History of Industrial Design

Page 1

หน่วยที่ 1

HISTORY OF INDUSTRIAL LO POR REM I PS N 123 OSTRA UM: 4M Any ain MAECE tow Stre NAS n, S TEL tate et ZIP (123 EPHON ) 45 E 6-78 FAC 90 (123 SIMIL E ) 45 6-78 91 TEM

June / 2009

A. Yaowanart Narintornsorasak

การปฏิวัติทางดานอุตสาหกรรมของโลก อุตสาหกรรม คือ การนําเอา วัตถุดิบมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ โดย อาศัยเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ อุตสาหกรรมมีมาเป็นเวลากว่า 3,000 ปี แล้ว เครื่องถ้วยชามซึ่งพบกันที่บ้านเชียง อุตสาหกรรมสมัยแรกๆ อยู่ในรูปลักษณะ ง่ายๆ และเครื่องมือที่ใช้ยังเป็นแบบง่าย ต้องอาศัยมือ อาศัยแรงงานคนเป็นส่วน ใหญ่ อุตสาหกรรมระยะแรกๆ จะผลิต สิ่งของต่างๆ ในวงจํากัด เช่น การผลิต เกลือ การปั้นหม้อและหัตถกรรมอื่นๆ เพียงเพื่อพอกินพอใช้ ต่อมาการติดต่อ กันเจริญขึ้น กว้างขวางขึ้นทําให้เกิดมี ความต้องการสินค้ามากขึ้น เป็นผลให้ อุตสาหกรรมพัฒนาขึ้น เป็นการผลิต สินค้าจํานวนมากๆ และปรับปรุงวิธีการ ผลิตอย่างมีระบบ มีการรวมตัวกันเพื่อ การผลิต และในที่สุดก็เกิดการผลิตระบบ โรงงาน (Factory System)

Congue tortor cursus risus vestibul lum commodo nisl, luctus augue amet quis aenean maec lorem et enas sit, ipsum donec

Maecenas pulvinar sagittis enim.

การผลิตระบบโรงงานมีลักษณะดังนี้ 1. มุ่งการผลิตที่เป็นกระบวนการเป็นขั้นตอน 2. มีการใช้กําลังเครื่องยนต์เครื่องทุ่นแรงเข้า มาใช้ 3. มุ่งความมั่งคั่งหรือผลตอบแทนจากการ ลงทุนโดยอาศัยกลไกตลาด ประเทศแรกที่มีความเจริญทางด้านอุตสาห กรรม ได้แก่ อังกฤษ อุตสาหกรรมในอังกฤษเริ่มจาก อุตสาหกรรมทอผ้า

ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทรสรศักดิ์ หลักสูตรออกแบบบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


ความหมายและประเภทของอุตสาหกรรม

Maecenas pulvinar sagittis enim.

การอุตสาหกรรม หมายถึง การนําเอาวัตถุดิบมาปรุงแต่ง ดัดแปลงจะเป็นด้วยแรงมนุษย์หรือ โดยเครื่องจักรก็ตาม เพื่อเปลี่ยน สภาพให้เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค เป็นสินค้าเป็นวัตถุดิบสําหรับการ ผลิตขั้นตอนต่อไป หรือเป็นบริการ การบันเทิง การอํานวยความสะดวก โดยจําแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ 1. อุตสาหกรรมขั้นปฐม เป็นอุตสาหกรรมที่นําเอาทรัพยากร ธรรมชาติมาทําเป็นสินค้าตัวอย่าง เช่น การทําเหมืองแร่ การย่อยหิน การทําเชือก เป็นต้น 2. อุตสาหกรรมการผลิต เป็นการนําวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอน การผลิต อาจด้วยฝีมือคนหรือ เครื่องจักร และได้ผลิตผลที่เป็น สินค้าประเภทต่างๆ เช่น เครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น 3. อุตสาหกรรมบริการ เป็นการดําเนินงานในลักษณะของ

Rhoncus tempor placerat.

การให้บริการ ตัวอย่างเช่น การท่อง เที่ยว การขนส่ง การเงินการ ธนาคาร เป็นต้น อุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น ประเภทต่างๆ ดังที่ได้กล่าวแล้ว และ อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ โดย อาศัยเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไปได้ อีก เช่น แบ่งออกตามขนาด อุตสาหกรรมซึ่งแบ่งออกได้เป็น อุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรม ขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่ หรืออาจแบ่งประเภท อุตสาหกรรมออกตามชนิดของ ผลิตภัณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น อุตสาหกรรมสินค้าบริโภค อุปโภค และอุตสาหกรรมสินค้าทุน

Ut enim: Ad minim veniam quis nost rud. Exercrure dolor in reprehend incid idunt. Ut labore et dolore magna alit qua. Enim ad minim veniam, quis nostrud diam nobis sed tellus suscipit in.

ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทรสรศักดิ์ หลักสูตรออกแบบบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


การแบงประเภทตามขนาดของอุตสาหกรรม

3

PAGE

อุตสาหกรรมการฝีมือ (Handicrafts) สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทต่างๆ เช่น จอบ เสียม มีด คันไถ ภาชนะดินเผา เสื้อผ้าที่ทอเย็บด้วยมือ เป็นต้น อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล (Mechanization) สามารถประดิษฐ์และใช้เครื่องจักร เริ่ม ตั้งแต่เครื่องจักรไอน้ํา เครื่องยนต์กลไกแบบอื่นๆ เครื่องยนต์ไอพ่น (Jet Engine) การประดิษฐ์เรือ กลไฟ รถจักรไอน้ํา รถยนต์ เป็นต้น อุตสาหกรรมการผลิตระบบโรงงาน (Mass Production) การผลิตสิ่งต่างๆ จํานวนมาก โดยอาศัยเครื่องจักรที่ควบคุมโดยมนุษย์และการจัดการอย่างมี ระบบ การทํางานเป็นกระบวนการ เช่น การทอผ้า การผลิต รถยนต์ เป็นต้น อุตสาหกรรมใช้เครื่องอัตโนมัติ (Automation) มี การนําเอาเครื่องมืออัตโนมัติมาทํางานแทนหรือควบคุม เครื่องจักรในธุรกิจอุตสาหกรรมแทนแรงงานคน อุตสาหกรรมเครื่องสมองกล (Cybernation) เป็น ขั้นที่รู้จักนําเอาเครื่องคํานวณสมองกล เครื่องคอมพิวเตอร์ Rhoncus tempor placerat. หุ่นยนต์ มาใช้งานแทนมนุษย์

การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ดําเนินเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเริ่มด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรมใน อังกฤษ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า การผลิตเครื่องจักรไอน้ํา พัฒนาการด้านการขนส่ง เช่น การทํา ถนน การขุดคลอง การสร้างทางรถไฟ ตลอดจนการประดิษฐ์เครื่องมือสื่อสารอื่นๆ เช่น โทรเลขและ โทรศัพท์ ต่อมาจึงก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 คือ การปรับปรุงกระบวนการผลิต อุตสาหกรรมเหล็กกล้าใหม่ การเริ่มใช้ก๊าซและน้ํามันแทนถ่านหินและการผลิตไฟฟ้าเพื่อนํามาใช้ใน โรงงาน เป็นต้น ในระยะที่ 2 นี้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมจะแพร่ขยายอย่างมากในยุโรปกลาง รวมถึงดิน แดนตะวันออกไกลด้วย ส่วนประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ก้าวหน้ามากที่สุดในสมัยของการปฏิวัติ อุตสาหกรรมระยะที่ 2 นี้ คือ เยอรมันนี

ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทรสรศักดิ์ หลักสูตรออกแบบบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


HISTORY OF INDUSTRIAL!

PAGE

4

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงการผลิตจากแรงคน แรง สัตว์ ไปเป็นใช้เครื่องมือเครื่องจักรอย่างมีระบบและผลิตสินค้า จํานวนมากๆ ได้แบ่งช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมออกเป็น 5 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 เริ่มประมาณกลางศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงที่อังกฤษยังเป็น ประเทศกสิกรรมการอุตสาหกรรมเน้นหนักที่อุตสาหกรรมทอผ้า เหล็ก ถ่านหิน และการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ํา เป็นการประดิษฐ์ที่สําคัญ ที่สุด ช่วงนี้มีระยะเวลาประมาณ 100 ปี ผลเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น จอห์น เคย์ (John Kay) ได้ประดิษฐ์กระสวยบิน (Flying Shuttle) ในปี ค.ศ. 1733 เป็นสิ่ง ประดิษฐ์ที่ช่วยให้ช่างทอผ้าสามารถทํางานได้เร็วขึ้น เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (James Hargreaves) ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายแบบใหม่ สามารถปั่นด้ายครั้ง ละ 4 สายพร้อมๆ กัน อับราฮัม ดาร์บี (Abraham Darby) ค้นพบว่าสามารถนําเอาถ่านหินมาใช้ในการถลุงเหล็กได้ เมื่อปลายศตวรรษที่ 18 เฮนรี คอร์ต (Henry Cort) ได้พัฒนาวิธีการถลุงเหล็ก ทําให้ได้เหล็กที่มีคุณภาพดีช่วยให้ อุตสาหกรรมถลุงเหล็กขยายตัวอย่างรวดเร็ว ช่วงที่ 2 เริ่มจากประมาณกลางศตวรรษที่ 19 พัฒนาการที่สําคัญอย่างหนึ่ง คือ การนําเอา เครื่องจักรไอน้ําไปใช้ในการขนส่ง ส่วนทางรถไฟนั้นในระยะปี ค.ศ. 1850 อังกฤษมีทางรถไฟเชื่อมโยงไป ทั่วประเทศ

ผลเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น ชาร์ลส์ กูดเยียร์ (Charles Goodyear) ค้นพบเทคนิคการทํายางให้ แข็ง แซมมวล มอร์ส (Samual Morse) และคนอื่นๆ อีกหลายคนประดิษฐ์ วิธีส่งโทรเลข เวอร์เนอร์ ซีเมนส์ (Werner Siemens) ประดิษฐ์ไดนาโม ทําให้ สามารถนําไฟฟ้ามาใช้งานในอุตสาหกรรมในปี ค.ศ. 1860 ช่วงที่ 3 ประมาณปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือประมาณปี ค.ศ. 1940 อุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ การประดิษฐ์ที่นําไปสู่ความก้าวหน้าอุตสาหกรรมรถยนต์ ได้แก่ เครื่องยนต์เบนซิน ประเทศที่มีการผลิตรถยนต์ได้มากที่สุดในระยะแรกๆ (ประมาณปี ค.ศ. 1900) ได้แก่ ฝรั่งเศส ต่อมาจึงเป็นสหรัฐอเมริกา

Exercrure dolor in reprehend incid idunt. Ut labore et dolore magna ali qua. Enim ad minim veniam, quis nostrud diam nobis sed tellus suscipit in.

ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทรสรศักดิ์ หลักสูตรออกแบบบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


HISTORY OF INDUSTRIAL!

PAGE

5

ช่วงที่ 4 เป็นช่วงที่ประเทศต่างๆ ใช้ความพยายามในการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทหาร อุตสาหกรรมเครื่องบินเริ่มมีบทบาทสําคัญขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1938 – 1944 เพื่อการทหาร และหลังจาก นั้นกิจการขนส่งทางอากาศได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1958 เป็นปีแรกที่มีการใช้การขนส่ง ทางเครื่องบินคิดเป็นคนต่อไมล์มากกว่าขนส่งทางรถไฟ เครื่องบินได้เข้าแทนที่เรือในการขนส่งผู้ โดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก อิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมพลาสติก ก็เป็นอุตสาหกรรมอีกชนิดหนึ่งที่ขยายตัวมากใน ช่วงที่ 4 นี้ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ชิ้นส่วน เช่น ทรานซิสเตอร์ หลอด อิเล็กตรอน รีซิสเตอร์ เป็นต้น กับผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสําหรับ ทดสอบและวัสดุสิ่งต่างๆ เครื่องมือควบคุม เครื่องมือสื่อสาร เป็นต้น อุตสาหกรรมพลาสติก จุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมชนิดนี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1861 เมื่อ อเล็กซานเดอร์ พาร์คส์ (Alexander Parkes) นักเคมีชาวอังกฤษได้คิดวิธีนําไนโตรเซลลูโลส (Nitrocellulose) มาสังเคราะห์กับการบูร เพื่อทํางานช้างเทียมและใช้เป็นกรอบแว่นตาแทนเขาสัตว์ การพัฒนาต่อๆ มา ทําให้พลาสติกเป็นสิ่งที่นําไปใช้ประโยชน์ได้สารพัด จะทําให้เป็นรูปร่างอย่างไรได้ ทั้งนั้น และจะมีคุณสมบัติอย่างไรก็ได้ ช่วงที่ 5 เป็นช่วงที่มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพิ่มมากขึ้น เครื่องยนต์ จรวด คอมพิวเตอร์ ระบบอัตโนมัติและไซเบอร์เนชั่น (Cybernation) แนวโน้มนี้ได้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1955 โรงงานไฟฟ้า พลังนิวเคลียร์เริ่มมีในโซเวียตรัสเซีย มีความสามารถในการผลิต 5,000 กิโลวัตต์ พอถึงปี ค.ศ. 1966 มี 11 ประเทศ ที่มีโรงงานไฟฟ้าใช้พลังงานนิวเคลียร์และผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 32,000 ล้าน กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

Maecenas pulvinar sagittis enim.

Rhoncus tempor placerat.

ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทรสรศักดิ์ หลักสูตรออกแบบบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


HISTORY OF INDUSTRIAL!

PAGE

6

การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย ประเทศไทยในสมัยก่อนเป็นงานด้านหัตถกรรม ใช้แรงงานคนประดิษฐ์เป็นส่วนใหญ่ เรา เคยส่งผลผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องเคลือบดินเผาไปจําหน่ายยังประเทศใกล้เคียง ต่อมาได้มีการทํา อุตสาหกรรมประเภทโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรจากต่างประเทศ เช่น โรงสีข้าว โรงเลื่อย และโรงงานน้ําตาล เป็นต้น อุตสาหกรรมในประเทศได้มีการพัฒนาเรื่อยมา และ ปัจจุบันมีบทบาทใน การพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้นโดยส่งออกไปจําหน่ายต่างประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะแรก ประชาชนคนไทยมีความเป็นอยู่และมีอาชีพทาง เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ การทําอุตสาหกรรมเป็นแบบอุตสาหกรรมในครอบครัว เช่น การทอผ้า เครื่องจักสาน และเครื่องปั้นดินเผา การซื้อขายเป็นแบบแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน การค้าขายกับ ต่างประเทศมีน้อยและมีเป็นบางช่วงระยะเวลา เช่น ในสมัยรัชกาลพ่อขุนรามคําแหงมหาราช สมัย สมเด็จพระเอกาทศรถ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการติดต่อกับต่าง ประเทศมาขึ้น จึงมีชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวยุโรปเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการทางอุตสาหกรรม มากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และเริ่มมีอุตสาหกรรมที่มีการแปรรูปสินค้าทางเกษตรกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และเริ่มมีอุตสาหกรรมที่มีการแปรรูปสินค้าทางเกษตรกรรม เช่น โรงสีข้าว โรงเลื่อยไม้แปรรูป และโรงงานผลิตน้ําตาลเกิดขึ้น ปี พ.ศ. 2367 ชาวโปรตุเกสได้ตั้งโรงงานผลิตน้ําตาลทราย ที่ตําบลท่าไม้ อําเภอ กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ปัจจุบันยังมีสัญลักษณ์ “ปล่องเหลี่ยม” อยู่ เมื่อปี พ.ศ. 2456 ได้มีการร่วมกันระหว่างคนไทยกับชาวต่างประเทศจัดตั้งบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จํากัด ที่ตําบลบางซื่อ จังหวัดพระนคร นับเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และมีขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทย ต่อมาก็มีการจัดตั้งโรงงานอื่นๆ เช่น โรงงานน้ําแข็ง โรงงาน น้ําอัดลม โรงงานสบู่ โรงงานกระดาษ เป็นต้น การพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะต่อมา ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 กิจการอุตสาหกรรมได้เริ่มขยายตัวมากขึ้น มีการเพิ่มอัตราอากรขาข้าวของสินค้า ทําให้เกิด อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศเพื่อทดแทนการนําเข้า เช่น อุตสาหกรรมผลิตสบู่ ไม้ขีดไฟ ยาสูบ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน และเครื่องหนัง ในส่วนภาครัฐบาลก็ได้มีการจัดตั้งกองส่งเสริม อุตสาหกรรมขึ้นในกรมพาณิชยกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2479 ซึ่งต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกรมและกระทรวง อุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2484 และ พ.ศ. 2485 ตามลําดับ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนประสบกับการขาดแคลนสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ผ้า น้ําตาล ไม้ขีดไฟ น้ํามันก๊าด เป็นอันมากจนต้องมีการแบ่งปันส่วนสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ ขึ้น เป็นเหตุให้รัฐบาลในสมัยนั้นมีความตื่นตัวและเข้ามาดําเนินกิจการอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยตรง เช่น การทอผ้า การผลิตกระดาษ การผลิตน้ําตาล การผลิตสินค้าประเภทยางและการฟอก หนัง เมื่อสงครามโลกยุติลงก็ได้มีการส่งเสริมการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมภาคเอกชนขึ้น แต่มี โรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นไม่มากนัก

ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทรสรศักดิ์ หลักสูตรออกแบบบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


HISTORY OF INDUSTRIAL!

Maecenas pulvinar sagittis enim.

PAGE

7

Rhoncus tempor placerat.

การพัฒนาอุตสาหกรรมในปัจจุบัน รัฐบาลได้เน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการ สาธารณูปโภค เช่น การพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมขนส่ง การชลประทาน และอื่นๆ เพื่อเป็นปัจจัย สนับสนุนการพัฒนาโดยส่วนรวม และเป็นพื้นฐานให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไปมีการส่งเสริมให้ เอกชนมาลงทุนทําอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ผ่านทางพระราชบัญญัติส่งเสริมการ ลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลได้เน้นความสําคัญของการส่งออกและมีมาตรการสนับสนุนการส่ง เสริมสินค้าอุตสาหกรรมออกจําหน่ายในตลาดต่างประเทศ เช่น การคืนภาษีแก่ผู้ผลิตเพื่อการส่งออก ยกเว้นภาษีขาเข้าและภาษีการค้าเครื่องจักรและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ที่นํามาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการ ส่งออก สนับสนุนให้สินค้าเชื่อด้านการส่งออกและให้ความช่วยเหลือในด้านการกู้เงินของบริษัทเงินทุน อุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2516 รัฐบาลได้เริ่มตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นเป็นแห่งแรกที่บางชัน เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ เรียนว่า นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ปี พ.ศ. 2522 ได้ตราพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อสร้างความเชื่อถือ ในผลิตภัณฑ์ และทําให้เกิดความมั่งคงแก่กิจการอุตสาหกรรม เมื่อมีการขุดพบก๊าซธรรมชาติและน้ํามันดิบ โดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยเป็นอีกมูลเหตุหนึ่งที่ ช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมในสังคมไทยเกิดขึ้นอีกหลายอย่าง โดยอาศัยก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบใน การผลิตปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์อื่นๆ เช่น ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์พลาสติก ก๊าซหุงต้ม ซึ่งได้ดําเนินการมา ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2527 ในปัจจุบันมีการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคอยู่มาก ในจํานวนนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย ส่วนอุตสาหกรรมประเภทที่เป็นสินค้าทุนและอุตสาหกรรมพื้น ฐาน เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ เคมีภัณฑ์ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมอื่นยังมีไม่มาก นอกจากนี้ อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลาง โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงยังมิได้กระจาย เฉลี่ยออกไปทั่วประเทศ รัฐบาลจึงเน้นที่จะกระจายอุตสาหกรรมออกไปสู่ส่วนภูมิภาคและพัฒนา อุตสาหกรรมขนาดย่อยในท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทรสรศักดิ์ หลักสูตรออกแบบบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


References รองศาสตราจารย์สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. ผลของเทคโนโลยีที่มีต่อการ ออกแบบ. สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ. 2550 http://riccineer.com/wp-content/uploads/2009/04/industrialrevolution.jpg [2 มิถุนายน 2552] http://www.saburchill.com/history/chapters/IR/001.html [2 มิถุนายน 2552] h t t p : / / w w w. u m b c . e d u / h i s t o r y / C H E / t e c h e r p a g e s / K D a v i e s / Industrial_Revolution.html [2 มิถุนายน 2552]

HISTORY OF INDUSTRIAL DESIGN FR O M : อ .เ ย าว น าถ

น ริ น ท ร์ ส รศ

e- m ai l : aj .n ar t@ gm

ักดิ์

ai l. co m

ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทรสรศักดิ์ หลักสูตรออกแบบบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.