการเหงา โศก คิดถึงบ้าน กล้าหาญ ฮึกเหิมถึงเพียงนั้น   แขกจ�ำได้ว่าตัวเองนั่งเครื่องบินจากเชียงใหม่ ก่อนจะออก  เดินทางพร้อมเพื่อนๆ นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นรุ่นเดียวกันที่ดอน-  เมือง  ในขณะที่ “ชาวกรุงเทพฯ” มีครอบครัว เพื่อนฝูง มาส่งกัน  อื้ออึง  แขกมีคนมาส่งกับเขาด้วยเหมือนกัน 1 คน เนื่องจากขณะ  ที่ก�ำลังจะเดินไปเช็กอิน บังเอิญเดินสวนกับเพื่อนที่เรียน มช.มา  ด้วยกัน  จะว่าเพื่อนก็ไม่เชิง เป็นประมาณคนเคยคุ้นๆ หน้ากันใน  คณะฯ มากกว่า   เพื่อนถามมาว่ามาท�ำอะไร?  แขกบอกว่าก�ำลังจะไปเรียนที ่ ญี่ปุ่น   เพื่อนถามต่ออีกว่าใครมาส่ง?  แขกก็ท�ำหน้าสบายใจบอก  ว่า “ต้องมีใครมาส่งด้วยเหรอ?” – ในใจก็คิดว่า ‘แหม...หมดยุค  มาคล้องพวงมาลัยส่งคนไปเมืองนอกแล้วนะยะ’ แต่นั่นแหละ คนเลวๆ อย่างแขกมักมีเพื่อนดีๆ  พอรู้ว่าไม่มี  ใครมาส่ง เธอก็เอามือทาบอก “โถ...แขก เดินไปส่งเธอดีกว่าจะได้  ดูมีญาติพี่น้อง” สรุปวันนั้นเดินทางโดยไม่โดดเดี่ยวนัก แล้วเพื่อนก็เล่นละคร  ได้เนียนมาก...ด้วยการเที่ยวเดินไปฝากฝังแขกกับใครต่อใครที่เดิน  ทางไปด้วยกัน ดูดีเชียวละ!… อยู่เกียวโตไปถึงปีที่ 6 จึงเริ่มเขียน จดหมายจากเกียวโต มาลงสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์  งานเขียนครั้งนั้นจึงเป็นกึ่งบันทึก  กึ่งบอกเล่า กึ่งสนทนาปรับทุกข์กับผู้อ่านที่เมืองไทย ด้วยความ  16 / ฮิมิโตะ ณ เกียวโต


คับข้องใจอย่างเดียวคือ ท�ำไมเราไม่เป็นได้อย่างเขา? เช่น “ท�ำไมบ้านเมืองเราไม่พัฒนารุ่งเรืองอย่างเขาบ้างหนอ?” “ท�ำไมบ้านเมืองเราไม่มีระเบียบสะอาดสะอ้านแบบนี้บ้าง  หนอ?” “ท�ำไมนักศึกษาที่นี่ไม่เห็นการรับปริญญาเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ ์ หนอ?” “ท�ำไมถึงไม่มีเรื่องราวของจักรพรรดิในสื่อเลยหนอ?” ฯลฯ นั่นเป็นค�ำถามจากเด็กสาวที่เพิ่งออกจาก “บ้าน” เป็นครั้ง  แรก เกือบ 20 ปีผ่านไป และต้องกลับมาใช้ชีวิตในเกียวโตอีกครั้ง  หนึ่ง...ค�ำถามนั้นจะเปลี่ยนไปไหม? (2) เกือบ 20 ปีผ่านไป แขกกลับมาเกียวโต  คราวนี้มาในฐานะ Visiting Professor  ชื่อต�ำแหน่งหรูหรา  ไปอย่างนั้น แต่ความจริงเป็นเรื่องของอาจารย์ที่สถาบันนี้ (บัณฑิต  วิทยาลัยเอเชียและแอฟริกันศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต) จะเลือก  เชิญนักวิชาการ หรือปัญญาชนสาธารณะมาเป็น “แขก” เพื่อมาร่วม  กิจกรรมทางวิชาการที่นี่ และมีนักวิชาการจากทั่วโลกผลัดเปลี่ยน  หมุนเวียนกันมาตลอด ปีละหลายๆ คน และแขกเป็นแค่หนึ่งในนั้น “ญี่ปุ่น” ไม่ว่าจะในวันนั้นหรือในวันนี้ สิ่งหนึ่งที่เราจะเห็นได้  ทันทีคือ มีลักษณะของความตระหนี่ มัธยัสถ์ เป็นสังคมที่ห่างไกล  จากการแสดงออกถึงความมั่งคั่งผ่านรสนิยมอันฟุ้งเฟ้อ  ส�ำหรับ  17 / เกียวโตที่รัก


นาข้าวกลางเมืองเกียวโต


คนญี่ปุ่นแล้ว การอวดร�่ำอวดรวยเป็นบาป การตกแต่งบ้านเรือน  และการแต่งกายที่มุ่งหมายบอกความมั่งคั่งอันฟู่ฟ่ายิ่งเป็นบาปร้าย  แรง  ยิ่งร�่ำรวยมาก ยิ่งต้องท�ำตัวให้เรียบที่สุด ให้มีคนสังเกตเห็น  น้อยที่สุด ภาพพจน์ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีทันสมัยในปี  1995  โทรศัพท์ที่เราใช้กันในมหาวิทยาลัยยังเป็นโทรศัพท์ที่ใช้นิ้ว  หมุนหมายเลขกันอยู่เลย อาคารเรียนก็เก่าคร�่ำคร่า ห้องน�้ำก็มอซอ   แต่ในความคร�่ำคร่า มอซอ ทุกอย่างกลับสะอาดพอใช้ และ “ใช้งาน  ได้” แปลว่าไม่มีเรื่องน�้ำไม่ไหล ไฟดับ โทรศัพท์เสีย แอร์ ไม่ท�ำงาน  ห้องน�้ำกดชักโครกไม่ลง กลับมาครั้งนี้พบว่าสังคมญี่ปุ่นยังคงเป็นเช่นนั้น เป็นสังคม  ที่พัฒนาเทคโนโลยีไปไม่หยุดยั้ง แต่กลับใช้เทคโนโลยีตามหน้าที่  และใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าจะเน้นความโอ่อ่าอันสังคมไทย  อาจใช้ค�ำว่า “เพื่อรักษาภาพลักษณ์”   ในห้องท�ำงานของแขก มีทั้งคอมพิวเตอร์ทันสมัยที่สุด รุ่น  ใหม่ที่สุด  ขณะเดียวกันก็ยังมีโทรศัพท์ ใช้ภายในเครื่องเก่าแก่ แต่  ใช้งานได้ดีไม่มีเสีย  ตึกที่แขกอยู่ ย่างก้าวที่เราเดินจะเป็นเซ็นเซอร์ของการปิด-  เปิดไฟอัตโนมัติ แปลว่าไฟจะเปิดตามก้าวย่างของเราและดับตาม  หลังเรามาติดๆ – เหมือนจะทันสมัย – แต่ก็ยังอยู่ภายในรูปลักษณ์  ของตึกที่ปราศจากการตกแต่งอันไม่จ�ำเป็น  ย�้ำว่าไม่มีอะไรเกิน  ความจ�ำเป็นมาแม้แต่ชิ้นเดียวในตึกนี้  ง่ายจนเกือบจะซอมซ่อ  (อย่าลืมว่าแขกมาจากประเทศที่อุดมไปด้วยการตกแต่งอันฟู่ฟ่า  แต่ปราศจากหน้าที่ใช้สอย เช่น ลวดลายไทยอันฟุ้งเฟ้อในสถาปัตย  19 / เกียวโตที่รัก


กรรมของเรา) ห้องน�้ำในสถานที่ราชการ หรือสาธารณสถานในเมืองไทย  อาจขับเน้นสีสัน ลวดลายกระเบื้อง ความแวววับของสิ่งประดับ  ประดา แต่กลับไม่มีสิ่งจ�ำเป็น เช่น ราวจับกันลื่น ปุ่มเรียกฉุกเฉิน   อ้อ และบ่อยครั้งไม่มีแม้กระทั่งกระดาษช�ำระ  ในขณะที่ห้องน�้ำที่นี่  ไกลจากค�ำว่า “แฟนซี” ไม่เน้นสุขภัณฑ์ราคาแพง แต่มีราวกันลื่น  มีปุ่มเรียกฉุกเฉิน มีกระดาษช�ำระมากกว่า 1 ม้วนรองรับ ไม่มีอะไร  ขาด ขณะเดียวกันก็ไม่มีอะไร “เกิน” ส่วนสาธารณสถานแบบ “ไทยๆ” ที่แขกคุ้นเคยนั้นกลับมีสิ่ง  ที่ไม่จ�ำเป็นจนล้นเกิน แต่สิ่งที่พึงมี-จ�ำเป็นต้องมีกลับขาด ก็คงเหมือนกับ ซูชิ – มีข้าวและมีปลาหนึ่งชิ้นวางบนนั้น –  จะมีอาหารอะไรง่ายไปกว่านี้ ขณะเดียวกันก็คงหาอาหารที่จะซับ  ซ้อนไปกว่าซูชิไม่มีอีกแล้ว เพราะกว่าจะได้ข้าวซูชิที่มีคุณภาพ  สารพัดเทคนิคการหุงข้าวสุดละเมียด กว่าจะคัดเลือกชิ้นปลามาวาง  บนข้าว ฯลฯ สังคมญี่ปุ่นยังคงเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความย้อนแย้งในตัว  ของมันเอง มีทั้งพลังที่เป็นจิตวิญญาณความเป็นญี่ปุ่นที่แข็งแกร่ง  ขณะเดียวกันความแข็งแกร่งนั้นก็เป็นทั้งแรงฉุดรั้งให้ญี่ปุ่นไม่อาจ  ก้าวทัน “โลกใหม่” อย่างเกาหลีที่เต็มไปด้วยพลังงานและชีวิตชีวา .................................. แขกเขียนต้นฉบับชิ้นนี้ 3 วันหลังจากเดินทางมาถึง แต่  กลับได้กลิ่นความอ่อนล้าของญี่ปุ่นที่ก�ำลังจะกลายเป็น “คนแก่”  เมื่อเทียบกับเกาหลี 20 / ฮิมิโตะ ณ เกียวโต


Cool Japan – นโยบายใหม่ล่าสุดของรัฐบาลญี่ปุ่นที่พยายาม  จะยึดครองต�ำแหน่งผู้น�ำทางวัฒนธรรมร่วมสมัยกลับคืนมา จะเป็น  ไปได้แค่ไหน อย่างไร มาถูกทางหรือก�ำลังหลงทิศ? แขกไม่แน่ใจว่ามีค�ำตอบหรือเปล่า   แต่มีเรื่องเล่า...ที่อาจจะท�ำให้คุณมีค�ำตอบเป็นของตัวเอง

21 / เกียวโตที่รัก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.