พลิกประวัติศาสตร์เส้นทางสายไหม

Page 1


The Silk Road A New History พลิกประวติ ั ศาสตร์ เส้นทางสายไหม

พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

1


The Silk Road: a New History, 1st edition was originally published in English in 2012 by Oxford Publishing Limited Thai language translation rights belong to Matichon Publishing House Arrange with Oxford Publishing Limited Great Clarendon Street Oxford OX2 6DP through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd.


SILK ROAD THE

A New History พลิกประวติ ั ศาสตร์ เส้นทางสายไหม วาเลอรี แฮนเซน เขียน นงนุช สิงหเดชะ แปล

กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2557


พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม • นงนุช สิงหเดชะ แปล

จากเรื่อง The Silk Road : A New History ของ Valerie Hansen Copyright © 2012 by Valerie Hansen Thai Language Copyright © 2014 by Matichon Publishing House. All rights reserved including the right of reproduction in whole or in part in any form. พิมพ์ครั้งแรก : ส�ำนักพิมพ์มติชน, มิถุนายน 2557 ราคา  240  บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม แฮนเซ็น, วาเลอรี. พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557. 392 หน้า. 1. จีน-ประวัติศาสตร์ 2. จีน-ความเป็นอยุ่และประเพณี I. นงนุช สิงหเดชะ, ผู้แปล II. ชื่อเรื่อง 915.1 ISBN 978 - 974 - 02 - 1297 - 3

ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ ค​ คะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี ผู้ช่วยบรรณาธิการ : เฉลิมพล แพทยกุล • พิสูจน์อักษร : ชัยรัตน์ เลิศรัตนาพร กราฟิกเลย์เอาต์ : อัสรี เสณีวรวงศ์ • ออกแบบปก-ศิลปกรรม : อริญชย์ ลิ้มพานิช นักศึกษาฝึกงาน : น.ส.ขวัญฤทัย อังสนั่น, นายน�ำชัย ศรีชินราช, น.ส.วิภาพร รุ่งเรืองรักษา • ประชาสัมพันธ์ : กานต์สินี พิพิธพัทธอาภา หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่  บริษัทงานดี  จ�ำกัด โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012

www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองพิมพ์สี บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่ 5 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี 11110 โทรศัพท์ 0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co.,Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้แปล บทน�ำ

1 ที่ทางแยกของเอเชียกลาง อาณาจักรโครไรนา 2 ประตูสู่ภาษาของเส้นทางสายไหม คูชาและถ�้ำแห่งคีซีล 3 กลางทางระหว่างจีนกับอิหร่าน ตูร์ฟาน 4 บ้านเกิดชาวซ็อกเดีย นักค้าขายบนเส้นทางสายไหม ซามาร์คันด์และซ็อกเดียนา 5 ปลายทางหลากเชื้อชาติ วัฒนธรรมเส้นทางสายไหม ฉางอันในประวัติศาสตร์ ซีอานในปัจจุบัน 6 ไทม์แคปซูลประวัติศาสตร์เส้นทางสายไหม ถ�้ำตุนหวง 7 ทางเข้าสู่ซินเจียงส�ำหรับศาสนาพุทธและอิสลาม โคตัน

สรุป ประวัติศาสตร์เส้นทางบกผ่านเอเชียกลาง

6 8 13 47 95 138 182 224 263 312 366


คํานําสํานักพิมพ์

เส้นทางสายไหม เป็นเส้นทางส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ รู้จักกันดีทั่วโลก ในฐานะเส้นทางการค้าที่เชื่อมตะวันตกกับตะวันออกเข้า ด้วยกัน เป็นเส้นทางการค้าแห่งความมั่งคั่ง มีกองคาราวานพ่อค้าสัญจร ตลอดเวลา  กระนั้น เรากับมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเส้นทางสายไหม น้อยมาก นอกจากรู้ว่ามันเป็นเส้นทางเกี่ยวกับการค้าอันเลื่องชื่อ เป็นเส้น ทางที่เชื่อมระหว่างตะวันตกกับตะวันออกเข้าด้วยกัน งานวิจยั ชิน้ นีเ้ ป็นหนึง่ ในงานทีท่ า้ ทายความเชือ่ ทีย่ ดึ ถือกันมาตลอด ว่าเส้นทางสายไหมไม่เคยเป็นเส้นทางแห่งการค้า ไม่ได้เป็น “เส้นทาง” ตลอดทัง้ สายเสียด้วยซ�้ำ  วาเลอรี แฮนเซน เสนอข้อโต้แย้งในทิศทางตรง กันข้ามว่า มันเป็นเส้นทางแห่งชีวิตและวัฒนธรรม สิ่งที่ถูกไหลเวียนผ่าน เส้นทางนี้ไม่ใช่สินค้า แต่เป็นวัฒนธรรม ความเชื่อ เทคโนโลยี และภาษา ผู้ล�ำเลียงพวกมันก็ไม่ใช่พ่อค้าที่ถ่อแสวงก�ำไรข้ามอารยธรรม แต่เป็นนัก บวช ผู้ลี้ภัย กองทัพ และคณะทูตจากรัฐโดยรอบเส้นทางสายไหม ที่ส�ำคัญที่สุดคือ นอกจากจะท้าทายความเชื่อเดิมด้วยการประกอบ สร้างเรื่องราวในอดีตจากมุมมองใหม่  แต่ยังน�ำเสนอภาพประวัติศาสตร์ 6

นงนุช สิงหเดชะ แปล


ที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็น นั่นคือภาพวิถีชีวิตของผู้คนที่เคยอาศัยอยู่ตามเส้น ทางสายนี้ในอดีต ผ่านการน�ำเอาหลักฐานลายลักษณ์อักษรชนิดต่างๆ มาร้อยเรียงกัน โดยเฉพาะที่เหลือรอดมาในรูปของเศษกระดาษใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นบันทึกส่วนตัว จดหมาย หรือบัญชีการค้า-บัญชีสิ่งของของ ชาวบ้านทั่วไป ไม่ใช่บันทึกที่เขียนโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือชนชั้นสูงมองลงมา นี่เป็นหลักฐานชั้นต้นที่แง้มให้เห็นชีวิตจริงๆ ในยุคนั้น ไม่ผ่านการปรุงแต่ง ใดๆ ทั้งสิ้น งานชิ้นนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นเสมือนไทม์แมชชีน ปะติดปะต่อเรื่องราว ต่างๆ เข้าด้วยกัน น�ำเอาชีวิต-ความเป็นอยู่ที่เลือนหายไปในอดีตมาเล่า ใหม่ เผยประวัตศิ าสตร์เชิงลึกของเส้นทางแห่งอารยธรรมโลก ความยิง่ ใหญ่ ของบ่อหลอมวัฒนธรรมอันหลากหลายที่ถูกส่งต่อมาจนถึงทุกวันนี้ กระนั้น งานแปลชิ้นนี้มีอุปสรรคทางด้านภาษาเป็นอย่างมาก เนื่อง จากเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารและอารยธรรมโบราณ หลายๆ ภาษา ที่ปรากฏในหนังสือสาบสูญไปแล้ว มีแต่เพียงการถอดรูปตามอักษรคร่าวๆ เมื่อแปลเป็นงานวิชาการในต้นฉบับภาษาอังกฤษ การออกเสียงบางส่วน ของภาษาจีนและภาษาโบราณจึงเพี้ยนไป ยิ่งค�ำบางค�ำที่ปรากฏในต้น ฉบับก็ยังไม่สามารถสรุปได้ในปัจจุบันว่าหมายถึงอะไรหรือออกเสียงเช่น ไรกันแน่ การแปลงานชิน้ นีจ้ งึ ถือว่าเป็นความท้าทายยิง่ ในการเอาชนะก�ำแพง ทางภาษา และก้าวข้ามข้อจ�ำกัดทางวิชาการอันคับแคบของเราเพื่อขยาย ปริมณฑลทางความรู้ให้แก่สังคมไทย ทางส�ำนักพิมพ์และผู้แปลได้พยายามตรวจสอบข้อมูลเต็มที่ แต่ หากมีข้อผิดพลาดใดๆ ส�ำนักพิมพ์มติชนก็ขออภัย ณ ที่นี้ ส�ำนักพิมพ์มติชน

พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

7


คํานําผู้แปล

เรื่องราวของ “เส้นทางสายไหม” หรือ Silk Road มีผู้เขียน ออกมาแล้วมากมายหลายเล่ม แต่ส่วนใหญ่มักให้ภาพว่ามันเป็นถนนแห่ง การค้าขายเป็นหลัก และเชื่อว่าเป็นถนนที่เป็นกิจลักษณะทอดตรงยาว มี คนสัญจรมาก มีปริมาณการค้าหนาแน่น อย่างไรก็ตามส�ำหรับเล่มที่ผู้อ่านถืออยู่นี้ ซึ่งเป็นผลงานเขียนของ วาเลอรี แฮนเซน อาจารย์ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญด้านจีน ได้เสนอมุมมองใหม่ของเส้นทางที่ได้ชื่อว่าเป็นจุด ก�ำเนิดอารยธรรมส�ำคัญของโลก ซึ่งบางทีอาจจะลบล้างความเชื่อบาง อย่างเกี่ยวกับเส้นทางที่ว่านี้ จุดทีท่ ำ� ให้หนังสือเล่มนีแ้ ตกต่างจากหนังสือเส้นทางสายไหมเล่มอืน่ ก็คือเป็นการเขียนขึ้นจากข้อมูลที่มีความเป็นธรรมชาติซึ่งถูกนักโบราณคดี ค้นพบโดยบังเอิญเมื่อ 200 ปีที่ผ่านมา เอกสารที่ว่านี้มีทั้งใบเสร็จรับเงิน ตั๋วจ�ำน�ำ สัญญาการค้า หรือบางทีก็เป็นข้อมูลที่กู้ได้จากหลุมฝังศพ อาจกล่าวได้ว่าเอกสารที่ใช้ในการเขียนหนังสือเล่มนี้เป็นเอกสาร จากถังขยะ ส่วนใหญ่แล้วเขียนโดยชาวบ้านธรรมดา ไม่ได้เขียนขึ้นจาก 8

นงนุช สิงหเดชะ แปล


คนรวยที่มีการศึกษาและทรงอิทธิพลเท่านั้น มันจึงไม่ใช่ประวัติศาสตร์ที่ ถูกเขียนขึ้นอย่างเป็นทางการหรือจงใจ ถือได้ว่าเป็นข้อมูลทรงคุณค่า เพราะมันมีความเป็นธรรมชาติ ไม่มีใครไปตัดต่อ-แก้ไขหรือแต่งเติม อ่านแล้วจะท�ำให้เราได้มุมมองใหม่ว่า แท้จริงแล้วเส้นทางสายไหม ไม่ใช่เส้นทางเพื่อการพาณิชย์มากนัก แต่มีความส�ำคัญในฐานะเส้นเลือด แดงทางวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของโลก เป็นที่ซึ่งตะวันออกและตะวันตก ท�ำการแลกเปลี่ยนศาสนา ศิลปะ ภาษาและเทคโนโลยีระหว่างกัน ขณะเดียวกันคู่ค้าหลักของจีนบนเส้นทางนี้ในยุคโบราณ ไม่ใช่โรม อย่างทีเ่ ข้าใจกัน  หากแต่เป็นซามาร์คนั ด์  (ปัจจุบนั คือประเทศอุซเบกิสถาน) และประชาชนที่อาศัยอยู่แต่เดิม ไม่ได้เรียกมันว่าเส้นทางสายไหม หาก แต่เรียกว่าถนนสู่ซามาร์คันด์ ด้วยเหตุนี้ ชื่อของภาษาอังกฤษของหนังสือเล่มนี้จึงเป็น The Silk Road : A New History (พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม) ถ้าอยาก ทราบว่าท�ำไมมันจึงเป็น “ประวัติศาสตร์ใหม่” ก็ต้องค้นหาค�ำตอบข้างใน นงนุช สิงหเดชะ

พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

9



SILK ROAD THE

A New History พลิกประวติ ั ศาสตร์ เส้นทางสายไหม วาเลอรี แฮนเซน เขียน นงนุช สิงหเดชะ แปล


ประวัติศาสตร์ที่กู้ได้จากกระดาษรีไซเคิล รอยเข็มและรูปร่างของเอกสารฉบับนี้บ่งชี้ว่า มันเคยเป็นส่วนหนึ่งของเสื้อผ้าส�ำหรับพิธีศพ อาจเป็นเสือ้ ทีฝ่ งั ในสุสานทีต่ รู ฟ์ าน  ข้อความบน กระดาษบันทึกค�ำให้การของพ่อค้าชาวอิหร่าน ต่อศาลจีน เอกสารส่วนนี้เริ่มที่มุมขวาบนด้วย ชื่อของพ่อค้าคือเฉาลู่ซาน และอายุของเขาคือ 30 ปี - ภาพจากพิพิธภัณฑ์ซินเจียง


บทนำ�

เอกสารบนหน้าตรงข้ามนี้เป็นตัวอย่างอธิบายให้เห็นถึง เนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้  มันเป็นบันทึกค�ำให้การในศาลของพ่อค้า ชาวอิหร่านที่อาศัยอยู่ในจีนช่วงประมาณ 670 ปีก่อนคริสตกาล พ่อค้า อิหร่านได้ร้องขอต่อศาลให้ช่วยน�ำผ้าไหม  275 พับ ซึ่งเป็นของพี่ชายที่ ตายไปกลับคืนมา  เขาให้การว่า หลังจากให้หุ้นส่วนชาวจีนยืมผ้าไหม ดังกล่าวแล้ว พี่ชายของเขาก็หายตัวไปกลางทะเลทรายระหว่างเดินทาง ไปค้าขายพร้อมกับอูฐ 2 ตัว วัว 4 ตัว และลา 1 ตัว  โดยสันนิษฐานว่า พีช่ ายของเขาเสียชีวติ แล้ว  ศาลมีคำ� พิพากษาว่าในฐานะทีเ่ ขาเป็นทายาท ที่ยังมีชีวิตของพี่ชาย  ดังนั้น เขาจึงมีสิทธิในผ้าไหม แต่ก็ไม่มีความชัดเจน ว่าค�ำพิพากษาดังกล่าวถูกน�ำมาบังคับใช้หรือไม่ เหตุการณ์นี้เผยให้เห็นข้อมูลมากมายเกี่ยวกับการค้าขายบนเส้น ทางสายไหม (Silk Road) ปริมาณการค้าที่แท้จริงบนถนนสายนี้น้อยมาก จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าใช้สัตว์เพียง 7 ตัวในการขนสินค้าของพ่อค้าชาว อิหร่าน โดยมีอูฐ 2 ตัว แต่สัตว์อีก 5 ตัว ซึ่งได้แก่ วัว 4 ตัว และลา 1 ตัว ทั้งหมดล้วนเป็นสัตว์ที่ส�ำคัญต่อการขนของ การมีอยู่ของพ่อค้าอิหร่าน พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

13


เป็นที่สังเกตได้ชัดเจน เพราะคู่ค้าหลักของจีนไม่ใช่โรมแต่เป็นซามาร์คันด์ (Samarkand) ซึ่งอยู่บนขอบตะวันออกของโลกอิหร่าน  ยิ่งกว่านั้น คดี ความเกิดขึ้นเมื่อพ่อค้าตามเส้นทางสายไหมก�ำลังรุ่งเรืองเนื่องจากมีกอง ก�ำลังทหารจีนขนาดมหึมาอยู่แถวนั้น คดีในศาลดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่าง ศตวรรษที่   7 อั น เป็ น ช่ ว งที่ ก ารใช้ จ ่ า ยของราชอาณาจั ก รจี น สร้ า งแรง กระตุ้นทรงพลังแก่เศรษฐกิจท้องถิ่น สิ่งที่เผยให้เห็นมากที่สุดจากเหตุการณ์นี้ก็คือเราได้รู้เกี่ยวกับคดี ความดังกล่าว เพราะมันถูกเขียนไว้ในเอกสารราชการที่ถูกทิ้งแล้วต่อมา ถูกน�ำไปขายเป็นเศษกระดาษ และท้ายที่สุดช่างศิลป์น�ำไปใช้เป็นผ้า กระดาษส�ำหรับห่อศพ  และประมาณ 1,300 ปีตอ่ มา นักโบราณคดีของจีน ได้เปิดหลุมศพใกล้กับตูร์ฟาน (หรือถูหลู่ฟาน-ผู้แปล) และน�ำชิ้นส่วนจาก ส่วนต่างๆ ของผ้ากระดาษมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน จึงท�ำให้ทราบค�ำ ให้การในศาลของฝ่ายต่างๆ ในคดีผ้าไหมดังกล่าว ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา นักโบราณคดีได้น�ำชิ้นส่วนต่างๆ นับพันชิน้ ของเอกสารดังกล่าวมาประกอบเข้าด้วยกันใหม่  ท�ำให้พบสัญญา ข้อพิพาทต่างๆ ใบเสร็จรับเงิน รายการสินค้าที่ขนส่ง ใบสั่งยา สัญญาค้า ทาสเด็กผู้หญิงในราคา 120 เหรียญเงินในตลาดค้าทาสที่ชวนให้สะเทือน อารมณ์เมื่อกว่า 1,000 ปีก่อน ข้อเขียนต่างๆ ปรากฏอยู่ในหลายภาษา ทั้งภาษาจีนโบราณ สันสกฤต และอีกหลายภาษาที่เลิกใช้แล้ว เอกสารหลายชิ้นเหลือรอดมาเพราะกระดาษดังกล่าวมีคุณค่าสูง จึงไม่ถูกโยนทิ้งไป ช่างฝีมือยังใช้กระดาษรีไซเคิลนี้ท�ำรองเท้ากระดาษ รูปปั้น และสิ่งของจากกระดาษอื่นๆ ใส่ในหลุมฝังศพเพื่อให้คนตายน�ำ ไปใช้ในชีวิตหน้า เหตุเพราะกระดาษเอกสารนี้ถูกน�ำไปรีไซเคิลใช้เป็นสิ่ง ของในพิธีศพ  การคาดเดาข้อความในเอกสารจึงต้องใช้วิธีน�ำชิ้นส่วน กระดาษมาปะติดกัน  ตัวอย่างเช่น บันทึกค�ำให้การของพ่อค้าชาวอิหร่าน นั้น กระดาษถูกตัดและเย็บเข้าด้วยกันเพื่อใช้เป็นผ้ากระดาษให้คนตาย สวม ท�ำให้ส่วนหนึ่งของบันทึกค�ำให้การถูกทิ้งไว้บนพื้นห้องตัดกระดาษ 14

นงนุช สิงหเดชะ แปล


นักประวัติศาสตร์ที่เชี่ยวชาญใช้รูปร่างของเศษกระดาษ และเบาะแสจาก รูเข็มในการประกอบเอกสารขึ้นมาใหม่ เอกสารเหล่านี้ท�ำให้การระบุตัวแปรหลักเป็นไปได้  เช่น สินค้า โภคภัณฑ์ที่ค้าขายกัน ขนาดโดยประมาณของกองคาราวาน ผลกระทบ ของการค้าที่มีต่อท้องถิ่นที่สินค้าเหล่านี้ล�ำเลียงผ่าน  เอกสารเหล่านี้ยัง ขยายความและชี้ชัดให้เห็นถึงผลกระทบส�ำคัญของเส้นทางสายไหม โดย เฉพาะความเชื่อทางศาสนาและเทคโนโลยีที่บรรดาผู้ลี้ภัยน�ำมาด้วย ขณะ ที่พวกเขาแสวงหาที่ตั้งถิ่นฐานในหลายๆ แห่งซึ่งสงบสุขกว่าบ้านเกิดที่ ถูกท�ำลายด้วยสงคราม ชุมชนต่างๆ ตามเส้นทางสายไหมส่วนใหญ่แล้วเป็นชุมชนเกษตร กรรมมากกว่าชุมชนพาณิชย์  ซึ่งหมายความว่าประชาชนส่วนใหญ่ท�ำงาน ในไร่นาและไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการค้า ประชาชนเหล่านี้อาศัยและตายใกล้ กับสถานทีท่ พี่ วกเขาเกิด  การค้าทีเ่ กิดขึน้ ส่วนใหญ่เป็นการค้าระดับท้องถิน่ และบ่อยครั้งเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ามากกว่าจะใช้เงินซื้อ-ขาย แต่ละ ชุมชนมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงตอนนี้  ต่อเมื่อเกิดสงคราม และความไม่สงบทางการเมืองบังคับให้ประชาชนละทิ้งบ้านเกิดดั้งเดิม เท่านั้น ที่ท�ำให้ชุมชนต่างๆ ตามเส้นทางสายไหมกลายเป็นแหล่งรองรับ ผู้ลี้ภัยจ�ำนวนมาก ผู้ลี้ภัยเหล่านี้น�ำความเชื่อทางศาสนาและภาษาติดตัวมายังบ้าน ใหม่ของพวกเขาด้วย  ศาสนาพุทธซึง่ มีตน้ ก�ำเนิดในอินเดียและได้รบั ความ นิยมอย่างแท้จริงในจีนเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลที่สุด  แต่ศาสนามาณีกี (Manichaeism) โซโรอัสเตอร์  (Zoroastrianism) และศาสนาคริสต์ตะวัน ออกซึง่ มีฐานอยูใ่ นซีเรียก็ได้รบั ความนิยมตามมา ประชาชนทีอ่ าศัยอยูต่ าม เส้นทางสายไหมมีบทบาทส�ำคัญในการถ่ายทอด แปล และประยุกต์ระบบ ความเชื่อ เมื่อถูกส่งต่อจากอารยธรรมหนึ่งไปยังอีกอารยธรรมหนึ่งก่อนที่ ศาสนาอิสลามจะเข้าสู่ดินแดนแห่งนี้  สมาชิกชุมชนต่างๆ เหล่านี้พิสูจน์ ให้เห็นว่าพวกเขายอมรับความเชื่อของกันและกันได้อย่างน่าประหลาดใจ พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

15




ผู้ปกครองชุมชนแต่ละคนอาจเลือกศาสนาใดศาสนาหนึ่งให้ส�ำคัญกว่า และกระตุ้นส่งเสริมให้คนนับถือตามอย่างแข็งขัน  แต่ถึงกระนั้นพวกเขา ก็อนุญาตให้ประชาชนประกอบกิจทางศาสนาของพวกเขาเองต่อไป ท่ามกลางคนชนชาติจำ� นวนมากมายทีม่ บี ทบาทส�ำคัญต่อวัฒนธรรม บนตามเส้นทางสายไหม ก็คือชาวซ็อกเดีย พวกเขาอาศัยอยู่ในและรอบ เมืองซามาร์คันด์อันยิ่งใหญ่  ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอุซเบกิสถาน การค้า ระหว่างจีนและซ็อกเดียรุ่งเรืองสูงสุดระหว่างปี  ค.ศ. 500-800  ชื่อพ่อค้า ส่วนใหญ่ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารที่ขุดได้มาจากซามาร์คันด์  หรือไม่ก็สืบ เชื้อสายมาอีกที  พวกเขาพูดภาษาอิหร่านที่เรียกว่าซ็อกเดีย และจ�ำนวน มากนั บ ถื อ ค� ำ สอนศาสนาโซโรอั ส เตอร์ ข องปราชญ์ อิ ห ร่ า นโบราณชื่ อ ซาราธุสตรา (ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล  ในภาษากรีกเรียกว่า โซโรอัสเตอร์) ซึ่งสอนว่าการพูดความจริงเป็นคุณธรรมสูงสุด เป็นเพราะ สภาพทีเ่ อือ้ ต่อการอนุรกั ษ์เป็นพิเศษในซินเจียง ข้อมูลเกีย่ วกับชาวซ็อกเดีย และความเชื่อของพวกจึงเหลือรอดอยู่ในจีนมากกว่าในบ้านเกิดของพวก เขา หนังสือเส้นทางสายไหมเล่มนี้ไม่เหมือนหนังสือเส้นทางสายไหม ส่วนใหญ่ทมี่ กั จะเน้นเรือ่ งศิลปะ  แต่เล่มนีอ้ า้ งอิงเอกสารเป็นหลัก เอกสาร ที่อธิบายว่าสิ่งต่างๆ เป็นอย่างไร ณ สถานที่ที่มันอยู่  ใครน�ำพวกมันไป ที่นั่น และท�ำไมประวัติศาสตร์เส้นทางสายไหมจึงน่าพิศวงงงงวย เต็มไป ด้วยผู้คน ภาษา และวัฒนธรรมที่สวนทางกันมากมาย เอกสารตามเส้นทางสายไหมจากปี  ค.ศ. 200-1000 (ซึ่งเป็นจุด เน้นหลักของหนังสือเล่มนี)้  ทัง้ หมดทีค่ น้ พบไม่ได้อยูใ่ นรูปของเศษกระดาษ รีไซเคิลเสมอไป บางส่วนถูกบันทึกไว้บนไม้  ผ้าไหม หนัง และวัสดุอื่นๆ เอกสารเหล่านี้ไม่เพียงกู้ได้จากหลุมฝังศพเท่านั้น  แต่ยังได้จากส�ำนักงาน ไปรษณีย์ที่ถูกทิ้งร้าง วิหาร บ้านเรือน และใต้ทะเลทรายแห้งแล้ง อันเป็น สภาพแวดล้อมสมบูรณ์แบบส�ำหรับการเก็บรักษาเอกสาร  รวมทั้งงาน ศิลปะ ผ้า ต�ำราศาสนาโบราณ อาหารที่แห้งจนแข็งเหมือนกระดูก และ 18

นงนุช สิงหเดชะ แปล


ชิ้นส่วนมนุษย์  (ดูภาพสีแผ่นที่ 1) เอกสารเหล่านี้มีความพิเศษเฉพาะตัว เพราะหลายชิ้นสูญหายไป แต่ถูกค้นพบโดยบังเอิญ และเขียนโดยชาวบ้านจากหลายระดับชั้นของ สั ง คม ไม่ ได้ เ ขี ย นขึ้ น โดยคนรวยที่ มี ก ารศึ ก ษาและทรงอิ ท ธิ พ ลเท่ า นั้ น เอกสารเหล่านี้ไม่ได้เป็นประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นมาอย่างจงใจ ผู้ที่เขียน มันไม่ได้คาดหวังว่าคนรุ่นหลังจะได้อ่าน และแน่นอนว่าไม่ได้คาดหวังว่า เอกสารพวกนี้จะเหลือรอด  เอกสารเหล่านี้ให้โอกาสเหลือบมองไปยังอดีต ที่บ่อยครั้งท�ำให้บุคคล ข้อเท็จจริง และพงศาวดารมีชีวิตชีวาขึ้นมาอย่าง ไม่มีแบบแผน ไม่มีอะไรมีคุณค่ามากไปกว่าข้อมูลที่ได้จากถังขยะ เพราะ ไม่มีใครตัดต่อแก้ไขมัน สิ่งที่เราได้เรียนรู้มากที่สุดจากเอกสารเหล่านี้  หักล้างมุมมองทั่วไป เกี่ยวกับเส้นทางสายไหม ในแง่ที่ว่า “เส้นทาง”  แท้จริงแล้วไม่ใช่  “ถนน หนทาง”  แต่เป็นเส้นทางที่ยืดยาว เปลี่ยนไปมา ไร้เส้นแบ่งที่แน่นอน อีกทั้งกระจายไปทั่วทะเลทรายและภูเขา  ตามข้อเท็จจริงแล้วปริมาณ สินค้าที่ขนส่งผ่านเส้นทางคดเคี้ยวเหล่านี้มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  แต่ทว่า เส้นทางสายไหมได้เปลี่ยนโฉมวัฒนธรรมของทั้งตะวันออกและตะวันตก อย่างแท้จริง ด้วยการใช้หลักฐานที่เป็นเอกสารที่เก็บกู้ได้ในช่วง 200 ปีที่ แล้ว  โดยเฉพาะข้อมูลใหม่ที่น่าตกใจซึ่งขุดค้นพบในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ ผ่านมา หนังสือเล่มนี้พยายามอธิบายว่าเส้นทางขนาดเล็กที่ไม่ใช่ถนน ที่ว่านี้  กลายมาเป็นซูเปอร์ไฮเวย์ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติได้อย่างไร เป็นเส้นทางซึ่งส่งผ่านแนวคิด เทคโนโลยี  และบรรทัดฐานทางศิลปะ ไม่ใช่แค่การค้าขายสินค้าเท่านั้น ค�ำว่า “ผ้าไหม” ชักน�ำให้เข้าใจผิดมากกว่า “เส้นทาง” เสียอีก  เนือ่ ง จากผ้าไหมเป็นเพียงหนึ่งในสินค้าหลายอย่างที่ค้าขายกันบนเส้นทางสาย ไหม สารเคมี  เครื่องเทศ โลหะ อานม้า ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์  แก้ว และ กระดาษยังเป็นสินค้าธรรมดาสามัญที่ค้าขายกัน  รายการสินค้าที่ขนส่ง ผ่านเส้นทางนี้ยังมีแอมโมเนียมคลอไรด์ส�ำหรับหลอมโลหะและรักษา พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

19


เครื่องหนัง และเป็นสินค้าอันดับต้นๆ ที่ค้าขายบนเส้นทางเหล่านี้บางเส้น สินค้าอีกอย่างหนึ่งที่ค้าขายกันทั่วไปก็คือกระดาษ ซึ่งประดิษฐ์ขึ้น ช่วงศตวรรษที ่ 2 ก่อนคริสตกาล และแน่นอนว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทมี่ คี ณ ุ ปู การ ต่อประวัติศาสตร์มนุษยชาติมากกว่าผ้าไหมมากมายนัก  เพราะผ้าไหม ถูกน�ำมาใช้เป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเป็นหลัก  กระดาษเคลื่อนย้ายออก จากจีนผ่านเส้นทางบกเหล่านี้  สายแรกเป็นเส้นทางไปสู่โลกอิสลามใน ศตวรรษที่  8 จากนั้นไปยังยุโรปผ่านประตูเชื่อมโลกอิสลามในซิซิลีและ สเปน  ประชาชนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ก็เพิ่งจะท�ำ กระดาษขึ้นใช้เองในปลายศตวรรษที่  14  ค�ำว่า “เส้นทางสายไหม” ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้  ประชาชน ที่อาศัยอยู่ตามเส้นทางค้าขายต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้เรียกมันว่าเส้นทาง สายไหม  แต่พวกเขาเรียกว่าถนนสู่ซามาร์คันด์  (หรือตามแต่ว่าชื่อของ เมืองใหญ่ถัดไปคือเมืองอะไร) หรือบางครั้งก็แค่เรียกว่าเส้นทาง “เหนือ” หรือ “ใต้” กันรอบๆ ทะเลทรายทาคลามาคัน  ต่อเมื่อในปี  1877 เท่านั้น ที่บารอนแฟร์ดินานด์  ฟอน ริชโทเฟนได้ตั้งชื่อมันว่า “เส้นทางสายไหม” เขาเป็ น นั ก ภู มิศ าสตร์ ช าวเยอรมั น ที่ มี ชื่ อ เสี ย ง  ท� ำ งานในจี น ระหว่ า งปี 1868-1872 เพื่อส�ำรวจแหล่งถ่านหินและท่าเรือ  จากนั้นได้เขียนหนังสือ แผนที่ขึ้นมา 1 ชุดจ�ำนวน 5 เล่มที่ใช้ค�ำว่าเส้นทางสายไหมเป็นครั้งแรก แผนที่ของเขาถูกผลิตซ�้ำในรูปของภาพสีตามที่ปรากฏในภาพสี ที่  2-3 บรรยายถึงเส้นทางระหว่างจีนกับยุโรปในยุคโรมันในฐานะถนน สายใหญ่  ฟอน ริชโทเฟนอ่านแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับจีนจากภาษาที่มีการ แปลแล้ว และเป็นนักภูมิศาสตร์ชาวยุโรปคนแรกที่ใส่ข้อมูลจากประวัติ ศาสตร์ราชวงศ์จีนเข้าไปในแผนที่ของภูมิภาค  เส้นสีส้มแสดงให้เห็นถึง ข้อมูลจากปโตเลมีและมาร์นิอุส นักภูมิศาสตร์ยุคโบราณ เส้นสีน�้ำเงิน แสดงข้อมูลจากประวัติศาสตร์จีนในหลายๆ แง่  เส้นทางสายไหมของ เขาดูคล้ายกับเส้นทางรถไฟเหยียดตรงตัดผ่านยูเรเซีย  และจากข้อเท็จ จริง ฟอน ริชโทเฟนถูกมอบหมายให้ออกแบบเส้นทางรถไฟที่เป็นไปได้ 20

นงนุช สิงหเดชะ แปล


จากเขตอิทธิพลของเยอรมนีในชานตงผ่านเหมืองถ่านหินใกล้ซีอานไปสู่ เยอรมนี ค�ำว่าเส้นทางสายไหมค่อยๆ ได้รับการยอมรับ ในหนังสือของชาว สวีเดนชื่อสเวน เฮดิน เมื่อปี  1936 ซึ่งเขียนเกี่ยวกับการส�ำรวจเอเชีย กลางของเขานั้น ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี  1938 ตั้งชื่อว่าเส้น ทางสายไหม  ในปี  1948 หนังสือพิมพ์ไทมส์ออฟลอนดอนได้รวบรวม เอาค�ำถามดังต่อไปนี้ไว้ในคอลัมน์  “ค�ำถามข้างเตาผิงส�ำหรับครอบครัว : ทดสอบความรู้ทั่วไป”  ค�ำถามนั้นมีว่า ‘เส้นทางสายไหมเริ่มต้นจากไหน’ ค�ำตอบคือจากชายแดนจีนผ่านหลากหลายเส้นทางสู่ยุโรป”  ค�ำว่าเส้น ทางสายไหมแสดงให้เห็นถึงอ�ำนาจที่ยังคงตราตรึงในฐานะเส้นทางที่ถูก ก�ำหนดส�ำหรับการค้าทางบกและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทั่วยูเรเซีย นับจากก่อก�ำเนิดขึ้น เส้นทางสายไหมมักถูกน�ำเสนอในลักษณะ ว่าเป็นถนนที่ค่อนข้างเป็นเส้นตรงและมีคนเดินทางมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ เคยเป็นเช่นนั้น  กว่า 100 ปีของการค้นหาข้อเท็จจริงทางโบราณคดีเผย ให้เห็นว่า ทั่วยูเรเซียนั้นไม่มีเส้นทางที่ปูลาดและมีเส้นขอบถนนที่แน่นอน ไม่มีความใกล้เคียงอะไรกับอัปปิอันเวย์  (Appian Way) ถนนสายแรก อันมีชื่อเสียงของโรมเลย มันเป็นทางเดินเท้าที่มาปะติดปะต่อกัน และ อยู่กระจัดกระจายโดยไม่มีเส้นขอบถนน  เนื่องด้วยมันเป็นเส้นทางที่แทบ จะมองไม่ออก  ดังนั้น นักเดินทางจึงเกือบจะต้องจ้างไกด์น�ำทางอยู่เสมอ ในบางเส้นทาง และมักจะเปลี่ยนเส้นทางบ่อยๆ เมื่อพบอุปสรรค เส้นทางที่วกวนลดเลี้ยวเหล่านี้ครอบคลุมเมืองที่อุดมสมบูรณ์ใน ทะเลทราย (โอเอซิส) อันเป็นเมืองที่หนังสือเล่มนี้ได้ท�ำการส�ำรวจ  เมื่อ บินอยู่เหนือภูมิภาคดังกล่าวในปัจจุบัน  เราก็เพียงแต่ระบุจุดสูงสุดเพื่อ หาแหล่งหลักของล�ำธารที่หล่อเลี้ยงเมืองส�ำคัญๆ ของเส้นทางสายไหม ในยุคโบราณ เป็นเพราะเอกสารส่วนใหญ่ได้จากเมืองเหล่านี้  ดังนั้น หนังสือเล่มนีจ้ งึ จัดท�ำขึน้ โดยอิงอยูก่ บั สถานทีต่ ามทางสายไหมในยุคโบราณ 7 แห่ง โดย 6 แห่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน และอีก 1 แห่งอยู่ พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

21


ทางตะวันออกของซามาร์คันด์  อันก่อให้เกิดเนื้อหาหลายบทในหนังสือ เล่มนี้ เมืองเหล่านี้เป็นนครรัฐกึ่งอิสระตั้งอยู่รอบๆ ทะเลทรายทาคลามา คัน  บรรดาผู้ปกครองไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองด้วยตนเองหรือปกครองใน นามของราชวงศ์จีน ต่างก�ำกับดูแลการค้าอย่างเข้มงวด และมีบทบาท ส�ำคัญในการจัดซื้อสินค้าและบริการ  สิ่งนี้ก่อให้เกิดความย้อนแย้งใน ตัวเอง  ทันทีที่การค้าถูกส่งผ่านภูมิภาครกร้างแห้งแล้งเข้าสู่ชุมชนโอเอซิส ในทะเลทราย มันก็ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดทันที สิ่งนี้จริงเป็นพิเศษเมื่อทหารจีนประจ�ำการอยู่ในเอเชียกลาง โดย แรกเริ่มอยู่ในยุคราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 220) และ ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907)  รัฐบาลกลางใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่เพื่อซื้อ ธัญพืชกับเครื่องแบบให้กับกองทัพและจ่ายค่าจ้างให้กับทหารหลายพัน คน ผ้าไหมจ�ำนวนมากท�ำหน้าที่ส�ำคัญอีกอย่างหนึ่ง  ในช่วงที่ราชวงศ์ถัง ไม่สามารถผลิตเหรียญทองแดงได้เพียงพอส�ำหรับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล กลาง เจ้าหน้าที่รัฐจึงได้รับรองให้สินค้าโภคภัณฑ์  3 อย่างท�ำหน้าที่แทน เงินตราได้  ประกอบด้วยเหรียญทองแดง ธัญพืช และผ้าไหมเนื่องจาก ประสบปัญหาขาดแคลนเหรียญทองแดงอยู่บ่อยๆ และธัญพืชก็เน่าเสีย ง่าย การช�ำระหนี้ส่วนใหญ่จึงช�ำระด้วยผ้าไหมทอเรียบๆ หลายพับ  ดัง แสดงไว้บนภาพสีแผ่นที่  5A เงินอุดหนุนด้านการทหารทางแถบตะวันตกเฉียงเหนือจ�ำนวนมาก จ่ายในรูปของผ้าไหม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลให้ผ้าไหมแพร่กระจายอย่าง กว้างขวางในภูมิภาคตะวันตก  เมื่อทหารมีการจับจ่ายใช้สอยมากที่ตลาด ท้องถิ่น การค้าจึงเบ่งบาน  แต่เมื่อกบฏคุกคามจักรพรรดิ  และมีค�ำสั่งให้ ถอนก�ำลังทหารกลับคืนส่วนกลางของจีน การค้าจึงตกต�่ำลงอย่างชัดเจน แม้ว่าจะมีทหารจีนประจ�ำการอยู่บริเวณนั้น กลับไม่มีบันทึกการ ติดต่อระหว่างจีนกับโรมในช่วงอาณาจักรโรมัน และที่ตรงข้ามกับความ เชื่อทั่วไปก็คือ ชาวโรมันไม่ได้ใช้เหรียญทองจ่ายเป็นค่าผ้าไหมโดยตรง 22

นงนุช สิงหเดชะ แปล


เหรียญทองโรมันเหรียญแรกสุดที่ถูกค้นพบในจีนคือเหรียญโซลิดุสไบแซน ไทน์  รวมทั้งเหรียญลอกเลียนแบบจ�ำนวนมากดังแสดงในภาพแผ่นที่  4A สิ่งเหล่านี้ได้มาจากหลุมฝังศพซึ่งมีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่  6  เป็นเวลา นานหลังจากจักรพรรดิคอนสแตนติน (ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 312-337) ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรไปยังคอนสแตนติโนเปิล ในทางภูมิศาสตร์  เส้นทางสายไหมพาดผ่านภูมิประเทศที่หลาก หลายอย่างน่าประหลาดใจ ส่วนใหญ่แล้วมีความคดเคี้ยว หากนักเดิน ทางเริ่ ม ต้ น ในซี อ านและไปทางตะวั น ตก  จุ ด แรกที่ จ ะต้ อ งเดิ น ข้ า มคื อ เฉลียงกานซู่  ตรงนี้เป็นเส้นทางความยาว 1,000 กิโลเมตร ที่ส่วนใหญ่ พาดจากตะวันออก-ตะวันตกโดยอยู่ระหว่างเทือกเขาชิงไห่ทางด้านใต้ และทะเลทรายโกบีในมองโกเลียทางเหนือ  หลังจากเข้าไปถึงตุนหวงซึ่ง เป็นเมืองโอเอซิสในมณฑลกานซู่ พวกเขาต้องตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ เส้นทางเหนือหรือใต้อ้อมไปรอบๆ ทะเลทรายทาคลามาคัน ซึ่งบรรจบกัน ในคัชการ์  หากทั้งสองเส้นทางผ่านไปไม่ได้  นักเดินทางก็สามารถใช้เส้น ทางกลางที่ตัดตรงเข้าไปในทะเลทรายซึ่งไม่เหมาะจะอยู่อาศัยมากที่สุด แห่งหนึ่งของโลก หลังจากผ่านตุนหวง นักเดินทางจะเข้าสู่ภูมิภาคที่เรียกว่าซินเจียง หรือที่ในยุคราชวงศ์ชิงเรียกว่า “พรมแดนใหม่” เมื่อพิชิตดินแดนนี้ได้ใน ศตวรรษที่  18 ก่อนหน้านั้นชาวจีนเรียกภูมิภาคนี้ว่า “ซีอวี้” หมายถึง “ภูมิ ภาคตะวันตก” อันเป็นอาณาบริเวณที่เป็นส่วนขยายของประเทศอุซเบกิสถานและทาจิกิสถานไปยังตะวันตก และมณฑลกานซู่รวมทั้งส่านซี ของจีนอยู่ทางตะวันออก  ซินเจียงยุคปัจจุบันล้อมรอบเส้นทางสายไหม ส่วนใหญ่ในทางตะวันตกของจีน ที่นี่  นักท่องเที่ยวยุคปัจจุบันจะได้เห็นทัศนียภาพอันน่าตะลึงของ ซินเจียงสมัยใหม่  และจะเข้าใจว่าท�ำไมเส้นทางสายไหมจึงไม่มีเส้นเดียว แต่มหี ลากหลายเส้น คนกลุม่ แรกๆ ทีก่ ล้าหาญเดินข้ามหรือตัดผ่านภูมภิ าค นี้  เรียนรู้ที่จะข้ามทะเลทรายในช่วงหน้าหนาวที่แสงอาทิตย์ไม่ร้อนเกิน พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

23


ไป และรู้สถานที่ข้ามเส้นทางบนภูเขาในช่วงหน้าร้อนเมื่อหิมะเบาบาง เหนืออื่นใดทั้งหมด พวกเขาเรียนรู้ที่จะหลบเลี่ยงไปตามขอบทะเลทราย หยุดพักดื่มน�้ำ  อีกทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับเส้นทางข้างหน้า  ในแต่ละชุมชน โอเอซิส พวกเขาอาจหยุดพักหลายวัน หลายสัปดาห์  หรือนานกว่านั้น เพื่อวางแผนขั้นต่อไป การเดินทางเป็นไปอย่างช้ามาก ในปี  1993 เจ้าหน้าที่อังกฤษและ นักส�ำรวจชื่อชาร์ลส์  แบล็กมอร์  เป็นหัวหน้าน�ำคณะส�ำรวจด้วยเท้าผ่าน ทาคลามาคัน  คนของเขาและอูฐสามารถข้ามทาคลามาคันช่วงระหว่าง โหลวหลานและเมอร์เค็ตทางตะวันตกเฉียงใต้ของคัชการ์  ซึ่งมีระยะทาง 1,400 กิโลเมตรได้ใน 59 วัน เฉลี่ยแล้วเดินทางได้เกิน 21 กิโลเมตรต่อ วัน  การเดินบนเนินทรายในทะเลทรายนั้นต้องใช้พละก�ำลังมาก  และ พวกเขามักจะไม่สามารถเดินได้ถึง 16 กิโลเมตรใน 1 วัน  แต่การเดินบน พื้นผิวที่เป็นก้อนกรวดเรียบ พวกเขาสามารถท�ำระยะทางได้มากถึง 24 กิโลเมตรต่อวัน อัตรานี้ช่วยให้ทราบค่าโดยประมาณที่นักเดินทางหลาย ศตวรรษก่อนหน้าต้องอดทนยืนหยัด เมื่อข้ามทะเลทรายไปได้  นักเดินทางจะเผชิญกับยอดสูงสุดที่แยก ทาคลามาคันออกจากทุกจุดทางตะวันตกและใต้  ตรงนีเ้ องทีเ่ ทือกเขาใหญ่ ที่สุดของโลกปะทะกันในเทศกาลมาดิกราซหิมะและน�้ำแข็ง เป็นจุดรวม เทือกเขา (ปาร์มีน็อต) ที่ซึ่งเทือกเขาหิมาลัย เทียนซาน คาราโครัมคุนลุน และฮินดูกูชมาบรรจบกัน  เมื่อผ่านตรงนี้ไป นักเดินทางต้องมุ่งหน้ า ไป ทางตะวันตกสู่ซามาร์คันด์  หรือลงใต้เพื่อมุ่งหน้าสู่อินเดีย นักเดินทางน้อยคนนักที่จะเดินตัดผ่านพื้นที่เอเชียกลางทั้งหมด ซึ่ง ครอบคลุมระยะทาง 3,600 กิโลเมตรระหว่างซามาร์คันด์และฉางอัน นัก เดินทางเส้นทางสายไหมที่มีชื่อเสียงที่สุด (ถึงแม้จะไม่ได้น่าเชื่อถือที่สุด) ก็คือมาร์โค โปโล (ปี  1254-1324) อ้างว่าเขาได้เดินทางจากยุโรปสู่จีน โดยทางบกและกลับบ้านทางทะเล  นักเดินทางส่วนใหญ่เดินทางในขอบ เขตที่เล็กกว่า (ประมาณ 500 กิโลเมตร) ระหว่างบ้านเกิดของพวกเขา 24

นงนุช สิงหเดชะ แปล


กับชุมชนโอเอซิสที่อยู่ถัดไปและไม่เดินทางไกลกว่านั้น ด้วยเพราะสินค้า ต่างๆ ค้าขายกันในท้องถิ่นและส่งต่อไปหลายมือ การค้าส่วนใหญ่บน เส้นทางสายไหมจึงเป็นการค้าที่ด�ำเนินไปอย่างช้าๆ กองคาราวานที่เดิน ทางไกลพร้อมสัตว์นบั ร้อยแทบจะไม่ถกู กล่าวถึงเลยในบันทึกประวัตศิ าสตร์ และปกติจะถูกกล่าวเฉพาะเมื่อรัฐต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนทูต ทุกวันนี้  ภูมิภาคที่อยู่ระหว่างตุนหวงและซามาร์คันด์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวจ�ำนวนมากที่เดินทางมาดูซากปรักหักพังที่มีชื่อเสียง  รวมทั้งส่วนที่ ในปัจจุบันถูกฝังลึกอยู่ใต้ทะเลทราย อย่างเช่นวัดราวักที่อยู่นอกโคตัน (อาณาจักรพุทธยุคโบราณ) เมืองในตูรฟ์ านทีม่ กี ำ� แพงล้อมรอบ ถ�ำ้ ตุนหวง และคูชา พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจัดแสดงศิลปวัตถุที่พบในหลุมศพอย่างเช่น ภาชนะท�ำด้วยเงินและทอง และสิ่งทอที่ผสมผสานลักษณะเด่นของตะวัน ออกและตะวันตกด้วยการออกแบบที่มีชีวิตชีวาและวิจิตรพิสดาร มีเพียง ไม่กี่แห่งที่สภาพอากาศแห้งแล้งของทะเลทราย ช่วยเก็บรักษาสิ่งของ ปกติธรรมดาทางโลกรวมทั้งสิ่งที่น่าทึ่งอย่างแท้จริงเอาไว้  นั่นคืออาหาร จีนติ่มซ�ำที่ถูกฝังเคียงข้างกับ “นาน” ขนมปังแผ่นกลมเรียบของอินเดีย เหนือเตาอบของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามเส้นทางสายไหมยุคโบราณเมื่อ กว่า 1,000 ปีที่ผ่านมา ก่อนสิ้นศตวรรษที่  19 ไม่มีใครตระหนักเลยว่าทรายของซินเจียง ได้ช่วยเก็บรักษาเอกสารและศิลปวัตถุจ�ำนวนมากของอดีตที่ห่างไกล  ใน ปี 1890 ร้อยโทแฮมิลตัน โบเวอร์จากอังกฤษเดินทางไปคูชา ซึ่งเป็น โอเอซิสกลางทะเลทรายบนเส้นทางด้านเหนือรอบๆ  ทาคลามาคันเพื่อ สืบสวนคดีฆาตกรรม  ขณะอยู่ที่นั่นเขาซื้อเอกสารโบราณเขียนด้วยมือ ซึ่งประกอบด้วยเปลือกต้นเบิร์ช 51 แผ่นพร้อมข้อเขียนบนเปลือกไม้นั้น เขารายงานการค้นพบไปยังราชสมาคมเอเชียติกแห่งเบงกอล ภายในไม่ กี่ปีต่อมา บรรดานักวิชาการก็ระบุได้ว่ามันเป็นต�ำราแพทย์จากคริสต์ ศตวรรษที่  5 ท�ำให้มันเป็นเอกสารภาษาสันสกฤตอันเก่าแก่ที่สุดที่โลก รู้จักด้วยอายุเกือบ 1,000 ปี  เมื่อถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวถึงความส�ำคัญของ พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

25


ซากเกี๊ยวแห้งจากตูร์ฟาน ภูมิอากาศแห้งแล้งที่ตูร์ฟานช่วยเก็บ รักษาสิ่งของที่ย่อยสลายไปตามกาล เวลาหลายอย่างรวมทั้งอาหาร ที่เห็น อยู ่ ใ นภาพเป็ น เกี๊ ย วน�้ ำ 4 ชิ้ น และ เกี๊ยวซ่า 1 ชิ้น มีอายุอยู่ระหว่างคริสต์ ศตวรรษ 600-700 จากการตรวจสอบ รอยแตกของติ่ ม ซ� ำ นั ก โบราณคดี ระบุได้ว่าภายในเป็นกุยช่ายและเนื้อ บางประเภท ซึ่ ง น่ า จะเป็ น เนื้ อ หมู เพราะในตอนนั้นซินเจียงยังไม่เป็น อิสลาม-ภาพจากพิพิธภัณฑ์ซินเจียง

การค้นพบดังกล่าว บรรดานักการทูตยุโรปในเอเชียเริ่มกว้านซื้อเอกสาร โบราณมากมายและส่งไปยังยุโรป ซึ่งนักวิชาการด้านนิรุกติศาสตร์ที่นั่น สามารถแกะข้อความในเอกสารออกมาได้ ในปี   1895  สเวน  เฮดิ น   นั ก ส� ำ รวจชาวสวี เ ดน  เริ่ ม ภารกิ จ ทาง วิทยาศาสตร์ครั้งแรกที่ซินเจียง ซึ่งเป็นแหล่งของเอกสารโบราณเขียน ด้วยมือจ�ำนวนมาก เขาเริ่มต้นส�ำรวจในเดือนเมษายนที่แม่น�้ำยาร์คันด์ เมืองเมอร์เค็ต เข้าสู่ทะเลทรายทาคลามาคันเพื่อค้นหาต้นน�้ำของแม่น�้ำ โคตัน  ผ่านไป 15 วัน เขาพบว่าไม่ได้น�ำน�้ำดื่มส�ำหรับตัวเขาและทีมงาน อีก 4 คนติดตัวมาด้วยมากพอ ถึงอย่างนั้นเขาก็ไม่ได้หันหลังกลับ เพราะ ไม่อยากยอมรับว่าการส�ำรวจของเขาล้มเหลว เมื่อเสบียงหมดลง  เขาเริ่ม ค้นหาน�้ำอย่างเอาเป็นเอาตาย เนื่องจากคนในทีมของเขาและอูฐร่วง ผล็อยทีละราย เฮดินผู้อ่อนล้าบังคับให้ตัวเองคลานไปตามร่องน�้ำแห้ง ผาก เมื่อวันที่  6 ที่เขาอยู่โดยไม่มีน�้ำ  ในที่สุดก็พบล�ำธาร เขาดื่มน�้ำและ กรอกใส่ในรองเท้าบู๊ตกลับไปให้ผู้ชายคนหนึ่งในคณะดื่มเพื่อช่วยชีวิต ขณะทีเ่ ฮดินเดินทางออกจากทะเลทราย เขาพบกองคาราวานพ่อค้า 26

นงนุช สิงหเดชะ แปล


4 คนและสัตว์ขนของชนิดต่างๆ  เขาซื้อม้า 3 ตัว อานม้าส�ำหรับขนของ 3 ชิ้น และอานม้า 1 ชิ้นส�ำหรับขี่  เหล็กขวางปากม้าส�ำหรับดึงบังเหียน ข้าวโพด 1 ถุง แป้งสาลี  1 ถุง ชา เหยือก ชาม และรองเท้าบู๊ต 1 คู่  นี่ เป็นรายการสินค้าที่ได้รับการเปิดเผย แม้แต่ในช่วงต้นศตวรรษที่  20 เช่น เดียวกับยุคก่อนหน้านี้  สินค้าเกือบทั้งหมดที่ค้าขายกันในทาคลามาคัน คือข้าวของจ�ำเป็นที่ผลิตในท้องถิ่น ไม่ได้น�ำเข้าจากต่างแดน หลังออก จากทะเลทราย เฮดินทราบว่าคนเลี้ยงแกะได้ช่วยเหลือทีมงานของเขาคน หนึ่ง แต่อีก 2 คนเสียชีวิต เฮดินผู้ถูกก�ำราบกลับไปยังทาคลามาคันอีกครั้งในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน ครั้งนี้เขาน�ำน�้ำส�ำหรับตัวเองและทีมงานติดตัวมาด้วยอย่าง เพียงพอ เขาเข้าสู่ทะเลทรายจากโคตัน หนึ่งในโอเอซิสทางขอบด้านใต้ ของทะเลทรายทาคลามาคัน  พวกเขาค้นพบซากปรักหักพังของตันตัน อุยลิก ท่ามกลางเสาไม้และเศษเล็กเศษน้อยของก�ำแพงในทะเลทราย มี พระพุทธรูปจ�ำนวนมากวางเรียงรายอยู่  แต่เฮดินไม่ได้ขุดค้น เขาอธิบาย ในภายหลังว่า “ผมไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะท�ำการขุดค้นอย่างละเอียด นอกจากนั้นผมก็ไม่ใช่นักโบราณคดี” หนังสือพิมพ์ยุโรปหลายฉบับลง ข่าวการส�ำรวจทาคลามาคันของเฮดินอย่างใหญ่โต การส�ำรวจทาคลามา คันในสมัยนั้นถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดผิดธรรมดาและอันตรายเทียบ ได้กับการส�ำรวจอวกาศในยุคปัจจุบัน ในบรรดารายงานข่าวหลายชิ้นนั้น มีชิ้นหนึ่งถูกส่งโดยผู้จัดการ เหมืองถ่านหินชาวโปแลนด์เมือ่ ปลายปี  1897 ไปถึงพีช่ ายของเขาชือ่ ออเรล สไตน์  เจ้าหน้าที่การศึกษาในเมืองละฮอร์ของอินเดีย (ปัจจุบันคือปากีสถาน) เมืองอาณานิคมของอังกฤษ สไตน์ซึ่งเป็นชาวฮังการีโดยก�ำเนิด ส�ำเร็จปริญญาเอกภาษาสันสกฤตที่ทูบิงเงนในปี  1883 และศึกษาต่อ ด้านภาษากับบัณฑิต โกวินด์  คอล  นักวิชาการชาวอินเดียผู้คงแก่เรียน ในละฮอร์   สั น สกฤตเป็ น สาขาวิ ช าที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มอย่ า งมากตลอด ศตวรรษที่  19  คนจ�ำนวนมากต้องการศึกษาภาษาอินโด-ยูโรเปียน ซึ่ง พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

27


โบราณกว่าและเชื่อมโยงใกล้ชิดกับภาษาละตินและกรีก ระหว่างที่ศึกษา อยู่ในเยอรมนี  สไตน์ได้เรียนรู้ความส�ำคัญของการได้มาซึ่งเอกสารโบราณ ฉบับแรกสุดและสมบูรณ์แบบที่สุด ทั น ที ที่ ป ระจั ก ษ์ ถึ ง นั ย ยะของการค้ น พบของเฮดิ น ต่ อ การศึ ก ษา เอกสารโบราณ สไตน์เขียนใบสมัครส่งเจ้าหน้าที่โบราณคดีของอังกฤษ เพื่อขอทุนสนับสนุนการเดินทางไปโคตัน  เขาให้เหตุผลว่าการค้นหาข้อ เท็จจริงอย่างเป็นระบบ จะท�ำให้ได้รับข้อมูลมากกว่าการปล้นสะดมอย่าง ทีท่ ำ� กันอยูใ่ นขณะนี ้ เขายังเสนอแนะเป็นนัยๆ ไปยังการแข่งขันระดับนานา ชาติเพื่อให้ได้มาซึ่งของโบราณเก่าแก่  เขารายงานว่าเฮดินก�ำลังจะกลับ ไปยังทาคลามาคัน และรัสเซียก็ก�ำลังพิจารณาที่จะท�ำการส�ำรวจด้วยเช่น กัน รัฐบาลอินเดียจึงให้เงินทุนสนับสนุนตามที่เขาขอ เขาเป็ น คนแรกที่ ร ะบุ ส ถานที่ ตั้ ง และจั ด ท� ำ แผนที่ ข องสถานที่ หลายแห่ ง ที่ มี ก ารเอ่ ย ถึ ง   ที่ นี่   ออเรล  สไตน์ พ บสิ่ ง ของและเอกสาร ส�ำคัญที่น่าทึ่งจ�ำนวนมาก สไตน์ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมส�ำรวจซินเจียง 4 คณะ ระหว่างปี  1900-1931 ได้เขียนรายงานอย่างเป็นทางการที่มีเนื้อหาครอบ คลุมกว้างขวาง รวมทั้งเขียนบรรยายแบบไม่เป็นทางการ การขุดค้นของ เขาถือว่ายังไม่สมบูรณ์เมื่อวัดด้วยมาตรฐานปัจจุบัน  เขาจ้างคนงานขุด และจ่ายเงินพิเศษให้ส�ำหรับการค้นพบสิ่งใดๆ ก็ตาม แนวปฏิบัติที่ใช้กัน อย่างกว้างขวางที่บางครั้งส่งผลให้เกิดการขุดค้นอย่างเร่งรีบมากเกินไป แต่ก็มีนักขุดเพียงน้อยคนที่พบเอกสารในซินเจียง (ได้แก่ ปอล เปลลิโยต์ จากฝรั่งเศส อัลแบร์ต ฟอน เล ค็อกจากเยอรมนี  และโอตานิ  โคซูอิจาก ญี่ปุ่น) แล้วจัดท�ำรายงานโบราณคดีได้ละเอียดเท่ากับที่สไตน์ท�ำ  ไม่มีใคร สักคนเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ มากเท่าสไตน์  หรือตีพิมพ์เกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของที่ค้นพบมากในระดับใกล้เคียงกับเขา ค�ำบรรยายของสไตน์มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อการประกอบ สร้างสภาพดั้งเดิมของแต่ละสถานที่ขึ้นมาใหม่  ค�ำอธิบายของเขาเรื่อง สภาวะแวดล้อมซึ่งน�ำไปสู่การฝังเอกสารก็มีความส�ำคัญเช่นกัน นักวิชา 28

นงนุช สิงหเดชะ แปล


การคนต่อๆ มาได้อาศัยข้อมูลของสไตน์เป็นจุดเริ่มต้น  แม้แต่ตอนที่ พวกเขาได้ปรับค�ำอธิบายของสไตน์ให้เป็นปัจจุบันแล้ว ข้อมูลของสไตน์ และของคนอื่นๆ ที่ได้จากปลายศตวรรษที่  19 และต้นศตวรรษที่  20 มี ความละเอียด เพราะผู้เขียนส่วนใหญ่ได้เดินทางไปตามเส้นทางเดียวกัน โดยใช้วิธีเดินทางแบบเดียวกับนักเดินทางในยุคแรก  รายงานของพวก เขาช่วยเติมรายละเอียดมากมายที่แต่ก่อนถูกนักเดินทางในอดีตละเว้น ไว้ไม่กล่าวถึง ท�ำให้เป็นไปได้ที่จะรื้อฟื้นประสบการณ์การเดินทางไปตาม เส้นทางการค้ายุคโบราณให้มีชีวิตขึ้นมาใหม่ นักส�ำรวจเหล่านี้และอีกหลายคนที่ท�ำอย่างเดียวกันในเวลาต่อ มา เปิดเผยให้เห็นถึงสิ่งที่ถูกซ่อนไว้ใต้ผืนทราย  อย่างแรก พวกเขาค้น พบหลักฐานทางโบราณคดี  ที่แสดงให้เห็นว่าการค้าทางบกระยะไกลเริ่ม ต้นเมื่อนานมาแล้ว ประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในซินเจียงส่งสินค้า ไปยังจีนตอนกลางตัง้ แต่  1,200 ปีกอ่ นคริสตกาล  ในเวลานัน้ กษัตริยห์ ลาย องค์แห่งราชวงศ์ชาง (1766-1045 ปีก่อนคริสตกาล) ปกครองที่ราบลุ่ม แม่น�้ำเหลืองตอนล่าง และเขียนหนังสือด้วยอักษรจีนยุคแรกๆ หลุมฝัง พระศพที่หรูหราของพระมเหสีกษัตริย์องค์หนึ่งที่มีพระนามว่าฝูห่าว บรรจุ อุปกรณ์เครื่องใช้ท�ำด้วยหยกกว่า 1,000 ชิ้น บางชิ้นแกะสลักจากหยก ที่มีลักษณะพิเศษสีเขียวน�้ำนมจากโคตัน เปลือกหอยจ�ำนวนมากที่พบ ในเอเชียกลาง โดยเฉพาะที่อู๋เป่าใกล้กับฮามิในมณฑลกานซู่จากช่วงเวลา เดียวกัน เป็นพยานยืนยันถึงการค้าตามชายฝั่งของภูมิภาคนี้  ไม่ว่าจะ เป็นซีกตะวันออกในจีน หรือทางใต้ของอินเดีย หรือทางตะวันตกตามชาย ฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน ประการที่สอง พวกเขาเผยให้เห็นว่ามีชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ เคย อาศัยอยู่บริเวณนั้น ตัวอย่างเช่น ตามสถานที่ต่างๆ ในซินเจียงและกานซู่ ตัง้ แต่  1,800 ปีกอ่ นคริสตกาลไปจนถึงศตวรรษต้นๆ ก่อนคริสตกาล สภาพ อากาศแห้งแล้งของทะเลทรายช่วยรักษาสภาพศพที่แห้งกรังประมาณ 500 ศพ ศพผู้ชายส่วนใหญ่มีความสูงเกิน 1.8 เมตร สูงกว่าผู้ชายจีนใน พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

29


ยุคสมัยเดียวกันมาก และศพเหล่านี้มักจะไม่มีลักษณะของชาวจีน  บาง ครั้งเรียกว่าชาวคอเคซอยด์  คือมีผมสีอ่อนและผิวสีซีด ลักษณะภายนอก ของพวกเขาท�ำให้นักวิชาการเสนอว่า ผู้คนจ�ำนวนมากที่เดินทางไปตาม โอเอซิสและตั้งถิ่นฐานที่โอเอซิสรอบๆ ทะเลทรายทาคลามาคัน สืบเชื้อ สายมาจากผู้ที่พูดภาษาอินโด-ยูโรเปียน บรรดานักภาษาศาสตร์เชื่อว่า คนเหล่านี้อพยพไปยังอินเดียและอิหร่านในยุคโบราณ อาจเป็นไปได้ว่า อพยพไปจากบ้านเกิดดั้งเดิมของพวกเขา ซึ่งน่าจะเป็นที่ราบปอนติกอัน กว้างใหญ่ไร้ต้นไม้ทางเหนือของทะเลด�ำ  ในช่วง 2,000-1,000 ปีก่อน คริสตกาล บางศพสวมเสื้อผ้าท�ำจากขนสัตว์ตาหมากรุกคล้ายกับศพที่ พบในไอร์แลนด์สหัสวรรษที่  2 ก่อนคริสตกาล หลักฐานเพิ่มเติมที่แสดง ให้เห็นถึงรากเหง้าของอินโด-ยูโรเปียน นักวิชาการบางคนเสนอว่าพวกเขา พูดโตคาเรียน อันเป็นหนึ่งในภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่จะกล่าวในบทที่  2 อย่างไรก็ตาม หลุมฝังศพเหล่านี้ไม่มีตัวอักษรเขียนเอาไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้น เราจึงไม่อาจทราบได้ว่าคนเหล่านี้แท้จริงพูดภาษาอะไร มีการค้นพบหลายอย่างเกี่ยวกับการค้ากับคนทางเหนือที่ปาซีรีค ในไซบีเรียด้วย ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่  5 ก่อนคริสตกาล ชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ฝังกระจกทองแดงจีนและผ้าไหมในหลุมศพของพวก เขา  เศษผ้าไหมชิ้นหนึ่งปักรูปนกอมตะฟีนิกซ์  ที่ดูเหมือนจะเป็นลักษณะ เด่นทางศิลปะของชาวจีน (หรือลอกเลียนมาจากบางสิ่งที่เป็นของจีนดั้ง เดิม) เพราะมีความเชื่อมโยงในบางแง่กับวัฒนธรรมจีนอย่างเด่นชัด สิ่ง ทออีกชิ้นหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน (ได้มาจากศตวรรษที่  5 ก่อนคริสตกาลเช่น กัน และพบที่ตูร์ฟาน) มีรูปนกฟีนิกซ์สวยงามปักบนผ้าไหมพื้นสีเหลืองซีด จาง  การค้นพบเหล่านี้บ่งชี้ว่าการค้าทางบกเกิดขึ้นในช่วงหลายศตวรรษ ก่อนคริสตกาลแน่นอน  แต่ไม่มีเอกสารใดเผยให้ทราบว่าใครขนส่งสินค้า เหล่านี้และท�ำไม การค้าบนเส้นทางสายไหมที่มีการเขียนบรรยายไว้ชิ้นแรกเกี่ยว ข้องกับจางเชียน (ยุคราชวงศ์จีน 113 ปีก่อนคริสตกาล) ทูตจีนจากฉาง 30

นงนุช สิงหเดชะ แปล


อันที่เดินทางไปเอเชียกลางในช่วงศตวรรษที่  2 ก่อนคริสตกาล ระหว่าง การปกครองของจักรพรรดิอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น (ฮั่นอู่ตี้  ครองราชย์  140-87 ปีก่อนคริสตกาล) จักรพรรดิหวังว่าจางเชียนจะโน้มน้าวชาวเยว่จื่อ ที่ อาศัยอยู่ในภูมิภาคเฟอร์กานา  ปัจจุบันคือประเทศอุซเบกิสถาน เพื่อให้ เป็นพันธมิตรกับชาวจีนในการต่อสู้กับศัตรูร่วมทางเหนือซึ่งก็คือกลุ่มชน เผ่าซงหนู  ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ที่มองโกเลียในปัจจุบัน  บันทึกแรกสุดเกี่ยวกับ จางเชียนที่เหลือรอดมา เขียนขึ้นอย่างน้อย 150 ปีหลังจากการเดินทาง ของเขา แต่ก็ไม่ได้ให้ข้อเท็จจริงพื้นฐานเกี่ยวกับการเดินทาง  อย่างเช่น ก�ำหนดการเดินทางที่ชัดเจนของเขาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เป็นที่ชัดเจนว่าจางผ่านเข้าไปในดินแดนของซงหนู ระหว่างเดินทางไปเยว่จื่อ ชนเผ่าซงหนูได้น�ำจางไปขังคุก เขาต้องใช้เวลา ประมาณ 10 ปีจึงหนีออกมาได้  กระนั้นเขายังคงเดินทางไปเยือนเยว่จื่อ ตอนขากลับเมื่อช่วงประมาณ 126 ปีก่อนคริสตกาล เขาได้ถวายราย ละเอียดชิ้นแรกที่ชาวจีนได้รับเกี่ยวกับคนกลุ่มต่างๆ ในเอเชียกลางแด่ จักรพรรดิ  ตอนอยูใ่ นตลาดบักเตรีย ปัจจุบนั ก็คอื ทางเหนือของอัฟกานิสถาน จางเชียนเห็นไม้ไผ่และผ้าที่ผลิตในมณฑลเสฉวนของจีนซึ่งอยู่ห่างออก ไปหลายพันไมล์  สินค้าจีนจึงต้องถูกส่งไปทางบกเท่านั้น หลังจากจางเชียนกลับมา ราชวงศ์ฮั่นก็ค่อยๆ ขยายการควบคุม เข้าไปในตะวันตกเฉียงเหนือ เมื่อสิ้นศตวรรษที่  2 ก่อนคริสตกาล ราชวงศ์ ฮั่นสามารถครอบครองเฉลียงกานซู่และตุนหวง  แต่ละครั้งที่กองทัพจีน มีชัยเหนือดินแดนใหม่  ก็จะสร้างหอไฟสัญญาณเตือนภัยไว้เป็นระยะ หากเกิดความวุ่นวายขึ้น ทหารยามที่ประจ�ำอยู่ตรงหอสัญญาณจะจุดคบ ไฟเพื่อแจ้งเตือนทหารยามที่ประจ�ำอยู่หอสัญญาณถัดไปเป็นทอดๆ จน กระทั่งข่าวไปถึงกองทหารรักษาการณ์ชุดแรกที่สามารถจัดส่งก�ำลังทหาร ไปยังสถานทีเ่ กิดเหตุได้  นอกเหนือจากหอไฟสัญญาณเตือนภัยแล้ว ทหาร ฮัน่ ยังจัดตัง้ กองทหารรักษาการณ์ในดินแดนทีเ่ พิง่ พิชติ ใหม่ๆ ด้วย เอกสาร ที่อยู่ในรูปของแผ่นไม้ไผ่บันทึกการจัดซื้อเสื้อผ้าและธัญพืชจากชาวบ้าน พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

31


ของบรรดาทหารถูกค้นพบที่จวีเหยียน (เอจิน่าแบนเนอร์  มองโกเลียชั้นใน อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเขตจินต่า มณฑลกานซู่  90 กิโลเมตร) และชูเล่อ (ใกล้ตุนหวงและจิวชวน มณฑลกานซู่) แหล่งเอกสารจากเส้นทางสายไหมยุคแรกๆ ที่ใหญ่ที่สุด ขุดค้น ได้จากกองทหารรักษาการณ์ดังกล่าวของจีนที่เสวียนเฉวียน ตั้งอยู่ทาง ตะวันออกของตุนหวง 64 กิโลเมตร แหล่งเก็บเอกสารนี้เป็นก�ำแพงดิน สี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านมีขนาด 50 เมตร ล้อมรอบสิ่งปลูกสร้างต่างๆ และในจ�ำนวนนั้นมีคอกม้าอยู่ด้วย บริเวณขอบด้านทิศใต้  เจ้าหน้าที่รัฐที่ เดินทางไปราชการมีสิทธิรับม้าตัวใหม่ที่กองทหารรักษาการณ์  บริเวณ ขอบก�ำแพงด้านเหนือและตะวันตกเป็นที่ทิ้งขยะ หลุมขยะด้านตะวันตก มีความลึก 1.2 เมตร ศิลปวัตถุจ�ำนวน 2,650 ชิ้นที่ได้จากสถานที่แห่งนี้ ประกอบด้วยเหรียญต่างๆ เครื่องมือการเกษตร อาวุธ ชิ้นส่วนเกวียนที่ เป็นเหล็ก และอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น หวี  ตะเกียบ รวมทั้งวัตถุ ดิบส�ำหรับท�ำอาหาร เช่น ธัญพืช กระเทียม วอลนัต อัลมอนด์  และกระดูก สัตว์ มีเอกสารมากกว่า 35,000 ชิน้ จากเสวียนเฉวียนทีถ่ กู ทิง้  ในจ�ำนวน นี้  23,000 ชิ้นจารึกด้วยอักษรจีนบนแผ่นไม้  อีก 12,000 ชิ้นเป็นแผ่นไม้ ไผ่ถูกตัดให้มีขนาดพร้อมใช้ในภายหลัง มีแผ่นไม้ประมาณ 2,000 ชิ้นที่ ระบุวัน/เดือน/ปีว่าอยู่ในช่วงระหว่าง 111-107 ปีก่อนคริสตกาล อันเป็น ปีที่ยังมีกองทหารรักษาการณ์ประจ�ำการอยู่ เหตุที่ต้องเขียนหนังสือไว้บนแผ่นไม้และไม้ไผ่  ก็เพราะตอนนั้น กระดาษเพิ่งแพร่กระจายสู่เอเชียกลาง  กระดาษซึ่งผลิตขึ้นในจีนช่วง ศตวรรษที่  2 ก่อนคริสตกาล ถูกใช้เป็นครั้งแรกในฐานะวัสดุห่อของ ไม่ ใช่ส�ำหรับเขียน ตัวอย่างเช่น บันทึกประวัติศาสตร์ของทางการระบุไว้ว่า ช่วง 12 ปีก่อนคริสตกาล มีฆาตกรใช้กระดาษห่อยาพิษ เศษกระดาษ แรกสุดบางชิน้ ทีพ่ บในเสวียนเฉวียนระบุวนั /เดือน/ปีได้วา่ อยูใ่ นช่วงศตวรรษ แรกก่อนคริสตกาล มีรายชื่อของยาปรากฏอยู่  นี่ยืนยันว่าในช่วงแรกเริ่ม 32

นงนุช สิงหเดชะ แปล


เอกสารก่อนยุคกระดาษ แม้กระดาษแพร่กระจายจากจีนไปยังเส้น ทางสายไหมในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต กาล แต่การเขียนเอกสารบางส่วนก็ยังคง ท�ำบนแผ่นไม้ ในช่วงแรกๆ กระดาษถูก ใช้ห่ อยา จนกระทั่ง คริสต์ศตวรรษที่ 3 กระดาษจึงกลายเป็นวัสดุสำ� หรับการเขียน อย่างสมบูรณ์  แผ่นไม้เหล่านีบ้ นั ทึกค�ำร้อง ขอเบิ ก เกวี ย นเพิ่ ม โดยกองทหารรั ก ษา การณ์ แผ่นไม้เหล่านี้ผูกเข้ากันด้วยเชือก เมื่อจัดเก็บก็จะม้วนเข้าหากัน ตัวหนังสือ อ่านจากบนลงล่างและจากขวาไปซ้าย ดังนั้น การอ่านจึงต้องเริ่มจากมุมขวาบน และอ่านจากไม้แผ่นแรกตามแนวตัง้ จาก นั้นบรรทัดต่อไปก็อ่านแบบเดียวกันนี้จน จบที่มุมล่างซ้าย

กระดาษถูกใช้เป็นวัสดุห่อของ กระดาษไม่ได้ถูกน�ำมาใช้งานอย่างกว้างขวางจนกระทั่งคริสต์ ศตวรรษที่  2 หรืออีก 4 ศตวรรษต่อมา ต้องใช้เวลานานกว่ากระดาษจะ มาแทนที่ไม้และไม้ไผ่  ในฐานะวัสดุส�ำหรับเขียนที่ใช้กันทั่วไปตามเส้น ทางสายไหม เป็นเพราะกระดาษมักมีราคาแพง  ดังนั้น ประชาชนจึงเขียน หนังสือบนวัสดุอื่นเช่นหนังหรือเปลือกไม้  เอกสารที่เสวียนเฉวียนส่วนใหญ่ แล้วประกอบด้วยแผ่นหรือซี่ไม้ผูกเข้าด้วยกันเพื่อท�ำเป็นมัด (คล้ายแผ่น รองจานท�ำจากไม้เสียบแท่งหวานเย็น-ผู้แปล) เอกสารจากเสวียนเฉวียนส่วนใหญ่เป็นจดหมายโต้ตอบรายวัน ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งประจ�ำอยู่ส�ำนักงานไปรษณีย์ที่เสวียนเฉวียน กับ สถานที่อื่นๆ ซึ่งอยู่ใกล้เคียง พระบรมราชโองการใหม่ๆ ของจักรพรรดิ ประกาศเกี่ยวกับนักโทษที่หลบหนี   และจดหมายส่วนตัว  อาลักษณ์ที่ เสวี ย นเฉวี ย นนั้ น แบ่ ง ประเภทแผ่ น ไม้ ช นิ ด ต่ า งๆ พวกเขาสงวนไม้ ส น คุณภาพสูงส�ำหรับเขียนพระราชโองการของจักรพรรดิ  และใช้ไม้ป๊อปลาร์ พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

33


กับทามาริสก์ซึ่งบิดงอง่ายส�ำหรับเขียนเอกสารประจ�ำวันและจดหมาย โต้ตอบ เนื่องจากเสวียนเฉวียนเป็นจุดแวะพักสุดท้ายก่อนถึงตุนหวงของ เส้นทางออกจากจีน ทูตเกือบทุกคนต้องผ่านเสวียนเฉวียนหากเดินทาง เยือนจีนยุคราชวงศ์ฮั่น และต้องผ่านอีกครั้งเมื่อเดินทางกลับ แหล่งข้อมูล ทางภูมิศาสตร์ของจีนจากยุคราชวงศ์ฮั่นบันทึกรายชื่ออาณาจักรในเอเชีย กลาง 50 กว่าแห่ง ถึงแม้ปกติแล้วเอกสารจีนมักอ้างอิงผู้ปกครองเหล่า นี้ในฐานะกษัตริย์  ทว่าแต่ละอาณาจักรมักจะประกอบด้วยโอเอซิสเพียง แห่งเดียว และมีขนาดประชากรเล็กมากเพียงไม่กี่ร้อยคนเท่านั้น อย่าง มากก็ไม่เกินหลายพันคน  โอเอซิสเหล่านี้คล้ายนครรัฐเล็กๆ มากกว่าจะ เป็นอาณาจักร ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก แต่รัฐต่างๆ เหล่านี้ส่งทูตไปเยือนเมืองหลวง ของจีนเพื่อถวายบรรณาการแด่จักรพรรดิ ผู้ที่พวกเขาเห็นว่าเหนือกว่า และก็เพือ่ รับของขวัญจากจักรพรรดิเป็นการตอบแทน  หนึง่ ในของบรรณา การที่มีค่ามากที่สุดก็คือม้าซึ่งเล็มหญ้าอยู่กลางทุ่งหญ้าในเอเชียกลาง เป็นเพราะพวกมันท่องเที่ยวได้อย่างเสรี  พวกมันจึงแข็งแรงกว่าม้าที่ได้ จากการผสมพันธุ์ของม้าจีนซึ่งตัวเล็กกว่าและมีพละก�ำลังน้อยกว่า เนื่อง จากกินอาหารที่ถูกน�ำไปป้อนให้ถึงคอกเช่นหญ้าแห้ง จีนจึงให้ค่าแก่ม้า ชั้นยอดจากหุบเขาเฟอร์กานาเหนือสิ่งอื่นใด ในอุซเบกิสถาน แม้แต่ใน ช่วงแรกๆ นี้อย่างในยุคราชวงศ์ฮั่น ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกความแตกต่าง ระหว่างการค้าของทางราชการ ซึ่งทูตจะซื้อของขวัญ (มักจะเป็นสัตว์ อย่างม้าหรืออูฐ) และได้รับบางอย่างกลับคืนมาส�ำหรับน�ำไปมอบให้ผู้ ปกครองของตน กับการค้าของเอกชน ซึ่งทูตคนเดียวกันอาจเสนอสัตว์ แบบเดียวกันให้กับจีน และเก็บของขวัญที่ได้รับกลับมาไว้กับตัวเอง คณะอัญเชิญเครื่องราชบรรณาการจากอาณาจักรในเอเชียกลางมี ขนาดแตกต่างกันไป  ในบางโอกาสคณะเดินทางมีมากถึงพันคน ตัวอย่าง เช่น กษัตริย์แห่งโคตันเป็นหัวหน้าน�ำคณะเดินทางใหญ่ถึง 1,714 คน 34

นงนุช สิงหเดชะ แปล


คณะผู้แทนที่ถือว่าเป็นแบบฉบับก็คือคณะจากซ็อกเดียนา ช่วง 52 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งจะประกอบด้วยทูต  2 คน คนชั้นสูง 10 คน และผู้ ติดตามไม่ระบุจ�ำนวน ท�ำหน้าที่ควบคุมม้า 9 ตัว ลา 31 ตัว อูฐ 25 ตัว และวัว 1 ตัว คณะผูแ้ ทนเหล่านีเ้ ดินทางบนก�ำหนดการตายตัว และจะถือหนังสือ เดินทางพร้อมรายชื่อของเมืองต่างๆ ตามล�ำดับที่ได้รับอนุญาตให้ไปเยือน ตามกฎหมายในยุคราชวงศ์ฮั่นซึ่งเขียนขึ้นจากบรรทัดฐานก่อนหน้านี้  ใคร ก็ตามที่ผ่านจุดตรวจบนบกหรือทางน�้ำ  จ�ำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางที่ เรียกว่ากั้วสั่ว (ซึ่งมีความหมายว่า “ผ่านเมือง...”) เอกสารทีเ่ สวียนเฉวียนหลายชิน้ ลงชือ่ จุดแวะพักหลายแห่ง ระหว่าง ตุนหวงซึ่งเป็นเมืองแรกภายในอาณาจักรและเมืองหลวงยุคราชวงศ์ฮั่น ไม่ว่าจะเป็นฉางอันในศตวรรษแรกก่อนคริสตกาลหรือลั่วหยางในคริสต์ ศตวรรษที่  1  คณะผู้แทนไม่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกเส้นทางที่ก�ำหนดไว้ แต่ละจุดแวะพัก เจ้าหน้าที่จะนับจ�ำนวนคนของแต่ละคณะรวมทั้งจ�ำนวน สัตว์ที่เดินทางมาด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าคณะเดินทางตรงกับที่แจกแจงไว้ใน หนังสือเดินทาง เจ้าหน้าที่สามารถแก้ไขหนังสือเดินทางเหล่านี้และออก หนังสือเดินทางใหม่ได้  เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบคณะผู้แทนเมื่อพวกเขา ผ่านเสวียนเฉวียนไปจีน และตรวจอีกครั้งเมื่อพวกเขาออกจากเสวียน เฉวียนกลับเอเชียกลาง ซึ่งปกติแล้วก็คือ 6 เดือนให้หลัง พ่อครัวที่เสวียน เฉวียนจะเก็บรายละเอียดค่าใช้จ่ายด้านอาหารของแขกแต่ละคน ไม่ว่า จะเป็นจีนหรือต่างชาติ  พวกเขาจะระบุตัวตนของแขกด้วยต�ำแหน่งและ ทิศทางการเดินทาง (ตะวันออกหรือตะวันตก) แผ่นไม้จากเสวียนเฉวียนมีรายละเอียดมากเป็นพิเศษ หนึง่ ในบันทึก ที่ยาวที่สุดบรรยายเกี่ยวกับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเมื่อ  39 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อผู้แทนทางการทูตชาวซ็อกเดีย 4 คนร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่จีนเพื่อ ประท้วงกรณีที่พวกเขาได้รับเงินค่าอูฐต�่ำเกินไป ทูตซ็อกเดียยืนกรานว่า เจ้าหน้าที่จีนจ่ายในราคาเท่ากับอูฐสีเหลืองผอมบาง ทั้งที่อูฐของพวกเขา พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

35


เป็นอูฐสีขาวอ้วนพีที่มีค่ามากกว่า  ทูตซ็อกเดียไม่เพียงจะมีความรู้สึกที่ ชัดเจนเกี่ยวกับมูลค่าตลาด แต่ยังมีความมั่นใจเพียงพอในระบบที่คาด คะเนได้  จนสามารถประท้วงเมื่อราคาสินค้าไม่สอดคล้องกับความคาด หวังของพวกเขา  ขณะที่ทูตซ็อกเดียถือสาส์นตราตั้งที่เหมาะสม พวกเขา จึงคาดหวังว่าจะได้รับการดูแลเรื่องที่พักและอาหารในแต่ละจุดแวะพัก ตลอดทาง แต่สุดท้ายกลายเป็นว่าพวกเขาต้องจ่ายค่าอาหารแต่ละมื้อเอง เจ้าหน้าที่จีนที่ตุนหวงซึ่งได้ยินข้อพิพาทนี้ช่วง 39 ปีก่อนคริสตกาล สรุป คดีว่าชาวซ็อกเดียได้รับการชดเชยที่เหมาะสมแล้ว  ค�ำอธิบายที่เป็นไปได้ส�ำหรับการปฏิบัติที่รุนแรงต่อทูตก็คือ เจ้า หน้าที่ยุคราชวงศ์ฮั่นไม่พอใจชาวซ็อกเดียอย่างมากที่ไปร่วมกับชนเผ่าซง หนู  ศัตรูที่ยาวนานของพวกเขา จึงตอบโต้โดยจ่ายค่าสินค้าให้ในราคาต�่ำ เอกสารจากเสวียนเฉวียนให้ค�ำนิยามโลกทั้งหมด โลกที่รวมเอา แหล่งโอเอซิสด้านขอบตะวันตกไกลของจีนใกล้กับเมืองคัชการ์ในปัจจุบัน รวมถึงเมืองต่างๆ ที่อยู่เลยไปจากชายแดนจีนยุคปัจจุบัน  ทั้งในอุซเบกิสถาน ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน ผู้ปกครองของโอเอซิสในเอเชีย กลางเหล่านี้ร่วมแลกเปลี่ยนทูตอย่างเป็นระบบกับจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ ฮั่น  และคณะทูตเหล่านี้เดินทางตามเส้นทางสายไหมเป็นประจ�ำ  ระหว่าง เดินทางไปเยือนเมืองหลวงของจีน ในบรรดาทูตต่างชาติหลายคณะทีไ่ ปเข้าเฝ้าฯ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ ฮัน่ เพือ่ ถวายบรรณาการ มีเพียงรายเดียวทีม่ าจากโรม ตามรายงานประวัติ ศาสตร์ของทางการระบุว่า ทูตจากผู้ปกครองต้าฉิน (หมายความว่า “ฉิน มหาราช”) เดินทางมาทางทะเลเมื่อปี  ค.ศ.166 ต้าฉินประทับนั่งบนขอบ ตะวันตกของโลกที่ชาวจีนรู้จัก และแสดงลักษณะนิสัยหลายอย่างของ โลกแห่งอุดมคติ  มีบางกรณีเท่านั้นที่ค�ำนี้หมายถึงโรมเป็นการเฉพาะ ผู้ แทนทูตจากต้าฉินมอบงาช้าง นอแรด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขนานแท้ของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  หลายคนสงสัยว่าทูตคนนี้น่าจะเป็นนักต้มตุ๋น ที่ปลอมตัวเป็นคนอื่นโดยอ้างว่ามาจากแดนไกลที่แทบจะไม่รู้ว่าเป็นที่ 36

นงนุช สิงหเดชะ แปล


ไหนเพื่อจะได้รับอนุญาตให้ค้าขาย  เรื่องการแอบอ้างดังกล่าวนี้น่าสนใจ แต่แทบจะไม่สามารถสรุปหรือพิสูจน์อะไรได้ ตามที่เอกสารเสวียนเฉวียนและวัสดุอื่นๆ เปิดเผยออกมา ราชวงศ์ ฮั่นริเริ่มการค้าเป็นประจ�ำตามเส้นทางรอบๆ ทาคลามาคันด้วยเหตุผล ทางยุทธศาสตร์ล้วนๆ  พวกเขาแสวงหาเส้นทางอื่นๆ ไปยังเอเชียกลาง เพื่อจะได้ไม่ต้องผ่านซงหนูศัตรูขาประจ�ำของพวกเขา  ในบางโอกาสทูต อาจท�ำการค้าส่วนตัว แต่เป็นเพียงงานเสริมจากงานราชการของพวกเขา การเคลื่อนไหวของพวกเขาไม่เคยเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ  แต่มักจะเกิด ขึ้นตามแผนที่วางไว้อย่างระมัดระวังตามก�ำหนดการเดินทางที่บันทึกไว้ ส�ำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการค้าระหว่างจีนและแหล่งโอเอซิสในเอเชีย กลางของพวกเขานั้น เอกสารที่เสวียนเฉวียนไม่ได้เอ่ยถึงสถานที่ใดทาง ตะวันตกของอาณาจักรคูชาน (ตอนเหนือของอัฟกานิสถานและปากีสถาน) และแน่นอนว่าไม่ได้เอ่ยถึงโรม โชคไม่ดีที่ไม่มีเอกสารใดเลยที่มีรายละเอียดเทียบได้กับเอกสาร ของซวนชวนที่ถูกขุดค้นในยุโรป ดังนั้น การวิเคราะห์การค้าของยุโรปจึง ต้องพึ่งพาต�ำราของกรีกและละติน หนึ่งในแหล่งข้อมูลที่มีรายละเอียดสูง ก็คือหนังสือ The Periplus of the Erythraean Sea (การเดินเรือรอบ ทะเลอีริทเธรียน) ซึ่งเขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่  1 เป็นภาษากรีก โดยพ่อ ค้านิรนามผู้อาศัยอยู่ในอียิปต์   หลังจากบรรยายถึงท่าเรือหลายแห่งใน แอฟริกาตะวันออก อาระเบีย และอินเดีย  หนังสือเล่มนี้สรุปด้วยเรื่องราว ของแผ่นดินซึ่งตั้งอยู่เลยไปไกลกว่าโลกที่เรารู้จักดังนี้ : เลยพ้นไปจากภูมิภาคนี้  (เกาะในทะเลทางตะวันออกของ ท่าเรือที่ปากแม่น�้ำคงคา) ซึ่ง ณ ตอนนี้คือจุดเหนือสุด ที่ ซึ่งทะเลสิ้นสุดลงบางแห่งบริเวณขอบด้านนอก มีเมืองชั้น ในที่ยิ่งใหญ่เรียกว่าติน่า อันเป็นสถานที่ที่ใยไหม เส้นด้าย พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

37


ดิบ และผ้าถูกขนส่งทางบก...และผ่านแม่น�้ำคงคา... ไม่ ง่ายนักที่จะไปถึงติน่า เพราะไม่ค่อยมีใครมาจากที่นั่น จะ มีก็เพียงไม่กี่คน”  ค�ำว่า “ติน่า” (Thina) ดูแล้วการสะกดสมเหตุสมผลเมื่อพิจารณา จากข้อเท็จจริงที่ว่า ภาษากรีกไม่มีอักษรส�ำหรับเสียง “ch” และอักษร “theta” (เตต้า) อาจออกเสียงคล้ายกับเสียง “ts” ในภาษากรีกโบราณ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้พยายามอย่างดีที่สุดที่จะบันทึกชื่อที่ไม่คุ้นเคยที่เขา ได้ยินจากอินเดีย ในภาษาสันสกฤตนั้นค�ำว่า “ไชน่า” (China) ออกเสียง “ชี-น่า” (Chee-na) (ตั้งชื่อตามราชวงศ์ฉิน 221-207 ปีก่อนคริสตกาล) ค�ำสันสกฤตเป็นต้นก�ำเนิดของชื่อประเทศ “จีน” (China) ในภาษาอังกฤษ ในหลายศตวรรษถัดมานักภูมิศาสตร์ชาวโรมันอย่างปโตเลมี  (ประมาณ ค.ศ.100-170) มีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับเอเชียกลาง แต่บรรดานักวิชาการ ยังคงต้องดิ้นรนที่จะท�ำให้ค�ำอธิบายของพวกเขาเข้ากันได้กับสภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่แท้จริงของภูมิภาค ผู้เขียนหนังสือ The Periplus เป็นแก่น กลางเพียงหนึ่งเดียวของข้อมูลเกี่ยวกับชาวจีน ซึ่งเขาบรรยายว่า ชาวจีน ผลิตผ้าไหมในรูปของเส้นใยจากดักแด้  ปั่นด้ายจากเส้นใย และทอผ้า จากด้ายนั้น ที่จริงแล้วชาวจีนเป็นชาติแรกในโลกที่ผลิตผ้าไหม อาจเป็นไปได้ ว่ า เริ่ ม มาตั้ ง แต่   4,000  ปี ก ่ อ นคริ ส ตกาล  หากลั ก ษณะเด่ น เป็ น ลวด ลายตัวดักแด้ไหมบนงานแกะสลักงาช้าง  ดังที่เห็นได้จากเหอหมู่ตู้ใน มณฑลเจ้ อ เจี ย งนั บ เป็ น ข้ อ พิ สู จ น์ ถึ ง การผลิ ต ผ้ า ไหม  ตามข้ อ มู ล ของ พิพิธภัณฑ์ผ้าไหมหางโจว  เศษผ้าไหมที่ขุดค้นได้ชิ้นแรกสุดอยู่ในช่วง 3,650 ปีก่อนคริสตกาลจากมณฑลเหอหนานในจีนภาคกลาง  อย่างไร ก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญนอกประเทศจีนยังสงสัยเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เก่าแก่ถึง ขนาดนั้น โดยเชื่อว่าตัวอย่างผ้าไหมชิ้นแรกน่าจะอยู่ในช่วง 2,850-2,650 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งอยู่ในช่วงของวัฒนธรรมเหลียงจู  (3,310-2,250 ปี 38

นงนุช สิงหเดชะ แปล


ก่อนคริสตกาล) ในที่ราบลุ่มแม่น�้ำแยงซีตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่  1 ช่วงที่มีการเขียนหนังสือ The Periplus ขึ้น ชาวโรมันไม่รู้ว่าผ้าไหมผลิตอย่างไร ปลินีผู้อาวุโส (ค.ศ. 23-79) รายงาน ว่าผ้าไหมเดินทางมายังโรมในศตวรรษที่  1  ปลินีเข้าใจผิดเกี่ยวกับการ ผลิตผ้าไหม เขาคิดว่าผ้าไหมท�ำจาก “เส้นสีขาวที่อยู่ติดกับ...ใบไม้” ซึ่ง ชาวเซเรสสางออกมาและท�ำเป็นเส้นด้าย (การบรรยายของเขานั้น ที่ ถูกต้องคือการบรรยายเกี่ยวกับฝ้าย)  อย่างไรก็ตาม ในตอนอื่นเขาเขียน เกี่ยวกับตัวไหม นักแปลยุคใหม่จึงมักแปลเซเรส  (Seres) ว่าหมายถึง ประเทศจีน  แต่ส�ำหรับชาวโรมัน แท้จริงแล้วมันเป็นดินแดนทางขอบด้าน เหนือของโลกที่ไม่มีใครรู้จัก จีนไม่ได้เป็นเพียงรายเดียวที่ผลิตผ้าไหมในยุคของปลินี  ตั้งแต่ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอินเดียโบราณทอผ้าไหมจากใยของผีเสื้อ ราตรีป่า ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับตัวไหมที่จีนน�ำมาเพาะเลี้ยงในชุมชน ในทางตรงกันข้าม ชาวอินเดียเก็บรวบรวมรังไหมที่แตกออกหลังจากตัว ไหมเติบโตไปเป็นผีเสื้อ ออกจากรังไหม และบินหนีไป  ท�ำนองเดียวกัน ในสมัยโบราณ ชาวกรีกบนเกาะคอสทางตะวันออกของทะเลอีเจียน ผลิต ไหมโกน (Coan) โดยปั่นจากรังไหมผีเสื้อราตรีป่าที่แตกแล้วเช่นกัน  ทว่า แต่แรกเริ่มนั้นชาวจีนเรียนรู้การต้มรังไหมซึ่งฆ่าตัวไหม ท�ำให้รังไหมอยู่ ในสภาพดี  และช่วยให้เส้นไหมถูกสาวออกไปยาวต่อเนื่องและเป็นเกลียว ถึงอย่างนั้นก็ตาม ผ้าไหมจีนไม่ต่างจากผ้าไหมที่ทอจากใยของผีเสื้อราตรี ป่า และเป็นไปได้ที่ปลินีอาจบรรยายถึงผ้าไหมอินเดียหรือโกน  ไม่ใช่ ผ้าไหมจีน เพราะผ้าไหมจีนและผ้าไหมโกนคล้ายคลึงกันมาก นักวิเคราะห์ ต้องระบุลักษณะเด่นเฉพาะของจีนเพื่อก�ำหนดแหล่งก�ำเนิดของผ้าไหม เนื่องจากลักษณะเด่นลอกเลียนกันไม่ได้  ตัวบ่งชี้ที่น่าเชื่อถือที่สุดของการ ผลิตผ้าไหมจีนก็คือการมีอยู่ของอักษรจีน เพราะมีเพียงคนจีนเท่านั้นทอ เข้าไปในผ้า  สิง่ ทอทีพ่ บในปาลมีรา ประเทศซีเรีย ช่วงคริสต์ศตวรรษที ่ 1-3 พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

39


เป็นหนึ่งในผ้าไหมจีนยุคแรกสุด ที่เดินทางจากจีนเข้าไปถึงเอเชียตะวัน ตก จักรพรรดิจีนส่งทูตไปภูมิภาคตะวันตกเป็นประจ�ำเพื่อพระราชทาน ผ้าไหมแก่ผู้ปกครองท้องถิ่น และพวกเขาอาจส่งต่อผ้าไหมไปยังตะวันตก อีกที ถึงกระนั้น ผ้าไหมสวยงามส่วนใหญ่ที่พบในยุโรปและถูกติดป้าย “จีน”  แท้จริงแล้วทอขึ้นในอาณาจักรไบแซนไทน์  (ค.ศ.476-1453) นัก วิชาการคนหนึ่งตรวจสอบตัวอย่างผ้าไหม 1,000 ชิ้นซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง ศตวรรษที่  7-13  พบว่ามีเพียงหนึ่งชิ้นเท่านั้นท�ำในจีน ผ้าไหมสร้างความเดือดดาลแก่ปลินีเป็นพิเศษ เพราะเขาไม่อาจ เข้าใจได้ว่าท�ำไมชาวโรมันถึงน�ำเข้าผ้าต่างประเทศที่เปิดเผยเรือนร่างของ ผู้หญิงมาก “ทั้งแรงงานมากหลาย ทั้งจากภูมิภาคที่แสนห่างไกลของโลก ก็เพื่อให้หญิงโรมันที่มีสามีแล้วสามารถโอ้อวดเสื้อผ้าอาภรณ์โปร่งบางใน ที่สาธารณะ”  เขายังต่อว่าสินค้าน�ำเข้าอื่นๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นก�ำยาน อ�ำพัน กระดองเต่า เป็นต้น เพราะในความคิดเห็นของเขา การบริโภคสิ่ง เหล่านี้ท�ำให้โรมอ่อนแอ ถ้าหากการค้าระหว่างจีนและโรมมีความส�ำคัญอย่างที่ปลินียืนยัน ก็น่าจะพบเหรียญกษาปณ์โรมันบ้างบางส่วนในจีน ทว่าเหรียญกษาปณ์ ของยุโรปที่ขุดค้นพบในจีนมาจากไบแซนทิอุม (ไบแซนไทน์) ไม่ใช่โรม และระบุ ว ่ า มั น มี อ ายุ อ ยู ่ ใ นช่ ว ง ค.ศ.530-540  มี ข ่ า วลื อ คลุ ม เครื อ ใน ทางตรงกันข้ามว่า ไม่มีการค้นพบเหรียญโรมันในจีนแม้แต่เหรียญเดียว ตรงกั น ข้ า มกั บ ข้ อ เท็ จ จริ ง ที่ ว ่ า   มี ก ารขุ ด ค้ น เหรี ย ญทองและเงิ น ของ โรมันหลายพันเหรียญได้ทางชายฝั่งภาคใต้ของอินเดีย ซึ่งเป็นบริเวณที่ พ่อค้าโรมันเดินทางไปบ่อยๆ  บางครั้งนักประวัติศาสตร์โต้แย้งว่าเหรียญ ดังกล่าวที่ท�ำจากโลหะมีค่า จึงอาจถูกน�ำมาใช้หมุนเวียนระหว่างสถานที่ สองแห่งในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง แต่อาจไม่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพราะ หลอมละลายหมด  แต่เหรียญจ�ำนวนมากที่ไม่ใช่เหรียญจีนที่เหลือรอด มาในประเทศจีนได้ลดทอนค�ำโต้แย้งดังกล่าว เหรียญอิหร่านจ�ำนวนมาก 40

นงนุช สิงหเดชะ แปล


ท�ำจากเงินซึ่งผลิตโดยอาณาจักรซาซาเนียน (ค.ศ.224-651) ก็เคยปรากฏ ให้เห็นจ�ำนวนมากคราวละหลายร้อยเหรียญ (ดูตัวอย่างในภาพสีแผ่น ที่ 4B) โดยสรุป การไม่มีหลักฐานทั้งในรูปของต�ำราและโบราณคดี  ชี้ให้ เห็นถึงการติดต่อที่น้อยมากอย่างน่าประหลาดใจระหว่างโรมในยุคโบราณ และราชวงศ์ฮั่น  ถึงแม้ปลินีผู้อาวุโสได้แสดงความคิดเห็นอย่างมั่นใจ เรื่องการค้าผ้าไหม แต่ไม่มีใครในคริสต์ศตวรรษที่  1 เก็บรวบรวมสถิติที่ เชื่อถือได้เกี่ยวกับดุลการค้าของโรม  ถ้าชาวโรมันซื้อผ้าไหมจีนโดยใช้ เหรียญโรมัน จะต้องมีเศษผ้าไหมจีนปรากฏให้เห็นในโรมบ้าง ตั้งแต่ ศตวรรษที่  2 และ 3 มีสินค้าเพียงไม่กี่อย่างเท่านั้นที่ค้าขายระหว่างจีน และโรม นี่เป็นช่วงของผ้าไหมปาลมีราและยังเป็นช่วงที่ชาวโรมันเริ่ม จะทราบที่ตั้งของเซเรส บันทึกประวัติศาสตร์ด้านศิลปะในจีนยังยืนยันการติดต่อเป็นพักๆ ไม่ต่อเนื่องระหว่างโรมและจีน ที่เริ่มมีมากขึ้นในศตวรรษที่  2 และ 3  ใน สมัยราชวงศ์ฮั่นมีตัวอย่างของศิลปะจีนเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น  ที่แสดงให้ เห็นถึงอิทธิพลศิลปะต่างประเทศ  แต่เมื่อถึงราชวงศ์ถัง ศิลปะจีนได้ผสม ผสานศิลปะเปอร์เซียและอินเดียมากขึ้น  แม้แต่ศิลปะเกรโก-โรมันก็ถูก น�ำมาประยุกต์ด้วย  ยุคราชวงศ์ถังนับว่าเป็นยุคที่จีนมีอิทธิพลสูงมากต่อ เอเชียกลาง และต่อการค้าบนเส้นทางสายไหม หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นด้วยการติดต่อที่พอมองเห็นได้ระหว่างจีนและ ตะวั น ตกในคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่   2-3  และจบลงในต้ น ศตวรรษที่   11  อั น เป็นช่วงล่าสุดที่มีการขุดค้นเอกสารขึ้นมาจากตุนหวงและโคตัน เนื้อเรื่อง จะด�ำเนินไปตามล�ำดับเวลา แต่ละบทท�ำการตรวจสอบสถานที่ต่างๆ บน เส้นทางสายไหม ซึ่งคัดเลือกมาตามที่มีการค้นพบในเอกสาร สถานที่ อย่างหนีหย่า คูชา ตูร์ฟาน ตุนหวง และโคตัน อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของจีน ซามาร์คนั ด์อยูใ่ นประเทศอุซเบกิสถาน ส่วนสถานทีใ่ กล้เคียงอย่าง ภู เ ขามู ห ์ ตั้ ง อยู ่ แ ค่ ข ้ า มชายแดนประเทศทาจิ กิ ส ถานในปั จ จุ บั น  และ พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

41


ล�ำดับที่  7 คือฉางอัน เมืองหลวงจีนยุคราชวงศ์ถัง อยู่ในมณฑลส่านซี ทางตอนกลางของจีน บทที่  1 เริ่มด้วยหนีหย่าและโหลวหลาน เพราะสถานที่ดังกล่าวน�ำ เสนอหลักฐานทางเอกสารอย่างครอบคลุมของการติดต่อทางวัฒนธรรม อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งแรก ระหว่างคนท้องถิ่น ชาวจีน และกลุ่มผู้อพยพ จากภูมภิ าคคันธาระ ซึง่ ปัจจุบนั อยูใ่ นประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถาน ผู้อพยพเหล่านี้น�ำอักษรของตนมาเผยแพร่และรับเทคโนโลยีการเก็บรักษา บันทึกที่เป็นข้อเขียนบนแผ่นไม้มาใช้  พวกเขายังเป็นหนึ่งในชาวพุทธกลุ่ม แรกที่เข้าสู่ภูมิภาคตะวันตก ถึงแม้ข้อบัญญัติศาสนาพุทธหรือ “วินัย” ก�ำหนดให้พระและชีต้องอยู่เป็นโสดละเว้นเพศสัมพันธ์  แต่พระและชีพุทธ ที่หนีหย่าจ�ำนวนมากแต่งงาน มีลูก และอาศัยอยู่กับครอบครัวของพวก เขา ไม่ได้อยู่ในชุมชนสงฆ์อย่างที่มักเข้าใจกัน คูชา ซึ่งเป็นหัวข้อของบทที่  2 เป็นที่พ�ำนักของหนึ่งในนักแปลชาว พุทธที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน นั่นคือพระกุมารชีพ (ค.ศ.344-413) ผู้จัดท�ำ คัมภีร์พุทธศาสนาฉบับภาษาจีนที่อ่านเข้าใจได้เป็นครั้งแรก พระกุมารชีพ เติบโตขึ้นมาโดยพูดภาษาท้องถิ่นคือคูเชียน  ท่านศึกษาภาษาสันสฤต ตั้งแต่เด็ก และเรียนภาษาจีนหลังจากถูกจับเป็นเชลยในจีนนาน  17 ปี เอกสารภาษาคูเชียนได้กระตุ้นให้เกิดการถกเถียงดุเดือดท่ามกลางนัก ภาษาศาสตร์ที่พยายามจะไขปริศนาว่า  ท�ำไมประชาชนที่อาศัยอยู่ใน ภูมิภาคตะวันตกจึงพูดภาษาอินโด-ยูโรเปียนต่างจากภาษาอื่นๆ ของภูมิ ภาคดังกล่าวเป็นอย่างมาก ซ็อกเดียเป็นชุมชนต่างชาติส�ำคัญที่สุดในจีนช่วงที่การค้าบนเส้น ทางสายไหมรุ่งเรืองสูงสุด ชาวซ็อกเดียจ�ำนวนมากตั้งถิ่นฐานถาวรบนเส้น ทางด้านเหนือในตูร์ฟาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถูกเอ่ยถึงในบทที่  3  พวกเขามี อาชีพต่างๆ กัน ทั้งการเกษตร เปิดโรงเตี๊ยม สัตวแพทย์  และค้าขาย ใน ปี  640 เมื่อกองทัพราชวงศ์ถังพิชิตตูร์ฟาน ชาวบ้านทั้งหมดตกอยู่ภายใต้ การปกครองของจีนโดยตรง สภาพอากาศที่แห้งแล้งสุดขีดของตูร์ฟาน 42

นงนุช สิงหเดชะ แปล


ได้ช่วยเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับชีวิตประจ� ำวันของชุมชนเส้นทางสาย ไหมไว้จ�ำนวนมากเป็นพิเศษ บทที่   4  เน้ น ไปที่ บ ้ า นเกิ ด ของชาวซ็ อ กเดี ย รอบๆ  ซามาร์ คั น ด์ ปัจจุบันคืออุซเบกิสถานและทาจิกิสถาน  แม้จีนจะมีชื่อเสียงในฐานะ ประเทศที่ไม่ต้อนรับคนภายนอก  แต่บรรดาชุมชนต่างชาติขนาดใหญ่ ย้ายเข้าสู่ประเทศจีนในสหัสวรรษแรก  โดยเฉพาะหลังจากซามาร์คันด์ พ่ายแพ้ต่อกองก�ำลังมุสลิมในปี  712 การค้นพบทางโบราณคดีบางชิ้นที่น่าตื่นเต้นที่สุดในช่วงไม่กี่ปีมา นี้  คือหลุมฝังศพชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในฉางอัน เมืองหลวงจีนในยุค ราชวงศ์ฮั่น ปัจจุบันคือเมืองซีอาน ซึ่งจะกล่าวถึงในบทที่  5  ผู้อพยพชาว ซ็อกเดียจากโลกอิหร่านน�ำความเชื่อในศาสนาโซโรอัสเตอร์ติดตัวมาด้วย พวกเขาท�ำการสักการะที่แท่นบูชาไฟและใช้สัตว์บูชายัญ หลังจากพวก เขาเสียชีวิต ญาติๆ จะตระเตรียมพวกเขาให้พร้อมส�ำหรับโลกหน้า ด้วย การปล่อยให้สัตว์แทะศพ เพื่อท�ำความสะอาดกระดูกให้ปลอดเนื้อหนัง ที่เชื่อว่าเป็นมลพิษต่อโลก ก่อนจะน�ำศพไปฝัง  แม้ว่าชาวซ็อกเดียส่วน ใหญ่จะเชื่อค�ำสอนของศาสนาโซโรอัสเตอร์  แต่ชาวซ็อกเดียจ�ำนวนมาก ที่อาศัยอยู่ในฉางอันช่วงปลายศตวรรษที่  6 และต้นศตวรรษที่  7 เลือกที่ จะใช้พิธีฝังศพแบบจีนแทน หลุมฝังศพเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงชีวิตหลัง ความตายของผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์  โดยให้รายละเอียดมากกว่า ศิลปะที่เหลือรอดมาในโลกอิหร่านหลายเท่า เอกสารจ�ำนวน 40,000 ชิ้นจากถ�้ำห้องสมุดที่ตุนหวงซึ่งกล่าวไว้ ในบทที่  6 เป็นหนึ่งในคอลเล็กชั่นทรัพย์สมบัติที่น่าประหลาดใจมากที่ สุดในโลก ซึ่งมีทั้งหนังสือที่ตีพิมพ์เป็นเล่มแรกสุดของโลก นั่นก็คือพระ สูตรเพชรหรือ “วัชรสูตร” (พระสูตรส�ำคัญของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานผู้แปล)  ถ�้ำห้องสมุดดังกล่าวนี้บรรจุเอกสารอื่นๆ นอกเหนือจากศาสนา พุทธด้วย เพราะมีต�ำราประเภทอื่นๆ หลายชนิดถูกคัดลอกไว้ด้านหลังของ ต�ำราพุทธศาสนา  ภาพวาดในถ�้ำตุนหวงนัน้ แน่นอนว่าได้รบั การเก็บรักษา พลิกประวัติศาสตร์ เส้นทางสายไหม

43




ดีที่สุดและครอบคลุมที่สุดในบรรดาสถานที่ทางศาสนาพุทธในจีนทั้งหมด ภาพเหล่านี้เป็นพยานหลักฐานให้เห็นการอุทิศตนของคนท้องถิ่น รวมทั้ง ผู้ปกครองที่มอบหมายให้สร้างศิลปะสวยงามเหล่านั้น  แม้กระทั่งตอนที่ พวกเขาสรรค์สร้างงานชิ้นเอกเหล่านี้  ชาวตุนหวงก็ไม่ได้ใช้เหรียญในการ ซื้อ-ขายสินค้า แต่จ่ายทุกอย่างโดยใช้ธัญพืชหรือผ้า เช่นเดียวกับภูมิภาค ตะวันตกทั้งหมดหลังจากทหารจีนถอนก�ำลังออกไปในกลางศตวรรษที่  8 ผู้ปกครองตุนหวงรักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรโอเอซิส อย่างโคตันซึ่งเป็นจุดเน้นในบทที่  7 โคตันตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมตอน ใต้  ติดกับทางตะวันตกของหนีหย่า เอกสารที่เหลือรอดมาเกือบทั้งหมด เขียนด้วยภาษาโคตันซึ่งเป็นภาษาอิหร่าน โดยยืมค�ำศัพท์จ�ำนวนมากมา จากภาษาสันสกฤต พวกมันถูกพบในถ�้ำห้องสมุดที่ตุนหวงและเมืองที่อยู่ รอบๆ โคตัน ที่แปลกก็คือไม่พบเอกสารจากยุคแรกๆ เช่นนี้เลยในอาณา จักรโอเอซิสโคตัน  เอกสารเหล่านี้ยังรวมถึงเครื่องมือช่วยเรียนภาษา ที่ แสดงให้เห็นว่านักเรียนชาวโคตันเรียนภาษาสันสกฤต อันเป็นภาษาที่ใช้ ในวัดส่วนใหญ่อย่างไร  ส่วนภาษาจีนนั้นเป็นภาษาที่พูดกันอย่างกว้าง ขวางในเขตตะวันตก โคตันซึ่งปัจจุบันอยู่ในซินเจียง ถูกพิชิตในปี  1006 และเป็นเมืองแรกที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม และก็อย่างที่นักท่อง เที่ยวในปัจจุบันสังเกตเห็นได้ว่า ซินเจียงยังเป็นพื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอยู่เป็น จ�ำนวนมาก บทนี้จึงจบลงด้วยการส�ำรวจประวัติศาสตร์และการค้าของ ภูมิภาคนับตั้งแต่ศาสนาอิสลามเข้ามา โดยสรุป เป้าหมายของหนังสือเล่มนี้ก็เพื่อวาดภาพคร่าวๆ ของ เหตุการณ์ใหญ่ๆ ในประวัติศาสตร์ของแต่ละชุมชนโอเอซิส พรรณนาถึง ความแตกต่างของแต่ละกลุ่มซึ่งอาศัยอยู่ที่นั่น และการปฏิสัมพันธ์ทาง วัฒนธรรมของพวกเขา วาดเค้าโครงธรรมชาติของการค้า  และท้ายที่สุด บอกเล่าเรือ่ งราวชีวติ ของผูค้ นบนเส้นทางสายไหม...เรือ่ งราวธรรมดาสามัญ ที่สุดที่เขียนไว้บนกระดาษรีไซเคิล

46

นงนุช สิงหเดชะ แปล


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.