Volume 23 No. 3 November 2017 วารสารเพลงดนตรี MUSIC JOURNAL
ISSN 0858-9038
Volume 23 No. 3 November 2017
Volume 23 No. 3 November 2017
มิวสิกมิวเซียม: ดนตรีอมตะอุษาคเนย์ พญากงพญาพาน เดอะมิวสิคัล The New Face of Electronic Dance Music
Influential Woman
สวัสดีผู้อ่านเพลงดนตรีทุกท่าน พฤศจิกายน เป็นเดือนแห่งการเริ่มต้น ฤดูกาลที่ ๑๓ ของวง Thailand Philharmonic Orchestra ส�ำหรับในฤดูกาลนี้ มีรายการพิเศษ มากๆ ถึง ๒ รายการ คือ การมาเยือนของวง London Symphony Orchestra ในเดือนมิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๖๑ และ วง Berliner Philharmoniker ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ผู้อยู่เบื้องหลังการน�ำวงระดับโลกมาเยือน ประเทศไทยเป็นครั้งแรก มีมุมมองอย่างไร พลิก ไปอ่านบทสัมภาษณ์คณ ุ หญิงปัทมา ลีสวัสดิต์ ระกูล ประธานกรรมการบริหารวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิก แห่งประเทศไทย ใน เรื่องจากปก ส�ำหรับ ศาลายาน่าอยู่ ฉบับนี้ รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข ได้มาให้ความรูเ้ กีย่ วกับ มิวสิกมิวเซียม: ดนตรีอมตะอุษาคเนย์ ตั้งแต่ความเป็นมาของชื่อ มิวเซียม การออกแบบ วัสดุทใี่ ช้ในการก่อสร้าง รวม ถึงสิง่ ทีร่ วบรวมไว้ในมิวเซียมแห่งนี้ ทุกรายละเอียด
เจ้าของ
กองบรรณาธิการ
บรรณาธิการบริหาร
ฝ่ายภาพ
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุกรี เจริญสุข
ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ สนอง คลังพระศรี
ผู้ช่วยบรรณาธิการ ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ Kyle Fyr นิธิมา ชัยชิต
นพีสี เรเยส พงศ์สิต การย์เกรียงไกร คนึงนิจ ทองใบอ่อน
ฝ่ายศิลป์
จรูญ กะการดี นรเศรษฐ์ รังหอม
พิสูจน์อักษรและรูปเล่ม ธัญญวรรณ รัตนภพ
ทีป่ ระกอบมาเป็น living museum แห่งนี้ มีเรือ่ งราว มากมายที่น่าสนใจ เชิญติดตามได้ในเล่ม แฟนดนตรี electronic music ต้องไม่พลาด บทสัมภาษณ์ DJ Machina ใน Alumni News and Notes ถึงประสบการณ์การท�ำงานในวงการดนตรี และเส้นทางอาชีพในดนตรีแนว EDM ส�ำหรับผู้ที่พลาดโอกาสมารับชม “พญากง พญาพาน เดอะมิวสิคลั ” และการแสดงดนตรีตา่ งๆ ในวิทยาลัย ติดตามอ่านบรรยากาศของการแสดง ได้ในบทรีวิว สุดท้ายนี้ พลาดไม่ได้กับบทความสาระ ความรู้ด้านดนตรีที่หลากหลาย จากนักเขียน ประจ�ำ เช่นเคย
เว็บมาสเตอร์
ภรณ์ทิพย์ สายพานทอง
ฝ่ายสมาชิก
สุพรรษา ม้าห้วย
ส�ำนักงาน
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วารสารเพลงดนตรี) ๒๕/๒๕ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐
ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ
โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๓๑๑๓ โทรสาร ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๓๐ musicmujournal@gmail.com
พิมพ์ที่
หยินหยางการพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๖๓๖
จัดจ�ำหน่าย
ร้านค้าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๒๕๐๔, ๒๕๐๕
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ส� ำหรับข้อเขียนที่ได้รับการพิจารณา กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่ จะปรับปรุงเพื่อความเหมาะสม โดยรักษาหลักการและแนวคิดของผู้เขียนแต่ละท่านไว้ ข้อเขียนและบทความที่ตีพิมพ์ ถือเป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการ ไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ขอรับผิดชอบบทความนั้น
สารบั ญ Contents ศาลายาน่าอยู่
Music Entertainment
The Bach Journey
32
54
วิเคราะห์/วิจารณ์ สกอร์เพลง วง Big Band ที่น่าสนใจ (ตอนที่ ๖)
04
มิวสิกมิวเซียม: ดนตรีอมตะอุษาคเนย์ เสียงใหม่ของดนตรีพื้นบ้าน อาเซียน สุกรี เจริญสุข (Sugree Charoensook)
Cover Story
กิตติ ศรีเปารยะ (Kitti Sripaurya)
40
ผลศึกษาจากการสร้างงาน แนวโปรเกรสซีฟร็อก เพลง “ดอกไม้” โดย Otth Project (ตอนที่ ๓) กริชพล อินทนิน (Krichapol Inthanin)
Voice Performance
44
"My goals are..." Haruna Tsuchiya (ฮารุนะ ซึชิยะ)
14
คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล คุณหญิงนักธุรกิจ ผู้หลงรักดนตรีและกีฬา สุกรี เจริญสุข (Sugree Charoensook)
Jazz Studies
26
ข้อสรุปจากการสร้างสรรค์ ผลงานบันทึกเสียงโดย Mahidol University Jazz Orchestra: กรณีศึกษาจากการบันทึกเสียง บทเพลงของมหาวิทยาลัย มหิดล (ตอนที่ ๓) ทวีศักดิ์ บูรณพานิชพันธุ์ (Taweesak Booranapanitpan)
ตามรอยเส้นทาง Bach (ตอนที่ ๑๐) ฮิโรชิ มะซึชิม่า (Hiroshi Matsushima)
Review
58
วงทีพีโอ และการกลับมาของ “ชีวิตวีรบุรุษ” อ�ำไพ บูรณประพฤกษ์ (Ampai Buranaprapuk)
62
บอกเล่าชีวิตคีตกวีที่อยู่ในโลกเงียบ เบโธเฟน ไม่ใช่นักแต่งเพลงคนเดียว ที่หูหนวก กฤตยา เชื่อมวราศาสตร์ (Krittaya Chuamwarasart)
Music Technology
46
Converting Mono to Stereo: The Haas Effect Michael David Brice (ไมเคิล เดวิด ไบรซ์)
66
Music Business
นักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจดนตรี รุ่นที่ ๑๗
50
YouTuber “ศิลปินกึ่ง ส�ำเร็จรูป” (ตอนที่ ๑) YouTube พลิกโฉมโลก ออนไลน์และช่องทางของ ศิลปินหน้าใหม่ รณยุทธ อิงสา (Ronnayut Ingsa) จารุรัตน์ นาคเสน (Jarurat Narksen) ศรายุทธ์ ทัดศรี (Srayoot Thadsri) อลิยาส เจ๊ะโส๊ะ (Aliyas Chesoh)
พญากงพญาพาน เดอะมิวสิคัล
Alumni News and Notes
70
The New Face of Electronic Dance Music นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit)
ศาลายาน่าอยู่
มิวสิ กมิวเซียม: ดนตรีอมตะอุษาคเนย์ เสี ยงใหม่ของดนตรีพื้นบ้านอาเซียน เรื่อง: สุ กรี เจริญสุ ข (Sugree Charoensook) ผู้อ�ำนวยการศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มิวสิ กมิวเซียม
มิวสิกมิวเซียม (Music Museum) ตัง้ ใจว่าจะเรียกชือ่ ทับศัพท์ทใี่ ช้ในภาษา อังกฤษ เพราะเมือ่ เรียกชือ่ เป็นภาษาไทย ว่า “พิพธิ ภัณฑ์ดนตรี” แล้ว ท�ำให้รสู้ กึ ว่า เป็นหน่วยงานทีเ่ ชย ตายซาก ล้าสมัย ไม่ เจริญ ไม่เคลือ่ นไหว อยูใ่ นโลกอดีตทันที ซึง่ ยากทีจ่ ะหลีกเลีย่ งได้ ผลของความเชย ความล้าสมัย ความไม่เคลื่อนไหว และ การอยูใ่ นโลกอดีตนัน้ ท�ำให้ไม่มใี ครสนใจ ที่จะไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์อีกต่อไป ไปกัน ครั้งเดียวก็พอแล้วส�ำหรับชีวิตนี้ ดังนั้น การเรียกชือ่ เสียใหม่วา่ “มิวสิกมิวเซียม” เพราะต้องการเปลี่ยนโฉมหน้าของสิ่งที่
04
ก�ำลังผลักดันและสร้างความรู้สึกขึ้นใหม่ มิ ว สิ ก มิ ว เซี ย มเป็ น สถานที่ อั น ศักดิ์สิทธิ์เหมือนกับโบสถ์ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ ที่คนไปเพื่อให้ความ เคารพ เป็นสถานที่ส�ำหรับการประกอบ กรรมดี สถานที่ของการท�ำความดีงาม คนมองเห็นสิ่งดีและมอบสิ่งที่ดีให้แก่กัน และเป็นสถานที่ส�ำหรับคนทุกเพศทุกวัย ที่สามารถไปหาความรู้ ชื่นชมความสุข เฉพาะตัวได้ ปูย่ า่ ตายาย พ่อแม่ผปู้ กครอง สามารถทีจ่ ะค้นหาความสุขส่วนตัวได้จาก มิวสิกมิวเซียม มิวสิกมิวเซียมเป็นพืน้ ทีข่ องความมี ชีวติ (Living Museum) มีความเคลือ่ นไหว
อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการแสดงของ ดนตรีประจ�ำชาติ ดนตรีชาวบ้าน และ ดนตรีของผู้ด้อยโอกาส ผู้ใช้ดนตรีเพื่อ ประทังชีวิต ซึ่งในสังคมสมัยใหม่ ดนตรี เหล่านี้ไม่มีพ้ืนที่จะอยู่ เมื่อไม่มีพื้นที่จะ อยู่ นักดนตรีเหล่านี้ก็ต้องเลิกอาชีพ ไม่ สามารถทีจ่ ะประกอบเป็นอาชีพได้ เพราะ ไม่มีรายได้ ในที่สุดประวัติศาสตร์สังคม ด้านดนตรีชาวบ้าน ดนตรีประจ�ำชาติก็ ตายไป มิวสิกมิวเซียมจึงเป็นพื้นที่ให้นัก ดนตรีเหล่านีห้ มุนเวียนเข้ามาแสดง เพือ่ เป็นพื้นที่ของการประกอบอาชีพได้
มิวสิกมิวเซียมเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นมหาวิทยาลัยของปวงชน สิ่งที่อยู่ใน มิวสิกมิวเซียมเป็นองค์ความรู้ที่ส�ำคัญ โดยมีคนทีม่ คี วามรูอ้ ธิบายและให้ความรู้ ในรูปแบบต่างๆ ที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูล หนังสือ เอกสาร สื่อต่างๆ การ แสดงดนตรี การสัมมนาความรู้เรื่อง ดนตรี มีผู้รู้ให้ค�ำบรรยาย นอกจากนี้ ผู้ ที่มีความรู้ที่เกี่ยวกับดนตรีของภูมิภาค อุษาคเนย์ ต้องมีโอกาสใช้พื้นที่ในมิวสิก มิวเซียม เพื่อจะได้ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ ที่สนใจดนตรี มิวสิกมิวเซียมเป็นสถานที่แสดง ดนตรีประจ�ำชาติ ดนตรีของประชาชน ดนตรีท้องถิ่น ดนตรีของชาวบ้าน เป็น เวทีส�ำหรับนักดนตรีผู้ด้อยโอกาส โดย หมายรวมไปถึงดนตรีในภูมภิ าคอุษาคเนย์ (อาเซียน) ด้วย เพราะในเมือ่ ภูมภิ าคอาเซียน ไม่ได้มีมิวสิกมิวเซียมที่เปิดกว้าง ไม่ได้ รวบรวมองค์ความรูเ้ อาไว้ มิวสิกมิวเซียม ใหม่จึงเป็นพื้นที่เปิดให้กับดนตรีและนัก ดนตรีของทั้งอาเซียน มิวสิกมิวเซียมเป็นเสมือนศูนย์การค้า ท�ำไมคนจึงไปทีศ่ นู ย์การค้า เพราะศูนย์การค้า เป็นพื้นที่เย็นสบาย มีพื้นที่ในการเดิน เล่นที่กว้างขวาง มีอาหารการกินที่เลือก ได้ สามารถหาความเพลิดเพลินได้จาก ศูนย์การค้า ดังนั้น ในการสร้างมิวสิก มิวเซียมใหม่ จึงใช้คติเดียวกับปรัชญา ของศูนย์การค้า กล่าวคือ มิวสิกมิวเซียม สามารถให้ความสุข ให้ความเพลิดเพลิน ให้ความรู้ และมีพื้นที่ดื่มกินอาหารได้ อย่างมีรสนิยม มิวสิกมิวเซียมเป็นเสมือนสวนสนุก เป็นสนามเด็กเล่น พ่อแม่ผู้ปกครองเมื่อ มีลูกหลานก็จะเอาใจลูกหลานไปเที่ยวที่ สวนสนุก เพราะบ้านในเมืองใหญ่อย่าง กรุงเทพมหานคร ไม่มีพ้ืนที่ให้ลูกหลาน วิ่งเล่นได้ ดังนั้น ในมิวสิกมิวเซียมจึงมี พื้นที่เพียงพอที่จะให้ผู้คนเดินชม ให้เด็ก ได้เพลิดเพลินกับสวนสนุกแห่งความรู้ มี สิ่งของที่แปลกตั้งแต่ชั้นล่างถึงชั้น ๗ ได้ มิวสิกมิวเซียมตัง้ อยูใ่ นพืน้ ทีว่ ทิ ยาลัย ดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
จังหวัดนครปฐม มีพนื้ ทีใ่ ช้สอย ๓๒,๐๐๐ ตารางเมตร เป็นอาคารทีส่ ร้างเป็นตึกหุม้ ด้วยไม้เก่า ๗ ชัน้ ชัน้ ล่างเป็นโถงเพดานสูง (๖ เมตร) พืน้ กว้างขวางเป็นลานส�ำหรับ การแสดงดนตรีในลานกว้าง เสมือนลานวัด ปรับเปลีย่ นได้ทงั้ เป็นห้องทีเ่ ป็นธรรมชาติ และเป็นห้องทีใ่ ช้เครือ่ งปรับอากาศ มีรา้ น อาหารและเครื่องดื่มส�ำหรับผู้ที่ต้องการ นั่งพักผ่อนหย่อนใจ ไม้เก่าทีใ่ ช้หมุ้ อาคารมิวสิกมิวเซียม ส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ได้มาจากบ้านเก่าใน ชนบทของจังหวัดทางภาคเหนือ (แพร่ น่าน พะเยา) เพราะเมื่อความเจริญทาง วัตถุเข้าไปในหมูบ่ า้ น เด็กหนุม่ สาวชาวบ้าน ก็ตอ้ งการออกไปท�ำงานในเมืองเพือ่ หาเงิน ท�ำงานก่อสร้าง ท�ำงานบริการ เป็นนางงาม ตู้กระจก อยู่ในเมืองใหญ่ เมื่อได้เงินก็จะ ส่งเงินกลับบ้าน เพื่อให้พ่อแม่รื้อบ้านไม้ สร้างให้เป็นบ้านตึก เพราะบ้านตึกคือ เครือ่ งหมายของความเจริญ เด็กบ้านนอก ยังมีความกตัญญูประสงค์จะให้บา้ นเกิดมี ความเจริญด้วย มิวสิกมิวเซียมจึงได้ซื้อเหมาไม้เก่า จากบ้านนอกมา เพื่อใช้หุ้มตึกมิวสิก มิวเซียมไว้ เป็นที่เก็บรักษาไม้เก่า เป็น เครื่องหมายของความรักของลูกที่มี ความกตัญญูต่อพ่อแม่และครอบครัว กลายเป็นหลักฐานที่ส�ำคัญของการ เปลีย่ นแปลงสังคมไทย จากสังคมบ้านนอก ไปสู่สังคมเมือง เป็นตราบาปที่บริษัท ปูนซิเมนต์ บริษัทอิฐ บริษัทเหล็กทั้ง หลาย ที่จะต้องไถ่บาปให้กับชาวบ้านใน ชนบทของไทย มิวสิกมิวเซียมเป็นอาคารทีก่ อ่ สร้าง ลงในสระน�้ำ พื้นที่เดิมนั้นเป็นสระน�้ำที่ ขุดเอาดินไปถมเพื่อสร้างอาคารต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อ ต้องการประหยัดงบประมาณ ก็ใช้ดิน ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยไปถมพื้นที่ที่จะ ก่อสร้างอาคารของสถาบันวิจยั ภาษาและ วัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท การก่อสร้างมิวสิกมิวเซียม บนพืน้ ที่ สระน�้ำประมาณ ๔ ไร่ ใช้คติโบราณสร้าง เสมือนหอไตรของวัดทีไ่ ว้กลางน�ำ้ เพือ่ ไม่
ให้มดปลวกขึ้นไปกัดใบลานหรือหนังสือ ส�ำคัญของพระศาสนา
ดนตรีอมตะอุษาคเนย์
มิวสิกมิวเซียมมีวตั ถุประสงค์สำ� คัญที่ จะรักษา “ดนตรีอมตะอุษาคเนย์” ซึง่ ดนตรี อมตะอุษาคเนย์หมายถึงดนตรีพิธีกรรม ของสังคม ทั้งที่เป็นดนตรีในวัฒนธรรม ชาวบ้าน ดนตรีพิธีกรรมของศาสนา ดนตรีประกอบการทรงเจ้าเข้าผี ดนตรีใน วัฒนธรรมของราชส�ำนัก ดนตรีพธิ กี รรม เป็นเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ เมื่อสังคม เปลีย่ นไปและความศักดิส์ ทิ ธิข์ องสังคมก็ เปลีย่ นไป ดนตรีในพิธกี รรมก็เปลีย่ นไปด้วย ปัจจุบันคนไปเที่ยวศูนย์การค้ามากกว่า ไปวัด คนวิ่งเต้นหาเส้นสายติดสินบน มากกว่าการสวดมนต์อ้อนวอน คนซื้อ หวยมากกว่าการบนบานศาลกล่าว ดนตรีชาวบ้านทีเ่ ป็นความบันเทิงแต่ เก่าก่อน ความบันเทิงของชาวบ้านเปลีย่ น ไป มีวทิ ยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต ศูนย์การค้า และมีสงิ่ ทีใ่ ห้ความบันเทิง ซึง่ เข้าถึงได้งา่ ย ดังนัน้ การละเล่นดนตรีของ ชาวบ้าน ได้หายจากความบันเทิงทีม่ อี ยูใ่ น ท้องถิ่นของชาวบ้าน ทั้งนี้ ความบันเทิง ดัง้ เดิมไม่ตอบสนองความรูส้ กึ ทีเ่ พียงพอ กับความต้องการของคนในปัจจุบนั เพราะ อินเทอร์เน็ตสามารถทีจ่ ะเปิดโลกทัศน์ของ ประชาชนได้กว้างไปไกล และสามารถทีจ่ ะ เลือกความบันเทิงได้หลากหลายกว่าด้วย ทีส่ ำ� คัญก็คอื มีโอกาสทีจ่ ะได้เห็นศักยภาพ ของความเป็นเลิศระดับนานาชาติ สามารถ หาได้ทันทีในโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น ดนตรีอมตะของชาวบ้าน ก็ตาย ดนตรีอมตะของศาสนจักรก็ตาย ดนตรีอมตะของประจ�ำชาติก็พลอยตาย ไปด้วย ทั้งนี้ ในภูมิภาคอุษาคเนย์ ซึ่ง หมายถึง ประเทศในอาเซียน (ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และบรูไน) แต่ ส�ำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ ภูมภิ าคอุษาคเนย์ทอี่ ยูบ่ นผืนแผ่นดินใหญ่ เท่านัน้ คือ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า มาเลเซีย
05
สภาพทัว่ ไปของดนตรีอมตะ นักว่าจะครอบคลุมได้ทั้งหมด การให้ค�ำ เรียนรูจ้ ากนักดนตรีในสั งคม จากการศึกษาเพื่อค้นหาเสียงใหม่ ของดนตรีพื้นบ้านอาเซียน เพื่อที่จะ ส�ำรวจว่า ทุกวันนี้ไทยและเพื่อนบ้าน ในอาเซียน เฉพาะบนผืนแผ่นดินใหญ่ คือ ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า และ มาเลเซีย ได้สร้างสรรค์ผลงานดนตรีอมตะ ไปถึงไหนแล้ว ซึ่งหมายถึงดนตรีท้องถิ่น พื้นบ้านโบราณ “ดนตรีอมตะอุษาคเนย์” ไม่ใช่เพลงสมัยนิยมหรือเพลงตลาดที่มี กลไกการตลาดช่วยส่งเสริม (การขาย) ให้แพร่หลาย อีกอย่างเพลงสมัยนิยมเป็น วัฒนธรรมดนตรีใหญ่ ที่คนในวัฒนธรรม เล็กต้องปรับตัวเข้าหาอยู่แล้ว เพราะ ต้องการเปลี่ยนจากความแตกต่างไปสู่ ความเหมือน เพื่อให้ทันสมัยและอยู่ใน ค่านิยมของสังคม ส�ำหรับวัฒนธรรมเพลงสมัยนิยม หลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง เป็นดนตรีทไี่ ด้ รับอิทธิพลเพลงจากซีกโลกตะวันตก โดย เฉพาะแนวเพลง (ร็อกแอนด์โรล) จาก อังกฤษและอเมริกา วงดนตรีที่มีเครื่อง ประกอบด้วยประเภทกีตาร์ เบส กลอง เรียกวงชาโดว์ (Shadow หมายถึง วง ดนตรีที่เป็นเงาเล่นอยู่หลังนักร้อง) ซึ่ง ได้กลายเป็นมาตรฐาน ที่เป็นจุดเริ่มต้น บนเส้นทางดนตรีของเยาวชนทุกชาติใน อาเซียน อิทธิพลดนตรีจากโลกตะวันตกคง ความแรงอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความ คิดสร้างสรรค์แนวทางดนตรีใหม่ๆ มี เสียงดนตรีที่มีคุณภาพ และมีระบบ ธุรกิจท�ำดนตรีให้เป็นสินค้า ในช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๖๐ ทีผ่ า่ นมา เพลงสมัยนิยม จากญี่ปุ่นและเกาหลี (J-Pop, K-Pop) ได้เข้ามาสร้างความคลั่งไคล้ในหมู่วัยรุ่น กลุ่มประเทศอาเซียน เกิดเป็นวงวัยรุ่น ผู้ชาย (บอยแบนด์) และวงวัยรุ่นผู้หญิง (เกิร์ลกรุ๊ป) ที่เน้นรูปร่างหน้าตาดี แต่ง ตัวดี เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น มากกว่า ความเป็นดนตรี ดนตรีทไี่ ด้ศกึ ษานี้ บ้างอาจจะเรียก “ดนตรีพนื้ บ้านเสียงร่วมสมัย” หรือ “ดนตรี อมตะอุษาคเนย์” ซึง่ ไม่สามารถทีจ่ ะมัน่ ใจ
06
จ�ำกัดความประเภทดนตรีในทุกวันนี้ ดูจะ เป็นเรือ่ งทีต่ ดิ ตามแนวทางกันไม่ทนั หรือ ให้ความหมายได้ไม่ตรงเสียทีเดียว ความ จริง ดนตรีนนั้ ส�ำคัญทีไ่ ด้ฟงั ฟังแล้วชอบ หรือไม่ชอบ ไพเราะหรือไม่ไพเราะ ฟังแล้ว รูส้ กึ ประทับใจ รูส้ กึ กินใจ ถูกรสนิยมก็นา่ จะเพียงพอ นิยามประเภทดนตรีสว่ นใหญ่ ก�ำหนดโดยนักวิชาการของประเทศตะวันตก ซึง่ ศึกษาเรือ่ งดนตรีทเี่ ป็นวิชาการมีเรือ่ งของ ความรู้ไว้มาก ความรู้ดนตรีในอุษาคเนย์ เอง ก็ยงั ต้องอ้างอิงทฤษฎีดนตรีจากตะวันตก ทีฝ่ รัง่ ได้รวบรวมเอาไว้ ทัง้ บันทึกและการ วิเคราะห์ด้านดนตรี หากใช้คำ� ว่า ดนตรีประจ�ำชาติ อาจจะ ได้เป็นค�ำกลางๆ เช่น ดนตรีไทย ดนตรีลาว ดนตรีเวียดนาม ดนตรีเขมร ดนตรีมาเลย์ ดนตรีพม่า ถ้าเรียกเป็นดนตรีพื้นบ้าน ก็หมายรวมว่า เป็นแนวดนตรีและเครือ่ ง ดนตรีทเี่ ล่นในท้องถิน่ ในประเทศนัน้ ๆ จาก อดีตถึงปัจจุบัน เป็นดนตรีพื้นบ้านที่อยู่ ในมาตรฐานระดับคลาสสิก คือ มีเสียง ดนตรีที่ดีที่สุด ค�ำว่า “คลาสสิก” ในที่นี้ หมายถึง “ดนตรีอมตะ” ไม่ได้หมายถึง ประเภทดนตรีของชาวยุโรปเท่านั้น แต่ หมายถึงดนตรีที่มีความงดงามเป็นที่สุด ก็ได้ “สุดยอด” อย่างของไทยเรียกว่า “ทางเทวดา” ถ้าเป็นนักดนตรีก็เรียกกัน “ขั้นเทพ” จะเป็นเทพขั้นไหนนั้นก็ขึ้นอยู่ กับผูฟ้ งั ต้องประเมินเอาเอง สิง่ ส�ำคัญคือ นักดนตรีขนั้ เทพเหล่านัน้ สามารถอยูไ่ ด้ใน สายอาชีพ มีโอกาสแสดงดนตรีให้คนฟัง สร้างผลงานเพลงออกมาท้าท้ายตัวเอง และสังคม นักดนตรีที่ร่วมให้ข้อมูลมีทั้งที่ เป็นศิลปินเดี่ยวเครื่องดนตรี ซึ่งมีความ ช�ำนาญและเชีย่ วชาญเฉพาะ นักประพันธ์ เพลง ผู้ควบคุมวงดนตรี ศิลปินสื่อผสม นักจัดรายการวิทยุเปิดแผ่นเสียง ช่างท�ำ เครือ่ งดนตรี นักดนตรีวทิ ยา วิศวกรเสียง ผู้ควบคุมการผลิตเพลง อาจารย์สอน ดนตรีในสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัย ดนตรี นักสิทธิมนุษยชนที่คลุกคลีอยู่กับ ชาวบ้าน ฯลฯ
การส�ำรวจมีตงั้ แต่นกั ดนตรีพนื้ บ้าน ชาวนา เรียนจบชั้นประถมศึกษา ไป จนถึงคนที่เรียนดนตรีจบระดับปริญญา เอก ศิลปินรุ่นใหม่พอใจที่จะสร้างสรรค์ งานดนตรีแบบไม่มีนิยาม ไม่มีค�ำจ�ำกัด ความ เลือกใช้เครื่องดนตรีตามที่ถนัด เลือกสร้างเสียงทีถ่ กู ใจ เชือ่ ว่าเป็นเสียงที่ อยู่ในยุคสมัย ยังสามารถใช้เครื่องดนตรี โบราณ เช่น แคน พิณ โหวด โปงลาง กระจับปี่ ระนาด กลองหนัง ผสมผสาน กับเครือ่ งดนตรีสากล เช่น กีตาร์ ไวโอลิน คีย์บอร์ด กลองชุด เสียงสังเคราะห์จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สร้างเสียง อิเล็กทรอนิกส์ ผสมกับวงดนตรี เป็น ดนตรีท่ีมีความสด ความใหม่ เสียงที่มี ความแปลก ความเท่ เป็นเสียงทีม่ คี วาม ร่วมสมัย เครื่องดนตรีที่ใช้อาจเป็นตระกูล เดียวกัน แต่เสียงเครือ่ งดนตรีและการตัง้ เสียงอาจจะแตกต่างกันไป ท�ำให้เสียงเพลง ของแต่ละประเทศมีจดุ เด่นทางวัฒนธรรม เสียงเครือ่ งดนตรีสร้างขึน้ เลียนแบบเสียง พูดและเสียงร้องของคน คนในแต่ละท้องถิน่ ซึง่ พูดต่างกัน เสียงดนตรีของแต่ละท้องถิน่ จึงแตกต่างกันด้วย ส�ำเนียงเสียงดนตรี บ่งบอกวัฒนธรรม การวิจัยนี้จะท�ำให้ได้ เห็นความตื่นตัวของนักดนตรีในหลาย ประเทศ ค้นหาระบบเสียงดนตรีดั้งเดิม ของตน อาทิ เดอยาโม (มองมองโซเท) จากมหาวิทยาลัยการศิลปะและวัฒนธรรม (NUAC) ในพม่า ผลงานของยน เธียรา จากมหาวิทยาลัยภูมินทรวิจิตรศิลปะ (RUFA) ในกัมพูชา เจิ่นกิมหง็อก จาก ศูนย์ศลิ ปะและดนตรีทดลองด่อมด๋อม ใน เวียดนาม เป็นต้น ผูเ้ ขียนได้เคยศึกษาเรือ่ งระบบเสียง ดนตรีไทยไว้ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ วิจยั เรือ่ ง ระบบเสียงและการตัง้ เสียงของดนตรีไทย และเครื่องดนตรีไทย เพื่อจะหาค่าระบบ เสียงมาตรฐานกลางของเสียง (เสียง และระบบเสียงดนตรีไทย พ.ศ. ๒๕๔๖ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล) การศึกษาต้องการทีจ่ ะรูว้ า่ ความ
เป็นจริงของดนตรีไทยเป็นอย่างไร การที่ ใครพยายามจะลากให้เป็นสากล การดึง เอาไว้ให้เป็นอย่างไทย นักดนตรีทุกคน สามารถทีจ่ ะท�ำได้หมด เพราะดนตรีเป็น เรือ่ งของความเปลีย่ นแปลงในสังคม เป็น ความเปลี่ยนแปลงและตอบสนองความ ต้องการของสังคม อาจจะน�ำสังคมใน บางครัง้ หรือฉุดรัง้ สังคมเอาไว้ในบางครา ความพยายามและต้องการเล่นดนตรี ให้เข้ากันกับเครือ่ งดนตรีสากล เพราะนัก ดนตรีมคี วามเชือ่ ว่า สากลเป็นมาตรฐาน ของดนตรี สากลเป็นความทันสมัย ที่ ส�ำคัญก็คือ สากลได้รับการยอมรับได้ ง่าย เพราะว่าการฟังและเรียนดนตรีใน แบบตะวันตก สามารถเดินทางไปแสดง ที่ไหนก็ได้ ในที่สุด นักดนตรีก็ตั้งเสียง หรือใช้ระบบเสียงตามเครื่องดนตรีสากล ระบบเสียงดัง้ เดิมของเครือ่ งดนตรีทอ้ งถิน่ ค่อยๆ หายไป วิธถี า่ ยทอดดนตรีพนื้ บ้าน ในภูมิภาคนี้ยังอยู่ในช่วงรอยต่อ วิธีการ ต่อเพลงแล้วจ�ำทรงเอาไว้ กับการบันทึก เป็นตัวโน้ตตามวิธขี องสังคมดนตรีนนั้ เช่น เป็นตัวเลข การบันทึกโดยระบบนิว้ การใช้ ตัวหนังสือแทนเสียง หรือการบันทึกเสียง เป็นโน้ตสากล โดยใช้บรรทัดห้าเส้น การ ศึกษาระบบเสียงดนตรีของชาติในอาเซียน จึงเป็นสาระทีส่ ำ� คัญ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องรักษา เอกลักษณ์ดนตรีของชาติไว้ เครื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ ส่วนใหญ่มีเสียงที่จ�ำกัด เพราะเสียงที่ได้ จากธรรมชาติมจี ำ� กัดและเสียงทีต่ อ้ งการ จะใช้ก็มีความจ�ำกัด ตามคติดั้งเดิมเชื่อ ว่า “เสียงน้อย กิเลสน้อย” เมือ่ เทียบกับ เครือ่ งดนตรีของยุโรป เพราะฉะนัน้ ดนตรี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ จะใช้ ดนตรีเพือ่ ท�ำอะไร ก็ทำ� ดนตรีให้เป็นอย่าง นัน้ ดนตรีจงึ ไม่มผี ดิ และไม่มถี กู อาทิ ท�ำ ดนตรีเพื่อพิธีกรรม ดนตรีเพื่อความสงบ ของจิตใจ ดนตรีจะต้องเป็นแบบโบราณ เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ เพราะความเป็น โบราณ (ดัง้ เดิมคือความศักดิส์ ทิ ธิ)์ หรือ ดนตรีเพือ่ ความบันเทิง ดนตรีเพือ่ ยัว่ ยวน กิเลส เป็นต้น
เครื่องดนตรีเปลี่ยน เสี ยง ความรู้ ต้องได้ใบปริญญา เมือ่ กระแสสังคมวกกลับ วัฒนธรรม ดนตรีก็เปลี่ยนด้วย วงดนตรี เสียงดนตรี และเครื่อง ดนตรีในภูมภิ าคอุษาคเนย์ มีบทบาทและ หน้าทีใ่ กล้เคียงกัน คือ ท�ำเพือ่ งานพิธกี รรม หลายประเทศได้พยายามพัฒนาเครื่อง ดนตรีเพื่อจะให้มีเสียงดนตรีเพิ่มมากขึ้น เช่น เวียดนามได้พฒ ั นาดัน่ เจิน (พิณแบบ กูเ่ จิงของจีน) จากมาตรฐาน ๑๖ สาย เพิม่ ไปเป็น ๑๗-๒๑ สาย (สร้างโดยเหงียน หวึนบ่าว) ที่กัมพูชา เมื่อ ดร.ฮึม โสภี ประพันธ์เพลงแนวร็อกโอเปร่า ตามหลัก ดนตรีคลาสสิกตะวันตก ก็ได้คดิ ประดิษฐ์ ระนาดรางคูแ่ ละฆ้องวงคู่ เพือ่ ให้สามารถ เล่นครึง่ เสียงแบบโครมาติก โดยมีครึง่ เสียง แบบสากล ซึ่งเป็นความพยายามที่จะ สร้างเสียงให้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ เป็นการพัฒนาเครือ่ งดนตรีให้มศี กั ยภาพ ของการท�ำเสียงได้มากขึ้นด้วย ต่อมาเมือ่ สังคมเปลีย่ นไป พิธกี รรม เปลีย่ นไป ความเชือ่ ก็เปลีย่ นไปด้วย สังคม ต้องการดนตรีเพื่อการฟังมากขึ้น สังคม ต้องการดนตรีเพื่อความบันเทิง เพราะ อิทธิพลของสังคม (บันเทิง) ตะวันตก ไหลเข้าสู่สังคมอุษาคเนย์อย่างต่อเนื่อง และไม่อาจจะทัดทานไว้ได้ เพราะคนรุ่น ใหม่เห็นว่าเป็นความเจริญและต้องการ เปลี่ยนแปลง เมื่อได้เปลี่ยนแปลงแล้ว “คุณภาพชีวติ ดีขนึ้ ” คลืน่ ความเชือ่ กระแส ของสังคมต้องการความเปลีย่ นแปลง ทุก คนก็เชือ่ ว่าความเปลีย่ นแปลงคือชัยชนะ และเป็นโลกอนาคต ดังนัน้ กระแสดนตรี ในสังคมจึงขยับเพื่อการเปลี่ยนแปลง หลังจากการเคลื่อนตัวตามกระแส ตะวันตก (พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๕๐) เมื่อ สังคมรุ่นใหม่ได้ก้าวไปจนสุดกู่แล้ว คน รุ่นเก่าทัดทานไม่ได้เพราะกระแสนั้นมา แรง เนื่องจากวิถีชีวิตเปลี่ยนไป ความ เป็นอยูไ่ ด้เปลีย่ นแล้ว จากบ้านนอกกลาย เป็นคนในเมือง เมืองรุกคืบเข้าไปในชนบท บ้านจัดสรรรุกทีท่ ำ� นาท�ำไร่ ชาวนาชาวสวน ขายทีด่ นิ เข้าไปท�ำงานเป็นคนรับจ้างชาว เมือง คนรุ่นใหม่ต้องเรียนหนังสือ ต้องมี
ได้วกกลับ (พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นมา) ทุก คนก็เริ่มโหยหาอดีต ฟูมฟายวัฒนธรรม เรียกร้องเพื่อให้กลับไปหาสิ่งที่หมดไป แล้ว อาทิ ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีดั้งเดิม วงไทยเดิม วงลาวเดิม ชีวิตชนบท บรรยากาศของสังคมชนบท กิจกรรม ของชุมชน แน่นอนทุกๆ กิจกรรมล้วน เกี่ยวข้องกับดนตรี ได้มีการจัดตั้งหน่วย งานที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมเกิดขึ้น จัดตั้ง องค์กรเพื่อรักษาวัฒนธรรม ดิ้นรนเพื่อ จะจดทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่ง หมายถึงว่าสิ่งเหล่านั้นได้หมดสิ้นไปแล้ว เมื่อก่อนยังไม่มีกระทรวงวัฒนธรรม ไม่ ต้องขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางวัฒนธรรม เพราะว่าวัฒนธรรมยังอยู่ในวิถีชีวิต ไม่ ต้องหวงแหน ไม่ต้องรักษา เพราะมีคน อยู่ที่ไหนก็มีวัฒนธรรมอยู่ที่นั่น อะไรที่ หมดไปแล้ว จึงต้องโหยหาและหวงแหน การปรับตัวของดนตรี โดยการน�ำ อดีตมารับใช้ปัจจุบันเพื่อสร้างสรรค์สิ่ง ใหม่ เพราะอดีตเดิมๆ เข้ากับปัจจุบนั ไม่ได้ ส่วนสิง่ ใหม่ทเี่ ป็นอิทธิพลตะวันตกล้วนๆ ก็ ดูเหมือนว่า “สังคมไม่มรี ากเหง้าและมอง ไม่เห็นอนาคต” แถมยังขาดความภูมใิ จใน ตนเอง ดังนั้น การผสมผสานเพื่อค้นหา “ความลงตัว” จึงเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นใน ภูมิภาคอุษาคเนย์ ทั้งนี้ให้ดูจากดนตรี เป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนที่สุด
วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์
ดนตรีและเครื่องดนตรีในแผ่นดิน อุษาคเนย์เป็นวัฒนธรรมร่วม เหมือนกับ วัฒนธรรมข้าวเหนียว วัฒนธรรมปลาร้า ท�ำปลาให้เน่าแล้วกินอร่อย วัฒนธรรมสาดน�ำ้ ในเทศกาลสงกรานต์เพราะว่าอากาศร้อน วัฒนธรรมนับถือผี บูชาผี วัฒนธรรมฆ้อง หรือวัฒนธรรมไม้ไผ่ ซึ่งเป็นต้นตอของ เครื่องดนตรีหลายชนิด อาทิ เครื่องเป่า ตระกูลปีแ่ ละขลุย่ เครือ่ งตีกระทบ เกราะ กรับ โกร่ง ไปจนถึงระนาด และกลอง ซึง่ เป็น เครื่องดนตรีตั้งแต่ดีดสีตีเป่า เขย่าชัก
07
ขูดดูดกวน โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ทั้งสิ้น แต่กอ่ น ชาวบ้านคิดท�ำเครือ่ งดนตรี เพือ่ ใช้ในพิธกี รรม สร้างเสียงรับใช้การทรงเจ้า เข้าผี “เพราะกลัวผี” จึงต้องท�ำเสียง ดังๆ เพือ่ ไล่ผี เมือ่ มีเสียงดังๆ แล้วก็จะรูส้ กึ ว่าปลอดภัย รูส้ กึ อบอุน่ เพราะเชือ่ ว่าผีกลัว เสียงดัง ขอให้มีฝนฟ้าดี ฝนตกปลูกข้าว ได้งอกงาม ปัดเป่าโรคภัย มีพธิ กี รรมบูชา ยันต์ในพม่า หมอล�ำผีฟา้ ในวัฒนธรรมลาว การเข้าทรงผีในสังคมเขมร เจ้าแม่เข้าทรง เลนด่งของเวียดนาม โนราลงครูเพือ่ แก้บน ทีป่ กั ษ์ใต้ของไทย หรือมายปูตรีของมะโย่ง ที่รัฐกลันตัน มาเลเซีย เป็นต้น (ผี ใน อุษาคเนย์ หมายถึง ธรรมชาติที่เหนือ การควบคุม ไม่ใช่เรื่องผีบุคคล) เครือ่ งดนตรีเก่าแก่ทใี่ ช้เป่าประกอบ การล�ำผีฟ้า คือ แคน เป็นเครื่องเป่า ตระกูลไม้ไผ่ (ไม้ซาง) พบในพืน้ ทีต่ อนใต้ ของจีน ไปจนถึงหมู่เกาะในอินโดนีเซีย เพราะว่าเป็นพื้นที่ร้อนชื้น มีป่าไม้ไผ่ ป่า ไม้ซางเป็นวัชพืชที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หาได้ง่าย แคนจึงมีความสัมพันธ์กับวิถี ชีวติ สังคมของชาวบ้าน เป็นเครือ่ งหมาย ของความเจริญรุง่ เรืองในอดีต มีรอ่ งรอย ประวัตศิ าสตร์เก่าแก่หลายพันปี บนหน้า
กลองมโหระทึก (เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๙.๓ เซนติเมตร) มโหระทึกหง็อกหลู อายุ มากกว่า ๒,๕๐๐ ปี มีจารึกปูมของชุมชน แต่ละวงรอบแสดงลายเส้นวิถีชีวิต เช่น การท�ำนา มีกลุ่มคนตีกลองและคนถือ แคนอยู่ด้วย ส�ำหรับมโหระทึกหง็อกหลู (Ngoc Lu bronze drum) เป็นหนึง่ ในกลอง ยุคส�ำริดของวัฒนธรรมดองซอน (Dong Son Culture) ที่ขุดได้ทางตอนเหนือ ของเวียดนาม (มีอยูป่ ระมาณ ๒๐๐ ใบ) มโหระทึกหรือกลองกบท�ำขึ้นจาก ส�ำริด (โลหะผสมของทองแดงกับดีบุก หรือตะกั่ว ๙ ต่อ ๒) เป็นเครื่องดนตรี ใช้ตีประกอบพิธีกรรมบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากชาวบ้านไม่สามารถที่จะเป็น เจ้าของโลหะได้ โลหะจึงเป็นของส่วนรวม ที่หัวหน้าหรือผู้น�ำเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ใช้ ทัง้ นีห้ วั หน้าหรือผูน้ ำ� ก็จะใช้เรียกชาวบ้าน มาชุมนุม โลหะมีความกังวาน มีเสียงดัง ความกังวานของเสียงเป็นคุณสมบัตขิ อง ความมีอำ� นาจ ยิง่ กังวานมากย่อมมีอำ� นาจ มาก เครื่องดนตรีที่ท�ำด้วยโลหะจะอยู่ที่ ผู้น�ำ อยู่ที่วัด ซึ่งเป็นเจ้าพิธีหรือสถานที่ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พื้นที่ทางตอนใต้ของจีน (ปัจจุบัน เป็นมณฑลกวางสีและยูนนาน) รวมทั้ง
ตามตะเข็บรอยต่อกับอุษาคเนย์ทางเหนือ ยังมีการใช้กลองกบในพิธกี รรมของหลาย ชนเผ่าอยู่ ฆ้องทีม่ หี มุดตรงกลาง ด้วยเชือ่ ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ก็เป็นเครื่องดนตรีท�ำเสียงเพื่อที่จะใช้ใน พิธีกรรม พัฒนาขึ้นในชุมชนแถบนี้ ซึ่ง ใช้แพร่หลายเป็นเครือ่ งดนตรี เป็นทีน่ ยิ ม มาถึงทุกวันนี้ เพราะมีเสียงดังกังวาน เช่น ฆ้องหลายรูปแบบในวงกาเมลัน ของมาเลเซียและอินโดนีเซีย ฆ้องรางและ ฆ้องแผงในวงซายวายของพม่า ฆ้องวงใน วงปี่พาทย์ นอกจากนี้ยังมีเหม่ง โหม่ง ฉิ่ง ฉาบ กังสดาล ล้วนเป็นเครื่องดนตรี ที่เป็นโลหะทั้งสิ้น
ร่องรอยของดนตรีอมตะ
อารยธรรมโบราณของโลก ๒ สาย คือ สายจีนและอินเดีย ซึง่ โอบล้อมภูมภิ าค อุษาคเนย์ มีอิทธิพลต่อพิธีกรรม ความ เชือ่ และวัฒนธรรมดนตรี ผสมผสานกับวิถี ของชาวบ้านและราชส�ำนักจนแยกไม่ออก ถึงทุกวันนี้ จีนได้ชอื่ ว่าเป็นผูท้ มี่ วี ทิ ยาการ สูง แผ่อำ� นาจไปตามเส้นทางเดินเรือส�ำเภา ลงไปทางทิศใต้ ติดต่อค้าขายตามเส้น ทางสายไหม ไปไกลถึงโลกซีกตะวันตก มากกว่า ๒,๐๐๐ ปีแล้ว
ฆ้องขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๘๐-๒๐๐ เซนติเมตร แขวนอยู่ที่หน้าอาคารดี (D) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ท�ำโดยช่างท�ำ ฆ้องที่ “บ้านช่างฆ้อง” อ�ำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งยังสืบทอดท�ำฆ้องที่มีหมุดตรงกลาง
08
ชมพูทวีป (Jambudvipa: ดินแดน แห่งลูกหว้า) หรืออินเดียและประเทศใน เอเชียใต้ ก่อนถูกเจ้าอาณานิคมตะวันตก แบ่งแยก อินเดียเป็นเจ้าแห่งคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ (โหราศาสตร์) เป็นบ่อเกิด ลัทธิความเชื่อต่างๆ ได้แผ่ศาสนาโดย เฉพาะพราหมณ์-ฮินดู ตามด้วยพุทธ ไป ยังดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ (อุษาคเนย์) จนสุดฝัง่ ทะเลจีนใต้ พ่อค้าอินเดียยังเป็น คนที่น�ำศาสนาอิสลามเข้ามาในหมู่เกาะ อุษาคเนย์ด้วย ดนตรีเดินทางขึ้นล่องไปตามพลัง อ�ำนาจชุมชน การค้า และกองก�ำลัง จดหมายเหตุราชวงศ์ถัง ได้บันทึกไว้ว่า ในปี พ.ศ. ๑๓๔๕ ชาวพยู เป็นรัฐก่อนยุค อาณาจักรพุกาม ได้สง่ เครือ่ งบรรณาการไป ยังราชส�ำนักจีน พร้อมด้วยคณะนาฏศิลป์ และดนตรี ซึ่งแสดงบทเพลงสวดในพุทธ ศาสนา เครือ่ งดนตรีทนี่ ำ� ไปมากกว่า ๓๐ ชิ้น ประกอบด้วย กรับ ฉิ่ง สังข์ เสน่ง แคน ขลุย่ พิณพม่า พิณเปีย๊ ะ จะเข้ ฆ้อง กลอง เป็นต้น การศึกษาดนตรีของจีนมีมานาน ก่อน ๒,๕๐๐ ปี ขงจือ๊ (Confucius) นัก ปราชญ์คนส�ำคัญของจีน ซึ่งเกิดปลาย พุทธกาล (ก่อนพุทธศักราช ๗ ปี และสิน้
ชีวิต พ.ศ. ๖๕) ได้สอนไว้ว่า นักปราชญ์ จีนจะต้องเรียนศิลปะ ๖ วิชา (ลิ่วอี่หรือ ลิ่วจิง) โดยเรียงล�ำดับตามความส�ำคัญ ได้แก่ วิชาพิธีกรรม วิชาดนตรี วิชายิง ธนู วิชาขับรถออกศึก วิชาการประพันธ์ และวิชาดีดลูกคิด ที่ส�ำคัญก็คือ ดนตรี เป็นวิชาที่เรียนคู่และติดอยู่กับพิธีกรรม ขงจือ๊ เป็นครูผเู้ ปิดโอกาสให้ชาวบ้าน ได้เรียนหนังสือ ในยุคทีก่ ารศึกษาสงวนไว้ ให้คนชัน้ สูงเท่านัน้ ขงจือ๊ ได้รวบรวมต�ำรา ส�ำคัญไว้หลายเล่ม รวมทัง้ ต�ำราเพลง โดย คัดเลือกเพลงจ�ำนวน ๓๐๕ บท จากต�ำรา บทเพลงโบราณ (ชื่อจิง ซึ่งเป็นบทเพลง พื้นบ้าน เพลงกล่อมลูก และเพลงสวด ในพิธ)ี เพือ่ ใช้สอนลูกศิษย์ให้เข้าใจความ ไพเราะของดนตรีและไว้ใช้ในการประกอบพิธี ต่างๆ ขงจือ๊ ใช้พธิ กี รรมซึง่ ถือว่ามีบทบาท ส�ำคัญในสังคมจีนโบราณ โดยเฉพาะงาน ศพ เป็นการเซ่นไหว้เทพยดาฟ้าดินและ บรรพบุรุษ ขงจื๊อกล่าวไว้ว่า “หากจะสอนใครสักคนหนึ่ง ให้เริม่ ต้นด้วยบทกวี ให้ความส�ำคัญกับพิธกี รรม แล้วจบด้วยเสียงดนตรี” ปรัชญาค�ำสอนของขงจื๊อ (ลัทธิ หรู) กลายเป็นรากฐานวัฒนธรรมของ จีนในยุคต่อๆ มา ผูเ้ ขียนได้มโี อกาสเยีย่ ม
ชมโรงเรียนโบราณ ซึ่งเคยเป็นห้องเรียน ตามปรัชญาของขงจือ๊ มีอายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี ซึ่งสร้างสมัยราชวงศ์ซ่ง พ.ศ. ๑๕๑๙ ปัจจุบนั เป็นสถาบันเย่วล์ ู่ ในมหาวิทยาลัย หูหนาน เมืองฉางซา มณฑลหูหนาน ยัง เก็บรักษาค�ำสอนทีส่ ลักไว้บนแผ่นหินขนาด ใหญ่ ในห้องดนตรีจดั นิทรรศการเป็นการ แสดง มีนกั ดนตรีเล่นอยู่ ๔ คน คือ กูเ่ จิง ขลุ่ย กังสดาลที่ท�ำด้วยส�ำริด และระฆัง หนาม ระฆังที่เป็นหนามเพราะให้ความ ศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละมีเสียงดังกังวานกว่าระฆังที่ ไม่มีหนาม หนามของระฆังท�ำให้ดูวิจิตร ตระการตากว่า เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้สืบทอดมา หลายพันปีแล้ว กูเ่ จิงเป็นเครือ่ งดีด ขลุย่ เป็นเครือ่ งเป่า ท�ำด้วยไม้ไผ่หรือไม้เนือ้ แข็ง กังสดาลและระฆังหนาม เป็นเครือ่ งดนตรี ทีท่ ำ� ด้วยโลหะ ชนิดทีแ่ ขวนเป็นระฆังราว เรียกว่าเปีย๊ นจุง๊ เป็นตระกูลเครือ่ งดนตรี โบราณท�ำด้วยโลหะส�ำริด ชาวจีนมีความ สามารถในการหลอมส�ำริดและใช้โลหะอืน่ ๆ มาท�ำเครือ่ งดนตรี เช่น ระฆัง กลอง ตัง้ แต่ ยุคราชวงศ์ซางต่อราชวงศ์โจว (มากกว่า ๓,๐๐๐ ปี) เปี๊ยนจุ๊งในนิทรรศการ มี กังสดาล ๒๑ ชิ้น และมีระฆังหนาม ๓๓ ใบ แขวนเป็นราวจากใหญ่ไปเล็ก ทุกใบ
การแสดงดนตรีในห้องจัดนิทรรศการ ที่สถาบันเย่ว์ลู่ ในมหาวิทยาลัยหูหนาน เมืองฉางซา มณฑลหูหนาน แสดงด้วยเครื่องดนตรี ๔ ชิ้น คือ กู่เจิง ขลุ่ย กังสดาล และระฆังหนาม
09
ทุกชิ้นตั้งเสียงตรงกับขลุ่ยและตามเสียง ของกู่เจิง ความสามารถตั้งเสียงเครื่อง ดนตรีเท่ากันทั้งหมด มีอยู่หลายๆ เสียง ทุกๆ เสียงมีความกังวานก้องไกล แสดง ว่าจีนได้พัฒนาเรื่องจิตวิญญาณมานาน ก่อนใคร เพราะเมือ่ เสียงดนตรีตงั้ เสียงตรง กัน ก็จะมีเสียงทีด่ งั กังวานและมีอำ� นาจใน การท�ำพิธีกรรม “ฆ้องดีไม่ต้องตีก็ดัง ฆ้องไม่ดีตีให้ ตายก็ไม่ดงั ” เป็นคติของชาวบ้าน เพราะ เมือ่ โลหะทีใ่ ช้ทำ� ฆ้อง (รวมทัง้ ระฆัง) ผสม ผสานเข้ากันดี เป็นโลหะผสมใหม่เป็นเนือ้ เดียวกัน เสียงฆ้องก็จะดังกังวาน เมื่อตี ลูกหนึง่ ความสัน่ สะเทือนของโลหะ ก็จะ กังวานไปยังฆ้องลูกอืน่ ๆ บางครัง้ ชาวบ้าน ที่ไม่มีความรู้ก็เข้าใจว่า “ผีหลอก” ในพืน้ ทีช่ มพูทวีป ความเป็นดนตรีมี มาพร้อมกับการเกิดของศาสนาพราหมณ์ฮินดู (ประมาณ ๓,๕๐๐ ปี) ด้วยความ เชือ่ ว่า ดนตรีเป็นทางเข้าถึงเศียรของพระ ผู้เป็นเจ้าหรือสู่โมกษะ คือ การรวมเป็น หนึง่ เดียวกับพรหมาหรือการบรรลุธรรม เพราะคนในวรรณะพราหมณ์ถอื ก�ำเนิดมา จากเศียรของพระพรหม ศาสนาฮินดูแบ่งคนเป็น ๔ วรรณะ มีเทพเจ้าซึง่ เป็นตัวแทนของธรรมชาติอยู่ ในทุกสิ่งทุกอย่าง มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ แปลงกายเหมือนยอดมนุษย์ ประดิษฐ์เพิม่ เติมตามยุคเพื่อสนองตอบความศรัทธา สร้างความเชื่อ เทพเจ้าถือเครื่องดนตรี ประจ�ำตัว เช่น พระศิวะไกวบัณเฑาะว์ ร่ายร�ำ (ศิวนาฏราช) พระกฤษณะเป่า ขลุ่ย พระสรัสวดีถือพิณวีณา สัญลักษณ์ แห่งกฎและจังหวะ (ดนตรี) ซึง่ เป็นเสียง ของจักรวาล หัวใจของศาสนาพราหมณ์ คือ การ สวดมนต์วงิ วอนต่อเทพเจ้า มีคนวรรณะ พราหมณ์ท�ำพิธีกรรมบูชา ในฤคเวทซึ่ง ถือเป็นคัมภีร์เก่าแก่และส�ำคัญที่สุดใน ยุคพระเวท ประกอบด้วยเพลงสวดเป็น พันบทและบทโคลงกลอนเป็นหมืน่ บท มี การน�ำบทสวดฤคเวทมาแต่งเป็นท�ำนอง เสนาะเข้ากับเสียงดนตรี รวมเป็นคัมภีรช์ อื่
10
สามเวท ในการร่ายสามเวท จะให้ความ ส�ำคัญกับดนตรี ซึง่ จะมีตวั โน้ตก�ำกับเสียง อยูใ่ นบทสวด ต่อมาได้พฒ ั นาจนเป็นเพลง สวดที่มีอานุภาพสูงทางจิตใจ มีการท�ำต�ำราย่อย (อุปเวท) ทีเ่ รียก ว่าคันธรรพเวท บันทึกเพลงสวด วิธกี าร ร้อง ท�ำนองทีใ่ ช้สำ� หรับพิธบี ชู า เล่นประโคม ด้วยเครื่องดนตรี ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ใช้ อาทิ กลอง ขลุย่ พิณวีณา คัมภีรส์ ามเวท มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมดนตรีคลาสสิก ของอินเดีย ซึ่งเป็นรากฐานของต�ำรา นาฏยศาสตร์ วางหลักเกณฑ์การแสดง นาฏกรรมและดนตรีมาหลายพันปีแล้ว แต่โบราณมาแล้ว ระบบเสียงดนตรี ของอินเดียแบ่งเป็นระบบครึง่ เสียงถึง ๒๒ เสียง เวลาทีไ่ ด้ฟงั เสียงกลองตับบล้าของ อินเดียแล้ว ก็จะบอกได้วา่ ดนตรีได้พฒ ั นา ไปไกลมาก เสียงทีต่ ตี นื้ ลึก ดังเบา แม้แต่ เสียงที่เกิดจากการกระดิกนิ้วแต่ละนิ้ว ก็ บอกถึงความแตกต่างของเสียง แต่ละเสียง ออกมาจากจิตใจทีเ่ ต็มไปด้วยอารมณ์และ ความรูส้ กึ บอกถึงความละเอียดของเสียง ที่ออกมาจากจิตใจที่ละเอียดอ่อนด้วย “เพราะเสียงดนตรีออกมาละเอียดอย่างไร จิตใจก็จะละเอียดเช่นนั้น” แม้ดนตรีชาวบ้านที่เป็นพิณสาย เดียว มีพื้นฐานของเสียงจากเสียงเดียว โดยมีคติว่า “เสียงน้อยกิเลสน้อย” แปล ว่า เสียงมากก็จะมีกิเลสมาก เสียงมาก เป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องการของจิตใจสมัย โบราณ เพราะบรรยากาศทัว่ ไปในสังคมก็ มีแต่ความเงียบ ไม่จำ� เป็นทีจ่ ะต้องมีเสียง มากแต่อย่างใด การใช้พณ ิ สายเดียว การ ตีฆอ้ ง การตีระฆังในวัด ก็เป็นเสียงเดียวที่ เพียงพอกับความต้องการของชุมชนแล้ว
การปรับตัวผสม เป็นความ อยู่รอดของดนตรี เมื่อโลกมีเสียงมากขึ้น มีเสียง เครือ่ งยนต์ รถยนต์ เรือยนต์ มีเสียงทีด่ งั มาก ความเงียบได้จากหายไปแล้ว ความ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องใช้เครือ่ งขยายเสียงให้ดงั ๆ เพือ่ แสดงถึงอ�ำนาจของเสียงก็มเี พิม่ มาก
ขึน้ เสียงได้ออกจากจิตใจมนุษย์ไปหมดสิน้ เป็นเสียงที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยี จาก การผสมเสียง หมดความรู้สึกของจิตใจ เมือ่ ครัง้ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ดร.โลจัน ริจาล (Dr. Lochan Rijal) จาก ภาควิชาดนตรี มหาวิทยาลัยกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล มาขอความช่วยเหลือ โดย นัง่ สีซอซารังกี (Sarangi) ให้ผเู้ ขียนฟังที่ ร้านอาหาร (Music Square) วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น เสียงซอที่ขอร้อง อ้อนวอน โอดเอื้อน เหมือนเสียงคน ดร.โลจัน เป็นนักดนตรีผู้ เชีย่ วชาญมานุษยดนตรีวทิ ยา ใช้ซอซารังกี ซึง่ เป็นเครือ่ งดนตรีโบราณทีเ่ คยเป็นทีน่ ยิ ม ในเนปาลและอินเดียตอนเหนือ เชือ่ ว่าได้ พัฒนามาจากเครื่องสายตระกูลพิณวีณา ดนตรีกาซัลในมาเลเซีย ซึง่ นิยมเล่นในงาน แต่งงาน ดัง้ เดิมก็ใช้ซารังกีผสมวง ต่อมา เปลีย่ นใช้กตี าร์แทน รวมทัง้ เปลีย่ นซิตาร์ เป็นอู๊ด (กัมบุส) ด้วย ดนตรีซึ่งฝังรากอยู่ในวัฒนธรรม ฮินดูส่งอิทธิพลไปถึงพุทธศาสนา ซึ่งเกิด ขึ้นในสังคมเดียวกัน บางครั้งก็เป็นคู่แข่ง กัน พุทธศิลป์ตามวัดและโบราณสถานที่ หลงเหลืออยูใ่ นอินเดีย เช่น เมืองอมราวตี เมืองนาคารชุนโกณฑะ หมู่ถ�้ำอชันตาเอลโลรา เมืองออรังคาบาด มีภาพของ นักดนตรีและนาฏลีลาแกะสลักนูนต�ำ่ และ ภาพผนังเขียนสี ประดับพุทธประวัตหิ รือ เรือ่ งชาดก ท�ำให้ได้เห็นหลักฐานวงดนตรี (ขนาด ๓-๗ คน) โดยมากจะเป็นผู้หญิง เครือ่ งดนตรีทใี่ ช้มี กลอง วีณา พิณ ขลุย่ ฆ้อง สังข์ กระดิ่ง เป็นต้น โดยถือคติเดียวกัน มีให้เห็นทีป่ ราสาท นครวัด นครธม ในกัมพูชา ซึง่ สร้างศาสน สถานฮินดูและพุทธ ตามยุคสมัยกษัตริย์ ผู้สร้าง ท�ำให้มีหลักฐานเครื่องดนตรีใน สมัยโบราณ เช่น พิณเขมร กระจับปี่ พิณสายเดียว ฆ้อง กลอง เป็นต้น ต่อ มาพิณเขมรที่เพิ่งรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ก็อิง จากหลักฐานโบราณเหล่านี้ ในปัจจุบันนี้ ที่หน้าพระราชวังกรุงพนมเปญ ก็ยังมีวง พิณพาทย์มาเล่นถวาย (แก้บน) ที่ศาล
พระโลเกศวรทุกวันพระด้วย หน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองที่ท้อง สนามหลวง กรุงเทพมหานคร ศาลพระ พรหมเอราวัณสี่แยกราชประสงค์ ใน กรุงเทพมหานคร ก็มวี งดนตรี ละครแก้บน แสดงเพือ่ ให้คนทีม่ คี วามทุกข์ซงึ่ มาบนบาน ขอความเมตตาต่อสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ การแก้บน ในวาระต่างๆ ก็ยงั เชือ่ ถือและปฏิบตั กิ นั มา อย่างต่อเนือ่ งจนทุกวันนี้ ส่วนดนตรีและ เพลง ท่าทางในการร่ายร�ำ จ�ำนวนนางร�ำ ก็ต้องเปลี่ยนไปตามสมัยและความเชื่อ ว่าสวยงาม เหมาะสมกับพิธี และว่าได้ บุญที่สุดแล้ว รอบชายฝั่งแผ่นดินและในหมู่เกาะ ในพืน้ ทีอ่ ษุ าคเนย์ ซึง่ เป็นเส้นทางเดินเรือ ส�ำเภาทีค่ กึ คักแห่งหนึง่ ในอดีต เนือ่ งจาก โลกตะวันตกต้องการค้าขายกับจีน ก็จะแวะ พักจอดเปลีย่ นถ่ายสินค้ารอบคาบสมุทร มลายู หรือทีเ่ รียกว่ามาลัยประเทศ (จาก สุราษฎร์ธานีลงไปสุดมาเลเซีย สิงคโปร์ เกาะบอร์เนียว อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์) อาณาจักรศรีวชิ ยั ซึง่ มีอทิ ธิพลครอบคลุม น่านน�้ำแถบนี้ไม่ต�่ำกว่า ๕๐๐ ปี (พุทธ ศตวรรษที่ ๑๒-๑๘) พ่อค้าและกะลาสีเรือ ชาวอินเดีย เปอร์เซีย (อิหร่าน) อาหรับ ใต้ (เยเมน) เข้ามาค้าขายพร้อมประกาศ ศาสนาอิสลาม ประชาชนในประเทศรอบ คาบสมุทรมลายูทเี่ คยนับถือพุทธหรือฮินดู หันไปนับถือศาสนาอิสลามจ�ำนวนมาก เนือ่ งจากการค้าคืออ�ำนาจ เมือ่ ผูม้ สี นิ ค้า มีอ�ำนาจ การหยิบยื่นศาสนาและความ เชื่อให้ ก็เป็นหุ้นส่วนของอ�ำนาจ เพื่อจะ เข้าไปปกครอง แล้วใช้ศาสนา ความเชื่อ และพิธกี รรม ซึง่ เป็นวิถชี วี ติ เข้าไปครอบง�ำ ผู้ถูกปกครองไปด้วยในเวลาเดียวกัน เครื่องดนตรีและวัฒนธรรมดนตรี เดินทางตามเข้ามาควบคู่กันด้วย เพราะ ดนตรีเป็นหุน้ ส่วนของชีวติ และหุน้ ส่วนของ พิธีกรรม เช่น ซอระบับ (ซอสามสาย) กลองร�ำมะนา (เรบานา) ปีส่ รไน (ปีไ่ ฉน) จากวัฒนธรรมเปอร์เซีย พิณอู๊ด (Lute) จากวัฒนธรรมฮัดรุเมาต์ (Hadhramaut) ของอาหรับใต้ ซึง่ เครือ่ งดนตรีเหล่านีย้ งั มีใช้
อยูใ่ นชุมชนวัฒนธรรมดนตรีของมาเลเซีย อาทิ อูด๊ (Lute) คนมาเลเซียเรียกว่ากัมบุส ใช้เล่นกันอย่างแพร่หลาย กลองกมปัง (Kompang) คล้ายร�ำมะนา แต่บางและ เล็กกว่า ก็รับอิทธิพลมาจากอาหรับ การตีกลองกมปัง โห่รอ้ งเป็นภาษา อาหรับและมาเลย์ ใช้นำ� ขบวนแห่เจ้าบ่าวเข้า สูพ่ ธิ แี ต่งงานอิสลาม ซอระบับใช้เป็นเครือ่ ง ดนตรีเอกน�ำท�ำนอง ใช้ในการแสดงมะโย่ง เป็นต้น มาเลเซียได้สร้างวงออร์เคสตร้า โอทีเอ็ม (Orchestra Traditional Malaysia, OTM) ขนาดประมาณ ๕๐ คน ประกอบด้วยเครื่องดนตรีพื้นเมือง จากหลากวัฒนธรรม รวมทัง้ เครือ่ งดนตรี จากยุโรปด้วย เมื่อวิทยาการเดินเรือได้ก้าวไปไกล มากขึ้น ชาวยุโรปก็เข้ามาเปิดบริษัทการ ค้าพร้อมประกาศศาสนาคริสต์ มีเมือง มะละกากลายเป็นศูนย์กลาง โปรตุเกส เข้ามาเป็นชาติแรก น�ำไวโอลินและกีตาร์ ติดตัวมาด้วย ต่อมาชาวฮอลันดา (ดัตช์) สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศสก็เข้ามา เครื่อง ดนตรีที่ตามมาพร้อมๆ กับฝรั่งตะวันตก อาทิ เปียโน แตรฝรัง่ หมายถึงแตรวิลนั ดา (Natural Trumpet) ใช้เป่าเพลงในพิธี แห่งศพ (ชาวสยามเรียกว่าวิลันดาโอด) ออร์แกน หีบเพลงชัก และเครื่องดนตรี อีกหลายชนิดก็ได้น�ำเข้ามาด้วย นอกจากนี้ ชาวตะวันตกได้น�ำ เทคโนโลยีทเี่ ป็นเครือ่ งมือใช้ในชีวติ ประจ�ำ วัน อาทิ เลื่อยฉลุ (เลื่อยเล็กๆ) ซึ่งชาว บ้านเรียกว่า “เลื่อยลัดดา” คือเครื่องมือ ที่ตกทอดมาจากชาวฮอลันดา ฝรั่งตะวันตกนิยมขับร้องเพลง ประสานเสียงเพื่อสรรเสริญพระเจ้า ใช้ เพลงสวดขับร้องในโบสถ์เป็นพืน้ ฐานการ ศึกษาดนตรีในโรงเรียนยุคต้นของการศึกษา ในสยาม ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่ที่ก่อตั้งขึ้น โดยบาทหลวงหรือหมอสอนศาสนา เริม่ มี การตัง้ แตรวงฝึกหัดทหาร หลักฐานทีเ่ ป็น เพลงไทยโบราณ เรียกกันว่าเพลง “ยีเ่ ฮ็ม” ซึง่ ร้องสืบทอดกันมาโดยทีฟ่ งั ไม่ได้ศพั ท์วา่ ภาษาจริงๆ แล้วมีความหมายว่าอย่างไร
“ยีเ่ ฮ็มดิสพร่าย ซ�ำซ�ำ ดิสสกร�ำ…” น่าจะมาจากเพลงสวดชาวคริสต์ทเี่ รียกว่า Hymn (ฮิม) ชื่อเพลง The Heavenly Bridegroom Soon Will Come ในพม่า คนพม่าเอาเปียโนไปเล่น แบบสามนิว้ เล่นตามเสียงทีไ่ ด้ยนิ ดีดนิว้ ให้ได้เสียงที่ต้องการ โดยที่ไม่สนใจว่าวิธี การเล่นเปียโนแบบตะวันตกเป็นอย่างไร ที่ เรียกว่า สันดยา ชาวเวียดนามเอากีตาร์ ไปเซาะร่องระหว่างหย่อง (Fret) ให้เว้า ลึก ใช้กับวงชาวบ้าน (ดนตรีต่ายตื๋อ) ศิลปินแห่งชาติไทย ขาเดร์ แวเด็ง (พ.ศ. ๒๔๗๔-๒๔๕๖) เป็นมุสลิมจากปัตตานี สีไวโอลินในวงรองเง็ง ซึง่ เป็นดนตรีบรรเลง ประกอบการเต้นร�ำ เล่นท�ำนองเพลงดัง้ เดิม ของรองเง็ง (ซึง่ หมายถึง บ้าๆ บอๆ) เพลง จ�ำนวนหนึง่ เป็นเพลงฝรัง่ โบราณ ทัง้ ในแง่ ของท�ำนองและจังหวะ วงเด็นดงอัสลี หมายถึง วงดนตรีที่ ยึดหลักแบบโบราณ ทีข่ าเดร์ แวเด็ง เป็น หัวหน้าวง ได้เล่นให้บนั ทึกเป็นแผ่นเสียง เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ การผสมเครือ่ งดนตรี ในวง ประกอบด้วย ไวโอลิน แมนโดลิน ร�ำมะนา (เล็ก-ใหญ่) ลูกซัด (มาราคัส) ฆ้อง บางครัง้ วงรองเง็งก็เพิม่ หีบเพลงชัก (แอคคอเดียน) เข้าไปด้วย การเข้ามาค้าขายของชาวยุโรปต่อ มากลายเป็นการตีเมือง การล่าเมืองขึ้น เพื่อค้นหาสมบัติและทรัพยากรโดยที่ขีด เส้นแบ่งเขตในอุษาคเนย์ ดินแดนต่างๆ ยกเว้นสยาม ตกเป็นอาณานิคมของชาว ยุโรปเป็นเวลาเกินร้อยปี และทยอยได้รบั เอกราชหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง จากนัน้ การต่อสูท้ างอุดมการณ์ การต่อสูท้ างการ เมืองระหว่างทุนนิยมกับคอมมิวนิสต์ การ ต่อสู้ระหว่างคนจนกับคนรวย การต่อสู้ ระหว่างชนชัน้ ผูป้ กครองกับผูถ้ กู ปกครอง ท�ำให้เกิดสงครามขึ้นในพื้นที่อินโดจีนอีก หลายสิบปี สหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาท ในภูมิภาค รวมทั้งการแพร่สะพัดของ วัฒนธรรมอเมริกัน มีวงดนตรีร็อก วง คอมโบ วงชาโดว์ ผุดขึ้นมากมายในทุก ประเทศของอาเซียน แนวเพลงอเมริกัน
11
กลองเพลอีสาน ตั้งอยู่ที่หน้าหอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ท�ำโดยอาจารย์ค�ำพอง ทองเหลือง ช่างท�ำกลองจาก บ้านคอนสาย ต�ำบลทรายมูล อ�ำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ร็อก ฟังก์ โซล แจ๊ส กลายเป็นทีน่ ยิ ม ทุก วันนีว้ ฒ ั นธรรมดนตรีอเมริกนั ก็ยงั น�ำหน้า ดนตรีทุกประเภทในภูมิภาคนี้ บทบาทของดนตรี ใ นพิ ธี ก รรม ขยายไปสู่การเฉลิมฉลองในเทศกาลบุญ ประเพณี ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ใช้ในงาน รืน่ เริงมงคลและอวมงคล เกิดดนตรีชนิด ใหม่ เล่นดนตรีเพื่อการฟัง จนกลายเป็น ธุรกิจดนตรี และอุตสาหกรรมดนตรี ภาย หลังสงครามเวียดนาม เมื่อเวียดนาม ลาว และกัมพูชา เปลี่ ย นไปปกครองแบบสั ง คมนิ ย ม คอมมิวนิสต์ ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง ดนตรีสายราชส�ำนักซึ่งเคยเป็นเสาหลัก ของดนตรี นักดนตรีทมี่ อี าชีพ มีผอู้ ปุ ถัมภ์ ค�ำ้ ชู ดนตรีทเี่ คยได้พฒ ั นาไปอย่างต่อเนือ่ ง ก็หมดพลังลง นักดนตรีขาดโอกาส หมด อาชีพ ไม่มีคนเลี้ยงดู นักดนตรีท�ำมา หากินไม่ได้ ตกงาน ดนตรีของชาวบ้าน ก็เงียบเสียงลง เพราะพิธกี รรมถูกสัง่ ห้าม
12
พม่าหลังได้เอกราชก็อยู่ภายใต้ รัฐบาลทหารอีก ๕๐ ปี ดนตรีไม่ได้รับ การเหลียวแลมากนัก มาเลเซียและไทย มุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ปล่อยให้ดนตรี วิ่งตามกระแสโลกเอง เพราะดนตรีไม่ได้ อยูใ่ นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ ดนตรีเป็นอาชีพของทาสและไพร่ที่ คอยบ�ำรุงบ�ำเรอเจ้านาย ดังนั้น สภาพ โดยรวม ดนตรีดั้งเดิมในอุษาคเนย์จึงถูก ละเลย ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ไม่ ได้รบั ความสนใจจากประชาชน ยิง่ กับคน รุน่ ใหม่แล้ว ดนตรีถกู มองว่าเป็นเรือ่ งทีล่ า้ สมัย เชย และไม่มีการพัฒนา ผ่านมาถึงยุคโลกาภิวัตน์ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ประเทศกลุม่ คอมมิวนิสต์ผอ่ นปรน กฎเกณฑ์ อาเซียนเปิดประเทศ ดนตรีพนื้ บ้าน ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันเก่า แก่ ควรค่าแก่การอนุรกั ษ์ ถูกใช้เป็นศิลปะ เป็นสินค้าเพื่อจะดึงดูดนักท่องเที่ยว มี การรื้อฟื้นดนตรีพื้นบ้านหรือพัฒนาให้
เหมาะกับการแสดงในงานประจ�ำชาติ เพื่อให้ชาวต่างชาติได้ชื่นชม เทคโนโลยีเป็นอีกปัจจัยหนึง่ ทีเ่ ปลีย่ น วิถีของดนตรีพื้นบ้าน อาจจะพูดได้ว่า เทคโนโลยีได้เปลีย่ นดนตรีทงั้ หมดด้วยซ�ำ้ เสียงดนตรีในอดีตที่มีเสียงที่จ�ำกัด ซึ่งมี เสียงไม่กี่เสียง เมื่อน�ำดนตรีพื้นบ้านมา พัฒนาตามเทคโนโลยีแต่ละยุคสมัย จน มีความหลากหลายและซับซ้อน มีเสียง แปลกๆ ใหม่ๆ เกิดขึน้ มากมาย มีความรู้ ความเข้าใจศาสตร์ของเสียงเพิม่ ขึน้ มีการ ผลิตเครือ่ งมือสร้างเสียง ทัง้ ทีเ่ ป็นเครือ่ ง ดนตรีและอุปกรณ์เสียงอิเล็กทรอนิกส์ แบบต่างๆ การใช้วิศวกรรมเสียงในการ สร้างสรรค์งานเพลงและบันทึกเสียง นัก ดนตรียคุ ใหม่จงึ สนุกกับการทดลองสร้าง เสียงที่ถูกจริต (หู) ตามยุคสมัยของตน ความจริง หลักการท�ำดนตรียงั คงเหมือน เดิม คือ มีแรงบันดาลใจจากสภาพแวดล้อม จากเสียงทีไ่ ด้ยนิ และความคุน้ เคยในชีวติ
ตัวอย่างศิลปินฮิปฮอปชือ่ ดังในพม่า ตาโซ (Thxa Soe) สร้างผลงานด้วยการบันทึก ดนตรีซายวายบรรเลงเต็มวง (วงปีพ่ าทย์ พม่า) แล้วน�ำไปบิดปรับแต่งเสียงเสียใหม่ ในห้องบันทึกเสียง ออกมาเป็นดนตรีทมี่ ี จังหวะคึกคัก ท�ำให้วยั รุน่ น�ำไปเต้นโยกกันได้ สนุกสนาน งานเพลงเป็นลักษณะคล้ายแนว เพลงอีดเี อ็ม (EDM - Electronic Dance Music) ทีว่ ยั รุน่ นักเต้นชอบกัน ดิสโก้ยคุ ดิจติ อล แต่ยงั มีสำ� เนียงของเปิงมางคอก เสียงฆ้อง เสียงปี่ จากวงซายวาย ผสมผสาน ไปกับเสียงอิเล็กทรอนิกส์ ซึง่ เป็นทีถ่ กู ใจทัง้ วัยโจ๋และวัยเก๋า กลายเป็นดนตรียอดนิยม โลกในยุคลัดนิ้วกดของเทคโนโลยี ดิจิทัล และการสื่อสารไร้พรมแดนผ่าน อินเทอร์เน็ต ได้เปลี่ยนชีวิตความเป็น อยู่ของผู้คนลงอย่างสิ้นเชิง ไม่เว้นแม้แต่ ในแวดวงดนตรี หมดยุคขายแผ่นเสียง และเปิดแผ่นเสียงทางสถานีวทิ ยุอกี ต่อไป ผลงานเพลงใหม่ๆ เปิดตัวทางสือ่ ออนไลน์ ส่วนใหญ่ออกมาเป็นมิวสิกวิดโี อทีละเพลง (Single) โดยปะแปะไว้บนยูทปู (YouTube) หรือเฟซบุก๊ (Facebook) ถ้าเพลงถูกใจก็ สามารถซือ้ ผ่านระบบออนไลน์ เลือกซือ้ ได้ เฉพาะเพลง โดยไม่ตอ้ งซือ้ ยกทัง้ ชุดอีกต่อ ไป ซึง่ อ�ำนาจการตัดสินใจอยูใ่ นมือคนฟัง มากขึน้ ธุรกิจขายดนตรีตอ้ งปรับเปลีย่ น กลยุทธ์อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน เหล่าศิลปินสามารถเข้าหาผูฟ้ งั ได้โดยตรง ติดต่อผ่านสือ่ ออนไลน์ สร้างฐานแฟนเพลง น�ำเสนอผลงาน แจ้งข่าวคอนเสิร์ต โดย ไม่ต้องอาศัยคนกลางอีกต่อไป ไม่จ�ำเป็น ต้องพึง่ ระบบค่ายเพลง ไม่ตอ้ งมีผจู้ ดั การ ไม่ตอ้ งมีนายหน้า นักดนตรีพนื้ บ้านซึง่ เป็น คนกลุ่มน้อยในวงจร มีโอกาสเป็นที่รู้จัก หรือมีคนฟังได้ยนิ ผลงานมากขึน้ ถ้าหาก รู้จักใช้เทคโนโลยีสื่อสารให้เป็นประโยชน์ โลกออนไลน์ชว่ ยให้คนรุน่ ใหม่ “รูเ้ ขา รูเ้ รา” ในทางดนตรีหลากหลายขึน้ อยาก ฟังเพลงจากวัฒนธรรมอืน่ ทีไ่ ม่อยูใ่ นอิทธิพล ตลาด ก็ค้นหาได้จากคอมพิวเตอร์ โดย อาศัยโปรเฟสเซอร์ ดร.กูเกิล้ (Professor Dr. Google) ซึง่ นักดนตรีสามารถติดต่อ แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีข้ามโลกได้ การ
สร้างสรรค์งานดนตรีร่วมกับเพื่อนต่าง ชาติได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ราวกับว่า ท�ำงานอยู่ในห้องเดียวกัน การได้เห็นได้ ฟังความเป็นอื่นมากเข้า รวมทั้งร�่ำเรียน รับอิทธิพลดนตรีตะวันตก เชือ่ ว่าน่าจะมี ส่วนผลักดันให้นักดนตรีอุษาคเนย์หันมา ค้นหา “เสียงทีเ่ ป็นฉัน” เพือ่ อวดและเพือ่ แข่งขัน เพื่อสร้างความแตกต่าง เพราะ ความแตกต่าง ความหลากหลาย ได้กลาย เป็นสินค้าที่ส�ำคัญ การวิจัยนี้จะท�ำให้ได้เห็นความ เคลือ่ นไหวดังกล่าวผ่านบทเพลงทีม่ คี วาม ร่วมสมัย และมีสสี นั เสียงทีเ่ ป็นรากเหง้า ของวัฒนธรรมร่วม วัฒนธรรมเฉพาะที่ แตกต่างอย่างชัดเจน อย่างน่าสนใจยิ่ง นักดนตรีที่ได้สร้างเสียงใหม่ให้กับ ดนตรีในภูมิภาคอาเซียน จะมีที่ยืนบน เวทีหรือไม่ เวทีไหน จะยืนอย่างไร มี ความมัน่ คงแค่ไหน ขึน้ อยูก่ บั ว่าสร้างฐาน คนฟังได้ยั่งยืนขนาดไหน จะได้รับการ สนับสนุนจากรัฐหรือจากมิตรรักแฟนเพลง จากประชาชนได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็น ค�ำถามที่ท้าทาย จะรักษาความต่อเนื่อง ของดนตรีอุษาคเนย์ไว้ได้อย่างไร ก็ต้อง ติดตามกันต่อไป มีคนอยูท่ ไี่ หนก็มดี นตรีอยูท่ นี่ นั่ ดนตรี เป็นอย่างไร ก็เพราะมีคนเป็นอย่างนัน้ ดังนัน้ ความแตกต่างและความหลากหลายเป็น จุดเด่นของดนตรีของแต่ละท้องถิ่น วันนี้ โลกเล็กลง การสื่อสารกันง่ายขึ้น การ แลกเปลีย่ นเรียนรูก้ เ็ ร็วขึน้ การผสมผสาน เกิดอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ต่อไปนี้ ความมีสมบัตทิ เี่ ป็นของตัว (ดนตรีทอ้ งถิน่ ) ก็จะกลายเป็นสิง่ ทีว่ เิ ศษ แล้วน�ำเอาดนตรี ท้องถิ่นที่เป็นสิ่งที่วิเศษมาสร้างสรรค์ “น�ำอดีตมารับใช้ปจั จุบนั เพือ่ สร้างสรรค์ สิ่งใหม่” เพราะจะเป็นสินค้าใหม่ในโลก อนาคต อีกมิตหิ นึง่ ทีเ่ กิดขึน้ อย่างน่าสนใจยิง่ การผสมผสานของคน การแต่งงานข้าม สายพันธุ์ เป็นการผสมเผ่าพันธุใ์ หม่ ท�ำให้ มิติทางวัฒนธรรมเปลี่ยนไปด้วย สังคม สมัยใหม่ไม่สามารถทีจ่ ะแยกเป็นเผ่าพันธุ์ ดั้งเดิมได้อีกต่อไป การผสมอาหาร
(Fusion Food) การผสมดนตรี (Fusion Music) ซึ่งไม่ต่างไปจากการผสมผสาน เผ่าพันธุ์ ท�ำให้มองเห็นว่า อนาคตอันสัน้ ความโดดเดีย่ วของวัฒนธรรมจะเปลีย่ นไป ด้วย เสียงใหม่ของดนตรีพนื้ บ้านอาเซียน ตัง้ อยูบ่ นรากเหง้าของดนตรีอมตะอุษาคเนย์ เพราะดนตรีอมตะได้ฝงั ลึกอยูใ่ นจิตใจของ คนในสังคมมาก่อน แต่เมื่อดนตรีอมตะ ปรับตัวไม่ได้หรือไม่ได้ปรับตัว ดนตรีอมตะ ก็อยูไ่ ม่ได้ ครัน้ การเดินตามหลังวัฒนธรรม ดนตรีอนื่ จนกลายเป็น “ผูต้ าม” อยูต่ ลอด เวลา ก็เกิดฉุกคิดว่า แล้วรากเหง้าของตัว เองเป็นอย่างไร ดนตรีอมตะก็คือค�ำตอบ แต่จะอยู่อย่างอมตะไม่ได้ เสียงใหม่จงึ เกิดขึน้ จากการกลับไปสู่ รากเหง้า และน�ำอดีตของเสียงมาสร้างสรรค์ ได้เกิดเป็นสิ่งใหม่ ดังนั้น มิวสิกมิวเซียม อุษาคเนย์จงึ เป็นทีอ่ ยูท่ งั้ ของเสียงเก่า เสียง ใหม่ และเสียงผสม เพื่อให้ผู้ฟังได้เลือก ตามความพอใจ เพราะความไพเราะของ ดนตรีนั้น ดนตรีขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ของการใช้ ต้องการดนตรีอย่างใด ดนตรี อย่างนั้นก็ไพเราะ
13
Cover Story
14
คุณหญิงปั ทมา ลีสวัสดิต ์ ระกูล
คุณหญิงนักธุรกิจ ผู้หลงรักดนตรีและกีฬา เรื่อง: สุ กรี เจริญสุ ข (Sugree Charoensook) ผู้อ�ำนวยการศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิต์ ระกูล คือผูท้ เี่ รียกได้วา่ เป็น สตรีผู้เสียสละอุทิศตนรับใช้สังคม ด้วยนอกจากเป็น นักธุรกิจสตรีทปี่ ระสบความส�ำเร็จด้านการบริหารกลุม่ อุตสาหกรรมเหล็ก ธุรกิจโรงแรม อสังหาริมทรัพย์และ ก่อสร้างแล้ว คุณหญิงปัทมายังมุง่ บ�ำเพ็ญคุณประโยชน์ ต่อประเทศชาติผา่ นทางหลายองค์กร อาทิ นายกสมาคม กีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานชมรมผู้ร้คู ุณแผ่นดิน ประธานคณะกรรมการ กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารสถาบันเพื่อการยุติธรรม แห่งประเทศไทย
ข
ณะเดียวกันในอีกมุมหนึ่ง คุณหญิง ปัทมายังถือได้ว่าเป็นนักธุรกิจสตรี ระดับชาติผมู้ ใี จรักในกีฬาแบดมินตัน ชอบ เล่นกีฬาหลายชนิด เป็นนักว่ายน�้ำ และ ให้การสนับสนุนวงการแบดมินตันอย่าง ต่อเนื่อง ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่งคณะ กรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) กรรมการ บริหารสหพันธ์แบดมินตันโลก นายก สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการบริหาร
คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะได้รับ การกล่าวขานว่าเป็นนายกสมาคมผู้ใช้ ธรรมาภิบาลและความสามัคคีน�ำความ ส�ำเร็จมาสูว่ งการแบดมินตันไทย สามารถ ร้อยใจนักกีฬารวมถึงผูฝ้ กึ สอน สร้างความ สมัครสมานสามัคคีให้เกิดขึ้นกับนักกีฬา แบดมินตันจากทุกสโมสรทั่วประเทศ สามารถท�ำผลงานสร้างชื่อเสียงมากมาย ให้กับประเทศชาติจากหลายรายการ
แข่งขันระดับนานาชาติ จนได้รับรางวัล “บุคคลผู้ทรงคุณค่าในวงการกีฬา” จาก งานประกาศเกียรติคุณนักกีฬายอดเยี่ยม ประจ�ำปี ๒๕๕๘ จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าว กีฬาแห่งประเทศไทย และรางวัล “บุคลากร ผู้ทรงคุณค่าในวงการกีฬา” จากงาน “วัน นักกีฬายอดเยี่ยม ประจ�ำปี ๒๕๕๙” จัด โดยสมาคมผูส้ อื่ ข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ คุณหญิงปัทมามีความ ผูกพันกับดนตรีและเสียงเพลงตัง้ แต่เยาว์
15
วัย ปัจจุบันชอบเล่นดนตรี ร้องเพลง ฟังเพลงเพื่อผ่อนคลายจากการปฏิบัติ ภารกิจ มีคุณูปการต่อวงการดนตรี อาทิ เป็นประธานวงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่ง ประเทศไทย (Thailand Philharmonic Orchestra; TPO) ประธานทีป่ รึกษามูลนิธิ มหาอุปรากรกรุงเทพ และนายกกิตติมศักดิ์ และผูก้ อ่ ตัง้ สมาคมขับร้องประสานเสียงแห่ง ประเทศไทย การสนับสนุนของคุณหญิง ปัทมา สนับสนุนผ่านทางวงดุริยางค์ฟีล ฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย ท�ำให้วงการ ดนตรีคลาสสิกในประเทศไทยมีทยี่ นื สร้าง โอกาสในการเติบโตและผลิตผลงานออกสู่ สาธารณะ ท�ำให้ดนตรีคลาสสิกของไทย อยู่ในแผนที่โลกด้วย
ความสั มพันธ์ระหว่างดนตรี กับชีวต ิ ในวัยเด็กของคุณหญิง
คุณพ่อคุณแม่พาปัทมาไปวัดคาทอลิก ทุกวันอาทิตย์ตงั้ แต่แบเบาะ จึงรูจ้ กั ดนตรี โดยผ่านการได้ยนิ บทเพลงในมิสซาตัง้ แต่นนั้ มา จากประถมถึงมัธยมเรียนเปียโนทุกวัน
16
ตอนเทีย่ งและหลังเลิกเรียนกับซิสเตอร์ที่ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ ด้วยกิจกรรมของโรงเรียนและกิจกรรม นอกโรงเรียนของเครือโรงเรียนคาทอลิก อีกทั้งกิจกรรมของวัดคาทอลิก ท�ำให้มี ดนตรีอยูใ่ นชีวติ ประจ�ำวันแทบทุกวัน และ ยังได้แบ่งปันการร้องเพลง เล่นดนตรี ให้ กับชุมชนผูด้ อ้ ยโอกาสในทุกโอกาส ปัทมา
ได้มโี อกาสตัง้ วงนักร้องประสานเสียงร่วม กับเพื่อนๆ โดยสมัยนั้นปัทมาร้องอยู่ใน เสียงโซปราโน และเป็นหัวหน้าวง จึงได้ทำ� ประโยชน์อย่างต่อเนือ่ งให้กบั สาธารณชน ตัง้ แต่นนั้ เป็นต้นมา ในขณะเดียวกัน ดนตรี เป็นกิจกรรมที่ชอบท�ำในยามว่าง สร้าง ความสุขความบันเทิงให้กับตัวเองจนถึง ทุกวันนี้ค่ะ
ความรักความชอบในดนตรี
ปัทมาชอบดนตรีทุกแนว ทั้งเพลง คลาสสิก เพลงลูกทุง่ เพลงลูกกรุง เพลง สากล จนถึงดนตรีไทย ด้วยความมีพนื้ ฐาน ของการเติบโตจากการไปร่วมพิธมี สิ ซาในวัด ท�ำให้ปทั มาได้คนุ้ เคยกับบทเพลงสวดและ บทเพลงคลาสสิก รวมถึงทีค่ ณ ุ พ่อคุณแม่ เปิดให้ฟงั ก่อนนอน แต่ไม่เพียงแค่นนั้ ใน ส่วนของบทเพลงไทยเดิม บทเพลงลูกกรุง บทเพลงลูกทุ่ง บทเพลงสากลจากต่าง ประเทศ ปัทมาก็ฟังอยู่เสมอค่ะ
ปัทมามีโอกาสได้พบปะพูดคุยร่วม กิจกรรมและพัฒนากิจกรรมดนตรีต่างๆ ทัว่ ประเทศไทยร่วมกับผูท้ มี่ คี วามสามารถ ในวงการดนตรีและศิลปวัฒนธรรมใน หลายโอกาส ท�ำให้ปทั มาเข้าใจและเห็นถึง ความตัง้ ใจจริงของผูท้ รงคุณวุฒทิ งั้ หลาย ในประเทศไทย ที่อยากพัฒนาดนตรีใน สาขาต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นในระดับนโยบาย ระดับของการปฏิบตั ิ ระดับของครูผกู้ อ่ ให้ เกิดความรู้ รวมไปถึงครูในระดับรากหญ้า ปัทมาคิดว่าสิ่งเหล่านี้ท�ำให้ความรักใน ดนตรีของปัทมาขยายมากยิ่งขึ้น ปัทมา
จึงให้ความส�ำคัญในการอุปถัมภ์วงการ ดนตรีมาโดยตลอด ผ่านทางการเป็น ประธานคณะกรรมการกองทุนส่งเสริม งานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ประธานวงดุรยิ างค์ ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย ประธานที่ ปรึกษามูลนิธมิ หาอุปรากรกรุงเทพ นายก กิตติมศักดิ์และผู้ก่อตั้งสมาคมขับร้อง ประสานเสียงแห่งประเทศไทย และ กรรมการกิตติมศักดิ์สมาคมครูดนตรี (ประเทศไทย)
17
ใช้ดนตรีและกีฬาควบคูก่ นั ไป สร้างความสามัคคี ส่งเสริม สังคมให้สงบสุข พัฒนา คุณภาพชีวติ ท�ำให้ประเทศชาติ ของเราน่าอยู่ อยากสนับสนุน ให้เยาวชนได้มโี อกาสทีด่ ขี นึ้ ใน การทีจ่ ะพัฒนาในเรือ่ งทัง้ สอง ด้านที่กล่าวมาเพื่อทดแทน พระคุณแผ่นดินถิ่นเกิด 18
ท�ำไมชอบกีฬา สนับสนุนกีฬา และชอบดนตรี สนับสนุน ดนตรี
ชีวิตที่ต้องบริหารธุรกิจกับ ที่ท�ำต้องมีคุณภาพ ถูกต้องแม่นย�ำ และ ชีวต ิ ทีใ่ ช้ดนตรีในการพักผ่อน ฉับไว ต้องมีประสิทธิภาพสูงและบรรลุ ประสิทธิผล ดนตรีจึงเปรียบเหมือนยา หย่อนใจ ดนตรีอยู่ในชีวิตประจ�ำวันทุกๆ วันของปัทมา ตั้งแต่ต่ืนเช้าจนกระทั่ง ถึงเวลาเข้านอน ไม่ว่าจะเป็นการร้อง เพลง การเล่นเครื่องดนตรี หรือการฟัง เพลง ในฐานะของคนที่ต้องท�ำงานหนัก ดูแลบริหารธุรกิจหลากหลายประเภท และองค์กรสาธารณกุศลหลายแห่ง งาน
ชูก�ำลังที่ช่วยบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย ผ่อนคลาย ท�ำให้มคี วามสุข และมีพลังใจ ในการท�ำงานมากยิง่ ขึน้ ดนตรีมสี ว่ นช่วย ให้ปัทมาเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่ง ใหม่ นวัตกรรมใหม่ และมีมุมมองแปลก ใหม่ต่อการท�ำงานค่ะ
ทุกวันนี้ แบดมินตัน ว่ายน�ำ้ จักรยาน พายเรือ ยิงปืน วิง่ โยคะ เป็นกีฬาทีป่ ทั มา เลือกส�ำหรับการออกก�ำลังกายอย่าง สม�่ำเสมอ ในส่วนตัวของปัทมา ดนตรี และกีฬาเป็นส่วนประกอบทีข่ าดกันไม่ได้ ทัง้ สองสิง่ นีเ้ ป็นสิง่ จ�ำเป็นในชีวติ ปัทมาค่ะ ทัง้ สองสิง่ มีหลายอย่างทีเ่ หมือนกัน คือทัง้ ดนตรีและกีฬาหากจะเล่นให้ประสบ ความส�ำเร็จ ต้องมีความเพียร ความมุ่ง มั่น อดทน ขยันหมั่นฝึกฝนและฝึกซ้อม อย่างสม�ำ่ เสมอ ดนตรีและกีฬาช่วยท�ำให้ มีสมาธิในการท�ำงาน มีจิตใจเบิกบาน สมองปลอดโปร่ง อารมณ์ดี สร้างเสริม วินัย ทั้งดนตรีและกีฬามีประเภทบุคคล และประเภททีม การเล่นเป็นทีมยังช่วย เสริมสร้างความรักความสามัคคี สร้าง ความสัมพันธ์ทดี่ ี อีกทัง้ การได้ทำ� กิจกรรม ร่วมกันกับผูอ้ นื่ ยังช่วยเพิม่ ความสามารถ ในการสื่อสารระหว่างกันด้วย ดนตรีและกีฬาเป็นสิ่งที่ปัทมารัก ฉันใด ปัทมาก็ให้การสนับสนุนทั้งดนตรี และกีฬาฉันนั้น ที่ส�ำคัญ ปัทมาได้มีส่วนร่วมสนอง พระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถ บพิตร ผูท้ รงเป็น “อัครศิลปิน” และ “กษัตริย์ นักกีฬา” ดังพระราชด�ำรัสเกีย่ วกับดนตรี และกีฬา “ดนตรีลว้ นอยูใ่ นตัวคนทุกคน เป็น ส่วนทีย่ งิ่ ใหญ่ในชีวติ คนเรา ส�ำหรับข้าพเจ้า ดนตรีคอื สิง่ ประณีตงดงามและทุกคนควร นิยมในคุณค่าของดนตรีทกุ ประเภท” และ “จุดประสงค์ของการกีฬา ทราบกันดีอยู่ แล้วว่าเป็นการฝึกให้บคุ คลและคณะมีความ เข้มแข็งสามัคคี เพื่อให้แต่ละคนมีความ แข็งแรงทั้งในทางกาย ทางจิตใจ เป็นสิ่ง หนึ่งที่จะท�ำให้น�ำเกียรติมาสู่ประเทศ ได้ เกียรติทงั้ ในความสามารถ ความแข็งแรง น่าเกรงขามของประชากรในแต่ละประเทศ”
19
เมื่อไปเป็นกรรมการกีฬา ระดับโลกแล้ว จะทิ้งวงการ ดนตรีไปหรือเปล่า
แน่นอนทีส่ ดุ ปัทมาไม่มวี นั ทิง้ ดนตรี ไปจากชีวิต การได้เข้าร่วมอยู่ในคณะ กรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี เมมเบอร์ แม้ปัทมาต้องมีภาระงานที่ เพิ่มมากขึ้น ก็ไม่เป็นอุปสรรคกับปัทมา แต่อย่างใด ไม่ท�ำให้ความรักและความ รับผิดชอบทีป่ ทั มามีกบั วงการดนตรีจะต้อง หายไป ปัทมายืนยันยังคงแน่วแน่ให้การ สนับสนุนวงการดนตรีต่อไปค่ะ จะใช้ดนตรีและกีฬาควบคู่กันไป สร้างความสามัคคี ส่งเสริมสังคมให้สงบ สุข พัฒนาคุณภาพชีวติ ท�ำให้ประเทศชาติ ของเราน่าอยู่ อยากสนับสนุนให้เยาวชน ได้มโี อกาสทีด่ ขี นึ้ ในการทีจ่ ะพัฒนาในเรือ่ ง ทัง้ สองด้านทีก่ ล่าวมาเพือ่ ทดแทนพระคุณ แผ่นดินถิ่นเกิดค่ะ ปัทมาจะอุทิศกาย ใจ สมอง ความรู้ ประสบการณ์ และเวลา ใน การท�ำงานให้เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
20
ให้ส�ำเร็จตามแผนงานที่ได้ก�ำหนดไว้ค่ะ ปัทมาให้ความส�ำคัญกับงานในทุกภาค ส่วนที่เข้าไปรับผิดชอบอย่างเต็มที่เสมอ และจะท�ำให้ดีที่สุดทุกเรื่องค่ะ
ความรูส ้ ึกทีไ่ ด้รบ ั พระราชทาน ปริญญา “ดุริยางคศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศั กดิ์” จากวิทยาลัยดุริยางคศิ ลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นเกียรติอย่าง ยิ่งส� ำหรับชาวดนตรีและ สถาบันการศึกษา
ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ปัทมาท�ำทุก อย่างด้วยความเสียสละ ความกล้า ความ ขยัน ความอดทน ไม่เคยท้อ ไม่เคยสิ้น หวัง ไม่ตอ้ งการให้ใครมารับรูค้ วามดีของตัว เอง ดังนัน้ การได้รบั พระราชทานปริญญา “ดุรยิ างคศาสตรดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ ใน สาขาดนตรี” จึงถือเป็นพระมหากรุณาธิคณ ุ อย่างหาที่สุดมิได้ เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ปัทมา เป็นขวัญก�ำลังใจแก่ปัทมาในการ
อนุรักษ์ สืบสานงานด้านดนตรีและศิลป วัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไปค่ะ ขอขอบพระคุณ สภามหาวิทยาลัย มหิ ด ล และวิ ท ยาลั ย ดุ ริ ย างคศิ ล ป์ มหาวิทยาลัยมหิดลค่ะ
การให้การสนับสนุนและ ความผูกพั นกับวิทยาลัย ดุริยางคศิ ลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล
แรงขับเคลื่อนที่ท�ำให้ปัทมาเข้ามา มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาลัยแห่งนี้ คือการที่ปัทมาได้เห็นวิสัยทัศน์ ความ มุ่งมั่น และความสามารถในการบริหาร ด้านดนตรีของรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข ปัทมาเห็นความตั้งใจจริงของ อาจารย์สกุ รีและผูบ้ ริหารของมหาวิทยาลัย มหิดล ที่พยายามพัฒนาวงการดนตรี ของประเทศไทยในทุกมิติ อาจารย์สุกรี เริ่มจากศูนย์ สร้างจากไม่มีอะไรเลย จน กลายเป็นวิทยาลัยดนตรีที่มีความครบ ถ้วนสมบูรณ์แบบรอบด้าน ทั้งด้านการ
เรียนการสอน การสร้างนักดนตรีอาชีพ สู่วงการดนตรีนานาชาติ สร้างกลุ่มผู้รัก ดนตรี ท�ำให้เกิดการตืน่ ตัวในวงการดนตรี เป็นประตูสกู่ ารพัฒนาในภาพใหญ่ ส่งผล ให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หันมาให้ความสนใจ ตระหนักถึงความ ส�ำคัญของศิลปะแขนงนี้ จนในทีส่ ดุ ฝีมอื ของนักดนตรีไทยเป็นที่ยอมรับในระดับ สากล ดนตรีได้ย้อนกลับมาสร้างสังคม ไทยให้น่าอยู่ สร้างความสุขให้กับคนใน ชาติ และสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยให้ เป็นที่ประจักษ์กับสายตาชาวโลกค่ะ ปัทมาขอเชิญชวนให้พนี่ อ้ งชาวไทย หันมามองและตระหนักถึงการให้ความ ช่วยเหลือและสนับสนุนดนตรี ซึง่ พวกเรา สามารถมีส่วนร่วมผ่านทางหลากหลาย รูปแบบ เช่น การฟังดนตรี การซื้อบัตร เข้าชมคอนเสิรต์ ต่างๆ ของศิลปินชาวไทย ส่งเสริมสนับสนุนลูกหลานให้เล่นดนตรีทงั้ เป็นกิจกรรมยามว่างหรืออาชีพ เป็นต้น
21
ดนตรีและกีฬา
เป็นสิ่งที่ปัทมารัก ฉันใด ปัทมาก็ให้การสนับสนุน ทั้งดนตรีและกีฬา ฉันนั้น
22
ก า ร เ ป็ น ก ร ร ม ก า ร ว ง ดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่ง ประเทศไทย (ทีพีโอ) ตัง้ แต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นมา และเป็นประธานกรรมการ วงดุรย ิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่ง ประเทศไทย (ทีพีโอ) ตัง้ แต่ ปี พ.ศ.๒๕๕๔ กระทัง่ ปั จจุบน ั (พ.ศ. ๒๕๖๐) ได้เห็นความ เปลี่ยนแปลงของวงทีพีโอ อย่างไรบ้าง
ส่วนตัวนัน้ เห็นการเจริญเติบโตของ วงทีพีโอมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อตั้ง จน กระทัง่ ปัจจุบนั เรียกได้วา่ ตัง้ แต่มกี ารพูด ถึงวงทีพโี อในประเทศไทย ในฐานะทีเ่ ป็น ชือ่ ทีใ่ หม่มาก ไม่คนุ้ หูชาวไทยและชาวต่าง ชาติแม้แต่น้อย แต่ด้วยความตั้งใจจริง ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ กรรมการวง ผู้บริหารวง ตลอดจนนักดนตรี ท�ำให้วง ทีพโี อพัฒนาขึน้ มาอย่างต่อเนือ่ งตามล�ำดับ จนกระทั่งสามารถเป็นวงออร์เคสตร้า
อาชีพอย่างสมภาคภูมิ มีการแสดงอย่าง ต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา ๑๒ ปี เป็น ที่ประจักษ์ในพัฒนาการอย่างเห็นได้ชัด ในทุกด้านค่ะ ด้านฝีมอื ของนักดนตรีของวงทีม่ กี าร คัดเลือกอย่างจริงจังและต่อเนือ่ ง ท�ำให้นกั ดนตรีมกี ารพัฒนาฝีมอื ทัง้ ยังเปิดโอกาส ให้นกั ดนตรีอาชีพทีม่ คี วามสามารถได้มา ร่วมวง ด้วยเป็นทีส่ นใจของนักดนตรีชาว ไทยและต่างชาติที่มีฝีมือที่ต้องการจะ บรรเลงบทเพลงส�ำหรับวงออร์เคสตร้า ขนาดใหญ่ที่มีความยากและท้าทายฝีมือ ของนักดนตรี ตลอดระยะเวลา ๑๒ ปีที่ ผ่านมา กับความเป็นมืออาชีพ บรรดา บทเพลงคลาสสิกที่ได้ถูกถ่ายทอดไปบน เวทีทั้งในประเทศและในเวทีโลก ได้สร้าง ให้เห็นเป็นประจักษ์ตอ่ สาธารณชนว่าเรา เติบโตขึ้นอย่างชัดเจนค่ะ ด้านศิลปินรับเชิญและผูอ้ ำ� นวยเพลง รับเชิญ เรามีศลิ ปินและผูอ้ ำ� นวยเพลงจาก ทัว่ โลกทีม่ คี วามสามารถมาร่วมแสดงกับ
วง ท�ำให้เกิดเป็นกระแสปากต่อปากใน วงการดนตรีโลกว่ามีวงออร์เคสตร้าที่มี ความสามารถอยูท่ ปี่ ระเทศไทยอีกหนึง่ วง เรียกได้วา่ ทีพโี อสามารถท�ำให้ประเทศไทย เป็นประเทศทีม่ ตี วั ตนอยูบ่ นแผนทีด่ นตรี ของโลก ทั้งยังเป็นวงดนตรีที่ศิลปินและ ผูอ้ ำ� นวยเพลงทีม่ ชี อื่ เสียงต้องการทีจ่ ะมา ร่วมงานด้วยอีกวงหนึ่ง ด้านสถานที่แสดง ซึ่งได้แก่ มหิดล สิทธาคาร ของมหาวิทยาลัยมหิดล อาคาร ใหญ่ สง่างาม กว้างขวาง ซึง่ เปรียบเสมือน บ้านของทีพโี อ เป็นหอแสดงดนตรี ๒,๐๑๖ ที่นั่ง โดยผู้เข้าชมดนตรีจะได้รับอรรถรส ทางเสียงเหมือนกันทุกจุดทุกทีน่ งั่ เป็นหอ แสดงดนตรีทมี่ โี คมไฟระย้าสุดมหัศจรรย์ และมีระบบวิศวกรรมเวที ระบบอคูสติก ระบบฉาก ทีม่ มี าตรฐานและทันสมัยทีส่ ดุ แห่งหนึ่ง สามารถรองรับวงออร์เคสตร้า ระดับโลกได้ ด้านภูมทิ ศั น์ เป็นวิทยาลัยเรียบง่าย ปลอดโปร่ง ต้นไม้สีเขียวสดชื่นร่มรื่น มี
23
คูน�้ำ อากาศดี ใกล้ชิดธรรมชาติ สภาพ แวดล้อมสวยงามและผ่อนคลายเช่นนี้ ช่วยเสริมบรรยากาศที่ดีในการเรียนการ สอนดนตรีอย่างมีความสุขค่ะ
คณะกรรมการวงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย (ทีพีโอ) กับรายการแสดง ้ ของวงทีพีโอ ในฤดูที่ ๑๓ นัน คุณหญิงเห็นเป็นอย่างไรบ้าง
ในฤดูกาลที่ ๑๓ ที่เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ทีพโี อพิถพี ถิ นั เตรียม โปรแกรมการแสดงทีน่ า่ สนใจไว้อย่างมากมาย ทั้งงานดนตรีที่ประพันธ์และเรียบเรียง ขึ้นใหม่ ทั้งงานที่เป็นผลงานชิ้นเอกของ คีตกวีที่มีชื่อเสียงของโลก การคัดเลือก นักดนตรี การวางแผนรายการการแสดง นอกจากนีเ้ รายังมีวงคอรัสเป็นของทีพโี อ เองด้วย โดยเป็นวงคอรัสอาชีพวงแรกที่ มีการคัดเลือกนักร้องประสานเสียงมาก ความสามารถมาอยู่รวมกัน ทีเ่ ป็นไฮไลต์และเป็นประวัตศิ าสตร์ หน้าใหม่ของประเทศไทย คือจะมี ๒ สุดยอดวงออร์เคสตร้าระดับโลกมาเยือน
24
บ้านของทีพโี อเป็นครัง้ แรก ได้แก่ London Symphony Orchestra (LSO) โดยจะมา แสดงคอนเสิร์ตจ�ำนวน ๒ รอบ ในวันที่ ๖-๗ มิถุนายน ๒๕๖๑ น�ำโดยหัวหน้า
วาทยกรรับเชิญ Gianandrea Noseda และนักเปียโนชือ่ ดัง Yefim Bronfman กับ อีกหนึง่ วงออร์เคสตร้าระดับโลก Berliner Philharmoniker จะมาเปิดการแสดงใน
วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ น�ำโดยวาทยกร ชือ่ ดังระดับโลก Gustavo Dudamel ทีจ่ ะ มาสร้างปรากฏการณ์อนั ยิง่ ใหญ่บนั ทึกไว้ ในประวัตศิ าสตร์ของประเทศไทย ส�ำหรับ การแสดงของวงออร์เคสตร้าระดับโลก ๒ วงนี้ค่ะ
คุณหญิงมีนโยบายทีจ่ ะพัฒนา วงทีพีโอต่อไปอย่างไร
เรามีนโยบายพัฒนาวงให้เป็นทีร่ จู้ กั มากขึ้นในระดับนานาชาติ เพื่อเผยแพร่ ความสามารถของนักดนตรี โดยปัทมา
มีความคิดในหลายแนวทางส�ำหรับการ พัฒนาวงทีพีโอ ได้แก่ ประการที่ ๑ แผนพัฒนาคน เพื่อ พัฒนาคุณภาพของนักดนตรี นักร้อง คุณภาพของการประพันธ์เพลงส�ำหรับวง ดุรยิ างค์ คุณภาพการคัดสรรวาทยกรระดับ โลก รวมถึงการเชิญวงจากต่างประเทศมา แสดง สิ่งเหล่านี้จะท�ำให้เกิดการพัฒนา เชิงก้าวกระโดดส�ำหรับบุคลากรภายในวง ประการที่ ๒ แผนการตลาดและ ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงเยาวชนได้รู้จักทีพีโอ และหันมา
ฟังผลงานของทีพโี อมากขึน้ ซึง่ เรามีแผน พัฒนาให้ความรู้และจัดกิจกรรมส่งเสริม ขยายกลุ่มผู้ฟังดนตรีคลาสสิกด้วย ประการที่ ๓ แผนการบริหารจัดการ อย่างมีธรรมาภิบาลภายในวงทีพโี อ ในด้าน นีเ้ รามีการวางแผนปรับระบบการจัดการที่ สามารถท�ำให้ขบั เคลือ่ นสูก่ ารเป็นองค์การ มหาชน เพื่อที่จะก้าวเดินในระดับชาติได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ประการที่ ๔ แผนการจัดการทางการ เงิน จะมีการระดมทุน การของบประมาณ จากภาครัฐและภาคเอกชน เพือ่ ให้ทพี โี อ สามารถเผยแพร่ศลิ ปวัฒนธรรมและความ สามารถด้านดนตรีของนักดนตรีอาชีพของ ประเทศไทย ประการที่ ๕ แผนการออกแสดงทัวร์ ในต่างประเทศ เพือ่ เผยแพร่ศลิ ปวัฒนธรรม ความสามารถด้านดนตรีของนักดนตรี อาชีพของประเทศไทย รวมถึงเพือ่ น�ำพระ อัจฉริยภาพด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรม นาถบพิตร ปรากฏสู่ประชาคมโลกด้วย เป็นต้น
25
Alumni News and Notes
มาแรงไม่แพ้ศษิ ย์เก่าคนอืน่ ๆ ทีว่ ารสารเพลงดนตรีเคย น�ำเสนอมาเลยทีเดียว ส�ำหรับ สุขมุ อิม่ เอิบสิน หรือที่ รูจ้ กั กันในนาม ดีเจ “Machina” ในวงการ Electronic Dance Music กับบทเพลงติดหูของเขาที่มีชื่อว่า “อะไรนะ (Hello)” feat. Polycat แต่จะมีกคี่ นทีร่ วู้ า่ ดีเจ Machina คนนี้ ก็เป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เช่นกัน แถมยังเป็นนักเรียนใน รัว้ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ตงั้ แต่ชนั้ มัธยมศึกษาปีที่ ๔ (Pre-College) อีกด้วย
The New Face of Electronic Dance Music เรื่อง: นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit)
บอกเล่าถึงตัวเองสั กนิด
ท�ำไมเลือกเรียนที่วิทยาลัย เริม่ วางแผนสอบเข้าเพือ่ เรียนต่อในระดับ อุดมศึกษา ด้วยเป้าหมายที่ว่า อยากท�ำ สุขมุ อิม่ เอิบสิน ชือ่ เล่นชือ่ เมฆครับ ดุริยางคศิ ลป์
ชื่อในวงการคือ “Machina” (มาชิน่า) ปัจจุบนั เป็นศิลปินในสังกัดค่าย Lazerface Records เรียนจบสาขาวิชาเทคโนโลยีดนตรี จากวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล เมื่อปี ๒๕๕๙ (เริ่มศึกษาในวิชา เอกกีตาร์คลาสสิก ทีว่ ทิ ยาลัยดุรยิ างคศิลป์ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๑)
ผลงานล่าสุ ด
ผลงานล่าสุด คือ Single ที่ท�ำ ร่วมกับ Polycat ชื่อเพลง “อะไรนะ (Hello)” แนวอิเล็กโทรป็อป/ซินธ์ป็อป ครับ (Electropop/Synthpop)
70
เหตุผลที่เลือกเรียนที่นี่เพราะคือ หนึ่งในความฝันตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยความ ชอบดนตรีเป็นทุนเดิม เมื่อทราบว่าที่ มหาวิทยาลัยมหิดลมีการเปิดสอนในระดับ อุดมศึกษาทางดนตรีโดยเฉพาะ ก็เริม่ หา ข้อมูลและเตรียมตัวสอบเข้าอย่างเต็มที่ ใน ช่วงนัน้ มีความชืน่ ชอบกีตาร์เป็นพิเศษ จึง เลือกสอบเข้าวิชาเอกกีตาร์คลาสสิก อีก มุมหนึ่งก็ชอบที่จะใช้เวลาว่างในการแต่ง เพลง และทั้งสองอย่างก็ไปด้วยกันได้ดี เลยตัดสินใจเลือกวิชาประพันธ์ดนตรีเป็น วิชาโทครับ แต่หลังจากที่ได้เข้ามาเรียน ระยะหนึ่ง ก็เห็นว่านอกเหนือจากกีตาร์ ก็มีวิชาเทคโนโลยีดนตรีที่น่าสนใจ จึง
เพลงจากคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งในเวลานั้น เพลงแนว EDM ยังไม่เป็นที่รู้จัก และ ไม่ได้น่าสนใจ แต่ส�ำหรับตัวผมเองสนใจ เพียงแค่วา่ อยากท�ำให้ได้และอยากมีความ รู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีดนตรี ไม่ได้มองถึงเรื่องการต่อยอดไปเป็นดีเจ หรือตลาดดนตรีเฉพาะทาง
คิดว่ามีงานในตลาดรองรับ คนทีจ่ บมาจากสาขานีห ้ รือไม่ คนทีจ ่ บมาส่ วนใหญ่มโี อกาส ในการท�ำงานมากน้อยแค่ไหน
โชคดีทใี่ นปัจจุบนั นีต้ ลาดดนตรีแนว EDM หรือแม้แต่อเิ ล็กทรอนิกส์ปอ็ ปได้รบั
ความสนใจมากขึ้นอย่างเท่าตัว เพราะ ฉะนัน้ การจะท�ำงานในสายนีห้ รือไม่ จริงๆ ค่อนข้างเป็นเรือ่ งทีข่ นึ้ อยูก่ บั แต่ละบุคคล ถ้ามีความสนใจ มีความตัง้ ใจจริง มันก็มี พืน้ ทีเ่ ปิดรอรับอยูแ่ ล้ว เพราะการจบจาก สาขาเทคโนโลยีดนตรีนั้น คุณสามารถ เป็นได้ทั้ง producer technician หรือ แม้กระทั่งท�ำงานเป็น sound engineer ในห้องอัดและนอกสถานที่ก็ได้
ได้น�ำความรู้จากการเรียนที่ ดุรยิ างคศิลป์ ไปใช้อย่างไรบ้าง ได้ใช้ตลอดครับ ทั้งในฐานะศิลปิน โปรดิวเซอร์ อย่างเวลาแต่งเพลงก็จะ เข้าใจฟังก์ชันคอร์ดได้อย่างชัดเจน และ ยังวิเคราะห์เพลงต่างๆ ได้ ทั้งในทาง ทฤษฎีดนตรี ฟิสิกส์ของเสียง อีกทั้งยัง ใช้วิชาโสตทักษะที่เรียนมา ฟังเพลงได้ อย่างเข้าใจถึง voicing ของคอร์ดต่างๆ ในเพลงที่ฟังด้วย
อาจจะเกินตัวผมมากเกินไปด้วยซ�ำ้ ความแตกต่างของการเรียน ครับ ส่วนตัวไม่คิดว่าตัวเองไปถึงขั้นนั้น กับการท�ำงานจริง ต่างกันครับ ตอนเรียนเรายังมีเกรด เป็นตัววัด แต่ในชีวติ จริงถ้างานออกมาไม่ดี ลูกค้าอาจจะยกเลิก ไม่จา้ งงานเราอีกต่อ ไป อาจมีการพูดปากต่อปากจนกระทบกับ เราทั้งหมดได้ ในขณะที่ถ้าเกรดไม่ดีหรือ แย่สุดติดเอฟ (F) เราก็ยังกลับไปแก้ไข ได้อีก แต่ในโลกของการท�ำงาน เราไม่มี โอกาสทีจ่ ะพลาดเลย ส่วนสิง่ ทีไ่ ด้มาเต็มๆ จากการเรียนก็คอื เรือ่ งความรับผิดชอบ การส่งงาน การจัดตารางเวลาของตัวเอง ถ้าเราจัดการเรือ่ งนีไ้ ด้ดี รูจ้ กั จัดแบ่งเวลา ได้ มันก็จะติดตัวเราไป และท�ำให้งา่ ยกับ การท�ำงานที่เป็นจริงเป็นจังในโลกความ เป็นจริงมากขึ้นครับ
แล้ว ขอเป็นคนปกติที่มีอะไรใหม่ๆ ให้ได้ ทดลองท�ำอยู่เสมอ เท่านี้ก็ถือว่ามีความ สุขในการท�ำงานแล้วครับ
ท� ำ ไมถึ ง ชอบดนตรี แ นว Electronic Dance Music
ผมคิดว่า Electronic Music เป็น แนวดนตรีที่มีมากกว่าตัวโน้ตที่สร้าง อารมณ์ในเพลง ซึ่งความน่าสนใจอยู่ที่ เราสามารถสร้างเสียงที่ไม่เคยมีมาก่อน ในโลกนีด้ ว้ ยคอมพิวเตอร์ แล้วน�ำมาแต่ง ให้เป็นเพลงได้ครับ
ผลงานไหนทีภ ่ ม ู ใิ จเป็นพิเศษ บ้าง และท�ำไมถึงภูมิใจกับ รู้สึกอย่างไรกับฉายาดาว งานชิ้นนั้น เมื่อปี ๒๕๕๗ ผมได้มีโอกาสแต่ง รุ่ ง หน้ า ใหม่ แ ห่ ง วงการ Electronic Dance Music เพลงให้งาน MAYA Music Festival ผม
71
ภูมิใจกับเพลงนี้มากๆ เพลงนี้ใช้เวลาท�ำ ทั้งหมด ๒ เดือนเต็ม และใช้เวลา ๒ วัน ในการอัดเสียงเครื่องดนตรีไทยทั้งหมด จุดประสงค์ของการแต่งเพลงนี้ขึ้น มา ก็เพือ่ ต้องการจะยกระดับดนตรี EDM ในประเทศไทย และผสมผสานระหว่าง ๒ วัฒนธรรมทางด้านดนตรีเข้าด้วยกัน โดยการใช้ทฤษฎีโน้ตดนตรีคลาสสิกเข้า มาด้วย ไม่ว่าจะเป็น การวางโครงเพลง การเลือกใช้โน้ต และการสร้างบรรยากาศ ของเพลง ขัน้ ตอนการท�ำงานนัน้ เริม่ จาก คิดท�ำนองหลักขึ้นมา ๑ ชุด พร้อมกับ วางคอร์ดหลายๆ ชุด รองรับท�ำนอง หลักนั้นเอาไว้ เพื่อให้ท�ำนองนั้นฟังดูไม่ น่าเบื่อ ส่วนการวางโน้ตในคอร์ดก็จะใช้ เทคนิคพิเศษในทางทฤษฎีดนตรี เรียก ว่าการพลิกกลับของขั้นคู่ เพื่อให้เพลงมี ความน่าสนใจมากขึ้น ความพิเศษของ เพลงนี้คือ การน�ำระบบเสียงโน้ตดนตรี ไทยมาผ่านกระบวนการคิดเสียงประสาน ใหม่ ให้เข้ากับระบบโน้ตดนตรีสากล ซึ่ง ระบบเสียงดั้งเดิมของดนตรีไทยนั้นไม่ สามารถน�ำมาผสมกับดนตรีสากลได้เลย จึงต้อง Tune ใหม่เพือ่ ให้เข้ากับระบบเสียง ดนตรีสากล เครือ่ งดนตรีไทยทีใ่ ช้ทงั้ หมด มี ระนาดเอกไม้นวม ขิม ซออู้ ขลุ่ย ฉิ่ง และขับร้องไทย ในเพลงนี้มีท่อนหนึ่งที่เป็นการ ขับเสภา โดยหยิบยกท่อนหนึ่งมาจาก วรรณคดีของสุนทรภู่ เรือ่ ง “พระอภัยมณี” ที่คนไทยส่วนใหญ่ท่องจ�ำกันได้เป็นอย่าง ดีตั้งแต่สมัยเรียนในชั้นประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา นอกจากความไพเราะของ บทกลอนแล้ว สิง่ ทีท่ ำ� ให้กลอนบทนีเ้ ป็นที่ ชืน่ ชอบของหลายๆ คน คือ ความหมาย ซึง่ เป็นค�ำสอนเตือนสติให้รวู้ า่ จิตใจมนุษย์ นั้น ยากแท้จะหยั่งถึง เนื้อหาของกลอน ในตอนนี้ เป็นเรื่องราวที่สุดสาครลูกของ พระอภัยมณี ถูกชีเปลือยผลักตกเหว และ ขโมยไม้เท้ากับม้านิลมังกรไป ขณะที่สุด สาครหิวโหย ตกระก�ำล�ำบาก ไม่สามารถ ปีนขึ้นมาจากเหวได้นั้น พระฤๅษีก็ได้มา ช่วยสุดสาคร พร้อมทั้งสอนสั่ง ซึ่งเรื่อง
72
ราวและค�ำสอนของพระฤๅษีเป็นดังค�ำ กลอนต่อไปนี้ ...แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล�้ำเหลือก�ำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน�้ำใจคน… ซึ่งเปรียบกับชื่อเพลง MAYA แล้ว นัน้ จะพ้องเสียงกับค�ำว่า “มายา” ซึง่ สือ่ ถึงมารยาและเล่หเ์ หลีย่ มของมนุษย์ในทุก วันนีท้ มี่ อี ยูเ่ ต็มไปหมด จึงใช้กลอนนีเ้ พือ่ เตือนสติด้วย
สิ่ งทีท ่ ำ� ให้ผลงานของเราต่าง จากคนอื่น
ผมชอบน�ำเครือ่ งดนตรีไทยมาผสม ผสานกับดนตรีอเิ ล็กทรอนิกส์มากครับ ซึง่ หลังๆ มานี้ ก็เห็นหลายๆ คนเริ่มหันมา ท�ำแบบนี้ ก็รู้สึกดีใจที่มีคนเริ่มสนใจ แต่ ผมคิดว่าสิ่งที่ท�ำให้งานของผมไม่เหมือน คนอื่น ก็เพราะผมชอบให้ดนตรีของผม เล่าเรื่องและมีคอนเซปต์ที่ชัดเจนครับ
อะไรเป็นแรงบันดาลใจใน การท�ำงาน
แรงบันดาลใจในการท�ำงานของผม คือ อยากท�ำให้วงการดนตรีอเิ ล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทยได้เติบโต และเป็นทีร่ จู้ กั ใน วงกว้างมากขึ้นครับ
มีอุปสรรคหรือปั ญหาอะไร ในการท�ำงานบ้าง และมีวิธี แก้ปัญหาอย่างไร
อุปสรรคที่พบส่วนใหญ่ก็คือ คิด เพลงไม่ออกครับ เคยนั่งฝืนท�ำอยู่นาน แต่กไ็ ม่มอี ะไรดีขนึ้ เลยแก้ปญ ั หาด้วยการ หาอย่างอื่นท�ำคลายเครียดครับ
อะไรที่เป็นปั จจัยส� ำคัญใน การท�ำอาชีพนี้
ปัจจัยส�ำคัญในอาชีพนี้ ผมคิดว่า คือความอดทนและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดครับ เพราะความ คิดสร้างสรรค์เป็นตัวทีท่ ำ� ให้เราได้ทำ� อะไร
ใหม่ๆ และต้องใช้ความอดทนจนงานนั้น ออกมาดีที่สุดครับ
ค�ำแนะน�ำส� ำหรับน้องๆ รุ่น หลัง ทีส ่ นใจเรียนทีว่ ท ิ ยาลัย ดุริยางคศิลป์
วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ให้อะไรทีม่ าก กว่าวิชาความรูค้ รับ เราได้มาอยูใ่ นสังคม ทีด่ ดี ว้ ยครับ การทีเ่ ราได้มาอยูท่ นี่ ี่ เราจะ ล้อมรอบไปด้วยคนเก่ง เพราะฉะนัน้ เราก็ จะต้องเก่งตามสังคมแวดล้อมด้วย บวก กับวิชาความรู้ที่เรียนมานั้น ก็สามารถ พลิกแพลงและน�ำมาใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ได้ด้วยครับ
ฝากอะไรถึงน้องๆ อาจารย์ และผู้อ่าน
อยากจะแนะน�ำน้องๆ ว่า ถ้าหากเรา ชอบอะไรหรือหลงใหลในอะไรอยู่ ไม่จำ� เป็น ต้องเป็นดนตรีกไ็ ด้ อยากให้เราใช้เวลาอยู่ กับมัน ศึกษามันจนตกผลึก และสักวัน เราจะประกอบอาชีพกับมันได้ในทีส่ ดุ ครับ ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่สั่งสอน ผมมา จนผมได้มีวันนี้ และขอบคุณทุกๆ ท่าน ที่อ่านบทสัมภาษณ์นี้จนจบครับ
Violist's Journey: Arts by Juckrit Charoensook
73