ศิลปะชวา
ภาพจากปกหน้า
หาริตี ยักษิณีผู้รักษาเด็ก อีกนัยหนึ่งนางก็เป็นผู้ประทานบุตร ให้กับผู้ศรัทธาด้วย
พระพุทธเจ้าผู้ถูกยั่วยวนโดยธิดามาร บุคลาธิษฐานของอุปกิเลส แต่พระองค์ไม่หวั่นไหว
จันทิอรชุน ที่ราบสูงเดียง ภาพจากปกหลัง
อาคารทรงเมรุที่ปุระเบซาคิห์ เทวาลัยบริวารของจันทิเซวู
ประติมากรรมปัทมปาณี ส�ำริด ที่มา : Ananda K. Coomaraswamy, History of Indian and Indonesian art (Dover publications, ins., : New York.)
รายละเอียดพระศรี (หรือพระลักษมี?) เทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ โดยมีน�้ำไหลมาจากของถือ ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์
ศิลปะชวา
รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี
ราคา ๑๗๕ บาท
ศิลปะชวา • รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี พิมพ์ครั้งแรก : พฤษภาคม ๒๕๕๘ ราคา ๑๗๕ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม เชษฐ์ ติงสัญชลี. ศิลปะชวา.-- กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๒๒๔ หน้า.- - (ประวัติศาสตร์ศิลปะ). ๑. ศิลปกรรมชวา. ๒. ศิลปกรรมประวัติศาสตร์ ๓. ประวัติศาสตร์ในศิลปกรรม. I. ชื่อเรื่อง. 709 ISBN 978 - 974 - 02 - 1406 - 9
• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • บรรณาธิการเล่ม : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน I พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : อัสรี เสณีวรวงศ์ • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนปาน • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี
หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน
บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand
สารบัญ ศิลปะชวา
(๙) (๑๓)
ค�ำนิยม ค�ำน�ำ ๑ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะในประเทศอินโดนีเซีย สังเขปภูมิศาสตร์อินโดนีเซีย การแบ่งยุคสมัยศิลปะในประเทศอินโดนีเซียโดยสังเขป
๒ ๓ ๔
๒ จันทิบนที่ราบสูงเดียง จันทิเมนดุตและจันทิปะวน จันทิบนที่ราบสูงเดียง :
๑๑
ตัวอย่างจันทิในศิลปะชวาภาคกลางตอนต้น จันทิอรชุน
๑๒ ๑๒ ๑๖ ๑๖
จันทิปุนตเทพ จันทิภีมะ
จันทิเมนดุต : จันทิศิลปะชวาภาคกลาง ตอนกลางที่งดงามด้วยภาพสลัก พระโพธิสัตว์แบบมหายาน องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของจันทิเมนดุต
ภาพนิทานที่จันทิเมนดุต ภาพสลักพระโพธิสัตว์ภายนอกจันทิเมนดุต ท้าวกุเวรและหาริตีที่ทางเข้าจันทิเมนดุต พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ภายในจันทิเมนดุต
๑๙ ๑๙ ๑๙ ๒๕ ๒๗ ๓๐
จันทิปะวน : จันทิขนาดเล็กที่งดงาม ด้วยภาพสลักรูปต้นกัลปพฤกษ์
๓๑
รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี (5)
๓ บุโรพุทโธ สถูปที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุดในศิลปะชวา “มณฑล” ระบบจักรวาลในพุทธศาสนามหายาน
วิธีการ ๓ ประการของการจ�ำลองจักรวาลที่บุโรพุทโธ ภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ เรื่องที่ ๑ กรรมวิภังค์ : ภาพสลักที่ถูกบดบังที่ฐานด้านล่างสุด ภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ เรื่องที่ ๒ ชาดกและอวทาน : การบ�ำเพ็ญบารมีไปสู่การตรัสรู้ ภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ เรื่องที่ ๓ ลลิตวิสตระ : พุทธประวัติของพระศรีศากยมุนี ภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ เรื่องที่ ๔ : คัณฑวยุหสูตรและภัทรจารี : การแสวงหากัลยาณมิตรของพระสุธน
๔ จันทิในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย จันทิกะลาสัน แผนผัง
๓๙ ๔๑ ๔๕ ๕๓ ๕๕ ๕๙
๖๖
๗๒ ๗๓ ๗๓
เรือนธาตุ ชั้นวิมาน
๗๓ ๗๔ ๗๘
จันทิส่าหรีและจันทิเพลาสัน : จันทิในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า
๗๘
จันทิเซวู : จันทิพุทธศาสนาที่ซับซ้อนที่สุด ในสมัยชวาภาคกลางตอนปลาย ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับจันทิเซวู
๘๗
รูปแบบจันทิประธาน
(6) ศิลปะชวา
๘๗ ๘๘
รูปแบบจันทิบริวาร
๘๙
จันทิปรัมบะนัน จันทิฮินดูที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุดในศิลปะชวา ๙๔ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับจันทิปรัมบะนัน
๙๔
จันทิพระศิวะ : เทวาลัยประธานของจันทิปรัมบะนัน
๙๖
จันทิพระวิษณุและพระพรหม จันทิโคนนทิ และจันทิพาหนะอื่นๆ ภาพเล่าเรื่องที่จันทิปรัมบะนัน
๑๐๔ ๑๐๔ ๑๐๔
๕ ศิลปะชวาภาคตะวันออก สระน�้ำเบลาหัน
๑๑๔
จันทิกิดาล จันทิจาโก จันทิสิงหาส่าหรี จันทิจาวี จันทิปะนะตะรัน เมืองโตรวุลัน : เมืองหลวงของราชวงศ์มัชฌปาหิต
๖ ศิลปะบาหลี ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบาหลี ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเทวาลัยในบาหลี และประเภทของเทวาลัยในศิลปะบาหลี แผนผังเทวาลัย (ปุระ) ในศิลปะบาหลี หอโป่ง (Bale Kukul) พนักขั้นบันได ซุ้มประตูยอด (Gori Agung)
๑๑๖ ๑๑๙ ๑๒๐ ๑๒๘ ๑๓๐ ๑๓๔ ๑๓๗
๑๔๖ ๑๔๗ ๑๔๘ ๑๔๙ ๑๕๓ ๑๕๓ ๑๕๓
รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี (7)
ซุ้มประตูแยก (Candi Bentar or Gopura Bentar) ปานุมาน (Panuman) หรือบัลลังก์เปล่าในอาคารหลังคาคลุม อาคารทรงเมรุ (Meru) ปัทมาสนะ (Padmasana) บัลลังก์ของเทพเจ้าสูงสุด ปุระเบซาคิห์ (Pura Besakih) ปุระตะมันอะยุน (Pura Taman Ayun) ปุระเกเห็น (Pura Kehen) ปุระอุลุนดานู ทะเลสาบบราตัน (Pura Ulun Danu, Bratan) กัวคชะ (Goa Gajah) กุหนุงกาวี (Gunung Kawi) ปุระสดา เมืองกปาล (Pura Sada, Kapal) ปุระดาเล็ม (Pura Dalem) หรือปุระแห่งความตาย
๑๕๙ ๑๖๑ ๑๖๒ ๑๖๔
๑๖๕ ๑๖๘ ๑๗๑ ๑๗๘ ๑๗๙ ๑๗๙ ๑๘๔
ประจ�ำหมู่บ้าน ศิลปะบาหลีภาคเหนือสกุลช่างสิงคราชา
๑๘๗ ๑๙๑
๗ สังเขป อิทธิพลศิลปะอินโดนีเซีย ต่อศิลปะศรีวิชัยทางภาคใต้ของประเทศไทย
๑๙๙
บรรณานุกรม
๒๐๘
(8) ศิลปะชวา
ค�ำนิยม
ศิลปะชวา
หนังสือชุด “ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศอาเซียน” เกิดขึ้น เนื่องด้วยการที่ประเทศในภูมิภาคนี้ประกาศรวมตัวกันเป็นประชาคม อาเซียน ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ดังนั้น ในทุกภาคส่วนของแต่ละประเทศ จึงมีความตื่นตัวเรียนรู้ซึ่งกันและกันมากขึ้น อันเป็นการเตรียมความ พร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรับกับการเข้าร่วมประชาคมดังกล่าว ศิลปวัฒนธรรมถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ส�ำคัญอย่างหนึ่งของ ประชาชาติ อ าเซี ย น ภาควิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ ศิ ล ปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีการเรียนการสอน ศิลปะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีฐานข้อมูลด้านศิลปกรรมอยู่ ระดับหนึ่ง จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นศูนย์กลางความรู้ทางด้านศิลปกรรม โบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุนี้คณาจารย์ในภาควิชาฯ จึงได้ร่วมกันจัดท�ำชุดต�ำราความรู้เรื่อง “ศิลปกรรมในเอเชียตะวัน ออกเฉี ย งใต้ ” ตามโครงการเข้ า สู ่ ป ระชาคมอาเซี ย น โดยได้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น จากงบประมาณแผ่ น ดิ น คณะโบราณคดี มหาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร เพือ่ จัดท�ำต�ำราในครัง้ นี ้ ซึง่ เลือกเขียน ๕ ศิลปะ ได้แก่ ศิลปะ เวียดและจาม ศิลปะเขมร ศิลปะพม่า ศิลปะลาว และศิลปะชวา วัฒนธรรมดัง้ เดิมของผูค้ นในภูมภิ าคนีม้ พี ฒ ั นาการมาในลักษณะ เดียวกัน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสังคมล่าสัตว์จนสู่สังคม
รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี (9)
เกษตรกรรม มีหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นว่าสังคมยุคแรก เริ่มนี้มีวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น วัฒนธรรมหัวบินเนียน ต่อมาเมื่อเข้าสู่ ยุคโลหะ ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมชัดเจนขึ้น เช่น มีวัฒนธรรม ดองซอน วัฒนธรรมยุคส�ำริด ที่พบกลองมโหระทึกในลักษณะเดียวกัน และในช่ ว งก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ต อนปลายได้ พ บหลั ก ฐานว่ า ผู ้ ค นใน ภู มิ ภ าคนี้ เ ริ่ ม มี ก ารติ ด ต่ อ แลกเปลี่ ย นวั ฒ นธรรมซึ่ ง กั น และกั น เช่ น เครื่องประดับ ก�ำไล ตุ้มหู ที่มีรูปแบบเดียวกัน เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่ส�ำคัญในภูมิภาคนี้ คือ การ รับวัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดีย โดยได้พบหลักฐานว่า ศาสนา เริ่มเข้ามาเผยแผ่แล้วตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๙ ทั้งศาสนาพุทธ และฮินดู ดูเหมือนว่าในระยะเริ่มแรกนั้นศาสนาเข้ามาปรากฏหลักฐาน ขึ้นพร้อมๆ กัน เพียงแต่ผู้คนในภูมิภาคเลือกรับศาสนาที่เหมาะสมกับ ตนเองหรือตามความศรัทธาที่อาจเกิดจากผู้น�ำเป็นส�ำคัญ ด้วยเหตุนี้ จึงท�ำให้ลักษณะทางวัฒนธรรมเริ่มแตกต่างกัน อันส่งผลในงานศิลป กรรมที่ตามมานั้นเกิดความแตกต่างกันตามไปด้วย เช่น ชนชาติที่ เลือกรับศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ชวา (ในประเทศอินโดนีเซีย) จาม (ในประเทศเวียดนาม) และเขมร ส่วนชนชาติทเี่ ลือกรับพุทธศาสนา ได้แก่ พม่า ไทย และลาว งานศิลปกรรมเกิดจากศรัทธาความเชื่อทางศาสนา ชนชาติที่ เลือกรับศาสนาฮินดู มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าและลัทธิเทวราชา ท�ำให้ มีการก่อสร้างศาสนสถานที่มีความยิ่งใหญ่มั่นคงเพื่อเทพเจ้า ส่วน หลักปรัชญาของพุทธศาสนา มีความเชื่อเรื่องนิพพานเป็นเรื่องสูงสุด เพราะฉะนั้นการสร้างศาสนสถานเป็นเพียงเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา สมถะ เรียบง่ายและเหมาะกับคนในสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่ง ของศาสนสถานในพุทธศาสนาที่มีความยิ่งใหญ่ก็มีเช่นเดียวกัน เช่น ในศิลปะพม่า ซึ่งเกิดจากความศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ดังนั้นจากความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรม โดย เฉพาะงานศิ ล ปกรรมที่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการสะท้ อ นความคิ ด และ (10) ศิลปะชวา
ความเชื่อทางศาสนาของแต่ละชนชาติ จึงปรากฏในงานศิลปกรรม ที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นศาสนาเดียวกันก็ตาม ส่วนหนึ่งของแนวคิด คติการก่อสร้างนั้นเหมือนหรือใกล้เคียงกัน แต่รูปแบบศิลปกรรมย่อม มีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม อันเป็นเรื่อง ของงานช่าง แม้ว่าจะมีการรับและส่งอิทธิพลให้แก่กันในบางเวลาและ โอกาสก็ตาม เช่น ปราสาทที่สร้างในศิลปะชวา ต่างจากปราสาทเขมร และปราสาทจาม หรือเจดีย์ในศิลปะพม่าก็มีลักษณะและรูปแบบต่าง จากเจดีย์ในประเทศไทย เป็นต้น ดังนั้น ชุดโครงการต�ำราประวัติศาสตร์ศิลปะเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ จึงต้องการแสดงให้เห็นหลักฐานทางด้านศิลปกรรมของแต่ละ ประเทศว่ามีลักษณะรูปแบบเป็นอย่างไรในแต่ละยุคสมัย การเริ่มต้น การสืบเนื่อง ความรุ่งเรือง และความเสื่อม ในส่วนที่เหมือน ส่วนที่ แตกต่าง และเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร จาก ชุดโครงการต�ำราดังกล่าว ได้น�ำมาปรับปรุงเป็นหนังสือชุด “ประวัติ ศาสตร์ศิลปะในประเทศอาเซียน” จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์มติชน โดย แยกเล่มเป็นศิลปะในแต่ละประเทศเพื่อง่ายต่อการอ่านและท�ำความ เข้าใจ โดยในเนื้อหาหลักของศิลปกรรมแต่ละประเทศจะประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ส่วนที่ ๒ ประวัติ ศาสตร์ศิลปะ ส่วนที่ ๓ แหล่งเรียนรู้และสถานที่ส�ำคัญทางประวัติ ศาสตร์ศิลปะ และส่วนที่ ๔ คือ ความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะกับดินแดนไทย ในนามของคณะผู ้ จั ด ท� ำ ขอขอบคุ ณ คณบดี ค ณะโบราณคดี (ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ ช วลิ ต ขาวเขี ย ว) ที่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ และได้ สนับสนุนงบประมาณเป็นค่าด�ำเนินการจัดท�ำโครงการต�ำราในครั้งนี้ และขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์มติชน ที่ได้ให้ความส�ำคัญอย่างมากต่อ งานศิลปวัฒนธรรม และได้จัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ขึ้นเพื่อเป็นการเผย แพร่ความรู้สู่สาธารณชน คณะผู้จัดท�ำจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุดความรู้นี้จะเป็นประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ที่จะท�ำให้ทั้งคนไทยและประชาคมอาเซียนได้มีความรู้ รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี (11)
ความเข้าใจในวัฒนธรรมซึ่งกันและกันได้ลึกซึ้งขึ้น ซึ่งการท�ำความ เข้าใจในงานศิลปกรรมร่วมกันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเข้า ใจและความร่วมมือร่วมใจกันในเชิงสร้างสรรค์ของประชาคมอาเซียน ที่จะขับเคลื่อนไปในอนาคต อันจะเป็นผลดีต่อกันมากกว่าการที่แต่ละ ชาติจะหวังผลประโยชน์ตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจเป็นส�ำคัญ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๖
(12) ศิลปะชวา
ค�ำน�ำ
ศิลปะชวา
ศิลปะในประเทศอินโดนีเซีย มีศนู ย์กลางส�ำคัญอยูท่ เี่ กาะชวาและ บาหลี มีพฒ ั นาการตัง้ แต่พทุ ธศตวรรษที่ ๑๓ ภายใต้แรงบันดาลใจจาก ศิลปะ คติทางศาสนา และวัฒนธรรมจากอินเดีย โดยมีพฒ ั นาการมาเป็น ล�ำดับ จนในทีส่ ดุ ความเป็นพืน้ เมืองอินโดนีเซียได้เข้ามามีบทบาทส�ำคัญ ต่อการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมในระยะหลัง หนังสือเล่มนี้ เป็นส่วนหนึง่ ของ “ชุดโครงการต�ำราประวัตศิ าสตร์ ศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ซึง่ ได้รบั การจัดสรรทุนการเขียนต�ำรามา จาก “โครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน” คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากจะเขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกสารค�ำสอน ส�ำหรับรายวิชา ๓๑๐ ๒๑๕ ศิลปะในประเทศอินโดนีเซีย (Art in Indonesia) ระดับ ปริญญาตรี และรายวิชา ๓๑๗ ๖๐๒ สัมมนาศิลปะในเอเชียอาคเนย์ (Seminar on Art in Southeast Asia) ในระดับปริญญาโทของคณะ โบราณคดีแล้ว หนังสือเล่มนี้ยังเชื่อได้ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการท�ำ ความเข้าใจในศิลปะอินโดนีเซีย อันเป็นส่วนส�ำคัญในการเตรียมความ พร้อมสูป่ ระชาคมอาเซียนซึง่ จ�ำเป็นต้องอาศัย “ความเข้าใจในวัฒนธรรม เพื่อนบ้าน” น�ำไปสู่ “ความเข้าใจในความแตกต่าง” และเรียนรู้เพื่อที่จะ อยู่ร่วมกันในประชาคมเดียวกันได้
รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี (13)
กระผมใคร่ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ชวลิต ขาวเขียว คณบดีคณะโบราณคดี ทีก่ รุณาให้ความส�ำคัญในการเขียนต�ำราดังกล่าว ขอขอบพระคุณศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ หัวหน้าโครงการ คณาจารย์ในภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะทุกท่าน และส�ำนักพิมพ์ มติชนที่กรุณาจัดพิมพ์หนังสือชุดนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ ประวัติศาสตร์ศิลปะต่อไป รองศาสตราจารย์ ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี
ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
(14) ศิลปะชวา
ศิลปะชวา
๑ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะ ในประเทศอินโดนีเซีย
สังเขปภูมิศาสตร์อินโดนีเซีย
ประเทศอิ น โดนี เ ซี ย เป็ น หมู ่ เ กาะที่ มี ข นาดใหญ่ ที่ สุ ด ในโลก ประกอบด้วยหมู่เกาะส�ำคัญได้แก่ หมู่เกาะซุนด้าใหญ่ หมู่เกาะซุนด้า น้อย และหมู่เกาะอื่นๆ หมู ่ เ กาะซุ น ด้ า ใหญ่ ได้ แ ก่ เกาะสุ ม าตราและเกาะชวา ส่ ว น หมูเ่ กาะซุนด้าน้อย ได้แก่ หมูเ่ กาะขนาดเล็กทีอ่ ยูใ่ นแนวเดียวกันต่อเนือ่ ง มาจากเกาะชวา เช่น เกาะบาหลี ลอมบอก ฯลฯ อนึง่ ศิลปวัฒนธรรม อินเดียภายใต้ศาสนาฮินดูและพุทธมหายานได้เข้ามามีบทบาทอยู่ที่ เกาะสุ ม าตรา เกาะชวา และเกาะบาหลี เ ท่ า นั้ น ส่ ว นเกาะอื่ น ๆ นั้ น อิทธิพลวัฒนธรรมจากอินเดียไม่ชัดเจนนัก เกาะชวา เป็นเกาะที่มีรูปทรงในแนวยาว มีภูเขาสูงเป็นแกน กลางซึ่ ง หลายแห่ ง เป็ น ภู เ ขาไฟ ภู เ ขาส� ำ คั ญ เช่ น ภู เ ขาไฟเมราปี (Merapi) ซึง่ พืน้ ทีข่ องศิลปะชวาภาคกลางได้ตงั้ อยูโ่ ดยรอบภูเขาไฟลูกนี้ ภูเขาที่ส�ำคัญอีกกลุ่มหนึ่งได้แก่ ภูเขาแถบชวาตะวันออก ซึ่งมี ภูเขาศักดิ์สิทธิ์หลายลูก เช่น ภูเขาไฟสุเมรุ (Sumeru) อันหมายถึง เขาพระสุเมรุ และภูเขาเปนังกุหงัน (Penangungan) ซึ่งมีห้ายอดอัน เกี่ยวข้องกับเขาพระสุเมรุที่มีห้ายอดเช่นกัน พื้นที่ของศิลปะชวาตะวัน ออกได้เคยตั้งอยู่ระหว่างภูเขาที่ส�ำคัญเหล่านี้ ส่วนเกาะบาหลีมีภูเขาไฟส�ำคัญที่ตั้งอยู่แกนกลางเกาะเช่นกัน เช่น กุหนุงอากุง (Gunung Agung) และกุหนุงบาตูร์ (Gunung Batur) ซึง่ ได้กลายเป็นภูเขาศักดิส์ ทิ ธิใ์ นวัฒนธรรมบาหลี อนึง่ ในสมัย ชวาภาคตะวันออกและบาหลี เทวาลัยจ�ำนวนมากได้สร้างขึ้นบนเชิงเขา เพื่อบูชาภูเขาในฐานะที่ประทับของเทพเจ้าโดยเฉพาะ ส่ ว นในเรื่ อ งแม่ น�้ ำ และที่ ร าบลุ ่ ม นั้ น เนื่ อ งจากอิ น โดนี เ ซี ย มี ลักษณะเป็นเกาะที่มีภูเขาเป็นแกนกลาง ด้วยเหตุนี้ ที่ราบจึงมีลักษณะ แคบๆ และมีแม่นำ�้ สายสั้นๆ ไหลจากภูเขาลงไปสู่ทะเล อย่างไรก็ตาม ที่ราบและแม่น�้ำสายสั้นๆ นี้เองที่เป็นพื้นที่ที่ตั้งของอารยธรรมชวาทุก รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 3
สมัย ตัวอย่าง เช่น แม่น�้ำโอปัก (Opak) อันเป็นที่ตั้งของศิลปะชวา ภาคกลางตอนปลาย เป็นต้น
การแบ่งยุคสมัยศิลปะในประเทศอินโดนีเซียโดยสังเขป ศิลปะในประเทศอินโดนีเซียภายใต้วัฒนธรรมฮินดู-พุทธนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ สมัยหลักๆ คือ ศิลปะชวาภาคกลาง (พุทธ ศตวรรษที ่ ๑๒-๑๖) ศิลปะชวาภาคตะวันออก (พุทธศตวรรษที ่ ๑๖-๒๐) และศิลปะบาหลี (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-ปัจจุบัน) ศิลปะชวาภาคกลาง (Central Javanese Art) ในเกาะชวา นัน้ ศิลปะอินเดียได้เข้ามามีบทบาทตัง้ แต่พทุ ธศตวรรษที ่ ๑๒-๑๖ โดย มีศนู ย์กลางส�ำคัญอยู่แถบชวาภาคกลาง (แผนทีท่ ี่ ๑) แถบเมืองยอกยา การ์ตา (Yogyakarta) แถบเมืองมาเกลัง-เมืองโวโนโซโบ (MagelangWonosobo) และแถบเมืองโซโล (Solo) โดยได้รับการอุปถัมป์จาก ๒ ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์สัญชัยหรือมะตะราม ผู้นับถือศาสนาฮินดู และราชวงศ์ไศเลนทร์ ผู้นับถือพุทธศาสนามหายาน อนึง่ ศิลปะชวาภาคกลางสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ระยะย่อยๆ คือ ศิลปะชวาภาคกลางตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ศิลปะชวาภาคกลางตอนต้น เป็นสมัยที่รูปแบบสถาปัตยกรรม ยังคล้ายคลึงศิลปะอินเดียใต้อยู่ นับถือศาสนาฮินดูภายใต้ราชวงศ์ สัญชัย (Sanjaya) ตัวอย่างสถาปัตยกรรมส�ำคัญได้แก่บรรดาจันทิ บริเวณที่ราบสูงเดียง (Diang Plateau) ต่ อ มา ในศิ ล ปะชวาภาคกลางตอนกลาง ราชวงศ์ ไ ศเลนทร์ (Sailendra) ที่นับถือพุทธศาสนามหายานได้เข้ามามีบทบาทในการ สร้างสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมในช่วงนี้จึงมักอุทิศให้พุทธศาสนา โดย เริ่มปรากฏความซับซ้อนมากกว่าสถาปัตยกรรมในระยะต้น ตัวอย่าง ของสถาปัตยกรรมระยะนี้ เช่น จันทิเมนดุต (Candi Mendut) จันทิ ปะวน (Candi Pawon) และบุโรพุทโธ (Borobudur) 4 ศิลปะชวา
จันทิในสมัยชวาภาคกลาง ตอนต้น (ที่ราบสูงเดียง)
จันทิในสมัยชวาภาคกลาง ตอนกลาง (เมนดุต, ปะวน, บุโรพุทโธ) ลุ ่ มน�้ ำ โอปั ก จั น ทิ ในสมั ย ชวาภาคกลางตอนปลาย (กะลาสัน, เซวู, ปรัมบะนัน)
แผนที่ที่ ๑ ที่ตั้งของจันทิในศิลปะชวาภาคกลาง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ แถบที่ราบสูงเดียง (ชวาภาคกลางตอนต้น) แถบบุโรพุทโธ (ชวาภาคกลางตอน กลาง) และแถบลุ่มน�้ำโอปัก (ชวาภาคกลางตอนปลาย) ที่มา : www.google.com
ศิลปะชวาภาคกลางตอนปลายซึ่งถือเป็นระยะที่สถาปัตยกรรม ซับซ้อนที่สุด ศาสนสถานในระยะนี้ได้รับอิทธิพลอินเดียเหนือเข้ามา ใหม่ท�ำให้สถาปัตยกรรมหลายแห่งอยู่ในลักษณะของมณฑลหรือการ จ�ำลองจักรวาล โดยอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของทั้งราชวงศ์ไศเลนทร์ที่ นับถือพุทธศาสนา และราชวงศ์สัญชัยที่นับถือศาสนาฮินดู ตัวอย่าง สถาปัตยกรรมระยะนี้ ได้แก่ จันทิกะลาสัน (Candi Kalasan) จันทิ เซวู (Candi Sewu) และจันทิปรัมบะนัน (Candi Parambanan) เป็นต้น ศิลปะชวาภาคตะวันออก (Eastern Javanese Art) ราว รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 5
พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๒๐ ศูนย์กลางของเกาะชวาได้ย้ายไปยังภาคตะวัน ออกของเกาะชวา (แผนที่ที่ ๒) แถบเมืองมาลัง (Malang) บลิตาร์ (Blitar) และรอบเขาเปนัง กุ ห งัน ในระยะนี้ศิล ปกรรมมีค วามเป็ น พื้นเมืองสูงโดยหลุดพ้นไปจากรูปแบบศิลปะอินเดียอย่างชัดเจน ตัว สถาปัตยกรรมมีขนาดเล็กลงกว่าศิลปะชวาภาคกลางมาก ส่วนทางด้าน ศาสนานั้น ศาสนาฮินดูและพุทธได้ปะปนกันและปรากฏลัทธิเทวราชา เข้าปะปนด้วย ราชวงศ์ที่ส�ำคัญในระยะนี้คือราชวงศ์ของพระเจ้าไอร์ ลังคะ (Airlangga) ราชวงศ์สิงหาส่าหรี (Singosari) และราชวงศ์ มัชฌปาหิต (Majpahit) โตรวุลัน เมืองหลวงของ ราชวงศ์มัชฌปาหิต
สิงหาส่าหรี เมือง หลวงของราชวงศ์ สิงหาส่าหรี บลิตาร์ ที่ตั้งของจันทิปะนะตะรัน สมัยมัชฌปาหิต
พืน้ ทีร่ อบเมืองมาลัง มีจนั ทิ สมัยสิงหาส่าหรีจำ� นวนมาก (กิดาล, จาโก)
แผนที่ที่ ๒ ที่ตั้งของโบราณสถานสมัยชวาภาคตะวันออก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ บริเวณ (๑) เมืองโตรวุลัน (๒) บริเวณรอบเมืองสิงหาส่าหรีและมาลัง และ (๓) บริเวณเมืองบลิตาร์ ที่มา : www.google.com 6 ศิลปะชวา
สถาปัตยกรรมระยะนี้มีทั้งแบบน�้ำพุศักดิ์สิทธิ์ เช่น จันทิเบลา หัน (Candi Belahan) หรือจันทิทอี่ ทุ ศิ ให้กบั ลัทธิเทวราชา คือใช้บรรจุ พระอัฐิของกษัตริย์และสร้างขึ้นเพื่อสมมติว่ากษัตริย์ได้เสด็จเข้าไป รวมกับเทพเจ้าแล้ว ตัวอย่างของจันทิภายใต้ลัทธิเทวราชา เช่น จันทิ กิดาล (Candi Kidal) จันทิจาโก (Candi Jago) จันทิสิงหาส่าหรี (Candi Singosari) และจันทิจาวี (Candi Jawi) เป็นต้น ศิลปะบาหลี (Balinese Art) เมื่อศาสนาอิสลามเริ่มแพร่เข้ามา ในเกาะชวา ท�ำให้ชาวฮินดูจ�ำนวนมากอพยพเข้าสู่เกาะบาหลี กระบวน การนี้ปรากฏอย่างชัดเจนเมื่อราชวงศ์มัชฌปาหิตล่มสลายลงในพุทธ ศตวรรษที่ ๒๐ ด้วยเหตุนี้ เกาะบาหลีจึงเป็นเกาะที่รักษาวัฒนธรรม และศาสนาแบบชวาตะวันออกจนถึงปัจจุบัน ระยะนี้ศาสนาฮินดูได้ เข้าปะปนกับความเชือ่ พืน้ เมืองจนกลายเป็นศาสนาพิเศษของเกาะบาหลี ส่วนแนวโน้มของเทวาลัยในระยะนี้มักวางผังตามที่ลาดเนินเขา (แผนที่ ที่ ๓) มีการแบ่งผังเป็นลานและมีสถาปัตยกรรมแบบพิเศษ เช่น ปานุ มาน ปัทมาสนะ เมรุ จันทิเบนตาร์ เป็นต้น ตารางสังเขปลักษณะโดยรวมของศิลปะอินโดนีเซียสมัยต่างๆ
สมัย ศิลปะชวา ภาคกลาง ตอนต้น
ศาสนา ฮินดู
ลักษณะ โดยรวม
ตัวอย่าง
• คล้ายคลึงกับ Candi at Dieng ศิลปะอินเดียใต้ Plateau • เทวาลัยมี ขนาดเล็ก
รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 7
บาหลี
แผนที่ที่ ๓ ตัวอย่างเทวาลัยในศิลปะบาหลีซึ่งใช้ศึกษาในหนังสือเล่มนี้ เช่น Pura Besakih, Pura Taman Ayun, Pura Kehen, Goa Gajah, Pura Sada เป็นต้น ที่มา : ปรับปรุงจาก Bernet Kempers, Monumental Bali : Introduction to Balinese Archaeology and Guide to the Monument., P. 91.
8 ศิลปะชวา
สมัย ศิลปะชวา ภาคกลาง ตอนกลาง
ศิลปะชวา ภาคกลาง ตอนปลาย
ศิลปะชวา ภาคตะวัน ออก
ศาสนา พุทธ มหายาน
ลักษณะ โดยรวม
• เริม่ ปรับ เปลีย่ นจนกลาย เป็นลักษณะของ ชวาเอง • เริ่มซับซ้อน ด้วยระบมณฑล ทางพุทธศาสนา มหายาน พุทธ • แผนผังซับ มหายาน ซ้อนด้วยระบบ และฮินดู มณฑล • ศาสนสถานมี ขนาดใหญ่ขึ้น • ตัวสถาปัตย กรรมมีความซับ ซ้อนอย่างมาก และมีอิทธิพล อินเดียเหนือ เข้ามาแทรก ฮินดูปะปน • สถาปัตยกรรม กับพุทธ มีขนาดเล็กลง มหายาน และลดความ และอยู่ภาย ซับซ้อนลง เริ่ม ใต้ลัทธิเทว ห่างไกลจาก ราชา อิทธิพลอินเดีย
ตัวอย่าง Mendut, Pawon, Borobudur
Kalasan, Sari, Plaosan, Sewu, Parambanan
Belahan, Kidal, Jago, Singosari, Jawi, Panataran, Trowulan
รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 9
สมัย ศิลปะบาหลี
10 ศิลปะชวา
ศาสนา
ลักษณะ โดยรวม
ศาสนา • กลายเป็น ฮินดูปะปน พื้นเมืองอย่าง กับลัทธิพื้น แท้จริง เมือง
ตัวอย่าง Besakih, Kehen, Taman Ayun, Ulun Danu, Gunung Kawi, Goa Gajah
๒ จันทิบนที่ราบสูงเดียง จันทิเมนดุตและจันทิปะวน
จันทิบนที่ราบสูงเดียง : ตัวอย่างจันทิในศิลปะชวาภาคกลางตอนต้น ทีร่ าบสูงเดียง (Dieng) ตัง้ อยูใ่ กล้เมืองโวโนโซโบ (Wonosobo) สูงกว่าระดับน�้ำทะเลถึง ๒,๐๐๐ เมตร บนที่ราบสูงแห่งนี้ปรากฏจันทิ ขนาดเล็กกลุ่มหนึ่ง ซึ่งถือเป็นจันทิที่เก่าแก่ที่สุดในศิลปะชวา สร้างขึ้น โดยราชวงศ์มะตะรามของพระเจ้าสัญชัยผู้นับถือศาสนาฮินดูในพุทธ ศตวรรษที่ ๑๔๑ ชื่อของจันทิบนที่ราบสูงเดียงนี้ ล้วนแต่ตั้งขึ้นตามตัวละครใน มหากาพย์ ม หาภารตะ เช่ น อรชุ น ปุ น ตเทพ ภี ม ะ อย่ า งไรก็ ต าม เทวาลัยเหล่านี้มิได้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับตัวละครเหล่านี้ แต่อุทิศให้ กับเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เช่น พระศิวะ จันทิที่ส�ำคัญบนที่ราบสูงเดียงซึ่งจะขอกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ ได้แก่ จันทิอรชุน จันทิปุนตเทพ และจันทิภีมะ
จันทิอรชุน
แม้ว่าจันทิอรชุนจะเป็นจันทิขนาดเล็กที่มีรูปแบบเรียบง่ายก็ตาม แต่จันทิแห่งนี้กลับเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมในศิลปะชวาภาคกลาง ตอนต้นที่ดีที่สุด จันทิประกอบด้วยฐานเพียง ๑ ชั้น รองรับเรือนธาตุ เรือนธาตุ เองถูกแบ่งออกเป็น ๓ ช่วงด้วยเสาติดผนังจ�ำนวน ๔ ต้น (เสา ๒ ต้น ตรงกลางและ ๒ ต้นที่มุม) ท�ำให้เรือนธาตุประหนึ่งว่าถูกแบ่งออกเป็น เก็จประธาน และเก็จมุม เรือนธาตุเองก็ยงั คงเรียบง่ายมาก โดยมีเฉพาะ เก็จประธานเท่านั้นที่มีซุ้มจระน�ำ ส่วนเก็จมุมกลับไม่ปรากฏซุ้มใดๆ (ภาพที่ ๑) ชั้นหลังคาประกอบด้วยเรือนธาตุจ�ำลองซ้อนชั้นขึ้นไปหลายชั้น โดยแต่ละชั้นมีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ ท�ำให้เส้นรอบนอกของยอดคล้าย ขั้ น บั น ได ที่ กึ่ ง กลางของเรื อ นธาตุ จ� ำ ลองมี ซุ ้ ม จระน� ำ ขนาดเล็ ก ซึ่ ง 12 ศิลปะชวา
ยอดปราสาท มีเรือนธาตุจำ� ลอง ซ้อนชัน้ ตามแบบอินเดียใต้
เสาติดผนัง ๔ ต้น แบ่งเรือนธาตุออกเป็น เก็จประธานและเก็จมุม
มุขด้านหน้า ครอบด้วยจั่วสามเหลี่ยม และซุ้มกาล-มกร
ฐานเตี้ยๆ จ�ำนวน ๑ ชั้น
ภาพที่ ๑ ภาพรวมของจันทิอรชุน ที่ราบสูงเดียง ศิลปะชวาภาคกลางตอนต้น
รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 13
เส้นรอบนอกขั้นบันได
อาคารจ�ำลองที่มุม
เรือนธาตุจ�ำลอง
ภาพที่ ๒ รายละเอียดยอดของจันทิอรุชน แสดงความเกีย่ วข้องกับยอดวิมานอินเดีย ใต้อย่างมาก คือมีเรือนธาตุจ�ำลองซ้อนชั้น แต่ละชั้นมีขนาดเล็กลงจนเส้นรอบนอก เป็นขั้นบันได และที่มุมมีอาคารจ�ำลอง
แสดงการจ�ำลองเรือนธาตุจริง ส่วนที่มุมประดับ “อาคารจ�ำลอง” (ภาพ ที่ ๒) องค์ประกอบทัง้ หมดนีค้ ล้ายคลึงอย่างมากกับอาคารทรง “วิมาน” ในศิลปะอินเดียใต้ ซึ่งประกอบด้วยเรือนธาตุจ�ำลองที่มีเส้นรอบนอก เป็นขั้นบันไดและประดับด้วยอาคารจ� ำลองเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ศิลปะอินเดียใต้มักประดับอาคารจ�ำลองโดยรอบเรือนธาตุจ�ำลอง แต่ ศิลปะชวากลับประดับเฉพาะที่มุมเท่านั้น มุขด้านหน้าก็มีความน่าสนใจ คือเป็นมุขสั้นๆ ที่มีหลังคาทรง จั่วสามเหลี่ยมตามแบบพื้นเมือง แตกต่างไปจากหลังคามุขในศิลปะ อินเดีย ที่ส�ำคัญคือการปรากฏซุ้มกาล-มกรซึ่งต่อมาซุ้มแบบนี้จะนิยม อย่างต่อเนื่องตลอดในศิลปะชวาภาคกลาง (ภาพที ่ ๓) 14 ศิลปะชวา
ซุ้มกาล-มกร : กับระบบสัญลักษณ์
ซุ้มกาล-มกร คือซุ้มซึ่งปรากฏ “หน้ากาล” อยู่ด้านบน หน้ากาล คายวงโค้งออกมาและมีมกรทีป่ ลายสุด หน้ากาลนัน้ เป็นสัญลักษณ์ของ เวลาที่กลืนกินทุกสิ่งแม้กระทั่งปากล่างของตัวมันเอง หน้ากาลจึงเตือน ผู้ศรัทธาให้ค�ำนึงถึงเวลาที่กลืนกินชีวิตตน แต่พระเป็นเจ้าผู้ประทับอยู่ ในเทวาลัยนั้นทรงอยู่เหนือกาลเวลาและความตาย ส่วนมกรที่ปลายสุดของวงโค้งนั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดม สมบูรณ์ เนื่องจากเป็นสัตว์ผสมระหว่างจระเข้กับช้างซึ่งสัมพันธ์กับ น�้ำ การเดินผ่านมกรจึงเป็นสัญลักษณ์ของการได้รับความอุดมสมบูรณ์ น่าสังเกตว่าซุ้มกาล-มกรเป็นสัญลักษณ์ของ “การขัดแย้ง” กัน ระหว่างความเสื่อมถอยกับความอุดมสมบูรณ์
หน้ากาล
มกร
ภาพที่ ๓ ซุ้มกาล-มกรที่มุขด้านหน้าจันทิอรชุน ด้านบนปรากฏหลังคาทรงจั่ว สามเหลี่ยม รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 15