Dean’s Vision
หัวใจดุริยางคศิลป์ เรื่อง: สุกรี เจริญสุข (Sugree Charoensook) คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เ
มือ่ วันเสาร์ที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ งาน กิจการนักศึกษา วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จดั ค่ายผูน้ ำ� สโมสร นักศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ รุ่นที่ ๒ ที่โรงแรมเรือโบราณ หม่อมไฉไล อ�ำเภอ บางเลน จังหวัดนครปฐม ในการจัดค่าย ครั้งนี้ สโมสรนักศึกษาได้เชิญไปพูดเรื่อง “หัวใจดุรยิ างคศิลป์” ซึง่ ก็เป็นเรือ่ งเก่าทีเ่ คย พูดซ�้ำๆ มาหลายครัง้ และหลายโอกาสมา แล้ว แต่กย็ นิ ดีทไี่ ด้เชิญไปพูดอีก เพราะคิด ว่าครัง้ นีอ้ าจเป็นครัง้ สุดท้ายทีจ่ ะมีโอกาสได้ พูดกับผูน้ ำ� สโมสรนักศึกษา เพราะในเดือน กันยายน ๒๕๖๐ ก็เป็นอันสิน้ สุดวาระการ ด�ำรงต�ำแหน่งคณบดีแล้ว ส�ำหรับหัวใจดุริยางคศิลป์ เป็น เสมือนปรัชญา เป็นเข็มทิศที่จะน�ำ ทิศทางของการจัดการศึกษา การด�ำเนิน กิจกรรมดนตรีของวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล แม้จะพูดกับนักศึกษา ในวันปฐมนิเทศ วันปัจฉิมนิเทศ วันไหว้ ครู พูดในห้องเรียนแล้ว ยังได้พูดทุกเช้า วันจันทร์ (๘.๐๐-๙.๐๐ น.) เพื่อให้คน ท�ำงานทุกคนมีความเข้าใจตรงกัน ตลอด เวลา ๒๓ ปี เพือ่ ท�ำปรัชญาให้เป็นรูปธรรม ส�ำหรับอาจารย์นนั้ ก็มโี อกาสพูดในทีป่ ระชุม อาจารย์ประจ�ำภาคเรียน ภาคเรียนละ ๒ ครั้ง พูดในที่ประชุมกรรมการบริหาร ก็ได้มโี อกาสพูดสัปดาห์ละ ๑ ครัง้ ซึง่ เชือ่
04
แน่ว่า หัวใจดุริยางคศิลป์ เป็นวาระที่ทุก คนในวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล เข้าใจดี ในครั้งนี้ก็จะน�ำหัวใจส�ำคัญๆ มา บันทึกไว้ เพื่อต่อไปในภายภาคหน้า ผู้ ที่อยากรู้อยากศึกษาเรื่องของวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะได้ น�ำไปศึกษาค้นคว้าต่อไป
สร้างคนดนตรีให้เป็นทั้งคนดีและ คนเก่ง
ในระบบการศึกษาไทยพบว่า การ ศึกษาไทยสร้างคนให้เป็นคนเก่ง แต่คนเก่ง ของไทยมักจะโกง การศึกษาไทยสร้างคน ให้เป็นคนดี แต่คนดีของไทยมักจะซือ่ บือ้ ทัง้ คนเก่งทีโ่ กงและคนดีทซี่ อื่ บือ้ นัน้ ช่วยชาติ ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีโอกาสทีจ่ ะสร้างคน รุ่นใหม่ สร้างเด็กไทยพันธุ์ใหม่โดยอาศัย ปรัชญาใหม่ และวิธีคิดก็คือ “สร้างคน ดนตรีให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง” คนดีในความหมายผูท้ มี่ สี ามัญส�ำนึก (Common Sense) ซึง่ เป็นพืน้ ฐานของชีวติ คนดีที่มีความดีของส่วนรวม (Common Good) เป็นผู้ที่มีจิตใจสาธารณะ คนดีใน ความหมายที่เป็นผู้มีคุณธรรมประจ�ำใจ เป็นผูร้ กั ความเป็นธรรม (Common Law) เคารพความเป็นธรรม และต่อสูเ้ พือ่ ความ
เป็นธรรม คนดีในความหมายของคน ธรรมดาสามัญ (Common Man) ซึ่งมี ความเชือ่ ถือในความเป็นคนทีเ่ ท่าเทียมกัน และรักศักดิศ์ รีในความเป็นคน พรานบูรพ์ ได้พดู ถึงศักดิศ์ รีของความเป็นคนไว้ ดังนี้ “คนเห็นคนเป็นคนนัน่ แหละคน คนเห็นคน ใช่คนใช่คนไม่ ก�ำเหนิดคนต้องเป็นคนทุก คนไป จนหรือมีผู้ดีไพร่ไม่พ้นคน” ความหมายของคนดีในปัจจุบนั ถูกน�ำ ไปใช้เพือ่ วัตถุประสงค์เฉพาะเรือ่ ง เพือ่ ผล ประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะพวก ท�ำให้ “คนดี” มีความเข้าใจที่สับสน เพราะว่า “คนดีว่าแต่เขาไม่ชอบธรรม แล้วคนดีก็ ท�ำเองเหมือนว่าเขา อับอายขายขี้หน้า นักหนาเรา ต้องเอาปี๊บคลุมหัวกลัวเห็น คนดี” (สุจิตต์ วงษ์เทศ) โดยคณบดีเป็น ผู้เอาปี๊บคลุมหัวเมื่อวันที่ ๑๐ และ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗ รู้สึกอับอายที่ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยนั่งควบต�ำแหน่ง ๒ เก้าอี้ ดังข่าวที่ทราบกันดี
คนเก่งและคนดีสามารถท�ำงานและ อยู่ที่ไหนก็ได้
ขึน้ ชือ่ ว่าเป็นคนเก่งแล้ว หมายถึงคน ที่มีความสามารถ ทุกคนสัมผัสแล้วรู้สึก ว่าเจ๋งและสุดยอด คือเป็นคนที่มีความ สามารถสูง และที่ส�ำคัญก็คือ สามารถ ประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข เมื่อ
บวกกับการเป็นคนดีเข้าไปแล้ว ก็จะท�ำให้ คนเก่งเป็นคนทีส่ มบูรณ์มากขึน้ สามารถ ทีจ่ ะท�ำงานกับใครและอยูท่ ไี่ หนก็ได้ในโลก ใบนี้ ซึ่งในที่นี้หมายถึงอาชีพดนตรี ในฐานะที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษา ดนตรีทไี่ ด้มาตรฐานในระดับนานาชาติ ก็จะ ต้องสร้างนักดนตรีทมี่ คี วามเป็นมืออาชีพ (Professional) สามารถท�ำงานดนตรี หรือประกอบอาชีพดนตรีได้ ยังหมายรวม ถึงการเป็นสถาบันการศึกษาดนตรีระดับ ชาติ (National) ด้วย เพราะสถาบันการ ศึกษาดนตรีที่มีอยู่ในประเทศไทยนั้น ยัง มีศักยภาพและคุณภาพต�่ำ เมื่อวิทยาลัย ดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตัง้ ขึ้นมาก็ต้องสร้างให้เป็นสถาบันชั้นสูงใน ระดับชาติ ทัง้ นี้ ยังต้องสร้างให้เป็นสถาบัน ดนตรีในระดับนานาชาติ (International) โดยองค์กรหรือประชาคมโลกให้การรับรอง ด้วย เมือ่ มีวตั ถุประสงค์สงู แล้ว จ�ำเป็นที่ จะต้องพัฒนาคนในวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในทุกๆ ระดับ เมือ่ ตัง้ ใจสร้างวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นสถาบันดนตรี ชัน้ น�ำแล้ว สิง่ ทีเ่ ป็นหัวใจของสถาบันดนตรี
ก็คือ นักเรียนดนตรี บัณฑิตที่จบออกไป จากวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล จะต้องเป็นมืออาชีพ มีความ สามารถในระดับชาติ และท�ำมาหากินใน ระดับนานาชาติได้
พรสวรรค์สร้างได้ไม่ตอ้ งคอยเทวดา
มีค�ำถามเสมอๆ ว่า ท�ำไมเด็กไทย ไม่เก่งดนตรี ท�ำไมเด็กไทยเล่นดนตรีสเู้ ด็ก ฝรัง่ ไม่ได้ พรสวรรค์มาจากไหน พรสวรรค์ สร้างได้จริงหรือ เป็นต้น เมือ่ เริม่ โครงการ จัดตัง้ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๓๗ คณบดีเองได้ทำ� งานวิจยั ชิน้ หนึง่ โครงการ วิจยั “พรสวรรค์ศกึ ษา” เพือ่ ศึกษาว่าความ สามารถในการเล่นดนตรีของเด็กพัฒนา มาจากไหน โดยได้พัฒนาโครงการวิจัย ให้เป็นโครงการสอนดนตรีส�ำหรับบุคคล ทั่วไป เปิดสอนดนตรีที่ศูนย์การค้า หลัง จากที่ใช้เวลาศึกษาอยู่ ๑๐ ปี ก็พบว่า “พรสวรรค์สร้างได้ ไม่ต้องคอยเทวดา” กล่าวคือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และตัว เด็ก ร่วมมือกันสร้างศักยภาพความเป็น เลิศทางดนตรีได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้อง ไปคอยใคร
สิ่งที่น่าสนใจมากก็คือ เด็กได้รับ สืบทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่ แต่เมื่อ เด็กออกมาเป็นคนแล้ว เด็กเป็นลูกของ สิง่ แวดล้อม ดังนัน้ การพัฒนาดนตรีของ เด็กจึงต้องสร้างสิ่งแวดล้อมด้านดนตรี ให้กับเด็ก “เด็กเป็นอย่างไร เพราะว่า สิง่ แวดล้อมเป็นอย่างนัน้ สิง่ แวดล้อมเป็น อย่างไร เด็กก็เติบโตเป็นอย่างนั้น” การ พัฒนาเด็กทางดนตรีจำ� เป็นทีจ่ ะต้องมีครู ที่เก่งดนตรีสอนเด็ก ซึ่งพบว่า “ครูเก่ง นักเรียนเก่ง ครูไม่เก่งนักเรียนก็จะไม่เก่ง” เมื่ อ วิ ท ยาลั ย ดุ ริ ย างคศิ ล ป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องการที่จะสร้าง เยาวชนคนรุน่ ใหม่ให้เก่งดนตรี ใช้ปรัชญา ใหม่ในการสร้างคนดนตรี จึงต้องพัฒนา สิง่ แวดล้อมทีจ่ ะอ�ำนวยเรือ่ งการเรียนดนตรี หาครูดนตรีทเี่ ก่งให้เด็กได้เรียน มีเครือ่ งไม้ เครื่องมือพร้อม มีกิจกรรมดนตรีที่มี คุณภาพ เมื่อเวลาผ่านไป ๒๓ ปี พบว่า นักศึกษาดนตรีที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีศักยภาพทาง ดนตรีสูง สามารถที่จะสร้างงานดนตรีที่ ดีได้ นักศึกษากลายเป็นนักดนตรีอาชีพ ไปประกวดแข่งขันดนตรีท้ังในระดับชาติ และระดับนานาชาติก็ได้รับรางวัลมา
05
มากมาย สามารถที่จะไปศึกษาต่อด้าน ดนตรีในสถาบันดนตรีชั้นน�ำของโลกได้ ทุกสถาบัน ซึ่งเป็นหลักฐานที่ปรากฏชัด ต่อสาธารณะในปัจจุบัน
สร้างคนออกไปสร้างงาน
วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ตระหนักดีวา่ สถาบันการศึกษาของ ไทยได้พยายามทีจ่ ะสร้างคนออกไปหางาน มีดรรชนีบง่ ชีว้ า่ บัณฑิตทีจ่ บจากสถาบันการ ศึกษาไทยตกงาน คณะกรรมการประเมิน การศึกษาชาติพยายามที่จะให้สถาบัน อุดมศึกษาสนองตอบนโยบายของรัฐว่า เมื่อนักศึกษาเรียนดนตรีจบออกไปเป็น บัณฑิตแล้ว จะต้องมีงานท�ำหรือสามารถ ประกอบอาชีพได้ หากบัณฑิตจบออกมา แล้วตกงานก็ถอื ว่าเป็นความล้มเหลวของ สถาบันการศึกษา วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล มีความเชื่อในปรัชญาใหม่คือ “การสร้างคนออกไปสร้างงาน” เพราะ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ไม่ใช่โรงงานผลิตบุคลากรออกไป
06
รับใช้อุตสาหกรรมในสังคม แต่เป็นการ ผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพสูง มีความ สามารถสูง มีความคิดสร้างสรรค์ทเี่ ป็นเลิศ สามารถทีจ่ ะปรับตัวให้เข้ากับสิง่ แวดล้อม และสังคมได้เป็นอย่างดี ดังนัน้ หัวใจของ ปรัชญาใหม่ คือ การสร้างคนออกไปสร้าง งาน คนจะได้ไม่ตกงาน เพราะว่าคนที่มี ศักยภาพเป็นเลิศ คนที่มีความสามารถ สูง ย่อมสร้างสรรค์คิดงานของตัวเอง ได้ ที่ส�ำคัญก็คือ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
มหาวิทยาลัยมหิดล จะต้องเป็นสถาบัน ที่ผลิดคนเก่งเท่านั้น ส่วนการหางานท�ำ เป็นหน้าที่ของบัณฑิตโดยตรง เพราะ หากว่าสถาบันที่ผลิตบัณฑิตออกไปแล้ว ไม่เก่งและตกงาน ในที่สุดสถาบันเหล่า นั้นก็จะไม่มีคนไปเรียน
กระบวนการเรียนรู้
ในระบบการศึ ก ษาของไทยมี กระบวนการเรียนรู้ที่แคบ คือ “การ
เลียนแบบ ท�ำซ�้ำ และท่องจ�ำขึ้นใจ” แต่ การที่จะก้าวไปสู่ระดับนานาชาติได้นั้น กระบวนการเรียนรูจ้ ะต้องมีขนั้ ตอนทีก่ า้ ว ข้ามไปกว่าทีเ่ ป็นอยูใ่ นปัจจุบนั ซึง่ วิทยาลัย ดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถ ที่จะจัดกระบวนการศึกษาดนตรีได้กว้าง ขวางมากกว่าเดิมได้ โดยเริ่มตั้งแต่ (๑) เรียนรู้ด้วยการเลียนแบบ (๒) การฝึก ท�ำซ�ำ้ (๓) สามารถทีจ่ ะแหกคอกได้ (๔) ค้นพบศักยภาพความเป็นเลิศ และ (๕) พบความเป็นฉัน ซึง่ ทัง้ ๕ ขัน้ ตอนกลาย เป็นหัวใจของการศึกษาดนตรีที่วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล การเรียนรู้โดยการเลียนแบบนั้น แบบคือครู พ่อแม่คอื แบบ สิง่ แวดล้อมคือ ครู บริบทของสังคมคือครู ดังนัน้ แม่แบบ ทีอ่ ยูร่ อบๆ ตัวเด็ก เป็นเบ้าหลอมทีด่ ที สี่ ดุ ส�ำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิด เพราะว่าเด็ก เป็นลูกของสิ่งแวดล้อม ส่วนกระบวนการเรียนรูโ้ ดยการท�ำ ซ�้ำ เป็นการเรียนรู้ที่จะพัฒนาให้เด็กเป็น คนเก่ง โดยเฉพาะการเรียนดนตรี ซึง่ เป็น วิชาทักษะ จะต้องมีเวลาปฏิบัติ มีเวลา ฝึกฝน ต้องท�ำซ�้ำๆ จนสามารถท่องจ�ำ ขึ้นใจได้ เรียนรู้โดยฝึกตามครู (แบบ) จนมีความช�ำนาญ มีความคล่องแคล่ว ว่องไว และพัฒนาจนเป็นคนเก่ง เพราะ เชื่อว่าอัจฉริยะนั้นมาจากการฝึก การพัฒนาการเรียนรูจ้ นสามารถที่ จะก้าวข้ามการเลียนแบบและท�ำซ�้ำนั้น เป็นเรือ่ งทีท่ ำ� ได้ยากส�ำหรับสังคมไทย โดย เฉพาะวิชาช่าง ศิลปะ และดนตรี เพราะ ครูจะสอนว่า “อย่าหัวล้านนอกครู อย่า วัดรอยเท้าครู” เพราะครูกลัวว่าลูกศิษย์ จะเก่งกว่า ครูยอมรับไม่ได้ที่มีลูกศิษย์ ที่เก่งกว่า ปรัชญาของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้น “เด็กต้องเก่ง กว่าครู” โลกจึงจะเจริญ เมื่อท�ำความ เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องก้าวข้าม การเลียนแบบและท�ำซ�้ำได้ ก็สามารถที่ พัฒนาให้การศึกษาดนตรีกา้ วต่อไปได้ดว้ ย เมื่อเรียนรู้การท�ำซ�้ำๆ จนเบื่อแล้ว ก็เป็นกระบวนการที่ต้องคิดใหม่ ท�ำเพิ่ม
ใหม่ กล้าคิดที่จะแหกคอก คิดที่จะแตก ต่างออกไป ดังนั้น การแหกคอก ขบถ หรือก่อกวนทางปัญญา จะต้องมีไหวพริบ ปฏิภาณที่เป็นเลิศ มีทักษะเป็นเลิศ จน สามารถก้าวข้ามจารีตนิยมได้ นั ก ศึ ก ษาดนตรี ข องวิ ท ยาลั ย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะ ต้องค้นหาศักยภาพความเป็นเลิศของตน ให้ได้ เพราะศักยภาพความเลิศเป็นหัวใจ ส�ำคัญของการเรียนวิชาช่าง ศิลปะ และ ดนตรี โดยการศึกษาว่า ในอดีตทีผ่ า่ นมา นัน้ ใครท�ำอะไรไว้บา้ ง อย่างน้อยทีส่ ดุ ทีม่ ี อยูแ่ ล้วในอดีตจะต้องท�ำได้หมดจนเปื่อย คือง่ายทีจ่ ะท�ำเรือ่ งในอดีตกระทัง่ ปัจจุบนั สุดท้ายกระบวนการเรียนรู้ นักศึกษา ดนตรีของวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล จะต้องค้นหา “ความเป็นฉัน” คือตัวตนของตัวเอง หาจิตวิญญาณของตัว เองให้ได้ แล้วค่อยๆ ถ่ายทอดจิตวิญญาณ ของตัวออกมาเป็นเสียงดนตรี มอบให้แก่ มิตรรักแฟนเพลงอีกทอดหนึ่งต่อไป
คุณภาพต่อรองไม่ได้
ประเทศทีด่ อ้ ยพัฒนา (ล้าหลัง) คือ มีปัญหาเรื่องคุณภาพ ความอ่อนแอของ ประเทศที่ด้อยพัฒนาก็คือความอ่อนแอ เรื่องมาตรฐานคุณภาพ มีคุณภาพไม่ถึง มาตรฐาน ซึ่งแปลว่า “ความคาดหวัง” เห็นแล้ว พบแล้ว สัมผัสแล้ว รู้สึกผิด หวัง หมายความว่าสิ่งที่พบเห็นต�่ำกว่า มาตรฐาน หากเห็นแล้ว พบแล้ว สัมผัส แล้ว รู้สึกว่า “ดีจังเลย” ก็ตอบได้ว่า สิ่ง ที่พบเห็นและสัมผัสนั้นสูงกว่ามาตรฐาน ค� ำ ว่ า มาตรฐาน (Standard) เป็นมาตรฐานที่ทุกคนพึงปรารถนา พึง มี พึงประสงค์ พึงได้ และพึงเป็น ซึ่ง คุณสมบัติพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี คือ ความคาดหวังทีม่ มี าตรฐาน อาทิ โรงแรม มาตรฐาน (Standard Hotel) อาหาร มาตรฐาน (Standard Food) เพลง มาตรฐาน (Standard Song) เครือ่ งเรือน เครือ่ งตกแต่งบ้านมาตรฐาน (Standard Furniture) บริการมาตรฐาน (Standard Service) เป็นต้น สิง่ ทีเ่ ป็นมาตรฐานเหล่า
นี้ ส�ำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว ถือเป็น เรื่องทั่วๆ ไป เป็นของโหลๆ ระดับพื้นๆ ซึ่งทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงได้ เมื่อพูดถึงมาตรฐานของการศึกษา ดนตรีในสถาบันอุดมศึกษาของไทย เป็น เรือ่ งทีส่ งู สุดสอยและไกลเกินเอือ้ ม เพราะ ว่านักเรียนดนตรีของไทยมีคุณภาพต�่ำ สถาบันการศึกษาดนตรีกม็ คี ณ ุ ภาพต�ำ่ ถ้า หากจะมีการจัดตัง้ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ ขึ้นในมหาวิทยาลัยมหิดล ก็จ�ำเป็นอย่าง ยิง่ ทีจ่ ะต้องพัฒนาและสร้างให้ได้มาตรฐาน โดยต้องสูงกว่ามาตรฐานด้วยซ�้ำไป
สร้างคนไปอยู่กับโลก
วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล จะต้องสร้างคนไปอยู่กับโลกให้ได้ ซึง่ จะต้องศึกษาว่าโลกในปัจจุบนั ต้องการ คนทีม่ บี คุ ลิกภาพ ประสิทธิภาพ คุณภาพ และศักยภาพอย่างไร เมือ่ ได้คำ� ตอบแล้ว นัน่ คือหัวใจของวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ ที่ จะต้องสร้างคนออกไปให้ได้ตามเป้าหมาย ที่วางไว้ ซึ่งสามารถพัฒนาคนออกไป โดยมีคุณสมบัติเรียนรู้ ๕ ภาษาด้วยกัน ภาษาซึง่ หมายรวมถึงวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต นักศึกษาของวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ (๑) จะต้องเรียนรู้ภาษาของแม่ ซึ่งเป็น วิถีไทย เป็นบ้านเกิดเมืองนอน แม่คือ สังคมไทย ภาษาไทย วิถีไทย และศิลป วัฒนธรรมไทย (๒) จะต้องเรียนรู้ภาษา สากล ซึง่ เป็นภาษาของโลกหรือเป็นภาษา วิชาการ ในที่นี้หมายถึงภาษาอังกฤษ นักศึกษาของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์จะ ต้องสื่อสารกับชาวโลกได้ (๓) นักศึกษา ของวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ จะต้องเรียนรู้ ภาษาเทคโนโลยี เมื่อโลกแคบลง โลกทั้ง ใบถูกย่อส่วนให้อยู่ในเครื่องมือสมัยใหม่ จ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีน่ กั ศึกษาจะต้องมีทกั ษะ ด้านเทคโนโลยี (๔) นั ก ศึ ก ษาของวิ ท ยาลั ย ดุริยางคศิลป์ จะต้องเป็นผู้ที่มีรสนิยม มีทักษะด้านดนตรีสูง เรียนรู้ศิลปะใน แขนงต่างๆ ซึมซับและรู้สึกซาบซึ้งใน เรื่องสุนทรียศาสตร์ (๕) นักศึกษาของ
07
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ จะต้องมีทักษะ ในด้านภาษาที่ใช้ท�ำมาหากิน เนื่องจาก วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล มีอาจารย์และมีนักดนตรีที่มา จากหลายเชื้อชาติ จนเป็นนานาชาติ จึง มีความแตกต่างและมีความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมในตัวเองอยู่แล้ว ถึอเป็น โอกาสที่ดีส�ำหรับนักศึกษาที่จะเรียนรู้ ภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลายเหล่า นัน้ เผือ่ ว่าในอนาคตหากนักศึกษาจะต้อง ไปประกอบอาชีพในต่างประเทศ ก็มโี อกาส เรียนรูแ้ ละมีภมู คิ มุ้ กันเรือ่ งความแตกต่าง ทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดี
อยู่กับความเปลี่ยนแปลง
วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ถือเป็นหัวจรวดของระบบการศึกษา ไทย ซึง่ เกิดขึน้ ในมหาวิทยาลัยชัน้ น�ำของ ไทย หัวจรวดนัน้ อยูใ่ นส่วนหน้าของจรวด ล�ำพังจรวดก็เป็นอาวุธ เป็นเครือ่ งมือ เป็น วัตถุที่เคลื่อนตัวเร็วอยู่แล้ว ยิ่งเป็นส่วน หัวของจรวด เป็นส่วนหน้าสุดของจรวด ซึง่ ต้องเผชิญกับความเปลีย่ นแปลง เผชิญ กับแรงเสียดทาน เผชิญกับแรงกดดันอยู่ ตลอดเวลา จนกระทัง่ ความเปลีย่ นแปลง กลายเป็นเรือ่ งธรรมดาของชีวติ หรือความ
08
เปลี่ยนแปลงเป็นหุ้นส่วนของชีวิต ขึน้ ชือ่ ว่าเป็นมหาวิทยาลัยแล้ว เป็น พื้นที่ทดลองของความแตกต่าง พื้นที่ ของความหลากหลาย และเป็นพืน้ ทีข่ อง เสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งเสรีชนสามารถ ที่จะสร้างงานได้ อาจจะเป็นพื้นที่เดียว ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ใน ขณะทีส่ งั คมไทยโดยรวมเป็นพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ นิยม ประเพณีนิยม จารีตนิยม อ�ำนาจ นิยม บริโภคนิยม ทุนนิยม เป็นต้น น้อย เหลือเกินทีจ่ ะมีพนื้ ทีเ่ ป็น “เสรีนยิ ม” อย่าง มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพื้นที่ส�ำหรับการ ทดลองการเปลีย่ นแปลง โดยเปลีย่ นแปลง จากความไม่รู้ไปสู่ความรู้ มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ของนัก ปราชญ์ ซึง่ หมายถึงผูร้ แู้ ละทรงไว้ซงึ่ ความ รู้ มหาวิทยาลัยจึงเป็นพืน้ ทีข่ องผูร้ เู้ ป็นผูน้ ำ� ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ในสังคมไทย ผู้มี อ�ำนาจเป็นผู้น�ำ เนื่องจากการศึกษาเป็น เรือ่ งของความเจริญงอกงาม เกิดจากข้าง ล่างไปสู่ข้างบน ประดุจต้นไม้ที่เติบโตมา จากรากเป็นล�ำต้นและกิง่ ก้านสาขา ส่วน อ�ำนาจนั้นพัฒนาจากบนลงข้างล่าง โดย ค�ำสั่งของอ�ำนาจสั่งให้ท�ำ อ�ำนาจคือสิ่ง ที่ท�ำลายจินตนาการและท�ำลายความ คิดสร้างสรรค์ สถาบันดนตรีหากขาดซึ่ง
จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์แล้ว ก็ไร้ประโยชน์ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ตลอดเวลาก็คือ ความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ สร้างความตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างของความเปลี่ยนแปลง พัฒนาการและการแสดงของวงดุริยางค์ ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย (Thailand Philharmonic Orchestra, TPO) มีนัก ดนตรีรับเชิญมาร่วมแสดงทุกสัปดาห์ มี การเปลีย่ นแปลงนักดนตรีในวงเกือบทุกปี เพราะความเปลีย่ นแปลงสร้างความเจริญ ให้แก่องค์กรได้ มิตรรักแฟนเพลงต้องการ ฟังดนตรี เพราะดนตรีสามารถสร้างความ เปลี่ยนแปลงในร่างกายคนได้ เสียงดนตรีเป็นพลังงาน (Energy) ยิ่งเสียงที่ดีมีคุณภาพก็จะมีอานุภาพ สูง เมื่อเสียงที่ได้ยินผ่านรูหูผ่านรูขุมขน เข้าไปในร่างกาย เสียงท�ำให้โมเลกุลใน ร่างกายขยายตัวออก ท�ำให้รู้สึกขนลุก หัวใจพองโต ความเคลื่อนไหวท�ำให้เกิด การเปลี่ยนแปลง ซึ่งความเปลี่ยนแปลง ท�ำให้เกิดการพัฒนา ยิ่งมีความเปลี่ยน แปลงบ่อยๆ ก็จะเกิดการพัฒนามากขึ้น เมื่อมีการพัฒนาก็จะท�ำให้เจริญ
เสียงดนตรีทดี่ อี ย่างผลงานการแสดง ของวงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย ซึ่งเปิดแสดงปีละ ๖๐-๗๐ ครั้งต่อปี โดย เปิดให้ประชาคมมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าชมฟรี เพราะมีความเชื่อว่า ดนตรี สามารถที่จะสร้างรสนิยมให้คนในสังคม ได้ เพราะรสนิยมเป็นหุน้ ส่วนทีส่ ำ� คัญของ สังคม ทั้งนี้ การศึกษาก็เป็นหุ้นส่วนของ ความเปลีย่ นแปลงทีส่ ำ� คัญของสังคมด้วย
การศึกษาเป็นรากเหง้าของสังคม
วัตถุประสงค์หลักของการจัดการ ศึกษาดนตรีที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล นัน้ คือการศึกษาและ รักษารากเหง้าวัฒนธรรมของสังคมไทย เอาไว้ แม้ว่าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์จะอยู่ ท่ามกลางความเปลีย่ นแปลงทีเ่ ชีย่ วกราก แต่หลักส�ำคัญของการศึกษาดนตรีที่ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ ก็คอื “ความเป็นฉัน” การเปิดสอนวิชาดนตรีไทย ดนตรีพนื้ บ้าน การน�ำเพลงไทย เพลงพื้นบ้าน เพลงใน ภูมิภาคอาเซียน มาเรียบเรียงใหม่ให้แก่ วงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย บรรเลงทุกรายการที่แสดง เพื่อเป็นการ รักษาและสืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของ ตัวเองและท�ำให้แพร่หลายด้วย จริงอยู่
กระแสสังคมไทยนั้น “ตามเขาว่าเก่ง ท�ำ เองว่าโง่” แต่กไ็ ม่ได้ทำ� ให้การศึกษาดนตรี ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์เปลี่ยนไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้จัดท�ำ โครงการ “มิวสิคมิวเซียมอุษาคเนย์” (Music Museum) เพื่อที่จะเป็นพื้นที่ ศึกษาค้นคว้า เพื่อพัฒนาดนตรีท้องถิ่น ให้ก้าวหน้าต่อไปได้ และการน�ำดนตรี ท้องถิน่ ออกไปเผยแพร่องค์ความรู้ดนตรี ในภูมิภาคให้เป็นที่รู้จัก โครงการมิวสิค มิวเซียมอุษาคเนย์เป็นมิวสิคมิวเซียมที่ มีชีวิต เป็นเวทีเป็นพื้นที่ให้นักดนตรีชาว บ้านได้แสดง เพือ่ ให้มรี ายได้ การมีรายได้ เป็นการรักษานักดนตรีให้ด�ำรงชีพต่อไป ได้ การมีพนื้ ทีแ่ สดงเป็นการต่อลมหายใจ ดนตรีพนื้ บ้าน และการน�ำดนตรีชาวบ้าน มาขึ้นเวทีแสดง ถือว่าเป็นการเผยแพร่ ดนตรีทอ้ งถิน่ และชาวบ้านให้โลกรูจ้ กั ต่อไป หัวใจลึกๆ ของวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือการมีพนื้ ทีส่ าธารณะ ให้คนทีร่ กั ดนตรีมพี นื้ ทีไ่ ด้ศกึ ษาค้นคว้า ได้ แสดงออก ได้สร้างผลงานใหม่ เป็นเวที ของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เป็นพืน้ ทีข่ องนักปราชญ์ทางดนตรีเพือ่ จะ ได้รวมตัวกันและท�ำงานร่วมกัน เป็นสถานี ที่ศิลปินทุกระดับเดินทางมาหยุดพักเพื่อ
พบปะกับศิลปินในท้องถิ่น ที่ส�ำคัญที่สุด คือ การเปิดโอกาสให้ผทู้ ที่ ำ� งานในวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ได้ท�ำงานให้เต็มศักยภาพที่ เขาเหล่านั้นอยากท�ำงาน จากปรัชญาทีก่ ล่าวมาแล้วนี้ ท�ำให้ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ก้าวหน้าไปอย่าง รวดเร็ว เพราะทุกคนทีท่ ำ� งานได้มโี อกาส แสดงศักยภาพในการท�ำงานได้เต็มที่ โดย ไม่มอี ะไรมาขวางกัน้ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ จึงมีผลงานออกมามากมาย มีผลงานออก มาทุกวัน มีการแสดงเกือบทุกวัน มีผมู้ า เยี่ยมชมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ท�ำให้ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์เป็นพืน้ ทีข่ องความ หลากหลายในตัวเอง หัวใจวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เท่าที่ เขียนมาก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ อย่างน้อยก็ได้ถา่ ยทอดส่วนทีเ่ ป็น “หัวใจ” ให้แก่ผู้ที่สนใจได้รับรู้
09
Cover Story
Uncover the Cover Men เปิดใจหนุ่มใหม่ไฟแรงของทีพีโอ เรื่อง: นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit) ผู้ชว่ ยบรรณาธิการวารสารเพลงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
10
ความฝันมันเป็นไปได้จริงครับ ถ้าตราบใดที่เรายังมีใจที่กล้าพอ - นิติภูมิ บ�ำรุงบ้านทุ่ม -
เ
ปรียบเสมือนปรากฏการณ์เอลนีโญ กับ การเปลีย่ นแปลงทีร่ อ้ นแรงของวงดุรยิ างค์ ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย (ทีพีโอ) ที่ มีการทดสอบคัดเลือกนักดนตรีใหม่ ในช่วง ระหว่างวันที่ ๑-๖ เมษายน ๒๕๖๐ ทีผ่ า่ น มา ท่ามกลางการเปลีย่ นแปลงครัง้ ยิง่ ใหญ่ แต่ทว่าบางคนก็ยงั สามารถอยูใ่ นต�ำแหน่ง เดิมและยังโชว์ฟอร์มกับทีพีโอต่อไปได้ ใน ขณะเดียวกัน บางผลการทดสอบคัดเลือก ก็สร้างกระแสต่อวงการดนตรีคลาสสิกของ ไทยได้เช่นกัน เมือ่ หนุม่ นักเล่นทรัมเป็ตหน้า ใหม่อย่าง นิติภูมิ บ�ำรุงบ้านทุ่ม ซึ่งอายุ เพียง ๒๐ ปี และเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ ๒ ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล สามารถผ่านการคัดเลือกด้วยการ ครองต�ำแหน่ง Principle เครือ่ งมือทรัมเป็ต ซึง่ หลายต่อหลายคนคงมีคำ� ถามว่า หนุม่ น้อยคนนีค้ อื ใคร เหตุนวี้ ารสารเพลงดนตรี จึงชวนนิตภิ มู มิ านัง่ ตอบทุกค�ำถามให้คลาย ความสงสัย พร้อมด้วย เกื้อกูล ใจสม ผู้ ที่ขยับมาเป็น Co-principle ก็มาร่วมวง สนทนาตอบค�ำถามครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
แนะน�ำตัวสักนิด
เกื้อกูล: เกื้อกูล ใจสม ครับ อายุ ๒๗ ปี เป็นคนเชียงราย มาเรียนทีว่ ทิ ยาลัย ดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตัง้ แต่ Pre-college ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ก็ สิบกว่าปีแล้วครับ ก่อนหน้านัน้ ทีเ่ ชียงราย ผมเรียนที่โรงเรียนศิริมาตย์เทวี พอจบ Pre-college ทีว่ ทิ ยาลัย ก็เรียนต่อปริญญา ตรีและปริญญาโทที่นี่เลยครับ นิตภิ มู :ิ นิตภิ มู ิ บ�ำรุงบ้านทุม่ ครับ ชื่อเล่นชื่อก๊อต อายุ ๒๐ ปีครับ มาจาก จังหวัดขอนแก่น เรียนทีแ่ ก่นนครวิทยาลัย
ก่อนเข้ามาเรียนที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตอนปี ๑ ครับ
เริ่มเล่นดนตรีตั้งแต่เมื่อไหร่ ท�ำไม เลือกเครื่องดนตรีชิ้นนี้
นิติภูมิ: เริ่มจากวงโยธวาทิตครับ ตอนแรกก็ไม่ได้คิดที่จะเป่าทรัมเป็ตนะ ครับ เพราะแต่กอ่ นผมเป่าฮอร์นครับ แต่ ไปๆ มาๆ เหมือนโชคชะตามั้งครับ คน ขาดพอดี ผมก็เลยย้ายมาเป่าทรัมเป็ต ได้ ซ้อมมาเรือ่ ยๆ จนตอนนีผ้ มก็ชอบทรัมเป็ต ทีส่ ดุ ครับ จากตอนแรกทีใ่ ห้ยา้ ยก็ไม่อยาก ย้ายครับ (หัวเราะ) เกือ้ กูล: ผมเริม่ ตีกลองมาก่อนครับ ในวงโยธวาทิตเหมือนกัน สักประมาณ ๑ ปี แล้วผมก็อยากเล่นเครือ่ งเป่าบ้าง จึงเริม่ ไปเป่าแซกโซโฟน แต่ปรากฏว่าแซกโซโฟน ทีม่ ที โี่ รงเรียนเครือ่ งเสียครับ เป่าอย่างไรก็ ไม่ออก อาจารย์เลยบอกให้ไปเป่าทรัมเป็ต เพราะยังมีเครือ่ งเหลืออยู่ ผมก็เลยได้เป่า ตั้งแต่นั้นมาครับ สักประมาณ ม.๒ ครับ
ท�ำไมถึงเลือกมาเรียนที่วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นิติภูมิ: ผมมีรุ่นพี่เรียนอยู่ที่นี่ด้วย ครับ ซึง่ ผมก็ไปดูมาหลายสถาบันแล้ว ไป ดูบรรยากาศรอบๆ สังคม หลายๆ อย่าง แต่กร็ สู้ กึ ชอบทีน่ มี่ ากกว่าครับ ประทับใจ บรรยากาศ รวมถึงการออกแบบของตึก ด้วย และสังคมที่นี่ก็สบายๆ น่าอยู่ครับ เกื้อกูล: ผมได้ศึกษามาก่อนว่าที่นี่ จัดการเรียนการสอนแบบไหน ซึง่ แต่เดิม ผมไม่มขี อ้ มูลเลยครับ ในยุค พ.ศ. ๒๕๔๘ อินเทอร์เน็ตยังไม่เร็วเหมือนตอนนี้ ผมก็ สัง่ ซือ้ ใบสมัครและมีหนังสือเล่มเดียวครับ
อ่านว่าหลักสูตรเป็นยังไงนะ มีการเรียน การสอนแบบไหนบ้าง สถานที่ผมก็ไม่รู้ มีแค่รูปจากหน้าปกแค่นั้นเลยครับ ผมก็ ตัง้ ใจเลยว่าจะมาเรียนดนตรี จึงมาสมัคร สอบและมาเรียน แต่พอมาแล้วก็ประทับ ใจมากครับ มาครั้งแรกก็ประทับใจหมด เลย ทั้งสังคม อาจารย์ กิจกรรมต่างๆ การเรียนการสอน สมัยผมห้องเรียน หนึง่ มีนกั เรียนประมาณ ๒๐-๓๐ คน ทุก คนก็รู้จักกันหมด นักเรียนทั้ง ม.๔-ม.๖ ทุกคนสนิทกันหมดเลยครับ เข้ามาที แรกก็เริ่มท�ำงานเป็นสตาฟฟ์ให้กับงาน ITG (International Trumpet Guild มหกรรมทรัมเป็ตนานาชาติ) ก็รสู้ กึ ว่าเรา มาถูกทางแล้ว
ได้เรียนดนตรีกับใครบ้าง
เกื้อกูล: ผมเรียนกับอาจารย์หมู (สมภพ พึง่ ปรีดา) ตอนมัธยมปลาย และ เรียนกับอาจารย์โจ (ดร.โจเซฟ โบว์แมน) ตอนปริญญาตรีและปริญญาโทครับ ซึ่ง อาจารย์ก็จะสอนไปในแนวทางเดียวกัน อาจารย์หมูจะเน้นที่เพลงมากกว่าครับ จะให้เรื่องเพลงเยอะ แต่อาจารย์โจจะ เน้นเป็นแบบฝึกหัดครับ นิตภิ มู :ิ เช่นกันครับ เรียนกับอาจารย์ โจและอาจารย์หมูครับ แต่กอ่ นหน้านีส้ ว่ น มากผมจะถามจากรุน่ พีแ่ ล้วกลับมาซ้อม เองครับ เพราะไม่ค่อยมีเวลา
คิดว่าสไตล์หรือเอกลักษณ์ของตัว เองคืออะไร
เกือ้ กูล: ส�ำหรับผม เวลาทีผ่ มเล่น ผมจะคิดถึงเรือ่ งเสียงเป็นหลักครับ อย่าง เช่น ถ้าเราฟังนักร้องร้องเพลง บางคนก็
11
ร้องตรงคีย์ แต่รอ้ งไม่เพราะ เพราะเขาไม่ ได้ใส่ใจเรื่องเสียงมากนัก แต่ผมจะใส่ใจ กับเรื่องเสียงไว้ก่อน แล้วเทคนิคมันก็จะ ตามมาเองครับ อาจารย์โจสอนผมตัง้ แต่ เริ่มเลยครับว่าคุณต้องเสียงดี เมื่อคุณ เสียงดีแล้ว คุณก็จะไปต่อได้ แต่ถ้าคุณ เริ่มเสียงไม่ดี ก็จะเหมือนเริ่มไม่ถูกทาง ก็จะไปต่อไม่ได้ นิติภูมิ: ผมเป็นคนไม่ค่อยเชื่อมั่น ในตัวเองครับ ผมชอบถามคนนั้นคนนี้ แล้วเอามารวมเป็นเทคนิคของตัวเอง ครับ ว่าวันนี้เราควรจะซ้อมอะไร จะท�ำ อะไร ผมเหมือนมีทกุ คนเป็นอาจารย์ของ ผมหมดเลยครับ
ได้เล่นดนตรีข้างนอกบ้างไหม
นิติภูมิ: มีเล่นให้วงโยธวาทิตครับ และก็วงบราสควินเต็ต (Brass Quintet) เล่นมาได้ ๑ ปีแล้วครับ ไปแข่งต่างประเทศ ด้วย ซึง่ จะแตกต่างกันนะครับส�ำหรับการ เล่นข้างนอกและการเล่นกับทีพีโอ ทั้ง sound และความคิด ขนาดของวงมัน แตกต่างกันครับ เล่นข้างนอกกับวงของ
12
เราเป็นคนที่เราคุ้นเคย สนิทกัน ก็จะไม่ กดดันเท่าทีพีโอ ที่เป็นวงใหญ่ แล้วผมก็ ยังไม่รู้จักใครด้วยครับ
เคยแข่งขันต่างประเทศรายการ ไหนบ้าง
นิติภูมิ: รายการ Osaka ที่ญี่ปุ่น ครับ ไปกับเพือ่ นๆ ทีอ่ ยูใ่ นวงบราสควินเต็ต (Brass Quintet) ด้วยกันครับ เกื้อกูล: คือรายการนี้เป็นรายการ Music Competition ที่รวมทุกเครื่องมือ ครับ Woodwind, Brass, Strings ด้วย ครับ เราก็ต้องท�ำวงของเราให้ดีที่สุด แต่ เครื่องเราจะไปสู้ Strings ที่มีโน้ตเล่น เยอะก็ไม่มีทางครับ สิ่งที่เราจะท�ำให้ดี ที่สุดก็เรื่องเสียงของเราครับ นิตภิ มู :ิ ไปประกวดมาปีทแี่ ล้วครับ ผมตัง้ ใจอยากจะท�ำวงแบบนีอ้ ยูแ่ ล้วครับ เพราะตอนที่อยู่โรงเรียนเก่าช่วงมัธยม ก็ชักชวนน้องๆ มาท�ำวงกัน แล้วพอมา เรียนมหาวิทยาลัยก็อยากจะท�ำอีกครับ ตอนแรกๆ เริ่มจากการชักชวนเพื่อนๆ มาลองเล่นด้วยกัน พอเห็นว่าไปได้ดี ก็
เลยลองแข่งดูครับ ตอนแข่งก็ตื่นเต้นดี ครับ เพราะเป็นเวทีแรก และเวทีใหญ่ ด้วย สุดท้ายก็ไม่ได้รางวัลอะไรมา แต่ ที่ได้คือประสบการณ์ครับ ได้เห็นว่าข้าง นอกดนตรีเขาเป็นอย่างไร บรรยากาศ ดนตรีบา้ นเขาแตกต่างจากบ้านเราอย่างไร เกื้อกูล: ส�ำหรับผมเคยลงแข่งขัน รายการ TIWEC (Thailand International Wind Ensemble Competition 2013) จัดทีว่ ทิ ยาลัยครับ วงผมมีสมาชิก ๕ คน ก็ได้ที่ ๑ แล้วก็ยงั มีแข่งทีโ่ อซาก้า รายการ The 11th Osaka Music Competition 2010 กับวง MU-TE Gen. 2 และรายการ The 13th Osaka Music Competition 2012 กับวง iBrass ครับ ได้รับรางวัล ที่ ๒ รองจาก Strings และ Woodwind เพราะเครือ่ งเขาเยอะกว่าครับ เขาทลาย ขีดจ�ำกัดด้านดนตรีได้มากกว่า
มีท้อบ้างไหม แล้วท�ำอย่างไรเมื่อ รู้สึกท้อ
นิตภิ มู :ิ มีครับ มีตลอดครับ ถ้าท้อ ก็คิดถึงหน้าพ่อกับแม่ครับ
เกื้อกูล: ช่วงแรกๆ ของชีวิตที่มา เรียนที่นี่ ท้อมากครับ อาจเพราะผมเริ่ม มาไม่ถูกต้อง หมายถึงผมเริ่มมาจากวง โยธวาทิตครับ พอเครื่องมาถึงเราก็เป่า เลย เป่าให้ออก แต่พอมาเจอรุ่นพี่ที่นี่ พี่เขาเก่งกว่าเรามาก เวลามองพี่ๆ แล้ว จะท้อ แต่พอได้คุยกับพี่ๆ เขาก็จะช่วย เรา เราก็กลายเป็นได้เรียนรู้ไปกับรุ่นพี่ จนเราสามารถพัฒนาฝีมือเล่นดีขึ้นมาได้ ครับ เวลาท้อที่จริงก็คดิ ถึงพ่อแม่นะครับ แต่ผมจะคิดถึงปูผ่ มด้วย ปูจ่ ะสอนว่า ถ้า ต้องเข้าไปอยู่ร่วมกับสังคมไหน ให้ดูว่า สังคมนั้นเป็นอย่างไร ควรท�ำตัวอย่างไร ไม่ควรท�ำตัวแปลกแยก ถ้าเราปรับตัว ตามสังคมนั้นๆ ได้ เราก็จะอยู่ร่วมกับ สังคมได้ ผมก็เลยมาคิดว่าท�ำไมเราต้อง คิดมาก ว่าท�ำไมเราถึงท�ำไม่ได้ ท�ำไมเรา ต้องท้อ แทนที่เราจะอยู่กับเขาไปเรื่อยๆ เรียนรูไ้ ปเรือ่ ยๆ แล้วเดีย๋ วเราก็จะปรับตัว อยู่ในสังคมนั้นได้เองครับ
งานอดิเรกหรือกิจกรรมยามว่าง ท�ำอะไรกันบ้าง
นิติภูมิ: ผมเล่นกีฬาครับ เตะบอล ตีแบดครับ เกือ้ กูล: ส่วนมากผมไม่คอ่ ยว่างครับ กลางวันก็สอน ตอนเย็นก็เล่นดนตรีครับ
ได้ซอ้ มก่อนประมาณวันละ ๑ ชัว่ โมง ถึง ๑ ชั่วโมงครึ่งครับ
ส�ำหรับนิติภูมิ น้องใหม่อย่างเรา รู้สึกกดดันไหม
นิตภิ มู :ิ ตอนคัดเลือกไม่คอ่ ยกดดัน หรอกครับ ผมคิดว่ามันไม่มีอะไรจะเสีย แล้ว ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับ
แล้วตอนนี้ กดดันหรือยัง
นิติภูมิ: ตอนนี้กดดันมากขึ้นเยอะ เลยครับ (หัวเราะรัว)
ฝากอะไรถึงผู้อ่าน อาจารย์ หรือ เพื่อนๆ
เกื้อกูลมีอะไรแนะน�ำน้องใหม่ในวง เกือ้ กูล: เรือ่ งขอบคุณ ผมต้องขอบคุณ อย่างนิติภูมิบ้าง สมาชิกในวงครับ สมาชิกใน section ของ เกื้อกูล: เดี๋ยวเข้าไปก็จะรู้เองครับ ว่ามันมีปัญหาเข้ามาทุกวัน เราก็ต้องแก้ ปัญหากันไป อย่างเช่นเรือ่ ง edition ของ โน้ต คือเพลงมันจะมี edition อยูใ่ นหลายๆ edition บางชิ้นก็ edition ไม่เหมือนกัน และเราก็ต้องศึกษาว่าเราจะเล่น edition ไหน จะต้องซ้อมโน้ตไปก่อนหรือเปล่า หรือจะต้องเล่นกับ part อื่น เพราะเรา เล่นเป็นวง เราก็ต้องเล่นกับ part อื่นๆ ครับ ทางซ้ายเราเป็นทรอมโบน ทางขวา เราเป็นฮอร์น ข้างหน้าเราเป็น Woodwind ต้องท�ำอย่างไรเราถึงจะเล่นได้เข้ากับเขา ตรงนี้แหละครับที่ยาก
การเตรียมตัวคัดเลือกเข้าวงทีพโี อ ซ้อมกันหนักมากน้อยแค่ไหน นิตภิ มู มิ อี ะไรทีก่ งั วลใจเป็นพิเศษไหม นิติภูมิ: หนักพอสมควรครับ ผม ซ้อมประมาณวันละ ๓ ชั่วโมง แต่ละวัน ก็จะซ้อมแตกต่างกันไปครับ จะซ้อมเจาะ เป็นจุดๆ บ้าง ซ้อมทั้งเพลงบ้างครับ เกื้อกูล: ผมมีทีพีโอที่ต้องเล่นอยู่ แล้วด้วยครับ ก็ต้องใช้เวลาก่อนซ้อมวง ทีพีโอ ซึ่งทีพีโอจะซ้อม ๕ โมงเย็น ผม ต้องแบ่งเวลาแล้วครับว่า ก่อน ๔ โมงเย็น ผมต้องไปถึงที่มหิดลสิทธาคาร เพื่อจะ ซ้อมส�ำหรับการคัดเลือกครับ ต้องใช้เวลา ช่วงนี้ให้คุ้มที่สุด เพราะหลังจากซ้อมวง ทีพีโอเสร็จก็จะเหนื่อย ท�ำให้ไม่สามารถ ซ้อมต่อได้ครับ หลังจากซ้อมทีพโี อแล้วนี่ ยากมากทีจ่ ะซ้อมต่อได้ เพราะฉะนัน้ ก็จะ
แล้ว ตามกระดาษแผ่นนัน้ ผมได้ทำ� หมดแล้ว ครับ การเป็นนักดนตรีเล่นในวงออร์เคสตร้า ตอนที่ผมเข้ามาแรกๆ ผมเป็นแค่เด็กตัว เล็กๆ ผมก็มองเห็นทีพโี อแล้ว เพราะทีพโี อ เริ่มเล่นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่หอ ประชุมกองทัพเรือ ผมก็มคี วามใฝ่ฝนั ทีจ่ ะ ได้เล่นกับทีพโี อครับ ผมบอกกับตัวเองไว้ ว่า ภายใน ๑๐ ปี ผมต้องท�ำให้ได้ และ ผมก็ท�ำได้ครับ แต่หลังจากนี้ ผมอาจจะ ต้องคิดใหม่วา่ ผมจะก้าวต่อไปอย่างไรครับ
นิติภูมิ: กังวลในด้านการเล่นและ ปรับให้เข้ากับวงครับ เพราะผมไม่เคย เล่นวงอาชีพมาก่อนครับ
ผมเองที่เราอยู่ด้วยกันมา ทั้งเรื่องการ เล่นดนตรี การใช้ชีวิต จนถึงการออกไป เที่ยว ไปท�ำงานด้วยกันครับ เพราะทุก คนอยูด่ ว้ ยกันทัง้ ๕ คน มีอาจารย์สรุ สีห์ (สุรสีห์ ชานกสกุล) อาจารย์สมเจตน์ (สมเจตน์ ภูแ่ ก้ว) อาจารย์กอล์ฟ (อลงกรณ์ เหล่าสายเชือ้ ) และอาจารย์โจครับ พวกเรา อยูด่ ว้ ยกันทุกวัน ต้องมาเจอกันห้าโมงเย็น ถึงสามทุม่ ทุกวัน คุยกันทุกวัน บอกได้เลย ว่าผมมาถึงจุดนี้ได้ ก็เพราะทุกคนครับ นิตภิ มู :ิ อยากจะขอขอบคุณอาจารย์ ทุกท่านที่ผมเคยร�่ำเรียนมา ขอขอบคุณ ทุกคนทีผ่ มเคยไปถาม ขอขอบคุณพ่อแม่ ทีเ่ ป็นแรงผลักดันหลักให้ผมท�ำตามความ ฝันได้ครับ และอยากจะฝากถึงทุกๆ คน ครับว่า ความฝันมันเป็นไปได้จริงครับ ถ้า ตราบใดที่เรายังมีใจที่กล้าพอครับ
อนาคตอยากท�ำอะไรต่อไป
นิตภิ ูม:ิ ความฝันก็คืออยากเล่นใน วงออร์เคสตร้านีแ่ หละครับ ซึง่ ก็ได้ทำ� แล้ว และก็ตั้งใจไว้ว่าจะต้องท�ำให้ดียิ่งขึ้นไป เรือ่ ยๆ ครับ ผมอยากไปได้ไกลกว่านีค้ รับ เกือ้ กูล: ตอนทีผ่ มเข้ามาใน Studio Class อาจารย์โจให้ผมเขียนในกระดาษว่า เป้าหมายของคุณคืออะไรบ้าง หนึง่ ปีขา้ ง หน้า ห้าปีข้างหน้า สิบปีข้างหน้า คุณจะ ท�ำอะไร ตอนนีผ้ มบรรลุเป้าหมายของผม
13
Music Student
เมือง Gothenburg วิมานอีกหลังของคนรักพิพิธภัณฑ์ ศิลปะและดนตรี (ตอนที่ ๑) เรื่อง: จิตร์ กาวี (Jit Gavee) นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีวิทยา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ป
ระเทศสวีเดน เป็นประเทศหนึ่งใน ภูมภิ าคสแกนดิเนเวีย (Scandinavia) มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานหลากหลาย ด้าน เป็นหนึ่งในประเทศของยุโรปตอน เหนือ ที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม เต็มไป ด้วยธรรมชาติ มีระบบการศึกษาทีด่ เี ยีย่ ม รวมไปถึงสวัสดิการและคุณภาพชีวติ ทีด่ ตี ดิ อันดับโลก หากพูดถึงประเทศสวีเดน ผูค้ น จะนึกถึงเมืองสตอกโฮล์ม (Stockholm) ซึ่งเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางใน ด้านต่างๆ แต่ยังมีสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ มีความส�ำคัญในฐานะเมืองท่าขนาดใหญ่ ทางฝั่งตะวันตก นั่นคือ เมืองโกเทนเบิร์ก (Gothenburg) หรือเยอเทบอร์ย (ออก เสียงแบบภาษาสวีเดน) ในบทความรีวิว นี้ ผู้เขียนจะขอใช้ชื่อที่อ่านออกเสียงแบบ ภาษาอังกฤษตลอดบทความ โกเทนเบิร์ก ถือว่าเป็นเมืองท่าที่
56
ส�ำคัญมาตั้งแต่โบราณ ในอดีต สมัยที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ ประพาสยุโรปครั้ง แรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ โกเทนเบิร์ก เกือบได้เป็นหนึ่งในเส้นทางที่พระองค์จะ เสด็จฯ แวะผ่านไปยังประเทศนอร์เวย์ ลักษณะของเมืองโกเทนเบิร์กนั้น เป็น เมืองที่มีท่าเรือติดทะเล ส�ำหรับเพื่อการ ค้าขายและการเดินทาง รอบนอกมีเกาะ เล็กเกาะน้อยกระจายอยู่ทั่วไป ถือว่า เป็นเมืองเศรษฐกิจทีส่ ำ� คัญเมืองหนึง่ ของ ประเทศสวีเดน ผู้เขียนได้มีโอกาสเยือนเมืองแห่งนี้ ตลอดช่วงเดือนตุลาคมทีผ่ า่ นมา ได้สงั เกต การด�ำเนินชีวติ ของผูค้ นทีน่ ี่ เห็นได้วา่ วิถี ชีวิตผู้คนมีความเชื่อมโยงกับศิลปะต่างๆ อยู่ (ที่เห็นใกล้ตัวก็เช่น ผู้ที่เอื้ออาทรให้ ทีพ่ กั ผูเ้ ขียน เมือ่ เสร็จจากงานประจ�ำ ก็จะ
ใช้เวลาว่างในการประพันธ์บทกวี) จึงเป็น ทีน่ า่ สนใจว่า เหตุใดผูค้ นทีน่ จี่ งึ มีศลิ ปะเป็น ส่วนหนึง่ ของการด�ำรงชีวติ และสิง่ แวดล้อม แบบไหนทีส่ ง่ เสริมให้ศลิ ปะต่างๆ แทรกซึม เข้าไปในผูค้ น เมือ่ ได้ลงพืน้ ทีส่ ำ� รวจก็พบว่า เมืองแห่งนีไ้ ด้สง่ เสริมให้ประชาชนทัว่ ไปมี โอกาสเสพงานศิลปะตัง้ แต่ชนั้ ครูไปจนถึง ศิลปินรุ่นใหม่ มีหอศิลป์ อาร์ตแกลเลอรี มากมายหลายแห่งทัว่ เมือง ในกรณีทที่ า่ น ผูอ้ า่ นได้มโี อกาสมาพ�ำนัก ณ เมืองแห่งนี้ ไม่นานนัก และมีความต้องการจะเข้าชม พิพิธภัณฑ์ที่ส�ำคัญของเมืองหลายแห่ง แบบประหยัด ผู้เขียนแนะน�ำให้ซื้อบัตร Museum Pass ราคา ๔๐ โครนสวีเดน หรือประมาณ ๑๖๐ บาทไทย สามารถเข้า ชมพิพิธภัณฑ์ส�ำคัญของเมืองได้ ๕ แห่ง ดังนี้ Gothenburg Museum of Art, Göteborg City, Maritime Museum &
Aquarium Museum, Röhsska Museum และ The Gothenburg Museum of Natural History บัตร Museum Pass หาซือ้ ได้ตามจุดบริการนักท่องเทีย่ ว หรือ พิพธิ ภัณฑ์ในเครือทัง้ ๕ แห่ง แต่หากท่าน ผู้อ่านที่ยังอายุไม่เกิน ๒๕ ปี พิพิธภัณฑ์ ส�ำคัญทั้ง ๕ นี้ เข้าชมฟรี Gothenburg Museum of Art แห่งนี้ ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านศิลปะที่ ส�ำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของเมือง ตั้ง อยู่บนพื้นที่ที่เรียกว่า Götaplatsen อัน เป็นจัตรุ สั ส�ำคัญ อยูบ่ นถนนหลักทีช่ อื่ ว่า Kungsportsavenyen มีรูปปั้นเทพเจ้า โพไซดอนเป็นศูนย์กลาง จัตุรัสดังกล่าว แวดล้อมด้วยอาคารส�ำคัญ ๓ อาคาร คือ Gothenburg Concert Hall (บ้าน ของวงดุรยิ างค์ Gothenburg Symphony Orchestra ซึ่งจะขอกล่าวถึงในตอนต่อ ไป) Gothenburg City Theatre และ Gothenburg Museum of Art ถือว่า เป็นจัตุรัสที่แวดล้อมด้วยศิลปะตะวันตก อันขึน้ ชือ่ ถึงสามแขนงด้วยกัน คือ ศิลปะ ด้านดนตรี ศิลปะด้านการแสดง และศิลปะ ด้านภาพวาดเขียนต่างๆ ย้อนกลับมายัง Gothenburg Museum of Art เมือ่ เข้ามาภายในอาคาร ผูเ้ ขียนได้ รับค�ำแนะน�ำให้ขนึ้ ไปชัน้ บนสุดของอาคาร เพื่อจะสามารถเดินเรียงลงมาตามยุค สมัยของงานศิลปะ โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จัดแสดงภาพส�ำคัญของจิตรกรทั้งชาว สวีเดนและชาติอื่นๆ ที่ส�ำคัญในวงการ ประวัตศิ าสตร์ศลิ ป์ เช่น Geskel Saloman จิตรกรชาวเดนมาร์ก-สวีเดน Peder Severin Krøyer จิตรกรชาวเดนมาร์ก และ Anders Zorn จิตรกรชาวสวีเดน เป็นต้น ภาพวาดที่ถือเป็นตัวชูโรงของ พิพธิ ภัณฑ์แห่งนีม้ หี ลายภาพด้วยกัน เช่น ภาพ Hipp, hipp, hurra! Kunstnerfest på Skagen (ค.ศ. ๑๘๘๖) โดย Peder Severin Krøyer, ภาพ Olivenhain (ค.ศ. ๑๘๘๙) โดย Vincent van Gogh ผู้อ่านท่านใดที่เป็นแฟนพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ตัวยงแล้ว พิพธิ ภัณฑ์แห่งนีก้ เ็ ป็นอีกแห่ง
ที่ไม่ควรพลาด ไม่หา่ งกันจาก Gothenburg Museum of Art เป็นที่ตั้งของอีกพิพิธภัณฑ์หนึ่ง ที่ส�ำคัญของเมือง คือ Göteborg City Museum ซึง่ ถือเป็นพิพธิ ภัณฑ์ประจ�ำเมือง ภายในอาคารของพิพธิ ภัณฑ์ อดีตเคยเป็น อาคารของบริษทั อีสต์ อินเดีย คอมปานี (East India Company) เป็นอาคาร
เก่าแก่ ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ ๑๘ ภายใน อาคารได้บอกเล่าเรือ่ งราวของเมืองโกเทน เบิรก์ ตัง้ แต่ยคุ ก่อนประวัตศิ าสตร์ บอกเล่า ลักษณะทางภูมศิ าสตร์ของทีต่ งั้ เมืองแห่งนี้ การเข้ามาของผูค้ น ไปจนถึงระบบผังเมือง ดูแล้วก็หวนคิดถึงพิพิธภัณฑสถานของ บ้านเรา นอกจากนิทรรศการถาวรทีอ่ ยูใ่ น พิพธิ ภัณฑ์แล้ว ยังมีนทิ รรศการหมุนเวียน ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน จัดแสดงเป็นประจ�ำ ผลัดเปลีย่ นกันทุกเดือน ช่วงทีผ่ เู้ ขียนเข้า ชมพิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้ มีนทิ รรศการทีช่ อื่ ว่า THE MUSIC SCENE IN GOTHENBURG 1955-2018 เป็นนิทรรศการที่บอกเล่า เกีย่ วกับการเข้ามาของกระแสดนตรีหลาก หลายแนวดนตรีในเมืองโกเทนเบิรก์ ตัง้ แต่ ปี ค.ศ. ๑๙๕๕ ถึงปัจจุบัน เช่น ดนตรี แนวป็อบปูล่า (Popular) ดนตรีแนว ร็อก (Rock) หรือดนตรีแนวแจ๊ส (Jazz) เป็นต้น ภายในนิทรรศการได้เล่าเรือ่ งการ แพร่อิทธิพลดนตรีจากทีต่ า่ งๆ มาสูเ่ มือง โกเทนเบิร์กและประเทศสวีเดน ด้วยวิธี ที่ทันสมัย ในรูปแบบสื่อเทคโนโลยีแบบ ผสม ทีผ่ เู้ ข้าชมสามารถรับเนือ้ หาได้ดว้ ย ตัวเอง ผ่านการสัมผัสหน้าจออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ทมี่ กี ารจัดเรียงไว้ นอกจาก นี้ ยังมีการจัดแสดงข้าวของจากนักดนตรี
57
ชื่อดังหลายท่านที่เคยมาแวะเวียนเมือง แห่งนี้ เช่น สมุดที่มีลายเซ็นของเอลลา ฟิตซ์เจอรัลด์ (Ella Fitzgerald) นักร้อง หญิงแนวดนตรีแจ๊สผูโ้ ด่งดัง หรือข้าวของ เครื่องใช้รวมไปถึงเครื่องดนตรีของ The Streaplers กลุ่มนักดนตรีแนวป็อบที่ เป็นที่นิยมมากของสวีเดนช่วงทศวรรษ ที่ ๑๙๖๐ เป็นต้น Maritime Museum & Aquarium พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ที่ เ กี่ ย วกั บ ประวั ติ ศ าสตร์ การเดินเรือ การเดินทางของวัฒนธรรม ต่างถิน่ ทีเ่ ดินทางมาสูป่ ระเทศสวีเดนผ่าน
58
ทางเรือ พร้อมกับการจัดแสดงสัตว์นำ�้ ผ่าน การน�ำเสนอแบบอควาเรียม (aquarium) ขนาดกลาง ทีม่ สี ตั ว์ทะเลนานาชนิดจัดแสดง Röhsska Museum พิพิธภัณฑ์ ศิลปะร่วมสมัย จัดแสดงงานที่หลาก หลาย ครอบคลุมไปถึงการน�ำเสนองาน ด้านแฟชัน่ งานฝีมือ งานออกแบบต่างๆ เพือ่ ให้เห็นและเข้าใจถึงวิวฒ ั นาการศิลปะ สมัยใหม่ในประเทศสวีเดนมากขึ้น The Gothenburg Museum of Natural History พิพธิ ภัณฑ์เชิงธรรมชาติ วิทยาที่เต็มไปด้วยสัตว์สตาฟฟ์มากมาย หลายชนิดจากทัว่ ทุกมุมโลก และจัดแสดง ได้อย่างเข้าใจองค์ประกอบของธรรมชาติ ดั้งเดิมเป็นอย่างดี อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น พิพิธภัณฑ์ ทั้ง ๕ แห่งนี้ สามารถซื้อตั๋วพิเศษ ราคา ๔๐ โครนสวีเดน เข้าชมได้ทงั้ หมด ผูเ้ ขียน จึงอยากแนะน�ำแบบไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ใดๆ กับรัฐบาลสวีเดนว่า ตั๋วประเภทนี้ เป็นตั๋วที่คุ้มค่ามากที่สุดใบหนึ่งส�ำหรับ คนที่มีเวลาไม่มาก และต้องการเข้าชม พิพิธภัณฑ์ส�ำคัญของเมืองในเวลาจ�ำกัด อีกสิง่ หนึง่ ทีผ่ เู้ ขียนให้ความสนใจเป็น พิเศษ คือ วัฒนธรรมการฟังดนตรีของชาว เมืองนี้ ผู้เขียนสังเกตว่า วัฒนธรรมการ ฟังดนตรีของทีน่ คี่ อ่ นข้างเปิดกว้าง ไม่แตก ต่างจากประเทศอืน่ ๆ ในภูมภิ าคเดียวกัน แต่เห็นได้ชดั ว่า ชาวเมืองนี้ ค่อนข้างนิยม การฟังดนตรีในรูปแบบแผ่นเสียงมากเป็น
พิเศษ จากการส�ำรวจในหลายๆ พืน้ ทีข่ อง เมืองพบว่า มักจะมีรา้ นแผ่นเสียงแอบซ่อน อยูต่ ามตรอกซอกซอยต่างๆ ทัว่ ไป ผูเ้ ขียน เองได้ลองส�ำรวจเข้าไปในหลายร้าน เห็น ได้วา่ แต่ละร้านมักจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แหล่งซือ้ หาแผ่นเสียงในสวีเดนจาก ที่ได้ส�ำรวจ ผู้เขียนแบ่งเป็นสามประเภท คือ ร้านที่ขายแผ่นเสียงโดยเฉพาะ ร้าน ของมือสองที่มีโซนแผ่นเสียง และร้าน หนังสือที่มีโซนแผ่นเสียง ร้านแผ่นเสียงโดยเฉพาะ พบได้ ทัว่ ไปตามสถานีรถรางรอบๆ เมือง (ขนส่ง สาธารณะส่วนใหญ่ของเมืองนีใ้ ช้รถรางและ รถบัสประจ�ำทาง) ร้านแผ่นเสียงประเภท นี้มักขายแผ่นเสียงควบคู่กับแผ่นซีดี ทั้ง แบบมือหนึง่ และมือสอง บางร้านมักจะมี ร้านกาแฟหรือบาร์สำ� หรับกินดืม่ ภายใน จุด เด่นของร้านประเภทนี้คือ มีแผ่นเสียงให้ เลือกสรรเป็นจ�ำนวนมาก และผูข้ ายส่วน ใหญ่กม็ พี นื้ ฐานในการฟังดนตรี ท�ำให้งา่ ย แก่การค้นหาบทเพลงที่ต้องการ ร้านของมือสองที่มีโซนแผ่นเสียง เห็นได้ชดั ในวัฒนธรรมการช็อปปิง้ ของชาว เมืองโกเทนเบิร์กนั้น นิยมชมชอบในการ จับจ่ายสินค้ามือสองมาก ตั้งแต่เสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน ของตกแต่ง เป็นต้น โดย เฉพาะคุณภาพของสินค้าส่วนใหญ่ยงั อยูใ่ น ระดับทีด่ ถี งึ ดีมาก ร้านขายของมือสองจึง เป็นอีกตัวเลือกหนึง่ ในการประหยัดค่าใช้ จ่ายของชาวเมืองนี้ โซนแผ่นเสียงในร้าน ของมือสอง แม้วา่ จะไม่ได้มขี นาดใหญ่เท่า ร้านแผ่นเสียงโดยเฉพาะ แต่ด้วยราคาที่ ถูกกว่าและคุณภาพทีด่ ไี ม่แพ้สนิ ค้าใหม่ จึง ถือเป็นตัวเลือกทีด่ ี อีกทัง้ ผูซ้ อื้ ยังสามารถ ดูสนิ ค้าอืน่ ๆ นอกจากแผ่นเสียงได้อกี ด้วย ท�ำให้การจับจ่ายแต่ละครั้ง ไม่เสียเที่ยว ร้านลักษณะนีจ้ งึ เป็นทีน่ ยิ มในคนหมูม่ าก ร้านหนังสือที่มีโซนแผ่นเสียง ร้าน ลักษณะแบบนีผ้ เู้ ขียนชอบเป็นพิเศษ เพราะ ค่อนข้างสงบเงียบกว่าทัง้ สองแบบข้างต้น ที่กล่าวมา และลูกค้าไม่พลุกพล่าน ร้าน ประเภทนี้มักจะเปิดเพลงเบาๆ สบายๆ ซึ่งแทบจะไม่รบกวนการเลือกซือ้ หนังสือ ภายในร้าน ร้านหนังสือทัว่ เมืองโกเทนเบิรก์
จะมีลกั ษณะทีค่ ล้ายๆ กัน คือ เป็นร้านที่ ไม่ใหญ่มาก โดยส่วนมากไม่เกินสองห้อง แถว และมีความพยายามจัดสรรพื้นที่ ให้เป็นห้องเล็กห้องน้อย ส�ำหรับจัดวาง หนังสือแนวต่างๆ พร้อมเก้าอี้ส�ำหรับนั่ง อ่าน และส่วนใหญ่จะมีหอ้ งเล็กๆ หรือมุม ส�ำหรับวางแผ่นเสียงให้เลือกสรร จุดเด่น ของร้านค้าประเภทนี้ คือ นอกจากผู้ซื้อ จะได้เลือกซื้อแผ่นเสียงในบรรยากาศที่ดี
ไม่วนุ่ วาย ยังสามารถเลือกซือ้ หนังสือดีๆ ติดไม้ติดมือกลับไปด้วย แม้วา่ รีววิ ข้างต้นนีจ้ ะเป็นการพูดถึง ร้านแผ่นเสียง แต่ท่านผู้อ่านที่ไม่ได้เล่น แผ่นเสียงก็ไม่ตอ้ งกังวลใจไปครับ ร้านทุก ประเภททีก่ ล่าวมา จะมีการจัดจ�ำหน่ายซีดี ควบคูก่ บั แผ่นเสียงด้วย บางครัง้ ก็มไี ปจนถึง เทปคาสเซ็ทและกระบอกเสียง สิง่ เหล่านี้ เป็นภาพสะท้อนถึงวัฒนธรรมการฟังดนตรี
ที่หยั่งรากลึกของชาวเมืองโกเทนเบิร์ก ได้เป็นอย่างดี ในตอนต่อไปผูเ้ ขียนจะเล่า ถึงการเดินทางไปฟังมหรสพทางดนตรี ต่างๆ ของเมืองโกเทนเบิรก์ ตัง้ แต่การไป นัง่ ฟังออร์แกนในโบสถ์ ไปจนถึงวงดุรยิ างค์ สากลขนาดใหญ่ ใ นคอนเสิ ร ์ ต ฮอลล์ โปรดติดตามตอนต่อไปครับ
59