กรุงเทพฯ ยามราตรี
ภาพจากปก
ภาพลายเส้นโดย สิริพงษ์ กิจวัตร
กรุงเทพฯ ยามราตรี วีระยุทธ ปีสาลี
ราคา ๑๙๐ บาท
กรุงเทพฯ ยามราตรี • วีระยุทธ ปสาลี พิมพครั้งแรก : พฤษภาคม ๒๕๕๗ ราคา ๑๙๐ บาท ขอมูลทางบรรณานุกรม วีระยุทธ ปสาลี. กรุงเทพฯ ยามราตรี.--กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๒๘๘ หนา.--(ประวัติศาสตร) ๑. ไทย--ภูมิประเทศและการทองเที่ยว. ๒. กรุงเทพฯ--ภูมิประเทศและการทองเที่ยว. I. ชื่อเรื่อง 915.9311 ISBN 978 - 974 - 02 - 1292 - 8
• ที่ปรึกษาสำนักพิมพ : อารักษ คคะนาท, สุพจน แจงเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผูจัดการสำนักพิมพ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผูจัดการสำนักพิมพ : รุจิรัตน ทิมวัฒน • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ บุนปาน • บรรณาธิการสำนักพิมพ : พัลลภ สามสี • หัวหนากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • พิสูจนอักษร : โชติชวง ระวิน I พัทนนลิน อินทรหอม • รูปเลม : อรอนงค อินทรอุดม • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณรัตน • ออกแบบปก : สิริพงษ กิจวัตร • ประชาสัมพันธ : กานตสินี พิพิธพัทธอาภา
หากสถาบันการศึกษา หน�วยงานตางๆ และบุคคล ตองการสั่งซื้อจำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดตอโดยตรงที่ บริษัทงานดี จำกัด โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
หนังสือเลมนี้พิมพดวยหมึกที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม เพื่อปกปองธรรมชาติ และสุขภาพของผูอาน
บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แมพิมพสี-ขาวดำ : กองพิมพสี บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพที่ : โรงพิมพมติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู ๕ ถนนสุขาประชาสรรค ๒ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำหนายโดย : บริษัทงานดี จำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand
สารบัญ
กรุงเทพฯ ยามราตรี
ค�ำน�ำผู้เขียน
(๗)
๑ บทน�ำ
๒
๒ ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืน พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๘
๑๐
ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืน
ก่อนมีไฟฟ้า พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๔๒๖ กิจการไฟฟ้าในกรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๘ ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืน หลังมีไฟฟ้า พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๘๓ ย่านกลางคืนของเมืองกรุงเทพฯ ทศวรรษที่ ๒๔๖๐-๒๔๘๐ ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืน ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๘
๑๒ ๑๙
๒๑ ๒๘ ๓๕
(6) กรุงเทพฯ ยามราตรี
๓ ชีวิตยามค�่ำคืนในกรุงเทพฯ ทศวรรษที่ ๒๔๒๐-๒๔๘๐
๔๔
๔ ชีวิตยามค�่ำคืนกับการเปลี่ยนแปลง สังคมและวัฒนธรรม ในกรุงเทพฯ ทศวรรษที่ ๒๔๒๐-๒๔๘๐
๑๔๖
ชีวิตยามค�่ำคืนในกรุงเทพฯ ก่อนทศวรรษที่ ๒๔๒๐
๔๖ ชีวิตยามค�่ำคืนในกรุงเทพฯ ทศวรรษที่ ๒๔๒๐-๒๔๕๐ ๕๗ ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงชีวิตยามค�่ำคืนในกรุงเทพฯ ในทศวรรษที่ ๒๔๖๐ ๗๕ ชีวิตยามค�่ำคืนในกรุงเทพฯ แบบสังคมเมืองสมัยใหม่ ทศวรรษที่ ๒๔๖๐-๒๔๘๐ ๙๑ ชีวิตยามค�่ำคืนในกรุงเทพฯ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๘ ๑๒๓
การเปลี่ยนแปลงความเชื่อต่อช่วงเวลากลางคืน ชีวิตยามค�่ำคืนกับการเปลี่ยนแปลงการแต่งกาย ชีวิตยามค�่ำคืนกับการเกิดอาชีพใหม่ ชีวิตยามค�่ำคืนกับความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้น ชีวิตยามค�่ำคืนกับความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ชีวิตยามค�่ำคืนกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการกิน ชีวิตยามค�่ำคืนกับค่านิยมของสังคม ชีวิตยามค�่ำคืนกับความมั่นคงปลอดภัย
๕ บทสรุป
๑๔๘ ๑๕๔ ๑๖๖ ๑๗๓ ๑๘๕ ๒๐๒ ๒๐๘ ๒๑๓
๒๔๔
บรรณานุกรม
๒๕๑
ค�ำน�ำ
กรุงเทพฯ ยามราตรี
ระหว่างโมงยามของค�่ำคืนที่ยาวนานในเมืองใหญ่อย่างกรุง เทพฯ หลายคนก�ำลังหลับใหลหรือพักผ่อนหย่อนใจจากสิ่งบันเทิงที่ พอจะหาได้ในบ้าน แต่อีกหลายคนต่างออกไปหาความส�ำราญตาม สถานเริงรมย์ที่พึงมีในเมือง ความเคลื่อนไหวของผู้คนในยามค�่ำคืน ท�ำให้บางส่วนของเมืองเพิ่งตื่นและชีวิตยามค�่ำคืนเพิ่งเริ่มต้น จนเกิด เป็นมนต์เสน่ห์และสีสันของกรุงเทพฯ ยามราตรี กรุงเทพฯ ยามราตรีในหนังสือเล่มนี้คือกรุงเทพฯ ตั้งแต่สมัย รัช กาลที่ ๕ จนถึงสิ้น สุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ อัน เป็น ช่วงเวลาที่ สยามปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะการ พัฒนาโครงสร้างทางกายภาพเมืองที่ท�ำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมือง สมัยใหม่ และรูปแบบการใช้ชีวิตยามค�่ำคืนของคนกรุงเทพฯ ที่ได้รับ อิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกท�ำให้เกิดวิถีชีวิตแบบสังคมเมืองสมัย ใหม่ และการกลายสภาพเป็ น เมื อ งกลางคื น ดั ง จะเห็ น ได้ ชั ด ตั้ ง แต่ ทศวรรษที่ ๒๔๖๐ เป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสะท้อนฉากชีวิตของผู้คนในหลาก หลายแง่มุม ดังนั้น กรุงเทพฯ ยามราตรีจึงมีมากกว่าความบันเทิง เพราะกลางคืนในกรุงเทพฯ เป็นทั้งช่วงเวลาของการท�ำงาน การหา รายได้ การพักผ่อนหย่อนใจ การสังสรรค์สนทนาและการเฉลิมฉลอง เป็นทั้งช่วงเวลาของความตื่นเต้นและตื่นกลัว ความเป็นส่วนตัวและ โลกสาธารณะ ความเป็นสุนทรียะและอันตราย ความใกล้ชิดและความ เปลี่ยวเหงา และเป็นช่วงเวลาของการหลบซ่อนและการปลดปล่อย
(8) กรุงเทพฯ ยามราตรี
หนังสือเล่มนี้มีที่มาจากการปรับปรุงและดัดแปลงเนื้อหาบาง ส่วนในวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต เรื่อง “ชีวิตยามค�่ำคืนในกรุง เทพฯ พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๘” (Life after Dark in Bangkok, 1884-1945) ที่ เ สนอต่ อ ภาควิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ คณะอั ก ษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ผู้เขียนขอขอบพระ คุณคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์พิพาดา ยังเจริญ อาจารย์ ดร. วิลลา วิลัยทอง อาจารย์ ดร. ธนาพล ลิ่มอภิชาต และคุณสุนทรี อาสะไวย์ และที่ส�ำคัญขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตรา จารย์สวุ มิ ล รุง่ เจริญ อาจารย์ทปี่ รึกษาทีม่ อบความกรุณาในทุกๆ เรือ่ ง ส�ำหรับการตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ขอขอบพระคุณรองศาสตรา จารย์ฉลอง สุนทราวาณิชย์ ที่ให้การสนับสนุนส่งตีพิมพ์ และขอขอบ คุณกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ ส�ำนักพิมพ์มติชน ที่ เห็นคุณค่าของงานเขียนชิ้นนี้ว่าพอที่จะพิมพ์เป็นหนังสือได้ เหนือเหตุผลอื่นใด ผู้เขียนดีใจเป็นอย่างยิ่งที่หนังสือเล่มนี้ได้ รับการตีพิมพ์เผยแพร่ เพราะผู้เขียนรู้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นสื่อแสดง ความระลึกถึงไปถึงบางคนที่ผู้เขียนอาจไม่มีโอกาสได้พบอีกแล้วในชีวิต จริง และอยากจะบอกเขาอีกครั้งว่า “You are my inspiration.” วีระยุทธ ปีสาลี
๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๖
กรุงเทพฯ ยามราตรี
เน
บทน�ำ
4 กรุงเทพฯ ยามราตรี
หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ สั ง คมของชี วิ ต ยามค�่ำ คื น ในกรุงเทพฯ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๘ ใน ๓ ประเด็นหลัก ประกอบด้ ว ย ภู มิ ทั ศ น์ เ มื อ ง วิ ถี ชี วิ ต ของผู ้ ค น และการเปลี่ ย น แปลงสังคมและวัฒนธรรมในกรุงเทพฯ ในช่วงของการเปลี่ยน ผ่านเข้าสู่สภาวะสมัยใหม่ (modernity) ตั้งแต่ทศวรรษที่ ๒๔๒๐๒๔๘๐ เพื่อแสดงให้เห็นวิถีชีวิตแบบสังคมเมืองสมัยใหม่ของคนกรุง เทพฯ และการกลายสภาพเป็นเมืองกลางคืนในทศวรรษที่ ๒๔๖๐ วิถีชีวิตยามค�่ำคืนแบบสังคมเมืองสมัยใหม่ของคนกรุงเทพฯ เกิดขึ้นเนื่องจากการเข้ามาของสภาวะสมัยใหม่ สภาวะสมัยใหม่ในที่ นี้หมายถึงปรากฏการณ์ทางสังคมนับตั้งแต่การเปิดประเทศของสยาม ผ่านการท�ำสนธิสัญญาเบาริ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ ส่งผลให้สยามมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจการค้าเป็นระบบ การค้าเสรี และชนชั้นน�ำสยามยอมรับความรู้และวิทยาการจากโลก ตะวันตก จนน�ำมาสู่การพัฒนาปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยในรัชกาล ที่ ๕ สภาวะสมัยใหม่จึงผูกพันอยู่กับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก ในยุคอาณานิคมอันเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภายในสังคมกรุงเทพฯ ชนชั้นน�ำสยามเป็นคนกลุ่มแรกที่รับเอาสภาวะสมัยใหม่เข้า มาปรับใช้ในชีวิตประจ�ำวันเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของความทันสมัยใน สายตาของชาวตะวันตก และเพื่อสร้างความเหนือกว่าและแตกต่าง จากชนชั้นอื่นๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการบริโภควัตถุสิ่งของจากโลก ตะวันตก การสะสมงานศิลปะ การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การพักผ่อนตากอากาศ การชมภาพยนตร์ การสร้างพระราชวังตาม แบบตะวันตก หรือการมีรสนิยมการใช้ชีวิตประจ� ำวันแบบตะวันตก แม้ว่าการเสนอตัวตนที่ทันสมัยของชนชั้นน�ำสยามนี้ส่วนหนึ่งเป็นไป เพื่อการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ตาม๑ กระบวนการท�ำให้เป็นสมัยใหม่ของชนชั้นน�ำสยามก็ก่อให้เกิด การพัฒนาประเทศและการพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ จนกรุงเทพฯ ได้ กลายเป็นเมืองสมัยใหม่ ในขณะเดียวกันความเป็นสมัยใหม่ได้แพร่
วีระยุทธ ปีสาลี 5
หลายลงมาสู่ชนชั้นอื่นๆ ในสังคมจนท�ำให้การใช้ชีวิตประจ�ำวันและ ชีวิตยามค�ำ่ คืนของคนกรุงเทพฯ เริ่มมีวิถีชีวิตแบบสังคมเมืองสมัยใหม่ ส�ำหรับชีวิตยามค�่ำคืนแบบสังคมเมืองสมัยใหม่ได้เริ่มปรากฏอย่าง ชัดเจนในทศวรรษที่ ๒๔๖๐ เป็นต้นมา อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในการศึกษาประวัติศาสตร์ชีวิตยาม ค�่ำคืนในเมืองคือการพิจารณาการกลายสภาพเป็นเมืองกลางคืน เมือง กลางคืนในที่นี้หมายถึงเมืองที่มีความเคลื่อนไหวของคนกลุ่มต่างๆ ใน เมืองที่ออกมาท�ำกิจกรรมยามค�่ำคืนนอกบ้านกันมากขึ้น เนื่องจากมี สิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่ทันสมัย อาทิ ไฟฟ้า ถนนหนทาง ยวดยาน พาหนะ ตลอดจนมีร้านรวงที่เปิดให้บริการตลอดคืน และที่ส�ำคัญคือ มีสถานที่เที่ยวเตร่พักผ่อนหย่อนใจที่ส่วนใหญ่เป็นสถานบันเทิงเริงรมย์ แบบสมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตก ดูเหมือนว่าสังคมไทยส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจว่ากรุงเทพฯ เริ่ม กลายสภาพเป็นเมืองกลางคืนตั้งแต่ทศวรรษที่ ๒๕๐๐ เนื่องจากการ พัฒนาประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และอิทธิพล จากวัฒนธรรมอเมริกันในยุคสงครามเย็นที่ส่งผ่านเข้ามาโดยทหาร อเมริกันจีไอ (GI-Government Issue) ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในสงคราม เวียดนาม ประจักษ์พยานที่เด่นชัดที่สุดคือการเติบโตของธุรกิจสถาน บันเทิงยามค�่ำคืนในพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ นับตั้งแต่ย่านถนนราช ด�ำเนินกลางมีภัตตาคารนวลศรี ไนต์คลับ อาทิ โรฟีโน คิงส์ อเล็กซาน ดรา แอสตรา ซูซี่วอง สีดา โลลิต้า และมูแลงรูจ ๒ ไล่มาจนถึงไทย เฮฟเว่น ดาร์ลิ่ง แรฟโซดี้คลับ โรงภาพยนตร์เพชรรามา อโศกโบว์ลิ่ง และสถานอาบอบนวดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่๓ และย่านราชประสงค์ ที่ถือเป็นย่านผู้ดีเที่ยว ไม่มีวัยรุ่นและทหารอเมริกันจีไอ ไม่มีร้านขาย ข้าวต้มโต้รุ่ง มีแต่โรงแรมที่หรูหราที่สุดภายในมีไนต์คลับ ห้องอาหาร และสแน็คบาร์ที่ดีที่สุด และมีห้างสรรพสินค้าบันไดเลื่อนแห่งเดียว ของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น๔ รวมถึงการเกิดขึ้นของย่านบันเทิงยามราตรี ที่พัฒน์พงษ์ในทศวรรษที่ ๒๕๑๐ การขยายตัวของสถานบันเทิงและ พื้นที่บันเทิงยามค�่ำคืนเหล่านี้จึงเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นเมือง
6 กรุงเทพฯ ยามราตรี
โรงแรมโทรคาเดโร สถานบันเทิงในยามค�่ำคืนอีกแห่งหนึ่งของคนกรุงเทพฯ (ภาพ จาก วิลาส บุนนาค ๑๙๑๐-๒๐๐๐. กรุงเทพฯ, ๒๐๐๐)
กลางคืนของกรุงเทพฯ ในทศวรรษที่ ๒๕๐๐ นิธ ิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัตศิ าสตร์เห็นว่า กรุงเทพฯ เริ่มกลายเป็นเมืองกลางคืนในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใน ทศวรรษที่ ๒๕๐๐ เช่นเดียวกัน นิธิให้เหตุผลว่า แม้ว่าก่อนหน้านั้น กรุงเทพฯ จะมีไฟฟ้าใช้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่อาจเรียกกรุงเทพฯ ว่า เป็นเมืองกลางคืนได้ กรุงเทพฯ ยังคงเป็นเพียงเมืองกลางวัน เพราะ ไฟฟ้าเป็นเพียงเครื่องมือ แต่ที่เมืองจะเปลี่ยนไปได้ต้องอาศัยวัฒน ธรรม คือท�ำให้คนทั่วไปรู้สึกว่าชีวิตกลางคืนนอกบ้านเป็นเรื่องปกติ และความเป็นปกติของชีวิตกลางคืนนอกบ้านนี้เป็นวัฒนธรรมใหม่ ในสั ง คมไทยที่ เ รี ย กว่ า วั ฒ นธรรมกลางคื น ก่ อ ให้ เ กิ ด คนกลางคื น ที่เป็นคนพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยมีในเมืองไทยมาก่อน มีทั้งหนุ่ม สาว ผู้ใหญ่ ไปจนถึงเด็ก หลายวัย หลายอาชีพ นิธิยังตั้งข้อสังเกตต่อไปอีกว่า
วีระยุทธ ปีสาลี 7
หนังสือพิมพ์เป็นสื่อกลางที่ส�ำคัญที่สุดในการเผยแพร่วัฒนธรรมเที่ยว กลางคืนให้แพร่หลาย และคนกลุ่มแรกที่รับเอาวัฒนธรรมนี้ไปก็คือ คนชั้นกลางซึ่งเป็นผู้รับสื่อประเภทนี้มากที่สุด๕ จะเห็นได้ว่าสิ่งที่นิธิ พยายามเน้นย�้ำถึงความเป็นเมืองกลางคืนคือการมีวัฒนธรรมกลางคืน หรือวัฒนธรรมการใช้ชีวิตยามค�่ำคืนนอกบ้าน กระนั้นก็ตาม เมื่อพิจารณาตามพลวัตของประวัติศาสตร์การ พัฒนาเมืองกรุงเทพฯ และวิถีชีวิตยามค�่ำคืนของคนกรุงเทพฯ แบบ สังคมเมืองสมัยใหม่ภายใต้บริบทของสภาวะสมัยใหม่ในต้นคริสต์ ศตวรรษที่ ๒๐ แล้ว พบว่าคนกรุงเทพฯ มีวัฒนธรรมการใช้ชีวิตยาม ค�่ำคืนนอกบ้านมาก่อนหน้านั้นแล้ว และปรากฏอย่างเด่นชัดในทศวรรษ ที่ ๒๔๖๐ ดังนั้น การกลายสภาพเป็นเมืองกลางคืนของกรุงเทพฯ น่าจะเกิดขึ้นมาก่อนทศวรรษที่ ๒๕๐๐ ด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ ด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือปัจจัยภายนอกจากอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตก ในด้านต่างๆ ทั้งวัฒนธรรมยุโรปและอเมริกัน หนังสือเล่มนีจ้ ึงเสนอว่า กรุงเทพฯ เริ่มกลายสภาพเป็นเมือง กลางคืนมาตั้งแต่ทศวรรษที่ ๒๔๖๐ แม้ว่าระดับหรือขนาดของ ความเป็นเมืองกลางคืนจะไม่ได้มีมากมายเทียบเท่าทศวรรษที ่ ๒๕๐๐ ก็ตาม แต่ข้อเสนอนี้ก็ท�ำให้เห็นที่มาที่ไปอันเป็นรากฐานและพัฒนาการ เริ่มแรกของกรุงเทพฯ ในฐานะเมืองกลางคืน
8 กรุงเทพฯ ยามราตรี
บรรยากาศยามสิ้นแสงตะวันภายในสวนสาธารณะเมดิสัน สแควร์ นิวยอร์ก (Madison Square, New York) ภาพจากนิตยสาร Harper’s Weekly ฉบับวันที่ ๑๔ มกราคม ค.ศ. ๑๘๘๒ แสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คนสามารถออกมาใช้ชีวิตยามค�่ำคืน ในพื้ น ที่ ส าธารณะ ภายหลั ง มี แ สงประดิ ษ ฐ์ จ ากหลอดไฟช่ ว งคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ ๑๙ ขณะที่กรุงเทพฯ ยามราตรีผู้คนต้องเผชิญกับการเสี่ยงภัยเพราะตามท้องถนนขาดแคลน แสงสว่างอีกมาก (ภาพจาก Chalotte and Peter Fiell, 1000 lights vol. 1 1879-1959. Koln : Taschen, 2005)
เชิงอรรถ
๑ ดู Maurizio Peleggi. Lords of Things : The Fashioning of the
Siamese Monarchy’s Modern Image. (Honolulu : University of Hawaii Press, 2002). ๒ ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ. “ราตรีวิไลที่...ราชดำ�เนินกลาง,” ใน อนุสาร อ.ส.ท. ๑๐ (มกราคม ๒๕๑๓) : ๑๐-๑๕ และ ๖๗-๗๒. ๓ ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ. “โสภาราตรีที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เบอร์เบิ้น สตรีทแห่งนิวออร์ลีนส์,” ใน อนุสาร อ.ส.ท. ๗ (มกราคม ๒๕๑๐) : ๘-๑๕ และ ๖๙-๗๕. ๔ ปราโมทย์ ทั ศ นาสุ ว รรณ. “โสภาราตรี ที่ ร าชประสงค์ , ” ใน อนุ ส าร อ.ส.ท. ๘ (มกราคม ๒๕๑๑) : ๑๐-๑๕ และ ๗๗-๘๒. ๕ นิ ธิ เอี ย วศรี ว งศ์ . “วั ฒ นธรรมกลางคื น ,” ใน ความยุ่ ง ของการอยู่ . (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๘), น. ๑๑๗-๑๒๐.
เน
ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืน พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๘
12 กรุงเทพฯ ยามราตรี
“โอ้กรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร สมเป็นนครมหาธานี สวยงามหนักหนายามราตรี งามเหลือเกินเพลิดเพลินฤดี ช่างงามเหลือที่จะพรรณนา เที่ยวดูเล่นแลเห็นอาคาร เหมือนดังวิมานสถานเทวา ทั้งยานพาหนะละลานตา งามแสนงามเหมาะนามสมญา เหมือนเทพสร้างมาจึงงามวิไล ราชด�ำเนินน่าเดินเพลิดเพลิน เรียบร้อยพราวพรรณ สมนามส�ำคัญเฉิดฉันอ�ำไพ แสงไฟแสงโคมเล้าโลมฤทัย ทั้งเมืองวิไลคล้ายยามทิวา...” เพลง “กรุงเทพฯ ราตรี”๑ ค� ำ ร้ อ งส่ ว นหนึ่ ง ของเพลง “กรุ ง เทพฯ ราตรี ” ข้ า งต้ น ได้ พรรณนาชมความงามของเมืองกรุงเทพฯ ในยามค�่ำคืนในทศวรรษ ที่ ๒๔๘๐ ว่ามีภูมิทัศน์คล้ายกับเมืองที่ยังไม่ยอมหลับใหลที่สว่างไสว ด้วยแสงไฟฟ้า ละลานตาด้วยอาคารบ้านเรือน เกลื่อนไปด้วยยาน พาหนะบนท้องถนน ปะปนไปด้วยผู้คนที่เดินขวักไขว่ไปมาหาความ ส�ำราญในยามราตรี ถึงกระนั้นก็ดีกว่าที่ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยาม ค�่ำคืนจะเป็นดั่งเพลง “กรุงเทพฯ ราตรี” เมืองกรุงเทพฯ ต้องผ่าน การพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพและสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ ที่ ส�ำคัญ คือการติดตั้งไฟฟ้า ประกอบกับการพัฒนาถนนหนทางและ สิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่อการใช้พื้นที่เมืองยามค�่ำคืน และการเกิดย่าน กลางคืนของเมืองเพื่อเป็นที่รองรับกิจกรรมยามค�่ ำคืนนอกบ้าน ซึ่ง เป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้กรุงเทพฯ เริ่มกลายสภาพเป็นเมืองกลางคืน ทางกายภาพในทศวรรษที่ ๒๔๖๐
ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืน ก่อนมีไฟฟ้า พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๔๒๖
ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ในระยะเวลา ๑ ศตวรรษก่อนมีไฟฟ้า
วีระยุทธ ปีสาลี 13
ใช้ นั้ น กรุ ง เทพฯ มี โ ครงสร้ า งของเมื อ งแบบสั ง คมจารี ต หรื อ สังคมน�้ำ และยังไม่มีการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานมากนัก ในขณะทีก่ ารพัฒนาแสงไฟในเมืองก็เป็นการใช้เครือ่ งตามประทีป อันเป็นเครื่องมือการให้แสงสว่างแบบดั้งเดิมในสังคมจารีต เมืองกรุงเทพฯ ในสังคมจารีต กรุงเทพฯ ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีพระบรมมหาราชวังเป็น ศูนย์กลาง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้ สร้ า งพระบรมมหาราชวัง ขึ้น ทางฝั ่ ง ตะวัน ออกของแม่ น�้ ำ เจ้ า พระยา อันเป็นที่อยู่เดิมของชาวจีน ดังนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนในพื้นที่นี้ ย้ายครัวเรือนไปอยู่ที่สวนตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มไปจนถึงคลองวัด ส�ำเพ็งทางตอนใต้ของพระบรมมหาราชวัง๒ ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ ขุดคลองรอบกรุงล้อมรอบพระนครตั้งแต่บางล�ำพูตลอดมาออกแม่น�้ำ ข้างใต้เหนือวัดสามปลื้ม แล้วขุดคลองหลอดจากคลองคูเมืองเดิม ๒ คลองออกไปบรรจบคลองรอบกรุงที่ขุดใหม่ และขุดคลองมหานาค เหนือวัดสระเกศไว้เป็นที่ให้ประชาชนลงเรือเล่นเพลงสักวาในเทศกาล ฤดูน�้ำเหมือนอย่างครั้งกรุงเก่า พร้อมกับสร้างก�ำแพงเมืองและป้อม ปราการป้ อ งกัน ข้ า ศึก ศัต รู ที่จ ะมาพิชิต พระนครด้ ว ยสงครามในยุ ค จารีต๓ ด้วยเหตุนี้เมืองกรุงเทพฯ ในยุคต้นรัตนโกสินทร์จึงเทอะทะ ไปด้วยก�ำแพงเมืองและป้อมปราการหนาสูงทอดตัวยาวขนานไปตาม คลองรอบกรุง ก�ำแพงเมืองและคลองจึงเป็นลักษณะเด่นทางกายภาพ ของเมืองกรุงเทพฯ จนสามารถวิเคราะห์โครงสร้างของเมืองกรุง เทพฯ ในระยะนี้ได้ว่าเป็นเมืองป้อมปราการและเป็นเมืองใน สังคมน�้ำ เมืองในสังคมน�้ำเป็นเมืองที่คนในเมืองส่วนใหญ่ใช้ชีวิตผูกพัน กับแม่น�้ำล�ำคลอง ทั้งใช้เป็นที่อยู่อาศัย ย่านการค้า และทางสัญจร สภาพเมืองแบบสังคมน�้ำปรากฏอย่างเด่นชัดในสมัยรัชกาลที่ ๒-๓ บ้านเรือนของคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จึงเป็นเรือนแพ แต่ก็มีบางส่วน
14 กรุงเทพฯ ยามราตรี
วิถีชีวิตของผู้คนในกรุงเทพฯ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา ยังคง มีชีวิตที่พึ่งพาล�ำน�้ำ
รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้ขยายพื้นที่ออกไปด้วยการขุดคลองผดุงกรุงเกษม ขึ้นเป็นคูพระนครชั้นนอกในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ ผลจากการขุดคลองดังกล่าว ท�ำให้พื้นที่ เมืองกรุงเทพฯ ขยายออกไปอีกเกือบเท่าตัว (ภาพจาก กรุงเทพฯ ๒๔๘๙-๒๕๓๙. กรมศิลปากร, ๒๕๓๙)
วีระยุทธ ปีสาลี 15
เป็นบ้านบนบก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตก�ำแพงพระนครตามบริเวณแนว คลองรอบกรุง ส่วนนอกก�ำแพงพระนครออกไปนับเป็นเขตชานเมือง ที่มีสภาพเป็นสวนต้นไม้ เป็นท้องไร่ท้องนาและที่รกร้างว่างเปล่า๔ ย่าน การค้ า และตลาดในเมื อ งก็ อ ยู ่ ใ นรู ป ของตลาดน�้ ำ และเป็ น ตลาดสด ที่ส�ำคัญที่สุดในสมัยนี้ ในขณะที่ตลาดบกมีความส�ำคัญน้อยกว่า เนื่อง จากความไม่สะดวกในการคมนาคมขนส่ง๕ เพราะการคมนาคมขนส่ง ส่วนใหญ่ใช้แม่น�้ำล�ำคลองเป็นเส้นทางหลัก ประกอบกับถนนในเมือง ก็มีอยู่ไม่กี่สาย ล่วงถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ประชากรในกรุงเทพฯ เพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ เมืองในก�ำแพงพระนครจึงคับแคบลง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายพื้นที่เมืองออกไปอีกชั้นหนึ่งด้วยการ ขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้นเป็นคูพระนครชั้นนอกในปี พ.ศ. ๒๓๙๗๖ แต่ ไ ม่ มี ก ารสร้ า งก� ำ แพงเมื อ งขึ้ น ใหม่ เพราะในช่ ว งเวลานี้ ก ารศึ ก สงครามเริ่มสงบและลดน้อยลง ผลจากการขุดคลองผดุงกรุงเกษม ท�ำให้พื้นที่เมืองกรุงเทพฯ ขยายออกไปอีกเกือบเท่าตัว ครั้นเพียง ชั่วข้ามปี ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่าง ขนานใหญ่ ภายหลั ง การท� ำ สนธิ สั ญ ญาเบาริ่ ง ในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ เพราะผลของสนธิสัญญาเบาริ่งท�ำให้มีชาวต่างชาติเข้ามาท�ำการค้าขาย ในกรุงเทพฯ มากขึ้นจนเกิดเป็นชุมชนชาวตะวันตกทางตอนใต้ของ พระนครต่อเนื่องจากชุมชนชาวจีนที่ส� ำเพ็ง ชาวตะวันตกมีบทบาท ในการเรียกร้องให้มีการตัดถนนขึ้นในกรุงเทพฯ คือถนนเจริญกรุง ตอนนอกพระนครในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ โดยมีเหตุผลทางด้านสุขภาพ เป็นส�ำคัญ เพราะกรุงเทพฯ ไม่มีเส้นทางให้ขี่รถและขี่ม้าไปเที่ยวตาก อากาศ ค�ำเรียกร้องนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากมีพระราชด�ำริว่า “พวกยุโรปเข้ามาอยู่ในกรุงมากขึ้นทุกปีๆ ด้วยประเทศบ้าน เมืองเขามีถนนหนทางก็เรียบรื่นสะอาดไปทุกบ้านทุกเมือง บ้านเมือง ของเรามีแต่รกเรี้ยว หนทางเป็นตรอกเล็กซอยน้อย หนทางใหญ่ก ็ เปรอะเปื้อนไม่เป็นที่เจริญตา ดูเป็นที่อัปยศแก่ชาวนานาประเทศ”๗
16 กรุงเทพฯ ยามราตรี
วิ ถี ชี วิ ต ยามค�่ ำ คื น แบบสั ง คม เมืองสมัยใหม่ของคนกรุงเทพฯ เกิดขึ้น เมือ่ มีการท�ำสนธิสญ ั ญาเบาริง่ กับวิทยา การจากตะวันตก
พระราชด�ำริดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการตัดถนนเป็นเครื่อง หมายแสดงถึงความเจริญหรือความศิวิไลซ์ของบ้านเมืองที่สังเกตได้ จากความสะอาดและความงดงามของถนนหนทาง ต่อมาจึงได้มีการ ตัด ถนนเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ ได้แก่ ถนนเจริญกรุงตอนในในปี พ.ศ. ๒๔๐๕๘ และในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ ตัดถนนบ�ำรุงเมืองและถนนเฟื่อง นคร๙ เป็นต้น การตัดถนนจึงเป็นผลงานชิ้นแรกๆ ที่แสดงถึง การพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ ภายใต้สภาวะสมัยใหม่เพื่อท�ำให้กรุง เทพฯ เป็นเมืองที่ศิวิไลซ์ในสยาม สิ่งที่เกิดขึ้นตามมากับการตัดถนนคือการที่รัชกาลที่ ๔ โปรด เกล้าฯ ให้สร้างตึกแถวตามแนวสองข้างถนนอย่างเมืองสิงคโปร์เพื่อ พระราชทานให้เป็นประโยชน์แก่พระเจ้าลูกยาเธอให้เช่าท�ำร้านค้า๑๐ และมีการสร้างตึกแถวริมถนนเจริญกรุงตอนใน ถนนบ�ำรุงเมือง และ ถนนเฟื่องนคร เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและที่ท�ำการค้าขายของพ่อค้าชาว
วีระยุทธ ปีสาลี 17
จีน ไทย แขก และตะวันตก๑๑ การสร้างตึกแถวริมถนนนอกจากจะแสดงถึงสถาปัตย กรรมของเมืองสมัยใหม่แล้ว ยังนับว่าเป็นจุดเปลี่ยนของการตั้ง ถิ่นฐานจากชุมชนน�้ำมาสู่ชุมชนบนบกริมถนนเป็นครั้งแรก จน ถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงได้มีการพัฒนาถนนหนทางและการคมนาคม ทางบกอย่างขนานใหญ่ โดยเฉพาะตั้งแต่กลางรัชกาลในทศวรรษที่ ๒๔๓๐ เป็นต้นไป พร้อมๆ กับการพัฒนาแสงไฟในเมืองด้วยการติด ตั้งไฟฟ้า ภูมิทัศน์เมืองยามค�่ำคืนในสังคมจารีต ก่อนการติดตั้งไฟฟ้า เครื่องตามประทีป ได้แก่ คบเพลิง ไต้ กะทอ หลัก ไฟ เทีย น ตะเกีย ง ชุ ด ชวาลา โคม และอัจ กลับ เป็ น อุปกรณ์ที่ให้แสงสว่างในเมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืน เฟรเดอริค อาร์ เธอร์ นีล (Frederick Arthur Neale) ชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามา กรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ บรรยายถึงเมืองกรุงเทพฯ เมื่อย่างเข้า สู่ยามค�่ำคืนไว้ว่า “พอพระอาทิตย์ตกแสงอาทิตย์ในยามสายัณห์ก็หายไปอย่าง รวดเร็ว ท�ำให้เวลากลางคืนยิ่งมืดมิดมากขึ้น เสียงร้องของกาก็จะดัง ขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อมันบินกลับรังในตอนเย็น ตามเรือนแพก็จะปรากฏ แสงไฟจากตะเกียงดวงเล็กๆ ทั่วไปหมด และบนเรือสินค้าต่างๆ ด้วย เรือที่จอดอยู่ตามแม่น�้ำก็มืดมิดมองไม่เห็น สิ่งต่างๆ ก็ยากที่จะเห็นได้ ชัดเจน เราก็จะได้ยินเสียงระฆังตีอีกเมื่อเวลา ๖ โมงครึ่ง และทั่วทุก หนทุกแห่งก็จะถูกห่อหุ้มไว้ด้วยความหนาวเย็นในเวลากลางคืน” ๑๒ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที ่ ๔ แอนนา เลียวโนเวนส์ (Anna Leono- wens, ค.ศ. ๑๘๓๑-๑๙๑๕) ครูสอนภาษาอังกฤษแด่พระราชโอรส และพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ กล่าวถึงความสว่างของแสงไฟและ ชื่นชมความงามในยามค�่ำคืนของกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ ๔ ไว้ว่า “ในตอนกลางคืนตัวเมืองจะมีโคมประทีปแขวนทั่วไปเป็นพันๆ ดวงซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม่น�้ำกว้างจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ตะเกียง
18 กรุงเทพฯ ยามราตรี
และโคมที่มีรูปร่างสีสันและขนาดต่างๆ กันจะผสมผสานกันเพื่อส่อง แสงที่สว่างไสวและงดงาม บ้านเรือนและร้านค้าลอยน�้ำ เสากระโดง เรือ เจดีย์ที่สูงตระหง่านและสวยงาม ยอดแหลมและยอดสิ่งก่อสร้าง ทั้งหมด ก�ำแพงและหอคอยของพระบรมมหาราชวังส่องประกายด้วย แสงสว่างอย่างนับไม่ถ้วน ซึ่งรวมเป็นภาพที่มหัศจรรย์ด้วยความงาม เป็ น ความงดงามตามแบบของชาวตะวั น ออกและท� ำ ให้ เ กิ ด ความ ประหลาดใจจนเราต้องพูดถึงกันซ�้ำๆ” ๑๓ จะเห็นได้ว่าเมืองกรุงเทพฯ ในช่วงเวลานี้ยังมิได้มีขอบเขตพื้นที่ กว้างขวางมากนัก ความสว่างไสวในยามค�่ำคืนจึงปรากฏอยู่ที่สองฝั่ง ล�ำน�้ำเจ้าพระยาโดยมีพระบรมมหาราชวังเป็นศูนย์กลางแห่งความสว่าง ไสว แล้วค่อยๆ ขยายไปตามชุมชนที่อยู่อาศัยของประชาชนในเขต ก� ำ แพงพระนครและนอกก�ำ แพงพระนครในบริ เ วณชุ ม ชนชาวจี น ที่ ส�ำเพ็งและชุมชนชาวตะวันตกทางตอนใต้ ส่วนพื้นที่ที่อยู่ไกลออกไป เป็นป่าหรือทุ่งนาความสว่างจะค่อยๆ จางลงไปเรื่อยๆ ความสว่างไสวของเมืองกรุงเทพฯ ในยามค�่ำคืนในยุคนี้ล้วน เกิดจากแสงตะเกียงหรือโคมไฟที่ต้องอาศัยน�้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ใน สมัยรัชกาลที่ ๔ จึงได้มีการใช้ไฟแก๊สที่ท�ำด้วยลมไม่ใช่น�้ำมันขึ้นเป็น ครั้งแรก เริ่มใช้จุดที่โรงจักรสีของนายสก็อต แอนด์ คอมพานี (Scott & Company) เพื่อให้มีโคมตามไฟสว่างในเวลากลางคืน ก่อนวันที่ ท�ำการจุดโคมไฟแก๊สได้มีการออกประกาศเชิญชวนชนทั้งปวงในกรุง เทพฯ ให้ไปดูการจุดไฟได้๑๔ ผลของการจุดโคมไฟแก๊สให้ประชาชน ดูในครั้งนั้นได้สร้างความตื่นตาตื่นใจในความสะดวกและความสว่าง ไสวของไฟแก๊ส จนมีการเสนอให้ใช้ไฟแก๊สติดตั้งในโรงสีทุกแห่ง รวม ถึงสถานกงสุล ห้างร้านใหญ่ๆ พระบรมมหาราชวัง และจวนขุนนาง คนส�ำคัญ๑๕ แต่อย่างไรก็ดีไม่พบหลักฐานว่าการใช้ไฟแก๊สน�ำมาซึ่ง ปัญหาเรื่องสุขภาพจากแก๊สที่ระเหยออกมาเช่นเดียวกับประเทศใน ยุโรปหรือไม่ และไม่ปรากฏหลักฐานว่าไฟแก๊สได้รับการพัฒนาขึ้นมา มากน้อยเพียงใด จนกระทั่งการพัฒนาแสงไฟในกรุงเทพฯ ได้ก้าว
วีระยุทธ ปีสาลี 19
หน้าไปอีกขั้นเมื่อชนชั้นน�ำสยามหันมาให้ความสนใจต่อไฟฟ้าอันเป็น แสงสว่างสมัยใหม่และน�ำเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗
กิจการไฟฟ้าในกรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๘
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เมื่อครั้งยังด�ำรง บรรดาศักดิ์เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนารถเป็นผู้ริเริ่มน�ำไฟฟ้าเข้ามาใช้ใน กรุงเทพฯ โดยติดตั้งแทนโคมระย้าแก้วที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นแห่งแรก๑๖ ต่อมาชนชั้นน�ำสยามน�ำโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น สรรพสาตรศุภกิจได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตท�ำกิจการ ไฟฟ้าจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวความว่า “ในกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ ข้าราชการและราษฎรในกรุงเทพฯ ได้ อาไศรยแสงสว่างด้วยน�้ำมันปิดโตรเรียมกันทั้งสิ้น การที่ใช้น�้ำมัน ปิดโตรเรียมนี้มักจะเกิดอันตรายได้หลายอย่าง นายห้างและพ่อค้า มักจะกดราคาขึ้นราคาลงไม่เป็นการยุติธรรมได้ เพราะฉะนั้นข้าพระ พุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าควรจะใช้ไฟฟ้าเสียจึงจะเป็นคุณและเป็น ประโยชน์อันมากแก่ราษฎร จึงได้ให้คนออกไปไต่สวนสืบตามราษฎร แลข้าราชการก็มีผู้เห็นด้วยโดยมาก ยอมจะใช้ไฟฟ้ากันเป็นอันมาก เพราะราคาที่ถูกลงกว่าตะเกียงน�้ำมัน แล้วกันอันตรายต่างๆ ในอัคคี ภัย ราคาก็ไม่แพง คืนหนึ่งยังรุ่ง เดือนหนึ่งถึงต�ำลึงเท่านั้น ท�ำค่าโคม แลสายเสร็จ” ๑๗ พระองค์และคณะผู้ถือหุ้นได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทชื่อ “บริษัท ไฟฟ้าสยาม”๑๘ เปิดท�ำการจ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้าในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ สถานที่ตั้งของบริษัทและโรงไฟฟ้าอยู่ที่วัดราชบุรณะหรือวัดเลียบ แต่ ด้วยปัญหาด้านเงินทุน การขาดความรู้ทางเทคโนโลยี และการบริหาร จัดการธุรกิจ ท�ำให้บริษัทไฟฟ้าสยามต้องปิดกิจการลงในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ รัฐจึงจ�ำเป็นต้องเข้ามาซื้อกิจการไฟฟ้าต่อเพื่อจัดการปัญหาการล้ม
20 กรุงเทพฯ ยามราตรี
โรงไฟฟ้าที่วัดราชบุรณะหรือวัดเลียบ ที่เห็นปล่องไฟตอนบนของภาพ (ภาพจาก Twentieth Century Impressions of Siam. 1994)
ละลายของบริษัทไฟฟ้าสยาม กิจการไฟฟ้าจึงตกอยู่ในความดูแลของ รัฐตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๕ อย่างไรก็ดี ในทศวรรษที่ ๒๔๓๐ รัฐยังไม่มี ความสนใจที่จะส่งเสริมกิจการไฟฟ้าเท่าใดนัก เพราะปรากฏว่า เมื่อ มิสเตอร์เอล อี. เบนเน็ต ชาวอเมริกัน เข้ามาติดต่อขอเช่าท�ำกิจการ ไฟฟ้าในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ รัฐได้ท�ำสัญญาตกลงทันที ท�ำให้กิจการไฟฟ้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ อยู่ภายใต้การด�ำเนินงานของชาวตะวันตก แต่ ต่อมาไม่นานเมื่อมิสเตอร์เบนเน็ตเล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะได้รับกว่า เท่าตัวจากการขายสัมปทานการจัดท�ำไฟฟ้าจึงได้ขายสัมปทานให้แก่ “บริษัทสยามอิเล็กตริซิตี้ คอมปานี ลิมิเต็ด” ของชาวเดนมาร์กในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ที่ตั้งของโรงไฟฟ้ายังอยู่ที่วัดราชบุรณะเช่นเดิม ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อจาก “บริษัทสยามอิเล็กตริซิตี้ คอมปานี ลิมิเต็ด” เป็น “บริษัทไฟฟ้าสยามคอร์ปอเรชั่น” นอกจากการด�ำเนินงานกิจการไฟฟ้า แล้ว บริษัทไฟฟ้าสยามยังด�ำเนินกิจการรถรางควบคู่ไปด้วย๑๙ ในทศวรรษที่ ๒๔๕๐ ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ได้ จ�ำกัดอยู่เฉพาะการให้แสงสว่างเท่านั้น ท�ำให้รัฐเปลี่ยนทัศนคติมีความ
วีระยุทธ ปีสาลี 21
คิดริเริ่มที่จะลงทุนกิจการไฟฟ้าใช้เองในสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยตั้งโรง ไฟฟ้าขึ้นทางตอนเหนือของพระนครริมแม่น�้ำเจ้าพระยาบริเวณต�ำบล สามเสน จุดมุ่งหมายหลักของการตั้งโรงไฟฟ้าฝ่ายเหนือของรัฐคือ ต้องการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในพื้นที่สวนดุสิตและใช้ในกิจการประปา และโรงยาฝิ่นของรัฐ๒๐ โรงไฟฟ้าสามเสนจึงเป็นกิจการไฟฟ้าแห่งแรก ของรัฐ รัฐบาลเริ่มด�ำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าสามเสนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ จนแล้วเสร็จสามารถเปิดจ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ โดยจ่ายกระแสไฟฟ้าครั้งแรกให้กับการประปาและโรงบรรจุ ยาฝิ่นหลวงก่อนสถานที่อื่น การเปิดจ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าสามเสนส่งผลกระทบ ต่ อ พื้ น ที่ ก ารจ�ำ หน่ า ยไฟฟ้ า ของบริ ษั ท ไฟฟ้ า สยามของชาวตะวั น ตก จนเกิดการแข่งขันการค้าระหว่างกัน กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๕๘ บริษัท ไฟฟ้าสยามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอแบ่งปันเขตจุดไฟฟ้าระหว่างบริษัท กับการไฟฟ้าสามเสน โดยโรงไฟฟ้าสามเสนจะท�ำการติดตั้งไฟฟ้าให้ กับสถานที่ต่างๆ ในพื้นที่ตอนบนของแนวคลองบางล�ำพูและคลอง มหานาค ส่วนบริษัทไฟฟ้าสยามจะจ�ำหน่ายไฟฟ้าทางตอนล่างของ คลองบางล�ำพูและคลองมหานาคลงมา๒๑
ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืนหลังมีไฟฟ้า พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๘๓
กิจการโรงไฟฟ้าทั้ง ๒ แห่งได้ท�ำการจ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้าไป ยังพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ ในช่วงทศวรรษที่ ๒๔๓๐-๒๔๘๐ ท�ำให้ ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืนในช่วงเวลานี้สว่างไสวด้วยแสงไฟฟ้า ควบคู่กับแสงสว่างจากเครื่องตามประทีป และการติดตั้งไฟฟ้าตาม ถนนต่างๆ ช่วยท�ำให้เส้นแสดงรูปร่างของเมืองยามค�่ำคืนปรากฏขึ้นมา สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพของเมืองกรุง เทพฯ ที่เคลื่อนจากสังคมน�้ำไปสู่สังคมบกหรือสังคมเมืองสมัยใหม่
22 กรุงเทพฯ ยามราตรี
เมืองกรุงเทพฯ ในสังคมเมืองสมัยใหม่ ในทศวรรษที่ ๒๔๓๐ ถนนยิ่งทวีความส�ำคัญมากขึ้นจนมีการ ตัดถนนอย่างขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการตัดถนของภาครัฐหรือเอกชน เช่น ถนนเยาวราช ถนนราชวงศ์ ถนนส�ำเพ็ง ถนนจักรวรรดิ ถนน อนุวงศ์ และถนนชนะสงคราม (ถนนข้าวสาร) เป็นต้น ตลอดรัชกาล ที่ ๕ พบว่ามีการตัดถนนมากกว่า ๑๑๐ สาย๒๒ การตัดถนนจ�ำนวน มากขนาดนี้ท�ำให้พื้นที่เมืองกรุงเทพฯ ขยายตัวไปตามเส้นทางถนน ต่างๆ ทั้งทางด้านใต้ ด้านตะวันออก และด้านเหนือของพระนคร ที่เห็นได้ชัดคือการขยายพื้นที่เมืองไปทางด้านเหนือในปลาย รัชกาลที่ ๕ จากการตัดถนนราชด�ำเนินใน ถนนราชด�ำเนินกลาง และ ถนนราชด�ำเนินนอกในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่าง พระบรมมหาราชวังกับพระราชวังดุสิตที่รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างขึ้นภาย หลังจากการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ถนนทั้ง ๓ สายได้รับแบบอย่างมาจากถนนในประเทศยุโรปทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี การสร้างพระราชวังดุสิตจึงท�ำให้เกิดการขยายพื้นที่เมือง ชุมชน และย่านการค้าไปสู่ทางตอนเหนือของเมืองกรุงเทพฯ ในช่วงปลาย รัชกาลที่ ๖ ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ ๗ การขยายพื้นที่เมืองกรุงเทพฯ ไปทางด้านเหนือสามารถพิจารณาได้จากการที่มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และเจ้านายมาซื้อที่ปลูกบ้านและสร้างวังกันมากขึ้น คือแถบคลองเปรม ประชากร เพราะการคมนาคมมีความสะดวกสบายโดยใช้ถนนพระ รามที่ ๕ เป็นหลัก อีกทั้งราคาที่ดินก็ยังต�่ำกว่าทางถนนสีลม สุรวงศ์ สี่ พ ระยา สาทร เพชรบุ รี หรื อ แถบในเมื อ ง เช่ น บางล� ำ พู นางเลิ้ ง ปทุมวัน ฯลฯ๒๓ ส่วนทางด้านใต้ของเมืองได้ขยายไปตามเส้นทางของถนนเจริญ กรุงไปจนถึงวัดพระยาไกร และยังมีถนนสีลมที่เริ่มมีความส�ำคัญมาก ขึ้นตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ สังเกตได้จากในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ถนนสีลม จัดว่าเป็นถนนที่พลุกพล่าน เต็มไปด้วยกิจกรรมต่างๆ สายหนึ่งของ
วีระยุทธ ปีสาลี 23
กรุงเทพฯ ตั้งแต่เช้าจนดึก๒๔ ในขณะที่พื้นที่ทางด้านตะวันออกขยาย ไปไกลถึงสวนลุมพินี นอกจากการขยายพื้ น ที่ เ มื อ งแล้ ว ถนนหนทางก็ ไ ด้ รั บ การ พัฒนาให้ ทันสมัยมากขึ้นโดยมีก ารราดน�้ำ มัน หรือ ยางมะตอยเคี่ยว อย่างในต่างประเทศเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เริ่มราดยางตั้งแต่ ถนนเชิงสะพานมอญถึงสี่กั๊กพระยาศรีจนสุดถนนเจริญกรุง๒๕ ครั้น ถึงทศวรรษที่ ๒๔๘๐ จึงเริ่มมีถนนคอนกรีตเกิดขึ้น๒๖ ในทศวรรษที่ ๒๔๖๐ ตึกรามบ้านช่องริมถนนก็ได้รับการพัฒนาจนมีผู้สังเกตเห็นว่า “กรุงเทพฯ เปลี่ยนไปมากกว่า ๕๐% ในครั้งกระโน้นย่อมจะ ได้เคยเห็นมีเรือนฝาขัดแตะหลังคาจาก เล้าเป็ด เล้าหมู เกลื่อนไปตาม ริมถนนหนทาง และสรรพสิ่งอันรุงรังสกปรก ซึ่งเป็นเครื่องแสดงความ เป็นป่าเถื่อนได้มีอย่างฟุ่มเฟือยในพระนคร สถานที่น่าพึงทัศนาก็มีอยู่ แต่พระบรมมหาราชวัง โบสถ์ วิหาร และวังเจ้านายเท่านัน้ ตึกร้านงามๆ ทั้งหลายค่อยเกิดขึ้นเป็นอนุวัตร์ตามกาลเรื่อยๆ มา เราจึงได้เห็น กรุงเทพพระมหานครดังที่เป็นอยู่ ณ บัดนี้” ๒๗ การสร้างตึกแถวริมถนนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดนั้นถูกสร้างขึ้น ในทศวรรษที่ ๒๔๗๐ คือตึก ๗ ชั้นหรือตึกด�ำรงพาณิชย์และตึก ๙ ชั้นหรือตึกไพบูลย์สมบัติที่ถนนเยาวราช๒๘ เนื่องจากเป็นตึกที่สูงที่สุด ในกรุงเทพฯ ในขณะนั้น และยังถูกใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ในยามค�่ำคืนของคนกรุงเทพฯ ด้วย ในทศวรรษเดียวกันนี้ยังได้มี การสร้างโฮเต็ลเพื่อแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองคือโฮเต็ล โทรคาเดโร ที่ถนนสุรวงศ์ เพื่อให้บริการแก่พ่อค้าวาณิชชาวต่างประเทศ ที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ๒๙ ครั้นเมื่อมีการพัฒนาถนนหนทางและสร้างที่อยู่อาศัยริมถนน มากขึ้น ก�ำแพงเมืองที่เคยเป็นสิ่งป้องกันภัยจากสงครามและเป็น สัญลักษณ์ของเมืองในสมัยจารีตจึงกลายเป็นสิ่งระเกะระกะกีดขวาง ทางสัญจรทางบก ดังนั้น จึงมีการรื้อก�ำแพงเมืองเกิดขึ้นตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา การรื้อก�ำแพงเมืองยังเป็นผลมาจากการขยาย ตัวทางการค้าตามตึกแถวริมถนนต่างๆ เพราะปรากฏว่าในสมัยรัชกาล
24 กรุงเทพฯ ยามราตรี
ที่ ๖-๗ ได้มีการรื้อก�ำแพงเมืองเป็นจ�ำนวนมากเพื่อน�ำพื้นที่นั้นไปปลูก สร้างเป็นตึกแถวและร้านค้าริมถนน๓๐ สิ่ ง ที่ ช ่ ว ยยื น ยั น ว่ า กรุ ง เทพฯ ได้ ก ลายเป็ น เมื อ งสมั ย ใหม่ อี ก ประการหนึ่ ง ก็ คื อ ความแพร่ ห ลายของยวดยานพาหนะที่ ใ ช้ สั ญ จร บนท้องถนน ดังปรากฏว่าตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ ๒๔๒๐ เป็นต้นมา มีการน�ำยานพาหนะส�ำหรับสัญจรทางบกเข้ามาในกรุงเทพฯ หลาย ประเภท นับตั้งแต่รถจักรยานที่เข้ามาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๒๗๒๔๓๐ รถเมล์ประจ�ำทางแบบใช้ม้าวิ่งกับรถเก๋งน�ำเข้ามาในปี พ.ศ. ๒๔๒๖-๒๔๒๗ รถลากหรื อ รถเจ๊ ก เข้ า มาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๐ รถรางเริ่มเดินรถในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ รถยนต์ส่วนบุคคลคันแรกเข้ามา ราวปี พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๔๕ รถเมล์ขาวของนายเลิศเริ่มออกเดินรถ บริการในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ และรถแท็กซี่ของพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เริ่มด�ำเนินการราวปี พ.ศ. ๒๔๖๗-๒๔๖๘๓๑ การน�ำเข้ายานพาหนะทางบกทั้งหมดนี้ช่วยให้การเดินทางในกรุงเทพฯ สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น คนกรุงเทพฯ จึงสามารถเดินทางไปยัง พื้นที่ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ของเมืองยามค�่ำคืนก็ตาม ภูมิทัศน์เมืองยามค�่ำคืน ในสังคมเมืองสมัยใหม่ ไฟฟ้ามีบทบาทต่อการให้ภาพภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืน ในสังคมเมืองสมัยใหม่ แม้ว่าในช่วงแรกระหว่างทศวรรษที่ ๒๔๓๐๒๔๕๐ เครื่องตามประทีปยังคงมีบทบาทในการให้แสงสว่างในยาม ค�่ำคืนอยู่ ดังที่ ลูเซียง ฟูร์เนอโร (Lucien Fournereau) สถาปนิก และผู้ตรวจการด้านการศึกษาศิลปะและพิพิธภัณฑ์ชาวฝรั่งเศสที่เดิน ทางเข้ามากรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้กล่าวถึงภูมิทัศน์เมืองกรุง เทพฯ ยามค�่ำคืนในพื้นที่ตอนใต้ไว้ว่า “ในเวลากลางคืนเมืองกรุงเทพฯ สว่างไสวด้วยแสงจากโคมไฟน�้ำมันปิโตรเลียม” ๓๒ หรือนายแพทย์ มัลคอล์ม สมิธ (Dr. Malcolm Smith) ที่เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ เพื่อเป็นแพทย์ประจ�ำพระองค์ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี
วีระยุทธ ปีสาลี 25
คลองรอบกรุงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในภาพจะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงจากสังคม น�้ำเข้าสู่สังคมบก การเกิดตึกแถวที่สัมพันธ์กับการพักอาศัยบนบกมากขึ้น และการใช้ เส้นทางคมนาคมทางบก คือการหันหลังให้คลองหันหน้าสู่ถนน
ชีวิตยามกลางวันของผู้คนในกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่มีการพัฒนาโครงสร้าง เมืองด้านกายภาพทั้งถนนและรูปแบบที่พักอาศัยเกิดการเดินทาง การค้าขาย และเสา ไฟฟ้า
26 กรุงเทพฯ ยามราตรี
นาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในช่วงต้นรัชกาลที่ ๖ กล่าวว่า “ตก กลางคืนเมืองกรุงเทพฯ ก็สว่างไสวไปด้วยแสงจากตะเกียงและโคมไฟ นับพันๆ ดวง” ๓๓ เช่นเดียวกับเจ้าชายวิลเลี่ยมแห่งสวีเดน (William of Sweden) ที่เสด็จฯ เข้ามากรุงเทพฯ เพื่อร่วมพระราชพิธีบรมราชา ภิเษกของรัชกาลที่ ๖ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ก็เห็นว่า “เมืองกรุงเทพฯ ยาม ค�่ำคืนนั้นสว่างไสวไปด้วยแสงจากตะเกียงและโคมน�้ำมันมะพร้าว” ๓๔ ครั้นถึงปลายทศวรรษที่ ๒๔๕๐ ไฟฟ้าจึงมีบทบาทต่อการให้ ภาพภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืนอย่างแท้จริง ดังกรณีการเปิด ใช้โคมไฟฟ้าที่ถนนสามเสนที่แสดงให้เห็นถึงความสว่างไสวว่า “เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ เจ้าพนัก งานกรมสุ ข าภิ บ าลเหนื อ ได้ เ ปิ ด ใช้ แ รงไฟฟ้ า ตามถนนหลวงในเขต สุขาภิบาลเหนือตามเสารัฐบาล มีถนนสามเสนเป็นอาทิ ใช้โคมชนิด ออสแลมดูสว่างไสวดี” ๓๕ ตั้งแต่ทศวรรษที่ ๒๔๖๐ เป็นต้นมา ไฟฟ้าจึงเป็นปัจจัยส�ำคัญ ที่ท�ำให้กรุงเทพฯ กลายสภาพเป็นเมืองกลางคืนทางกายภาพ ดังที่ เอบบี คอร์เนอร์อัพ (Ebbe Kornerup) ผู้เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ในทศวรรษที ่ ๒๔๖๐ บรรยายถึงการนั่งรถเที่ยวดูทัศนียภาพของเมือง กรุงเทพฯ ยามค�่ำคืนโดยเฉพาะพื้นที่ตอนใต้ไว้ว่า “ถนนต่างๆ เอิบอาบ ไปด้วยโคมไฟฟ้าชนิดอาร์คแลม (arc-lamps)”๓๖ ขณะที่ เฮอร์แมน นอร์เดน (Hermann Norden) ชาวอเมริกันที่เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ในทศวรรษที่ ๒๔๖๐ เช่นกัน กล่าวถึงภูมิทัศน์เมืองยามค�่ำคืนบริเวณ ถนนราชวงศ์ไว้ว่า “ท้องถนนลานตาไปด้วยความสว่างของไฟฟ้าที่ติด อยู่รอบๆ โรงละคร โรงภาพยนตร์ ขณะท� ำการแสดงเพื่อความสนุก หลังความร้อนในเวลากลางวัน” ๓๗ ไม่ต่างจากถนนราชวงศ์ในทศวรรษ ที่ ๒๔๘๐ ที่หม่อมเจ้าวุฒิเฉลิม วุฒิชัย (ท่านหญิงวุฒิเฉลิม กิลเบอร์ต) ร�ำลึกถึงในวัยเยาว์ว่า “อะไรคือเสน่ห์ของราชวงศ์นอกไปจากบะหมี่และ ไอศกรีมเยลลี่ เขาว่ามีไฟฟ้าเปิดสว่างไสว แถมข้างขึ้นยังมีแสงจันทร์ มาช่วยให้สีนวลขึ้นอีกด้วย” ๓๘ ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืนในทศวรรษที่ ๒๔๖๐-๒๔๘๐
วีระยุทธ ปีสาลี 27
ยังประกอบไปด้วยภาพของตึกรามบ้านช่องริมถนนต่างๆ ที่ถูกสร้าง ขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมยามค�่ำคืนของผู้คนในสังคมเมืองสมัยใหม่ เช่น ภัตตาคาร โรงมหรสพ และโรงภาพยนตร์ เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจาก ภูมิทัศน์เมืองในสังคมจารีตที่ส่วนใหญ่เป็นภาพของพระบรมมหาราชวัง วัดวาอาราม เรือนแพ และเรือสินค้า ตามที่ กุมุท จันทร์เรือง บรรยาย ไว้ว่า “ผมก็ตะลึงพรึงเพริดไปกับตึกสูงห้าชั้น หกชั้น เจ็ดชั้น ตึกที่สูง ที่สุดที่ผมเคยเห็นมาในชีวิตนี้มีแค่สองชั้นเท่านั้น แสงไฟยามค�่ำคืน ตามร้านรวงต่างๆ ดึงดูดความสนใจของผมอย่างมาก ราวกับว่าใน ชีวิตนี้ผมไม่เคยเห็นแสงไฟฟ้ามาก่อนเลย นอกจากแสงระยิบระยับ ของดวงดาวกลางทุ่งหญ้าอันเวิ้งว้างโดดเดี่ยว ผมผ่านโรงละครโรง แล้วโรงเล่า ผ่านโรงภาพยนตร์ก็หลายโรง ผ่านโรงลิเก โรงงิ้ว โรงระบ�ำ และโรงมหรสพ ผมผ่านร้านภัตตาคารอาหารฝรั่ง ภัตตาคารอาหารจีน ภัตตาคารอาหารสยาม สนามแข่งม้า สวนสนุก ผ่านสถาบันปลาสเตอร์ (หลุยส์ ปลาสเตอร์) ผ่านโรงพยาบาลอันทันสมัย ผ่านตึกอาคารโรง เรียน ผ่านบ้านที่ตั้งตระหง่านเรียงกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด บางกอกก็คือ สวรรค์บนดินจริงๆ ของเด็กชายบ้านนอก” ๓๙ ครั้นถึงทศวรรษที่ ๒๔๘๐ ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืน ที่โดดเด่นขึ้นมาจนแทบไม่มีใครในสมัยนั้นไม่เอ่ยถึงคือภูมิทัศน์ของ ถนนราชด�ำเนินกลางที่เพิ่งได้รับการสร้างกลุ่มอาคารริมถนนตามอย่าง ถนนชองป์ เซลิเซส์ (Champs ÉÉlysées) ในประเทศฝรั่งเศส และได้ สร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขึ้นมาอยู่ใจกลางถนนในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ส่งผลให้คนกรุงเทพฯ ออกมาเดินเที่ยวเล่นชมแสงไฟริมถนนราชด�ำเนิน ในยามค�่ำคืน ดังที่ หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ (พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๕๕๖) นักเขียนนวนิยายและสารคดีกล่าวไว้ว่า “ว่าที่จริง สมัยนั้นถนนราช ด�ำเนินก็สวยงามจริงๆ เสียด้วย ตอนค�่ำเปิดไฟถนนสว่างอร่ามเรือง มีผู้คนออกมาเดินเล่นกันจนดึกดื่น บางทีก็ไปนั่งเล่นกันแถวอนุสาวรีย ์ กรุงเทพฯ เวลานั้นสมกับเพลงที่ร้องกัน” ๔๐ เพลงที่ร้องกันนี้ก็คือเพลง “กรุงเทพฯ ราตรี” ของวงดนตรีสุนทราภรณ์นั่นเอง
28 กรุงเทพฯ ยามราตรี
ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืนยังพิจารณาได้จากการประดับ ประดาตกแต่งโคมไฟฟ้าอันเป็นของแปลกใหม่ในงานเฉลิมพระชนม พรรษา งานสมโภช งานเทศกาล งานวัด งานฤดูหนาว และงานฉลอง รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะงานวัดเบญจมบพิตรได้มีการประดับประดา พระอารามอย่างงดงามด้วยโคมไฟฟ้าในท�ำนองเดียวกับอาคารที่ประดับ หลอดไฟฟ้า (Electrical Building) ในงาน “เอกซฮิบิเชน” ที่ต่าง ประเทศ๔๑ ไฟฟ้าจึงช่วยให้งานมหกรรมออกร้านตอนกลางคืนด�ำเนิน ไปได้อย่างยาวนานขึ้น งานมหกรรมกลางคืนจึงเริ่มประสบผลส�ำเร็จ และมีส่วนต่อการสร้างภาพภูมิทัศน์เมืองยามค�ำ่ คืนให้สว่างไสว การพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ ในสังคมสมัยใหม่และการพัฒนา แสงไฟในเมืองท�ำให้เกิดพื้นที่สาธารณะกลางคืนของเมืองส�ำหรับรอง รับกิจกรรมยามค�่ำคืนนอกบ้านมากขึ้น นั่นก็คือการขยายตัวของย่าน กลางคืนในทศวรรษที่ ๒๔๖๐-๒๔๘๐
ย่านกลางคืนของเมืองกรุงเทพฯ ทศวรรษที่ ๒๔๖๐-๒๔๘๐
ย่านกลางคืนของเมืองเป็นย่านการค้าหรือเป็นพื้นที่สาธารณะ กลางคืนของเมืองที่เป็นแหล่งรวมผู้คนให้เข้ามาแสวงหาสินค้าและ บริการต่างๆ เพื่อความส�ำราญในยามราตรี ก่อนการขยายตัวของย่านกลางคืนในทศวรรษที ่ ๒๔๖๐-๒๔๘๐ กรุงเทพฯ มีย่านกลางคืนเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์แล้ว คือ ย่านส�ำเพ็ง ที่มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ได้แก่ โรงบ่อน โรง โสเภณี และโรงสูบฝิ่น เป็นต้น คนกรุงเทพฯ ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ จึงสามารถออกมาหาความบันเทิงยามค�ำ่ คืนนอกบ้านได้ที่ย่านส�ำเพ็ง นอกจากส� ำเพ็งก็มีย่านตลาดท้ายวังหรือตลาดท้ายพระบรม มหาราชวังหรือตลาดท่าเตียน เป็นย่านการค้าเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัย ต้นรัตนโกสินทร์เช่นกัน ตลาดท่าเตียนเป็นศูนย์รวมของสินค้าชนิด ต่างๆ ก่อนที่จะกระจายไปสู่ตลาดอื่นๆ๔๒ ในเวลากลางคืนมีร้านค้ามา
วีระยุทธ ปีสาลี 29
ตั้งร้านขายเหล้าและขายอาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยว ผัดหมี่ ข้าวต้มเป็ด๔๓ ท�ำให้เป็นสถานที่ที่มีคนเดินพลุกพล่านจอแจในยามค�ำ่ คืน ส่วนบริเวณใจกลางพระนครก็มีย่านสามแพร่ง ประกอบด้วย แพร่งภูธร แพร่งนรา และแพร่งสรรพศาสตร์ ชื่อสามแพร่งนี้มีที่มา จากชื่อวังของเจ้านาย ๓ พระองค์คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น ภูธเรศธ�ำรงศักดิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ย่านสามแพร่ง เติบโตขึ้นมาจากการตัดถนนตอนกลางพระนคร ได้แก่ ถนนบ�ำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนบูรณศาสตร์ ถนนอัษฎางค์ และถนนตะนาว ถนน ดังกล่าวได้ล้อมรอบพื้นที่ของสามแพร่งเอาไว้ให้เป็นเขตที่อยู่อาศัย และย่านการค้าทั้งของชาวไทย ชาวจีน และชาวตะวันตก ในเวลา กลางคืนบริเวณนี้โดยเฉพาะที่สี่แยกถนนบ� ำรุงเมืองมีการตั้งร้านขาย ของมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ๔๔ นอกจากร้านค้าทั่วไปแล้วก็มีร้าน เขียนหวยของคนจีนที่เปิดอยู่เกือบตลอดคืน ร้านขายอาหารของชาว แขกยะวาที่มีชื่อเสียงคือสิงคโปร์โฮเต็ล และมีซ่องโสเภณีที่รู้จักกันดี ในหมู่นักเที่ยวที่ปลายถนนแพร่งสรรพศาสตร์๔๕ ครั้ น ถึ ง ทศวรรษที่ ๒๔๖๐-๒๔๘๐ ได้ เ กิ ด การขยายตั ว ของ ย่านกลางคืน ได้แก่ ย่านส�ำเพ็งและเยาวราช ย่านราชวงศ์ ย่านตลาด บ�ำเพ็ญบุญ ย่านบางรัก ย่านบางล�ำพู และย่านสะพานพุทธ ย่านส�ำเพ็งและเยาวราช เมื่อมีการตัดถนนเยาวราชเข้าไปในเขตชุมชนชาวจีนที่ส� ำเพ็ง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงได้เกิดย่านเยาวราชขึ้น ที่ตั้งของย่านส�ำเพ็งและ เยาวราชอยู่ทางตอนใต้ของพระนครในบริเวณถนนเยาวราชและถนน ใกล้เคียง เช่น ถนนเจริญกรุงจนถึงสี่แยกราชวงศ์ ตัวอย่างของร้าน ค้าในย่านส�ำเพ็งและเยาวราชเมื่อปลายรัชกาลที่ ๕ ประกอบด้วยร้าน ขายหมู ขายผัก ร้านหนังสือ ร้านเครื่องประดับเงินและหยก ร้านขาย รองเท้าแตะ ของตกแต่งในงานศพ น�้ำหอม อาหารกระป๋อง กระจก ดอกไม้ สัตว์ต่างๆ และของจับฉ่ายจากยุโรป ฯลฯ๔๖ ร้านค้าเหล่านี้
30 กรุงเทพฯ ยามราตรี
เปิดขายในเวลากลางวัน แต่ส�ำหรับเวลากลางคืนส�ำเพ็งและเยาวราช ก็มีร้านรวงประเภทต่างๆ เปิดรองรับลูกค้าที่ออกมาเที่ยวเตร่หาความ ส�ำราญในยามค�่ำคืนมากมาย ระหว่างทศวรรษที่ ๒๔๖๐-๒๔๘๐ ย่านส�ำเพ็งและเยาวราชได้ เจริญเติบโตขึ้นกว่าเดิมด้วยการเป็นเขตเศรษฐกิจและย่านกลางคืน ของเมืองสมัยใหม่ เพราะได้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในยามค�่ำคืน ของเมืองสมัยใหม่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นโรงมหรสพ โรง ภาพยนตร์ สถานกินดื่มสาธารณะ สถานเริงรมย์ ภัตตาคาร ร้านค้า ร้านกาแฟ โรงน�้ำชา โรงยาฝิ่น บ่อนการพนัน และส�ำนักโสเภณีที่เปิด ให้บริการตลอดคืน แต่สถานที่ที่ดึงดูดผู้คนได้มากที่สุดคือโรงงิ้ว รองลงมาคือภัตตาคารอาหาร เช่น ภัตตาคารหย่งซิน (ย่งเฮง) ตั้งอยู่ ที่สี่แยกวัดตึก ภัตตาคารเยาวยื่นตั้งอยู่บนชั้นสามของตึกที่อยู่ตรงข้าม กับโรงงิ้วเทียนกัวเทียน (โรงงิ้วทีอ่วยที) เป็นต้น สิ่งบันเทิงเหล่านี้ถือ ได้ว่าเป็นสีสันแห่งถนนเยาวราชในยามค�ำ่ คืน๔๗ จนกล่าวได้ว่าบรรยากาศยามค�ำ่ คืนของย่านส�ำเพ็งและเยาวราช นั้นไม่ต่างจากย่านเสกถ่องจุ่ย (Shek Tong Tsui) ที่เป็นแหล่งเที่ยว กินดื่มแหล่งใหญ่ของฮ่องกงในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐๔๘ ย่านราชวงศ์ ใกล้ๆ กับย่านส�ำเพ็งและเยาวราชมีย่านราชวงศ์ เป็นย่านที่ได้ รับความนิยมอย่างมากในทศวรรษที่ ๒๔๖๐-๒๔๘๐ โดยเฉพาะใน กลุ่มคนชั้นสูงและคนชั้นกลางทั้งผู้ดีเก่าและผู้ดีใหม่ เพราะหลังจาก ภาพยนตร์เลิกหนุ่มสาวสังคมสมัยนั้นต่างพากันนั่งรถกินลมเล่นและ เลยไปรับประทานอาหารหรือไอศกรีมที่ถนนราชวงศ์ จนเป็นสูตรส�ำเร็จ ส�ำหรับนวนิยายที่มีฉากชีวิตของคนชั้นสูงและคนชั้นกลางในช่วงเวลา นั้นว่าต้องไปหาอะไรกินกันที่ถนนราชวงศ์ อย่างน้อยๆ ก็ไอศกรีม สักถ้วยก่อนกลับบ้านไปนอน เมื่อพิจารณาเวลาที่ภาพยนตร์เลิกฉายแล้ว พบว่าย่านราชวงศ์ น่าจะเปิดบริการอยู่ตลอดคืน เพราะกว่าที่ผู้คนจะออกจากโรงภาพยนตร์
วีระยุทธ ปีสาลี 31
ย่านราชวงศ์เป็นย่านที่ได้รับความนิยมอย่างมากในทศวรรษที่ ๒๔๖๐-๒๔๘๐ โดยเฉพาะในกลุ่มคนชั้นสูงและคนชั้นกลางทั้งผู้ดีเก่าและผู้ดีใหม่ที่นิยมไปทานไอศกรีม (ภาพจาก กรุงเทพฯ ๒๔๘๙-๒๕๓๙. กรมศิลปากร, ๒๕๓๙)
รอบสุดท้ายก็ล่วงเข้าเวลาหลังเที่ยงคืนไปแล้ว ดังที่ เฮอร์แมน นอร์เดน บันทึกไว้ว่า “ถนนราชวงศ์ยังคงวุ่นวายอยู่หลังจากการแสดงต่างๆ จบลง” ๔๙ ที่สี่แยกราชวงศ์เป็นที่ตั้งของแหล่งขายอาหารจีนระดับเหลา ภัตตาคารต่างๆ ตั้งเรียงรายไปจนถึงถนนเยาวราช ที่มีชื่อเสียงที่สุด เช่น ภัตตาคารยื่นหนานขายอาหารฮากกา๕๐ และภัตตาคารมีเฮืองยูน ขายอาหารจีน๕๑ ในขณะที่ร้านอาหารว่างที่ขึ้นชื่อลือชาของย่านราชวงศ์ ก็คือร้านแป๊ะม้อ ที่มีทั้งบะหมี่ เกี๊ยวปลา และไอศกรีมรสเลิศ นอก จากร้านขายอาหารแล้วที่ราชวงศ์ยังมีร้านขายเหล้าฝรั่งที่ได้รับความ นิยมจนมีผู้ไปกินกันคับคั่งในเวลากลางคืนตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา๕๒ ต่อมาในทศวรรษที่ ๒๔๗๐ เมื่อมีห้างสรรพสินค้าชื่อ
32 กรุงเทพฯ ยามราตรี
ย่านตลาดบ�ำเพ็ญบุญ ในทศวรรษที่ ๒๔๗๐ เป็นย่านกลางคืนที่ส�ำคัญของถนน เจริญกรุงเป็นตลาดสมัยใหม่ ท�ำเป็นตึกสูงใหญ่ ชั้นล่างขายอาหาร ชั้นบนเป็นโรง มหรสพ ส�ำหรับชั้นล่างที่ขายอาหารก็มีอาหารขายตั้งแต่ค�่ำถึงเที่ยงคืน (ภาพจาก กรุงเทพฯ ๒๔๘๙-๒๕๓๙. กรมศิลปากร, ๒๕๓๙)
ห้างใต้ฟ้าเกิดขึ้น สี่แยกราชวงศ์จึงกลายเป็นย่านการค้าและย่านกลาง คืนที่รุ่งเรืองที่สุด๕๓ ย่านตลาดบ�ำเพ็ญบุญ ในทศวรรษที่ ๒๔๗๐ ได้เกิดย่านกลางคืนที่ส�ำคัญที่ตั้งอยู่อีก ฝั่งหนึ่งของถนนเจริญกรุงตรงข้ามกับศาลาเฉลิมกรุงไม่ไกลจากย่าน ราชวงศ์มากนักคือย่านตลาดบ�ำเพ็ญบุญ เดิมเป็นที่ตั้งของวังสะพาน ถ่านก่อนรื้อและสร้างเป็นตลาดขายอาหาร สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรม พระนครสวรรค์วรพินิตได้เสด็จไปเปิดตลาดบ�ำเพ็ญบุญเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ในวันเปิดตลาดตอนกลางคืนมีภาพยนตร์ของ
วีระยุทธ ปีสาลี 33
บริษัทตงก๊กมาฉายให้ผู้ร่วมงานและคนทั่วไปชม๕๔ ตลาดบ�ำเพ็ญบุญเป็นตลาดสมัยใหม่คือท�ำเป็นตึกสูงใหญ่ ชั้น ล่างขายอาหาร ชั้นบนเป็นโรงมหรสพ ส�ำหรับชั้นล่างที่ขายอาหารก็มี อาหารขายตั้งแต่ค�่ำถึงเที่ยงคืน สามารถเลือกซื้อของว่างรับประทาน ได้ทุกชนิด เช่น เครื่องดื่ม เกี๊ยว บะหมี่ ข้าวต้ม ของหวานไทยและ จีน รวมถึงอาหารแขกทุกชนิด๕๕ ภัตตาคารอาหารที่เลื่องชื่อของย่าน นี้คือ สุทธาโภชนสถาน ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานถ่าน ถนนตีทอง มีอาหาร ฝรั่งและอาหารจีนอย่างโอชารส รวมถึงอาหารไทยปรุงโดยฝีมือนางอุย แม่ครัวมีชื่อ๕๖ นอกจากนั้นตลาดบ�ำเพ็ญบุญยังเป็นที่ตั้งของโรงยาฝิ่น ที่มีชื่อเสียง และล้อมรอบโรงยาฝิ่นก็เป็นร้านขายของเบ็ดเตล็ดให้พวก ที่มาสูบฝิ่นและมาเที่ยวได้เลือกซื้อตามความพอใจ๕๗ ส่วนบริเวณ ใกล้กันคือย่านสะพานถ่านหรือสะพานทอดข้ามคลองวัดราชบพิธไป ตลาดบ� ำ เพ็ ญ บุ ญ นั้ น ถื อ เป็ น ย่ า นโสเภณี ชื่ อ ดั ง ที่ ห นุ ่ ม นั ก ท่ อ งราตรี มักชอบมาเที่ยวแถวนี๕๘ ้ ย่านบางรัก ส่วนที่ชุมชนชาวตะวันตกก็มีย่านบางรัก ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ถนนสี่พระยา สุรวงศ์ สีลม และสาทร บริเวณนี้เชื่อมต่อจากถนน เจริญ กรุ ง ตอนใต้ เ ข้ า มา ย่ า นนี้น อกจากจะเป็ น ที่อ ยู ่ อ าศัย ของชาว ตะวันตกแล้วยังเป็นย่านธุรกิจการค้าขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่ธุรกิจขนาดเล็ก และมีผู้ประกอบการรายย่อยอย่างส�ำเพ็ง แต่เป็นพวกที่มีฐานะดีกว่า และสามารถจ่ายค่าเช่าที่ริมถนนใหญ่ได้ โดยมีห้างร้านของชาวยุโรป ตั้งอยู่หลายร้าน แต่ละร้านไม่ได้เป็นห้องชั้นเดียว แต่สร้างสูงขึ้นเป็น ร้านขายสินค้าหลายชั้น๕๙ ย่านบางรักเจริญขึ้นมากตั้งแต่ทศวรรษที ่ ๒๔๖๐ จนกลายเป็น แหล่งธุรกิจขนาดใหญ่ มีการคมนาคมขนส่งสะดวกสบาย ตลอดจน มีโฮเต็ลที่สร้างขึ้นใหม่เพื่ออ�ำนวยความสะดวกแก่พ่อค้าวาณิชต่าง ประเทศที่เข้ามาอยู่และเที่ยวดูพระนคร โดยเฉพาะที่ถนนสุรวงศ์ เช่น โฮเต็ลโทรคาเดโร และโฮเต็ลเวมเบล๖๐ ขณะเดียวกันถนนสุรวงศ์
34 กรุงเทพฯ ยามราตรี
ก็กลายเป็นสวรรค์แห่งสถานเริงรมย์เพราะมีทั้งโรงเต้นร�ำและเบียร์ ฮอลล์ตั้งขึ้นหลายแห่ง จนกล่าวได้ว่าเวลานั้นสถานที่เต้นร�ำที่เรียกว่า ฮอลล์มีมากที่สุดอยู่ที่ถนนสุรวงศ์ ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ตฮอลล์ โรส ฮอลล์ เวมบลี้ มูแลงรูจ และลูน่าฮอลล์๖๑ ความแพร่หลายของสถาน เริงรมย์ดังกล่าวท�ำให้บางรักกลายเป็นย่านกลางคืนแบบตะวันตกที่ ส�ำคัญที่สุดของกรุงเทพฯ ตรงข้ามกับย่านส�ำเพ็งและเยาวราชที่เป็น ย่านกลางคืนแบบจีน ย่านบางล�ำพู ที่ได้กล่าวไปทั้งหมดก่อนหน้านั้นเป็นย่านกลางคืนที่อยู่ทาง ตอนใต้ของเมือง ส่วนทางตอนเหนือมีย่านบางล�ำพูเป็นย่านกลางคืน ที่ส�ำคัญอีกแห่งหนึ่ง แม้ว่าอาจไม่ได้คึกคักเท่ากับย่านกลางคืนทาง ตอนใต้ แต่ก็มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในยามค�่ำคืนเช่นกัน ได้แก่ โรงภาพยนตร์บางล�ำพู โรงภาพยนตร์เฉลิมเมือง โรงภาพยนตร์ปีนัง และร้านอาหารเปิดใหม่ที่ตึกแถวเบอร์ ๘๕ หน้าโรงภาพยนตร์ปีนัง๖๒ นอกจากนี้ตลาดบางล�ำพูในเวลากลางคืนจะมีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งร้าน ขายทุเรียนประมาณสิบกว่าร้านอยู่ที่หน้าวิกลิเกคณะหอมหวล จน เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าตลาดทุเรียน๖๓ เมือ่ เปรียบเทียบระหว่างย่านบางล�ำพูกบั ย่านกลางคืนอืน่ ๆ ทีอ่ ยู่ ทางตอนใต้ของเมืองแล้วพบว่าย่านบางล�ำพูยงั ไม่มสี งิ่ บันเทิงแบบสังคม เมืองสมัยใหม่จ�ำพวกสถานเริงรมย์มากเท่ากับย่านอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจาก บางล�ำพูไม่ใช่เขตที่อยู่อาศัยของชาวตะวันตกและไม่ใช่เขตเศรษฐกิจ ที่มีคนต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายและท่องเที่ยวเป็นจ�ำนวนมาก ย่านสะพานพุทธ ครั้นเมื่อมีการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์หรือสะพาน พระพุทธยอดฟ้าข้ามแม่น�้ำเจ้าพระยาเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคม ระหว่างกรุงเทพฯ ฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีแล้วเสร็จและเปิดใช้อย่าง เป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ตรงบริเวณเชิงสะพานทั้ง ๒ ฝั่งได้
วีระยุทธ ปีสาลี 35
เกิดการพัฒนาเป็นย่านชุมชนและย่านการค้าแห่งใหม่ของเมืองกรุง เทพฯ ตลอดจนมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในยามค�่ ำคืนเกิดขึ้น จน ท�ำให้บริเวณนี้กลายเป็นย่านกลางคืนอีกแห่งหนึ่งของเมืองที่เรียกขาน กันว่า ย่านสะพานพุทธ ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ ๒๔๗๐ ย่านสะพานพุทธเป็นพื้นที่กลาง คืนที่รวมเอาผู้คนและร้านค้าต่างๆ มาไว้ด้วยกัน ดังที่ ยศ วัชรเสถียร (พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๕๐๖) นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์สังเกตเห็นว่าที่ บริเวณสะพานพุทธ “ในแต่ละคืนดูราวกับมีงานมหกรรมออกร้านขาย ของกันและในบรรดาร้านรวงต่างๆ ในบริเวณนี้มีร้านเหล้ารวมอยู่ด้วย มากมายทั้งชั้นเลิศและชั้นรองๆ ทั้งยังมีที่ให้เต้นระบ�ำคู่แบบฝรั่งหรือ ลีลาศด้วย”๖๔ สถานเริงรมย์ในย่านสะพานพุทธที่สำ� คัญคือบาร์ซีเล็ค ตั้งอยู ่ที่เ ชิง สะพานพุ ท ธฝั ่ง พระนคร เป็ น สถานกิน ดื่มสาธารณะที่มี วงดนตรีไปเล่นขับกล่อมลูกค้าที่มาใช้บริการ ส่วนบริเวณสะพานพุทธ ฝั่งธนบุรีก็มีแม่น�้ำบาร์และร้านกาแฟเดอลาเปส์อยู่ใต้สะพาน๖๕ การเกิ ด ขึ้ น ของย่ า นสะพานพุ ท ธสะท้ อ นถึ ง การขยายตั ว ของ เมืองกรุงเทพฯ จากทางฝั่งพระนครไปสู่ฝั่งธนบุรีที่ไม่ได้มีเพียงแค่การ พัฒนาเส้นทางคมนาคมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการขยายพื้นที่การติดตั้ง ไฟฟ้าและการพัฒนาย่านการค้าของเมืองยามค�ำ่ คืน ครั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้นในภาคพื้นทวีปเอเชีย หรือสงครามมหาเอเชียบูรพาระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๘ ส่งผล ให้ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืนที่ก�ำลังได้รับการพัฒนาในสังคม เมืองสมัยใหม่ต้องสะดุดลงและเปลี่ยนแปลงไป
ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืน ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๘
เนื่องจากประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ส� ำคัญของกองทัพ ญี่ปุ่นที่ต้องการใช้เป็นทางผ่านไปโจมตีอาณานิคมของอังกฤษ ในเช้า
36 กรุงเทพฯ ยามราตรี
มืดของวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นจึงได้ยกพลขึ้น บกที่ประเทศไทยและส่วนหนึ่งได้เข้ามาตั้งมั่นอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วย สภาวการณ์ที่คับขันเช่นนั้น รัฐบาลได้ยินยอมให้ญี่ปุ่นผ่านดินแดนได้ และได้รับค�ำมั่นสัญญาจากญี่ปุ่นว่าจะเคารพต่อเอกราชและอธิปไตย ของไทย และอีกเพียงเดือนครึ่งถัดมารัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาในวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ เพราะเห็นว่าญี่ปุ่นมีท่าทีจะเป็นผู้ชนะสงครามในที่สุด๖๖ การยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านดินแดนเข้ามาตั้งฐานทัพและ การประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรท� ำให้กรุงเทพฯ กลายเป็น เป้าโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะสถานที่และจุด ยุทธศาสตร์ส�ำคัญ เช่น โรงไฟฟ้าทั้ง ๒ แห่ง สถานีรถไฟหัวล�ำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย สถานีรถไฟบางซื่อ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และสะพานพระราม ๖ อั น เป็ น เส้ น ทางเชื่ อ มต่ อ การคมนาคมและ ล�ำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ เมื่อกรุงเทพฯ กลายเป็นเป้าโจมตีเช่นนี้จึงส่งผลให้ความสว่าง ของแสงไฟในเมืองยามค�่ำคืนกลายเป็นปัญหา เพราะอาจช่วยเบิกทาง ให้เครื่องบินของฝ่ายตรงข้ามเล็งเห็นเป้าหมายได้ชัดขึ้น ดังนั้น รัฐจึง ประกาศให้ประชาชนทุกครัวเรือนพรางแสงไฟในยามค�่ ำคืน ผลของ การพรางแสงไฟในช่วงแรกท�ำให้ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืนตก อยู่ในความมืด แต่ก็ไม่ถึงกับมืดมิดเพราะยังสามารถใช้ไฟฟ้าได้อยู่ ในระหว่างที่ยังสามารถใช้ไฟฟ้าได้อยู่น ี้ ย่านกลางคืนหลายแห่ง ยังเปิดบริการลูกค้าอยู่เป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นย่านเยาวราช ราชวงศ์ ตลาดบ� ำ เพ็ ญ บุ ญ บางรั ก ฯลฯ แต่ อ าจปิ ด บริ ก ารเร็ ว ขึ้ น กว่ า เดิ ม เพราะกลัวเครื่องบินจะบินมาทิ้งระเบิด หรือปิดบริการเมื่อได้ยินเสียง สัญญาณเตือนภัยทางอากาศหรือเสียงหวอดังขึ้น สรศัลย์ แพ่งสภา (พ.ศ. ๒๔๖๓-๒๕๕๒) นักเขียนสารคดีผู้มีประสบการณ์ใช้ชีวิตอยู่ใน กรุงเทพฯ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เล่าถึงสภาพภูมิทัศน์เมือง กรุงเทพฯ ยามค�่ำคืนในยุคที่ต้องพรางแสงไฟนี้ว่า
วีระยุทธ ปีสาลี 37
“ในภาวะที่ต้องพรางแสงไฟทั้งเมือง ถ้าเป็นต่างจังหวัดไม่ถึง สองทุ่มก็ปิดบ้านเงียบหมดแล้ว แต่ในเมืองกรุงยังมีรถโดยสารประจ�ำ ทาง รถราง บริการประชาชนอยู่ แต่ก็ไม่กี่คัน นานทีจะมีขึ้นหรือล่อง มาสักคัน ไฟส่องทางหรือไฟหน้าริบหรี่ ห้องผู้โดยสารเกือบมืดสนิท ไม่ถึงสี่ทุ่มก็หยุดเดิน บนถนนโล่งเงียบเหมือนเมืองร้าง มีแต่เจ้าหน้าที ่ ต�ำรวจ สารวัตรทหาร และผู้เกี่ยวข้องกับการป้องกันภัยทางอากาศ เดินกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ราษฎรธรรมดาออกไปมาน้อยมาก จะมีผ่าน ไปมาบ้างก็สามล้อรับจ้าง โรงภาพยนตร์บางโรงยังฉายให้ความบันเทิง อยู่ แต่ก็เลิกไม่เกินสองทุ่ม ถ้าหวอมาก็ตัวใครตัวมัน”๖๗ ครั้นต่อมาเมื่อโรงไฟฟ้าทั้ง ๒ แห่งคือโรงไฟฟ้าวัดราชบุรณะ และโรงไฟฟ้าสามเสนถูกระเบิดท�ำลายไปในช่วงปลายสงครามเมื่อวัน ที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๘ คนกรุงเทพฯ จึงไม่มีไฟฟ้าใช้ ภูมิทัศน์ เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ ำคืนจึงยิ่งตกอยู่ในความมืดมิด เครื่องตาม ประทีปจึงถูกน�ำกลับมาใช้อีกครั้ง สรศัลย์ แพ่งสภา บรรยายภาพภูมิ ทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืนในช่วงที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ไว้ว่า “ชีวิตกรุงเทพฯ ยุคตะเกียงนั้นมืดทึบและเงียบ ผู้คนอพยพ ออกไปกว่าครึ่งเมือง ไฟฟ้าหยุดสว่าง รถรางหยุดวิ่ง กระดิ่งสามล้อ ยังดัง พรรค์ยังงั้นยังมีดี ทั้งนี้ทั้งนั้นต่างอยู่ภายใต้แสงเรืองๆ ริบหรี่ ของตะเกียงน�้ำมันมะพร้าว ตกค�่ำร้านริมถนนรนแคมปิดเงียบ ที่ไหน เปิดสามล้อรู้ แต่ถ้าจะไปก็ต้องช่วยกันปะยางสูบยางตามโอกาสนะ ครับ สามทุ่มจัดว่าดึกมากแล้วตอนนั้น”๖๘ จากสภาวะของสงคราม กระบวนการกลายสภาพเป็ น เมื อ ง กลางคืนทางกายภาพของกรุงเทพฯ จึงต้องหยุดชะงักลง จนกระทั่ง สงครามสิ้นสุดลงแล้ว ภูมิทัศน์เมืองกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืนจึงเริ่มกลับ มาสว่างไสวดังเดิม และยิ่งได้รับการพัฒนามากขึ้น
เชิงอรรถ ๑ “กรุงเทพฯ ราตรี” เป็นเพลงของวงดนตรีสุนทราภรณ์ที่แต่งขึ้นเพื่อ พรรณนาความงดงามของเมืองกรุงเทพฯ ในทศวรรษที่ ๒๔๘๐ ผู้แต่งค�ำร้อง คือ แก้ว อัจฉริยะกุล ผู้แต่งท�ำนองคือ เอื้อ สุนทรสนาน ๒ เจ้ า พระยาทิ พ ากรวงศ์ (ข�ำ บุ น นาค). พระราชพงศาวดารกรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ รั ช กาลที่ ๑. พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๗ (กรุ ง เทพฯ : กองวรรณคดี แ ละ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๕), น. ๑. ๓ เรื่องเดียวกัน, น. ๒๑. ๔ ผุสดี ทิพทัส. บ้านในกรุงรัตนโกสินทร์ ๑ : รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๒๕-พ.ศ. ๒๓๙๔). (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยา ลัย, ๒๕๔๕), น. ๑๓. ๕ เกียรติ จิวะกุล และคณะ. ตลาดในกรุงเทพฯ : การขยายตัวและ พัฒนาการ. (กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๕), น. ๖-๘. ๖ เจ้ า พระยาทิ พ ากรวงศมหาโกษาธิ บ ดี (ข�ำ บุ น นาค). พระราช พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔. พิมพ์ครั้งที่ ๖ (กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘), น. ๕๗. ๗ เรื่องเดียวกัน, น. ๑๖๙. ๘ เรื่องเดียวกัน, น. ๑๘๔. ๙ เรื่องเดียวกัน, น. ๑๙๗. ๑๐ เยาวรัตน์ พุฒิมานรดีกุล. “การเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ ในช่วง รัชกาลที่ ๕-๗ และผลกระทบทางสภาวะแวดล้อมต่อประชาชน,” (วิทยานิพนธ์ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๗), น. ๓๔. ๑๑ ผุสดี ทิพทัส. บ้านในกรุงรัตนโกสินทร์ ๒ : รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔-พ.ศ. ๒๔๕๓). (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยา ลัย, ๒๕๔๕), น. ๓๑. ๑๒ เฟรเดอริค อาร์เธอร์ นีล. ชีวิตความเป็นอยู่ในกรุงสยามในทรรศนะ ของชาวต่างประเทศ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๓๘๔. แปลจาก Narrative of a
วีระยุทธ ปีสาลี 39
Residence in Siam โดย เรือเอกหญิงลินจง สุวรรณโภคิน. (กรุงเทพฯ : กรม ศิลปากร, ๒๕๒๕). น. ๓๗. ๑๓ แอนนา ลี โ อโนเวนส์ . แอนนา แอนด์ เดอะ คิ ง . แปลจาก The Original Anna and the King of Siam from the English Governess at the Siamese Court : Being Recollections of Six Years in the Royal Palace at Bangkok. (ไม่ปรากฏชื่อผู้แปล) (กรุงเทพฯ : เฉลิมนิจ, ๒๕๔๔), น. ๑๖๒. ๑๔ บางกอกรีคอร์เดอร์. เล่ม ๒ (วันที ่ ๒๔ ตุลาคม ๑๘๖๖ ๒๔๐๙), น. ๒๐๙, อ้างใน เอนก นาวิกมูล. แรกมีในสยาม ๑. (กรุงเทพฯ : บริษัท ๒๐๒๐ เวิลด์ มีเดีย จ�ำกัด, ๒๕๔๑), น. ๑๒๘. ๑๕ “ไฟแก๊สจุดครั้งแรก,” บางกอกรีคอร์เดอร์ ฉบับที่ ๑๘ เล่ม ๒, น. ๒๒๒ อ้างใน เรื่องเดียวกัน, น. ๑๒๘. ๑๖ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี. “เรื่องการท�ำไฟฟ้า,” ใน ประวัติการของ จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เล่ม ๑. (พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๐๔), น. ๒๕๘-๒๖๑. ๑๗ ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ ๕ กระทรวงวัง ร.๕ ว. ๑/๒๗ กรมขุนสรรพศาสตร์ขออนุญาตท�ำไฟฟ้า (ร.ศ. ๑๐๗). ๑๘ ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ ๕ กระทรวงนคร บาล ร.๕ น. ๕.๑๐/๑ ก�ำปนีไฟฟ้าและเรื่องความล้มละลาย (๒๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๐๘-๑๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๐). ๑๙ วิ ภ ารั ต น์ ดี อ ่ อ ง. “พั ฒ นาการของกิ จ การไฟฟ้ า ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๘,” (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, ๒๕๓๔), น. ๓๖-๑๒๔. ๒๐ ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที ่ ๖ กระทรวงนคร บาล ร.๖ น. ๗.๖/๓ ตั้งโรงไฟฟ้าของรัฐบาล (๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘). ๒๑ วิ ภ ารั ต น์ ดี อ ่ อ ง. “พั ฒ นาการของกิ จ การไฟฟ้ า ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๘,” น. ๑๒๕-๒๐๖. ๒๒ ดู ร ายละเอี ย ดการตั ด ถนนในสมั ย รั ช กาลที่ ๕ ได้ ใ น สยมพร ทองสาริ. “ผลกระทบจากการตัดถนนในกรุงเทพฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) : ศึกษาเฉพาะกรณีการตัด ถนนในก�ำแพงพระนครด้านเหนือและด้านใต้พระนคร.”
40 กรุงเทพฯ ยามราตรี ๒๓ วิ ชิ ต วงศ์ ณ ป้ อ มเพชร. สี่ แ ยกราชวั ต ร. (กรุ ง เทพฯ : แสงดาว, ๒๕๔๙), น. ๕. ๒๔ ประสิทธิ์ ลุลิตานนท์. หมายเหตุแห่งอดีต. (กรุงเทพฯ : โพสต์บุ้คส์, ๒๕๔๒), น. ๙๘. ๒๕ “ถนนไม่มีฝุ่น,” สยามราษฎร์. (วันเสาร์ที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๕) : ๓. ๒๖ “พระมหานครกรุงเทพฯ ในสายตาชาวญี่ปุ่น,” ศรีกรุง. (วันอาทิตย์ ที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔). ๒๗ “ใครจะเป็นผู้สร้าง,” สยามราษฎร์. (วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๖) : ๓. ๒๘ “ประเทศสยามเจริญขึ้นมากแล้วแต่ยังขาดสิ่งส�ำคัญอย่าง ๑ คือ ที่ถ่ายทุกข์,” สยามราษฎร์. (วันเสาร์ท ี่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔) : ๘. ๒๙ “ทูลกระหม่อมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงเปิดโฮเตลโตรกา เดโร,” ไทยเขษมรวมข่าว. (วันอาทิตย์ท ี่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒). ๓๐ พูนเกศ จันทกานนท์. “ประวัติความเป็นมาและการขยายตัวการ ค้าของชาวจีนในกรุงเทพมหานครระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๗๕,” (วิทยานิพนธ์ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๘), น. ๑๔๒-๑๔๕. ๓๑ สงวน อั้นคง. สิ่งแรกในเมืองไทย เล่ม ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๒ ฉบับแก้ไข เพิ่มเติม (พระนคร : แพร่พิทยา, ๒๕๑๔), น. ๒๐๒-๒๐๓, ๒๑๔-๒๒๔, ๒๒๙๒๓๐, ๒๓๑-๒๓๓, ๒๓๗-๒๔๓ และ ๒๔๗-๒๕๖.; พรรณี บัวเล็ก. กุลีลากรถ กับประวัติศาสตร์แรงงานไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ : พันธกิจ, ๒๕๔๖), น. ๓๒. และ ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา. ประวัติเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์. (กรุง เทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่, ๒๕๒๕), น. ๓๗-๓๘. ๓๒ Lucien Fournereau. Bangkok in 1892. Translated of : “Bangkok” in Le Tour du Monde (Vol. 168 pp. 1-67, 1894) by Walter E. J. Tips. (Bangkok : White Lotus Press, 1998), pp. 49-50. ๓๓ มัลคอล์ม สมิธ. ราชส�ำนักสยามในทรรศนะของหมอสมิธ. แปล จาก A Physician at the Court of Siam. โดย ศุกลรัตน์ ธาราศักดิ์ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๗), น. ๔. ๓๔ วิลเลี่ยม, เจ้าชายแห่งสวีเดน. ดินแดนแห่งแสงตะวัน : บันทึกความ ทรงจ�ำจากการเดินทางในดินแดนตะวันออก. แปลจาก In the Land of the
วีระยุทธ ปีสาลี 41
Sun : Notes and Memories of a Tour in the East. โดย เสาวลักษณ์ กีชานนท์ (กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒), น. ๗๙. ๓๕ “ฤกษ์สว่าง,” กรุงเทพฯ เดลิเมล์. (วันเสาร์ที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗). ๓๖ Ebbe Kornerup. Friendly Siam : Thailand in the 1920s. (Bangkok : White Lotus Press, 1999), pp. 238-242. ๓๗ Hermann Norden. From Golden Gate to Golden Sun : A Record of Travel, Sport and Observation in Siam and Malaya. (London : H.F. & G. Witherby, 1923), p. 93. ๓๘ วุฒิเฉลิม. ลายน�้ำทอง. (กรุงเทพฯ : ศรีสารา, ๒๕๔๓), น. ๑๔๕ ๑๔๖. ๓๙ กุมุท จันทร์เรือง. สยามในอดีตกับชีวิตวัยเยาว์ของข้าพเจ้า. แปล จากMy Boyhood in Siam. โดย ยอดแต้ว อักษรา (กรุงเทพฯ : แสงแดด, ๒๕๓๙), น. ๑๘๖. ๔๐ หม่ อ มหลวงศรี ฟ ้ า มหาวรรณ. “ชี วิ ต ความคิ ด และนวนิ ย าย,” ใน สกุลไทย รายสัปดาห์ ๕๘, ๓๐๒๗ (ประจ�ำวันอังคารที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕) : น. ๓๐-๓๑. ๔๑ กัณฐิกา ศรีอุดม. “จาก ‘นาเชนแนล เอกซฮิบิเชน’ ถึง ‘สยามรัฐ พิพิธภัณฑ์’ : ภาพสะท้อนประวัติศาสตร์สยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,” (วิทยา นิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชา ประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๙), น. ๑๙๕. ๔๒ ส�ำนั ก หอจดหมายเหตุ แ ห่ ง ชาติ . เอกสารรั ช กาลที่ ๕ กระทรวง โยธาธิก าร ร.๕ ยธ. ๙/๑๐๘ ตัด ถนนท้ า ยวัง แลเรื่อ งท�ำตลาดท่ า เตีย น (๒๑ มกราคม ร.ศ. ๑๒๗). ๔๓ “ตะลุ้งตุ้งแช่,” ใน บางกอกไตมส์. (วันที ่ ๑๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๗) (พ.ศ. ๒๔๔๑). และ “หมี่ไฟแดง,” ใน บางกอกไตมส์. (วันที่ ๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๘) (พ.ศ. ๒๔๔๒), อ้างใน ปียกนิฎฐ์ หงษ์ทอง. สยามสนุกข่าว. (กรุง เทพฯ : กัญญา, ๒๕๓๑), น. ๓๘, ๑๑๐. และ เฉลิมศักดิ์ รามโกมุท. เกิดกลาง กรุง. (กรุงเทพฯ : แพรวส�ำนักพิมพ์, ๒๕๓๗), น. ๖๓. ๔๔ ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ ๕ กระทรวงนคร บาล ร.๕ น. ๘.๑/๑๐๗ สี่แยกถนนบ�ำรุงเมือง เวลากลางคืนได้มีพวกราษฎร
42 กรุงเทพฯ ยามราตรี
ไทยจีนได้พากันออกร้านขายของต่างๆ บนถนนหลวงด้วย (๑๑ กันยายน ร.ศ. ๑๑๕). ๔๕ กาญจนาคพันธุ์. กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้. พิมพ์ครั้งที่ ๔ (กรุงเทพฯ : สารคดี, ๒๕๔๕), น. ๓๔-๓๕, ๔๘ และ ๙๐. ๔๖ Marthe Bassenne. In Laos and Siam. Translated of : Au Laos et Siam. by Walter E.J. Tips. (Bangkok : White Lotus, 1995), pp. 140-141. ๔๗ อู๋จี้เยียะ. “โรงหนัง ภัตตาคาร บ่อนการพนัน ซอยโคมเขียว สีสัน แห่งถนนเยาวราช,” ใน ๖๐ ปีโพ้นทะเล. (กรุงเทพฯ : โพสต์บุ๊ค, ๒๕๕๓), น. ๑๗๗-๑๗๘. ๔๘ อู๋จี้เยียะ. “ชีวิตบันเทิงเริงรมย์,” ใน เรื่องเดียวกัน, น. ๔๓-๔๔. ๔๙ Hermann Norden. From Golden Gate to Golden Sun : A Record of Travel, Sport and Observation in Siam and Malaya. p. 128. ๕๐ อู๋จี้เยียะ. “โรงหนัง ภัตตาคาร บ่อนการพนัน ซอยโคมเขียว สีสัน แห่งถนนเยาวราช,” ใน ๖๐ ปีโพ้นทะเล, น. ๑๗๗. ๕๑ หลวงบุณยมานพพาณิชย์ หรือ อรุณ บุณยมานพ (แสงทอง). ภาษา และหนังสือ ๒. (กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า, ๒๕๓๗), น. ๗๒. อ้างใน กมลทิพย์ จ่างกมล. “อาหาร : การสร้างมาตรฐานในการกินกับอัตลักษณ์ทางชนชั้น,” น. ๙๑. ๕๒ ยุธิษเฐียร (ยศ วัชรเสถียร). “ยุคร้านเหล้าเฟื่องในเมืองไทย,” ใน ขุดจากอดีต. (พระนคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๑๔), น. ๒๗. ๕๓ อู๋จี้เยียะ. “ห้างใต้ฟ้า,” ใน ๖๐ ปีโพ้นทะเล, น. ๑๙๔. ๕๔ “เปิ ด ตลาดบำ � เพ็ ญ บุ ญ ,” ศรี ก รุ ง . (วั น พุ ธ ที่ ๒๒ สิ ง หาคม พ.ศ. ๒๔๗๑) : ๒. ๕๕ “โฆษณาตลาดบ�ำเพ็ญบุญ,” ไทยเขษมรวมข่าว. (วันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒). ๕๖ “โฆษณาสุทธโภชนสถาน,” ไทยเขษมรวมข่าว. (วันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒). ๕๗ เพชร ชมพู. ชุมทางเฉลิมกรุง. พิมพ์ครั้งที่ ๔ (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๓๙), น. ๒๑-๒๒. และ พนมเทียน. ลึกจากลิ้นชัก : รวมบทความ. (กรุง เทพฯ : คเณศบุรี, ๒๕๕๓), น. ๑๐๙. ๕๘ เฉลิมศักดิ ์ รามโกมุท. เกิดกลางกรุง, น. ๕๕.
วีระยุทธ ปีสาลี 43 ๕๙ วิ ล เฮล์ ม เครดเนอร์ . “ตลาดและเมื อ ง,” ใน เคลาส เวงด์ และ เคลาสโรสเซ็ น แบร์ ก รวบรวม. เยอรมั น มองไทย. (กรุ ง เทพฯ : เคล็ ด ไทย, ๒๕๒๐), น. ๑๕๖. ๖๐ “รับสอนเต้นร�ำ,” กรุงเทพฯ เดลิเมล์. (วันจันทร์ที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๑) : ๓. ๖๑ มนัส จรรยงค์. “มาลัย ชูพินิจ ชีวิตคืออะไรก็ได้,” ใน ขนิษฐา ณ บางช้าง. บรรณาธิการ. ระหว่างชีวิตของมาลัย ชูพินิจ. (กรุงเทพฯ : ด�ำรงสิทธิ์, ๒๕๓๗), น. ๑๐๘. ๖๒ “เปิดใหม่,” สยามราษฎร์. (วันพุธที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๕) : ๕. ๖๓ เฉลิมศักดิ ์ รามโกมุท. เกิดกลางกรุง, น. ๑๑๙. ๖๔ ยุธิษเฐียร (ยศ วัชรเสถียร). “ยุคร้านเหล้าเฟื่องในเมืองไทย,” ใน ขุดจากอดีต, น. ๒๗. ๖๕ มนัส จรรยงค์. “มาลัย ชูพินิจ ชีวิตคืออะไรก็ได้,” ใน ขนิษฐา ณ บางช้าง บรรณาธิการ. ระหว่างชีวิตของมาลัย ชูพินิจ, น. ๑๐๘. ๖๖ ชาญวิ ท ย์ เกษตรศิ ริ . ประวั ติ ก ารเมื อ งไทยสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ ๒๕๐๐. พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๕ (กรุ ง เทพฯ : มู ล นิ ธิโ ครงการต�ำราสั ง คมศาสตร์ แ ละ มนุษยศาสตร์, ๒๕๕๑), น. ๒๗๔-๒๘๕. ๖๗ สรศัลย์ แพ่งสภา. หวอ ชีวิตไทยในไฟสงครามโลกครั้งที ่ ๒. พิมพ์ ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ : สารคดี, ๒๕๔๐), น. ๑๐๙-๑๑๐. ๖๘ เรื่องเดียวกัน, น. ๑๙๐.
เน
ชีวิตยามค�่ำคืนในกรุงเทพฯ ทศวรรษที่ ๒๔๒๐-๒๔๘๐
46 กรุงเทพฯ ยามราตรี
...แหล่งเที่ยวหย่อนใจทั่วไปหลากหลายรายเรียง หญิงชายเคล้าเคียงเพลินเสียงดนตรี ทุกคืนเสียงเพลงครื้นเครงเพราะดี สวนลุมพินีเขาดินวนา โอ้เมืองแก้วเลิศแล้วราตรี ทุกสิ่งล้วนมีชีวิตชีวา ทั้งเงาล�ำน�้ำเจ้าพระยา ยามสายลมเฉื่อยฉิวพลิ้วมา ประกายวับตาเลิศเลอนักเอย... เพลง “กรุงเทพฯ ราตรี”๑
ความมี ชี วิ ต ชี ว าของเมื อ งกรุ ง เทพฯ ยามค�่ ำ คื น เกิ ด ขึ้ น จาก ความเคลื่อนไหวของผู้คนที่ออกมาท� ำกิจกรรมต่างๆ ภายนอกบ้าน กันมากขึ้น พร้อมๆ กับการทวีจ�ำนวนของสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน หย่อนใจในยามค�่ำคืนที่ล้วนแต่เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ใน คริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ขณะเดียวกันกิจกรรมต่างๆ ภายในบ้านก็เริ่ม เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการบริโภคทางวัตถุ นั บ ตั้ ง แต่ ท ศวรรษที่ ๒๔๖๐ เป็ น ต้ น มาชี วิ ต ยามค�่ ำ คื น ของ คนกรุงเทพฯ ได้กลายเป็นวิถีชีวิตแบบสังคมเมืองสมัยใหม่และมีส่วน ท�ำให้กรุงเทพฯ เริ่มกลายเป็นเมืองกลางคืน
ชีวิตยามค�่ำคืนในกรุงเทพฯ ก่อนทศวรรษที่ ๒๔๒๐
ชี วิ ต ยามค�่ ำ คื น ของคนกรุ ง เทพฯ ก่ อ นทศวรรษที่ ๒๔๒๐ ผูกพันอยู่กับโครงสร้างสังคมสมัยจารีตที่มีการแบ่งชนชั้นทางสังคม เป็นชนชั้นปกครอง ได้แก่ เจ้านายและขุนนาง กับชนชั้นใต้ปกครอง คือไพร่และทาส
วีระยุทธ ปีสาลี 47
รู ป แบบความสั ม พั น ธ์ นี้ ถู ก ก� ำ หนดขึ้ น เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการ ควบคุมก�ำลังคนและการจัดการปกครองของรัฐ และได้ส่งผลให้คน กรุ ง เทพฯ มี ค วามเป็ น อยู ่ แ ละวิ ถี ชี วิ ต ประจ� ำ วั น แตกต่ า งกั น ไปโดย เฉพาะการท�ำงานและการใช้เวลาว่าง ส�ำหรับเจ้านายและขุนนางที่เป็นคนชั้นสูงของสังคมแม้ว่าจะ ด�ำรงต�ำแหน่งหน้าที่การงานคือก�ำกับราชการกรมกองต่างๆ แต่เจ้านาย และขุนนางส่วนใหญ่ก็สามารถใช้ชีวิตประจ�ำวันอยู่ที่วังหรือบ้านของ ตนเองได้ เพราะในขณะนั้นยังไม่มีการสร้างสถานที่ส�ำหรับให้เจ้านาย และขุนนางออกว่าราชการ เจ้านายและขุนนางจึงว่าราชการอยู่ที่วัง หรือบ้านได้ตลอดทั้งวันทั้งคืน ครั้นเมื่อว่างจากงานราชการเจ้านาย และขุนนางก็มักหางานอดิเรกท�ำ เช่น การตั้งวงดนตรี ตั้งคณะละคร เล่นเครื่องแก้ว เครื่องลายคราม และเล่นต้นไม้ เป็นต้น เนื่องจาก เจ้านายและขุนนางเป็นผู้มีเวลาว่างมากกว่าคนทั่วไปเพราะพวกเขา ไม่ใช่แรงงานการผลิต ผิดกับไพร่และทาสที่เป็นคนชั้นล่างของสังคม ที่ต้องใช้ชีวิตประจ�ำวันไปกับการใช้แรงงานประกอบอาชีพท�ำนาท�ำไร่ หรือค้าขาย และต้องเข้าเวรเพราะถูกเกณฑ์แรงงานไปท�ำงานให้แก่รัฐ และบางส่วนก็เป็นแรงงานในวังหรือบ้านของเจ้านายและขุนนาง๒ ความเป็นอยู่และวิถีชีวิตประจ�ำวันที่แตกต่างกันตามโครง สร้างทางชนชั้นนี้มีส่วนท�ำให้การใช้ชีวิตยามค�่ำคืนแตกต่างกัน ไปด้วย แต่อย่างไรก็ดี ยังมีกลุ่มคนที่อยู่นอกเหนือโครงสร้างทาง สังคมในระบบชนชั้นคือพระสงฆ์และคนจีน คนทั้ง ๒ กลุ่มนี้มีฐานะ เป็นตัวเชื่อมระหว่างชนชั้นต่างๆ ในสังคม โดยเฉพาะคนจีนที่เข้ามา ในฐานะแรงงานรับจ้างที่เป็นพลังส�ำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การค้าของสยามภายหลังการท�ำสนธิสัญญาเบาริ่งในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ การท�ำสนธิสัญญาเบาริ่งเป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญของระบบเศรษฐ กิจสยามจากการผลิตแบบยังชีพในสังคมจารีตมาเป็นการผลิตเพื่อการ ค้าและการส่งออก จนท�ำให้กรุงเทพฯ กลายสภาพเป็นเมืองท่าการค้า มีพ่อค้านักธุรกิจนายทุนและแรงงานต่างชาติอพยพเข้ามาเป็นจ�ำนวน มาก ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของระบบเงินตรา
48 กรุงเทพฯ ยามราตรี
การค้าเสรีท�ำให้คนกรุงเทพฯ มีเงินหมุนเวียนเพื่อจับจ่ายใช้สอย ในชีวิตประจ�ำวันมากขึ้น คนส่วนหนึ่งจึงใช้เงินไปเพื่อการพักผ่อน หย่อนใจในยามค�่ำคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นพนัน อันเป็น กิจกรรมที่ได้รับความนิยมในหมู่คนกรุงเทพฯ หรืออันที่จริงคือ ชาว สยามทั่วไปตามสายตาของชาวต่างชาติที่มองว่าชาวสยามเป็นนักพนัน ตัวยง๓ ความนิยมในการเล่นพนันนั้นส่วนหนึ่งมีรากฐานมาจากความ เชื่อในเรื่องเคล็ดลางของคนไทย ประกอบกับการเข้ามาของคนจีนที่น�ำ ความบันเทิงเริงใจจากการเล่นพนันในโรงบ่อนเบี้ยเข้ามาเผยแพร่ และ นโยบายของรัฐที่อนุญาตให้คนจีนเปิดโรงบ่อนเบี้ยและโรงหวยได้ แม้ ว่ารัฐจะห้ามการเล่นพนันของไทยอย่างเช่น ชนไก่ ชนนก และกัดปลา ก็ตาม๔ กรอบความคิดความเชื่อทางพุทธศาสนาในสังคมจารีตมี ส่วนชี้ให้เห็นถึงรูปแบบการใช้ชีวิตยามค�่ำคืนของคนกรุงเทพฯ ด้วย กล่าวคือ กรอบความคิดทางเวลาที่เกี่ยวพันกับความเชื่อในเรื่อง จักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิและการเวียนว่ายตายเกิดอันเป็นอนิจลักษณะ ทางพระพุทธศาสนาที่เที่ยงแท้ไม่สิ้นสุดและยาวนานเป็นอสงไขยเวลา ท�ำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไปในลักษณะที่ เป็นวงกลม จนในที่สุดน�ำไปสู่ความเสื่อมของสรรพสิ่งตามหลักปัญจ อันตรธาน๕ การใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในสังคมจารีตจึงเป็นไป เพื่อความสุขในโลกหน้ามากกว่าโลกปัจจุบัน ฉะนั้นการท�ำบุญ สุนทานสั่งสมบารมีเพื่อชีวิตที่ดีกว่าในโลกหน้าจึงมีความจ� ำเป็น ใน แง่ นี้ วั ด จึ ง เป็ น ศู น ย์ ก ลางและเป็ น พื้ น ที่ เ ปิ ด ให้ ค นกรุ ง เทพฯ เข้ า มา ประกอบพิธีกรรมและท�ำบุญตามความเชื่อ นอกเหนือจากกิจกรรมทาง ศาสนาแล้ว วัดยังเปิดโอกาสให้เกิดกิจกรรมความบันเทิงยามค�่ำคืน อย่างมหรสพชนิดต่างๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของงานบุญที่สืบเนื่องมาจาก พุทธศาสนา๖ ครั้นต่อมาเมื่อสยามเริ่มรับวัฒนธรรมตะวันตกในสมัย รัชกาลที่ ๓-๔ ชนชั้นน�ำสยามจึงเกิดส�ำนึกทางเวลาแบบใหม่ท ี่
วีระยุทธ ปีสาลี 49
มองเห็นว่ามนุษย์มีศักยภาพที่จะท�ำให้ตนเองและสังคมด�ำเนิน ไปสู่ความเจริญก้าวหน้าได้ในโลกนี้ มิใช่มีแต่ความเสื่อมตาม หลักความเชื่อเดิมเท่านั้น๗ ส�ำนึกทางเวลาแบบใหม่นี้มีความส�ำคัญ ต่อการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยในสมัยรัชกาลที่ ๕ รวมถึง การพัฒนาเมืองและวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองกรุงเทพฯ ให้เป็นแบบ สมัยใหม่ นอกจากวัฒนธรรมทางภูมิปัญญาแล้ว ชนชั้นน�ำสยามตั้งแต่ สมั ย รั ช กาลที่ ๓ ที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ อั น ดี กั บ ชาวตะวั น ตกยั ง ได้ น� ำ รูปแบบการใช้ชีวิตยามค�่ำคืนแบบตะวันตกมาใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ที่ เห็นได้ชัดคือการจัดงานเลี้ยงโต๊ะตามวังเจ้านายและบ้านขุนนาง บริบท ทางสังคมทั้งหมดนี้จึงมีผลต่อการใช้ชีวิตยามค�่ำคืนของคนกรุงเทพฯ ก่อนทศวรรษที่ ๒๔๒๐ ราชการในราชส�ำนัก : การท�ำงานในยามค�่ำคืนของชนชั้นน�ำ การท�ำงานในยามค�่ำคืนในกลุ่มเจ้านายสยามถือเป็นเรื่องปกติ เนื่ อ งจากพระราชานุ กิ จ ในกฎมณเฑี ย รบาลได้ ร ะบุ เ วลาที่ พ ระมหา กษัตริย์ต้องออกว่าราชการในตอนกลางคืน๘ ดังเช่น พระราชานุกิจ ในรัชกาลที่ ๑ ระบุว่า “เวลาค�่ำทรงพระราชวินิจฉัยราชการแผ่นดิน จนเวลาประมาณยามเศษ ๔ ทุ่ม จึงเสด็จขึ้น ถ้าคราวปรึกษาการ ทัพศึกหรือเวลามีราชการส�ำคัญก็เสด็จขึ้นถึง ๗ ทุ่ม ๘ ทุ่ม” ๙ พระ ราชานุกิจในรัชกาลที ่ ๒ ก็ไม่ต่างจากครั้งรัชกาลที่ ๑ มากนัก๑๐ พระราชานุ กิ จ นี้ เ ป็ น ธรรมเนี ย มปฏิ บั ติ ข องพระมหากษั ต ริ ย ์ ทุกรัชกาล จนถึงรัชกาลที่ ๔ มีพระราชภารกิจที่ต้องทรงพระอักษร กับชาวต่างประเทศมากขึ้น ท�ำให้เวลาเสด็จออกว่าราชการบ้านเมือง ในเวลาค�่ำมักคลาดเคลื่อนช้าออกไป เป็นเหตุให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ติเตียนว่าเวลาพระราชานุกิจไม่แน่นอนเหมือนครั้งรัชกาลที่ ๓ บางคน ก็เลยขาดเข้าเฝ้า จนข้าราชการชั้นผู้น้อยก็พลอยเอาอย่าง๑๑ ดังนั้น
50 กรุงเทพฯ ยามราตรี
รัชกาลที่ ๕ จึงทรงแก้ไขพระราชานุกิจใหม่ให้เจ้านายและข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ไม่ต้องเข้าเฝ้าตอนกลางคืน คงเหลือเพียงปลัดทูลฉลอง อ่านใบบอกหัวเมืองกราบบังคมทูลเหตุการณ์ต่างๆ จนถึงเวลา ๒๒ นาฬิกาแล้วเสด็จขึ้นข้างในเป็นการสิ้นพระราชานุกิจประจ�ำวัน๑๒ การใช้ชีวิตยามค�่ำคืนเพื่อการท�ำงานจึงเป็นลักษณะเด่น ของกลุ่มเจ้านายและขุนนางในสังคมจารีตก่อนที่จะมีการปฏิรูป ระบบราชการแบบสมัยใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ แต่ทว่าในความ เป็นจริงแล้ว แม้เมือ่ มีการน�ำระบบราชการทีม่ ตี ารางเวลาท�ำงานแน่นอน มาใช้ในทุกกระทรวงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ แล้ว การว่าราชการกลางคืน ก็ยังด�ำรงอยู่ในหมู่เจ้านายตลอดสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยเฉพาะ รัชกาลที่ ๕ ที่โปรดออกว่าราชการกลางคืนเช่นเดิม จนเซอร์เฮนรี นอร์แมน (Sir Henry Norman) นักเดินทางชาวอังกฤษที่เดินทาง เข้ามาในสยามสมัยรัชกาลที่ ๕ กล่าวถึงการว่าราชการกลางคืนของ รัชกาลที่ ๕ ที่มีอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๕ คืนว่า “ท�ำให้คณะเสนาบดี ต้องมานั่งหลับในตอนกลางวันและเดินเล่นอยู่ในส�ำนักงานเมื่อพระ อาทิตย์ตกดิน”๑๓ แต่กระนั้นก็ตามระบบราชการและการท�ำงานใน ออฟฟิศก็มีส่วนท�ำให้แนวคิดเรื่องการท�ำงานในยามค�่ำคืนเปลี่ยนแปลง ไปบ้าง ความนิยมว่าราชการกลางคืนตามพระราชานุกิจจึงเริ่มลดน้อย ลง คงเหลือแต่การใช้ชีวิตยามค�่ำคืนเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจในกลุ่ม เจ้านาย จนเป็นที่รับรู้กันว่าเจ้านายส่วนใหญ่มักท�ำกลางวันให้เป็น กลางคืนและท�ำกลางคืนให้เป็นกลางวัน งานเลี้ยงโต๊ะ : แรกมีงานเลี้ยงยามค�่ำคืนแบบตะวันตก นอกเสียจากการท�ำงานแล้ว ช่วงเวลากลางคืนก่อนทศวรรษ ที่ ๒๔๒๐ ยังเป็นช่วงเวลาที่ชนชั้นน�ำใช้พักผ่อนหย่อนใจจาก ความรื่นเริงด้วยเครื่องบันเทิงต่างๆ อาทิ การฟังดนตรีขับกล่อม
วีระยุทธ ปีสาลี 51
หรือชมละครฟ้อนร�ำ ดังในพระราชานุกิจระบุไว้ว่า เวลา “๖ ทุ่มเบิก สภาดนตรี ๗ ทุ่มเบิกนิยาย”๑๔ เจ้านายสยามบางพระองค์โปรดการ เป็นเจ้าของวงมหรสพหลายประเภท และจะใช้เวลาว่างในช่วงเวลา กลางคืนท�ำการฝึกซ้อมและสร้างความส�ำราญ เช่น กรมพระราชวัง บวรมหาสุรสิงหนาทในรัชกาลที่ ๑ ทรงเป็นเจ้าของโขน หุ่น ละคร งิ้ว และมโหรีปี่พาทย์๑๕ เมื่อสยามเริ่มรับ วัฒนธรรมตะวันตกในสมัย รัชกาลที่ ๓ รส นิยมด้านความบันเทิงของชนชั้นสูงได้เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการผสม ผสานธรรมเนียมการพักผ่อนหย่อนใจและการใช้เวลาว่างแบบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมเนียมการเลี้ยงอาหารค�่ำหรือที่เรียกกันว่างาน เลี้ยงโต๊ะ ดังวังของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระ ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีการเลี้ยงอาหารค�่ำ ดื่มน�้ำชากับขนมปังและเนย แบบอังกฤษ เล่นบิลเลียด และเล่นไพ่ในบรรดาแขกเหรื่อชาวยุโรป ที่เข้ามาเฝ้า๑๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีงานเลี้ยงโต๊ะเนื่องในวันคล้าย วันประสูติของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท และวันเกิดของเจ้าพระยา ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) (ยศในขณะนั้น)๑๗ ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ มีงานเลี้ยงโต๊ะเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ในเดือน ๕ ขึ้น ๑ ค�่ำ รัชกาลที่ ๕ จะทรงเชิญพระบรมวงศานุวงศ์เข้าไปเสวย เวลาเย็นที่พระบรมมหาราชวัง แล้วมีการเล่นกีฬาหรือทอดพระเนตร เล่นกลบ้าง เล่นละครพูดบ้าง บางปีก็ทรงนัดกันแต่งพระองค์แบบ ต่างๆ๑๘ ธรรมเนียมการเลี้ยงโต๊ะท�ำให้เกิดธรรมเนียมใหม่ตามมาคือ ธรรมเนียมการดื่มมัชชะ (คือน�้ำเมาชนิดต่างๆ หรือน�้ำที่มีส่วนผสมท�ำ ให้มึนเมา) หรือน�้ำเมาต่างๆ ทั้งสุราและเมรัย ในช่วงเวลานั้นเจ้านาย หลายพระองค์ต่างพากันหัดเสวยมัชชะกันทั้งนั้น๑๙ งานเลี้ยงโต๊ะดังกล่าวนี้เป็นที่มาของงานเลี้ยงสังสรรค์ยามค�ำ่ คืน ในสมาคมของกลุ่มชนชั้นสูงที่ต่อมาพบว่ามีกิจกรรมใหม่ที่ได้รับความ นิยมอย่างมากคือการเต้นร� ำ งานเลี้ยงโต๊ะหลังทศวรรษที่ ๒๔๒๐ เป็นต้นไปจึงพัฒนาไปเป็นงานเลี้ยงเต้นร�ำ
52 กรุงเทพฯ ยามราตรี
สวนส�ำราญ : การพักผ่อนหย่อนใจยามค�่ำคืนของชนชั้นน�ำ กรอบความคิดเรื่องสวนเพื่อความส�ำราญในยามค�่ำคืนในหมู่ ชนชั้นสูงสยามมีมานานแล้วตั้งแต่สมัยจารีต เสียแต่ว่าในสมัยจารีต พระเจ้าแผ่นดินและพระมหาอุปราชเท่านั้นที่จะมีอุทยานหรือสวนขนาด ใหญ่ได้๒๐ การใช้ชีวิตยามค�่ำคืนในสวนส�ำราญปรากฏในสมัยรัชกาลที่ ๒ เพราะเป็นช่วงเวลาที่สยามว่างเว้นจากการศึกสงคราม พระองค์จึงทรง มีเวลามากพอที่จะขยับขยายพระบรมมหาราชวังและสร้างสวนขวาไว้ ในคราเดียวกัน เพื่อเป็นสถานที่เสด็จประพาสพักผ่อนอิริยาบถ โดยมี กิจกรรมบันเทิงต่างๆ เป็นประจ�ำ หากเป็นเทศกาลส�ำคัญก็จะมีการ ละเล่นต่างๆ ในเวลากลางคืน เช่น การเล่นแห่ผ้าป่าในสระในคราว เสด็จลงทรงลอยพระประทีปในเดือนสิบสอง๒๑ ครั้นถึงต้นรัชกาลที่ ๕ ราวปี พ.ศ. ๒๔๑๗ มีการสร้างสวน สราญรมย์ให้เป็นสวนส�ำราญนอกพระบรมมหาราชวังตั้งอยู่ต่อเนื่อง กับพระราชวังสราญรมย์ แนวคิดในการสร้างได้รับแบบอย่างมาจาก สวนของเมืองหลวงต่างๆ ทั่วโลก ที่มีสวนต้นไม้และสวนสัตว์ไว้เป็น ที่ศึกษาพันธุ์ไม้และพันธุ์สัตว์ทุกชนิดกับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของ ประชาชน รัช กาลที่ ๕ โปรดเกล้ า ฯ ให้ น ายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (Mr. Henry Alabaster ต้นสกุลเศวตศิลา) จัดสร้างและดูแลสวนนี้ อย่างสวนพฤกษศาสตร์ หรือ Botanic Gardens ของอังกฤษ ภาย ในสวนสราญรมย์มีถนนเล็กๆ เป็ นทางเดิน วนเวียนไปมา มีต้ นไม้ ดอกไม้นานาชนิด มีน�้ำพุ เรือนกล้วยไม้ เรือนเฟิร์น กรงนก และคอก สัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง ปลูกสร้างไว้อย่างเป็นระเบียบ ต่อมาก็มีต้นไม้ที่ บรรดาเจ้านาย ขุนนาง และพระภิกษุสงฆ์ได้น�ำมาถวายให้ปลูกไว้๒๒ และโปรดเกล้าฯ ให้มีแตรมโหรีฝรั่งเล่นที่สวนนี้ตั้งแต่เวลาบ่าย ๔ โมง เย็นเป็นต้นไป ใครใคร่เข้าไปฟังมโหรีหรือชมต้นไม้ดอกไม้ต่างๆ ก็ได้ ไม่ห้าม เว้นแต่เวลาที่เสด็จออกเท่านั้น๒๓ สวนสราญรมย์แตกต่างจากสวนขวาตรงที่ได้รับรูปแบบ
วีระยุทธ ปีสาลี 53
ภาพสวนสราญรมย์ สมัยรัชกาลที่ ๔ (ภาพจาก พิพัฒน์ พงศ์รพีพร. ภาพมุม กว้างของกรุงเทพมหานคร ในสมัยรัชกาลที่ ๔. ๒๕๔๔)
มาจากสวนตะวันตก แต่สวนสราญรมย์ก็ยังไม่อาจนับได้ว่า เป็นสวนส�ำราญเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนอย่าง แท้จริง เนื่องจากเป็นสวนหลวงและสวนพฤกษศาสตร์ที่ตั้งอยู ่ ใกล้กับพระราชวังสราญรมย์ซึ่งเป็นที่ประทับของเจ้านายกับ เป็นที่รับรองเจ้านายต่างประเทศ ต่อมาก็เรียกกันว่าพระราช อุทยานสราญรมย์ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสวนของพระมหากษัตริย์ อันเป็นพื้นที่ของปัจเจกชนมากกว่าพื้นที่ของสาธารณชน ดังนั้น กรอบความคิดเรื่องการมีสวนส�ำราญเพื่อสาธารณชน จึงเป็นกรอบความคิดใหม่ในสังคมสยามที่เข้ามาพร้อมกับสภาวะสมัย ใหม่ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ จากการมีสวนสนุกในเวลากลางคืน ที่ป๊ากสามเสนเป็นแห่งแรกในทศวรรษที่ ๒๔๕๐ การเที่ยวเตร่ยามค�่ำคืนของคนกรุงเทพฯ ก่อนทศวรรษที่ ๒๔๒๐ ก่อนทศวรรษที่ ๒๔๒๐ สถานที่เที่ยวเตร่ยามค�่ำคืนของสามัญ ชนกรุงเทพฯ ได้แก่ งานเทศกาลตามวัด งานเผาศพ โรงบ่อน และ
54 กรุงเทพฯ ยามราตรี
โรงโสเภณี ๒๔ การเที่ย วเตร่ ใ นงานเทศกาลตามวัด และงานเผาศพ มีลักษณะเดียวกันคือมีมหรสพสมโภชให้คนกรุงเทพฯ ได้ชม เช่น หนัง ไทย หนังตะลุง สวดคฤหัสถ์ งิ้ว ละคร จ�ำอวด ฯลฯ อย่างไรก็ดี การเที่ ย วเตร่ ต ามงานวั ด และงานเผาศพถื อ เป็ น การเที่ ย วในงานจร ที่ไม่ได้มีเป็นประจ�ำไม่เหมือนการเที่ยวตามโรงบ่อนและโรงโสเภณี โรงบ่อนและโรงโสเภณีเป็นพื้นที่บันเทิงยามค�่ำคืนของเมือง ที่คนกรุงเทพฯ เข้าไปแสวงโชคและหาความสุข แต่เป็นความบันเทิง แบบอบายมุข ก่อนทศวรรษที่ ๒๔๒๐ โรงบ่อนและโรงโสเภณีมีทั้งที่ตั้งอยู่ ตามเรือนแพและบนบก๒๕ โดยเฉพาะในเขตชุมชนชาวจีนที่ส�ำเพ็ง แต่ลูกค้าของโรงบ่อนก็ไม่ได้มีแค่คนจีนและสามัญชนเท่านั้น เนื่องจาก ในเวลากลางคืนพบว่าโรงบ่อนเต็มไปด้วยคนมีเงิน คนในวงราชการ ใหญ่ๆ และคนในราชส�ำนักมาเสี่ยงโชคกันอย่างมากมาย และกิจกรรม ที่มีควบคู่ไปกับการเล่นพนันก็คือการสูบฝิ่น๒๖ ส่วนโรงโสเภณีนั้น ตั้งเป็นส�ำนักขับร้องเพลงให้แขกฟังทุกค�่ำคืน โรงบ่อนและโรงโสเภณี จึงเป็นพื้นที่ที่แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวในยามค�่ ำคืนของคน กรุงเทพฯ ในสังคมจารีต
ชีวิตยามค�่ำคืน ในบ้านของสามัญชน ส� ำ หรั บ ชี วิ ต ยามค�่ ำ คื น ในบ้ า นของสามั ญ ชนก่ อ นทศวรรษที่ ๒๔๒๐ แน่ น อนว่ า ไม่ ไ ด้ มี อ ะไรมากไปกว่ า การนอนหลั บ พั ก ผ่ อ น เพราะการนอนนั้นถือเป็นสิ่งส�ำคัญหลังการตรากตร�ำท�ำงานในตอน กลางวัน ประกอบกับปัจจัยเรื่องแสงไฟที่ช่วยอ� ำนวยความสว่างก็มี ไม่มากพอ คนกรุงเทพฯ จึงเข้านอนกันตอนหัวค�่ำ ดังที่ เฟรเดอริค อาร์เธอร์ นีล สังเกตชีวิตประจ�ำวันของคนกรุงเทพฯ ว่า “พวกเขาใช้ เวลาวันหนึ่งๆ ให้หมดไปด้วยการกิน ดื่ม และหาเงิน กลางคืนก็เป็น เวลาพักผ่อน”๒๗