รู้ มีนาคม 60
เรื่องเพื่อน
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้ ชวนแหลงถึงเริน ผักสวนครัว รั้วสวยงาม ที่บ้านโคกสูง
คณะทำ�งานตั้งต้น กับภารกิจเสริมพลัง ภาคี ภ าคใต้ 2
เพื่อนอีทำ�ไหร ? อะไรคือ จิตคิดมัต ?? งงเด้ งงเด้ !!
7
ทำ�ท้าวเรื่องเพื่อน ! เครือข่ายยุวทัศน์ฯ ใช้ ปันตง เสริมพลังเยาวชน
10
ฉบับเมษายน
2560
“รู้ ้ เรืเรื่อ่องง เพื เพื่อ่อน” น” จดหมายข่ จดหมายข่าาวออนไลน์ วออนไลน์เเพืพื่อ่อพีพี่น่น้อ้องประชาสั งประชาสังงคมภาคใต้ คมภาคใต้ “รู
ชวนแหลงถึงเริน
ผักสวนครัว... รั้วสวยงาม ที่บ้านควนสูง
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 ทีมงานพี่เลี้ยง NODE สสส. สุราษฎร์ธานี ได้มีโอกาสลงพื้นที่ชุมชนบ้านควนสูง หมู่ที่ 9 ตำ�บลคลองฉนวน อำ�เภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการเครือข่ายนวัตกรรมสร้างเสริมสุข ภาพภาคใต้ตอนบน ได้เจอกับพี่ฐา (นางขนิษฐา เกษสม) พร้อมกับเรื่องราวกิจกรรมเล็ก ๆ แต่น่าสนใจ พี่ฐา แกนนำ�จิตอาสาได้ชักชวนคนในชุมชนราว 30 ครัวเรือน มาร่วมประชุมพูดคุยกับชาวบ้านที่สนใจเพื่อ หาแนวร่วมในการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักในครัวเรือน
นางสาวอรอุมา ชูแสง กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์สุราษฎร์ธานี : เล่าเรื่อง
-2-
หลั ง จากการพู ด คุ ย ก็ ไ ด้ มี ก ารปลู ก ผั ก แต่ละบ้านเริ่มต้นจากคนที่สนใจ และคนอื่นๆ เห็ น แล้ ว ก็ อ ยากจะเข้ า ร่ ว มเรี ย นรู้ ก ารปลู ก ผั ก การทำ�ปุ๋ยหมักเติมคุณค่าทางอาหารให้ผืนดิน ทำ�ให้ในชุมชนมีคนที่สนใจเพิ่มมากขึ้นที่ลุกขึ้น มาปลูกผักรอบบ้าน บางคนก็เริ่มต้นใหม่ บาง ครอบครัวก็ต่อยอดการปลูกเพิ่มมากขึ้น เริ่ม ด้วยการปลูกผักสวนครัว แม้ว่าจะเหนื่อย แต่ เมื่อทำ�แล้วก็มีความสุขเป็นการผ่อนคลาย รวม ถึงเป็นกิจกรรมปลูกผักร่วมกับคนในครอบครัว ทุกคนก็ได้กินผักที่ปลูกเอง เติมเรื่องของการ ดูแลสุขภาพ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ผัก ที่ กิ น ไม่ ห มดก็ แ บ่ ง ปั น และจำ � หน่ า ยที่ ต ลาดนั ด ของชุมชนเป็นการสร้างรายได้ ทำ�ให้มีความสุข มากเมื่อพื้นที่รอบ ๆ บ้านเต็มไปด้วยผักสวนครัว สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความสุขในการทำ�งาน ร่วมกันและความสามัคคีของคนในชุมชน มีแกน นำ�ที่เสียสละและตั้งใจที่จะทำ�ให้ชุมชน จากการไปลงเรียนรู้พื้นที่ในครั้งนี้ทำ�ให้ เกิ ด แรงบั ล ดาลใจที่ จ ะกลั บ มาพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง พื้นที่ข้างบ้านให้มีแหล่งอาหารปลูกผักสวนครัว รอบบ้าน ก็อยากจะสนับสนุนให้ทุกคนได้มีส่วน ในการผลิตและการบริโภคผักที่ปลอดสารเคมี ขอบคุณพี่ฐา และครูสมศรี ช่วย บำ�รุง นายพิสิฐ ช่วยบำ�รุง (ครัวเรือนตัวอย่าง เศรษฐกิจพอเพียง) รวมถึงสมาชิกในชุมชนบ้าน ควนสูงทุกคน
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
เด็กสุราษฎร์ฯ ชวนอนุรักษ์ลุ่มนํ้า
ไปหามาอ่าน !
พิธีสืบชะตา “แม่นํ้าคลองยัน”
“
“10 ขั้นง่ายๆ
วิจัยเชิงคุณภาพ
‘กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ภูมินิเวศลุ่มนํ้าคลองยัน’ เป็นกลุ่มทำ�งานของเยาวชน จำ�นวนหนึ่งราว 25 คน ในอำ�เภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีส่วน ร่วมในการดูแลรักษาฐานทรัพยากรของบ้านเกิด และสื่อสารสู่สังคมเพื่อร่วม ดูแลทรัพยากรลุ่มนํ้าคลองยัน กลุ่มเยาวชนฯ จึงได้จัดงานพิธีสืบชะตาแม่นํ้า “คลองยัน” ครั้งที่ 17 ตอน หนุนเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ณ เขตอภัยทานวังปลาวังครก บ้านปากพาย หมู่ที่ 2 ตำ�บลนํ้าหัก อำ�เภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี วันที่ 9 มีนาคม 2560 มีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การทำ�บุญสืบชะตา แม่นํ้า พิธีเผาหุ่นคนบาป การแข่งขันกีฬาทางนํ้า จำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ติดตามและเป็นกำ�ลังใจให้กับการทำ�งานของน้อง ๆ ได้ที่ เฟสบุ๊ค “กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ สุราษฎร์ธานี”
อรอุมา ชูแสง กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์สุราษฎร์ธานี : เล่าเรื่อง
-3-
การเรียนรู้ผ่านการอ่านหนังสือ จะช่ ว ยให้ เ กิ ด ความรู้ แ ละทั ก ษะ การทำ�งานขึ้นมาได้ วันนี้จึงขอ แนะนำ�หนังสือช่วยเติมความรู้ใน เรื่องของการทำ�วิจัยเชิงคุณภาพ
“10 ชั้นง่าย ๆ วิจัยเชิงคุณภาพ” ผู้เขียน > อาจารย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ จัดพิมพ์โดย > สำ�นักพิมพ์ สุขศาลา สำ�นักวิจัยสังคมและ สุขภาพ (สวสส.) หนังสือเล่มนี้เหมาะเป็น เครื่องมือการเรียนรู้การทำ�วิจัย ที่อ่านง่าย มีการแนะนำ�วิธีการ อย่างเป็นขั้นตอน พร้อมการ ยกตั ว อย่ า งประกอบให้ คิ ด ตาม เพื่ อ ความเข้ า ใจอย่ า งเป็ น รู ป ธรรม หนังสือเล่มนี้แนะนำ�วิธี ในการลงมือทำ� ที่สำ�คัญมีการ แนะนำ�วิธีการอย่างเป็นขั้นตอน และเข้าใจง่าย
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
“คณะทำ�งานตั้งต้น”
สานงานเสริมพลัง : วาระความมั่นคงทางสุขภาวะคนใต้ ทวีวัตร เครือสาย : เล่าเรื่อง ภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ได้ดำ�เนินกิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเวทีวิชาการสร้าง สุขภาคใต้ ร่วมกับสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุข ภาพ (สสส.) และสำ�นักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) เกิดการประสานความร่วมมือระดับภาคใต้ระหว่างภาคี เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ กับภาคียุทธศาสตร์ สสส.-สปสช.สช.-สจรส. ม.อ. ผลจากเวทีสร้างสุขภาคใต้:วาระความมั่นคง ทางสุขภาวะคนใต้ พ.ศ. 58-59 ใน 4 มิติ ได้แก่ มิติความมั่นคง ทางสุขภาพ มิติความมั่นคงของมนุษย์ มิติความมั่นคงทาง อาหาร และมิติความมั่นทางทรัพยากร/พลังงาน มาแล้วนั้น เครือข่ายและภาคียุทธศาสตร์ได้นำ�บทเรียน แนวทางและข้อ เสนอเชิงนโยบายมาสู่การขับเคลื่อนโดยจัดกลไกโครงสร้างการ ขับเคลื่อนสานงานเสริมพลังเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ ตามแผนผังดังนี้
จากบทเรียนในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ นั้นพบว่า เครือข่ายสุขภาพยังใช้ชุดฐานข้อมูลความรู้ที่ต่างกัน ระบบกลไกการประสานงานและสื่อสารในระดับภูมิภาคไม่ต่อ เนื่องและหลากหลายช่องทาง คุณภาพของเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลังนั้นน้อยลง อัน ส่งผลให้การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้มีความ ก้าวหน้า แต่ไม่เท่าทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของทุกข ภาวะคนภาคใต้ และเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงระบบและประเด็นการ ขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพในระดับภูมิภาคยิ่งขึ้น สำ�นัก พัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) จึงร่วมกับคณะ
ทำ�งานประสานงาน (ตั้งต้น) เป็น หน่วยประสานงาน สาน งาน เสริมพลังภาคีสุขภาพภาคใต้ ทำ�หน้าที่ประสานความ ร่วมมือ สนับสนุนการดำ�เนินงานสร้างเสริมสุขภาพ ให้เกิดการ เชื่อมร้อยประสานการทำ �งานของเครือข่ายโดยมีกลไกคณะ ทำ�งานสานงานเสริมพลังภาคใต้ ที่มาจากผู้แทนกลุ่มเครือข่าย สุขภาพในเชิงประเด็นทั้ง 4 ประเด็น ในลำ�ดับต่อไป บทบาท หน้าที่ของคณะทำ�งานจะมีปฏิบัติการสานงานเสริมพลังภาคี เครือข่ายสุขภาพคู่ขนานกับทีมสนับสนุนวิชาการ คือศูนย์ สนับสนุนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศวส. ม.อ.) อนึ่งในระยะตั้งต้นนั้นสมาคมประชาสังคมชุมพรกับ คณะทำ�งานฯ จึงเป็น “คณะทำ�งานประสานงาน” หรือหน่วย ประสานจัดการร่วมกับ สภส. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันของภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ คณะทำ�งานประสานงานฯ ได้ออกแบบแนวทาง การขับเคลื่อนสานงานเสริมพลังภาคีสุขภาพภาคใต้ โดยมี ยุทธศาสตร์สานงานเสริมพลังใน 4 แผนงานหลัก 2 แผนงาน หลักคือ แผนงานการจัดการข้อมูลและความรู้ แผนงานการ สร้างปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์เป็นบทบาทหน้าที่หลักของ ทีมคณะทำ�งานประสานงาน และอีก 2 แผนงานนั้นคือ แผน งานการเพิ่มขีดความสามารถทั้งการปรับทัศนะและการเพิ่ม ทักษะที่จำ�เป็นต่อการสร้างสุขภาวะ และแผนงานสื่อสาร ประชาสัมพันธ์นั้นร่วมมือกับ สสส. สำ�นักพัฒนาภาคีสัมพันธ์ฯ และ สจรส.มอ และเครือข่ายสื่อภาคใต้ โดยได้กำ�หนดกลวิธี ในการดำ�เนินงานตามแผนผังนี้
-4-
แผนยุทธศาสตร์ สานงานเสริมพลัง “สุขภาวะคนใต้”
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้ ใ น ส่ ว น ก า ร จั ด ค ว า ม สั ม พั น ธ์ แ ล ะ ห นุ น เ ส ริ ม 2) การจัดการความรู้ โดยทีมนักวิชาการ ม.อ. กระบวนการสานงานเสริมพลังภาคีสุขภาพ เพื่อสุขภาวะฅนใต้ 3) การสนับสนุนวิชาการและพัฒนาศักยภาพภาคี ในระยะสั้นนั้นมี 4 ภารกิจงานของ 4 ทีมทำ�งานที่ได้ดำ�เนินงาน เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ โดย สจรส. ม.อ คือ 1) การพัฒนากลไกคณะทำ�งานสานงานเสริมพลัง 4) การพัฒนาโครงข่ายสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยเครือข่ายสื่อประชาชนภาคใต้ ภาคีสุขภาพภาคใต้ โดยทีมคณะทำ�งานประสานงาน
ดังนั้นคณะทำ�งานประสานงานฯ ได้กำ�หนดมีแผน ปฏิบัติงาน ปี พศ 2560 ไว้ดังนี้ การขับเคลื่อนของทีมคณะประสานงาน สานงาน เสริมพลังภาคีสุขภาพ ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการ ติดตามหนุนเสริมพื้นที่และเครือข่าย ในการจัดการข้อมูล/บท เรียนความรู้ ทั้งในเชิงประเด็นและพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ใน การเชื่อมโยงสานสัมพันธ์ภาคีเครือข่ายสุขภาพ ทั้งใน 4 มิติ ความมั่นคงทางสุขภาวะคนใต้ คือ ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทาง ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน (ท่องเที่ยวโดยชุมชน) โดย การกระจายบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบการประสานงานใน แต่ละจังหวัด ดังนี้ 1. สุราษฏร์ธานี พังงา > นางสาวอรอุมา ชูแสง 2. ระนอง ชุมพร > นางพัลลภา ระสุโส๊ะ และ นางสาวนิฮาฟีซา นิมะมิง 3. ภูเก็ต > นายทวีวัตร เครือสาย 4. นครศรีธรรมราช พัทลุง > นางสาววณิชญา ฉัน สำ�ราญ
5. กระบี่ ตรัง > นายเชภาดร จันทร์หอม 6.สงขลา สตูล > นายนิพนธ์ รัตนคม 7. ปัตตานี ยะลา นราธิวาส > นายอานัติ หวังกุ หลำ� ในห้วงเวลาขณะนี้คณะประสานงาน ได้เชื้อเชิญ ครูบาอาจารย์ ชักชวนมวลมิตร คนทำ�งานอาสาในพื้นที่ภาค ใต้ ตั้งวงคุย ปรึกษาหารือ รับฟังความคิดความเห็น ข้อเสนอ แนะ ในแต่ละกลุ่มจังหวัดต่างๆ พร้อมเก็บเกี่ยวบทเรียนการ ทำ�งานแต่ละกลุ่มเครือข่าย ประมวลความคิดเห็นและบท เรียนเพื่อใช้ในเวทีประชุมเครือข่ายภาคีสร้างสุขภาพภาคใต้ ในห้วงเดือนพฤษภาคม 2560 อย่างไรก็ตาม การสานงานเสริมพลังภาคีสุขภาพภาค ใต้นั้น คณะทำ�งานประสานงาน 8 ชีวิตทำ�หน้าที่เป็นเพียง สะพานเชื่อมให้ภาคีเครือข่ายสุขภาพได้มาพบปะแลกเปลี่ยน เรียนรู้ โดยใช้ฐานข้อมูล บทเรียนความรู้จากการปฏิบัติ ยก ระดับความรู้สู่การสร้างพลังการเปลี่ยนแปลง จัดการทุกข ภาวะคนใต้ในลดน้อยเบาบางต่อไป...
-5-
‘ถอดบทเรี ย น’ เตรียมความพร้อมถอดองค์ความรู้ภาคี สสส. อบรมเชิงปฏิบัติการ
โครงการเสริมสร้างศักยภาพภาคีด้วยเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านงานสร้างเสริมสุขภาพระดับภาคใต้ตอนล่าง ภาควิชาเวชศาสตร์ ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา รองหัวหน้าภาควิชาฝ่ายวิชาการและคุณภาพภาควิชาเวชศาสตร์ชมุ ชนคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผูบ้ ริหาร โครงการ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร “การถอดบทเรียน” ขึน้ ระหว่างวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมบีพี สมิหลา บีช รีสอร์ท อำ�เภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อสร้างนักจัดการความรู้ที่จะไปถอดบทเรียนในโครงการสร้างเสริมสุขภาพ และโครงการ สุขภาวะในชุมชนที่ดำ�เนินการในภาคใต้
>>
รศ. ดร. ประภาพรรณ อุ่นอบ
การจัดอบรมได้รบั เกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาพรรณ อุ่นอบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าทีมวิทยากร ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคการถอดบทเรียน โดยผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการ “ถอดบทเรียน” จากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ทำ�งานในภาคใต้ ได้แก่ โครงการ บัณฑิตอาสา ม.อ. สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) สถานวิจัยพหุ วัฒนธรรมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สพย.) มูลนิธิธาดานุสรณ์ องค์กรแห่งการ เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวจังหวัดชายแดนใต้ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 สาธารณสุขจังหวัดสตูล รพ.สต. ห้วยยอด รพ.สต. เนินงาม รพ.สต. ฉลุง เทศบาล ตำ�บลชุมพล และองค์การบริหารส่วนตำ�บลยางค้อม สำ�หรับการถอดบทเรียนเป็นวิธีการจัดการความรู้ที่เน้นเสริมสร้างการ เรียนรู้ในกลุ่มที่เป็นระบบเพื่อสกัดความรู้ฝังลึกในตัวคนและองค์ความรู้ของท้องถิ่น ออกมาเป็นบทเรียน ที่สามารถนำ�ไปสรุปและสังเคราะห์เป็นชุดความรู้รูปแบบต่างๆ ตลอดจนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนทำ�งาน นำ�ไปสู่การปรับวิธีคิด วิธีการทำ�งาน และมีคุณภาพยิ่งขึ้น ผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติการ “ถอดบทเรียน” ราว 40 คน จากหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่ท�ำ งานในภาคใต้ ได้รับความรู้ตั้งแต่หลักการพื้นฐานของการถอด บทเรียน แนวคิดและเทคนิคการถอดบทเรียน รวมทั้ง ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในกิจกรรมแบ่งกลุ่มปฏิบัติการถอดบทเรียน ตั้งแต่การประเมินผลการดำ�เนินงาน การวิเคราะห์เงื่อนไขปัจจัยต่อความสำ�เร็จของกิจกรรม รวมทั้ง ข้อเสนอแนะเพื่อ ยกระดับคุณภาพงานในระยะต่อไป และในระยะเวลาอันใกล้น้ี ผูผ้ า่ นการอบรมแล้วบางส่วนมีเป้าหมายร่วมกันที่ จะลงพืน้ ทีเ่ พือ่ จัดถอดบทเรียนองค์กรของตนเอง และองค์กรเครือข่ายต่อไป
-6-
เมื่อ 18-19 ก.พ. 60 ที่ผ่านมา ได้พบกับเยาวชนกว่า 40 คน จาก 12 ตำ�บลในจังหวัดชายแดนใต้ เขาเรียกตัวเอง ว่า “เครือข่ายผู้นำ�เยาวชนมีจิตคิดมัต (จิตอาสา)” มีนา ยมูฮำ�มัดอามีน ดือราโอ๊ะ หรือบังอามีน เป็นหัวหน้ากลุ่ม เครือข่าย ชวนผมมาถ่ายทอดทักษะการเขียนโครงการ อย่างง่ายให้กับเยาวชนกลุ่มนี้ ผมเลือกใช้เครื่องมือหนึ่ง Time Line ให้น้องๆ เรียนรู้อย่างสนุกสนาน จนสามารถ เขียนโครงการได้เบื้องต้น
กั บ สองวั น ที่ ได้เรียนรู้เ ครือข่ายเยาวชนจิตอาสา ท่ามกลางบรรยากาศสวยๆ ริมทะเลแหลมโพธิ์ จังหวัด ปัตตานี เลยชักสนใจเยาวชนกลุ่มนี้มากขึ้น เห็นถึงความ ตั้งใจและพลังบางอย่างในกลุ่มเครือข่ายฯ พบว่าบังอามีน เริ่มทำ�งานด้านเยาวชนมาตั้งแต่ 2547 โดยมีกระบวนการ ในการพัฒนาศักยภาพผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นแบบฝึกหัด ได้แก่ การจัดค่ายเรียนรู้ชุมชน ค่ายสร้างแรงจูงใจด้าน การเรียน การช่วยเหลือผู้ประสบภัยนํ้าท่วมดินถล่ม การ เยี่ยมเยียนช่วยเหลือเด็กกำ�พร้า เป็นต้น จนเกิดแกนนำ� เยาวชนสะสมรุ่นต่อรุ่น พลังเยาวชนเหล่านี้สามารถเป็น กำ�ลังในการพัฒนาชุมชนได้ ต่อมาในปี 59 ทางเครือข่ายได้มารู้จักกับ สสส. สำ�นัก 9 ที่สนใจงานด้านการช่วยเหลือเด็กกำ�พร้า จึง สนับสนุนงบประมาณบางส่วนให้ทางเครือข่ายได้ขยายการ ทำ�งาน โดยมี ศวชต. ปัตตานี เป็นพี่เลี้ยงและร่วมทำ�งาน ด้วย ประเด็นที่มีความน่าสนใจของกระบวนการพัฒนา ศักยภาพของเครือข่าย คือการจัดระดับของเยาวชนในเครือ ข่ายเป็นขนาดต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน ด้านการพัฒนาตัวเองและมีวิธีการการพัฒนาเยาวชนได้ตรง กับฐานความสามารถที่มี
เครือข่ายผู้นำ�เยาวชน
มีจิตคิดมัต (จิตอาสา) อานัติ หวังกุหลำ� : เล่าเรื่อง
โดยขณะนี้แบ่งเยาวชนออกเป็น 4 กลุ่มหลักคือ > ขนาด LL เป็นเยาวชนรุ่นแรกที่กระจายไปทำ�งาน ในหน่วยงานต่างๆ และบางคนกลับมาทำ�งานในหมู่บ้าน จะทำ� หน้าที่เป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนงานเครือข่าย > ขนาด L เป็นเยาวชนรุ่นสองที่ท�ำ หน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ให้กับน้องเยาวชน > ขนาด M เป็นเยาวชนส่วนใหญ่ใน 40 กว่าคน และ เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการพัฒนาศักยภาพ > ขนาด S เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ขนาด M จะลงไป ทำ�ด้วยในพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นเด็กกำ�พร้าและครอบครัวที่ยาก ลำ�บากหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ที่ผมและทีม ศวชต. เข้ามาถ่ายทอดประสบการณ์ใน การทำ�งานชุมชนและสอนเรื่องการเขียนโครงการ เพื่อให้เด็ก ในกลุ่ม M และ L ได้คิดโครงการที่สนใจจะทำ�ในพื้นที่ตนเอง จากที่เยาวชนได้นำ�เสนอหลายประเด็นน่าสนใจ เช่น เรื่องกีฬา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ เรื่องอาชีพในครอบครัวที่ยากลำ�บาก เรื่องการเยี่ยมเยียนครอบครัวเด็กกำ�พร้า เรื่องพื้นที่สร้างสรรค์ สำ�หรับเยาวชน เป็นต้น เราฐานะคนนอกที่ เ พิ่ ง เข้ า มารู้ จัก สามารถรั บ รู้ ไ ด้ ว่ า เครือข่ายผู้นำ�เยาวชนมีจิตคิดมัต (จิตอาสา) ไม่ธรรมดาที่ สามารถเกาะกลุ่มทำ�งานในพื้นที่มากว่า 10 ปีจนปัจจุบัน และ โปรดติดตามผลงานของน้องๆ เยาวชนกลุ่มนี้ในระยะต่อไป
-7-
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
ข่าวจาก สสส.
ตำ�บลนาหมื่นศรี จ.ตรัง
คู่มือภาษีฉบับล่าสุด
เชภาดร จันทร์หอม : เล่าเรื่อง
สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมมี สาระความรู้เกี่ยวกับ “ภาษี” มา ฝากเพื่อนๆ กันครับ โดยไฟล์นี้จะเป็นไฟล์คู่มือภาษีฉบับล่าสุด เพื่อนๆ สามารถเข้ า ไปศึ ก ษาหรื อ ดาวน์ โ หลดเอกสารเพื่ อ ใช้ ใ นการ ดำ�เนินการเรื่องภาษีต่างๆ ได้ตามลิ้งค์ที่ผมแนบมาให้ได้เลยครับ และสำ�หรับเพื่อนๆท่านใดที่เจอปัญหาเรื่องภาษี ในเบื้องต้น ขอให้แจ้งกลับมาที่นักวิชาการสำ�นักก่อนนะครับ https://goo.gl/ BUqYAq หรือ e-mail : pornthip@thaihealth.or.th หรือ atipat@ thaihealth.or.th สจรส. เชิญผู้สนใจเข้ารับการอบรม “วิทยาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ” อาคารปูนชั้นเดียวที่เก็บรวบรวมเครื่อง มือเครื่อง รวมถึงของเก่ามากมายที่ สะท้อนวิถีชีวิตของผู้คนในอดีต โดย เฉพาะผู้คนในวิถีนาลุ่มนางน้อย นํ้าพักนํ้าแรงจากความอุตสาหะ ของคุณลุงประเสริฐ คงหมุน หรือ ลุงเส ริฐ ชายสูงอายุผมสีดอกเลาที่เห็นคุณค่า และพยายามเก็ บ รวบรวมสิ่ ง เหล่ า นี้ ตั้งแต่ปี 2531 คุณลุงเสริฐเริ่มออกค้นหา รวบรวมสิ่งของต่างๆ จากทั้งภายใน พื้นที่ตำ�บลนาหมื่นศรีและพื้นที่ภายนอก ตำ�บลและต่างจังหวัด ด้วยความเชื่อมั่น ต่อสิ่งที่คุณลุงทำ�สิ่งของมากมายก็ถูกส่ง ต่อมาให้คุณลุงเสริฐช่วยเก็บรักษาไว้ การจั ด วางสิ่ ง ของเครื่ อ งมื อ เครื่องใช้ต่างๆ ภายในอาคารเป็นไปตาม ศักยภาพ พยายามวางจัดกลุ่มในสิ่งของ ประเภทเดียวกัน แม้อาจจะไม่สมบูรณ์ ในแง่รูปลักษณ์แต่กลับเต็มเปี่ยมไปด้วย หัวใจของชายผู้ตระหนักและเห็นคุณค่า สามารถติดต่อลุงเสริฐโดยตรง เหมาะสำ�หรับกลุ่มเรียนรู้จำ�นวนไม่มาก นักเพื่อสะดวกต่อการดูแลและบริการ
-8-
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้
ไปหาของหรอยกิน ที่ตลาดป่าไผ่สร้างสุข ในแต่ละนัด ของการเปิดตลาดสีเขียวของชุมชน ป่าไผ่..สร้างสุข “อิ่มกาย บายใจ สุขอยู่ที่พอ” ทั้งคณะกรรมการ และสมาชิกผู้ผลิต ได้ประสานความตั้งใจ ร่วมปฎิบัติการ ตามแนวทางร่วมอย่างแข็งขัน แนวทางของการแบ่งปันความสุข ด้วยพื้นที่สะอาดสงบภายใต้ธรรมชาติป่าไผ่ ด้วยคุณภาพอาหารปลอดภัย ที่ใส่ใจทำ�ทุกขั้นตอน ด้วยความรักในท้องถิ่น สืบสานภูมิปัญญา ด้วยอาชีพเสริม สร้างรายได้อย่างพอเพียง ด้วยมิตรภาพ จากผู้ผลิต ตรง ถึงผู้บริโภค ด้วยใส่ใจโอบกอดโลก สีเขียว ป่าไผ่ สร้างสุข ในสวนไผ่ขวัญใจ อำ�เภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ใกล้โรงพยาบาลควนขนุน นัดแบ่งปันความสุข ทุกวันเสาร์
ขอบคุณ : ป่าไผ่สร้างสุข โดยเครือข่ายกินดีมีสุข จ.พัทลุง / อนุสาร อ.ส.ท.
-9-
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
เครือข่ายยุวทัศน์ฯ มุ่งสร้างเด็กรุ่นใหม่ ใช้ ปันตง เสริมพลังเยาวชนท่าศาลา วณิชญา ฉันสำ�ราญ : เล่าเรื่อง
เครือข่ายยุวทัศน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำ�งานเสริมสร้างศักยภาพ เยาวชนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมานานปี เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาตนเอง แสดงความ สามารถ จนปัจจุบันมีกลุ่มเยาวชนที่ผ่านการพัฒนาแล้ว 10 รุ่น กว่า 400 คน มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมหลากหลาย เช่น จัดค่าย รณรงค์ยาเสพติด ค่ายพัฒนาศักยภาพเด็กด้านการเป็นผู้น�ำ จัดอบรมสิทธิเด็ก จัดค่ายเยาวชนคนนํ้าดี และล่าสุด เยาวชนเครือ ข่ายยุวทัศน์ รุ่น 10 ได้มีส่วนร่วมดูแลชายหาดบางส่วนของจังหวัดนครศรีธรมราชผ่านโครงการยุวพิทักษ์ โดยร่วมกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่งในอำ�เภอท่าศาลา นำ�เยาวชนในพื้นที่ช่วยกันเก็บขยะบนชายหาด 4 แห่ง จัดทำ�และติดตั้งถังขยะ ติดตั้งป้ายรณรงค์ ช่วยกันกำ�หนดระเบียบในการใช้พื้นที่ชายฝั่ง จนต่อมาสามารถจัดตั้งศูนย์ประสานงานประจำ�ตำ�บลอีกด้วย
...เราไม่ได้คาดหวังแค่จะเอา “ เด็กมาสอนการเรี ยนรู้ปันตงเพียง
อย่างเดียว แต่ปันตงเป็นเครื่องมือ หนึ่งที่ช่วยเพิ่มทักษะชีวิตที่ดีให้เด็ก ได้กล้าคิด กล้าแสดงออก แล้วต่อ ไปเด็กก็นำ�ปันตงไปใช้เสริมสร้าง สุขภาพผู้สูงอายุได้ และเป็นต้น แบบให้เด็กรุ่นต่อไปในการสืบสาน ภูมิปัญญาพื้นบ้านได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เยาวชนเครือข่ายยุวทัศน์รุ่นปัจจุบันส่วน มากกำ�ลังจะสำ�เร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น จึงได้ร่วมกันจัดทำ�วางแผนพัฒนา ศักยภาพเยาวชนฯ รุ่นที่ 11 จำ�นวน 10 คน ที่จะเข้ามารับช่วง ซึ่งเป็นเป้าหมายของ โครงการถอดรหัสใจ เครือข่ายยุวทัศน์ ฯ ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) “เยาวชนของเครือข่ายยุวทัศน์รุ่นใหม่นี้มีอายุตั้งแต่ 9-25 ปี เป็นเด็กที่มีความตั้งใจ แต่อาจจะยังขาดศักยภาพ ในบางด้าน เราจึงต้องคิดว่าจะพัฒนาสมาชิกใหม่อย่างไรให้ เด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายในเรื่องอายุเหล่านี้สามารถ พัฒนาตนเอง จนสามารถมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมได้ต่อไป เรา จึงได้น�ำ เอา ‘ปันตง’ มาใช้เป็นเครื่องมือในการเสริมพลังให้ เด็กเหล่านี้ได้พัฒนาตัวเอง” น.ส.วณิชญา ฉันสำ�ราญ ประธาน เครือข่ายยุวทัศน์ฯ เล่า สำ�หรับ ‘ปันตง’ เป็นการแสดงพื้นบ้านของบ้านสี่แยก วัดโหนด ตำ�บลโพธิ์ทอง ตำ�บลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีรูปแบบคล้ายลำ�ตัดของภาคกลาง ใช้ภาษาไทยร่วมกับภาษา มลายูและยาวีในการนำ�เสนอ ตัวแสดงราว 7-9 คน แต่งกายด้วย โจงกระเบน ผ้าข้าวม้า หรือเสื้อลายดอกไม้ เครื่องดนตรีที่ใช้มี 4 ชิ้น คือ รำ�มะนา กรับ ฉิ่ง และเมาท์ออร์แกน เนื้อหาการแสดง อาจเป็นการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว หรือเพื่อใช้บอกเล่าเรื่อง ราวต่าง ๆ ของชุมชน มักแสดงในงานรื่นรมย์หรืองานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานเมาลิด ฯลฯ ซึ่งที่ผ่านมา เยาวชน เครือข่ายยุวทัศน์ได้มีโอกาสจัดการแสดงทั้งในพื้นที่ภาคใต้ และ ในงานประจำ�ปีของประเทศพม่า
- 10 -
“
รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้ น้องเล็ก
น้องฟารุค
นายผจรศักดิ์ สุขรินทร์ หรือน้องเล็ก อายุ 18 ปี สมาชิกรุ่นที่ 10 ของเครือ ข่ายยุวทัศน์อธิบายว่า เยาวชนฯ รุ่นใหม่นี้ได้ถูกชักชวนจากรุ่นพี่รุ่นก่อนหน้าด้วย ความยินยอมจากผู้ปกครองให้เข้าร่วมกิจกรรม กระบวนการพัฒนาศักยภาพคนรุ่น ใหม่นี้เริ่มจากการจัดค่ายครอบครัวเพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับครอบครัวเยาวชน และสานสัมพันธ์ภายในครอบครัว การทำ�กิจกรรมสันทนาการร่วมกันเพื่อสร้างความ คุ้นเคยระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง ต่อมาจึงจัดกิจกรรมให้ได้เรียนรู้เรื่องการแสดงปันตง โดย เริ่มตั้งแต่ลงพื้นที่ศึกษาความเป็นมาของการแสดงพื้นบ้านนี้ เชิญปราชญ์ชาวบ้านมา สอนเรื่องการร้องเพลง การเล่นเครื่องดนตรีแต่ละชนิด โดยมีกำ�หนดทำ�กิจกรรมการ เรียนรู้ปันตงทุกวันหลังเลิกเรียน และเสาร์อาทิตย์ ซึ่งแต่ละกิจกรรมจะมีครู อีหม่าม แกนนำ�ชุมชน เจ้าอาวาส หมุนเวียนมาร่วมกิจกรรมอยู่เสมอ นายเอกรัตน์ โลดโพธิ์ศรี หรือน้องฟารุค สมาชิกรุ่นที่ 10 เล่าว่า “ปันตง เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เครือข่ายยุวทัศน์ใช้ในการพัฒนาความสามารถ ความกล้า แสดงออกของเด็ก ช่วยให้เด็กสนุก อยากเรียนรู้ เราก็สามารถสอดแทรกความรู้ เรื่องอื่นเข้าไปได้ เช่น การแสดงความรักอย่างเหมาะสมกับคนรอบข้าง การสาน สัมพันธ์ภายในครอบครัวของเด็ก แล้วเมื่อเด็กได้มีโอกาสแสดงปันตงในงานต่างๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานเมาลิดกลาง ก็จะช่วยสร้างความภาคภูมิใจให้กับเด็ก ได้อีกด้วย แล้วในระยะต่อมาเราก็จะค่อยๆ เติมเต็มทักษะการทำ�งาน เช่น การ วิเคราะห์ชุมชน การวิเคราะห์เพื่อน การอยู่ร่วมกัน ทักษะการหลีกเลี่ยงยาเสพติด ซึ่งเยาวชนรุ่นใหม่นี้จะได้นำ�มาใช้ขับเคลื่อนสังคมร่วมกับผู้ใหญ่ได้” จากการดำ�เนินโครงการถอดรหัสใจ เครือข่ายยุวทัศน์ ฯ นี้ นอกจากจะช่วย ให้เด็กที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะการแสดงปันตง มีความกล้้าแสดงออกมากขึ้นแล้ว เป็นกำ�ลังสำ�คัญต่อการขับเคลื่อนชุมชน ยังก่อให้เกิดหลักสูตร “ปันตงสานฝัน” ที่ พร้อมจะนำ�ไปใช้พัฒนาศักยภาพของเด็กได้ และมีโรงเรียน 10 แห่ง เห็นชอบให้นำ� แนวคิดไปจัดกับนักเรียนในโรงเรียนในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ได้ น.ส. วิลาวัณย์ ดำ�จันทร์ หรือพี่ดิว แกนนำ�เครือข่ายยุวทัศน์อีกคนหนึ่ง ทิ้งท้ายว่า “เราไม่ได้คาดหวังแค่จะเอาเด็กมาสอนการเรียนรู้ปันตงเพียงอย่าง เดียว แต่ปันตงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยเพิ่มทักษะชีวิตที่ดีให้เด็ก ได้กล้าคิด กล้า แสดงออก แล้วต่อไปเด็กก็นำ�ปันตงไปใช้เสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุได้ และเป็นต้น แบบให้เด็กรุ่นหลังใช้สืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านได้อีกด้วย” สามารถติดตามการทำ�งานของน้อง ๆ เครือข่ายยุวทัศน์รุ่นใหม่นี้ได้ในเพจ “เครือข่ายยุวทัศน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสังคมเเละสิ่งเเวดล้อม”
- 11 -
พี่ดิว
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
ร่วมเติมเต็ม
ฐานข้อมูลองค์กรเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ
ล ู ม อ ้ ข น า ฐ ภาคใต้
าพ
สุขภ ม ิ ร ส เ ง า ้ ร ส ย า ่ องค์กรเครือข
โครงการเชื่ อ มประสานภาคี เ ครื อ ข่ า ย สุขภาพระดับภูมิภาค (ภาคใต้) ขอเชิญ ภาคีเครือข่ายด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ในภาคใต้จากทุกสังกัด (สสส. / สช. /สปสช. / ...ฯลฯ...) ร่วมเติมเต็มข้อมูลองค์กรของ ท่านในฐานข้อมูลองค์กรเครือข่ายฯ เพื่อ เป็นช่องทางให้เพื่อนภาคีได้เรียนรู้ ติดต่อ และประสานงานร่วมกันในระยะยาว โดยภายหลังจากทางโครงการฯ ได้รับข้อ มูลจากแต่ละองค์กรแล้ว จะได้พัฒนาเป็น “เอกสารรวบรวมฐานข้ อ มู ล องค์ ก รฯ” แล้วจัดพิมพ์ จัดส่งกลับไปยังท่านต่อไป
ร่วมกรอกข้อมูลผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ ได้ที่
goo.gl/kAkdOx
เชิญเผยแพร่กจิ กรรม จดหมายข่าวออนไลน์ “รู้เรื่องเพื่อน” โดยโครงการ เชื่ อ มประสานภาคี เ ครื อ ข่ า ยสุ ข ภาพระดั บ ภู มิ ภ าค (ภาคใต้) มีกำ�หนดออกเผยแพร่ทุกเดือนผ่านทางโซ เชียลออนไลน์ ขอเชิ ญ ทุ ก ท่ า นร่ ว มส่ ง บทความเพื่ อ นำ � เสนอการ ทำ�งานของท่าน เพื่อเผยแพร่ในจดหมายข่าวออนไลน์ “รู้เรื่องเพื่อน” ได้ที่ อีเมล์ NIPON.RDH@GMAIL.COM โดยไม่มีค่าใช้จ่าย