วิถีแห่งอ�ำนาจ บูเช็กเทียน
วิถีแห่งอ�ำนาจ
บูเช็กเทียน เสถียร จันทิมาธร
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๗
วิถีแห่งอำ�นาจ บูเช็กเทียน • เสถียร จันทิมาธร พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, กันยายน ๒๕๕๗ ราคา ๒๔๐ บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรม เสถียร จันทิมาธร. วิถีแห่งอำ�นาจ บูเช็กเทียน.--กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๓๕๒ หน้า.--(สารคดี). ๑. บูเช็กเทียน I. ชื่อเรื่อง ๙๒๓.๒๕๑ ISBN 978 - 974 - 02 - 1328 - 4
ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี ผู้ช่วยบรรณาธิการ : โมน สวัสดิ์ศรี • พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ กราฟิกเลย์เอาต์ : กรวลัย เจนกิจณรงค์ • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนปาน ศิลปกรรม : อริญชย์ ลิ้มพานิช • ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม นักศึกษาฝึกงานแผนกประชาสัมพันธ์ : ฐิมาภรณ์ โพธิ์ขวัญ หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองการเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน : จากวิถีแห่ง หลี่ซื่อหมิน ถึงวิถีแห่ง บูเช็กเทียน ๑. ไฉนจึงบูเช็กเทียน ๒. เกิดในตระกูลอู่ ๓. มาแต่ตระกูลพ่อค้า ๔. อู่ซื่อเยี่ย พ่อค้าไม้ ๕. โหงวเฮ้ง คนเหนือคน ๖. ไฉเหยิน เม่ยเหนียง ๗. แผนสยบม้าพยศ ๘. โชคมากับม้าพยศ ๙. ไท่ จือ หลี่เฉิงเฉียน ๑๐. หลี่เฉิงเฉียน หลี่ไท่ ๑๑. ว่าด้วยมกุฎราชกุมาร ๑๒. ตัวตนของหลี่ไท่
๑๐ ๑๒ ๑๗ ๒๐ ๒๓ ๒๖ ๓๐ ๓๓ ๓๖ ๔๐ ๔๓ ๔๗ ๕๐ ๕๔
๑๓. รัชทายาท หลี่จื้อ ๑๔. มุมมองต่อไท่จือ ๑๕. สร้างเสริมฐานหลี่จื้อ ๑๖. ถังไท่จงสอนลูก ๑๗. หญิงงาม เม่ยเหนียง ๑๘. ดาวไท่ไป๋จินซิง ๑๙. หยาดพิรุณเสน่หา ๒๐. ถี่ลอดตาถังไท่จง บทแทรก : รักเร้นลับ ๒๑. บทสรุปสัมพันธภาพ ๒๒. เส้นทางอู่เม่ยเหนียง ๒๓. ศีลธรรมยุคแผ่นดินถัง ๒๔. ไฉเหยิน ปิดฟ้าข้ามทะเล ๒๕. สัญญาของฮ่องเต้ ๒๖. พระเจ้าถังเกาจง ๒๗. ๒ ปี ชีอู่เม่ยเหนียง ๒๘. ทุกข์ของหวางฮองเฮา ๒๙. เจตจ�ำนงร่วม ๓ ฝ่าย ๓๐. ก�ำเนิดเร้นลับ หลี่หง ๓๑. ล้วนสมอารมณ์หมาย ๓๒. ซ่อนดาบในรอยยิ้ม ๓๓. เดินแนวทางมวลชน ๓๔. เม่ยเหนียงสังหารลูก ๓๕. ขุมก�ำลังในราชส�ำนัก ๓๖. หลี่ตายแทนถาว ๓๗. ท่วงที สุขุม เยือกเย็น ๓๘. จางซุนอู๋จี้ ขวาง
๕๗ ๖๑ ๖๔ ๖๘ ๗๑ ๗๔ ๗๗ ๘๐ ๘๓ ๘๖ ๘๙ ๙๒ ๙๖ ๙๙ ๑๐๓ ๑๐๖ ๑๐๙ ๑๑๒ ๑๑๖ ๑๑๙ ๑๒๓ ๑๒๖ ๑๓๐ ๑๓๓ ๑๓๗ ๑๔๐ ๑๔๓
๓๙. ชะตา หวางฮองเฮา ๔๐. ฝังรูป ฝังรอย ๔๑. ต้นไม้ผลิดอก ๔๒. ๒ กระแสในราชส�ำนัก ๔๓. เยือนบ้านจางซุนอู๋จี้ ๔๔. วันที่ ๕ เดือน ๙ ๔๕. ปลดจูซุ่ยเหลียง ๔๖. ฉีมังกร หลี่จี๋ ๔๗. น�้ำเสียงของหลี่จี๋ ๔๘. อ�ำนาจเก่า ใหม่ ๔๙. บูเช็กเทียนฮองเฮา ๕๐. จัดแถวขุนนางใหม่ ๕๑. เส้นทางหวางฮองเฮา ๕๒. บูเช็กเทียนโหด ๕๓. แย้งประวัติศาสตร์ ๕๔. อ�ำนาจอู่ฮองเฮา ๕๕. จังหวะอู่ฮองเฮา ๕๖. การสร้างทีมงาน ๕๗. หันเยี่ยนออกโรง ๕๘. ก�ำจัดจางซุนอู๋จี้ ๕๙. บทบาทสี่จิ้งจง ๖๐. แผนลึกอู่ฮองเฮา ๖๑. ปลดจางซุนอู๋จี้ ๖๒. อ�ำนาจต�ำหนักกลาง ๖๓. กระบวนการวางแผน ๖๔. สองพระบรมราช ๖๕. อ�ำนาจเปลี่ยนมือ
๑๔๖ ๑๔๙ ๑๕๒ ๑๕๕ ๑๕๘ ๑๖๑ ๑๖๕ ๑๖๘ ๑๗๒ ๑๗๕ ๑๗๘ ๑๘๑ ๑๘๔ ๑๘๗ ๑๙๐ ๑๙๓ ๑๙๖ ๒๐๐ ๒๐๔ ๒๐๗ ๒๑๐ ๒๑๓ ๒๑๖ ๒๒๐ ๒๒๓ ๒๒๖ ๒๒๙
๖๖. ถังเกาจงหงุดหงิด ๖๗. แผนปลดอู่ฮองเฮา ๖๘. กรณีท่านหญิงฮั่น ๖๙. เว่ยกว๋อฟูเหริน ๗๐. พิธีบวงสรวงฟ้าดิน ๗๑. ความนัย ณ ไท่ซาน ๗๒. ธรรมาจารย์ เว่ยหล่าง ๗๓. พุทธ กับ อู่ฮองเฮา ๗๔. ฮองเฮา เทียนโห่ว ๗๕. ซิเตงซัน ซิกัง ๗๖. บัญญัติ ๑๒ ประการ ๗๗. เปิดตัวตี๋เหรินเจี๋ย ๗๘. อ�ำนาจอู่ไทเฮา ๗๙. การต่อต้านอู่ฮองไทเฮา ๘๐. ค�ำประกาศการต่อสู้ ๘๑. ปัญหาหลี่จิ้งเย่ ๘๒. ๕๐ วัน ก็ราบคาบ ๘๓. มหาสโมสรสันนิบาต ๘๔. หีบทองแดงแห่งความลับ ๘๕. พระแม่เจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ ๘๖. อ๋องตระกูลหลี่กบฏ ๘๗. เซิ่งเสิน บูเช็กเทียน ๘๘. กระบวนท่าตี๋เหรินเจี๋ย ๘๙. รากฐานตี๋เหรินเจี๋ย ๙๐. ช�ำระแค้น ไหลจวิ้นเฉิน ๙๑. รักในราชส�ำนัก ๙๒. สนมของฮ่องเต้
๒๓๒ ๒๓๖ ๒๓๙ ๒๔๒ ๒๔๖ ๒๔๙ ๒๕๒ ๒๕๕ ๒๕๘ ๒๖๑ ๒๖๕ ๒๖๙ ๒๗๓ ๒๗๗ ๒๘๐ ๒๘๔ ๒๘๗ ๒๙๐ ๒๙๓ ๒๙๖ ๒๙๙ ๓๐๓ ๓๐๗ ๓๑๑ ๓๑๔ ๓๑๘ ๓๒๒
๙๓. ปกป้องตี๋เหรินเจี๋ย ๙๔. ๒ พี่น้องสกุลจาง ๙๕. รัฐประหารบูเช็กเทียน ๙๖. ประเมินบูเช็กเทียน ๙๗. จีนใหม่มองบูเช็กเทียน ๙๘. ศึกษาเป็น ใช้เป็น ๙๙. บริหารจัดการเสน่ห์ ๑๐๐. มั่นคง เฉียบขาด แน่วแน่
๓๒๕ ๓๒๘ ๓๓๒ ๓๓๕ ๓๓๘ ๓๔๑ ๓๔๕ ๓๔๘
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
ตราบถึงปัจจุบัน ฮ่องเต้หรือบรรพกษัตริย์ในสมัยโบราณ จักต้องถือคติการสืบทอดราชบัลลังก์ตามราชประเพณี ไม่วา่ อ�ำนาจดังกล่าว จะได้มาด้วยความชอบธรรมหรือการแย่งชิง บุคคลที่ได้เป็นผู้น�ำก็มักเป็น ชายชาตรี เว้นแต่จักรพรรดินีคนแรกและคนเดียวในประวัติศาสตร์แดนมังกร นั่นก็คือ “พระนางบูเช็กเทียน” ไม่ว่าผู้เขียนประวัติศาสตร์ในยุคหลังจะบิดเบือน ปกปิด หรือป้อง ปรามมิให้ความเป็นมาของพระนางบูเช็กเทียนได้รบั การเปิดเผยสักแค่ไหน สุดท้ายเมื่อสังคมสมัยใหม่ได้ครอบคลุมทั่วถึงกัน เสี้ยวประวัติศาสตร์ที่ ผู้หญิงเป็นใหญ่จึงได้รับการวิเคราะห์วิจารณ์อีกครั้ง เนือ่ งจากพระนางบูเช็กเทียนนัน้ คือบุคคลทีเ่ ติบโตมาในยุคราชวงศ์ ถัง อันเป็นหนึ่งในยุคสมัยที่ชายเป็นใหญ่เฉกเช่นในราชวงศ์ต่างๆ ของจีน ทั้งที่บูเช็กเทียนเป็นเพียงลูกสาวพ่อค้า หากแต่เมื่อมีวาสนาเพราะร่างรูป สวยงามจึงได้รบั การคัดเลือกให้เป็นพระสนมของพระเจ้าถังไท่จง เก็บซ่อน ความสามารถอันร้ายกาจของเธอไปพร้อมกับแอบลักลอบได้เสียกับรัช ทายาท 10 เสถียร จันทิมาธร
แม้หลังจากพระเจ้าถังไท่จงเสด็จสวรรคต เธอจ�ำต้องบวชเป็นชี ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณ เพียงไม่นานเธอก็ได้มีโอกาสกลับเข้ามา รับใช้ถังเกาจงซึ่งเป็นฮ่องเต้องค์ใหม่ พร้อมทั้งก�ำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการ เมืองอย่างเลือดเย็น โดยอาศัยความอ่อนด้อยของฮ่องเต้ที่หมกมุ่นใน กามารมณ์และไม่สนใจบ้านเมืองเป็นช่องทางท�ำให้ผู้หญิงธรรมดาสามัญ คนนี้ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์มังกรได้ส�ำเร็จ หนังสือ “วิ ถี แ ห่ ง อ� ำ นาจ บู เ ช็ ก เที ย น” จากการเรียบเรียงของ “เสถียร จันทิมาธร” จึงเปรียบประดุจเข็มทิศที่ชี้ให้เห็นวิถีทางการขึ้นสู ่ อ�ำนาจทางการเมืองของหญิงธรรมดาสามัญคนหนึ่งซึ่งมิใช่เรื่องชิงรักหัก สวาทเพียงเท่านั้น แต่เธอได้ทุ่มเทกลยุทธ์ในหมากเกมการต่อสู้ทางการ เมืองไว้อย่างเป็นระบบ ยิ่งเฉพาะฝ่ายตรงข้ามซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษนิยม ขุนนางเก่า กอดเกาะอ�ำนาจมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าถังไท่จงด้วยแล้ว หญิง สามัญผู้นี้มีวิธีการอย่างไรในการผลักดันขุนนางเหล่านั้นให้ต้องประสบ พบภัย แต่ขณะเดียวกัน ท่ามกลางภาพลักษณ์ที่ดูเลวร้ายของพระนาง กลับปรากฏความเป็นธรรมในการบริหารราชการแผ่นดิน จนกลายเป็น หนึ่งในยุคสมัยหนึ่งของจีนที่ประชาชนมีความสุขสมบูรณ์ แม้แต่ “ตี๋เหริน เจี๋ย” ก็เป็นหนึ่งในขุนนางตงฉินที่จงรักภักดีกับพระนาง หนังสือเล่มนี้จึงมิใช่แค่รวมบทความธรรมดา หากแต่เป็นจุดหมาย เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และศึกษาอ�ำนาจของผู้หญิงคนหนึ่งในอดีต อย่างน้อยก็เพื่อน�ำมาเทียบเคียงกับการเมืองไทย สอดคล้องกับการตั้ง ค�ำถามถึงวาทกรรม “ชาย-หญิงเท่าเทียมกัน” ในสังคมปัจจุบันอีกด้วย
ส�ำนักพิมพ์มติชน วิถีแห่งอ�ำนาจ บูเช็กเทียน 11
จากวิถีแห่ง หลี่ซื่อหมิน ถึงวิถีแห่ง บูเช็กเทียน
หลังจาก “วิถีแห่งอ�ำนาจ หลี่ซื่อหมิน” ก็ลงมือเขียน “วิถี แห่งอ�ำนาจ บูเช็กเทียน” อย่างมีความสุข สุข ๑ เพราะสะสมความรับรู้มาจากหลี่ซื่อหมิน ในห้วงที่เขียนเรื่องราวของหลี่ซื่อหมินได้ผ่านความรับรู้อันเกี่ยวกับ ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คนในตระกูลหลี่ เห็นภาพของชาวฮั่นในห้วงแห่ง “กลียุค” ขณะเดียวกัน สุข ๑ เพราะเรื่องราวอันเกี่ยวกับบูเช็กเทียนนั้นเย้า ยวนใจอย่างเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะผ่านสื่อของภาพยนตร์ ไม่ว่าจะผ่านสื่อ ของหนังสือ เย้ายวนใจเพราะเป็นเรื่องของ “คนหญิง” เย้ายวนใจเพราะว่าคนหญิงรายนี้ไม่ธรรมดา ไม่เพียงแต่ไต่ระดับ จากสนมระดับไฉเหยินขึ้นไปถึงฮองเฮา หากแต่ยังเป็นฮ่องเต้ ไม่ธรรมดายิ่ง เพราะ “ฮ่องเต้” มันเป็นคนชาย แต่นี่บูเช็กเทียนเป็นคนหญิง 12 เสถียร จันทิมาธร
ขณะเดียวกัน สุข ๑ เพราะเรื่องราวของบูเช็กเทียนด�ำเนินไปใน ท่ามกลางความขัดแย้งถกเถียงกันอย่างแหลมคม ตั้งแต่อดีตตราบกระทั่ง ปัจจุบัน สีสันจึงเพริศแพร้วพรรณราย หากประเมินผ่านรูปของการน�ำเสนอในแบบ “นวนิยาย” เอาเฉพาะ ที่เรียกว่าร่วมสมัยก็มีให้อ่านเป็นจ�ำนวนมาก ทัง้ “จักรพรรดินโี หด” อัน กิตมิ า อมรทัต แปลจากงานของ ลินยูถ่ งั ยิ่งที่เป็นของจีนก็มีตั้งแต่ยุค “คณะไทยหนุ่ม” สมัยรัชกาลที่ ๖ กระทั่งสมัยรัชกาลที่ ๙ อัน น. นพรัตน์ และ เรืองชัย รักศรีอักษร แปล จากต้นฉบับภาษาจีน เป็นไปตามมุมมองของแต่ละคน ความโน้มเอียงที่เห็นได้จาก “นวนิยาย” มักไม่ค่อยจะยกย่องบูเช็ก เทียนในความเป็นฮ่องเต้ หากเน้นเป็นพิเศษในเรื่องของความเป็นคนหญิง ในด้านของสารคดีเชิงชีวประวัติก็เช่นเดียวกัน มีเพียง บุญศักดิ ์ แสงระวี กับ “เล่าชวนหัว” เท่านัน้ ทีส่ ะท้อนให้เห็น ถึงความพยายามในการแก้ต่างให้กับอู่เม่ยเหนียง เห็นหรือไม่ว่า “ก�ำแพง” อันขวางกั้นบูเช็กเทียนด�ำรงอยู่อย่างแน่น หนา บูเช็กเทียนต้องประสบกับการเตะสกัดขาตั้งแต่ยุคของตนที่ความ เชื่อในแนวทางของขงจื๊อมีความแข็งแกร่งเป็นสดมภ์หลักในสังคมจีน ประสานกับระบอบอันเรียกเป็นศัพท์แสงว่า “ปิตาธิปไตย” คือชายเป็นใหญ่ ที่น่าจะเป็น “บวก” จึงกลายเป็น “ลบ” กระนั้น หากตัดความเป็น “คนหญิง” ของบูเช็กเทียนออกไป และ มองเห็นความเป็นนักบริหาร นักการเมือง ก็น่าจะต้องยอมรับ ยอมรับในความเก่ง วิถีแห่งอ�ำนาจ บูเช็กเทียน 13
ยิ่งพืน้ ฐานของเธอคือความเป็น “คนหญิง” ความเป็นคนเก่ง ความ เป็นคนมีความสามารถ จึงย่อมจะไม่ธรรมดา ต้องมีมากอย่างเป็นพิเศษ ตรงนีจ้ งึ กลายเป็นสภาวะแห่งความเย้ายวนอย่างเป็นทบเท่าทวีคณ ู ท�ำให้การท�ำงานเกี่ยวกับบูเช็กเทียนด�ำเนินไปอย่างมีความสุข เป็นความสุขในเชิง “อคติ” เป็นอคติอย่างที่เรียกว่า “ฉันทาคติ” นิยมชมชอบแม้ไม่ถึงกับหลง ไหลแต่ก็โน้มเอียงที่จะแก้ต่างให้ด้วยความเต็มอกเต็มใจ และเห็นการตัดสินใจของเธอเป็นธรรมชาติ ๑ แห่งความเป็นนัก การเมือง เป็นการตัดสินใจแบบนักการเมือง เป็นการตัดสินใจแบบนักบริหาร ที่ต้องการ “ประสิทธิผล” มากกว่าอารมณ์ความรู้สึก โดยเฉพาะอารมณ์ ความรู้สึกอย่างที่จะประเมินว่ามาจากความเป็นคนหญิง และเห็นว่าทุกอย่างล้วนเป็นผลภายในกระบวนการต่อสู้ทางการ เมือง การน�ำเสนอภาพของบูเช็กเทียนเช่นนีม้ ไิ ด้เป็นเรือ่ งใหม่ ตรงกันข้าม ยุคหลังมีความเอนไปในแนวนี้มากยิ่งขึ้นเป็นล�ำดับ โดยเฉพาะในสังคมจีน “ใหม่” ที่น่าสนใจก็คือ ประวัติศาสตร์ด�ำรงอยู่ในลักษณะแห่ง “อดีต” ไม่ สามารถแก้ไขอะไรได้อกี แล้ว ขณะทีก่ ารประเมินผลเป็นเรือ่ งของ “ปัจจุบนั ” ปัจจุบันจึงมีส่วนในการก�ำหนดอดีต เสถียร จันทิมาธร สิงหาคม ๒๕๕๗
14 เสถียร จันทิมาธร
วิถีแห่งอ�ำนาจ
บูเช็กเทียน
๑
ไฉนจึงบูเช็กเทียน
ในฐานะ “จักรพรรดิน”ี องค์แรกและหนึง่ เดียวของจีน นาม ของบูเช็กเทียนก็เป็นความน่าสนใจอย่างยิ่งยวดอยู่แล้ว ประเด็นยังอยู่ ที่ว่า ๑ เหตุปัจจัยอันใดท�ำให้หญิงคนนี้สามารถไต่เต้าจากสนมระดับ ไฉเหยินไปสู่ระดับจาวหยีและด�ำรงต�ำแหน่งเป็นฮองเฮาได้ ๑ เหตุปัจจัยอันใดท�ำให้ฮองเฮาผู้นี้สามารถทะยานไปสู่สมัญญา แห่งเอ้อเซิง่ อันตรงกับภาษาไทยว่า ๒ ธีรราช หรือผูว้ เิ ศษคู ่ อันเป็นเหมือน กระดานหกอย่างมีนัยส�ำคัญท�ำให้เธอทะยานไปอยู่ในสถานะแห่ง “บูเช็กเทียนฮ่องเต้” เปลี่ยนจากราชวงศ์ถัง เป็นราชวงศ์โจว การครองอ�ำนาจของบูเช็กเทียนจึงเป็นการครองอ�ำนาจในท่ามกลาง ความขัดแย้งอันแหลมคมยิ่ง ทั้งในทางความคิด ทั้งในทางการเมือง โดยเฉพาะในสังคมที่ชายเป็นใหญ่ โดยเฉพาะในสังคมจีนที่อยู่ใต้ อิทธิพลของขงจื๊อ การประเมินบทบาทและความหมายของบูเช็กเทียนในทางประวัติ วิถีแห่งอ�ำนาจ บูเช็กเทียน 17
ศาสตร์จึงต้องแหวกผ่านข้อมูลอันมากด้วยความสับสน มากด้วยความ ขัดแย้ง มีทั้งฝ่ายที่ประณามหยามหมิ่น มีทั้งฝ่ายที่ตื่นตะลึง หนังสือ แลหลังแดนมังกร เล่ม ๕ ส�ำนวนแปล ถาวร สิกขโกศล สรุป ในตอนเปิดประเด็นว่า บู เ ช็ ก เที ย นเป็ น ผู ้ ห ญิ ง คนเดี ย วในประวั ติ ศ าสตร์ จี น ที่ ตั้ ง ตั ว เป็ น ฮ่องเต้และเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ได้ส�ำเร็จ เป็นนักการเมืองหญิงที่ปรีชาสามารถที่สุดของจีน ขณะทีเ่ มือ่ เรียบเรียงหนังสือ รัฐศาสตร์ถงั ไท่จง ขึน้ เมือ่ พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ลงความเห็นว่าการช่วงชิงราชสมบัติเพื่อขึ้นเป็น พระเจ้าแผ่นดินของอิสตรีนั้นขัดกับหลักความคิดและความเชื่อของจีน อย่างรุนแรง ดังนั้น มีชาวจีนที่อยู่ในยุคเดียวกันหรือนักประวัติศาสตร์รุ่นหลัง น้อยคนนักที่จะชื่นชมหรือจะวิจารณ์ด้วยความยุติธรรม จึงท�ำให้มีหลักฐานไม่เพียงพอส�ำหรับการค้นหาความจริงอันเกิด ขึ้นในประวัติศาสตร์ยุคนั้น ตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือป้ายศิลาไร้อักษรของ พระนางบูเช็กเทียนซึ่งตั้งอยู่ที่สุสานของถังเกาจงและบูเช็กเทียน ที่แปลกตาก็คือบนป้ายหินสูง ๗ เมตรกว่าป้ายนี้ ไม่มีตัวอักษรแม้ แต่ตัวเดียว ก่อความสับสนให้กับคนรุ่นหลังอย่างมากเกี่ยวกับเหตุผลที่วาง ป้ายหินไร้อักษรไว้หน้าสุสาน การคาดเดาและค�ำเล่าลือจึงมีหลายอย่าง บางคนลือกันว่าความเชื่อมั่นในความสามารถส่วนพระองค์ท�ำให้พระนาง ทรงเห็นว่าไม่มีค�ำพูดใดสามารถพรรณนาความส�ำเร็จซึ่งสร้างให้กับชาติ บ้านเมืองจึงปล่อยแท่งหินให้ว่างเปล่า แต่คนที่มีความเห็นตรงกันข้ามให้เหตุผลว่า ในที่สุดพระนางก็ตระ หนักถึงความผิดอันทรงก่อขึ้นจึงตัดสินพระทัยไม่เขียนอะไรบนป้ายศิลา เพราะอับอาย 18 เสถียร จันทิมาธร
นี่คือความขัดแย้งแม้กระทั่งบนป้ายศิลาหน้าสุสาน แต่จากมุมมองของบุญศักดิ์ แสงระวี ซึ่งเรียบเรียง ฮ่องเต้หญิงบูเช็ก เทียน หนึ่งเดียวในประวัติศาสตร์จีน ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ ค�ำน�ำอัน ปรากฏในการตีพิมพ์เป็นเล่มเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๔๙ กล่าวในตอน หนึ่งว่า บูเช็กเทียนอยู่ในสมัยศักดินาที่ยึดถือขนบประเพณีอย่างเข้มงวด กวดขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอ�ำนาจของผู้ชายต้องอยู่เหนือผู้หญิง ขงจื๊อแม้จะเป็นนักคิดที่น่ายกย่องแต่ต่อผู้หญิงแล้วก็มีอคติอย่าง รุนแรง เช่น ผู้หญิงต้องประกอบด้วย ๓ เชื่อฟัง ๔ คุณธรรม คือยังไม่ออก เรือนต้องเชื่อฟังบิดา ออกเรือนแล้วต้องเชื่อฟังสามี สามีสิ้นชีวิตแล้วต้อง เชื่อฟังบุตรชาย ต้องมีศีลธรรม พูดจาเรียบร้อย กิริยามารยาทดี การฝีมือดี บูเช็กเทียนต่อต้านความไม่เป็นธรรมต่อผู้หญิงอย่างสุดชีวิต ต่อ ต้านอิทธิพลไม่เป็นธรรมของอ�ำนาจผู้ชาย ต่อต้านกับกรอบประเพณีที่จะ ให้ผู้หญิงอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน และต่อต้านขนบประเพณีต่างๆ อื่นๆ อีกมากที่มุ่งแต่จะบีบคั้นกดหัวผู้หญิงทุกอย่าง นี่ย่อมขัดกับความเชื่อของสังคมจีนในขณะนั้น และนี่ย่อมขัดกับ ความเชื่อของสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ การศึกษาเส้นทางแห่งอ�ำนาจอันบูเช็กเทียนได้มา จึงเท่ากับเป็นการ ศึกษากระบวนการเติบใหญ่ในทางความคิด ในทางการเมืองของผู้หญิง คนหนึ่งที่มีหัวใจกบฏ ๑ ต้องการความเสมอภาค โอกาสอันเท่าเทียมกัน ๑ ต้องการอ�ำนาจ ต้องการความยิ่งใหญ่ ต้องการแสดงออกถึง ความสามารถในฐานะที่ตนเป็นหญิง นี่คือลักษณะอัน “ทวนกระแส” ของบูเช็กเทียน วิถีแห่งอ�ำนาจ บูเช็กเทียน 19