FACTS AND FIGURES
2015
FACTS AND FIGURES
2015
ข้อเท็จจริงและสถิติ
ภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558 สนับสนุนโดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.)
จัดทำ�โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ค�ำน�ำ หนังสือ Facts & Figures 2015 : ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพ ภาคใต้ 2558 เล่มนี้ จัดพิมพ์ตอ่ เนือ่ งมาเป็นฉบับที่ 5 แล้วนับตัง้ แต่ปี พ.ศ.2549 โดยรวบรวม ภาวะคุกคามด้านสุขภาพที่ส�ำคัญอาทิ โรคมาลาเรีย ชิคุนกุนยา ไข้เลือดออก อนามัยแม่และ เด็ก สถานการณ์โรคฟันผุในเด็กและผู้สูงอายุ ตามติดรายงานสถานการณ์ต่างๆ ทั้งโรคเอดส์ วัณโรค อุบัติเหตุทางถนน การบริโภคยาสูบ รวมทั้ง ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากฉบับ ที่ผ่านมา เช่น สถานการณ์โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และสถานการณ์การบาดเจ็บจาก ความรุนแรงในเด็ก ในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส คณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการช่วยกระตุ้น เตือนให้ประชาชนหันมาดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ความส�ำเร็จของการจัดท�ำหนังสือจะ เกิดขึ้นมิได้เลยหากข้อมูลต่างๆ ไม่ได้น�ำไปปฏิบัติใช้ได้จริง นอกจากนี้ ความรู้ต่างๆ ยังเป็น เข็มทิศส�ำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถน�ำไปใช้ก�ำหนดนโยบายเสริมสร้างสุขภาวะ ประชาชนต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.อังคณา เธียรมนตรี รองผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) และรองคณบดีฝ่ายวิชาการและการศึกษาหลังปริญญา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
01
สารบัญ โรคมาลาเรีย
03
โรคชิคุนกุนยา
09
โรคไข้เลือดออก
15
สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์และการติดเชื้อเอชไอวีของภาคใต้
23
วัณโรค
29
อนามัยแม่และเด็ก
33
สถานการณ์โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
37
สถานการณ์โรคฟันผุในเด็กและผู้สูงอายุ
41
อุบัติเหตุทางถนน
47
สถานการณ์การบริโภคยาสูบในภาคใต้
53
สถานการณ์การบาดเจ็บจากความรุนแรงในเด็ก ปี 2547-2557 พื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสงขลา (อ.หาดใหญ่ อ.เมือง อ.จะนะ อ.เทพา และ อ.นาทวี)
61
02
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
โรคมาลาเรีย
ปฐมพร พริกชู * โกวิทย์ อนุรัตน์ **
ปี 2556-2557 ภาคใต้มีจำ�นวนผู้ป่วย ด้วยโรคมาลาเรีย 6,600 -7,500 ราย พื้นที่แพร่เชื้อส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าเขา และบริเวณชายแดน
แหล่งข้อมูล : - ส�ำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - ส�ำนักโรคติดต่อน�ำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข * ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา E-mail: porpoh@hotmail.com ** ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช E-mail: tawanna_2005@hotmail.com FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
03
สถานการณ์โรคมาลาเรีย องค์การอนามัยโลกได้ประมาณว่า มีประชากรกว่าครึ่งค่อนโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่ เสี่ยงของโรคมาลาเรีย จากรายงานสรุปสถานการณ์โรคมาลาเรียขององค์การอนามัยโลก ปี 2556 พบว่า มีประเทศที่ยังคงมีพื้นที่แพร่เชื้อของโรคมาลาเรีย จ�ำนวน 97 ประเทศ มี รายงานผูป้ ว่ ยประมาณ 198 ล้านราย พบมากในทวีปแอฟริกา และมีผปู้ ว่ ยเสียชีวติ ประมาณ 584,000 ราย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยเด็กชาวแอฟริกัน และมีการประมาณว่าจะมีผู้ป่วยเด็ก ในทวีปแอฟริกาเสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรียทุกๆ นาที สถานการณ์ของผูป้ ว่ ยมาลาเรียทีพ่ บในประเทศไทย ปี 2557 พบว่ามีผปู้ ว่ ยมาลาเรีย สะสมรวม 30,006 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.46 ต่อพันประชากร จ�ำนวนผู้ป่วยลดลงจาก ปี 2556 ร้อยละ 0.55 กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือ อายุ 15-24 ปี พบเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยร้อยละ 73.65 จะเป็นผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่ และอาชีพหลักของผู้ป่วยเป็นการหาของป่า และเกษตรกร เป็นผู้ป่วยชาวไทย ร้อยละ 76.08 รองลงมาคือ แรงงานเพื่อนบ้านที่มี แหล่งพักพิงแบบถาวรในประเทศไทย ร้อยละ 14.49 และแรงงานเพื่อนบ้านที่ไม่มีถิ่นอาศัย ถาวร ร้อยละ 9.43 ภาคใต้พบผู้ป่วยสูงสุด อัตราป่วย 0.97 ต่อพันประชากร รองลงมาคือ ภาคเหนือ 0.66 ต่อพันประชากร ไข้มาลาเรียเป็นโรคทีพ่ บได้ตลอดปี โดยจ�ำนวนผูป้ ว่ ยสูงสุด จะพบในช่วงฤดูฝน (ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม) ชนิดของเชื้อมาลาเรียที่พบใน ประเทศไทย ส่วนใหญ่พบเชื้อมาลาเรียเรื้อรัง (Plasmodium vivax) ร้อยละ 51.17 รองลงมาคือ เชื้อมาลาเรียชนิดรุนแรง (Plasmodium falciparum) ร้อยละ 37.60 ส�ำหรับสถานการณ์โรคมาลาเรีย 14 จังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2556-2557 จาก รายงานการเฝ้าระวังโรคมาลาเรียของส�ำนักโรคติดต่อน�ำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข พบมีผู้ป่วยด้วยมาลาเรีย จ�ำนวน 7,503 และ 6,665 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.84 และ 0.74 ต่อพันประชากร ตามล�ำดับ เมื่อจ�ำแนกตามรายจังหวัด พบว่าจังหวัดที่มี อัตราป่วยสูงสุดคือ จังหวัดยะลา โดยอัตราป่วย ปี 2556-2557 คือ 7.10 และ 6.47 ต่อพัน ประชากร ตามล�ำดับ รองลงมาคือ จังหวัดระนอง 2.91 และ 1.57 ต่อพันประชากร ตามล�ำดับ ผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 25-44 ปี (ร้อยละ 34.37) รองลงมาคือ 5-14 ปี และ 15-24 ปี ร้อยละ 20.39 และ 19.28 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (สวนยางพารา) ร้อยละ 42.08 รองลงมาคือ เด็ก/นักเรียน ร้อยละ 27.02 ส่วนใหญ่เป็นชาย ร้อยละ 61.90 โรคมาลาเรียใน พื้นที่ภาคใต้จะพบตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม และ ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าเขา และบริเวณ
04
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
ชายแดนไทยกับประเทศเพือ่ นบ้าน เชือ้ ทีพ่ บ คือ Plasmodium falciparum ร้อยละ 69.01 รองลงมา Plasmodium vivax และ Mix Infection ร้อยละ 30.34 และ 0.38 ภาพที่ 1 อัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรีย จ�ำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ปี พ.ศ. 2556-2557 ปี 2556
ปี 2557
ที่มา : ระบบรายงาน รว.7 (Summary of Surveillance Operations) ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 และ 12 ปี พ.ศ. 2556 - 2557
ความรู้เรื่องโรคมาลาเรีย โรคมาลาเรีย เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ อาศัยในเลือดมีมานานกว่า 50,000 ปีแล้ว ติดต่อโดยมียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะ โรคมาลาเรียมีความชุกชุมตามบริเวณที่เป็นป่าเขาและมีแหล่งน�้ำ ในปัจจุบันถือเป็นโรค ประจ�ำถิ่นที่ยังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ ของประชาชน
อาการ โดยทั่วไปมีอาการน�ำคล้ายกับเป็นไข้หวัด คือ มีไข้ ปวดศีรษะ แต่ไม่มีน�้ำมูก ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ อาจมีอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร อาการเหล่านี้อาจเป็น อยู่ในระยะสั้นเป็นวันหรือหลายวันก็ได้ ขึ้นอยู่กับระยะฟักตัวของเชื้อมาลาเรียแต่ละชนิด อาการที่เด่นชัดของโรคมาลาเรียประกอบด้วย 3 ระยะ คือ
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
05
1. ระยะหนาว ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ปากและตัวสั่น ซีด ผิวหนังแห้งหยาบ ใช้เวลาประมาณ 15 - 60 นาที ซึ่งเป็นระยะการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย 2. ระยะร้ อ น ผู ้ ป ่ ว ยจะมี ไ ข้ สู ง อาจมี อ าการคลื่ น ไส้ และอาเจี ย นร่ ว มด้ ว ย ตัวร้อนจัด หน้าแดง กระหายน�้ำ 3. ระยะเหงื่อออก ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกจนเปียกชุ่มร่างกาย หลังจากระยะ เหงื่อออก ร่างกายจะอ่อนเพลียและหายไข้ กลับเหมือนคนปกติ
การติดต่อ 1. โดยถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียในต่อมน�้ำลายกัด และปล่อยเชื้อเข้าสู่ กระแสเลือดคน เป็นวิธีธรรมชาติที่พบได้มากที่สุด 2. ติดต่อจากมารดาซึง่ มีเชือ้ มาลาเรียในร่างกายและถ่ายทอดทางรกไปสูท่ ารกใน ครรภ์ วิธนี พี้ บได้นอ้ ยมาก มักพบได้ในท้องทีท่ มี่ มี าลาเรียชุกชุม กรณีเช่นนีจ้ ะพบระยะฟักตัว สั้นกว่าวิธียุงกัด ทารกแรกเกิดและมารดาจะมีเชื้อมาลาเรียชนิดเดียวกัน 3. ติดต่อโดยวิธีการถ่ายเลือด จะพบในรายที่ผู้บริจาคโลหิตมีความหนาแน่นของ เชื้อมาลาเรียในกระแสโลหิตต�่ำ และไม่มีอาการ หากไม่ได้ท�ำการตรวจโลหิตหาเชื้อมาลาเรีย ก่อน ผู้ป่วยที่รับการถ่ายเลือดจะป่วยเป็นมาลาเรียได้
ชนิดของเชื้อมาลาเรีย เชื้อมาลาเรียเป็นเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว เชื้อมาลาเรีย มีทั้งหมด 5 ชนิด ในประเทศไทยมี 2 ชนิดที่ส�ำคัญ คือ 1. Plasmodium falciparum เป็นเชื้อชนิดรุนแรง ท�ำให้ป่วยหนัก อาจมีอาการ มาลาเรียขึ้นสมอง ถ้ารักษาไม่ทันอาจถึงตายได้ 2. Plasmodium vivax เป็นเชือ้ ชนิดไม่รนุ แรง แต่ถา้ ไม่ได้รบั การรักษาให้หายขาด เชือ้ ชนิดนีส้ ามารถอยูใ่ นร่างกายคนได้นานหลายปี ท�ำให้มอี าการของไข้มาลาเรียเป็นๆ หายๆ
วงจรชีวิตเชื้อมาลาเรีย
เชื้อมาลาเรียนั้นมีการเจริญเติบโตอยู่ 2 ระยะ คือ ในยุงก้นปล่อง และในคน ระยะในยุง เริ่มจากที่ยุงก้นปล่องตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่เป็นไข้มาลาเรีย หลังจากนั้น เชือ้ มาลาเรียจะเข้าไปในกระเพาะอาหารของยุงและผสมพันธุก์ นั ได้ ตัวอ่อนของเชือ้ มาลาเรีย
06
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
จะแบ่งตัวเป็นรูปร่างคล้ายเข็มปลายแหลม เข้าสู่ต่อมน�้ำลายของยุง รอการถ่ายทอดจากยุง ไปสู่คน ระยะในคน (ในตับและเม็ดเลือดแดง) ระยะในตับ เมื่อยุงที่มีเชื้อมาลาเรียกัดคนก็จะปล่อยเชื้อสู่กระแสเลือด และเข้าสู่ เซลล์ตับ มีการแบ่งตัวเพิ่มจ�ำนวนขึ้นเรื่อยๆ (ส�ำหรับเชื้อมาลาเรียไวแวกซ์ (P. vivax) บางส่วนเมือ่ มีการหยุดพักการเจริญชัว่ ขณะในตับ และกลับมาเจริญเติบโตใหม่จงึ เป็นสาเหตุ ของการเกิดอาการไข้กลับ เป็นแล้วเป็นอีกในผู้ป่วย) ระยะในเม็ดเลือดแดง เริ่มจาก เชื้อมาลาเรียแตกออกจากเซลล์ตับเข้าสู่เม็ดเลือดแดง และมีการเจริญแบ่งตัวเพิ่มจ�ำนวน มากขึ้น สามารถตรวจหาเชื้อมาลาเรียในเลือดของผู้ป่วยได้ในระยะนี้
ชีวนิสัย ยุงก้นปล่องแต่ละชนิดแม้มชี ว่ งเวลาออกหากินแตกต่างกัน แต่สว่ นใหญ่ออกหากิน เวลากลางคืนดังกล่าวมาแล้ว เช่น ยุงก้นปล่องชนิดแมคคูลาตัส ออกหากินพลบค�ำ่ และสูงสุด เวลา 19.00 - 22.00 น. แล้วค่อยๆ ลดหายไปหลัง 24.00 น. ยุงก้นปล่องชนิดไดรัส พบมาก เวลาค่อนข้างดึกและพบเรื่อยไปจนรุ่งสาง ยุงก้นปล่องชนิดมินิมัส ออกหากินตลอดทั้งคืน สม�ำ่ เสมอ ยุงพาหะเหล่านีช้ อบออกหากินนอกตัวอาคารบ้านเรือน และชอบกินเลือดสัตว์ใหญ่ เช่น วัว กระบือ และคน
การป้องกันและการควบคุมโรค 1. ป้องกันยุงกัดโดยลดการสัมผัสระหว่างคนกับยุงพาหะ โดยการนอนในมุ้ง สวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกาย ใช้ยาทากันยุง 2. การจัดการพาหะน�ำโรคแบบผสมผสาน โดยจัดการปรับปรุงสิง่ แวดล้อมไม่ให้มี แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงพาหะ และเลือกใช้ทรัพยากร กลวิธี หรือสารเคมีที่เหมาะสมในการ ป้องกันควบคุมลูกน�้ำและยุงพาหะตัวเต็มวัย โดยค�ำนึงถึงสภาพพื้นที่และการมีส่วนร่วมของ ชุมชน 3. ส�ำหรับประชาชนในพืน้ ทีท่ มี่ กี ารแพร่เชือ้ ของโรคมาลาเรียต้องให้ความร่วมมือ กับเจ้าหน้าที่ โดยรับการพ่นสารเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้างบนพื้นผิวอาคาร บ้านเรือน และใช้มุ้ง ชุบสารเคมีกางนอน เพื่อป้องกันตนเองและบุคคลในครอบครัว 4. ท่านที่เดินทางไปในพื้นที่แพร่เชื้อ ประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรือมีอาการสงสัย โรคมาลาเรียให้รีบไปรับการเจาะโลหิตเพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ณ มาลาเรียคลินิก หรือ FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
07
สถานพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และให้ประวัติการค้างแรมที่แท้จริง แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัย รักษา และป้องกันควบคุมโรค อ้างอิง 1. World Health Organization. World malaria report 2014. World Health Organization; 2014. p. 1-2. 2. ส�ำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงาน 506 ประจ�ำปี 2556-2557. ส�ำนักระบาดวิทยา. นนทบุรี; 2557. 3. ส�ำนักโรคติดต่อน�ำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ โรคมาลาเรีย ประจ�ำสัปดาห์ที่ 1-52 ปี พ.ศ. 2557. ส�ำนักโรคติดต่อน�ำโดยแมลง. นนทบุร;ี 2557. 4. ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช. รว.7 Summary of Surveillance Operations: ส� ำ นั ก งานป้ อ งกั น ควบคุ ม โรคที่ 11 จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช. นครศรีธรรมราช; 2557. 5. ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา. รว.7 Summary of Surveillance Operations: ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา. สงขลา; 2557. 6. ส�ำนักโรคติดต่อน�ำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. แนวทางการปฏิบัติงานควบคุมโรคมาลาเรีย ส�ำหรับบุคลากรสาธารณสุข พ.ศ.2552. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: เรดิเอชั่น; 2552. 7. ส�ำนักโรคติดต่อน�ำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. แนวทางการจัดการพาหะน�ำโรคแบบผสมผสาน ส�ำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย; 2555. 8. กรมควบคุมโรค ส�ำนักโรคติดต่อน�ำโดยแมลง. คู่มือการใช้ยารักษามาลาเรีย ในผู้ป่วยชนิดไม่มี ภาวะแทรกซ้อน ส�ำหรับบุคลากรสาธารณสุข (ปรับปรุงปี พ.ศ.2557). กรุงเทพ: โรงพิมพ์ ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.
08
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
โรคชิคุนกุนยา พัชนี นัครา*
ปี 2557 เชื้อไวรัสชิคุนกุนยาสายพันธุ์ Central/East African กลับมาระบาดในกลุ่มคน ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรค การควบคุมโรคให้ได้ผลต้อง ทำ�ลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายสวนและป้องกัน ตนเองไม่ให้ยุงกัดไปพร้อมๆ กัน
แหล่งข้อมูล : - ส�ำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข * ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา E-mail: pnakkhara@gmail.com FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
09
สถานการณ์โรคชิคุนกุนยา โรคชิคนุ กุนยาเป็นโรคติดเชือ้ ไวรัสทีม่ ยี งุ ลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะน�ำโรค ในประเทศไทยพบการติดเชื้อชิคุนกุนยาในยุงลายสวนมากกว่ายุงลายบ้านประมาณ 5 เท่า โรคชิคุนกุนยามีรายงานการระบาดครั้งแรกในประเทศแทนซาเนีย เมื่อปี 2496 ต่อมา ในปี 2547-2552 โรคกลับมาระบาดใหญ่ในหลายประเทศของทวีปเอเชีย แอฟริกา และขยาย วงกว้างไปถึงบางประเทศของยุโรปและอเมริกา เนือ่ งจากการเดินทางท่องเทีย่ ว อย่างไรก็ตาม ประเทศที่โรคเคยระบาดมาแล้วก็อาจเกิดระบาดซ�้ำได้อีกใน 4-8 ปี ประเทศไทยมีการรายงานผู้ป่วยครั้งแรกเป็นสายพันธุ์ Asian เมื่อปี 2501 ซึ่งเป็น ครั้งแรกในเอเชียอาคเนย์ การระบาดใหญ่ของโรคชิคุนกุนยาครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในภาคใต้ เมื่ อ ปี 2551-2552 ทั้ ง นี้ ก ารระบาดมี จุ ด เริ่ ม ต้ น มาจากอ� ำ เภอยี่ ง อ จั ง หวั ด นราธิ ว าส หลังจากนั้นโรคได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วภาคใต้และทุกภูมิภาคของประเทศไทย (ภาพที่ 1) สาเหตุการระบาดครั้งนี้เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาสายพันธุ์ Central/East African ซึ่งไม่เคยระบาดในประเทศไทยมาก่อนและเป็นสายพันธุ์เดียวกันกับที่ก�ำลังระบาด ไปทั่วโลกในขณะนั้น รวมทั้งสายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์ของยีน E1-A226V โดยเชื้อไวรัส สามารถแบ่งตัวได้ดีในกระเพาะอาหารของยุงลายสวนประมาณ 4 เท่า ส�ำหรับในภาคใต้ ข้อมูลจากส�ำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าปี 2552 ทุกจังหวัดมีอตั ราป่วยด้วยโรคชิคนุ กุนยามากกว่า 100 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยสูงสุด ในจังหวัดนราธิวาส ส่วนจังหวัดสตูลมีอัตราป่วยต�่ำสุด ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาอัตราป่วย ลดลงเป็นล�ำดับ แต่ในปี 2557 โรคชิคนุ กุนยาได้กลับมาระบาดอีกครัง้ ในจังหวัดนราธิวาส แต่ ลักษณะการระบาดเป็นกลุม่ ก้อนเล็กๆ ในบางพืน้ ที่ ข้อมูลจากการสอบสวนโรคพบว่าผูป้ ว่ ย กลุ่มนี้เป็นผู้ป่วยที่ไม่เคยมีประวัติการติดเชื้อหรืออาการที่เข้าได้กับโรคชิคุนกุนยามาก่อน ส�ำหรับปัจจัยสนับสนุนให้โรคชิคนุ กุนยาระบาดอย่างรวดเร็วในภาคใต้นนั้ เนือ่ งจาก พื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคใต้เป็นสวนยางพารา (ร้อยละ 80) และประชากรส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพท�ำสวนยางพารา (ร้อยละ 60) โดยช่วงเวลาท�ำงานในสวนยางเป็นเวลาเดียวกับ การออกหากินของยุงลายสวน จากการควบคุมการระบาดของโรคชิคุนกุนยาที่ผ่านมาพบว่าข้อมูลที่ได้จากระบบ รายงานการเฝ้าระวังโรคเชิงรับ (passive surveillance) แบบการใช้โรงพยาบาลเป็นฐาน
10
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
(hospital-based) ยังไม่ไวพอที่จะควบคุมโรคได้ทันเหตุการณ์เนื่องจากผู้ป่วยร้อยละ 50 ไม่ได้มารับการรักษาในสถานบริการของรัฐบาล ดังนั้น ควรท�ำการเฝ้าระวังโรคเชิงรุก (active surveillance) เสริมคู่ขนานจากเครือข่ายไปพร้อมกัน เช่น ร้านขายยาหรือคลินิก เอกชน เพื่อให้มีข้อมูลประเมินสถานการณ์โรคได้ใกล้เคียงกับสถานการณ์การเกิดโรคที่ เป็นจริงมากที่สุด นอกจากนี้ในการควบคุมโรคชิคุนกุนยาซึ่งมียุงลายสวนเป็นพาหะน�ำโรค โดยการพ่นสารเคมีให้ครอบคลุมพืน้ ทีส่ วนทัง้ หมดนัน้ ท�ำได้ยากและไม่คมุ้ ค่า ดังนัน้ การป้องกัน ตนเองไม่ให้ยุงกัด เช่น การทายากันยุง การสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด รวมทั้งการ ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายสวนบริเวณบ้านในระยะ 5-10 เมตรซึ่งเป็นภาชนะไม่ใช้แล้ว ได้แก่ จอกยางแตก ยางรถยนต์ ไปพร้อมๆ กันจึงจะท�ำให้การควบคุมโรคชิคุนกุนยาได้ผล สถานการณชิคุนกุนยา
ภาพที่ 1 อัตราป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา จ�ำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ปี 2551-2557 ป 2551
ระนอง
ป 2552
ชุมพร
ระนอง
สุราษฎรธานี พังงา กระบี่
ภูเก็ต
ป 2553
ชุมพร
ระนอง
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
กระบี่
ภูเก็ต ตรัง พัทลุง สตูล
สตูล
ระนอง
กระบี่
สตูล
นครศรีธรรมราช
ภูเก็ต
ระนอง
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
ตรัง พัทลุง สงขลา
ปตตานี
สตูล
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
ชุมพร
อัตราตอแสนประชากร 0 0.1 - 1 1.1 - 10 10.1 - 50 50.1 - 100 > 100
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
ภูเก็ต ตรัง พัทลุง
ตรัง พัทลุง สตูล
กระบี่
นครศรีธรรมราช
ป 2557
ชุมพร
พังงา
กระบี่
ยะลา นราธิวาส
สุราษฎรธานี
สุราษฎรธานี
ภูเก็ต
ภูเก็ต
ปตตานี
ป 2556
ชุมพร
สุราษฎรธานี
ตรัง พัทลุง สงขลา
ชุมพร
พังงา
นครศรีธรรมราช
ยะลา นราธิวาส
ป 2555
พังงา
กระบี่
ภูเก็ต
ปตตานี
ระนอง
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
ยะลา นราธิวาส
ระนอง
ชุมพร
ตรัง พัทลุง สงขลา
ป 2554
สตูล
กระบี่
นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง
สงขลา
สตูล
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
ที่มา : ส�ำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
11
ความรู้โรคชิคุนกุนยา โรคชิคุนกุนยา หรือ ไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อเกิดจากไวรัส Alphavirus (Family Togaviridae) โดยมียุงลายเป็นพาหะ
การวินิจฉัย มีหลายวิธีในการวินิจฉัยโรคโดยใช้การตรวจทางน�้ำเหลืองวิทยา (Serological tests) เช่น Enzyme-Linked Immunosorbent Assays (ELISA) และตรวจยืนยันโดย IgM และ IgG anti-chikungunya antibodies โดย IgM จะขึ้นสูงสุดใน 3-5 สัปดาห์หลังจากไข้ จนประมาณ 2 เดือน หรือวิธีอื่น เช่น Reverse Transcriptase-Polymerase Chain Reaction (RT-PCR)
อาการ ไข้สงู ทันทีทนั ใดตามด้วยปวดข้อรุนแรง ปวดกล้ามเนือ้ ปวดศีรษะ คลืน่ ไส้ อาเจียน มีผื่น อาการปวดข้อจะหายไปหลังไข้ลดภายใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางราย มีอาการปวดข้ออาจคงอยู่นานเป็นเดือนหรือปี การเสียชีวิตอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ไม่ได้รับ การวินิจฉัย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่ค่อยพบโรค หรืออาจท�ำให้วินิจฉัยพลาดได้ โดยเฉพาะ พื้นที่ที่มีไข้เด็งกี (ไข้เลือดออกเด็งกี) เป็นโรคประจ�ำถิ่น เนื่องจากอาการคล้ายกัน
การรักษา
ยังไม่มียารักษาจ�ำเพาะ จึงรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาพาราเซตามอล ลดไข้ และ ยังไม่มีวัคซีน
การติดต่อ เชื้อไวรัสถ่ายทอดจากคนสู่คน โดยยุงลายเป็นพาหะส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดการระบาด ใหญ่ของชิคุนกุนยา คือ ยุงลายบ้านและยุงลายสวน ซึ่งหากินเวลากลางวันโดยเฉพาะเวลา เช้าและเย็น ยุงทั้งสองชนิดสามารถหากินนอกบ้านได้ ส่วนใหญ่ยุงลายบ้านหากินในบ้าน พบในเขตร้อน (Tropics and sub-tropics) ส่วนยุงลายสวนพบทั่วไปในเขตร้อนหรือในเขต หนาว ในทศวรรษที่ผ่านมาพบว่าแพร่อยู่ในทวีปเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกา หลังจาก โดนยุงเพศเมียที่มีเชื้อกัดแล้วแสดงอาการไข้โดยมีระยะฟักตัว ประมาณ 4-8 วัน หรืออาจ นานถึง 12 วัน
12
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
การแพร่กระจายของโรคในด้านสิ่งแวดล้อม จากการระบาดใหญ่ของโรคชิคุนกุนยาครั้งล่าสุดในหลายประเทศที่ผ่านมา พบว่า ปัจจัยส�ำคัญประการหนึง่ ทีท่ ำ� ให้การแพร่กระจายของโรคเกิดขึน้ อย่างรวดเร็วและในวงกว้าง คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศวิทยา ที่เอื้อต่อการกระจายหรือการระบาดของโรคมากขึ้น เช่น ความชุกชุม การเปลี่ยนแปลง ทางชีววิทยาและชีวนิสัยของยุงลาย โดยเฉพาะในภาคใต้พบการระบาดของโรคไปยังพื้นที่ ใหม่ได้อย่างรวดเร็วมากกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากภูมิประเทศของภาคใต้ ประมาณร้อยละ 80 เป็นสวนยางพารา มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นซึ่งเหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัย การเจริญเติบโต และเพิม่ จ�ำนวนของยุงลายสวน นอกจากนี้ ยุงลายมีการปรับตัวในการวางไข่ได้ทงั้ ในภาชนะ ที่เป็นวัสดุธรรมชาติ เช่น กาบใบของต้นไม้ ง่ามต้นไม้ ใบไม้ที่ร่วงตามพื้นดิน และวัสดุไม่ใช่ ธรรมชาติ เช่น จานรองกระถางต้นไม้ แจกันดอกไม้ แก้วพลาสติก ยางรถยนต์ ท�ำให้ สิ่งแวดล้อมทั้งในและบริเวณนอกบ้านเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญอย่างยิ่งในการแพร่กระจายของ โรคได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การทิ้งภาชนะที่ใช้แล้วนอกบ้าน หรือมีกองขยะบริเวณบ้าน สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่ส�ำคัญ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมมือกัน รักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกบ้านให้สะอาดถูกสุขลักษณะ
การป้องกันและควบคุมโรค 1. ป้องกันยุงกัดโดยลดการสัมผัสระหว่างคนกับยุงพาหะ โดยการนอนในมุ้ง สวม เสื้อผ้าปกปิดร่างกาย ใช้ยาทากันยุง 2. การจัดการพาหะน�ำโรคแบบผสมผสาน โดยการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อ มิให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะ ใช้สารฆ่าลูกน�้ำ หรือควบคุม ทางชีววิธี เช่น ปล่อย ปลากินลูกน�้ำ 3. หลีกเลีย่ งการเดินทางไปพืน้ ทีท่ มี่ กี ารระบาดของโรคชิคนุ กุนยา หากเลีย่ งไม่ได้ตอ้ ง ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด 4. หากมีขอ้ สงสัย สามารถรับค�ำปรึกษาได้ที่ ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรค โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพประจ�ำต�ำบล โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข ทุกแห่ง ใกล้บ้านท่าน
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
13
เอกสารอ้างอิง 1. Thavara U, Tawatsin A, Chansang C, et al. Larval occurrence, oviposition behavior and biting activity of potential mosquito vectors of dengue on Samui Island, Thailand. J Vector Ecol 2001;26:172-80. 2. Lumsden WH. An epidemic of virus disease in Southern Province, Tanganyika Territory, in 1952-53. II. General description and epidemiology. Trans R Soc Trop Med Hyg. 1955;49:33-57. 3. ส�ำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังประจ�ำปี 2551. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/Annual/ Annual%202551/Part2_51/Annual_MenuPart2_51.html 4. ส�ำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังประจ�ำปี 2552. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/Annual/ Annual%202552/AESR52_Part2/Month%2052/Month%2052%20ds84.pdf 5. ส�ำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังประจ�ำปี 2553. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/Annual/ aesr2553/AESR53_Part2/Month/Month%2053%20ds84.pdf 6. ส�ำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังประจ�ำปี 2554. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/Annual/ AESR2011/index.html 7. ส�ำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังประจ�ำปี 2555. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/Annual/ AESR2012/main/AESR55_Part2/table9.pdf 8. ส�ำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังประจ�ำปี 2556. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/Annual/ AESR2013/table/table9.pdf 9. ส�ำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังประจ�ำปี 2557. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/boedb/ surdata/disease.php?dcontent=old&ds=84 10. ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา. ไข้ปวดข้อยุงลายในภาคใต้ตอนล่าง. สงขลา: ธีระวัฒน์เซ็นเตอร์; 2553.
14
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
โรคไข้เลือดออก
ดร.ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์*
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อ น�ำโดยยุงลายยังไม่มีวัคซีนและไม่มียารักษา เฉพาะโรค หากรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ ประชาชนจึงต้อง ตระหนักและมีส่วนร่วมในการก�ำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลายและก�ำจัดยุงลายเต็มวัยด้วยกิจกรรม “เปลี่ยน ปิด ปล่อย ปรับปรุง ปฏิบัติเป็นประจ�ำ และ ขัดไข่ยุงจากภาชนะ” (5 ป 1 ข) อย่างสม�่ำเสมอ รวมทั้งรับการพ่นเคมีก�ำจัดยุงลายในบ้าน และรอบบ้านช่วงการระบาด
แหล่งข้อมูล - สำ�นักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - สำ�นักโรคติดต่อนำ�โดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - World Health Organization. Dengue and severe dengue * สำ�นักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา E-mail: thanittha_dit@hotmail.com FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
15
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก มีรายงานการระบาดของไข้เดงกี (DF) ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2322-23 ในเอเชีย แอฟริกาและอเมริกาเหนือ ต่อมาการระบาดของไข้เลือดออก (DHF) ได้เกิดขึ้นอย่าง กว้างขวาง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มมีรายงานการเกิดโรคจากภูมิภาคแปซิฟิก อเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การระบาดใหญ่เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ เมือ่ ปี พ.ศ. 2497 ปัจจุบนั พบไข้เลือดออกทัง้ ในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุน่ (subtropical) ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เอเชียตะวันออก เฉียงใต้ และแปซิฟิก ประเทศไทยเริ่มพบโรคไข้เลือดออกประปราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 และ การระบาดใหญ่ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในเขตกรุงเทพ-ธนบุรี สถานการณ์ โรคไข้เลือดออกของประเทศไทยตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2501-45 มีแนวโน้มทีส่ งู ขึน้ และมีการระบาด หลายลักษณะ เช่น ระบาดปีเว้นปี ปีเว้น 2 ปี หรือระบาดติดต่อกัน 2 ปี แล้วเว้น 1 ปี แต่ในระยะ 15 ปีย้อนหลัง ลักษณะการระบาดมีแนวโน้มระบาด 2 ปี เว้น 2 ปี ส่วนใหญ่ ผู้ปว่ ยจะอยูใ่ นกลุ่มอายุ 0-14 ปี อัตราป่วยสูงสุดในกลุม่ อายุ 5-9 ปี อัตราส่วนผูป้ ว่ ยเพศหญิง ต่อเพศชายใกล้เคียงกัน พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ส�ำนักระบาด วิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2557 พบว่า ภาคใต้มีอัตราป่วย ไข้ เ ลื อ ดออกสู ง สุ ด (136.5 ต่ อ แสนประชากร) ภาพรวมประเทศ พบอั ต ราป่ ว ยต่ อ แสนประชากร สูงสุด 5 อันดับแรก คือจังหวัดแม่ฮ่องสอน (245.5 ต่อแสนประชากร) กระบี่ (227.83 ต่อแสนประชากร) ปัตตานี (226.23 ต่อแสนประชากร) จันทบุรี (209.7 ต่อแสนประชากร) และนครศรีธรรมราช (209.1 ต่อแสนประชากร) ตามล�ำดับ พบมากใน กลุ่มอายุ 15-24 ปี (3,353 ราย), 10-14 ปี (2,226 ราย), 25-34 ปี (1,870 ราย) (ดังภาพที่ 1 ก-ข) พบมากสุดคือ DEN-3 (ร้อยละ 35.3)
16
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
จ�ำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกรายสัปดาห์ จ�ำแนกรายภาค ประเทศไทย ปี 2557 จ�ำนวน
600 400 200
1
5
10
15
20
25
30
35
40
45
อัตราต่อแสนประชากร
เหนือ
กลาง
ตะวันออกเฉียงเหนือ
50
สัปดาห์ ใต้
ภาพที่ 1 ก. ภาพที่ 1 ข. ภาพที่ 1 ก อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออก ประเทศไทย จ�ำแนกรายภาค ปี 2557 ภาพที่ 1 ข จ�ำนวนป่วยด้วยไข้เลือดออก ประเทศไทย จ�ำแนกรายภาคและรายสัปดาห์ ปี 2557 ที่มา : ส�ำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ปี 2556 พบภาคใต้มีอัตราป่วยไข้เลือดออกสูงสุดเป็นอันดับ 2 (375.1 ต่อแสน ประชากร) รองจากภาคเหนือ (382.9 ต่อแสนประชากร) โดยภาพรวมประเทศ พบอัตราป่วย ต่อแสนประชากร สูงสุด 5 อันดับแรก คือจังหวัดเชียงราย (1,106.9 ต่อแสนประชากร) แม่ฮ่องสอน (763.9 ต่อแสนประชากร) เชียงใหม่ (688.2 ต่อแสนประชากร) ภูเก็ต (456.81 ต่อแสนประชากร) และกระบี่ (297.69 ต่อแสนประชากร) ตามล�ำดับ ซึง่ ปี 2556 พบ จ�ำนวน ผู้ป่วยติดเชื้อเดงกีสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลังตลอดทั้งปี เนื่องจากปี 2555 การระบาด ของโรคไข้เลือดออกผิดฤดูกาล ปกติชว่ งเดือนพฤษภาคม-กันยายน แต่กลับระบาดช่วงเดือน ตุลาคม- ธันวาคม ท�ำให้การระบาดต่อเนื่องไปจนปี 2556 โดยเฉพาะต้นปี (ภาพที่ 2)
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
17
สถานการณไขเลือดออก ป 2556
ป 2555
ระนอง
ชุมพร
พังงา กระบี่
ชุมพร
ระนอง
ระนอง
สุราษฎรธานี
สุราษฎรธานี
ภูเก็ต
ป 2557
พังงา
นครศรีธรรมราช
ภูเก็ต
กระบี่
สตูล
สงขลา
ปตตานี
อัตราสวน
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
ภูเก็ต ตรัง พัทลุง
ตรัง พัทลุง
ชุมพร
สตูล
กระบี่
นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง
สงขลา
ยะลา นราธิวาส
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
สตูล
สงขลา
ปตตานี
23.39 - 117.32 117.33 - 211.25 211.26 - 305.18 305.19 - 399.11 399.12 - 493.04
ยะลา นราธิวาส
ภาพที่ 2 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จ�ำแนกเป็นรายจังหวัดในภาคใต้ ปี 2555-2557 อาชีพพบสูงสุด คือนักเรียน ร้อยละ 52.3 เป็นรายงานจากโรงพยาบาลชุมชน มากที่สุด ร้อยละ 48.3 และเป็นผู้ป่วยนอกเข้ารับการรักษา (ไม่ได้นอนรักษาในโรงพยาบาล) ร้อยละ 36.8 ผู้ป่วยอยู่ในเขตชนบทหรือองค์การบริหารส่วนต�ำบลร้อยละ 66.4 ปี 2555-56 พบสัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1:1 กลุ่มอายุ 10-14 ปี ป่วยมากที่สุด และภาพรวมปี 2556 พบ DEN-3 มากที่สุด (ร้อยละ 35.7) แต่ปี 2555 ภาพรวมพบ DEN-2 มากที่สุด (ร้อยละ 47.2) ปัจจัยส�ำคัญต่อการแพร่กระจายของโรคมีความซับซ้อนแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น ความหนาแน่นของประชากรและการเคลื่อนย้าย ภูมิต้านทานของประชาชน ชนิดของ เชื้อไวรัสเดงกี สภาพภูมิอากาศ ชนิดยุงพาหะ ความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักของ ประชาชนในการก�ำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน�้ำยุงลายอย่างจริงจังต่อเนื่อง นโยบายและ การท�ำงานเข้มข้นจริงจังของบุคลากรภาครัฐและความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งล้วน มีผลต่อการแพร่กระจายของโรคและยังมีผลท�ำให้รูปแบบการเกิดโรคไข้เลือดออกผันแปร
ความรู้โรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ มียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นพาหะน�ำโรคหลัก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus infection) ซึง่ มี 4 serotypes คือ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4 เป็น single - strand RNA จัดอยู่ใน genus Flavivirus และ family Flaviviridae ทั้ง 4 serotypes มี antigen
18
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
ร่วมบางชนิด จึงท�ำให้มี cross reaction และ cross protection ได้ในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสเดงกีชนิดหนึ่งจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีชนิดนั้นตลอดไป (long lasting homotypic immunity) และจะมีภูมิคุ้มกัน cross protection ต่อชนิดอื่น (heterotypic immunity) ประมาณ 6-12 เดือน ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีไวรัสเดงกีชุกชุม อาจมีการติดเชื้อ 3 หรือ 4 ครั้งได้
การติดต่อ เมือ่ ยุงลายตัวเมียกัด (ภาพที่ 3) ยุงฉีดน�ำ้ ลายลงบริเวณทีเ่ จาะดูดเลือดเพือ่ ให้เลือด เจือจางลง ท�ำให้ดูดเลือดง่าย อาจท�ำให้แพ้ คัน แล้วดูดเลือดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่อยู่ใน ระยะไข้สงู ประมาณวันที่ 2-4 ซึง่ เป็นระยะทีม่ ไี วรัสอยูใ่ นกระแสเลือดมาก จึงเป็นระยะติดต่อ จากคนสู่ยุง เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจ�ำนวนมากขึ้น ซึ่งระยะเวลาการเพิ่ม จ�ำนวนไวรัสเดงกี ในยุง ใช้เวลาประมาณ 8-10 วัน แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน�้ำลาย พร้อมที่จะ เข้าสู่คนที่ถูกกัดต่อไป แล้วเมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูก ยุงลายกัด จึงเป็นระยะติดต่อจากยุงสู่คน ในคนจะมีระยะฟักตัว หมายถึง เมื่อเชื้อไวรัสเดงกี เข้าสู่ร่างกายแล้วแสดงอาการใช้เวลาประมาณ 3-14 วัน โดยทั่วไปประมาณ 5-8 วัน ท�ำให้ คนนัน้ ป่วยได้ โดยคนทีม่ ลี ักษณะเป้าหมายหลักที่ยงุ ชอบกัด คือ เด็กเพราะกลิน่ และลักษณะ ผิวหนัง ผู้หญิงเพราะฮอร์โมน คนที่มีเหงื่อออกมาก ตัวร้อนอุณหภูมิบริเวณผิวหนังสูง คนที่ หายใจแรงเพราะคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมากับลมหายใจเป็นตัวดึงดูดยุง คนที่ใส่ เสื้อผ้าสีเข้มมากกว่าสีขาว
ภาพที่ 3 ยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
ที่มา : WHO/TDR/Stammers http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs117/en/
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
19
อาการของโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันได้ ตั้งแต่มีอาการคล้าย ไข้เดงกี (Dengue Fever : DF) ไปจนถึงมีอาการรุนแรง (Dengue Hemorrhagic Fever : DHF) และรุนแรงมาก จนถึงช็อกและเสียชีวิต (Dengue Shock Syndrome : DSS) (ภาพที่ 4) การติดเชื้อไวรัสเดงกี ไม่มีอาการ Viral syndrome ไข้เดงกี (Classical DF)
มีอาการ ไข้เดงกี (DF) ไข้เดงกีที่มีเลือดออก ผิดปกติ
ไข้เลือดออกเดงกี (DHF) มีการรั่วของ พลาสมา
ไม่ช็อก
ช็อก (DSS)
ภาพที่ 4 อาการและอาการแสดงเมื่อผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเดงกี โรคไข้เลือดออกเดงกี มีอาการส�ำคัญแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส บางรายอาจมีอาการชัก ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง ไม่มีอาการน�้ำมูกไหลหรือไอ เบื่ออาหาร อาเจียนและไข้จะสูงลอยอยู่ 2-7 วัน อาจพบมีผนื่ ขึน้ อาการเลือดออกทีพ่ บบ่อยคือ ทีผ่ วิ หนัง ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆ อาจมีเลือดก�ำเดา เลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจมี อาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ระยะวิกฤต/ช็อก ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง มีภาวะไหลเวียน โลหิตล้มเหลวเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว อาจท�ำให้ เกิดอาการช็อกได้ ในรายที่ช็อก ผู้ป่วยมักมีอาการหลังไข้ลง โดยจะเริ่มซึมลง ตัวเย็น ชีพจร เบาเร็ว หมดสติ เวลาทีเ่ กิดช็อกจึงขึน้ อยูก่ บั ระยะเวลาทีม่ ไี ข้ อาจเกิดได้ตงั้ แต่วนั ที่ 3 ของโรค (ถ้ามีไข้ 2 วัน) หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค (ถ้ามีไข้ 7 วัน) ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการ เปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รบั การรักษาผูป้ ว่ ยจะมีอาการเลวลง และหากรักษาไม่ทนั เสียชีวิตได้ภายใน 12-24 ชั่วโมง หลังเริ่มมีภาวะช็อก
20
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
ระยะฟื้นตัว ระยะฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลด ส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยช็อกถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีจะฟื้นตัวอย่าง รวดเร็ว ระยะฟื้นตัวมีช่วงเวลาประมาณ 2-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี จึงรักษาแบบประคับประคองตามอาการ แพทย์ผู้รักษาจะต้องเข้าใจธรรมชาติของโรค ให้การดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด ต้องมีการดูแลรักษา พยาบาลทีด่ ตี ลอดระยะวิกฤต คือ ช่วง 24-48 ชัว่ โมง ทีม่ กี ารรัว่ ของพลาสมา การรักษาระยะ ไข้สูง บางรายอาจมีอาการชักได้ถ้าไข้สูงมาก ให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาพวกแอสไพริน, ibrupophen, steroid เพราะจะท�ำให้เกล็ดเลือดเสียการท�ำงาน ระคายกระเพาะท�ำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น ให้ผู้ป่วยได้สารน�้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ มีไข้สงู เบือ่ อาหาร และอาเจียน ท�ำให้ขาดน�ำ้ และเกลือโซเดียม ควรให้ผปู้ ว่ ยดืม่ น�ำ้ ผลไม้หรือ สารละลายผงน�้ำตาลเกลือแร่ ติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและ ป้องกันภาวะช็อกได้ทนั เวลา ดูการเปลีย่ นแปลงของเกล็ดเลือดและ hematocrit เป็นระยะๆ หากปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มลดลง และ hematocrit เริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าน�้ำเหลืองรั่ว ออกจากเส้นเลือดและอาจจะช็อกได้ จ�ำเป็นต้องให้สารน�ำ้ ชดเชย ส�ำหรับผูป้ ว่ ยทีม่ ภี าวะช็อก หรือเลือดออก แพทย์จะต้องให้การรักษาเพื่อแก้ไขสภาวะดังกล่าว ด้วย สารน�้ำพลาสมา หรือสาร colloid อย่างระมัดระวัง เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยและป้องกันโรคแทรกซ้อน
การป้องกันและควบคุมโรค การป้องกันโรคล่วงหน้า ระยะที่ 1 ก่อนการระบาด (มกราคม-เมษายน) ในพืน้ ที่ ด�ำเนินการ 6ร. ได้แก่ โรงเรือน (ชุมชน) โรงเรียน โรงพยาบาล โรงธรรม (ศาสนสถาน) โรงงาน (ชุมชนที่พักโรงงาน) โรงแรม (สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พัก) ดังนี้ (1) ให้ความรู้สุขศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องสาเหตุและปัจจัยที่ท�ำให้ป่วยและ การป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการจัดการบ้านเรือนและสภาพแวดล้อมไม่ให้มีแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงหรือเป็นที่อยู่อาศัยของยุงลาย ผ่านช่องทางต่างๆ (2) การก�ำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ดังนี้ วิธีทางกายภาพ โดยการปิดฝาภาชนะ กักเก็บน�้ำ วิธีทางชีวภาพ โดยการปล่อยปลากินลูกน�้ำลงในภาชนะ และวิธีทางเคมี โดย การใส่สารเคมีฆ่าลูกน�้ำยุงลาย ได้แก่ ทรายทีมีฟอส FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
21
การควบคุมการระบาด ระยะที่ 2 ระบาด (พฤษภาคม- สิงหาคม) ดังนี้ การก�ำจัดยุงตัวเต็มวัย ด้วยการพ่นเคมี (Space spray) เป็นวิธีควบคุมยุงลายที่มี ประสิทธิภาพ แต่ให้ผลระยะสั้นเหมาะส�ำหรับช่วงที่เกิดการระบาดของโรค ควรปฏิบัติโดย ผู้ที่มีความรู้ และควรพ่นในบ้านและรอบบ้าน ดังนั้น จึงต้องอาศัยความร่วมมือกับเจ้าของ บ้านพร้อมกันทั้งชุมชน ร่วมกับการก�ำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หลังระบาด ระยะที่ 3 กันยายน-ธันวาคม เน้นการประเมินผลส�ำเร็จการควบคุม โรคไข้เลือดออก มีการเฝ้าระวังโรค วิเคราะห์ติดตามสถานการณ์โรครายพื้นที่ การประเมิน พืน้ ทีเ่ สีย่ งและประเมินกลุม่ เสีย่ ง การควบคุมโรคในพืน้ ทีท่ พี่ บผูป้ ว่ ยเพือ่ ไม่ให้เกิดการแพร่โรค ต่อเนื่อง ป้องกันการแพร่โรคไม่เกิน 2nd generation โดยการก�ำจัดยุงพาหะจะให้ได้ผลดีนั้น ประชาชนจะต้องผสมผสานทั้งการก�ำจัด แหล่งเพาะพันธุ์ยุง และการก�ำจัดยุงเต็มวัยให้ครอบคลุมพื้นที่สูงสุด ในชุมชนหนึ่งๆ ควร ด�ำเนินการทุกครัวเรือน และจะต้องปฏิบัติ กิจกรรม 5ป 1ข อย่างต่อเนื่องสม�่ำเสมอ คือ เปลี่ยนน�้ำ ทุก 7 วัน ปิดภาชนะน�้ำกินน�้ำใช้ให้มิดชิด ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ปล่อยปลา กินลูกน�ำ้ ปฏิบตั เิ ป็นประจ�ำเป็นนิสยั ขัดไข่ยงุ ลาย เนือ่ งจากยุงลายจะวางไข่เหนือระดับน�ำ้ 1-2 เซนติเมตร เมื่อมีน�้ำมาเติมจนท่วมหลังไข่จะเป็นลูกน�้ำและเป็นยุงลายตัวเต็มวัยต่อไป ใช้เวลา 7-10 วัน แต่หากไม่มีน�้ำมาเติมจนท่วมจะแห้งติดผนังภาชนะอย่างนั้น เมื่อมีน�้ำมา ท่วมเมื่อใด ไข่ก็พร้อมแตกตัวเป็นลูกน�้ำภายใน 30 นาที ซึ่งยุงตัวเมีย 1 ตัว ช่วงชีวิตประมาณ 60 วันของยุง ไข่ 4-6 ครั้งๆ ละ 50-150 ฟอง ฉะนั้นยุงตัวหนึ่งจะมีลูกได้ราว 500 ตัว จึง จ�ำเป็นต้องมีการขัดไข่ยงุ ลายในภาชนะ โดยใช้ใยขัดล้าง หรือแปรงชนิดนุม่ ช่วยในการขัดล้าง และทิ้งน�้ำที่ขัดล้างนั้นบนพื้นดิน เพื่อให้ไข่แห้งตาย ไม่ควรทิ้งลงท่อระบายน�ำ้ ซึง่ อาจเป็น แหล่งน�ำ้ ใสนิง่ ท�ำให้ไข่บางส่วนรอดและเจริญเป็นลูกน�ำ้ และยุงลายได้ อ้างอิง 1. ส�ำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง ปี 2555-58 (17 พฤษภาคม 2558) 2. ส�ำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจ�ำปี 2555-56. http:// boe.moph.go.th 3. ส�ำนักโรคติดต่อน�ำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางด�ำเนินงานเพื่อ เฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ พ.ศ.2558. 4. World Health Organization. Dengue and severe dengue. Fact sheet N°117 Updated May 2015. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs117/en/
22
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ และการติดเชื้อเอชไอวีของภาคใต้ นิ่มอนงค์ ไทยเจริญ *
การติดเชื้อเอชไอวีมีแนวโน้มเพิ่มขี้นในกลุ่มชาย ที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด รัฐจึงมีนโยบาย Getting To Zero “ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา” คือ ลดอัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพิ่มโอกาส เข้าสู่ระบบบริการ และลดการตีตรา
แหล่งข้อมูล: - สำ�นักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - สำ�นักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - สำ�นักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา - สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 สุราษฎร์ธานี - สำ�นักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ * สำ�นักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 12 จังหวัดสงขลา E-mail: thnim@hotmail.com FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
23
สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์และการติดเชื้อเอชไอวีของภาคใต้ การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทยมีมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา นานกว่า 20 ปี จากข้อมูลรายงานของส�ำนักระบาดประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2557 พบว่าสาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน โดยเฉพาะกลุ่มหญิงและชายวัยเจริญพันธ์ุ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30-35 ปี (ร้อยละ 25.8 ) ผู้ป่วยเอดส์สะสมทั้งสิ้น จ�ำนวน 388,621 ราย และเสียชีวิตสะสม จ�ำนวน 100,617 ราย แนวโน้มของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มที่ เข้าถึงยากในปี 2556 สรุปได้ดังนี้ 1. พนักงานบริการหญิงมีอัตราการติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 2.5 * 2. กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย มีอัตราการติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 14 ** 3. ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดมีอัตราการติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 13.82*** 4. แรงงานข้ามชาติ มีอัตราการติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 0.15 **** ด้านระบบการให้บริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย จึงมีการสนับสนุนการดูแลรักษาและระบบฐานข้อมูล NATIONAL AIDS PROGRAM PLUS (NAP PLUS) (เฉพาะสิทธิหลักประกันสุขภาพ) ณ เดือนกันยายน 2557 รายละเอียด ดังต่อไปนี้ รูปที่ 1 อัตราการติดเชือ้ เอชไอวี ในกลุม่ ผูร้ บั บริการตรวจวินจิ ฉัยการติดเชือ้ เอชไอวี (เฉพาะ สิทธิหลักประกันสุขภาพ) ภาคใต้ ประเทศไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553-2557
ที่มา : ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ NAP PLUS
24
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
จากรูปที่ 1 พบว่าอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้รับบริการตรวจวินิจฉัยการ ติดเชื้อเอชไอวีของภาคใต้ ปีงบประมาณ พ.ศ.2553 - 2557 มีแนวโน้มลดลงในผู้ใหญ่ จากร้อยละ 8.3 เป็น 3.1 โดยลักษณะการลดลงเป็นไปอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับในเด็ก จากร้อยละ 4.2 เป็นร้อยละ 2.7 ยุทธศาสตร์ที่ส�ำคัญในการร่วมยุติปัญหาเอดส์ คือ ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตราและ เลือกปฏิบัติ ภายในปี 2573 เป็นการท�ำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ร่วมกับการ ผลักดันเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติโดยสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย ได้จัดท�ำแนวทาง มาตรฐานการดูแลรักษาผูต้ ดิ เชือ้ เอชไอวีและผูป้ ว่ ยเอดส์ รวมถึงส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ สนับสนุนผลักดันเรื่องการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในทุกระดับ CD4 เพื่อให้ ผูต้ ดิ เชือ้ เอชไอวีและผูป้ ว่ ยเอดส์ได้รบั ยาต้านไวรัส และเข้าสูร่ ะบบการดูแลรักษาทีม่ คี ณ ุ ภาพ รูปที่ 2 สัดส่วนของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัสรายใหม่ที่มีระดับภูมิคุ้มกัน บกพร่องอย่างรุนแรง (ระดับ CD4 count < 100 cells/µl) (เฉพาะสิทธิหลักประกัน สุขภาพ) ภาคใต้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 – 2557 60
56.7
50 ร้อยละ
40
47.1
50.3
52.0
45.5
42.9
30
47.7
49.0
47.5
46.9 ผู้ใหญ่ เด็ก
20 10 0
2553
2554
2555
2556
2557
ที่มา : NAP PLUS ของส�ำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ * การเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี พ.ศ. 2547-2556 ** ผลส�ำรวจ IBSS ในกลุ่มชายที่มีเพสสัมพันธ์กับชาย พ.ศ. 2548-2556 ส�ำนักระบาดและ ศูนย์ความร่วมมือไทยสหรัฐ (ภูเก็ต) *** ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด พ.ศ. 2532-2556 **** การเฝ้าระวังการติดเชือ้ เอชไอวี (HSS) ในกลุม่ ชาวประมงเพียง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด ประจวบคีรขี นั ธ์ และปัตตานี FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
25
จากรูปที่ 2 พบว่า ร้อยละของผู้เริ่มรับยาต้านไวรัสรายใหม่ที่มี CD4 count<100 cells/uL ขณะเริ่มยา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555-2557 ในผู้ใหญ่ จากร้อยละ 56.7 เป็น ร้อยละ 49 และในเด็กจากร้อยละ 47.1 เป็นร้อยละ 46.9 แสดงให้เห็นว่าทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เข้าสู่ระบบบริการด้วย CD4 count<100 cells/uL ที่มีแนวโน้มเข้าสู่ระบบบริการเร็วขึ้น รูปที่ 3 อัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ภาคใต้ (เฉพาะสิทธิหลักประกันสุขภาพ) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553-2557 จ�ำแนกตามการได้รับยาต้านไวรัส 20
ร้อยละ
15
11.8
12.3
13.6
15.3
13.6
10 5 0
ผู้ที่ยังไม่รับยาต้านไวรัส 3.3
2.9
2.9
2.7
2553
2554
2555
2556
2.4
ผู้ที่รับยาต้านไวรัส
2557
ที่มา: ฐานข้อมูล NAP+ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
จากรูปที่ 3 พบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (เฉพาะสิทธิหลักประกัน สุขภาพ) ภาคใต้ ปีงบประมาณ พ.ศ.2553 - 2557 จ�ำแนกตามการได้รับยาต้านไวรัส พบว่า ผู้ที่ยังไม่ได้รับยาต้านไวรัสมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.8 เป็น 13.6 และ ผู้ที่ได้รับยาต้านไวรัสมีอัตราการเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 3.3 เป็น 2.4 บทสรุป : แนวโน้มของสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์มีแนวโน้ม ลดลง และในเรื่องของระบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ พบว่ามีการ ติดเชื้อเอชไอวีและมีผู้ป่วยเอดส์ทุกจังหวัด มีการเข้าสู่ระบบบริการดูแลรักษาด้วยระดับ ภูมิคุ้มกันของร่างกายคือระดับ CD4 count < 100 cells/µl) ยังพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ ระบบบริการรายใหม่ทุกปี โดยมีแนวโน้มลดลงจากปี พศ. 2553 ถึงปี 2557 ร้อยละการ ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ลดลงในผู้ใหญ่ จากร้อยละ 8.3 เป็น 3.1 และในเด็ก จากร้อยละ 4.2 เป็นร้อยละ 2.7
26
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
ทั้งนี้ หากมีการด�ำเนินการให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสามารถรับรู้สถานการณ์ติดเชื้อ เอชไอวีของตนเองได้เร็ว ถ้าผลการตรวจเป็นลบ ก็ให้คงสถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวี ให้เป็น ลบตลอดไป ส่วนผูท้ มี่ ผี ลการติดเชือ้ เอชไอวีเป็นบวก ก็ให้เข้าสูร่ ะบบการดูแลรักษาให้เร็วขึน้ และสังคมควรลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ รวมถึงมารดา ที่ตั้งครรภ์ควรมีการคัดกรองการตรวจหาเชื้อเอชไอวี ให้รู้สถานะของตนเองเช่นกัน เมื่อผล การตรวจหาเชื้อเอชไอวีเป็นบวกควรได้รับยาต้านไวรัส รวมทั้งทารกที่คลอดควรได้รับการ ดูแลรักษาและติดตามอย่างต่อเนือ่ งตามแนวทางการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสจะท�ำให้ไม่มี การติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ได้ในกลุ่มแม่สู่ลูก นอกจากนี้ ภาครัฐมีนโยบายการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี ที่สามารถรู้ผลได้ ในวั น เดี ย ว (Same Day Result) ช่ ว ยให้ ผู ้ ที่ มี พ ฤติ ก รรมเสี่ ย ง และติ ด เชื้ อ เอชไอวี สามารถเข้าสู่ระบบบริการการดูแลรักษาได้เร็วที่สถานบริการของรัฐได้ทุกแห่ง ดังนั้น ถ้ามี การด�ำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติข้างต้น เชื่อว่าประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมาย สู่ Getting To Zero ภายในปี 2573
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
27
28
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
วัณโรค
อวยพร เพ็ชรบริสุทธิ์ * กมลวรรณ อิ่มด้วง **
จากการสำ�รวจความชุกวัณโรค ในประเทศไทย ในปี 2554-2555 พบอัตราป่วย วัณโรครายใหม่ทุกประเภท 170 ต่อประชากรแสนคน หรือ 113,900 คนต่อปี แต่ค้นหาได้เพียง 67,452 ราย (ร้อยละ 60) จึงต้องเร่งรัดการค้นหาเพิ่มขึ้นให้มากกว่า ร้อยละ 70 และรักษาให้หายมากกว่าร้อยละ 85 เพื่อลดอุบัติการณ์วัณโรคลง 20% ภายในปี 2562
แหล่งข้อมูล: - สำ�นักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - สำ�นักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข * สำ�นักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 12 จังหวัดสงขลา E-mail: auyporn_p@yahoo.com ** สำ�นักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช E-mail: imduang@yahoo.com FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
29
สถานการณ์โรควัณโรค การวินิจฉัยวัณโรคและขึ้นทะเบียนรักษา ผู ้ ป ่ ว ยวั ณ โรครายใหม่ ทุ ก ประเภทที่ ข้ึ น ทะเบี ย นรั ก ษาในภาคใต้ ร ะหว่ า ง ปีงบประมาณ 2555-2557 มีจำ� นวนประมาณ 7,600-7,800 รายต่อปี และมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ ในภาคใต้ตอนบน จังหวัดทีม่ จี ำ� นวนผูป้ ว่ ยสูงสุดในภาคใต้ตอนบนคือ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส�ำหรับภาคใต้ตอนล่างมีแนวโน้มลดลง จังหวัดที่มีจ�ำนวนผู้ป่วย สูงสุดคือ จังหวัดสงขลา อัตราป่วยด้วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภท อยู่ระหว่าง 60-159 คนต่อประชากร แสนคน จังหวัดทีม่ อี ตั ราป่วยสูงสุดในภาคใต้ตอนบนคือ จังหวัดภูเก็ต (142-159 ต่อประชากร แสนคน) ส�ำหรับภาคใต้ตอนล่างคือ จังหวัดนราธิวาส (ปี2555) จังหวัดพัทลุง (ปี 2556) และ จังหวัดยะลา (ปี 2557) ภาพที่ 1 อัตราป่วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภทที่ขึ้นทะเบียนรักษา จ�ำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2555-2557
อัตราป่วยด้วยวัณโรคปอดรายใหม่ระยะแพร่เชื้อในภาคใต้ตอนบน อยู่ระหว่าง 43-89 คน ต่อประชากรแสนคน จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ จังหวัดภูเก็ต ส�ำหรับ ภาคใต้ตอนล่างอัตราป่วยอยู่ระหว่าง 36-56 คนต่อประชากรแสนคน จังหวัดที่มีอัตราป่วย สูงสุดคือ จังหวัดนราธิวาส (ปี 2555) และจังหวัดปัตตานี (ปี 2556-2557)
30
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
ภาพที่ 2 อัตราป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะพบเชื้อที่ขึ้นทะเบียนรักษา จ�ำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2555-2557
อัตราป่วยด้วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภทและอัตราป่วยด้วยวัณโรครายใหม่ ระยะแพร่เชื้อในภาคใต้ตอนบน มีอัตราป่วยสูงกว่าภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากภาคใต้ตอนบน มีการเคลื่อนย้ายของประชากรและมีกลุ่มประชากรที่เป็นแรงงานต่างชาติจ�ำนวนมาก
ผลการรักษาวัณโรค ผลการรักษาในผูป้ ว่ ยวัณโรครายใหม่ระยะแพร่เชือ้ มีแนวโน้มดีขนึ้ อัตราการรักษา ส�ำเร็จอยู่ระหว่างร้อยละ 80-95 อัตราการรักษาล้มเหลวอยู่ระหว่างร้อยละ 0.3-3.0 อัตราตายอยู่ระหว่างร้อยละ 4-11 อัตราการขาดยาอยู่ระหว่างร้อยละ 1-6 จังหวัดที่มีอัตรา การรักษาส�ำเร็จสูงสุดในภาคใต้ตอนบนคือ จังหวัดกระบี่ (ปี 2555-2556) และจังหวัดระนอง (ปี 2557) ส�ำหรับภาคใต้ตอนล่างคือ จังหวัดตรัง (ปี 2555 และ 2557) และจังหวัดยะลา (ปี 2556) จังหวัดที่มีอัตราการรักษาล้มเหลวสูงที่สุดในภาคใต้ตอนบนคือ จังหวัดระนอง (ปี 2555 และ 2557) และจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ปี 2556) ส�ำหรับภาคใต้ตอนล่างคือ จังหวัด พัทลุง (ปี 2555) จังหวัดตรัง (ปี 2556) และจังหวัดนราธิวาส (ปี 2557) จังหวัดที่มีอัตราตาย ระหว่างการรักษาสูงสุดในภาคใต้ตอนล่างคือ จังหวัดระนอง (ปี 2555) จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปี 2556) และจังหวัดภูเก็ต (ปี 2557) ส�ำหรับภาคใต้ตอนล่างคือ จังหวัดพัทลุง (ปี 25552556) และจังหวัดปัตตานี (ปี 2557) จังหวัดที่มีอัตราการขาดยาสูงสุดในภาคใต้ตอนบนคือ จังหวัดภูเก็ต (ปี 2555-2556) และจังหวัดพังงา (ปี 2557) ส�ำหรับภาคใต้ตอนล่างคือ จังหวัด นราธิวาส (ปี 2555-2556) และจังหวัดพัทลุง (ปี2557)
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
31
การรักษาวัณโรคทีด่ ที สี่ ดุ คือการป้องกัน มาตรการส�ำคัญทีใ่ ช้ในการควบคุมวัณโรค ในประเทศไทยคือ “ค้นให้พบ จบด้วยหาย ตายน้อยกว่าร้อยละ 5 ขาดยาเป็น 0” ฉะนั้นจึง ควรเน้นการค้นหารายป่วย โดยผู้ที่อาการสงสัยทุกรายที่มารับบริการในสถานพยาบาลต้อง ได้รับการคัดกรองวัณโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูงได้แก่ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วย โรคเรื้อรัง (เบาหวาน) ผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค ผู้ต้องขังในเรือนจ�ำ และแรงงาน ต่างด้าว โดยในปัจจุบนั มีการวินจิ ฉัยนอกจากการเก็บเสมหะส่งตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้ว ยังมีเครื่องมือที่ทันสมัยขึ้นอย่างเช่น GeneXpert การตรวจหาเชื้อวัณโรคดื้อยามีความ ครอบคลุมและรวดเร็วขึ้น เช่น molecular และ LPA เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและ รับการรักษาที่รวดเร็วขึ้น เพื่อลดอัตราตายในผู้ป่วย การมียารักษาวัณโรคที่เพียงพอและ มีคุณภาพ ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายควรได้รับการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patientcentred approach) คือ การให้ความรู้เรื่องวัณโรคกับผู้ป่วย การให้ รพ.สต. มีส่วนร่วมใน การดูแลผู้ป่วย การประสานความช่วยเหลือด้านต่างๆ และการรักษาโดยการมีพี่เลี้ยงดูแล การกินยาต่อหน้า (DOT) เพือ่ เพิม่ คุณภาพชีวติ ผูป้ ว่ ย ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการรักษา และความยอมรับการรักษาส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด มีอัตราการรักษาส�ำเร็จ สูงขึ้น ลดอัตราตาย อัตราการขาดยา และป้องกันการดื้อยา
32
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
อนามัยแม่และเด็ก รศ.ดร.พญ.ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล *
ปี พ.ศ.2555-2557 ข้อมูลอัตราส่วน การตายของมารดาในภาคใต้มีความหลากหลาย ระหว่างรายจังหวัดและรายปี ตั้งแต่ไม่มีมารดาเสียชีวิต เลยในจังหวัดนั้นๆ จนมีจำ�นวนที่สูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัด เป้าหมายอัตราส่วนการตายของมารดา ของประเทศ
แหล่งข้อมูล: - ศูนย์อนามัยที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช - ศูนย์อนามัยที่ 12 จังหวัดยะลา * หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ E-mail : tippawan.l@psu.ac.th FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
33
สถานการณ์อนามัยแม่และเด็กในภาคใต้ การเสียชีวิตของมารดาและทารกน�้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม บ่งถึงความพร้อม และระบบสุขภาพของประเทศ เนือ่ งจากการดูแลมารดาขณะตัง้ ครรภ์ทดี่ จี ะช่วยป้องกันการ เจ็บป่วยที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต และช่วยให้มารดามีสุขภาพที่ดีส่งผลให้ทารกในครรภ์มี การเจริญเติบโตทีเ่ หมาะสมไม่เกิดปัญหาน�ำ้ หนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ คือ 2,500 กรัม โดย อัตราส่วนการเสียชีวติ ของมารดาต่อแสนการเกิดมีชพี และอัตราทารกน�ำ้ หนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เป็นตัวชีว้ ดั หนึง่ ในหลายๆ ตัวชีว้ ดั ของประเทศทีม่ กี ารติดตามอย่างต่อเนือ่ ง นอกจากนี้ อัตราส่วนการเสียชีวิตของมารดาต่อแสนการเกิดมีชีพ ยังเป็นตัวชี้วัดที่ส�ำคัญของเป้าหมาย แห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goal) ข้อที่ 5 ทีต่ อ้ งท�ำให้มารดามีสขุ ภาพทีด่ ี รายงานอัตราส่วนการตายของมารดาในปี พ.ศ.2555-2557 ในเขตของศูนย์อนามัย ที่ 11 นครศรีธรรมราช ได้แก่ จังหวัดระนอง ชุมพร สราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และ นครศรีธรรมราช และศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ได้แก่ จังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ข้อมูลของภาคใต้มีความหลากหลายระหว่างรายจังหวัดและรายปี ตัง้ แต่ไม่มมี ารดาเสียชีวติ เลยในจังหวัดนัน้ ๆ จนมีจำ� นวนทีส่ งู กว่าเกณฑ์ตวั ชีว้ ดั เป้าหมายของ อัตราส่วนการตายของมารดาของประเทศในปี พ.ศ. 2557 ทีเ่ ท่ากับ 18 ต่อแสนการเกิดมีชพี จ�ำนวนจังหวัดทีม่ อี ตั ราส่วนการเสียชีวติ ของมารดามากกว่า 18 ต่อแสนการเกิดมีชพี ค่อนข้าง คงที่ ประมาณ 6-8 จังหวัดต่อปี โดยข้อมูลอัตราส่วนการเสียชีวิตของมารดามากกว่า 18 ต่อแสนการเกิดมีชีพในเขตของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราชมีการกระจายแบบไม่มี ทิศทาง ซึง่ ต่างจากข้อมูลในเขตของศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ทีแ่ สดงให้เห็นถึงขนาดของปัญหา อย่างต่อเนื่องคงที่โดยเฉพาะในเขต 5 จังหวัดชายแดนใต้ แสดงให้เห็นถึงความจ�ำเป็นในการ วิเคราะห์หาสาเหตุและการวางแผนการช่วยเหลือทั้งด้านนโยบายและก�ำลังคนเพื่อน�ำไปสู่ การพัฒนาสุขภาพของมารดาของประเทศต่อไป ส่วนอัตราของทารกน�้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม ทุกจังหวัดน�ำเสนอข้อมูล ครบถ้วนซึง่ ต่างจากการเสียชีวติ ของมารดา โดยในเขตศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ใน ปี พ.ศ. 2555-2557 เท่ากับ ร้อยละ 8.0 ร้อยละ 7.0 และร้อยละ 8.3 ตามล�ำดับ ส่วนในเขต ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา เท่ากับ ร้อยละ 6.9 ร้อยละ 7.4 และ ร้อยละ 7.4 ตามล�ำดับ ซึ่ง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเกณฑ์มาตรฐาน คือไม่เกินร้อยละ 7 เมื่อพิจารณารายจังหวัด พบว่า มีจำ� นวนจังหวัดทีม่ ากกว่าร้อยละ 7 ประมาณ 8-10 จังหวัดต่อปี โดยจะเห็นขนาดของปัญหา
34
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2557 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แสดงถึงความส�ำคัญของภาพรวมในการ ประเมินและวิเคราะห์ระบบสุขภาพในการดูแลมารดาขณะตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็กนี้ต้องมองภาพองค์รวมทั้งการดูแล รักษาทางคลินิกและความพร้อมของระบบสุขภาพแบบองค์รวมที่เกื้อกูลซึ่งกันและกันที่ หวังผลการแก้ปัญหาและก่อให้เกิดสุขภาพที่ดี สถานการณออนามั นามัยยแม่ แมแและเด็ สถานการณ์ ละเด็กก อัตราส่วนการตายของมารดาต่อแสนการเกิดมีชีพ จ�ำแนกรายจังหวัด อัตราการตายของมารดาตอแสนการเกิดมีชีพ จำแนกรายจังหวัด
ระนอง
ชุมพร
ระนอง
กระบี่
ภูเก็ต
ชุมพร
ระนอง
อัตราสวน : แสนประชากร
กระบี่
ภูเก็ต
สตูล
กระบี่
ภูเก็ต
ตรัง พัทลุง
ตรัง พัทลุง
ตรัง พัทลุง สงขลา
สตูล
ปตตานี
ไมมีขอมูล 0.1-18.0 18.1-38.0 38.1-58.0 58.1-78.0 > 78.0
นครศรีธรรมราช
พังงา
นครศรีธรรมราช
พังงา
นครศรีธรรมราช
ชุมพร
สุราษฎรธานี
สุราษฎรธานี
สุราษฎรธานี พังงา
ป 2557
ป 2556
ป 2555
สงขลา
สตูล
ปตตานี
สงขลา
ยะลา นราธิวาส
ยะลา นราธิวาส
ยะลา นราธิวาส
ปตตานี
อัตราทารกน�้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จ�ำแนกรายจังหวัด
ระนอง
ชุมพร
ระนอง
ชุมพร
ระนอง
ชุมพร
รอยละ
พังงา กระบี่
ภูเก็ต
สตูล
กระบี่
ภูเก็ต
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
สตูล
กระบี่ ตรัง พัทลุง
ตรัง พัทลุง
ตรัง พัทลุง
นครศรีธรรมราช
พังงา
นครศรีธรรมราช
พังงา
นครศรีธรรมราช
ไมมีขอมูล 0.1-7.0 7.1-9.5 9.6-11.5 > 11.5
สุราษฎรธานี
สุราษฎรธานี
สุราษฎรธานี
ภูเก็ต
ป 2557
ป 2556
ป 2555
สงขลา
สตูล
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
35
36
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
สถานการณ์โรค ที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ *
ยังพบการระบาดของโรคคอตีบ ในปี 2555 และ 2556 ทั้งยังมีการระบาด ของโรคไอกรน ในปี 2555 โดยเฉพาะในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้
แหล่งข้อมูล: - ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข * โรงพยาบาลจะนะ E-mail: hasuwana@hotmail.com FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
37
สถานการณ์โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
สถานการณ์โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่ส�ำคัญสามารถแบ่งเป็นกลุ่ม ได้ดังนี้ โรคกลุ่มคอตีบ ไอกรนและบาดทะยัก มีการฉีดวัคซีนในเด็กแรกเกิดที่มีอายุ 2, 4, 6, 18 เดือนและ 4 ขวบ เป็นวัคซีนพื้นฐานที่มีเป้าหมายให้เด็กไทยตามกลุ่มอายุ ดังกล่าวให้ได้รับวัคซีนทั้ง 3 ชนิดนี้มากกว่า 95% ของกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม พบว่า ยังมีการระบาดของโรคคอตีบโดยเฉพาะใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวคือ ในปี 2555 และ 2556 มีการระบาดสูงสุดที่จังหวัดปัตตานี (0.62-1.25 ต่อแสนประชากร) ในปี 2555 มีการระบาดเรียงตามอัตราป่วยต่อแสนประชากรคือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัด นราธิวาส จังหวัดสงขลา จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ในปี 2556 มีการจ�ำกัดวงการระบาดลง โดยยังมีการระบาดใน 3 จังหวัด เรียงตามอัตราป่วยต่อ แสนประชากร คือจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลาและจังหวัดสตูล ตามล�ำดับ ส่วน โรคไอกรน พบว่า ในปี 2555 มีการระบาดสูงสุดที่จังหวัดนราธิวาส และอีก 3 จังหวัดตามอัตราป่วยต่อแสนประชากรคือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดนครศรีธรรมราชและ จังหวัดสงขลา ในขณะที่ปี 2556 ไม่พบการรายงานโรคไอกรนเลยในทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ คอตีบ
ไอกรน
ป 2555
ป 2556
ป 2555
ป 2556
ชุมพร
ชุมพร
ชุมพร
ชุมพร
รอยละ ระนอง
ระนอง
สุราษฎรธานี พังงา ภูเก็ต
กระบี่
ระนอง
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
ภูเก็ต ตรัง พัทลุง สตูล
กระบี่
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
ภูเก็ต ตรัง พัทลุง
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
ระนอง
สตูล
กระบี่
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
ภูเก็ต ตรัง พัทลุง
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
0 0.01-0.29 0.30-0.59 0.60-0.99 1
สตูล
กระบี่
นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
สตูล
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
ส�ำหรับ โรคบาดทะยัก นัน้ มีการระบาดสูงสุดในปี 2555 ทีจ่ งั หวัดภูเก็ต และ 2556 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยผู้ป่วยบาดทะยักที่มีการรายงานโรคทั้งภาคใต้นั้นล้วนแต่เป็น บาดทะยักในผู้ใหญ่ทั้งสิ้น ไม่พบบาดทะยักในเด็กแรกเกิดเลย ทั้งนี้ในปี 2556 พบว่ามี การรายงานโรคใน 9 จังหวัดเรียงตามอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังนี้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
38
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
จังหวัดสตูล จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดกระบี่ จังหวัดยะลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามล�ำดับ บาดทะยักในเด็กแรกเกิด
บาดทะยัก (ไมรวมเด็กแรกเกิด) ป 2555
ป 2556
ป 2555
ป 2556
ชุมพร
ชุมพร
ชุมพร
ชุมพร
รอยละ ระนอง
ระนอง
สุราษฎรธานี พังงา
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
กระบี่
ภูเก็ต
ระนอง
สงขลา
สตูล
ปตตานี
นครศรีธรรมราช
กระบี่
ภูเก็ต
ตรัง พัทลุง
ตรัง พัทลุง สงขลา
ยะลา นราธิวาส
ตรัง พัทลุง สงขลา
สตูล
ปตตานี
0 0.01-0.29 0.30-0.59 0.60-0.99 1
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
กระบี่
ภูเก็ต
ตรัง พัทลุง สตูล
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
กระบี่
ภูเก็ต
ระนอง
ยะลา นราธิวาส
สงขลา
สตูล
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
ส� ำ หรั บ กลุ ่ ม โรคคางทู ม หั ด และหั ด เยอรมั น มี ก ารฉี ด วั ค ซี น ในเด็ ก อายุ 9 เดือนและฉีดกระตุ้นเมื่อเด็กเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งนี้พบว่า ส�ำหรับโรคหัดนั้น มีการระบาดโดยทั่วไปทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ทั้งนี้ปี 2555 มีการระบาดมากกว่าปี 2556 โดยจั ง หวั ด ที่ มี ก ารระบาดมากที่ สุ ด คื อ จั ง หวั ด ภู เ ก็ ต รองลงมาคื อ จั ง หวั ด ปั ต ตานี จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดยะลา ส�ำหรับโรคคางทูมนั้น มีการระบาดในทั้ง 14 จังหวัด ภาคใต้เช่นกัน พืน้ ทีท่ มี่ กี ารระบาดสูงสุดในปี 2555 และ 2556 คือจังหวัดสตูล โรคหัดเยอรมัน มีการระบาดสูงสุดในปี 2555 และ2556 ที่จังหวัดภูเก็ต โดยในปี 2556 ยังพบการรายงาน โรคใน 10 จังหวัด ยกเว้นเพียง 4 จังหวัดกล่าวคือ จังหวัดระนอง จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส หัด
คางทูม ป 2555
ป 2556
ป 2555
ป 2556
ชุมพร
ชุมพร
ชุมพร
ชุมพร
รอยละ ระนอง
ระนอง
สุราษฎรธานี พังงา ภูเก็ต
กระบี่
ระนอง
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
ภูเก็ต ตรัง พัทลุง สตูล
กระบี่
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
ภูเก็ต ตรัง พัทลุง
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
ระนอง
สตูล
กระบี่
สุราษฎรธานี
นครศรีธรรมราช
พังงา ภูเก็ต
ตรัง พัทลุง สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
0 0.01-0.99 1.00-4.99 5.0-20.0 21.0-40.0 41.0-60.0 >60
สตูล
กระบี่
นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
สตูล
สงขลา
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
39
อีสุกอีใส
หัดเยอรมัน ป 2555
ป 2556
ป 2555
ป 2556
ชุมพร
ชุมพร
รอยละ ระนอง
ชุมพร
ระนอง
สุราษฎรธานี พังงา ภูเก็ต
กระบี่
0 0.01-0.29 0.30-0.59 0.60-0.99 1.0-1.2 1.21-1.3
ชุมพร
สุราษฎรธานี
นครศรีธรรมราช
พังงา กระบี่
ภูเก็ต ตรัง พัทลุง สตูล
นครศรีธรรมราช
รอยละ ระนอง
สุราษฎรธานี พังงา ภูเก็ต
กระบี่
ตรัง พัทลุง สงขลา
สตูล
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
ระนอง
สุราษฎรธานี พังงา
นครศรีธรรมราช
กระบี่
ภูเก็ต ตรัง พัทลุง
สงขลา
0 0.01-100 101-130 131-160 161-199 >200
สตูล
ปตตานี
นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง
สงขลา
ยะลา นราธิวาส
สตูล
ปตตานี
สงขลา
ยะลา นราธิวาส
ปตตานี ยะลา นราธิวาส
ส�ำหรับ โรคอีสุกอีใส นั้น เนื่องจากวัคซีนที่ไม่อยู่ในโปรแกรมแผนการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกัน (วัคซีน) แห่งชาติ จึงท�ำให้เป็นการฉีดโดยสมัครใจและเป็นภาระค่าใช้จ่ายของ ประชาชนเอง ท�ำให้ยังมีการระบาดในทุกจังหวัดภาคใต้ โดยมีอัตราป่วยสูงสุดทั้งปี 2555 และ 2556 ที่จังหวัดภูเก็ต ในปี 2556 อัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับคือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล จังหวัดพัทลุง และจังหวัดระนอง ตามล�ำดับ ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ โดย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2558 วัคซีนจ�ำเป็นที่ต้องให้กับเด็กทุกคน
อายุ แรกเกิด 1 เดือน 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน 18 เดือน 2 ปี 21/2 ปี 4-6 ปี 11-12 ปี วัคซีน BCG บีซีจ1ี (BCG) HBV1 (HBV2) ตับอักเสบบี2 (HBV) DTwP-HB1 DTwP-HB2 DTwP-HB3 คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน DTwP กระตุ้น 1 DTwP กระตุ้น 2 และทุTd 3 ก 10 ปี ชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) OPV1 OPV2 OPV กระตุ้น 1 OPV กระตุ้น 2 โปลิโอชนิดกิน4 (OPV) (หรือ IPV1) (หรือ IPV2) OPV3 MMR1 หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม5 (MMR) MBV JE1, JE2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ MBV JE3 ไข้สมองอักเสบเจอี6 (JE) (หรือ Live JE1) (หรือ Live JE2) อายุ วัคซีน คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ชนิดไร้เซลล์3 (DTaP, Tdap) โปลิโอชนิดฉีด4 (IPV) ไข้สมองอักเสบเจอี6 (Live JE) ฮิบ7 (Hib) ตับอักเสบเอ8 (HAV) อีสุกอีใส9 (VZV) หรือวัคซีนรวม หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส (MMRV) ไข้หวัดใหญ่10 (Influenza) นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกด11 (PVC) โรต้า12 (Rota) เอชพีวี13 (HPV)
วัคซีนอื่นๆ ที่อาจให้เสริม หรือทดแทน 2 เดือน 4 เดือน
6 เดือน
DTaP1 DTaP2
DTaP3
IPV1
IPV2
IPV3
Hib1
Hib2
Hib3
21/2 ปี
18 เดือน DTaP กระตุ้น 1
(IPV4) Live JE 1, 2 (Hib4)
4-6 ปี
11-12 ปี
DTaP กระตุ้น 2 หรือ Tdap IPV5
Tdap ต่อไป Td ทุก 10 ปี
HAV ให้ 2 ครั้ง ห่างกัน 6-12 เดือน
VZV1 (หรือ MMRV1)
VZV2 (หรือ MMRV2)
Influenza ให้ปีละครั้งช่วงอายุ 6 เดือน - 18 ปี (เน้นในอายุ 6-24 เดือน) ในปีแรกฉีด 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์ PVC1 PVC2 (PVC3) PVC4 Rota1 Rota2 (เฉพาะ Rota3 Pentavaient) HPV 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน
ที่มา: www.pidst.net/A386.html
40
9 เดือน 12 เดือน
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
สถานการณ์โรคฟันผุ ในเด็กและผู้สูงอายุ ผศ.ดร.ทพญ.อังคณา เธียรมนตรี *
แม้ว่าประเทศไทยจะมีมาตรการ ในการดูแลและป้องกันฟันผุมานานกว่า 30 ปี แต่พบว่าอัตราการเกิดฟันผุในเด็กลดลงในอัตรา ที่น้อยมาก ยิ่งกว่านั้นในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทย ยังต้องเผชิญกับปัญหาโรคฟันผุในผู้สูงอายุ
แหล่งข้อมูล: - ส�ำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข * ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ E-mail: angkana.dent@gmail.com FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
41
สถานการณ์โรคฟันผุในเด็กและผู้สูงอายุ การส�ำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ท�ำมาอย่างต่อเนื่องทุก 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 โดยครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 7) ส�ำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยการส�ำรวจครั้งนี้ ได้ เพิ่มการส�ำรวจในกลุ่มอายุ 80-89 ปี และเพิ่มการตรวจฟันผุระยะเริ่มต้น และฟันผุที่รากฟัน โรคฟันผุในเด็กเป็นปัญหาสาธารณสุขทีไ่ ด้รบั ความสนใจ เนือ่ งจากเด็กจ�ำนวนมาก มีฟันผุโดยเฉพาะเด็กในภาคใต้ ซึ่งข้อมูลจากการส�ำรวจจนถึง พ.ศ. 2549-2550 ได้ถูกน�ำ เสนอแล้วในหนังสือ Facts and Figures 2008 (พ.ศ.2551) ในเล่มนี้จะน�ำเสนอข้อมูล จากการส�ำรวจครั้งล่าสุดมาเปรียบเทียบกับการส�ำรวจที่ผ่านมา โดยเน้นโรคฟันผุในเด็ก และเพิ่มเติมผลฟันผุในผู้สูงอายุ ฟันผุในเด็ก 3 ปี
ภาพที่ 1 ร้อยละเด็กอายุ 3 ปี ของประเทศไทย ที่มีฟันผุและปีที่ส�ำรวจ (พ.ศ. 2527 - 2555) แยกตามภาค
42
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
เมื่อเปรียบเทียบผลการส�ำรวจปีล่าสุด (พ.ศ. 2555) กับการส�ำรวจที่ผ่านมา พบว่า เด็ก 3 ปี ในทุกภูมิภาคมีแนวโน้มการเกิดฟันผุลดลง อย่างไรก็ตามพบว่าเด็ก 3 ปีในภาคใต้ มีอัตราการลดลงของฟันผุในปีล่าสุดน้อยที่สุด ส่วนภาคกลางในการส�ำรวจครั้งที่ผ่านมามี แนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ได้ลดลงในอัตราที่ค่อนข้างสูงในการส�ำรวจครั้งล่าสุด ท�ำให้ภาคใต้มี สัดส่วนเด็กที่มีฟันผุสูงที่สุดใกล้เคียงกับภาคกลาง ฟันผุในเด็ก 5-6 ปี
ภาพที่ 2 ร้อยละเด็กอายุ 5-6 ปี ของประเทศไทย ที่มีฟันผุและปีที่ส�ำรวจ (พ.ศ. 2527-2555) แยกตามภาค เด็ก 5-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีฟันผุในฟันน�้ำนมสูงสุด มีการเพิ่มขึ้นของคนที่เป็นโรค ในภาพรวมของประเทศจากร้อยละ 74.4 ในปี พ.ศ.2527 เป็นร้อยละ 80.6 ในปี พ.ศ.25492550 และลดลงเล็กน้อยเป็น 78.5% ใน ปีพ.ศ. 2555 ผลการส�ำรวจปีลา่ สุดพบว่า ทุกภูมภิ าค มีสัดส่วนเด็ก 5-6 ปีที่มีฟันผุลดลง โดยภาคเหนือเป็นภาคที่เด็ก 5-6 ปีมีฟันผุน้อยที่สุด โดยภาคใต้ยังเป็นภาคที่มีสัดส่วนเด็ก 5-6 ปีมีฟันผุสูงสุดใกล้เคียงกับภาคกลาง (ภาคใต้ = 83.4% ภาคกลาง = 82.6%)
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
43
ฟันผุในเด็ก 12 ปี
ภาพที่ 3 ร้อยละเด็กอายุ 12 ปี ของประเทศไทย ที่มีฟันผุในฟันแท้และปีที่ส�ำรวจ (พ.ศ. 2527-2555) แยกตามภาค เด็กอายุ 12 ปี เป็นช่วงที่ฟันแท้ทยอยงอกเพื่อทดแทนฟันน�้ำนม การพบฟันผุใน ฟันแท้ในวัยนี้ จึงแสดงถึงความรุนแรงของโรค พบว่าในปี 2555 เด็ก 12 ปีในภาคใต้มีฟันแท้ ผุในสัดส่วนที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับผลการส�ำรวจครั้งก่อน (65% ในปี 2543-2544 เป็น 58% ในปี 2549-2550 และ 55.4% ในปี 2555) โดยในภาพรวมพบว่าในการส�ำรวจ ล่าสุด (พ.ศ. 2555) ทุกภูมิภาคมีสัดส่วนเด็ก 12 ปีที่มีฟันแท้ผุลดลง ยกเว้นภาคตะวันออก เฉียงเหนือซึ่งเคยมีฟันผุน้อยที่สุดในปี 2527 (18.7%) กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็น ภาคที่มีฟันผุสูงที่สุดในปี 2555 (56.9%)
44
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
ฟันผุในผู้สูงอายุ ประเทศไทยมีแนวโน้มการเพิม่ ขึน้ ของสัดส่วนผูส้ งู อายุ ท�ำให้ในอนาคตประเทศไทย ต้องมีการจัดระบบการดูแลสุขภาพและสุขภาพช่องปากของผูส้ งู อายุ ปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่ส�ำคัญของผู้สูงอายุ นอกจากโรคปริทันต์อักเสบแล้ว โรคฟันผุก็นับเป็นปัญหาส�ำคัญของ การสูญเสียฟันในผู้สูงอายุอีกโรคหนึ่ง ลักษณะฟันผุในผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นการผุที่รากฟัน เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีภาวะเหงือกร่นจากโรคปริทันต์อักเสบและการแปรงฟันผิดวิธี ท�ำให้ ส่วนของรากฟันโผล่ แผ่นคราบจุลินทรีย์สามารถเกาะติดและสัมผัสกับอาหารพวกแป้งและ น�้ำตาลได้โดยตรง ซึ่งปัจจัยทั้งสองเป็นสาเหตุส�ำคัญของการเกิดฟันผุ ยิ่งกว่านั้น ส่วนของ รากฟันเป็นส่วนทีไ่ ม่มเี คลือบฟัน ท�ำให้มกี ารละลายของแร่ธาตุและเกิดฟันผุได้งา่ ยและลุกลาม เร็วกว่าส่วนของตัวฟัน
การส�ำรวจฟันผุในผูส้ งู อายุในประเทศไทยเริม่ ในการส�ำรวจครัง้ ที่ 4 (พ.ศ. 2543-44) ในกลุ่มอายุ 60-74 ปี และเพิ่มการส�ำรวจในกลุ่มอายุ 80-89 ปีในการส�ำรวจครั้งล่าสุด (พ.ศ. 2555) ซึ่งผลการส�ำรวจ 3 ครั้งล่าสุดพบว่า สัดส่วนผู้สูงอายุ (60-74 ปี) ที่มีฟันผุที่ ไม่ได้รับการรักษา มีมากกว่า 50% แม้ว่าจะมีสัดส่วนลดลง อย่างไรก็ตามพบว่า ผู้ที่สูญเสีย ฟัน และมีประสบการณ์ฟันผุ อุด ถอน มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนในปีล่าสุดพบว่า มีผู้สูงอายุ อายุ 60-74 ปีถึงร้อยละ 97.1% ที่เคยมีประสบการณ์ผุ อุด ถอน ที่ส�ำคัญพบว่าการส�ำรวจ ครั้งล่าสุดในปี 2555 พบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุ 80-89 ปีทุกคนเคยมีประสบการณ์ฟันผุ
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
45
% ผู้ที่ฟันผุอุดถอน 2543-44
% ผู้มีฟันผุที่ไม่ได้รักษา 2549-50
% ผู้สูญเสียฟัน 2555
ภาพที่ 4 ร้อยละผู้สูงอายุ (60-74 ปี) ที่มีฟันผุและการสูญเสียฟันใน พ.ศ.2543-2555 แม้ว่าประเทศไทยจะมีมาตรการต่างๆ ในการดูแลและป้องกันฟันผุมามากกว่า 30 ปี แต่พบว่าความชุกฟันผุในเด็กแม้จะลดลง แต่ลดลงในอัตราที่น้อยมาก นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาฟันผุในผู้สูงอายุ อันเนื่องจากผู้สูงอายุ มีอายุยนื มากขึน้ และฟันคงอยูใ่ นช่องปากนานขึน้ การส่งเสริมให้ประชากรไทยมีสขุ ภาพช่อง ปากทีด่ ี จะส่งผลต่อการมีสขุ ภาพและคุณภาพชีวติ ทีด่ ี จึงเป็นงานทีท่ า้ ทายส�ำหรับผูท้ เี่ กีย่ วข้อง ต่อไป อ้างอิง 1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลการส�ำรวจสภาวะ ทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2527 41 หน้า 2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลการส�ำรวจสภาวะ ทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2532 101 หน้า 3. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลการส�ำรวจสภาวะ ทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2537 132 หน้า 4. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลการส�ำรวจสภาวะ ทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2543-44 เมษายน 2545 149 หน้า 5. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลการส�ำรวจสภาวะ ทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549-50 กรกฎาคม 2551 183 หน้า 6. ส�ำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลการส�ำรวจสภาวะ ทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 เมษายน 2556 25 หน้า
46
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
อุบัติเหตุทางถนน ดร.นันทพร กลิ่นจันทร์ * ดร.อมรรัตน์ ชุตินันทกุล **
ปี พ.ศ.2557 อัตราการเสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางถนนในภาคใต้ตอนล่างยังคง สูงกว่าเป้าหมายทศวรรษความปลอดภัยทางถนน (ปี พ.ศ.2563) ประมาณ 1.6 เท่า
แหล่งข้อมูล: - ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข * ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 12 จังหวัดสงขลา E-mail: nk_pan2004@hotmail.com ** ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช E-mail: yaiamorn@yahoo.com FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
47
สถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ทางถนนในภาคใต้ของประเทศไทย อุบตั เิ หตุทางถนนเป็นปัญหาสาธารณสุขทีส่ ำ� คัญในเกือบทุกประเทศทัว่ โลก องค์การ อนามัยโลกได้ประมาณว่าแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนนจะเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 9 ในปี พ.ศ. 2557 เป็นอันดับที่ 5 ของสาเหตุการตายทั้งหมด ในปี พ.ศ. 25731 และในปี พ.ศ. 2553 องค์การสหประชาชาติได้รับรองค�ำประกาศเจตนารมณ์ปฏิญญามอสโก และ ประกาศให้ปี พ.ศ. 2554–2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety) โดยมีเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ต�่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากร ข้อมูลการรายงานการบาดเจ็บ 19 สาเหตุ ปี พ.ศ. 2557 พบว่า 14 จังหวัดภาคใต้ ของประเทศไทยมีจำ� นวนผูบ้ าดเจ็บจากอุบตั เิ หตุทางถนนทัง้ หมด 144,381 ราย คิดเป็นอัตรา การบาดเจ็บ 1,617.62 ต่อแสนประชากร มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั้งหมด 1,451 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 16.26 ต่อแสนประชากร โดยมีแนวโน้มอัตราการป่วยตาย (Case fatality rate:-CFR) ร้อยละ 1.00 เมื่อจ�ำแนกรายจังหวัด พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีอัตราการบาดเจ็บสูงสุด 4,007.82 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือจังหวัดตรัง อัตราการบาดเจ็บ 2,819.43 ต่อแสนประชากร ส�ำหรับการเสียชีวติ พบว่า จังหวัดระนอง มีอตั ราการเสียชีวติ สูงสุด 64.50 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือจังหวัดกระบี่ อัตราการเสียชีวิต 27.27 ต่อแสนประชากร เมื่อพิจารณาอัตรา การป่วยตาย พบว่า จังหวัดระนองมีอัตราการป่วยตายสูงสุดร้อยละ 14.95 รองลงมาคือ จังหวัดนราธิวาส อัตราการป่วยตายร้อยละ 1.64 (ตารางที่ 1)
48
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
ตารางที่ 1 จ�ำนวน และอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตต่อแสนประชากร ปี 2557 จ�ำแนก รายจังหวัดในภาคใต้ บ ผูเ้ สียชีวติ อัตราการบาดเจ็บ อัตราการเสียชีวติ อัตราป่วยตาย ประชากร ผูทับ้ ง้ าดเจ็ หมด ทัง้ หมด ต่อแสนประชากร ต่อแสนประชากร (ร้อยละ) ชุมพร 478,964 7,249 81 1,513.47 16.91 1.12 สุราษฎร์ธานี 960,698 8,851 66 921.31 6.87 0.75 นครศรีธรรมราช 1,510,460 20,078 205 1,329.26 13.57 1.02 กระบี่ 403,363 10,356 110 2,567.41 27.27 1.06 พังงา 245,394 2,359 13 961.31 5.30 0.55 ภูเก็ต 300,737 12,053 81 4,007.82 26.93 0.67 ระนอง 179,850 776 116 431.47 64.50 14.95 ตรัง 638,746 18,009 145 2,819.43 22.70 0.81 สงขลา 1,401,303 25,770 259 1,839.00 18.48 1.01 พัทลุง 520,419 10,702 125 2,056.42 24.02 1.17 สตูล 312,673 4,914 34 1,571.61 10.87 0.69 ปัตตานี 686,186 7,951 42 1,158.72 6.12 0.53 ยะลา 511,911 8,667 65 1,693.07 12.70 0.75 นราธิวาส 774,799 6,646 109 857.77 14.07 1.64 รวม 8,925,503 144,381 1,451 1,617.62 16.26 1.00 จังหวัด
ที่มา : ข้อมูลประชากรจาก www.dopa.go.th
การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนรายจังหวัด ปี พ.ศ.2556-2557 พบว่า จังหวัด ภูเก็ต มีอตั ราการบาดเจ็บสูงสุดทุกปี ระหว่าง 4,096.36–4,007.82 ต่อแสนประชากร จังหวัด ที่มีอัตราการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2557 ได้แก่ จังหวัดกระบี่ นราธิวาส พัทลุง และยะลา (รูปที่ 1)
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
49
รูปที่ 1 อัตราการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนต่อแสนประชากรในภาคใต้ ปี พ.ศ.2556-2557 จ�ำแนกรายจังหวัด
ภูเก
็ต ต สุรา รัง ษฎ ร์ธา น นค ชุม ี รศ พร รีธร รม ราช สงข ลา พัง งา พัท ลุง สต ูล ยะ ลา กระ บ ปัต ี่ ตาน ระน ี อ นร ง าธิว าส
อัตราต่อแสนประชากร
ที่มา : สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้
การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนรายจังหวัด ปี พ.ศ. 2556-2557 พบว่า ในปี พ.ศ. 2556 จังหวัดชุมพรมีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด ในขณะที่ปี พ.ศ. 2557 จังหวัดระนอง มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด สูงกว่าปี พ.ศ. 2556 ถึง 7.4 เท่า จังหวัดที่มีอัตราการเสียชีวิต เพิ่มขึ้น ได้แก่ จังหวัดระนอง กระบี่ นราธิวาส ปัตตานี และพัทลุง (รูปที่ 2)
50
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
รูปที่ 2 อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อแสนประชากรในภาคใต้ ปี พ.ศ. 2555-2557 จ�ำแนกรายจังหวัด
กระบี่ สงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สตูล ยะลา นราธิวาส ระนอง ปัตตานี
ชุมพร ภูเก็ต ตรัง พัทลุง พังงา
อัตราต่อแสนประชากร
ที่มา : สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้
ความรุนแรงของการบาดเจ็บและเสียชีวติ จากอุบตั เิ หตุทางถนนรายจังหวัดปี พ.ศ. 2556-2557 พบว่า จังหวัดระนอง และจังหวัดนครศรีธรรมราชมีอัตราการป่วยตายเพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ.2556 โดยปีพ.ศ.2557 จังหวัดระนอง มีอัตราป่วยตายอยู่ร้อยละ 14.95 (รูปที่ 3) รูปที่ 3 อัตราป่วยตายจากอุบตั เิ หตุทางถนนในภาคใต้ ปีพ.ศ.2556-2557 จ�ำแนกรายจังหวัด
นครศรีธรรมราช ระนอง สุราษฎร์ธานี ปัตตานี
ตรัง สงขลา ยะลา ภูเก็ต สตูล
นราธิวาส ชุมพร พัทลุง กระบี่ พังงา
ร้อยละ
ที่มา : สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
51
สถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนใน 14 จังหวัดภาคใต้ ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2556-2557) พบว่า ปี พ.ศ.2557 มีอัตราการบาดเจ็บ และอัตราการเสียชีวติ จากอุบตั เิ หตุทางถนนในภาพรวมลดลงจากปี พ.ศ.2556 เมือ่ พิจารณา รายจังหวัด พบว่า จังหวัดกระบี่ พัทลุง และจังหวัดนราธิวาส เป็นจังหวัดที่มีอัตราการ บาดเจ็บและอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2556 ในขณะเดียวกันจังหวัดระนอง และ จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดทีม่ คี วามรุนแรงของการบาดเจ็บและเสียชีวติ จากอุบตั เิ หตุ ทางถนนเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2556 เอกสารอ้างอิง 1. World Health Organization. Regional Report on Status of Road Safety: the SouthEast Asia Region. World Health Organization, Regional office for South-East Asia. New Delhi, India: World Health Organization; 2009.
52
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
สถานการณ์ การบริโภคยาสูบในภาคใต้ ดร.ซอฟียะห์ นิมะ*
ภาคใต้มีจังหวัดที่มีอัตราการบริโภค ยาสูบสูงขึ้น 7 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล ยะลา นครศรีธรรมราช และนราธิวาส โดยจังหวัดนราธิวาสมีอัตราเพิ่มขึ้นสูงสุด
แหล่งข้อมูล - ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ (ศจย.) - แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558 – 2562 - กลุ่มสถิติสังคม ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร * สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.มอ.) E-mail : sophienima@gmail.com FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
53
สถานการณ์การใช้ยาสูบในประเทศไทย ประเทศไทยเริม่ ส�ำรวจการใช้ยาสูบของคนไทยทัง้ ประเทศครัง้ แรกเมือ่ ปี พ.ศ. 2519 โดยส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ และได้มีการรณรงค์ต่อต้านยาสูบมาอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี พบว่าการสูบยาสูบไม่ได้ลดลงเท่าที่ควร จากช่วงปี พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2547 คนไทยที่มีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปเริ่มมีอัตราการสูบค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวโน้มลดลงจาก ร้อยละ 32.0 เป็น 22.98 แต่ในช่วง 10 ปีหลัง (พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2556) อัตราการลด การสูบเริ่มชะลอลง และลดลงต�่ำสุดในปี พ.ศ. 2552 และกลับเพิ่มสูงขึ้นในปี 2554 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ที่อัตราการสูบของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นมาอีกครั้ง (รูปที่ 1) ปัจจุบันมีคนไทยที่ยังสูบถึง 13 ล้านคน เป็นเพศชายร้อยละ 46.6 ในขณะเดียวกันใน กลุ่มเยาวชนและสตรีกลับมีอัตราการใช้ยาสูบเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเยาวชนไทยมีอายุเฉลี่ย ที่เริ่มติดยาสูบจะต�่ำลงเรื่อยๆ จากเดิมอายุที่เริ่มสูบยาสูบคือ 18.5 ปี เป็นอายุ 17.4 ปี ในรอบส�ำรวจปี พ.ศ. 2549 ส่วนปี พ.ศ. 2550 ลดลงเป็น 17 ปี และในปี 2554 ลดลง เป็น 16.2 ปี ในแต่ละปีจะมีเยาวชนเสพติดบุหรี่ใหม่ประมาณ 3 แสนคน ซึ่งเป็นจ�ำนวนที่ เข้ามาแทนที่ผู้สูบบุหรี่ที่เลิกสูบหรือเสียชีวิตลง ส่วนกลุ่มอายุที่มีอัตราการลดการสูบลง อย่างต่อเนื่อง คือ อายุ 41-59 ปี และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยผู้ที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล มีอัตราการสูบบุหรี่สูงกว่าในเขตเทศบาลในทุกรอบการส�ำรวจ เมื่อจ�ำแนกตามภาคในช่วงปี พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2547 มีแนวโน้มลดลงในทุกภาค แต่ช่วง 10 ปีหลัง (พ.ศ 2547- พ.ศ. 2556) อัตราการลดไม่คงที่และเพิ่มสูงขึ้นทุกภาคในปี พ.ศ. 2556 ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ส่วนภาคใต้มีอัตราการบริโภคยาสูบสูงที่สุดในประเทศ จากรอบการส�ำรวจ (รูปที่ 2) และภาคใต้มีอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงลดลงน้อย ทีส่ ดุ และมีอตั ราการสูบบุหรีป่ จั จุบนั สูงสุดเป็นอันดับ 1 มาตลอดในรอบ 20 ปีทผี่ า่ นมา (ยกเว้น ปี พ.ศ. 2534) ในปี พ.ศ. 2554 ภาคใต้มีอัตราการสูบบุหรี่ร้อยละ 25.63 โดยค่าเฉลี่ยของ อัตราสูบในระดับประเทศคือ ร้อยละ 21.4 จ�ำนวนมวนเฉลี่ย 11.56 มวน/คน/วัน เป็นบุหรี่ ซองร้อยละ 54.87 บุหรี่มวนเองร้อยละ 44.90 โดยมีอัตราการเลิกบุหรี่ได้ร้อยละ 16.70 จังหวัดที่มีอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันโดยรวมสูงกว่าเป้าหมายปี 2557 ของภาคใต้คือ ระนอง ร้อยละ 27.64 นครศรีธรรมราช ร้อยละ 27.38 สุราษฎร์ธานี ร้อยละ 26.97 ชุมพร ร้อยละ 25.78 พังงา ร้อยละ 24.36 กระบี่ ร้อยละ 22.71 ภูเก็ต ร้อยละ 20.40 สตูล ร้อยละ 29.42 ปัตตานี ร้อยละ 29.10 ตรัง ร้อยละ 26.39 นราธิวาส ร้อยละ 25.61 พัทลุง ร้อยละ 24.04 ยะลา ร้อยละ 24.01 สงขลา ร้อยละ 22.81 (รูปที่ 3) พฤติกรรมการสูบมีการสับเปลี่ยน
54
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
ประเภทไปมาระหว่างบุหรี่ซอง และบุหรี่มวนเอง โดยมีหลายปัจจัยที่ท�ำให้จ�ำนวนผู้สูบยังคง สูง เช่น มีการใช้ยาสูบที่ราคาถูกกว่าบุหรี่ซอง ได้แก่ ยาสูบชนิดยาเส้นหรือบุหรี่มวนเอง และ มีการใช้ยาสูบชนิดลักลอบน�ำเข้าผิดกฎหมายมากขึน้ จังหวัดทีม่ อี ตั ราการบริโภคยาสูบสูงขึน้ มี 7 จังหวัดได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล ยะลา นครศรีธรรมราช และนราธิวาส โดยจังหวัด นราธิวาสมีอัตราการเพิ่มขึ้น สูงสุดจากร้อยละ 19.7 ในปี พ.ศ. 2550 เป็นร้อยละ 25.6 ในปี พ.ศ. 2554 และจังหวัดที่มีอัตราการบริโภคยาสูบลดลง มี 7 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร กระบี่ ตรัง สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา และปัตตานี โดยจังหวัดปัตตานีมีอัตราการลดลงสูงสุดจาก ร้อยละ 32.3 เป็น 29.1 (รูปที่ 4) อัตราการบริโภคยาสูบที่สูงโดยเฉพาะในเพศชาย และมี อัตราการเลิกบุหรี่น้อยสุด ท�ำให้ภาคใต้มีสัดส่วนการสูบบุหรี่ภายในบ้านสูงสุด คือร้อยละ 22.05 และมีผู้ไม่สูบบุหรี่ได้รับควันบุหรี่มือสองภายในบ้านสูงที่สุดคือร้อยละ 32.05 จาก ผลการตรวจปัสสาวะเด็กอายุหนึ่งขวบจ�ำนวน 531 คน ใน 5 จังหวัดภาคใต้ที่มีสมาชิกใน บ้านสูบบุหรี่ พบว่าเด็กหนึ่งขวบจ�ำนวน 295 คน หรือร้อยละ 55.5 ตรวจพบสารโคตินินใน ปัสสาวะ ส�ำหรับ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีพื้นที่ติดกับชายแดนประเทศมาเลเซียและเป็น พืน้ ทีท่ มี่ กี ารจับกุมคดียาเสพติดสูงสุด โดยจังหวัดสงขลาสูงเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือจังหวัด นราธิวาส ยะลา และปัตตานี ตามล�ำดับ และจากข้อมูลวิจยั ประด็นปัจจัยต่อการบริโภคบุหรี่ ผิ ด กฎหมายในจั ง หวัด ติด ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย พบว่ า แหล่ ง ที่ มาของบุ ห รี่ ผิดกฎหมายที่ลักลอบน�ำเข้าคือพื้นที่ติดชายแดน โดยบุหรี่ผิดกฎหมายส่วนใหญ่มาจาก ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย จังหวัดสตูล ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสงขลา จัดเป็น จังหวัดที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากมีอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันของประชากรไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไปโดยรวมมากกว่าร้อยละ 21.4 โดยจังหวัดปัตตานีครองอัตราการบริโภคยาสูบสูงสุดใน ปี พ.ศ. 2550 และจังหวัดสตูลครองอัตราการบริโภคยาสูบสูงสุดในปี พ.ศ. 2554 (รูปที่ 5) มาตรการควบคุมยาสูบของประเทศไทยที่ผ่านมา พบว่าการขึ้นภาษียาสูบถือเป็น มาตรการที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดการบริโภคยาสูบ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มี รายได้นอ้ ยและเยาวชน รวมทัง้ ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ แต่ผลกระทบอีกด้านหนึง่ ของมาตรการ เพิ่มภาษีที่มีผลต่อการลดการบริโภคยาสูบชนิดซองลงได้ คือการหันไปสูบบุหรี่มวนเองและ การท�ำให้เกิดการลักลอบขนส่งบุหรี่เถื่อนบริเวณแนวชายแดนมากขึ้น ผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันใน ภาคใต้สูบบุหรี่ผิดกฎหมายร้อยละ 16.0 โดยพิจารณาจากซองบุหรี่ที่ไม่อากรแสตมป์ไทย ที่แสดงถึงการเสียภาษี โดยจังหวัดที่พบสูงที่สุดคือ ปัตตานี สตูล และสงขลา ผู้สูบบุหรี่ ผิดกฎหมายส่วนใหญ่ร้อยละ 82.5 ซื้อบุหรี่เป็นซองมาสูบ FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
55
ส�ำหรับระบบการควบคุมยาสูบทีผ่ า่ นมา ประเทศไทยมีมาตรการควบคุมยาสูบทีด่ ี แต่กลับพบว่าอัตราการสูบบุหรี่ของประเทศกลับไม่ลดลงเท่าที่ควร จึงมีขอเสนอแนะของ คณะผูเชี่ยวชาญจากองคการอนามัยโลกว่า ให้มีการกําหนดและพัฒนาผูนําสําหรับการ ควบคุมยาสูบในอนาคต ทั้งในภาครัฐบาล และภาคประชาสังคม รวมทั้งให้มีการประสาน หลายภาคสวน ให้มีการวางแผนและนํามาตรการไปปฏิบัติเพื่อใหเกิดความยั่งยืน และควร ให้ความสาํ คัญในการผลักดัน พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ซงึ่ เน้นเรือ่ งการป้องกัน ไม่ให้เยาวชนเข้าถึงยาสูบได้มากขึ้น สรุป ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือบุหรี่เป็นสารเสพติดที่มีอ�ำนาจการเสพติดสูงและเลิก ได้ยาก อัตราการใช้ยาสูบและการสัมผัสควันบุหรี่มือสองทั้งในบ้านและพื้นทีส่ าธารณะยังคง สูงในภาคใต้ ดังนัน้ ความส�ำเร็จในการควบคุมยาสูบในพืน้ ทีค่ วรมาจากการด�ำเนินงานร่วมกัน ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ในหลายภาคส่วน รวมทั้งอาศัยกลไกและมาตรการ ต่างๆ ในการขับเคลือ่ นภารกิจชุมชนและสังคมให้ปลอดจากยาสูบได้อย่างต่อเนือ่ งและยัง่ ยืน อย่างแท้จริง
รูปที่ 1 แสดงอัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ส�ำรวจสถานการณ์ยาสูบ ในระหว่างปี พ.ศ. 2534-2556
56
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
รูปที่ 2 แสดงอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2534 - 2556 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จ�ำแนกตามภาค
รูปที่ 3 เปรียบเทียบอัตราการบริโภคยาสูบของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ปี 2550 และ 2554
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
57
รูปที่ 4 แสดงจังหวัดในภาคใต้ที่มีอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันโดยรวมสูงกว่าเป้าหมาย ปี 2557
รูปที่ 5 แสดงอัตราการสูบบุหรี่ของประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ จ�ำแนกรายจังหวัด พ.ศ. 2550-2554
58
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
อ้างอิง 1. ศรัณญา เบญจกุล และคณะ. การส�ำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2543 - 2549. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551. 2. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ และคณะ. รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบรายจังหวัด พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.); 2555. 3. ศรัณญา เบญจกุล และคณะ. สถานการณ์และแนวโน้มการบริโภคยาสูบของประชากรไทย พ.ศ.2534 – 2552. กรุงเทพฯ; 2553. 4. Sangthong R, Wichaidit W, Ketchoo C. Current situation and future challenges of tobacco control policy in Thailand. Tob Control. 2012 Jan 1;21(1):49–54. 5. ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ. การส�ำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2549. 6. วีระศักดิ์ จงสูว่ วิ ฒ ั น์วงศ์ รัศมี สังข์ทอง และ จิตตเวช เกตุช.ู ปัจจัยต่อการบริโภคบุหรีผ่ ดิ กฎหมาย ในจังหวัดติดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้ เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) วิทยาเขตราชวิถี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555. 7. มณฑา เก่งการพานิช, ศรัณญา เบญจกุล, ธราดล เก่งการพานิช, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, ภิฤดี ภวนานนท์. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ผิดกฎหมายของผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันในภาคใต้ของไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
59
60
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
สถานการณ์การบาดเจ็บ จากความรุนแรงในเด็ก ปี 2547-2557
พื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา (อ.หาดใหญ่ อ.เมือง อ.จะนะ อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย และ อ.นาทวี) ผศ.ดร.เมตตา กูนิง* ผศ.ดร.นิตยา แม็คเนล* ผศ.ดร.อภิรดี แซ่ลิ่ม** มายือนิง อิสอ***
การบาดเจ็บจากความรุนแรงในเด็ก อายุต�่ำกว่า 18 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2547 – 2557 มีจ�ำนวน 1,674 คน จ�ำแนกเป็นเด็กบาดเจ็บ 1,411 คน และเด็กเสียชีวิต 263 คน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 15.7 แหล่งที่มา - ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปััตตานี *, *** คณะผู้วิจัยฐานข้อมูล ** คณะผู้วิจัยภาคสนาม
E-mail : metta.kuning@gmail.com, nchirtki@gmail.com, mayening@hotmail.com E-mail : apiradee50@gmail.com FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
61
สถานการณ์การบาดเจ็บจากความรุนแรงในเด็กปี 2547-2557 พื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา (อ.หาดใหญ่ อ.เมือง อ.จะนะ อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย และ อ.นาทวี)
การจัดการระบบข้อมูลเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ จัดตัง้ ในเดือนมิถนุ ายน พ.ศ. 2549 เพื่อน�ำไปสู่การเยียวยาผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และทั่วถึง รวบรวมข้อมูลเหตุความรุนแรงและเหตุการณ์ความไม่สงบที่ได้รับการรับรองจาก ทหาร ต�ำรวจ และฝ่ายปกครอง (การรับรองสามฝ่าย) ในพืน้ ทีเ่ กิดเหตุจงั หวัดปัตตานี จังหวัด ยะลา จังหวัดนราธิวาส และ 6 อ�ำเภอในจังหวัดสงขลา (อ�ำเภอหาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง อ�ำเภอ จะนะ อ�ำเภอเทพา อ�ำเภอสะบ้าย้อย และ อ�ำเภอนาทวี) จากศูนย์ปฏิบตั กิ ารส�ำนักงานต�ำรวจ แห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ฐานข้อมูลข่าวจังหวัดชายแดนใต้ ส�ำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ฐานข้อมูลเหตุการณ์ชายแดนใต้ ศูนย์ เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Incident Database) เครือข่ายระบบเฝ้าระวัง การบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Violence-related Injury Surveillance-VIS) ศูนย์อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อาสาสมัคร กู้ชีพสันติ ปัตตานี สมาคมกู้ชีพกู้ภัย สันติจังหวัดปัตตานี และศาลเจ้ากู้ชีพกู้ภัยปัตตานี มูลนิธิหรือกลุ่มในพื้นที่ และสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น ข้อมูลจากทุกแหล่ง จะตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ และลดความซ�้ำซ้อน โดยรายงานฉบับนี้จะ น�ำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการบาดเจ็บทางกายภาพจากสาเหตุภายนอกแบบตั้งใจ (Intentional injury) ประกอบด้วย ความรุนแรงระหว่างบุคคล การบาดเจ็บจากเหตุการณ์ ที่ไม่ทราบเจตนา การบาดเจ็บจากภาวะเหตุการณ์ความไม่สงบ หรือบาดเจ็บจากการต่อสู้ การขัดขืนการจับกุมจากเจ้าหน้าที่ หรือการบาดเจ็บที่ไม่ทราบทั้งสาเหตุและเจตนา
62
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
สรุปสถานการณ์ ปี 2547-2557 เหตุการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนใต้ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 รวมทั้งสิ้น 21,134 ครั้ง ซึ่งเป็นเหตุความรุนแรงที่ท�ำให้มีความ เสียหายต่อชีวิต จ�ำนวน 11,545 ครั้ง (ร้อยละ 54.6) มีผู้บาดเจ็บสะสมทั้งสิ้น 23,817 คน จ�ำแนกเป็นผู้บาดเจ็บ จ�ำนวน 15,896 คน อัตราการบาดเจ็บ 5.3 ต่อแสนประชากรต่อเดือน ผู้เสียชีวิต จ�ำนวน 7,846 คน อัตราตาย 2.7 ต่อแสนประชากรต่อเดือน อัตราป่วยตาย (case fatality rate-CFR) ร้อยละ 33.8 และสูญหาย จ�ำนวน 75 คน มีหญิงหม้าย จ�ำนวน 3,265 คน และเด็กก�ำพร้าอายุต�่ำกว่า 18 ปี จ�ำนวน 4,661 คน การบาดเจ็บจากความรุนแรงในเด็กอายุต�่ำกว่า 18 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 - 2557 มีจ�ำนวน 1,674 คน จ�ำแนกเป็นเด็กบาดเจ็บ 1,411 คน และเด็กเสียชีวิต 263 คน อัตรา เด็กป่วยตาย (case fatality rate-CFR) ร้อยละ 15.7
เหตุการณ์ความรุนแรงที่มีเด็กร่วมประสบเหตุ พ.ศ. 2547-2557 เหตุการณ์ความรุนแรงที่มีเด็กร่วมประสบเหตุ ตั้งแต่ พ.ศ. 2547-2557 จ�ำนวน 946 ครั้ง อาวุธปืน 619 ครั้ง ระเบิด 223 ครั้ง อาวุธประเภทอื่น ๆ เช่น ของมีคม ไฟไหม้ จ�ำนวน 104 ครั้ง ศูนย์ปฏิบัติการส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ระบุ เหตุความไม่สงบ ร้อยละ 72.5 แต่การพิสูจน์หลักฐานเพื่อจ�ำแนกเหตุความไม่สงบ หรือ การประทุษร้ายด้วยเหตุความรุนแรงส่วนตัวนั้นต้องใช้ระยะเวลาจึงท�ำให้สัดส่วนเหตุความ ไม่สงบและเรื่องส่วนตัวมีจ�ำนวนใกล้เคียงกัน ในปี 2557 เหตุการณ์ความรุนแรงทีม่ เี ด็กร่วมประสบเหตุโดยเฉลีย่ 86 ครัง้ ต่อปี ปี พ.ศ. 2547 มีเหตุการณ์น้อยที่สุด 32 ครั้ง และ พ.ศ. 2550 มีเหตุการณ์มากที่สุด จ�ำนวน 181 ครั้ง พื้นที่ เกิดเหตุจังหวัดนราธิวาส 343 ครั้ง จังหวัดปัตตานี 290 ครั้ง จังหวัดยะลา 278 ครั้ง และ จังหวัดสงขลา 35 ครั้ง (ตารางที่ 1) ลักษณะสถานที่เกิดเหตุการณ์สูงที่สุด คือ ถนนหรือ ทางหลวง รองลงมา คือ บ้าน/บริเวณบ้าน/ที่พักอาศัย และร้านค้า
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
63
ตารางที่ 1 จำ� นวนเหตุการณ์ความรุนแรงทีม่ เี ด็กร่วมประสบเหตุ ตัง้ แต่ พ.ศ. 2547-2557 รายอ�ำเภอ ปัตตานี ไม้แก่น แม่ลาน ทุ่งยางแดง กะพ้อ มายอ โคกโพธิ์ ปะนาเระ ยะหริ่ง หนองจิก สายบุรี ยะรัง เมืองปัตตานี
จำ�นวนเหตุการณ์ความรุนแรงที่มีเด็กร่วมประสบเหตุ (ครั้ง) 290 ยะลา 278 นราธิวาส 343 สงขลา
2 4 8 10 13 18 23 27 36 40 41 68
เบตง กาบัง กรงปินัง ธารโต ยะหา รามัน บันนังสตา เมืองยะลา
10 11 14 16 26 29 41 131
สุคิริน ยี่งอ แว้ง จะแนะ บาเจาะ ศรีสาคร ตากใบ สุไหงปาดี เจาะไอร้อง เมืองนราธิวาส สุไหงโก-ลก รือเสาะ ระแงะ
4 12 13 15 16 19 21 22 27 35 42 48 69
เมืองสงขลา จะนะ นาทวี หาดใหญ่ เทพา สะบ้าย้อย
35 1 2 4 5 9 14
เหตุการณ์ความรุนแรงที่มีเด็กร่วมประสบเหตุจ�ำนวนมากที่สุด ตั้งแต่ พ.ศ. 2547-2557 คือ 1. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 เหตุระเบิดบริเวณชั้นใต้ดินโรงแรมลีการ์เดนท์ ถนนเสน่หานุสรณ์ เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีเด็กประสบ เหตุ จ�ำนวน 91 คน 2. วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 เหตุระเบิดรถรับ-ส่งเด็กนักเรียนของโรงเรียน ร่มเกล้า บริเวณหัวสะพานบ้านบูเก๊ะปาลัส หมู่ 4 ต�ำบลยี่งอ อ�ำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส มีเด็กประสบเหตุ จ�ำนวน 59 คน 3. วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เหตุชมุ นุมประท้วงบริเวณหน้า สภ.อ.ตากใบ จังหวัด นราธิวาส มีเด็กประสบเหตุ จ�ำนวน 34 คน 4. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เหตุระเบิดริมถนนตรงข้ามประตูทางเข้าสมาคม แต้จิ๋ว ถนนเจริญเขต ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีเด็กประสบเหตุ จ�ำนวน 19 คน
64
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
5. วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2548 เหตุระเบิดบริเวณหน้าร้านก๋วยเตี๋ยวเรือโบราณ หลังโรงเรียนสตรียะลา ถนนเทศบาล 3 ต�ำบลสะเตง อ�ำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีเด็กประสบ เหตุ จ�ำนวน 16 คน
เด็กบาดเจ็บและเสียชีวิต พ.ศ. 2547-2557 ผู้บาดเจ็บจากเหตุความรุนแรงในเด็กอายุต�่ำกว่า 18 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2547-2557 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 1,674 คน จ�ำแนกเป็นเด็กบาดเจ็บ 1,411 คน และเด็กเสียชีวิต 263 คน อัตราตาย 4.4 ต่อแสนประชากรเด็กต่อเดือน โดยจังหวัดยะลาอัตราตาย 5.6 ต่อแสน ประชากรเด็กต่อเดือน จังหวัดปัตตานีอัตราตาย 4.2 ต่อแสนประชากรเด็กต่อเดือน จังหวัด นราธิวาสอัตราตาย 4.1 ต่อแสนประชากรเด็กต่อเดือน และจังหวัดสงขลาอัตราตาย 3.8 ต่อแสนประชากรเด็กต่อเดือน ปี 2550 ทุกจังหวัดมีอตั ราตายสูงทีส่ ดุ เด็กทีบ่ าดเจ็บต้องพิการ 23 คน เด็กอายุ 10 ปี ขึ้นไป มีจ�ำนวนการบาดเจ็บมากกว่าเด็กอายุต�่ำกว่า 10 ปี (รูปที่ 1)
รูปที่ 1 อัตราตายต่อแสนประชากรเด็กต่อเดือน พ.ศ. 2547-2557 จ�ำแนกรายจังหวัด
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
65
ตารางที่ 2 เด็กร่วมประสบเหตุการณ์ความรุนแรง ตั้งแต่ พ.ศ. 2547-2557 ตามลักษณะการเกิดเหตุ ลักษณะ การเกิดเหตุ ปีที่เกิดเหตุ 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 จังหวัดที่เกิดเหตุ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา ประเภทอาวุธ ปืน ระเบิด อื่น ๆ
66
เด็กชาย เด็กหญิง บาดเจ็บ เสียชีวิต รวม บาดเจ็บ เสียชีวิต 863 204 1,067 548 59 53 11 64 14 2 67 11 78 36 3 66 21 87 40 3 165 47 212 87 15 84 21 105 45 5 79 19 98 59 6 51 17 68 38 2 83 24 107 33 9 117 9 126 143 3 56 11 67 30 1 42 13 55 23 10
รวม รวมทั้งสิ้น 607 1,674 16 80 39 117 43 130 102 314 50 155 65 163 40 108 42 149 146 272 31 98 33 88
236 232 328 67
61 70 67 6
297 302 395 73
139 145 193 71
15 18 23 3
154 163 216 74
451 465 611 147
459 318 86
139 14 51
598 332 137
199 315 34
33 12 14
232 327 48
830 659 185
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
ตารางที่ 3 เด็กร่วมประสบเหตุการณ์ความรุนแรง ตั้งแต่ พ.ศ. 2547-2557 ตามคุณลักษณะของเด็ก คุณลักษณะของเด็ก บาดเจ็บ 863 ศาสนา คริสต์ 2 พุทธ 298 อิสลาม 560 อื่น ๆ 3 อายุขณะเกิดเหตุ 1-4 ปี 99 5-9 ปี 111 10-14 ปี 254 15-17 ปี 399 อายุปัจจุบัน อายุไม่เกิน 17 ปี 456 อายุ 18 ปี ขึ้นไป 407 การศึกษาหรือทำ�งาน วัยก่อนเรียน 88 เรียนหนังสือ 265 บรรพชิต/นักบวช 3 ทำ�งาน 38 ไม่ระบุ 469
เด็กชาย เด็กหญิง รวมทั้งสิ้น เสียชีวิต รวม บาดเจ็บ เสียชีวิต รวม 204 1,067 548 59 607 1,674 2 2 2 4 57 355 227 24 251 606 144 704 318 34 352 1,056 3 6 1 1 2 8 19 12 57 116
118 123 311 515
64 85 208 191
14 7 15 23
78 92 223 214
196 215 534 729
77 127
533 534
345 203
37 22
382 225
915 759
22 51 11 120
110 316 3 49 589
64 182 10 292
15 12 3 29
79 194 13 321
189 509 3 62 910
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
67
สถานการณ์เด็กก�ำพร้าจากเหตุการณ์ความรุนแรง พ.ศ. 2547 – 2557 เด็กก�ำพร้าจากเหตุความรุนแรงตั้งแต่ พ.ศ. 2547-2557 (อายุต�่ำกว่า 18 ปี) จ�ำนวน 4,661 คน ก�ำพร้าบิดา 4,355 คน (ร้อยละ 93.4) ก�ำพร้ามารดา 210 คน (ร้อยละ 4.5) ก�ำพร้าทั้งบิดาและมารดา 96 คน (ร้อยละ 2.1) เด็กก�ำพร้าเพศชายและหญิง ร้อยละ 51.6 และ 48.4 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 74.8 ภูมิล�ำเนาจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 90.4 ตามคุณลักษณะของเด็ก (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 เด็กก�ำพร้าจากเหตุการณ์ความรุนแรง พ.ศ. 2547-2557 ตามคุณลักษณะ ของเด็ก คุณลักษณะ เพศ ชาย หญิง ศาสนา คริสต์ พุทธ อิสลาม อายุ (ปี) ต�่ำกว่า 1 ปี 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
68
FACTS AND FIGURES 2015
ก�ำพร้า บิดา - มารดา 96
บิดา 4,355
มารดา 210
2,249 2,106
46 50
108 102
3 1,022 3,300
38 58
110 100
1 4 4 4 5 6 5 1 5 4
3 2 6 4 8 12 5 5 11 14 7
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
122 139 153 147 158 164 174 188 198 188 175
คุณลักษณะ 11 12 13 14 15 16 17 ไม่ทราบ ภูมิล�ำเนา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอิสาน
205 181 177 164 176 191 166 1,289
ก�ำพร้า บิดา - มารดา 96 3 4 2 8 7 4 5 24
1,582 890 1,474 193 19 55 77 65
39 31 22 1 3 -
บิดา 4,355
มารดา 210
9 10 9 20 12 9 10 54 70 39 68 15 4 3 10 1
เหตุการณ์ความรุนแรงที่มีเด็กร่วมประสบเหตุ พ.ศ. 2557 เหตุการณ์ความรุนแรงที่มีเด็กร่วมประสบเหตุ พ.ศ. 2557 จ�ำนวน 57 ครั้ง พื้นที่ เกิดเหตุ จังหวัดปัตตานี 24 ครั้ง (ร้อยละ 42.1) ยะลา 16 ครั้ง (ร้อยละ 28.1) นราธิวาส 15 ครั้ง (ร้อยละ 26.3) และสงขลา 2 ครั้ง (ร้อยละ 3.5) เหตุจากอาวุธปืน 35 ครั้ง ระเบิด 12 ครั้ง และอาวุธอื่น ๆ 10 ครั้ง เดือนกรกฏาคมมีเหตุการณ์เด็กร่วมประสบเหตุสูงสุดในรอบปี จ�ำนวน 12 ครั้ง สถานี่เกิดเหตุมากที่สุด คือ ถนนหรือทางหลวง (รูปที่ 2)
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
69
สถานที่เกิดเหตุ สนามกีฬาสาธารณะ สถานที่สาธารณะ ศาสนสถาน โรงพยาบาล ฐานเจ้าหน้าที่ทหาร/ต�ำรวจ หอพัก/ที่อยู่อาศัยของหน่วยงาน สถานศึกษา ร้านค้า บ้าน/บริเวณบ้าน/ที่อยู่อาศัยส่วนตัว สถานที่อื่นๆ ถนนหรือทางหลวง 0
ยิง ระเบิด อื่นๆ
5
10
15
20
25
จ�ำนวนเหตุการณ์ (ครั้ง)
30
35
รูปที่ 2 เหตุการณ์ความรุนแรงที่มีเด็กร่วมประสบเหตุ พ.ศ. 2557 จ�ำแนกตามลักษณะสถานที่เกิดเหตุ ปี 2557 เหตุการณ์ความรุนแรงที่มีเด็กร่วมประสบเหตุจ�ำนวนมากที่สุด คือ 1. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลาประมาณ 19.30 น. เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิด ยิงลูกระเบิด เผาเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ และโปรยตะปู เรือใบ ในเขตพื้นที่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีเด็กผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต 15 คน 2. วันที่ 25 กรกฏาคม พ.ศ. 2557 เวลาประมาณ 16.40 น. คนร้ายใช้ระเบิดบรรจุ ไว้ในรถยนต์ วางระเบิดบริเวณหน้าโรงแรมฮอลิเดย์ เลขที่ 50 ถนนภักดีด�ำรง เขตเทศบาล เมืองเบตง อ�ำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นเหตุ มีเด็กผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต 5 คน
70
FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
คณะทำ�งาน
FACTS AND FIGURE 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558 คณะทำ�งานวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.พญ.ทิพวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.อังคณา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมตตา ดร.นิตยา ดร.ธนิษฐา ดร.ซอฟียะห์ ดร.นันทพร ดร.อมรรัตน์ นพ.สุภัทร นิ่มอนงค์ ปฐมพร พัชนี โกวิทย์ อวยพร กมลวรรณ มายือนิง กองบรรณาธิการ ศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.อังคณา นิพนธ์ จิราพร มารียา
จงสู่วิวัฒน์วงศ์ เลียบสื่อตระกูล เธียรมนตรี แซ่ลิ่ม กูนิง แม็คเนล ดิษสุวรรณ์ นิมะ กลิ่นจันทร์ ชุตินันทกุล ฮาสุวรรณกิจ ไทยเจริญ พริกชู นัครา อนุรัตน์ เพ็ชรบริสุทธิ์ อิ่มด้วง อิสอ
ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ
จงสู่วิวัฒน์วงศ์ เธียรมนตรี รัตนาคม อาวะภาค เจ๊ม๊ะ
สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) ชั้น 6 อาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทรศัพท์/ โทรสาร : 0-7445-5150 มือถือสำ�นักงาน 08-1542-7006 Website : www.rdh.psu.ac.th Facebook : สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ E-mail : southern.rdh@gmail.com FACTS AND FIGURES 2015
ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558
71
FACTS AND FIGURES
2015
FACTS AND FIGURES
2015
ข้อเท็จจริงและสถิติ
ภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2558 สนับสนุนโดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.)
จัดทำ�โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์