Psu volunteer

Page 1

จิ ต อาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


จิ: เพืต่อประโยชน์ อาสาของเพืม.อ. ่อนมนุษย์ คณะกรรมการที่ปรึกษา 1. รศ.ดร.วรวุธ วิสุทธิ์เมธางกูร 2. ศาสตราจารย์ นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ คณะกรรมการดำ�เนินงาน 1. ดร.พนิดา สุขศรีเมือง ประธานกรรมการ 2. นางอมรา ศรีสัจจัง กรรมการ 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อังคณา เธียรมนตรี กรรมการ 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เมตตา กูนิง กรรมการ 5. นายธวัช มุสิกธรรม กรรมการ 6. นายธวัชชัย ทองธรรมชาติ กรรมการ 7. ผู้แทนวิทยาเขตตรัง กรรมการ 8. นายสุกรี เมฆทันต์ กรรมการ 9. นางวัลภา ฐาน์กาญจน์ กรรมการ 10. นายอานัติ หวังกุหลำ� กรรมการ 11. นายนิพนธ์ รัตนาคม กรรมการ 12. นางวิลาสินี เพชรขาว กรรมการและเลขานุการ 13. นายรชดี้ บินหวัง กรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานุการ อำ�นวยการผลิต กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ออกแบบ-จัดพิมพ์ ไอคิว มีเดีย 089-4660752



มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม รางวัลโล่พระราชทาน

ประเภทสถาบันการศึกษา ที่ส่งเสริมงานอาสาสมัครในสถาบันการศึกษา

จากการประกวดโครงการงานมหกรรมจิตอาสาในสถาบันการศึกษา ปี 2 (2556)

ระดับอุดมศึกษา (Education & Volunteer Expo 2013)




มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมนำ�เสนอผลการดำ�เนินงานด้านอาสาสมัคร ในมหกรรมจิตอาสา ในสถาบันการศึกษา ตัEducation วแทนจากมหาวิ ทยาลัExpo ยสงขลานคริ & Volunteer 2013-2014 นทร์ เข้าร่เมืวมนํ าเนินพ.ศ. งานด้2557 านจิตอาสา ่อวันาเสนอผลดํ ที่ 4 – 5 กันยายน ในงานมหกรรมจิ อาสา ในสถาบั ณ มหาวิทยาลัยตธรรมศาสตร์ ศูนย์นรังการศึ สิต กษา

Education & Volunteer Expo 2013-2014 เมื่อวันที่ 4 – 5 กันยายน พ.ศ. 2557 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต


คํานิยม

อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามปณิธานในการดำ�เนินงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทไี่ ด้นอ้ มนำ� พระราโชวาทของเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ มาเป็นศูนย์รวม จิตใจและปลูกฝังจิตสำ�นึกของบุคลากรและนักศึกษาทุกๆ คนดำ�เนินรอยตามที่ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจ ที่หนึ่ง ลาภทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ตวั ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้ บริสทุ ธิ”์ โดยได้ขยายผลสูก่ ารทำ�กิจกรรม การทำ�คุณประโยชน์ตอ่ สังคมมาอย่างต่อ เนื่อง และได้กำ�หนดนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้แต่ละคณะ/หน่วยงานได้จัดทำ� โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมความเป็นผู้มีจิตอาสาด้านต่างๆ มากมาย ทั้งนี้ในด้าน การบ่มเพาะนักศึกษามีกิจกรรมเสริมสร้างจิตสำ�นึกสาธารณะ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และความมีวินัย ส่วนในรายวิชากิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นการทำ� กิจกรรมเชิงบูรณาการองค์ความรู้ เน้นประโยชน์ต่อสังคมและเป็นการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม จิตสำ�นึกสาธารณะ และการทำ�งานเป็นทีม นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยฯ ยังมีบทบาทต่อการพัฒนาสังคมภาคใต้ โดยการจัดกิจกรรมเยียวยา สมานฉันท์ชายแดนใต้ในรูปแบบต่างๆ การจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชนเพื่อให้ชุมชน เข้มแข็งและพึง่ ตนเองได้ การจัดกิจกรรมปกป้องสิง่ แวดล้อมและการจัดการภัยพิบตั ิ โดยการสนับสนุนชุมชนและทุกภาคส่วนร่วมกันเยียวยา ฟืน้ ฟูตลอดจนเตรียมความ พร้อมในการรับมือกับภัยพิบตั ิ เช่น นาํ้ ท่วม พายุ ได้ทกุ เมือ่ นอกจากนัน้ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ได้จดั โครงการช่วยเหลือผูย้ ากไร้ ได้แก่ โครงการจิตอาสาต้นแบบ ณ อาคารเย็นศิระ และโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดสงขลา สำ�หรับ

8

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัดโครงการฟัน เทียมพระราชทาน โครงการหน่วยทันตกรรมพระราชทาน และโครงการสร้าง เสริ ม สุ ข ภาพช่ องปาก จากกิ จ กรรม/โครงการที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น จะเห็ น ได้ ว่ า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ส่งเสริม สนับสนุน และสร้างงานด้านจิตอาสามา ยาวนานและต่อเนื่อง การได้รับรางวัลยอดเยี่ยม รางวัลโล่พระราชทาน ประเภท สถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมงานอาสาสมัครในสถาบันการศึกษา จากการประกวด โครงการงานมหกรรมจิตอาสาในสถาบันการศึกษาปี 2 (2556) ระดับอุดมศึกษา (Education & Volunteer Expo 2013) เป็นความภาคภูมิใจและเป็นสิ่งที่ยืนยัน ได้วา่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ปฏิบตั พิ นั ธกิจด้านจิตอาสาด้วยความรับผิดชอบ อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด และจะปฏิบัติภารกิจนี้ควบคู่ไปกับภารกิจหลัก ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตลอดไป ในโอกาสนี้ขอขอบคุณคณะ หน่วยงาน บุคลากร และนักศึกษาทุกท่าน ที่ร่วมกันขับเคลื่อนงานด้านจิตอาสาด้วยดีตลอดมา

(รองศาสตราจารย์ ดร. ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล) อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุสงวนลิ ษย์ ขสิท9ธิ์ พ.ศ.2556


10

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


คํ านํ า ขอคารวะในพลังอาสา ลูกสงขลานครินทร์ กว่า 40 ปี ทีม่ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สบิ ทอดพระราชปณิธานของสมเด็จ พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ส่งเสริมการดำ�เนินงานอาสา สมัครเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมมาอย่างต่อเนื่อง ผลการทำ�งานอันโดดเด่นหลายด้าน ทั้งการบูรณาร่วมกับการเรียนการสอน ของนักศึกษา และการมีสว่ นร่วมพัฒนาคุณภาพชีวติ ของประชาชนภาคใต้ชว่ ยยืนยัน ถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัย จนได้รับ ‘รางวัลโล่พระราชทาน ประเภทสถาบัน การศึกษาที่ส่งเสริมงานอาสาสมัครในสถาบันการศึกษา จากการประกวดโครงการ งานมหกรรมจิตอาสาในสถาบันการศึกษา ปี 2’ เมื่อเดือนมีนาคม 2557 ช่วยหนุน เสริมกำ�ลังใจแก่คนอาสาในทุกระดับให้สามารถทำ�งานสาธารณะได้ดียิ่งขึ้น หน่วยงาน องค์กร และกิจกรรมด้านอาสาสมัครในมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์มีอยู่มาก บางส่วนได้ถูกรวบรวมนำ�เสนอในเอกสารฉบับนี้เพื่อเป็นแบบ อย่างให้ได้ศึกษา เรียนรู้ และเชื่อมโยงการทำ�งานร่วมกันต่อไป นอกจากนี้ ‘หน่วยส่งเสริมงานอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์’ ซึ่งเพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อไม่นานนี้ จะเริ่มเข้ามามีส่วนสำ�คัญในการรวบรวม เผยแพร่ ผลการทำ�งานกิจกรรมอาสาต่างๆ สู่สาธารณะ อีกทั้งจะเป็นตัวช่วยสนับสนุนการ ดำ�เนินงานของเหล่ามวลมิตรจิตอาสา ให้สามารถทำ�งานได้อย่างเห็นผลมากยิง่ ขึน้ ขอให้เชือ่ มัน่ ว่า เพียงท่านมุง่ มัน่ ทำ�งานโดยยึดถือประโยชน์สว่ นรวมเป็นทีต่ งั้ อย่างต่อเนื่องและจริงจัง พลังอาสาของท่านจะไม่ถูกมองข้ามอีกต่อไป ขอคารวะในพลังอาสาชาวสงขลานครินทร์

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

11


สารบัญ จากพระราชปณิธาน สู่งานจิตอาสา ม.อ. บทบาทด้านการบ่มเพาะนักศึกษา - กิจกรรมเสริมสร้างจิตสำ�นึกสาธารณะ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และความมีวินัย - รายวิชากิจกรรมเสริมหลักสูตร บทบาทต่อการพัฒนาสังคมภาคใต้ - การเยียวยา สมานฉันท์ชายแดนใต้ - การพัฒนาชุมชน - การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการจัดการภัยพิบัติ - การช่วยเหลือผู้ยากไร้ - การสร้างเสริมสุขภาพ

12

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

15 17 17 20 24 24 33 36 42 46


รายชื่อหน่วยงาน/องค์กรด้านจิตอาสา ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คู่มือจิตอาสา เวลาของคุณให้อะไรได้บ้าง ?

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

13

54 63 67


ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ ให้บริสุทธิ์

14

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


จากพระราชปณิธาน สู่งานจิตอาสา ม.อ. ม.อ. ประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง PSU for the Benefits of Mankind มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) หรือ Prince of Songkla University (PSU) ได้ รั บ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ จากพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั วทรง พระราชทานพระนามของสมเด็จพระบรมราชชนกให้เป็นชือ่ ของมหาวิทยาลัย คณะผู้บริหารบุคลากรและนักศึกษา จึงได้ยึดถือคำ�สอนของพระองค์ที่ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นกิจที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่ หนึ่ง” นำ�เป็นแนวทางในการดำ�เนินงานของมหาวิทยาลัย และแนวทางการ ดำ�เนินชีวติ ของนักศึกษา บุคลากร และศิษย์เก่า มาตลอดต่อเนือ่ งยาวนานกว่า 45 ปี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ก�ำ หนดค่านิยมร่วมในองค์กรไว้ คือ P = Professionalism คือ ความเป็นมืออาชีพ มีธรรมะแห่งอาชีพ S = Social Responsibility คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม มีจิตอาสา บ่มเพาะคนดี สู่สังคม U = Unity คือ ความเป็นเอกภาพ เป็นหนึ่งเดียว ร่วมกันทำ�งานด้วย ความเต็มใจเสียสละ และอดทน จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

15


มหาวิทยาลัยยังได้กำ�หนดคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมของนักศึกษาไว้โดยย่อ คือ “ซือ่ สัตย์ มีวนิ ยั เปีย่ มนํา้ ใจ ใฝ่จติ สาธารณะ” ซึง่ เป็นการบ่งชีว้ า่ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ เน้นส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาเป็นผู้มีนํ้าใจ มีจิตสาธารณะ และจิตอาสา ในกระบวนการพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยได้กำ�หนดให้นักศึกษาที่ จะจบหลักสูตรและได้รบั ปริญญาทุกคนจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 100 ชัว่ โมง ซึง่ 1 ใน 5 ประเภทหลัก คอื กิจกรรมเสริมสร้างจิตสำ�นึกสาธารณะ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และความมีวินัย และมหาวิทยาลัยยังกำ�หนดเป็นนโยบายให้ทุกหลักสูตร บรรจุรายวิชากิจกรรมเสริมหลักสูตร (Co-curricular Activities) 1 หน่วยกิต เป็น รายวิชาบังคับ เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ และฝึกฝนการเป็นผู้จัดทำ� และ เป็นผู้นำ�ในการทำ�โครงการกิจกรรมต่าง ๆ จากนโยบายเหล่านี้ของมหาวิทยาลัยก่อ ให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมากมาย และได้รับความสนใจจากนักศึกษาในการเป็น ผู้จัดกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างกว้างขวาง มหาวิทยาลัยยังได้สง่ เสริมยกย่องบุคคลผูอ้ ทุ ศิ ตนเพือ่ ประโยชน์สว่ นรวม โดย ได้จัดให้มีรางวัลอนุสรณ์สงขลานครินทร์มอบให้แก่บุคคลที่ทำ�คุณประโยชน์ให้กับ สังคมในพืน้ ทีภ่ าคใต้เป็นประจำ�ทุกปี เพือ่ ให้บคุ ลากรและนักศึกษาได้เห็นแบบอย่าง ทีด่ ี และเป็นแรงบันดาลใจในการปฏิบตั ติ าม มหาวิทยาลัยยังได้ก�ำ หนดให้ วันมหิดล (ซึง่ ตรงวันที่ 24 กันยายน ของทุกปี) เป็น “วันประโยชน์เพือ่ นมนุษย์เป็นกิจทีห่ นึง่ ” ด้วยโดยได้จดั กิจกรรมการรำ�ลึกถึงพระคุณและคำ�สอนของสมเด็จพระบรมราชชนก และจัดกิจกรรมอาสาบำ�เพ็ญประโยชน์เพิ่มเติมเป็นพิเศษในช่วงเทศกาลนี้ และคัด เลือกบุคลากร โครงการดีเด่น ที่ทำ�เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ มายกย่องเชิดชู เกียรติ ด้วยการมอบเกียรติบตั รและรางวัลเพือ่ เป็นแบบอย่างทีด่ ี แม้กระทัง่ นักศึกษา ทีไ่ ด้พลัง้ พลาดประพฤติผดิ ทางวินยั ต้องถูกลงโทษโดยให้พกั การเรียน มหาวิทยาลัย ก็ได้นำ�นโยบายการรอการลงโทษ แต่ให้บำ�เพ็ญประโยชน์ให้กับชุมชน เป็นการ ทดแทน เพือ่ เป็นการฝึกความเป็นผูม้ จี ติ สาธารณะ และนักศึกษาทีไ่ ด้รบั ทุนการศึกษา จากมหาวิทยาลัย หรือผู้มีอุปการะคุณภายนอก ก็มีนโยบายให้ได้เสียสละเวลามา ทำ�งานอาสาช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ บ้างเมื่อมีโอกาส จากนโยบายการส่งเสริม

16

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


สนับสนุนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทำ�ให้แต่ละคณะ/หน่วยงาน ได้สร้าง โครงการ/กิจกรรมดี ๆ ที่ส่งเสริมความเป็นผู้มีจิตอาสาในด้านต่าง ๆ มากมาย ซึ่ง อาจยกตัวอย่างพอสังเขป ได้ดังนี้

1. บทบาทด้านการบ่มเพาะนักศึกษา 1.1 กิจกรรมเสริมสร้างจิตสำ�นึกสาธารณะ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และความมีวินัย เป็นกิจกรรมหลักประเภทหนึ่ง ที่กำ�หนดไว้ในโครงสร้างกิจกรรมเสริม หลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา ซึ่งนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกคน จะต้องผ่านการ เข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรอย่างน้อย 17 กิจกรรม 100 หน่วยชั่วโมง จึงจะได้ รับการเสนอชื่อให้ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร และกิจกรรมเสริมสร้างจิตสำ�นึก สาธารณะ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และความมีวินัย เป็นกิจกรรมประเภทหนึ่งที่ กำ�หนดให้นักศึกษาต้องเข้าร่วมอย่างน้อย 2 กิจกรรม 12 หน่วยชั่วโมง การขับเคลื่อนกิจกรรม ตามกรอบนโยบายบ่มเพาะนักศึกษา โดยการ สนับสนุนส่งเสริมให้กลุม่ องค์กรกิจกรรมนักศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ จัดโครงการ ซึ่งตลอดปีการศึกษา 2555 มีรวมทั้งสิ้น 496 โครงการ ตัวอย่างได้แก่ โครงการค่าย อาสาพัฒนาช่วงปิดภาคการศึกษาของชมรมด้านบำ�เพ็ญประโยชน์และสโมสร นักศึกษาคณะต่าง ๆ โครงการค่ายอาสาพัฒนา 5 วิทยาเขต โดยนักศึกษา บุคลากร ร่วมสร้างอาคารเอนกประสงค์ และร่วมให้บริการตรวจสุขภาพและบริการทาง วิชาการต่าง ๆ ให้ความรู้กับชุมชน โครงการบำ�เพ็ญประโยชน์ “น้องใหม่บำ�เพ็ญ” ในวันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ โครงการสานฝันปันรักสำ�หรับเด็กขาดโอกาส โครงการค่ายเยาวชนในรูปแบบต่าง ๆ ของชมรมมุสลิม และชมรมอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม เป็นต้น

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

17


ปิดเทอมใหญ่ หัวใจอาสา มุ่งมั่นพัฒนา เข้าหาชุมชน

หากพูดถึงกิจกรรมจิตอาสาในรัว้ มหาวิทยาลัย ค่ายอาสาพัฒนาชนบท หรือ ค่ายพัฒนาชุมชน น่าจะเป็นค่ายแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึง เราจึงชวนมาพูดคุยกับ หนุ่มหัวใจอาสาคนนี้ น้องอามีล หรือนายอามีล มาหามะ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะ วิทยาศาสตร์ เลขาธิการชมรมมุสลิม น้องใหม่ไฟแรงที่มาร่วมเป็นแรงขับเคลื่อน กิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนกันค่ะ “ค่ายพัฒนาชุมชนจะเป็นค่ายใหญ่ตอนปิดภาคเรียนของชมรมมุสลิมครับ ระยะเวลาค่ายอยู่ที่ประมาณ 2 อาทิตย์ แต่ละปีเราจะมีการคัดเลือกพื้นที่เป้า หมาย ศึกษาสภาพชุมชน ปัญหาและความต้องการพื้นฐาน เพื่อวางแผนให้ ความช่วยเหลือได้ตรงตามความต้องการของแต่ละชุมชน ไปพัฒนาแบบองค์ รวมให้กับพื้นที่ ทั้งด้านการเกษตร ส่งเสริมอาชีพ ให้บริการด้านสาธารณสุข กิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน และก่อสร้างห้องเรียน หรืออาคารอเนกประสงค์ เพื่อ ให้การช่วยเหลือแบบครอบคลุมให้มากที่สุดครับ” 18

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


“...ทุกอย่างที่ฝ่าฟันและลงแรงกันมา ถูกตอบแทนด้วยรอยยิ้มและ แววตาขอบคุณจากชาวบ้าน ที่สํำ�คัญที่สุด พวกเราสามารถจุดประกาย ทางการศึกษาให้กับเด็ก ๆ หลายคนในพื้นที่ ให้อยากเรียนหนังสือ อยาก เก่งแบบพี่ ๆ นี่คือความภาคภูมิ ใจของเราครับ” จากประสบการณ์ร่วมค่าย มีเรื่องราวประทับใจอะไรอยากเล่าสู่กันฟังบ้าง? “ผมประทับใจสายสัมพันธ์ของสมาชิกค่ายกับชาวบ้านในพืน้ ทีค่ รับ ตลอด ระยะเวลา 2 อาทิตย์ของการออกค่าย สายสัมพันธ์ระหว่างเรากับชาวบ้านจะ ค่อย ๆ ก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากความเขินอาย ไม่กล้าร่วมกิจกรรม ก็ค่อย ๆ ให้ความไว้ใจ พูดคุย ชักชวนร่วมกิจกรรมท้องถิ่น ทำ�กับข้าวมาเลี้ยงตอบแทน ผูกพันกันมากขึน้ เอ็นดูเราแบบลูกหลาน จนวันสุดท้ายเราจะต้องจากลากันด้วย รอยนํ้าตาและคำ�ขอบคุณที่ฟังกันไม่หวาดไหว มันทำ�ให้พวกเรารู้สึกอิ่มเอมและ ประทับใจอย่างบอกไม่ถูกครับ ทุกอย่างที่ฝ่าฟันและลงแรงกันมา ถูกตอบแทน ด้วยรอยยิ้มและแววตาขอบคุณจากชาวบ้าน ที่สำ�คัญที่สุด พวกเราสามารถจุด ประกายทางการศึกษาให้กบั เด็ก ๆ หลายคนในพืน้ ที่ ให้อยากเรียนหนังสือ อยาก เก่งแบบพี่ ๆ นี่คือความภาคภูมิใจของเราครับ” ก่อนจบการสนทนา น้องอามีลยังพูดทิ้งท้ายกับเราอีกว่า “ชีวิตตลอด 4 ปี ในรัว้ มหาวิทยาลัย การเรียนการสอนให้วชิ าเพือ่ เลีย้ งชีพ แต่การทำ�กิจกรรมนอก เหนือวิชาเรียน ให้ประสบการณ์เพือ่ ใช้ชวี ติ ในโลกกว้าง การออกค่ายพัฒนาชุมชน ทำ�ให้ผมได้เปิดโลกทัศน์ตัวเอง เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้าสังคม สามารถแก้ปัญหา เฉพาะหน้าได้อย่างมีสติ นี่คือสิ่งที่ผมหาไม่ได้ในตำ�ราเรียนครับ”

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

19


1.2 รายวิชากิจกรรมเสริมหลักสูตร (Co – Curricular Activities) เนื้อหารายวิชาเป็นการทำ�กิจกรรมเชิงบูรณาการองค์ความรู้ เน้นประโยชน์ สังคมและประโยชน์เพือ่ นมนุษย์เป็นกิจทีห่ นึง่ ปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม จิตสำ�นึก สาธารณะ และการทำ�งานเป็นทีม เป็นรายวิชาบังคับเรียนทุกคณะและทุกวิทยาเขต จำ�นวน 1 หน่วยกิต ในปีการศึกษา 2555 ได้มีโครงการในรายวิชากิจกรรมเสริม หลักสูตร จำ�นวนทัง้ สิน้ 238 โครงการ และในวันประโยชน์เพือ่ นมนุษย์เป็นกิจทีห่ นึง่ ได้จดั ประกวดโครงการในรายวิชากิจกรรมเสริมหลักสูตร และมีโครงการทีไ่ ด้รบั การ คัดเลือกให้ได้รับรางวัล ได้แก่ (1) โครงการสัมผัสทีแ่ ตกต่าง เป็นการสร้างคุณค่าจากสิง่ ของเหลือใช้ สืบค้น และบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ โดยนำ� กระดาษและเศษวัสดุเหลือใช้ มาผลิตเป็นสื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ สำ�หรับนักเรียนผู้พิการทางสายตา (2) โครงการ Hand made for Mom เป็นโครงการที่ช่วยเหลือผู้ด้อย โอกาส มีความคิดสร้างสรรค์ ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างคุณค่าจากสิ่งของเหลือใช้โดยจัดทำ�เป็นผลิตภัณฑ์ จำ�หน่ายและนำ�เงินรายได้ ช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งที่ขาดแคลน (3) โครงการสื่อสร้างสรรค์ปันความรู้ ได้รับรางวัลที่สอง เป็นโครงการที่ ผลิตหนังสือนิทาน ผลิตสื่ออักษรเบรลล์สำ�หรับผู้พิการทางสายตา โดยสื่อที่ผลิต เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพฟัน

20

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


โครงการสัมผัสที่แตกต่าง

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ดี ๆ อีกมากมาย ได้แก่ โครงการสื่อเพื่อน้อง คณะ ศิลปศาสตร์ โครงการ Autistic Art คณะเทคนิคการแพทย์ โครงการสื่อการเรียนสู่ มือน้อง คณะวิทยาศาสตร์ โครงการขวดพลาสติกใส เพิ่มรายได้ ลดโลกร้อน คณะ วิทยาศาสตร์ และโครงการพอเพียงเคียงน้อง คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นต้น

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

21


Hand made for Mom “กระดาษเหลือใช้รกบ้านท่าน .....แบ่งปันสิคะ”

วันนี้เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ น้องออย - น.ส.วิภากมล มโหธร นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ วิชาเอกจุลชีววิทยา ชั้นปีที่ 4 หนึ่งในน้อง ๆ นักศึกษาที่มาร่วม แชร์ประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรมเสริมหลักสูตร กับโครงงานที่มีชื่อว่า “hand made for mom” โครงงานที่น้อง ๆ รวมตัวกันประดิษฐ์สมุดทำ�มือเพื่อจำ�หน่าย นำ�รายได้เข้าสมทบทุนศูนย์ถนั ยเวชช์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ โรงพยาบาล สงขลานครินทร์ โครงการนี้เป็นหนึ่งในวิชากิจกรรมเสริมหลักสูตรของมหาวิทยาลัย โดย อาจารย์จะมีงบประมาณให้คนละ 100 บาท นักศึกษาสามารถนำ�มาทำ�อะไรก็ได้ที่ เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ นักศึกษาทีมนี้มีทั้งหมด 13 คน ได้ข้อสรุปว่าที่ศูนย์ ถันยเวชช์ มีการรับอาสาสมัครทำ�เต้านมเทียม หมวกไหมพรม และวิกผม ให้กับผู้

22

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


ในวันที่นำ�เงินไปบริจาคให้กับศูนย์ฯ คำ�ขอบคุณจากพี่ๆ พยาบาล ที่ขอบคุณ พวกเราแทนผู้ป่วยทุกคน มันทำ�ให้พวกเรารู้สึกมีความสุขกับสิ่งที่ทำ�มากๆ ค่ะ พวกเราได้ เข้าใจถึงคติพจน์ของพระบิดาที่ว่า ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง

ป่วยมะเร็ง จึงตัดสินใจลองไปเป็นอาสาสมัครกันดู แต่รสู้ กึ ว่าให้ลงแรงทำ�เองทัง้ หมด ก็คงไม่มีฝีมือพอ เลยตัดสินใจว่าจะหาทุนมาร่วมบริจาค “เราเริม่ จากการเพิม่ มูลค่าเงินทุนทีเ่ รามีดว้ ยการรวบรวมงบประมาณ 1,300 บาท ที่ได้มาทำ�กระทงที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติขายในวันลอยกระทงค่ะ ได้กำ�ไรมาจำ�นวนหนึ่ง ก็เริ่มหาช่องทางสร้างรายได้เพิ่มด้วยการทำ�สมุดทำ�มือ ขาย โดยขอรับบริจาคกระดาษหน้าเดียวทีเ่ หลือใช้จากเอกสารประกอบการเรียน การสอนของเพื่อน ๆ ในคณะ ซึ่งมีคนร่วมบริจาคมากันเยอะมาก จึงนำ�มาทำ� สมุดขายได้หลายเล่ม ได้เงินมาทั้งหมด 10,110 บาท ก็นำ�ไปบริจาคให้ศูนย์ ถันยเวชช์เพือ่ เป็นค่าใช้จา่ ยในการทำ�เต้านมเทียม หมวกไหมพรม และวิกผม ให้ กับผู้ป่วยโรคมะเร็งของศูนย์ค่ะ” รู้สึกอย่างไรบ้างกับการได้ทำ�กิจกรรมครั้งนี้? “รู้สึกภาคภูมิใจมากค่ะ ที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยสร้างความมั่นใจใน บุคลิกภาพของผู้ป่วยให้กลับคืนมา ถึงแม้ว่าพวกเราอาจไม่มีฝีมือในการช่วย ประดิดประดอย แต่เงินที่พวกเราหามาได้ก็สามารถซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำ�ได้ ในวันที่นำ�เงินไปบริจาคให้กับศูนย์ฯ คำ�ขอบคุณจากพี่ ๆ พยาบาล ที่ขอบคุณ พวกเราแทนผูป้ ว่ ยทุกคน มันทำ�ให้พวกเรารูส้ กึ มีความสุขกับสิง่ ทีท่ �ำ มากค่ะ พวก เราได้เข้าใจถึงพระราโชวาทของพระบิดาที่ว่า ‘ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็น กิจที่หนึ่ง’ ซึ่งทำ�ให้เรามีความสุขจากการเป็นผู้ให้อย่างแท้จริง”

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

23


2. บทบาทต่อการพัฒนาสังคมภาคใต้ 2.1 การเยียวยา สมานฉันท์ชายแดนใต้ เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ ได้ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำ�นวนมาก ผู้เสียชีวิต 4,685 คน บาดเจ็บ 12,260 คน ผูถ้ กู ละเมิดสิทธิ์ 4,500 คน ถึงแม้วา่ รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือเยียวยา อย่างเต็มที่ก็ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเป็นเหมือน สะพานเชือ่ มสนับสนุนการทำ�งานระหว่างผูไ้ ด้รบั ผลกระทบคือประชาชนกับรัฐ เพือ่ สร้างความเข้าใจที่ดี การเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ ลดความหวาดระแวง คลี่คลาย ความขัดแย้ง และร่วมสร้างสมานฉันท์ ด้วยจิตอาสาของอาจารย์และนักวิจัยของ มหาวิทยาลัย ได้กอ่ ตัง้ ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผูไ้ ด้รบั ผลกระ ทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต.) เพื่อสร้าง สันติภาพและฝึกคนรุน่ ใหม่ให้มจี ติ เสียสละ กล้าหาญ ท่ามกลางการเสีย่ งภัย และจัด ให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การจัดการความขัดแย้ง และการสร้างสันติภาพโดยจิตอาสา เป็นการเพิม่ พูน องค์ความรู้ ในรูปแบบธรรมาภิบาลและการกระจายอำ�นาจ รวมถึงสื่อทางเลือกใน การดำ�เนินงานที่สร้างสรรค์ การเพิ่มโอกาสการจ้างงาน การเข้าถึงกฎหมาย การ เสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านกฎหมาย สิทธิหน้าที่ และการจัดการความขัดแย้ง อย่างสันติวิธี สร้างพื้นที่กิจกรรมด้วยการเสวนาท้องถิ่น ใช้กิจกรรมวิทยาลัยวันศุกร์ เป็นพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การกำ�หนดประเด็นเสวนาต่างๆ ทั้งทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม การศึกษา ศาสนา ศิลปะ และ วิทยาศาสตร์ รวมถึงปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับตนเองและชุมชนท้องถิ่นซึ่งภาคประชาชน และภาคประชาสังคมต้องการ

24

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


การสร้างระบบฐานข้อมูลสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความไม่สงบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจความขัดแย้ง และตระหนักในแนวคิดแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการสันติภาพ โครงการมีความต่อ เนื่องตั้งแต่ประมาณปี 2551 ถึง 2556 และกำ�ลังเดินต่อไปโดยได้รับการร่วมมือกับ สถาบันทางวิชาการในต่างประเทศ และการสนับสนุนจาก World Bank ระบบฐาน ข้อมูลสถานการณ์เผยแพร่สู่สื่อสาธารณะ และได้รับการอ้างอิงจากสื่อมวลชน นานาชาติ การวิจัยเพื่อประเมินนโยบายรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐเพื่อให้แก้ปัญหา ความขัดแย้งตรงจุดถึงรากเหง้าปัญหา เช่น พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน การปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการตำ�รวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) และการสำ�รวจความคิดเห็นของประชาชนภาคใต้ต่อการเจรจาสันติภาพ (Deep South Poll) ตั้งแต่ปี 2554-2556 ผลงานวิจัยได้ถูกนำ�ไปใช้ในการปรับเปลี่ยน นโยบาย เช่น การยกเลิกประกาศภาวะฉุกเฉินในบางพื้นที่ของภาคใต้ การปรับ นโยบายของศูนย์ต�ำ รวจชายแดนภาคใต้ (ศชต.) และผลการเจรจาสันติภาพของคณะ ทำ�งานเจรจาสันติภาพไทย/บีอาร์เอ็นของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ข้อเสนอ 7 ตัว แบบรูปแบบการปกครองแบบพิเศษ และแผนที่เดินทางสันติภาพ (Roadmap of Peace Process) เสนอต่อสื่อมวลชน ประชาชนทั่วไปและรัฐบาลเพื่อนำ�ไปสู่การ ปฏิรูปโครงสร้างการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการพูดคุยสันติภาพ (Peace Dialogues) ทำ�การวิจัยปฏิบัติการเรื่องพื้นที่กลางเพื่อสร้างสันติภาพจาก คนใน (Insiders Peacebuilders Platform -IPP) นำ�ไปสู่การทำ�รายงานสรุป นโยบายสันติภาพการทำ�รายงานผลการวิจัย และข้อเสนอนโยบายต่อรัฐบาลเรื่อง สันติภาพ

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

25


บัณฑิตอาสากับจังหวัดชายแดนใต้ ปัญหาระยะยาวของจังหวัดชายแดนใต้ คือคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ ถึงแม้ จะมี ม หาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ และสถาบั น อื่ น ๆ ที่ ก่ อ ตั้ ง อี ก ในภายหลั ง กระบวนการจัดการศึกษาในรูปแบบเดิม ก็ยงั ไม่เพียงพอในการบ่มเพาะผูน้ �ำ ให้มโี ลก ทรรศน์ที่กว้าง และมีประสบการณ์ในชุมชน โครงการบัณฑิตอาสาจัดตัง้ ขึน้ เมือ่ ปี พ.ศ. 2547 เพือ่ บ่มเพาะบัณฑิตรุน่ ใหม่ ให้มีคุณธรรมและความสามารถ โดยเริ่มต้นเน้นบัณฑิตจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ มี การฝึกปฏิบัติอย่างเป็นระบบในชุมชน 11 เดือน บัณฑิตอาสาร้อยละ 80 ที่มี ภูมิลำ�เนาจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ เมื่อจบหลักสูตรจากโครงการ ร้อยละ 70 ได้ กลับไปทำ�งานทั้งองค์กรภาครัฐและภาคประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ กระบวนการฝึกฝนจิตอาสาได้ชว่ ยให้ผจู้ บการอบรมทำ�งานแก้ไขปัญหาสังคมโดยบ่ม เพาะจิตอาสาในเยาวชนและประชาชนทัว่ ไป การทำ�งานทีผ่ า่ นมาทัง้ 9 รุน่ มีบณ ั ฑิต อาสารวมทัง้ สิน้ 194 คน มีโครงการร่วมกับชุมชน 184 โครงการ รวมกลุม่ เป้าหมาย ประมาณ 4,100 คน ในประเด็นสุขภาพ 62 โครงการ ประเด็นสิ่งแวดล้อม 39 โครงการ ประเด็นเด็ก/เยาวชน 33 โครงการ ประเด็นสุขภาวะในปอเนาะ 4 โครงการ และประเด็นการจัดการภัยพิบตั ิ 3 โครงการ เกิดการฟืน้ ฟูชมุ ชนและมีแผนรับมือภัย พิบัติในอนาคต มีการเชือ่ มโยงนักวิชาการกว่า 60 ท่าน และชุมชนมีครูพเี่ ลีย้ งในพืน้ ทีม่ ากกว่า 100 คน ใน 100 ชุมชน 14 จังหวัดภาคใต้ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายสถาบัน ทัง้ ภาครัฐและภาคประชาสังคมกว่า 50 เครือข่าย ขณะนีด้ �ำ เนินงานอยูใ่ นรุน่ ที่ 9 ได้ รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ โครงการต่าง ๆ ทีท่ �ำ งานร่วมกับชุมชน มีการดำ�เนินงานอย่างต่อเนื่อง และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ 20 ชุมชน

26

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

27


นอกจากนีม้ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสถาบันวิจยั และพัฒนาสุขภาพ ภาคใต้ได้ริเริ่มและสนับสนุนให้เกิดโครงการเยาวชนจิตอาสา เมื่อ พ.ศ. 2552 มี วัตถุประสงค์เพือ่ สนับสนุนกิจกรรมของเครือข่ายเยาวชนจิตอาสาทีม่ งุ่ แก้ปญ ั หาและ ตอบสนองความต้องการของชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ กว่า 20 โครงการ ตัวอย่างเช่น ประสานงานให้นกั ศึกษาลงพืน้ ทีเ่ ยียวยาจิตใจผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากเหตุการณ์ความ ไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จัดอบรมอาสาสมัครเชิงรุกให้กับเยาวชนใน พื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติในภาคใต้ เป็นต้น

28

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


การเยียวยา/สร้างความสมานฉันท์ ผู้ได้รับผลกระทบฯ ทั้งหญิงหม้าย เด็ก กำ�พร้า ผู้พิการ ได้รับการเยี่ยมเยียนให้กำ�ลังใจ ช่วยเหลือด้านการรับรู้ข้อมูลสิทธิ การเยียวยา พัฒนาการพึ่งตนเอง พัฒนาสตรีผู้ได้รับผลกระทบฯ ด้วยกระบวนการ กลุ่มบำ�บัด พัฒนาจิตอาสาและทักษะด้านต่าง ๆ จนพึ่งพาตนเองได้และช่วยเหลือ ผูไ้ ด้รบั ผลกระทบฯ รายใหม่ พัฒนาอาชีพผูพ้ กิ าร การเยียวยาชุมชนโดยชุมชน การ พัฒนาอาชีพให้มีรายได้ต่อเนื่อง จัดตั้งและพัฒนากลุ่ม อสม. จิตอาสา สตรีจิตอาสา ซึ่งเป็นสตรีหม้ายเป็นแกนหลักในการติดตามเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบฯ ในชุมชน พร้อมทั้งจัดตั้งเครือข่ายครูจิตอาสาในพื้นที่สีแดงเพื่อเยียวยาเด็กและครู ยกระดับ ความเชื่อใจระหว่างชุมชนต่าง ๆ และการสร้างความมั่นใจของชุมชน การฟื้นฟูกายและจิตใจผู้ได้รับผลกระทบฯ ที่บาดเจ็บ เสียชีวิต พิการ และ ครอบครัวได้รับการรักษาพยาบาลทั้งร่างกาย และจิตใจ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ติดตามเยี่ยมเยียนครอบครัวเพื่อฟื้นฟูจิตใจให้กลับสู่สังคมของสตรีผู้สูญเสีย การให้ อภัย ทำ�ให้สตรีผสู้ ญ ู เสียมีภาวะจิตทีด่ ขี นึ้ สามารถดำ�เนินชีวติ ในสังคมได้อย่างมีความ สุข ลดความหวาดระแวงในสังคม ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพืน้ ที่ ทำ�ให้เกิดการสร้างกลุม่ อาสา สมัครการทำ�งานเยียวยา ด้วยการอบรมให้ความรู้ เทคนิคการดูแลร่างกายจิตใจของ ผู้ป่วย ทักษะการฟัง การสื่อสาร การเยี่ยมเยียน การสังเกตวัตถุต้องสงสัยในที่ สาธารณชน และทักษะการเก็บข้อมูล การบันทึกเรื่องเล่าอาสาสมัคร การบันทึก พฤติกรรมและความรูส้ กึ ของผูป้ ว่ ย ผูป้ ว่ ยระบายความเครียด สร้างกำ�ลังใจและความ ผ่อนคลายของผู้ป่วย อาสาสมัครพร้อมในการทำ�งานท่ามกลางภาวะวิกฤต ทำ�ให้ เกิดเครือข่ายเยาวชนจิตอาสาจากหลายสถาบันการศึกษามีความสนใจในงานอาสา สมัครมากขึ้น และทำ�งานร่วมกันเป็นเครือข่ายอาสาสมัครเพื่อสังคม

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

29


มาเรียม โสะ ผู้ ไม่เคยยอมแพ้...

หนึง่ ปีกบั การใช้ชวี ติ ทีป่ ตั ตานี แต่เป็นปีเดียวทีม่ าเรียม โสะ ต้องสูญเสียสามี และผู้นำ�ครอบครัว ซึ่งโดนยิงเสียชีวิต เมื่อปี 2549 ทั้งที่ครอบครัวตนเองไม่เคยมี ปัญหากับใคร ทำ�ให้สตรีชาวปทุมธานีคนนี้เคว้งคว้าง ห่างไกลบ้านเกิด และสื่อสาร ภาษามลายูถิ่นไม่ได้ ต่อมา มาเรียมได้เข้าทำ�งานในโครงการจ้างง่ายเร่งด่วนของเยียวยาอำ�เภอมี โอกาสได้เข้าร่วมประชุมที่อำ�เภอและจังหวัด “ดิฉันพูดภาษาไทยชัด มีความเป็นกันเอง ชอบช่วยเหลือเพื่อน ๆ ด้วย กัน เลยมีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงาน ได้รู้จักองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งผู้ที่ได้ รับผลกระทบฯ 30

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


“แม้จะพอได้รู้จักกับสตรีจิตอาสาอยู่บ้าง แต่ตอนแรกฉันก็ไม่ ใส่ ใจ เท่าไรเท่าไรนัก แต่พอได้ช่วยเหลือผู้ ได้รับผลกระทบฯ ได้ส่งต่อความช่วย เหลือผู้ ได้รับผลกระทบฯ มากขึ้น เลยอยากทำ� ถึงแม้ว่าไม่มีค่าตอบแทนก็ จะทำ� เพราะทำ�ไปแล้วตัวดิฉันเองมีความสุข สบายใจ ที่เห็นคนที่ดิฉันไป ช่วย เขามีความทุกข์น้อยลง”

โดยส่วนตัวดิฉันเองไม่ชอบอยู่เฉย ๆ พอรู้ว่าหน่วยงานไหนให้ความ ช่วยเหลือเรื่องอะไร ดิฉันจะเข้าไปแล้วกลับมาต่อยอดกับผู้ได้รับผลกระทบใน อำ�เภอ และเพื่อนต่างอำ�เภอ ทุกครั้งที่ดิฉันมีความรู้ใหม่ ๆ ก็จะกลับมาเล่าสู่กัน ฟังในกลุ่มเพื่อน ๆ”มาเรียมเล่า ก้าวแรกของการเป็นสตรีจิตอาสา “แม้จะพอได้รู้จักกับสตรีจิตอาสาอยู่บ้าง แต่ตอนแรกฉันก็ไม่ใส่ใจเท่าไร นัก แต่พอได้ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบฯ ได้ส่งต่อความช่วยเหลือผู้ได้รับผล กระทบฯ มากขึน้ เลยอยากทำ� ถึงแม้วา่ ไม่มคี า่ ตอบแทนก็จะทำ� เพราะทำ�ไปแล้ว ตัวดิฉันเองมีความสุข สบายใจ ที่เห็นคนที่ดิฉันไปช่วย เขามีความทุกข์น้อยลง และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม” มาเรียมยังบอกอีกว่า สิง่ ทีไ่ ด้เรียนรูจ้ ากการเป็นสตรีจติ อาสาคือ ได้เรียนรูส้ งิ่ ใหม่ ๆ ได้รู้จักคนมากขึ้น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน “อาชีพบางอย่างทีไ่ ม่เคยรู้ ไม่เคยได้ท�ำ ก็ได้มาเรียนรูแ้ ละลองทำ� เช่น การ เลีย้ งปลา เลีย้ งไก่บา้ น ปลูกผักสวนครัว และทีส่ �ำ คัญสามารถกลับมาแนะนำ�และ ถ่ายทอดให้กับเพื่อน ๆ ได้ สิ่งที่ดิฉันอยากพัฒนาคือ การพัฒนาทักษะการพูด ความกล้าแสดงออก การสังเกตคนให้เป็นก่อนให้การช่วยเหลือ” จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

31


การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม พัฒนาหมู่บ้านประมงต้นแบบนำ�ร่องโดย ส่งเสริมการมีสว่ นร่วมและจิตอาสาของชาวประมงรายย่อย ปฏิบตั กิ จิ กรรมตามแผน พัฒนาประมงพืน้ บ้าน ทีไ่ ด้รบั การเสนอจากประชาคมชาวประมงพืน้ บ้าน โดย ศูนย์ อำ�นวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอเป็นแผนพัฒนาประมงพืน้ บ้านจังหวัดชายแดนใต้ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบนั มีพนื้ ทีด่ �ำ เนินงานแล้วจำ�นวน 11 ชุมชน ในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส โดยการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการพัฒนา และสร้างเสริมศักยภาพชุมชน การสร้างเสริมสุขภาพกายและใจ การพัฒนาคุณภาพ สังคมและจัดระบบสวัสดิการชุมชน การอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม การพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจ อาชีพทางเลือก และอาชีพเสริม ผลลัพธ์ทไี่ ด้ คือ การมีสว่ นร่วมของสมาชิกในชุมชนเพือ่ กำ�หนดแผน พัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ การสร้างความตระหนักถึงทรัพยากรในหมู่เยาวชน และ ด้านการศึกษา ร่วมกับชุมชนสร้าง หรือซ่อมแซม หรือต่อเติมมัสยิด หรือโรงเรียน ตาดีกา จัดระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน พัฒนาครูสอนอัลกุรอานประจำ�ชุมชน จัดตั้งกองทุนชุมชนเพื่อเป็นแหล่งทุนในการประกอบอาชีพ และนำ�ผลกำ�ไรมาดูแล สวัสดิภาพของคนในชุมชน สร้างโรงงานต้นแบบในชุมชนที่เหมาะสมกับสภาพและ ความสามารถของชุมชน เช่น โรงงานข้าวเกรียบสด โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า โรงงาน แปรรูปนํ้ามันมะพร้าว โรงซ่อมเรือ เป็นต้นแบบของการพัฒนางานสำ�หรับชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ นำ�ไปประยุกต์ใช้ต่อไป การฟื้นฟูการศึกษา การสอนแนวพหุวัฒนธรรมศึกษาเพื่อการพัฒนา โรงเรียนแนวพหุวฒ ั นธรรมศึกษา ครูได้กรอบแนวคิด สร้างความรูค้ วามเข้าใจ และ มีทักษะในเรื่องการเขียนแผนการเรียนรู้ตามแนวพหุวัฒนธรรมศึกษา สามารถนำ� กลยุทธ์การบูรณาการเรียนการสอนแนวพหุวฒ ั นธรรมศึกษาไปปรับใช้ได้กบั นักเรียน เป็นการกระตุน้ นักเรียนในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนใต้ ให้ตระหนักถึงความสำ�คัญในการ ศึกษาสำ�หรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทาง วิชาการให้กับนักเรียน เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม และสร้าง จิตสำ�นึกการทำ�ประโยชน์เพื่อส่วนรวม

32

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


2.2 การพัฒนาชุมชน ชุมชนในภาคใต้ยังมีปัญหาหลายประการนอกจากปัญหาสถานการณ์ความ รุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ด้านสุขภาพ ความล้าหลังทางสังคม สิ่ง แวดล้อม และความยากจน เป็นต้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เข้าไปมีบทบาท ในการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนรวม ผ่านกลไกหลักของสถาบันในเครือข่ายฯ โดยมี เป้าหมายเพื่อพัฒนาชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ในที่สุด สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส. ม.อ.) ดำ�เนินโครงการพัฒนาศักยภาพ ติดตาม และประเมินผล โครงการ ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ใน ปี 2553–2556 ภายใต้การสนับสนุนจาก สสส. สำ�นัก 6 มีกลุ่มเป้าหมายคือชุมชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ ที่ผ่านมามีชุมชน ดำ�เนินงานไปแล้วทั้งสิ้น 376 โครงการ (หมู่บ้าน/ชุมชน) คาดว่ามีผู้เข้าร่วม กระบวนการและได้รบั ประโยชน์ในพืน้ ทีก่ ว่า 30,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการ ที่มุ่งพัฒนาจิตอาสาของคนในชุมชน และใช้หลักการ แนวคิดในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่นให้น่าอยู่ และพยายามสังเคราะห์คุณค่าโครงการที่มีจุดเด่น การ สร้างสรรค์นวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ ตลอดจนกระบวนการชุมชนให้เกิดนโยบาย และเรือ่ งราวดี ๆ ทีม่ ผี ลต่อสุขภาวะของคนชุมชนในพืน้ ทีภ่ าคใต้ ตัง้ แต่ปี 2553-2556 มีจำ�นวนทั้งสิ้น 85 กรณีศึกษา (ชุมชน) นอกจากนี้ทำ�ให้เกิดกลไกเครือข่าย พี่เลี้ยง พัฒนาและติดตามโครงการที่มาจากภาคส่วนต่างในสังคมพื้นที่ 14 ภาคใต้ จำ�นวน 50 คน ในปี 2557 ทาง สจรส. ม.อ. ได้จัดกระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชน และ หนุนเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในการยกระดับชุมชนที่มีผลการดำ�เนินงานเป็น รูปธรรมผ่านกระบวนการวิเคราะห์สังเคราะห์คุณค่าของโครงการ และต่อยอด โครงการเพือ่ ขอการสนับสนุนต่อเนือ่ งในปีถดั ไป และนำ�ไปสูก่ ารจัดการตนเองได้ใน ที่สุด

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

33


มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ได้ก่อตั้งชมรมรากแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2555 ดำ�เนินกิจกรรมจนถึงปัจจุบัน มีแกนนำ�นักศึกษา 32 คน มีสมาชิก 300 คน มีอาจารย์ทปี่ รึกษา 5 ท่าน ทีผ่ า่ นมาชมรมได้ลงช่วยเหลือชุมชนบ้านนายอดทอง อำ�เภอกันตัง จังหวัดตรัง ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษทางจาก ซึ่งเป็น นวัตกรรมใหม่ที่ทางบัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 5 ได้คิดค้นร่วมกับชุมชน โดยบัณฑิต อาสาเข้ามาช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษ ส่งผล ให้กลุ่มกระดาษทางจากมีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและสามารถขายได้มาก ขึน้ เกิดรายได้เสริมให้กบั กลุม่ กระดาษทางจาก นอกจากนีท้ างชมรมได้สง่ การดำ�เนิน งานของกลุ่ ม เข้ า ประกวดโครงการพั ฒ นาชุ ม ชนของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาแห่ ง ประเทศไทย SIFE (Students in Free Enterprise) และได้รบั รางวัลโครงการดีเด่น ระดับภาคใต้ และโล่รางวัลอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และที่ปรึกษาชุมชนดีเด่น ชมรมรากแก้วยังร่วมกับบัณฑิตอาสาเพือ่ ขยายพืน้ ทีไ่ ปยังหมูบ่ า้ นใกล้เคียงในการส่ง เสริมการทำ�กระดาษ เพื่อเพิ่มรายได้ ลดปริมาณขยะทางจากต่อไป

34

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


“ต่อยอดผลิตภัณฑ์ สานฝันชุมชน” “ชมรมรากแก้ว” ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิรากแก้ว ในพระบรม ราชูปถัมภ์ ซึ่งมีวิสัยทัศน์หลักในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนด้าน เศรษฐกิจ / สิ่งแวดล้อม / สังคม อย่างยั่งยืน โครงการหนึ่งที่กลุ่มนักศึกษาจากหลากหลายสาขาที่รวมกลุ่มกันนำ�ความรู้ ความถนัดทีต่ นเองมี มาร่วมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ‘กระดาษทางจาก’ จากบ้านนา ยอดทอง ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ภายใต้การ ดูแลของ อ.ณัฐ ย่าหลี อาจารย์ที่ปรึกษาชมรม จากกองขยะข้างทาง ให้กลายมาเป็นกระดาษสีสนั สดใส นำ�มาประดิษฐ์ เป็น ดอกไม้ กล่องดินสอ พวงหรีด กรอบรูป กล่องกระดาษทิชชู ตลอดจนสร้างค่านิยม ให้นกั ศึกษาทำ�ปกรายงานจากกระดาษทางจาก จนวันนี้ กระดาษทางจาก ของชุมชน บ้านนายอดทอง สามารถสร้างมูลค่า สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ลดปัญหาขยะทีส่ ง่ ผล ต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งที่เราได้เห็นจากกิจกรรม ของน้อง ๆ ชมรมรากแก้ว ในวันนี้ น่าจะพอจุด ประกายในหัวใจ ให้กบั ใครหลาย ๆ คนไม่มากก็นอ้ ยนะคะ ว่าวันนี้ เราใส่ใจกับชุมชน ที่เราอาศัยอยู่มากน้อยเพียงใด

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

35


2.3 การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการจัดการภัยพิบัติ ปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ ทั้ง จากนํา้ มือมนุษย์และจากธรรมชาติ มหาวิทยาลัยได้เข้ามามีบทบาทสนับสนุนชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งการเยียวยา การฟื้นฟู และการเตรียม พร้อมรับมือ นำ�ไปสู่การพึ่งพาตนเองของชุมชน มีตัวอย่างโครงการ ได้แก่ โครงการร่วมอนุรักษ์เขาคอหงส์ เขาคอหงส์เป็นป่าขนาดใหญ่ผืนสุดท้ายที่ ตั้งอยู่ใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัย มีความสำ�คัญทั้งในด้านการเป็นแหล่งต้นนํ้า พื้นที่ซับ นํ้า แหล่งผลิตอากาศบริสุทธิ์ และเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ ปัจจุบนั กำ�ลังเผชิญกับความเสือ่ มโทรมของระบบนิเวศจากนํา้ มือของมนุษย์ ทีจ่ �ำ เป็น ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ด�ำ เนินโครงการ นี้ โดยมีผลสรุป ดังนี้ - การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชน จำ�นวน 8 เรื่อง - การสร้างเครือข่ายเพือ่ การอนุรกั ษ์และฟืน้ ฟู มีการจัดตัง้ “ชมรมคนรักษ์ เขาคอหงส์” ขณะนีม้ สี มาชิกมากกว่า 1,000 คน พร้อมทัง้ สร้างเครือข่ายการทำ�งาน ร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 30 องค์กร - การรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฯ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น 1) จัดนิทรรศการในงานต่าง ๆ 2) กิจกรรมเดินป่าเพื่อ ศึกษาธรรมชาติและนันทนาการ 3) อบรมนักศึกษาอาสาสมัคร 4) จัดทำ�สือ่ เผยแพร่ เช่น แผ่นพับ ภาพยนตร์สั้น คู่มือศึกษาธรรมชาติเขาคอหงส์ หนังสือ “การจัดการ สวนยางพาราแบบวนเกษตร เพื่อความยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อม” 5) จัดทำ� เว็บไซต์โครงการ และfacebook ชื่อ “ชมรมคนรักษ์เขาคอหงส์ - การสร้างเครือข่ายโรงเรียนเพือ่ พัฒนาและใช้หลักสูตรสาระท้องถิน่ เรือ่ ง “ระบบนิเวศและการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติเขาคอหงส์” มีโรงเรียนทีใ่ ช้หลักสูตร ดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 17 แห่ง

36

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


โครงการพัฒนาศักยภาพกลไกชุมชนและเครือข่ายทางสังคมเพื่อการ จัดการสาธารณภัย : กรณีศกึ ษาอ่าวปัตตานี (Pattani Bay Watch : PB Watch) สื บ เนื่ อ งจากเหตุ ก ารณ์ ภั ย พิ บั ติ พ ายุ ดี เ ปรสชั่ น พื้ น ที่ อ่ า วปั ต ตานี ใ นปี 2553 มหาวิทยาลัยได้เข้าไปดำ�เนินการเยียวยา ฟื้นฟูชุมชนตั้งแต่ระยะแรกจนถึงปัจจุบัน ดำ�เนินกิจกรรม 4 ด้านหลักได้แก่ 1) งานด้านความรู้การจัดการและการเตรียมรับมือภัยพิบัติ โดยจัดอบรม ให้ความรูแ้ ก่แกนนำ�ชุมชนกว่า 100 คน และจัดอบรมการจัดตัง้ สถานีตรวจวัดสภาพ อากาศสำ�หรับชุมชนและอบรมการประเมินสถานการณ์สภาพอากาศผ่านเว็บไซต์ PB Watch 2) งานฟื้นฟูและเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ โดยการสนับสนุนให้แต่ละชุมชน จัดตั้งกลุ่มดำ�เนินกิจกรรมและสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้ชุมชนได้จัดกิจกรรมที่ ร่วมกันคิดเพื่อฟื้นฟูชุมชน มีชาวบ้านเข้าร่วมกว่า 300 คนใน 16 ชุมชน เช่น การ ซ่อมเรือ การปลูกป่าชายเลนเพื่อเป็นแนวกั้นลม เป็นต้น 3) งานป้องกัน เน้นวิธีการป้องกันและการเตือนภัย โดยการสร้างเครือข่าย วิทยุสมัครเล่น มีผู้สอบผ่านแล้ว 39 คน จัดอบรมผู้สื่อข่าวชุมชน มีผู้เข้าร่วม 31 คน จัดรายการ “คนตานีเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ” โดยใช้ 2 ภาษา คือ ไทย-มลายู จัดทำ� ละครสั้นทางวิทยุเพื่อการรับมือภัยพิบัติ ปัจจุบันชุมชนสามารถดำ�เนินการพัฒนา อย่างต่อเนือ่ ง โครงการนีไ้ ด้รบั รางวัลชนะเลิศในการนำ�เสนอผลงานด้านการจัดการ ภัยพิบัติระดับชาติในปี 2554 และอาจารย์ผู้เป็นคณะทำ�งานหลักได้เดินทางไปเป็น วิทยากรให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ทั่วภาคใต้

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

37


โครงการฝ่าวิกฤตฟื้นตนเองหลังประสบภัยนํ้าท่วม ชุมชนเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สืบเนื่องจากภัยพิบัตินํ้าท่วมหาดใหญ่ในปี 2553 คณะทำ�งานได้ ประสานกับเทศบาลนครหาดใหญ่ด�ำ เนินงานเยียวยาและฟืน้ ฟูชมุ ชนทีป่ ระสบความ เสียหายรุนแรงใน 6 ชุมชน โดยสนับสนุนให้ชุมชนจัดตั้งกลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ ตามความเหมาะสมของพื้นที่ จัดให้มีการซ้อมแผนรับมือนํ้าท่วม การพัฒนาคู่มือ พร้อมรับนํา้ ท่วม ปัจจุบนั มีชมุ ชนนำ�ร่องทีเ่ ป็นต้นแบบในการเตรียมความพร้อมรับมือ ภัยพิบัตินํ้าท่วม 2 ชุมชน คือชุมชนคลอง ร.1 และชุมชนป้อมหก นอกจากนี้ทั้ง 2 ชุมชนยังได้จัดทำ�โครงการขอรับการสนับสนุนจาก สสส. และจากเทศบาลนคร หาดใหญ่ด�ำ เนินการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนือ่ ง ในเรือ่ งต่าง ๆ เช่น คลอง ร.1 จัดการ อบรมการว่ายนํ้าเพื่อเอาชีวิตรอด ชุมชนป้อมหก จัดทำ�โครงการการจัดการขยะใน ชุมชน และได้รับการคัดเลือกจากเทศบาลส่งเข้าประกวดในระดับชาติขณะนี้ติด อันดับ 1 ใน 5 ของประเทศ นอกจากนี้ทั้ง 6 ชุมชนยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษา ในหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อบ่มเพาะจิตอาสา

การอบรมอาสาสมัครเชิงรุกและอาสา สมัครเยียวยาผู้ ได้รับผลกระทบ เพื่อ ให้ อ าสาสมั ค รมี ค วามพร้ อ มต่ อ การ รับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ

38

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นและอาสาสมัครกูภ้ ยั มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เริม่ ก่อตัง้ ในปี 2548 โดยบุคลากรในมหาวิทยาลัยทีเ่ ป็นอาสาสมัครกูภ้ ยั มูลนิธิ กุศลศรัทธาสุราษฎร์ธานี สร้างแรงบันดาลใจให้นกั ศึกษาเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครกว่า 30 คน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ ทางมูลนิธิกุศลศรัทธาได้สนับสนุนรถกู้ภัย มีนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ได้เข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัครกู้ภัย ทำ�ให้ชมรมนักวิทยุ สมัครเล่นและอาสาสมัครกู้ภัย เป็นจุดศูนย์รวมของนักศึกษาที่ใช้เวลาว่างจากการ เรียนมาเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ รับงบประมาณสนับสนุนจากทาง มูลนิธิกุศลศรัทธา และการสนับสนุนอื่น ๆ จากมหาวิทยาลัย

โครงการหาดใหญ่เข้มแข็งสู้ภัยนํ้าท่วม มหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับคณะ กรรมการเตือนภัยของจังหวัดสงขลา และทุกภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้องจัดกิจกรรมเสวนา/ นิทรรศการ เพือ่ การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบตั นิ าํ้ ท่วมในหาดใหญ่เป็นประจำ� ทุกปีนับตั้งแต่เกิดนํ้าท่วมใหญ่ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

39


กู้ชีพ ม.อ. ขอทําดี

วันนีเ้ ราได้มโี อกาสพูดคุยกับ คุณเด่น-ธีรพัฒน์ อังศุสงิ ห์ ชายหนุม่ หัวใจหล่อ วัย 33 ปี จากสุราษฎร์ธานี ผู้ก่อตั้ง “ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น และอาสาสมัครกู้ภัย ม.อ. สุราษฎร์ธานี” ชมรมทีอ่ ทุ ศิ แรงกายแรงใจเพือ่ ช่วยเหลือชีวติ ผูอ้ นื่ เมือ่ ต้องเผชิญ หน้ากับสถานการณ์ฉุกเฉิน ตลอด 24 ชม. โดยไม่มีวันหยุด ภายใต้สโลแกนสั้น ๆ ว่า “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง” สมาชิกชมรมกว่า 30 ชีวติ จากกลุม่ นักศึกษา ม.อ. สุราษฏร์ธานี และสถาบัน ใกล้เคียงอุทิศเวลาว่างหลังเลิกเรียนและเวลางานไปกับภารกิจกู้ชีพ กู้ภัย หลายครั้ง ต้องเจอกับคำ�พูดบั่นทอนกำ�ลังใจจากชาวบ้านที่มองกลุ่มอาสาสมัครกู้ภัยว่าเป็น หน่วยงานมาเก็บศพเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ยังยึดมั่นในอุดมการณ์ที่จะ บำ�เพ็ญประโยชน์ให้สังคม ทุกความช่วยเหลือทำ�ด้วยใจ ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ซึ่งเด่น-ธีรพัฒน์ ได้ไขข้อสงสัยจนกระจ่างแจ้งแก่ใจว่า “ภารกิจ อาสาสมัครกู้ชีพ คือ ช่วยเหลือทุกชีวิตในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือต้องการความช่วยเหลือครับ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ มีผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ รถ เสีย พบสัตว์ร้ายหรือต้องการขอความช่วยเหลืออื่นๆ สามารถโทรศัพท์แจ้งเหตุ มายังนักศึกษากู้ภัย ได้ตลอด 24 ชม. ครับ พูดง่าย ๆ คือ ถ้าต้องการความช่วย เหลืออะไรก็ตามแต่ โทรหาเราได้ตลอดครับ เราคอยให้ความช่วยเหลือเพือ่ หวังให้ รอดชีวติ เป็นสำ�คัญครับ” 40 จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


“ครั้งหนึ่งเราได้รับแจ้งเหตุจากชาวบ้านว่ามีคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ...เมือ่ ไปถึง...พบว่าชีพจรยังคงเต้นแต่ออ่ นแรงมาก จึงได้ทำ�การปฐมพยาบาล ตามขั้นตอนฉุกเฉิน จนสามารถนำ�ส่งรักษาตัวต่อยังโรงพยาบาลได้ทัน ท่ามกลางความตกตะลึงของชาวบ้านทีต่ า่ งก็คดิ ว่าน่าจะเสียชีวติ คาที่ ไปแล้ว .....การช่วยชีวิตคนในสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างน้อย 1 คน ซึ่งคุ้มค่ามาก กับสิ่งที่พวกเราลงแรงกายแรงใจกันมาตลอด” เมือ่ ถามถึงความประทับใจจากการรวมกลุม่ เป็นอาสาสมัครกูช้ พี มาเป็นระยะ เวลาร่วม 9 ปีบ้าง เด่น-ธีรพัฒน์ได้เล่าให้เราฟัง ด้วยนํ้าเสียงที่ภาคภูมิใจว่า “ครั้งหนึ่งเราได้รับแจ้งเหตุจากชาวบ้านว่ามีคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถ จักรยานยนต์ เมื่อไปถึงจุดเกิดเหตุ อาสาสมัครของเราได้ประเมินอาการของผู้ได้ รับบาดเจ็บ พบว่าชีพจรยังคงเต้นแต่ออ่ นแรงมาก จึงได้ท�ำ การปฐมพยาบาลตาม ขั้นตอนฉุกเฉิน จนสามารถนำ�ส่งรักษาตัวต่อยังโรงพยาบาลได้ทัน ท่ามกลาง ความตกตะลึงของชาวบ้านที่ต่างก็คิดว่าน่าจะเสียชีวิตคาที่ไปแล้ว จึงเป็นความ ประทับใจและภูมใิ จทีเ่ รามีสว่ นในการช่วยชีวติ คนในสถานการณ์ฉกุ เฉินได้อย่าง น้อย 1 คน ซึ่งคุ้มค่ามากกับสิง่ ทีพ่ วกเราลงแรงกายแรงใจกันมาตลอด ทำ�ให้เรามี กำ�ลังใจจะทำ�ต่อไปครับ” และสิ่งที่คุณเด่นได้ทิ้งท้ายกับเราไว้ก่อนจบการสนนทนา คือ “อยากให้ทุก คนมุ่งที่จะทำ�ความดีให้มาก เพราะ “ความดี สำ�คัญกว่าทุกสิ่ง” คนเราอาจมีต้นทุน ในชีวิตแตกต่างกัน รวย จน ดำ� ขาว ไม่เท่ากัน แต่ความดีคือสิ่งที่ทุกคนต้องลงมือ ทำ�เหมือนกัน ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ มีแต่จะได้ “ความสุข” จากการ “เสีย สละ” เพื่อผู้อื่นนั่นเอง”

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

41


2.4 การช่วยเหลือผู้ยากไร้ โครงการ “จิตอาสาต้นแบบ ณ อาคารเย็นศิระ (วัดโคกนาว อรรถกระวี สุ น ทร)” ดำ � เนิ น การโดยโรงพยาบาลสงขลานคริ น ทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาคารเย็นศิระเป็นสถานที่รองรับผู้เข้าพักอาศัยซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นผู้ยากไร้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งหรือโรคเรื้อรังทั้งชาวไทยพุทธ และ ชาวไทยมุสลิม ที่เดินทางมาจาก 14 จังหวัดภาคใต้ และภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วประเทศ มารับการฉายแสง รับยาเคมีบำ�บัด ใส่แร่ มารับการผ่าตัด มาพบแพทย์ตามนัด ฯลฯ ปัจจุบันสามารถรองรับคนไข้และญาติเข้าพักพิงยามเจ็บป่วยได้จำ�นวน 180,000 คน/ปี หรือ 500 คน/วัน การดูแลของอาสาสมัคร โดยยึดหลัก “สังคมสมานฉันท์ เรียนรูซ้ งึ่ กันและกัน” มีกจิ กรรมการดูแลการเจ็บป่วย บริบาลทางการพยาบาล จัด สวัสดิการทางสังคมตามสภาพปัญหาที่คนไข้และครอบครัวกำ�ลังเผชิญ ติดตาม ประเมินอาการเจ็บป่วยประจำ�วัน ฯลฯ

42

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


คู่มือการทำ�งานเยียวยาของอาสาสมัครอาคารเย็นศิระ จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

43


หนีร้อนมาพึ่ง...เย็น (ศิระ) โรงแรมห้าดาว ของผู้ป่วยยากไร้ แปลงเกษตรผืนใหญ่ ของเมล็ดพันธุ์คนดี

‘อาคารเย็นศิระ’ อาคารสีเหลืองนวลสองหลังภายในวัดโคกนาว ตรงข้าม ประตูรวั้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นทีพ่ กั พิงทีใ่ ห้ความช่วย เหลือผู้ป่วยและญาติที่ขาดทุนทรัพย์ในยามลำ�บาก มาเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี ในแต่ละวัน มีคนไข้และญาติที่ต้องเดินทางมารอเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง เช่น การทำ�เคมีบำ�บัด การฉายแสง รอเข้ารับการผ่าตัด หรือหมอนัด ฯลฯ ที่นี่จึง เป็นจุดศูนย์รวมของผู้ป่วยและญาติ จากหลากหลายพื้นที่ ทั่วทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ และถึงแม้จะต่างที่มา ต่างอาชีพ ต่างเชื้อชาติศาสนา แต่สถานที่แห่งนี้ กลับอบอวล ไปด้วยภาพของความเอือ้ อาทร เหล่าบรรดาจิตอาสาทีห่ มุนเวียนมาเยีย่ มเยียน และ คอยดูแลผู้ป่วยและญาติตามความถนัดที่ตนมี เช่น กลุ่มแพทย์ นักศึกษาแพทย์ ที่ สละเวลามาตรวจดูอาการคนไข้นอกเวลางาน กลุม่ พยาบาลทีส่ ลับกันเข้ามาคอยเช็ด ตัว ล้างแผล ให้ผู้ป่วย กลุ่มนักเรียน นักศึกษาที่แวะเวียนมาบำ�เพ็ญประโยชน์ 44

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


ประชาชนที่นำ�ข้าวของเครื่องใช้จำ�เป็นมาบริจาค บ้างก็นำ�ข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงผู้ ป่วยและญาติ บ้างก็มาร้องเพลง พูดคุย ทำ�กิจกรรมร่วมกันเพือ่ สร้างรอยยิม้ รอยยิม้ ที่อิ่มเอิบบนใบหน้าของทั้งผู้ให้และผู้รับ นับเป็นสิ่งที่น่าประทับใจแก่ผู้ที่ได้มีโอกาส เข้ามาสัมผัส ภาพเหล่าบรรดาจิตอาสาจากหลากหลายแขนง ภาพการต้อนรับสมาชิกใหม่ อย่างอบอุ่น ภาพการอวยพร ร่ำ�ลา เพื่อกลับภูมิลำ�เนาหลังเสร็จสิ้นการรักษา หรือ แม้แต่ภาพการจัดพิธกี รรมทางศาสนาให้แก่ผปู้ ว่ ยเสียชีวติ สังคมเล็ก ๆ แห่งนี้ ทำ�ให้ เรารูส้ กึ เหมือนกำ�ลังอยูใ่ นโลกอีกใบ สังคมทีไ่ ม่มใี ครสนใจว่าใครจะรวยหรือจน สงั คม ที่อวบอวลไปด้วยความสุขจากการแบ่งปัน สังคมที่เป็นจุดบ่มเพาะพันธ์ต้นกล้าจิต อาสาให้แผ่ขยายสู่สังคมใหญ่ สังคมที่เห็นแต่การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนอย่าง แท้จริง หวังเป็นอย่างยิ่งนะคะ ว่าสังคมเล็กๆ แห่งนี้ จะค่อยๆ แผ่กิ่งก้านสาขา ปกคลุมสังคมใหญ่ ด้วยร่มเงาของการแบ่งปัน เพราะยังคงมีอีกหลายชีวิต ที่หวังจะ หนีรอ้ น...มาพึง่ เย็น (ศิระ) โรงแรมห้าดาวของผูป้ ว่ ยยากไร้ แปลงเกษตรผืนใหญ่ ของ เมล็ดพันธุค์ นดี “อาคารเย็นศิระ” นับเป็นจุดบ่มเพราะความเป็นจิตอาสา ดัง่ คติพจน์ ของลูกพระบิดาที่ว่า “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง” อย่างแท้จริงค่ะ

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

45


โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดสงขลา คณะพยาบาล ศาสตร์ ดำ�เนินงานร่วมกับ สมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา สภาคนพิการทุกประเภท จังหวัดสงขลา (มีตัวแทนของสมาคมคนพิการทุกประเภทเป็นกรรมการ) และภาคี เครือข่ายทีท่ �ำ งานด้านคนพิการ ผลการดำ�เนินงานในช่วงทีผ่ า่ นมา (2548-2556) คือ การผลักดันให้เกิดการจัดตั้งสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดสงขลา เพื่อให้เกิดรูป แบบการทำ�งานร่วมกันของคนพิการประเภทต่าง ๆ และจัดตั้งชมรมคนพิการใน ระดับอำ�เภอ รวมทัง้ ส่งเสริมให้นกั ศึกษาได้ท�ำ กิจกรรมกับผูด้ อ้ ยโอกาส คนพิการ ใน ตำ�บลท่าข้าม อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และเมือ่ จบรายวิชาก็ยงั คงทำ�กิจกรรม อย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อสร้างจิตสำ�นึกด้านจิตอาสาและการทำ�ประโยชน์เพื่อเพื่อน มนุษย์ 2.5 การสร้างเสริมสุขภาพ โครงการฟันเทียมพระราชทาน คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้เริ่มดำ�เนินการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ในครั้งนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก สึนามิ ในจังหวัดพังงา และต่อมาเป็นกิจกรรมเพือ่ ช่วยเหลือผูส้ งู อายุในแต่ละจังหวัด ที่ต้องคอยคิวการทำ�ฟันปลอมเป็นระยะเวลานาน คณะทันตแพทยศาสตร์ ร่วมกับ กรมอนามัย จึงได้จดั โครงการต่อเนือ่ งเป็นสองส่วนคือ เป็นการฝึกอบรมทันตแพทย์ จากโรงพยาบาลต่าง ๆ ในการทำ�ฟันเทียม และออกหน่วยอาสาให้บริการฟันเทียม แก่ผู้สูงอายุในจังหวัดพังงา กระบี่ สตูล ยะลา และสงขลา สามารถทำ�ฟันเทียมให้ผู้ ป่วย รวม 5 ครั้ง รวม 588 ราย โครงการหน่วยทันตกรรมพระราชทาน คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้เริ่ม ดำ�เนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 มีพื้นที่ให้บริการใน 14 จังหวัดภาคใต้ หลังจาก เกิ ด เหตุ ก ารณ์ ค วามไม่ ส งบในสามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ หน่ ว ยทั น ตกรรม พระราชทานได้รว่ มกับ กองกำ�ลังผสมพลเรีอน ตำ�รวจ ทหาร ที่ 43 โดยมีอาสาสมัคร คณาจารย์ของคณะฯ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทันตกรรม ไม่น้อยกว่า 120 คน 46

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


หมุนเวียนกันออกให้บริการแก่ประชาชนในสามจังหวัด ร่วมกับศิษย์เก่าที่เป็น ทันตแพทย์ในพื้นที่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการรักษาและป้องกันโรคในช่องปาก แต่ยัง เป็นการสร้างความเชือ่ มัน่ และขวัญกำ�ลังใจให้กบั ประชาชนในพืน้ ทีด่ งั กล่าว โดยได้ เริม่ ออกให้บริการมาตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบนั รวม 23 ครัง้ มีประชาชน ทหาร ตำ�รวจและอาสาสมัครทหารพราน ได้รับบริการ 1,840 ราย โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะ กรรมการทันตสาธารณสุขชนบทภาคใต้ได้ร่วมกันแก้ปัญหาดังกล่าวในจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสงขลา ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น และศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กโดยมีการดำ�เนินโครงการพัฒนาสุขภาพช่องปากและฟันของ เด็กในศูนย์ฯภายใต้ชอ่ื โครงการหนูนยุ้ ฟันดีทศี่ นู ย์พฒ ั นาเด็กเล็กชายแดนใต้ โครงการ พัฒนาเครือข่ายทันตสุขภาพ ในหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อสร้างหนูนุ้ยฟันดีที่ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กชายแดนใต้ และโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมผู้ดูแลเด็กเพื่อ สร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยชายแดนใต้ โดยมีศนู ย์เข้าร่วมในระยะแรก 27 ศูนย์ ต่อมามีการขยายเครือข่ายศูนย์ฯ เพิ่มขึ้นอีก 65 ศูนย์ ทำ�ให้เด็กมีสุขภาพช่อง ปากและฟันดีขนึ้ อย่างต่อเนือ่ ง มีพฤติกรรมการกินอาหารทีเ่ หมาะสม จนนำ�ไปสูก่ าร สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการรักษาสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

47


“จะไกลแค่ ไหนไม่เคยท้อ เพราะเราใช้หัวใจนําทาง” “จากการออกหน่วยทันตกรรมพระราชทานครั้งหนึ่ง ณ อำ�เภอพนม จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีเด็กชายอายุราว 7 ขวบ คนนึงเข้ามากราบพระในวัด ซึ่ง ใกล้จดุ ทีต่ งั้ หน่วยบริการพอดี เหล่าอาสาสมัครได้เข้าไปพูดคุยเพือ่ แจกของ และ ชักชวนให้เด็กคนนัน้ มารับบริการทำ�ฟันฟรีตามปกติ เด็กน้อยส่ายศีรษะไปมา แต่ กลับไร้คำ�ตอบใด ๆ เมื่อได้พูดคุยกับมารดาของเด็กชายคนนี้ เราจึงได้รับรู้ว่าเขาพูดไม่ได้มา ตัง้ แต่เกิด เปล่งเสียงได้บา้ ง แต่ไม่สามารถพูดเป็นคำ�ได้ แสดงว่าไม่ได้เป็นใบ้ ด้วย เพราะครอบครัวมีฐานะยากจน จึงไม่กล้าพาลูกไปหาหมอในตัวจังหวัด ปล่อยให้ ลูกพูดไม่ได้ล่วงเลยมาจนถึงวัยเข้าชั้นป.1 เมือ่ ได้ความเช่นนี้ พวกเราจึงนำ�เรือ่ งนีม้ าพูดคุยกัน ผูช้ ว่ ยทันตแพทย์ของ เราคนนึงตั้งข้อสังเกตว่าเด็กอาจประสบปัญหาภาวะมีผังผืดใต้ลิ้น จึงนำ�เรื่องนี้ ไปปรึกษากับ ผศ.ทพ.วินัย กิตติดำ�เกิง (ประธานหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในขณะนั้ น ) นั บ เป็ น เรื่ อ งโชคดี ม ากที่ อ าจารย์ วิ นั ย เป็ น อาจารย์ แ พทย์ ด้ า น ศัลยศาสตร์ และเคสแบบนี้สามารถผ่าตัดรักษาได้ จึงตรวจอาการเด็กน้อยรายนี้ จนแน่ชัด อุปกรณ์เราก็มีพร้อม จึงนัดเด็กให้คนไข้เข้ามาผ่าตัดผังผืดใต้ลิ้นในวัน 48

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


“ยิง่ มีเหตุการณ์ไม่สงบ เราทุกคนยิง่ อยากลงพืน้ ทีเ่ พือ่ สร้างขวัญและ กำ�ลังใจให้กับประชาชนที่นั่น อย่างน้อยพวกเขาก็ได้รับรู้ว่า ในยามลำ�บาก หน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ ม.อ.หาดใหญ่ ก็ไม่ทอดทิ้ง พวกเขาไปไหน” รุง่ ขึน้ ทันที หลังจากนัน้ ก็ประสานงานให้ทมี ทันตแพทย์ในพืน้ ทีต่ ดิ ตามดูแลต่อไป ในวันรุ่งขึ้น มารดาเด็กชายคนนั้นบอกกับพวกเราว่า เมื่อวานนี้ลูกชาย เข้าไปไหว้พระทีว่ ดั เพือ่ ขอพรพระช่วยดลบันดาล ให้ตนเองสามารถพูดได้เหมือน เพื่อน ๆ เสียที เขาดีใจมากที่ต่อจากนี้ตนเองจะสามารถพูดได้เหมือนเด็กปกติ แล้วเหมือนเป็นปาฏิหาริย์ ราวกับพระท่านได้ยินในสิ่งที่ตนเองขอพร” พีก่ ติ ติมา หงส์หริ ญ ั เรือง กรรมการและเลขานุการ หน่วยทันตกรรมพระราช ทานฯ คณะทันตกรรมฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เล่า เหตุการณ์ครัง้ นัน้ ให้เราฟังด้วยนาํ้ เสียงทีแ่ ฝงด้วยความประทับใจและปลาบปลืม้ ยินดี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 มาถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่าสิบปีแล้วที่หน่วย ทันตกรรมพระราชทานฯ ม.อ.หาดใหญ่ได้ออกหน่วยให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่ แก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ทั่วทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ย่อท้อ ต่อความยากลำ�บาก แม้จะต้องพบกับเส้นทางแสนทุรกันดาร และเสี่ยงต่อภยัน อันตรายในพื้นที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่หน่วยทันต กรรมพระราชทานฯ ก็ยังเคลื่อนกำ�ลังพล ออกให้บริการประชาชนเสมอมาอย่างไม่ หวาดหวั่น พี่กิตติมาได้บอกความรู้สึกกับเราว่า “ยิง่ มีเหตุการณ์ไม่สงบ เราทุกคนยิง่ อยากลงพืน้ ทีเ่ พือ่ สร้างขวัญและกำ�ลัง ใจให้กบั ประชาชนทีน่ นั่ อย่างน้อยพวกเขาก็ได้รบั รูว้ า่ ในยามลำ�บาก หน่วยทันต กรรมพระราชทานฯ ม.อ.หาดใหญ่ ก็ไม่ทอดทิ้ง พวกเขาไปไหน”

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

49


จิตอาสา แห่งบ้านพิทักษ์เด็กภูเก็ต

ความร่าเริง แก่นซน แววตาใสซือ่ น่าจะเป็นสิง่ คูก่ นั ของเด็กๆทุกคนบนโลก ใบนี้ หากแต่เพราะในความเป็นจริง ยังมีเด็กอีกหลายคนต้องทนอยู่กับสภาพความ ยากลำ�บากของครอบครัว ถูกล่วงละเมิด ถูกคุกคามสิทธิ นี่จึงเป็นที่มาของการก่อ ตั้ง ‘สมาคมพิทักษ์เด็กภูเก็ต’ ขึ้น สมาคมที่จะคืนรอยยิ้มให้กับน้อง ๆ เหล่านี้ โดย มีลูกพระบิดา จาก ม.อ. ภูเก็ต ร่วมเป็นจิตอาสาและขับเคลื่อนกิจกรรมของสมาคม เสมอมา พี่แอน หรือคุณปลิดา อัฒโภคธนาการ ผู้ดูแลกิจกรรมสมาคมพิทักษ์เด็ก ภูเก็ต ได้สละเวลาพูดคุยกับเราว่า สมาคมได้รบั การสนับสนุนจากทุกภาคส่วนมาเป็น อย่างดี ทั้งด้านเงินทุนสนับสนุน การนำ�ของใช้จำ�เป็นมาบริจาค กลุ่มอาสาสมัคร จำ�นวนมากเป็นน้อง ๆ นักศึกษา จาก ม.อ.ภู เก็ต เป็นแรงขับเคลือ่ นสำ�คัญให้กจิ กรรม สมาคมประสบความสำ�เร็จมาถึงทุกวันนี้ 50

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


“กลุ่มนักศึกษามาร่วมเป็นคณะทำ�งาน ตื่นกันแต่เช้ามืด และยืน ประจํำ�จดุ จนกว่าการแข่งขันจะเสร็จสิน้ นับว่าเหนือ่ ยกันมาก ๆ แต่นอ้ ง ๆ ทุกคนก็เต็มใจและมีจิตอาสาอย่างดีเสมอมา” “น้อง ๆ ทุกคนน่ารักมากค่ะ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จะมีอาจารย์และ นักศึกษาเข้ามาทำ�กิจกรรมกับสมาคมอย่างต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมพิทักษ์เด็ก มินิ มาราธอน เพื่อระดมทุนเข้าสมาคม กลุ่มนักศึกษามาร่วมเป็นคณะทำ�งาน ตื่นกัน แต่เช้ามืด และยืนประจำ�จุดจนกว่าการแข่งขันจะเสร็จสิ้น นับว่าเหนื่อยกันมาก ๆ แต่น้อง ๆ ทุกคนก็เต็มใจและมีจิตอาสาอย่างดีเสมอมา รวมไปถึงน้องๆ จิตอาสาที่รวมกลุ่มกันมาทำ�กิจกรรมกับเด็กๆ คอยเป็น พี่เลี้ยงดูแลน้อง ๆ ตั้งแต่อาบนํ้า ป้อนข้าว และส่งเข้านอนกลางวัน ช่วยนำ�ขนม และของใช้มาแจกให้กับเด็ก ซึ่งจุดนี้สมาคมและเด็ก ๆ รู้สึกขอบคุณในความมี จิตอาสาของนักศึกษาทุกคน ทุกรุ่น เป็นอย่างมากค่ะ ” บางครั้ง คำ�ขอบคุณเพียงไม่กี่บรรทัดอาจพรรณนาทุกความรู้สึกออกมาได้ ไม่หมดสิ้น แต่ในหัวใจของความเป็นจิตอาสาของนักศึกษาจาก ม.อ. ภูเก็ตในวันนี้ ทุกคำ�ขอบคุณน่าจะสื่อออกมาผ่านรอยยิ้มและแววตาของเด็กทุกคนเรียบร้อยแล้ว

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

51


จากตัวอย่างต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ มีประวัตยิ าวนานในการส่งเสริมและสร้างงานด้านจิตอาสา และพัฒนาคน ทั้งในส่วนบุคลากร นักศึกษา เยาวชน และประชาชน ในชุมชน มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลงานหลากหลายด้าน ได้แก่ การเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดน ใต้ การพัฒนาชุมชน การปกป้องสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ การสร้างเสริม สุขภาพ และการช่วยเหลือผู้ยากไร้ ปัจจุบันหลาย ๆ กิจกรรมเหล่านี้มีโครงสร้างที่ ยั่งยืน เป็นอิสระแต่หนุนช่วยซึ่งกันและกัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังช่วย สร้างความเข้มแข็งด้านจิตอาสาในสถาบันอื่น ท่ามกลางความยากลำ�บาก อันตราย และความไม่แน่นอนทางภัยธรรมชาติ ซึง่ ได้รบั การสนับสนุนจากฝ่ายต่าง ๆ เพือ่ ร่วม ช่วยกันบรรเทาทุกข์ ฟืน้ ฟู และพัฒนาพืน้ ทีภ่ าคใต้ประเทศไทยและนานาชาติสบื ไป ภายใต้มโนปณิธาน “ประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”

52

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


จิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การช่วยเหลือผู้ยากไร้ การสร้างเสริม สุขภาพ

การพัฒนาชุมชน การปกป้อง สิ่งแวดล้อม และการจัดการ ภัยพิบัติ

การเยียวยา สมานฉันท์ ชายแดนใต้

การพัฒนาสังคมภาคใต้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับงานอาสาสมัคร การบ่มเพาะนักศึกษา

กิจกรรม เสริมสร้างจิตสำ�นึก

รายวิชาเสริมหลักสูตร

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

53


รายชื่อหน่วยงาน/องค์กร ด้านจิตอาสาในมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

54

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


วิทยาเขตหาดใหญ่ โครงการค่ายอาสาพัฒนา 5 วิทยาเขต ส่ ง เสริ ม ให้ นั ก ศึ ก ษามี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สังคม และส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ทั้ง 5 วิทยาเขต เกิดความเป็นปึกแผ่น ไม่แบ่งแยกวิทยาเขต โทร. 082-4969469 ชมรมการศึกษาเพื่อสังคม เป็นโครงการที่นักศึกษาจัดแก่เด็กเพื่อได้รับ ความรู้ ได้ พั ฒ นาความสามารถทั้ ง ด้ า น ร่างกายและจิตใจ โทร. 087-5428909

ค่ายจูงมือน้องสู่รั้วมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมในรูปแบบของการกวดวิชาต่างๆ แนะนำ�มหาวิทยาลัยในระดับอุดมศึกษาและ หลักเกณฑ์การเลือกเข้าศึกษาต่อ/การเตรียม ความพร้ อ มในการสอบคั ด เลื อ กระดั บ อุดมศึกษา โทร. 080-5434095

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

55


วิทยาเขตหาดใหญ่ กิจกรรมน้องใหม่บำ�เพ็ญ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นให้กับนักศึกษาใหม่ ซึ่ง ผนวกอยู่ในโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขต หาดใหญ่ นั ก ศึ ก ษาใหม่ ไ ด้ ร่ ว มกั น บำ � เพ็ ญ ประโยชน์ ทั้ ง ภายในและชุ ม ชนภายนอก มหาวิทยาลัย โทร. 083-1937240 ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างเครือข่ายเยาวชนให้เล็งเห็นถึงความ สำ�คัญของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์ สู ง สุ ด และร่ ว มกั น อนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้อมรอบตัว ตลอดจนให้เยาวชนได้ไป ถ่ายทอดประสบการณ์ให้คนอื่น เพื่อจะได้ ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม โทร. 089-4681890 โครงการจิตอาสาต้นแบบ อาคารเย็นศิระ แหล่ ง รวมอาสาสมั ค รทั้ ง บุ ค ลากรและ นักศึกษา ที่หมั่นแวะเวียนกันมาเยี่ยมเยียน พูดคุย ให้ความรู้ และจัดกิจกรรมอาสาแก่ผู้ ป่วยยากไร้ที่มาพักที่อาคารเย็นศิระ วัดโคกนาว ช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตและ สุขภาพจิตที่ดีขึ้น โทร. 074-451024 56

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


วิทยาเขตหาดใหญ่ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในจังหวัดสงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ ผลัก ดันให้เกิดการจัดตัง้ สภาคนพิการทุกประเภท จังหวัดสงขลา และจัดตั้งชมรมคนพิการใน ระดับอำ�เภอ รวมทัง้ ส่งเสริมให้นกั ศึกษาได้ท�ำ กิจกรรมกับผู้ด้อยโอกาส โทร. 081-5991171 โครงการฟันเทียมพระราชทาน โครงการหน่ ว ยทั น ตกรรมพระราชทาน โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากให้บริการ ด้านทันตกรรมแก้ผู้ยากไร้ หรือประชาชนที่ อยุู่ห่างไกลเพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการและ ดูแลสุขภาพในช่องปากอย่างทั่วถึง โทร. 089-7358155 โครงการบัณฑิตอาสาฯ สร้ า งการมี ส่ ว นร่ ว มในการพั ฒ นาชุ ม ชน ระหว่างบัณฑิต นักวิชาการ และคนในชุมชน ภาคใต้ โทร. 074-455149 ค่ายพัฒนาชุมชน ชมรมมุสลิม ค่ายคือสร้างอาคารเรียน ควบคูไ่ ปกับกิจกรรม ให้ความรู้ทางด้านการเกษตร ด้านสุขภาพ ด้านวิชาการและสอดแทรกความรูเ้ กีย่ วกับยา เสพติด คุณธรรมจริยธรรม รวมถึงการสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้าน โทร. 080-5434095 จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

57


วิทยาเขตตรัง สโมสรบุ ค ลากร มหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นครินทร์ วิทยาเขตตรัง เป้ า ประสงค์ ห ลั ก คื อ การสร้ า งองค์ ก รแห่ ง ความสุข และการเห็นประโยชน์ของเพื่อน มนุษย์เป็นกิจทีห่ นึง่ โดยในแต่ละปีการศึกษา มีภารกิจในการร่วมกิจกรรมกับชุมชน เช่น ค่ายสร้างสนามเด็กเล่น ปรับปรุงสนามเด็ก เล่นของโรงเรียนที่ห่างไกล โทร. 075-201724-5 ชมรมอาสาพัฒนาชนบท จัดกิจกรรมด้านอาสาพัฒนา อาทิ การสร้าง อาคารเรียนและการปรับปรุงอาคารเรียนของ โรงเรียนต่างๆ โทร. 075-201724-5

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดำ�เนินกิจกรรมด้านจิตอาสาด้านการอนุรกั ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และผลักดันให้นกั ศึกษา ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละครั้งเห็นความสำ�คัญ ของการดูแลสิ่งแวดล้อม โทร. 075-201724-5

58

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


วิทยาเขตตรัง สโมสรสาขาวิชาต่างๆ มีการจัดกิจกรรมด้านจิตอาสาซึ่งกิจกรรมที่ จั ด จะเกี่ ย วเนื่ อ งกั บ สาขาวิ ช าที่ เรี ย นอาทิ โครงการบัญชีครัวเรือนของสาขาวิชาการ บัญชี โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง โดย แต่ละสาขาวิชาจะจัดกิจกรรมโดยนำ�ความรู้ ของตนเองมาประยุกต์กับกิจกรรมบำ�เพ็ญ ประโยชน์ โทร. 075-201724-5 ชมรมรากแก้ว ดำ�เนินกิจกรรมพัฒนาชุมชน ให้ความช่วย เหลือชาวบ้าน ทั้งในเรื่องของอาชีพ โดยการ เข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการบัณฑิตอาสาใน การช่วยเหลือชุมชนบ้านนายอดทอง จังหวัด ตรัง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษทางจาก โทร. 0895916063 ชมรมมุสลิม มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมอาสาพัฒนาและการ สร้างเครือข่ายจิตอาสาร่วมกับชุมชน โดยมี การจัดกิจกรรมออกค่ายอาสาชมรมมุสลิม โทร. 075-201724-5

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

59


วิทยาเขตปัตตานี ชมรมอาสาพัฒนาชนบท เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีชีวิตและความ เป็นอยู่ของชุมชน และสร้างให้นักศึกษามีจิต สาธารณะ โทร. 073 – 313928-30 กองกิจการนักศึกษา

ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม จั ด กิ จ กรรมด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มและการ เคลื่ อ นไหวทางสั ง คม การสร้ า งจิ ต สำ � นึ ก สาธารณะ และปฏิบัติกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ โทร. 073–313928-30

60

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นและอาสาสมัครกูภ้ ยั เป็นการรวมตัวกันของบุคลากรที่เป็นอาสา สมั ค รกู้ ภั ย มู ล นิ ธิ กุ ศ ลศรั ท ธาสุ ร าษฎร์ ธ านี สร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาเข้าร่วมเป็น อาสาสมัครกว่า 30 คน โทร. 07732118

วิทยาเขตภูเก็ต

สมาคมพิทักษ์เด็กภูเก็ต ทำ�กิจกรรมเกีย่ วกับช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส ตามสถานที่ต่างๆ โทร. 087-6911677

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

61


ร่วมส่งข้อมูลงานอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นี่เป็นเพียงหน่วยงานและกิจกรรมอาสาสมัครส่วนหนึ่งของชาวสงขลา นครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขต เชื่อว่ายังมีพลังของคนอาสาใน ม.อ อีกมากที่ยังไม่ได้รับ การรวบรวมและนำ�เสนอไว้ในที่นี้ ขอเชิญร่วมส่งข้อมูลหน่วยงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ท่านเข้าร่วม หรือคน ทำ�งานจิตอาสาที่ท่านรู้จักมาได้ที่ หน่วยส่งเสริมงานอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กองกิจการนักศึกษา สำ�นักงานอธิการบดี ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โทรศัพท์ 074-282202 084-9948153 (รชดี้) 090-1753613 (ฮาบีบะห์) E-mail : jitarsapsu@gmail.com Facebook fanpage : หน่วยส่งเสริมงานอาสาสมัคร ม.อ.

62

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

63


64

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

65


66

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


เวลาของคุณให้อะไรได้บ้าง ? 1 นาที ให้ ‘1 คลิก’ เพื่อช่วยเหลือ แชร์ข่าวสารการขอความ ช่วยเหลือ หรือรับบริจาค บนโซเชียลมีเดีย

2-3 ชั่วโมง ให้ ‘ดนตรี’ สร้างรอยยิ้ม เล่นดนตรีให้เสียงเพลง มอบความสุขให้กับเด็กและผู้สูงอายุ

10 นาที ให้ ‘เสียง’ เป็นหนังสือ อ่านหนังสือให้คนตาบอดฟัง ทำ�ง่าย ๆ ทุกที่ทุกเวลาผ่าน App: Read for the blind

3-4 ชั่วโมง ให้ ‘1 มื้อ’ เพื่อน้องท้องอิ่ม ชวนเพื่อน ๆ ไปเลี้ยงอาหาร กลางวันแก่น้อง ๆ/ผู้ยากไร้ หรือบริจาคของใช้ที่จำ�เป็น

1 ชั่วโมง ให้ ‘เลือด’ ต่อชีวิต แบ่ ง ปั น สิ่ ง ที่ มี ใ ห้ กั บ คนอื่ น ด้วยการบริจาคโลหิต ที่สภากาชาด หรือโรงพยาบาล

24 ชั่วโมง ให้ ‘แรง’ เพื่อพัฒนา ออกเดินทางไปค่ายอาสา เพื่อฟื้นฟูสถานที่ต่าง ๆ เช่น สร้างโรงเรียน หรือปลูกป่า

ความสุขสร้างได้ ด้วยการ ‘ให้’ ขอบคุณ #GivingOneForOne

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

67


บันทึกอาสา

68

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


บันทึกอาสา

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

69


บันทึกอาสา

70

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


บันทึกอาสา

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

71


บันทึกอาสา

72

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


บันทึกอาสา

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

73


บันทึกอาสา

74

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


บันทึกอาสา

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

75


บันทึกอาสา

76

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


บันทึกอาสา

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

77


บันทึกอาสา

78

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


บันทึกอาสา

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

79


บันทึกอาสา

80

จิตอาสา ม.อ. เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.