บทที่ 3
วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
หลักการ เขียนแบบร่าง
3.1
วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
หลักการ เขียนแบบร่าง
3.1.1 การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเขียนแบบร่าง 3.1.2 องค์ประกอบของแบบร่างบรรจุภัณฑ์ 3.1.3 การเขียนแบบร่างบรรจุภัณฑ์
3.1.1
วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
การใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการเขียนแบบร่าง
1. กระดาษ Paper กระดาษเขียนแบบ เป็นวัสดุรองรับ การเขียนแบบ แบ่งออกได้ เป็น 2 ชนิด คือ - กระดาษเขียนแบบด้วย ดินสอ ใช้กระดาษปอนด์สีขาว ชนิด ผิวไม่ลื่น หรือเป็นมัน เพราะผิวที่มัน จะลื่นดินสอเขียนไม่ค่อยติดเส้นไม่คม ชัด นักเขียนแบบจึงมักนิยมใช้ กระดาษวาดเขียนชนิด 80 ปอนด์ หรือ 100 ปอนด์
กระดาษไข
- กระดาษไขมีลักษณะของผิวกระดาษที่ มันเป็นเนื้อกระดาษขาวขุ่น สามารถมอง เห็นเส้นหมึกได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ในการทำงานจริงจะใช้กระดาษไขใน การเขียนแบบ เพื่อนำไปใช้ในการถ่าย พิมพ์เขียว ขนาดกระดาษไขมีความหนา แ ต ก ต่ า ง กั น ห ล า ย ข น า ด เ ช่ น 90/95GSM 110/115GSM และเมื่อ เขียนแบบผิดพลาดก็สามารถใช้วิธีขูด หรือลบออกได้
2. ไม้ที
•
ไม้ที (T-square) เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับการเขียนแบบ ที่ใช้ เป็นไกด์ในการเขียนเส้นแนวนอนบนโต๊ะเขียนแบบ ใช้โดยดราฟต์ แมน และยังใช้เป็นไกด์ให้กับสามเหลี่ยมที่เขียนเส้นแนวตั้ง ชื่อของ ไม้ที มาจากรูปร่างของมันที่มีรูปเป็นตัว ที โดยมากมีขนาดความยาว 18", 24", 30", 36" และ 42"
ไม้ทีสไลด์ •
ไม้ที สแควร์
3. บรรทัดฉากสามเหลี่ยม บรรทัดฉากสามเหลี่ยม หรือ เซท เป็น เครื่องมือสำหรับเขียนเส้นตรงแนวตั้งและ เส้นทแยง โดยจะใช้ในการเขียนแบบร่วม กับไม้ที หรือใช้ไม้บรรทัดเลื่อน ไม้ฉาก สามเหลี่ยมนี้มีหลายขนาด เลือกใช้ตาม แต่ขนาดของแบบที่จะเขียน และความ สะดวกของผู้เขียนแบบ บรรทัดฉาก สามเหลี่ยม มีชนิดมุมบังคับอยู่จำนวน 2 ชนิด คือ - ชนิดมุม 45 องศา - ชนิดมุม 30 และ 60 องศา - ไม้ฉากสามเหลี่ยมชนิดปรับมุม
4. ไม้สเกล
•
ไม้บรรทัดสเกล ใช้กำหนด มาตราส่วนของการเขียนแบบให้ถูก ต้องตามความเป็นจริง โดยสเกล 1:100 หมายถึง 1 เซนติเมตร ของ ไม้บรรทัด เท่ากับ 100 เซนติเมตร ของแบบมาตราส่วน 1:100 นั่นเอง
5. ดินสอ
ดินสอ ดินสอที่ใช้ในงานออกแบบเขียนแบบ จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน ไส้ดินสอ แบ่งออกได้ 3 ชนิด คือ 1 ดินสอชนิดไส้อ่อน ใช้อักษร B เป็นสัญลักษณ์ ตั้งแต่ไส้อ่อนน้อย จนถึงอ่อนมาก 2B, 3B, 4B, 5B, 7B 2 ดินสอชนิดไส้แข็ง ใช้อักษร H เป็นสัญลักษณ์ ในงานเขียนแบบที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำ ลักษณะเส้น เล็กบาง ได้แก่ งานเขียนแบบเครื่องกล งานเขียนแบบวิศวกรรม 4H, 5H, 6H, 7H, 8H, 9H 3 ดินสอไส้แข็งปานกลาง
6. ปากกา
ปากกาเขียนแบบ ใช้สำหรับเขียนแบบลงหมึกลงบนกระดาษไข เพื่อนำไปใช้เป็นต้นฉบับในการ ถ่ายพิมพ์เขียว นิยมใช้หมึกสีดำ มีหลายชนิด จึงควรเลือกใช้ได้ตามความต้องการ 1 ปากกาชนิดจุ่มเขียน (Speedball) 2 ปากกาชนิดบรรจุหมึกในตัว ขนาดของเส้นปากกาที่ใช้ตามมาตรฐานสากล แบ่งได้ 2 ระบบ - การเขียนแบบทั่วไป ใช้ขนาดเส้น 0.1, 0.2, 0.3, 0.4, 0.5, 0.6, 0.8, 1.0 และ 1.2 มิลลิเมตร - การเขียนแบบ ISO ใช้ขนาดเส้น 0.13, 0.18, 0.35, 0.5, 1.0, 1.4 และ 2.0 มิลลิเมตร
7. สี Color •
•
พู่กัน
สีดินสอระบายน้ำได้
•
สีเมจิก ชนิดหัวตัด หัวแหลม หรือพู่กัน
8. วงเวียน •
วงเวียนมีอยู่หลายแบบ เช่นใช้กับดินสอได้ อย่างเดียว ใช้ กับดินสอและปากกาได้ ภายในอันเดียว
•
การใช้งาน ใช้สำหรับเขียนส่วนโค้ง วงกลมหรือถ่ายขนาดในกรณีที่ใช้ ไม้บรรทัดวัดไม่ได้ใช้มือขวาจับเพียงหัววง เวียน และใช้ปลายแหลมปักจุดศูนย์กลาง ส่วนปลายที่มีดินสอใช้ในการเขียนวงกลม หรือส่วนโค้ง
•
การบำรุงรักษา ควรตรวจสอบวงเวียน ก่อนใช้งานในบริเวณจุดหมุนควรยึด แน่น ไม่หลวม และคลอนใส้ดินสอที่ใช้กับวง เวียนควรเลือก หรือเหลาให้ได้ตาม มาตรฐานเส้นในงานเขียนแบบ
3.1.2
วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
องค์ประกอบในการเขียน แบบร่างบรรจุภัณฑ์
องค์ประกอบของ แบบร่าง Sketch Design การเขียนแบบร่าง (sketch design) คือการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ที่ ได้รับการกลั่นกรอง ในขั้นตอนร่างแบบ (Idea Sketch) มาแล้ว โดยการเขียน เป็นภาพหรือสัญลักษณ์ ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆ ลงในกระดาษ เพื่อสื่อความ หมายแสดงรูปหรือชื้นงานบรรจุภัณฑ์นั้น เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ดูแบบเข้าใจ การ ออกแบบร่างปกติแสดงออกมาในรูปภาพ ทัศนียภาพ ภาพคลี่ รูปด้าน สัดส่วน ที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดจริง อาจใช้มาตราส่วนย่อ หรือขยายในแบบได้ตามความ เหมาะสม สีเป็นส่วนหนึ่งในการดึงดูดสร้างความสนใจในแบบ การเขียนแบบ ร่าง ไม่มีข้อจำกัดตายตัว ผู้ร่างแบบสามารถเลือกใช้ได้ตามเหมาะสมกับ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์
1. แนวความคิดในการออกแบบ Concept of Design การเขียนคำอธิบายถึงแนวคิด ที่มา แรงบันดาลใจในการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น ซึ่งแนวคิดได้มาจากข้อมูลเบื้องต้น ต่าง ๆ ที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองมาแล้ว ผสมผสานกับ แนวคิดของตัวผู้ออกแบบอธิบายออกมาเป็นข้อความ
2. หัวข้องาน (Title)
หัวข้องาน (title) ได้แก่ ข้อความที่บ่งบอกถึงลักษณะงานว่า คืองานอะไร เช่น แบบร่าง (sketch design) การเขียนแบบใช้งาน (Instructional drawing) เป็นต้น หัวข้องานมีขนาดใหญ่พอสมควร ไม่จำกัดลักษณะแบบตัวอักษร สามารถ เขียนด้วยมือหรือใช้อักษรคอมพิวเตอร์ก็ได้ การจัดวางเรียงอักษรในแนวนอน หรือแนวดิ่งก็ได้ การใช้สีอิสระ ไม่จำกัดคำนึงความเหมาะสมและความสวยงาม
3. ภาพแสดงแนวคิดริเริ่ม ในการออกแบบ (Idea Sketch)
ภาพแสดงแนวคิดริเริ่มในการออกแบบ (idea sketch) เป็นการนำภาพร่าง เริ่มแรก ที่ร่างแบบคร่าว ๆ รวบรวมไว้มาเขียนในแบบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อแสดง ให้เห็นพัฒนาการของรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์ ภาพร่างนี้เขียนใหม่ให้เล็ก หรือใหญ่กว่าเดิมก็ได้ วางแนวตั้ง แนวนอนได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ แต่ ควรให้อยู่ในกลุ่ม พร้อมทั้งลงสี เขียนรายละเอียด ของทุกภาพให้สวยงาม
4. ภาพด้านของบรรจุภัณฑ์ Elevation
ภาพด้านของบรรจุภัณฑ์ (Elevation) คือ การแสดงรูปด้านต่างๆ ของบรรจุภัณฑ์ที่ ออกแบบ มีลักษณะการวางภาพเหมือนกับการเขียนแบบ รูปด้านทั่วไปประกอบด้วย รูปด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบน เป็นต้น พร้อมกำหนดขนาดหน่วยวัด มาตราส่วน ระบุ ชื่อด้าน กรณีบรรจุภัณฑ์ออกแบบขึ้นรูปด้วยวัสดุชิ้นเดียว การเขียนรูปด้านให้ใช้การ เขียนแบบภาพคลี่ เพื่อแสดงรูปด้านต่อเนื่อง
5. คำอธิบายประกอบแบบ 1. ที่มาและวัตถุประสงค์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น 2. อธิบายถึงลักษณะทั่วไปของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และส่วนประกอบต่างๆ ที่ สำคัญ 3. อธิบายถึงที่มาในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ว่า ได้แรงบันดาลใจจากอะไร หมาย ถึงอะไร 4. การออกแบบกล่าวถึงความหมาย องค์ประกอบแต่ละส่วน หมายถึงอะไร หลัก การออกแบบที่ใช้ตัวแสดงถึงอะไรได้บ้าง โดยอ้างอิงทฤษฎีการออกแบบ ทฤษฎี สุนทรียะ 5. นำไปใช้ลักษณะใด ไม่ควรใช้ลักษณะใด 6. ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ของผู้ออกแบบและของหน่วยงาน สถาบัน บริษัทใด
3.1.3
วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
การเขียนแบบร่าง บรรจุภัณฑ์
การเขียนแบบร่างบรรจุภัณฑ์
การออกแบบและการเขียนภาพที่ดีนั้น นักศึกษาทางด้านการออกแบบหรือ นักออกแบบจำเป็นจะต้องมีการฝึกฝนทางด้านความคิดและการเขียนภาพ อย่างสม่ำเสมอ และการเขียนภาพที่ดีนั้นจะต้องพยายามเขียนเส้นภาพให้ ผู้อื่นดูเข้าใจง่าย โดยเส้นที่เขียนจะต้องสวยงาม เรียบง่าย และรวดเร็ว
การเขียนแบบร่างบรรจุภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
•
ระยะที่ 1 การเขียนเส้นร่างโครงสร้าง
•
ระยะที่ 2 การคิดและการถ่ายทอดเส้นร่างภาพลงในโครงสร้าง
•
ระยะที่ 3 การเขียนเน้นเก็บเส้นจริงของภาพบรรจุภัณฑ์
•
ระยะที่ 1 การเขียนเส้นร่างโครงสร้าง
การเขียนเส้นโครงร่างของบรรจุภัณฑ์ อาศัยหลักการวาดเส้นพื้น ฐาน การเขียนเส้นร่างของบรรจุภัณฑ์ คำนึงการร่างแบบสมดุลเท่า กันทั้งสองข้างเป็นเกณฑ์
•
ระยะที่ 2 การคิดและการถ่ายทอดเส้นร่างภาพลงในโครงสร้าง
เป็นการเน้นเส้น ของรูปร่างบรรจุภัณฑ์ตามโครงร่างที่ได้ร่างไว้ แล้ว ให้มีความเด่นชัด และชัดเจนยิ่งขึ้น
•
ระยะที่ 3 การเขียนเน้นเก็บเส้นจริงของภาพบรรจุภัณฑ์
•
นอกจากแสดงรูปร่างของบรรจุภัณฑ์แล้ว ควรมีรายละเอียดอื่นประกอบ เช่น ภาพ ประกอบ ตราสัญลักษณ์ ข้อความหลัก เป็นต้น
•
ตกแต่ง แสงเงา สี เพื่อเน้นให้บรรจุภัณฑ์ดูมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น สี แสงเงา จะ ทำให้บรรจุภัณฑ์นั้นดูมีมิติ มีความมนโค้ง ความตื้นลึก หนาบาง
การเขียนทัศนียภาพ Perspective
การเขียนทัศนียภาพ (perspective) คือ การเขียนแบบในลักษณะภาพ 3 มิติ เป็นการแสดงการเขียนที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ดังนั้น ผู้เขียนภาพ จึงต้องเรียนรู้หลักวิธีการเขียนแบบตามลำดับ จึงจะทำให้ผลงานที่ออกมาดู สวยงาม และลักษณะของภาพทัศนียภาพจะเปลี่ยนแปลงเสมอตามมุมมอง หรือตามการมองเห็น
หลักการเขียนแบบทัศนียภาพ ได้แบ่งวิธีการเขียนไว้ 3 วิธีได้แก่ 1. ทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 1 จุด (One Point of Perspective) 2. ทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 2 จุด (Two Point of Perspective) 3. ทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 3 จุด (Three Point of Perspective)
1. ทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 1 จุด (One Point of Perspective)
การเขียนภาพให้มีจุดรวมสายตาเพียงจุดเดียวบนเส้นระดับสายตา ภาพของวัตถุ ที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดใหญ่ แล้วลดระดับค่อยๆเล็กลง เมื่อเข้าใกล้จุดรวมสายตา ขั้นตอนการเขียนแบบทัศนียภาพ(Perspective Drawing) จาก Top Plan
2. ทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 2 จุด (Two Point of Perspective)
ทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 2 จุด (Two Point of Perspective) คือการเขียนภาพให้มี จุดรวมสายตา 2 จุด บนเส้นระดับสายตา จุดทั้งสองจะอยู่ข้างซ้าย และทางขวาของภาพ วัตถุ ที่อยู่ใกล้สายตาจะมีขนาดใหญ่ แล้วสองข้างจะเล็กลง เมื่อเส้นทั้งสองวิ่งเข้าหาจุดรวมสายตา ทั้งซ้ายและขวา
3. ทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 3 จุด (Three Point of Perspective)
ทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 3 จุด(Three Point of Perspective) คือการ เขียนภาพที่กำหนดให้มีจุดรวมสายตา3จุดโดย 2 จุดแรก อยู่บนเส้นระดับสายตา และจุดที่3อยู่ระหว่าง2จุดแรก แต่ยังไม่ได้วางอยู่บนเส้นระดับสายตา อาจจะอยู่สูง หรือต่ำกว่าเส้นระดับสายตาก็ได้ โดยจะอยู่ตรงข้ามกับตำแหน่งของตามองวัตถุ
3. ทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 3 จุด (Three Point of Perspective)
References เรวัต สุขสิกาญจน์ (2550). การเขียนภาพร่าง. (online) available : http:// www1.finearts.cmu.ac.th/thai/articles/detail_article.php?v2=50007. [28 ส.ค.2557] SoftChalk LessonBuilder. (2552). แบบร่างและการนำเสนอ. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. Dreamroominthai.(2557). ทำความเข้าใจเรื่องสเกล (มาตราส่วน). (online) available : http://dreamroom.in.th/ความเข้าใจเรื่อง-scale/. [20 ก.ค. 2557] _____________. (2556). ไม้ที. (online) available : http://th.wikipedia.org/wiki/ไม้ที. [20 ก.ค. 2557] _____________. (2555). แบบร่างและการนำเสนอ (online) available: http:// NETRA.LPRU.AC.TH/~WETA/C3/C3_PRINT.HTML. [20 ก.ค. 2557] sistergleen greenms. (2012). การเขียนทัศนียภาพ Perspective. (online) available : http://perbasic.blogspot.com/ [20 ก.ค. 57]
Assignment # 2 ให้นักศึกษาจัดเตรียมอุปกรณ์ในการเขียนแบบบรรจุภัณฑ์ เขียนแนวความคิด Concept ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เขียนแบบภาพด้าน Elevation ของบรรจุภัณฑ์ เขียนทัศนียภาพ Perspective ของบรรจุภัณฑ์ ตกแต่งลายเส้นและลงสีในการ Sketch ให้เรียบร้อยสวยงาม ส่งงานในเวลาที่กำหนด วิชา 44000004 : Consumer Packaging Design ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์