คูมือประชาชน
โรคที่ปองกัน ดวย...
วัคซีน
สคร. 1 กรุงเทพฯ กรมควบคุมโรค
DDC
สายดวน กรมควบคุมโรค 1422
คำนำ การจัดทำคู่มือประชาชนโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ คอตีบ บาดทะยัก คางทูม หัด หัดเยอรมัน โปลิโอ ไวรัสต บั อ กั เสบ ไอกรน และ โรคสมองอักเสบ ซึ่งเป็นโรคที่ไม่มกี ารระบาดมานาน แต่มแี นวโน้มว ่า อาจจะกลับมาระบาดอีก เพื่อเป็นการป้องกันก ารเกิดก ารระบาดของ โรค สำนักงานปอ้ งกันค วบคุมโรคท1ี่ กรุงเทพฯ จึงได้ผ ลิตส อื่ ซ งึ่ เป็นค มู่ อื ประชาชนสำหรับให้ค วามรเู้ พือ่ ป อ้ งกันต นเองและคนในครอบครัวจ าก โรคดังกล่าว และพาบุตรหลานไปรับการฉีดวัคซีนเพื่อส ร้างภูมิคุ้มกัน ให้ร่างกายได้ครบตามกำหนด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ โดยกลุ่มสื่อสาร ความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือ ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคของประชาชน ตลอดจนให้ค วามสำคัญ โดยพาบตุ รหลานไปรบั ก าร ฉีดว คั ซีนได้ค รบตามกำหนด เพือ่ ส ร้างเสริมภ มู คิ มุ้ กันโรคให้ก บั ร า่ งกาย ต่อไป และขอขอบพระคุณ นายแพทย์นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวย การสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ทีให้ ่ ความสำคัญต่อ การผลิตค ู่มือประชาชนฉบับดังกล่าว มา ณ โอกาสนี้ กลุ่มส ื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ธันวาคม 2555
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
3
สารบัญ
4
โรคไข้หวัดใหญ่
โรคคอตีบ
โรคบาดทะยัก
โรคคางทูม
โรคหัด
โรคหัดเยอรมัน
โรคโปลิโอ
โรคสมองอักเสบ
โรคไวรัสตับอักเสบ
โรคไอกรน
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
5 9 14 20 22 25 28 31 37 43
โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenzd)
ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดต่างกันอย่างไร ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทาง เดินระบบหายใจ เช่น จมูก คอ หลอดลม และปอด เชื้ออาจจะลาม เข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบมากทุกอายุ โดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็น พิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่มโีรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การ ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการ ติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงาน หรือหยุดเรียน โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
5
สำหรับไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมาก ในปี ค.ศ. 2003 ได้มีการแนะนำเรื่องไข้หวัดใหญ่ดังนี้ 1. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีน คือ เดือนตุลาคมและ พฤศจิกายน (เนื่องจากเชื้อนี้มักจะระบาดในต่างประเทศ หากประเทศ เราจะฉีดก็น่าจะเป็นช่วงเดียวกัน) โดยเน้นไปที่ประชาชนที่มีอายุ 50 ปี, เด็กอายุ 6-23 เดือน, คนที่อายุ 2-49 ปีที่มีโรคประจำตัว กลุ่มนี้ให้ ฉีดในเดือนตุลาคม ส่วนกลุ่มอื่น เช่น เด็ก เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ผู้ดูแลคนป่วย กลุ่มนใี้ห้ฉีดเดือนพฤศจิกายน 2. เด็กที่อายุ 6-23 เดือน ควรจะฉีดทุกราย โดยเฉพาะเด็กที่มี โรคประจำตัวร่วมด้วย
6
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
3. ชนิ ด ข องวั ค ซี น ที่ จ ะฉี ด ใ ห้ ใ ช้ ช นิ ด ที่ มี ส่ ว นผ สมข องเ ชื้ อ A/Moscow/10/99 (H3N2) - like, A/New Caledonia/20/99 (H1N1)like, และ B/Hong Kong/330/2001 4. ให้ลดปริมาณสาร thimerosal ซึ่งเป็นสารปรอท
การติดต่อ
เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธกี ารติดต่อได้แก่ • ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจ ะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก • สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ • สัมผัสท างมือท ี่ปนเปื้อนเชื้อโรคอาการของโรค
1. ระยะฟักตัวประมาณ 1-4 วัน เฉลี่ย 2 วัน • ผูป้ ่วยจะมอี าการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน • เบื่ออ าหาร คลื่นไส้ • ปวดศรีษะอย่างรุนแรง • ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา • ไข้สูง 39-40 องศาในเด็ก ผู้ใหญ่ไข้ประมาณ 38 องศา • เจ็บค อคอแดง มีน ้ำมูกไหล • ไอแห้งๆ ตาแดง • ในเด็กอ าจจะมีอาการคลื่นไส้อ าเจียน • อาการไข้ คลื่นไส้ อาเจียน จะหายใน 2 วัน แต่อาการน้ำมูกไหล คัด จมูก อาจจะอยูไ่ด้ 1 สัปดาห์ โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
7
2. สำหรั บ ผู้ ที่ มี อ าการรุ น แรง มั กจ ะเ กิ ด ใ นผู้ สู ง อ ายุ ห รื อ มี โรค ประจำตัว • อาจจะพบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการ เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ • อาจจะมีเยื่อหุ้มส มองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศีรษะ ซึมลง หมดสติ • ระบบหายใจอาจจะมอี าการของโรคปอดบวม จะหอบหายใจเหนือ่ ย จนถึงหายใจวาย • โดยทั่วไปไข้ห วัดใหญ่จะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายซึ่งอาจจะมี อาการปวดข้อและไอได้ถึง 2 สัปดาห์
ระยะติดต่อ
• ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อส ามารถติดต่อไปยังผ ู้อื่น • ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วัน ก่อนเกิดอาการ 5 วันหลัง จากมีอาการ • ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน
8
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
โรคคอตีบ (Diphtheriae) โรคคอตีบ หรือ ดิพทีเรีย เป็ น โรคติ ด เชื้ อ เ ฉี ย บพลั น ข อง ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้ เกิดก ารอกั เสบ มีแ ผ่นเยือ่ เกิดข นึ้ ในลำคอ ในรายทรี่ นุ แรงจะมกี าร ตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ ชื่อว่าโรคคอตีบ ซึ่งอาจทำให้ถึง ตายได้ และจากพิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาทส่วนปลาย
สาเหตุ
โรคคอตีบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae (C. diphtheriae) ซึ่งมีรูปทรงแท่งและย้อมติดสีแกรมบวก มีสายพันธุ์ที่ ทำให้เกิดพ ิษ (toxogenic) และไม่ทำให้เกิดพิษ (nontoxogenic) พิษที่ ถูกขับออกมาจะชอบไปที่กล้ามเนื้อหัวใจและปลายประสาท ทำให้เกิด การอักเสบ ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้ถึงตาย
ระบาดวิทยา
โรคติดต่อชนิดนี้ เชื้อจ ะพบอยู่ในคนเท่านั้นโดยจะพบอยู่ในจมูกหรือ ลำคอของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ โดยไม่มีอาการ (carrier) ติดต่อกันได้ง่าย โดยการได้รับเชื้อโดยตรงจากการไอ จามรดกัน หรือพูดคุยกันในระยะใกล้ ชิด เชื้อจะเข้าสู่ผู้สัมผัสท างปากหรือทางการหายใจ บางครั้งอาจติดต่อกัน โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
9
ได้โดยการใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน หรือ การดูดอมของเล่น ร่วมกนั ในเด็กเล็ก ผูต้ ดิ เชือ้ ท ไี่ ม่มอี าการเป็นแ หล่งแ พร่เชือ้ ท สี่ ำคัญในชมุ ชน ส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยโรคคอตีบในชุมชนแออัด ในกลุ่มชนที่มีเศรษฐานะ ไม่ดี เด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนจะติดเชื้อได้ตั้งแต่เล็ก หลังจากภูมิต้านทาน จากแม่หมดลง ในประเทศท่ียังพบโรคน้ีได้ชุกชุมส่วนใหญ่จะพบในเด็ก อายุระหว่าง 1-6 ปี สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วและมีระดับการได้ รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบสูง โรคนี้จะหมดไปหรือพบได้น้อยมาก ใน ประเทศไทยอุบัติการณ์ของโรคได้ลดลงมาก ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่พบ จะอยู่ในชนบทหรือในชุมชนแออัด เป็นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับ ไม่ครบ และพบในเด็กโตได้มากขึ้น ถึงแ ม้อ บุ ตั กิ ารณ์ข องโรคจะลดลงอย่างเห็นได้ช ดั เจนทกุ แ ห่ง แต่อ ตั รา ป่วยตาย (case-fatality rate) อยู่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่ คือ ประมาณ ร้อยละ 10 ระยะฟักตัวข องโรคอยู่ระหว่าง 2-5 วัน อาจจะนานกว่านี้ได้ เชื้อจะ อยูใ่ นลำคอของผปู้ ว่ ยทไี่ ม่ได้ร บั ก ารรกั ษาได้ป ระมาณ 2 สัปดาห์ แต่บ างครัง้ อาจนานถึงหลายเดือนได้ ผู้ที่ได้รับการรักษาเต็มที่เชื้อจะหมดไป ภายใน 1 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
หลังร ะยะฟกั ตัวจ ะเริม่ ม อี าการไข้ต ำ่ ๆ มีอ าการคล้ายหวัดในระยะแรก มีอ าการไอเสียงกอ้ ง เจ็บค อ เบือ่ อ าหาร ในเด็กโตอาจจะบน่ เจ็บค อคล้ายกบั คออักเสบ บางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วย เมื่อตรวจดูในคอ พบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอ ยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ แผ่น เยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมาทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ และทำให้มีการตาย
10
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
ของเนื้อเยื่อทับซ้อนกันเกิดเป็นแผ่นเยื่อ (membrane) ติดแน่นกับเยื่อบุ ในลำคอ ตำแหน่งที่จะพบมกี ารอักเสบและมีแผ่นเยื่อได้ คือ • ในจมูก ทำให้มนี ้ำมูกปนเลือดเรื้อรัง มีกลิ่นเหม็น • ในลำคอและท่ีทอนซิล ซึ่งแผ่นเยื่ออาจจะเลยลงไปในหลอดคอ จะทำให้ทางเดินหายใจตบี ตนั หายใจลำบาก ถึงต ายได้ • ตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ที่ผิวหนัง เยื่อบุตา ในช่องหู
โรคแทรกซ้อน
1) ทางเดินห ายใจตีบต ัน 2) กล้ามเนื้อห ัวใจอักเสบ 3) ปลายประสาทอักเสบ ทำให้มีอัมพาตของกล้ามเนื้อ
การวินิจฉัยโรค
อาศัยอาการทางคลินิก มีไอ เสียงก้อง เจ็บค อ ตรวจพบแผ่นเยื่อ ในลำคอ บริเวณทอนซิลและลิ้นไก่ (uvula) มีอ าการของทางเดินห ายใจ ตี บ ตั น การวิ นิ จ ฉั ย ที่ แ น่ น อนคื อ การเพาะเชื้อ C.diphtheriae โดยใช้ throat swab เชื้อบริเวณแผ่น เยื่ อ ห รื อ ใ ต้ แ ผ่ น เ ยื่ อ หรื อ จ ากแ ผ่ น เ ยื่ อ ที่ ห ลุ ด อ อกม า เนื่ อ งจากต้ อ ง ใช้มีเดียพิเศษในการเพาะเชื้อ จึงควรจะต้องติดต่อแจ้งห้องปฏิบัติการเมื่อ นำส่ง specimen เมื่อเพาะได้เชื้อ C. diphtheriae จะต้องทดสอบต่อไป ว่าเป็นสายพันธุ์ทสี่ ร้าง exotoxin โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
11
การรักษา
เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยว่า เป็นโรคคอตีบ ต้องรีบนำส่ง โรงพยาบาลทนั ที เพราะแพทย์ จะต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว ผลการรักษาจะได้ผลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นมา ก่อนได้รับการรักษา 1) การให้ diphtheria antitoxin (DAT)* เมื่อแพทย์ ตรวจและสงสัยว่าเป็นคอตีบ จะตอ้ งรบี ให้ DAT โดยเร็วท สี่ ดุ เพื่อให้ไปทำลาย exotoxin ก่ อ นที่ จ ะเ กิ ด อั น ตรายต่ อ กล้ า มเ นื้ อ หั ว ใจและป ลาย ประสาท ทั้งนี้ โดยไม่ต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ขนาดของ DAT ทีใ่ ห้อ ยูร่ ะหว่าง 10,000 - 20,000 หน่วย โดยพจิ ารณาตามความรนุ แรง ของโรค หมายเหตุ * การให้ antitoxin ต้องทำ skin test 2) ให้ยาปฎิชีวนะ เพนนิซิลิน ฉีดเข้ากล้ามเป็นเวลา 14 วัน ถ้า แพ้เพนนิซิลิน ให้ erythromycin แทน ยาปฏิชีวนะจะไปทำลายเชื้อ C. diphtheriae 3) เด็กท ี่มีโรคแทรกซ้อนจากการอุดกลั้นของทางเดินหายใจ จะต้อง ได้รับการเจาะคอเพื่อช่วยให้หายใจได้ ส่วนโรคแทรกซ้อนทางหัวใจและ
12
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
ทางเส้นประสาท ให้การรักษาประคับประคองตามอาการโรคแทรกซ้อน ทางหัวใจนับเป็นส าเหตุสำคัญของการตายในโรคคอตีบ 4) เด็กท ี่เป็นโรคคอตีบจ ะต้องพักเต็มที่ อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เพื่อ ป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ซึ่งม ักจะเกิดขึ้นปลายสัปดาห์ที่ 2
การป้องกัน
1) ผู้ที่มีอาการของโรคจะมีเชื้ออยู่ในจมูก ลำคอ เป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ดังนั้น จึงต้องแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย 3 สัปดาห์ หลัง เริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้ว 2 ครั้ง ผู้ป่วยที่หายจาก โรคคอตีบแล้ว อาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นเต็มที่ จึงอาจเป็นโรคคอตีบ ซ้ำอีกได้ ดังนั้นจึงต้องให้วัคซีนป ้องกันโรค (DTP หรือ dT) แก่ผปู้ ่วยที่หาย แล้วทุกคน 2) ผู้ ใ กล้ ชิด ผู้ป่วย เนื่องจากโรคคอตีบ ติ ด ต่ อ กั น ไ ด้ ง่ า ย ดั ง นั้ น ผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดู อาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ 7 วัน ในผู้ที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคมา ก่อน หรือได้ไม่ครบ ควรให้ยาปฏิชีวนะ benzathine penicillin 1.2 ล้าน หน่วย ฉีดเข้ากล้าม หรือให้กินยา erythromycin 50 มก./กก/วัน เป็น เวลา 7 วัน พร้อมทั้งเริ่มให้วัคซีน เมื่อติดตามดูพบว่ามีอาการ และ/หรือ ตรวจพบเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะดังกล่าว พร้อมกับให้ diphtheria antitoxin เช่นเดียวกับผู้ป่วย 3) ในเด็กทั่วไป การป้องกันนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการให้วัคซีน ป้องกันคอตีบ 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4 ปี
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
13
โรคบาดทะยัก (Tetanus) เป็ นโรคติ ดเชื้อ ที่จัดอยู่ ใน กลุ่ ม ข องโรคท างป ระสาทแ ละ กล้ามเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Clostidium tetani ซึ่ ง ผ ลิ ต exotoxin ที่มพี ิษต ่อเส้นประสาท ทีค่ วบคุมก ารทำงานของกล้ามเนือ้ ทำให้มีการหดเกร็งตัวอยู่ตลอด เวลา เริ่มแรกกล้ามเนื้อขากรรไกรจะเกร็ง ทำให้อ้าปากไม่ได้ โรคนี้จึงมี ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคขากรรไกรแข็ง (lockjaw) ผู้ป่วยจะมีคอแข็ง หลังแข็ง ต่อไปจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วตัว ทำให้มีอาการชักได้
สาเหตุ
เกิดจ ากเชือ้ Clostridium tetani ซึง่ เป็น anaerobic bacteria ย้อม ติดส แี กรมบวก มีค ณ ุ สมบัตทิ จี่ ะอยูใ่ นรปู แ บบของสป อร์ (spore) ทีท่ นทาน ต่อค วามรอ้ นและยาฆา่ เชือ้ ห ลายอย่าง เชือ้ ส ามารถสร้าง exotoxin ทีไ่ ปจบั และมีพิษต่อระบบประสาท
ระบาดวิทยา
โรคบาดทะยักพบได้ทั่วทุกแห่ง เชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะในรูปแบบ ของสปอร์ พบได้ในดินตามพื้นหญ้าทั่วไปได้นานเป็นเดือนๆ หรืออาจ เป็นปี เชื้อจะพบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์ ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อน ด้วยมูลสัตว์ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล โดยจะแบ่งตัวและขับ
14
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
exotoxin ออกมา เชื้อจะเจริญแบ่งตัวได้ดีในแผลลึก อากาศเข้าไม่ได้ ดี เช่น บาดแผลตะปูตำ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ผิวหนังถลอกบริเวณ กว้าง บาดแผลในปาก ฟันผุ หรือเข้าทางหูที่อักเสบ โดยการใช้เศษไม้หรือ ต้นหญ้าที่มีเชื้อโรคนี้ติดอยู่แคะฟันหรือแยงหู บางครั้งอาจเข้าทางลำไส้ได้ ทางเข้าที่สำคัญและเป็นปัญหาใหญ่ในทารกแรกเกิดคือ เชื้อเข้าทางสาย สะดือที่ตัดด้วยกรรไกรหรือของมีคมที่ไม่สะอาด ที่พบบ่อยในชนบทคือ การใช้ไม้ไผ่ห รือม ดี ท ำครัวต ดั ส ายสะดือ และการพอกสะดือด ว้ ยยากลางบา้ น หรือโรยด้วยแป้งที่อาจปนเปื้อนเชื้อบาดทะยัก ทำให้เชื้อเข้าสู่แผลรอยตัด ที่สะดือ ทำให้เกิดโรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด ซึ่งมีอัตราป่วยตายสูง ถึงร้อยละ 20-50
อาการและอาการแสดง
หลังจากได้รับเชื้อสปอร์ที่ เข้าไปตามบาดแผล จะแตกตวั อ อก เป็น vegetative form ซึง่ จ ะแบ่ง ตัวเพิม่ จ ำนวนและผลิต exotoxin ซึง่ จ ะกระจายจากแผลไปยงั ป ลาย ประสาทที่ แ ผ่ ก ระจายอ ยู่ ใ น กล้ามเนื้อ ทำให้เกิดความผิดปกติ ในการควบคุมการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ระยะจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจน เกิดอาการเริ่มแรก คือ มีอาการขากรรไกรแข็ง ที่เรียกว่าระยะฟักตัวของ โรคประมาณ 3-21 วัน เฉลี่ย 8 วัน 1) บาดทะยักในทารกแรกเกิด อาการมักจะเริ่มเมื่อทารกอายุ ประมาณ 4-10 วัน อาการแรกที่จะสังเกตได้คือ เด็กดูดนมลำบาก หรือ ไม่ค่อยดูดนม ทั้งนี้ เพราะมีขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ ต่อมาเด็กจะ โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
15
ดูดน มไม่ได้เลย หน้าแ บบยมิ้ แ สยะ (Risus sardonicus หรือ Sardonic grin) เด็กอ าจรอ้ งคราง ต่อม าจะมมี อื แขน และขาเกร็ง หลังแ ข็งแ ละแอ่น ถ้าเป็น มากจะมอี าการชกั ก ระตุกแ ละหน้าเขียว อาการเกร็งห ลังแ ข็งแ ละหลังแ อ่น นี้จะเป็นมากขึ้น ถ้ามเีสียงดังหรือเมื่อจับต้องตัวเด็ก อาการเกร็งชักกระตุก ถ้าเป็นถี่ๆ มากขึ้น จะทำให้เด็กหน้าเขียวมากขึ้น ทำให้เป็นอันตรายถึง ตายได้เพราะขาดออกซิเจน 2) บาดทะยักในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เมื่อเชื้อเข้าทางบาดแผล ระยะ ฟักตัวของโรคก่อนที่จะมีอาการประมาณ 5-14 วัน บางรายอาจนานถึง 1 เดือน หรือนานกว่านั้นก็ได้ จนบางครั้งบาดแผลที่เป็นทางเข้าของเชื้อ บาดทะยักหายไปแล้ว อาการเริ่มแรกที่จะสังเกตพบคือ ขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ มีค อแข็ง หลังจากนี้ 1-2 วัน ก็จะเริ่มมีอาการเกร็งแข็งในส่วน อื่นๆ ของร่างกาย คือ หลัง แขน ขา เด็กจะยืนและเดินห ลังแข็ง แขนเหยียด เกร็ง ให้ก้มหลังจะทำไม่ได้ หน้าจะมีลักษณะเฉพาะคล้ายยิ้มแสยะ และ ระยะต่อไปก็อาจจะมีอาการกระตุกเช่นเดียวกับในทารกแรกคลอด ถ้ามี เสียงดงั ห รือจ บั ต อ้ งตวั จ ะเกร็งแ ละกระตุกม ากขนึ้ มีห ลังแ อ่น และหน้าเขียว บางครั้งมอี าการรุนแรงมาก อาจทำให้มีการหายใจลำบากถึงต ายได้
16
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
การวินิจฉัยโรค
อาจจะเพาะเชื้อ C. tetani ได้จากแผล โดยทั่วไปแล้วมักจะเพาะเชื้อ ไม่ได้ การวินิจฉัยส่วนใหญ่จึงอาศัยอ าการทางคลินิก โรคบาดทะยักจ ะวนิ จิ ฉัยแ ยกโรคจากโรคสมองอกั เสบได้จ ากการทโี่ รค บาดทะยักไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับการรู้สติ นอกจากในรายที่ชักมาก จนสมองขาดออกซิเจน
การรักษาพยาบาล
1) การปฏิบัติก่อนที่จะนำไปพบแพทย์ ถ้าสังเกตว่าเด็กไม่ดูดนม และไม่อ้าปาก แสดงว่ามีขากรรไกรแข็ง อย่าพยายามฝืนหรือกรอกนม เพราะอาจจะทำให้ส ำลักน มเข้าท างเดินห ายใจ ทำให้ข ดั ข วางทางเดินห ายใจ อาจถึงตายได้ทันที หรืออาจทำให้เกิดปอดอักเสบได้ ควรหลีกเลี่ยงการ จับต อ้ งตวั โดยไม่จ ำเป็น และอย่าให้ม เี สียงดงั ร บกวนเพราะจะทำให้ช กั เกร็ง มากขึ้นได้ 2) การรกั ษาเฉพาะให้ tetanus antitoxin (TAT) 10,000 - 20,000* หน่วย เข้าห ลอดเลือดหรือให้ tetanus immune globulin (TIG) 30006000 หน่วยเข้ากล้าม เพื่อให้ไปทำลาย tetanus toxin ที่ยังไม่ไปจับ ที่ระบบประสาท ให้ยาปฏิชีวนะ penicillin ขนาดสูง เพื่อทำลายเชื้อ C. tetani ที่บาดแผลหมายเหตุ *ก่อนให้ antitoxin ต้องทำ skin test 3) ให้การรักษาตามอาการ ให้ยาระงับชัก ยาลดอาการเกร็งของ กล้ามเนื้อ งดอาหารและน้ำทางปากในขณะที่มีอาการเกร็งหรือชัก ให้ อาหารทางหลอดเลือด 4) ดูแลเรื่องการหายใจ โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
17
การป้องกัน
1) เมื่อมีบาดแผลต้องทำแผลให้สะอาดทันที โดยการฟอกด้วยสบู่ ล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือทิงเจอร์ ใส่แผลสด พร้อมทั้งให้ยารักษาการติดเชื้อ ถ้าแ ผลลึกต้องใส่ drain ด้วย 2) ใช้เครื่องมือที่สะอาดในการทำคลอด เครื่องมือทุกชิ้นจะต้องต้ม ในน้ำเดือดนาน 1/2 - 1 ชั่วโมง รักษาความสะอาดของสะดือโดยการเช็ด ด้วย Alcohol 70% เช็ดว ันล ะ 1 - 2 ครั้ง ห้ามใช้แ ป้งหรือผงยาต่างๆ โรย สะดือ ไม่ค วรห่อหุ้มพันท้อง หรือปิดสะดือ 3) ในผู้ ป่ ว ยที่ ไ ม่ เ คยไ ด้ รั บ วั ค ซี น ป้องกันบ าดทะยักม ากอ่ น เมือ่ ม แี ผลตอ้ งรบี ปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เพื่ อ พิ จ ารณาใ ห้ tetanus toxoid (T) ป้องกันโรคบาดทะยักให้ครบและให้ TAT หรือ TIG ในรายที่แผลใหญ่สกปรกมาก ใน รายที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้วครบ 4-5 ครั้ง ในระยะ 5-10 ปี ให้วัคซีน T 0.5 มล. เข้า กล้ามครั้งเดียว ในรายที่ได้วัคซีนนานเกิน 10 ปี และมีบาดแผลมานานเกิน 24 ชั่วโมง ให้ T 0.5 มล. เข้ากล้ามครั้งเดียว พร้อมกับให้ TAT ด้วย 4) ในผู้ป่วยที่หายจากโรคบาดทะยัก ต้องให้วัคซีนป้องกันโรค บาดทะยักครบชุด เพราะจะไม่มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นเพียงพอ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ ให้วัคซีนป ้องกัน DTP ตั้งแต่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน และเพิ่มอ ีก 2 ครั้งเมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง และ 4 ปี หลังจากนั้นอ าจให้
18
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
ทุก 10 ปี โดยให้เป็น T หรือ dT สำหรับการป้องกันบาดทะยักใน ทารกแรกเกิด ทางที่ดีที่สุดคือ การคลอดและตัดสายสะดือโดย ถูกต้อง สะอาด ดูแลสะดือดัง กล่าวข้างต้น และทไี่ ด้ผ ลดคี อื ก ารให้ dT แก่ห ญิงม คี รรภ์ โดยให้ 2 ครัง้ ห า่ ง กัน 1 เดือน ครั้งสุดท้ายควรจะ ต้องให้ก่อนคลอดเป็นระยะเวลา อย่างน้อย 1 เดือน หญิงมีครรภ์ ที่ได้รับ T 2 ครั้งตามกำหนดนี้จะ สร้าง antitoxin ซึ่งจ ะผ่านไปยัง ทารกแรกเกิดในระดับท สี่ งู พ อทีจ่ ะปอ้ งกันโรคบาดทะยักได้ และ antitoxin จะยังคงอยู่ในระดับท ี่สามารถป้องกันได้นานถึง 3 ปี แต่เพื่อให้แน่ใจว่าระดับภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูงและอยู่นาน ใน ปัจจุบันจึงแนะนำให้ฉีด T เข็มที่ 3 ในระยะ 6-12 เดือนหลังเข็มที่ 2 ซึ่ง อาจจะให้ในระยะหลังคลอด การได้รับ 3 ครั้ง จะทำให้ระยะภูมิคุ้มกัน อยู่ได้นาน 10 ปี ในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิดสูง จะแนะนำให้ T แก่หญิงว ัยเจริญพันธุ์ 3 ครั้ง 2 ครั้งแรกห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่ 2 เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
19
โรคคางทูม Mumps โรคคางทูมเป็นโรคติดต่อเกิดจากการติดเชื้อ ไวรัส มีล ักษณะคือ ไข้ ต่อมน้ำลายอักเสบ และบาง ครั้งอาจจะมีตับอ่อนอักเสบ สำหรับผู้ชายอาจจะมี อัณฑะอักเสบ ผูห้ ญิงอ าจจะมีรังไข่อ ักเสบ นอกจาก นั้นอาจจะมีเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
เป็นเชื้อ RNA ไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus
การติดต่อ
ติดต่อกันได้โดย น้ำลาย และเสมหะ มักพบในเด็ก อายุ 5-10 ปี โรค นี้อาจไม่แสดงอาการ เชื้อไวรัสออกทางน้ำลายของผู้ป่วยประมาณ 6 วัน ก่อนมีคางทูม และออกอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์หลังจากนั้น ในผู้ป่วยที่เป็น อัณฑะอักเสบ หรือสมองอักเสบ ก็สามารถพบเชื้อในน้ำลายได้ เมื่อเป็น แล้วจะมีภูมิคุ้มกันต ลอดไป
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อ 7-23 วัน 1. ต่อมน้ำลายอักเสบ มักมีไข้นำมาก่อน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร วันต่อมาจึงมีการอักเสบของต่อมน้ำลาย ที่พบบ่อยที่สุดคือต่อม parotid ซึ่งจะบวมโต ผิวหนังเหนือต่อมมักแดง และร้อน เมื่อกดดูมีลักษณะคล้าย เยลลี่ อาการบวมจะเริ่มจากหน้าใบหู บวมมาหลังใบหู และลงมาคลุม ขากรรไกร บางรายบวมมากจนมอี าการบวมลงมาถงึ ส ว่ นหน้าอก ส่วนใหญ่
20
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
มักเป็นสองข้าง ข้างที่สองมักเป็นหลังข้างแรก 4-5 วัน การบวมมักไม่เกิน 7 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเวลาพูด กลืน หรือเคี้ยว โดยเฉพาะอาหาร รสเปรี้ยวจะทำให้ปวดมาก 2. อัณฑะอกั เสบ Orchitis มักเกิดห ลังต อ่ มนำ้ ลาย 4-10 วันห รือบ าง รายอาจไม่มีการอักเสบของต่อมน้ำลาย และมักเป็นข้างเดียว ผู้ป่วยจะมี อาการปวดอัณฑะ บวม กดเจ็บ 3. ตับอ่อนอักเสบ pancreatitis เป็นภาวะที่รุนแรง ผู้ป่วยจะ ปวดท้องส่วนบน อาเจียน กดเจ็บบ ริเวณลิ้นปี่ 4. คางทูมกับสมอง อาจจะทำให้เกิดสมองอักเสบ encephalitis ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ และซึมลง บางรายเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ meningitis ผู้ป่วยอาจมีไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง หลังแ ข็ง มักเป็นห ลังต่อม น้ำลายอักเสบ 3-7 วัน
การรักษา
1. ต่อมน้ำลายอักเสบ ให้รักษาความสะอาดในช่องปาก ถ้าปวดมาก ให้ยาแก้ปวด 2. อัณฑะอักเสบ ให้นอนพัก และยาแก้ปวด 3. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และสมองอักเสบ ไม่มีการรักษาเฉพาะ
การป้องกัน
โดยการฉีดว ัคซีน MMR
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร • วัดไข้ได้มากกว่า 38.5 C
• ปวดอัณฑะ และอัณฑะบวม • ปวดท้อง • ปวดศีรษะ และซึมลง โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
21
โรคหัด (Measles) เป็นโรคตดิ ต่อท างระบบหายใจ ติดต่อก นั ได้ง า่ ยทางเสมหะ น้ำลายเกิดจ ากเชือ้ Measles virus คนที่ได้เชื้อนี้จะมีไข้สูง ตาแดง ไอ หลัง จากมีไข้ 3-7 วันก็จะมีผื่นซึ่งเริ่มที่หน้าก่อน และลามไปทั้งตัว เป็นโรคติดต่อ โรคมักเป็น กับเด็กเล็ก 9 เดือน- 6 ปี ติดต่อโดยทางหายใจ น้ำลายที่ออกจากปาก คอ มักจ ะระบาดตอนฤดูหนาวถึงฤ ดูร้อน
ระยะติดต่อ
ระยะติดต่อประมาณ 2-4 วัน ก่อนเกิดผื่น และหลังเกิดผื่นแล้ว ยังติดต่อได้อีก 2-5 วัน
อาการ
• ระยะฟักตัว คือจ ะเกิดอาการหลังได้รับเชื้อ 8-12 วัน • อาการนำเริ่มต้นด้วยเด็กจะมีอาการงอแง กระสับกระส่าย ปวด ตามตัว น้ำมูกไหล ตาจะแดงและแพ้แสง ไอแห้งๆ มีอาการไข้สูงปวด ตามตัว ระยะที่เริ่มเป็น 2-3 วัน แพทย์อาจตรวจพบผื่นแ ดงเล็กๆ ในปาก เรียก Koplick'spot • ระยะออกผื่น หลังมีไข้ 3-4 วันจะไอมากขึ้น มีผื่น โดยผื่นขึ้น หน้าผ าก และลามไปทหี่ น้า คอ และลำตวั ในเวลา 24- 36 ชัว่ โมง เมือ่ ผ นื่ ข นึ้ อาการปวดเมือ่ จ ะดขี นึ้ ไข้จ ะคอ่ ยๆ ลง ผืน่ จ ะใช้เวลา 3 วัน ลามจากหวั ถ งึ ข า ฝ่ามือฝ ่าเท้าจะไม่มีผื่น ผื่นจะเริ่มจางที่ศีรษะก่อน ผื่นจ ะจางใน 7-10 วัน เหลือรอยดำๆ
22
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
• เด็กที่ยังไม่ฉีดวัคซีน • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น HIV ได้ รับยา steroid • นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน แล้วไปเที่ยวแหล่งระบาด
โรคแทรกซ้อน
• ระบบหายใจ อาจเกิดได้ตั้งแต่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ จนถึงปอดบวม • ภาวะแทรกซ้อนทางหู อาจเกิดหูชั้นกลางอักเสบ • ภาวะแทรกซ้อนทางตา จะมีเยือ่ บตุ าอักเสบ จนเป็นแผลทีแ่ ก้วตา corneal ulcer • ภาวะแทรกซ้อนทางเดินอาหาร มีการอักเสบของลำไส้ ทำให้ ถ่ายเหลว • ภาวะแทรกซ้อนระบบสว่ นกลาง อาจพบสมองอกั เสบ encephalitis เป้นภาวะที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยจะมีไข้ส ูง ปวดศีรษะ และซึมลง
การรักษา
เนือ่ งจากโรคหดั เกิดจ ากเชือ้ ไวรัสด งั น นั้ จ งึ ไม่มยี าทรี่ กั ษาโดยตรง ท่าน ต้องปรึกษาแพทย์ข องทา่ นให้ท ราบถงึ ว ธิ ดี แู ล และโรคแทรกซ้อนตา่ งๆ หลัก การดูแลทั่วๆไป คือ • ให้ต รวจวดั อ ณ ุ หภูมอิ ย่างสม่ำเสมอ ให้ย าลดไข้ด ว้ ย paracetamol หรือ ibuprofen ห้ามใช้ยา aspirin ในการลดไข้ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส เนื่องจากจะทำให้เกิด Reye's syndrome โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
23
• กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมากๆ อาจเป็นน้ำเปล่า น้ำหวาน หรือน้ำ ผลไม้ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ • เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้ติดเชื้อได้ง่ายโดยเฉพาะที่หูและปอด ควร ให้ยาปฏิชีวนะทันที่เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรีย
โรคจะหายเมื่อไร
โดยทั่วไปโรคจะหายใน 10-14 วัน นับจากตั้งแต่เริ่มมีอาการ วันแรก และสามารถไปโรงเรียนหรือทำงานได้หลังจากไข้ลง หรือผื่นหาย ไปแล้ว 7 วัน
การป้องกัน
สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน MMR ตามตารางการฉีด หรือ สามารถฉี ด วั ค ซี น ก่ อ นสั ม ผั ส โรค หรื อ ห ลั ง สั ม ผั ส โรค ไม่ เ กิ น 3 วั น ก็กันโรคได้ ผูป้ ่วยที่ตั้งครรภ์ ทารก ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งหรือวัณโรค กลุ่มคนเหล่านี้ มีภูมิคุ้มกันต ่ำ หากสัมผัสโรคต้องให้ Gamma globulin
จะไปพบแพทย์เมื่อไร
ถ้าเด็กไม่ได้ฉ ดี ว คั ซีน เป็นเด็กท ารก เป็นว ณ ั โรคหากสมั ผัสโรคตอ้ งรบี ปรึกษาแพทย์ เด็กที่เป็นโรคหัดมีอาการปวดหู หรือหายใจหอบ
24
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
โรคหัดเยอรมัน Rubella เป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัส Paramyxovirus ทำให้เกิดอาการคือ มีไข้ ผื่น และต่อมน้ำเหลืองโต ส่วนใหญ่ มักจะหายเองโดยที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน หากเกิดในหญิงมีครรภ์อาจจะทำให้ เด็กที่เกิดมาพิการ การป้องกันมีการใช้ วัคซีนฉีด
โรคหัดเยอรมัน Rubella คืออะไร
เป็นโรคตดิ เชือ้ ไวรัส ซึง่ ท ำให้เกิดล กั ษณะทางคลินกิ ท สี่ ำคัญค อื ไข้ ผืน่ ทีผ่ วิ หนัง และตอ่ มนำ้ เหลืองแถวคอโต ถ้าเป็นในเด็กอ าการไม่ร นุ แรง แต่ถ า้ เป็นในหญิง มีครรภ์อ่อน จะทำให้เด็กที่เกิดมามีโอกาสพิการ
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส RNA จัดอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus
การติดต่อ
ติดต่อจ ากคนหนึง่ ไปอกี ค นหนึง่ โดยการหายใจเอาเสมหะ หรือน ำ้ ลาย ของผู้ป่วยซึ่งจามหรือไอออกมา ระยะติดต่อ 1 อาทิตย์ก่อนและหลัง ออกผื่น
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
25
อาการ
• ระยะฟกั ตัว หลังจ ากได้ร บั เชื้อ (หลังสัมผัสก ับผู้ป่วย ) 14-24 วัน • ร้อยละ 25-50 อาจจะไม่มี อาการหรืออาการน้อย อาการนำ ในเด็กไม่ค่อยมีอาการอะไรก่อน ออกผื่น โดยมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เยื่อบ ุตาอักเสบจะมีไข้ 1-5 วัน น้ำมูกไหล ไอเล็กน้อย • ระยะออกผื่น โดยเริ่มที่หน้าผาก แถบไรผม กระจายมายังรอบ ปาก และใบหู แล้วลามลงมาที่คอ ลำตัว แขนขา ขณะที่ผื่นกระจายมา ลำตวั ใบหน้าจ ะไม่ค อ่ ยมผี นื่ ผืน่ อ าจจะมอี าการคนั ห รือไม่ก ไ็ ด้ ผืน่ ม ลี กั ษณะ สีชมพูอ อ่ น แบนราบ และมกั อ ยูแ่ ยกจากกนั ผืน่ เป็น 3 วันจ ะเริม่ จ าง มีต อ่ ม น้ำเหลืองหโู ต คลำได้เป็นก อ้ น บางรายอาจมปี วดขอ้ ถ้าห ากเป็นในคนทอ้ ง ระยะ 3 เดือนแรก เด็กท เี่ กิดม าอาจมพี กิ ารแต่ก ำเนิด เช่น ปัญญาอ่อน หัวใจ ผิดปกติ ตาผิดปกติ การวินิจฉัยโรค เนื่องจากโรคนี้หากเด็กปรกติจะมีอาการไม่มาก การวินิจฉัยทำได้ จากอาการ และการตรวจรา่ งกายเท่านัน้ หากคนตงั้ ค รรภ์จ ะตอ้ งเจาะเลือด เพื่อยืนยันการวินิจฉัย
26
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
การป้องกัน
ป้องกันโดยการฉดี ว คั ซีน MMR (หัด หัดเยอรมัน คางทูม ) ยังไม่มี รายงานว่าได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์ แล้วจะทำให้เกิดพ ิการแต่กำเนิด แต่ แนะนำให้คุมกำเนิดหลังฉีดว ัคซีน
การรักษา
โรคนี้หายได้เอง ให้วัดไข้วันละ 2 ครั้ง ควรพบแพทย์ถ้าไข้มากกว่า 38 C ห้ามใช้ aspirin ในการลดไข้เนื่องจากอาจจะทำให้เกิด Reye's syndrome โรคแทรกซ้อนทสี่ ำคัญ อาจพบสมองอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ ถ้าเกิดก ับ หญิงมีครรภ์ อาจทำให้ทารกเกิดมาพิการ เช่น ตาพิการ ต้อกระจก ต้อหิน หัวใจพิการ หูหนวก สมองเสื่อม
ภาวะแทรกซ้อน
ข้ออักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นข ้อเล็กๆ เช่น ข้อนิ้ว ภาวะแทรกซ้อนในระบบประสาทกลาง พบไม่บ่อย ที่พบคือสมอง อักเสบ
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
27
โรคโปลิโอ Poliomyelitis
โรคโปลิโอเป็นโรคที่นับว่ามีความสำคัญมากโรคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะ เชื้อโปลิโอจะทำให้มีการอักเสบของไขสันหลัง และของประสาทหรือสมอง ทำให้เป็นอัมพาต พิการตลอดชีวิตได้ ถึงแม้ในปัจจุบันโรคนี้จะมีผู้ป่วย น้อยลง แต่ก็ยังเป็นป ัญหาสาธารณสุขท ี่สำคัญ
สาเหตุและการติดต่อของโรคโปลิโอ
เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Picornaviridae และใน กลุ่ม Enterovirus มี 3 Serotype คือ Type 1, 2 และ 3 แต่ละชนิดอ าจ จะทำให้เกิดอัมพาตได้ พบ type 1 ทำให้เกิดอัมพาตและเกิดการระบาด ได้บ่อยกว่าทัยป์อื่นๆ เมื่อติดเชื้อชนิดหนึ่งแล้วจะมีภูมิคุ้มกันถาวรเกิดขึ้น เฉพาะต่อทัยป์นั้น ไม่มีภูมิต้านทานต่อทัยป์อื่น ดังนั้น ตามทฤษฎีแล้วอาจ ติดเชื้อได้ถึง 3 ครั้ง เชือ้ จ ะมอี ยูใ่ นคนทเี่ ป็นโรคนี้ หรืออ าจจะพบในคนทไี่ ม่มอี าการของโรค แต่เป็นพ าหะนำโรค เชือ้ จ ะอยูใ่ นสำไล้แ ละออกมาพร้อมกบั อ จุ จาระ เชือ้ โรค สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง โดย เชื้อเข้าทางปากหรือจากการสัมผัสใกล้ชิดกับ ผูป้ ่วย เช่น การจับต้องสิ่งของเครื่องใช้ทมี่ เีชือ้ น ี้ ติดอยู่หรือเชื้อติดเข้าไปกับอาหาร อาจพบเชื้อ ในอจุ จาระได้น าน 6-8 สัปดาห์ ในระยะสปั ดาห์ แรกอาจพบเชื้อโปลิโออยู่ในลำคอของผู้ป่วย ดังนั้นการไอหรือจามจึงเป็นทางติดต่อได้ทาง หนึ่ง เชื้อโรคจะสามารถเข้าไปสู่ระบบประสาท ได้โดยผ่านทางเดินน้ำเหลือง
28
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
อาการของโรคโปลิโอ
หลังจากระยะฟักตัวประมาณ 7-21 วันแล้ว ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่มาก ในรายที่เป็นโรคจะเริ่มมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย มีอาการ ปวดศีรษะ และอาจจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด ในเด็กเล็กอาจมีอาการ ถ่ายอุจจาระเหลวและอาเจียน ต่อมาเริ่มมีอาการปวดหลัง ปวดต้นคอและ แขนขา จะมีอาการคอแข็งแ ละหลังแข็งต ามมา ในรายที่มีอาการรุนแรงจะ พบว่ามีอัมพาตของแขนขาแบบกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ ถ้ากล้ามเนื้อกระบังลมซึ่งม ีความสำคัญในการหายใจเป็นอ ัมพาต จะทำให้ หายใจไม่ได้อาจถึงตายได้ ถ้าไม่ได้รับการช่วยหายใจทันท ่วงที การรักษาโรคโปลิโอ 1. เช่นเดียวกับโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่นๆ ซึ่งไม่มียาเฉพาะ ให้การ ดูแลรกั ษาตามทแี่ พทย์ส งั่ ส่วนรายทมี่ อี มั พาตหลายสว่ นของรา่ งกาย ระยะ แรกอาจจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 2. ในระยะทมี่ ไี ข้ ควรจะให้น อนพกั บ นเตียง นอนในทา่ ส บายทจี่ ะไม่ ทำให้กล้ามเนื้อตึง จะช่วยให้อาการเจ็บปวดลดลง 3. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นๆ ประคบตามแขนขาที่ปวดหรืออาจจะให้ยา ระงับปวดได้ตามคำแนะนำของแพทย์ 4. ในรายที่มีอัมพาตของแขนขา การนวดที่ถูกวิธีจะช่วยให้กล้าม เนื้อกลับมาทำงานได้เร็วขึ้น ถ้ากล้ามเนื้อกลับมาทำงานได้ตามปกติ ส่วน ใหญ่มักจะดีขึ้นภายในระยะ 3-6 เดือน หลังจากระยะ 18 เดือนไปแล้ว ความหวังว่าจะหายเป็นปกติได้เหลือน้อยมาก การนวดควรจะเริ่มทำโดย เร็วที่สุดตามคำแนะนำของแพทย์
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
29
การปัองกันโรคโปลิโอ
1. โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการให้วัคซีน วัคซีนที่แนะนำและได้ ผลดี เป็นว ัคซีนทใี่ช้ร ับประทาน 3 ครั้ง 2. ระวังเรื่องความสะอาดของอาหาร จะต้องล้างมือก่อนให้อาหาร เด็กทุกครั้ง 3. หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในชุมชนที่แออัด และเว้นการใช้สระว่าย นาสาธารณะ และไม่ควรให้ ออกกำลังจนเกินควรในระยะที่มีการระบาด ของโรคโปลิโอ 4. กำจัดอุจจาระของผู้ป่วยให้ถูกหลัก เพื่อป้องกันก ารแพร่เชื้อ
30
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
โรคสมองอักเสบ Encephalitis โรคสมองอกั เสบหรือศ พั ท์ท างการแพทย์เรียก Encephalitis หมายถงึ มีการอักเสบของเนื้อสมอง การอักเสบอาจจะเกิดทั้งสมองหรือบางส่วน ของเนื้อส มอง สาเหตุของสมองอักเสบมักจะเกิดจากไวรัสเช่น เริม คางทูม หัดเยอรมัน ไข้สุกใส นอกจากนั้น ยังเกิดจากยุงหรือไรกัด เช่น Japanese encephalitis cerebritis หมายถึงการอักเสบของสมองโดยมากเกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย หากไม่รักษาจะกลายเป็นฝีในสมอง
อาการของผู้ป่วยสมองอักเสบ ผู้เป็นไม่มากจะมอี าการ • ไข้ • อ่อนเพลียไม่มีแรง • เจ็บค อ • คอแข็ง • อาเจียน • ปวดศีรษะ • สับสน • กระสับกระส่าย • ซึม • ปวดหัวเมื่อแสงจ้าๆ
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
31
สำหรับผู้ที่มีอาการมากได้แก่ • ซึม ไม่ค ่อยรู้สึกตัว • สับสนไม่รู้วันหรือกลางคืน จำคนไม่ได้ • ชัก • ไข้สูง • ปวดศีรษะมาก • คลื่นไส้อ าเจียน • มือส ั่น • คอแข็ง
สาเหตุ
สาเหตุข องสมองอกั เสบสว่ นใหญ่เกิดจ ากเชือ้ ไวรัส การตดิ ต่อโดยมาก เกิดจากยุง ไรกัด เช่นโรคสมองอักเสบจากไวรัสสายพันธ์ยี่ปุ่น japaness encephalitis บางชนิดเกิดจากการที่สัตว์เช่นค้างคาวหรือสุนัขกัด เช่น โรคหมาบ้า
ประเภทของการติดเชื้อแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
ติดเชื้อครั้งแรก Primary encephalitis หมายถึงการติดเชื้อไวรัส เป็นค รัง้ แ รกและเชือ้ น นั้ ก ท็ ำให้เกิดส มองอกั เสบ มักจ ะมกี ารระบาดเป็นค รัง้ คราว เช่นไขสมองอักเสบสายพันธ์ญ ี่ปุ่น สมองอักเสบซึ่งเกิดจากเชื้อท ี่อยู่ในร่างกายเรียก Secondary (postinfectious) encephalitis เช่นสมองอักเสบจากเชื้อเริม
32
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
เชื้อที่เป็นสาเหตุของสมองอักเสบ
1. Herpes viruses เมื่อค นได้รับเชื้อจ ะทำให้เกิดโรคเริมซึ่งอาจจะ เกิดแผลที่ปากหรืออวัยวะเพศ หลังจากนั้นเชื้อจะอยู่ในร่างกาย เมื่อคนมี ภูมิลดลงเชื้อที่อยู่ในร่างกายจะกำเริบทำให้เกิดสมองอักเสบ • Herpes simplex virus • Varicella-zoster virus • Epstein-Barr virus 2. Childhood infections • Measles (rubeola) • Mumps • Rubella (German measles) 3. Arboviruses สัตว์ที่เป็นแหล่งพักเชื้อได้แก่ หมู นก ยุงและไร จะเป็นต วั นำเชือ้ โรคมาสคู่ นโดยการกดั ส ตั ว์ท เี่ ป็นโรค และเมือ่ ม ากดั ค นกจ็ ะ ปล่อยเชื้อสู่คนหากเชื้อมปี ริมาณมากพอก็จะทำให้เกิดโรค • Eastern equine encephalitis • Western equine encephalitis • St. Louis encephalitis • La Crosse encephalitis • West Nile encephalitis • Japanese encephalitis เป็นโรคไข้สมองอักเสบที่พบมากในเอเซียปีละประมาณ 50,000 ราย และเสียชีวิตป ระมาณปีละ 15,000 ราย พบมากในเด็กแ ละ วัยรุ่น หมูเลี้ยงและนกเป็นสัตว์ท ี่มีเชื้อ โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
33
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดโรค
• อายุ สมองอักเสบบางชนิดมักจะเป็นในเด็ก • ภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบ กพร่องมีโอการของสมองอักเสบสูง กว่าคนอื่น • ภูมศิ าสตร์ ผูท้ อี่ าศัยห รือไปเทีย่ วยงั แ หล่งท มี่ กี ารระบาดของโรค ก็จะมคี วามเสี่ยงต่อการเกิดโรค • สภาพความเป็นอยู่ ผูท้ ม่ี กี จิ กรรมนอกบา้ นมาก เช่นการวง่ิ นอก บ้าน ตีกอลฟ์ การดนู ก ดังนน้ั ในชว่ งทม่ี กี ารระบาดตอ้ งระวังเป็นพเิ ศษ • ฤดูกาล
การวินิจฉัยโรค
เมื่อมีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคไข้สมองอักเสบโดยเแพาะราย ที่มีไข้ และมีการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึก ก็จะต้องตรวจพิเศษเพื่อ วินิจฉัยแยกโรค การตรวจที่สำคัญได้แก่ • การเจาะเอาน้ำไขสันหลังไปตรวจภาษาแพทย์เรียก Spinal tap (lumbar puncture) แพทย์จ ะใช้เข็มเจาะเข้าไขสันหลัง และเอานำ้ ไขสันหลัง ไปตรวจ • การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง Electroencephalography (EEG). เป็นการวัดไฟฟ้าของสมอง การตรวจนี้จะมีประโยชน์มากในรายที่มี อาการชัก • การตรวจรงั สีส มอง หรือก ารตรวจ computerized tomography (CT) or magnetic resonance imaging (MRI) scan จะบอกได้ว่าสมอง ส่วนไหนมกี ารบวม • การตรวจเนื้อเยื่อสมองเพื่อหาตัวเชื้อโรค
34
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
โรคแทรกซ้อน
ผู้ ที่ มี ส มองอั ก เสบแ บบรุ น แรงอ าจจ ะมี โรคแ ทรกซ้ อ นไ ด้ ห ลาย ประการ • เสียช ีวิต • หายใจวาย • โคม่า • ความจำเสื่อม • ไม่สามารถควบคุมก ล้ามเนื้อ • หูหนวกหรือตาบอด
เมื่อไรจึงจะพบแพทย์
หากคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้นร่วมกับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น • เป็นเริมที่ปากหรืออวัยวะเพศ • เมื่อค ณ ุ เข้าป ่า และสงสัยว ่าถ ูกยุงกัด • เมื่อค ณ ุ ไปในแหล่งท ี่มีการระบาดของโรค
การรักษา
โดยทั่วไปหากไม่รุนแรงอาจจะหายเองได้ โดย • การพักผ่อนให้พอเพียง • ดื่มน ้ำมากๆ • ยาแก้ปวดพาราเซ็ตตามอล • ยาแก้สมองบวม โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
35
• ยากันชัก หากผู้ป่วยมอี าการชัก แต่การรักษาโรคมักจะไม่มียาเฉพาะโรค เนื่องจากไวรัสที่เป็นสาเหตุ ไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษานอกเสียจากเชื้อไวรัสเริมอาจจะตอบสนอง ต่อการรักษา
การป้องกันโรค
เนือ่ งจากโรคนเี้ มือ่ เป็นแ ล้วไม่มยี าทรี่ กั ษาเฉพาะ ดังน นั้ ก ารปอ้ งกันจ งึ เป็นวิธีที่ดีที่สุด • ฉีดว คั ซีนป อ้ งกันโรค เช่น ไข้ส กุ ใส คางทูม หัดเยอรมัน วัคซีนป อ้ งกัน ไข้สมองอักเสบ • ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวเมื่อต้องออกนอกบ้าน • ทายากันยุงที่เสื้อผ้า ความเข้มข้นของยาขึ้นกับระยะเวลาที่ ป้องกัน • หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด โดยหลีกเลี่ยงแหล่งท ี่มียุงมาก • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง • ให้สำรวจสิ่งแวดล้อม ว่าม ีสัตว์ต ายผิดปกติบ้างหรือไม่
่
36
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
โรคไวรัสต ับอักเสบ Hepatitis ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ปกติจะมีน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม โดยอยู่หลังกระบังล ม
หน้าที่ของตับ
• เป็นคลังสะสมอาหาร เช่น แป้ง ไขมัน โปรตีน เอาไว้ใช้ และปล่อยเมื่อ ร่างกายต้องการ • สังเคราะห์สารต่างๆ เช่น น้ำดี สารควบคุมก ารแข็งตวั ของเลือด ฮอร์โมน • กำจัด สารพิษ และสิ่งแปลก ปลอม เช่นเชื้อโรค หรือยา
โรคตับชนิดต่างๆ
ตับม ีโอกาสเป็นโรคต่างๆ ได้แก่ โรคตับอักเสบ hepatitis โรคตับแข็ง (cirrhosis) มะเร็งต ับ (Liver Cancer) โรคไขมันในตับ (Fatty liver) โรค ฝีในตับ (Liver abscess)
โรคตับอักเสบมี 2 ชนิด
1. โรคตบั อ กั เสบเฉียบพลัน [acute hepatitis] หมายถงึ โรคตบั อ กั เสบ ที่เป็นไม่นานก็หาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ 2-3 สัปดาห์โดยมากไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายขาดจะมีบางส่วนเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และ บางรายรุนแรงถึงกับเสียชีวิต โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
37
2. โรคตับอักเสบเรื้อรัง [chronic hepatitis] หมายถึงตับอักเสบที่ เป็นนานกว่า 6 เดือนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด • chronic persistent เป็นการอักเสบของตับแบบค่อยๆ เป็น และไม่รุนแรงแต่อย่างไรก็ตามโรคสามารถที่จะทำให้ตับมีการอักเสบมาก • chronic active hepatitis มีก ารอกั เสบของตบั และตบั ถ กู ท ำลาย มาก และเกิดตับแ ข็ง
สาเหตุของโรคตับอักเสบ
1. เชื้อไวรัส มีหลายชนิดได้แก่ ไวรัสต ับอักเสบ เอ, บี , ซี , ดี, อี 2. เครื่องดื่มที่มแี อลกอฮอล์ 3. ยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค halothane, isoniazid, methyldopa, phenytoin, valproic acid, sulfonamide drugs. ผูป้ ่วย หากได้ acetaminophen (พาราเซ็ตตามอล) ในขนาดสูงมาก ก็สามารถ ทำให้ตับถูกทำลายได้ 4. เชือ้ โรคบางชนิด เช่น ไทฟอยด์, มาลาเรีย การอกั เสบของตบั จ ะทำให้ต บั บ วม มี ก ารท ำลายเซลล์ ตั บ ทำให้ มี อ าการ อ่อนเพลียจากการทำงานผิดปกติของ ตับ หากการอักเสบเกิดขึ้นเป็นเวลานาน จะทำให้ต บั ถ กู ท ำลายมาก และถกู แ ทนที่ ด้วยพังผืด ทำให้ตับมีแผลเป็น และมี ลักษณะแข็งเป็นตุ่มๆ แม้ว่าสาเหตุของ ตับอ กั เสบจะมมี ากมายแต่ส าเหตุท สี่ ำคัญ
38
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
คือไวรัสต บั อ กั เสบ ปัญหาโรคตบั อ กั เสบ บี และโรคตบั อ กั เสบเรือ้ รัง เป็นป ญ ั หาสำคัญท างสาธารณสุขข องประเทศไทยและทวั่ โลก การ ดำเนินของโรคตับอ ักเสบ บี และโรคตับอักเสบ ซี สามารถดำเนิน เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เป็นตับแ ข็ง และเป็นมะเร็งตับ เป็นภาวะ ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียทางครอบครัว ทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก ดังนั้นการเข้าใจถึงโรคตับอักเสบ ซึ่งรวมถึงการติดต่อ การดำเนิน ของโรค การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการติดต่อซึ่งจะ เป็นประโยชน์ในการดูแลและช่วยลดจำนวนผู้ป่วยลง
ไวรัสตับอักเสบมี 5 ชนิด
• ไวรัสตับอ ักเสบ เอ • ไวรัสตับอ ักเสบ ซี • ไวรัสตับอ ักเสบ อี
• ไวรัสตับอ ักเสบ บี • ไวรัสตับอ ักเสบ ดี
อาการของโรค
• ตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการที่พบได้บ่อย คือ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตาม กล้ า มเ นื้ อ ปวดข้ อ คลื่ น ไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อาจจะพบผื่นตามตัว หรืออาการท้องเสีย บางรายปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งอาการตัวเหลือง ตาเหลืองจะหายไป 1-4 สัปดาห์ แต่บางรายอาจนาน 2-3 เดือน ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ โรคไวรัสตับอักเสบ บี พบว่าร้อยละ 5-10 เป็นต ับอักเสบเรื้อรัง ส่วนไวรัสตับอ ักเสบ ซี ร้อยละ 85 เป็น ตับอักเสบเรื้อรัง โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
39
• ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่จะมีการทำลายเซลล์ตับ ไปเรื่อยๆ จนเกิดตับแข็ง และเป็นม ะเร็งตับในที่สุด
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นตับอักเสบ
หากส งสั ย ว่ า จ ะเ ป็ น โรคตั บ อักเสบ ทา่ นควรไปรบั ก ารตรวจเลือด เพื่อหาว่ามกี ารติดเชื้อห รือไม่โดย 1. ตรวจการทำงานของตับ โดยก ารห าร ะดั บ SGOT [AST], SGPT [ALT] ค่าปกติน้อยกว่า 40 IU/L ถ้าค่ามากกว่า 1.5-2 เท่าให้สงสัยว่าตับอักเสบ หากพบว่าผิดปกติ แพทย์จะขอตรวจเดือนละครั้งติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน 2 การตรวจหาตัวเชื้อ 1. ไวรัสตับอักเสบ เอ ตรวจหา Ig M Anti HAV 2. ไวรัสตับอักเสบ บี ตรวจหา HBsAg ถ้าบวกแสดงว่ามีเชื้ออยู่ Anti HBs ถ้าบวกแสดงว่ามีภูมิต่อเชื้อ HBeAg ถ้าบวกแสดงว่าเชื้อมีการ แบ่งตัว HBV-DNA เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณเชื้อ 3. ไวรัสตับอักเสบ ซี Anti-HCV เป็นการบอกว่ามีภูมิต่อเชื้อ HCV-RNA ดูปริมาณของเชื้อ 3. การตรวจดูโครงสร้างของตับ เช่นการตรวจคลื่นเสียงเพื่อดูว่า มีตับแข็งหรือมะเร็งตับห รือไม่ 4. การตรวจชิ้นเนื้อตับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะนำชิ้นเนื้อตับเพื่อ วินิจฉัยความรุนแรงของโรค
40
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
การรักษา
การเลือกใช้ยาจะเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเนื่องจาก ยามีผลข้างเคียงที่พึงระวังหลายอย่าง ยาที่ใช้อยู่มี interfeon และ lamuvudin
การปฏิบัติตัว
• หลีกเลีย่ งการออกกำลังก ายอย่างหกั โหมในชว่ งทมี่ กี ารอกั เสบของ ตับ แต่การออกกำลังอ ย่างสม่ำเสมอในตับอักเสบเรื้อรังสามารถทำได้ • งดเครื่องดื่มที่มแี อลกอฮอล์ • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนอย่างพอเพียง ไม่ต้อง ดื่มน้ำหวานมากๆ เพราะทำให้ไขมันสะสมที่ตับเพิ่มขึ้น
ถ้าเคยเป็นแล้วจะมีโอกาสติดเชื้ออีกหรือไม่
ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบ เอ และ อี จะหายขาด ไวรัสตับอักเสบ บี ร้อยละ 90 หายขาด ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี และ ดี ยังไม่มีข้อมูล
พาหะของโรคจะทำอย่างไร
ผู้ป่วยที่เป็นพาหะ คือ ผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกาย แต่ไม่ แสดงอาการของตับอักเสบ ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และต้อง หมั่นติดตามการดูแลจากแพทย์เป็นระยะๆ ผู้ป่วยที่เป็นพาหะมักเป็นกับ เชื้อ บี และ ซี เท่านั้น
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
41
ถ้ามารดาเป็นตับอักเสบจะมีผลอย่างไรต่อบุตร
บุตรทคี่ ลอดจากมารดาทมี่ เี ชือ้ ไวรัสต บั อ กั เสบ บีจ ะมโี อกาสตดิ เชือ้ ได้ สูง แต่ปัจจุบันการฉีดวัคซีนให้กับทารกสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แม่ สามารถให้นมบุตรได้
42
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
โรคไอกรน Pertussis โรคไอกรน เป็นโรคตดิ เชือ้ ข องระบบทาง เดินหายใจ ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทาง เดินห ายใจ และเกิดอ าการไอ ทีม่ ลี กั ษณะพเิ ศษ คือ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่า นัน้ จ นเด็กห ายใจไม่ทนั จึงห ยุดไอ และมอี าการ หายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียง วู๊ป (Whooping cough) สลับกันไปกับการไอเป็นช ุดๆ จึงม ีชื่อเรียกว่า “โรคไอกรน” บาง ครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis (B. pertussis) เป็น เชื้อท ี่เพาะขึ้นใน Bordet Gengau media ซึ่งเป็นเชื้อท ี่เพาะขึ้นได้ยาก จะ พบเชื้อได้ในลำคอ ในส่วน nasopharynx ของผู้ป่วยในระยะ 1-2 อาทิตย์ แรก ก่อนมอี าการ ไอเป็นแบบ paroxysmal
การติดต่อ
ไอกรนเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะติดเชื้อและเกิดโรคเกือบทุกราย โรคนี้พบได้ บ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว ซึ่งมีการติดเชื้อแต่ ไม่มอี าการ (carrier) หรือมีอาการไม่มาก โรคไอกรนเป็นได้ก ับทารกตั้งแต่ เดือนแรก ทั้งนี้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อย มาก ในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราตายสูง ส่วนใหญ่ของผู้ที่ มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต เป็นเด็กอายุต ่ำกว่า 1 ปีและเป็นเด็กที่ไม่เคย ได้รับวัคซีนมาก่อน โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้เป็นได้ทุกอายุ ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
43
แต่ในวัยหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่อาจไม่มีอาการ หรือไม่มีอาการแบบไอกรน ส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน ในประเทศไทย อุบัติการณ์ของโรคไอกรนลดลงมาก ซึ่งเป็นผลจาก การเพิม่ ร ะดับค วามครอบคลุมข องการได้ร บั ว คั ซีนป อ้ งกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก อย่างไรก็ดี ยังพบโรคนี้ได้ประปรายในชนบท และพบในเด็ก อายุเกิน 5 ปี มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน พบการระบาด เป็นครั้งคราวในเด็กนักเรียนชั้นป ระถม ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 6 - 20 วัน ที่พบบ่อย 7-10 วัน ถ้า สัมผัสโรคมาเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการ แสดงว่าไม่ติดโรค ระยะของโรคทั้งหมดถ้าไม่มโีรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
อาการของโรคแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะแรก เด็กจ ะเริม่ ม อี าการ มีน ำ้ มูก และไอ เหมือนอาการเริม่ แ รก ของโรคหวัดธรรมดา อาจมีไข้ต่ำๆ ตาแดง น้ำตาไหล ระยะนี้เรียกว่า Catarrhal stage จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ระยะนี้ส่วนใหญ่ยัง วินิจฉัยโรคไอกรนไม่ได้ แต่มีข้อสังเกตว่าไอนานเกิน 10 วัน เป็นแบบ ไอแห้งๆ 2) Paroxysmal stage ระยะนมี้ อี าการไอเป็นช ดุ ๆ เมือ่ เข้าส สู่ ปั ดาห์ ที่ 3 ไม่มเีสมหะ จะเริ่มมีลักษณะของไอกรน คือ มี อาการไอถี่ๆ ติดกันเป็น ชุด 5-10 ครั้ง ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียง วู๊ป (whoop) ซึ่งเป็นเสียงการดูดลมเข้าอย่างแรง ในช่วงที่ไอผู้ป่วยจะมีหน้าตาแดง น้ำมูกน้ำตาไหล ตาถลน ลิ้นจุกปาก เส้นเลือดที่คอโป่งพอง การไอเป็น กลไกที่จะขับเสมหะที่เหนียวข้นในทางเดินหายใจออกมา ผู้ป่วยจึงจะไอ ติดต่อกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถขับเสมหะที่เหนียวออกมาได้ บาง ครั้งเด็กอาจจะมีหน้าเขียว เพราะหายใจไม่ทันโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ อายุ
44
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
น้อยกว่า 6 เดือน จะพบอาการหน้าเขียวได้บ่อย และบางครั้งมีการหยุด หายใจร่วมด้วย อาการหน้าเขียวอาจจะเกิดจากเสมหะอุดทางเดินหายใจ ได้ ส่วนใหญ่เด็กเล็กม กั จ ะมอี าการอาเจียนตามหลังก ารไอเป็นช ดุ ๆ ระยะไอเป็น ชุดๆ นี้จะเป็นอยู่นาน 2-4 สัปดาห์ หรืออาจนานกว่านี้ได้ 3) ระยะฟื้นต ัว (Convalescent stage) กินเวลา 2-3 สัปดาห์ อาการไอ เป็นชุดๆ จะค่อยๆ ลดลงทั้งความรุนแรงของการไอและจำนวนครั้ง แต่จะยัง มีอาการไอหลายสัปดาห์ ระยะของโรคทั้งหมดถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลา ประมาณ 6-10 สัปดาห์
โรคแทรกซ้อน
1. โรคแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อย คือ ปอดอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการตายท่ีสำคัญของโรคไอกรนในเด็กเล็ก โรคในปอด ที่อาจพบได้อีกจะเกิดจากการมีเสมหะเหนียวไปอุดในหลอดลมและถุงลม ทำให้เกิด atelectasis 2. จากการไอมากๆ ทำให้มีเลือดออกในเยื่อบุตา (Subconjunctival hemorrhage) มี petechiae ทีห่ น้า และในสมอง 3. ระบบประสาท อาจมีอาการชัก พบบ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากขาดเลือด ไปเลี้ยงสมองในขณะที่ไอถี่ๆ และอาการชักอาจเกิดจากมีเลือดออกในสมอง การวินิจฉัย อาศัยอาการทางคลินิกที่มีลักษณะอาการไอเป็นชุดๆ มีเสียงวู๊ป ร่วมกับ การตรวจเลือด พบมีเม็ดเลือดขาวสูงเกินปกติ และมี lymphocytosis แต่ เนื่องจากอาการไอแบบนี้อาจเกิดจากเชื้อ B. parapertussis, Clamydia trachomatis และ adenoviruses การวินิจฉัยที่แน่นอนจึงต้องทำการ เพาะเชื้ อ B. pertussis จาก nasopharyngeal swab หรื อ ดู ด เ อา nasopharyngeal mucus มาเพาะบน Bordet Gengau media ส่วน ใหญ่ จ ะต รวจพ บเชื้ อ ไ ด้ ใ นร ะยะ Catarrhal stage และใ นสั ป ดาห์ แรก โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
45
ที่เริ่มมีอาการไอแบบ paroxysmal ภายหลังจากเริ่มมีอาการ 4 สัปดาห์ มักจะตรวจไม่พบเชื้อ
การวินิจฉัย
อาศัยอ าการทางคลินกิ ท มี่ ลี กั ษณะอาการไอเป็นช ดุ ๆ มีเสียงวปู๊ ร่วมกบั ก าร ตรวจเลือด พบมีเม็ดเลือดขาวสูงเกินปกติ และมี lymphocytosis แต่เนื่องจาก อาการไอแบบนี้อาจเกิดจากเชื้อ B. parapertussis, Clamydia trachomatis และ adenoviruses การวินิจฉัยท ี่แน่นอนจึงต้องทำการเพาะเชื้อ B. pertussis จาก nasopharyngeal swab หรือดูดเอา nasopharyngeal mucus มาเพาะ บน Bordet Gengau media ส่วนใหญ่จะตรวจพบเชื้อได้ในระยะ Catarrhal stage และในสัปดาห์แรกที่เริ่มมีอาการไอแบบ paroxysmal ภายหลังจากเริ่ม มีอาการ 4 สัปดาห์ มักจะตรวจไม่พบเชื้อ
การรักษา
เนื่องจากเชื้อ B. pertussis จะมีอยู่ในลำคอของผู้ป่วยในช่วงระยะแรก (Catarrhal stage) ดังน นั้ ถ า้ ให้ย าปฎิช วี น ะทไี่ ด้ผ ลเฉพาะคอื erythromycin ใน ขนาด 50 มก./กก./วัน เป็นระยะเวลา 14 วัน ในระยะนี้จะช่วยให้ความรุนแรง ของโรคลดลงได้ แต่ถ้าพบผู้ป่วยระยะที่มีการไอเป็นชุดๆ แล้วการให้ยาจะไม่ สามารถเปลี่ยนแปลงความรุนแรงของโรคได้ แต่จะสามารถฆ่าเชื้อโรคที่อาจจะ ยังมีอยู่ให้หมดไปได้ในระยะ 3-4 วัน เป็นการลดการแพร่กระจายของเชื้อได้ การรักษาตามอาการให้เด็กได้พักผ่อน ดื่มน้ำอุ่น อยู่ในห้องที่มีอากาศ ถ่ายเทได้ด ี หลีกเลีย่ งสาเหตุท จี่ ะทำให้เด็กไอมากขนึ้ เช่น การออกแรง ฝุน่ ล ะออง ควันไฟ ควันบุหรี่ อากาศที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป
46
การป้องกัน การแยกผู้ป่วย
โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
ผูป้ ่วยที่ได้รับการรักษาด้วย erythromycin เชื้อจะหมดไปภายใน 5 วัน ดังนั้น จึงแยกผู้ป่วย 5 วัน นับจ ากที่เริ่มให้ยา หรือแยกไว้ 3 สัปดาห์ หลังจาก ที่เริ่มม ีอาการไอแบบ paroxysmal
ผู้สัมผัสโรค
ทุกคนควรได้รับการติดตามดูว่าจะมีอาการไอเกิดขึ้นหรือไม่อย่างใกล้ชิด โดยติดตามไปอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เด็กที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดควรได้รับ erythromycin (40-50 มก./กก./วัน)14 วัน ถึงแม้จะได้รับวัคซีนป้องกัน ครบแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพราะระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนอาจไม่สูงพอในเด็ก บางคน ผู้สัมผัสโรคที่อายุน้อยกว่า 6 ปี ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือได้ไม่ครบ 4 ครั้ง ควรจะเริ่มให้วัคซีนห รือเพิ่มให้ครบตามกำหนดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ผู้สัมผัสโรคที่เคยได้รับมาแล้ว 4 ครั้ง ให้กระตุ้นเพิ่มอีก 1 ครั้ง ยกเว้นเด็กที่เคย ได้รับ booster มาแล้วภ ายใน 3 ปี หรือเป็นเด็กอายุเกิน 6 ปี ไม่ต้องฉีดกระตุ้น เพิ่ม ส่วนผู้ที่เคยได้มาแล้ว 3 ครั้ง และครั้งที่ 3 เกิน 6 เดือน ควรจะให้ dose ที่ 4 ทันทีที่สัมผัสโรค
การให้วัคซีนป้องกันโรคไอกรน
ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี การได้รับวัคซีนป้องกันไอกรน 4-5 ครั้ง นับ เป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไอกรน วัคซีนไอกรนท่ีมี ใช้ขณะน้ีเป็นวัคซีนท่ีเตรียมจากแบคทีเรีย B. pertussis ที่ตายแล้ว (Whole cell vaccine) รวมกบั diphtheria และ tetanus toxoids (Triple vaccine, DTP) ให้ฉีดเข้ากล้าม กำหนดการให้วัคซีนเริ่มเมื่ออายุ 2 เดือน และให้อีก 2 ครัง้ ระยะหา่ งกนั 2 เดือนคอื ให้เมือ่ อายุ 4 และ 6 เดือน โด๊สท่ี 4 ให้เมือ่ อายุ 18 เดือน นับเป็นครบชดุ แรก (Primary immunization) โด๊สท่ี 5 ถือเป็นการกระตุน้ (booster dose) ให้เมือ่ อายุ 4 ปี เด็กทม่ี อี ายุเกิน 7 ปี แล้วจะไม่ให้วคั ซีนไอกรน ทัง้ นีเ้ พราะจะพบปฏิกริ ยิ าขา้ งเคียงได้สงู โรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน
47
ดวยความปราถนาดจีาก
สำนกังานปองกนัควบคมุโรคที่ 1 กรงุเทพฯ โทร. 0 2972 9606-9