Southhealthmag2

Page 1

รู้

เรื่องเพื่อน พฤษภาคม

2560

โดย..โครงการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับภูมิภาค (ภาคใต้)

รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้

รู้จัก

ประชาสั ง คม พลั ง หนุ นกระบวนการสร้า ง สั น ติ ภ าพ สภา

ชายแดนใต้

เริน ง ึ ถ ง ล ห แ

ชวน

? ร ห ไ ำ� ื่ นอีท อ

เยาวชนสื่อรัก เพ คิดดี ไอดอล หลักสูตรนี้ ดีต่อใจคนสูงวัย สร้างนักสื่อสารรุ่นใหม่

2

4

เพ

มา ก อ บ ื่อน

!

‘แช่เท้า’ สมุนไพร

11


2

“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้

เด็กและเยาวชนสื่อภาษารัก หลักสูตรใหม่ดูแลใจผู้สูงวัยในชุมชน

หลักสูตร “เด็กและเยาวชนสื่อภาษารัก (love language) ดูแลใจผู้สูงอายุในครอบครัวและ ชุมชน” เป็นผลผลิตจากผลงานวิจัยเรื่องการพัฒนา จิตอาสาเด็กและเยาวชนเพื่อดูแลใจผู้สูงอายุที่มีภาวะ ซึมเศร้าในชุมชน โดยสำ�นักวิชาพยาบาลศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับเครือข่ายยุวทัศน์ เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม ทีม อสม. ใน พื้นที่ หมู่ที่ 15 และ หมู่ที่ 6 ตำ�บลท่าศาลา อำ�เภอ ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช รับทุนจากสำ�นักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 หน้างานหลักคือสนับสนุนให้เด็กและ เยาวชนทำ � งานต้ น ทางที่ เ ด็ ก น้ อ ยร่ ว มกั น เรี ย กว่ า “ภารกิจปลูกรัก พิทักษ์ใจผู้สูงอายุ: ฮีโร่น้อยของ ครอบครัวและชุมชน” ระหว่างทาง...เด็กและเยาวชน เกิดการเจริญเติบโตจากภายใน เรียนรู้การดูแลใจ ให้ คุณค่า และตอบแทนบุญคุณ ผู้สูงอายุอบอุ่น มีคุณค่า สุขใจ คลายเศร้า เมื่อเด็กและเยาวชนทำ�หน้าที่ดูแลใจ ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุใช้ประสบการณ์สร้างคุณค่าในใจลูก

หลาน ผู้เป็นกำ�ลังหลักในการดูแลครอบครัวและชุมชนไม่ ต้องห่วงหน้าพะวงหลังกับ 2 วัยที่ต้องดูแล เมื่อดอกรัก ของการทำ�หน้าที่ระหว่างวัยผลิบาน ความรัก เข้าใจ ผูกพัน สุขใจ เกิดขึ้น ปลายทางคือสันติสุขและความเบิก บานของบุคคล ครอบครัว สังคม และชุมชน ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนทุนการวิจัย : สกอ. ผู้ พัฒนาหลักสูตร: สำ�นักวิชาพยาบาลศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ คณาจารย์ผู้ร่วมวิจัยและทีมวิจัยพื้นที่ ได้แก่ ผศ.ดร.นัยนา หนูนิล รศ.ดร.สายฝน เอกวรางกูร นางสาววณิชญา ฉัน สำ�ราญ และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยากรการ อบรม: นักศึกษาพยาบาล สำ�นักวิชาพยาบาลศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ผู้โคชเยาวชน: อสม. เครือข่ายผู้ขยายผล: เครือข่ายยุวทัศน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่ง แวดล้อม ติดต่อขอหลักสูตรการอบรมและวิทยากร: สำ�นัก วิชาพยาบาลศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ โทร. 075-6721012 เครือข่ายยุวทัศน์ฯ 080-5208860 เล่าเรื่องโดย วนิชญา ฉันสำ�ราญ : เครือข่ายยุวทัศน์ฯ


รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้

“จิตอาสากำ�ลังสอง” เป็นส่วนหนึ่ง ของทีมงานอาสาสมัครสาธารณสุข บ้านพรุตะเคียน อำ�เภอท่าแซะ จังหวัดชุมพรที่ดูแลสุขภาพประชาชน ในชุมชน รวมทั้งเป็นคนกลางใน การสื่อสารข้อมูลสุขภาพระหว่างเจ้า หน้าที่สาธารณสุขและประชาชนใน ชุมชน ได้รับการพัฒนาศักยภาพอยู่ เสมอในทุกด้าน แต่สิ่งที่สำ�คัญกลุ่มนี้จะเป็นผู้ ที่มีใจเป็นจิตอาสาด้วยการเป็นคนที่ มีความเสียสละ อดทน ขยัน มอง

3

“จิตอาสากำ�ลังสอง” อสม. บ้านพรุตะเคียน

ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มีทุนทั้ง ในส่ ว นของความรู้ ก ารเรี ย นรู้ ร่ ว ม กัน มีการเติมเต็มอยู่เสมอและกำ�ลัง ทรัพย์ที่สนับสนุนบางส่วน มีทีม เป็นส่วนสำ�คัญในการทำ�งานให้งาน ประสบความสำ � เร็ จ เป็ น กลุ่ ม ที่ ร วม คนหัวใจเดียวกันมาทำ�งานร่วมกัน

ก า ร เ กื้ อ ห นุ น ด้ ว ย ผู้ ที่ เกี่ยวข้อง ทั้งครอบครัวจิตอาสา และหน่ ว ยวิ ช าการที่ ห นุ น เสริ ม ให้ กั บ จิ ต อาสาให้ เ ป็ น พลั ง ที่ จ ะทำ � ให้ เขาทำ � งานได้ อ ย่ า งมี คุ ณ ภาพและ ประสิทธิภาพ เล่าเรื่องโดย สมใจ ด้วงพิบูลย์

ร่วมยินดีกับ คุณลม้าย มานะการ รับรางวัล “ช่อดาวลดา” กป.อพช.ใต้ (NGOs ภาคใต้) มอบ “ช่อดาวลดา” ประจำ�ปี 2559 ให้แก่ นางสาวลม้าย มานะการ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2560 เพื่อเป็นเครื่องหมายความดีงาม องอาจและกล้าหาญ ในฐานะผู้อุทิศตนสร้างสังคมเป็นธรรม เยียวยาและเสริม สร้างพลังผู้หญิงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไม่ขลาด เขลาต่ออำ�นาจอิทธิพลใด ซึ่งปรากฏผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อ สาธารณชนตลอดหลายปีที่ผ่านมา ภาพ : พร้อมศักดิ์ จิตจำ� เนื้อหา : ศุภวรรณ ชนะสงคราม


4

“รู้ ้ เรืเรื่อ่องง เพื เพื่อ่อน” น” จดหมายข่ จดหมายข่าาวออนไลน์ วออนไลน์เเพืพื่อ่อพีพี่น่น้อ้องประชาสั งประชาสังงคมภาคใต้ คมภาคใต้ “รู

้ ต ใ ค า ภ ะ ว า ภ ข ุ ส ร า ส

อ ่ ื ส ก ั น ง า ้ สร

่ ม ห ใ น ่ ุ ร น ช ว า ย เ ง ั ล พ ย ว ้ ด งั คม

ล ส น อ ย ่ ี ล ป เ ด อ ไ ี ด ิด

กลุ่มละครมาหยา ศูนย์สื่อสาร เด็กไทยฯ เชื่อมั่นพลังคนรุ่น ใหม่ ผุดโครงการนักสื่อสาร สร้างสรรค์ไอเดียสุขภาวะ ‘คิด ดีไอดอล สื่อดีมีไอเดีย’ สสส. หนุนเสริมให้ทุนผลิตสื่อในพื้นที่ ปฏิบัติการ นายฮาริส มาศชาย ผู้จัดการ โครงการนั ก สื่ อ สารสร้ า งสรรค์ ไ อ เดียสุขภาวะ (คิดดีไอดอล สื่อดีมีไอ เดีย) เปลี่ยนสังคมด้วยพลังสื่อคนรุ่น ใหม่ เล่าว่า ได้เปิดรับสมัครเยาวชน ทั่วทั้งภาคใต้ที่สนใจเข้าร่วมเป็นนัก สื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะ โดยได้รับ เสียงตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากน้องๆ ทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษา อุดมศึกษา และน้องๆ กลุ่มเยาวชนทั่วไป กว่า 90 ทีม แล้วได้คัดเลือกเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้ายที่จะได้รับทุนหนุนเสริมให้ ผลิตสื่อในพื้นที่ปฏิบัติการ

ฮาริส มาศชาย

-2-

สำ � ห รั บ ป ร ะ เ ด็ น ที่ ก ลุ่ ม เยาวชนภาคใต้ได้นำ�เสนอครั้งนี้ ได้ นำ � เอาประเด็ น หลั ก จากข้ อ มู ล เวที งานเสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทย ให้น่าอยู่ ความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขภาคใต้ ที่มีความจำ�เป็น ต้องร่วมกันแก้ไข ได้แก่ ประเด็น เท่าทันสื่อ ประเด็นปัจจัยเสี่ยง และ ประเด็ น คุ ณ แม่ วั ย ใสหรื อ ท้ อ งไม่ พร้อม ซึ่งจากประเด็นดังกล่าว จึง ได้ ใ ห้ เ ยาวชนคนรุ่ น ใหม่ ไ ด้ ร่ ว ม ออกแบบในการสื่อสารผ่านปัญหาใน พื้นที่ชุมชนตนเองด้วยการผลิตสื่อที่ เหมาะสำ�หรับกลุ่มเป้าหมาย และวิธี การนำ�เสนอผ่านสื่อสร้างสรรค์ในรูป แบบสารคดีสั้น โฆษณา และหนัง สั้น รวมทั้งนำ�เสนอผ่านสื่อใหม่ เช่น ยูทูป เฟสบุ๊ค เป็นต้น ที ม ที่ ผ่ า นการคั ด เลื อ กจะได้ รับทุนสนับสนุน จำ�นวน 20,000 บาท มีโอกาสเข้าร่วมเวทีพัฒนา ทักษะและประเด็น จากวิทยากรทั้ง


รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้

3 ประเด็น และ 3 รูปแบบในการ สื่อสาร พร้อมความเป็นพลเมืองที่ พร้ อ มเปลี่ ย นแปลงสั ง คมในชุ ม ชน ของตนเอง ที่สำ�คัญเกิดการสร้าง เครือข่ายของนักสื่อสารสุขภาวะ นางสาวอมราวดี กุมาร จันทร์ หัวหน้าทีมนิเทศไมเนอร์ 69 มหาวิทยาลัยทักษิณ 1 ใน 20 ทีมไอดอลคิดดี ได้ให้สัมภาษณ์ ว่า “...รู้สึกดีที่ได้มีโอกาสนำ�เอาสื่อ ที่ เ ราใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการเรี ย น มาผลิ ต เป็ น สื่ อ ที่ มี คุ ณ ค่ า สร้ า งการ เปลี่ยนแปลง กลุ่มของพวกเราได้ เลือกประเด็นที่คิดว่ามีปัญหาในทุก สังคมก็ว่าได้ นั้นคือประเด็น รู้เท่า ทันสื่อ ในหัวข้อ ‘ไตร่ตรองสักนิด ก่อนคิดเสพสื่อ’ โดยใช้ลักษณะของ การใช้สัญญะแทนบุคคล เพื่อให้สื่อมี ความน่าสนใจ น่าคิดตาม และเราได้ นำ�สื่อตัวนี้ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายคือ น้องๆ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จำ�นวน กว่า 45 คน น้องได้ให้ความสนใจ เป็นอย่างมาก น้องๆ ที่ได้รับชมสื่อ มีการสนใจและร่วมแชร์สื่อที่ผลิตต่อ ไปยังโซเชียลของตนเอง นับจากวันนี้ ทีมเราก็จะกระจายสื่อตัวนี้ไปยังกลุ่ม เยาวชน บุคคลอื่นให้กว้างขวางยิ่ง ขึ้น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ได้มาก ที่สุด”

นายฮาริส มาศชาย ได้กล่าว เพิ่มเติมว่า ได้กำ�หนดจัดเวทีในการ สื่ อ สารสู่ ส าธารณะของนั ก สื่ อ สาร สร้างสรรค์สุขภาวะภาคใต้ โดยนาย ทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการ จังหวัดสงขลา ได้เป็นประธานในพิธี เปิด พร้อมด้วยการกล่าวต้อนรับ จากภาคีคนรักเมืองสงขลา ทั้งนี้ พื้นที่จังหวัดสงขลา พร้อมเปิดพื้นที่ สร้างสรรค์ในหลาดสองเล “สงขลา มหาสนุก” ในวันอาทิตย์ ที่ 14 เดือนพฤษภาคม 2560 ณ โรงสี แดง ถือเป็นการร่วมขับเคลื่อนให้ เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ในการสร้างสื่อ

5

ผ่านสื่อสุขภาวะ โดยเยาวชนรุ่นใหม่ ของภาคใต้ ในการคิดสร้างสรรค์สื่อ สู่ ก ารมองปั ญ หาสภาพจริ ง ในพื้ น ที่ และสู่การปฏิบัติการสื่อสารในพื้นที่ ปฏิบัติการชุมชน ยังเป็นการสร้าง คนรุ่นใหม่ไปพร้อมกับการทำ�หน้าที่ ของ “พลเมืองที่ดี” ตระหนักรู้ รับรู้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ที่เรียกว่า 3ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี เพื่อ ให้เกิดเป็น “นักสื่อสารสร้างสรรค์สุข ภาวะ” (Creative Communication for Health) ของภาคใต้ ซึ่งมีผู้ให้ ความสนใจเป็นจำ�นวนมาก

เล่าเรื่องโดย ฮาริส มาศชาย : กลุ่มละครมาหยา


6

“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้

เรื่องเล่าจากละแม

เวทีนี้ต้องมีพี่เลี้ยง

เสริมหนุนชุมชนน่าอยู่

เรื่องที่สามคือการทำ�หน้าที่ เป็นพี่เลี้ยง หรือ Coaching นั้น ไม่ง่ายเหมือนที่เวทีเขาว่า....ต้อง ลงพื้นที่นะ ต้องฟังเขาอย่างตั้งใจ นะ ต้องอดทน ต้องรอเวลาให้เขา ได้ เ รี ย นรู้ เ ข้ า ใจไปพร้ อ มกั บ เรา ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้..

ชุมชนน่าอยู่ที่ภาคใต้ มีการขับเคลื่อนหนุนเสริม ชุมชนหมู่บ้านให้น่าอยู่มาหลายกลุ่ม/เครือข่าย หลาย หน่วยงาน แต่ในส่วนของเครือข่ายสุขภาพภาคใต้นั้น ริเริ่มตั้งแต่ ปี พศ. 2545-2550 ภายใต้ชุดโครงการ ชุมชนเป็นสุขภาคใต้ (ดับบ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ดี ที่ปากใต้) ต่อมาหลังปี 2552 มีสถาบันการจัดการ ระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วย ประสานสนับสนุนโครงการฯ ส่งผลให้เกิดทีมพี่เลี้ยง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภาคใต้อีกรอบหนึ่ง จวบจนในปี พศ. 2559-2561 สำ�นักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รับผิด ชอบโดย สำ�นักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำ�นัก 6) ได้สนับสนุนให้สำ�นักพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ เป็นหน่วยประสานจัดการพื้นที่ชุมชนน่าอยู่ ภาคใต้ตอนบน และหน่วยจัดการอื่นๆ ในภาคใต้ ทีมประสานสนับสนุนวิชาการจังหวัดชุมพรหรือ ทีมพี่เลี้ยงชุมชนน่าอยู่ นำ�โดยป้าใจ (นางสมใจ ด้วง พิบูลย์ อดีตพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลท่าแซะ) ตาม ด้วยหมอแท้ง (นายวิษณุ ทองแก้ว ผอ.รพ.สต.คลองน้อย) และทีมสมาคมประชาสังคมชุมพร (ทวีวัตร เครือสาย, พัลลภา ระสุโส๊ะ, นิฮาฟีซา นิมะมิง, วิลาวัลย์ หวาน คง) ได้ทำ�หน้าที่เป็นพี่เลี้ยงหนุนเสริมให้ชุมชนหมู่บ้านใน พื้นที่ โดยเฉพาะทีมผู้นำ�ชุมชน ได้เข้าถึงโอกาสการเรียน รู้และพัฒนาขีดความสามารถตนเอง มีทรัพยากรในการ ขับเคลื่อนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ 20 ชุมชนหมู่บ้านใน จังหวัดชุมพร ในส่วนของทีมสมาคมประชาสังคมชุมพร นั้น ขอยกตัวอย่างพื้นที่อำ�เภอละแม ที่ได้ร่วมมือกับชมรม กำ�นันผู้ใหญ่อำ�เภอละแม สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอ ละแม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ในการคัด เลือกพื้นที่ โดยมีหลักเกณฑ์คือ มีผู้นำ�และทีมงานพร้อม

ดำ�เนินงาน มีแผนชุมชน มีโอกาสขยายผลในระดับตำ�บล และได้คัดเลือกหมู่บ้านนำ�ร่องเข้าร่วมโครงการฯ และทั้ง 4 ฝ่าย ร่วมมือกับคณะทำ�งานระดับหมู่บ้าน สร้างความ เข้าใจการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ จัดกระบวนการเรียนรู้ จัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะทั้ง 4 ด้าน ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เพิ่มเติมเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2559 จัด เวทีเรียนรู้/ทบทวนแผนชุมชนร่วมกันของ 4 หมู่บ้านใน อำ�เภอละแม เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 60 และจัดเวที ชุมชนวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาวะ และจัดลำ�ดับความ สำ�คัญปัญหาความต้องการของพื้นที่ จัดทำ�แผนชุมชนรู้ ตนเอง ศึกษาเรียนชุมชนต้นแบบรู้บ้านหัวลำ�ภู จังหวัด นครศรีธรรมราช เมื่อ 4-5 เดือนมีนาคม 60 และเข้า ร่วมเวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการชุมชนน่าอยู่ จำ�นวน 3 ครั้ง รวมทั้งการกลั่นกรองโครงการเมื่อเดือนเมษายนที่ ผ่านมา จากบทบาทการเป็นทีมพี่เลี้ยงชุมชนน่าอยู่ พื้นที่ อำ�เภอละแม จังหวัดชุมพร นั้นมีพื้นที่ชุมชนน่าอยู่นำ�ร่อง


รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้ 7 การขับเคลื่อนร่วมสร้างละแมน่าอยู่ ในระยะ 4 หมู่บ้าน พบว่ามีประเด็นร่วมกันของทั้ง 4 หมู่บ้าน คือปัญหาด้านเศรษฐกิจ : มีรายได้ไม่พอรายจ่ายและหนี้ ต้นของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนท้อง สินในครัวเรือน สาเหตุสำ�คัญจากครัวเรือนเกษตรส่วน ถิ่น รายได้ไม่พอรายจ่ายนั้น มุ่งเน้นส่งเสริมการผลิต ใหญ่ทำ�การเกษตรเชิงเดี่ยว มีต้นทุนการผลิตสูง ราคา อาหารปลอดภัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพ ผลผลิตตกตํ่า และวิถีการดำ�รงชีวิตามกระแสสังคม ได้มาตรฐานสู่ตลาดใต้เคี่ยมอำ�เภอละแม ซึ่งชมรมกำ�นัน ปัญหาด้านสังคม : ความเข้มแข็งของทีมผู้นำ�ชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน และภาคีพัฒนาต่างๆ ได้ร่วมกันยกระดับ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน ผลจากการ จากการขับเคลื่อนเครือตามรอยพ่อเพื่อพอเพียง ซึ่งขับ เปลี่ยนแปลงทีมผู้นำ�รุ่นใหม่เข้ามาบริหารจัดการหมู่บ้าน เคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือนชุมชนมากกว่า 3 หลังจากเลือกผู้ใหญ่บ้าน และปัญหาด้านสุขภาพ : โรค ปี มีผลผลิต สินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่ตลาดนัดใต้ เรื้อรัง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และมีผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ใน เคี่ยม (ตลาดวิถีวัฒนธรรมชุมชนอำ�เภอละแม) เป็นฐาน ขณะที่ระบบสุขภาพชุมชนยังไม่สามารถจัดการแก้ไขสุข การเชื่อมโยงหมู่บ้านนำ�ร่อง 4 หมู่บ้านคือ บ้านแหลม ภาวะได้เท่าทันสถานการณ์ ดังนั้นคณะทำ�งานหมู่บ้าน ดิน ตำ�บลสวนแตง บ้านทรายทอง ตำ�บลละแม บ้าน และของภาคีความร่วมมือ 4 ฝ่าย ได้มีฉันทามติร่วม หินลูกช้าง ตำ�บลทุ่งคาวัด บ้านช่องเอี่ยว ตำ�บลทุ่งหลวง กันขับเคลื่อนร่วมสร้างละแมให้น่าอยู่ โดยบูรณาการ และเชื่อมโยงขยายผลเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างกระบวนการ ร่วมกับ 47 หมู่บ้านในอำ�เภอละแม เรียนรู้ชุมชนสู่สัมมาชีพระดับครัวเรือนและชุมชน โดยได้ กำ�หนดแผนที่ผลลัพธ์ ปี 2560-2562 ดังนี้

ภาคีเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาร่วมสร้าง ละแมน่าอยู่ มีเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ ปี 2560-2562 โดยในปีที่ 3 2562 : ชุมชนน่าอยู่มีแหล่งเรียนรู้ที่ พร้ อ มขยายผลในระดั บ อำ � เภอและเชื่ อ มเครื อ ข่ า ยท่ อ ง เที่ยววิถีวัฒนธรรมชุมชน เป้าหมายเชิงผลลัพธ์ปีที่ 2 2561 : เกิดสัมมาชีพระดับครัวเรือน/ชุมชนที่หลาก หลายบนฐานทุนและทรัพยากร และเชื่อมโยงมิติการ พัฒนาด้านอื่นๆ (มีสัมมาชีพ คือ การลดรายจ่าย เพิ่ม รายได้ โดยไม่เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม) และเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ปีที่ 1 (2560) : เกิดสภาผู้นำ� ชุมชน และการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ครัวเรือน มี สินค้า/อาหารปลอดภัย ได้คุณภาพ ซึ่งนำ�หลักคิดการ มีสัมมาชีพและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทาง ปฏิบัติ และทิศทางการพัฒนาประเทศไทย ศาสตร์พระ ราชาสู่การพัฒนาที่ยังยืน

บทเรียนสำ�คัญของทีมพี่เลี้ยงชุมชนน่าอยู่ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา คือการได้ทบทวนกระบวนการเป็น พี่เลี้ยงภาคสนามอีกครั้งหนึ่ง ทำ�ให้เข้าใจและตระหนัก ต่อสถานการณ์สุขภาวะชุมชน ณ ปัจจุบันมากขึ้น ว่า ความจริงของชุมชน กับวาทกรรมในที่ประชุมนั้นต่าง กันมากมาย เรื่องที่สองคือได้มีโอกาสทบทวนและฝึกใช้ เครื่องมือที่ได้รับการอบรมจากที่ต่าง ๆ เช่นการจัดทำ� แผนชุมชน การจัดทำ�แผนที่ผลลัพธ์ ฯ เรื่องที่สามคือ การทำ�หน้าที่เป็นพี่เลี้ยง หรือ Coaching นั้นไม่ง่าย เหมือนที่เวทีเขาว่า....ต้องลงพื้นที่นะ ต้องฟังเขาอย่าง ตั้งใจนะ ต้องอดทน ต้องรอเวลาให้เขาได้เรียนรู้เข้าใจไป พร้อมกับเรา ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้....ฯ นี่คือหัวใจ สำ�คัญของพี่เลี้ยงชุมชน ต้องเรียนรู้จากชุมชน ฝึกฝน จากการปฏิบัติจริง ซึ่งโอกาสครั้งหน้า จะได้มีบทเรียน ใหม่ และรายละเอียดแต่ละชุมชนมาเล่าให้ฟังต่อไป.... เล่าเรื่องโดย ทวีวัตร เครือสาย : สมาคมประชาสังคมชุมพร


8

“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้

กั บภารกิจหนุนกระบวนการสร้างสันติภ าพ

การพั ฒ นาข้ อ เสนอแนะ เชิงนโยบายที่กำ�ลังทำ� ถ้าเน้น เฉพาะที่ ผ ลของงานให้ อ อกมา เป็ น เอกสารคงทำ � ได้ ไ ม่ ย ากและ ใช้เวลาไม่นาน แต่ ข้ อ เสนอครั้ ง นี้ จั ด ทำ � เป็นกระบวนการ เน้นให้ภาค ประชาสั ง คมมี บ ทบาทในการ กำ � หนดอนาคตที่ ต้ อ งการเห็ น ร่วมกัน

ในห้วงเวลา 12 ปีที่ผ่านมากับเหตุการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนใต้ที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน การก่อตัวขององค์กรประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ มีการขยายและเพิ่มขึ้นเช่นกันทั้งเชิงประเด็นและพื้นที่ทำ�งาน โดยหวังจะให้เหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวนั้นไปในทิศทางที่ ดีขึ้น หนึ่งในนั้นคือสภาประชาสังคมชายแดนใต้ สภาประชาสังคมชายแดนใต้ เกิดขึ้นตามมติของที่ ประชุมนักพัฒนาอาวุโสและนักกิจกรรมเพื่อสังคมในจังหวัด ชายแดนภาคใต้เพื่อเป็นองค์กรประสานงานกลางของเครือ ข่ายองค์กรภาคประชาสังคม ที่ดำ�เนินกิจกรรมพัฒนาสังคมใน พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2554 ปัจจุบัน มีนายมูฮำ�มัดอายุบ ปาทาน หรือบังอายุบ ที่ทุกคนรู้จักเป็น อย่ า งดี ด้ ว ยลี ล าท่ า ทางที่ เ ป็ น กั น เองและสร้ า งพลั ง ให้ ห มู่ ค น ทำ�งานภาคประชาสังคม ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานสภา มี คณะทำ�งานรวม 16 คน ได้ร่วมกำ�หนดยุทธศาสตร์ปี 2559 – 2561 ไว้ 3 ประการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างพื้นที่กลางและผลักดันเชิง นโยบาย (Common Space and Advocacy)


รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมพลัง (Empowerment) สร้างความเข้มแข็งและอำ�นาจการต่อรองให้กับภาคประชา สังคม และภาคประชาชนในทุกมิติ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การขยายเครือข่าย (Networking) (รายงานผลการดำ�เนินงานภายใต้โครงการการศึกษา 11 ปี บทบาทและพั ฒ นาการภาคประชาสั ง คมกั บ การขั บ เคลื่ อ น กระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ สภาประชาสังคมชายแดน ใต้, 2559) ทุกประเด็นการขับเคลื่อนงานของสภาประชาสังคม ชายแดนใต้มีกระบวนการสร้างสันติภาพเป็นจุดร่วมอยู่เสมอ ครั้งนี้ผมขอหยิบยกงานบางประเด็นมาเล่าสู่กันฟังครับ เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา สภาประชาสังคม ชายแดนใต้ได้จัดทำ�แผนที่ (Mapping) เครือข่ายองค์กรภาค ประชาสังคม จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงในการ ทำ�งานเป็นเครือข่าย การถักทอความสัมพันธ์ ผ่านกระบวนการ ทำ�กิจกรรมร่วมกันในรูปแบบเวทีสาธารณะ เปิดพื้นที่กลาง และพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุย เพื่อนำ�ไปสู่กระบวนการสร้าง วิสัยทัศน์ร่วมกันในอนาคตที่ภาคประชาสังคมในพื้นที่เป็นผู้ กำ�หนด จากผลการจัดเวทีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2559 พบ ว่า มี 75 องค์กรเข้าร่วมที่กระจายตัวในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี 32 องค์กร ยะลา 17 องค์กร และนราธิวาส 26 องค์กร แบ่งการทำ�งานได้ 12 ประเด็น ส่วนประเด็นร่วมที่แต่ละองค์กร ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ เห็นจะเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงไปสู่ การสร้างสันติภาพ อย่างเรื่องการสื่อสารเพื่อสร้างสันติภาพ การเรียนรู้เรื่องการสร้างกระบวนการสันติภาพในชุมชน โดย มี ข้ อ เสนอให้ ส ภาประชาสั ง คมชายแดนใต้ เ ป็ น องค์ ก รกลาง ในการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสนับสนุนให้องค์กร ภาคประชาสังคมได้เกิดกระบวนการเรียนรู้และมีส่วนร่วมต่อ กระบวนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ (รายงานผลการดำ�เนินงาน โครงการจัดทำ�แผนที่ (Mapping) เครือข่ายองค์กรภาคประชา สังคมจังหวัดชายแดนใต้ สภาประชาสังคมชายแดนใต้, 2559)

9

ทำ� ถ้าเน้นเฉพาะที่ผลของงานให้ออกมาเป็นเอกสาร คงทำ�ได้ ไม่ยากและใช้เวลาไม่นาน แต่ข้อเสนอครั้งนี้จัดทำ�เป็นกระบวน การ เน้นให้ภาคประชาสังคมมีบทบาทในการกำ�หนดอนาคตที่ ต้องการเห็นร่วมกัน” ปั จ จุ บั น ข้ อ เสนอเชิ ง นโยบายได้ เ สนอให้ กั บ สมั ช ชา สุขภาพไปแล้ว เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา สำ�หรับ รายละเอียด จะขออนุญาตเล่าสู่กันฟังในจดหมายข่าว “รู้เรื่อง เพื่อน” ฉบับถัดไป ท้ายสุดขอขอบพระคุณสถาบันชุมชนท้อง ถิ่นพัฒนา (LDI) และสำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมของสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ด้วยดีตลอดมา

และอี ก ประเด็ น ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั น ที่ ส ภาประชาสั ง คม ชายแดนใต้ให้ความสำ�คัญและขับเคลื่อนงานมานานกว่าหก เดือน คือจัดทำ�ข้อเสนอและผลักดันเชิงนโยบายอย่างมีส่วน ร่วม มีกระบวนการจัดทำ�เป็นไปอย่างเข้มข้น ให้ความสำ�คัญ กับการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและมีนักวิชาการช่วย สนับสนุนด้านวิชาการ บังอายุบ ได้กล่าวไว้ในเวทีประชุม วันที่ 5 มีนาคม 2560 ว่า “การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่กำ�ลัง

(ภาพจาก : http://www.deepsouthwatch.org)

เล่าเรื่องโดย รอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล และอานัติ หวังกุหลำ�


10

“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้

” ม อ เ ง ั “ ร ต ว า ้ ข & ” น ช ุ ม “ตลาดช ปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสเข้า ร่ ว มประชุ ม ในฐานะผู้ สั ง เกตการณ์ ก ารประชุ ม คณะ กรรมการขับเคลื่อนการดำ�เนินงานโครงการสานพลัง ประชารัฐพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสร้างชุมชนสุขภาวะ โครงการโดยความร่วมไม้ร่วมมือของสำ�นักงาน พัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด ตรัง เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง ซึ่งมีเป้าหมาย สำ � คั ญ ในการพั ฒ นากิ จ กรรมทางเศรษฐกิ จ ในชุ ม ชน การพัฒนาครัวเรือนชุมชนอาชีพเด่น การจัดตั้งกลุ่ม อาชีพ และจัดทำ�ศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากรูปแบบ ตลาดนัดชุมชน พบเรื่องสำ�คัญที่น่าสนใจตามแผนงานโครงการ คือ การพัฒนาตลาดเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ชุมชนจำ�นวน 3 ตลาด ได้แก่ - ตลาดชุมชน “เขา นา เล” ที่ ม.9 ต.โคกหล่อ อ.เมืองตรัง ที่จะเน้นเป็นตลาดค้าเนื้อแพะ อาหาร รวม ถึงผลิตภัณฑ์ชุมชน เน้นกลุ่มเป้าหมายพี่น้องมุสลิม - ตลาดชุมชน “ชมสวนควนเมา” ที่ ม.9 ต.ควน เมา อ.รัษฎา เน้นผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่ พืชผัก ไม้ผล ตามฤดูกาล - ตลาดชุมชน “วิถีชีวิตเศรษฐกิจริมเขา” ม.1 ต.ช่อง อ.นาโยง ผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่ พืชผัก ไม้ผล ตามฤดูกาล

เป็นเรื่องท้าทาย ที่ทำ�อย่างไรให้ตลาดแต่ละ แห่งมีจุดเด่น เอกลักษณ์ แตกต่าง จากตลาดนัดทั่วไป ที่มีแทบทั่วมุมเมือง ถ้าทำ�ได้ก็จะเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยน สินค้าระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคโดยเฉพาะกับคนตรัง อีกเรื่องสำ�คัญ คือ การพัฒนาแบรนด์ข้าว “เอม” ตรัง สำ�หรับข้าวท้องถิ่นของคนตรัง ที่ปลูกโดย คนตรัง เพื่อให้คนตรังได้กิน โดยตอนนี้มีเครือข่ายคน ทำ�นาในลุ่มนํ้าคลองนางน้อยกำ�ลังรวมตัว ช่วยฟื้น พันธุ์ข้าวท้องถิ่นในอดีต มีการผลิตข้าวที่ปลอดภัยกัน แล้ว แต่ยังขาดทักษะการตลาด การสื่อสารเรื่องราว คุณค่าของ “ข้าว” บ้านเรา ติดตาม และร่วมให้กำ�ลังใจการพัฒนาข้าว “เอม” ตรัง ไปด้วยกันน่ะครับ เล่าเรื่องโดย เชภาดร จันทร์หอม : ศูนยประสานงานภาคีพัฒนาตรังยั่งยืน

่าน อ า ม า ปห

!

บทเรียนพื้นที่ต้นแบการ จัดการระบบเกษตรและ อาหารที่ปลอดภัยจาก สารเคมีทางการเกษตร กฤษฎา บุญชัย

ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พบหนังสือนี้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารการประชุม จึงได้เปิดอ่าน เนื้อหาในเล่มประกอบด้วย ตัวอย่าง พื้นที่ต้นแบบการจัดระบบเกษตรปลอดภัย ตัวอย่าง พื้นที่ต้นแบบการจัดระบบอาหารปลอดภัย หนังสือ เล่ ม นี้ จ ะเป็ น ประโยชน์ ใ ห้ ผู้ อ่ า นได้ เ ห็ น ถึ ง จุ ด เริ่ ม ต้น แรงบัลดาลใจและสิ่งที่ภูมิใจ ปัญหาอุปสรรค การขยายเครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ ของพื้ น ที่ ต้ น แบบ เป็นการพัฒนาสุขภาพของคนให้มีความยั่งยืนต่อไป


รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้

‘แช่เท้า’ ด้วยสมุนไพร

เคล็ดลับสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวาน

11

กองทุน

เมล็ดพันธุ์ เพื่อการแบ่งปัน

ผู้ ป่ ว ยเบาหวานหรื อ กลุ่ ม เสี่ยงต้องดูแลสุขภาพตนเองและเฝ้า ระวังทั้งในเรื่องของดวงตา ไต และ เท้า (ตา-ไต-ตีน) ผู้ ป่ ว ยสามารถดู แ ลเท้ า ได้ ด้วยตนเอง คือการแช่เท้า ที่เริ่ม ตั้ ง แต่ ก ารเตรี ย มอุ ป กรณ์ ใ นการ แช่ ด้ ว ยการเตรี ย มต้ ม นํ้ า สมุ น ไพร ที่ประกอบด้วยไพร หอมแดง ใบ ส้มป่อย (ใบมะขาม) และอื่น ๆ หรือ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือนํ้าอุ่นอย่าง เดียวก็ได้ กะว่าไม่ร้อนเกินไป (ตาม ความอดทนของแต่ละคน) ขั้นตอนต่อไป ล้างเท้าให้ สะอาดแล้วแช่จนนํ้าเย็น เช็ดให้แห้ง และใส่ถุงเท้าในการเดินไม่ว่าจะอยู่ที่ บ้านหรือออกนอกบ้าน

การแช่เท้าช่วยให้เลือดไหล เวียนได้ดี ปลายเท้าไม่ชา ป้องกัน การเกิดอุบัติเหตุหรือแผลที่จะเกิดกับ เท้า ผู้ป่วยจะได้ไม่มีอาการเพิ่มมาก ขึ้น เป็นการลดโรคและลดค่าใช้จ่าย ทั้งผู้ป่วย ครอบครัวและหน่วยงาน ภาครัฐที่ให้บริการ แนวทางดังกล่าวเป็นเครื่อง มือหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย โรคเรื้ อ รั ง ของโรงพยาบาลท่ า แซะ จ.ชุมพร เพื่อให้เกิดการบูรณาการ ร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาเพื่อการ ดูแลผู้ป่วยให้เกิดประสิทธิภาพมาก ขึ้น และลดความแออัดจากการเข้า รักษาตัวของผู้ป่วยในโรงพยาบาล

เล่าเรื่องโดย สมใจ ด้วงพิบูลย์

อาชี พ หลั ก ของคนไทย จะมี วิ ถี ข องการเกษตรทำ � สวน ทำ�ไร่ อยู่อย่างพอเพียง แต่ด้วย สถานการณ์ นํ้ า ท่ ว มในหลาย จังหวัดของพื้นที่ภาคใต้ ทำ�ให้ แปลงผั ก ของคนในชุ ม ชนทั้ ง ที่ ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน ปลูก เพื่อจำ�หน่ายได้รับความเสียหาย มากมาย จึงต้องการเมล็ดพันธุ์ ผั ก เพื่ อ เริ่ ม ต้ น ปลู ก ในครั ว เรื อ น เช่น ผักบุ้ง พริก มะเขือ ถั่วพู พันธุ์ข้าว เป็นต้น ส่งมาค่ะ ที่ กลุ่มยุวชน สร้างสรรค์ 57/7 หมู่ที่ 5 ตำ�บลบางกุ้ง อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000 ติ ด ตามข้ อ มู ล ข่ า วสาร Facebook : กลุ่มยุวชน สร้างสรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ติดต่อประสาน อรอุมา (อุ๊ ) 086-9505595


12

“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้

เครือข่ายกัลยาณมิตร ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่มีพลัง อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ผู้สร้างแรงบัลดาลใจในการทำ�งาน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม กรุ ณ าเดิ น ทางมาเยี่ ย มให้ กำ � ลั ง ใจ การทำ�งานของเครือข่ายเพื่อนยุวชน สร้างสรรค์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้ ง นี้ อ าจารย์ มี โ อกาสลง เยี่ยมพื้นที่เมืองเก่าเวียงสระ พื้นที่ นี้ . ..กลุ่ ม เยาวชนสานศิ ล ป์ ถิ่ น เมื อ ง เวียง กลุ่มเยาวชนเมล็ดพันธุ์บันเทิง ครูภูมิปัญญา และผู้รู้ทั้งในและ นอกชุมชน ได้ร่วมศึกษาสืบค้น ประวัติศาสตร์เมืองเก่าเวียงสระ จน กระทั่ ง สามารถรวบรวมหลั ก ฐาน ข้อมูลทางประวั ติ ศ าสตร์และสิ่งดีที่ มีอยู่ในชุมชนด้านต่างๆ ทั้งประวัติ ความเป็นมา วัตถุโบราณ สถูป เจดีย์ เส้นทางเมืองเก่า ภูมิปัญญา (ช่างตีเหล็ก สมุนไพร หมอพื้นบ้าน) วัฒนธรรม ประเพณี ศิลปะการ แสดงพื้นบ้าน (หนังตะลุง มโนราห์ เพลงบอก) จากฐานภูมิความรู้ที่มีคุณค่า ส่ ง ผลให้ เ กิ ด การเชื่ อ มร้ อ ยพลั ง เพื่ อ พั ฒ นาชุ ม ชนบนฐานภู มิ ปั ญ ญาได้ อย่างน่าสนใจ

อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์

การมาเยี่ ย มของอาจารย์ ใ นครั้ ง นี้ . ..นอกจาก ให้กำ�ลังใจกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่แล้ว อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ เน้นยํ้าว่าการทำ�งานต้องเชื่อมร้อยเครือข่าย กัลยาณมิตรเพื่อร่วมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่มีพลัง การทำ�งานของกลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ในชุมชน

ที่หยิบยกเรื่องประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณี ความดีงามที่บรรพบุรุษได้ส่งทอดมานั้นเป็น เรื่องที่มีคุณค่า มีความหมายต่อเราทุกคน คนรุ่นใหม่ต้อง สนใจและใส่ใจเรื่องประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเพราะสิ่งนี้จะ เป็นพลังสำ�คัญในการรักษาผืนแผ่นดินที่งดงามของเรา เล่าเรื่องโดย อรอุมา ชูแสง : กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ สุราษฎร์ธานี


รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้

กลุ่ ม เยาวชนสานศิ ล ป์ ถิ่ น เมืองเวียง อำ�เภอเวียงสระ จังหวัด สุราษฎร์ธานี ใช้กระบวนการงาน วิจัยเพื่อท้องถิ่น ดำ�เนินงานวิจัย เรื่องการหารูปแบบและกระบวนการ ในการสืบทอดภูมิปัญญามโนราห์ซึ่ง มี เ ป้ า หมายเพื่ อ พั ฒ นาส่ ง เสริ ม คน รุ่นใหม่ให้ มีความรู้ความตระหนัก และสามารถสื บ ทอดศิ ล ปะการ แสดงมโนราห์ ใ ห้ ค งอยู่ กั บ ชุ ม ชน โดยเยาวชนมี ก ารเรี ย นรู้ จ ากครู ภู มิ ปั ญ ญาที่ ถ่ า ยทอดความรู้ ทั ก ษะ การแสดง เติมคุณธรรมจริยธรรม การเคารพครูให้กับลูกศิษย์ มีการ ต่อยอดเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับ เยาวชน

13

เยาวชนสานศิ ล ป์ ถ ิ ่ น เมื อ งเวี ย ง เรียนรู้โนรา สานสายใยชุมชน จากการที่ เ ยาวชนได้ เ รี ย น รู้ ทำ � ให้ เ กิ ด ความร่ ว มกั น สื บ สาน ศิ ล ปะการแสดงพื้ น บ้ า นมโนราห์ ทำ�ให้กิจกรรมที่ดำ�เนินการไม่ใช่แค่ กิ จ กรรมแต่ เ กิ ด เป็ น สายของความ สั ม พั น ธ์ ลู ก หลานมโนราห์ ที่ ยึ ด โยง ให้ผู้คนหลายรุ่นตั้งแต่รุ่นพ่อเฒ่าแม่ เฒ่า รุ่นลูกรุ่นหลาน ได้มีโอกาส มาพบปะและลอมวงคุ ย เรื่ อ งราว หั ว ใจเดี ย วกั น คื อ การสื บ สานศิ ล ปะ มโนราห์ ใ ห้ อ ยู่ คู่ ชุ ม ชนบ้ า นคลอง

เสียวได้ ซึ่งสิ่งที่คาดหวังให้ศิลปะ ที่ มี ค วามเชื่ อ ความศั ก ดิ์ แ ละการ เคารพบรรพบุรุพ สามารถดำ�รง อยู่ คู่ ชุ ม ชนต่ อ ได้ นั้ น คนที่ อ ยู่ ใ นรุ่ น หลานซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่จะต้องไม่ลืม มโนราห์

เล่าเรื่องโดย อรอุมา ชูแสง : กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ สุราษฎร์ธานี


14

“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้

! ! ี ด ง อ ข

ทุน

เพื่อพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิด โอกาสให้ผู้สนใจ ส่งข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมที่มุ่ง ผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ แก่เยาวชน และสังคม เพื่อขอรับการสนับสนุนเงิน จาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำ�ปี พ.ศ. 2560 วงเงินรอบแรก 100 ล้านบาท ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.mediafund.or.th และ https://www.facebook.com/THMediaFund/ ดาวโหลดแบบฟอร์มได้ที่ http://www.mediafund. or.th/news.html

เชิญอบรม <Health Info+Graphic Workshop : 3 อ. เพื่อการสื่อสารสุขภาพ> วันที่ 20 - 21 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ อ.เมือง จ.สงขลา


รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้

15

สสส. ชวนเข้าร่วมกิจกรรม

“พัฒนาศักยภาพด้าน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ” เชิ ญ ชวนเครื อ ข่ า ยด้ า นผลิ ต ภั ณ ฑ์ เพื่อสุขภาพ (ภาคใต้) ร่วมเรียนรู้แนวทาง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และความรู้ด้านการ ตลาดเบื้องต้น เพื่อนำ�ไปใช้กับผลิตภัณฑ์ ของตนเองและต่ อ ยอดโอกาสทางธุ ร กิ จ โดย SOOK by สสส. ร่วมกับ Creative Citizen เครือข่ายพลเมืองสร้างสรรค์ วันที่ 17 มิถุนายน 2560 9:00-17:30 น. ณ โรงแรม บุรีศรีภู อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http:// www.thaihealth.or.th/sook/activity-detail. php?id=93 สมัครฟรี ถึงวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ รับจำ�นวนจำ�กัดเพียง 30 ท่านเท่านั้น

เชิญร่วมทบทวนการเรียนรู้และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการใช้งาน Mind Mapping สำ � นั ก พั ฒ นาภาคี สั ม พั น ธ์ แ ละวิ เ ทศสั ม พั น ธ์ (สภส.) ขอเชิญชวนภาคีผู้ผ่านการอบรม หลักสูตร Basic Mind Mapping Workshop รุ่นที่ 1, 2, 3, 4 เข้า ร่วมทบทวนการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการนำ� Mind Mapping ไปใช้ในการปฏิบัติงาน/ชีวิต ประจำ�วัน ในหลักสูตร Follow Up Mind Mapping Workshop รุ่นที่ 1 : วันที่ 29 พฤษภาคม 2560 และ รุ่นที่ 2 : วันที่ 3 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซอยงามดูพลี ภาคีท่านใดสนใจ กรุณาติดต่อ...คุณเขมณัฐ (เม้ง) T. 082-329-3413 หรือ Email : thaihealth_buddy@thaihealth.or.th


16

“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้

ร่วมเติมเต็ม

ฐานข้อมูลองค์กรเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ

ล ู ม อ ้ ข ฐาน ภาคใต้

ิมสุขภาพ

สร้างเสร ย า ่ ข อ ื ร เค ร ก ์ องค

โครงการเชื่ อ มประสานภาคี เ ครื อ ข่ า ยสุ ข ภาพ ระดับภูมิภาค (ภาคใต้) ขอเชิญภาคีเครือข่ายด้านการ สร้างเสริมสุขภาพในภาคใต้จากทุกองค์กรในภาคใต้ ร่วม เติมเต็มข้อมูลองค์กรของท่านในฐานข้อมูลองค์กรเครือ ข่ายฯ เพื่อเป็นช่องทางให้เพื่อนภาคีได้เรียนรู้ ติดต่อ และ ประสานงานร่วมกันในระยะยาว โดยภายหลังจากทางโครงการฯ ได้รับข้อมูลจาก แต่ละองค์กรแล้ว จะได้พัฒนาเป็น “เอกสารรวบรวมฐาน ข้อมูลองค์กรฯ” แล้วจัดพิมพ์ จัดส่งกลับไปยังท่านต่อไป ร่วมกรอกข้อมูลผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ ได้ที่ goo.gl/kAkdOx หรือขอรับแบบฟิอร์มได้ที่ NIPON. RDH@GMAIL.COM

เชิญเผยแพร่กจิ กรรม จดหมายข่าวออนไลน์ “รู้เรื่องเพื่อน” โดยโครงการ เชื่ อ มประสานภาคี เ ครื อ ข่ า ยสุ ข ภาพระดั บ ภู มิ ภ าค (ภาคใต้) มีกำ�หนดออกเผยแพร่ทุกเดือนผ่านทางโซ เชียลออนไลน์ ขอเชิ ญ ทุ ก ท่ า นร่ ว มส่ ง บทความเพื่ อ นำ � เสนอการ ทำ�งานของท่าน เพื่อเผยแพร่ในจดหมายข่าวออนไลน์ “รู้เรื่องเพื่อน” ได้ที่ อีเมล์ NIPON.RDH@GMAIL.COM โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือโทร. 086 9608334

ที่ปรึ ก ษา กอง บรรณาธิ ก าร

อานนท์ มีศรี ทวีวัตร เครือสาย วนิชญา ฉันสำ�ราญ อานัติ หวังกุหลำ� สนั บ สนุ นให้ “รู ้ เ รื ่ อ งเพื ่ อน”

“รูเ้ รือ่ งเพือ่ น” จดหมายข่าวออนไลน์

พัลลภา ระสุโส๊ะ ชญานิน เอกสุวรรณ อรอุมา ชูแสง นิพนธ์ รัตนาคม เชภาดร จันทร์หอม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.