สารบัญ
ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2556
2 บทบรรณาธิการ 3 คนและข่าว 7 สาระน่ารู้
แนวคิดระบบเกษตรผสมผสาน
14 ดี-สนุก
หนีร้อนไปเที่ยว... ชมสวนผลไม้ที่โครงการหลวง
16 แนะนำ�ผลิตภัณฑ์ ผลิตผล
นํ้าผึ้ง...จากสวนกาแฟโครงการหลวง ชาอู่หลงก้านอ่อน
18 ดี-อร่อย วัตถุประสงค์
เพือ่ นำ�เสนอข่าวสาร ความเคลือ่ นไหวในด้านต่างๆ ของมูลนิธิโครงการหลวง รวมทั้งเผยแพร่ผลงาน ทางวิชาการแนะนำ�ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ของ มูลนิธฯิ เพือ่ ประโยชน์ตอ่ บุคลากรและผูส้ นใจทัว่ ไป
Mango Tart : ทาร์ตมะม่วง
20 ก้าวใหม่
การเพิ่มผลผลิตข้าวนาดำ�บนพื้นที่สูง
25 สุขภาพดี
สุขภาพคนไทย
29 งานวิจัยใช้ได้จริง มูลนิธิโครงการหลวง
เลขที่ 65 หมู่ 1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 053-278332, 053-277094, 053-274711 053-810765-8 ต่อ 108, 104, 344 โทรสาร 053-324000 http://www.royalprojectthailand.com E-mail : pr.rpf@hotmail.com
พิมพ์ที่
บริษัท ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำ�กัด 412/31 เชียงใหม่แลนด์ ถ.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 โทรศัพท์ 053-272079, 272081 E-mail : trio_cm@hotmail.com
ไก่ฟา้ (คอแหวน)...จากนกป่าทีเ่ พาะเลีย้ งเพือ่ เป็น เกมกีฬา สู่นกเลี้ยงเพื่อส่งเสริมให้แก่เกษตรกร มูลนิธิโครงการหลวง
37 วิถีชนเผ่า
ชาวเขากับการดูแลสุขภาพ
40 คลินิกพืช
โรคไวรัสของพืชตระกูลแตงในโครงการหลวง
44 บุคคลในเรื่อง
เกษตรกรรุ่นใหม่แห่งบ้านสิบสองพัฒนา
47 ลัดเลาะร้านโครงการหลวง
ร้านโครงการหลวง สาขา อุดรธานี
48 เกร็ดและแก่นโครงการหลวง ทรงตั้งธนาคารข้าว
ROYAL PROJECT JOURNAL
3
บทบรรณาธิการ
ROYAL PROJECT JOURNAL
ช่วงที่ประเทศไทยย่างเข้าสู่ฤดูฝน บนดอยต่างๆ เริ่มมีบรรยากาศสดชื่นขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยสีเขียวชอุ่มของ ต้นไม้ อากาศบริสทุ ธิป์ นละอองนํา้ ฝนเย็นฉํา่ พืชพรรณไม้ โดยเฉพาะผลไม้ต่างออกผลไล่เรียงกัน เริ่มตั้งแต่ลูกพลัม สีแดงกํ่า อมเปรี้ยวอมหวานในเดือนพฤษภาคม ลูกพลับ สีเหลืองทอง หวานกรอบในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน รวมทั้งมะม่วงพันธุ์ต่าง ๆ ของไทยที่สามารถรับประทาน สดและทำ�เป็นเมนูดี อร่อย ได้ด้วย ถือเป็นฤดูกาลที่มี ผลไม้หลากหลายชนิดทัง้ ของท้องถิน่ และเมืองหนาว และยัง เป็นช่วงที่เหมาะแก่การเที่ยวชมสวนผลไม้โครงการหลวง ผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย แถมได้ความรู้ด้านการ เกษตรไปด้วยสามารถเลือกไปกับทัวร์โครงการหลวงในชือ่ วสันต์หรรษา ชิมพลับสดอ่างขาง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 สิงหาคมนี้ แต่ในหน้าฝนก็ยังเกิดโรคระบาดของ ศัตรูพืช และมีผลต่อสุขภาพร่างกายของคนเรา คณะผู้ จัดทำ�ฯ ขอให้ทุกท่านดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้หน้า ฝนนี้เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข สดชื่นของทุกท่าน
พรนันทน์ ภู่สว่าง บรรณาธิการ
คณะผู้จัดทำ� ที่ปรึกษา
ศ.พิเศษ ดร.สันทัด ศ.ดร.กำ�พล คุณหญิงประจิตต์ วิจิตร สุทัศน์
บรรณาธิการ พรนันทน์
โรจนสุนทร อดุลวิทย์ กำ�ภู ณ อยุธยา ถนอมถิ่น ปลื้มปัญญา ภู่สว่าง
ผู้ช่วยบรรณาธิการ ดร.ชวสรรค์ จุรีพร อนุรักษ์ ณัฐกานต์
เครือคำ� ชำ�นาญพล อังกสิทธิ์ เอมาวัฒน์
กองบรรณาธิการ ดร.วีรพันธ์ ดร.วชิระ ดร.กุลธนี อัญชัญ รุ้งตะวัน กาญจนา จารุทัศ ดวงใจ ประไพพักตร์ มาโนช จุทรีมาศ ศิริลักษณ์ จันทิรา
ศิลปกรรม วารุณี ประภาศรี
พิสูจน์อักษร อดุลย์ สายชม
กันแก้ว เกตุเพชร ผิวนิล ชมภูพวง จันทรเปารยะ วิชิตตระกูลถาวร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา บุตรสำ�ราญ คำ�เกิด ปราครุฑ ชัยชนะ อธิคมวิศิษฐ์ แสงวัฒนะ สุริยะ พวงเงินมาก ชมพล ธเนศนิตย์
คนและข่าว
29 มกราคม 2556 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เข้ า รั บ พระราชทานปริ ญ ญาปรั ช ญาดุ ษ ฎี บั ณฑิ ต กิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพฯ
21 มกราคม 2556 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธโิ ครงการหลวง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “นิทรรศการทิวลิปคิงภูมิพล และนิทรรศการ 80 พรรณไม้งามโครงการหลวง” ณ อาคาร นิทรรศการ 2 อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่
14 กุมภาพันธ์ 2556 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุม คณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนโครงการหลวง (กปส.) ครัง้ ที่ 1/2556 ณ ห้องดอยคำ� สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การ มหาชน) อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดย หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธโิ ครงการหลวง เป็นประธานการประชุม และได้เยีย่ มชม นิทรรศการความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ของมูลนิธโิ ครงการหลวง ซึง่ จัด แสดงบริเวณ ห้องโถงชั้น 1 ของอาคาร
ROYAL PROJECT JOURNAL
5
คนและข่าว
17 กุมภาพันธ์ 2556 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน Ethnic Inspire ซึ่งจัดขึ้นโดย โครงการหัตถกรรม มูลนิธโิ ครงการหลวง ร่วมกับสถาบันวิจยั และ พัฒนาพืน้ ทีส่ งู (องค์การมหาชน) ภายในงานประกอบไปด้วยการ แสดงแฟชัน่ โชว์โดยนางแบบกิตติมศักดิ์ มีการจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ ของกลุม่ ชาวบ้านหัตถกรรมในพืน้ ทีศ่ นู ย์พฒ ั นาโครงการหลวงและ พื้นที่โครงการขยายผล รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากโครงการหัตถกรรม มูลนิธโิ ครงการหลวง ณ ร้านโครงการหลวงสาขาสุเทพ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
10 กุมภาพันธ์ 2556 คณะทูตานุทูตและคู่สมรสจากต่างประเทศประจำ� ประเทศไทยจำ�นวน 40 ประเทศ รวม 80 คน เดินทางเข้า เยี่ยมชมการดำ�เนินงานของมูลนิธิโครงการหลวง ที่สถานี เกษตรหลวงอ่างขาง อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
28 กุมภาพันธ์ 2556 กลุ่มเกษตรกรบ้านเมืองอาง ในพื้นที่สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ อำ�เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ทีส่ ำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณ พร้อมใจถวายข้าวเปลือกจำ�นวน 1,500 กิโลกรัม และรายได้จากการผลิตผักอินทรีย์จำ�นวนเงิน 30,900 บาท แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นผู้แทนรับมอบ ณ สำ�นักงาน มูลนิธิโครงการหลวง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
6
ROYAL PROJECT JOURNAL
คนและข่าว
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 10 มีนาคม 2556 มูลนิธิโครงการหลวงจัดกิจกรรมท่องเที่ยว Le tour d’ Angkhang และกิจกรรม Gourmet tour Angkhang ขึ้น ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนักท่องเที่ยวร่วม กิจกรรมครั้งนี้กว่า 480 คน
22-24 มีนาคม 2556 คณะผู้อำ�นวยการสำ�นักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ กงสุล (ฝ่ายการเกษตร) ผู้แทนถาวรไทยประจำ�องค์การการค้าโลก ณ นครเจนีวา และผู้เกี่ยวข้องจำ�นวน 30 คน เยี่ยมชมการดำ�เนิน งานของมูลนิธิโครงการหลวง และประชุมหารือความร่วมมือกับมูลนิธิ โครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ROYAL PROJECT JOURNAL
7
ใช้ทำ�ความสะอาดผิวหน้าได้อย่างหมดจด
อ่อนโยน ช่วยถนอมและบำ�รุงผิว ให้เนียนนุ่มและชุ่มชื่น
มีให้เลือก 2 กลิ่น คือ กลิ่นแฝกหอม และกลิ่นลาเวนเดอร์
สาระน่ารู้
แนวคิดระบบเกษตรผสมผสาน
กองบรรณาธิการ
ความหมายและหลักการ
ระบบเกษตรผสมผสาน คือ การจัดระบบของกิจกรรมการผลิตในไร่นา ได้แก่ พืช สัตว์ และประมง ให้มีการผสมผสานต่อเนื่องและเกื้อกูลในการผลิตชึ่งกันและกัน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นา เช่น ดิน นํ้ำ� แสงแดด ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดมีความสมดุลของสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และ เกิดผลในการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติด้วย ระบบเกษตรผสมผสาน มีหลักการ ดำ�เนินงานโดยเน้นให้มคี วามหลากหลาย ของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร เพือ่ ลด ความเสีย่ งทีอ่ าจจะเกิดขึน้ จากการผันแปร ของสภาวะราคาพืชผลทีม่ คี วามไม่แน่นอน นอกจากนัน้ การใช้ทรัพยากรทีส่ ามารถจะ จัดหาในไร่นาของเกษตรกร โดยไม่ต้อง ใช้เงินสดในการลงทุนจะช่วยให้เกษตรกร ไม่ต้องเสี่ยงต่อภาวะการขาดทุน และ เกษตรกรก็จะมีความเป็นอิสระในการ ดำ�รงชีวติ โดยไม่ตอ้ งพึง่ พาการกูย้ มื เงินให้ เกิดหนีส้ นิ ในการลงทุน มีอาหาร ยารักษา โรคและปัจจัยพืน้ ฐานอืน่ ๆ ทีจ่ ำ�เป็นต่อการ ดำ�รงชีวติ ผลผลิตทีไ่ ด้รบั จากระบบเกษตร ในไร่นาของตนเอง จะส่งผลให้สภาพความเป็นอยูข่ องเกษตรกรดีขน้ึ ผลผลิตทีเ่ หลือจากการบริโภคหรือส่วนทีผ่ ลิตเพือ่ การจำ�หน่ายก็จะ เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นและเกษตรกรนำ�ไปใช้สอยในสิ่งอื่นที่ไม่สามารถจะผลิตขึ้นในไร่นาของตนเองได้
ผลกระทบจากระบบเกษตรผสมผสาน
ผลกระทบหลักจากระบบเกษตรแบบผสมผสานสามารถจำ�แนกได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับครัวเรือนและระดับชาติ
1. ผลกระทบในระดับครัวเรือน
1.1 สร้างเสถียรภาพ (Stability) ความยั่งยืน (Sustainability) ทั้งทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมให้เกิดขึ้น ในไร่นาและครัวเรือนเกษตรกร 1.2 เพิ่มผลผลิตต่อหน่วยการผลิต เช่น ที่ดิน แรงงานและทุน 1.3 ปรับปรุงคุณภาพทางโภชนาการและสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่นให้ดีขึ้น เพราะมีอาหารครบตาม ความต้องการทุกหมู่ เช่น แป้ง นํ้ำ�ตาล โปรตีน และเกลือแร่จากผลผลิตในไร่นา
ROYAL PROJECT JOURNAL
9
สาระน่ารู้ 1.4 เพิม่ ประสิทธิภาพของการใช้พลังงานให้สงู ขึน้ เพราะไม่มเี ศษเหลือแม้แต่มลู สัตว์กน็ ำ�มาทำ�ก๊าชชีวภาพและปุย๋ 1.5 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในระดับไร่นาให้ดีขึ้น 1.6 รักษาสถานะของมาตรฐานการครองชีพ โดยการพึ่งพาตนเอง เพื่อสามารถยังชีพอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการ กู้ยืมเงินหรือซื้อปัจจัยในการดำ�รงชีพด้วยเงินสดราคาแพง
2. ผลกระทบในระดับชาติ
ROYAL PROJECT JOURNAL
2.1 ช่วยลดการใช้พลังงานในการเกษตรลง เพราะสามารถหาได้จากระบบการผลิตในไร่นามาทดแทน เช่น ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดขึ้นจากพืช ไม้ใช้สอยจากการปลูกไม้ยืนต้นโตเร็ว แรงงานจากสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย เป็นต้น 2.2 การใช้แรงงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีในระบบเกษตรผสมผสาน จะช่วยแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน เข้ามาขายแรงงานในเมืองใหญ่
2.3 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพอุดมสมบูรณ์ได้ เพราะการปลูกไม้ผลยืนต้นหรือ ไม้ใช้สอยในระบบเกษตรผสมผสานจะช่วยให้เกิดความสดชื่น ร่มเย็น และการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน นอกจากจะใช้เป็นอาหารสัตว์แล้วยังปรับปรุงบำ�รุงดิน มูลสัตว์จะเป็นปุ๋ยแก่พืช เศษพืชใช้เป็นอาหารสัตว์ และปุ๋ยแก่พืชได้ 2.4 ช่วยให้ประชาชนในชนบทซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของชาติมีอาหารเพียงพอต่อการดำ�รงชีวิต มีสภาพทาง เศรษฐกิจที่มั่นคง เพราะลดความเสี่ยงในการผลิตที่จำ�หน่ายผลผลิตได้ในราคาตํ่า คุณภาพชีวิตของชาว ชนบทย่อมดีขึ้น
10
ROYAL PROJECT JOURNAL
สาระน่ารู้
รูปแบบระบบเกษตรผสมผสาน
การกำ�หนดรูปแบบระบบเกษตรผสมผสานภายในไร่นาเกษตรกรแต่ละรายต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางสภาพ แวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น เช่น ในครอบครัวของเกษตรกรซึ่งมีที่ดินอยู่ 20 ไร่ ในเขตที่มีนํ้ำ�ชลประทาน ควรจะมี การเลีย้ งปลาในพืน้ ทีบ่ อ่ ปลาสักกีไ่ ร่ ควรจะมีการปลูกข้าวเพือ่ การบริโภคและเหลือจำ�หน่ายสักกีไ่ ร่ ควรจะเลีย้ งไก่ เป็ด สุกรอย่างละกี่ตัว ในทำ�นองเดียวกันเกษตรกรซึ่งมีพื้นที่ขนาดเดียวกันคือ 20 ไร่ แต่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรจะ มีรูปแบบของระบบเกษตรผสมผสานอย่างไร เช่น ควรจะปลูกข้าวสักกี่ไร่ พืชไร่สักกี่ไร่ และควรจะเลี้ยงสัตว์ อะไรบ้าง สิ่งเหล่านี้เมื่อมองดูผิวเผินก็อาจดูว่าเป็นของไม่ยาก แต่เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้วจะเป็นสิ่งที่ยากอย่าง ยิง่ ต่อการกำ�หนดรูปแบบใดแบบหนึง่ หรือหลายรูปแบบให้เป็นตัวอย่างของเกษตรกรทีจ่ ะนำ�ไปใช้พจิ ารณา ทัง้ นีเ้ นือ่ งจาก ในแต่ละท้องถิ่น นับตั้งแต่ จังหวัด อำ�เภอ ตำ�บล หมู่บ้าน ไปจนถึงในระดับไร่นาของเกษตรกรแต่ละรายจะมีความ แตกต่างกันในปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประการ ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพของพืน้ ที่ ซึง่ ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความสูง ตํำ�่ ของระดับพืน้ ที่ สภาพการ มีนํ้าสำ�หรับบริโภคและนํ้าเพื่อใช้ในการเกษตร เป็นต้น 2. สภาพแวดล้อมทางชีวภาพของพืน้ ที่ ซึง่ ได้แก่ พืช สัตว์ ทีส่ ามารถจะปรับตัวให้อยูไ่ ด้อย่างเหมาะสมในพืน้ ทีด่ งั กล่าว 3. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ซึง่ ได้แก่ ฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรกร แรงงานทีม่ อี ยูจ่ ำ�นวน เท่าใด อายุของคนในครอบครัวในวัยที่เรียนหนังสือ ทำ�งานหรือวัยชราจำ�นวนเท่าใด มีรายได้นอกภาคเกษตร เช่น การรับจ้างทำ�งานนอกฟาร์มเท่าใด ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น หมูบ่ า้ นภาคเหนือย่อมมีขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างกับภาคใต้และภาคอื่นๆ หมู่บ้านของไทย-มุสลิม ย่อมต่างจากไทย-พุทธ ในบางกรณี เช่น การบริโภค อาหาร เป็นต้น
ROYAL PROJECT JOURNAL
11
สาระน่ารู้ ปัจจัยทั้งสามประการดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งสำ�คัญที่จะเป็นตัวแปรในการนำ�มาพิจารณาและวิเคราะห์ก่อนที่ จะกำ�หนดรูปแบบระบบเกษตรผสมผสานให้เหมาะสมต่อไป อย่างไรก็ตามเพือ่ ให้เกษตรกรได้มคี วามรูจ้ ากประสบการณ์ ของการจัดระบบเกษตรผสมผสานในปัจจุบันที่มีผู้ดำ�เนินการอยู่และประสบผลสำ�เร็จแล้วซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูล พื้นฐานเบื้องต้นได้
ผลที่ได้รับจากระบบเกษตรผสมผสาน 1. ผลที่เกิดขึ้นต่อการปรับปรุงระบบนิเวศวิทยา
ระบบเกษตรผสมผสานสามารถเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ และความสมดุลของสภาพแวดล้อม แนวคิด และหลักการของระบบเกษตรผสมผสาน เป็นการนำ�มาซึ่งความสมดุลและการอยู่ร่วมกันของจุลินทรีย์ดิน โมเลกุล ของอนินทรียวัตถุ เช่น ก๊าชไนโตรเจนในธรรมชาติจะถูกเปลี่ยนเป็นอินทรียวัตถ ุโดยจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในรากพืช ตระกูลถัว่ และสาหร่ายสีเขียวแกมนํา้ เงิน จนทำ�ให้เป็นไนโตรเจนทีอ่ ยูใ่ นรูปทีพ่ ชื นำ�ไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนธาตุอาหาร อื่นๆ จะถูกทำ�ให้อยู่ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้โดยการสลายตัวของแร่ธาตุอื่นๆ พืชสามารถสะสมพลังงานแสงในรูป ของเนื้อไม้ อาหารและโปรตีน เศษซากพืชที่ร่วงหล่นลงบนพื้นดินจะเน่าสลายกลายเป็นอาหารของพืช เมื่อความ สมดุลของธรรมชาติถูกทำ�ลาย เนื่องจากป่าไม้ถูกทำ�ลาย หน้าดินจะถูกทำ�ลายและชะล้างเอาความอุดมสมบูรณ์ไป พืชพรรณนานาชนิดจะลดลง ประกอบกับมีการใช้สารเคมีป้องกันกำ�จัดแมลงศัตรูพืชกันอย่างกว้างขวาง จึงไป ทำ�ลายศัตรูธรรมชาติของแมลงลงด้วย ทำ�ให้จำ�นวนแมลงศัตรูพืชมีจำ�นวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วและทำ�ลายพืชผล อย่างรุนแรง เช่น การระบาดของแมลงปาทังก้า เป็นต้น
ROYAL
ROYAL PROJECT JOURNAL
PROJECT
12
J O U R N A L
ระบบเกษตรผสมผสาน จะช่ ว ยสร้ า งความสมดุ ล ที่ ถู ก ทำ�ลายไปให้ ก ลั บ มาเกิ ด ขึ้ น ใน ไร่นาของเกษตรกรได้อกี ซึง่ อาจ จะประกอบด้วย พืช สัตว์และ ประมง โดยต้องมีสัดส่วนของ ขนาดและจำ�นวนที่ พ อเหมาะ กับสภาพแวดล้อม แรงงานและ เงินทุนเช่น ในไร่นาของครอบครัว หนึ่งๆจะสามารถมีจำ�นวนสัตว์ เลี้ยงได้จำ�นวนหนึ่งที่พอเหมาะ ในการที่จะใช้แรงงานคอยเลี้ยง ดูโดยใช้อาหารที่ได้รับจากพืชที่ ปลูกขึ้น แต่ถ้าเจ้าของต้องการ เพิม่ จำ�นวนการเลีย้ งสัตว์ให้มากขึน้ ปริมาณอาหารและแรงงานใน การดูแลก็จะมากขึ้นด้วย
สาระน่ารู้ และถ้าหากมีพื้นที่จำ�กัดก็อาจจะมีอาหารไม่เพียงพอจากผลผลิตของพืชที่ปลูกได้ ซึ่งจะต้องใช้เงินซื้ออาหารสัตว์ จากที่อื่นมาเสริม มูลสัตว์ที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ก็จะนำ�มาเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นพืชหรือเป็นอาหารปลาและถ้ามีมูลสัตว์ ในปริมาณมากก็สามารถนำ�มาใช้ในการทำ�ก๊าชชีวภาพเพื่อการหุงต้มได้อีก ซึ่งจะทำ�ให้มลภาวะที่อาจจะเกิดจากมูล สัตว์ไม่เกิดขึ้น แต่ในทางตรงข้ามกลับได้ผลผลิตมากขึ้นและสภาพแวดล้อมก็จะดีขึ้นด้วย
ROYAL PROJECT JOURNAL ในขณะเดียวกันพืชที่ปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเมื่อเหลือก็จำ�หน่ายเป็นรายได้ เศษเหลือของพืชซึ่ง ถ้าหากไม่มสี ตั ว์เลีย้ งก็จะทิง้ ให้เน่าเสียหรือเผาทิง้ แต่ในระบบเกษตรผสมผสานสามารถนำ�เศษพืชนัน้ มาใช้ประโยชน์ เป็นอาหารสัตว์และเป็นปุ๋ยหมักบำ�รุงดินได้ พืชตระกูลถั่วเมื่อปลูกร่วมหรือปลูกก่อน-หลังพืชอื่นๆ ในบริเวณเดียวกัน จะช่วยปรับปรุงบำ�รุงดินให้มีสภาพสมบูรณ์มากขึ้น การปลูกไม้ยืนต้นโตเร็วก็จะใช้เป็นฟืน หรือเผาเป็นถ่านใช้ใน การหุงต้ม การปลูกพืชหลายๆ ชนิดผสมผสานกันจะช่วยทำ�ให้เกิดสภาพสมดุลตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับสภาพป่า ธรรมชาติมีผลทำ�ให้ศัตรูพืชไม่เกิดการระบาด ดินจะมีความอุดมสมบูรณ์เมื่อใบไม้ที่ตกทับถมกลายเป็นอินทรียวัตถุ สภาพแวดล้อมจะมีความร่มรื่น
ก๊ า ชไนโตรเจน
ในธรรมชาติ จะถูกเปลี่ยนเป็น
อินทรียวัตถุ โดย. . .
จุลินทรีย์
ที่อาศัยอยู่ในรากพืชตระกูลถั่ว
ROYAL PROJECT JOURNAL
13
สาระน่ารู้
2. ผลต่อการปรับปรุงสถานะทางเศรษฐกิจของชนบท
ตามที่กล่าวมา การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทอันดับแรกคือ มองไปที่เกษตรกรรายย่อยที่ยากจน ระบบเกษตรผสมผสานที่มีการผลิตหลายชนิด ซึ่งสามารถผลิตอาหารและมีบางส่วนเหลือจำ�หน่ายเป็นรายได้นั้น ย่อมแสดงว่าผลผลิตมีหลักประกันในความมั่นคงต่อการดำ�รงชีวิตโดยมีสาเหตุ ดังนี้ 1. เกษตรกรไม่จำ�เป็นต้องจ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายประจำ�วันเพราะสามารถใช้ผลผลิตในไร่นาเป็นอาหารภายใน ครัวเรือนได้ 2. สามารถนำ�ผลผลิตทีเ่ หลือจากการบริโภค จำ�หน่ายในตลาดท้องถิน่ หรือตลาดในเมือง ได้เงินสดนำ�ไปซือ้ หาปัจจัยสี่ ที่จำ�เป็นมาใช้ในชีวิตประจำ�วัน คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ดินคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ และไม่มีผลเสียจากสารพิษตกค้างในดิน 3. เกษตรกรไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับราคาสินค้าที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ เมื่อราคาตํ่าจะนำ�มาทำ�อาหารแต่ เมื่อราคาสูงขึ้นจะนำ�ไปจำ�หน่ายและได้กำ�ไรมากขึ้น 4. เกษตรกรไม่ต้องลงทุนสูง เพราะเริ่มจากระบบเกษตรผสมผสานเพียง 2-3 กิจกรรม เช่น เลี้ยงปลาในนาข้าว เลี้ยงสัตว์ในแปลงไม้ผลยืนต้น ปลูกพืชหลายชนิด รวมทั้งพืชผักต่างๆ ซึ่งเพียงพอสำ�หรับบริโภคในครัวเรือน เพราะไม่จำ�เป็นต้องกู้ยืมเงินจากพ่อค้าคนกลาง หรือธนาคาร สำ�หรับส่วนที่เหลือสามารถเก็บออมได้ 5. ระบบเกษตรผสมผสาน เป็นการคืนสู่สภาพเดิมของระบบนิเวศวิทยา เนื่องจากเกษตรกรสามารถปรับปรุงสภาพ แวดล้อมของทรัพยากรภายในไร่นา ซึ่งทำ�ให้พื้นดินคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์และไม่มีผลเสียจากสารพิษตกค้างในดิน
จะเห็นได้ว่าระบบเกษตรผสมผสานเป็นการจัดระบบการทำ�กิจกรรมทางการเกษตรในระดับไร่นาของ เกษตรกรทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และประมง โดยให้มีความเกื้อกูลกันในการทำ�กิจกรรมต่างๆ ซึ่งนับเป็นแนวทาง หนึง่ ทีเ่ ป็นทางเลือกให้กบั เกษตรกรไทย ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย สามารถนำ�ไปใช้ในครัวเรือน เพือ่ ลดความ เสี่ยงในการผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะการผลิตเชิงเดี่ยวที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน แหล่งข้อมูลอ้างอิง : เอกสารเพือ่ การสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหรณ์
14
ROYAL PROJECT JOURNAL
“อ่างขางแดนมหัศจรรย์”
และ
“อินทนนท์สูงสุดแดนสยาม”
หนังสือ Guide Book ทีเ่ จาะลึกข้อมูล
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ยั่งยืน พร้อมรวบรวม ข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมมาบันทึกไว้ ในหนังสือนี้ เนื้อหาภายในประกอบด้วย เจาะลึก สถานีเกษตรหลวงฯ ลองลิม้ ชิมรสผลไม้เมืองหนาว นานาชนิด เมนูเด็ดโครงการหลวง เส้นทางเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ เทีย่ วชมหมูบ่ า้ น เรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ชาวไทยภูเขา ชมซากุระและดอกไม้หน้าหนาว แหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ทริปท่องเที่ยวตัวอย่าง ซึ่งเรียบเรียงด้วยภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย พร้อมภาพประกอบพิมพ์สีสันสวยงาม ราคาจำ�หน่ายเล่มละ 195 บาท
อ่างขา รรย์
มหัศจ
อินทน น ท ส ์ ง ู สุด แ ด น สย
งแดน
าม
ติดต่อหาซื้อได้ที่
ร้านโครงการหลวงทุกสาขา ร้านซีเอ็ด บุ๊ค เซ็นเตอร์ ร้านหนังสือนายอินทร์ ร้าน B2S และร้านหนังสือชั้นนําทั่วประเทศ ติดต่อสอบถาม แผนกประชาสัมพันธ์และท่องเที่ยว มูลนิธิโครงการหลวง โทร.053-810765 ต่อ 104,108 อีเมล์. travel.rpf@gmail.com www.thairoyalprojecttour.com
ประภาศรี พวงเงินมาก ...เรื่อง
หนีร้อนไปเที่ยว...
ชมสวนผลไม้ที่โครงการหลวง เพราะประพาสต้นบนดอยจึงนำ�มาสู่กำ�เนิดโครงการหลวงเมื่อ 43 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันโครงการหลวงได้มีการวิจัยพืชพันธุ์ที่หลากหลายสร้างอาชีพแก่ชาวเขา นอกเหนือ จากผัก และดอกไม้เมืองหนาวแล้ว พืชสำ�คัญชนิดหนึ่งที่ส่งเสริม คือ ผลไม้ นอกจากจะ ปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณป่าไม้ในประเทศแล้ว ยังถือเป็นป่ากินได้ คือ ผลผลิตสามารถนำ�ไปใช้ ประโยชน์และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง ฤดูกาลของผลไม้โครงการหลวง นับจากสตรอเบอรี่ โดยเฉพาะพันธุพ์ ระราชทาน 80 ที่มีรสชาติหวาน อร่อยและมีกลิ่นหอม เป็นผลไม้ที่ให้ผลผลิตในช่วงฤดูหนาวซึ่งได้รับ ความนิยม ชื่นชอบกันในกลุ่มของผู้บริโภคชาวไทย โดยเก็บเกี่ยวออกผลตั้งแต่ช่วงปลาย เดือนพฤศจิกายนถึงต้นมีนาคม ยังมีผลไม้อน่ื ๆ ทีท่ ยอยออกผลในช่วงฤดู ร้อนจนถึงต้นฤดูฝนผลไม้ทจ่ี ะแนะนำ�ชนิดแรก คือ พีช้ หรือท้อ ซึง่ ถูกยก ให้เป็นราชินขี องผลไม้เมืองหนาว จะออกผลให้เก็บเกีย่ ว ในช่วงปลาย เดือนมีนาคมถึงเมษายน พื้นที่โครงการหลวงที่ส่งเสริมปลูก ได้แก่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ และศูนย์พฒ ั นา โครงการหลวงขุนวาง ผลของพีช้ มีลกั ษณะค่อนข้างกลม เนือ้ แน่น เมือ่ สุก จะมีสเี หลืองทัง้ ผล สามารถใช้แปรรูปได้ดี เช่น ทำ�พีช้ ลอยแก้ว ขนมเค้ก คุกกี้ นํ้าผลไม้ หรือใช้ทำ�อาหาร เป็นต้น รสชาติหวานอมเปรีย้ ว สามารถ ทานสดได้ ให้คณ ุ ค่าวิตามมิน A มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ในความ เชือ่ ของชาวจีน พีช้ เป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยนื ยาว และเกีย่ วข้อง กับการกับการป้องกันสิ่งชั่วร้าย ถ้าดอกพี้ชบานในระหว่างการฉลอง วันปีใหม่หมายถึงปีตอ่ ไปจะเป็นปีของโชคลาภ
16
ROYAL PROJECT JOURNAL
ดี-สนุก
หลังจากฤดูกาลพี้ชแล้วช่วงเดือนพฤษภาคมยังมี พลัม ผลไม้ที่มีสีแดงกํ่า น่ารับประทาน รสชาติอม เปรี้ยวอมหวาน นิยมนำ�ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น นํ้าพลัมเข้มข้น นํ้าพลัมพร้อมดื่ม พลัมแช่อิ่ม และ แยมพลัม เป็นต้น ผลพลัมมีคุณค่าทางอาหาร สรรพคุณช่วยขจัดความเมื่อยล้า ชะลอความชรา เสริมสร้าง กระดูกและฟัน เข้าสูฤ่ ดูฝนบรรยากาศบนดอยต่างๆ เขียวชอุม่ อากาศเย็นสบาย เสน่หข์ องหมอกและสายรุง้ หลังฝนตก เป็นภาพทีต่ อ้ งบันทึกเก็บเป็นความทรงจำ�ที่งดงาม
ผลไม้ที่ออกกันในช่วงนี้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน คือ ลูกพลับ ซึ่งเป็นผลไม้ที่ต้องการความ หนาวเย็น บนพื้นที่ปลูกต้องมีความสูงจากระดับนํ้าทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป เนื้อผลสีเหลืองหรือแดงเข้ม อมนํ้ำ�ตาล มีทั้งพลับฝาดและพลับหวาน โดยพลับหวานรสชาติจะไม่ฝาดเมื่อเก็บเกี่ยวสามารถรับประทาน ได้ทันที ปัจจุบันพื้นที่ปลูกพลับส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ในพื้นที่โครงการหลวง แหล่งที่ปลูกสำ�คัญ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยนํ้ำ�ขุ่น ศูนย์พฒ ั นาโครงการหลวงแม่ปนู หลวง จ.เชียงราย และสถานีเกษตรหลวงอ่างขางสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ พลับเป็นผลไม้รับประทานผลสด มีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ จะช่วยลด อาการเมาค้างในผู้ที่ดื่มสุรา ช่วยลดความดันโลหิต และมีวิตามินเอสูงมาก ผลไม้ของโครงการหลวงที่กล่าวมานี้ เป็นพืชผลที่รู้จักและนิยมของชาวไทย แต่หลายท่านอาจจะเคย ทานแต่ผลผลิตหรือสินค้าแปรรูปที่หาซื้อได้ตามตลาด ร้านค้าทั่วไป ในช่วงฤดูร้อนที่กำ�ลังมาถึงนี้ ลองเปลี่ยน บรรยากาศทีร่ อ้ นอบอ้าวในเมือง ไปตามหาผลไม้เมืองหนาวบนดอย ชมสวนผลไม้และสัมผัสอากาศเย็นสบาย นอกจากจะได้เรียนรู้การปลูก การเก็บผลผลิตสดๆ จากต้นแล้ว ยังถือเป็นการท่องเที่ยวที่เพลิดเพลินและ สนุกสนาน ไม่แน่มาเที่ยวเก็บผลไม้วันเดียวอาจจะได้สัมผัส ถึง 3 ฤดูในหนึ่งวัน...
ท่องเที่ยวโครงการหลวง www.thairoyalprojecttour.com
ROYAL PROJECT JOURNAL
17
แนะนำ�ผลิตภัณฑ์ ผลิตผล
นจากํ้าสวผนกึ้งา
แฟโครงการ ห
ลวง
เลือกซื้อไดห้ทลี่ วง ร้านโครงกาาขรา ทุกส ผลิตจากบ้านแม่ลาย ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก อำ�เภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นนํ้าผึ้งตามฤดูกาลจากสวนกาแฟของโครงการหลวง ในนํ้ำ�ผึ้งมีวิตามิน บี ซี และแร่ธาตุต่างๆ เช่น ฟอสฟอรัส แคลเซียม เกลือแร่ กรดอะมิโนจำ�เป็น รวมถึงสารแอนติออกซิแดนท์
18
ROYAL PROJECT JOURNAL
แนะนำ�ผลิตภัณฑ์ ผลิตผล
รสชาติกลมกล่อม กลิ่นหอม ชุ่มคอ เหมาะสำ�หรับนักดื่มชาที่ชื่นชอบความสุนทรีย์ในรสชาติ ชาช่วยในการสลายไขมันในร่างกาย ลดคอเลสเตอรอล ช่วยขับและชำ�ระพิษในร่างกาย ควรดื่มหลังอาหาร 1- 2 ชั่วโมง
เลือกซื้อได้ที่ร้านโครงการหลวง ทุกสาขา ROYAL PROJECT JOURNAL
19
ส่วนผสม วานิลลาครีม
1. นมสด ¾3/4 ถ้วยตวง 2. ไข่แดง 3 ฟอง 3. นํ้ำ�ตาลทราย ¼1/4 ถ้วยตวง 4. แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ 5. เนยสด 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ�
6. เกลือป่น 1/8 ช้อนชา 7. ฝักวานิลลาโครงการหลวง 2 ฝัก 8. วิปปิ้งครีม 1 ถ้วยตวง 9. มะม่วงโครงการหลวงสุกแล้ว 1 ลูก * ถ้วยทาร์ต สำ�เร็จรูป 10 ถ้วย
1. ใส่นมสด ฝักวานิลลากรีดแล้ว และเกลือลงในหม้อ คนให้เข้าด้วยกัน แล้วพักไว้ จากนั้นนำ�ไปตั้งไฟ ใช้ไฟค่อนข้างอ่อน คนไปเรื่อยๆ ให้เดือด จากนั้นนำ�กระชอนมากรองฟองและฝักวานิลลาออก 2. นำ�ไข่แดงใส่ในชามตามด้วยนํ้ำ�ตาลทราย แป้งข้าวโพด คนให้เข้ากัน 3. นำ�นม มาผสมกับส่วนผสมของไข่แดงที่เตรียมไว้ คนแล้วนำ�ไปตั้งไฟอ่อนๆ คนไปเรื่อยๆ เร็วๆ อย่าให้แป้งจับเป็นตัว คนจนเนียนให้เข้ากัน ใส่เนยคนอีกครั้งแล้วปิดไฟ จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็น 4. ตีวิปปิ้งครีมให้ตั้งยอด 5. จากนั้นนำ�ส่วนผสมแรกที่เย็นแล้ว (อุณหภูมิห้อง) มาผสมกับวิปปิ้งครีมที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน นำ�ครีมที่ได้ใส่ถ้วยทาร์ตทีเ่ ตรียมไว้ หัน่ มะม่วงเป็นชิน้ ๆ วางด้านบน หรือผลไม้ตามฤดูกาล (ครีมยิง่ เข้ม ยิง่ เพิม่ รสชาติความอร่อย)
ก้าวใหม่
การเพิ่มผลผลิตข้าวนาดำ�บนพื้นที่สูง ดร.จันทร์จิรา รุ่งเจริญ นักวิชาการ สำ�นักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ข้าวเป็นพืชอาหารหลักและพืชทางวัฒนธรรมของชุมชนบนพื้นที่สูง ซึง่ ทุกชุมชนมีการปลูกข้าวเพือ่ ยังชีพ สร้างความมัน่ คงทางด้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิง่ เกษตรกรชนเผ่ากะเหรีย่ ง ทีท่ ำ�นาเป็นอาชีพหลัก การปลูกข้าวบนพื้นที่สูงมีปัจจัยหลักในการสร้างผลผลิต 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านพันธุกรรม และ (2) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เนือ่ งด้วยบนพืน้ ทีส่ งู มีขอ้ จำ�กัดของสภาพแวดล้อมค่อนข้างมาก จึงจำ�เป็นอย่างยิง่ ทีต่ อ้ ง มุ่งเน้นปัจจัยด้านพันธุกรรมหรือพันธุ์ข้าวที่ดี โดยทั่วไปเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกพันธุ์ข้าวท้องถิ่น (Local variety) ซึ่งแต่ละชุมชนมีพันธุ์ข้าวประจำ�ชุมชนมากกว่า 1 พันธุ์ ส่งผลทำ�ให้เกษตรกรปลูกข้าวมากกว่า 2 พันธุ์ต่อฤดูกาล ซึ่ง เป็นวิธีการหนึ่งในการลดความเสี่ยงจากความเสียหายของผลผลิตข้าวหากเกิดภัยธรรมชาติ เกษตรกรบางรายปลูก ทัง้ พันธุข์ า้ วเจ้าและพันธุข์ า้ วเหนียวในพืน้ ทีแ่ ปลงติดกัน เนือ่ งจากความหลากหลายของพันธุข์ า้ วจึงทำ�ให้เกิดการผสม ข้ามพันธุ์กับพันธุ์ที่ออกดอกพร้อมกันหรือใกล้เคียงกัน ถึงแม้ว่าข้าวจะเป็นพืชผสมตัวแต่ก็สามารถเกิดกระบวนการ ผสมข้ามของข้าวได้ถึง 4% (ดังภาพ 1) ผลที่เกิดขึ้นทันทีจากการผสมข้ามพันธุ์ คือ เกิดมีเมล็ดข้าวเจ้าในเมล็ดพันธุ์ ข้าวเหนียว เนื่องจากเมล็ดข้าวเจ้าจะข่มเมล็ดข้าวเหนียว ผลการปนเปื้อนของเมล็ดพันธุ์ทำ�ให้ข้าวเกิดการปนพันธุ์ คุณภาพข้าวตํา่ เมล็ดข้าวในแปลงมีการสุก-แก่ไม่พร้อมกัน เมือ่ เก็บเกีย่ วผลผลิตจึงได้ขา้ วทีม่ ที ง้ั เมล็ดเหลือง เมล็ดเขียว และเมล็ดลีบปะปนกัน ส่งผลต่อเนื่องทำ�ให้ผลผลิตข้าวเก็บรักษาได้สั้นและคุณภาพการหุงต้มลดลง
เพศผู้ คือ ส่วนให้ละอองเรณู
เพศเมีย คือ ส่วนรับละอองเรณูจากเพศผู้
ภาพ 1 การผสมข้ามของข้าว
22
ROYAL PROJECT JOURNAL
ก้าวใหม่ พื้ น ที่ สู ง ของประเทศไทยเป็ น แหล่ ง ความ หลากหลายทางพั น ธุ ก รรมข้ า วที่ ยั ง คงเหลื อ อยู่ ใ น ท้องถิ่นเพียงไม่กี่แห่ง การรักษาแหล่งลักษณะพันธุกรรม ของข้ า วท้ อ งถิ่ น ไม่ ใ ห้ สู ญ หายจึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ค วรกระทำ� ถึ ง แม้ ว่ า บนพื้ น ที่ สู ง จะมี พั น ธุ ก รรมข้ า วที่ ห ลากหลาย แต่ ก็ ยั ง ป ร ะ ส บ ปั ญ ห า เรื่ อ ง ผ ล ผ ลิ ต ข้ า ว ต่ อ ไร่ ตํ่ า เนื่องจากมีข้อจำ�กัดของพื้นที่ลาดชันสูง ที่ขาดวิธีการ เขตกรรมนาข้าวที่เหมาะสม โดยเฉพาะขาดแคลนเมล็ด พันธุ์ข้าวที่ดีสำ�หรับใช้ปลูกในชุมชน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำ�ให้ผลผลิตข้าวลดลงทุกฤดูกาล และพันธุกรรมที่ดีของ พันธุ์ข้าวท้องถิ่นถดถอยสูญหายไป
และจากสภาพภูมอิ ากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลง บนพื้นที่สูง โดยเฉพาะการเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง การระบาดของโรคและแมลง เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำ�ให้ผ ลผลิตข้าวไม่เพีย งพอต่อการบริโภค เพื่อลดผลกระทบดังกล่าววิธีการใช้นํ้าเพื่อการ เพาะปลูกข้าวนาให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ด้วยระบบข้าวนานํ้าน้อยเป็นแนวทางหนึ่งที่ลด การใช้นํ้าในแปลงข้าวนา และลดการระบาด ของโรคและแมลงที่มีนํ้าเป็นตัวนำ�พา รวมทั้ง เป็นการเตรียมการรองรับกับสภาวะการขาด แคลนนํ้าในอนาคต
ข้าวนานํ้าน้อย
ระบบการปลูกข้าวนานํ้าน้อย (Li, 2001; Bouman and Tuong, 2001; Bouman1 et al., 2002) เป็น แนวทางหนึ่งในการใช้ทรัพยากรนํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความยั่งยืนในระบบการผลิตพืชบนพื้นที่สูง ใน อดีตการปลูกข้าวนาในรูปแบบนาขั้นบันไดบนพื้นที่สูง เกษตรกรจัดการนํ้าด้วยวิธีการขังนํ้าและรักษาระดับนํ้า ในแปลงนาตลอดฤดูปลูกซึ่งเป็นวิธีการที่ต้องใช้นํ้าเป็นปริมาณมาก แต่เป็นวิธีที่ช่วยควบคุมวัชพืชในแปลงนา ต่อมาได้มีการศึกษาวิธีการลดปริมาณนํ้าในระบบการผลิตข้าว ไม่ว่าจะเป็นการการลดระดับนํ้าขังในแปลงนา การให้นํ้าเป็นระยะ ดังเช่น ระบบการปลูกข้าวแบบประณีต (System of Rice Intensification หรือ SRI) เป็น ระบบการจัดการรวมระหว่าง พืช (ข้าว) ดิน นํ้า และธาตุอาหาร (ปุ๋ย) ซึ่งอาจจะลดการใช้นํ้าลงได้ 25-50% โดยที่เพิ่มผลผลิตได้ถึง 50-100% โดยปล่อยให้แปลงนาแห้งหรือให้มีนํ้าน้อยที่สุด ใช้นํ้าเฉพาะเพื่อให้ระบบราก ของต้นข้าวละลายธาตุอาหารในดิน เพื่อนำ�ไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตของข้าว ระบบนี้จึงใช้นํ้าน้อยกว่าการ ทำ�นาแบบนานํ้าขัง ยิ่งกว่านั้นเนื่องจากไม่มีนํ้าท่วมนาจึงไม่มีการหมักเน่าของซากพืชซากสัตว์ในนา ลดการ ปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีฤทธิ์รุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 20 เท่า ในช่วงที่ดินแห้ง แตกทำ�ให้รากข้าวได้รับออกซิเจนเกิดการสร้างรากใหม่เพื่อช่วยในการดูดนํ้า แร่ธาตุสู่ต้นข้าว แต่วิธีการเหล่านี้ ยังมิได้ปฏิบัติอย่างแพร่หลายในเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาบนพื้นที่สูง
ผลดีของระบบนานํ้าน้อย ได้แก่
1. ความชื้นโคนกอข้าวตํ่า อุณหภูมิหน้าผิวดินสูงๆ ตํ่าๆ ลดเพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาล 2. ต้นข้าวไม่อวบนํ้า เปลือกและลำ�ต้นแข็ง ทนต่อเพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาล ต้านทานโรค-เเมลง 3. หน้าดินแตกระแหง ระบบรากทำ�งานเต็มที่ รากข้าวได้หายใจสัมผัสอากาศมากขึน้ ทำ�ให้แตกกอดี 4. หน้าดินได้มเี วลาพักตัว ลดปริมาณนํา้ ในแปลงนาข้าว ช่วยลดปัญหานาหล่ม เดินทำ�งานในเเปลงนาได้สะดวก และไม่เสียเวลา 5. ใส่ปุ๋ยหลังจากหน้าดินแตก ปุ๋ยจะลงไปในรอยแตก (เหมือนกับการฝังปุ๋ยไว้ในดิน ทำ�ให้รากข้าวดูดซึมสาร อาหารได้เร็ว การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น) 6. การเติมนํ้าลงในแปลงนา ทำ�ให้ปุ๋ยที่อยู่ในดินละลายนํ้าได้ ต้นข้าวจึงดูดซึมได้อย่างเต็มที่ เป็นผลให้ต้นข้าว แข็งแรงและโตเร็ว 7. หากมีหญ้าขึ้นระหว่างแถว ให้ถอนกำ�จัดหญ้าทิ้ง (ทำ�หลังจากปล่อยนํ้าเข้านาให้ซึมเข้าหน้าดิน) 8. ต้นข้าวเจริญเติบโตทางด้านข้าง (แตกกอ) และด้านล่าง (รากลงล่าง ช่วยหากินเลี้ยงลำ�ต้น) ต้นข้าว ไม่ล้ม ทำ�ให้เก็บเกี่ยวง่าย ROYAL PROJECT JOURNAL
23
ก้าวใหม่
ข้อจำ�กัด
1. ไม่เหมาะสำ�หรับพื้นที่ดินเค็ม อาจทำ�ให้ข้าวตายได้ 2. หลังปักดำ�ปล่อยนํ้าขังในแปลง 7-10 วัน เพื่อเร่งให้ต้นข้าวตั้งตัว 3. งดเว้น การปล่อยนํ้าให้แห้ง “ช่วงข้าวตั้งท้องถึงดอกบาน” 4. ปล่อยให้หน้าดินแห้งต่อก่อนการเก็บเกี่ยว 15 วัน เพื่อเร่งการสุกแก่ให้สมํ่าเสมอ 5. ดินที่เหมาะ คือ ดินที่ ไม่เผาตอฟางข้าว แปลงนานํ้าขัง เกิดโรคกาบใบแห้ง
ทรงกอไม่ทึบ แสงส่องทั่วถึง
สร้างรากใหม่ (สีขาว)
แปลงนานํ้าน้อย ทนต่อโรค ภาพ 2 การปลูกข้าวระบบนานํ้าน้อย
ปลูกข้าวแบบประณีต
ระบบ SRI เป็นระบบการปลูกข้าวที่ใช้เมล็ดพันธุ์น้อย นํ้าน้อย และปุ๋ยน้อย (ดังภาพ 3) นำ�โดยนวัตกรรม ของชาวนาในประเทศ Madagascar ในปี ค.ศ. 1980 เป็นวิธีการปลูกข้าวแบบให้นํ้าพอดี ดินเพียงแค่มีความชื้น ดินจับตัวกันจนแตก สลับการให้นํ้า แต่ก็ขึ้นกับชนิดดินที่ปลูกและสภาพอากาศ การจัดการนํ้าในระบบ SRI เป็นการหลีกเลี่ยงความเสียหายของราก เพิ่มการทำ�งานของจุลินทรีย์ในดิน ช่วยทำ�ให้ธาตุอาหารอยู่ในรูปที่เป็น ประโยชน์ต่อพืช ทำ�ให้รากมีสุภาพแข็งแรง และรากมีการแผ่กระจาย
หลักการของระบบ SRI คือ
- ปักดำ�กล้าข้าวอายุน้อย (จำ�นวน 2-3 ใบ) ซึ่งกล้าอายุน้อยรากยังมีขนาดเล็ก เมื่อปักดำ�รากเกิดการฉีกขาดน้อย และเพิ่มช่วงระยะเวลาแก่ต้นกล้าข้าวในการเจริญเติบโตในแปลงผลิต - ปักดำ�ไม่ลึก ปักดำ�ให้รากกระทบเทือนน้อยที่สุด ทำ�ให้เกิดการแตกหน่อเฉพาะ primary และ secondary tiller - ปักดำ�กล้าที่ระยะห่าง (30x30, 40x40) cm เพิ่มการแตกหน่อต่อกอ เพื่อให้ได้จำ�นวนหน่อต่อกอสูง โรคและ แมลงระบาดน้อย สะดวกในการใช้เครื่องมือในแปลงและการเดินสำ�รวจในแปลง - ดินชื้นแต่นํ้าไม่ท่วม ที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/436181
24
ROYAL PROJECT JOURNAL
ก้าวใหม่ - ดินแห้งแตกสลับเปียก เป็นการเพิ่มช่องว่างอากาศ หรือ O2 ในดิน ทำ�ให้จุลินทรีย์พวก aerobic ทำ�งานได้ดี เนือ้ ดินจับตัวแน่น ทำ�ให้ทำ�งานสะดวกในการปฏิบตั งิ านในแปลง ลดการเกิดก๊าซ CH4 แทนระบบการปลูกข้าวแบบ นํ้าขัง ลดการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและหอยเชอรี่ - เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน และการเตรียมดินที่ดี
ปักดำ�กล้าต้นเดี่ยว
ทรงกอแผ่กว้าง ภาพ 3 การปลูกข้าวแบบประณีต
การดำ�เนินงานวิจัยเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี
ในฤดูนาปี พ.ศ. 2555 ได้เริ่มต้นดำ�เนินการวิจัยการเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีโดยเน้นการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์ท้องถิ่นให้บริสุทธิ์ตรงตามสายพันธุ์ กำ�จัดต้นพันธุ์ปน ซึ่งในปีแรกได้เน้นการกำ�จัดพันธุ์ปนในแปลงที่ต้องการนำ� เมล็ดพันธุ์ไปใช้ต่อในฤดูนาปี พ.ศ. 2556 และในขณะเก็บเกี่ยวต้องแยกเก็บระหว่างข้าวที่เป็นเมล็ดพันธุ์และข้าวที่ นำ�ไปบริโภค ป้องกันอย่าให้เกิดการปนเปื้อน ซึ่งในฤดูนาปี พ.ศ. 2555 ดำ�เนินการวิจัยใน 2 พื้นที่ คือ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ทำ�การคัดพันธุ์ บือพื่อ มีเกษตรกรเข้าร่วมจำ�นวน 3 ราย และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือทำ�การคัดพันธุ์สันป่าตอง 1 มีเกษตรกรเข้าร่วมจำ�นวน 6 ราย ผลปรากฏว่า เกษตรกรได้ดำ�เนินการกำ�จัดต้นพันธุ์ปนด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง และเก็บเกี่ยวแยกผลผลิตเมล็ดพันธุ์ออกจากข้าวบริโภค กล่าวคือ กำ�จัดต้นพันธุ์ปนในระยะแตกตอ ระยะโผล่รวง และระยะโน้มรวง โดยกำ�จัดต้นที่แสดงอาการของโรคเขี้ยวเตี้ย (ต้นแคระแกร็น) โรคใบสีส้ม โผล่รวงก่อน สูงกว่า ต้นอื่น ต้นข้าวที่ทรงกอ สีใบ สีดอกแตกต่างจากพันธุ์ที่ต้องการ (ดังภาพ 4) และในระยะเก็บเกี่ยว เกษตรกรเจ้าของ แปลงทำ�การเกี่ยวข้าวแปลงเมล็ดพันธุ์เองซึ่งแยกจากการลงแขกเกี่ยวข้าวทั้งหมด
ROYAL PROJECT JOURNAL
25
ก้าวใหม่ และในฤดูนาปี พ.ศ. 2556 ได้วางแผนร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อดำ�เนินงานวิจัยให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ดี ตรงตามสายพันธุ์และมีคุณภาพมากขึ้น โดยนำ�ระบบการปลูกข้าวแบบประณีตผสมผสานกับระบบข้าวนานํ้าน้อย ซึ่งจะดำ�เนินทำ�งานวิจัยต่อเนื่องและใช้เมล็ดพันธุ์จากปี พ.ศ. 2555 ในการทดสอบของพื้นที่สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ และเริ่มต้นงานวิจัยเพิ่ม 3 พื้นที่ คือ ศูนย์พัฒนาโครงการ หลวงแม่ลาน้อย ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม การตัดต้นพันธุ์ปน
ต้นพันธุ์ปนโผล่รวงก่อน
ภาพ 4 การกำ�จัดต้นพันธุ์ปนในแปลงนา
ลักษณะพันธุ์ปนที่พบในแปลงพันธุ์สันป่าตอง 1 เอกสารอ้างอิง Bouman, B.A.M. and Tuong, T.P., 2001. Field water management to save water and increase its productivity in irrigated rice. Agricultural Water Management. 49(1) :11-30. Bouman1, B.A.M., Yang X., Wang H., Wang Z., Zhao J., Wang C. and Cheng B. 2002. Aerobic rice (Han Dao): a new way of growing rice in water-short areas. Proceedings of the 12th International Soil Conservation Organization Conference, 26-31 May, 2002, Beijing, China. Tsinghua University Press. Pp. 175-181. Li, Y. H. 2001. Research and Practice of Water-Saving Irrigation for Rice in China. Water-Saving Irrigation for Rice. Proceedings of an International Workshop Held in Wuhan,China. 23-25 March 2001. http://www.gotoknow.org/posts/436181
26
ROYAL PROJECT JOURNAL
สุขภาพดี
สุขภาพคนไทย การดำ�รงชีวิตของคนไทยในปัจจุบันที่อาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สาธารณูปโภคพร้อมมูล เครื่องอำ�นวย ความสะดวกทีห่ ลากหลาย รวมถึงการปรุงแต่งองค์ประกอบต่างๆ เพือ่ ให้ชวี ติ มีความคล่องตัว สะดวกสบายมากขึน้ ด้วยวัตถุนิยม หากมองในภาพรวมของชาติบ้านเมือง มีความเจริญก้าวหน้า ตั้งแต่การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ก็พบปัญหาที่แอบแฝงในการดำ�เนินชีวิตคือ สุขภาพ ที่มีความเปลี่ยนแปลงในเชิงลบ เราจะเห็นว่าใน แต่ละวันตามสถานบริการสาธารณสุขมีผู้คนมารับบริการอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายด้วยด้วยนานาโรค ทั้งๆ ที่มีการ พัฒนาการเข้าถึงการบริการสุขภาพ ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ดี แต่สุขภาพของคนไทยกลับอยู่ในระดับที่ไม่ได้มาตรฐาน ภาครัฐและภาคประชาชน เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ องค์กรภาคีทเ่ี กีย่ วข้อง จึงได้รว่ มกันพัฒนาตัวชีว้ ดั สุขภาพแห่ง ชาติดว้ ยกระบวนการมีสว่ นร่วมและการแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ว่ มกัน ได้ตวั ชีว้ ดั 3 องค์ประกอบ ได้แก่ สถานะสุขภาพ ปัจจัยบ่งชี้สุขภาพ และระบบบริการสุขภาพ
สถานะสุขภาพ คนไทยมีการพัฒนาสุขภาพกายที่ดีขึ้นและต่อเนื่อง อีกทั้งอายุค่าเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้น สำ�หรับชายอยู่ที่ 69.5 ปี หญิง 76.3 ปี ซึ่งการสูญเสียสุขภาพในชายสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดสุราและ อุบัติเหตุ ในหญิงจากมะเร็ง เนื้องอก ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่มีอัตราสูงที่สุด และอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ ติดต่อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคเบาหวาน การประเมินสุขภาพจิต ส่วนใหญ่ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อัตราการฆ่าตัวตายซึ่งเป็นตัวชี้วัดสุขภาพจิตลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากอัตรา 8.6 : 100,000 คน เป็น 5.7 : 100,000 คน สำ�หรับคุณภาพทางจิตใจ ตัวชีว้ ดั สุขภาพจะพบในการแสดงออกในพฤติกรรม การขอโทษเมือ่ กระทำ�ผิด การให้อภัย ความรูส้ กึ เห็นอกเห็นใจ และให้ความช่วยเหลือแก่ผเู้ ดือดร้อนเป็นในทางทีด่ ขี น้ึ แม้ว่าข้อบ่งชี้ถึงความเคร่งครัดและการปฏิบัติตามคำ�สอนทางศาสนามีแนวโน้มลดลงก็ตาม ปัจจัยบ่งชี้สุขภาพ จะพบพฤติกรรมผู้บริโภคแอลกอฮอล์ในระดับอันตราย รวมถึงผู้สูบบุหรี่ การออก กำ�ลังกายอย่างพอเพียงมีสัดส่วนที่ลดลง พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ ขาด และ เกิน ในการเลือกรับประทาน อาหารบางประเภท คือ การรับประทานผักผลไม้ลดน้อยลง รับประทานอาหารจานด่วนไขมันสูง ขนมหวาน นํ้าอัดลม มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มวัยเด็ก พบว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุง ร้อยละ 34.7 และ 32.1 การเพิ่มสัดส่วนของแม่วัยรุ่นมีช่วงอายุน้อยลง ระหว่าง 10-14 ปี ในพฤติกรรมด้านอนามัยการ เจริญพันธุ์ ที่ต้องได้รับการเอาใจใส่และดูแล สิ่งแวดล้อมในด้านอากาศ ฝุ่นละออง นํ้า ขยะ กลิ่นเหม็น ถือเป็นเรื่องสำ�คัญที่ต้องพัฒนา
ROYAL PROJECT JOURNAL
27
สุขภาพดี สัดส่วนครัวเรือนที่มีปัญ หาหนี้สิน ไม่มีเงินออม ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ยังอยู่ในอัตราส่วนที่สูง ความแตกต่างในการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจนสูง 11-15 เท่า ซึง่ เป็นพืน้ ฐานความไม่เท่าเทียมกันใน สังคมด้านอื่นๆ รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพที่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง จึงเป็นความเปราะบางที่กระทบต่อความ มั่นคงรวมถึงเสถียรภาพของสังคมไทยในอนาคต นอกจากนี้ การพัฒนาศักยภาพชุมชน จากดัชนีชุมชนเข้มแข็ง อยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ดัชนีครอบครัวอบอุ่นอยู่ในระดับต้องเร่งแก้ไขและปรับปรุง เช่นเดียวกับสัดส่วนของ พ่อและแม่เลีย้ งเดีย่ วมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ความสัมพันธ์ในครัวเรือนทีก่ ำ�ลังประสบปัญหา ด้านบทบาทหน้าที่และสัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัว จึงถือว่าครอบครัวเป็นปัจจัยบ่งชี้สุขภาพของแต่ละ บุคคลทีส่ ง่ ผลกระทบต่อสุขภาพในภาพรวม ระบบบริการสุขภาพ จากการดำ�เนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กล่าวได้ว่าคนไทยเกือบร้อยละ 100 มีหลักประกันเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำ�เป็นได้ โดยมีภาระและความเสี่ยง อันเกิดจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม พบว่า การอุดหนุนงบประมาณภาครัฐ ในด้านสุขภาพยังมีความไม่เท่าเทียม โดยเฉพาะการให้บริการผู้ป่วยที่โน้มเอียงไปยังคนรวยมากกว่าคนจน
12 ตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ
เป็นการสะท้อนสถานะสุขภาพ ปัจจัยบ่งชีส้ ขุ ภาพ และระบบบริการสุขภาพทีม่ กี ารพัฒนาและปัญหาทีค่ วรแก้ไข 1. สุขภาพกาย อัตราการตายในวัยแรงงาน (อายุ 15 -59 ปี) มีแนวโน้มลดลง แสดงว่าสุขภาพกายของคนไทยมี ทิศทางที่ดีขึ้น แต่การตายด้วยโรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ รวมถึงอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อและโรคเรื้อรังที่ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนือ่ ง เป็นสิง่ ทีท่ กุ ภาคส่วนต้องหาทางป้องกันและแก้ไข 2. สุขภาพจิต เป็นผลของปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ การเมือง และกระบวนการภายในใจของคน การสร้างความสุข ควรสร้างความผูกพันและสายสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว สร้างอาชีพการงานที่มั่นคง สนับสนุนให้ คนเข้าถึงกิจกรรมทางศาสนาและมีสว่ นร่วมในชุมชน ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือแก่ผดู้ อ้ ยโอกาส คนพิการ เป็นต้น ตัวชีว้ ดั สถานการณ์สขุ ภาพจิตทีเ่ ห็นชัดเจน คือ อัตราการฆ่าตัวตาย อยูท่ ่ี 5.7 ต่อประชากร 100,000 คน ซึง่ หลายจังหวัด ในเขตภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ลำ�พูน เชียงราย ยังเป็นพืน้ ทีเ่ สีย่ งโดยมีอตั ราการฆ่าตัวตายสูงกว่า 13 ต่อ ประชากร 100,000 คน จึงควรพิจารณาตัวชี้วัดความสุขของประชากร เพิ่มเข้าไปด้วย 3. สุขภาพในมิตทิ างจิตวิญญาณหรือปัญญา มีการพัฒนาเครือ่ งมือประเมินสุขภาวะทางจิตวิญญาณ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ กล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง เมตตากรุณา ความเป็นมนุษย์ อ่อนน้อมถ่อมตน ให้อภัยและมีความเป็นมิตร นอกจากนีป้ จั จัยทีส่ มั พันธ์กบั คุณภาพทางจิตใจ ในการรูส้ กึ เห็นอกเห็นใจเมือ่ ผูอ้ น่ื มีทกุ ข์ รูส้ กึ เป็นสุขในการช่วยเหลือ ผู้ที่มีปัญหา ทั้งนี้คนในชนบทมีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพของจิตใจ ที่ดีกว่าผู้ที่ใช้ชีวิตในเมือง การประพฤติปฏิบัติตน และยึดถือคำ�สอนทางศาสนา เป็นวิถที างหนึง่ ในการกล่อมเกลาจิตวิญญาณและเสริมสร้างปัญญาให้มสี ขุ ภาวะทีด่ ขี น้ึ แต่ในสังคมปัจจุบัน พบว่า คนไทยค่อนข้างอยู่ห่างศาสนา พฤติกรรมการปฏิบัติสมาธิและรักษาศีล รวมถึงความ รูส้ กึ ในการเคร่งศาสนามีสดั ส่วนและค่าเฉลีย่ ในระดับตํา่
28
ROYAL PROJECT JOURNAL
สุขภาพดี 4. พฤติ ก รรมสุ ข ภาพ การบริ โภคเครื ่ อ งดื ่ ม แอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาสูบ เป็นสาเหตุตน้ ๆ ในการ สูญเสีย สุขภาวะ พบว่าประชากรอายุ 15 ปีขน้ึ ไป ดืม่ แอลกอฮอล์ในระดับทีอ่ นั ตราย พฤติกรรมการ สูบบุหรี่รวมถึงปริมาณการสูบต่อวันของหญิง ไทยมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ พฤติกรรมการออกกำ�ลัง กายหรือมีกจิ กรรมทางกายอย่างเพียงพอ เป็นไป ในทิศทางที่ดีขึ้น เกือบ 1 ใน 5 แม้การเลือกไม่ กินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพจะดีขึ้น แต่แนวโน้ม การบริโภคผัก ผลไม้อย่างเพียงพอกลับลดลง และ พบว่า 1 ใน 3 ของคนไทยอายุ 15 ปีขน้ึ ไปมีภาวะ อ้วนและอ้วนลงพุง ปัญหาพฤติกรรมทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งสัดส่วนของหญิง คลอดบุตรทีม่ อี ายุตา่ํ กว่า 20 ปี เพิม่ ขึน้ 3 เท่าตัว ส่งผลให้อายุเฉลีย่ ของแม่วยั รุน่ (อายุ 10 – 14 ปี) มีแนวโน้มลดตํ่าลงไปเรื่อยๆ 5. คุณภาพสิง่ แวดล้อม คุณภาพของอากาศวัดจาก ปริมาณสารพิษในอากาศ ซึ่งคนไทยยังมีความ เสี่ยงจากอาการระคายเคืองของระบบทางเดิน หายใจและระบบภูมคิ มุ้ กันของร่างกายจากปริมาณ ฝุน่ ละอองทีอ่ ยูใ่ นระดับเกินมาตรฐาน มีการสร้าง ระบบบำ�บัดนํา้ เสียทำ�ให้คณ ุ ภาพดีขน้ึ แต่ยงั มีบาง แห่งเสื่อมโทรมจากการปล่อยนํ้าเสียโดยไม่ผ่าน ระบบบำ�บัด การจัดการปัญหาขยะโดยการนำ� มาใช้ประโยชน์ใหม่และกำ�จัดอย่างถูกต้องตาม หลักวิชาการด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน แต่ก็ยังพบการลักลอบทิ้งของเสียที่เป็นอันตราย อยูบ่ อ่ ยครัง้ ปัญหาสภาวะโลกร้อน เกีย่ วข้องกับ การใช้สารทำ�ลายชั้นบรรยากาศ การเผาไหม้ เชื้อเพลิงในกระบวนการอุตสาหกรรม การใช้ รถยนต์ การเผาในที่โล่งแจ้ง ส่งผลให้อุณหภูมิ เฉลี่ยของโลกและระดับนํ้าทะเลสูงขึ้น สังเกต ได้จาก อุณหภูมริ ายปีทเ่ี พิม่ ขึน้ หน้าร้อนยาวนาน หน้าหนาวสั้นลง ฝนตกมากขึ้น นํ้าท่วมทุกภาค ดังนั้น การรณรงค์ปลูกป่า การอนุรักษ์ป่าไม้ ให้มีพ้ืนที่มากขึ้นเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเป็นแนวทางหนึง่ ทีจ่ ะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้
6. ความมั่นคงของชีวิต สัดส่วนคนจนจะลดลง กว่า 5 เท่า ในระยะเวลา 20 ปีทผ่ี า่ นมา แต่ปญ ั หา หนี้สิน การไม่มีเงินออม ไม่มีบ้านและที่อยู่อาศัย เป็นของตัวเอง และหลักประกันจากการทำ�งาน ยังเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงของชีวิตคนไทย แม้ว่าจะมีหลักประกันทางสุขภาพก็ตาม 7. ความสัมพันธ์ในครอบครัว 8. ศักยภาพชุมชน เกือบร้อยละ 90 ของหมูบ่ า้ น มีการจัดสวัสดิการชุมชน แต่มีเพียงร้อยละ 34.7 เท่านั้นที่ดำ�เนินการอย่างต่อเนื่อง การพัฒนา แนวคิ ด ตามแนวเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ส่งผลให้ ชุมชนมีศักยภาพและความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเกื้อกูลกันในชุมชน แต่ ยังอยู่ในระดับตํ่า ความสามารถในการบริหาร จัดการและพึ่งตนเองขององค์กรชุมชนในระยะ ยาว ยังต้องให้ความสำ�คัญ องค์กรชุมชน เช่น กลุ่มสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ สามารถบริหาร จัดการภายในกลุ่มได้อย่างมีเสถียรภาพมีระดับที่ มั่นคง ดังนั้น การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ชุมชน ควรมุ่งสร้างศักยภาพของชุมชนในการ สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้แข็งแรง การมีส่วน ร่วมของสมาชิกในชุมชน การจัดการองค์ความรู้ ภูมิปัญญา รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ สร้างเครือข่ายชุมชน เพื่อความต่อเนื่องและพึ่ง ตนเองได้ในระยะยาว โดยอาศัยดัชนีชุมชนเข้ม แข็งเป็นตัวชี้วัด 9. ความมั่นคงของสังคม ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ช่องว่างทางเศรษฐกิจของคนไทย อยู่ในระดับที่ สูงและไม่มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น ระหว่างกลุ่ม คนรวยมีรายได้ ร้อยละ 54-59 ของรายได้รวมทัง้ ประเทศ ในขณะที่กลุ่มคนจนมีสัดส่วนน้อยกว่า ร้อยละ 5 อย่างไรก็ดี ภาครัฐได้ให้ความช่วยเหลือ เช่น เงินสงเคราะห์ผสู้ งู อายุและคนพิการ อาหาร กลางวันฟรีแก่นักเรียน ทุนการศึกษา ตลอดจน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ROYAL PROJECT JOURNAL
29
สุขภาพดี แต่มีประเด็นที่น่ากังวลเกี่ยวกับปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองที่ตกตํ่าอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงและความสงบสุขของสังคม ปัญหายาเสพติดที่มีจำ�นวนคดีสูงกว่า 3 เท่าใน ช่วง 5 ปีทผ่ี า่ นมา รวมถึงคุณภาพของระบบการศึกษา ทีเ่ ป็นเงือ่ นไขทีส่ ำ�คัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมอย่างยั่งยืนในระยะยาว 10. ความเป็นธรรมและความเข้าถึงบริการสุขภาพ ประเทศไทยจัดให้มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ ประชาชนตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ซึ่งพบว่า การอุดหนุนงบประมาณในภาครัฐมีลักษณะโน้มเอียงไปทางคนจน สำ�หรับบริการผู้ป่วยนอก แต่โน้มเอียงไปยังผู้ที่มีฐานะดี สำ�หรับบริการผู้ป่วยใน การมีหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าเป็นการคุม้ ครองครัวเรือนจากความยากจนอันเนือ่ งมาจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และการบริการ สุขภาพทีเ่ ข้าถึงผูป้ ว่ ย เช่น การรับการตรวจวินจิ ฉัยและการรักษา โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง การ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โรคกล้ามเนือ้ หัวใจตายเฉียบพลัน ซึง่ ล้วนเป็นโรคทีม่ จี ำ�นวนเพิม่ ขึน้ และเรือ้ รัง 11. ประสิทธิภาพของระบบบริการสุขภาพ ปัญหาการเพิม่ ขึน้ ของรายจ่ายสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิง่ ภายใต้ สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ เพิม่ สูงขึน้ ร้อยละ 20 ต่อปี โดยค่าใช้จา่ ยผูป้ ว่ ยในต่อหัว ถึง 10,000 บาท ซึง่ สูงกว่าค่าใช้จา่ ยต่อหัวของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าถึง 5 เท่า ซึง่ แนวโน้มรายจ่ายสุขภาพทีส่ งู ขึน้ ชีว้ า่ ระบบบริการสุขภาพของไทยควรต้องกำ�หนดนโยบายและทิศทางมาตรการในการติดตามและกำ�กับรายจ่าย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 12. คุณภาพและประสิทธิผลของระบบบริการสุขภาพ ปัจจุบนั ผูป้ ว่ ยนอกของโรงพยาบาลทีเ่ ข้ารับการรักษาตัว ด้วยภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจวาย หอบหืด ถุงลมโป่งพอง ลมชัก เป็นต้น มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าคุณภาพและประสิทธิผลในการ ดูแลผู้ป่วย อาจยังมีปัญหา ส่วนหนึ่งของสาเหตุอาจมาจากภาระงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการมีระบบประกัน สุขภาพที่ต้องดูแลผู้ป่วยมากขึ้น
วิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบันนี้ เป็นเสมือนบททดสอบให้คนในสังคม
“ร่วมกันแก้ไข”
เพื่อนำ�ไปสู่สังคมที่มีสุขภาวะและเกิดความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง การสร้างทางเลือกใหม่ การร่วมกัน หาทางออกในแต่ละปัญหาเพื่อนำ�ไปสู่ความอยู่ดีกินดี การปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของ สังคม จะส่งผลต่อสุขภาพจิตสุขภาพกายโดยสมบูรณ์
ที่มา : สุขภาพคนไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส), สำ�นักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช), กรุงเทพมหานคร. 2554
30
ROYAL PROJECT JOURNAL
งานวิจัยใช้ได้จริง
ไก่ฟ้า(คอแหวน)
จากนกป่าที่เพาะเลี้ยงเพื่อเป็นเกมกีฬา… สู่นกเลี้ยงเพื่อส่งเสริมให้แก่เกษตรกรมูลนิธิโครงการหลวง วิชิต สนลอย ศุภฤกษ์ นาคกิตเศรษฐ และอรวรรณ พันธ์นา | งานพัฒนาและส่งเสริมปศุสัตว์ มูลนิธิโครงการหลวง สุคีพ ไชยมณี และรักษิณา ทิมคล้าย | สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ไก่ฟ้าคอแหวน หรือเรียกสั้นๆ ว่า ไก่ฟ้า (ตามพระดำ�ริขององค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง) เป็นสัตว์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้เกษตรกร เลี้ยงเพื่อจำ�หน่ายเนื้อผ่านฝ่ายตลาดของมูลนิธิฯ โดยเกษตรกรรั บ ลู ก ไก่ท ี่ ผ ลิ ต จากงานพั ฒ นาและ ส่งเสริมปศุสัตว์ และระหว่างการเลี้ยง เจ้าหน้าที่ งานปศุสัตว์ก็จะเข้าไปให้คำ�ปรึกษาและคำ�แนะนำ� ตลอดระยะการเลี้ยงจนถึงอายุจำ�หน่าย เนื้อไก่ฟ้า กำ�ลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคระดับสูง โดยส่วน ใหญ่มูลนิธิฯ จะจำ�หน่ายผ่าน โรงแรม ร้านอาหาร ชั้นนำ�ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพฯ ทัง้ นีถ้ อื เป็นสัตว์เศรษฐกิจบน พื้นที่สูงอีกชนิดหนึ่งของงาน พัฒนาและส่งเสริมปศุสัตว์ เพือ่ เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูง โดยไก่ ฟ้ า เป็ น สั ต ว์ ที่ มู ล นิ ธิ โครงการหลวงได้นำ�มาส่งเสริม ให้ เ กษตรกรเลี้ ย งตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. 2547 จวบจนถึงปัจจุบนั ซึ่งงานปศุสัตว์สามารถขยาย พันธุ์ไก่ฟ้าได้เอง โดยไก่ฟ้า พ่อ-แม่พนั ธุจ์ ะเลีย้ งไว้ทฟ่ี าร์ม วิจยั และสาธิตปศุสตั ว์แม่เหียะ
ROYAL PROJECT JOURNAL
31
งานวิจัยใช้ได้จริง ที่ผ่านมาข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับไก่ฟ้ายังมีน้อย เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าที่มีผู้ทำ�การศึกษาน้อยรายภายในประเทศ ซึ่งการเลี้ยงส่วนใหญ่จะเน้นไปทางการอนุรักษ์ และเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงาม อีกทั้งข้อมูลประกอบการเลี้ยงส่วนใหญ่ ต้องอาศัยข้อมูลจากเอกสารต่างประเทศ อันมีสภาพแวดล้อมและการจัดการแตกต่างจากประเทศไทย ดังนั้นจึง ทำ�ให้ขาดข้อมูลบางส่วนที่จำ�เป็นต่อการเลี้ยงไก่ฟ้าในสภาวะแวดล้อมของประเทศไทยที่แตกต่างกับต่างประเทศ จากปัญหาข้างต้นงานปศุสตั ว์จงึ ริเริม่ โครงการงานวิจยั “การผลิตไก่ฟา้ ในเชิงการค้าบนทีส่ งู ” โดย รองศาสตราจารย์ 1 ดร.สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ รองประธานคณะทำ�งานพัฒนาปศุสัตว์ (ในขณะที่ทำ�งานวิจัย) และคณะ ทำ�การศึกษาวิจัย การผลิตไก่ฟ้าในเชิงการค้าบนพื้นที่สูง โดยได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากมูลนิธิโครงการหลวง ในปีงบประมาณ 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาอัตราการฟักออกและผลการเลี้ยงดูไก่ฟ้า ในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในท้องที่จังหวัด เชียงใหม่ และใกล้เคียง 2. ศึกษาสมรรถภาพการผลิตและการปรับตัวของ ไก่ฟ้าพ่อแม่พันธุ์ 3. ผลิตลูกไก่ฟา้ ให้กบั ศูนย์ตา่ งๆ ของมูลนิธโิ ครงการหลวง
ROYAL
PROJECT J O U R N A L
ทีมงานวิจัยฯ ได้สืบค้นประวัติความเป็นมาของการเลี้ยงไก่ฟ้าได้ระดับหนึ่ง โดยก่อนหน้าไม่มีหลักฐานที่ แน่ชัดว่า มีการนำ�ไก่ฟ้าจากธรรมชาติมาเลี้ยงกันนานเพียงใด แต่เชื่อกันว่ามีการนำ�นกยูงและไก่ป่ามาเลี้ยงกัน นานนับเป็นพันๆ ปีมาแล้ว ซึ่งไก่สวยงามและไก่เศรษฐกิจทั่วโลกล้วนกำ�เนิดมาจากไก่ป่าทั้งสิ้น การนำ�ไก่ฟ้าจาก ธรรมชาติมาเพาะเลี้ยงที่มีการบันทึกไว้ครั้งแรก คือ การนำ�เอาไก่ฟ้าสีทองจากประเทศจีนไปเพาะเลี้ยงที่ประเทศ อังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2283 นกแว่นสีเทา หรือนกแว่นเหนือถูกนำ�ไปเลี้ยงเมื่อปี พ.ศ. 2288 ส่วนไก่ฟ้าเลดี้ถูกนำ�ไป เลี้ยงที่ประเทศอังกฤษเช่นเดียวกันเมื่อปี พ.ศ. 2371 2
1
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์. 2547. การผลิตไก่ฟ้าและนกกระทาทุ่งเพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำ�หรับสัตว์ปีกเศรษฐกิจ. มูลนิธิโครงการหลวง. ทองพันช่าง. 2545. การเลี้ยงไก่ฟ้า. โครงการหนังสือเกษตรชุมชน. 80น.
2 จำ�เนียร
32
ROYAL PROJECT JOURNAL
งานวิจัยใช้ได้จริง จุดประสงค์ของการเลี้ยงไก่ฟ้า ส่วนใหญ่มักทำ�เพื่อความสวยงาม ความเพลิดเพลินและเป็นการพักผ่อน หย่อนใจ แต่สัตว์ปีกเหล่านี้มีปริมาณลดน้อยลงทุกที จึงมีกฎหมายป้องปรามมิให้มีการลักลอบเลี้ยงกันมากนัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเน้นไปที่การขยายพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์ไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์เป็นเป้าหลัก ส่วนประเทศทาง ยุโรป เช่น อังกฤษ สกอตแลนด์ ออสเตรีย หรือทางอเมริกา มีการเพาะเลีย้ งสัตว์ปกี เหล่านีเ้ พือ่ เกมกีฬา (Game birds) ซึง่ สมาคมอนุรกั ษ์พนั ธุไ์ ก่ฟา้ โลกได้กำ�หนดให้ไก่ฟา้ ในสกุล Phasianus ได้แก่ ไก่ฟา้ คอแหวน และไก่ฟา้ สายพันธุอ์ น่ื ๆ อีกประมาณ 34 ชนิด (รวมพันธุ์ย่อย) เป็นไก่ฟ้าที่สามารถเพาะลี้ยงไว้เพื่อการกีฬา ไม่ใช่พวกสวยงาม ยกเว้น P. versicolor 3 ไก่ฟา้ ทัง้ หมดมีถน่ิ กำ�เนิดอยูใ่ นทวีปเอเชียทัง้ สิน้ ยกเว้นเพียงชนิดเดียว คือ นกยูงคองไก ทีม่ ถี น่ิ กำ�เนิดอยูใ่ น ทวีปแอฟริกา ไก่ฟ้าเหล่านี้ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงแตกต่างกัน เช่น ป่าที่ราบสูง ป่าภูเขา หรือ ป่าเชิงภูเขา และป่าพื้นราบ ปกติไก่ฟ้าจะหาอาหารกินบนพื้นดิน แต่เวลานอนจะบินขึ้นไปนอนบนต้นไม้ อาหาร ตามธรรมชาติ ได้แก่ เมล็ดพืช ผลไม้ที่หล่นบนพื้นดิน แมลง และตัวอ่อนของแมลง รวมทั้งยอดอ่อนของพืชชนิด ต่างๆ เมื่อพิจารณาจากการจัดจำ�แนก (taxonomy) ของไก่ฟ้า พบว่า ไก่ฟ้าจัดอยู่ในอันดับ (order) กาลิฟอร์ม (Galliformes) ซึง่ เป็นสัตว์ปกี ทีก่ นิ พืชเป็นอาหาร ตัวผูม้ รี ปู ร่างคล้ายตัวเมีย จะงอยปากสัน้ โค้ง ปีกกลมสัน้ หางเจริญดี มาก เท้าใช้คุ้ยเขี่ยหาอาหารตามพื้นดิน และใช้วิ่ง มีการแสดงออกในการเกี้ยวพาราสีตัวเมีย (sex – dimor 4 phism) ชัดเจน ทำ�รังบนพื้นดิน และออกลูกโดยการฟักไข่และลูกที่ฟักออกมาแม่ไม่ต้องเลี้ยง (precocial youngs) ไก่ฟ้า เป็นชื่อเรียกรวมๆ ของนกในวงศ์ (Family) Phasianidae โดยในกลุ่มของไก่ฟ้า นกยูง และนกแว่น มีทั้งหมด 16 สกุล5 ซึ่งในจำ�นวนนี้ประเทศไทยพบจำ�นวน 6 สกุล (Genus) รวม 13 ชนิด โดยไก่ฟ้าที่เพาะเลี้ยง ได้ผลในประเทศไทยมีหลายชนิด ที่ค่อนข้างแน่นอน คือ ไก่ฟ้าที่มีถิ่นกำ�เนิดในประเทศไทย โดยเฉพาะไก่ฟ้าหลังเงิน ไก่ฟ้าหลังดำ� ไก่ฟ้าหลังเทา นกยูงเขียว ไก่ป่า และนกแว่นเหนือ ส่วนไก่ฟ้าชนิดอื่นๆ เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ และไก่ฟ้า หน้าเขียวก็เลีย้ งได้ผลดีเช่นกัน แต่ผลผลิตให้นอ้ ยกว่าพวกแรกๆ ส่วนนกหว้าและนกแว่นใต้มผี เู้ พาะเลีย้ งได้นอ้ ยมาก ไก่ฟ้าจากต่างประเทศที่เป็นที่นิยมกันก็มีหลายชนิด ที่เลี้ยงกันมานานและให้ผลผลิตดีมาก คือ ไก่ฟ้าสีทอง ไก่ฟ้าคอ แหวน และนกยูงอินเดีย ซึ่งจะมีราคาถูก หาได้ง่าย
3 สมทบ นรพรรคพฤติกร. 2527. สัตว์ปีกในอันดับกาลิฟอร์มมีสจากสมาคมไก่ฟ้าโลกประเทศอังกฤษ. ว.สมาคมอนุรักษ์ไก่ฟ้าแห่งชาติ, 1:1-3. 4 วิโรจน์ จันทรัตน์. 2537. กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ปีก. ภาควิชาเทคโนโลยีทางสัตว์. คณะผลิตกรรมการเกษตร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 5 สมทบ นรพรรคพฤติกร. 2538. สัตว์ปีกในวงศ์ไก่ฟ้าของประเทศไทย. ว. สมาคมอนุรักษ์ไก่ฟ้าแห่งชาติ, 8:1-7. ROYAL PROJECT JOURNAL
33
งานวิจัยใช้ได้จริง
ไก่ฟ้า (คอแหวน)
ชื่อสามัญ Ring-neck Pheasant ชื่อ วิทยาศาสตร์ Phasianus colchicus ไก่ฟ้า (คอ แหวน) เป็นหนึ่งในสองชนิดของไก่ฟ้าที่เรียกว่า True Pheasant หรือ Common Pheasant ซึ่ง เป็นไก่ฟ้าในกลุ่มที่เพาะเลี้ยงเพื่อนำ�ไปปล่อยให้ คนล่าเป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่ง ไม่ค่อยนิยมนำ�มา เลี้ยงเป็นไก่ฟ้าสวยงามเหมือนไก่ฟ้าตระกูลอื่นๆ ไก่ฟ้าในตระกูลนี้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ Pha sianus versicolor (ไก่ฟ้าหน้าเขียว) พบเพียงใน ประเทศญี่ปุ่น และ Phasianus colchicus ซึ่ง เป็นไก่ฟ้าที่มีแหล่งกำ�เนิดกว้างมากที่สุดในทุกๆ ตระกูล กล่าวคือ อยู่ทางซีกเหนือของทวีปเอเชีย จากทางด้านเหนือของทะเลดำ� ข้ามมาเอเชีย ไปทางตะวันออกจนถึง จีน เกาะไต้หวัน และเกาหลี เนื่องจากเป็นไก่ฟ้าที่มีการกระจายถิ่นกว้างมาก
จึงสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ถงึ 31 ชนิด โดยมี 8 ชนิดย่อย ที่มีสีขนที่คอเป็นลักษณะวงแหวน ไก่ฟ้าคอแหวนชนิดที่แพร่ หลายที่สุดคือ Chinese ring-neck pheasant (Phasianus colchicus, torquatus) มีถิ่นกำ�เนิดทางฝั่งตะวันออกของจีน อาศัยอยู่ในพื้นที่ระดับตํ่าถึงระดับความสูงปานกลาง ทำ�รัง ตามพงหญ้าหรือใต้ต้นไม้ เนื่องจากสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย ตัวผู้ตัวเดียวผสมกับตัวเมียได้หลายตัว ตัวผู้ 1 ตัว สามารถ ผสมกับตัวเมียได้สูงสุดถึง 10 ตัว ในปีแรกปริมาณไข่อาจ ยังน้อยอยู่ เมื่อเข้าสู่ปีที่สองตัวเมียให้ไข่ได้ 50 - 80 ฟอง โดยจะวางไข่ในช่วงเดือนมีนาคม – มิถุนายน แต่ช่วงปลาย ฤดู ว างไข่ (ปลายเดือนมิถุน ายนเป็นต้นไป) ไข่มักไม่มีเชื้อ อย่างไรก็ดี หากให้แม่ไก่ฟ้าฟักไข่เองตามธรรมชาติ โดยไม่ เก็บไข่ แม่ไก่จะให้ไข่เพียง 8 - 14 ฟองเท่านั้น เพราะต้องใช้ เวลาในการฟักไข่ประมาณ 23 - 25 วัน ไก่ฟา้ คอแหวนนีม้ ขี อ้ เสีย 6 ตรงทีต่ น่ื ตกใจง่าย และบินชนกรงจนหัวแตกหรือบาดเจ็บ
กรงเลี้ยงไก่ฟ้า
หลักในการสร้างกรงเลี้ยงไก่ฟ้านอกจากจะสร้างให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของไก่ฟ้าในธรรมชาติให้มาก ทีส่ ดุ แล้ว จะต้องสร้างโดยคำ�นึงถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ คือ สร้างง่าย ประหยัดเงิน ใช้วสั ดุทม่ี ใี นท้องถิน่ สะดวกต่อการ เข้าไปปฏิบัติงานต่างๆ ดูแลรักษาได้ง่าย ระบายอากาศได้ดี กันฝนสาด กันลมโกรกได้ดี และควรให้แสงแดดส่อง ถึงได้ ควรแบ่งกรงออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนทีม่ หี ลังคา และไม่มหี ลังคา สำ�หรับเป็นทีใ่ ห้ไก่ฟา้ มาอาบแดด และคลุก ทรายได้บา้ ง ขนาดกรงทีเ่ หมาะสมสำ�หรับพ่อแม่พนั ธุไ์ ก่ฟา้ โดยเฉลีย่ คือ กว้างประมาณ 1.2 – 1.5 เมตร ยาว 2.5 – 3 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร โดยสร้างเป็นแถวต่อเนื่องกันไป กรงขนาดนี้ไก่ฟ้าจะอยู่ได้อย่างสุขสบายสำ�หรับไก่ฟ้า 1 คู่ที่โตเต็มวัย แต่ต้องมีตาข่ายปิดคลุมให้มิดชิดเนื่องจากไก่ฟ้าสามารถบินได้ดีเช่นเดียวกันกับนก นอกจากนี้พื้น กรงควรระบายนํ้าได้ดี ป้องกันพื้นเปียกแฉะและควรรองด้วยทรายหยาบให้หนาประมาณ 2 – 3 นิ้ว เพื่อทำ�ความ สะอาดได้ง่าย และไก่สามารถคุ้ยเขี่ยได้ด้วย 6
กอบคุณ เธียรปรีชา. 2535. การผสมพันธุ์ของไก่ฟ้า. ว. สมาคมอนุรักษ์ไก่ฟ้าแห่งชาติ, 5:27.
34
ROYAL PROJECT JOURNAL
งานวิจัยใช้ได้จริง สภาพแวดล้อมรอบกรง ควรปลูกต้นไม้รอบๆ กรง เพื่อความร่มรื่นและป้องกันลมโกรก โดยในระยะแรก ที่ต้นไม้ยังเล็กอยู่อาจจะใช้ผ้าใบหรือแสลนล้อมรอบกรง หรือปิดด้านที่มีลมโกรก ก็สามารถช่วยป้องกันได้ในระดับ หนึ่ง และควรเตรียมคอนไว้ในกรงอย่างน้อย 2 คอนต่อกรง เพื่อไว้ให้ไก่ฟ้าได้เกาะคอนนอน คอนนี้ควรสูงจากพื้น ประมาณ 1.5 เมตร และอีกคอนควรตั้งให้ตํ่ากว่าคอนแรกเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่ฟ้าจิกตีกัน
ความต้องการอาหารของไก่ฟ้า
อาหารของไก่ฟา้ เป็นส่วนทีส่ ำ�คัญอย่างยิง่ โดยอาหารทีใ่ ช้เลีย้ งจะต้องมีระดับโปรตีนสูงเพือ่ การเจริญเติบโต และการพัฒนาของขนจากระยะลูกไก่จนถึงระยะรุน่ และชนิดของอาหารในแต่ละช่วงอายุกจ็ ะมีความแตกต่างกันด้วย ผลจากงานศึกษาวิจยั พบว่า เมือ่ นำ�ลูกไก่ทฟ่ี กั ได้ไปเลีย้ งแบบขังคอกตลอดเวลา โดยให้อาหารทีม่ โี ปรตีนระดับ 17-21% (หรือให้อาหารสำ�เร็จรูปชนิดเม็ดของลูกไก่เนื้อ) จะโตช้ากว่าไก่พื้นเมือง 30-40% แต่อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพ การใช้อาหารของไก่ฟ้าค่อนข้างดี กล่าวคือ ช่วงอายุ 4 เดือนแรก (~16 สัปดาห์) ซึ่งมีนํ้าหนักตัวประมาณ 1 กก. มี FCR เพียง 2.46 ไก่ฟ้าชุดที่ทดสอบดังกล่าวมีต้นทุนการผลิตด้านอาหารค่อนข้างตํ่า จึงน่าจะมีศักยภาพสำ�หรับ การผลิตในเชิงการค้า
J O U R N A L
ROYAL
PROJECT
จากผลการศึกษาดังกล่าว งานปศุสัตว์จึงได้ปรับวิธีการและสูตรอาหารในการเลี้ยงไก่ฟ้า เพื่อผลิตไก่ฟ้า ให้ได้คุณภาพภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสมแก่การออกส่งเสริมเกษตรกร โดยในช่วงแรกชนิดอาหารที่ให้ควรเป็นแบบ อาหารเม็ดบดแตก เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของลูกไก่ฟ้ายังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่เมื่ออายุ 3 สัปดาห์ไปแล้ว ก็จะสามารถกลืนอาหารชนิดเม็ดได้ และทีอ่ ายุ 9 สัปดาห์ ไปแล้วอาหารจะเป็นเมล็ดพืชบดแตก โดยทัว่ ๆ ไปแบ่งออก เป็นสามระยะ คือ
1. ระยะลูกแรกเกิดถึงอายุ 5 สัปดาห์ ระยะนีใ้ ห้อาหารทีม่ คี ณ ุ ภาพดี มีโปรตีนสูง (18-20%) ซึง่ อาจให้ไข่แดงต้มสุก กล้วยนํ้าว้าสุก ปลวก หนอนเลี้ยงนก หญ้าขนหั่นละเอียดแขวนไว้ในกรงให้จิกกินเสริมอีกได้ 2. ระยะไก่ฟา้ รุน่ อายุตง้ั แต่ 5 สัปดาห์ขน้ึ ไป จนถึง 2 ปี ระยะนีค้ วรให้อาหารทีม่ โี ปรตีน 18% อาจใช้อาหารไก่รนุ่ และอาหารนกเขา หรือเมล็ดข้าวโพดก็ได้แล้วเสริมด้วยผักสด กล้วยนํ้าว้า เปลือกหอยป่น และหญ้าขน โดยปกติ จะใช้หญ้าขนเป็นส่วนใหญ่ และมีอาหารอื่นอีก 2 - 3 ชนิด อาหารเสริมส่วนใหญ่จะให้กินในตอนบ่าย หากผู้เลี้ยง ต้องการเก็บไก่บางตัวไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรควบคุมอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้อ้วนเกินไป ซึ่งจะทำ�ให้ได้ไข่น้อยและมี อัตราการผสมติดตํ่า 3. ระยะไก่ฟ้าโตเต็มวัย อาหารที่ให้ในช่วงนี้เป็นอาหารสำ�เร็จรูปสำ�หรับไก่รุ่นและอาหารนกเขา หรือเมล็ดข้าวโพด แต่ควรให้อาหารเสริมจำ�พวกหนอนเลี้ยงนก ไข่มดแดง เปลือกหอยป่น และวิตามินเสริมประจํา เป็นต้น
ROYAL PROJECT JOURNAL
35
งานวิจัยใช้ได้จริง
อัตราส่วนพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ที่เหมาะสม
จากการศึกษา พบว่า อัตราส่วนพ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พนั ธุ์ 2 ตัว มีเปอร์เซ็นต์ไข่มเี ชือ้ (40.2%) สูงกว่า กลุ่มที่เลี้ยงไว้ที่อัตราส่วน 1/3 (33.4%) อย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติ (P<0.05) อัตราการฟักออกเป็นตัวเมื่อคิด จากไข่มีเชื้อ นํ้าหนักไข่ และสัดส่วนของนํ้าหนักลูกไก่ต่อขนาดของฟองไข่ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ในการ เพาะเลี้ยงในเวลาต่อมาใน 3 แห่ง คือ ฟาร์มวิจัยปศุสัตว์แม่เหียะ ฟาร์มที่สถานีฯ อินทนนท์ และสถานีเกษตร หลวงอ่างขาง พบว่า ไก่พ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงในอัตราส่วน 1/3 1/4 และ 1/5 มีเปอร์เซ็นต์ไข่มีเชื้อใกล้เคียงกัน คือ 72.4% 67.9% และ 69.1% ตามลำ�ดับ ซึ่งค่าเฉลี่ยไข่มีเชื้อในภายหลังมีค่าสูงกว่าในขณะทำ�งานวิจัย ซึ่งอาจมีสาเหตุจากไก่ฟ้าในรุ่นต่อๆ มามีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพพื้นที่เลี้ยงได้ดีขึ้น
จากการศึกษาผลของฤดูกาลต่อสมรรถภาพการผลิต ไข่และการสืบพันธุ์ได้แยกการบันทึกข้อมูลออกเป็น 2 ช่วง คือ ระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน ซึ่งจัดให้เป็นช่วงฤดู วางไข่ และอีก 8 เดือนที่เหลือ คือ กรกฎาคม – กุมภาพันธ์ จัดเป็นช่วงนอกฤดูวางไข่ พบว่า เปอร์เซ็นต์ไข่มีเชื้อ อัตราการ ฟักออกเป็นตัวจากไข่ทั้งหมด และจำ�นวนลูกไก่แรกเกิดดีกว่า ช่วงนอกฤดู ทั้งนี้อาจมีสาเหตุเนื่องจากช่วงนอกฤดูวางไข่ ไก่ฟ้ามีความสมบูรณ์พันธุ์ตํ่า หรืออาจได้รับโปรตีนในอาหาร ไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่วนนํ้ำ�หนักไข่ นํ้ำ�หนักแรกเกิด และสัดส่ว นของนํ้าหนักลูกไก่แ รกเกิดต่อนํ้าหนักไข่ ไม่มี ความแตกต่างกัน โดยข้อมูลทีไ่ ด้จากการเลีย้ งทีผ่ า่ นมา เป็นไป ในแนวทางเดียวกันกับการศึกษานี้ กล่าวคือ ไข่ไก่ฟา้ ทีเ่ ก็บได้ ในช่วงแรกๆ คือ เดือนมกราคมถึงช่วงต้นเดือนมีนาคม จะมี เปอร์เซ็นต์ไข่มเี ชือ้ ตํา่ มาก โดยไข่ทเ่ี ลีย้ งในฟาร์มทีม่ คี วามสูงจาก ระดับนํ้าทะเลมากกว่าจะให้ไข่ได้เร็วกว่าพื้นที่เลี้ยงที่มีระดับ ตํา่ กว่า แต่ไม่ได้มผี ลถึงเปอร์เซ็นต์ไข่มเี ชือ้ ซึง่ ระดับของเปอร์เซ็นต์ ไข่มีเชื้อจะเริ่มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อพ้นผ่านกลางเดือนมีนาคมไป แล้วเป็นต้นไป
36
ROYAL PROJECT JOURNAL
จากการศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ ข องการ ผลิตไก่ฟ้าคอแหวน เพื่อเป็นสัตว์ปีกเศรษฐกิจ ทางเลือกใหม่ของมูลนิธิโครงการหลวง โดยใช้ ฟาร์มวิจัย และสาธิตปศุสัตว์แม่เหียะเป็นศูนย์ ผลิตลูกพันธุ์ จากนั้นส่งลูกไก่ฟ้าไปเลี้ยงยังศูนย์ ต่างๆ ผลปรากฏว่า การใช้อัตราส่วนพ่อพันธุ์ต่อ แม่พันธุ์ที่ 1 : 2 หรือเท่ากับอยู่ในพื้นที่เลี้ยง 3.0 ตารางเมตร/ตัว ให้ผลดีกว่าการใช้อัตราส่วน อืน่ (1 : 3 ทีม่ พี น้ื ที่ 2.3 และ 1.1 ตารางเมตร/ตัว) นอกจากนีย้ งั พบว่า แม่ไก่ฟา้ ให้ผลผลิตเป็นฤดูกาล (seasonal breeding) โดยในช่วงฤดูวางไข่ (มีนาคม – มิถุนายน) ให้ผลดีกว่าช่วงนอกฤดู ส่วนผลด้านสมรรถภาพการผลิตของลูกไก่ฟ้าเมื่อ นำ�ไปเลีย้ งบนทีส่ งู การเจริญเติบโตและอัตราการ เลี้ยงรอดมีแนวโน้มดีกว่าดีกว่าการเลี้ยงที่พ้นื ราบ ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากมีอณ ุ หภูมทิ เ่ี หมาะสมรวมทัง้ เกษตรกร ให้ความสนใจและเอาใจใส่อย่างดี
งานวิจัยใช้ได้จริง
การส่งเสริมการเลี้ยงไก่ฟ้าให้แก่เกษตรกร
ผลจากการศึกษาวิจัยการผลิตไก่ฟ้าเชิงการค้าบนพื้นที่สูง ประสบความสำ�เร็จมีผลการศึกษาที่ชัดเจนเพื่อ ประยุกต์ใช้ในการออกส่งเสริมเกษตรกร งานส่งเสริมการเลี้ยงไก่ฟ้าของมูลนิธิโครงการหลวงจึงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา จากสถิติการส่งเสริมที่ได้เริ่มมีการเก็บข้อมูลเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 – 2554 มีเกษตรกรใน พืน้ ทีศ่ นู ย์ทไ่ี ด้รบั การส่งเสริมให้เลีย้ งไก่ฟา้ ทัง้ หมด 10 แห่ง คือ ศูนย์ฯ พระบาทห้วยต้ม ห้วยเสีย้ ว ทุง่ เริง ห้วยนํำ�้ ริน ขุนวาง ขุนแปะ สถานีฯ ปางดะ แม่หลอด อ่างขาง และอินทนนท์ สามารถสร้างรายได้คืนกลับแก่เกษตรกรผู้เลี้ยง ไก่ฟ้าเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 368,538 บาท ซึ่งเกษตรกรใช้ระยะเวลาการเลี้ยงแค่ประมาณ 3.5 เดือน ก็จะได้ไก่ฟ้าที่ มีขนาดพร้อมจะจำ�หน่ายให้ฝ่ายตลาดได้
เกษตรกรเลี้ยงไก่ฟ้า ศูนย์ฯ วัดจันทร์
เกษตรกรเลี้ยงไก่ฟ้า ศูนย์ฯ ขุนแปะ
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันงานปศุสัตว์ได้ประเมินศักยภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงไก่ฟ้าคุณภาพ โดยได้ คัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยง ได้แก่ ศูนย์ฯ ขุนวาง ขุนแปะ สถานีฯ ปางดะ แม่หลอด และอ่างขาง ทั้งนี้ใน ปี พ.ศ. 2555 มีแผนการผลิตไก่ฟ้าขุนทั้งสิ้น 1,900 ตัว ซึ่งในอนาคตหากตลาดมีความต้องการไก่ฟ้าเพิ่มขึ้นอีกก็ สามารถขยายการส่งเสริมไปสู่เกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ ได้มากเพิ่มขึ้น
ROYAL PROJECT JOURNAL
37
ผลิตภัณฑ์
ไม้ประดับแห้ง โครงการผลิตภัณฑ์ไม้ประดับแห้ง มูลนิธิโครงการหลวง เริ่มต้น เมื่อปี 2521 โดยพัฒนาขึ้นจากโครงการวิจัยพืชเศรษฐกิจเพื่อทดแทน ฝิ่นให้กับชาวเขาในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยี ก ารผลิ ต การแปรรู ป วั ต ถุ ดิ บ ดอกไม้ แ ห้ ง ให้ เ ป็ น อาชี พ ทีย่ ง่ั ยืน และพัฒนาอาชีพรวมทัง้ เทคนิคการเกษตรของเกษตรกรในพืน้ ที่ ของมูลนิธิโครงการหลวง อีกทั้งยังสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร นอกเหนือจากการเกษตรอีกด้วย
น ใ ย า ่ น มีจำ�ห ลวงทุกสาขา ห
ร า ก ง ร ค ร้านโ
วิถีชนเผ่า
ชาวเขากับการดูแลสุขภาพ ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ที่มูลนิธิโครงการหลวงมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขาให้มีศักยภาพแบบองค์รวม สามารถพึง่ พาตนเองได้ นับเป็นผลความสำ�เร็จในการดำ�เนินงานของมูลนิธโิ ครงการหลวง ไม่วา่ จะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังพบปัญหาสุขภาพอนามัยแอบแฝงอยู่ในทุกชนเผ่า อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ชุมชนอีกด้านหนึ่ง ด้วยสาเหตุของการด้อยการศึกษา ความไม่พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ความไม่ตระหนักในการดูแล สุขภาพอนามัย การลืมเลือนวัฒนธรรมประเพณีสภาพสังคมในวิถีชีวิตดั้งเดิม การมุ่งหารายได้มากกว่าการใส่ใจ ดูแลสุขภาพอนามัยของตน ครอบครัวและชุมชน เป็นเหตุผลให้ชุมชนขาดความเข้มแข็งในระยะยาว
เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลง ด้วย...ความเจริญทางเทคโนโลยี
การคมนาคม...สะดวกสบาย สาธารณู ป โภค...ที่พร้อมมูล สิ่งอำ�นวยความสะดวกที่หลากหลาย
ต่างหลั่งไหลเข้าสู่ชุมชนชาวเขา ส่งผลให้ชุมชนมีวิถีชีวิตไม่ต่างจากชุมชนเมือง มีการ บริโภคสิ่งฟุ่มเฟือย มีค่านิยมในวัตถุ ภาระหนี้สินเพิ่ม ขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง การดูแลสุขภาพอนามัยจึงอยู่ใน ลำ�ดั บ ความสำ�คัญท้ายๆ ดังตัวอย่างชุมชนชาวเขา เผ่าลาหู่บ้านดอยมด ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วย นํ้าริน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ที่ได้รับการพัฒนา ส่งเสริมในด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข จากมูลนิธิโครงการหลวงและหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะด้านสุขอนามัย เช่น การวาง แผนครอบครัว อนามัยการเจริญพันธุ์ มิติหญิงชาย ทักษะชีวิต การป้องกันยาเสพติด ด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ นำ�ไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงพฤติกรรม การดูแลสุขภาพอนามัยอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งที่ผ่านมา ยั ง ไม่ ส ามารถดำ�เนิ น กิ จ กรรมให้ บ รรลุ ผ ลได้ อ ย่ า ง ครอบคลุม
ROYAL PROJECT JOURNAL
39
วิถีชนเผ่า
จากการสำ�รวจปัญหาพื้นฐานของชุมชนบ้านดอยมด เรื่องขยะที่มีจำ�นวนมาก ส่งกลิ่นเหม็น ไม่มีที่ทิ้งขยะ ที่เหมาะสม การเลี้ยงหมูแบบปล่อย การระบายนํ้าไม่ดี ไม่มีห้องนํ้าครบทุกครัวเรือน ชุมชนแออัด มียุงมากเพราะ มีนํ้าขัง นํ้าดื่มนํ้าใช้ไม่สะอาด ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการแก้ไขในระดับหนึ่งแล้ว แต่บางประเด็นก็ยังคงเป็น ปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไขต่อไป ชาวเขาเผ่าลาหู่บ้านดอยมดมีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงกับธรรมชาติ มีความเชื่อสืบทอดมาแต่โบราณ นับถือผี เทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีความรู้เรื่องโรคและรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยวิธีดั้งเดิม โดยใช้วิธีการรักษาอาการ เจ็บป่วยด้านการแพทย์แผนโบราณมากกว่าแผนปัจจุบัน อันเนื่องด้วยความเชื่อในจารีตประเพณี วัฒนธรรมที่คงอยู่ เดิมอย่างเหนียวแน่น อีกทั้งมีความเชื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วยที่มีสาเหตุหลัก ได้แก่ อาการเจ็บป่วย ที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตากแดด ตากฝน อาหารการกินที่ไม่ดี อาการเจ็บป่วยที่เกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น การถูกกระทำ�จากผีป่า ผีนํ้า เจ้าพ่อ เทพเจ้าบันดาลให้มีอันเป็นไป โดนคุณไสย โดนคาถาอาคม และอาการเจ็บป่วย ที่เกิดจากอุบัติเหตุ เพราะความประมาท ไม่มีชำ�นาญ ไม่ระมัดระวัง
ชาวลาหู่มีวิธีรักษาอาการเจ็บป่วย ได้แก่ O รักษาด้วยสมุนไพร ที่มีในท้องถิ่นด้วยวิธีการดื่ม กิน นวด ประคบ จับเส้น และการเป่าคาถากำ�กับ เพื่อ รักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น O ใช้ยาแผนปัจจุบนั ทีม่ จี ำ�หน่ายในร้านค้าของชุมชน เป็นทีน่ ยิ มรองจากสมุนไพร โดยเฉพาะคนรุน่ ใหม่ทใ่ี ห้ ความสำ�คัญ และความนิยมในการใช้ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น ยาพาราเซตามอล ทิฟฟี่ ควบคู่กับการดื่มนํ้ำ�ต้มสมุนไพร O รักษาอาการเจ็บป่วยด้วยการถามผี เทพเจ้า ตามความเชื่อดั้งเดิม หากการรักษาอาการทั้งสองปัจจัย ข้างต้น ไม่เป็นผล O เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล หากสามวิธีการเบื้องต้นไม่ได้ผล หรือกรณีที่มี อาการรุนแรง เช่น การเกิดอุบัติเหตุที่มีอาการเกินเยียวยาด้วยตนเอง หรือหมอยาในชุมชน แต่ก็ยังอาศัยการดูแล ด้วยสมุนไพรประกอบกันในระยะพักฟื้น นอกจากนี้ ชาวลาหูไ่ ม่เห็นความสำ�คัญ หรือความจำ�เป็นในการรักษา ผด ผืน่ คัน กลากเกลือ้ น แผลเปือ่ ยฯลฯ มักปล่อยให้หายเอง แต่จะให้ความสำ�คัญในการทำ�พิธสี ะเดาะเคราะห์ เซ่นไหว้ผเี ป็นการขอขมา หากคนในครอบครัว มีอาการเจ็บป่วย จากธรรมชาติ จากสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือจากอุบัติเหตุ
40
ROYAL PROJECT JOURNAL
วิถีชนเผ่า
การฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยของชาวลาหู่ ด้วยการดื่มนํ้ำ�ต้มสมุนไพร อาบนํ้ำ�ยาต้มสมุนไพร และการเป่าคาถา กำ�กับ บางครั้งก็มีการผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมกับการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันบ้าง เช่น เกิดอุบัติเหตุต้องเข้า เฝือกโดยแพทย์โรงพยาบาล แต่ก็จะมีการเป่าคาถา นวดประคบด้วยความรู้ดั้งเดิมโดยหมอยาในชุมชนควบคู่กัน ซึ่งชาวลาหู่ จะหาความรู้ในการรักษา ดูแลตนเองก็ต่อเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคนั้นๆ แต่ไม่สนใจที่จะศึกษาหาความรู้ ด้านสุขภาพอนามัยเพิ่มเติมในยามที่ไม่เจ็บป่วย
การส่งเสริมป้องกันในการดูแลสุขภาพ ด้วยสมุนไพรและความเชื่อที่สืบทอดกันมา ไม่ได้เน้นการรักษาและ ป้องกันสุขภาพร่างกายด้วยการออกกำ�ลังกาย แต่เชื่อว่าสมุนไพรคือยาบำ�รุงร่างกายให้แข็งแรงที่ต้องดื่มเป็นประจำ� อีกทั้งการทำ�ไร่ทำ�สวนถือเป็นการออกกำ�ลังกายอยู่แล้ว นอกจากนี้ คนในชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการเลือก ซือ้ และการรับประทานอาหารทีเ่ หมาะสม มีประโยชน์ สะอาด ปลอดภัยต่อร่างกาย มีนอ้ ยรายทีร่ จู้ กั เครือ่ งหมาย อย. ตลอดจนความสนใจในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขค่อนข้างน้อย การรับสื่อส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ การบันเทิง กอปรกับชุมชนไม่มีสถานีอนามัย (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำ�ตำ�บล) อาสาสมัครสาธารณสุข ที่ มีอยู่ดูแลคนในชุมชนได้ไม่ทั่วถึง อีกทั้งทุกคนมุ่งประกอบอาชีพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวมากกว่า ดังนั้นจึงใช้ ชีวิตอย่างไม่มีการพัฒนาเรียนรู้เพื่อดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างถูกต้องและเหมาะสมเท่าที่ควร การดูแลสุขภาพอนามัยของชาวลาหู่บ้านดอยมด ปัจจุบันเป็นลักษณะการผสมผสานระหว่างความรู้ดั้งเดิม และการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลดีต่อการรักษาอาการเจ็บป่วยอยู่ไม่น้อย แต่หากเกิดการเปลี่ยนแปลงใน ชุมชนชาวเขามากขึ้น ความรู้แบบภูมิปัญญาดั้งเดิมอาจเลือนหาย โดยไม่มีผู้สืบทอดอาจต้องพิจารณาถึงบทบาท ของผู้นำ�ชุมชน ผู้อาวุโส หมอยา หรือ ปู่จ๋าน ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ที่คนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ และเชื่อ ฟัง ได้เปิดใจและยอมรับความเปลี่ยนแปลงตามกระแสสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็ควรที่จะอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบทอด องค์ความรู้ดั้งเดิมให้เกิดประโยชน์แก่ชนรุ่นหลัง ซึ่งจะเป็นทิศทางการดูแลสุขภาพอนามัยของตนในชุมชนอย่าง ถูกต้องและเหมาะสมกับการดำ�รงชีวิตตามวิถีชนเผ่าเท่าที่ควรจะเป็น
ROYAL PROJECT JOURNAL
41
คลินิกพืช
โรคไวรัสของพืชตระกูลแตง ในโครงการหลวง
ศูนย์อารักขาพืช มูลนิธิโครงการหลวง
มูลนิธโิ ครงการหลวงได้สง่ เสริมให้เกษตรกรบนพืน้ ทีส่ งู ปลูกพืชผักเมืองหนาวหลายชนิด เพือ่ เพิม่ รายได้ ทดแทนการปลูกฝิ่น โดยพืชที่สามารถทำ�รายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างดีชนิดหนึ่ง คือ พืชตระกูลแตง (Cucurbitaceae) เช่น แตงกวาญี่ปุ่น ซาโยเต้ ซูกินี และฟักทองญี่ปุ่น เป็นต้น จากการส่งเสริมพืชตระกูล ดังกล่าวมาเป็นระยะเวลานาน ทำ�ให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิต ซึ่งก็คือการ สะสมของโรคและแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากการเข้าทำ�ลายของเชื้อไวรัส
ROYAL PROJECT JOURNAL
ROYAL
42
PROJECT
อาการใบผิดรูปร่าง และมีปุ่มพองสีเขียวเข้มกระจายทั่วใบซูกินีที่ถูกทำ�ลายโดย ZYMV
J O U R N A L
เชื้อไวรัสถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ต้องดูด้วยกล้อง จุลทรรศน์อเิ ลคตรอน ซึง่ มีกำ�ลังขยายตัง้ แต่ 5,000 เท่าขึน้ ไป นอกจากนี้ ยังสามารถทวีจำ�นวนอยู่ในต้นพืชได้ตลอดเวลารวมทั้งไม่สามารถใช้ สารเคมีรักษาให้หายได้ สำ�หรับการระบาดของเชื้อไวรัส อาจแฝงมา กับเมล็ดพันธุ์ หรือมีแมลงเป็นพาหะ ทำ�ให้การระบาดของโรคเกิด เป็นบริเวณกว้างมากขึ้น ถึงแม้ว่าเชื้อไวรัสนี้ส่วนมากมักไม่ได้ทำ�ให้พืช ตายในทันทีก็ตาม ลักษณะอาการของพืชที่ถูกเชื้อไวรัสเข้าทำ�ลายใน ระยะเจริญเติบโตจะพบอาการใบด่าง ยอดหงิกงอ ใบบิดเบี้ยว และมี แผลสีนํ้าตาลที่ใบและลำ�ต้น ต้นแคระแกร็น หากเกิดในระยะให้ ผลผลิตจะพบอาการทีผ่ ล โดยสีของผลเปลีย่ นแปลงไป ผลด่าง ผิวขรุขระ ทำ�ให้ผลของพืชตระกูลแตงไม่ตรงตามความต้องการของตลาด หรือผล ผลิตตกเกรด ไม่สามารถจำ�หน่ายผลผลิตได้ (Ito et al., 2008)
คลินิกพืช
จากการศึ ก ษาและเก็ บ ข้ อ มู ล ตั ว อย่ า งพื ช ตระกู ล แตงที่ แ สดงอาการของโรคไวรั ส ในแปลงปลู ก ของ เกษตรกรของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน พบลักษณะอาการต่างๆ ดังนี้ อาการด่างแบบ มีขอบเขตชัดเจน (mosaic) ด่างแบบไม่มีขอบเขต (mottle) เส้นใบขยายใหญ่ (vein banding) และใบผิดรูปร่าง (malformation) และเมื่อทำ�การตรวจสอบด้วยวิธี DAS – ELISA โดยใช้ polyclonal antibodies ELISA kit จากบริษัท Bioreba และ Agdia พบเชื้อไวรัสที่เข้าทำ�ลายในระยะกล้า ได้แก่ cucumber mosaic virus (CMV), zucchini yellow mosaic (ZYMV), squash mosaic virus (SqMV), papaya ringspot virus type-W (PRSV-W), watermelon mosaic virus-2 (WMV-2), Tospovirus และcucumber green mottle mosaic virus (CGMMV) อาการเส้นใบขยายและรอยแต้มสีเขียวบนใบอ่อน ของแตงกวาญี่ปุ่นซึ่งถูกทำ�ลายโดย ZYMV + CMV
อาการรอยแต้มเป็นสีเงินบนใบแตงกวาญี่ปุ่น ซึ่งถูกทำ�ลายโดย CMV
โดยพบการเข้าทำ�ลายของเชื้อไวรัสเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง เท่านั้นในแต่ละอาการ นอกจากนี้ยังพบเชื้อไวรัส ZYMV ในตัวอย่างของพืชตระกูลแตง ที่นำ�มาตรวจสอบมากที่สุด กล่าวคือ ซูกินี ฟักทองญี่ปุ่น และแตงกวาญี่ปุ่น ตรวจ พบ ZYMV ถึง 19.11, 16.34 และ 10.69% ตามลำ�ดับ (Nontajak et al.,2012) สำ�หรับผลการตรวจตัวอย่างที่อยู่ ในระยะออกดอกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต พบการเข้า ทำ�ลายของเชื้อไวรัส 2 ชนิดร่วมกัน และจากการศึกษาดัง กล่าวพบว่า การเข้าทำ�ลายของเชือ้ ไวรัสหลายชนิดทำ�ให้พชื แสดงอาการของโรคไวรัสรุนแรงขึน้ และมีผลทำ�ให้ผลผลิต ลดลงมากกว่าการมีเชื้อไวรัสเพียงชนิดเดียวเข้าทำ�ลาย ซึง่ สอดคล้องกับรายงานของ Fattouh (2003) ทีร่ ายงานว่า
ซูกินีที่ถูกทำ�ลายโดย ZYMV กับ CMV จะแสดง อาการของโรคไวรัสรุนแรงมาก และมีผลผลิตลดลง มากกว่าต้นที่มี ZYMV หรือ CMV เข้าทำ�ลายเพียง ชนิดเดียว (Walters et al., 2003; Wang et al., 2002; and Malik et al., 2010) และเมื่อพิจารณาถึง ความสัมพันธ์ของเชื้อไวรัสที่ตรวจพบกับการถ่ายทอด โรคนั้น พบว่า เชื้อไวรัสที่ตรวจพบในพืชตระกูลแตง สามารถถ่ายทอดโดยวิธีกลได้ดี เช่น การสัมผัสผ่าน อุปกรณ์การเกษตร กรรไกรตัดกิ่ง หรือผ่านแมลงปาก ดูด โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน หรือผ่านเมล็ดพันธุ์ ดังนั้น การป้องกันการเกิดโรคไวรัส ควรเริ่มปฏิบัติตั้งแต่ การใช้เมล็ดพันธุท์ ป่ี ลอดโรค
ROYAL PROJECT JOURNAL
43
คลินิกพืช การป้องกันการเข้าทำ�ลายของแมลงพาหะโดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนในแปลงปลูก ตั้งแต่ระยะกล้า รวมถึงหลีกเลี่ยง การถ่ายทอดโดยการสัมผัส ผ่านกรรไกรตัดแต่งกิ่ง โดยการจุ่มหรือเช็ดด้วยสารละลาย 10% Clorox หรือนํ้า สบู่ก่อนการตัดแต่งต้นใหม่ทุกครั้ง และควรบำ�รุงพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะระยะออกดอก
อาการด่างแบบขอบเขตไม่แน่นอน (mottling) ซึ่งมีรอยแต้มสีเหลืองบนใบอ่อนของฟักทองญี่ปุ่น ที่ถูกทำ�ลายโดย PRSV + CMV
ข้อสังเกต จากการศึกษา ในครั้งนี้พบว่า ในตัวอย่างพืชที่แสดง อาการคล้ายโรคทีเ่ กิดจากการเข้าทำ�ลาย ของเชือ้ ไวรัส แต่เมือ่ ทำ�การตรวจสอบด้วย วิธี DAS – ELISA กลับไม่พบเชือ้ ไวรัส ดังกล่าวข้างต้น อาจแสดงได้วา่ มีเชือ้ ไวรัส ชนิดอื่นๆ ที่เข้าทำ�ลายพืชตระกูลแตงได้ ซึง่ จำ�เป็นต้องมีการศึกษาต่อไป
ROYAL
PROJECT J O U R N A L
44
ROYAL PROJECT JOURNAL
ก
อาการปุม่ พองบนผลซูกนิ ี (ก) และผลของฟักทองญีป่ นุ่ (ข) ซึ่งถูกทำ�ลายด้วยไวรัส; ZYMV+PRSV-W (ก) และ ZYMV+ CMV+ PRSV-W (ข)
ข
คลินิกพืช
อาการด่างเหลืองบนใบแตงกวาญี่ปุ่น ซึ่งถูกทำ�ลายด้วยเชื้อไวรัสที่ตรวจสอบไม่ได้ (un-identified virus)
คำ�ขอบคุณ
ขอขอบคุณ ฝ่ายวิจัย มูลนิธิโครงการหลวงที่ได้ ให้การสนับสนุนทุนวิจยั และผูว้ จิ ยั ขอขอบคุณเป็นอย่างยิง่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมผักทุกๆ ท่าน ที่ให้ความ อนุเคราะห์และช่วยเหลือในการวิจยั ด้วยดี เอกสารอ้างอิง Fattouh, F.A. 2003. Double infection of cucurbit host by Zucchini yellow mosaic virus and Cucumber mosaic virus. Pakistan Journal Plant Pathology. 2: 85-90. Ito, T., T., Ogawa, K., Samretwanich, P., Sharma, and M., Ikegami. 2008. Yellow leaf curl disease of pumpkin in Thailand is associated with squash leaf curl china virus. Plant Pathololgy. 57: 766. Malik, A.H., S., Mansoor, S., Iran, R.W., Briddon, and Y. Zafar. 2010. Severe disease of melon in northwest frontier province is associated with simultaneous infection of two RNA viruses. Pakistan Journal Botany. 42(1): 361-367. Nontajak, N., N., Jonglaekha, P., Smitamana. 2012. Incidence and distribution of viruses infecting cucurbits in the Royal Project Areas. In The International Conference on Tropical and Sub-tropical Plant Diseases 2012, February7-10, 2012 The Empress Hotel, Chiang Mai, Thailand. p74. Walters, S.A., Kindhart, J.D., Hobb, H.A., and Eastburn, D.M. 2003. Viruses associated with cucurbit production in southern Illinois. Hort Science. 38(1): 65-66. Wang, Y., Gaba, V., Yang, J., Palukaitis, P., and Gal – On, A. 2002. Characterization of synergy between cucumber mosaic virus and potyviruses in cucurbit hosts. Virology 92: 51-58.
ROYAL PROJECT JOURNAL
45
บุคคลในเรื่อง
เกษตรกรรุ่นใหม่แห่งบ้านสิบสองพัฒนา นายนุซ้อ เตรียมพยุง | เกษตรกรรุ่นใหม่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า ตำ�บลผาช้างน้อง อำ�เภอปง จังหวัดพะเยา
นายนุซ้อ เตรียมพยุง เกษตรกรรุ่นใหม่ ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า เป็นแกนนำ�กลุ่ม สมาชิกเกษตรกรโครงการหลวง นุซ้อเป็นชาวเขาเผ่า ม้ง อยูท่ บ่ี า้ นสิบสองพัฒนา ตำ�บลผาช้างน้อง อำ�เภอปง จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นหมู่บ้านในพื้นที่ส่งเสริมของศูนย์ พัฒนาโครงการหลวงปังค่า นุซ้อเป็นคนบ้านสิบสอง พัฒนาโดยกำ�เนิด แต่พอ่ กับแม่ได้สง่ ไปเรียนทีอ่ น่ื จนอายุ ได้ 17 ปีจึงได้กลับมาอยู่ในหมู่บ้าน อาชีพดั้งเดิมของ ครอบครัวคือการปลูกข้าวโพดและข้าวไร่ มีสวนลิ้นจี่ บ้างเล็กน้อย ซึ่งรายได้ไม่มากพอเพราะทำ�การเพาะ ปลูกได้ปลี ะครัง้ ทำ�ให้เขาเริม่ สนใจการปลูกพืชผักชนิด อื่นๆ โดยเฉพาะผักเมืองหนาว จึงได้เข้ามาสอบถาม เรียนรู้ถึงวิธีการปลูกผักเมืองหนาวจากเจ้าหน้าที่ของ ศูนย์ฯ ซึ่งได้รับคำ�แนะนำ�และให้โอกาสในการทดลอง ปลูกผักต่างๆ โดยที่เริ่มปลูกจากแปลงเล็กๆ พื้นที่ไม่ มากก่อน 4 ปีต่อมานุซ้อได้เข้ามาเป็นสมาชิกเกษตรกร โครงการหลวงเต็มตัว เริ่มปรับปรุงพื้นที่สวนที่ได้รับ จากพ่อมาจำ�นวน 10 ไร่ ซึ่งเดิมเป็นสวนลิ้นจี่เก่าขาด การดูแล ให้กลายมาเป็นแปลงผักที่สวยงาม ผักที่นุซ้อ ปลูกมีเบบี้ฮ่องเต้ และคะน้า เป็นหลัก แต่ปีที่ผ่านมา นุซ้อได้ไปศึกษาดูงานด้านการเกษตรจากศูนย์พัฒนา โครงการหลวงต่างๆ ทำ�ให้ได้แนวความคิดในการปลูก พริกหวานสี นุซ้อจึงได้กลับมาปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมฯ และเริ่มทำ�โรงเรือนในการปลูกพริกหวานสี ซึ่งผลที่ได้ประสบความสำ�เร็จเป็นที่น่าพอใจ นุซ้อจึงได้ เริ่มขยายโรงเรือนปลูกพริกหวานสีเพิ่มขึ้น นุซ้อบอกว่า เดิ ม รายได้ข องครอบครั ว มาจากการปลู ก ข้าวโพด ข้าวไร่ ซึ่งจะมีเงินเข้ามาปีละครั้ง แต่พอเข้ามาปลูก ผักกับโครงการหลวงเขามีรายได้ทกุ เดือน เพราะปลูกผัก
46
ROYAL PROJECT JOURNAL
บุคคลในเรื่อง ใช้ระยะเวลาสั้น และสามารถ ปลูกได้ตลอด ทำ�ให้รายได้ของ ครอบครัวดีขน้ึ ความเป็นอยูด่ ขี น้ึ เขายังได้รับความรู้และเทคนิค ในการปลูกพืชผักมากมาย และ ที่สำ�คัญ คือ วิธีการปลูกผักของ โครงการหลวงจะลดการใช้สาร เคมีทเ่ี ป็นอันตรายต่อผูบ้ ริโภคและ ตัวเกษตรกรผูป้ ลูกเอง ทำ�ให้เขา มีสขุ ภาพดีขน้ึ ทัง้ ร่างกายและจิตใจ นุซ้อได้ชักชวนญาติพ่ีน้ อ งและ เพื่อนๆ ที่สนใจในการปลูกผัก ของโครงการหลวง รวมกลุ่มกัน เป็นกลุม่ สมาชิกเกษตรกรโครงการ หลวงขึ้นมา
ทุกวันนี้นุซ้อมีความสุขกับการปลูกผักมาก และตั้งใจว่าจะต้องศึกษา หาความรู้ในการปลูกผักต่อไป เพราะยังมีพืชผักอีกหลายชนิดที่เขายังไม่รู้จัก เขาจึงต้องพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ ในปีนี้นุซ้อวางแผนเพิ่มชนิดผักที่จะปลูกคือ แรดิช กับปวยเหล็ง รวมทั้งเริ่มปลูกไม้ผลเพิ่มเติมคือ มะม่วงนวลคํา ที่เขาสนใจ ผักและไม้ผลเหล่านี้เพราะว่าต้องหาพืชผักที่อดทน เนื่ อ งจากมี ปั ญ หาด้ า นการขนส่ ง ที่ มี ร ะยะทางไกล การขนส่ ง ทำ�ให้ ผ ลผลิ ต ที่ ไปถึ ง ลู ก ค้ า ไม่ ดี เท่ า ที่ ค วร อุปสรรคของนุซ้อนอกจากระยะทางแล้ว ยังมีปัญหา เรื่องพื้นที่การเกษตร กับระบบนํ้า ซึ่งส่งผลต่อการปลูก การดูแล และการเพิม่ ผลผลิต นุซอ้ และกลุม่ เกษตรกร ยังจะต้องหาแนวทางและวิธีในการแก้ไขต่อไป
เมื่อตัวเองและครอบครัวมีความสุข สุขสบายขึ้น ทำ�ให้มีเวลาคิดถึงสังคม มีเวลาในการเข้าไปช่วยเหลือชุมชน ซึ่งนุซ้อก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เป็นเช่นนั้น เขาได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ของชุมชน เป็นอาสาสมัคร อปพร. ของหมู่บ้าน เป็นประธานกลุ่ม อสม. บ้านสิบสองพัฒนา และยังพร้อมที่จะ ช่วยเหลือ พัฒนา กิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน งานต่างๆ เหล่านี้เขาทำ�ด้วยความเต็มใจ นับเป็นความภาคภูมิใจของ เกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรงคนนี้ที่ได้ทำ�งานร่วมกับโครงการหลวง และเขาสัญญาว่าจะชักชวนคนในหมู่บ้านให้เข้ามา เป็นสมาชิกเกษตรกรของโครงการหลวงให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ทำ�อาชีพการเกษตรกรได้อย่างปลอดภัยและมั่นคง ROYAL PROJECT JOURNAL
47
ร้านค้าโครงการหลวง เชียงใหม่
กรุงเทพฯ
บริเวณคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ : 053-211-613, 053-944-087 ต่อ 241
ตลาด อ.ต.ก. ถ.กำ�แพงเพชร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-279-1551
1. ร้านโครงการหลวง สาขาสุเทพ
2. ร้านโครงการหลวง สาขา ท่าอากาศยาน จ.เชียงใหม่ โทรศัพท์ : 053-270-222 ต่อ 2127
3. ร้านค้าโครงการหลวง เชียงใหม่ 89 พลาซ่า 25/26 เชียงใหม่พลาซ่า ถ.เชียงใหม่-ลำ�พูน ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โทรศัพท์ : 053-141-855
เชียงราย
1. ร้านโครงการหลวง สาขา อ.ต.ก.
2. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-942-8656-9 ต่อ 23
3. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานดอนเมือง ชั้น 2 อาคารผู้โดยสารขาออกภายในประเทศดอนเมือง กรุงเทพฯ โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-535-6112
ชั้น G เซ็นทรัลพลาซ่า เชียงราย
4. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา ดิโอลด์สยามพลาซ่า
ประจวบคีรีขันธ์
5. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา บองมาเช่ร์
อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 โทรศัพท์/แฟกซ์ : 053-179920
ร้านโครงการหลวง สาขา หัวหิน
บ้านคชาทอง เลขที่ 214 ซ.หัวหิน 84 ถ.เพชรเกษม ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โทรศัพท์ : 032-514-085
อุดรธานี
ร้านค้าโครงการหลวง สาขา อุดรธานี
277/1-3, 271/5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอุดรธานี ถ.ประจักษ์ศิลปาคม ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 โทรศัพท์ : 042-921275
ดิโอลด์สยามพลาซ่า ถ.ตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-225-0623
105/1 (ห้อง ป.13) ถ.เทศบาลสงเคราะห์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-158-0673
6. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต
PLZ.B.SHP022A 94 ชั้น B ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ถ.พหลโยธิน ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-958-5925
7. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารขาออกภายในประเทศ โทรศัพท์ 02-134-8888 ต่อ 6260
8. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สำ�นักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อาคาร 3 (ภายในโรงอาหาร) ถ.งามวงศ์วาน ลาดยาว กรุงเทพฯ โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-953-1170
9. ร้านค้าโครงการหลวงหัตถกรรม สาขา เซ็นทรัลเวิลด์ 4.4/1-4/2.4/4 ชั้น 2 เซ็นทรัลเวิลด์ โซน D ติด lsetan ถ.ราชดำ�ริ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-640-7000 ต่อ 7974
48
ROYAL PROJECT JOURNAL
ลัดเลาะร้านโครงการหลวง
ร้านโครงการหลวง สาขา อุดรธานี
ตั้งอยู่ เลขที่ 277/1-3, 271/5 ชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัล อุดรธานี (ตรงข้าม TOPS ซุปเปอร์มาร์เก็ต) ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำ�บลหมากแข้ง อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000 โทรศัพท์/โทรสาร 042-921275
ท่านสามารถเลือกซือ้ สินค้า ภายใต้ตรา มูลนิธโิ ครงการหลวง ทัง้ สินค้า บริโภค อุปโภค หนังสือ หรือสินค้าผลิตภัณฑ์หัตถกรรมฝีมือราษฎรในพื้นที่ รับผิดชอบของมูลนิธิโครงการหลวง ที่ได้ผ่านการคัดสรรมาแล้ว
ได้ตั้งแต่เวลา 11.00 - 21.30 น ( วันจันทร์ - วันศุกร์)
และ 10.00-22.00 น. (วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ROYAL PROJECT JOURNAL
49
เกร็ดและแก่นโครงการหลวง
ทรงตั้งธนาคารข้าว เรื่องเล่าจากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง
ที่ ป่าแป๋
ทอดพระเนตรธนาคารข้าวแห่งแรก ความตอนหนึ่งจากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และโครงการหลวง.....ความว่า ...โดยที่โครงการหลวงทำ�งานแล้วไม่ได้อวด ทำ�หลักการปิดทอง หลังพระนัน้ มีผลทำ�ให้กำ�นันท่านหนึง่ ในจังหวัดลำ�ปาง ได้รบั รางวัลเป็น คนไทยตัวอย่าง (หรืออะไรอย่างหนึ่ง) เพราะคิดตั้งธนาคารข้าว แห่งแรกในประเทศไทย รางวัลอันนี้ควรจะทูลเกล้าฯ ถวาย เพราะทรงตั้งธนาคารข้าว ก่อนหน้าท่านกำ�นันหลายปี เรื่องคือ มีหมู่บ้านลั๊วะแห่งหนึ่งชื่อป่าแป๋ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งนักวิจัยสองคนไปทำ�งานและพิสูจน์ แล้วว่า การทำ�ไร่หมุนเวียนของลัว๊ ะและกะเหรีย่ งเป็นเหตุให้ปา่ ไม้ถกู ทำ�ลายอย่างไร่เลือ่ นลอยของชาวเขาเผ่าอืน่ นักวิจยั สองคน คือ Dr. Peter Kunstadter ชาวอเมริกนั และ ดร.สง่า สรรพศรี ชาวไทย ซึง่ ไม่จำ�เป็นต้อง บอกว่าบัดนี้เป็นปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทั้งสองท่านนี้รักลั๊วะเป็นอย่างมาก ท่านแรกพาผู้เขียนไปป่าแป๋ และผู้เขียนก็ทราบว่าลั๊วะก็รักเขา ขนาดตัง้ ให้เป็นลั๊วะกิตติมศักดิ์ และผู้เขียนทราบอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องข้าว
50
ROYAL PROJECT JOURNAL
ป่าแป๋ทำ�นาขัน้ บันไดกับปลูกข้าวไร่ดว้ ย และตามธรรมดามีขา้ วรับประทาน แต่บางปีมเี หตุ เช่น หนูรบกวน หรือฝนตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล ทำ�ให้บางคนต้องกู้เงินเขา ทั้งที่หาหัวเผือกมันในป่ามาช่วยยาไส้อยู่แล้ว เงินนั้น ต้องออกไปกู้ในเมือง แล้วซื้อข้าวแบกกลับบ้าน ข้อร้ายก็คือดอกเบี้ยแพงมาก 50% ต่อ 3-4 เดือน เป็นเหตุให้เกิด เรื่องชนิดเดียวกับดินพอกหางหมู ผู้กู้ก็จะทวีความอดอยากขึ้นทุกปี โดยไม่มีโอกาสจะพ้นจากแอกไปได้ เมื่อถวายรายงานเศร้าเรื่องนี้ ก็มีรับสั่งให้เอาข้าวไปให้เขายืมแทนและธนาคารข้าวแห่งแรกก็บังเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 14 มีนาคม 2513 ที่ป่าแป๋ อำ�เภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้เงินพระราชทาน 20,000 บาท และต่อไปอีกไม่นานหมูบ่ า้ นกะเหรีย่ งใกล้กนั ชือ่ แม่อมุ ลองน้อย ก็ได้รบั พระราชทาน 10,000 บาท สำ�หรับธนาคารข้าว
ธนาคารข้าวดำ�เนินการโดย ใช้หลักการทีพ่ ระราชทานเอาไว้ คื อ ช่ ว ยเขาให้ช่วยตัวเองและ ผู้เขียนเริ่มต้นโดยเรียกประชุม ชาวบ้าน แล้วบอกเขาว่าถ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานข้าวให้เขายืม กิน เขาจะเอาไหม ถ้าเอา ก็ให้ เลือกผูแ้ ทน 5 คน มาดำ�เนินการ ตามกฎเกณฑ์ ดังต่อไปนี้คือ 1. สร้างยุ้งข้าวขึ้นเองเพื่อเก็บข้าวเอาไว้ 2. ตกลงกันว่าผู้ที่ยืมข้าว ควรเสียดอกเบี้ยเท่าไร เขาจะคิด 14 % ต่อ 4-5 เดือน คือจนกระทั่งเก็บเกี่ยวได้ฤดูหน้า 3. ผู้แทนต้องพิจารณาว่าจะให้ใครยืมเท่าไร หรือไม่ 4. เมือ่ ได้เวลา ต้องทวงข้าวคืนพร้อมดอกเบีย้ แล้วเอาใส่ยงุ้ ของธนาคาร เก็บรักษาเอาไว้ 5. เมือ่ ธนาคารมีขา้ วมากพอ ก็จะต้องถวายคืน เพือ่ พระราชทานหมูบ่ า้ น อื่นต่อไป หลัก 5 ข้อนี้ ทรงวางรากมานานแล้ว ตั้งแต่กรณีนายเชื้อ แห่งกลุ่มปลูกผักชะอำ� วันหนึ่งนายเชื้อบ่นว่า ไม่มขี า้ วจะกิน รับสัง่ ถามว่าทำ�ไม นายเชือ้ กราบบังคมทูลว่าผักทีป่ ลูกเอาไว้ยงั เก็บขายไม่ได้ ทรงเห็นว่าสมควรช่วย จึงพระราชทานเงินก้อนหนึง่ ให้ชาวบ้านกลุม่ นัน้ ขอยืมซือ้ ข้าว ใครยืมเท่าไร เมือ่ ไร ก็ให้จดไว้บนกระดาน และเมือ่ ใช้คืนก็บันทึกเอาไว้ สำ�หรับธนาคารข้าวตามแบบฉบับพระราชทานจะมีผลสำ�เร็จยั่งยืนอย่างไรก็ต้องแล้วแต่ พวกผูแ้ ทนของชาวบ้านเอง บางแห่ง เช่น หมูบ่ า้ นแม้วซึง่ คอยระแวงกลัวเสียเปรียบคนอืน่ ธนาคารข้าวจะล้มเลิก ไปไม่นาน เพราะกลัวว่าถ้าใช้คืนแล้วจะเสียเปรียบคนไม่ใช้ อนึ่ง ควรกล่าวด้วยว่าในกรณีที่หมู่บ้านยากจน ธนาคารข้าวจะให้ประโยชน์ยั่งยืนไม่ได้ ถ้าไม่มีการพัฒนาเพิ่มผลผลิตพร้อมไปด้วย อย่างไรก็ตาม หลายแห่ง เช่นที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงชื่อห้วยเคาลิ้บ ที่น้อมเกล้าฯ ถวายคืน ซึ่งพระราชทานหมู่บ้านใกล้กัน ดูเหมือนจะเป็น ห้วยคั่ง อันทำ�ให้ผู้เขียนต้องเล่าเรื่องต่อไป 3 เรื่อง...