หน่วยที่ 4
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 1
การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์
ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทรสรสักดิ์
ความหมาย การออกแบบลักษณะ โครงสร้าง หมายถึง การกําหนดรูปลักษณะ โครงสร้างวัสดุที่ใช้ตลอดจน กรรมวิธีการผลิต การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ นับตั้งแต่จุดผลิตจนถึง มือผู้บริโภค
กระบวนการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ในกระบวนการออกแบบโครงสร้าง ของบรรจุภัณฑ์ ผู้วิจัยต้องอาศัยความรู้และ ข้อมูลจากหลายด้านการอาศัยความช่วย เหลือจากผู้ชํานาญการบรรจุ (PACKAGING SPECIALISTS) หลาย ๆ ฝ่ายมาร่วมปรึกษา และพิจารณาตัดสินใจ ซึ่งอิงทฤษฏีของ
ปุ่น คงเจริญเกียรติและสมพร คงเจริญเกียรติ (2542:71-83) โดยที่ผู้วิจัยจะกระทําหน้าที่เป็น ผู้สร้างภาพพจน์ (THE IMAGERY MAKER) จากข้อมูลต่าง ๆ ให้ปรากฏเป็นรูป ลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์จริง
โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ นั้น ผู้ออกแบบจะมีบทบาท สร้างสรรค์ บรรจุภัณฑ์ประเภท individual package และ inner package ที่สัมผัสอยู่กับ ผลิตภัณฑ์ชั้นแรกและชั้นที่ 2 เป็น ส่วนใหญ่ แต่จะมีรูปร่างลักษณะ อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ (product)ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ ประเภทใดเป็นตัวกําหนดขึ้นมา ซึ่งผู้ออกแบบจะต้องศึกษาข้อมูล ของผลิตภัณฑ์ที่จะต้องบรรจุ และ ออกแบบโครงสร้างเพื่อรองรับ การบรรจุให้เหมาะสม โดยอาจจะ กําหนด ให้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ หรือทําให้มีรูปร่างที่เหมาะ แก่ การจับถือ หิ้ว และอํานวยความ สะดวกต่อการนําเอาผลิตภัณฑ์ ภายในออกมาใช้ พร้อมทั้งทํา หน้าที่ ป้องกันคุ้มครองผลิตภัณฑ์ โดยตรงด้วย ตัวอย่างเช่น กําหนด individual package ครีมเทียม สําหรับชงกาแฟบรรจุ ในซองอลูมิเนียมฟลอยส์แล้ว บรรจุใน กล่องกระดาษแข็งแบบ พับ (folding carton) รูปสี่เหลี่ยม อีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้เพราะผลิตภัณฑ์ เป็นแบบผง จึงต้องการวัสดุ สําหรับบรรจุที่สามารถกัน
PACKAGING PATTERN
ความชื้นได้ดี การใช้แผ่นอลูมิ เนียมฟลอยส์ บรรจุก็สามารถ ป้องกันความชื้นได้ดีสามารถ พิมพ์ลวดลายหรือข้อความบนผิว ได้ดีกว่าถุงพลาสติก อีกยัง เสริมสร้างภาพพจน์ความพอใจใน ผลิตภัณฑ์ให้เกิดแก่ผู้ใช้และเชื่อ ถือในผู้ผลิตต่อมา การบรรจุใน กล่องกระดาษแข็งอีกชั้นหนึ่งก็ เพราะว่าบรรจุภัณฑ์ชั้นแรกเป็น
วัสดุประเภทอ่อนตัว( flexible) มี ความอ่อนแอด้านการป้องกัน ผลิตภัณฑ์จากการกระทบกระแทก ทะลุในระหว่างการขนย้าย ตลอด จนยากแก่การวางจําหน่ายหรือตั้ง โชว์ จึงต้องอาศัยบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 2เข้ามาช่วยเพื่อการทําหน้าที่ ประการหลังดังกล่าว
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าเพียง แค่ขั้นตอนการกําหนด การเลือก วัสดุให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นั้น ผู้ออกแบบจะต้องอาศัย ความรู้ และข้อมูลตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาพิจารณาตัดสินใจร่วมใน กระบวนการ ออกแบบ เช่นราคา วัสดุ การผลิตเครื่องจักร การขนส่ง การตลาด การพิมพ์ ฯลฯ ที่จะต้องพิจารณาว่ามี ความ คุ้มทุน หรือเป็นไปได้ ในระบบ การผลิต และจําหน่ายเพียงใด แล้วจึงจะมากําหนด เป็นรูปร่าง รูปทรง ( shap & form) ของ บรรจุภัณฑ์อีกครั้งหนึ่ง ว่าบรรจุ ภัณฑ์ควรจะออกมาในรูปลักษณะ อย่างไร ซึ่งรูปทรงเลขาคณิต รูป ทรงอิสระก็มีข้อดี-ข้อเสียในการ บรรจุ การใช้เนื้อที่ และมีความ เหมาะสมกับชนิด ประเภทของ
ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันไป วัสดุ แต่ละชนิด ก็มีข้อจํากัด และ สามารถดัดแปลงประโยชน์ได้ เพียงใด หรือใช้วัสดุมาประกอบ จึงจะเหมาะสมดีกว่า หรือลด ต้นทุนในการผลิตที่ดีที่สุดสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้คือสิ่งที่ผู้ออกแบบ จะต้องพิจารณาประกอบด้วย
รายละเอียดมาตราส่วนที่กําหนด แน่นอน เพื่อแสดงให้ผู้ผลิต ผู้ เกี่ยวข้องเข้าใจอ่านแบบได้การใช้ ทักษะทางศิลปะในการออกแบบก็ คือเครื่องมือที่ผู้ออกแบบจะต้อง กระทําขึ้นมาเพื่อ การนํา เสนอ ต่อ เจ้าของ งาน หรือผู้
ดังนั้นจึงเห็นได้ ว่า ในขั้นตอนของ การออกแบบ โครงสร้างบรรจุ ภัณฑ์ นักออกแบบ มิใช่ว่าจะสร้างสรรค์ ได้ตามอําเภอใจ แต่ กลับต้องใช้ความรู้ และ ข้อมูลจากหลายด้าน มา ประกอบกันจึงจะทําให้ผล ว่า งานออกแบบนั้นมีความ จ้าง ตลอด สมบูรณ์ และสําเร็จออกมาได้ ใน จนผู้เกี่ยวข้องให้ช่วย ขั้นของการออกแบบ พิจารณาปรับปรุงเพื่อให้ได้ โครงสร้างนี้ผู้ออกแบบ จึงต้อง ผลงาน ที่จะสําเร็จออกมามี เริ่มตั้งแต่การสร้างแบบ ด้วยกา ประสิทธิภาพในการใช้งานจริง รสเก็ต แนวความคิดของรูปร่าง บรรจุภัณฑ์และสร้างภาพประกอบ รายละเอียด ด้วยการเขียนแบบ ( mechanical drawing) แสดง
ข้อควรคํานึงถึงในการออกแบบ โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ในการออกแบบ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ที่ เหมาะสม จําเป็นต้องมีความรู้ และพึงปฏิบัติรวม 10 ประการ ด้วยกันดังนี้ 1. มีสามัญสํานึก เช่น ผลิตภัณฑ์ ที่ไวต่อความชื้น ต้องได้รับการ บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สามารถ
ป้องกัน ไอน้ําได้ดี ผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันสูงก็ต้องใช้ วัสดุที่กันไขมันได้ ผลิตภัณฑ์ที่ แตกหักง่าย ต้องมีการยึดมิให้ เคลื่อน ที่ และใช้วัสดุกันกระแทก ผลิตภัณฑ์ ที่มีมูลค่าต้องใช้บรรจุ ภัณฑ์ที่ดีมากเป็นพิเศษ เป็นต้น 2. มีความรู้ในวิชาฟิสิกส์และ หน่วยที่ใช้ในด้านการบรรจุภัณฑ์ เช่น ในเรื่องของมวล แรง ความ ดัน รวมทั้งคุณสมบัติทาง กายภาพ และเคมี-กายภาพของ บรรจุภัณฑ์ด้วย เช่น ความ ทนทานต่อการโค้งงอ การต้าน แรงดึงขาด การ กระแทกอย่างรุนแรงการซึมผ่าน ของไอน้ําและก๊าซ การ กัดกร่อน เป็นต้น ส่วนหน่วยที่ใช้ก็ควรเป็น มาตรฐานสากล 3. มีความรู้ในด้านการหีบห่อ ไม่ ว่าจะเป็นวัสดุ รูปแบบและส่วน ประกอบต่างๆ ของบรรจุภัณฑ์ เช่น มีความรู้ในเรื่องของชนิด
และ คุณสมบัติ ของวัสดุและ บรรจุภัณฑ์ เพื่อสามารถ เลือก ใช้ได้ตาม ความต้องการ รวมทั้งมีความ เข้าใจในเรื่อง ของส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ เช่น กาว แถบกาว สายรัด ฉลาก วัสดุ กันกระแทก เป็นต้น 4. มีความรู้เกี่ยวกับระบบ การขนส่ง เช่น ความเสียหาย เนื่องจากทางกล สภาพอากาศ แวดล้อมและสิ่งมีชีวิต สภาพ ของการลําเลียงขนส่งสินค้าและ ระบบการขนส่งหน่วยใหญ่ที่ควร ใช้ 5. มีความรู้ในผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ ได้แก่ คุณสมบัติเฉพาะของ ผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นสถานะ ส่วนประกอบคุณค่าทาง โภชนาการ ความ แข็งแกร่งหรือ บอบบาง สาเหตุที่ทําให้ ผลิตภัณฑ์เสียหายหรือเสื่อม คุณภาพ ราคา และอายุการเก็บ ที่ต้องการ 6. มีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ และข้อกําหนดของลูกค้า อันรวม ทั้งกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ ของประเทศที่จําหน่ายสินค้าและ มาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้า กําหนด 7. มีความรู้ในด้านเครื่องจักรที่ ใช้สําหรับการหีบห่อ เช่น เครื่อง บรรจุ เครื่องปิดผนึก เครื่องห่อ
เครื่องปิด ฉลาก เครื่องพิมพ์ฉลาก เป็นต้น 8. มีความรู้ในเรื่องจุดเด่นและ จุดด้อยของบรรจุภัณฑ์ที่คู่ แข่งขันใช้อยู่ หรือบรรจุภัณฑ์ ของผลิตภัณฑ์ที่ คล้ายคลึงกับที่ จะผลิต เพื่อใช้เป็นแนวทางใน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของตน โดยศึกษาจากบรรจุภัณฑ์ตาม ร้านค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต งาน นิทรรศการ และโรงงานผู้ใช้ บรรจุภัณฑ์ 9. พัฒนาบรรจุภัณฑ์และทดสอบ คุณสมบัติบางประการที่ทําได้ โดยง่าย และเสียค่าใช้จ่ายไม่สูง นัก เช่น การทดสอบความแข็ง แรงในการ เรียงซ้อน การตก กระแทก การเปลี่ยนแปลงของ รสชาติของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จะสามารถนํากลับมา ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสม เพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบ คุณสมบัติของวัสดุและ บรรจุ ภัณฑ์ที่บรรจุผลิตภัณฑ์ แล้ว อัน เป็นการจําลองสภาวะการใช้งาน จริง เพื่อยืนยันผลของการพัฒนา ก่อนจะสู่การผลิตบรรจุภัณฑ์ ต่อ ไป
ลําดับขั้นตอนของการ ดําเนินงาน นับตั้งแต่ตอนเริ่ม ต้น จนกระทั่งสิ้นสุดจนได้ผล งานออกมาดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการดําเนินงานออกแบบโครงสร้าง
•••
1. กําหนดนโยบายหรือ วางแผนยุทธศาสตร์ (POLICY PERMULATION OR ATRATEGIC PLANNING) เช่น ตั้งวัตถุประ
สงค์และเป้าหมายของการ ผลิต เงินทุนงบประมาณ การ จัดการ และการกําหนดสถานะ (SITUATION) ของบรรจุภัณฑ์ ในส่วนนี้ทางบริษัทแด่ชีวิตจะ เป็นผู้กําหนด 2. การศึกษาและการ วิจัยเบื้องต้น (PRELIMINARY RESEARCH) ได้แก่ การศึกษา ข้อมูลหลักการทาง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และ วิศวกรรมทางการผลิต ตลอด จนการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิด ขึ้นและเกี่ยวข้องสอดคล้องกัน กับการออกแบบโครงสร้างของ บรรจุภัณฑ์ 3. การศึกษาถึงความ เป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ ( FEASIBILITY STUDY ) เมื่อได้ ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ แล้วก็เริ่ม ศึกษาความเป็นไปได้ของบรรจุ ภัณฑ์ด้วยการสเก็ต (SKETCH DESIGN) ภาพ แสดงถึงรูปร่าง ลักษณะ และส่วนประกอบของ โครงสร้าง 2-3 มิติ หรืออาจใช้ วิธีการอื่น ๆ ขึ้นรูปเป็นลักษณะ 3 มิติ ก็สามารถกระทําได้ ในขั้น ตอนนี้จึงเป็นการเสนอแนว ความคิดสร้างสรรค์ขั้นต้น หลาย ๆ แบบ (PRELIMINARY IDEAS) เพื่อศึกษาความเป็นไป
ได้ในเทคนิควิธีการบรรจุ และ การคํานวณเบื้องต้น ตลอดจน เงินทุนงบประมาณดําเนินการ และเพื่อการพิจารณาคัดเลือก แบบร่างไว้เพื่อพัฒนาให้ สมบูรณ์ในขั้นตอนต่อไป
ออกแบบจึงต้องจัดเตรียมสิ่ง ต่าง ๆ เหล่านี้อย่างละเอียด รอบคอบเพื่อการนําเสนอ (PRESENTATION) ต่อลูกค้าและ ผู้ที่ทํางานเกี่ยวข้องให้เกิด ความเข้าใจเพื่อพิจารณาให้ ความคิดเห็นสนับสนุนยอมรับ 4. การพัฒนาและแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม แบบ ( DESIGN REFINEMENT ) ในรายละเอียดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้อง เช่น การทําแบบจําลอง ขยายรายละเอียดปลีกย่อยต่าง โครงสร้างเพื่อศึกษาถึงวิธีการ ๆ (DETAILED DESIGN ) ของ บรรจุ และหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ แบบร่างให้ทราบอย่างละเอียด ก่อนการสร้างแบบเหมือนจริง โดยเตรียมเอกสารหรือข้อมูล ประกอบ มีการกําหนดเทคนิค และวิธีการผลิต การบรรจุ วัสดุ การประมาณราคา ตลอดจน การทดสอบทดลองบรรจุ เพื่อ หารูปร่าง รูปทรงหรือส่วน ประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับ หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ ด้วยการสร้างรูปจําลองง่าย ๆ (MOCK UP) ขึ้นมา ดังนั้นผู้
5. การพัฒนาต้นแบบ จริง (PROTOTYPE DEVELOPMENT) เมื่อแบบ โครงสร้างได้รับการแก้ไขและ พัฒนา ผ่านการยอมรับแล้ว ลําดับต่อมาต้องทําหน้าที่เขียน แบบ (MECHANICAL DRAWING) เพื่อกําหนดขนาด รูปร่าง และสัดส่วนจริงด้วยการ เขียนภาพประกอบแสดงราย ละเอียดของรูปแบบแปลน (PLAN) รูปด้านต่าง ๆ (ELEVATIONS) ทัศนียภาพ (PERSPECTIVE) หรือภาพแสดง การประกอบ (ASSEMBLY) ของ ส่วนประกอบต่าง ๆมีการ กําหนดมาตราส่วน (SCALE) บอกชนิดและประเภทวัสดุที่ใช้ มีข้อความ คําสั่ง ที่สื่อสาร
ความเข้าใจกันได้ในขบวนการ ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ของจริง แต่ การที่จะได้มาซึ่งรายละเอียด เพื่อนําไปผลิตจริงดังกล่าวนั้น ผู้ออกแบบจะต้องสร้างต้นแบบ จําลองที่สมบูรณ์ (PROTOTYPE) ขึ้นมาก่อนเพื่อวิเคราะห์ (ANALYSIS) โครงสร้างและ จําแนกแยกแยะส่วนประกอบ ต่าง ๆ ออกมาศึกษา ดังนั้น PROTOTYPE ที่จัดทําขึ้นมาใน ขั้นนี้จึงควรสร้างด้วยวัสดุที่ สามารถให้ลักษณะและราย ละเอียดใกล้เคียงกับบรรจุ ภัณฑ์ของจริงให้มากที่สุดเท่าที่ จะกระทําได้เช่นอาจจะทําด้วยปู นพลาสเตอร์ ดินเหนียว กระดาษ ฯลฯ และในขั้นนี้ การ ทดลองออกแบบกราฟฟิคบ นบรรจุภัณฑ์ ควรได้รับการพิจา รณมร่วมกันอย่างใกล้ชิคกับ ลักษณะของโครงสร้างเพื่อ สามารถนําผลงานในขั้นนี้มา
คัดเลือกพิจารณาความมีประ สิทธภาพของรูปลักษณ์บรรจุ ภัณฑ์ที่สมบูรณ์ 6. การผลิตจริง (production) สําหรับขั้นตอนนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่รับผิด ชอบของฝ่ายผลิตในโรงงานที่ จะต้องดําเนินการตามแบบ แปลนที่นักออกแบบให้ไว้ ซึ่ง ทางฝ่ายผลิตจะต้องจัดเตรียม แบบแม่พิมพ์ของบรรจุภัณฑ์ให้ เป็นไปตามกําหนด และจะต้อง สร้างบรรจุภัณฑ์จริงออกมา จํานวนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่าง (PRE- PRODUCTION PROTOTYPES) สําหรับการ ทดสอบทดลองและวิเคราะห์ เป็นครั้งสุดท้าย หากพบว่ามีข้อ บกพร่องควรรีบดําเนินการ แก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึง ดําเนินการผลิตเพื่อนําไปบรรจุ และจําหน่ายในลําดับต่อไป
วัสดุกันกระแทก ควบคุมต้นทุนของสินค้าและ ลดการสูญเสียของสินค้าลง วัสดุกันกระแทก คือ วัสดุ ได้ ปโยน ได้มีการศึกษาความ ที่ถูกนํามาใช้เพื่อ ปกป้องสินค้า เป็นไปได้ของการตกหล่น จากการ สูญเสียเนื่องมาจากการ จากการเคลื่อนย้ายด้วยแรง กระแทกอย่างรุนแรง และ/หรือ คนขณะปฏิบัติงาน พบว่า การสั่นสะเทือน ระหว่าง สําหรับหีบห่อที่น้ําหนักมาก กระบวนการขนส่ง เคลื่อนย้าย ขน และสําหรับหีบห่อที่มีน้ําหนัก ถ่าย น้อยกว่า 35 กิโลกรัม แต่ถ้ามีการตกแล้วระยะ หลักการพื้นฐานที่สําคัญ 2 ระยะตกโดยประมาณจะคํานวณ ตกอาจจะสูงถึง 1.5 เมตร ประการของวัสดุกันกระแทกใน ได้จากสูตร การป้องกันความเสียหายที่จะเกิด h = 60 – M x H ขึ้นกับสินค้า คือ 1. วัสดุกันกระแทกถูกนํามาใช้เพื่อ เมื่อ h = ระยะตกเป็นเซนติเมตร M = น้ําหนักของหีบห่อเป็น ดูดซับแรงกระแทกและปกป้อง การส่งผ่านแรงกระแทกมายังตัว กิโลกรัม H = มิติที่ยาวที่สุดของหีบห่อเป็น สินค้า 2. วัสดุกันกระแทกมีประสิทธิภาพ เซนติเมตร ในการลดการเคลื่อนที่ของสินค้า เช่น หีบห่อชิ้นหนึ่งมีน้ําหนัก 30 กิโลกรัม และมีด้านยาวสุด 30 ในหีบห่อ ซึ่งเป็นการลดการ เซนติเมตร จะมีโอกาสตกที่ระดับ เคลื่อนที่มากระแทกกันจากการ ความสูงอย่างน้อย 30 เซนติเมตร สั่นสะเทือน ในปัจจุบันมีวัสดุหลายชนิดได้รับ อนึ่ง การเคลื่อนย้ายด้วย การนํามาใช้เพื่อทําหน้าที่เป็นวัสดุ เครื่องจักร เช่น รถฟอร์กลิฟท์ กันกระแทก การเลือกใช้วัสดุที่ให้ โอกาสตกหล่นจะน้อยลงกว่า เคลื่อนย้ายด้วยแรงคน ผลในการคุ้มครองเพียงพอ ใน •••
ระดับราคาที่เหมาะสมจะช่วย
ชนิดของวัสดุกันกระแทก วัสดุกันกระแทกที่มีการใช้ งานอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ แผ่น กระดาษลูกฟูก โฟมพอลิสไตรีน โฟมพอลิ– ยูรีเทน โฟมพอลิเอทิลี น แผ่นพลาสติกอัดอากาศ ฝอย ไม้ และฝอยกระดาษ วัสดุแต่ละ ชนิดมีคุณลักษณะประจําตัว และ ความเหมาะสมต่อการใช้งาน แตกต่างกันไปดังนี้
หุ้ม เป็นหลัก เช่น ใช้ห่อหุ้มชิ้น ส่วน ของเฟอร์นิเจอร์หรือชิ้นส่วน ของเครื่องจักร โฟมพอลิสไตรีน
โครงสร้างวัสดุเป็นเซลล์ปิดน้ํา หนักเบามาก มีคุณสมบัติที่ ป้องกันการกระแทกได้เป็นอย่างดี ไม่ดูดซับความชื้น แต่มีขีดจํากัด แผ่นกระดาษลูกฟูก ในการคืนรูป ทําให้ไม่เหมาะกับ ใช้ทําหน้าที่แผ่นรอง ตัว งานที่รับการกระแทกอย่างรุนแรง กั้นหรือแผ่นกั้น เพื่อเก็บสินค้า ภายใน บรรจุภัณฑ์ หรือทําหน้าที่ หลายๆ ครั้ง ลักษณะกึ่งแข็ง เป็นตัวห่อหุ้มสินค้า แผ่นกระดาษ สามารถขึ้นรูปทรงที่ซับซ้อนได้ใน ลูกฟูกมีข้อจํากัดในการดูดซับแรง ราคาที่เหมาะสม เช่น ใช้ในรูป ของการทําตามแม่แบบเฉพาะ กระแทกอย่างรุนแรง และไม่คืน รูปกลับเป็นอย่างเดิม หลังถูกแรง ตามรูปแบบของสินค้า แผ่น กระทํา มีการดูดซึมความชื้น และ สี่เหลี่ยมขนาดความหนาต่างๆ และชิ้นเล็กๆ ในกรณีใช้งานมากๆ อ่อนตัวลงในสภาวะอากาศที่มี การใช้ แม่แบบในการผลิตจะดี ความชื้นสูง แต่เนื่องจากการที่ สามารถนํากลับเข้ากระบวนการ มาก และถ้ามีการใช้น้อยจะใช้วิธี หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงไม่ ดัดขึ้นรูปได้จากแผ่นสี่เหลี่ยมที่มี ความหนาต่างๆ ส่วนชิ้นเล็กๆ มี ก่อให้เกิดปัญหาจากเศษวัสดุ เหลือหลังใช้งาน ตัวอย่างการนํา การผลิตในหลายๆ รูปทรง และ สามารถเติมสีลงไปช่วยเสริมให้ กระดาษลูกฟูกมาใช้งาน ได้แก่ การใช้แผ่นชนิด 3 ชั้น ในการกั้น เกิดความสวยงาม โฟมพอลิสไตรี นมี การใช้อย่างแพร่หลาย แต่ แบ่งช่องของกล่องบรรจุเครื่อง การใช้งานก่อให้เกิดปัญหาเศษ แก้ว เพื่อป้องกันการกระทบ กระแทกซึ่งกันและกัน หรือใช้ทํา วัสดุเหลือหลัง ใช้งานเพราะสลาย ตัวยาก ตัวอย่างการนําโฟมพอลิส หน้าที่ลดการเคลื่อนที่ภายใน ไตรีนมาใช้งาน ได้แก่ การนําโฟม กล่องหัตถกรรมที่มี รูปทรง ชนิดขึ้นรูปจากแม่แบบใช้กับพวก แปลกๆ ชนิด 2 ชั้น (กระดาษ เครื่องแก้ว เซรามิก อุปกรณ์ไฟฟ้า ลูกฟูกหน้าเดียว) ใช้เพื่อการห่อ
เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความ ประณีต ชนิดชิ้นเล็กๆ ใช้สําหรับ เติมในช่องว่างของกล่องที่ใช้ใน การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่มีรูปทรง แปลกๆ โฟมพอลิยูรีเทน โครงสร้างมีลักษณะเป็นเซลล์เปิด จนถึงมีเซลล์ปิด 80 เปอร์เซ็นต์ ยอมให้อากาศหนีออกเมื่อได้รับ แรงกระแทกและดูดอากาศกลับ เมื่อหมดแรง กระแทก การคืนรูป ดีมากทําให้เป็นวัสดุกันกระแทกที่ ดี ไม่ดูดซับความชื้นในอากาศ มี การใช้งานทั้งชนิดขึ้นรูปจากแม่ แบบมาก่อน และขึ้นรูปด้วยการ ฉีดเข้าไปขยายตัวในช่องว่าง ใน กรณีขึ้นรูปด้วยวิธีฉีดให้เข้าไป ขยายตัวใน ช่องว่าง สินค้าจะถูก นํามาห่อหุ้มด้วยฟิล์มพลาสติก (ปกติใช้ฟิล์มพอลิเอทิลีน) เพื่อ ป้องกันการติดของโฟมที่ใส่ไม่ให้ เกาะติด สินค้า จากนั้นวางสินค้า ดังกล่าวลงภายในกล่องแล้วฉีด โฟมลงในที่ว่าง การใช้เครื่องเติม โฟมประเภทมือถือจะช่วยให้ ทํางานสะดวกมากขึ้น การใช้งาน โฟม ชนิดนี้จะพบในการห่อสินค้า ที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน เครื่องมือ มีราคาแพงหรือสินค้าที่มีขนาดรูป ทรงเปลี่ยนแปลงบ่อยมากๆ จนไม่ คุ้มกับการลงทุนโฟมชนิดขึ้นรูป มาก่อน โฟมพอลิเอทีลีน มีลักษณะโครงสร้างเป็นแบบเซลล์ ปิด มีการคืนรูปดีหลังรับแรง กระแทก น้ําหนักเบา ทนทานต่อ สารเคมี โฟมพอลิเอทิลีนมีการใช้
การผลิตอีกวิธีหนึ่งคือผลิตจากแม่ ฝอยไม้ แบบ ตัวอย่างการใช้งานของโฟม ชนิดนี้ได้แก่ โฟมที่มีความหนาใช้ กับอุปกรณ์เครื่องใช้งานภายใน บ้าน เครื่องมือต่างๆ แผ่นโฟม ชนิดบางนํามาใช้ห่อหุ้มสินค้า พวกหัตถกรรมอุปกรณ์และเครื่อง มือ เป็นวัสดุกันกระแทกที่มี แผ่นพลาสติกอัดอากาศ การใช้งานมานานโดยใช้ใส่ลงใน ช่องว่างของกล่องหรือลัง ความ สามารถในการเป็นวัสดุกัน กระแทก ขึ้นกับความหนาแน่นใน การบรรจุและความชื้น ซึ่งปกติมี ค่าประมาณ 12 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ําหนัก ในอดีตฝอยไม้มีการ ใช้กันอย่างกว้างขวางกับสินค้า ทําจากแผ่นฟิล์มพอลิ ต่างๆ ตั้งแต่ผัก ผลไม้ จนกระทั่ง เอทิลีน 2 แผ่น ประกบกัน โดย สินค้าอุตสาหกรรม ปัจจุบัน ทําให้เกิดที่กันอากาศเล็กๆ เกิด ขึ้นระหว่างแผ่น มีการผลิตออกมา ประเทศอุตสาหกรรมมักไม่นิยม ใช้ฝอยไม้ เนื่องจากการไม่ยอมรับ ในรูปม้วน ปกติใช้ ประโยชน์ใน การห่อหุ้มสินค้าชิ้นเล็กๆ เช่น เซ กรณีที่อาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อน รามิก หัตถกรรม บางครั้งก็มีการ เมื่อใช้กับผักและผลไม้ ในขณะที่ ใช้ห่อหุ้มภายนอกของอุปกรณ์ใช้ ความชื้นของฝอยไม้เองจะก่อให้ เกิดการผุกร่อนกับสินค้า งานภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น ซึ่งมี อุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามใน การขนส่งโดยแท่นรองรับสินค้า สินค้าบางประเภทก็ยังมีความ แผ่นพลาสติกอัดอากาศมีความ เหนียว สะอาด และไม่เป็นตัวการ ต้องการใช้เนื่องจากเป็นวัสดุที่ให้ ทําให้เกิดการผุกร่อน ไม่มีการดูด ลักษณะของความเป็นธรรมชาติ เมื่อนําไปใช้กับสินค้าประเภทของ ซับความชื้น ทนต่อแรงกระแทก ขวัญ หรือสินค้าที่แสดงถึงความมี แต่ไม่เหมาะกับสินค้าที่มีความ คุณค่าสูง เช่น หินแกะสลักขนาด อ่อนไหวต่อการสั่นสะเทือน จาก เล็ก ถ้วยพิวเตอร์ หรืองานฝีมือ การที่มีผลิตเป็นม้วนจึงนํามาใช้ พวกเซรามิก งานได้ง่ายกับสินค้าที่มี รูปร่าง และขนาดต่างๆ กัน
ฝอยกระดาษ
มีการใช้งานเช่นเดียวกับ ฝอยไม้ เป็นวัสดุที่มีราคาถูก และ หาได้ง่าย มีข้อเสีย อยู่บ้างคือดูด ซับความชื้นในอากาศได้ง่าย มี การปนเปื้อนของฝุ่นละอองและไม่ สะอาด ในประเทศอุตสาหกรรมจะ ไม่นิยมใช้ โดยเฉพาะฝอย กระดาษที่ได้จากกระดาษที่ผ่าน การพิมพ์มาก่อน ในปัจจุบันวัสดุกันกระแทก ประเภทโฟม มีการใช้งานอย่าง กว้างขวาง เนื่องจากสามารถผลิต ให้ได้ความหนาแน่นต่างๆ ที่ เหมาะสมกับสินค้ามากมาย แต่ เนื่องจากโฟมบางชนิดมีการสลาย ตัวได้ยาก และบางชนิดไม่ สามารถนํากลับ เข้ากระบวนการ หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ จึงก่อให้ เกิดปัญหากับการจัดการเศษวัสดุ ที่เหลืออยู่ การนํามาใช้งานจึงควร พิจารณาถึงจุดดังกล่าวด้วย
References ปุ่น คงเจริญเกียรติและสมพร คงเจริญเกียรติ. “กระบวนการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์”. กรุงเทพ. 2542. มยุรี ภาคลําเจียก. “ข้อควรคํานึงถึงในการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์”. [ออนไลน์] แหล่ง ที่มา. http://www.mew6.com. [28/02/2007]. สุพจน์ ประทีปถิ่นทอง. “วัสดุกันกระแทก”. [ออนไลน์] แหล่งที่มา. http://www.tistr.or.th/t/ publication/page_area_show_bc.asp?i1=85&i2=9 - 11k. [28/02/2007]
nininana. การออกแบบโครงสร้างบรรจุัณฑ์. [ออนไลน์] แหล่งที่มา. http://designprt.212cafe.com/ archive/2008-07-25/individual-package-inner-package-2-product-individual-package-foldingcarton-flexible-2-shap-amp-for/. [14/05/2009]