ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕ ศราวุฒิ วิสาพรม
ราคา ๒๔๐ บาท
ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕ • ศราวุฒิ วิสาพรม พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม ๒๕๕๙ ราคา ๒๔๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ศราวุฒิ วิสาพรม. ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๙. ๓๒๐ หน้า. ภาพประกอบ. ๑. ปฏิวัติ. ๒. ไทย - - การเมืองและการปกครอง. ๓. ไทย - - ประวัติศาสตร์. I. ชื่อเรื่อง. 303.64 ISBN 978 - 974 - 02 - 1476 - 2
• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน | พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : อรอนงค์ อินทรอุดม • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนปาน • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี
หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน
บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand
“ราษฎร” ฝูงชนที่มาชุมนุมกันอย่างคับคั่งที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ในงานพระ ราชทานรัฐธรรมนูญและฉลอง พ.ศ. ๒๔๗๕
ศราวุฒิ วิสาพรม (5)
สารบัญ
ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
ค�ำนิยม ค�ำน�ำ บทน�ำ ๑ สู่การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ : การเคลื่อนไหวของราษฎร และความเปลี่ยนแปลงสังคมสยาม การเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรม ทางความคิดของราษฎร ๒ ราษฎรในเหตุการณ์ปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ข้อพิจารณาเบื้องต้นของการวิเคราะห์ราษฎร ในเหตุการณ์ปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ผ่านมุมมองที่แตกต่าง ต�ำแหน่งแห่งที่ของราษฎรในเหตุการณ์ปฏิวัติ : บทวิเคราะห์ผ่านประกาศคณะราษฎรในฐานะ “ตัวบท” การสื่อสาร การประกาศเรื่องปฏิวัติให้สังคมรับรู้ ภายหลังวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ (6) ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
(๙) (๑๔) ๒
๑๒ ๑๓ ๒๘
๓๑
๓๒ ๓๙
๓ การเมืองและรัฐในชีวิตประจ�ำวันของราษฎร หลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ “เงามืด” ในการเมืองหลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ การเมืองช่วงรุ่งอรุณแห่ง “ระบอบประชาธิปไตย” กับชีวิตประจ�ำวันราษฎร ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับราษฎร สมัยแรกเริ่มรัฐประชาชาติ กระบวนการแปรเปลี่ยนสู่ “รัฐประชาชาติไทย” ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ปลดเปลื้อง “สังคมศักดินา” เร่งสู่ “สังคมสมัยใหม่” : บทสะท้อนจากกระบวนการทางนิติบัญญัติ และการปฏิรูปกฎหมาย การขยายตัวของเส้นทางคมนาคม : “พาหะ” น�ำอ�ำนาจรัฐแผ่ขยายสู่ท้องถิ่น การขยายตัวของหน่วยงานภาครัฐ : บทสะท้อนจากกรณีตัวอย่างแต่ละภูมิภาค การจัดระบบการศึกษา : การ “บริการ” และการ “ควบคุม” ราษฎรโดยรัฐ การ “บริการ” และการ “ควบคุม” ราษฎรโดยรัฐ ผ่านหน่วยงานด้านการแพทย์และการสาธารณสุข กระบวนการสร้าง “รัฐประชาชาติไทย” ในมิติชีวิตประจ�ำวันราษฎร
๕๐ ๕๒ ๕๖
๑๐๖ ๑๐๗
๑๐๙ ๑๑๒ ๑๑๖ ๑๑๗ ๑๓๑ ๑๓๘
๕ การเคลื่อนไหวทางการเมืองของราษฎร สมัยแรกเริ่มรัฐประชาชาติ ๑๗๐ การเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านและสนับสนุนรัฐ ภายหลังการปฏิวัติ กรณี “กบฏบวรเดช พ.ศ. ๒๔๗๖” ๑๗๑ ศราวุฒิ วิสาพรม (7)
การเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านและสนับสนุนรัฐ ในทศวรรษ ๒๔๘๐ กรณี “การเรียกร้องดินแดนคืน” และ “ขบวนการเสรีไทย”
๑๘๑
๖ พื้นที่ทางการเมืองของ “คนกลุ่มใหม่” : การเลื่อนฐานะทางสังคมของราษฎรสามัญชน ในสถาบันการเมืองและระบบราชการของรัฐประชาชาติ ๒๑๒ พื้นที่ทางการเมืองรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม : ระบบราชการและสถาบันการเมือง ๒๑๓ การเปลี่ยนผ่านของพื้นที่ทางการเมือง : สถาบันการเมือง และระบบราชการหลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ๒๒๑ โอกาสของ “คนกลุ่มใหม่” ในสถาบันการเมือง และระบบราชการแห่งรัฐประชาชาติ ๒๒๘ บทสรุป
๒๗๖
บรรณานุกรม
๒๗๙
(8) ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
ค�ำนิยม
ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
ประวัติศาสตร์คืออะไร? เราควรสร้างความรู้ประวัติศาสตร์เพื่อ อะไร? และความรู้ท่ีเราสร้างขึ้นควรจะเป็นความรู้เช่นไร? เป็นค�ำถาม ที่ยังคงรอการถกเถียงอยู่เสมอ แน่นอนว่าแต่ละคนย่อมมีสิทธิ์ที่จะมี ค�ำตอบเป็นของตนเอง และค�ำตอบนั้นย่อมจะมาจากพื้นฐานความคิด อันได้แก่ โลกทัศน์ ค่านิยม และอุดมการณ์ของแต่ละคน ซึ่งแน่นอนว่า ค�ำตอบที่มีอยู่ย่อมจะมีผลต่อลักษณะของความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ บุคคลนั้นๆ สร้างขึ้น ประวัติศาสตร์การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้รับการเขียนขึ้นมา มากแล้ว โดยผู้เขียนแต่ละคนมีพื้นฐานความคิดและมีค�ำตอบส�ำหรับ ค�ำถามข้างต้นแตกต่างกัน ส่งผลให้การอธิบายการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ แตกต่างกันไปด้วย นอกเหนือจากงานเขียนในเชิงประวัติศาสตร์การ เมืองโดยนักประวัติศาสตร์จ�ำนวนหนึ่งแล้ว ยังมีการศึกษาของนัก รัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์การเมืองซึ่งมีมุมมองแตกต่างกันอย่าง หลากหลายอีกด้วย ท�ำให้ภาพของสังคมไทยในช่วงก่อนและหลังการ ปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น และความแตกต่างหลากหลายในการอธิบายสาเหตุและผลของการ ปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ นี้ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทาง ความคิดและความรุนแรงในสังคมไทยในระยะหลายปีที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการอธิบายประวัติศาสตร์การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ มีความส�ำคัญทางวิชาการและทางการเมืองตลอดมา และในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่ามีการสร้างหรือการน�ำเอา ความรู้เกี่ยวกับการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ไปใช้ประโยชน์ทางการเมือง ศราวุฒิ วิสาพรม (9)
อย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น ซึ่งความรู้มากมายหลายแบบที่มีมาแล้วในวงวิชา การและสังคมไทยกลายเป็นวัตถุดิบที่ทุกฝ่ายสามารถเลือกสรรไปใช้ได้ เป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งของการสร้างความรู้เกี่ยวกับการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ในอดีตที่ผ่านมา เป็นความพยายามที่จะประเมินว่าเหตุการณ์ทางการ เมืองนี้มีความส�ำคัญหรือไม่ เพียงใด และอย่างไร ส่งผลให้สังคมไทย เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลง และใครคือผู้มีบทบาทหลักใน การน�ำเอาระบอบรัฐธรรมนูญหรือประชาธิปไตยมาสู่สังคมไทย การ ประเมินที่แตกต่างกันท�ำให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ มีส่วนอย่างมากในการอ�ำนวยความชอบธรรมหรือท�ำลายความชอบ ธรรมของระบอบประชาธิปไตย ชนชั้น และ/หรือสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยว ข้องกับระบอบประชาธิปไตย ในท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง ในยุคต่างๆ ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน การศึกษาเกี่ยวกับการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ อีกส่วนหนึ่งที่เคย มีมาในวงวิชาการต้องการแสดงให้เห็นว่าการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นเพียงผลลัพธ์จากการที่ระบบเศรษฐกิจไทยถูกดึงเข้าสู่ระบบทุนนิยม โลกที่ท�ำให้รัฐไทยจ�ำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐและสัมพันธภาพ ทางอ�ำนาจเพื่อตอบสนองต่อระบบโลก ซึ่งการเขียนในลักษณะนี้มักจะ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้สังคมไทยปลดแอกตนเองให้พ้นจากการ เป็นประเทศทุนนิยมชายขอบ นอกจากนี้ ยังมีงานเขียนของนักวิชาการบางส�ำนักที่แสดงให้ เห็นว่าการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ มีความส�ำคัญน้อย เพราะมิได้ส่งผล ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญในเชิงโครงสร้างแต่อย่างใด เช่น การ วิเคราะห์ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นเพียงการรัฐประ หารที่มีผลในแง่ของการเปลี่ยนแปลงกลุ่มผู้ถือครองอ�ำนาจรัฐเท่านั้น หรือการเสนอว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้น จากการวางรากฐานโดยพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือการอธิบายผลกระทบในแง่ที่เป็นการยกเลิกพันธะของระบบศักดินา เพียงบางส่วนเท่านั้น เป็นต้น (10) ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
หนังสือ “ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕” ที่เขียนโดย คุณศราวุฒิ วิสาพรม เล่มนี้ มิได้ต้องการเข้าไปถกเถียงในประเด็น ที่กล่าวข้างต้นโดยตรง แต่เป็นส่วนหนึ่งของกระแสความสนใจประวัต ิ ศาสตร์ที่ต้องการจะเข้าใจคนส่วนใหญ่ในสังคม คือ “ราษฎร” ว่าเมื่อ เกิดการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ขึ้นแล้ว ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เป็น ผลสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติดังกล่าวส่งผลกระทบต่อชีวิตของราษฎร มากน้อยเพียงใดและอย่างไร ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วผลการศึกษาย่อมจะ สะท้อนให้เห็นความส�ำคัญของการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ต่อราษฎร ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมนั่นเอง จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่การวิเคราะห์และอธิบายผล กระทบจากการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยพิจารณาความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดแก่คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยในหลายด้านประกอบกัน แตก ต่างจากงานเขียนก่อนหน้านี้ที่มักจะเลือกพิจารณาเฉพาะบางด้าน เท่านั้น หนังสือเล่มนี้จึงท�ำให้เห็นได้ละเอียดและชัดเจนว่าการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างลึกซึ้งและอย่างกว้าง ขวางกว่าที่เราเคยเข้าใจกัน แนวทางการศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ก ารปฏิ วั ติ พ.ศ. ๒๔๗๕ แบบที่คุณศราวุฒิ วิสาพรม ใช้เพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ซึ่งกลายมาเป็น หนังสือเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้เห็นได้ว่าบริบทหรือเงื่อนไขแวดล้อม ทางสังคมมีส่วนอย่างมากในการก�ำหนดขอบเขตและทิศทางความ เปลี่ยนแปลงของสังคม ถึงแม้ว่าคุณศราวุฒิ วิสาพรม จะมิได้เสนอ ภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยก่อนการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ และหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เอาไว้อย่างชัดเจน แต่ในขณะท�ำการ ศึ ก ษาผลกระทบของการปฏิ วั ติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่ มี ต ่ อ ราษฎร คุ ณ ศราวุฒิ วิสาพรม ได้ให้ความส�ำคัญแก่การมองความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นในช่วงเวลา ๑๕ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๙ ในฐานะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงระยะยาวของสังคมไทยที่ด�ำเนิน มาแต่อดีตและจะด�ำเนินต่อไปในอนาคต เพราะการประเมินปรากฏการณ์ ทางสังคมหรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างรอบด้านในฐานะที่เป็น ศราวุฒิ วิสาพรม (11)
ส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงระยะยาวเช่นนี้ เป็นเรื่องส�ำคัญอย่าง ยิ่งที่จะช่วยให้เข้าใจความซับซ้อนของความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น ความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาใดของประวัติศาสตร์ และไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ของสังคมใดๆ ก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าแนวการศึกษาที่คุณศราวุฒิ วิสาพรม เลือกมา ใช้ในการศึกษาความเปลี่ยนแปลงภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ในเชิงกระบวนการ ผลจากการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงมิได้เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เพียงวันเดียว เพราะเหตุการณ์ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็ย่อมเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงอันซับซ้อนของ คนหลากหลายชนชั้นนับตั้งแต่เจ้านายลงไปจนถึงราษฎร ท่ามกลาง บริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ (รัชกาลที่ ๕-๗) ดังที่นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ได้แสดงให้เห็น อย่างละเอียดและลุ่มลึกในหนังสือ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งถ้าหากมองย้อนหลังไปให้ไกลกว่านั้นก็จะพบว่า นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้แสดงเอาไว้ในหนังสือ ปากไก่และใบเรือ : ว่าด้วยประวัติศาสตร์และ วรรณกรรมในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ว่ากระแสความคิดแบบมนุษยนิยม เหตุผลนิยม และสัจนิยมนั้นได้บังเกิดขึ้นแล้วในหมู่ชนชั้นสูงและเศรษฐี คหบดีผู้มีทรัพย์ตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ท่ามกลางระบบเศรษฐกิจ แบบตลาดที่ขยายตัวขึ้น และอรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ก็ได้แสดงให้เห็น ในหนังสือ การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้น�ำไทยตั้งแต่รัชกาล ที่ ๔ ถึงพุทธศักราช ๒๔๗๕ ว่ากระแสความคิดแบบสมัยใหม่ดังกล่าว นี้เองที่เป็นพลังผลักดันให้เกิดการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมา โดยชนชั้นน�ำที่ต้องการจะมีบทบาทอย่างแท้จริงในการก�ำหนดวิถีประวัต ิ ศาสตร์ของไทยให้ด�ำเนินไปสู่ความก้าวหน้าตามคติทางเวลาแบบใหม่ และความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นี้ก็ได้ กลายเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้สามัญชนจ�ำนวนหนึ่งมีความส�ำนึกใน ศักยภาพของตนเองและต้องการจะมีส่วนร่วมในการก�ำหนดวิถีประวัต ิ ศาสตร์ของชาติไทยให้ด�ำเนินไปสู่ความก้าวหน้าเช่นเดียวกัน สามัญชน (12) ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
เหล่านี้จึงได้เคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยไปสู่ระบอบ ที่สามัญชนสามารถมีบทบาทในการก�ำหนดวิถีประวัติศาสตร์ได้อย่าง เต็มที่ เมื่อพิจารณาความเปลี่ยนแปลงระยะยาว ย่อมท�ำให้มองเห็นได้ ว่าการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ส่งผลกระทบต่อคนหลากหลายชนชั้นใน สังคมไทยในเวลานั้นและในเวลาต่อๆ มา แต่หนังสือ “ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕” เล่มนี้ มุ่งแสดงให้เห็นความซับซ้อนของความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่ส่งผลกระทบ ต่อ “ราษฎร” ในช่วงเวลาราว ๑๕ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึงสิ้น สงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งท�ำให้มองเห็นได้ว่าการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ไม่ได้มีผลกระทบจ�ำกัดอยู่แต่เฉพาะความเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง หรือสถาบันทางการเมืองและกลุ่มชนชั้นน�ำและ/หรือข้าราชการเท่านั้น เพราะสภาพการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในช่วงเวลา ๑๕ ปี นี้ได้ส่งผลกระทบต่อราษฎรทั่วประเทศในหลายมิติด้วยกัน โดยที่ราษฎร เองก็พร้อมที่จะปรับตัวในด้านต่างๆ เมื่อต้องเผชิญกับบริบทที่ผันแปร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการด�ำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ การเมือง และ วัฒนธรรมของชนชั้นน�ำในระบอบใหม่ และสภาวการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ภาพความเปลี่ยนแปลงส�ำคัญๆ ที่เกิดแก่ “ราษฎร” ในช่วง แห่งการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึงสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่คุณ ศราวุฒิ วิสาพรม เสนอในหนังสือเล่มนี้ มาจากการศึกษาหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์อย่างละเอียด กว้างขวาง และพิจารณาบริบททาง สังคมอย่างรอบด้าน นับเป็นการมองการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่มี ผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ในสังคม จึงหวังว่าจะช่วยให้เข้าใจความ เปลี่ยนแปลงของสังคมไทยลึกซึ้งขึ้น และท�ำให้ “ประวัติศาสตร์ราษฎร” มีพื้นที่อยู่ในวงวิชาการและสังคมไทยเด่นชัดขึ้นด้วย สายชล สัตยานุรักษ์ เชียงใหม่ กลางฤดูหนาว พ.ศ. ๒๕๕๘ ศราวุฒิ วิสาพรม (13)
คำ�นำ�
ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
การศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ของผู้เขียนส่วนหนึ่งมาจาก วิทยานิพนธ์ที่ผู้เขียนได้เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และได้ค้นคว้าเพิ่มเติมอีกภายหลังจากนั้นจน กระทั่งกลายเป็นหนังสือ “ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕” ที่มาและแรงบันดาลใจในการท�ำงานวิจัยของผู้เขียนมาจาก (๑) ความสนใจในประวัติศาสตร์แห่งชาติ และแนวทางการวิจัยประวัติ ศาสตร์สังคม (๒) ความสนใจเกี่ยวกับการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่ง เป็น “หมุดหมาย” จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย และ (๓) ความมุ่งหวังที่จะน�ำเสนอถึงเรื่องราวชีวิตของสามัญชนให้มีพื้นที ่ ในประวัติศาสตร์ ซึ่งสอดรับกับแนวความคิดว่าด้วยการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ก่อให้เกิดรัฐประชาชาติ (ซึ่งนิยามในความหมายสั้นๆ ตรงๆ ได้ว่าหมายถึงรัฐที่มีประชาชนเป็นเจ้าของ) เมื่อความปรารถนาส่วนตัวของผู้เขียนผนวกกับบริบททางสังคม การเมืองหลังการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งกลาย เป็นหมุดหมายส�ำคัญที่น�ำพาประวัติศาสตร์ “๒๔๗๕” กลับมาสู่การ รับรู้และเป็นที่สนใจอีกครั้งทั้งในวงวิชาการและในสังคมไทย จึงเป็น แรงผลักดันสู่การท�ำวิจัยนี้ขึ้นมา เงื่อนไขและแรงผลักดันทั้ง ๓ ประการจึงน�ำไปสู่การเรียงร้อย ถักทอให้เกิดงานศึกษาประวัติศาสตร์ในหนังสือเล่มนี้ ที่จะกล่าวถึง ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง และรัฐอันเป็นผลจากการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่มีนัยเกี่ยวข้องกับสามัญชน ตลอดระยะเวลาในการค้นคว้าวิทยานิพนธ์และการปรับปรุงจน (14) ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
กลายเป็นหนังสือเล่มนี้ ได้รับความกรุณาจากบุคคลจ�ำนวนมาก ซึ่ง หากปราศจากความช่วยเหลือที่ได้รับคงไม่อาจก้าวมาถึง ณ จุดนี้ได้ ผู้เขียนขอขอบพระคุณศาสตราจารย์เกียรติคุณ สายชล สัตยานุรักษ์ และศาสตราจารย์ ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ที่มอบข้อคิด ค�ำแนะน�ำ อันดีตั้งแต่ในชั้นเรียน ระหว่างการค้นคว้าวิทยานิพนธ์ จวบจนกระทั่ง ถึงปัจจุบัน และขอบคุณคณาจารย์ประจ�ำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอบพระคุณศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ส�ำหรับ ค�ำวิจารณ์และข้อเสนอแนะอันแหลมคมที่มอบให้เมื่อคราวสอบป้องกัน วิทยานิพนธ์ ซึ่งข้อคิดหลายประการได้น�ำมาปรับปรุงในหนังสือเล่มนี้ ขอบคุณบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่อนุญาตให้ น�ำส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนมาปรับปรุงเพื่อตีพิมพ์ ขอบคุณกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ ส�ำนักพิมพ์ มติชนที่อ�ำนวยความสะดวกอย่างดีตลอดมาและให้โอกาสตีพิมพ์ ขอขอบคุณครอบครัวและบุคคลใกล้ชิดที่สนับสนุนผู้เขียนอย่าง ดีเยี่ยมมาโดยตลอด หากหนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์อยู่บ้าง ผู้เขียนขอมอบให้แก่ บุคคลที่กล่าวถึงข้างต้น และมอบให้แก่ “คนธรรมดาสามัญ” ทั่วไป ผู้เป็นเจ้าของประเทศ ศราวุฒิ วิสาพรม ฤดูหนาว เชียงใหม่ ๒๕๕๘
ศราวุฒิ วิสาพรม (15)
ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
บทน�ำ
เมื่อย้อนส�ำรวจงานศึกษาเกี่ยวกับการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็ จะพบว่ามีอยู่เป็นจ�ำนวนมาก๑ โดยเฉพาะผลงานวิชาการตั้งแต่ครึ่ง หลังทศวรรษ ๒๕๒๐ เป็นต้นมา ได้บุกเบิกขยายขอบเขตการศึกษา (ณ ขณะนั้น) และวางรากฐานจนน�ำมาสู่การต่อยอดในการศึกษาอีก มากมายในเวลาต่อๆ มา แม้บางช่วงการรับรู้อดีตเกี่ยวกับการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ในสังคมไทยจะถูก “หลงลืม” ไปบ้าง๒ ทว่าในบริบท สถานการณ์ ท างการเมื อ งในห้ ว งเวลาตั้ ง แต่ ป ลายทศวรรษ ๒๕๔๐ ท�ำให้เกิดการตั้งค�ำถามกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะเมื่อเกิดการรัฐประหาร เมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ กลายเป็นหมุดหมายส�ำคัญที่น�ำพาให้สังคมไทยย้อนระลึกถึงเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์จุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยไทย การปฏิวัต ิ พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงได้กลับมาเป็นประเด็นส�ำคัญที่กล่าวถึงอีกครั้งทั้งในแวดวงวิชาการ และในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มประชาชนที่เน้นย�้ำถึงการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยประชาชน ดังนั้นการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ กับประชาชนกลายเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันใน “ประวัติ ศาสตร์ส�ำนึก” ชุดหนึ่งในบริบทสังคมการเมืองไทยในปัจจุบัน๓ หนัง สือ เล่ ม นี้ก็นับ ได้ ว ่ า เป็ น ผลผลิต จากเงื่อ นไขทางวิช าการ และบริบททางการเมืองที่กล่าวมา ซึ่งผู้เขียนอยากกล่าวเริ่มที่ข้อควร พิจารณาเบื้องต้นซึ่งเป็นกรอบแนวคิด (conceptual framework) ของการศึ ก ษาว่ า การปฏิ วั ติ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็ น การเปลี่ ย นรู ป รั ฐ (transformtion of state) จากรัฐ สมบู ร ณาญาสิท ธิร าชย์ มาเป็ น “รัฐประชาชาติ” (nation-state) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมไทยอย่าง กว้างขวาง และส่งผลให้กระบวนการพัฒนา “รัฐประชาชาติ” ก้าวหน้า ไปอีกขั้นสู่องค์ประกอบที่ครบถ้วน๔ อีกทั้งรัฐประชาชาติยังแฝงความ หมายว่า “รัฐที่เป็นของประชาชน” จึงน�ำไปสู่ “โครงเรื่อง” (plot) ที่ พยายามศึกษาผลกระทบที่ราษฎรได้รับจากความเปลี่ยนแปลงในมิต ิ สังคมการเมืองและภายใต้บริบทรัฐประชาชาติ เพื่อให้เป็นการศึกษา ประวัติศาสตร์แห่งชาติที่มี “ราษฎร”๕ เป็นองค์ประกอบส�ำคัญของชาติ๖ ศราวุฒิ วิสาพรม 3
การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ กับการเปลี่ยนรูปแบบรัฐ : อวสานรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่การก�ำเนิดรัฐประชาชาติ๗ เหตุ ก ารณ์ เ มื่ อ วั น ที่ ๒๔ มิ ถุ น ายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ส่ ง ผลให้ สถานะของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลงพร้อมกับการเปลี่ยนผ่าน ไปสู่รัฐรูปแบบใหม่คือ รัฐประชาชาติ (nation-state)๘ ในยุคแรกเริ่ม การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ส่งผลให้กระบวนการพัฒนา “รัฐประชาชาติ” ก้าวหน้าไปอีกขั้นสู่องค์ประกอบที่ครบถ้วน ซึ่งรากฐานองค์ประกอบ บางประการมีพัฒนาการมาตั้งแต่การเข้าสู่ยุค “สยามใหม่” ตั้งแต่ครึ่ง แรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๕๙ และเมื่อรัฐประชาชาติมีองค์ประกอบ ครบอันเป็นผลจากการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็มิได้หมายความว่าเป็น จุด “สมบูรณ์” แต่ประการใด หากทว่าเป็นเสมือน “จุดเริ่มต้น” ที ่ พัฒนาการของรัฐประชาชาติก็ยังคงด�ำเนินต่อไป (ดังจะแสดงให้เห็น ต่อไปข้างหน้า) การให้ความหมายเกี่ยวกับรัฐประชาชาติควรพิจารณาหลักการ ส�ำคัญเกี่ยวกับการเกิดรัฐประชาชาติ คือเรื่อง “อ�ำนาจอธิปไตย” ซึ่งมี นักวิชาการ ๓ ท่านที่ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ ได้แก่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ สมเกียรติ วันทะนะ และกุลลดา เกษบุญชู มี้ด มุมมองเรื่องดังกล่าวนี้ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้กล่าวว่า “รัฐ ธรรมนูญท�ำให้ประชาชนไทยเป็นเจ้าของอ�ำนาจอธิปไตยเป็นครั้งแรก และนับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน หลักการข้อนี้เป็นที่ยอมรับอย่าง น้อยโดยทางทฤษฎีเสมอ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่ารัฐประชาชาติไทยถือ ก�ำเนิดขึ้นครั้งแรกในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕...” ๑๐ ในท�ำนองเดียวกัน สมเกียรติ วันทะนะ ได้พยายามอธิบาย กระบวนการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่สัมพันธ์กับพัฒนาการของรัฐประชา ชาติได้อย่างน่าสนใจว่า 4 ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
“การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เริ่มเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็น ‘จุดเริ่มต้น’ ของการสถาปนา ‘รัฐ ประชาชาติ’ ที่เรียกว่าเป็นจุดเริ่มต้นก็เพราะรัฐประชาชาติ ก็เหมือนกับรัฐชนิดอื่นๆ ที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อตัว และสร้างความเข้มแข็ง ระยะเวลานี้ยาวนานแค่ไหนเป็น เรื่องที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ ทั้งมวลของรัฐนั้นๆ เราไม่ควรมองว่า ‘๒๔๗๕’ เป็นเส้นตัด อายุของรัฐก่อนหน้านั้นและหลังจากนั้นให้ขาดออกเป็นขาว เป็ น ด�ำ ‘๒๔๓๕’ และ ‘๒๔๗๕’ เป็ น เพีย งที่ห มายอย่ า ง สังเขปเท่านั้นว่า ณ จุดนั้นๆ การเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ ที่ส�ำคัญได้ตั้งต้นขึ้นแล้ว ความส�ำเร็จหรือความล้มเหลว ของรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์มิได้วัดที่ พ.ศ. ๒๔๓๖ ฉันใด พ.ศ. ๒๔๗๖ ก็มิใช่เกณฑ์วัดความส�ำเร็จหรือความล้มเหลวของ รัฐประชาชาติสยามฉันนั้น...” ๑๑ และในทิศทางเดียวกัน กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ก็ประเมินว่าภาย หลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยามได้ส้ินสุด ลงแล้วเปลี่ยนไปสู่กระบวนการพัฒนา “รัฐประชาชาติ” (nation-state) ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้กุลลดา เกษบุญชู มี้ดใช้เกณฑ์ส�ำคัญชี้วัดการก�ำเนิด รัฐประชาชาติ คือ “...การโอนอ�ำนาจอธิปไตยจากพระมหากษัตริย์มา อยู่ที่ชาติ (nation) ซึ่งก็คือประชาชน...กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสังคม ไทยปี ๒๔๗๕...” ๑๒ จากที่ ก ล่ า วมาท� ำ ให้ เ ห็ น ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของหลั ก การอ� ำ นาจ อธิป ไตย๑๓ ที่ค วามหมายได้ แ ปรเปลี่ย นเคลื่อ นย้ า ยต�ำ แหน่ ง แห่ ง ที ่ จากพระมหากษัตริย์สู่ราษฎรสามัญชนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของรัฐ ประชาชาติ๑๔ ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์สืบสาวสาแหรกภูมิปัญญาเบื้องหลังแนวคิด อ�ำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรในห้วงเวลาแห่งการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ พบว่ามีหลักฐานที่ประกาศเป็นลายลักษณ์อกั ษรอยู่ ๓ ชิ้นที่สะท้อนให้ ศราวุฒิ วิสาพรม 5
เห็นนัยและมีความเชื่องโยงกัน คือ “ประกาศคณะราษฎร-พระราช บัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕-รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ๒๔๗๕” โดยใน ประกาศคณะราษฎรมีการกล่าวว่า “ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร...” ด้านพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธ ศักราช ๒๔๗๕ ระบุใน “มาตรา ๑ อ�ำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็น ของราษฎรทัง้ หลาย” ๑๕ และสุดท้ายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ๒๔๗๕ ระบุในมาตรา ๒ ความว่า “อ�ำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชน ชาวสยาม...” ๑๖ จุดร่วมกันของหลักฐานทั้ง ๓ ชิ้นก็คือต่างสะท้อนให้ เห็นแนวคิดอ�ำนาจอธิปไตยเป็นของ/มาจากราษฎรอย่างชัดเจน จะต่าง กันก็เพียง “น�้ำเสียง” ที่มีระดับความรุนแรงค่อยๆ ลดหลั่นกันไป๑๗ ที่กล่าวมาจึงน่าจะเพียงพอต่อการนิยามรูปแบบของรัฐภายหลัง การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็น “รัฐประชาชาติ”๑๘ โดยกรอบความคิด ดังกล่าวจะน�ำไปสู่การอภิปรายอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อ ราษฎรอย่างมีนัยส�ำคัญหลายมิติในหนังสือเล่มนี้ อาทิ ประเด็นพัฒนา การของรัฐประชาชาติตามครรลองระบอบประชาธิปไตย๑๙ ทั้งแง่การ ปฏิบัติใช้กลไกของรัฐโดยรัฐบาลที่สัมพันธ์กับราษฎร (บทที่ ๔) และ การเคลื่อนไหวเข้ามามีส่วนร่วมและการตอบสนองต่อระบอบการเมือง ของราษฎร ทั้งการเคลื่อนไหวในลักษณะของการคล้อยตามรัฐและการ ต่อต้านรัฐ (บทที่ ๓ และ ๕) และในปริมณฑลแห่งอ�ำนาจรัฐ คือ ระบบ ราชการและสถาบันการเมืองของรัฐประชาชาติ (บทที่ ๖) อีกทั้งหนังสือเล่มนี้ต้องการน�ำเสนอให้เห็นต�ำแหน่งแห่งที่ของ ราษฎรในประวัติศาสตร์แห่งชาติสมัยการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงมีการ กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของราษฎรก่อนการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ (บท ที่ ๑) บทบาทของราษฎรในเหตุการณ์ปฏิวัติ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ (บทที่ ๒) และชีวิตของราษฎรท่ามกลางบริบทความ เปลี่ยนแปลงสังคม การเมือง และรัฐประชาชาติที่เป็นผลสืบเนื่องมา จาก “กระบวนการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕” (บทที่ ๓-๖) ซึ่งกล่าวโดยสรุป ได้ว่าผู้เขียนต้องการน�ำเสนอความเปลี่ยนแปลงจากการปฏิวัติ พ.ศ. 6 ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
๒๔๗๕ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยอย่าง “รอบด้าน” ต่างจากงาน ศึกษาจ�ำนวนไม่น้อยก่อนหน้านี้ที่มักจะพิจารณาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หรือประเมินว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงจากการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่ส่งผลกระทบต่อคนจ�ำนวนมากในสังคมไม่มากนัก ซึ่งรายละเอียด ที่กล่าวมาถูกน�ำเสนอไว้เป็นล�ำดับในแต่ละบทของหนังสือที่ก�ำลังอยู ่ ในมือผู้อ่านเล่มนี้
ศราวุฒิ วิสาพรม 7
เชิงอรรถ
๑ นคริ น ทร์ เมฆไตรรั ต น์ , “การปฏิ วั ติ ส ยาม ๒๔๗๕ : พรมแดนแห่ ง
ความรู้,” ใน ความคิด ความรู้ และอ�ำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕, พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน, ๒๕๔๖), น. ๓-๗๗; ชัยวัฒน์ บุนนาค, “การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ : พรมแดนแห่งความรู้,” ใน คณะ ราษฎรในประวัติศาสตร์ไทย (รายงานการสัมมนาผลงานวิจัยทางประวัติศาสตร์ ครั้งที่ ๑ จัดโดยส�ำนักวิจัยและพัฒนา ร่วมกับคณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยเกริก (๙-๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๘); ณัฐพล ใจจริง, “ภูมิทัศน์ของ ‘การปฏิวัติ’ ใน ประวัติศาสตร์การเมืองไทย,” ใน ปาฐกถาจ�ำลอง ดาวเรือง ณ วิทยาลัยการ เมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ สืบค้นเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕, จาก http ://www.copag.msu.ac.th/copag/ index.php?option=com_content&view=article&id=72 และศราวุฒิ วิสาพรม, “๘๐ ปี การปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ : ย้อนพินิจพรมแดนความรู้การปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ (อีกครั้ง),” วารสารสถาบันพระปกเกล้า ๑๑, ๑ (มกราคม-เมษายน ๒๕๕๖) : ๕-๓๗. ๒ ศราวุฒิ วิสาพรม, “๘๐ ปี การปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ : ย้อนพินิจพรม แดนความรู้การปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ (อีกครั้ง),” วารสารสถาบันพระปกเกล้า ๑๑, ๑ (มกราคม-เมษายน ๒๕๕๖) : ๒๓-๒๙. ๓ โปรดดู เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ, “สถานะของวิวาทะว่าด้วยการเปลี่ยน รูปของรัฐไทยภายหลัง ๒๔๗๕,” จุลสารจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ๑๖ (มิถุนา ยน ๒๕๕๕-พฤษภาคม ๒๕๕๖) : ๒๖.; ศราวุฒิ วิสาพรม, “๘๐ ปี การปฏิวัติ สยาม ๒๔๗๕ : ย้อนพินิจพรมแดนความรู้การปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ (อีกครั้ง),” วารสารสถาบันพระปกเกล้า. ๑๑, ๑ (มกราคม-เมษายน ๒๕๕๖) : ๒๙-๓๐; ชาตรี ประกิตนนทการ, “คณะราษฎรหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา,” อ่าน. ๔, ๔ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๖) : ๑๙-๓๙. ๔ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างทัศนะจากนักรัฐศาสตร์ ๒ ท่าน คือ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้อธิบายให้เห็นความส�ำคัญคือ ๑. การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็น การสานต่อกระบวนการสร้างรัฐสมัยใหม่ต่อจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และ ๒. บทบาทของรัฐหลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้เปลี่ยนโฉมไปจากเดิม อย่างมีนัยส�ำคัญคือ มีลักษณะของการมุ่ง “สร้างชาติ” ให้มีความเจริญ ทัน 8 ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
สมัย และมั่นคง ดู เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, พัฒนาการของรัฐชาติกับความ ขัดแย้งภายในของชาวสยาม (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการต�ำราสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, ๒๕๕๒), น. ๙; ในท�ำนอง เดียวกัน สมเกียรติ วันทะนะ กล่าวถึงการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ว่าเป็นเสมือน ก้าวแรกกระบวนการทางสังคมการเมืองของรัฐประชาชาติ ดู สมเกียรติ วันทะนะ, “แรกส�ำนึกแห่งรัฐประชาชาติ,” ใน ปาฐกถาของผู้แทนราษฎรเรื่อง สภาพของจังหวัดต่างๆ, พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ : สมาคมมิตรภาพญี่ปุ่นไทย, ๒๕๓๙), น. (๘)-(๙). ๕ ในงานชิ้นนี้ต้องกล่าวถึงค�ำจ�ำกัดความเป็นพิเศษอยู่ ๒ ค�ำ ค�ำแรก คือ “ราษฎร” หมายถึง คนธรรมดาสามัญโดยทั่วไปในสังคมสยาม/ไทย ซึ่ง ประกอบไปด้วยคนที่มีหลายสถานภาพ/อาชีพ เช่น ชาวนา พ่อค้า ข้าราชการ นักการเมืองด้วย ซึ่งคนหลายสถานภาพที่กล่าวถึงมานี้มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นคนที่มีภูมิหลังไม่ใช่ “เจ้านาย” ทั้งนี้ในสังคมสยาม/ไทย ช่วงทศวรรษ ๒๔๗๐-๒๔๘๐ มีค�ำที่ใช้เรียกแทนกลุ่มคนธรรมดาสามัญอยู่หลายค�ำ อาทิ “ประชาชน” “พลเมือง” “ปวงประชา” “ปวงชน” “ชนชาติ” ฯลฯ ในงานวิจัยนี้ ได้เลือกใช้ค�ำว่า “ราษฎร” แทนค�ำที่กล่าวมาทั้งหมด เพื่อให้มีความหมายไป ในทิศทางเดียวกัน และอีกค�ำคือ “ราษฎรสามัญชน” หมายถึง คนธรรมดา สามัญทั่วไปที่ผู้เขียนต้องการเน้นย�้ำถึง “หลักชาติก�ำเนิด” เป็นส�ำคัญเพื่อให้ เห็นการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบได้อย่างแจ่มชัด ๖ กล่ า วขยายความการที่ ง านวิ จั ย นี้ มี “กรอบ” การพิ จ ารณาว่ า การ ปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการเมือง จึงเป็น การพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของสังคมและผลกระทบต่อสามัญชนภายใต้ โครงสร้างรัฐประชาชาติเป็นส�ำคัญ งานนี้จึงมิได้มุ่งศึกษาถึง “ประวัติศาสตร์ ประชาชน” ที่มีลักษณะ “โครงเรื่อง” ในการพิจารณาที่ “ฉีก” ออกจากกรอบ รัฐแต่ประการใด ๗ การเมืองเรื่องการนิยาม “รัฐชาติ/รัฐประชาชาติ” ของสยาม/ไทยเอง ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากมีชุดความรู้ที่นิยามแตกต่างกันออกไปอย่าง น้อย ๓ ชุด คือ (๑) รัฐชาติเกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๕ (๒) รัฐชาติเกิดเมื่อมีการ ปฏิวัต ิ ๒๔๗๕ และ (๓) รัฐชาติเกิดช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐-๒๕๑๐ ๘ “รัฐประชาชาติ” หรือ “รัฐชาติ” มีความหมายเดียวกัน ซึ่งเป็นแนว คิดทางรัฐศาสตร์ที่แปลมาจากค�ำว่า nation state โปรดดูค�ำอธิบายใน เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, พัฒนาการของรัฐชาติกับความขัดแย้งภายในของชาวสยาม, ศราวุฒิ วิสาพรม 9
น. ๙.; ในที่นี้ผู้เขียนตั้งใจเลือกใช้ค�ำว่า “รัฐประชาชาติ” เนื่องจากสื่อทั้งความ หมาย ทั้งแง่แนวคิด และความหมายแห่งยุคสมัยหลังการปฏิวัต ิ พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่ได้มีการนิยามค�ำว่า “Nation = ประชาชาติ” ด้วย ๙ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, การปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕, พิมพ์ครั้งที่ ๕ (ฉบับแก้ไขและปรับปรุงครั้งที ่ ๓) (กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน, ๒๕๕๓), น. ๑๐-๑๔. ๑๐ นิธิ เอียวศรีวงศ์, ประวัติศาสตร์แห่งชาติ “ซ่อม” ฉบับเก่า “สร้าง” ฉบับใหม่, พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ : กองทุนเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ, ๒๕๕๑), น. ๕๙.; ในเวลาต่อมานิธิเองยังตอกย�้ำความคิดดังกล่าวความว่า “๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นการปฏิวัติประชาชาติแน่ อย่างน้อยในทาง ทฤษฎีก็ท�ำให้ข้าราษฎรทุกคนกลายเป็นพลเมือง มีสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกัน และเป็นเจ้าของสยามร่วมกันเป็นครั้งแรก แต่การปฏิวัติประชาชาติของไทย เกิดขึน้ ในวงจ�ำกัดกว่าอาณานิคมอืน่ มาก แม้เราจะไม่ปฏิเสธภาพทีแ่ สดงความ กระตือรือร้นของราษฎรในกรุงเทพฯ ที่ต้อนรับการปฏิวัติ แต่ก็ต้องยอมรับว่า จ�ำนวนของผู้คนที่เข้าร่วม ทั้งก่อนและหลังยึดอ�ำนาจ มีจ�ำนวนน้อยมากเมื่อ เทียบกับประชากรทั้งหมด...” โปรดดู นิธิ เอียวศรีวงศ์, “มรดกของใคร?,” ฟ้าเดียวกัน. ๙, ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๔), น. ๖๔-๖๕. ๑๑ สมเกี ย รติ วั น ทะนะ, สมบั ติ จั น ทรวงศ์ และชั ย วั ฒ น์ สถาอานั น ท์ (บรรณาธิการ), “เมืองไทยยุคใหม่ : สัมพันธภาพระหว่างรัฐกับประวัติศาสตร์ ส�ำนึก,” ใน อยู่เมืองไทย : รวมบทความทางสังคมการเมือง เพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ในโอกาสอายุครบ ๖๐ ปี (กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๐), น. ๑๐๕. ๑๒ กุ ล ลดา เกษบุ ญ ชู มี้ ด , “ทุ น นิ ย มโลกกั บ วิ วั ฒ นาการของรั ฐ ไทย,” ฟ้าเดียวกัน. ๙, ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๔) : ๘๕. ๑๓ เมื่ อ พิ จ ารณาองค์ ป ระกอบของรั ฐ มิ ติ อื่ น ร่ ว มกั บ แนวคิ ด /หลั ก การ อ�ำนาจอธิปไตยที่กล่าวมาแล้ว ทั้งเรื่อง (๑) ประชากร (๒) ดินแดน และ (๓) รัฐบาล ซึ่งทั้ง ๓ ประการมีพัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “สยามใหม่” เรื่อยมา ทว่าในเรื่องของ (๔) อ�ำนาจอธิปไตย นั้นกลับยังไม่ได้ เป็นของประชาชนแต่อย่างใดจวบจนเกิดการปฏิวัติ ๒๔๗๕ องค์ประกอบทั้ง ๔ ประการจึงครบตามเกณฑ์ของรัฐประชาชาติ โปรดดู สมเกียรติ วันทะนะ, “เมืองไทยยุคใหม่ : สัมพันธภาพระหว่างรัฐกับประวัติศาสตร์ส�ำนึก,” น. ๗๖๑๐๙. ๑๔ เรื่องเดียวกัน, น. ๙๔. 10 ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
๑๕ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธ
ศักราช ๒๔๗๕,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๔๙ (๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕), น. ๔๙.; ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มาได้ปรับใช้ภาษาที่ลดระดับความรุนแรงลง เป็น “อ�ำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม...” ๑๖ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๔๙ (๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕), น. ๕๓๔. ๑๗ สมเกียรติ วันทะนะ, “เมืองไทยยุคใหม่ : สัมพันธภาพระหว่างรัฐกับ ประวัติศาสตร์ส�ำนึก,” น. ๙๓-๙๔. ๑๘ นอกเหนือจากเกณฑ์หลักการอ�ำนาจอธิปไตยและองค์ประกอบของ รัฐที่ได้พิจารณาไปแล้ว การพิจารณารูปแบบของรัฐไทยหลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ เทียบเคียงกับรัฐอื่นจากผลงานของกุลลดา เกษบุญชู มี้ด และลูกศิษย์ (ณัฐพล ใจจริง) ก็พิสูจน์ให้เห็นว่ารัฐไทยหลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็น “รัฐประชาชาติ” ที่มีลักษณะร่วมคล้ายคลึงกับ “รัฐหลังอาณานิคม” (Postcolonial State) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย โปรดดู เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ, “สถานะของวิวาทะว่าด้วยการเปลี่ยนรูปของรัฐไทยภายหลัง ๒๔๗๕,” น. ๓๔๓๕. ๑๙ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ความเป็นมาของ “ทฤษฎีแบ่งแยกดินแดน” ในภาคใต้ไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้า และมูลนิธิโครงการ ต�ำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ๒๕๕๑), น. ๑๔.
ศราวุฒิ วิสาพรม 11
๑ สู่การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ : การเคลื่อนไหวของราษฎร และความเปลี่ยนแปลงสังคมสยาม
คงกล่าวได้ว่าไม่มีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ทางการเมือง ครั้งใดที่เกิดขึ้นกะทันหันอย่างเฉียบพลันราวกับว่าเป็น “อุบัติเหตุ” ซึ่งเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็เช่นกัน ดังนั้น การกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงก่อนการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงเป็น สิ่งส�ำคัญที่จะช่วยท�ำให้เห็นภาพความเปลี่ยนแปลงที่มีทั้ง “ความสืบ เนื่อง” และ “จุดแตกหัก” ของประวัติศาสตร์ โดยบทนี้จึงจะกล่าวถึง การเคลื่อนไหวของราษฎรสามัญชนและความเปลี่ยนแปลงสังคมสยาม ที่น�ำไปสู่การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕
การเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรม ทางความคิดของราษฎร องค์ความรู้ที่อธิบายความเปลี่ยนแปลงที่น�ำไปสู่การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ จากนักวิชาการมีอยู่หลากหลาย ทั้งการให้ความส�ำคัญกับบริบท ความเปลี่ยนแปลงในมิติเศรษฐกิจการเมือง ความขัดแย้งของการเมือง ภายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเคลื่อนไหวทางสังคมการ เมืองภายในสังคม และกระแสวัฒนธรรมทางความคิดที่ได้ท้าทายและ ลดทอน “ความชอบธรรม” ต่อระบบและรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์๑ เป็นอาทิ ในที่นี้จะเป็นการกล่าวถึงการเคลื่อนไหวเน้นที่ “ราษฎรสามัญ ชน” ในสังคมสยามที่มีหลายกลุ่มสถานภาพ เช่น ชนชั้นกลาง พ่อค้า และราษฎรที่เป็นกลุ่มคน “ระดับล่าง” (ดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้า) ภาย ใต้บริบทเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ที่ผลักดันให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมืองครั้งส�ำคัญนี้ขึ้นมา ท่ามกลางบริบทวิกฤตเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑๒ และวิกฤตเศรษฐกิจโลกตกต�่ำ ทศวรรษ ๒๔๗๐๓ ได้ส่งผลกระทบ ทั้งต่อรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์และกระทบต่อคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม สยาม ในด้านการเมือง การสถาปนารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้น ศราวุฒิ วิสาพรม 13
มาในทศวรรษ ๒๔๓๐ เปรียบได้ดังเหรียญที่มี ๒ ด้าน กล่าว คือด้านหนึ่งรัฐที่มีการรวมศูนย์อ�ำนาจเข้าสู่ส่วนกลางโดยมีพระมหา กษัตริย์เป็นผู้มีอ�ำนาจทางการเมืองสูงสุด ในทางตรงกันข้ามอีกด้าน หนึ่งรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เองก็มีความขัดแย้งในตัวเองสูง ซึ่งความ ขัดแย้งในเชิงโครงสร้างของระบอบเป็นปัจจัยส�ำคัญประการหนึ่งที่ ส่งผลให้รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล่มสลายลงในที่สุด (ดูบทที่ ๖) และ ในด้านความเปลีย่ นแปลงของวัฒนธรรมทางความคิดของราษฎร (ในความหมายกว้าง) ทั้งในกลุ่มข้าราชการ ชนชั้นกลาง และราษฎร “ระดับล่าง” ทั่วไปก็นับได้ว่าเป็นอีกปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดการวิพากษ์ วิจารณ์รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งในเชิงหลักการตามอุดมการณ์ทาง การเมือง และในประเด็นเรื่อง “ปากท้อง” ที่เมื่อคนจ�ำนวนมากต้อง เผชิญกับความยากล�ำบากในการด�ำเนินชีวิตจากปัญหาเศรษฐกิจ ก็จะ มุ่งวิพากษ์วิจารณ์ไปที่การบริหารจัดการของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ว่ามีความบกพร่องเป็นหลัก (ดังจะกล่าวต่อไป) บริบททั้ง ๓ ด้านที่กล่าวมาต่างมีความเชื่อมโยงร้อยรัดเข้าด้วย กันเป็นพื้นฐานก่อให้เกิดพลังทางสังคมจากภาคส่วนต่างๆ ที่เคลื่อนไหว ผลักดันน�ำไปสู่การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕๔ ในที่นี้จะกล่าวเน้นไปที่การ เคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรมความคิดเป็นส�ำคัญ เพราะท�ำให้ เห็นบทบาทของคนหลากหลายกลุ่มในสังคม ซึ่งแม้ว่าจะมิได้เป็นการ เคลื่อนไหวในลักษณะ “ขบวนการทางการเมือง” ที่มีการจัดตั้งองค์กร อย่างเป็นทางการ แต่การเคลื่อนไหวแบบนี้ก็สั่นสะเทือนความชอบ ธรรมของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปไม่น้อยเช่นกัน ทั้งนี้ในเบื้องต้น ต้องท�ำความเข้าใจเรื่องการเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรมความ คิดในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นลักษณะส�ำคัญ ๒ ประการคือ การเคลื่อนไหวแบบจารีต และการเคลื่อนไหวแบบ ก้าวหน้า การเคลื่อนไหวแบบจารีต คือ ลักษณะการเคลื่อนไหวทาง การเมืองของราษฎรที่สัมพันธ์กับลักษณะโครงสร้างทางการเมืองใน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่จ�ำกัดสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง 14 ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
ของราษฎรไว้ในกรอบแคบๆ๕ ตัวอย่างของการเคลื่อนไหวลักษณะ ดัง กล่ า ว คือ การถวายฎีก า๖ ซึ่ง สามารถจ�ำ แนกแยกย่ อ ยมีทั้ง ฎีก า แสดงความคิดเห็น หนังสือร้องทุกข์ และหนังสือแสดงความคิดเห็น๗ และอีกหนึ่งกรณีตัวอย่างคือ ข่าวลือซุบซิบนินทา ซึ่งก่อนการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ไม่นาน มีข่าวลือหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน ฟุ่มเฟือยของเจ้านายบ้าง ค�ำพยากรณ์สิ้นราชวงศ์จักรีบ้าง จะเกิดกบฏ “เจ๊กจะลุก” บ้าง ที่มีการลือกันอย่างแพร่หลาย๘ และเป็นที่รับรู้ของ คนในสังคม๙ ในขณะที่ ก ารเคลื่ อ นไหวแบบก้ า วหน้ า หรื อ “แบบใหม่ ” (ในความหมายเชิงเปรียบเทียบที่มองว่าระบอบราชาธิปไตย/สมบูรณา ญาสิทธิราชย์ คือ ระบอบเดิม/ล้าหลัง) คือ การเคลื่อนไหวที่มีอุดม การณ์ทางการเมืองเป็นพื้นฐานทั้งในรูปแบบ “ประชาธิปไตย”๑๐ และ “สังคมนิยม”๑๑ ซึ่งเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีความแตกต่างไปจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เป็นอยู่ โดยรูปแบบของการเคลื่อนไหว ดังกล่าวแสดงออก อาทิ การแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อหนังสือพิมพ์๑๒ การจัดตั้งสมาคมการเมือง ดังเช่นกรณีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ ชาวจีนสยามทั้งฝ่ายก๊กมินตั๋งและฝ่ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งการเคลื่อนไหว ทั้ง ๒ รูปแบบต่างก็เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่ท้าทายอุดมการณ์ ของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์๑๓ ซึ่งทางรัฐบาลสมัยสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์เองก็ทราบถึงการเคลื่อนไหวทางอุดมการณ์ดังกล่าว จึงได้มีการ ป้องกันและปราบปราม๑๔ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเป็นการเคลื่อนไหวทาง การเมืองที่ท้าทายระคายเคืองต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่พอ สมควร โดยก่อนการปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ไม่นานนัก ในช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็มีข่าวลือแพร่สะพัดว่า “เจ๊กจะลุก” ขึ้นมา โค่นระบอบกษัตริย๑๕ ์ สะท้อนให้เห็นแรงต้านรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นในสังคมไทย โดยการเคลื่อนไหวแบบแรก จะพบได้ในกรณีของพ่อค้าและราษฎร ส่วนการเคลื่อนไหวแบบหลัง พบในกลุ่มชนชั้นกลางอย่างเด่นชัด ศราวุฒิ วิสาพรม 15
กลุ่มชนชั้นกลาง กลุ่มชนชัน้ กลางเป็นกลุ่มคนทีท่ ้าทายและมีการโจมตีรฐั สมบูรณา ญาสิทธิราชย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากกลุ่มชนชั้นกลางเป็น กลุ่มที่เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง จึงมีส�ำนึกทางประวัติศาสตร์ ที่เชื่อว่าตนเองมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ จึงเป็น แรงผลั ก ดั น ส� ำ คั ญ ที่ น� ำ ไปสู ่ ก ารเปลี่ ย นแปลงการปกครองเมื่ อ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ๑๖ ส�ำหรับชนชั้นกลางสามารถแบ่งได้ ๒ กลุ่ม คือ ชนชั้นกลางในระบบราชการ และชนชั้นกลางนอกระบบราชการ ชนชั้นกลางในระบบราชการที่มีบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งท�ำลายความชอบธรรมของระบอบดัง กล่าวคือ กลุ่มข้าราชการระดับกลาง ประกอบด้วยทหาร นักกฎหมาย ครู นักปกครอง (รวมถึงข้าราชการบางส่วนในสังกัดกระทรวงอื่นๆ) การวิพากษ์วิจารณ์จากคนกลุ่มนี้ในประเด็นเรื่องความล้าหลัง การ บริ ห ารราชการที่ ไ ม่ ทั น สมั ย พร้ อ มกั บ ความคาดหวั ง ว่ า จะเกิ ด การ เปลี่ยนแปลงในระบบราชการที่ยึดหลัก “คุณธรรม” ให้ความส�ำคัญ กั บ หลั ก “คุ ณ วุ ฒิ ” มากขึ้ น (ดู ร ายละเอี ย ดในบทที่ ๖) เพื่ อ ให้ เ กิ ด ระบบราชการที่ทันสมัยให้มีบทบาทส�ำคัญในการผลักดันความเปลี่ยน แปลงทางเศรษฐกิจและสังคมการเมืองที่น�ำไปสู่การปกครองระบอบ รัฐธรรมนูญ และ “ชาติ” ที่มีเอกราชอย่างสมบูรณ์ ๑๗ เมื่อพิจารณา ลึกลงไปอีกก็จะพบว่ามีข้าราชการระดับกลางจ�ำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะ ในกลุ่มทหารและนักกฎหมายเป็นส�ำคัญเลือกที่จะรวมกลุ่มเพื่อเคลื่อน ไหวโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังปรากฏให้เห็นจากการ เคลื่อนไหวของกลุ่มข้าราชการระดับกลางที่ปฏิวัติไม่ส�ำเร็จที่รู้จักกันดี ในนาม “กบฏ ร.ศ. ๑๓๐” และการปฏิวัติที่ส�ำเร็จในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่กระท�ำการโดยกลุ่มบุคคลนามว่า “คณะราษฎร” ซึ่งมีสมาชิกจ�ำนวน มากทั้ง ๒ กลุ่ม๑๘ ด้านชนชั้นกลางนอกระบบราชการที่มีบทบาทในการเคลื่อน ไหวโจมตีลดความชอบธรรมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือ 16 ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
กลุ่มนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ซึง่ มีบทบาทอย่างเด่นชัดในการน�ำเสนอ ความคิดที่เสียดทานกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ต่างๆ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ โดยปรากฏว่าในสมัยรัชกาลที่ ๕ มี จ�ำนวน ๑๗ ฉบับ สมัย รัชกาลที่ ๖ มีจ�ำ นวน ๒๒ ฉบับ และสมัย รัชกาลที่ ๗ มีจ�ำนวน ๓๕ ฉบับ ซึ่งนับได้ว่ามีจ�ำนวนค่อนข้างมากเมื่อ เทียบกับจ�ำนวนประชากรและผู้ที่สามารถอ่านหนังสือพิมพ์ได้ในเวลา ขณะนั้น๑๙ งานวิจัยของอัจฉราพร กมุทพิสมัย ซึ่งได้รวบรวม “เนื้อหา” จากหนั ง สื อ พิ ม พ์ ใ นช่ ว งทศวรรษ ๒๔๗๐ ก่ อ นที่ จ ะเกิ ด การปฏิ วั ต ิ พ.ศ. ๒๔๗๕ พบว่ามีการน�ำเสนอในลักษณะที่วิจารณ์รัฐบาลสมบูรณา ญาสิทธิราชย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเด็นเรื่องปัญหาความเหลื่อมล�้ำ ทางชนชั้นในสังคม ปัญหาในระบบราชการ ปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐบาล มีการด�ำเนินนโยบายการคลัง การแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจที่ผิดพลาด และการวิพากษ์ระบอบการปกครอง๒๐ ในทิศทางเดียวกันสก็อต บาร์เม่ (Scot Barméé) ได้กล่าวขยาย ความให้เห็นการเคลื่อนไหวทางสังคมของชนชั้นกลางผ่านทางสื่อสมัย ใหม่ จ�ำ พวกนิย าย หนัง สือ พิม พ์ และภาพยนตร์ การที่ช นชั้น กลาง ครอบครองสื่อสมัยใหม่ในช่วงทศวรรษ ๒๔๖๐-๒๔๗๐ ทั้งในฐานะ ผู้ผลิตภาพยนตร์ นักข่าว นักเขียน อีกทั้งชนชั้นกลางยังเป็นผู้บริโภค สื่อเหล่านี้ด้วย พวกเขาใช้พื้นที่ทางวัฒนธรรมนี้เป็นเครื่องมือในการ โจมตีเจ้านายและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒๑ ในประเด็นเรื่อง ความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจระหว่างชายหญิงที่ไม่เท่าเทียม อาทิ การเข้าถึง การศึกษาที่ให้โอกาสกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับ โอกาสในการท�ำงานที่ผู้ชายได้รับโอกาสในการท�ำงานมากกว่าผู้หญิง๒๒ ปัญหาจากระบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เท่า เทียมระหว่างเพศ ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาโรคติดต่อทางเพศ ปัญหา โสเภณี แ ละความเสื่ อ มทรามทางศี ล ธรรม ๒๓ โดยปั ญ หาที่ ก ล่ า วมา สะท้อนถึงความล้าหลังของสังคมไทยและยังไม่ก้าวสู่ความเป็นสมัย ใหม่๒๔ ศราวุฒิ วิสาพรม 17
การสื่อสารผ่านสื่อทั้งสิ่งพิมพ์และสื่อสมัยใหม่หลายชนิดดังที่ได้ กล่าวมาสามารถเรียกได้ว่าเป็น “การประชันแข่งขันของลัทธิชาตินิยม” (Contested Nationalism) ระหว่างวาทกรรมที่สถาปนาโดยชนชั้นน�ำ รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่นิยามความหมายของ “ชาติ” ที่มีราชบัลลังก์/ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลาง ประชันกับ “ชาติ” ที่ราษฎรกลุ่ม ชนชั้นกลางนิยามความหมายเน้นความส�ำคัญที่ราษฎร (หรือประชาชน) เป็นศูนย์กลาง๒๕ กลุ่มพ่อค้า คนกลุ่มต่อมาคือ กลุ่มพ่อค้า๒๖ แม้ว่าพ่อค้าในสยามขณะนั้น จะไม่มีบทบาทน�ำในการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่ทว่าในช่วงทศวรรษ ๒๔๗๐ ก็พบกลุ่มพ่อค้าระดับกลางที่มีความกระตือรือร้นทางการเมือง โดยพยายามมองหาช่องทางในการพัฒนาอุตสาหกรรม จึงได้มีการ เสนอให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทสนับสนุน “พ่อค้าไทย” ผู้ประกอบการ คนไทย และสนับสนุนการสร้างโรงงาน การประกอบอาชีพของ “คน ไทย” แต่ความต้องการดังกล่าวก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาล สมบูรณาญาสิทธิราชย์๒๗ ท่ามกลางบริบทความผันผวนทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๑ เป็นต้นมา ธุรกิจการค้าของพ่อค้าในกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “พ่อค้าไทย” ต้องประสบกับปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ซับซ้อนของรัฐบาล สยาม๒๘ การแข่งขันกับ “นักลงทุนรายใหญ่” อย่างพ่อค้าจีน พ่อค้า ชาวตะวันตก และรวมทั้งพระคลังข้างที่ด้วย๒๙ ซึ่งรัฐบาลสยามมิได้ มีนโยบายที่จะช่วยเหลือกลุ่ม “พ่อค้าไทย” แต่อย่างใด สิ่งดังกล่าวจึง เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องขอความช่วยเหลือจาก รัฐบาลตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๖๐ เป็นต้นมา และกลายเป็นข้อเรียกร้อง ทางการเมืองอย่างหนึ่งในช่วงทศวรรษ ๒๔๗๐ (ทั้งก่อนและหลังการ ปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕)๓๐ ตัวอย่างของพ่อค้าที่มีบทบาท ทางสังคมการเมืองช่วงทศวรรษ ๒๔๖๐-๒๔๗๐ อาทิ พระยาภักดี นรเศรษฐ (นายเลิศ สมันเตา) พระยาภิรมย์ภักดี (นายบุญรอด ภิรมย์ 18 ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
ภักดี) นายมังกร สามเสน๓๑ นายด�ำ วัชรเสถียร หม่อมเจ้าทัศโนภาส เกษมสันต์ พ่อค้าจากกรุงเทพฯ๓๒ และยังปรากฏว่ามี “พ่อค้าจีนสยาม” ที่ถวายฎีกาด้วย ดังกรณีของนายฉ่อยก๊กเหลียง (ไกรลาศ ฉ่อยตระกูล) เจ้าของโรงงานบูรพายาสูบ๓๓ นายเฮ่งฮ่อง ผู้จัดการโรงงานไม้ขีดไฟ มิ่นแซ่๓๔ การที่คนเหล่านี้ได้ถวายฎีกาเสนอแนวทางปัญหาเศรษฐกิจ สะท้อนถึงการตระหนักในศักภาพของตนเอง จึงได้แปรเปลี่ยนความคิด ของตนเองออกมาเป็นขอเสนอผ่านฎีกาให้รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พิจารณาเพื่อน�ำไปปฏิบัติ การเคลื่อนไหวของพ่อค้าไม่เพียงเป็นการสื่อสารจากพ่อค้าไปสู ่ ชนชั้นน�ำรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น หากยังได้รับการสนับสนุน และการกล่าวถึงใน “พื้นที่สาธารณะ” โดยนักหนังสือพิมพ์ที่ได้ตีพิมพ์ ข่าวความคิดเห็นของพ่อค้าและยังมีการเขียนบทความสนับสนุนพ่อค้า ปรากฏออกมาบนหน้าหนังสือพิมพ์๓๕ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการกระจาย ความคิดเห็นให้เป็นที่รับรู้สู่สังคม และได้ท�ำลายความชอบธรรมของ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปพร้อมๆ กัน๓๖ ที่ไม่ตอบ สนองต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจและความต้องการจากพ่อค้า (กลุ่มหนึ่ง) ซึ่งสะท้อนให้เห็นความบกพร่องหรือปรับตัวอย่างเชื่องช้าของรัฐบาล สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ราษฎร กลุ่มสุดท้ายที่จะกล่าวถึงคือ ราษฎร “ระดับล่าง” ซึ่งเป็นคน จ�ำนวนมากในสังคมสยาม ทั้งนี้ข้อมูลส่วนใหญ่มักจะสรุปว่าราษฎรมิได้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ และยังเหมารวมไปด้วย ว่าราษฎรไม่มีความตื่นตัวทางการเมือง๓๗ ซึ่งจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ก็ยังคงมีการผลิตซ�้ำชุดความรู้นี้อยู่ ผู้เขียนจึงอยากจะประมวลภาพ การเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรมความคิดของราษฎร ซึ่งแรง กระเพื่อมของการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นหนึ่งในเงื่อนไขส�ำคัญที่น�ำไป สู่การล่มสลายของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม และจะแสดงให้เห็น ว่าการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ส่งผลกระทบต่อราษฎรอย่างมากในทุกๆ ศราวุฒิ วิสาพรม 19
มิติ (ดังจะกล่าวถึงในบทต่อๆ ไป) การเคลื่อนไหวของราษฎรผ่าน “ฎีกา” และ “ค�ำร้องเรียน” เป็น ช่องทางเพื่อการสื่อสารรูปแบบหนึ่งกับรัฐบาลสมัยสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์๓๘ โดยมี “ปัญญาชน” ของราษฎรท�ำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ใน การแปลอารมณ์ความรู้สึกของราษฎรสามัญชนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ผู้เขียนฎีกาและค�ำร้อง เรียนแบ่งออกได้ ๕ กลุ่ม คือ ๑) กลุ่มทนายแบบจารีต ๒) กลุ่ม เสมียน ๓) กลุ่มผู้ใหญ่บ้านและผู้น�ำชาวนา ๔) กลุ่มผู้น�ำราษฎร ในเมื อ งหลวงและผู ้ น� ำ กรรมกร และ ๕) ครู ป ระชาบาลและ พระสงฆ์๓๙ โดยนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ วิเคราะห์ว่าคนทั้ง ๕ กลุ่มนี้ มีความสัมพันธ์กับคนระดับล่างอย่างมาก จึงย่อมสะท้อนความนึกคิด ของคนระดับล่างได้เป็นอย่างดี๔๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ พระมหากษัตริย ์ พระองค์สุดท้ายแห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พบว่าตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นต้นมามีการถวายฎีกาที่จัดอยู่ในหมวด “ขอพระมหากรุณา อย่างอื่น” หรือที่สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพเรียกว่า “ฎีกา แสดงความเห็น” โดยใน พ.ศ. ๒๔๗๐ มี ๑๒๙ ฉบับ, พ.ศ. ๒๔๗๑ มี ๙๒ ฉบับ, พ.ศ. ๒๔๗๒ มี ๑๐๐ ฉบับ และปี พ.ศ. ๒๔๗๓ มี ๑๑๖ ฉบับ๔๑ ซึ่งบ่อยครั้งที่ฎีกาเหล่านี้ถูกน�ำไปพิจารณาในประชุม อภิรัฐมนตรีสภา ยิ่งในช่วงปลายยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัชกาลที่ ๗ ทรงให้น�ำฎีกา “แปลกๆ” เสนอให้อภิรัฐมนตรีสภา๔๒ ทั้งนี้ฎีกาดังกล่าว เป็นเรื่องที่กระทบต่อพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์และพระทัย ของเจ้านายชั้นผู้ใหญ่อยู่พอสมควร๔๓ ความรู้สึกนึกคิดของราษฎรที่แสดงผ่านเนื้อหาสาระในฎีกาที่ ทูลเกล้าฯ ถวาย แบ่งออกเป็น ๓ ประเด็นใหญ่ๆ คือ หนึ่ง การแก้ไข ฐานะของชาวนาโดยผ่อนผันการเก็บเงินรัชชูปการ ค่านา การยึดทรัพย์ และการช่วยเหลือในเรื่องการงดช�ำระหนี้ชั่วคราว๔๔ เป็นต้น สอง การ แก้ไขฐานะการเงินของชาติ การเขียนฎีกาของ “ปัญญาชน” ราษฎร ในส่ ว นนี้ น่า จะสั ม พั น ธ์ กั บ องค์ ก รทางสั ง คมและหนั ง สื อ พิ ม พ์ ต ่ า งๆ 20 ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕
ตัวอย่างผู้ที่มีบทบาทในการน�ำเสนอลักษณะดังกล่าว เช่น นายถวัต ิ ฤทธิเดช๔๕ และ สาม การน�ำเสนอโครงการต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ “ปัญญา ชน” ราษฎรได้ใฝ่ฝันไว้ เช่น โครงการ “ราษฎร์สาธารณกุศล” ของ นายชื้น อัมโภช โครงการ “งานของชาติ” ของนายเจือ จารุสาธร๔๖ รวมไปถึงข้อเสนอหลายโครงการของ “คนบ้าการเมือง” อย่างนาย นริน ทร์ ภาษิต ที่ต ลอดชีวิต ของเขาได้ เ สนอความคิด และได้ จัด ตั้ง หลายโครงการ เช่น สมาคมรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์, สมาคมจัดหางาน ลัทธิช่วยตัวเอง๔๗ เป็นต้น ทั้งนี้มีการถวายฎีกาและการร้องทุกข์ในช่วงปลายสมัยสมบูรณา ญาสิทธิราชย์จากหลายพื้นที่ อาทิ กรณีพระยาอมรวิสัยสรเดช (อิ้น สิงหพันธ์) นายทหารกองหนุน สังกัดกรมทหารราบที่ ๘ ภูมิล�ำเนา จังหวัดล�ำปาง นายพา หาน้อย และชาวนาอีก ๒๔ คน ที่มีภูมิล�ำเนา บ้านอู่ตะเภา ต�ำบลหางน�้ำสาคร อ�ำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ชาวนา จากต�ำบลบางบอนและต�ำบลคลองเตย กรุงเทพฯ ได้เดินทางมาร้อง ทุกข์ต่อกระทรวงมหาดไทย เรื่องจวนจะถึงวันยึดทรัพย์เนื่องจากไม่ม ี เงินเสียอากรค่านา นายสมัด บรอฮิมิ และชาวนา ๑,๐๐๐ ครอบครัว ภูมิล�ำเนาอ�ำเภอหนองจอก อ�ำเภอมีนบุรี อ�ำเภอบางน�้ำเปรี้ยว จังหวัด ฉะเชิงเทรา นายกัน ศรีสวัสดิ์ ตัวแทนชาวนาที่ร่วมลงชื่อ ๒๙๖ คน ในภูมิล�ำเนาต�ำบลท่าหิน อ�ำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี นายรุก ท่าทราย ผู ้ ใ หญ่ บ ้ า นคลอง ๕ ต�ำ บลบึง ตะเคีย น อ�ำ เภอคลองหลวง จัง หวัด ธัญญบุรี พร้อมด้วยชาวบ้าน ๑๒๐ คน ชาวนาจ�ำนวน ๕๙ คน ภูมิ ล�ำเนาบ้านดอนฉิมพลี อ�ำเภอบางน�้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา นาย หริ่ม วัลเอเราะ และชาวนา ๒๖๕ คน ภูมิล�ำเนาต�ำบลท่าไม้ อ�ำเภอ ลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี๔๘ การเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรมทางความคิดของราษฎร ผ่านทางการถวายฎีกาส่งผลกระทบต่อการเมืองระดับเบื้องบน คือ ท�ำให้ชนชั้นน�ำสูญเสีย “ความชอบธรรม” ทางการเมือง๔๙ และแม้ว่า การเคลื่อนไหวของราษฎรจะไม่ได้ส่งผลโดยตรงในการโค่นล้มระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่ก็คงส่งผลทางอ้อม๕๐ คือ เป็นแรงกระตุ้น ศราวุฒิ วิสาพรม 21
บรรยากาศการปาฐกถาเผยแพร่รัฐธรรมนูญ นายไพโรจน์ ชัยนาม แสดงปาฐกถา เรื่องรัฐธรรมนูญให้ประชาชนฟัง
22 ก�ำเนิดสามัญชนหลัง ๒๔๗๕