Music Journal October 2019

Page 1

Volume 25 No.2 October 2019

วารสารเพลงดนตรี MUSIC JOURNAL

ISSN 0858-9038

Volume 25 No. 2 October 2019


วารสารเพลงดนตรี MUSIC JOURNAL

ISSN 0858-9038

Volume 25 No.2 October 2019

Volume 25 No. 2 October 2019

สวัสดีผู้อ่านเพลงดนตรีทุกท่าน ก่อนอื่นวารสารเพลงดนตรีขอ แสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ จากรั้ว มหาวิทยาลัยมหิดลทุกท่าน ทีส่ ำ� เร็จการ ศึกษาในปีนี้ ขอให้มีอนาคตที่สดใส และ ประสบความส�ำเร็จกับบทบาทหน้าที่ นอก รั้วมหาวิทยาลัย เมื่อปลายเดือนสิงหาคม ทาง วิ ท ยาลั ย ได้ มี ก ารประกวดนั ก ศึ ก ษา ต้นแบบประจ�ำปี ๒๕๖๒ หรือที่รู้จักกัน ในชื่อ MSMU freshy boy & girl ซึ่ง นักศึกษาต้นแบบนั้น นอกจากจะมีความ สามารถโดดเด่นทางด้านดนตรีแล้ว ยังมี ทัศนคติ ความประพฤติ บุคลิกภาพ และ มารยาทที่เหมาะสมอีกด้วย โดยผู้ที่ผ่าน การคัดเลือกในปีนี้ เป็นใครบ้าง พลิกไป ท�ำความรู้จักได้จาก Cover Story ส�ำหรับผู้อ่านที่ติดตามบทความ “เรื่องเล่าเบาสมองสนองปัญญา” เพลง ไทยสากลอิงท�ำนองเพลงต่างชาติ ในฉบับ นี้น�ำเสนอเพลงไทยสากล ๔ เพลง โดย มีเพลง “ช�้ำ” “สิ้นรักสิ้นโลก” “คะนึงรัก” และ “ยับ” พร้อมบทวิเคราะห์ถงึ ทีม่ าและ ลีลาของท�ำนองจากเพลงสากลว่ามาจาก เพลงใดบ้าง เป็นบทความทีใ่ ห้เกร็ดความ รู้และมุมมองที่สนุกสนาน

Volume 25 No. 2 October 2019

เจ้าของ

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บรรณาธิการ

ฝ่ายภาพ

ฝ่ายสมาชิก

ฝ่ายศิลป์

ส�ำนักงาน

คนึงนิจ ทองใบอ่อน

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

จรูญ กะการดี นรเศรษฐ์ รังหอม

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

พิสูจน์อักษรและรูปเล่ม

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ

เว็บมาสเตอร์

นิธิมา ชัยชิต

สนอง คลังพระศรี Kyle Fyr

ธัญญวรรณ รัตนภพ

ภรณ์ทิพย์ สายพานทอง

ด้านดนตรีไทย น�ำเสนอบทความ เกีย่ วกับประวัตขิ องวงปีพ่ าทย์มอญ คณะ โอภาส บรรเลง พร้อมทั้งอธิบายถึง กระบวนการถ่ายทอดความรูแ้ ละการปรับ ตัวทางวัฒนธรรมดนตรีของวงปีพ่ าทย์คณะ นี้ ทีส่ ามารถอนุรกั ษ์และสืบสานวัฒนธรรม ทางดนตรีของวงปี่พาทย์มอญในจังหวัด ราชบุรี ให้คงอยู่จนถึงปัจจุบัน เมื่ อ เดื อ นกรกฎาคมที่ ผ ่ า นมา ประเทศไทยได้รับโอกาสให้เป็นเจ้าภาพ ในการจัดงานประชุมนานาชาติสภาดนตรี โลกครัง้ ที่ ๔๕ (The 45th International Council for Traditional Music (ICTM) World Conference) ซึง่ ถือเป็นครัง้ แรกที่ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ โดยงานประชุม จัดขึน้ ทีจ่ ฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส�ำหรับ ความเป็นมาของสภาดนตรีโลก บรรยากาศ และหัวข้องานวิชาการทีน่ า่ สนใจภายในงาน ติดตามได้ในคอลัมน์ Review นอกจากนี้ ยังมีบทความด้านการร้อง เพลง และการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ ทางดนตรี เชิญพลิกไปติดตามในเล่มค่ะ

สุพรรษา ม้าห้วย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วารสารเพลงดนตรี) ๒๕/๒๕ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๓๑๑๓ โทรสาร ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๓๐ musicmujournal@gmail.com

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

พิมพ์ที่

หยินหยางการพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๖๓๖ ๐ ๒๔๔๓ ๖๗๐๗

จัดจ�ำหน่าย

ร้านค้าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๒๕๐๔, ๒๕๐๕

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ส�ำหรับข้อเขียนที่ได้รับการ พิจารณา กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงเพื่อความเหมาะสม โดยรักษาหลักการและแนวคิดของผู้เขียนแต่ละท่านไว้ ข้อเขียน และบทความที่ตีพิมพ์ ถือเป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ขอรับผิดชอบบทความนั้น


สารบั ญ Contents Dean’s Vision

04

ดุริยางคศิลป์กับ การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ณรงค์ ปรางค์เจริญ (Narong Prangcharoen)

Music Entertainment

Music Business

“เรื่องเล่าเบาสมองสนองปัญญา” เพลงไทยสากลอิงท�ำนอง เพลงต่างชาติ (ตอนที่ ๗) กิตติ ศรีเปารยะ (Kitti Sripaurya)

แนวทางการส่งเสริมบุตรหลาน เพื่อเข้าศึกษาต่อทางด้านดนตรี ในระดับอุดมศึกษา รงรอง หวังปรีดาเลิศกุล (Ronglong Wangpreedalertkul) สลิลทิพย์ ลิขิตวิทยา (Slintip Likitwittaya)

12

Thai and Oriental Music

24

Cover Story

ปี่พาทย์มอญ คณะโอภาส บรรเลง ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน (Dhanyaporn Phothikawin)

08

28

ดาวเดือนประดับฟ้า วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล MSMU Freshy Boy & Girl 2019 นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit) ขวัญชนก อิศราธิกูล (Kwanchanok Isarathikul) ชลาษา ลอออรรถพงศ์ (Chalasa Laoratthaphong)

‘ไม้ตะขาบ’ เสียงจังหวะในดนตรีพิธีกรรม เเละเสียงกระทบไล่สัตว์ ในสังคมชาวสวน พิชชาณัฐ ตู้จินดา (Pitchanat Toojinda)

Voice Performance

38

Viva Improvisation! Session 1 Haruna Tsuchiya (ฮารุนะ ซึชิยะ)

42

Review

52

ชื่นชุมนุม งานประชุมวิชาการ นานาชาติสภาดนตรีโลก ครั้งที่ ๔๕ พ.ศ. ๒๕๖๒ The 45th International Council for Traditional Music (ICTM) World Conference 2019 จิตร์ กาวี (Jit Gavee)

58

The 2nd International Conference of Performance and Creativity: Historical Keyboard Music 1700-1850 อ�ำไพ บูรณประพฤกษ์ (Ampai Buranaprapuk)


DEAN’S VISION

ดุริยางคศิลป์กับการพัฒนาสังคม อย่างยั่งยืน เรื่อง: ณรงค์ ปรางค์เจริญ (Narong Prangcharoen) คณบดีวท ิ ยาลัยดุรย ิ างคศิลป์ ​มหาวิทยาลัยมหิดล

ใน

การประกวดแข่งขันมักจะมอง ไปที่การค้นหาจุดเด่นในตัวผู้ เข้าแข่งขัน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มี โครงการที่จัดขึ้นเพื่อค้นหาจุดเด่น ความเก่งกาจ เชี่ยวชาญ ในด้าน ดนตรีมาอย่างสม�่ำเสมอ เนื่องจาก ในโลกยุคปัจจุบัน เราคงต้องมอง เห็นความท้าทายที่จะเกิดขึ้น การ ปรับตัวเองสู่สังคมใหญ่ขึ้นในระดับ นานาชาติ การสร้างความพร้อมใน การแข่งขันระดับสากล ถ้าไม่เริ่ม 04

สร้างตั้งแต่ตอนต้น ก็อาจจะท�ำให้ เสียโอกาสและไม่สามารถกลับมา แข่งขันได้อกี โดยในการด�ำเนินการนี้ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ได้แบ่งรูปแบบ การด�ำเนินการออกเป็นหลายประเภท เช่น โครงการประกวดเยาวชน ดนตรี ที่ได้สร้างความร่วมมือกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ใน การจัดการประกวดเพือ่ ค้นหานักดนตรี ที่มีความสามารถ ค้นหาช้างเผือก ของวงการดนตรีในประเทศไทย เพือ่

สนับสนุนต่อยอดให้เป็นการสร้าง อุตสาหกรรมทางด้านศิลปะและการ แสดงที่สามารถเข้าแข่งขันในระดับ นานาชาติได้ ซึง่ การแข่งขันในรูปแบบนี้ ไม่ได้เกิดขึน้ โดยปกติ เพราะเป็นการ แข่งขันของนักดนตรีในทุกเครื่องมือ โดยไม่มีการแบ่งแยกประเภทเครื่อง ดนตรี และไม่ได้มุ่งเน้นที่ความเป็น เลิศทางด้านดนตรีเพียงอย่างเดียว แต่ยงั มุง่ มัน่ สร้างเสริมการแสดงออก ภาพลักษณ์บนเวที และสิ่งอื่น ๆ ที่


จะเป็นตัวประกอบส�ำคัญของการเป็น ศิลปินอีกด้วย นอกเหนือจากการ เชิญผูเ้ ชีย่ วชาญทางด้านดนตรีมาเป็น กรรมการแล้ว ในโครงการนีย้ งั เชิญผู้ ทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับแวดวงดนตรีและ การแสดงเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย เพือ่ ให้มองเห็นแง่มมุ ต่าง ๆ ได้อย่าง ครบถ้วนเช่นกัน การจัดการประกวด เช่นนีจ้ ะท�ำให้เยาวชนเข้าใจถึงความ ยากล�ำบากและสร้างความมุ่งมั่นใน การพัฒนาและขับเคลือ่ นตนเองไปสู่ อนาคตทีด่ ขี นึ้ เพราะการซ้อมดนตรี เพือ่ แข่งขันไม่สามารถเกิดขึน้ ได้ภายใน วันเดียว ต้องมีการเตรียมตัวอย่าง เป็นขัน้ ตอน ต้องมีการฝึกซ้อมอย่าง สม�ำ่ เสมอ ต้องมีความมุง่ มัน่ และแรง ผลักดัน บวกกับการสนับสนุนของ ครอบครัว จึงถือได้ว่าเป็นกิจกรรม ที่สร้างความพร้อมรับมือกับความ เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วส�ำหรับคนใน อนาคตอันใกล้นไี้ ด้เป็นอย่างดี เพราะ เป็นการสอนโดยการท�ำจริง ได้ลอง มีประสบการณ์เองเพื่อให้บรรลุผล อย่างจริงจัง ท�ำให้เด็กและเยาวชนได้ มีโอกาสในการทดลองทีจ่ ะท�ำสิง่ ต่าง ๆ ให้บรรลุผล เมื่อได้ลองท�ำแล้ว เข้า

ประกวดก็จะเห็นผลลัพธ์ ซึง่ เมือ่ เกิด ข้อผิดพลาดก็จะสามารถช่วยให้เกิด ความเข้าใจและการปรับตัว ปรับปรุง เพือ่ ให้เกิดความส�ำเร็จในอนาคต จึง เรียกได้วา่ เป็นการเรียนรูเ้ ชิงปฏิบตั กิ าร ซึง่ สอดคล้องกับการเรียนการสอนใน ยุคปัจจุบนั กิจกรรมนีไ้ ด้มสี ว่ นเชือ่ ม โยงไปกับกิจกรรมอืน่ ๆ ของวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ด้วยเช่นกัน อาทิ การ เดินทางท�ำกิจกรรมดนตรีสญ ั จรไปยัง ทีต่ า่ ง ๆ ภายในประเทศ เพือ่ พัฒนา ศักยภาพของเด็กและเยาวชนในพืน้ ที่ ต่าง ๆ เพราะการพัฒนาควรมีการ เกื้อกูลกันอย่างเป็นระบบ การที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ต้องส่งอาจารย์ครบทั้งทีมออกไป เพื่อสอนเด็กในโรงเรียนต่าง ๆ ใน หลายพื้นที่ หลายจังหวัด เป็น เพราะต้องการเฟ้นหานักดนตรีที่มี ความสามารถแต่ยังไม่มีใครค้นพบ เพื่อมาต่อยอดช่วยพัฒนาให้เกิด ความสามารถเพิ่มขึ้น และส่งเสริม ให้มีความสามารถในการแข่งขันใน ระดับนานาชาติ อีกทั้งยังช่วยยก ระดับการศึกษาดนตรีในประเทศไทย อย่างทั่วถึง เพราะในอนาคต การ

สร้างคนที่มีความสามารถทางด้าน ดนตรีก็เป็นอีกหนึ่งในภารกิจที่จะ สร้างประเทศชาติให้มีความมั่นคง ได้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศเกาหลี ที่การสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นหัวใจส�ำคัญในการขับเคลื่อน GDP ของประเทศ ถ้าวิทยาลัยไม่ เล็งเห็นถึงความส�ำคัญดังกล่าว ไม่ มุ่งเน้นที่จะพัฒนาการศึกษาให้เกิด การเรียนรู้อย่างทั่วถึง เพื่อสร้างให้ ประเทศเกิดความเข้มแข็งและพร้อม ที่จะก้าวไปอยู่ในระดับนานาชาติ เพื่อแข่งขันกับประเทศมหาอ�ำนาจ ได้ ก็จะท�ำให้ประเทศสูญเสียโอกาส ทางการแข่งขัน นั่นคือเหตุผลส่วน หนึ่งที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ยังคง ต้องเดินหน้าสร้างประโยชน์ให้แก่ สังคมและชุมชนต่อไป การเดินทาง ไปในหลายจังหวัดเพื่อไปฝึกสอน ท�ำให้เห็นข้อดีและข้อด้อยของการ เรียนการสอนดนตรี เนื่องจากได้ ลงพืน้ ทีจ่ ริง จึงท�ำให้มคี วามใกล้ชดิ กับครูผสู้ อนและนักเรียนทีเ่ ข้ามารับ การอบรม ท�ำให้เห็นได้ว่า ประเทศ ชาติขาดการเตรียมตัวเตรียมพร้อม

05


ด้านการสร้างทักษะทางด้านอารมณ์ และสังคม การศึกษาดนตรียังไม่ ได้มีการเรียนการสอนแบบจริงจัง ยกเว้นการเรียนการสอนทางด้าน วงโยธวาทิต ซึ่งมีประวัติยาวนาน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ความจริงแล้ว รัฐบาลและผูใ้ หญ่ทมี่ ี ส่วนเกีย่ วข้อง ควรเห็นความส�ำคัญ ในเรื่องเหล่านี้และให้การสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งเน้นให้มีการ พัฒนาจนสามารถเป็นการสร้าง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ในทีส่ ดุ ขณะ นีว้ ทิ ยาลัยดุรยิ างคศิลป์ได้รว่ มมือกับ บริษัท คิง เพาเวอร์ เพื่อพัฒนาใน ด้านการจัดการประกวดวงโยธวาทิต ทีไ่ ด้มาตรฐานสากล ได้รบั การยอมรับ จากนานาชาติ เพื่อเป็นการสร้าง พืน้ ทีท่ างเศรษฐกิจให้กบั ประเทศใน อนาคต เพราะเมื่อมีวงต่าง ๆ จาก ทัว่ โลกเดินทางเข้ามาประกวดดนตรี ที่ประเทศไทย จะกระตุ้นเศรษฐกิจ 06

ทั้งด้านการท่องเที่ยว โรงแรม ร้าน อาหาร และส่วนธุรกิจอืน่ ในประเทศ อีกด้วย หากมองว่านี่คือการลงทุน ที่สูง ก็อาจจะเป็นการลงทุนสูงที่มี โอกาสสร้างผลประโยชน์ให้แก่ประเทศ ชาติได้สูงด้วยเช่นกัน อีกหนึง่ กิจกรรมทีท่ างวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ได้มีโอกาสจัดขึ้น คือ การค้นหานักศึกษาต้นแบบของ วิทยาลัย ซึ่งปกติจะไม่ได้มีการ จัดการประกวดแบบนีม้ าก่อน เพราะ ในหลาย ๆ ภาคส่วน การประกวด แบบนี้จะเรียกว่าการประกวดดาวเดือน ซึ่งจะมุ่งเน้นที่รูปลักษณ์และ อาจจะมีการหาความสามารถพิเศษ ส่วนอืน่ ๆ เช่น เล่นดนตรี หรือร้อง เพลง ในขณะทีก่ ารเล่นดนตรีหรือร้อง เพลงนั้นเป็นความสามารถพื้นฐาน ของนักศึกษาทีเ่ ข้ามาเรียนทีว่ ทิ ยาลัย ดุริยางคศิลป์ จึงท�ำให้ดูเป็นเรื่อง ปกติและไม่มคี วามพิเศษทีจ่ ะใช้เพือ่

ผ่านเข้ารอบหรือชนะการประกวด วิทยาลัยดุริยางคศิลป์จึงได้เปลี่ยน การใช้ชอื่ การประกวดดาว-เดือนของ วิทยาลัย เป็นการประกวดนักศึกษา ต้นแบบ เพราะการประกวดนี้ไม่ได้ มุ่งเน้นที่ความสวยหล่อของผู้เข้า ประกวด หรือความสามารถทาง ด้านงานอดิเรกของผู้สมัครเพียง อย่างเดียว แต่มุ่งเน้นที่จะเฟ้นหา นักศึกษาที่จะเป็นตัวอย่าง เป็นต้น แบบให้แก่นักศึกษาคนอื่น ๆ ได้ ไม่ใช่แค่ความสามารถ แต่เป็นการ วางตัวในสังคม การใช้ชีวิตประจ�ำ วัน และอีกหลายแง่มุม เพื่อให้ นักศึกษาที่ชนะการประกวดจะเป็น นักศึกษาที่เป็นต้นแบบโดยแท้จริง ทางวิทยาลัยมุ่งเน้นที่จะค้นหาผู้ ที่มีคุณสมบัติ “เป็นคนเก่ง คนดี มีคุณภาพ” เพราะต้องการสร้าง สังคมที่มีคุณภาพ เพื่อการพัฒนา ในอนาคต เนื่องจากการสื่อสารใน


ยุคใหม่ควรให้เด็กได้มกี ารพูดคุยและ แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ซึง่ บางครัง้ อาจจะท�ำได้ยาก เมือ่ ต้องพูด คุยกับอาจารย์ทตี่ า่ งรุน่ กัน จึงท�ำให้ การค้นหานักศึกษาต้นแบบมีความ จ�ำเป็น เพือ่ เป็นภาพลักษณ์ทดี่ ขี อง นักศึกษา และสามารถสื่อสารกับ นักศึกษาคนอื่น ๆ ได้ และเป็นการ ให้นกั ศึกษามีโอกาสได้แสดงความคิด และมีสว่ นร่วมในการสร้างองค์กรผ่าน การปรึกษาหารือและผ่านผูแ้ ทนทีเ่ ป็น สโมสรนักศึกษาและนักศึกษาต้นแบบ ซึ่งการประกวดในคืนนั้น เป็นการ ประกวดทีท่ มี งานทุกคนตัง้ ใจเป็นอย่าง มาก นักศึกษาทีเ่ ข้าร่วมประกวดก็มี การเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี มีการ แสดงความสามารถที่แตกต่างจาก ความสามารถทีม่ อี ยูแ่ ล้ว เช่น การ เล่นดนตรี ต้องท�ำกิจกรรมอย่างอืน่ เพื่อดูว่านักศึกษามีความรู้ทั่วไป มี ทักษะในการปรับตัวเข้ากับสังคม มี

ทักษะด้านการท�ำงานเป็นหมู่คณะ และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ตา่ ง ๆ ได้เป็นอย่างไรบ้าง และสุดท้าย เมื่อได้นักศึกษาต้นแบบมาแล้ว ก็ จะส่งเสริมให้นักศึกษาเหล่านั้นท�ำ ประโยชน์เพื่อชุมชนดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อไป เพราะ ในยุคสมัยนี้ การสร้างภาพลักษณ์ ที่ดี การสร้าง branding เป็นเรื่อง ส�ำคัญมาก ๆ ส�ำหรับองค์กรทีม่ ขี นาด ใหญ่ จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมั่นใจ ว่า การสื่อสารด้านภาพลักษณ์เป็น ไปด้วยความเหมาะสม และหวังว่า จะสร้างบุคคลทีม่ จี ติ สาธารณะเพือ่ ที่ จะพัฒนาสังคมต่อไปได้อย่างต่อเนือ่ ง อย่างที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้น จะเห็นได้ว่า ในช่วงปีที่ผ่านมานี้ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ได้มุ่งเน้นไป ที่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนมาก ขึ้น เพราะสถานศึกษาอาจจะไม่ใช่ แค่แหล่งรวมความรู้และสร้างองค์

ความรูอ้ กี ต่อไป อาจจะต้องปรับตัว เป็นสถาบันที่ช่วยขับเคลื่อนสังคม พัฒนาสังคม และสร้างประโยชน์ทาง ด้านอืน่ ๆ ให้แก่ประเทศชาติดว้ ยเช่น กัน เมือ่ มีโอกาสทีจ่ ะสามารถปรับตัว ได้ ทางวิทยาลัยควรต้องเร่งพัฒนา และปรับตัว เพือ่ ให้กา้ วทันกับโอกาส ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต ต้องมีการสร้าง ความเข้าใจให้เห็นความส�ำคัญร่วม กันในการปรับเปลีย่ น ปรับตัวให้เข้า กับยุคสมัยทีก่ ำ� ลังจะเปลีย่ นไป ต้อง มองหาผู้ร่วมมือที่จะประสานการ ท�ำงานให้สอดคล้องและพัฒนาต่อ เนื่อง เพราะองค์กรเดียวอาจจะไม่ สามารถปรับเปลีย่ นทุกอย่างได้ จึง จ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีต่ อ้ งหาคูค่ า้ มาเป็น ผู้ร่วมอุดมการณ์ เพื่อสร้างความ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อไป

07


COVER STORY

ดาวเดือนประดับฟ้า วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล MSMU Freshy Boy & Girl 2019 เรื่อง: นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit) ขวัญชนก อิศราธิกูล (Kwanchanok Isarathikul) ชลาษา ลอออรรถพงศ์ (Chalasa Laoratthaphong)

ปิดตัวครั้งแรกกับโครงการคัด เลือกนักศึกษาต้นแบบ ประจ�ำปี การศึกษา ๒๕๖๒ โดยความร่วมมือ ของงานกิจการนักศึกษา งานบริหาร กิจกรรมดนตรี งานสือ่ สารองค์กรและ มวลชนสัมพันธ์ และสโมสรนักศึกษา วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ในการรับผิดชอบโครงการ หลักการคัดเลือกนักศึกษาต้นแบบ นัน้ นักศึกษาจะต้องมีคณ ุ ลักษณะทัง้ 08

ด้านคุณธรรม จริยธรรม มารยาท ในการวางตัว และการแต่งกายทีถ่ กู ต้องตามกฎระเบียบของวิทยาลัย เพือ่ เป็นการปลูกจิตส�ำนึกให้นกั เรียน นักศึกษาเคารพในกฎกติกาของทาง มหาวิทยาลัย ในเรือ่ งเครือ่ งแบบการ แต่งกาย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้ แก่นักเรียนนักศึกษาคนอื่น ๆ น�ำ ไปปฏิบตั ติ าม และเพือ่ เปิดโอกาสให้ น้อง ๆ นักศึกษาใหม่สงั กัดวิทยาลัย

ดุริยางคศิลป์ มีส่วนร่วมในการท�ำ กิจกรรมกับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เปรี ย บเสมื อ นเป็ น ตั ว แทนของ วิทยาลัยในการประชาสัมพันธ์ภาพ ลักษณ์ทดี่ ขี องวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกระบวนการเริ่มจากการ ที่แต่ละสาขาวิชาจากทั้งหมด ๙ สาขา คัดเลือกตัวแทนนักศึกษา เข้าประกวด สาขาวิชาละ ๒ คน


จ�ำแนกเป็น ชาย-หญิง รวม ๑๘ คน ประกอบด้วยนักศึกษาชาย ๙ คน และนักศึกษาหญิง ๙ คน มา ประชันกันในรอบตัดสิน เมือ่ วันศุกร์ ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ลานวงรี เวลา ๑๗.๐๐-๒๑.๓๐ น. โดยผูท้ ไี่ ด้รบั คัดเลือกจะปฏิบตั หิ น้าที่ ร่วมกับสโมสรนักศึกษาในส่วนของ ด้านประชาสัมพันธ์ เป็นนักศึกษา ต้นแบบในการแต่งกายเรียบร้อยถูก ต้องตามกฎระเบียบของวิทยาลัย และเป็นตัวแทนในการประกวดระดับ สถาบันและระดับประเทศต่อไป หลังจากทีเ่ ราได้ผชู้ นะเลิศ (ดาวเดือน) และรองชนะเลิศนักศึกษา ต้นแบบ (รองดาว-เดือน) ประจ�ำปี การศึกษา ๒๕๖๒ มาแล้ว วารสาร เพลงดนตรีจงึ รีบคว้าตัว ดาว-เดือน และรองดาว-เดือน ของวิทยาลัย มาสัมภาษณ์ พูดคุย เพื่อจะได้รู้จัก ถึงพวกเขาเหล่านีม้ ากขึน้ โดยคูด่ าว และเดือน หรือผู้ชนะเลิศนักศึกษา ต้นแบบ คือ นางสาวแพรววา ธนทวีธรรม (อิงแลนด์) และนายธนวัฒน์ จตุจินดา (เควิน) และรองชนะเลิศ นักศึกษาต้นแบบ หรือรองดาวเดือน คือ นางสาวปาณิกา ดีหลาย

เควิน ธนวัฒน์ จตุจินดา

(แมงปอ) และนายไกร อภิโชติกุล อิงแลนด์: ค่ะ ส�ำหรับอิงแลนด์ (อาร์ม) ก็ชอบดนตรีเหมือนกันค่ะ และมี ความใฝ่ฝันที่อยากจะเป็น sound แนะน�ำตัวเอง engineer แบบ live sound ค่ะ เรา เควิน: ครับ ผมเควิน ธนวัฒน์ คิดว่ามันน่าจะดี ถ้าสมมุติว่าเราได้ จตุจนิ ดา อยูส่ าขา music theatre แก้ปัญหาด้านเสียงให้กับนักดนตรี เอก voice ชั้นปีที่ ๑ ครับ ในเหตุการณ์เฉพาะหน้าค่ะ อิงแลนด์: ค่ะ ชือ่ อิงแลนด์ แพรววา อาร์ม: เพราะว่าชอบดนตรี ก็ ธนทวีธรรม อยู่สาขา technology เลยเลือกเรียนทีด่ รุ ยิ างคศิลป์ แล้วก็ที่ เอกกีตาร์แจ๊ส ชั้นปีที่ ๑ ค่ะ เลือกสาขานีเ้ พราะว่าชอบแนวดนตรี อาร์ม: ครับ อาร์ม ไกร อภิโชติกลุ ทีห่ ลากหลายครับ ชอบบรรยากาศ อยู่สาขาดนตรีสมัยนิยม popular ที่นี่ เลยเลือกมหาวิทยาลัยมหิดล music ชัน้ ปีที่ ๑ เครือ่ งเอกกลองครับ แมงปอ: ที่เลือกคณะนี้ สาขา แมงปอ: ค่ะ ชือ่ แมงปอ ปาณิกา นี้ ก็เพราะว่าตรงกับตัวเองทีส่ ดุ แล้ว ดีหลาย เรียนสาขาดนตรีสมัยนิยม ชอบร้องวง (แบนด์) ชอบ entertain popular music ปี ๑ เอก voice ค่ะ คนอืน่ แล้วก็เคยไปร่วมกิจกรรมรัก น้องค่ะ (รับน้องของมหาวิทยาลัย) ท�ำไมถึงเลือกเรียนคณะ/สาขานี้ ก็สนุกดีค่ะ เควิน: เพราะว่าผมชอบเล่น ดนตรี แล้วก็ชอบร้องเพลงครับ ก็ กิจกรรมที่เคยเข้าร่วมของวิทยาลัย เลยอยากจะมาอยูใ่ นสถานทีท่ มี่ คี นที่ เควิน: เคยร้องในวง choir นะ ชอบในสิง่ เดียวกัน และทีเ่ ลือกสาขา ครับ แล้วก็มีร้องเพลงสรรเสริญ นีเ้ พราะว่าสาขา music theatre อยู่ พระบารมี ก่อนเริ่มการแสดงให้ กันเป็นครอบครัว มีอะไรจะช่วยกัน วงเบอร์ลินที่หอแสดงสิทธาคารนะ ไม่ใช่แข่งกัน ไม่วา่ เราท�ำงานอะไร ไม่ ครับ แล้วก็มีคอนเสิร์ตต่าง ๆ ไม่ ว่าจะเป็นตัวเด่นหรือตัวประกอบ ก็ ว่าจะเป็น West Side Story แล้ว จะมีความส�ำคัญเท่ากันหมดครับ ก็ละครเวทีครับ

อิงแลนด์ แพรววา ธนทวีธรรม

อาร์ม ไกร อภิโชติกุล

แมงปอ ปาณิกา ดีหลาย 09


10

อิงแลนด์: มีร้องในวง choir ค่ะ แล้วก็ล่าสุดเลย คือถือพานวัน ไหว้ครูค่ะ อาร์ม: กิจกรรมดาวเดือนนี่ แหละครับ แมงปอ: กิจกรรมดาวเดือน เหมือนกันค่ะ

กรรมการเลือกผมครับ ผมเป็นคน ไม่ค่อยกล้าแสดงออก แต่เป็นคน มุ่งมั่นครับ แมงปอ: จุดเด่นน่าจะเป็นคน กล้าแสดงออกค่ะ ชอบ entertain คนเวลาร้องเพลงอะไร และชอบท�ำ กิจกรรมค่ะ

เหตุผลที่คิดว่าท�ำให้ ได้เลือกเป็น นักเรียนตัวอย่าง/ข้อดี/จุดเด่นของเรา เควิน: ผมคิดว่าผมมีความ มั่นใจ แล้วก็มีความตั้งใจนะครับ ก็ เลยท�ำให้คณะอาจารย์แล้วก็พี่ ๆ ได้ เห็นศักยภาพในตัวผมครับ อิงแลนด์: ส�ำหรับหนูคดิ ว่า เป็น เพราะว่าเราสามารถแสดงความเป็น MS (วิทยาลัยดุริยางคศิลป์) ออก มาได้มากทีส่ ดุ ค่ะ มีความเป็นตัวของ ตัวเอง รวมถึงความมั่นใจด้วยค่ะ อาร์ม: คิดว่ามาจากความตัง้ ใจ และความพยายามครับ เลยท�ำให้

หลังได้รับรางวัล มีแผนจะท�ำอะไรที่ จะเป็นประโยชน์ต่อวิทยาลัย เควิน: คงจะเป็นตัวอย่างทีด่ ใี ห้ กับน้อง ๆ และเพือ่ น ๆ นะครับ โดย การแต่งตัวให้เรียบร้อย แล้วก็ช่วย เป็นกระบอกเสียงหนึง่ ทีบ่ อกปัญหา ของวิทยาลัย ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งขยะ เรือ่ งลดโลกร้อน และอืน่ ๆ ครับผม อิงแลนด์: เป็นแบบอย่างทีด่ ใี ห้ กับเพื่อน ๆ ค่ะ เป็นผู้น�ำในการท�ำ สิ่งดี ๆ ทั้งการแต่งตัว การพูด การ คิด แล้วก็การวางตัวด้วยค่ะ อาร์ม: เป็นตัวอย่างที่ดีครับ

แต่งตัวเรียบร้อย ทางมหาวิทยาลัย มีกิจกรรมอะไรก็จะช่วยท�ำครับ แมงปอ: อาจจะจัดวงดนตรีไป ร้องเพลง ไปเล่นดนตรีให้กบั น้อง ๆ ผู้ด้อยโอกาสในชนบทค่ะ มองภาพตัวเองในอีก ๑๐ ปีอย่างไร เควิน: ผมมองตัวเองในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ก็คงจะมีครอบครัว ที่อบอุ่น แล้วก็ประสบความส�ำเร็จ ในด้านหน้าทีก่ ารงาน และก็ทสี่ ำ� คัญ เลยก็คือ เลี้ยงดูพ่อแม่ครับ อิงแลนด์: ของหนูก็คงได้เป็น sound engineer แนวหน้าของ ประเทศ คงมีครอบครัวที่ดี แล้ว ก็ได้ทำ� งานทีต่ วั เองอยากท�ำ ได้ทวั ร์ คอนเสิร์ตไปกับศิลปินระดับโลกค่ะ อาร์ม: ก็คงเป็นนักดนตรีครับ แล้วก็มหี น้าทีก่ ารงานทีม่ นั่ คง ดูแล พ่อแม่ได้ แมงปอ: คงเป็นนักร้อง ทีเ่ ป็น


ทีร่ จู้ กั ของคนทัว่ ไป (ถาม: คิดว่าจะ ไปแข่งหรือว่าไปเข้าร่วมอะไรสักอย่าง นอกประเทศบ้างไหม) ค่ะ เคยคิด ค่ะ ก่อนหน้านีเ้ คยไปเข้าค่ายร้องพลง แล้วก็ไปร้องทีเ่ วียดนามค่ะ ตอนนัน้ ก็เลยชอบแล้วอยากจะไป แต่ตอนนี้ ยังไม่มีแผนว่าจะไปที่ไหน ศิลปินท่านใดที่อยากร่วมงานด้วย อิ ง แลนด์ : ถ้ า เป็ น วงใน ประเทศไทย ก็อยากร่วมงานกับ Polycat ค่ะ ถ้าเป็นวงต่างประเทศ ก็ชื่นชอบ Ed Sheeran และ Marshmello จัดแบ่งเวลาของตัวเองอย่างไร เควิน: ส�ำหรับเพื่อน ๆ คณะ อืน่ ก็อาจจะเป็นการติวหนังสืออะไร อย่างนี้ แต่สำ� หรับคณะของผมเนีย่ ก็ จะเป็นการซ้อมดนตรีแล้วก็อาจจะมี แบ่งเวลาเพือ่ ติวหนังสือในบางรายวิชา นะครับผม ก็ตอ้ งจัดแบ่งตารางเวลา ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานของคณะ แล้วก็เรื่องส่วนตัวครับผม อิงแลนด์: จะจัดตารางเวลาไว้ อย่างละเอียดเลยค่ะ โดยจะแยกเป็น ตารางส�ำหรับซ้อมดนตรี และตาราง เวลาชีวิตของตัวเอง เพือ่ ที่จะไม่นำ� เรื่องส่วนตัว เรื่องของงาน แล้วก็ เรื่องของมหาวิทยาลัยมาปนกันค่ะ อาร์ ม : เรี ย งค� ำ ไม่ ถู ก ครั บ (หัวเราะ) มีการจัดสรรเวลา วางตาราง เวลาในแต่ละวันเลยว่าวันนี้ต้องท�ำ อะไรบ้าง แมงปอ: จะจดไว้เลยว่าแต่ละ วันต้องท�ำอะไรบ้าง เวลาไหน แล้ว ก็จัดสรรเวลา ท�ำเป็นตารางราย เดือนเลยค่ะ

ให้น้อง ๆ เขาเห็นนะครับ ว่าการ กระท�ำที่ดีของเราเป็นอย่างไร บาง อย่างที่ผมท�ำไม่ดีก็ไม่ต้องเอาเป็น เยี่ยงอย่าง แต่ถ้าสิ่งไหนเป็นที่สิ่ง ที่ดี ผมว่าน้อง ๆ เขาคงตัดสินเอง ได้ อย่างเช่น แต่งตัวให้เรียบร้อย ทิ้งขยะให้ลงถังขยะ การพูดจากับ ผูใ้ หญ่ หรือการไหว้ อะไรแบบนีค้ รับ อิงแลนด์: อยากให้น้องเน้น ความเป็นตัวเองให้มากที่สุดค่ะ แต่ ว่าไม่ออกนอกขอบเขตจนเกินไป คือ เป็นตัวเองและเคารพกฎระเบียบใน สังคม แล้วก็อยากให้มีความมั่นใจ ในตัวเองค่ะ อาร์ม: ก็คงประพฤติตัวให้ดี เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีครับ แมงปอ: อยากให้น้องกล้า แสดงออก กล้าคิดกล้าท�ำค่ะ ใช้ โอกาสในช่วงปีที่หนึ่งให้คุ้มค่า

ตั้งแต่ได้รับเลือกให้เป็นนักศึกษา ตัวอย่าง เคยรูส้ กึ ท้อหรือไม่มนั่ ใจไหม เควิน: ช่วงแรก ๆ ก็มีบ้างนะ ครับ เพราะว่าส่วนตัวผมไม่ได้เป็น คนที่เรียบร้อยหรือมีความมั่นใจใน ตัวเองขนาดนั้น แต่หลังจากผ่าน การเตรียมตัว เช่น การเข้าค่ายดาว เดือน ท�ำให้ผมกล้าแสดงออกมาก ขึ้น แล้วก็รู้จุดมุ่งหมายของตัวเอง ว่าเราท�ำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร และสิ่ง ที่เราท�ำมันสามารถน�ำไปปรับใช้ใน ชีวิตประจ�ำวันของเราในด้านอื่น ๆ ได้ดว้ ย ไม่วา่ จะเป็นด้านบุคลิกภาพ ด้านการพูดและการเข้าสังคมครับ อิงแลนด์: ตอนแรกก็ท้อค่ะ แล้วก็เหนื่อยด้วย เพราะช่วงก่อน ประกวดจะมีละครเวทีในความ ทรงจ�ำเข้ามาค่ะ แล้วอิงก็ไปช่วยท�ำ sound ค่ะ ก็คอื เหนือ่ ยมาก ๆ เคย เทคนิคสอนน้อง ๆ ให้เป็นนักเรียนที่ จะร้องไห้แล้วก็บอกรุน่ พีว่ า่ จะขอออก ดีอย่างเรา เพราะว่าไม่ไหวแล้ว แต่ว่าเรากลับ เควิน: ก็คงจะเป็นการกระท�ำ มาย้อนมองดูอีกทีว่าพวกพี่ ๆ เขา

เหนื่อย เขาเสียเวลามา ความจริง เขาไม่ต้องท�ำเพื่อเราก็ได้ แต่ว่าเขา ก็ยังเสียสละเวลาส่วนตัวมา แล้ว เพื่อน ๆ ในสาขาเขาก็มองว่าเรามี ประสิทธิภาพพอทีจ่ ะสามารถมาท�ำ กิจกรรมนี้ได้ เราก็เลยฮึดสู้ ลองดู สักตั้งหนึ่ง ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปมอง แล้ว ถือว่าผลที่ออกมาก็คุ้มค่ากับ การที่ยอมเหนื่อยค่ะ อาร์ม: ก็รสู้ กึ ตืน่ เต้นครับ แล้ว ก็เครียดไปด้วย แต่พอได้ทำ� ก็เหมือน เปิดโลกใหม่ ได้ท�ำในสิ่งที่ตัวเองไม่ เคยท�ำ แล้วก็มเี พือ่ นคอย support เวลาที่เครียดครับ แมงปอ: รูส้ กึ กดดัน และเหนือ่ ย ค่ะ แต่เราก็ได้ก�ำลังใจจากเพื่อน ท�ำให้เรามีแรงสู้ แล้วก็ท�ำโอกาสที่ ได้รับให้ดีที่สุดค่ะ หวังว่าเพือ่ น ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ จะ ได้รจู้ กั กับคูน่ กั ศึกษาต้นแบบตัวแทน วิทยาลัยมากขึ้น และถึงแม้น้อง ๆ ทัง้ สีจ่ ะมีวนั ทีร่ สู้ กึ ท้อ รูส้ กึ กดดัน และ รูส้ กึ เหนือ่ ยจากภาระหน้าทีใ่ หม่ทไี่ ด้ รับนอกเหนือจากการเป็นนักศึกษา น้องใหม่ แต่พวกเราทุกคนก็พร้อม จะเป็นก�ำลังใจให้น้อง ๆ ก้าวผ่าน อุปสรรคไปสู่จุดหมายที่ตั้งใจไว้ใน อนาคต พร้อมกับขอฝากความหวัง ให้การประกวดนีเ้ ป็นก�ำลังใจให้นอ้ ง ๆ นักศึกษาตั้งใจท�ำในสิ่งที่ดีต่อไปใน ภายภาคหน้าด้วยค่ะ

11


THAI AND ORIENTAL MUSIC

‘ไม้ตะขาบ’ เสียงจังหวะในดนตรีพิธีกรรม เเละเสียงกระทบไล่สัตว์ ในสังคมชาวสวน เรื่องและภาพ: พิชชาณัฐ ตู้จินดา (Pitchanat Toojinda) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจ�ำวิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ไม้ตะขาบส่งเสียงกระทบเป็นส่วนหนึ่งในดนตรีประเพณีพิธีกรรมมอญรามัญ ทั้งพิธีไหว้ศาลท�ำบุญกลางบ้านชุมชนมอญ ต้นฤดูเกษตรกรรม ที่เรียกเป็นภาษามอญ ว่า ‘เล่ะแปะจุ๊’ และพิธีกรรมส�ำคัญอย่าง ‘ร�ำผีมอญ’ หรือที่ภาษามอญเรียก ‘หฺยูกะนา’

28


สมจิตร ช่องคันปอน [ขวามือ] อายุ ๖๑ ปี ท�ำหน้าที่ ‘โต้ง’ ล�ำดับที่ ๔ ของตระกูล และสมใจ ช่องคันปอน [ซ้ายมือ] ผู้ช่วยโต้ง สองท่านต่างสืบทอดรายละเอียดความรู้ความเชื่อพิธีร�ำผีมอญจากบรรพบุรุษ ดูแลวงปี่พาทย์มอญ ‘ธ.หงษ์เจริญ’ ร่วมกับพี่น้องเครือญาติ ประกอบพิธีร�ำผีมอญแก่ตระกูลมอญในหลายพื้นที่

ล่าวสั้นรวบรัดกระชับเพื่อเข้าใจ ‘ไม้ตะขาบ’ เป็น เครื่องกระทบในวัฒนธรรมไม้ไผ่ ท�ำหน้าที่เฉกเช่น กรับ เกราะ โกร่ง ส�ำคัญที่เสียงจังหวะหนักจากแรงดีด กระทบไม้ไผ่ ดัง ‘ปัง-ปัง’ ไม่ต่างจากเสียงจังหวะหนัก อื่น ๆ ที่ได้จากอาการกระทุ้ง กระแทก กระทั่ง เครื่อง เคาะตีไม้ไผ่/ไม้เนือ้ แข็ง ไม่วา่ เป็น โส้ทงั่ บัง้ [ไม้ไผ่กระทุง้ ดิน] แสกเต้นสาก [กระทบสากต�ำข้าว] และอื่น ๆ อีก มาก ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กว้างขวางเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันอย่างแยกออกไม่ได้ กับ ‘การชุมนุมเล่นเสียงใน พิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิ์ บ่อเกิดวัฒนธรรมดนตรีในอุษาคเนย์’๑ ทีเ่ อกสารและค�ำสัมภาษณ์บอกชือ่ เครือ่ งมืออย่างเดียวกัน กับ ‘ไม้ตะขาบ’ ตามความรับรูต้ า่ งพืน้ ที่ ไม่วา่ เป็น ต๊อก ก้า/TOKKA [ชาวอาหม แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย] กระเพาะหรือกรอเปี๊ยะ [ประเทศกัมพูชา] วาเลโคะ/

Wa Let Khote [ประเทศเมียนมาร์] ฮะบั๊บ [มอญ ประเทศไทย อ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ/ จังหวัดปทุมธานี/จังหวัดราชบุรี] ไม้กรับ/ไม้กราบ [มอญประเทศไทย จังหวัดสมุทรสาคร] ไม้เหิบ [ภาค เหนือ ประเทศไทย] โดยเฉพาะเครือ่ งมือกระทบอย่างนี้ ทีส่ ร้างจากล�ำ ไม้ไผ่ตา่ งขนาด ทัง้ เส้นผ่านศูนย์กลางและความยาว ที่ เนื้อไม้บริเวณช่วงล่างเหนือโคนล�ำไม้หนึ่งคืบถูกคว้าน ออก ให้เว้าทั้งสองข้างประมาณเศษหนึ่งส่วนสามตาม ทางยาวของล�ำไม้ ผ่าครึง่ ช่วงบนออก ๒ ซีก เหลือโคน ไม่แยกออกส�ำหรับง้างสะบัดตี งับเข้าหากัน ใช้กระทบ ส่งเสียงเป็นส่วนหนึ่งในดนตรีประเพณีพิธีกรรมมอญ รามัญ ทั้งพิธีไหว้ศาลท�ำบุญกลางบ้านชุมชนมอญต้น ฤดูเกษตรกรรม๒ ทีเ่ รียกเป็นภาษามอญ ว่า ‘เล่ะแปะจุ’๊

หากสนใจโปรดอ่านเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจที่แผ่ขยายออกไป จากบทความเรื่อง ‘การชุมนุมเล่นเสียงในพิธีกรรม ศักดิ์สิทธิ์ บ่อเกิดวัฒนธรรมดนตรีในอุษาคเนย์’ ทั้งภาคต้นและภาคจบของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สนอง คลังพระศรี ในวารสารเพลงดนตรี ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ และปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๓ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ และบทความเรื่อง ‘อ่านหนังสือ: เพลงขับในพิธีกรรมความตายสู่มิติบันเทิงของชีวิต’ ของผู้เขียนท่านเดียวกัน ในวารสารสุริยวาฑิต ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒ ศาลในอ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ อาทิ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลพระยานาคราช ศาลเจ้าพ่อป๊ะหเมิน ศาลในจังหวัดปทุมธานี อาทิ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลอะโน่กด๊วด ต�ำบลสามโคก ศาลในจังหวัดราชบุรี อาทิ ศาลเจ้า พ่อเทพ วัดคงคาราม ศาลวัดไทรอารีรักษ์ ศาลในจังหวัดกาญจนบุรี อาทิ วัดพุตะเคียน อ�ำเภอทองผาภูมิ ๑

29


ไม้ตะขาบถูกฟันท�ำลายทิ้งแล้วน�ำไปกองรวมกับเครื่องเซ่นอื่นๆ บนกระด้ง เพื่อเซ่นตีนโรงตีนศาลบริเวณหัวท้ายนอก อาณาเขตศาลเจ้าพ่อเทพหลังเสร็จพิธี

จัดเดือน ๖ [กลางเดือนเมษายนถึง เดือนพฤษภาคม] ของทุกปี และ พิธีกรรมส�ำคัญอย่าง ‘ร�ำผีมอญ’ หรือที่ภาษามอญเรียก ‘หฺยูกะนา’ ตีกระทบตามจังหวะช้าเร็วพร้อม ๆ กับวงปี่พาทย์มอญ บรรเลงเพลง ตามล�ำดับขัน้ ตอนทีก่ ำ� หนดไว้อย่าง ละเอียดเคร่งครัด ประกอบการร�ำ ของ ‘โต้ง’ ผู้ประกอบพิธีร�ำผีมอญ รวมถึงการร�ำของคนจากตระกูลเจ้า ภาพที่จัดพิธีร�ำผีมอญอีกด้วย สมจิตร ช่องคันปอน อายุ ๖๑ ปี ท�ำหน้าที่ ‘โต้ง’ ล�ำดับที่ ๔ ของ ตระกูล สืบทอดรายละเอียดความรู้ ความเชือ่ พิธรี ำ� ผีมอญจากบรรพบุรษุ ดูแลวงปีพ่ าทย์มอญ ‘ธ.หงษ์เจริญ’ ร่วมกับพี่น้องเครือญาติ ประกอบ พิธรี ำ� ผีมอญแก่ตระกูลมอญในพืน้ ที่ 30

ต�ำบลโกรกกรากและอ�ำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร อ�ำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ต�ำบลบางกระดี่ กรุงเทพฯ ทั้งเตรียมอุปกรณ์ร�ำ เครื่องเซ่น โรงพิธี เครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะเพลงดนตรีประกอบพิธี ร�ำผีมอญที่เป็นความรู้เฉพาะทาง ของครอบครัว เล่าความรูเ้ รือ่ ง ‘ไม้ ตะขาบ’ หรือทีเ่ รียก ‘ไม้กรับ’ หรือ ‘ไม้กราบ’ ว่า “ประเพณีมอญใช้ไม้กรับเฉพาะใน พิธรี ำ� ผีมอญ ตัง้ แต่รนุ่ พ่อรุน่ ป้าทีเ่ คย เห็น บางตระกูลใช้ไม้กรับตีประกอบ ร�ำอย่างเดียว ไม่มีปี่พาทย์ แล้วก็ มีกลองลูกเปิงอีกใบ ตีเข้าจังหวะ ให้ถูกเพลง อันนี้แล้วแต่ตระกูลเขา ว่าก�ำหนดมาอย่างไร เพิ่มได้ ห้าม ลด สมัยก่อนปี่พาทย์น้อย ตระกูล

ไหนท�ำมาค้าขึ้น ร�่ำรวย ตระกูลที่ ไม่เคยมีปี่พาทย์ก็เปลี่ยนมามี คือ อยากให้พิธีสนุกสนานขณะร�ำ บาง ผีบางตระกูลใช้ปพ่ี าทย์เครือ่ งคู่ ฆ้อง สองโค้ง ตะโพนมอญก็ตอ้ งใช้สองใบ บางตระกูลใช้กลองเดีย่ วคือใบเดียว ก็ใช้ตะโพนมอญใบเดียวกับวงปีพ่ าทย์ มอญปกติ เขาเรียกผีคผู่ เี ดีย่ ว หมาย ถึง ผีตน้ ตระกูลเขาท�ำกันมาอย่างนัน้ “โต้งแต่ละทีท่ ำ� พิธรี ายละเอียด ต่างกัน ส่วนมากทัว่ ไปโต้งจะร�ำเอง ทุกเพลงทัง้ หมด แต่ถา้ เป็นของทีบ่ า้ น นีท้ ำ� เพลงนีเ้ ป็นของโต้ง โต้งต้องร�ำ เพลงตระกูลเจ้าภาพ เจ้าภาพต้องร�ำ เพลงสะใภ้ สะใภ้ตอ้ งร�ำ เพลงลูกสาว ของตระกูลเจ้าภาพ หรือทีเ่ รียก ‘โกน ลุ่มตา’ ลูกสาวบ้านนั้นก็ต้องร�ำ ร�ำ เรียงไปเรือ่ ย ๆ เป็นชุด ๆ จนกว่าจะ


วงปี่พาทย์มอญประกอบร�ำผีมอญจังหวัดราชบุรี คณะฉลาดศิลป์ พิธี ‘เล่ะ แปะจุ๊’ ศาลเจ้าพ่อเทพ ชุมชนมอญรามัญบ้านคงคา หมู่ ๓ ต�ำบลคลอง ตาคต อ�ำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี [ในภาพ นายฉลาด เดือนฉาย เสื้อ ขาว บรรเลงฆ้องมอญ]

เสร็จพิธี พิธรี ำ� ผีมอญจัด ๒ วัน วัน สุกดิบคือวันเตรียมของ ท�ำของ บ้าน เจ้าภาพเป็นคนเตรียมของทั้งหมด แต่โต้งต้องแนะน�ำก�ำกับ ให้เขาจด รายการว่าต้องใช้ของเตรียมของอะไร บ้าง ตัง้ แต่ปลูกโรงพิธี อุปกรณ์ทใี่ ช้รำ� ท�ำขนม ย่างปลาช่อน รวมไปถึงไม้ กรับนี้ด้วย รุ่งขึ้นถึงท�ำพิธีร�ำทั้งวัน ตั้งแต่เช้าจรดเย็น” เล่าเสริมให้ฟงั ว่า เหตุผลทีต่ ระกูล มอญต้องจัดร�ำผี เพราะตระกูลนัน้ ท�ำ ผิดข้อห้ามที่ประเพณีก�ำหนด หรือ เรียก ‘ผิดผี’๓ ต้องจัดร�ำผีเพื่อล้าง ผิดให้สะอาด บางตระกูล ปีนั้น ๆ ร�ำ่ รวยทรัพย์สนิ เงินทอง บางตระกูล ให้ก�ำเนิดลูกชายคนโตหัวปี๔ หรือ

บางตระกูลเว้นจัดพิธีนานปีก็ต้อง จัดขึ้นตามค�ำทักท�ำนายหรือตาม เหมาะสม โดยเฉพาะไม้กรับที่ใช้ใน พิธีร�ำผีมอญก�ำหนดให้ใช้งานละ ๒ ตัว นัง่ ต�ำแหน่งขวามือของวงปีพ่ าทย์ ส�ำคัญคือเวลาพักต้องตั้งพิงไม้กรับ กับราวไม้ไผ่ ไม่ให้วางนอนลงกับพืน้ โต้งต้องคอยระวังไม่ให้ไม้กรับล้ม เพราะถือเป็นลางร้ายแก่เจ้าภาพ นอกจากนี้ ไม้กรับยังถูกก�ำหนด ตามประเพณีพิธีกรรม ว่าต้องพุ่ง ทิง้ ลงแม่นำ�้ เท่านัน้ หลังเสร็จพิธี รวม ถึงวัสดุสร้างโรงพิธีอื่น ๆ ที่หลังรื้อ ถอนปะร�ำแล้ว ห้ามส่งต่อให้คนใน ตระกูลน�ำกลับไปใช้ทำ� ประโยชน์อนื่ ไม่ตา่ งจากพิธี ‘เล่ะแปะจุ’๊ ศาล

เจ้าพ่อเทพ ชุมชนมอญรามัญบ้าน คงคา หมู่ ๓ ต�ำบลคลองตาคต อ�ำเภอ โพธาราม จังหวัดราชบุรี ทีใ่ ช้ไม้ตะขาบ ตีกระทบพร้อม ๆ กับวงปี่พาทย์ มอญ ประกอบพิธเี ข้าทรงเจ้าพ่อเจ็ด หัวเมืองมอญในช่วงเช้า และทรงเจ้า พ่อเทพ เจ้าพ่อหลักเมือง เจ้าแม่เบิก ไพรในช่วงบ่าย แตกต่างกันทีไ่ ม้ตะขาบ ถูกฟันท�ำลายทิ้งแล้วน�ำไปกองรวม กับเครือ่ งเซ่นอืน่ ๆ บนกระด้ง เพือ่ เซ่นตีนโรงตีนศาลบริเวณหัวท้ายนอก อาณาเขตศาลเจ้าพ่อเทพหลังเสร็จ พิธี ไม่พงุ่ ทิง้ ลงแม่นำ�้ อย่างไม้กรับที่ จังหวัดสมุทรสาคร ทัง้ ๆ ทีศ่ าลเจ้า พ่อเทพตัง้ ไม่ไกลจากแม่นำ�้ แม่กลอง ข้อมูลอีกด้านจากปากโต้โผ ปีพ่ าทย์มอญประกอบร�ำผีมอญจังหวัด ราชบุรี คณะฉลาดศิลป์ อย่างนาย ฉลาด เดือนฉาย อายุ ๖๒ ปี ให้ ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า อดีตที่ตนยัง เด็ก ๆ พิธี ‘เล่ะแปะจุ๊’ ศาลเจ้าพ่อ เทพ ใช้วงเครื่องสายมอญบรรเลง ประกอบพิธีแทนวงปี่พาทย์มอญ อย่างที่เห็นในปัจจุบัน จึงเป็นข้อ สังเกตส่วนตัว [ผู้เขียน] ที่ไม่ใช่ ข้อสรุปว่า ไม่ว่าเป็นวงดนตรีชนิด ใด แต่ส�ำคัญที่เสียงกระทบจากไม้ ตะขาบ เพราะวงเครื่องสายมอญที่ นายฉลาดกล่าวถึง ก็ใช้ไม้ตะขาบตี กระทบจังหวะเช่นเดียวกัน และหาก จะกล่าวจนถึงทีส่ ดุ ดัง้ เดิมพิธกี รรม อย่างนีอ้ าจตีเฉพาะไม้ตะขาบโดยไม่มี ท�ำนองเพลงดนตรีกเ็ ป็นได้ เพราะท่า ร�ำคนทรงทีป่ รากฏในหลายพืน้ ทีม่ กั ยืนยืดยุบ กระโดดเต้น และกระตุกมือ

ข้อห้ามที่ประเพณีมอญก�ำหนด อาทิ ห้ามคนท้องสะใภ้นอกตระกูล หรือเด็กไว้ผมจุกผมเปียนอกตระกูล ขึ้นหรือเข้า บริเวณห้องผีของตระกูล [เสาผีตระกูล หรือที่ภาษามอญเรียก ‘ปาโน่ก’ เสาที่ ๒ ชั้น ๒ ของบ้าน เสาแรกคือเสาพระ] ห้ามน�ำตุ๊กตารูปคนเข้าบ้าน ห้ามมอบของสีแดง เช่น แหวนพลอยแดง แก่คนนอกตระกูล และอื่น ๆ อีกมาก ถ้าล่วง ละเมิดข้อห้ามดังกล่าว เรียก ‘ผิดผี’ ส่งผลให้คนในตระกูลกินอยู่ไม่สบายเนื้อตัวหรือสบายใจ อาจพูดสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่า ‘ไม่เจริญ’ ๔ เพราะลูกชายคนโตหัวปีต้องรับหน้าที่สืบต่อในการดูแลผีตระกูล ๓

31


ท่าร�ำคนทรงที่ปรากฏในหลายพื้นที่มักยืนยืดยุบ กระโดดเต้น และกระตุกมือ ตามเสียงจังหวะไม้ตะขาบเป็นส�ำคัญ

ตามเสียงจังหวะไม้ตะขาบเป็นส�ำคัญ ทัง้ ไม้ตะขาบยังถูกจัดเตรียมโดยคนใน ชุมชนศาลเจ้าพ่อเทพร่วมกับเครือ่ ง ประกอบพิธีอื่น ๆ หมายความว่า ไม้ตะขาบเป็นเครื่องมือคนละส่วน กับวงปี่พาทย์มอญจากภายนอกที่

เข้ามาบรรเลงประกอบพิธี เสียงกระทบไม้ตะขาบ หรือที่ ภาคเหนือของประเทศไทย เรียก ‘ไม้เหิบ’ ยังเป็นเสียงจังหวะส�ำคัญ ในวงป้าดก๊อง หรือวงปีพ่ าทย์ลา้ นนา โดยเฉพาะในดนตรีพิธีกรรมฟ้อน

ผีมดผีเม็งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดล�ำพูน จังหวัดล�ำปาง อย่างที่ ทศพล บุรวัฒน์ อายุ ๓๑ ปี๕ ศิลปิน พื้นบ้านซอล่องน่าน คณะช่อแก้ว เจริญศิลป์ จังหวัดน่าน อธิบายว่า ‘เหิบ’ ภาษาล้านนาหมายความว่า ‘ไล่’ หรือเชียร์ พิธีเลี้ยงปางผีจึง นิยมใช้เสียงไม้เหิบตีเร่ง หรือเชียร์ ให้ผีเจ้านายที่มีบรรดาศักดิ์ใหญ่โต รีบสวมร่างม้าทรงโดยเร็ว ก�ำหนด ใช้งานละ ๒ ตัว ขนาดใหญ่ความ ยาวจากพืน้ จรดศีรษะและขนาดเล็ก ความยาว ๑ ศอก เพื่อเสียงที่ต่าง กัน หลังเสร็จพิธตี อ้ งท�ำลายโดยแหก ทิง้ ด้วยเหตุผลทางความเชือ่ เช่นกัน นอกจากนี้ เขตอ�ำเภอปะค�ำ จังหวัด บุรรี มั ย์ ไม้ตะขาบยังเป็นส่วนหนึง่ ใน พิธีเลี้ยงผีโรงหรือผีบรรพบุรุษของ คนที่เรียกตัวเอง ว่า ‘ไทยนางรอง’ โดยเฉพาะโรงมอญ๖ ที่ผีนายโรงจะ ใช้ไม้ตะขาบแทนเป็นอาวุธตีหยอก ล้อกับผีอื่น ๆ ขณะเข้าทรง [ไม่ตี ประกอบเพลงดนตรี] และจ�ำเป็น ต้องวางไม้ตะขาบร่วมกับม้าไม้ช้าง ไม้บนหิ้งผีของตระกูลอีกด้วย ความรู้ความเชื่อเกี่ยวกับไม้ ตะขาบยังขยายขอบเขตและกระจ่าง ชัดมากยิง่ ขึน้ เมือ่ ความส�ำคัญมีความ สัมพันธ์เชื่อมโยงกับข้อมูลการใช้ ไม้ตะขาบจากฝั่งประเทศเมียนมาร์ โดยสรุปค�ำสัมภาษณ์จากปากครู ปีพ่ าทย์พม่าหญิง อย่าง อูแซนหยิน่ [U San Yin] อายุ ๕๗ ปี๗ อาจารย์ ประจ�ำภาควิชาดนตรี มหาวิทยาลัย ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติเมียนมาร์

อนุเคราะห์ค�ำสัมภาษณ์ โดย ปฏิภาณ ธนาฟู นักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๖ หนึ่งในผีโรง ๔ เชื้อสาย ได้แก่ ผีโรงเขมร ผีโรงปะก�ำ ผีโรงมอญ ผีโรงละคร ๗ อนุเคราะห์ค�ำสัมภาษณ์และตรวจสอบข้อมูลโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุธี จันทร์ศรี อาจารย์ประจ�ำภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ระหว่างกิจกรรมอบรม แลกเปลี่ยนความรู้ดนตรีไทยและดนตรีเมียนมาร์ ของวิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ณ มหาวิทยาลัยศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติเมียนมาร์ [National University of Arts and Culture] ณ ประเทศเมียนมาร์ ๕

32


ทศพล บุรวัฒน์ อายุ ๓๑ ปี ศิลปินพื้นบ้านซอล่องน่าน คณะช่อแก้วเจริญศิลป์ จังหวัดน่าน [เอื้อเฟื้อภาพโดย ปฏิภาณ ธนาฟู นักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา]

[National University of Arts and Culture] ที่ว่า ไม้ตะขาบ เรียก ชื่อเป็นภาษาเมียนมาร์ว่า วาเล โคะ [Wa Let Khote]๘ หรือเรียก อีกชื่อว่า ถ่อววา [Htaung Wa]๙ นอกจากเป็นเครือ่ งกระทบทีใ่ ช้รว่ ม กันระหว่างชาวเมียนมาร์ ชาวมอญ ชาวยะไข่ ตีก�ำกับจังหวะอย่างมีรูป แบบทีช่ ดั เจนในวงซายวาย [Saing

Waing] หรือวงปี่พาทย์พม่า ไม้ ตะขาบยังตีกำ� กับจังหวะในวงดนตรี พืน้ บ้านชนบทเพือ่ งานเฉลิมฉลองและ ขบวนแห่ตา่ งเทศกาล ไม่วา่ เป็น วง โอซี [Ozi]๑๐ วงโดแบะ [Dobat]๑๑ วงบองจยี [Bon gyi]๑๒ โดยเฉพาะวงปี่พาทย์พม่าที่ไม้ ตะขาบถือเป็นครูใหญ่ เปรียบได้กบั ‘เสาหลักของร่ม’ เพราะใช้ควบคุม

จังหวะบรรเลงเพื่อความพร้อม เพรียงของวงดนตรี๑๓ [ส�ำคัญมาก เมือ่ บรรเลงทีโ่ ล่งแจ้งหรือท่ามกลาง คนหมู่มาก] ควบคู่ไปกับป๊าดวาย [Pat waing]๑๔ หรือเปิงมางพม่า ที่ มีบทบาทบรรเลงเป็นผูน้ ำ� พาท�ำนอง เพลงดนตรีให้มจี งั หวะเร็วขึน้ หรือช้า ลง นักดนตรีปี่พาทย์ชาวเมียนมาร์ จึงให้ความเคารพไม้ตะขาบโดยไม่ ก้าวข้ามหรือวางนอนราบกับพื้น เพราะเชือ่ ว่าจะส่งผลให้พบอุปสรรค ไม่ประสบความส�ำเร็จในการเรียนรู้ เพลงดนตรี ทั้งช่วงฤดูฝนระหว่าง เทศกาลเข้าพรรษาทีว่ งปีพ่ าทย์พม่า ทัว่ ประเทศต่างหยุดพักรับงานบรรเลง ไม้ตะขาบยังถูกน�ำขึ้นไปแขวนบูชา ร่วมกับประตูคอกเปิงมางพม่าบน หิ้งครูอีกด้วย กลั บ มาที่ ป ระเทศไทย ไม้ ตะขาบยังถือเป็นเทคโนโลยีเครือ่ งมือ การเกษตรอย่างหนึง่ ในโลกอดีตของ สังคมชาวสวนและชาวนา เพราะเสียง ตีไม้ตะขาบช่วยใช้ไล่สตั ว์ต่างชนิดที่ ลอบกินพืชผลในฤดูเก็บเกีย่ วและเมือ่ ข้าวสุก [ลักษณะใช้งานเช่นเดียวกับ ที่ประเทศกัมพูชา] โดยเฉพาะสวน

วา แปลว่า ไม้ไผ่ เลโคะ แปลว่า การปรบ [Clapping] ถ่อว แปลว่า ตั้งหรือยืน ๑๐ วงโอซี [Ozi] หรือวงกลองยาว เป็นวงดนตรีส�ำหรับแห่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ได้แก่ กลองยาว หรือ ‘โอซี’ [Ozi] ขลุ่ย หรือ ‘เพาเล’ [Palwei] ปี่ หรือ ‘หเน่’ [Hne] และไม้ตะขาบ หรือ ‘วาเลโคะ’ [Wa Let Khote] พร้อมนางร�ำ หน้าขบวนแห่ ๑๑ วงโดแบะ [Dobat] หรือวงกลองสองหน้า เป็นวงดนตรีส�ำหรับงานเฉลิมฉลองในเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วยเครื่อง ดนตรี ได้แก่ กลองสองหน้า หรือ ‘โดแบะ’ [Dobat] ปี่ หรือ ‘หเน่’ [Hne] ฉาบ ‘ยักวิน’ [Yakwin] และไม้ตะขาบ หรือ ‘วาเลโคะ’ [Wa Let Khote] พร้อมนางร�ำหน้าขบวนแห่ ๑๒ วงบองจยี [Bon gyi] เป็นวงดนตรีส�ำหรับเทศกาลปลูกข้าว ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ได้แก่ ปี่ หรือ ‘หเน่’ [Hne] ฉาบ ‘ยักวิน’ [Yakwin] และไม้ตะขาบ หรือ ‘วาเลโคะ’ [Wa Let Khote] ๑๓ ซีวา [Si Wa] หมายถึง เครื่องก�ำกับจังหวะในดนตรีเมียนมาร์ ซี มีสองขนาด ขนาดใหญ่ใช้ในวงซายวาย ขนาดเล็กใช้ ในวงดนตรีที่มีเสียงเบา เช่น วงซองเกาะ [Saung Kok] และวงปัตตาล่า [Patala] วา มีสองขนาดเช่นกัน ชนิดขนาดใหญ่ เรียกว่า วาเลโคะ [Wa Let Khote] ชนิดขนาดเล็กเรียกว่า เพียวตง [Byok tone] เพียว แปลว่า เสียงเคาะ ตง แปลว่า ท�ำจากไม้ ทั้งนี้ คนตีวาเลโคะในวงซายวายจะท�ำหน้าที่พิธีกรพูดแนะน�ำรายละเอียดเพลงและเป็นนักร้องประจ�ำวงด้วย ๑๔ หรือเรียกอีกชื่อว่า ป๊าดโลง [Pat lone] ๘ ๙

33


อูแซนหยิ่น [U San Yin] [ขวามือ] อายุ ๕๗ ปี อาจารย์ประจ�ำภาควิชาดนตรี มหาวิทยาลัยศิลปะและวัฒนธรรมแห่ง ชาติเมียนมาร์ [National University of Arts and Culture] [เอื้อเฟื้อภาพโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุธี จันทร์ศรี อาจารย์ประจ�ำภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา]

ผลไม้ตา่ งชนิดในหลายพืน้ ทีเ่ ขตภาค กลาง ทั้งเขตฝั่งธนบุรี เขตตลิ่งชัน แขวงบางมด ในกรุงเทพฯ จังหวัด นนทบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัด สมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ ไม่วา่ เป็น สวนลิน้ จี่ มะม่วง มะไฟ ส้ม ชมพู่ หรือทุเรียน นอกจากความรู้ เรื่องเล่า การใช้งานที่ยังหลงเหลือ บ้างบางพืน้ ทีใ่ นปัจจุบนั ๑๕ หลักฐาน ส�ำคัญคือ ภาพเขียนจิตรกรรมฝา

ผนังพระอุโบสถสมัยรัชกาลที่ ๓ วัด สุวรรณารามราชวรวิหาร หรือวัดทอง ตั้งอยู่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ที่เขียนภาพไม้ตะขาบแขวนบนต้น ลิน้ จีใ่ นเรือ่ งเล่าสุวรรณสามชาดก๑๖ ไพฑูรย์ สรวยโภค อายุ ๕๑ ปี ผู้ก่อตั้ง น�ำชม และภัณฑารักษ์ ‘พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา’ วัดหนัง ราชวรวิหาร ตั้งอยู่เขตจอมทอง กรุงเทพฯ เติบโตแวดล้อมท่ามกลาง

สวนผลไม้และอาชีพชาวสวนฝัง่ ธนบุรี เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่าน เครือ่ งใช้ไม้สอยของสะสมทัง้ ของชาว วัดและชาวบ้านตั้งแต่ตั้งพิพิธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ สรุปบทบาทไม้ตะขาบ ในสวนลิ้นจี่ที่ตนคุ้นเคยว่า “กลางคื น ค้ า งคาวลงเยอะ ค้างคาวแม่ไก่เวลากินลิ้นจี่ กินทั้ง กระโดง กิ่งที่ยื่นจากต้น เขาเรียก กระโดงกิ่ง หนึ่งคืนกินหมด เพราะ

เช่น สวนลิ้นจี่บริเวณวัดบางขุนเทียนกลาง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ของคุณพรทิพย์ เทียนทรัพย์ ภาพดังกล่าวอยู่บริเวณห้องที่ ๒ ด้านขวามือจากประตูพระอุโบสถ โดยหนังสือภาพถ่ายจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ อธิบายภาพดังกล่าวว่า ‘ท้าวกบิลยักษ์น�ำข่าวการตายของสุวรรณสาม ไปแจ้งดาบสดาบสินีบิดามารดาของสุวรรณสามซึ่งตาบอดทั้งคู่ จะเห็นภาพชีวิตที่เป็นไปตามความจริงของผู้อยู่ในป่า เช่น เชือกที่โยงจากเสาบรรณศาลาไปยังต้นไม้ส�ำหรับดึงเกราะ [หรือไม้ตะขาบ] ให้ดัง เพื่อไล่นก กระแต หรือกระรอก ที่จะ มาลักกินผลไม้’ ๑๕ ๑๖

34


วงปี่พาทย์พม่าที่ไม้ตะขาบถือเป็นครูใหญ่ เปรียบได้กับ ‘เสาหลักของร่ม’ เพราะใช้ควบคุมจังหวะบรรเลงเพื่อความพร้อม เพรียงของวงดนตรี [เอื้อเฟื้อภาพโดย ปฏิภาณ ธนาฟู นักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา]

รุมหลายตัว ทัง้ ปลิด ทัง้ เก็บ ทัง้ กิน กลางวันเป็นพวกกระรอก กระแต พวกนี้แอบคลานมาเงียบ ๆ แต่ พอเกิดเสียงตีไม้ตะขาบก็หนีหมด เวลาใช้งานห้อยหัวไม้ตะขาบลง เหมือนคีมหนีบถ่าน ไม่ตั้งขึ้นแบบ ตีปี่พาทย์ ใช้ไม้ไผ่สอดที่ด้ามแล้ว คานบนกิ่งไม้ผล ต่อเชือกปลายไม้ ตะขาบจากสวนแล้วโยงมาในบ้าน ประมาณ ๓๐-๕๐ เมตร วิธีคือดึง เชือกให้โย้ตามมือแล้วปล่อย ขณะ ปล่อยให้กระตุกมือแรง ๆ ปลายไม้ ตะขาบสองข้างจะอ้าออกแล้วฟาด หากัน สวนหนึ่งขนัดอยู่ที่ ๓-๔ ไร่ ต้องท�ำไว้ถึง ๑๐ ตัว แขวนทั่ว ๆ แล้วรวบปลายเชือกไว้ทเี่ ดียว เวลา กระตุกจะดังก้องไปทั้งสวน กระตุก ทุก ๆ ครึง่ ชัว่ โมง หรือเท่าทีส่ ะดวก “ดังทั้งวันทั้งคืนต้องหน้าลิ้นจี่

เดือนมีนา ลิ้นจี่ออกหัวแดงเรื่อ ๆ เริม่ จะหวาน เรียกหัวกิง้ ก่า ค้างคาว กระรอกชอบ เดีย๋ วนีต้ ดิ ไฟนีออน ดัก ตาข่าย หรือใช้ไม้แขวนในปี๊บแล้ว กระตุกแทน ความคุน้ เคยของผมคือ เป็นของเล่นด้วย กระตุกถี่ ๆ แข่ง กันแต่ละสวน รัวปังปังปัง สวนใคร เงียบก่อนแสดงว่าแพ้ ไม่ไหวเพราะ ปวดแขน ไม่เห็นตัวหรอก แต่มัน ดังจากฟากหนึ่งไปฟากหนึ่ง หมด หน้าลิ้นจี่ก็เก็บเอาเหน็บไว้ใต้ถุน บ้าน บางบ้านประตูรั้วอยู่ไกล เขา แขวนไม้ตะขาบไว้ในบ้าน แล้วกระตุก ปลายเชือกจากรั้วเรียกคนในบ้าน ก็มี คล้ายกริ่งในปัจจุบัน ควรเป็น ไม้ไผ่แก่ เพราะไม้สดกระตุกมาก มันลั่นแล้วแตก เส้นผ่านศูนย์กลาง อยู่ที่ ๓ นิ้วขึ้นไป ยาวเมตรกว่า ๆ เล็กกว่านีไ้ ม่เกิดเสียง เพราะไม่มแี รง

กระพือ ตัวที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เป็นของที่บ้านผม ใช้งานจริงมา ประมาณ ๓๐ กว่าปี” น่าสังเกตว่า แม้เครือ่ งมือกระทบ เคาะตีไม้ไผ่อื่น ๆ จะถูกแทนที่ด้วย ไม้จริงตามหลักล�ำดับพัฒนาการ เครือ่ งดนตรี ทีต่ อ้ งการเสียงทีแ่ กร่ง ดังกังวานและใช้งานได้นานคงทน กว่า ไม่วา่ เป็น ระนาดไม้ไผ่/ระนาด ไม้จริง เกราะไม้ไผ่/เกราะไม้จริงใน วงปีพ่ าทย์พม่า กระดึงไม้ไผ่/กระดึง ไม้จริง และตัวอย่างอื่น ๆ อีกมาก อย่างกว้างขวาง หากแต่เสียงจังหวะ ในดนตรีประเพณีพธิ กี รรมข้างต้นยัง คงสืบรักษาเสียงกระทบไม้ตะขาบ เป็นส�ำคัญ แน่นอนว่า ย่อมต้องมี ค�ำอธิบายนอกเหนือจากการอิงแอบ พิธกี รรมความเชือ่ หรือมากกว่าเชือ่ ม โยงกับจิตวิญญาณ และหากถาม 35


ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถสมัยรัชกาลที่ ๓ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร หรือวัดทอง ตั้งอยู่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ที่เขียนภาพไม้ตะขาบแขวนบนต้นลิ้นจี่ ในเรื่องเล่าสุวรรณสามชาดก

36


ว่า ตามหลักฐานเอกสาร เสียงไม้ ตะขาบดังขึ้นตั้งแต่สมัยใด อย่าง น้อยก็ตอ้ งอ้างอิงเท่าทีพ่ บจากบันทึก ราชทูตฝรัง่ เศสในรัชสมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช อย่างมองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์๑๗ และสมุทรโฆษค�ำฉันท์ ทีร่ ะบุ ‘กองไฟรอบรัว้ อาเกียรณ์ พล ร้องรอบเวียน แลตีจรขาบขับกลอง’ จรขาบ คือ ตะขาบ หมายถึง ‘ไม้ ตะขาบ’ นั่นเอง๑๘

จากหนังสือจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม บทที่ ๕ ว่าด้วย รถและยานพาหนะทั่วไปของชาวสยาม ข้อที่ ๑๘ การแข่งเรือ ดังข้อความระบุ ว่า ‘ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่า การแข่งเรือที่ เขาเอื้อเฟื้อจัดให้เราชมนั้น จะนับเนื่อง ว่าเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งด้วยหรือ ไม่ เพราะในทรรศนะของชาวสยาม นั้น การแข่งเรือเป็นกีฬามากกว่าการ ละเล่น ชาวสยามเลือกเรือยาว ๒ ล�ำ มาเปรียบเทียบส่วนสัดให้เท่ากันทุก อย่างเท่าที่สามารถจะท�ำได้ แล้วก็แบ่ง ออกเป็นสองพวกเพื่อพนันขันต่อกัน ครั้นแล้วคณะกรรมการ [committee] ก็ลุกขึ้นยืนท�ำจังหวะเร่งเร้า ไม่เพียง แต่จะกระทบปลายตะขาบอันท�ำด้วย ไม้ไผ่ปล้องยาวที่ถืออยู่ในมือเท่านั้น ยังส่งเสียงร้องหนุนและโยกไหวไปทั้ง เนื้อทั้งตัวอีกด้วย’ ๑๘ คัดข้อความและค�ำอธิบายจาก หนังสือ ‘ร้องร�ำท�ำเพลง’ เขียนโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ๑๗

ไพฑูรย์ สรวยโภค อายุ ๕๑ ปี ผู้ก่อ ตั้ง น�ำชม และภัณฑารักษ์ ‘พิพิธภัณฑ์ เพื่อการศึกษา’ วัดหนังราชวรวิหาร ตั้งอยู่เขตจอมทอง กรุงเทพฯ เติบโต แวดล้อมท่ามกลางสวนผลไม้และอาชีพ ชาวสวนฝั่งธนบุรี

ไม้ตะขาบส�ำหรับตีไล่สัตว์ต่างชนิดที่ ลอบกินพืชผลในฤดูเก็บเกี่ยวและเมื่อ ข้าวสุก จัดแสดงใน ‘พิพิธภัณฑ์เพื่อ การศึกษา’ วัดหนังราชวรวิหาร ตั้ง อยู่เขตจอมทอง กรุงเทพฯ

อ้างอิง เจนจิรา เบญจพงศ์. ดนตรีอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการ พิมพ์, ๒๕๕๕. มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์. จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี: โสภณการพิมพ์, ๒๕๕๗. ยน เคียน แกว ฎูรวี รรณ อี ลีณา เมา เฬณา. เครือ่ งดนตรีกมั พูชาโบราณ. นนทบุรี: หจก. หยิน หยาง การพิมพ์, ๒๕๕๓. สุจติ ต์ วงษ์เทศ. ร้องร�ำท�ำเพลง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๕๑. สัมภาษณ์ ฉลาด เดือนฉาย. สัมภาษณ์. ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒. ทศพล บุรวัฒน์. สัมภาษณ์. ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๒. ไพฑูรย์ สรวยโภค. สัมภาษณ์. ๔ มิถุนายน ๒๕๖๒. สมจิตร ช่องคันปอน. สัมภาษณ์. ๖ มิถุนายน ๒๕๖๒. สมใจ ช่องคันปอน. สัมภาษณ์. ๖ มิถุนายน ๒๕๖๒. ศุภนิมิตร ฤาไชยสา. สัมภาษณ์. ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๒. อนุรักษ์ พึ่งตัว. สัมภาษณ์. ๕ มิถุนายน ๒๕๖๒. อูแซนหยิ่น [U San Yin]. สัมภาษณ์. ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๒.

37


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.