1
2
อุทยานแห่งชาติ
ภูสอยดาว
3
สารบัญ
4
ทำความรู้จักอุทยานฯ
6-12
บนเส้นทางสู่สวรรค์ปลายฟ้า
21-35
กล้วยไม้พันธุ์ใหม่
36-39
ลานสนบนภูสูง
43-46
พืชกินซาก
47-50
คู่มือชมพันธุ์ไม้
57-83
การเตรียมตัวขึ้นอุทยาน
84-85
การเดินทาง
86-87
5
ที่ปรึกษา เกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช จักรกริช วิศิษฐ์พาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ ฉกาจ ลาภานุพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 รัตนา ลักขณาวรกุล ผู้อำนวยการส่วนนันทนาการและสื่อความหมาย บพิตร ปิงโสภา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว คณะผู้จัดทำ ชลธร ชำนาญคิด วสา สุทธิพิบูลย์ นิภาพร ไพศาล หัสชัย บุญเนือง พลากร บุญทาวงษ์ ตรีเนตร เพชรนุ้ย จันทร์เพ็ญ บุญวิภารัตน์ สุทธา สถาปิตานนท์ พงษ์ระวี แสงแข จีรณัทย์ อุดมสินธ์ บุญทวี ขจรรัตนเมธา ISBN 978-974-300-957-0 จัดทำเนื้อหา ภาพประกอบ และออกแบบรูปเล่มโดย บริษัท ณัฏฐานที จำกัด โทรศัพท์ : 02-274-7198 Email : nutthanaty@yahoo.com 6
บทนำ อุทยานแห่งชาติภสู อยดาวได้รับก ารบันทึกโดยนักเดินทาง มากมายถึงความงดงามของป่าสนบนภูสูงที่สอดประสาน เป็นจังหวะงดงามแห่งธรรมชาติที่จะเปลี่ยนผ่านจากฤดูกาล สู่ฤดูกาลซึ่งทำให้มีดอกไม้งามผลิบานเป็นของกำนัล สำหรับค นรักธ รรมชาติที่ต้องเดินเท้าและทุ่มเทแรงกาย แรงใจมายังยอดภสู ูงแห่งนี้เพื่อให้ได้สัมผัสความพิสุทธิ์ แห่งธรรมชาติ ความงดงามของสายหมอกดอกไม้และทิวสนเอกลักษณ์ที่ ทำให้อุทยานแห่งช าติภสู อยดาวเป็นจุดหมายปลายทางของ คนรักธรรมชาติมากมายและแน่นอนว่านอกจากจะมี ความงามแล้วคุณค่าของผืนป่าภ ูสอยดาวยังมีอีกม ากมาย ทั้งยังเป็นต้นก ำเนิด สายน้ำส ำคัญ2สายที่หล่อเลี้ยงผู้คน จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดพิษณุโลกมานานเนิ่นจึงควร อย่างยิ่งทจี่ ะอนุรักษ์ผ ืนป่าเอาไว้ต ราบนานเท่านานเพราะ นอกจากจะสร้างชีวิตแ ล้วยังสร้างอาชีพก่อให้เกิดรายได้ แก่ชุมชนโดยรอบอุทยานแห่งชาติภสู อยดาวอีกด้วย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเดินเท้าฝ่าความชันของภูเขา จะทำให้คุณได้พบกับหัวใจและความงามแห่งธ รรมชาติ อย่างแท้จริงซึ่งส ิ่งนั้นคงทำให้ช ีวิตนมี้ ีความสุขและสีสัน เพิ่มขึ้นได้อย่างแน่นอนและเชื่อว่าภ ูสอยดาวคงมอบของขวัญ อันมีค่าแก่ผู้มาเยือนอย่างเต็มที่เช่นกัน… 7
อุทยานแห่งชาติ
ภูสอยดาว
อ ุทยานแห่งช าติภ ูสอยดาวดินแ ดนแห่งท ิวสนสายหมอก และดอกไม้งามกับความประทับใจทไี่ม่อาจลืมเลือนจาก การเข้าไปเยือนและสัมผัสเพราะที่นงี่ดงามจนเปรียบได้ดั่ง สวนสวรรค์ในเวลาแห่งด อกไม้บานนักเดินทางทหี่ ลงไหลใน ความงามของธรรมชาติต่างมุ่งหน้าขึ้นสู่ดินแดนแห่งนี้ คล้ายกับเข็มทิศช ีวิตของแต่ละคนจะชี้ไปทางเดียวกัน ดั่งเช่นนกอพยพในช่วงฤดูหนาวก็ไม่ป าน… ส ำหรับอุทยานแห่งช าติภสู อยดาวได้รับการจัดต ั้งขึ้นเป็น อุทยานแห่งชาติภสู อยดาวครอบคลุมพื้นที่กว่า2 12,633ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 109 ของประเทศ ครอบคลุม บางส่วนของจังหวัดพิษณุโลกและอุตรดิตถ์ มีสภาพผืนป่าอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารที่ สำคัญทั้งยังเป็นแหล่งท ่องเที่ยวทมี่ ีความงดงามตระการตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตกและดอกไม้นานาชนิดทจี่ ะ เบ่งบานผลัดเปลี่ยนกันในแต่ละฤดู
8
9
ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ จากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนตั้งแต่ ทิศเหนือจรดใต้ซึ่งเป็นพ รมแดนระหว่างประเทศไทยและ สาธารณรัฐป ระชาธิปไตยประชาชนลาวม ีความสูงจาก ระดับน ้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่500-2,100 เมตร ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ถึง85เปอร์เซ็นต์เป็นที่ราบ เพียง15เปอร์เซ็นต์ซึ่งเป็นแ หล่งต้นน้ำของลำน้ำภ าค และลำน้ำปาด จ ากเทือกเขาอันสูงชันทำให้ส ภาพภูมิอากาศเย็นตลอดปี ในช่วงฤดูฝนจะมปี ริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก และในฤดูร้อนบนพื้นราบจะไม่ร้อนมาก
10
พืชพรรณ และสัตว์ป่า
จากความแตกต่างของพื้นที่ภายในอุทยานแห่งช าติ ภูสอยดาวทำให้เกิดความหลากหลาย มีความแตกต่างของ พื้นที่อย่างชัดเจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของภูมิอากาศ ขึ้นมานั่นจึงทำให้ม ีพืชพรรณและสัตว์ป่าหลายชนิดที่อาศัย ในเขตเฉพาะนั้น ๆทั้งย ังเป็นปัจจัยให้เกิดความหลากหลาย ของสังคมป่าเป็นอย่างยิ่งโดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเล เป็นตัวแบ่งแยกผืนป ่าออกจากกันสำหรับส ัตว์ป่าจะพบ ได้ไม่บ่อยนักแต่ม ีสัตว์ป่าสงวนและสัตว์หายากหลายชนิด นอกจากน้ี ยังมสี ตั ว์เล็ก ๆทม่ี คี วามนา่ สนใจ ให้เห็นมากมายอาทิกะท่างและนกชนิดตา่ ง ๆ
11
12
ลานสนสามใบ ภูสอยดาว เป็นลานสนของภูสอยดาวซึ่งเป็นพื้นที่ป่าส น ธรรมชาติกว่า1,000ไร่มีลักษณะเป็นที่ราบยอดตัด บนภเู ขาหนิ ทรายของเทือกเขาภสู อยดาวมีความสงู 1,633เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางสภาพโดย ทั่วไปบนลานสนแห่งนี้จะเป็นที่ราบสลับกับเนินสูง ๆ ต่ำๆปกคลุมไปด้วยทุ่งหญ้าและป่าส นสามใบซึ่งถือ เป็นไม้เด่นส่วนพื้นล่างจะมีดอกไม้ทหี่ มุนเวียนเปลี่ยน กันไปในแต่ละฤดูกาลเกือบตลอดทั้งปีโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในหน้าฝ นด้วยแล้วจ ัดเป็นช่วงฤดูกาลทโี่ด่งดัง ที่สุดข องลานสนภูสอยดาวด้วยหนาแน่นไปด้วยดอก หงอนนาคสีม่วงบนสะพรั่งไปทั่วบริเวณท่ามกลาง สายหมอกจึงเสมือนหนึ่งสรวงสวรรค์ที่หลายคนต่าง มุ่งหวังใครได้ไปเยือนสักคร่าหนึ่ง เพียงเท่านั้นนอกจากดอกหงอนนาคอันเปรียบ ใช่ เสมือนราชินแี ห่งภ สู ูงแห่งน ี้แล้วตามพื้นที่ชื้นแฉะทมี่ ี น้ำขังจะพบกับสร้อยสุวรรณากระดุมเงิน หยาดน้ำค้างตลอดจนถึงแ ตรวงพืชล้มลุกมเีหง้าซึ่ง จะออกดอกในช่วงฤดูฝนเช่นกันและเหนือขึ้นไปตาม คาคบไม้ก็จะพบกับเอื้องแซะส่วนในช่วงฤดูห นาวก็ จะมีดอกไม้อีกกลุ่มหนึ่งผลัดเปลี่ยนเข้ามาแทน ให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสในอีกบ รรยากาศหนึ่งนั้นคือ รองเท้านารีอินทนนท์และกล้วยไม้ช นิดๆ 13 ที่พบเห็นได้ยากในพื้นที่อื่นๆ
ชื่อดอกไม้
Scientific name
14
เอื้องดินลาว
Spathoglottis pubescens
15
ลิ้นมังกร Habenaria rhodocheila Hance.
16
ดอกแตรวง Lilium primulinum var. burmanicum
17
ชมพูเชียงดาว
Pedicularis siamensis
18
ผีเสื้อหางติ่งแววเลือน Papilio arcturus arcturus
19
ว่านไก่แดง
20
Aeschynanthus andersonii C.B.Clarke
เอนอ้าขน
Osbeckia stellata
21
ดอกหลีดกินซาก
Cotylanthera tenuis Blume SP. 22
บนเส้นทางสู่สวรรค์ที่ปลายฟ้า...
ภูสอยดาว
สายหมอกขาวไหลอ้อยอิ่งคลอเคลียทิวสนทยี่ ืนต้นตระหง่าน กับเทือกภเูบื้องหลังอันเป็นจุดสูงสุดของเทือกเขาแห่งนี้ ดอกไม้สีม่วงอ่อนหวานชูช่อผลิดอกพร้อมเพรียงและพริ้วไหว ไปตามสายลมบางเบายามเมื่อแสงผ่านฟ้าที่เปี่ยมเงาฝนลง มาได้ภ าพของดอกไม้งามกับทิวสนเป็นเสมือนแดนสวรรค์ ให้คนเดินทางได้เก็บเกี่ยวภาพประทับใจซึ่งแน่นอนว่าฤ ดูกาล ของความงามแตกต่างกันออกไปดอกไม้ในยามฝนโรยรา เหลือไว้เพียงก้านช่อดอกกับใบแห้งสีเขียวชุ่มฉ่ำกลายเป็น สีเหลืองอร่ามของท้องทุ่งท ี่ฉาบด้วยแสงอาทิตย์อัสดง ในยามแล้งกล้วยไม้หลากชนิดผลิดอกบน คาคบไม้ดสู ีสันสดสวยจากธรรมชาติอันงดงามของภูสอยดาว ทำให้นักเดินทางจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาเยือน ดินแดนแห่งน ี้อย่างไม่ขาดสายคล้ายกับว่าน ี่เป็น ดินแดนแห่งส รวงสวรรค์ก ็ไม่ปาน…
23
24
25
26
ย่ำเท้าพิชติ
ภูสอยดาว ความใฝ่ฝันของคนเดินทางที่รักธ รรมชาติ ส่วนใหญ่ไม่พลาดทจี่ ะมาเยือนลานสนบนภูสอยดาว และมีไม่น้อยที่มาเสพซับความงดงามของธรรมชาติค รบ ทั้งสามฤดูโดยในช่วงฤดูฝน น้ำตกจะมีน้ำค่อนข้างมากและสวยงามยิ่งน ักโดยน้ำตก ภูสอยดาวชั้นแรกอยู่ทางด้านขวามือข องเดินขึ้นสู่ลานสน ซึ่งเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นข องการเดินเท้าเพื่อเข้าไปสัมผัส แก่นแท้แ ห่งธรรมชาติทซี่ ่อนเร้นบางความหมายไว้อย่าง แนบเนียนใช่เพียงแค่ต าเห็นแต่ต้องมีหัวใจไว้สัมผัสอีกด้วย จากบันไดขั้นแรกทพี่ าให้ก้าวเท้าผ่านไปค่อยๆเลียบเลาะ สายน้ำไปอย่างแช่มช้าตามจังหวะของเนินเขาที่แซมด้วย ดอกไม้สีชมพูห วานในยามผลิดอกกับล วดลายบนผิวใบที่ ไม่อาจผ่านตาใครบางคนให้ชื่อว ่าส้มกุ้งแต่ชนิดนี้ไม่มีสีส้ม อย่างกุ้งต้มทว่าสีดอกชมพูสดลดความกระด้างของหินผ า ได้เป็นอย่างดี สำหรับส้มก ุ้งหรือบ ีโกเนียเป็นไม้อ วบน้ำ อายุยืนในวงศ์Begoniaceaeมีถิ่นก ำเนิดอยูใ่นพื้นที่เขต ร้อนชื้นโดยมักขึ้นอยู่ริมล ำธารน้ำตกหรือป่าดิบเขาที่มี ความชื้นสูงซึ่งห ลายท่านอาจไม่ท ราบมาก่อนว่าบีโกเนีย ในโลกมีอยู่ 1,500 ชนิด ที่สำคัญในเมืองไทยมีบีโกเนีย มากมายและมีความงามแตกต่างกันไป แ ละทีเ่ห็นขายเป็น ไม้ประดับนั้นส่วนใหญ่เป็นลูกผสมทั้งสิ้นและ มีอยูม่ ากกว่า10,000ชนิดซึ่งมีการนำต้นแม่พันธ์ุไป จากเขตร้อนของโลกทั้งสิ้น
27
ไม่นานกับการเดินชมธรรมชาติอย่างไม่เร่งรีบ ก็ถึงสถานีศ ึกษาธรรมชาติแ ห่งท ี่2 สามเฒ่าผยู้ ิ่งใหญ่ ที่เป็นเสมือนหมายบอกกล่าวแห่งธรรมชาติถ ึงช ่วงเวลาที่ ผ่านมานักธรรมชาติวิทยาต่างรู้ดวี ่าผืนป่าในบริเวณนี้โดน ทำลายมาก่อนแต่เมื่อไม่มใีครเข้ามายุ่งเกี่ยวธรรมชาติ ก็เริ่มฟ ื้นตัวเองโดยส่งไม้เบิกน ำออกไปเป็นด่านหน้าใน การยึดครองพื้นทีส่ ีเขียวกลับคืนมาเพราะเมื่อมไีม้ใหญ่ให้ ร่มเงาและดึงความชื้นเก็บไว้ทำให้พ ืชชนิดอื่นๆ สามารถ เติบโตขึ้นได้ในช่วงเวลาต่อมาซึ่งเป็นกลไกทคี่ ่อยๆเป็นไป อาจจะใช้เวลาเป็นร้อยปีและไม่จ ำเป็นต้องมมี นุษย์เข้าไป เกี่ยวข้องแต่อย่างใด สำหรับต้นไม้ขนาดใหญ่ที่เห็นอ ยู่นี้ม ีอยูด่ ้วยกัน3ชนิด คือไทรต ะแบกแดงและลำพูป่าซึ่งร่วมกันบุกเบิกผ ืนป่า มานานเนิ่นหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตเหล่าไม้ใหญ่จ ะ เป็นร่มเงาให้กับผ ืนป่าต่อไป…
28
จากจุดนี้ไปอีกไม่ไกลนักหากมาในช่วงปลายฝนต้นหนาว ก็จะมโีอกาสเจอกับพืชด อกงามที่มีชีวิตแสนมหัศจรรย์แต่ ต้องสังเกตให้ดีสักนิดแม้จะมีป้ายสื่อความหมายบอกไว้ แล้วก็ตามแต่เจ้าดอกไม้พวกนี้กม็ ักจะแอบอยูใ่ต้ใบไม้ อาจจะโผล่ออกมาไม่มากนักจากลักษณะของดอกสีแดงสด คล้ายกระโถนปากแตรขนาดเล็กมจี ุดสีเหลืองครีมกระจาย อยู่บนกลีบนักพฤกษศาสตร์ต ั้งชื่อว่า“ก ระโถนพระฤๅษี” (SapriahImalayana)ซึ่งจะว่าไปแล้วน้อยคนนักทจี่ ะได้ เจอกับดอกไม้ชนิดน ี้เพราะมันมีชีวิตแสนลึกลับซ ับซ้อน ไม่มีลำต้นไม่มีใบเมื่อถึงเวลาที่จะดำรงเผ่าพันธ์ุกม็ ีดอก ออกมาให้เห็นทเี่ป็นเช่นน ั่นก็เพราะมันเป็นกาฝากหรือ พืชเบียนที่มีชีวิตโดยการดูดน้ำเลี้ยงและธาตุอาหารจาก ต้นไม้อ ื่นๆซง่ึ เป็นพชื ในกลุม่ เดียวกบั พวกองุน่ ปา่ มชี อ่ื เรียก ว่า“เครือเถานำ้ ”เป็นพืชช นิดที่พบเฉพาะในผืนป่าดิบช ื้น ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้นหากไม่มเีครือเถาน้ำแล้ว กระโถนพระฤๅษีก็คงหมดไปด้วยเช่นกัน… เมื่อผ ่านจากกระโถนพระฤๅษีกเ็ดินเลาะตามไหล่เขา เลียบริมน ้ำมาเรื่อยๆความงดงามของธรรมชาติก ็เปลี่ยน ไปอย่างไม่รตู้ วั ผา่ นจดุ ศกึ ษาธรรมชาติอกี สองจดุ คอื ลำพูปา่ นักบุกเบิกชั้นเยี่ยมกับไม้ไผ่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งก็น่าสนใจไม่น้อยเลยเพราะนี่คือพืชในกลุ่มห ญ้าท ี่มี ขนาดใหญ่ท ี่สุดในโลกนอกจากนี้ป่าไผ่ทผ่ี่ านยังถ ือว่าม ี ขนาดของลำไผ่ใหญ่ที่สุดในบรรดาไผ่ทพี่ บในประเทศไทย อีกด้วยน่าสนใจมากจริงๆสำหรับการเดินเท้าในช่วงแรก ของเส้นทางสู่ลานสนภูสอยดาว…
29
จากเนินส่งญาติถงึ
เนินมรณะ เส้นทางเดินราบที่กำลังจะหมดไปจากสายตาเมื่อผ่าน ดงไผ่ใหญ่เมื่อส ักครู่บันไดอย่างดีทอดตัวขึ้นส ู่เนินชัน ด้านบนกำลังก ายกำลังใจและความมุ่งมั่นของผู้ที่รัก ธรรมชาติจะทำให้ผ่านความลำบากและแสนเหนื่อยไปได้ อย่างสบายซึ่งเนินข้างหน้าที่รอเราอยูน่ มี้ ีชื่อเรียกอย่าง ได้เห็นภาพว่า“เนินส่งญาติ”เพราะความชันของเส้นทาง เดินเท้าทำให้ต้องตัดสินใจกันตรงนี้ว่าจ ะไปต่อหรือถ อย หลังและมีไม่น้อยทตี่ ้องล่าถอยกลับไปปล่อยให้เพื่อนๆ ที่เปี่ยมแรงกายแรงใจเดินไปข้างหน้าคล้ายกับว ่าต้อง ร่ำลาและส่งญาติก็มิปาน… จากทางเดินเท้าทที่ อดผ่านป่าไผ่ร่มครึ้มพาเราขึ้นไป อย่างช้าๆสู่ยอดเนินซึ่งระหว่างทางเต็มไปด้วยดอกไม้ เล็กๆทจี่ ะผลิด อกในช่วงเวลาต่างๆกันหากเป็นฤดูฝน ก็จะมพี วกขิงข่าให้เราเห็นห ลายชนิดเมื ่อผ่านเนินส่งญาติ ไปได้ก็จะพบเนินป่าก่อรอรับอยูข่ ้างหน้าแ ม้จะเหลือระยะ ทางอีกพอสมควรแต่ความมุ่งมั่นและความงดงามของ สภาพสองข้างทางจะช่วยให้การเดินเท้า เป็นไปอย่างสบายอารมณ์
30
31
ผ่านป่าไผ่เล็กๆและเนินต่างๆกันมาพอสมควรซึ่งเนินนี้ จะพาเราไปยงั เนินปา่ กอ่ อกี หนึง่ สงั คมปา่ ทน่ี า่ สนใจอย่างยง่ิ เพราะว่าป ่าประเภทนี้นอกจากจะบอกให้เรารวู้ ่ากำลังเพิ่ม ระดับค วามสูงจากระดับน้ำทะเลมากยิ่งข ึ้นแ ล้ว ผลของมันยังถ ือเป็นอาหารสุดโปรดของสัตว์ต่างๆ รวมถึงพวกเราด้วยและเนินแห่งนกี้ ็ได้รับการขนานนาม ตามไม้เด่นนี่เองเพราะละแวกนเี้ต็มไปด้วยต้นก่อ หรือต้นโอ๊กเนื่องจากป่าดิบเขามคี วามโปร่งข องพื้นป ่า ค่อนขา้ งสงู ทำให้มพี รรณไม้มากมายให้เราได้ชมไปตลอดทาง และหากมาในช่วงผลก่อสุกก็อาจจะได้เจอกับสัตว์ต ่างๆ ที่เข้ามากินอาหารที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ หากต้นไทรเป็นอาหารชั้นดีให้กับน กและสัตว์ต้นก่อก็ ไม่ด้อยไปกว่ากันเลยเพราะในยามผลสุกจ ะเป็นเสมือน ร้านอาหารชั้นดเีช่นกันซึ่งบ่อยครั้งทเี่ราได้ลองชิมรสชาด ของก่อคั่วทแี่ ม้จะไม่ดีเลิศเท่าเก๋าลัดจ ากต่างประเทศ แต่ก ็พอจะทำให้ม อี ะไรขบเคี้ยวยามว่างได้เป็นอย่างดี หลังจากต้องรีดเค้นพลังผ ่านกันมาหลายเนินในที่สุดก็ เข้าส ู่เนินเสือโคร่งฟังด ูอาจจะน่าก ลัวไม่น้อยแ ต่แท้จริง แล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่เพราะเนินแห่งนเี้ป็นเสมือนสิ่ง ประโลมใจยามทรี่่างกายเหนื่อยอ่อนเนื่องจากว่าชื่อข อง ไม้เด่นเป็นต้นกำลังเสือโคร่ง(Betulaalnoides)ท ี่คน โบราณนำเปลือกมาใช้เป็นยาสมุนไพรม ีกลิ่นห อมคล้าย การบูรชาวบ้านมักนำไปต้มน้ำด ื่มเป็นยาสมุนไพร บำรุงกำลังทำให้เจริญอาหารขับล มในลำไส้บำรุงเส้นเอ็น ให้แข็งแ รงและแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายได้เด็ดขาดนัก จึงถูกตั้งช ื่อว่า“กำลังเสือโคร่ง”ด้วยสรรพคุณนเี้องจึง ทำให้ต้นกำลังเสือโคร่งม ีเหลือน ้อยในปัจจุบันเนื่องจากถูก ถากเปลือกจนเหลือแ ต่แก่นจึงไม่มที างลำเลียงอาหารไป หล่อเลี้ยงกิ่งก้านส่วนยอดและใบจนยืนต้นตายในที่สุด แต่อ ย่าจำสับสนกับนางพญาเสือโคร่งทีอ่ อกดอกในช่วง ฤดูหนาวสีชมพูห วานสวยนะเพราะเป็นคนละชนิดกัน
32
จากเนินเสือโคร่งเราต้อง เดินผ่านเนินชันไปอีกพอ สมควรเพื่อท ี่จะไปยังจุด ที่เส้นทางเดินชันและยาก ที่สุดเรียกว่าเนินนี้ทำให้ นักเดินทางมากมายต้อง แทบยอมสยบและอีก ไม่น้อยทไี่ด้ยินเสียงเล่าลือถึงความโหดความชันความ ยากลำบากของเนินสุดท้ายก่อนถึงล านสนอันเป็นดั่งสรวง สวรรค์คงเป็นเรื่องปกติทกี่ ารเดินทางไปชมสิ่งสวยงามตาม ธรรมชาติย่อมต้องฝ่าฟันและต่อสู้กับส ิ่งต่างๆมากมาย โดยเฉพาะต่อสู้กับต ัวเราเองที่พร้อมจะกลับห ลังมากกว่า จะก้าวไปข้างหน้าทว่าสิ่งที่รออยูเ่บื้องหน้านั้นมมี ากกว่า ที่เราจะคิดได้ดังนั้นเนินชันเพียงแค่นี้ไม่เกินกำลังเราแน่ เพราะที่ผ่านมาใช้ก ำลังไปมหาศาลปลายทางอีกเพียงแค่ 1.1ก ิโลเมตรรับรองว่าผ่านไปได้อย่างสบาย ท ำไมต้องเป็นเนินมรณะชื่อช่างดุดันและโหดร้ายมากเลย เรียกว่าไม่มีกำลังในการเดินเท้าแม้แต่น้อยสภาพเส้นทาง เป็นเนินชนั ดกิ ไม่มตี น้ ไม้ใหญ่มแี ต่ทงุ่ หญ้าและไม้พมุ่ เล็กๆ เพราะมีลมแรงอยู่ตลอดเวลาอีกส าเหตุหนึ่งท ี่เป็นปัจจัย สำคัญที่ทำให้บ ริเวณนี้คงสภาพเป็นทุ่งหญ้าก็คือไฟป่า แต่จ ะว่าไปแล้วเสน่ห์แห่งส ายลมที่พัดผ่านทุ่งหญ้าริม หน้าผาท่ามกลางสายหมอกและหยาดน้ำค้างในบริเวณนี้ ก็ทำให้ลืมช ื่ออันน่าหวาดกลัวของเนินแห่งนไี้ด้เหมือนกัน อ ีกเพียงไม่ก ี่อึดใจกพ็ บกับลานสนสามใบอันงดงามเต็มไป ด้วยดอกไม้ผลิบ านสะพรั่งในทุกฤ ดูฝนและมคี วามงามของ ท้องทุ่งสีทองในยามหนาวสิ่งสวยงามของธรรมชาติ แปรเปลีย่ นไปตามฤดูกาลฝากความงดงามไว้ให้ผทู้ ห่ี ลงไหล และรักธรรมชาติได้เข้ามาเสพซับอย่างเคารพและหวงแหน ในความงามของโลกใบนี้ไปอีกนานเท่านาน… 33
สวนสวรรค์บน
ลานสนภูสอยดาว ท่ามกลางสายหมอกที่โปรยปกคลุมทิวสนและ ทุ่งดอกไม้คล้ายจะซ่อนความอ่อนหวานและงดงาม ไว้ให้พ้นสายตาสายลมจากหุบเขาพัดกรูพ าสาย หมอกจางไปเผยให้เห็นสิ่งซ่อนเร้น ดอกสมี ่วงอ่อนหวานบานสะพรั่งสุดสายตาบางดอก ถูกหุ้มไว้ด้วยหยดน้ำที่ทิ้งไว้โดยความฉ่ำช ื้นแสงแดด ส่องลงมาได้เป็นบ างคราวช่วยให้บ รรยากาศอบอุน่ ขึ้นกว่าที่เป็นอยู่พลังของธรรมชาติอันย ิ่งใหญ่ช ่วย ขับกล่อมให้ผ ู้พบเห็นได้มีพลังช ีวิตทยี่ ืนยาวแ ละเต็ม เปี่ยมไปด้วยความอิ่มเอม… 34
35
บรรยากาศในช่วงฤดูฝนของภสู อยดาวน ับได้ว ่าเป็น เอกลักษณ์และเด่นอย่างมากในเรื่องของลานดอกไม้ทจี่ ะ ผลิดอกบานรับสายฝนกันอย่างพร้อมเพรียงหนาแน่น ใช่เพียงดอกหงอนนาคเท่านั้นทบี่ านเต็มลานภูแต่ม ี ดอกไม้เล็ก ๆชนิดอื่นอีกด้วยอาทิชมพูเชียงดาวหรีด ดอกแตรวงสร้อยสวุ รรณาตาเหินไหวกล้วยไม้ไม่น้อย ชนิดที่ผลิดอกในยามนี้อย่างเอื้องแซะอ ั้วเขากวาง นางตายว่านหัวครูเหลืองพิศมรนอกจากนี้ยังม ี พรรณไม้อีกหลายหลากให้ค้นหาและชื่นชม จ ากสายหมอกทเ่ี คยหม่ ผนื ปา่ เขียวสดชืน่ กลับแ ปรเปลีย่ นไป เมื่อความชื้นลดลงและความหนาวเย็นเข้ามาแทนที่ เสียงลมกรีดทิวสนหวีดห วิวหลังคาเต็นท์กระพือให้ ลมหนาวแทรกตัวเข้ามาแสงดาวบนท้องฟ้าสกาวสุกส ว่าง มองเห็นใกล้ๆจนแทบคว้าเอามากอดให้อุ่นก ายมันเป็น ความรู้สึกของคืนหนาวท่ามกลางเงาสนแสงดาว ลมหนาวและความรู้สึกอันละเมียดงามทเี่ราผ่าน ความยากเข็ญระหว่ างทางมาอย่างเหนื่อยกาย ทว่าสิ่งงดงามเหล่านี้ทำให้หัวใจได้กระชุ่มกระชวย
36
ในห้วงกาลทคี่ วามหนาวเย็นปกคลุมผืนป่าดอกไม้ป ่า ผลิดอกเริงร่ารื่นรมณ์มวลแมลงบินร่อนหาน้ำหวาน เสียงนกร้องร่าเสียงแผ่วกระซิบมากับสายลมให้ต ้องเงี่ย หูฟังสำเนียงอ่อนหวานสรรพชีวิตกำลังส่งสัญญาณแห่ง ความสุขสู่กันพวกเราผู้ไม่อาจเข้าถึงได้อ ย่างแท้จริง คงทำได้เพียงเก็บความประทับใจเหล่านั้นให้ค งอยู่ตลอดไป ในความทรงจำถึงลานสนภูสอยดาวที่ยามหนาวจับจิตนั้น ช่างบันดาลความสุขได้อย่างเปี่ยมล้น ผ ่านพ้นลมหนาวเข้าสู่ฤดูแล้งบนความชื้นบนภูหินทราย ยอดตัดเริ่มหมดไปสรรพชีวิตทั้งหลายพักตัวและลดการ สูญเสียน้ำดอกไม้เริ่มห มดไปจากท้องทุ่งแต่มีไม้พ ุ่มหลาย ชนิดที่เริ่มผลิดอกสร้างความงดงามให้ก ับผ ืนป่า ทั้งกุหลาบขาวประทัดดอยเอื้องตาเหินแต่ยามนี้เองที่ เราจะได้สัมผัสกับสิ่งม ชี ีวิตพิเศษทหี่ าดูได้ไม่ง่ายเลย นั่นคือกะท่าง หรือจักกิ้มน้ำทอี่ าศัยอ ยู่ในลำธาร บนลานสนพวกมันจ ะแช่อ ยู่ในน้ำต ื้นๆให้พ วกเราได้ไป แอบมองเจ้าสัตว์ประหลาดตัวนี้ทหี่ น้าตาเป็น สัตว์เลื้อยคลานแต่ด ำน้ำได้นานกว่าป กติม าก ค วามมหัศจรรย์ข องภสู อยดาวที่ได้กล่าวมานั้น นับเป็น เพียงส่วนน้อยนิดทีน่ ำมากล่าว อ้างแต่หากท่านได้ไปสัมผัส ด้วยตัวเองจะเข้าใจว่าความงามของธรรมชาติน น้ั หาทส่ี ดุ ม ไิ ด้และตกั ตวงใส่ในความทรงจำได้อย่างไม่อน้ั แต่นั่นคงต้องขอให้คุณออกจากบ้านเสียก่อน… ผืนป่าเมืองไทยยังรอให้คุณเข้าไปศึกษาธรรมชาติ อีกมากมาย…
กะท่าง
(Tylototriton verrucosus Anderson) 37
38
อักล้ว้วยไม้ละอองจั น ทร์ สกุลใหม่ของไทย และชนิดย่อยใหม่ของโลก
(Satyrium yunnanense subsp. longispica Kurzweil and Suksathan)
กล้วยไม้ดินข นาดกลางชูช่อด อกสีเหลืองสดใสท่ามกลาง สายหมอกทหี่ ่มคลุมผืนป ่าดอกไม้เล็ก ๆมากมายขึ้นอ ยู่ รอบข้างคล้ายจะเป็นเพื่อนกันในยามนี้ในผืนป่าห ่างไกลจาก ผู้คนธรรมชาติเป็นไปอย่างเรียบง่ายตามฤดูกาลที่ผ่านพ้น ในเวลาที่สายฝนห่มคลุมผืนดินดอกไม้เล็กๆต่างแตกใบ ชูก้านผลิดอกกันอย่างเร่งด่วนเพราะเวลานเี้หมาะสมที่จะ กระจายพันธ์ุให้คงอยู่บนผืนโลกนานแค่ไหนแล้วที่กล้วยไม้ บนภูสอยดาวเบ่งบานอย่างงดงามทว่าเมื่อไม่นานมานี้ได้มี คณะสำรวจพรรณไม้ได้ ขึ้นไปเก็บข้อมูล และพบกล้วยไม้ ชนิดหนึ่งทถี่ ือว่ามีคุณค่าต่อวงการพฤกษศาสตร์อย่างยิ่ง เมื่อท ำการศึกษาจึงพบว่าเป็นสกุลใหม่ข องประเทศไทย และเป็นชนิดใหม่ของโลกเลยทีเดียว ก ารสำรวจคราวนั้นมีขึ้นในวันที่17กันยายนพ.ศ .2551 โดยคณะสำรวจพรรณพฤกษชาติข ององค์การพฤกษศาสตร์ สมเด็จพ ระนางเจ้าสริิกิต ิ์เชียงใหม่และเจ้าห น้าที่อุทยาน แห่งชาติภูสอยดาวได้ร่วมกันสำรวจความหลากหลายของ พรรณไม้ในเขตอุทยานฯซึ่งได้พบกับสิ่งต่าง ๆมากมาย ทั้งที่เคยมีรายงานแล้วในวงวิชาการและสิ่งใหม่ในโลก พฤกษศาสตร์ทว่าในที่นี้ขอนำกล้วยไม้ด ินดอกสีเหลืองงดงาม มารายงานเพราะถือว่าเป็นสิ่งทหี่ ลายคนสนใจใคร่รู้… เรื่อง หัสชัย บุญเนือง ภาพ ดร.ปิยเกษตร สุขสถาน 39
ด อกสีเหลืองกลม ๆกลีบปาก ยาวปลายเป็นสามแฉก มีเดือยดอกขนาดเล็กด้านหลัง ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะ ของกล้วยไม้ในสกุลนี้ช่อ ดอกยาวกว่าชนิดที่พบในจีน และมีความแตกต่างกันในราย ละเอียดอยู่พอควร เมื่อทำการศึกษาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ กล้วยไม้ในสกุลนี้จึงได้ตั้งขึ้นเป็นชนิดย่อยใหม่ว่า Satyriumyunnanensesubsp.longispica KurzweilandSuksathan ซึ่งถือว่าเป็นกล้วยไม้สกุลใหม่ของประเทศไทย และยังเป็นชนิดย่อยใหม่ของโลกโดยใช้ชื่อชนิดย่อยว่า longispicaหมายถึงช่อดอกยาว 40
ด ร.ปิยเกษตรสุขสถานให้ความเห็นและตั้งชื่อไทยว่า “อั้วละอองจันทร์”ตามแนวความคิดที่ว่ากล้วยไม้ช นิดนมี้ ี สีเหลืองสดใสอยู่บนดอยสูงใกล้กับพ ระจันทร์ม ากซึ่งทำให้ เกิดจินตนาการถึงละอองจันทร์ที่ปลิวล งมาติดกลีบด อก ได้มองเห็นเป็นความงามประดับผ ืนดิน ส ำหรับกล้วยไม้ดินสเีหลืองชนิดนี้มกี ารค้นพบโดย ดร.ปิยเกษตรสุขส ถานนักพฤกษศาสตร์ สวนพฤกษศาสตร์ส มเด็จพระนางเจ้าสิริกิต ิ์อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ได้ศกึ ษารว่ มกบั Dr.HubertKurzweil นักพฤกษศาสตร์จากสวนพฤกษศาสตร์ส ิงคโปร์ ผู้เชี่ยวชาญกล้วยไม้ในสกุลSatyriumจนทำให้เกิดความ ภาคภูมิใจอย่างยิ่งต่อทรัพยากรทางธรรมชาติแ ละ ความหลากหลายทางชีวภาพที่ยังม ใีห้เห็นอีกไม่น ้อย ทั้งนี้ในโลกแห่งว ิชาการยังคงมีการค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ๆ อยู่เสมอ ในเขตอุทยานแห่งช าติภูสอยดาวยังคงมพี ืช และสัตว์อีกหลากหลายชนิดทรี่อการค้นพบและ ทำการศึกษาแต่น ั่นก็คงต้องขึ้นอยู่กับป ัจจัยทวี่ ่าเรา จะร่วมกันรักษาผืนป่าแห่งน ใี้ห้คงสภาพแห่งความ อุดมสมบูรณ์ไว้ได้นานขนาดไหน…
41
เอื้องกลีบติด
Gastrodia exilis
42
สิงโตขนตาแดง Bulbophyllum lemniscatoides
43
เอื้องกลีบขาว
Dendrobium sp.
44
ลานสนบนภูสูง ลานสนคือบริเวณที่ราบเหนือยอดเขาที่มตี ้นสนธรรมชาติ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นโดยส่วนใหญ่ล านที่ว่าน จี้ ะต้องอยู่ บนภูเขายอดตัดหรือท ี่ราบเหนือยอดเขาปัจจัยกำหนด ที่สำคัญที่ก่อให้เกิดป่าสนเขาก็คือสภาพภูมิอากาศทมี่ ี อุณหภูมิค่อนข้างต่ำเป็นระยะยาวนานสภาพดินที่ค่อนข้าง เป็นกรดจัดและความแห้งแ ล้งในช่วงฤดูแล้งท ไี่ม้ป่าดงดิบ ปรับตัวได้ย ากส่วนไม้เด่นบนยอดภูสอยดาว แน่นอนว่า ย่อมเป็นส นเขาซึ่งในบ้านเราจะมีอยู่2ชนิดด้วยกันคือ สนสองใบและสนสามใบที่หากมองผ่านๆอาจจะแยกกัน ไม่ออกว่าแตกต่างกันอย่างไร
45
46
โดยสนสามใบเป็นพ ืชอยู่ในวงศ์Pinaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าPinuskesiyaRoyleexGordon มถี น่ิ กำเนิดอยูใ่ นประเทศพม่ามกั ขน้ึ เป็นกลมุ่ อยูต่ ามเนินเขา สูงจากระดับน ้ำทะเลประมาณ1,000-1,600เมตร มีลำต้นตรงขนาดใหญ่สูง10-30เมตรเป็นไม้ทไี่ม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพ ุ่มกลมสวยงามลักษณะลำต้นเหมือน สนสองใบทุกอย่างแต่จ ะมีเปลือกสีน้ำตาลปนชมพูอ่อน ล่อนเป็นสะเก็ดต ื้นๆรูปตาข่ายใบเล็กยาวเรียวเป็นรูปเข็ม ไม่แข็งออกเป็นกระจุกๆ ละ3ใบเวียนสลับถตี่ าม ปลายกิ่งปลายใบแหลมโคนใบอัดแน่นอยู่ในกระเปาะ ผลเมื่ออ ่อนมีลักษณะกลมเมื่อแก่จะแยกเป็นกลีบ ๆ กลีบแข็งเป็นรูปกรวยคว่ำเมล็ดรูปรีๆมีครีบบางๆ สีขาวก้านผลยาว ส ่วนสนสองใบเป็นพ ืชอยู่ในวงศ์เดียวกับส นสามใบ แต่จะมีลำต้นทสี่ ูงใหญ่ก ว่าเปลือกสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาวกระจุกใบมี2ใบตามชื่อโดย มีชื่อวิทยาศาสตร์PinusmerkusiiJungh.&deVriese อย่างไรก็ตาม แม้สนเขาทั้งสองชนิดนี้จะมีหลายอย่างที่ คล้ายคลึงกันอ ยู่มากแต่สำหรับท ี่อุทยานแห่งชาติ ภูสอยดาวจะมีสนเขาชนิดแ รกคือสนสามใบขึ้นปกคลุม อยู่อย่างหนาแน่นเหนือลานสนเป็นบริเวณกว้างก่อเกิด ระบบนิเวศในพื้นที่ทจี่ ะพึ่งพ าอาศัยกันแม้กระทั้งเศษซาก ของใบสนที่ทับถมกันอยู่อย่างมหาศาลและย่อยสลาย ค่อนข้างยากบนผืนดินนั้นเมื่อประกอบกับด อกไม้ป่าที่ บานสะพรั่งไปทั่วผ ืนป่าทเี่ด่น ๆอันได้แก่หงอนนาค กระดุมเงินสร้อยสุวรรณาที่ออกเดินสะพรั่งในฤดูฝน ครั้นถึงฤดูแล้งก็จะกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ป่าสนเขาบริเวณนี้มักเกิดไฟป่าอยูเ่ป็นประจำ
47
แต่กไ็ ม่ตอ้ งตกอกตกใจหรือกลัววา่ ปา่ สนเขาผนื นจ้ี ะสญ ู พนั ธ์ุ ไปจากดอยสูงแห่งนี้ด้วยระบบนิเวศที่ออกแบบมาอย่างดี ทำให้แต่ละปจี ะมีเชื้อเพลิงให้ไฟป่าได้เผาผลาญอยูใ่นปริมาณ ที่พอเหมาะพอดีจนไม่ส่งผลกระทบต่อต้นสนมากนักเขา ประกอบกับสนเขามีวิวัฒนาการควบคู่กับไฟป่าม าเป็นระยะ เวลายาวนานจนทำให้เปลือกมีค วามหนามากพอที่จะ ป้องกันความร้อนจากไฟป่าไม่ให้เข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ดังจะเห็นได้จากสนบางตน้ ปรากฏรอ่ งรอยไฟไหม้ดำไปทง้ั ตน้ แต่ท ว่าสามารถยืนห ยัดย ืนต้นท้าทายกาลเวลาอยู่ได้ถึงว ันน ี้ แต่ท ว่าการทำกิจกรรมใดๆ ก็ต็ ามอันเป็นการละเมิด ข้อห้ามตามทกี่ ำหนด หรือกฎระเบียบของอุทยานแห่งชาติ ภูสอยดาวจะโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจนั้นอาจก่อให้เกิดผล กระทบต่อระบบนิเวศเหนือล านสนแห่งนกี้ ็เป็นได้ ดังนั้นทางออกทเี่ราจะช่วยกันได้คือต้องเคารพตามกฎ กติกาที่ทางอุทยานแห่งชาติได้วางไว้อ ย่างเคร่งครัด เพราะไม่เช่นนั้น รุ่งเช้าของวันใหม่ในปีถัดไปมนต์เสน่ห์ของ ดินแดนเหนือดอยสูงดงสนบนภหู นาวชายแดนไทย-ลาว อาจไม่หลงเหลือความน่าหลงใหลให้หมู่ชนนักเดินทาง รุ่นหลังได้รับรู้อีกต่อไป 48
พืชกินซาก… ชีวิตลึกลับแห่งพงไพร
เมื่อพืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ในบรรดาพืชดอก ไม่น้อยกว่า2แสนชนิดมีพรรณไม้อยูก่ ลุ่มห นึ่งซึ่งน่าส นใจ ยิ่งนักเนื่องจากพวกมันไม่มีใบและไม่สามารถผลิตอาหาร สำหรับเลี้ยงตัวเองได้แต่ใช้วิธีการดูดอาหารจากพืชชนิด อื่นๆซึ่งถ ือเป็นการดำรงชีวิตขั้นสูงสุดก็ว่าได้ โดยปกติเราแบ่งพืชอ อกเป็น3กลุ่มใหญ่ๆคือกลุ่มพ ืช ที่สร้างอาหารได้เอง(Autotrophicplant)กลุ่มพ ืชเบียน หรือพืชกาฝาก(Parasiticplant)และกลุ่มพ ืชกินซาก (Mycotrophicplant)ซึ่งผมจะพาไปทำความรู้จักก ับ กลุ่มหลังกันจะได้ทราบว่าเมื่อพืชไม่มใีบไม่มีสารสีเขียว สำหรับสังเคราะห์แสงไม่เบียดเบียนพืชชนิดอื่นแล้ว พวกมันเจริญเติบโตได้อย่างไร 49
50
พรรณไม้ในกลุ่มมายโคโทรฟิค(Mycotrophic)หรือ กลุ่มพ รรณไม้ก ินซากมีลักษณะเฉพาะของกลุ่มค ือไม่มี สารสเีขียว หรือค ลอโรฟีลล์ส ำหรับช ่วยในการสังเคราะห์ แสงอยู่เลยและใบก็ลดรูปลงมาเหลือเป็นเพียงเกล็ดเล็กๆ บนก้านและตามลำต้นหรือบางชนิดอาจไม่ป รากฏให้เห็น เลยทำให้ไม่สามารถผลิตอ าหารได้เองแต่ได้นำราเข้ามา อยู่ในเซลล์และราก็ทำหน้าที่นำอาหารจากภายนอกเข้ามา ส่วนพืชในกลุ่มนี้ก็คอยปล่อยน้ำย่อย(Enzyme)ซึ่งเป็น สารโปรตีนออกมาเพื่อย ่อยราบางส่วนแล้วนำไปใช้เป็น อาหารนักวิชาการได้ทำการศึกษาพืชกลุ่มน ี้อย่างเข้มข้น และสรุปอ อกมาได้ว่าพืชในกลุ่มน ี้เป็นพืชเบียนราเพราะว่า พวกมันไม่มีส่วนในการสร้างหรือผลิตอาหารเลยแต่ได้ ย่อยสลายราเพื่อนำมาเป็นธ าตุอาหารอาจกล่าวได้ว่า พรรณไม้ไร้คลอโรฟีลล์เหล่านี้จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยูไ่ด้ หากปราศจากราคชู่ ีวิต ภายในอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวสามารถพบพืชกินซ ากได้ หลายชนิดซง่ึ เป็นพชื ในวงศ์กล้วยไม้(Orchidaceae) 3ชนิดและวงศ์หรีด(Gentianaceae)1ชนิดและหาก มีการสำรวจอย่างจริงจังเชื่อว่าน ่าจะมีรายงานเพิ่มเติม แน่นอนสำหรับก ลุ่มกล้วยไม้ก ินซ ากนั้นแต่ละชนิดกม็ ี ความงดงามแปลกตาทั้งส ิ้นโดยทั้ง3ชนิด ได้แก่ กล้วยไม้มด(Epipogiumroseum (D.Don) Lindl.) เอื้องแฝงภู(A phyllorchismontanaRchb. f.) เอื้องกลีบต ิด(GastrodiaexilisHook. f.) กล้วยไม้มดดอกขาว (Didymoplexis pallens) กล้วยส้มสยาม (Didymoplexiella siamensis) โดย ทั้งหมดนี้ต่างผลิดอกให้เห็นตั้งแต่ในช่วงต้นฝนจนช่วงท้าย ของฤดูฝนจึงจะบานทั้งหมดและอีกช นิดทมี่ ีความน่าสนใจ ไม่น้อยก็คือดอกหรีดข าว(Cotylantherasp.)ซึ่งมลี ำต้น สีขาวใสขนาดเล็กและดอกสมี ว่ งจางๆกับเกสรสเี หลืองสด พบในผนื ปา่ ทม่ี คี วามชืน้ สงู รวมถึงพืชกินซากขนาดเล็กในวงศ์ หญ้าข้าวก่ำ (Burmanniaceae)โดยทั้งหมดนี้นับได้ว่าเป็น สิ่งมีชีิวิต มหัศจ รรย์แห่งพงไพรเลยทีเดียว
51
52
เอื้องสีลา
Tainia viridifusca
53
แววมยุรา
Torenia sp.
54
กล้วยปลวก
Epipogium roseum
55
ดอกดินแดง
Aeginetia indica
56
เอื้องปีกไก่
Agrostophyllum brevipes
57
นกเด้าลมหลังเทา
Motacilla cinerea
58
ดอกไม้ป่า
นานาพันธ์ุ
59
กระโถนพระฤๅษี ชื่อวิทยาศาสตร์ : S apria himalayana Griff. วงศ์ : Rafflesiaceae
กระโถนพระฤๅษีขึ้นตามพื้นดินท ี่ทับถมไปด้วยใบไม้ที่ ผุเปื่อยมีความชุ่มช ื้นอยู่ตลอดช ูช่อตามพื้นดินลักษณะ เป็นรูปถ้วยชาชนาดใหญ่คล้ายกับก ระโถนปากบาน ดอกสแี ดงสดมีจดุ เหลืองสวดสะดุดต ารากของ กระโถนพระ ฤๅษีเกาะติดอ ยู่กับเครือเถาน้ำ ถือเป็น พืชกาฝาก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยกย่องให้เป็นพืชที่มีวิวัฒนา การสูงสุด ดอกออกเดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่มดอกอ่อนรูปร่าง กลมขนาดเท่าผลมะนาวเมื่อบานเต็มที่มีขนาดกว้าง 10-1 5ซม.กลีบดอกมีลักษณะอุ้มน้ำต ิดกันต่อจากฐาน ดอกแข็งๆส่วนปลายแยกเป็นแฉกประมาณ 10แ ฉกบริเวณกึ่งกลางหลอดด้านในจะมพี ังผืดติดอยูเ่ป็น รูปวงแหวนมองเห็นเกสรสีสวยประมาณ20อัน ออกดอกราวเดือนพฤศจิกายน-เดือนมกราคม
60
หงอนนาค
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia gigantea (Vahl) G.brückn. วงศ์ : Commelinaceae หงอนนาคบางท้องถิ่นเรียกว่า หญ้าห งอนเงือก หรือ น้ำค้างกลางเที่ยงเป็นด อกไม้สีหวานสดใส พบเฉพาะในธรรมชาติเท่านั้นเจริญเติบโตได้ดีบน ยอดภูเขาสูงทอี่ ากาศหนาวเย็นลักษณะเป็นพืชล้มลุก ขึ้นกันเป็นกลุ่มข นาดใหญ่ลำต้นสูงประมาณ1เมตร ใบ เป็นรูปด าบยาว15-40ซม.กว้าง4-12ซม. ดอกออกเป็นช่อตั้งท ี่ปลายกิ่ง หรือปลายยอดสีชมพู ค่อนข้างหายากกลีบดอกมีสามกลีบดอกตรงกลาง ตั้งฉากกับดอกด้านข้างจะบานเมื่อเจอแสงแดด ส่วนล่างของดอกมักมีน้ำค้างติดอยูท่ ุกดอกแม้จะอยูใ่น ช่วงที่แดดจัดก็ตามจนได้รับฉายาว่า“น้ำค้างกลางเที่ยง” ออกดอกตลอดปีโดยเฉพาะในฤดูฝน ช่วงเดือนกันยายน-เดือนตุลาคมพบมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
61
รองเท้านารี อินทนนท์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum villosum (Lindl.) Stein วงศ์ : Orchidaceae รองเท้าน ารีอินทนนท์เป็นก ล้วยไม้อ ิงอาศัยมักข ึ้นอยูต่ าม ต้นไม้เปลือกหนาปกคลุมด ้วยมอสส์เฟินต ะไคร่น้ำโดย จะหยั่งรากใปตามเปลือกไม้มีลำต้นส ั้นและแตกกอใบรูป แถบขอบขนานยาวประมาณ20-25ซม.ปลายใบหยัก แหลมผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มโคนสีม่วงแกมแดง ดอกออกเดี่ยวๆตามซอกใบสีเขียวหรือสีเขียวจุดม่วง มีขนยาวนุ่มปกคลุมกลีบดอกเป็น ช้อนบิดและแผ่โค้ง แถบบนสีน้ำตาลอมแดงแถบล่างสีเหลืองออกดอกในเดือน ธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์นับเป็นพืชหายากอีกช นิดหนึ่งใน ประเทศไทยพบบริเวณป่าดิบเขาความชื้นสูงและ อุณภูมิต่ำในภาคเหนือแ ละภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
62
ว่านไก่แดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aeschynanthus andersonii C.B.Clarke วงศ์ : Gesneriaceae ว่านไก่แดงเป็นพืชอ ิงอาศัยเช่นเดียวกับก ล้วยไม้ ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆหรือเป็นก อสูงไม่เกิน40ซม. ชอบความชื้นและอากาศเย็น มักเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ลำต้นคดงอและค่อนข้างเปราะขึ้นตามภูเขาที่สูงจากระดับ น้ำทะเลตั้งแต่1,000ม. ขึ้นไปพบมากใน ภาคเหนือใบเล็กข อบขนานรูปหอกกว้างประมาณ 1ซม.ยาวประมาณ3ซม.ขอบใบเรียบ หรือห ยักเป็น คลื่นบ ้างเล็กน ้อยท้องใบมีขนยาวประปรายส่วนหลังใบ เกลี้ยง ห รือเกือบเกลี้ยงดอกสีแดงสดสะดุดตาออกตาม ยอดเดี่ยวๆหรือเป็นกระจุกแต่ละดอกมีก้านเรียวยาว ประมาณ1ซม.ชูดอกตั้งตรงกลีบด อกเป็นหลอดยาวโค้ง คล้ายมีดขอหรือรูปแ ตรงอนยาวประมาณ3-4ซม.ปลาย หลอดผายออกและหยักเป็นกลีบบริเวณปากหลอดมี ขนประปราย
63
เอ็นอ้าขน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Osbeckia stellata Buch.-Ham.ex KerGawl. วงศ์ : Melastomataceae เอ็นอ้าขนเป็นไม้พุ่มเตี้ยสูงประมาณ2เมตรลำต้นก ลม ยาวสีเขียวและมขี นปกคลุมอ ยู่ใบเป็นรูปรขี อบขนาน ปลายแหลมยาวประมาณ7-14ซม.ดอกออกเป็นช่อที่ ปลายกิ่งมีดอกย่อยจำนวนมากดอกสีม่วง4กลีบ บานอ้าเต็มที่กลีบจะงองุ้ม ออกดอกตลอดปีกระจายพันธ์ุ อยู่ในแถบเขตร้อนของทวีปเอเชียในประเทศไทยพบได้ท ุก ภูมิภาคท ี่พื้นทีช่ ุ่มช ื้นริมน้ำภูเขาสูงทุ่งหญ้าป่าส นเป็น พืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกับโคลงเคลงแต่ต่างสกุลกันม ีประโยชน์ ทางสมุนไพรรากสามารถนำมาต้มกินแก้โรคบิดได้
64
ดอกแตรวง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lilium primulinum Baker var. burmanicum Stern วงศ์ : Liliaceae ลิลลี่ป่าลิลลี่ดอยหรือด อกแตรวงเป็นพืชหายากชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นพืชล ้มลุกมเีหง้าอยูใ่ต้ดินลำต้นเจริญเติบโตได้ ดีในฤดูฝนและจะแห้งไปในฤดูแล้งหัวใต้ดินจะแตกใหม่ฤ ดู ฝนถัดไปมีลำต้นทแี่ ข็งตั้งตรงสูงประมาณ1-1.5ม. ใบแข็งเรียวเล็กยาวออกดอกที่ปลายยอดมี6กลีบ ปลายกลีบม้วนโค้งขึ้นดา้ นบนดอกทยอยบานจากลา่ งขน้ึ บน จนสดุ ปลายยอดเกสรห้อยลงออกดอกในช่วง เดือนสิงหาคม-เดือนกันยายนพบในช่วงความสูง จากระดับน ้ำทะเล1,500เมตรขึ้นไป
65
อั้วเขากวาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Habenaria limprichtii Schltr. วงศ์ : Orchidaceae อัว้ เขากวางเป็นกล้วยไม้ด ินขนาดเล็กทพี่ บได้ยากข ึ้นใน บริเวณพื้นที่ค่อนข้างเปิดโล่งริมทุ่งหญ้าในผืนป่าดิบเขา พบในบริเวณภูเขาสูงทมี่ ีอากาศหนาวเย็นชอบความชื้นสูง ในอุทยานแห่งช าติภ ูสอยดาวพบได้ทบี่ ริเวณเนินมรณะ ก่อนถึงลานสนบนยอดภูสอยดาวต้องใช้ค วามพยายาม อย่างมากในการเดินชมเนือ่ งจากเป็นพชื ทข่ี น้ึ บริเวณความสงู จากระดับน้ำท ะเล1,500เมตรมักขึ้นเป็นกลุ่มเล็กบริเวณ พุ่มไม้มีก ้านดอกยาวดอกออกเป็นช่อท ี่ปลาย ครั้งล ะประมาณ3-6ดอกดอกบานใหม่ ๆ สีเขียวใส และจะเปลี่ยนเป็นส ีขาวสวยงามเมื่อบาน หลายวันกลีบปากแผ่ก ว้างและมรียางค์คล้ายเขากวาง
66
ชมพูนุช
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pedicularis evardii Bonati วงศ์ : Scrophulariaceae ชมพูนชุ เป็นไม้ลม้ ลุกขน้ึ เป็นกอทจ่ี ะไม่แผ่ขยายพนั ธ์ใุ น วงกว้างเหมือนหญ้าอน่ื ๆมอี ายุปเี ดียวหรือหลายปี มใี บแบบ ขนนกใบเดีย่ วดอกออกเป็นชอ่ ตามซอกใบสชี มพูสวยงาม พบในทางภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณปา่ ดิบเขาในระดับ ความสงู ชอบอากาศเย็นมคี วามชมุ่ ชน้ื จดั อยูใ่ นไม้สกุลชมพู เชียงดาวซง่ึ มสี มาชิกอยูป่ ระมาณ600ชนิดทว่ั โลก โดยเฉพาะเขตอัลไพน์ทางตะวันตกของจนี และแถบหมิ าลัย ในไทยพบ4ชนิดได้แก่จนั ทร์เชียงดาวชมพูเชียงดาว พูช่ มพูรวมถงึ ชมพูนชุ
67
เอื้องแฝงภู
ชือ่ วทิ ยาศาสตร์ : A phyllorchis montana Rchb.f. วงศ์ : Orchidaceae เอื้องแฝงภู กล้วยไม้กินซาก ขึ้นในป่าดิบชื้นล ำต้นเป็น เหง้าทอดขนานอยู่ใต้ดินมีช่อดอกแทงขึ้นเหนือพื้นดิน ราว1 ม. โคนก้านใหญ่มีกาบปกคลุมเป็น จำนวนมากดอกกว้างประมาณ2-3ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบด อกแถบแกมรูปหอกสีเหลืองอ่อน มีเส้นส ีน้ำตาล2-4เส้นเอียงขนานกับก ลีบป ากรูปหัวใจ พบได้ทางภาคเหนือของประเทศไทย ในช่วงเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน
68
สร้อยสุวรรณา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Utricularia bifida L วงศ์ : Lentibulariaceae
สร้อยสุวรรณาเป็นพ ืชล้มลุกอ ายุปีเดียวมักข ึ้นเป็น กอเล็กๆสูงป ระมาณ10-15ซม.พบในที่ชื้นแฉะ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดอกสีเหลืองสดออกเป็น ช่อตั้งจากโคนกอมีดอกย่อย2-6ดอกกลีบดอกโคนเชื่อม ติดก ันเป็นดอกมีใบออกเดี่ยวขนาดเล็กเรียงเวียนรอบ โคนต้นมีอวัยวะจับกินแมลงตามข้อข องไหล หรือบ นใบ บริเวณโคนมีเส้นสแี ดงเข้มต ามยาวกลีบล่างมนกลม หรือแยกเป็น2พูเจริญเติบโตได้ด ีตามพื้นโล่ง บนลานหินทราย
69
สิงโตรวงข้าว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bulbophyllum morphologorum F. Kranzl. วงศ์ : Orchidaceae สิงโตรวงข้าวเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยใบเป็นรูปรีแกม ขอบขนานเรียวยาวปลายใบแหลมยาวประมาณ 13-15ซ ม.ลำลูกกล้วยผิวสีเขียวอมเหลืองเป็น สันเล็กน้อยคล้ายรูปไข่ดอกมีกลิ่นเหม็นออกเป็นช่อก ระ จะตั้งจากโคนกอกลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยมสีเหลืองขุ่น ปลายเรียวยาวขอบหยักไม่เป็นระเบียบพบในป่าดิบเขา ในอากาศเย็นและชุมชื้นตลอดทั้งปี
70
กุหลาบขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhododendron lyi H. Lév. วงศ์ : Ericaceae กุหลาบขาวเป็นไม้พุ่มเตี้ยใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับ เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่งแผ่นใบรูปไข่ก ลับยาว4-7ซม. ปลายแหลมมีติ่งโคนสอบเข้าหากันกิ่งอ่อนมีขน และเกล็ดสีน้ำตาลปกคลุมออกดอกสีขาวสะอาดเป็น ช่อที่ปลายกิ่งกลีบด อกมี5กลีบเชื่อมกันค ล้ายรูปแตร ด้านในมีจุดประสเีหลืองผลเป็นรูปรีผิวขรุขระอาศัยลม ช่วยกระจายพันธ์ุเป็นห ลักพบมากทางภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ บนสันเขาที่โล่งแจ้งตามโขดหินออกดอกในช่วง เดือนกุมภาพันธ์-เดือนพฤษภาคม
71
หยาดน้ำค้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drosera peltata Sm. วงศ์ : Droseraceae หยาดน้ำค้างหรือหญ้าไฟตะกาด พืชกินแมลงที่มหี ัวใต้ดิน ขนาดเล็กใบตามลำต้นแบบก้นปิดรูปสามเหลี่ยม เส้นผ่านศูนย์กลาง0.3-0.6ซม. ผิวด้านบนและขอบใบมีขนยาวสีแดง ปลายขนมีหยดน้ำเหนียวใส มีไว้เพื่อดักจับแมลง ดอกเป็นช่อต ั้งตรงไม่แตกแยกแขนงใบที่โคนหลุดร่วงง่าย กลีบเลี้ยงรูปไข่แ กมรูปรีขอบเป็นช ายครุยกลีบด อกสีขาว รูปไข่ยาว0.5-0.6ซม.มีเขตการกระจายพันธ์ุกว้างใน แถบประเทศเอเชียต ะวันออกเฉียงใต้ศรีล ังกาจีนญ ี่ปุ่น และออสเตรเลียส่วนในไทยสามารถพบได้ทุกภ าคขึ้นตาม ที่ชื้นแฉะในทโี่ล่งและดินทไี่ม่สมบูรณ์
72
หางหมาจอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Uraria crinita (L.) Desv. ex DC. วงศ์ : Leguminosae-Papilionoideae หางหมาจอก หรือหางกระรอกและอีกห ลายหลากชื่อ เรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นเป็นไม้ท ี่ขึ้นอยูท่ ั่วไปใน ทุกภาคของไทยในพื้นที่ดินร่วนปนทราย เป็นไม้พุ่มล ำต้นตั้งต รงสูง30-120ซม.ดอกของมันมี ความโดดเด่นมากมีดอกย่อยเรียงอัดต ัวกันแน่น สีม่วงอมชมพูก้านดอกย่อยและกลีบเลี้ยงมีปุยข นยาว ปกคลุมหนาแน่นนอกจากความสวยงามแล้วส่วนราก ของมันยังมีประโยชน์อย่างกว้างขวางสามารถนำไป ทำยารักษาได้หลายโรคทั้งคนและสัตว์
73
เอือ้ งแซะภูกระดึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium christyanum Rchb.f. วงศ์ : Orchidaceae เอือ้ งแซะภกู ระดึงเป็นกล้วยไม้องิ อาศัยทส่ี วยงาม จะบานเฉพาะบนยอดดอยสงู ทม่ี อี ากาศเย็นมลี ำต้นเป็น ทรงรี ปล่องตรงกลางมคี วามสงู 6-12ซม.สเี ขียวเข้ม อมนำ้ ตาลใบเป็นรปู รสี เี ขียวเข้มปลายแหลมยาว4 -6ซม. กว้าง1.5ซ ม.ด อกเกิดทข่ี อ้ ใกล้ป ลายยอดหรือทย่ี อดโดย ออกเป็นชอ่ สน้ั ๆ1-2ดอกด อกกว้างประมาณ2-2.5ซม. กลีบเลีย้ งและกลีบดอกสขี าวแกมสม้ ปลายแหลมกลีบปาก ใหญ่กว่ากลีบอน่ื ๆเอือ้ งแซะภกู ระดึงเป็นกล้วยไม้ทม่ี ี กลิน่ หอมจะออกดอกในชว่ งเดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคม สามารถพบได้ในปา่ ดิบเขาปา่ ส นเขาป า่ ดิบแล้งทม่ี คี วามสงู ตง้ั แต่1,000เมตรจากระดับนำ้ ทะเลปานกลาง
74
บัวทอง
ชือ่ วทิ ยาศาสตร์ : Hypericum hookerianum Wight & Arn. วงศ์ : Guttiferae บัวทองไม้พมุ่ ทรงกลมสงู ได้ประมาณ1 -2ม.ใบเดีย่ ว เรียงตรงขา้ มใบรปู ไข่รปู ขอบขนานหรือรปู ใบหอก ยาว2-7ซม.ปลายใบแหลมหรือกลมโคนใบรปู ลม่ิ หรือ รปู คล้ายรปู หวั ใจตน้ื ๆมตี อ่ มกระจายเส้นแขนงใบ2-4คู่ ก้านใบสน้ั ยาว0.1-0.4ซม.ดอกออกเป็นชอ่ กระจกุ สน้ั ๆ มี1-5ดอกดอกรปู ถว้ ยขนาดเส้นผา่ นศนู ย์กลาง3-6ซม. กลีบเลีย้ งและกลีบดอกมจี ำนวนอย่างละ5กลีบกลีบดอกสี เหลืองทองหรือเหลืองออ่ นรปู ไข่บวั ทองมเี ขตการกระจายพนั ธ์ุ กว้างในเขตเอเชียในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคเหนือ ขน้ึ ตามชายปา่ ดิบเขาระดับค วามสงู 1,600-2 ,500เมตร จากระดับน้ำทะเล
75
สิงโตปากนกแก้ว
ชือ่ วทิ ยาศาสตร์ : B ulbophyllum psittacoglossum Rchb.f. วงศ์ : Orchidaceae
สิงโตปากนกแก้วหรือสงิ โตลน้ิ นกแก้วเป็นกล้วยไม้องิ อาศัย ขนาดเล็กลำต้นเจริญท างด้านข้างลำลูกก ล้วยเป็นรูปไข่ แกมทรงกระบอกลำต้นเรียงชิดติดกันและทอดเอนไป สู่ยอดแ ผ่นใบหนายาว7-9ซม.กว้าง2.5-3ซม. ดอกออกเป็นช่อส ีเหลืองสด มีเส้นสีแดงขีดตามความยาว ของกลีบกลิ่นห อมอ่อน ๆก้านช่อสั้นก้านดอกสีเหลือง มีจุดป ระสีแดงกลีบปากเป็นรูปแถบหนาอ้วนสีม่วงแดง สามารถพบได้ท างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะออกดอกชูช่อให้พบเห็นบนป่าดิบเขา ในเดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน
76
เอื้องเทียนหนู
ชือ่ วทิ ยาศาสตร์ : Coelogyne schultesii S.K. Jain & วงศ์ : Orchidaceae
S. Das
เอื้องเทียนหนูหรือเอื้องหินเป็นกล้วยไม้อ ิงอาศัยลำลูก กล้วยรูปรีกว้าง2ซม.ยาวประมาณ4-5ซม.ใบรูปรีมี ความกว้าง2.5-3ซม.ย าว12-15 ซม.แผ่นใบเหนียว มีสเีขียวเข้มเป็นมันช่อด อกแบบกระจะเกิดที่ยอดค่อนไป ทางปลายช่อและค่อนข้างโปร่งช่อด อกยาว12-18ซม. ดอกในช่อ5-10ดอกดอกมีขนาดประมาณ1-1.2ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบด อกมสี ีน้ำตาลกลีบด อกเรียวบาง กลีบปากสีขาวมีแถบสีน้ำตาลกลางกลีบปลายกลีบเว้าลึก เอื้องเทียนหนูพ บได้ในพื้นทีป่ ่าดิบทางภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงฤดูดอกจะเป็นช่วง เดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม
77
เอือ้ งเบีย้ ไม้ ใบขน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichotosia dasyphylla (Parish & Rchb.f.)
F. Kränzl.
วงศ์ : Orchidaceae เอื้องเบี้ยไม้ใบขนหรือส ามก้อมเป็นกล้วยไม้อ ิงอ าศัย ดอกขนาดเล็กกลีบปากดอกมีสีเหลืองที่มีความแตกต่างกัน ไปตั้งแต่สีอ่อนจนถึงสีเข้มสดลักษณะใบเกือบกลมในหนึ่ง ต้นจะมีใบแค่2-4ใบและใบมขี นาดเล็กอวบน้ำมีขนแข็ง สีขาวปกคลุมกลีบเลี้ยงมขี นแข็งส ีขาวปกคลุมเช่นเดียว กับใบมักเกาะกลุ่มเป็นเหง้าใหญ่เลื ้อยแตกแขนงมากตาม ต้นไม้ยืนต้นออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม มักเกาะตามเปลือกต้นไม้บริเวณริมหน้าผาทมี่ ีลมพัด
78
เอื้องดินลาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spathoglottis pubescens Lindl. วงศ์ : Orchidaceae เอื้องดินลาวหรือบานจ้วน มีลำต้นใต้ดินแปรรูปเป็นหัว สะสมอาหารใบเป็นรูปแ ถบปลายใบแหลมมีสีเขียว เรียงตัวแบบสลับแผ่นใบมีรอยพับจีบช่อดอกเป็นแบบ ช่อกระจะก้านช่อด อกแข็งและตั้งตรงมขี นละเอียดปกคลุม ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศแบบสมมาตรด้านข้างมีกลีบเลี้ยง 3กลีบกลีบด อก3กลีบกลีบป ากมี3แฉกเอื้องดินลาว มีดอกสีเหลืองถึงเหลืองเข้มหูกลีบป ากมีเส้นสีแดงจาง ส่วนเอื้องดินล าวมีสแี ดงเข้มเส้าเกสรเรียวยาวกลุ่มเรณูมี 8อันรูปร่างคล้ายกระบอง
79
ประทัดดอย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Agapetes lobbii C.B. Clarke วงศ์ : Ericaceae ประทัดดอยหรือสะเม็ก เป็นไม้พมุ่ องิ อาศัยแตกกง่ิ ระเกะ ระกะมรี ากอวบขนาดใหญ่อมุ้ นำ้ เกาะตามตน้ ไม้ใหญ่ทม่ี ี มอสส์ปกคลุมใบเดีย่ วเรียงเวียนสลับเป็นกลมุ่ ปลายใบ เรียวแหลมขอบใบเรียบเป็นแผ่นหนาดอกสแี ดงออกเป็น ช่อย าวไม่แตกแขนงตามกง่ิ เมือ่ บานจะคว่ำลงสพู่ น้ื คล้ายรปู ระฆังกลีบดอกตดิ กนั เป็นหลอดปลายกลีบมว้ นตลบไปดา้ น หลังพบทภ่ี าคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปา่ ดิบ เขาทค่ี อ่ นขา้ งโปร่งทร่ี ะดับความสงู 1,000-2,300เมตร จากระดับนำ้ ทะเล
80
เอื้องลิ้นมังกร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Habenaria rhodocheila Hance. วงศ์ : Orchidaceae เอือ้ งลน้ิ มงั กรกล้วยไม้ดนิ ขนาดเล็กสสี นั สดใสทจ่ี ะบาน ประดับผนื ปา่ ในชว่ งฤดูฝนดว้ ยกลีบดอกสสี ม้ สดใสกบั ชอ่ ดอก ดูแข็งแรงเมือ่ เทียบกบั ขนาดของลำต้นมกั ขน้ึ อยูบ่ นฮวิ มัสซง่ึ อยู่ บนหนิ ทร่ี ะบายนำ้ ได้ด ี ใบขนาดไม่ใหญ่นกั ปลายแหลม มกั อยูร่ วมกนั เป็นกลมุ่ พบได้ทว่ั ไปในพน้ื ทีต่ า่ ง ๆข อง ประเทศไทยสำหรับชนิดทพ่ี บในอทุ ยานฯภสู อยดาว มดี อกสสี ม้ ส ดใสกบั กลีบป ากขนาดใหญ่ทเ่ี ป็นแฉกแปลกตา จนได้รบั ชอ่ื วา่ ลิน้ มงั กรกล้วยไม้ชนิดนม้ี คี วามหลากหลายใน สีสนั อย่างมาก
81
เอื้องพลายงาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleione praecox (Sm.) D. Don วงศ์ : Orchidaceae เอื้องพลายงามกล้วยไม้ด ินขนาดเล็กเป็นพืชอิงอ าศัย บนต้นไม้บนหินหรือบ นดินล ำลูกกล้วยเจริญมาจาก ปล้องมี2ใบใบอ่อนม้วนตามยาวแ ผ่นใบเกลี้ยงใบแก่ จะร่วงก่อนที่จะผลิดอกดอกเกิดขึ้นจากหน่อใหม่เป็นดอก เดี่ยวขนาดใหญ่สีชมพูส วยสดใสบางครั้งพบสีขาวด้วย มีกลีบเลี้ยงแยกจากกันเป็นอ ิสระเป็นกล้วยไม้ท ี่หายาก พบครั้งแ รกบริเวณเทือกเขาหิมา ลัยในประเทศไทยพบได้ เฉพาะทางภาคเหนือเท่านั้น
82
เอื้องสำเภา อินทนนท์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbidium mastersii วงศ์ : Orchidaceae เอื้องสำเภาอินทนนท์เป็นกล้วยไม้ซ ิมบิเดียมขนาดกลาง พบบนต้นไม้และบนหินในป่าดิบเขาที่มคี วามชื้นพบบริเวณ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ900-2,500เมตร ชอบอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็นทางภาคเหนือของ ประเทศไทยลักษณะลำต้นสูงลำหนึ่งอ าจมีใบมากถึง 17ใบมีช่อดอกยาวประมาณ20-30ซม.ออกจาก ซอกใบมีดอ กสีขาวหรืออาจมสี ีชมพูเรื่อๆบางแห่งพบว่า มีจุดส ีแดงกระจายที่ปากเป็นกล้วยไม้ท ี่มีกลิ่นหอมและ มีการสร้างน้ำหวานบริเวณส่วนในสุดของปากกับโคน ของเส้าเกสรออกดอกในช่วงเดือนกันยายน-เดือนธันวาคม
83
เอือ้ งผีพราย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eria amica Rchb.f. วงศ์ : Orchidaceae เอื้องผีพรายหรือเอื้องนิมมานรดี เป็นกล้วยไม้ท ี่ สมเด็จพ ระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินนี าถ ทรงพระราชทานพระนามไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรพรรณไม้ทบี่ ริเวณโคกนกเปราะเขตรักษา พันธ์ุสัตว์ป่าภูหลวงเมื่อปีพ.ศ.2 534ซึ่งพบในประเทศ อินเดียและเอเชียต ะวันออกเฉียงใต้เป็นกล้วยไม้อ ิงอาศัย ชอบความชมุ่ ชน้ื ออกดอกเป็นชอ่ ยาวประมาณ12-15ซม. ก้านดอกมขี นสีขาวกลีบดอกเลี้ยงสีขาวมขี ีดตาม ยาวสีแดงเข้มสวยงาม
84
หรีดกินซาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cotylanthera sp. วงศ์ : Gentianaceae หรีดกนิ ซากพชื กนิ ซากขนาดเล็กทพ่ี บได้ยากมากเพราะมี ดอกเฉพาะในชว่ งฤดูฝ นสว่ นฤดูอน่ื กเ็ ก็บอาหารอยูใ่ ต้ดนิ ใบลดขนาดลงเหลือเพียงเกล็ดเล็ก ๆตดิ อยูก่ บั ลำต้น สขี าวใสดอกออกทป่ี ลายของลำต้นอาจจะมเี พียงดอกเดียว หรือมากกว่ากลีบมี 4กลีบโคนกลีบดอกสมี ว่ งออ่ นและไป เข้มในสว่ นปลายเกสรสเี หลืองมองเห็นชดั เจนพนั ธ์พุ ชื ชนิด นีน้ บั ได้วา่ มคี วามนา่ สนใจอย่างยง่ิ เนือ่ งจากดอกไม้กนิ ซากทกุ ชนิดลว้ นแต่นา่ สนใจยง่ิ นกั เนือ่ งจากมกี ารศกึ ษาพรรณพืชใน กลุม่ กนิ ซากและมโี อกาสเจอได้คอ่ นขา้ งนอ้ ยท ส่ี ำคัญเรานำมา ปลูกเลีย้ งเพือ่ เป็นไม้ประดับไม่ได้พบเจริญอยูใ่ นพน้ื ทีค่ อ่ นขา้ งชน้ื และมแี สงลงได้นอ้ ยทีร่ ะดับความสงู ประมาณ1,200เมตรใน ช่วงฤดูเดือนสงิ หาคม-เดือนกนั ยายนพบกระจายพนั ธ์ใุ นเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้จากมาเลเซียป าปัวนวิ กีนี จนไปถงึ สกิ ขิมและเนปาล
85
การเตรียมตัว ขึ้นภูสอยดาว
คำแนะนำ การเดินทางไปภูสอยดาวส่วนใหญ่นักท ่องเที่ยวทเี่ดินทาง ไปเพื่อชมดอกไม้ท ี่จะออกดอกบานสะพรั่งช่วงเดือน สิงหาคม-ต้นเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูฝ น ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อเดินป ่าในฤดูนี้จึงถ ือเป็น เรือ่ งสำคัญมากอกี ทง้ั ยอดภไู ม่มสี ง่ิ อำนวยความสะดวกใด ๆ ทั้งร้านขายของร้านอาหารและที่พัก ทุกอย่างจำเป็นต้องอาศัยการพึ่งพาตัวเอง
86
1.การแต่งกายค วรเป็นเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวทแี่ ห้งง่ายและสวมใส่สบาย ขณะเดียวกันก ็ควรเตรียมจำนวนเสื้อผ้า ไปให้เหมาะสมกับเวลาที่ใช้ช ีวิตท่องเที่ยว อยู่บนภูอีกทั้งควรมีเสื้อกันหนาวและเสื้อ กันฝนไปให้พร้อมให้เหมาะสมกับสภาพ อากาศในแต่ละฤดูกาล 2 .รองเท้าค วรเป็นรองเท้าเดินป่า แบบหุ้มส้นหรือห ุ้มข ้อพื้นรองเท้าไม่ ควรแข็งหรืออ ่อนจนเกินไปขนาดพอ เหมาะและมีน้ำหนักเบาและควรสวม ถุงเท้าเพื่อป้องกันรองเท้าก ัด 3 .อุปกรณ์ท ำอาหารไม่ว่าจะเป็นเตาหม้อกะทะช้อน จานอุปกรณ์ห ุงต้มแ ละอาหารต่าง ๆ 4 .เต็นท์พ ักแรมมีขนาดและจำนวน ที่เหมาะสมกับจำนวนคนหากใช้เปล สนามควรมีผ้าพลาสติกส ำหรับกางขึง เหนือเต็นท์หรือเปลสนามเพื่อกัน น้ำค้างและน้ำฝน 5.เป้ส ัมภาระควรมีข นาดเหมาะสม กับล ำตัวและจำนวนสัมภาระหาก เป้มีน้ำห นักมากควรใช้สายคาดเอว เพื่อถ่ายเทน้ำหนักส ่วนหนึ่งจากบ่าม า ที่ลำตัวและบริเวณส่วนเอวเพื่อช่วย รับน้ำหนักด้วยอย่างไรก็ตามภูสอยดาวจะมีลูกหามไว้ คอยบริการ 6 .ของใช้อื่นๆอาทิถุงขยะถุงพ ลาสติก ยาสามัญประจำบ้านโลชั่นก ันแมลงไฟฉายฯลฯ
87
การเดินทาง
รถยนต์ จากจังหวัดพ ิษณุโลก : ไปตามทางหลวงหมายเลข11 ประมาณ64กม.แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 1246ประมาณ12กม.ถึงบ้านแพะเลี้ยวขวาไปตาม ทางหลวงหมายเลข1143ประมาณ4 3ก ม. ถึงอำเภอชาติตระการแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 1237ป ระมาณ57.6กม.ผ่านบ้านบ่อภาคไปบรรจบ กับทางหลวงหมายเลข1268ประมาณ12.กม.ถึง น้ำตกภูสอยดาวอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวรวมระยะทาง ประมาณ189กิโลเมตร จากจังหวัดอุตรดิตถ์: ใช้ทางหลวงหมายเลข1047 (อุตรดิตถ์-น้ำปาด)ประมาณ71.3กม.ถึงอ ำเภอน้ำปาด แล้วเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข1239ประมาณ 38.6กม.เลี้ยวขวาสู่ทางหลวงหมายเลข1268อีก ประมาณ15.5กม.จะถึงน้ำตกภูสอยดาว อุทยานแห่งช าติภ ูสอยดาวรวมระยะทาง ประมาณ133กิโลเมตร 88
รถโดยสารประจำทาง ช่วงที่1จากกรุงเทพฯขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิต สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลกไปลงทจี่ ังหวัดพิษณุโลก ช ่วงที่2จากจังหวัดพ ิษณุโลกเดินทางด้วยรถโดยสาร ระหว่างอำเภอไปอำเภอชาติตระการระยะทางประมาณ 100กม. ช่วงที่3จากอำเภอชาติตระการเดินทางด้วยรถสองแถว ซึ่งมีวันละ1เที่ยวรถออกเดินทางไม่เกิน09.00น. ไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติภสู อยดาวระยะทางประมาณ 70กม. หรือจะเช่าเหมาไปทั้งคันก็ได้
89
90
91
อุทยานแห่งชาติ
ภูสอยดาว 92
ประทัดดอย
Agapetes lobbii
93
ดอกถั่ว Family : Leguminosae
94
ดอกหงอนนาค Murdannia gigantea
95
เอนอ้าขน
Osbeckia stellata
96
รองเท้านารีอินทนนท์ Paphiopedilum villosum
97
สิ่งมีชีวิตน่าสนใจ บนลานสน 98
99
100