โจวเอินไหล

Page 1


โจวเอินไหล รัฐบุรุษจีน



โจวเอินไหล รัฐบุรุษจีน เชาวน์ พงษ์พิชิต

กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2558


โจวเอินไหล รัฐบุรุษจีน • เชาวน์ พงษ์พิชิต พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, กรกฎาคม 2558 ราคา  175  บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรม เชาวน์  พงษ์พิชิต. โจวเอินไหล รัฐบุรุษจีน. - - กรุงเทพฯ : มติชน, 2558. 192 หน้า. 1. โจว, เอินไหล, 2441-2519.  2. นายกรัฐมนตรี - - จีน - - ชีวประวัติ.  I. ชื่อเรื่อง 923.251 ISBN 978 - 974 - 02 - 1417 - 5

ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์ ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์  ธีระจารุวรรณ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี หัวหน้ากองบรรณาธิการ : สอง แสงรัศมี  • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน กราฟิกเลย์เอาต์  : อรอนงค์  อินทรอุดม • ออกแบบปก-ศิลปกรรม : สิริพงษ์  กิจวัตร ประชาสัมพันธ์  : ตรีธนา น้อยสี

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่  บริษัทงานดี  จ�ำกัด โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012

www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์  บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่  5 ถนนสุขาประชาสรรค์  2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี  11120  โทรศัพท์  0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำจากผู้อ�ำนวยการศูนย์จีนศึกษา   1. วัยเด็กและวัยเรียน   2. ช่วงเวลาที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน     กับพรรคก๊กมินตั๋งร่วมกันด�ำเนินการปฏิวัติใหญ่   3. การลุกฮือขึ้นสู้ที่หนันชัง   4. ต่อต้านแนวทางเอียงซ้ายของหลี่ลี่ซัน   5. ต่อต้านแนวทางเอียงซ้ายคัมภีร์นิยมของหวังหมิง   6. การเดินทัพทางไกลและการประชุมที่จุนยี่   7. การรณรงค์เพื่อก่อตั้งแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่น   8. สงครามต่อต้านญี่ปุ่น   9. การรณรงค์เพื่อสันติภาพและประชาธิปไตย 10. สงครามปลดแอกประชาชน 11. นายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน 12. หลักปัญจศีล-นโยบายกระทรวงต่างประเทศที่โดดเด่น 13. ปรับสัมพันธภาพกับสหรัฐฯ และญี่ปุ่น 14. แรงสนับสนุนจากโลกที่  3 15. ความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต 16. แนวนโยบายเศรษฐกิจของโจวเอินไหล 17. ปฏิวัติใหญ่วัฒนธรรม 18. ยามเจ็บป่วยถึงอสัญกรรม 19. ปัจฉิมกถา

6 8 13 20 26 31 42 51 63 74 86 94 101 110 124 137 140 144 160 173 190


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

เรื่ อ ง  โจวเอิ น ไหล  รั ฐ บุ รุ ษ จี น   เป็ น ผลงานอี ก หนึ่ ง เรื่ อ งของ เชาวน์ พงษ์พิชิต  ที่เคยตีพิมพ์เป็นตอนๆ  ในมติชนสุดสัปดาห์แล้ว ทางส�ำนักพิมพ์มติชนน�ำมาจัดพิมพ์เป็นเล่ม  ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า คุณเชาวน์นั้นมีความเชี่ยวชาญด้านจีนศึกษาและลัทธิมาร์กซ์  จึงท�ำให้ ผลงานของท่านได้รับการยอมรับในวงวิชาการ แน่นอนว่าการถือก�ำเนิดของสาธารณรัฐประชาชนจีน  เราจะ นึกถึง  เหมาเจ๋ อ ตง  ว่าเป็นบิดาผู้ให้ก�ำเนิดประเทศจีน  ซึ่งเราคงจะ คุ้นเคยข้อมูลดังกล่าวจากหนังสือที่ว่าด้วยประวัติและวิธีคิดในการ สร้างชาติของเหมาเจ๋อตง  ทั้งจากโลกตะวันตกและจากประเทศจีน รวมทั้งที่ส�ำนักพิมพ์มติชนได้พิมพ์เรื่อง  วิพากษ์ประธานเหมา  ซึ่งเขียน โดยคุณเชาวน์ก่อนหน้านี้    แต่จะว่าไปแล้วสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ยืนหยัดมาจนถึงทุก วันนี้ได้  ย่อมมีบุคคลท่านนี้ด้วยที่ยืนหยัดเคียงข้างเหมาเจ๋อตงในการ สร้างชาติ  นั่นคือ  โจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีท่านแรกของสาธารณรัฐ ประชาชนจีน หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้เรียบเรียงประวัติของโจวเอินไหลตั้งแต่ ก�ำเนิดจนถึงอสัญกรรม  โดยใช้หลักฐานจากเอกสารทางฝ่ายจีนเป็น หลัก  แล้วมีเหตุการณ์ต่างๆ  ที่โจวเอินไหลเข้าไปมีบทบาท  ทั้งเหตุการณ์ ในเมืองจีนและภายใต้บริบทของโลก  ที่โจวเอินไหลสามารถผ่านเหตุ การณ์นั้นมาได้อย่างดี  โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก แม้ว่าจะขรุขระอยู่บ้างก็ตามที 6 โจวเอินไหล รัฐบุรุษจีน


นอกจากนี้ยังฉายภาพให้เห็นความสามารถทางการทูตและการ ต่างประเทศของโจวเอินไหลได้เป็นอย่างดีที่ท�ำให้โลกรู้จักสาธารณรัฐ ประชาชนจีนได้ดียิ่งขึ้น  ส�ำนักพิมพ์มติชนหวังว่าหนังสือเล่มนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อจีน ศึกษาในเมืองไทยไม่มากก็น้อย ส�ำนักพิมพ์มติชน

เชาวน์  พงษ์พิชิต 7


ค�ำน�ำ จากผู้อ�ำนวยการศูนย์จีนศึกษา

หนังสือเรื่อง  โจวเอินไหล  รัฐบุรุษจีน  เล่มนี้เป็นผลงานศึกษา ของเชาวน์  พงษ์พิชิต  ที่ท�ำให้กับศูนย์จีนศึกษา  สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งในขณะนั้นโครงการศึกษานี้ใช้ชื่อเรื่องว่า โจวเอินไหล รัฐบุรุษจีนผู้เป็นอัจฉริยะด้านการทหาร  การทูต  เศรษฐกิจ และการบริหาร    โดยภายหลังที่การศึกษานี้แล้วเสร็จและผ่านขั้นตอน ทางวิชาการไปแล้ว  ทางศูนย์จีนศึกษาได้น�ำผลงานนี้มาเสนอตีพิมพ์ใน มติชนสุดสัปดาห์  เป็นตอนๆ  ระหว่างที่ตีพิมพ์ในนิตยสารฉบับนี้ยัง ไม่ทันจบ  ก็ปรากฏว่าผู้เขียนได้เสียชีวิตลงด้วยวัย  87  จึงน่าเสียดาย ที่ท่านมิได้เห็นการตีพิมพ์เป็นเล่มในครั้งนี้ จากวันสุดท้ายของผู้เขียนดังกล่าวข้างต้น  มีประเด็นที่ศูนย์จีน ศึกษาพึงบอกกล่าวเอาไว้  ณ ที่นี้ด้วยว่า ตลอดบั้นปลายชีวิตของเชาวน์ พงษ์พิชิตนั้น    แม้ท่านจะมีกิจกรรมในแต่ละวันของท่านเองอยู่ก็ตาม แต่กล่าวเฉพาะในเรื่องที่เป็นการเป็นงานแล้ว    แทบกล่าวได้ว่าเชาวน์ พงษ์พิชิตได้อุทิศเวลาให้กับศูนย์จีนศึกษามาโดยตลอด  เป็นการอุทิศ เวลาที่ท่านดูจะพึงพอใจและโดยมิได้ใช้เงินหรือค่าตอบแทนเป็นตัวตั้ง แม้กระทั่งด้วยวัยที่ชราภาพอันพึงจะได้พักผ่อนอยู่กับบ้านนั้น  เชาวน์ก็ มักจะเจียดเวลามานั่งที่ศูนย์จีนศึกษาสัปดาห์ละครั้ง  ทั้งเพื่อมาติดตาม งานหรือเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือหัวข้อวิชาการอยู่เสมอ  จน ดูเสมือนกับท่านเป็นญาติผู้ใหญ่ของนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ศูนย์จีนศึกษา ก็มิปาน  ดังนั้น  ในยามที่ท่านจากไป ความเงียบเหงาจากการที่ท่านจากไป จึงเป็นสิ่งที่ศูนย์จีนศึกษาไม่สู้จะคุ้นชิน 8 โจวเอินไหล รัฐบุรุษจีน


จนเมื่อผลงานเรื่อง  โจวเอินไหลฯ  ได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มใน ครั้งนี้  ความเงียบเหงาที่ว่าก็ผ่อนคลายลงไปบ้าง  และเมื่อย้อนกลับมา ดูการร้อยเรียงเรื่องราวของหนังสือเล่มนี้แล้วก็อดรู้สึกแปลกใจไม่ได้ ว่านี่หรือคืองานที่คนที่อยู่ในวัยกว่า  80  ปีได้เขียนขึ้นมา    เรื่องราวใน หนังสือเล่มนี้ถูกร้อยเรียงตั้งแต่ชีวิตในวัยเด็กของโจวเอินไหล  จากนั้น ก็ไล่เรียงกันตั้งแต่ที่โจวเอินไหลเข้ามามีบทบาททางการเมืองในพรรค คอมมิวนิสต์จีน  ผ่านการลองผิดลองถูกร่วมกับแกนน�ำพรรค  ผ่าน การต่อสู้และขัดแย้งต่างๆ  ผ่านสถานการณ์ที่ยากล�ำบาก  ผ่านสงคราม ภายในและภายนอก  เรื่อยมาจนถึงเมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของ สาธารณรัฐประชาชนจีน  แล้วจากนั้นก็ยังผ่านสถานการณ์ทั้งที่ดีเลิศ และเลวร้ายตราบจนวันที่ลมหายใจสุดท้ายได้มาเยือน    เหล่านี้ล้วน ครบถ้วนอยู่ในผลงานชิ้นนี้ด้วยฝีมือของชายชราวัยกว่า  80  ปีที่ชื่อ เชาวน์  พงษ์พิชิต  ที่ได้ท�ำให้เห็นอย่างน่าทึ่ง ศูนย์จีนศึกษาจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  หนังสือ โจวเอินไหลฯ  เล่ม นี้จะยังประโยชน์ให้แก่การศึกษาเรื่องจีนในสังคมไทยบ้างไม่มากก็น้อย และส�ำหรับผู้ที่สนใจเรื่องราวบุคคลส�ำคัญของโลกโดยไม่ติดยึดว่าจะ ต้องเป็นจีนแล้ว  หนังสือเล่มนี้ถือว่าได้ช่วยฉายภาพของรัฐบุรุษคนหนึ่ง ได้เป็นอย่างดี  ว่าการที่บุคคลจะก้าวขึ้นมาถึงจุดที่โลกให้การยอมรับนั้น ไม่เพียงหนทางจะมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเท่านั้น  หากแต่ขณะเดินอยู่ บนหนทางทีว่ า่ ก็ยงั ต้องเผชิญกับสถานการณ์ทชี่ าวคอมมิวนิสต์มกั เรียก กันว่า  “นองเลือด”  อีกด้วย    ดังนั้น  หนังสือเล่มนี้จึงไม่เหมาะอย่างยิ่ง กับใครก็ตามที่ต้องการความส�ำเร็จด้วยการเดินทางลัด ด้วยจิตคารวะ วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้อ�ำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มิถุนายน 2558 เชาวน์  พงษ์พิชิต 9



โจวเอินไหล รัฐบุรุษจีน

เชาวน์  พงษ์พิชิต 11



1

วัยเด็กและวัยเรียน

โจวเอินไหลถือก�ำเนิดในครอบครัวขุนนางชั้นผู้น้อย  เมื่อวันที ่ 5  มีนาคม  ค.ศ. 1898  โดยปู่อพยพจากอ�ำเภอเซ่าซิง  มณฑลเจ้อเจียง  มาอยู่ที่อ�ำเภอหวยอัน  มณฑลเจียงซู  เป็นผู้ช่วยนายอ�ำเภอและนาย  อ�ำเภอตามล�ำดับ ส่วนบิดาเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยของท้องที่อื่น โจวเอินไหลถูกยกให้เป็นลูกบุญธรรมของอา  เมื่อมีอายุครบ  1  ขวบ  อาสะใภ้ซึ่งเป็นทั้งแม่บุญธรรมของโจวเอินไหลด้วยนั้นเป็นหญิง  คงแก่เรียน  ท่านสอนโจวเอินไหลอ่านกวีนิพนธ์สมัยถังจนท่องขึ้นใจได้  เป็นสิบๆ  บทเมื่อมีอายุแค่  4  ขวบ   นอกจากนั้นโจวเอินไหลยังได้อ่าน  นวนิยายคลาสสิกเป็นจ�ำนวนมากเมื่ออายุยังไม่ถึง 9 ขวบ ชีวิตวัยเด็กของโจวเอินไหลทุกข์ยากพอสมควร  เมื่อปู่ถึงแก่  กรรม  บิดามีรายได้ไม่เพียงพอแก่การเลี้ยงดูครอบครัว  ต้องทยอยน�ำ  สิ่งของในบ้านไปจ�ำน�ำ  หรือหยิบยืมเงินทองจากญาติพี่น้องมาแลกข้าว  กิน  หนี้สินรุงรัง  คุณแม่ทั้งสองต้องทยอยกันลาโลกไปภายในปีเดียว  กัน  ด้วยความเศร้าโศกล�ำเค็ญที่ถูกเจ้าหนี้มาทวงถามไม่เว้นแต่ละวัน  เชาวน์  พงษ์พิชิต 13


เมื่อโจวเอินไหลมีอายุแค่  10  ขวบ  ต้องกระเสือกกระสนท�ำมาหากิน  รับภาระดูแลน้องชาย  2  คนไปวันๆ  จนกระทั่งอายุ  12  ปี  จึงได้ติด  ตามคุณลุงไปเข้าโรงเรียนชั้นประถมที่นครเสิ่นหยังทางภาคอีสานของ  จีน    นับแต่นั้นเป็นต้นมาท่านไม่เคยกลับไปเยือนบ้านเกิดเมืองนอน  ที่อ�ำเภอหวยอันอีกเลย ขณะที่โจวเอินไหลศึกษาอยู่ที่นครเสิ่นหยังนั้น  มีครูสอนวิชา  ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์คนหนึ่งชื่อ  เกายี่หวู  ปลูกฝังทัศนคติที่จะ  โค่นล้มราชวงศ์ชิงและสถาปนาสาธารณรัฐขึ้นแทนในขณะท�ำการสอน  ในห้องเรียน    อีกทั้งยังแนะน�ำโจวเอินไหลให้อ่านงานเขียนเรื่อง  กอง ทัพปฏิวัติ  ที่ประพันธ์โดยโจวหรง  (ค.ศ. 1885-1905)  ผู้เป็นนักปฏิวัติ  ประชาธิปไตยนิยม    ครูเกาผู้นี้เป็นผู้ปลูกฝังคติปฏิวัติประชาธิปไตย  ให้แก่โจวเอินไหลเป็นคนแรก ต่อมาเมื่อ  ดร.ซุนยัตเซ็นประสบชัยชนะในการปฏิวัติซินไฮ่ เมื่อปี  ค.ศ. 1911  โจวเอินไหลยังคงเรียนหนังสืออยู่ที่นครเสิ่นหยัง  วันหนึ่งท่านกับเพื่อนนักเรียนคนหนึ่งติดตามคุณปู่ของเพื่อนคนนั้น  ไปเยือนสมรภูมิสงครามญี่ปุ่น-รัสเซีย  ปี  ค.ศ. 1904-1905  ที่เขาหลง  เยียนซันใกล้นครเสิ่นหยัง    คุณปู่เล่าให้เด็ก  2  คนได้ฟังว่า  สงคราม  ครั้งนั้นรัสเซียต้องการแย่งชิงดินแดน  3  มณฑลภาคอีสานของจีน  ก็  เลยยกทัพเข้ามาราวีจีน    ประชาชนต้องบ้านแตกสาแหรกขาด  บาดเจ็บ  ล้มตายเป็นระนาว    แต่รัฐบาลราชวงศ์ชิงกลับประกาศ  “เป็นกลาง”  ซึ่งนับว่าอัปยศยิ่ง    แต่นั้นเป็นต้นมาโจวเอินไหลก็มุ่งมั่นที่จะอุทิศตน  เพื่อกอบกู้ปิตุภูมิจากความยากจนล้าหลังและอ่อนแอ1    ครั้งหนึ่งเมื่อ  ครูถามนักเรียนในชั้นเรียนว่า  โตขึ้นปรารถนาจะท�ำสิ่งใด  โจวเอินไหล  ตอบอย่างองอาจว่า “ปรารถนาจะให้จีนผงาด” ปี  ค.ศ. 1913 โจวเอินไหลสอบเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมหนันไค  ที่นครเทียนสินได้เมื่อมีอายุ  15 ปี 1 ฟางจวี้เฉิงและเจียงกุ้ยหนง : ชีวประวัติสังเขปของโจวเอินไหล. ส�ำนัก

พิมพ์เหรินหมินและส�ำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ : ปักกิ่ง, 1986, หน้า 14-16

14 โจวเอินไหล รัฐบุรุษจีน


โรงเรี ย นแห่ ง นี้ มี ค รู ที่ รั ก ชาติ ห ลายท่ า น    ในจ� ำ นวนนี้ คุ ณ ครู  หม่าเชียนหลี่มีความสนิทสนมกับโจวเอินไหลเป็นพิเศษ    ต่อมาได้ถูก  จับกุมคุมขังพร้อมโจวเอินไหลและเพื่อนๆ  เมื่อครั้งเข้าร่วมขบวนการ 4  พฤษภาคม  ค.ศ. 1919    หนังสือเรื่อง  บันทึกในที่คุมขังของต�ำรวจ และบันทึกรายวันในที่คุมขังของอัยการ  ที่โจวเอินไหลเป็นผู้ประพันธ์  คุณครูหม่าก็เป็นผู้น�ำไปตีพิมพ์2 โจวเอินไหลชอบอ่านหนังสือและมีความสามารถในการเขียน  คะแนนแต่งความของท่านอยู่ใน  5  อันดับแรกของห้อง  ง.    ท่านเคย  ร่วมกับเพื่อนนักเรียนอื่นๆ  ก่อตั้งสมาคมหมั่นเรียนเพื่อความสุข มหาชน    โดยท่านได้ด�ำรงต�ำแหน่งประธานของสมาคมแห่งนี้  และ  เขียนบทความลงในวารสารซึ่งสมาคมแห่งนี้จัดพิมพ์3 ในฤดูใบไม้ผลิปี  ค.ศ. 1917  โจวเอินไหลจบการศึกษาระดับ  มัธยมที่หนันไค  แล้วไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นเมื่อเดือนตุลาคม  ค.ศ. 1917  โดยมีเพื่อนๆ ช่วยเหลือค่าเดินทาง  หลังจากไปถึงญี่ปุ่น 2 เดือน ความ  สนใจของท่านพุ่งไปยังเหตุการณ์ส�ำคัญของโลกในเวลานั้นคือการปฏิวัต ิ เดือนสิบของรัสเซีย    ท่านศึกษากรณีนี้อย่างจริงจัง  กระทั่งสืบค้นไปถึง  หลักทฤษฎีของการปฏิวัติครั้งนั้น    ท่านเริ่มสัมผัสและศรัทธาในลัทธิ  มาร์กซ์ตั้งแต่นั้นมา4  และยังมีโอกาสได้อ่านปัญหาสังคมศึกษา  วารสาร  รายปักษ์ที่จัดท�ำโดยคาวาคามิ  ฮาจิเม  (ค.ศ. 1879-1946)  ศาสตราจารย์  สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเกียวโตด้วย5 ต้นปี  ค.ศ. 1919  ในที่ประชุมสันติภาพที่นครปารีส  บรรดามหา  อ�ำนาจตกลงจะยกสิทธิทั้งหมดที่เยอรมนีผู้พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้ง  ที่  1  มีอยู่ในประเทศจีนให้แก่ญี่ปุ่น    นักศึกษาจีนในนครโตเกียวพา  2 เพิ่งอ้าง, หน้า 18

3 หลี่เทียนหมิ่น : ชีวประวัติโจวเอินไหลฉบับวิพากษ์. ส�ำนักพิมพ์อัลไต :

ฮ่องกง, 1976, หน้า 16 4 ชีวประวัติสังเขปของโจวเอินไหล, หน้า 19 5 ชีวประวัติโจวเอินไหลฉบับวิพากษ์, หน้า 16

เชาวน์  พงษ์พิชิต 15


โจวเอินไหล ในการเคลื่อนไหวใหญ่ วันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ.1919 ที่นคร  เทียนสิน (ภาพจาก In Deep Memory of Esteemed and Beloved Premier Chou En-lai. จัดพิมพ์โดย China Pictorial. 1977)

กันชุมนุมและเดินขบวนแสดงพลังด้วยความโกรธแค้นเป็นอย่างยิ่ง  โจวเอินไหลเป็นตัวตั้งตัวตีในกระบวนการนี้  จนไม่มีเวลาเตรียมตัวใน  การสอบจึงพลาดหวังจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัย  จึงต้องเดินทาง  ออกจากญี่ปุ่นหลังจากพ�ำนักอยู่ที่นั่นถึง  19  เดือน  กลับไปยังมาตุภูมิ  เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 19196 ขณะที่กระบวนการ  4  พฤษภาคมต่อต้านรัฐบาลขุนศึกจากเมือง  หลวงขยายตัวไปทั่วประเทศ    สมาคมนักเรียนนักศึกษานครเทียนสิน  ต้องการออกหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเพื่อสร้างประชามติ    โจวเอินไหล  ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สมาคมนักเรียน นักศึกษานครเทียนสิน  ท�ำหน้าที่เขียนบทบรรณาธิการด้วยนามปากกา  “เฟยๆ” (แปลว่า บิน-บิน)

6 ชีวประวัติสังเขปของโจวเอินไหล, หน้า 19-20

16 โจวเอินไหล รัฐบุรุษจีน


เพื่อให้ขบวนการนักศึกษานครเทียนสินสามารถประกอบกิจ  กรรมได้อย่างพร้อมเพียงกัน  สมาคมนักเรียนนักศึกษาเทียนสิน กับสมาคมสหายรักชาติสตรีเทียนสินจึงได้ร่วมกันก่อตั้งองค์กร  ใหม่ ขึ้ น มาให้ ชื่ อ ว่า   สมาคมตื่ น ตั ว   เมื่ อ เดื อ นกั น ยายน  ค.ศ.1919  โจวเอินไหล  (เพิ่งเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยหนันไค)  และหม่าจุ้นมุสลิม  ผู้น�ำนักศึกษาเป็นตัวแทนฝ่ายแรก  ส่วนนางสาวกัวหลงเจิน (นักศึกษา  มุสลิม)  หลิวชิงหยัง  และเติ้งหยิ่งเชา  เป็นผู้แทนฝ่ายหลัง    ขณะนั้น  เติ้งหยิ่งเชา  (ซึ่งต่อมาเป็นคู่ครองของโจวเอินไหลนั้น)  มีอายุเพียง  15  ปีเท่านั้น7 สมาคมตื่ น ตั ว ก็ ไ ด้ อ อกวารสารฉบั บ หนึ่ ง ให้ ชื่ อ ว่ า   “ตื่ น ตั ว ”  โจวเอินไหลและเติ้งหยิ่งเชาต่างก็เขียนบทความลงในวารสารฉบับนี ้ ด้วยนามปากกา  “อู่เห้า”  และ  “อีเห้า”  (รหัส  “หมายเลข  5”  และ  “หมายเลข  1”)    วารสารฉบับนี้ออกได้แค่ฉบับเดียวก็ปิดตัวเองไป  แม้สมาคมตื่นตัวเองก็ได้เลิกกิจกรรมไปในฤดูใบไม้ผลิปีถัดมา    แต่  ก่อนที่จะยุติกิจกรรม สมาคมตื่นตัวยังได้สร้างผลงานส�ำคัญอีกชิ้นหนึ่ง  คือ  ต�ำรวจได้สั่งปิดสมาคมนักเรียนนักศึกษานครเทียนสินเพื่อปราบ  ปรามขบวนการรักชาติที่คว�่ำบาตรสินค้าญี่ปุ่นในเดือนมกราคม  ค.ศ.  1920  สมาคมตื่ น ตั ว จึ ง มี ม ติ ใ ห้ แ สดงพลั ง เป็ น การประท้ ว ง  โดยให้  โจวเอินไหลและกัวหลงเจินน�ำขบวนมวลชนไปร้องเรียนที่หน้าที่ว่าการ  มณฑลเหอเป่ย    ทั้งสองถูกทางการจับกุมพร้อมผู้แทนนักศึกษาอื่นๆ  อีก  20  กว่าคนไปคุมขังไว้เป็นเวลา  6  เดือน    โจวเอินไหลและพวก  รณรงค์ด้วยวิธีการอดอาหารประท้วง8 ในช่วงเวลาดังกล่าว  เติ้งหยิ่งเชาและผู้ติดตามได้ยื่นค�ำร้องต่อ  ทางการขอให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมครั้งแล้วครั้งเล่า    กระทั่งเสนอขอ  ให้เธอและพวกรวม  24  คนซึ่งอยู่นอกที่คุมขังเข้าไปอดอาหารแทน  พรรคพวกที่คุก  โดยอ้างว่าพวกที่ถูกคุมขังอยู่นั้นเป็นตัวแทนของพวก

7 เพิ่งอ้าง, หน้า 21 8 เพิ่งอ้าง, หน้า 21

เชาวน์  พงษ์พิชิต 17


ตน    ดังนั้น  พวกตนจึงมีสิทธิเข้าไปรับเคราะห์ในที่คุมขังแทน    ด้วย  แรงกดดันของประชามติดังกล่าว  ในที่สุดฝ่ายต�ำรวจก็จ�ำต้องน�ำเอา  คดี นี้ ขึ้ น สู ่ ศ าลให้ พิ จารณาตามกฎหมาย    และโจวเอิ น ไหลในฐานะ  ผู้ต้องหาก็เลยสามารถอาศัยห้องพิจารณาความของศาลเป็นเวทีฟ้อง  ร้องกล่าวโทษรัฐบาลขายชาติต่อสังคม9    ในที่สุดศาลได้ตัดสินปล่อย  ตัวผู้ต้องหาทั้ง 24 คนเมื่อวันที่  17 กรกฎาคม ค.ศ. 1920 โจวเอินไหล  หัวหน้านักศึกษาธรรมดาๆ  คนหนึ่ง  ได้กลายเป็น  บุคคลซึ่งสังคมจับตามองและเป็นที่เอ็นดูของผู้ใหญ่หลายท่าน  เช่น  เหยียนฟั่นซุน  ผู้ก่อตั้งโรงเรียนหนันไค  และหลิวฉงโย่ว  ทนายความ  อาวุโสเทียนสิน  ทั้งสองต่างก็เคยหมายตาจะยกบุตรสาวให้เป็นคู่ครอง  ต่อมาเมื่อโจวเอินไหลเดินทางไปศึกษาต่อที่ฝรั่งเศส  ท่านทั้งสองก็ได้  ช่วยเหลือค่าเดินทางให้คนละ 500 หยวน10 สมาคม “ตืน่ ตัว” ได้เชิญสมาคมวิทยาการจีนวัยรุ่น และสมาคม  อื่นๆ  รวม  4  องค์กร  พบปะชุมนุมกันที่สวนสาธารณะ  “เถาหรันถิง”  ทางทิศใต้ของนครปักกิ่งในวันที่  16  สิงหาคม  เพื่อปรึกษาหารือทิศทาง  การพั ฒ นาของกระบวนการกู ้ ช าติ   และปั ญ หาว่ า จะร่ ว มกั น รณรงค์  อย่างไรต่อไป    โดยมีหลี่ต้าเจา  ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง  ผู้น�ำเอาทฤษฎีลัทธิมาร์กซ์และลัทธิบอลเชวิคเข้ามาเผยแพร่ในประเทศ  จีนเป็นคนแรกรับเชิญมาร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย    โจวเอินไหลเป็น  ผู้สรุปผลงานและบทเรียนที่ได้รับจากกระบวนการรักชาติของนคร  เทียนสินในที่ประชุมดังกล่าว11 โจวเอินไหลเดินทางไปถึงฝรั่งเศสตามโครงการเรียนไปด้วย  ท�ำงานไปด้วยของรัฐบาลจีนกับรัฐบาลฝรั่งเศสในเดือนธันวาคม  ค.ศ.  1920  เวลานั้นท่านมีอายุ  22 ปี  เป็นที่สนใจของนักศึกษาจีนในฝรั่งเศส  ในฐานะผู้เคยศึกษาลัทธิมาร์กซ์มาตั้งแต่สมัยไปศึกษาที่ญี่ปุ่น  และเป็น

9 เพิ่งอ้าง, หน้า 21-22

10 ชีวประวัติโจวเอินไหลฉบับวิพากษ์, หน้า 18

11 ชีวประวัติสังเขปของโจวเอินไหล, หน้า 22

18 โจวเอินไหล รัฐบุรุษจีน


ผู้น�ำเยาวชนจีนที่เก่งกล้าอาจหาญ    แต่ท่านเองตั้งเป้าไว้เพียง  2  ประ  การคือ  เร่งศึกษาลัทธิมาร์กซ์  และเสาะหาต�ำรับต�ำราที่ใช้เยียวยารักษา  โรคเรื้อรังของปิตุภูมิ    ท่านต้องไปเป็นกรรมกรรายวันที่โรงงานผลิต  รถยนต์เรโน  ต้องหุงหาอาหารกินเอง  ขากางเกงหดแล้วหดอีก  ถุงเท้า  ก็ปะแล้วปะอีก  สมถะมัธยัสถ์กลายเป็นนิสัยของโจวเอินไหล    ถึงแม้  ท่านได้ก้าวขึ้นสู่ต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีอันทรงเกียรติแล้ว  ในอีก  28  ปี  ต่อมาท่านก็ยังคงมีนิสัยประหยัดเหมือนเดิม12 พรรคคอมมิวนิสต์จีน  (พคจ.)  ก่อตั้งขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้เมื่อเดือน  กรกฎาคม  ค.ศ. 1921    แต่ทว่าก่อนหน้านั้นคือในเดือนมีนาคมปีเดียว  กัน  โจวเอินไหลกับนักลัทธิมาร์กซ์คนอื่นๆ  ที่อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ  ของทวีปยุโรปก็ได้พร้อมใจกันก่อตั้งกลุ่มลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้นมาแล้ว  ต่อมาเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ก่อตั้งขึ้นเป็นตัวเป็นตน  กลุ่มลัทธิ  คอมมิวนิสต์ที่อยู่ต่างประเทศจ�ำนวน  8  กลุ่มล้วนมีความยินดีที่จะรวม  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ  พคจ.ในประเทศ    องค์กร  พคจ.ที่นครปารีส  เดิมก็มีชื่อใหม่ว่า  สาขาใหญ่ประจ�ำยุโรป  พคจ.  โดยมีเจ้าซื่อเหยียน  เป็นเลขาธิการสมัยที่  1  และโจวเอินไหลเป็นเลขาธิการสมัยที่  2  ท�ำ  หน้าที่ดูแลงานของ  พคจ.ทั้งที่อยู่ในฝรั่งเศส  เยอรมนี  และเบลเยียม  ในระยะนั้นโจวเอินไหลมีผู้ช่วยงานในการเขียนกระดาษไขใช้พิมพ์  วารสารขององค์กรคนหนึ่งคือ  เติ้งเสี่ยวผิง    นอกจากนั้นโจวเอินไหล  ยังมีโอกาสรู้จักมักคุ้นกับจูเต๋อ  และเป็นผู้แนะน�ำให้เขาเข้าเป็นสมาชิก  พคจ.13  ทั้ง 2 ท่านนี้ล้วนเป็นผู้น�ำส�ำคัญของ พคจ.ในเวลาต่อมา

12 ชีวประวัติสังเขปของโจวเอินไหล, หน้า 22-23 13 ชีวประวัติสังเขปของโจวเอินไหล, หน้า 24

เชาวน์  พงษ์พิชิต 19


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.