บทที่ 5 วัสดุบรรจุภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค
5.7 บรรจุภัณฑ์แก้ว 5.7.1 คุณสมบัติพื้นฐานของแก้ว 5.7.2 รูปแบบของบรรจุภัณฑ์แก้ว 5.7.3 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของ บรรจุภัณฑ์แก้ว
บรรจุภัณฑ์แก้ว
คนโบราณใช้แก้วในการทำผลิตภัณฑ์ใช้สอย เครื่องประดับ ตกแต่งสถาน ที่ และใช้ประโยชน์อื่นๆอย่างแพร่หลาย การทำแก้วได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกใน คริสต์ ศตวรราที่ 6 เกือบ 2 พันปีมาแล้ว โดยชาวฟินิเซียและอิยิปต์ได้ค้นพบวิธีการทำแก้ว โดยบังเอิญ จากการหลอมตัวของโซดาและทรายซึ่งกลายเป็นวัตถุโปร่งแสง ด้วยเหตุ นี้จึงเกิอุตสาหกรรมการผลิตแก้วขึ้นในประเทศทั้งสอง
5.7.1
คุณสมบัติพื้นฐาน ของแก้ว
แก้วเป็นวัสดุภัณฑ์ที่ไม่มีปฏิกิริยากับสิ่งบรรจุโดยเฉพาะอาหาร สามารถให้แก้วมาเป็นภาชนะบรรจุได้ทุกชนิด ป้องกันการซึมผ่าน ของก๊าซและไอน้ำได้ดี การป้องกันแสงสามารถทำได้โดนการ ทำให้แก้วมีสี เช่น สีเขียว สีน้ำตาล สามารถทนความร้อนได้สูงมาก การผลิตแก้วให้มีคุณสมบัติต่างๆ กัน จึงขึ้นอยู่กับส่วนผสมของแร่ ธาตุที่ใช้ เช่น การเพิ่มความใส และแวววาว โดยการเติมสาร ตะกั่ว การเพิ่มให้แก้วมีสีต่างๆ ทั้งนี้อยู่กับแร่ธาตุที่เป็นส่วนผสม เ ช่ น สี เ ห ลื อ ง มี ส่ ว น ผ ส ม ข อ ง cadmium sulfild, สีชมพูมีส่วน ผสมของ magnesium oxide สี เขียวและน้ำตาลมีส่วนผสมของ เหล็ก
คุณสมบัติพื้นฐานของแก้ว บรรจุภัณฑ์แก้วที่สมบูรณ์ควรมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ - เป็นกลาง และไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ กับสินค้าที่บรรจุ - มีความคงทนต่อความร้อน - มีความคงรูป เพื่อสะดวกต่อการวางซ้อนและขนส่ง - มีความคงทนแข็งแรง
>> คุณสมบัติพื้นฐานของแก้ว
- ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำและก๊าซ โดยเฉพาะก๊าซ อ๊อกซิเจนได้ - มีความคงทนถาวร ไม่เสื่อมสภาพตลอดอายุของสินค้า - สามารถปิดกลับเพื่อใช้ใหม่ได้ - มีทั้งแบบใส และแบบทึบ - มีรูปร่างและขนาดต่างๆ
คุณสมบัติเด่นของบรรจุภัณฑ์แก้ว มีอยู่ 3 ประการ คือ 1) แก้วมีความเป็นกลาง และไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ กับสินค้า ที่บรรจุ ทำให้ผู้บริโภค ได้รับความปลอดภัยสูง 2) แก้วมีความใส ช่วยแสดงตัวสินค้า 3) บรรจุภัณฑ์แก้ว ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำและก๊าซ ช่วยรักษาคุณภาพสินค้าได้เป็นระยะเวลานาน และเมื่อ เปิดใช้แล้วยังสามารถปิดกลับเพื่อรักษาสินค้าได้อีก
5.7.2
รูปแบบของ บรรจุภัณฑ์แก้ว
รูปแบบของบรรจุภัณฑ์แก้ว แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะและกรรมวิธีการผลิต
•
หลอดแก้ว
•
ขวดแก้ว
•
ขวดคาร์บอย
1. หลอดแก้ว หลอดแก้ว ส่วนใหญ่มีรูปร่างทรงกระบอก มีเส้นผ่าน ศูนย์กลางระหว่าง 5-35 มม. ยาว 20-200 มม. และมีความ จุระหว่าง 0.5-100 มม. อาจเป็นแก้วโซดาหรือแก้วที่มี คุณสมบัติเป็นกลาง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ใช้ หลอดแก้วแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่
หลอดที่มีผนังตรงใช้ได้กับสินค้าทุกชนิด เช่น ยาเม็ด ผง ฝาปิดมักเป็นจุกคอร์ก พลาสติก หรือยาง
ขวดแก้วขนาดเล็กแบบไวอัล (vial) นิยมใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ หลายชนิดที่มีปริมาณน้อย คอขวดมีหลายแบบ เพื่อให้เหมาะ กับฝาปิดชนิดต่างๆ ทั้ง คอร์ก ยาง พลาสติก และโลหะ
หลอดแอมพูล (ampoule) ทำจากแก้วโซดา หรือแก้วที่มีคุณสมบัติเป็นกลาง มี 2 ชนิด คือ แบบก้านแคบสำหรับบรรจุของเหลว และแบบก้านกว้างสำหรับบรรจุ แบบผง การปิดผนึกใช้วิธีหลอมก้านให้ละลายติดกัน มีเครื่องจักรอัตฺโนมัติเพื่อ ช่วยในการล้าง บรรจุ และปิดผนึก สำหรับบรรจุของแห้ง
2. ขวดแก้ว ขวดแก้ว มักกำหนดโดยขนาด ความจุ และคอขวด แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ 1) ปากขวดที่ใช้โรยได้ 2) ขวดปากแคบ (bottle) และ 3) ขวดปากกว้าง (jar)
ขวดแก้วมีรูปร่างต่างกัน โดยมักดูพื้นที่หน้าตัดของขวด เป็นเกณฑ์ เช่น กลม รี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม เป็นต้น
ฟลาสก์ (flask) เป็นขวดปากแคบชนิดหนึ่งที่มีพื้นที่หน้าตัดเป็นทรง เหลี่ยม ใช้บรรจุสุรา ความจุมักวัดในหน่วยของ มล. หรือลิตร หรือ ฟลูอิด เอาซ์ (fluid ounce) ขวดแก้วใช้ในการบรรจุ อาหาร สาร เคมี เครื่องสำอาง เครื่องดื่ม เป็นต้น
3. ขวดคาร์บอย
ขวดคาร์บอย (carboys) เนื่องจากแก้วมีความคงทนต่อสารเคมี จึงมีการผลิต ขวดแก้วขนาดใหญ่ เพื่อบรรจุสารเคมีซึ่งมักกัดกร่อนวัสดุบรรจุอื่นๆ โดยนิยม ทำขวดแก้วให้มีสีเขียวอ่อนๆ ซึ่งจะมีความทนทานต่อสารเคมีมากขึ้น
ขวดมีรูปร่างแบบบอลลูน ขนาดบรรจุ 23 และ 45 ลิตร (5 และ 10 แกลลอน) หรือรูปทรงกระบอกผนังตรง ขนาดบรรจุ 23 และ 32 ลิตร (5 และ 7 แกลลอน)
5.7.3
ผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม ของบรรจุภัณฑ์แก้ว
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของบรรจุภัณฑ์แก้ว บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากแก้วมีข้อจำกัดในการใช้มาก ส่วนใหญ่บรรจุ อาหารและเครื่องดื่ม เพราะแก้วไม่มีปฏิกิริยากับสิ่งบรรจุ และป้องกันการ ซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำได้ดี อันตรายที่มักจะเกิดกับผู้ใช้เมื่อบรรจุภัณฑ์ แตกทำให้ความนิยมลดลง
ข้อดี แก้วที่ผ่านการใช้งานแล้วสามารถนำมาหลอมใหม่หรือแปรรูป ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์ และในกระบวนการผลิตแก้ว สามารถใช้เศษแก้ว (cullet) เข้าไปหลอมรวมไปด้วยทำให้ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติบรรจุ ภัณฑ์แก้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง โดยไม่เปลี่ยนแปลง คุณภาพของแก้ว
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของบรรจุภัณฑ์แก้ว ข้อเสีย แก้วผลิตจากซิลีกา ไม่สามารถย่อยสลายได้ตาม กระบวนการทางชีวภาพ การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว อาจทำให้เกิดบาดแผลได้เมื่อแก้วแตก การปนเปื้อนของ แก้วไม่สามารถจับได้เหมือนกับเศษโลหะ
References สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2546). คู่มือการใช้โลหะเพื่อการหีบห่อ. ซีเอ็ดยูเคชั่น. กรุงเทพ. ปุ่น และสมพร คงเจริญเกียรติ. (2541). บรรจุภัณฑ์อาหาร. แพคเมท ส์. กรุงเทพ. ปุ่น และสมพร คงเจริญเกียรติ. (25 ตุลาคม พ.ศ. 2555). บรรจุภัณฑ์ อาหาร ตอนที่ 4 (กระป๋องและขวดแก้ว) หมวดหมู่: หนังสือบรรจุภัณฑ์ อาหาร [บรรจุภัณฑ์อาหาร] (online) available : www.foodnetworksolution.com/news_and_articles/article/ 0100/บรรจุภัณฑ์อาหาร-ตอนที่-4-กระป๋องและขวดแก้ว. [2 ต.ค. 57]
Movies BuyOurBottles.com. เผยแพร่เมื่อ 28 ส.ค. 2013. (online) available : https://www.youtube.com/watch? v=yvqLtTUlZcA [2 ธ.ค. 57] Levi Price. เผยแพร่เมื่อ 6 เม.ย. 2012 : The process of Bottle Manufacturing, a project for Manufacturing 130. (online Available : http://youtu.be/sMMU6V_yDuI. [2 ธ.ค. 57]