เสนาธิปไตย

Page 1


หากหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่การเสริมสร้าง ประชาธิปไตยของไทยแล้ว ก็ขอให้ประโยชน์ดังกล่าว เป็นเครื่องร�ำลึกถึงนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและบรรดา เสรีชนทั้งหลาย ที่มีส่วนในการผลักดันกงล้อประวัติศาสตร์ และสร้างสรรค์ประชาธิปไตยจาก พ.ศ.๒๔๗๕ จวบจนปัจจุบัน



เสนาธิปไตย

รัฐประหารกับการเมืองไทย

Militocracy:  Military Coup and Thai Politics

ศาสตราจารย์ ดร. สุรชาติ บ�ำรุงสุข

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  ๒๕๕๘


เสนาธิปไตย : รัฐประหารกับการเมืองไทย • สุรชาติ  บ�ำรุงสุข พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, มกราคม ๒๕๕๘ ราคา  ๒๒๐  บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรม สุรชาติ  บำ�รุงสุข, เสนาธิปไตย : รัฐประหารกับการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๓๐๔ หน้า. ๑. รัฐประหาร--ไทย.  I. ชื่อเรื่อง. ๓๒๐.๕๙๕๓ ISBN  978 - 974 - 02 - 1356 - 7

ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์  ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, ศิริพงษ์  วิทยวิโรจน์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : สุพรรณี  สงวนพงษ์  • นักศึกษาฝึกงาน : ทะเลดาว เจริญสมบัติ, อรไพลิน ดุลยพิจารณ์ พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ • กราฟิกเลย์เอาต์  : กิตติชัย ส่ งศรีแจ้ง ออกแบบปก-ศิลปกรรม : สิรพิ งษ์  กิจวัตร • ประชาสัมพันธ์  : สุภชัย สุชาติสธุ าธรรม

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่  บริษัทงานดี  จ�ำกัด โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012

www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕  โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่  ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์  ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุร ี ๑๑๑๒๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖  โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน

๘ ๑๐

อารัมภบท เสียงบ่นในอุโมงค์ที่พอมองเห็น แสงสว่างร�ำไรที่ปลายทาง!

๑๖

ตอนที่ ๑ ทหารกับการเมืองไทย ๑) ยุคก่อน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ๒) ยุคหลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

๒๗ ๒๙ ๓๗

ตอนที่ ๒ ทหาร-การเมือง-สังคม ๓) เสนาศึกษา-ศึกษาเสนา ๔) ทหารในโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง

๔๕ ๔๗ ๕๔


ตอนที่ ๓ บริบททางทฤษฎี ๕) รัฐประหารคืออะไร? ๖) ความเหนือกว่าทางการเมืองของทหาร ๗) ทหารกับการแทรกแซงการเมือง ๘) อุดมการณ์ทหารไทย

๖๓ ๖๕ ๗๑ ๗๗ ๘๔

ตอนที่ ๔ บริบทของความสัมพันธ์พลเรือน-ทหาร ๙) ประเด็นปัญหาในความสัมพันธ์ พลเรือน-ทหารไทยปัจจุบัน ๑๐) บทเรียนรัฐประหาร รสช. ๑๑) กองทัพกับประชาธิปไตยหลัง ๒๕๔๙ ๑๒) สังคมไทยกับทหาร ๑๓) รัฐประหารกับสังคมไทย-มุมมองทางทฤษฎี ๑๔) อุดมการณ์ต่อต้านการเมือง

๙๓ ๙๕ ๑๐๑ ๑๐๘ ๑๑๖ ๑๒๓ ๑๓๐

ตอนที่ ๕ บริบทภายในกองทัพ ๑๕) จากยังเติร์กสู่บูรพาพยัคฆ์ ๑๖) กบฏทหาร ๑๗) กระบวนการสร้างความเป็นสถาบัน ของอ�ำนาจทหาร ๑๘) พรรคทหาร ไม่ใช่พรรครัฐประหาร  ๑๙) ความแตกแยกและร้าวฉานในกองทัพ ๒๐) กองทัพกับวิกฤตการเมืองไทย

๑๓๗ ๑๓๙ ๑๔๗

ตอนที่ ๖ บริบทโลกาภิวัตน์ ๒๑) ประชาธิปไตยจากภายนอก ๒๓) โลกล้อมรัฐ : ตัวแบบไทย VS ตัวแบบอียิปต์ ๒๒) เส้นทางสู่กองทัพประชาธิปไตย ๒๔) Sick Man of Asia

๑๘๙ ๑๙๑ ๑๙๘ ๒๐๖ ๒๑๔

๑๕๓ ๑๖๔ ๑๗๑ ๑๗๙


ตอนที่ ๗ ปฏิรูปทหาร ๒๕) ปฏิรูป VS คงเดิม ๒๖) จะโยกย้ายทหารอย่างไรดี

๒๒๓ ๒๒๕ ๒๓๓

ตอนที่ ๘ ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยต่อกองทัพไทย ๒๗) สร้างทหารอาชีพไทย ๒๘) จะปฏิรูปการเมือง ต้องปฏิรูปกองทัพ จะปฏิรูปกองทัพ ต้องปฏิรูปการเมือง

๒๔๑ ๒๔๓

ตอนที่ ๙ ปัญหาและผลกระทบ ๒๙) บาดแผลรัฐประหาร ๓๐) ความท้าทายส�ำหรับผู้น�ำทหารหลัง ๒๕๔๙ และข้อคิดส�ำหรับผู้น�ำทหารหลัง ๒๕๕๗

๒๕๗ ๒๕๙ ๒๗๔

บทส่งท้าย The Sarit Model

๒๘๔

ปัจฉิมลิขิต ทหารกับการเมืองในบริบททางภาษา

๒๙๐

หนังสืออ่านเพิ่มเติม ประวัติผู้เขียน

๒๙๔ ๓๐๐

๒๕๐


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

ขณะที่ประเทศไทยถูกย้อมด้วยลายพรางของการขึ้นสู่อ�ำนาจ  โดยกลุ่มบูรพาพยัคฆ์  หลายประเทศก�ำลังด�ำเนินตามแนวทางประชา  ธิปไตยที่ประเทศโลกเสรีส่วนใหญ่ยึดเป็นหลักในการปกครองตั้งแต่  หลังยุคสงครามเย็น ผู้น�ำรัฐประหารจึงก�ำลังอยู่ในสภาพ “โลกล้อมรัฐ”  อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เสนาธิปไตย : รัฐประหารกับการเมืองไทย ไม่ใช่เรื่องที่ห่าง  ไกลคนไทยอีกแล้ว ในฐานะประเทศที่มีการท�ำรัฐประหารมากที่สุด  เป็นล�ำดับ ๔ ของโลก (ตามข้อมูลที่องค์กร The Center of Systemic  Peace (CSP) เสนอไว้เมือ่ ปี ๒๐๑๓) “กองทัพ” เป็นปัจจัยส�ำคัญในการ  ควบคุมและขับเคลื่อนให้ระบอบนี้เกิดขึ้นซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า  อีกทั้งยังได้รับ  การสนับสนุนจากกลุ่มคนที่ต้องการ “รักษาเสถียรภาพ” ของประเทศ  การรัฐประหารจึงเผชิญกับความท้าทายอย่างมากต่อปัญหาความชอบ  ธรรมและมูลค่าทางการเมืองที่ต้องสูญเสีย

8  สุรชาติ บ�ำรุงสุข


แม้การพัฒนาประชาธิปไตยต้องอาศัยเครื่องมือหลายอย่าง  แต่ปัจจัยส�ำคัญอย่างหนึ่งที่หนังสือเล่มนี้ต้องการน�ำเสนอ คือ การ  พัฒนากองทัพและความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองพลเรือนกับทหาร  โดยหยิบยกเอาทฤษฎีทางรัฐศาสตร์มาอธิบายประกอบ และเสนอทาง  ออก “ความเป็นทหารอาชีพ” และการปฏิรปู กองทัพ พร้อมกับชีใ้ ห้เห็น  กรณีศึกษาของประเทศอื่นๆ ที่สามารถผ่านพ้นจนเดินเข้าสู่เส้นทาง  ประชาธิปไตย  ประเด็นเหล่านี้ถ่ายทอดจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยว  ชาญด้านยุทธศาสตร์ ความมัน่ คง และทหารอย่าง ศาสตราจารย์  ดร.  สุรชาติ  บ�ำรุงสุข ซึง่ จะช่วยให้เราเข้าใจ “รัฐประหารกับการเมืองไทย”  ได้ดียิ่งขึ้น ใช่ว่าสภาพทางการเมืองที่เป็นอยู ่ ณ ขณะนี้จะไม่มีทางออกอื่น  ที่พอจะเป็นความหวัง ดังที่ผู้เขียนกล่าวไว้ว่า  วันนีเ้ ราอาจจะมองไม่เห็นแสงสว่างทีป่ ลายอุโมงค์ในปัญหา  ทหารกับการเมืองไทย แต่ก็ใช่ว่าอุโมงค์จะมืดทึบจนมองไม่เห็น  แสงสว่างใดๆ เลย ส�ำนักพิมพ์มติชน

เสนาธิปไตย : รัฐประหารกับการเมืองไทย  9


L

ค�ำน�ำผู้เขียน “ถ้ามีบทเรียนใดที่การล่มสลายของรัสเซียและยูโกสลาเวีย  จะบอกแก่เราแล้ว  สิ่งนั้นก็คือระยะเปลี่ยนผ่านสู่ประชา  ธิปไตยไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่างใด...  และในกรณี ข อง  อียิปต์ก็เป็นเช่นเดียวกัน” มาร์ธา มอลฟีทาซ “Egyptian Militocracy” <www.globalpolicyjournal.com>, ๒๒ มิถนุ ายน ค.ศ.๒๐๑๒

L

งานเขียนเล่มนี้เป็นหนังสือ “กึ่งทฤษฎี” ว่าด้วยเรื่องของบทบาท  ทหารกับการเมือง ซึ่งครั้งหนึ่งหัวข้อนี้แทบจะกลายเป็น “วาระตกยุค”  ไปแล้ว เพราะหลังจากความส�ำเร็จของชัยชนะของประชาชนในการ  ต่อสู้กับการแทรกแซงของทหารในการเมืองไทยใน พ.ศ.๒๕๓๕ นั้น  ผูค้ นในสังคมไทยดูจะเชือ่ มัน่ ว่าหลังจากเหตุการณ์ดงั กล่าว ทหารน่าจะ  ถอนตัวออกไปจากการเมือง และประเทศไทยจะก้าวสู่ความส�ำเร็จของ  กระบวนการสร้างประชาธิปไตยได้ไม่แตกต่างกับปรากฏการณ์ที่เรียก  ในทางทฤษฎีว่า “Democratic Consolidation” เช่นที่เกิดขึ้นในยุโรป  ใต้หรือในละตินอเมริกา แต่ดว้ ยเงือ่ นไขแบบ “ไทยๆ” เราก็กา้ วสูก่ ารรัฐประหารอีกจนได้  ใน พ.ศ.๒๕๔๙  และแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า แล้วเราก็เปิดประตูสู่การ  ยึดอ�ำนาจอีกครั้งใน พ.ศ.๒๕๕๗  จาก พ.ศ.๒๕๓๔ สู่  พ.ศ.๒๕๔๙

10  สุรชาติ บ�ำรุงสุข


เรื่อยมาจนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๕๗ ดูจะให้ค�ำตอบประการเดียวว่า การ  เมืองไทยยังคงอยู่ในวังวนแห่ง “วัฏสงสาร” ของการรัฐประหารและ  การสร้างประชาธิปไตยอย่างไม่รู้จบ (และไม่ต่างจากค�ำเตือนในข้าง  ต้น) อย่างน้อยจะเห็นได้ชัดเจนว่า แม้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  จะก้าวสู่ความเป็น “ประชาคม” ในปลาย พ.ศ.๒๕๕๘ สังคมการเมือง  ไทยกลับเดินสวนทางสู่ประชาคมอาเซียนด้วยการยึดอ�ำนาจ แตกต่าง  จากการก้าวสู่ประชาธิปไตยของเมียนมาร์  หรือแตกต่างอย่างมากจาก  การเดินสูก่ ารสร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยในอินโดนีเซีย  และฟิลิปปินส์  จนหลายคนก�ำลังกังวลว่า ไทยก�ำลังจะกลายเป็น “คน  ป่วยแห่งเอเชีย” หรือไม่? หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ป็ น การรวมบทความที่ เ คยตี พิ ม พ์ ใ น “มติ ช น สุดสัปดาห์” มาแล้ว และน�ำมาแก้ไขปรับปรุงใหม่  โดยพยายามจะ  น�ำเสนออย่างสังเขปในทางทฤษฎีเรื่องทหารกับการเมือง และในอีก  ด้านหนึ่งก็พยายามน�ำมาประยุกต์ใช้ในกรณีของไทย แม้จะไม่สามารถ  น�ำทฤษฎีมาใช้ทดสอบได้กับทุกประเด็นของปัญหานี้ก็ตาม ในอีกส่วน  หนึ่งก็ทดลองน�ำเสนอถึงแนวคิดของการจัดความสัมพันธ์พลเรือน-  ทหาร ที่อาจจะเป็นหนึ่งในปัจจัยและเงื่อนไขของการลดโอกาสของ  การรัฐประหารในการเมืองไทยลงได้บ้าง (อย่างน้อยในทางทฤษฎี!) แม้ ห นั ง สื อ เล่ ม นี้ อ าจจะไม่ ช ่ ว ยท�ำให้ ผู ้ น�ำทหารและบรรดา  “นักรัฐประหารนิยม” เลิกคิดเรือ่ งการยึดอ�ำนาจ  แต่อย่างน้อยก็หวังจะ  ท�ำให้สังคมไทยและบรรดาผู้สนับสนุนตระหนักมากขึ้นว่า รัฐประหาร  แต่ละครัง้ สร้างปัญหาและผลกระทบต่อกระบวนการสร้างประชาธิปไตย  ของไทยอย่างมาก (หรืออาจจะมากกว่าทีพ่ วกเขาคิด!) และเมือ่ เกิดขึน้   ครั้งใดก็ท�ำให้การเมืองภาคพลเรือนต้องถอยกลับไปนับศูนย์ใหม่อย่าง  หลีกเลี่ยงไม่ได้  จนเสมือนเป็น “วัฏจักร” ที่ไม่สิ้นสุดในการกลับไปมา  ระหว่างการเลือกตั้งกับการรัฐประหาร เสนาธิปไตย : รัฐประหารกับการเมืองไทย  11


อย่ า งไรก็ ต าม หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ขี ย นขึ้ น ด้ ว ยความหวั ง อย่ า ง  เต็มเปี่ยมว่า สักวันหนึ่งรัฐประหารจะหมดไปจากการเมืองไทย ดังเช่น  ที่เกิดขึ้นแล้วในหลายๆ ประเทศ และจะเปิดโอกาสให้การเมืองใน  ระบบรัฐสภาก้าวเดินไปสู่ความเข้มแข็งภายใต้แนวคิดที่ว่า “ประชา  ธิ ป ไตยเป็ น เกมการต่ อ สู ้ เ ดี ย วในเมื อ ง” (Democracy is the only  game in town.)  พร้อมๆ กับความฝันทีจ่ ะเห็นผูค้ นในสังคมไทยอดทน  เพียงพอกับการแก้ปัญหาการเมืองไทยโดยอาศัยกระบวนการทาง  รัฐสภา มากกว่าจะต้องอาศัยทหารมาเป็น “เทศบาลล้างท่อ” ทุกครั้ง  ที่เกิดปัญหา ในท้ายที่สุด การที่หนังสือเล่มนี้ปรากฏในบรรณพิภพได้นั้น  ผมอยากขอขอบคุณ คุณสุพรรณี  สงวนพงษ์  และคุณพัลลภ สามสี  แห่งกองบรรณาธิการ ส�ำนักพิมพ์มติชน  โดยเฉพาะคุณสุพรรณี ที่ทั้ง  ชักชวนและผลักดันด้วยการให้ก�ำลังใจ  และที่ส�ำคัญต้องขอขอบคุณ  คุณกุลนันทน์  คันธิก ที่ช่วยดูแลและเป็นผู้จัดท�ำต้นฉบับของผู้เขียน  เป็นอย่างดีมาโดยตลอด  สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ  คุณเครือมาศ และ  รภัส บ�ำรุงสุข ภรรยาและลูกที่เป็นแรงใจของการท�ำงานของผู้เขียน  เสมอมา สิ่งที่ต้องขอกล่าวปิดท้ายก็คือ ความเห็นที่ปรากฏในหนังสือ  เล่มนี้เป็นความเห็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีความเกี่ยวข้อง  กับส�ำนักพิมพ์และหน่วยงานใดๆ ทั้งสิ้น และไม่เกี่ยวกับผู้หนึ่งผู้ใด  ทัง้ สิน้   และแม้วา่ ความเห็นในหนังสือเล่มนีจ้ ะ “ขัดอกขัดใจ” กับบรรดา  ผูน้ ยิ มรัฐประหาร ตลอดรวมทัง้ ผูส้ นับสนุนทัง้ หลาย  แต่กเ็ ป็นความเห็น  โดยบริสุทธิ์ใจที่ไม่อยากเห็นกองทัพไทยถูกท�ำลายจาก “กระบวนการ  ท�ำให้เป็นการเมือง” (Politicization) หรือผลพวงที่กองทัพเข้าไปเกี่ยว  ข้องกับการเมือง จนน�ำไปสู่กระบวนการท�ำลายความเป็นทหารอาชีพ  ของคณะทหารไทย เช่นทีเ่ คยเกิดขึน้ ในไทยและในประเทศก�ำลังพัฒนา

12  สุรชาติ บ�ำรุงสุข


อื่นๆ มาแล้ว เพราะสั จ ธรรมประการหนึ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ ของเรื่ อ งทหารกั บ  การเมืองก็คือ ไม่มีเครื่องมืออะไรดีและมีประสิทธิภาพในการ  ท�ำลายความเป็นทหารอาชีพได้มากเท่ากับการรัฐประหาร!

ศาสตราจารย์  ดร. สุรชาติ  บ�ำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เสนาธิปไตย : รัฐประหารกับการเมืองไทย  13



L

แด่ “ทหารการเมือง” และ “ทหารกับการเมือง” “As society changes,   so does the role of the military. In the world of oligarchy, the soldier is a radical; in the middle-class world, he is a participant and arbiter; as the mass society looms on the horizon, he becomes the conservative guardian of the existing order.” Samuel P. Huntington Political Order in Changing Societies (1968)

L


อารัมภบท เสียงบ่นในอุโมงค์ที่พอมองเห็น แสงสว่างร�ำไรที่ปลายทาง!

L

“Who is to guard the guards themselves?” Juvenal Roman Poet

L

ผมเป็นนักศึกษาคนหนึ่งที่เส้นทางชีวิตเดินทางผ่านเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และเข้าศึกษาต่อใน “มหาวิทยาลัยชีวิต” (หลักสูตร  ภาคพิเศษ ๒ ปี) ดังนั้นเมื่อมีโอกาสไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ผมจึง  ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า ผมจะสนใจศึกษาเรื่อง “ทหาร” แต่เรื่องทหารที่ผมสนใจนั้นไม่ใช่เรื่อง “กองทัพกับการเมือง”  เพราะในฐานะอดีตผู้น�ำนักศึกษาที่ผ่านเหตุการณ์  ๖ ตุลาฯ มานั้น ผม  มองไม่เห็นอนาคตของปัญหานี้เลย ดังนั้นผมจึงมุ่งมั่นว่าผมจะศึกษา  เฉพาะเรือ่ งทหารในบริบททางยุทธศาสตร์ และจงใจทีจ่ ะไม่สนใจค้นคว้า  เรื่องของ “ทหารกับการเมือง” อีกต่อไป... ความรู้สึกของผมในขณะนั้นก็คงไม่ต่างกับหลายๆ คนในช่วง  หลัง พ.ศ.๒๕๑๙ ที่เห็นว่าประเด็นการศึกษาดังกล่าวเป็นเสมือนเรื่อง  ที่  “มองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” เพราะเป็นหัวข้อที่แทบไม่มี  ทางออกในสังคมการเมืองไทยในสมัยดังกล่าวเลย ความหวังในการลด

16  สุรชาติ บ�ำรุงสุข


บทบาทการแทรกแซงของทหารเป็นเรื่องที่ดูจะห่างไกลจากความเป็น  จริงของสังคมไทยในขณะนั้นอย่างมาก และขณะเดียวกันก็มองไม่เห็น  ว่าจะลดทอนความเป็นการเมืองของสถาบันทหารได้อย่างไร เหตุการณ์ใน พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นการตอกย�้ำที่ดีที่สุดถึงความเป็น  จริงของการเมืองไทย ที่มักจะกล่าวว่า “การเมืองเป็นเรื่องของทหาร”  ไม่ใช่กิจของพลเรือน  จนกล่าวเป็นข้อสรุปได้ว่า การแทรกแซงของ ทหารในการเมืองนับจาก พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นต้นมาได้กลายเป็น “กฎ” มากกว่าเป็น “ข้อยกเว้น” ของพัฒนาการการเมืองไทย ผมไปเรี ย นต่ อ ปริ ญ ญาโททางด้ า นรั ฐ ศาสตร์ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย  คอร์แนล (Cornell University) ซึ่งถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด  แห่งหนึ่งของการศึกษาทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสหรัฐ และ  ก็ทำ� อย่างทีต่ งั้ ใจไว้คอื  การเลือกอ่านและสนใจศึกษาเฉพาะในเรือ่ งของ  วิทยาการทหารและยุทธศาสตร์ทหาร ผมไม่ยอมอ่านหนังสือในหมวด  เรื่องทหารกับการเมือง หรือที่วงวิชาการรัฐศาสตร์ในอเมริกาเรียกว่า  “ความสัมพันธ์พลเรือน-ทหาร” (Civil-military Relations) ดังความรูส้ กึ   ที่กล่าวแล้วในข้างต้น สุดท้าย เมื่อต้องเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ผมขออนุญาต  อาจารย์ที่ปรึกษาเขียนเรื่องทหารไทย แต่ในมุมของความสัมพันธ์  ระหว่างประเทศที่เป็นปัญหาทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับสหรัฐใน  ระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๐-๒๕๒๐ แทนที่จะเขียนเรื่องทหารกับการเมือง  ไทยโดยตรง ซึ่งก็ท�ำให้ผมหลีกเลี่ยงประเด็นของปัญหาความสัมพันธ์  พลเรือน-ทหารในการเมืองไทยได้บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม เพราะ  ในความเป็นจริงช่วงระยะเวลาดังกล่าวโดยเฉพาะจาก พ.ศ.๒๔๙๐  จนถึง พ.ศ.๒๕๒๐ นั้น ทหารมีบทบาทหลักในระบบการเมืองจนพลัง  อื่นๆ ในสังคมแทบไม่มีความหมายเลย แต่ก็ท�ำให้ผมไม่ต้องกล่าวถึง  ทหารกับการเมืองไทยโดยตรง ค�ำสารภาพนี้คงตอบค�ำถามอีกด้วยว่า ท�ำไมบทความเรื่องทาง  เสนาธิปไตย : รัฐประหารกับการเมืองไทย  17


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.