ทันตภูธรเล่ม2-54

Page 1

ทักทาย บรรณาธิการ

: ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ nithimar_or@yahoo.com

ผลอแปล๊บเดียวเวลาเดินทางมาถึงกลางเดือนสิงหาคม เดือนที่ 8 ของปีแล้วค่ะ ..เวลาช่างผ่านไปอย่าง รวดเร็วจริงๆ ลองคิดกันดูเล่นๆ ว่าในระหว่างช่วงเวลาของปี เดือน สัปดาห์ วัน ชัว่ โมง นาที และวินาทีนนั้ เราได้ผา่ นประสบการณ์ใดไปแล้วบ้าง เป็นประสบการณ์ดี ประสบการณ์รา้ ย ประสบการณ์สบายๆ หรือประสบการณ์ทไี่ ม่อยากจดจำ� แล้วประสบการณ์เหล่านัน้ สร้างความรูส้ กึ อย่างไรในใจเราบ้าง ความรูส้ กึ สุข ความรูส้ กึ ทุกข์ ความรูส้ กึ เฉยๆ ลองนัง่ คุยกับหัวใจตัวเอง ดูบ้างนะคะ ^^ ดิฉันเชื่อว่าทุกๆเรื่องราวในชีวิต สิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นย่อมดีเสมอ สิ่งใดผ่านไปแล้วสิ่งนั้นย่อมมีคุณค่าในการขัดเกลาจิตใจ ไม่ทางใดก็ทางหนึง่ เสมอ และการยอมรับตามความเป็นจริงนัน้ จะช่วยทำ�ให้มองเห็นความสุขในปัจจุบนั ของชีวติ ภายในจิตในใจของ ตนเองได้ง่ายดายอย่างที่สุดดุจมีน้ำ�บ่อน้อยๆคอยหล่อเลี้ยงดวงใจตนเอง ไม่ว่าวันเวลาจะแปรผันหรือเปลี่ยนผ่านสิ่งใดเข้ามากระ ทบจิตใจเรามากน้อยเพียงใดก็ตาม ความสุขไม่ได้อยู่ที่ไหนไกล ความสุขอยู่ใกล้ อยู่ในใจเรานี่เอง ด้วยความเป็นมนุษย์สุดสับสนอลเวง ก็มักจะสร้างความซับซ้อนของวิธีคิด ที่ปริงอกปรุงแต่งขึ้นตามเงื่อนไข ปมในใจ หรือ ประสบการณ์ที่สะสมซ้ำ�ๆของจิตคนที่วนเวียนเพียรเกิดมาแล้วหลายชาติภพ มนุษย์ส่วนใหญ่จึงเรียนชีวิตไม่เคยจบ สอบข้อสอบ ชีวิตซ่อมแล้วซ่อมอีกด้วยปัญหาเดิมๆ แต่ไม่เคยสอบผ่าน พบเจอบริบท หรือ scenarioแบบเดิมๆอีกแล้ว และก็จัดการให้ผ่านไป แบบดีๆไม่ได้อีกแล้วด้วย ..ทำ�ไมกันนะ อะไรทำ�ให้เราจัดการชีวิตตนเองไม่ได้จนเกิดความรู้สึกทุกข์ซ้ำ�ซาก ไม่มีใครอยากมีความ ทุกข์หรอกนะคะ และไม่มีใครพร้อมจะยอมรับอย่างหน้าชื่นอกตรมว่ากำ�ลังมีความทุกข์อยู่ด้วยค่ะ ซึ่งที่แท้เคล็ดลับดับทุกข์อย่าง ง่ายๆและงามๆของชีวิตมันอยู่ตรงนี้แหละค่ะ ถ้าเรายอมรับว่าตนเองกำ�ลังมีความทุกข์ในใจตามความเป็นจริงแล้ว ธรรมชาติของจิตใจจะมองหาสาเหตุแห่งความทุกข์นั้น และพยายามค้นหาแนวทางแห่งความสุขที่แท้และเหมาะสมกับตัวตนของเราให้จงได้ แถมเมื่อพบเจอร่มเงามุมสุขของใจได้บ้าง แล้ว ก็ยังช่วยสร้างภูมิกันความทุกข์ สร้างเขื่อนกั้นใจของเราไม่ให้เผลอไผลไหลตามกิเลสไปจนเกิดทุกข์ซ้ำ�ใหม่ได้อีกด้วยนะคะ ที่นี้ข้อสอบเก่าที่เราเคยทำ�ผิดคิดผิดจนเกิดทุกข์ในวันก่อนนั้นจะไม่ย้อนกลับมาให้เราทำ�ซ้ำ�อีกแล้วค่ะ เพราะสติจะช่วยสกัดขัดใจ ไม่ให้เลือกหยิบมาทำ�ซ้ำ�อีกนั่นเอง เมื่อไม่ได้เลือกก็ไม่ได้เริ่มฉะนั้นแล แล้วความสุขที่แท้และเหมาะสมดีงามกับตัวเรานั้นเป็นอย่างไรล่ะ สิ่งนั้นอาจเป็นรู้สึกดีๆที่ทำ�ให้จิตใจสบาย ความรู้สึกดีๆที่ เกิดขึ้นได้เองภายในใจเราเองโดยไม่ต้องแอบอิงพึ่งพิงคนอื่น ความรู้สึกรักอย่างอ่อนโยนและมองเห็นคุณค่าของตนเองอย่างลึกซึ้ง ความรู้สึกสงบนิ่งแต่พร้อมจะขับเคลื่อนชีวิตตนเองต่อไปได้ ข้ามผ่านความวิตกกังวลและลังเลใดๆ ซึ่งความรู้สึกดีๆเช่นนี้ไม่มีใคร ไหน จะมาชั่งตวงหรือวัดให้ใครได้หรอกนะคะ เราทุกคนมีมาตรวัดความรู้สึกดีๆที่เหมาะสมกับใจของเราเองค่ะ ซึ่งสิ่งนั้นอาจไม่ใช่ สิ่งที่ครอบครัวเราเรียกร้องให้เป็น ไม่ใช่สิ่งที่คนรักเราต้องการให้ทำ� ไม่ใช่สิ่งที่สังคมภายนอกใจเรานิยมชมชอบ แต่สิ่งนั้นคือสิ่งที่ หัวใจเรายอมรับความเป็นตัวเราเองได้อย่างแนบสนิท มีความสงบ เย็น และชุ่มชื้นด้วยเมตตาธรรมต่อตนเองและเพื่อนมนุษย์จาก ส่วนลึกภายในจิตใจอันมั่นคง ซื่อตรง และทรงพลัง ซึ่งหนทางแห่งความรู้สึกดีๆที่กลางใจตนเองนั้น ตรงกับหลักธรรมคำ�สอนเรื่องอริยสัจ4 ความจริงอันประเสริฐของพระพุทธ องค์ คือ ทุกข์-การมีอยู่ของทุกข์, สมุทัย-เหตุแห่งทุกข์, นิโรธ-ความดับทุกข์ และ มรรค-หนทางไปสู่ความดับทุกข์ นั่นเอง อริยสัจ4 มีคุณอันประเสริฐสำ�หรับทุกๆคนนะคะ หากแม้ท่านนับถือศาสนาอื่นนอกจากพุทธศาสนา ท่านก็ย่อมได้ประสบกับธรรมชาติแห่ง อริยสัจ 4 ด้วยเฉกเช่นเดียวกัน ถือเป็นปัจจัตตังสำ�หรับทุกชีวิต ในสังคมแห่งความทุกข์ซ้อนร้อนรน เราทุกคนต่างแสวงหาร่มเงาของสิ่งที่เรียกว่า “ความสุข” แต่วันเวลาที่ผ่านพ้นไปอย่าง รวดเร็ว พร้อมกับเรื่องราวหลายหลากที่ประดังประเดเข้ามาอย่างฉาบฉวย ก็อาจไม่ได้ช่วยให้ได้พบ ได้เจอ หรือแม้แต่ได้สัมผัสกับ ความรู้สึกสุขสงบที่แท้นั้นได้แม้ชั่วขณะวินาที ตราบใดที่ใจยังไม่มีตัวกรองที่ดีพอจะเลือกได้ว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะสมกับตัวตนของ เราอย่างแท้จริงกันแน่  1

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


สารบัญ ทันตภูธร 3 พระราชดำ�รัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 4 สายข่าวติวานนท์ โดย พี่แพร ณ.บางใหญ่ 6 ไกลเกินช่องปาก ลึกกว่าคอหอย : ทันตแพทย์ใช้ทุน

38 ปฎิบัติการเล่าฝันไม่กินหวาน

โดย หมอจุ้มจิ้ม 39 กิจกรรมงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สสพ. ค่าปรับไฉนต้องสัก 20 ล้าน โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ 41 ใครๆก็เข้าถึงการทำ�ฟันได้ 8 คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก โดย นางสาว ณธกมล รุ่งทิม โดย ทพญ.ดร.สุดาดวง กฤษฎาพงษ์ 43 ฟันคุด แบบพิเศษๆ 9 THE PHOTO โดย คุณหมอป๊อก 10 Jay-ac change the world : DENTAL CLINIC IN VIETNAM 45 ทันตแพทย์ชุมชนกับคนหูหนวก 11 ปิดทองหลังพระ โดย จิตตี้ ที่รัก โดย นักศึกษาทันตแพทย์ มช, 15 CPR “สุขกันเถอะเรา” 47 ความประทับใจจาก รพช.ป่าแดด จ.เชียงราย โดย หมอบัว ณ รพ.น่าน โดย นศ.ทพ.ศักดา ศรีรักษา 16 ช้างน้อย in น่าน 50 จุดประกายความคิด 20 คุยกับพี่เจน : ทำ�ฟันเด็กอย่าลืมคำ�นึงถึงเป้าหมายอันยาวไกล โดย ทพญ.ดร. มัทนา เกษตระทัต 22 ทันตภูธรกับประสบการณ์หลบระเบิด 52 ความสุขที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินภูฏาน โดย ทพญ.รุจิรา ภัทรทิวานนท์ โดย สุนฤพรจิตรา 25 สุขสร้างสรรค์จากสสส. : ความหวานในมิติทางประวัติศาสตร์ 55 มหกรรมรวมพลคนอยุธยารักษ์สุขภาพ โดย ทพ.ดร. สุปรีดา อดุลยานนท์ 56 เรื่องเล่า..จากภูอังลัง : “เปอร์” (อ่านว่า เป้อ) โดย หมอฟันไทด่าน 27 น้ำ�ตาลดีและน้ำ�ตาลแย่ โดย ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล 31 เมื่อน้อยหน่อย หนองบัวลำ�ภู ให้คะแนนอ่อนหวานตัวเอง 58 บอกบุญงานผ้าป่าสาธารณสุข โดย ทพ.สมนึก ชาญด้วยกิจ โดย ชิวเหรียญ 60 กรองใจท้ายเล่ม โดย ทพญ. บานเย็น ศิริกุลเวโรจน์ 33 ต่อยอดละอ่อนปัวอ่อนหวาน 62 แบบฟอร์มใบสั่งซื้อแปรงสีฟันสนับสนุนวารสารทันตภูธร โดย ทพญ.มยุเรศ เกษตรสินสมบัติ 63 แบบฟอร์มสมัครสมาชิกชมรมทันตสาธารณสุขภูธร 35 ภาคใต้รวมพลังอ่อนหวาน โดย ทีมเครือข่ายภาคใต้ ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร ● ประธานชมรมฯ : ทพญ. บานเย็น ศิริกุลเวโรจน์ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เลขที่ 161/1 ถนนรามวิถี ตำ�บลบ่อยาง อำ�เภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000 โทรศัพท์ 074 - 326091 ต่อ 107, 105 โทรสาร 074 – 311386 www.ruraldent.org , http://ruraldent-magazine.blogspot.com ● วารสารทันตภูธร ที่อยู่ 42/198 ซ.ติวานนท์ 38 ถ. ติวานนท์ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 083 – 4934543 ruralmax2007@ gmail.com ● บรรณาธิการ : ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ ● กองบรรณาธิการ : ทพญ.แพร จิตตินันทน์, ทพญ.วิโรชา เพียรเจริญ, ทพญ.สุรีรัตน์ สูงสว่าง, ทพญ.มยุรฉัตร ฉายอรุณ , ทพญ.รจิต จันทร์ประสิทธิ์ ● นักเขียนประจำ� : นพ.สุภทั ร ฮาสุวรรณกิจ, ทพญ.ศันสณี รัชชกูล, ทพ.ศิรเิ กียรติ เหลียงกอบกิจ, ทพ.ดร. สุปรีดา อดุลยานนท์, ทพญ.มยุเรศ เกษตรสินสมบัติ, ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล, ทพญ.ดร. มัทนา เกษตระทัต, ทพญ.ดร.สุดาดวง กฤษฎาพงษ์, นายอาจผจญ โชติรักษ์, ชิวเหรียญ, นางสาว ณธกมล รุ่งทิม, หมอจุ้มจิ้ม ● นักเขียนรับเชิญ : ทพ.สมนึก ชาญด้วยกิจ, หมอบัว ณ รพ.น่าน, ทพญ.รุจิรา ภัทรทิวานนท์, นศ.ทพ.ศักดา ศรีรักษา, ทีมเครือข่ายภาคใต้, คุณหมอป๊อก ●

วารสารทันตภูธร เป็นเวทีสาธารณะในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ข้อเขียนทั้งหมดรับผิดชอบโดยผู้เขียนข้อเขียนนั้นๆ มิได้เกี่ยวข้องกับชมรมทันตสาธารณสุขภูธร หรือ วารสารทันตภูธร 2

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


พระราชดำ�รัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมเวลา 17.30 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯออก ณ ห้องประชุม สมเด็จ พระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชัน้ 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาล ศิรริ าช พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้ นางสาวยิง่ ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำ�คณะรัฐมนตรี ซึง่ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ จำ�นวนรวม 36 คน เฝ้าฯ ถวายสัตย์ฯก่อนเข้ารับหน้าที่ ในการนีไ้ ด้พระราชทาน พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ตามที่ได้ปฏิญาณไว้ เพื่อความสำ�เร็จของบ้านเมืองดังนี้ “สำ�หรับงานของประเทศก็สาคัญ ที่ผู้ใหญ่จะแสดงตัวอย่างให้กับทุกคนในประเทศ เพื่อที่จะให้งานต่างๆ ดำ�เนินไปโดยดี ก็ขอให้ท่านทำ�งานตามที่ได้กล่าวปฏิญาณ และสามารถปฏิบัติตามความตั้งใจ ถ้าทำ�ได้แล้ว ท่านก็มีความพอใจที่ได้ปฏิบัติเพื่อประเทศชาติ และความสำ�เร็จของท่านในทุกวันที่ท่านทำ� จะเป็นผลสาเร็จ ทีด่ สี าหรับประเทศ และทุกคนในประเทศที่ ถ้าคนอยากจะให้มคี วามสำ�เร็จในทุกสาขา ก็ขอให้ทา่ นได้สามารถ ปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความเจริญมั่นคงของประเทศ ประเทศชาติจะต้องมีผทู้ ปี่ กครอง ผูท้ ที่ �ำ หน้าทีส่ งู สุด เพือ่ ให้ทกุ ส่วนของทัง้ งานของประเทศดำ�เนินไปโดยดี ก็ขอให้ท่านได้ทาตามที่ได้กล่าว เพื่อที่จะให้งานของประเทศดำ�เนินไปโดยดี และทั้งขอให้ท่านสามารถปฏิบัติ หน้าทีต่ ามทีไ่ ด้กล่าว ขอให้ทา่ นประสบความสำ�เร็จในงานการ ด้วยความมีผลสำ�เร็จท่านเองในส่วนตัวของท่านก็จะ มีความพอใจ ถ้าทาได้ตามทีท่ า่ นตัง้ ใจไว้ขอให้ทา่ นมีความสำ�เร็จในงาน และทำ�ให้บา้ นเมืองมีความสำ�เร็จตาม ที่ต้องการ ซึ่งประเทศไทยนั้นน่าจะมีได้ ในปัจจุบนั นี้ ในโลกนีม้ คี วามวุน่ วายอย่างยิง่ เมืองไทยยังมีความวุน่ วายน้อย ให้รกั ษาความสงบสุข รักษา ความสำ�เร็จที่ได้ทำ�มาแต่ปางก่อน ก็เชื่อว่า ท่านจะมีความสำ�เร็จได้แล้วจะมีความพอใจ ขอทุกท่านทางาน ด้วยความตั้งใจอย่างดีที่สุดเพื่อผลสำ�เร็จของบ้านเมืองในทุกสาขา ในทุกด้าน” 3

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


สายข่าวติวานนท์ โดย พี่แพร ณ บางใหญ่ prae001@gmail.com

ช่วงนี้กองทุนทันตกรรมปี 2554 กำ�ลังเดินหน้าเต็มพิกัด พี่น้องทันตบุคคลากรเราคง สนุกสนานกัน ตามที่ทำ�งานต่างๆก็ขอให้กำ�ลังใจเราทุกคนนะคะ

ผลการเลื อ กตั้ ง ปี 2554 พรรคที่ จ ะเข้ า มาเป็ น รั ฐ บาลได้ แ ก่ พ รรคเพื่ อ ไทย ช่ ว งระหว่ า ง การหาเสียงมีการ Debate นโยบายด้านสาธารณสุขระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ (ท่าน ฯ จุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์) และพรรคเพื่อไทย (ท่าน ฯ วิชาญ มีนชัยนันท์) ที่จัดโดยชมรม รพศ/รพท พรรคเพื่อไทยมีนโยบายว่า 1) จะย้ายกระทรวงสาธารณสุขออกจากกพ. (ปลดแอกเราทุกคน) 2) จะจัดความสัมพันธ์ระหว่าง สปสช. สสส. สช. และ ส.ต่าง ๆ กับกระทรวงสาธารณสุขใหม่ 3) ข้อเสนอ แนะจาก NGO จะได้รับการรับฟังจากกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเพื่อดำ�เนินการ จะเป็นการตัดสินใจจากกระทรวง ไม่ใช่จากการที่ NGO กดดัน ตอนนีพ ้ รรคเพือ่ ไทยได้รบั เลือกตัง้ มาแล้ว เราก็ลุ้นกันว่านโยบายที่ท่านแถลงการไว้จะสามารถทำ�ให้ถึงฝั่งฝันได้เมื่อไรกันนะคะ

พี่

น้องทันตาที่เรียนต่อเนื่องรุ่นแรกจะจบการศึกษา ประมาณปลายปี 2554 และความก้าวหน้าเรื่องการปรับ ตำ�แหน่งจากเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขเป็นนักวิชาการ (ทันตสาธารณสุข) ตอนนี้เรื่องติดอยู่ที่ฝ่ายพิจารณาและ รับรองคุณวุฒิ ของสำ�นักงานกพ. โดยสกอ.ส่งเรื่องมาให้ กพ.พิจารณาตั้งแต่มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 แล้ว พี่ศิริชัยได้ดำ�เนินการเต็มที่แต่ก็ยังไม่ได้ผลนัก (พวกเรา น่าจะออกจากกพ.ได้แล้วจริงๆนะ) เรือ่ งการเทียบโอนหน่วยกิตของทันตาฯทีจ่ บสาธารณ -สุขศาสตร์นั้น ในอนาคตเป็นไปได้มากว่า ท่านต้องลง เรียนต่อเรือ่ งวิจยั ชุมชนนิดหน่อย และจะสามารถเทียบโอน วุฒิของท่านได้(แต่ท่านที่จบวิทยาศาตร์หรือสุขศึกษาจะ เทียบโอนไม่ได้นะคะ) เรื่องนี้ท่านรองทิพาพรแจ้งว่า หาก 4

เมื่อไรเรื่องผ่านกพ. และกองการเจ้าหน้าที่ยอมรับ ตำ�แหน่งนักวิชาการ (ทันตสาธารณสุข) แล้วไซร้ การเดิน ต่อเรื่องการเทียบโอนไม่ยาก ไม่น่าจะนานเพราะเตรียม พร้อมแล้ว เรื่องความคืบหน้าส่วนการติดตามประเมินผลการ ทำ�งานกองทุนทันตกรรมนัน้ ในปีแรกการตรวจราชการรอบ 1 พบว่าจากรพสต.ทั้งหมด 9,770 แห่ง มีรพสต.เพียง 1 ใน 5 เท่านัน้ ทีม่ ที นั ตาภิบาล พีส่ ณ ุ ี วงศ์คงคาเทพ จึงได้จดั ประชุมเชิญตัวแทนสาธารณสุขอำ�เภอ ผอ.รพสต. พยาบาล และนักวิชากรจากรพ.สต. เพือ่ หารือในวันที่ 13-14 ก.ค. นี้ โดยตัง้ โจทย์ในการหารือ คือ 1) รพสต.ทีไ่ ม่มที นั ตาภิบาล สามารถจัดบริการส่งเสริมป้องกันพื้นฐานด้านทันต ฯ ได้อะไรบ้าง 2) ต้องการระบบสนับสนุนอย่างไร เช่น

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


การกำ�หนดเป็นนโยบายในระดับกระทรวง/ระดับจังหวัดที่ ชัดเจน? และ 3) ระบบงบประมาณทีส่ นับสนุนการจัดบริการ ใน รพ.สต.ราบรืน่ น่าจะเป็นอย่างไร? 4)การพัฒนาศักยภาพ เจ้าหน้าที่เพื่อรองรับในรพ.สต.ทำ�อย่างไรบ้าง 5) บทบาท บุคคลการต่างๆในการผลักดันงานทันตสาธษรณสุขทำ�ได้ อย่างไร บทบาททันตบุคลากรใน CUP บทบาทสาธารณสุข อำ�เภอ และบทบาทของกลุ่มงานทันตฯ ในสสจ.ใน การสนับสนุน เห็นว่าเมื่อได้ข้อสรุปเบื้องต้นแล้ว จะทำ� แบบสอบถามหารือกลุ่มที่เกี่ยวข้องได้แก่กลุ่มสสอ. ผอ.รพ.สต. ทันตแพทย์สสจ. และ CUP อย่างทั่งถึงก่อน สรุปเป็นแนวทางที่จะประสาน สปสช.ต่อไป ขณะเดียว พีส่ ณ ุ ี กำ�ลังประสานพืน้ ทีท่ งั้ ศูนย์เขตและสสจ.ทุกจังหวัดใน การจัดทำ�ยุทธศาสตร์สขุ ภาพช่องปากระดับเขตและจังหวัด โดยจัดประชุมในช่วง 26-27 ก.ค.นี้เช่นกัน งานนี้คงต้อง ประสานสรรพกำ�ลังร่วมด้วยช่วยกันให้เกิดยุทธศาสตร์ใน แต่ละพื้นที่ให้ได้ จังหวะการทำ�คือ ก.ค.-ธ.ค. 2554 เห็น ว่าแต่ละเขต เริ่มลงมือทำ�ด้วยความเร็วไม่เท่ากัน แต่ อย่างไรเสียเริม่ ปี 2555 เราคงมียทุ ธศาสตร์ของแต่ละพืน้ ที่ ใช้เป็นทิศทางในการกำ�หนดกรอบการจัดทำ�แผนกองทุน ทันตกรรมในระยะ 5 ปี เรื่องของระบบข้อมูลข่าวสารทันตสาธารณสุขนั้น เจ้าพ่อจารุวฒ ั น์ทา่ นไปนำ�เสนอกับสปสช.ว่าในนอนาคตเรา จะแบ่งข้อมูลทันตสาธารสุขเป็น 4 ส่วนใหญ่ได้แก่ 1) ข้อมูลการบริการทันตกรรม ข้อมูลส่วนนีจ้ ะถูกดึง จากแฟ้มมาตรฐาน (ปัจจุบันที่ใช้ คือ 18 แฟ้ม) โดยปรับ

5

ไปใช้รหัสการรักษาเป็น ICD 10 TM ทั้งระดับ รพ. และ รพ.สต. เพื่อให้มีรายละเอียดเพียงพอกับการใช้ประโยชน์ ของข้อมูล ในระดับ รพ.ต้องมีการเตรียมการปรับเปลี่ยน โปรแกรมของ รพ. (ไม่ใช่โปรแกรมเฉพาะของทันตฯ) ให้งานทันตกรรมบันทึกรหัสหัตถการเป็น ICD 10 TM รวมทั้งท่านๆควรไปศึกษากันล่วงหน้านะคะ 2) ข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพ ส่วนนี้จะแบ่งเป็น การตรวจตามเป้าหมายกองทุนทันตกรรม กับการสำ�รวจ สภาวะทันตสุขภาพประจำ�ปี มีแนวดำ�เนินการว่าจะขอ ความร่วมมือกับผู้ดูแลโปรแกรมที่มีผู้ใช้มาก (เช่น ระดับ รพ. Hosp XP, Hosp OS ระดับ รพ.สต. JHCIS , Hosp PCU) ให้เพิ่ม ส่วนข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพเข้าไปในตัว โปรแกรม เพื่อเป็นการไม่เพิ่มโปรแกรมใช้งาน นอกจาก นี้ได้มีการผลักดันแฟ้มมาตรฐานสภาวะทันตสุขภาพ ให้ สนย. ซึง่ ในปี 2554 ทางสนย. กำ�ลังทบทวนปรับปรุงแฟ้ม มาตรฐานอยู่ 3) ข้อมูลบริการส่วนที่ไม่ได้กับบุคคล เช่นการจัด นิทรรศการ การสำ�รวจปริมาณฟลูออไรด์ และข้อมูลการ ทำ�งานส่วนสสจ.ต่างๆ 4) ข้อมูลทรัพยากร ได้แก่ คน ครุภัณฑ์ งบประมาณ ต่างๆที่ใช้ในการทำ�งาน ทัง้ 4 ระบบจะทำ�การพัฒนาเป็น web base ส่วนที่ 1 และ 2 ใช้การส่งออกข้อมูลเพือ่ ส่งเข้าระบบ มีกำ�หนดการ พัฒนาระบบข้อมูลทันตสาธารณสุขในปี 2555 และใน ปี 2556 จะเริ่ม implement ในทุกพื้นที่นะคะ เรื่องจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการสร้างเสริม สุขภาพนัน้ มีเป้าหมายใหญ่โตคือการเปลีย่ นค่านิยมของ สังคมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ทำ�ให้ พ่อแม่หันมาแปรงฟันลูก ในปีแรกนี้เขาจะมีการออกสื่อ ในโทรทัศน์ช่วงเดือนกันยายนและพวกเราจะทำ�กิจกรรม ในพื้นที่กันช่วงเดือนตุลาคม ผลลัพธ์จะได้มากน้อยแค่ ไหนในปีแรก เราก็จะไม่วา่ กัน จะทำ�ต่อไปโดยหวังว่าคงมี สักวันประชาชนจะแปรงฟันน้ำ�นมของลูกๆเองค่ะ 

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ไกลเกินช่องปาก ลึกกว่าคอหอย ทันตแพทย์ใช้ทุน ค่าปรับไฉนต้องสัก 20 ล้าน โดย นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

นั

บเป็นเวลา 38 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ.2516 ที่ประเทศไทย ริ เ ริ่ ม ให้ มี แ พทย์ ใ ช้ ทุ น ไปทำ � งานในชนบทเป็ น เวลา 3 ปี เป็นเพราะว่า ช่วงเวลานั้นช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท ห่างกันไกลมาก แม้ว่าชนบทในวันนี้ห่างไกลจากชนบทเมื่อ 38 ปีกอ่ นอย่างคาดไม่ถงึ แต่ชอ่ งว่างด้านการรักษาพยาบาล ที่มีอยู่ก็ยังถ่างออกเรื่อยๆเช่นกัน สำ�หรับสุขภาพช่องปาก ก็ไม่แตกต่างกัน การใช้ทุนของแพทย์ทันตแพทย์ คือการคืนทุนเพื่อรับใช้สังคม การเรียกทันตแพทย์ใช้ทุนนั้นอาจทำ�ให้เกิดความเข้าใจที่ผิดกับคนทั่วไป การเรียนแพทย์ทันตแพทย์นั้นไม่มีการให้รับทุนที่เป็นตัวเงินเหมือนทุนของ โรงเรียนนายร้อยหรือโรงเรียนพยาบาลเพราะค่าเทอม ค่าเสื้อผ้า ค่าหนังสือ ค่าอาหาร สารพัดค่าใช้จ่ายทางตรงล้วนต้องจ่ายเองทั้งสิ้น แต่ที่เรียกว่า ทั น ตแพทย์ ใ ช้ ทุ น ก็ เ พราะ การเรี ย นทั น ตแพทย์ เ ป็ น การ เรียนการสอนที่ใช้ทรัพยากรของหลวงอย่างมาก ทั้งอาคาร สถานที่ อาจารย์ทนั ตแพทย์กไ็ ด้เงินเดือนจากภาษีประชาชน ทั น ตแพทย์ ช่ ว ยดู แ ลอยู่ แต่ ผู้ ป่ ว ยที่ ย อมอุ ทิ ศ ร่ า งกายมา การสั่งใช้ยา การทำ�หัตถการต่างๆ ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่มอง ให้ทันตแพทย์ฝึกหัด ไม่ว่าจะโดยจำ�ยอมหรือยินดีก็ตาม ไม่เห็นในการเรียนการสอนทั้งสิ้น เมื่อใช้ทรัพยากรหลวง ล้วนแต่เป็นผู้ป่วยที่มีฐานะไม่ได้รำ�รวย ส่วนใหญ่เป็นคนจน อย่างมหาศาลในการสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาจากเด็กมัธยม ใช้สิทธิบัตรทอง บางคนก็ทำ�งานพอเลี้ยงชีพ คนมีฐานะหรือ กะโปโลจนได้ เ ป็ น ทั น ตแพทย์ จึ ง ควรต้ อ งกลั บ ไปรั บ ใช้ คนไข้ในโรงพยาบาลเอกชน แทบจะหาไม่ได้ทจี่ ะยอมมาเป็น สั ง คม ดู แ ลประชาชนด้ ว ย จึ ง มี ก ารกำ � หนดกติ ก าให้ ครูให้นักศึกษาทันตแพทย์เด็กๆได้เรียนรู้ ฝึกฝน ลองผิดลอง ทันตแพทย์ต้องมีการใช้ทุน 3 ปี เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน ถูกจนจบปริญญา ซึ่งแท้จริงแล้วมีมูลค่ามหาศาล จนไม่อาจ เช่นเดียวกับแพทย์ ตีค่าเป็นเงินได้ ทุ น ในการเรี ย นทั น ตแพทย์ ที่ สำ � คั ญ ที่ สุ ด ที่ นั ก ศึ ก ษา การใช้ทุนของทันตแพทย์ จึงเป็นหัวใจของการคืนทุน ทั น ตแพทย์ แ ต่ ล ะคนได้ รับ ไม่ ใ ช่ เ งิ น แต่ คื อ การที่ ผู้ ป่ ว ย ตอบแทนผูป้ ว่ ยตอบแทนประชาชนและสังคม ทีไ่ ด้อนุเคราะห์ หลายร้ อ ยหลายพั น คนยอมให้ นั ก ศึ ก ษาทั น ตแพทย์ ขู ด ให้ทันตแพทย์ได้เรียนรู้ ใช้ทรัพยากรในการฝึกฝน ใช้ภาษี อุ ด ถอนฟั น จริ ง ๆของเขาเป็ น ครั้ ง แรกๆในชี วิ ต ทั้ ง ๆที่ มื อ จำ�นวนมาก จนมีวิชาชีพที่จะสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวให้ ยังสั่นอยู่ ทำ�ฟันลูกสุดที่รักของเขาเป็นรายแรกๆโดยไม่มี เป็นคนมีฐานะมีเกียรติในสังคม แม้ทนั ตแพทย์สว่ นใหญ่จะมี ประสบการณ์ ผ่ า ตั ด แคะรากเป็ น รายแรกที่ ทำ � ให้ ร ะยะ สำ�นึกของการใช้ทนุ อยูแ่ ล้วโดยไม่ตอ้ งบังคับ แต่ทนั ตแพทย์ เวลาการผ่าตัดยาวนานกว่าที่ควรจะเป็น รวมทั้งการสั่งใช้ อีกกลุม่ ใหญ่ ก็พร้อมทีจ่ ะไม่ใช้ทนุ หากไม่มกี ารบังคับ ออกไป ยาโดยที่ยังอ่อนประสบการณ์ แม้ทั้งหมดนี้จะมีอาจารย์ ทำ�งานในโรงพยาบาลเอกชนหรือโรงพยาบาลใหญ่ในเมือง 6

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


เป็นทันตแพทย์ที่ดี สร้างเนื้อสร้างตัว ตามวิถีทุนนิยมและ บริโภคนิยม การบังคับให้ทันตแพทย์ต้องใช้ทุน เกิดขึ้นมาเพื่อการ แก้ ไ ขปั ญ หาสมองไหลและการขาดแคลนในชนบทของ ประเทศไทย หากไม่ไปใช้ทนุ ต้องจ่ายค่าปรับสูงถึง 400,000 บาท ในสมัยนั้น ซึ่งนับเป็นนวตกรรมทางสาธารณสุขที่สำ�คัญ ยิ่งประการหนึ่ง และได้ทำ�ให้การกระจายตัวของทันตแพทย์ ในประเทศไทยสู่พื้นที่ชนบทรวมทั้งโรงพยาบาลของรัฐใน ต่างจังหวัดดีขึ้นตามลำ�ดับ ความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรขึ้นค่าปรับสำ�หรับแพทย์ และทันตแพทย์ที่ไม่ประสงค์จะใช้ทุนนั้น มีอยู่ในระดับที่สูง แล้ว ความแตกต่างทางความคิดอยู่ที่ตัวเลขเงินค่าปรับที่จะ กำ�หนดขึน้ มาใหม่แทนจำ�นวนเงินค่าปรับ 400,000 บาททีใ่ ช้ มาตั้งแต่ปี 2516 คือจุดที่ยังมีการถกเถียงกันอยู่ ตัวเลขใหม่ ควรอยู่ที่เท่าใด เอาเกณฑ์อะไรมาคิด ในขณะนีก้ รอบความคิดในวิชาชีพค่อนข้างจะเอาตัวเลข ที่เป็นทางการที่เริ่มได้รับการพูดถึงมี 2 ตัวเลขคือ 1. ค่ า เทอมตลอด 6 ปี ข องคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นคณะแพทยศาสตร์เอกชนแห่ง เดียวมาคิด ค่าเทอมแพทย์รังสิต ปีละ 350,000 บาทรวม 6 ปี รวม 2,100,000 บาท เมื่อเทียบกับเงิน 400,000 บาท ที่ต้องใช้ทุนเดิม ก็จะเป็นเงินที่เพิ่มขึ้น 5.25 เท่า 2. งบประมาณรายหัวของนักศึกษาในโครงการผลิต แพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้รับ งบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นรายหัวหัวละ 300,000 บาท/ปี รวม 6 ปี เป็นเงิน 1,800,000 บาท เมื่อเทียบกับเงิน 400,000 บาททีต่ อ้ งใช้ทนุ เดิม ก็จะเป็นเงินทีเ่ พิม่ ขึน้ 4.5 เท่า อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปมองจำ�นวนเงิน 400,000 บาท ในอดีตเมื่อ 38 ปีที่แล้ว เงินจำ�นวนนี้มีค่ามากมายเพียงใด ดัชนีชาวบ้านที่ง่ายที่สุดได้แก่ - ราคาทองคำ� ในปี 2516 บาทละ 400 บาท ปัจจุบัน ทองคำ�ราคาบาทละกว่า 20,000 บาท เพิ่มขึ้น 50 เท่า หรื อ หากคิ ด ในฐานคิ ด ของราคาทองคำ � ที่ ส ะท้ อ นอั ต รา เงินเฟ้อ ค่าปรับการไม่ใช้ทุนก็ควรจะเป็น 20 ล้านบาท - ราคาน้ำ�มันดิบ ในปี 2516 บาร์เรลละ 3 ดอลลาร์สหรัฐ 7

ปัจจุบันราคาประมาณ 120 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล เพิ่ม ขึ้น 40 เท่า หรือหากคิดในฐานคิดราคาน้ำ�มันดิบที่เพิ่มขึ้น ค่าปรับการไม่ใช้ทุนก็ควรจะเป็น 16 ล้านบาท - ราคาก๋วยเตี๋ยว ในปี 2516 ชามละ 3 บาท ปัจจุบัน ชามละ 30-40 บาท เพิ่มขึ้น 10-13 เท่า หรือหากคิดใน ฐานคิดราคาก๋วยเตี๋ยว ค่าปรับการไม่ใช้ทุนก็ควรจะเป็น 4-5 ล้านบาท และที่สำ�คัญ ปี 2516 เป็นปีแรกที่มีการกำ�หนดค่าแรง ขั้นต่ำ� ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนค่าของเงินที่ดีที่สุดตัวหนึ่ง ในปั จ จุ บั น โดยประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบั บ แรก เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ� ประกาศฉบับที่ 1 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2516 ให้พื้นที่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี กำ�หนดค่าแรงขั้นต่ำ�ที่ 12 บาท ปัจจุบันค่าแรงขั้น ต่ำ�ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ประกาศใช้ 1 มกราคม 2554 อยู่ท่ี 215 บาท เพิ่มขึ้น 18 เท่า หรือหากคิดในฐานคิด การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ�นี้ ค่าปรับการไม่ใช้ทุนก็ควรจะเป็น 7.2 ล้านบาท จะเห็นได้วา่ การนำ�ฐานคิดจากค่าเทอมของมหาวิทยาลัย รั ง สิ ต หรื อ งบประมาณในการผลิ ต แพทย์ ข องกระทรวง สาธารณสุขมาคิด ซึ่งทำ�ให้ตัวเลขการปรับการไม่ใช้ทุนจะ อยู่ที่ ประมาณ 2 ล้านบาท แต่หากนำ�มูลค่าตามเจตนารมณ์ เดิมของการกำ�หนดให้แพทย์ทันตแพทย์ต้องมีการใช้ทุน ที่ได้กำ�หนดค่าปรับสูงถึง 4 แสนบาท ก็ควรที่จะเพิ่มค่าปรับ อย่างน้อย 7.2 ล้านบาท หรืออาจสูงถึง 10 ล้านบาทก็ไม่ได้ เป็นปัญหาอะไร เพราะหากแพทย์และทันตแพทย์จบใหม่ ออกไปปฏิบัติงานใช้ทุนครบ 3 ปี ก็ไม่ต้องเสียเงินค่าปรับ แม้แต่บาทเดียว ปัจจุบันค่าปรับใช้ทุนเพียง 4 แสนบาทนั้นเล็กน้อยจน แทบจะซื้อรถยนต์คันเล็กๆสักคันยังไม่ได้ แล้วค่าปรับไม่ ใช้ทุนเท่าไรจึงเหมาะสม สัก 20 ล้านสำ�หรับการใช้ทุน 3 ปี ตัวเลขนี้ ทันตแพทย์พอจะรับไหมไหว 

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (Oral health-related quality of life: OHRQoL) ตอนที่ 2 รศ.ทญ.ดร. สุดาดวง กฤษฎาพงษ์

เป้าหมายในงานทันตกรรม คืออะไร

ได้

ยินอยู่บ่อยๆ นะคะ ทำ�นี่ทำ�โน่นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ถามจริ ง ๆ เถอะ คิ ด เองเออเองหรื อ เปล่ า ได้ วั ด คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ เปลี่ยนไปแล้วหรือ มีหลายการรักษานะคะ ทัง้ ในวงการแพทย์และทันตแพทย์ทงี่ าน วิจัยพบว่าไม่ได้ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย สิ่งที่ทันตแพทย์ทำ�เป็นปกติในการประเมินการรักษา (จริงๆ ทุกขั้นตอนเลยนะคะ ตั้งแต่ การวินิจฉัย การตัดสินใจรักษา และ การประเมินผล) คือการประเมินในระดับคลินิก หมายถึง การตรวจ ในปาก ใช้เครื่องมือต่างๆ นานาวัดความต่างๆ นานาในปากผู้ป่วย พอความต่างๆ นานานั้นเปลี่ยนไป ในทางที่เรากำ�หนดว่านัน่ คือดีขน้ึ เราก็วา่ การรักษาของเราประสบความสำ�เร็จ จริงๆ การวัดคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากมันมีอยูแ่ ล้ว แบบอัติโนมัติในทันตแพทย์ดีๆ ที่ใส่ใจความรู้สึกผู้ป่วยค่ะ คือ ถาม เขาถึ ง ปั ญ หาในการใช้ ชี วิ ต ที่ ม าจากความผิ ด ปกติ ข องปากเขา และความสำ�เร็จของงานก็คือ เขาใช้ชีวิตได้ดีขึ้นหลังการรักษาค่ะ นั่นแหละ เป้าหมายของงานทันตกรรม หลายครั้งที่การประเมินทางคลินิกเป็นที่พอใจของทันตแพทย์ แต่ ผู้ ป่ ว ยไม่ เ ห็ น พอใจด้ ว ย ถ้ า ทั น ตแพทย์ ไ ม่ ส นใจแล้ ว จบแล้ ว งานฉัน ก็จบเห่นะคะ หรือบางทีทันตแพทย์ประเภท perfectionist แก้แล้วแก้อีก ขาดไปมิลเดียว ผู้ป่วยโอเคแล้ว ก็ยังทนไม่ได้ คือ ถ้ า ความไม่ perfect นั้ น มั น ไม่ นำ � ไปสู่ ปั ญ หาบานปลายต่ อ ไป (ตามหลักฐานงานวิจัยที่น่าเชื่อถือได้นะคะ) ก็ช่างมันบ้างเถิดค่ะ เพราะเป้าหมายสำ�คัญที่สุดไม่ได้อยู่ที่ clinical level แต่ quality of life level เวลาประเมินผลการรักษา น่าจะได้ก�ำ หนดเป็นมาตรฐานให้ถาม ผูป้ ว่ ยถึงความรูส้ กึ ความพอใจ การใช้ชวี ติ ฯลฯ หลังการรักษานะคะ 8

ตอนเรียนก็มีแต่ให้ผู้ป่วยอ้าปาก วัดนั่นวัดนี่เท่านั้น นักศึกษา พอใจ อาจารย์พอใจก็ผ่าน requirement ลองให้ความใส่ใจกับความรู้สึกผู้ป่วยมากขึ้น ถามเขา ทั้งก่อนและหลังรักษา แล้วใช้เป็นเกณฑ์สำ�คัญในการประเมิน การรักษา ปัจจุบันมีหลายท่านนำ�ดัชนีเป็นเรื่องเป็นราวมาใช้ ก็ดจู ริงจังดีคะ่ ทีใ่ ช้กนั มากๆ ได้แก่ OIDP (oral impacts on daily performances) และ OHIP (oral health impact profile) index คร่าวๆ นะคะ OIDP ถาม 8 ข้อ ได้แก่ การกิน การทำ�ความสะอาด ช่องปาก การพูด การพักผ่อนนอนหลับ การรักษาอารมณ์ การยิม้ การศึกษาหรือทำ�งาน การเข้าสังคม ส่วน OHIP มี 49 ข้ อ ค่ ะ จำ � นวนข้ อ เยอะแต่ แ ต่ ล ะข้ อ ถามเร็ ว กว่ า ถ้ า สนใจ หาอ่ า นได้ เ ยอะแยะค่ ะ ถ้ า ไม่ ต้ อ งทำ � วิ จั ย คิ ด เองทำ � เอง ได้ เ ลยค่ ะ กำ � หนดให้ ต้ อ งถามผู้ ป่ ว ยด้ ว ยถึ ง ความรู้ สึ ก อาการ การใช้ ชี วิ ต ฯลฯ นอกเหนื อ ไปจากการประเมิ น ทางคลิ นิ ก ที่ ทำ � อยู่ ทั้ ง ในการตั ด สิ น ให้ ก ารรั ก ษา และ การประเมิ น ผล แต่ ถ้ า จะทำ � วิ จั ย เพื่ อ ประเมิ น ผลการ รั ก ษา ขอเถอะค่ ะ ความสำ � เร็ จ ของงานไม่ จ บแค่ ผ ลลั พ ธ์ ในระดับคลินิกนะคะ 

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ปัจจุบัน...อาหารกินเร็วจากหลายสัญชาติ ถูกทำ�ให้กลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ เป็นวัฒนธรรมในสังคมไทย... ภาพนี้พยายามสะท้อนความเป็นขั้วตรงข้ามโดยใช้อาหารฟาสต์ฟู้ดยี่ห้อหนึ่งที่มีสีแดงเข้มเป็นตัวแทน สะท้อนผ่านหยดน้ำ�...ตัดกับเถาสีเขียวในธรรมชาติ... ที่หมายถึงเกลียวแห่งวัฒนธรรม ครับ...(เป็นเรื่องเป็นราวหน่อย...^--^) ...ใครก็ไม่รู้...จำ�ไม่ได้...เคยบอกว่าเวลาทำ�อะไร เรามักจะให้ความสำ�คัญกับเป้าหมายเป็นหลัก... จนบางครั้งละเลยที่ใส่ใจความสวยงาม ความสุขระหว่างทาง ก่อนที่จะไปถึงเป้าหมาย... ...อัลบั้มนี้อยากจะเอาสิ่งเล็กๆน้อยรอบตัวที่หลายคนมองข้ามไป มาให้ดูกันเล่นๆ ...เผื่อจะเกิดไอเดียขึ้นมาว่า บางครั้ง ความสุข ความสำ�เร็จในชีวิต อาจไม่ได้มาจากการบรรลุเป้าหมายเพียงอย่างเดียว ...แต่เป็นความสุขที่เกิดจากการเสพความรื่นรมย์ระหว่างทางเดิน...ก็ได้...^--^ By: N’pong Pakdee (Facebook Albums) 9

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


DENTAL CLINIC IN VIETNAM ช่วงนีใ้ ครๆ ก็ไม่รกั ผมครับ ขนาดพัดลมยังส่ายหน้า เลยครับ เวลามีปัญหาอะไรเกี่ยวกับเครื่องมือทำ�ฟันนี่มัน เป็นเรือ่ งให้เครียดขึน้ มาตลอดเลย สสอ. กับโรงพยาบาล ไม่เข้าใจกัน นี่มันพูดลำ�บากจัง แต่จะอะไรก็ตามแต่ คนที่ เครียดที่สุดคือคนกลางอย่างผมครับ (ใครจะมาศึกษาดู งานติดต่อผมโดยตรงได้นะครับ -*-) ได้โอกาสไปดูงานต่างประเทศมาครับ ไปเห็นคลินกิ ฟันในที่ ต่างๆ ครับ แต่เป็นประเทศทีต่ ดิ ๆ กับชายแดนประเทศไทย เริม่ ที่ประเทศลาวครับ อย่างที่เคยได้บอกไปครับ ว่า ดูไม่เหมือน คลินิกทำ�ฟันเลย ดูเก่าๆ มืดๆ น่ากลัวอย่างที่บอกไม่ถูก ครับ ครัง้ หนึง่ ได้เดินทางไปเมืองลา-เชียงตุง บังเอิญไปตลาดแห่ง หนึ่ง ซึ่งได้พบกัน คลินิกฟันอย่างไม่ตั้งใจ เพราะมันไม่เหมือน เลย 555+ ดูลกึ ลับซับซ้อน ซ่อนเงือ่ น เพือ่ นทรยศ มีทางเข้า 2-3 ประตู มีม่านเขียวๆ บังไปบังมา รูปสัญลักษณ์ มีรูปริมฝีปากสี แดงแป๊ด กับฟันสีเขียว แต่ที่เราจะเห็นมักจะเป็น รูปริมฝีปาก ก่อน ทุกคนจึงพอมองแล้วก็จะ อุปทานไปว่า มันต้องเป็น “ร้าน เสริมสวยแน่ๆ” ลาสุดไปเวียดนามมาครับน่าจะเป็นที่ เว้ นะครับ ขณะ ที่ ดูร้านค้าต่างๆ มากมาย สนุกกับการซื้อของ เพราะ ของราคา ที่นั่นถูกมาก แต่ก็ต้องดูกันดีๆ หน่อย กำ�ลังวุ่นวายกับสียงแตร 10

รถที่นั่น หางตาผมก็เหลือบไปเห็น อะไรที่มันดูแดงๆ น่ากลัวๆ หน่อย เป็นร้านเล็กๆ ขนาด 5 เมตร (เพราะ รัฐบาลให้ปลูก สร้างได้ด้านหน้าไม่เกิน 5 เมตร) แต่สัญลักษณ์ ที่น่ากลัวกลับ เป็น รูปฟันอันแดงฉาน น่ากลัวได้อีกครับ เพราะเท่าทีผ่ มสังเกตคลินกิ ทีอ่ ยูภ่ ายในประเทศไทย ผมมัก เห็นสัญลักษณ์ฟัน ไม่สีเขียว ก็ฟ้า ไม่ก็สีอะไรก็ได้ ที่ดูเย็นสบาย ตา(คิดเอาเองว่า เพราะให้ดสู บายตา ไม่นา่ กลัว) แต่ทเี่ วียดนาม นีส่ แี ดงน่ากลัว บ่งบอกได้เลยว่า เลือดกระฉูดแน่ๆ 55555555+ (อ่ะ ล้อเล่ง) ดูไม่เก่าเท่าไหร่ครับ ดูสะอาดสะอ้าน ดีครับ แต่ติ เรื่องเดียวนั่นหล่ะครับ แต่จะว่าไปผมก็ยังไม่เคยเข้าคลินิกฟัน ในต่างแดนเลยซักครั้ง เอาไว้ครั้งหน้าหากได้เข้าไป จะเอามา เล่าให้ฟังครับ สรุปครับ ผมว่า ไม่มที ใี่ ดน่าอยูเ่ ท่าบ้านเราประเทศไทยอีก แล้วครับ รักกันๆ นะครับ อิอิ 

Jay-ac ผมจะทำ�งานเพื่อชาติ เพื่อนประชาชน และเพื่อในหลวง Jay.ac@hotmail.com ขอบคุณจาก www.bloggang.com

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ะ ร พ ง ั ล ห ง ปิดทอ โดย จิตตี้ ที่รัก

ยุ โทรทัศน์ ท ิ ว อ ่ ื งส อ ข ๆ น ้ ต บ ั ด น ั อ าน เป็นคำ�ที่อยู่ใน ่ น า ่ ว ้ ได ด ั จ ้ ี น ี ป 4 ธรรมชาติ น้ำ�ท่วม 5 5 ว ย ่ ี 2 ท งเ อ ่ ท าร ก น ็ เป ะ จ า ่ ที่อยู่ในกระแส ไม่ว ด วั ห ง ั จ น ็ เป ้ประชากรน้อย า ่ ว ้ ได ย ได ก รา ย ี า เร ์ เข พ ก ม ิ .ต พ ว อ ื .ส ส ง อ ั น พ ห ร์หล่นข้างทาง รถ ว ั ท รถ ก ต ลงของน่าน ร์ ป อ แ น เต ย ่ ี ป ล อ ค ิ เป ล ม เฮ วา ค ก ” ย น แ า ่ น ิ “น ด แผ่น ี่อาจแทนภาพคำ�ว่า ท ง ่ ึ น ห น ว ่ ส น ็ เป น ่ ั น ศ ร ที่ มี ธ ร ร ม ช า ติ เท า ด น ั ก ร ุ ท า เข น ็ เป ติดอันดับ 3 ของประ น ้ ื ช น ให ญ่ เ ป็ น ป่ า ดิ บ ว ่ ส น ้ ั น ด ั อ ย หั ว โล้ น ว ด ห น ง ั บ จ ง ด อ ข ่ ี โพ ว ท า ้ น ้ ื ข ่ พ ไร พ า น ็ ภ เป ส ก จา ภ า พ ต า ม เศ ร ษ ฐ กิ จ ส น ย ่ ี ล เป ร ป แ ก ู ถ น อาจจะเรียกว่าเป็น ั ล น งค า บ น า ้ บ ว า อ ยู่ ค ร บ ค รั น ก็ พ งช อ ข ตาจากภัยน้ำ�ท่วม � ำ ้ น ะ ล แ า ่ น์กับธรรมชาติ ป ช � ำ ้ น โย บ ั ระ ซ ป ด ู ล ด ผ ถ า ร ห ่ ี ท ิ ต า ช ์ ย ที่ไม่สามา ษ ลี่ยนว่าเป็นภัยมนุ เป ก า ย อ น ย ี ข เ ้ ู ผ ่ ต แ ก า ห ภัยธรรมชาติ ข้าวโพดหลายไร่ พ า ภ ย ี น ศ ั ท น า ่ ผ � ำ ่ ฉ จนลืมคุณค่าของมันไป น ็ ย ณะนั่งรถทัวร์แอร์เ ข ๆ ย รอ ป ก ต น ฝ ่ ี ท ง ่ ึ ุดป้ายขนาดใหญ่ น ด ะ ส น ั ล าพ ต บ่ายวันห าย ส น ้ ั น ่ ู ย อ ิ ปลงกับภัยธรรมชาต ด ิ ค ม วา ค ะ ล ออกมาที่หน้าพระเอง” แ ่ ู น ้ ห ล ด ะ ห ่ ี งจ ท อ ใจ ท ว ั ว ้ ล แ ด้วยห ๆ ย อ ่ ื เร ทองไปข้างหลังพระ ด ิ “ป อ ื ส เข้มแข็ง พึ่งพา ง ั น ชน ห ม ุ ว ั ช ้ ต ี ห ม าใ น ้ ั น น ฒ ั ย า ้ พ าร ก อ ื ค แผ่นป ราชดำ�ริฯ เป้าหมาย ระ วพ น แ าน งคค์ วามรูจ้ าก ส อ บ ื ำ � ส น ระ าร ก พ ง ั ใน ล ้ น งห ต อ ่ ิ ม ท เร ด ิ ุ ด ป ิ จ ธ ิ ็ น น มูล ยา่ งยงั่ ยนื และเพอื่ เป อ ุ ข ส ม วา ี ค ม ะ ล แ ง งเรายังมีทางรอด ี ย เพ ขอ อ ก โล า ว่ บ พ ็ ก บ จ น า ่ อ ตนเองได้ มคี วามพ าก ประโยชน์จริง หลังจ ด ิ ก เ ้ ให ง ริ จ ิ ต ั บ ิ ฏ าป ม ริ � ำ แนวพระราชด เพียง อยู่นะ หากมนุษย์รู้จักพอ

น่าน

11

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ในฐานะทั น ตแพทย์ ความเกี่ ยวพั น กั บ ไร่ ข้ า วโพด คงเป็ น ไปได้ ย าก หากแต่ ค ง เป็นเพราะพรหมลิขิตที่ดลใจ ให้ ม.ร.ว.ดิ ศ นั ด ดา ดิ ศ กุ ล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล็งเห็น ถึงพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกลบริการทันตสาธารณสุข อย่างอำ�เภอนาหมื่น มาเป็นตัวเลือกหนึ่งในแผนการออก หน่วยทันตกรรมพระราชทาน โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึง่ การทำ�งานในครัง้ นี้ มูลนิธแิ ม่ฟา้ หลวงได้ประสาน งานร่วมกับมูลนิธปิ ดิ ทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำ�ริ การเตรี ย มการในการออกหน่ ว ยทั น ตกรรม ร่วมร้อยชีวิต จึงถือว่า เป็นบริการทันตกรรมขนาดใหญ่ ที่เ ข้ า ลึ ก ถึ ง พื้น ที่ช ายขอบ เนื่อ งจากเลื อ กพื้น ที่ไ กล ถึ ง เมื อ งลี หรื อ เมื อ งลี้ ใ นอดี ต ชื่ อ นี้ ไ ด้ ม าจาก ผู้ค นจากเมื อ งต่ า งๆ ที่ห ลบลี้ห นี ภัย ข้ า ศึ ก สงคราม หรือหนีโทษบ้ า นเมื อ งก็ มั ก จะไปซ่ อ นตั ว อยู่ เ มื อ งนี้ เพราะมี ส ภาพเป็ น ป่ า เขา ยากแก่ ก ารค้ น หาตั ว

12

ดังนั้นความยากลำ�บากในการเข้าถึงเมือง ก็คงไม่ต้อง บรรยายถึงขุนเขาที่คดเคี้ยวเลี้ยวลดว่ามากขนาดไหน วั น ที่ 5-6 กรกฎาคม 2554 ที่ ผ่ า นมา ดร.ฤกษ์ ศยามะนนท์ รองผู้อำ�นวยการโครงการพัฒนา ดอยตุง เป็นผูแ้ ทน มูลนิธแิ ม่ฟา้ หลวง มูลนิธปิ ดิ ทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำ�ริฯ ผศ.ทญ.สุวภา ประภากมล ผูช้ ว่ ยคณะบดี ทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายโครงการ กิ จ กรรมพิ เ ศษ นำ � หน่ ว ทั น ตกรรมพระราชทาน คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่ อำ�เภอนาหมืน่ จังหวัดน่าน ข้าพเจ้าจึงได้มโี อกาสสอบถาม ถึงทีม่ าทีไ่ ปของแนวคิดในการออกหน่วยทันตกรรมในพืน้ ที่ ทุรกันดาร พบว่า เกิดจากพระปณิธานของสมเด็จย่าทีด่ �ำ รัสไว้ ต้องมีทนั ตแพทย์ไปช่วยชาวบ้านทุกครัง้ เนือ่ งจากคนไข้ ในท้องถิน่ ทุรกันดาร เมือ่ มีโรคฟันจะต้องทนทุกข์ทรมาน และไม่สามารถช่วยตนเองได้ ดังนั้นต้องให้มีทันตแพทย์ ไปช่วยโดยด่วน

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


เริม่ จากพืน้ ทีท่ รงงานคือพืน้ ทีดอยตุง เนื่องจากทางมูลนิธิ ต้องการให้ประชาชนในพื้นที่ มีสุขภาพที่ดี จนสามารถ พึ่งพาตนเองได้ การที่จะดูแลร่างกายได้นั้น “ช่องปากคือ ประตูของสุขภาพ” เมื่อสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีแล้ว เพื่อ ให้ประชาชนสามารถเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ ตรงจากแนวทางโครงการพระราชดำ�ริ มาปรับใช้ในชีวติ ประจำ�วัน ส่งเสริมการเรียนรูใ้ นโครงการให้มคี วามเหมาะสม และมีประสิทธิภาพเพิม่ ขึน้ เพือ่ ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ และส่งเสริมอาชีพ ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมความรู้ความ เข้าใจ และกระตุน้ จิตสำ�นึกในการอนุรกั ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรมไทย มูลนิธฯิ มีความตัง้ ใจมากทีจ่ ะทำ�ให้ชาวบ้านรูจ้ กั แนวทาง ทำ�มาหากินพร้อมกับอนุรกั ษ์ และพึง่ ตนเอง การทำ�โครงการ จึงเป็นการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน โดยไม่ได้ยื่นปลาให้กิน ไม่ได้สร้างเขื่อนให้แล้วก็จากไป โดยชาวบ้านไม่ได้เข้าใจ เห็นถึงประโยชน์ของสิง่ นัน้ เช่น ทำ�ไมต้องสร้างเขือ่ น เขือ่ น ช่วยอะไร การใช้ปุ๋ยเคมีที่ทำ�ให้ดีเสีย เสียเงินค่าปุ๋ยแพงๆ ได้ผลผลิตครั้งเดียว ต่างกับปุ๋ยอินทรีย์ ที่ชาวบ้านมีอยู่ แล้ว นำ�มาปรับปรุง ไม่ต้องซื้อต้องหา ต่อยอดผลผลิต ได้ไปอีก หลากหลายพืน้ ทีก่ ม็ คี วามแตกต่างกัน ดังนัน้ การที่ จะเข้าใจพื้นที่และทำ�แนวทางของโครงการหลวงมา ปรับใช้ ก็ทำ�ให้เกิดการพัฒนาที่ชาวบ้านเข้าใจอย่างแท้จริง และนำ�ไปปฏิบตั เิ องได้ ก่อให้เกิดความยัง่ ยืน รวมถึงอยูร่ ว่ มกัน กับธรรมชาติได้อย่างสมดุล หลังจากการสัมภาษณ์ 13

ดร.ฤกษ์ ยั ง มี ข้ อ คิ ด ข้ อ ปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ แนวทางการ พั ฒ นาต่ อ ยอดไปอี ก หลายพื้ น ที่ ใ นประเทศไทย ส่วนเรื่องหน่วยทันตกรรมพระราชทานนั้น ก็คล้ายกัน ในการทำ�ให้ชาวบ้านดูแลตนเองได้ ต้องขอขอบคุณทาง คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ทีเ่ ล็งเห็นความสำ�คัญของการออก หน่วยพื้นที่ทุรกันดาร จากนั้ น ข้ า พเจ้ า มี โ อกาสได้ พู ด คุ ย กั บ ท่ า น รศ.ทพ.สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร ผศ.ทญ.สุวภา ประภากมล และรศ.ทญ. จินตนา ศิรชิ มุ พันธ์ ถึงการจัดตัง้ หน่วยทันตกรรม ว่าเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2543 วาระครบรอบ 100 ปี วั น คล้ า ยวั น พระราชสมภพสมเด็ จ พระศรีนครินทรา บรมราชชนนี คณะฯ ได้จัดทำ�โครงการ “สืบสานพระราช ปณิธานสมเด็จย่า ทางทันตกรรม” เพื่อดูแลประชากร ในพื้นที่ทรงงานดอยตุง จังหวัดเชียงรายร่วมกับมู ล นิ ธิ แม่ฟ้าหลวง ซึ่งโครงการนี้ได้ดำ�เนินกิจกรรมอย่างต่อเนือ่ ง จนถึงปัจจุบนั เดิมในปีแรกดอยตุงไม่มที นั ตบุคลากรในพืน้ ที่ ชาวบ้านมีความยากลำ�บากมากในการเดินทางเข้าเมือง เพื่ อ รั บ บริ ก ารทางทันตกรรมจึงมีรถบริการทันตกรรม พร้อมทั้งบุคลากรจากคณะทันตแพทย์ จุฬาฯเวี ย นกั น เดินทางไปรักษา เพื่ทำ�หน้าที่รักษาดูแลคนไข้บนพื้นที่ ดอยตุง หลังจากนัน้ จึงมีแนวคิดต่อยอดถึงกามีทันตแพทย์ ประจำ�ดอยตุง ทางคณะจึงคัดเลือกคนในพื้นที่เข้ามา ศึกษาต่อในโครงการจุฬาฯชนบทในฐานะนักเรียนทุนแม่ฟา้ หลวงจากโครงการพัฒนาดอยตุง ซึง่ ผ่านกระบวนการคัดเลือก

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


เช่นเดียวกับนักเรียนอืน่ ๆ ในโครงการฯ โดยมีความคาดหวัง ให้กลับไปดูแลประชาชนในพื้นที่ ซึ่งตอนนี้มีทันตแพทย์ ประจำ�ที่ดอยตุงแล้ว สุขภาพช่องปากของคนในพื้นที่ อยู่ในระดับดี จึงสามารถนำ �แนวทางมาพัฒนาต่อถึง พื้นที่อื่นได้ จึงเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนายกระดับชุมชน ให้ พึ่ ง พา ช่ ว ยเหลื อ ตั ว เองได้ อ ย่ า งแท้ จริ ง ทางด้ า น ทันตกรรม ขณะนี้จึงเป็นการต่อยอดขยายไปทางพื้นที่ ด้อยโอกาสแห่งอื่น สำ�หรับจังหวัดน่านนั้นได้มาเป็นครั้ง ที่ 3 ครั้งที่ 1 ที่สองแคว ครั้งที่ 2 ที่ท่าวังผาและครั้งนี้ที่ นาหมืน่ สำ�หรับการให้บริการทีน่ าหมืน่ จะมีบริการตรวจฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน อุดฟัน ผ่าฟันคุด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใดๆทั้งสิ้น ยอดผู้มารับบริการออกหน่วย 2 วัน ทีโ่ รงเรียน เมืองลีประชาสรรค์ กับ โรงเรียนนาหมืน่ พิทยาคม จำ�นวน 1,261 คน 1,425 ราย อีกทัง้ ท่านอาจารย์ยงั ได้ให้ความกรุณาแนะนำ�แนวทาง พัฒนาทันตกรรมสำ�หรับจ.น่านไว้ว่า ทันตบุคลากรใน พืน้ ทีด่ ้อยโอกาสเหล่านี้ เป็นแรงสำ�คัญที่จะพัฒนาระบบ บริการสุขภาพในพื้นที่ ดังนั้นควรมีระบบการออกหน่วย ช่วยเหลือกัน มีความเข้มแข็งในทีมงานซึง่ อาจจะร่วมกับทาง สายงานอื่นในพื้นที่เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนสนใจ สุขภาพช่องปากก่อให้เกิดระบบการพัฒนาที่ง่ายขึ้น จาก คำ�แนะนำ�ดีแล้วยังมีก�ำ ลังใจดีๆให้กบั ทันตแพทย์ทกุ ท่านว่า ทุกคนทีม่ าร่วมทำ�งาน รวมถึงกำ�ลังช่วยเหลือผูด้ อ้ ยโอกาส ในประเทศไทยนี้ ถึงเหนื่อยแต่เราได้บุญ และได้ถวายเป็น พระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อาจารย์ ต้องขอขอบคุณทีมงานผูม้ าร่วมงานมาณ.ที่นี้ด้วย ทางด้านพืน้ ทีท่ า่ นปลัดจังหวัด คุณมนัส โสกันธิกและ 14

นายอำ�เภอนาหมื่น คุณศักดิ์ชัย รุ่งโรจน์วณิชย์ ได้มาร่วม งานในวันนั้น ทั้ง 2 ท่านได้ทำ�หน้าที่ประสานงาน โดย นายอำ�เภอของเราไม่ได้นงั่ พักเลย แต่กลับมีรอยยิม้ ภายใต้ หยาดเหงือ่ ท่านเป็นตัวแทนของชาวนาหมืน่ ในการต้อนรับ ได้พูดถึงความรู้สึกต่อหน่วยทันตกรรมครั้งนี้ว่า ผมดีใจ แทนชาวบ้านของผมจริงๆทีม่ โี อกาสได้เข้าถึงการรักษาดีๆ ขอบคุณทุกท่านจากใจจริง ท้ายนี้สิ่งที่ได้จากการออกหน่วยทันตกรรมครั้งนี้ นอกจากตัวข้าพเจ้าเองจะรู้สึกอิ่มเอมใจในหน้าที่การงาน ของตนแล้วมูลนิธิฯยังทำ�ให้ข้าพเจ้ารู้สึกถึงลมหายใจของ ธรรมชาติทจี่ ะกลับมาพลิกฟืน้ ใหม่ในเมืองน่านอีกครัง้ หนึง่

“หน่วยทันตฯเปิดประตูสุขภาพดี มูลนิธิฯนี้เปิดวิถี นำ�ทางชน หมัน่ ปฏิบตั ติ อ่ ยอดจนเกิดผล นำ�พาคนสุขล้นอย่าง พอเพียง” 

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


CPR “สุขกันเถอะเรา” ...หมอบัว ณ รพ.น่าน

“สุขกันเถอะเรา เศร้าไปทำ�ไม...” ทันตบุคลากรทีเ่ ข้าร่วมประชุม CPR ในครัง้ นี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่า เพลงนีเ้ ป็นสิง่ หนึง่ ทีท่ กุ คน

จดจำ�กันได้ดที ส่ี ดุ กับการกดหน้าอกในจังหวะเพลงสุขกันเถอะเรา ซึง่ จะทำ�ให้การกดหน้าอกมีประสิทธิภาพตาม 2010 American Heart Association Guidelines ‘Push hard and Push fast’ การกดหน้าอกที่มีประสิทธิภาพ หน้าอกจะต้องยุบลง อย่างน้อย 2 นิ้ว (ในผู้ใหญ่) ไม่น้อย กว่า 100 ครั้ง/นาที โดยแต่ละครั้งจะต้องปล่อยให้อกเคลื่อนกลับคืนตัวให้สุด และหยุดการกดหน้าอกให้น้อยที่สุดด้วย การประชุมในครัง้ นีเ้ ริม่ ต้นด้วยการทำ� Pre-test (และจะไม่ให้ใครหนีกลับจนกว่าจะทำ� Post-test เสร็จ!) จากนัน้ ฟังบรรยายเพือ่ ให้ รูถ้ งึ นิยาม/ความสำ�คัญของ CPR, BLS และรูข้ นั้ ตอนการปฏิบตั ิ มีการเปิด วีดที ศั น์สาธิตการช่วยชีวติ ขัน้ พืน้ ฐานให้ดู ก่อนจะแบ่งกลุม่ ฝึก ภาคปฏิบัติในช่วงบ่าย โดยจำ�ลองสถานการณ์ให้มีผู้ช่วยเหลือ 2 คน อุปกรณ์ที่มีคือ Face mask และ Ambu-bagทันทีที่ผู้ช่วยเหลือ คนแรกพบว่าผู้ป่วยไม่ตอบสนอง ไม่หายใจหรือมีการหายใจผิดปกติ ให้บอกผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ ส่วนตนเองคลำ�ชีพจร ถ้าไม่พบเรื่มทำ�การกดหน้าอกทันที เมื่อผู้ช่วยเหลือ คนที่ 2 โทรศัพท์เสร็จเรียบร้อยจะกลับมาช่วยหายใจโดยการบีบ Ambu-bag อัตราการกดหน้าอก ต่อการช่วยหายใจเป็น 30:2 1,2,3,4…15,25, 30 การกดหน้าอกทำ�ให้เหนื่อยมากอย่างไม่น่าเชื่อ บางคนถึ ง ขั้ น หายใจหอบกั น เลยที เ ดี ย ว การนั บ เลขเลยเริ่ ม ผิ ด เพี้ ย นจนทางวิ ท ยากรยั ง แซวว่ า “นอกจากฝึ ก ปฏิ บั ติ CPR แล้ ว คงต้ อ งส่ ง ทั น ตบุ ค ลากรไปเรี ย นนั บ เลข กั น ใหม่ อีก ครั้ง ” ระหว่างการฝึกภาคปฏิบตั ิ ทางทีมวิทยากรเปิดเพลง ‘สุขกันเถอะเรา’คลอไปตลอด ถ้าห้องประชุม เรากว้ า งกว่ า นี้ ค งมี ค นลุ ก ขึ้ น เต้ น ลี ล าศประกอบการฝึ ก แล้ ว (จะได้เหมือนในวิดีทัศน์สาธิต) แต่จะว่าไป เพลงนี้ เข้ า กั บ บรรยากาศการประชุ ม ในครั้ ง นี้ ที่ อ บอุ่ น เต็มไปด้วยรอยยิม้ และเสียงหัวเราะของทัง้ ทีมวิทยากร และพี่น้องทันตบุคลากรจังหวัด น่านทุกคน 

15

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ช้างน้อย in น่าน ♥♥♥

เมื่อ

ต้นปี 54 ที่ผ่านมาได้รับการทาบทามไปออก หน่วยพอ.สว.ภาคเหนือ จึงได้เลือกออกหน่วยเดือนพฤษภาคม อยากฉลองวันเกิดโดยการออกหน่วยดีกว่าเพราะแปลกดี ปกติ วั น เกิ ด ก็ จ ะไปทำ � งาน กิ น เค้ ก ลั๊ น ล้ า ไปเรื่ อ ยเปื่ อ ย ช่วงเดือนนั้นเป็นจะมีหน่วยที่ อ.เชียงกลาง-สองแคว จ.น่าน พอดี ในใจก็รู้สึกผิดที่สมัครสมาชิก พอ.สว. ไปตั้งนานแล้ว แต่ไม่ค่อยมีเวลาไปออกหน่วยเลย เคยไปครั้งเดียวที่ยะลา และปั ต ตานี นั่ น ก็ น านมากแล้ ว นานนนน....จนจำ � ไม่ ไ ด้ (หาอ่านได้ในฉบับเก่าๆค่ะ) ก็เลยหาเหตุผลตัวเองได้ออก นอกเขตจังหวัดได้แล้วก็ตอบตกลในทันที ...และการตอบ ตกลงในครั้งนั้น ก็ทำ�ให้เราเปลี่ยนแปลงการมองโลกไป ตลอดกาล ~ เมื่อใกล้วันเดินทางจำ�นวนทันตแพทย์อาสา ก็ ยั ง ไม่ ค รบมี แ ค่ เ รากั บ พี่ ทั น ตแพทย์ อี ก คนหนึ่ ง ซึ่ ง เรา ไม่ รู้ จั ก เท่ า นั้ น ที่ ยื น ยั น การเดิ น ทาง คนที่ เ หลื อ ใน รายชื่ออีก 4 คน ยกเลิก...อ้าว...แต่สุดท้ายความบังเอิญ ก็ ทำ � ให้ ค นที่ รู้ จั ก กั น โดยทางตรงและทางอ้ อ มมาเจอกั น (มันแปลว่าเพือ่ นของเพือ่ นอะไรประมาณนีแ้ หละ อยากเขียน ให้งงเล่น) การเดินทางล่าช้าตั้งแต่สนามบินทำ�ให้คนมารับ ก็รอนานโขอยู่ กว่าจะถึงที่พักที่ฝายนำ�้ ก่อน อ.เชียงกลาง ก็เย็นแล้ว ในใจเราก็คิดว่าเป็นบ้านพักแบบเขื่อน คล้ายๆ รี ส อร์ ท แต่ ก ลายเป็ น บ้ า นพั ก กรมป่ า ไม้ ห ลั ง ใหญ่ บึ้ ม แต่ 16

โดย ช้างน้อย

เวลาเดิ น ดั ง เอี๊ ย ดๆ มี ถุ ง นอน เสื่ อ หมอน และ ขวดนำ �้ คนละใบ เป็นแนว minimalism สุดๆเลยค่ะ ในใจก็คิดว่า จะอยู่ยังไงแต่เนื่องจากเป็นช้างอยุธยาต้องกล้าและอดทน จึงได้ไปสำ�รวจห้องน้ำ�ก่อนเลย อืม...ลืมเอาผ้าถุงมา กางเกง ก็สั้นปรี๊ดมากๆ ชุดนอนก็เป็นกระโปรง โอววว สงสารหนุ่มๆ ร่ ว มบ้ า นจริ ง ๆเลย หลั ง จากนั้ น จึ ง สำ � รวจโทรทั ศ น์ ว่ า รั บ คลื่ น ได้ ไ หม ปรั บ จานดาวเที ย ม ปรั บ ช่ อ งมั่ ว ไปมั่ ว มา อ๊ะ รับช่อง 3 ได้ เย้....ได้ดูดอกส้มสีทองแล้วววว ทีมงาน ส่ ว นอื่ น ๆก็ น อนเต๊ น ท์ กั น อย่ า งน่ า เอ็ น ดู ตกเย็ น มากิ น ข้ า ว ถาดหลุ ม ตั ก แต่ พ อดี เหมื อ นตอนเด็ ก ๆค่ ะ สนุ ก มากเลย กินหมดเกลี้ยงทุกวัน อาหารอร่อย มีของว่างให้กินอย่างดี ขอขอบคุณทีมงาน พอ.สว.มากๆค่ะ นอกจากนีใ้ นวันปฏิบตั งิ าน ทุ ก วั น ก็ จ ะมี ที ม งานออฟโรด 22 น. มาช่ ว ยเหลื อ ในการ เดินทาง แจกแว่นสายตา แว่นกันแดด ตรวจตา และเป็น มิ ต รแท้ ใ นการทำ � งานทุ ก วั น ที ม งาน กศน.มาช่ ว ยเรื่ อ ง ทำ�บัตร และจัดการทัว่ ไปในหน่วย ทำ�ให้การทำ�งานทีแ่ สนร้อน และมี ฝ นตกประปรายกลายเป็ น การทำ � งานที่ อ บอุ่ น จริ ง ๆ น้องๆพี่ทีมงานพอ.สว.ก็จัดหน่วยได้อย่างเรียบร้อยมีอุปกรณ์ ครบครันในการให้บริการ และจัดได้รวดเร็วเหมือนมีการซ้อม จัดหน่วยแบบจับเวลากันอย่างสม่ำ�เสมอ พี่น้องทันตบุคลากร อ.เชียงกลาง และ อ.สองแคว จ.น่าน ก็มาช่วยทุกวัน ต้องขอ

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ขอบคุณทีมงานทุกท่านมา ณ ที่นี้ค่ะ การทำ�งานโดยทัว่ ไปก็เป็บริการพืน้ ฐานง่ายๆ บรรยากาศ การออกหน่วยก็เรียบร้อยดี อาจวุ่นวายหน่อยเวลาเด็กร้องไห้ เท่านั้นละค่ะ ท่องในใจว่าอดทนทำ�ตัวเป็นนางฟ้าไป พักเที่ยง กินข้าว แล้วก็มาทำ�งานต่อจนกว่าคนไข้จะหมด ใครทำ�เสร็จ ก่อนก็ไปแหย่เพื่อนคนที่ยังทำ�ไม่เสร็จ (จริงๆแล้วไปเป็นกำ�ลัง ใจให้ค่ะ) ช่วงนั้นฝนตกทุกคืน ตอนเช้าอากาศดี กลางวัน ก็ร้อนๆ เส้นทางไปที่หน่วยก็ไม่ลำ�บากเท่าไร แต่การเดินทาง วันที่ประทับใจที่สุดคือวันที่ไป อ.สองแคว เพราะวิวข้างทาง สวยมาก เต็มไปด้วยหมอกและภูเขาสลับซับซ้อนมากมาย พี่ๆ ออฟโรดก็ใจดีจอดรถให้เราถ่ายภาพ เราก็เลยกดชัตเตอร์กัน แบบไม่ยั้งเลยทีเดียว พูดแต่เรื่องอื่น ขอพูดเรื่องฟันบ้างดีกว่า ผลงานให้บริการที่เราทำ�ได้ก็ไม่น้อยเลย 6 วัน 834 คน ได้ทำ�มากกว่าที่เราทำ�ที่โรงพยาบาลทั้งปีอีก น่ายินดีแทน ประชาชนในเขตทุ ร กั น ดารจริ ง ๆที่ มี มู ล นิ ธิ แ พทย์ อ าสา สมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ที่ ค อย

17

ดู แ ลสุ ข ภาพของผู้ ที่ อ ยู่ ห่ า งไกลได้ รั บ บริ ก ารทางการแพทย์ และทั น ตกรรมเป็ น อย่ า งทั่ ว ถึ ง ซึ่ ง โครงการทั น ตกรรม เคลื่อนที่เพื่อประชาชนด้อยโอกาสในเขตท้องถิ่นทุรกันดาร” มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ให้ ป ระชาชนผู้ ด้ อ ยโอกาสได้ รั บ บริ ก ารทั น ตกรรมบำ � บั ด ทั น ตกรรมป้ อ งกั น และส่ ง เสริ ม ทั น ตสุ ข ภาพอย่ า งถู ก ต้ อ งและทั่ ว ถึ ง ทั้ ง เป็ น การกระตุ้ น ให้ ประชาชนสนใจดูแลทันตสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และ ชุมชน ตลอดจนเพื่อแสดงถึงความร่วมใจสมานสามัคคีของ อาสาสมั ค รทั น ตบุ ค ลากร และเจ้ า หน้ า ที่ ข องภาครั ฐ และ เอกชน เพื่อเป็นการน้อมรำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และ ถวายเป็ น พระราชกุ ศ ลแด่ ส มเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรม ราชชนนี อีกด้วย (ที่มา http://www.pmmv.or.th/Link Contect/plan_0505.html) สรุปว่า เปลี่ยนแปลงการมองโลกไปตลอดกาลอย่างไร ... ไม่ บ อกหรอก เพราะต้ อ งไปออกหน่ ว ยเองถึ ง จะรู้ ฮ่ า ๆๆๆ หลอกให้อ่านตั้งนาน รักนะ♥♥♥ จาก ช้างน้อย@อยุธยา 

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554




ทำ�ฟันเด็ก อย่าลืมคำ�นึงถึง

เป้าหมายอันยาวไกล

คุยกับพี่เจน

บ่ายวันฝนพรำ� ชุ่มฉ่ำ� อากาศเย็นสบาย ต้นไม้ใบหญ้า ถูกจัดไว้อย่างสวยงามเขียวขจีสดชื่น พี่ได้มีโอกาสติดตาม (ข้าราชการชั้น)ผู้ใหญ่ไปที่ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง เมือ่ เดินผ่านห้องทำ�ฟันตอนขาเข้า ก็เห็นเด็กตัวน้อยๆนัง่ คอยคิวอยู่หน้าห้องทำ�ฟันเป็นสิบคน หน้าตาแต่ละคน แสดงถึงความวิตกกังวล หวาดกลัว พร้อมกับเสียง กลุ่ ม ของพวกเราเดิ นผ่ า นไปโดยมิ ไ ด้ สนใจมากนั ก เมื่อเสร็จภารกิจกลับออกมา เดินผ่านห้องทำ�ฟันอีกครั้ง ก็ยังได้ยินเสียงร้องไห้โหยหวนดังออกมาจากห้องทำ�ฟัน พร้ อ มกั บ ภาพของเด็ ก น้ อ ยน้ำ � ตานองหน้ า เดิ น ออกมา จากห้ อ งทำ � ฟั น (ข้ า ราชการชั้ น )ผู้ ใ หญ่ หั ว หน้ า คณะนิ่ ว หน้ า หลายๆคนในกลุ่ ม ผู้ เ ดิ น ผ่ า นห้ อ งฟั น พากั น ซุ บ ซิ บ กั น ว่ า มั น เกิ ด อะไรขึ้นในห้องทำ�ฟันนะ เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในบ่ายวันนัน้ ดูจะเป็นเหตุการณ์ปกติ ทีเ่ กิดขึน้ ในโรงพยาบาล หรือสถานบริการในวันทีน่ ดั เด็กน้อย มาเคลือบฟลูออไรด์วานิช หรือ ให้บริการเคลือบหลุมร่องฟัน ไปแล้ว ถ้าลองไปคุยกับผู้ให้บริการฟังมุมมองของเขาดูบ้าง ก็จะได้รับคำ�ตอบว่าเขาพยายามทำ�งานเพื่อให้ได้เป้าหมาย ตามที่กองทุนทันตกรรมกำ�หนดมา “โอ๊ย! ไม่มีเวลามานั่ง ปลอบกันแล้วค่ะ เสียเวลา แค่นี้ก็ยังห่างเป้าหมายอีกเยอะ แยะ มาถึงใครร้องก็หอ่ ผ้าแล้วทำ�เลย เด็กชนบทก็ไม่เรือ่ งมาก อยูแ่ ล้ว เป้าหมายก็คงจะทำ�ได้ถงึ ตามทีก่ �ำ หนดมาอยูห่ รอกค่ะ ถ้าทำ�ได้ในอัตราเช่นที่ทำ�อยู่ทุกวันนี้” 20

จากคำ � ตอบที่ ไ ด้ รั บ มาทำ � ให้ พี่ ต้ อ งมานั่ ง ขบคิ ด อยู่ หลายวันว่ามันใช่ไหม สิ่งนี้หรือ คือสิ่งที่เราต้องการ พี่รู้สึก อัดอันตันใจจนต้องไปเปิดตำ�รา หาเน็ตอ่านกันเลยทีเดียว ได้ พ บสิ่ ง ที่ น่ า สนใจที่ อ ยากจะแบ่ ง ปั น ข้ อ คิ ด ข้ อ มู ล ให้ พวกเราได้นำ�ไปทบทวนการทำ�งานกันอีกสักครั้ง สิ่งที่พี่ไป อ่านก็เป็นเรื่องทันตกรรมสำ�หรับเด็กที่พวกเราคงเคยเรียน มาแล้ว แต่’เป้า’ ทีก่ �ำ หนดมาให้อาจเข้าตาจนแนวคิดจางหาย ไปบ้าง เขากล่าวว่า ทันตกรรมสำ�หรับเด็กมุ่งเน้นในการสร้าง ความไว้ ว างใจ และความเชื่ อ มั่ น ของเด็ ก ต่ อ ทั น ตแพทย์ ซึ่ ง สะท้ อ นออกมาในรู ป แบบของการจั ด สถานที่ การมี

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


กระบวนการสื่อสารที่แตกต่าง เน้นการสร้างสุขนิสัยในการ ป้องกันดูแลทันตสุขภาพของเด็ก และยังพยายามทำ�ให้การ มาพบทันตแพทย์เป็นกิจกรรมทีน่ า่ รืน่ รมย์ส�ำ หรับเด็กๆด้วย หมอที่ ดู แ ลฟั น เด็ ก นอกจากจะมี ห น้ า ที่ ใ นการส่ ง เสริ ม ทันตสุขภาพให้เด็กแล้ว ยังต้องทำ�หน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ ให้แก่ผู้ปกครองอีกด้วย จะต้องทำ�ให้ผู้ปกครองสามารถ ให้การดูแลฟัน ของบุตรหลานที่บ้ าน รู้จักการหลีกเลี่ยง ปัจจัยเสีย่ งต่างๆ ตลอดจนการแก้ไขอุปนิสยั ทีไ่ ม่ดตี า่ ง เช่น การดูดนิว้ ดูดหัวนม ติดขวดนม แนะนำ�การป้องกันอุบตั เิ หตุ ที่อาจเกิดกับฟัน และใบหน้า ให้การแนะนำ�เรื่องอาหาร ที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการ และ การเจริญเติบโตของใบหน้า และขากรรไกร อ่านแล้วเป็นไงบ้างค่ะ ลองนำ�ไปเทียบกับการทำ�งาน ของเราบ้างสิวา่ ใกล้เคียงกันแค่ไหน เป้าหมายก็คงเป็นอะไร อย่างหนึง่ ที่ถกู กำ�หนดมา แต่ในพืน้ ทีท่ ี่ขาดแคลนบุคลากร หรื อ พื้ น ที่ ที่ มี ป ระชากรในความรั บ ผิ ด ชอบมากมาย เดิมเราก็ทำ�งานกันจะเป็นจะตายกันอยู่แล้ว (ไม่ได้ขี้เกียจ สักหน่อย) ทำ�งานแล้วเป้าหมายจะตกไปบ้างพี่ว่าก็ยังดี กว่าการทำ�งานให้ได้เป้าหมาย แต่เสียไปซึ่งหลักการที่จะ นำ�ไปสู่ความสำ�เร็จในระยะยาว อันเป็นจุดสำ�เร็จของงาน ทั น ตสาธารณสุ ข ของเรา โดยปกติ ก ารทำ � งานในกลุ่ ม เป้ า หมายเด็ ก เรามี วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ ห้ เ ด็ ก ได้ ทั ศ นคติ ได้ความสามารถในการตัดสินใจเลือกสิ่งทีด่ ตี อ่ สุขภาพใน สถานการณ์ต่างๆ อันจะเป็นภูมิคุ้มกันทางสุขภาพที่จะ 21

ติดตัวเขาไปเมื่อเขาเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เป้ า หมายต่ า งๆที่ ถู ก กำ � หนดขึ้ น ให้ พ วกเราในพื้ น ที่ ดำ�เนินการในปีแรก ก็เหมือนเป็นการทดลองว่าจะเป็นจริงได้ เพียงใด เราในฐานะผูป้ ฏิบตั กิ ม็ หี น้าทีท่ �ำ ให้ดที สี่ ดุ ถ้าทำ�ไม่ ได้ หรือทำ�แล้วเสียหลักการอย่างไรก็คงเป็นหน้าทีท่ พี่ วกเรา จะต้องสะท้อนปัญหาต่างๆกลับไปสูผ่ กู้ �ำ หนดให้ได้รบั ทราบ อย่างเป็นเหตุเป็นผล เพือ่ นำ�ไปสูก่ ารพัฒนา ปรับปรุงให้ดขี นึ้ ในปีต่อๆไป การจะทำ�ให้ข้อมูลย้อนกลับเหล่านี้น่าเชื่อถือ ได้รับความสนใจจากผู้มีอำ�นาจตัดสินใจ ก็ต้องเป็นข้อมูล ทางวิทยาศาสตร์ที่มีการเก็บอย่างเป็นระบบ ทั้งหมดนี้จะ ทำ�ให้งานทันตสาธารณสุขของเราก้าวหน้า เกิดประโยชน์ ต่อประชาชนไทยอย่างแท้จริง นอกจากนี้ พี่ ก็ ยั ง มี ข้ อ เสนอไปถึ ง ผู้ มี ห น้ า ที่ กำ � หนด กิจกรรมต่างๆให้ระดับปฏิบัติดำ�เนินการ ในการกำ�หนด กิจกรรมต่างๆนอกจากการกำ�หนดกิจกรรม และเป้าหมาย มาให้แล้ว ควรชี้แจงด้วยว่ามีแนวคิด หลักการอะไรในการ กำ�หนด กำ�หนดไปเพื่อต้องการให้เกิดผลอย่างไรในที่สุด อันนี้เพื่อว่าจะมีผู้ปฏิบัติที่อาจ มีวิธีการที่ดีๆที่ทำ�ให้ได้ผล ที่ ค าดหวั ง ด้ ว ยวิ ธี ก ารอื่ น ๆที่ ดี ก ว่ า เหมาะสมกั บ พื้ น ที่ มากกว่า ประหยัดกว่า วิธีที่กำ�หนดมาให้ทำ� อันเป็นการให้ เกียรติแก่ผู้ปฏิบัติในพื้นที่ ที่จะมีอิสระในการคิดริเริ่มตาม ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่มีอยู่ และจะได้ เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งนับเป็นการพัฒนา บุคคลากรที่ได้ผลที่สุดอีกด้วย 

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ทันตภูธร กับประสบการณ์

หลบระเบิด โดย ทพญ.รุจิรา ภัทรทิวานนท์

ใน

ชี วิ ต จะมี สั ก กี่ ค รั้ ง ที่ จ ะได้ รั บ ประสบการณ์ ทีไ่ ม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึน้ กับตัวเอง ก่อน อื่ น ต้ อ งขอแนะนำ � ตั ว เองสั ก หน่ อ ย ดิ ฉั น จบการศึ ก ษาจาก คณะทั น ตแพทยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒ รุ่น 11 ปี พ.ศ. 2554 หลังจากเรียนจบก็ได้มาลงทำ�งาน ที่ โ รงพยาบาลกาบเชิ ง อำ � เภอกาบเชิ ง จั ง หวั ด สุ ริ น ทร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามอำ�เภอของจังหวัดสุรินทร์ที่ติดกับชายแดน ประเทศกัมพูชา ในสัปดาห์แรกที่ได้เข้าทำ�งานก็มีข่าวการ ปะทะกันบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาทางฝั่งอำ�เภอพนมดงรัก บริเวณปราสาทตาควาย หากติดตามข่าวสารก็จะทราบข่าว การปะทะนี้และรู้จักพื้นที่บริเวณนี้พอสมควร ในการเข้ามา ทำ � งานในพื้ น ที่ นี้ ก็ ไ ด้ ส อบถามคนในพื้ น ที่ ห ลายๆ ท่ า นว่ า ทางอำ�เภอกาบเชิงจะได้รับผลกระทบจากการปะทะหรือไม่ เพราะในใจก็กลัวๆ อยู่เหมือนกัน ก็ได้ข้อมูลมาว่าชายแดน ฝั่งช่องจอม อำ�เภอกาบเชิง ไม่น่าจะได้รับผลกระทบ เพราะมี บ่อนคาซิโนตั้งอยู่ ซึ่งเป็นแหล่งเศรษฐกิจของกัมพูชาและเป็น รายได้หลักของประเทศ การปะทะกันอาจทำ�ให้เกิดความเสีย หายต่อประเทศกัมพูชาเป็นอย่างมาก ดังนั้นอำ�เภอกาบเชิงจึง เป็นพื้นที่ๆ ค่อนข้างจะปลอดภัย การทำ�งานในสัปดาห์แรกเป็นไปอย่างราบรืน่ คนไข้ยงั คงมี จำ�นวนมากเป็นปกติ โดยชาวบ้านและพีเ่ จ้าหน้าที่ ซึง่ เป็นคนใน พื้นที่บอกว่ามักจะได้ยิงเสียงระเบิดแต่ไม่ดังมากนัก เพราะ ชาวบ้านบางคนจะอยู่ติดไปทางอำ�เภอพนมดงรัก สัปดาห์ที่สองของการทำ�งาน สถานการณ์บริเวณแถบ ชายแดนได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามที่อำ�เภอ กาบเชิงยังคงมีความสงบสุข ไม่ได้รับผลกระทบจากการปะทะ แต่อย่างใด ในวันที่ 26 เมษายน 2554 วันนี้ในช่วงเช้าสถานการณ์ ทั่วไปยังคงเป็นปกติ คนไข้ก็มารับบริการกันเยอะพอสมควร ในช่วงบ่ายหัวหน้าฝ่ายทันตกรรมได้เรียกทุกคนเข้าประชุม

22

ภาพโดยทั่วไปของโรงพยาบาลกาบเชิง และฝ่ายทันตสาธารณสุข

เพื่ อ แจ้ ง ข่ า วที่ ไ ด้ รั บ การถ่ า ยทอดมาจากผู้ อำ � นวยการ โรงพยาบาล ความว่า “เนือ่ งจากสถานการณ์บริเวณชายแดน ไทย-กัมพูชา มีความตึงเครียดมากขึน้ และมีการปะทะกันด้วย อาวุธหนัก ทุกคนจะต้องเพิม่ ความระมัดระวัง และดูแลตนเองให้ มากขึ้น ใครที่พักอยู่นอกโรงพยาบาลหากอยู่คนเดียวสามารถ ขอเข้าพักกับเพื่อนในโรงพยาบาล แต่ถ้าไม่จำ�เป็นก็ให้ออก นอกพืน้ ทีไ่ ปพักในเมือง และหากมีชาวกัมพูชามารับการรักษา ก็ให้การรักษาไปตามสมควรและให้แจ้งตำ�รวจ เนือ่ งจากอาจจะ

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


Before บังเกอร์ก่อนเกิดเหตุการณ์ ซึ่งไม่ได้มาตรฐาน

ใช้เป็นเชลยศึก ฯลฯ” แต่เนือ่ งจากสถานการณ์ทวั่ ไปยังคงเป็น ปกติอยู่ทุกคนจึงใช้ชีวิตตามปกติ ในช่วงเย็น พี่ทันตาภิบาล ท่านหนึ่งได้ชวนบุคลากรในห้องฟัน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นที่ สนิทกันไปรับประทานอาหารที่บ้าน ขณะนั้นก็ได้รับข่าวสาร ว่าการปะทะกันรุนแรงมากขึ้นและระเบิดเริ่มขยายพื้นที่เข้า มาใกล้อำ�เภอกาบเชิงมากขึ้น ก่อนออกเดินทางก็มีคนทักว่า “ยั ง จะไปกั น อยู่ อี ก เหรอ ระเบิ ด เริ่ ม ใกล้ เ ข้ า มาแล้ ว นะ” แต่พวกเราก็ยงั ไม่คดิ อะไร เนือ่ งจากสถานการณ์ในโรงพยาบาล ยังคงเป็นปกติ ขณะนั่งอยู่บนรถก็ได้มีการคุยกันว่า ถ้าระเบิด ลงจะทำ�ยังไง ทุกคนก็ข�ำ ๆกันไปเพราะไม่คดิ ว่ามันจะเกิดขึน้ จริง ระหว่างเดินทาง ดิฉันถามพี่ที่ไปด้วยกันว่าบ้านพี่ทันตาภิบาล ที่ เ ราจะไปอยู่ แ ถวไหน พี่ บ อกว่ า อยู่ ใ กล้ กั บ เขื่ อ นตะเกาว์ ดิฉันจึงถามไปว่าเขื่อนตะเกาว์เป็นที่ตั้งทางทหารด้วยไม่ใช่ หรือ และได้ข่าวมาว่าบริเวณนั้นไม่ควรไปเพราะถ้ากัมพูชา จะยิงมาก็คงจะยิงมาบริเวณนี้ พี่บอกว่าอยู่คนละฝั่งถนนกัน ไม่ได้ใกล้ขนาดนั้น คงไม่มีอะไรหรอก เพราะกาบเชิงไม่น่าจะ โดนระเบิดนะ 555+ เมื่อนั่งรถไปถึงที่บ้านพี่ทันตาภิบาลแล้ว ขณะที่พวกเรา กำ�ลังก้าวลงจากรถ มีเสียงดังขึน้ ‘ตุม้ ๆๆ!!!’ พืน้ ดินสัน่ สะเทือน ทุกคนนิ่งเงียบแล้วมองหน้ากัน ขณะนั้นเองมีเสียงตะโกนดัง ขึ้นมาว่า ‘วิ่ง!!!’ ทุกคนจึงออกตัววิ่งอย่างรวดเร็ว ในใจคิด ว่า “เกิดอะไรขึ้น จะวิ่งไปไหน จะหมอบหรือจะทำ�อย่างไรดี จะตายมั๊ย??? เพิ่งจะเรียนจบเองทำ�ไมจะต้องมาเสี่ยงแบบนี้ เพิ่งทำ�งานไปได้ไม่กี่วันเอง ฮืออออออ T_T” (มารู้ในภายหลัง 23

After หลังจากเกิดเหตุการณ์ก็มีการปรับปรุงบังเกอร์ใหม่ ให้มีความแข็งแรงมากขึ้น

ว่าพี่ที่วิ่งนำ�ไป ตั้งใจจะวิ่งไปลงตุ่ม!! เพราะเข้าใจว่าถ้าอยู่ใน ตุ่มแล้วจะปลอดภัย -_- ) ระหว่างที่วิ่งอยู่นั้นเสียง ‘ตุ้มๆๆๆ!!!’ ของระเบิดก็ยังคงดังขึ้นตลอดเวลา เหมือนลูกระเบิดจะตกลง มาใส่อย่างไรอย่างนัน้ ระหว่างทีท่ กุ คนวิง่ โดยไร้จดุ หมายอยูน่ นั้ ก็มีคุณลุงคนหนึ่งวิ่งออกจากบ้านไปยังบังเกอร์หรือหลุมหลบ ภัยบริเวณใกล้ๆ ซึ่งชาวบ้านทำ�ขึ้น โดยทำ�จากท่อขนาดใหญ่ คลุมถมด้วยดินทราย ทราบภายหลังว่าสามารถป้องกันระเบิด ที่ตกลงมาได้เพียง 2 ลูกเท่านั้น ระหว่างที่หลบอยู่ในบังเกอร์ ก็ยังคงมีเสียงระเบิดตลอดเวลา รวมแล้วหลายสิบลูก ซึ่งปืนที่ ใช้ยิงเป็นจรวด BM21 ที่จะมี 40 ลำ�กล้องปืน สามารถยิงได้ 40 ลูก โดย 2 วินาทีจะยิง 1 ลูก ไม่เพียงแค่เสียงระเบิดเท่านัน้ บรรยากาศเหมือนในหนังมาก เนื่องจากวันนั้นฟ้าฝนไม่เป็นใจ มีเสียงฟ้าผ่าสลับกับเสียงระเบิดด้วย พวกเราหลบอยู่ในบังเกอร์ร่วมกับชาวบ้านอีกประมาณ 2 ครอบครัว มีเด็กน้อย และสุนัขมาหลบในบังเกอร์ด้วยความ หวาดกลัว น่าสงสารเด็กน้อยจริงๆ ที่ต้องมาเจอสถานการณ์ แบบนี้ หลั ง จากสิ้ น เสี ย งระเบิ ด แล้ ว ก็ ไ ด้ รั บ แจ้ ง จากทาง โรงพยาบาลว่าให้กลับโรงพยาบาลด่วน ทุกคนจึงไปตั้งหลัก กันที่โรงพยาบาล เมื่อไปถึงพบว่ามีการอพยพย้ายผู้ป่วยไปยัง โรงพยาบาลใกล้เคียงที่ปลอดภัยและให้เจ้าหน้าที่ออกจาก พื้นที่ เนื่องจากมีข่าวว่าจะมีการปะทะกันอีก ในเวลาประมาณ 21.00 น. โดยมีข้อบังคับว่าคนไข้สามารถขึ้นรถคันไหนก็ได้ สถานการณ์ชุลมุนวุ่นวายมาก ฝนก็ตก แต่ทุกคนก็มีน้ำ�ใจที่ จะช่วยเหลือกัน

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


หลังจากเหตุการณ์วันนี้ก็มีการตั้งศูนย์อพยพขึ้นหลายแห่ง เพื่อ ให้ความช่วยเหลือและเป็นที่พักอาศัยให้กับชาวบ้าน อำ�เภอกาบเชิง กลายเป็นอำ�เภอร้างในข้ามคืนเดียว ไฟทุกดวงถูกปิดเพือ่ ไม่ให้เป็นเป้า ในการโจมตี โรงพยาบาลสัง่ หยุดและห้ามเจ้าหน้าทีเ่ ข้าไปในพืน้ ที่ มีรถ ทหารขนอาวุธเข้าไปประจำ�การ และให้เจ้าทีโ่ รงพยาบาลออกหน่วยไป ตามศูนย์อพยพเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่ป่วยไม่สบาย โดยให้ประเมิน สถานการณ์วันต่อวัน 7 วันทีช่ าวบ้านไม่ได้พกั อาศัยทีบ่ า้ น ไม่ได้ท�ำ งาน มีความทุกข์ใจ เพราะเป็นห่วงบ้านและทรัพย์สิน ศูนย์อพยพก็ทยอยกันปิดตัวลงและ อำ�เภอกาบเชิง วันเกิดเหตุ ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ขึ้น พาชาวบ้านกลับบ้านของตน นอกจากนี้ยังมีการให้ทหารมาอบรมถึง เพียงไม่กี่นาที ถนนไม่ค่อยมีรถ และยังสงบ วิธีการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน จนถึงวันนี้เหตุการณ์การปะทะกันบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ก็ยังคงเกิดขึ้น อย่างเป็นปกติบริเวณปราสาทตาควาย อำ�เภอพนมดงรัก ด้วยอาวุธปืนและระเบิดขว้าง น่าเห็นใจทหาร และสงสารชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ เหตุการณ์การปะทะกันนี้ถูกเล่ากันหนาหูมากขึ้น มีข่าวลือต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย รายวัน ร่วมถึงมีทหารมารับการรักษาทางทันตกรรมเพิ่มมากขึ้นด้วย นี่ เ ป็ น เพี ย งหนึ่ งในประสบการณ์ ที่ ไ ด้ นำ � มาเล่ าให้ ไ ด้ อ่ า นกั น ยั ง มี เ จ้ า หน้ า ที่ โรงพยาบาลและชาวบ้านอีกหลายท่านที่ได้ร่วมประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นนี้ ที่ไม่ ได้มีโอกาสนำ�มาเล่า เหตุการณ์นี้ได้สอนให้พวกเราตระหนักว่าจะต้องใช้ชีวิตด้วย ความไม่ประมาทและมีสติเตรียมพร้อมอยู่เสมอ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทันตสาธารณสุข เตรียมตัวออกหน่วยศูนย์อพยพ และได้รับฉายาว่าเป็น “ทันตแพทย์กาบเชิงรุ่นหลบระเบิด”  ขอขอบพระคุณผู้ร่วมเหตุการณ์ทุกท่าน 1. 2. 3.

ทพญ. อมรเพชร ตันติรัตนานนท์ 4. ทพญ. ดวงฤทัย สร้อยจิตร (โบว์) (หัวหน้าฝ่ายทันตฯ รพ. กาบเชิง) 5. ทภ. พรรณชนก (พี่ต้อม) ทพญ. สุทธิวรรณ แจ่มใส (พี่หวัน) ทพญ. วาทีณี สุรเชษฐ์ชัยพงศ์ (พี่โบว์) 6. พี่ชาติ

ออกหน่วยศูนย์อพยพ 24

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554

7. พี่จันทร์เจ้า 8. พี่โอมมี่ และทุกๆ ท่านที่ไม่ได้กล่าวถึง

ทหารอบรมวิธีเอาตัวรอด เมื่อตกอยู่ในเหตุการณ์ฉุกเฉิน


ความหวาน ในมิติทางประวัติศาสตร์

าวแปดปีมาแล้ว ทีเ่ ครือข่ายเด็กไทยไม่กนิ หวานก่อ ตัวขึ้นมา จากความริเริ่มโดยคณะอนุกรรมการสร้างเสริม สุขภาพช่องปาก ของทันตแพทยสภา นัน่ ดูจะเป็นครัง้ แรกๆ ที่สังคมไทยในภาพกว้าง เริ่มมีคนรณรงค์เรื่องพิษภัยของ “ความหวาน” อย่างเอาจริงเอาจัง ประเด็นหนักอกหนักใจแรกๆ ที่กลุ่มผู้เริ่มทำ�งานนี้ คุยกัน คือเรากำ�ลังทำ�งานทวนกระแสสังคม สังคมทีไ่ ม่เพียง ติดใจในรสหวาน แต่ยงั เป็นสังคมทีม่ มี มุ มองและค่านิยมต่อ “ปัจจัยเสี่ยง” ตัวนี้ ในเชิงบวกเป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่พวกเราเรียนรู้ร่วมกันจากปัจจัยเสี่ยงตัวนี้ ซึ่งไม่ ต่างจากปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตัวอื่นๆก็คือ นอกจากเรา ในฐานะนักวิชาชีพสุขภาพ จะต้องเข้าใจ “ความหวาน” และ “น้ำ�ตาล” ใน “มิติทางสุขภาพ” ว่ามันมีผลอะไรบ้าง ต่ อ ร่ า งกาย มี ก ลไกทางพยาธิ ส ภาพต่ อ โรคภั ย ต่ า งๆที่ เกียวข้องอย่างไร พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ควรเป็น อย่างไร ฯลฯ แล้ว เรายังต้องเข้าใจมันให้พออีกอย่างน้อย ในมิติด้าน “เศรษฐกิจ” และ “สังคมวัฒนธรรม” ด้วย วันนี้ ในฐานะของคนที่ถอยมาเป็นกองเชียร์หลาย ปีแล้ว ขอมาร่วมชวนกันลองมองย้อนกันไปในประวัติศาสตร์ของ “ความหวาน” กันหน่อยดีไหมครับ โดยเฉพาะใน มิตขิ องเศรษฐกิจ และสังควัฒนธรรม เพราะประวัตศิ าสตร์ จะช่วยเราให้เข้าใจรากเหง้าของปัจจุบนั และความเข้าใจนัน้ มักจะช่วยให้เราเห็นหนทางกับการจัดการปัจจุบนั ได้ชดั ขึน้ เราอาจจะเริ่มจาก ความจริงพื้นฐานที่ว่า..... โดยธรรมชาติแล้ว สัตว์โลกและมนุษย์ “รัก” ความหวาน นั่ น คื อ เหตุ ใ ห้ ธ รรมชาติ ส ร้ า งให้ ผ ลไม้ สุ ก หวาน เพื่ อ ล่ อ ให้ สั ต ว์ โ ลกมากิ น แล้ ว ช่ ว ยแพร่ ก ระจายเมล็ ด

25

ทพ.ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์

พั น ธุ์ อ อ ก ไ ป ทำ�นองเดียวกับ น้ำ � ห ว า น ใ น ดอกไม้ ที่ ใ ช้ ล่ อ เหล่ า แมลงให้ ม า ช่วยผสมเกสร ตรง กันข้าม พืชพรรณ ทีม่ รี สขม มักจะเป็น พิษ ดังนั้น ความหวานจึงเปรียบ เสมือนไฟเขียวของธรรมชาติ ทว่า ในสิ่งแวดล้อมดั้งเดิมของมนุษยชาติ น้ำ�ตาล เป็ น ของหายาก และมั ก รวมอยู่ ใ นเนื้ อ ของผั ก ผลไม้ บางชนิด ไม่ใช่วา่ จะแยกสกัดมาเป็นน้�ำ ตาลปริมาณมากๆ ได้ง่ายๆ น้ำ�ผึ้ง น้ำ�หวานจากดอกไม้ที่ถูกรวบรวมสะสมโดย ผึ้งตัวเล็กๆที่แสนขยัน เป็นแหล่งความหวานสำ�คัญของ มนุษย์ทไี่ ปแย่งชิงมา ทีใ่ ช่วา่ จะหาชิงได้งา่ ยในชีวติ ประจำ� วัน สมัยกรีกโบราณและสมัยโรมัน น้ำ �ผึ้งและน้ำ�ตาล ที่พอสกัดได้ถูกใช้เป็นหลักเพียงในการผสมยา แม้ใน ช่วงต้นของสังคมเกษตรกรรมไทย น้ำ�ตาลจากยอดตาล (อันเป็นที่มาของชื่อ) หรือจากยอดมะพร้าว ก็เป็นเรื่องที่ ต้องออกแรงมากพอสมควร กว่าจะได้น้ำ�ตาลมาบริโภค หรือเก็บสะสมไว้ มนุ ษ ย์ ทั่ ว ไปแต่ ดั้ ง เดิ ม จึ ง ให้ คุ ณ ค่ า สู ง มากกั บ ความหวาน และน้ำ�ตาล เพราะว่า มันทั้งมีรสชาติน่า อภิรมย์จากธรรมชาติ และทั้งหายาก คำ�ว่า “หวาน” “อันแสนหวาน” “ความหอมหวาน” จึ ง ถู ก ใช้ ใ นความหมายเชิ ง บวกกั บ สิ่ ง ที่ ไ ม่ ใช่ เรื่ อ งของ

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


อาหารการกิ น เช่ น การเปรี ย บกั บ บุ ค ลิ ก สวยงาม อ่ อ นโยนของหญิ ง สาว ความทรงจำ � แสนหวานจะ หมายถึงเหตุการณ์ที่น่าชื่นชม ความปิติของชัยชนะ อันหอมหวาน หรือหวานใจคือคนอันเป็นที่รัก ฯลฯ น้�ำ ตาลจากอ้อย ดูจะเป็จดุ เปลีย่ นทางประวัตศิ าสตร์ โลกในหลายๆด้ า น ทั้ ง ด้ า นวิ ถี ก ารบริ โ ภคอาหาร การขยายอาณานิคม แรงงานทาส ไปจนถึงด้านปัญหา สุขภาพจากความหวานล้นเกินอีกด้วย น้ำ�ตาลอ้อยมีจุดกำ�เนิดในภูมิภาคเอเซียใต้ และ เอเซียอาคเนย์ อินเดียเป็นชาติแรกที่พบวิธีผลิตผลึก น้ำ�ตาลในราว คศ. 350 พระในพุทธศาสนานำ�มันมาสู่ ประเทศจีนราว คศ. 600 พ่อค้าอาหรับพัฒนาเทคนิคผลิต น้ำ�ตาลอ้อยจากอินเดีย ให้เป็นอุตสาหกรรม พร้อมกับ ขยายการปลูกอ้อยไปอย่างกว้างขวาง และกลายเป็น สิ น ค้ า สำ � คั ญ ของภู มิ ภ าคต่ อ ประเทศในภู มิ ภ าคและ ทวีปอื่นๆ นักรบจากสงครามครูเสดนำ�น้ำ�ตาลจากอาหรับ สู่ยุโรป ในชื่อ “เกลือหวาน” จนช่วงศตวรรษที่ 12 เมือง เวนิส ในอิตาลี เริ่มเป็นเมืองท่า ผลิตน้ำ�ตาลส่งยุโรป เข้ามาเป็นทางเลือกทดแทนการใช้น้ำ�ผึ้ง แต่อุตสาหกรรมน้ำ�ตาลที่ให้กำ�ไรงดงามนี้ เป็น อุตสาหกรรมทีใ่ ช้พนื้ ทีแ่ ละแรงงานสูงมาก ทัง้ ในการปลูก และผลิ ต จึ ง ต้ อ งมี ก ารนำ � ทาสจากเขตทะเลดำ � และ อาฟริกามาเป็นแรงงาน การผลิตขยายไปสู่ยุโรปใต้ ก่อนไปกับการล่าอาณานิคมสูท่ วีปอเมริกาใต้และกลาง โดยใช้แรงงานทาสที่ขนส่งอย่างทารุณมาจากอาฟริกา เจ้าอาณานิคมจากยุโรปทำ�ให้ภูมิภาคแคริบเบียน เป็น แหล่งผลิตน้ำ�ตาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก การทีน่ �ำ ตาลหาง่ายขึแ้ ละราคาถูกลงนีเ้ อง ทำ�ให้วถิ ี การบริโภคของประเทศในยุโรปเปลีย่ นไปสูก่ ารกินหวาน มากขึน้ ตามแรงขับดันของค่านิยมดัง้ เดิมของสัตว์โลกที่ ถูกตอบสนองทางอุปทาน ตัวอย่างเช่น ในปี 1770 อังกฤษ บริโภคน้ำ�ตาลเพิ่มขึ้นเป็นห้าเท่าจากที่กินในปี 1710 26

หรือห้าเท่าตัวในห้าสิบปี พวกเขาเพิม่ การกินแยม ลูกอม ช็อคโกแลต ชาหวาน และผลิตภัณฑ์อาหารหวานขึ้น อย่างมากมาย ผมขอข้ า มการเล่ า ถึ ง ภั ย ที่ ต ามมาในเรื่ อ งความ เสื่ อ มโทรมของพื้ น ดิ น เพาะปลู ก และปั ญ หาสั ง คม จากลัทธิอาณานิคมและการค้าทาส มาสู่เฉพาะเรื่อง สุขภาพ ที่การบริโภคความหวานล้นเกิน โดยเฉพาะซึ่ง องค์การอนามัยโลกเน้นการเจาะจงที่ น้ำ�ตาลอิสระ (free sugar)ซึ่งหมายถึงน้ำ�ตาลที่ถูกผลิตขึ้นและเติมลง ในอาหารโดยบริษัทผู้ผลิต ผู้ปรุงอาหาร หรือผู้บริโภค เอง ส่งผลต่อภาวะอ้วนและโรคเรื้อรังจำ�นวนมาก หรือมาเจาะเฉพาะที่สุขภาพช่องปากก็ได้ ยุคสมัย นั้นเองที่ โรคฟันผุทวีอุบัติการณ์สูงลิ่วขึ้น และว่าไปก็ มีผลต่อการเพิ่มจำ�นวนบุคลากรด้านทันตกรรมขึ้นด้วย โดยในไม่ถึงร้อยปีมานี้ ฝรั่งสูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีฟันแท้ เหลือในปากเลยในยามชราภาพ ปัญหานีเ้ พิง่ จะทุเลาลง ในประเทศพัฒนาแล้วช่วงอายุหลังๆนี้เอง แต่กลับ กำ�ลังเพิม่ ทวีขนึ้ ในประเทศกำ�ลังพัฒนา ทีร่ บั เอาวิถชี วี ติ ตะวันตก (ยุคโบราณ) เข้าไปมากขึ้น จากประวัติศาสตร์ข้างต้น ขบวนการลดหวานใน ประเทศไทยน่าจะได้ขอ้ พิจารณอะไรบ้าง? ประวัตศิ าสตร์ ความหวานในประเทศไทยดำ�เนินคู่ขนานมาอย่างไร? วั น หน้ า ผมอาจจะลองเปรี ย บเที ย บกั บ การเรี ย นรู้ ประวัติศาสตร์ของ “ขบวนการงดเหล้า” ที่นำ�บทเรียน มาประยุกต์ใช้ในการทำ�งานด้านควบคุมความเมาและ น้ำ�เมา ในมิติของเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมใน บ้านเรา วันนี้ ขอใช้โอกาสนี้ ร่วมชื่นชม ขบวนการลด ความหวานและน้ำ�ตาลในประเทศไทย ที่ได้ตั้งหลัก และปักฐานในสังคมไทยแล้ว และกำ�ลังขยายตัวออก ไป โดยมีผู้เข้าร่วมขบวนการมากขึ้นตามลำ�ดับ ก้ า วหน้ า สร้ า งประวั ติ ศ าสตร์ ห น้ า ต่ อ ไปอย่ า ง มั่นคงนะครับ 

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


น้ำ�ตาลดีและน้ำ�ตาลแย่ ในฉลาก GDA ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล

บั บ นี้ ผ มนำ � เรื่ อ งฉลากโภชนาการ GDA (Guideline Daily Amount) ของไทยและประเทศอังกฤษมาฝากครับ เรื่องของเรื่องมาจากเมื่อต้นเดือนเมษายน พี่ๆจากเครือข่าย ไม่ กิ น หวาน ได้ ชั ก ชวนให้ ผ มเข้ า ร่ ว มประชุ ม หารื อ ที่ จั ดโดย สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทีจ่ ะมีการเสนอร่างประกาศ กระทรวงสาธารณสุ ข เพื่ อ แก้ ไ ขปรั บ ปรุ ง ฉลากโภชนาการ โดยประเทศไทยโดยใช้ ฉ ลาก GDA แต่ ป ระเด็ น ที่ ห ารื อ ก็ คื อ ยังไม่มีตัวเลขปริมาณน้ำ�ตาลทั้งหมดที่แนะนำ�ให้คนไทยบริโภค ต่อวันพอปลาเดือนเมษายนผมได้ไปเยีย่ มลูกสาวทีก่ �ำ ลังเรียนมัธยมต้น ที่เมือง Cambridge ระหว่างการเดินทางในอังกฤษได้สังเกตฉลาก โภชนาการที่ทางอังกฤษใช้ในซุปเปอร์มาร์เกต ต่างๆ ตอนแรกผมเข้าใจว่าจะพบ “ฉลาก โภชนาการแบบไฟจราจร” (traffic light signals) ทีเ่ คยรูม้ าว่าทาง Food standard agency ซึง่ เป็น หน่วยงานของรัฐบาลอังกฤษให้การสนับสนุนมา ตั้งแต่ปี 2550 แต่กลับพบเฉพาะฉลาก GDA ทั้ ง นั้ น พอมาค้ น ข้ อ มู ล ถึ งได้ พ บว่ า เมื่ อ เร็วๆนี้สภาผู้แทนยุโรป (European parliament) ได้ลงความเห็นที่จะใช้ฉลาก GDA (แบบสีเดียว) ทั่วทั้งยุโรปภายในปี 2556 โดยที่บริษัทผู้ผลิต อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ เห็นด้วยและสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทีจ่ ะใช้ฉลาก GDA ซึง่ กลุม่ รณรงค์เพือ่ สุขภาพต่อต้านการใช้ฉลาก GDA แบบสีเดียว และสนับสนุนให้ใช้ฉลากแบบไฟจราจร หรือใช้ฉลาก GDA ที่ระบุสีต่างๆกัน เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ฉลาก GDA คืออะไร

ฉลาก GDA เป็นฉลากที่จะแสดงปริมาณของพลังงาน (แคลลอรี่) และสารอาหารที่สำ�คัญ 4 ตัว คือ น้ำ�ตาล ไขมัน 27

ไขมันอิ่มตัว และเกลือโซเดียม ที่จะได้รับต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ของอาหารนั้ น ๆ (ในไทยจะเป็ น ต่ อ หนึ่ ง หน่ ว ยบรรจุ ) และ จะระบุร้อยละของสารอาหารทั้งหมดไว้ด้วย โดยหวังว่าจะช่วยให้ ประชาชนสามารถวางแผนได้ว่า ควรจะกินอะไรในปริมาณเท่าใด เป็นการทำ�ฉลากให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ที่เป็นฉลากโภชนาการที่รวม สารอาหารทุกตัวเอาไว้ ในประเทศไทยก็ มี ก ระแสของการใช้ แ ละการต่ อ ต้ า น การใช้ฉลาก GDA ใครทีต่ ดิ ตามข่าวเรือ่ งนีอ้ ย่างใกล้ชดิ จะทราบว่า ทางองค์กรต่างๆ ได้แก่ สำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธเิ ครือข่ายครอบครัว, สำ�นักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่าง

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ประเทศ, สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, เครือข่ายคนไทย ไร้พุง, โครงการโภชนาการสมวัย, แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้าน สุขภาพ และเครือข่ายเด็กไทยไม่กนิ หวาน ได้มกี ารยืน่ หนังสือให้ชะลอ การออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องฉลาก GDA แต่ก็เชื่อได้ ว่าไม่นา่ จะต้านทานกระแสของโลกได้ อีกไม่นานก็จะเห็นฉลาก GDA ในประเทศไทยมากขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมายังไม่มีประกาศกระทรวง สาธารณสุขออกมา บริษัทผู้ผลิตต่างๆก็เต็มใจที่จะติดฉลาก GDA ไปล่วงหน้าแล้ว ต่างกับตอนที่กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ ให้ใช้ฉลากแบบไฟจราจรแบบสมัครใจ ตอนนั้นไม่มีบริษัทผู้ผลิต รายใดติดฉลากไฟจราจรบนสินค้าเลย เหตุผลสำ�คัญน่าจะมา จาก อาหารเหล่านั้น ถ้าไม่ “หวาน” ก็จะ “เค็ม” หรือไม่ก็ “มัน” ดังนั้นก็จะมีฉลากสีแดง (หวาน มัน หรือเค็มเกิน) ติดอยู่บนซอง ชัดเจนมากเกินไป ทำ�ให้ผบู้ ริโภคอาจตัดสินใจไม่ซอื้ เพราะรูว้ า่ สีแดง ต้องไม่ดีต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามฉลาก GDA ที่ติดในไทยตอนนี้ ไม่ได้มีการระบุร้อยละของน้ำ�ตาล เนื่องจากกำ�ลังรอข้อตกลงว่าจะ ให้กินน้ำ�ตาลเท่าไรดี

ปริมาณน้ำ�ตาลในฉลาก GDA

ดูเหมือนว่า ฉลาก GDA จะมีขอ้ ดีกว่าฉลากโภชนาการแบบเดิมที่ แทบจะไม่มคี นเข้าใจ สำ�หรับมุมมองของทันตแพทย์เราคงต้องสนใจว่า ปริมาณน้�ำ ตาลในฉลาก GDA ทีร่ ะบุทงั้ ปริมาณและร้อยละต่อหน่วย บริโภคหรือหน่วยบรรจุนั้น ควรจะมีปริมาณน้ำ�ตาลเป็นเท่าไรดี น้�ำ ตาลทีม่ ใี นอาหารหรือเครือ่ งดืม่ นัน้ ๆ มันไม่ได้มปี ระเภทเดียวกันครับ ในทางวิชาการเราจะแบ่งน้�ำ ตาลเป็นสองแบบ คือน้�ำ ตาลธรรมชาติ (Natural sugar) และน้ำ�ตาลที่ผ่านกระบวนการแปรรูป (Processes sugar) ทีเ่ ห็นได้ชดั เจนคือน้�ำ ตาลทรายทีใ่ ส่เติมในอาหาร (Added sugar) น้�ำ ตาลธรรมชาติเป็นน้�ำ ตาลทีม่ อี ยูใ่ น ผัก ผลไม้ และนมวัว น้ำ�ตาล ธรรมชาตินี้เป็นที่ยอมรับในทางทันตสาธารณสุขว่า ไม่ทำ�อันตราย ต่อฟัน ทัง้ นีเ้ ป็นเพราะ น้�ำ ตาลในผักและผลไม้จะเป็นน้�ำ ตาลประเภท ในเซลล์ (Intrinsic sugar) ตัวของน้ำ�ตาลติดอยู่ในผนังเซลของผัก และผลไม้ (Trapped inside cell wall) ทำ�ให้ตอ้ งใช้เวลานานกว่าทีน่ �้ำ ตาลนี้ จะออกมาสัมผัสกับฟันได้ การทีน่ ้ำ�ตาลค่อยทยอยออกมาในสัมผัส ฟันช้าๆ ก็จะทำ�ให้บัฟเฟอร์ของน้ำ�ลายทำ�งานได้ดีขึ้น กรดที่เกิดใน แผ่นคราบจุลินทรีย์จะเกิดขึ้นน้อยและไม่รุนแรง ดังนั้นจึงถือได้ว่า น้ำ�ตาลธรรมชาติในผักและผลไม้ปลอดภัย เราสามารถกินผักและ ผลไม้เป็นอาหารระหว่างมื้อได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำ�ให้เกิด ฟั น ผุ ส่ ว นน้ำ � ตาลแลคโตสในนมวั ว จั ด เป็ น น้ำ � ตาลที่ อ ยู่ นอกเซลล์ (Extrinsic sugar) ถ้ากินตัวน้ำ�ตาลแลคโตสอย่างเดียว 28

(ไม่ใช้น้ำ�ตาลแลคโตสในนม) แบคทีเรียก็จะย่อยสลายน้ำ�ตาล แลคโตสและผลิตกรดออกมาได้ แต่น้ำ�ตาลแลคโตสที่อยู่ในนมวัว ไม่สามารถทำ�ให้เกิดกรดได้ เพราะในนมมีโปรตีน Casein ที่เป็น phosphoproteins ที่จะยับยั้งการละลายของเคลือบฟันจากกรดได้ (caries protective action) รวมทั้งในนมจะมีปริมาณแคลเซียม และฟอสเฟตสูงทำ�ให้ขบวนการสูญเสียแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสเฟต เกิดขึน้ ได้อย่างจำ�กัด ไม่จดั เป็นน้�ำ ตาลทีท่ �ำ ให้ฟนั ผุได้ (ถ้าใครเคยใช้ ผลิตภัณฑ์ CPP-ACP ในการป้องกันฟันผุ คำ�เต็มคือ Casein phosphopeptide - amophous calcium phosphate รูปแบบเดียวกับ ที่ในนมวัวมี) สรุปได้ว่า น้ำ�ตาลธรรมชาติในผัก ผลไม้ และนมวัว จัดเป็นน้ำ�ตาลที่ดี กินได้เท่าที่เราอยากกินครับ จากข้อมูลของงานวิจยั ของกองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข คนไทยควรจะรับประทานผัก 5 ทัพพี ผลไม้ 4 ส่วน และ นมจืด 1 แก้วต่อวัน ซึ่งหมายความว่าจะได้รับน้ำ�ตาลธรรมชาติ จากผัก 2 กรัมจากผลไม้ 30 กรัม(ผลไม้ไทยหวานมาก) และจากนมจืด 7.2 กรัม รวมแล้วจะได้รับน้ำ�ตาลธรรมชาติวันละประมาณ 40 กรัม ส่วนน้ำ�ตาลที่เติมหรือ added sugar นั้น ทางองค์การ อนามัยเรียกว่า Free sugar ซึ่งหมายถึง น้ำ�ตาลทุกชนิดที่ เติมลงในอาหารและเครื่องดื่มไม่ว่าจะเติมโดยบริษัท โรงงาน พ่อครัว แม่ครัว หรือผู้บริโภค และให้รวมไปถึง น้ำ�ตาลธรรมชาติ ที่อยู่ใน น้ำ�ผลไม้ น้ำ�ผึ้ง และไซรับด้วย เหตุผลที่น้ำ�ตาลใน น้�ำ ผลไม้จดั เป็น Free sugar ก็เพราะว่า มีการผ่านกระบวนการคัน้ แยก น้�ำ และกากออกมา ทำ�ให้น�้ำ ตาลธรรมชาติทดี่ ที อี่ ยูใ่ นผนังเซลล์หลุดออก มาข้างนอกเซลล์ ทำ�ให้สญ ู เสียคุณสมบัตใิ นการทยอยออกมาสัมผัส ฟัน (นีเ่ ป็นเหตุผลทีท่ นั ตแพทย์ควรแนะนำ�ให้ทานผลไม้สดมากกว่าการ ดืม่ น้ำ�ผลไม้) ทางอังกฤษจะเรียก Free sugar ว่า น้ำ�ตาลนอกเซลล์ที่ ไม่ใช่น�้ำ ตาลในนม (Non-milk extrinsic sugar: NMES อ่านว่า เอ็นเมส) เป็นการสื่อให้ชัดเจนว่า น้ำ�ตาลกลุ่มนี้ จัดเป็นน้ำ�ตาลที่ทำ�อันตราย ต่อฟัน ทำ�ให้ฟันผุได้ ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกได้แนะนำ�ให้กิน Free sugar น้อยกว่า 10% ของพลังงานที่ร่างกายได้รับ ในผู้ใหญ่ (ชาย) ควรได้รับพลังงาน 2,000 Kcal ต่อวัน ก็ควรเป็นพลังงานจาก น้ำ�ตาลที่เติมไม่เกิน 200 Kcal หรือ คิดเป็นปริมาณน้ำ�ตาล 50 กรัม ดังนั้นในฉลาก GDA ถ้าเราคิดว่าน้ำ�ตาลที่แนะนำ�ให้กิน ทั้งหมด (Total sugar) เท่ากับ น้ำ�ตาลธรรมชาติ 40 กรัมบวก กับ Free sugar 50 กรัม รวมแล้วก็จะเป็น 90 กรัม ตัวเลข นี้ดูเหมือนว่าน่าจะถูกต้องเหมาะสม แต่จริงๆแล้ว การรวม ลักษณะนี้เป็นการรวมน้ำ�ตาลที่ดี (จากผัก ผลไม้ และนม) รวมกั บ น้ำ � ตาลที่ แ ย่ (จากการเติ ม เพิ่ ม เข้ า ไป)เข้ า ด้ ว ยกั น

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ซึ่งการบวกแบบคณิตศาสตร์แบบนี้ไม่น่าจะทำ�ได้ เพราะเป็นการ เอาของสองสิ่งที่มีคุณลักษณะ มีประโยชน์และโทษไม่เหมือนกัน (แม้จะเป็นน้ำ�ตาลเหมือนกัน)มารวมกัน ดังนั้นเมื่อมารวมกันและ ระบุไว้ในฉลาก GDA ก็จะทำ�ให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา มีประเด็น ที่น่าสนใจดังนี้ครับ

ประเด็นที่ 1 จำ�เป็นหรือไม่ที่ต้องกิน Free sugar ทางองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าให้รับประทาน Free sugar “น้อยกว่า” 50 กรัมต่อวัน ซึ่งหมายความว่า ยิ่งกิน “น้อยกว่า” ที่กำ�หนดไว้ยิ่งดี และจะดีที่สุดก็คือ ไม่กินเลย ถ้าพิจารณาจาก เอกสารองค์การอนามัยโลกที่แนะนำ�เกี่ยวกับโภชนาการ จะเขียน ในลักษณะ “น้อยกว่า” ในสิ่งที่ไม่ควรกิน เช่น Cholesterol, Saturated fatty acid, Trans fatty acids ดังนัน้ ถ้าเราคิดว่า ไม่ควร กินอาหารทีม่ ี Cholesterol เราก็ไม่ควรกินอาหารทีม่ ี Free sugar เช่นกัน ส่วนในกรณีทเ่ี ป็นอาหารทีม่ ปี ระโยชน์ เช่น ผักและผลไม้ องค์การอนามัยโลยใช้ค�ำ ว่าให้กนิ “มากกว่า” ทีก่ ำ�หนดไว้ (กินมากกว่า เท่าไรก็ได้ ยิ่งกินมากยิ่งดี) สรุปได้สั้นๆว่า Free sugar นั้นอยู่ใน กลุ่มเดียวกับสิ่งที่ไม่ควรกินอื่นๆ Free sugar เป็นน้ำ�ตาลที่ไม่จำ�เป็น และไม่ควรกิน การให้คำ�แนะนำ�ว่ากินได้แต่อย่ากินเกินที่กำ�หนด ไว้น่าจะไม่เหมาะสม

ประเด็นที่ 2 ทำ�ให้ประชาชนเข้าใจผิดและกินน้�ำ ตาล เกินกว่าที่กำ�หนด ถ้ า ระบุ น้ำ � ตาลในฉลาก GDA ที่ ค วรจะบริ โ ภคต่ อ วั น เป็น 90 กรัม จะทำ�ให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ เช่น น้ำ�อัดลม หนึ่งกระป๋องขนาด 325 มิลลิลิตร มีน้ำ�ตาล 30-50 กรัม (คิดเฉลี่ย ที่ 45 กรัม) ในฉลาก GDA ก็จะระบุว่า มีน้ำ�ตาล 45 กรัมและระบุ ว่า 50% (คิดจาก 90 กรัม) ประชาชนอาจคิดได้ว่ากินน้ำ�ตาลไป แล้วประมาณครึ่งหนึ่งที่กินได้ วันนี้ยังกินน้ำ�ตาลได้อีก ทั้งที่ไม่ควร กินน้ำ�ตาลอีกต่อไปแล้ว เพราะ Free sugar ที่ได้รับเกือบจะเกินจาก ที่องค์การอนามัยโลกกำ�หนดไว้แล้ว

ประเด็นที่ 3 ไม่ได้มใี ช้ฉลาก GDA กับอาหารทุกชนิดในไทย ในประเทศไทยประกาศกระทรวงสาธารณสุ ข ที่ กำ � ลั ง จะ ออก จะมีผลบังคับใช้ในเบื้องต้นกับอาหาร 5 ชนิด ได้แก่ 29

มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดพอง ขนมปังกรอบหรือแคร็กเกอร์ หรือบิสกิต ข้าวโพดคั่วทอดหรืออบ กรอบ และเวเฟอร์สอดไส้ และจะมีประกาศเพิ่มเติมในอาหาร ประเภทอื่น ๆ ต่อไป การใช้กับอาหารบางประเภทไม่ครอบคลุม อาหารส่วนใหญ่ที่ประชาชนบริโภคนั้น อาจทำ�ให้ฉลาก GDA ไม่เกิดประโยชน์ได้ เพราะผูบ้ ริโภคไม่มที างรูเ้ ลยว่า อาหารอืน่ ๆทีเ่ ขา กินนั้นจะมีพลังงาน น้ำ�ตาล ไขมัน เกลือโซเดียมเท่าใด ถ้าไม่มีการติดฉลาก GDA ในผัก ผลไม้ และนมวัว ใน อนาคต ก็หมายความว่าฉลาก GDA ที่ติดก็ควรจะคิดเฉพาะ Free sugar เท่านั้น ไม่ควรนำ� น้ำ�ตาลธรรมชาติเข้ามารวมด้วย ผม อยากให้ฉลาก GDA ในประเทศไทย ระบุน้ำ�ตาลไว้ที่ 50 กรัม คือเป็น Free sugar อย่างเดียว ซึ่งจะต่างจากในอังกฤษที่ระบุ ไว้ที่ 90 กรัมในหญิง 120 กรัมในชาย และ 85 กรัมในเด็กอายุ 5-10 ปี เพราะเขาติดฉลากไว้ที่อาหารทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ผลไม้ ส้ม แอปเปิ้ล องุ่น สตอร์เบอรี่ (ในผักไม่แน่ใจ ไม่ได้ ทำ�กับข้าวกินที่อังกฤษก็เลยไม่ได้ตรวจสอบครับ) แม้แต่ในอังกฤษการที่มีการติดฉลาก GDA ในผลไม้ก็จะทำ�ให้ เกิดความเข้าใจผิดอีกแบบ เช่น เมื่อไปซื้อแอปเปิ้ลมาหนึ่งหน่วย บริโภค มีฉลาก GDA ติดไว้ว่า มีน้ำ�ตาล 22 กรัม (25%) และไปซื้อ อาหารซีเรียลหนึ่งหน่วยบริโภค (1กล่องเล็ก 30 กรัม) มีน้ำ�ตาล 12 กรัม (13%) พอดูฉลาก GDA เปรียบเทียบกัน อาจจะ เอ๊ะใจว่า กินแอปเปิ้ลแล้วได้น้ำ�ตาลเยอะกว่าซีเรียล เกิดความ สงสัยหรือลังเลว่าอะไรจะดีตอ่ สุขภาพแน่ ประชาชนจะไม่มที างรูเ้ ลย ว่า น้ำ�ตาลธรรมชาติในแอปเปิ้ลต่างกับน้ำ�ตาลที่เติมเพิ่มในซีเรียล

ประเด็นที่ 4 เรือ่ งการคิดปริมาณต่อหนึง่ หน่วยบริโภค ไม่ใช่ปริมาณที่บรรจุ ในอังกฤษและยุโรปยังมีปัญหาที่ฉลาก GDA คิดต่อหน่วย บริโภค ไม่ใช่คิดต่อปริมาณที่บรรจุขาย เช่น น้ำ�อัดลมขวดใหญ่ ขนาด 1 ลิตร แต่หนึ่งหน่วยบริโภคเป็น 250 มิลลิลิตร ฉลากก็จะ ระบุว่า มีน้ำ�ตาล 27 กรัม (29%) แต่ถ้ากินคนเดียวหมดขวด ก็จะ ได้น้ำ�ตาลรวม 108 กรัม (120%) ตอนที่ประชาชนไปซื้อก็อาจคิดว่า น้ำ�อัดลมขวดนี้มีน้ำ�ตาลแค่ 29% ดื่มได้สบาย แต่จริงๆถ้าดื่มก็จะ ได้น้ำ�ตาล 120% ซึ่งปัญหานี้ไม่น่าจะเกิดในไทย เพราะทาง อย.ได้ เตรียมที่จะใช้ฉลาก GDA ต่อปริมาณที่บรรจุขาย ผลการประชุมหารือของอย.วันนั้นไม่มีข้อสรุปว่าควรจะระบุ

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


น้ำ�ตาลปริมาณเท่าใดที่แนะนำ�ให้คนไทยกินได้ในหนึ่งวัน แต่ ที่ แ น่ ๆ ทางผู้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม หลายคนกั ง วลใจถึ ง ผลกระทบ ของการระบุตัวเลขน้ำ�ตาลที่ 90 กรัม ผมทราบมาจากพี่ๆใน เครือข่ายไม่กินหวานภายหลังว่า ทาง อย. ได้ตัดสินใจเลือกตัวเลข น้ำ�ตาลที่ 65 กรัม ผมไม่ทราบว่าทำ�ใมถึงจบลงที่ตัวเลขน้ำ�ตาล 65 กรัม ถ้ารู้คำ�ตอบแล้วจะมาเล่าให้ฟังนะครับ ผมคิดว่าพวกเราทีเ่ ป็นทันตแพทย์และทันตาภิบาลจะมีบทบาท หน้าทีใ่ นการทำ�ความเข้าใจกับประชาชนในเรือ่ ง ฉลาก GDA ในส่วน ของน้ำ�ตาล ต้องสื่อสารให้ได้ว่า มีน้ำ�ตาลที่ดี(ไม่มีโทษต่อสุขภาพ ฟัน ไม่มผี ลต่อสุขภาพในคนปกติ อาจจะยกเว้นคนทีเ่ ป็นเบาหวาน บางประเภทเท่านัน้ )และน้�ำ ตาลทีแ่ ย่ (ทำ�ให้อว้ นและฟันผุ) ปนกันอยู่ ในฉลาก GDA และจะต้องช่วยกันทำ�ให้คนไทยลดการบริโภคFree sugar ลดทัง้ ปริมาณและความบ่อยในการกิน Free sugarลงด้วยครับ โดยเฉพาะในฐานะทีพ่ วกเรามีความตัง้ ใจทีจ่ ะลดการเกิดฟันผุให้กบั คนไทย เราต้องสื่อสารและส่งข้อความในเรื่องของความถี่ใน การกิน Free sugar เป็นหลักครับ เพราะถ้าลดปริมาณ Free sugarให้หวานน้อยแต่หวานบ่อยๆ ฟันผุก็ไม่ลดลงอยู่ดี สำ�หรับความถี่ในการกิน Free sugar ที่แนะนำ� ถ้ายึด ตามวิชาการจากต่างประเทศ ก็จะแนะนำ�ไม่ให้กินเกิน 3 ครั้ง ต่อวัน แต่ในประเทศไทยตัวเลขนี้อ าจต้องปรับ เพราะคนไทยโดย เฉพาะเด็กๆมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสูง โดยส่วนตัวผมจะ แนะนำ�ให้เด็กกิน Free sugar ได้ไม่เกินวันละ 2 ครั้ง และยิ่งถ้า ประเมินว่าเด็กคนนัน้ มีความเสีย่ งต่อการเกิดโรคฟันผุสงู มาก (อยาก รู้ว่าจะประเมินความเสี่ยงได้อย่างไร จะเล่าให้ฟังในฉบับหน้าครับ) ผมก็จะแนะนำ�ให้กนิ Free sugar ได้แค่วนั ละครัง้ เท่านัน้ ส่วนน้�ำ ตาล ที่เป็น น้ำ�ตาลธรรมชาติในผัก ผลไม้ และนม กินได้บ่อยเท่าที่ชอบ หรือต้องการได้เลยครับ สุ ด ท้ า ยมี ข้ อ มู ล เรื่ อ งการกิ น น้ำ � ตาลของคนไทยมาฝาก ครับ ใครที่กินข้าวนอกบ้านบ่อยๆอาจไม่รู้สึก แต่ถ้าทำ�กับข้าว 30

ที่บ้านกินเองเป็นประจำ� พอไปกินนอกบ้านจะพบว่า อาหารที่ เรากินตามร้านอาหารจะหวานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาว หรืออาหารหวาน ข้อมูลปริมาณการบริโภคน้ำ�ตาลของคนไทย เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ในปี 2526 คนไทยบริโภคน้ำ�ตาลเพียง 12 กก./คน/ปี แต่มาในปี 2553 คนไทยบริโภคน้ำ�ตาลเพิ่มขึ้น เป็น 39 กก./คน/ปี หรือคิดเป็นการเพิ่มมากกว่า 3 เท่า และ ถ้าใช้สูตร “น้อยกว่า” ที่ทางองค์การอนามัยโลกกำ�หนดไว้ที่ 50 กรัมต่อวัน คูณด้วย 365 วัน เราก็ควรกินน้ำ�ตาลประมาณ 18 กก./คน/ปี เท่านั้น แสดงว่าตอนนี้คนไทยกิน Free sugar สูงกว่า 2 เท่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ�ไว้ จากข้อมูลการบริโภคน้ำ�ตาลของ http://www.illovo.co.za/ World_of_sugar/Sugar_Statistics/International.aspx ได้รายงานการ บริโภคน้ำ�ตาลปี 2552-2553 ในบางประเทศ มากที่สุดคือ บราซิล 61 กก./คน/ปี ออสเตรเลีย 48 กก./คน/ปี แมกซิโก 43กก./คน/ปี ไทย 37 กก./คน/ปี สหภาพยุโรป 36 กก./คน/ปี รัสเซีย 32 กก./คน/ปี สหรัฐอเมริกา 29 กก./คน/ปี อินเดีย 19 กก./คน/ปี และจีน 10 กก./ คน/ปี แสดงให้เห็นว่าคนไทยกินหวานกันมากเป็นอันดับต้นๆของโลก ข้อสังเกตที่พบคือ ประเทศที่บริโภคน้ำ�ตาลสูงมากจะเป็นประเทศ ผู้ผลิตน้ำ�ตาลและส่งออกได้มากและเป็นประเทศที่ราคาน้ำ�ตาลถูก มาก บราซิลส่งน้ำ�ตาลขายเป็นอันดับหนึ่งของโลก รองลงมาก็เป็น ไทย น้ำ�ตาลในบราซิลถูกกว่าในไทย ในขณะที่ประเทศที่บริโภคน้ำ� ตาลน้อยๆ มักเป็นประเทศที่มีราคาน้ำ�ตาลแพง เช่น ญี่ปุ่นน้ำ�ตาล มีราคาแพงกว่าไทยเกือบหกเท่า (ประเทศญีป่ นุ่ ทีบ่ ริโภคน้�ำ ตาลน้อย กว่าไทยครึ่งหนึ่ง) หรือน้ำ�ตาลในจีนก็แพงกว่าไทยประมาณ 3 เท่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องช่วยกันลดการกินหวานของคนไทยลง โดยการทำ�ให้น้ำ�ตาลราคาแพงขึ้น บรรดาพ่อค้า แม่ค้า บริษัทผู้ ผลิตก็จะพยายามลดการใส่ Free sugar ในอาหารและเครื่องดื่มลง เป็นไปตามกลไกราคาของตลาด 

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


เมื่อน้อยหน่อย หนองบัวลำ�ภู ให้คะแนนอ่อนหวานตัวเอง ชิวเหรียญ

ฝ่

ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลนากลาง อำ�เภอ นากลาง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู ได้ท�ำ โครงการ “ศูนย์พฒ ั นา เด็กเล็กอ่อนหวาน” ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 และมีการ ดำ�เนินการมาอย่างต่อเนือ่ ง โดยเลือกศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก เข้าร่วมโครงการปีละ 5-7 ศูนย์ จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในอำ�เภอนากลางที่มีทั้งหมด 37 ศูนย์ จนถึงปัจจุบันมี ศูนย์ที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 20 ศูนย์ การดำ�เนินงานของ โครงการนี้มีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผูป้ กครอง ครูพเี่ ลีย้ งเด็ก ร่วมกันหาปัญหาทางสุขภาพและ ทันตสุขภาพของลูกหลานตัวเอง จากนัน้ ร่วมกันหาสาเหตุ ของปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข สรุปเป็นข้อตกลงของ แต่ละศูนย์ เพือ่ ใช้เป็นแนวทางปฏิบตั ลิ ดการบริโภคหวาน เกิดผลการส่งเสริมภาวะโภชนาการและทันตสุขภาพของ เด็กในระยะยาว จากการทำ�โครงการมาอย่างต่อเนือ่ ง ผูเ้ ขียนก็นกึ อยาก รู้ถึงความสำ�เร็จและความยั่งยืนของโครงการศูนย์พัฒนา เด็กเล็กอ่อนหวาน ประกอบกับเป็นพี่เลี้ยงให้นักศึกษา

แบ่งกลุ่มผู้ปกครองเข้าทำ� กิจกรรมตามกลุ่ม

ทันตแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีก�ำ ลังหนุน ดีอย่างนี้ จึงได้จัดทำ�โครงการประเมินผลงานศูนย์เด็กเล็ก อ่อนหวานขึน้ เน้นเข้าไปศึกษาแนวความคิดของครูพเี่ ลีย้ ง, ผูป้ กครอง และกลุม่ เจ้าหน้าทีท่ นั ตสาธารณสุขทีไ่ ด้รบั มอบ หมายให้ท�ำ โครงการศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กอ่อนหวาน เพือ่ ให้ เห็นถึงแนวคิดของแต่ละบุคคลทีแ่ ตกต่างกันออกไป พบว่า สาเหตุทที่ �ำ ให้กจิ กรรมศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กอ่อนหวานไม่ตอ่ เนือ่ งและยัง่ ยืนเกิดจากความบกพร่องในแต่ละขัน้ ตอนของ การดำ�เนินงาน ทั้งการประเมินสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ก่อนทำ�โครงการ ความเหมาะสมของกระบวนการ และวิธี การติดตามผลลัพธ์ ถ้ามองตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือ กิจกรรมโครงการไม่ได้ เริ่มต้นมาจากความต้องการของคนในชุมชนเอง แต่ เป็นโครงการที่หน่วยงานของรัฐสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ ทันตสาธารณสุขลงไปทำ�กิจกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดังนั้นการเข้าร่วมโครงการของผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยง หรือเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขใน

ผู้ปกครองออกมาพูดถึง ปัญหา และวิธีแก้ไข ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 31

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


พูดคุยกับครูพี่เลี้ยง อำ�เภอ จึงเป็นไปใน รูปแบบการขอความร่วมมือและ การให้ความร่วมมือ เท่านั้น เมื่อใดที่ขาดความต่อเนื่อง ของนโยบายหรือขาดเงินอุดหนุนจากรัฐแล้ว การดำ�เนิน กิจกรรมระหว่างเจ้าหน้าทีท่ นั ตสาธารณสุขกับศูนย์พฒ ั นา เด็กเล็กก็จะล้มเลิกไปในที่สุด นอกจากนี้ ในกระบวนการ ทำ�งาน เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขมองศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กทุกศูนย์ว่ามีความเหมือนกัน จึงได้เอา กิจกรรม รูปแบบเดียวกันเข้าไปทำ�ในทุกศูนย์ แต่ความจริงแล้ว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแต่ละศูนย์นั้นมีความแตกต่างกัน ทำ�ให้เจ้าของพื้นที่ซึ่งได้แก่ครูพี่เลี้ยงเด็กและผู้ปกครอง เด็ก ไม่รู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรม ทำ�ให้การดำ�เนินกิจกรรม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอ่อนหวานไม่ต่อเนื่องและบางแห่ง ถูกล้มเลิกไป จากข้อมูลการประเมินที่ได้นี้ ผู้เขียนได้ข้อคิดว่าก่อน

32

ที่จะนำ�โครงการใด ๆ ลงสู่ชุมชน ควรศึกษาข้อมูลของ พืน้ ทีเ่ ป้าหมายเสียก่อน โดยเลือกพืน้ ทีเ่ ป้าหมายหรือกลุม่ เป้าหมายที่มีความต้องการจะทำ�กิจกรรมจริง ๆ หรือถ้า คิดไกลไปอีกขั้นคือ กลุ่มเป้าหมายน่าจะมีศักยภาพที่จะ สามารถดำ�เนินกิจกรรมต่อเนื่องได้ด้วยตนเอง ในการเต รียมทีมงานควรทำ�ความเข้าใจและกำ�หนดวัตถุประสงค์ ของโครงการให้ชดั เจนก่อนเริม่ ทำ�โครงการ โดยทีก่ จิ กรรม ในชุมชนควรเกิดขึ้นมาจากในชุมชน คือ เป็นปัญหาที่ คนในชุมชนเล็งเห็นความสำ�คัญ อยากจะแก้ไขปัญหา รูปแบบกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ก็ไม่จำ�เป็นต้องมีรูปแบบ เหมือนกัน ปรับรายละเอียดให้เข้ากับแต่ละพื้นที่ คำ�นึง ถึงลักษณะเฉพาะ จุดเด่น จุดด้อยของพื้นที่และกลุ่ม เป้าหมายเป็นสำ�คัญ และทีเ่ ป็นจุดด้อยของการทำ�งานสาธารณสุขในปัจจุบนั คือ เราขาดการประเมินผล (จริง ๆ เราขาดตั้งแต่ทักษะ การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำ�ข้อมูลไปใช้แล้ว) ทำ�ให้ เราไม่เห็นถึงความสำ�เร็จของโครงการ หรือไม่สามารถ หาสาเหตุของปัญหาในการทำ�งานได้ เราเลยทำ�งานกัน แบบพะอืดพะอม เหมือนโดนบังคับให้ทำ� เพราะเรายัง ไม่เห็นคุณค่าของงานที่เราทำ� ดังนั้นเลยอยากเสนอให้ ลองประเมินผลงานที่ตัวเองทำ�ดูบ้าง แต่ไม่ควรเป็นการ ประเมินเพื่อหาคนผิดและอย่าทำ�ให้เกิดการแตกแยกใน องค์กร เพราะทุกคนต่างทำ�หน้าที่ของตัวเองอาจมีความ ผิดพลาดเกิดขึ้นได้ อย่าลืมนะคะว่า “คนที่ไม่เคยทำ�ผิด คือคนที่ยังไม่ทำ�อะไรเลย” สู้ ๆ ค่ะ.

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ด อ ย ต่อ ละอ่อนปัวอ่อนหวาน ทพญ.มยุเรศ เกษตรสินสมบัติ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน

ากการสำ�รวจสภาวะทันตสุขภาพ ในกลุ่มเด็กอายุ 3 ปี พบว่าเด็กที่ปราศจากโรคฟันผุ ในอำ�เภอปัว ร้อยละ 38.68 ,32.56 ,24.21 ในปี 2549 , 2550 และ 2551 จะเห็นว่าแนวโน้มลดลงเรือ่ ยๆ แม้จะมีการปรับ เปลี่ยนการทำ�งานด้านสร้างเสริมทันตสุขภาพให้ครอบคลุมกลุ่มอายุต่างๆ มอบหมายทันตบุคลากรรับผิดชอบทำ�งาน ทั้ ง เชิ ง รั บ เชิ ง รุ ก จากข้ อ มู ล ทางวิ ช าการพบว่ า กาบริ โ ภคแป้ ง และน้ำ � ตาลมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ โรคฟั น ผุ แ ละ ปัญหาโภชนาการ ทีมงานก็เน้นการทำ�งานโครงการเด็กปัวอ่อนหวาน เพื่อลดการ บริโภคอาหารหวานในกลุ่มเด็ก แต่จากการสังเกตพบว่าปัจจุบันขนมมีสีสัน สวยงามหาซื้อได้ง่าย ซื้อได้ตลอดเวลาเด็กสามารถไปเชื่อขนมจากร้าน ค้าได้ มีผปู้ กครองบางคนบอก “ลูกมักจะไปเอาขนมมาก่อน พ่อแม่ผู้ ปกครองตามไปจ่ายเงินทีหลัง” เออ เครดิตดีตงั้ แต่เด็กเลยทีเดียว เพิ่มมูลค่าหนี้สาธารณะระดับประเทศหรือเปล่าเนี่ย ก็เลยมานั่ง คุยกันในทีมงานว่ามันน่าจะมีอะไรที่ยังเป็นเงื่อนปมที่ซ่อนอยู่ จึงได้เชิญชวนน้องๆในงานทันตสาธารณสุข มาทำ�การศึกษา หาข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ดั ง นั้ น จึ ง เกิ ด การวิ จั ย เล็ ก ๆเกิ ด ขึ้ น เพื่ อ ศึ ก ษาวิ ถี ชี วิ ต และการเลี้ ย งดู ข องครอบครั ว เด็ ก พฤติ ก รรม การบริ โ ภคแป้ ง และน้ำ � ตาลที่ เ สี่ ย งต่ อ สุ ข ภาพช่ อ งปากของเด็ ก ปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ทำ�การสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยผู้ถูกสังเกตรู้ตัว กลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้ปกครองเด็ก ครูพีเลี้ยงเด็ก แกนนำ�ชุมชน ระหว่างการ เก็บข้อมูลมีการวิเคราะห์ขอ้ มูลแบบคร่าวๆ ตรวจสอบเนือ้ หาโดยเทคนิค ตรวจสอบเนือ้ หาแบบสามเส้า (Triangulation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่าเด็กส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย โดยพ่อแม่เด็กไปทำ�งานต่างจังหวัดบางคนคลอดได้ 18 วัน ก็ต้องทิ้งลูกไปทำ�งานต่างจังหวัด บางคนได้กลับมาบ้านก็ช่วงเทศกาลปีละ 1 -2 ครั้งเท่านั้น การเลี้ยงดูของ ปู่ย่าตายายส่วนใหญ่ก็จะแสดงความรักและตามใจหลานมาก ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้นอยู่กับการได้อยู่ กับลูกของแม่ สาเหตุที่เริ่มดื่มนมผสมคือแม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้เอง เด็กบางคนจึงเริ่มดื่มนมผสมตั้งแต่อายุไม่ถึง 1 เดือน การเลือกนมผู้ปกครองส่วนใหญ่จะเลือกนมที่มีรสจืดให้เด็กในช่วงเริ่มต้นแต่ถ้าเปลี่ยนนมมักจะเปลี่ยนเป็น

33

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


นมที่มีรสหวานเพราะต้องการให้ลูกอ้วน ยังคิดว่าเด็กอ้วนคือเด็กมี สุขภาพดีกว่าเด็กผอม การเลิกนมขวด ผูป้ กครองจะตามใจเด็ก ให้เด็ก เลิกเองเกรงว่าถ้าดืม่ นมจากแก้วเหมือนทีห่ มอแนะนำ� จะทำ�ให้เด็กดืม่ ได้น้อย บางคนเข้าโรงเรียนประถมศึกษายังเลิกนมขวดตอนกลางคืน ไม่ได้ ทั้งๆที่ไปศูนย์เด็กเล็กกลางวันก็ไม่ดื่มแล้ว เลิกตามเกณฑ์ศูนย์ เด็กเล็กน่าอยู่(เด็กอายุเกิน 2 ขวบไม่ดื่มนมขวด) ผู้ปกครองบางส่วน มีการรับรู้ว่า การบริโภคหวานไม่ดีต่อสุขภาพจึงไม่ให้เด็กดื่มนมหวาน ตามที่หมอบอกตอนพาเด็กไปฉีดวัคซีน แต่มักจะพบว่าเด็กไม่ชอบ นมจืด ก็เลยให้ดื่มนมอื่นๆ เช่น นมเปรี้ยว โอวัลตินแทนเพราะคิดว่า ไม่ใช่นมหวานที่มักจะมีกล่องสีเขียวๆ หรือนำ�นมจืดผสมน้ำ�หวานเช่น น้ำ�เขียว น้ำ�แดงให้ดื่ม พฤติกรรมการกินขนมเด็กส่วนใหญ่เริ่มกิน ขนมตั้งแต่ประมาณขวบกว่า โดยการเห็นเพื่อน เห็นรุ่นพี่กินก็เลย อยากกิน ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความรู้ว่าเด็กทานขนมหวานมาก ไม่ดีต่อสุขภาพแต่ส่วนใหญ่จะใจอ่อนกลัวเด็กเสียใจเลยต้องซื้อให้ “พ่อ แม่มันไม่อยู่เดี๋ยวตอนโทรมาจากกรุงเทพฯเด็กมันจะฟ้อง แม่ว่าตายายไม่ซื้อ อะหยังให้กินปล่อยอดๆ อยากๆ เดี๋ยวลูกเขา จะว่าเอา” และคิดว่าเด็กงอแงก็จะกวนผู้ปกครองปู่ ย่า ตา ยาย ที่ยังต้องทำ�งานไปด้วยเลี้ยงหลานไปด้วยเนื่องจากเงินที่ ลูกๆหรือพ่อแม่ของเด็กส่งมาให้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย หากเด็กไม่งอแง ก็สามารถทำ�งานเลยซื้ให้เพื่อตัดรำ�คาญ จากงานวิจัยจะพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องอาหารและนมที่มีประโยชน์ต่อ บุตรหลานแต่ไม่สามารถที่จะจัดการกับพฤติกรรมการบริโภคของเด็กได้ ดังนั้นการที่บุคลากรสาธารณสุขพยายามแก้ ปัญหาสุขภาพเด็กเพียงแต่การให้สุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดการรับรู้คงยังไม่เพียงพอ ควรมีการพัฒนาการ ทำ�งานในเชิงลึกมากขึ้น เช่นประสานความร่วมมือกับ บุคลากรสหสาขาอาชีพอื่นๆเช่น นักจิตวิทยามาช่วยแนะนำ�ผู้ ปกครองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก ทางทีมงานทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัวจึงมีการจัดกิจกรรมการแลกเปลีย่ นเรียนรูใ้ นกลุม่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยหรือเด็กในศูนย์เด็กเล็กโดยเชิญนักวิชาการการศึกษาที่มีความรู้ในด้านจิตวิทยาเด็กมาร่วมแลก เปลี่ยน ก็ส่งผลให้ผู้ปกครองหลายคนกล้าที่จะปฏิเสธความต้องการของเด็ก มีวิธีการหลีกเลี่ยงอย่างไม่ทำ�ร้ายจิตใจ เด็ก แม้ว่าจะไม่สามารถวัดผลเชิงปริมาณได้ว่าสามารถลดการบริโภคอาหารวานลงได้เท่าไร แต่จากการสังเกตุพบว่า เด็กจะไปที่ร้านค้าน้อยลง ผู้ปกครองก็จะปรับเปลี่ยนอาหารว่างให้เด็กเป็นอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ในกระเป๋าเด็ก ที่ไปศูนย์เด็กเล็กก็จะพบกล่องใส่ มะละกอ แตงไทย หรือผลไม้ตามฤดูกาลมากขึ้นไปสอบถามพี่เลี้ยงเด็กที่ศูนย์เด็ก เล็ก หรือผู้ปกครองบางคนว่าเปลี่ยนอย่างนี้แล้วเด็กยอมหรือ “พอไม่มีอะไรกินก็ยอมกินที่มีแหละหมอ” แค่นี้ก็ทำ�ให้ ทีมงานได้ชื่นใจกันเล็กๆ หมายเหตุภาษาเมือง วันละคำ� ละอ่อนแปลว่า เด็ก  34

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


บอกเล่าเรื่องราว...

ภาคใต้รวมพลังอ่อนหวาน โดย ทีมเครือข่ายภาคใต้

อี ก

ก้ า วหนึ่ ง ของการพั ฒ นาศั ก ยภาพที ม งานและคุ ณ ครู ผู้ ดู แ ลเด็ ก และทันตบุคลากรที่อยู่ในโครงการ “เด็กใต้ไม่กินหวาน”อานิสงค์ยังได้กับคุณครู ผู้ดูแลเด็กของโครงการหนูนุ้ยฟันดีที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชายแดนใต้และโครงการ วิจัยเพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบสื่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ ที่ทางม.อ. ดำ�เนินการ อยู่ ทีค่ ณะทันตพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นพีเ่ ลีย้ ง โดยมีการอบรม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารโครงการพั ฒ นาทั ก ษะการสื่อ สารกั บ เด็ ก เล็ ก ระหว่ า งวั น ที่ 21 – 22 เมษายน 2554 ณ สวนประวัตศิ าสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สงขลา ซึ่งได้รับการสนับสนุนวิทยากร จากแผนงานเครือข่ายเด็กไทยไม่กนิ หวาน นำ�โดย ดร. พัฒนพงส์ จาติเกตุ รองผูจ้ ดั การเครือข่ายเด็กไทยไม่กนิ หวานกับทีมงานของครูชวี นั วิสาสะ และคุณขวัญจิตร วรามิตร มาสร้างความสนุกสนานและเติมพลังกลเม็ดเคล็ดไม่ ลับมากมายให้กบั ผูเ้ ข้าร่วมอบรม ทัง้ เทคนิคการเล่านิทาน และกิจกรรมการเคลือ่ นไหว

35

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ด้วยเพลงที่เร้าใจเหมาะกับวัยของเด็กๆ เป็นการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ นำ�ไปต่อยอด ใช้งานได้จริง นอกจากทีมคุณครูผู้ดูแลเด็กของเครือข่ายไม่กินหวานแล้ว อยากให้เครือ ข่ายมีการพัฒนาในลักษณะนี้ทุกๆปี ไม่ทราบว่าเครือข่ายไม่กินหวานภาคอื่นๆเห็นด้วย หรือเปล่าค่ะ นอกจากนี้ ผศ. ดร.อังคณา เธียรมนตรี ได้น�ำ กลุม่ อาจารย์ทปี่ รึกษา ร่วมจัดประชุม เชิงปฏิบตั กิ ารในหัวข้อประเมินผลโครงการและการรายงานผล มีการบรรยาย ในหัวข้อที่ น่าสนใจจากทีมอาจารย์คือ “แนวคิดการประเมินผลและแผนการประเมินผล” โดย ผศ.ทพญ. อังคณาเธียรมนตรี “เครือ่ งมือในการเก็บข้อมูล” โดย ผศ. ทพญ. ณัฐพร ยูรวงศ์ “การวิเคราะห์ข้อมูล (เน้นข้อมูลจริง)/และการจัดทำ�ตารางนำ�เสนอข้อมูล (Dummy table)” โดย ผศ.ทพญ. เสมอจิต พิธพรชัยกุล ในครั้งนี้จะมีการนำ�เสนอความก้าวหน้าของแต่ละโครงการ ว่าได้ดำ�เนินการอะไรไปแล้วบ้าง พบว่า โครงการเก่า – ต่อเนื่อง หลายโครงการได้ดำ�เนินการถึง ขัน้ ตอนการวิเคราะห์ขอ้ มูลแล้ว จากการสังเกตพบว่า ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการทุ ก โครงการมี ค วามตั้ ง ใจและมุ่ ง มั่ น ในการทำ � งานเพื่ อ ให้ งานสำ�เร็จ โดยมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนทั้งแนวคิด วิธีการและเครื่องมือซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีรูปแบบการ ทำ�งานทัง้ สร้างงานและสร้างคน โดยผูท้ ม่ี ปี ระสบการณ์ ซึง่ ดำ�เนินงานตามขัน้ ตอนได้มากกว่าให้คำ �แนะนำ�และ ช่วยเหลือผู้ที่ทำ�งานได้น้อยกว่า มีบรรยากาศของเพื่อนช่วยเพื่อนพี่ช่วยน้อง ให้กำ�ลังใจในการทำ�งานร่วมกัน 36

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ต่อมาในวันที่ 9-10 มิถนุ ายน 2554 ผศ. ดร.อังคณา เธียรมนตรี ได้น�ำ กลุม่ อาจารย์ทปี่ รึกษาและ ทีมงานทันตบุคลากร และคุณครู ทั้งเครือข่ายในจังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง ปัตตานี นครศรีธรรมราช กระบี่ สุราษฏร์ธานี และภูเก็ต ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายไม่กินหวานภาคใต้ครั้ง ที่ 3 ณ.โรงแรมบีพี สมิหลาสงขลา โดยเครือข่ายแต่ละจังหวัดได้นำ �ทีเด็ดของแต่ละจังหวัด มาโชว์กันเต็มที่แต่กิจกรรมที่น่าสนใจอีกเรื่องคือบรรยากาศแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม โยแบ่งเป็นกลุ่มที่ทำ�งานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาและกลุ่มที่ทำ�งาน ร่วมกับชุมชน ผลงานเสร็จออกมาเรียบรอยเมือ่ ไหร่ จะรีบนำ�มาเผยแพร่ให้เครือข่ายทีส่ นใจรับทราบในโอกาสต่อไปนะคะ 

37

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


น ั ฝ ่ า ารเล

ก ิ ต ั บ ิ ปฏ

ไม่กินหวาน สวัสดีค่าทุกๆคนค้า^.^ เนื่องด้วย ท่านบก.แจ้งมาว่า เล่มนี้อยากได้เนื้อหา หลักเป็นเรื่องของการ โครงการไม่กินหวาน ดังนั้นเรื่องราว เกีย่ วกับการไม่กนิ หวานทีจ่ มุ้ จิม้ จะเล่าให้ฟงั ในวันนีก้ เ็ ลยคิด ว่าเป็นในประเด็นที่จุ้มจิ้มสนใจมากกกกกกกกก และคิดว่า คุณผู้หญิงทุกท่านก็ต้องสนใจเช่นกันค่ะ นั่นก็คือเรื่องของ กินหวาน ทำ�ให้หน้าแก่เร็ว!!!! >.< (แว๊กไม่อาว วววววชั้นไม่อยากแก่) เนือ่ งมาจากจุม้ จิม้ ได้ท�ำ รายการโทรทัศน์เกีย่ วกับสุขภาพ อยูร่ ายการนึง ก็คอื รายการ คุยกัหมอทางช่อง ทรู TNN2 ในรายการนี้ จุ้มจิ้มก็มีโอกาสได้คุยกับ ดร. กมล ไชยสิทธิ์ ท่านเป็นนัก กำ�หนดอาหาร และนักเภสัชวิทยา เป็นอาจารย์พเิ ศษประจำ� มหาวิทยาลัยมหิดล ท่านพูดเกีย่ วกับเรือ่ งนีไ้ ว้วา่ “การได้รบั น้ำ�ตาลมากเกินไป จะทำ�ให้ร่างกายตอบสนองโดยการหลั่ง อินซูลินมากขึ้นเพื่อพยายามเอาน้ำ�ตาลเข้าไปเก็บในเซลล์ แต่ถ้าร่างกายหลั่งอินซูลินมากเกินไปก็ทำ�ให้เกิดการดื้อ ต่ออินซูลิน ทำ�ให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นั่นเป็นทฤษฎีแรกๆที่ทำ�ให้เราตระหนักถึงภัยของอาหารที่ มีน�้ำ ตาลสูง แต่ตอ่ มาพบว่าเวลาน้�ำ ตาลทีล่ อ่ งลอยในกระแส เลือดมีจำ�นวนมากๆ จะเกิดการเติมน้ำ�ตาลเข้าสู่เซลล์เม็ด เลือดแดงโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องอาศัยอินซูลินเลย ทำ�ให้ เม็ดเลือดแดงทำ�งานได้ลดลงการนำ�ออกซิเจนไปเลีย้ งร่างกาย ก็นอ้ ยลง อวัยวะต่างๆ ได้รบั อาหารหล่อเลีย้ งน้อยก็จะค่อยๆ 38

โดย หมอจุ้มจิ้ม

เสื่อมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง แล้วน้ำ�ตาลยังชอบไป จับกับโปรตีนต่างๆ ในร่างกาย ไปจับตามผนังหลอดเลือด ผนังหลอดเลือดแดงก็แข็งตัวเสียการยืดหยุน่ แค่นอี้ าจรูส้ กึ ไกล ตัวสำ�หรับวัยรุน่ แต่ทา่ นรูก้ นั ไหมว่า น้�ำ ตาลทีม่ มี ากจะทำ�ให้ ร่างกายพยายามเผาผลาญมันออกเรื่อยๆ จนมีอนุมูลอิสระ ล่องลอยออกมามากมายในร่างกาย พอมีอนุมูลอิสระมาก พระเอกตัวสำ�คัญของร่างากายคือกลูตา้ ไธโอนก็ตอ้ งทำ�งาน ในการพยายามลดอนุมลู อิสระดังกล่าวพอกลูตา้ ไธโอนลดลง ผิวพรรณก็เริ่มไม่สดใส อนุมูลอิสระก็จะวิ่งไปทำ�ลายเซลล์ ดีๆ ในร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งไฟโบบลาส ซึ่งทำ�หน้าที่ สร้างคอลลาเจนให้กบั ผิวหนัง หน้าทีค่ อลลาเจนจะทำ�ให้เรา มีผวิ ทีเ่ ด้งดึง๋ ชุม่ ชืน่ ไม่แก่และเหีย่ วย้อย แต่อนุมลู อิสระจะมา ทำ�ลายคอลลาเจนพวกนี้ผิวก็จะเหี่ยวย้อย อึ๋ยฟังดูก็น่ากลัว แล้วเนาะ สังเกตุงา่ ยๆ เวลาเราหมักเนือ้ สัตว์เวลาทำ�กับข้าว ถ้าหมักหมูด้วยน้ำ�ตาลแล้วนำ�ไปทอดหรือย่าง จะเห็นว่า หมูจะมีรอยดำ�ไหม้ได้เร็วและมากกว่าหมูที่ไม่ได้ใส่น้ำ�ตาล หมัก นั่นเป็นเพราะน้ำ�ตาลจะรวมตัวกับโปรตีนแล้วเกิด ปฏิกริยาสีน�้ำ ตาลได้งา่ ย ดังนัน้ ในร่างกายเราเองก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นเราควรระมัดระวังการกินหวานให้มาก รู้กันหรือไม่ น้ำ�อัดลม 1 แก้วใหญ่ มีน้ำ�ตาลอยู่เท่ากับปริมาณน้ำ�ตาล ทราย 20 ช้อนชา ฟังแล้วคงต้องหันมาทบทวนกันหน่อย ก่อนจะยกแก้วน้ำ�อัดลมขึ้นมาดื่มแล้วนะครับ” อย่าลืมนะคะ ความหวาน= ความเหีย่ วแก่ ค่า บรือ๊ >.< !!! 

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


กิจกรรมแผนงานสร้างเสริมสุขภาพ ช่องปากคนพิการ

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา งานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ จัดประชุมเพื่อนำ�เสนอ ความคืบหน้าของโครงการสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาระบบบริการและระบบสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก สำ�หรับผู้พิการในประเทศไทย (Scoping Review and Research Synthesis on the Development of Oral Health Promotion and Dental Service Delivery Systems for the Disabled in Thailand) นำ�เสนอโดย หัวหน้าโครงการวิจัย คือ อ. ทพญ. ดร. มัทนา เกษตระทัต จากม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต และคณะทีม วิจัยดังนี้ ทพญ.ศันสณี รัชชกูล , ทพญ.ทิพาพร เสถียรศักดิ์พงศ์ , นายสุพจน์ ชำ�นาญไพร จากกลุ่มพัฒนาความร่วมมือทันตสาธารณสุขระหว่าง ประเทศ , ทพญ.จุฑารัตน์ ฉิมเรือง จาก ม.นเรศวร , ทพญ.สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา , นางสาวพวงทอง ผู้กฤตยาคามี จากสำ�นักทันตสาธารณสุข และ ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ จาก สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ ในโอกาสนี้ พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำ�นวยการสถาบันสร้างเสริมสุข ภาพคนพิการให้เกียรติเป็นประธานในที่ประชุม บรรยากาศในที่ประชุมเป็นไปด้วยความอบอุ่น มีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย และนักวิชาการด้านทันตสาธารณสุขจากหลายหน่วยงาน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกับอย่างคับคั่ง คุ้นหน้าคุ้นตากันดีอยู่แล้วดังนี้นะคะ จากหน่วยงานในระดับนโยบายคือ ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ จาก สสส.สำ�นักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ พี่ๆจากสำ�นักทันตสาธารณสุขกรมอนามัย มากันหลายท่าน คือ ทพญ.สุณี วงศ์คงคาเทพ, ทพญ.สุณี ผลดีเยี่ยม, ทพญ. สุวรรณา เอื้ออรรถการุณ และจากสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย ทพ.กวี วีระ เศรษฐกุล จากหน่วยงานทางวิชาการมีดังนี้คือ รศ.ทพญ.มาลี อรุณากูร จากม.มหิดล , ผศ.ทพญ. พรพรรณ อัศวาณิชย์ จากม.จุฬา, ทพ.อติ ศักดิ์ จึงพัฒนาวดี จากม.เชียงใหม่ , ทพญ.อุษณา ตัณมุขยกุล จาก HITAP และจากหน่วยงานผู้ปฏิบัติงานดังนี้ ทพญ. ภัตติมา บุรพลกุล จากสถาบันราชานุกูล, ทพญ.วีรนันท์ วิชาไทย จากสถาบันทันตกรรม และ ทพญ.แพร จิตตนันทน์ จากโรงพยาบาลบางใหญ่ จ.นนทบุรี ประเด็นนำ�เสนอในที่ประชุมมีดังนี้ 1. นโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ (Policy & regulation) 2. การบริหารจัดการระบบสาธารณสุขและโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและงานบริการทันตกรรม (Organizational and financial management) • มาตรการเพิ่มการเข้าถึงบริการในกลุ่มประชากรที่มีความพิการ • รูปแบบการจัดบริการทันตสุขภาพสำ�หรับคนทีม่ คี วามพิการประเภทต่างๆ และการประเมินผลลัพธ์-ผลกระทบทางสุขภาพหรือคุณภาพชีวติ ในมิติต่างๆ 39

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


3. การเตรียมความพร้อมของบุคลากรสหวิชาชีพ (Professional education)

ร่างข้อเสนอและแนวทางการบริหารจัดการโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของคนพิการ 1) ขยายบริการส่งเสริมป้องกันและงานบริการทันตกรรมตามสิทธิหลักประกันสุขภาพให้ครบทุกตำ�บล 2) ปรับโครงสร้างและภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขและสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดให้สามารถสนับสนุนการจัดบริการและการกำ�กับ ดูแลระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ 3) พัฒนาศักยภาพทันตบุคลากรในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและงานบริการ ทันตกรรม โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองส่งเสริมป้องกัน ก่อนเกิดโรคในช่องปาก 4) พัฒนาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและงานบริการทันตกรรม 5) พัฒนารูปแบบการจัดบริการบูรณาการส่งเสริมป้องกันสุขภาพเชิงรุกในชุมชน การประชุมเพือ่ นำ�เสนอความคืบหน้าผลงานสังเคราะห์องค์ความรูใ้ นครัง้ นีถ้ อื เป็นครัง้ แรกทีไ่ ด้เชิญตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมวิพากษ์ ผลงานทางวิชาการด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากสำ�หรับคนพิการในประเทศไทย หากมีความคืบหน้าประการใดเพิ่มเติม จะนำ�เสนอผ่าน วารสารทันตภูธรนะคะ โปรดติดตามต่อไปด้วยจิตระทึก ขอเชิญชวนทุกท่าน เข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการของชมรมทันตสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ซึ่งเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ มีห้องย่อยนำ�เสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 ขอเรียนเชิญทุกท่านที่ห้องธาราทอง 2 โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จ.เชียงใหม่ โดย พร้อมเพรียงกันนะคะ 

40

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ใครๆก็เข้าถึงการทำ�ฟันได้

นางสาว ณธกมล รุ่งทิม

วั ส ดี ค่ะ คุ ณ ผู้อ่า นทั น ตภู ธ รทุ ก ท่ า น ก่ อ นอื่น ข้ า พเจ้ า ขอขอบคุ ณ ที ม บรรณาธิการของทันตภูธรที่มอบโอกาสให้เขียนเรื่องราวถ่ายทอดประสบการณ์ การทำ�ฟันของคนพิการสู่สายตาผู้อ่านทุกๆท่านนะคะ การทำ�ฟันของคนพิการ นั้นก็มีทั้งด้านที่เหมือนและต่างจากการทำ�ฟันของคนทั่วไป เช่น เพื่อนคนพิการ หลายคน รวมทัง้ ตัวข้าพเจ้าเองก็หวาดหวัน่ กับการทำ�ฟัน ซึง่ คนไม่พกิ ารหลายคนก็กลัว เหมือนกัน จุดที่ต่างกันก็ที่รายละเอียดของวิธีการทำ�ฟันในขั้นตอนต่างๆ ซึ่งความ ต่างนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะความพิการของแต่ละคน เช่น เพื่อนหูหนวกมักต้องการ สื่อสารกับทันตแพทย์ด้วยภาษามือหรือการเขียนข้อความ เพื่อนพิการทางการ เคลื่อนไหวบางคนก็อาจจะไม่สามารถลุกขึ้นเดินไปนั่งเก้าอี้ทำ�ฟันได้ด้วยตัวเอง หรือบบางคนก็มอี าการเกร็งมากจนไม่สามารถอ้าปากกว้างและนัง่ นิง่ ๆได้ เป็นต้น

แต่ข้อจำ�กัดจากลักษณะความพิการเหล่านี้ก็ไม่ได้เกิน ความสามารถของทั น ตแพทย์ ไ ทยเรานะคะ มี ทัน ตแพทย์ หลายท่ า นที่ เ ข้ าใจและหาวิ ธี ก ารต่ า งๆให้ ส ามารถทำ � ฟั น ให้ ค นพิ ก ารได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพค่ ะ อย่ า งเช่ น ตั ว อย่ า ง ตอนปฐมฤกษ์ฉบับนี้ข้าพเจ้าจะขอเล่าเรื่องประสบการณ์ของ ตัวเองก่อนเลย ความพิการของข้าพเจ้าจัดอยู่ในประเภทกาย และการเคลื่อนไหว ใช้เก้าอี้เข็นหรือที่เรียกว่ารถเข็นในการ เคลื่อนที่ไปมา สำ�หรับปากและฟันนั้นเรียกว่าแข็งแรงพอใช้ ที เ ดี ย ว ไม่ ค่ อ ยจำ � เป็ น ต้ อ งย่ า งกรายไปพบทั น ตแพทย์ สั ก เท่าไรนัก แต่พอดีว่าเย็นวันหนึ่งข้าพเจ้ารับประทานกระดูก หมูทอดด้วยความเอร็ดอร่อย ไม่แน่ใจว่ากระดูกกรอบเกิน ไปหรือข้าพเจ้าเคี้ยวแรง วัสดุอุดฟันที่ปะไว้ที่ฟันกรามด้าน ล่ า งเกิ ด หลุ ด ออกมาเห็ น ฟั น เป็ น หลุ ม ลึ ก โชคดี ที่ อิ่ ม พอดี จึงรีบแปรงฟันและกะว่าพรุ่งนี้ต้องรีบไปพบคุณหมอแต่เช้า อุ ต ส่ า ห์ อ ดอาหารเช้ า ด้ ว ยเพื่ อ จะได้ ยั งไม่ ต้ อ งเคี้ ย วอาหาร เดี๋ ย วเศษอาหารจะพลั ด เข้ าไปในหลุ ม ฟั น เนื่ อ งจากเป็ น วันเสาร์ข้าพเจ้าจึงไปคลีนิกทำ�ฟันเอกชนใกล้ๆบ้าน เลือก ที่มีทางลาดทำ�ไว้ใกล้บันไดหน้าอาคารแต่พอเข้าไปจอดรถ จึ งสั ง เกตว่ า ทางลาดขึ้ นไม่ ได้ คงเพราะไม่ ค่ อ ยมีใครไปใช้ 41

จึ ง กลายเป็ น ที่ ว างกระถางต้ นไม้ ป ระดั บ เพิ่ ม ความงามไป เสียแล้ว พอไปติดต่อดูเขาจึงแนะนำ�ให้ไปเข้าทางด้านหลัง คลินิก หลังจากทำ�บัตรและได้เวลาเข้าห้องทำ�ฟัน คุณหมอ ก็ นั่ ง รออยู่ ใ นห้ อ งทำ � ฟั น พร้ อ มเชิ ญให้ นั่ ง เก้ า อี้ ทำ � ฟั นได้ เ ลย ค่ะ ข้าพเจ้ายืนไม่ได้แต่ก็มีผู้ช่วยคนพิการไปด้วย เพราะ คิดว่าคงต้องย้ายตัวแน่ๆ เก้าอี้ทำ�ฟันนี้มันดูเอนเอียงท่าจะ ทรงตั ว ยาก พอนั่ ง ลงได้ ข าของข้ า พเจ้ า ก็ เ กร็ ง มากที เ ดี ย ว คงจากแอร์ เ ย็ น บวกกั บ ความหวาดหวั่ นในการทำ � ฟั น เลย ส่งเสริมอาการเกร็งให้ทวีคณ ู กันไปใหญ่ ข้าพเจ้าใช้สายยางยืด รัดขาไว้กับเก้าอี้ทำ�ฟัน เพราะถ้าเกร็งมากกว่านี้ขาจะกระตุก หรืองอขึ้นมาทำ�ให้เสียการทรงตัวได้ สำ�หรับข้าพเจ้าเรื่องขาก ระตุกเป็นสิง่ ทีธ่ รรมดามาก ไม่เจ็บหรือเป็นปัญหาในชีวติ ประจำ� วันอะไร ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของร่างกายข้าพเจ้า แต่พอมาทำ�ฟันจินตนาการว่าถ้าเครื่องมือกรอฟันอยู่ในปาก แล้วขาเกิดกระตุกงอขึน้ ตัวจะเอียงฉับพลันเสียการทรงตัว อาจ จะเผลอหุบปากงับอุปกรณ์ได้ จึงน่าจะรัดขาไว้ป้องกันการผิด คิว การอุดฟันใช้เวลาไม่นานและผ่านไปด้วยดี คุณหมอพยาม ชวนให้ขูดหินปูนและอุดฟันผุด้วยเลย บอกว่ามาลำ�บากทำ�ซะ เลยทีเดียวเถอะ แต่ขา้ พเจ้ากังวลว่าทำ�แล้วเดีย๋ วจะพูดไม่ถนัด

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


วันรุ่งขึ้นข้าพเจ้าต้องไปเป็นล่ามแปลภาษาถ้าพูดไม่ถนัดจะ กระทบกับงาน จึงผลัดคุณหมอไว้คราวหน้าค่อยว่ากันใหม่ ผู้ช่วยของข้าพเจ้ายกตัวข้าพเจ้ากลับมานั่งเก้าอี้เข็นตามเดิม เพื่อไปชำ�ระเงินและเดินทางกลับ ข้าพเจ้ารู้ว่าควรขูดหินปูน และอุดฟันผุแต่ก็ลังเลว่าจะมาทำ�เมื่อไหร่ดี ต่อมาไม่นานก็ได้ ทราบว่ามีการทำ�วิจัยเรื่องอุปกรณ์ที่ช่วยให้ทำ�ฟันได้บนเก้าอี้ เข็นเลยไม่ต้องย้ายตัวที่สถาบันทันตกรรม นนทบุรี ข้าพเจ้า ได้ฟังแล้วดีใจมากรีบตกลงสมัครเป็นหนูทดลองอุปกรณ์ที่ว่า นีท้ นั ที พอถึงวันนัดตัง้ ใจว่าจะเริม่ ด้วยการขูดหินปูนก่อนแบบ ไม่ท�ำ อะไรมาก พอทำ�บัตรเสร็จได้พบคุณหมอซึง่ แนะนำ�ให้รจู้ กั อุปกรณ์เดนทัลแพลตฟอร์ม หน้าตามันคล้ายๆถาดสี่เหลี่ยม ขนาดใหญ่ที่วางอยู่บนพื้นให้เก้าอี้เข็นขึ้นไปได้ โดยมีที่ล๊อค และเข็มขัด พอจอดเก้าอี้เข็นเข้าที่เรียบร้อยคุณหมอก็ค่อยๆ กดปุ่มให้ถาดที่ว่านี้ค่อยๆเอียงขึ้นทำ�ให้ศีรษะของข้าพเจ้าเอน ลงไปด้านหลังเหมือนกับตอนที่ย้ายไปนอนที่เก้าอี้ทำ�ฟัน แต่ ต่างที่เข่าและเท้าจะยกสูงขึ้นเพราะเป็นการเอนศีรษะลงโดย ตัวอยูใ่ นท่านัง่ บนเก้าอีเ้ ข็นของตัวเอง พอได้ระดับทีเ่ หมาะสมก็ อ้ า ปากกว้ า งขุ ด หิ น ปู น ได้ เ ลยค่ ะ เวลาหยุ ด พั ก คุ ณ หมอ ก็ ค่ อ ยๆกดปุ่ ม บั ง คั บให้ ถ าดเอี ย งลงกลั บ มาเป็ น ท่ า นั่ ง ราบ ธรรมดาเพื่อบ้วนน้ำ�อย่างง่ายดาย หลังจากขูดหินปูนเสร็จ ข้าพเจ้าจึงได้อุดฟันผุอีก 5 ซี่อย่างรวดเร็ว สามารถพัก เอี ย งขึ้ น นั่ งได้ เ ป็ น ระยะเพื่ อ บ้ ว นน้ำ � และพั กให้ ค ลายความ กลัว คุณหมอที่ทำ�ฟันที่สถาบันทันตกรรมใจดีมากๆ อธิบาย วิ ธี ก ารและให้ กำ � ลั ง ใจเป็ น อย่ า งดี จ ะคอยถามเรื่ อ ยๆว่ า “ไหวมั๊ยคะ”(ถ้าไหวก็จะอุดต่ออีกซี่หนึ่งเลยนะคะ) อุปกรณ์

เดนทั ล แพลตฟอร์ ม ช่ ว ยให้ ก ารทำ � ฟั น สะดวกขึ้ น อย่ า งมาก สำ�หรับข้าพเจ้าและเพื่อนคนพิการหลายๆคนการนั่งในเก้าอี้ เข็นของตัวเองมีความสำ�คัญมากเพราะสะดวกในการทรงตัว และเป็นที่นั่งที่เรามั่นใจมากที่สุด ข้าพเจ้าสังเกตว่ากล้ามเนื้อ เกร็งน้อยกว่าตอนย้ายไปนั่งเก้าอี้ทำ�ฟันมากเลย และการ ลุกขึ้นมาบ้วนน้ำ�ก็ทำ�ได้ง่ายและมั่นใจกว่ามาก การทำ�ฟัน ครั้ ง นี้ ผู้ ช่ ว ยของข้ า พเจ้ าไม่ ต้ อ งช่ ว ยอะไรเลยนอกจากถ่ า ย ภาพไว้เป็นที่ระลึก ข้าพเจ้าแอบวางแผนในใจว่ามีอุปกรณ์ แบบนี้คราวหน้ามาคนเดียวก็ได้นะนี่ หลังจากนั้นข้าพเจ้า ก็ เ ล่ า ถึ ง อุ ป กรณ์ นี้ ใ ห้ เ พื่ อ นพ้ อ งคนพิ ก ารฟั ง เป็ น ประจำ � ด้ ว ยความชื่ น ชมในความสามารถของการพั ฒ นาอุ ป กรณ์ อำ�นวยความสะดวกสำ�หรับงานทันตกรรม และความใส่ใจ ของคุณหมอฟันในการจัดการใหบริการทันตกรรมเป็นบริการ ที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างสะดวกและเท่าเทียมยิง่ ขึน้ เมื่อวันก่อน ข้าพเจ้าได้ร่วมงานแสดงผลงานด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับ คนพิการที่เรียกว่า i-CREATe 2011 ที่โรงแรมปาร์คนายเลิศ เห็นเดนทัลแพลตฟอร์มมาตั้งแสดงในงานด้วย ได้ยินข่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการผลิตจำ�นวนมากขึ้นเพื่อกระจาย ให้ แ พร่ ห ลายจะได้ มี โ อกาสใช้ ง านกั น มากขึ้ น เป็ น เรื่ อ ง น่ายินดีมาก อย่างที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นไว้ในช่วงต้นว่า ข้อจำ�กัดจากลักษณะของความพิการก็ไม่เกินความสามารถ ของพวกเราที่จะช่วยกันคิดค้นวิธีการเพื่อให้ทุกๆคนเข้าถึง บริการทันตกรรมอย่างเท่าเทียมและมีความสุขในยามทำ�ฟัน ได้คะ่ 

สถาบันทันตกรรม นำ�โดย ทพญ.วีรนันท์ วิชาไทย ร่วมกับศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และศู น บ์ สิ ริ น ธรเพื่ อ การฟื้ น ฟู ส มรรถภาพทางการแพทย์ แห่งชาติ จัดทำ�โครงการพัฒนาเด็นทัลแพลทฟอร์มต้นแบบ เพื่อให้บริการคนพิการทางการเคลื่อนไหวและผู้สูงอายุที่ใช้ เก้าอี้รถเข็น 42

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


เรื่องเล่า

ฟันคุด แบบพิเศษๆ ...โดย คุณหมอป๊อก

ารมาทำ �งานที่สถาบัน ราชานุกูลถือ เป็ นการ ทำ�งานในหน้าทีท่ นั ตแพทย์ทไี่ ด้รบั ประสบการณ์ใหม่แตก ต่างจากงานทันตแพทย์ 13 ปีที่เคยทำ�มา ที่แตกต่างใน ที่นี้ไม่ใช่งานเท่านั้นที่แตกต่าง แต่เป็นกลุ่มคนไข้และ ผูป้ กครองซึง่ ยอมรับว่า ประสบการณ์ในการดูแลคนคนไข้ และผู้ปกครองของเด็กพิเศษเคยมีมาบ้างแต่ไม่เคยพบ เยอะขนาดนี้ ซึ่งการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยกลุ่ม นีม้ คี วามเปราะบางมาก เนือ่ งจากปัจจัยสำ�คัญคือการร่วม มือของตัวเด็กเอง (ทีไ่ ม่ใช่ผปู้ กครองอยากไปทำ�ฟันทีไ่ หน ก็ได้ เพราะมีน้อยที่ที่จะทำ�ให้ได้ แต่ราชานุกูลเป็นหนึ่งใน ไม่กี่ที่ที่ทำ�ได้) และที่สำ�คัญอีกอย่างคือความเข้าใจและ ใส่ใจของผู้ปกครองที่เราต้องเห็นใจในความยากลำ�บาก ในการดูแลเด็กกลุ่มนี้ในทุกๆด้าน และความเปราะบาง ของจิตใจผู้ปกครอง การทำ�งานที่นี่รู้สึกว่าคนที่มาให้เรา ทำ�ฟันนั้นจำ�เป็นต้องมาให้เราช่วยจริงๆ เพราะไม่รู้จะไป ไหน และมาก็ยากเพราะการเอาเด็กพิเศษออกนอกบ้าน และเดินทางคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ท่านเคยฟังโฆษณาของบริษทั ประกันอันนึงไหมคะที่ ครูบนดอยบอกว่า... “พ่อว่าให้เลิกสอนแล้วไปมีลูกมีเมีย แก่ไปจะได้ไม่ลำ�บาก แต่เด็กที่นี่เขาเดินมาเป็นสิบๆกิโล แล้วจะให้เราเลิกสอนได้ยงั ไง?” ...หมอก็รสู้ กึ แบบเค้าค่ะว่า เด็กทีน่ เี่ ขาเดินทางมาลำ�บากเพราะเห็นเราเป็นทีพ่ งึ่ แล้ว จะให้เลิกทำ�ฟันได้ยังไงใช่ไหมคะ (แต่แม่หมอไม่ได้ให้เลิก 43

ทำ�ฟัน และบริษัทประกันก็ไม่ได้จ้างให้พูดนะคะ) เรื่ อ งที่ จ ะเล่ า นี้ เ ป็นเพี ยงตั ว อย่ างเล็กๆในหลายๆ ความภู มิ ใ จที่ ไ ด้ ม าทำ � งานที่ ร าชานุ กู ล ค่ ะ ... วั น หนึ่ ง ขณะพั กทานอาหารกลางวั น พี่ ผู้ ช่ ว ยฯก็ บ อกว่ า หมอ คะช่ ว ยดู ค นไข้ แ ละคุ ย กั บ ผู้ ป กครองรายนี้ ใ ห้ ห น่ อ ย ค่ะ เพราะผู้ปกครองเครียดมากที่ลูกไม่ยอมกินอาหาร มาหลายวันแล้ว กลัวลูกจะตายมีทางไหนที่จะช่วยได้ บ้าง พอออกไปดูก็พบน้องคนไข้เด็กพิเศษอายุประมาณ 20 ปี ที่เคยได้รับส่งต่อจากน้องทันตแพทย์ในแผนกว่า

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


เด็กมีฟันผุหลายซี่มาก เหงือกอักเสบมาก และมีฟันคุด 2 ซี่ แต่ปัญหาคือเด็กไม่เคยทำ�ฟันมาก่อนและกลัวการทำ� ฟันมากๆ ในตอนนั้นจึงวางแผนทำ�ฟันทั้งหมดภายใต้การ ดมยาสลบซึ่งทีมราชานุกูลของเราให้การรักษาโดยขอใช้ ห้องผ่าตัดของสถาบันประสาทวิทยาแต่ต้องรอตามคิวซึ่ง ประมาณ 3 เดือน ซึ่งตอนนี้ผู้ปกครองรู้สึกว่าลูกน่าจะปวด มากจึงไม่กินข้าวเลย แต่บอกไม่ได้ ถ้าจะรอคิวอีก 3 เดือน ก็กลัวลูกไม่ไหว ไปที่โรงพยาบาลเอกชนไหนๆก็ไม่มีใคร ทำ�ให้ได้ จึงมาขอร้องให้คณ ุ หมอช่วยหน่อยได้ไหม ว่ามีวธิ ี ไหนพอจะช่วยได้บ้าง จากการตรวจคร่าวๆหน้าห้องฟัน (เพราะเด็กไม่ร่วม มือมากๆ ไม่ยอมแม้จะเดินเข้าห้องฟัน) คราวนี้พบว่า น่าจะมีการปวดและอักเสบจากฟันคุดทีผ่ ลุ กึ หมอจึงจ่ายยา แก้ปวดและยาปฏิชีวนะเพื่อให้เด็กรู้สึกว่าการพบหมอฟัน ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวและเพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ ก่อนนัดมาลองผ่าฟันคุดภายใต้การฉีดยาชาที่ห้องฟันใน อีก 2 วันข้างหน้าเพราะเชื่อว่าหลังได้ยาน่าจะอาการดี ขึ้น (เพราะถ้าจะดมยาสลบแซงคิวคนอื่นคงไม่ได้) พอถึง วันจริงปรากฏว่าเด็กไม่ยอมแม้จะเดินเข้าห้องฟันอีก ต้อง จัดเตรียมทีมงานมาช่วยกันเชียร์และหลอกล่อเข้าห้องฟัน อยากรู้ ไ หมคะว่ า ทำ � ยั ง ไง ...สำ � หรั บ เด็ ก คนนี้ พี่ ผู้ช่วยต้องใช้กล้องถ่ายเอ็กซเรย์ฟันที่หน้าตาคล้ายกล้อง ถ่ า ยรู ป มาหลอกว่ า จะถ่ า ยรู ป ออกที วี เด็ ก จึ ง ยอมเข้ า ห้องฟันแต่ไม่ยอมขึ้นเตียงทำ�ฟันทันทีต้องคะยั้นคะยอ และแกล้ งถ่ า ยภาพนายแบบหมดไปหลายม้วนจึงยอม ขึ้ ง เตี ย งและเมื่ อ ขึ้ น เตี ย งก็ ถู ก ห่ อ ตั ว เรี ย บร้ อ ย... ใน ที่สุดพวกเรา (ต้องย้ำ�ว่า”พวกเรา”เพราะลำ�พังหมอคน เดี ย วคงทำ � อะไรไม่ ไ ด้ ม ากถ้ า ขาดที ม งานที่ ดี อ ย่ า งพี่ ๆ

44

ผูช้ ว่ ยทุกท่าน) ก็สามารถผ่าฟันคุดและถอนฟันทีค่ ดิ ว่าน่า จะเป็นสาเหตุของความทรมานครัง้ นีใ้ ห้เด็กได้ ตอนให้การ รักษารู้สึกเหมือนนักกีฬากำ�ลังชิงเหรียญทองโอลิมปิค เพราะมีคนคอยลุน้ อยูด่ ว้ ยร่วม 10 คน หลังเสร็จการรักษา เหมือนได้เหรียญทองโอลิมปิคเลยค่ะโปร่งโล่งสบาย ทุก คนhappy หลังการรักษาผู้ปกครองรู้สึกว่าเด็กเริ่มยอม ทานอาหารและอารมณ์ดขี นึ้ และผูป้ กครองขอลองพาเด็ก มาลองทำ�ฟันซี่อื่นๆที่เก้าอี้ทำ�ฟัน หมอจึงค่อยๆทยอยทำ� โดยเน้นสร้างความคุน้ เคยและทำ�ให้เด็กไม่กลัวการทำ�ฟัน จนทุกวันนี้เด็กสามารถทำ�ฟันที่เก้าอี้ทำ�ฟันได้ สามารถ ยกเลิกคิวดมยาสลบเดิมได้ นี่เหลืออีกไม่กี่ซี่ก็จะทำ�เสร็จ ทั้งปากแล้ว มาเอาใจช่วยน้องเค้าด้วยกันนะคะ 

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน ภาควิชาทันตกรรมครอบครัวและชุมชน นทพ. ขวัญชนก สุขช่วย, นทพ. เตชิต ทรัพย์สมบูรณ์, นทพ. นภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร, นทพ. นิศาชล เถื่อนวงษ์, นทพ. บำ�รุง สุชัยธนาวนิช,นทพ. ปวัลยา เลิศบุญยพันธ์, นทพ. ปาริฉัตต์ มณีวงค์, นทพ. รัชดา จันหลวง, นทพ. สิทธา สัจจามรรค, นทพ. สิรวิชญ์ นิภาเกษม, นทพ. สิริญ พรรณเชษฐ์, นทพ. อัจฉรา มณีมโนรมย์ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ วิชัย วิวัฒน์คุณุปการ

...โดย นักศึกษาทันตแพทย์ปี 5 เชียงใหม่

“ทันตแพทย์ชุมชน กับ คนหูหนวก” เนือ่ งจากในปัจจุบนั ประชากรผูพ้ กิ ารมีความรูแ้ ละมีสทิ ธิทางสังคมเพิม่ มากขึน้ และทันตแพทย์เองก็ตอ้ งรับมือ กับจำ�นวนคนไข้ที่เพิ่มขึ้น คนไข้กลุ่มหนึ่งที่เข้ามารับการรักษาคือ คนหูหนวก ปัญหาหลักที่ตามมาคือการสื่อสาร ระหว่างทันตแพทย์และคนหูหนวก ซึง่ จะทำ�ให้การวินจิ ฉัยโรคและการวางแผนการรักษาเป็นไปได้ยากกว่าคนไข้ที่ สามารถสื่อสารได้ แต่ที่สำ�คัญไปกว่าการรักษาในฐานะหมอและคนไข้ก็คือความเข้าอกเข้าใจในฐานะของการเป็น เพือ่ นมนุษย์ดว้ ยกัน คนทุกคนย่อมต้องการทีจ่ ะได้รบั การปฏิบตั ทิ เี่ ท่าเทียมกันตามสิทธิทคี่ วรจะได้รบั ไม่วา่ เขาคนนัน้ จะมีรา่ งกายทีค่ รบสมบูรณ์หรือไม่กต็ าม แต่บางครัง้ ก็เป็นเรือ่ งยากทีท่ นั ตแพทย์จะเข้าใจกลุม่ คนเหล่านี้ กลุม่ นักศึกษา ทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กลุ่มหนึ่งจึงอยากที่จะทำ�หน้าที่เป็นผู้กระตุ้น เพื่อปรับทัศนคติของคนหูหนวก ทีม่ ตี อ่ ทันตแพทย์ และทันตแพทย์ทมี่ ตี อ่ คนหูหนวก เพือ่ ให้พวกเขาค่อยๆเชือ่ มโลกทัง้ สองใบด้วยตัวของพวกเขาเอง โครงการของเรามี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ให้ ทั น ตแพทย์ มี ค วามเข้ า ใจในคนหู ห นวก และสร้ า งสื่ อ กลาง ให้ ทั น ตแพทย์ ไ ด้ สื่ อ สารกั บ คนหู ห นวก วิ ธี ก ารดำ � เนิ น งานของเราก็ คื อ การเปิ ด โอกาสให้ ค นหู ห นวกได้ ใ ช้ ศักยภาพของตนเองสื่อสารความคิด ความต้องการของตนเองในยามที่ไปรับบริการทางทันตกรรม ผ่านไป ยั ง ผู้ รั บ สารที่ เ ป็ น กลุ่ ม ทั น ตแพทย์ ห รื อ ทั น ตบุ ค ลากรโดยการตั้ ง กลุ่ ม ในเฟซบุ๊ ค ขึ้ น มา ซึ่ ง กลุ่ ม นี้ มี ชื่ อ อย่ า ง ไม่เป็นทางการว่า “เสียงเล็กๆที่หมอไม่ได้ยิน (Can you hear me, doc?)” เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2554 ปัจจุบันมีผู้มาถูกใจถึง 253 คน (17 สิงหาคม 2554)

45

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


เนื่อ งจากกลุ่ ม เราไม่เคยได้พูดคุยกับคนหูหนวกอย่ า งใกล้ ชิ ด ทำ � ให้ เรามี ความจำ�เป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจในธรรมชาติของคนหูหนวกเสียก่อน เราจึง ตัดสินใจเดินทางไปยังโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร ที่นั่นทำ�ให้พวกเราได้เรียน รู้ว่าคนหูหนวกมีความแตกต่างกับเราเพียงแค่ภาษาของเขาเท่านั้น นอกจากการ ที่คนหูหนวกใช้ภาษามือเป็นหลักแล้ว วิถีชีวิตของพวกเขาก็ไม่ได้ต่างจากเด็กวัย รุ่นธรรมดาๆคนหนึ่งที่มีความกระตือรือร้นที่จะสื่อสารกับผู้มาเยือนด้วยรอยยิ้ม หลังจากการไปพูดคุยกับคนหูหนวกที่อยู่ในโรงเรียนแล้ว เรายังมีความต้องการ ที่จะรู้ว่าชีวิตของคนหูหนวกที่ต้องดำ�รงอยู่ด้วยตัวเอง ซึ่งบางครั้งก็ต้องไปพบ ทันตแพทย์โดยไม่มีล่ามนั้น เป็นอย่างไร เราจึงเดินทาง เขาจะสามารถผลิ ต ตั ด ต่ อ วี ดี โ อ และสามารถเผยแพร่ ไปยังสมาคมคนหูหนวกภาคเหนือ ในครั้งนี้เราได้มีโอกาส สูโ่ ลกออนไลน์ดว้ ยตัวของพวกเขาเองได้ หากผูอ้ า่ นต้องการ พู ด คุ ย กั บ ประธานกลุ่ ม คนหู ห นวกภาคเหนื อ (พี่ ห นุ่ ม ) ติดตามเยี่ยมชมผลงานที่ทางเราและคนหูหนวกร่วมกัน รองประธานกลุ่ ม คนหู ห นวกภาคเหนื อ (พี่ แ น่ ง น้ อ ย) ทำ � รวมไปถึ ง ต้ อ งการแบ่ ง ปั น ประสบการณ์ ห รื อ เสนอ และเลขาฯกลุ่มคนหูหนวกภาคเหนือ (พี่จุ๋ม) ซึ่งการได้พบ ความคิดเห็น สามารถเข้าไปได้ที่ www.facebook.com/ กับพี่ๆในครั้งนี้เปรียบเสมือนการเปิดโลกทัศน์อีกด้านของ pages/เสี ย งเล็ ก ๆที่ ห มอไม่ ไ ด้ ยิ น -Can-you-hear-meพวกเรา คนหูหนวกไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มคนพิการที่รอรับ doc หรื อ เข้ า ไปที่ www.facebook.com แล้ ว ค้ น หา ความช่วยเหลือจากสังคมเท่านั้น เขายังมีความคิดริเริ่ม คำ�ว่า เสียงเล็กๆที่หมอไม่ได้ยิน (Can you hear me, doc?) สร้างสรรค์ ความหวังที่จะมีชีวิตที่ดีกว่า และมีศักยภาพ จากการทำ �งานทั้ง หมดของพวกเรานั้น เราหวั ง เพี ย งแค่ ทีน่ า่ ยกย่อง สามารถติดต่อประสานงานกับกลุม่ คนต่างๆได้ ให้ ก ลุ่ม คนหู ห นวกสามารถใช้ ศัก ยภาพที่พ วกเขามี อ ย่ า ง สามารถจัดกิจกรรมทีค่ นหูหนวกไมเคยทำ�ได้ เช่น กิจกรรม สู ง สุ ด เพื่ อ ส่ ง สารที่ ส ะท้ อ นความรู้ สึ ก ของพวกเขาไปยัง วันฮาโลวีน ล่าสุดพวกเราได้ปรึกษากับกลุ่มคนหูหนวก ทันตแพทย์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งคนหู ห นวกเอง และ ในเรื่องการผลิตภาพยนตร์สั้น เพื่อให้กลุ่มคนหูหนวกมี ทันตแพทย์ได้ในอนาคต ส่วนร่วมในการดำ�เนินงานขั้นตอนต่างๆด้วย จากข้อมูล แต่ไม่ว่าจะมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารมากมายเพียงไร ทั้งหมดที่รวบรวมได้ เรานำ�ไปใช้เป็นทุนเพื่อการออกแบบ ก็ไม่สามารถที่จะทำ�ให้พวกเราประสบความสำ�เร็จได้หากไม่ รายละเอียดในกลุ่มในเฟซบุ๊ค เช่น ในการผลิตภาพยนตร์ เปิดใจรับความแตกต่างของคน ในสังคม มีเพียงคนในสังคม สั้ น ที่ จ ะถ่ า ยทอดประสบการณ์ ข องคนหู ห นวกที่ เ คย เดี ย วกั น เท่ า นั้ น ที จ ะช่ ว ยให้ โ ลกแห่ ง ความเงี ย บมี ไปทำ � ฟั น โดยในช่ ว งแรกพวกเราจะสอนการตั ด ต่ อ เสียงขึ้นมาบ้าง  วี ดี โ อให้ ก ลุ่ ม คนหู ห นวก เพื่ อ หวั ง ว่ า ในอนาคตพวก 46

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ความประทับใจและประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาดู งานและทำ�โครงการ ที่ รพ.ป่าแดด อ.ป่าแดด จ.เชียงราย โดย นศ.ทพ.ศักดา ศรีรักษา

ถ้าจะให้ผมบรรยายถึงความรูส้ กึ และให้พดู ถึงประสบการณ์ทไี่ ด้รบั จากการไปศึกษา ดูงาน ที่จังหวัดเชียงรายแล้ว คงจะบรรยายความรู้สึกได้มากมาย หลายหน้ากระดาษ แต่ถ้าให้บรรยายถึงความรู้สึกและความประทับใจแบบหาที่ไหนไม่ได้หรือเป็นประสบการณ์ และความรู้สึกที่ไม่มีวันลืมแล้ว คงจะเขียนบรรยายให้จบได้ในไม่กี่หน้ากระดาษ

เริม่ จากทีไ่ ด้รวมกลุม่ กับเพือ่ นๆเพือ่ จับฉลากว่าตนเองจะ ได้ไปอยู่โรงพยาบาลไหน จังหวัดอะไร แค่เริ่มต้นก็ตื่นเต้น แล้ว หลังจากที่ได้รู้ว่าจะได้ไปจังหวัดเชียงราย ก็รู้สึกดีมาก เพราะตั้งแต่เกิดมาผมยังไม่เคยไป จังหวัดเชียงรายมาก่อน เลย แต่ถ้าจะพูดให้ถูกต้องบอกว่าผมเพิ่งเคยไปภาคเหนือ แค่ครั้งเดียว ก็คือไปเที่ยวเชียงใหม่ ตอนช่วงปีใหม่ที่ผ่าน มา หลังจากที่รู้ว่าจะได้ไปจังหวัดชียงราย ผมก็ได้หาข้อมูล เกี่ยวกับโรงพยาบาลที่จะได้ไปดูงาน ปรากฏว่าเหมือนได้รับ ข่าวดีอกี เรือ่ ง คือทีโ่ รงพยาบาลทีจ่ ะไปอยูน่ นั้ มีรนุ่ พีท่ จี่ บจาก มหิดลไปบรรจุเป็นหมอฟันอยู่ที่นั่นด้วย ซึง่ การไปดูงานครัง้ นีจ้ ะต้องมีการทำ�โครงการด้วย เป็น ระยะเวลา 1 เดือน ความรูส้ กึ ดีใจทีค่ ดิ ว่าตัวเองจะได้ไปแอ่ว เมืองเชียงรายก็ลดลงมา ผมก็เริ่มคิดต่อว่า แล้วกลุ่มเราจะ 47

ทำ�โครงการอะไรดีละ ในขณะที่คิดๆอยู่ก็มีเพื่อนในกลุ่มคน นึงมาบอกว่า พีท่ โี่ รงพยาบาลเค้ามีโครงการทีท่ �ำ อยูก่ อ่ นหน้า แล้ว ให้พวกเราเข้าไปทำ�เป็นเพียงส่วนหนึง่ ในโครงการ อะไร จะโชคดีขนาดนี้ผมคิดในใจและอมยิ้ม โครงการที่ทำ�ก็คือ โครงการเกี่ยวกับผู้พิการ ซึ่งชื่อของโครงการก็คือ โครงการ ทันตแพทย์ยุคใหม่ใส่ใจผู้พิการ วันที่ 30 มกราคม 2554 วันแรกของการเดินทาง ก่อน จะถึงจุดมุง่ หมายคือ จังหวัดเชียงราย เราก็ได้แวะส่งเพือ่ นๆ ที่จังหวัดพะเยา และ จังหวัดลำ�ปาง ก่อนจะถึงที่พักซึ่งเป็น โรงแรมในจังหวัดเชียงราย เช้าวันรุง่ ขึน้ ( วันที่ 31 มกราคม 2554 ) พวกเราก็ได้ไปทำ�ความรู้จักกับหัวหน้า สสจ. และ เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องหลังจากนั้นพี่หัวหน้าฝ่ายทันตกรรมที่ รพ.ป่าแดด ก็มารับพวกเรากลับ

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


โรงพยาบาล สำ�หรับโครงการทีพ่ วกเราได้ท�ำ นัน้ คือการออก สำ�รวจและตรวจสุขภาพช่องปากของผู้พิการ ซึ่งพวกเรา ได้ทำ�การ เยี่ยม สำ�รวจ และเก็บบันทึกข้อมูลทั่วไปของ ผู้พิการ ข้อมูลประวัติความเจ็บป่วย และโรคประจำ�ตัว รวมถึงประวัติความเจ็บป่วยทางด้านทันตกรรม และ ให้ทันตสุขศึกษาแกผู้พิการ และ ครอบครัวหรือคนดูแล ผู้พิการ ซึ่งการทำ�โครงการในครั้งนี้ทำ�ให้ผมได้เข้าใจ และ รับรู้ถึงความรู้สึกของผู้พิการและครอบครัวผู้พิการมาก ขึ้ น จากที่ เ มื่ อ ก่ อ นเคยแค่ ไ ด้ รั บ รู้ ผ่ า นคำ � พู ด ของคนอื่ น หรือ อ่ า นจากผ่า นทางหน้ า หนั งสือ หรือ ดูผ่ า นสื่อ ทาง ทีวี ซึ่งก่อนหน้าที่จะเริ่มทำ�โครงการนั้น ผมได้มีโอกาส ได้อ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือที่พี่นาได้ให้มา มีหนึ่ง คำ�พูดที่เป็นประโยคสำ�คัญได้กล่าวไว้ว่า ความพิการไม่ใช่ ความไม่สบาย แต่เป็นเพียงความไม่สะดวกเท่านัน้ เอง และ บางครั้งผู้พิการก็ไม่ได้ต้องการเพียงแค่ความสงสารจากเรา แต่มากกว่าความสงสารจากเรา ผูพ้ กิ ารต้องการความเข้าใจ และกำ�ลังใจทีพ่ วกเราจะมีให้ ผมเองก็เลยคิดว่าเราเองนัน้ ควร จะเข้าใจว่าในมนุษย์แต่ละคนทีเ่ กิดมา ไม่มใี ครทีเ่ กิดมีดพี ร้อม สมบูรณ์ อาจจะมีบกพร่องในเรื่องของร่างกาย อย่างเช่น ผูพ้ กิ าร แต่ถา้ พิจารณาดูให้ดแี ล้วนัน้ มนุษย์บางคนทีเ่ กิดมา 48

ครบถ้วนทัง้ 32 ประการ ก็อาจจะมีความพิการได้ นัน่ ก็คอื ความพิการทางจิตใจ ดังนัน้ เราควรเข้าใจคน รอบตัวให้มาก มองมนุษย์ทกุ คนให้มคี วามเท่าเทียมกัน นีก่ เ็ ป็นความรูส้ กึ ทีผ่ มรับรูแ้ ละเข้าใจ หลังจากทีไ่ ด้ เริม่ ทำ�โครงการนี้ ส่วนหนึง่ นัน้ ก็ตอ้ งขอขอบพระคุณ พี่นา ที่ได้กรุณาให้ยืมหนังสือดีๆ และให้ข้อคิดรวม ถึงคำ�แนะนำ�ต่างๆ และต้องขอขอบคุณโรงพยาบาล ป่าแดด ขอบคุณพี่อุ้ยที่แสนดี บอกได้เลยว่าพี่อุ้ย เป็นหมอและเป็นพีท่ ดี่ มี ากๆคนหนึง่ จะมีใครพาพวก เราไปกินข้าวนอกโรงพยาบาลได้ทุกวัน พาพวกเรา ไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆแบบไม่มีเหนื่อย หรือบ่นเลย ขอขอบคุณพีว่ นิ พีห่ วั หน้าฝ่ายและพีๆ่ บุคลากรทีท่ เี่ กีย่ วข้อง ทุกๆคน รวมถึงพีๆ่ อาสาสมัครผูส้ งู อายุทเี่ ป็นกำ�ลังสำ�คัญใน การออกเยีย่ มบ้านของผูพ้ กิ าร ผมอยากจะบอกว่าประสบการณ์ ในครั้งนี้ มีค่ามากสำ�หรับชีวิตผม มันคงหาที่ไหนอีกไม่ได้ แล้วเพราะเวลาที่ผ่านไปแล้วคงจะไม่สามารถย้อนกลับ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็คงเป็นประสบการณ์ที่แก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ผมโชคดีเหลือเกิน ที่ประสบการณ์ในครั้งนี้มีแต่ความ รู้สึกที่ดีๆและมีแต่สิ่งที่ดีๆให้จดจำ� อย่างที่ผมเคยคิดและ รู้สึกเสมอมาว่า จุดมุ่งหมายของชีวิตนั้นสำ�คัญยิ่ง แต่สิ่งที่ สำ�คัญมากกว่าจุดมุ่งหมายนั้นก็คือประสบการณ์ที่เราได้รับ ก่อนทีจ่ ะถึงจุดมุง่ หมายต่างหาก เพราะถ้าถึงจุดมุง่ หมายโดย ปราศจากประสบการณ์ที่ดี จุดมุ่งหมายนั้นต่อให้สำ�คัญแค่ ไหนก็อาจจะดูไม่มีค่า เหมือนอย่างตอนที่พวกเราขับรถหลง ทางกันกับพีอ่ ยุ้ ผมก็ได้แต่บอกกับพีอ่ ยุ้ ว่าทางทีเ่ รามามันก็สวย ดีนะถึงจะดูล�ำ บากไปหน่อยแต่กเ็ ป็นประสบการณ์ทเี่ ราได้อยู่ ร่วมกันเผชิญปัญหาด้วยกัน ได้เห็นพระอาทิตย์ตกพร้อมกัน ถ้าเราไม่หลงทางเราอาจจะไม่มโี อกาสได้สมั ผัสความรูส้ กึ และ ประสบการณ์แบบนีก้ เ็ ป็นได้ ...พอมาถึงตอนนีแ้ ล้วผมก็คดิ ถึง ช่วงเวลาดีๆเหล่านั้นเหลือเกิน สัญญานะครับว่า จะกลับไป เจอละเยี่ยมเชียงรายอีก

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


และต่อจากนีอ้ กี ไม่นานผมก็จะจบออกไปเป็นทันตแพทย์ แล้ว ผมก็จะนำ�ประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับไปใช้กับ ผูป้ ว่ ยให้เกิดประโยชน์สงู สุด สุดท้ายนีอ้ ยากจะขอกล่าวคำ� ขอบคุณทุกๆท่านทีท่ มี่ สี ว่ นเกีย่ วข้องในประสบการณ์ความทรงจำ� ครั้งนี้อีกครั้ง ขอบคุณมากครับ

นักศึกษาคณ นศ.ทพ.ศักดา ศรีรักษา ะทันตแพทย ์ศาส มหาวิทยาลัย ตร์ชั้นปีการศึกษาที่ 6 มหิดล

ปล.เก็บตกประสบการณ์ความประทับใจและความรู้สึกดีๆความประทับใจและความรู้สึกดีนี้ก็คือ การออกตรวจ ผู้พิการในโครงการครั้งนี้มีเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์นั่นก็คือการออกตรวจเยี่ยมบ้านผู้พิการ มีบ้านหลังนึงเจ้าของบ้าน เป็นคุณตาอายุราวๆ 50-60 ปี ซึ่งพิการทางร่างกายคือไม่มีขาทั้งสองข้างตั้งแต่กำ�เนิด มีอาชีพดูดวง ผมก็เลยอาสา ขอดูดวงกับคุณตาปรากฏว่าดูแม่นมากๆเลยครับแม่นและตรงกว่า 95% และคุณตายังบอกกับผมอีกว่าพรุ่งนี้หวยออก ให้ผม ลองเสี่ยงโชคเพราะมีดวงจะถูกหวย ผมก็เลยลองเสี่ยงดู ปรากฎว่าถูกจริงๆด้วยครับ ได้เงินมาหมื่นกว่าบาทแน่ะ ป้ากับแม่ก็ ถูกได้คนละหมื่นกว่าบาท ผมก็เลยนึกๆดูแล้วคิดได้ว่าสงสัยคงจะเหมือนกับที่พี่นาเคยพูดกับผมไว้ว่าคนเราทำ�ความดีต่อให้ไม่มีใคร เห็นหรือคนอื่นไม่รับรู้แต่ตัวเราเองย่อมรู้ดีและเทวดาท่านก็มองเห็น พี่นาบอกว่าคนเราแต่ละคนจะมีเทวดาประจำ�ตัวคอยคุ้มครอง สงสัยว่าการออกตรวจเยี่ยมผู้พิการด้วยความเข้าใจและเอาใจใส่ของผมในครั้งนี้จะเห็นผลทันตา อย่างที่พี่นาเคยได้บอกไว้ นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่เป็นประสบการณ์ที่ผมจะไม่ลืม ของแบบนี้ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่นะครับ หมั่นทำ�ความดีและทำ�ประโยชน์เพื่อคน รอบข้างให้มากๆ ถึงจะไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็น แต่ตัวเราย่อมรู้ดีกว่าใครและจงภูมิใจที่ได้ทำ�ดี เชื่อเถอะครับว่าเทวดาท่านคอยมอง เราอยู่(จริงๆนะครับ)  49

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ความคิด

จุดประกาย

...โดย ทพญ.ดร. มัทนา เกษตระทัต

คนเราไม่ชอบอะไรที่ไม่เคลียร์ และสิ่งที่ทำ�ให้เคลียร์ที่สุด ชั ด ที่ สุ ด ก็ คื อ การแยกทุ ก อย่ า งในโลกเป็ น สองขั้ ว ดี กั บ ชั่ ว ขาวกับดำ� หญิงกับชาย เหลืองกับแดง (อันหลังนีไ่ ทยแลนด์โอนลี)่ แล้วเราก็ดำ�เนินชีวิตไปแต่ละวันได้อย่างสบายใจด้วยการเลือก ที่จะเชื่อว่าไอ้ขั้วสองขั้วพวกนี้มีจริง แบ่งได้ชัดเจนด้วยไม้บรรทัด ทีใ่ ครซักคนสร้างขึน้ มา แต่ละคนก็เลือกทีจ่ ะเชือ่ ตามไม้บรรทัดทีฟ่ งั แล้ว เข้าหูตัวเองแล้วก็ยึดมันไว้เพราะมันสบายใจดี คนเราไม่ชอบอะไรที่ไม่แน่นอนมัน ไม่สบายใจ ฟันธงไม่ได้ (หลายคนต้องไปให้หมอดูพูดฟันธงให้ชื่นใจแล้วถึงจะนอนหลับ) ส่วนบางคนไม่อยากเลือกแต่ก็ถูกปลุกระดมว่า “มันถึงเวลาแล้วที่ต้องเลือกข้าง” ก็เลยต้องเลือกเลือกเพราะกลัวถูกตราหน้าว่าไม่มีจุดยืน อ.สุธีเล่าให้ฟังเมื่อวันก่อนว่าอ.เอาอุ้ยเสี่ยวป้อมาอ่าน อีกรอบ ตอนอ่านครั้งแรกสมัยมัธยมรู้สึก “ขัดใจมาก” ว่าทำ�ไมพระเอกของกิมย้งคนนี้มันไม่ใช่ พระเอ๊กพระเอก เหมือนมังกรหยกภาคแล้วภาคเล่าตัวละครแต่ละเรือ่ งไม่ได้ เป็นคนดีด๊ ี หรือเล้วเลว แต่มนั กลับสะท้องความจริงในสังคม ในโลกนี้ ว่าคนดีในสายตาเราอาจไม่ดีทั้งหมด และคนที่ เราเคยคิดว่าเลวหรือคนอื่นมองว่าเลว เมื่อเราได้สัมผัส แล้วก็มีอะไรดี อ.สุธี อ.ปิยะ และผู้เขียนก็เห็นตรงกันว่า ก็เพราะมัน เป็นนิยายที่แย้งกับทวิลักษณ์นี่แหละที่ทำ�ให้มันได้รับการ ยกย่องว่าเป็นนิยายที่ดีที่สุดของกิมย้ง 50

เมื่อคนอ่านมีวุฒิภาวะมากพอก็จะเข้าใจและไม่อีดอัด แต่ ถ้าคนอ่านยังไม่เติบโตภายในมากพอก็จะรูส้ กึ ขัดใจได้งา่ ยๆ เหมือนนายสุธีตอนอายุ 16-17 เป็นธรรมดา หนังอีกเรื่องที่นำ�เสนอได้ดีเกี่ยวกับภาพลวงของทวิ ภาวะหรือการแยกขั้วก็คือแอนนิเมชั่นญี่ปุ่นเรื่อง เจ้าหญิง โมโนโนเกะ ไม่มีใครเลวทั้งหมด และไม่มีใครดีทั้งหมด มี แต่ความขัดแย้งกันของคนกับธรรมชาติ ของคนกับคน ของ คนกับความเกลียดความโกรธในใจ ไม่มีนางร้าย มีแต่ตัว แสดงนำ�หลายๆตัวดำ�เนินเรื่องไปตามปัจจัยบีบคั้นรอบๆ ตัวพวกเค้า

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ถ้าเรามองให้เห็นจริงๆเราก็จะพบว่าความดีความชั่ว ความสวยความอัปลักษณ์ หรือแม้แต่ความเป็นหญิงหรือ ชายก็แยกไม่ได้เสมอ (ดูโครโมโซม XY เป็นตัวอย่างง่ายๆ) ถ้ามองแบบตื้นๆหน่อย เราก็เถียงได้ว่า การมองแบบ ขั้วนี้ผิด เพราะจริงๆมันมีมากกว่า 2 ตัวเลือก มีหญิงชาย แล้วก็มีเพศที่ 3 ที่ 4 หรือที่ 5 มีสีแดง สีเหลือง แล้วก็ยังมี สีน้ำ�เงิน ดำ� หลากสี หรือ แดงก็มีแดงย่อยอีกเยอะแยะที่ไม่ ได้เชื่อเหมือนกันหมด เหลืองก็มีทั้งเหลืองเข้มเหลืองอ่อน หรือ ชมพูที่ไม่เหลือง ถ้ามองแบบนีก้ ห็ ลุดจากทวิภาวะหรือการแบ่งขัว้ ได้ระดับ หนึง่ แต่ถา้ อยากหลุดพ้นจริงๆ ต้องมองให้เห็นอัตตาตัวเอง ว่าไอ้ปัญหาทั้งหมดมันก็มาจากการที่เราต้องการมีที่อยู่ใน สังคม ต้องการความสบายใจ เราต้องสูก้ บั ไอ้ความอึดอัดคับ ข้องใจของเรานี่แหละ ต้องค้นหาว่ามันมากจากไหน ศึกษา มันไปเรื่อยๆกล้าตั้งคำ�ถามไปเรื่อยๆ หาคำ�ตอบไปเรื่อยๆ อ. เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เคยสอนไว้ว่า อัตตาเรา นี่แหละที่ อยากกำ�หนดความเป็นไปของโลกด้วยปัจจัย เดียวคือ “ตัวเอง” และโทษผู้อื่นเป็นต้นเหตุโดดๆ แบบไม่มีที่มาที่ไป แล้วการกำ�หนดความเป็นไปของโลก แบบง่ายๆก็คือการแบ่งขั้ว มันอธิบายง่ายดี อัตตามันทำ�ให้เราคิดว่าเรามีตัวตนที่แยกออกมาจาก สิ่งอื่น แท้ที่จริงแล้วไม่ว่าศาสนาไหนเมื่อศึกษาลึกซึ้งแล้วก็ จะบอกว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ใหญ่กว่า ทุกสิ่งในโลก ล้วนอิงอาศัยกันเกิดขึ้นและมีอยู่ สิ่งที่เกิดด้วยตัวมันเองโดดๆไม่มี “ไม่มีเลยจริงๆ” (นี่แหละคือคำ�อธิบายเรื่องอนัตตาแบบง่ายที่สุด)

กฎธรรมชาติเป็นกฎสูงสุด อนัตตาเป็นกฏเหล็ก อ.เสกสรรค์ อ้างคำ�สอนท่าน พุทธทาสไว้ว่า “ละเมิดแล้วก็มแี ต่หาทุกข์ใส่ตวั ”

จริงอยู่ว่าคนอยู่ด้วยกันหมู่มากต้องมีไม้บรรทัด

แต่ให้เรารูไ้ ว้แล้วกันว่ามันเป็นบัญญัตทิ างโลก ให้ใช้อย่างพอ เหมาะไม่ยดึ ติดและรูท้ มี่ าทีไ่ ป รูเ้ ท่าทันมันให้ใช้มนั เป็นเครือ่ ง มือให้อยู่ร่วมกันได้ ไม่ใช่เครื่องมือสร้างความร้าวฉาน 

51

ภาพเสียงขลุ่ยกลับมาหากอไผ่จาก www.buddhadasa.org

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


น า ภูฏ

ความสุขที่เกิดขึ้นบนแผ่นดิน ...โดย สุนฤพรจิตรา

ประเทศภูฏานดินแดนแห่งมังกรสายฟ้าเป็นหนึ่งใน ประเทศที่พวกเราชาวไทย

อยากรูจ้ กั มากขึน้ หลังจากพระราชพิธคี รองสิรริ าชสมบัติ ครบ 60 ปี เราได้เห็นเจ้าชายจิกมี (ยศในขณะนั้น) ซึ่งทั้งพระ สิริโฉมและ พระราชจริยวัตร ที่งดงาม วันนี้หลังจากอ่านคอ ลัมภ์นี้จบ ท่านจะได้ทราบว่าประเทศภูฏานมีอะไรอีก นอกจากเจ้าชายจิกมี อย่างที่ทราบว่าประเทศนี้ใช้ความ สุขมวลรวมประชาชาติ( Gross National Happiness) เป็นตัวชี้วัดระดับประเทศ ความสุขคือเป้าหมายหรือความ ต้องการสูงสุดในชีวติ มนุษย์แต่ละคน ถึงแม้วา่ จะติดกลุม่ ประเทศ ยากจนที่สุดในโลกแต่เท่าที่อยู่ 5 วัน และจากการสอบถาม

52

จากไกด์พบว่าไม่มีขอทาน ผู้คนชาวภูฏานจะมีรอยยิ้มเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยว บางทีก็เจอคน มีอายุแต่งตัวมอซอ แต่ในมือถือกงล้อภาวนาเดินตรงปรี่เข้า มาขอถ่ายรูปด้วย ตอนแรกตามประสาคนมองโลกในแง่รา้ ย ก็ คิดว่าแกจะต้องการอะไรจากเราหรือเปล่า แต่ไม่มอี ะไรแค่เข้า มาทักทายถ่ายรูปด้วย แล้วก็จากไป หลังๆเริ่มชินก็สนุกไปกับ เค้าด้วย ถ่ายแล้วก็แบ่งให้เค้าดู มีความสุขทั้งคนถ่ายและคน ถูกถ่าย ถ้าคนหนุ่มสาวนิดนึงที่พอจะรู้ภาษาอังกฤษ ก็จะตรง รี่เข้ามาหาเราเช่นกัน แล้วก็ชวนคุย พักที่ไหน มีความสุขหรือ เปล่า ประเทศเราเป็นยังไงบ้าง ถามไกด์เค้าบอกว่า ถ้าได้เข้า โรงเรียนก็จะพูดภาษาอังกฤษได้ เด็ก 5-6 ขวบก็พอจะสนทนา ได้แล้ว โรงเรียนก็จะสอน 2 ภาษาทุกที่ ส่วนใหญ่เค้าจะรู้จัก เมืองไทย อยากมาเที่ยวเมืองไทยกัน อาจจะด้วยวัฒนธรรม ความอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพผู้อาวุโส ที่มีคล้ายๆกัน และ ที่เหมือนกันอีกหนึ่งอย่างคือไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ร้านอาหาร หรือที่ใดๆ จะมีรูปของกษัตริย์ไว้ประดับบูชา ตอนนี้เจ้าชาย จิกมีก็ได้เป็นกษัตริย์จิกมี รัชกาลที่ 5 ของราชวงค์ บางแห่งก็ เริ่มเห็นรูปพระคู่หมั้นพร้อมเจ้าชายบ้างแล้ว

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ที่นี่วัง วัด ศาล บ้าน โรงเรียน โรงแรม ในความรู้สึกของ เรามันคล้ายๆกันไปหมด ถ้าไม่มีป้ายบอกจะไม่รู้เลยว่าเป็น อะไร การแต่งกายของประชาชนโดยทั่วไปยังนิยมใส่ชุดประ ชำ�ชาติในชีวิตประจำ�วันตั้งแต่เด็กๆจนถึงวัยสูงอายุเป็นเสน่ห์ อีกอย่างหนึ่งของประเทศนี้ เวลาจะเข้าสถานที่ราชการที่มีธง ประจำ�ชาติ คนภูฏานนอกจากใส่ชดุ ประจำ�ชาติแล้ว ต้องมี คับ เน แปลว่าผ้าพาดบ่า ซึ่งจะบ่งบอกสถานะของผู้สวมใส่ เช่น กษัตริย์-พระสังฆราช จะพาดสีเหลือง สีส้มสำ�หรับรัฐมนตรี สี เขียวบ่งบอกว่าเป็นผู้พิพากษา สีขาวสำ�หรับคนทั่วไป ถ้าเป็น คนต่างประเทศแบบพวกเราก็ต้องใส่เสื้อให้มีแขนมีขานิดนึง สินค้าอุปโภค บริโภคโดยทั่วไปจะเป็นสินค้าอินเดีย และ สินค้าไทยเรานี่แหละ อาจจะเพราะอย่างนี้ด้วยทำ�ให้เค้ารู้สึก คุ้นเคยกับคนไทย ที่นี่ใช้เงิน งุลตรัม มูลค่าเงินจะเท่ากับรูปี ของอินเดีย สามารถใช้ปะปนกันได้ ตอนแรกก็งงๆ เอ๊ะเราให้ แบงค์ทเี่ ป็นท่านจิกมี แต่ไหงได้ตงั ค์ทอนเป็นท่านมหาตะ คานธี พูดถึงแบงค์ ในวันสุดท้ายทีส่ นามบินด้วยความทีพ่ วกเราอยาก ได้แบงค์ใหม่ๆของภูฏานเป็นทีร่ ะลึก ลองเจรจากับพนักงานที่ ขายของทีร่ ะลึก เค้ารีบกระวีกระวาดหาให้มากๆทัง้ ทีเ่ ค้าไม่ได้ รับผลประโยชน์ใดๆตอบแทน(เป็นตัวเงิน) พอในเก๊ะไม่มี ก็ไป ค้นในกระเป๋าสตางค์ส่วนตัวมาให้ เรียกว่าใจพวกเราไปเต็มๆ ร้านค้าดิวตีฟ้ รีในท่าอากาศยานก็เป็นแบบง่ายๆ บ้างก็วางกับพิ้ นอยากได้แบบไหน อย่างไรก็คยุ้ กันได้เต็มที่ พนักงานก็ยงั เก็บ เงินและบันทึกในสมุดเล่มสีน้ำ�เงินใหญ่ๆ ประชากรทั้งประเทศ มีอยู่ ประมาณ 7 แสนคน เนื้อที่ก็ ประมาณ 3 จังหวัดแถวๆภาคเหนือของประเทศไทย แรงงาน โดยทั่วไปจะเห็นเป็นคนอินเดีย และจะเห็นทหารอินเดียเดิน ไปเดินมาบ้าง เนื่องจากมีพื้นที่ติดกัน เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วก็ 53

มีกบฎแบ่งแยกอินเดียที่เข้ามาตั้งค่ายทางตอนใต้ของภูฏาน กษัตริย์รัชกาลที่ 4 คือท่าน จิกมี ซิงเย วังชุก (พระราชบิดา ของเจ้าชายจิกมีทเี่ รารูจ้ กั ) ทรงเป็นผูน้ ำ�ทัพออกรบด้วยตนเอง สุดท้ายก็สามารถขับไล่ด้วยความสำ�เร็จของปฏิบัติการทาง ทหาร ราชินี อาชิ ดอร์จี วังโม วังชุก จึงโปรดให้สร้าง “ดอร์ ชูลา” เป็นสถูป จำ�นวน 108 องค์อยู่บนเขาลูกหนึ่งซึ่งมียอด สูงสุดในบรรดาเขาทั้งหมดบนเส้นทางจากเมืองทิมพูไปยังพู นาคาเพื่อเป็นที่ระลึก เมืองหลวงของที่นี่ชื่อเมืองทิมพู เป็น เมืองหลวงที่เดียว ในโลกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร แต่จะมีป้อมกลางสี่แยก และ ช่วงจราจรคับคัง่ จะมีตำ�รวจจราจรอยู่ 1 ท่าน คอยให้สญ ั ญาณ อยู่ ความใจดีของทีน่ พี่ สิ จู น์ได้ดว้ ยว่าสามารถขอถ่ายรูปกับคุณ ตำ�รวจได้ดว้ ย (เคยไปมาหลายทีค่ ณ ุ ตำ�รวจมักไม่คอ่ ยยอมให้เรา

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ถ่ายรูปด้วย) และสนามบินนานาชาติทเี่ ดียวของภูฏานยังได้ขนึ้ ชือ่ ว่าเป็นสนามบินทีข่ นึ้ -ลงได้ยากทีส่ ดุ อีกแห่งนึงอีกด้วย ด้วยความ ที่ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาที่ราบน้อย ตอนที่เครื่องบินกำ�ลังแลนดิ้งคนที่อยู่ริมหน้าต่างหวาดเสียวไปตามๆกันเพราะไม่ สามารถร่อนลงตรงๆได้ ต้องเอียงหลบสันเขา เพือ่ ให้ลงโดยปลอดภัยได้ พอลงได้ปลอดภัย ผู้โดยสารต่างปรบมือชื่นชมกัปตันกราวใหญ่ ผูค้ นทีน่ สี่ ว่ นใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน ภาพคนเดินหมุนกงล้อภาวนามีให้เห็นโดยทัว่ ไป เวลาก้มลงกราบอัษฎางคประดิษฐ์ให้อวัยวะทัง้ แปดลงแนบสัมผัสกับพืน้ ทำ�ให้พนื้ ปูนในวัด บางวัดเป็นแอ่งลง เพราะมีคนปฏิบัติศาสนกิจ ณ ตำ�แหน่งนี้ทุกเมื่อเชื่อกัน มีวัดอีกแห่งนึง ที่ถือว่าเป็นไฮไลน์ของประเทศภูฏาน มีชื่อว่าวัดทักซัง ภาษาอังกฤษว่า Tiger nest ที่อยู่ ของเสือหรือ วัดถ้�ำ เสือ วัดอยูบ่ น ยอดเขาลิบๆ ตอนทีไ่ กด์ชใี้ ห้เราดูนกึ ว่าพูดเล่น ต้องใช้เวลา ร่วม 4 ชัว่ โมงกว่าจะถึงยอดเขาได้ ทัง้ ขีม่ า้ และเดินเท้า ส่วนใหญ่ในคณะเราก็ครัง้ แรกในชีวติ ทั้งนั้นที่ได้ขี่ม้า ม้าก็แสนเชื่องเดินกันไปเป็นแถวเป็นแนว โดยไม่ต้องมีคนจูง ขนาดเราขี้ม้า เป็นเรื่องทุ่นแรงแล้วเดินเท้าต่อยังรู้สึกเหนื่อยมาก แต่คนภูฏานเดินล้วนๆแถมผู้หญิงใส่รองเท้า ส้นสูงอีกต่างหาก เป็นที่น่าทึ่งของพวกเราเป็นอย่างยิ่ง แต่ที่นี่ก็เป็นสุดยอดความภาคภูมิใจ ของเราว่าสุดท้ายเราก็ได้มาสักการะพระปฏิมาในวัดทักซังมีหลายปาง ล้วนแล้วแต่สวยงาม และอลังการ นอกจากองค์พระก็จะมีภาพวาดตามผนังที่งดงาม เค้ามีกฎอยู่ว่าที่นี่เค้าห้าม ถ่ายรูปภายในวัด โดยต้องฝากกล้องและกระเป๋าไว้กับเจ้าหน้าที่เลย พกติดตัวได้เฉพาะ กระเป๋าสตางค์และพาสปอร์ตเท่านั้น ความสุขที่เราได้รับจากประเทศนี้มีทั้งอากาศที่แสนบริสุทธิ์ เย็นสบาย สูดหายใจได้เต็ม ปอด บ้านเรือน ไร่นา ภูมิประเทศก็สวยงาม ผู้คนน่ารักและเป็นมิตรมากถึงมากที่สุด มีของฝากเล็กๆน้อยๆจากภูฏานค่ะ แต่มีจำ�กัดนะคะ เพียง 5 รางวัลเป็นแสตมป์เจ้าชายจิกมีในอิริยาบถต่างๆ ขอให้ท่านไป ตอบคำ�ถามว่า เจ้าชายจิกมีเป็นรัชกาลที่ไหร่ของประเทศภูฏาน ไม่ยากค่ะ ใครเร็วใครได้ค่ะงานนี้ ตอบลงในเวปของทันตภูธรนะ คะ.......1.......2.......3 ..ไปตอบเลยค่ะ 

54

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


มหกรรมรวมพล าพ ภ ข ุ ส ์ ษ ก ั ร า ย ธ ุ ย อ น ค ...โดย หมอเอ๋

เมื่อ

วันเสาร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ สำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุน ทันตกรรม สปสช. ได้จัดงาน มหกรรมรวมพลคนอยุธยารักษ์สุขภาพ “รักษ์ฟัน รักษ์สุขภาพ ยิ้มสวยสดใส หัวใจแข็งแรง” ณ ศูนย์การค้าอยุธยา พาร์ค จ.พระนครศรีอยุธยาเพือ่ สร้างกระแสการดูแลสุขภาพช่องปากสำ�หรับ ประชาชน ก่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำ�เนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ร่วมกับงานส่งเสริมสุขภาพร่างกาย อย่างเป็นองค์รวม โดยนิทรรศการ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ “รักษ์ฟัน” เป็นนิทรรศการส่งเสริมทันตสุขภาพ การประกาศรางวัล โรงเรียนเด็กไทยฟันดี และ โรงเรียนเครือข่ายเด็กไทย ฟันดีพระนครศรีอยุธยา ๒๕๕๔ ส่วนที่ ๒ “รักษ์สุขภาพ” เป็นนิทรรศการ ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ ปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรม ลดโรคไม่ ติ ด ต่ อ ลดอ้ ว น ลดหวาน มัน เค็ม และโครงการสนองน้ำ�พระราชหฤทัยในหลวง ทรงห่วงใย สุขภาพประชาชน ซึ่งงานนี้ได้รับเกียรติจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัด พระนครศรีอยุธยา นาย วิทยา ผิวผ่อง มาเป็นประธานเปิดงาน ด้วยค่ะ บรรยากาศในงานเต็มไปด้วยความ ยินดีเพราะมีการมอบรางวัลหลาย รางวัล และสนุกสนานจากทีมนักแสดง พิธกี ร การเสวนาเรือ่ งสุขภาพกับ อ.สง่า ดามาพงษ์ และ การแสดงจากเด็กๆ ลูกหลานกรุงเก่าที่น่ารักกว่า ๔๐ ชีวิต

55

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


เรื่องเล่าจากภูอังลัง หมอฟันไทด่าน dansaiqmr@gmail.com

“เปอร์”

) อ ้ ป เ . . . า ่ ว (อ่าน

เอ้

มาฝึกงานกับผม และผมคิดว่าน้องเขาเป็นเด็กใช้ได้ ทั้งจากการพูดคุยกับตัวน้องเขาเอง และฟังจากเพื่อนๆ น้องเขาเป็นเด็กใฝ่ดี มุ่งมั่น มีความคิดความอ่านและอาจพูดคำ�ใหญ่ๆ ได้ว่ารักเพื่อนมนุษย์ เพื่อนๆ เล่าว่าในชีวิตการเรียนช่วง 3 ปีแรกของเอ้ก็ smooth ดี เอ้ถือได้ว่าเรียนเก่ง เป็นมือ lecture ของชั้นปี ได้เป็นที่พึ่งพาแก่เพื่อนๆ ในยามใกล้สอบ ปัญหามาเกิดเอาตอน ขึ้นคลินิกเมื่อปี 4 ด้วยเป็นคนที่พลัดหลงเข้ามาสู่วิชาชีพนี้โดยไม่ได้ตั้งใจ (คนกลุ่มนี้ คิดว่า มีมาก ผมเดาๆ ว่าอาจจะถึงครึ่งหรืออย่างน้อยก็เกือบ ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในนั้นกะเขาด้วย) งานช้า ฝีมือไม่ค่อยดี อยู่ในกลุ่มคลินิกไม่รุ่ง จำ�ไม่ได้แล้วว่าเอ้ เขามาสะดุดเอาปีไหน แต่ที่จำ�ได้ คืองานอุดฟัน ก่อนผมจบ มีการออกไปฝึกงานในโรงพยาบาลชุมชนกว่าเดือนเหมือนกับเกือบทุก มหา’ลัย จำ�ได้ว่าในวันท้ายๆ ของการฝึกงานที่สกลนคร รุ่นพี่ที่เป็นอาจารย์ภาค oper ทีม่ าเยีย่ มแอบมากระซิบบอกว่าผมคงนับ requirementผิด ขาดไป 0.5 ได้ยนิ อย่างนัน้ ก็ใจ คอ ไม่ดี เพราะแม้ไม่ได้หวังเกรดสวยหรูดูดีหรือมีเกียรตินิยมติดตัวกับเขา แต่ความหวังอัน สูงสุดเท่าที่พอจะหวังได้ คือ การจบ 6 ปีตามปกติและได้รับปริญญาพร้อมเพื่อนๆ แต่ สุดท้ายมันก็ผ่านไป กลับมาคณะ นัดคนไข้มาทำ� ก็จบ ไม่ได้มีปัญหาอะไร ที่มหิดลตอน นั้น(ตอนนี้เป็นไง ผมไม่ทราบ) แทบทุกภาควิชาแม้ดูขึงขังจริงจัง แต่สุดท้ายหากทำ�งาน คลิ นิ กไม่ทัน ด้ว ยปัญ หาอะไรก็ตาม ก็ จะมี ช่ วงเวลาให้ เ ก็ บ งานช่ วงหลั งสอบ final ซึ่ ง ส่วนใหญ่กจ็ ะผ่านกันมาได้ หากตัง้ ใจกระตือรือร้นทีจ่ ะจบ ภายใต้การเคีย่ วเข็ญของอาจารย์ที่ ทั้งผลักทั้งดัน อยากให้จบไปตามเวลาปกติ

56

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


กลับมาที่เรื่องของ “เอ้” เพื่อนเล่าว่า ตอนรู้ผลว่าต้อง “ตก” ซ้ำ�ชั้น ต้องลงทะเบียนใหม่ไปทำ�คลินิกกับรุ่นน้อง เอ้คง shock อย่างรุนแรง เพราะก่อนหน้าไม่ได้มีสัญญาณ ใดๆ ส่งบอกล่วงหน้ามาก่อนว่าเกรดจะมีปญั หา ชีวติ ของเธอ เปลี่ยน...ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป บุคลิกท่าทีเปลี่ยน กลาย เป็นคนอมทุกข์ ซึมและเศร้า เหมือนแบกโลกทั้งใบไว้ตลอด เวลา ชีวติ เป๋ไปพักใหญ่ๆ ก่อนจะตัง้ หลักทำ�ใจฮึดสูไ้ ด้อกี ครัง้ แม้สภาพจิตใจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ผมเชื่อว่าในมุมของผู้ผลิต อาจารย์คงจะปรารถนา ดีที่ไม่อยากปล่อยผลิตผลที่เป็นวิชาชีพทันตแพทย์ออกสู่ สังคมอย่างด้อยหรือไร้คุณภาพ แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าเราได้ พิจารณาทางเลือกอื่นๆ อย่างถี่ถ้วนหรือยังก่อนจะให้เด็ก คนนึงและเสียเวลาไปเป็นปี พร้อมกับปมอะไรใหญ่ๆ ที่จะ ติดอยู่ในใจเขาไปนานแสนนาน อย่างน้อยควรบอกกันก่อน ประกาศเกรด และให้โอกาสทำ�อะไรบางอย่างในช่วงเวลา ที่พอมีว่ามันพอแลกกับการผ่านในวิชาหรือคลินิกนั้นๆ ได้ ไหม แต่หากไม่ไหวจริงๆ คงจำ�เป็นไม่อาจหลีกเลี่ยง เช่นไร้ ฝีมือกันจนน่าหวั่นใจ อาจจำ�เป็นต้องเก็บไว้เคี่ยวเข้ม ไม่ให้ ส่งผลเสียต่อว่าที่คนไข้ในอนาคตอีกมากมาย หากขาดไร้ซึ่ง จริยธรรมควรถูกลงโทษให้แรงพอที่จะสำ�นึก เพราะวิชาชีพ อย่างเราๆ การกระทำ�ใดๆ ในปากคนไข้เมือ่ เป็นทันตแพทย ์เ ต็ ม ตั ว ล้ ว นแทบจะทำ � ได้ ต ามอำ � เภอใจ ยากที่ จ ะตรวจ เช็คตรวจสอบเหมือนกับการเช็ค step ที่คณะของอาจารย์ หากพร่องคุณธรรม ผลเสียมหาศาลอาจเกิดขึ้นได้ นอกจาก เหตุผล 2 ข้อนี้ ผมยังคิดไม่ออกว่าควรเก็บเด็กไว้ทำ�ไม หากเอาตั ว เลขมาดู กั น คร่ า วๆ สั ด ส่ ว นทั น ตแพทย์ ต่อประชากรในกรุงเทพฯ ตอนนี้คงอยู่แถว 1 ต่อ 900 แต่ภาคอีสานหลายจังหวัดยังอยู่ที่ 1 ต่อ 20,000 กว่าๆ ห่างกันเกิน 20 เท่า การเก็บเด็กไว้โดยไม่มีเหตุอันควรล้วน ลดทอนโอกาสในการออกไปสร้างคุณค่าของเด็กคนนัน้ โดย เฉพาะในพืน้ ทีช่ นบทขาดแคลน คิดกันเล่นๆ ว่า 1 ปี หักวันลา

57

สารตะทำ�งานแค่ 200 วัน วันนึงทำ�คนไข้สัก 10 คน คูณกัน ได้ 2,000 คน 2,000 ความทุกข์ได้รบั การขจัดปัดเป่า—นัน่ น่า จะคุ้มค่าเพียงใด บางส่วนใน 2,000 เคส ที่ว่าถึงขั้นปวดแล้ว บางส่วนกำ�ลังจะปวดหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อย่างที่รู้กันปวดฟันนั้นทุกข์มหาศาล การลดหรือป้องกันไม่ ให้เกิดความทรมานเหล่านี้ย่อมมีอานิสงค์อันประเสริฐ เท่าที่ฟังมา แต่ละคณะแต่ละมหา’ลัย มีนโยบายเก็บ เด็กไม่เหมือนกัน ภาควิชาที่มีนโยบายเข้มเป็นพิเศษก็แตก ต่างกัน รวมทัง้ บางทีบ่ างมหา’ลัยได้ฟงั ชือ่ แม้กลุม่ ทีค่ ยุ ด้วย จะได้ “ไปต่อ” แต่คงหวาดผวากับการต่อสู้ แถมยังใจคอห่อ เหี่ยวเมื่อนึกถึงเพื่อนอีกกลุ่มใหญ่ๆ ที่ไม่ได้มีโอกาสเหมือน ตัวเอง มวลความทุกข์ก้อนมหึมาล่องลอยอยู่เต็มห้องในเช้า ของการพูดคุยวันนั้น ไม่แน่ใจว่าเคยมีใครเก็บข้อมูลดัชนีความสุขของนิสิต นักศึกษาทันตแพทย์กันบ้างไหม หากยัง นึกถึงได้ก็แค่ โครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุขทีน่ า่ จะลองเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ดู เผือ่ จะพบเจอเหตุปจั จัยอะไรทีพ่ อจะจัดการ ได้ จะได้ทำ�ให้เหตุแห่งทุกข์(สมุทัย) ได้รับการปัดเป่าให้ เบาบางลงบ้าง เพราะคิดว่าคนทีอ่ ยูใ่ นบรรยากาศแห่งความ สุขมาก่อนย่อมมีโอกาสเอือ้ เฟือ้ แบ่งปันความสุขไปสูค่ นไข้ทงั้ ในปัจจุบันและในอนาคตของเขาได้ ส่วนคนที่พบเจอความ ทุกข์มาซ้�ำ แล้วซ้�ำ เล่า เห็นทีจะคาดหวังข้อนีย้ ากอยูส่ กั หน่อย กลัวก็แต่จะเป็นเหตุแห่งทุกข์ให้ใครต่อใคร ทั้งไม่รู้ตัวและ ตั้งใจ ในกระแสการบูมของแนวคิด Humanize ในช่วง 3-4 ปีมานี้ ซึ่งหากเราเชื่อว่าเป็นสิ่งดีงาม การคาดหวังให้ว่าที่ ทันตแพทย์พึงปฏิบัติต่อคนไข้ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ย่อมมีเหตุมาจากการได้รบั การปฏิบตั เิ ช่นนัน้ ขณะทีเ่ ขากำ�ลัง เรียนอยูใ่ นคณะฯ เพราะหาไม่แล้ว การคาดหวังทันตแพทย์ ทีเ่ ข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจคนไข้และใครอืน่ รอบข้างนัน้ ผมว่า...คงจะหวังได้ยาก...เต็มที 

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


ขอเชิญร่วมทำ�บุญ เพื่อสมทบทุนสร้าง ศาลาปฏิบัติธรรมและที่พักสงฆ์ ทอดถวาย ณ พระธาตุจอมแจ้ง หมู่ที่ ๘ ตำ�บลวรนคร อำ�เภอปัว จังหวัดน่าน พระธาตุจอมแจ้งเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่มีอายประมาณ ๗๐๐ - ๘๐๐ ปี สันนิษฐานว่า ก่อสร้างประมาณปี พ.ศ. ๑๗๐๐ - ๑๘๐๐ ซึง่ เป็นสถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธ์เป็นทีเ่ คารพและสักการะของ พุทธศาสนิกชนทั่วไปมาช้านาน ทุกๆปีจะมีการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาต่างๆ เช่น นมัสการองศ์พระธาตุ ตานก๋วยสลาก ฯลฯ เป็นประจำ� แต่ขณะนี้ศาลาปฏิบัติธรรมและที่พำ�นักสงฆ์ ณ พระธาตุจอม แจ้ง ได้ชำ�รุดทรุดโทรมมาก เจ้าคณะตำ�บล เจ้าอาวาสวัดดอนแก้ว คณะกรรมการ และพุทธศาสนิกชนตำ�บลวรนครจึงได้ปรึกษาหารือกัน และมติ ให้รื้อหลังเก่าและสร้างหลังใหม่ขึ้นทดแทนหลังเดิม ในการสร้างครั้งนี้ยังขาดทุนทรัพย์เป็นจำ�นวนมาก จึงมีมติพร้อมใจกัน จัดหารายได้โดยการจัดตั้งผ้าป่าสามัคคี จำ�นวน ๓๐,๐๐๐ กอง กองละ ๙๙ บาท จึงได้กำ�หนดวันเวลาทอดผ้าป่าสามัคคี ในวันที่ ๓๐ กันยายน - ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ดังนั้นจึงขอประชาสัมพันธ์บอกบุญ และเรียนเชิญท่านสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าใน ครั้งนี้ โดยเจ้าภาพสายกระทรวงสาธารณสุข สามารถโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด สาขากระทรวง สาธารณสุข – ติวานนท์ เลขที่บัญชี 142-0-12651-2 ชื่อบัญชี ทอดผ้าป่าสามัคคี ณ พระธาตุจอมแจ้ง จ.น่าน และ เจ้าภาพสายจังหวัดน่านสามารถโอนเข้าบัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารเพื่อการเกษตร(ธกส.) สาขาอำ�เภอปัว เลขที่บัญชี 256-2-61825-2 ชื่อบัญชี พระธาตุจอมแจ้ง ขออำ�นาจคุณพระศรีรัตนตรัย และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก โปรดดลบันดาลให้ท่านพร้อมครอบครัวจงประสบแต่ความสุข ความเจริญด้วยจตุรพิธพรชัยสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ และสัมฤทธิ์ผลในสิ่งที่พึงปรารถนาทุกประการเทอญ

กำ�หนดการ

วันศุกร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ตรงกับขึ้น ๓ ค่ำ� เดือน ๑๑

เวลา ๐๙.๐๐ น. ตั้งองค์ผ้าป่าสามัคคี ณ พระธาตุจอมแจ้ง บ้านดอนแก้ว หมู่ที่ ๘ ต. วรนคร อ. ปัว จ. น่าน

วันเสาร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ตรงกับขึ้น ๔ ค่ำ� เดือน ๑๑

เวลา ๐๙.๓๙ น. ถวายองค์ผ้าป่าสามัคคี ณ พระธาตุจอมแจ้ง บ้านดอนแก้ว หมู่ที่ ๘ ต. วรนคร อ. ปัว จ. น่าน

ประธานกรรมการกิติมศักดิ์

นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ประธานกรรมการ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการดำ�เนินงาน นพ.ประดิษฐ์ วินิจจะกุล รองอธิบดีกรมอนามัย ทพ.สมนึก ชาญด้วยกิจ ผูเ้ ชีย่ วชาญวิชาการทันตกรรม มูลนิธิ พอ.สว. ซึ่งมีกรรมการผู้มีจิตศรัทราจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะสายทันตแพทย์ ทันตบุคลากรดังต่อไปนี้ กรรมการสายสำ�นักทันตสาธารณสุข (ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย ผู้อำ�นวยการสำ�นักทันตสาธารณสุข) 58

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


กรรมการอุปถัมภ์สายกลุ่มวิชาชีพทันตแพทย์ และทันตสาธารณสุข ทันตแพทย์ถนอม บุญบุตร ทันตแพทย์โกเมศ วิชชาวุธ ทันตแพทย์ธรณินทร์ จรัสจรุงเกียรติ ทันตแพทย์สถาพร จันทร ทันตแพทย์หญิงบานเย็น ศิริสกุลเวโรจน์ รศ. ดร.จงดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม นา ยมนูญ บำ�รุงจิตร หัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ ๑ –๑๒ ทันตแพทย์ทพ.วุฒิพงศ์ ธนะขว้าง กรรมการสายกลุ่มพัฒนาความร่วมมือทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ เชียงใหม่ (ทพ.ญ.ศันสณี รัชชกูล หัวหน้ากลุ่มฯ)กรรมการสายทันตแพทย์-ทันตบุคคลากรศูนย์อนามัยที่ ๑ - ๑๒ กรรมการสายชมรมทันตแพทย์จุฬาฯ รุ่น ๒๙ (ทันตแพทย์ถนอม บุญบุตร ประธานชมรมรุ่นฯ) กรรมการสายสำ�นักงานเลขาธิการทันตแพทยสภา (ทันตแพทย์โกเมศ วิชชาวุธ เลขาธิการ) กรรมการสายชมรมทันตแพทย์ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด (ทพ.สถาพร จันทร ประธานชมรมฯ) กรรมการสายชมรมทันตแพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (ทพ.ธรณินทร์ จรัสจรุงเกียรติ) กรรมการสายชมรมทันตภูธร (ทพญ.บานเย็น ศิริสกุลเวโรจน์ ประธานชมรมฯ) ทพ.วิวัฒน์ ฉัตรวงศ์วาน ทพญ.แพร จิตตินันทน์ ทพญ.วรางคณา อินทโลหิต ทพ.วัฒนา ทองปัสโณว์ ทพญ.นัฎฐา ติลกการย์ ทพญ.พจนา พงษ์พานิช ทพญ.เยาวพา จันทรบุตร ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ ทพญ.วิโรชา เพียรเจริญ ทพญ.สุรีรัตน์ สูงสว่าง ทพญ.มยุรฉัตร ฉายอรุณ อ.ทพ.วิชัย วิวัฒน์คุณูปการ ทพ.พีระยุทธ เตโชฬาร อ.ทพ.พิชิต งามวรรกุล ทพ.ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ ทพญ.พัชราลักษณ์ เถื่อนนาดี ทพ.วศิน มหาศรานนท์ ทพ.วุฒิพงศ์ ธนะขว้าง ทพ.พูลพฤกษ์ โสภารัตน์ ทพ.เทอดศักดิ์ อุตศรี ทพญ.จินดา พรหมทา ทพ.วรวิทย์ สกุลไทย ทพ.อนุรักษ์ อังษานาม ทพ.ชูเกียรติ พุทธานันทเดช ทพ.วัชรพงศ์ หอมวุฒิวงศ์ ทพญ.อาภาพรรณี เขมวุฒิพงศ์ ทพญ. วรุณี วงศ์นาถ ทพญ.กรัณฑชา สุธาวา ทพญ.ขวัญหทัย อินทรุจิกุล ทพญ.มณฑกานต์ สีหวงศ์ ทพญ.รจิต จันทร์ประสิทธิ์ ทพญ.วิไลลักษณ์ หนูฤทธิ์ ทพญ.บุษบา ภู่วัฒนา ทพญ.ชนิฏาภรณ์ สอนสังข์ รศ.ดร.เพ็ชรน้อย สิงห์ช่างชัย นางสาวสุภาพ สิกขาพันธ์ นางสุภาณี สุวรรณ อาจารย์ จริยา พรหมสุวรรณ นางอาบเพชร เชาว์พัฒนากุล นายสมพล อุทัยรัตน์ นางสาวสุมาลี ชลไพศาล นส.วิลาวรรณ์ ตลับเพ็ชร์ พันจ่าเอกธงชัย-นางทรงบุปผา ผลทาเลิศ นางสมพร จันทร์ศิริ หน.ฝ่ายทันตสาธารณสุข (พุทธ) รพช. 15 แห่ง จังหวัดสงขลา กรรมการสายสมาคมทันตาภิบาลแห่งประเทศไทย (รศ.ดร.จงดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม นายกสมาคมฯ) กรรมการสายชมรมผู้ช่วยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย (นายมนูญ บำ�รุงจิตร ประธานชมรมฯ) หากท่านมีความประสงค์รับใบอนุโมทนาบัตรกรุณาท่านเขียนที่อยู่และส่งหลักฐานการบริจาคเงินมาที่ -สายกระทรวงสาธารณสุข E-mail : C_somnuk@hotmail.com หรือ dear1951@gmail.com Mobile : 081-848-7879 Fax : 0-2225-5510 ทันตแพทย์สมนึก ชาญด้วยกิจ มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 693 ถ.บำ�รุงเมือง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100 -สายเมืองน่าน(ปัว) E-mail : sonchai_100@hotmail.com นายศรชัย วารีทิพย์ นายกอบต.วรนคร ตำ�บลวรนคร อำ�เภอปัว จังหวัดน่าน 55120 หรือ วัดดอนแก้ว ตำ�บลวรนคร อำ�เภอปัว จังหวัดน่าน 55120

เพื่อคณะกรรมการจะได้จัดส่งใบอนุโมทนาบัตรมาให้ท่านทางไปรษณีย์ต่อไป  59

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


. . . จ ใ กรอง ท้ายเล่ม

กรองใจท้ายเล่ม ฉบับนี้ก็เป็นฉบับที่คนไทยเราต้อง ประสบกับเหตุการณ์สำ�คัญ 2 เรื่องใหญ่ๆ เรื่องแรกก็คือ การเลือกตัง้ สส.ทัว่ ประเทศเมือ่ 3 กรกฏาคม 2554 หลังจาก รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ยุบสภา เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 การเลือกตั้งครั้งนี้ มีจำ�นวน ผู้มีสิทธิ์ 46,921,777 คน มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ถึงร้อยละ 75 จังหวัดที่มีผู้ใช้สิทธิ์มากที่สุด3ลำ�ดับแรกคือ 1. ลำ�พูน ร้อยละ 88.61 2. เชียงใหม่ ร้อยละ83.13 3. ตรัง ร้อยละ 82.63 ซึ่งผลการเลือกตั้งก็เป็นที่ทราบกันดีอยู้แล้ว ว่าพรรค เพื่อไทยได้สส.ทั้งแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ สูงสุด โดย นส.ยิง่ ลักษณ์ ชินวัตร ได้รบั การโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ของประเทศไทย และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ของประเทศไทยไปแล้ว จัดเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 52 ของโลก เมื่อ 51 ปีก่อน โลกได้จารึกไว้ว่านายกรัฐมนตรี หญิงคนแรกของโลกคือ นางสิริมาโว บันดาราไนยาเก ผูน้ �ำ ของศรีลงั กา คนที2่ คือ นางอิทริ า คานที ประเทศอินเดีย คนที่3 คือ นางโกลดา แมร์ ประเทศอิสราเอล น่าสังเกตุ ว่า ทั้งสามท่านแรกเป็นชาวเอเชียทั้งหมด ปัจจุบันนายก รัฐมนตรีหญิง ทีป่ ฏิบตั หิ น้าทีอ่ ยู่ มีดงั นี้ ที4่ 6. Angela Merkel ของประเทศเยอรมนี ที่47.Kamla Persad-Bissessar ประเทศตรินิแดด และโตเบโก ที่48.Julia Gillard ของ ประเทศออสเตรเลีย ที่ 49. Iveta Radicov ประเทศสโล วาเกีย ที่ 50.Rosario Fetnandez Figueroa ประเทศเปรู 60

ที่ 51. Ciss Mariam Kaodama Sidib ของประเทศมาลี และแน่นอนคนที่ 52 ของโลกก็คือคนไทยค่ะ แต่ในเกือนกรกฏาคม ที่ผ่านมานี้ ก็เกิดเหตุการณ์ อันน่าเศร้าต่อคนไทยและกองทัพบกอย่างมาก อย่างไม่นา่ เชือ่ ว่าเรือ่ งบินเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบก จะเกิดอุบตั เิ หตุ ตก จำ�นวน 3 ลำ� ในเวลาไล่เลี่ยกัน ในภารกิจที่เกี่ยวเนื่อง กัน ในพื้นที่แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ทำ�ให้เกิดความสูญ เสียมากทัง้ เครือ่ งบินและชีวติ ทหารและนักข่าว รวม 17 คน และบาดเจ็บ 1 คน นำ�ความเศร้ามาสูค่ รอบครัว และคนไทย อย่างยิง่ ลำ�ดับเหตุการณ์ได้ดงั นี้ ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้มีรายงานถึงอุบัติเหตุ ที่เฮลิคอปเตอร์แบบฮิวอี้ ปฏิบตั หิ น้าทีจ่ บั กุมผูบ้ กุ รุกป่าไม้ เนือ่ งด้วยสภาพอากาศปิด ได้สง่ ผลให้เฮลิคอปเตอร์ดงั กล่าว ตกลงไปในบริเวณตะเข็บ ชายแดน ผูเ้ สียชีวติ 5 นาย ซึง่ ต่อมา ในวันที่ 19 กรกฎาคม ได้มีการส่งทหาร 8 นายและนักข่าว 1 นาย เดินทางไป รับศพ ผลปรากฏว่าเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กได้ตกลงไป ในป่า การกระแทกกับพืน้ ส่งผลให้เฮลิคอปเตอร์แตกกระจาย มี ผู้ เ สี ย ชี วิ ต ทั้ ง 9 ราย และในวั น ที่ 24 กรกฎาคม ทางหน่วยได้สง่ ทีมไปรับศพผูส้ ญ ู เสีย โดยได้สง่ เฮลิคอปเตอร์ ใช้งานทั่วไป เบลล์ 212 ปรากฏว่าฮ.ได้ตกลงไปในป่า และเพลิงลุกไหม้ มีรายงานผูเ้ สียชีวติ จากอุบตั เิ หตุดงั กล่าว สามราย และรอดชีวติ หนึง่ ราย ซึง่ ทีมช่วยเหลือได้ประสาน งานโดยการนำ�รถไปรับศพมาเพือ่ ทำ�พิธที างศาสนาทีจ่ งั หวัด

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


กาญจนบุรีอย่างสมเกียรติ จากเรื่องที่เรียบเรียงมานี้คงจะทำ�ให้เราได้บทเรียน ชีวิต ถึงความไม่เที่ยง เช่นการมียศฐาบรรดาศักด์มันก็ไม่ เที่ยง ชีวิตก็ไม่เที่ยง เอาแน่ไม่ได้ มันเป็นธรรมดาของโลก ดังนัน้ เพือ่ ความสบายใจ จึงขอเชิญชวนทุกท่านทำ�บุญทอด ผ้าป่า ณ วัดพระธาตุจอมแจ้ง จ.น่าน ในวันที่ 1 ตค. 54 (ตามแต่ศรัทธาและไม่ท�ำ ให้ตนเดือดร้อน) ซึง่ มี นพ.ประดิษฐ์ วินจิ จะกุล รองอธิบดีกรมอนามัย ประธานกรรมการ อ.หมอ สมนึก ชาญด้วยกิจ ผู้เชี่ยวชาญวิชาการทันตกรรม มูลนิธิ พอ.สว. เป็นประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการดำ�เนินงาน (รายละเอียด มีในเล่มนี้) ในโอกาสนี้ก็ต้องขอขอบคุณ ชาวทันตภูธรและผูม้ จี ติ ศรัทราทีไ่ ด้รว่ มกันบริจาคจัดผ้าป่า สามัคคีในการสร้างโบส์วัดห้วยนาค จ.เพชรบูรณ์ เมื่อ 17

พค. 54 ซึง่ มีอ.ท่านผูห้ ญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช เป็นประธาน กิตติมาศักด์ ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย ผู้อำ�นวยการสำ�นัก ทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เป็นเจ้าภาพดำ�เนินการ ประธานชมรมฯทันตแพทย์ทงั้ 3ชมรม เป็นประธานร่วม ได้ เงินทำ�บุญเกือบล้านบาท ขอทุกท่านจงประสบแต่สิ่งดีๆในชีวิต ฉบับนี้ ขอลา ที่ “อานิสงส์ของการเป็นผู้นำ�บุญ ขึ้นชื่อว่า “บุญ” ย่อมมีทั้ง บุญทาน บุญศีล และบุญภาวนา ซึง่ มีอานิสงส์สงู ขึน้ ไปตามลำ�ดับ การทำ�บุญเหล่านีม้ อี านิสงส์ เพียงใด ผู้นำ�บุญ ผู้ชักชวนให้ทำ�บุญ และทำ�ด้วยตนเอง ด้วย เป็นเสมือนผู้ส่องทางสว่างให้แก่ตนเองและแก่ผู้อื่น ย่อมได้อานิสงส์เป็นทับทวี” อ้างอิงจาก วัดหลวงพ่อสด ธรรมกายาราม ทพญ.บานเย็น ศิริสกุลเวโรจน์ ประธานชมรมท้นตสาธารณสุขภูธร

61

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


62

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


63

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


64

ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.