วิถีแห่งอำนาจ สุมาอี้

Page 1


สุมาอี้ วิถีแห่งอ�ำนาจ

เสถียร จันทิมาธร

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  ๒๕๕๖


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ เสมือนค�ำน�ำ

๙ ๑๑

๑๑. ตระกูล “สุมา” ๑๒. เกิดในตระกูลขุนนาง ๑๓. การศึกมิหน่ายเล่ห์ ๑๔. สุมาอี้แสร้งป่วย ๑๕. สัมพันธ์  โจโฉ สุมา ๑๖. เลขานุการฝ่ายวรรณกรรม ๑๗. ศึกษาจาก “ซุนฮก” ๑๘. ความเฉียบของ “กุยแก” ๑๙. บทเรียนจาก “ซุนฮิว” ๑๐. “โจโฉ” ยอดอัจฉริยะ ๑๑. ล�ำน�ำหนาวฉกรรจ์ ๑๒. ศึกษากรณี  “ตันหลิม” ๑๓. จดหมายแปรพักตร์ ๑๔. เสียงลือเสียงเล่าอ้าง ๑๕. พลังเร่าร้อน “สุมาอี้”

๑๗ ๒๑ ๒๕ ๒๙ ๓๓ ๓๖ ๔๐ ๔๔ ๔๘ ๕๒ ๕๖ ๖๐ ๖๔ ๖๘ ๗๒


๑๖. “ได้หล่ง” ยังจะเอาสู่ ๑๗. อุบายคาย ๓ เมือง ๑๘. “ความจริง” กับ “นิยาย” ๑๙. รบพิสดารของ “อุยเอี๋ยน” ๒๐. “โจผี” กับ “สุมาอี้” ๒๑. กรณีศึกษา “เอียวสิ้ว” ๒๒. ท่าทางราวสุนัขจิ้งจอก ๒๓. จลาจลในนครฮูโต๋ ๒๔. ระบบ “นาทหาร” ๒๕. พันธมิตรวุยก๊ก ง่อก๊ก ๒๖. กวนอูทดน�้ำท่วม ๗ ทัพ ๒๗. การยืนหยัดของสุมาอี้ ๒๘. แผนพิชิต “กวนอู” ๒๙. บริหารจัดการ “กวนอู” ๓๐. พันธมิตร ง่อ วุย ๓๑. พระเจ้าโจผี ๓๒. บทแรก “พระเจ้าเล่าปี่” ๓๓. ยุทธศาสตร์  “สามก๊ก” ๓๔. วาระสุดท้าย “เล่าปี่” ๓๕. พันธมิตร ๕ ทัพ ๓๖. แผนปราบ ๕ ทัพ ๓๗. การทหาร การทูต ๓๘. สงครามกับ “ง่อก๊ก” ๓๙. ช�ำแหละแผน “สุมาอี้” ๔๐. เพียวฉีต้าเจียงจวิน ๔๑. แผนพิฆาต “สุมาอี้” ๔๒. ถอดสุมาอี้เป็นไพร่

๗๕ ๗๙ ๘๒ ๘๖ ๙๐ ๙๔ ๙๘ ๑๐๒ ๑๐๖ ๑๐๙ ๑๑๓ ๑๑๗ ๑๒๐ ๑๒๔ ๑๒๘ ๑๓๒ ๑๓๖ ๑๔๐ ๑๔๔ ๑๔๘ ๑๕๒ ๑๕๖ ๑๖๐ ๑๖๔ ๑๖๘ ๑๗๒ ๑๗๖


๔๓. “สุมาอี้” รีเทิร์น ๔๔. คิดอย่างเสนาธิการ ๔๕. จ�ำเป็นต้อง “สุมาอี้” ๔๖. รุกรบ รวดเร็ว ฉับไว ๔๗. “ขงเบ้ง” ปะทะ “สุมาอี้” ๔๘. คิดในเชิงยุทธศาสตร์ ๔๙. เตียวคับ ม้าเจ๊ก อองเป๋ง ๕๐. ๒ แนวทางที่เกเต๋ง ๕๑. การยุทธ์  ณ เกเต๋ง ๕๒. วิเคราะห์กรณี  “เกเต๋ง” ๕๓. ผลสะเทือน “เกเต๋ง” ๕๔. กลอุบาย “เมืองว่าง” ๕๕. กลยุทธ์เปิดเมือง “เมืองว่าง” ๕๖. ปัญหาจากภายใน ๕๗. แม่ทัพปราบจกก๊ก ๕๘. “ขงเบ้ง” VS “สุมาอี้” ๕๙. ล่อ “สุมาอี้” ออกจากถ�้ำ ๖๐. เดิมพัน โจจิ๋น สุมาอี้ ๖๑. ความพ่ายแพ้ของโจจิ๋น ๖๒. หันทวนสวนแทงขงเบ้ง ๖๓. เพิ่มเตา ถอยทัพ ๖๔. “ดวงดาว” ลิขิตแห่งฟ้า ๖๕. พัสตราภรณ์สตรี ๖๖. สงบสยบความเคลื่อนไหว ๖๗. การข่าว “สุมาอี้” ลึก ๖๘. รบแบบไฟ รบแบบน�้ำ ๖๙. แผนถ่วงเวลาสุมาอี้

๑๘๐ ๑๘๔ ๑๘๘ ๑๙๒ ๑๙๖ ๒๐๐ ๒๐๔ ๒๐๘ ๒๑๒ ๒๑๖ ๒๒๐ ๒๒๔ ๒๒๘ ๒๓๒ ๒๓๖ ๒๓๙ ๒๔๓ ๒๔๗ ๒๕๐ ๒๕๔ ๒๕๘ ๒๖๑ ๒๖๕ ๒๖๙ ๒๗๓ ๒๗๗ ๒๘๑


๗๐. พิธีกรรมต่ออายุ ๗๑. เป็นหรือตายขึ้นกับฟ้า ๗๒. ถอยครั้งสุดท้ายของขงเบ้ง ๗๓. ศิลปะของการถอย ๗๔. ท่วงท�ำนองแม่ทัพหยู ๗๕. การยุทธ์  “เลียวตัง” ๗๖. สัญญาณจากดวงดาว ๗๗. เด็ดหัว “กองซุนเอี๋ยน” ๗๘. ฉากสุดท้าย “โจยอย” ๗๙. เริ่มยุค “พระเจ้าโจฮอง” ๘๐. การเบียดขับจาก “โจซอง” ๘๑. พระอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ ๘๒. ความก�ำเริบเสิบสาน ๘๓. ซุ่มซ่อน รอโอกาส ๘๔. รบได้ให้แสดงรบไม่ได้ ๘๕. กลยุทธ์ถอยแล้ว ถอยอีก ๘๖. รัฐประหาร ยึดอ�ำนาจ ๘๗. แถลงการณ์  “สุมาอี้” ๘๘. ตีปลอกเหล็กรัดถัง ๘๙. ความเฉียบขาด เหี้ยมหาญ ๙๐. การปราบเสี้ยนหนาม ๙๑. วาระสุดท้าย “สุมาอี้” ๙๒. วุยก๊กหลังยุคสุมาอี้ ๙๓. สุมาเอี๋ยน จิ้นอ๋อง ๙๔. สิ้นยุค “สามก๊ก” ๙๕. เกิดในยุคสงคราม การศึกมิหน่ายเล่ห์  (จบ)

๒๘๔ ๒๘๘ ๒๙๒ ๒๙๖ ๓๐๐ ๓๐๔ ๓๐๗ ๓๑๑ ๓๑๕ ๓๑๘ ๓๒๒ ๓๒๖ ๓๒๙ ๓๓๓ ๓๓๗ ๓๔๑ ๓๔๕ ๓๔๙ ๓๕๓ ๓๕๗ ๓๖๐ ๓๖๓ ๓๖๗ ๓๗๐ ๓๗๔ ๓๗๘ ๓๘๒


สุมาอี้ วิถีแห่งอ�ำนาจ


๑ ตระกูล “สุมา”

หนังสือ “ร้อยแซ่พันธุ์มังกร” อันเป็นงานค้นคว้าและเรียบ เรียงอย่างยอดเยี่ยมของ “สุขสันต์  วิเวกเมธากร” กล่าวถึง “แซ่ซือหม่า” ว่า เป็นแซ่อักษรคู่เพียงแซ่เดียวที่สามารถตั้งราชวงศ์ครองแผ่นดินจีน ได้ส�ำเร็จ ครองเป็นเวลานานประมาณ ๑ ศตวรรษครึง่ คือราชวงศ์จนิ้  แบ่งออก เป็นราชวงศ์จิ้นตะวันตก กับจิ้นตะวันออก ตั้งแต่  พ.ศ.๘๐๘-๙๖๓ ค�ำว่า “ซือ” นั้นหมายถึง “บังคับบัญชา จัดการ” เมื่อเป็นค�ำนาม หมายถึงหน่วยราชการระดับกรม  ถ้าเป็นบุคคล หมายถึงผู้บังคับบัญชา ส่วนค�ำว่า “หม่า” หมายถึง “ม้า” เมื่อน�ำ “ซือหม่า” มารวมกันหมายถึงผู้บัญชาการทหาร  เนื่อง จากสมัยโบราณนั้นกองทัพม้าเป็นกองทัพที่มีก�ำลังเข้มแข็งที่สุด ผู้บัญชา การทหารม้าจึงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดไปด้วย มีอ�ำนาจในการบังคับ บัญชากองทัพทุกเหล่า วิถีแห่งอ�ำนาจ สุมาอี้ 17


และผู้ที่ด�ำรงต�ำแหน่งนี้มักก้าวขึ้นไปเป็นนายกรัฐมนตรี  ซึ่งมีอ�ำนาจเป็นที่  ๒ รองจากฮ่องเต้  พระเจ้าแผ่นดิน  บางทียังก้าวขึ้นไปเป็น ฮ่องเต้ก็มี  ภาษาไทยเขียนทับศัพท์แซ่ซือหม่าไว้ดังนี้  ซือหม่า สุมา สุม้า กล่าวส�ำหรับตระกูลสุมา หากอ่านที่ปรากฏผ่านยุทธนิยาย เรื่อง “สามก๊ก”  ต้องยอมรับว่าบทบาทและความหมายของ “สุมาอี้” มี ลักษณะและสภาพเป็นศูนย์รวม ศูนย์รวมในการสร้างเนื้อสร้างตัวทางการทหาร ทางการเมือง สะสมก�ำลัง ฝังตัวยาวนาน ตั้งแต่เป็นเพียง “อาลักษณ์” เป็น “ที่ ปรึกษา” กระทั่งผงาดขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งเป็น “แม่ทัพ” บัญชาการรบ และ เข้าไปแทนที่  “โจโฉ” ในต�ำแหน่ง “สมุหนายก” กลายเป็นรากฐานอย่างส�ำคัญให้กับ “สุมาสู” และ “สุมาเจียว” ผู้ บุตร และ “สุมาเอี๋ยน” ผู้หลาน กระนั้น การจะท�ำความเข้าใจต่อกระบวนการสะสมอ�ำนาจของ ตระกูลสุมาได้อย่างรวบยอด จ�ำเป็นต้องศึกษาผ่านการถามและการอธิบายของ “สุมาเอี๋ยน” เมื่อบุกเข้าไปในวังแล้วถาม “พระเจ้าโจฮวน” ว่า “ราชสมบัติบ้านเมืองวุยทั้งปวงนี้ใครเป็นผู้ออกแรงสร้างไว้พระองค์ ทรงทราบไหม” “ด้วยบารมีของท่านบิดาและปู่ของท่านทั้งนั้นแหละ” เป็นค�ำตอบ จาก “พระเจ้าโจฮวน” และเมื่อ “สุมาเอี๋ยน” รุกไปอีกก้าวโดยเรียกร้องให้  “พระเจ้าโจฮวน” สละราชสมบัติ  “ให้แก่ผู้มีสติปัญญาและมีคุณความดีกว่า” ก็มีเสียงต้าน จากข้าราชบริพารใกล้ชิด “พระเจ้าโจฮวน” ยังความโกรธให้แก่  “สุมาเอี๋ยน” ยิ่งนัก จึงตวาดตอบว่า ราชสมบัติทั้งนี้เดิมเป็นของราชวงศ์ฮั่น  โจโฉใช้อ�ำนาจบีบบังคับ องค์เทพบุตรแลขุนนางทั้งปวงตั้งตนเป็นวุยอ๋อง ท�ำการล้มล้างราชวงศ์ฮั่น 18 เสถียร จันทิมาธร


เสีย

อันบรรพบุรุษของเราลงแรงช่วยท�ำนุบ�ำรุงราชวงศ์วุยมา ๓ ชั่วคน แล้ว  ฉะนั้น ผู้ที่สร้างใต้ฟ้านี้หาใช่ความสามารถของโจโฉไม่  แต่เป็นก�ำลัง ความสามารถของแซ่สุมาต่างหาก “เรื่องนี้ใครๆ ก็รู้กันทั่ว” จากความเป็นจริง “ใครๆ ก็รู้กันทั่ว” เช่นนี้เอง จึงน�ำไปสู่ การเปลี่ยนราชวงศ์จากราชวงศ์วุยมาเป็นราชวงศ์จิ้น ดังปรากฏผ่านค�ำ ประกาศต่อ “พระเจ้าโจฮวน” ว่า “เวลาล่วงมา ๔๕ ปีแล้วที่ราชวงศ์วุยขึ้นครองเมืองแทนราชวงศ์ฮั่น บัดนี้  ฟ้าประกาศิตให้มอบราชสมบัติแก่ราชวงศ์จิ้นต่อไป  ทั้งนี้  เพราะแซ่ สุมาท�ำความดีความชอบไว้ถึงฟ้าสูงแผ่นดินต�่ำ จิ้นอ๋องจึงสมควรจะเสด็จ ขึ้นเป็นเจ้าครองแผ่นดินเอง” แล้ว “พระเจ้าสุมาเอี๋ยน” ฮ่องเต้องค์ใหม่  ก็สถาปนา “สุมาอี้” พระ อัยกาเป็นเซวียนตี้ สถาปนา “สุมาสู” พระปิตุลาเป็นจิ่งตี้  สถาปนา “สุมาเจียว” พระ บิดาเป็นบุ่นเต้  ให้ตั้งปราสาทพระเทพบิดร บูชาบรรพบุรุษทั้ง ๗ คือ “สุมากิ๋น” ขุนพลผู้พิชิตตะวันตก ๑ “สุมาเลี่ยง” บุตรสุมากิ๋น ผู้ ครองนครอี๋จัง ๑ “สุมาจุ้น” บุตรสุมาเลี่ยง ผู้ครองนครหยิ่งชวน ๑ “สุมา ฝัง” บุตรสุมาจุ้น เจ้าผู้ครองนครจิงเหยา ๑ “สุมาอี้” บุตรสุมาฝัง ๑ “สุมา สู” ๑ “สุมาเจียว” ๑ ทั้ง ๗ นี้คือคนของตระกูลสุมาที่เติบใหญ่ในราชวงศ์ฮั่น และมีส่วน อย่างส�ำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับราชวงศ์วุยของตระกูลโจ กระทั่งสุมาเอี๋ยนสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนที่ในที่สุด จากนี้จึงเห็นได้ว่า ตระกูลสุมาเป็นตระกูลขุนนาง รับราช การอย่างต่อเนื่อง เจนจบทั้งในเรื่องการบริหารและการศึกษาสงคราม วิถีแห่งอ�ำนาจ สุมาอี้ 19


นี่ย่อมเป็นรากฐานอย่างดีให้กับ “สุมาเอี๋ยน” ท�ำให้  “สุมาเอี๋ยน” มีความมั่นใจในการกดดันและเรียกร้องให้ “พระเจ้าเหี้ยนเต้” สละราชสมบัติ กระนั้น ความแข็งแกร่งของ “สุมาเอี๋ยน” ย่อมมิอาจแยกออกได้ จากการสะสมก�ำลังของ “สุมาสู” ผู้ลุง และ “สุมาเจียว” ผู้บิดา ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นการสะสมก�ำลังฝังตัวยาวนานของสุมาอี้ ผู้ปู่ อย่างมีนัยส�ำคัญ

20 เสถียร จันทิมาธร


๒ เกิดในตระกูลขุนนาง

หากถือเอาหนังสือ “สามก๊ก” เป็นบรรทัดฐาน  สามก๊กและ ต�ำนานสามก๊ก ส�ำนวนแปล “เจ้าพระยาพระคลัง” (หน) กล่าวถึง “สุมาอี้” อย่างเป็นจริงเป็นจังในตอนที่  ๓๕ หน้า ๘๐๓ คือ “ฝ่ายโจโฉครั้นได้สุมาอี้มาเป็นที่ปรึกษา แลสุมาอี้นั้นเป็นบุตรสุมา ทอง เจ้าเมืองโฮโล่” ขณะที่หนังสือ “สามก๊ก” ฉบับแปลใหม่  ส�ำนวน “วรรณไว พัธโนทัย” นามของ “สุมาอี้” ปรากฏครั้งแรกในตอน ๓๙ ว่าด้วยลูกชาย เล่าเปียววอนขออุบายสามครั้ง ออกศึกครั้งแรกที่ทุ่งพกบ๋อง หน้า ๖๐๗ “จะกล่าวฝ่ายโจโฉได้ใช้อ�ำนาจถอดขุนนางใหญ่สามคนออกจาก ต�ำแหน่งแล้วเข้าว่าราชการในต�ำแหน่งทั้งสามด้วยตัวเอง จึงตั้งให้เหมาเจ๋ เป็นเลขานุการฝ่ายตะวันออกกับชุ่ยเหยียน เป็นเลขานุการฝ่ายตะวันตก และตั้งสุมาอี้เป็นเลขานุการฝ่ายวรรณกรรม  ด้วยเหตุนี้แลโจโฉจึงมีชื่อ เสียงว่ามีฝีปากเลิศทางวรรณกรรม” ทั้งยังกล่าวด้วยว่า “อัน ‘สุมาอี้’ นั้นมีสมญานามว่า ‘ชงต๊ะ’ เป็นชาวเหอนุ่ยเวิน เป็น วิถีแห่งอ�ำนาจ สุมาอี้ 21


หลาน ‘สุมาจุ้น’ ผู้ครองนครหยิ่งชวน เป็นบุตรของ ‘สุมาหอง’ เจ้าเมือง โฮโล่  เป็นน้องของสุมาหลัง” นั่นเป็นสถานการณ์ในห้วงก่อนโจโฉเตรียมการยกทัพไปตีหัวเมือง ฝ่ายใต้ เป็นสถานการณ์ก่อนการยุทธ์ที่พกบ๋อง เป็นสถานการณ์ก่อนการ ยุทธ์ที่เซ็กเพ็ก อันสร้างชื่อเสียงให้กับขงเบ้งเป็นอย่างสูง หนังสือ “พิชัยสงครามสามก๊ก” ฉบับบูรณาการของ “สังข์ พัธโนทัย” ได้กล่าวถึงประวัติ  “สุมาอี้  ซือหม่าอี้” อย่างสั้นกระชับว่า “เป็นชาวอ�ำเภออุน เมืองเหอเน่ย (โห้ลาย) มณฑลเหอหนาน มี ฉายาชงต๋า” ขณะที่หนังสือ “หลายชีวิตในพงศาวดารจีน” จากการค้นคว้าและ เรียบเรียงของ “ล.เสถียรสุต” ระบุรายละเอียดลึกลงไปอีกว่า “สุมาอี้” เกิดปี  พ.ศ.๗๑๖  ถึงแก่กรรม พ.ศ.๗๙๔ เกิดในครอบครัวชั้นกลาง ได้รับการศึกษามาด้วยดี  รับราชการใน ส่วนกลางมาตลอดเวลา จึงมีความรอบรู้ทางการทหารและทางการปก ครอง รู้จักคนมาก รู้จักเอาใจคน นี่ย่อมแย้งขัดกับที่ปรากฏในหนังสือ “ล้วงคอสุมาอี้” ส�ำนวน “เล่า ชวนหัว” เล็กน้อย “‘ซือหม่าอี้’ หรือ ‘สุมาอี้’ เกิดเมื่อ ค.ศ.๑๗๙ แก่กว่าขงเบ้ง ๒ ปี และมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันกับกุยแก ยอดเสนาธิการทหารรุ่นแรกของ โจโฉ” ค.ศ.๑๗๙ เมื่อเอา ๕๔๓ บวกเข้าไป ย่อมเท่ากับ ๗๒๒ ในปีพุทธ ศักราช ขณะเดียวกัน เมื่อตรวจสอบอีกครั้งผ่านหนังสือ “กลยุทธ์กุนซือ ฉบับ ๗ ยอดกุนซือในสามก๊ก” ส�ำนวนการเรียบเรียงของ “อดุลย์  รัตน22 เสถียร จันทิมาธร


มั่นเกษม” “‘สุมาอี้’ มีชื่อรองว่าจ้งต๋า เกิดเมื่อปี  พ.ศ.๗๒๒-๗๙๔ หมู่บ้าน เสี้ยวจิ้งหลี  อ�ำเภออุน เมืองโห้ลาย (เหอเน่ย) ในตระกูลขุนนางใหญ่   ปู่ ของเขาเคยเป็นเจ้าเมืองเองจิ๋ว  บิดาของเขา สุมาฝาง ก็เคยเป็นเจ้าเมือง พระนครหลวง” เกิดในปลายสมัยแผ่นดินราชวงศ์ฮั่นซึ่งบ้านเมืองก�ำลังระส�่ำระสาย จากนี้จึงเห็นได้ว่า พ.ศ.เกิดที่  ๗๒๒ ของ “สุมาอี้” ของ “เล่า ชวนหัว” ตรงกับของ “อดุลย์  รัตนมั่นเกษม”  ขณะที่  พ.ศ.๗๙๔ อันเป็น ปีที่ตายตรงกับของ “ล.เสถียรสุต” เพื่อให้เวลาเกิดของ “สุมาอี้” มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้นจึงต้องตรวจ สอบเพิ่มเติม จากการตรวจสอบผ่านหนังสือ “ศาสตร์แห่งความหน้าด้านใจด�ำ” อัน “ส.สุวรรณ” แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาจีนของ “หลี่จงอู๋” ปรากฏว่า สุมาอี้  (ค.ศ.๑๗๙-๒๕๑) เป็นคนอ�ำเภออุน มณฑล เหอเน่ย (เหอหนันในปัจจุบัน) นี่ย่อมตรงกับที่ปรากฏในหนังสืออินไซด์สามก๊ก (ฉบับอ่านสามก๊ก อย่างไรให้แตกฉาน) ของ “ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย”  สุมาอี้  (พ.ศ.๗๒๒-๗๙๔/ค.ศ.๑๗๙-๒๕๑) นี่ย่อมตรงกับที่ปรากฏในหนังสือ “อ่านสามก๊ก ถกบริหาร” จาก การวิเคราะห์วิจัยของ “ก่อศักดิ์  ไชยรัศมีศักดิ์” สุมาอี้นั้นเกิดปี  ค.ศ.๑๗๙ อายุมากกว่าขงเบ้ง ๒ ปี เกิดในตระกูลขุนนางที่รับราชการมาตั้งแต่สมัยปู่ทวด บิดานาม สุมาฮอง เคยเป็นผู้ว่าการเมืองลกเอี๋ยง มีพี่น้องทั้งหมด ๘ คน โดยสุมาอี้ เป็นพี่รอง ลูกหลานตระกูลสุมาได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี วิถีแห่งอ�ำนาจ สุมาอี้ 23


จากนี้จึงเป็นอันสรุปได้ว่า “สุมาอี้” เกิดเมื่อปี  ค.ศ.๑๗๙ อัน ตรงกับปี  พ.ศ.๗๒๒ เกิดในตระกูลขุนนาง ได้รับการศึกษาเป็นแบบแผน เป็นอย่างดี ไม่เพียงปู่เคยเป็นเจ้าเมืองเองจิ๋ว หากบิดาก็ยังเคยเป็นเจ้าเมือง พระนครหลวง ที่   “ล.เสถี ย รสุ ต ” สรุ ป ว่ า เกิ ด ในครอบครั ว ชั้ น กลางย่ อ มเป็ น ชั้ น กลางอันถือว่าค่อนข้างสูง จึงไม่แปลกที่จะยืนยันด้วยว่า ได้รับการศึกษา มาด้วยดี สุมาอี้จึงดีทั้งชาติตระกูล และดีทั้งการศึกษาเล่าเรียน

24 เสถียร จันทิมาธร


๓ การศึกมิหน่ายเล่ห์

ก็ดังที่ได้กล่าวในเบื้องต้นว่า “สุมาอี้” เป็นคนที่ถูกมองข้าม เสมอ มองข้ามชื่อเสียง มองข้ามบทบาท มองข้ามความหมาย แม้กระทั่ง “บุญศักดิ์  แสงระวี” แปลและค้นคว้าหนังสือยุทธศิลป์ ซุนจื่อ ฉบับ ๓ ภาษา ไทย จีน อังกฤษ ตีพิมพ์เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ในตอนกล่าวเกริ่นที่ว่า ยุทธศิลป์ซุนจื่อนี้  แม้ซุนจื่อจะหาชีวิตไม่แล้วก็ ยังเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางในประเทศจีนนับแต่โบราณกาลมาจนถึง ปัจจุบัน ยอดนักการทหารของจีนดังเช่น ซุนปิน, จางเหลียง, หานซิ่น, โจโฉ, ขงเบ้ง, หลีซิบิ๋น, หลี่จิ้ง, งักฮุย, ซิจี้กวง, เจิงกว้อฝาน, เหมาเจ๋อตง, เย่เจี้ยนอิง, หลิวป๋อเฉิง, เฉินอี้  เป็นต้น ล้วนแต่ได้ยึดถือยุทธศิลป์ซุนจื่อเป็น หลักในการบัญชาการรบ โดยพลิกแพลง ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ทั้งสิ้น จะเห็นว่ามีชื่อ “โจโฉ” มีชื่อ “ขงเบ้ง” แต่หามีชื่อ “สุมาอี้” ไม่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง “ขงเบ้ง” ยังเคยกล่าวถึง “สุมาอี้” ว่า “อัน สุมาอี้ผู้นี้ช�ำนาญในพิชัยสงครามนัก” วิถีแห่งอ�ำนาจ สุมาอี้ 25


และ “โจโฉ” เอง แม้จะหวาดระแวง “สุมาอี้” แต่ก็ต้องการตัว “สุมาอี้” อย่างยิ่งยวด หากอ่านจากหนังสือ “ศาสตร์แห่งความหน้าด้านใจด�ำ” อัน “ส. สุวรรณ” แปลเรียบเรียงมาจากต้นฉบับของ “หลี่จงอู๋” นักคิด นักเขียน เจ้าของหนังสือ “โฮวเฮยเสีย” ตั้งแต่เมื่อเกือบร้อยปีก่อน ก็จะประจักษ์ ในความเป็นจริงอันซ่อนเร้น แม้จะเป็นการมองอย่างหยามหยัน เสียดเย้ยก็ตาม ในความเห็นของ “หลี่จงอู๋” สุมาอี้เป็นนักเสแสร้งชั้นยอด หาตัวจับได้ยาก เมื่อครั้งที่โจโฉด�ำรงต�ำแหน่งผู้ช่วยอัครเสนาบดีในรัชสมัยพระเจ้า เหี้ยนเต้  ได้ยินกิตติศัพท์ความมีสติปัญญา มีความสามารถของสุมาอี้  ได้ ชักชวนสุมาอี้ให้มารับราชการด้วย แต่สุมาอี้เห็นว่าโจโฉเป็นใหญ่เติบโตขึ้นมาเพราะโชคช่วยมากกว่า จะมีความสามารถ มีสติปัญญา พอที่จะเป็นเจ้านายที่ดีของเขาได้หรือ เปล่าก็ไม่รู้  จึงต้องการรอดูไปก่อน แต่ก็ไม่กล้าปฏิเสธไปตรงๆ จึงอ้างเหตุป่วยเป็นโรคไขข้ออักเสบร้ายแรงจนเดินเหินไม่ได้ โจโฉสงสัยว่าสุมาอี้จะแกล้งป่วยเสียมากกว่า จึงส่งสายลับไปสืบ หาความจริงยามค�่ำคืน  สุมาอี้รู้ข่าวก่อนจึงแสร้งนอนซมอยู่บนเตียงทั้งวัน ทั้งคืน สายสืบย่องไปแอบซ่อนตัวอยู่นอกห้องนอนสุมาอี้ สอดส่ายสายตาลอดช่องหน้าต่างเข้าไป เห็นพวกคนรับใช้เดินไป เดินมากันขวักไขว่ไปหมด  มีแต่สุมาอี้นอนแน่นิ่งอยู่คนเดียวบนเตียง เห็น ท่าจะป่วยหนักจริงอย่างว่า สายลับจึงกลับไปรายงานตามที่พบเห็นมา โจโฉก็หลงเชื่อ ทั้งหมดนี้ย่อมใกล้เคียงกับที่ปรากฏในหนังสือชุดสามก๊กฉบับคน 26 เสถียร จันทิมาธร


เดินดิน ตอนว่าด้วยล้วงคอสุมาอี้  ส�ำนวนการเรียบเรียงของเล่าชวนหัว โปรดอ่าน ตอนที่ กุ ย แกโด่ ง ดั ง เป็ น พลุ ใ นฐานะมั น สมองของโจโฉที่ ประสบความส�ำเร็จอย่างสูงอยู่นั้น สุมาอี้กลับท�ำตัวเป็นงูแมวเซาที่ไม่อินัง ขังขอบหรือสนใจไยดีกับต�ำแหน่งใดๆ ในทางราชการ เขาเก็บตัวเฉย จับตาดูความเคลื่อนไหวตลอดจนเล่ห์เหลี่ยมของผู้คนในยุคเดียว กันอย่างเงียบเชียบ  เขาไม่เคยคุยโวหรือท�ำตัวโฉ่งฉ่างให้เป็นที่เขม่นของ ใครแต่ประการใด แม้ว่าคนขี้โวบางคนในยุคเดียวกันต่างตั้งฉายาให้ตัวเองว่า เป็น หงส์บ้าง มังกรบ้าง สุมาอี้ก็ท�ำไขสือไม่รู้ไม่ชี้  พอใจที่จะปลีกตัวจากวงสังคมที่แก่งแย่ง ชิงดีกันให้ไกลที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวเขาเองมีโรคประจ�ำตัวอยู่อย่างหนึ่งคือเป็นโรคแพ้ อากาศ มักจะเป็นหวัดอยู่บ่อยๆ  เมื่อเป็นหวัดแต่ละครั้งก็มักจะเป็นนานๆ แบบเรื้อรัง จนหมอหัวโถต้องแนะน�ำให้สุมาอี้พักผ่อนให้มากๆ อย่าไปสังสรรค์เสวนากับใครบ่อยนักเพราะจะท�ำให้คนอื่นติดโรค หวัดได้ ดังนั้น สุมาอี้ที่เชื่อค�ำสั่งแพทย์เป็นอย่างดีจึงปฏิเสธขอตัวกับโจโฉ ไม่ไปร่วมดื่มกาแฟในตอนเช้าๆ ตามที่โจโฉจัดให้ข้าราชการระดับบิ๊กทั้ง ทหารและพลเรือนได้มีโอกาสสังสรรค์กันอย่างใกล้ชิดสัปดาห์ละครั้ง โจโฉเป็นคนช่างสังเกตตามประสาคนเหลี่ยมจัด  เขาสงสัยอยู่ เหมือนกันต่อท่าทีชาเฉยของหนุ่มรุ่นลูกคนนี้   เพราะการที่คนอื่นๆ ต่าง พยายามเสนอตัวเพื่อหวังความก้าวหน้าในทางราชการ แต่เหตุใดสุมาอี้ที่มีโอกาสดีกว่าคนอื่นอีกมากกลับท�ำเหมือนคน เฉยชาเช่นนั้น วิถีแห่งอ�ำนาจ สุมาอี้ 27


จากนี้จึงเห็นได้ว่า ท่าทีของ “สุมาอี้” เป็นท่าทีอันมากด้วย ความระมัดระวัง ด�ำเนินไปตามที่ยุทธศิลป์ซุนจื่อตราเอาไว้ในบทว่าด้วย ประเมินศึกอย่างยืดหยุ่น พลิกแพลง อันสงครามนั้นคือการใช่เล่ห์เพทุบาย ฉะนั้น รบได้ให้แสดงรบไม่ได้  จะรุกให้แสดงไม่รุก ใกล้ให้  แสดงไกล ไกลให้แสดงใกล้  ข้าศึกแน่นให้เตรียมรับ ข้าศึกแข็งให้  หลีกเลี่ยง ให้จู่โจมเมื่อไม่ระวัง ให้รุกรบเมื่อไม่คาดคิด

28 เสถียร จันทิมาธร


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.