ทันตภูธร ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เพือ่ เสริมสรางแรงบันดาลใจและความสุขในการทํางาน เมษายน-มิถุนายน 2555
สหวิชาชีพดวยสหวิทยาการ
สั่งแปรงสีฟันกับ วารสารทันตภูธร ราคาล่าสุด กันยายน 2555 แปรงเด็กอายุ 0-3 ปี ราคา 7.50 บาท แปรงเด็กอายุ 3-6 ปี ราคา 8.00 บาท แปรงเด็กอายุ 6-12 ปี ราคา 8.50 บาท แปรงผู้ใหญ่ ราคา 9.50 บาท โทรสั่งแปรงสีฟันติดดาว, ยาสีฟัน, ผ้าเจาะกลาง, ผ้าห่อเครื่องมือ ฯลฯ โทรด่วนสัง่ สินค้ากับ หมอหนุ่ย สุรรี ัตน์ 0869165126 หรือ คุณนฤมล 0835689055 ดูภาพแปรงสีฟนั ได้ใน https://www.facebook.com/groups/ruraldent
ทักทายบรรณาธิการ ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ nithimar_or@yahoo.com วารสารทันตภูธร ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 2 ของปี ซึ่งอาจจะถึงมือท่านผู้อ่าน ราวๆ
เดือนกันยายน ดิฉนั ไม่อาจแก้ตวั ได้ถงึ ความล่าช้าตามปกติของวารสารทันตภูธรค่ะ ช่วงเวลา ทีผ่ า่ นมามีเหตุการณ์ตา่ งๆ มากมาย วารสารทันตภูธรเล่มนี้เล่มเดียวคงไม่อาจบันทึกทุกเรื่องราวได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ จึงขอ เชิญชวนท่านผู้อ่านเข้าสู่การสื่อสารระหว่างทันตภูธรทั่วประเทศอีกช่องทางหนึ่ง นั่นคือกลุ่มทันตภูธรในเฟสบุค https://www. facebook.com/groups/ruraldent และซื้อสินค้าทันตภูธรเช่นแปรงสีฟัน,ยาสีฟัน,เสื้อ,ถุงผ้า,ผ้าเจาะกลางในหน้าเพจ https:// www.facebook.com/ruraldentmagazine ผลกำ�ไรนำ�มาเป็นทุนงบประมาณในการจัดพิมพ์ จัดส่ง วารสารทันตภูธร รวมทั้ง ทุนในการจัดพิมพ์หนังสือความสุขในชีวิต dentist ภูธร และทุนในการจัดทำ�ค่ายรับน้องทันตภูธรอีกด้วย ท่านผู้อ่านสามารถส่ง เรื อ่ งราว บทความและภาพถ่ายของท่านมาเพือ่ พิจารณาตีพมิ พ์ในวารสารทันตภูธรได้คะ่ ยินดีรบั ทุกบทความทัว่ ประเทศไทยค่ะ เมื่อเดือนกรกฎาที่ผ่านมา ดิฉันยุ่งมาก เป็นช่วงที่คุณย่าของดิฉันป่วยหนัก เป็นระยะสุดท้ายของชีวิตคุณย่า ในคืนสุดท้าย ที่จิตคุณย่าอยู่กับร่างของท่าน ดิฉันนั่งมองคุณย่าอยู่ข้างเตียง สวดมนต์ตลอดเวลา ทำ�หน้าที่อย่างดีที่สุด ไม่ว่าญาติคนไหนจะ เดินเข้า ญาติคนไหนจะเดินออก ญาติคนไหนจะร้องไห้ ดิฉันมุ่งมั่นที่จะสวดมนต์ให้ท่านได้ยินชัดที่สุด ไม่มีแม้แต่เวลาจะเสีย นํ้าตา ท่านจะต้องได้ยินเพียงเสียงสวดมนต์ของดิฉันเท่านั้น ไม่ต้องได้ยินเสียงพูดคุย หรือเสียงร้องไห้ จนลมหายใจครั้งสุดท้าย ของท่าน ดิฉันสวดมนต์ให้ท่านฟังที่ข้างหูเป็นเวลา 2 ชั่วโมงเศษ ท่านจากไปอย่างสงบเหมือนคนนอนหลับสนิท ญาติทุกคน กราบสรีระท่านอย่างมีสติ ส่วนตัวดิฉันรู้สึกเหมือนเพิ่งกลับมาจากปฏิบัติธรรม 10 วัน เป็นความปิติที่อธิบายไม่ได้ แต่สามารถ รั บรู้เฉพาะตนว่าได้ทำ�ดีที่สุดเท่าที่จะทำ�ให้คุณย่าแล้ว และท่านไปดีจริงๆ ... จากนั้น มุมมองในชีวิตบางอย่างของดิฉันก็ไม่เหมือนเดิม ชีวิตคนเราแสนสั้นนะคะ เวลาคนกำ�ลังจะตาย ไม่มีใครเลย นอกจากร่างอันอ่อนล้ากับการต่อสู้ดิ้นรนหายใจอย่างยากลำ�บาก ..แค่นั้นเองจริงๆ... ทรัพย์สินที่หามาทั้งชีวิตอาจทำ�ได้เพียง พามาโรงพยาบาลดีที่สุด เช่าห้องพิเศษ ดูแลอย่างดีที่สุด แต่ในนาทีของลมหายใจเฮือกสุดท้าย ขณะที่จิตกำ�ลังสับสนวุ่นวาย กลับไม่ได้ไปไม่ถึงนั้น มีเพียงคุณงามความดีกรรมดีที่สะสมมาเป็นอริยทรัพย์ต่างหากที่จะช่วยท่าน ให้ท่านได้มีโอกาสที่ดีพอที่ จะไปดี พยาบาลในห้องไอซียูบอกดิฉันว่า คุณย่ามีบุญมากที่มีหลานนำ�ทางให้ท่านไปดี ซึ่งไม่ใช่ทุกคนจะมีโอกาสเช่นนี้
สิ่งที่ดิฉันได้เห็นได้สัมผัสในคืนนั้น สอนอะไรอย่างมากมาย เสี้ยวลมหายใจบางๆ นั้นช่างสั้นนัก เมื่อเทียบกับช่วงเวลา ที่เคยรัก เคยโกรธ เคยโลภ หรือเคยหลง ซึ่งเป็นเพียงความฝันอันแสนยาวนาน คล้ายดั่งบทละครนํ้าเน่าที่เกิดซํ้าไปวนมา ตาม กงล้อแห่งกรรม และความไม่สนิ้ สุดของวัฏสงสาร สิง่ ทีม่ คี วามสำ�คัญและจำ�เป็นอย่างยิง่ ในการใช้ชวี ติ คือการมีสติ อยูก่ บั ปัจจุบนั ขณะอยู่กับความเป็นจริงของชีวิต โดยไม่ประมาท ตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง มีความสุขกับ บิดา มารดา ครอบครัว พี่น้อง ผองเพือ่ น คนทีร่ กั คุณ คนทีค่ ณ ุ รัก งานทีท่ �ำ แล้วมีความสุข เพือ่ เป็นต้นทุนให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สงิ่ ทีด่ งี ามฝากไว้ใน แผ่ น ดินต่อไป เพราะเวลาที่เหลือในการทำ�ดีตอ่ ตนเองและเพือ่ นมนุษย์ก�ำ ลังลดน้อยถอยลงไปทุกวันแล้วล่ะคะ บางครั้งความตั้งใจดี มิใช่จะสมประสงค์ทุกประการเสมอไป บางสิ่งบางอย่างมีข้อจำ�กัดตามเงื่อนไขทางโลกซึ่ง อาจยังไม่ถึงเวลาจะเปลี่ยนแปลง และสิ่งภายนอกเหล่านั้น ไม่สำ�คัญเท่ากับว่าเราจะรักษาจิตใจภายในของตนเอง อย่างไร ให้มีความสุขตามอัตภาพภายใต้ข้อจำ�กัดอันซับซ้อนของชีวิต .. วารสารทันตภูธร 1 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
1 3 4 9
ทักทายบรรณาธิการ นายช่าง ยื่นมือมาสิ จะทายาให้ นายเเพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ปาฐกถาพิเศษ ในงานประชุมเครือข่าย สหวิชาชีพเพือ่ พัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการ ผมกำ�ลังเปลี่ยนเเปลงโลก
13 15 17 19 20
สุขสร้างสรรค์กับสสส. : แง่คิด-มุมมอง จากประสบการณ์งานทันตฯ กับบทบาทในภารกิจของ ‘สหวิชาชีพ’ ไกลเกินช่องปาก ลึกกว่าคอหอย : สหวิชาชีพด้วยสหวิทยาการ เรื่องเล่าจากช้างน้อย @ รพ.ภาชี พระนครศรีอยุธยา อันเนื่องมาจากปก : ทีมสหวิชาชีพ หมอเมืองน่าน จดหมายตอบน้อง
22 23 26 28 30
ยาแลกไข่ by Jay-ac จุดประกายความคิด ข่าวจากติวานนท์ เรื่องเล่าจากภูอังลัง : เกี่ยว/ไม่เกี่ยว กับกองทุนทันตกรรม ความกังวลในการที่จะเป็นครูนักเรียนทันตาภิบาล รุ่นผลิตเร่งด่วน 3000 ตำ�แหน่ง
สารบัญ ทันตภูธร 34 35 36 40
ทันตาภิบาลไทย อาชีพที่ยังไม่ถูกค้นพบ จากอีแร้ง...ถึงนกน้อย^^ เรื่องเล่า..จากทีมอ่อนหวานลำ�ปางหน้าเจ๊า โครงการพัฒนารูปแบบสื่อสร้างเสริมสุขภาพช่อง ปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
44 45 47 49 53
เครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ ความฝันที่จะ...ดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการ 3P กับก้างติดคอ:ดูแลผู้ป่วยร่วมอย่างมีคุณภาพ เริ่มต้นจากสื่อสารด้วยใจ...โยงไปสู่การดูแลช่องปาก สุขอยู่ที่ใจ..เมื่อ..กายได้กระทำ�
59 ณ ตึกทันตกรรม 61 “บริษัท ทันตภูธรและเพื่อน จำ�กัด” Social Enterprise เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจและความสุขในการทำ�งาน 62 Social Enterprise หรือ กิจกำ�รเพื่อสังคมคืออะไร? 64 กรองใจท้ายเล่ม
ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร ● ประธานชมรมฯ : ทพญ. บานเย็น ศิริกุลเวโรจน์ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เลขที่ 161/1 ถนนรามวิถี ตำ�บลบ่อยาง อำ�เภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000 โทรศัพท์ 074 - 326091 ต่อ 107 , 105 โทรสาร 074 – 311386 ● วารสารทันตภูธร ที่อยู่ 42/198 ซ.ติวานนท์ 38 ถ. ติวานนท์ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 083 – 4934543 ruralmax2007@ gmail.com ● บรรณาธิการ : ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ ● กองบรรณาธิการ : ทพญ.แพร จิตตินันทน์ , ทพญ.วิโรชา เพียรเจริญ , ทพ.วัฒนา ทองปัสโณว์ , ทพญ.สุรีรัตน์ สูงสว่าง , ทพ.เทอดศักดิ์ อุตศรี , ทพญ.รจิต จันทร์ประสิทธิ์ , ● พิสูจน์อักษร : นส.พัสตราภรณ์ อินทเสม ● ภาพปก : ทีมสหวิชาชีพ หมอเมืองน่าน ●
บทความทั้งหมดรับผิดชอบโดยผู้เขียนข้อเขียนนั้นๆ มิได้เกี่ยวข้องกับชมรมทันตสาธารณสุขภูธร หรือ วารสารทันตภูธร วารสารทันตภูธร 2 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
นายช่าง ยื่นมือมาสิ จะทายาให้ ขณะที่ในหลวงทรงงาน เพื่อหาที่สร้างฝายทดนํ้า โดยมี อ.ปราโมทย์ ช่วยถือแผนที่ให้พระองค์ ปรากฎว่ามีตัวคุ่น ได้กัดที่มือของอาจารย์ แต่อาจารย์ก็ได้เก็บอาการเสมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นต่อหน้าพระพักตร์แต่ อาจารย์คิดว่าพระองค์คงไม่ทรงสังเกตเห็น อาจารย์ก็ได้แต่เอามือถูเพื่อคลายความเจ็บปวดแบบเนียนๆ ก่อนจะเสด็จฯ กลับ ในหลวงทรงเสด็จฯ พระราชดำ�เนินไปทีร่ ถยนต์พระทีน่ งั่ (การเสด็จฯ ครัง้ นัน้ ทรงขับรถยนต์ดว้ ย พระองค์เอง) เหมือนทรงค้นหาอะไรบางอย่าง สักพักพระองค์กเ็ สด็จฯ พระราชดำ�เนินกลับไปหาอาจารย์ โดยถือหลอดยา มาด้วย “นายช่าง ยื่นมือมาสิ จะทายาให้” อาจารย์ได้แต่ยืนตะลึง ใจมิกล้าอาจเอื้อมยื่นมือไปให้พระองค์ และไม่คิดว่าจะทรงสังเกตเห็นและมีพระเมตตาใส่ พระทัยถึงขนาดนี้... พระองค์ทรงทายาให้อาจารย์ พร้อมตรัสว่า “ตัวคุ่นมันกัด ถ้าแพ้จะบวม ไม่เป็นไร ทายานี้แล้วเดี๋ยวก็ค่อยยังชั่ว”
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ หนังสือ : การทรงงานของพ่อในความทรงจำ� โดย : ปราโมยท์ ไม้กลัด (Cr: กลุ่มดินรักษ์ฟ้า) วารสารทันตภูธร 3 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
นายเเพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ
ปาฐกถาพิเศษในงานประชุมเครือข่ายสหวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพ จัดโดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สสพ. (เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข)
ทุกคนที่มาในห้องประชุมนี้ ในวันสองวันข้างหน้านี้ ท่านกำ�ลังเปลี่ยนแปลงโลก เป็นการเปลี่ยนแปลงโลกใน 3 ประเด็นด้วยกัน ประเด็นที่ 1 คือ เปลีย่ นแปลงวิธคี ดิ และวิธกี ารทำ�งานทีเ่ กีย่ วข้อง กับคนพิการ การมองคนพิการเป็นคนน่าสงสาร และภาระของสังคม คือ สิง่ ทีต่ อ้ งเปลีย่ นแปลงอันแรก ถ้าพวกเราเปลีย่ นจากการมองคน พิการว่าน่าสงสาร เป็นเวรเป็นกรรม เป็นภาระของครอบครัวและ สังคม เปลีย่ นเป็นมองว่าคนเหล่านีค้ อื ทรัพยากรทีม่ คี า่ ของสังคม เช่นเดียวกับพวกเราทุกคน วิธกี ารทำ�งานทีเ่ กีย่ วข้องกับคนพิการ วารสารทันตภูธร 4 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
Edited by นายเเพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ
จะมีความแตกต่างไปอย่างมหาศาล เพราะเราจะเปลี่ยนจาก การบริจาคและสงเคราะห์มาเป็นการสนับสนุน เพราะถ้าเห็น ว่าเขาน่าสงสารเราก็เลยไปสงเคราะห์เขา แล้วก็ไปบริจาคเงิน ช่วยเหลือเขา หรือมองว่าการที่เราจะไปให้บริการอะไรกับเขานี่ เป็นภาระค่าใช้จ่าย ถ้าเรามองว่าคนพิการเป็นภาระสังคม เป็น คนน่าสงสารเป็นเวรเป็นกรรมนี่ เราอาจบริจาคเพื่อสงเคราะห์ อย่างมากสามร้อยบาทให้เขา ถ้าเรามีเงินเดือนสักสามหมืน่ แต่ ถ้าเรามองว่าเขาเป็นทรัพยากรทีม่ คี า่ ของประเทศนีห่ ลายคนอาจ พร้อมจะลงทุนสามหมื่นบาท หรือแม้แต่กู้เงินมาเพื่อการลงทุน เราก็ยังยอมกู้ ไม่ใช่เพื่อให้เขาดีขึ้นในชีวิต สบายขึ้นเท่านั้น
แต่เพราะเล็งเห็นว่าถ้าเขาดีขึ้นแล้ว เขาจะเป็นกำ�ลังสำ�คัญใน การผลิตของประเทศ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการลดภาระทาง สังคมของประเทศ อันนี้คือประเด็นที่มี การเปลี่ยนแปลงครั้ง ใหญ่นะครับ เปลี่ยนจากการที่เราจะสงเคราะห์ ถือว่าคนพิการ เป็นภาระค่าใช้จ่าย เป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาเขาขึ้นมา และ ให้เขามีชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถ ผลิต สามารถดูแลตัวเองได้ สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ คน พิการก็ช่วยเหลือคนอื่นได้ ดังนั้นสิ่งที่เรากำ�ลังทำ�อยู่ทุกวันนี้
ที่ ดู จ ากภาพข้ า งนอกนี่ น ะครั บ โรงพยาบาลโพนทองก็ ดี โรงพยาบาลป่ า บอนก็ ดี ห รื อ อี ก หลาย ๆที่ รวมทั้ ง สถาบั น ราชานุกลู เมือ่ ก่อนนีเ้ ราก็ท�ำ แบบสงเคราะห์ และเดีย๋ วนีเ้ รากำ�ลัง เปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนา เปลี่ยนมุมมองว่าคนพิการเป็น ทรัพยากร มองการใช้จ่ายเงินที่เคยเป็นภาระของงบประมาณ เป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาคนขึ้นมา เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี่คือ สิ่งที่เรากำ�ลังเปลี่ยนแปลงนะครับ พวกท่านกำ�ลังเปลี่ยนแปลง สังคมไทยสังคมใกล้ๆ บ้าน สังคมไทยและสังคมโลกครั้งใหญ่ ในการมองคนพิการ
ประเด็นที่ 2 ที่ท่านกำ�ลังเปลี่ยนแปลงโลก เป็นการปฎิรูปสังคม ไทยครั้ ง สำ � คั ญ เป็ น การสร้ า งความเป็ น ธรรมและลดความ เหลื่อมลํ้าในสังคม สังคมไทยเราขณะนี้ อาจารย์ประเวศใช้ค�ำ ว่า เหมือนเครือ่ ง ทีม่ นั หลุดเป็นชิน้ ๆ คนนีไ้ ปทาง คนนัน้ ไปทาง มีความเหลือ่ มลํา้ ไม่เป็นธรรมในสังคมอย่างกว้างขวาง คนพิการโดยทัว่ ไปจะได้รบั บริการต่าง ๆ น้อยมาก สปสช.บอกว่าสร้างหลักประกันสุขภาพ ทั่วหน้า คนที่จะได้ประโยชน์จากตรงนี้มากที่สุดก็ยังเป็นคน ชัน้ กลาง และชัน้ ล่างทีไ่ ม่พกิ าร บางส่วนเข้าถึงบริการได้ อย่าไป คิดว่าเราให้บริการฟรีแล้วนีเ่ ขาจะมาหาเราได้นะ นอกจากความ พิการที่ทำ�ให้ไม่สะดวกในการเดินทางแล้ว ถ้าจะหยุดงานหนึ่ง วันนี่ค่าแรง สามร้อย บาทหายไปแล้ว ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มา ดีไม่ดถี า้ ป่วยมาก พิการมาก ญาติพนี่ อ้ งทีจ่ ะต้องพาเดินทาง มา รายได้หายไปแล้วทั้งนั้น เพราะฉะนั้นก็เลยเป็นคนชั้นกลาง กับคนที่มีรายได้ปานกลาง กับคนที่มีรายได้ระดับล่างค่อนข้าง ดีหน่อยเท่านั้นที่เข้าถึงบริการได้ก่อน นี่คือหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ไม่ได้แปลว่าไม่ดีนะ แต่ว่ายังมีอะไรที่เราต้องทำ�อีก เยอะ มันยังมีความเหลื่อมลํ้าในสังคมไทยอีกเยอะ ทั้งๆ ที่เรา บอกว่าเราสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ยังมีการบ้านทีพ่ วก เราทุกคน ไม่ใช่ สปสช.เท่านัน้ นะ พวกเราทุกคนต้องทำ�อีกเยอะ วารสารทันตภูธร 5 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
สิ่งที่ท่านกำ�ลังทำ� คือการสร้างเครือข่ายสหวิชาชีพเพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการนั้น ท่านกำ�ลังเข้าไปถึงจุดตรงนั้น เลย เข้าถึงกลุ่มที่เขาเรียกว่า poorest of the poor หรือ disable หรือ underprivileged group คนเหล่านี้คือคนที่จะถูกสังคม ทอดทิ้งแต่ท่านกำ�ลังเข้าไปหาเขาเลย ผมถึงบอกว่านี่คือการ สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมลํ้า ครั้งใหญ่ในสังคมไทย ที่พวกเราทำ� นี่คือสิ่งที่สอง ที่เรากำ�ลังเปลี่ยนแปลงปฎิรูปสังคม ไทยนะครับ เพราะฉะนั้นเราควรจะไม่มองสิ่งทีเราทำ�นี่เป็นแค่ โอ้ย..คนพิการในหมู่บ้านในชนบทน่าสงสาร ทำ�ยังไงเราจะไป ช่วยเขาได้ ทำ�ยังไงเราจะเอาเงินบริจาคไปช่วยเขาได้ แต่ต้อง เปลีย่ นความคิดใหม่เป็นว่า คนพิการคือพลเมืองทีม่ ศี กั ยภาพ และเราต้องไปลงทุนเพื่อให้เขามีศักยภาพเพิ่มขึ้น
การลงทุนในประเทศไทยมีเยอะแยะนะครับ งบประมาณ ของเรานี่ สองล้านกว่าล้าน มันไปในที่ ๆ ไม่ควร ไม่เกิดประโยชน์ เยอะมาก แต่พวกเราที่กำ�ลังทำ�นี่เรากำ�ลังลงไปถึงจุดของคนที่ วารสารทันตภูธร 6 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
underprivileged จริง ๆ poorest of the poor จริง ๆ อันนั้นคือ การก้าวข้าม หรือส่งการบริการสุขภาพไปถึงทีเ่ ลย ถ้าเราพัฒนา ศักยภาพของตัวเราขึ้นมา เวลาเราเล็ก ๆ เรารู้สึกว่าเราทำ�กันไม่ ได้เท่าไหร่หรอก เพราะเรายังมีทนุ ทางสังคมทุนทางปัญญาน้อย พอเราเจอปัญหาทีย่ ากถ้าแก้ปญ ั หาได้เราก็จะเก่งขึน้ แก้ปญ ั หา ได้ก็เก่งขึ้น เพราะฉะนั้นจุดสำ�คัญที่สุดคือกระโดดเข้าไปหาปัญหา และเข้าไปแก้ปัญหา ชีวิตที่ยากลำ�บากคือชีวิตที่งดงาม คำ� ๆ นี้คือคำ�ที่คุณแม่ของ อจ.หมอเสม พริ้งพวงแก้ว ท่านว่า ชีวิตที่ ลำ�บาก คือชีวติ ทีง่ ดงามครับ สุภาษิตจีนเหมือนกันครับเขาบอก ว่า ใครที่สามารถต่อสู้ หรือทนต่อความยากลำ�บากได้ เอาชนะ ความยากลำ�บากได้ ก็จะเป็นคนที่เหนือคน ยิ่งเจอเรื่องยากยิ่ง เอาชนะเรือ่ งยากก็จะเก่งขึน้ เรือ่ ย ๆ นีเ่ ป็นธรรมดา ธรรมชาติครับ ไม่ตอ้ งมีสภุ าษิตเราก็รู้ เพราะฉะนัน้ การทีเ่ รากำ�ลังทำ�อยูท่ กุ วันนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงโลก เป็นการต่อสู้กับความยากลำ�บาก ถ้า เราสามารถเอาชนะได้ เราก็จะเก่งขึน้ และทำ�เรือ่ งใหญ่ ๆ มากขึน้ นะครับ และสังคมไทยเราก็จะดีขึ้น
ประเด็นที่ 3 สิ่งสุดท้ายที่ผมจะพูดที่พวกเรากำ�ลังเปลี่ยนแปลง คือการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพทั้งหมดจากหน้ามือเป็นหลัง มือไปเลยนะครับ อาจจะเรี ย กว่ า เปลี่ ย นแปลงไปสู่ ร ะบบเดิ ม เมื่ อ ก่ อ น ร้อยปีที่เเล้ว แต่เป็นคนละลักษณะคนละรูปแบบ การที่เรามี วิชาชีพแพทย์ วิชาชีพเภสัช วิชาชีพทันตฯ วิชาชีพพยาบาล นัก กายภาพบำ�บัดต่าง ๆ เหล่านี้ พึง่ มามีหลัง ๆ หนึง่ ร้อยปีทผี่ า่ นมา นี่เองครับ ก่อนหน้านั้นนี่คน ๆ เดียวเป็นหมดทุกอย่างนะครับ
หิ้วกระเป๋าไปมีทั้ง ดูแล พยาบาล กายภาพบำ�บัดทุกอย่าง เบ็ดเสร็จอยู่ในคน ๆ เดียวนั่นแหละ การบริการส่วนใหญ่ก็จะ เป็นยาขอ หมอวาน เป็นเรื่องของประสบการณ์ของหมอแต่ละ คน ไม่มีหลักวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งเมื่อร้อยปีที่แล้วนี่ มีการ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้น เริ่มต้นในสหรัฐอเมริกา เกิดการ ปฎิรปู การศึกษาตัง้ แต่แพทย์กอ่ นครัง้ ใหญ่ และก็มาสาธารณสุข และก็ไปสาขาอืน่ ๆ พอเทคโนโลยีพฒ ั นาขึน้ ๆ หมอทีเ่ คยทำ�ฟัน เลิกทำ�ฟัน ก็เกิดหมอฟันขึน้ มา หมอทีเ่ คยปรุงยาก็เกิดไม่ไหวแล้ว ก็เกิดหมอยาขึน้ มา แต่ขณะเดียวกันก็แยกคนไข้เป็นส่วน ๆ เป็น ชิน้ ๆ ไม่รู้ กีช่ นิ้ ต่อกีช่ นิ้ หมอตาหมอหู หมอหัวใจ หมอปอด หมอ ตับ เต็มไปหมด ขณะนี้ในแพทยสภามี เจ็ดสิบกว่าหมอแล้ว ที่ พูดนี่คือวิชาชีพหลักนะ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช นายแพทย์ยัง แบ่งอีกเจ็ดสิบกว่า มันแยกส่วนจนกระทั่ง ไม่เห็นภาพรวมของ คนไข้ในคนหนึ่งคน ดังนัน้ การทีเ่ ราประชุมคราวนีเ้ ป็นความร่วมมือทีเ่ รา เรียกว่า สหวิชาชีพ เอาคนไข้เป็นตัวตั้ง เอาคนพิการเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ เอาหมอไปถึงก็เฉพาะของหมอ พยาบาลไปถึงก็พยาบาล แต่
บริการสาธรณสุขทั้งหมดจะไปไม่รอดเพราะมันแยกส่วนเสีย จนกระทั่ง ไม่รู้ใครเป็นใคร คน ๆ หนึ่งถูกแยกส่วนเสียจนไม่รู้ว่า เกิดอะไรขึน้ การทีเ่ ราจะหันกลับมาแบบเดิมนีแ่ ปลว่า บุคคลากร สาธารณสุขทัง้ หมดทุกวิชาชีพต้องมาทำ�งาน ร่วมกันไม่แบ่งคนไข้ เป็นชิน้ ๆ ปัจจุบนั สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ก็คอื ทุกอย่างมันเป็นการค้าเข้ามา spirit ของวิชาชีพมันค่อย ๆ หายไปทีละน้อย ๆ สิง่ ทีท่ า่ นกำ�ลัง ทำ�อยูท่ กุ วันนี้ ที่มาประชุมกันนี่ คือเรากำ�ลังปฎิรูปปฎิวัติระบบ การศึกษาและบริการสุขภาพครั้งใหญ่นะครับ ที่เรากำ�ลังทำ�สห วิชาชีพนี่ คำ�นีเ้ ป็นคำ�ใหญ่นะครับ คือการสร้างความเป็นธรรมลด ความเหลื่อมลํ้าสร้างความเป็นธรรมในหมู่วิชาชีพ เพราะว่าใน วิชาชีพเองก็มชี นั้ มีวรรณะ พวกเราทุกคนรู้ ซึง่ ไม่ควรจะเป็นอย่าง นัน้ ทุกคนควรจะมีศกั ดิศ์ รีเท่าเทียมกันเป็นมนุษย์เหมือนกัน และ มีความรู้วิชาการที่แตกต่างกันเคารพซึ่งกันและกันและทำ�งาน ร่วมกันเป็นทีมสหวิชาชีพ เป็นการรวมพลคนทุกวิชาชีพกลับไป สู่แบบเดิม แทนที่จะเป็นคนเดียวทำ�ทุกอย่าง แต่ที่เรากำ�ลังทำ� เป็นหลาย ๆ คน ที่มีความเชี่ยวชาญต่าง ๆ มาร่วมกันทำ� โดย เอาประชาชน เอาคนพิการเป็นตัวตั้ง ทั้งหมดนี้ทำ�ได้ และทำ�ได้ โดยที่ต้องขึ้นอยู่กับคำ�สองคำ�นะครับ หนึ่งคือมีใจไหม ถ้ามีใจ คน ๆ หนึง่ ทีม่ ใี จนีล่ ะครับ มีแรงเท่ากับคนสิบคนทีท่ �ำ ตามหน้าที่ เสียอีก เพราะถ้ามีใจมันจะบอกว่า ฉันจะต้องทำ�ให้ได้ ถ้าบอก ว่าฉันจะต้องทำ�ให้ได้ มันจะคิดหัวแตกเชียวละเพื่อที่จะทำ�ให้ ได้ทำ�ให้สำ�เร็จ แต่ถ้าทำ�ตามหน้าที่ คุณบอกว่าหน้าที่ของฉันมี แค่นี้ ทำ� ๆ เสร็จแล้วก็กลับ อะไรดีขึ้นไม่ดีขึ้นไม่ใช่หน้าที่ของ ฉัน แต่ถ้ามีใจมาแล้วนี่ ต้องทำ�ให้ดีขึ้นให้ได้ คนพิการต้องได้รับ บริการให้ได้ เขาต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เขาต้องสามารถออก นอกบ้านได้ ทำ�โน่นทำ�นีไ่ ด้ เป็นทรัพยากรสำ�คัญของประเทศได้ เพราะฉะนัน้ ใจต้องมาก่อน สอง ก็คอื การจัดการถ้ามีการจัดการ ที่ดี ทำ�อะไรก็สำ�เร็จครับ
เอาคนพิการเป็นตัวตั้ง และสหวิชาชีพมาช่วยกันรักษาและ ดูแลคนไข้พิการ นี่คือการปฎิรูปการศึกษาและระบบบริการ สาธารณสุขในศตวรรษที่ ยี่สิบเอ็ด มีรายงานทางวิชาการออก มาชิ้นหนึ่ง รายงานว่าการศึกษาบุคลากรทางสาธารณสุขใน ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดต้องเปลี่ยน ถ้ายังเป็นอย่างนี้ต่อไปนี่ ระบบ วารสารทันตภูธร 7 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ครูใหญ่ด้านการจัดการของโลก ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ ที่เสีย ชีวติ ไปแล้วนี่ บอกว่า management makes the impossible, possible การจัดการที่ดีทำ�ให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้ no management makes the possible. Impossible การที่ไม่ จัดการของทีธ่ รรมดา ๆ ควรจะทำ�ได้ พอไม่จดั การมันก็เป็นไปไม่ ได้ เพราะมันไม่มใี ครประกอบเครือ่ ง การจัดการคือการพยายาม ทีจ่ ะประกอบเครือ่ ง เอาคนโน้นคนนีม้ าร่วมกัน เพราะฉะนัน้ การ ทีจ่ ะเป็นสหวิชาชีพได้ตอ้ งมีการจัดการ จะเป็นพยาบาลคนหนึง่ เป็นทันตาภิบาลคน เป็นนักกายภาพบำ�บัดคน เป็นหมอเป็น อะไรก็ได้ทเี่ ข้าไปจัดการ เพราะมีการจัดการจริง การจัดการแปล ว่า getting thing done through other people คือการจัดการ ที่สามารถจะระดมพลที่ทำ�ให้คนอื่นมา เพื่อบรรลุสิ่งที่ตนเอง commit ไม่ใช่บรรลุหน้าที่ของตัวเองนะ แต่บรรลุในสิ่งที่ตนเอง มีใจอยู่ และทำ�ให้สำ�เร็จ
วารสารทันตภูธร 8 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
สุ ด ท้ า ย ผมขอบอกกั บ ทุ ก คนว่ า ที่ ท่ า นกำ � ลั ง ทำ � การ เปลี่ยนแปลงสังคมไทยและโลกอยู่นี้ อย่าประมาทว่า เฮ้ยเรา ตัวเล็ก ๆ ทำ�อะไรไม่ได้เท่าไร นักสังคมวิทยาใหญ่ของโลกท่าน หนึ่ง คือ Margaret Mead บอกว่า Never under-estimate the ability of a small group of committed individuals to change the world อย่าไปดูถูก ดูหมิ่น ดูแคลน หรือประเมินตํ่าไป นะครับ สำ�หรับความสามารถของคนทีม่ ใี จ กลุม่ เล็กๆ กลุม่ หนึง่ ที่จะเปลี่ยนแปลงโลก Indeed, they are the only ones who ever have (change the world) โลกที่เปลี่ยนแปลงจนมา ทุกวันนี้ โดยมากก็เปลี่ยนแปลงโดยคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีจิตใจที่ มุ่งมั่นเต็มที่ที่จะเอาชนะให้เกิดความเปลี่ยนแปลงให้ได้ เพราะ ฉะนัน้ พวกเราก็คอื คนกลุม่ เล็ก ๆ ทีก่ �ำ ลังเปลีย่ นแปลงโลกนะครับ ขอให้ทุกท่านประสบความสำ�เร็จครับ ขอบคุณครับ ถอดเทปโดย นางสาวปาจารีย์ บุษยากร
ผมกำ�ลังเปลี่ยนแปลงโลก พล่ามโดย ตี๋น้อย
สวัสดีครับ ผมเป็นหมอบ้านนอกที่ได้รับการเชิญชวนให้ ไปงานประชุ ม เครื อ ข่ า ยสหวิ ช าชี พ เพื่ อ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต คนพิการ 3-4 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพ จัด โดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สสพ. (เครือสถาบันวิจยั ระบบสาธารณสุข) ที่น่าตื่นเต้นคือ เจ้าภาพงานคือ สสพ. ออก ค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ แถมนั่งเครื่องได้ด้วย ทำ�ให้เหมือนได้รับ รางวัลให้ไปท่องเที่ยว ณ กรุงเทพ เลยทีเดียว มาถึงงานแล้ว อลังการมาก ผูเ้ ข้าร่วมประชุมประมาณ300 คน มีใครต่อใครนัก ไม่รู้ มีทงั้ แพทย์ พยาบาล นักกิจกรรมบำ�บัด นักกายภาพบำ�บัด อบต. อสม. นักจิตวิทยา และท่านทั้งหลายที่ผมได้ยินแต่ชื่อ แต่ ไม่เคยเห็นตัวจริงไฮโซมากจนแอบสงสัยว่าถูกงานมั๊ยนี่ การมา งานนี้ทำ�ให้เหมือนออกจากกะลา ว่าวิชาชีพอื่นๆ เค้าทำ�งานกัน อย่างไร นอกจากได้ฟงั ปาฐกถาพิเศษจากนายแพทย์สวุ ทิ ย์ วิบลุ ผลประเสริฐ, ได้ฟงั วิชาการจากคณาจารย์จากสถาบันราชานุกลู นำ�โดย ทพญ.ภัตติมา บุรพลกุล และ อ.รศ.ทพญ.มาลี อรุณากูร จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว ที่โดดเด่นเป็นไฮไลท์ของงานก็คือเครือข่ายสหวิชาชีพของ ร้อยเอ็ด พีเ่ ยา ทพญ.เยาวพา จันทบุตร รพ.โพนทองพามาตัง้ 70 กว่าชีวติ งานนีเ้ หมาเครือ่ งบินมากันเลยทีเดียว แล้วก็สมกับทีย่ ก จังหวัดร้อยเอ็ดกันมาเลย เพราะจากการฟังว่าเค้าทำ�งานสร้าง เสริมสุขภาพช่องปากคนพิการกันอย่างไร จังหวัดร้อยเอ็ดมีทีม สหวิชาชีพที่เข้มแข็งมาก ทำ�งานเพื่อคนพิการอย่างแท้จริง จาก งานนี้ทำ�ให้เราได้รับความรู้เกี่ยวกับคนพิการหลายอย่าง ทำ�ให้ มีความเชือ่ มัน่ มากขึน้ ว่าเราสามารถทำ�ให้สขุ ภาพคนพิการดีขนึ้ ได้จริงๆ วารสารทันตภูธร 9 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ช่วงวันที่ 2 ได้พบกับคุณณธกมล รุ่งทิม เป็นผู้อำ�นวยการ ศูนย์การดำ�รงชีพอิสระของคนพิการ กรุงเทพมหานคร ซึ่งพิการ ท่อนล่าง แต่มีความสามารถมากมายทำ�ให้เรามีพลังที่จะกลับไป ทำ�งานเพือ่ คนพิการต่อไป ผมได้ยนิ มาว่าคุณณธกมลหรือคุญเอิรธ์ ยินดีทจี ะไปสร้างพลังให้ทงั้ คนปกติและคนพิการทีต่ า่ งจังหวัดก็ไป ได้ถ้าสนใจก็ติดต่อผ่านทันตภูธรได้เลยครับ ผมต้องขอบคุณ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) มากที่ให้โอกาสผมได้มาเรียนรู้อะไรที่ออกจากโลกเดิมๆ ของผม ทราบว่าในงบประมาณปี 2555 นี้ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ จะมีการเปลีย่ นแปลงการทำ�งานซึง่ ได้ขา่ วว่าอาจต้องใช้เวลาพัฒนา งานอีกระยะหนึ่งซึ่งไม่ทราบว่าใช้เวลานานแค่ไหน อย่างไรครับ แต่ผมก็รับทราบและเข้าใจในกระบวนการพัฒนาซึ่งอาจจะไม่ ง่ายเหมือนฉีกซองมาม่าแล้วเทนํ้าร้อนลงไป ไม่มีอะไรสำ�เร็จรูป ครับพี่น้อง เมื่อไม่มีอะไรง่าย และไม่มีอะไรแน่นอน ทุกสิ่งอย่าง เปลีย่ นแปลงได้เสมอ เป็นธรรมดาโลกครับ สำ�หรับผมก็ตอ้ งบริหาร จัดการความเสีย่ ง เอ๊ยความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ทุกเมือ่ เชือ่ วันให้ มันสมดุลทีส่ ดุ เท่าทีท่ �ำ ได้ละ่ ครับ ทุกคนมีเหตุผลของตนเอง ซึง่ ผม ทำ�ได้แต่เคารพในทุกๆ การตัดสินใจตามเงือ่ นไขในชีวติ ของทุกๆ คนครับ แต่ที่แน่ๆ ผมจะทำ�งานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ ต่อไป ผมเห็นคนพิการทีม่ าโรงพยาบาลอยูบ่ อ่ ยๆ แม้จะไม่ทกุ วัน และน้อยมากที่จะเดินมาถึงห้องฟัน ที่ผ่านมาแม้จะไม่มีโครงการ ของสสพ. ผมก็เห็นคนพิการอยูแ่ ล้ว เเละถ้าเค้ามาห้องฟันได้ ผมก็ ให้การดูแลฟันตามปกติเท่าทีจ่ ะทำ�ได้ ก็มบี า้ งเหมือนกันทีผ่ ม refer ไปโรงพยาบาลจังหวัด ทั้งที่จริงๆ แล้วผมก็ไม่แน่ใจหรอกครับว่า คนพิการที่ผม refer ไปนั้นจะได้ทำ�ฟันจริงๆ ไหม แต่ผมไม่มีความ มั่นใจทำ�ฟันให้คนพิการนี่นา การทำ�ฟันให้คนพิการมีความแตกต่างจากทำ�ฟันให้คนปกติ อย่างไร เมื่อก่อนผมก็ไม่เข้าใจครับ ทำ�ไมต้องมีแผนการพัฒนา ระบบสุขภาพช่องปากคนพิการเฉพาะอีก ที่จริงคนพิการก็มีสิทธิ ของเค้าอยู่แล้ว ใครๆ ก็บอกว่าคนพิการก็อยู่ในกลุ่มประชากร ถ้า เค้ามาหาหมอฟันได้ ผมก็รักษาให้ (ถ้าผมรักษาได้นะ) สมัยผมเรียนจากคณะทันตแพทย์ ผมว่าผมไม่ได้เรียนเรื่อง คนพิการเลยนะ ไม่รเู้ หมือนกันว่าทำ�ไม หรือผมโดดชัว่ โมงนัน้ พอดี ก็ไม่แน่ใจครับ ตอนผมเลือกทันตแพทย์ผมคิดว่าคนที่มาทำ�ฟัน ต้องสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดี ทีผ่ มเลือกเรียนทันตแพทย์ เพราะผมไม่ค่อยชอบเจอคนไข้ที่ป่วยๆ เท่าไหร่ ผมชอบทำ�ฟันให้ คนสวยขึ้น สาวขึ้น หนุ่มขึ้น หล่อขึ้นมากกว่า ดังนั้นผมจึงไม่เคย คิดถึงคนพิการมาก่อนเลยนะครับ แต่พอผมอ่านทันตภูธรมาเรือ่ ยๆ พีอ่ อ๋ ลงบทความให้อา่ นมา เป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่ที่พี่เค้าทำ�หน้าที่เป็นผู้ประสานงานเครือข่าย ทันตสุขภาพคนพิการ วารสารทันตภูธรเป็นฉบับเดียวของวิชาชีพ ทีท่ �ำ ให้ผมรูจ้ กั บทบาทของทันตแพทย์กบั คนพิการและความพิการ วารสารทันตภูธร 10 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
มากขึ้น ผมก็เริ่มสนใจงานดูแลสุขภาพช่องปากในคนพิการครับ แต่ผมไม่ได้รับทุนทำ�โครงการกับสสพ.นะครับ ทั้งๆ ที่ตัวชี้วัดไม่มี และหัวหน้าฝ่ายก็ไม่สนับสนุนให้ทำ� เพราะงานอื่นๆ ที่มีตัวชี้วัดก็ มากมายทำ�ไม่ทันอยู่แล้ว ผมก็ค่อยๆ ทำ�ของผมไปนะ ชวนชุมชน มาทำ�งานบ้าง ของบประมาณเค้าบ้าง ผมพบว่าคนพิการส่วน ใหญ่เค้าไม่ได้มาทำ�ฟันมากนักหรอกครับ เจอเยอะเลยที่นอนอยู่ กับบ้านไม่เคยไปไหน เพราะเค้ามาไม่สะดวก พ่อแม่จน คนพิการ ไม่มรี ะบบสุขภาพทีพ่ ร้อมจะให้การดูแลเค้าเลย ห้องฟันผมแคบๆ วางของมากมาย เก้าอี้ล้อเลื่อนเค้าก็เข้าไม่ได้แล้วครับ ที่จริงโรง พยาบาลผมทำ� HA นะ แต่คนพิการก็ยังไม่ได้รับความสะดวกใน การเข้าถึงระบบบริการอยูด่ ี ผมเคยอ่านนโยบายเรือ่ งระบบบริการ สุขภาพช่องปากแบบไร้รอยต่อ อ่านแล้วไม่รู้จะหัวเราะเป็นภาษา อะไรดี ไร้รอยต่อยังไง (วะ) แค่เก้าอี้ล้อเลื่อนเข้าห้องฟันไม่ได้ก็ เจอรอยต่อแล้ว เก้าอี้ล้อเลื่อนจะขึ้นบันไดอนามัยหรือรพสต.ยังไง หว่า ก็กลายเป็นระบบสุขภาพทีข่ าดๆวิน่ ๆ ลูบหน้าปะจมูก เบลอๆ กันไป แค่อยากได้แค่ปา้ ยมาปิดข้างฝา แล้วก็มกี ลุม่ ประชากรบาง กลุ่มถูกกวาดไว้ใต้ป้ายหมัก เอาไว้แบบนั้นเหมือนเดิม จริงไหม ผมลองคิดง่ายๆว่า ประชาชนแต่ละกลุ่มวัยที่มีความแตก ต่างกันในการดูแลสุขภาพช่องปาก ก็มีแผนการให้บริการสุขภาพ ช่องปากที่แตกต่างกันใช่ไหมครับ แล้วคนพิการล่ะ ผมทราบมา ว่าคนพิการมี 6 ประเภท คือ 1คนพิการทางการเห็น, 2คนพิการ ทางการได้ยินและสื่อความหมาย , 3คนพิการทางการเคลื่อนไหว หรือร่างกาย,4 คนพิการทางจิต หรือพฤติกรรม หรือออทิสติค, 5 คน พิการทางสติปัญญา ได้แก่พัฒนาการช้ากว่าปรกติ , 6 คน พิการทางการเรียนรู้ ซึ่งเป็นผลทางความบกพร่องทางสมอง ลอง มาคิดต่อว่าแต่ละประเภทมีระดับอายุทแี่ ตกต่างกันไหม น่าคิดนะ
ครับ เอาแค่ประเภทความพิการทีแ่ ตกต่างกัน ผมเองเป็นหมอฟัน และมีใจอยากทำ�ฟันคนพิการ ยังไม่มีปัญญาสื่อสารกับเค้าให้ได้ อย่างที่อยากจะทำ�เลยครับ แล้วถ้ามองลึกลงไปถึงแต่ละประเภท ความพิการที่มีอายุต่างกันล่ะ คนพิการทางสายตาเด็ก คนพิการ ทางสายตาวัยเรียน คนพิการทางสายตาวัยทำ�งาน คนพิการทาง สายตาตัง้ ครรภ์และคนพิการทางสายตาสูงอายุ เราจะดูแลเค้ายัง ไง ต่างจากคนพิการทางความเคลือ่ นไหววัยต่างๆ ไหม ถ้าถามผม ผมว่าแตกต่างอย่างแน่นอน ผมก็คุยกับเค้าไม่เหมือนกันครับ แต่ มันต้องมีใจนะ มีใจที่จะเรียนรู้ไง อดทนและให้เวลา ผมว่าบางทีการจัดกลุม่ อายุในการส่งเสริมสุขภาพมันทำ�ให้มี บางกลุม่ ประชากรเข้าไม่ถงึ ระบบบริการสุขภาพเสมอ เมือ่ จัดเป็นก ลุม่ อายุ แล้วคนพิการอยูใ่ นแต่ละกลุม่ อายุนี่ ได้รบั การดูแลอย่างไร ได้รับการดูแลด้วยไหม เมื่อไม่มีระบุเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อ policy maker บอกว่าข้อสรุปทีด่ �ำ เนินแบบหน้ากระดานทุกพืน้ ทีใ่ น งานคนพิการยังไม่ตกผลึก ต้องรอต่อภาพในอนาคต ก็คงรอกันต่อ ไปสินะ มันพูดยากครับ พูดไปให้คอแตกก็ไม่เข้าใจ จะให้รอไปถึง ไหน รอทำ�อะไรกัน ทีจ่ ริงก็ได้ยนิ จากสำ�นักแถวเมืองนนท์แว่วๆ มา บ้างว่าการจัดบริการคนพิการ ต้องเป็น participatory managed plan มีการทำ�นั่นนี่โน่นให้คนพิการเข้าถึงระบบสุขภาพเพิ่มขึ้น ฟังแล้วมันช่างสูงส่ง แต่ความเป็นจริงแค่สอนแปรงฟันคนพิการยัง ไม่คอ่ ยทำ�กันเลย ก็ไม่เป็นไรครับ ทำ�ช้ายังดีกว่าไม่ท� ำ ผมก็คอ่ ยๆ ทำ�ของผมตามความรู้น้อยๆ และบ้านๆ ของผมนี่แหละ ทำ�แบบ ที่ผมเห็นกับตาและทำ�เองกับมือคือคนพิการมีสุขภาพช่องปาก ดีขนึ้ ถ้าไม่มคี วามรูค้ วามชำ�นาญอะไรก็ขอไปดูงาน ขอคำ�แนะนำ� ปรึกษาเคสกับเครือข่ายพี่ๆ ที่เคยรับทุนสสพ.และทำ�งานสร้าง เสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์มากมาย และเต็มใจให้คำ�แนะนำ�แก่ผู้สนใจงานทันตสุขภาพคนพิการที่
ทำ�ด้วยใจไม่มนี โยบายไม่มตี วั ชีว้ ดั ทุกท่านแน่นอนครับ แต่รายชือ่ เครือข่าย รบกวนให้ยอ้ นกลับไปอ่านทันตภูธรฉบับที่ 4/2554 ฉบับ พิเศษ หน้า 25-26 ครับ ท่านที่สนใจก็หาทางประสานงานกันต่อเองเลยครับ แต่ก็มี บ้างบางเครือข่ายก็ทำ�ต่อบางเครือข่ายก็เลิกทำ�ไปแล้ว พี่อ๋อบอก ว่า โครงการนำ�ร่องทัง้ 2 รุน่ เหมือนเป็นพลุทจี่ ดุ สว่างสวยงาม เพียง ไม่กนี่ าที ในบางพืน้ ทีอ่ าจเป็นเเค่ความทรงจำ�อันแสนประทับใจว่า จากงานนี้มีหมอฟันไม่กี่คนที่ได้เข้าไปสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก คนพิการโดยตรง และคนพิการไม่กี่คนได้รับการสุขภาพช่องปาก โดยตรง มีหมอฟันไปถึงบ้านไม่ต้องนัด ไม่ต้อง refer อาจเป็นแค่ ครั้งเดียวในชีวิตของหมอฟันคนนั้น หรือครั้งเดียวในชีวิตของคน พิการคนนั้น ก็เป็นเรื่องที่น่าประทับใจมากแล้ว ...เจ้แกก็เพ้อของ แกไป...ผมว่ายังมีอีกหลายพื้นที่ครับที่พลุได้ฝากเชื้อไฟและแรง บันดาลใจเรียกร้องให้ทำ�งานทันตสุขภาพคนพิการต่อไป เพื่อรับ ใช้วิชาชีพ ประชาชน และประเทศชาติ โว๊วววว โวววว เย้ เย ! เอาเป็นว่า ถ้าสนใจก็ลองถามๆ กันดูนะครับ สำ�หรับชุดความรู้ CD ต่างๆ ก็รวมๆ อยู่ใน www.oha-th.com ครับ ผมว่าถ้ามีใจ ยังไงก็ต้องหาทางเองจนเจอนะ ตามที่นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผล ประเสริฐได้ปาฐกถาไว้ ผมจำ�แม่นเลยว่าถ้ามีใจอะไรๆมันก็สำ�เร็จ ง่ายขึ้นครับ ไม่มีใจ เงื่อนไขมาก พูดไงก็ยากอ่ะ ผมเชื่อในความดี ใครทำ�ใครได้ครับ let it be พีอ่ อ๋ ครับ... แล้วผมจะกลับไปทำ�งานให้ตามสัญญา (ใจ) น ะ ค รั บ ไ ม่ ว่ า จ ะ มี ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ส ถ า น ภ า พ สถานการณ์ อ ะไรมากมายแค่ ไ หนก็ ต าม ตราบใด ที่ ผ ม เ ป็ น ทั น ต แ พ ท ย์ ผ ม ก็ ทำ � ง า น ส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากประชาชนทุ ก ๆ คน รวมทั้ ง คนพิ ก าร ต่อไป ผมกำ�ลังเปลีย่ นแปลงโลก...The show must go on ครับผม
วารสารทันตภูธร 11 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
“ท่ า นกำ � ลั ง เปลี ่ ย นแปลงโลก ”
วารสารทันตภูธร 12 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
สุขสร้างสรรค์กับสสส. :
แง่คิด-มุมมอง จากประสบการณ์งานทันตฯ กับบทบาทในภารกิจของ ‘สหวิชาชีพ’ โดย ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ
‘สหวิชาชีพ’ อาจเป็นคำ�ที่หลายคนคุ้นเคยโดยแต่ละคนก็ อาจตีความ หรือมีประสบการณ์กับคำ�นี้ ในแง่มุมที่แตกต่างกัน ใน ทันตภูธร ฉบับนี้จึงขอนำ�แง่คิด-มุมมอง ของผมเอง มาแลก เปลีย่ น เผือ่ จะช่วยให้หลายๆ ท่านได้ปจุ ฉา-วิสชั นา เพือ่ ต่อยอด ความคิด นำ�ไปสู่การปฏิบัติที่แตกดอกออกผลยิ่งขึ้น ‘สหวิชาชีพ’ เป็นคำ�ทีเ่ ราหลายคน เริม่ คุน้ เคยและได้ยนิ บ่อย ขึ้นเรื่อยๆ แรกๆ ที่ผมได้ยินคำ�นี้ จะมาจากแวดวงคนทำ�งาน เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวซึ่งตามกฎหมาย เมื่อเกิด กรณีความรุนแรงในครอบครัวจะต้องมีการทำ�งานร่วมระหว่าง ‘สหวิชาชีพ’ (ซึ่งประกอบด้วย ตำ�รวจ อัยการ ฝ่ายปกครอง บุ ค ลากรทางการแพทย์ / จนท.สธ. นั ก จิ ต วิ ท ยา นั ก สั ง คม สงเคราะห์ NGOs ทีท่ �ำ งานด้านเด็ก-สตรี ฯลฯ)เพือ่ สืบหาข้อเท็จ จริง และดูแล-คุ้มครอง-ดำ�เนินคดี-ป้องกันการกระทำ�ซํ้า ฯลฯ จนเสร็จสิ้นกระบวนการตามที่กฎหมายกำ�หนดการที่ต้องมีการ ทำ�งานร่วมระหว่างหลายฝ่าย ก็เพราะงานนั้นๆ มีความซับซ้อน มีหลายสาเหตุเชื่อมโยงและซ้อนกันอยู่หากไม่มีมุมมองและ การยืน่ มือจากหลายฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องเข้ามาช่วยคลีค่ ลายปัญหาก็ จะไม่ได้รบั การแก้ไขอย่างเหมาะสมและกลับจะสะสมมากขึน้ ๆ จนยากจะแก้ไข
ในด้ า นสุ ข ภาพมี ก รณี ก ารทำ � งานเป็ น ที ม สหวิ ช าชี พ ใน โรงพยาบาลบ้านตากที่อยากนำ�มาเล่าสู่กันฟังผมขอตัดตอน มาจากบันทึกของ รพ. ในเวบเรื่อง HA มาดังนี้ “รพ.ได้รับ คนไข้เด็กวัย 6 ขวบทีพ่ กิ ารทางสมองแต่ก�ำ เนิด ป่วยด้วยอาการ ปอดบวม เนื่องจากการสำ�ลักอาหารเด็กไม่สามารถสื่อสารด้วย ภาษากับใครได้เลยนอกจากพี่สาววัย 10 ขวบ ทำ�ให้พี่สาวต้อง มาคอยเฝ้าน้องชายตลอดและต้องขาดโรงเรียน ผู้ป่วยรายนี้ ได้รับกายภาพบำ�บัดด้วยการเคาะปอดจากนักกายภาพบำ�บัด มีการประเมินพัฒนาการโดยพยาบาลเด็ก และทางพยาบาล สุขภาพจิตได้เข้าไปประเมินครอบครัว ทำ�ให้ได้ขอ้ มูลเพิม่ เติมว่า เด็กทั้งสองคนอยูก่ บั ตายายทีอ่ ายุ 70 กว่าแล้ว ส่วนแม่กบั พ่อแยก ทางกัน ไม่รู้ว่าพ่ออยู่ที่ไหน แม่มีสามีใหม่และพบว่าแม่เพิ่ง เสียชีวิตเมื่อ 2 เดือนก่อนด้วยโรคเอดส์และเด็กผู้หญิงเคยถูก ลวนลามทางเพศจากน้า (จากคำ�บอกล่าของเพื่อนบ้าน) เมื่อ ได้ขอ้ มูลดังกล่าวทีมดูแลผูป้ ว่ ย จึงประสานกับทางโรงเรียน ทาง อบต.ทางประชาสงเคราะห์จังหวัด เพื่อให้การช่วยเหลือทาง สังคมแก่เด็กทั้งสองคนและตายายที่สูงอายุ เช่นมีจักรยานให้ ขีไ่ ปโรงเรียนเพือ่ ช่วงพักกลางวันจะได้กลับมาดูแลน้องทีบ่ า้ นได้ ได้เงินสงเคราะห์จาก อบต.ทั้งผู้ป่วยและตายาย พี่สาวได้ทุน วารสารทันตภูธร 13 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
การศึกษาจากโรงเรียนและเงินช่วยเหลือจากประชาสงเคราะห์ จังหวัดและขณะอยูโ่ รงพยาบาลก็ได้สอนแนะนำ�ตายายกับพีส่ าว ในการดูแลผู้ป่วยการช่วยกระตุ้นพัฒนาการของผู้ป่วยการดูแล เพือ่ ไม่ให้เกิดการสำ�ลักอาหารจนเกิดเป็นปอดบวมอีก พร้อมกัน นีเ้ มือ่ จำ�หน่ายกลับบ้านก็มที มี Home health care ตามไปดูรว่ ม กับทีมงานของสถานีอนามัยเพือ่ ให้การดูแลต่อเนือ่ งและประเมิน สภาพทีบ่ า้ นเพือ่ จะได้ให้ค�ำ แนะนำ�ทีต่ รงกับวิถชี วี ติ ของผูป้ ว่ ย พบ ว่าเด็กได้รับการดูแลที่บ้านดีข้นึ และไม่ได้ป่วยเป็นปอดบวมอีก และพีส่ าวก็ได้ไปเรียนหนังสือได้มากขึน้ ประสบการณ์ทมี ‘สหวิชาชีพ’ ในงานทันตฯ ทีผ่ มเคยมีและ ประทับใจมาจนทุกวันนี้คือการผลักดันให้มีประกาศกระทรวง สาธารณสุข ไม่ให้เติมนํา้ ตาลเพิม่ ในนมสูตร Follow-on สำ�หรับ ทารกวัย 6 เดือนขึ้นไป (ประกาศเกิดขึ้นในปี 2548) ซึ่งเริ่มต้น จากการก่อขบวนการเด็กไทยไม่กินหวานโดย “อนุกรรมการ สร้างเสริมสุขภาพช่องปาก” ภายใต้ทันตแพทยสภาที่ได้รับทุน จาก สสส.ตัง้ แต่ชว่ งปี 2545 โดยมีการปักธงแรกว่า จะหยุดการ ติดหวานได้ต้องหยุดนํ้าตาลคำ�แรกให้ได้ก่อน ซึ่งก็คือ นมสูตร Follow-on นัน่ เอง ด้วยกลยุทธ สสส. ทีเ่ น้นการทำ�งานระหว่าง หลากหลายภาคี โดยมีเป้าหมายหลักร่วมกัน ในช่วงนัน้ นักนิเทศ (ดร.พัฒนาพงส์ จาติเกตุ) ได้เข้ามาช่วย คิดค้นกระบวนการสือ่ สารรูปแบบใหม่ๆ กับชาวทันตฯและกลุม่ เด็กนักเรียนในหลายจังหวัดภาคีส่อื ของ สสส. โดยเฉพาะกลุ่ม เห็ดหรรษา เป็นสือ่ ทีม่ พี ลังมากในกลุม่ เด็กและผูป้ กครองยุคนัน้ ประกอบกับการทำ�งานด้านวิชาการอย่างเข้มแข็งจากทีมวิชาการ ในกองทันตสาธารณสุข และสมาคมกุมารแพทย์ซ่ึงนอกจาก ประธานฯจะสนับสนุนอย่างเต็มทีแ่ ล้ว ยังมี นพ.สุรยิ เดว ทริปาตี กุมารแพทย์ร่นุ ใหม่ไฟแรง และมีความสามารถทั้งด้านวิชาการ และการสื่อสารเป็นอย่างดี มาช่วยเป็น speaker ที่มีพลังมาก ส่งผลให้ข้อมูลวิชาการประสานอย่างลงตัวกับการสื่อสารสังคม กระทั่งเกิดกระแสและสร้างความตระหนักอย่างกว้างขวางว่า ความหวานเป็นภัยเงียบที่กำ�ลังบั่นทอนสุขภาพเด็กไทยและ คนไทยในระยะยาวและจุดเปลี่ยนสำ�คัญต้องเริ่มจากการหยุด นา้ํ ตาลช้อนแรกในนมสูตร Follow-on นั บ เป็ น โอกาสอั น ดี ม ากที่ ใ นเวลานั้ น ที ม งานในกอง อาหารของ อย. รวมถึงเลขาธิการ อย.ในขณะนั้น (นพ.ศุภชัย คุ ณ ารั ต นพฤกษ์ ) เข้ า ใจปั ญ หาและสนั บ สนุ น การเคลื่ อ น เรื่องนี้ประกอบกับ ศ.พญ.ชนิกา ตู้จินดา กุมารแพทย์ผ้อู าวุโส วารสารทันตภูธร 14 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ซึง่ สนับสนุนการทำ�งานของเครือข่ายเด็กไทยไม่กนิ หวานมาโดย ตลอด รวมถึงสมาคมกุมารแพทย์ในช่วงนัน้ เห็นด้วยอย่างยิง่ ใน การผลักดันเรือ่ งนี้ และ ศ.พญ.ชนิกา ได้น�ำ ทีม ‘สหวิชาชีพ’ เข้า พบเลขาฯอย. เพื่อยื่นเสนอมาตรการดังกล่าวและจากทำ�งาน อย่างต่อเนือ่ งระหว่างทีมวิชาการเด็กไทยไม่กนิ หวานกับทีมกอง อาหารส่งผลให้ในเวลาต่อมา คณะกรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ ของ อย.ได้ผา่ นประกาศกระทรวงฯห้ามการเติมนํา้ ตาลเพิม่ ในนมสูตร Follow-on ในปี 2548 ซึง่ จากการติดตามผลอย่างต่อเนือ่ งของกอง ทันตสาธารณสุข (ปัจจุบนั คือ สำ�นักทันตสาธารณสุข) พบกาาร ลดลงอย่างต่อเนือ่ งของการบริโภคนมรสหวานในกลุม่ เด็กวัยหลัง 1 ปี ซึ่งน่าจะเป็นหนึ่งในเหตุผลของการเริ่มลดลงของปัญหา ฟันนํา้ นมผุในเด็กเล็กของประเทศไทย ที่ เ ล่ า มายื ด ยาวนี้ ค งพอทำ � ให้ ไ ด้ เ ห็ น ภาพการทำ � งาน แบบ ‘สหวิชาชีพ’ บ้างแล้วจากประสบการณ์เหล่านี้ ผมได้ แง่คิดสำ�คัญว่าการทำ�งานแบบ ‘สหวิชาชีพ’ ควรเริ่มจากการ ทำ�ให้ภาคีทร่ี ว่ มงานทุกส่วน ได้รว่ มคิดและร่วมกำ�หนดเป้าหมาย ที่ชัดเจนด้วยกันใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาช่วยกันเคลื่อนงาน โดยต้องไม่ลมื ว่า ทุกคนทุกส่วนมีขอ้ จำ�กัด หุน้ ส่วนทุกคนจึงต้อง ยอมรับข้อจำ�กัดหรือจุดอ่อนเหล่านั้น และไม่นำ�มาทำ�ให้เป็น อุปสรรคแต่ตอ้ งช่วยกันหาวิธที �ำ งานทีจ่ ะเกิดผลดีทส่ี ดุ ทำ�งานไป พร้อมกับการเรียนรู้ซ่ึงกันและกันมีการประชุมทบทวนเพื่อก้าว ข้ามอุปสรรคและให้ก�ำ ลังใจกันสม่�ำ เสมอ เป้าหมายและผลลัพธ์ ทีเ่ ป็นความสุข - สุขภาพของประชาชนกลุม่ เป้าหมาย และความ สุขของคนทำ�งานทุกคน ก็จะไม่ไกลเกินมือเราของแบบนี้ ไม่ลอง ไม่รคู้ รับ!!
ไกลเกินช่องปาก ลึกกว่าคอหอย: สหวิชาชีพด้วยสหวิทยาการ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
อะไรที่เรียกว่า “สหวิชาชีพ” คำ�ง่ายๆ แต่มีความหมายและความตื้นลึกที่แตก ต่างกันผมอยากให้ทุกท่านลองจินตนาการสองตัวอย่างนี้ แล้วคิดว่า นี่ใช่หรือ ตรงกับการทำ�งานแบบสหวิชาชีพหรือไม่ ตัวอย่างแรก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งจัดอบรมครูชั้น เด็กเล็กหลักสูตร 2 วัน เภสัชกรมาสอนเรื่องยาในเด็กเล็ก หมอ มาสอนเรื่องห้าโรคที่ป้องกันได้ ส่วนพยาบาลมาสอนเรื่องการ พัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก แล้วทีมงานทันตกรรมก็ยกพวกมา ครบทีมมาทัง้ สอน สาธิต และฝึกปฏิบตั จิ ริง ฟันผุในเด็กและการ ตรวจฟันเบื้องต้นแบบนี้คือการทำ�งานแบบสหวิชาชีพหรือไม่ หลั ง การอบรม ทุ ก คนชื่ น ชมกั บ ความสำ � เร็ จ ของความ ร่วมมือของสหวิชาชีพ ครูก็ทั้งท้องอิ่มและได้ความรู้ไปเต็มอิ่ม แต่กข็ นึ้ กับปัญญาของคุณครูวา่ จะสามารถบูรณาการและผสม ปนเปเรื่องที่แต่ละวิชาชีพสอนอย่างแยกส่วนเอามาคลุกสร้าง จินตนาการและปรุงจนนำ�ไปปฏิบตั จิ ริงได้มากน้อยเพียงใด ส่วน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่มาเป็นวิทยาการนั้นมีความรู้เท่าเดิม เพราะมาสอนตามตารางที่จัดให้ ไม่ได้แลกเปลี่ยน ไม่ได้เรียน รู้เพิ่มเติม ตัวอย่างที่สอง โรงพยาบาลแห่ ง นั้ น มี ก ารเยี่ ย ม บ้ า นผู้ ป่ ว ย โดยเฉพาะรายต้ อ งนอนรั ก ษาตั ว อยู่ ที่ บ้ า นที ม สหวิชาชีพออกไปเยี่ยมผู้ป่วยพร้อมๆ กันหมอ พยาบาล เภสัช นักกายภาพบำ�บัด ส่วนทันตแพทย์หรือทันตาภิบาลก็ออกไป
บ้างเมื่อทีมกลางเขาชวนเมื่อออกไป ทุกวิชาชีพก็ทำ�หน้าที่ตาม ความถนัดในวิชาชีพของตนเองหมอก็เอาหูฟังฟังหัวใจฟังปอด พยาบาลก็แนะนำ�สารพัด ทันตแพทย์ก็ให้ผู้ป่วยอ้าปากและ แนะนำ�เรือ่ งช่องปากรวมทัง้ เรือ่ งงดบุหรี่ เภสัชไปรือ้ ยามาจัดใหม่ นักกายภาพก็สอนญาติให้ชว่ ยผูป้ ว่ ยยืดเหยียดไม่ให้ขอ้ ติด พายุ แห่งความปรารถนาดีและคำ�แนะนำ�เชิงวิชาการโหมกระหนํ่า ลุงมาและครอบครัวราวครึ่งชั่วโมง มากมายคำ�แนะนำ�จนป้า จวบที่ปลูกผักปลูกข้าวโพดฟังและจำ�แทบไม่ทัน และแล้วชีวิต ก็กลับสู่ปกติสุขไปอีกสามเดือนหมอเขาถึงมาใหม่เช่นนี้คือการ ทำ�งานเป็นสหวิชาชีพหรือไม่ ไม่ว่าทั้งสองตัวอย่างนี้คือการทำ�งานแบบสหวิชาชีพหรือ ไม่ก็ตามแต่นี่คือสองรูปแบบการทำ�งานร่วมกันระหว่างวิชาชีพ ที่เกิดขึ้นในเกือบทุกโรงพยาบาลและถูกนำ�เสนอเป็นเรื่องดี เรือ่ งเด่นของการทำ�งานแบบสหวิชาชีพในระบบสุขภาพแต่หาก เคร่งครัดในการให้นิยามทั้งสองตัวอย่างนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น เพียงการทำ�งานเป็นทีมระหว่างวิชาชีพเท่านัน้ ยังไม่ใช่สหวิชาชีพ อย่างแท้จริง เป็นเพียงการทำ�งานเป็นทีม ซึ่งสำ�คัญและเป็น พื้นฐานของการทำ�งานแบบสหวิชาชีพต่อไป วารสารทันตภูธร 15 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
แล้วการทำ�งานแบบสหวิชาชีพที่แท้จริงคืออะไร สหวิชาชีพนั้นตรงกับคำ�ภาษาอังกฤษว่า Multidiscipline ไม่ใช่ Multi-professional (ซึ่งผมไม่เคยอ่านในตำ�ราใด) คำ�ว่า discipline นั้น หมายถึง วิทยาการหรือองค์ความรู้ของแต่ละ แขนงสาขาวิชา ที่ต่างก็มีวิชาการและวิธีการมองของตนเอง เช่นสายสุขภาพจะมองความรู้สึกนึกคิดเป็นองค์ประกอบของ สารสื่อประสาทและการทำ�งานของก้อนสมอง ที่รับรู้และตอบ สนองต่อสิ่งแวดล้อมคล้ายวงจรเชิงเส้นในขณะที่สายปรัชญา มองว่าความรู้สึกคือสภาวะความต่อเนื่องของการรับรู้ของจิต และการปรุงแต่งของความคิดจากประสบการณ์ทตี่ นจำ�ได้หมาย รูม้ าก่อน สองวิทยาการนีแ้ ตกต่างกันคนละขัว้ ไม่รใู้ ครถูกใครผิด แต่ล้วนมีประโยชน์กับการสร้างสรรค์โลกในต่างกรรมต่างวาระ ดังนั้นการทำ�งานแบบสหวิชาชีพ หรือ Multidiscipline นั้น คือ การทำ�งานที่เอาสองศาสตร์เป็นอย่างน้อยมาเกี่ยวข้องจัดการ ในการทำ�งานเรื่องหนึ่งๆ ในคราวเดียวกัน (Use of several disciplines at once) เช่น เมือ่ ทันตแพทย์จะอบรมนักเรียนแกน นำ�ทันตสุขภาพชั้นประถม 1 ให้รักฟันรักการแปรงฟันศาสตร์ว่า ด้วยเชื้อโรคทันตสุขภาพนั้นเป็นศาสตร์ที่เรารู้รายละเอียดอย่าง ดี แต่ศาสตร์แห่งการสอนเด็กเล็กให้เกิดความสนใจจนนำ�ไป สู่การปรับพฤติกรรมจริงเป็นศาสตร์อีกแขนงที่เราไม่เคยเรียน แถมเราก็ก็ไม่เคยศึกษาจริงจัง ใช้ความรู้สึกและสิ่งที่เห็นคนอื่น ทำ�จึงทำ�ตามๆกันไป โดยไม่คอ่ ยได้ตดิ ตามประเมินด้วยซาํ้ ว่าได้ ผลเพียงใด ดังนัน้ สหวิชาชีพระหว่างทันตบุคลากรกับนักวิชาการ การศึ ก ษาระดั บ ปฐมวั ย ที่ มี ก ารแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ร ะหว่ า ง กัน จนนำ�ไปสู่การจัดหลักสูตรที่มากกว่าการยัดเยียดเนื้อหา หรือเฉพาะมิติความรู้วิชาการในกับเด็กนั้นคือการทำ�งานแบบ multidisciplinary ที่แท้จริงเพราะมีความแตกต่างในระดับ วารสารทันตภูธร 16 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
คุณภาพในงานที่เราทำ�จากการทำ�งานแบบสหวิชาชีพในขณะ ที่ต่างวิชาชีพต่างมาเป็นวิทยากรอบรมครูตามตารางที่จัดให้ นัน้ ไม่ได้มคี วามแตกต่างในเชิงคุณภาพของเนือ้ หาทีส่ อนแต่ละ วิชาชีพจะสอนอย่างใด หรือ เมื่อทันตบุคคลากรไปเยี่ยมบ้าน ร่วมกับวิชาชีพต่างๆ ผูป้ ว่ ยพิการเพราะผ่าตัดสมองจากอุบตั เิ หตุ รถชน ช่องปากเหม็นมากและฟันผุเพราะมืออ่อนแรงไม่ได้แปรง ฟัน ปัญหาจึงอยูท่ มี่ อื อ่อนแรงและข้อติดไม่ใช่ผปู้ ว่ ยไม่ตระหนัก หรือไม่มีความรู้แต่เพียงอย่างเดียวหากโรงพยาบาลนั้นๆ มี นักกายภาพ ทันตบุคลากรก็เรียนรูเ้ ทคนิควิธกี ารจากนักกายภาพ ว่าทำ�อย่างไรให้ข้อไม่ติดกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ลดการเกร็ง การสัน่ เพือ่ เขาจะได้ดแู ลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองได้มากขึน้ หรือหากโรงพยาบาลไม่มีนักกายภาพ เราก็อาจไปบันทึกวิดีโอ นำ�ไปปรึกษาผู้รู้หรือนักกายภาพในโรงพยาบาลใหญ่ แล้วกลับ มาประยุกต์ปรับใช้ศาสตร์ที่เราไม่เคยเรียนกับคนไข้เช่นนี้ก็คือ สหวิชาชีพในความหมายของ multidisciplinary ที่มีเราเพียง คนเดียวก็ได้เป็นตัวละครที่นำ�ทั้งสองศาสตร์มาผสมผสานและ ใช้ในคราวเดียวกันเกิดความแตกต่างในระดับคุณภาพในงาน ที่เราทำ�ด้วยความรู้ของสหวิทยาการแตกต่างจากที่กรณีที่ต่าง วิชาชีพต่างไปแนะนำ�ผู้ป่วยตามความรู้ที่ตนมี โดยที่ปล่อยเป็น ภาระให้ผู้ป่วยไปประมวลประยุกต์เอง สหวิชาชีพในนิยามระบบสหวิทยาการเช่นนี้ ในที่สุดก็จะ กลายเป็นการผสมผสานทางวิชาการ (Interdisciplinary) และ ไปสู่ การก้าวข้ามศาสตร์ (Transdisciplinary) ในที่สุดคือการ ยอมรับว่าความจริงไม่ได้มีเพียงหนึ่งมิติหรือหนึ่งเดียว ยอมรับ การผสมผสานอย่างใจกว้าง อัตตาน้อย จนฐานคิดฐานคติหรือ concept ของเราเองเปลีย่ นจากศาสตร์ทเี่ ราเชือ่ มัน่ ไปสูก่ ารข้าม ศาสตร์ที่รํ่าเรียนมา ส ห วิ ช า ชี พ ที่ แ ท้ จ ริ ง คื อ ส ห วิ ท ย า ก า ร ไ ม่ ใ ช่ เ พี ย ง ก า ร ทำ � ง า น เ ป็ น ที ม เ ท่ า นั้ น แ ล ะ ที่ ต้ อ ง ส ห วิ ท ย า ก า ร ก็ เ พ ร า ะ ทุ ก ศ า ส ต ร์ ทุกสาขาวิชาล้วนมีข้อจำ�กัดทางสมรรถนะในการวิเคราะห์ การมองทั้งสิ้นการผสมผสานหลายศาสตร์เท่านั้นที่จะแก้ ปัญหายากๆ ได้แต่ที่ยากที่สุดของวิชาชีพสุขภาพไม่ใช่ การผสมผสานหลายศาสตร์ แต่คือการลด (อัตตา) ของ ตนเอง
ทำ�งานแบบสหสาขาวิชาชีพ อย่างมีความสุข HaPpY มีเพื่อนเยอะ
เรื่องเล่าจากช้างน้อย @ รพ.ภาชี พระนครศรีอยุธยา ช่วง ๑ ปีที่ผ่านมานี้พวกเราชาวทันตแพทย์ในโรงพยาบาล ชุมชน และ ผู้ที่ได้รับเงินกองทุนทันตกรรมจาก สปสช.หลาย ท่ า นอาจรู้ สึ ก เป็ น ทุ ก ข์ ที่ ไ ด้ เ งิ น มากมายมหาศาลที่ สุ ด ใน ประวั ติ ศ าสตร์ ว งการทั น ตแพทย์ เ พื่ อ มาจั ด บริ ก ารส่ ง เสริ ม ป้องกัน ในกลุ่มเป้าหมายที่ถูกกำ�หนดมาจากกองทุนนั่นเอง หลายๆ คนทีไ่ ม่ถนัดทำ�งานโครงการ วันๆ แค่ท�ำ คนไข้ในห้องฟัน ก็เมื่อยจะแย่แล้ว จะรู้สึกว่าเงินกองทุนเป็นภาระมากมาย แต่ สำ�หรับอำ�เภอเรา รู้สึกทันทีว่าเป็นโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งที่ เราอยากให้เกิดในชุมชน เช่น อยากให้เด็กๆ มีแปรงสีฟนั ใหม่ๆ ใช้ กันทุกคน ~ หลายๆ คนอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องสิ้นคิดที่จะเอา แปรงไปแจก แต่...เราเป็นหมอฟัน...ก็แจกแปรงนี่แหละ เวลา เด็กๆ แปรงฟัน ก็จะได้คิดถึงหน้าหมอไปด้วย เวลามาทำ�ฟันจะ ได้รู้สึกว่าหมอใจดี ไม่ต้องกลัว ทำ�ไมไม่ตั้งกองทุนแปรงสีฟันให้
เด็กซื้อแปรง ? คำ�ตอบคือ เอาเงินไปซื้อขนมเถอะ เงินที่เอามา แต่ละวันไม่ได้มากนัก อย่าขัดใจเด็กมาก เดี๋ยวจะก้าวร้าว เด็ก ต้องมีความสุขบ้าง ตอนเด็กๆ เคยซื้อแปรงเองเหรอ คำ�ตอบคือ “ไม่เค๊ย ไม่เคย” ยกเว้นว่าไปห้างแล้วเจออันสวยๆ ก็ให้แม่ซอื้ ให้ บ้าง ก็เป็นเด็กนีน่ า เด็กมีสทิ ธิทจี่ ะได้กนิ ขนมทีอ่ ยากกินบ้าง หรือ ไม่ ? Health Promotion ก็แจกฟรีบ้าง จะได้ติดใจ ส่งเสริมการ ขายเหมือน ๗-๑๑ แถมโน่น แถมนี่ คนซื้อละช๊อบบบ ชอบบบบ ให้ฟรีหรือลดราคาจนติดใจ เลยซื้อกินมาตลอดนับตั้งแต่นั้น คปสอ.ภาชี เราทำ�งานกองทุนทันตกรรม แบบสหสาขา วิชาชีพได้ เพราะ ผู้อำ�นวยการ ผู้บริหาร ให้อิสระในการทำ�งาน นอกจากนี้เรายังทำ�งานส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมมานาน คณะทำ�งานรู้จักกันหมด และเป็น “เพื่อน” กัน ทำ�ให้ทำ�งาน ได้ง่าย ตัวทันตแพทย์เองก็อย่าพยายามทำ�ตัวให้เป็นอุปสรรค วารสารทันตภูธร 17 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ถึงเรื่องฟันและฟันเทียมแล้วแต่เราจะเสริมไป หรือเวลากลุ่ม เวชฯจัดงาน To be Number 1 เราก็ไปส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่ ในโรงเรียนมัธยม ส่งเสริมการแปรงฟันสำ�หรับเด็กประถม เรา ก็จะได้จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กวัยเรียน ไปโดยปริยาย อาจไม่มาก ไม่เน้นหนักเรื่องสุขภาพช่องปากสัก เท่าไหร่ แต่ก็ทำ�ให้เราได้มีความสำ�คัญขึ้นมาบ้างละ และทำ�ให้ เรามีความมั่นใจในการทำ�งานในกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้นด้วย หาก ใครที่ทำ�งานแล้วไม่มีความสุขลองชวนเพื่อนต่างวิชาชีพมาทำ� กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากร่วมกันก็ได้นะคะ จะได้มีแรง บันดาลใจในการทำ�งานมากขึน้ และได้มมุ มองแปลกๆ แตกต่าง มากขึน้ เพราะวิชาชีพอืน่ เค้าจะไม่เข้าใจภาษาหมอฟันหรอกค่ะ เราจะได้พดู ภาษาที่ “คนธรรมดา” ฟังรูเ้ รือ่ งมากขึน้ ด้วย ~ สนุกจัง นักวิจัย ระบุว่า “การมีเพื่อนอย่างน้อยสิบคนทำ�ให้คนเรา มีความสุข ส่วนคนที่มีเพื่อน 5 คนหรือน้อยกว่านั้นมีแนวโน้ม ว่าชีวิตจะแห้งแล้งเศร้าสร้อย” อย่าลืมมีเพื่อนในที่ทำ�งานกัน ให้เยอะๆ นะคะ นอกจากจะมีความสุขแล้ว ยังทำ�ให้งานสำ�เร็จ ลุล่วงไปได้อย่างดีค่ะ
“
“
ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ชอบออกชุมชนเป็นการส่วนตัว ทำ�ให้รู้จัก พื้นที่ได้ดี และพยายามให้ทุกๆ คนในฝ่ายได้ทำ�งานในชุมชน ด้วย เวลาคิดกองทุนทันตกรรมในปีแรกๆ ก็มกี ารทำ�งานกับกลุม่ งานเวชปฏิบัติครอบครัว ประมาณ ร้อยละ ๕๐ แต่ในปีนี้เกือบ ร้อยละ ๘๐ เป็นงานที่ทำ�ร่วมกัน เช่น การจัดระบบคลินิกเด็กดี ครบวงจร คือ ไม่ใช้เพียงแค่มีพยาบาลฉีดวัคซีน แต่จะมีทั้งเรา ไปตรวจฟัน ส่งไปทาฟลูออไรด์วาร์นิช ยังมีประเมินพัฒนาการ และ พยายามทำ�ให้ครบถ้วน แบบ มี “คุณภาพ” ทุกคน เพราะ เมื่อก่อนการให้บริการยังไม่ครบถ้วนทุกกระบวนการ ทุกราย บัตรก็มีผิดบ้าง ไม่เช็คกันบ้าง พอเราได้คุยกันมากขึ้น ด้วย ความเป็นมิตรต่อกัน ก็ทำ�ให้เราสามารถประเมินการทำ�งานได้ ดีขึ้นและมีคุณภาพมากขึ้นด้วย หรือ งานในกลุ่มเป้าหมายผู้สูง อายุซงึ่ มีจ�ำ นวนผูส้ งู อายุมากมายเหลือเกิน เราก็สามารถเข้าถึง กลุ่มเป้าหมายได้ง่าย เพราะกลุ่มเวชฯเค้าทำ�งานด้านนี้อยู่แล้ว จัดอบรมผู้สูงอายุก็ทำ�ได้ง่ายเพราะเราจะมีวิทยากรเรื่อง ๓ อ. คือ นักกายภาพบำ�บัดสอนออกกำ�ลังกาย นักกิจกรรมบำ�บัด สอนหัวเราะ และ ทันตแพทย์สอนเรื่องอาหาร เราก็สอนเลยไป
หมอฟัน ชอบบอกอะไรเยอะแยะ หนูงง ไปหมดแล้วววว
วารสารทันตภูธร 18 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
อันเนื่องมาจากปก : ทีมสหวิชาชีพ หมอเมืองน่าน ทีมสหสาขาวิชาชีพ จาก โรงพยาบาลน่าน ประกอบ ด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำ�บัด นักกิจกรรมบำ�บัด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ออกติดตามพัฒนาการเด็กที่เคยได้รับการรักษา จากโรงพยาบาลน่าน โดยเวียนไปยัง โรงพยาบาล ชุมชนต่างๆ เนือ่ งจากทราบดีวา่ มีผปู้ กครองจำ�นวน หนึ่งที่ไม่สามารถนำ�เด็กมาติดตามผลการรักษา ที่โรงพยาบาลน่านได้ อันเนื่องจากความจำ�เป็น ทางครอบครัว ทั้งภาระทางบ้าน ฐานะทางการเงิน การไปครัง้ นีผ้ รู้ ว่ มทีมแต่ละคน ก็มจี ดุ มุง่ หมายตาม สาขาวิชาชีพตนเอง แต่สิ่งที่เหมือนกันคือมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนเล็กๆที่อาจจะมีความพร้อมไม่เท่าคนเมือง และสิง่ ทีเ่ ราได้รบั คือมิตรภาพ ระหว่างวิชาชีพ จากทีไ่ ม่เคยได้ขอ้ งแวะกับวิชาชีพอืน่ วันๆก็อยูใ่ นห้องแอร์ของเรา ทีนกี้ ไ็ ด้เพือ่ นเม้าส์ เพิ่ม เอ๊ะยังไงน้อ 555 แต่มันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ แล้วเราก็ทำ�งานด้วยความเบิกบาน มีความสุข เพราะมันไม่เหมือนเราไปทำ�งาน แต่ เหมือนเราไปเทีย่ วกับเพือ่ น ไปหาเพือ่ น สังเกตได้จากภาพปกนีค้ อื บรรยากาศการไปเยีย่ มโรงพยาบาลสองแคว โรงพยาบาลทุรกันดาร ระดับ 2 ของจังหวัดน่าน จ้ะ
หมอซิ่ว เจ้าแม่ รพ. สองแคว สอน ผู้ปกครองแปรงฟันให้เด็กน้อย
น้องนักกิจกรรมบำ�บัดคนสวยกำ�ลังกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
น้องๆนักจิตวิทยากำ�ลังเรียนรู้งาน
พี่พยาบาลใจดีพกยาไปให้เด็กด้วย วารสารทันตภูธร 19 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
จดหมายตอบน้อง
สวัสดีค่ะหมอแอ๊ด ขอบคุณมากสำ�หรับจดหมายของหมอ พี่และทุกคนทางนี้ สบายดี งานการก็คงยุ่งตามปกติของเรา สำ�หรับคำ�ถามของหมอที่ ถามพี่ว่าพี่ไปเริ่มต้นทำ�งานกับเครือข่ายที่เป็นสหวิชาชีพ และลงไป ถึงทำ�งานเป็นเครือข่ายกับชุมชนได้อย่างไร มันเริม่ ต้น และสานต่อมา ได้อย่างไร ทำ�ให้พี่ต้องมานั่งคิดทบทวนว่าสิ่งนี้มันเกิดมาได้อย่างไร ตอนนี้ใครมาเห็นที่ศูนย์ก็คงเป็นที่น่าแปลกใจเพราะที่ศูนย์นี้จะ ทำ�งานแปลกกว่าที่อื่นๆ เช่นเรามีวิศวมานั่งทำ�งานกับเราอยู่เป็น เดือนๆ และไม่ใช่วศิ วกรเพียงสาขาเดียวด้วย เป็นวิศวตัง้ หลายสาขา ได้ทำ�งานกับ นักภูมิศาสตร์ นักธรณีวิทยา และนักอื่นๆ อีกจิปาถะ ที่สำ�คัญคือทำ�งานกับชุมชนที่พี่นับเป็นสุดยอดของการทำ�งานเลย ทีเดียว หมอแอ๊ดเชื่อไหมค่ะว่าพี่เคยไปร่วมประชุมวิชาการและไป เสนอผลงานในที่ประชุมของวิศวกร ตอนแรกพอเราบอกว่าเราเป็น หมอฟันเขาก็งงกันมากเลยว่าไอ้หมอฟันมันมาเกี่ยวกับการประชุม นี้ที่ตรงไหนคิดๆ ดูแล้วก็รู้สึกว่าชีวิตนี้มันสนุกดีที่ได้ทำ�งานร่วมกับ คนมากมาย หลากหลายสาขาอาชีพหมอแอ๊ดลองอ่านต่อไปนะคะ ว่ามันเริ่มต้น และสานต่อมาได้อย่างไร พีค่ ดิ ว่าจุดเริม่ ต้นของสิง่ นีม้ นั อยูท่ ลี่ กั ษณะของงานทีเ่ ราทำ� พีถ่ กู ฝึกฝนมาให้ทำ�งานในลักษณะสาธารณสุข คือเป็นหมอรักษาชุมชน การทำ�งานกับชุมชนมันเป็นงานที่กว้างขวางอาจารย์พี่ยํ้าเสมอว่า งานสาธารณสุขต้องทำ�งานเป็นทีม เราเล่าเรียนจบมาเราก็พยายาม ว่าจะทำ�งานให้มันเป็นทีมแต่มันเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ไอ้ทำ�งานเป็น วารสารทันตภูธร 20 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ทีมเนี้ย แบบว่าไปไหนไปด้วยกันเป็นพวงแต่พอไปถึงพื้นที่แล้วต่าง คนต่างทำ�แบบนั้นใช่หรือเปล่าก็ไม่รู้ ที่จริงตอนที่เรียนหนังสือเขาก็ เริม่ ฝึกพีแ่ ล้ว อย่างเรียนวิชาสถิติ (ตอนเรียนป.โท ทีต่ า่ งประเทศ) เขา ให้เราเรียนเพือ่ ให้เรารูว้ า่ สถิตนิ มี้ นั ยากนะ มันลึกซึง้ นะเอ็งได้เรียนแค่ นิดเดียวนะ จะทำ�งานอะไรก็จงอย่าแหย่มทำ�เรือ่ งสถิตเิ อง หานักสถิติ ทำ�งานด้วยนะ แล้วเขายังสอนพื้นฐานสถิติเพื่อให้เรารู้ว่าถ้าเราจะ ต้องทำ�งานกับนักสถิตเิ ราต้องคุยกับเขาอย่างไรเพือ่ ให้ท�ำ งานด้วยกัน ได้อย่างราบรืน่ โดยสรุปก็คอื เรียนให้รวู้ า่ เราไม่รอู้ ะไร (พีว่ า่ ประเด็นนี้ สำ�คัญมากเพราะบางทีมันยากมากเลยที่จะทำ�ให้คนรู้ และยอมรับ ว่าตัวเองไม่รู้อะไร ยิ่งคิดว่าตัวเองฉลาด ตัวเองเก่งและยิ่งเรียนสูง ยิง่ ยาก) ตรงนีก้ ค็ งเป็นการเริม่ ต้นของทัศนะคติพนื้ ฐานว่าการทำ�งาน เป็นทีมคือต้องยอมรับในคนอืน่ ๆ ยอมรับว่าเขารูเ้ ขาเชีย่ วชาญ เขามี ประสบการณ์ในสาขาของเขา ประสบการณ์ทสี่ �ำ คัญต่อมาก็คอื ตอนทีท่ �ำ งานประสานระหว่าง ศูนย์วิชาการเขตต่างๆของกระทรวงสาธารณสุข มีทั้งศูนย์เขตของ กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กรมการแพทย์ทุกคน ต้องทำ�งานกับจังหวัด และทุกคนก็รู้สึกว่ามันซ้ำ�ซ้อนกันน่าจะมา ทำ�งานด้วยกัน แต่จะทำ�อะไรละ เริ่มต้นก็วางแผนไปจังหวัดด้วยกัน จังหวัดไม่ตอ้ งรับเขตหลายครัง้ เดินทางไปด้วยกันมันก็ประหยัดและ ไม่เหงาได้คยุ กันไป แต่ไปถึงก็ตา่ งคนต่างทำ� ไปคุยกับฝ่ายต่างๆของ จังหวัดทีเ่ กีย่ วข้อง บางทีค่ นจากศูนย์เขต หลายคน ไปรุมคุยกับคนคน เดียวทำ�ไปทำ�มาก็รสู้ กึ ว่ามันไม่คอ่ ยเข้าท่า เลยต้องมานัง่ ปรับกันอยู่
อีกหลายตลบ จนในทีส่ ดุ จึงมาช่วยกันคิดถึงวิธกี ารทำ�งานทีต่ อ้ งรวม งานให้มันเป็นเนื้อเดียวกันให้ได้ คือทำ�งานนี้แล้วมันแก้ไขปัญหาได้ หมดทั้งปัญหาสุขภาพที่กรมอนามัยรับผิดชอบ ปัญหาที่กรมควคุม โรครับผิดชอบและปัญหาที่กรมอื่นๆรับผิดชอบ ในที่สุดเราคิดได้ ว่าต้องทำ�งานที่ทำ�ให้คนที่มีสุขภาพดีๆยังไม่เป็นโรคอะไรเลยคงมี สุขภาพดีอย่างนัน้ ไปเรือ่ ยๆ มันก็มกี จิ กรรมหลายๆอย่างทีท่ �ำ รวมกัน เป็นอันหนึง่ อันเดียวได้ ตอนทำ�เริม่ แรกพีว่ า่ มันก็ยากนะ เพราะเรามา จากต่างวัฒนธรรมองค์กร (ต่างกรม แม้จะอยู่ในกระทรวงเดียวกัน) และมาจากหลากหลายวิชาชีพ ทำ�งานนี้ตอนแรกๆพี่ยังรู้สึกว่ามัน เสียเวลามากคิดกันไปคนละทางสองทางความที่พื้นฐานที่ฝึกฝนมา มันต่างกัน ทำ�เองไปทัง้ หมดก็จบแล้วไม่ตอ้ งสหวิชาชีพให้มนั ยุง่ ยาก แต่กพ็ ยายามทำ�ต่อไปเพราะอยากรูว้ า่ มันจะออกมาอย่างไร ในทีส่ ดุ ผลงานมันก็ออก แล้วออกมาดีด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกคนต้องมาร่วม กันคิด ยอมรับซึง่ กันและกัน ต้องใช้เวลาเพือ่ ปรับตัวกันอยูพ่ อสมควร ทีเดียว แต่พอสำ�เร็จก็รู้สึกงานสบายขึ้นเยอะ งานออกมาดี ผลงานก็ ดี แล้วมีคนช่วยทำ�กันหลายคน ไม่หนักมากมีปญ ั หาเกิดขึน้ ก็ชว่ ยกัน คิดช่วยกันแก้ไข ไม่โดดเดี่ยวอีกต่อ ทีน่ มี้ าถึงประสบการณ์ท�ำ งานกับชุมชนถ้าถามถึงประสบการณ์ นี้พี่ว่าคนที่พี่ยอมรับให้เป็นครูในเรื่องนี้ก็คือลุงไล(ชายสูงอายุที่หมอ แอ๊ดเคยพบที่ศูนย์เมื่อหลายปีก่อน ตอนนี้ลุงไลเสียชีวิตไปหลาย ปีแล้ว) พี่ว่าปัจจัยที่ทำ�ให้พี่เปิดใจยอมรับลุงไลคงมีหลายประการ ประการแรกคือลุงไลอายุมาก มีประสบการณ์หลากหลายมาก (วัฒนธรรมไทยสอนให้เราเคารพผู้อาวุโส) สอง งานที่ทำ�กับลุงไล คืองานแก้ไขปัญหาฟันตกกระที่สาเหตุมาจากการบริโภคนํ้าที่มี ฟลู อ อไรด์ สู ง แต่ ผ ลเสี ย ต่ อ สุ ข ภาพมาปรากฏแห่ ง แรกที่ ฟั น นํา้ บริโภคทีว่ า่ มันปนเปือ้ นฟลูออไรด์ทมี่ าจากธรรมชาติ และชาวบ้าน เขาก็ใช้ดื่มกินกันมาแต่ไหนแต่ไร เป็นสิบๆ ปีกว่าจะเกิดโรค พอพูด เรื่องจัดการนํ้าหมอฟันก็งงเป็นไก่ตาแตกเลย และต้องยอมรับโดย ปริยายว่าเราไม่รเู้ รือ่ งเหล่านีเ้ ลย คิดแก้ไขปัญหามันก็เลยทือ่ ๆ (แบบ หมอฟัน) พอลุงไลเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือชุมชนของแกเองก็ต้อง ยกนิ้วให้ว่ามันไม่ทื่อเลยจริงๆ ลุงไลเข้าใจบริบทของชุมชนของแกดี มาก (เพราะแกเป็นคนในชุมชนนั้นเอง) ผลงานที่น่าประทับใจก็คือ การออกแบบเครื่องกรองนํ้าที่กรองฟลูออไรด์ได้ ลุงไลเข้าใจรสนิยม ของชาวบ้านดี เครื่องกรองฟลูออไรด์ของลุงไลจึงไม่ใช่ท่อพีวีซทื่อๆ แบบของหมอฟัน แต่มันเป็นสีเงินสีทองเพียงแค่เอาสีเงินสีทองไป พ่นด้านนอกเท่านั้น ถ้าภาษาเดี๋ยวนี้เขาก็เรียก value added พอมัน มี valueแล้วลุงไลก็ทำ�ขาย ลุงไลรู้ดีว่าจะขายสักเครื่องละเท่าไรจึง จะเหมาะ แพงไปก็ไม่มีใครซื้อ ถูกไปก็ไม่มีค่า และเครื่องกรองลุงไล ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รับรองอีกนะว่ากรองฟลูออไรด์ได้ ก็ ลุงไลเอาผลการตรวจนาํ้ ทีศ่ นู ย์ตรวจให้แนบไปกับการขายเครือ่ งด้วย
ต่อมาเมื่อชาวบ้านพบปัญหาเรื่องเครื่องกรอง ดูว่าเครื่องกรองจะไป ไม่รอดในระยะยาว ลุงไลก็นำ�ชุมชนคิดเรื่องนู้นเรื่องนี้อีกเยอะแยะมี ทางออกใหม่ๆทีเ่ ราก็ไม่คาดคิด และถ้าให้เราคิด หรือต่อให้เอาคนจบ ป.เอกทีไ่ หนมาคิดก็คดิ ไม่ออกพีร่ บั รอง และพอเราเห็นแบบนีเ้ ราก็ปงิ้ เลยว่าชาวบ้านเขาแก้ไขปัญหาของเขาได้ดีเราไม่ต้องไปเหนื่อยคิด แทนเขา ให้ข้อมูลเรื่องปัญหา และสาเหตุปัญหาของเขาให้ชัดๆเขา ก็ไปต่อเองได้แล้ว เราก็เล่นบทบาทของเราไปคือบทของการให้ขอ้ มูล ด้านวิชาการ ตั้งแต่ทำ�งานแบบนี้มาพี่ก็รู้สึกสบายขึ้นเยอะเลย งาน มันก็ขยายออกไปได้เรื่อยๆเราก็ไม่เหนื่อยอาจใช้เวลาสักนิดแต่พอ ชุมชนจับหลักได้แล้วมันก็พัฒนาของมันต่อไปได้เรื่อยๆ พี่ว่าแค่เรา เชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์เท่านั้นงานเครื่อข่ายก็ไปได้สวยแล้ว เล่ามาเสียยืดยาวยังไปไมถึงทำ�งานกับ สหวิชาชีพที่เกริ่นไว้ ตอนหัวเรื่องเลยเอาไว้ถ้าหมอแอ๊ดสนใจอยากรู้ก็จะเล่าต่อให้ฟังใน ฉบับหน้า เกริ่นหนังตัวอย่างไว้หน่อยว่าที่ทำ�งานกับวิศวะน่ะไม่ใช่ คนไทยนะเป็นชาวต่างชาติ และแถมเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเสีย อีกเรื่องราวจะสนุกแค่ไหนให้หมอแอ๊ดถามมาก่อนแล้วจะเล่าให้ฟัง สรุปนะคะว่าการทำ�งานเป็นสหวิชาชีพ และเครือข่ายนี่มันต้องเริ่ม จากแนวคิดของเราก่อน แนวคิดว่าเราทำ�งานคนเดียวไม่ได้ มีคนที่ รู้เรื่องต่างๆในสาขาวิชาของเขาซึ่งเราไม่เคยเรียนมา เราต้องให้การ ยอมรับในจุดนี้ การทำ�งานจึงจะไปต่อได้ นอกจากนีใ้ นระยะเริม่ แรก คงต้องใช้ความอดทนเพื่อปรับความคิดให้คล้ายคลึงกัน เห็นเป้า หมายในการทำ�งานร่วมกัน และอีกประเด็นที่สำ�คัญก็คือต้องไว้ใจ กัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ขอบคุณที่ถามมานะคะ พี่เจน
วารสารทันตภูธร 21 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ยาแลกไข่
กระทรวงสาธารณสุขนี่มีอะไรให้เราแปลกใจปนฮาตลอดเลยครับ อาจเคืองถึง สสส. ครับ ตั้งแต่ “จน เครียด กินเหล้า” ตั้งใจว่าจะ ให้ลดการกินเหล้า กลับกลายเป็นคำ�ฮิตเพื่อชวนกันไปกินเหล้า เห็นหน้าใครเครียดๆ เดินมา ก็จะมีคนตะโกนถามไปว่า “คุณ จนไหม เครียดไหม ป่ะ กินเหล้า” ผลที่ได้หน้ามือเป็นหลังมือเลยครับ 555+ ต่อมากับ “ให้เหล้าเท่ากับแช่ง” เเต่ผมขอข้าม “งานบุญปลอดเหล้า” ครับ เพราะอันนี้มันได้ผล ให้เหล้าเท่ากับแช่ง อีกแล้วครับ ในงานต่างๆ พอให้เหล้า ราคาตาํ่ กว่า 500 บาท ก็โดนว่าเลยครับ ว่า แช่งกันหรือ ลองเอา ตระกูล label ไปให้สคิ รับ แล้วหากเป็น green gold หรือ สุดๆ กับ blue ไม่มีใครว่าแช่งหรอกครับ 555+ โลกนี้ทันเปลี่ยนไปแล้วครับ ล่าสุดกับ ยาแลกไข่ ไม่รวู้ า่ คิดมาได้อย่างไรครับ เพราะมันทำ�ให้การ รับบริจาคยากลายเป็นหมันไปเลย จากทีม่ ยี าเหลือ ก็เอามา คืนโรงพยาบาล หรืออนามัย ไม่ได้ไม่เสียอะไร มันก็จบครับ พอเอาไข่มาเป็นปัจจัยเพื่อสร้างเงื่อนไขในการแลกเปลี่ยนแล้ว คราวหน้า ก็ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ เท่านั้นครับ มีเสียงสะท้อนเบาๆ มาว่า กระทรวงเอาฮาอีกแล้ว ยาก็ยาเรา ให้ก็ให้ฟรี เอามาคืนยังได้ไข่ไปกินอีก 555+ รออีก 5 ปี มียาแลกรถ คันแรกแน่ๆ แค่ทุกวันนี้ คนไข้มาอนามัย ก็ชี้เอายาแล้วครับ ไม่ได้ตั้งใจมาบอกอาการนะครับ มาบอกเลยว่า อยากได้ยาแก้ปวด เม็ด สีชมพู อยากได้ยาแก้อักเสบ แคปซูล เหลืองดำ� ว่าจะทำ�ให้เหมือน 7-11 ซักครั้งครับ คือเอาตะกร้ามาวางไว้ที่ประตูอนามัยเลย ใครมา ก็หยิบตะกร้า ไปเลือกเอายา จนพอใจแล้วก็ เอามาให้เจ้าหน้าที่เขียนลง OPDCard แบบนี้น่าจะตรงกับคำ�ว่า“บริการเป็นกันเองครับ” ออกนอกเรื่องไปไกลครับ กลับมาที่ ไข่กันต่อ ผมเชื่อเลยว่า เจ้าหน้าที่ กว่าครึ่งของประเทศรู้เรื่องนี้ช้ากว่าประชาชน คงต้อง งงกันแน่ๆ เมื่อวันหนึ่งคนไข้เดินเข้ามาถามเรื่องไข่ ก็เขาประกาศออกสื่อขนาดนั้น โชว์หน้าโชว์ตาขนาดนั้น อิอิ แต่งบประมาณที่ได้มา นี่สิครับ ฮาอีกแล้ว ที่ผมอยู่เนี่ย ได้ 400 กว่าบาท ได้ไข่ 3 แผง บางจังหวัด 300 นะครับ ได้ ไข่ไม่กี่ฟอง เทียบกับเอาเงินไปทำ�สื่อครับ ผมว่า จะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าเอามาซื้อไข่อีก ที่กล่าวมาทั้งหมดผมไม่ได้ว่าไม่ดีหรือทำ�ไม่ถูกนะครับ อะไรที่มันดีต่อสุขภาพประชาชนผมก็เห็นด้วยหมดนั่นล่ะครับ แต่ที่เอา มาเขียน เพราะผมชอบความคิดของคนคิดโครงการเหล่านี้ ไม่รู้เขาจะรับสมัครหรือไม่ผมจะได้ไปสมัครดูครับ 555+ เผื่อจะได้คิดอะไร แปลกๆ ออกมาบ้าง Jay-ac ผมจะทำ�งานเพื่อชาติ เพื่อนประชาชน และเพื่อในหลวง Jay.ac@hotmail.com วารสารทันตภูธร 22 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
จุดประกายความคิด โดย ทพญ.ดร.มัทนา เกษตระทัต
“อะไรๆก็กู” ไม่ว่ากระทรวงฯ เค้าจะแบ่งการทำ�งานเป็นกลุ่มอายุ เป็น กลุ่มศูนย์เด็กเล็ก เป็นชั้นป. 1 หนุ่มสาวโรงงาน หรือ ชมรมผู้สูง อายุ แล้วยังมีกลุ่มที่ช่วยเป็นปากเป็นเสียงคอยเตือนว่าอย่าลืม คนพิการ คนไร้สัญชาติ แรงงานต่างด้าว เด็กเร่ร่อน อีก ไม่ว่า จะแบ่งแบบไหนไอ้คนทำ�งานก็คือ “กู” นี่แหละ เวลาผู้เขียนไปบรรยายหรือเสวนาที่ไหนเลยจะบอกคน ทำ�งานว่า ห้องฟันจะมาทำ�เองหมดมันไม่ได้หรอก นอกจากจะ ไม่ไหว มันจะหมดแรงเอาง่ายๆ แล้ว มันยังไม่ได้เป็นการให้สิ่ง ที่ดีที่สุดกับประชาชนที่เรามีหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลด้วย เพราะ ฉะนัน้ การทำ�งานแบบสหวิชาชีพทีเ่ ลิศๆ มันจึงเป็นทางออกทีถ่ งึ แม้ว่าจะไม่หมู แต่มันจะทำ�ให้สบายในภายหลังทั้งเราเอง ทั้งผู้ ป่วยและผู้ที่เราไม่อยากให้ป่วย ทีนี้ การทำ�งานแบบสหสาขานั้น มันมีหลายระดับ ทั้งเลิศ และบ้านบ้าน ฝรัง่ เค้าใช้ค�ำ ว่า สหสาขาแบบมัลดิ (multidisciplinary) แยก ออกจากกันกับคำ�ว่า สหสาขาแบบอินเตอร์ (interdisciplinary) แบบแรกนัน้ คือ หลายๆ สาขามาทำ�งานด้วยกันแบบไม่เป็นเนือ้ ทีมเดียว เช่น หมอกับหมอฟันส่งต่อคนไข้ให้กนั จบ … ส่วนแบบ หลังนั้น มีการวางเป้าหมาย วางแผนร่วมกัน ทำ�งานด้วยกันคุย กันตลอด เช่นมี case conference คุยสรุปเคส หรือ คุยทบทวน ความก้าวหน้า ทุกอาทิตย์หรือทุกเดือนเป็นต้น จะดูแลคนไข้คน นี้ก็มีทีมดูแลครบหน้า ทุกคนรู้ว่าคนอื่นๆ ในทีมทำ�อะไรในช่วง เวลาหนึ่ง การทำ�งานดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาลที่ต้องใช้ความ เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาชีพความจะทำ�ให้ได้ถึงระดับนี้
ส่วนแบบที่ไฮโซที่สุดฝรั่งใช้คำ�ว่า สหสาขาแบบก้าวข้าม เส้นแบ่ง (transdisciplinary) เอาเป็นว่าให้นกึ ถึง ชาวข้ามเพศไว้ (transgender) จะแค่รู้ในใจ หรือแต่งตัวตามอยาก หรือ ผ่าตัด มันเริ่มที่ “ใจ” มันข้ามเพศไปก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าจะทำ�งานเป็นทีมแบบก้าวข้าม ใจมันต้อง มาก่อนเลย แล้วทีมที่ทำ�ได้ดีคือทีม รพสต. และ ทีมเยี่ยมบ้าน รวมอสม.ไปด้วย อสม.และหมอๆ ทีร่ พสต. นีแ่ หละก้าวข้ามมาก ทำ�แผล จ่ายยา วัดความดัน ตรวจเบาหวาน ตรวจฟัน สอน แปรงฟัน แจกทรายอะเบท สอนโยคะ นำ�แอโรบิค ทำ�ฮูลาฮูป คิด เมนูอาหารสุขภาพ เล่านิทานให้เด็กเล็ก หมักปุ๋ย ปลูกสมุนไพร แล้วยังมีงานเอกสารกองโตอีก ทำ�ข้ามสาขาได้หมดจริงๆ รู้จัก ชื่อและประวัติประชาชนที่รับผิดชอบ อันนี่ถ้าเปรียบเปรยก็คง ข้ามเพศแบบผ่าตัดแล้วท้องได้ด้วยไปเลย ส่วนหมอทีโ่ รงพยาบาลนัน้ อย่างทีเ่ ขียนไปข้างต้นว่าอยาก ให้โก “อินเตอร์” (interdisciplinary) เป็นทีมดูแลรักษาผูป้ ว่ ยกัน ให้มากๆ เพราะ แบบ “มัลติ” มันผิวเผิน บางทีกับไอ้แค่การส่ง ปรึกษา (consult) แทนที่จะเขียนจม.ปรึกษาหรือโทรไปคุยให้ เป็นเรือ่ งเป็นราว ยังใช้ให้คนไข้ไปคุยกับหมอประจำ�ตัวเองเลยว่า จะถอนฟัน หยุดยาได้มยั้ หมอเค้าก็อยากรูเ้ หมือนกันว่า จะถอน ซี่ยากง่ายใช้เวลาเท่าไหร่ รีบไม่รีบ แล้วหมอจำ�นวนมากไม่อาจ รู้ได้เลยว่าหมอฟันมีการหยุดเลือดด้วย gelfoam หรือ surgicel แล้วเย็บปากแผลได้ด้วยนะ ตำ�ราทันตกรรมสมัยใหม่ก็บอกไว้ ว่าไม่ต้องหยุดสลายลิ่มเลือด ถ้าเค้ารู้แบบนี้ ถ้าเราคุยกับเค้า มากขึ้ น เค้ า ก็ จ ะรู้ ว่ า เค้ า ไม่ ต้ อ งเสี่ ย งให้ ค นไข้ ห ยุ ด ยา วารสารทันตภูธร 23 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ที่มา : http://www.hent.org/transdisciplinary.htm ไม่รเู้ ลยว่าปีๆ นึงคนไข้ไทยตายเพราะหยุดยาทำ�ฟันไปมากน้อย เท่าไหร่ นี่แค่เรื่องส่งปรึกษาซึ่งเป็นการทำ�งานสหสาขาแบบผิว เผินที่สุด เราต้องถามตัวเองว่าทำ�ได้ดีแล้วรึยัง เราต้องจับเข่านั่งคุยกันเลยว่า จะทำ�อะไรไปทำ�ไม ใคร มีหน้าที่อะไร โดยเฉพาะงานสร้างเสริมสุขภาพ … ปัจจัยเสี่ยง ร่วมเราก็ตัวเดียวกัน นํ้าตาล แอลกอฮอล์ ยาสูบความเครียด และอื่นๆ เช่น ความจน ความเหลื่อมลํ้าในสังคม …. เพราะ ฉะนัน้ สหสาขาจริงๆ ไม่ใช่แค่ทมี สาธารณสุขเท่านัน้ ยังต้องรวม กับทีมงานบริการทางสังคม กับ องค์การบริหารส่วนท้องถิน่ ด้วย ตอน ทำ�วิจัย ป. เอก ผู้เขียนได้เข้าไปศึกษาการทำ�งานเป็นทีม สหสาขาที่ดูแลผู้สูงอายุในบ้านพักคน ชราหรือในหอผู้ป่วย ระยะยาวของโรงพยาบาล สิง่ ทีไ่ ด้เรียนรูช้ ดั แจ้งคือ เคล็ดลับการ เกิดทีมไม่ได้มาจากการอบรม การจ้างบริษทั มาทำ�กิจกรรมสร้าง ทีม ไม่ได้มาจากการเข้าหาการเชิงวิชาการให้ความรู้ว่าอีกฝ่าย ต้องการให้อกี ฝ่ายทำ�อะไรให้ … แต่มนั ได้มากจากการทีผ่ บู้ ริหาร สร้างพื้นที่ให้คนมาเจอกันแบบไม่เป็นทางการ ให้สังสรรค์ ผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็น บาร์บีคืวปิ้งย่างทุกฤดู ร้อนทีส่ นามหญ้าข้างรพ. หรือการจัดห้องพักกินกาแฟ ห้องดูทวี ี เวลาถ่ายทอดกีฬาหรือรายการสำ�คัญที่รวมให้คนต่างแผนกมา ใช้ร่วมกัน มันเกิดจากความสัมพันธ์พวกนี้ที่จะทำ�ให้คนคุยกัน ได้ โครงสร้างโรงพยาบาลเมืองไทยมันเอื้ออยู่แล้ว … ตกเย็น วารสารทันตภูธร 24 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ออกกำ�ลังกายด้วยกัน เที่ยงก็ไปหาข้าวกินที่เดียวกัน ตราบใดที่เราไม่หมกตัวอยู่แต่ในห้องฟัง เราน่าจะทำ�งาน สหสาขาได้ง่ายกว่าคนที่แคนาดามาก ปัจจัยต่อไปที่สำ�คัญมากคือคนที่ฝรั่งเรียกว่า “แชมเปี้ยน เรื่ อ งสุ ข ภาพช่ อ งปาก” จะต้ อ งมี พ ยาบาลหรื อ หมอ หรื อ นักกายภาพ นักโภชนาการ หรือสาขาใดก็ได้ทเี่ ค้า “อิน” กับเรือ่ ง สุขภาพช่องปาก... โดยมาจะเป็นของเค้าเอง จากประสบการณ์ ส่วนตัวของเค้าและครอบครัวหรือสิ่งที่เค้าเห็นเค้าเจอในการ ทำ�งาน เราต้องหาคนคนนี้ให้เจอ หาเจอแล้วจับไว้ ทำ�งานด้วย ให้อยู่หมัด ไม่ว่าเค้าจะเป็นใคร สาขาไหน เริ่มที่เค้าหาพวกแล้ว ค่อยๆ สานต่อ ส่วนลักษณะการทำ�งานเรามองเป็นหมู่บ้าน เป็นตำ�บลนี่ แหละดีแล้ว ในหนึง่ หมูบ่ า้ นหรือตำ�บลจะมีคนทุกกลุม่ อายุ ทุกชน กลุม่ น้อย (พิการ ไร้ญาติขาดมิตร ไร้สญ ั ชาติ ฯลฯ) ไม่วา่ กระทรวงฯ หรือ NGO หรือใครจะแบ่งกลุม่ การทำ�งานแบบไหน ไอ้เราก็ตอ้ ง ดูแลเป็นหลังคาเรือน เข้าให้ถงึ ทำ�งานจากแฟ้มครอบครัวให้ได้ เข้าใจลีลาชีวิต วิถีชีวิตที่เค้าใช้ชีวิต่เค้ากินเค้าคิดจากที่ที่เค้าอยู่ ไม่งั้นงานสร้างเสริมสุขภาพไม่มีทางทำ�ได้เป็นองค์รวม เราต้อง “trans” คือต้องก้าวข้าม กรอบการแบ่งจากภายนอกให้ได้ แล้ว คุณจะเป็น “ไท” ทำ�งานแบบทันตภูธรได้โดยไม่รู้สึกว่าโดนขัง ด้วยกำ�แพงลวง
สมัครสมาชิกเพื่อรับวารสารทันตภูธร เปลี่ยนที่อยู่รับวารสารทันตภูธร ruralmax2007@gmail.com เป็นสมาชิกแต่ไม่ได้รับวารสารทันตภูธร ติดต่อด่วน https://www.facebook.com/ruraldentmagazine
ข่าวจากติวานนท์
โดย พี่แพร บางใหญ่ prae001@gmail.com
ฉบับนีน้ า่ จะเป็นฉบับแรกของน้องใหม่หลายท่าน ก็ขอแสดง ความยินดีในการที่ท่านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการ สุขภาพช่องปากไทยนะคะ ช่วงปีสองปีน้ีบัณฑิตคู่สัญญารุ่น เพิ่มผลิตเพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลน (ที่ผลิตทันตแพทย์เพิ่ม ปีละ 200) จบ ส่งผลให้การจัดสรรสะดวกมากข้น โรงพยาบาล แทบทุ ก แห่ ง มี ทัน ตแพทย์ อ ย่ า งน้ อ ย 1 คน และส่ ว นมากมี อย่างน้อย 2 คนแล้วในตอนนี้ นับเป็นเรือ่ งทีน่ า่ ยินดีมากๆค่ะ เรื่องกองทุนทันตกรรมนั้น ฉบับที่แล้วทราบจากท่าน กิตติว่าปี 2556 อาจจะยุบรวมไป แต่ตอนนี้มีข่าวใหม่ “ไม่ยุบ แน่นอน”นอกจากนัน้ ในปี 2556 ยังจะมีการแยกงบกองทุนทันต กรรมออกมากจากงบส่งเสริมสุขภาพ โดย อ. วิรตั น์หรือ อ.หนุม่ ผูม้ สี ว่ นร่วมในการออกแบบกองทุนฝากกระซิบพวกเราว่า ขอให้ ช่วยกันเก็บข้อมูลและส่งข้อมูลผลการทำ�งานให้ดว้ ย เพราะหลาย จังหวัดไม่สง่ กันมา ทำ�ให้ตวั ชีว้ ดั ในช่วงแรกได้ไม่ถงึ ร้อยละ 40 แต่ หลังจากโทรเจรจา (และจุดเทียนพรรษากัน) ไปบ้างแล้ว ข้อมูลก็ กลับคืนมาเพิม่ ขึน้ และอยากให้ทา่ นสมาชิกทีม่ ขี อ้ เสนอเกีย่ วกับ การทำ�งาน การวัดผลของกองทุน เข้าไปเสนอได้ท่ี Facebook ของ ชมรมเรานะคะ https://www.facebook.com/groups/ruraldent/ ชมรมทันตภูธร online 24 ชัว่ โมงค่ะ เรือ่ งเบีย้ เลีย้ งเหมาจ่าย ซึง่ จะกลายเป็นเบีย้ เลีย้ งไม่ยอม จ่ายของหลายโรงพยาบาลนัน้ ด้วยในปีงบประมาณ 2555 สำ�นัก งบไม่ได้ตงั้ งบไว้เพือ่ การนี้ งบทีไ่ ด้รบั ในปี 2555 เราใช้ไปจ่ายค่า ตอบแทนปี 2556 และตอนนี้ทราบว่าสำ�นักงบตั้งงบขาขึ้นไป 3000 ล้านเพื่อนำ�มาจ่ายทดแทนงบปี 2555 (ต้องมีการแก้ไข ระเบียบของสำ�นักงบเพื่อให้สามารถทำ�ได้) หลายโรงพยาบาล อาจได้รบั เงินไปแล้ว บางทีไ่ ด้รบั เลย บางทีเ่ ป็นเงินยืม หรือบางที่ เล่นเกมส์เศรษฐี (แจ้งแต่ยอดเงิน) ข้อเท็จจริงก็ประมาณนีล้ ะค่ะ วารสารทันตภูธร 26 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
การปรับค่าตอบแทน P4P หรือการจ่ายค่าตอบแทน ตามผลการปฎิบตั งิ านนัน้ ในวันที ่ 12 มิถนุ ายนมีการประชุมและ ท่านรองปลัดท่านมาแจ้งว่า ท่านปลัดตัง้ ใจจะเซ็นประกาศ P4P ให้มีผลวันที่ 1 กรกฎาคม ซึ่งเรื่องเมื่อประกาศนี้ออกแล้ว รพท. รพศ. จะมีเวลาดำ�เนินการอีก 3 เดือน (หากดำ�เนินการยังไม่เข้า ที่ สามารถจ่ายเงินตามมาตรา 7 ได้อยู่ แต่หากเกินสามเดือน ไปแล้วรพ.จะเดือดร้อนเพราะมาตรา 7 ก็จ่ายไม่ได้ และไม่มี ระเบียบใดที่จะเอามาจ่ายเงินที่เคยจ่ายกันไปแล้วได้) ประกาศ นีม้ คี มู่ อื ประกอบ คือประกาศให้ด�ำ เนินการสอดคล้องกับคูม่ อื ซึง่ มีความหนา 170 แผ่น ส่วนทันตกรรมเรามี 2 version มี version รพศ และ version รพช. ขอแนะนำ�ว่า หากต้องดำ�เนินการ ใน ช่วงแรกขอให้แบ่งเงินแยกตามฝ่ายและนำ�เกณฑ์ P4P มาวัดกัน ในฝ่าย อย่างเริ่มจากการคลุกเงินทั้งโรงพยาบาลและใช้เกณฑ์ กลางนะคะเพราะทันตฯจะเสียเปรียบฝ่ายอื่นๆ มาก ค่าที่งาน เราเป็นงานหัตถการ ไม่สามารถ ’รับไม่อั้น’ ได้ พี่ธรณินทร์รพศ. หาดใหญ่ ท่านเป็นผู้นำ�เกณฑ์รพศ. แลได้ทดลองใช้การแล้วนะ คะ (เพือ่ สงสัยจะได้สอบถามพีเ่ ขา ต้องช่วยกันปรับตัวให้ทนั ค่ะ) เรือ่ ง P4P นีจ้ ะมีการเดินหน้าประชุม 3 ภาคช่วงเดือน มิย.-กค นี)้ เพื่อกระจายความเข้าใจ และให้ซักถาม
สำ�หรับรายละเอียดเกีย่ วกับ P4P ท่านสามารถหาอ่านได้ที่ เวบกระทรวง ->ปุ่ม E-report -> (ซ้ายล่าง) ค่าตอบแทน พตส. -> P4P (มุมขวาบน) เริ่มเรียนแล้วจ้า เริ่มเรียนแล้ว ทันตา 2 ปีหลักสูตร “รอง นิทัศน์จัดให้” เท่าที่ทราบยอดการคัดเด็กเข้าเรียนทะลุเป้า หมาย (สมาชิกหลายคนคงแปลกใจ เพราะทั้งที่ Career path ยังไม่สดใสนัก ก็ยังมีนักเรียนสนใจสมัครเรียนกันมาก) โดย เฉพาะทางภาคอิสาน บางรายยอมสละสิทธิ์ที่นั่งเรียนปริญญา ตรีเพื่อมาเรียนทันตาภิบาล เหตุผลส่วนหนึ่งน่าจะอยากทำ�งาน ทีม่ นั่ คง และได้อยูใ่ กล้บา้ นไม่ตกงานและมีความมัน่ คงในอาชีพ ส่วนภาคกลางโดยเฉพาะเขตปริมณฑลหานักเรียนสายวิทย์ จบด้วย GPอย่างน้อย 2 หาได้ยากมาก เพราะไปเรียนสาขาอื่น กันไปหมดแล้ว ในปีแรกยังคงขลุกขลัก แต่กน็ บั ว่าเริม่ ได้ดสี �ำ หรับข้อจำ�กัด และเงื่อนเวลาที่มีอยู่ ในปีแรกนี้ท้าทาย วสส.ทั้งหลายมากว่า ต้องเพิม่ กำ�ลังผลิตถึงสองเท่า แต่ยงั รักษาคุณภาพได้ดงั เดิมนัน้ จะทำ�กันได้อย่างไร งานนี้ท่านนิทัศน์ท่านให้ความสำ�คัญมาก ติดตามทีม วสส. ด้วยตนเองอย่างสม่ำ�เสมอ อาจารย์จากวสส. ก็ตระเตรียมคู่มือการฝึกงานอยู่และคาดว่าน่าจะจะสามารถ เตรียมพื้นที่ได้ทันการส่งนักเรียนไปฝึกงานในปีหน้า เมื่อต้อง ผลิตแล้วก็ต้องช่วยกันทำ�ให้ได้ดีที่สุดค่ะ ความก้ า วหน้ า ของทั น ตา ที่เราดั้นด้นเดินทางกันมา สามร้อยลี้ ก็ยงั ดัน้ ด้นก็ตอ่ ไป โดยในปีนจี้ ะมีการตัง้ กรรมการเพือ่ ดูแลกำ�ลังคนทันตบุคคลากรที่ Focus ที่ทันตาภิบาล โดยให้ท่า นรองปลัดทีด่ แู ลสายกำ�ลังคนเป็นประธานและเชิญตัวแทนจาก ทันตแพทยสภา สมาคม ชมรมทันตแพทย์ สสจ. ทันตแพทย์ โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุ ข และทั น ตภู ธ ร สมาคม
ทันตาภิบาล รวมทั้ง ทันตแพทย์สมาคม สมาคมทันตแพทย์ เอกชนไทย เข้าร่วมเป็นกรรมการ โดยมีข้อเสนอจากกรรมการ ว่า ขอให้สัญญากับวิชาชีพเราได้ไหมว่าเมื่อผลิตทันตาสองปี รุ่นนี้แล้วเสร็จ ขอให้เลิกผลิตทันตา 2 ปีจริงๆ และหันไปเน้น การพัฒนาเพิ่มเป็น 4 ปี เพื่อปรับบทบาทมาทำ�งานเชิงรุกให้ มากขึ้ น ขอให้ ผู้ ใ หญ่ ทำ � MOU กั บ พวกเรา เพราะเรารอที่ จะดันเรือ่ งความก้าวหน้าและปรับบทบาททันตากันมานานแล้ว) เรื่อง ICD 10 Tm นั้น หลายโรงพยาบาลแก้ไขแล้วเมื่อ ตรวจด้วยโปรแกรมตรวของสปสช ไม่ผ่าน แต่หากส่งข้อมูล ให้สปสชไปตรวจเองถึงจะผ่านหมด ยังไงก็ขอให้ท่านๆยืนยัน ใช้ ICD 10 ใหม่ล่าสุดกันนะคะ เราต้องพยายามใช้”ภาษา เดียวกัน”ในการเรียกหัตถการทั้งหลายของเราก่อน อีกหน่อย เมื่อส่งข้อมูล 18 แฟ้ม 41 แฟ้มหรือกี่แฟ้มเข้ามา หากเราทุก คนใช้ภาเดียวกันในการเรียกหัตถการเดียวกันแล้ว ส่วนกลาง น่าจะสามารถจับรายงานเองจากก้อนข้อมูลที่เราส่ง จะได้ หมดสมัยจดๆ ขีดๆ กันเสียที เอาเวลาที่มีค่าไปทำ�ให้ประชาชน สุขภาพดี ดีกว่ามานั่งจดขีด แจงนับมากมาย (แต่ระหว่างการ เดินทางเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์นั้น ท่านก็ต้องอดทนนะคะ ทั้งเขียนแล้วคีย์ คีย์แล้วก็คีย์อีกนั่นแหละ จนมั่นใจว่าได้ทุก รายงาน ตอบทุกระดับ จังหวัด อำ�เภอ กระทรวง ครู ฯ ค่ า ตอบแทนฟั น เที ย ม สปสช. ที่ ไ ด้ รั บ 4,400 บาท ต่อ complete denture กันมาระยะหนึง่ ตอนนีค้ ณ ุ หมออรรถพร เริ่มขยับจะเรียกประชุมเพื่อปรับอัตราแล้ว ก็หวังว่าจะช่วยกัน ทำ�ให้ได้ค่าตอบแทนที่พอฟัดพอเหวี่ยงกับ unit cost ที่รวม ค่าแรงแล้ว (ช่วงหลังนี่ค่าแรงขึ้นมาก เราต้องขอขึ้นกะเขามั่ง) และจะช่วยให้บางแห่งสามารถเกณฑ์เอกชนมาช่วยทำ�ฟันเทียม กันไปได้บ้างค่ะ แล้วจะรายงานค่ะว่าได้เท่าไร ยังไง
วารสารทันตภูธร 27 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
เรื่องเล่าจากภูอังลัง : เกี่ยว/ไม่เกี่ยว กับกองทุนทันตกรรม
หมอฟันไทด่าน dansaiamr@gmail.com
พี่แพร คนโต (ตัวไม่ใหญ่) แห่งบางใหญ่ บอกให้ผมช่วยเขียน ถึงกองทุนทันตกรรม ตอนแรก ผมปฏิเสธไป ด้วยเหตุว่าการมีหรือไม่มีของกองทุน ทันตกรรมไม่มีผลอย่างมีนัยสำ�คัญต่อการทำ�งานของผม เพราะที่ โรงพยาบาลผม วัฒนธรรมการทำ�งาน คือ ไม่ว่าได้เงินมาจากแหล่ง ไหนก็ให้เอามารวมพูลไว้ทเี่ งินบำ�รุงก่อน แล้วหากฝ่ายไหนหน่วยงาน ใดจะใช้เงิน ก็ต้องมาเสนอ defense ต่อคณะกรรมการฯ ซึ่งแน่นอน ประกอบด้วยขาใหญ่บิ๊กเบิ้มของโรงพยาบาล และต้องตอบให้ได้ว่า กิจกรรมที่ต้องการใช้เงินนั้นตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนา หรือ ยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลอย่างไร แต่ถึงเวลาจะขอจริงๆ ก็ไม่ได้ ถึงกับยุง่ ยากซับซ้อน เพียงแต่หากเราแสดงว่าเราอยากทำ�สิง่ ใด ด้วย เหตุอันใด มีผลดีกับชาวบ้านที่เราดูแลอย่างไร ส่วนมากก็ได้ตังค์มา ทำ�งาน เพียงแต่หากเป็นค่าตอบแทน ก็จะมีกรอบของโรงพยาบาล ที่จัดวางไว้เพื่อกันความเหลื่อมลํ้าระหว่างหน่วยงาน หรือหากจะไป ทำ�โครงการเฟ้อๆ เช่น ซื้อของไปไล่แจกชาวบ้าน หรือดูงานหน่อยๆ เทีย่ วเยอะๆ แบบนัน้ คณะกรรมการขาใหญ่ฯ ทีว่ า่ ก็คงไม่เห็นดีดว้ ย แม้ผมจะรู้สึกอยากๆ เอาตังค์ที่ว่าพาลูกน้องไปล่องเรือสำ�ราญแถว ทะเลอันดามันบ้าง แต่ก็ได้แต่ข่มจิต...ห้ามใจไว้ สรุปว่าผมก็ทำ�งาน ตามจังหวะก้าวของตัวเอง งบประมาณก็มีให้ใช้ตามสมควร ไม่เฟ้อ หรือขาดแคลน ทั้งก่อนหรือหลังมีกองทุนทันตกรรม แต่สดุ ท้ายผมก็จ�ำ ยอมเขียนให้พแี่ พร ด้วยพีแ่ กยืนยัน คงอยาก ฟังแนวคิดเพี้ยนๆ ของคนชายขอบกระมัง ถ้าจะขยายแนวคิดที่ว่า ผมถือหลักยึดว่า “ทำ�อย่างไรก็ได้ ให้ คนอำ�เภอผม มีสขุ ภาพช่องปากทีด่ ”ี และไม่วา่ กองทุน หรือจะหน่วย งานใดๆ เหนือไปจากผม ก็นา่ จะรับกับหลักยึดนีไ้ ด้ เพราะมันฟังแล้ว ออกจะดูด(ี ไหม) และกิจกรรมหรือนโยบายใดๆ ทีข่ ดั แย้งหรือบัน่ ทอน ให้การใช้ทรัพยากรเบี่ยงเบนไปจากหลักยึดนี้ (เช่น วิเคราะห์โดย หลัก cost – effectiveแล้วมันมีอย่างอื่นคุ้มค่าและน่าทำ�กว่า) ผม ก็ขออนุญาตที่จะจัดมันเป็นลำ�ดับความสำ�คัญท้ายๆ หรือจะใช้คำ� ว่า ”เพิกเฉย” ก็อาจจะพอได้ในบางเรือ่ ง...อย่าให้ยกตัวอย่างเลย จะ โกรธกันเปล่าๆ วารสารทันตภูธร 28 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
การจะรูว้ า่ ชาวบ้านในดูแลเรามีสขุ ภาพช่องปากดีหรือไม่กค็ วร มีขอ้ มูลสภาวะทันตสุขภาพ ทีเ่ ชือ่ ถือได้ พร้อมใช้และถูกเอามาใช้ คิด วิเคราะห์ ดูแนวโน้ม (trend) ผมชอบคำ�ว่า “แนวโน้ม” มาก มันน่าดู กว่ามาตรฐาน เป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นไหนๆ เพราะบางทีดูเป้าแล้วทำ� อะไรไม่ได้ ได้แต่นั่งเครียดเล่นไปวันๆ เช่น caries free 3 ขวบ ผม เก็บข้อมูล 4-5 ปี (เก็บจากเด็กทุกคน ไม่ได้สุ่ม) ก็พอเห็นแนวโน้ม ว่ามันดีขนึ้ เพราะเราใส่กจิ กรรมเข้าไปพอสมควร มันเคยต่�ำ เตีย้ แถว 10 กว่าๆ จนมาร้อยละ 30 หน่อยๆ อย่างนี้ผมก็ควรพอใจ happy มี ความสุข และทำ�งานหนักต่อไปเพือ่ ให้เด็กกลุม่ นีฟ้ นั ดีขนึ้ โดยไม่ตอ้ ง ไปนั่งเครียดว่ามันยังต่ำ�กว่าเป้าประเทศที่ร้อยละ 40 หรือเด็ก 12 ปี caries free สักร้อยละ 60 กว่าๆ DMFT 0.8 อันนี้ก็พอบอกได้ว่าฟัน เด็กประถมฯ เราน่าจะบรรลุเป้าแล้ว(มั้ง) แต่เราก็ยังต้องทำ�งานต่อ ถ้าเราไม่เน้นกลุ่มนี้แล้ว เราก็ไม่ควรปล่อยมันหล่นจากมือทันที แต่ ควรตัง้ มาตรฐานการทำ�งานของเราไว้ (ประกันคุณภาพ-QA quality assurance) เพื่อเป็นลิ่ม ไม่ให้มันแย่ลง...ครับ ถ้าเราทำ�งานแบบ จับจด หลักลอย สมาธิสั้น ตามบัญชาการต่อใครมากมายบนหัวเรา อยูต่ ลอดเวลาโดยไม่พจิ ารณาแยกแยะ สุดท้ายเราอาจจะไม่ได้อะไร เป็นชิ้นเป็นอันติดไม้ติดมือไว้เลย การให้ชาวบ้านทีเ่ ราดูแลมีสขุ ภาพช่องปากทีด่ ี คนเท่หๆ์ เขามัก พูดกันว่าเน้นเชิงรุกเข้าไว้ อย่าไปตั้งรับมาก คำ�พูดเท่ห์ๆ แบบนี้ใคร ก็พูดได้ บางทีพวกที่ว่าก็ไม่ได้รับรู้ treatment need ของชาวบ้านที่ มันมีมาก ซ่อนอยู่เป็นฐานใหญ่ของภูเขานํ้าแข็ง ลองประเมินเล่นๆ แค่จากการที่จำ�กัดคิวบริการในสถานบริการ (ส่วนใหญ่...หรือเปล่า ไม่รู้) คนที่มาช้าจับคิวทำ�ฟันไม่ได้เสียที มีมากมหาศาลแค่ไหนทั้ง ประเทศในแต่ละวัน (คนไข้นี้ need แล้วแสดงออกว่า need คนที่ เขาไม่แสดงออกก็ยังมีอีก) การจัดบริการจึงควรจัดให้อย่างน้อยให้ เต็มกำ�ลังของทรัพยากรที่มีอยู่ (เพิ่มผลิตภาพ productivity และ ประสิทธิภาพของระบบ) หรือบางทีการเติมทรัพยากรบางอย่างเข้าไป แล้วทำ�ให้เราให้บริการมากขึน้ (โดยประเมินว่าสิง่ ทีเ่ ติมเข้าไปคุม้ กับ สิ่งดีๆ ที่จะเกิดขึ้น คือมี marginal product มากพอ) ก็อาจต้องทำ� (ดีกว่ากอดเงินบำ�รุงเล่นๆ หลายสิบล้านบ้านของบางโรงพยาบาล...
ไว้ให้อตั ราเงินเฟ้อกร่อนค่าของเงินเล่น) เช่น ผมใช้เจ้าหน้าทีต่ อ้ นรับ 1 คน อยู่ที่จุดรับคนไข้ของฝ่าย น้องจบม. 6 จ้างไม่กี่พัน ทำ�หน้าที่รับ คนไข้ ทำ�บัตร Screen จิปาถะ แทนทีจ่ ะใช้พที่ นั ตาฯ เราก็ให้พเี่ ขาไป ทำ�งานที่เหมาะและคุ้มกับศักยภาพเขามากกว่า หรือ การมีคนขับ รถประจำ�ฝ่าย ทำ�ให้การออกหน่วยเรามีประสิทธิภาพ เพราะขับรถ จัดการเด็ก เป็นผู้ช่วยฯ ในคนเดียว สะดวกใช้งาน ไม่ต้องรอคนขับ รถสลับสับเปลี่ยนหน้าเข้ามาแล้วแทบไม่ช่วยเราทำ�อะไรเลย...นั่ง เต๊ะจุ๊ยอย่างเดียว นอกจากต้องเติมอะไรเข้าไป บางทีการจัดการบางอย่างภายใต้ ทรัพยากรทีม่ ี ปรับระบบให้ดขี น้ึ บางทีเราก็จะจัดบริการได้ทง้ั มากและ ดีขน้ึ องค์ประกอบสำ�คัญบางอย่างก็ต้องจัดการให้เอื้อต่อ “การเข้า ถึงบริการ” (คำ�นี้ เป็นคำ�หวานของสปสช. เจ้าของเงินกองทุนฯ เขา ชอบฟังแน่ๆ) องค์ประกอบที่ว่า หลายที่ขาดแม้มีบุคลากรมากมาย แต่ไม่สามารถทำ�ให้ทนั ตบุคลากรทำ�งานได้เต็มกำ�ลังความสามารถ นั่นคือตึก ห้อง หรือสถานที่ให้บริการทันตกรรม รวมทั้งยูนิตที่พร้อม ใช้ไม่งอแง สามวันดี สี่วันไข้ ถ้าเป็นไปได้หากไม่ทำ�แค่กลับไปต่อว่า สถาปนิกกระทรวงฯ ที่ชอบออกแบบห้องเราให้คับแคบอึดอัด ก็คง พึ่งหลักตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน หาเงินบริจาค หรือหากมากเงินบำ�รุง ก็เจียดมาทำ�ห้องฟันใหม่สัก 2-3 ล้านจะเป็นการดีมากครับ ผมว่า ช่วงนีเ้ ป็นกระแสเลยครับ ทีจ่ งั หวัดผมก็ท�ำ ท่าๆ อยูห่ ลายทีท่ กี่ �ำ ลังวาด แบบห้องฟันใหม่กนั อย่างขยันขันแข็ง และการทำ�ตึกใหม่ทงั้ ที ให้รวี วิ มาตรฐานทีเ่ กีย่ วข้องให้เรียบร้อยเสร็จสรรพ อย่าให้พลาด การระบาย อากาศ ความหนาของห้อง x-ray การแยกโซนวางเครื่องมือสะอาดสกปรก ฯ อย่าให้พลาด ไม่งั้นกลับมาแก้ทีหลังมันยาก ทำ�ให้เสียเงิน เสียเวลา และอาจโดนด่าว่าโง่ให้เจ็บใจเล่น ส่วนการคำ�นวณจำ�นวน ยูนิตให้เพียงพอ หากยังไม่มีปัญญาซื้อยูนิตเพิ่มก็เผื่อที่ไว้หน่อย ที่ โรงพยาบาลผมคำ�นวณไว้ 1 ยูนิตต่อประชากร 1 หมื่น จัดไป 5 ตัว เพิ่มจาก 3 ตัวตอนอยู่ตึกเก่า สุดท้าย...ก็ไม่พออยู่ดี โรงพยาบาลไหนมีออกหน่วยบ่อยๆ (ที่รพ.ผมออกทุกวัน) การ มีรถเป็นของตัวเองก็จะช่วยให้เราทำ�งานได้อย่างเต็มที่และสะดวก มีทั้งรถ ทั้งคนขับ ที่ฝ่ายมีรถมา 17 ปีแล้ว มันลดความน่าเบื่อของ
การนัง่ ขอรถ แย่งรถแย่งคนขับไปได้เยอะเลย ช่วงปิดเทอมไม่ได้ออก ทุกวัน มีวันว่าง คนขับรถของเราก็แปลงกายกลับมาเป็นผู้ช่วยใน ฝ่ายฯ ใช้ได้สารพัดหน้าที่ ด้วยเหตุผลทีว่ า่ ผมเลยพาลไม่ได้สนใจว่ากองทุนฯ เขาต้องการ อะไร (กันแน่) แต่ดว้ ยแม่เขาคือ สปสช. ก็คงเดาได้ไม่ยาก อย่างน้อย แน่ๆ เขาต้องการการเขาถึงบริการทันตกรรม ส่วนกลุ่มเป้าหมายเชิงรุก (ซึ่งมันน่าจะรับ-รุกไปด้วยกัน เพราะ งานช่องปากมันแยกกันยาก) ก็ควรเอาข้อมูลสุขภาพช่องปากมาดู เด็กประถมฯ อย่างไรเสียก็ไม่ควรทิ้ง และควรจะเน้นทั้งหมด มากไป กว่าชัน้ ใดชัน้ หนึง่ หากคิดอะไรไม่ออก เด็กทีฟ่ นั แท้ผแุ ล้วก็ควรได้รบั การรักษา และช่วยกันตอบโจทย์ให้ได้วา่ ทำ�อย่างไร ฟันเด็กประถมฯ เหล่านี้ถึงไม่ผุเพิ่ม ส่วนกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ก็ควรวางกรอบให้ชัดว่า จะรุกแค่ไหน จะรับอย่างไร เรามีทรัพยากรจำ�กัด การ focus กับสิ่งสำ�คัญๆ นั้นจำ�เป็น มากกว่าเราจะใช้ทรัพยากรเปล่าเปลืองอย่างเบีย้ หัวแตก หลัก 80/20 ของ Pareto Principle ควรคิดถึง และค้นหาให้เจอว่าอะไรคือ 20 % สำ�คัญๆ ที่ว่า หนึ่งในสิ่งที่สำ�คัญที่สุด คือ “ทีม” (คนสำ�ราญ งานสำ�เร็จ) เรามี ศักยภาพเพียงพอหรือยังต่อการสร้างทีมทีฮ่ กึ เหิม ปราดเปรียวสูง้ าน หรืออย่างน้อยก็ไม่สร้างปัญหาให้แก่กนั และกันมากเกินไป การใช้งบ ประมาณทีเ่ พียงพอต่อการพัฒนาทัง้ หัวหน้าทีมทีไ่ ปดูแลทีม หรือการ สร้างทีมด้วยวิธีที่เหมาะที่ควร ก็ควรพิจาณาเป็นสิ่งแรกๆ สิง่ ทัง้ หลายทัง้ ปวงทีเ่ ล่าสูก่ นั ฟังพอสังเขป มันก็ถกู เขียนไว้หมด แล้วในมาตรฐานอย่าง HA ที่เราๆ นๆ ก็ใช้กันอยู่ เพียงแต่เราจะเอา จะเน้น อะไรก่อน-หลังแค่นนั้ เพราะถ้าอยากได้ให้ดที งั้ หมดแบบด่วน ได้ คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อีกอย่างที่อยากฝากตัว body ของกองทุนฯ เอง ผมว่า การ บริหารจัดการ ติดตามวิเคราะห์ ประเมินฯ ให้คล่องแคล่วจริงจัง อย่าง เข้าอกเข้าใจอาจจำ�เป็นต้องมีมือดีๆ ที่ active ไว้คอยดูภาพรวมตรง กลางสัก 2-3 คน การจัดการสือ่ สารภายในทันตบุคลากรกันเอง ก็ตอ้ ง เลือก-ประเมินให้ดีว่าเรื่องใดจะใช้ช่องทางใด (เช่น ผ่านสปสช.เขต/ ศูนย์เขตฯ / สสจ. หรือตรงสู่ CUP โดยตรง) ให้เกิดการรับรูส้ งู สุด และ นำ�ไปสู่การปฏิบัติจริง ครับ กองทุนฯ ของเราได้ออกเดินทางมาแล้ว และเราคงต้อง เดินต่อไป...ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ส่วนเรื่องเล่าของผมตรงนี้หากไม่เกี่ยวกันสักนิดกับกองทุน ทันตกรรม ก็ถือเสียว่าเป็นบทพร่ำ�พรรณนาของทันตแพทย์ชายขอบ คนหนึ่งก็แล้วกันครับ ขอบคุณภาพประกอบ จาก ทพญ.มยุรฉัตร ฉายอรุณ รพช.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา วารสารทันตภูธร 29 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ความกังวลในการที่จะเป็นครูนักเรียนทันตาภิบาล รุ่นผลิตเร่งด่วน 3000 ตำ�แหน่ง
ทพญ.พจนา พงษ์พานิช โรงพยาบาลเวียงแก่น จ.เชียงราย
หลังจากกระทรวงสาธารณสุขจัดทำ�โครงการผลิตทันตา ภิบาล เพื่อปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลเป็น กรณีเร่งด่วน จำ�นวน 3,200 คน ระหว่างปี 2555-2556 ผลิตปีละ 1,600 คน ใช้งบประมาณจากสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติปีละ 30 ล้านบาท โดย ในปีแรกเรียนที่วสส. และปีที่ 2 ออก ฝึกคลินิกตามโรงพยาบาลสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข ที่ให้ เป็นหน่วยร่วมผลิต(CUP) รุ่นแรกประมาณ 1,600 คนทั่วประเทศ โดยจำ�นวนรายวิชาทีต่ อ้ งช่วยสอน ทัง้ หมด 6-7 รายวิชา คิดเป็น 14- 16 หน่วยกิต หากคิดง่ายๆ เฉลีย่ สอนนักศึกษาทันตาภิบาล โรง พยาบาลละ2 คนและโรงพยาบาลใช้ 1unit จะต้องมีโรงพยาบาล ประมาณ 800 แห่งมีทันตแพทย์อย่างน้อย 800 คน (ซึ่งเป็นไปได้ น้อยที่แต่ละโรงพยาบาลจะให้ทันตแพทย์แค่ 1 คนคุมสอน) ต้อง เกีย่ วข้องกับการผลิตนักศึกษาทันตาภิบาลครัง้ นีป้ ระมาณ 6 เดือน ต่อปี ซึง่ ต้องมีผลกระทบในการจัดบริการทันตกรรม ซึ่งเป็นภารกิจ หลักของโรงพยาบาลอย่างแน่นอน ต้องบอกว่าตอนแรกที่ได้ยินข่าวโครงการนี้ดีใจมากและเห็น ด้วยอย่างยิง่ ทีจ่ ะมีเพราะเป็นทีร่ กู้ นั ในวงกว้างว่าทันตาภิบาลเป็น ตำ�แหน่งที่ขาดแคลนจริงๆ หากดูอัตราการผลิตได้แต่ละปีที่ผลิต ออกมา โอกาสทีอ่ �ำ เภอเล็กๆ หา่ งไกล จะได้รบั จัดสรรทันตาภิบาลให้ เพียงพอคงเป็นไปได้ยาก เมือ่ คิดตามสัดส่วนรพ.สต.หรือประชากร ก็ตาม จะพบว่าอำ�เภอใหญ่ๆ จะขาดแคลนกว่าเสมอ จึงดีใจ ยิ่ ง นั ก ที่ เ ร า จ ะ มี โ อ ก า ส ไ ด้ รั บ ทั น ต า ภิ บ า ล เ พิ่ ม ใ น อี ก 2 ปี ข้ า งหน้ า และเป็ น เด็ ก จากพื้ น ที่ เ ราเองอี ก ต่ า งหาก จึ ง ยิ น ดี ที่ จ ะช่ ว ยร่ ว มผลิ ต อย่ า งเต็ ม ที่ แ ต่ เ ร า ก็ มี ข้ อ กั ง ว ล ว่ า เราในฐานะทั น ตแพทย์ ที่ ป ฏิ บั ติ ง านกระทรวง สาธารณสุ ข ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้บริการคนไข้ให้เต็ม วารสารทันตภูธร 30 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ความสามารถ ถูกต้อง ปลอดภัยตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยที่ ผ่านมาไม่ได้มหี น้าทีส่ อนนักศึกษา หรือถ้าหากสอนก็เป็นการ ฝึกงานในชุมชนไม่ได้สอนการให้บริการทันตกรรมมาก่อน เกิดคำ�ถามขึ้นมาว่า 1. หากให้เราสอนนักศึกษาทันตาภิบาลในการปฏิบัติคลินิก ในการให้บริการคนไข้ มีกฎหมายข้อใดรับรองการสอนของเรา หรือไม่ (มีผู้รู้อธิบายว่าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ผลิตนักศึกษา ทันตแพทย์ได้มกี ฏหมายรับรองเพราะเป็นสถาบันการศึกษาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีหน้าที่ฝึกให้ความรู้โดยตรง) 2. ส่ ว นของสิ ท ธิ ผู้ ป่ ว ย ที่ จ ะให้ นั ก ศึ ก ษาทั น ตาภิ บ าลฝึก ปฏิบตั คิ ลินกิ (ถึงแม้หลายๆ คนจะอ้างว่าให้ปฏิบตั กิ บั เด็กนักเรียน ก็ตาม) ควรจะดำ�เนินการอย่างไร เพราะคนไข้ทเี่ ดินมารักษาในโรง พยาบาลคงคาดหมายว่าจะได้รบั การบริการทันตกรรมจากบุคคล ที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ 3. หากมีขอ้ ผิดพลาดเกิดขึน้ ในขณะทีน่ กั ศึกษาปฏิบตั งิ านกับ คนไข้ แล้วมีกรณีร้องเรียนหรือฟ้องร้องเกิดขึ้น คนไข้จะสามารถ ฟ้องเอาผิดกับใคร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ทันตแพทย์ผู้ควบคุม โรงพยาบาลที่เกิดเหตุ หรือกระทรวงสาธารณสุข (มีหนังสืออะไร เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่) ข้อกังวลนี้เป็นแค่เรื่องใหญ่ๆ ที่คิดว่าไม่สามารถมีทางออก จัดการกันได้ภายในจังหวัดเท่านั้น ส่วนปัญหารายละเอียดปลีก ย่อยอืน่ ๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ พวกเราก็ยนิ ดีทจี่ ะร่วมกันแก้ปญ ั หาเพือ่ ให้ สามารถผลิตบุคลากรออกมาอย่างมีคุณภาพสามารถทำ�งานเป็น ทีมทันตบุคลากรที่เราต้องการต่อไป
รายงานข่าวจากโต๊ะที่ประชุมทันตแพทยสภา 9 สค. 55 โดย ผศ. ดร.ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์ จากทันตกรรมชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามที่ผมได้นำ�เรื่องความกังวลในการที่จะเป็นครูนักเรียน ทันตาภิบาลรุ่นผลิตเร่งด่วน 3000 ตำ�แหน่งที่กังวลกันและมีข้อ คำ�ถามต่อการจัดการเรียนการสอนนักเรียนทันตารุ่นเร่งรัด 2 ปี (2555-2557) ผมจึงได้ตั้งเป็นวาระเพื่อพิจารณาในที่ประชุมทันต แพทยสภาวันที่ 9 สค. 55 ทีผ่ า่ นมา และได้ตงั้ ประเด็นให้กรรมการ ทันตแพทยสภาช่วยกันหาคำ�ตอบหรือทางออกให้ทันตแพทย์ใน พื้นที่ที่มีความกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ก่อนอื่นผมพยายามบอกต่อที่ประชุมนี้ว่า ผมไม่ได้ขัดแย้ง หรือขัดขวางนโยบายนี้ ผมยินดีให้ความร่วมมือ แต่ผมกังวลต่อ กระบวนการ (process) จึงต้องนำ�ประเด็นนีเ้ ข้าวาระการประชุม เพื่อช่วยกันพิจารณา 1. มี ก ฎข้ อ บั ง คั บ ใดที่ นั ก เรี ย นทั น ตาภิ บ าลสามารถ ทำ�งานกับช่องปากคนไข้ ในที่ประชุมและนายกทันตแพทยสภาได้แจ้งว่า สบช. จะทำ�คำ�สั่งพิเศษให้ รพช.ที่เป็นหน่วยร่วมสอน สามารถอนุญาต ให้นักศึกษารักษาผู้ป่วยใน รพช.ได้ภายใต้การควบคุมดูแลของ ทันตแพทย์ 2. สิทธิผู้ป่วย ทางรพช.ต้องแจ้งคนไข้ก่อนใช่ไหม ทางโรงพยาบาลต้ อ งแจ้ ง ผู้ ป่ ว ยให้ รั บ ทราบและ ยินยอมก่อน เนื่องจาก รพช.ไม่ได้มีความชัดเจนเท่าคณะทันตแพทยศาสตร์ รพช.มีกระบวนการสอนนักเรียนทันตาภิบาล ในพืน้ ที่ หรือห้องฟันเดียวกับการให้บริการทันตกรรมปกติ จึงต้องมีการเตรียม พืน้ ทีใ่ ห้ชดั เจน 3. ถ้าเกิดการฟ้องร้อง ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ทันตแพทย์ใน รพช.ต้องรับผิดชอบ 4. หลักสูตรการเรียนการสอนทีใ่ ช้สอนนี้ ยังไม่สอดรับ กับบทบาททันตาภิบาลทีพ ่ งึ ประสงค์ทท่ี างทันตแพทยสภาได้ ประกาศไว้ กรรมการหลายท่านชี้แจงว่า บทบาททันตาภิบาลที่พึง ประสงค์ที่ทางทันตแพทยสภาได้ประกาศไปแล้ว เป็นบทบาท สำ � หรั บ หลั ก สู ต รทั น ตาภิ บ าล 4 ปี แต่ ใ นกรณี นี้ เ ป็ น การใช้ หลักสูตร 2 ปีที่ตามข้อบังคับของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2539 อย่างไรก็ตามก็มีกรรมการอีกหลายท่านเห็นแย้งว่า ถ้าหลักสูตร ทันตาภิบาลที่ใช้ใน 2 รุ่นนี้มี competency มากกว่าหลักสูตร 4 ปี ก็ยิ่งทำ�ให้เกิดความสับสนต่อการผลิตทันตาภิบาล นอกจาก นี้ กรรมการอีกหลายท่านก็เห็นว่า สถานการณ์เช่นนี้ควรพลิก วิกฤตให้เป็นโอกาส เสนอต่อผู้บริหารให้ใช้บทบาททันตาภิบาล ที่พึงประสงค์ที่ทางทันตแพทยสภาได้ประกาศ ทั้งนี้ เป็นบทบาท
ส่ ง เสริ ม ป้ อ งกั น และควบคุ ม โรคในช่ อ งปากตามนโยบายของ กระทรวงสาธารณสุขในการผลิตเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข หลักสูตรพิเศษ 2 รุ่นนี้ เพราะในหลักสูตรที่ทางสบช.เสนอต่อ ทันตแพทย์ในพื้นที่ในที่ประชุมร่วมของสบช.กับทันตแพทย์ใน วันที่ 6-10 ส.ค.55 มี 1. งานวินิจฉัยโรคในช่องปากและศัลยกรรม ประกอบด้วย วินจิ ฉัยและวางแผนการรักษาผูป้ ว่ ยเอ็กซเรย์ Periapical film และ Bite wing ถอนฟันนํา้ นม และ ถอนฟันแท้ (Local infiltration) เย็บแผลในช่องปาก ล้างแผล / ตัดไหม 2. งานทั น ตกรรมป้ อ งกั น ประกอบด้ ว ย ขู ด หิ น นํ้ า ลาย เคลือบหลุมร่องฟันฟันกรามใหญ่ ฟันกรามน้อย เคลือบฟลูออไรด์ เจล หรือฟลูออไรด์วานิช ให้ทันตสุขศึกษา ฝึกแปรงฟันและนัด Recheck 3. งานทันตกรรมบูรณะอุดฟัน Class I Class II Class III Class V PRR และ ขัด amalgam ที่ประชุมได้ใช้เวลาการอภิปรายร่วม 2 ชั่วโมงมีมติให้ 1. ทันตแพทยสภา ทำ�หนังสือถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้อำ�นวยการสบช. เพื่อแจ้งให้ทราลว่า ทันตแพทยสภามี ความเห็นว่านโยบายการผลิตทันตาภิบาล 3,000 คนในสองปีนี้ เป็นนโยบายที่ดี เพื่อจะให้มีทันตบุคลากรปฎิบัติงานใน รพสต. ตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวเน้นการส่งเสริม ป้องกันและการควมคุมโรค ทันตแพทยสภาได้พิจารณาแล้วเห็น ว่า หลักสูตรทีท่ างสบช.ได้น�ำ เสนอต่อทันตแพทย์เพือ่ ใช้ในการฝึก นักเรียนทันตาภิบาลกลับให้ความสำ�คัญกับทันตศัลยกรรม (ถอน ฟัน) และการอุดฟัน ดังนัน้ เพือ่ ให้กระบวนการผลิตทันตาภิบาลเป็น ไปด้วยดี เห็นสมควรที่จะใช้ competency ของทันตภิบาลที่ทันต แพทยสภาประกาศ 2. ทันตแพทยสภาทำ�หนังสือและส่ง competency ของ ทันตาภิบาลที่ทันตแพทยสภาได้ประกาศไปแล้วให้รับทราบ 3. ควรส่งcompetency ของทันตภิบาลที่ทันตแพทยสภา ได้ประกาศให้ทันตแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขรับทราบเพื่อจะ ได้ใช้ในการฝึกอบรม นักเรียนทันตาภิบาล ผมรับทราบมาว่า สบช.ได้เชิญผูแ้ ทนทันตแพทย์ในจังหวัดที่ จะรับสอนนักเรียนทันตาภิบาลในปีหน้ามาประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารที่ กทม. วันที่ 6-10 ส.ค.55 มีทงั้ เรือ่ งเนือ้ หาวิชาทีจ่ ะสอน วิธกี ารสอน การออกข้อสอบ และการตัดเกรด โดยมอบให้ทันตแพทย์ในพื้นที่ ดำ�เนินการตั้งแต่การสอน การออกข้อสอบและการตัดเกรด ผมมี ความกังวลว่า อาจจะเกิดความไม่เท่าเทียมกันของการให้คะแนน ในแต่ละพืน้ ทีซ่ งึ่ ส่งผลต่อนักเรียน ทัง้ นีผ้ มมีประสบการณ์ตรงจาก การฝึกภาคสนามให้แก่ นักศึกษาทันตแพทย์มาแล้ว และเป็นภาระ ที่หนักมากสำ�หรับทันตแพทย์ วารสารทันตภูธร 31 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
พี่ ต่ ว ง - ทพญ.อุ ไ รวรรณ อมรไชย ทั น ตแพทย์ จ าก โรงพยาบาลเดชอุดม ผูเ้ คยมีประสบการณ์ตรงในการฝึกงาน นักศึกษาทันตาภิบาล ได้ให้ความเห็นไว้อย่างน่ารับฟัง ตอน CUP เคยฝึกนักเรียนทุน on top พื้นที่ตนเอง เมื่อปี 2546 ก็ได้ออกแบบร่วมฝึกตรวจงานคลินิกให้นักศึกษาทันตาภิ บาลด้วยตอนนั้นเกณฑ์การฝึกคือ ได้ตรวจงานคลินิกที่รพช.สอง เดือน โดยนักศึกษาจะต้องผ่าน diag และตรวจรักษา เช่น อุดฟัน มาบ้าง (ประมาณ 1-2 ซี่) (แต่งานถอนฟันที่วสส.ไม่ค่อยมีเคส รพช.เตรียมรับได้เลย) พอบอกได้วา่ เป็นความลำ�บากของอาจารย์ ทีต่ อ้ งตรวจงานพอสมควร เพราะต้องไปศึกษามาตรฐานการตรวจ ว่าจะให้คะแนนในใบ Requirement กันอย่างไร ขั้นตอนที่ตรวจก็ ละเอียดประมาณเดียวกับที่อาจารย์ทันตแพทย์ตรวจพวกเรานั่น แหล่ะ แต่ทลี่ �ำ บากมากคือเด็กนักศึกษาทันตาภิบาลจะมีทกั ษะการ ทำ�งานน้อยกว่าที่เราคิด (ทันตแพทย์ได้ผ่านงานแลปและทำ�งาน รายละเอียดมาเยอะกว่า ทำ�ให้เวลาทำ�กับคนไข้จะก่อความเสีย หายกับคนไข้ไม่มาก) แต่การตรวจนักศึกษาทันตาภิบาลอาจารย์ ทันตแพทย์ต้องเฝ้าระวังกันทีเดียวค่ะ เพราะเคยเจอว่า caries ไม่ ควรจะ exposed pulp ก็ exposed หรือ caries เล็กๆ พอเดินมา ตรวจอีกที กลายเป็น large cavity ไปแล้ว แล้วคนที่ต้องแก้ไขก็คืออาจารย์ทันตแพทย์นั้นแหล่ะ ตรวจ นักศึกษา 4 คน ก็ได้แก้ไขเกือบทุกคน (จนอาจารย์ทันต-แพทย์ ที่ตรวจบ่นว่า ทำ�งานเองยังจะง่ายกว่า) ที่สำ�คัญคือ ทันตแพทย์ ที่มาทำ�งานรพช.ไม่ค่อยมีใครอยากจะตรวจงานให้ นักศึกษา ทันตาภิบาล เพราะเขาไม่ได้เลือกทีจ่ ะเป็นอาจารย์แบบทันตแพทย์
วารสารทันตภูธร 32 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ทีว่ สส. เขาเลือกทีจ่ ะจบหกปีมาเพือ่ รักษาคนไข้ แต่ตอ้ งมาปวดหัว กับนักศึกษา ช่วงนั้น ทันตแพทย์แทบจะไม่ได้ทำ�งาน spec เช่น ฟันเทียม RCT ฯลฯ เลย เขาก็เบือ่ เพราะงานคลินกิ ไม่นา่ สนใจวันๆ ยุ่งแต่กับงานตรวจ (คราวนี้ คนที่จะปวดหัวรายต่อไปคือหัวหน้า ฝ่าย ว่าจะเกลีย้ กล่อมน้องๆอย่างไรว่าให้ชว่ ยกันตรวจ ยิง่ ถ้าน้องๆ ที่จบมาหลายปีแล้ว มักจะไม่อยากตรวจเพราะไม่ถนัด รวมทั้ง หัวหน้าฝ่ายด้วยเนื่องจากทำ�งานบริหารจัดการกันเป็นหลักไม่ได้ มีเวลาไปฟื้นฟูวิชาการ) ช่วงสองเดือนทีน่ กั ศึกษาทันตาภิบาลออกมาฝึกนัน้ คนไข้รบั รูก้ นั เป็นวงกว้างพอสมควร เขาบอกทีเ่ คาน์เตอร์หน้าห้องเลยว่า ไม่ ทำ�กับนักศึกษานะ เพราะเคยมีคนมาทำ�แล้วกลับไปพูดต่อๆ กัน ถ้าอยูน่ านขนาดหกเดือนคงหาเคสลำ�บากเหมือนกันค่ะ ถ้าจะบอก ว่า ให้ไปทำ�กับเด็กนักเรียนตอนนีก้ ไ็ ม่งา่ ยนะคะ คุณครูบางท่านไม่ กล้าเจรจาให้เรา ให้ไปขออนุญาตผู้ปกครองเอง อาจจะต้องไปรับ นักเรียนมาเอง แล้วก็ตอ้ งรับประกันว่าเด็กนักเรียนจะไม่เกิดปัญหา ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีทางที่จะพาเด็กนักเรียนมาทำ�ที่โรงพยาบาลได้ ค่ะ กลายเป็นว่าปัญหาการหาคนไข้เป็นเรื่องที่เราต้องมาจัดการ ให้นักศึกษา เพราะไม่มีเคสให้พอกับ minimum requirement (ที่ โรงพยาบาลตอนนั้น ให้ นักศึกษาทันตาภิบาลไปขนเอาญาติตัว เองมาทำ� ขนาดนั้น Requirement ยังไม่พอเลยค่ะ) สำ�หรับงานทันตกรรมป้องกัน ปัญหาอาจจะน้อยกว่า คือให้ ไปฝึกที่รร.ตอนออกหน่วย หัดทำ� sealant หัดสอนนักเรียน หัดทา Fluoride gel/varnish ที่จะต้องระวังคือ คุณภาพ เพราะฝากให้ พีท่ นั ตาภิบาลเป็นคนช่วยตรวจให้เรือ่ งมาตรฐานการตรวจควบคุม แต่ละรพช. คาดว่าคงจะมีความหลากหลาย ขึน้ อยูก่ บั การวางระบบ
แต่สุดท้ายนักศึกษาทันตาภิบาลต้องกลับไปสอบ Final ที่วสส. ถ้าจะซ่อมก็ต้องคุยกันอีกทีว่าจะซ่อมกันที่ไหน บางคนก็สอบตก คนที่ต้องรับกลับมาดูแลรอบสองก็น่าจะเป็นรพช.ที่รับฝึกงาน ดัง นั้นถ้าเราได้ฝึก นักศึกษาทันตาภิบาลที่เก่งหน่อยก็คงไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเจอนักศึกษาที่เรียนอ่อน สอนแล้วสอนอีก ให้ไปทำ�รายงาน ก็แล้ว เด็กก็ยังอ่อนอยู่ อย่าลืมว่า หกเดือนที่อยู่กับเราทุกวิชาต้อง ขับเคลือ่ นไปข้างหน้า เด็กต้องทำ�ตามตารางการเรียนการสอน ถ้า เขาทำ�ไม่ได้เราก็ตอ้ งสอนเขา (เหมือนการทำ�งานร่วมกัน ดังนัน้ ถ้า เขาทำ�ไม่ได้เราก็ต้องผลักและดัน) การตอบข้อสงสัยว่าใครรับรองการสอนเรา คิดเองนะคะว่า ไม่มีใครรับรองเพราะเราสอนภายใต้ใบประกอบโรคศิลป์ของเรา เพราะฉะนั้นความผิดพลาดทุกอย่างเราต้องรับเนื่องจากเป็นผู้ ควบคุมกำ�กับเขา (อันนีไ้ ม่ชดั เจนนะคะว่ารับผิดชอบทัง้ ทางอาญา และทางแพ่งหรือเปล่า คิดว่าอย่างน้อยทางแพ่งน่าจะไม่พ้นผิด เพราะเขาทำ�ตามทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากเรา) ตอนสุดท้าย นักศึกษา ทันตาภิบาลจะจบได้ก็ต้องไปผ่านการสอบอีกครั้งจากวสส. พูด ง่ายๆ คือเขามีมาตรฐานกลางไว้ ถ้าสอบผ่านก็จะได้จบ ถ้าไม่ผา่ น ก็กลับมาฝึกหรือเก็บเคสเพิม่ (วสส.ต้องพยายามให้จบให้ได้ทกุ คน เพราะจะหาทางออกอย่างไรล่ะถ้าเรียนไม่จบ..... กรณีผ่านแบบ อ่อนมากๆ ก็สง่ ไปพืน้ ทีใ่ ห้เฝ้าระวังกันไป มีเคสหนึง่ เป็นจิตเวช (ไม่ บอกนะคะว่าเป็นอาการอะไร) แต่ก็จบมา สุดท้ายทำ�งานไม่ได้ มี ลักษณะอย่างนีก้ เ็ ป็นแบบเดียวกับทันตแพทย์เรานัน้ แหล่ะค่ะ เรา ก็มีคนที่ไม่ไหว จำ�ใจต้องให้จบ...คล้ายกัน สำ�หรับประเด็นเรือ่ งสิทธิผปู้ ว่ ย จริงๆ แล้วเราไม่มสี ทิ ธิบงั คับ คนไข้ให้รับการรักษากับนักศึกษาทันตาภิบาล ที่โรงพยาบาลจึง
ต้องบอกคนไข้ทกุ ราย เปิดโอกาสให้เขาปฏิเสธได้ (ส่วนใหญ่คนไข้ มักจะปฏิเสธ โดยเฉพาะงานถอนฟัน บางทีก็ต้องอธิบายว่าไม่มี อันตรายนะคะ หมอจะดูแลทุกขัน้ ตอนค่ะ เขาก็ไม่คอ่ ยพอใจ เราก็ ไม่สบายใจกับท่าทีคนไข้ มีความกดดันเคาน์เตอร์หน้าห้องเหมือน กัน เพราะเขาต้องเป็นคนช่วยจัดการเบือ้ งต้นในการรับคนไข้ไว้ให้) จริงๆ แล้วมีอะไรอีกเยอะที่เราต้องคุยกัน ปัญหาในทาง ปฏิบตั ไิ ม่ใช่นอ้ ย อย่างน้อยข้อเสนอทีต่ วั เองคิดออกตอนนี้ คือ เรา น่าจะระดมสมองหาทางออกเชิงปฏิบัติจริง แล้วทำ�คู่มือคำ�ถามที่ ทันตแพทย์ผู้รับฝึกงานต้องเจอแน่นอน ส่งไปให้รพช.ที่รับฝึก ที่ สำ�คัญคู่มือนี้ควรได้รับการรับรองจากทันตแพทยสภาและผ่าน การ approve ในทางกฎหมายและระเบียบราชการจากนิตกิ ร/งาน บริหารของกระทรวง ทั้ ง นี้ ทั้ ง นั้ น ประเด็ น เหล่ า นี้ ยั ง มี ก ารพู ด คุ ย กั น อยู่ ใ น หลายๆ เวที กว่าวารสารฉบับนี้จะออกอาจมีข้อตกลงอะไร ออกมาแล้วก็ตาม แต่ก็อยากให้พวกเราหลายๆคนที่จะมี ส่วนร่วมในพื้นที่ ทำ�ความเข้าใจ ติดตามข่าวสาร เพือ่ ทีพ ่ วก เราจะได้เตรียมการตัง้ รับ ให้พร้อมที่จะทำ�หน้าที่ครูได้อย่าง เต็มความสามารถ และไม่เกิดความวิตกกังวลจนเกินไป และ ในฐานะทีเ่ ราเป็นส่วนหนึง่ ในการร่วมผลิต เราก็ควรมีโอกาส เสนอหลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการของพื้นที่ให้ทาง สบช. พิจารณาอีกทางหนึ่งด้วย… ขอขอบคุณภาพประกอบจาก โรงพยาบาลป่าบอน จังหวัด พัทลุง, โรงพยาบาลนาหมื่น จ.น่าน
วารสารทันตภูธร 33 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ทันตาภิบาลไทย อาชีพทีย่ งั ไม่ถกู ค้นพบ
หลายกลุ่ ม วิ ช าชี พ ออกมาร่ ว มเคลื่ อ นไหว มี กำ � ลั ง พล มากมายออกมาปิดล้อมประท้วงตามสถานที่ต่างๆ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมายิ่งเห็นได้ชัดถึงการออกมาใช้สิทธิเรียกร้องถึงความ ก้าวหน้าในวิชาชีพของตน มีได้บา้ งไม่ได้บา้ ง สมหวังบ้าง ผิดหวัง กันไปบ้าง รวมถึงวิชาชีพทันตาภิบาลเหมือนกัน มีประโยคโดนๆ จากหลายอาชีพที่เรียกร้องบอกว่า “อาชีพของตน คือ อาชีพที่ ถูกลืม” ได้อ่านได้รับฟังข่าวจากหนังสือพิมพ์บ้างโทรทัศน์บ้าง แล้วอดขำ�ไม่ไหวคิดอยู่ในใจว่า “ถ้าอาชีพอื่น คือ อาชีพที่ถูกลืม อาชีพทันตาภิบาลในประเทศไทย คงเป็น อาชีพทีย่ งั ไม่ถกู ค้นพบ แน่นอน!!!“ ตลอด 44 ปี (พ.ศ. 2511 – 2555) ที่ผ่านมา (ประโยคนี้ จี๊ดไหม :: 44 ปีแห่งความหลัง) การออกมาเรียกร้องของอาชีพ ทันตาภิบาลก็ไม่ต่างอะไรกับการจุดพุดอกไม้ไฟอันละ 10 บาท ตามงานวัด จุดขึ้นไปสูงได้ประมาณ 2 เมตร ก็แตกเบาๆ แล้ว ก็เงียบหายไป ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ พวกเราคือคนตัวเล็กๆ (เล็ก มากจนมองไม่เห็น) ด้วยงบที่น้อย กำ�ลังคนก็น้อย แถมอยู่ กระจัดกระจายกันไปตามโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่ง เสริมสุขภาพตำ�บล โรงพยาบาลทั่วไป สาธารณสุขจังหวัดและ อืน่ ๆ ทีล่ ะคนสองคน การจะมารวมตัวอะไรกับเค้าทัง้ ทีกย็ ากแสน ลำ�บาก ลางานยาวๆ หลายวันก็ไม่ได้เพราะคนไข้รอทำ�ฟันอยู่ ทุกวัน อีกทัง้ หัวหน้าหน่วยงานก็ไม่อนุญาต เดินทางเข้าเมืองมา แต่ละครัง้ ก็ไกลแสนไกล อย่าพูดถึงค่าเดินทางเลย แค่เงินเดือน กินข้าวในแต่ละเดือนก็ไม่เหลือเก็บแล้ว เลยทำ�ให้พวกเราออก มารวมตัวกันได้ไม่บอ่ ยและไม่มากนัก คิดถึงประเด็นนีท้ ไี รมีแต่ นํ้าตาไหล อาชีพที่ไม่ถูกค้นพบมันรันทดแบบนี้นี่เอง ช่วงหลังๆ วารสารทันตภูธร 34 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
เริม่ มีขา่ วแว่วๆมาบ้างว่า หลักสูตร 4 ปีจะได้บรรจุเป็นข้าราชการ แต่มันแว่วมากจริงๆ จนเงียบหายไปอีกแล้ว ดราม่าอีกตามเคย กระซิก กระซิก เค้าว่ากันว่า “7 ปีความรักจะมีการเปลีย่ นแปลง” แต่ถา้ เป็น ทันตาภิบาลที่ไม่มีใครรัก คงหวังได้แค่ว่า “44 ปีนี้ทันตาภิบาล ไทยจะมีการเปลีย่ นแปลงให้ทนั กับโลกภายนอกบ้าง เท่านัน้ เอง” (ครบ 7 ปีมา 6 รอบแล้ว !!) สุดท้ายนี้ “ขอขอบนํ้าใจท่านทั้งหลายยิ่งนัก ที่ร่วมต่อสู้ เคียงบ่า เคียงไหล่ เพื่อให้ผู้หลักผู้ใหญ่ในดินแดนสยามแห่งนี้ เห็นคุณค่าของวิชาชีพทันตาภิบาลบ้างสักนิดก็ยังดี”
จากอีแร้ง...ถึงนกน้อย แวะๆเวี ย นๆ โฉบไปโฉบมาอยู่ แ ถวนี้ ก็ น านหลายปี แล้ว วันนี้แวะผ่านไร่สับปะรดเลยถือโอกาสโฉบลงไปดูเผื่อ มี อ ะไรทิ้ ง ไว้ ใ ห้ อี แ ร้ ง อย่ า งเราเก็ บ กิ น บ้ า ง แล้ ว สายตาก้ อ บังเอิญไปเห็นซากนกน้อย เอ้ย..ไม่ใช่ เกือบไปแระ^^”....เห็น รั ง นกน้ อ ยรั ง หนึ่ ง อยู่ ใ นไร่ สั บ ปะรด ดู เ หมื อ นจะเป็ น รั ง ใหม่ ที่กำ�ลังสร้างอยู่ เลยแวะเวียนมาทักทายสักหน่อย.... อ้าว!!! เจ้าของรังไม่อยู่ซะนี่ สงสัยออกไปหาอาหารล่ะมัง เอางัยดี ขี้เกียจรออ่ะ แก่แล้ว ฝากข้อความถึงได้ป่าว?????
ถึง..พ่อหนูนกน้อย ฉันดีใจที่เห็นเธอกำ�ลังก่อร่างสร้างรัง อยู่ที่นี่ ฉันเองเคยได้รู้จักนกน้อยอย่างเธอมาก็หลายตัวอยู่นะ รวมทั้งในไร่แห่งนี้ด้วย นกบางตัวบินมาแล้วก็จากไป บางตัวก็ ยังอยู่ต่อ แล้วก็มีนกตัวใหม่ๆ ที่กำ�ลังเลือกว่าจะสร้างรังที่ไหน ดีอย่างเธอ ฉันจะเล่าเรื่องนกตัวหนึ่งที่เคยรู้จักให้เธอฟังนะ ... นกตัวนัน้ เดิมเคยอยูใ่ นป่าอืน่ มาก่อน อยูม่ าวันหนึง่ ก็ตดั สินใจย้าย มาสร้างรังที่ไร่แห่งนี้ ตอนนั้นอาหารในไร่ยังมีอุดมสมบูรณ์ มีน กชนิดเดียวกันอาศัยอยู่หลายตัว ช่วยกันหาอาหาร หัวหน้าฝูง เฝ้าคอยสอนให้มันแข็งแกร่งพอที่จะหาอาหารเองได้ มาวันหนึ่ง มันพบรักกับนกต่างถิน่ และจำ�เป็นต้องย้ายไปสร้างรังในทีไ่ กลออก ไป นกในฝูงรู้สึกใจหายแต่ก็เอาใจช่วยเพราะมั่นใจว่าสิ่งที่นกตัว นั้นได้เรียนรู้ในไร่แห่งนี้จะทำ�ให้มันเอาตัวรอดได้แม้ว่าจะอยู่ที่อื่น ทีไ่ ม่คนุ้ เคยฝูงนกเฝ้าคอยติดตามข่าวคราวของนกตัวนัน้ จนทราบ ข่าวว่าในห้วงเวลาทีอ่ าหารเริม่ ขาดแคลน มันตัดสินใจทิง้ ฝูงและ โบกบินไปในฟ้ากว้างเพื่อสืบเสาะหาแหล่งอาหารใหม่ๆ และช่วย เปิดทางให้นกรุ่นใหม่ๆ ติดตามไป ไม่นานมานี้ฉันมีโอกาสได้พบ นกตัวนัน้ อีกครัง้ มันไม่ใช่นกน้อยทีด่ อู อ่ นแอเหมือนเมือ่ ก่อน แต่ มันเป็นหัวหน้าฝูงนกทีเ่ ข้มแข็งและหากินในถิน่ ทีม่ สี งิ่ แวดล้อมต่าง
ออกไปมาก ฉันถามเจ้านกตัวนัน้ ว่าเป็นอย่างไรบ้างกับชีวติ ใหม่ที่ เลือก มันตอบว่า มันใช้ประสบการณ์ทเี่ คยเรียนรูต้ อนอยูใ่ นไร่มา พลิกแพลงเพือ่ หาแหล่งอาหารใหม่ๆ จนถึงวันทีต่ ดั สินใจออกจาก ฝูงแม้จะรูส้ กึ โดดเดีย่ วอยูบ่ า้ ง แต่เมือ่ ได้ออกมาเห็นท้องฟ้ากว้าง ใหญ่แล้วก็มั่นใจว่าหนทางที่เลือกนั้นถูกต้องแล้ว โลกกว้างใหญ่ ยังมีที่ทางอีกมากมายให้นกอย่างเราๆ ได้สร้างรัง แม้ว่าจะไม่ใช่ สิง่ แวดล้อมทีค่ นุ้ เคยแต่มนั ไม่มวี นั จะอดตายหากมันแข็งแกร่งพอ และรู้จักปรับตัว คำ�ถามสุดท้ายก่อนจากกัน ฉันถามเจ้านกว่า หากย้อนเวลากลับไปได้ มันจะยังออกจากฝูงหรือไม่มันยิ้มก่อน ตอบว่าเส้นทางใหม่ทมี่ นั ได้เลือกยังมีโอกาสและหนทางแยกย่อย ออกไปอีกมากมายไม่รจู้ บให้มนั รวมถึงนกตัวอืน่ ๆ ทีจ่ ะติดตามมัน ไปด้วยได้หาอาหาร และสร้างรัง เพื่อเติบโตหากกล้าพอแล้ว มันก็บินจากฉันไปฉันได้แต่เฝ้ามองมันและอวยพรให้มันมีความ สุขกับหนทางที่เลือก และเช่นกัน ไม่ว่าเธอจะเลือกอยู่ในไร่ สับปะรดแห่งนี้ หรือเลือกที่จะโบยบินไปในท้องฟ้ากว้าง ฉันก็จะ ขออวยพรให้เธอโชคดีเช่นกัน ไม่แน่นะ เธออาจจะได้เจอกับนก รุ่นพี่ตัวนั้น หรือเจอกับฉันในวันใดวันหนึ่งก็เป็นได้ ...แล้วเราคง ได้คุยกันจริงๆ สักที วารสารทันตภูธร 35 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
เรื่องเล่า...
จากทีมอ่อนหวานลำ�ปางหน้าเจ๊า โดย“ชาวไร่”
ลำ�ปาง
เป็นจังหวัดต้นๆ ที่ขึ้นรถไฟขบวน “เด็กไทยไม่กิน หวาน” ตลอดเส้นทางที่ผ่านมาเราผ่านการลองผิดลองถูก ล้มลุก คลุกคลานมาหลายรูปแบบ จนกลายเป็น “ชาวไร่เลื่อนลอย” คือ ทำ�ไม่สำ�เร็จก็เปลี่ยนพื้นที่เปลี่ยนแนวทางไปเรื่อยๆ..จนกระทั่งปี 49 เริ่มปักหลักได้ที่การพัฒนาพฤติกรรมบริโภคของเด็กก่อนวัย วารสารทันตภูธร 36 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
เรียนในศูนย์เด็ก โดยหยิบประเด็นศูนย์เด็กน่าอยู่ กับเด็กไทยไม่ กินหวานมาบูรณาการกัน และเข้าไปประสานการดำ�เนินงานกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แสวงหาความร่วมมือจากผู้ปกครอง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ในคราวนั้นเรา ได้ศูนย์ เด็กอ่อนหวานทั้งหมด 40 แห่งใน 5 อำ�เภอที่ดำ�เนินการ ในปีนั้น
เราถอดบทเรียน ได้ 5PIES model ออกมา ซึ่งก็คือ ปัจจัยที่ควร คำ�นึงถึงเวลาทำ�งานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อเห็น ผลสำ�เร็จเราเริ่มคิดถึงการขยายผลการดำ�เนินงานสู่พื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดลำ�ปาง โดยดำ�เนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เรามีทุน เดิมของจังหวัดคือ ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างที่แน่นแฟ้นแบบพี่ น้องของทันตบุคลากรในจังหวัด (ณ วันนี้ปี 2555 แม้ว่าจะมีทันต บุคลากรอายุน้อยที่สุดที่ 20+ จนถึงรุ่นอาวุโสอายุ 50+ เราก็มี กิจกรรมสานสัมพันธ์กนั ตลอด) โดยมีส�ำ นักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือทำ�ให้เห็นแนวโน้มว่า เราสามารถขยายพื้นที่ได้แน่ๆ โดยเราเริ่มต้นจาก 1. จูงใจให้อยากทำ�ก่อน..โดย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวที ประชุมทันตบุคลากรให้ทีมงานได้เห็นภาพที่เกิดขึ้น ทั้งผลงาน วิธีการทำ�งาน รวมทั้งแทคติกที่เคยใช้ ทำ�ให้ทุกคนยอมรับว่าถ้า พูดเรื่องฟันผุอย่างเดียวอาจไม่มีใครฟัง แต่ถ้าพูดเรื่องผลกระทบ ต่อสุขภาพของเด็กจากการบริโภคหวานที่มากเกินไปจะมีคนฟัง มากกว่า และ..การผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะ ศูนย์เด็ก/ โรงเรียนอ่อนหวาน เป็นเรื่องที่เราสามารถทำ�ได้ 2. เกาะกระแสงานนโยบายทีม่ าแรงอย่างโครงการคนไทยไร้ พุง และโครงการอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วกับเรือ่ งกิน บูรณาการเพือ่ หาเพือ่ นมา ร่วมทำ�งานทั้งระดับจังหวัดและระดับอำ�เภอ การลงไปทำ�งานจริง ในพื้นที่ทำ�ให้เราได้เพื่อน..นักวิชาการสาธารณสุข จากสำ�นักงาน สาธารณสุขอำ�เภอ โรงพยาบาล สถานีอนามัย (ในขณะนั้น) เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มาทำ�งานในประเด็นเดียวกัน เป้าหมายเดียวกันรวมกันตีบ้าง ผลัดกันตีบ้างหรือแยกกันตีบ้าง 3. ผลักดันให้งานอ่อนหวานเป็นงานนโยบายระดับจังหวัด ในปี 2553 การสร้างกระแสเพื่อเด็กไทยไม่กินหวานในระดับ ครอบครัวและชุมชน (หมู่บ้านอ่อนหวาน) จึงถูกกำ�หนดเป็นหนึ่ง ในแผนงานตามประเด็นยุทธศาสตร์ของสำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัดลำ�ปาง เป็นการบังคับกลายๆ ให้มีการดำ�เนินการในทุก
อำ�เภออย่างน้อยอำ�เภอละ 1 หมู่บ้าน โดยกำ�หนดเป้าหมายเป็น ไมล์สโตนใน 4 ระดับเพื่อให้ระดับปฏิบัติเห็นเป้าชัดเจน ดังนี้ 1) เกิดกระแสรณรงค์เพือ่ ลดการบริโภคหวานมัน เค็ม / คนใน ชุมชนเกิดความตระหนัก 2) ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดและจัดกิจกรรมลดการบริโภค หวาน มัน เค็ม 3) เกิดนโยบายสาธารณะในเรือ่ งการบริโภค (ลดหวาน มัน เค็ม) 4) ประชาชนมีพฤติกรรมบริโภคที่เหมาะสม อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ให้กำ�หนดกลุ่มเป้าหมายว่าจะดำ�เนินการในโรงเรียน หรือ ศูนย์เด็ก หรือ ออกนอกรัว้ สูก่ ารปรับเปลีย่ นพฤติกรรมบริโภคทีบ่ า้ น (คือ setting หมูบ่ า้ นหรือชุมชน) หรือจะผลักดันไปพร้อมๆ กัน ตาม แต่บริบทของพื้นที่ ทีมงานเริ่มดำ�เนินการพัฒนานโยบายสาธารณะศูนย์เด็ก โรงเรียน หมูบ่ า้ น/ชุมชนอ่อนหวาน ในรูปแบบหลากหลาย ระหว่าง การทำ�งาน สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดจะมีการจัดประชุมเพื่อ พัฒนาศักยภาพทีมงานแต่ละระดับตามส่วนที่ขาด พร้อมทั้งจัด เวทีให้ทีมงานระดับพื้นที่ได้มา แลกเปลี่ยนวิทยายุทธ์ให้เห็นภาพ ความสำ�เร็จ ตลอดจนเทคนิค วิธกี ารในการทำ�งาน รวมทัง้ เป็นการ ให้กำ�ลังใจ-ชื่นชมระหว่างกัน ผลจากการแลกเปลี่ยนทำ�ให้มีการ copy & development ระหว่างพื้นที่ มีการเชิญทีมงานจากพื้นที่ อืน่ ในจังหวัดมาเป็นวิทยากร มีการขอยืมสือ่ จากพืน้ ทีอ่ นื่ มาเป็นต้น แบบ หรือขอยืมมาใช้ก็ไม่หวงกัน ผลก็คือ ณ เดือนสิงหาคม 2554 จังหวัดลำ�ปางผลักดันจนเกิดพื้นที่ที่ มีการพัฒนานโยบายสาธารณะ ดังนี้ 1) ศูนย์เด็กทีป่ ระกาศนโยบายศูนย์เด็กอ่อนหวาน จำ�นวน 84 ศูนย์ โดยที่ - ศูนย์เด็กในอำ�เภอเกาะคา ทัง้ หมด 35 ศูนย์ประกาศนโยบาย พร้อมกัน - ท้องถิ่นที่ประกาศนโยบายศูนย์เด็กอ่อนหวานทั้งตำ�บล มี ทั้งหมด 7 ตำ�บลใน 4 อำ�เภอ คือ อำ�เภองาว (1 ตำ�บล) อำ�เภอ เสริมงาม (1 ตำ�บล) อำ�เภอแจ้ห่ม (2 ตำ�บล) และอำ�เภอเมืองปาน (3 ตำ�บล) - ทั้งนี้ยังมีศูนย์เด็กในอำ�เภอแม่ทะ จำ�นวน 17 ศูนย์ ยังอยู่ ในระหว่างการขับเคลื่อนเพื่อให้มีการประกาศนโยบายพร้อมกัน ทั้งอำ�เภอ ในช่วงเดือนธันวาคม 54 2) โรงเรียนทีป่ ระกาศนโยบายโรงเรียนอ่อนหวาน (ไม่จ�ำ หน่าย นํ้าอัดลม ลูกอม ขนมกรุบกรอบในโรงเรียน) จำ�นวน 21 โรงเรียน 3) หมู่บ้านอ่อนหวาน 30 หมู่บ้าน 4) ตำ�บลอ่อนหวาน 5 ตำ�บล วารสารทันตภูธร 37 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ในเรือ่ งของการพัฒนาจนสามารถทำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลง เชิงพฤติกรรมดังนี้ 1) Setting ศูนย์เด็ก : มีการพัฒนาศักยภาพจนทำ�ให้สามารถ เลือกขนม-ของว่างให้เด็ก และดูแลอนามัยช่องปากให้เด็กได้ มี จำ�นวน 43 ศูนย์ 2) Setting โรงเรียน : สามารถทำ�ให้เกิดการเรียนรู้ในเด็ก วั ย เรี ย น เด็ ก สามารถเลื อ กที่ จ ะบริ โ ภคขนม-ของว่ า งอย่ า ง
เหมาะสมได้ มีจำ�นวน 3 โรงเรียน 3) Setting หมู่บ้านชุมชนทั้งหมดมีการงดนํ้าอัดลมในงาน บุ ญ บางชุ ม ชนมี ก ารดึ ง กลุ่ ม แม่ บ้ า นเข้ า มาร่ ว มในการทำ � นํ้ า สมุ น ไพรเลี้ ย งในงานบุ ญ ต่ า งๆ มี ก ารใช้ พื้ น ที่ วั ด เป็ น ที่ ป ลู ก สมุนไพรสำ�หรับเป็นวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งมีการส่งเสริม ให้การทำ�นํ้าสมุนไพรจำ�หน่ายเป็นอาชีพเสริมของกลุ่มแม่บ้าน อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ เป็นผลจากความทุ่มเทของทีมงานทุกคนที่ทำ�งาน หนักมาตลอดทั้งปี (ใครๆ ก็รู้ว่า ลำ�ปางหนาวมาก งานเยออออะ) ขอบคุณเหงื่อทุกเม็ดของทีมอ่อนหวานลำ�ปางหนาทุกๆคน จริ ง อยู่ . .setting ต่ า งๆ ที่ เ ราลงไปทำ � งานเกิ ด นโยบาย สาธารณะอย่างเป็นรูปธรรม แต่ทว่า… จากข้อมูลการสำ �รวจ พฤติกรรมเด็ก 12 ปี ทำ�ให้เรารูว้ า่ เรายังไปไม่ถงึ ขัน้ การเปลีย่ นแปลง พฤติกรรมอย่างชัดเจนนัก โดยเฉพาะกลุม่ เด็กทีเ่ ป็นเป้าหมายหลัก ของเรา (ลงทุนซะเยอะผลลัพธ์ไปออกที่กลุ่มผู้ใหญ่ซะงั้น) ภารกิจของเรายังไม่ส�ำ เร็จยังต้องไปต่อ ปีหน้าจังหวัดลำ�ปาง คงจะไม่ขยายพืน้ ทีด่ �ำ เนินการ แต่เราจะพยายามลงลึกไปให้ถงึ การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กกลุ่มเป้าหมายให้ได้..
วารสารทันตภูธร 38 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
5PIES Model จั ง หวั ด ลำ � ปางถื อ 5PIES เป็ น คั ม ภี ร์ ห ลั ก ในการทำ � งาน 5PIES นี้ถือกำ�เนิดจากการถอดบทเรียนจากการพัฒนานโยบาย ศู น ย์ เ ด็ ก อ่ อ นหวานในยุ ค แรกๆ ของการทำ � งานไม่ กิ น หวาน ของจั ง หวั ด หลั ง จากทำ � งานประสบผลสำ � เร็ จ เราจึ ง ชวนผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งทั้ ง ฝั่ ง สาธารณสุ ข และฝั่ ง ท้ อ งถิ่ น มาร่ ว มกั น หาปั จ จั ย ที่ ค วรคำ � นึ ง ถึ ง เวลาจะทำ � งานกั บ องค์ ก รปกครอง ส่ ว นท้ อ งถิ่ น ได้ เ ป็ น ปั จ จั ย ที่ ค วรคำ � นึ ง ถึ ง เวลาจะ approach (4 P แรก) และสิ่งสำ�คัญที่ต้องทำ�เวลาทำ�งาน และถึงตอนนี้เรา พบว่า ในระดับพื้นที่แล้ว 5PIES สามารถนำ�มาใช้ได้กับทุกๆ กลุ่ม
เริ่ ม จาก P-Personality บุ ค ลิ ก ภาพของผู้ ที่ จ ะประสาน ความร่วมมือกับอปท. ต้องมีความรอบรู้ สามารถร่วมดำ�เนินงาน สาธารณสุขได้รอบด้าน ไม่เช่นนั้นต้องมีทีมที่ดี นอกจากนั้นควรมี ความอดทนเพราะอาจต้องติดต่อหลายครั้งจึงจะได้รับความร่วม มือ การคำ�นึงถึง P-Personality ทำ�ให้เราต้องปรับปรุงตัวเราเอง ก่อน พร้อมทัง้ แสวงหาเพือ่ นร่วมงานทีเ่ ก่งในเรือ่ งของการประสาน งาน ซึ่งเรามักหาได้ P ตัวต่อไป P-Problem การนำ�เสนอปัญหา ต้องแปลงข้อมูล ออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม ทำ�ให้..ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง เด็ก วัยเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้ประกอบการร้านค้า (แล้วแต่ สถานการณ์) concern เห็นว่าเป็นปัญหา เช่น ผลจากการกินไม่ เป็นอาจทำ�ให้เป็นโรคเรื้อรัง ฉลาดน้อย มี EQ ไม่เหมาะสม หรือ ในกรณีการนำ�เสนอประเด็นกับผู้มีอำ�นาจตัดสินใจในอปท.ต้อง ทำ�ให้เพือ่ ให้ทอ้ งถิน่ ทราบว่าหากแก้ปญ ั หาแล้ว ประชาชนจะได้รบั ประโยชน์อย่างไรบ้าง และจะมีผลต่อคะแนนเสียงอย่างไร
P ตัวที่ 3 (key) Person บุคคลสำ�คัญในอปท.ที่หากได้ทราบ เหตุผลและความจำ�เป็นที่จะต้องดำ�เนินการแล้วจะทำ�ให้ได้รับ ความร่วมมือ สำ�คัญที่สุดคือผู้รับผิดชอบงาน (นวก.ศึกษา/ เจ้า หน้าที่สาธารณสุข) และผู้บริหาร P-Person จึงทำ�ให้เราต้องสร้าง connection หรือหาทีมงานทีม่ ี connection ทีจ่ ะทำ�ให้เราประสาน งานกับคนเหล่านี้ได้ดีขึ้น P ตัวที่ 4 P-Period ช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมในการดำ�เนินงานใน กลุ่มเป้าหมายต่างๆ • การประสานกับอปท. ควรนำ�เสนอปัญหาหรือโครงการในช่วง เดือน พ.ค.-มิ.ย. เพื่อที่จะเข้าสู่การจัดทำ�ข้อบัญญัติงบประมาณ ประจำ�ปี ภายใน 5 ส.ค.ไม่เช่นนัน้ ต้องนำ�เข้าสูก่ ารปรับแผนของอปท. • การทำ�งานกับชุมชนกสิกรรมต้องระวังช่วงดำ�นา ช่วงเก็บ เกี่ยวเป็นต้น • การทำ�งานกับผู้ดูแลเด็กอาจต้องใช้ช่วงเวลาเสาร์-อาทิตย์ หากเป็นวันธรรมดาผู้บริหารอปท.อาจไม่อนุมัติ เนื่องจากต้องให้ ความสำ�คัญกับการดูแลเด็กเป็น priority แรก P ตัวที่ 5 P-Participation ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีส่วน ร่วมตัง้ แต่ขนั้ สำ�รวจข้อมูล กำ�หนดแนวทางในการดำ�เนินการ และ กำ�หนดแนวทางในการประเมินผล รวมทัง้ กำ�หนดผูร้ บั ผิดชอบและ ประเมินผลการดำ�เนินการร่วมกัน I-Indicator ในการดำ�เนินการพัฒนาคุณภาพชีวติ เด็กนัน้ ควร มีการกำ�หนดเป้าหมาย ตัวชี้วดั ของแต่ละฝ่ายให้ชดั เจน เครือข่าย ไม่กนิ หวานอยากให้เป็นอย่างไร อปท.ต้องการให้เกิดอะไรขึน้ บ้าง E- Evaluation&Summary หลังจากมีการดำ�เนินงานร่วมกัน แล้วควรมีการประเมินผลการดำ�เนินงานร่วมกันเป็นระยะ (monitoring) เพื่อจะได้ร่วมกันปรับกระบวนการหากสิ่งที่ดำ�เนินการไม่ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ วารสารทันตภูธร 39 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ส่วนหนึ่งจากเรื่องเล่าประสบการณ์การทำ�งาน โครงการพัฒนารูปแบบสื่อสร้างเสริม สุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วาลีชูคดี, จุฑาธิปสะทิววงค์แคนนิ่ง คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การดำ�เนินโครงการวิจัย เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบสื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบท โดยทำ�งานร่วมกับภาคีเครือข่ายทันตบุคลากรในจังหวัด สงขลา พัทลุง และปัตตานี มีการ เชิญชวนผูด้ แู ลเด็กในศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กเข้าร่วมในโครงการ จำ�นวน 21 ศูนย์ดำ�เนินการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพในด้านการ ดูแลสุขภาพช่องปากและการผลิตสื่อ สนับสนุนให้คุณครูได้ผลิตสื่อตามความต้องการของคุณครูในแต่ละพื้นที่นำ�สื่อที่ผลิต ใช้สอนเด็กทำ�ให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานและเกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นเด็กชอบแปรงฟันมากขึ้น ลดการบริโภค อาหารที่ไม่มีประโยชน์ลงและอีกประการคือ การจัดเวทีถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคุณครู 21 ศูนย์ นักวิชาการ และ ทันตบุคลากร ผูเ้ ข้าร่วมโครงการ ทัง้ 3 จังหวัดเป็นโครงการทีผ่ ดู้ แู ลเด็กเกิดความภาคภูมใิ จทีส่ ามารถได้คดิ ได้ท�ำ โครงการด้วย ตัวเอง และสามารถแนะนำ�ให้คุณครูในศูนย์อื่นๆ ได้รับประโยชน์ ตัวอย่างความคิดเห็นของคุณครูเช่น “ได้รู้จักเพื่อนๆ ต่างศูนย์ และเพื่อนต่างจังหวัด ได้รู้จักการผลิตสื่อต่างๆ ของศูนย์อื่นที่มีความคิดริเริ่ม”สร้างสรรค์และสามารถนำ�ไปปรับปรุง การผลิตสื่อเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของเด็ก “โครงการสื่อฯให้ความ สำ�คัญต่อเด็กและจะนำ�ผลที่ได้ไปขยายให้กับเพื่อนๆ ต่างศูนย์อื่นอีก” การทำ�งานครัง้ นีท้ มี งานต้องขอขอบคุณแผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข ทีใ่ ห้โอกาสในการสร้างงานและก่อเกิดเครือ ข่ายในการทำ�งานทีก่ อ่ ให้เกิดประโยชน์ตอ่ พืน้ ทีโ่ ดยตรงอีกทัง้ ยังสร้างความภาคภูมใิ จในการทำ�งานให้กบั ทัง้ ทีมงานและผูเ้ ข้า ร่วมวิจัยทุกท่าน ที่สำ�คัญนับเป็นการติดอาวุธที่สำ�คัญให้กับคุณครูผู้ดูแลเด็ก แม้จะสิ้นสุดโครงการแล้วแต่ความรู้เจตคติที่ดี ในการสร้างสื่อใหม่ๆเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กในศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กยังคงมีตอ่ เนือ่ ง โดยได้รับแรงเสริมทั้งจากผู้ ปกครอง ทันตบุคลากรและผู้บริหารในท้องถิ่น วารสารทันตภูธร 40 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ตลอดระยะเวลาที่ทีมงานได้ดำ�เนินโครงการพัฒนาสื่อฯ ทุกคนได้ถามตัวเองตลอดเวลาว่า ทีมงานได้เรียนรู้อะไร ในเรื่องการทำ�โครงการนี้บ้าง ทีมงาน เชื่อว่า การทำ�งาน ในรูปแบบโครงการวิจัยเพื่อศึกษาและพัฒนาสื่อฯ เช่นนี้ เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก ปลูกฝังให้ ประชากรรุน่ ใหม่ ได้ตระหนัก รักในการดูแลสุขภาพช่องปาก ตนเอง การดำ�เนินงานโครงการทำ�อย่างเป็นกระบวนการเป็น กระบวนการทำ�งาน ก่อให้เกิดสภาวะความเป็นผู้นำ� ผู้ตาม ผู้รว่ มพัฒนา ไปด้วยกัน ประโยชน์ทเ่ี กิดขึน้ มีมลู ค่าเพิม่ แก่ เด็ก ๆ แก่สังคม ในอนาคต
ทีมงานร่วมกันปรับกระบวนทัศน์ปรับกระบวนท่าปรับ รูปแบบการทำ�งาน จากการวางแผนเพือ่ บริหารกำ�กับอำ�นวย การผูอ้ น่ื ไปสูก่ ารชีแ้ นะการสร้างความร่วมมือ ร่วมใจ ของทุก ๆ ฝ่าย ทีเ่ กีย่ วข้อง จากการวางแผนเพือ่ ปฏิบตั กิ ารด้วยตนเอง ไปสูก่ ารใช้ระบบเครือข่าย สนับสนุนสร้างความสำ�เร็จทำ�งาน ร่วมกันเป็นภาคีเครือข่าย สนับสนุนให้เกิดการทำ�งานเป็นทีม ดึงพื้นที่ ดึงชุมชน ดึงความรู้สึกความเป็นเจ้าของมาใช้ เรา จะไม่ใช้การบริหารจัดการแบบทีเ่ น้นหนัก ทีไ่ ปยึดเอา หน้าที่ ยึดหน่วยงาน ยึดการสัง่ การตามลำ�ดับขัน้ บังคับบัญชามาใช้ ทีมงานคิดเสมอว่า ครูผู้ดูแลเด็ก ทันตบุคลากร ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งหมด คือ ทรัพยากรอันมีค่า เขาพร้อมที่จะร่วมมือร่วมใจ พัฒนา ร่วมกันกำ�หนดทิศทางกระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ ร่วมกัน ลองมาฟังเสียงจากภาคีเครือข่ายในพืน้ ที่ ในวันทีเ่ ราได้ ถอดบทเรียนร่วมกันดูนะคะ
หายเหนื่อยครับ” คุณหมอบอล (ทพ.วรพจน์ ตรีประเสริฐสกุล) ทันตแพทย์ปฏิบัติการโรงพยาบาลป่าบอน ผู้ที่ช่วยประสานงาน และช่วยเหลือคุณครูในทุกศูนย์มาโดยตลอด กล่าวด้วย ใบหน้ายิ้มแย้ม “ผมเห็นผลงานของพี่ ๆ ที่ศูนย์เด็กแล้ว ผมก็หายเหนื่อยครับ ดีใจกับความสำ�เร็จของครู เด็กรุ่นใหม่ ๆ มีสุขภาพฟันดีขึ้นด้วยฝีมือคุณครูของเรา แน่นอนครับ”โอกาสต่อไปผมคิดว่าน่าจะพัฒนาและขยายโครงการให้ครอบคลุม ทุกศูนย์ในเขตป่าบอนครับ พีส่ มพร (สมพร จันทร์ศริ )ิ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำ�นาญงาน กลุม่ งานทันตกรรม รพ.สงขลา เป็นผู้คอยสนับสนุนวิชาการ และประเมินผลโครงการ บอกว่า “ดีมากค่ะ ทีไ่ ด้เข้าร่วมโครงการ ได้พฒ ั นาศักยภาพ ครูผดู้ แู ลเด็ก เปิดโอกาส มีเวทีให้ครูได้แสดงความสามารถได้เต็มที่ อยากให้ขยายไปยังศูนย์พฒ ั นา เด็กเล็กอื่น ๆ ด้วยและมีการติดตามประเมินผล” วารสารทันตภูธร 41 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
น้องนฤทธิ์ (นฤทธิ์ สมชัย)เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลป่าบอน “ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้มาร่วมโครงการนี้ เนื่องจากโดยส่วนตัวเพิ่งมาเริ่มทำ�งาน ยังไม่ได้มาร่วมงานลักษณะนีม้ ากเท่าไหร่ ครัง้ นี้ ก็ได้ความคิดแนวใหม่ๆ เพิม่ ขึน้ ซึง่ คิดว่าสามารถนำ�แนวคิดทีห่ ลากหลายต่างๆ เหล่านี้ ไปใช้จริงกับพืน้ ทีท่ ต่ี นเอง รับผิดชอบอยู่ อยากให้เกิดเครือข่ายระหว่างศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กกับโรงเรียนประถม และกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ใกล้เคียงด้วย” น้องอ๋อ (นวลอนงค์ อมราพิทักษ์) เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำ�นาญงาน โรงพยาบาลป่าบอน “รู้สึกภูมิใจ ดีใจ มาก ที่คุณครูทุกๆ คน ได้รว่ มคิดสร้างสรรค์ ผลิตสือ่ หลากหลาย ออกมาให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสามารถขยายไปสู่โรงเรียนประถม ศึกษาได้ จึงอยากขอขอบคุณคุณครูทุกคนที่แบ่งปันให้กับเด็กกลุ่มอื่นด้วย มิใช่ เฉพาะกลุ่มเด็กเล็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเท่านั้น จึงอยากให้มีการขยายโครงการ ไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่นด้วย” น้องเจน (ภัทรพร จินต์พิศุทธิ์) เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา “ภูมิใจ ได้รับความไว้วางใจจากครูพี่เลี้ยง เกิดสานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เด็กก็มีสุขภาพช่องปากดีขึ้น ต่อไปคิดว่าอยากจะจัดตั้งธนาคาร สื่อทันตสุขภาพในแต่ละจังหวัดช่วยกันผลิต แบ่งปันกันใช้ ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด”
พี่มะซักรี (มะซักรี แวดราแม) องค์การบริหารส่วนตำ�บลระแว้งอำ�เภอยะรังจังหวัดปัตตานี เป็นผู้รับผิดชอบดูแล เกี่ยวกับการศึกษาของ อปท. “เป็นโครงการที่ดี ที่สามารถทำ�ให้เด็กๆ รู้จักดูแลสุขภาพในช่องปากของตนเอง รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ มีสื่อประดิษฐ์ที่หลากหลาย ที่สามารถ นำ�ไปปรับใช้ในการจำ�ประสบการณ์เรียนรู้ เป็นที่น่ายินดีมากที่ได้เข้ามามีส่วนร่วม กับโครงการนี้ เพื่อได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน ของครูผดู้ แู ลเด็กของแต่ละศูนย์ เพือ่ จะได้น�ำ ไปปรับใช้ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ให้กับเด็กๆ ให้มีความหลากหลาย อยากให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในโครงการด้วย เพราะผูป้ กครองจะได้มคี วามกระตือรือร้น สนใจ สุขภาพในช่องปากของเด็กมากขึน้ อยากให้มีโครงการนี้ต่อไปครับ” วารสารทันตภูธร 42 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
น้องนูรีซัน (นูรีซัน บิลหยีหลี) นักวิชาการศึกษาเทศบาลเมืองบ้านพรุ “ เห็นพัฒนาการของผู้ดูแลเด็กในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในการนำ�สื่อและนวัตกรรมมาใช้ประกอบการสอน รู้สึกภาคภูมิใจ ที่ได้รับให้เข้าร่วมโครงการฯ”
รองวรัญญา (วรัญญา เฟื่ องฟ
อ. เมือง จ. ปั ตตานี
รองวรัญญา (วรัญญา เฟือ่ งฟู)รองผูอ้ ำ�นวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดนพวงศารามอ. เมือง จ. ปัตตานี “ดีใจที่ได้รับเกียรติจากคณะทันตแพทยศาสตร์ ให้เข้าร่วมโครงการ เป็นหน่วยงานที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ส่งเสริม สนับสนุน ให้กำ�ลังใจ ต่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการพัฒนาสุขภาพช่องปากให้กับเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี เมื่อเข้าร่วมโครงการทำ�ให้ศูนย์ฯ มีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะมีการพัฒนาสือ่ ทีเ่ หมาะสมกับวัย มีผปู้ กครองเข้ามาร่วมด้วย ช่วยกันในการพัฒนา ความภาคภูมใิ จ พวกเราสามารถพัฒนาให้เด็ก สุขภาพช่องปากดีขน้ึ มีความสุขกับการเรียนรู้ และเด็กๆ มีการพัฒนา ทั้งด้าน IQ EQ MQ ได้อย่างชัดเจน” ตั้งใจจะดำ�เนินการต่อเมื่อโครงการสิ้นสุดลง โดยเฉพาะสิ่งที่ต้องการพัฒนาต่อก็ได้แก่ การสร้างสื่อ การเรียนรู้ที่ หลากหลาย ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเด็กๆ ในทุกๆ ด้าน และจะสร้างเครือข่ายในการสร้างสื่อเพื่อพัฒนาสุขภาพช่องปากให้กับ ศูนย์ฯอื่นๆ และโรงเรียนระดับอนุบาล ได้ฟังแบบนี้อยากบอกว่าหายเหนื่อยจริงๆ ทำ�ให้ทีมงานได้เรียนรู้ว่า โครงการวิจัยพัฒนาสื่อฯทำ�ไปพร้อมกับการ พัฒนาคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พัฒนาเครือข่ายและได้พัฒนาตัวทีมงานเองด้วย แต่กุญแจสำ�คัญก็คือ “ครูผู้ดูแลเด็ก” เป็นผู้นำ� หน่วยงาน ทีมงาน ภาคี มีบทบาทเป็นเพียงแค่ผู้สนับสนุน ส่งเสริม ผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป โครงการดังกล่าวมีผลงานที่สามารถเผยแพร่ได้บางส่วน หากท่านผู้อ่านสนใจนิทานสำ�หรับเด็กสามารถดาวโหลดไฟล์ ข้อมูลได้ที่ http://www.dent.psu.ac.th/unit/jrohc/ ยินดีรับข้อเสนอแนะจากทุกๆ ท่านค่ะ
วารสารทันตภูธร 43 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
กิจกรรม เครื อข่าเครืยทัอข่นายทั ตบุนตบุ คลากรสร้ งเสริ สุขภาพคนพิ กิจกรรม คลากรสร้าางเสริ มสุขมภาพคนพิ การ การ
การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “จากงานประจาสู่งานวิจัย” ครั้งที่ 5 ในวันที่ 10 – 12 กรกฎาคม ทาง สวรส. และภาคีเครือข่าย R2R จะจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “จากงานประจาสู่งานวิจัย” ครั้งที่ 5 นี้ ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ซึ่งจะมีการมอบรางวัล ให้กับงานวิจัยดีเด่น พร้อมนาเสนองานวิจัย R2R ที่เป็นแบบอย่างจากการ พัฒนาคุณภาพต่อยอดด้วยความสุขของงานวิจัย , เทคนิคการทางาน R2R ที่ง่ายแต่ได้คุณค่า, แนะแนวทางสู่งานระดับสากล และยังเป็นการพบปะ เชื่อมโยงเครือข่าย R2R ทั่วประเทศ
เครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สสพ. ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง“การพัฒนาระบบบริการทันตสุขภาพคนพิการในงานบริการปฐมภูมิ ” ณ ห้อง Sapphire 202 วันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2555 (เช้า) วิทยากร ดังรายนามต่อไปนี้ ทพญ.สุรีรัตน์ สูงสว่าง รพ.น่าน จ.น่าน, ทพญ.วิโรชา เพียรเจริญ รพ.ป่าบอน จ.พัทลุง , ทพญ.เยาวพา จันทรบุตร รพ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด, ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ โดยมี ผู้นาสนทนาคือ พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อานวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ
สถาบั น ทั น ตกรรม และ ศู น ย์ เ ทคโนโลยี อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละคอมพิ ว เตอร์ แ ห่ ง ชาติ (เนคเทค) น าโดย ทพญ.วีรนันท์ วิชาไทย ติดตั้งเด็นทัลแพลทฟอร์ม (dental platform) ต้นแบบ สาหรับการทาฟันคนพิการและคน สูงอายุที่นั่งวีลแชร์ ณ.โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้ อยเอ็ด และโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัด เชียงราย วารสารทันตภูธร 44 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ความฝันที่จะ... ดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการ ชิวเหรียญ
ต่อเนื่อง จากบทความตามล่าหาผู้ป่วยเบาหวาน แผนงานในปีงบประมาณ 2555 นอกจากกิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก
และให้บริการทันตกรรมผู้ป่วยเบาหวานที่ทำ�อย่างต่อเนื่องแล้ว ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลนากลาง ได้วางแผนจัดกิจกรรม โครงการเบาหวานอ่อนหวาน : ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานด้วยทีมสุขภาพ โรงพยาบาลนากลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรค เบาหวานที่ควบคุมระดับนํ้าตาลไม่ดี (Uncontrolled-DM) ได้เข้าร่วมการปรับพฤติกรรมโดยทีมสุขภาพ โรงพยาบาลนากลาง โดย หวังผลให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสภาวะโรคเบาหวานอยู่ในระดับที่ดีขึ้น และสามารถดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง รวมถึงเพื่อให้เกิด การทำ�งานร่วมกันของสหวิชาชีพทางสาธารณสุข เกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งในเบื้องต้นได้มีการปรับ ทัศนคติของทีมสหวิชาชีพที่เข้าร่วม โดยพาเจ้าหน้าที่ทีมเบาหวานอ่อนหวานลงพื้นที่ พูดคุยกับผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่ตำ�บลนากลาง ใช้แบบสัมภาษณ์กงึ่ โครงสร้างเป็นเครือ่ งมือช่วยในการเข้าถึงผูป้ ว่ ย ขัน้ ตอนเริม่ ต้นนีเ้ ป็นการปรับพืน้ ฐานเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขให้เข้าใจ ผูป้ ว่ ยมากขึน้ ก่อนทีจ่ ะทำ�กิจกรรมเบาหวานอ่อนหวาน หวังให้การสือ่ สารของเจ้าหน้าทีเ่ พือ่ เพิม่ ทักษะความรูแ้ ก่ผปู้ ว่ ย สามารถเข้าใจ ได้ง่ายขึ้น นำ�ไปใช้จริงได้มากขึ้น วารสารทันตภูธร 45 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่พบว่าปัญหาเรื่องการบริโภค เป็นปัญหาหลักของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยมักจะทาน ข้อมูลทีไ่ ด้จากการลงพืน้ ทีพ่ บว่าปัญหาเรือ่ งการบริโภคเป็น ปัญหาหลักของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยมักจะทาน อาหาร ประเภท แกงพืน้ บ้าน ปลา ลวกผัก แจ่ว แต่กย็ งั มีระดับนา้ํ ตาลสูง อยู่ เนื่องจากผู้ป่วยจะทานกับข้าวเหนียว แม้หมอจะแนะนำ�ให้ ทานข้าวเจ้า แต่ก็ขัดกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่ส่วนใหญ่นิยม ทานข้าวเหนียว รวมถึงหมอบอกให้ทานข้าวเหนียวปริมาณน้อย แต่ไม่อธิบายให้ชัดเจนว่าปริมาณน้อยคือปริมาณเท่าใดของ แต่ละบุคคล จากการสอบถามและเปิดดูตู้กับข้าว ตู้เย็น พบว่า ผู้ป่วยยังนิยมทานนมรสหวาน นมเปรี้ยว โอวัลติน ทั้งที่ทราบว่า หมอให้ลดของหวาน ขนมหวาน แต่เห็นว่าเป็นนมน่าจะทานได้ เพราะนมมีประโยชน์ รวมถึงผู้สูงอายุบางราย ลูกหลานหรือตัว เองต้องซื้ออาหารปรุงสำ�เร็จทาน ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นเมนูปิ้ง ย่างหรือแกงกะทิ ทัศนคติของผูป้ ว่ ยเบาหวานเข้าใจว่าเบาหวาน เป็นโรคไม่หายขาด ถ้าเป็นแล้วจะต้องทานยาไปตลอดชีวิต ซึ่ง ความเข้าใจในเรือ่ งยาทีไ่ ม่ถกู ต้องก็ท�ำ ให้สง่ ผลต่อระดับนํา้ ตาล ของผู้ป่วยได้ เช่น ผู้ป่วยจะต้องทานยาก่อนอาหารเช้า แต่วิถี ชีวิตชาวนาชาวไร่ต้องออกไปทำ�งานแต่เช้ามืด พอกลับถึงบ้าน หิวข้าวมาก เผลอทานข้าวก่อน ก็เลยไม่ทานยา เพราะหมอบ อกว่าต้องทานก่อนอาหาร ส่วนข้อมูลโรคในช่องปาก มีผู้ป่วย เบาหวานบางรายที่ให้ข้อมูลว่าไม่แปรงฟันเลย เพราะปวดฟัน เวลาแปรงฟัน (เป็นความจริงที่หมอฟันนึกไม่ถึง และดุคนไข้ว่า ไม่แปรงฟันจะหายปวดได้อย่างไร ^^) เมือ่ ถามถึงความรูใ้ นการ ดูแลตนเอง ผูป้ ว่ ยโรคเบาหวานส่วนใหญ่เคยฟังอบรมสุขศึกษา แล้ว แต่ลืมและไม่ได้นำ�มาปรับใช้ในชีวิตประจำ�วัน จากขั้นตอนนี้ นอกจากจะได้ข้อมูลจากผู้ป่วยแล้ว ยังได้ ทราบทัศนคติของทีมสหวิชาชีพด้วย โดยพบว่าส่วนใหญ่ยังไม่ เล็งเห็นถึงความสำ�คัญในการลงศึกษาความเป็นอยู่ที่แท้จริง ของผู้ป่วย และยังไม่รู้สึกว่ากระบวนการรักษา การสื่อสารให้ ความรู้ของผู้ให้การรักษาเป็นปัญหาหนึ่งที่ส่งผลต่อโรคของผู้ ป่วย ทำ�ให้เรามักจะเห็นเหตุการณ์ต่อไปนี้บ่อยครั้งในการตรวจ ผู้ป่วย คือผู้ป่วยมักตอบคำ�ถามโดยมองไปที่ความคิดของหมอ พยายามตอบสิ่งที่คิดว่าหมอจะพอใจ หมอก็มักตั้งคำ�ถามโดย มีกรอบของวิชาชีพครอบงำ� ถามเพื่อให้ได้คำ�ตอบตามที่หมอ ต้องการ ไม่ได้ถามเพื่อพยายามเข้าใจผู้ป่วย ในการที่หมอลง ชุมชนครั้งนี้นั้น หมอมีเวลาเป็นตัวกำ�กับ ทำ�ให้หมอใช้เวลาได้ วารสารทันตภูธร 46 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ไม่นานนัก แต่การให้คำ�แนะนำ�แก่ผู้ป่วยเพื่อให้เกิดการยอมรับ นั้น จำ�เป็นต้องใช้เวลานาน การเข้าใจผู้ป่วยที่เป็นชีวิตจริง ต้อง มองเห็นความจริง เข้าใจชีวิต สุขภาพของผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วย แบบบูรณาการจึงเป็นการบูรณาการระหว่างทฤษฎีกบั สภาพจริง ผู้ป่วยและหมอต้องร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน เรียนรู้จากสภาพจริง ของจริง เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากขึ้น ในขั้นตอนต่อไปของโครงการคือการเข้าคอร์สปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของผู้ปว่ ยเบาหวาน ซึ่งจะเริม่ ทีผ่ ปู้ ่วยเบาหวานอาสา สมัครกลุม่ เล็กๆ แต่กถ็ อื เป็นจุดเริม่ ต้นทีย่ งิ่ ใหญ่ในการเรียนรูไ้ ป พร้อมๆ กันของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แล้วจะมาเล่าความคืบ หน้าให้ฟังอีกนะคะ...^ ^
3P กับก้างติดคอ:ดูแลผู้ป่วยร่วมอย่างมีคุณภาพ โดย ทพญ.มยุเรศ เกษตรสินสมบัติ รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว น่าน
“หมอคะ ER โทรมาจะส่งคนไข้มาคะ” ผูช้ ว่ ยคนสวยยืน่ หน้า มาบอกขณะที่หมอกำ�ลังเตรียมตัวไปทานอาหารเที่ยง “Case อะไรคะ” “ก้างติดคอคะ” น้องทันตแพย์ใหม่ที่พึ่งมาบรรจุหัน หน้ามามองด้วยเครื่องหมายคำ�ถาม? “อ๋อที่นี่นะถ้ามีก้างติดคอ หรือมี Foreign Body อะไรติดทีค่ อ แพทย์จะส่งมาทีห่ อ้ งฟันคะ” น้องทันตแพทย์ทำ�หน้างงๆ เพราะตอนเรียนมาก็ไม่เคยมีการ เรียนการสอน การปฏิบัติเรื่องนี้มาก่อน นั่งรออยู่สักพัก คุณป้า ถือ OPD Card เดินเข้ามาด้วยสีหน้าแบบไม่สบายสุดๆเพราะ น่าจะเจ็บรำ�คาญน่าดูทีเดียว คุณป้าเล่าว่า เมื่อ 4 วันก่อนรับ ประทานอาหารเย็น ข้าวเหนียวกับปลานิลทอด ตามคำ�แนะนำ� ของหมอทีบ่ อกว่าผูส้ งู วัยต้องทานปลาเยอะๆ ทานข้าวยังไม่ทนั อิ่มก็รู้สึกว่ามีอะไรติดคอ ดื่มนํ้าก็แล้ว ทำ�วิธีแบบชาวบ้านทาง เหนือเวลาก้างติดคอ จะปัน้ ข้าวเหนียวเป็นก้อนคลึงหลายๆ รอบ ให้เหนียวเป็นพิเศษ แล้วกลืนก็ไม่ส�ำ เร็จ ลองทำ�มาหลายวันแล้ว วันนี้ลูกสาวเสร็จจากการดำ�นาจึงขอให้พามาโรงพยาบาล ผู้ ช่วยของเราจัดการให้คนไข้นอนที่ยูนิตทำ�ฟัน จัดท่าทางคนไข้ จัดไฟให้เห็นตำ�แหน่งช่องคอได้ชัดเจนเมื่อคนไข้อ้าปาก ถาม
ตำ�แหน่งนอกช่องปากที่ผู้ป่วยคิดว่าติดอยู่ ให้คนไข้อ้าปาก ใช้ ไม้กดลิ้น ตรวจดู อะอ๋า !เจอแล้วนั่นไงอะไรปักอยู่ทอนซิลด้าน ขวา เลยใช้ Artery Forceps คีบดึงขึ้นมาวางบนTray ก้างยาว ทีเดียวทั้งผู้ช่วยทั้งคุณหมอรู้สึกโล่งแทนผู้ป่วย คุณป้าที่อ้าปาก และมีนํ้าตาไหลเพราะถูกกดโคนลิ้นอยู่เปลี่ยนสีหน้าเป็นสดใส อย่างบอกไม่ถกู ยกมือไหว้คณ ุ หมอด้วยความดีใจ “ขอบคุณเจ้า คุณหมอ ทรมานมาหลายวันแล้ว” เที่ยงวันนั้นทั้งผู้ช่วย ทั้งคุณ หมอ ทั้งผู้ป่วย น่าจะทานอาหารกลางวันอย่างเอร็ดอร่อย โดย เฉพาะผู้ป่วยที่บอกกลืนลำ�บากมาหลายวันแล้ว หลายคนคงคุ้น และได้ยินคำ�ว่า ผู้ป่ว ยเป็น ศู น ย์ ก ลาง หลายคนพูดเล่นๆ อย่างอารมณ์ดีว่า “เอาผู้ป่วยนอน (นั่ง) จาก นั้นบุคลากรผู้ดูแลเดินวนรอบๆ ท่าจะสนุกดี” อ้า !ไม่ใช่ซิ อย่าง กรณีนี้ผู้ป่วยก้างติดคอ เขามักจะมาที่ ER ที่ห้อง ER ก็จะมี เตียงนอนผู้ป่วย โคมไฟที่ใช้ส่องทำ�หัตถการต่างๆ แต่เมื่อเทียบ กับยูนิตทำ�ฟันของพวกเราแล้ว ยูนิตทำ�ฟันจะปรับตำ�แหน่งที่ มองตำ�แหน่งช่องปากและคอได้ชดั เจนกว่ามากและคนไข้นา่ จะ ทรมานในการส่องในการล้วงเข้าไปดูลำ�คอน้อยกว่า ที่ER ทาง วารสารทันตภูธร 47 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ทีมแพทย์ผดู้ แู ลกับทีมทันตบุคลากร มานัง่ คุยกันเล่นๆ ตอนทาน ข้าวด้วยกัน ว่าถ้ากรณีอย่างนีเ้ ราน่าจะใช้สถานทีท่ ที่ นั ตกรรมใน การดูผปู้ ว่ ยแบบนี้ จึงเกิด Pathway ในการดูแลผูป้ ว่ ยก้างติดคอขึน้ เมือ่ นำ�มาเทียบกับแนวคิดพืน้ ฐานของการพัฒนาคุณภาพ 3Pเล่นๆ ก็พบว่าเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยรายนี้ (Purpose) คือการRemove Foreign Body เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขสบาย ที ม งานผู้ เ กี่ ย วข้ อ งมานั่ ง คุ ย กั น ในกระบวนการดู แ ลผู้ ป่ ว ย (Process)ต้องใช้เครื่องมือใดบ้าง ใครจะช่วยดูบ้าง เมื่อรักษา แล้วก็ดูผลลัพธ์ (Performance) เป็นอย่างไรมานั่งคุยกันต่อ จะ พัฒนาเพิ่มเติมส่วนไหนอีก (PDSA) จะเห็นว่าการทำ�งานก็จะ สำ�เร็จได้ง่ายขึ้น ถ้าทีมงานผู้ดูแลผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องได้คุยกัน มี การแบ่งหน้าทีเ่ พือ่ ทีจ่ ะทำ�กิจกรรมร่วมกันเพือ่ ให้บรรลุผลสำ�เร็จ ดังคำ�กล่าวที่ว่า A team is a group of people with different abilities, talents, experience, and backgrounds who have come together for a shared purpose.Despite their individual differences, that common goal provides the thread that defines them as a team. อย่างกรณีนที้ งั้ แพทย์ ทันตบุคลากรเราก็มเี ป้าหมายในการ
วารสารทันตภูธร 48 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ดูแลผู้ป่วยรายนี้เหมือนกัน นั่งคุยกันกำ�หนดแนวทางร่วมกัน การเปิดใจยอมรับความสามารถของทีม ไว้วางใจซึ่งกันและกัน หลายครั้งที่แพทย์ส่งคนไข้มาแล้วไม่สามารถ Remove ออกได้ หรือมองไม่เห็นในตำ�แหน่งทีท่ นั ตบุคลากรจะทำ�ได้กม็ ี Pathway ที่จะส่งต่อให้แพทย์ส่องกล้องต่อไป พวกเราทั น ตบุ ค ลากรโดยเนื้ อ งานของเราถ้ า ไม่ เ ปิ ด ใจ แล้ว เรามักจะแคบเพราะเรามักจะอยู่แต่ห้องฟัน รักษาแต่อุด ขูด ถอน ของเรา ทำ�ให้หลายคนไปทำ�งานแล้วบอกว่าเหงา ไม่มี เพื่อน ไม่รู้จักใคร จริงๆ แล้วทันตบุคลากรเราสามารถไปเชื่อม ไปแตะ กระบวนการการดูแลผูป้ ว่ ยร่วมกับวิชาชีพอืน่ ๆ ได้เสมอ เช่น ปัจจุบันนี้โรคผู้ป่วยเรื้อรังโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง มักจะเป็นปัญหาสำ�คัญในแต่ละโรงพยาบาล ที่ จ ะต้ อ งจั ด กระบวนการดู แ ล ทางที ม ทั น ตบุ ค ลากรเราจะ เข้าไปเชื่อมในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเหล่านี้อย่างไร เพราะนอกจากจะได้งาน แล้วเราจะได้ เพื่อน ได้กัลยาณมิตร เป็นการสร้างคุณค่า แก่ตัวเราและแก่วิชาชีพของพวกเราด้วย และผลลั พ ธ์ สุ ด ท้ า ยก็ จ ะเกิ ด กั บ ผู้ ป่ ว ยอย่ า งมี คุ ณ ภาพและ ประสิทธิภาพต่อไป
เริม่ ต้นจากสื่อสารด้วยใจ... โยงไปสู่การดูแลช่องปาก โดย ผศ.ทพญ.เสมอจิต พิธพรชัยกุล คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
“รู้สึกตื่นเต้น...แต่ก็กังวลว่าเด็กตาบอดจะอยู่กับเราได้มั้ย ...นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ผมได้ทำ�กิจกรรมร่วมกับคนพิการ” “ตื่น เต้น เพราะนี่เป็นครั้งแรกเลยที่ได้สัมผัสคนตาบอดแบบใกล้ชิด ปกติแค่เข้าไปบริจาคขนมแล้วก็กลับ แต่นี่ได้ไปใช้ชีวิตร่วมกัน ตัง้ 2 วัน 1 คืน กังวลไปหมด...เราจะช่วยน้องๆ เขายังไงดี” “สำ�หรับตัวเอง...นับว่าเป็นครั้งแรกเลยที่ได้มาทำ�กิจกรรม ร่วมกับเด็กตาบอด บอกได้คำ�เดียวว่าตื่นเต้นมาก ก็น้องเขา มองไม่เห็นเรา เราจะสื่อสารกับเขายังไง????? ...สักพักก็เริ่ม เกิดความรู้สึกกลัว กลัวตรงตาของเขา น่ากลัวจนบอกไม่ถูก พยายามไม่คิดถึง...เพราะยังไงในใจก็ยังไม่เชื่อว่าน้องเขาจะ สามารถทำ�ได้ทกุ อย่างจริงๆ ขนาดเรามีตาครบ 2 ข้างยังทำ�บาง อย่างไม่ได้เรือ่ งเลย แล้วน้องเขาจะทำ�ได้อย่างไร...ตืน่ เต้น กังวล กลัว...ปนกันไปหมด” นีเ่ ป็นส่วนหนึง่ ของความรูส้ กึ ของนักศึกษาทันตแพทย์ชนั้ ปี ที่ 3 คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้
บอกเล่าผ่านตัวหนังสือว่าก่อนจะไปทำ�กิจกรรม “สือ่ สารด้วยใจ” ที่ต้องใช้เวลา 2 วัน 1 คืน อยู่ร่วมกับน้องๆผู้พิการทางสายตา หลายคนคงสงสัยว่าทำ�ไมต้องไปด้วย...ก็เนื่องจากว่า ที่ คณะทั น ตแพทยศาสตร์ แ ห่ ง นี้ ไ ด้ จั ด ให้ มี ก ารเรี ย นการสอน รายวิชา การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคทางทันต แพทยศาสตร์ ซึ่งแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 12 คน นักศึกษาแต่ละกลุม่ จะได้มปี ระสบการณ์การทำ�งานส่งเสริมสุข ภาพช่องปากในกลุ่มเป้าหมาย(ขนาดเล็ก) ภายในระยะเวลา ประมาณ 1 ภาคการศึกษา และกลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่อาจารย์ เลือกให้นกั ศึกษากลุม่ นีไ้ ด้มโี อกาสเรียนรูค้ อื เด็กนักเรียนผูพ้ กิ าร ทางการมองเห็น ใน รร. สอนคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ นักศึกษากลุ่มนี้ก็เลยต้องเตรียมความพร้อมก่อนที่จะไปทำ� กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคตามวัตถุประสงค์ ของรายวิชา นี่คือที่มาของกิจกรรมสื่อสารด้วยใจ แล้ว 2 วันนั้นเราทำ�อะไรกันบ้าง...เราทำ�การบ้านมาก่อน วารสารทันตภูธร 49 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ก่อนไปร่วมกิจกรรมครัง้ นี้ นักศึกษาทันตแพทย์ได้มโี อกาสเข้าไป ในโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด 1 ครัง้ ฟังบรรยายประวัตกิ ารก่อ ตั้งโรงเรียนจากคุณประหยัด ภูหนองโอง และอาจารย์สนอง จวนสาง ผู้อำ�นวยการโรงเรียน ฟังบรรยายเกี่ยวกับธรรมชาติ ของคนพิการทางสายตา แล้วก็ได้ไปสังเกตน้องๆ คนพิการทาง สายตาเรียนหนังสือประมาณ 15 นาที พอได้ไอเดียนิดๆ เกี่ยว กับคนพิการทางสายตา แล้วทัง้ พีๆ่ นักศึกษาและน้องๆ คนพิการ ทางสายตา ก็ได้การบ้านกันไปทั้งสองฝ่าย โดยการบ้านของพี่ๆ คือ เตรียมกิจกรรม เกมส์ ไปเล่นกับน้องๆ ผูพ้ กิ ารทางสายตา 1-2 เกมส์ ขณะที่น้องๆก็มีการบ้านให้เตรียม กิจรรม หรือเกมส์มา เล่นกับพี่ๆ 1-2 เกมส์ เหมือนกัน ...เป็นความเสมอภาค ...สอง เราเท่ากัน...เข้าใจว่าต่างฝ่ายก็นา่ จะต่างตืน่ เต้น... มาแอบทราบ ทีหลังว่าคืนนั้น...มีนอนไม่หลับกันทั้งสองฝ่าย... และแล้วก็ได้ทำ�กิจกรรมร่วมกันจริงๆ เริ่มจาการที่พี่ๆ ต้อง ช่วยพาน้องเข้าทีพ่ กั เก็บสัมภาระ ให้นอ้ งทำ�ธุระส่วนตัว แล้วก็มา ทำ�กิจกรรมกลุ่มใหญ่ร่วมกัน กิจกรรมแรกเป็นการทำ�ความรู้จัก กัน ให้พี่กับน้องจับคู่กันตามความสมัครใจ แนะนำ�ตัวทำ�ความ รู้จักกัน แล้วจึงให้พี่เป็นคนแนะนำ�ตัวน้อง และน้องก็เป็นคน แนะนำ�ตัวพีใ่ ห้กบั สมาชิกทัง้ กลุม่ ได้รจู้ กั กัน เป็นการทำ�ความรูจ้ กั กันอย่างสบายๆแล้วจึงให้พี่กับน้องช่วยกันทำ�ป้ายชื่อ หลังจาก นัน้ ก็เป็นการทำ�กิจกรรมสันทนาการ สนุกสนานร่วมกัน เช่นปิด ตาหากลุ่มโดยการทำ�เสียงสัตว์ต่างๆ ช่วยกันบอกชื่อสิ่งของใน หมวดหมูต่ า่ งโดยห้ามซาํ้ กัน ปิดตาแข่งกันร้อยลูกปัด ...หลายๆ ครั้งที่พี่ๆ จะต้องถูกปิดตาเพื่อความเสมอภาคกับน้องๆ เช่นใน เกมส์หาสมบัตทิ ใี่ ห้ทกุ คนปิดตาต่อกันเป็นแถวตอนยาว มีเพียง คนสุดท้ายของแถวเท่านั้นที่เปิดตา แล้วคอยบอกทิศทาง (โดย ไม่ใช้เสียง) ให้ทั้งกลุ่มไปหยิบสมบัติที่ต้องการ หรือเกมส์ปิดตา หา Buddy ที่ปิดตาพี่ๆ แล้วให้หาน้อง Buddy ของตัวเองซึ่งใช้ เวลานานมากกว่าจะแน่ใจว่าใช่ แต่รอบที่ปิดตาน้องๆ พบว่า น้องๆ หาพี่ Buddy ของตัวเองเจอได้เร็วมาก หรือเกมส์ปิดตาด มกลิ่นสิ่งของต่างๆ โดยทุกๆ ครั้งที่ได้เล่นเกมส์หรือทำ�กิจกรรม ร่วมกันจะต้องมีการพูดคุยสรุปถึงสิ่งที่ได้ พบว่านอกจากความ สนุกสนานแล้ว สิง่ ทีไ่ ด้มาโดยไม่รตู้ วั คือ พีๆ่ นักศึกษาทันตแพทย์ มีความเข้าใจคนพิการทางสายตามากขึ้น ทราบถึงอุปสรรคที่มี แต่ในขณะเดียวกันก็เรียนรู้ถึงศักยภาพในการทำ�สิ่งต่างๆ ของ คนพิการทางสายตา ซึ่งตัวนักศึกษาทันตแพทย์เองไม่คาดคิด มาก่อนว่าคนพิการทางสายตาจะทำ�ได้ดีขนาดนี้ เช่น การใช้ วารสารทันตภูธร 50 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
จมูกแยกกลิ่น การปิดตาร้อยลูกปัด การใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ทดแทนการใช้ตาดู นอกจากนี้พี่ๆ นักศึกษาทันตแพทย์ก็ได้เห็นการใช้ชีวิต ประจำ�วันของน้องๆ คนพิการทางสายตาสามารถทานอาหาร ได้โดยเราควรช่วยเหลืออย่างไรบ้าง การเข้าห้องนํ้า เปลี่ยน เสื้อผ้า หรือแม้กระทั่งการแปรงฟัน จนบ่ายแก่ๆ พี่ๆ น้องๆ ก็ ชวนกันไปเล่นนํ้าในสระว่ายนํ้า กลุ่มที่ไม่ชอบว่ายนํ้าก็สามารถ ไปปั่นจักรยานเล่น ก่อนแยกย้ายกันไปเล่นนํ้า ทั้งพี่และน้องจะ ถูกแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก 3 กลุ่ม กลุ่มละ 7-8 คน ได้รับมอบหมาย ไปสร้างสรรค์กจิ กรรมอะไรก็ได้มาภายในหัวข้อ “ความสามัคคี” มาโชว์กันหลังทานอาหารเย็นกลุ่มละ ประมาณ 10 นาทีแต่ละ กลุ่มจะไปวางแผนกันที่ไหนก็ได้ตามสะดวก ก็เป็นช่วงเวลาที่ ทัง้ พีแ่ ละน้องได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์กนั อย่างเต็มที่ กิจกรรมที่ นำ�เสนอก็มีทั้งในรูปการแต่งเพลงใหม่มาร้องร่วมกัน การร่วม กันเล่านิทานทีแ่ สดงออกถึงความสามัคคี แล้วก็การร่วมกันเล่น เกมส์เรือบกทีแ่ สดงถึงความสามัคคีของคนในกลุม่ หลังจากร่วม กันสรุปถึงสิง่ ทีไ่ ด้รบั จากกิจกรรมสร้างสรรค์ความสามัคคีแล้ว ก็ แยกย้ายกันไปพักผ่อน ผ่านวันแรกไปอย่างไม่รู้ตัว... วันที่ 2 หลังจากตื่นนอนพี่ๆ แต่ละคนก็ต้องจัดการให้น้อง
Buddy ของตัวเอง (ซึ่งนอนในห้องเดียวกัน) ทำ�ภารกิจส่วนตัว ตอนเช้า อาบนํ้า แปรงฟัน แต่งตัว และมารับประทานอาหาร เช้าให้เรียบร้อย หลังจากนั้นทุกๆ คนก็ช่วยกันสะท้อนถึงสิ่งที่ได้ จากการมาร่วมกิจกรรมครัง้ นี้ พีๆ่ นักศึกษาทันตแพทย์กไ็ ด้เกริน่ กับน้องๆ ไว้ว่า...นี่เป็นแค่กิจกรรมทำ�ความรู้จักกันในเบื้องต้น เท่านัน้ ต่อไปพีๆ่ จะเข้าไปทำ�กิจกรรมเพือ่ ช่วยให้นอ้ งๆ ดูแลปาก และฟันของตัวเองได้ หวังว่าคงได้รบั ความร่วมมือทีด่ จี ากน้องๆ แล้วน้องๆ ก็ร้องเพลงขอบคุณพี่ๆ ที่ได้จัดกิจกรรมแบบดีๆแบบ นี้ให้นี่เป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกของพี่ๆ นักศึกษาทันตแพทย์ ที่บอกเล่าให้ฟังหลังจากเสร็จกิจกรรมสื่อสารด้วยใจ “รูส้ กึ ประทับใจทีไ่ ด้รว่ มกิจกรรมกับน้องๆ ความกังวลทีเ่ คย มีหายไป หลังจากใช้ชีวิตร่วมกับน้อง แม้จะเป็นเวลาสั้นๆ แต่ ก็ได้รับความรูสึกที่ดีมากมาย...เราไม่ควรเอาคำ�ว่า “พิการ” มา เป็นกำ�แพงในการทำ�ความรู้จักและเข้าใจกัน” “น้องสามารถจำ�ทางได้เร็วมากทั้งๆ ที่มองไม่เห็น เพราะ เพียงแค่ไม่ถึงวัน น้องๆ ก็สามารถเดินจากห้องหนึ่งไปหาเพื่อน อีกห้องหนึง่ ได้โดยไม่ตอ้ งมีใครนำ�...หนูประทับใจมากๆ เลย....” “มีความรู้สึก “เข้าใจ” มาแทนที่ “ความสงสาร” ” “รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำ�กิจกรรมกับน้องๆ ...ช่วยทำ�ลายกำ�แพง
ความกลั ว หรื อ ช่ อ งว่ า งที่ มี เด็ ก ตาบอดสอนให้ เ ราเรี ย นรู้ สัจธรรมหลายๆ อย่าง ความกลัวของเขาและของเราต่างกันโดย สิน้ เชิง (เรากลัวความมืด เขาคุน้ เคยกับความมืด รูส้ กึ เป็นปกติ...)” “ทำ�ให้เข้าใจการใช้ชวี ติ ของคนตาบอดมากขึน้ ว่า..เขาไม่มี อะไรที่ต่างจากคนปกติเลย ยกเว้นเรื่องการมองเห็นเท่านั้น เขา สามารถใช้ชวี ติ ร่วมกับคนปกติได้ ...การทำ�กิจกรรมครัง้ นี้ ถือเป็น จุดเริม่ ต้นของการทำ�งานส่งเสริมสุขภาพ ซึง่ หนูคดิ ว่าเป็นการเริม่ ต้นที่ดีและน่าประทับใจมากๆ....” หลังจากนั้นนักศึกษาทันตแพทย์ก็ต้องกลับไปทำ�กิจกร รมที่รร.การศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่อีกครั้ง ด้วย ความรู้สึกที่แตกต่างไปจากครั้งแรกที่เข้าไปมากๆ นักศึกษา ทันตแพทย์วางแผนให้ครูประจำ�ชั้นแต่ละห้องเป็นผู้ตรวจนับ ฟันผุ (ที่เห็นชัดๆ) แล้วก็ทำ�การย้อมแผ่นคราบจุลินทรีย์ให้กับ นักเรียนด้วยตนเอง คุณครูจะได้เห็นปัญหาด้วยตัวเอง แล้ว ก็ให้คุณครูทำ�แบบสอบถามง่ายๆเพื่อสอบถามความรู้ ความ เข้าใจของครูในเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคในช่องปาก และการดูแล สุขภาพช่องปาก สัปดาห์ถัดมาก็ให้ครูประจำ�ชั้นแต่ละท่านนำ� ข้อมูลทีไ่ ด้มาสรุปเป็นภาพรวมของโรงเรียน คุณครูเห็นปัญหาที่ เกิดขึ้นทั้งในส่วนของนักเรียนและตัวครูเอง ช่วยกันวิเคราะห์ สถานการณ์ หาสาเหตุของปัญหา แล้วก็สรุปว่าเกิดจากความ ไม่ตระหนักของพวกคุณครูในการไปแนะนำ�ช่วยเหลือนักเรียนที่ ตาบอด ขอให้นกั ศึกษาทันตแพทย์ชว่ ยมาทบทวนความรู้ พร้อม แนะนำ� ความรู้ หรือสื่อใหม่ๆ ในการที่จะช่วยดูแลสุขภาพช่อง ปากให้นกั เรียนหลังจากนัน้ พวกคุณครูกไ็ ปจัดกิจกรรมต่างๆเช่น ปรับเปลี่ยนเวลา ชนิดของอาหารที่ทานให้โอกาสเสี่ยงต่อการ เกิดฟันผุลดลง ให้ความรู้ในห้องเรียนเพื่อสร้างความตระหนัก แก่นักเรียนในการดูแลสุขภาพช่องปาก ดูแลการแปรงฟันหลัง อาหารกลางวันและก่อนนอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทุกครั้งที่นักศึกษาทันตแพทย์ได้เข้าไปวางแผน ดำ�เนิน กิจกรรม และประเมินผลสิ่งที่ได้ทำ�ร่วมกับคุณครูและนักเรียน ในโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ นักศึกษา ทันตแพทย์จะเข้าไปทำ�งานอย่างมีความสุข สนุกกับการได้ พบปะพู ด คุ ย กั บ น้ อ งๆ ชื่ น ชมกั บ การเปลี่ ย นแปลงที่ เ ห็ น ใน โรงเรียน นักศึกษาทันตแพทย์หลายคนบอกว่า “แทบลืมไปเลย ว่ากลุ่มเราทำ�กิจกรรมกับคนตาบอด..รู้สึกว่าเป็นการทำ�งาน สร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ไม่ได้แตกต่างกับการทำ�งานในคน ปกติทั่วไป” วารสารทันตภูธร 51 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ขอบคุณน้องๆ
ในวันนำ�เสนอผลงานเพือ่ แลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ว่ มกับชัน้ ปี นักศึกษาทันตแพทย์กลุม่ นีส้ รุปว่า ปัจจัยของความสำ�เร็จในการทำ�งาน ครั้งนี้คือ การก้าวข้ามความกลัวคำ�ว่าพิการไปได้จากการทำ�กิจกรรมสื่อสารด้วยใจ และ สรุปประเด็นที่ได้เรียนรู้ว่า “ ขอบคุณคุณครูทกุ ท่านทีท่ �ำ ให้พวกเรารูว้ า่ ความอดทนและความรักเป็นพลังทีท่ �ำ ให้เกิดการเปลีย่ นแปลง.....ขอบคุณน้องๆ ที่ เปิดตาและเปิดใจพี่ๆ ให้เข้าใจผู้พิการมากขึ้น......ขอบคุณอาจารย์ที่คณะทันตแพทย์ ผู้คอยอยู่เคียงข้าง ให้คำ�แนะนำ� และผลักดัน ให้พวกเราเกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุด....แม้ว่าจะเป็นก้าวเล็กๆ แต่ก็ถือเป็นประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่สำ�หรับพวกเรา” นี่คงเป็นตัวอย่างเล็กๆ อันหนึ่งที่พยายามบูรณาการสอดแทรกเรื่องคนพิการไว้ในหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต ของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วารสารทันตภูธร 52 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
สุขอยูท่ ใี่ จ..เมือ่ ..กายได้กระทำ� นุชวรา ดอนเกิดและคณะเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำ�นาญงาน โรงพยาบาลบุ่งคล้า อำ�เภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ
อ
โรคยาปรมาลาภาการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ฉันเพิง่ เข้าใจลึกซึง้ กับคำ�ๆนีเ้ มือ่ มีโอกาสได้ออกหน่วยโครงการสานฝันเยีย่ มบ้านผูส้ งู อายุ ผูป้ ว่ ยเรือ้ รัง ผูพ้ กิ ารฟืน้ ฟูสขุ ภาพดีอ�ำ เภอบุง่ คล้าจังหวัดบึงกาฬ ร่วมกับเจ้าหน้าทีก่ ายภาพและแพทย์แผนไทย พยาบาลเวช ปฏิบตั ปิ ระจำ� รพ.สต.อสม. และนักสังคมสงเคราะห์จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ เมือ่ เดือนธันวาคมปี 2553 นี่เองเดือนธันวาปีนี้เป็นเดือนที่ดีที่สุดสำ�หรับชีวิตฉันเดือนหนึ่งที่น่าจดจำ�เพราะเป็นเดือนที่แทบจะเปลี่ยนชีวิต ทั้งชีวิตฉันเลยที่เดียวเปลี่ยนที่ทำ�งานใหม่เปลี่ยนเพื่อนใหม่ ที่สำ�คัญได้กลับมารับใช้บ้านเกิดของตัวเอง โชคดี ก่อนปีใหม่จะมาถึงด้วยซํ้าก่อนหน้านี้ฉันคิดว่าการไม่มีโรคก็แน่นอนอยู่แล้วมันเป็นลาภอันประเสริฐ แต่ถ้าจะ มองอีกแง่หนึ่งถึงมีโรคก็ไม่เห็นว่าวิถีชีวิตจะเปลี่ยนไปสักเท่าไหร่คนเป็นเบาหวานความดัน มารับยาแทบทุก เดือนก็เห็นเขายังใช้ชีวิตอยู่กับโรคได้เป็นปกติดีอยากไปไหนก็ไปได้เหมือนเดิม อยากกินอะไรก็กินได้เพียงแต่ อาจจะกินให้จำ�กัดเท่านั้นแต่พอฉันได้มีโอกาสออกเยี่ยมบ้านผู้พิการแล้วทำ�ให้รู้ว่าความหมายมันมากกว่าที่ ฉันเข้าใจมากทีเดียว
วารสารทันตภูธร 53 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
กิจกรรมที่เราออกเยี่ยมบ้านเราแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน พยาบาลประจำ� รพ.สต.และอสม.พาลงพื้นที่มีประวัติข้อมูล คนไข้ตรวจสุขภาพเบือ้ งต้นวัด Vitalsight ทำ�แผลติดตามเปลีย่ น ถ่ า ยอุ ป กรณ์ ก รณี ที่ จำ �เป็ น นั ก กายภาพบำ � บั ด ตรวจประเมิน อาการ แนะนำ�ท่าการบริหารฝึกการเคลื่อนไหว / การยืนด้วย อุปกรณ์ส่วนเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยนวดรักษา ฟื้นฟูสภาพ ร่างกายแก่คนไข้และให้ค�ำ แนะสอนการนวดแก่ญาติ พร้อมมอบ ยานวดให้ด้วยส่วนฉันมาจากห้องฟันก็ดูฟันนอกจากตรวจช่อง ปากแล้วก็แนะนำ�และสอนเรื่องการแปรงฟัน มอบแปรงสีฟัน – ยาสีฟันแนะนำ�รักษาต่อที่โรงพยาบาล นักสังคมสงเคราะห์อาจ ไม่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแต่เขาคือคนสำ�คัญในการแนะนำ� การขึ้นสิทธิ์เปลี่ยนสิทธิ์การต่อบัตร ทำ�ให้เรื่องบัตรผู้พิการได้รับ การดูแลและแก้ไข วันนั้นพวกเราไปเยี่ยมคนไข้พิการในตำ�บล บุง่ คล้าได้ 8 คนมีทงั้ ทีน่ อนแบะอยูบ่ นทีน่ อนต้องเก็บขีเ้ ก็บเยีย่ วมี ทัง้ ทีก่ �ำ ลังหัดเดินการสือ่ สารรูเ้ รือ้ งบ้างไม่รเู้ รือ่ งบ้างแต่ละคนมีดี มีเสียไม่เท่ากันแต่ทแี่ น่ๆมีเสียกันทุกคนบางคนก็เสียการทรงตัว บางคนเสียการสื่อสารเสียงหัวเราะแทบไม่มีเลยส่วนฉันยิ่งไป หลายคนเข้ายิ่งสลดหดหู่ ขาก็ก้าวแทบจะไม่ออกไม่ใช่เหนื่อย เพราะฉันเคยเหนือ่ ยกายมามากกว่านี้หลายเท่าแต่นฉี่ ันเหนือ่ ย ใจฉันได้ซงึ้ กับคำ�ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าวก็วนั นีเ้ อง”พอกลับ มาถึงที่ทำ�งาน “พี่นุชเป็นไงบ้าง” เสียงของทันตแพทย์อดิศักดิ์จรัสเมธาวิทย์หรือใครๆ มัก เรียกกันติดปากว่าหมอต้อม หัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุข โรง พยาบาลบุ่งคล้า “ก็ โอเคคะแต่ว่า!!!...มันหดหู่จังเลยค่ะ” หลังจากนัน้ ฉันก็เล่าให้หวั หน้าฟัง“พีน่ ชุ ถ้าคนไข้พกิ ารทีเ่ ดิน ทางมาโรงพยาบาลลำ�บาก แต่มคี วามจำ�เป็นทีจ่ ะต้องถอนฟันพี่ ก็ให้คำ�แนะนำ�และพาผมไปถอนให้ที่บ้านได้เลยนะพี่”“ได้เหรอ ค่ะคุณหมอ”ฉันตอบออกไปทั้งๆ ที่ยังงงเพราะคาดไม่ถึงว่าแค่ เราคิดหมอก็รู้แล้วแต่...จริงๆ แล้วฉันว่าคงไม่ใช่คุณหมอหยั่งรู้ อะไรหรอกเพียงแต่วา่ พวกเราคิดถึงความสะดวกและความรูส้ กึ คนไข้เป็นสำ�คัญเหมือนกันมากกว่า
วารสารทันตภูธร 54 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
วันนัน้ ทัง้ วันหากมีใครโทรหา ฉันก็จะเล่าแต่เรือ่ งออกเยีย่ ม บ้านให้เขาฟังไม่เว้นแม้แต่สามีและเพื่อนใน face book หลัง จากวันนัน้ ฉันก็คดิ หาวิธวี า่ จะช่วยให้ฝนั ของคนไข้พกิ ารเป็นจริง หรือมีความหวังมากขึ้นได้อย่างไรเพราะฉันคิดว่าการที่เราจะ บำ�บัดฟืน้ ฟูเฉพาะร่างกายเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอเราต้อง ช่วยฟืน้ ฝันและความหวังของชีวติ เขาด้วยแม้วา่ อาจจะเป็นเพียง ฝันเล็กๆ ก็ตามและต้องบำ�บัดญาติผู้ดูแลด้วยเช่นกัน กำ�ลังใจเริม่ มาหลังจากทีอ่ อกเยีย่ มบ้านกัน2ครัง้ ครัง้ ที3่ ฉัน มีโอกาสได้กลับไปเยี่ยมcaseเก่าๆ น้องอ้อมใจ CVA ซีกซ้าย ตัง้ แต่วยั รุน่ ช่วยเหลือตัวเองได้นอ้ ยสือ่ สารประโยคยาวๆ ไม่ได้จ�ำ ได้ว่ามาครั้งแรกน้องอ้อมจะหวาดระแวงพวกเรามากถามอะไร ก็จะร้องเรียกแต่แม่ด้วยเสียงอันดังจับมือแม่ไว้ตลอดเวลา ครั้ง นี้พวกเราลงไปน้องอ้อมกลับมีอาการดีใจจนสังเกตได้พอเดิน เข้าไปใกล้ก็คว้ามือฉันไปจับไว้เอาจมูกมาหอมมือฟอดใหญ่ๆ ขนลุกซู.่ ..แต่หวั ใจพองโตมันเหนือความคาดหมายจริงๆ พอน้อง ม๊อกถามว่าได้ออกกำ�ลังกายอย่างที่สอนไหมน้องอ้อมก็รีบเอา มือข้างขวามาจับมือซ้ายยกขึ้นจนท่วมหัวตัวเอง ถามแม่เรื่อง การเดินก็ดีขึ้น การสื่อสารก็ดีขึ้นที่สำ�คัญสำ�หรับเราพอใจมาก เพราะน้องอ้อมชอบแปรงฟันมาก พอจะกลับน้องอ้อมไม่อยาก ให้กลับคว้าตัวน้องม๊อกไปกอดแล้วหอมแก้มฟอดใหญ่ ทุกวัน นี้ หากไปเยี่ยมน้องอ้อมฉันต้องทำ�ตัวให้หอมเข้าไว้รอรับความ รักโดยการกอดและหอมแก้มฟอดใหญ่หลายๆ ฟอดหอมซะจน แป้งที่ทาไว้จะลบหมดหน้าหันหลังเดินกลับออกมามันให้ความ รู้สึกที่แตกต่างจากครั้งแรกๆ ที่มาราวฟ้ากับเหวลึกความรู้สึก เศร้าๆ หดหูม่ นั หายไปไหนหมดก็ไม่รู้ มันเหมือนมีอะไรมาจุกอยู่ ที่คอพูดไม่ออก ความหวังความฝันที่คิดไว้เพียงแค่ได้บำ�บัดฟื้น ฝันเล็กๆของเขาเหล่านั้นเริ่มเรืองรอง ฉันได้ยินเสียงหัวเราะของ คนไข้ ได้ยนิ เสียงสนทนาตอบโต้กบั เราได้เห็นรอยยิม้ ทำ�ให้อดคิด ไม่ได้วา่ บางคนเขาอาจไม่ได้ยมิ้ ไม่ได้หวั เราะอย่างนีม้ านานเท่า ไหร่แล้วน้อ!!!ได้เห็นพัฒนาการทางด้านร่างกายทีด่ ขี นึ้ ได้รบั รูว้ า่ เขาแปรงฟันเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 2 ครั้งแล้วนะ
ใจและหยิบจับอุปกรณ์ช่วยหมอ ใครจะคิดว่าหัวหน้าจะลงทุน ซื้อโคมไฟที่เขาใช้สำ�หรับกรีดยางมาไว้เป็นสมบัติส่วนตัวหลัง จากกลับจากบ้านคนไข้ไม่กี่วันเวลาออกไปถอนฟันให้คนไข้ที่ รพ.สต.หมอก็คาดโคมไปใส่ไว้ทหี่ วั เอง มีหมอดีๆทำ�เองทุกอย่าง แบบนีซ้ กั วันผูช้ ว่ ยฯตกงานแน่ๆพอลงไปในชุมชนสิง่ ทีไ่ ด้เห็นมัน มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
เป็นความโชคดีทที่ มี ออกเยีย่ มบ้านของเราเป็นทีมทีท่ �ำ ด้วย ใจรัก ไปไหนไปด้วยช่วยกันเต็มทีไ่ ม่มบี น่ แรกๆ ก็ตงั้ วัตถุประสงค์ อย่างสวยหรูว่าเพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพร่างกายกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุและผู้พิการให้สามารถกลับมาช่วยเหลือตัวเองได้เพื่อ ให้ผพู้ กิ าร/ญาติผดู้ แู ลได้รบั ทราบถึงปัญหาช่องปากของผูพ้ กิ าร และรู้วิธีการรักษาต่อทางทันตกรรมเพื่อให้ผู้พิการที่สามารถ ช่วยเหลือตัวเอง/ญาติผู้ดูแลได้มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันต สุขภาพการทำ�กายภาพบำ�บัดและการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำ� วันได้อย่างถูกต้องเพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรม พืน้ ฐานในกลุม่ ผูพ้ กิ าร เพือ่ พัฒนางานทันตสาธารณสุขและทีม สหวิชาชีพได้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการ แต่ เ มื่ อ ลงไปเห็ น สภาพคนพิ ก ารแล้ ว สำ � หรั บ ฉั น อยาก เปลีย่ นวัตถุประสงค์ใหม่ให้เหลือสักข้อเดียวก็พอเพือ่ ให้คนพิการ แปรงฟันอย่างถูกวิธีวันละสองครั้งถ้าทำ�ได้เท่านี้ก็สุดหรูแล้ว เมื่อลงไปบ่อยๆ นานวันเข้ากลับทำ�ให้เรามองเห็นสิ่งที่จะทำ�ให้ คุณภาพชีวิตคนพิการดีขึ้นด้วยกำ�ลังกายกำ�ลังใจของเราเอง เปิดหู..เปิดตา การที่เราได้ลงไปหาคนพิการในชุมชนเพื่อตรวจช่องปาก ให้ทันตสุขศึกษาแจกแปรง – ยาสีฟันสอนแปรงฟันเป็นหน้าที่ ปกติของเราแต่...อีกหน้าที่หนึ่งที่สำ�คัญยิ่งก็คือการคัดกรองคน พิการทีม่ ปี ญ ั หาช่องปากเร่งด่วนต้องได้รบั การรักษามารายงาน หัวหน้าเพือ่ วางแผนการรักษาในอีกไม่กวี่ นั ต่อมา โดยการลงไป ถอนฟันให้ที่บ้าน เก้าอี้ทำ�ฟันเป็นฟากหรือแคร่ไม้ไผ่ที่บ้านส่วน โคมไฟสุดหรูเป็นโคมไฟส่องกรีดยางตอนกลางคืนของญาติ เขาเองแรกๆ ฉันเอาคาดใส่หวั ส่วนมือก็คอยจับมือคนไข้ให้ก�ำ ลัง
เพราะงานทันตะของเราดูแลทุกกลุ่มเป้าหมายเจอหญิงหลัง คลอดเราก็เยี่ยมหลังคลอดเจอเด็กก็ตรวจฟันเด็กแนะนำ�เรื่อง การกิ น หวานไม่ ห้ า มแต่ บ อกวิ ธี ก ารเลื อ กความถี่ ใ นการกิ น แนะนำ�การแปรงฟันให้ลูกหลานเจอคนพิการแขนลีบใช้การไม่ ได้แต่ใช้เท้าแปรงฟันทุกวันฟันไม่ผุทำ�ให้นึกถึงนักเรียนมัธยมที่ เราไปตรวจฟันขึ้นมาทันที มีสองมือใช้การได้ดีแต่ฟันผุทั้งปาก หากเราขอให้น้องเขาไปช่วยสอนเด็กๆ เหล่านั้นแปรงฟันเผื่อ ว่าเด็กๆ จะได้เกิดความละอายคิดอยากแปรงฟันขึ้นมาบ้าง พบเด็กอายุ 4 เดือนกินนํ้าจากแก้วเหมือนผู้ใหญ่แม่ฝึกได้ ไงนี่ได้การหล่ะเราเชิญแม่เด็กไปร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กับแม่เด็กเล็กๆ คนอื่นๆ คงจะได้แนวทางการฝึกเด็กไม่ได้ติด ขวดนมแน่เลยการได้พบได้เห็นด้วยตัวเองมันทำ�ให้เกิดการเรียน รู้การแก้ไขปัญหา “คุณหมอคือว่าสิมาตอนกลางเดือนคอยอยู่กะบ่เห็นมา” “หมอลูกซือ้ รอกกับเชือกไว้รอแต่กะบ่กล้าเฮ็ดบ่ฮวู้ า่ สิมามือ้ ได๋” “ฮู้อยู่ว่ามันอาจสิบ่เซาแต่ว่ามีหมอมาเยี่ยมกะดีใจมันมี ความหวังมีก�ำ ลังใจเป็นมาตัง้ โดนกะบ่มไี ผมาสนใจ” มันเป็นคำ� พูดของคนไข้และญาติที่เราลงไปเยี่ยมซํ้า “ไปไสมาคือโดนแท้รออยู่ อยากบอกหมอว่าเหยียดขาได้ แล้วเด้” วารสารทันตภูธร 55 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ยายจันสีบอกกับเราหลังจากที่เราทำ�รอกให้คุณยายได้ เดือนหนึ่งจึงมีโอกาสได้กลับไปหาแกอีกครั้ง “ฮ้า!!เหรอยาย ไหนเหยียดให้หมอดูซิ ”ยายก็เหยียดขาให้เราดูถงึ แม้วา่ จะยังไม่ ค่อยตรงเท่าไหร่นกั แต่มนั ก็แตกต่างจากเดือนทีแ่ ล้วมากยายจัน สีนอนคูเ้ ข่ามาปีกว่าแล้วนัง่ ไม่ได้วงิ เวียนต้องนอนกินข้าวฟันไม่ แปรงอมหมากทั้งวันดับกลิ่นปากโดยการอมยาสีฟันวิเศษนิยม แกเป็นคนแรกที่เราติดตั้งรอกให้ “เหยียดได้นานหรือหยัง”ฉันถาม “ได้สิบกว่ามื้อแล้วอยากบอกหมอๆ ก็ไม่มานอนๆ อยู่ตื่น ขึ้นมาต๊กใจขาเหยียดซอยลอย (เหยียดตรง) ดีใจกะดีใจตอนนี้ เริ่มมีความหวังขาเหยียดได้แล้วคือสิเดินได้นี่แหละแต่ก่อนคิด ว่าขาคือสิคู้เข่าแบบนี้ตายไปนำ�กันหมอมีรถเข็นบ่อยากออกไป ข้างนอกสิไปหัดเดิน”“เดีย๋ วหมอขอเวลาก่อนนะสิพยายามหามา ให้ตอ่ ไปคุณยายหัดลุกยืนก่อนนะ”ฉันตอบไปทัง้ ๆทีย่ งั มิรดู้ ว้ ยซํา้ ว่าจะหารถเข็นได้เมื่อไหร่แต่ฉันต้องหามาให้ได้ ทุกวันนี้ คุ ณ ยายจั น สี นั่ ง รถเข็ น ที่ ลู ก ขอมาจากโรงพยาบาลใน วารสารทันตภูธร 56 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
กรุงเทพฯออกมานั่งอยู่หน้าบ้านตอนบ่ายทุกวันๆละ ๒ – ๓ ชั่วโมงทุกสัปดาห์พวกเราไปพยุงยายจันสีหัดยืนแรกก็ตึงหน้า ท้องตึงน่องครั้งต่อๆมาดีขึ้น “อ้ า ว...ทำ � ไมมามื้ อ นี้ ห ล่ ะ ใส่ ก างเกงรอตั้ ง แต่ วั น ก่ อ น กะบ่เห็นมาวันนี้ใส่ผ้าซิ่นแล้ว” ยายจันสีเตรียมพร้อมสำ�หรับการเดินตามคำ�แนะนำ� เพราะ ถ้าเป็นกางเกงพวกเราจะจับหัวกางเกงช่วยดึงพยุงยายได้ถนัด ทุกครั้งที่ได้ยินคนไข้บอกว่าดีขึ้นอย่างนั้นดีขึ้นอย่างนี้ฉัน กับน้องๆ หันมองหน้ากันถึงจะไม่มีคำ�พูดออกมาแต่เรารู้ว่าคิด อะไรอยู่ พอกลับขึ้นรถทุกคำ�พูดที่อยากจะพูดเริ่มพลั่งพลู ไม่ เว้นแม้แต่พสี่ ภุ คี นขับรถ “ผมว่าเราทำ�อย่างนีม้ นั มาถูกทางแล้วดู แล้วมันมีความหวังดีกว่าทีเ่ ราแค่ไปถามเขาว่าเป็นอย่างไรบ้าง” มันเป็นความบังเอิญทีอ่ อกเยีย่ มบ้านผูพ้ กิ ารแต่ละทีกจ็ ะได้พสี่ ภุ ี เป็นพนักงานขับรถให้ยังกะนัดไว้ จนทุกวันนี้ไม่ต้องบอกเลยว่า ต้องตอกตะปูตรงไหน ร้อยเชือกใส่รอกอย่างไรมีอย่างเดียวทีย่ งั ไม่ช�ำ นาญซักที ตอกตะปูทไี รมักจะตอกนิว้ หัวแม่โป้งตัวเองเป็น ประจำ�นี่แหละ
“คุณหมอคือนานแท้เฮ็ดนวดทาปากไว้ให้ก็ไม่มาซักที” คุ ณ ยายแก้ ว กรมแสงบอกเราหลั ง จากที่ จ้ อ งหน้ า อยู่ นาน“บ่นานหรอกยาย” ฉันบอก“ บ่นานจั๋งได๋มาตั้งแต่เดือนสิบ นี่กะเดือนหนึ่งเดือนสองแล้ว”เออ!! จริงนะเนี๊ยะเรามาหายาย ครั้งล่าสุดตอนมีบุญห่อข้าวช่วงก่อนออกพรรษาคุณยายยังปิ้ง ข้าวต้มมัดให้กนิ เลยอือ้ ..ฮือ่ จำ�แม่นนะนีแ่ สดงว่าคุณยายนับวัน รอเราอยู“่ แปรงสีฟนั ยาสีฟนั ทีห่ มอให้กห็ มดแล้วให้ลกู ไปซือ้ บอก ว่าให้เอาแบบของหมอนะมันถึงจะดี” คุณยายแก้วอายุ 89 ปีมี ฟันผุซเี่ ดียวไม่โยกไม่คลอนทัง้ ๆทีค่ ณ ุ ยายไม่เคยใช้แปรงสีฟนั – ยาสีฟนั เลย สมัยสาวๆคุณยายใช้ขไี้ ต้ถฟู นั แต่หลังๆมานีข้ ไี้ ต้ไม่มี ขายยายจึงเปลี่ยนเป็นทรายจากแม่นํ้าโขงเอามาร่อนใส่ผ้าตา ข่ายถี่ๆ พับหลายๆ ชั้นก็จะได้ทรายละเอียด หลังจากนั้นก็เอา มาใส่ถุงพลาสติกผสมนํ้าเล็กน้อยพอให้ทรายจับตัวกันเอาไว้ ในห้องนํ้าใช้นิ้วแทนแปรงสีฟัน ใช้ทรายแทนยาสีฟันมาจนอายุ เกือบ 90 ปี ตอนแรกทีพ่ บยายเป้าหมายของเราก็คอื คุณตาสามี ยายแก้วที่พิการเดินไม่ได้จะเอาแปรง – ยาให้ตาปรากฏว่าตา ไม่มีฟันก็เลยให้ยายแทนถามยายว่าแปรงฟันวันละกี่ครั้งเพื่อ จะได้เก็บเป็นข้อมูลไว้เปรียบเทียบก่อนหลังเหมือนกับคนอืน่ ๆ“บ่ เคยแปรงแต่ว่าถ้าใช้ยาหมอแล้วมันจะดีบ่เป็นแผลในปากมัน บ่เซาสักทีบ่ได้เคี้ยวหมากมาเป็นเดือนแล้ว” ได้ฟังคำ�ตอบยาย ฉันอึ้งไปชั่วขณะไม่แปรงฟันแล้วทำ�ไมฟันดีจังแต่ฉันก็ไม่ถาม ต่อว่าทำ�ความสะอาดยังไง พอให้ยายลองสาธิตวิธีแปรงฟันให้ ดูปรากฏว่ายายจับแปรงก็ไม่เป็นเก้ๆกังๆฉันต้องจับมือฝึกแปรง เออถ้าจะจริงว่ายายไม่เคยแปรงฟันถ้าจะว่าลูกยายยากจนไม่มี เงินซื้อให้หรือว่าไม่ใส่ใจแกก็คงจะไม่ใช่ เพราะบ้านยายสองชั้น ใหญ่โตมาก ทรัพย์สินในบ้านเพียบสะอาดสะอ้านรถยนต์วีโก้สี่ ประตูใหม่เอี่ยม“แกบ่ยอมแปรงซื้อให้ก็ไม่เอา” ลูกสาวบอกอ้อ !! อย่างนี้นี่เอง หลังจากนั้นเกือบเดือนกลับไปหายายอีกรอบปรากฏว่า แผลในปากหายยายดีใจมากจะได้เคี้ยวหมากแล้วยายเข้าใจ ว่าแผลหายเพราะแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่เราให้ แผลในปาก จะหายเพราะอะไรฉันไม่รู้ อาจจะหายเพราะยาสีฟันจริงๆ ก็ได้ แต่ฉันก็ดีใจที่ยายได้แปรงฟันแล้วแต่มาวันนี้ตั้งใจจะมาถาม ยายว่าแต่กอ่ นนีไ้ ด้ท�ำ ความสะอาดฟันไหม “มาสิพาไปเบิง่ ”ยาย แก้วจูงมือฉันไปที่ห้องนํ้าดูทรายที่แกจะเอาไปทิ้งแล้วพร้อมทั้ง สาธิตการใช้ให้ดูจากนั้นฉันต้องเอาแปรงสีฟัน – ยาสีฟันไปให้ ยายเป็นประจำ�เพราะยายไม่ยอมใช้ทล่ี กู สาวซือ้ จากร้านค้ามาให้
“ขอบคุณนะค่ะในหลวงที่ให้ฟันหนู” เสี ย งของเหมี ย วดั ง พอที่ จ ะทำ � ให้ ใ ครๆหั น มามองหญิ ง สาวผิวคลํ้า สูงราว 150 เซนติเมตรผมซอยยาวประบ่าโกรกผม สีนํ้าตาลอ่อนใส่เสื้อแขนสั้นลายดอกสีนํ้าตาลและกางเกงเจ เจลายดอกขาสั้นเหนือเข่าสีขาว-ดำ�มองดูแล้วมืดเข้ากับสีผิว อย่าบอกใครเชียวเธอนั่งอยู่บนรถเข็นสแตนเลส พร้อมยกมือ ไหว้ขึ้นท่วมหัว ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นวันที่เหมียวหรือ นางสาว นิภา รัตน์ชมภู ฝันเป็นจริง สายตาหลายร้อยคู่มองมาที่เหมียวตั้งแต่ ฉันเข็นเหมียวเข้าไปรอตรวจฟันเพื่อใส่ฟันปลอมจากหน่วย ทันตกรรมพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่วัน นีไ้ ด้มาให้บริการแก่พสกนิกรชาวจังหวัดบึงกาฬนับเป็นครัง้ แรก ของพวกเราชาวจังหวัดใหม่แห่งที่ 77 ของประเทศไทยที่ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณในครั้งนี้ “คุณหมอมารับแล้ว” “จ้าแต่งตัวสวยหรือยัง”ฉันไปรับเหมียวกับพี่สุภีพนักงาน ขับรถทีจ่ ะพาพวกเราไปช่วยงานทันต-กรรมพระราชทานในวันนี้ ที่อำ�เภอโซ่พิสัย ซึ่งห่างจากบ้านเหมียวประมาณ 150 กิโลเมตร ฉันจึงต้องตื่นแต่ตีห้าไปรับเหมียวตอน 6 โมงเช้า“อ้ายทูลฉันไป เที่ยวก่อนเด้อหมอมารับไปเที่ยวสิไปใส่ฟัน”เห็นเพื่อนบ้านผ่าน วารสารทันตภูธร 57 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
มาเหมียวจะร้องอวด“หมอมันบ่ทันได้กินข้าวเด้อหาให้มันกิน หน่อย”แม่เหมียวบอกหลังจากพาเหมียวเดินมาขึน้ รถพวกเราพา เหมียวไปถึงอำ�เภอโซ่พสิ ยั แปดโมงกว่าคนไข้มารับบริการหลาย ร้อยคนแล้วฉันเข็นเหมียวเข้าไปสายตาหลายร้อยคูม่ องมาทีเ่ รา สองคน บางคนก็ท�ำ หน้าสงสัย ฉันกลับไม่รสู้ กึ อายมันภูมใิ จยังไง ก็ไม่รทู้ ใี่ ส่เสือ้ กราวน์สขี าวเข็นรถให้คนพิการ สำ�หรับเหมียวดูเธอ ตืน่ เต้นใหญ่เลยทีเ่ ห็นผูค้ นมากมายฉันพาเหมียวไปรอตรวจฟัน เพือ่ รับคิวใส่ฟนั ปลอมส่วนหมอต้อมก็เดินไปแจ้งอาจารย์เหมียว จึงเป็นทีส่ นใจจากอาจารย์ทา่ นเอ็นดูและเข้ามาพูดคุยด้วยหลัง จากพิมพ์ปากเสร็จพี่สุภีต้องทำ�หน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเด็กพาเหมียว ไปกินข้าวไปเข้าห้องนํ้าไปสารพัดงานหนักเลยหล่ะถ้าไม่ใช่พี่ สุภีคงแย่เหมือนกันฉันกับคุณหมอต้อมก็ไปปฏิบัติหน้าที่ตัวเอง ทีไ่ ด้รบั มอบหมายแต่ฉนั ก็เทียวไปดูเหมียวเป็นพักๆช่วงบ่ายฉัน ต้องพาเหมียวไปใส่ฟันตามคิว อาจารย์ใส่ฟันเหมียวบนรถเข็น ไม่ต้องนอนที่เก้าอี้สนามเหมือนคนไข้คนๆ อื่นๆ ปรากฏว่าใส่ ได้พอดีเป๊ะไม่ต้องกรอแก้ไขเหมียวส่องกระจกอยู่นานฉันบอก “เหมียวฟันนี้เป็นฟันที่ในหลวงพระราชทานให้นะ ต้องรักษาไว้ ในดีถ้ารักษาไม่ดีเดี๋ยวในหลวงโกรธนะ”“ค่ะ” เหนื่อยทีต่ ้องตากแดดตากลม ลุยนํา้ ยํา่ โคลนเหนือ่ ยทีต่ อ้ ง เดินทางไกลแต่ดีใจที่ได้เห็นได้ยินเสียงบอกกับพวกเราว่าดีขึ้น
วารสารทันตภูธร 58 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ดีใจคิดฮอดมาอีกนะ ฟังแล้วมันหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง สุขใจ ที่ได้ซื้อของกินของใช้ไปฝากสุขกายที่ได้ของฝากเป็นพืช ผักผล ไม้ ข้างรั้ว ไม่ว่าจะเป็น มะเฟืองมะไฟ มะกรูด มะนาวมะพร้าว ส้มโอไชโย้...โห่เฮ้ว ณ วันนี้ สิง่ เล็กๆทีพ่ วกเราชาวบุง่ คล้าร่วมกันดูแลสุขภาพความเป็น อยูข่ องประชาชนในพืน้ ที่ เราช่วยกันดูแลคนไม่ใช่ดแู ลโรค“อะไร ทำ�ได้ทำ�อะไรทำ�ไม่ได้ชวนคนอื่นทำ�” เพราะเรามิได้ทำ�เพื่อ ตนเองแต่ท�ำ เพือ่ คุณภาพชีวติ ทีด่ กี ว่าของผูค้ นในชุมชนของเรา...
เราสุขที่ใจ..เมื่อ..กายได้กระทำ�
ผู้เขียนนางนุชวรา ดอนเกิด ตำ�แหน่ง เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำ�นาญงาน ฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลบุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ ๓๘๐๐ โทร. ๐๘ – ๑๔๗๑ – ๕๔๙๖ โทร.ที่ทำ�งาน ๐๔๒ – ๔๙๙ – ๑๐๕ – ๖ ต่อ ๑๑๔ โทรสาร ๐๔๒ – ๔๙๙ – ๑๐๕ E-mail : nuch1612@hotmail.com
ณ ตึกทันตกรรม ทพ. อรรควัชร์ สนธิชัย โรงพยาบาลเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ในวันที่คนไข้มารับบริการทางทันตกรรมอย่างล้นหลาม ฐานะหมอฟันในโรงพยาบาลชุมชนคนหนึ่ง ก็อดคิดไม่ได้ว่า “เมื่อไหร่จำ�นวนคนไข้มันจะน้อยลงหรือหมดไปสักที (วะ)”
ถ้าคิดในเชิงอุดมคติ เค้าบอกว่าตัง้ รับโดยการรักษาอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องเน้นเชิงรุก เชิงรุกคือออกไปส่งเสริมป้องกันทั้งป้องกันฟันผุกันตั้งแต่ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็กเด็กน้อย เคลือบหลุมร่องฟันในเด็กประถม ส่งเสริมให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของสุขภาพดูแลตัวเองและชุมชนอย่างยั่งยืน ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนนี้..... คนไข้จะน้อยลงจนถึงไม่มีใครมาทำ�ฟัน ^^ เสียใจ ทันตแพทย์แนะนำ�ให้ทุกคนมาตรวจฟันทุกปี อย่างน้อยยังต้องมีงานขูดหินปูนเด็กเล็กยังต้องมาเคลือบฟลูออไรด์ อำ�เภอเวียงป่าเป้ามีประชากรประมาณ 60,000 คน หากทุกคนมีความกะตือรือร้นมาตรวจฟันตามคำ�แนะนำ� ถ้าทุกคนมาตรวจฟัน ขูดหินปูน ปีละ 1 ครั้ง ในหนึ่งปีมีวันทำ�การประมาณ 240 วัน ดังนั้นจะมีคนไข้มารับบริการเฉลี่ย 60,000/240= 250 คนต่อวัน สังคมในอุดมคตินี่ มันก็ไม่ทำ�ให้คนไข้หมดไปนี่หว่า...กรรม งั้นกลับมามองแบบปีศาจร้ายเลยละกัน จับถอนฟันให้หมดปากทั้งอำ�เภอเลย ตั้งแต่นายอำ�เภอ ปลัด ตำ�รวจ ผู้ใหญ่ กำ�นัน ลูกเด็กเล็กแดง ถ้าไม่มีฟันมันจะได้ไม่ต้องมาหาหมอฟัน 55555555 เอิ่ก เอิ่ก บ้าไปแล้วตรู วารสารทันตภูธร 59 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
ถ้าคนนึกจับถอนสองครั้ง ครึ่งปากด้านซ้ายครั้ง ครึ่งปากด้านขวาครั้ง คน 60,000 X 2 = 120,000 ครั้ง ถ้าเราไล่ถอนอย่างเดียววันละ 100 คน จะต้องทำ� 120,000/100 = 1,200 วัน ทุกคนในอำ�เภอเราจะฟันหลอหมด 1,200/240 = 5 ปีเราต้องใช้เวลา 5 ปี ในภารกิจนี้....แล้วคนไข้จะหมดไป ^^ เมื่อทุกคนไม่มีฟัน.........มันก็ต้องมาทำ�ฟันปลอมกันดิ T T เอาวะ ถ้าทำ�ฟันปลอมหมดแล้ว คนไข้ก็หมดอ่ะดิ^^ ระดมหมอฟันทุกชีวิตทำ�ฟันปลอมให้คนไข้กันเถอะ คิดแบบเบาๆ ว่า หมอฟันหนึ่งคนทำ�ฟันปลอม 30 คนต่อเดือน เวียงป่าเป้ามีหมอฟัน 6 คน เดือนหนึ่งจะทำ�ได้ 30x6 = 180 คนต่อเดือน คิดเป็น....60,000/180 = 333.333333 เดือน คิดเป็น 333.333333/12 = 27.777778 ปี.... เอาเป็นว่า 28 ปี เราจะทำ�ฟันปลอมเสร็จ บวกเวลาถอนฟันอีก 5 ปี ภารกิจนี้ใช้เวลา 33 ปี.....(เกษียณไปก่อนสิตรู T T) ไม่ส.ิ ..ไอ้คนไข้ท�ำ ฟันปลอมปีแรกๆ ฟันปลอมมันก็จะเก่า สึก หลวม และมาทำ�ใหม่แสดงว่ายังไงจำ�นวนคนไข้กไ็ ม่มวี นั หมดไปหนะสิ T T ........................................................................ เช้าวันนี้ผมตื่นมาทำ�งานเหมือนทุกวัน ด้วยความหดหู่ใจว่า คนไข้ไม่มีวันหมดไปในช่วงชีวิตราชการของผม เอ๊ะ มีบางอย่างแปลกไป คนไข้ที่มารอแต่เช้าน้อยลงไปอย่างมีนัยสำ�คัญ เค้าหายไปไหนกัน เค้าหายไปไหนกัน เค้าหายไปไหนกัน รอยยิ้มปรากฎที่มุมปากของผม การส่งเสริมป้องกันที่ระดมปูพรมลงไป เห็นผลแล้วหรือนี่ ^^ สำ�เร็จ ยอดเยี่ยม เราเข้าใกล้สังคมอุดมคติเข้าไปทุกที ผมรุ้สึกปลื้มปิติอย่างเปี่ยมล้น วันนี้มีคนไข้มาทำ�ฟันเพียงไม่กี่คน ผมเรียกคนไข้คนแรกเข้ามาทำ�ด้วยความกระฉับกระเฉง ผุ้ช่วยคนนึงเดินผ่านมาด้วยความขึงขัง “ วันนี้หวยออก หมอเล่นมั๊ยคะ งวดนี้” ..................................... “ 28 98 บน ล่าง “ ผมตอบสวนกลับไป
วารสารทันตภูธร 60 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
“บริษทั ทันตภูธรและเพือ่ น จำ�กัด” Social Enterprise เพือ่ เสริมสร้างแรงบันดาลใจและความสุขในการทำ�งานทันตสาธารณสุข เพื่อทำ�งานอย่างอิสระ และมีทุนดำ�เนินการอย่างยั่งยืน ของวารสารทันตภูธรทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ (หมออ๋อ) บรรณาธิการ วารสารทันตภูธร จึงก่อตั้ง “บริษัท ทันตภูธรและเพื่อน จำ�กัด”Social Enterprise กิจการเพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจและความสุขใน การทำ�งานทันตสาธารณสุขขึ้น โดยดำ�เนินการขายสินค้าเช่นแปรงสีฟันยาสีฟัน ฯลฯ แล้วนำ�ผลกำ�ไรที่ได้จากการขายสินค้ามาจัดพิมพ์และ จัดส่งวารสารทันตภูธร จำ�นวน มากกว่า 16,000 ฉบับต่อปี แจกให้สมาชิกชมรมทันตสาธารณสุขภูธร และหน่วยงานที่มีทันตบุคลากร สื่อสาร พร้อมกัน อ่านฟรีตลอดชีพจัดส่งทุกที่ที่ไปรษณีย์ไปถึง โดยไม่ง้อสัญญาณอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศไทยท่านที่สนใจสมัครสมาชิกเพื่อรับวารสาร ทันตภูธร หรือเคยเป็นสมาชิกแต่ยังไม่ได้รับวารสารทันตภูธร ติดต่อที่ ruralmax2007@gmail.com นอกจากนีผ้ ลกำ�ไรทีไ่ ด้จากการขายสินค้านัน้ ส่วนหนึง่ ยังนำ�ไปสนับสนุนกิจกรรมของชมรมทันตสาธารณสุขภูธร เช่น กิจกรรมค่ายรับน้องใหม่ ของชมรมทันตสาธารณสุขภูธร รวมทั้งจัดพิมพ์หนังสือความสุขในชีวิต dentist ’ภูธร เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำ�งานทันตสาธารณสุข แก่ทันตแพทย์จบใหม่ในวันจับปิงปองของทุกๆ ปีอีกด้วย จากความจำ�เป็นทีจ่ ะต้องหาเงินทุนมาเพือ่ จัดพิมพ์และจัดส่งวารสารทันตภูธร ทุก 3 เดือน ซึง่ ต้องใช้งบประมาณราว 2 แสน บาทต่อรอบ พิมพ์รวมแล้วมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทั้งหมดประมาณ 8 แสน ถึง 1 ล้านบาท ต่อปีในขณะที่วารสารทันตภูธรเป็นการทำ�งานโดยทันต บุคลากรอาสาสมัคร ที่ยังเป็นทันตแพทย์ทำ�งานรักษาคนไข้ตามปกติ, ต้องการอิสระในการสื่อสารสาธารณะ และไม่สะดวกในการขอรับการ สนับสนุนจากบริษทั ค้าสินค้าอืน่ ๆ ซึง่ หลายครัง้ พวกเขาก็ไม่เข้าใจการทำ�งานของเรา อีกทัง้ การขอเงินทุนงบประมาณเพือ่ นำ�มาทำ�วารสารทันต ภูธรจากหน่วยงานต่างๆ นั้นเป็นไปได้ยากมากเพราะผลลัพธ์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความสุขในการทำ�งานทันตสาธารณสุข ของวารสาร ทันตภูธรนั้นไม่สามารถชี้วัดความสำ�เร็จอย่างเป็นรูปธรรมได้ แม้ว่าจะเป็นวารสารที่ดำ�เนินงานมามากกว่า 20 ปีแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นเหตุผลที่วารสารทันตภูธร จำ�เป็นต้องมีสินค้าและบริการของตนเอง ที่สามารถสร้างรายได้และมีผลกำ�ไรมากพอที่จะนำ�มาจัด พิมพ์ จัดส่งวารสารทันตภูธร รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของชมรมทันตสาธารณสุขภูธรได้ด้วย วารสารทันตภูธรจึงเริ่มขายแปรงสีฟัน และ สินค้าต่างๆ ดำ�เนินการโดย ทพญ.สุรีรัตน์ สูงสว่าง ผู้เป็นกำ�ลังสำ�คัญในการระดมทุนจากทันตบุคลากรทั่วประเทศที่ช่วยกันซื้อแปรงสีฟันผ่าน ทันตภูธร และการขายสินค้ากับหน่วยงานราชการให้ถกู ต้องตามระเบียบของกระทรวงการคลังนัน้ เป็นเหตุผลทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ของการก่อตัง้ “บริษทั ทันตภูธรและเพื่อน จำ�กัด” Social Enterprise เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจและความสุขในการทำ�งาน ขึ้นในปัจจุบัน สำ�หรับกิจกรรมเพื่อสังคมลำ�ดับต่อไปที่ “บริษัท ทันตภูธรและเพื่อน จำ�กัด” วางแผนการดำ�เนินงานไว้เมื่อมีทุนดำ�เนินการเพียงพอ คือการสร้างงานให้คนด้อยโอกาสทางสังคม และร่วมสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างมีรูปธรรม ดังนั้นโปรด ติดตามกิจกรรมต่างๆ ผ่านวารสารทันตภูธร
วารสารทันตภูธร 61 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
Social Enterprise หรือ กิจการเพื่อสังคมคืออะไร? กิจการเพื่อสังคมคืออะไร? Social Enterprise หรือกิจการเพื่อสังคม คือ ธุรกิจหรือกิจการที่มีจุดมุ่งหมาย ในการแก้ไขปัญหาสังคมเหมือนเอ็นจีโอ มูลนิธิ องค์กรการ กุศลต่างๆ แต่มีวิธีหากำ�ไร วางระบบมาร์เก็ตติ้งได้เหมือนบริษัททั่วไป มองอย่างง่าย กิจการเพื่อสังคมคือการหยิบยกข้อดีของงานภาคธุรกิจ และภาคสังคมมาผสมผสานกันเพราะถ้ามัวแต่กอบโกยกำ�ไรสูงสุดโดยไม่สนสังคมและโลก ธุรกิจก็ไม่มีทางยั่งยืนมั่นคงอยู่ได้ในสังคมเหลว เป๋วเละเทะ แต่ถา้ จะมุง่ มาทำ�มูลนิธิ เป็นเอ็นจีโอ กันหมดโลก ความก้าวหน้า สร้างสรรค์ ของการแข่งขันพัฒนาสิง่ ใหม่แบบทุนนิยมก็คงไม่มี แถม ยังไม่มีรายได้หรือแหล่งทุนมาใช้จ่ายเพื่อให้สังคมและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น กลายเป็นรถไม่มีนํ้ามัน จอดนิ่ง วิ่งไม่ได้ อะไรทำ�นองนี้ ส่วนใหญ่กิจการเพื่อสังคมตั้งขึ้นเพื่อ? 1. สร้างงานให้คนด้อยโอกาสทางสังคม - Be Magazine นิตยสารที่เปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคมมาสมัครเป็นตัวแทนจำ�หน่ายตามจุดต่างๆในกรุงเทพฯ 2. สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เช่นให้บริการด้านสาธารณสุขในชุมชน - “เป็นสุข” ศูนย์สร้างและดูแลสุขภาพ โดยการใช้เทคโนโลยี อาหาร วิถีธรรมชาติ ร่วมกับการรักษาพยาบาลแผนปัจจุบันในราคาถูกแต่ คุณภาพดี และมีการแบ่งสัดส่วนกำ�ไรจากการให้บริการ เพื่อนำ�ไปทำ�ประโยชน์ให้สังคมในการให้บริการด้านสุขภาพแก่ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึง บริการด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพได้ 3. นำ�กำ�ไรไปสนับสนุนการดำ�เนินงานของมูลนิธิ - Cabbages & Condoms ร้านอาหารรสเลิศที่นำ�กำ�ไรทั้งหมดเข้ามูลนิธิ PDA ทำ�ไมต้องเป็น“กิจการเพื่อสังคม”? - SE ไม่ใช่ CSR เอากำ�ไรไปปลูกป่า ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นตอ - Non profit ทำ�ไมมีกำ�ไรก็ได้ สังคมก็ดีด้วย - SMEs ธุรกิจขนาดกำ�ลังดี กับ SE ธุรกิจทำ�ให้สังคมดี - SE มีดีที่ความครีเอทีฟ - ไม่อยากตกเทรนด์ต้องเป็น Social Entrepreneur SE ไม่ใช่ CSR เอากำ�ไรไปปลูกป่า ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นตอ ตอนนีก้ ระแส CSR กำ�ลังมาแรง องค์กรทางธุรกิจเล็กใหญ่ตา่ งต้องออกมาทำ�กันอย่างจริงจัง ซึง่ อาจจะมาในรูปของเงินบริจาค การสนับสนุน หรือ การสร้างสรรค์กจิ กรรมต่างๆมากมาย เราจะเห็นการปลูกป่าจำ�นวนมหาศาล เราเห็นทุนการศึกษาก้อนโตทีม่ อบให้ เราเห็นอะไรต่อมิอะไรทีธ่ รุ กิจ พยายาม ‘คืนกำ�ไร’ให้สังคมผ่านวิธีต่างๆนานา ด้วยนโยบายส่งเสริมสร้างสรรค์สังคมที่แต่ละองค์กรจะคิดและทำ�กันไป ซึ่งแตกต่างจากกิจการ เพือ่ สังคม ทีต่ อ้ งตัง้ ต้นตัง้ แต่เริม่ ก่อร่างสร้างตัวว่ากิจการนีจ้ ะเกิดขึน้ เพือ่ แก้ไขปัญหาสังคมด้านใด และคำ�นึงถึงสิง่ แวดล้อมในทุกๆกระบวนการ ดังนั้น การขับเคลื่อนของกิจการประเภทนี้จะเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาและดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่การตักตวงเอากำ�ไรสูงสุดอย่างเต็ม ที่แล้วค่อยเจียดกำ�ไรมาคืนให้ภายหลัง ซึ่งมักจะได้’ภาพ’ มากกว่า’ผล’ ให้เห็นอยู่บ่อยๆ Non profit ทำ�ไมมีกำ�ไรก็ได้ สังคมก็ดีด้วย ต้องบอกว่า กิจการเพื่อสังคมยังเป็นอีกทางออกสำ�คัญของทางตันที่มูลนิธิ เอ็นจีโอ และหน่วยงานการกุศลแทบทุกองค์กรต้องเจอ นั่นคือ การขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนในการขับเคลื่นกิจกรรม ด้วยข้อจำ�กัดทางกฎหมายที่ไม่ให้มูลนิธิและองค์กรการกุศลหารายได้ มีกำ�ไรเป็นกอบ วารสารทันตภูธร 62 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
เป็นกำ� สิง่ เดียวทีท่ �ำ ได้คอื การขอทุนทัง้ ในและนอกประเทศ บางองค์กรได้รบั การสนับสนุน บางองค์กรไม่ หลายต่อหลายคนจังต้องเลือกระหว่าง สู้กับปัญกาแบบไม่มีแรง หรือก้มหน้ายอมจำ�นนไป แต่ถ้ามูลนิธิเหล่านั้นตั้งกิจการเพื่อสังคมขึ้นโดยมีแนวทางการแก้ปัญหาสังคมที่ชัดเจนแข็ง แรงอยู่แล้ว เพียงแค่ออกแบบการขับเคลื่อนธุรกิจให้เข้าจังหวะ กำ�รี้กำ�ไรก็จะวิ่งเข้าสู่ระบบ แล้วหมุนเวียนขับเคลื่อนการแก้ปัญกาไปข้างหน้า โดยไม่ต้องพึ่งแหล่งทุนดาบหน้าอีกต่อไป SMEs ธุรกิจขนาดกำ�ลังดี กับ SE ธุรกิจทำ�ให้สังคมดี ถ้าให้พูดแทนใจคนยุคใหม่ ก็ต้องบอกว่าหนุ่มสาวสมัยนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากจะเป็นลูกจ้างใครไม่ว่ารัฐหรือเอกชน หลายๆคนจึงอยาก มีกิจการเล็กๆบริหารจัดการเองได้ง่ายๆ มีก�ำ รี้กำ�ไรพอจะเดินหน้าธุรกิจต่อไปอย่างไม่ฝืดเคือง โดยมีฟันเฟืองเป็นไอเดียสดใหม่สุดสร้างสรรค์ใน การขับเคลื่อนธุรกิจ ไม่กี่ปีมานี่เราจึงมีธุรกิจเอสเอ็มอีใหม่ๆผุดขึ้นมาในระดับคึกคัก ซึ่งจากลักษณะดังว่า SMEs กับ SE เหมือนพี่น้องที่คลาน ตามกันมา สามารถยืมเสื้อผ้าใส่กันได้ เพราะกิจการเพื่อสังคมส่วนใหญ่มักเริ่มจากการที่คนเล็กๆ ‘ริ’ อยากจะทำ�อะไรใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา สังคมและสนใจสิ่งแวดล้อมนั่นเองSE จึงอาจเป็น choice สำ�หรับคนรุ่นใหม่ที่ตอบโจทย์ self esteem และ social ได้พร้อมๆกันแบบไม่หวั่น ภาวะ ‘คนดีกินแกลบ’ เลยหละ SE มีดีที่ความครีเอทีฟ ไม่ใช่เงินทุนมหาศาลหรือต้องกูเ้ งินธนาคารมาทุม่ ใส่ธรุ กิจ สิง่ ทีจ่ ะ ขับเคลือ่ นกิจการเพือ่ สังคมไปข้างหน้าได้ มักจะเป็นนํา้ มันแห่งความคิด สร้างสรรค์ในการค้นหาวิธกี ารและรูปแบบใหม่ๆ ในการแก้ปญ ั หาสังคม ทัง้ ทีเ่ พิง่ เกิดและกำ�ลังจะแตกหน่อ หรือฝังรากระดับต้องขุดรากถอนโคน ตัวอย่างบันลือโลกได้แก่ ธนาคารกรามีนแห่งบังกลาเทศที่มูฮัมหมัด ยู นุสออกแบบวิธไี มโครเครดิต ให้เงินกูส้ �ำ หรับคนยากจนทีธ่ นาคารทัว่ ไป ปฏิเสธเพราะไม่มหี ลักทรัพย์หรือหน้าทีก่ ารงานรับประกัน แต่แทนทีเ่ งิน กูจ้ ะกลายเป็น NPL ตัวแดงพรืด ลูกค้ายากจนของกรามีนกลับผ่อนชำ�ระ หนี้สินที่ยืมไปได้หมดสิ้น แถมยังมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นจากเงินทุนที่ ตนได้รับไป ส่งผลให้เขาได้รับการยกย่องด้วยรางวัลโนเบล หรือนวัตกรรมอื่นๆ เช่น Playpumps ที่ออกแบบสวนสนุกให้เด็กในแอฟริกาใต้แสน แห้งแล้งได้เล่นสนุก แต่กลไกของมันสามารถช่วยปัม๊ นาํ้ สะอาดให้คณ ุ แม่ได้อกี ทางหนึง่ หรือ Lifestraw อุปกรณ์กรองนํา้ ทีข่ ายถูกๆสำ�หรับคนใน ประเทศยากจนที่มีปัญหาเรื่องนํ้าดื่มสะอาด และการสร้างโรงกรองนํ้าเป็นเรื่องโอ่อ่าเกินตัว พวกเขาจึงได้นวัตกรรมหลอดกรองนํ้าขนาดพกกา ทำ�หน้าที่เหมือนหลอดดูดนํ้าทั่วไป แต่สามารถกรองแบคทีเรียและพยาธิได้ถึง 99.99% ไปใช้แทน เป็นอาทิ เรียกได้ว่า ต้นทุนทางความคิดเป็น ทุนสำ�คัญสำ�หรับธุรกิจนี้เชียวล่ะ ไม่อยากตกเทรนด์ต้องเป็น Social Entrepreneur ไม่ได้เพิ่งมาแล้วเดี๋ยวก็ไปเหมือนแฟชั่น สปริง / ซัมเมอร์ แต่ที่บอกว่าเป็นเทรนด์เพราะจากการสำ�รวจ พบว่าคนหนุ่มสาวโดยเฉพาะใน ประเทศอังกฤษ อยากเป็น Social Entrepreneur กันเพียบ เพราะนับวัน ปัญหาสังคมยิ่งเข้าใกล้ตัวเราๆ ท่านๆ มากยิ่งขึ้นจนไม่อาจนิ่งเฉยอยู่ได้ แต่จะลุกขึน้ มาโพกผ้าต่อต้านพืช GMOs หรือประท้วงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทมี่ เี งือ่ นงำ�ก็เกรงว่าจะไม่ใช่ทาง อย่างไรเสีย คนหนุม่ สาวก็ยงั อยาก tweet via iPhone นัดไปหาที่แฮงก์เอาท์เก๋ๆ ในคืนวันเสาร์ หรืออยากลุกขึ้นมาทำ�อะไรสนุกๆ หลุดโลกบ้าง S.E. จึงเป็นคำ�ตอบอย่างที่ข้อ ที่แล้วว่าไว้ แต่แค่อยากแล้วจากไป แอคชั่นก็ไม่เกิด ในอังกฤษ ที่เรียกว่าเป็นประเทศต้นแบบของ S.E. จึงมีการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมอย่าง แข็งขันอาทิ ริเริ่มหน่วยงานของรัฐอย่าง Office of the Third Sector ที่มีหน้าที่ผลักดันและสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมทั้งในด้านการให้ข้อมูล คำ� ปรึกษา แหล่งทุน ฯลฯ ให้กจิ การเพือ่ สังคมรุน่ เล็ก รุน่ ใหญ่ และบุคคลทีส่ นใจจะทำ� ด้านกฎหมาย อังกฤษก็มกี ารให้เครดิตทางภาษีกบั กิจการเพือ่ สังคมเพือ่ ส่งเสริมให้มกี จิ การประเภทนีม้ ากขึน้ และอืน่ ๆ อีกมากมาย หรือแม้แต่ในประเทศต่างๆ อย่างแคนาดา สหรัฐอเมริกา หรือสิงคโปร์ใกล้ บ้านเรา ก็มีการตื่นตัวเรื่องนี้อย่างจริงจัง เราจึงได้เห็นเจมี่ โอลิเวอร์ พ่อครัวสุดเก๋แห่งเกาะอังกฤษ ลุกขึ้นมาเป็น social entrepreneur ด้วยการ เปิดร้านอาหารที่มีพ่อครัว เด็กเสิร์ฟ แคชเชียร์ เป็นอดีตคนคุก เพื่อให้โอกาสกับคนที่แทบจะไม่มีทางได้รับโอกาสจากคนอื่น พร้อมใบผ่านงาน ที่ให้เขาไปทำ�งานที่อื่นๆ ได้ต่อไป เห็นนักธุรกิจสิงคโปร์ที่ออกมาก่อตั้งวันส้วมโลกเพื่อให้คนตระหนักถึงปัญหาส้วมถูกสุขลักษณะและจัดอบรม สร้างอาชีพให้คนดูแลส้วม เป็น specialist ทีท่ กุ คนต้องยกย่อง และเห็นกิจการเล็กใหญ่มากมายทีเ่ ข้ามาร่วมแก้ปญ ั หาสังคมคนละปม กระจาย ไปตามจุดต่างๆ ทั่วโลก/ ที่มา http://www.tseo.or.th/about/social-enterprise/means วารสารทันตภูธร 63 ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555
กรองใจท้ายเล่ม สุขภาพดีเป็นสิ่งสำ�คัญ และมีค่าเหนือสิ่งอื่นใดสํำ�หรับทุกๆ คน
สุขภาพช่องปากที่ดีเป็นส่วนประกอบสำ�คัญที่เติมเต็มให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีได้ ทันตบุคลากรมุ่งมั่นในการพัฒนาสุขภาพช่องปากทั้งเชิงรุก และเชิงรับแต่หากว่าทันตบุคลากรดูแลสุขภาพช่องปากเพียงลำ�พัง ไม่มเี ครือข่าย ไม่มที มี สหวิชาชีพเป็นภาคี ก็นบั ว่าเป็นสิง่ ทีย่ ากมากทีจ่ ะทำ�ให้ ปัญหาสุขภาพช่องปากลดลงได้ เพราะมีคำ�กล่าวไว้ว่า “สุขภาพช่องปากเป็นเรื่องของทุกคน”และ “ดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ” ซึ่งประโยคคำ� พูดเหล่านี้เน้นให้เห็นถึงการร่วมมือกันดูแลสุขภาพช่องปาก และการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม นั่นหมายความถึงบทบาทการดูแลสุขภาพ สุขภาพช่องปากมิใช่เป็นหน้าทีข่ องทันตบุคลากรเท่านัน้ … บทบาทการส่งเสริมสุขภาพช่องปากกับสหวิชาชีพจึงเป็นของคูก่ นั รอยยิ้ ม เป็ น หน้ า ต่ า งของหั ว ใจ...ถึ ง เวลาแล้ ว (ความจริ ง ถึ ง เวลามานานแล้ ว ) ที่ ส หวิ ช าชี พ ต้ อ งจั บ มื อ กั น เพื่ อ ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ ช่องปากทุกคน ทุกกลุ่มวัย อย่างกลุ่มที่อยู่เป็นกลุ่มนิ่ง ได้แก่ แม่และเด็ก : ANC, WCC วัยก่อนเรียน : ศุนย์พัฒนาเด็กเล็ก ชั้น อนุบาล – เด็กเล็ก วัยเรียน : โรงเรียนประถมศึกษา , มัธยมศึกษา วัยทำ�งาน : โรงงาน กลุม่ ต่างๆ ผูส้ งู อายุ : ชมรมผูส้ งู อายุ คลินคิ เบาหวาน นอกจากนั้นยังมีศูนย์รวมของประชาชน ได้แก่ ศาสนสถาน : วัด , มัสยิด ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทันตบุคลากรและทีมสหวิชาชีพในพื้นที่ เข้าถึงได้งา่ ย กิจกรรมเชิงรุกจะสำ�เร็จได้หากมีเพียงแค่ความพากเพียรของทีมงาน แต่ส�ำ หรับกลุม่ ด้อยโอกาสหลายๆกลุม่ ได้แก่ คนพิการ ผูท้ กุ ข์ ยาก ผูส้ งู อายุทชี่ ว่ ยเหลือตัวเองได้นอ้ ย ไม่มญ ี าติพนี่ อ้ งเหลียวแล ผูป้ ว่ ยเรือ้ รังทีไ่ ม่สามารถเข้าสังคม หรือมีขอ้ จำ�กัดในการเข้าสังคม กลุม่ คนเหล่า นี้ยังเหมือนตกอยู่ในวงจรชั่วร้ายที่ซ้ำ�เติมพวกเขาอยู่ ขาดโอกาสในการใช้ชีวิตแบบคนปกติ ขาดโอกาสในการรับรู้ถึงวิธีการหรือช่องทางในการ ดูแลสุขภาพ นี่แหละ..เป็นบทบาทที่ท้าทายของทีมงานทันตบุคลากรและทีมสหวิชาชีพ เพราะนอกจากจะมีความพากเพียรในการทำ�งานตาม ศักยภาพและบทบาททีก่ ฎหมายกำ�หนดแล้ว ยังต้องอาศัยการทำ�งานด้วยหัวใจ ด้วยความเสียสละ โอกาสนี้ ขอชืน่ ชมทีมงานทันตบุคลากรและ ทีมสหวิชาชีพทีท่ �ำ งานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ไม่ยอ่ ท้อต่ออุปสรรค อุทศิ ตนเพือ่ ทำ�งานส่งเสริมสุขภาพช่องปากทัง้ ในกลุม่ ทีส่ ามารถเข้าถึงได้ ง่ายและกลุ่มที่เข้าถึงได้ยาก ที่เห็นได้ชัดเจนในขณะนี้ได้แก่การส่งเสริมสุขภาพช่องปากคนในกลุ่มคนพิการ ซึ่งนับว่าเป็นงานที่ทำ�ได้ยากเพราะ ไม่เพียงแต่ส่งเสริมสุขภาพช่องปากเฉพาะคนพิการเท่านั้น ยังต้องทำ�ความเข้าใจกับผู้ดูแลซึ่งที่ผ่านมาอาจเข้าใจเพียงว่า การดำ�รงชีวิตอยู่ได้ เพียงกินอิ่ม นอนหลับ ไม่เจ็บไข้ก็พอแล้ว มีผู้ดูแลน้อยคนนักที่ที่จะให้ความสำ�คัญกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และเมื่อทันตบุคลากรและทีม สหวิชาชีพซึ่งเป็นผู้เสียสละเข้ามาทำ�หน้าที่ตรงนี้ ด้วยความเต็มใจ มุ่งมั่น ก็สามารถทำ�ให้ปัญหาสุขภาพช่องปากในแต่ละกลุ่มได้รับการแก้ไข จนทำ�ให้เกิดความสุขแก่ผู้ให้และผู้รับบริการ อีกทั้งยังทำ�ให้เกิดความภาคภูมิใจ อิ่มเอมมิรู้ลืม ทุกท่านคะ บทบาทการส่งเสริมทันตสุขภาพที่ทันตบุคลากรและทีมสหวิชาชีพได้มุ่งมั่นปฏิบัติมาเป็นเวลานานนั้น หลายท่านคงได้มีโอกาส ได้แลกเปลี ่ยนเรียนรู0-3 ้กันในเวที ต่างๆ มาแล้7.50 ว สำ�หรับบาท ท่านที่พลาดโอกาสได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู ็ขอให้ท่า3-6 นเก็บบัปีนทึราคา กผลงานที่ท8.00 ่านได้ตั้งบาท ใจทำ�งาน แปรงเด็ กอายุ ปี ราคา แปรงเด็ ก้กอายุ ด้วยความอดทน เสียสละไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโอกาสต่อไป อีกอย่างวารสารทันตสาธารณสุขภูธรก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ยินดีเป็นสื่อกลางใน ราคา บาท่วหน้าค่ะ แปรงเด็ บาท แปรงผู การแลกเปลี่ยก นเรีอายุ ยนรู้แก่6-12 ผู้สนใจ สุปี ดท้าราคา ยนี้ขอให้ท8.50 ุกท่านจงประสบความสุ ขความเจริญมีสุขภาพดี้ใมหญ่ ีความเจริ ญในหน้9.50 าที่การงานโดยทั
สั่งแปรงสีฟันกับ วารสารทันตภูธร ราคาล่าสุด กันยายน 2555 ด้วยความปรารถนาดี โทรสั่งแปรงสีฟันติดดาว, ยาสีฟัน, ผ้าเจาะกลาง, ผ้าห่อเครื่อทพญ.บานเย็ งมือ ฯลฯ น ศิริสกลุเวโรจน์ ประธานชมรมทั น ตสาธารณสุ โทรด่วนสัง่ สินค้ากับ หมอหนุ่ย สุรรี ัตน์ 0869165126 หรือ คุณนฤมล 0835689055ขภูธร วารสารทันตภูธร 64 ดูภาพแปรงสีฟนั ได้ใน ฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555 https://www.facebook.com/groups/ruraldent
วิทยากรโดย ครูชีวัน วิสาสะ
สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการเรื่อง
"หนังสือภาพ นิทาน ศิลปะ: ปะ
การสร้างสื่อเสริมการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพ" ภาพ
เจ้าของผลงานนิทานภาพเรื่อง “คุณฟองนักแปรงฟัน และคุณฟองฟันหลอ”
และ คุณวิภาวี ฉกาจทรงศักด์ิ วันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2555 เชียงใหม่
ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง
1,600 บาท 2,000 บาท
ค่าลงทะเบียน
ภายในวันที่ 15 ต.ค. 2555: หลังวันที่ 15 ต.ค. 2555:
download จดหมายเชิญ รายละเอียดและใบลงทะเบียนได้ที่ http://www.dent.cmu.ac.th/web/ UserFiles/File/JY0K8SVS.pdf