Shutdown กรุงศรี

Page 1


SHUTDOWN กรุงศรี



SHUTDOWN กรุงศรี ปรามินทร์ เครือทอง

ราคา ๑๕๐ บาท


SHUTDOWN กรุงศรี • ปรามินทร์ เครือทอง พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม ๒๕๕๘ ราคา ๑๕๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ปรามินทร์ เครือทอง. SHUTDOWN กรุงศรี. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๑๕๒ หน้า.- -(ประวัติศาสตร์). ๑. ไทย--ประวัติศาสตร์--กรุงศรีอยุธยา.  I. ชื่อเรื่อง. 959.303 ISBN 978 - 974 - 02 - 1390 - 1

• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน • รูปเล่ม : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนปาน • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี

หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล  ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน

บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒  ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน)  ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


สารบัญ

SHUTDOWN กรุงศรี

ค�ำน�ำ

(๖)

๑ เมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี ๒ เมืองในนิทานแห่งบ้านพลูหลวง ๓ สงครามใหญ่ในรอบ ๑๐๐ ปี ๔ ศึกอลองพญา สงครามมือใหม่ ๕ ศึกล้างตาในสงครามกรุงแตก ๖ SHUNTDOWN กรุงศรี ๗ พม่า SHUNTDOWN กรุงศรีอยุธยานานเท่าไร? ๘ SHUNTDOWN กรุงศรี ชาวบ้านเป็นอยู่อย่างไร? ๙ เมืองพม่าในศึกกรุงแตก ๑๐ ไทยไม่สู้ หรือสู้ไม่ได้ ๑๑ ยิงปืนใหญ่แล้วถูกคาดโทษ จริงหรือ? ๑๒ ทหารกรุงศรี ชนะไม่เป็น รบ แพ้ หนี ๑๓ เจรจาสงบศึก ๑๔ กรุงแตก ๑๕ วาระสุดท้ายของพระเจ้าเอกทัศ ๑๖ ลางร้ายก่อนเสียกรุง ๑๗ สรุปความเสียหาย ๑๘ การฟื้นตัวหลังสงครามเสียกรุง

๒ ๑๑ ๒๔ ๒๘ ๔๑ ๕๐ ๕๘ ๖๒ ๗๓ ๗๗ ๘๒ ๙๑ ๑๐๐ ๑๐๕ ๑๑๔ ๑๒๒ ๑๒๗ ๑๓๕

๑๔๑

บรรณานุกรม


ค�ำน�ำ

SHUTDOWN กรุงศรี

สงครามเสี ย กรุ ง ครั้ ง ที่   ๒ ผ่ า นมานานเกื อ บ ๒๕๐ ปี แ ล้ ว  และยังเป็นเรื่องที่มีการศึกษาค้นคว้ากันอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นเพราะ  ประวัติศาสตร์ไทยเสนอแง่มุมที่คับแคบเกินไป จนเหลือต้นเหตุแห่ง  การเสียกรุงเพียงไม่กี่ประเด็น โดยเฉพาะพงศาวดารไทยพยายามจะ  ชี้ประเด็นเรื่องความอ่อนแอ ไร้ความสามารถของพระเจ้าเอกทัศรวม  ไปถึงราชวงศ์บ้านพลูหลวง สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ “ไทยรบ  พม่า” ชีป้ ระเด็นในเรือ่ งความอ่อนแอของไทยจากการขาดความสามัคคี  แม้พม่าจะยกมาอย่าง “กองโจร” ก็ยังเอาชนะไทยได้ ซึ่งประเด็นนี้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้แสดงความเห็นต่างว่า พม่า  มาคราวนีม้ คี วามตัง้ ใจและวางแผนเป็นอย่างดีทจี่ ะท�ำลายกรุงศรีอยุธยา  ให้หมดสภาพ พระยาโบราณบุรารักษ์ เสนอเรื่อง “ต้นเหตุที่กรุงเทพทวาราวดี  จะหมดก�ำลัง” เขียนไว้เมื่อปี ๒๔๕๐ โดยพระยาโบราณฯ ได้ยก  ประเด็นทางการเมืองในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีการฆ่าขุนนาง  จนแทบไม่เหลือ ขาดก�ำลังส�ำคัญในการป้องกันพระนคร เป็นเหตุให้  เสียกรุง กับงานชิ้นส�ำคัญของ สุเนตร ชุตินธรานนท์ ที่ได้ชี้ให้เห็นว่า  แท้จริงแล้วกรุงศรีอยุธยาไม่ได้อ่อนแออย่างที่พงศาวดารไทยพยายาม  จะบอก เพราะสามารถยันศึกได้นานนับปี แต่พม่ามียุทธศาสตร์ที่ดีกว่า  จึงสามารถเอาชนะได้ (6) SHUTDOWN กรุงศรี


แต่ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในสงครามคราวเสียกรุงครั้ง  ที่ ๒ คือเรื่องของ “ประสบการณ์” ในการท�ำสงครามระหว่างกัน ซึ่ง  ขาดหายไปนานนับ ๑๐๐ ปี สิง่ นีแ้ สดงให้เห็นชัดทัง้ ในพงศาวดารพม่า  และพงศาวดารไทย โดยเฉพาะกรุงศรีอยุธยาซึ่งเวลานั้นคือช่วงที่สงบ  ที่สุด ถึงกับถูกเปรียบเปรยเป็นในยุค “เมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี” ท�ำให้  ขาดการตระหนักเรื่องการศึกการสงคราม ในขณะที่พม่าเองแม้ว่าใน  ช่วงเวลาเดียวกันนี้จะได้ท�ำศึกท�ำสงครามอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ  ในช่วงเริม่ ต้นราชวงศ์อลองพญา แต่พระเจ้าอลองพญาเองก็ “ไม่รจู้ กั ”  กรุงศรีอยุธยาดีพอที่จะเผด็จศึกได้ จนต้องถึงมือของพระเจ้ามังระ ซึ่ง  มีประสบการณ์มาแล้วในศึกอลองพญา จึงสามารถจัดการกับกรุงศรี  อยุธยาได้ อย่างไรก็ดี การพูดถึงสงครามไม่ว่าครั้งใดๆ รวมทั้งสงคราม  คราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ นี้ มักจะเน้นไปเฉพาะ “ภาพใหญ่” คือสถาน  การณ์บ้านเมือง ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี แม่ทัพ ขุนศึก แต่จริงๆ แล้วใน  สงครามเหล่านั้น มีภาพของ “ราษฎร” ปะปนอยู่ด้วย ซึ่งได้รับผล  กระทบ ความเดือดร้อน และเสียชีวิตในสงครามเช่นเดียวกับแม่ทัพ  นายกองทั้งหลาย การพยายาม “จับภาพ” สงครามกรุงแตกในหนังสือ SHUTDOWN กรุงศรี แม้จะมีภาพความโหดร้ายทารุณอยู่บ้างแต่ก็เพื่อให้  เห็น “คนเล็กๆ” ที่อยู่ในสงคราม ว่าได้รับผลกระทบอย่างไรบ้างใน  สงครามที่ยืดเยื้อยาวนานถึง ๓ ปี ในสงคราม “ไร้ประสบการณ์” ของกรุงศรีอยุธยา จนเสียกรุง  ครั้งที่ ๒ นี้ ท�ำให้คนทุกระดับในสยามประเทศตั้งแต่พระมหากษัตริย์  เจ้านาย ขุนนาง ขุนศึก และราษฎร ต้องเสียชีวิตไปไม่น้อยกว่า ๑๐%  ของจ�ำนวนประชากรทั้งหมด หากเปรียบเทียบความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินกับความ  สูญเสียที่สยามประเทศเคยได้ประสบมาตลอดกาลแล้ว สงครามเสีย  กรุงครั้งที่ ๒ อาจจะเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์  ชาติสยามก็เป็นได้ ปรามินทร์ เครือทอง (7)


สงครามครัง้ นีจ้ งึ  “มีคา่ ” เกินกว่าจะถูกเก็บไว้เป็นประวัตศิ าสตร์  เพียงอย่างเดียว แต่ควรจะน�ำมาศึกษาและเรียนรู้ “ประสบการณ์”  ครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อกล่าวโทษใคร แต่เพื่อใช้อดีตให้ “คุ้มค่า” อย่างที่ควร  จะเป็น

(8) SHUTDOWN กรุงศรี

ปรามินทร์ เครือทอง

๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘


SHUTDOWN กรุงศรี


๑ เมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี


หลายครั้งที่เราพูดถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรสยาม ผ่าน อาณาเขตอั น ยิ่ ง ใหญ่  ผ่ า นชั ย ชนะจากสงคราม ผ่ า นกษั ต ริ ย ์ นั ก รบ โดยลืม กลับ มามองว่ า สงครามเหล่ า นั้น มี “ตัว แสดง” ตัว เล็ก ๆ นับ หมื่นนับแสน ที่ร่วมเป็นร่วมตายอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น “ฝ่ ายเรา” หรือ “ฝ่ ายเขา” ตัวแสดงตัวเล็กๆ ที่พงศาวดารไม่ค่อยได้กล่าวถึงเหล่านี้ ทั้งที่ เป็นไพร่พลและราษฎร ต่างก็มีบ้าน มีครอบครัว มีชีวิตจิตใจ เพียงแต่ “ไม่มชี อื่ ” ในพงศาวดาร และถูกเรียกรวมๆ เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ ว่า พลหมื่นหนึ่ง พลสองหมื่น เพื่อใช้ “ประกอบ” การเล่าเรื่องเท่านั้น ชีวิตตัวประกอบในบ้านเมืองที่เดินเรื่องไปด้วยสงครามคงจะ หาความสุขได้ยาก ยังดีที่ช่วงหลังรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรลงมา สงครามเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก ไม่ว่าจะทางด้านพม่าหรือเขมร  และ สงครามสมัยหลังสมเด็จพระนเรศวรก็มักจะเป็นสงคราม “ไกลบ้าน” คือด้านหัวเมืองมอญ เชียงใหม่ เขมร ชาวกรุงศรีอยุธยาจึงได้มีช่วง เวลาแห่งความสุขอยู่ได้หลายปี ชาวกรุงศรีอยุธยาในพระนครหลวง ได้รู้ฤทธิ์เดชแห่งความ ยากล�ำบากของสงครามที่บุกมาถึงชานพระนคร ในรัชสมัยสมเด็จพระ มหาจักรพรรดิ คราวนั้นพระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชเวตี้ยกทัพมาล้อม กรุงศรีอยุธยา เกิดศึก “เสียพระสุริโยทัย” (พ.ศ. ๒๐๙๑) คราวนั้น กองทัพพม่า “ล้อมกรุง” ไม่นานนัก แต่ก็ถือเป็นครั้งแรกที่ชาวกรุงศรี อยุธยาได้เห็นสงครามด้วยตาตัวเอง หลังศึกคราวนี้สมเด็จพระมหา จักรพรรดิจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างก�ำแพงเมืองขึ้นเพื่อป้องกันข้าศึก ถั ด มาอี ก จึ ง เป็ น ยุ ค ของพระเจ้ า หงสาวดี บุ เ รงนองยกทั พ มา “ล้อมกรุง” กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๑๐๖) คราวนี้เรียกว่า “สงครามช้างเผือก” แต่เป็นการปิดล้อมระยะเวลาสั้นๆ ในรัชสมัยของบุเรงนอง เกิดศึกประชิดเมืองอีกครั้ง เป็นศึก “เสียกรุงครั้งที่ ๑” (พ.ศ. ๒๑๑๒) คราวนี้น่าจะไม่ใช่การ “ล้อมเมือง” เหมือนครัง้ ก่อนๆ เพราะบุเรงนองสัง่ กองทัพ “SHUTDOWN” กรุงศรี อยุธยา คือปิดล้อมอยู่นานถึง ๙ เดือน จึงชนะศึก ปรามินทร์ เครือทอง 3


หลังรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อยุธยาอยู่ในความสงบ  เพราะ สงครามไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ภาพนี้คือพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวร มหาราช หน้าเจดีย์ภูเขาทอง พระนครศรีอยุธยา

“สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกระท�ำยุทธหัตถีกบั พระมหาอุปราช” จิตรกรรม ฝาผนัง จัดแสดงภายใต้อาคารภาพปริทัศน์ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ซึ่งหลังจาก ศึกคราวนั้น อยุธยาก็ห่างเหินกับศึกไประยะหนึ่ง 4 SHUTDOWN กรุงศรี


ศึ ก คราวนี้ ช าวกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาจึ ง ไม่ เ พี ย งแต่ จ ะได้ รั บ ผล กระทบจากสงครามแบบ “ถึงประตูบา้ น” แต่ยงั ได้รรู้ สชาติของ การถูกปิดล้อมเมืองนานเป็นประวัติการณ์ ต่อมาเป็นรัชสมัยของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง พระราชโอรส ของบุเรงนอง ยกทัพมา SHUTDOWN กรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง (พ.ศ.  ๒๑๓๐) คราวนีก้ นิ เวลา ๕ เดือน แต่ไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาแตกได้ หลังจากนี้ก็ยังมีสงคราม “ไทยรบพม่า” อีกหลายครั้ง แต่มัก จะเกิดขึ้นที่หัวเมืองต่างๆ ไกลจากพระนคร จึงไม่มีเหตุการณ์ SHUTDOWN กรุงศรีอยุธยาอีกเป็นเวลานาน จนกระทั่งถึง “ศึกอลองพญา” (พ.ศ. ๒๓๐๒) ที่ปิดล้อมกรุง ศรีอยุธยาได้เพียงระยะสั้นๆ คือประมาณ ๑ เดือน ก็ยกทัพกลับไป ดังนัน้  หากนับเอาเหตุการณ์ SHUTDOWN ครัง้ ศึกนันทบุเรง (พ.ศ. ๒๑๓๐) จนถึ ง ศึ ก อลองพญา (พ.ศ. ๒๓๐๒) ก็ จ ะเห็ น ได้ ว ่ า ชาวพระนครกรุงศรีอยุธยาได้อยู่เย็นเป็นสุขห่างหายจากศึกสงคราม หน้าประตูบ้านนานถึง ๑๗๒ ปี ๑๗๒ ปี ไม่ใช่เวลาน้อยๆ ในช่วงเวลา ๑๗๒ ปี ที่ห่างจากการ SHUTDOWN นี้ กรุงศรีอยุธยาเปลี่ยนพระมหากษัตริย์ไปแล้ว ๑๖ พระองค์  คื อ ตั้ ง แต่ ส มเด็ จ พระนเรศวรจนถึ ง สมเด็ จ พระที่ นั่ ง สุ ริ ย า มรินทร์หรือพระเจ้าเอกทัศ เวลาแห่งการครองราชย์อาจจะนับเป็นชั่วอายุคนไม่ได้ เพราะ การเปลี่ ย นแผ่ น ดิ น ในยุ ค กลางถึ ง ปลายกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาเวลาสั้ น บ้ า ง ยาวบ้าง แต่ ๑๗๒ ปี ก็คงกินเวลาหลายชั่วอายุคนอยู่ แม้ว่าตั้งแต่หลังรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรจนถึงพระเจ้าเอกทัศ กรุงศรีอยุธยาจะมีสงครามอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่ศึกใหญ่นักเฉพาะ “ไทย รบพม่า” นั้น ห่างหายไปตั้งแต่หลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์ก่อนจะ ถึงศึกอลองพญา สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงค�ำนวณไว้ ถึง ๙๕ ปี๑ นี่คงเป็นเหตุให้กรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเพท ราชาแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้า ปรามินทร์ เครือทอง 5


รูปนัตพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ กษัตริย์พม่า ที่ยกทัพมาล้อมกรุงศรี จนเกิด “ศึ ก เสี ย พระสุ ริ โ ยทั ย ” (ภาพจาก The Thirty-Seven Nats by Sir Richard  Carnac Temple. 1991)

6 SHUTDOWN กรุงศรี


ภาพพระบรมรูปพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ที่ยกทัพมาล้อมกรุงศรี จน ท�ำให้เสียกรุงครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ ปรามินทร์ เครือทอง 7


อยู่หัวบรมโกศ ถูกเรียกว่า “เมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี” ช่วงเวลาเกือบ ๑๐๐ ปี ย่อมไม่ใช่เวลาน้อยๆ คนที่เกิดมาใน ยุคราชวงศ์บ้านพลูหลวงหรือตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ.  ๒๒๓๑-๒๒๔๖) ไม่มีทางรู้เลยว่าบ้านเมืองในยุคสงคราม SHUTDOWN เดือดร้อนสาหัสเพียงใด ไม่แน่นักว่าคนรุ่นใหม่สมัยนั้นอาจจะลืมไปแล้วว่า พม่าคือคู่ สงครามกับกรุงศรีอยุธยา เพราะในรอบร้อยปีก่อนกรุงแตกนั้น สยาม (กรุงศรีอยุธยา) กับพม่า (กรุงอังวะ) ได้เป็น “ทองแผ่นเดียว” กันแล้ว ซึ่ ง ปรากฏหลั ก ฐานเมื่ อ คราวสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว บรมโกศทรงส่ ง “พระอุบาลี” สมณทูตไปสืบพระศาสนาที่เมืองลังกา  ครั้งนั้นสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศคงจะทรง “บอกบุญ” ไปยังกรุงอังวะก่อน พระเจ้า กรุงอังวะมหาธรรมราชาธิบดีจึงได้ส่งพระราชสาส์นเพื่อตอบรับไมตรี กลับมาดังนี้ “พระเจ้ารัตนะบุระอังวะให้มาถึงพระเจ้ากรุงศรีอยุธยานั้นว่า เรานี้ขอบใจด้วย พระเจ้ากรุงศรีอยุธยามีเมตตาแก่เรายิ่งนัก จึ่งให้ราชสาส์นมาถึงเราด้วยมีความเมตตาต่อกันจึ่งมาก่อนเราก็คิดอยู่ ว่าจัดให้ราชสาส์นลงไปถึงท่าน ผูท้ ำ� นุบำ� รุงพระศาสนาอันรุง่ เรืองแจ่มใส อันเป็นปิ่นอยู่ในภพโลก ก็พอท่านมีเมตตามาก่อน เราจึง่ ยินดีหนักหนา ที่ท่านให้มาจะเป็นทองแผ่นเดียวกันนี้  ทีนี้เราทั้งสองจะได้เป็นพระ ราชไมตรีต่อกัน จักได้เป็นตะพานเงินตะพานทองไปมาค้าขายถึงกัน อั น สั ม มาทิ ษ ฐิ ส องกรุ ง นี้ จั ก ได้ เ ป็ น เพดานทอง กั้ น กางอยู ่ ใ นพิ ภ พ ทั้งสองกรุงจะได้เป็นที่พึ่งแห่งสมณะชีพราหมะณาจาริยะทั้งปวงจักได้ ท�ำนุบ�ำรุงพระศาสนา ทั้งสองกรุง จักได้รุ่งเรืองแจ่มใส ทั้งอาณาราษฎร ก็จักอยู่เย็นเป็นสุข” ๒ แทบไม่น่าเชื่อว่าทั้งสองราชอาณาจักรจะมีเวลาดีๆ เช่นนี้แทรก อยู่ และไม่ใช่ครั้งนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพราะ “กรุงรัตนะบุระอังวะ กับกรุงศรีอยุธยาไปมาถึงกันเป็นหลายครั้ง” เมื่อศัตรูกลายเป็นมหามิตร บ้านเมืองก็สงบสุข ไพร่ฟ้าก็หน้าใส ด้วยเหตุนี้ ค�ำบรรยายภูมิสัณฐานของกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจึงเป็น 8 SHUTDOWN กรุงศรี


ภาพของ “เมืองในนิทาน” ที่มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง “จะกล่าวถึงภูมิล�ำเนากรุงเทพมหานครบวรทวารวะดีศรีอยุธยา ราชธานี พระนครตั้งอยู่บนเกาะหนองโสนในประเทศสยามมีแม่นำ�้ ล้อม รอบเกาะเกาะนัน้ มีสณ ั ฐานคล้ายส�ำเภานาวาพระนครนัน้ มีนามปรากฏว่า กรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานี บุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศน์มหาสฐ้าน มีสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามเสด็จด�ำรงศิริราชสมบัติในพระ มหานครเปนพระบรมราชาธิราชใหญ่ในสยามประเทศมีพระราชอาณา เขตรกว้างขวางทิศเหนือถึงแดนลาวทิศใต้ถึงแดนแขกมาลายูทิศตะวัน ออกถึงแดนเมืองเขมรทิศตะวันตกถึงแดนมอญ มีเจ้าประเทศราชลาวพุงขาวลาวพุงด�ำเขมรแขวงมาลายูมาถวาย ดอกไม้ ท องเงิน เสมอมิไ ด้ ข าดมีพ ระราชอภินิห ารเดชานุ ภ าพล�้ำ เลิศ ประเสริฐยิ่งนักหนา ทรงรักษาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินโดยทางทศพิธราช ธรรม ทรงบ�ำรุงพระบวรพุทธศาสนาและสมณพราหมณจาริยแลไพร่ฟ้า ประชากรให้อยู่เย็นเปนสุขสโมสรหาสิ่งเสมอมิได้ พวกพานิชนานาประเทศทราบเหตุวา่ กรุงศรีอยุธยาผาศุกสมบูรณ์ ด้วยสินค้าอุดมดีพวกพานิชก็แตกตื่นกันเข้ามาถวายบรรณาการขอ พระราชทานพึ่งพระบรมโภธิสมภารค้าขายในพระมหานครเปนอันมาก จะนับคณะนาหามิได้ กรุงศรีก็ไพศาลสมบูรณเป็นรัตนราชธานีศรีสวัสดิพิพัฒมงคล แก่ชนชาวสยามความเจิรญทั่วพระนคร” ๓ ความคึกคักเคลื่อนไหวของ “ชาวบ้าน” ปรากฏอยู่ในฉากการ ท�ำมาค้าขาย ขึ้นเหนือล่องใต้มิได้หยุด ซึ่งมีตลาดสรรพสินค้าส�ำหรับ ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเป็นย่านการค้า รวมทั้งในและนอกก�ำแพงแล้ว เกินร้อยตลาด “เมืองในนิทาน” ในยุคปลายกรุงศรีอยุธยาด�ำเนินอยู่เช่น นี้เกือบ ๑๐๐ ปี หรือประมาณ ๑ ใน ๔ ของอายุราชอาณาจักร แห่งนี้ ปรามินทร์ เครือทอง 9


เชิงอรรถ ๑ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ. ไทยรบพม่า. กรุงเทพฯ : มติชน,  ๒๕๔๕, น. ๒๖๑. ๒ ค�ำให้การขุนหลวงวัดประดูท ่ รงธรรม เอกสารจากหอหลวง. กรุงเทพฯ :  คณะกรรมการช�ำระประวัติศาสตร์ไทยฯ, ๒๕๓๔, น. ๕๐. ๓ เรื่องเดียวกัน, น. ๑.

10 SHUTDOWN กรุงศรี


เมืองในนิทาน แห่งบ้านพลูหลวง


น่าแปลกว่าเหตุใด “เมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี” แต่ราชวงศ์บ้าน พลู ห ลวงในฐานะผู ้ ป กครอง กลั บ มี ภ าพลั ก ษณ์ ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยความ อ่อนแอ การแย่งชิงอ�ำนาจ จนกระทั่งเป็นผู้ท�ำให้กรุงศรีอยุธยาอัน ยิ่งใหญ่ต้องพังพินาศลง ภาพลั ก ษณ์ แ ห่ ง ความอ่ อ นแอของราชวงศ์ บ ้ า นพลู ห ลวง ที่ ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารทั้งหลาย ล้วนแต่ถูก “ช�ำระ” ขึ้นใน สมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้น�ำเอาเหตุการณ์ “กรุงแตก” มาเป็น “ข้อหา” ที่ราชวงศ์บ้านพลูหลวงต้องตกเป็นจ�ำเลย “ในทั ศ นะของพระราชพงศาวดารที่ ช�ำ ระในครั้ ง ธนบุ รี - รั ต น โกสินทร์ ราชวงศ์บ้านพลูหลวงไม่มีความเหมาะสมในฐานะที่เป็นผู้ ปกครอง ไม่เหมาะสมในฐานะที่เป็นนักรบ ไม่เหมาะสมที่จะเป็นศูนย์ กลางแห่ง ‘บรมเดชานุภาพ’ และไม่เหมาะสมในฐานะทีเ่ ป็นองค์อปุ ถัมภ์ ของพุ ท ธศาสนา  การเสนอราชวงศ์ บ ้ า นพลู ห ลวงในลั ก ษณะเช่ น นี้ นอกจากจะช่วยยืนยันในสิทธิธรรมของราชวงศ์ใหม่ทั้งสองแล้ว ยัง สามารถให้ ‘บทเรียน’ แก่ผู้อ่านถึงคุณค่าแห่งความสามัคคี ความเป็น ระเบียบเรียบร้อยภายใต้รัฐบาลที่เข้มแข็งแก่ผู้อ่านที่ต้องการบทเรียน จากอดีตอีกด้วย  ”  ๑

ราชวงศ์บ้านพลูหลวงมีพระมหากษัตริย์ ๖ พระองค์ ๑. สมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๖ ครองราชย์ ๑๕ ปี) ๒. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) (พ.ศ. ๒๒๔๖-๒๒๕๑ ครองราชย์ ๖ ปี) ๓. สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (พ.ศ. ๒๒๕๑-๒๒๗๕ ครองราชย์ ๒๔ ปี) ๔. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕-๒๓๐๑ ครองราชย์ ๒๖ ปี) ๕. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พ.ศ. ๒๓๐๑-๒๓๐๑ ครองราชย์ ๓ เดือน)

12 SHUTDOWN กรุงศรี


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.