Master of science program in medical sciences

Page 1

S-

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555)

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 ชื่อสถาบันอุดมศึกษา วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต/คณะแพทยศาสตร์ หมวดที่ 1. ข้อมูลทั่วไป

1. ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Medical Sciences 2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การแพทย์) ชื่อย่อ : วท.ม. (วิทยาศาสตร์การแพทย์) ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Master of Science (Medical Sciences) ชื่อย่อ : M.Sc. (Medical Sciences) 3. วิชาเอก - วิชาเอกชีววิทยาระดับเซลล์และอณูชีววิทยา (Cell and Molecular Biology) - วิชาเอกเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ (Reproductive Medicine) - วิชาเอกสรีรวิทยาคลินิก (Clinical Physiology) - วิชาเอกเภสัชโภชนศาสตร์ (Nutraceutical Sciences) 4. จํานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร จํานวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต 5. รูปแบบของหลักสูตร 5.1 รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาโท ศึกษา 2 ปี 5.2 ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย 5.3 การรับเข้าศึกษา รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ 5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันโดยเฉพาะ 5.5 การให้ปริญญาแก่ผสู้ าํ เร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

2


มคอ.2 6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร - หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2550 - กําหนดเปิดสอนใน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555 - ได้พิจารณากลั่นกรองโดยคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 26 เดือน มีนาคม พ.ศ 2555 - ได้พิจารณากลั่นกรองโดยคณะอนุกรรมการสภามหาวิทยาลัยด้านหลักสูตรและการจัดการศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 3 เดือน พฤษภาคม พ.ศ 2555 - ได้รับอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 28 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2555 7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ ในปีการศึกษา 2558 8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา 8.1 อาจารย์ 8.2 นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 8.3 นักวิทยาศาสตร์ประจําห้องปฏิบัติการ 8.4 ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 9. ชื่อ นามสกุล เลขประจําตัวบัตรประชาชน ตําแหน่งและคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผรู้ ับผิดชอบ หลักสูตร ลําดับ

1

เลขประจําตัวบัตร ตําแหน่ง ชื่อ-นามสกุล ประชาชน ทางวิชาการ วิชาเอกชีววิทยาระดับเซลล์และอณูชีววิทยา 3100504213XXX ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิริกุล มะโนจันทร์

2

วิชาเอกเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ 3190900142XXX อาจารย์

ไพรัตน์ ฐาปนาเดโชพล

คุณวุฒิการศึกษา/สถาบัน/ ปีการศึกษาที่จบ (พ.ศ.) -ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (กายวิภาคศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล, 2545 -วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (กายวิภาคศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540 - พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พยาบาลศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล, 2535 วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม(จิตเวชศาสตร์ เด็กและวัยรุ่น) แพทยสภา,2553

3


มคอ.2 ลําดับ

3

4

เลขประจําตัวบัตร ประชาชน

ตําแหน่ง ทางวิชาการ

ชื่อ-นามสกุล

คุณวุฒิการศึกษา/สถาบัน/ ปีการศึกษาที่จบ (พ.ศ.) - Ph.D. (Cell Biology), The University of Alabama at Birmingham, USA, 2542 - แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, 2534

วิชาเอกสรีรวิทยาคลินิก 3309901176XXX ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โสภาพรรณ เอกรัตนวงศ์ - Doctor of Philosophy Kyorin University School of Medicine, Japan, 2547 - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สรีรวิทยา) มหาวิทยาลัยมหิดล, 2535 - วิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพ บําบัด) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2532 วิชาเอกเภสัชโภชนศาสตร์ 3409901157XXX ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุมาลี คอนโด - Doctor of Philosophy (Science) University of Sydney, Australia, 2540 - Master of Science (Medical Microbiology) University Kebangsaan Malaysia, Malaysia, 2535 - วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการ แพทย์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2528

10. สถานที่จัดการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี 11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จําเป็นต้องนํามาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร 11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันประเทศต่างๆ มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและองค์ความรู้ทางวิชาการเพื่อให้ ได้รับการยอมรับในความเป็นประเทศชั้นนําของโลก ซึ่งดัชนีชี้วัดความเป็นประเทศชั้นนําคือการสร้าง นวัตกรรมใหม่ๆ จากผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรจะ นํามาซึ่งการเพิ่มพูนรายได้ของประชากรและรายได้ของประเทศ 11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสารทําให้เกิดการเรียนรู้ข่าวสารและรับวัฒนธรรม 4


มคอ.2 จากชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้วิถีชีวติ ของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาสังคมของประเทศไทย ยังไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีอิทธิพลต่อประชาชน ทําให้รูปแบบการดําเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากวัฒนธรรมดั้งเดิม นอกจากนั้น รัฐบาลมีนโยบายให้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการบริการสุขภาพ (medical hub) โดยมุง่ เน้นให้มีการประยุกต์ผลงาน วิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทนั สมัย สามารถใช้แก้ปัญหาใน ทางการแพทย์ได้จริง เนื่องจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนําและมีความปรารถนาที่ จะให้มีการนําผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชากรโลก ดังนั้น คณะแพทยศาสตร์จึงได้เปิด หลักสูตรบูรณาการทางการแพทย์สหสาขาหลังปริญญา เพื่อผลิตงานวิจัยและบุคลากรวิจัยที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการวิจัยระดับสูงตอบสนองนโยบายดังกล่าว โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนา สังคมไทยให้ทนั กับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน 12. ผลกระทบจาก ข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน 12.1 การพัฒนาหลักสูตร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย และเกิดการบูรณาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อมุง่ ผลิตบุคลากรที่มีความสามารถทางด้าน การวิจัยและวิชาการในระดับสูง 12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฉบับปรับปรุงตอบสนองพันธกิจด้านการวิจัย วิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลิตงานวิจัยทางการแพทย์ระดับสากล และสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล 13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน (เช่น รายวิชาที่เปิดสอน เพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น หรือต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น) 13.1 รายวิชาในหลักสูตรทีเ่ ปิดสอนโดยวิทยาลัย/คณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่น นักศึกษาสามารถเลือกศึกษารายวิชาเลือกทั่วไปจากรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรระดับบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา และได้รบั อนุมัติจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาที่นักศึกษาไปลงทะเบียนเรียน 13.2 รายวิชาในหลักสูตรทีเ่ ปิดสอนให้วทิ ยาลัย/คณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่นต้องมาเรียน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดการเรียนการสอนแบบ บูรณาการร่วมกับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกคณะ สําหรับนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษาจากต่างคณะสามารถเลือกเรียนรายวิชาในหลักสูตรทีเ่ ปิดสอนได้ โดยการบริหาร จัดการเป็นไปตามข้อกําหนดของฝ่ายวิชาการของคณะแพทยศาสตร์ รายวิชาที่หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เปิดสอนให้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ได้แก่ 1. พว.600 วิธีวิทยาการวิจัยและจริยธรรม 2(2-0-6) 2. พว.700 สถิติประยุกต์ 2(2-0-6) 5


มคอ.2 13.3 การบริหารจัดการ 1. มอบหมายให้คณะอนุกรรมการหลักสูตรแต่ละหลักสูตรควบคุมการดําเนินการเกี่ยวกับ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดของหลักสูตร 2. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบรายวิชาทุกรายวิชาเพื่อทําหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา ในการพิจารณาข้อกําหนดรายวิชา การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลการดําเนินการรายวิชา หมวดที่ 2. ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร 1. ปรัชญา ความสําคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 1.1 ปรัชญา บูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อสุขภาวะของปวงชน 1.2 ความสําคัญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยพัฒนาองค์ความรู้เพื่อชี้นําพัฒนา แก้ปัญหาสังคม ทุกด้าน คณะแพทยศาสตร์มศี ักยภาพทางด้านโครงสร้าง ห้องปฏิบัติการ งบประมาณการวิจัย และมีบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการผลิตนักวิจัยให้สามารถทําการวิจัย บูรณาการ วิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อประยุกต์ใช้ทางคลินิกในการแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชน หรือพัฒนา วิธีการบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทุกระดับครบวงจรและยั่งยืน 1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 1. ผลิตบัณฑิตระดับหลังปริญญาที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการวิจัยระดับสากล 2. ส่งเสริมการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน(พรีคลินกิ ) กับการประยุกต์ ใช้ในทางคลินกิ และชุมชน 3. เพิ่มศักยภาพของอาจารย์ นักวิจัยในการผลิตงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4. ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ความรู้และงานวิจัยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันรักษาและฟื้นฟู สุขภาพของประชาชนโดยรวม 2. แผนพัฒนาปรับปรุง คาดว่าจะดําเนินการแล้วเสร็จครบถ้วน ภายใน 5 ปี 2.1 แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง 2.2 กลยุทธ์ ระบบกลไกการพัฒนาหลักสูตร - การปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 ของสํานักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา - การปรับปรุงคุณภาพหลักสูตร การประกันคุณภาพหลักสูตร

2.3 หลักฐาน/ตัวบ่งชี้ - ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตร จากคณาจารย์ประจําหลักสูตร นักศึกษาบัณฑิตที่สําเร็จการ ศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต

6


มคอ.2 2.1 แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง 2.2 กลยุทธ์ แผนพัฒนาคุณภาพบัณฑิต - การเสวนาทางวิชาการ และ วิทยานิพนธ์ - การพัฒนาทักษะนักศึกษาใน การจัดทํานิพนธ์ต้นฉบับ - การสนับสนุนนักศึกษาในการ นําเสนอผลงานในที่ประชุม วิชาการระดับชาติ และ/หรือ ระดับนานาชาติ

2.3 หลักฐาน/ตัวบ่งชี้ - ระดับความพึงพอใจของ ผู้เข้าร่วมเสวนา - จํานวนผลงานจากวิทยานิพนธ์ที่ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับ ชาติ และ/หรือระดับนานาชาติ - จํานวนผลงานจากวิทยานิพนธ์ที่ นําเสนอผลงานในการประชุม วิชาการ ในระดับชาติ และ/ หรือระดับนานาชาติ

หมวดที่ 3. ระบบการจัดการศึกษา การดําเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 1. ระบบการจัดการศึกษา 1.1 ระบบ ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจเปิดภาคฤดูร้อนได้โดยใช้ เวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ แต่ให้เพิ่มชั่วโมงการศึกษาในแต่ละรายวิชาให้เท่ากับภาคปกติ 1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ไม่มี 1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค ไม่มี 2. การดําเนินการหลักสูตร 2.1 วัน -เวลาในการดําเนินการเรียนการสอน วัน-เวลาราชการปกติ ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – กันยายน ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ภาคฤดูร้อน เดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2.2 คุณสมบัติของผูเ้ ข้าศึกษา คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2553 ข้อ 7 และมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. เป็นผู้สําเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสําเร็จการศึกษาก่อนวันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาคณะ แพทยศาสตร์ ระดับปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือสาขา ที่เทียบเท่าทั้งในหรือต่างประเทศจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ 2. ต้องมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 2.50 หรือคณะกรรมการสอบคัดเลือกโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาของคณะแพทยศาสตร์พิจารณาให้สมัครได้ 7


มคอ.2 3. กรณีเป็นผู้เข้าศึกษาชาวต่างชาติต้องสามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยอยู่ในระดับดี ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษากําหนด 4. เป็นนักศึกษาที่เข้าศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สอบวัดคุณสมบัติในหลักสูตรระดับ ปริญญาเอกไม่ผ่านตามเกณฑ์ภายใน 2 ครั้ง สามารถโอนมาศึกษาเพื่อรับปริญญาใน หลักสูตรระดับปริญญาโทได้ โดยนักศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาและทําวิทยานิพนธ์ ให้ครบตามโครงสร้างหลักสูตรระดับปริญญาโท การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา 1. ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านการสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์ตามเกณฑ์และวิชาที่คณะกรรมการ บัณฑิตศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กําหนด 2. ผู้เข้าศึกษาต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFLหรือ IELTS โดยผลสอบ ต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร 3. เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะแพทยศาสตร์ 2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า - การปรับตัวและวิธีการเรียนรู้ในระดับบัณฑิตศึกษา - ทักษะภาษาอังกฤษ 2.4 กลยุทธ์ในการดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ ข้อจํากัดของนักศึกษาในข้อ 2.3 2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า 2.4 กลยุทธ์ในการดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ ข้อจํากัดของนักศึกษา การปรับตัวและวิธีการเรียนรู้ใน ระดับบัณฑิตศึกษา

ทักษะภาษาอังกฤษ

- มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาทั่วไปดูแลนักศึกษาตั้งแต่ แรกเข้าจนสําเร็จการศึกษา และมีการแต่งตั้งอาจารย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อช่วยดูแลและติดตามการทํา วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาอีกทางหนึ่ง - นักศึกษารุ่นพี่ให้คําแนะนําในด้านการเรียนและ ถ่ายทอดประสบการณ์ด้านต่างๆ เช่น การบริหาร เวลาเพื่อให้สามารถสําเร็จการศึกษาภายในเวลาที่ หลักสูตรกําหนด - เจ้าหน้าที่งานบริการการศึกษาให้ข้อมูลและ คําแนะนําเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา - ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ ภาษาอังกฤษ

8


มคอ.2 2.5 แผนการรับนักศึกษาและผู้สําเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี ในแต่ละปีการศึกษาจะรับนักศึกษาปีละ 10 คน จํานวนนักศึกษาแต่ละปีการศึกษา จํานวนนักศึกษา 2555 2556 2557 2558 2559 ชั้นปีที่ 1 10 10 10 10 10 ชั้นปีที่ 2 10 10 10 10 รวม 10 20 20 20 20 คาดว่าจะจบการศึกษา 10 10 10 10 2.6 งบประมาณตามแผน ค่าตอบแทนกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ 20,000 บาท ค่าตอบแทนกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ 30,000 บาท ค่าตอบแทนอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 70,000 บาท ค่าวัสดุ-สารเคมีวิทยาศาสตร์ 180,000 บาท ค่าประชุมคณะอนุกรรมการวิชาเอก 8,000 บาท รวมทั้งสิ้น 308,000 บาท ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา 95,000 ต่อปี โดยมีการบริหารจัดการเป็นโครงการปกติ ใช้งบประมาณแผ่นดินประจําปี 2.7 ระบบการศึกษา  แบบชั้นเรียน  แบบทางไกลผ่านสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก  แบบทางไกลผ่านสื่อแพร่ภาพและเสียงเป็นสื่อหลัก  แบบทางไกลทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อหลัก (E-learning)  แบบทางไกลทางอินเตอร์เน็ต  อื่นๆ (ระบุ) 2.8 การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2553 ข้อ 12.15 และ ข้อ 19 3. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน 3.1 หลักสูตร 3.1.1 จํานวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาการศึกษา - สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต - สําหรับผู้ที่โอนมาจากหลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จํานวน หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต 9


มคอ.2 ระยะเวลาศึกษา เป็นหลักสูตรแบบศึกษาเต็มเวลา นักศึกษาต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอด หลักสูตร อย่างน้อย 4 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 8 ภาคการศึกษาปกติ 3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร แผน ก แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทําวิทยานิพนธ์) 1) หมวดวิชาบังคับ 4 หน่วยกิต 2) หมวดวิชาเอกเลือกไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต 3) หมวดวิชาเลือกทั่วไปไม่น้อยกว่า 2 หน่วยกิต 4) วิทยานิพนธ์ 24 หน่วยกิต ข้อกําหนดของหลักสูตร 1. กรณีที่นักศึกษามีผลการเรียนดีเยี่ยม (ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป) และ ลงทะเบียนเรียนรายวิชามาแล้วไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา ของคณะแพทยศาสตร์ และอาจารย์ที่ปรึกษาอาจพิจารณาร่วมกันให้ปรับเปลี่ยนไปศึกษา ระดับปริญญาเอกได้ ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนระดับการศึกษาดังกล่าวต้องดําเนินการให้แล้ว เสร็จก่อนลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ โดยนักศึกษาต้องสอบวัดคุณสมบัติให้ผ่านตามเกณฑ์และ ทําวิทยานิพนธ์ให้มีจํานวนหน่วยกิตเท่ากับระดับปริญญาเอก และมีระยะเวลาในการศึกษา ตามเกณฑ์การศึกษาของหลักสูตรระดับปริญญาเอก 2. เมื่อนักศึกษาในข้อ 1 เข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาเอกแล้ว จะไม่สามารถกลับมาศึกษา ในระดับปริญญาโทได้อีก ขอบข่ายงานวิจัยของวิชาเอก 3.1.2.1 วิชาเอกชีววิทยาระดับเซลล์และอณูชีววิทยา (Cell and Molecular Biology) มุ่งเน้นการวิจัยทางด้านชีววิทยาและอณูชีววิทยาระดับเซลล์ในเชิงลึกเพื่อนําไปประยุกต์ ใช้ทางการแพทย์ มีวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตรุ่นใหม่ที่มีความเป็นเลิศในการผลิตผลงานวิจัย ทางด้านเซลล์ต้นกําเนิดเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมทั้งสามารถนําเทคโนโลยีเซลล์ต้นกําเนิดไป ใช้ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางการแพทย์ การเรียนการสอนครอบคลุมเนื้อหาที่ทนั สมัยทาง ด้านชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุลของเซลล์ต้นกําเนิดชนิดต่างๆ อาทิเช่น เซลล์ต้นกําเนิดตัวอ่อน เซลล์ต้นกําเนิดเม็ดเลือด เซลล์ต้นกําเนิดจากเนื้อเยื่อร่างกาย ตลอดจนความรู้ทางด้านอณูชีววิทยา ของเซลล์ต้นกําเนิดที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ นักศึกษามีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงจากการ ฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการวิจัยเซลล์ต้นกําเนิด การเข้าร่วมกิจกรรมการประชุม สัมมนา โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเซลล์ต้นกําเนิดทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ขอบข่ายงานวิจัย 1. Embryonic stem cells ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชีววิทยาของเซลล์ต้นกําเนิดจากตัวอ่อน การเพาะเลี้ยง ตลอดจนการนําไปประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ 2. Adult stem cells ศึกษาเกี่ยวกับแหล่งของเซลล์ต้นกําเนิด วิธีการคัดแยก คุณสมบัติ รวมทั้งประโยชน์และการนําไปใช้ทางคลินิก

10


มคอ.2 3. Induced pluripotent stem cells ศึกษาวิจัยในด้านการเหนี่ยวนําเซลล์ร่างกายให้มี คุณสมบัติเป็นเซลล์ต้นกําเนิด ทั้งในภาวะปกติและภาวะที่เป็นโรค 4. Application of cell and molecular biology in medicine ศึกษาวิจัยทางชีววิทยา และอณูชีววิทยาในระดับเซลล์ รวมทั้งการนําเทคนิคทางด้านเซลล์ชีววิทยาและอณู ชีววิทยาไปประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ 3.1.2.2 วิชาเอกเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ (Reproductive Medicine) ศึกษาวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ ทั้งระดับโมเลกุล เซลล์ และ อวัยวะ กลไกที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์สบื พันธุ์ การปฏิสนธิ การฝังตัว การเจริญและการพัฒนา ของตัวอ่อน การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนการเจริญพันธุ์ตลอดทุกช่วงของชีวิต รวมทั้งการ ตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของมารดาและทารกขณะอยู่ในครรภ์จนถึง คลอด หลังคลอด และในวัยชรา บทบาท หน้าที่และความแตกต่างระหว่างเซลล์ต้นกําเนิด เซลล์ ปกติและเซลล์สืบพันธุ์ วงจรชีวิตของเซลล์สืบพันธุ์ วงจรการสืบพันธุ์ของมนุษย์ พันธุกรรมศาสตร์ ของระบบการเจริญพันธุ์ ทักษะการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์ (Reproductive Technologies) โดยศึกษาทัง้ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตั้งแต่ระดับ basic sciences จนถึงระดับ advanced clinical sciences ขอบข่ายงานวิจัย 1. Fertility and infertility ศึกษาวิจัยการทํางานของระบบสืบพันธุ์ การเจริญพันธุ์ การมีบุตรยาก สาเหตุ การรักษาและการใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาการมีบุตรยาก 2. Reproductive endocrinology ศึกษาวิจยั ต่อมไร้ท่อที่ทาํ หน้าที่ควบคุมการทํางาน ของระบบสืบพันธุ์ในภาวะปกติและผิดปกติ รวมทั้งการแก้ไขภาวะที่ผิดปกตินั้นๆ 3. Stem cell in reproduction ศึกษาวิจัยบทบาทของเซลล์ต้นกําเนิดจากตัวอ่อนและ เนื้อเยื่อต่างๆ ในระบบสืบพันธุ์ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทางคลินิก 4. Reproductive genetics ศึกษาวิจัยพันธุศาสตร์ของระบบสืบพันธุ์ในระดับโมเลกุล ความผิดปกติต่างๆ และหลักการแก้ไข 3.1.2.3 วิชาเอกสรีรวิทยาคลินิก (Clinical Physiology) ศึกษาโดยใช้ฐานองค์ความรู้ทางพยาธิสรีรวิทยาและกลุม่ วิจัยในวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ เกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปยังองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก วิจยั ในลักษณะสหบูรณาการของ วิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยเน้นหนักทางสรีรวิทยาของหัวใจ หลอดเลือด ไต สมอง และพฤติกรรมเป็น ด้านหลัก ขอบข่ายงานวิจัย 1. Neuro-cardiovascular research : Stroke, Atherosclerosis, Atrial fibrillation : Biomarkers and Oxidative stress 2. Membrane transport ศึกษาเกี่ยวกับกลไกการขนส่งผ่านเยื่อบุหลอดไต พยาธิ สรีรวิทยาของโรคที่มีความผิดปกติของการขนส่งผ่านเยื่อบุลําไส้ เช่น โรคอุจจาระร่วง และสมุนไพรทีอ่ อกฤทธิ์ยับยั้งกลไกการขนส่งสารผ่านเยื่อบุ 11


มคอ.2 3. Microcirculation-prevention of angiogenesis and apoptosis mechanisms in tumors : ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างหลอดเลือดใหม่ (angiogenesis) ทั้งในแง่ physiological (เช่น ใน wound healing และ pathological angiogenesis) (เช่น ใน tumor angiogenesis) กับผลของสมุนไพรหรือสารต่างๆ ที่มผี ลต่อการทํางานของ ระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง เช่น dorsal skin fold chamber เพื่อวิเคราะห์หลอดเลือดเฉพาะที่ภายใน chamber ที่ศึกษา 4. Behavioral Sciences – memory, psychiatric problem ศึกษาวิจัยกลไกทาง สรีรวิทยา การรักษาและพฤติกรรมในสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนําทําให้เป็นโรคหรือมี ภาวะผิดปกติทางระบบประสาท โดยทําการทดลองใน animal model ของโรคต่างๆ เช่น Schizophrenia, Depression, Anxiety เป็นต้น 5. Stem cell research 3.1.2.4 วิชาเอกเภสัชโภชนศาสตร์ (Nutraceutical Sciences) การเรียนการสอนแบบสหวิทยาการ เพื่อผลิตบัณฑิตให้เรียนรู้วิธีการและขบวนการแปรรูป สารจากธรรมชาติที่เป็นอาหารและสมุนไพรที่มีผลต่อสุขภาพมาเป็นยา และอาหารเสริมสุขภาพ เพื่อใช้ ในการป้องกันและรักษาโรค เนื้อหาการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้บัณฑิตรูจ้ ักสารเคมีกลุม่ ต่างๆ จาก ธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การสกัดแยกสาร และการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและฤทธิ์ทาง เภสัชวิทยา การศึกษาพิษวิทยา ศึกษาการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ยา อาหารเสริมสุขภาพ เพื่อใช้ รักษาและป้องกันโรค ศึกษาความคงตัวของผลิตภัณฑ์ การทดลองทางคลินิกกับผู้ป่วย โดยมุ่งเน้น สมุนไพรที่ใช้เป็นอาหาร วิธีการวิเคราะห์สารจากธรรมชาติด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งทางชีวภาพเคมีและทาง กายภาพ วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ และการแปรรูปเพื่อให้ใช้สะดวกในรูปอาหารเสริมและยาเม็ด พร้อมทั้งการทดลองทางคลินิก ศึกษาวิธีการตรวจสอบทางอาหาร ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องซึ่งทางสํานักคณะกรรมการอาหารและยากําหนด รวมถึง ความรู้ด้านการบริหารจัดการงานวิจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติชนิดต่างๆ ทั้งในตลาดในประเทศ และต่างประเทศ การจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เป็นข้อมูลทีส่ ากลยอมรับ ขอบข่ายงานวิจัย 1. ศึกษาวิจัยที่มาของยา อาหาร จากสมุนไพร สารเคมีของสมุนไพร และประโยชน์ของการ คัดเลือกยาจากสมุนไพร เพือ่ นํามาใช้รักษา และป้องกันโรค 2. ศึกษาวิจัยวิธีการสกัด การแยกสารสําคัญที่ใช้เป็นสารมาตรฐาน การควบคุมคุณภาพของ สารสกัดสมุนไพร การทํามาตรฐานสมุนไพร การศึกษาความคงตัวของสารสกัดสมุนไพร การวิเคราะห์สารทางโภชนาการ สารสําคัญที่ออกฤทธิ์ตอ่ สุขภาพ 3. ศึกษาวิจัยการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรที่เกี่ยวข้อง กับโรคต่างๆ เช่น ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์เพิ่ม ภูมิต้านทาน ฤทธิ์ต้านการแพ้ ฤทธิ์ลดน้ําตาลในเลือด ฤทธิ์ต้านเชื้อ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส มาลาเรีย และการทดสอบพิษ เป็นต้น 12


มคอ.2 4. ศึกษาวิจัยเทคนิคการแปรรูปสมุนไพรให้เป็นอาหารและยา เพื่อใช้รักษาและป้องกันโรค การควบคุมมาตรฐาน การศึกษาความคงตัวของผลิตภัณฑ์ การทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับ ยาและอาหารเสริม การบริหาร และการตลาดของผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ การขึ้น ทะเบียนต่อสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตลอดจนการจดสิทธิบัตร 3.1.3 รายวิชาในหลักสูตร รหัสวิชา รายวิชาในหลักสูตรประกอบด้วย อักษรย่อ 2 ตัว และเลขรหัส 3 ตัว โดยมีความหมายดังนี้ อักษรย่อ พว/ MS หมายถึง อักษรย่อของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เลขหลักหน่วย เลข 0 หมายถึง วิชาบังคับ เลข 1-9 หมายถึง วิชาเลือก เลขหลักสิบ เลข 0 หมายถึง วิชาในวิชาบังคับ เลข 1 หมายถึง วิชาในวิชาเอกชีววิทยาระดับเซลล์และอณูชีววิทยา เลข 2 หมายถึง วิชาในวิชาเอกเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ เลข 3 หมายถึง วิชาในวิชาเอกสรีรวิทยาคลินิก เลข 4 หมายถึง วิชาในวิชาเอกโภชนศาสตร์ เลขหลักร้อย เลข 6-7 หมายถึง วิชาระดับบัณฑิตศึกษา เลข 8 หมายถึง วิชาวิทยานิพนธ์ 3.1.3.1 วิชาบังคับ จํานวน 4 หน่วยกิต ดังนี้ รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) พว.600 วิธีวิทยาการวิจัยและจริยธรรม 2(2-0-6) MS 600 Research Methodology and Ethics พว.700 สถิติประยุกต์ 2(2-0-6) MS 700 Applied Statistics 3.1.3.2 วิชาเอกเลือก จํานวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต นักศึกษาจะต้องเลือกศึกษาวิชาเลือกตามวิชาเอกที่ผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ ที่ปรึกษาจํานวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) วิชาเอกชีววิทยาระดับเซลล์และอณูชีววิทยา พว.611 ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3(3-0-9) MS 611 Cellular and Molecular Biology 13


มคอ.2 พว.612 เทคนิคพื้นฐานทางชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล MS 612 Basic Techniques in Cellular and Molecular Biology พว.613 ชีววิทยาเซลล์ต้นกําเนิด MS 613 Stem Cell Biology พว.614 โครงการวิจัยเฉพาะเรื่อง MS 614 Special Research Project พว.615 ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุลขั้นสูง MS 615 Advanced Cellular and Molecular Biology วิชาเอกเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ พว.621 เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ขั้นสูง MS 621 Advanced Reproductive Medical Sciences พว.622 เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ขั้นสูง MS 622 Advanced Reproductive Technologies พว.623 โครงการวิจัยเฉพาะเรื่องทางเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ MS 623 Special Research Project in Reproduction วิชาเอกสรีรวิทยาคลินิก พว.631 สรีรวิทยาคลินกิ MS 631 Clinical Physiology พว.632 หัวข้อปัจจุบันในสรีรวิทยาคลินิก MS 632 Current Topics in Clinical Physiology พว.633 การทดลองทางสรีรวิทยาและเครื่องมือ MS 633 Experimental Physiology and Instrument พว.634 หัวข้อพิเศษทางสรีรวิทยาคลินิก MS 634 Special Topics in Clinical Physiology พว.635 ความเครียดเค้นออกซิเดชันในทางชีววิทยาและการแพทย์ MS 635 Oxidative Stress in Biology and Medicine วิชาเอกเภสัชโภชนศาสตร์ พว.641 หลักการและเทคนิคทางเภสัชเวทและเภสัชโภชนศาสตร์ MS 641 Principle and Techniques in Pharmacognosy and Nutraceutical Sciences พว.642 หลักการตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ MS 642 Bioassay Principles of Natural Product พว.643 การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร MS 643 Development of Herbal Products

3(1-6-5) 3(3-0-9) 3(0-9-3) 3(3-0-9)

3(3-0-9) 4(1-6-9) 3(3-6-3)

3(3-0-9) 3(3-0-9) 3(1-2-9) 1(0-1-3) 2(2-0-6)

4(3-6-7)

3(2-3-7) 3(2-3-7) 14


มคอ.2 พว.644 MS 644 พว.645 MS 645 พว.646 MS 646

ปัญหาพิเศษทางเภสัชเวทและเภสัชโภชนศาสตร์ Special Problems in Pharmacognosy and Nutraceutical Sciences เทคโนโลยีกับการผลิตยาขั้นสูงจากสมุนไพร Advanced Technologies for Drug Production from Natural Resources การวิจัยสมุนไพรในทางคลินกิ Clinical Research on Natural Products

3(0-6-6)

3(2-3-7)

3(2-3-7)

3.1.3.3 วิชาเลือกทั่วไป จํานวนไม่น้อยกว่า 2 หน่วยกิต นักศึกษาเลือกศึกษารายวิชาที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา จํานวนไม่น้อยกว่า 2 หน่วยกิต 3.1.3.3.1 รายวิชาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล ที่เปิดสอนให้หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) ชค.601 ชีวโมเลกุลและเมแทบอลิซึม 2(2-0-6) BC 601 Biomolecules and Metabolism ชค.602 ชีวเคมีพันธุศาสตร์ 2(2-0-6) BC602 Biochemical Genetics ชค.603 บูรณาการชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลในทางการแพทย์ 2(2-0-6) BC 603 Integration of Biochemistry and Molecular Biology in Medicine ชค.611 หัวข้อร่วมสมัยทางชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล 2(2-0-6) BC 611 Contemporary Topics in Biochemistry and Molecular Biology ชค.640 ประสบการณ์วิจัยชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ 3(0-6-6) BC 640 Research Experiences of Biochemistry andMolecular Biology in Medicine ชค.641 วิธีการทางชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล 3(1-4-7) BC 641 Methods in Biochemistry and Molecular Biology ชค.660 สัมมนาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล 1(1-0-3) BC 660 Seminar in Biochemistry and Molecular Biology ชค.627 ชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลของเซลล์และเนื้อเยื่อ 3(3-0-9) BC 627 Biochemistry and Molecular Biology of the Cell and Tissue ชค.628 พิษวิทยาโมเลกุล 3(3-0-9) BC 628 Molecular Toxicology 15


มคอ.2 ชค.647 BC 647 ชค.648 BC 648

ปฏิบัติการทางชีวเคมีของเซลล์และเนื้อเยื่อ Experiments in Biochemistry of the Cell and Tissue วิจัยทางโภชนศาสตร์การแพทย์ Research in Medical Nutrition

1(0-2-2) 2(-1-2-5)

3.1.3.3.2 รายวิชาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่เปิดสอนให้หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) ผท.600 สัมมนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 1 1(1-2-3) TA 600 Seminar in Thai Traditional Medicine and Herbal Medicine ผท.601 สัมมนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 2 1(1-2-3) TA 601 Seminar in Thai Traditional Medicine and Herbal Medicine ผท.602 หลักการการแพทย์แผนไทย 3(2-3-7) TA 602 Principles of Thai Traditional Medicine ผท.603 สมุนไพรไทยและยาพื้นบ้าน 3(2-3-7) TA 603 Thai Herbs and Folk Medicine ผท.644 การวิจัยคลินิกแพทย์แผนไทยและจริยธรรม 3(2-3-7) TA 644 Clinical Trial Research in Thai Traditional Medicine and Ethics ผท.645 การฝึกปฏิบัติงานเฉพาะทางด้านแพทย์แผนไทย 3(0-9-3) TA 645 Specialization Practices of Thai Traditional Medicine ผท.664 ปัญหาพิเศษทางการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 3(0-9-3) TA 664 Special Problem in Thai Traditional Medicine and Herbal Medicine ผท.665 การสกัดและการตรวจเอกลักษณ์สารจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ 3(2-3-7) TA 665 Extractions and Identifications of Natural Product ผท.607 เศรษฐศาสตร์สุขภาพ 3(3-0-9) TA 607 Health Economics ผท.608 การจัดการด้านการดูแลสุขภาพของการแพทย์แผนไทย 3(3-0-9) TA 608 Health Care Management of Thai Traditional Medicine ผท.647 การวิจัยเชิงคุณภาพทางการแพทย์แผนไทย 3(2-3-7) TA 647 Qualitative Research in Thai Traditional Medicine ผท.648 เวชกรรมแผนไทยประยุกต์ 3(3-0-9) TA 648 Applied Thai Medical Sciences 16


มคอ.2 ผท.667 TA 667 ผท.687 TA 687 ผท.688 TA 688 ผท.689 TA 689 ผท.697 TA 697

การประเมินผลทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ Biological Evaluation of Natural Products การพัฒนาสูตรตํารับยาสมุนไพร Herbal Medicine Formulae Development มาตรฐานสมุนไพร Standardization of Herbal Plants วิทยาการเครื่องสําอางจากสมุนไพร Herbal Cosmetics การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร Herbal Plant Tissue Culture

3(2-3-7) 3(2-3-7) 3(2-3-7) 3(2-3-7) 3(2-3-7)

3.1.3.4 วิทยานิพนธ์ นักศึกษาจะต้องเลือกหัวข้อในการทําวิทยานิพนธ์ตามวิชาเอกจํานวน 24 หน่วยกิต ตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต พว.800 วิทยานิพนธ์ 24 MS 800 Thesis 3.1.4 แสดงแผนการศึกษา - เป็นแผนการศึกษาแผน ก แบบ ก 2 คือ แผนการศึกษาทีเ่ น้นการวิจัยโดยมีการทํา วิทยานิพนธ์ และศึกษารายวิชา แผนการศึกษาสําหรับผู้เข้าศึกษาที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือผู้ที่โอนมาจากหลักสูตรระดับ ปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีการศึกษาที่ 1 : ภาคเรียนที่ 1 รายวิชา จํานวนหน่วยกิต วิชาบังคับ 4 วิชาเอกเลือก 6 วิชาเลือกทั่วไป 2 รวม 12 ปีการศึกษาที่ 1 : ภาคเรียนที่ 2 รายวิชา จํานวนหน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 8 รวม 8 17


มคอ.2 ปีการศึกษาที่ 2 : ภาคเรียนที่ 1 รายวิชา จํานวนหน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 8 รวม 8 ปีการศึกษาที่ 2 : ภาคเรียนที่ 2 รายวิชา จํานวนหน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 8 รวม 8 จํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต 3.1.5 คําอธิบายรายวิชา 3.1.5.1 คําอธิบายรายวิชาภาษาไทย วิชาบังคับ พว.600 วิธีวิทยาการวิจัยและจริยธรรม 2(2-0-6) MS 600 Research Methodology and Ethics ระเบียบวิธีและขั้นตอนการทํางานวิจัย การค้นหาข้อมูลจากหนังสือ วารสารและข้อมูลทาง เครือข่ายสารสนเทศ กระบวนการออกแบบงานวิจัย การตั้งสมมติฐานวิจยั การเลือกใช้เครื่องมือ วิธีการ รวบรวมข้อมูล การควบคุมงานวิจัย การแปลผลทางสถิติในการเขียนรายงานการวิจัย การวิเคราะห์งาน วิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร จริยธรรมในการทําวิจัยในคนและสัตว์ ความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับจาก งานวิจัย พว.700 สถิติประยุกต์ 2(2-0-6) MS 700 Applied Statistics สถิติเชิงพรรณาและเชิงวิเคราะห์ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และประมวลผลด้วยโปรแกรม สถิติ ความน่าจะเป็นที่ใช้ในงานทางการแพทย์ การประมาณช่วงความเชื่อมั่นของพารามิเตอร์ การทดสอบ นัยสําคัญทางสถิติแบบ parametric และ non-parametric การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสมการถดถอย วิชาเอกเลือก พว.611 ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3(3-0-9) MS 611 Cellular and Molecular Biology ชีววิทยาของเซลล์ เริม่ ตั้งแต่วิวัฒนาการของเซลล์ โครงสร้างในระดับอณูของออร์กาเนล และ การจัดระเบียบของเซลล์ กระบวนการปรับแต่งและส่งผ่านโปรตีน โครงสร้างภายในเซลล์ การติดต่อ อสารระหว่างเซลล์และการส่งผ่านสัญญาณภายในเซลล์ ปฏิกิริยาของเซลล์กับสารที่อยู่นอกเซลล์ เมตาบอลิสมและระบบพลังงาน วัฏจักรการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์ กลไกการพัฒนาเปลี่ยนแปลง รูปร่างของเซลล์ต้นกําเนิดไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ขบวนการแก่และตายของเซลล์ อณูพันธุศาสตร์ของทั้ง โปรคาริโอตและยูคาริโอต ( prokaryotes and eukaryotes) โครงสร้างของดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ และ 18


มคอ.2 โครโมโซม กลไกการควบคุมการทํางานและการแสดงออกของยีน การซ่อมแซม การลอกแบบ การสร้าง และการถ่ายแบบของสายดีเอ็นเอเพื่อสร้างโปรตีน การผ่าเหล่าและการปรับเปลี่ยนสายพันธุกรรม พันธุวิศวกรรมศาสตร์และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ พว.612 เทคนิคพื้นฐานทางชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3(1-6-5) MS 612 Basic Techniques in Cellular and Molecular Biology เทคนิคพื้นฐานที่ใช้ในห้องปฎิบัติการวิจัยทางชีววิทยาระดับเซลล์และอณูชีววิทยา เทคนิค การเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ การสกัดและวิเคราะห์สารพันธุกรรมดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอโดยวิธีต่างๆ การตัดต่อสารพันธุกรรม การสังเคราะห์ และการปลูกถ่ายสารพันธุกรรมเข้าสู่เซลล์ เทคนิคทีใ่ ช้ในการ ตรวจการแสดงออกของจีนและเทคนิค flow cytometry พว.613 ชีววิทยาเซลล์ต้นกําเนิด 3(3-0-9) MS 613 Stem Cell Biology ชีววิทยาของเซลล์ต้นกําเนิดทั้งเซลล์ต้นกําเนิดตัวอ่อนและเซลล์ต้นกําเนิดจากผู้ใหญ่ คุณสมบัติ ของเซลล์ต้นกําเนิดทั้งในระดับเซลล์และโมเลกุล การเจริญพัฒนาของเซลล์ต้นกําเนิดไปเป็นเซลล์จําเพาะ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ต้นกําเนิดกับเซลล์แวดล้อมอื่นๆ บทบาทของเซลล์ต้นกําเนิดต่อเนื้อเยื่อและ อวัยวะต่างๆ เทคนิคพื้นฐานที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเซลล์ตน้ กําเนิด การนําเซลล์ต้นกําเนิดเม็ดเลือดมาใช้ใน การปลูกถ่ายเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตวิทยา ศักยภาพและข้อจํากัดของการนําเซลล์ตน้ กําเนิดมาประยุกต์ ใช้ทางการแพทย์ทั้งการรักษาและการวิจัย ประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการนําเซลล์ต้นกําเนิดมา ใช้ในการรักษาและวิจัย พว.614 โครงการวิจัยเฉพาะเรื่อง 3(0-9-3) MS 614 Special Research Project โครงการวิจัยขนาดเล็กทางชีววิทยาระดับเซลล์และอณูชวี วิทยาที่นักศึกษาสนใจ โดยประยุกต์ ความรู้ทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่เจาะลึกเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่นักศึกษาสนใจเพื่อให้เกิดทักษะความรู้ ความชํานาญและประสบการณ์การทํางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ พว.615 ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุลขั้นสูง 3(3-0-9) MS 615 Advanced Cellular and Molecular Biology วิชาบังคับก่อน : สอบได้ พว.611 ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล ผลงานวิจัยระดับนานาชาติทางด้านชีววิทยาระดับเซลล์และอณูชีววิทยาในหัวข้อที่กําลังเป็นที่ สนใจหรือเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา การวิเคราะห์เรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารเพื่อนําเสนออภิปรายถึงจุดประสงค์ เทคนิคที่ใช้ในงานวิจัย ผลการวิจัย ตลอดจนวิพากษ์ วิจารณ์ ถึงข้อดีและข้อบกพร่องของงานวิจัยนั้นๆ 19


มคอ.2 พว.621 เวชศาสตร์การเจริญพันธุข์ ั้นสูง 3(3-0-9) MS 621 Advanced Reproductive Medical Sciences ระบบสืบพันธุ์ทั้งระดับโมเลกุล เซลล์และอวัยวะ การสร้าง เซลล์สืบพันธุ์ เซลล์ต้นกําเนิดในระบบ สืบพันธุ์ การปฏิสนธิ การฝังตัว การเจริญและการพัฒนาของตัวอ่อน พันธุกรรมศาสตร์ของการเจริญพันธุ์ ระดับฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ทั้งระบบทั้งในหญิงและชาย การตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค และสรีรวิทยาของมารดาและทารกขณะอยู่ในครรภ์จนถึงคลอด หลังคลอด จนถึงวัยชรา การใช้ประโยชน์ ทางคลินิกจากเซลล์ต้นกําเนิดของระบบสืบพันธุ์ และการทําสําเนาชีวิต (cloning) การวิเคราะห์ปัญหา ความผิดปรกติของระบบสืบพันธุ์ การมีบุตรยาก ความผิดปกติของโครโมโซม พว.622 เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ขนั้ สูง 4(1-6-9) MS 622 Advanced Reproductive Technologies การวิเคราะห์น้ําอสุจิ การเตรียมอสุจิ การคัดแยกเชื้ออสุจิจากเนื้อเยื่ออัณฑะ การคัดเลือกไข่ การปฏิสนธิในหลอดแก้ว การทําจุลศัลยกรรมตัวอ่อน การเพาะเลี้ยงตัวอ่อน การย้ายฝากตัวอ่อน การแช่ แข็งและละลายอสุจิ ไข่ และตัวอ่อน เทคโนโลยีการย้ายนิวเคลียส และไซโตพลาสซึม การตรวจวินิจฉัย พันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว การเพาะเลี้ยงไข่ให้เจริญภายนอกร่างกาย เซลล์ต้นกําเนิดของระบบ สืบพันธุ์ ระบบห้องปฏิบัติการและการควบคุมคุณภาพ พว.623 โครงการวิจัยเฉพาะเรื่องทางเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ 3(3-6-3) MS 623 Special Research Project in Reproductive Medicine วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา พว.621 เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ขั้นสูง และ พว.622 เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ขั้นสูง ศึกษาเชิงลึกในหัวข้อที่น่าสนใจเป็นพิเศษด้านวิทยาการการเจริญพันธุ์ทั้ง 4 ขอบข่ายงานวิจัย ได้แก่ 1. Fertility and infertility 2. Reproductive endocrinology 3. Stem cell in reproduction 4. Reproductive genetics โดยการค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพ ความเชี่ยวชาญในการ วิเคราะห์ การสังเคราะห์ การบูรณาการ การประเมินสิ่งที่ศึกษาค้นคว้า และสามารถนําไปเป็นหัวข้อ วิทยานิพนธ์ (research topic) ทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ได้ รวมทั้งฝึกทักษะการเขียนโครงร่าง งานวิจัย (research proposal) พว.631 สรีรวิทยาคลินิก 3(3-0-9) MS 631 Clinical Physiology หลักแนวคิดพื้นฐานทางสรีรวิทยาและพยาธิสรีรวิทยาตั้งแต่ระดับการทํางานของโมเลกุลจนถึง ระบบต่างๆ ในร่างกาย; ระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ กล้ามเนื้อและกระดูก หัวใจและหลอดเลือด หายใจ ทางเดินอาหาร ไตและการขับปัสสาวะ ตลอดจนการประยุกต์ใช้หลักและทฤษฏีในทางคลินิก 20


มคอ.2 พว.632 หัวข้อปัจจุบนั ในสรีรวิทยาคลินกิ 3(3-0-9) MS 632 Current Topics in Clinical Physiology วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษา พว.631 สรีรวิทยาคลินิก พัฒนาวิชาการใหม่ๆในทางสรีรวิทยาคลินกิ วารสารงานวิจัยที่น่าสนใจถูกนําเสนอและ อภิปราย นักศึกษาได้รับการกระตุ้นให้วิเคราะห์ สังเคราะห์ และพัฒนาทักษะการแก้ปญ ั หาวิจัย พว.633 การทดลองทางสรีรวิทยาและเครื่องมือ 3(1-2-9) MS 633 Experimental Physiology and Instruments วิธีทดลองทางสรีรวิทยาที่ใช้ในการศึกษาทัง้ ในตัวและนอกตัวของสัตว์ทดลองรวมทั้งมนุษย์ หลักแนวคิดพืน้ ฐานการตรวจวัดการทํางาน หลักการและการใช้เครื่องมือ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ เทคนิคทางชีวเคมีชีววิทยาโมเลกุลและเนื้อเยื่อ )histology) มาใช้ในการทดลองทางสรีรวิทยา พว.634 หัวข้อพิเศษทางสรีรวิทยาคลินกิ 1(0-1-3) MS 634 Special Topics in Clinical Physiology ศึกษาหัวข้อพิเศษทางสรีรวิทยาคลินิกเพื่อเป็นโครงการศึกษานําร่องของนักศึกษา อภิปราย ประเด็นทางระเบียบวิธีวิจัยและการทดลอง รวมถึงการเขียนงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการนําเสนอ พว.635 ความเครียดออกซิเดชันในทางชีววิทยาและการแพทย์ 2(2-0-6) MS 635 Oxidative Stress in Biology and Medicine หลักแนวคิดพื้นฐานทางระบบชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณรีดอกซ์และการควบคุมใน กระบวนการปกติ สภาวะความเครียดออกซิเดชันในทางการแพทย์และพยาธิกําเนิด การสูญเสียการ ควบคุมสัญญาณรีดอกซ์และผลการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น พว. 641 หลักการและเทคนิคทางเภสัชเวทและเภสัชโภชนศาสตร์ 4(3-6-7) MS 641 Principle and Techniques in Pharmacognosy and Nutraceutical Sciences ศึกษาหลักการทางเภสัชเวท ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร การคัดเลือกสมุนไพรมาศึกษาวิจัยใน ด้านอาหารและยา กลุ่มสารประกอบทางเคมีในสมุนไพรและคุณสมบัติของสารในแต่ละกลุ่ม หลักการ สกัด การแยกสาร วิธีพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารโดยเทคนิคเสปกโตรสโคปี การทํามาตรฐาน การควบคุม คุณภาพทางเคมีและชีวภาพของสารสกัดจากสมุนไพร เทคนิคการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพ คุณลักษณะ ของสาระสําคัญจากสมุนไพรหรือเภสัชภัณฑ์และแนวทางการแปรรูป พร้อมทั้งการฝึกปฏิบัติ พว.642 หลักการตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ MS 642 Bioassay Principles of Natural Products

3(2-3-7)

21


มคอ.2 ศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากสมุนไพร และความเป็นพิษ การประเมินคุณค่าของสารสกัดโดยการแสดงผลต่อสัตว์ทดลองหรือสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น เซลล์สัตว์ หรือต่อ human cell lines พว. 643 การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 3(2-3-7) MS 643 Development of Herbal Product หลักการและเทคนิคการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยา อาหารเสริมและ เครื่องสําอางเพื่อสุขภาพ การทดสอบความคงตัว การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค การคิดจุดคุ้มทุน การทําแผนการตลาดของผลิตภัณฑ์ การจดสิทธิบัตร พว. 644 ปัญหาพิเศษทางเภสัชเวทและเภสัชโภชนศาสตร์ 3(0-6-6) MS 644 Special Problems in Pharmacognosy and Nutraceutical Sciences ปัญหาพิเศษด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร สมุนไพร และการวิจัยทางคลินิกภายใต้การดูแลของ อาจารย์ผู้สอน โดยเป็นการฝึกปฏิบัติให้มีความชํานาญในกระบวนการและเทคนิคในการวิจัยเพื่อเป็น พื้นฐานในการทําวิทยานิพนธ์ พว.645 เทคโนโลยีกับการผลิตยาขั้นสูงจากสมุนไพร 3(2-3-7) MS 645 Advanced Technology for Drug Production from Natural Resource ขบวนการผลิตยา การแปรรูปยาสมุนไพรโดยเทคนิคพิเศษ การผลิตยาแบบการปลดปล่อย ระยะเนิ่น การผลิตยาในระดับอนุภาคนาโน การบริหารยา การศึกษาเภสัชจลศาสตร์ของยาสมุนไพร พว. 646 การวิจัยสมุนไพรในทางคลินิก 3(2-3-7) MS646 Clinical research on Natural Product ขบวนการการวิจัยยาจากสมุนไพรในมนุษย์ ระยะที่ 1, 2, 3 และ 4 แนวคิดในการทําวิจัยทาง คลินิก ของสมุนไพรกับโรคระบบต่างๆ ของร่างกาย แนวทางการขอจริยธรรมในการทดลองในมนุษย์ วิทยานิพนธ์ พว.800 วิทยานิพนธ์ 24 MS 800 Thesis 24 การสร้างโครงการวิจัยและการดําเนินงานวิจัยอันก่อให้เกิดความรู้ใหม่ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับหัวข้อทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนําเสนอวิทยานิพนธ์ การเขียนวิจัยเผยแพร่ จริยธรรมในการทําวิจัย และจรรยาบรรณในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ 22


มคอ.2 3.1.5.2 คําอธิบายรายวิชาภาษาอังกฤษ Required courses MS 600 Research Methodology and Ethics 2(2-0-6) Methods and processes in doing research; documentation review from journals and electronic informations; steps in research design, hypothesis setting, tool selection, data collection, research management, statistical interpretation of report writing, critical appraisal; research ethics in human and animals, risk and usufulness of research MS 700 Applied Statistics 2(2-0-6) Descriptive and analytic statistics; data collection, data analysis and program by software for data processing in biomedical statistics and probability, parameter estimation, parametric and non-parametric testing for significance and regression analysis Prescribed elective courses MS 611 Cellular and Molecular Biology 3(3-0-9) Topics in advanced modern cellular and molecular biology, starting with evolution of the cells, molecular structure of the organelles and cell organization, protein transport and processing, cytoskeletons, cell-cell communication and signal transduction, cellextracellular matrix interaction, metabolism and energy system, cell cycle and cell growth, mechanism of stem cell differentiation, cell aging and cell death; molecular biology of both prokaryotes and eukaryotes, structures of DNA, RNA, gene and chromosome, regulatory mechanism of gene function and expression, DNA repair and eplication, transcription and translation, mutation and recombination, genetic engineering with their advanced technologies and medical applications MS 612 Basic Techniques in Cellular and Molecular Biology 3(1-6-5) Laboratory course emphasizing on common laboratory techniques used in Cell Biology and Molecular Biology including cell and tissue culture techniques, isolation and purification of DNA and RNA, analysis of DNA and RNA, polymerase chain reaction (PCR), construction of recombinant DNA and gene cloning, high throughput gene expression analysis and flow cytometry technique MS 613 Stem Cell Biology 3(3-0-9) Detailed consideration of biology of both embryonic and adult stem cells, properties of stem cell in cellular and molecular levels, principle of cell differentiation, 23


ลคอ.2 the developmental pathways from stem cell to specific cell types, signaling pathways involving in stem cell differentiation, alteration of cell phenotypes, clinical use of stem cells as well as the ethical issues concerned MS 614 Special Research Project 3(0-9-3) Small research project of student interest in cellular and molecular biology that apply knowledges from course works, both theories and practice to enhance skills, knowledges and experiences in cellular and molecular biology research MS 615 Advanced Cellular and Molecular Biology 3(3-0-9) Prerequisite : Passed MS 611 Cellular and Molecular Biology An intensive advanced course of literature-based, teaching students on a particular topic in cell biology and molecular biology as well as the skill needed to access published data, starting with an introductory lecture, student presentation of selected papers from current literatures, students participation in discussing the merits of each paper, its experimental approaches and results of the research topic MS 621 Advanced Reproductive Medical Sciences 3(3-0-9) Reproductive system at molecular, cellular and organ levels, ametogenesis, stem cells in the reproductive systems, fertilization process, implantation and embryo development, reproductive genetics, endocrine changes during different periods of life, changes in anatomy and physiology of mother and fetus during pregnancy and postpartum up to aging period; clinical application of stem cell and cloning technique in reproductive medicine, problem analysis of reproductive abnormalities of both male and female, infertility and chromosome abnormalities MS 622 Advanced Reproductive Technologies 4(1-6-9) Semen analysis, sperm preparation, sperm extraction from testicular tissue, ooyote selection, In-Vitro fertilization, micromanipulation of embryo, embryo culture and embryo transfer; freezing and thawing techniques of sperm, egg and embryo, techniques of nuclear and cytoplasmie transfer; preimplantaion genetic diagnosis (PGD); In Vitro maturation of oocyte (IVM); stem cell of reproductive system, laboratory systems and control system 24


มคอ.2 MS 623 Special Research Project in Reproductive Medicine 3(3-6-3) Prerequisite : Studied MS 621 Advanced Reproductive Medical Sciences and MS 622 Advanced Reproductive Technologies Study in-dept of 4 research areas in reproductive medicine; 1. Fertility and infertility 2. Reproductive endocrinology 3. Stem cell in reproduction and 4. Reproductive genetics; by self directed learning, in order to increase competency and potentiality in analyzing, synthesizing, integrating and evaluating of informations, aiming to search for research topics and to practice to construct a research proposal in these area MS 631 Clinical Physiology 3(3-0-9) Fundamental concepts of molecular through systemic functions; physiology and pathophysiology of nervous, endocrine, musculoskeletal, cardiovascular, respiratory, gastrointestinal systems, renal and genito urinary tract, haematopoietic and immunity, as well as clinical application of principles and theory MS 632 Current Topics in Clinical Physiology 3(3-0-9) Prerequisite : Studied MS 632 Clinical Physiology Current developments in clinical physiology, interesting research articles presented and discussed, practicing to analyze, synthesize and develop problem solving skills MS 633 Experiment Physiology and Instruments 3(1-2-9) Experimental methods used in vitro and in vivo studies of animal and human subjects, fundamental concept of functional measurement, principles and uses of instruments as well as applications of biochemical, molecular and histological techniques in physiological experiments MS 634 Special Topics in Clinical Physiology 1(0-1-3) Study of special topics in clinical physiology for student’s pilot project, discussion of research methodology and experimental issues including scientific writing and presentation MS 635 Oxidative Stress in Biology and Medicine 2(2-0-6) Fundamental concepts of biological systems relevant to redox signaling and regulation in normal process; oxidative stress in medicine and pathogenesis; loss of redox signaling regulation and subsequent injury 25


มคอ.2 MS 641 Principle and Techniques in Pharmacognosy and Nutraceutical Sciences 4(3-6-7)

Principles of Pharmacognosy, herbal knowledge, herbal selection criteria for food and medical research; groups of chemical compounds in herbs and their properties; separation techniques and identification of compound by spectroscopy; standardization, chemical and biological quality control; analysing techniques for determining the quality of herb and identifying the active compounds in the extract or pharmaceutical herbal products, the medicinal or pharmaceutical processing approach and practice training MS 642 Bioassay Principles of Natural Products 3(2-3-7) Theory and practice in detecting biological activity and toxicity effect of herbal extract; evaluation of the effect and activity of the extract in animal model and animal or human cell lines MS 643 Development of Herbal Products 3(2-3-7) Principles and techniques for development of medicinal and pharmaceutical products, health supplements and cosmetics from herbs; stability test and quality control of products; products checking for consumer safety; the cost and product marketing as well as product patenting MS 644 Special Problems in Pharmacognosy and Nutraceutical Sciences 3(0-6-6) Special problems in Pharmacognosy and Nutraceutical Sciences focusesing on food sciences, herbs and clinical research issues; including discussion under supervision of instructors; practicing processes of the necessary skills and techniques as a research basis to conduct a thesis 3(2-3-7) Pharmaceutical manufacturing processes and special techniques for herbal medicine processing; sustained released and nanoparticles techniques for drug production; drug administration and pharmaceutical kinetics study of herbal medicine

MS 645 Advanced Technologies for Drug Production from Natural Resources

MS 646 Clinical research on Natural Products 3(2-3-7) Herbal medicinal research in humans at phase 1, 2, 3 and 4; concept of clinical trial with herbal drugs against diseases of the body systems; research ethics consideration in human experimentation 26


มคอ.2 Thesis MS 800 Thesis 24 Development of research proposal on novel knowledge in medical sciences as well as conducting research according to the proposal project: writing thesis related to medical sciences, presenting research result and publishing research article; medical sciences reaearch ethic, publishing research according to professional etiquette

27


มคอ.2 3.2 ชื่อ สกุล เลขประจําตัวบัตรประชาชน ตําแหน่งและคุณวุฒิของอาจารย์ ผลงานทางวิชาการและภาระงานสอนระบุในภาคผนวก 3.2.1 อาจารย์ประจําหลักสูตร ลําดับ ที่ 1

เลขประจําตัวบัตร ประชาชน 3100504213XXX

ตําแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ศิริกุล มะโนจันทร์

2

3190900142XXX

อาจารย์

ไพรัตน์ ฐาปนาเดโชพล

3

4

3309901176XXX

3409901157XXX

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ชื่อ-นามสกุล

โสภาพรรณ เอกรัตนวงศ์

สุมาลี คอนโด

คุณวุฒิ - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - พยาบาลศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชา - กายวิภาคศาสตร์ - กายวิภาคศาสตร์ - พยาบาลศาสตร์

- วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการ - จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ประกอบวิชาชีพเวชกรรม - Doctor of Philosophy - Cell Biology

สําเร็จการศึกษาจาก สถาบัน มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล แพทยสภา (โรงพยาบาลยุวประสาท ไวทโยปถัมภ์) The University of Alabama at Birmingham, USA คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

- แพทยศาสตรบัณฑิต

-

- Doctor of Philosophy

- Kyorin University School of Medicine, Japan - มหาวิทยาลัยมหิดล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น - University of Sydney, Australia - Universiti Kebangsaan Malaysia, Malaysia - มหาวิทยาลัยขอนแก่น

- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - วิทยาศาสตรบัณฑิต

- สรีรวิทยา - กายภาพบําบัด

- Doctor of Philosophy - Master of science

- Science - Medical Microbiology

- วิทยาศาสตรบัณฑิต

- เทคนิคการแพทย์

28

ปี พ.ศ. - 2545 - 2540 - 2535 - 2553 - 2542 - 2534 - 2547 - 2535 - 2532 - 2540 - 2535 - 2528


มคอ.2 ลําดับ ที่ 5

เลขประจําตัวบัตร ประชาชน 3100502998XXX

ตําแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ชื่อ-นามสกุล เจริญไชย เจียมจรรยา

คุณวุฒิ

สาขาวิชา

- หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชํานาญ - เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญใน - สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา การประกอบวิชาชีพเวชกรรม - สูตศิ าสตร์-นรีเวชวิทยา - ประกาศนียบัตรบัณฑิตทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก - แพทยศาสตรบัณฑิต

สําเร็จการศึกษาจาก สถาบัน - แพทยสภา

ปี พ.ศ. - 2552

- แพทยสภา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) - 2534 - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- 2532

- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- 2528

ลําดับที่ 1-4 เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

3.2.2 อาจารย์ประจําร่วมสอนในหลักสูตร ลําดับ ที่ 1

เลขประจําตัวบัตร ประชาชน 3100504213XXX

ตําแหน่งทางวิชาการ

ชื่อ-นามสกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ศิริกุล มะโนจันทร์

2

3190900142XXX

อาจารย์

ไพรัตน์ ฐาปนาเดโชพล

คุณวุฒิ - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - พยาบาลศาสตรบัณฑิต - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - Doctor of Philosophy - แพทยศาสตรบัณฑิต

3

38298000096XXX

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ชัยรัตน์ ตัณทราวัฒน์พันธ์

- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต - วิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชา

สําเร็จการศึกษาจาก สถาบัน - กายวิภาคศาสตร์ - มหาวิทยาลัยมหิดล - กายวิภาคศาสตร์ - มหาวิทยาลัยมหิดล - พยาบาลศาสตร์ - มหาวิทยาลัยมหิดล - จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น - แพทยสภา (โรงพยาบาลยุวประสาทไวท โยปถัมภ์) - Cell Biology - The University of Alabama at Birmingham, USA - คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล - ชีวเคมีทางการแพทย์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น - เทคนิคการแพทย์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น

29

ปี พ.ศ. - 2545 - 2540 - 2535 - 2553 - 2542 - 2534 - 2548 - 2535


มคอ.2 ลําดับ ที่ 4

เลขประจําตัวบัตร ประชาชน 3100501889XXX

ตําแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ชื่อ-นามสกุล ภาคภูมิ เขียวละม้าย

คุณวุฒิ - Doctor of Philosophy

สาขาวิชา - Biochemistry

- แพทยศาสตรบัณฑิต 5

6

7

8

3100502998XXX

3130300324XXX

3100400751XXX

35199200026XXX

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

รองศาสตราจารย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

รองศาสตราจารย์

เจริญไชย เจียมจรรยา

พฤหัส ต่ออุดม

อาทิตย์ บุญยรางกูร

ตรีทิพย์ รัตนวรชัย

- เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ - หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความ ชํานาญในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ - สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา - ประกาศนียบัตรบัณฑิตทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก - แพทยศาสตรบัณฑิต - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - ประกาศนียบัตรบัณฑิตทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก - แพทยศาสตรบัณฑิต - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - แพทยศาสตรบัณฑิต - Doctor of Philosophy - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - วิทยาศาสตรบัณฑิต

สําเร็จการศึกษาจาก สถาบัน ปี พ.ศ. - The University of Maschester, UK - 2550 - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - 2545 - 2552 - แพทยสภา

- แพทยสภา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

- 2534

- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- 2532 - 2528

- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - แพทยสภา (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

- 2539

- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

- มหาวิทยาลัยขอนแก่น

- 2536

- มหาวิทยาลัยขอนแก่น - แพทยสภา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

- 2535 -2550 -2546 -2540

- เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ - สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

- แพทยสภา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - Enviromental Toxicology - The University of Texas Medical Branch at Galveston,Texas, USA - ชีวเคมี - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - เคมี - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

30

- 2538 - 2529 - 2525


มคอ.2 ลําดับ ที่ 9

เลขประจําตัวบัตร ประชาชน 3309901176XXX

ตําแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ชื่อ-นามสกุล โสภาพรรณ เอกรัตนวงศ์

10

3101500157XXX

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ชินวัฒน์ ธาราทรัพย์

11

3101201987XXX

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

นพ.สมบัติ มุ่งทวีพงษา

12

3501200061XXX

รองศาสตราจารย์

เกสร สุวรรณประเสริฐ

13

3190200313XXX

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อัญญานีย์ บุโรดม

คุณวุฒิ

สาขาวิชา

- Doctor of Philosophy - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - วิทยาศาสตรบัณฑิต - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - วิทยาศาสตรบัณฑิต - Neuroscience Critical Care Fellowship - Stroke Fellowship Residency Program - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

- สรีรวิทยา - กายภาพบําบัด -

กายวิภาคศาสตร์ ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ทั่วไป Neuroscience Critical Care - Stroke - ประสาทวิทยา

- ประกาศนียบัตรบัณฑิตทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก - แพทยศาสตรบัณฑิต

- อายุรศาสตร์

- วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - ประกาศนียบัตรวิชาพยาบาลศาสตร์ และผดุงครรภ์ชั้นสูง - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - พยาบาลศาสตรบัณฑิต

- วิทยาศาสตร์ชีวภาพ - สรีรวิทยา - พยาบาลศาสตร์และผดุง ครรภ์ชั้นสูง - สรีรวิทยา - สรีรวิทยา - พยาบาลศาสตร์

31

สําเร็จการศึกษาจาก สถาบัน - Kyorin University School of Medicine, Japan - มหาวิทยาลัยมหิดล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น - มหาวิทยาลัยมหิดล - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - Saint Louis University, USA - Saint Louis University, USA

ปี พ.ศ. - 2547 - 2535 -2532 -2532 -2525 -2521 - 2550 - 2549

- แพทยสภา (คณะแพทยศาสตร์ - 2541 โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัย มหิดล) - คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี - 2539 มหาวิทยาลัยมหิดล - คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี - 2535 มหาวิทยาลัยมหิดล - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - 2534 - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - 2529 - วิทยาลัยพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก - 2521 - มหาวิทยาลัยมหิดล - มหาวิทยาลัยมหิดล - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

- 2548 - 2538 - 2534


มคอ.2 ลําดับ ที่ 14

เลขประจําตัวบัตร ประชาชน 3309901367XXX

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

พรพรหม จินตนา

15

3100502198XXX

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

จันทริมา เจริญพันธุ์

16

3730100698XXX

ตําแหน่งทางวิชาการ

อาจารย์

ชื่อ-นามสกุล

ปริศนา ปิยะพันธุ์

17

3760100085XXX

อาจารย์

นภัสนันท์ เดือนศักดิ์

18

3309800069XXX

รองศาสตราจารย์

อดิศว์ ทัศณรงค์

19

3100503794XXX

รองศาสตราจารย์

สุขเกษม โฆษิตเศรษฐ

คุณวุฒิ -

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

- วิทยาศาสตรบัณฑิต - Doctor of Philosophy - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - วิทยาศาสตรบัณฑิต - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - วิทยาศาสตรบัณฑิต - วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ ใน การประกอบวิชาชีพเวชกรรม - แพทยศาสตรบัณฑิต - Postdoctoral associate in Pediatric Nephrology - Fellowship in Nephrology Research

สาขาวิชา -

สําเร็จการศึกษาจาก สถาบัน - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - มหาวิทยาลัยมหิดล

- สรีรวิทยา - กายภาพบําบัด - สรีรวิทยา - สรีรวิทยา - กายภาพบําบัด - ชีวเวชศาสตร์ - อายุรศาสตร์โรคไต

- มหาวิทยาลัยมหิดล - The Queen's University of Belfast, UK - มหาวิทยาลัยมหิดล - มหาวิทยาลัยมหิดล - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - แพทยสภา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

- 2542 - 2540 - 2550 - 2544 - 2542 -2554 -2543

- อายุรศาสตร์

- แพทยสภา (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

-2541

- มหาวิทยาลัยขอนแก่น - Pediatric Department University of Minnesota, USA - Mayo Clinic Minnesota, USA

-2537 -2546

สรีรวิทยา สรีรวิทยา พยาบาลศาสตร์ สรีรวิทยา สรีรวิทยาของการออก กําลังกาย - กายภาพบําบัด - Physiology

- Pediatric Nephrology - Nephrology research

32

ปี พ.ศ. - 2548 - 2541 - 2535 - 2549 - 2543 - 2540 - 2550

-2545


มคอ.2 ลําดับ ที่

20

เลขประจําตัวบัตร ประชาชน

3409901157XXX

ตําแหน่งทางวิชาการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ชื่อ-นามสกุล

สุมาลี คอนโด

21

3101501536XXX รองศาสตราจารย์

กรณ์กาญจน์ ภมรประวัติ

22

3101402221XXX ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ทิพาพร ธาระวานิช

23

3909800881XXX

รองศาสตราจารย์

อรุณพร อิฐรัตน์

คุณวุฒิ

สาขาวิชา - สาขากุมารเวชศาสตร์โรคไต -

สําเร็จการศึกษาจาก สถาบัน แพทยสภา (คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล) แพทยสภา (คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล University of Sydney, Australia Universiti Kebangsaan Malaysia, Malaysia มหาวิทยาลัยขอนแก่น University of Maryland, USA มหาวิทยาลัยมหิดล แพทยสภา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ปี พ.ศ. -2543

- วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - แพทยศาสตรบัณฑิต

- สาขากุมารเวชศาสตร์

- Doctor of Philosophy - Master of Science

- Science - Medical Microbiology

-

- วิทยาศาสตรบัณฑิต - Doctor of Philosophy - วิทยาศาสตรบัณฑิต - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - ประกาศนียบัตรบัณฑิตทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - แพทยศาสตรบัณฑิต

- เทคนิคการแพทย์ - Entomology - ชีววิทยา - อายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อและ เมตะบอลิซึม - อายุรศาสตร์

-

- แพทยสภา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

- 2546

- อายุรศาสตร์

- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- 2546

- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

- 2544 -2538

- Doctor of Philosophy

- Pharmacognosy

-2545

- เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต - เภสัชศาสตรบัณฑิต

- เภสัชเวท

- King’s College, University of London, UK - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-

33

-2539 -2533 -2540 -2535 -2528 - 2539 - 2528 - 2551

-2528 -2523


มคอ.2 ลําดับ ที่ 24

25

26

เลขประจําตัวบัตร ตําแหน่งทางวิชาการ ชื่อ-นามสกุล ประชาชน 3140600003XXX อาจารย์ นวลจันทร์ ใจอารีย์

3101502010XXX

3100601132XXX

รองศาสตราจารย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

คุณวุฒิ - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

นุชสิริ เลิศวุฒิโสภณ

- วิทยาศาสตรบัณฑิต - Doctor of Philosophy

พินทุสร หาญสกุล

- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - วิทยาศาสตรบัณฑิต - Doctor of Philosophy - Master of Science

27

28

31018000515XXX

3101401256XXX

รองศาสตราจารย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

กัมมาล กุมาร ปาวา

จรรยา ภัทรอาชาชัย

สาขาวิชา - วิทยาศาสตร์การแพทย์ - เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อ การพัฒนาทรัพยากร - พยาบาลและผดุงครรภ์ - Medical Biochemistry - โภชนศาสตร์ - ชีวเคมี - Biochemistry and Moleccular Genetics - Biochemistry

- วิทยาศาสตรบัณฑิต - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - แพทยศาสตรบัณฑิต

- ชีวเคมี - สาขาอายุรศาสตร์

- Doctor of Science - Master of Science - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - วิทยาศาสตรบัณฑิต

- Biostatistics - Public Health - ชีวสถิติ - พันธุศาสตร์

34

สําเร็จการศึกษาจาก สถาบัน - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - มหาวิทยาลัยมหิดล

ปี พ.ศ. - 2553 - 2540

- วิทยาลัยหัวเฉียว - The University of Melbourne, Australia - มหาวิทยาลัยมหิดล - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - The University of Alabama at Birmingham, USA - The University of Connecticut at Storrs, USA - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-2535 -2529

- แพทยสภา

-2531

- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล - Tulane University, USA - Tulane University, USA - มหาวิทยาลัยมหิดล - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-2525

-2521 -2517 -2547 -2540 -2535

-2533 -2527 -2524 -2521


มคอ.2 3.2.3 อาจารย์พิเศษ และผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมสอนในหลักสูตร ลําดับ ที่ 1

เลขประจําตัวบัตร ประชาชน 3100202627XXX

ตําแหน่งทางวิชาการ

ชื่อ-นามสกุล

รองศาสตราจารย์

พัชรา วิสุตกุล

2 3

5209400002XXX 3101500974XXX

รองศาสตราจารย์ อาจารย์

รังสรรค์ พาลพ่าย เจริญ ทวีผลเจริญ

คุณวุฒิ

สาขาวิชา

- Doctor of Philosophy - Biochemistry - แพทยศาสตรบัณฑิต - Animal Reproduction - Doctor of Philosophy - วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญ - สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม - แพทยศาสตรบัณฑิต

35

-

สําเร็จการศึกษาจาก สถาบัน Edinburgh University Scotland, UK มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศิริราช Kyoto University, Japan แพทยสภา

- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปี พ.ศ. -2508 -2498 - 2541 - 2534 - 2528


มคอ.2 4. องค์ประกอบเกี่ยวกับประสบการณ์ภาคสนาม (การฝึกงาน หรือการฝึกปฏิบัติ) (ถ้ามี) 4.1 มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม ไม่มี 4.2 ช่วงเวลา ไม่มี 4.3 การจัดเวลาและตารางสอน ไม่มี 5. ข้อกําหนดเกี่ยวกับการทําวิทยานิพนธ์ 5.1 คําอธิบายโดยย่อ รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต พว.800 วิทยานิพนธ์ 24 MS 800 Thesis การสร้างโครงการวิจัยและการดําเนินงานวิจัยอันก่อให้เกิดความรู้ใหม่ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับหัวข้อทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนําเสนอวิทยานิพนธ์ การเขียน วิจัยเผยแพร่จริยธรรมในการทําวิจัย และจรรยาบรรณในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ 5.2 มาตรฐานผลการเรียนรู้ การวัดผลวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 ระดับคือระดับ S (ใช้ได้) และระดับ U (ใช้ไม่ได้) โดย วิทยานิพนธ์ที่ได้รับระดับ S จะต้องได้มติเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หน่วยกิตที่ได้จะ ไม่นํามาคํานวณค่าระดับเฉลี่ย นักศึกษาต้องมีมาตรฐานผลการเรียนรู้อย่างน้อยดังต่อไปนี้ 1. มีความเข้าใจ และมีความรูใ้ นสาระสําคัญอย่างถ่องแท้ในองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2. สามารถออกแบบ ดําเนินการวิจัย พัฒนาเทคนิคการวิจัย เพื่อให้ได้มาซึง่ องค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดขอบในการดําเนินการวิจัย และมีจรรยาบรรณในการเผยแพร่ ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 5.3 ช่วงเวลา ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษาที่ 1 เป็นต้นไป 5.4 จํานวนหน่วยกิต 24 หน่วยกิต 5.5 ข้อกําหนดการทําวิทยานิพนธ์ 5.5.1 การทําวิทยานิพนธ์ (แผน ก แบบ ก 2) (1) นักศึกษาจะลงทะเบียนทําวิทยานิพนธ์ได้ เมื่อมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต โดยมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ตา่ํ กว่า 3.00

36


มคอ.2 (2) นักศึกษาสามารถเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้โดยให้อยู่ใน ดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (3) หลังจากลงทะเบียนทําวิทยานิพนธ์แล้ว นักศึกษาต้องเสนอร่างเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ต่อคณะอนุกรรมการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ/หรือคณะอนุกรรมการกลุม่ วิชาเอก เพื่อให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์ แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ รวมไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ซึ่งจะให้คําแนะนํานักศึกษา รวมทั้งสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ และสอบป้องกัน วิทยานิพนธ์ (4) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิต ศึกษาของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และได้รับความเห็นชอบจากคณะ อนุกรรมการหลักสูตรฯ และ/หรือคณะอนุกรรมการกลุ่มวิชาเอก 5.5.2 การสอบวิทยานิพนธ์ (5) อาจารย์ผู้สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ และสอบวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการหลักสูตร และ/หรือคณะอนุกรรมการ กลุ่มวิชาเอก (6) เมื่อนักศึกษาจัดทําเค้าโครงวิทยานิพนธ์เสร็จแล้ว ให้คณบดีแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์อย่างน้อย 3 คน ซึ่งจะต้องประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ อาจารย์ประจํามหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ (7) เมื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เห็นว่านักศึกษาพร้อมทีจ่ ะเสนอวิทยานิพนธ์ ให้ คณบดีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นชุดเดียวกันกับคณะ กรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ (8) การสอบวิทยานิพนธ์ จะต้องมีกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ครบทุกคน จึงจะถือว่าการ สอบนั้นมีผลสมบูรณ์ ถ้ากรรมการไม่ครบ ให้เลื่อนการสอบออกไป ในกรณีที่มีความ จําเป็นอาจเปลี่ยนกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ใหม่หรือแต่งตั้งเพิ่มเติมได้ (9) นักศึกษาจะสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ได้เมื่อสอบภาษาต่างประเทศผ่านแล้ว (10) การสอบวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และการสอบวิทยานิพนธ์ที่จะได้ผลระดับ S ต้องได้มติเป็นเอกฉันท์ จากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ 5.6 การเตรียมการ 1. มีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อให้คําแนะนําและช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่ นักศึกษา 37


มคอ.2 2. เมื่อได้รับอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์ ให้นักศึกษาทําวิทยานิพนธ์โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หลักให้คําแนะนําและดูแลในระหว่างการทําวิจัย และนักศึกษาจะต้องติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์หลักโดยสม่ําเสมอ 3. ระหว่างทําวิทยานิพนธ์ ให้นักศึกษารายงานความก้าวหน้าของการทําวิทยานิพนธ์ลงใน Portfolio เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษาทุกภาคการศึกษาตามแบบฟอร์มทีค่ ณะกําหนดและเสนอต่ออาจารย์ที่ ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 5.7 กระบวนการประเมินผล กระบวนการประเมินผลการทําวิทยานิพนธ์จะประเมินคุณภาพของวิทยานิพนธ์ และประเมิน ความรู้ความสามารถของนักศึกษาโดยวิธีการนําเสนอและสอบปากเปล่าจากคณะกรรมการสอบ เค้าโครงวิทยานิพนธ์และคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ซึ่งคณบดีแต่งตั้ง หลักสูตรมีกลไกสําหรับการทวนสอบมาตรฐานโดยการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และ คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 และในการสอบวิทยานิพนธ์คณะจะประกาศกําหนดการสอบวิทยานิพนธ์ให้ทราบทั่วกันและ เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมฟังได้ หมวดที่ 4. ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล 1. การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา คุณลักษณะพิเศษ กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนักศึกษา มีคุณธรรม และจริยธรรม และเจตคติที่ดี - มีการสอดแทรกในทุกรายวิชาโดยเฉพาะรายวิชาที่ เกี่ยวข้องกับจริยธรรม เช่น วิชาวิธีวิทยาการวิจัย และจริยธรรม มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์เฉพาะด้าน - ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมศึกษาทางวิชาการ มีความรู้ทันสมัย และประสบการณ์ใน ร่วมกับนักศึกษาในหลักสูตรและอาจารย์ผสู้ อน สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เข้าใจอย่างลึกซึ้งใน โดยมีนักศึกษาเป็นผู้นําการสัมมนาในหัวข้อที่ เนื้อหาและสามารถพัฒนาความรู้ใหม่ และ สาขาวิชากําหนด การประยุกต์ใช้ - ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมการอบรม การอบรม เชิงปฏิบัติการ ในสถาบันหรือองค์กรที่อาจารย์ ที่ปรึกษาเห็นชอบ - ส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นวิทยากรบรรยายในเนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับวิชาเอกภายใต้การควบคุมของ อาจารย์ที่ปรึกษา - ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมประชุมวิชาการที่มี การนําเสนอผลงานวิจัยอย่างน้อยปีละ1 ครั้ง 38


มคอ.2 คุณลักษณะพิเศษ

มีความเป็นผู้นํา และมีความรับผิดชอบ ตลอดจนมีวินัยในตนเอง

กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนักศึกษา - ส่งเสริมให้นักศึกษานําเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ด้วยวาจาหรือลาย ลักษณ์อักษรทีม่ ีรายงานการประชุมซึ่งมี คณะกรรมการตรวจสอบผลงาน - ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าคิด กล้าแสดงออก อดทน รู้จักให้อภัยและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วย หลักและเหตุผลความถูกต้อง - ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เป็นผู้นํากลุ่มกิจกรรมใน ระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบ ต่อบทบาทหน้าที่ของตนทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตาม

2. การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน 2.1 คุณธรรม จริยธรรม (1) ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม สามารถจัดการเกี่ยวกับปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมทีซ่ บั ซ้อนในบริบททางวิชาการและ การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถใช้ดุลยพินิจอย่างผู้รู้ ด้วยความยุติธรรม ด้วยหลักฐาน ด้วยหลักการที่มีเหตุผลและค่านิยมอันดีงาม แสดงออกหรือสื่อสารข้อสรุปของปัญหาโดยคํานึงถึงความ รู้สึกของผู้อื่นทีจ่ ะได้รับผลกระทบ ริเริ่มชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของจรรยาบรรณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อ ทบทวนและแก้ไข สนับสนุนอย่างจริงจังให้ผู้อื่นใช้ดุลยพินิจทางด้านคุณธรรม จริยธรรมในการจัดการกับ ความขัดแย้งและปัญหาที่มผี ลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น แสดงออกซึ่งภาวะผู้นําในการส่งเสริมให้มีการ ประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมในที่ทํางานและในชุมชนที่กว้างขวางขึ้น นักศึกษาต้องมี คุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 4 ข้อ ดังนี้ 1. ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2. มีดุลยพินิจอย่างผู้รู้โดยใช้หลักฐาน มีเหตุผล และค่านิยมอันดีงาม 3. แสดงออกและสื่อสารโดยคํานึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นที่จะได้รับผลกระทบ 4. มีภาวะผู้นํา ซื่อสัตย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาด้านคุณธรรมและจริยธรรม อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา จัดกิจกรรมส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝังนักศึกษาให้มีระเบียบวินัย กล้าแสดงออก มีเหตุผล กําหนดให้นักศึกษา ส่งโครงการวิจัยเพื่อขออนุมัติจากคณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนก่อนดําเนินการวิจัย 39


มคอ.2 (3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ในด้านคุณธรรมและจริยธรรม ประเมินผลการเรียนรู้หลากหลายวิธี เช่น ประเมินระหว่างเรียน ประเมินด้วยตนเองหลัง เรียน ประเมินจากความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ความตรงต่อเวลาในการเข้าเรียน การส่งงานตาม กําหนดระยะเวลาที่มอบหมาย การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ 2.2 ความรู้ (1) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ สามารถพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความ เข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในองค์ความรู้ที่เป็นแก่นในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งข้อมูล เฉพาะทางทฤษฎี หลักการและแนวคิดที่เป็นรากฐาน มีความรู้ที่เป็นปัจจุบันในสาขาวิชา รวมถึงประเด็น ปัญหาสําคัญทีจ่ ะเกิดขึ้น รู้เทคนิคการวิจัยและพัฒนาข้อสรุปซึ่งเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ได้อย่างชาญฉลาด ดังนั้น นักศึกษาต้องมีมาตรฐานความรู้ดังต่อไปนี้ 1. มีความเข้าใจในสาระสําคัญอย่างถ่องแท้ในองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2. มีความรู้ที่เป็นปัจจุบันในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. สามารถดําเนินการวิจัยและพัฒนาเทคนิคการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์ 4. สามารถบูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน คลินิก และชุมชน (2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ จัดการเรียนการสอนโดยมีการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้ นักศึกษาเข้าร่วมศึกษาทางวิชาการร่วมกับนักศึกษาในหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน ส่งเสริมให้นักศึกษา เข้ารับการอบรม การอบรมเชิงปฏิบัติการในสถาบันหรือองค์กรที่อาจารย์ที่ปรึกษาเห็นชอบ ส่งเสริมให้ นักศึกษาเป็นวิทยากรบรรยายในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาเอกภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมประชุมวิชาการที่มีการนําเสนอผลงานวิจัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่งเสริมให้ นักศึกษานําเสนอผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรที่มี รายงานการประชุม ซึ่งมีคณะกรรมการตรวจสอบผลงาน (3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ การสอบวัดความรู้โดยใช้ข้อสอบ การรายงานการศึกษาค้นคว้า การทําโครงการและการ นําเสนอปากเปล่า เป็นต้น การสอบวัดคุณสมบัติ การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ การสอบป้องกัน วิทยานิพนธ์ 2.3 ทักษะทางปัญญา (1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา สามารถใช้ความเข้าใจอันถ่องแท้ในทฤษฎีและเทคนิคแสวงหาความรู้ในการวิเคราะห์ประเด็น และปัญหาสําคัญได้อย่างสร้างสรรค์ และพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใหม่ๆ สามารถ สังเคราะห์ผลงานการวิจัยและทฤษฎีเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจใหม่ทสี่ ร้างสรรค์ โดยบูรณาการแนวคิด 40


มคอ.2 ต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกสาขาวิชาที่ศึกษาในขั้นสูง สามารถออกแบบและดําเนินการโครงการวิจัย ที่สําคัญที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้อย่างมีนัยสําคัญ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้ เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้ 1. สามารถนําข้อมูลและหลักฐานมาคิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ 2. สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้อย่างเหมาะสม 3. สามารถใช้กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือนวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา 4. สามารถออกแบบและดําเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ 5. สามารถออกแบบและดําเนินโครงการวิจัย รวมทั้งสามารถสังเคราะห์เพื่อพัฒนา องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ส่งเสริมให้นักศึกษามีการปฏิบัติจริง เน้นให้นักศึกษาฝึกทักษะการคิดและการแก้ไขปัญหาโดย วิธีการอภิปรายกลุ่ม การนําเสนอรายบุคคล การสัมมนา เป็นต้น (3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น การนําเสนอรายงาน การศึกษาค้นคว้า อย่างเป็นระบบ การสัมภาษณ์ เป็นต้น 2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (1) ผลการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความสามารถในการแสดงความเห็นทางวิชาการ สามารถวางแผนวิเคราะห์และแก้ปญ ั หา ที่ซับซ้อนด้วยตนเอง รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้าง ปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมกลุม่ อย่างสร้างสรรค์ และแสดงออกถึงความโดดเด่นในการเป็นผู้นําในทางวิชาการ และสังคม นักศึกษาควรมีคณ ุ สมบัติอย่างน้อยดังต่อไปนี้ 1. สามารถแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ มีภาวะผู้นําและในการเป็นผู้นําทางด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์ 2. มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลและกลุ่มคนอย่างสร้างสรรค์ 3. มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ต่อตนเองและสังคม 4. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความสามารถในการปรับตัว และมีความอดทน (2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การสอนที่มีการกําหนดกิจกรรมการทํางานเป็นกลุ่มและการทํางานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูล เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน (3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ประเมินจากพฤติกรรมการแสดงออกของนักศึกษาระหว่างการนําเสนอรายงานหรือการทํา โครงการกลุ่ม ประเมินความสามารถและความสําเร็จในการทํางานกลุ่ม 41


มคอ.2 2. 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสือ่ สาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถคัดกรองข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อนํามาใช้ในการศึกษาค้นคว้าในประเด็น ปัญหาที่สําคัญ สรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ โดยเจาะลึกในสาขาวิชาเฉพาะ สามารถ สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับกลุ่มบุคคลต่างๆ ทั้งในวงการวิชาการ รวมถึง ชุมชนทั่วไป โดยการนําเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทาง วิชาการ รวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่สําคัญ นักศึกษาควรมีทกั ษะอย่างน้อยดังต่อไปนี้ 1. สามารถวิเคราะห์ คัดกรองข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติในการศึกษาค้นคว้าวิจัย 2. สามารถสรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ไขผ่านการบูรณาการทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ พื้นฐาน คลินิก และชุมชน 3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รปู แบบ ของสื่อการนําเสนอได้อย่างเหมาะสม 4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ บุคคล และกลุ่มบุคคล (2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งการพูด การฟัง และการเขียน จัดประสบการณ์การเรียนรู้ทสี่ ่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้ อย่างหลากหลายรูปแบบและวิธีการ (3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ในด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ประเมินผลงานโดยดูจากกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น การสังเกต การใช้แบบประเมิน เป็นต้น 2. 6 ทักษะพิสัย (1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย สามารถพัฒนาทักษะการปฏิบัติการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ภายใต้กรอบปฏิบัติ ของระเบียบวิธีวิจัยและจริยธรรมในการทําวิจัย มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์พื้นฐานกับคลินิกและชุมชน นักศึกษาควรมีทกั ษะอย่างน้อยดังต่อไปนี้ 1. มีทักษะในการปฎิบัติการงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างกว้างขวางและ อย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีจริยธรรม ความรับผิดชอบในการดําเนินการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน คลินิกและ ชุมชน 4. มีความใฝ่รู้ ติดตามการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่าง ต่อเนื่อง 42


มคอ.2 (2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการทํางานวิจัยทางด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างกว้างขวางโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ดูแล ควบคุม และติดตาม นักศึกษาอย่างใกล้ชิดในการดําเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยอย่างมีจริยธรรม ส่งเสริมให้นักศึกษา เข้าร่วมนําเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ (3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย มีการประเมินทักษะการปฏิบัติการวิจัยในห้องปฏิบัติการ การนําเสนอผลงานวิจัย การเขียน scientific paper การเขียนวิทยานิพนธ์ การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ 3. แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ผลการเรียนรู้ตามตารางมีความหมายดังนี้ 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 1. ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2. มีดุลยพินิจอย่างผู้รู้โดยใช้หลักฐาน มีเหตุผล และค่านิยมอันดีงาม 3. แสดงออกและสื่อสารโดยคํานึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นที่จะได้รับผลกระทบ 4. มีภาวะผู้นํา ซื่อสัตย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 2. ด้านความรู้ 1. มีความเข้าใจในสาระสําคัญอย่างถ่องแท้ในองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2. มีความรู้ที่เป็นปัจจุบันในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. สามารถดําเนินการวิจัยและพัฒนาเทคนิคการวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์ 4. สามารถบูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน คลินิก และชุมชน 3. ด้านทักษะทางปัญญา 1. สามารถนําข้อมูลและหลักฐานมาคิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ 2. สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้อย่างเหมะสม 3. สามารถใช้กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือนวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา 4. สามารถออกแบบและดําเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 1. สามารถแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ มีภาวะผู้นําและการเป็นผู้นําทางด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ 2. มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลและกลุ่มคนอย่างสร้างสรรค์ 3. มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ ต่อตนเองและสังคม 43


มคอ.2 4. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความสามารถในการปรับตัว และมีความอดทน 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1. สามารถวิเคราะห์ คัดกรองข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติในการศึกษาค้นคว้าวิจัย 2. สามารถสรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ไขผ่านการบูรณาการทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ พื้นฐาน คลินิก และชุมชน 3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รปู แบบของสื่อการ นําเสนอได้อย่างเหมาะสม 4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ บุคคล และกลุ่มบุคคล 6. ด้านทักษะพิสัย 1. มีทักษะในการปฎิบัติการงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างกว้างขวางและ อย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีจริยธรรม ความรับผิดชอบในการดําเนินการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน คลินิก และชุมชน 4. มีความใฝ่รู้ ติดตามการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างต่อเนื่อง

44


มคอ.2 แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)  ความรับผิดชอบหลัก  ความรับผิดชอบรอง รหัส/ชื่อรายวิชา

พว.600 วิธีวิทยาการวิจัยและจริยธรรม พว.700 สถิติประยุกต์ วิชาเอกชีววิทยาระดับเซลล์และอณูชีววิทยา พว.611 ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล พว.612 เทคนิคพื้นฐานทางชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล พว.613 ชีววิทยาเซลล์ต้นกําเนิด พว.614 โครงการวิจัยเฉพาะเรื่อง พว.615 ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุลขั้นสูง วิชาเอกเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ พว.621 เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ขั้นสูง พว.622 เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ขั้นสูง พว.623 โครงการวิจัยเฉพาะเรื่องทางเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ วิชาเอกสรีรวิทยาคลินิก พว.631 สรีรวิทยาคลินิก พว.632 หัวข้อปัจจุบันในสรีรวิทยาคลินิก พว.633 การทดลองทางสรีรวิทยาและเครื่องมือ พว.634 หัวข้อพิเศษทางสรีรวิทยาคลินิก พว.635 ความเครียดเค้นออกซิเดชันในทางชีววิทยาและการแพทย์ วิชาเอกเภสัชโภชนศาสตร์ พว.641 หลักการและเทคนิคทางเภสัชเวทและเภสัชโภชนศาสตร์ พว.642 หลักการตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ พว.643 การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร พว.644 ปัญหาพิเศษทางเภสัชเวทและเภสัชโภชนศาสตร์

1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม

2 ด้านความรู้

3 ด้านทักษะทาง ปัญญา

5 ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 2 3 4

6 ด้านทักษะพิสัย

1

2

3

4

1

2

3

4

1

2

3

4

4 ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ 1 2 3 4

1

2

3

4

45


มคอ.2 รหัส/ชื่อรายวิชา

พว.645 เทคโนโลยีกับการผลิตยาขั้นสูงจากสมุนไพร พว.646 การวิจัยสมุนไพรในทางคลินิก พว.800 วิทยานิพนธ์

1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม

2 ด้านความรู้

3 ด้านทักษะทาง ปัญญา

5 ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 2 3 4

6 ด้านทักษะพิสัย

1

2

3

4

1

2

3

4

1

2

3

4

4 ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ 1 2 3 4

1

2

3

4

46


มคอ.2 หมวดที่ 5. หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา 1. กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด) การวัดผลให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2553 ดังนี้ 1.1 การวัดผลการศึกษาแบ่งเป็น 9 ระดับ มีชื่อและค่าระดับต่อหนึ่งหน่วยกิตดังต่อไปนี้ ระดับ A AB+ B BC+ C D F ค่าระดับ 4.00 3.67 3.33 3.00 2.67 2.33 2.00 1.00 0.00 1.2 การนับหน่วยกิตที่ได้จะนับรวมเฉพาะหน่วยกิตลักษณะวิชาที่นักศึกษาได้ค่าระดับ S หรือ ระดับไม่ต่ํากว่า C เท่านั้น รายวิชาที่นักศึกษาได้ค่าระดับต่ํากว่า C ไม่ว่าจะเป็นรายวิชาบังคับหรือ รายวิชาเลือก ให้นํามาคํานวณค่าระดับเฉลี่ยสําหรับภาคการศึกษานั้นและค่าระดับเฉลี่ยสะสมทุกครั้งไป 1.3 นักศึกษาที่ได้ระดับ U หรือระดับต่ํากว่า C ในรายวิชาใดที่เป็นรายวิชาบังคับในหลักสูตร จะลงทะเบียนศึกษาซ้ําในรายวิชานั้นได้อีกเพียง 1 ครั้ง และครั้งหลังนีจ้ ะต้องได้ค่าระดับ S หรือระดับ ไม่ต่ํากว่า C มิฉะนั้นจะถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา รายวิชาที่ได้ค่าระดับตามความในวรรคแรกนั้น หากเป็นรายวิชาเลือก นักศึกษาอาจ จะลงทะเบียนศึกษาซ้ําในรายวิชานั้นอีก หรืออาจจะลงทะเบียนศึกษารายวิชาเลือกอื่นแทนก็ได้ นักศึกษาที่ได้ค่าระดับไม่ต่ํากว่า C ในรายวิชาใด ไม่มีสทิ ธิจดทะเบียนศึกษาซ้ําในรายวิชา นั้นอีก เว้นแต่หลักสูตรจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น 1.4 การวัดผลวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับ S (ใช้ได้) และระดับ U (ใช้ไม่ได้) หน่วยกิตที่ได้จะไม่นํามาคํานวณค่าระดับเฉลี่ย 1.5 การสอบภาษาต่างประเทศ แบ่งเป็น 2 ระดับคือ ระดับ P (ผ่าน) และระดับ N (ไม่ผ่าน) และไม่นับหน่วยกิต 1.6 เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2553 2. กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา 2.1 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สําเร็จการศึกษา การทวนสอบในระดับรายวิชา มีคณะอนุกรรมการกลุ่มวิชาเอกพิจารณาความเหมาะสมของ ข้อสอบหรืองานที่มอบหมายว่าครอบคลุมผลการเรียนรู้ตามที่กําหนดในรายละเอียดวิชา และจัดให้ นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชา 2.2 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสําเร็จการศึกษา ประเมินจากบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษา และจากผู้ใช้บัณฑิต

47


มคอ.2 3. เกณฑ์การสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3.1 ได้ศึกษาลักษณะวิชาต่างๆ และสอบผ่านครบตามโครงสร้างหลักสูตร และมีหน่วยกิตสะสม ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต 3.2 ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน) 3.3 ได้ค่าระดับ P (ผ่าน) ในการสอบภาษาต่างประเทศ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกําหนด ได้แก่ ผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET ซึ่งจัดสอบโดยสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ต่ํากว่า 550 คะแนน หรือผลคะแนน TOEFL (paper-based test) ไม่ต่ํากว่า 550 คะแนน หรือผลคะแนน TOEFL (computer-based test) ไม่ต่ํากว่า 213 คะแนน ผลคะแนน TOEFL (internet -based test) ไม่ต่ํากว่า 79 คะแนน หรือผลคะแนน IELTS ไม่ต่ํากว่า 5.5 คะแนน หรือศึกษาและสอบผ่านวิชา มธ.005 ภาษาอังกฤษ 1 และ มธ.006 ภาษาอังกฤษ 2 3.4 ได้ระดับ S ในการสอบวิทยานิพนธ์ โดยการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่ คณะแพทยศาสตร์แต่งตั้ง และนําวิทยานิพนธ์ที่พิมพ์และเย็บเล่มเรียบร้อยแล้ว มามอบให้ มหาวิทยาลัยตามระเบียบ 3.5 ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดําเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่ง ของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือ เสนอต่อที่ประชุม วิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceeding) 3.6 ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่คณะแพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กําหนด และต้อง ชําระหนี้สินต่างๆ ทั้งหมดที่มกี ับมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์ 1. การเตรียมการสําหรับอาจารย์ใหม่ 1. มีการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายของมหาวิทยาลัย บทบาทหน้าที่ ของอาจารย์ กฎ ระเบียบต่างๆ รวมถึงสิทธิ ผลประโยชน์ของอาจารย์ 2. ส่งเสริมให้อาจารย์เพิ่มพูนความรู้โดยเข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาการสอน การวัดและการประเมินผล การทําวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การศึกษาดูงาน ประชุมสัมมนา และการประชุมวิชาการ เสนอผลงานทัง้ ในและต่างประเทศ 3. คณะมีการจัดโครงการฝึกอบรมอาจารย์ใหม่เรื่องบทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ การจัดการเรียน การสอน การจัดทํารายละเอียดรายวิชาและแผนการสอน ตลอดจนการประเมินผล มีการจัดอบรม เทคนิค วิธีการสอน โดยการใช้สื่อต่างๆ และมอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น รายละเอียดหลักสูตร คู่มือการศึกษาและหลักสูตร คู่มืออาจารย์ กฎ ระเบียบต่างๆ 2. การพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่คณาจารย์ 2.1 การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล 48


มคอ.2 1. ส่งเสริมให้อาจารย์มีการเพิ่มพูนความรู้ โดยเข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาการสอน อบรมการ วัดและการประเมินผล อบรมการทําวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การศึกษาดูงาน ประชุม สัมมนา และการประชุมวิชาการเสนอผลงานทั้งในและต่างประเทศ 2. ส่งเสริมให้อาจารย์ไปประชุม/อบรม/สัมมนาเพื่อพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ การจัดทําเว็บไซต์ เอกสารเผยแพร่การพัฒนาความรู้ 2.2 การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพด้านอื่นๆ 1. ส่งเสริมการทําวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่ 2. มีการกระตุ้นให้อาจารย์ทําผลงานทางวิชาการในสาขาวิชา 3. ส่งเสริมให้อาจารย์เข้าร่วมการวิจัย การทําผลงานทางวิชาการ การนําเสนอผลงานทาง วิชาการ การศึกษาต่อยอด และการอบรมระยะสั้น หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร 1. การบริหารหลักสูตร 1.1 มีคณะอนุกรรมการหลักสูตรทําหน้าที่บริหารจัดการหลักสูตรประกอบด้วย ผู้อํานวยการ บัณฑิตศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คณาจารย์จากวิชาเอกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ นักวิชาการศึกษา การบริหารอยู่ภายใต้กํากับของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาของคณะ แพทยศาสตร์ 1.2 มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจําหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน อาจารย์พิเศษ อาจารย์ ที่ปรึกษาทั่วไป อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 แนวทางบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ อุดมศึกษา พ.ศ. 2548 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิต ศึกษา พ.ศ. 2553 1.3 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวางแผนการจัดการเรียนการสอนร่วมกับคณะอนุกรรมการหลักสูตร และอาจารย์ผสู้ อน ติดตามและรวบรวมข้อมูลสําหรับใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดย กระทําทุกปีอย่างต่อเนื่อง 1.4 มีการประเมินหลักสูตรและนําผลมาพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุกๆ 5 ปี 1.5 มีการประเมินการสอนโดยนักศึกษาเพื่อนําผลไปพัฒนาและปรับปรุงการสอนรายวิชาต่างๆ 1.6 มีการประกันคุณภาพวิทยานิพนธ์ โดยการจัดหาอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสม มีความสามารถในวิชาเอกนั้นๆ และกําหนดให้นักศึกษาจะต้องรายงานความก้าวหน้าในการ ทําวิทยานิพนธ์ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา โดยเขียนลงใน Portfolio นับตั้งแต่ลงทะเบียนทํา วิทยานิพนธ์ 49


มคอ.2 เป้าหมาย การดําเนินการ การประเมินผล นักศึกษาสําเร็จการศึกษาตาม อาจารย์ที่ปรึกษาทั่วไปและอาจารย์ จํานวนนักศึกษาที่สําเร็จ หลักสูตรอย่างน้อย 80 % ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้คําปรึกษา การศึกษา แนะนําและติดตามนักศึกษา เพื่อ ติดตามความก้าวหน้าและรับทราบ ปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ไข 2. การบริหารทรัพยากรการเรียนการสอน 2.1 การบริหารงบประมาณ หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาใช้งบรายได้พิเศษในการบริหารจัดการเป็นรายปีงบประมาณ ซึ่งได้ รับการจัดสรรเพื่อปรับปรุงคุณภาพการสอนและวิจัยตามความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจํา คณะแพทยศาสตร์ มีการจัดทํางบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่ายที่ชัดเจน มีระบบบัญชีที่ เป็นปัจจุบันและตรวจสอบได้ 2.2 ทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีอยูเ่ ดิม 1. สถานที่และอุปกรณ์การสอน ใช้สถานที่และอุปกรณ์การสอนของคณะแพทยศาสตร์ ศูนย์สุขศาสตร์ โรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และสถาบันอืน่ ๆ 2. ห้องสมุดและสารสนเทศ นักศึกษาสามารถใช้บริการของสํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และห้องสมุด นงเยาว์ ชัยเสรี นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่มีหนังสือ ตํารา หรือวารสารทางวิชาการ เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้บริการได้ 2.1 หนังสือและวารสาร (ทรัพยากรสารสนเทศของสํานักหอสมุด ปีงบประมาณ 2553) สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - หนังสือ มีจาํ นวนรวมทั้งหมด 1,036,613 เล่ม ภาษาต่างประเทศ รวม ภาษาไทย หนังสือ 716,991 319,622 1,036,613 - เอกสาร มีจาํ นวนรวมทั้งหมด 35,940 เล่ม ภาษาต่างประเทศ รวม ภาษาไทย เอกสาร 21,052 14,888 35,940 - วารสาร มีจาํ นวนรวมทั้งหมด 3,652 ชื่อเรื่อง ภาษาต่างประเทศ รวม ภาษาไทย วารสาร 1,526 2,126 3,652 - คลังหนังสือ มีจํานวนรวมทั้งหมด 163,407 เล่ม 50


มคอ.2 จัดเก็บข้อมูลรวม ไม่มีการแยกข้อมูลหนังสือภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

2.2 สารสนเทศ นักศึกษาสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ - วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ของ มธ. มีจํานวนรวมทั้งหมด 12,480 เล่ม ภาษาต่างประเทศ รวม ภาษาไทย วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ของ มธ. 11,129 1,351 12,480 - หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ มีจํานวนรวมทั้งหมด 763 เล่ม ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ รวม หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ 754 8 763 - วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มีจาํ นวนรวมทั้งหมด 8,085 ฉบับ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ รวม วารสารอิเล็กทรอนิกส์ 8,025 60 8,085 - ฐานข้อมูล มีจํานวนรวมทั้งหมด 86 ฐาน - โสตทัศนวัสดุ มีจํานวนรวมทั้งหมด 47,418 รายการ 2.3 การจัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนเพิ่มเติม มีกระบวนการจัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนเพิ่มเติมโดยเสนอเรื่องผ่านคณะกรรมการ บัณฑิตศึกษาไปยังคณะกรรมการประจําคณะแพทยศาสตร์ - จัดหาตํารา หนังสือ สิ่งพิมพ์ วารสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ทรัพยากร สารสนเทศ และเอกสารอ้างอิงต่างๆ ที่ทันสมัยอย่างเพียงพอ - จัดให้มีอาคารสถานที่ที่เอื้ออํานวยต่อการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย ได้แก่ ห้องบรรยาย ห้องปฏิบัติการ ห้องประชุม/สัมมนา อย่างเหมาะสมและเพียงพอ พร้อมทั้งมีการบํารุงรักษาที่ดี - จัดให้มีคอมพิวเตอร์ สื่อการเรียนการสอนทีท่ ันสมัย เอื้ออํานวยต่อการสืบค้น พร้อมทั้ง มีการบํารุงรักษาที่ดี - จัดให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดห้องเรียนกลุ่ม และการจัดให้มี ห้องพักนักศึกษารวม - จัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษาและทุนวิจัย 2.4 การประเมินความเพียงพอของทรัพยากร มีกระบวนการประเมินความเพียงพอของทรัพยากรการเรียนการสอนในด้านต่างๆ โดยใช้ ข้อมูลจากแบบประเมินการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาจากนักศึกษา และข้อมูลจาก คณาจารย์ผู้เกีย่ วข้อง 51


มคอ.2 เป้าหมาย มีงบประมาณที่สนับสนุนการ จัดการศึกษาที่เพียงพอ

การดําเนินการ การประเมินผล ใช้ข้อมูลการใช้งบประมาณ ติดตามสรุปการใช้งบประมาณ ที่ผ่านมาประกอบการจัดทํา เทียบงบประมาณที่ตั้งไว้ งบประมาณปีถัดไป

3. การบริหารคณาจารย์ 3.1 การรับอาจารย์ใหม่ มีการคัดเลือกอาจารย์ใหม่ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยโดยอาจารย์ใหม่จะ ต้องมีวุฒิการศึกษาและคุณสมบัติตามที่คณะ สาขาวิชา และมหาวิทยาลัยกําหนด การกําหนดคุณสมบัติทั่วไป 1. คุณสมบัติทั่วไปเป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 2. คุณสมบัติของผู้สมัคร 2.1 ผู้สมัครที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาโท - เป็นผู้ที่สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยต้องได้ เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 3.35 วุฒิปริญญาตรีต้องได้เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 2.75 และไม่มีเกรด F ในวิชาหลัก จบจากมหาวิทยาลัยที่คณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยรับรอง 2.2 ผู้สมัครที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาเอก - เป็นผู้ที่สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยต้องได้ เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 3.25 วุฒิปริญญาตรีต้องได้เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 2.75 และไม่มีเกรด F ในวิชาหลัก จบจากมหาวิทยาลัยที่คณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยรับรอง 3.2 การมีส่วนร่วมของคณาจารย์ในการวางแผน การติดตามและทบทวนหลักสูตร 1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจําหลักสูตร และผู้สอนจะต้องประชุมร่วมกัน ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล และ ให้ความเห็นชอบการ ประเมินผลทุกรายวิชา 2. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผู้สอนต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อเตรียมไว้สําหรับ การปรับปรุงหลักสูตร 3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผู้สอนต้องปรึกษาหารือแนวทางที่จะทําให้บรรลุ เป้าหมายตามหลักสูตร

52


มคอ.2 3.3 การแต่งตั้งคณาจารย์พิเศษ 1. คณาจารย์พิเศษต้องมีคุณสมบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาเสนอขออนุมัติ การเชิญต่อรองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผ่านผู้อํานวยการบัณฑิตศึกษา 2. คณะแพทยศาสตร์กําหนดให้รายวิชาที่เชิญคณาจารย์พิเศษมาบรรยาย สอนปฏิบัติการ และถ่ายทอดประสบการณ์ตรงให้แก่นักศึกษา มีสัดส่วนของอาจารย์พิเศษต่ออาจารย์ ผู้สอนภายในคณะเป็น 1 ต่อ 3 3. คณาจารย์พิเศษต้องมีแผนการสอนตามคําอธิบายรายวิชาที่แต่ละวิชาเอกจัดทําไว้ ประกอบการสอน โดยประสานงานกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา 4. การบริหารบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน 4.1 การกําหนดคุณสมบัตเิ ฉพาะสําหรับตําแหน่ง มีการกําหนดคุณสมบัติบุคลากรให้ครอบคลุมภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และมีขั้นตอน การคัดเลือกโดยคณะกรรมการคัดเลือกบุคลากรก่อนรับเข้าทํางาน ซึ่งควรมีวุฒิปริญญาตรีที่มี ความสามารถในการปฎิบัติงานตามตําแหน่ง และมีจิตใจรักการบริการด้านการศึกษา 4.2 การเพิ่มทักษะความรูเ้ พื่อการปฏิบัตงิ าน มีการพัฒนาบุคลากรให้มีพฒ ั นาการเพิ่มพูนความรู้ สร้างเสริมประสบการณ์ในภาระงานที่ รับผิดชอบ สามารถสนับสนุนบุคลากรสายวิชาการหรือหน่วยงานให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการอบรม ศึกษาดูงาน และมีการสนับสนุนให้บุคลากรได้ร่วมงานกับอาจารย์ในโครงการวิจัย ของวิชาเอก 5. การสนับสนุนและการให้คําแนะนํานักศึกษา 5.1 การให้คาํ ปรึกษาด้านวิชาการ และอื่นๆ แก่นักศึกษา - มีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาทั่วไป ทําหน้าที่การดูแล ให้สนับสนุน ส่งเสริม และให้คําแนะนํา ด้านการวางแผนการศึกษา ผลการศึกษา และติดตามนักศึกษาตั้งแต่แรกเข้าจนสําเร็จการศึกษา - มีการจัดกิจกรรมอาจารย์ที่ปรึกษาพบนักศึกษา - มีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อช่วยดูแลและติดตามการทําวิทยานิพนธ์ของ นักศึกษาอีกทางหนึ่ง โดยอาจารย์ที่ปรึกษานัดหมายกับนักศึกษาเพื่อให้คําปรึกษา 5.2 การอุทธรณ์ของนักศึกษา - การอุทธรณ์ของนักศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยวินัย นักศึกษา พ.ศ. 2547 หมวดที่ 4 - นักศึกษาสามารถเสนอขออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาผ่านผู้อํานวยการบัณฑิตศึกษา กรณีที่นักศึกษามีความสงสัยเกี่ยวกับผลการสอบหรือผลการประเมินรายวิชาใดสามารถยื่น 53


มคอ.2 คําร้องขอดูผลการสอบหรือกระดาษคําตอบ ตลอดจนขอดูคะแนน และวิธีการประเมินของ คณะกรรมการสอบหรืออาจารย์แต่ละรายวิชาได้ 6. ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต 1. มีการจัดทําแผนการดําเนินงาน - เพื่อให้ได้นักศึกษาที่มีคุณภาพ และเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ - เพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการตลาดแรงงานและสังคม 2. มีแผนการประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในสาขาที่เกี่ยวข้องมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโท เพื่อเพิ่มวุฒิการศึกษา ทําวิทยานิพนธ์ในเรื่องที่สนใจหรือเป็นปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน อันจะเป็นการพัฒนาต่อยอดงานเดิม หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. มีแผนการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต เพื่อนํามาปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงกับ ความต้องการของตลาดแรงงานและสังคม 4. มีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายของผู้สนใจเข้ามาศึกษา 7. ตัวบ่งชี้ผลการดําเนินงาน (Key Performance Indicators) ของหลักสูตร 1)

2) 3)

4)

5)

6)

ดัชนีบ่งชี้ผลการดําเนินงาน อาจารย์ประจําหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดําเนินงานหลักสูตร มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ มีรายละเอียดของรายวิชา ตามแบบ มคอ.3 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาค การศึกษาให้ครบทุกรายวิชา จัดทํารายงานผลการดําเนินการของรายวิชา ตามแบบ มคอ.5 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุด ภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา จัดทํารายงานผลการดําเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปี การศึกษา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตาม มาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กําหนดใน มคอ.3 อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอน ในแต่ละปีการศึกษา

ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5     

54


มคอ.2 7)

8) 9)

10)

11)

12)

ดัชนีบ่งชี้ผลการดําเนินงาน มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดําเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีทแี่ ล้ว อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคนได้รับการปฐมนิเทศ หรือคําแนะนําด้านการจัดการเรียนการสอน อาจารย์ประจําทุกคนได้รับการพัฒนาทาง วิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละ หนึ่งครั้ง จํานวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/ บัณฑิตใหม่ทมี่ ตี ่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อ บัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จาก คะแนนเต็ม 5.0

ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5    

หมวดที่ 8. การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของหลักสูตร 1. การประเมินประสิทธิผลของการสอน 1.1 การประเมินกลยุทธ์การสอน - มีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระหว่างภาคการศึกษาโดยการทดสอบย่อย การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา การอภิปรายโต้ตอบจากนักศึกษา การตอบคําถามของ นักศึกษาในชั้นเรียน โดยนําข้อมูลที่ได้มาประเมินเบื้องต้นและปรับปรุงวิธีการสอน - ให้นักศึกษาประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอนในทุกรายวิชาเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน ของแต่ละรายวิชา และนําผลการประเมินมาวิเคราะห์และแจ้งผลกลับไปที่อาจารย์ผู้สอน เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การสอนและวางแผนพัฒนาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับรายวิชา 1.2 การประเมินทักษะของอาจารย์ในการใช้แผนกลยุทธ์การสอน นักศึกษาประเมินผลการสอนของอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา โดยใช้แบบประเมิน และนําผล การประเมินแจ้งกลับไปที่อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผู้อํานวยการบัณฑิตศึกษา 55


มคอ.2 และรองคณบดีฝ่ายวิชาการทราบ เพื่อนําข้อมูลไปปรับปรุงกลยุทธ์การสอนและวางแผนพัฒนาให้ สอดคล้อง เหมาะสมกับรายวิชาต่อไป 2. การประเมินหลักสูตรในภาพรวม การประเมินหลักสูตรในภาพรวม ประเมินโดยใช้ข้อมูลจาก - แบบประเมินจากการประเมินโดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต/ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ - รายงานผลการดําเนินการของหลักสูตร 3. การประเมินผลการดําเนินงานตามรายละเอียดหลักสูตร การประเมินคุณภาพการศึกษาประจําปี เป็นการประเมินผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ผลการ ดําเนินงานที่ระบุในหมวดที่ 7 ข้อ 7 โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และคณะกรรมการประเมิน คุณภาพภายใน มีคณะกรรมการประเมินอย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขา/ สาขาวิชาเดียวกัน อย่างน้อย 1 คน 4. การทบทวนผลการประเมินและวางแผนปรับปรุง 4.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาทบทวนผลการประเมินประสิทธิผลของการสอนในวิชาที่รับผิดชอบ และดําเนินการปรับปรุงเมื่อสิ้นภาคการศึกษาทันที ทํารายงานผลการดําเนินการรายวิชาเสนอคณะอนุกรรมการกลุ่มวิชาเอก ผู้อํานวยการบัณฑิตศึกษา ผ่านอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 4.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรติดตามผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ในหมวดที่ 7 ข้อ 7 จากการ ประเมินคุณภาพภายใน 4.3 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ประธานอนุกรรมการหลักสูตร สรุปผลการดําเนินการงานหลักสูตร ประจําปี โดยรวบรวมข้อมูลการประเมินประสิทธิผลของการสอน รายงานผลการดําเนินการของรายวิชา รายงานผลการประเมินการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน รายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ของนักศึกษา รายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ จัดทํารายงานผล การดําเนินงานหลักสูตรประจําปีเสนอผู้อํานวยการบัณฑิตศึกษา 4.4 จัดประชุมอาจารย์ประจําหลักสูตร พิจารณาทบทวนและสรุปผลการดําเนินงานหลักสูตร ปัญหา ของการบริหารหลักสูตรทั้งในภาพรวมและในแต่ละรายวิชา และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมิน เพื่อ วางแผนปรับปรุงการดําเนินงานสําหรับใช้ในปีการศึกษาต่อไป และจัดทํารายงานผลการดําเนินงาน หลักสูตรเสนอต่อคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา

56


มคอ.2

ภาคผนวก ภาคผนวก 1 ผลงานทางวิชาการย้อนหลัง 5 ของอาจารย์ประจําหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ชื่อ-นามสกุล ผศ.ดร.ศิริกุล มะโนจันทร์

ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย/บทความ 1. Manochantr S., Sretarugsa P., Chavadej J., Sobhon P. (2005). Chromatin Organization and Basic Nuclear Proteins in the Male Germ Cells of Rana tigerina. Mol Repord Dev; 70(2): 84-197. 2. Worawittayawong P., Leigh C., Weerachatyanukul W., Manochantr S., Sobhon P., Breed WG., Sretarugsa P. (2008). Changes in Distribution of Basic Nuclear Proteins and Chromatin Organization during Spermiogenesis in the Greater Bandicoot Rat, Bandicota indica. Cell Tissue Res. Oct; 334(1): 135-44. 3. Chiamchanya C., Kaewnoonual N., Visutakul P., Manochantr S., & Chaiya J. (2010). Comparative study of the effects of three semen preparation media on semen analysis, DNA damage and protamine deficiency,and the correlation between DNA integrity and sperm parameters. Asian J Androl., Mar;12(2): 271-277. 4. Churdchomjan W., Kheolamai P., Manochantr S., Tapanadechopone P., Tantrawatpan C., U-Pratya Y., & Issaragrisil S. (2010). Comparison of endothelial progenitor cell function in type 2 diabetes with good and poor glycemic control. BMC Endocrine Disorders; Apr 7, 10:5. 5. Manochantr S., Chiamchanya C., & Sobhon P. The relationship between chromatin condensation, DNA integrity and quality of 57


มคอ.2 ชื่อ-นามสกุล

ผลงานทางวิชาการ ejaculated spermatozoa from infertile men. Andrologia (in press) 6. Manochantr S., Tantrawatpan C., Kheolamai P., U-pratya Y., Supokawej A., & Issaragrisil S. Isolation characterization and neural differentiation potential of amnion derived mesenchymal stem cells. J Med Assoc Thai. 2010; 93 (Suppl. 7) : S183-S191. 7. Churdchomjan W., Manochantr S., Kheolamai P., Tapanadechopone P., Tantrawatpan C., U-pratya Y., & Issaragrisil S. (2008). The Number and Characteristics of Endothelial Progenitor Cell from Peripheral Blood of Type 2 Diabetes Patients. Tham Med J; 8(3): 352-363. 8. Tanuchit S., Kheolamai P., Manochantr S., Tantrawatpan C., U-pratya Y., Supokawej A., Chiamchanya C., & Issaragrisil S. (2008). The Characteristic of Mesenchymal Stem Cells from Peripheral Blood and Mobilized Peripheral Blood in Comparison to Bone Marrow Derived Mesenchymal Stem Cells. Tham Med J; 8(3): 281-291. 9. Kaewnoonual N., Chiamchanya C., Visutakul P., Manochantr S., Chaiya J. Tor-Udom P. (2008). Comparative Study of Semen Quality between Pre-washed and Post-washed with 3 Sperm Preparation Media. Tham Med J; 8(3): 292-300. 10. Supadej Rojpaisan, Sirikul Manochantr, Yaowaluk U-pratya, Chairat Tantrawatpan, Pakpoom Kheolamai, Aungkura Supokawej, & Surapol Issaragrisil. (2009). Characterization of 58


มคอ.2 ชื่อ-นามสกุล

ผลงานทางวิชาการ mesenchymal stem cells from umbilical cord and Wharton’s jelly in comparison to bone marrow derived mesenchymal stem cells. Tham Med J; 9(3): 259-270. 11. Sirikul Manochantr. (2009). Induced Pluripotent Stem Cells: New Innovation in Stem Cell Research. Tham Med J; 9(4): 410-416. อ.ดร.นพ.ไพรัตน์ ฐาปนาเดโชพล งานวิจัย 1. เด็กติดเกม .ไพรัตน์ ฐาปนาเดโชพล วารสารสมาคม สุขภาพจิตแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฉบับ การประชุมใหญ่สามัญประจําปี (2553) หน้า 46-43. 2. Churdchomjan, W., Kheolamai, P., Manochantr, S., Tapanadechopone, P., Tantrawatpan, C., U-pratya, Y., Issaragrisil, S. (2010). Comparison of endothelial progenitor cell function in type 2 diabetes with good and poor glycemic control. BMC Endocrine Disorders 2010, 10: 3. วรชาติ เฉิดชมจันทร์, ศิริกุล มะโนจันทร์, ภาคภูมิ เขียวละม้าย, ไพรัตน์ ฐาปนาเดโชพล, ชัยรัตน์ ตัณทราวัฒน์พันธ์, เยาวลักษณ์ อู่ปรัชญา, สุรพล อิสรไกรศีล. จํานวนและลักษณะ ของเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์จากกระแสเลือดของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ธรรมศาสตร์เวชสาร ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจําเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2551 หน้า 352-363. 4. Komsun Suwannarurk, Pairath Tapanadechopol, Janya Pattaraarchachai, Sutatip Bhamarapravati. Hospital-based prevalence and sensitivity of high-risk human papillomavirus in Thai urban population. Cancer Epidemiology 2009; 33: 56-60. ผศ.ดร.โสภาพรรณ เอกรัตนวงศ์ งานวิจัย 1. Miyazaki H, Anzai N, Ekaratanawong S, Sakata T, Shin HJ, Jutabha P, Hirata T, He X, Nonoguchi H, 59


มคอ.2 ชื่อ-นามสกุล

ผศ.ดร.สุมาลี คอนโด

ผลงานทางวิชาการ Tomita K, Kanai Y, Endou H. (2005). Modulation of renal apical organic anion transporter 4 function by two PDZ domain-containing proteins. J Am Soc Nephrol; 16 (12): 3498-506. 2. Ekaratanawong S, Anzai N, Jutabha P, Miyazaki H, Noshiro R, Takeda M, Kanai Y, Sophasan S, Endou H. (2004). Human organic anion transporter 4 is a renal apical organic anion/dicarboxylate exchanger in the proximal tubules. J Pharmacol Sci; 94 (3): 297-304. งานวิจัย 1. Lutthisungoen, A, Kondo S, Udomsopagit S, Smittipat N, Palittapongarnpim P, 2008. Characterization of Vibrio cholerae O1 Isolated During 2001-2004 by Variable Number of Tandem Repeat (VNTR) Typing. Thammasat Medical Journal. 8(3):7pages. 2. Sumalee Kondo and Pravech Ajawatanawong. 2009 Distribution and sequence analysis of virulence associated genes in Vibrio cholerae O1, O139 and non-O1/non-O139 isolates from Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 40(5):1015-24 PMID 19842384 3. Sumalee S Kondo, Suwanna S Trakulsomboon, Prasit P Palittapongarnpim. 2010 Pulsed field gel electrophoresis analysis of Vibrio cholerae isolates in southern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 41(2):410-7 PMID 20578525 4. Sumalee S Kondo, Chisanucha C Sattaponpan, Arunporn A Itharat. 2010 Antibacterial activity of Thai medicinal plants Pikutbenjakul. J Med Assoc Thai 93 Suppl )7(:S131-5 PMID 21298838 60


มคอ.2 ชื่อ-นามสกุล

ผศ.นพ.เจริญไชย เจียมจรรยา

ผลงานทางวิชาการ 5. Kondo, S, Trakoolsomboon S, Smittipat N, Juthayothin T, Palittapongarnpim P, 2010. Pulsed field gel electrophoresis analysis of vibrio cholerae isolates in southern Thailand. Southest Asian J Trop Med Public Health. 41(2):8pages. 6. Darunee D Srichana, Rattana R Taengtip and Sumalee S Kondo. 2011. Antimicrobial activity of Gynostemma pentaphyllum extracts against fungi producing aflatoxin and fumonisin and bacteria causing diarrheal disease. Southeast Asian J Trop Med Public Health 42(3):704-10 (2011) PMID 21706950 งานหนังสือ 1. เจริญไชย เจียมจรรยา. ภาวะมีบุตรยากและการช่วยการ เจริญพันธุ์. บรรณาธิการโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2553. 2. เจริญไชย เจียมจรรยา. การปฏิสนธิ การเจริญเติบโตและ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในตําราสูติศาสตร์: การตั้งครรภ์ และการคลอดปกติ, อติวุทธ กมุทมาศ บรรณาธิการ บริษัทบุ๊คเน็ทจํากัด กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งที่ 1,2546: 48-105. งานวิจัย 1. Chiamchanya C, Kaewnoonual N, Visutakul P, Manchantr S, Chaiya J. Comparative study of the effects of three semen preparation media on semen analysis, DNA damage and protamine deficiency, and the correlation between DNA integrity and sperm parmeters. Asian J Androl. 2010 Mar; 12(2):271-7. 2. Chiamchanya C, Visutakul P, Gumnarai N, Suangkawatin W. Preimploantation. Genetic screening (PGS) in infertile female age> or = 35 years by 61


มคอ.2 ชื่อ-นามสกุล

3.

4.

5.

6.

7.

ผลงานทางวิชาการ fluorescence in situ hybridization of chromosome 13, 18, 21, X and Y. J Med Assoc Thai. 2008 Nov; 91(11):1644-50. Chiamchanya C, Tor-udom P, Gamnarai N. Comparative study of intracytiplasmic sperm injection and in vitro fertilization with high indemination concentration in sibling oocytes in the treatment of unexplained infertility. J Med Assoc Thai. 2008 Nov; 91(8):1155-60. Erratum in: J Med Assoc Thai. 2009 Dec; 92(12):1713. Chiamchanya C, Su-angkawatin W. Study of the causes and the results of treatment in infertile couples at Thammasat Hospital between 19992004. J MedAssoc Thai. 2008 Jun; 91(6):805-12. Pongrojpaw D, Chiamchanya C. The efficacy of ginger in prevention of post-operative nausea and vomiting after outpatient gynecological laparoscopy. J Med Assoc Thai. 2003 Mar; 86(3): 244-50. วรรณวรางค์ หิริโอตป์, ศิริเพ็ญ ต่ออุดม, พฤหัส ต่ออุดม, เจริญไชย เจียมจรรยา. ความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อ แบคทีเรียในน้าํ อสุจิกับผลวิเคราะห์น้ําอสุจิของผู้ชายที่มา ปรึกษาในหน่วยผู้มีบุตรยาก. ธรรมศาสตร์เวชสาร 8,2 (เม.ย.-มิ.ย.2551) 106-111. เสริมเกียรติ ทานุชิต,ภาคภูมิ เขียวละม้าย,ศิริกุล มะโนจันทร์, ชัยรัตน์ ตัณทราวัฒน์พันธ์, เยาวลักษณ์ อุ่ปรัชญา, อังกูรา สุโภคเวช, เจริญไชย เจียมจรรยา, สุรพล อิสรไกรศีล. คุณสมบัติของเซลล์ต้นกําเนิดมีเซนไคม์ที่ได้จากเลือดและ เลือดที่ได้รับการกระตุ้นเปรียบเทียบกับเซลล์ต้นกําเนิดเซน ไคม์ที่ได้จากไขกระดูก. ธรรมศาสตร์ เวชสาร 8,3 (ก.ค.-ก.ย. 2551) 281-291. 62


มคอ.2 ชื่อ-นามสกุล

ผลงานทางวิชาการ 8. เจริญไชย เจียมจรรยา. การอุ้มบุญ. สูตินรีแพทย์สัมพันธ์. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554 (มิถุนายน) 20 (6).

63


มคอ.2 ภาคผนวก 2 ภาระงานของอาจารย์ประจําหลักสูตร ลําดับ

รายนามอาจารย์

ป .ตรี

1 2 3 4 5

ภาระงานสอนภายหลังปรับปรุงหลักสูตร (ชั่วโมง:สัปดาห์)

ภาระงานสอนก่อนปรับปรุงหลักสูตร (ชั่วโมง:สัปดาห์)

ประกาศฯ บัณฑิต

ป.โท ป.เอก

แพทย์ประจํา บ้าน

รวม

ป .ตรี

ประกาศฯ บัณฑิต

ป.โท ป.เอก

แพทย์ ประจําบ้าน

รวม

ภาระงานที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์/การค้นคว้า อิสระก่อนปรับปรุง หลักสูตร (จํานวนนักศึกษา)

ภาระงานที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์/การค้นคว้า อิสระหลังปรับปรุง หลักสูตร (จํานวนนักศึกษา)

วิทยานิพนธ์

วิทยานิพนธ์

การค้นคว้า อิสระ

ผศ.ดร.ศิริกุล มะโนจันทร์

4.6

4.4

0.0

9.0

8

1

อ.ดร.นพ.ไพรัตน์ ฐาปนาเดโชพล

1.1

1.7

1.6

4.4

1

1

ผศ.ดร.โสภาพรรณ เอกรัตนวงศ์

6.3

1.0

0.0

7.3

1

1

ผศ.ดร.สุมาลี คอนโด

5.1

3.4

0.0

8.5

5

1

ผศ.นพ.เจริญไชย เจียมจรรยา

7.5

2.2

0.1

9.8

5

1

64

การค้นคว้า อิสระ


มคอ.2 ภาคผนวก 3

แนบสําเนาเอกสารต่อไปนี้

1. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2533 2. ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการสอบภาษาต่างประเทศสําหรับการศึกษาในระดับ บัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2539 ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการวิทยานิพนธ์ พ.ศ. 2553 พร้อมด้วยฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 3. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ. 2547 หมายเหตุ เอกสารหัวข้อนี้ให้ใส่ในเล่มเอกสารหลักสูตรฉบับที่จะเสนอสภามหาวิทยาลัย และสํานักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ส่วนฉบับร่างที่เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และคณะอนุกรรมการ สภามหาวิทยาลัยและการจัดการศึกษา ยังไม่ต้องใส่

65


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.