Poster RDH

Page 1

บัณฑิตอาสา

เพื่อพัฒนาสุขภาวะชุมชน (บอ.ม.อ.) การดำ�เนินงานของโครงการบัณฑิตอาสา ม.อ. ที่ผ่านมา เน้นการ พัฒนาศักยภาพบัณฑิตจบใหม่จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศที่ มีภูมิลำ�เนาในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อดำ�เนินงานตอบสนองต่อสถานการณ์ ปัญหาที่คุกคามต่อสุขภาวะของประชาชนในภาคใต้ ตลอดระยะเวลาการดำ�เนินโครงการที่ผ่านมา 11 ปี ตั้งแต่ ปี 2547 –2558 ผลิตบัณฑิตอาสา 10 รุ่น รวม 212 คน ดำ�เนินโครงการร่วม กับชุมชน 202 โครงการ ในพื้นที่กว่า 150 ชุมชน 14 จังหวัดภาคใต้ มี แหล่งเรียนรู้ของชุมชนต้นแบบในมิติต่างๆ ของการส่งเสริมสุขภาพไม่ น้อยกว่า 20 ชุมชน มีนักวิชาการเข้าร่วมกว่า 60 คน มีเครือข่ายการ ทำ�งานกว่า 60 เครือข่าย หลายหน่วยงานในภาคใต้ต่างมองเห็นศักยภาพและทักษะการ ทำ�งานของบัณฑิตอาสา จนเกิดเป็นความร่วมมือกับโครงการฯ ใน หลายพื้นที่ เช่น - ร่วมกับศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับ ผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) ดำ�เนินงาน พัฒนาสุขภาวะเด็กกำ�พร้าในพื้นที่ชายแดนใต้ - ร่วมกับสำ�นักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง ม.อ. วิทยาเขต ปัตตานี ดำ�เนินโครงการสร้างชุมชนต้นแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้และ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนพื้นที่บ้านทุ่งใหญ่ อ.จะนะ จ.สงขลา - ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานภาคีวิชาการสารเสพติด (ภวส.) ดำ�เนินโครงการถอดบทเรียนกระบวนการ ของชุมชนต่อการบำ�บัด ฟื้นฟู ป้องกันเยาวชนจากสารเสพติดบ้านโคกไทร ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา จ.พัทลุง - ได้รับมอบหมายจาก ม.อ. ดำ�เนินโครงการเพื่อพัฒนาเกาะบุโหลนอย่างยั่งยืน โดยร่วมกับหลายคณะ เช่น คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนบนเกาะ บุโหลนอย่างบูรณาการร่วมกัน - ชมรมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสายังได้รวมตัวกันและทำ�งานกับสมาคมดับบ้านดับเมืองเพื่อสนับสนุนให้ชุมชน ในสามจังหวัดชายแดนใต้สามารถพัฒนาโครงการของตนเองเพื่อขอทุนสนับสนุนจากสำ�นัก 6 แผนงานเปิดรับ ทั่วไป สสส. จนต่อมาชุมชนได้รับการสนับสนุนทุน จำ�นวน 51 โครงการ ในปี 2558 - ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส. ม.อ.) ดำ�เนินโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ - ร่วมกับสถานวิจัยระบบการดูแลผู้สูงอายุไทย คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ดำ�เนินการพัฒนากระบวนการ นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการจัดการระบบการดูแลผ้สูงอายุในชุมชนเมืองหาดใหญ่ - ร่วมกับ ศอ. บต. จัดกระบวนการพัฒนาทักษะบัณฑิตอาสามาตุภูมิ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ดังกล่าวมีศักยภาพที่ จำ�เป็นต่อการทำ�งานในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยในรุ่นปัจจุบัน (รุ่นที่ 11 ปี 2558-2559) บัณฑิตอาสา จำ�นวน 18 คนปฏิบัติงานใน 18 ชุมชน ได้สนับสนุน ชุมชนพัฒนาโครงการ พร้อมได้รับการสนับสนุนทุนสำ�หรับโครงการดังกล่าว รวมกว่า 2 ล้านบาท จากหลายหน่วย งาน เช่น สสส. สกว. สปสช. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมในพื้นที่ ในระยะต่อไป ทางโครงการ ฯ จะทำ�งานกับกลุ่มเป้าหมายที่ด้อยโอกาส ได้แก่ กลุ่มเด็ก/เยาวชน : เด็ก กำ�พร้า เด็กยากจน กลุ่มเสี่ยงสารเสพติด กลุ่มผู้สูงอายุ ปอเนาะ พร้อมทั้งมีแผนงานขยายพื้นที่ปฏิบัติงานสู่ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียง


หน่วยส่งเสริม งานอาสาสมัคร ม.อ. จากการขับเคลื่อนงานด้านอาสาสมัครในโครงการเยาวชน จิตอาสาสมานฉันท์มาตั้งแต่ปี 2557 และในปี 2558 ม.อ. ได้ เห็นชอบให้จัดตั้ง ‘หน่วยส่งเสริมงานอาสาสมัคร’ ขึ้นเป็นการ ภายใน สังกัดกองกิจการนักศึกษา หน่วยส่งเสริมงานอาสาสมัครฯ มุ่งพัฒนางานอาสาสมัครใน มหาวิทยาลัยให้เติบโตและมีประสิทธิภาพ ผ่านกลุ่มนักศึกษา และบุคลากร ด้วยวิธีการเสริมสร้างสมรรถนะ ในการพัฒนาจิต อาสา การส่งเสริม สนับสนุน และให้คำ�ปรึกษาด้านการดำ�เนิน งานอาสาสมัครเพื่อตอบโจทย์ปัญหาของชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา หน่วยส่งเสริมงานอาสา สมัครฯ ได้สนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรร่วมกิจกรรมอาสา สมัครเพื่อสังคมตามประเด็นต่างๆ เช่น กิจกรรมพี่อาสาสอน น้องแปรงฟัน กิจกรรมสันทนาการเพื่อน้อง กิจกรรมเยาวชน ใส่ใจธรรมมะ เป็นต้น และเพื่อให้การดำ�เนินกิจกรรมอาสาสมัคร ในด้านต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยส่งเสริมงานอาสาสมัครได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาอาสาสมัครให้มีความเชี่ยวชาญ ตระหนักรู้เท่าทัน สถานการณ์ทางสังคม รู้จักการออกแบบกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของชุมชน มีทักษะการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา ร่วม ทั้งมีความรับผิดชอบทางสังคม มองเห็นคุณค่าและความหมายของชีวิต ผ่านการแลกเปลี่ยนการปฏิบัติงานจริงใน ชุมชน เช่น กิจกรรมค่าย 60 วันเปิดโลก ซึ่งเป็นการร่วมมือของ 3 องค์กร ได้แก่ โครงการบัณฑิตอาสา เครือข่าย จิตอาสา สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา) และโรงเรียนใต้ร่มไม้ โดยอาสาสมัครกลุ่ม นี้ได้ต่อยอดประสบการณ์ของตนสู่การจัดค่ายเปิดโลกที่กงหรา เพื่อนำ�ทักษะที่ได้เรียนรู้มาจัดกิจกรรมอาสาสมัคร เพื่อสังคมที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากนั้น ทางหน่วยส่งเสริมได้จัดกิจกรรมอมรมอาสาสมัครในกลุ่มอื่นๆ เช่น อบรมอาสาสมัครเยี่ยมผู้ป่วย อบรมอาสาสมัคร การจัดการภัยพิบัติ เป็นต้น จนนำ�ไปสู่การรวมกลุ่มของนักศึกษาอาสาสมัครที่ใช้ชื่อ ‘กลุ่มอาสา สมัครสงขลานครินทร์’ จำ�นวน 40 คน ที่คอยขับเคลื่อนงานร่วมกับชุมชนในประเด็นต่างๆ ในระยะต่อไป ทางหน่วยส่งเสริมงานอาสาสมัครยังคงมุ่งเน้นกระบวนการพัฒนาแกนนำ�นักศึกษาให้มี ความรู้ ความสามารถในการทำ�งานอาสาสมัครเพื่อสังคมร่วมกับองค์กรเครือข่ายทั้งภายนอกและภายในมหา วิทยาลัยฯ โดยเฉพาะพื้นที่โครงการบัณฑิตอาสาในเขตชุมชนเมือง เน้นการจัดกิจกรรมที่มีส่วนร่วม มีความ ต่อเนื่อง ยั่งยืน และอาสาสมัครสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉินในกรณีต่างๆ ทั้ง ภัยพิบัติทางธรรมชาติและที่เกิดจากนํ้ามือมนุษย์ รวมไปถึงการมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำ�งานด้านอาสา สมัครทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับภาคใต้


การพัฒนากำ�ลังคน

ด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยระบาดวิทยา การพัฒนากำ�ลังคนด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยระบาดวิทยา เป็นโครงการต่อเนื่องที่ วพส. ให้การ สนับสนุนหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างนักวิจัยด้านระบาด วิทยาสำ�หรับแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดย รศ.ดร.พญ.ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล เป็นหัวหน้าโครงการ เป้าหมาย รอบปีที่ 1 รอบปีที่ 2 รอบปีที่ 3 รายละเอียด รายปี มิ.ย.56 - พ.ค.57 มิ.ย.57 - พ.ค. มิ.ย.58 - พ.ค. 58 59 (ยังไม่ครบ รอบ) นักศึกษาที่สำ�เร็จการศึกษาโดยมีหัวข้อการวิจัยเกี่ยวกับสุขภาวะภาคใต้ ระดับปริญญาโท 1-2 คน 1 1 ระดับปริญญาเอก

3-5 คน

4

3

1

บทความตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพภาคใต้ ระดับปริญญาโท

1-2 เรื่อง

4 5

3 -

-

ระดับปริญญาเอก/อาจารย์

5-10 เรื่อง

21

17

8

โครงการวิจัยในภาคใต้ที่พัฒนาร่วมกับหน่วย งานสาธารณสุขในพื้นที่

3-5 โครงการ

7

8

2

ผลงานการวิจัยนำ�ไปใช้ในการวางแผนสุขภาพ 5-10 เรื่อง ภาคใต้

10

5

3

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในภาคใต้ได้รับการพัฒนา 50-100 คน ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล

10

5

3

ผลการดำ�เนินงาน โดยภาพรวมมีผลการดำ�เนินงานผ่านตามเกณฑ์ที่ได้กำ�หนดไว้ทั้ง 5 ข้อ ซึ่งได้พัฒนากำ�ลังคนด้าน การวิจัยที่พัฒนาด้วยระบาดวิทยา และส่งผลให้สามารถผลิตงานวิจัยที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ด้านสาธารณสุขในพื้นที่เป็นอย่างดี


ศูนย์ประสานงานวิชาการ

ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุ ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) ปัตตานี ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ (ศวชต.) ปัตตานี ได้สร้างฐานข้อมูลวิชาการและให้ความช่วยเหลือผู้สูญเสียที่ได้รับผล กระทบจากเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะฐานข้อมูลผู้สูญเสีย ผู้พิการ หญิงหม้าย และเด็กกำ�พร้า ที่มีการประเมินความครอบคลุมของการช่วยเหลือและเยียวยา โดยข้อมูลที่ได้นี้จะช่วยเหลือ และเยียวยาผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความรุนแรงได้ครอบคลุมทั่วถึง และสามารถติดตามได้ในระยะยาว อีก ทั้งสามารถสกัดองค์ความรู้ในการแก้ปัญหาต่อไป งานหลักที่ยังดำ�เนินอยู่ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหน่วยงานเมื่อปี 2549 เช่น การเยี่ยมเยียนผู้ได้รับผลกระทบถึงบ้าน การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ลงพื้นที่เยี่ยม การเก็บข้อมูลเชิงลึกของผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงการ ให้คำ�แนะนำ�ผู้ได้รับผลกระทบสามารถเข้าถึงสิทธิเยียวยาจากภาครัฐ ทั้งหมดนี้ยังดำ�เนินอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเจ้า หน้าที่ของ ศวชต. ปัตตานีเอง ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ช่วยให้ผู้ได้รับผลกระทบได้รับการเยียวยาเบื้องต้น ทั้ง ในเรื่องร่างกาย จิตใจ และสภาพความเป็นอยู่ โดยมีผลการดำ�เนินงานเด่น ดังนี้ การพัฒนาศักยภาพผู้ได้รับผลกระทบ ศวชต. ปัตตานี ยังได้พัฒนาเครือข่ายสตรีจิตอาสา ซึ่งเป็น แนวคิด “ชุมชนช่วยเหลือชุมชน” หนุนเสริมให้สตรีผู้ได้รับผลกระทบ ที่เข้มแข็งและยืนหยัดได้แล้ว มาเป็นแกนนำ�จิตอาสาที่จะช่วยประคอง ให้ผู้เคราะห์ร้ายรายใหม่ผ่านพ้นช่วงเลวร้ายในชีวิตไปได้ จนกระทั่ง สามารถหยิบยื่นส่งต่อความช่วยเหลือไปยังผู้ได้รับผลกระทบรายอื่น ได้ต่อไป ปัจจุบัน สตรีจิตอาสา 4 รุ่น รวม 133 คน ในทุกอำ�เภอ ของจังหวัดปัตตานีทำ�งานเกาะเกี่ยวกันเป็นเครือข่าย มีทักษะการ เยี่ยมเยียนให้กำ�ลังใจ แนะนำ�การเข้าถึงสิทธิ รวมทั้งช่วยประสานงาน กับหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ศวชต. ปัตตานียังได้มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้พิการ และผู้ดูแล ให้ผู้พิการสามารถดูแลตัวเองได้ระดับหนึ่ง บางรายสามารถ กลับมาทำ�งานในอาชีพที่ตนเองถนัด อีกทั้งผู้ดูแลผู้พิการมีทักษะที่ดี จนเกิดเป็นสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว ระบบฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบของ ศวชต. ที่ได้จากการ เก็บข้อมูลหลายช่องทาง ปรับปรุงและใช้งานอยู่เสมอ ได้รับความไว้ วางใจจาก ศอ. บต. ให้วิเคราะห์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบร่วมกัน นับ ว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดในพื้นที่ หลายหน่วยงานภาครัฐสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ในการวางแผนให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลก ระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจาก UNICEF ดำ�เนินโครงการวิจัยพัฒนาคุณภาพข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบฯ เพื่อจัดอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้สามารถบันทึกข้อมูลได้ อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมอาชีพ ศวชต. ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ ชายแดนใต้ (มยส.) สนับสนุนทุนอาชีพแก่ผู้ได้รับผลกระทบผ่านกลไก ของสตรีจิตอาสา ซึ่งเป็นทั้งผู้คัดเลือก คัดกรอง แนะนำ� ดูแล และ ประเมินผู้ที่สมควรได้รับทุนอาชีพ ปัจจุบันได้มอบทุนอาชีพไปแล้ว 270 ทุนๆ ละ 5,000 บาท และยังเดินหน้าสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง


ศูนย์ประสานงานวิชาการ

ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุ ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) ยะลา ศวชต. ยะลา ได้รับการสนับสนุนจาก วพส. มาตั้งแต่ปี 2 550 ต่อมาได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจาก สหภาพยุโรป (EU) ในปี 2554-2557 มีสำ�นักงานตั้งอยู่ที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา ตั้งแต่ปี 25502558 ได้ดูแลและพัฒนาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดยะลาและผู้ด้อยโอกาส ใน 3 กลุ่ม หลักและผลงานที่ประสบความสำ�เร็จในการดำ�เนินงานดังนี้ 1. กลุ่มเด็กกำ�พร้าและครอบครัว การดำ�เนินกิจกรรมได้ใช้ กระบวนการจัดการปัญหาที่สอดคล้องกับปัญหาและใช้กระบวนการ มีส่วนร่วมในการดำ�เนินการ ได้รูปแบบการพัฒนาเด็กกำ�พร้าและ ครอบครัว โดยพบว่าในการพัฒนาเด็กกำ�พร้าให้ได้รับการดูแลด้าน จิตใจ การพัฒนาให้เด็กเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ การ ควบคุมอารมณ์ พฤติกรรมให้เหมาะสมนั้น จะต้องดำ�เนินการบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กดังนี้ 1.1 เด็กกำ�พร้า ใช้กิจกรรมกลุ่มเข้าค่ายในการพัฒนาทักษะ ในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ เรียนรู้วินัยและฝึกทักษะการ ควบคุมตนเองอย่างเหมาะสม 1.2 มารดาและผู้ดูแล เพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร ตามระยะพัฒนาการ เทคนิคการปรับพฤติกรรม แนวทางในการแก้ ปัญหาบุตร หลาน เด็กกำ�พร้า 1.3 วีรบุรุษ (Hero) ต้นแบบในการเรียนรู้และการใช้ชีวิตตามวิถี การดำ�เนินชีวิตและวิถีวัฒนธรรม และการทำ�กิจกรรมทางสังคม 1.4 ครูตาดีกาและครูโรงเรียนสามัญ ครูมีส่วนเติมเต็มในการ สอนเด็กให้เข้าใจศาสนาและเชื่อมโยงกับชีวิต การดูแลเด็กอย่างเข้าใจ และเติมเต็มความสุขทางใจได้ เมตตาของครูมีผลด้านจิตใจที่เปราะ บางของเด็กกำ�พร้า 1.6 บุคลากรด้านสุขภาพ เป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดชุมชน การ มี บุ ค ลากรด้ า นสุ ข ภาพอยู่ ใ กล้ ชิ ด ชุ ม ชนช่ ว ยให้ เ ด็ ก ได้ รั บ การดู แ ล สุขภาพ กลุ่มเด็กกำ�พร้าและครอบครัวนั้น ศวชต.ยะลา ได้ดำ�เนินการมา อย่างต่อเนื่องจนได้รูปแบบการพัฒนาเด็กกำ�พร้าและได้พัฒนาจน เกิดกระบวนการบุคลากรในชุมชนจนสามารถดูแลเด็กกำ�พร้า เด็ก ด้อยโอกาสด้วยตนเองในพื้นที่ ตำ�บลห้วยกระทิง อ.กรงปินัง จ.ยะลา ในปี 2558 และ ศวชต.ยะลาได้นำ�รูปแบบดังกล่าวไปขยายผล 2. กลุ่มผู้พิการและครอบครัว กลุ่มนี้ ศวชต.ยะลา สามารถดูแลได้ต่อเนื่อง 10 ครอบครัว ด้วยมีข้อจำ�กัด ในการกายภาพ ภาวะความพิการและลำ�บากในการเดินทางเพื่อการรวมกลุ่ม ส่วนมากจึงดูแลเป็นรายครอบครัว ซึ่งผู้พิการยังต้องการการดูแลที่ต่อเนื่องและสมํ่าเสมอ ในกลุ่มผู้พิการที่ ศวชต.ยะลามีส่วนสนับสนุนทำ�ให้ประสบ ความสำ�เร็จจนได้รับรางวัลผู้พิการดีเด่นประจำ�ปี 2557 จำ�นวน 1 คนและปัจจุบันเปลี่ยนสถานะจากผู้รับความ ชวยเหลือเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ โดยการบริจาคเงินช่วยเหลือสตรีหม้ายที่ป่วยเป็นโรคไตวาย จนสามารถมี อาชีพหารายได้เลี้ยงตัวเองและบุตรได้ ส่วนอีก 9 รายนั้นสามารถดำ�รงชีวิตด้วยการพึ่งตนเอง มีอาชีพ สามารถ ดูแลกันในครอบครัวได้ 3. กลุ่มจิตอาสา เป็นกลุ่มที่สนใจอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเป็นครั้งคราว กลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่มอาจารย์ เจ้า หน้าที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา พยาบาลวิชาชีพ นักศึกษาพยาบาล นักจิตวิทยาสตรีจิตอาสา ได้ร่วม กิจกรรมกับ ศวชต.ยะลา ตามลักษณะกลุ่มที่ ศวชต.ยะลา ได้ดำ�เนินกิจกรรม


การมีส่วนร่วมขอชุมชน

ต่อการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ

และการใช้ตัวชี้วัดคุณภาพในการดูแลรักษาเพื่อลด ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และภาวะตกเลือดหลังคลอดในจังหวัดชายแดนใต้ ประเทศไทย

โดย รศ.พญ.ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล เป็นหัวหน้าโครงการ

วัตถุประสงค์ (1) เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการแนะนำ�เกี่ยวกับความสำ�คัญของการฝากครรภ์และการวินิจฉัยและ การดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์และตกเลือดหลังคลอดของอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้า หน้าที่สาธารณสุข (2) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการวินิจฉัย ดูแลรักษาและส่งต่อที่ถูกต้องสำ�หรับภาวะซีดและความดันโลหิตสูง ขณะตั้งครรภ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (3) เพิ่มอัตราสตรีตั้งครรภ์ในพื้นที่ที่เข้ารับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ผ่านทางการอบรมเชิงปฏิบัติการ (4) เพื่อประเมินการรักษาภาวะพิษแห่งครรภ์ชนิดรุนแรง/หรือร่วมกับการชักและภาวะตกเลือดหลังคลอด ตามตัวชี้วัดคุณภาพการดูแลรักษาพิษแห่งครรภ์ชนิดรุนแรง/ร่วมกับการชักและตกเลือดหลังคลอดระดับโรง พยาบาลอาเภอและรับการส่งต่อ ผลการวิจัย อาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำ�นวน 206 คน ประเมินตนเองว่ามีความรู้และมีความสามารถในการให้ คำ�แนะนาเกี่ยวกับความสำ�คัญของการฝากครรภ์ การฝากครรรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์ และความผิดปกติที่พบบ่อยที่เกิดจากภาวะซีด และความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถวินิจฉัย ดูแลเบื้องต้นและส่งต่อได้ดีขึ้น ตัวชี้วัดคุณภาพ ในการดูแลรักษาภาวะพิษแห่งครรภ์ชนิดรุนแรง/หรือร่วมกับ อาการชัก และตกเลือดหลังคลอดเป็นที่ยอมรับของบุคลากร ทางการแพทย์และสามารถนำ�ไปใช้ปฏิบัติได้จริง ทั้งในบริบท ของโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลศูนย์รับการส่งต่อ อัตรา การฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ของสตรีตั้งครรภ์พบว่ามีจำ�นวน สตรีมาฝากครรภ์เท่ากับ 3,557 และ 3,336 คน ในพื้นที่กลุ่มที่ มีกิจกรรมพัฒนากับกลุ่มที่ไม่มีกิจกรรมโดยมีอัตราการฝากครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์เท่ากับร้อยละ 68 และร้อยละ 62 (p<0.001) ส่วนการวินิจฉัย (ร้อยละ 7 และร้อยละ 8.7) และตรวจโปรตีนใน ปัสสาวะ (ร้อยละ 95.8 และร้อยละ 95.6) สำ�หรับความดันโลหิต สูงขณะตั้งครรภ์ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติ แต่การส่งต่อ ภาวะพิษแห่งครรภ์ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำ�คัญ (ร้อยละ 60 และร้อยละ 19, p =0.002)


การมีส่วนร่วมขอชุมชน

ต่อการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ

และการใช้ตัวชี้วัดคุณภาพในการดูแลรักษาเพื่อลด ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และภาวะตกเลือดหลังคลอดในจังหวัดชายแดนใต้ ประเทศไทย สำ�หรับการใช้ตัวชี้วัดคุณภาพมีแพทย์และพยาบาลในกลุ่ม กิจกรรมเข้าร่วมสัมมนาจานวน 105 คน เมื่อสตรีเกิดภาวะ พิ ษ แห่ ง ครรภ์ ช นิ ด รุ น แรง/หรื อ ร่ ว มกั บ อาการชั ก แพทย์ แ ละ พยาบาลในกลุ่มที่มีกิจกรรมให้สารนํ้าทางหลอดเลือดดำ�ถูกต้อง มากกว่า (p<0.001) ให้แมกนีเซียมซัลเฟตมากกว่าแต่ไม่มีนัย สำ�คัญทางสถิติ (ร้อยละ 84 กับร้อยละ 74) และใส่คาสายสวน ปัสสาวะในรายที่วินิจฉัยตกเลือดหลังคลอดเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 77 กับร้อยละ 55, p =0.004) ส่วนการดูแลอื่น ๆ ไม่แตกต่างอย่างมี นัยสำ�คัญ สำ�หรับผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลรับการ ส่งต่อพบว่าสตรีที่มีพิษแห่งครรภ์มีความผิดปกติของการทำ�งาน ของตับ (ร้อยละ 13 กับร้อยละ 25) และทารกเข้ารับดูแลในหอ ผู้ป่วยวิกฤต (ร้อยละ 6 กับร้อยละ 22) เพิ่มขึ้น แต่การให้เลือด ปริมาณมากลดลง (ร้อยละ 2 กับร้อยละ 0.3) หลังกิจกรรมอย่าง มีนัยสำ�คัญ ส่วนสตรีที่มีภาวะตกเลือดจำ�เป็นต้องได้รับเลือด ปริมาณมาก (ร้อยละ 15 กับร้อยละ 8) และได้รับการผ่าตัดเพื่อ รักษาชีวิตอื่นๆ ลดลง (ร้อยละ 6 กับร้อยละ 0) แต่เกิดภาวะไต วาย (ร้อยละ 0.7 กับร้อยละ 4) ปวดบวมนํ้า (ร้อยละ 3 กับร้อย ละ 9) และใส่ท่อช่วยชีวิต (ร้อยละ 0.7 กับร้อยละ 4) เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำ�คัญ สรุป การอบรมเชิงปฏิบัติสำ�หรับอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลสามารถ เพิ่มอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ของสตรีตั้งครรภ์ภายในเขตที่รับผิดชอบ การวินิจฉัยและตรวจโปรตีนใน ปัสสาวะไม่ต่างกัน แต่การส่งต่อภาวะพิษแห่งครรภ์ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำ�คัญ เมื่อสตรีเกิดภาวะพิษแห่ง ครรภ์ชนิดรุนแรง/หรือร่วมกับอาการชักและตกเลือดหลังคลอด แพทย์และพยาบาลปฏิบัติตามตัวชี้วัดคุณภาพ ที่เป็นผลมาจาก multifaceted intervention คือ ใช้วิธีการสัมมนาร่วมกับแพทย์และพยาบาลผู้ดูแลรักษาใน แต่ละโรงพยาบาลโดยการไปที่โรงพยาบาล เพื่อนำ�เสนอข้อมูลแบบสะท้อนกลับผลของการดูแลรักษาทั้งสอง ภาวะของโรงพยาบาลนั้น ๆ ภายใต้การสนับสนุนของผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลหรือผู้รับผิดชอบงานแม่และเด็ก ของโรงพยาบาล แต่ไม่ครบทุกตัวชี้วัด ส่วนผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่ไม่มียังไม่สามารถลดลงได้ จำ�เป็นต้องมีการ อภิปรายระหว่างทีมผู้ดูแลรักษาถึงแนวทางพัฒนาต่อไป


การสำ�รวจการจัดการ ชนิดของขยะและปัญหา ในจังหวัดปัตตานี สนั่น เพ็งเหมือน อภิรดี แซ่ลิ่ม จรัส ชูชื่น วันพิชิต ศรีสุข ศราวุฒิ เจ๊ะโส๊ะ สุรวุฒน์ ช่อไม้ทอง มนูญ ศิรินุพงศ์ โครงการการสำ�รวจการจัดการชนิดของขยะและปัญหาจังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แหล่งกำ�เนิด และประเภทของขยะ 2) ปริมาณและองค์ประกอบของขยะ 3) การจัดการขยะโดยชุมชนและองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และ 4) การใช้ประโยชน์จากขยะโดยชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยในโครงการนี้เป็นการ ศึกษาวิจัยเชิงสำ�รวจ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล ระดับครัวเรือน จำ�นวน 1,744 คน ผู้ แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำ�นวน 51 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ มีขอบเขตด้านพื้นที่ดำ�เนินการ แบ่งกลุ่มพื้นที่ ในการจัดการของจังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย 1) กลุ่มอำ�เภอเมือง ในพื้นที่อำ�เภอเมืองและอำ�เภอ ยะหริ่ง 2) กลุ่มบ่อทอง ในพื้นที่อำ�เภอโคกโพธิ์ ยะรัง หนองจิกและแม่ลาน 3) กลุ่มปานาเระ ในพื้นที่อำ�เภอปานาเระ สายบุรี ไม้แก่น และกะพ้อ 4) กลุ่มมายอ ในพื้นที่อำ�เภอมายอ และทุ่งยางแดง นำ�ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และสรุปผลร่วมกัน มีดังนี้ แหล่งที่มา ประเภทและปริมาณของขยะในครัวเรือนพื้นที่ ศึกษา พบว่า ขยะที่มาจากครัวเรือนที่ศึกษา มีปริมาณขยะประมาณ 72.04 ตันต่อวัน โดยแยกเป็นประเภทและปริมาณ ดังนี้ ขยะ อินทรีย์ ร้อยละ 48.36 ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 22.78 ขยะอันตราย ร้อยละ 1.85 และขยะทั่วไป ร้อยละ 27.01 การจัดการขยะจากครัวเรือนในพื้นที่ศึกษา มีหลายวิธีการ ได้แก่ จัดเก็บและนำ�ไปทิ้งในที่เก็บขยะของครัวเรือน ร้อยละ 63.13 จัดการเผาเอง ร้อยละ 61.58 จัดเก็บและนำ�ไปทิ้งในที่เก็บขยะของ อบต. / เทศบาล ร้อยละ 61.12 อบต. / เทศบาลรับผิดชอบจัด เก็บจากครัวเรือน ร้อยละ 54.75 และจัดเก็บ และนำ�ไปทิ้งตาม ธรรมชาติ ร้อยละ 49.82 การใช้ประโยชน์จากขยะในครัวเรือน พบว่า ส่วนใหญ่นำ�ขยะ บางประเภทมาใช้ใหม่ ร้อยละ 57.40 รองลงมามีการจัดการถุง พลาสติกและโฟม ตลอดทั้งขยะมีพิษ ร้อยละ43.00 และมีเอกชน มาคัดแยกขยะออกจากแหล่งทิ้งขยะของชุมชน ร้อยละ 33.77 ตาม ลำ�ดับ ผลการศึ ก ษาการจั ด การจั ด การขยะติ ด เชื้ อ ของสถาน พยาบาลในจังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย โรงพยาบาลที่ให้ข้อมูล และมีการจัดการขยะติดเชื้อ จำ�นวน 12 แห่ง ในปี พ.ศ. 2558 (ม.ค. – ส.ค.) โรงพยาบาล 9 แห่ง มีปริมาณขยะติดเชื้อ 106.51 ตัน ปัญหา อุปสรรคในการจัดการขยะติดเชื้อ เช่น ไม่มีเตาเผา ขยะติดเชื้อในพื้นที่ ทำ�ให้สถานพยาบาลต้องจ้างบริษัทเอกชนเพื่อ รวบรวมและขนส่ง ไปกำ�จัดนอกพื้นที่ทำ�ให้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ค่ากำ�จัดการเผาจากเทศบาลนครยะลามีราคาสูง ทางโรงพยาบาล มีงบประมาณจำ�กัด และที่พักขยะติดเชื้อในโรงพยาบาลบางแห่งไม่ ได้มาตรฐาน ข้อเสนอแนะ : ระดับครัวเรือน 1. สร้างความตระหนักในระดับครัวเรือนในเรื่องมลพิษ จากขยะ ควบคู่กับการกำ�จัดทำ�ลาย 2. สร้างแรงจูงใจส่งเสริมการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางใน การดัดแปลงขยะ การทำ�ปุ๋ยหมักในครัวเรือน 3. ส่งเสริมการใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อม 4. สนับสนุนให้จัดสถานที่ศึกษาต้นแบบการบริหาร จัดการขยะ และขยะอันตรายให้ถูกต้องเหมาะสม

ข้อเสนอแนะ : ระดับ อปท. 1. พัฒนาศักยภาพของหน่วยงานด้านฝังกลบ รูป แบบการจัดการที่เหมาะสม 2. การประสานงานผู้นำ�ท้องถิ่น ท้องที่ เพื่อ ทำ�ให้เกิดระบบการดูแลที่ดีและเหมาะสมกับชุมชน 3. มีการวางแผนด้านบุคลากร งบประมาณ และ การมีส่วนร่วมจากประชาชน 4. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน 5. การออกเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติการจัดการ


ศูนย์ประสานงานวิชาการ

ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุ ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.)

ศวชต. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) ดำ�เนินกิจกรรมหลัก ๆ ได้แก่ การติดตามเยี่ยมเยียน ผู้ได้รับผลกระทบฯ การพัฒนางานจิตอาสาสู่การเยียวยาผ่านเครือข่ายนักศึกษา มนร. การเสริมทักษะช่วย เหลือเยียวยาสำ�หรับครู การสร้างความร่วมมือช่วยเหลือเยียวยาสู่ชุมชนโดยผู้นำ�ชุมชน การพัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้พิการและผู้ดูแล ศวชต. มนร. ได้สนับสนุนและส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ได้รับ ผลกระทบฯ ในจังหวัดนราธิวาส พร้อมเพิ่มทักษะการทำ�งานใน ด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบสามารถตั้ง ตัวและเข้มแข็ง ได้แก่ กลุ่มชอแมร์ และกลุ่มเยียวยายาใจ พัฒนาเครือข่ายครู โดยอบรมเสริมทักษะการเยียวยา สำ�หรับครูใน 31 โรงเรียน กว่า 32 คน ให้มีความรู้พื้นฐานเรื่อง สิทธิที่พึงได้ของผู้ได้รับผลกระทบฯ นำ�ไปสู่การช่วยเหลือเยียวยา จิตใจักเรียน ครู และผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่โรงเรียน ของตนเอง เช่น สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน การพูดคุยให้กำ�ลัง ใจ ต่อมาในปี 2558 ศวชต. มนร. ได้รับการสนับสนุนจากสถาน เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ภายใต้โครงการเสริมสร้างทักษะการ ช่วยเหลือเยียวยา สำ�หรับครู โดยนำ�แนวทางดังกล่าวขยายผลให้ ครอบคลุมครูทั้งสามจังหวัดชายแดน อีก 56 คน การพั ฒ นางานจิ ต อาสาสู่ ก ารเยี ย วยาผ่ า นเครื อ ข่ า ย นักศึกษา มนร. จำ�นวน 39 คน เพื่อสร้างจิตสำ�นึกจิตอาสาแก่เครือ ข่ายนักศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเยียวยาชุมชน และ ความรู้พื้นฐานในเรื่องสิทธิพึงได้ นักศึกษาสามารถขับเคลื่อนงาน จิตอาสาการช่วยเหลือเยียวยาสู่ชุมชน อีกทั้งองค์ความรู้ที่ได้รับ จากการเข้าร่วมโครงการฯ สามารถบูรณาการเรียนการสอนใน รายวิชาด้านการพยาบาลจิตใจเพื่อดูแลผู้ป่วยจากสถานการณ์ และเป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลการช่วย เหลือเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ฯ โครงการประชุมเครือข่ายนักเยียวยา ส่งผลให้เกิดแนวทาง การช่วยเหลือเยียวยาร่วมกันระหว่างเครือข่ายนักเยียวยา เช่น ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนร่วมกัน ร่วมประชาสัมพันธ์การช่วยเหลือ เยียวยา เกิดการกระตุ้นความร่วมมือในการช่วยเหลือเยียวยาแก่ เครือข่ายภาคีและเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเครือข่ายภาคี ศวชต.มนร. ได้ร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ ได้แก่ นักจิตวิทยา อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำ�ชุมชน ผู้นำ�ท้องถิ่น ครู ฯลฯ มาช่วยขับเคลื่อนการดำ�เนินงานช่วยเหลือเยียวยา ส่งผลให้เกิดความคล่องตัวสามารถลงพื้นที่ได้ทุกแห่ง และ ศวชต.มนร. ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำ�ให้เครือข่ายในพื้นที่เกิดความเข้มแข็งสามารถเยียวยาชุมชนด้วยชุมชน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.