Book for print ท่าแพ

Page 1

ท่าแพ

สายน�้ำ วิถีชีวิต การค้า

รายวิชาการจัดการงานทัศนศิลป์ สาขาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



ค�ำน�ำ

ตัง้ แต่อดีตถึงปัจจุบัน

ย่านท่าแพถือว่ามีความส�ำคัญ ต่อจังหวัดเชียงใหม่เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมของสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในแง่มุม ต่างๆ ในแต่ละยุคสมัย สามารถเป็นทัวแทนในการบอกเล่าเรื่อง ราวเกี่ยวกับความเป็นมาของพื้นที่บริเวณนี้ได้เป็นอย่างดี ในอดีตชุมชนย่านวัดเกตการามมีความเจริญรุ่งเรือง ทางการค้า เนื่องจากอยู่ใกล้แม่น�้ำปิงซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่ สามารถติดต่อค้าขายกับบ้านเมืองทางภาคใต้ จึงมีพ่อค้าชาว ต่างชาติเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ชาวจีน ชาวพม่า ชาวอินเดีย เป็นต้น เมื่อมีฐานะมั่นคงก็ตั้ง ถิ่นฐานอาศัยอยู่บริเวณนั้น แต่หลังจากที่มีการสร้างทางรถไฟมา ถึงเชียงใหม่ การคมนาคมทางน�้ำก็ไม่ได้รับความนิยมเหมือนแต่ ก่อน เนื่องจากการคมนาคมโดยรถไฟมีความสะดวกสบาย มากกว่า สามารถขนส่งสินค้าได้มากกว่า พ่อค้าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ ในย่ า นวั ด เกตการามจึ ง ย้ า ยมาตั้ ง ถิ่ น ฐานใหม่ ยั ง บริ เวณถนน ท่าแพและตลาดวโรรส ความเจริญจึงย้ายมาอยู่ในย่านท่าแพและ ตลาดวโรรสตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในช่วงเวลาเดียวกันนี้อิทธิพล ของวัฒนธรรมตะวันตกก็ได้เผยแพร่เข้ามาในเชียงใหม่ ซึ่งส่งผล ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเมืองเชียงใหม่เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะ เป็นด้านวัฒนธรรม เช่น การแต่งกาย ค่านิยม ศาสนา รวมไปถึง รูปแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งมีการน�ำมาผสมผสานให้เข้ากับ สถาปัตยกรรมดั้งเดิมอย่างกลมกลืน



เหตุ ก ารณ์ ดั ง กล่ า วช่ ว ยสร้ า งเอกลั ก ษณ์ ใ ห้ กั บ ย่ า น ท่าแพ ดังเช่นปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ มีสถาปัตยกรรมที่มีเกิด จากการผสมกลมกลืนระหว่งศิลปะล้านนา ตะวันตก จีน รวมถึง ศิลปะร่วมสมัย มีศาสนสถานที่หลากหลาย ทั้งวัดไทย วัดพม่า วัดซิกข์ และศาลเจ้าจีน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลาย ของเชื้อชาติและวัฒนธรรมของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้เป็น อย่างดี ถึงแม้ในปัจจุบันความเจริญจะเกิดขึ้นในบริเวณต่างๆ มากมายในเมืองเชียงใหม่ เช่น ถนนนิมมานเหมินทร์ ย่านท่าแพ ก็ ยั ง คงได้ รั บ ความนิ ย มจากบรรดานั ก ท่ อ งเที่ ย วอยู ่ ไ ม่ น ้ อ ย เนื่องจากเป็นเส้นทางที่จะมุ่งไปสู่ลานประตูท่าแพ ซึ่งเป็นสถานที่ จัดงานหรือเทศกาลส�ำคัญต่างๆ สองฟากฝั่งถนนท่าแพยังมีเรือน ร้านค้ารวมทั้งสิ่งอ�ำนวยความสะดวกมากมายที่สามารถดึงดูดนัก ท่องเที่ยวให้เข้ามาได้ การศึกษาข้อมูลของอาคารเก่าย่านท่าแพรวมถึงประวัติ ความเป็นมาของพื้นที่ในบริเวณนี้ จึงเป็นการศึกษาเพื่อสร้าง ความรู้ความเข้าใจ และเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวให้กับนักท่อง เที่ยวรวมทั้งชาวเชียงใหม่เองเพื่อเสริมสร้างความรู้ เกิดความรัก และหวงแหนในมรดกทางวัฒนธรรมย่านท่าแพ รวมถึงส่งเสริม ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับพื้นที่ ดังกล่าว เกิดจิตส�ำนึกในการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของย่านท่าแพให้ คงอยู่สืบไปควบคู่กับกระแสความเจริญจากภายนอกที่เผยแพร่ เข้ามา



ทา่ แพ ใน

อดีต



การคาขาย ้ กลุมชาติ พันธุ์ ่ สถาปั ตยกรรม คลองแมข ่ า่

ย่

านท่าแพ หมายถึงพื้นที่จากบริเวณประตูท่าแพ เลียบถนนท่าแพถึงริมน�้ำปิง มี หลักฐานกล่าวถึงย่านท่าแพมาตั้งต่สมัยพระเมืองแก้ว (พ.ศ. 2039-2068) ในปี พ.ศ. 2042 พระองค์โปรดให้สร้างวัดบุพพารามในบริเวณย่านท่าแพ ในปี พ.ศ. 2042 โปรดฉลองพระ ไตรปิฎกลพระมณเฑียรธรรม และในปี พ.ศ. 2065 โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธแก่นจันทร์ แดงไว้ที่วัดแห่งนี้ เข้าใจว่าสมัยนั้น แถบนี่น่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่และมีบ้านเรือนอยู่ไม่ น้อยเพราะเกิดไฟไหม้ย่านท่าแพในสมัยพระเมืองเกศเกล้า (พ.ศ. 2068-2081) พระองค์ได้ โปรดพระราชทานเงินให้กับประชาชนในชุมชนที่เกิดไฟไหม้ เมื่อการค้าทางเรือและทางรถไฟเติบโตมากขึ้น ส่งผลให้ท่าแพมีความคึกคักอย่าง มาก เพราะมีพ่อค้าหลากหลายเชื่อชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องและยิ่งทวีมากขึ้นเมื่อมี ทางรถไฟสายเหนือขึ้นมาถึงเชียงใหม่ในปีพ.ศ. 2464 กลุ่มพ่อค้าที่ส�ำคัญคือกลุ่มพ่อค้าจีนซึ่งเป็นกลุ่มพ่อค้าเดียวที่มีการติดต่อการค้ากับ ทางกรุงเทพฯ เพราะมีความช�ำนาญและคุ้นเคยกับการค้าทางเรือ รวมทั้งมีความส�ำคัญกับ พ่อค้าทางกรุงเทพฯอีกด้วย พ่อค้าจีนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งย้ายมาจากย่านวัดเกตุ เช่น เถ้าแก่อุย ท�ำการค้าโดยส่งสินค้าทางการเกษตรไปขายที่กรุงเทพฯ เปิดร้านค้าอยู่ย่านวัดเกตุ แต่ พอการค้าที่ย่านวัดเกตุเริ่มซบเซาก็ย้ายมาเปิดร้าน เหลียวหย่งง่วนขายฝ้ายและผ้าอยู่ที่ถนน ท่าแพ เป็นต้น นอกจากพ่อค้าชาวจีนจากกรุงเทพฯแล้ว ยังมีพ่อค้ากลุ่มอื่น เช่น ชาวจีนฮ่อ จากยูนนาน ชาวไทใหญ่ และชาวพม่า พ่อค้ากลุ่มนี้ท�ำการค้าระหว่างเชียงใหม่กับเขตตอน บน การตั้งถิ่นฐานของชาวพม่าและไทใหญ่ในย่านนี้ ส่งผลที่ส�ำคัญอย่างหนึ่งคือชาวบ้านใน ย่านนี้ได้แบ่งรายได้ส่วนหนึ่งมาท�ำบุญด้วยการดูแลและบูรณะวัดต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้จากวัด บุพพาราม วัดเชตวัน วัดมหาวัน วัดแสนฝางและวัดอุปคุต ซึ่งส่วนหนึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรา ชวงศ์มังราย แต่ได้รับการบูรณะและสร้างใหม่ในยุคนี้ ฉะนั้นรูปแบบของศิลปะที่ปรากฏอยู่จึง มีรูปแบบศิลปะพม่าที่ก�ำลังเป็นที่นิยมอยู่ในยุคนั้น



ถนนท่าแพ

..อดีตย่านการค้าของเชียงใหม่ ช่วงเมื่อกว่า 80 ปีที่แล้ว บน ถนนสายต่าง ๆ ของเชียงใหม่ ผู้คนจะนิยมเดินทางด้วยการเดิน ส่วนการใช้รถจักรยาน หรือ รถถีบ จะมีน้อยมากนอกเสียจากคนมีเงินมีฐานะจะนิยมใช้รถจักรยานเท่านั้น ส่วนรถยนต์ แทบไม่มีให้เห็นเลยส่วนใหญ่จะเป็นพวกเจ้านาย คหบดี ดังนั้นสมัยก่อนหากใครมีรถ จักรยานปั่นโชว์ก็นับเป็นเรื่องเท่มาก เชียงใหม่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการค้าที่ส�ำคัญของภาคเหนือ นอกเหนือจากถนน ช้างคลานแหล่งค้าขายขนาดใหญ่ใจกลางเมืองแล้ว หากย้อนไปในอดีตเมื่อราว 50 - 60 ปี ก่อน ถนนท่าแพนับว่าเป็นถนนสายการค้าที่ส�ำคัญอีกแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ ตลอดสองข้าง ทางจะมีร้านค้าของชาวจีนตั้งเรียงราย จนกระทั่งปัจจุบันร้านค้าเหล่านั้นก็ยังคงเปิดด�ำเนิน การอยู่ ในสมัยก่อนร้านค้าสองฟากถนนท่าแพตั้งแต่บริเวณสี่แยกอุปคุตเรื่อยไปจนถึง บริเวณวัดแสนฝาง ส่วนมากจะเป็นร้านค้าของพ่อค้าชาวพม่าและชาวตองสู เวลานั้นพ่อค้า ชาวจีนยังมีน้อยส่วนคนไทยหรือคนพื้นเมืองแทบไม่มีเลย พ่อค้าชาวพม่าและตองสูเหล่านี้ มักจะนิยมเดินทางค้าขายไปมาระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองมะละแหม่งของพม่า โดยใช้ ช้างหรือวัวต่าง ม้าต่างบรรทุกสินค้าผ่านเข้าออกที่ด่านอ�ำเภอแม่สอด จังหวัดตาก น�ำสินค้า จากเชียงใหม่ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าของพม่า จากนั้นก็จะน�ำมาจ�ำหน่ายที่ร้านค้าบริเวณ ถนนท่าแพ ถนนท่าแพเชียงใหม่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ถนนต้าแป” เป็นย่านการค้าที่ ส�ำคัญแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต แม้ว่าปัจจุบันจะมีแหล่งการค้าแห่งใหม่เกิดขึ้นมากมายทั่วเมือง แต่ชื่อเสียงและ มนต์เสน่ห์แห่งถนนท่าแพยังคงไว้ซึ่งกลิ่นอายของถนนสายการยุคโบราณเสมอมา ในสมัย ก่อนร้านค้าสองฟากถนนเป็นของชาวพม่า ซึ่งเปิดขายสินค้าจ�ำพวกเสื้อผ้า โดยทางร้านจะ น�ำเสื้อผ้าออกมาแขวนห้อยอยู่หน้าร้านเป็นแถว ในหนังสือของบุญเสริม สาตราภัยชื่อ “ลาน นาไทยในอดีต” ซึ่งมีภาพเก่าของถนนท่าแพ เป็นภาพที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ในหนังสือดัง กล่าวพูดถึงถนนท่าแพว่า บริเวณสองข้างทางของถนนท่าแพจะนิยมขายเสื้อผ้าซึ่งเป็นร้าน ค้าของชาวพม่า มีห้างตันตราภัณฑ์ ถัดไปอีกเล็กน้อยจะเป็นโรงหนังมีชื่อของเชียงใหม่ชื่อ “โรงหนังตงเฮง” ต่อมาก็ได้กลายเป็นโรงยาฝิ่น มีคอขี้ยาระดับเถ้าแก่ เจ้าสัว อาเสี่ย อาแป๊ะ แม้กระทั่งกุลีจับกังเข้าไปสูบฝิ่นในโรงฝิ่นแห่งนี้เป็นจ�ำนวนมาก จนกระทั่งสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรีได้สั่งให้มีการเลิกสูบฝิ่นทั่วประเทศ โรงฝิ่นแห่งนี้จึงได้ เลิกกิจการ ช่วงเมื่อกว่า 80 ปีที่แล้ว บนถนนสายต่าง ๆ ของเชียงใหม่ ผู้คนจะนิยมเดินทาง ด้วยการเดิน ส่วนการใช้รถจักรยาน หรือ รถถีบ จะมีน้อยมากนอกเสียจากคนมีเงินมีฐานะจะ นิยมใช้รถจักรยานเท่านั้น ส่วนรถยนต์แทบไม่มีให้เห็นเลยส่วนใหญ่จะเป็นพวก


เจ้านาย คหบดี สมัยนั้นสะพานแม่ข่าสร้างด้วยไม้ ส่วนร้านค้าสองฟากถนนเป็นโรงแถวไม้ ชั้นเดียวหลังคามุมกระเบื้องดินเผาซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น ด้านตรงข้ามกับศาลาวัดแสน ฝางก็คือบริเวณโรงภาพยนตร์ศรีวิศาล ซึ่งเป็นโรงหนังที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ปัจจุบันได้ เลิกกิจการไปแล้วหลังจากที่ได้มีโรงหนังเกิดขึ้นเป็นจ�ำนวนมากในเชียงใหม่ หลังจากนั้นมาถนนท่าแพก็มีความเจริญขึ้นตามล�ำดับ ร้านค้าที่เคยเป็นโรงไม้ชั้น เดียวก็เปลี่ยนมาสร้างด้วยอาคารพานิช 2 ชั้น และมีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาตั้งร้านค้าจ�ำหน่าย สินค้าเพิ่มมากขึ้น จนชื่อเสียงของถนนท่าแพกลายเป็นถนนสายการค้าที่ส�ำคัญของเมือง เชียงใหม่ แต่เมื่อเมืองเชียงใหม่มีเจริญมากยิ่งขึ้นมีพ่อค้า นักธุรกิจเดินทางเข้ามาค้าขายใน เชียงใหม่เพิ่มขึ้น ย่านการค้าของเชียงใหม่จึงกระจายออกไปอยู่ทั่วเมือง ความส�ำคัญของ ถนนท่าแพก็ลดลง อย่างไรก็ตามแม้ว่าถนนเศรษฐกิจและการค้าของเชียงใหม่จะมีมากขึ้น แต่เสน่ห์ของถนนท่าแพในความทรงจ�ำของคนยุคก่อนก็คือถนนแห่งการค้าสายแรกในยุค รุ่งเรืองของเชียงใหม่



ยานการค าริ ้ มแมน้� ่ ่ ำปิ ง เลียบฝั่งริมน�้ำปิง เป็นพื้นพื้นที่การค้าริมน�้ำ ซึ่งมีประวัติมายาวนาน ตั้งแต่สมัยพระ ญาสามฝั่งแกน พระบิดาของพระเจ้าติโลกราช และวัดเกตการามถูกสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1971 ได้รับการท�ำนุบ�ำรุงมาอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงที่พม่ายึดครองเมืองเชียงใหม่ก็ตาม การ มีวัดที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ คือหลักฐานที่อนุมานได้ว่า พื้นที่ย่านริมน�้ำ เป็นพื้นที่มีบทบาทที่ ส�ำคัญมาก ทั้งในด้าน คมนาคมขนส่ง การค้า และการปกครอง หลังจากการฟื้นฟูบูรณะเมืองในสมัยพระยากาวิละ ท่าเรือริมฝั่งแม่น�้ำปิงกลับมา คึกคักอีกครั้ง ด้วยการเป็นหนึ่งในห้าเส้นทางหลักในการคมนาคมขนส่ง และค้าขายระหว่าง เมืองเชียงใหม่และเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะเส้นทางการค้ากับเมืองทางใต้อย่างอยุธยา กลุ่ม พ่อค้ากลุ่มแรกๆที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและสร้างความเจริญในพื้นที่ริมฝั่งแม่น�้ำแห่งนี้จนเกิด ความเจริญรุ่งเรือง คือ กลุ่มพ่อค้าชาวจีน ที่เข้ามาตั้งรกรากในยุคกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ตอนต้น โดยพ่อค้าบางส่วนเดินเรือขึ้นเหนือและลงหลักปักฐานที่ท่าน�้ำวัดเกต พอพื้นที่เริ่ม ถูกพัฒนากลุ่มชาติพันธ์อื่นๆเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ตามแรงดึงดูดเศรษฐกิจ จากพื้นที่ท่าน�ำย่านการค้า ในอีกมุมหนึ่งพื้นที่แห่งนี้ค่อยๆถูกแปรสภาพให้เป็นพื้นที่ ที่มีนัย ยะอื่นๆทับซ้อน เป็นแนวหน้าของการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงสังคมเมืองเชียงใหม่อย่างถึง ราก ก่อนการมาถึงของรถไฟ และเส้นทางถนน และสิ่งที่ปรากฏเห็นได้อย่างเด่นชัด ได้แก่ การขยายตัวของย่านการค้า ตลาดริมน�้ำ และชุมชนที่มีความงดงามด้วยความหลากหลาย ของชาติพันธุ์ การเข้ามามีบทบาทที่ส�ำคัญในภาคธุรกิจ การจัดสรรทรัพยากรที่ดิน ป่าไม้ของ เจ้าหลวงผู้ครองนครเชียงใหม่และเชื้อพระวงศ์ กาแทรกแซงอ�ำนาจท้องถิ่นจากส่วนกลาง ตามลักษณะรัฐรวมศูนย์ เพื่อรักษาผลประโยชน์ที่สยามพึงมีเหนือแผ่นดินล้านนา พ.ศ.2532 อาคารรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกหลังแรกในเชียงใหม่ถูกสร้างขึ้น ตั้งอยู่ ทางทิศใต้ใกล้สะพานนวรัฐ เป็นอาคารของคริสตจักรที่ 1 เชียงใหม่สร้างขึ้นทดแทนอาคาร ไม้ไผ่หลังเดิม


พ.ศ.2455 มีการสอนภาษาอักคระตัวเมือง แต่ถูกห้ามโดยรัฐจากส่วนกลาง แล้วให้ เปลี่ยนไปใช้ภาษาไทยกลาง ประเด็นส�ำคัญที่ส่งผลต่อสภาพสังคมเมืองเชียงใหม่อย่างชัดเจน ได้แก่ การเปิดรับ มิชชันนารีกลุ่มเพรสไบทีเรียนจากอเมริกา โดยรัชการที่ 5 ให้มิชชันนารี กลุ่มดังกล่าว สามารถเผยแพร่ศาสนาได้ในดินแดนล้านนา และพระเจ้ากาวิโลรส สุริยวงศ์ เจ้าหลวง เชียงใหม่องค์ที่ 6 ได้ทรงพระราชทานที่ดินริมฝั่งแม่น�้ำปิงด้านทิศตะวันออก เพื่อใช้เป็นที่ตั้ง บ้านเรือน และศาสนสถานอันน�ำมาสู่การตั้งคริสตจักรที่ 1 เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2411 กลุ่มมิช ชันนารีอเมริกัน กลุ่มนี้น�ำโดย ศาสนาจารย์ดาเนียล แมคกิลวารี และศาสนาจารย์นายแพทย์ โจนาธันวิลสัน ซึ่งนอกเหนือจากการเผยแพร่ศาสนาแล้ว การแพทย์ การศึกษาสมัยใหม่คือ สิ่งที่มิชชันนารีน�ำเข้ามาเผยแพร่ ทั้งยาควินินที่ช่วยรักษาไข้จับสั่นได้ผล การตั้งโรงพยาบาล แมคคอมิคในปี พ.ศ.2463 และการตั้งโรงเรียนหญิงล้วนดาราวิทยาลัย เมื่อพ.ศ.2421 และใน ปี พ.ศ.2423 นายแพทย์ ดร.จีคอลลินส์ ได้ก่อตั้งโรงเรียนวังสิงห์ค�ำ ก่อนที่จะย้ายไปสร้าง โรงเรียนใหม่ในฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำปิง และได้รับการถวายพระนามจากรัชกาลที่ 6ในปี พ.ศ.2449 พัฒนามาเป็นโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยในปัจจุบัน การสัมปทานป่า การค้าขายไม้ที่ต้องอาศัยท่าเรือ ล�ำน�้ำในการล่องซุง การตั้ง ส�ำนักงานของบริษัทค้าไม้ น�ำมาซึ่งยุคฟื้นฟูของพื้นที่ริมน�้ำ ตั้งแต่ย่านวัดเกตไปจนถึงพื้น ทิ่มน�้ำบริเวณห้างสรรพสินค้าริมปิงปัจจุบัน ความเจริญของย่านการค้าไม่จ�ำกัดเพียงพื้นที่ริม ฝั่งตะวันตก จากเดิมเคยเป็นข่วงเมรุ และเป็นพื้นที่ส�ำหรับตั้งกู่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ผู้ครอง นคร ต่อมาได้มีการเคลื่อนย้ายไปบรรจุกู่ใหม่ในบริเวณวัดสวนดอกและปรับพื้นที่ให้เป็น ตลาดชื่อว่า กาดหลวง หรือตลาดวโรรส ในปีพ.ศ.2543 โดยพระราชชายา เจ้าดารารัศมี การค้าย่านริมน�้ำ นอกจากจะน�ำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนสินค้า การค้าขาย ยังน�ำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงมิติด้านสังคมของคนเชียงใหม่อย่างมหาศาล ทั้งการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติ พันธุ์อื่นๆ การพัฒนาทางการแพทย์ การศึกษา และการเข้ามามีบทบาทของสยาม ทั้งด้าน การปกครองการแทรกแซงเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคน เชียงใหม่ สู่ความเป็นเมือง



คลองแม่ข่า

...วิถีชีวิตแห่งสายน�้ำ



ย้

อนอดีตไปในปี พ.ศ. 1839 หรือ เมื่อ 707 ปีก่อน พญาเม็งราย ทรงพบไชยมงคล 7 ประการที่เหมาะแก่การสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งหนึ่งในเจ็ดไชยมงคลนี้ คือ ขุมแม่ข่า สายน�้ำ จากดอยสุเทพ ที่ไหลอ้อมจากทิศเหนือไปสู่ทิศตะวันออกแล้วลงสู่แม่น�้ำปิงทางตอนใต้ นัยว่า ไชยมงคลทั้ง7 ประการนี้จ�ำต้องร่วมกันพิทักษ์รักษาได้เพื่อความเป็นสิริมงคลของเมือง และ เพื่อชีวิตที่ดีของชาวเชียงใหม่ทุกคน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า หนองใหญ่ หนึ่งในเจ็ดไชยมงคล และเป็นหนองน�้ำที่ใหญ่ ที่สุดของเมืองเชียงใหม่ ได้กลายเป็นอาคารพาณิชย์ เป็นชุมชนที่อยู่อาศัยไปหมดแล้ว (บริเวณถนนอัษฎาธรและถนนรัตนโกสินทร์ ในปัจจุบัน) ยังคงเหลือเพียง แม่น�้ำระมิงค์ (แม่ น�้ำปิง) และ คลองแม่ข่าเท่านั้น ที่ยังคงอยู่เป็นไชยมงคลของเมืองแต่อยู่ในสภาพที่ป่วยหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คลองแม่ข่า ในอดีตที่ผ่านมาความส�ำคัญของคลองแม่ข่าไม่ได้เป็นเพียง หนึ่งในไชยมงคลของเมืองเชียงใหม่เท่านั้น แต่มีความส�ำคัญทางยุทธศาสตร์ในฐานะเป็น คูเมืองชั้นนอกทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออก เพราะคลองแม่ข่า ตั้งอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ สามารถเสริมความมั่นคงระหว่างคูเมืองกับแม่น�้ำปิง คลองแม่ข่าเป็นล�ำน�้ำธรรมชาติมีต้นก�ำเนิดมาจากห้วยช่างเคี่ยน และห้วยแก้วของ ดอยสุเทพไหลมารวมเป็นหนองใหญ่บริเวณทุ่งป่าแพ่งในเขตเทศบาล แล้วไหลไปบรรจบกับ แม่น�้ำปิงที่ต�ำบลป่าแดดล�ำคลองมีความกว้างประมาณ 3-4 เมตร ลึก 1.5 เมตร มีต�ำนานเล่า ว่าหลังจากสร้างเมืองเชียงใหม่ ได้ 155 ปี คือ ในปี 2094 ได้มีการขุดลอกคลองครั้งแรก ต่อ มาในปี 2101เชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ก็ได้มีการขุดคลองอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นก็ไม่ได้ มีการขุดลอกคลองแม่ข่าอีกเลย



ทา่ แพ ใน

ปั จจุบัน



อาคารเพื่อการพาณิชย์ ART SPACE การอนุรักษ์ กิจกรรม

ถนนท่าแพ เป็นถนนแนวแกนหลักทางทิศตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ซึ่ง

เป็นถนนแนวการค้าหลักดั้งเดิมของจังหวัดเชียงใหม่ ท�ำให้พื้นที่บริเวณนี้มีศักยภาพในการ ประกอบธุรกิจและการค้าขาย โดยมีด้านต้นทางติดกับเชิงสะพานนวรัฐ ด้านปลายบรรจบกับ ข่วงประตูท่าแพและถนนราชด�ำเนินและมีเส้นทางเชื่อมโยงกับถนนลอยเคราะห์ ถนนคชสาร ถนนช้างคลานและถนนเจริญประเทศ โดยมีความยาวตลอดช่วงถนนประมาณ 1.4 กิโลเมตร มีความกว้างประมาณ 8 เมตร มีช่องทางเดินรถ 3 ช่องทาง ระบบการจราจรบนถนนท่าแพ สามารถเดินรถได้ทางเดียว สภาพการจราจรบนถนนท่าแพส่วนใหญ่มีความแออัดไปด้วยยานพาหนะประเภท ต่างๆ เกือบตลอดเวลา แต่เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนพื้นที่จอดรถ จึงมีการจอดอยู่ริม ถนนเกือบทั้งสายจนท�ำให้ความกว้างของถนนลดน้อยลงและส่งผลให้เกิดการจราจรติดขัด ขึ้นบ้างบางช่วงเวลา ลักษณะของสถาปัตยกรรมและสิ่งปลูกสร้างภายในพื้นที่ ยุคสมัยของสถาปัตยกรรมบริเวณพื้นที่ถนนท่าแพ สามารถแบ่งออกคร่าวๆ ได้เป็น 3 ยุค ศาสนสถาน ศาสนสถานบริเวณถนนท่าแพมีวัดพม่าที่สร้างขึ้น มีอายุหลายร้อยปีจ�ำนวนหลาย วัด ซึ่งวัดเหล่านี้ล้วนมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจและมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามอีกด้วย เช่น วัดบุปผาราม ซึ่งเป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่ สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว สร้างขึ้นในบริเวณที่ เป็นราชอุทยานของพระเจ้าติโลกราช วัดแสนฝาง มีโบราณสถานที่ส�ำคัญภายในวัดคือ “พระเจดีย์มงคลแสนมหาชัย” เจดีย์ก่ออิฐถือปูนสีขาวศิลปะพม่า แสดงให้เห็นอิทธิพลศิลปะ พม่าอย่างชัดเจน เป็นต้น


สถาปัตยกรรมเพื่อการพาณิชยกรรมเก่าแก่ ยุคแรกจะเป็นอาคารไม้/บ้านไม้ โดยส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยประกอบกับกิจการ ค้าขายเล็กน้อยซึ่งยังมีหลงเหลืออยู่บ้าง เช่น ร้านแหลมทองเป็นตึกไม้สองชั้น ร้านนวดสปา เป็นบ้านไม้หนึ่งชั้นและมีอาคารบ้านไม้ขนมปังขิงเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2458 โดย พ่อค้าไม้ชาวไทใหญ่ที่น�ำต้นแบบมาจากตะวันตกก่อนตกทอดมาเป็นรุ่นๆ จนถึงปัจจุบันคือ ร้านชาระมิงค์ซึ่งได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นประจ�ำปี 2547 และรางวัล อาคารอนุรักษ์ดีเด่นประเภทอาคารเก่าเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2547 ต่อมีเมื่อมาสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเรือนเริ่มมีการปรับตัวไปตาม การใช้งาน อาคารบ้านเมืองเดิมถูกรื้อเป็นอาคารพาณิชย์ก่ออิฐฉาบปูน เป็นห้องแถวส�ำหรับ ประโยชน์ทางการค้าซึ่งมีอาคารเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เช่น อาคารเหลี่ยวย้งง้วนซึ่งเปิดเป็น ส่วนขายของไปแล้ว ยุคย่านการเงิน ยุคนี้ถือว่าเป็นยุคเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง ย่านท่าแพกลายเป็นย่านกิจกรรมการ เงิน ซึ่งธนาคารแต่ละแห่งส่งตัวแทนมาซื้อที่ดินในราคาสูงจากเจ้าของเดิมและเริ่มมี สถาปัตยกรรมอาคารพาณิชย์สมัยใหม่เพิ่มขึ้นมาในพื้นที่ มีการสร้างร้านที่เป็น สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ ซึ่งยังคงเห็นได้อยู่ในปัจจุบัน ความหนาแน่นของอาคารและความสูงของอาคารโดยรวมตลอดถนนท่าแพค่อน ข้างกระจายตัวเนื่องจากมีพื้นที่เปิดโล่งของศาสนสถาน และพื้นที่เปิดโล่งของธนาคารที่ช่วง เสริมพื้นที่เปิดโล่ง แต่จะมีความหนาแน่นของอาคารกระจุกตัวบริเวณประตูท่าแพ และช่วง ระหว่างวัดบุปผารามจนถึงวัดอุปคุต ที่จะมีอาคารพาณิชย์เกาะตัวกันอย่างหนาแน่นโดยมี วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารส่วนใหญ่นั้นเป็นคอนกรีต มีอาคารไม้แต่เดิมอยู่บ้างประปราย แทรกตัวกันไป


อาคารเพื่อการพาณิชย์

ลังการท�ำสนธิสัญญาเบาริ่ง (พ.ศ. 2398) การค้าขายข้ามแดนระหว่างล้านนากับ พม่าขยายตัวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ พ่อค้าชาวพม่าจึง กลายเป็นคนในบังคับของอังกฤษ และมีบทบาทอย่างยิ่งในการค้ากับล้านนา นอกจากพ่อค้า ชาวพม่าแล้ว ยังมีชาวไทใหญ่และอินเดียที่อังกฤษส่งไปท�ำการค้าขายกับล้านนาส่งผลให้ใน ช่วงนั้นมีชาวต่างชาติอพยพมาตั้งถิ่นฐานในล้านนาเป็นจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะชาวพม่า ต่อมาปีพ.ศ. 2459-2464 เกิดการค้าทางเรือระหว่างกรุงเทพฯ กับล้านนาโดย พ่อค้าชาวจีนซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงเทพฯ เมื่อจ�ำนวนชาวจีนที่อพยพเข้ามามีมากขึ้นก็ส่งผล ให้การค้าขายทางเรือขยายตัวเพิ่มมากขึ้นด้วย ชาวจีนที่อพยพเข้ามารุ่นหลังๆ มักจะขึ้นมา ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคเหนือ เนื่องจากในกรุงเทพฯ มีชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจ�ำนวนมาก สามารถ ตั้งถิ่นฐานและมีฐานะที่มั่นคงแล้ว ผู้ที่อพยพมาทีหลังจึงไม่สามารถที่จะแข่งขันทางเศรษฐกิจ กับผู้ที่มาก่อนได้ จึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ทางภาคเหนือแทน ซึ่งการเข้ามาตั้งถิ่นฐานใน ภาคเหนือของชาวจีนนั้น เริ่มอย่างเด่นชัดในสมัยรัชกาลที่ 5 นิยมสร้างบ้านริมแม่น�้ำ เนื่องจากเป็นเส้นทางการค้าขายที่ส�ำคัญ ในเชียงใหม่มีชาวจีนมาตั้งถิ่นฐานรุ่นแรกๆ อยู่ใน ย่านวัดเกตการาม อาศัยแม่น�้ำปิงเป็นเส้นทางในการขนสินค้าจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาขาย ต่อ มาได้ย้ายไปท�ำการค้าบริเวณตรอกเล่าโจ๊ว (ตลาดต้นล�ำไยและตลาดวโรรส) และถนนท่าแพ เพราะความเจริญย้ายไปอยู่ในบริเวณนั้น ช่วงนั้นพ่อค้าชาวพม่า ไทใหญ่ และอินเดีย ยังคงมี บาบาททางการค้าอยู่ แต่ถูกพ่อค้าชาวจีนแทรกตัวเข้ามา


รูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบันนั้นจึงสะท้อนถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของย่าน ท่าแพได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย ศิลปวัฒนธรรม และกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ใน บริเวณนี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อการก่อการสร้างอาคารที่มีรูปแบบแตกต่างกันไป ซึ่งมีอาคาร จ�ำนวน 6 หลังที่ยังคงรูปแบบจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันได้อย่างดี

บ้านตึก

หลวงอนุสารสุนทร “บ้านตึก” เป็นอาคารตึกยุคแรกๆ ของเมืองเชียงใหม่ที่บ่งบอกสถานะความมั่งคั่ง ด้านเศรษฐกิจ อาคารนี้ปลูกสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๔๕ หลวงอนุสารสุนทร นามเดิมคือ นายสุ่นฮี้ ชัวย่งเสง เกิดที่ต�ำบลปากบ่อง อ�ำเภอป่าซาง จังหวัดล�ำพูน เป็นบุตร ของนายต้อยและนางแว่น แซ่ฉั่ว วัยเด็กก�ำพร้าจึงอยู่ในอุปการะของพี่สาวชื่อ นางบัวจันทร์ วัยเด็กนายสุ่นฮี้ต้องเลี้ยงน้องและค้าขายไปด้วย เมื่ออายุ ๑๖ ปีย้ายมาอยู่ย่านวัดเกตการาม เริ่มท�ำการค้าเล็กๆ น้อยๆ ต่อมาขยายกิจการใหญ่ขึ้น หลังจากแต่งงานกับนางค�ำเที่ยงแล้ว ได้ย้ายมาค้าอยู่ที่ถนนท่าแพ ขณะอายุ ๒๐ ปี ตั้งร้านค้าขายชื่อ “ร้านชัวย่งเสง” ปัจจุบันคือ ห้างหุ้นส่วนฯอนุสารเชียงใหม่ การซื้อที่ดินที่เป็นที่ตั้งร้านแห่งนี้ของหลวงอนุสารซึ่งเป็น ท�ำเลเหมาะกับการท�ำการค้า หลวงอนุสารซื้อได้ในราคาถูกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ ขณะเมื่ออายุ ๒๐ ปี ขณะนั้นไม่มีใครกล้าซื้อเนื่องจากเจ้าของบ้านที่พักอาศัยอยู่เสียชีวิตจากการตายโดย ผิดธรรมชาติหลายคนในคราวเดียวกัน หลังจากซื้อแล้วหลวงอนุสารย้ายครอบครัวจากย่าน วัดเกตการามมาพักอาศัยและเปิดร้านค้า ต่อมาจึงก่อสร้างเรือนแถวและอาคารตึกหลวงเมื่อ ประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๔๕ ระยะต่อมาได้สร้างตึกแถวขึ้นด้านติดถนนท่าแพเพื่อยกให้ บุตรสาว(นางกิมฮ้อ) อาคารนี้สร้างเสร็จพร้อมๆ สะพานนวรัฐสมัยที่เป็นสะพานเหล็ก เมื่อ สร้างเสร็จ นางกิมฮ้อ(สามีคือ นายกี นิมมานเหมินท์)และครอบครัวได้พักอาศัยอยู่อาคาร


หลังนี้เรื่อยมา ระยะต่อมาจึงได้สร้างอาคารตึกขาวเพื่อให้บุตรชายคือ นายแพทย์ยงค์ ชุติมา อยู่อาศัย และสร้างครัวไฟขนาดใหญ่พร้อมหอถังสูงเก็บน�้ำไว้ใช้ ห้างชัวย่งเส็ง ของหลวงอนุ สารสมัยก่อนนั้นเป็นห้างใหญ่มีสินค้านานาชนิดจ�ำหน่าย นางสาวกรองทอง ชุติมา บุตร สาวเคยให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือเรื่องเล่าจาวกาดเล่ม ๓ ว่า บิดาคือหลวงอนุสาร เป็นพ่อค้า ที่มีความมานะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง เป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกลทางด้านการค้า ท�ำการ ค้าขายโดยล่องเรือจากเชียงใหม่ไปกรุงเทพฯ ด้วยเรือหางแมงป่องซึ่งเป็นเรือขนาดเล็ก ล่อง จากล�ำน�้ำปิงผ่านปากน�้ำโพน�ำสินค้าเกษตรจากล้านนาบรรทุกเรือค�้ำถ่อหางแมงป่องไปยัง กรุงเทพฯ ไปจอดแถวบางกอกน้อย ธนบุรี หลวงอนุสารฯ เดินทางไปกับกลุ่มพ่อค้าคนจีน ขากลับได้ซื้อของหลายอย่างมาขายในเชียงใหม่ มีทั้งรถยนต์ซึ่งจะถอดเครื่องยนต์ออก่อนลง เรือแล้วน�ำมาประกอบกลับคืนเมื่อถึงเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๒๔๖๐ หลวงอนุสารฯ ท�ำกิจการ รถเมล์วิ่งระหว่างล�ำพูน-เชียงใหม่ โดยใช้รถยนต์สองคัน คนหนึ่งตั้งชื่อว่า พญาผาบ อีกคัน หนึ่งชื่อ เจริญเมือง ส่วนตัวหลวงอนุสารฯ เองได้ซื้อรถ ROVER รุ่น ค.ศ.๑๙๐๖(พ.ศ.๒๔๔๙) มาใช้ในครอบครัว รถคันนี้เป็นรถคันที่ ๓ ของเชียงใหม่ คันแรกเป็นของพระยาเจริญราช ไมตรี คันที่สอง เป็นของเจ้า อินทวโรรสฯ เจ้าหลวงองค์ที่ ๘ รถ ROVER คันนี้ได้ รับเกียรติในงานฉลองกรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี ให้น�ำหน้าขบวนพาเหรดรถโบราณเป็นคันแรก โดย ได้รับการยกย่องว่าเป็นรถโบราณเก่าที่สุดในประเทศไทยที่ยังวิ่งได้ นอกจากค้าขายแล้ว หลวงอนุสารได้ช่วยเหลือราชการหลายด้าน ต่อมาจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุน อนุสารสุนทร และต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอนุสารสุนทรกิจ การแต่ง ตั้งบรรดาศักดิ์ หลวงอนุสารสุนทรกิจ ค้นพบในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๔๑ ลงวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๗ ข้อความตอนหนึ่งว่า “ให้ขุนอนุสารสุนทรกิจ(ฮี้) เปนหลวงอนุสารสุนทร กิจ กรมการพิเศษจังหวัดเชียงใหม่ ถือศักดินา ๖๐๐” หลวงอนุสารสุนทรกิจ เสียชีวิตเมื่อ ปลายปี พ.ศ.๒๔๗๗ ขณะอายุ ๖๗ ปี.


รัตนผล

สร้างในปี พ.ศ. 2473 เป็นอาคารแบบยุโรป 3 ชั้น ศิลปะโกธิค (Gothic) ถือว่าเป็น ตึกสูงของเชียงใหม่ในสมัยนั้น ลักษณะเด่นของอาคารหลังนี้คือมีดาดฟ้า ต่างจากบ้านทั่วไป ที่มักจะเป็นหลังคา เจ้าของคือ นางสาวปิยนารถ ภูวกุล หลานสาวของนายอุย แซ่เหลี่ยว บิดาคือ นายอิวสือ แซ่โต๋ว อพยพมาจากประเทศจีน แต่งงานกับนางไหล่ชุน ลูกสาวของนาย อุยและนางค�ำดิบ แซ่เหลี่ยว หลังจากที่นายอิวสือและนางไหล่ชุนแต่งงานแล้วก็มาเช่าบ้าน อยู่ที่ถนนท่าแพ ต่อมานายอุยได้ซื้อที่ดินบนถนนท่าแพแล้วยกให้นายอิวสือและนางไหล่ชุน หลังจากนั้นนายอิวสือก็ใช้เงินเก็บของตนเองทั้งหมดสร้างอาคารหลังนี้ โดยจ้างช่างก่อสร้าง ฝีมือดีจากเมืองกวางตุ้งมาท�ำการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2475 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางร้านเปลี่ยนชื่อเป็น รัตนผล เนื่องจากรัฐบาลมีนโย บายให้เลิกใช้ชื่อร้านเป็นภาษาจีน ต่อมาปี พ.ศ. 2507 นายอิวสือเสียชีวิต ไม่มีคนสืบทอด กิจการขายด้ายและผ้าฝ้ายต่อ ซึ่งช่วงนั้นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพิ่งเปิดได้ไม่นาน ร้านรัตน ผลจึงเปลี่ยนมาท�ำการค้าขายอุปกรณ์เครื่องเขียน แบบเรียน และอุปกรณ์กีฬามาจนถึง ปัจจุบัน


ศรีประเสริฐ (UOB)

สร้างในปี พ.ศ. 2476 เป็นตึกแถวแบบอาณานิคม (Colonial Style) เจ้าของคือ นายอยู่ ตียาภรณ์ ในสมัยนั้นนิยมเรียกกันว่า แป๊ะอยู่ นายอยู่อาศัยอยู่ในย่านวัดเกตการาม แต่สร้างอาคารหลังนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้อื่นเช่าท�ำการค้าขาย ซึ่งผู้ที่มาเช่าหลังจากสร้างเสร็จก็ คือ นายหลี จุฬานุกะ โดยเปิดเป็นร้านขายเครื่องเล่น แผ่นเสียง และใช้ชั้นบนเป็นที่พักอาศัย นายหลียกเลิกกิจการไปเมื่อปี พ.ศ. 2486 ผู้เช่ารายต่อมา คือ นายฮกหลี ธงน�ำทรัพย์ อดีต เคยรับราชการกรมชลประทาน ภายหลังได้ลาออกมาประกอบธุรกิจส่วนตัว เปิดร้านซ่อม วิทยุชื่อ ทิพย์เสถียร กิจการร้านซ่อมวิทยุของนายฮกหลีเจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากในสมัย นั้นผู้คนนิยมฟังวิทยุเป็นอย่างมากและร้านซ่อมวิทยุมีน้อย ต่อมาก็แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งของ อาคารให้ร้านศรีประเสริฐเช่าท�ำกิจการขายจักรยาน เมื่อนายฮกหลีเสียชีวิต ลูกของนายฮก หลีก็เช่าอาคารนี้ต่อ แต่ปรับเปลี่ยนกิจการเป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยว ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ธนาคาร ยูโอบี จ�ำกัด (มหาชน) สาขาถนนท่าแพ


บ้านของขุนอนุกรบุรี (ระมิงค์ ที เฮ้าส์)

สร้างในปีพ.ศ. 2458 ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบเรือนขนมปัง ขิง มีลวดลายไม้ฉลุตกแต่งงดงาม ขุนอนุกรบุรี หรือที่คนในท้องถิ่นเรียกสั้นๆ ว่า ขุนอนุกร เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ชื่อเดิมคือ นายเย็น แซ่นิ้ม ประกอบอาชีพ สร้างฐานะจนมั่นคง ชอบ ช่วยเหลือราชการและสังคม ทางราชการจึงมอบบรรดาศักดิ์ให้เป็น ขุน เมื่อปี พ.ศ. 2467 เพื่อเป็นการตอบแทนในคุณงามความดี ขุนอนุกรบุรีเป็นต้นตระกูล นิมากร ครอบครัวเดิม ของขุนอนุกรบุรีอาศัยอยู่ในย่านวัดเกตการาม เป็นครอบครัวใหญ่ ฐานะร�่ำรวย หนึ่งใน บรรดาพี่น้องของขุนอนุกรบุรี คือ นางค�ำดิบ นิมากร ภรรยาของนายอุย แซ่เหลี่ยว อาคารซึ่ง เป็นที่ตั้งของบริษัทธาราในปัจจุบันก็เคยเป็นของตระกูลนิมากร แต่ภายหลังได้ขายให้กับ นายอุย แซ่เหลี่ยว บ้านของขุนอนุกรบุรีที่อยู่บนถนนท่าแพ ในอดีตเปิดเป็นร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง ชื่อ หนิ่มเฉี่ยวฮวด เป็นบ้านหลังใหญ่ กว้างขวาง มีห้องทั้งหมด 8 ห้อง อาศัยอยู่กันประมาณ 10 กว่าคน เนื่องจากขุนอนุกรบุรีมีภรรยา 2 คน มีบุตรสาวและบุตรชายอย่างละ 1 คน คือ นา งงื่นซุ้นและนายบรรยงค์ ครอบครัวของบุตรสาวและบุตรชายก็อาศัยอยู่ด้วยกันในบ้านหลังนี้ ภายหลังครอบครัวของนางงื่นซุ้นย้ายออกไปซื้อบ้านหลังใหม่ในย่านสันป่าข่อยแล้วเปิดเป็น ร้านขายจักรยานชื่อ เหลี่ยวซุ่นหลี


ขุนอนุกรบุรีเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2495 บ้านหลังนี้จึงยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของนาย บรรยงค์ บุตรชายคนหนึ่งของนายบรรยงค์ ซึ่งก็คือ นพ. สมโพธิ นิมากร เมื่อส�ำเร็จการ ศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่นที่ 1 ก็ได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อส�ำเร็จการศึกษาก็กลับมาเป็นแพทย์ประจ�ำอยู่ที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค ขณะเดียวกันที่ใช้พื้นที่ภายในบ้านเปิดเป็นคลินิกชื่อ คลินิกหมอสมโพธิ ภายหลังได้ขายบ้าน หลังนี้ให้นายนิตย์ วังวิวัฒน์ เจ้าของกิจการชาระมิงค์


กิติพานิช

สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2469 เป็นอาคารครึ่งไม้ครึ่งตึก ได้รับอิทธิพลแบบผสมผสานทั้ง ล้านนา จีน และตะวันตก ในอดีตเคยเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของ เชียงใหม่ จ�ำหน่ายข้าวของเครื่องใช้ที่น�ำเข้ามาจากต่างประเทศ กลุ่มลูกค้าหลักของห้างกิติ พานิชก็คือ ข้าราชการชั้นสูงรวมไปถึงเจ้านายฝ่ายเหนือ ห้องกิติพานิชเป็นธุรกิจของตระกูล กิติบุตร โดยมีต้นตระกูลคือ นายกี๋ หรือ กิติ อพยพมากจากประเทศจีน แต่งงานกับชาวไทย ชื่อ นางสุ่น วังสุนทร ประกอบอาชีพค้าขายในเชียงใหม่ มีบุตรธิดารวม 3 คน คือ นายเทพ (เจี้ยว) กิติบุตร นางทรายทอง กิติบุตร และนายจรัล กิติบุตร ต่อมาห้างกิติพานิชก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเทพ กิติบุตร สมัยนั้นผู้คนรู้จักกัน ในชื่อ เถ้าแก่เจี้ยว นางทรายทองแต่งงานกับเถ้าแก่กิมไซ บุรี บุตรของขุนศรีบุรีภิรมย์ มีธิดา 1 คน คือ ศ.พญ. สุภรณ์ ศิลปิศรโกศล ส่วนนายจรัลก็แต่งงานกับนางบู่ทอง ทิพยมณฑล บุตรชายคนหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปก็คือ อ.จุลทัศน์ กิติบุตร ศิลปินแห่งชาติประจ�ำปี พ.ศ. 2547 สาขาศิลปะสถาปัตยกรรมร่วมสมัย


เหลี่ยว หย่ง ง้วน

เจ้าของคือ นายอุย แซ่เหลี่ยว อพยพมาจากประเทศจีน อาศัยอยู่ในย่านวัดเกตกา ราม ชาวบ้านเรียกกันว่า แป๊ะอุย ประกอบอาชีพค้าขายโดยล่องเรือรับสินค้าจาก กรุงเทพมหานครแล้วมาขายในเชียงใหม่ สมัยก่อนนิยมใช้แม่น�้ำเป็นเส้นทางในการติดต่อ ค้าขาย เนื่องจากมีความสะดวกในการขนส่งสินค้า ในปีพ.ศ. 2432 นายอุยเปิดร้านชื่อ เหลี่ ยวหย่งง้วน (The Gallery ในปัจจุบัน) เพื่อใช้เป็นร้านค้าและที่อยู่อาศัย ต่อมาเมื่อการ ค้าขายย่านวัดเกตการามซบเซาลงเนื่องจากมีการสร้างทางรถไฟมาถึงเชียงใหม่ การค้าขาย ทางเรือไม่ได้รับความนิยมเหมือนแต่ก่อน ในช่วงนั้นความเจริญอยู่ที่ย่านตลาดวโรรสและ ถนนท่าแพ นายอุยจึงย้ายไปตั้งร้านค้าใหม่อยู่บนถนนท่าแพ ตั้งชื่อว่าเหลี่ยวหย่งง้วนเช่นกัน ซึ่งมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกในยุคบุกเบิก นายอุยย้ายไปอาศัยอยู่ที่บ้านใหม่บน ถนนท่าแพแล้วยกบ้านหลังเดิมให้นายเลียวจือหงาน เลียวสวัสดิพงศ์ ซึ่งเป็นลูกชายดูแล แทน นายอุยเป็นต้นตระกูลของหลายสกุลใหญ่ในเชียงใหม่ ได้แก่ เลียววิริยะกิจ (เจ้าของ ร้านอุปกรณ์ไฟฟ้าเลียววิริยะกิจ) เลียวสวัสดิพงษ์ (เจ้าของร้าน The Gallery) เลี่ยวเทียน ชัย (เจ้าของบริษัท ธารา จ�ำกัด) สุจริตรักษ์ (เจ้าของร้านสุจริตพานิช) และภูวกุล (เจ้าของ ร้านรัตนผล) ชั้นล่างของร้านเหลี่ยวหย่งง้วนเป็นห้องใหญ่ ใช้ส�ำหรับเก็บพืชไร่ส�ำหรับค้าขาย ชั้น สองมี 6 ห้อง เนื่องจากนายอุยมีภรรยาหลายคน จึงอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ นอกจากค้าขายพืชไร่แล้ว ธุรกิจอีกอย่างหนึ่งของนายอุยก็คือค้าขายผ้าและฝ้าย โดยขอเช่า โรงย้อมผ้าของหลวงอนุสารสุนทรที่ถนนเจริญประเทศ (บริเวณโรงแรมเพชรงามในปัจจุบัน) ต่อมาร้านเหลี่ยวหย่งง้วนก็ปรับเปลี่ยนกิจการเป็นร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า และเปลี่ยนเป็น ร้านขายจักรยาน จักรยานยนต์น�ำเข้าหลากหลายยี่ห้อ และวิทยุ ในภายหลัง โดยผู้ที่ด�ำเนิน


กิจการต่อจากนายอุยก็คือ นายเซี่ยงฮ้อ แซ่เหลี่ยว อีกธุรกิจหนึ่งของนายอุยก็คือ ตลาดต้นล�ำไย เริ่มต้นประมาณหลัง ปี พ.ศ. 2460 เล็กน้อย โดยมีหลวงอนุสารสุนทร (นามสกุลเดิมคือ แซ่ฉั่ว ภายหลังเปลี่ยนเป็น นิมมานเหมิ นทร์) เป็นหุ้นส่วนร่วมด้วย ในอดีตเป็นตลาดเล็กๆ นิยมเรียกกันว่า ตลาดเปี้ยดน้อย เพราะ พ่อค้าแม่ค้ามักจะหาบเปี้ยด (กระบุง ตะกร้า) เพื่อน�ำสินค้าพื้นบ้าน เช่น ผัก ปลา มาวางขาย ซึ่งก่อนจะเกิดเป็นตลาดขึ้นมานั้น บริเวณนี้เป็นพื้นที่ว่างประมาณ 5 ไร่ มีต้นล�ำไยขึ้นอยู่ หลายต้น ต่อมาเมื่อมีพ่อค้าแม่ค้าน�ำสินค้ามาวางขายจึงกลายเป็นตลาดในที่สุด และตั้งชื่อว่า ตลาดต้นล�ำไย เมื่อมีรถโดยสารจากต่างอ�ำเภอมาจอดหน้าตลาด จึงถือตลาดต้นล�ำไยเป็นคิว รถโดยสารประจ�ำเมืองเชียงใหม่ ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าจากอ�ำเภออื่นๆ เดินทางเข้ามาค้าขาย มากขึ้น ซึ่งในขณะนั้นตลาดวโรรสมีการพัฒนาดีแล้ว (สร้างโดยเจ้าแก้วนวรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2453) และมีการสร้างห้องแถวบริเวณที่ติดกับถนนวิชยานนท์และถนนช้างม่อยเพิ่มเติมขึ้น มา


A

RT

SP CE at Tha

Pae

พื้นที่ทางศิลปะและวัฒนธรรม



Thapae East - Venue for the Creative Arts

ท่าแพอีสต์ Thapae East - Venue for the Creative Arts พื้นที่ส�ำหรับผู้ที่ต้องการท�ำกิจกรรม ด้านศิลปะแขนงต่างๆครับ, งานแสดงละคร งาน ภาพยนต์ Art exhibition งานดนตรีทดลองหรือผลงานดนตรีเฉพาะทาง (Original music or improvisational performances) รวมไปถึงงานการอ่านบทกวี


Thapae East Venue for the Creative Arts 88 Thapae Rd., เทศบาลนครเชียงใหม่ 50300

+66 81 765 5246


พิกัด : ถนนท่าแพ เยื้องกับวัดอุปคุต เวลาเปิด-ปิด: 15.00-20.00 น. หยุดวันจันทร์ 053-251253-4

ศูนย์ศิลปะบ้านตึก บ้านไม้ทรงตึกหลังเก่า

หลังนี้หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบ ว่านอกจากจะเป็นแกลเลอรี่แล้ว ยัง เป็นบ้านเก่าของหลวงอนุสารสุนทร ค ห บ ดี ผู ้ บุ ก เ บิ ก ก า ร ค ้ า ข อ ง เชียงใหม่ ที่บริจาคบริเวณชั้นล่าง ของบ้ า นเพื่ อ เป็ น เวที จั ด แสดง นิ ท รรศการของศิ ล ปิ น รุ ่ น เยาว์ ศิลปินหน้าใหม่และจัดกิจกรรมทาง ศิลปะให้เยาวชนและบุคคลทั่วไป โดยไม่แสวงหาผลก�ำไร โดยได้รับ การสนับสนุนด้านงบประมาณจาก องค์กรเอกชนและบริหารโดยคณะ วิจิตรศิลป์ มช.


คลองแม่ข่า ปั ญหาทีไ่ มม่ ีทางออก ? แม่น�้ำปิงถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ หล่อเลี้ยงคนล้านนามาตลอด 720 ปี เป็นแม่น�้ำสาย ใหญ่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองภายนอกคือเมืองในเขตตอนบน กับหัวเมืองท่าตอนล่างอยุธยาและกรุงเทพฯ ส่วนแม่น�้ำแม่ข่าเป็นแม่น�้ำสาขาหนึ่งของแม่น�้ำ ปิง ซึ่งเป็นแม่น�้ำส�ำคัญในอดีตที่หล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่สภาพปัจจุบันจาการความเจริญ เติบโตที่มาพร้อมกับความเจริญท�ำให้คลองแม่ข่าวันนี้ ไม่ต่างอะไรกับคลองบ�ำบัดน�้ำเสีย หากคนที่มีอายุราว 40-50 ปี จะจ�ำได้ดีว่า คลองแม่ข่าในอดีตใสสะอาด ชาวบ้านได้อาศัย แม่น�้ำสายนี้ในการใช้ซักล้างและเป็นเส้นทางคมนาคมภายในเมืองได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังเป็นที่กักเก็บน�้ำ (แก้มลิง) ก่อนไหลผ่านตัวเมืองและลงแม่น�้ำปิงบริเวณบ้านสบแม่ข่า อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งน�้ำที่มีความส�ำคัญเพื่อการเกษตรการระบายน�้ำ จากพื้นที่ดอยสุเทพ ฤดูฝน และเป็นคูเมืองชั้นนอกตามธรรมชาติในการป้องกันเมือง เชียงใหม่ในอดีตท�ำให้วันนี้คนเฒ่า คนแก่ หรือคนสูงอายุ จะเล่าขาน และนึกถึงคลองแม่ข่า อยู่เนืองๆ


ปัจจุบันคลองแม่ข่าและคลองคูไหวสกปรกมากน�้ำในคลองมีสีด�ำเข้มกลายเป็นน�้ำ เน่าเสีย ชาวบ้านต้องทนดมกลิ่นเหม็นตลอดจนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว และมีขยะที่ถูก ทิ้งจากชุมชนต่างๆ หรือขยะบางส่วนก็ทิ้งริมคลอง เมื่อเวลาฝนตก ขยะก็ไหลลงคลองหมด บางคนมักง่ายก็ทิ้งที่นอนขนาดใหญ่ บางทีก็เจอตู้ไม้เก่า เก้าอี้ไม้ที่ไม่ใช้แล้วถูกทิ้งลงคลอง เป็นต้น ขณะนี้จังหวัดเชียงใหม่เกิดการประชุม ครม. สัญจร ในระหว่างวันที่ 29 – 30 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา โดยใช้ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ 7 รอบ พระชนมพรรษา เป็นสถานที่จัดประชุม ซึ่งตอนนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนก็จัดเตรียมเรียงล�ำดับ ความส�ำคัญ ของโครงการในพื้ น ที่ เ พื่ อ ผ่ า นการ ประชุม ครม.ครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรก เรียกว่าจองโครงการ ให้ครม. มีมติไว้ ก่อนก็เป็นเรื่องส�ำคัญที่จะท�ำให้ทิศทาง การพัฒนาเมืองเชียงใหม่เปลี่ยนไปอีก ครั้ง หลังจากหลายรัฐบาลจากคน เชียงใหม่เข็นโครงการไปไม่สุด และ สะดุดระหว่างทาง ทางจังหวัดโดยนายสุริยะ ประสาท บัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผย ว่า จังหวัดเชียงใหม่มีประเด็นที่จะน�ำ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมครั้งนี้ ในเรื่องของระบบการขนส่งมวลชน โลจิสติกส์ ทางรถจักรยาน ระบบน�้ำและแหล่งน�้ำ รวมถึงการแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า โดยจะมีการเสนอ ขอให้กรมควบคุมมลพิษเข้าร่วมเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานหลักในการร่วมรับผิดชอบด�ำเนินการ แก้ไขปัญหาและฟื้นฟูสภาพคลองแม่ข่า ความฝันของชาวเชียงใหม่ที่ต้องการเห็นคลองแม่ข่าและคลองสาขาสายต่างๆ มีน�้ำ ใส ไม่มีสิ่งกีดขวางทางน�้ำ ไม่มีขยะเต็มคลอง และไม่มีน�้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็นสร้างความทุกข์ให้ ชาวบ้านจะเป็นจริงได้หรือไม่ คงต้องฝากความหวังไว้กับ จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนคร เชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชาวบ้านที่ใช้ประโยชน์เองว่าจะด�ำเนินการจริงจัง ตามแผนที่วางไว้ได้หรือไม่และจะเกิดผลเป็นรูปธรรมได้อีกนานเพียงใดคงต้องติดตามต่อไป



ทา่ แพ ใน

อนาคต



จากสภาพทางกายภาพของถนนท่าแพนั้น ยังสามารถสังเกตลักษณะของอาคาร ปลูกสร้างเก่าอยู่บ้างแต่ไม่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของถนนท่าแพ และค�ำว่า ถนนสายวัฒนธรรมและเนื่องจากลักษณะของการเดินรถแบบทางเดียวขนาด 3 เลนซึ่งมี ตรอกซอกซอยระหว่างถนนหลักค่อยข้างเยอะ ท�ำให้หลงทิศทางได้ง่าย ประกอบกับสามารถ เชื่อมต่อไปยังย่านวโรรสและไนท์บาซาร์ซึ่งเป็นย่านที่ใช้เป็นจุดหมายตาหลักมากกว่าท�ำให้มี การใช้ถนนเส้นนี้เป็นเส้นทางผ่านไปยังที่อื่นมากกว่าเข้ามาใช้บริเวณพื้นที่ศึกษาโดยตรงจึง ก่อให้เกิดปัญหาท�ำให้ไม่สามารถจดจ�ำแผนที่จินตภาพได้ เกิดเนื่องจากลักษณะของสิ่งปลูก สร้าง ไม่มีเอกลักษณ์ไม่เป็นระเบียบ มีความสูงที่บดบังอาคารส�ำคัญรอบข้างไม่มีสัญญาณ ชี้แนะ เช่น แผนที่ ป้ายบอกทาง หรือบางทีป้ายโฆษณามีขนาดใหญ่บดบังป้ายที่ส�ำคัญที่ใช้ ในการเดินทางท�ำให้เกิดการหลงทิศได้ง่าย และด้วยการจราจรที่หนาแน่น สัญญาณชี้แนะ จากจราจรไม่ว่าจะเป็นป้ายบอกทิศทางการเดินรถ หรือสัญญาณไฟแดงไม่เพียงพอ รถจึงวิ่ง เร็ว ประกอบกับขนาดทางเท้าที่แคบอยู่แล้วและ Street Furniture ที่กีดขวางทางเดินหาก จะเดินตรงทางเท้าบางทีต้องไปเดินตรงเส้นถนน มีดวงโคมที่ส่องสว่างช่วงเย็น ตลอดทั้งเส้น แต่ด้วยกิจกรรมที่เกิดเฉพาะตรงช่วงหัวมุมประตูท่าแพ ท�ำให้ผู้เดินถนนรู้สึกอันตรายและไม่ อยากเดิน ฉะนั้น ศูนย์การให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวจึงมีความส�ำคัญกับนักท่องเที่ยว รวม ถึงการประชาสัมพันธ์ข้อมูลทั้งทางด้านกิจกรรมและการให้ข้อมูลของพื้นที่เช่น ป้ายชื่อ ป้าย ประวัติความเป็นมา หรือแผนที่บอกทางโดยควรจะให้ข้อมูลเป็นระยะทางประกอบด้วย มี สองภาษา และควบคุมเรื่องขนาดของป้ายโฆษณาเพื่อลดปัญหามลทัศน์จากป้ายจัดตกแต่ง ทางระนาบสูงเมื่อมีงาน เทศกาล เพื่อเป็นจุดหมายตา ที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของ สถานที่ หรือท�ำซุ้มประตูช่วงแยกถนนใหญ่เพื่อให้สังเกตได้ง่ายขึ้นพื้นที่เปิดโล่งสีเขียว เพื่อ ให้มีจุดพักสายตาระหว่างช่วงถนนเพิ่ม หรือปรับปรุงระบบทางเท้าให้สามารถเดินได้สะดวก เพื่อพื้นที่นั่งพักระหว่าง ขนส่งมวลชนช่วงเวลาดึกในช่วงที่มีกิจกรรมถนนคนเดิน เพื่อส่ง เสริมกิจกรรมถนนคนเดิน ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว มีการจัดกลุ่มรวมร้านที่มีลักษณะ เดียวกัน เช่น โซนธนาคาร โซนรองรับนักท่องเที่ยวและไม่อยากให้มีกิจกรรม เช่น ผับ บาร์ บนถนนเส้นนี้


เชียงใหม่... สู่มรดกโลก นอกจากนั้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2556 ภาคส่วนต่างๆ ทั่วเมืองเชียงใหม่ได้ร่วมมือกัน ผลักดันเพื่อเสนอชื่อเมืองเชียงใหม่เข้าที่ประชุมขององค์กรการศึกษา วิทยาศาสตร์ และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เพื่อพิจารณาให้เป็นมรดกโลก และเมื่อไม่นาน มานี้ UNESCO ก็ตอบรับเมืองเชียงใหม่เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อ เข้ารับการเสนอชื่อในขั้นตอนต่อไป การผลักดันในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย เช่น องค์การบริหารส่วน จังหวัดเชียงใหม่ กรมศิลปากร ศูนย?ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SEAMEO-SPAFA) คณะสงฆ์จังหวัด ผู้แทนถาวรไทยประจ�ำองค์กรยูเนสโก มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และสถาบันการ ศึกษาอื่นๆ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะ วิจิตรศิลป์ เป็นตัวด�ำเนินงานหลักในการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดท�ำเอกสารเพื่อเสนอชื่อ ซึ่งที่ ผ่านมาได้มีการจัดการประชุมหลายเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกฝ่าย เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน รวมถึงการศึกษาดูงานที่หลวงพระบางซึ่งเป็นเมืองมรดกโลกที่มี ลักษณะใกล้เคียงกัน มีการจัดท�ำเว็บไซต์ www.chiangmaiworldheritage.orgเพื่อน�ำเสนอข้อมูลเนื้อ หาการเสนอเมืองเชียงใหม่สู่มรดกโลก โดมีการแยกออกเป็นกลุ่ม ทั้งหมด 6 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่


1.ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเมืองเก่าเชียงใหม่ (อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เจ็ดริน แม่ น�้ำปิง แม่ข่า) 2.ก�ำแพงเมืองด้านในของเมืองเชียงใหม่ 3.ก�ำแพงเมืองด้านนอกของเมืองเชียงใหม่ 4.กลุ่มโบราณสถานภายในก�ำแพงเมือง 5.กลุ่มโบราณสถานภายนอกเมือง รวมทั้งวัดส�ำคัญต่างอ�ำเภอ เวียงกุมกาม ถนน จากเวียงกุมกามไปล�ำพูน 6.สิ่งก่อสร้างในยุคหลัง เช่น สะพานนวรัฐ กาดหลวง สถานีรถไฟ โรงพยาบาล ศาล เจ้าจีน วิหารศาสนาซิกข์ มัสยิด รวมทั้งอาคารในยุคโมเดิร์นของมิชชันนารีชาวตะวันตก ซึ่ง แสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในอดีตที่ยังมีให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งนี้เมืองเชียงใหม่เข้าเกณฑ์คุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลตามที่ UNESCO ก�ำหนด ถึง 4 ข้อ คือ 1.เป็นตัวแทนผลงานชิ้นเอกของอัจฉริยภาพของการสร้างสรรค์ของมนุษย์ โดย เมืองเชียงใหม่มีเรื่องราวภูมิปัญญาการสร้างเมืองเชียงใหม่ของพระยามังราย การออกแบบ ผังเมือง การสร้างเมืองแบบมีคูน�้ำคันดินล้อมรอบเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ นอกจากนี้ยัง มีโบราณสถานในเมืองและนอกเมืองเชียงใหม่ สิ่งก่อสร้างร่วมสมัย ซึ่งทั้งหมดเป็นองค์ ประกอบของเมืองที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองการใช้งานและแทรกไว้ด้วยภูมิปัญญาของบรรพ ชน


2.แสดงออกถึงการเปลี่ยนแปลงคุณค่าต่างๆ ของมนุษย์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ภายในพื้นที่วัฒนธรรมหนึ่งของโลก ซึ่งสถาปัตยกรรมเมืองเชียงใหม่เป็นตัวแทนการแลก เปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับดินแดนโดยรอบในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องยาวนานจากอดีตมาจนถึง ปัจจุบัน 3.เป็นประจักษ์พยานเพียงหนึ่งเดียว หรือมีลักษณะพิเศษของการสืบทอก วัฒนธรรม ซึ่งเมืองเชียงใหม่มีลักษณะการสืบทอดวัฒนธรรมล้านนาที่คงอยู่ในปัจจุบัน ทั้งใน ด้านจารีตประเพณี แบบแผนการด�ำรงชีวิต เป็นต้น 4.มีความสัมพันธ์โดยตรงกับเหตุการณ์หรือประเพณีที่ยังคงอยู่ รมถึงวรรณกรรมที่ โดดเด่น ซึ่งเมืองเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ในเครือข่ายวัฒนธรรมในกลุ่มเมืองภาคเหนือและ บริเวณใกล้เคียง ภายใต้ภูมิหลังการรับวัฒนธรรมล้านนาและเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ล้านนาตั้งแต่อดีต มีพิธีกรรม ประเพณีทางพระพุทธศาสนาทีเก่าแก่ รวมไปถึงการเฉลิม ฉลองในเทศกาลต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต นายเอนก สีหมาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร ได้กล่าวว่า การเสนอชื่อเมืองเชียงใหม่สู่มรดกโลก จะเสนอในรูปแบบกลุ่มโบราณสถานที่จะไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน พื้นที่ในตัวเมือง ก็ยังท�ำการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ลักษณะเด่นของเมืองเชียงใหม่ก็คือ เป็นเมืองเก่าที่ สามารถอยู่ได้อย่างกลมกลืนกับเมืองใหม่ นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ยังกล่าวเสริม อีกว่า เมืองเชียงใหม่มีคุณค่าที่โดดเด่นตามข้อก�ำหนดของยูเนสโก เช่น ภูมิปัญญาการสร้าง เมือง สิ่งก่อสร้างร่วมสมัยที่มีความผสมผสานภูมิปัญญาของบรรพชน สถาปัตยกรรมที่แสดง ให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับดินแดนโดยรอบ นอกจากนี้เอกลักษณ์ของ วัฒนธรรมล้านนายังได้รับการสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งด้านจารีตประเพณี แบบแผนการ ด�ำรงชีวิต การวางผังเมือง เรียกได้ว่าเชียงใหม่เป็นเมืองโบราณที่ยังมีชีวิต จึงมีความพร้อมสู่ การเป็นเมืองมรดกโลกอย่างเต็มที่ หากเมืองเชียงใหม่ได้รับการเสนอเป็นมรดกโลก จะส่งผล ให้ทั่วโลกรู้จักเมืองเชียงใหม่มากขึ้น ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ท�ำให้เศรษฐกิจของเชียงใหม่ เจริญเติบโต สร้างรายได้ให้กับชาวเชียงใหม่อย่างมากมาย ทางด้าน นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้กล่าวไว้ว่า กลไก ส�ำคัญที่จะช่วยผลักดันเมืองเชียงใหม่สู่มรดกโลกนั้นก็คือความร่วมมือร่วมใจของคนในพื้นที่ และจากแนวผังเมืองของเชียงใหม่จะสังเกตได้ว่าเชียงใหม่นั้นมีสวนสาธารณะน้อยมาก แต่มี ต้นไม้เยอะ ในขณะนี้ทางจังหวัดก็มีการตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อท�ำหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ต้นไม้โดยเฉพาะ ประกอบไปด้วยชมรมต่างๆ เช่น ชมรมรักต้นไม้ ชมรมหมอต้นไม้ ที่จะมา ช่วยกันดูแลและปลูกต้นไม้เพิ่ม


ด้าน รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ อธิบายเกี่ยวกับความร่วมสมัยของเมืองเชียงใหม่กับการอนุรักษ์เมืองเชียงใหม่ว่า การเตรี ยมความพร้อมในการเสนอชื่อเมืองเชียงใหม่สู่มรดกโลกนั้นไม่ได้เป็นการหยุดหรือแช่แข็งทุก อย่างไว้เหมือนเดิม เนื่องจากเสน่ห์ของเชียงใหม่คือการผสมผสานกันระหว่างความเก่าและ ความใหม่ แต่อาจจะต้องควบคุมทัศนียภาพของเมืองเก่าในบางส่วน บริเวณสี่เหลี่ยมคูเมือง ก็จะมีบางจุดที่ต้องรักษาไว้ เช่น ก�ำแพงเมือง แจ่งเมือง เจดีย์หรือวัดส�ำคัญ คนในพื้นที่ สามารถด�ำเนินชีวิตควบคู่กับการอนุรักษ์โบราณสถานดังกล่าวต่อไปได้ อย่างไรก็ตามการก ระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหรือการอนุรักษ์โบราณสถานยังไม่ถือว่าเป็นผลส�ำเร็จในที เดียว แต่ต้องค�ำนึงถึงวิถีชีวิต ความยั่งยืน และการอยู่ร่วมกันของคนในพื้นที่อีกด้วย ทั้งหมดนี้คือความคืบหน้าของหน่วยงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ สถาบันการศึกษา และภาคประชาชนที่พยายามผลักดันให้ เมืองเชียงใหม่เป็นมรดกโลก แต่อย่างไรก็ตาม ผลส�ำเร็จของความพยายามในครั้งนี้ไม่ใช่ เพียงแค่ได้รับการประกาศขึ้นเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ แต่สิ่งที่ส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งก็ คือ จิตส�ำนึกร่วมของชาวเชียงใหม่ที่จะรักและอาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่ด้วยความภูมิใจ ร่วม กันอนุรักษ์ไว้ส�ำหรับลูกหลานต่อไปด้วยความยั่งยืน


ระลึก @ ท่าแพ สินค้าที่ระลึก : ท่าแพ สินค้าที่ระลึกถือว่ามีความสาคัญต่อสังคมและวัฒนธรรม ในสัดส่วนขององค์ประกอบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจของที่ระลึกมีบทบาทสาคัญ ใน การสร้างงาน อาชีพใหม่ๆ บางชนิด นอกจากนี้ยัง เป็นการช่วยอนุรักษ์ ศิลปะวัฒนธรรมของประเทศ ให้คง อยู่สืบทอดไปสู่คนรุ่นหลัง


ท่าแพ Only

เซรามิกรูปทรงอาคารในย่านท่าแพ อาคารศรีประเสิรฐ (ใน รูป) เป็นตึกแถวแบบอาณานิคม (Colonial Style) มีสองชั้น ครึ่งปูนครึ่งไม้รูปทรงสวยงามที่ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ตั้ง อยู่ที่หัวมุมระหว่างถนนวิชยานนท์กับถนนท่าแพ ใกล้กับ บ้านของหลวงอนุสาร ฝั่งตรงข้ามพุทธสถานในปัจจุบัน

ท่าแพ Only

สมุดโน็ตขนาด A5 ลวดลาย : อาคารร้านค้าย่านท่าแพ





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.