MEDTU Vol.02

Page 1

Vol.02.2555

ประชุมวิชาการ

คณะแพทยศาสตรประจำป 2555 FROM THE BEST PRACTICE TO PATIENT EDUCATION


CONTENTS

03 วิสัยทัศน์ พันธกิจ

MEDTU

บก. แถลง

04 สกู๊ปพิเศษ : งานประชุมวิชาการครั้งที่ 14 07 MedTUCH ปี 2012 : งานพบปะศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่ 08 เปิดบ้านแพทย์โดม : รางวัลกีรตยาจารย์

แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

10 แพทย์โดมภูมิใจ : โครงการผ่าตัดซ่อมแซมกระโหลกศีรษะ 11 แนะนำ�แพทย์แผนไทยประยุกต์ 12 สังคมแพทย์โดม 14 News UPDATE 15 แพทย์โดม...ห่วงใย EDITOR’STEAM ที่ปรึกษา / Consultant รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ปรีชา วาณิชยเศรษฐกุล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ บรรณาธิการ / Editor ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ณวพล กาญจนารัณย์ กองบรรณาธิการ / Editorial staff รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ไวพจน์ จันทร์วิเมลือง สุดารักษ์ สิริอังควรา สุนทรี ทับเที่ยง สุพัตรา เอี๋ยวสกุล นภาภรณ์ จันทร์สอง ปัทมาพร ส้มไทย กราฟิก - รูปเล่ม / Graphic Design บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำ�กัด (มหาชน) พิมพ์ / Printing บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำ�กัด (มหาชน) 125 ซอยจันทน์ 32 ถนนจันทน์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพ 10120 โทร. 0 2675 5600

“ ใฝ่รู้ คู่คุณธรรม ท�งานเป็นทีม ”


EDITOR’STALK

วิสัยทัศน์

“คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันผลิตแพทย์และวิจัยชั้นนำ� ๑ ใน ๓ ของประเทศ เป็นผู้นำ�ในการ เรียนการสอนแบบ PBL , CBL และแพทย์แผนไทย เป็นสถาบันที่มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติทั้งในระดับปริญญาตรี แพทย์หลัง ปริญญา และ บัณฑิตศึกษา”

พันธกิจ

1. ผลิตบัณฑิตแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่มีคุณภาพ และคุณธรรม 2. ผลิตงานวิจัยทางการแพทย์ระดับสากล และสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และการแพทย์ แผนไทย 3. ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และการแพทย์แผนไทยประยุกต์

บก. แถลง

วัสดีครับ จดหมายข่าวฉบับนี้เป็นฉบับที่ 2 ที่เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ของ คณะแพทยศาสตร์ ฉบับนีจ้ ะมีเรือ่ งทีน่ า่ สนใจเกีย่ วกับงานประชุม วิ ช าการคณะแพทยศาสตร์ ประจำ � ปี 2555 ที่ เ พิ่ ง ผ่ า นมา ซึ่ ง ได้ รั บ การตอบรั บ เป็ น อย่ า งดี มี ผู้ เ ข้ า ฟั ง เป็ น จำ � นวนมาก ได้รบั ฟังข้อมูลความรูท้ เี่ ป็นประโยชน์ ทันสมัย สามารถประยุกต์ นำ�ไปใช้ในเวชปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม และมีผู้ได้รับรางวัล จากการนำ�เสนอผลงานวิจัยดีเด่นในสาขาต่าง ๆ อีกด้วย นอกจากนี้พวกเราชาวคณะแพทยศาสตร์ ต้องขอแสดง ความยินดีแด่อาจารย์ทไี่ ด้สร้างชือ่ เสียงให้กบั คณะแพทยศาสตร์

โดยได้รบั รางวัลกีรตยาจารย์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วั ล ลี สั ต ยาศั ย และอาจารย์ ทุ ก ท่ า นที่ ไ ด้ รั บ โล่ ร างวั ล เชิ ด ชู เกียรติทางด้านการวิจยั ภายในเล่มจะมีบทความและข้อคิดของ อาจารย์ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับอาจารย์รุ่นต่อ ๆ ไป หวังว่าจดหมายข่าวแพทย์โดม จะเป็นสื่อกลางในการ เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หากท่านมีข้อเสนอแนะใด ๆ ติ ดต่ อได้ ที่ E-mail pr_medtu@hotmail.com พบกัน ใหม่ ในฉบับหน้า สวัสดีครับ

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3


คอลัมน์พิเศษ

ประชุมวิชาการ ครั้งที่

14

“FROM THE BEST PRACTICE TO PATTIENT EDUCATION”

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีภารกิจ หลักประการหนึ่งคือการจัดงานประชุมวิชาการ เพื่อเผยแพร่ ความก้าวหน้าทางวิชาการแพทย์ทที่ นั สมัยสูแ่ พทย์และบุคลากร ทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ใหม่ ๆ ที่มุ่ง ตอบสนองพันธกิจของคณะฯ ในการส่งเสริมวิชาการทัง้ ทางด้าน การแพทย์ และแพทย์แผนไทยประยุกต์ งานประชุมวิชาการประจำ�ปี 2555 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ จั ด ขึ้ น ระหว่ า งวั น ที่ 10-13 กรกฎาคม 2555 ณ ห้องประชุมแพทย์โดม 2,3 อาคารคุณากร คณะแพทยศาสตร์ และโรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว กรุงเทพ ภายใต้ชื่อ “FROM THE BEST PRACTICE TO PATIENT EDUCATION” สำ�หรับงานประชุมวิชาการ ครั้งนี้มีแนวคิดที่มุ่งเน้นการแพทย์ในอนาคต การเปลี่ยนแปลง สู่การแพทย์ยุคใหม่ พยากรณ์แนวโน้มทิศทางในการก้าวสู่ การแพทย์ยุคใหม่ นวัตกรรม เทคนิคทางการแพทย์สมัยใหม่ ที่สังคมกำ�ลังให้ความสนใจอยู่ในกระแส รวมทั้งเพื่อการ แลกเปลีย่ นเรียนรูท้ างวิชาการ ประสบการณ์ตรงจากผูเ้ ชีย่ วชาญ ซึ่งมีผู้สนใจร่วมงานประชุมวิชาการกว่า 300 ท่าน คับคั่ง

4 จดหมายข่าว แพทย์โดม

ไปด้วยแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ นักศึกษาแพทย์ ประชาชนทั่วไป จากทั่วประเทศ และไฮไลต์ของงานประชุม วิชาการฯ ครั้งนี้ คือ การนำ�เสนอผลงานที่ภาคภูมิใจ 7 ด้าน ของคณะ ประกอบด้วย 1. Rapid Prototype Prosthetic Ribs 2. Stem Cell: Colon Innovative and Hope 3. Fetal Echocardiography 4. Modern Era in Anesthesia 5. Arthroplasty : Rapid Recovery & Life Long 6. Stroke Network 7. แผนไทยกับโรคเรื้อรัง นอกจากนีย้ งั มีหวั ข้อทีน่ า่ สนใจอีกมากมาย อาทิ “สวยด้วย แพทย์” “Flood and disaster Management preparedness and Response in 2012” นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสำ�คัญที่ขาดไม่ได้สำ�หรับงาน ประชุมวิชาการ คือ การประกวดผลงานวิจัย สำ�หรับปีนี้มี ผลงานส่งเข้าประกวดแบบ Oral presentation และ แบบ Poster presentation ระดับอาจารย์และนักศึกษา จำ�นวน 36 ผลงาน


ผลการตัดสินการนำ�เสนอผลงานวิจยั แบบ Oral presentation (ระดับอาจารย์) ชนะเลิศ ได้แก่ รศ.พญ.สุขเกษม โฆษิตเศรษฐ ชือ่ ผลงาน Quantitative phosphoproteomics of hypercalcemia induced nephrogenic diabetes insipidus รองอันดับหนึ่ง ได้แก่ รศ. นพ.ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร ชื่อผลงาน 0.025% capsaicin gel for the treatment of painful diabetic neuropathy : a randomized, double blinded, cross-over รองอันดับสอง ได้แก่ รศ. พญ.พรภัทร ธรรมสโรช ชือ่ ผลงาน ผลการรักษาระยะแรกในผูป้ ว่ ยโรคหลอดเลือดสมองตีบ และอุดตันระยะเฉียบพลันชาวไทย หลังการได้รับยาละลาย ลิม่ เลือดทางหลอดเลือดดำ� โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ผลการตัดสินการนำ�เสนอผลงานวิจยั แบบ Oral presentation (ระดับบัณฑิตศึกษา/แพทย์ประจำ�บ้าน) ชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวลัดดา มีสุข ชือ่ ผลงาน การเปรียบเทียบผลการควบคุมการตอบสนองของระบบ ภูมคิ มุ้ กันของเซลล์ตน้ กำ�เนิดมีเซนไคน์ทไี่ ด้จากสายสะดือและไข รองอันดับหนึ่ง ได้แก่ นายแพทย์อดินันท์ อภิวัฒน์การุญ ชือ่ ผลงาน การใช้เครือ่ งมือนำ�เจาะ (Patient-specific Drill Guide) เพือ่ หาแนวแกนของกระดูกต้นแขนส่วนต้น ในการผ่าตัดเปลีย่ น ข้อไหล่ รองอันดับสอง ได้แก่ นางสาววรัมพา สุวรรณรัตน์ ชือ่ ผลงาน การศึกษาทางคลินกิ ระยะที่ 1 เรือ่ ง ความปลอดภัยของ สารสกัดตำ�รับเบญจโลกวิเชียรและสารสกัดสมุนไพรเดีย่ วทีเ่ ป็น ด้านแพทย์แผนไทย ผลการตัดสินการนำ�เสนอผลงานวิจยั ทางการแพทย์แผนไทย แบบบรรยาย (วิจัยคลินิก) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวธนา จักษ์เมธา ชื่อผลงาน การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดชั้นเอทานอล และสารที่แยกได้จากตำ�รับยาเบญจโลกวิเชียร (ยาห้าราก)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้แก่ ผศ.ดร.เลอลักษณ์ เสถียรรัตน์ ชือ่ ผลงาน Hypoglycemic and Antioxidant Activities of some Thai Medicinal Plants รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้แก่ นายนรินทร์ กากะทุม ชื่อผลงาน การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบภายนอกกายของ สารสกัดตำ�รับสหัสธารา รางวัลชมเชย • นางสาวจิตต์พิสุทธิ์ จันทร์ทองอ่อน ชื่อผลงาน การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรไทยที่ใช้ รักษาผู้ป่วยเอดส์ • นางสาวรักชริน บัวเอี่ยม ชื่อผลงาน การศึกษาพิษเฉียบพลันและพิษกึ่งเฉียบพลัน ของสารสกัดยาแผนไทย “ไฟห้ากอง”

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5


คอลัมน์พิเศษ

• นางสาวอรมณี ประจวบจินดา ชื่อผลงาน ฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านเชื้อของตำ�รับยาวัดคำ�ประมงที่ใช้ในการรักษา มะเร็ง • นางสาวศรีโสภา เรืองหนู ชื่อผลงาน Stability and formulation development of Hua-Khao-Yen extracts as anticancer drug ผลการตัดสินการนำ�เสนอผลงานวิจยั ทางการแพทย์แผนไทย แบบบรรยาย (คลินิก) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางเรียมศิริ สุโนภักดิ์ ชื่อผลงาน การศึกษาความปลอดภัยและผลในการกระตุ้นภูมิ คุ้มกันของการใช้ผลิตภัณฑ์เปล้าตะวันในคนปกติ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้แก่ นางสาวพรรณภัทร อินทฤทธิ์ ชือ่ ผลงาน การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและผลข้างเคียงของ สารสกัดกระเจีย๊ บแดงกับ Simvastatin ในการลดระดับไขมันใน เลือดในผูป้ ว่ ยโรคไขมันในเลือดสูง (การวิจยั ทางคลินกิ ระยะที่ 2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้แก่ นางจันธิดา กมลาสน์หริ ญ ั ชื่อผลงาน การศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของสารสกัด ตำ�รับยาประสะไพลเปรียบเทียบกับ Mefenamic acid ในการ ลดอาการปวดประจำ�เดือนชนิดปฐมภูมิ: การศึกษาทางคลินิก ระยะที่ 2

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้แก่ • นางสาวอารียา อนุเถกิงกุล ชื่อผลงาน ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของ สารสกัดตำ�รับยาไทยชื่อ “ยาพอกดูดพิษ” • นายธรรมรัตน์ ทุ่ยอ้น ชื่อผลงาน การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการศึกษา หาปริมาณสารในกลุ่มฟีนอลของสารสกัดย่านางแดง • นางสาวศิริกันยา สยมภาค ชื่อผลงาน การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการศึกษา หาปริมาณสารในกลุ่มฟีนอลของสารสกัดย่านางแดง รางวัล Popular Vote ได้แก่ นางสาวรุจิลักขณ์ รัตตะรมย์ ชื่อผลงาน In Vitro Cytotoxic Activity Against Human Lung Cancer Cells of Benjakul Preparation and Its Isolated Compounds

ผลการตัดสินการนำ�เสนอผลงานวิจยั ทางการแพทย์แผนไทย แบบโปสเตอร์ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวรุจิลักขณ์ รัตตะรมย์ ชื่อผลงาน In Vitro Cytotoxic Activity Against Human Lung Cancer Cells of Benjakul Preparation and Its Isolated Compounds

การจัดงานประชุมวิชาการนับเป็นงานดี ๆ ที่ต่อยอด แนวความคิดใหม่ ๆ ให้กบั แพทย์ พยาบาล บุคลากรวงการแพทย์ ก่อให้เกิดการพัฒนาวงการแพทย์ เพือ่ ประโยชน์ตอ่ ประชาชน และสังคม โดยยึดนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “จิตสาธารณะ” และนโยบายของคณะแพทยศาสตร์ “แพทย์ ของประชาชน”

6 จดหมายข่าว แพทย์โดม


MedTUCH

พบปะศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่ จบไปแล้วนะครับสำ�หรับงาน MedTU Coming Home หรือที่เราเรียกกันอย่างติดปากว่า MedTUCH โดยกิจกรรมในปี นี้ ได้จัดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 ที่ ศูนย์ประชุมอุทยาน วิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ภายใน สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อนบ้านของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรานี่เอง ในปีนี้ งาน MedTUCH ในดำ�เนินไปภายใต้แนวคิด Celebrity Return ซึ่งทำ�ให้เกิด Theme ของงานในปีนี้ขึ้นมา นั่นคือ Hollywood Haute couture (อ่านว่า โอ กูตูร์) ซึ่งแปล อย่างง่ายว่าจัดเต็มนั่นเอง และแน่นอนว่าเมื่องานได้เริ่มต้นขึ้น ทั้งรุ่นพี่ศิษย์เก่า และ ศิษย์ปัจจุบัน ต่างไม่มีใครยอมใคร เรียกได้ว่างานนี้ จัดเต็ม สมกับธีมของงานจริง ๆ งาน MedTUCH ถ้าจะเรียกให้เป็นภาษาไทยอย่างง่ายนัน้ ก็คงจะตรงกับงานคืนสู่เหย้านั่นเอง ในงานนี้ จะมีรุ่นพี่ศิษย์เก่า กลับมาร่วมงานในคืนนี้ ทัง้ ยังมีศษิ ย์ปจั จุบนั ทีค่ อยสร้างสีสนั ให้

กับงาน โดยการแสดงของศิษย์ปจั จุบนั นัน่ เอง แต่ไม่เพียงเท่านัน้ ในงาน MedTUCH ยังมีการแสดงของคณาจารย์หลายท่าน ที่ สามารถเรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อยทีเดียว นอกจากการแสดง ต่างๆแล้ว ในงานยังมีการเดินแฟชั่นโชว์ของที่ระลึกในงานนี้อีก ด้วย และแน่นอนว่า เนื่องจากแนวคิดของงานนี้คือ Celebrity Return เราจึงมีการเฟ้นหา Celebrity ตัวจริง เพือ่ เป็น King and Queen ประจำ�งานนี้ นั่นก็คือ พี่นัท ศิษย์ปัจจุบันรุ่นที่ 18 และ พี่แอ้ม ศิษย์เก่ารุ่นที่ 9 นั่นเอง และลืมไม่ได้กับสิ่งที่หลาย ๆ คน รอคอยนั่นคือ The New IPad ที่มีการแจกกันก่อนจบงานใน คืนนั้น โดยมีจำ�นวนทั้งหมด 2 รางวัล โดยจะแบ่งเป็นศิษย์เก่า หนึ่งรางวัล และศิษย์ปัจจุบันอีกหนึ่งรางวัล สำ�หรับศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่พลาดโอกาสในการ เข้าร่วมงานครัง้ นี้ ก็ไม่ตอ้ งเสียใจไป เพราะงานดี ๆ เช่นนี้ เราจัดขึน้ เป็นประจำ�ทุกปี ไว้พบกันใหม่ปกี ารศึกษาหน้านะครับ สวัสดีครับ

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 7


เปิดบ้านแพทย์โดม

กีรตยาจารย์

แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจ�ปี 2554

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วัลลี สัตยาศัย

ในงานครบรอบ 78 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา ชาวแพทย์โดมได้มี โอกาสภาคภูมิใจกับ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วัลลี สัตยาศัย ผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นกีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ประจำ�ปี 2554 โดยการคัดเลือกผูป้ ฏิบตั หิ น้าทีค่ รูและนักวิชาการทีด่ ี อุทศิ ตนให้กบั การเรียน การสอน อุทิศเวลาให้ราชการและสังคมอย่างเต็มความสามารถ มีผลงานเผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศ การได้รบั รางวัลนัน้ แน่นอนว่าคงไม่ได้มาโดยง่าย ต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานับประการ ผูไ้ ด้รบั คัดเลือกต้องเป็นผูม้ คี ณ ุ ธรรม มีความ สามารถในการสอน มีความประพฤติเป็นแบบอย่างสมฐานะความเป็นครู เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางของประชาคมธรรมศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่อาจารย์และช่วยเหลืองานบริหารของมหาวิทยาลัย เป็นนักวิชาการที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับระดับประเทศ ในส่วนของคณะแพทยศาสตร์แล้ว รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วัลลี สัตยาศัย เป็นอาจารย์ที่มีผลงานโดดเด่น และเป็นที่ประจักษ์ ยอมรับในแวดวงการศึกษา จึงถูกยกย่องและคัดเลือกรับรางวัล “กีรตยาจารย์” ได้อย่างไม่ต้องเคลือบแคลงสงสัย ถึงเวลานี้พวกเรา ชาวแพทย์โดมมาทำ�ความรู้จักกับกีรตยาจารย์ท่านนี้ มาดูกันว่าท่านทำ�เช่นไร จึงทำ�ให้ได้รับคัดเลือกรับรางวัลที่ทรงเกียรติครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวัลลี สัตยาศัย สำ�เร็จการ ศึกษา ดังนี้ • วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 2) • แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินยิ ม อันดับ 2) • วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำ�นาญในการประกอบ วิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา (คณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล) • MS Ed (Master of Science Education), University of Southern California U.S.A. • Certificate of Pediatric and Child health. University Hospital of Singapore

8 จดหมายข่าว แพทย์โดม

ผลงานทางวิชาการ / วิจัย ที่สำ�คัญ ๆ • การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก รูปแบบหนึ่งของการ เรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง • ทัศนคติของอาจารย์ทสี่ อนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ต่อการเรียนการสอนแบบ PBL • ตำ�รากุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน • The Result of Treatment in Acute leukemia in Pediatric patients, Buddhachinaraj Hospital. • ความคิดเห็นของนักศึกษาแพทย์ตอ่ การนำ�ประโยชน์ทไี่ ด้ จากวิธกี ารเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หาเป็นหลัก (Problem-based learning) มาใช้ทางคลินิก • ความพึงพอใจในวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (problem-based learning) ของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ทัศนคติของอาจารย์ทสี่ อนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ต่อการเรียนการสอนแบบ PBL.


บทสัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วัลลี สัตยาศัย

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วัลลี สัตยาศัย เล่าว่า หลังจากที่ย้ายมาปฏิบัติงานที่คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ในระยะแรกมีกมุ ารแพทย์ 2 ท่าน แพทย์สาขาอืน่ ๆ ประมาณ 8 ท่าน และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีเตียงผู้ป่วยในประมาณ 100 เตียง ความรู้สึกที่ได้รับรางวัลกีรตยาจารย์ ประจำ�ปี 2554 รู้สึกดีใจและภาคภูมิใจ เพราะเป็นคนแรกของสาขา วิทยาศาสตร์สขุ ภาพทีไ่ ด้รบั การคัดเลือกให้รบั รางวัล เป็นเกียรติ แก่คณะแพทยศาสตร์

• Biopsychosocial Predictors of Health-Related Quality

of Life in Children with Thalassemia in Thammasat University Hospital • ได้รับโล่เกียรติคุณ อาจารย์แพทย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ประพฤติตนดีเด่นในเชิง คุณธรรมจริยธรรม ปีการศึกษา 2550 จากแพทยสภา ประวัติการทำ�งาน • เริ่มรับราชการวันที่ 2 เมษายน 2520 ที่โรงพยาบาลน่าน • วันที่ 1 เมษายน 2522 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2525 ได้ลาศึกษาต่อแพทย์ประจำ�บ้านสาขากุมารเวชศาสตร์ ที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี • วันที่ 1 เมษายน 2525 ย้ายไปดำ�รงนายแพทย์ 5 ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช • วันที่ 16 ตุลาคม 2533 ได้โอนย้ายมาปฏิบตั งิ านในตำ�แหน่ง อาจารย์ 7 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • วันที่ 23 พฤศจิกายน 2536 ได้รบั แต่งตัง้ ให้ด�ำ รงตำ�แหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ • วันที่ 11 กันยายน 2549 ได้รับแต่งตั้งให้ดำ�รงตำ�แหน่ง รองศาสตราจารย์

สิ่งที่ภาคภูมิใจ • ศิษย์เก่าหลายคนเป็นแพทย์ที่ดี สร้างชื่อเสียงให้กับ คณะแพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ภาคภูมิใจกับการเจริญเติบโตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเติบโตเร็วมากทุกสาขา • ภูมิใจที่นักศึกษาแพทย์ทุกโครงการ ทุกศูนย์สอบผ่าน ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมขั้นตอนที่ 2 ครบ 100 % ใน ปีการศึกษา 2554 แม้จะเป็นช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์เกิดมหาอุทกภัย และจนถึงปัจจุบนั นักศึกษา แพทย์ที่สำ�เร็จการศึกษาตามกำ�หนดเวลาสอบผ่าน ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม 100 % เป้าหมายในการทำ�งาน เป้าหมายในการทำ�งานต่อไป คือ สร้างบัณฑิตทีม่ คี ณ ุ ภาพ มีคณ ุ ธรรมจริยธรรม พร้อมกับสร้างชือ่ เสียงให้กบั คณะแพทยศาสตร์ ให้มีชื่อเสียงยิ่งขึ้นไป ในฐานะที่ได้รับรางวัลกีรตยาจารย์ อยากให้ช่วยแนะนำ� อาจารย์ท่านอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และเพื่อที่จะได้รับเลือกรับรางวัลต่อไป นอกจากการทำ�งานเพื่อตัวเราแล้วเราจะต้องทำ�เพื่อ ส่วนรวมด้วย การทำ�งานควรมีความสมดุล 3 ด้านทั้งการเรียน การสอน การวิจัย และการบริการรักษาพยาบาล ทุกด้านต้อง ไปด้วยกันไม่ใช่ท�ำ เพียงด้านใดด้านหนึง่ เพือ่ คณะแพทยศาสตร์ จะได้เจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นคณะแพทยศาสตร์ที่ผลิต บัณฑิตแพทย์ที่มีคุณภาพและคุณธรรมต่อไปทุก ๆ ปี

จากบทสัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วัลลี สัตยาศัย อ่านแล้วก็รู้สึกได้ว่าท่านมุ่งมั่นตั้งใจทำ�งานอย่างเต็มที่ ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจและเวลา ให้กับการทำ�งาน อีกทั้งยังฝากข้อคิดดี ๆ ไว้มากมาย เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ที่ทำ�หน้าที่สอนมุ่งมั่นตั้งใจ ในการทำ�งานและผลักดันตนเองก้าวขึ้นสู่การรับรางวัลในปีต่อไปคณะแพทยศาสตร์มีความภาคภูมิใจที่มีอาจารย์มีความรู้ความสามารถ เสียสละเพือ่ ประโยชน์สว่ นรวม ตลอดจนเป็นทีพ่ งึ่ ของประชาชน และก้าวต่อไปของคณะแพทยศาสตร์จะมีแต่เพียงคำ�ทีว่ า่ “แพทย์ธรรมศาสตร์ แพทย์ของประชาชน”

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 9


แพทย์โดมภูมิใจ โครงการผ่าตัด

ซ่อมแซมกะโหลกศีรษะ

เพื่อผู้ป่วยยากไร้ฟรี 84 ราย

ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กับการพัฒนางานวิจัยต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์ในการผ่าตัดกะโหลกศีรษะ

เทคโนโลยีตน้ แบบรวดเร็วทางการแพทย์เป็นการประยุกต์ เทคโนโลยีภาพสามมิติ เพื่อนำ�ภาพถ่ายเอกซเรย์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) โดยนำ�ข้อมูลมาประมวลผลในทางวิศวกรรมและสามารถนำ�ไป ผลิตวัสดุตน้ แบบทีจ่ บั ต้องได้และทีม่ ขี นาดเท่ากับการประมวลผล จากคอมพิวเตอร์ ซึง่ ในอดีตเทคโนโลยีนเ้ี ป็นเทคโนโลยีวศิ วกรรม ที่ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ เช่น การออกแบบเครื่องประดับและการเจียรนัยเพชรพลอย

ปัจจุบัน รศ.นพ.ภัทรวิทย์ ได้ร่วมกับวิศวกรพัฒนางาน วิจัยด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา โดยนำ� เทคโนโลยีทางวัสดุศาสตร์และสามารถสร้างกะโหลกศีรษะ เทียมที่มีรูพรุนโดยสามารถชักนำ�ให้กระดูกสามารถงอก เข้าไปในวัสดุเทียมและเชื่อมต่อกับกะโหลกเทียมได้เพื่อให้ สามารถมีคุณสมบัติใกล้เคียงอวัยวะจริง ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ใน ขั้นตอนการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยซึ่งผลการรักษา เบื้องต้นพบว่าได้ผลการศึกษาเป็นที่น่าพอใจ

ออกแบบโทรศัพท์มือถือ ออกแบบรถยนต์และอะไหล่เครื่อง ยนต์ เป็นต้น แต่วิศวกรได้นำ�ภาพทางการแพทย์มาใช้ในการ ออกแบบอวัยวะเทียม โดยนำ�มาผลิตเป็นต้นแบบของกะโหลก ศีรษะเทียมและนำ�วิธีการทางทันตกรรม ในการพิมพ์แบบฟัน ปลอมมาประยุกต์ในการพิมพ์แบบกระโหลกศีรษะเทียม ในปี พ.ศ.2542 รศ.นพ.ภัทรวิทย์ รักษ์กลุ ได้เข้าร่วมโครงการ วิจัยกับวิศวกรจากศูนย์โลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ได้มกี ารพัฒนาวัสดุปลูกถ่าย กะโหลกทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีต้นแบบรวดเร็วที่ ผลิตขึ้นโดยคนไทยเป็นครั้งแรก และได้การผ่าตัดเป็นครั้งแรก ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติในปีเดียวกันนี้ เป็นจำ�นวน 2 ราย หลังจากนั้นได้มีการนำ�เสนอในที่ประชุม วิชาการต่าง ๆ และพัฒนาเทคนิคการผลิตและนำ�ซอฟแวร์ตา่ ง ๆ มาพัฒนาวิธกี ารในการผลิตกะโหลกเทียม และปัจจุบนั สามารถ ผลิตเครื่องสร้างกะโหลกศีรษะเทียมได้เองในประเทศไทย คณะ นักวิจัยยังคงพัฒนางานวิจัยด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง จนถึง ปัจจุบันได้มีสถาบันทางการแพทย์ต่าง ๆ ในประเทศไทยกว่า 70 สถาบันได้นำ�เทคโนโลยีที่พัฒนากะโหลกศีรษะเทียมนี้ นำ�ไปผ่าตัดให้ผู้ป่วยทั่วประเทศแล้วกว่า 900 ราย และใน ปี พ.ศ.2550 คณะผู้วิจัยได้รับรางวัลโครงการดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำ�ปี 2550 จากสำ�นัก นายกรัฐมนตรี นับเป็นเกียรติกับคณะผู้วิจัยทุกคนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งทีมวิศวกรจากศูนย์โลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10 จดหมายข่าว แพทย์โดม

จากผลงานที่ผ่านมาคณะผู้วิจัยเห็นว่าโครงการนี้เป็น โครงการที่มีต้นทุนค่อนข้างสูง และประชาชนที่ยากไร้ไม่ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้โดยง่าย จึงได้มีการเจรจาความ ร่วมมือทางวิชาการเพื่อการรับผิดชอบต่อสังคม ในโอกาสที่ ศูนย์โลหะและวัสดุแห่งชาติครบรอบ 25 ปี และโรงพยาบาล ธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติครบรอบ 24 ปี จึงมีความ ประสงค์ร่วมกันในการที่จะนำ�โครงการวิจัยคืนกลับสู่สังคม โดยเห็นว่าเป็นวโรกาสอันดีในปีมหามงคลครบรอบ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพ.ศ.2554 ที่ผ่านมา ผู้บริหาร โรงพยาบาลธรรมศาสตร์และผู้บริหารศูนย์โลหะและวัสดุ แห่งชาติจึงมีความเห็นตรงกันที่จะจัดโครงการผ่าตัดแก้ไข กะโหลกศีรษะให้กับผู้ป่วยฟรี 84 ราย เพื่อถวายเป็นพระราช กุศลในคราวนี้ด้วย แม้ว่าในปีที่ผ่านมาทางคณะวิจัยได้จัดการ แถลงข่าวไปแล้วในเดือนกันยายน พ.ศ.2554 แต่ดว้ ยเหตุการณ์ มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นทำ�ให้โครงการหยุดชะงักไป แต่อย่างไร ก็ตามคณะนักวิจยั ทุกท่านรวมทัง้ ประสาทศัลยแพทย์ ของคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกคน ยังคงมุ่งมั่นที่ จะดำ�เนินโครงการนี้ต่อไป และได้ดำ�เนินการประชาสัมพันธ์ โครงการนี้อย่างต่อเนื่อง ผู้สนใจและต้องการเข้าร่วมโครงการ ผ่าตัดซ่อมแซมกะโหลกศีรษะฟรี สามารถติดต่อได้ที่หน่วย ตรวจผู้ป่วยนอกแผนกศัลยกรรม ทางทีมประสาทศัลยแพทย์ พร้อมให้คำ�ปรึกษากับผู้สนใจทุกท่าน : หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ 02-926-9137-8


แนะน�

แพทย์แผนไทยประยุกต์

ในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร. อรุณพร อิฐรัตน์ หัวหน้าสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์ การแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์หนึ่งที่ให้การดูแล ส่งเสริม ป้องกัน และรักษาโรคแบบองค์รวม ให้กบั คนไทยมานาน ศาสตร์น้ี ประกอบด้วย ศาสตร์ 4 ศาสตร์ ที่แพทย์แผนไทยต้องศึกษา คือ เวชกรรม เป็นศาสตร์การรักษาโรค ด้วยวิธีการแพทย์แผน ไทย คือการใช้สมุนไพร หัตถบำ�บัด ฯลฯ ถ้าจะเปรียบศาสตร์ เวชกรรมคือองค์ความรู้ทางการรักษาหรือการทำ�หน้าที่แพทย์ คนหนึง่ เภสัชกรรมไทย เป็นศาสตร์ ทีห่ มอแผนไทยต้องเข้าใจ เรื่องการปรุงยา จ่ายยาให้ผู้ป่วย เปรียบได้กับการมีเภสัชกรที่ สามารถปรุงยาให้คนไข้ได้เอง หัตถเวช เป็นศาสตร์การรักษา ที่ใช้การนวด อบ ประคบ และดูแลผู้ป่วยแบบผสมผสาน ถ้าเปรียบก็เหมือนมีกายภาพบำ�บัดทำ�หน้าที่รักษา ฟื้นฟู ให้กับ คนไข้ และศาสตร์สดุ ท้ายคือผดุงครรภ์ เป็นศาสตร์ทห่ี มอแผนไทย ต้องสามารถทำ�คลอดได้ พร้อมกับการดูแลมารดาก่อนคลอด และหลังคลอด ด้วยเทคนิคและองค์ความรู้ทางแพทย์แผนไทย ถ้าเปรียบคือการทำ�หน้าที่ของพยาบาลผดุงครรภ์ ซึ่งแพทย์ แผนไทยประยุกต์จะเรียนทั้ง 4 ศาสตร์ โดยคณาจารย์ที่มีวุฒิ ทัง้ แพทย์แผนไทยประยุกต์ และบุคลากรทีเ่ ป็นแพทย์ เภสัช และ พยาบาลแผนปัจจุบัน หลักสูตรแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต ในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดทำ�การสอนและเปิด รับนักศึกษา ตั้งแต่ ปี 2548 โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.พญ. สมบูรณ์ เกียรตินันทน์ ที่ปรึกษาคณบดี และ รองศาสตราจารย์ นพ.กัมมาล กุมาลปาวา ซึ่ง เป็นคณบดีในสมัยนั้นที่ได้เป็นผู้ ผลักดันให้เกิดหลักสูตรนี้ และคณาจารย์ที่ร่วมร่างหลักสูตร ในขณะนั้นคือ ผศ. กุสุมา ศรียากูล ดร. นวลจันทร์ ใจอารีย์ และอาจารย์ณัฐณิชา นิมิตนนท์ เป็นหลักสูตร เรียน 4 ปี รับ นักศึกษาจากการสอบ Entrance หลักสูตรนีร้ บั นักศึกษามาแล้ว 7 รุ่น และสำ�เร็จการศึกษาแล้ว 4 รุ่น รวมทั้งสิ้นจำ�นวน 76 คน หลักสูตรที่เปิดโดยสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์อีก หลักสูตรคือหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (แพทย์แผนไทย ประยุกต์) โดยการร่างหลักสูตรโดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.พญ. สมบูรณ์ เกียรตินนั ทน์ และรองศาสตราจารย์ ดร. อรุณพร อิฐรัตน์ หลักสูตรนี้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ 2 แบบ คือ หลักสูตรแรกคือวิจัยแพทย์แผนไทยประยุกต์ เป็นหลักสูตรที่ นักศึกษาจะทำ�ปฏิบัติการพิสูจน์องค์ความรู้ ตั้งแต่ภูมิปัญญา และการศึกษาเชิงสังคม ทำ�การทดลองระดับพรีคลินิก เช่น การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พิษวิทยา การศึกษามาตรฐาน การสกัด การศึกษาความคงตัวและแปรรูปยาจากสมุนไพร เพื่อนำ�ไปทดลองทางคลินิก หลักสูตรที่สองคือ การแพทย์แผน ไทยประยุกต์คลินกิ เป็นหลักสูตรทีน่ กั ศึกษานำ�ยาทีไ่ ด้ศกึ ษาทาง พรีคลินิก แล้วมาศึกษาในมนุษย์ การศึกษาหลักสูตรนี้จำ�เป็น ต้องมีแพทย์แผนปัจจุบันในคณะแพทยศาสตร์ช่วยในการดูแล นักศึกษาให้รู้ ตัวชี้วัดทางแพทย์แผนปัจจุบัน

รองศาสตราจารย์ ดร. อรุณพร อิฐรัตน์ ถวายของที่ระลึกให้สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ฯ ในงานวันนักประดิษฐ์และ รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์คือ ยาเม็ดจากสารสกัดกระเจี๊ยบแดง เพื่อใช้รักษา โรคความดันและเบาหวาน ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำ�ปี 2555

หน่วยบริการทางแพทย์แผนไทย คือ ศูนย์การแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ตึกปัญจาสายาลักษณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และ การบริการวิชาการ หน่วยวิจยั สมุนไพรและอาหาร เป็นสถานทีว่ จิ ยั และผลิตบัณฑิต ในระดับปริญญาโท และเอก ได้ผลิตงานทางวิชาการทางแพทย์ แผนไทย และงานวิจัยจนเป็นที่ประจักษ์ในประชาคมโลก ซึ่ง คณาจารย์ในสาขาแพทย์แผนไทย ได้รบั รางวัลสิงประดิษฐ์ ของ สภาวิจัยแห่งชาติ ปี 2555 และยังเป็นหัวหน้ากลุ่มวิจัยแพทย์ แผนไทย เกษตร และอาหารของมหาวิทยาลัย อีกด้วย โรงงานผลิตยาสมุนไพร อยูท่ อี่ าคารบริการ ชัน้ 3 โรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีการผลิต ยาจากสมุนไพร เครื่องสำ�อาง และอาหารเสริม ซึ่งผลิตยาเพื่อการเรียนการสอน การบริการวิชาการ ปลายปี 2555 จะมีโครงการการจำ�หน่ายที่ บริเวณ เซเว่นเก่า ที่ได้ปรับปรุงแล้ว ตลอดระยะเวลาที่มาทำ �งานให้สาขาแพทย์แผนไทย ประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็น เวลา 5 ปีครึ่งนับว่าเป็นงานที่มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ผลิตผลงานที่มีคุณค่าทางสังคม เป็นที่ประจักษ์ในสังคม และเป็นการอนุรกั ษ์ภมู ปิ ญ ั ญาไทยให้คงอยู่ คูป่ ระเทศไทยต่อไป ถึงแม้จะรู้สึกถึงความยากลำ�บากในการให้บุคลากรทางการ แพทย์แผนปัจจุบนั ยอมรับ และเข้าใจในงานด้านแพทย์แผนไทย แต่ด้วยคณะผู้บริหารคณะแพทย์ และมหาวิทยาลัย ทุกสมัย ได้เห็นในความสำ�คัญของศาสตร์ความเป็นไทย จึงช่วยพยายาม ผลักดันให้ดำ�เนินต่อไปข้างหน้า ได้อย่างมั่นคง และในฐานะ ที่เป็นหัวหน้าสาขาแพทยแผนไทยและมีองค์ความรู้ทั้งแผน ปัจจุบันและแผนไทยจึงมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า คณะ แพทยศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ซึ่งมียุทธศาสตร์ชัดเจนใน การ บูรณาการทั้งแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนปัจจุบัน จะเป็น ผู้นำ�ในการแพทย์แบบผสมผสาน ซึ่งเป็นจุดเด่นให้ประเทศไทย เพราะมีคณะแพทยศาสตร์ เพียงไม่กี่สถาบันในประเทศไทย ที่มีการจัดการเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการของแพทย์ แผนไทย ที่ชัดเจนร่วมอยู่ด้วย

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 11


สังคมแพทย์โดม รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปรีชา วาณิชยเศรษฐกุล คณบดีคณะ แพทยศาสตร์ รศ.นพ.จักรชัย จึงธีรพานิช รองคณบดีฝ่ายวิจัย พร้อมด้วย คณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ ร่วมพิธีไหว้ครู ประจำ�ปีการศึกษา 2555 จัดโดยฝ่ายกิจการนักศึกษา เมือ่ วันที่ 5 กรกฎาคม 2555 ณ สโมสร ชัน้ 4 อาคาร คุณากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อวันที่ วันที่ 16 – 26 มิถุนายน 2555 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปรีชา วานิชยเศรษฐกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำ�คณะผู้บริหาร และคณาจารย์ ไปศึกษาดูงานและลงนามความร่วมมือ ทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (ยูซีเดวิด) มหาวิทยาลัยทัฟฟ์ และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย โดยมี Professor Robert M.Hackman ศาสตราจารย์วจิ ยั ของภาควิชาโภชนาการ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (ยูซเี ดวิด) ให้การต้อนรับ ณ เมืองแคลิฟอร์เนีย, เมืองเซ้าท์ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปรีชา วาณิชยเศรษฐกุล คณบดีคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทัง้ คณะผูบ้ ริหาร ได้เดินทางไป เจรจาความร่วมมือทางด้านวิชาการ กับมหาวิทยาลัยมิเอะ มหาวิทยาลัยเคโอ และNippon Medical School ณ เมืองมิเอะ เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ วันที่ 2- 9 มิถุนายน 2555

เมื่อวันที่ 3 – 7 กรกฎาคม 2555 รศ.นพ.ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ได้เดินทางไปเจรจาความร่วมมือทางด้าน วิชาการกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ณ ประเทศสิงคโปร์

12 จดหมายข่าว แพทย์โดม


คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะกรรมการ จัดงานการประชุมโรคต่อมไร้ท่อเอเซีย-แปซิฟิค 2012 จัดงานประชุมความ ก้าวหน้าทางการแพทย์โรคต่อมไร้ท่อ The 23rd Annual Meeting of AsiaPacific Endocrine Conference เมื่อวันที่ 14 – 15 กรกฎาคม 2555 ณ ห้อง ประชุม Ballroom 2 โรงแรมแชงกรีล่า กรุงเทพฯ

โครงการจัดตั้งภาควิชาพยาธิวิทยาและนิติวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมวิชาการประจำ�ปี 2555 เรือ่ ง โรคของเต้านม ทีย่ ากต่อการวินจิ ฉัยทางพยาธิวทิ ยา เมือ่ วันที่ 8 มิถนุ ายน 2555 ณ ห้องประชุม 6 ชั้น 5 อาคารกิตติวัฒนา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

องค์กรแพทย์ธรรมศาสตร์ ร่วมกับภาควิชาจักษุวิทยา นำ�แจกัน ดอกไม้ ไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2555 ณ ศาลาศิรริ าช 100 ปี โรงพยาบาลศิรริ าช ด้วยความจงรักภักดี และสำ�นึกใน พระมหากรุณาธิคุณ รวมถึงขอให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง สมบูรณ์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยกลุ่มงานบริหาร ทั่วไป จัดฝึกอบรมป้องกันและระงับอัคคีภัย ให้กับคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ นักศึกษา โดยมีคณ ุ สมภพ บุรารักษ์ เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับ 6 ให้เกียรติเป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 ณ อาคารคุณากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 13


คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับสมัครแพทย์ประจำ�บ้านสาขาต่าง ๆ ประจำ�ปี การศึกษา 2556 รับสมัครตัง้ แต่นเี้ ป็นต้นไป ผูส้ นใจสามารถ สมัครแบบ Online ได้ที่ www.med.tu.ac.th สอบถาม รายละเอียด เพิม่ เติมหรือส่งเอกสารประกอบการสมัครได้ที่ งานบริการการศึกษา ชัน้ 3 อาคารคุณากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำ�บลคลองหนึ่ง อาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 (วงเล็บมุม ซองว่าสมัครแพทย์ประจาบ้าน) โทร 0-2926-9678-9 โทรสาร 0-926-9676

หน่วยงานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ ขอเชิญผู้ที่สนใจ เข้าร่วมอบรมโครงการ “จริยธรรมการวิจัยทางคลินิก หรือการทดลองที่เกี่ยวข้องในคน” ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2555 ณ ห้องบรรยาย 4429 ชั้น 4 อาคารคุณากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2926 9704

เครือข่ายวิจยั กลุม่ สถาบันแพทยศาสตร์ แห่งประเทศไทย ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ขอเชิญอาจารย์ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ และผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมเชิง ปฏิบัติการเรื่อง “การปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี” (Good Clinical Practice: GCP) วันที่ 16-17 สิงหาคม 2555 ณ ห้องประชุมแพทย์โดม 3 ชั้น 2 อาคารคุณากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงทะเบียน ฟรีทางอีเมล์ sermkiat@tu.ac.th ภายในวันที่ 8 สิงหาคม 2555 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่งานวิจัย โทร.0-2926-9705

คณะแพทยศาสตร์ สาขาวิชาพยาธิวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมวิชาการ เชิงปฏิบัติการเซลล์วิทยา ครั้งที่ 5 เรื่อง “Update Criteria in Cytologic Diagnosis” 23 -24 สิงหาคม 2555 ห้องแพทย์โดม 3 ชั้น 2 อาคารคุณากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ลงทะเบียนทางออนไลน์ ฟรี ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน -15 สิงหาคม 2555 ทาง website คณะแพทยศาสตร์ หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง (CME) 12 หน่วยกิต

หน่วยวิจยั ทางคลินกิ เปิดให้บริการสืบค้นข้อมูล, ยืม-คืนแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วย โดยสามารถขอรับแบบ ฟอร์มการขอใช้บริการ ได้ที่ หน่วยวิจัยทางคลินิก งานวิจัย โทร. 0-2926-9705-6 โทรสาร 0-2926-9705

14 จดหมายข่าว แพทย์โดม


เคล็ดลับ

แพทย์โดม...ห่วงใย

ป้องกันและบรรเทา อาการปวดข้อในหน้าฝน ในช่วงที่ฝนตกบ่อย ๆ แบบนี้ ส่งผลให้ใครหลายคนเปียกฝนไปตาม ๆ กันหลายคน หาที่หลบฝนไม่ทัน บางครั้งก็ทำ�ให้ต้องเดิน ตากฝนโดยไม่ตงั้ ใจ แต่จะทำ�อย่างไรได้ฝนตกลงมาพอดีถา้ รอให้ฝนหยุดก็อาจจะกลับบ้านช้า ผลทีเ่ กิดขึน้ นอกจากเสือ้ ผ้าจะเปียกชืน้ และร่างกายหนาวเหน็บแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และบางท่านอาจมีอาการปวดข้อด้วย ซึ่งอาการปวดข้อมีทั้งชนิดที่เรื้อรัง และไม่เรื้อรัง สามารถเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ เมื่อร่างกายกระทบอุณหภูมิเย็น ชื้น เราจึงควรรู้จักวิธีป้องกันในแบบต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยง และรับมือกับอาการที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉียบพลัน จดหมายข่าวแพทย์โดมฉบับนี้จึงมีเคล็ดลับการดูแลตัวเองง่าย ๆ มาฝากกัน และ นี่คือ 7 วิธีดี ๆ ที่น่าอ่านน่าจดจำ� 1. กินป้องกันปวด

5. รับประทานน้ำ�มันตับปลาวันละ 2 ช้อนโต๊ะ

การได้รบั อาหารทีม่ สี ารต้านออกซิเดชัน่ ในปริมาณเล็กน้อย ได้แก่ ธาตุซีลีเนียม วิตามินซี วิตามินอี และวิตามินเอจะช่วยลด ความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ ดังนั้นอาหารประจำ�วันควรมีผัก และผลไม้สดในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อให้ได้รับวิตามินซีและ เบต้าแคโรทีน ส่วนอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินอี ได้แก่ น้ำ�มันพืช ถั่วเปลือกแข็ง ผลอะโวคาโด และเมล็ดทานตะวัน อาหารที่มี ซีลเี นียม ได้แก่ ปลาทีม่ ไี ขมันมาก ธัญพืชและไข่ นอกจากนีป้ ลา ทีม่ ไี ขมันมากหรือน้�ำ มันปลา ยังมีกรดไขมันโอเมก้า-3 ทีอ่ าจช่วย ลดการอักเสบภายในร่างกายด้วย

ไอส์ลา บอสเวิร์ธ นักวิจัยจากประเทศอังกฤษ พบว่าการ รับประทานน้ำ�มันตับปลาวันละ 2 ช้อนโต๊ะ ช่วยลดอาการปวด ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยิ่งเป็นอาการปวดจากโรคข้อต่อ อักเสบยิง่ ได้ผล และไม่มผี ลข้างเคียงเหมือนการใช้ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรแฟน หรือแม้แต่พาราเซตามอล ซึ่งหาก รับประทานเป็นประจำ�อาจเสีย่ งต่อโรคความดันสูงและโรคหัวใจ ถึงแม้น�้ำ มันตับปลาจะไม่สามารถรักษาโรคข้ออักเสบได้ทงั้ หมด แต่กเ็ ป็นอีกทางเลือกหนึง่ ทีห่ าง่าย ราคาถูก และไม่เป็นอันตราย อีกด้วย

2. บรรเทาด้วยอุณหภูมิประคบ

6. บ�บัดด้วยเถาวัลย์เปรียง

การใช้อุณหภูมิช่วย โดยใช้ความร้อน อาจจะเป็นกระ เป๋าน้ำ�ร้อน ผ้าขนหนูชุบน้ำ�ร้อน หรือวิธีบ้าน ๆ โบราณ ๆ อย่าง ใช้ใบพลับพลึงอังไฟ จากนัน้ ประคบข้อต่อทีเ่ จ็บ 20 นาที ประมาณ วันละ 3 ครั้ง ทำ�ให้เลือดไหลเวียนมากขึ้นและช่วยลดความตึง ของกล้ามเนื้อ แต่ถ้าใช้ความเย็น ก็สามารถบรรเทาอาการปวด ได้เฉียบพลัน 3. นวดพร้อมสมุนไพร

การนวด ถือเป็นอีกวิธกี ารหนึง่ ทีจ่ ะช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ให้ทุเลาลงได้ ส่วนการใช้ยาทาถูนวดต่าง ๆ ที่ใช้สำ�หรับแก้ปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ เช่น ยาหม่อง จะช่วยให้หายปวดได้ชั่วคราว เช่นเดียวกับการใช้ยาแก้อักเสบในรูปครีม นวดบริเวณรอบ ๆ ข้อที่มีการอักเสบก็จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้ชั่วคราว เช่นกัน การประคบด้วยสมุนไพรคือหัวไพลสด ขมิน้ ชันสด การบูร เกลือ ซึง่ มักจะเพิม่ ผิวมะกรูด ตะไคร้ ใบมะขามใบส้มป่อย ร่วมกับ การนวดรักษาโรค หรือการใช้ยาแผนปัจจุบนั ยังสามารถบรรเทา อาการปวดข้อ ข้อฝืด ได้มากขึ้นกว่าการนวดหรือใช้ยาเพียง อย่างเดียว 4. กินสมุนไพรเผ็ด

การรับประทานสมุนไพร เน้นที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น ขิงและ อบเชย โดยเฉพาะขิงสด เพียงฝานกินวันละ 2-3 แว่น ก็ลดอาการ ปวดข้อได้ดมี าก เพราะขิงมีโครงสร้างโมเลกุบางอย่าง คล้ายกับ ยาที่ใช้รักษาโรคปวดข้อรุ่นใหม่ที่ไม่กัดกระเพาะ

จากการทดลองวิจยั ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นาน กว่า 10 ปี พบว่า “เถาวัลย์เปรียง” มีสารสกัดจากลำ�ต้นมีฤทธิ์ ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบสามารถใช้แทนยาแก้ อักเสบประเภท สเตียรอยด์ ที่เป็นยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรค ปวดหลังและปวดตามข้อได้ และได้ผา่ นการทดสอบทางคลินกิ กับ คนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้ผลดี พบว่าร่างกายสามารถดูดซึมยา ตัวนี้ได้ดี ไม่มีพิษหรือผลข้างเคียงต่อร่างกาย ทั้งยังช่วยเพิ่ม ภูมิคุ้มกันของร่างกายได้อีกด้วย ที่สำ�คัญ ยาสมุนไพรไม่มีผล ข้างเคียง เพราะไม่มีสารเคมี 7. ออกกำ�ลังบริหารข้อบ่อย ๆ

เคลื่อนไหวข้อ และฝึกกายบริหารเป็นประจำ�ทุกวัน อย่า อยู่นิ่ง ๆ เพราะยิ่งอยู่นิ่ง ข้อยิ่งแข็งฝืดและขยับยากยิ่งขึ้น ดัง นั้นควรฝึกกายบริหารในท่าต่างๆ ท่าละ 10 ครั้ง ทำ�ซ้ำ�ทุก 1-2 ชั่วโมง จะช่วยทำ�ให้ข้อลดความฝืดและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น การ ออกกำ�ลังกายในสภาพไร้น้ำ�หนัก เช่น ว่ายน้ำ� เป็นวิธีที่ดีที่สุด สำ�หรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ ที่สำ�คัญควรรู้สมดุลร่างกายของตัว เองว่าเมื่อใดควรพักข้อที่อักเสบ และเมื่อใดควรให้ข้อนั้นออก กำ�ลังกาย จะช่วยให้รับมือกับโรคได้ดีขึ้น เช่น เมื่อข้อเกิดการ อักเสบรุนแรงขึ้น ให้หยุดการออกกำ�ลังบริเวณข้อทันที และเริ่ม ออกกำ�ลังใหม่เมื่อการอักเสบลดลงแล้ว ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก TWENTY-FOUR SEVEN City Magazine

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 15


ประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการเซลล์วิทยา ครั้งที่ 5 เรื่อง “Update Criteria in Cytologic Diagnosis” วันที่ 23 - 24 สิงหาคม 2555 ห้องแพทย์โดม 3 ชั้น 2 อาคารคุณากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 95 หมู่ 8 ถนนพหลโยธิน ตำ�บลคลองหนึ่ง อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ชำ�ระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ 4/2537 ปทฝ.ธรรมศาสตร์ รังสิต 12121

เหตุขัดข้องที่นำ�จ่ายผู้รับไม่ได้

(นางนภาภรณ์ จันทร์สอง) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

1. จ่าหน้าไม่ชัดเจน 2. ไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้า 3. ไม่ยอมรับ 4. ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า 5. เลิกกิจการ 6. ไม่มารับภายในกำ�หนด 7. เลขที่ไม่มีทับ 8. เลขที่ขาดหาย 9. บ้านรื้อถอน 10. ย้ายไม่ทราบที่อยู่ 11. อื่นๆ................................

ลงชื่อ................................


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.