เล่าให้ลูกฟัง

Page 1



พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี และเหลี่ยม ภรรยาของพระยาสัจจาภิรมย์ฯ (ภาพจาก นายแพทย์ โฆสิต ศรีเพ็ญ หลานของพระยาสัจจาภิรมย์ฯ)


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี  (สรวง ศรีเพ็ญ)

ราคา ๒๒๐ บาท


เลาใหลูกฟง • พระยาสัจจาภิรมย อุดมราชภักดี ภาพจากปกหน้า

(บน) ศาลาว่าการกระทรวง มหาดไทย เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ (ล่าง) สมเด็จฯ กรมพระยา ด�ำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการ มณฑลอุดร

ภาพจากปกหลัง

หมวกประจ�ำต�ำแหน่งเจ้าเมือง (หมวกของนายนรินทร์ เมือ่ ครัง้ เป็น คุณพระพนมสารนรินทร์ เจ้าเมือง นครนายก)

หนังสือเลมนี้พิมพดวยหมึก ที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม เพื่อปกปองธรรมชาติ และสุขภาพของผูอาน

พิมพครั้งแรก : มีนาคม ๒๕๕๗ ราคา ๒๒๐ บาท ขอมูลทางบรรณานุกรม สัจจาภิรมย อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ), พระยา. เลาใหลูกฟง. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๒๗๒ หนา. ๑. สัจจาภิรมย อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ), พระยา, ๒๔๒๗๒๕๐๒. I. ชื่อเรื่อง 929.7999593 ISBN 978 - 974 - 02 - 1264 - 5

• ที่ปรึกษาสำนักพิมพ : อารักษ คคะนาท, สุพจน แจงเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผูจัดการสำนักพิมพ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผูจัดการสำนักพิมพ : รุจิรัตน ทิมวัฒน • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ บุนปาน • บรรณาธิการสำนักพิมพ : พัลลภ สามสี • หัวหนากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • พิสูจนอักษร : โชติชวง ระวิน I พัทนนลิน อินทรหอม • รูปเลม : อรอนงค อินทรอุดม • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณรัตน • ออกแบบปก : แกวตา โภวาที • ประชาสัมพันธ : ตรีธนา นอยสี บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๑๓๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แมพิมพสี-ขาวดำ : กองพิมพสี บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพที่ : โรงพิมพมติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู ๕ ถนนสุขาประชาสรรค ๒ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำหนายโดย : บริษัท งานดี จำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์............................................... (๖) ค�ำน�ำเสนอ....................................................... (๙) ค�ำน�ำ โดยกระทรวงมหาดไทย  ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒.................................... ๒ อารัมภ์............................................................ ๔ จุลารัมภ์........................................................... ๖ เล่าให้ลูกฟัง..................................................... ๑๐ พ่อเกิด............................................................ ๕๑ ท�ำราชการ........................................................ ๕๖


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี เป็นนักปกครองมากกว่า จะเป็ น นั ก เขี ย น.  กระนั้ น ก็ ดี ,  หนั ง สื อ ที่ ท ่ า นค้ น คว้ า เรี ย บเรี ย งขึ้ น เรื่ อ ง เทวก� ำ เนิ ด  ก็ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มจากผู ้ อ ่ า นอย่ า งยิ่ ง  จนได้ มี การตี พิ ม พ์ ซ�้ ำ ตลอดมา.  หากนั บ ตั้ ง แต่ ฉ บั บ พิ ม พ์ ค รั้ ง แรกเมื่ อ ปี ๒๔๗๔ เพื่ อ ฉลองอายุ ค รบ ๔ รอบของท่ า นผู ้ เ ขี ย นเอง มาจน ถึ ง ฉบั บ พิ ม พ์ ข องส� ำ นั ก พิ ม พ์ อ มริ น ทร์ เ มื่ อ  พ.ศ. ๒๕๔๘ ก็ เ ป็ น จ�ำนวนถึง ๑๔ ครั้ง.  อันที่จริงการที่หนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ หลายครั้ ง ก็ ไ ม่ ใ ช่ เ รื่ อ งน่ า แปลกอั น ใด.  ด้ ว ยเนื้ อ หาที่ ก ะทั ด รั ด พอ เหมาะกั บ ที่ จ ะเป็ น จุ ด ตั้ ง ต้ น ของการศึ ก ษาเรื่ อ งเทวะต่ า งๆ ของ อินเดียทั้งที่เราคุ้นและไม่คุ้นนั้นเอง  หนังสือเล่มนี้จึงเป็นที่อ้างอิง เสมอมา - นี้ ไ ม่ นั บ เสน่ ห ์ ติ ด ตาอี ก อย่ า งหนึ่ ง ที่ ผู ้ อ ่ า นทุ ก คนจดจ� ำ , นั่ น ก็ คื อ  ภาพประกอบที่ อ าจารย์ ส นั่ น  ศิ ล ากรณ์   วาดขึ้ น ส� ำ หรั บ ฉบั บ พิ ม พ์ ป ี   ๒๔๙๖ เป็ น คราวแรก และก็ ไ ด้ ใ ช้ กั น ตลอดมา จน ต้องถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะแยกออกจากส่วนเนื้อหาไม่ได้เลย. ความจริงนอกจาก เทวก�ำเนิด แล้วท่านเจ้าคุณสัจจาภิรมย์ฯ ยังมีงานเขียนที่ชวนอ่านอย่างยิ่งอีกเล่มหนึ่ง, หากปัจจุบันไม่เป็น ที่ รู ้ กั น กว้ า งขวางนั ก , นั่ น คื อ หนั ง สื อ เรื่ อ ง เล่ า ให้ ลู ก ฟั ง .  หนั ง สื อ เล่ ม นี้ พิ ม พ์ เ ป็ น ครั้ ง แรกเมื่ อ ปี   ๒๔๙๘ เพื่ อ แจกในงานฉลอง ชนมายุ ค รบ ๖ รอบของท่ า นผู ้ เ ขี ย น, และพิ ม พ์ เ ป็ น ครั้ ง ที่   ๒ ใน ปี   ๒๕๐๒ โดยกระทรวงมหาดไทย เพื่ อ เป็ น หนั ง สื อ ช� ำ ร่ ว ยใน งานพระราชทานเพลิ ง ศพของท่ า นเอง.  นั บ จากนี้ ก็ มิ ไ ด้ มี ก ารน� ำ มาพิ ม พ์ อี ก , แม้ นั ก เลงหนั ง สื อ รุ ่ น ก่ อ นๆ จะยกย่ อ งความวิ เ ศษ


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี (7)

ของเนื้ อ เรื่ อ งอยู ่ ไ ม่ น ้ อ ยก็ ต าม, ซึ่ ง ในบรรดาผู ้ อ ่ า นที่ ชื่ น ชมหนั ง สื อ เรื่ อ งนี้ อ ย่ า งเป็ น พิ เ ศษนั้ น  มี ศ าสตราจารย์ วั ย อาจ (David K. Wyatt) แห่ ง มหาวิ ท ยาลั ย คอร์ แ นลผู ้ ล ่ ว งลั บ ไปแล้ ว รวมอยู ่ ด ้ ว ย ท่านหนึ่ง.  คราวหนึ่ง เมื่อนักเรียนคนหนึ่งถามท่านว่า ในบรรดา หนั ง สื อ ไทยที่ ท ่ า นอ่ า นมาไม่ น ้ อ ยนั้ น  ท่ า นประทั บ ใจเล่ ม ใดบ้ า ง, หนึ่ ง ในบรรดาชื่ อ หนั ง สื อ ที่ อ าจารย์ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญประวั ติ ศ าสตร์ ไ ทย ท่านนี้ตอบโดยไม่ต้องลังเลคิดเลยก็คือ “เล่าให้ลูกฟัง” ของพระยา สัจจาภิรมย์ฯ.  “พวกลู ก ๆ มี ค วามปรารถนาใคร่ รู ้ ว งษ์ ส กุ ล  ศรี เ พ็ ญ  และ ประวั ติ ข องข้ า พเจ้ า ที่ ไ ด้ ท� ำ ราชการมา” - พระยาสั จ จาภิ ร มย์ ฯ เล่ า ถึ ง ที่ ม าของงานเขี ย นเรื่ อ งนี้ ข องท่ า นไว้ เ ช่ น นี้ .   เพราะเพื่ อ จะ สื บ สาวสาแหรกของสกุ ล ให้ ลู ก หลานของท่ า นได้ รั บ รู ้ ว ่ า ใครเป็ น ใครนี้ เ อง,  ตอนต้ น ของหนั ง สื อ บางที จ ะมี อุ ป สรรคกี ด กั้ น คนนอก อยู ่ บ ้ า ง จนวางเสี ย แต่ ต ้ น   (แต่ ห ากอ่ า นโดยละเอี ย ดก็ จ ะพบว่ า มี เรื่ อ งราวและแง่ มุ ม ที่ น ่ า สนใจแทรกอยู ่ ไ ม่ น ้ อ ย).  ส่ ว นที่ เ ป็ น หั ว ใจ ของหนังสือและเป็นส่วนที่ชวนติดตามก็คือประวัติชีวิตการท�ำงาน ของท่านนับตั้งแต่เ มื่อแรกเข้ารับราชการไปจนจบสิ้น สุดเมื่อมีการ รั ฐ ประหารในปี   ๒๔๙๐.  แม้ ท ่ า นผู ้ เ ขี ย นเองจะออกตั ว ว่ า “บางตอนได้ เ ขี ย นเรื่ อ ยเจื้ อ ยไปตามอารมณ์   มากไปบ้ า ง น้ อ ยไป บ้ า ง เป็ น ธรรมดาของคนแก่ ”  ก็ จ ริ ง   แต่ ก ระนั้ น ท่ า นเจ้ า คุ ณ สัจ จาภิรมย์ฯ  ก็เป็น คนแก่ที่ไ ม่ธรรมดา.  สิ่งที่ท่านเล่าทั้งหมดนั้น เมื่ อ จั บ โดยรายละเอี ย ดก็ เ ป็ น เรื่ อ งจ� ำ เพาะตั ว ของท่ า นเอง,  แต่ เมื่ อ มองกว้ า งออกไป สิ่ ง ที่ ป รากฏนั้ น ก็ คื อ ภาพสะท้ อ นของชี วิ ต ข้ า ราชการกระทรวงมหาดไทยในสมั ย ใกล้ อ วสานของระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์.  ภาพเช่นนี้เองคือคุณค่าอันส�ำคัญยิ่งของ หนังสือเล่มนี้ ที่ไม่อาจหาได้จากต�ำราประวัติศาสตร์ทั่วไป. ด้ ว ยเล็ ง เห็ น คุ ณ ค่ า อั น ส� ำ คั ญ ส� ำ หรั บ ผู ้ อ ่ า นที่ ไ ม่ ใ ช่ จ� ำ กั ด เฉพาะแต่ ลู ก หลานในสกุ ล ศรี เ พ็ ญ เท่ า นั้ น ,  ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ม ติ ช นจึ ง ได้ น� ำ หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ม าพิ ม พ์ ซ�้ ำ ใหม่ อี ก ครั้ ง  หลั ง จากการพิ ม พ์ ค รั้ ง


(8)

สุ ด ท้ า ยเมื่ อ กว่ า ครึ่ ง ศตวรรษก่ อ น.  ในการพิ ม พ์ ค รั้ ง นี้ ท างส� ำ นั ก พิ ม พ์ ไ ด้ ใ ช้ ทั้ ง ฉบั บ พิ ม พ์ เ มื่ อ ปี   ๒๔๙๘ และฉบั บ  ๒๕๐๒ เป็ น หลักในการเรียงพิมพ์และสอบทาน.  การสะกดการันต์นั้นได้อนุโลม ตามปัจจุบัน เว้นแต่ในที่จ�ำเพาะบางแห่ง มีชื่อบุคคลเป็นต้น ที่คง ไว้ ต ามเดิ ม เป็ น ส่ ว นมาก (แต่ ก็ ค งมี บ างแห่ ง ที่ พ บว่ า ท่ า นจ� ำ คลาด เคลื่อน ก็ได้แก้ไขเสีย เช่นที่ท่านเอ่ยพระนามพระองค์เจ้าประภาวดี, หากเมื่ อ ตรวจสอบกั บ หนั ง สื อ ราชสกุ ล วงศ์   แล้ ว ก็ เ ห็ น ว่ า เป็ น พระ องค์เจ้าประไพวดี - นี้เป็นตัวอย่าง).  ส่วนหนึ่งที่ฉบับพิมพ์ครั้งนี้ จั ด เสี ย ใหม่ ก็ คื อ การจั ด ย่ อ หน้ า ใหม่ ใ นช่ ว งว่ า ด้ ว ยตระกู ล ศรี เ พ็ ญ โดยให้ ถ อยลึ ก เข้ า ไปตามล� ำ ดั บ ชั้ น ของลู ก หลาน - ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ความ สะดวกแก่ ก ารติ ด ตามเรื่ อ งที่ ป ระกอบด้ ว ยชื่ อ บุ ค คลจ� ำ นวนมาก. ภาพถ่ า ยท่ า นผู ้ เ ขี ย นคื อ พระยาสั จ จาภิ ร มย์ ฯ  นั้ น  ได้ ค งไว้ ต ามต้ น ฉบับเดิมทุกภาพ, หากภาพประกอบอื่นๆ นอกเหนือไปจากนั้นเป็น ภาพที่ทางส�ำนักพิมพ์ได้จัดหาเพิ่มขึ้นส�ำหรับการพิมพ์ครั้งนี้.  อนึ่ง นาม “พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี” นั้น ในการพิมพ์ครั้งก่อน ทั้ ง  ๒ ครั้ ง มี ค วามลั ก ลั่ น กั น อยู ่ บ ้ า ง, คื อ ฉบั บ พิ ม พ์ ค รั้ ง แรกเขี ย น แยกออกเป็นสองส่วน  แต่ในฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ เขียนติดกันเสีย ที เ ดี ย ว. ในการพิ ม พ์ ค รั้ ง ปั จ จุ บั น นี้   ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ม ติ ช นได้ ถื อ ให้ แ บ่ ง วรรคระหว่าง “สัจจาภิรมย์” และ “อุดมราชภักดี” ตามฉบับพิมพ์ ครั้งแรกที่ท่านผู้เขียนได้พิมพ์ขึ้นเองและตรวจทานด้วยตนเอง. ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ม ติ ช นขอขอบคุ ณ นายแพทย์ โ ฆสิ ต  ศรี เ พ็ ญ  ผู ้ เป็ น ทายาทของพระยาสั จ จาภิ ม ย์   อุ ด มราชภั ก ดี   ที่ ไ ด้ อ นุ ญ าตให้ ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ม ติ ช นได้ จั ด พิ ม พ์ บั น ทึ ก อั น มี ค ่ า นี้ ขึ้ น อี ก ครั้ ง ในชุ ด ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ, ขอขอบคุณคุณธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ แห่ ง ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ต ้ น ฉบั บ ที่ ไ ด้ ช ่ ว ยจั ด หาฉบั บ พิ ม พ์ ค รั้ ง ก่ อ น, และ ขอขอบคุ ณ ศาสตราจารย์ ธ เนศ  อาภรณ์ สุ ว รรณ ที่ เ ขี ย นค� ำ น� ำ เสนอให้กับหนังสือเล่มนี้ เพื่อความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น. ส�ำนักพิมพ์มติชน


คำ�นำ�เสนอ

จารีตไทยไม่มีการเขียนอัตชีวประวัติ มีแต่ประวัติของโคตรวงศ์ ตระกูลหรือสาแหรก  ในต�ำนานหรือจารึกโบราณถ้ามีชื่อบุคคลก็มัก เป็นการอุทิศและอธิษฐานขอให้ไปพบพระนิพพาน  จารึกที่เป็นอัตชีว ประวัตทิ เี่ ก่าทีส่ ดุ ได้แก่จารึกพ่อขุนรามค�ำแหง ซึง่ ยังเป็นทีถ่ กเถียงกันว่า จริงๆ แล้วจารขึ้นในสมัยพ่อขุนรามค�ำแหงแห่งกรุงสุโขทัยหรือว่า เพิ่งจารึกในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  การศึกษาประวัติศาสตร์สยามไทยที่อาศัยข้อมูลและประสบ การณ์ชั้นต้นจากผู้คนในอดีตที่อยู่ในสมัยนั้นๆ จึงเป็นของหายาก กระทั่งเมื่อฝรั่งเดินทางมาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาแล้ว เราจึง ได้อาศัยข้อเขียนต่างๆ จากบรรดาพ่อค้าและเจ้าหน้าที่ไปถึงหมอสอน ศาสนาที่เข้ามาท�ำงานในกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ไปศึกษาค้น คว้าท�ำความเข้าใจบริบททางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองของยุคนัน้ ๆ ได้บ้าง แม้จะเป็นการตีความจากคนนอกก็ตาม หลังการเปลีย่ นแปลงประเทศเข้าสูค่ วามเป็นสมัยใหม่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ การเขียนและตีพิมพ์ประวัติเรื่อง ราวในอดีตของชนชั้นน�ำเริ่มมีการปฏิบัติกันมากขึ้น  เนื้อหาหนักไป ทางล�ำดับเรื่องราวของวงศ์ตระกูลและการงานที่ได้ท�ำหรือการเดินทาง ที่ได้พบเห็นมา  ทั้งนี้ขึ้นกับว่าผู้เขียนหรือผู้เล่ามุ่งจะแสดงให้ใครฟัง หรืออ่าน  หนังสือเรื่อง “เล่าให้ลูกฟัง” เล่มนี้เป็นเรื่องเล่าของพระยา สัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ) ซึ่งต้องการถ่ายทอดเรื่อง ราวอันเป็นประวัติการณ์ของผู้เขียนให้แก่บรรดาลูกหลานได้รับรู้และ ได้เป็น “คตินึกคิดที่สมควรพวกเจ้าจะถือเป็นเยี่ยงอย่างได้บ้าง” และ


(10)

ต้องการให้ลูกหลานได้รู้ถึง “ตระกูลวงษ์” ว่าเป็นมาอย่างไร  ทั้งหมด นั้นเพื่อเป็น “นิทัศน์อุทาหรณ์น�ำเอาไปใช้ได้บ้างตามกาล ตามสมัย และจะต้องรู้จักแก้ไขไปตามวิถีของโลกคืออย่าฝืนโลกนิยม” หนังสือ เล่มนี้เขียนเสร็จเมื่อวันครบอายุ ๗๑ ปีของผู้เขียนในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ กล่าวในทางหน้าที่การท�ำอาชีพ ชีวิตการงานของพระยาสัจจา ภิรมย์ฯ ต้องนับว่าเป็นผู้ที่ได้ประสบความส�ำเร็จในหน้าที่การงานราช การเป็นอย่างสูงยิง่   เริม่ ตัง้ แต่ทำ� งานครัง้ แรกเป็นเสมียนกองมหาดไทย เมืองนครนายก เงินเดือน ๑๐ บาท ด้วยอายุเพียง ๑๕ ปี  อีก ๔ ปี ต่อมาได้เลือ่ นเป็นจ่าเมือง  ต่อมาเป็นอักษรเลขแล้วสอบไล่การปกครอง ได้เป็นนักปกครองจนถึงเป็นนายอ�ำเภอและเป็นผู้ว่าราชการเมืองใน ที่สุด  ประวัติชีวิตราชการดังกล่าวนี้เป็นข้อมูลชั้นต้นที่ให้ภาพและ ความเป็นจริงของระบบการปกครองสยามในระยะปฏิรูปเปลี่ยนแปลง ประเทศเป็นอย่างดี  เริ่มจากการเข้าท�ำราชการโดยใช้แบบวิธีปฏิบัติ สมัยก่อนคือมักใช้วิธีฝากฝังหรือฝึกท�ำงานไปกับผู้ใหญ่ ยังไม่มีระบบ การเข้าท�ำงานราชการแบบสอบบรรจุทั่วไปที่เปิดให้แก่ทุกคนอย่าง เท่าเทียมและโปร่งใส เนื่องจากสังคมสมัยก่อนยังไม่เป็นระบบแบบ ทั่วไป  ระบบที่ใช้กันและมีประสิทธิผลคือระบบอุปถัมภ์ที่วางอยู่บน ความสัมพันธ์เชิงบุคคล  นี่คือมรดกของสังคมสยามไทยที่มีมานาน ก่อนแล้วว่าคนส�ำคัญกว่าระบบ กรณีของพระยาสัจจาภิรมย์ฯ พิสูจน์ให้เห็นถึงด้านบวกและ การสามารถบรรลุจุดประสงค์ของงานราชการโดยผ่านระบบอุปถัมภ์ ได้เป็นอย่างดี  ท่านไม่ได้ใช้หรืออาศัยความสัมพันธ์สว่ นตัวทางตระกูล และครอบครัวไปในทางเห็นแก่ผลประโยชน์สว่ นตนและพวกพ้องเลย แม้แต่นดิ เดียว เป็นตัวอย่างของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวซึ่งเป็นขุนนางที่ประพฤติ ปฏิบัติตนและหน้าที่ราชการอย่าง เต็มความสามารถโดยไม่มีความเอนเอียงอคติและทุจริตแม้แต่น้อย นี่เองที่ท�ำให้คนส่วนไม่น้อยในสังคมไทยยังโหยหาถึง “คนดี” อยู่ ไม่เสื่อมคลาย


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี (11)

อีกด้านหนึ่งของระบบอุปถัมภ์ที่ยังท�ำงานให้มีประสิทธิภาพได้ คือความเข้มแข็งและสติปัญญาตลอดจนคุณธรรมของตัวบุคคลแต่ ละคนเอง จริงอยู่พระยาสัจจาภิรมย์ฯ จ�ำต้องปรึกษาและติดต่อขอ ความช่วยเหลือจากข้าราชการขุนนางผูม้ ตี ำ� แหน่งและหน้าทีช่ นั้ สูงเพือ่ แก้ปัญหาและหาทางออกในชีวิตราชการ แต่ทั้งหมดนั้นกระท�ำไปโดย ที่พระยาสัจจาภิรมย์ฯ มีความประสงค์ที่จะท�ำหน้าที่ราชการให้ดีและ ถูกต้องยุติธรรมแก่ราษฎรและพระเจ้าอยู่หัว ตรงนี้คือเงื่อนไขที่ท�ำให้ ระบบอุปถัมภ์ด�ำรงและท�ำงานไปได้ ตราบเท่าที่สัมพันธภาพระหว่าง ผู้ใหญ่กับผู้น้อยยังวางอยู่บนคุณธรรมไม่ใช่บนอ�ำนาจและผลประโยชน์ ส่วนตนเป็นหลัก กระนั้นก็ตาม ปัจจัยที่ท�ำให้ระบบความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจที่ ไม่เท่าเทียมกันนี้ด�ำรงอยู่อย่างมีความหมายและประสิทธิผลได้นั้น ยังอยู่ที่ความสามารถในการจัดการกับความขัดแย้งและปัญหาที่เกิด ขึ้นในระบบนี้ด้วยว่าด�ำเนินและคลี่คลายไปอย่างไร ทั้งในส่วนที่เป็น ของผู้ใหญ่มีอ�ำนาจกับส่วนผู้น้อยที่ไม่มีอ�ำนาจ  ประสบการณ์ในชีวิต ราชการของพระยาสัจจาภิรมย์ฯ เป็นกรณีศึกษาที่ชัดเจนและให้ข้อคิด แก่ประเด็นค�ำถามข้างบนนี้เป็นอย่างดี ปัญหาความขัดแย้งที่ใหญ่และมีผลสะเทือนต่อชีวิตราชการ ของพระยาสัจจาภิรมย์ฯ เกิดขึ้นไม่นานหลังจากได้รับต�ำแหน่งเป็น นายอ�ำเภอบางคล้า เมืองฉะเชิงเทรา ก่อนนี้ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุนวิจิตรธานี ถือว่าได้เลื่อนขึ้นอยู่ในชั้นขุนนาง แต่ไม่มีศักดินาเพราะ ระบบไพร่ได้ประกาศยกเลิกไปแล้ว สภาพสังคมสยามขณะนั้นจึงกล่าว ได้ว่าอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบอบกษัตริย์แบบโบราณมา เป็ น ระบอบสมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ ที่ มี พ ระมหากษั ต ริ ย ์ เ ป็ น องค์ อธิปัตย์ผู้ทรงอ�ำนาจสูงสุดในพระราชอาณาจักรที่ก�ำลังถูกสร้างให้ เป็นภูมิกายาของชาติสมัยใหม่  ระบบขุนนางก�ำลังผลัดใบเป็นระบบ ข้าราชการสมัยใหม่ที่จัดตั้งตามหน้าที่ มีการแบ่งแยกกันออกไปตาม เหตุผลของงานไม่ใช่ตามฐานันดรและศักดิ์แบบเก่า การรวมศูนย์ อ�ำนาจเข้าสู่สถาบันพระมหากษัตริย์และส่วนกลางด�ำเนินไปได้เร็ว


(12)

ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสถาบันและระบบปกครอง สมัยใหม่รองรับอย่างทัว่ ถึงนัน้  ก็ดว้ ยการอาศัยเจ้านายในพระราชวงศ์ ที่ส�ำเร็จการศึกษาจากเมืองนอกมารับต�ำแหน่งและความรับผิดชอบ ในกระทรวงและกรมต่างๆ   แต่ ค วามได้ เ ปรี ย บนี้ เ องที่ ใ นระยะยาวกลั บ น� ำ ไปสู ่ ก ารสร้ า ง ปัจจัยด้านลบให้แก่การปฏิรูปสยามให้เป็นประเทศสมัยใหม่ที่แท้จริง ดังเห็นได้จากปัญหาและความขัดแย้งระหว่างพระยาสัจจาภิรมย์ฯ กับกรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ เสด็จในกรมฯ ผู้เป็นเทศาภิบาลมณฑล ปราจี น บุ รี    เริ่ ม จากปั ญ หาคลาสสิ ค ของระบบปิ ต าธิ ป ไตยคื อ การ คอร์รัปชั่นอย่างถูกต้องตามจารีต  เมื่อโรงต้มกลั่นสุราที่ผูกขาดอยู่ เจ้าเดียวในเมืองฉะเชิงเทราเกิดท�ำผิดระเบียบการเล็กๆ น้อยๆ แต่ นายอ�ำเภอคือพระยาสัจจาภิรมย์ฯ ขณะนั้นก็ไม่ยอมให้ จีนไขบุ๋น หรือนายอากรไขบุ๋นพยายามให้สินบนแต่นายอ�ำเภอก็ไม่รับ ในที่สุด ไปฟ้องเสด็จในกรมฯ เพราะคุ้นเคยรู้จักกันดีถึงกับให้ที่ดินสร้างตึก อยูห่ น้าวังของพระองค์ทา่ นทีม่ กั กะสัน ในทีส่ ดุ นายอ�ำเภอก็ถกู ย้ายแบบ ฟ้าผ่า โดยถูกลดเงินเดือนและต�ำแหน่ง กว่าจะรู้ว่าต้นตอของเรื่อง มาจากการใส่ไคล้ของอากรไขบุ๋น พระยาสัจจาภิรมย์ฯ ก็ต้องรับกรรม นั้นไปโดยไม่อาจแก้ไขอะไรได้ เพื่อนร่วมงานเมื่อรู้ว่าเสด็จในกรมฯ กริ้วโกรธแล้ว ก็ไม่กล้ามายุ่งเกี่ยวด้วย กลายเป็นหมาหัวเน่าไป  ข้อคิดจากประวัติการท�ำงานของพระยาสัจจาภิรมย์ฯ ซึ่งมีอยู่ มากมายและเป็นประโยชน์ยิ่ง คือการได้เข้าใจถึงความละเอียดซับซ้อน ของพฤติการณ์ที่เรียกในปัจจุบันว่าคอร์รัปชั่นว่าโดยตัวมันเองแล้ว ไม่ใช่เรื่องยากและจัดการไม่ได้  ปมเงื่ อ นของตั ว ปั ญ หาที่ ย ากและซั บ ซ้ อ นกว่ า นั้ น คื อ ความ สัมพันธ์เชิงอ�ำนาจระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย ซึ่งมีค่านิยมและความ รู ้ สึ ก ส่ ว นตั ว จากวงศ์ ต ระกู ล โยงใยผู ก พั น อยู ่ อ ย่ า งมาก จนท� ำ ให้ ดู เหมือนว่าอยู่เหนือระบบและระเบียบขององค์กรหน่วยงานของรัฐไป เสียอีก  ในสมัยก่อนหนทางแก้คือการใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวผ่าน ทางครอบครัววงศ์ตระกูลไป ค่อยๆ ผ่อนเบากระทั่งแก้ผิดให้เป็นถูก


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี (13)

ได้  ทั้งนี้ ผู้ใหญ่ที่มีอ�ำนาจก็ต้องยอมรับว่าได้ท�ำผิดไปแล้วโดยการ ให้รางวัลตอบแทนทางหนึ่งทางใดแก่ผู้เสียหาย กลายเป็นการส่งเสริม ความแข็งให้แก่ระบบอุปถัมภ์สืบต่อไปอีก  กล่าวในทางทฤษฎี ปัญหา คอร์รัปชั่นเมื่อพูดให้ถึงที่สุดจึงได้แก่ปัญหาความเหลื่อมล�้ำไม่เท่ากัน ของคนในสังคม  ตราบใดที่โครงสร้างของความเหลื่อมล�้ำยังด�ำรงอยู่ ตราบนั้นพฤติกรรมแบบคอร์รัปชั่นก็ไม่มีวันเหือดหายไปจากสังคมได้ ถ้าเหลื่อมล�้ำน้อย การคอร์รัปชั่นก็ลดน้อยลงไปตามล�ำดับ  โครงสร้างอ�ำนาจที่เหลื่อมล�้ำดังกล่าวในทางทฤษฎีเรียกว่า ลัทธิพ่อบ้าน (Paternalism) ซึ่งถือว่าผู้ชายเป็นใหญ่มีอ�ำนาจครอบง�ำ ในสั ง คม  ในทางปฏิ บั ติ ยั ง มี ร ะบบปิ ต าธิ ป ไตย (Patriarchy) ซึ่ ง มี สมมติฐานว่าคนในสังคมล้วนเกี่ยวดองกันโดยสายเลือด  แต่ละคน นิยามความสัมพันธ์ของตนเองกับคนอื่นๆ โดยผ่านสาแหรกของแต่ ละคน  แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป คนอาจไม่นิยามความสัมพันธ์ของ เขากับคนอื่นผ่านครอบครัวอีกต่อไป  หากแต่นิยามจากทรัพย์สินและ มรดกที่ได้รับสืบทอดมา เรียกว่าระบบ Patrimonialism สังคมสยาม ในสมัยระยะที่มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองและโครง สร้างอ�ำนาจ จะเห็นภาพของระบบสังคมเคลื่อนไปมาในหลากรูปแบบ ทั้งแบบลัทธิพ่อบ้าน แบบระบบปิตาธิปไตย และที่สุดแบบลัทธิ Patrimonialism ซึง่ จะเป็นกรอบทีม่ าของระบบราชการไทยต่อมาอีกยาวนาน ประเด็นสุดท้ายที่น่าค้นคว้าจากมุมของประวัติศาสตร์การเมือง สมัยใหม่ คือฐานะและบทบาทของชนชั้นขุนนางในสัมพันธภาพกับ สถาบันกษัตริย์ ที่มีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของระบบ สมบูรณาญาสิทธิ์สยาม (Absolutism)  ในยุโรปขั้นพัฒนาการของ ระบบสมบูรณาญาสิทธิ์คือระยะของการเปลี่ยนผ่านของชนชั้นขุนนาง ไปสู่ระบบทุนนิยม  จุดหมายของระบบสมบูรณาญาสิทธิ์จึงได้แก่การ น�ำมาซึง่ วิกฤตในอ�ำนาจของชนชัน้ ขุนนาง เนือ่ งจากการก่อเกิดขึน้ ของ พลังปฏิวัติของชนชั้นกระฎุมพี ซึ่งในที่สุดน�ำไปสู่การเกิดรัฐทุนนิยม แต่ประวัติศาสตร์ของยุคระบบสมบูรณาญาสิทธิ์ยุโรปดังกล่าวนี้ไม่ได้ เกิดนอกยุโรปเลย


(14)

ข้อคิดบางประการอาจน�ำมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบสมบูรณา ญาสิทธิ์สยามได้บ้าง เช่น สภาพที่ระเบียบทางการเมืองยังเป็นแบบ ระบบศักดินาฟิวดัล (Feudalism) ในขณะที่สังคมเริ่มมีหน่อเชื้อของ การประพฤติ ป ฏิ บั ติ แ บบกระฎุ ม พี ม ากขึ้ น   ชนชั้ น ขุ น นางยั ง อาศั ย อ�ำนาจจากสถาบันพระมหากษัตริย ์ ส่วนชาวนาก็ยงั ด�ำรงอยูด่ ว้ ยความ เมตตาของชนชั้นปกครองเป็นส�ำคัญ  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการ ต่อรองต่อสูก้ นั ระหว่างชนชัน้ และกลุม่ ต่างๆ น�ำไปสูก่ ารบรรลุเป้าหมาย ของทุ น มากน้ อ ย อั น มี ผ ลต่ อ การยุ ติ ลั ก ษณะทางสั ง คมของระบบ ศักดินาฟิวดัลด้วย  ในกรณีของสยาม มิติและลักษณะครอบง�ำของ ศักดินาฟิวดัลด�ำรงอยู่เหนือทุนตลอดระยะของยุคสมบูรณาญาสิทธิ์ ท�ำให้การสถาปนาระบบทุนและอ�ำนาจที่ปฏิวัติของชนชั้นกระฎุมพี ไม่อาจเกิดขึ้นได้  สถาบันพระมหากษัตริยส์ ามารถเข้ายึดครองอ�ำนาจและสถาปนา ระบบกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคลของตนขึ้นมาได้  ฝ่ายศาสนจักร และขุนนางก็จับจองและสร้างกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคลของวงศ์ ตระกูลด้วยเช่นกัน ท�ำให้อ�ำนาจของพระมหากษัตริย์สมบูรณ์ เหนือ ดินแดนที่เป็นพระราชอาณาจักรหรือรัฐชาติได้ เป็นรัฐอัตตาธิปัตย์ สามารถแผ่ ข ยายอ� ำ นาจของราชวงศ์ รุ ก ล�้ ำ เข้ า ไปในสั ง คมมากขึ้ น จนเหมือนว่ารัฐคือมรดกของสถาบันกษัตริย   ์ กระทัง่ น�ำไปสูก่ ารขัดแย้ง กับสถาบันใหม่ซึ่งเกิดขึ้นมาจากระบบราชการแบบใหม่ได้แก่กองทัพ การเผชิญหน้าคลี่คลายไปสู่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอ�ำนาจในระบบ การปกครอง แต่ไม่อาจน�ำไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงทางสังคมอย่างพลิกฟ้า คว�่ำแผ่นดิน เพราะไม่มีขบวนการปฏิวัติของมวลมหาประชาชน ถ้า อ่านจากประวัติของพระยาสัจจาภิรมย์ฯ อ�ำนาจของขุนนางค่อนข้าง จ�ำกัดและถูกก�ำกับลงไปมากแล้ว นับแต่การเสื่อมคลายอ�ำนาจและ อิทธิพลของตระกูลบุนนาคลงไปในสมัยรัชกาลที่ ๕ จากนั้นมาฝ่าย สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย ์ มี ก ารจั ด วางเครื อ ข่ า ยก� ำ กั บ และควบคุ ม กลไกรัฐไว้แทบหมดทุกกระทรวง จนเป็นที่มาของการกีดกันต�ำแหน่ง เพือ่ รองรับเจ้านาย มีการใช้อำ� นาจรัฐเวนคืนทีด่ นิ ของครอบครัวขุนนาง


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี (15)

บ้าง แต่ทั้งหมดนั้นไม่ได้น�ำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรง เพราะระยะ เวลาที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิ์สยามเติบใหญ่นั้นยังสั้น และยังถูก กีดกันโดยอ�ำนาจอาณานิคมตะวันตกอีก  อย่างไรก็ตาม การแตกหัก กันยังเกิดขึ้นกับรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ แม้ไม่มีพลังมวลชนรองรับ ใน การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ลักษณะเด่นของการ เปลี่ยนแปลงในการเมืองไทยที่ยังด�ำรงมาถึงปัจจุบัน คือการที่ไม่มี การแตกหักอย่างเด็ดขาดระหว่างรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์กับขบวนการ ประชาชนที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดทางการเมืองแบบหัวรุนแรง   ปราศจากขบวนการทางการเมืองของประชาชน รัฐสยามโดย ภาพรวมกล่าวได้ว่าด�ำรงอยู่และด�ำเนินไปภายใต้ความร่วมมือและ ปกครองร่วมกันระหว่างชนชั้นน�ำตามจารีตและตามระบบราชการ ท�ำหน้าที่ค�้ำจุนและส่งเสริมระบบสมบูรณาญาสิทธิ์มากกว่าบั่นทอน ทั้งนี้เพราะต่างเอื้อประโยชน์แก่กันอย่างดี  ในประเด็นนี้เมื่อเปรียบ เทียบกับประวัติศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ต้องกล่าวว่ารัฐ สยามไทยมี ค วามสื บ ทอดต่ อ เนื่ อ ง (Persistence) ทางอ� ำ นาจการ เมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่อยู่ในก�ำมือของชนชั้นน�ำมา อย่างยาวนานที่สุด โดยอาศัยเสาหลักของระบบและสถาบันขุนนาง มาถึงระบบราชการเป็นแกนหลักนั่นเอง  แม้เมื่อประเทศมหาอ�ำนาจ ตะวันตกแผ่ขยายอ�ำนาจเข้ามายังภูมิภาคนี้ ขุนนางสยามก็สามัคคี ร่วมมือกับพระมหากษัตริย์และเจ้านายในการรับมือและจัดการกับ ลัทธิอาณานิคมได้อย่างไม่ท�ำให้ต้องสูญเสียเอกราชและอ�ำนาจต่างๆ ลงไปจนหมดสิ้น   การได้อ่านและเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับขุนนางและข้าราชการ สยามจึงยังเป็นประเด็นที่น่าสนใจและศึกษาค้นคว้าให้แตกฉานลุ่มลึก ไปได้อีกมาก ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๕ มกราคม ๒๕๕๗



คำ�นำ�

โดยกระทรวงมหาดไทย ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒

ในงานพระราชทานเพลิงศพท่านเจ้าคุณสัจจาภิรมย์ อุดมราช ภั ก ดี ค รั้ ง นี้    นอกจากญาติ มิ ต รจะได้ ป ระกอบการกุ ศ ลทั ก ษิ ณ านุ ประทานกิจตามประเพณีนิยมแล้ว กระทรวงมหาดไทยเห็นสมควร จะได้พิมพ์หนังสือขึ้นไว้สักฉบับหนึ่ง ส�ำหรับเป็นอภินันทนาการแก่ บรรดาผู ้ มีเ กีย รติทั้ ง หลาย ซึ่ ง ไปร่ ว มในงานด้ ว ย  ในการนี้เ ห็น ว่ า ตามที่ ท ่ า นเจ้ า คุ ณ ได้ บั น ทึ ก ความเป็ น มาของวงษ์ ส กุ ล  “ศรี เ พ็ ญ ” และประวัติในราชการของท่านขึ้นไว้เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๘ ซึ่ง บรรดาบุ ต รทั้ง หลายได้ ร ่ ว มใจกัน จัด พิม พ์ ขึ้น เนื่อ งในโอกาสที่ท ่ า น เจ้ า คุ ณ ได้ มี อ ายุ ค รบรอบ ๗๒ ปี   ในวั น ที่   ๒๘ ธั น วาคม ๒๔๙๘ และให้ ชื่อ เรื่อ งว่ า  “เล่ า ให้ ลู ก ฟั ง ” แล้ ว นั้น  นับ ว่ า เป็ น อนุ ส รณ์ ค วร จะให้ อ นุ ช นรุ ่ น หลั ง ได้ ท ราบถึ ง คุ ณ งามความดี ข องท่ า นอยู ่ ไ ม่ น ้ อ ย จึงได้น�ำมาจัดพิมพ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ท่านเจ้าคุณสัจจาภิรมย์ได้เริ่มเข้ารับราชการตั้งแต่อายุยังเยาว์ เป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีความรู้ ความสามารถทั้งในทางวิชาการและในทางปฏิบัติเป็นอย่างดี เป็นผู้ที่มี ความเพียรพยายามฝ่าฟันแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ด้วยความมานะอดทน แม้จะล�ำบากตรากตร�ำก็ไม่ท้อถอยและเป็นที่ไว้วางใจของผู้บังคับ บั ญ ชาตลอดมา  โดยเฉพาะในด้ า นวิ ช าการปกครอง ท่ า นมี ค วาม สนใจและรอบรู้อย่างกว้างขวางเป็นพิเศษ  นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่ ง อนุ ช นรุ ่ น หลั ง ควรจะได้ จ ดจ�ำ ไว้ แ ละยึ ด ถื อ เป็ น แบบอย่ า งสื บ ไป


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 3

ประวัติชีวิตในราชการของท่านนับว่าได้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าไปอย่าง รวดเร็วเป็นที่น่าชื่นชมยินดีอยู่มาก  แม้ท่านจะได้ออกจากราชการไป แล้ว ทางราชการก็ยังระลึกถึงคุณงามความดีและความสามารถของ ท่ า น โดยมอบความไว้ ว างใจให้ เ ข้ า ร่ ว มบริห ารราชการด้ ว ยทุ ก ยุ ค ทุกสมัย  การที่ท่านได้ถึงมรณกรรมลงเช่นนี้จึงเป็นที่เศร้าสลดใจแก่ บรรดาญาติมิตร และโดยเฉพาะบรรดาข้าราชการกระทรวงมหาดไทย อยู่เป็นอันมาก ถึงหากท่านเจ้าคุณสัจจาภิรมย์จะถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ก็เป็น การดับสูญไปเพียงชีวิตและเลือดเนื้อตามควรแก่วัยและสังขาร  ส่วน เกียรติคุณความดีที่ท่านได้บ�ำเพ็ญไว้แต่หนหลัง ก็ยังยืนยงคงปรากฏ เป็นอนุสรณ์อยู่ต่อไปชั่วกัลปาวสาน ด้วยอานุภาพคุณพระศรีรัตนตรัย พร้อมด้วยกุศลบุญราศรี ที่กระทรวงมหาดไทย และญาติมิตรได้ร่วมกันบ�ำเพ็ญอุทิศในการ พระราชทานเพลิงศพท่านเจ้าคุณสัจจาภิรมย์ครั้งนี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้ เกิดกัลปนาผล อ�ำนวยความสุขเกษมส�ำราญสมมโนปณิธานแก่ท่าน เจ้าคุณสัจจาภิรมย์ในสุคติสัมปรายภพโน้นเทอญ. กระทรวงมหาดไทย พฤศจิกายน ๒๕๐๒


อารัมภ์


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 5

พวกลูกๆ มีความปรารถนาใคร่ร้วู งษ์สกุล ศรีเพ็ญ และประวัติ ของข้าพเจ้าที่ได้ท�ำราชการมา กับอยากรู้ว่าสภาวะของกรุงเทพฯ เมื่อ ๗๐ ปีก่อน เท่าที่ข้าพเจ้าได้รู้เห็นมีความเป็นมาอย่างไร ข้าพเจ้าจึงได้เขียนเรื่องของ ศรีเพ็ญ ความจริงก็ควรจะเขียน เพียงแต่ตั้งต้นสกุลของ ศรีเพ็ญ เท่าที่รัชกาลที่ ๖ ทรงน�ำเอามาตั้งให้ เป็นชื่อสกุลของวงษ์นี้ คือตั้งแต่ พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ซึ่งเป็น ทวดของข้าพเจ้าเท่านั้น  แต่เมื่ออยากรู้บรรพบุรุษเหนือๆ ขึ้นไปอีก จึงได้พยายามตรวจดูตามจดหมายเหตุและพงษาวดารเท่าที่จะหาได้ ก็ปรากฏสืบขึ้นไปจนถึงในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมกรุงศรีอยุธยา บรรดาบรรพบุรุษของข้าพเจ้าได้รับราชการเป็นอ�ำมาตย์ราชเสนาตลอด มาเกือบทุกรัชกาล  ครั้นจะคัดออกแค่พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ก็น่าเสียดายในทางประวัติจึงได้คงไว้ ส่วนลักษณะที่ข้าพเจ้าท�ำราชการมาตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี ถึงอายุ ๖๐ ปีเศษ  เล่าก็รู้สึกว่าบางตอนได้เขียนเรื่อยเจื่อยไปตามอารมณ์ มากไปบ้าง น้อยไปบ้าง เป็นธรรมดาของคนแก่  แต่ไม่เป็นไร เพราะ หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่เป็นหนังสือซื้อขาย ส่วนเรื่องสภาวะของกรุงเทพฯ สมัยเมื่อ ๗๐ ปีนั้น ข้าพเจ้า ได้งดเสีย  เพราะเท่าที่เขียนมาก็เป็นหนังสือมากอยู่แล้ว ประการหนึ่ง ได้เคยเห็นบางท่านได้เขียนเล่าไว้บ้างก็มี จึงเห็นไม่จ�ำเป็น ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล จงยังชนมายุให้เจริญๆ ทั่วกัน บ้านเสาชิงช้า กรุงเทพฯ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี


จุลารัมภ์


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 7

เกือบจะทุกวัน ในขณะที่คุณพ่ออยู่บ้านเสาชิงช้า กรุงเทพฯ ท่านจะต้องเล่าอะไรต่อมิอะไร อันเป็นเรื่องราวเก่าๆ  บางทีก็เป็นเรื่อง ส่วนตัว บางทีก็เป็นเรื่องราชการมีหลายรส  พวกหลานๆ มักจะรุม ฟังกันรอบข้าง ซักโน่นถามนี่ตามประสาเด็ก  ท่านก็ได้เล่าให้ฟังอย่าง ละเอียดลออ  ส่วนพวกลูกๆ ก็นั่งฟังกันไปเงียบๆ เพราะมีอายุแล้ว แต่ในใจนั้นรู้สึกว่าพ่อของเราช่างเป็นคนเก่งสามารถเสียจริงๆ รู้เกือบ ด้านทุกมุม  จึงคิดกันว่าถ้าเรื่องที่ท่านเล่ามานี้ ได้จดบันทึกลงไว้บ้าง ก็จะเป็นโอกาสให้ลูกหลานคนหลังๆ ได้รับความรอบรู้ในประวัติของ ปู่ ย่า ตา ยาย ของตนไว้  ดีกว่าจะเล่าต่อๆ กันไป ประเดี๋ยวเดียว ก็ลืม  จึงได้ “อาราธนา” ให้ท่านจดบันทึกไว้ด้วยภาษาพูดๆ อย่าง เราพูด  ท่านเห็นดีด้วย จึงได้ใช้เวลาว่างนั่งบันทึกมาราว ๗-๘ เดือน ให้ชื่อว่า “เล่าให้ลูกฟัง” คุณพ่อเคยพูดไว้เสมอว่า “พ่อตั้งอายุไว้ ๖๐ ปี ถ้าอยู่ไม่ถึงก็  ขาดทุน ถ้าถึงก็เสมอตัว เกินนั้นไปเป็นก�ำไร”  เพราะเป็นธรรมดาว่า คนที่อายุ ๖๐ ปีขึ้นไปมักจะประสบโรคภัยไข้เจ็บบ่อยครั้งต่างกับคน ที่มีวัยอ่อนกว่านั้น เพราะมีอายุย่างเข้าเขตชราแล้ว  เรามองดูคนแก่ ที่มีวัยสูงดังกล่าวนี้ด้วยใจคอไม่สบาย  ยิ่งถ้าคนนั้นเป็นญาติเป็นพ่อ เป็นแม่ด้วยแล้ว ก็ยิ่งท�ำให้ใจคอหวาดเกรงไปต่างๆ  เมื่อรอดไปปี หนึ่งๆ ก็รู้สึกว่าบุญบารมีของเราได้สร้างสมไว้  จึงมีร่มโพธิ์ร่มไทร ปกเกล้าอยู่  ก็ในคราวที่คุณพ่ออยู่มาได้จนมีอายุครบ ๗๒ ปี ในวัน ที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ อันตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือนยี่ ปีมะแมนี้ จะไม่ท�ำให้พวกลูกๆ พากันปีติอิ่มเอมใจได้อย่างไร  และ ประกอบด้วยตั้งแต่เกิดมายังมิได้เคยปฏิการคุณท่านด้วยงานกุศล


8

ที่เป็นชิ้นเป็นอันแต่อย่างใด  ฉะนั้น จึงถือโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ขอ ความกรุณาต่อท่านให้พวกลูกๆ หลานๆ ได้ท�ำบุญฉลองชนมายุให้ สนุกสนานรื่นเริงสมใจนึกสักครั้ง  และเพื่อให้เป็นที่ระลึกในงานนี้ จึงขออนุญาตท่านพิมพ์ “เล่าให้ลกู ฟัง” แจกแก่บรรดาญาติมติ รทีม่ า ในงานนี้ หนังสือเรื่องนี้จะเป็นที่สบอารมณ์ของท่านหรือไม่นั้น ขอได้ โปรดอภัยด้วย  เพราะเป็นหนังสือที่พ่อเล่าให้ลูกฟังในครอบครัว อาจมีบางเรื่องที่ไม่ต้องใจของท่านบ้างก็เป็นได้ ขอได้โปรดอภัยให้แก่ เรา-พวกลูกๆ  ด้วยความบกพร่องใดๆ ที่อาจมีขึ้นแก่หนังสือเล่มนี้ พวกเราลูกๆ ขอรับเอาทั้งสิ้น  ทั้งนี้เพราะเรามีเวลาเตรียมท�ำน้อย มาก  แต่ถ้าท่านชอบใจเรื่อง “เล่าให้ลูกฟัง” นี้แล้ว ขอให้ท่านจงตั้ง จิตอธิษฐาน ขอคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายช่วยกัน อ�ำนวยพรให้คุณพ่อคุณแม่ของเราจงประสบความสุขสวัสดี มีชนมายุ ยั่งยืนยิ่งๆ ขึ้นไป เทอญ สง่า ศรีเพ็ญ สรรค์ ศรีเพ็ญ สัคค์ ศรีเพ็ญ บุตร บ้านเสาชิงช้า ๒๘ ธันวาคม ๒๔๙๘


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 9

หน้าปกหนังสือ เล่าให้ลูกฟัง เขียนโดย พระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี  กระทรวงมหาดไทย พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาสัจจา ภิรมย์อุดมราชภักดี เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๒ (ฉบับนี้ถือเป็นฉบับ พิมพ์ครั้งที่ ๒)


เล่าให้ลูกฟัง


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 11

เรื่ อ ง ประวั ติ ส กุ ล  ศรี เ พ็ ญ  และเรื่ อ งที่ พ ่ อ ได้ รั บ ราชการมา ตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี ถึงอายุ ๗๐ ปี บรรพบุ รุ ษ ของพ่ อ เริ่ ม ตั้ ง แต่ ส มั ย สมเด็ จ พระบรมราชาที่  ๑ พระเจ้าทรงธรรมเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ ๒๒ ในพระนครศรี อยุธยา (พระนามก่อนเสวยราชย์เป็นพระพิมลธรรม) เมื่อจุลศักราช ๙๖๔ พ.ศ. ๒๑๔๕ ปีขาล จัตวาศก  เฉกมะหะหมัดกับมะหะหมัด สอิด ๒ คนพี่น้อง เป็นแขกมะหง่นถือศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซ็น ชาวเมืองกุนี อยู่ในแคว้นอาหรับ ได้เข้ามาค้าขายอยู่ในพระนครศรี อยุธยา  ภายหลังต่อมาเฉกมะหะหมัดท�ำความชอบในราชการ จึงได้ ตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเฉกมะหะหมัดรัตนราชเศรษฐี เจ้ากรม ท่าขวา และเลื่อนบรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็นเจ้าพระยาบวรราชนายก จางวางกรมมหาดไทยในรั ช สมั ย พระเจ้ า ปราสาททอง และได้ ถึ ง อนิจกรรมในรัชกาลนี้ เมื่ออายุ ๘๘ ปี เฉกมะหะหมัดได้ภรรยาเป็นไทยชือ่  เชย มีบตุ รด้วยกัน ๓ คน ๑. เป็นชายชื่อ ชื่น ๒. เป็นชายชื่อ ชม ถึงแก่กรรมแต่เมื่อยังเป็นหนุ่ม ๓. เป็นหญิงชื่อ ชี เป็นพระสนมเอกในสมัยพระเจ้าปราสาท ทอง นายชื่น บุตรเจ้าพระยาเฉกมะหะหมัด ได้เป็นที่พระยาวรเชษฐ์ ภักดี ว่าที่จุฬาราชมนตรี เจ้ากรมท่าขวา ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ตอนปลายรัชกาล


12

ครั้นเมื่อสิ้นแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม เมื่อจุลศักราช ๙๘๘ พ.ศ. ๒๑๖๙ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเชษฐาธิราช ได้เสวยราชย์ ทรงพระนามว่ า  สมเด็ จ พระบรมราชาที่  ๒ นั บ โดยล� ำ ดั บ กษั ต ริ ย ์ พระนครศรีอยุธยา เป็นพระองค์ที่ ๒๓ อยู่ในราชสมบัติ ๑ ปี กับ ๘ เดือน ก็ถูกปลงพระชนมชีพ โดยค�ำสั่งเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ต่อมาในจุลศักราช ๙๙๐ พ.ศ. ๒๑๗๑ จึงได้ราชาภิเษกพระ เจ้าลูกยาเธอพระองค์เล็กของพระเจ้าทรงธรรม ทรงพระนามว่า พระ อาทิตยวงศ์ มีพระชนม์เพียง ๙ พรรษา ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระ นครศรีอยุธยา โดยล�ำดับเป็นพระองค์ที่ ๒๔ ได้ครองราชย์อยู่เพียง ๖ เดือน มุขมนตรีทั้งปวงจึงพร้อมใจกันยกพระอาทิตยวงศ์ออกจาก ราชสมบัติ และถวายราชสมบัตินั้นแด่เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ขึ้นด�ำรงราชย์มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสรรเพชญ์ที่ ๔ พระเจ้า ปราสาททอง เป็นพระมหากษัตริย์พระนครศรีอยุธยาพระองค์ที่ ๒๕ ในแผ่ น ดิ น พระเจ้ า ปราสาททอง พระยาวรเชษฐ์ ภั ก ดี  (ชื่ น ) บุตรเจ้าพระยาบวรราชนายกได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาอภัยราชา สมุห นายก กรมมหาดไทย มีบุตร ๒ คน ๑. เป็นหญิงชื่อ เลื่อน ได้เป็นเจ้าจอมในพระเจ้าปราสาททอง ๒. เป็นชายชื่อ สมบุญ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง แล้ว เลื่อนเป็นจมื่นจงภักดีองค์ขวา  ต่อมาได้เป็นพระยาบ�ำเรอภักดิ์ และ เจ้าพระยาช�ำนาญภักดี ต�ำแหน่งสมุหนายก กรมมหาดไทย ในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้า ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรี อยุธยาเป็นพระองค์ที่ ๒๖ อนึ่ง เจ้าพระยาช�ำนาญภักดี (สมบุญ) มีภริยาชื่อ สมบุญ มี บุตรด้วยกัน ๒ คน ๑. เป็นชายชื่อ ใจ ๒. เป็นชายชื่อ จิตร บุตรชายทั้ง ๒ คนนี้ เจ้าพระยาช�ำนาญภักดี (สมบุญ) บิดาได้ น�ำถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวงในสมเด็จพระนารายณ์ ต่ อ มาสมเด็ จ พระนารายณ์ ส วรรคต เมื่ อ จุ ล ศั ก ราช ๑๐๑๔


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 13

พ.ศ. ๒๑๙๕ พระเพทราชา (ทองค�ำ) จางวางกรมพระคชบาลได้เป็น พระเจ้าแผ่นดินในพระนครศรีอยุธยาพระองค์ที่ ๒๗ ทรงพระนามา ภิไธยว่า สมเด็จพระบรมราชามหาบุรุษย์ฯ ได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้นาย จิตร บุตรเจ้าพระยาช�ำนาญภักดี (สมบุญ) เป็นที่พระพรหมสุรินทร์ เจ้ากรมพระต�ำรวจฝ่ายพระราชวังบวร และได้ถึงแก่กรรมในต้นแผ่น ดินพระเพทราชา  ส่วนนายใจพี่ชายหาได้มีบรรดาศักดิ์ในสมัยนั้นไม่ จนต่อมาครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งนายใจ บุตร เจ้าพระยาช�ำนาญภักดี (สมบุญ) เป็นพระยาเพ็ชรพิไชย จางวางกรม ล้อมพระราชวังหลวง พระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) แต่งงานกับแฉ่ง บุตรี เจ้าพระยารัตนาธิเบศ (ขุนเณร) สมุหพระกลาโหม ในสมัยพระเจ้า ท้ายสระ [(คือพระบาทสมเด็จพระภูมินทราธิราช (เจ้าฟ้าเพชรรัตน์)] ต่อมาพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาในนาม เดิม  ส่วนต�ำแหน่งราชการได้เป็นสมุหนายก อรรคมหาเสนาบดีกรม มหาดไทย เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) มีบุตรกับแฉ่ง ภรรยาหลวง ๓ คน ๑. เป็นหญิงชื่อ แก้ว เป็นท่านผู้หญิงในเจ้าพระยากลาโหม บ้านคลองแกลบ  ๒. เป็นชายชื่อ เชน ๓. เป็นชายชื่อ เสน หรือเสพ และมีบุตรกับนาก เป็นภรรยาพระราชทานอีกคนหนึ่งเป็นชาย ชื่อ หนู เป็นบุตรคนที่ ๔  ส่วนเชน บุตรที่ ๒ ของเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชยนั้น พระเจ้าบรม โกศทรงตั้งให้เป็นที่พระยาวิชิตณรงค์ เจ้ากรมเขนทองซ้าย  ต่อมา ในรัชกาลพระที่นั่งสุริยามรินทร์ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระยาจุฬา ราชมนตรี (เชน)  เจ้ากรมท่าขวา ท่านผู้นี้เป็นผู้ท�ำจดหมายเหตุล�ำดับ วงษ์สกุลของท่านในเรื่องนี้ เพราะปรากฏว่าเมื่อเสียพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น ท่านผู้นี้มีอายุ ๕๗ ปีแล้ว ส่วนเสน หรือเสพ บุตรคนที่ ๓ ของเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชยนั้น ได้โปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการอยู่ในกรมพระราชวังบวร ซึ่งเวลานั้น


14

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมขุนเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้งก็เรียก) ด�ำรงต�ำแหน่งมหาอุปราชอยู่ ได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้ เป็นพระยาเสน่หาภูธร (เสน หรือเสพ) จางวางมหาดเล็ก  ครั้นต่อมา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมขุนเสนาพิทักษ์ ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวร ต้องราชทัณฑ์ถึงเสียพระชนมชีพ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้สมเด็จพระเจ้า ลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต (เจ้าฟ้าดอกเดื่อก็เรียก) เป็นกรมพระราชวังบวร  ต่อมาในสมัยนี้ได้โปรดตั้งพระยาเสน่หาภูธร (เสน หรือเสพ) เป็นพระยาจ่าแสนยากร (เสน หรือเสพ) ต�ำแหน่ง อธิบดีกรมมหาดไทยวังหน้า ค�ำสามัญเรียกท่านว่า เจ้าคุณจักรีวังหน้า การที่ ต ้ อ งบอกนามเดิ ม พระยาจ่ า แสนยากรเป็ น เสน หรื อ เสพนั้ น เพราะในจดหมายเหตุของพระยาจุฬาราชมนตรี (เชน) ซึ่งเป็นพี่ชาย ของพระยาจ่าแสนยากร ได้เขียนไว้ว่าชื่อ เสน  ครั้นได้สอบดูกับ หนังสือว่าด้วยเจ้าพระยา ในกรุงรัตนโกสินทร์  ซึง่ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร) ได้พิมพ์ขึ้น โดยสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงฯ ได้ทรงตรวจช�ำระ แล้วว่าชื่อเสพ จึงได้ตรวจดูจดหมายเหตุและพงษาวดาร โดยเกรงว่า จะมีพระยาจ่าแสนยากรกี่คนในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ตลอดมาถึง แผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ก็คงมีแต่พระยาจ่าแสนยากรอยู่คน เดียวที่ท�ำราชการอยู่ในพระราชวังบวร  ฉะนั้น จึงแน่ใจว่าพระยาจ่า แสนยากรคนนี้แหละที่เป็นบุตรเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ)  ส่วนที่ชื่อ เสนหรือเสพนั้น อาจคัดและเขียนผิดตัว น กับตัว พ เป็นแน่ เพราะ รูปร่างของตัว น กับตัว พ ถ้าเขียนหวัดๆ หน่อยก็อาจอ่านเป็นได้ ทั้ง ๒ ตัวอักษร ของใครจะผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ ต่อมาเมื่อพระเจ้าบรมโกศสวรรคตแล้ว กรมพระราชวังบวร เจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต ได้เป็นพระมหากษัตริย์เป็นพระองค์ ที่ ๓๒ ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาจ่าแสนยากร (เสน หรือเสพ) ว่า การในต�ำแหน่งสมุหพระกลาโหมด้วย  นัยว่าได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้ เป็นเจ้าพระยามหาเสนา  อนึ่ง พระยาจ่าแสนยากร (เสน หรือเสพ) เมื่อครั้งยังเป็นหนุ่มอยู่ได้แต่งงานกับพวงแก้ว ธิดาเจ้าพระยาธรรมา ธิกรณ์ (ขุนทอง) มีบุตรด้วยกัน ๔ คน


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 15

๑. เป็นหญิงชื่อ เป้า ๒. เป็นหญิงชื่อ แป้น ๓. เป็นหญิงชื่อ ทองดี ทั้ง ๓ คนนี้ พม่าเอาตัวไปเมืองพม่า ในคราวเสียพระนครศรี อยุธยา ๔. เป็นชายชื่อ บุญมา ต่อมาเมื่อขณะพระยาจ่าแสนยากรยังเป็นพระยาเสน่หาภูธรอยู่ นั้น รับราชการอยู่ในกรมพระราชวังบวร ก็ได้รับพระราชทานหม่อม บุญศรี พระสนมในพระองค์ท่านให้มาเป็นภรรยา มีบุตรด้วยกันคน หนึ่ง ๕. เป็นชายชื่อ บุนนาค และภรรยาอีกคนหนึ่งชื่อ จ�ำรูญ มีบุตรด้วยกัน ๓ คน ๖. เป็นหญิงชื่อ จ�ำเริญ เป็นท่านผู้หญิงในเจ้าพระยาอินทราภัย (อรุณ) มีบุตรหลานสืบสกุลอีกมาก ๗. เป็นชายชื่อ จ�ำรัส ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในกรมพระราช วังบวร ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงรักษ์เสนา นี่คือปู่ ของทวดพ่อ ๘. เป็ น หญิ ง ชื่ อ  รั ศ มี  เป็ น พระสนมในกรมพระราชวั ง บวร เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมขุนเสนาพิทักษ์ มีพระโอรสองค์หนึ่ง มีพระ นามว่า พระองค์เจ้าศรีสังข์  ทั้ง ๓ คนนี้พม่าเอาตัวไปเมืองพม่าใน คราวเสียพระนครศรีอยุธยา  เมื่อคราวเสียพระนครศรีอยุธยา พระ องค์เจ้าศรีสังข์ได้หนีไปอยู่เมืองบันทายมาศอาณาเขตประเทศเขมร ส่ ว นบุ ต รชายพระยาจ่ า แสนยากร (เสน หรื อ เสพ) คนที่  ๔ ชื่อ บุญมา นั้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในกรมพระราชวังบวร (กรม ขุนพรพินิต) ได้ทรงตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงนายมหาใจภักดิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่พม่าแล้วพระยาก�ำแพง เพชร (สิน) ได้ตั้งกองกู้บ้านเมือง และปราบการจลาลภายใน  หลวง นายมหาใจภักดิ์ซึ่งเคยเป็นเพื่อนกันมากับพระยาก�ำแพงเพชร (สิน) ครั้งยังมิได้มีบรรดาศักดิ์มาด้วยกัน จึงได้เข้าร่วมท�ำราชการอยู่ด้วย


16

ครั้นพระยาก�ำแพงเพชร (สิน) ท�ำการปราบการจลาจลภายในเสร็จ แล้ว ก็ได้ตั้งตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เรียกนามโดยย่อว่า พระ เจ้าตากสิน หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี  จึงได้โปรดตั้งให้หลวงนายมหา ใจภักดิ์ เป็นพระพลสงคราม  ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ กรุงเทพพระมหา นคร (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระนามเดิม ด้วง) ได้เลื่อน ที่พระพลสงครามเป็นพระยาตะเกิง แล้วเป็นเจ้าพระยายมราช ว่ากรม นครบาล  ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ กรุงเทพฯ (สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย พระนามเดิม ฉิม) ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าพระยาอรรค มหาเสนา สมุหพระกลาโหม และได้ถึงอสัญกรรมในรัชกาลที่ ๒ นี้ ส่วนบุตรชายคนที่ ๕ ของพระยาจ่าแสนยากร (เสน หรือเสพ) ชื่อ บุนนาค เกิดเมื่อปีมะเมีย สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๐๐ พ.ศ. ๒๒๘๑ อ่อนกว่ารัชกาลที ่ ๑ (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ) ๒ ปี  ชัน้ ต้นได้ถวาย ตัวเป็นมหาดเล็กในกรมพระราชวังบวร (กรมขุนพรพินิต) ได้โปรด ให้เป็นนายฉลองไนยนารถ  ในขณะนี้พระนครศรีอยุธยาได้เสียแก่ พม่า  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ พระเจ้าตากสินได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหา กษัตริย์ นายฉลองไนยนารถหาได้เข้าท�ำราชการร่วมด้วยไม่ เพราะมี อริกนั มาตัง้ แต่สมัยยังรุ่นหนุ่ม จึงเกรงพระราชอาญาในพระเจ้าตากสิน จะอาฆาต จึงได้อพยพพาภรรยาชื่อ ลิ้ม บุตรีชื่อ ตานี บุตรชายชื่อ นกยู ง  จากพระนครศรีอ ยุ ธ ยาไปอยู ่ ด ้ ว ยหลวงยกกระบัต ร (ด้ ว ง) ซึ่งเคยเป็นเพื่อนเล่นกันมาตั้งแต่รุ่นหนุ่ม ณ บ้านอัมพวา แขวงเมือง สมุทรสงคราม ขณะนั้นหลวงยกกระบัตรได้เข้าท�ำราชการอยู่กับพระเจ้าตากสิน แล้ว เวลาไปงานสงครามไม่ว่าที่ใด นายฉลองไนยนารถ (บุนนาค) ก็ไปด้วยเสมอ  ครั้นต่อมา ลิ้ม ภรรยาเดิมถึงแก่กรรมลง นายฉลอง ไนยนารถจึงมาได้กับนวล น้องภรรยาหลวงยกกระบัตร (พระพุทธ ยอดฟ้าฯ)  ครั้นเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๒๕ หลวงยกกระบัตร (ด้วง) ได้ กระท�ำความชอบในราชการได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรี และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว จึงโปรดเลื่อนบรรดา ศักดิ์นายฉลองไนยนารถให้เป็นพระยาอุทัยธรรม เป็นเจ้าพระยายมราช


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 17

แล้วเป็นเจ้าพระยามหาเสนา สมุหพระกลาโหม (สกุล บุนนาค สืบมา จากสายนี้) เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) มีบุตรกับลิ้ม ภรรยาเดิมเป็น ชายชื่อ นกยูง เป็นหญิงชื่อ ตานีๆ ได้เป็นเจ้าจอมมารดาในรัชกาล ที่ ๑ มีพระราชธิดาและพระราชโอรส ๒ พระองค์คือ พระองค์เจ้า หญิงจงกล ๑ ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ พระองค์เจ้าชายฉัตร ๑ เมื่อ รัชกาลที่ ๒ สถาปนาเป็นกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ประสูติ พ.ศ. ๒๓๓๓ เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) มีบุตรด้วยกันกับท่านผู้หญิงนวล หรือ นัยหนึ่งเรียก เจ้าคุณนวล ๑๐ คน   ๑. เป็นชาย ยังไม่มีชื่อถึงแก่กรรมแต่เยาว์ ๒. เป็นหญิงชื่อ นุ่ม เกิด พ.ศ. ๒๓๒๐ ได้ท�ำราชการฝ่ายใน ในรัชกาลที ่ ๒ (พระพุทธเลิศหล้าฯ) ถึงอนิจกรรมเมือ่ อายุ ๖๐ ปี  ท่าน ผู้นี้ไม่ได้มีโอรสและธิดา คนโดยมากเรียกว่า เจ้าคุณวังหลวง  ๓. เป็นชายชื่อ ก้อน เกิดปีกุน เอกศก พ.ศ. ๒๓๒๒   ๔. เป็นชายชื่อ ทิน เกิดปีชวด โทศก พ.ศ. ๒๓๒๓   ๕. เป็นหญิงชื่อ คุ้ม เกิดปีขาล จัตวาศก พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้ท�ำ ราชการฝ่ายในกรมพระราชวังบวรในรัชกาลที ่ ๒ คนโดยมากเรียกว่า เจ้าคุณวังหน้า ท่านไม่มีโอรสธิดา เมื่ออายุ ๔๙ ถึงอนิจกรรม   ๖. เป็นหญิงชื่อ กระต่าย เกิดปีเถาะ เบญจศก พ.ศ. ๒๓๒๖ ท�ำราชการอยู่ด้วยเจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี พระราชธิดา รัชกาลที่ ๑ มีพระนามเรียกกันว่า ทูลกระหม่อมประสาท แล้วคนโดย มากก็เรียกคุณกระต่ายว่า เจ้าคุณประสาทๆ  ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ มีอายุได้ ๖๙ ปี หลังจากสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ สวรรคต ๔ วัน ๗. เป็นหญิงชื่อ ภั้ง เกิดปีมะเส็ง สัปตศก พ.ศ. ๒๓๒๘ ๘. เป็นชายชื่อ ดิศ เกิดวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค�่ำ ปีวอก สัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๓๓๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ (สมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าฯ) ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง โปรดตั้งให้เป็นที่นายสุดจินดา และเป็นหลวงนายศักดิ์ ปลายรัชกาลที่ ๑  ครั้นในรัชกาลที่ ๒ ให้


18

สมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาประยูรวงศ์ (ดิศ)

สมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาพิชัยญาติ (ทัต)


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 19

เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นไวยวรนารถ และเป็นพระยาสุริยวงศ์มนตรี เป็นเจ้าพระยาพระคลัง  ในรัชกาลที่ ๓ (สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ) โปรด ให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ว่าที่สมุหพระกลาโหม  ในรัชกาลที่ ๔ (สมเด็จพระจอมเกล้าฯ) ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาประยูรวงศ์ ผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดิน (เรียกกันว่าสมเด็จองค์ ใหญ่)  ได้ถึงพิราลัยเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ปีเถาะ สัปตศก พ.ศ. ๒๓๙๘ มีชนมายุได้ ๖๘ ปี ๑๙. เป็นชายชื่อ แขก เกิดวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ปีจอ โทศก พ.ศ. ๒๓๓๓  ๑๐. เป็ น ชายชื่ อ  ทั ต  เกิ ด วั น อั ง คาร เดื อ น ๔ ปี กุ น  ตรี ศ ก พ.ศ. ๒๓๓๔ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กไล่กา ในรัชกาลที่ ๑ (สมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าฯ)  ครัน้ ปลายรัชกาลที ่ ๑ ได้เป็นนายสนิท มหาดเล็ก หุ้มแพร ในรัชกาลที่ ๒ (พระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ไปรับราชการฝ่าย พระราชวังบวร (วังหน้า) ได้เป็นจมื่นเด็กชาหัวหมื่นมหาดเล็ก  เมื่อ พระราชวังบวรทิวงคตแล้ว จึงมาสมทบวังหลวง ได้โปรดเลื่อนบรรดา ศักดิ์ให้เป็นพระยาจ�ำนงภักดี จางวางกรมมหาดเล็ก  ต่อมาได้ทรงตั้ง เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็กวังหลวง ในรัชกาลที่ ๓ (สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ) ได้เลื่อนพระยาศรีสุริย วงศ์เป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา จางวางกรมพระคลังสินค้า ในรัชกาลที่  ๔ (สมเด็จพระจอมเกล้าฯ) ได้เลื่อนพระยาศรี พิ พั ฒ น์ รั ต นราชโกษา เป็ น สมเด็ จ เจ้ า พระยาบรมมหาพิ ชั ย ญาติ ผู้ส�ำเร็จราชการภายในพระนคร (ที่เรียกกันว่าสมเด็จองค์น้อย)  มี ชนมายุได้ ๖๗ ปี จึงถึงแก่พิราลัยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ ส่ ว นบุ ต รชายคนที่  ๗ ของพระยาจ่ า แสนยากร (เสน หรื อ เสพ) ชื่อ จ�ำรัส เป็นปู่ของทวดพ่อ  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กใน กรมพระราชวังบวร รับราชการอยู่ในกรมมหาดไทย ภายหลังมีบรรดา ศักดิ์เป็นหลวงรักษ์เสนา  ได้แต่งงานกับภรรยาหลวงผู้หนึ่ง มีบุตรชาย ชื่อ ทองขวัญ เป็นบิดาของทวดพ่อ และเกิดบุตรชายกับอนุภรรยา


20

อีก ๔ คน ชื่อยิ้ม ๑ แย้ม ๑ เขียว ๑ ข�ำ ๑  ส่วนหลวงรักษ์เสนา (จ�ำรัส) นั้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ พระนครศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว ต่างก็แตกฉานซ่านเซ็นกันไป ที่ถูกพม่าจับเป็นไปก็มาก ฆ่าเสียก็มาก หลวงรักษ์เสนาจะเป็นตายอย่างไรไม่ทราบ สาบสูญไป แต่บุตรยังอยู่ ทั้ง ๕ คน สมัยต่อมาเป็นรัชกาลที่ ๓๓ ของพระนครศรีอยุธยา พระเจ้า แผ่นดินมีพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชามหาดิศรฯ แต่โดยมาก มักเรียกพระนามท่านว่า พระที่นั่งสุริยามรินทร์  เพราะเมื่อสมเด็จ พระบรมราชาที ่ ๓ ซึ่งเป็นพระราชบิดาสวรรคต กรมขุนพรพินิต พระ นามเดิมเจ้าฟ้าอุทุมพร หรือเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อก็เรียก ทรงเป็นกรม พระราชวังบวร ได้รับอัญเชิญจากข้าราชการให้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔  แต่กรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระนามเดิมเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เสด็จไปอยู่บนพระที่นั่งสุริยามรินทร์ นั ย ว่ า ปรารถนาอยากได้ ร าชสมบั ติ เพราะพระองค์ ท ่ า นเป็ น พี่ ร ่ ว ม พระชนกชนนี เ ดี ย วกั น กั บ กรมขุ น พรพิ นิ ต   กรมขุ น พรพิ นิ ต ครอง ราชสมบัติได้เพียง ๑๐ วัน (บางแห่งว่า ๑๐ เดือนกับ ๑๐ วัน) โดย นับล�ำดับพระมหากษัตริย์ที่ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นพระองค์ที่ ๓๒ แล้วก็เลยถวายราชสมบัติให้แด่พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓๓ แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยที่พระ องค์ชอบประทับอยู่ในพระที่นั่งสุริยามรินทร์ไม่ยอมออก จนได้เป็น พระเจ้าแผ่นดิน จึงเรียกพระองค์ท่านตามนามพระที่นั่งนั้น ส่วนกรมขุนพรพินิต เมื่อได้ถวายราชสมบัติแด่สมเด็จพระ บรมเชษฐาแล้ว ก็เสด็จไปทรงผนวช ณ วัดเดิม แล้วมาประทับอยู่ วัดประดู่ ที่พวกเราต่อมารู้จักกันว่าขุนหลวงหาวัดนี่แหละ  ในรัชกาล ที่  ๓๓ นี้ มี ศึ ก พม่ า ยกมารุ ก รานพระนครศรี อ ยุ ธ ยา  พระนครศรี อยุธยาได้เสียแก่พม่าอย่างยับเยินเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐  พม่าได้ท�ำลาย วัตถุสถานแหลกลาญ ซ�้ำกวาดต้อนครอบครัวคนไทยเอาไปเป็นเชลย ณ ประเทศพม่าเป็นอันมาก ในขณะนั้นนายทองขวัญ  นายยิ้ม นายแย้ม บุตรหลวงรักษ์


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 21

เสนา (จ�ำรัส) ได้หลบหนีไปกับนายทองดี ซึ่งเป็นที่ออกพระอักษร สุนทรศาสตร์ รับราชการอยู่ในกรมมหาดไทย ขึ้นไปยังเมืองพิษณุโลก ซึ่งพม่าหาได้ยกขึ้นไปรุกรานไม่ ในระหว่างที่เสียกรุงแก่พม่า  เจ้าพระยาสุรสีห์พิศณุวาธิราช (บุญเรือง) ผู้ส�ำเร็จราชการเมืองพิษณุโลกก็ได้ตั้งตนขึ้นเป็นพระเจ้า แผ่นดินสยาม  ส่วนพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งเป็นผู้ท�ำ ราชการมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังไม่แตก เป็นผู้รู้จักกันมากับ เจ้าพระยาพิษณุโลก จึงได้เข้าท�ำราชการอยู่ ณ กรุงพิษณุโลกด้วย นัยว่าได้ตงั้ ให้เป็นถึงเจ้าพระยาจักรี ทีส่ มุหนายก และตัง้ นายทองขวัญ ซึ่งเป็นผู้ติดตามมาด้วย เป็นที่นายช�ำนาญ (กระบวน) นายเวรกรม มหาดไทย เมืองพิษณุโลก ในสมัยที่เจ้าพระยาพิษณุโลกตั้งตนเป็นกษัตริย์นั้น  พระยา ก�ำแพงเพชรเดิมเป็นผู้ว่าราชการเมืองก� ำแพงเพชร ภายหลังจึงย้าย ไปเป็นผู้ว่าราชการเมืองตาก ชื่อตัวชื่อสิน แต่มักเรียกกันว่า พระยา ตากสิน ก็ได้ตงั้ ตนขึน้ ท�ำนองเดียวกัน ได้รวบรวมไพร่พลขึน้ ทีเ่ มืองชล เมืองบางละมุง เมืองระยอง เมืองจันทบุรี ตลอดถึงเมืองตราด และ พักต่อเรือ (เข้าใจว่าจะเป็นเรือรบ แต่จะมีรูปร่างอย่างไรไม่ทราบ) พอได้จ�ำนวนพลและเรือพอสมควรแล้ว ก็ยกขึ้นมาตีหน้าด่านซึ่งพม่า ได้ตั้งไว้ที่เมืองธนบุรี  มีคนไทยคนหนึ่งชื่อ ทองอิน ทรยศต่อชาติ เข้ากับพวกพม่าๆ ได้ตั้งเป็นพระนายกองควบคุมอยู่  นายทองอินได้ ต่อสู้แต่พ่ายแพ้แก่พระยาตากสิน  ตัวนายทองอินตายขณะรบกันนั้น พระยาตากสินจึงตั้งชุมนุมรวบรวมไพร่พลเป็นการใหญ่ที่เมืองธนบุรี เข้าใจว่าขณะนี้ละกระมังที่เรียกพระยาตากสินว่า เจ้ากรุงธนบุรี  ภาย หลังต่อมาเมื่อตีทัพสุกี้นายกองพม่าที่โพธิ์สามต้นแตกหนีไปหมดแล้ว จึงยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองพิษณุโลกครั้งหนึ่ง ชาวเมืองได้ต่อสู้แข็งแรง พระยาตากสินต้องปืนที่ชงฆ์ แล้วก็ล่าทัพกลับกรุงธนบุรี ต่อมาเจ้าพระฝาง (เรือน) บวชเป็นพระอยู่ ก็ได้ตั้งตนขึ้นเป็น กษัตริย์บ้าง ณ เมืองสวางคบุรี ได้ยกพลมาตีเมืองพิษณุโลกๆ สู้ไม่ได้ พ่ายแพ้แก่เจ้าพระฝาง  เจ้าพระฝางได้กวาดต้อนเอาผู้คนชายหญิง


22

ของเมืองพิษณุโลกไปเป็นเชลย ณ เมืองสวางคบุรีเป็นอันมาก ครั้นจุลศักราช ๑๑๓๒ โทศก (พ.ศ. ๒๓๑๓) ภายหลังกรุงเก่า แตกแก่พม่า ๓ ปี พระเจ้ากรุงธนบุร ี (ตากสิน) ได้ยกพลขึ้นไปตีเมือง สวางคบุรีแตก แต่เจ้าพระฝาง (เรือน) หนีไปได้ ได้แต่นางพระยาช้าง เผือก แล้วยกทัพกลับกรุงธนบุรี อนึ่ง ในระหว่างที่ก่อนเมืองพิษณุโลกจะถูกเจ้าพระฝางตีแตก นั้น พระเจ้ากรุงพิษณุโลกได้เสียพระชนมชีพแล้ว พระอุปราชได้ครอบ ครองแทน  ต่อมาในระหว่างเวลาไม่ห่างไกลกันนั้น เจ้าพระยาจักรี (ทองดี) ก็ถึงอสัญกรรมด้วย คราวนี้หม่อมมาที่เป็นอนุภรรยาเจ้าพระยาจักรี (ทองดี) กับ บุตรชายชื่อ ลา (ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งให้เป็นเจ้าฟ้ากรมหลวง จักรเจษฎา เป็นต้นตระกูลเจษฎางกูร)  นายทองขวัญ นายยิ้ม นาย แย้ม ผู้เป็นสานุศิษย์ของเจ้าพระยาจักรี (ทองดี) ก็ได้ช่วยกันกระท�ำ การฌาปนกิ จ เจ้ า พระยาจั ก รี ต ามควรในเวลานั้ น  แล้ ว ก็ น� ำ อั ฐิ ข อง เจ้าพระยาจักรี (ทองดี) พากันล่องลงมาหาพระยาอภัยรณฤทธิ์ (ด้วง) ซึ่งเป็นแม่ทัพหน้าของพระเจ้ากรุงธนบุรี ณ ที่ต�ำบลเกยไชย แขวง เมืองนครสวรรค์ พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ด้วง) ผู้นี้ก็คือเป็นบุตรของพระอักษร สุ น ทรศาสตร์  (ทองดี )  ตั้ ง แต่ ค รั้ ง กรุ ง เก่ า ยั ง ไม่ แ ตกแก่ พ ม่ า  หรื อ เจ้าพระยาจักรี (เมืองพิษณุโลก)  และท่านผู้นี้แหละ ต่อมาเมื่อสิ้น แผ่นดินพระเจ้าตากสินแล้ว ก็ได้ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งปฐมวงศ์จักรี มีพระปรมาภิไธยโดยย่อว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก เมื่อกองทัพกลับมาเมืองธนบุรีแล้ว หม่อมมาผู้เป็นภริยาของ เจ้าพระยาจักรี (ทองดี) และนายลาผู้บุตรกับนายทองขวัญ นายยิ้ม นายแย้ม  ทั้ง ๕ คนนี้ก็ได้มาอยู่ในความอุปการะของพระยาอภัย รณฤทธิ์ (ด้วง) ต่อมาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็ได้โปรดเลื่อนบรรดาศักดิ์ และต�ำแหน่งแก่พระยาอภัยรณฤทธิ์เป็นพระยายมราช และเป็นเจ้า


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 23

พระยาจั ก รี  ว่ า ที่ ส มุ ห นายก จึ ง ได้ โ ปรดตั้ ง ให้ น ายทองขวั ญ เป็ น ที่ นายช�ำนาญ (กระบวน) นายเวรกรมมหาดไทยเหมือนอย่างที่เคยเป็น มาแต่ครั้งอยู่เมืองพิษณุโลก นายช�ำนาญ (ทองขวัญ) ได้แต่งงานกับทองขอน บุตรีพระยา นครอินทร์  พระยานครอินทร์นี้เมื่อครั้งแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ รัช กาลที่ ๓๓ แห่ ง พระนครศรีอ ยุ ธ ยา ได้ เ ป็ น ที่ส มิง นระเดชะ ชื่อ ตัวว่า มะทอเบิ้น เป็นนายกองรามัญกรมอาษาทะมาตย์  ต่อมาใน รัชกาลพระเจ้าตากสิน ได้ตั้งให้เป็นพระยานครอินทร์ แล้วเลื่อนให้ เป็นพระยา หรือเจ้าพระยารามจัตุรงค์ หรือบางแห่งก็เรียกว่า พระยา รามัญวงศ์ (จักรีมอญก็เรียก) นามตัวของท่านว่าชื่อ มะโดด หรือ มะซอน  มะซอนผู้นี้แหละที่เป็นทหารคู่พระทัยของพระเจ้าตากสิน และได้ถูกฆ่าตายพร้อมด้วยพระยาตากสิน  เมื่อพระยาสรรค์เข้ามา นั่งซัง (ในตอนนี้พ่อจ�ำต้องพูดนอกเรื่องสักเล็กน้อยเพราะอดไม่ได้ เพื่อเป็นคติเตือนใจพวกเจ้า  คือเขาว่าพระเจ้าตากสินเป็นบ้า เพราะ ท่านทรงวิปัสสนากรรมฐาน  พ่อเองก็ไม่มีความรู้ในข้อนี้ แต่ก็ไม่เชื่อ ว่าจะเป็นไปได้  เจ้าลองถามดูตามท่านผู้รู้เถิดว่า วิถีทางของพระพุทธ ศาสนาท�ำให้คนเป็นบ้าได้หรือไม่) เมื่อ พระยาสรรค์ เ ข้ า ท� ำ การในตอนนี้  เรีย กว่ า ขบถ พระเจ้ า ตากสินยอมจ�ำนน พระยาสรรค์บังคับให้บวช ท่านก็เต็มใจบวช  ต่อ มาในระหว่างบวชใครเล่าสั่งให้จับไปฆ่า เมื่อขณะเอาไปฆ่า ท่านยังขอ พบกับเจ้าพระยาจักรี หรือสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  แต่ครั้น คนหามแคร่จะพาไปหา เจ้าพระยาจักรีเห็นเข้า ก็โบกมือให้ไปเสีย ไม่ยอมให้เข้าพบ พวกเพชฌฆาตจึงจ�ำต้องน�ำไปประหารชีวิตอย่าง คนธรรมดา ข้อนี้ซิท�ำให้พ่อนึกว่า การเมืองนี่มันไม่ใคร่จะมีธรรมะครอง เสียบ้างเลย  พระเจ้าตากสินได้กู้ชาติไทยให้เป็นอิสระได้ด้วยความ ล�ำบากยากแค้นแสนสาหัสสักเพียงใด เขายังไม่คิดถึง  พระองค์ท่าน ด�ำรงราชย์มาถึง ๑๕ ปี ได้ชุบเลี้ยงตั้งแต่งคนให้เป็นใหญ่เป็นโต มี อรรคฐานมากมาย กระนั้ น ก็ ยั ง ไม่ มี ใ ครระลึ ก ถึ ง พระคุ ณ ของท่ า น


24

นอกจากพวกที่ยอมตายพร้อมกับท่านด้วยความกตัญญูคือ พระยา รามัญวงศ์ (มะซอน) คนหนึ่ง ซึ่งเป็นญาติชั้นผู้ใหญ่ของเรา ซึ่งจะได้ เล่าให้รู้ข้างหน้า  ที่พูดมาทั้งนี้ก็เพื่อจะสอนเจ้าให้รู้จักและประพฤติ กตัญญูกตเวทีต่อชาติบ้านเมืองและผู้มีพระคุณไว้ให้มั่นคงเท่านั้น การแต่ ง งานของท่ า นทองขอนนั้ น  ได้ แ ต่ ง กั น ที่ บ ้ า นหลั ง วั ด ราชบพิธและเชิงสะพานมอญ อีกด้านหนึ่งติดถนนเฟื่องนคร  ท่าน ทองขอนและนายช�ำนาญ (ทองขวัญ) เมื่อได้กระท�ำพิธีสมรสกันแล้ว ต่อมามีบุตรและธิดาด้วยกัน ๓ คน  คนที่ ๑ เป็นหญิงชื่อ ทองพิมพ์ ทองพิมพ์ผู้นี้ไม่มีสามี ใฝ่ใจในทางพระศาสนา อุทิศตนเป็นอุบาสิกา ตลอดชีพ จึงไม่มีเชื้อสายต่อไป  คนที่ ๒ เป็นชายชื่อ ทองเพ็ง  ท่าน ผู้นี้คือทวดของพ่อโดยตรง ซึ่งจะได้เล่าประวัติไว้ต่อไป  คนที่ ๓ เป็น หญิงชื่อ ทองเทศ เป็นน้องร่วมบิดามารดากับเจ้าคุณทวดของพ่อ ซึ่ง พ่อจะได้เล่าประวัติโดยสังเขปไว้คือ ท่านทองเทศได้สามีเป็นที่หลวง ศรีเสนา (ทองอ่อน) ในรัชกาลที่ ๓ มีบุตรีคนหนึ่งชื่อ อิ่ม เป็นภรรยา หลวงในพระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก)  เจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชกาล ที่ ๔ และที่ ๕ ได้เกิดบุตรหญิงคนที่ ๑ ชื่อ พัน เป็นภรรยาพระราช ภพบริหาร มีบุตรด้วยกันเป็นหญิงคนที่ ๑ ชื่อ ชื่น เป็นคุณหญิงใน พระยาวรฤทธิ์ฤๅไชย (เคลื่อน อมาตยกุล) บุตรหญิงคนที่ ๒ ชื่อ อบ และคนที่ ๓ เป็นชายชื่อ อุ่น เป็นหลวงพ�ำนักนิกรชน ส่ ว นบุ ต รชายคนที่   ๒ ของพระยาศรี สุ น ทรฯ (ฟั ก ) นั้ น ชื่ อ กระมล ได้เป็นที่พระยาศรีสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณ์ แทน ที่บิดา  ภายหลังได้เป็นพระยาศรีภูริปรีชา  พระยาศรีสุนทรโวหาร (กระมล สาลักษณ์) ได้แต่งงานกับท่านพึ่ง เป็นภริยาหลวงซึ่งเป็น บุตรีพระคชภักดี (ท้วม) ท่านริ้วเป็นมารดา  พระยาศรีสุนทรโวหาร (กระมล สาลักษณ์) มีบุตรกับท่านพึ่ง เอกภรรยา ๘ คนคือ ๑. เป็นชายชื่อ ผัน มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีสุนทรโวหาร เหมือนบิดาและปู่ มีบุตรชายคนหนึ่งกับคุณหญิงวงษ์ชื่อ กมลวงษ์ เป็นหลวงปฏิภารณฯ ๒. เป็นหญิงชื่อ ถวิล เป็นท่านผู้หญิงในเจ้าพระยาธรรมศักดิ์


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 25

มนตรี  (สนั่ น  เทพหั ส ดิ น ) มี บุ ต รด้ ว ยกั น  ๔ คน คนที่  ๑ ชายชื่ อ ก� ำ ธร ที่   ๒ หญิ ง ชื่ อ  ไฉไล ที่   ๓ ชายชื่ อ  ครรชิ ต  ที่   ๔ หญิ ง ชื่ อ สุธรรมา ๑๓. เป็นหญิงชื่อ ปรุง เป็นภริยาในเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่ น  เทพหั ส ดิ น ) มี บุ ต รด้ ว ยกั น  ๕ คน คนที่  ๑ หญิ ง ชื่ อ  เรวดี ที่ ๒ ศรียา ที่ ๓ ชายชื่อ ชาลี ที่ ๔ หญิงชื่อ กัณหา ที่ ๕ เป็นชาย ชื่อ บรรลือ  ๑๔. เป็นหญิงชื่อ ฉวี เป็นภรรยาหม่อมราชวงศ์โต๊ะ นพวงษ์ ณ อยุ๑ธยา มีบุตรด้วยกัน ๔ คน  คนที่ ๑ เป็นหญิงชื่อ สมพิศ  ที่ ๒ ชายชื่อ ทัตทัน  ยังมีบุตรแฝดอีก เป็นชายชื่อ บรรจิต หญิงชื่อ บรรจง ๑ ๕. เป็นชายชือ่  สุนทร มีบรรดาศักดิเ์ ป็นพระสุนทรวาจา สมรส กับภริยา ๓ คน มีบุตรกับสดับ บุนนาค เป็นหญิงชื่อ สีดา กับสดม บุนนาค เป็นชายชื่อ ดุสิต กับสว่างวงศ์ เทพหัสดิน เป็นหญิงชื่อ แอ๋ว ๑  ๖. เป็นหญิงชื่อ ศรี สาลักษณ์ ๑๗. เป็นชายชื่อ เล็ก มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงวิจิตรมนตรี มี ภรรยาชื่อ ขิ่ม มีบุตร ๒ คน ชายชื่อ ลิขิต ๑ เอกราช ๑ ๑๘. เป็นชายชื่อ อุดม มีภรรยาชื่อ เภา มีบุตร ๙ คน หญิงชื่อ สุจรี ๑ ชายชื่อ ก�ำแหง ๑ ชายชื่อ พิชัย ๑ ชายชื่อ เปี๊ยก ๑ หญิงชื่อ ปทุมวดี ๑ ชายชื่อ ปุ้ย ๑ หญิงชื่อ พึ่งพันธ์ ๑ ชายชื่อ ปิงปอง ๑ ชายชื่อ ป๊อกแป๊ก ๑ ๑ ๙. เป็นหญิงชื่อ เอื้อน เกิดด้วยนอมเป็นมารดา ได้เป็นภริยา เจ้ า พระยาธรรมศั ก ดิ์ ม นตรี  (สนั่ น  เทพหั ส ดิ น ) มี บุ ต รด้ ว ยกั น  ๔ คน ชายชื่อ ไกวัลย์ ๑ หญิงชื่อ มธุรส ๑ หญิงชื่อ อุษา ๑ ชายชื่อ นฤนารถ ๑   ๑๐. เป็นหญิงชื่อ จงกล มารดาชื่อ คล้อย แต่งงานกับสระ พันธุ์ทิพย์ มีบุตรเป็นชายชื่อ เกริกเกียรติ   ๑๑. เป็นหญิงชือ่  อุบล มารดาชือ่  คล้อย ได้สามีคอื หม่อมหลวง


26

ดรุณศิริวงษ์  ขณะนั้นที่ดินในแถบบ้านเจ้าคุณทวดของพ่อนี้  พวกมอญได้ มาตั้งนิวาสสถานอยู่ริม ๒ ฝั่งคลองหลอด ด้วยอาศัยพึ่งบุญบารมี เจ้าคุณทวดของพ่อเป็นอันมาก  นัยว่าครั้งนั้นเจ้าคุณทวดของพ่อ ก�ำลังมีวาสนา จึงได้กะเกณฑ์หรือขอแรงพวกมอญเหล่านี้ท�ำสะพาน ข้ามคลองหลอด หรือคลองตลาด  ตัวสะพานใช้ไม้สักขนาดหนาและ ใหญ่  เชิงสะพานทั้ง ๒ ข้างก่ออิฐถือปูนเป็นก�ำแพงรับ สะพานนั้นจึง มีนามว่า สะพานมอญ มาจนทุกวันนี้  บ้านนี้ต่อมาได้ตกมาเป็นของ นายช�ำนาญ (ทองขวัญ) บุตรเขย และพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ผู้หลานตลอดมา  ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๘ พระยาศรีสหเทพถึงอนิจ กรรมแล้ว ที่ดินแปลงนี้ได้ตกมาเป็นมรดกแก่ลูกหลานเหลนตามส่วน พ่อก็ได้รับที่ดินเป็นมรดกด้วย ๒ แปลงแห่งหนึ่งเป็นมรดกคุณปู่ของ พ่อ ซึ่งเป็นบุตรพระยาศรีสหเทพ  อีกส่วนหนึ่งพ่อได้ทางคุณแม่ของ พ่อ ซึ่งคุณตาคุณยายได้ให้ไว้ติดต่อในบริเวณบ้านพระยาศรีสหเทพ ด้านถนนอัษฎางค์  ครั้นต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงเทพมหา นคร ซึ่งพระมหากษัตริย์เวลานั้นเป็นราชาธิปไตยมีอ� ำนาจสิทธิ์ขาด จึงถูกทางราชการบังคับซื้อเป็นที่หลวง ตอนริมถนน คิดให้ตารางวาละ ๔๐ บาท ตอนในนั้นให้ตารางวาละ ๓๐ บาท ต่อนี้ไปจะขอย้อนกล่าวถึงนายทองขวัญในสมัยพระเจ้ากรุง ธนบุรี (ตากสิน) เป็นกษัตริย์อยู่นั้น  เมื่อได้ตั้งนายทองขวัญเป็นนาย ช�ำนาญกระบวนต�ำแหน่งนายเวร กรมมหาดไทยแล้ว  ต่อมาทางภาค เขมรเกิดการจลาจลระส�่ำระสายอยู่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรี (ด้วง) ยกกองทัพขึ้นไปปราบปราม ได้ตั้งชุมนุมทัพอยู่ที่เมืองบันทาย เพชร  ในการไปทัพครั้งนี้ได้โปรดให้นายช�ำนาญ (ทองขวัญ) เป็น แม่กองไปด้วย เพราะนายทองขวัญเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด ไว้ วางใจของเจ้าพระยาจักรี แม่ทัพ และโปรดให้เป็นว่าที่หลวงราชเสนา และพระราชทานเบี้ยหวัดเครื่องยศผ้าปีในหน้าที่หลวงราชเสนาให้ด้วย ในระหว่างที่กองทัพเจ้าพระยาจักรีตั้งอยู่ที่เมืองบันทายเพชรนี้


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 27

ก็ทราบข่าวการจลาจลของกรุงธนบุร   ี เจ้าพระยาจักรี (ด้วง) แม่ทัพจึง แบ่งก�ำลังทัพส่วนหนึ่งยกกลับมากรุงธนบุรี  ส่วนกองทัพที่เหลืออยู่ ให้ถอยมาตั้งอยู่ที่เมืองพระตะบอง ให้ว่าที่หลวงราชเสนา (ทองขวัญ) เป็นแม่กองควบคุมอยู่ ครั้นเมื่อเจ้าพระยาจักรี (ด้วง) เข้าถึงกรุงธนปราบจลาจลใน กรุงธนบุรีเรียบร้อยลงแล้ว ก็ได้สถาปนาปราบดาภิเษกเป็นพระมหา กษัตริย์ ทรงพระปรมาภิไธยโดยย่อว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นรัชกาลที่ ๑ ในพระราชวงศ์จักรี แล้วจึงเรียกกองทัพซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองพระตะบองกลับ ว่าที่หลวงราชเสนา (ทองขวัญ) จึงได้น�ำกองทัพ กลับจากเมืองพระตะบอง ได้กระท�ำราชการตามหน้าที่  อยู่มาไม่กี่วัน ว่าที่หลวงราชเสนาก็ล้มเจ็บลง ในขั้นต้นเป็นไข้ป่า ภายหลังได้กลาย เป็นโรคอัมพาต จะเดินไปไหนมาไหนไม่ได้  ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ เห็นจะทรงระลึกถึงความชอบของว่าที่หลวง ราชเสนา (ทองขวัญ) หลายประการ  เบื้องต้นแต่ได้ติดตามเป็นศิษย์ พระบรมชนกขึ้นไป ณ เมืองพิษณุโลก  ครั้นเมื่อพระบรมชนกสิ้น พระชนมชีพก็ได้ช่วยกันกับหม่อมมา นายลาบุตร กระท�ำการฌาปนกิจ เก็บอัฐิน�ำมาถวายพระองค์ท่านที่บ้านเกยไชย  ต่อมาก็ได้เข้ารับใช้ ใกล้ชิด ตลอดจนไปทัพเขมรครั้งนี้ด้วย จึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็น ว่าที่พระ หรือพระยาราชนิกูล ในระหว่างที่ยังป่วยอยู่นั้น และพระ ราชทานเบี้ยหวัดผ้าปีในหน้าที่ของพระหรือพระยาราชนิกูลให้ด้วย สมัยต่อมาในรัชกาลที่ ๑ (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ) แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ศก ๑๒ จุลศักราช ๑๑๕๕ นายทองเพ็งก็ได้อุบัติมา เป็นบุตรนายช�ำนาญ (ทองขวัญ) กับทองขอน ผู้ภริยา  นายทองเพ็ง ผู้นี้แหละคือทวดของพ่อโดยตรง ซึ่งได้มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรี สหเทพ ในรัชกาลที่ ๓ (สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือกรุงเทพฯ เดี๋ยวนี้  และต่อมาในรัชกาลที่ ๖ (สมเด็จพระมงกุฎ เกล้าฯ) ได้โปรดเกล้าฯ ให้คนไทยมีนามสกุลขึ้น จึงโปรดให้ผู้ที่เป็น เผ่าพันธุ์ของพระยาศรีสหเทพโดยตรง เฉพาะชายและหญิงที่ยังไม่ได้ สมรสกับสกุลอื่น ใช้นามสกุลว่า “ศรีเพ็ญ” โดยทรงเอานามบรรดา


28

ศักดิ์คือ ศรี กับนามตัวของท่านคือ เพ็ญ (เพ็ญกับเพ็งมีความหมาย อย่างเดียวกัน) ประสมกัน  ฉะนั้น จึงนับว่าเจ้าคุณทวดของพ่อนี้เป็น ต้นของสกุล “ศรีเพ็ญ” พ่อผู้เป็นเหลนของท่านโดยตรงจึงใช้นามสกุล ว่าศรีเพ็ญมาจนทุกวันนี้ นิวาสสถานของเจ้าคุณทวดของพ่ออยู่ที่เชิงสะพานมอญ ตรง หน้าสวนสราญรมย์ (ข้ามคลองตลาดหรือคลองหลอด) ทิศตะวันออก ติดถนนเฟื่องนคร ตะวันตกติดถนนอัษฎางค์ ทิศเหนือติดคลองหลัง วัดราชบพิธ ทิศใต้ติดถนนเจริญกรุง โดยประมาณกว้างยาวด้านละ ๓-๔ เส้น เจ้าคุณทวดของพ่อเกิด ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค�่ำ เดือน สี่ ปี ฉ ลู  เบญจศก จุ ล ศัก ราช ๑๑๕๕ เป็ น ปี ที่  ๑๒ ในรัช กาลที่  ๑ (สมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลก) กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์   เมื่ อ เจริ ญ ชนมายุขึ้นก็ได้เข้าท�ำราชการในกรมมหาดไทย ได้เป็นที่หมื่นพิพิธ อักษรในรัชกาลที่ ๒ (สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)  ในสมัยกาล ครั้งนั้น สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ก�ำลังทรงพระ ราชนิพนธ์บทกลอนเรื่องอิเหนา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ และพวกราชบัณฑิตช่วยแต่งเป็นตอนๆ และมีพระราชประสงค์ใคร่ ได้ ผู ้ ที่ เ ขี ย นหนั ง สื อ ดี ๆ  สั ก คนหนึ่ ง   พระเจ้ า ลู ก ยาเธอ กรมหมื่ น เจษฎาบดินทร์ (ซึ่งต่อไปเป็นสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๓) จึงทรงเลือกได้หมื่นพิพิธอักษร (ทองเพ็ง) ซึ่งเป็นผู้ช�ำนาญใน ทางเขียนอักษร และแต่งบทกลอนได้อย่างว่องไว ไปถวายสมเด็จ พระบรมชนกนาถ และพระองค์ท่านก็ได้ทรงใช้สอยหมื่นพิพิธอักษร ด้วยความโปรดปราน  ในรัชกาลที่ ๒ นี้ หมื่นพิพิธอักษรก็ได้เลื่อน บรรดาศักดิ์ถึง ๒ ครั้งคือ ครั้ง ๑ เป็นที่หลวงศรีเสนา อีกครั้งหนึ่ง เป็นพระศรีสหเทพ  จากแต่นั้นมาพระศรีสหเทพก็ได้ประกอบแต่ คุณงามความดี ส�ำแดงซึ่งความกตัญญูกตเวทีจงรักภักดีในสมเด็จ พระเจ้าแผ่นดินตลอดมาจนถึงกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ครองราช สมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลที ่ ๓ เมื่อได้ทรงเห็นความสามารถ ในทางอักษรศาสตร์ แต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นที่พอพระราช


พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี 29

หฤทัย ทั้งเป็นผู้ทรงคุ้นเคยมาแต่ก่อนด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน บรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีสหเทพ เมื่ออายุของท่านได้ ๓๕ ปี และได้ เป็นผู้ส�ำเร็จราชการกรมมหาดไทย กรมนา และอื่นๆ อีกเป็นอันมาก ในรัชกาลที่ ๓ ท่านเป็นสหายรักใคร่กันมากกับเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ ท่าน จึงมีค�ำกล่าวกันว่า เจ้าพระยาบดินทรฯ เป็นขุนพลแก้ว และพระยา ศรีสหเทพเป็นขุนคลังแก้วของรัชกาลที ่ ๓ นับว่าเป็นที่โปรดปรานของ รัชกาลที่ ๓ อย่างพิสดารเป็นอันมาก ถ้าจะเขียนลงไว้ตามจดหมาย เหตุก็จะยืดยาวนัก เจ้าคุณทวดของพ่อมีภรรยาหลวงคนหนึ่งชื่อท่านน้อย และมี อนุภรรยา เรียกกันเวลานั้นว่าหม่อมอีก ๕๖ คน  เฉพาะภรรยาที่มี บุ ต ร ๓๒ คน บุ ต รที่ เ กิ ด มาเป็ น ชาย ๒๔ คน เป็ น หญิ ง  ๒๕ คน เวลานั้นเจ้าคุณทวดของพ่อรุ่งเรืองด้วยอ�ำนาจราชศักดิ์มาก เพราะ พระเจ้าแผ่นดินโปรดปราน ในตอนที่โปรดให้ตัดถนนเจริญกรุงกับ ถนนเฟื่องนคร บังเอิญมาสบเป็นสี่แยกที่ข้างบ้านของท่าน ที่นั้นจึงได้ นามว่า สี่กั๊กพระยาศรี คือเป็นนามของเจ้าคุณทวดพ่อนี่แหละ เดี๋ยวนี้ มาเปลี่ยนเรียกเป็น สี่แยกพระยาศรี ต่อมาเจ้าคุณทวดของพ่อคือพระยาศรีสหเทพก็ได้บรรลุซึ่ง กาลอวสาน โดยเป็นไข้ ถึงแก่อนิจกรรมเมือ่  ณ วันอังคาร แรม ๑๔ ค�ำ่ เดือน ๖ ปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช ๑๒๐๗ รวมชนมายุได้ ๕๓ ปี เป็นปีที่ ๒๒ ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระราชทานโกศไม้สิบสองลายกุดั่น กับฉัตรเบญจาแลฉัตรก�ำมะลอ ๘ ฉัตรประดับโกศ มีเครื่องประโคม แตรงอน แตรฝรั่ง จ่าปี่ จ่ากลองชนะเขียว ๑๒ คู่เป็นเกียรติยศ ต่อไปนี้จะได้บอกรายนามบุตร หลาน เหลน โหลนของพระยา ศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ไว้เป็นสายๆ เท่าที่ได้ความตามจดหมายเหตุ บ้าง พ่อรู้เห็นเองบ้าง ถามจากพวกญาติพี่น้องบ้าง ที่สืบสวนไม่ได้ ความเลยก็มีบ้าง  ฉะนั้น ความบกพร่องหรือผิดพลาดก็อาจมีได้บ้าง ในชั้นแรกจะกล่าวถึงพวกบุตรก่อน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.