Week # 6 Paper Package

Page 1

บทที่ 5 วัสดุบรรจุภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค


5.1 บรรจุภัณฑ์กระดาษ 5.1.1 ประเภทของกระดาษ 5.1.2 คุณสมบัติพื้นฐานของกระดาษ 5.1.3 รูปแบบของบรรจุภัณฑ์กระดาษ 5.1.4 ผลกระทบต่อสิงแวดล้อมของ
 บรรจุภัณฑ์กระดาษ


5.1.1

ประเภทของกระดาษ


TYPE : ชนิดของกระดาษ

Kraft Paper Grease Proof 
 Paper

Glassin Paper

Parchment 
 Paper Tissue Paper Coated Paper Sulphite Paper


กระดาษแป้ง กระดาษเทา-ขาว กระดาษหน้าขาวหลังเทา : เป็น
 กระดาษที่นิยมนำมาพิมพ์ด้วย ระบบ Offset และนำไปประกบ ลูกฟูก ซึ่งสามารถประกบได้ทั้ง ลอน E, B, C และ BC ซึ่งการ พิมพ์ด้วยระบบนี้ยังสามารถนำ ไปขัดเงา เคลือบ UV หรือ เคลือบ OPP ได้อีกด้วย ข้อดี ของการใช้กระดาษกล่องแป้งนี้ คือราคาถูก เหมาะกับกล่อง ขนาดเล็กๆ


กระดาษ Art Card มีน้ำหนักมาตรฐานตั้งแต่ 120 แกรมขึ้นไป มีสีขาวทั้ง 2 ด้าน นิยมใช้พิมพ์โปสเตอร์ หรือ กล่องกระดาษที่ต้องการความ สวยงาม แต่มีราคาแพงกว่า กระดาษแป้งทำจากเยื่อเคมีและ เคลือบผิวให้เรียบ ใช้สำหรับ งานพิมพ์ที่ต้องการความ สวยงาม เช่น 
 แคตตาล็อก โบร์ชัวร์


กระดาษ Hard Board กระดาษแข็ง : มีหลายชั้น แข็ง-หนา ทำจากเยื่อไม้ บดและเยื่อเก่า มีผิวขรุขระ สีคล้ำ หรือกระดาษจั่วปัง 
 ใช้ทำใส้ในของปกหนังสือ ฐานปฏิทินตั้งโต๊ะ 
 บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ


กระดาษ Kraft (Kraft) คราฟท์ มี เนื้อหยาบ เหนียว แข็งแรง เหมาะ สำหรับนำมาทำ กล่องบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากสามารถ ป้องกันแรงกระแทก ได้ดี


กระดาษลูกฟูก : Cartons แผ่นปะหน้า

ลอนลูกฟูก

กระดาษลูกฟูก คือ กระดาษที่ ประกอบด้วยแผ่นปะหน้า 2 แผ่น และมีลอนกระดาษลูกฟูกอยู่ตรง กลาง ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปมีอยู่ 3 ประเภท คือ ลอน E, B, C ซึ่ง แตกต่างกันที่ระยะห่างของลอน

ระยะห่างลอน

แผ่นปะหน้า


กระดาษลูกฟูก มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน

กระดาษผิวหน้า (Liner) เป็นกระดาษที่ติดบนกระดาษ ลอนลูกฟูก สำหรับการพิมพ์แบบ Flexo นั้นจะพิมพ์ลง
 บนกระดาษ Kraft กระดาษลอนลูกฟูก Corrugated Medium ใช้กระดาษที่ ผลิตจากเศษกระดาษมาผลิตเป็นลอนลูกฟูก


กระดาษทำผิวกล่อง Kraft Liner Board

กระดาษคราฟท์ ที่นิยมนำมาทำแผ่นกระดาษลูกฟูกมี หลายประเภท หลากสีสันและคุณภาพ การนำไปใช้งาน ก็แตกต่างกัน โดยหลักๆ เกรดกระดาษที่ใช้ มีดังต่อไปนี้


กระดาษ KS กระดาษคราฟท์สีขาวสำหรับทำผิวกล่อง มีความเรียบ สะอาด เหมาะสำหรับกล่อง ที่เน้นความสวยงามและช่วยให้การพิมพ์ มีสีสันชัดเจนดูโดดเด่น เพิ่มคุณค่าให้ สินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน นอกจากนี้ กระดาษ KS/KW ยังมีความแข็งแรงสูง สามารถปกป้องสินค้ได้ดี นิยมใช้สำหรับ กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเพื่อการส่ง ออกและกล่องอุปโภคบริโภค ที่ต้องการ บ่งบอกถึงความมีระดับของสินค้าเป็นต้น น้ำหนัก 170 กรัม ต่อ ตร.ม.


กระดาษ KA กระดาษคราฟท์สีเหลืองทองสำหรับทำ ผิวกล่อง มีความแข็งแรงทนทานเป็น พิเศษ สามารถรองรับน้ำหนักได้ดีเยี่ยม และเป็นที่นิยมใช้กันมากในประเทศ เหมาะสำหรับ สินค้าอะไหล่ยนต์ อาหารกระป๋อง กล่องเฟอร์นิเจอร์ ที่ ต้องการความมั่นใจในเรื่องความแข็ง แรงทุกรูปแบบ ทั้งการเรียงซ้อนและการ ป้องกันการกระแทก น้ำหนัก 125, 150, 185, 230 กรัม ต่อ ตร.ม.


กระดาษ KI กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลอ่อนสำหรับทำผิว กล่องสีอ่อน เหมาะกับงานพิมพ์ภาพหรือตัว หนังสือให้มีสีสวยงามด้านการพิมพ์ จะเป็น รองเพียงกระดาษ KS เท่านั้น นิยมใช้กับ สินค้าที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากเท่า กระดาษ KA เหมาะกับกล่องสินค้าทั่วไป เช่น กล่องใส่เอกสาร กล่องอาหารสำเร็จรูป กล่องใส่สินค้า OTOP กล่องใส่เครืองใช้ ไฟฟ้าที่มีการพิมพ์เป็นภาพ เป็นต้น น้ำหนัก 125, 150, 185, 230 กรัม ต่อ ตร.ม.


กระดาษ CA เป็นกระดาษคราฟท์ที่เหมาะสำหรับ ทำลอนลูกฟูก มีความแข็งแรงในการ ป้องกันแรงกระแทก สำหรับทำลอน ลูกฟูกขนาดต่างๆ ได้ทุกลอนให้ได้ คุณภาพสูง ความแข็งแรงสัมพันธ์กับ น้ำหนักมาตรฐานของกระดาษ และ ยังนิยมนำมาใช้ทำเป็นกระดาษผิว กล่องด้านหลังเพื่อลดต้นทุนอีกด้วย น้ำหนัก 125, 150, 185, 230 กรัม ต่อ ตร.ม.


กระดาษลูกฟูกที่นิยมใช้ มี 3 ประเภท

กระดาษลูกฟูก 2 ชั้น Single Face ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 1 แผ่น ปะกบกับลอน ลูกฟูก 1 แผ่น นิยม


แผ่นเรียบ แผ่นลอน แผ่นเรียบ

กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น Single Wall ประกอบไปด้วยกระดาษ แผ่นเรียบ 2 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 1 แผ่น โดยลอนลูกฟูก จะอยู่ตรงกลางระหว่าง กระดาษแผ่นเรียบ 2 แผ่น มีทั้งลอน B, C, และE ซึ่งจะแตกต่างกันที่ระยะห่างของลอน และความ เหมาะสมในการใช้งาน โดยส่วนใหญ่ ลอน B (เล็ก) เหมาะกับ กล่องประเภทไดคัท เพื่อความสวยงาม, ลอน C ลอนขนาด กลาง เหมาะสำหรับกล่อง 4 ฝา ทั่วไป ส่วนลอน E เป็นลอนที่ เล็กมาก เหมาะกับกล่องที่ต้องการความสวยงามเนื่องจาก ระยะห่างระหว่างลอนแคบมาก ช่วยให้ขึ้นรูปได้สวยงาม


กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น ลอน E กระดาษลูกฟูก ลอน E มี คุณสมบัติสามารถรับแรง กระแทกและแรงทิ่มทะลุต่ำ ใช้กับการทำกล่องขนาดเล็ก กล่องไดคัท สามารถขึ้นรูป ได้ง่ายกว่าลอน B และลอนC และรองรับการพิมพ์ได้ดีที่สุด นิยมใช้บรรจุสินค้าประเภท เน้นความสวยงามของกล่อง เช่น เครื่องสำอาง กล่องของ เล่น หรือสินค้า
 พรีเมี่ยม


กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น ลอน B กระดาษลูกฟูก ลอน B มี ความหนาน้อยกว่า ลอน C มีคุณสมบัติป้องกันการ กระแทกและต้านทางแรงทิ่ม ทะลุพอใช้ ง่ายในการพับและ งอ เหมาะสำหรับทำกล่องรูป แบบทั่วๆไป เช่น กล่องRSC กล่องไดคัท กล่องใส่เอกสาร เป็นต้น เหมาะสำหรับใช้ บรรจุสินค้าที่มีน้ำหนักเบา


กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น ลอน C กระดาษลูกฟูก ลอน C มี คุณสมบัติทั้งความแข็งแรงและ ความยืดหยุ่นรวมกัน สามารถ รองรับแรงกระแทกและการทิ่ม ทะลุได้ดี เป็นที่นิยมใช้กันมาก เหมาะสำหรับทำกล่องรูปแบบ ทั่วไป เช่น กล่อง RSC กล่องฝา เกย กล่องฝาครอบ เป็นต้น เหมาะสำหรับใช้บรรจุสินค้าที่มี น้ำหนักปานกลาง


CC BC C กระดาษลูกฟูก 5 ชั้น Double Wall ประกอบไปด้วยกระดาษแผ่นเรียบ 3 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 2 แผ่น โดยลอนลูกฟูกที่อยู่ติดกับผิวกล่อง ด้านนอกจะเป็นลอน B เพื่อประโยชน์ทางการพิมพ์ และกระดาษลอน ลูกฟูกที่อยู่ด้านในจะเป็นลอน C เพื่อประโยชน์ทางด้านการรับแรง กระแทก นิยมใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการการป้องกันสูง หรือมีน้ำหนัก มาก เรียกกระดาษลูกฟูก 5 ชั้นอีกอย่างว่า กระดาษลูกฟูกลอน BC


กล่องกระดาษลูกฟูก RSC ลักษณะเป็นกล่องฝาชน 
 ทรง 4 เหลี่ยม เปิดด้าน บนและล่างได้ ฝาปิดชน กันสนิท เหมาะสำหรับใช้ ในการบรรจุสินค้าทั่วไป ที่มีความแข็งแรงพอ ประมาณ เช่น กล่องบรรจุ อาหารกระป๋อง กล่องใส่ คอมพิวเตอร์ กล่องเครื่อง ใช้ไฟฟ้า


กล่องกระดาษลูกฟูก FOL กล่องแบบฝาเกย ลักษณะ เป็นกล่อง 4 เหลี่ยม เปิดได้ ทั้งด้านบนและล่าง ฝาทั้ง บนและล่างมีลักษณะเกยกัน เหมาะสำหรับใช้ในการ บรรจุผลิตภัณฑ์ทั่วไป มี ความแข็งแรงมาก สามารถ ป้องกันสินค้าได้ดี เช่น กล่องเฟอร์นิเจอร์


กล่องกระดาษลูกฟูกแบบไดคัท ลักษณะขึ้นอยู่กับความ ต้องการและลักษณะของ สินค้ามีความแข็งแรง สวยงาม สามารถทำตาม รูปร่างของสินค้าได้ มีรูป แบบที่สวยงาม สามารถ ออกแบบใช้งานได้ตาม ประสงค์ เช่น ใส่ผลไม้ ของเล่น หรือชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์


กล่องกระดาษลูกฟูกแบบฝาครอบ กล่องฝาครอบ ลักษณะเป็น
 กล่อง 4 เหลี่ยม เปิดได้โดย การยกฝากล่องที่สวมกันด้าน บนออก สามารถครอบกันได้ สนิท ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ บรรจุสินค้าที่ต้องการแสดง ให้เห็นสินค้าภายในชัดเจน ในขณะที่เปิดกล่องออกมา หรือต้องการระบายอากาศ เช่น กล่องใส่ผลไม้ เป็นต้น


ประโยชน์ของกล่องกระดาษลูกฟูก ใช้บรรจุสินค้าเพื่อการขนส่ง เพื่อป้องกันสินค้าไม่ให้เสียหาย มีน้ำหนักเบา สะดวกในการเคลื่อนย้าย จัดวางง่าย สามารถพิมพ์รายละเอียดให้มีรูปแบบสวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจได้ดี เพื่อจำหน่ายสินค้า เพิ่มส่วนแบ่งในตลาด โดยเป็นส่วนหนึ่งของการโชว์ สินค้า ณ จุดขายได้ดี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และเสริมภาพพจน์ของผู้ผลิต เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถนำกลับมาเข้ากระบวนการ ผลิตใหม่ได้


5.1.2

คุณสมบัติพื้นฐาน ของกระดาษ


คุณสมบัติของกระดาษ 1. Thickness : ความหนาของ กระดาษ 2. Grammage หรือ แกรม : ความหนักของกระดาษ 3. Bulkiness : ความฟูของ กระดาษ 4. Brightness : ความสว่าง ของกระดาษ

6. Opacity : ความทึบแสง 7. Stiffness : ความแกร่งของ กระดาษ 8. Smoothness : ความเรียบ ของกระดาษ 9. Surface หรือ ผิวหน้าของ กระดาษ


คุณสมบัติของกระดาษชนิดต่างๆ ชนิดกระดาษ

คุณสมบัติ

การใช้งาน

Kraft

แข็งแรง ทนแรงฉีก ห่ อ สิ น ค้ า ทุ ก ชนิ ด ถุ ง ขาด ทนแรงดันทะลุ กล่ อ ง ซอง ทนแรงดึง

Grease Proof Paper

ต้านทานการซึมผ่าน ห่ อ อาหารที ม ่ ไ ี ขมั น ของอากาศ, น้ำมัน,


คุณสมบัติของกระดาษชนิดต่างๆ ชนิดกระดาษ

คุณสมบัติ

การใช้งาน

Glassin Paper

ต้านทานการซึมผ่าน ของอากาศ, น้ำมัน ใช้กับอาหารที่มีไขมัน และไขมันดีมาก

Parchment Paper

ใช้ ห อ ่ อาหารที ม ่ ไ ี ข กันน้ำ, กันไขมัน และ มั น , ห่ อ เนื อ ้ ปู , ปู บ รรจุ แข็งแรงเมื่อเปียกน้ำ กระป๋อง


คุณสมบัติของกระดาษชนิดต่างๆ ชนิดกระดาษ

คุณสมบัติ

การใช้งาน

Tissue Paper

ห่อสินค้าที่เกิดริ้วรอย ที ผ ่ ว ิ ได้ ง า ่ ย, ห่ อ ผลไม้ นุ่ม โปร่งแสง, และนำ้ แผ่ น คั น ่ ระหว่ า ง หนักเบา กระจกหรือโลหะ, พลาสติก

Coated Paper

ห่อผลิตภัณฑ์อาหาร, กันน้ำ, ไขมัน, ปิด สบู่, ทำกล่องบรรจุ ผนึกด้วยความร้อน อาหาร


คุณสมบัติของกระดาษชนิดต่างๆ ชนิดกระดาษ

Sulphite Paper

คุณสมบัติ

การใช้งาน

คล้าย Kraft paper ห่ อ สิ น ค้ า พวกอาหาร แต่แข็งแรงน้อยกว่า


5.1.3

รูปแบบของ บรรจุภัณฑ์กระดาษ


1. ซองกระดาษ (Paper Envelope) ใช้บรรจุสินค้าต่าง ๆ เช่น ใบเลื่อย หัวสว่าน ยาเม็ด เมล็ดพืช จดหมาย


2. ถุงกระดาษ (Paper Bag) มีทั้งแบบแบนราบ ใช้ใส่อาหารชิ้น เล็กๆ ที่มีน้ำหนักเบา แบบมีขยายข้างและก้น ใช้บรรจุสินค้าที่มี ปริมาณมาก


3. ถุงกระดาษหลายชั้น (Multi-wall Paper Sack) สำหรับขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนัก มากกว่า 10 กิโลกรัม สินค้าที่นิยมคือ ปูนซีเมนต์ อาหารสัตว์ สารเคมี เม็ดพลาสติก


4. เยื่อกระดาษขึ้นรูป (Moulded Pulp Container) มีทั้งชนิดที่ทำจากเยื่อบริสุทธิ์ ซึ่งใช้บรรจุอาหารสำเร็จรูปและอาหารที่เข้าตู้อบไมโครเวฟได้ และชนิดที่ทำจาก เยื่อเศษกระดาษซึ่งใช้บรรจุ ไข่ ผัก ผลไม้สด และทำเป็นวัสดุกันกระแทก


5. กระป๋องกระดาษ (Paper/Composite Can) เป็นบรรจุภัณฑ์รูปทรงกระบอกที่ ได้จากการพันกระดาษทับกันหลาย ๆ ชั้น พันแบบเกลียวหรือแบบแนวตรง ถ้าใช้ กระดาษเหนียวแต่เพียงอย่างเดียวจะเรียกว่า Paper Can นิยมใช้บรรจุของแห้ง


6. ถังกระดาษ (Fibre Drum) มีลักษณะเช่นเดียวกับกระป๋องกระดาษ แต่มี ขนาดใหญ่ ใช้เพื่อการขนส่ง สินค้าที่นิยมบรรจุคือ สารเคมี เม็ดพลาสติก


7. กล่องกระดาษแข็ง (Paperboare Box) เป็นบรรจุภัณฑ์ขายปลีกที่ได้รับความนิยม สูงสุดสามารถทำจากกระดาษแข็งได้หลายชนิด อาทิ กระดาษไม่เคลือบ กระดาษขาว - เทา กระดาษเคลือบ กระดาษการ์ด กระดาษอาร์ตมัน กระดาษฮาร์ตบอร์ด


5.1.4

ผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม ของบรรจุภัณฑ์กระดาษ


ผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม

ข้อเสีย : ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระดาษเป็นผลจาก กระบวนการผลิตกระดาษที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ เช่น การ ฟอกสีเยื่อกระดาษทำให้เกิดกลิ่นเหม็นของสารประกอบของ ซัลเฟอร์ เช่น H2S เป็นต้น


ผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม ข้อดี

: กระดาษที่ใช้แล้วเมื่อทำลายโดยการเผาไหม้จะมีสารพิษน้อย มากเพราะส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การนำไปฝังกลบก็ สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ดีเพราะกระดาษผลิตจากเซลลูโลส ซึ่งจุลินทรีย์ สามารถย่อยสลายได้ กล่องกระดาษที่ทำมาจากกระดาษลูกฟูกเมื่อใช้ในการขนส่งสินค้า สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ได้มากกว่า 1 ครั้ง กระดาษที่ใช้แล้ว สามารถนำกลับมาแปรรูปใหม่ได้ กระดาษที่ผ่าน กระบวนการรีไซเคิล(Recycled paper) จะมีความยาวของเยื่อกระดาษ ลดลงแต่สามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับกระดาษแท้(Verging paper)


Assignment Week# 6 •

ให้นักศึกษาออกแบบและเขียนแบบบรรจุภัณฑ์กระดาษ เพื่อเป็นของขวัญในวันปีใหม่

เขียนแบบภาพร่าง Sketch Design
 - Concept : แนวความคิดในการออกแบบ
 - Idea Sketch Design & Development 
 - Elevation : Scale & Unit (มาตราส่วน หน่วยวัด)
 - Pattern : ภาพคลี่ของบรรจุภัณฑ์
 - Perspective : ทัศนียภาพ

ส่งงานตามกำหนดเวลา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.