Volume 23 No. 5 January 2018 วารสารเพลงดนตรี MUSIC JOURNAL
ISSN 0858-9038
Volume 23 No. 5 January 2018
Volume 23 No. 5 January 2018
Winners ‘SET’ SET เยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย Ajarn Sugree’s article but the title is still unknown ยูโฟเนียม: บทบาทและหน้าที่ต่อสังคมดนตรีฝรั่งและสังคมดนตรี ไทย
เวลาแต่ละปีช่างผ่านไปอย่างรวดเร็ว… ใน วาระของการเริม่ ต้นศักราชใหม่ ๒๕๖๑ นี้ วารสาร เพลงดนตรีขอกล่าว “สวัสดีปีใหม่” และต้อนรับ ท่านผู้อ่านด้วยบทความสร้างแรงบันดาลใจทาง ดนตรี จากน้องๆ นักดนตรีทชี่ นะเลิศรางวัลเหรียญ ทอง จากการประกวด SET เยาวชนดนตรีแห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ ๒๐ ที่เพิ่งเสร็จสิ้นการแข่งขัน รอบชิงชนะเลิศไปเมือ่ เดือนธันวาคมทีผ่ า่ นมา โดย ได้ผู้ชนะ ๔ คน จากระดับชั้นประถมศึกษาจนถึง อุดมศึกษา เรื่องราวการเตรียมตัวฝึกซ้อม อีกทั้ง การก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ จนสามารถประสบ ความส�ำเร็จของแต่ละคนเป็นอย่างไร ติดตามจาก “เรื่องจากปก” ในคอลัมน์ “ศาลายาน่าอยู”่ รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข ได้มาบอกเล่าถึง โครงการ เทศกาลดนตรีอมตะสยาม ซึ่งเป็นการทดลองจัด งานเทศกาลดนตรีสำ� หรับดนตรีพนื้ บ้านและดนตรี ประจ�ำชาติ เพือ่ เป็นการสร้างเวทีและโอกาสทางการ แสดงให้กบั ดนตรีประเภทนี้ แนวคิดของการจัดงาน รวมทั้งบรรยากาศของงานเทศกาลดนตรีพื้นบ้าน ติดตามรายละเอียดในเล่ม บทความสัมภาษณ์ฉบับนี้ จะพาท่านผูอ้ า่ นไป ท�ำความรูจ้ กั และพูดคุยถึงแนวคิด ประสบการณ์ กับ
เจ้าของ
กองบรรณาธิการ
บรรณาธิการบริหาร
ฝ่ายภาพ
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุกรี เจริญสุข
ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ สนอง คลังพระศรี
ผู้ช่วยบรรณาธิการ ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ Kyle Fyr นิธิมา ชัยชิต
นพีสี เรเยส พงศ์สิต การย์เกรียงไกร คนึงนิจ ทองใบอ่อน
ฝ่ายศิลป์
จรูญ กะการดี นรเศรษฐ์ รังหอม
พิสูจน์อักษรและรูปเล่ม ธัญญวรรณ รัตนภพ
วาทยกรชือ่ ดังชาวนอร์เวย์ Mr. Terje Mikkelsen ที่ให้เกียรติมาน�ำวง Thailand Philharmonic Orchestra ในคอนเสิร์ต Neoclassic Redux เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา Mr. Mikkelsen นั้น มีชอื่ เสียงในวงการดนตรีมาอย่างยาวนาน และได้ ควบคุมวงที่มีชื่อเสียงในทวีปยุโรปหลากหลายวง เช่น Ukranian State Symphony Orchestra และ Tchaikovsky Symphony Orchestra of Moscow Radio นอกจากนี้ ยังมีบทความอีกหลากหลาย จากนักเขียนประจ�ำ และรีวิวการแสดงที่ผ่านมา ของวง TPO ขอให้ผู้อ่านมีความสุขกับสาระความรู้ทาง ด้านดนตรีที่น่าสนใจ ในช่วงปีใหม่นี้
เว็บมาสเตอร์
ภรณ์ทิพย์ สายพานทอง
ฝ่ายสมาชิก
สุพรรษา ม้าห้วย
ส�ำนักงาน
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วารสารเพลงดนตรี) ๒๕/๒๕ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐
ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ
โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๓๑๑๓ โทรสาร ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๓๐ musicmujournal@gmail.com
พิมพ์ที่
หยินหยางการพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๖๓๖
จัดจ�ำหน่าย
ร้านค้าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๒๕๐๔, ๒๕๐๕
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ส� ำหรับข้อเขียนที่ได้รับการพิจารณา กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่ จะปรับปรุงเพื่อความเหมาะสม โดยรักษาหลักการและแนวคิดของผู้เขียนแต่ละท่านไว้ ข้อเขียนและบทความที่ตีพิมพ์ ถือเป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการ ไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ขอรับผิดชอบบทความนั้น
สารบั ญ Contents ศาลายาน่าอยู่
04
34
แนวคิด กระบวนการ และ องค์ความรู้ที่ได้จากการผลิต ผลงานดนตรีสมัยนิยม ชุด Lonely Bob (ตอนที่ ๒) อัศวิน นรินทรกุล ณ อยุธยา (Aswin Narintrakul Na Ayudhaya)
38
Haruna Tsuchiya (ฮารุนะ ซึชิยะ)
Review
Voice Performance
Cover Story
The Power of the Words Unspoken (2)
10
SET เยาวชนดนตรี แห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๒๐
นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit) ณัฐมน จารุเมธาวิทย์ (Nattamon Jarumethavit)
Getting Ready
20
Pedagogy Tools for Applied Music Teachers: Cultivating Professional References Joseph Bowman (โจเซฟ โบว์แมน)
Music Entertainment
40
Asako Tamura’s Operatic Concert Eri Nakagawa (เอริ นาคากาวา)
Music Technology
42
บทวิเคราะห์การสร้างสรรค์ ผลงานดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ อัลบั้ม Fearlessness EP ในนาม Siriswad (ตอนที่ ๒)
62
สมศักดิ์ศรี วงทีพีโอ เปิดฤดูกาลที่ 13 ยิ่งใหญ่ กับ Cavalleria Rusticana
นฤตย์ เสกธีระ (Narit Sektheera)
พัชรพล มงคลสิริสวัสดิ์ (Patcharapon Mongkonsiriswad)
68
ฟัง TPO บรรเลง ซิมโฟนี Eroica เบโธเฟน “บิ๊กแบง” แห่งวงการคลาสสิก
22
กิตติ ศรีเปารยะ (Kitti Sripaurya)
Michael David Brice (ไมเคิล เดวิด ไบรซ์)
Performance studies
The Bach Journey
๕ เสียง-แค่เพียงนี้ สร้างดนตรีได้ไพเราะ (ตอนที่ ๒)
60
Neoclassic Redux: An Interview with Terje Mikkelsen
เทศกาลดนตรีอมตะสยาม สุกรี เจริญสุข (Sugree Charoensook)
Interview
นฤตย์ เสกธีระ (Narit Sektheera)
48
ตามรอยเส้นทาง Bach (ตอนที่ ๑๒) ฮิโรชิ มะซึชิม่า (Hiroshi Matsushima)
ศาลายาน่าอยู่
เทศกาลดนตรีอมตะสยาม เรื่อง: สุ กรี เจริญสุ ข (Sugree Charoensook) ผู้อ�ำนวยการศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
จ
ากการศึกษาและส�ำรวจดนตรีในภูมภิ าค อาเซียน (เสียงใหม่ในอุษาคเนย์) เพือ่ ค้นหาข้อมูลทีจ่ ะบรรจุไว้เป็นหัวข้อหลัก ในพิพิธภัณฑ์อุษาคเนย์ ท�ำให้เรียนรู้ถึง ความเคลือ่ นไหวและเห็นความเป็นไปของ ดนตรีในภูมภิ าค โดยเฉพาะดนตรีพนื้ บ้าน และดนตรีประจ�ำชาติ พยายามจะรวบรวม ความรู้เพื่อน�ำมาพัฒนาจากจุดเล็กๆ “ควบคุมและจัดการได้” ท�ำเฉพาะดนตรี พืน้ บ้านในประเทศไทยเท่านัน้ เพือ่ สืบทอด ทัง้ ดนตรีพนื้ บ้านและดนตรีประจ�ำชาติตอ่ ไป เผื่อว่าในอนาคตหากท�ำได้หรือส�ำเร็จ ก็จะได้ขยายผลเมื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ดนตรี อุษาคเนย์สมบูรณ์มากขึ้น จากการศึกษาพบว่า ทัง้ ดนตรีพนื้ บ้าน และดนตรีประจ�ำชาติ ไม่มีเวทีส�ำหรับ รองรับการแสดง เมือ่ ไม่มเี วทีกท็ ำ� ให้ศลิ ปิน ไม่มรี ายได้ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ต่อมาหลังจากนัน้ ก็คอื ศิลปินไม่สามารถทีจ่ ะพัฒนาฝีมอื ได้ เพราะไม่มีเป้าหมายว่าจะต้องเล่นดนตรี ไปท�ำไม ฝึกซ้อมไปท�ำไม เล่นแล้วไม่มคี น ดู ไม่มีคนจ่าย ไม่มีรายได้ ในที่สุดฝีมือก็ ถดถอย พัฒนาฝีมอื ไม่ทนั กับความต้องการ ของสังคมอีกต่อไป สิ่งที่ส�ำคัญมากที่สุด ที่ถูกมองข้ามไปหรือมองไม่ค่อยเห็นคือ ศิลปินเหล่านั้นขาดความคิดสร้างสรรค์ นั่งรอคอยงาน ไม่เคยคิดที่จะหางานท�ำ ไม่เคยพัฒนางานให้ทันกับโลก มักจะรอ คอย “หากินกับของที่ตายแล้ว” โครงการ “เทศกาลดนตรีอมตะ สยาม” เป็นการทดลองเพื่อหาความ เป็นไปได้ว่า ถ้ามีเวทีแสดง มีรายได้ก็มี โอกาสที่จะพัฒนาฝีมือและสามารถที่หา ช่องทางเพือ่ จะประกอบอาชีพต่อไป แต่ถา้ หากนักดนตรีพน้ื บ้านและดนตรีประจ�ำชาติ
04
จะนั่งรอคอยงาน แบบเดียวกับข้าวคอย ฝนหรือแบบหนุ่มนารอนาง ซึ่งเป็นการ อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ในที่สุดอาชีพ การเล่นดนตรีพื้นบ้านและดนตรีประจ�ำ ชาติกจ็ ะตายไปตามธรรมชาติอย่างทีเ่ ป็น อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาอีกอย่างหนึง่ ของศิลปินพืน้ บ้าน และศิลปินประจ�ำชาติ ได้แต่ “จ�ำทรงเอา ไว้” ขาดการพัฒนาและเปลีย่ นแปลง ส่วน หนึง่ อาจจะเป็นเพราะการจ�ำทรงเอาไว้โดย อ้างความ “ศักดิ์สิทธิ์” อ้างความถูกต้อง และอ้างความเป็นต้นฉบับ ซึง่ ท�ำให้ศลิ ปิน ไม่กล้าทีจ่ ะก้าวข้ามขนบธรรมเนียมเหล่า นัน้ เพราะจะถูกข้อหาว่า หัวล้านนอกครู ศิษย์คดิ วัดรอยเท้าครู หรือศิษย์คดิ ล้างครู เป็นต้น เมือ่ ครูตายไป สิง่ ทีจ่ ำ� ทรงไว้กต็ าย ตามไปด้วย ซึง่ เป็นอีกสาเหตุหนึง่ ทีท่ ำ� ให้ ดนตรีพื้นบ้านและดนตรีประจ�ำชาติตาย ในขณะเดียวกัน ลักษณะและอาการ โหยหาอดีตของผู้น�ำสังคมที่ท�ำงานผ่าน หน่วยงานกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวง ท่องเที่ยว ส�ำนักนายกรัฐมนตรี และ กระทรวงศึกษาธิการ ซึง่ เข้าใจว่าการอนุรกั ษ์ เป็นหัวใจของการรักษาวัฒนธรรมและวิถี ชีวิตดั้งเดิมเอาไว้ โดยการส่งเสริมทุ่มเท งบประมาณจัดกิจกรรมย้อนยุคขึน้ ในพืน้ ที่ ต่างๆ มีเทศกาลเพือ่ กระตุน้ เศรษฐกิจ เพือ่ อวดนักท่องเทีย่ ว ซึง่ ศิลปินทัง้ หลายก็ชอบ เพราะมีเงินเข้ามาในอาชีพ นักท่องเทีย่ ว ก็ตนื่ ตาตืน่ ใจ แต่ชาวบ้านและคนทัว่ ไปใน สังคมไม่ได้สนใจทีจ่ ะชืน่ ชมนัก เพราะเป็น เพียงการโหยหาอดีต ไม่มอี ะไรใหม่ นาน เข้าก็เป็นการสร้างฉากกิจกรรมเพือ่ ใช้งบ ประมาณ อวดให้นักท่องเที่ยวดู โดยไม่ ได้อยู่ในวิถีชีวิตความเป็นจริงแต่อย่างใด
เทศกาลดนตรีอมตะสยาม เป็นอีก การทดลองหนึง่ เพือ่ หาหนทางทีจ่ ะเดินต่อ ไป ไปรอดหรือไม่รอด ก็อยู่ที่การจัดการ และความนิยม โดยได้คดั เลือกกลุม่ ศิลปิน อมตะ ซึง่ หมายถึงกลุม่ ศิลปินทีม่ คี ณ ุ ภาพ สูงและมีศกั ยภาพสูง สร้างผลงานคลาสสิก สุดยอด ยังท�ำมาหากินด้วยฝีมอื โดยคัด เลือกกลุม่ ศิลปินทีส่ ร้างสรรค์งานและด�ำรง อยูอ่ ย่างอาชีพ ไม่ได้อาศัยนักท่องเทีย่ ว ไม่ ได้อาศัยกระบวนการจัดจ้างของรัฐ ไม่อยู่ ในกลุม่ ทีผ่ กู ขาดวัฒนธรรม เป็นต้น ล้วน เป็นกลุม่ ทีป่ ระกอบอาชีพโดยอาศัยฝีมอื และ ความสามารถทางดนตรีเป็นหลัก เพราะ เชื่อว่า ความสามารถของศิลปินจะเป็น ตัวแปรของความเปลีย่ นแปลงของผลงาน เป็นการปรับตัว การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เท่านั้นที่จะด�ำรงให้ประกอบอาชีพอยู่ได้ เทศกาลดนตรีอมตะสยาม เป็น โครงการทดลอง จะจัดขึน้ ในระหว่างวันที่ ๒๖-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ หอแสดง ดนตรี ศาลาครูมแี ขก ลานไม้ทเี่ รือนศิลปิน ที่หอแสดงมหิดลสิทธาคาร วิทยาลัย ดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเชิญ กลุม่ ศิลปินทีม่ คี วามหลากหลาย หัวใจก็คอื การน�ำอดีตมารับใช้ปจั จุบนั และการสร้าง ผลงานสิง่ ใหม่ให้เกิดขึน้ โดยอาศัยวิธกี าร ประชาสัมพันธ์แนวใหม่ การเริม่ ขายบัตร เพื่อเข้าชมการแสดง ๑๐๐ บาททุกที่นั่ง เพื่อน�ำเสนอว่ามิตรรักแฟนเพลงควรมี ส่วนร่วมในการด�ำรงอยูข่ องเทศกาลดนตรี อมตะสยาม ไม่ใช่รฐั หรือผูส้ นับสนุนคนใด คนหนึง่ หากจะอยูอ่ ย่างยัง่ ยืนก็ตอ้ งใช้วธิ นี ้ี เพราะศิลปินเองต้องท�ำงานให้ดี ฝึกซ้อม มาอย่างดี อวดฝีมอื ผูช้ มเข้ามาชมก็ไม่ผดิ หวัง ทุกคนต้องลงทุน เป็นต้น หากเป็น
รัสมี อีสานโซล (ภาพจากเฟซบุ๊ก: Rasmee)
ได้จริงก็จะเป็นการสร้างเวที สร้างพื้นที่ และสร้างอาชีพให้กับศิลปินในเทศกาล ดนตรีอมตะสยามให้อยู่ต่อไปได้ เทศกาลดนตรีอมตะสยาม ได้รับ การสนับสนุนจากกระทรวงการท่องเทีย่ ว และกี ฬ าและวิ ท ยาลั ย ดุ ริ ย างคศิ ล ป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโครงการออกแนว แสวงหาทิศทางใหม่ มีการก�ำหนดเวลาที่ จ�ำกัดไม่เกิน ๒ ชั่วโมง มีการแสดงในหอ แสดงอย่างดี มีระบบเสียงที่ดี มีผู้ชมที่ ตัง้ ใจซือ้ บัตรเข้าไปฟัง และมีรายการแสดง ให้ดฟู รีกลางแจ้งด้วย เพือ่ ไม่ให้เกิดความ รูส้ กึ คัดค้านว่าท�ำไมต้องเสียเงินค่าเข้าชม (ทุกรายการ) เพราะโดยทัว่ ไปดนตรีชาวบ้าน หรือดนตรีไทยมีให้ดูฟรี
วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๑
เวลา ๑๖.๐๐-๑๗.๓๐ นาฬิกา ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล การแสดงในหอแสดงของวิทยาลัย ดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีพนื้ ที่ ๓๕๓ ที่นั่ง ซึ่งไม่ใหญ่และไม่เล็ก เหมาะ ส�ำหรับการแสดงขนาดเล็กและขนาดกลาง (๑-๒๐ คน) เปิดโครงการโดยเชิญวง คุณรัสมี เวระนะ “รัสมี อีสานโซล” คุณ รัสมีเป็นนักร้องทีม่ พี นื้ ฐานมาจากการร้อง เพลงพืน้ บ้านเขมร เป็นพวกเขมรต�ำ่ หรือ อีสานใต้ พ่อเป็นนักร้องเจรียงกันตรึม ต่อ มาได้ยา้ ยตามครอบครัวไปอยูอ่ สี านเหนือ ชอบเพลงหมอล�ำอีสาน และได้ยา้ ยไปอยู่ เชียงใหม่ พัฒนาตัวเองมาร้องเพลงในแนว แจ๊ส ประกอบอาชีพร้องเพลงตามโรงแรม และบาร์ในเชียงใหม่
เธอได้สร้างผลงานของตัวเองเป็น เพลงสมัยนิยมที่เป็นลูกผสม ทั้งมีกลิ่น พืน้ บ้านทัง้ ส�ำเนียงเขมรและส�ำเนียงลาว ร้องเป็นเพลงสมัยนิยมผสมแนวแจ๊ส โดย มีวงดนตรีเป็นของตัวเอง น�ำเสนอเพือ่ การ ประกอบอาชีพ (ท�ำมาหากิน) ปัจจุบัน เธอปักหลักอยู่ที่เชียงใหม่
วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑
เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ นาฬิกา ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ ๒ ของเทศกาล ได้เชิญวง ณรงค์เดช เชื้อเมืองพาน คณะเจิมศักดิ์ ส.บัวสวรรค์ น�ำโดย “แมน บ้านบัว” ต�ำบลจระเข้มาก อ�ำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นวงมโหรีของอีสานใต้ รับงานตั้งแต่การเกิดกระทั่งวันตาย ท�ำ
05
วงกันตรึม คณะเจิมศักดิ์ ส.บัวสวรรค์
ดนตรีที่เกี่ยวกับพิธีกรรม พิธีของหมอผี เพื่อเสริมความขลัง และการแสดงเพื่อ ความบันเทิง โดยใช้ฝมี อื ดนตรีเป็นตัวน�ำ ณรงค์เดช เชือ้ เมืองพาน เป็นนักสีซอ เขมร เคยเข้าประกวดเยาวชนดนตรีแห่ง ประเทศไทย ในระดับมัธยมศึกษา ที่จัด โดยวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล และเคยสอบเป็นนักศึกษาวิชาเอก ดนตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ แต่ เสียงดนตรีเรียกร้องให้ “แมน บ้านบัว” สมญาของณรงค์เดช เชื้อเมืองพาน ให้ ออกไปท�ำงานอาชีพมากกว่าที่จะเรียน ดนตรีในห้องเรียน การก่อตัง้ วงดนตรีพนื้ บ้าน (เขมร) รับงานแสดงในพืน้ ทีบ่ รุ รี มั ย์ ศรีสะเกษ และ สุรนิ ทร์ ซึง่ เป็นพืน้ ทีพ่ ดู ภาษาเขมร ท�ำให้ ณรงค์เดช เชือ้ เมืองพาน มีงานพิธกี รรมท�ำ กลายเป็นทีร่ จู้ กั ของชาวบ้าน โดยประกอบ
06
อาชีพเป็นหมอผีทำ� พิธกี รรมและเล่นดนตรี ทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล เวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ นาฬิกา ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล การแสดงลิเก คณะเศกศิลป์ พูลทรัพย์ (ตัม้ ) ลิเกนัน้ เป็นการผสมผสานกันหลาก หลายชนิด ทั้งวิธีว่าบทแบบล�ำตัด เพลง ฉ่อย ท่าทาง ร่ายร�ำ การด�ำเนินเรือ่ งแบบ ละครชาตรี ละครนอก ละครใน ซึง่ เป็นการ ละเล่นประกอบดนตรีปี่พาทย์ในสมัย อยุธยา จนกลายเป็นทีน่ ยิ มของชาวบ้าน เพราะเรื่องประโลมโลก ปัจจุบนั ได้เสือ่ มความนิยมลงเพราะ มีสื่ออย่างอื่นมาทดแทนลิเก อาทิ ละคร โทรทัศน์ ละครเวที ภาพยนตร์ วงดนตรี ลูกทุง่ การแสดงดนตรีสดบนเวที โทรศัพท์
(มือถือ) เป็นต้น ท�ำให้ความสนใจของคน ทีม่ ตี อ่ ลิเกลดลง อย่างไรก็ตาม สภาพของ ลิเกในปัจจุบนั แม้จะถดถอยลดลง แต่กย็ งั มีคนเล่นลิเกเก่า ซึ่งมีกันอยู่หลายคณะ ภาวะเปลีย่ นผ่านของลิเกก็ยงั อยูใ่ นขาลง ลิเกเก่าเหล่านีม้ งี านท�ำบ้างในบางโอกาส การน�ำเสนอลิเกแนวเก่าทีเ่ ป็นมหรสพ ชาวบ้าน ซึง่ คนโบราณน�ำมากล่าวถึงว่าไม่ อยากให้ลกู หลานสืบทอด “อันยีเ่ กลามก ตลกเล่น ร�ำเต้นสิน้ อายขายหน้า ไม่ควรจะ จดจ�ำเป็นต�ำรา มันจะพาเสียคนป่นปีเ้ อย” ในการค้นหาร่องรอยของความเป็น ลิเก (เก่า) จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่ง คณะ เศกศิลป์ พูลทรัพย์ เป็นลิเกอาชีพ (คน รุน่ ใหม่) ทีท่ ำ� มาหากินกับอาชีพลิเกแบบ ชาวบ้านมา แม้ปัจจุบันจะมีงานน้อยลง แต่สามารถที่จะขึ้นเวทีเล่นลิเกได้ทุกเมื่อ ตลอดเวลา เพราะลิเกเป็นหุน้ ส่วนของชีวติ
คณะละครแก้บนลูกสาวแม่วันดี
วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑
เวลา ๑๖.๐๐-๑๗.๓๐ นาฬิกา ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวันที่ ๓ ของเทศกาล “ดนตรี อมตะสยาม” เป็นคณะมณีรัตน์ รัตนัง เป็นการขับซอยอยศ เล่นสะล้อซอซึง ฟ้อนร�ำเพลงพืน้ บ้านภาคเหนือ โดยปรกติ ก็จะรับงานแสดงเพือ่ รองรับนักท่องเทีย่ ว ภาคเหนือ รับงานแสดงศิลปะประจ�ำเมือง แสดงในงานประชุมสัมมนา งานแสดงสินค้า งานที่จัดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและ งานของกระทรวงวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ จะเป็นการประยุกต์การฟ้อนร�ำพื้นบ้าน ดนตรีพนื้ บ้าน การแต่งกายประจ�ำถิน่ ซึง่ ขายความเป็นท้องถิน่ ให้กบั นักท่องเทีย่ ว หรือผู้มาเยือน เนื่องจากเชียงใหม่เป็นเมืองที่ใหญ่
เป็นล�ำดับสองของประเทศ เชียงใหม่เป็น เมืองวัฒนธรรมทีย่ งั รักษาไว้ซงึ่ วัฒนธรรม ล้านนา และเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีเสน่ห์ ดังนั้น ธุรกิจการท่องเที่ยว การสัมมนา และการประชุมระดับชาติ ทั้งรัฐและ เอกชนจึงนิยมใช้เมืองเชียงใหม่เป็นตัว เลือก ท�ำให้ศิลปะการแสดงการฟ้อนร�ำ และดนตรีจงึ เป็นสิง่ ที่อยู่คเู่ มืองเชียงใหม่ คณะมณีรัตน์ รัตนัง เป็นคณะช่าง ฟ้อนที่รองรับกิจกรรมประจ�ำเมืองได้ เป็นอย่างดี
วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑
เวลา ๑๖.๐๐-๑๗.๓๐ นาฬิกา ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล รายการร�ำแก้บน ซึง่ เป็นการรวบรวม คณะละครชาตรีทใ่ี ช้แสดงเพือ่ แก้บน ครัง้ นี้ได้เชิญคณะต่างๆ มีร�ำทั้งหมด ๔ คณะ
ด้วยกัน แต่ละคณะก็จะร�ำแก้บนอยูใ่ นพืน้ ที่ แตกต่างกัน ทีส่ ำ� คัญก็คอื เป็นคณะทีย่ งั ท�ำ มาหากินประกอบอาชีพเป็นละครแก้บน คณะแรก เป็นการร�ำแก้บนหรือละคร แก้บนลูกสาวแม่วนั ดี ซึง่ เป็นทายาทของ ครูพูน เรืองนนท์ ตั้งหลักปักฐานอยู่บน ถนนหลานหลวงมาหลายชั่วอายุคน รับ งานร�ำแก้บนทั่วไปแล้วแต่จะหา โดยรับ งานหลักที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองและที่ ศาลพระพรหมเอราวัณ คณะที่สอง เป็นคณะธิดาพรหม สุวรรณ ของอาจารย์ฐานิสา จากจังหวัด เพชรบุรี ในจังหวัดเพชรบุรถี อื ว่าเป็นพืน้ ที่ ที่สามารถรักษาประเพณีโบราณเอาไว้ได้ นอกจากจะเป็นเมืองเก่าแล้ว ยังไม่ถูก ท�ำลายโดยสงคราม ท�ำให้ประเพณีและ พิธกี รรมโบราณยังรักษาและสืบทอดเอาไว้ได้ คณะที่สาม คณะวาสนานาฏศิลป์ จากจังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นอีกพื้นที่หนึ่ง
07
ศาลาครูมีแขก (พระประดิษฐไพเราะ) ศาลากลางน�้ำ อยู่กลางแจ้ง เป็นพื้นที่การแสดงของวงปี่พาทย์
ที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวง นอกจากจะ ซึมซับเอาประเพณีและพิธีกรรมโบราณ เอาไว้แล้ว ยังปราศจากการท�ำลายล้าง ด้วยสงคราม พิธรี ำ� แก้บนของราชบุรแี ละ เพชรบุรี จึงมีความวิจติ รพิสดารแตกต่าง ไปจากพิธีของเมืองหลวง สุดท้ายเป็นคณะจงกล โปร่งน�้ำใจ ท�ำอาชีพอยูท่ ศี่ าลพระพรหมเอราวัณ ซึง่ เป็นคณะร�ำแก้บนทีเ่ ก่าแก่ของเมืองหลวง เพราะการได้ดกู ารร�ำแก้บนของคณะต่างๆ ที่ยังประกอบอาชีพอยู่ ก็จะเป็นความ แตกต่างในพิธี บทเพลง เครือ่ งดนตรีทใี่ ช้ ท่าทางการร่ายร�ำ เป็นต้น การร�ำแก้บนหรือละครแก้บน เป็น ความเชื่อของมนุษย์ที่เชื่อทั้งพวกผีสาง นางไม้และเทวดา ซึง่ มีอยูใ่ นจิตใจมนุษย์ที่ ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เมือ่ มนุษย์ ไม่สามารถทีจ่ ะหาสิง่ ทีป่ รารถนาได้ ไม่วา่ จะด้วยฝีมอื ด้วยอ�ำนาจใดๆ ไม่สามารถที่ จะหาสิง่ ของได้ดว้ ยผูป้ กครองหรือมนุษย์
08
ด้วยกัน มนุษย์กจ็ ะบนบานศาลกล่าวต่อสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ มี่ อี ำ� นาจเหนือมนุษย์ ไม่วา่ จะ เป็นผีสางนางไม้หรือเทวดา เมือ่ ขอก็ตอ้ ง ท�ำตามจริตของมนุษย์ในสังคม กล่าวคือ การ “ติดสินบนหรือบนบานศาลกล่าว” เมื่อได้ในสิ่งที่ปรารถนาแล้ว ก็ต้อง ไปท�ำพิธเี พือ่ ตอบแทนผูท้ อี่ ำ� นวยอวยทาน (บุญคุณ) เรียกว่า พิธีแก้บน ในการร�ำ แก้บนหรือละครแก้บนนั้น นอกจากจะมี อาหารการกิน ทัง้ ของคาวของหวานและ ผลไม้แล้ว ยังมีความบันเทิงที่มอบให้แก่ ผีสางและเทวดาด้วย การร�ำแก้บน นิยม ร�ำถวายกันตอนที่ผีหรือเทวดาลงมารับ ของถวายทาน ระหว่างที่นั่งกิน ก็มีการ ร่ายร�ำเพือ่ บ�ำรุงบ�ำเรอความสุข ถือว่าได้ ตอบแทนที่สมควรค่า ในการ “บน” หรือการติดสินบน ทั้งผีและเทวดา เป็นเรื่องจิตใจของผู้ขอ ที่ประสงค์จะให้คืน ตามที่ใจปรารถนา ไม่มีใครรู้ว่าได้บนอะไรไว้ แต่ที่รู้เมื่อได้
สมใจนึก ก็จะท�ำพิธีร�ำแก้บน ยังไม่พบ หลักฐานว่าหากไม่ได้ดงั ทีข่ อไว้จะมีการร�ำ แก้บนหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่เมือ่ สมหวัง หรือมีความคาดหวัง เพื่อให้ได้ดังหวัง ก็ จะท�ำพิธีร�ำแก้บน
วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑
เวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา ณ ศาลาครูมีแขก วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ศาลาครูมีแขก (พระประดิษฐ ไพเราะ) มีพนื้ ทีส่ ำ� หรับการแสดงของวงปี่ พาทย์ ซึง่ ได้ออกแบบไว้เป็นศาลากลางน�ำ้ กลางแจ้ง โดยใช้ไม้ทำ� ศาลาเพือ่ ให้เสียงปี่ พาทย์ตดี งั ลงไปในน�ำ้ และน�ำ้ ก็จะเป็นตัวน�ำ เสียงและขยายเสียงไปสูผ่ ฟู้ งั เนือ่ งจากไม้ เป็นตัวอุม้ เสียงทีด่ ี ท�ำให้เกิดความไพเราะ ของเสียงปีพ่ าทย์ ซึง่ แตกต่างไปจากศาลา วัดที่ท�ำด้วยปูน เสียงปี่พาทย์จะกระด้าง ดังหนวกหู และน่าร�ำคาญ
คณะลิเก กุ้ง สุธิราช วงศ์เทวัญ (ภาพจากเฟซบุ๊ก: กุ้ง สุธิราช วงศ์เทวัญ)
การออกแบบศาลาครูมแี ขก ท�ำขึน้ เฉพาะเพื่อให้วงปี่พาทย์แสดงกลางแจ้ง โดยเฉพาะ เพื่อต้องการน�ำเสนอว่า วิธี ฟังดนตรีไทย (รวมทัง้ ดนตรีชาวบ้าน) ไม่ ได้นงั่ ฟังเพลงแบบดนตรีตะวันตก เพราะ ดนตรีอยู่กับวิถีชีวิตชาวบ้าน ฟังดนตรี แบบการประโคม ได้ยินเสียงอยู่ตลอด เวลา ฟังไป คุยไป และก็ท�ำงานไป โดย มีวงปี่พาทย์คณะดุริยกวี ของครูสุเชาว์ หริมพานิช เป็นนายวง เวลา ๑๖.๐๐-๑๗.๓๐ นาฬิกา ณ ลานไม้ที่เรือนศิลปิน วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะโนราธรรมนิตย์สงวนศิลป์ จากจังหวัดสงขลา เป็นคณะโนราของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ซึ่งเป็น สถาบันอุดมศึกษาแรกที่กล้าหาญเปิด สอนวิชาโนราในภาคใต้เมื่อ ๓๐ ปีก่อน แม้จะแตกต่างไปจากโนราอาชีพอยู่กับ
ชาวบ้านและสังคม ท�ำให้โนรามีทอี่ ยูใ่ หม่ ในมหาวิทยาลัย
วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑
เวลา ๑๖.๐๐-๑๗.๓๐ นาฬิกา ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการแสดงของคณะลิเก กุง้ สุธริ าช วงศ์เทวัญ (คณะทวีป-ชัยณรงค์ วงศ์เทวัญ) เนือ่ งจากเป็นคณะลิเกทีม่ คี นติดตามมาก มีแม่ยกและพ่อยกเยอะ จึงต้องย้ายไปจัดใน เวทีทใี่ หญ่กว่า (๒,๐๑๖ ทีน่ งั่ ) ซึง่ เป็นการ ทดลองใหม่วา่ หอทีใ่ ช้แสดงดนตรีคลาสสิก อย่างอาคารมหิดลสิทธาคาร หากรองรับ การแสดงลิเกแล้ว จะออกมาเป็นอย่างไร แฟนๆ ลิเกจะปฏิเสธหอแสดงดนตรีอย่าง ดีหรือไม่ หรือเป็นโฉมหน้าใหม่ของการ เล่นลิเก คนในสถาบันอุดมศึกษา ผู้มี ความรู้สูง จะมาซื้อบัตรดูลิเกหรือไม่ ก็ เป็นประเด็นที่น่าสนใจ
เทศกาลดนตรีอมตะสยาม จัดขึ้น ๖ วัน ระหว่างวันที่ ๒๖-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ เพื่อจะทดลองในหลากหลาย มิติ และเพื่อจะศึกษาว่าความอยู่รอด ของวัฒนธรรมพื้นบ้านจะอยู่อย่างไรต่อ ไป เพราะหากไม่มคี นจ้างนัน้ อยูไ่ ม่ได้อยู่ แล้ว เมื่อมีคนว่าจ้างแล้ว คนที่ว่าจ้าง สามารถที่จะเก็บรายได้ทั้งค่าบัตรและผู้ สนับสนุนจะอยู่ในฐานะอย่างไร
09
Cover Story
10
SET เยาวชนดนตรี แห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๒๐ เรื่อง: นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit) ณัฐมน จารุเมธาวิทย์ (Nattamon Jarumethavit)
เวียนมาบรรจบครบปีที่ ๒๐ แล้ว ส�ำหรับการจัดประกวด SET เยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย ต้องขอขอบคุณก�ำลังสนับสนุนส�ำคัญคือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผู้ใหญ่ใจดี หลายท่าน ที่สนับสนุนน้องๆ เยาวชนที่มีความรู้ความสามารถด้านดนตรี โดยไม่จ�ำกัดเครื่อง ดนตรีและแนวเพลง เพียงแต่ต้องเป็นเครื่องดนตรีที่ไม่ใช้ไฟฟ้าเท่านั้น เพื่อมุ่งเน้นถึงความ สามารถและความไพเราะของผู้เข้าประกวด
ก
ารประกวดแบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย และระดับอุดมศึกษา ซึ่งในครั้งนี้ มีเด็กนักเรียนจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถคว้าเหรียญ ทองไปได้ถึงสองระดับชั้น ทั้งในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษา ในครัง้ นีผ้ เู้ ขียนขอเริม่ สัมภาษณ์จาก เจ้าถิ่นที่คว้ารางวัลเหรียญทองในระดับ อุดมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อน และจะไล่ลำ� ดับไประดับมัธยมศึกษา ตอนต้น กระทั่งระดับประถมศึกษา
แนะน�ำตัวกันหน่อยค่ะ
รู้สึกอย่างไรบ้างกับความ กฤษฎา: ชือ่ นายกฤษฎา ชัยรัตนศักดิ์ ส� ำเร็จในครั้งนี้
ชื่อเล่นชื่อ ปลื้ม ปัจจุบันอายุ ๒๐ ปี เล่นโซปราโนแซกโซโฟนครับ ปริยฉัตร: ชือ่ จริง นางสาวปริยฉัตร สิทธิดำ� รงการ ชือ่ เล่น สแตมป์ ร้องเพลงค่ะ ภัทรจารีย:์ พลูคะ่ ชือ่ จริง เด็กหญิง ภัทรจารีย์ วณิชย์วงศ์วาน ขับร้องค่ะ กิตติคุณ: ชื่อ เด็กชายกิตติคุณ เจริญพันธ์สุทธิ ชื่อเล่นชื่อ น้องจีน เล่น ระนาดเอกครับ
กฤษฎา: รูส้ กึ ดีครับ รูส้ กึ ว่าสามารถ พัฒนาตัวเองได้ และเห็นผลกับสิง่ ทีซ่ อ้ มมา ปริยฉัตร: เอาจริงๆ หนูตกใจมาก เลย ไม่ได้ร้องไห้ แต่ช็อก และดีใจ ว่าสิ่ง ที่เราท�ำมาตลอดมันไม่สูญเปล่า ภัทรจารีย์: รู้สึกดีใจมากๆ เลยค่ะ เพราะว่าฝึกซ้อมมาอย่างหนักค่ะ กิตติคณ ุ : รูส้ กึ ดีใจทีไ่ ด้มาอยูใ่ นจุดนี้ ครับ
11
ชอบในเสียงดนตรีครับ อยากให้ คนไทยรักษาวัฒนธรรมดนตรี ไทยต่อไปครับ กิตติคุณ เจริญพันธ์สุทธิ
เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ได้ที่ สามค่ะ เวทีนี้ต่างจากเวทีอื่นคือไม่แยก เครื่องดนตรี เลยรู้สึกยาก และหนูไม่คิด ว่าหนูจะมีโอกาสได้รางวัล อาจารย์คดิ ว่า หนูคงไม่ได้แน่เลย อาจารย์เลยบอกว่า ไม่ เป็นไร ร้องด้วยหัวใจของตัวเอง และท�ำให้ เต็มที่ที่สุดในแบบของตัวเองค่ะ ภัทรจารีย์: เวทีนี้กรรมการทรง คุณวุฒิทั้งนั้นเลยค่ะ และมีหลายเครื่อง ดนตรีรวมกัน ท�ำให้เราได้เห็นศักยภาพ ของทุกๆ เครื่องดนตรีเลยค่ะ กิตติคุณ: แตกต่างครับ เป็นเวทีที่ มีความสนุก มีความตื่นเต้นครับ
ครั้ ง นี้ เ ป็ น ครั้ ง แรกที่ ม า เวทีการประกวด SET นี้ แตก ประกวดเวที SET หรือเปล่า ต่างจากเวทีอ่น ื ๆ ทีป ่ ระกวด อะไรคือเหตุผลในการเข้า กฤษฎา: ไม่ครับประกวดครัง้ นีเ้ ป็น มาอย่างไร ประกวดเวที SET นี้ ครั้งที่ห้าแล้วครับ ปริยฉัตร: ครัง้ ทีส่ องค่ะ ปีทแี่ ล้วได้ เหรียญเงินไป ตั้งใจว่าจะมาเข้าประกวด ทุกๆ ปีอยูแ่ ล้วค่ะ ไม่คดิ ว่าจะได้ทหี่ นึง่ ปีนคี้ ะ่ ภัทรจารีย์: ครั้งแรกค่ะ กิตติคุณ: ครั้งที่สามครับ
12
กฤษฎา: ไม่เคยประกวดเวทีอนื่ เลย ครับ เพราะอย่างเครือ่ งดนตรีแซกโซโฟน ที่ผมเล่น เวทีนี้เป็นเวทีเดียวที่สามารถ ประกวดได้ครับ เพราะว่าเปิดโอกาสให้ ทุกเครื่องดนตรีสามารถลงได้ ปริยฉัตร: ถ้าด้านการร้องแบบคลาสสิก ไม่เคยประกวดที่ไหนเลยค่ะ เวทีนี้เป็นที่ แรกเมือ่ ปีทแี่ ล้ว ส่วนเวทีทสี่ องคือ Osaka International Competition ทีญ ่ ปี่ นุ่ ล่าสุด
กฤษฎา: อย่างแรก เพราะว่าผม เรียนอยู่ที่นี่ (วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล) อยูแ่ ล้วด้วยครับ และ อย่างทีส่ อง อาจารย์บอกให้ลองส่งดูครับ ปริยฉัตร: อยากได้ประสบการณ์ ที่ดี และรู้สึกว่าเป็นการประกวดที่อิสระ เพราะว่ารวมหลายๆ เครื่องไว้ด้วยกัน หนูอยากรู้ว่าเมื่อประกวดรวมกับเครื่อง อืน่ ๆ หนูจะไปได้ถงึ ตรงไหน หนูพยายาม
ท�ำให้ได้ดที สี่ ดุ พยายามอย่างเต็มที่ ซ้อม ทุกวัน ด้วยความรักในการซ้อม อย่าคิด ว่าการซ้อมท�ำให้ชวี ติ เราแย่ลง เพราะว่ามี หลายๆ คนทีซ่ อ้ มแล้วรูส้ กึ แย่ แล้วความ รักดนตรีจะเริ่มหายไปเรื่อยๆ กิตติคณ ุ : คุณครูแนะน�ำให้มาประกวด ครับ เลยสมัครเข้ามาครับ
ถ้าไม่มคี ณ ุ ครู ก็คงไม่มคี วามส�ำเร็จ ในวันนี้ค่ะ ขอบคุณครูมากค่ะ ภัทรจารีย์ วณิชย์วงศ์วาน
มีวธิ ก ี ารเตรียมตัวส� ำหรับการ แข่งอย่างไรบ้าง กฤษฎา: วางแผนการซ้อม และ การเลือกเพลงครับ ปริยฉัตร: ฝึกซ้อมทุกวันค่ะ ภัทรจารีย:์ หนูฝกึ ซ้อมทุกอาทิตย์คะ่ กิตติคุณ: ผมซ้อมเยอะๆ ครับ
มีอุปสรรคหรือปั ญหาอะไร ระหว่างการซ้อมบ้างไหม และมีวธิ แ ี ก้ไขปั ญหาอย่างไร
กฤษฎา: อุปสรรคมีบา้ งครับ อย่าง เช่น เพลงที่เราเลือกมาแข่ง เวลาเกิน จากที่ก�ำหนด ก็ต้องมาดูว่าจะจัดการ อย่างไรครับ ปริยฉัตร: บางครัง้ หนูรสู้ กึ ว่า ท�ำไม หนูรอ้ งได้ไม่ดสี กั ที หลายครัง้ ทีห่ นูรสู้ กึ ว่า
ท�ำเต็มทีแ่ ล้ว แต่กไ็ ม่ได้ตามทีเ่ ราคาดหวัง ไว้ จริงๆ วันนี้ (วันประกวด) หนูแอบ โดนอาจารย์ดุมานิดหน่อย หลังจากร้อง เสร็จแล้ว อาจารย์บอกว่า เธอ enjoy น้อยไป ก่อนหน้านี้เธอท�ำได้ดีกว่านี้ ก็ แอบแย่บ้าง พยายามคิดบวกค่ะ ว่าเรา ท�ำในสิ่งที่เรารัก คือการเล่นดนตรี ก็จะ ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น หรือบางทีก็ท�ำอย่างอื่น เช่น นอนหลังเวที... อย่าไปบอกใครนะคะ (หัวเราะ) ภัทรจารีย:์ เพราะว่าเวทีนมี้ หี ลาย เครื่องดนตรี แต่ละคนเก่งๆ ทั้งนั้น เรา เลยต้องเลือกเพลงประกวดที่ยากขึ้นมา
หน่อย ท�ำให้ต้องฝึกซ้อมหนักค่ะ กิตติคุณ: ไม่เจออะไรครับ ราบรื่น
อะไรคือแรงบันดาลใจของ น้องๆ คะ
กฤษฎา: น่าจะเป็นเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ พ่อแม่ ทุกคนครับ ที่รู้จัก ปริยฉัตร: ส�ำหรับหนู ไม่ได้มีแรง บันดาลใจเป็นพิเศษ แต่หนูจะคิดว่า ท�ำ ตรงนี้ให้ดีที่สุด และท�ำให้เต็มที่ ไม่ท�ำให้ คนรอบข้างเราผิดหวัง ภัทรจารีย:์ เป็นคนชอบร้องเพลงค่ะ กิตติคุณ: ชอบในเสียงดนตรีครับ
13
ร้องด้วยหัวใจของตัวเอง และท�ำให้ เต็มที่ที่สุดในแบบของตัวเองค่ะ ปริยฉัตร สิทธิด�ำรงการ
อยากให้คนไทยรักษาวัฒนธรรมดนตรี ไทยต่อไปครับ
กล่าวอะไรถึงคุณครูผฝ ู้ กึ สอน หน่อยค่ะ
กฤษฎา: ปัจจุบนั ก�ำลังศึกษาอยูก่ บั อาจารย์ Shyen Lee ครับ เป็นคนไต้หวัน และอาจารย์วิศุวัฒน์ พฤกษวานิช ครับ ปัจจุบันอาจารย์วิศุวัฒน์ไปศึกษาต่อใน ระดับปริญญาเอกทีโ่ ปแลนด์ อาจารย์คอย ช่วยเหลือในทุกด้านเลยครับ ไม่ใช่แค่ดา้ น แซกโซโฟนอย่างเดียว ทั้งด้านความคิด ด้านการพูด การวางตัวด้วยครับ
14
ปริยฉัตร: เรียนกับอาจารย์แนนซี่ ค่ะ อาจารย์เป็นครูที่น่ารักที่สุดเลย ช่วย หลายๆ อย่างในชีวติ หนู เพราะพ่อแม่หนู อยู่พิษณุโลกค่ะ อาจารย์เลยเป็นก�ำลังใจ ส�ำคัญที่นี่ ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะอยู่ไกล แต่กต็ ดิ ตามข่าวตลอด เป็นห่วงเราตลอด บางทีรู้สึกเหงาบ้างที่พ่อกับแม่ไม่ได้อยู่ ด้วย แต่เรายังมีอาจารย์อยู่ อาจารย์สอน ในหลายๆ เรื่อง ที่เราไม่รู้ เช่น เวลาไป แข่งระดับนานาชาติต้องท�ำอย่างไร ช่วย อบรมสั่งสอนเรื่องต่างๆ เป็นเหมือนแม่ คนที่สองเลยค่ะ ภัทรจารีย:์ ก็ถา้ ไม่มคี ณ ุ ครู ก็คงไม่มี
ความส�ำเร็จในวันนีค้ ะ่ ขอบคุณครูมากค่ะ กิตติคุณ: คุณครูใจดีครับ แต่ถ้าไม่ ได้ก็ดุหน่อยครับ
ใช้เพลงอะไรในการแข่งขัน และท�ำไมถึงเลือกเพลงนี้
กฤษฎา: ผมเลือกเพลง Hard Fairy ของ Graham Fitkin ผมคิดว่าผมแข่งมา สี่รอบแล้ว เพลงน่าจะโดนใจกรรมการ บ้าง คิดว่ากรรมการน่าจะชอบเพลงแนว นี้ รวมถึงทักษะฝีมือเราตอนนี้ก็สามารถ เล่นเพลงแนวนี้ได้แล้วครับ เลยเอามา ปริยฉัตร: ใช้เพลง Il Bacio แต่งโดย Luigi Arditi เพราะว่าเพลงนีห้ นูเตรียมมา ประมาณห้าเดือนค่ะ ก่อนหน้าทีห่ นูจะแข่ง SET หนูเคยแข่ง Osaka International Competition มาก่อน เลยใช้เพลงนี้ จาก การแข่งเวที Osaka มาปรับปรุงให้ดขี นึ้ ค่ะ ภัทรจารีย:์ รอบนีใ้ ช้เพลง Fourteen gear ค่ะ เป็นค�ำแนะน�ำจากคุณครูและ คุณพ่อคุณแม่ค่ะ แล้วหนูก็ชอบด้วยค่ะ กิตติคณ ุ : เพลงสารถี สามชัน้ ครับ เพราะเป็นเพลงที่ผมเล่นได้อยู่แล้วครับ เลยเลือกมาประกวด
ประกวดครั้งนี้เป็นครั้งที่ห้าแล้ว ครับ... ไม่เคยประกวดเวทีอนื่ เลย... กฤษฎา ชัยรัตนศักดิ์
ภัทรจารีย:์ เก็บไว้ใช้กบั สิง่ ทีค่ วรใช้ วางแผนอย่างไรกับรางวัล ทีไ่ ด้รบ ั และอนาคตข้างหน้า ในอนาคตค่ะ กฤษฎา: เงินรางวัลคงเก็บไว้ก่อน ครับ ส่วนอนาคตต้องรอดูอีกทีครับ ปริยฉัตร: เงินรางวัลคงเก็บเพือ่ การ เรียนในอนาคตค่ะ หนูอยากไปเรียนต่อที่ เวียนนา หลังจากจบปริญญาตรีที่มหิดล ค่ะ ความฝันหนูเลย
กิตติคณ ุ : เก็บไว้ใช้ตอนโตครับ เอา ไว้ใช้ในอนาคต
ดนตรีที่ดีมากๆ ในประเทศไทยเลยครับ ทุกคนสามารถมาแข่งขันได้เลย สมัครได้ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีไทย ดนตรีสากล หรือ ดนตรีทุกอย่างเลยครับที่ไม่ใช้ไฟฟ้า และ เป็นแสดงเดี่ยวครับผม ปริยฉัตร: อยากบอกว่า ขอให้ทุก คนรักในสิ่งที่ตัวเองท�ำให้มาก ถ้าอยาก มาแข่ง สมัครมาได้เลย การมาแข่งขัน ท�ำให้ได้รับประสบการณ์ที่ดี ไม่ต้องกลัว กับการแข่งรวมกันหลายๆ เครื่องดนตรี ควรหาโอกาสมาลองแข่งค่ะ ถ้าไม่ลองก็ ไม่รู้หรอก จริงไหมคะ ภัทรจารีย:์ ถ้ารูต้ วั ว่าชอบดนตรีนะ คะ ก็รีบฝึกฝน ฝึกซ้อม และหาเวทีแข่ง อย่างเช่นเวทีนเี้ ป็นต้นค่ะ เพราะเราจะได้ พัฒนาฝีมือ ให้เก่งขึ้นไปอีกค่ะ กิตติคณ ุ : เวทีนเี้ ป็นเวทีทเี่ ปิดโอกาส ให้ทุกคนที่มีความสามารถมาร่วมเล่น ดนตรีครับ
อยากฝากอะไรถึงผูท ้ ต ี่ อ้ งการ ประกวด SET หรือผูอ้ า่ นบ้าง
กฤษฎา: เวทีนี้เป็นเวทีประกวด
15
ผลการประกวด SET เยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๒๐ ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ วันอาทิตย์ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ระดับประถมศึกษา
ทุนการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ทุนการศึกษา
ชนะเลิศเหรียญทอง เด็กชายกิตติคุณ เจริญพันธ์สุทธิ รองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๑ เด็กชายจีนส์ วิชญาพร รองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๒ เด็กหญิงเอมิ โอโนะ รองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๓ เด็กหญิงภันธรัชต์ ณัฐนิธิการัชต์ เหรียญเงิน เด็กชายธนาภูมิ สนองเดช เด็กชายวีร์ทิวัตถ์ ศิริวัฒนากร เด็กหญิงณิชาภา ธวัชผ่องศรี เด็กหญิงทรินนิตี้ จันทรัช เด็กชายภูผาภักดี พงษ์พนัศ เด็กหญิงปานชีวา มนต์สิริ
(ระนาดเอก) ๔๐,๐๐๐ บาท (กลองชุด) ๓๐,๐๐๐ บาท (ไวโอลิน) ๒๐,๐๐๐ บาท (เปียโน) ๑๐,๐๐๐ บาท (โหวด) ๖,๐๐๐ บาท (เปียโน) ๖,๐๐๐ บาท (ไวโอลิน) ๖,๐๐๐ บาท (เปียโน) ๖,๐๐๐ บาท (เปียโน) ๖,๐๐๐ บาท (ขับร้อง) ๖,๐๐๐ บาท
ชนะเลิศเหรียญทอง เด็กหญิงภัทรจารีย์ วณิชย์วงศ์วาน (ขับร้อง) รองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๑ นายวัชระ นิลศิริ (ระนาดเอก) รองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๒ เด็กหญิงอริยา เหล่าธิติพงศ์ (เปียโน) รองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๓ เด็กหญิงเมธาณี ธวัชผ่องศรี (ไวโอลิน) เหรียญเงิน นายชานนท์ นวลแม้น (ระนาดเอก) เด็กหญิงศุทรา รุ่งกระจ่าง (เปียโน) เด็กชายธรรมศาสตร์ ทองแกมแก้ว (มาริมบา) นางสาวพิชชาภา ชนาพรรณ (ขับร้อง) นายยุทธนา วงศ์ค�ำหาญ (โหวด) เด็กหญิงอรกมล นาวาผล (เปียโน)
16
๕๐,๐๐๐ บาท ๔๐,๐๐๐ บาท ๓๐,๐๐๐ บาท ๒๐,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ชนะเลิศเหรียญทอง นางสาวปริยฉัตร สิทธิด�ำรงการ รองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๑ นายภัทรนันท์ เปลี่ยนสกุล รองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๒ นายธยานะ ทวิบุญยะกร รองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๓ นางสาวณัฐกมล สุพัตรานนท์ เหรียญเงิน นายพลศิษฎ์ โสภณสิริ นางสาวธนวรรณ พึ่งต�ำบล นายพลวัตร วรรณวิทยาภา นายชวิน กาญจนพันธุ ์ นายธนพงษ์ วงศ์มีศักดิ ์ นายสิรภพ วนเวชกุล
(ขับร้อง) (อัลโต แซกโซโฟน) (เปียโน) (ทรัมเป็ต) (ไวโอลิน) (ฆ้องวงใหญ่) (กีตาร์) (ไวโอลิน) (ฆ้องมอญวงใหญ่) (เปียโน)
ระดับอุดมศึกษา ชนะเลิศเหรียญทอง นายกฤษฎา ชัยรัตนศักดิ์ รองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๑ นางสาวพิจาริน วิริยะศักดากุล รองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๒ นางสาวชัญญา เจริญสุข รองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๓ นางสาวธนภรณ์ พรมเวียง เหรียญเงิน นายอิษฎ์นนั ทน์ โชติรสนิรมิต นายนิชฌาน พิทยาธร นายสกุลโชติ แก้วหย่อง นายกฤษฎา ชัยรัตนศักดิ์ นางสาวจิราภา วังคะออม นายชยานันต์ อินทรธนู
(โซปราโน แซกโซโฟน) (ขับร้อง) (ไวโอลิน) (ขับร้อง) (เปียโน) (อัลโต แซกโซโฟน) (โปงลาง) (อัลโต แซกโซโฟน) (เปียโน) (กีตาร์คลาสสิก)
ทุนการศึกษา
๖๐,๐๐๐ บาท ๕๐,๐๐๐ บาท ๔๐,๐๐๐ บาท ๓๐,๐๐๐ บาท ๑๕,๐๐๐ บาท ๑๕,๐๐๐ บาท ๑๕,๐๐๐ บาท ๑๕,๐๐๐ บาท ๑๕,๐๐๐ บาท ๑๕,๐๐๐ บาท
ทุนการศึกษา
๗๐,๐๐๐ บาท ๖๐,๐๐๐ บาท ๕๐,๐๐๐ บาท ๔๐,๐๐๐ บาท ๒๐,๐๐๐ บาท ๒๐,๐๐๐ บาท ๒๐,๐๐๐ บาท ๒๐,๐๐๐ บาท ๒๐,๐๐๐ บาท ๒๐,๐๐๐ บาท
17
ล�ำดับถัดมา เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ผูป้ กครองและคุณครูผฝู้ กึ สอนของ น้องพลู หรือเด็กหญิงภัทรจารีย์ วณิชย์วงศ์วาน ทีม่ าให้กำ� ลังใจน้องถึง ขอบเวที ผูเ้ ขียนอดไม่ได้ทจี่ ะขอสอบถาม ถึงความประทับใจและเทคนิคต่างๆ ของ คนเก่งเหรียญทองสักหน่อย
เมื่อก่อนน้องจะเป็นคนขี้อายค่ะ พอเล่น ดนตรี ท�ำให้น้องกล้าแสดงออกมากขึ้น ไปเจอผู้คนหลากหลายขึ้น คุณครู: เพราะว่าเวทีนี้เป็นเวทีท่ี มีชื่อเสียง ควรประกวดมาก เพราะน�ำ ทุกเครือ่ งมาแข่งกัน และทุกคนทีม่ าแข่งก็ อยูใ่ นระดับสูงมากครับ คนสมัครแต่ละปี เยอะมาก เลยรู้สึกว่าน้องน่าจะลองมา ทดสอบฝีมือตัวเองดู แต่ว่าไม่ได้กดดัน เขานะครับ ได้เท่าไหนก็เท่านั้น
คือเราพัฒนาขึน้ ไหม เราได้ทำ� ดีทสี่ ดุ ไหม เราได้ท�ำให้คนดูประทับใจไหม ผมจะ เน้นตรงนี้มากกว่า ซึ่งพอหลังๆ เขาจะมี ความกดดันน้อยลง และเขาก็แสดงออก มาอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะเขารู้สึกว่า ไม่ตอ้ งการเอาชนะใคร แต่เขาต้องการให้ ความสุขคนดูครับ
คุณแม่: เราก็จะยกตัวอย่างคนที่ น้องเขาชื่นชอบ จะให้เขาดูว่า ก่อนเขา จะมาถึงจุดนี้ เขาเจออุปสรรคอะไรมา บ้าง เขาก็จะเข้าใจของเขาเอง เราไม่คอ่ ย เหนื่อยกับการซ้อมดนตรีของเขาหรอก เราคอยเป็นก�ำลังใจ คอยชี้แนะแนวทาง ให้เขาเท่านั้นค่ะ คุณครู: สมัยช่วงแรกๆ ทีเ่ ข้าประกวด เขาก็มีท้อนิดหน่อย เพราะตอนนั้นยัง เด็กอยู่ แต่เราก็สนับสนุนว่า การแข่งขัน เป็นแค่ส่วนหนึ่ง มันไม่ใช่ทุกสิ่ง สุดท้าย
มาให้ดีที่สุดค่ะ
อยากฝากอะไรถึงผูอ้ า่ น และ ผู้ที่อยากมาประกวดในเวที SET นี้
รู้สึกอย่างไรกับความส� ำเร็จ ของลูกสาวในวันนี้บ้างคะ มีการสนับสนุนน้องอย่างไร คุณแม่: อยากให้เตรียมตัวให้พร้อม คุณแม่ จนประสบความส� ำเร็จดัง ที่สุดค่ะ เพราะว่าการแข่งขันของที่น่ีสูง คุณแม่: ดีใจค่ะ วันนี้ และเวลาน้องท้อมีวิธี มีหลากหลายเครื่องดนตรี ซึ่งไม่รู้ว่ามี คุณครู: รู้สึกดีใจมากครับ เพราะ รับมืออย่างไรคะ เกณฑ์อย่างไรบ้าง ก็ท�ำของตัวเองออก ว่าสอนน้องมานานแล้ว และน้องก็เก่ง ขึ้นเรื่อยๆ แต่ว่าเวทีนี้ท�ำให้รู้สึกว่า น้อง เขามาถูกทางจริงๆ และน้องมี Passion ของเขา ท�ำให้เขาได้ความส�ำเร็จมา เขา มีความสุขกับสิง่ ทีเ่ ขาท�ำ และเขายังท�ำได้ ส�ำเร็จอีกด้วย
ท�ำไมถึงเลือกที่จะให้น้อง ประกวดเวที SET คะ คุณแม่: อยากให้น้องเขามีความ มัน่ ใจในตัวเองมากขึน้ กล้าทีจ่ ะแสดงออก
18
Violist's Journey: Arts by Juckrit Charoensook
19
Interview
Neoclassic Redux: An Interview with Terje Mikkelsen Story: Michael David Brice (ไมเคิล เดวิด ไบรซ์) Music Technology Department College of Music, Mahidol University
With a career spanning almost three decades, Norwegian-born conductor Terje Mikkelsen has held the reins as conductor for many world class orchestras in Europe, with positions including but not limited to: Chief Conductor and Music Director for the Latvian National Symphony Orchestra, Chief Conductor and Music Director for the Ukranian State Symphony Orchestra, Principal Conductor of the Shanghai Symphony Orchestra and Principal Guest Conductor of the Tchaikovsky Symphony Orchestra of Moscow Radio.
M
60
ikkelsen has been described by reviewers as “immensely compelling and dramatically powerful” while his control of sound, balance and textures have been called “masterly”. This is no surprise as he has received mentorship from some prominent names within the Classical music world. His professor was the famous Jorma Panula while he attended the Sibelius Academy in Helsinki and he has also studied and collaborated with Maris Jansons for 10 years in both Oslo and St Petersburg starting in 1985. Having conducted in some of the most important halls in Europe, including with the Berliner Philharmonic, it’s evident that Mr. Mikkelsen is no stranger to the concert hall stage, but in addition to his myriad stage appearances, he has also been involved in an impressive number (about 50 recordings) of studio recording projects. This includes having worked on a CD called “Fates Project” in 2012, which he worked on with Keith Emerson (of Emerson, Lake and Palmer), Marc Bonilla and the Munich Radio Orchestra, Recently Mikkelsen continued the project with a recording with the Academy of St. Martin in the Fields.
Throughout his career Mr. Mikkelsen has traversed many cities throughout the world, having conducted orchestras in Japan, China, USA, South America, Eastern and Central Europe and of course Thailand. Interestingly enough, Mr. Mikkelsen has frequented the College of Music Mahidol University since the College’s infancy (1999) and has therefore seen and been involved with the College’s growth and maturation over the years, making it safe to call him a “friend” of the College. On the 8th and 9th and on the 15th and 16th of December, the College of Music Mahidol University was proud to welcome back its longtime friend Terje Mikkelsen, as he conducted the Thailand Philharmonic Orchestra in “The house of Ludwig” and a “Neoclassic Redux” at Prince Mahidol Hall. Mr. Mikkelsen was kind enough to sit down with the Music Journal and answer some questions the week following his performance, and as usual this was both an honour and privilege.
How have you seen the College change and grow over time?
I’ve been here many times, so I’ve had the chance to watch the College grow from nothing. I think the first time I came was in 1999. I had just started as a chief conductor with the Thüringen Philharmonic Orchestra, and I flew to Bangkok for a day to meet with Dr. Sugree and it was fascinating. He showed me around (this was about 18 years ago) and there was only the skeleton of the first main building. He told me his plans, and I thought OK, but how can you manage this? And every time I came back he showed me around, telling me where everything would be: Pre-College/Boarding School, here there will be a big park with trees from around the world, here a museum, etc. Now we can see it all. So I’ve walked around here when there was nothing, so I have a great admiration for Dr. Sugree’s, energy, fantasy and driving force. Something else that has changed is the TPO, I must say I was surprised by how well they played at the Beethoven-concert I conducted last week. Now they’re a good orchestra.
Are there any obstacles that you have encountered when conducting, if so how do you overcome them? There are obstacles everywhere,
but you know not so much for me. To be honest I get taken well care of, people make sure I get what I need all the time. So nobody should worry about me, I manage. The Musicians are constantly struggling daily life problems such as: getting stuck in traffic, musical problems, finding enough practice time and relaxing time, work related problems, chairs lacking or instrument music details and so on. But the musician just has to focus on what they’re doing: practicing, preparing, reading, developing. So we all need to create a bubble of safety from the obstacles, and remain focused.
What is it that you love about Classical music?
I think everybody has some moment where they discover the language of music, and what it does to your “fantasy”. Mine was very early (I’ve been told). I was listening to a choir in a church, I was maybe 3 years old and I moved behind the conductor and “conducted” (mirroring the conductor) because I liked the music. My mother and father were also great music lovers(my mother was a music teacher) and they had all these good recordings, I remember when I was about 5 years old listening to Aida, especially the trumpet march, which must’ve inspired me to play, because it was around this time that I started playing piano and trumpet. So it was always the fantasy and how the music made me feel, and how a music work or interpretation could change my mood, give inspiration or simply make me observe other persons differently.
How did you end up becoming a conductor?
I always conducted but I decided when I was 26/27 to take it more seriously and become a conductor on full time. When I was very young I was Orchestra Manager for a very famous orchestra, and it had a very famous Chief Conductor, Marris Jansons (He is now a world class name) So I worked with him for 7 years, then decided I wanted to take advantage, so I studied with him for 10 years, and from then on I only conducted.
What do you think makes a good conductor?
I think conducting is an occupation for grown-up people, but you still need to get all your experiences when you are young and you also need to start
collecting all your impressions very young. This will help you to choose the right emotions and to place everything right later in life. They also say conductors get better with age, maybe I am not objectively, because I’m getting older too. But I think it’s experience. Don’t forget a musician gets a job after practicing for 12 years (maybe). A conductor gets out of his Masters or Diploma, but he rarely got a chance to practice with an orchestra. The orchestra is our instrument, and we need to practice. It’s a very expensive instrument, you know? To gather 50 80 musicians and practice is not cheap. It is only when you practice with the orchestra does your development start, and it can take many years. Gradually you assign what works for you. So I would say conductors get better in the way of understanding the musician better, making better decisions, understanding music better and communicating better.
Is there any advice you would like to give our students?
Well, an orchestra is a functioning mechanism of many individuals, which in general are all very good musicians. To have a good orchestra you need these musicians to have the same ideas or at least to unify their ideas. They need to have roughly the same background in education, the same background in artistic and historical knowledge, so there are many things you have to learn apart from just practicing on your instrument. Music performed at a top level is achieved through a range of dialogues and exchange of ideas, almost like secret way of communication, and this is difficult to master. Most important is to remember that a performance must “touch” the listener and make his/her life isn’t a little bit different and better after leaving the concert hall. The other part is that you need to have good management for the orchestra to play well and function as a united team. And, here needs to be a sense of pride belonging to an orchestra and even more important for the musician to feel appreciated. In order for the musician to play well they must feel that what they’re doing has value not only to themselves, but to the people listening. It must have value and not just monetary value. Although of course money is also important to pay bills and live a life when you are not on stage or in a rehearsal.
61