ปรักปรำศาสตร์

Page 1


ปรักปรำ�ศาสตร์ Scapegoat

A History of Blaming Other People

Charlie Campbell อลิสา สันตสมบั ติ แปล

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  2558


ปรักปรำ�ศาสตร์ • อลิสา สันตสมบัติ แปล

จากเรื่อง Scapegoat : A History of Blaming Other People ของ Charlie Campbell Copyright © 2011 Charlie Campbell Original title: SCAPEGOAT: A HISTORY OF BLAMING OTHER PEOPLE Thai translation Copyright © 2015 by Matichon Publishing House. All rights reserved. arranged with Greene & Heaton Ltd. 37 Goldhawk Road, London W12 8QQ, UK through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. พิมพ์ครั้งแรก :  สำ�นักพิมพ์มติชน, มกราคม 2558 ราคา  160  บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม แคมป์เบลล์, ชาร์ลี. ปรักปรำ�ศาสตร์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2558. 176 หน้า. 1. พฤติกรรมมนุษย์  2. จิตวิทยา.  I. อลิสา สันตสมบัติ, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง 150.1943 ISBN  978 - 974 - 02 - 1373 - 4 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์  ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : ทิมา เนื่องอุดม • พิสูจน์อักษร : เมตตา จันทร์หอม กราฟิกเลย์เอาต์  : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง • ออกแบบปก : สิริพงษ์  กิจวัตร ศิลปกรรม : อุชุกร ลิ้มพานิชชนก • ประชาสัมพันธ์  : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่  บริษัทงานดี  จ�ำกัด โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012

www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 1235  โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์  บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่  5 ถนนสุขาประชาสรรค์  2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี  11120 โทรศัพท์  0-2584-2133, 0-2582-0596  โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์  4 ค�ำน�ำผู้แปล  6 เกริ่นน�ำ  10 บทน�ำ  18 ค�ำว่า “แพะรับบาป”  30 พิธีกรรมแพะรับบาป  36 กษัตริย์กับแพะรับบาป  44 แพะรับบาปของศาสนาคริสต์  56 พระคริสต์แพะรับบาป  66 แพะรับบาปในคราบชาวยิว  72 แพะรับบาปทางเพศ  76 แพะรับบาปตามความหมายดั้งเดิม  102 แพะรับบาปคอมมิวนิสต์  118 แพะรับบาปทางการเงิน  124 แพะรับบาปทางการแพทย์  132 ทฤษฎีสมคบคิด  138 อัลเฟรด เดรย์ฟุส  144 จิตวิทยาของการสร้างแพะ  150 บทสรุป  156 หมายเหตุ  162 บรรณานุกรมคัดสรร  170 กิตติกรรมประกาศ  175


คำ�-เตือน-ก่อน-แปลง-ร่าง

จะด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่รู้ตัว หรือไม่ยอมรับก็ตาม เราทุกคนต่างเป็น

“แพะ” ของคนและเหตุการณ์ได้เท่าๆ กับที่ท�ำให้คนอื่นกลายเป็น “แพะ”  เหมือนกัน   การสร้างแพะไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ต้องอาศัยเวทมนตร์ แค่มีอคติเป็น  ทุน สัญชาตญาณเอาตัวรอดเป็นก�ำลัง คุณก็เป็นนักสร้างแพะได้แล้ว (แม้  ปัจจัยอื่นๆ จะเป็นสาเหตุได้ด้วย) ดังตัวอย่างจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ไม่ว่า  จะเป็นการสร้างผู้ร้ายเพื่อรับใช้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ ภาพติดลบตลอดกาล  ของชาวยิวในสายตาชาวโลก หรือแม้กระทั่งการเอาผิดสัตว์ที่ไม่ได้เข้าใจ  ความเป็นไปของมนุษย์ ฯลฯ  ค�ำว่า scapegoat หรือ “แพะรับบาป” จึง  เป็นความหมายที่เข้าใจกันทั้งโลก ล�ำพังแนวคิดว่าด้วยเพศหญิงผู้น�ำความ  ตกต�ำ่ มาสูเ่ พศชายก็สร้างตัวละครเด่นดังมากมายแล้ว อาทิ แพนดอรา เฮเลน  แห่งทรอย และอีฟ กระทั่งไฮพาเทีย สตรีที่เก่งเกินหน้าบุรุษก็ไม่เว้น  แม้  ชะตากรรมของพวกนางอาจต่างกันไปในรายละเอียด แต่สถานะนับว่าไม่  ห่างกันนัก ที่จริงกระบวนการหาแพะรับบาปผูกติดอยู่กับความเข้าใจง่ายๆ แต่  ไม่ธรรมดาอย่างหนึ่งคือ ในสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงและคลุมเครือ เราย่อม  หาทางออกให้ความไม่ชัดเจนนั้นด้วยการเอาตัวรอดเสมอ เราสร้าง “ข้ออ้าง”  แล้วตีเนียนเอาว่าเป็น “เหตุผล”  เรา “แก้ตัว” โดยไม่ยอม “แก้ไข” ลักษณะ

4     อลิสา สันตสมบัติ แปล


นิสยั นีส้ ง่ ผ่านจากรุน่ สูร่ นุ่ จนท�ำให้คำ� ว่า “ความรับผิดชอบ” แทบไร้ความหมาย  ด้วยมนุษย์มักรับเอา “ความชอบ” โดยปฏิเสธ “ความผิด” ของตนตลอดมา  เพราะการสะท้อนความบกพร่องผิดพลาดในสิ่งต่างๆ ทั้งหลาย ง่ายกว่าการ  ยอมรับข้อด้อยของตัวเอง หลายครั้งแพะรับบาปไม่ได้เกิดขึ้นโดยจงใจ ทว่าลุกลามจากเรื่อง  ส่วนตัวที่ถูกโหมกระพือจนบานปลายกลายเป็น “ความรู้สึกร่วม-การกระท�ำ  ร่วม” ฉวยโอกาสช่วงชิงความได้เปรียบจนส่งผลเสียหายเป็นวงกว้าง พฤติ  กรรมกล่าวโทษและใส่ร้ายจึงเป็นส่วนหนึ่งของการระบายความโกรธ เกลียด  กลัวจนไร้สติหรือความหลงผิดชนิดกู่ไม่กลับ เพียงเพื่อก�ำจัดรอยด่างพร้อย  โดยไม่ต้องลงแรงแก้ไขต้นเหตุของปัญหา ชาร์ลี แคมป์เบลล์ไม่ได้เขียนหนังสือเล่มนี้เพื่อโจมตีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด  และยังเน้นย�้ำว่าไม่ได้ท�ำไปเพื่อเปลี่ยนประวัติศาสตร์ มุมหนึ่งของจิตใจ  ในฐานะผูเ้ ขียน เขายังหวังว่าเราน่าจะได้เรียนรูอ้ ะไรบ้างจากการกระท�ำทีผ่ า่ น  มา และน่าจะเป็นโอกาสสร้างส�ำนึกร่วมกันถึงบางสิ่งที่เราอาจหลงลืมหรือ  ละเลยไป หวังอย่างยิ่งว่า ปรักปร�ำศาสตร์ เล่มนี้จะเป็นคู่มือคู่ใจ เตือนให้นึก  ถึงอุทาหรณ์ครั้งก่อนๆ และผลลัพธ์ของเหตุการณ์นั้นๆ ว่าย�่ำแย่แค่ไหน  ก่อนที่คุณจะเปลี่ยนใครเป็นแพะรายต่อไปเพียงเพราะเป็นทางที่ง่าย หรือ  แค่อ่อนไหวไปกับกระแสดราม่า...กระทั่งอาจพลาดท่าตกเป็นแพะเสียเอง  โดยโทษใครไม่ได้อีก  ด้วยความปรารถนาดี และอยากให้โลกนี้ไม่มี(แพะ)ผู้โชคร้าย ส�ำนักพิมพ์มติชน

ปรักปรำ�ศาสตร์

5


คำ�นำ�ผู้แปล

เมือ่ เปิดพจนานุกรมหาความหมายของค�ำว่า “แพะรับบาป” จะพบว่าค�ำค�ำนี้

หมายถึง ผู้ที่ถูกกล่าวโทษส�ำหรับการกระท�ำผิดหรือความผิดพลาดของผู้อื่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยเหตุผลด้านความสะดวก  บางทีเราอาจได้ยินบ่อย  จนเคยชินจึงไม่ได้ตั้งค�ำถามหรือสงสัยมากนักว่าท�ำไมสัตว์ที่มารับบาปต้อง  เป็นแพะ ไม่ใช่สตั ว์ชนิดอืน่   อีกทัง้ ส่วนใหญ่ในความเป็นจริงทีเ่ รามักพบเห็น  เป็นประจ�ำทุกวันนี้ ผู้ทำ� หน้าที่รับบาปแทนผู้อื่นกลับไม่ใช่แพะ แต่เป็นคน ปรักปร�ำศาสตร์ พาผู้อ่านสืบย้อนประวัติศาสตร์กลับไปรู้จักหนึ่งใน  พิธีกรรมเก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติอันเป็นต้นก�ำเนิดของค�ำว่าแพะรับบาป  ทว่าบทบาทของแพะรับบาปในฐานะพิธีกรรมอาจยังไม่ส�ำคัญเท่าการแสดง  พฤติกรรมโทษผู้อื่นของมนุษย์โดยไม่เจาะจงเลยว่าต้องเป็นแพะ แต่ยังรวม  ถึงนก แมลง หรือแม้กระทั่งสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งที่ในบางครั้งความผิดพลาดนั้น  อาจเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ไม่ได้เกิดจากน�ำ้ มือของใครเลยก็ตาม หากให้ลองย้อนกลับมาทบทวนพฤติกรรมของตัวเอง เราอาจเริม่ จาก  การตั้งค�ำถามง่ายๆ ว่าทุกวันนี้เรารับผิดชอบความผิดพลาดที่ตนเป็นผู้ก่อ  บ่อยแค่ไหน ครั้งสุดท้ายที่เรายืดอกรับความผิดที่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยเจตนา  หรือด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์คือเมื่อไหร่  ไม่ต้องคิดถึงเรื่องใหญ่โตหรือ  ไกลตัว  ลองจินตนาการดูว่าถ้าคุณหาของสักชิ้นในบ้านไม่เจอ...ของที่อาจ  ไม่ได้มีค่าราคาแพงด้วยซ�้ำ  ปฏิกิริยาแรกของคุณจะเป็นอย่างไร  คุณจะ  6     อลิสา สันตสมบัติ แปล


โทษสมาชิกในบ้านว่าเขาย้ายของชิ้นนั้นไปไว้ที่อื่น หรือเอาไปใช้แล้วไม่เก็บ  ที่เดิม หรือว่าแมวของคุณแอบกินเข้าไป  หรือบางทีหลุมด�ำอาจจะดูดมัน  เข้าไปและคุณอาจไม่มีวันได้เจอมันอีก...แต่ต้องไม่ใช่คุณเองแน่ๆ!   เหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้อาจไม่ท�ำให้ใครเดือดร้อนมากนัก  แต่พฤติกรรมโทษคนอื่นก็บ่งบอกอะไรบางอย่างเกี่ยวกับตัวเรา...อาจไม่ใช่  แค่เรา แต่รวมถึงสังคมที่เราอาศัยอยู่ และอาจจะประวัติศาสตร์ทั้งหมด  ของมนุษยชาติเลยก็ว่าได้  ชาร์ลี แคมป์เบลล์ก�ำลังบอกผู้อ่านว่ามนุษย์เป็น  สิ่งมีชีวิตที่ไม่ยอมรับว่าตัวเองผิด จึงต้องโทษผู้อื่นว่าเป็นสาเหตุของความ  ผิดพลาดต่างๆ  เพราะคิดว่าเราเหนือกว่าคนอืน่ จึงไม่มที างท�ำผิดพลาด  แต่  เอาเข้าจริงแล้วเราอาจเข้าใจผิด  ทั้งที่รู้ตัวและอาจไม่รู้ตัว ว่าเราต่างปกปิด  ความผิดพลาดของตัวเองและโยนขี้ให้คนอื่นรับผิดชอบแทน เราพร้อมที่จะ  หลอกตัวเองอยู่ในสังคมที่ไม่ยอมรับความจริง  พร้อมจะเสกสรรปั้นแต่ง  เรื่องเล่าเพื่อให้ตัวเองพ้นผิด  ด้วยเหตุนี้เองหลายกรณีที่มีการจับแพะนั้น  ต่อให้มีพยานมากมายแต่ก็ท�ำอะไรคนผิดไม่ได้  ขณะเดียวกันผู้ที่ท�ำผิด  อยู่โต้งๆ กลับลอยนวลไปได้ด้วยอ�ำนาจของตน แม้ทุกวันนี้จะไม่มีพิธีกรรมที่แพะตัวน้อยต้องตกเป็นเหยื่อเพื่อไถ่  ความผิดบาปของมนุษย์อกี ต่อไปแล้ว มนุษย์กย็ งั ไม่เลิกพฤติกรรมโทษผู้อนื่   และไม่หยุดแสวงหาแพะ น่าคิดว่าปัจจัยอะไรในตัวเราที่ท�ำให้ประวัติศาสตร์  แห่งการโทษคนอื่นนี้ยังคงด�ำเนินไปไม่จบสิ้น ผู้แปลขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์มติชนที่ให้โอกาสแปลหนังสือเล่มนี้  ขอบคุณคุณทิมา เนื่องอุดม บรรณาธิการที่ช่วยตรวจความถูกต้องและเกลา  ภาษาให้สละสลวยยิ่งขึ้น รวมทั้งดูแลต้นฉบับจนออกมาเป็นเล่มที่สวยงาม  และขอบคุณทีมงานทุกคนที่ไม่ได้กล่าวชื่อไว้ในที่นี้   หากการแปลหนังสือ  เล่มนีม้ คี วามผิดพลาดประการใด ผูแ้ ปลจะไม่ขอกล่าวโทษแพะตัวใดนอกจาก  ตัวผู้แปลเอง อลิสา สันตสมบัติ 1 ธ.ค. 2557 ปรักปรำ�ศาสตร์

7


แด่พ่อและแม่


ปรักปรำ�ศาสตร์


เกริ่นนำ� ในคืนที่มืดมิดและมีพายุ กระหน�่ำ...


เดือนกรกฎาคม ปี 1840 พายุร้ายพัดถล่มเซนต์กิลด้า  “เกาะสุดขอบ

โลก” แห่งนี้อยู่กลางทะเลห่างจากชายฝั่งตะวันตกของสกอตแลนด์ไป 110 ไมล์  หมู่เกาะทั้งสี่แห่งเซนต์กิลด้าเป็นเจ้าของสมญาหน้าผาสูงที่สุด แห่งอังกฤษและเป็นถิ่นอาศัยของนกทะเลที่ใหญ่ที่สุดของโลก  ทว่านี่ เป็นหนึ่งในภูมิประเทศที่ไร้ความปรานีที่สุดในโลกซึ่งมักถูกอากาศเลวร้าย โหมกระหน�่ำเกือบตลอดปี ที่นี่ไม่มีต้นไม้และไม่มีที่หลบภัยจากดินฟ้า อากาศใดๆ แต่ก็มีมนุษย์อาศัยอยู่มาเป็นเวลากว่าสองพันปี โดยที่ส่วน ใหญ่มกั อยูใ่ นสภาพตัดขาดจากโลกภายนอก  ผูค้ นบนแผ่นดินใหญ่สนใจ ด่านหน้าไกลสุดของหมู่เกาะอังกฤษแห่งนี้น้อยมาก และโดยทั่วไปชาว เกาะก็มีอิสระที่จะใช้ชีวิตตามใจชอบ เพราะมีคนนอกมารบกวนเพียงครั้ง คราวเท่านั้น เซนต์กิลด้าโดดเดี่ยวเสียจนมักมีคนเสนอให้ใช้เกาะนี้เป็นคุก ทั้ง ที่มีบุคคลเพียงผู้เดียวเคยถูกคุมขังอยู่ที่นี่1  ประวัติศาสตร์อันแปรปรวน และรุนแรงของสกอตแลนด์เคลื่อนผ่านชาวเกาะแห่งนี้ไป พระราชาเสด็จ มาแล้วก็เสด็จจากไป มีการท�ำสงคราม ขบวนการจาโคไบต์ปราชัยที่คัล โลเดน  ครั้งหนึ่งเคยมีทหารถูกส่งมาสืบสวนข่าวลือที่ว่าบอนนี พรินซ์ ปรักปรำ�ศาสตร์

11


ชาร์ลี*ซ่อนตัวอยู่ที่นี่ แต่เมื่อพวกทหารมาถึงได้ไม่นานก็ตระหนักว่าชาว เซนต์กิลด้าไม่รู้จักผู้สมอ้างหนุ่มผู้นี้เลยด้วยซ�้ำ อย่าว่าแต่จะสนับสนุน พระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์เลย หมู่เกาะเฮบริเดสส่วนใหญ่ล้วนมีต� ำนานแปลกประหลาด และ เซนต์กิลด้าก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น  เดิมทีเกาะนี้เป็นของแมคลอยด์แห่งแมคลอยด์ หัวหน้าตระกูลแมคลอยด์ จนกระทั่งมีการอพยพเมื่อปี 1930  ว่า กันว่าครั้งหนึ่งสถานภาพความเป็นเจ้าของของเกาะนี้เคยตกเป็นประเด็น ท้าทายระหว่างชาวเกาะอูอิสต์ (Uists) และชาวเกาะแฮร์ริส (Harris) หากกรณีพิพาทนี้ก็คลี่คลายได้ด้วยการแข่งเรือจากเกาะทั้งสองมายัง เซนต์กิลด้า โดยคนแรกที่แตะฝั่งก่อนจะเป็นผู้ชนะ  เมื่อทั้งสองฝ่ายใกล้ ถึงเส้นชัยนั้น ชาวอูอิสต์น�ำหน้าคู่แข่งมาก่อน แต่คอลลา แมคลอยด์จาก ฝ่ ายแฮร์รสิ ตระหนักได้ถงึ ความปราชัย จึงตัดมือซ้ายของตนโยนขึน้ ไปบน ฝั่งจนได้เป็นคนแรกที่อ้างสิทธิ์เหนือเกาะนี้แก่เจ้านายของเขา  เรื่องราว เล่าขานกันว่าจากนั้นเป็นต้นมาตราประจ�ำตระกูลแมคลอยด์ก็มีรูปมือ สีแดงประกอบอยู่ด้วย ชีวิตจริงบนเซนต์กิลด้าก็แปลกประหลาดไม่แพ้กัน  ชาวเกาะไม่มี ผู้น�ำและจะหารือกันทุกเรื่องในที่ประชุมหรือสภาประจ�ำวัน  พวกเขาไม่ ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือเข้าไปมีส่วนในกิจการต่างๆ บนแผ่นดินใหญ่ และไม่เสียภาษี  ที่จริงแล้วพวกเขาไม่มีระบบเงินตรา จึงจ่ายค่าเช่าด้วย ขนนกนางนวลและน�้ำมันให้แมคลอยด์แห่งแมคลอยด์  นกทะเลเป็น แหล่งอาหารหลักของพวกเขา  ชาวเกาะไต่ไปตามหน้าผาและภูเขาหิน ด้วยความว่องไวเหลือเชื่อ ทั้งยังวางกับดักและเก็บไข่นกได้อย่างคล่อง * Bonnie Prince Charlie คือชือ่ ทีค่ นรุ่นหลังใช้เรียก ชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ด สจ๊วร์ต

ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วราชอาณาจักรบริเตนในยุคสมัยของเขาในชื่อ ‘ผู้สมอ้างหนุ่ม’ (The Young Pretender) เนื่องจากเขาอ้างตนเป็นรัชทายาทล�ำดับที่สองของ บัลลังก์อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์  เขาหนีไปจากสกอตแลนด์ หลังจากทีพ่ ่ายแพ้ในการลุกฮือเพือ่ ชิงบัลลังก์ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่คนื ให้ ครอบครัวของตน-ผู้แปล

12    อลิสา สันตสมบัติ แปล


แคล่ว แต่พวกเขากลับไม่ใช่นักเดินเรือและชาวประมงผู้ทรหดที่คุณ คาดหวังว่าจะอาศัยอยู่ในสถานที่เช่นนั้น (โดยรวมแล้วพวกเขาพอใจ ที่นกแกนเน็ตกับนกพัฟฟินกินปลาเป็นอาหาร) คนที่ออกทะเลจึงจมน�ำ้ เมื่อเผชิญพายุลูกใหญ่ในปี 1840  เรือของพวกเขาถูกคลื่นขนาดยักษ์ ซัดจนล่ม หนึ่งหรือสองวันหลังจากนั้นซากผู้เสียชีวิตก็เริ่มถูกซัดขึ้นมา เกยฝั่ง  หนึ่งในนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตรูปร่างประหลาดที่ยังไม่ตาย มันคือนก อ๊อคใหญ่ (Great Auk) นกบินไม่ได้ขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไป แล้ว  และเนื่องจากตอนนั้นไม่มีใครรู้จักมัน นี่จึงเป็นครั้งสุดท้ายที่มีคน เห็นนกชนิดนี้ในอาณาเขตหมู่เกาะอังกฤษ นกอ๊อคใหญ่มาเยือนชายฝั่งแถวนี้ไม่บ่อยนักและชาวเกาะก็น่าจะ ไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้  ชายสองคนจับนกไว้แล้วน�ำไปที่โบสถ์เล็กๆ ของ ชุมชน  มันถูกตัดสินว่าเป็นลางบอกเหตุร้ายผู้นำ� พายุมาสู่เกาะ นกอ๊อค ใหญ่ตัวสุดท้ายของอังกฤษจึงถูกไต่สวน ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด และ ตัดสินว่ามีความผิดจริง  มันถูกปาหินใส่จนตายบนชายหาดที่มาเกยตื้น เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านั้นโดยบรรดาชาวเกาะ ผู้ที่เวลาของพวกเขาเองก็ เหลือไม่มากแล้ว2 ทุกวันนี้นกทะเลเป็นเจ้าของเซนต์กิลด้า3  สิ่งที่เกิดขึ้นครั้งนั้นเป็น โศกนาฏกรรมธรรมดาสามัญที่มักจู่โจมชุมชนเล็กๆ  ทั้งความกลัว ความ โกรธ และความไม่รู้ ต่างผสมผสานเข้าด้วยกันเมื่อชาวเกาะเสาะหาค�ำ อธิบายของภัยพิบตั ทิ ถี่ ล่มพวกเขา และดังทีม่ กั เกิดขึน้ ในสถานการณ์เช่นนี้ ‘คนนอก’ ซึ่งในกรณีนี้คือนกอ๊อคใหญ่ ต้องรับผิดชอบส�ำหรับหายนะและ ถูกลงโทษ  นี่คือเรื่องราวเก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งของมนุษยชาติ และยังเป็น เรื่องเศร้าที่สุดเรื่องหนึ่งด้วย 

จากนั้นก็เป็นกรณีของเกาะอีสเตอร์ซึ่งห่างไกลยิ่งกว่าเซนต์กิลด้า คืออยู่

ห่างจากชายฝั่งของประเทศชิลีกว่าสองพันไมล์

ปรักปรำ�ศาสตร์

13


“เกาะอีสเตอร์ชกเกินน�้ำหนักตัวเอง แต่มันชกอยู่ฝ่ายเดียว  ราวกับเงาในกระจก และเราก็เห็นความเคลือ่ นไหวต่างๆ ที่  มันน็อกตัวเองได้ใหม่อยู่เรื่อยๆ” (โรนัลด์ ไรต์)

เกาะอีสเตอร์ถูกทิ้งไว้เป็นร้อยๆ ปีโดยปราศจากการรบกวนจากโลกภาย

นอก  พื้นที่เกาะนี้แบ่งออกเป็นเขตประมาณ 12 เขตซึ่งแผ่ขยายออกจาก ศูนย์กลาง  เผ่าต่างๆ ครอบครองดินแดนแต่ละส่วน และตัง้ ศีรษะหินขนาด ยักษ์ (โมอาย) อันมีชื่อเสียงของเกาะอีสเตอร์  โมอายเหล่านี้ตั้งอยู่บนฐาน (อาฮู) หันหน้าเข้าหาเกาะ เพื่อแสดงความเคารพต่อทวยเทพและบรรพบุรุษ ของชาวเกาะ  เมื่อเวลาผ่านไปรูปปั้นก็มีขนาดใหญ่ขึ้น แสดงถึงการแข่งขัน กันเมื่อเผ่าหนึ่งพยายามเอาชนะเผ่าอื่น  รูปปั้นที่สร้างขึ้นนี้หนัก 10 ตันโดย เฉลีย่  แต่ทเี่ หมืองแห่งหนึง่ มีศรี ษะทีย่ งั สร้างไม่เสร็จชิน้ หนึง่ หนักถึง 270 ตัน ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีทางเคลื่อนย้ายได้  ที่แอ่งแห่งหนึ่งมีรูปปั้นถูกทิ้งไว้ 397 ชิ้น  ทุกชิ้นแกะสลักจากหินแล้วถูกทิ้งไว้  เหตุใดรูปปั้นเหล่านี้จึงมีขนาด ใหญ่โตจนเกินจัดการ และท�ำไมมันจึงล้มระเนระนาด ค�ำตอบคือ การต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมอันโหดร้าย เกาะนี้เคยมีต้นไม้หนาแน่น แต่ทุกวันนี้ไม่มีเลย  นับตั้งแต่ชาวเกาะมาเยือน ที่นี่เมื่อราวคริสต์ศักราช 900 พวกเขาก็ค่อยๆ ผลาญต้นไม้จนหมดไป  ต้น ปาล์มอีสเตอร์ทมี่ ขี นาดใหญ่ทสี่ ดุ ในสายพันธุเ์ ดียวกันซึง่ ครัง้ หนึง่ เคยปกคลุม ทั่วทั้งเกาะ ถูกใช้เป็นไม้ฟืนส�ำหรับหุงต้มและท�ำเชิงตะกอนเผาศพ ใช้มุง หลังคาและสร้างบ้าน ใช้ต่อแพและขุดเรือแคนู และสุดท้ายคือใช้ขนย้าย และตั้งรูปปั้นหินยักษ์ ปีแล้วปีเล่าผ่านไป ชาวเกาะตัดต้นไม้ไปหลายพันต้นและเคลื่อนย้าย ก้อนหินเป็นล้านๆ ก้อนเพื่อสร้างแนวกันลมและท�ำสวนในที่ต�่ำ  ทั้งหมดนี้ เป็นความพยายามอย่างสิ้นหวังเพื่อช่วยให้พืชบางชนิดเติบโต แต่การตัดไม้ ท�ำลายป่าน�ำไปสู่การกัดเซาะดินและในที่สุดพืชผลย่อมประสบปัญหา สัตว์ บางสายพันธุ์ค่อยๆ หายไปเมื่อแหล่งที่อยู่อาศัยลดลง นกที่มีแหล่งอาศัย บนบกถูกล่ามากเกินไป ส่วนสัตว์น�้ำเปลือกแข็งถูกจับมากเกินไป  ในขณะ 14    อลิสา สันตสมบัติ แปล


เดียวกัน การตัดไม้ก็ยังด�ำเนินต่อไป ในที่สุดก็มาถึงวันที่ต้นไม้ต้นสุดท้ายถูกโค่น  ในหนังสือ Collapse:  How Societies Choose to Fail or Survive แจเรด ไดมอนด์ถาม ค�ำถามอันโด่งดังที่ว่า ชาวเกาะคิดอะไรอยู่ขณะที่พวกเขาโค่นต้นไม้ต้น สุดท้ายลง  (ประมาณกันว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างปี 1400 ถึงปี 1600) เราไม่มีวันรู้ แต่นับจากนั้นมาชาวเกาะก็ต่อสู้เพื่อไม้ทุกซีก  พวกเขาไม่มี เชือ้ เพลิงทีเ่ พียงพอจึงเลิกเผาศพแล้วหันมาท�ำมัมมีแ่ ทน  พวกเขาไม่สามารถ สร้างเรือแคนูได้แล้วจึงออกหาปลาไม่ได้  ที่ส�ำคัญที่สุดคือตอนนี้พวกเขา ไม่สามารถหนีไปจากเกาะได้ ท้ายที่สุดพวกเขาจึงไม่สามารถสร้างและตั้ง รูปปั้นหินยักษ์ได้ดั่งใจเหมือนแต่ก่อน  ผลลัพธ์ของทั้งหมดนี้คือความอด อยาก ประชากรลดลงอย่างรุนแรง และเป็นไปได้ว่ามีการกินเนื้อมนุษย์ เกิดขึ้นด้วย  เมื่อสถานการณ์เลวร้ายอย่างเห็นได้ชัด ชาวเกาะก็หันมาเป็น ปฏิปักษ์และต่อสู้กัน เชื่อกันว่าการที่รูปปั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นเชื่อมโยงกับสถานการณ์อัน เร่งด่วนของชาวเกาะ เมื่อพวกเขาพากันไปขอความช่วยเหลือจากทวยเทพ ด้วยการสร้างรูปปั้นที่ใหญ่ขึ้นๆ แต่แล้วก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือ  ลัทธิบูชา รูปเคารพจ�ำต้องหลีกทางให้อาการตาสว่าง และเมือ่ รูส้ กึ ว่าถูกเทพเจ้าทอดทิง้ ชาวเกาะผู้โกรธแค้นก็เริ่มโค่นบรรดาศีรษะหินที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างขึ้นเพื่อ เทิดทูนทวยเทพ  เราอนุมานได้ว่าบรรดานักบวชและผู้น�ำซึ่งตั้งตนเป็น คนกลางติดต่อกับสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิก์ ย็ งั โศกเศร้าเมือ่ พบว่าตนไร้อำ� นาจทีจ่ ะป้องกัน หายนะครั้งนี้ ในหนังสือเล่มเยี่ยมชื่อ A Short History of Progress โรนัลด์ ไรต์สังเกตว่าชาวเกาะ “ท�ำการทดลองแทนพวกเราเกี่ยวกับการเติบโตของ ประชากรแบบไร้ขีดจ�ำกัด การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย การท�ำลายสิ่ง แวดล้อม และความเชื่อมั่นอย่างไร้ขอบเขตว่าศาสนาของพวกเขาจะดูแล อนาคตให้    ผลก็ คื อ หายนะทางระบบนิ เ วศที่ น� ำ ไปสู ่ ก ารล่ ม สลายของ ประชากร”  เขาตั้งค�ำถามว่าเราต้องท�ำการทดลองนี้ซ�้ำในสัดส่วนที่ใหญ่กว่า หรือไม่ และคุณลักษณะของมนุษย์ “ยังเหมือนเดิมเสมอมาเช่นเดียวกับ ปรักปรำ�ศาสตร์

15


คนที่โค่นต้นไม้ต้นสุดท้าย”4 ด้วยหรือเปล่า เมื่ อ ถึ ง คราวต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ความผิ ด พลาด คุ ณ ลั ก ษณะของ มนุษย์มักไม่เคยเปลี่ยน  ทุกวันนี้ในหมู่ชาวเกาะเองมีกระแสต่อต้านความ คิดที่ว่าบรรพบุรุษของพวกตนเป็นต้นเหตุให้เกิดภัยพิบัติโดยมีการเสนอค�ำ อธิบายอืน่ ๆ อีกจ�ำนวนมาก  นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่รายหนึง่ โทษประชากร หนูที่แห่แหนเข้ามาจนล้นทะลัก รายอื่นๆ โทษโรคร้ายต่างๆ ที่นักเดินเรือ น�ำเข้ามา ในขณะที่บางรายเชื่อว่าเป็นเพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป  แต่ เกาะนี้ก็รอดพ้นจากปรากฏการณ์ดังกล่าวมาแล้วหลายครั้ง การท�ำลายป่า จึงเป็นค�ำอธิบายที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุด  ที่เราไม่รู้คือชาวเกาะคิดหรือไม่ว่า เทคโนโลยีและความพยายามอย่างหนักจะพาพวกเขาผ่านพ้นสภาวะต้นไม้ สูญพันธุ์นี้ไปได้  เกาะนี้เล็กพอที่พวกเขาจะรับรู้ถึงหายนะที่ก�ำลังจะเกิด สุดท้ายแล้วเกาะอีสเตอร์ก็สูญเสียต้นไม้ทั้งหมดพร้อมกับประชากรถึง 90 เปอร์เซ็นต์ (เราจึงต้องถามตัวเองว่า ถ้าชาวเกาะอีสเตอร์สามารถท�ำลายสิ่ง แวดล้อมด้วยเครื่องมือพื้นๆ เช่นนั้นแล้ว ทุกวันนี้เราจะสามารถท�ำได้มาก กว่าพวกเขาขนาดไหน) นี่เป็นตัวอย่างของการพังทลายทางระบบนิเวศโดยแท้จริง หายนะ ครั้งนี้เกิดขึ้นในภาวะโดดเดี่ยวสมบูรณ์โดยไม่มีคนนอกให้กล่าวโทษ ไม่มี ชาวยิว ไม่มีคอมมิวนิสต์ ไม่มีคาทอลิก  เมื่อไม่มีแพะรับบาปอยู่ข้างกาย พวกผู้น�ำของชาวเกาะจึงไม่สามารถถ่ายเทความโกรธไปจากตนเองได้ การ กล่าวโทษจึงถูกผลักขึ้นสู่เบื้องบนผ่านผู้น�ำและนักบวชไปยังเหล่าทวยเทพ

16    อลิสา สันตสมบัติ แปล



บทนำ�

เราจะโทษใครได้

คติพจน์ประจ�ำตระกูลของเอิร์ลแห่งเกรแชม


แรกเริ่มเดิมทีก็มีการกล่าวโทษแล้ว  อดัมโทษอีฟ อีฟโทษงู และเราก็เชื่อ

ถือเป็นจริงเป็นจังมาโดยตลอด  นีค่ อื บาปก�ำเนิดของเรา คือการปฏิเสธความ รับผิดชอบในการกระท�ำของเราเอง  นี่คือเหตุผลที่เราถูกเนรเทศออกจาก สวนอีเดน เหตุผลที่เราต้องท�ำงานและทุกข์ทรมาน  แต่ท�ำไมเราจึงยืนกราน กับการปฏิเสธนี้  เกมกล่าวโทษไม่เคยมีเหตุผลอยู่แล้ว มันเป็นแค่ระบบ อัตโนมัติที่เราต้องโยนความรู้สึกผิดไปที่อื่นและท�ำให้การด�ำเนินชีวิตโดย ไม่ตอ้ งคิดไตร่ตรองเป็นไปง่ายขึน้  แต่บดั นีเ้ กมกล่าวโทษก�ำลังท�ำงานล่วงเวลา เพราะดูเหมือนไม่มีอะไรที่เป็นความผิดของเราเลย  เมื่อเกิดความผิดพลาด เรายังกล่าวโทษเหมือนที่เราเคยกล่าวโทษเสมอมา โดยมุ่งเป้าไปที่คนกลุ่ม น้อยและคนชายขอบ แต่เราค้นพบวิธีใหม่และไม่ธรรมดาในการกล่าวโทษ ด้วยการใช้วทิ ยาศาสตร์เทียมและทฤษฎีสมคบคิด รวมทัง้ เทคโนโลยีกม็ สี ว่ น ท�ำให้การแพร่ความคิดอันตรายเหล่านี้ง่ายขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา  อะไรก็ตาม ที่ผิดปกติเกี่ยวกับเราอาจไม่มีทางแก้ไข แต่ย่อมจะมีจ�ำเลยเสมอ มาร์กซ์โทษระบบทุนนิยม ดอว์กินส์โทษศาสนา และฟรอยด์คิดว่า ทุกอย่างเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ5  ลาร์กินโทษพ่อแม่ของเรา แอทกินส์ โทษมันฝรั่ง6 และโมฮาเมด อัล ฟาเยดยังคงกล่าวว่าทั้งหมดเป็นความผิด ของเจ้าชายฟิลลิป (เดวิด อิกเคอเห็นด้วยกับอัล ฟาเยด แต่เสริมด้วยว่า ปรักปรำ�ศาสตร์

19


เพราะเจ้าชายฟิลลิปเป็นกิ้งก่ายักษ์จากต่างดาวที่ปกครองโลก)  ครั้งหนึ่ง เราเคยโทษโชคชะตาหรือพระเจ้า มาบัดนี้เรากลับโทษยีนและการเลี้ยงดู (ยังมีพวกล้าหลังอีกไม่กี่คนที่ยกให้เป็นความรับผิดชอบของสองสิ่งแรก) แต่การโทษยีนของเราต่างจากการโทษตัวเราเอง ดูเหมือนเราไม่ได้เข้าใกล้ การรับผิดชอบการกระท�ำของตัวเองอย่างเต็มตัวขึ้นเลย และต้องมีใครสัก คนให้ตำ� หนิได้เสมอ...ต้องมีแพะรับบาปเสมอ 

มนุษยชาติประสบความส�ำเร็จมากมาย สร้างความก้าวหน้าในสาขาต่างๆ

อย่างน่าเหลือเชื่อ รวมทั้งความส�ำเร็จทางเทคโนโลยีที่ไม่ธรรมดา  เราถูก บอกสอนเกี่ยวกับความส�ำเร็จเหล่านี้เรื่อยมา แต่น้อยนักที่เรื่องความโง่งม ของมนุษย์และวิธีที่มนุษย์หลอกตัวเองจะได้รับการบอกเล่า “ไม่มีใครเคยคิดว่าตนเองโง่ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของ  ความโง่เขลาของเขา” (นักสืบกล่าวไว้เมื่อสอบสวนผู้ต้อง  สงสัย จากซีรีส์เรื่อง The Wire)

แท้จริงหนังสือเล่มนี้พูดถึงความโง่ ดังที่ฮาร์ลัน เอลลิสันกล่าวว่าความโง่

เป็นองค์ประกอบสามัญที่สุดในจักรวาลเช่นเดียวกับไฮโดรเจน  เป็นความ โง่ชนิดที่จู่โจมเราหลังเกิดหายนะ เมื่อเราเลือกกล่าวโทษใครสักคนและให้ เขารับผิดชอบทุกอย่าง คนคนนั้นกลายเป็นแพะรับบาป เป็นสายล่อฟ้า 7 ส�ำหรับความโกรธแค้นและความเจ็บปวดของเราด้วยการถ่ายเทมันไปที่อื่น หลังจากนั้นเราจะรู้สึกว่าความยุติธรรมบังเกิดขึ้นแล้วและความเป็นระเบียบ ก็ฟื้นคืนกลับมา  จนกระทั่งเคราะห์ร้ายมาเยือนอีกหน จากนั้นกระบวน การอันดุเดือดของการยืนยันความรับผิดชอบทั้งหมดจะเริ่มต้นอีกครั้ง นี่เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่อยู่กับเราเสมอมา มันสะท้อนความต้อง การอันล�้ำลึกและเป็นสากลของมนุษย์ถึงการช�ำระล้างให้บริสุทธิ์และลบล้าง 20    อลิสา สันตสมบัติ แปล


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.