Music Journal June 2019

Page 1


วารสารเพลงดนตรี MUSIC JOURNAL

สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน ในเดื อ นพฤษภาคมที่ ผ ่ า นมา ประเทศไทยได้สูญเสีย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและ รัฐบุรุษ อย่างสงบด้วยวัย ๙๙ ปี การ จากไปของท่าน สร้างความเศร้าใจให้แก่ สังคมไทยเป็นอย่างมาก เนือ่ งจากท่านเป็น ปูชนียบุคคลทีอ่ ทุ ศิ ตนเพือ่ ประเทศชาติมา อย่างยาวนาน ในหลากหลายหน้าที่ ทั้ง ทางด้านทหาร ทางด้านการเมือง และ ทางด้านดนตรี วารสารเพลงดนตรี ขอ แสดงความอาลัย และน้อมร�ำลึกถึงคุณ งามความดีของท่าน ผ่านทาง เรื่องจาก ปก ทีถ่ า่ ยทอดโดย อาจารย์ณรงค์ ปรางค์ เจริญ ซึ่งได้รวมถึงมุมมองและข้อคิดใน การด�ำเนินชีวิต จากประสบการณ์ท่ีได้มี โอกาสใกล้ชิดท่าน ส�ำหรับบทความด้าน music entertainment เสนอบทความเกี่ยวกับ เพลงไทยสากล ในท�ำนองเพลงต่างชาติ

ISSN 0858-9038

Volume 24 No. 10 June 2019

Volume 24 No. 10 June 2019

Volume 24 No. 10 June 2019

เจ้าของ

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บรรณาธิการ

ฝ่ายภาพ

ฝ่ายสมาชิก

ฝ่ายศิลป์

ส�ำนักงาน

คนึงนิจ ทองใบอ่อน

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

จรูญ กะการดี นรเศรษฐ์ รังหอม

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

พิสูจน์อักษรและรูปเล่ม

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ

เว็บมาสเตอร์

นิธิมา ชัยชิต

สนอง คลังพระศรี Kyle Fyr

ธัญญวรรณ รัตนภพ

ภรณ์ทิพย์ สายพานทอง

ซึง่ คือการทีแ่ ปลงท�ำนองจากเพลงต่างชาติ แล้วน�ำมาใส่เนือ้ ร้องภาษาไทย หรือทีร่ จู้ กั กันในภาษาชาวบ้านว่า “เพลงแปลง” ซึ่ง ในฉบับนี้จะอธิบายที่มาของเพลงแปลง “อยากกินกาแฟ” “มารยามาก” และ “โจงกระเบน” ด้านดนตรีไทย ฉบับนี้น�ำเสนอ บทความ ดนตรีที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม ความเชือ่ เรือ่ งของนาคของชาวอุษาคเนย์ เช่น บทเพลงนางนาคในพิธีบวชนาค นอกจากนี้ ยังอธิบายถึงประวัตคิ วามเป็น มาของความเชื่อเรื่องนาค และขั้นตอน พิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ เรื่องนาคอีกด้วย และพลาดไม่ได้กับบทความสาระ ความรูด้ า้ นดนตรีจากนักเขียนประจ�ำ และ รีวิวการแสดงในช่วงเดือนที่ผ่านมา

สุพรรษา ม้าห้วย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วารสารเพลงดนตรี) ๒๕/๒๕ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๓๑๑๓ โทรสาร ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๓๐ musicmujournal@gmail.com

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

พิมพ์ที่

หยินหยางการพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๖๓๖ ๐ ๒๔๔๓ ๖๗๐๗

จัดจ�ำหน่าย

ร้านค้าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๒๕๐๔, ๒๕๐๕

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ส�ำหรับข้อเขียนที่ได้รับการ พิจารณา กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงเพื่อความเหมาะสม โดยรักษาหลักการและแนวคิดของผู้เขียนแต่ละท่านไว้ ข้อเขียน และบทความที่ตีพิมพ์ ถือเป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ขอรับผิดชอบบทความนั้น


สารบั ญ Contents Cover Story

04

ด้วยความเคารพและอาลัย ณรงค์ ปรางค์เจริญ (Narong Prangcharoen)

Getting Ready

Thai and Oriental Music

Music Technology

ดนตรีกับความเชื่อเรื่องนาค ของชาวอุษาคเนย์ ณัฐิดา นุ่มปราณี (Nuttida Numpranee)

How To: Lo-Fi Sound Texture Michael David Brice (ไมเคิล เดวิด ไบรซ์)

22 28

สุนทร ดนตรี ช่างท�ำระนาด ในจังหวัดเพชรบุรี ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน (Dhanyaporn Phothikawin)

08

Pedagogy Tools for Applied Music Teachers: Advising Students Successfully Joseph Bowman (โจเซฟ โบว์แมน)

Music Entertainment

10

“เรื่องเล่าเบาสมองสนองปัญญา” เพลงไทยสากลอิงท�ำนอง เพลงต่างชาติ (ตอนที่ ๓) กิตติ ศรีเปารยะ (Kitti Sripaurya)

Music Education

18

ดนตรีกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน (Dhanyaporn Phothikawin)

32

ใครคือ ‘นายสอนผ่านฟ้า’ ศิษย์เจ้าคุณประสานฯ เจ้าของตระโหมโรง ๓๓ ตัว ที่ครูบุญยงค์ เกตุคง กล่าวขวัญถึง พิชชาณัฐ ตู้จินดา (Pitchanat Toojinda)

Voice Performance

38

Solitude Chapter 7 Haruna Tsuchiya (ฮารุนะ ซึชิยะ)

42

Music Business

46

กระบวนการในการสร้างศิลปิน เพื่อเข้าสู่วงการเพลงเกาหลีใต้ กรณีศึกษารายการโทรทัศน์ “Who is Next: WIN” อรุณโรจน์ สมบูรณ์ทรัพย์ (Arunrote Somboonsab) ตรีทิพ บุญแย้ม (Treetip Boonyam) ภาวัต อุปถัมภ์เชื้อ (Pawat Ouppathumchua)

Review

58

The Great Gate of Kiev (๑๗-๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒) กิตติ เศวตกิตติกุล (Kitti Sawetkittikul)


COVER STORY

ด้วยความเคารพ และอาลัย เรื่อง: ณรงค์ ปรางค์เจริญ (Narong Prangcharoen) คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ​มหาวิทยาลัยมหิดล

04


มิ

ตรภาพและความจริงใจเป็น เรื่องที่ทุกสังคมต้องการ จะมี สักกี่คนที่ท�ำความดีโดยไม่หวังสิ่ง ตอบแทน ในสังคมยุคปัจจุบันอาจ จะเป็นเรือ่ งทีเ่ กือบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาพทางสังคมทีค่ อ่ นข้างเร่ง รีบ เร่งรัด และมีความกดดันสูง เมือ่ เรายังไม่สามารถอยูไ่ ด้ดว้ ยตัวเอง เรา จะไม่มเี วลาทีจ่ ะไปคิดถึงคนอืน่ ๆ ถ้า ตัวเองยังล�ำบากอยู่ คงไม่สามารถ ไปคิดช่วยเหลือผู้อื่นได้ แน่นอนถ้า เป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องคิดแบบนี้ แต่บุคคลที่มีความตั้งมั่นที่จะสร้าง ความดีคงมีความคิดที่แตกต่างออก ไป เพราะบุคคลเหล่านัน้ คงเรียนรูใ้ น ความพอเพียง สร้างความเพียงพอ ให้แก่ตวั เอง สร้างตนเองให้เกิดความ พร้อมในการเกือ้ หนุนคนอืน่ ๆ รอบข้าง สร้างประโยชน์ให้แก่สงั คม ท�ำเพือ่ ผู้ อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผูท้ ไี่ ด้เริม่ ให้ขอ้ คิดแก่สงั คมไทย

ในเรือ่ งการเสียสละ ท่านเป็นบุคคล ตัวอย่างที่หาได้ยากยิ่งในสังคมไทย ยุคปัจจุบนั เมือ่ จะกล่าวถึงค�ำพูดทีว่ า่ “เกิดเป็นคนไทย ควรรูจ้ กั ตอบแทน คุณแผ่นดิน” คงมีไม่กี่คนที่จะใช้ค�ำ พูดในลักษณะนี้ จากการทีไ่ ด้เข้าพบ ท่านเพียงไม่กคี่ รัง้ ช่วงเวลาสองปีที่ ผ่านมา ผมได้เรียนรูใ้ นหลายด้านจาก การพูดคุยกับท่าน ท่านเป็นผูใ้ หญ่ที่ ไม่ถือตัวเลยแม้แต่น้อย ทุกๆ ครั้ง ที่ได้พบท่าน ผมจะน�ำเรื่องที่ได้ไป ประสบพบเห็นมาเล่าให้ท่านฟังว่า เหตุการณ์ในทีต่ า่ งๆ เป็นอย่างไรบ้าง ทีต่ า่ งประเทศตอนนีม้ กี ารปรับตัวและ พัฒนาไปอย่างไรบ้าง ท่านมักจะให้ ข้อคิดเห็นที่ชัดเจน ลึกซึ้ง ที่ผมจะ สามารถเอามาปรับเป็นแนวคิดใน การพัฒนาตัวเองและปรับปรุงองค์กร ได้เป็นอย่างมาก ทุกๆ ครัง้ หลังจาก ที่ได้รับค�ำแนะน�ำและค�ำสอนจาก ท่าน ท่านจะพูดเสมอว่า วันนี้ได้ เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นหลายอย่างเลย

ซึ่งเป็นภาพตัวอย่างของบุคคลที่ไม่ เคยหยุดการเรียนรู้ เป็นตัวอย่างที่ ดีของบุคคลในสังคมไทย และในการ แนะน�ำของท่าน ท่านจะคิดถึงผล ประโยชน์สว่ นรวมเป็นทีต่ งั้ เสมอ ไม่ เคยเลยแม้แต่ครัง้ เดียวทีท่ า่ นจะพูด ถึงตนเอง ท่านมักจะพูดว่า ถ้าเป็น ได้แบบนี้ ประเทศของเราคงพัฒนา ไปข้างหน้าได้อย่างมาก คงจะท�ำให้ ประเทศของเราเจริญก้าวหน้าได้เป็น อย่างมาก พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้ที่เห็นคุณค่าของงานศิลปะใน ทุกๆ ด้าน ท่านเข้าใจว่าศิลปะมีความ จ�ำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และยัง มีสว่ นช่วยขัดเกลาจิตใจของคนให้มี ความอ่อนโยนและมีสว่ นช่วยพัฒนา คนเหล่านั้นให้มีวิถีการด�ำเนินชีวิต ที่ดีขึ้น ท่านเองก็ได้ฝึกฝนตนเองใน การเล่นดนตรี เล่นเปียโน และแต่ง เพลง มีการจัดการแสดงดนตรีอยู่ เป็นประจ�ำที่บ้านของท่าน โดยมี 05


นักดนตรีมากหน้าหลายตาเวียนกัน เข้าไปแสดงคอนเสิร์ตเล็กๆ ที่บ้าน ของท่าน โดยท่านมีหอ้ งขนาดเล็กที่ ชือ่ ว่ากระท่อมดนตรี ไว้สำ� หรับการ แสดงดนตรีในบ้าน ท่านเป็นคนทีร่ กั เสียงดนตรีมาก ทุกครัง้ ทีม่ กี ารแสดง ท่านจะนัง่ รับชมการแสดงโดยไม่ลกุ ไปไหน อยูต่ งั้ แต่ตน้ จนจบการแสดง แม้กระทั่งในการซ้อม บางครั้งท่าน ก็แอบมาชมการซ้อม การเตรียมตัว ด้วยเช่นกัน ในฐานะนักดนตรี สิ่ง ที่ท่านให้คือก�ำลังใจที่จะท�ำให้เรา อยากพัฒนาตัวเอง อยากก้าวไป ข้างหน้า และพยายามสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นในประเทศชาติ ด้วยเสียง ดนตรี ด้วยศิลปะ ท่านเองได้แต่งบทเพลงต่างๆ ไว้ เป็นจ�ำนวน ๑๘๙ บทเพลง โดยท่านได้ แต่งบทเพลงที่ ๑ ถึง ๑๘๘ แล้วข้าม ไปแต่งบทเพลงที่ ๒๐๐ เพราะท่าน ตัง้ ใจว่าจะแต่งให้ครบ ๒๐๐ บทเพลง ซึ่งบทเพลงดังกล่าวมีความไพเราะ 06

และเข้าถึงได้งา่ ย นักดนตรีในประเทศ ไทยหลายๆ ท่าน ได้น�ำบทเพลง ของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มาเรียบเรียง และน�ำไปแสดงในที่ ต่างๆ แม้กระทัง่ ในต่างประเทศ เพือ่ แสดงให้เห็นความสามารถด้านการ ประพันธ์เพลงของท่าน ว่าเป็นที่ ยอมรับในหมูน่ กั ดนตรีในประเทศไทย และเพือ่ แนะน�ำบทเพลงของท่านให้ เป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไป เมืี่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ทางวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ได้ มีการจัดแสดงคอนเสิรต์ เปียโน เพือ่ เป็นการฉลองวันเกิดของท่าน โดยมี นักเปียโนทีม่ ชี อื่ เสียงในประเทศไทยมา ร่วมแสดง ในระหว่างการเตรียมการ ท่านได้กล่าวว่า “อย่าจัดคอนเสิร์ต วันเกิดให้ผมเลย ขอให้จัดเป็นการ แสดงคอนเสิร์ตปกติ แล้วผมไปชม การแสดงจะดีกว่า” แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นคนทีไ่ ม่ถอื ยศศักดิเ์ ลยแม้แต่ น้อย และไม่อยากให้คนต้องล�ำบากใน

การท�ำสิง่ ต่างๆ ให้ทา่ น ซึง่ คอนเสิรต์ เปียโนในวันนัน้ ถือว่าเป็นคอนเสิรต์ ครัง้ ประวัตศิ าสตร์ เพราะมีนกั เปียโน ชั้นน�ำของประเทศมากมายที่มา ร่วมในการแสดง โดยทุกคนมาเพื่อ ต้องการทีจ่ ะแสดงความยกย่องและ แสดงความซาบซึง้ ที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ให้การสนับสนุน ศิลปะและดนตรีเป็นอย่างยิ่ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มี ความเป็นสุภาพบุรุษอย่างหาใคร เปรียบได้ยาก ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ผมได้มีโอกาสเข้าไป รับชมการแสดงดนตรีที่บ้านท่าน ในช่วงกลางวัน ซึ่งเป็นเหมือนการ จัดเลี้ยงก่อนปีใหม่ในปีนั้น ท่านได้ เข้ามาร่วมรับชมดนตรีพร้อมกับ แขกทุกๆ ท่าน โดยให้ความสนใจ ในบทเพลงต่างๆ เป็นอย่างมาก ซึ่งการแสดงในวันนั้น มีบทเพลง เปียโนคลาสสิกเป็นส่วนมาก ท่าน ก็ให้ความสนใจและให้ข้อคิดเห็น


เกี่ยวกับบทเพลงเหล่านั้นด้วยเช่น กัน หลังจากการแสดงในวันนัน้ แล้ว ท่านได้เลีย้ งอาหารกลางวันแก่ทกุ ๆ คน และได้มีการพูดคุยกับแขกทุก คนไปจนเวลาบ่าย ในขณะนั้นท่าน มีอายุ ๙๗ ปี แต่ท่านก็ยังนั่งคุยกับ แขกทุกท่าน เมื่อถามท่านว่า ท่าน เหนือ่ ยไหม ต้องการพักหรือไม่ ท่าน ก็ตอบว่าไม่เป็นไร ท่านยังคงนั่งคุย กับทุกคน จนถึงประมาณเวลาบ่าย สามโมง ซึง่ ในความจริงท่านควรจะ ต้องไปพัก แต่ทา่ นก็ไม่ทงิ้ แขกในงาน จนในที่สุด เป็นพวกเราที่เป็นฝ่าย ขอลาท่านกลับ ท่านจึงไปพัก ครั้ง นีเ้ ป็นการเรียนรูท้ สี่ ำ� คัญอีกครัง้ ของ ผมว่า ท่านจะคิดถึงความรูส้ กึ ของคน อื่นก่อนเสมอ แม้ว่าท่านจะเหนื่อย มาก แต่ท่านก็ยังไม่ทิ้งแขกที่มาใน งาน ท่านรอให้ทุกคนลากลับก่อน จึงค่อยพัก ท่านดูแลต้อนรับทุกคน เป็นอย่างดี ไม่แสดงให้เห็นว่าเหนือ่ ย เพราะกลัวว่าแขกทีม่ าจะไม่สบายใจ และเกรงใจ ไม่เชิญให้แขกกลับก่อน

เพราะรักษามารยาท ในชีวิตผมไม่ เคยได้พบผูใ้ หญ่ทมี่ คี วามเป็นผูใ้ หญ่ ทีค่ ดิ ถึงคนอืน่ ๆ แม้กระทัง่ คนทีด่ อ้ ย กว่า แบบนี้บ่อยนัก ผมจึงได้กล่าว กับทุกคนหลายครั้งว่า ทุกครั้งที่ได้ พบท่าน เราจะได้เรียนรู้อะไรหลาย อย่าง ได้เห็นว่าการท�ำดีเป็นเรื่อง ที่ต้องท�ำ ไม่ใช่เรื่องที่เลือกท�ำเป็น บางครั้ง การท�ำดีต้องท�ำสม�่ำเสมอ ให้เป็นปรกติ และท�ำกับทุกคนโดย ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าเขาจะดีหรือ ไม่ดีกับเราก็ตาม ถึงแม้คนที่ร้าย กับเรา เราก็ควรท�ำความดี โดยไม่ ท�ำร้ายเขา เราควรต้องท�ำสิ่งที่ถูก ต้องส�ำหรับคนหมู่มาก ไม่ใช่ท�ำสิ่ง ที่ถูกต้องส�ำหรับตัวเอง ญาติพี่น้อง หรือคนบางกลุม่ เพราะเรามีสทิ ธิใ์ น การเลือกการด�ำเนินชีวติ ของตนเอง เมือ่ เราก�ำหนดได้เอง การท�ำดีจงึ เป็น เรือ่ งทีไ่ ม่ได้ยากทีจ่ ะท�ำ เมือ่ ท�ำดี ใจ ก็เป็นสุขและสงบ วันที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้จากไป เป็นวันทีโ่ ศกเศร้าอีกวันหนึง่

ของประเทศไทย ส�ำหรับวิทยาลัย ดุรยิ างคศิลป์แล้ว ถือเป็นความสูญ เสียอย่างหาทีเ่ ปรียบไม่ได้ เนือ่ งจาก ท่านได้ให้การสนับสนุนวิทยาลัยมา โดยตลอด ทัง้ ในด้านการแสดงดนตรี และการศึกษา แม้ในขณะทีท่ า่ นจาก ไปแล้ว แต่การสนับสนุนของท่าน ยัง ด�ำเนินต่อไปในรูปแบบของทุนการ ศึกษาทีท่ า่ นได้มอบไว้ให้นกั ศึกษาของ วิทยาลัย ซึง่ การสนับสนุนของท่าน จะเป็นการส่งเสริมให้ประเทศมีการ พัฒนาทางด้านศิลปวัฒนธรรมให้มี ความก้าวหน้า สร้างความเป็นอยูท่ ่ี ดีทางด้านจิตใจให้แก่สงั คมไทยต่อไป

07


THAI AND ORIENTAL MUSIC

สุนทร ดนตรี ช่างท�ำระนาด ในจังหวัดเพชรบุรี เรื่อง: ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน (Dhanyaporn Phothikawin) อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาดนตรีศึกษา และภัณฑารักษ์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

แรกเริ่มก่อนที่จะมาเป็นช่างท�ำเครื่องดนตรี ช่าง ายสุนทร ดนตรี หรือ นักดนตรี ช่างท�ำระนาดทีม่ ชี อื่ สุ น ทรเริ ม่ เรียนดนตรีตงั้ แต่ยงั เด็กกับปู่ (นายทอง ดนตรี) เสียงในจังหวัดเพชรบุรี ต้นตระกูลเดิม นามสกุล “แซ่ตัน” เป็นชาวแมนจูอพยพมาเมื่อประมาณสมัย ลุง (นายเงิน ดนตรี) และพ่อ (นายพร ดนตรี) “เรียน รัชกาลที่ ๔ ต่อมาได้พระราชทานนามสกุล “นักดนตรี” มาตัง้ แต่จำ� ความได้ เกิดมาก็เห็น เพราะมีเครือ่ งปีพ่ าทย์ ที่บ้าน แล้วบ้านลุง บ้านพ่อ ก็เป็นดนตรีไทยกันหมด” เมื่ออายุ ๑๔ ได้เรียนดนตรีเพิ่มเติมกับครูไฉน เรียนรู้ และครูศริ ิ นักดนตรี ต่อมาจึงได้ตอ่ เพลงหน้าพาทย์กบั ครูศริ ิ นักดนตรี และครูประสิทธิ์ ถาวร “ไปอยูก่ บั ครูที่ บ้าน กิน นอน เรียน ต่อเพลง ไปออกงาน” จากการแสดงงานทางดนตรีหลายครัง้ ได้ฟงั เสียง เครื่องดนตรีของวงต่างๆ ทั้งที่มีความไพเราะและเป็น เอกลักษณ์ของเสียง ช่างสุนทรได้ฟงั ได้เห็น จึงมีแนวคิด ในการเป็นช่างท�ำเครือ่ งดนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ จึงเริม่ ท�ำระนาด “อยากใช้ของดี อยากสร้างเครือ่ งดนตรี ดีๆ ก็เลยค่อยๆ ศึกษา เราเป็นช่างไม้อยู่แล้ว ท�ำเรือ ท�ำบ้านทรงไทยมาก่อน ระนาดก็ไม่นา่ จะยาก เริม่ แรก ดูจากระนาดที่เค้าเอามาให้ซ่อม ดูฝีมือ ดูเทคนิคการ เหลา การท�ำลูกของช่างแต่ละคน แล้วก็ค่อยๆ ท�ำไป พอซ่อมมันก็รู้หลายอย่าง อย่างกลองหรือระนาดมัน มาอย่างนี้ เราก็ซอ่ มไปดูวา่ มันดีหรือไม่ดี คุณภาพเป็น อย่างไร แล้วก็จ�ำไว้ พอมันมาอีกแบบก็ซ่อมไปแบบนี้ พอเวลาเราซ่อม เราจะได้ความรูม้ าก” จากการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ครูพกั ลักจ�ำ จากการซ่อมเครือ่ งดนตรีของ นายสุนทร ดนตรี ช่างหลายๆ ท่าน และได้คำ� แนะน�ำ เทคนิคต่างๆ ในการ ท�ำระนาดจากครู จึงส่งผลให้ระนาดของช่างสุนทรมี 28


เอกลักษณ์ในเรือ่ งของเสียงทีแ่ ตกต่างไม่เหมือนใคร “ครู ท่านก็คอยแนะน�ำ คอยสอน เราก็เริม่ ท�ำมาตัง้ แต่ตอน นัน้ ระนาดสมัยนัน้ หาซือ้ ก็แพง ปกติ ๓,๕๐๐-๔,๐๐๐ พอเราไปซื้อมาดีๆ ก็ ๑๐,๐๐๐ กว่าบาท อาจารย์ศิริ ไม่ให้ซื้อเลย แกบอกว่า อยากใช้ดี ต้องท�ำเอง อย่าง ท�ำผืนระนาด พอท�ำแล้ว อาจารย์ประสิทธิ์ ถาวร ก็ให้ ท�ำกระสวนของแก แต่ให้ทำ� ไม่เหมือนกันสักผืน ทัง้ ๆ ที่ กระสวนเดียวกัน ห้ามท�ำเหมือนกัน ไม่งนั้ จะเป็นระนาด โรงงาน สมมติท�ำ ๑๐ ผืน พอลูกนี้เสียงไม่ดี แต่ลูก ผืนนั้นเสียงดี ก็เอามาใส่ผืนนี้ไม่ได้ ให้ท�ำของใครของ มัน จะไม่เหมือนกัน” การท�ำระนาดของช่างสุนทร มีเทคนิคและวิธกี ารที่ ท�ำผ่านกระบวนการในการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ มาเป็นอย่างดี ขัน้ ตอนการท�ำระนาดของช่างสุนทร ต้อง มีการคัดเลือกไม้ ตั้งแต่อายุของไม้ ความแก่ ความ อ่อนของไม้ “ส่วนใหญ่ไม้ที่เอามาท�ำระนาด จะเป็นไม้ พยุงกับไม้ชิงชัน มันแล้วแต่แต่ละต้นเหมือนกัน บาง ต้นดี บางต้นไม่ดี อยู่ที่ความแก่ ความอ่อน วงปี และ ลายของไม้ ไม้ก็ไปซื้อที่บางแพ ราชบุรี ไปเลือกดูเอา” เทคนิคการท�ำระนาดของช่างสุนทร ทีช่ า่ งได้สงั่ สม มาจากประสบการณ์ตลอดระยะเวลาในการเป็นช่าง มี เทคนิคและวิธกี ารในการท�ำ ดังนี้ “ระนาดผืนหนึง่ จะให้ ดีควรเป็นไม้ต้นเดียวกัน แล้วเลือกลายไม้ที่มันเหมือน กันหมดเลย เนื้อแน่น หรือว่าจะเป็นเนื้อไม่แน่นรูน�้ำ เยอะก็ต้องให้เหมือนกัน เลือกลายตรง แต่ยังไม่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม้มนั จะเป็นวงปี ต้องฝังวงปีตลอด” ในขัน้ ตอนแรก ต้องผ่าไม้ การผ่าต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และช�ำนาญในการดูลายไม้ ช่างสุนทรกล่าวว่า “น�ำไม้ มาผ่าให้เป็นลายตรง วงปีอยู่ท่าตะแคงของลูกระนาด แล้วใช้กบไสไม้ทั้ง ๔ ด้านให้เรียบ เก็บข้างหนึ่งให้ตรง จากนั้นน�ำกบไสไม้ใต้ท้องให้ได้ตามที่ต้องการ ให้เหลือ ประมาณ ๓ เซนติเมตร น�้ำหนักต้องเท่ากันทุกลูก น�ำ แม่แบบมากรีด แล้วใช้กบไสให้ได้ขนาดตามทีต่ อ้ งการ” ในขัน้ ตอนต่อไปเป็นการเหลาลูกระนาด ซึง่ ขัน้ ตอนนีม้ า จากการเรียนรู้และคิดค้นขึ้นเองจากประสบการณ์ของ ช่างสุนทร “ต้องค�ำนวณว่าเราจะท�ำแต่ละลูกอย่างไร ก็ คือตามสูตรที่เราได้คิดค้นขึ้นมา เทคนิคพิเศษ ๑ ผืน มาตรฐาน คือ ๑๐๓.๕ เซนติเมตร ๒๒ ลูก แต่ถ้าจะ ๒๑ ลูก ๑๐๒ เซนติเมตร ความยาวแต่ละลูกไม่เท่ากัน อยูแ่ ล้ว ลูกท้าย ๕ เซนติเมตร ลูกยอด ๔.๕ เซนติเมตร ให้มันได้รวมกันแล้วยาว ๑๐๓.๕ เซนติเมตร ใหญ่สุด อย่าให้เกิน ๑๐๕ เซนติเมตร เล็กสุดอย่าให้เกิน ๑๐๒

เซนติเมตร” เมือ่ ได้ลกู ระนาดตามขนาดทีต่ อ้ งการ น�ำเครือ่ งเจียร ลูกหมูเจียให้ได้ขนาดตามทีต่ อ้ งการ “ถ้าท�ำลูกหนึง่ แล้ว เราจะหยุดไม่ได้ ต้องท�ำต่อไปจนเสร็จ ตามสูตรของ เราจะนูนไม่เท่ากัน ลูกยอดจะนูนกว่า ลูกท้ายจะราบ กว่า นูนแล้วไปราบ พอเจียเสร็จแล้วก็พ่นเคลือบเงา แล้วก็น�ำแบบมากรีดแล้วเรียงเพื่อวัดกระสวนเจาะรู แต่ละช่างกระสวนไม่เหมือนกัน จากนั้นน�ำไปเจาะรู กระสวนแล้วตัดไม้สว่ นทีไ่ ม่ตอ้ งการออก แล้วน�ำมาเรียง หงายท้องลูกระนาด แล้วเจาะรูด้วยสว่านไฟฟ้า จาก นั้นใช้ไม้ฉากจับแล้วขีดเส้นจากกระสวนรูบนมาเจาะรู ที่ท้อง เจาะต้องให้ทะลุตรงกัน ตรงให้ไปโผล่ตรงกันให้ เชือกนอนได้ ไม่หกั งอ ซึง่ ถ้าเจาะไม่ดี รูไม่ทะลุ ระนาด จะไม่ดงั เสียงไม่ดี พอเชือกร้อยได้แล้วเราก็จะรูดเชือก ให้รูคล่องตัว พอเจาะเสร็จก็เอากระดาษทรายไล่ แล้ว ก็ร้อยเชือก สมัยก่อนใช้เชือกสายกระบอก สมัยนี้ใช้ เชือกไนล่อน พอร้อยเชือกเสร็จแล้ว น�ำผืนระนาดขึ้น ราง แขวนบนราง แล้วก็ไล่ขา้ งให้เท่ากัน แล้วก็ปาดหัว พอปาดเสร็จก็ขดี เพือ่ บากท้อง แล้วก็ระนาดอีกผืนหนึง่ มาตั้ง ฟังเสียงไปบากไป ให้เท่ากันหมดทุกลูก ให้ข้าง บนมากข้างล่างน้อยก็ได้ ต้องเคาะไปบากไป ไล่ไปจน ครบ ถ้าเราคิดให้มนั สูงก็ให้สงู ทัง้ ผืน เหมือนเราคิดด้วย ว่าจะถ่วงตะกัว่ อย่างไร พอถ่วงตะกัว่ เสร็จเราก็ขดั ด้วย กระดาษทรายให้เรียบร้อย จากนัน้ ก็นำ� มาทดสอบเสียง ถ้าไม่มีอะไรแก้ไข ก็ส่งมอบได้เลย” กว่าที่จะเป็นระนาดหนึ่งผืน ช่างต้องใช้ทั้งความรู้ และใช้ฝีมือในการท�ำ “ผมท�ำระนาดแต่ละผืนเหมือน เขียนรูป ให้มันเป็นศิลปะ ต้องดูองค์ประกอบว่าเสียง ควรจะเป็นอย่างไร ผืนหนึง่ ก็คอื ท�ำได้หลายแบบ จุดเด่น ระนาดมันก็เหมือนลายมือ จุดเด่นของช่างก็คอื กระสวน ของช่าง เป็นลายเส้นของแต่ละคนไป” นอกเหนือจาก การท�ำเครื่องดนตรีและซ่อมเครื่องดนตรีแล้ว อุปกรณ์ ต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับดนตรีทใี่ ช้ไม้เป็นส่วนประกอบ ช่าง สุนทรยังสามารถท�ำได้ และเป็นที่ต้องการส�ำหรับนัก ดนตรีเป็นอย่างมาก “ทีท่ ำ� ด้วยไม้จะท�ำได้หมด ท�ำราง ไม้ระนาด ไม้ฆอ้ ง แต่กอ่ นท�ำกลอง แต่ตอนนีท้ ำ� ไม่ไหว ใช้แรงมาก พวกไม้ตี ท�ำก็จะขายหมดไว ไม่คอ่ ยมีเหลือ”

29


การท�ำลูกระนาด

ระนาดที่ท�ำเสร็จแล้ว

ไม้ระนาด

30

การเจาะกระสวน

การกรีดรูเพื่อเจาะกระสวน

รางระนาด


จากจุดเริม่ ต้นของการเรียนดนตรี จนกลายมาเป็นช่างท�ำระนาดฝีมอื ดี ช่างสุนทรยังเป็นเจ้าของคณะปีพ่ าทย์ อีกด้วย ในอดีต ช่างสุนทรจะ บรรเลงอยู่ที่วง ส.สร้อยทอง ต่อ มาในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ครูไฉนเสีย ชีวิตลง ช่างสุนทรจึงได้ออกมาตั้ง คณะปี่พาทย์ของตนเอง “ตอนนั้น ครูไฉนยังอยู่ ก็รวมไปเลยเป็นคณะ ส.สร้อยทอง พอครูเสียก็ออกมา ตอนนั้นอายุ ๓๕ ก็เลยซื้อเครื่อง มอญ เพราะจะท�ำวง เราก็เลยตั้ง เป็นส่วนตัวว่า พ.พรศิลป์ แล้วก็มี คนถามว่า ท�ำไมต้องตัง้ ว่า พ.พรศิลป์ ก็บอกไปว่า พ่อชือ่ พร ปูช่ อื่ พงศ์ อา ก๋งชือ่ พัน ต้นตระกูลทีม่ าจากเมืองจีน เป็นพ่อของก๋ง ชื่อสังข์ แซ่ตัน แล้ว มาเป็นพัน แซ่ตนั มาเปลีย่ นเป็นนัก ดนตรีภายหลัง ต่อมาเป็นนายพงศ์ นักดนตรี แต่พอมาเป็นนายพงศ์ก็ เหลือแค่นามสกุล ดนตรี ปัจจุบัน นี้รับงานทั้งปี่พาทย์ไทย ปี่พาทย์ มอญ และเครื่องสาย”

ในด้านการถ่ายทอดความรู้ ช่าง สุนทรยังถ่ายทอดความรูท้ งั้ ด้านการ บรรเลงดนตรีให้แก่โรงเรียนทีม่ าเชิญ ไปเป็นวิทยากรพิเศษอีกด้วย “ก็มมี า เชิญไปสอนดนตรี เป็นครูภมู ปิ ญ ั ญา บ้าง เป็นวิทยากรพิเศษบ้าง เช่น โรงเรียนวัดต�ำหรุ โรงเรียนวัดอิน จ�ำปา โรงเรียนวัดโพธิล์ อย โรงเรียน หนองขามที่ชะอ�ำ ในเครือโรงเรียน ดรุณาไปเยอะเลย บางอาทิตย์ก็ ไปโรงเรียนละวันเลย” และในการ ถ่ายทอดความรู้ในด้านของช่างท�ำ เครือ่ งดนตรี “ส่วนมากจะเข้ามาดูงาน เช่น ราชภัฏ อย่างราชภัฏเพชรบุรี หรือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็พา นักศึกษามาดู แล้วก็มาถ่ายวิธที ำ� ผืน ระนาดไปหมดเลย” จากการศึกษาประวัตกิ ารเรียน ดนตรี การเป็นนักดนตรี และการ เป็นช่างท�ำเครื่องดนตรี ของช่าง สุนทร ดนตรี นัน้ นับเป็นการศึกษา ประวัตขิ องบุคคลทีค่ วามเกีย่ วข้องกับ ดนตรีอย่างลึกซึ้ง ทั้งในแง่ของการ

เป็นผูเ้ รียน เป็นครู และเป็นช่างท�ำ เครือ่ งดนตรี การเรียนรู้ ใฝ่รู้ ผนวก กับประสบการณ์ ท�ำให้เกิดเป็นเครือ่ ง ดนตรีทเี่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จน กลายเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญในการท�ำระนาด ทีไ่ ด้รบั การยอมรับจากวงการนักดนตรี ทัง้ ในจังหวัดเพชรบุรแี ละจังหวัดใกล้ เคียง นอกจากการพัฒนาฝีมือของ ตนเองอยูเ่ สมอแล้ว ความเสมอต้น เสมอปลาย ความรับผิดชอบในการ ท�ำงานของช่าง จึงท�ำให้ช่างสุนทร ดนตรี ประสบความส�ำเร็จและมีชอื่ เสียงมาจนถึงปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง สุนทร ดนตรี สัมภาษณ์เมือ่ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

ป้ายคณะ พ.พรศิลป์

31


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.