ทันตภูธร
เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจและความสุขในการทำางาน
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2555
ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก
เร่เข้ามา..เร่เข้ามา..มีความสุขมาขายจ้า !!! กราบเรี ยนมิตรรั กแฟนๆทันตภูธร ทุกท่ าน บัดนี ้ หนังสือความสุขในชีวิตของ Dentist ภูธร เล่ ม 2 มีพร้ อมให้ ทกุ ท่ านสั่งซือ้ ภาพ 4 สี ราคาเล่ มละ 150 บาท สนใจสั่งซือ้ หนังสือ กรุ ณาติดต่ อโดยตรงที่ ทพ.วัฒนา ทองปั สโณว์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่ านซ้ าย 168 ม.3 ตาบลด่ านซ้ าย อาเภอด่ านซ้ าย จังหวัดเลย 42120 E-mail : dansaihospital@gmail.com โทร.042-891276 แฟกซ์ 042-892379
คุยกับชมรมทันตภูธร ON FACEBOOK https://www.facebook.com/groups/ruraldent/ ซื้อแปรงสีฟันสบทบค่าพิมพ์วารสารทันตภูธร โทรสังแปรงกั ่ บหมอหนุ่ย สุรีรตั น์ 083-0339925
ทักทายบรรณาธิการ ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ nithimar_or@yahoo.com
ส
วัสดีค่ะ ชาวทันตภูธรทุกท่าน คำ�ถามเปิดเล่มในฉบับนี้ ดิฉันจะขอให้ทุกท่านตอบตนเองเบาๆในใจ หรือจะตอบดังๆให้คนใกล้ๆได้ยิน ด้วยก็ได้ว่า “วันนี้คุณเป็นสมาชิกของเครือข่ายใดๆในวงการด้านสุขภาพหรือยังคะ ?? ” ปัจจุบันรูปแบบการทำ�งานของทันตบุคลากรคงไม่ใช่แค่นั่งทำ�ฟันคนไข้ภายในคลินิกทันตกรรมเพียงอย่างเดียวต่อไปอีกแล้ว ทันตบุคลากร จำ�เป็นต้องเรียนรู้ในการทำ�งานเป็นทีมสหวิชาชีพ หรือทำ�งานในรูปแบบเครือข่ายในประเด็นด้านสุขภาพที่สนใจแตกต่างกันไป เป็นเรื่องที่กำ�ลัง ทันสมัย ใครๆก็ต้องมีเครือข่ายค่ะ บางคนเป็นสมาชิกอยู่หลายเครือข่ายเลยก็มีนะคะ เพราะนับนิ้วดูแล้วแค่เฉพาะในวงการ ทันตสาธารณสุขของ เราก็มเี ครือข่ายเพือ่ การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในประชาชนทุกกลุม่ ทุกวัยอยูม่ ากมายหลายเครือข่ายแล้วค่ะ ลองเลือกเป็นสมาชิกแล้วทำ�งาน ร่วมกับเครือข่ายที่ท่านพึงพอใจ รับประกันว่าท่านจะทำ�งานประจำ�อย่างมีความสุขขึ้นอีกเยอะเลยทีเดียว ที่ผ่านมาวารสารทันตภูธรได้ประสานงาน ขอรับบทความจากเครือข่ายต่างๆ มานำ�เสนอประสบการณ์การทำ�งาน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียน รู้ พัฒนาและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการปรับใช้ มาอย่างสม่ำ�เสมอ อาทิเช่น ประสบการณ์ดีๆจากเครือข่ายเพื่อเด็กไทยไม่กินหวาน, กิจกรรม ของเครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ,ฯลฯ สำ�หรับวารสารทันตภูธรฉบับนี้มีความภูมิใจนำ�เสนอเรื่องราวของเครือข่ายโรงเรียน ทันตแพทย์สร้างสุข,โรงเรียนเด็กไทยฟันดี, เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ และเครือข่ายน้องใหม่ล่าสุดที่กำ�ลังมาแรงคือ เครือข่ายลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรกค่ะ ที่มุ่งมั่นรณรงค์ในผู้ปกครองให้ความสำ�คัญกับการรักษาฟันซี่แรกของลูกน้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่จำ�เป็นอย่างยิ่ง งาน นี้ถือเป็นงานใหญ่ที่ทุกองคาพยพในแวดวงทันตสุขภาพ ไม่ควรจะพลาดค่ะ รายละเอียดติดตามในฉบับนะคะ สำ�หรับเครือข่ายอื่นใดที่สนใจ สื่อสารสาธารณะผ่านวารสารทันตภูธรก็กรุณาส่งบทความของท่านมาได้ที่ nithimar_or@yahoo.com ค่ะ หากท่านยังไม่ทราบจะเริ่มต้นทำ�งานดีๆกับเครือข่ายไหนดี ขอเชิญเริ่มต้นง่ายๆกับเครือข่ายชมรมทันตภูธร ทักทายได้ทันทีพร้อมกัน ทุก ภาคทั่วประเทศไทยใน https://www.facebook.com/groups/ruraldent/ รุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ รุ่นไหนๆก็เจอกันได้ในเฟสบุคจ้ะ วารสารทันตภูธรขอขอบพระคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่ให้กำ�ลังใจทีมงาน ด้วยการโทร 083-0339925 สั่งซื้อแปรงสีฟันกับคุณหมอหนุ่ย ทพญ.สุรีรัตน์ ค่ะ ขอกราบเรียนให้ทุกท่านทราบเพื่อความสบายใจว่ากำ�ไรจากทุกด้ามแปรงสีฟันที่ท่านสั่งซื้อ คือต้นทุนที่รวบรวมมาจัดพิมพ์ วารสารทันตภูธรพร้อมค่าจัดส่งให้แก่ทุกท่านพร้อมกันทั่วประเทศไทยทุก 3 เดือน วารสารทันตภูธรไม่มีวางขาย ไม่ต้องสั่งซื้อ ไม่มีการต่อ สมาชิกเพราะตราบใดที่ท่านยังรักคนไข้ สนใจเรื่องเล่าทันตสาธารณสุข ท่านก็ได้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ อ่านวารสารทันตภูธรตลอดชีพค่ะ ท้ายนี้คุณหมอหนุ่ย ทพญ.สุรีรัตน์ คนดังจากโรงพยาบาลน่าน ผู้อาสามารับผิดชอบการขายแปรงสีฟันให้กับวารสารทันตภูธร ฝากข้อ ความสั้นๆมาสื่อสารถึงทุกท่านผู้มีอุปการคุณทั่วประเทศ ตามกรอบด้านล่างนี้นะคะ ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ จากใจคนขายแปรง จากที่หลายๆที่สอบถามมา ว่ามีถุงบรรจุแปรงสีฟัน ยาสีฟันหรือเปล่า เพื่อสะดวกในการแจกจ่าย เรา เลยไปจัดหามาให้พวกท่าน ถุงเล็ก จะใส่แปรงสีฟัน และแก้วนํ้าพลาสติกใบเล็กๆพอได้ ใบละ 12 บาท ถ้าใบที่ใหญ่กว่าจะใส่ สมุดสีชมพูทใี่ นหญิงตัง้ ครรภ์และเด็กคลินกิ เด็กดีจะถือกันได้ แล้วในนัน้ ก็จะสามารถใส่ผลิตภัณฑ์สง่ เสริมสุขภาพช่องปากอืน่ ๆ ได้ ใบละ 20 บาท และขอความกรุณาท่านทั้งหลายที่ติดหนี้ค่าแปรงของชมรมอยู่ รบกวนท่านช่วยติดตามให้ด้วย เรารอท่านอยู่ ช้าได้ แต่อย่าช้ามาก หนี้ของท่าน คือภาระงานของเรา กำ�ไรจากการขายแปรงก็นำ�มาซึ่ง สิ่งที่ท่านถืออยู่ในมือนี่แหละค่ะ อยาก ช่วยให้วารสารทันตภูธรมีค่าพิมพ์ ก็ช่วยกันทวงตังค์ให้ด้วยนะจ๊ะ ถ้าสนใจจะสั่งซื้อเพิ่มเติมราคาอยู่ที่ ปกในด้านหลังหรือโทร 083-0339925 ภาพแปรงสีฟันดูใน https://www.facebook.com/ruraldentmagazine
1
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
สารบัญ ทันตภูธร 1 3 4 10 15 16 19 20 23 28 30 31 33 35
ทักทายบรรณาธิการ พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สื่อสร้างสรรค์ วิถีใหม่ งานทันตสาธารณสุขไทย ถึ ง เวลาที่ ต้ อ งใช้ ก ลยุ ท ธ์ ก ารจั ด บริ ก ารสุ ข ภาพ ช่องปากบูรณาการเชิงรุก Fluoride Is Bad by Jay-ac สุขสร้างสรรค์กับสสส. : เครือข่ายสุขภาพ ปฏิบัติการเล่าฝัน เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี เล่าเรื่อง “เครือข่ายลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรก” เรื่ อ งมากมากเรื่ อ งจากเมื อ งน่ า น : การสอน แปรงฟันในเด็กเล็ก การสื่ อ สารภายในเครื อ ข่ า ยทั น ตบุ ค ลากรงาน กองทุนทันตกรรม Air War VS Ground War ตอนที่ 1 Air War VS Ground War ตอนที่ 2 เรื่องเล่าจากภูอังลัง : หมอฟันไทยด่าน
3 8 40 42 44 47 50 52 54 55 57 58 60 62 64
ไกลเกินช่องปาก ลึกกว่าคอหอย มาเป็ น เครื อ ข่ า ยวิ ช าชี พ สุ ข ภาพเพื่ อ ควบคุ ม การ บริโภคยาสูบกันดีกว่า คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก “OHI ง่ายๆสไตล์หมอตุ้ม” คนทำ�ถูกร้อง คนถูกฟ้องเป็นทันตแพทย์ พั ฒ นาระบบเฝ้ า ระวั ง ปั ญ หาสุ ข ภาพเด็ ก โดย ชุมชน เรื่องเล่าจากเวียดนาม การจัดบริการที่มีคุณภาพ จุดประกายความคิด นกน้อยปีกหัก ชีวิตทันตาภิบาลไทย ข่าวจากติวานนท์ เครื อ ข่ า ยทั น ตบุ ค ลากรสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพคน พิการ ข่าววงใน จากใจหมอกมล กรองใจท้ายเล่ม
ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร ● ประธานชมรมฯ : ทพญ. บานเย็น ศิริกุลเวโรจน์ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เลขที่ 161/1 ถนนรามวิถี ตำ�บลบ่อยาง อำ�เภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000 โทรศัพท์ 074 - 326091 ต่อ 107, 105 โทรสาร 074 – 311386 www.ruraldent.org, http://ruraldent-magazine.blogspot.com ● วารสารทันตภูธร ที่อยู่ 42/198 ซ.ติวานนท์ 38 ถ. ติวานนท์ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 083 – 4934543 ruralmax2007@ gmail.com ● บรรณาธิการ : ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ ● กองบรรณาธิการ : ทพญ.แพร จิตตินันทน์, ทพญ.วิโรชา เพียรเจริญ, ทพญ.สุรีรัตน์ สูงสว่าง, ทพญ.มยุรฉัตร ฉายอรุณ, ทพญ.รจิต จันทร์ประสิทธิ์ ● นักเขียนประจำ� : นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ, ทพญ.ศันสณี รัชชกูล, ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ, ทพ.ดร. สุปรีดา อดุลยานนท์, ทพญ.มยุเรศ เกษตรสินสมบัติ, ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล, ทพญ.ดร. มัทนา เกษตระทัต, ทพญ.ดร.สุดาดวง กฤษฎาพงษ์, นายอาจผจญ โชติรักษ์, ชิวเหรียญ, นางสาว ณธกมล รุ่งทิม, หมอจุ้มจิ้ม ● ภาพปกโดย : ทพญ.ธิดารัตน์ นวนศรี โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง ลิขสิทธิ์ภาพในปก : คุณวลีวรรณ หวานดี ตำ�แหน่งผู้ช่วยทันตแพทย์ โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง ●
วารสารทันตภูธร เป็นเวทีสาธารณะในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ข้อเขียนทั้งหมดรับผิดชอบโดยผู้เขียนข้อเขียนนั้นๆ มิได้เกี่ยวข้องกับชมรมทันตสาธารณสุขภูธร หรือ วารสารทันตภูธร 2
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
“ความดีสร้างกำ�ลังใจ เป็นเหมือนการฉีดยาป้องกันโรค” ...เราต้องทำ�ในสิ่งที่ดีที่ชอบตลอดไปเป็นเวลานานอาจน่าเบื่อ แต่แม้กระนั้นอย่างเพิ่งท้อใจ แม้กระนั้น บางทีเราทำ�ตลอดชีวิตแล้วก็ยังไม่พอ แต่ทำ�ไมเมืองไทยอยู่ได้ก็เพราะว่าบรรพบุรุษของเราทำ�มาเป็นแรมปี เป็นร้อยๆ ปีทำ�มาด้วยความสุจริตใจ… ...ประเทศไทยนี่ทำ�ไมอยู่ได้ ก็เพราะพวกเราทุกคน ถ้าเราสร้างความดีคือทำ�ปฏิบัติในสิ่งที่บริสุทธิ์ใจที่ สุจริต ที่ตั้งใจดีมันอาจมีผิดพลาดบ้าง แต่ว่าไม่ได้ตั้งใจผิดพลาด... ...ตั้งใจทำ�ดี ก็เป็นการสร้างกำ�ลังของบ้านเมือง ทำ�ให้เป็นเหมือนฉีดยาป้องกันโรค ซึ่งถ้าเราฉีดยา ป้องกันโรควันนี้ พรุง่ นีไ้ ม่ใช่ไม่ได้ผล หมอก็ทราบดี ถ้าเราฉีดยา ต้องได้ครบโดสถึงจะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้... ...การป้องกันให้ครบโดส เราต้องทำ�ในสิ่งที่ดีที่ชอบตลอดไปเป็นเวลานานอาจน่าเบื่อ แต่แม้กระนั้นอย่าง เพิ่งท้อใจ แม้กระนั้น บางทีเราทำ�ตลอดชีวิตแล้ว ก็ยังไม่พอ... ...แต่ท�ำ ไมเมืองไทยอยูไ่ ด้ ก็เพราะว่าบรรพบุรษุ ของเราทำ�มาเป็นแรมปีเป็นร้อยๆ ปีท�ำ มาด้วยความสุจริตใจ... ที่มาเรื่อง : http://king.kapook.com/royal_words.php พระบรมราโชวาทและพระราชดำ�รัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หนังสือคำ�พ่อสอน ในโครงการตามรอย เบื้องพระยุคลบาทด้วยความรักและความดี 60 ปี 60 ล้านความดีถวายในหลวง น้อมเกล้าถวายในหลวง ที่มาภาพ : น้องต้นนํ้า ไหว้ ในหลวง จาก http://news.mthai.com/headline-news/115267.html
3
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
สื่อสร้างสรรค์ วิถีใหม่
งานทันตสาธารณสุขไทย โดย นทพ.ธิตินนท์ จงตั้งปิติ (เบทซึ) คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผ
มยืนอยู่หน้าโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ ในงานสื่อ สร้างสรรค์ วิถีใหม่ งานทันตสาธารณสุขไทย ที่จัดขึ้น เมื่อวันที่ 24-25 ธันวาคม พ.ศ.2554 ภายในงานผมมองแบบ panorama แบบกว้างๆ ผม สัมผัสได้ถึงความร่วมมือกันของคนทำ�งานเพื่อสร้างสรรค์ สิ่งดีๆ ด้วยการเปลี่ยนแปลงมุมมองการทำ�งานที่ตัวเองรัก เสี ย ใหม่ มากกว่ า การมุ่ ง มั่ น จะให้ ก ารรั ก ษาอย่ า งเดี ย ว เหมือนคนส่วนใหญ่นิยมกัน “เหมือนเป็นการรวมกลุ่มกันของคนที่ว่ายทวนนํ้า” ผม ยิ้มในใจ พลางคิดว่า เราอาจเป็นปลาแซลมอนกลับชาติมา เกิดกันหรือเปล่า? เช้าวันพฤหัสบดี บนเวที มีสัญลักษณ์โลโก้ของงานนี้ เป็ น รู ป ฟั น ภายในมองเผิ น ๆเหมื อ นเป็ น แพนเทิ ร์ น หนังสือพิมพ์ ฉากหลังในงานเป็นผ้าชีฟองดูละมุนตา พาด ระย้าไขว้ๆสับกันไปมา พลางให้คิดถึงขนแปรงแบบที่เขา โฆษณาให้ฟังกันติดหูตามโทรทัศน์ บนฝ้าเพดานมีแคน เดอเรียคริสตัลห้อยระย้า สวยงาม ทรงคุณค่า น่าเข้าชม พิธีกรกล่าวเปิดงาน ร่วมกับมี รศ.ทพญ.ดร.พัชราวรรณ ศรี ศิ ล ปนั น ทน์ ประธานชมรมทั น ตสาธารณสุ ข แห่ ง ประเทศไทย (ปี 2554) กล่าวสวัสดี และทักทายผู้เข้าร่วม งานประชุม ‘ผมมองอาจารย์ของผมอย่างภาคภูมิใจ’ การสนทนาของเช้านี้วันนี้ วิทยากรเป็นผู้สร้างสรรค์สื่อ คนหนึ่ง ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็น ‘เด็กตัวเล็กๆ’ วัยที่สมอง 4
กำ�ลังมีจินตนาการ การสร้างสรรค์ และสิ่งเหนือธรรมชาติ วิทยากรผู้นี้คือ คุณครูชีวัน วิสาสะ ผู้แต่งหนังสือ ‘คุณฟอง นั ก แปรงฟั น ’ ผู้ เ ล่ า เรื่ อ งให้ เ ราฟั ง ว่ า เด็ ก เขากำ � ลั ง คิ ด อย่างไรกับเรา เรากำ�ลังเข้าสู่การเสวนาเรื่อง ‘เบื้องหลัง การทำ�นิทานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก’ ผมกำ�ลังนึกถึงการ์ตูนที่ผมเคยเดินผ่าน เป็นเรื่องราว ของฮีโร่ที่แต่งกายคล้ายขบวนการห้าสี กำ�ลังต่อสู้กับเชื้อ โรคที่มาทำ�ลายช่องปาก ผมกำ�ลังคิดว่านิทานของคุณครู ชีวันจะคิดเหมือนผมไหม ? ผมคงยั ง ไม่ ช้ า เกิ น ไปที่ จ ะบอกว่ า วิ ท ยากรคุ ย กั บ คุณครูชีวัน ในวันนี้คือ ผศ.ทพ.อติศักดิ์ จึงพัฒนาวดี “ผมเปิดหนังสือมาเจอแต่ข้อความว่า ดึ๋ง ดึ๋ง ดึ๋ง ดึ๋ง หนังสืออะไรช่างเอาเปรียบผู้บริโภคขนาดนี้ แต่หนังสือเล่ม นี้คงไม่ได้เอาเปรียบเด็ก” ทพ.อติศักดิ์ เปิดการสนทนา หลังจากนั้นครูชีวันเริ่มเล่านิทานให้ฟัง เป็นเรื่องของ ‘ช้างเบิ้ม’ ผมคงไม่สามารถเล่านิทานให้สนุกผ่านตัวอักษร บนหน้ากระดาษ โดยปราศจากเสียงเสนาะสำ�เนียงเท่า คุณครูชีวันได้ แต่ถ้าผ่านเวลาว่างเข้าร้านหนังสือ อย่าลืม แวะหา ‘ช้างเบิ้ม’ มาลองพลิกอ่านกันดูนะครับ “ผมถามเด็กๆว่า มินามิ คนแต่งหนังสือเล่มนี้เป็นชาว อะไร ทุกคนคงตอบได้ว่า เขาเป็นชาวญี่ปุ่น แต่วันนึงผมไป ถามเด็กๆทีผ่ มเล่านิทานให้ฟงั เขาตอบว่า เป็นชาวนา ทำ�ไม ทุกๆคนในห้องนี้ถึงตอบได้ว่า คนนี้เป็นชาวญี่ปุ่น ทำ�ไมเด็ก ถึงตอบแบบนัน้ ผมคิดว่าเขาคงต้องเริม่ เรียนเรือ่ งอาชีพ แล้ว ได้ยนิ เสียงสอดคล้องว่า ชาว เลยทำ�ให้เกิดการเชือ่ มโยงตอบ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ว่าเป็นชาวนา” ครูชีวันเล่าก่อนจะอ่านเรื่องช้างเบิ้มให้ฟัง ผมสะดุง้ คิดไปเสียชัว่ ครู่ ผมสงสัยเช่นกันว่าทำ�ไม ผมจึงตอบได้วา่ สำ�เนียงญีป่ นุ่ มักลงท้ายด้วย อิ อะ โอะ เอะ อุ อาจจะเป็นเพราะเมือ่ เรา โตมากขึน้ เราอาจมีกรอบบางอย่างมาตีตารางรอบๆชีวติ ของเราอยู่ แต่ เด็กไม่มี... เด็กยังมีกรอบรอบตัวเป็นอากาศแห่งการจินตนาการและ การรับรู้ประสบการณ์ใหม่ๆในชีวิตอยู่ จึงไม่แปลกเลยทีบ่ างครัง้ เราพยายามสร้างสือ่ เพือ่ เข้าถึงเด็ก แต่เรา ยังเข้าไปไม่ถึง ‘ใจ’ เด็ก ผมกำ�ลังคิดว่าขบวนการห้าสีต่อสู้กับเชื้อโรคเข้าถึงเด็กหรือยัง? “ความสนุกของเด็ก เกิดจากความซ้ำ�ซากจำ�เจ สังเกตจากเรื่อง ช้างเบิ้ม มีคำ�ว่าช้างเบิ้ม ใหญ่เบ้อเริ่มเทิ้ม พูดวนไปวนมามากมาย อีก คำ�ถามหนึง่ คือ มีคนถามว่าถ้าครูชวี นั ไม่ได้อา่ นให้ฟงั เรือ่ งนีจ้ ะสนุกมัย๊ ? อันนี้เป็นคำ�ถามที่น่าสนใจ ทุกครั้งที่เราอ่านหนังสือในใจ มันไม่มีเสียง มันเลยไม่สนุก ดังนั้นการอ่านนิทานให้เด็กฟัง มันได้เห็นทั้งภาพ ได้ยินทั้งเสียง มันเลยทำ�ให้สนุกตามไปด้วย บางครั้งผมก็เคยถาม คุณครูในโรงเรียนครับ ถามว่า เราอ่านนิทานให้เด็กฟังทำ�ไม คุณครูสว่ น ใหญ่มักตอบว่า อ่านให้เด็กสนุก แต่ความจริงแล้วในนิทานมีอะไรแฝง อยู่มากมาย มันอยู่ที่ว่า เด็กเรียนรู้อะไรบ้าง จากนิทาน อย่างเรื่องช้าง เบิ้ม เด็กเรียนรู้ที่จะมีนํ้าใจกับเพื่อนฝูง รู้จักความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นี่คือ ประโยชน์และเอกลักษณ์ของนิทาน” ครูชีวันได้พูดทิ้งท้ายว่า “เด็กเป็นวัยที่อยากรู้ อยากโต อยากโชว์ อยากช่วย” ดังนัน้ ไม่วา่ จะเป็นงานอะไรเราต้องพยายามทำ�ความเข้าใจ มุมมองของเด็กให้มากยิ่งขึ้น จะทำ�ให้เราสามารถทำ�งานสื่อกับเด็กได้ ตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น ‘มาตอนนี้ผมได้คำ�ตอบแล้วว่า บางครั้งแก๊งค์ห้าสี อาจไม่ใช่มุมมองที่เราเข้าใจเด็กโดยตรง’ หลังจากกิจกรรมในช่วงเช้าจบลง นำ�เข้าสู่กิจกรรมต่อในช่วงถัดไป เป็นการคุยกันในเรื่องของ การทำ�สื่ออีกเช่นกันแต่เป็นเรื่อง ‘มองงานทันตสุขภาพผ่านสายตาคนทำ�สื่อ’ โดยการคุยเป็นการ เล่าเรื่องอย่างสบายๆและเป็นกันเอง กลิ่นกาแฟในช่วงพักเบรกคลุ้งเคล้ากับเรื่องราวเป็นอย่างดี ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ เป็นผู้ดำ�เนินรายการสัมภาษณ์ คุณกิติมาภรณ์ จิตราทร และ คุณกฤษณะ ภานุวาส ทั้งสองเป็นสื่อมวลชนอิสระของ อสมท. “ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์” ประโยคนี้เป็นประโยคที่ผมได้ฉุกคิด “ข่าวดีๆ มอบรางวัล ไม่ได้ค่อยได้นำ�ออกสื่อ มีแต่ข่าวที่ร้ายๆ เครียดๆ ข่าวเหล่านี้ได้ออกสื่อเป็น สื่อมากกว่าข่าวอื่น แต่เราจะทำ�อย่างไรให้ข่าวดีๆ ได้มีโอกาสออกสื่อเหมือนกับข่าวไม่ดีบ้าง เราต้องทำ�ความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์กอ่ นว่า มนุษย์จะให้ความสนใจกับความแปลกแตกต่าง ดังนัน้ การจะทำ�งานสือ่ ให้ 5
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
เกิดความสะดุดต้องพยายามมองให้ เป็นมุมที่โลดโผนและแตกต่างจาก ปกติ จะทำ�ให้เกิดความสนใจเพิ่ม มากขึ้น” พั ก มื้ อ เที่ ย ง ทั น ตแพทย์ แ ละ บุคลากรสาธารณสุข เดินลงมาจาก ห้องประชุมจำ�นวนมากเข้าสูห่ อ้ งอาหารของโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ ห้องอาหารดูเล็กลงไปถนัดตา ทุกคนอิ่มหนำ�กันกับ อาหารมื้อนี้มาก จนเกือบลืมไปว่า เวลาตอนบ่ายกว่าๆ จะ มีงาน ‘ประกาศรางวัลไลอ้อนเพื่อสุขภาพช่องปาก ประจำ�ปี 2554 (สนับสนุนโดยบริษัทไลอ้อน (ประเทศไทย) จำ�กัด’ บทเวที มี ต ราโลโก้ ไ ลอ้ อ น ประดั บ อยู่ ทั่ ว ไปในงาน ทำ � ให้ ผ มนึ ก ชอบใจ ว่ า ตอนเด็ ก ๆ ผมสนุ ก สนานกั บ แปรงสีฟันรูปสิงโตอยู่บนด้ามแปรงสีเหลือง และสารภาพ ว่าผมเคยกลืนยาสีฟันยี่ห้อนี้ตอนเด็ก เพราะรสชาติรสส้ม ของมัน แล้วผมก็พบว่ามันไม่อร่อยเอาเสียเลย เสวนาในบ่ายนี้เป็นการเสวนาเรื่อง ‘Oral Health for All & All for oral health’ผู้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ได้แก่ ทพญ. จันทนา อึ้งชูศักดิ์, คุณภานุวุธ บูรณะพรหม, ทพ.กมล เศรษฐ์ชัยยันต์, นายก อบต. สรรเสริญ ณ จำ�ปา, คุณ วิสัย อุดก้อน และผู้ดำ�เนินการเสวนาในครั้งนี้คือ นาย แพทย์มงคล ณ สงขลา เชื่อว่าชาวทันตสาธารณสุขทุกคนมีอุดมการณ์ในการ ทำ�งานร่วมกัน ก็คือ การทำ�ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง และพยายามทำ�ให้ประชาชนเข้า ถึงการบริการทางสาธารณสุขให้ได้มากที่สุด ในการเสวนา ครั้งนี้ จึงเป็นการเล่าเรื่องว่าการทำ�งานอย่างไรให้ Click! 6
ประชาชนมากที่สุด คุณหมอมงคลกล่าวเกริ่นว่า “ประชาชนไม่สามารถ เข้าถึงบริการทางสาธารณสุขได้ เพราะทันตแพทย์มีอยู่ เพียงแต่ในโรงพยาบาล และคลินิก ดังนั้นการดูแลช่อง ปากของประชาชนจึงถูกละเลยไป เชื่อหรือไม่ว่า บางครั้ง บอกว่าช่องปากเป็นแค่ช่องปากเล็กๆ มันไม่สำ�คัญ แต่ ความจริงมีความสำ�คัญมากๆ เพราะช่องปากเล็กๆนี่เองที่ สามารถทำ � ให้ เ กิ ด โรคร้ า ยแรงได้ อย่ า งโรคกล้ า มเนื้ อ อักเสบเฉียบพลัน และปอดอักเสบ ซึ่งเกิดจาการเชื้อโรค periodontitis ที่อยู่ในคราบฟัน ดังนั้นถ้าเราสามารถเล่า เรื่องดังกล่าวนี้ ออกสู่ชุมชนได้ก็เป็นเรื่องที่ดี” การดูแลช่องปาก จึงเป็นเรื่องของ ‘สิ่งเล็กๆ ที่ใหญ่ๆ’ ของส่วนหนึ่งในร่างกาย แต่การดูแลช่องปากในปัจจุบันนี้ เราต้องเริ่มดูแลเมื่อไหร่ คุณหมอมงคล กล่าวเสริมว่า “การ ดูแลช่องปากนั้นต้องเริ่มดูแล ตั้งแต่ในครรภ์มารดา เพราะ ในหญิงตั้งครรภ์นั้นพบว่าเป็น periodontitis ถึง 90% และ มี dental caries เฉลี่ย 6 ซี่ แสดงว่าในปากของแม่ก็อม เชื้ อ โรคไว้ เต็ มเปี่ ย ม เมื่ อ แม่ มีลูก ลู ก ของแม่ ก็ มี เ ชื้ อ โรค เหมือนกัน เมื่อลูกฟันผุ ก็ทำ�ให้ความสามารถในการบด เคี้ยวของลูกนั้นลดลง ซึ่งมีงานวิจัยวัดความละเอียดของ การเคี้ยวอาหารในเด็กที่สูญเสียฟันซี่ 6 ล่างไป พบว่าเด็ก
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
จะเคี้ยวอาหารได้ละเอียดลดลง ดังนั้น เด็กจะไม่สามารถ เคี้ยวเนื้อสัตว์และผักได้ละเอียด จึงทำ�ให้เด็กต้องกินขนม เพิ่มเติม เมื่อกินขนมมาก ก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของ เด็กที่ลดลง” เห็นได้ว่า ช่องปาก ที่เล็กๆ บางครั้งถูกเมินเฉย เนื้อใน แล้ ว เป็ น สิ่ ง ใหญ่ ต้ อ งได้ รั บ ความสำ � คั ญ มาก แล้ ว การ ทำ � งานกั บ สุ ข ภาวะเล็ ก ๆนี้ เราต้ อ งเริ่ ม ต้ น กั บ มั น ได้ อย่างไร? คุณวิสัย อุดก้อน เล่าให้ฟังว่า “งานของที่ทำ�เกิดจาก ความคิดที่อยากจะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น และไม่ลืมที่ จะทำ � มั น ” ผมสั ง เกตเห็ น แววตาในความสุ ข ที่ ไ ด้ ก ล่ า ว ประโยคนี้ “สิ่งที่เราทำ�ไม่ได้นั้นไม่มี มีแต่ไม่ได้ทำ� การทำ�งานกับ ชุมชน ต้องไม่มองว่าเขามีอะไรที่แตกต่างจากเรา ซึ่งมอง ว่ า เขานั้ น มี ค วามสามารถในการ approach คนด้ ว ย กันเองได้ดีกว่าเรา สิ่งนี้เองที่ทำ�ให้เขาสามารถเข้าถึงชาว บ้านได้มากกว่า และการกระทำ�นี้จะถ่ายทอดต่อๆไป จาก รุ่นสู่รุ่นไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ ที่ได้มาทำ�งานครั้งนี้สิ่งที่ได้ มากๆคือ บุคลากรทางการแพทย์ได้ถูกสอนให้มีความเป็น มนุษย์มากขึ้น” คุณวิสัยกล่าวเสริม คุ ณ หมอกมลและคุ ณ ภานุ วุ ธ ได้ มี โ อกาสในการ ทำ�งานครั้งนี้ด้วยกัน โดยคุณภานุวุธ พูดแกมตลกว่า “ถูก หมอกมลหลอกมาทำ�งาน” ผมขำ�ในประโยคนี้ในใจ แล้ว คิดในใจนึกถึงเพลงท่อนที่ร้องว่า ‘รู้ว่าหลอกแต่เต็มใจให้ หลอก’ “หมอมักเก็บความรู้ไว้กับตัว ทั้งที่ความรู้เหล่านี้เป็น สิ่งมีประโยชน์ต่อคนหลายๆคน ถ้าเราขยายความคิดของ เราออกไปได้มากเท่าไหร่ ก็เป็นสิ่งที่ดีมากขึ้นเท่านั้น ใน การทำ�งานของเรามีหลากหลายขั้นตอนมาก เราต้องผ่าน 7
กระบวนการทางความคิดอยู่หลายๆครั้ง บางแนวคิดก็ไม่ สั ม พั น ธ์ กั น บางแนวคิ ด ก็ ต้ อ งปรั บ ปรุ ง ใหม่ เราต้ อ ง พยายามคิ ดใหม่ ๆ ถ้ าเรายิ่ ง คิ ดให้ มาก เราก็ จ ะมี ค วาม สร้างสรรค์งานได้มากขึ้น” อย่างไรก็ตาม งานที่ชาวสาธารณสุขจะเกิดเป็นรูป ธรรมได้ ต้องเกิดจากการนำ �เสนอและมีผู้ขับเคลื่อนที่ดี นายก อบต.สรรเสริญ ณ จำ�ปา เป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่ ช่วยทำ�ให้โครงการดีๆ ได้พัฒนาต่อยอดไป เรื่องราวของการเสวนาวันนี้ทำ�ให้ผมได้มองเห็นบุคคล ต่างๆ ที่ต่างมีหน้าที่เป็นของตัวเอง แต่ละบุคคลมีความ ถนั ด ของตั ว เอง และรั ก ในงานของตั ว เอง ทำ � ให้ ง าน สามารถดำ�เนินลุล่วงจนประความสำ�เร็จไปได้ บรรยากาศในบ่ายวันนี้คุกรุ่นไปด้วยความตื่นเต้นว่า ทีมใด จะสมควรได้รางวัลของไลอ้อนในปีนี้ แต่ผมเชื่ออย่างหนึ่ง ว่า ความสำ�เร็จของทุกๆโครงงานในวันนี้ ล้วนมีเรื่องราว มี ตัวละคร และมีความรู้สึกดีๆที่น่าจดจำ� หลังจากการเสวนาแล้ว ผมได้สังเกตเห็นแววตาและ ความตั้ ง ใจของผู้ ที่ นั่ ง อยู่ ใ นห้ อ งประชุ มโดยไม่ ลุ ก หนี ไ ป ไหน ใช่ แ ล้ ว ทุ ก คนใจจดใจจ่ อ กั บ highlight ของการ ประชุ ม ครั้ ง นี้ การประกาศผลงานทั น ตสาธารณสุ ข กั บ รางวัลไลอ้อนเพื่อสุขภาพช่องปากครั้งที่ 3 ประจำ�ปี 2511 บนเวที ผมเห็ น อาจารย์ ท รงวุ ฒิ ซึ่ ง เป็ น ประธานคณะ กรรมการพิจารณารางวัลในปีนี้ ได้พูดถึงวัตถุประสงค์ของ รางวั ล ว่ า เพื่ อ เชิ ด ชู เ กี ย รติ ใ ห้ แ ก่ ผ ลงานดี เ ด่ น ด้ า นทั น ต สาธารณสุ ข และ การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากของ ประชาชนไทย และประกาศว่ า ในปี นี้ มี ผ ลงานที่ ส่ ง เข้ า ประกวด 15 ผลงาน สายตาทุกสายตาต่างจับจ้องอยู่บน เวที หลายคนต่างก็นั่งลุ้นว่ามีผลงานของตนเองเข้ารอบได้ รางวัลบ้างไหม และก็เป็นที่น่ายินดีกับผลงานโครงการเยาวชนอาสา
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ยุวทันตรักษ์ ปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกในเด็กและ เยาวชน โดย ทพญ.เมธินี คุปพิทยานันท์ และทีมงานยุวทันต รักษ์ ได้รับรางวัลที่ 1 และ โครงการมรดกสุขภาพดี จากผู้ สูงวัยสู่ชุมชน อ.แม่ทะ ลำ�ปาง โดย ทพญ. มุขธิตา นันติชัย และคณะ กับ บทบาทพยาบาลกับการบูรณาการการสร้าง เสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ อ.แจ้ห่ม จ. ลำ�ปางโดย คุณ นันทริกา เลิศเชวงกุล และคณะ ได้รับรางวัลที่ 3 ร่วมกัน (แปลกดีเหมือนกันที่ไม่มีรางวัลที่2) ยังมีรางวัลชมเชยอีก 2 รางวัลคือโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพือ่ เด็กเชียงใหม่ฟนั ดี สสจ. เชียงใหม่โดย ทพญ. อัมพร เดช พิทักษ์ และ คณะ กับโครงการลดบริโภคหวาน สานสร้าง สุ ข ภาพ ตำ � บลระวะ อำ � เภอระโนด จั ง หวั ด สงขลา โดย คุณทัณฑิกา สุขจันทร์ และคณะ หลังจากประกาศรางวัลแล้ว ก็มีเสียงปรบมือย่างกึก ก้องและชื่นชมผลงานของผู้ได้รับรางวัล ผมเดินทั่วห้อง ประชุมก็ได้ยินเสียงคุยกัน...ปีหน้าฉันขอส่งบ้าง...เธอก็ ทำ�งานเยอะนะ น่าจะส่งมาบ้างนะ ผมเห็นอาจารย์ทรงวุฒิ อาจารย์ พัชราวรรณ ต่างก็ยิ้มแย้ม สดชืน่ ยินดีกบั ผูไ้ ด้รบั รางวัล ผมก็ยงั เหลียวไปเห็นประธาน คณะกรรมการบริษัทไลอ้อน เจ้าภาพผู้มอบทุนรางวัล ไลอ้อนก็ยมิ้ และชืน่ ชมผลงานด้วยอารมณ์ที่ happy happy สุดสุด 8
ต่อมาผมเดินออกมาจากห้องประชุม เดิน เข้ามาถึงบริเวณห้องโถงกว้าง เป็นห้องโถงที่มี บอร์ดนำ�เสนอผลงานต่างๆมากมาย ผลงานเหล่า นี้มีหลากหลายงานที่สร้างสรรค์ บางงานผมเห็น แล้วรู้สึกทึ่งในความคิดที่ครีเอท บางงานผมก็ทึ่งที่ สามารถทำ�งานกับกลุม่ คนจำ�นวนมากๆได้ ผมมอง เห็นเรื่องราวในโปสเตอร์ทุกๆแผ่น ผมเห็นความ พยายามของคนกลุ่มหนึ่งที่ จะเปลี่ยนสังคมของ ตัวเองให้ดีขึ้นอย่างที่ตัวเองใฝ่ฝันไว้ ในบริเวณนั้นมีบูธของเครือข่าย Tooth Friendly Network เป็นกลุม่ ทีน่ �ำ เสนอเกีย่ วกับการ ติดตราให้กบั ผลิตภัณฑ์อาหารทีเ่ ป็นมิตรกับฟัน ซึง่ เขาบอกว่าถ้าอยากฟังเรื่องนี้ชัดๆ พรุ่งนี้มีได้คุยกับบนเวที ตอนช่วงเช้าๆ ถัดออกไปไกลอีกหน่อย เป็นห้องนำ�เสนอวิทยาการ เครื่องมือสำ�หรับการดูแลช่องปากให้คนพิการ บอกตาม จริงว่าผมรู้สึกประหลาดใจที่พบได้เดินเข้ามาสัมผัสพื้นใน ห้องนี้ ผมเห็นโอกาสของคนพิการที่เขาได้สิทธิพิเศษเหนือ ระดับในการดูแลเป็นพิเศษ แปรงสีฟันที่พันด้ามแปรงให้ ใหญ่ขึ้น เพื่อให้สามารถจับถือได้ถนัดมากขึ้น เก้าอี้วีลแชร์ ที่สามารถสไลด์ตรงลงผ่านขั้นบันไดได้ง่ายขึ้น หรือหนังสือ นิ ท านที่ นำ � เสนอเรื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ เด็ ก พิ เ ศษ ในชื่ อ เรื่ อ ง ‘คุณหมอฟันพิเศษ ของ เด็กชายพิเศษ’ และมุมมองเรื่อง เล่าการทำ�ฟันสำ�หรับคนพิการทางการได้ยิน ที่นำ�เสนอใน รูปของหนังสือที่น่ารักน่าเปิดอ่าน เช้าใหม่วันนี้ผมเดินเข้ามาในงานเช่นเดิม ผมในฐานะ ที่ดูจะเป็นเด็กใหม่ วันนี้ผมรู้สึกคุ้นเคยหน้าตาของผู้คนที่นี่ เพิ่มมากขึ้น เช้ า นี้ เ ป็ น การพู ด คุ ย กั น ในหั ว ข้ อ เรื่ อ ง ‘นั ก วิ ช าการ สาธารณสุขกับผู้ผลิตและผู้สร้างสื่อสุขภาพ: ทำ�สื่ออย่างไร ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย’ ผู้ร่วมเสวนาเป็นครั้งนี้เป็นตัวแทนของผู้ทำ�งานของ สาธารณสุข ทพญ.สุวิชชา ไมตรี ผู้ทำ�งานเป็นอาจารย์และ ผู้ผลิตสื่อ คุณบรรจง สมฤทธิ์ ผู้คลุกคลีอยู่ในวงการสื่อ คุณ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
เจนวิทย์ วิโสจสงคราม และพิธีกร ในวันนีค้ อื ผศ.ดร.ทพญ.ปิยะนารถ จาติเกตุ คุณหมอสุวิชชา จะเป็นผู้เล่า เรื่องว่าความต้องการของผู้ทำ�งาน สาธารณสุขมีความต้องการจะนำ� เสนออะไร และผู้ทำ�สื่อจะเป็นผู้ครี เอตงานให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด “การทำ�สือ่ ไม่สามารถทำ�ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายทุกๆคน ได้ เหมือนช่างทำ�เก้าอี้ ก็ไม่สามารถที่จะทำ�เก้าอี้ให้คนทุก คนนั่งได้สบายเหมือนๆกัน ดังนั้นเราต้องเล็งเป้า อย่ากราด กระสุนไปเรื่อย เพราะเราจะพลาดเป้า พูดง่ายๆก็คือ อย่า โลภ เอาหมด” “ในงานบางงานเราจะเป็นที่จะต้องสร้าง message ที่ เข้าถึงคนได้งา่ ย ถ้าบอกหมด มันจะไม่ตรงจุด ดังนัน้ เราต้อง สร้างเป็น short message ซึ่งสื่อที่เราจะนำ�เสนอนั้นต้อง มี ประสิทธิผล สั้นๆได้ใจความ มีการออกแบบที่ดี” กลิ่นกาแฟในช่วงพักเบรกโชยชวนให้ผมได้กินอีกครั้ง ต่อมาห้องประชุมใหญ่จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ผมเลือกที่จะ นั่งฟัง Tooth friendly network เพราะตบปากรับคำ�กับพี่ที่ บูธไว้แล้วเมื่อวาน กลุ่ม Tooth friendly network เป็นกลุ่มในรูปแบบงาน Social Enterprise ผมไม่แน่ใจว่างานธุรกิจรเพื่อสังคมนั้น เกิดขึ้นมานานหรือยัง แต่ผมเพิ่งเคยได้ยินชื่อนี้ไม่กี่ปีนี้เอง Social Enterprise(SE) หรือ ธุรกิจเพื่อสังคม ผมสัมผัส ได้ว่ามันเหมือนเป็นลูกครึ่งคล้ายๆกับ Resin modified glass ionomer ที่เป็นลูกครึ่งระหว่าง Glass ionomer และ composite resin ซึ่ง SE เป็นการรวมกันระหว่างธุรกิจที่ แสวงหากำ�ไร (Business) กับธุรกิจที่ไม่แสวงกำ�ไร (NGO) มาทำ�งานด้วย ภายใต้ความคิดทีว่ า่ ถ้าธุรกิจทีแ่ สดงกำ�ไร จะ มีอทิ ธิพลจากสิง่ แวดล้อม เช่นการเมืองมาร่วมด้วย แน่นอน งานนี้มีกำ�ไร มีเงินหมุนเวียน ส่วนธุรกิจไม่แสวงกำ�ไร ก็ ทำ�งานได้เต็มที่ เต็มอุดมการณ์ ไม่มีเงินหมุนเวียน งานก็ เดินได้ยาก ดังนั้น การทำ�งานแบบ SE คือการทำ�งานที่เพื่อ 9
สังคม ปราศจากระบบแทรกแทรง และมีเงินหมุนเวียน แค่ คิดภาพก็โอเค ใช้ได้เลยทีเดียว ผู้เสวนาได้กล่าวเกี่ยวกับหนังสือ SE ที่ช่วยลดปัญหา ของผู้เร่ร่อน โดยใช้ระบบการทำ�งานเพื่อสังคม และมีธุรกิจ เงินทุนหมุนเวียนมาเกี่ยวข้องทำ�ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ Tooth friendly network มีการทำ�งานเช่นเดียวกัน คือ การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพด้ ว ยการทำ � งานวิ จั ย เรื่ อ งสิ น ค้ า บริโภค ที่เป็นมิตรกับฟัน โดยวัดความเป็นกรดในเมื่อรับ ประมาณสิ น ค้ า ชนิ ด นั้ น แล้ ว ค่ า pH นั้ น ต้ อ งไม่ ต่ำ � กว่ า ระดับที่เกิดการ demineralization ที่ทำ�ให้เกิดฟันผุ เมื่อวัด ได้สำ�เร็จเรียบร้อยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ฟันอยู่ด้วยแฮปปี้ เขาจะ มอบสัญลักษณ์รูปฟันมีร่มให้ติดบนผลิตภัณฑ์ โดยจะต้อง นำ�รายได้จากการขายสินค้าที่มีสัญลักษณ์นี้ปรากฎส่วน หนึ่งกลับคืนแก่ Tooth friendly network ด้วย วันนี้ผมเดินออกจากโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ ผมมองหัน หลังให้ ผมขอบคุณอาจารย์ทรงวุฒิที่ชวนผมมางานครั้งนี้ ในฐานะนักศึกษาทันตแพทย์คนหนึ่งที่รักการเสพย์สื่อ ผม ได้ความรู้ใส่ถุงแบกใส่หลังเหมือนคุณลุงซานต้าครอสกลับ หอไปด้วยเยอะแยะ ขอบคุณสำ�หรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในวันนี้ คงจะเกิดความประทับใจให้ผมในเช้าวันใหม่นี้ไม่น้อย ถ้าผมเปิดทีวีกับช่องที่ผมคุ้นเคย แล้วเจอสื่อดีๆทุกๆวัน
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ถึงเวลาที่ต้องใช้กลยุทธ์
การจัดบริการสุขภาพช่องปาก บูรณาการเชิงรุก ทพญ. สุณี วงศ์คงคาเทพ*
ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยทุกกลุ่มวัย
เมื่อประมวลสถานการณ์ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชน พบว่ามีปญ ั หาในอัตราสูงทุกกลุม่ วัย สามารถสรุปได้พอสังเขปดังนี้ 1. สุขภาพช่องปากเด็กอายุ 0 - 5 ปี พบอัตราการเกิดโรคฟันผุใน เด็กไทยลดลงปีละประมาณร้อยละ 1 ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาอย่างไร ก็ตาม อัตราการเกิดโรคยังนับว่าสูง ทั้งนี้ เด็กอายุ 3 เป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 61 และการผุลุกลามรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี โรคฟันผุส่ง ผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรูข้ องเด็กใน ระยะยาว เด็กที่มีปัญหาฟันผุเรื้อรัง จะเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ขาดสารอาหาร ที่จำ�เป็น เจ็บปวดและนอนไม่หลับ อาจมีการติดเชื้อบริเวณคอและใบหน้า เด็กที่มีฟันผุเรือ้ รังยังมีภาวะแคะแกรน (stunt) มากกว่าเด็กทีไ่ ม่มฟี นั ผุ การดูแลสุขภาพช่องปากจึงส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กอย่างชัดเจน 2. สุขภาพช่องปากในกลุม่ เด็กวัยเรียน จากการสำ�รวจสภาวะปราศจากฟันผุ (caries free) ของเด็กอายุ 12 ปีใน 75 จังหวัด ระหว่างปี 2548-2550 พบว่า caries free ของเด็กอายุ 12 ปี ในภาพรวมของประเทศ มีแนวโน้มคงที่ คือ ร้อยละ 41.37, 42.6 และ 42.00 ตามลำ�ดับ สาเหตุหลักสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดฟันผุเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ พฤติกรรม การดูแลสุขภาพช่องปาก ประกอบกับสื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อความเชื่อและการตัดสินใจของประชาชนเป็นอย่างมากโดย เฉพาะเด็ก ขณะเดียวกันแนวโน้มสถานการณ์สภาวะเหงือกอักเสบในกลุ่มวัยรุ่นกลับมีแนวโน้มของปัญหาสูงขึ้น 3. สุขภาพช่องปากของกลุ่มวัยทำ�งาน ปัญหาสุขภาพช่องปากของกลุ่มวัยทำ�งาน ส่วนใหญ่มีสภาวะปริทันต์ อักเสบเพิ่มสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ปัญหาโรคปริทันต์ในกลุ่มนี้ พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเป็นโรคเบาหวาน การติดเชื้อและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของร่างกาย แม้ว่าแนวโน้มของโรคจะมีความชุกลดลง หากแต่พบ คนที่เป็นโรคกลับพบภาวะที่รุนแรงมากขึ้น ผลกระทบที่ตามมาอย่างชัดเจนคือ การสูญเสียฟันในวัยสูงอายุ อันเนื่อง มาจากการสะสมจนเป็นโรคที่เรื้อรัง ทำ�ให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ดี และในเชิงสังคม (Social Function) ทำ�ให้เกิดปัญหาในการ เข้าสังคมของผู้ที่มีการสูญเสียฟัน 4. สุ ข ภาพช่ อ งปากของกลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ ปั ญ หาสุ ข ภาพช่ อ งปากของกลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ ได้ แ ก่ การสู ญ ———————————————— *สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย 10
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
เ สี ย ฟั น จ น ไ ม่ ส า ม า ร ถ เ คี้ ย ว อ า ห า ร ที่ มี ป ร ะ โ ย ช น์ ต่ อ สุ ข ภ า พ ได้ มีส ภาวะปริ ทันต์ อักเสบเพิ่ม สูงขึ้น และพบฟัน ผุ ที่ ร ากฟั น นอกจากนี้ พบ ปัญหามะเร็งในช่องปากที่เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากพฤติกรรมที่ เสี่ยงการเกิดโรคในช่องปาก ทั้งพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง พฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ทำ�ให้เกิดโรคในช่องปากที่เรื้อรังและสะสม ผลการสำ�รวจสภาวะทันตสุขภาพผู้สูงอายุ 75 จังหวัด พบผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยว อาหารอย่างเหมาะสมเพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 44 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 48 ในปี 2550 ผลกระทบของโรคในช่องปากต่อคุณภาพชีวิติและโรคทางระบบ สุขภาพช่องปากถือเป็นส่วนสำ�คัญหนึ่งของสุขภาพทั่วไป มีความเกี่ยวข้อง กับ เบาหวาน โรคทางเดินหายใจ HIV/AID การคลอดก่อนกำ�หนด การติดเชื้อ เยื่อหุ้มหัวใจ การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่เต็มศักยภาพ และผลผลิตในการทำ�งาน โรคกระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ เด็กทีม่ โี รคฟันผุในเด็กปฐมวัย จนมีอาการปวดฟันเรือ้ รัง และถูกถอนฟันไป พบ ว่าส่วนใหญ่รบั ประทานอาหารลำ�บากและเคีย้ วไม่สะดวก ส่งผลให้เกิด 1) มีภาวะ โภชนาการบกพร่อง (malnourished) และอ้วน 2) ไม่สามารถรับประทานอาหาร ได้อย่างสมดุล และมักรับประทานอาหารเหลวรสหวาน 3) แม้มีนํ้าหนักปกติ แต่ สารอาหารทีไ่ ด้รบั ไม่เพียงพอทีจ่ ะทำ�ให้มกี ารเจริญเติบโตทีเ่ หมาะสม 4) การทีเ่ ด็ก มีการเจ็บปวดเรื้อรัง มีผลต่อแคทีโคลามีน (catecholamines) ที่มีผลต่อ growth hormone หลั่งน้อยกว่าปกติ ขณะที่กลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เป็นโรคปริทันต์แบบเรื้อรัง ภาวะที่มีการติด เชือ้ และมีการอักเสบเรือ้ รัง เป็นปัจจัยทีท่ �ำ ให้โรคทางระบบหลายอย่างรุนแรงมาก ขึ้น โดยเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคปริทันต์สามารถเข้าสู่กระแสโลหิต และ ทำ�ให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เกิดการอักเสบ อุด ตัน เป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองได้ โรคปริทันต์อักเสบยังมีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับโรคเบา หวาน ผูป้ ว่ ยเบาหวานทีม่ ปี ริทนั ต์อกั เสบ ส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมนํา้ ตาลในเลือดได้ ในขณะทีผ่ ปู้ ว่ ยเบาหวานทีไ่ ม่สามารถ ควบคุมนํ้าตาลในเลือดได้ จะมีสภาวะโรคปริทันต์อักเสบรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้โรคปริทันต์อักเสบในหญิงตั้งครรภ์ พบว่า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้ลูกคลอดก่อนกำ�หนด และมีนํ้าหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่าปกติ การขับเคลื่อนการแก้ปัญหาต้องใช้แนวทางบูรณาการเชิงรุก ปัญหาสุขภาพของประเทศในปัจจุบันพบว่าได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมาก สาเหตุของปัญหาสุขภาพที่สำ�คัญ พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคลอย่างชัดเจน และสัมพันธ์กับบริบททางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และ สิง่ แวดล้อม หยัง่ รากลึกอยูใ่ นวิถชี วี ติ ของผูค้ นต่างๆ และมีความซับซ้อนเป็นพลวัต ไม่วา่ จะเป็นปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ กรรมพันธุ์ การศึกษา ความเชื่อ พฤติกรรม อาชีพ ถิ่นที่อยู่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เช่น การเจริญเติบโตของเมือง ความรุนแรงในสังคม ค่านิยมทีม่ งุ่ บริโภค การใช้สารเคมีและวัตถุอนั ตรายมากขึน้ ในภาคเกษตร และอุตสาหกรรม หรือปัจจัยด้านระบบสาธารณสุข เช่น การกระจายทรัพยากรสาธารณสุขไม่ทดั เทียมกันในภูมภิ าค การใช้ยา 11
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
เกินความจำ�เป็น ภาวะดื้อยาปฏิชีวนะ ปัญหาเหล่านี้จำ�เป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมแบบ พหุภาคีของบุคคลและองค์กรที่มีทรัพยากร ความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ เพื่อ บริหารจัดการปัญหาได้ครอบคลุมรอบด้านและเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิง่ การเพิม่ ความ สามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแลปัจจัยที่เป็นตัวกำ�หนดสุขภาพเพื่อช่วยให้สุขภาพ ของตนเองดีขึ้น มุมมอง ความคิด ทัศนคติ จึงมีความสำ�คัญมากในการปฏิบัติงาน ตราบใดที่ยังคิดว่า หน่วยงานตน องค์กรตน หรือตนเองสำ�คัญที่สุด ก็จะมองข้ามการทำ�งานแบบบูรณาการ ทั้งๆที่ปัญหาสุขภาพไม่อาจใช้มุมมองทางการแพทย์และสาธารณสุขเพียงมิติเดียวเข้า แก้ไข แต่เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนทุกระดับต้อง “ร่วมกันคิด ช่วยกันทำ�” ในการเปลี่ยนแปลง สภาวะทางสั ง คม เศรษฐกิ จ สิ่ ง แวดล้ อ มเพื่ อ บรรเทาผลกระทบที่ มี ต่ อ สุ ข ภาพของ ประชาชน เริ่มที่ความเข้าใจความสัมพันธ์ของระบบการดำ�เนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ร ะบบการดำ � เนิ น งานส่ง เสริมสุขภาพและป้อ งกัน โรคแบ่ง ได้เป็น 3 ระดับที่ ต่ า งมี ป ฏิ สัมพันธ์กัน คือ ระดับนโยบายในส่วนกลาง ระดับปฏิบัติในพื้นที่ และ ระดับชุมชน หน่วยงานระดับนโยบายหรือระดับส่วนกลางที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มิได้มี แต่กระทรวงสาธารณสุขที่เป็นเจ้าภาพหลักเช่นในอดีตเท่านั้น แต่บทบาทด้านสุขภาพได้ กระจายออกไปยังหน่วยงานที่หลากหลายมากขึ้น เรียกได้ว่า Multiple key actors อาทิ เช่น สสส. สปสช. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ หน่วยงานระดับปฏิบัติ ได้แก่ หน่วยที่รับนโยบายและแนวทางต่างๆ มาปฏิบัติให้เกิดผล เป็นรูปธรรมกลไกหลักจะประกอบด้วย สปสช.เขต ศูนย์วิชาการ และสาธารณสุขจังหวัด/อำ�เภอ/ตำ�บล เป็นสามเหลี่ยมที่ทำ� หน้าที่เหมือนหน่วยบัญชาการการปฏิบัติงานในพื้นที่ หากส่วนกลางหรือระดับนโยบายรู้สภาพความเป็นจริงในกลไกการ ทำ�งานในระดับปฏิบัตินี้ จะช่วยให้การกำ�หนดยุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆชัดเจนและนำ�ไปปฏิบัติได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันหากกลไกเหล่านี้สามารถปฏิบัติงานร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ควบคู่ไปกับการ ขับเคลื่อนนโยบายระดับประเทศให้เกิดสัมฤทธิผล ย่อมช่วยให้ระดับนโยบายเบาแรงลง หน่วยงานระดับชุมชนและท้องถิ่น อันเป็นผลจากทิศทางและนโยบายการกระจายอำ�นาจสู่ท้องถิ่น ทั้งจากกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.กำ�หนดแผนและขัน้ ตอนการกระจายอำ�นาจฯ พ.ศ. 2542 รูปแบบการกระจายงบประมาณของ สปสช. ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่และตำ�บล บทบาทและความเข้มแข็งของ อสม. ตลอดจนการเติบใหญ่ขององค์กร ภาคประชาชนต่างๆ ล้วนส่งผลต่อความตืน่ ตัวของประชาชนในการดูแลและจัดการสุขภาพในชุมชนของตนเองทัง้ สิน้ ปัจจัยสู่ความสำ�เร็จคือความสามารถในการแก้ ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันควบคุมโรคเชิงรุกของหน่วยปฏิบตั ใิ นพืน้ ทีท่ กุ ระดับ ถือเป็นปัจจัยสูค่ วามสำ�เร็จในการแก้ไข ปัญหาสุขภาพ หน่วยงานในพื้นที่จึงควรให้ความสำ�คัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริง สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศประกอบการ ตัดสินใจ รวมทั้งอาศัยองค์ความรู้ที่ละเอียดลึกซึ้งในการกำ�หนดกลยุทธ์ดำ�เนินการ และทำ�งานประสานสอดคล้องกันกับทุก 12
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ฝ่าย ทุกระดับให้สามารถเชือ่ มโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบทบาท และทรัพยากรของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทุกภาคส่วน เพือ่ ให้เกิดการจัดการอย่างมี ส่วนร่วมโดยใช้ “แผนบูรณาการเชิงรุก” เป็นเครื่องมือ แผนบูรณาการเชิงรุก หมายถึง แผนใดๆ ซึ่งได้กำ�หนดแนวทางการแก้ไข ปัญหาสุขภาพในพื้นที่อย่างบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ โดยไม่ จำ�เป็นต้องมีรายละเอียดของการปฏิบัติ ทั้งนี้ แผนบูรณาการอาจมีชื่อหรือรูป แบบต่างๆ ตามที่จังหวัดกำ�หนดขึ้นได้ เช่น แผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ แผน พัฒนา ฯลฯ สิ่งสำ�คัญที่ต้องปรากฏในแผน คือ มาตรการแก้ไขปัญหาต้องชัดเจน และแสดงลักษณะบูรณาการ 3 ส่วน ได้แก่ 1) บูรณาการเชิงยุทธศาสตร์หรือมาตรการแก้ไขปัญหา โดยพิจารณาผสมผสานยุทธศาสตร์ระดับประเทศและระดับ พื้นที่เข้าด้วยกัน รวมถึงบทบาทของภาคีในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคม 2) บูรณาการเชิงการใช้ทรัพยากร ได้แก่ หน่วยงาน งบประมาณ กำ�ลังคน องค์ความรู้ จากทุกแหล่งไม่จำ�กัดเฉพาะ กระทรวงสาธารณสุข หรือสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3) บูรณาการเชิงการกำ�กับ ติดตามและประเมินผล หมายถึง การติดตามและให้ข้อเสนอแนะต่อการดำ�เนินงานของ หน่วยต่างๆ ให้บูรณาการไปในทิศทางเดียวกัน โดยเน้นปัญหาสุขภาพในพื้นที่เป็นหลัก กลยุทธ์การแก้ปัญหาโดยการบูรณาการเชิงรุกในกลุ่มวัยต่างๆ เมื่อพิจารณาการแก้ปัญหาในกลุ่มวัยต่างๆ สามรถประมวลสรุปกลยุทธ์การแก้ปัญหาได้ดังนี้ กลุ่มอายุ กลุม่ เด็ก0-5 ปี
ปัญหา สำ�คัญ โรคฟันผุ
กลยุทธ์การแก้ปัญหาโดยการบูรณาการเชิงรุก กลยุทธ์การแก้ปัญหาในกลุ่มเด็กปฐมวัย 0-3 ปี โดยบูรณาการการดูแลสุขภาพ ช่องปากเด็กไว้เป็นกิจกรรมสำ�คัญหนึง่ ในโครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว เพือ่ ให้เด็ก 9-12 เดือนทีม่ ารับภูมคิ มุ้ กัน ได้รบั การตรวจช่องปาก ผูป้ กครองได้รบั การฝึก แปรงฟันและคำ�แนะนำ� ลดการบริโภคของหวาน และเด็กทีม่ คี วามเสีย่ งต่อการเกิดฟันผุ สูง จะได้รบั การทาฟลูออไรด์วาร์นชิ เพือ่ ป้องกันฟันผุ และมีระบบดูแลและเฝ้าระวังอย่าง ต่อเนือ่ งในช่วงอายุ 18 24 และ 3๙ เดือนด้วยการบูรณาการไปกับการดูแลตามระบบ EPI ปัจจุบัน เด็ก 9-12 เดือนได้รับการตรวจและผู้ปกครองได้ฝึกแปรงฟันร้อยละ 77 เด็กกลุ่มอายุ 3-5 ปีที่เข้าสู่ระบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาล มีการจัด กิจกรรมการแปรงฟันด้วยยาสีฟนั ผสมฟลูออไรด์หลังอาหารกลางวัน ส่งเสริมการดืม่ นม จืด เลิกการใช้ขวดนม และส่งเสริมการจัดผลไม้ให้เด็กบริโภคแทนขนมหรือของหวาน อย่างน้อย 3 ใน 5 วันต่อสัปดาห์ ปัจจุบนั ศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กทุกแห่ง จัดนมจืดให้แก่เด็ก มีศนู ย์พฒ ั นาเด็กเล็กจัดกิจกรรมแปรงฟันด้วยยาสีฟนั ผสมฟลูออไรด์ ถึงร้อยละ 96 และ มีการจัดผลไม้เป็นอาหารว่างร้อยละ 81
13
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
กลุม่ เด็กวัย เรียน
โรคฟันผุ
การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนโดยมุ่งเน้น “ การสร้างสุขนิสัยทาง ทันตสุขภาพทีด่ ใี นเด็กวัยเรียน “ ด้วยมาตรการ 1) การสร้างนโยบายสาธารณะในการ ควบคุมโฆษณาอาหารว่างและเครือ่ งดืม่ โดยการพัฒนานโยบายระดับท้องถิน่ และใน โรงเรียน 2) การจำ�กัดการจำ�หน่ายและลดการบริโภคอาหาร ขนม และเครื่องดื่มใน โรงเรียน 3) สร้างค่านิยมเรือ่ งการดูแลสุขภาพช่องปากและความสวยงามในเด็กวัยเรียน 4) พัฒนาบุคลากรสาธารณสุขให้มที กั ษะในการเป็นผูส้ นับสนุนการเรียนรูแ้ ละพัฒนา ศักยภาพครู ให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรูใ้ นโรงเรียนอย่างเป็นระบบ และ 5) พัฒนา ระบบการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากให้ครอบคลุมเด็กวัยเรียนอย่างทั่วถึง
กลุ่มวัยทำ�งาน
สภาวะโรคปริ การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มแรงงาน โดยมุ่งเน้น “การคัดกรองมะเร็งช่อง ทันต์ และมะเร็ง ปาก และ การรณรงค์ ล ดการสู บ บุ ห รี่ การคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคด้ า นทั น สุ ข ภาพและการ ช่องปาก ส่ ง เสริ ม ให้ มี ชุ ด บริ ก ารสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากในหลั ก ประกั น สุ ข ภาพทุ ก รู ป แบบ“ ด้วยมาตรการ 1) การควบคุมโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ให้มีการโฆษณาชวนเชื่อเกิน ความเป็นจริง 2) การพัฒนาระบบการคัดกรองมะเร็งช่องปากในหน่วยบริการทุกระดับ ทั้ ง ภาครั ฐ และเอกชน 3) พั ฒ นาศั ก ยภาพทั น ตบุ ค คลากรให้ มี ค วามรู้ แ ละทั ก ษะในการ สนับสนุนการดูแลสุขภาพช่องปาก และ 4) การควบคุมการบริโภคยาสูบของกลุ่มวัยแรงงาน และประสานทีมสุขภาพในการร่วมรณรงค์และสนับสนุนการลดการสูบบุหรี่
กลุ่มสูงอายุ
สภาวะโรคปริ การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มวัยสูงอายุ โดยมุ่งเน้น“การเป็นผู้สูงอาย ทันต์ และปัญหา ทุ ี่มีสุขภาพช่องปากที่ดี เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต “ ด้วยมาตรการ 1) สร้างบรรทัดฐาน การบดเคี้ยว ในสังคมเพื่อสร้างค่านิยมการเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี เพื่อสุขภาพและคุณภาพ ชีวิต 2) พัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ 3) พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ ผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่เหมาะสม 4) พัฒนาระบบการจัดบริการสร้าง เสริมสุขภาพช่องปากอย่างผสมผสานเชื่อมโยงบริการสุขภาพทั่วไป 5) จัดระบบให้ผู้สูงอายุ สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ทันสมัยอย่างเป็นระบบ
เราเริ่มขับเคลื่อนแผนการบูรณาการเชิงรุกในกลุ่มวัยต่าง ๆ ได้ตั้งแต่บัดนี้ จากนโยบายการจัดบริการส่งเสริมป้องกันโดยใช้งบประมาณกองทุนทันตกรรมที่ สปสช.ได้สนับสนุนให้จังหวัดรวม 16.2 บาทต่อประชากร โดยดำ�เนินแผนงานโครงการใน 3 กลุ่มคือ แผนงาน /โครงการพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดบริการ (0.75 บาท/ปชก.ทุกสิทธิ) : บูรณาการการตั้งงบประมาณใน จังหวัด ฝ่ายทันตฯต้องเสนอโครงการของบจาก นพ.สสจ. ซึ่งจำ�แนก เป็นวัตถุประสงค์ 6 ด้าน 1 ศึกษาสถานการณ์ 2 พัฒนาระบบข้อมูล 3 นิเทศกำ�กับ 4 พัฒนาศักยภาพบุคลากร 5 ประเมินผลโครงการ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการ แผนงาน /โครงการระดับจังหวัด (1.72บาท/ปชก.ทุกสิทธิ) ซึ่งจำ�แนกเป็นวัตถุประสงค์ 7 ด้าน 1 จัดบริการบูรณาการ 2 จัดบริการเชิงรุก 3 พัฒนาบริการใน รพ.สต. 4 พัฒนาการจัดบริการร่วมอสม. / ท้องถิ่น 5 พัฒนาโครงการแก้ปัญหา 6 พัฒนาระบบบริการ 7 รณรงค์ระดับจังหวัด แผนงาน / โครงการระดับอำ�เภอ ( 13.73 บาท/ปชก.ทุกสิทธิ ) ซึ่งจำ�แนก เป็น 7 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่ม ANC กลุ่ม WBC กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มนักเรียนประถม/ นักเรียนมัธยม กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มสอ. / รพ.สต. กลุ่มอื่นๆ DM, ผู้พิการ, เอกชน ฯลฯ ทำ�ให้ทุกจังหวัดสามารถดำ�เนินการได้ตามสภาพบัญหาและบริบทพื้นที่ 14
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
Fluoride Is Bad
ยั
งคงไม่ได้บรรจุต่อไปครับ ชีวิตคนเราเลือกเกิดไม่ ได้จริงๆ ขนาดเลือกเดินยังทำ�ไม่ได้เลยครับ ช่วงนี้เข้าขั้น เครียดครับ เพราะ ชีวิตผมตอนนี้ สิ่งเดียวที่รอคือ การบรรจุ นี่หล่ะ ครับ ทั้งเรื่องครอบครัว เรื่องการเรียน เรื่องการทำ� กิจการส่วนตัว เรื่องอาชีพเสริม ทุกอย่างผมมารออยู่ที่การ บรรจุอย่างเดียวเลยครับ (เหนื่อยใจแท้หล่า ใครมีทางไหน ที่ทำ�ได้ก็บอกต่อด้วยนะครับ) เมื่อเดือนที่แล้ว ผมมีโอกาสได้ไปนั่งฟัง การขายของ จากบริษัทหนึ่ง ตามเพื่อนที่เป็นสมาชิกไป ผมพยายาม ทำ�ตัวให้เล็กที่สุด และพยายามจะไม่พูดหรือแสดงความ คิดเห็น เพราะคิดเอาเองว่า คำ�พูดของผมมีผลต่อทัศนคติ และการตัดสินใจของคนอื่นๆ แน่นอน ก็เป็นบริษทั ขายของลูกโซ่ทว่ั ๆ ไปครับ ตอนรอ วิทยากร ก็เดินไปดูสินค้า เห็นสินค้ามากมาย แต่ที่สะดุดตาก็คือ ยาสีฟัน รูปลักษณ์ภายนอกต้องยอมรับว่าสวยทีเดียวเชียว ครับ มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กให้เลือกกัน ผมก็เดิน เข้าไปอ่านส่วนผสม ผมหาส่วนผสมอยู่ 3 อย่างด้วยกันครับ คือ 1) ฟลูออไรด์ 2)เกลือ 3)สมุนไพร แต่ปรากฏว่า ไม่มีสิ่ง เหล่านีเ้ ลยครับ ส่วนผสมจะหนักไปทาง นาํ้ มันหอมทัง้ นา้ํ มัน ดอกกุหลาบ นา้ํ มันดอกนัน่ ดอกนี่ เกือบ 30 ชนิด มีคนเคยใช้แล้ว
ก็ว่าปากหอมมาก แต่ผมก็ไม่ได้พูดอะไรออกไป พอวิทยากรมาก็เริม่ ด้วยยาสีฟนั ก่อนเลย คือบอกเนือ่ งๆ ว่า ตอนนี้ได้เงินเดือน เป็นล้าน เพราะเริ่มจากเพียงเปลี่ยน ยาสีฟันเท่านั้นเอง แล้วเขาก็หยิบ ยาสีฟันออกมา โดยบอก ว่า ใช้แล้ว มีกลิน่ หอม ตืน่ เช้ามาก็ไม่เหม็น(ผมคิด : ก็แน่หละ ทั้งยาสีฟันมีแต่นํ้าหอมทั้งนั้น) แล้วก็มีประโยคเด็ดออกมา ครับ เขาบอกว่า เคยได้ยนิ คำ�พูดทีว่ า่ ฟลูออไรด์ชว่ ยป้องกัน ฟันผุกนั ไหม จริงๆ แล้วมันไม่ใช่นะ เพราะฟลูออไรด์นนั่ ล่ะ ที่ เป็นตัวทำ�ให้เกิดโรคฟันผุ ฟลูออไรด์จะเข้าไป กัดฟัน จนเกิด เป็นโรคฟันผุ (ผมคิด : อ้าวงัน้ ทีผ่ มเรียนรูม้ าตลอดทัง้ ชีวติ มันก็ ผิดหมดเลยอ่ะดิ ทัง้ ทัศนคติ ด้วย) และในขณะนัน้ เอง ทุกคนที่ รู้ว่าผมเป็นทันตาภิบาล ก็มองมาที่ผม ผมเองก็ทำ�ได้แค่ ก้ม หน้าก้มตา เพราะอาจมีวิจัยเรื่องใหม่ ความรู้ใหม่ที่ผมไม่รู้ ก็ได้ หากจะพูดอะไรออกไปกลัวมันกลับเข้ามาทำ�ร้ายเรา ผมทนฟันจนจบไม่ได้ครับ คือผมคิดเอาเองว่า ถ้าอยาก จะขายอะไรก็ได้ ขายไปเลย จะบอกว่าของตัวเองใช้แล้ว เหาะได้ ก็ไม่วา่ แต่อย่าพาดพึง่ ไปสู่ ผลิตภัณฑ์อน่ื ๆ อย่าส่ง ผลกระทบไปสู่ความเชื่อที่เป็นกันมาช้านาน สุดท้าย เพื่อน ผมอีกราว 8 คนก็เดินออกมาหมดเพราะ ทนฟังไม่ได้ แล้ว ก็กลับไปเปิด อินเตอร์เน็ตดู เพื่อหาว่าเรื่องที่ได้ฟังมันจริง หรือไม่ แต่สิ่งที่ดีคือ ทุกๆ คน ไม่ได้เชื่อวิทยากรเลยในทันที ที่เข้าไปฟัง เพียงเพราะต้องการมีเงินเดือนเป็นล้าน
Jay-ac
ผมจะทำ�งานเพื่อชาติ เพื่อประชาชน และเพื่อในหลวง Jay.ac@hotmail.com 15
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
สุขสร้างสรรค์กับสสส. :
บทบาทเครือข่าย
กับการสร้างเสริมสุขภาพ
ทพ.ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์
ทุ
กวันนี้ เราได้เห็นการพูดถึง และความสนใจ ในเรื่อง การทำ�งานแบบ “เครือข่าย” มากขึ้นเรื่อยๆ และคงจะยิ่งมาก ขึ้นต่อไปในอนาคต “เครื อ ข่ า ย” เป็ น รู ป แบบความสั ม พั น ธ์ ที่ มี ม าเนิ่ น นาน ไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือทางการบริหารจัดการแบบใหม่ ที่มีผู้ เชี่ยวชาญประดิษฐ์ขึ้นมาแต่อย่างใด เพียงแต่ในยุคแห่งความ ซับซ้อนของข้อมูลข่าวสาร ของปัญหา และของความสัมพันธ์ ภายใต้โลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีที่เชื่อมโลกใบนี้ให้เล็กลง ทุกที ทำ�ให้การทำ�งานผ่านปัจเจกบุคคล หรือผ่านระบบองค์กร เริ่มที่จะ “เอาไม่อยู่” มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ หรือสังคม รวมทั้งงานด้านสร้างเสริมสุขภาพด้วย ในทางธุรกิจ การหันมาทำ�งานแบบ “เครือข่าย” ทำ�ให้ บัตรเครดิต “วีซ่า” มีการทำ�ธุรกรรมถึง 62,000 ล้านครั้งในปี 16
2009 มีเจ้าของร่วมเป็นธนาคารกว่าสองหมื่นธนาคาร ที่มีการ แข่งขันกันเองในกลุ่มลูกค้าร่วม 800 ล้านคน ในวงเงินปีละ กว่าหมื่นล้านดอลลาร์ มันเป็นธุรกิจที่องค์กรธุรกิจเดี่ยวใดยาก จะฝันว่าจะทำ�ได้ตามลำ�พัง แต่ชายคนหนึ่งชื่อดี ฮ็อค (Dee Hock) ได้ทำ�ให้เครือข่ายธุรกิจอันซับซ้อนนี้กำ�เนิดขึ้นได้ตั้งแต่ ปี 1970 ดี ฮ็อค เป็นคนทำ�งานธนาคารที่ไม่ธรรมดา เขาเปลี่ยน งานบ่อยเพราะเบื่อหน่ายระบบองค์กรการเงินที่ใช้การควบคุม จากส่วนกลางสูง จนจำ�กัดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ไปเสีย เกือบหมด เขาอาสามารับผิดชอบเรื่องบัตรเครดิตในยุดวิกฤติ โดยมีวิสัยทัศน์เมื่อกว่าสี่สิบปีที่แล้วว่า “เงิน” ไม่ได้เป็นอะไร มากไปกว่าการรับประกันมูลค่า และบัตรเครดิตคือเครื่องมือ แลกเปลี่ยนมูลค่านั้น ในรูปสัญญาณอิเล็คโทรนิคส์ ดังนั้นการ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
รับประกันระดับโลกและช่องทางการแลกเปลี่ยนสัญญาณนี้ จะเป็นตลาดมหึมา เกินกว่าจะจินตนาการถึง นำ�มาสู่การคิดค้นการทำ�ให้เกิดระบบเครือข่ายการทำ�งาน แบบใหม่ที่เน้นการไม่รวมศูนย์การควบคุม แต่ให้อำ�นาจ การริเริ่ม การตัดสินใจ และความเป็นเจ้าของไปจัดการที่ผู้ร่วมเครือข่ายปลายทางที่หลากหลายและมี พลวัตสูง จนวันนี้ ธุรกิจของวีซ่า เติบโตขึ้นมากว่า 10,000 % ในกว่า 200 ประเทศ ต่อมาดี ฮ็อค ได้ออกจากวีซ่า มาตั้งองค์กร และทำ�งานความรู้เรื่ององค์กรแบบ Chaordic ซึง่ เป็นการรวมคำ�ว่า chaos (โกลาหล) และ order (ระเบียบ) เข้าด้วยกัน ปัจจุบัน การศึกษาเรื่อง “ระบบซับซ้อน” (complex system) ทวีมากขึ้น และ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ในระบบสังคมที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นทุกที โครงสร้างกลไกแบบอำ�นาจควบคุมตามลำ�ดับชั้น (hierarchical command and control pyramids of power) แบบในยุคอุตสาหกรรมไม่อาจใช้ทำ�งานอย่างได้ผล อีกต่อไป ไม่ว่าจะในการเมือง สังคม การศึกษา หรือธุรกิจ ในหนังสือ Complexity: the emerging science at the edge of order and chaos โดย Mitchell Walldrop ได้ตั้งคำ�ถามเริ่มต้นว่า ทำ�ไมสหภาพโซเวียต ที่ยิ่งใหญ่มาสี่สิบปี จึงล่ม สลายลงในไม่กี่เดือนในปี 1989 ไปจนถึงการที่กรดอะมิโนและโมเลกุลต่างๆรวมตัว เป็นเซลล์มีชีวิตแรกเมื่อสี่พันล้านปีมาแล้ว และทำ�ไมเซลล์เหล่านั้นจึงมารวมกัน เป็นพืชและสัตว์ที่มีชีวิตเมื่อ 600 ล้านปีที่แล้ว กระทั่งวิวัฒน์เป็นมนุษย์ ซึ่งความซับ ซ้อนที่ยังไม่รู้เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้เกิดการรวมตัวของนักวิชาการสหสาขากลุ่ม ใหญ่เพื่อตั้งกลุ่มศึกษาศาสตร์แห่งความซับซ้อนนี้อย่างจริงจัง หันกลับมามองเรือ่ งใกล้ตวั ทางด้านสุขภาพในประเทศไทยกันบ้างดีกว่า องค์กร จัดตั้งใหม่อย่างสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ) ที่เพิ่งได้รับรางวัลองค์กร นวัตกรรมจาก กพร. ก็ทำ�งานสร้างเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉินภายใต้งบ ประมาณอันจำ�กัด โดยดึงเอาสรรพกำ�ลังด้านนี้ ไม่ว่าจากสถานพยาบาลต่างๆ จาก มูลนิธิปอเต็กตึ้ง ร่วมกตัญญูและองค์กรสาธารณะประโยชน์อื่นๆ หรือจากภาครัฐ และธุรกิจ อย่างเช่นระดมเครือข่ายยานพาหนะทางบก นํ้า อากาศต่างๆจากกองทัพและตำ�รวจมาใช้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดย จัดสรรความร่วมมือและค่าตอบแทนทีป่ ระหยัดกว่า การลงทุนเองทัง้ หมด และยังมีประสิทธิภาพครอบคลุมการให้บริการทีด่ กี ว่าด้วย ในงานสร้างเสริมสุขภาพ การทำ�งานในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ แทบจะเป็นหัวใจของการทำ�งานของสำ�นักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ที่ใช้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ประจำ�เพียงประมาณหนึ่งร้อยคน แต่มีภาคีเครือข่ายนับหมื่นกลุ่ม/ องค์กร ความเป็นกองทุนอาจทำ�ให้เข้าใจว่า สสส. ใช้เพียงการให้ทุนเพื่อให้เกิดงาน แต่ความจริงนั่นเป็นเพียงเสี้ยวเดียวของเรื่อง ทั้งหมด หัวใจที่แท้จริงอยู่ที่ระบบการทำ�งานที่เปิดให้มีการดึงพลังจากทุกภาคส่วนเข้ามาทำ�งาน และการสร้างเครือข่ายการทำ�งานที่ ล้วนมาเป็นเจ้าของงานเพื่อสังคมเหล่านั้นด้วยตนเอง แนวคิดร่วมสมัยของการสร้างเสริมสุขภาพที่เน้นการทำ�งานกับปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี อย่างการทำ�ให้อาหาร ในท้องตลาดเป็นอาหารที่ปลอดภัย การทำ�ให้การเข้าถึงสิ่งหรือพฤติกรรมทำ�ลายสุขภาพ (เช่น สุรา ยาสูบ การพนัน การตั้งครรภ์ไม่ พร้อม ฯลฯ) ยากขึ้น การทำ�ให้การจราจรบนท้องถนนมีความปลอดภัยสูง การจัดการให้ภัยพิบัติทำ�ให้เกิดความสูญเสียให้น้อยที่สุด การทำ�ให้การออกกำ�ลังกายอยู่ในวิถีชีวิตประจำ�วัน ฯลฯ การจะทำ�เรื่องทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ให้เกิดผลเป็นเรื่องซับซ้อนอย่างยิ่ง และต้องการการทำ�งานที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนหลากหลาย ทั้งภาคการเมือง ภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคการ 17
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
สื่อสาร ภาคชุมชนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจ ใช้เพียงอำ�นาจสั่งการหรือใช้การซื้อหรือจ้างได้ กลไกซับซ้อน เหล่านี้ไม่ได้กองรวมกันอยู่ในโครงสร้างองค์กรมหึมาใดให้ไป สั่ ง การ แต่ มั น เชื่ อ มโยงสั น พั น ธ์ กั น อย่ า งที่ เ ราเรี ย กมั น ใน ปัจจุบันว่า “ระบบสุขภาพ” เครือข่ายความร่วมมือในการสร้างเสริมสุขภาพจึงมีความ สำ�คัญระดับ “จำ�เป็นยิ่งยวด” นักสร้างเสริมสุขภาพจึงมักต้อง เป็นนักสร้างเครือข่ายไปด้วยอย่างยากจะหลีกเลี่ยง มีหลักการทฤษฎีในเรื่องนี้อยู่มากมายครับ ตั้งแต่ความ เข้าใจพื้นฐานของสิ่งที่เรียกว่าเครือข่าย ว่าแตกต่างจาก องค์ ก ร หรื อ โครงสร้ า งกลไกแบบอื่ น ๆอย่ า งไร ไปจนถึ ง แนวทางการสร้างเครือข่ายขึ้น น่าจะค้นคว้าหามาอ่านกันได้ ไม่ยากนัก หลังจากทำ�งานที่ สสส. อยู่หลายปี ผมก็ได้สรุปบทเรียน การสร้างภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อมาแลกเปลี่ยน กับคนทำ�งานสร้างสุขภาพทั้งหลายอยู่บ้างเหมือนกัน อาจเป็น เพี ย งบทเรี ย นเบื้ อ งต้ น ง่ า ยๆ ในบริ บ ทจำ � กั ด ของงานที่ ผ มมี โอกาสเกี่ยวข้อง โดยสรุปแนวทางโดยย่อไว้สามประการ คือ . การหาประโยชน์ร่วม, การเชื่อมโยงและการจัดความสัมพันธ์ที่ ลงตัว และการสร้างความเป็นเจ้าของอย่างยั่งยืน ในงาน คน และองค์กร การหาประโยชน์ร่วม เป็นจุดเริ่มของการชวนผู้คน หรือ องค์กรมาสานเป็นเครือข่าย โดยฐานความเป็นจริงว่า ไม่ค่อยมี ใครจะมาทำ�อะไรกับใคร โดยที่ไม่เห็นประโยชน์ที่ตนจะได้ (เว้น อาจเพราะรัก เพราะกลัว เพราะถูกสั่ง ฯ ซึ่งไม่ใช่ความสัมพันธ์ ที่เหมาะจะเริ่มสร้างเครือข่าย) ประโยชน์นี้ไม่จำ�เป็นต้องเป็น 18
ประโยชน์ตอบแทนทางทรัพย์สิน หรือเกียรติยศชื่อเสียง อาจ เป็นโอกาสที่จะได้ทำ�ดีเพื่อสังคมตามที่ฝันใฝ่ไว้ได้มากขึ้น การ ทำ�ให้งานในพันธกิจของเขาดีขึ้น การได้เรียนรู้ การได้มีเพื่อน การเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ ฯลฯ ถ้าจะเสียเวลามาร่วมมือ กัน ต้องมีประโยชน์รว่ มกันของแต่ละฝ่าย ไม่ใช่มแี ต่ได้ฝา่ ยเดียว ประโยชน์ดงั กล่าว ต้องมองเห็นได้ในตอนตกลงร่วมมือ และเมือ่ ได้ปฏิบัติไปแล้ว ก็เกิดผลประจักษ์ เกิดการได้รับประโยชน์ ยิ่ง ประจักษ์ในประโยชน์ ก็จะยิง่ ทวีความร่วมมือ ทวีความแน่นแฟ้น ของเครือข่าย การเชื่อมโยงและการจัดความสัมพันธ์ที่ลงตัว ศ.ประเวศ วะสี เคยกล่าวว่า “การพัฒนาคือการเชื่อมโยง” บทบาทของ สสส ทำ�งานสร้างเครือข่ายผ่านการพัฒนาความสัมพันธ์ และ ออกแบบการเชื่อมโยงสูงมาก โดยต้องจัดให้เกิดความสมดุล ระหว่างความสัมพันธ์แบบภาคีเครือข่ายและการควบคุมที่ จำ�เป็น ระหว่างบทบาทที่ต้องการตามยุทธศาสตร์กับบทบาทที่ ภาคีรักจะทำ�และทำ�ได้ ระหว่างบทบาทของบุคคล และกลุ่ม ต่างๆ ที่หลากหลายเหมือนชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ของภาพใหญ่ การสร้างความเป็นเจ้าของอย่างยั่งยืน ในงาน ในคน และ ในองค์กร ในระยะยาวความยั่งยืนของระบบการทำ�งานของ เครื อ ข่ า ยจะเกิ ด ได้ จ ากการที่ ก ลไกและภาคส่ ว นต่ า งๆของ สังคมได้เป็นผู้ร่วมสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ต้องสนับสนุนให้ งานของเครือข่ายเกิดผล ขยายผล จนถึงฝังในระบบสังคม ไม่ ว่าจะในรูปแบบนโยบาย กฎหมาย ค่านิยม วัฒนธรรม คนที่ ทำ�งานได้ตัวจริง หรือแชมเปี้ยน ที่จะเป็นหลักในการทำ�งาน ด้านนั้นๆ เกิดองค์กรที่เข้มแข็งเป็นร่มเงาและสถาบันสร้างคน ทำ�งานตัวจริงอย่างต่อเนื่อง และสุดท้ายความสัมพันธ์ของ ภาคี เ ครื อ ข่ า ยที่ ป รั บ ตั ว และพั ฒ นาความเชื่ อ มโยงกั น อย่ า ง แน่นแฟ้น และสร้างสรรค์ต่อเนื่องไปภายใต้สถานการณ์ของ ความเปลี่ยนแปลง มีบทเรียนจากตัวอย่างจริงจำ�นวนมากที่อาจนำ�มาเล่า ขยายแนวคิดข้างต้น และคงมีบทเรียนและกรณีศึกษาอีกมาก ที่รอให้นักสร้างเสริมสุขภาพมาลงมือสร้างและทำ�งานแบบ เครือข่าย พร้อมกับถอดบทเรียนการทำ�งานที่หลากหลายมา แลกเปลี่ยนกันต่อไป มาช่วยกันสร้างเครือข่าย ให้มาช่วยกันสร้างเสริมสุขภาพ กันเถิดครับ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
สวัสดีปีใหม่ สุขสันต์วันตรุษจีนและเดือนแห่ง
ความรักนะคะทุกคน
ปฏิบัติการเล่าฝัน
เนื่องด้วยฉบับนี้เป็นเรื่องราวของเครือข่าย ซึ่งจุ้มจิ้ม มีโอกาสไดร่วมกิจกรรมกับหลายๆเครือข่ายค่ะ และแต่ละ เครือข่ายก็สร้างความประทับใจให้ไม่แพ้กันเลยนะคะ เพราะ แต่ ล ะที่ ก็ ต่ า งมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั กในเรื่ อ งของการ ทำ � ประโยชน์เพื่อสังคมเหมือนกัน ดังนั้นทุกครั้งที่ได้ไปร่วมใน ทุกกิจกรรม จุ้มจิ้มมักจะได้ความอิ่มเต็มในใจกลับมาเสมอ เลยค่ะ ทำ�ให้นึกถึงพระราโชวาทของของ พระบรมราชชนก ที่ว่า
“ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภยศและเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพไว้ให้บริสุทธิ์”
บ
างส่ ว นของพระราชหั ต ถเลขา สมเด็ จ พระมติ ล า ธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระยศในขณะ นั้นคือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดล อดุลยเดช กรม ขุนสงขลานครินทร์) ถึงนาย สวัสดิ์ แดงสว่าง (ศาสตราจารย์ นายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่าง) ดั ง นั้ น ไม่ ว่ า จะเป็ น เครื อ ข่ า ยใด ทุ ก ๆท่ า นที่ ไ ด้ ร่ ว มกั น ทำ�งาน แม้การดำ�เนินการในกิจกรรมต่างๆอาจจะต้องยุ่งยาก เหน็ดเหนื่อย หรือทำ�ให้เกิดความท้อแท้ขึ้นในใจได้ แต่สิ่งที่สำ�คัญคือ เราได้ทำ�ประโยชน์ให้กับสังคม ให้กับ เพื่อนมนุษย์ ได้ช่วยเหลือผู้คนไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ ได้ไป เปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนที่ได้มาเจอกับเราให้เค้ามีชีวิตที่ดีขึ้น มีสิ่งที่ดีงามเกิดขึ้น ให้เค้าได้มีชีวิตที่สดใสและสวยงามยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ซิคะที่เป็นสิ่งที่งดงามและสร้างความสุขในใจ ให้กับเรา ด้วยพลังแห่งความภาคภูมิใจในความยิ่งใหญ่สุดๆ… ในหัวใจของเรา เป็นกำ�ลังใจให้กับทุกท่านค่ะ จุ้มจิ้ม^.^ 19
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
By JoomJim
เครือข่าย
โรงเรียนเด็กไทยฟันดี ทพญ. ปิยะดา ประเสริฐสม สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
กิ
จกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนเป็น กิจกรรมที่มีการดำ�เนินการมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 30 ปี เริ่ ม ต้ น จากการแปรงฟั น หลั ง อาหารกลางวั น ทุ ก วั น ที่ โรงเรียน สู่การเฝ้าระวังทันตสุขภาพเด็กนักเรียนเพื่อการ คัดกรองและส่งต่อตลอดจนการมุ่งเน้นคุณภาพของการ แปรงฟันเพื่อลดปัญหาอนามัยในช่องปาก ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ได้มีการนำ�แนวคิดการทำ�งานโรงเรียนส่งเสริม สุขภาพ ซึ่งมุ่งประเด็นเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของ เด็ ก นั ก เรี ย นและบุ ค ลากร ส่ ง เสริ ม การทำ � งานร่ ว มกั น ระหว่างโรงเรียน ชุมชน โดยมีการสนับสนุนจากภาคส่วน ของบริการสาธารณสุข สำ � นั ก ทั น ตสาธารณสุ ข กรมอนามั ย ได้ พั ฒ นา โครงการเพื่อสนับสนุนการทำ�งานภายใต้แนวคิดโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ภายใต้องค์ประกอบหลัก ของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ได้มีเวทีเพื่อการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง นับแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา มีโรงเรียนที่มีศักยภาพสูงสามารถดำ�เนินงาน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากได้อย่างเข้มแข็งกว่า 300 โรงเรี ย น ใน 50 จั ง หวั ด เกิ ด ขึ้ น เนื่ อ งจากบุ ค ลากร สาธารณสุข ครู และนักเรียนในจังหวัดเหล่านี้ สามารถ สร้างทีมและร่วมกันทำ�งานส่งเสริมสุขภาพในเด็กวัยเรียน 20
ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เพื่ อ ขยายผลให้ เ กิ ด แนวทาง การจัดกิจกรรมในโรงเรียนอื่นๆให้สามารถเกิดการพัฒนา ได้อย่างกว้างขวาง จึงมีแนวคิดให้มีการทำ�งานในรูปแบบ ของเครือข่ายโรงเรียน โดยเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยน เรี ย นรู้ และระบบพี่ เ ลี้ ย งในการทำ � งาน โดยการพั ฒ นา แนวทางการสร้างเครือข่ายโรงเรียน เพื่อขยายผลสู่การ ดำ�เนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนอย่างยั่งยืน สำ �นัก ทั น ตสาธารณสุ ขจึ ง ได้ เริ่ มสนั บสนุ น ให้ เกิ ดมี ก ารรวมตั ว ของโรงเรียนในรูปของเครือข่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ เกิดการเสริมพลังในการทำ�งานส่งเสริมสุขภาพของภาคี ต่างๆในการทำ�ให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ภาย ใต้ชื่อ “เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี” ตั้งแต่ ปี 2550 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายผลให้เกิดแนวทางการจัด กิจกรรมในโรงเรียนอื่นๆให้สามารถเกิดการพัฒนาได้อย่าง
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
กว้างขวาง โดยเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระบบพี่เลี้ยงใน การทำ�งาน ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายในระยะเวลา 3 ปี (2550-2552) ให้เกิด เครือข่ายกระจายทั่วประเทศ ปีละ 24 จังหวัด จังหวัดละ 3 เครือข่าย เครือข่ายละ 8-10 โรงเรียน เพื่อเป็นกลุ่มเครือข่ายยุทธศาสตร์ไม่น้อยกว่า 200 เครือข่าย ครอบคลุมโรงเรียน มากกว่า 2000 โรงเรียน ซึ่งจะสามารถ ขยายความครอบคลุมแนวทางการทำ�งานในรูปของเครือข่ายในระยะยาว การรวมกลุ่ ม และเสริ ม พลั ง กั น ในรู ป ของเครื อ ข่ า ยมุ่ ง เน้ น ประเด็ น การ จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร และการบูรณาการเพื่อพัฒนาให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ซึ่งนอกเหนือจากการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากแล้วการทำ�งานเครือข่ายยังช่วยทำ�ให้เกิดการพัฒนากิจกรรมสุขภาพอื่นๆไปพร้อมกันด้วย “โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ” กลยุทธ์สำ�คัญในการทำ�งาน จากประสบการณ์การจัดกลุ่มเครือข่ายในระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่โรงเรียนในเครือข่ายเป็นโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพ (ระดับทอง) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความเข้าใจ และเป็นต้นแบบในการทำ�งานส่งเสริมสุขภาพ จากผลการ ทำ � งานแสดงให้ เ ห็ น ชั ด เจนถึ ง ผลสั ม ฤทธิ์ ใ นการใช้ ก ลยุ ท ธ์ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ภาพที่ 1)โดยใช้ประเด็นเรื่องของ สุขภาพช่องปากเป็นประเด็นในการทำ�งานร่วมกัน และเกิดตัว อย่างการพัฒยาในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนในแต่ละประเด็น ดังแสดงในตารางที่ 1
ภาพที่ 1 แนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
ตารางที่ 1 ตัวอย่างประเด็นการพัฒนาในเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี นโยบายสาธารณะ ในโรงเรียน
มุ่งเน้นประเด็นการจัดการขนมและเครื่องดื่ม การบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การสร้างสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนต่อสุขภาพ การจัดทำ�ป้ายนิเทศต่างๆ โดยติดตามต้นไม้ “ต้นไม้พูดได้” การไม่วางนํ้าตาลในพวงเครื่องปรุง การจัดสถานที่แปรงฟัน มุมทันตสุขภาพ การมีส่วนร่วมของชุมชน
ชมรมคนรักฟัน คปสอ. จัดประชุมแลกเปลี่ยน อสม. ตรวจฟัน
ทิศทางใหม่ในการจัดบริการ
หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมกันทำ�งานเป็นทีม บูรณาการงานในประเด็นสุข ภาพอื่นๆ การจัดบริการโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม การเน้นการส่งเสริมป้องกัน มากขึ้น 21
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ถึงเวลาเปิดโอกาสให้กับโรงเรียนโดยทั่วกัน ตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ ผ่ า นมาได้ พิ สู จ น์ แ ล้ ว ว่ า กลยุ ท ธ์ การทำ�งานเป็นเครือข่ายทำ�ให้เกิดการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุข ภาพในโรงเรียนอย่างก้าวกระโดด ซึ่งโรงเรียนทั้ง 202 เครือข่าย และ 1958 โรงเรียน เป็นกลุ่มที่อาจเรียกได้ว่า เป็นแกนนำ � ที่มี ความสามารถในการขยายเครือข่ายให้มีความกว้างขวางออกไป ได้ และทำ � ให้ โ รงเรี ย นต่ า งๆที่ ไ ม่ มี โ อกาสได้ เ ข้ า ถึ ง กิ จ กรรม ส่งเสริมสุขภาพได้มีโอกาสเข้าร่วมโดยมีพี่เลี้ยงและเพื่อช่วยหนุน เสริม เป็นที่คาดหวังผลได้ว่า จะเกิดความยั่งยืนของการทำ�งาน ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพในโรงเรี ย น โดยครู นั ก เรี ย นและชุ ม ชนเป็ น ผู้บทบาทสำ�คัญ เกิดการหนุนเสริมกันอย่างเป็นธรรมชาติในกลุ่ม ของโรงเรียนเอง โดยใช้เรื่องของสุขภาพช่องปากเป็นประเด็นนำ� และทันตบุคลากรเองเป็นผู้สนับสนุนด้านวิชาการและเทคโนโลยี ในการทำ�งาน เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี : เป้าหมายที่จะไปให้ถึง แม้ ว่ า จะไม่ เ ป็ น เรื่ อ งง่ า ยที่ จ ะทำ � เกิ ด เกิ ด เครื อ ข่ า ยโรงเรี ย น เด็กไทยฟันดีขึ้นทั่วประเทศ หากแต่ไม่ใช่เป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้ ปั จ จั ย ที่ บ่ ง ชี้ ค วามสำ � เร็ จ จากการสรุ ป บทเรี ย นในระยะ 3 ปี ที่ ผ่านมา ซึ่งสรุปโดยกลุ่มเครือข่ายแกนนำ� คือ การมีแผนงานชัดเจน มีการพัฒนาระบบการประสานงานเครือข่าย มีจัดเวที แลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่าย จัดกิจกรรมประชาคม/กำ�หนดนโยบายสาธารณะ ให้ความรู้แก่ครอบครัว/ชุมชน/ร้านค้า และ สิ่งสำ�คัญ คือ งบประมาณซึ่งสนับสนุนโดยท้องถิ่นเอง ดังนั้นในการขยายผลในระยะต่อไป จึงได้มีการกำ�หนดแนวทางไว้ดังนี้ • เครือข่ายขยายผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อเนื่อง • แสวงหาความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ชุมชน/ผู้ปกครอง • กระตุ้นให้เกิดการรวมกลุ่มให้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ในประเด็นสุขภาพ • กรมอนามัยสนับสนุนด้านวิชาการและนิเทศติดตามเครือข่าย • กรมอนามัยจัดให้มีเวทีวิชาการระดับประเทศเพื่อนำ�เสนอผลและเผยแพร่กระบวนการทำ�งานของเครือข่าย กลยุทธ์เครือข่ายที่ได้กระตุ้นให้โรงเรียนร่วมกันดำ�เนินการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จะนำ�สู่เป้าหมายปลายทางของ การพัฒนาที่มุ่งเน้นการ “คืนสุขภาพช่องปาก.....จากมือหมอสู่มือเจ้าของ”
กองบรรณาธิการวารสารทันตภูธร ขอขอบคุณภาพเด็กๆน่ารักมากๆ จาก โรงเรียนบ้านบือแรง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส สืบค้นจาก http://www.appnaraed1.org/e_activity/detail.php?aid=1767#
22
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
เล่าเรื่อง
“เครือข่ายลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรก”
เรื่องโดย รศ.ทพญ. ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล ภาพโดย รศ.ทพญ. สุภาภรณ์ จงวิศาล ภาควิชาทันตกรรมสำ�หรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หนังสือ “First Love, First Tooth” ปกเป็น รูปมาสคอตของ เครือข่ายฯ ที่ คัดเลือกผู้ส่งประกวด
การแถลงข่าววันที่ 19
ตุลาคม 2553 บรรยากาศวันแถลงข่าว
ที่มา เมื่อประมาณเดือนกันยายน 2553 ได้มีการรวมตัวของกลุ่มอาจารย์จากภาควิชาทันตกรรมสำ�หรับเด็กจากทุกมหาวิทยาลัย ทันตแพทย์จากกองทันตสาธารณสุข ชมรมทันตกรรมสำ�หรับเด็ก ทันตแพทย์เอกชน ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานโรงเรียน ทันตแพทย์สร้างสุข สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยใช้ชื่อเครือข่าย”ลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรก”การรวมตัว ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะรณรงค์ให้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย เห็นความสำ�คัญของการแปรงฟันตั้งแต่ซี่แรก โดยใช้ยาสีฟันผสม ฟลูออไรด์อย่างเหมาะสม ทำ�ไมจึงต้องแปรงฟันซี่แรก การดำ�เนินงานป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยที่ผ่านมา มักกระทำ�ในเด็กซึ่งอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากง่าย ต่อการเข้าถึง กอรปกับมีการศึกษาที่สนับสนุนการใช้ฟลูออไรด์วานิชทาให้แก่เด็กก่อนวัยเรียน ว่าสามารถลดอัตราฟันผุในเด็ก กลุ่มนี้ได้ งานป้องกันที่ผ่านมาจึงเน้นการทาฟลูออไรด์วานิช และการแปรงฟัน ร่วมกับการจัดเตรียมอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดโรคกฟันผุ ให้เด็กรับประทาน. อย่างไรก็ตามแม้จะใช้มาตรการดังกล่าวกันอย่างแพร่หลาย อัตราผุ ถอน อุด และความชุกของโรคฟันผุในเด็ก อายุ 3 และ 5 ขวบกลับไม่ลดลงอย่างเด่นชัด ในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา เราเพียงแต่สามารถรักษาระดับของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยไม่ให้ เพิ่มขึ้นเท่านั้น 23
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
กิกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรก” ในวันที่ 6 ตุลาคม 2554
ทพ.วุฒิกุลขณะสอนผู้ปกครอง แปรงฟันลูกหลาน
สาเหตุดังกล่าวน่าจะเกิดจากกลุ่มเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีอายุระหว่าง 2-3 ขวบ ซึ่งเป็นกลุ่มอายุที่มีโรคฟันผุค่อนข้างสูงแล้ว เพราะช่วงที่เริ่มเกิดฟันผุจะเป็นช่วง 9 เดือน เป็นต้นไป และจะชุกสูงมากที่ 18 เดือน ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าต้องแปรงฟันลูก ทันทีเมื่อมีฟันขึ้น ทั้งยังมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมขวดหรือนมแม่ไม่เหมาะสม. เช่น ให้ลูกหลับคาขวดหรือคาเต้า ดูดนมถี่ในช่วงกลางคืน ใส่เครื่องดื่มหวาน หรือเติมนํ้าตาลลง ในนมให้ลูกดูดทั้งวันฯลฯ การให้ความรู้และคำ�แนะนำ�ในเรื่องการเลิกดูดนมขวดที่อายุ 1 ปี มักไม่ได้ผล เพราะผู้ปกครองส่วนใหญ่รู้สึกว่าลูกมีความสุขที่ได้ดูดนมจากขวดหรือจากเต้า ชุดแปรงฟัน ประกอบกับการแนะนำ�ดังกล่าวขัดกับการเลี้ยงดูลูกในวัฒนธรรมและสังคมไทยที่มักจะ ให้ลูกดูดนมจากขวดยาวนาน จนแม้อายุเข้าโรงเรียนอนุบาลแล้ว ก็ยังต้องให้ขวดนมลูกไป โรงเรียน นอกจากนีล้ กั ษณะครอบครัวขยายทีม่ ญ ี าติชว่ ยกันเลีย้ งเด็กหลายคนก็เป็นอุปสรรค ในการเลิกนมขวด ร่วมกับในปัจจุบนั มีการรณรงค์ให้เด็กดูดนมแม่นานจนถึง 2 ขวบ ก็ท�ำ ให้ การดูดนมคาเต้าของเด็กยาวนานขึ้นกว่าเดิม หากเราสังเกตที่ฟันของเด็กเล็ก ๆ ในวัย 9-18 เดือน ที่ไม่เคยได้รับการแปรงฟันมา ก่อน จะพบว่า ส่วนใหญ่จะมีคราบจุลินทรีย์ตามผิวฟันหน้า และหากเช็ดหรือทำ�ความ สะอาดคราบจุลินทรีย์เหล่านี้จะพบว่ามีรอยผุระยะแรก เรียกว่า “รอยผุจุดขาว (white ผ้าห่อตัวเด็ก lesion)” ใต้คราบจุลินทรีย์นั้น ระยะนี้ยังเป็นระยะที่ยังสามารถยับยั้งไม่ให้เกิดเป็นรูผุได้ หากได้แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ การศึกษาของ ทพ. วุฒกิ ลุ ธนากาญจนภักดี และผูเ้ ขียน พบว่าผูป้ กครอง (รวมถึงปูย่ า่ ตายาย) สามารถช่วยลดการเกิดฟันผุอย่าง ได้ผล หากผู้ปกครองเข้าใจถึงผลกระทบของโรคฟันผุปฐมวัย เช่น จะมีผลทำ�ให้ลูกหลานมีนํ้าหนักและส่วนสูง รวมทั้งขนาดศีรษะต่ำ� กว่าเด็กทีไ่ ม่มฟี นั ผุฯลฯ ร่วมกับการได้มโี อกาสฝึกการสังเกตคราบจุลนิ ทรียท์ สี่ ะสมอยูบ่ นผิวฟัน และรอยผุขนุ่ ขาวข้างใต้คราบจุลนิ ทรีย์ และทราบถึงผลเสียที่จะเกิดกับฟันซี่นั้นๆ หากไม่รีบกำ�จัดคราบจุลินทรีย์เหล่านั้นเสีย ในการศึกษานี้ ผู้ปกครองได้รับการสอนง่าย ๆ คือ ให้แปรงฟันลูกหลานด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกวัน วันละ 2 ครั้งในช่วงอา บนํ้าให้เด็ก ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่าเด็กกลุ่มที่ได้รับการแปรงฟัน มีฟันผุเพิ่มขึ้น 1 ซี่ หลัง 1 ปี ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้แปรงฟันมีฟันผุเพิ่ม ขึ้น 7 ซี่ จากอัตราฟันผุเมื่อเริ่มการศึกษาที่ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม ปัจจัยสำ�คัญของความสำ�เร็จในการศึกษานี้ คือการให้ผู้ปกครองเห็นภาพการลุกลามและความรุนแรงของรอยผุ มีการฝึกปฏิบัติ การแปรงฟันเป็นกลุ่ม โดยให้ชุมชนผู้ปกครองไม่ว่าจะเป็นคุณแม่หรือคุณย่า คุณยาย ร่วมกันแปรงฟันให้ลูกหลานโดยมี อสม. ที่ได้ รับการฝึกอบรมมาช่วยดำ�เนินการฝึกปฏิบัติ และช่วยให้ความช่วยเหลือแก้ไขในรายที่มีอุปสรรคในการแปรง จึงเกิดพลังขับเคลื่อนใน ชุมชนร่วมกัน 24
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
การศึกษานี้พิสูจน์ให้เห็นว่าโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย เป็นโรคที่ป้องกันได้ง่าย ๆ และไม่ต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ มากมาย เป็นวิธีที่ผู้ ปกครองสามารถทำ�ให้ลกู หลานได้เอง ไม่ตอ้ งพึง่ พาทันตบุคลากรมาก จึงเป็นวิธที นี่ า่ จะมีประสิทธิภาพสูง และประหยัดค่าใช้จา่ ย หาก เราสามารถรณรงค์ให้ผู้ปกครองแปรงฟันให้เด็กวัย 9-18 เดือน ได้ทุกวัน เหมือนการอาบนํ้า เกิดเป็นบรรทัดฐานของสังคมไทย (social norm) แล้ว เราคาดว่าความชุกและอัตราผุ ถอน อุด ในเด็กปฐมวัย จะลดลงได้อย่างแน่นอน งานที่เครือข่ายลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรกได้ทำ�ไปแล้ว - เครือข่าย ฯ ร่วมกับสสส. จัดแถลงข่าวในวันที่ 19 ตุลาคม 2553 เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบถึงความสำ�คัญของการแปรง ฟันในเด็กปฐมวัย รวมทั้งผลกระทบของโรคนี้ในมุมกว้าง ได้รับความสนใจจากสื่อและมีหนังสือพิมพ์หลายฉบับนำ�ไปเขียนบทความ ต่อ - นิสิต นักศึกษาทันตแพทย์จากทุกมหาวิทยาลัยจัดนิทรรศการรณรงค์ในผู้ปกครองแปรงฟันให้ลูกหลานในวันทันตสาธารณสุข แห่งชาติ 2553 โดยมีการสาธิต และแจกหนังสือให้ความรู้การแปรงฟันเด็กเล็ก พร้อมกับแจกชุดแปรงฟันซี่แรก ประกอบด้วย แปรงสีฟัน ยาสีฟันฟลูออไรด์ ผ้าสำ�หรับเช็ดฟองยาสีฟัน และกระจกส่องปาก - เครือข่ายฯ จัดพิมพ์หนังสือ First love, First tooth เพื่อให้ความรู้แก่ทันตบุคลากรและผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปาก ของเด็กปฐมวัย - ร่วมให้ข้อเสนอแนะเนื้อหาสื่อรายการโทรทัศน์สำ�หรับเด็กของสสส. เช่น รายการ Vegie Vegie, Zoovivor ฯลฯ - ร่วมเป็นภาคีกับ The Global Child Dental Health Taskforce (Thailand) ซึ่งเป็นเครือข่ายระดับนานาชาติเพื่อร่วมกันทำ�ให้ เด็กทั่วโลกทุกคนปราศจากรูผุในอนาคต (cavity free) - เครือข่าย ฯ ร่วมกับชมรมทันตกรรมสำ�หรับเด็กแห่งประเทศไทย จัดประกวดคลิปวิดีผู้ปกครองแปรงฟันให้ลูกอายุไม่เกิน 2 ปี เพื่อคัดเลือกสำ�หรับใช้รณรงค์และสอนการแปรงฟันลูกรักตั้งแต่ฟันซี่แรก โดยได้ตัดสินผลการประกวดแล้ว และได้ประกาศผลรางวัล ในเดือนพฤศจิกายน 2554 - พัฒนาศักยภาพทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรในการสอนและกระตุ้นผู้ปกครองแปรงฟันเด็กเล็ก และพัฒนาทักษะผู้ ปกครองในการแปรงฟันเด็กเล็ก โดยร่วมกับสำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่ แรก” ในวันที่ 6 ตุลาคม 2554 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี เพื่อรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยอมรม เชิงปฏิบัติการทันตบุคลากรและอาสาสมัครคู่แม่ลูก - เครือข่ายฯ ร่วมกับสำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยขับเคลื่อนให้ประเด็น “แปรงฟันลูกรักตั้งแต่ฟันซี่แรก” เป็นการรณรงค์ ระดับชาติ โดยใช้งบประมาณจากกองทุนทันตกรรม ขณะนี้ เครือข่ายฯ อยู่ในระหว่างผลิตสื่อและอุปกรณ์เพื่อให้ทันตบุคลากรใช้สาธิตให้ผู้ปกครองแปรงฟันให้เด็กได้อย่างถูกต้อง และกำ�ลังมีการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยให้ผู้ปกครองแปรงฟันเด็กได้ง่ายขึ้น และเนื่องจากเริ่มมีการพบฟันผุเพิ่มขึ้นในเด็กเล็กที่เลี้ยง ด้วยนมแม่จำ�นวนหนึ่ง คณาจารย์ภาควิชาทันตกรรมสำ�หรับเด็กจึงกำ�ลังวางแผนเพื่อร่วมกันศึกษาถึงผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่อโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย เราคาดว่าพฤติกรรมการเลี้ยงดูบางอย่างในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดฟันผุ เช่นไม่ได้ให้เด็กดื่มนํ้าตามหลังดูดนม ไม่มีการทำ�ความสะอาดคราบนมบนตัวฟัน ให้ลูกดูดนมถี่เท่าที่ต้องการ รวมทั้งการให้เด็กดูด นมแม่จนอายุ 2 ขวบ ซึ่งเด็กในช่วงนี้มีการบริโภคนํ้าตาลจากอาหารอื่นๆ ร่วมด้วยแล้ว บทส่งท้าย เครือข่ายลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรก ถือเป็นเครือข่ายน้องใหม่ที่เริ่มก่อตั้ง ซึ่งต้องขอขอบคุณสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ และแผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข ที่ช่วยสนับสนุนด้านงบประมาณในช่วงเริ่มต้น เราจะพยายามทำ�งานต่อไป เพื่อเป็นกำ�ลังสำ�คัญอีกแรงหนึ่งของสังคมในการช่วยลดการเกิดฟันผุในเด็กไทย ที่นับวันก็ยิ่งพบได้ในเด็กอายุน้อยลงทุกที และหวัง ว่า เด็กไทยในวันข้างหน้าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี ส่งผลต่อการมีสุขภาพร่างกายที่ดีของพวกเขาต่อไป 25
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
Fact Sheet (ฉบับคัดสรร) “ทำ�ไมต้องแปรงฟันลูกรัก ตั้งแต่ฟันซี่แรก” 1. เด็กไทยเริ่มมีฟันผุตั้งแต่ 9 เดือน มีอัตราการเกิดฟันผุที่รวดเร็ว และมีการสูญเสียฟันก่อนวัยถึง 3-10 ปี • ผลการสำ�รวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2550 พบว่าร้อยละ 61.4 ของเด็กไทยอายุ 3 ปี มีฟันผุอย่างน้อยหนึ่ง ซี่ ในกลุ่มนี้ร้อยละ 2.33 เริ่มมีการสูญเสียฟันแล้ว ทั้งที่ฟันนํ้านมควรหลุดตามปกติในช่วงอายุ 6- 13 ปี • การวิจัยระยะยาวเกี่ยวกับการเกิดฟันผุในเด็กเล็กอายุ 9-18 เดือน ในประเทศไทย พบว่าเริ่มมีการเกิดฟันผุซี่แรกตั้งแต่เด็กอายุ เพียง 9 เดือน !!! 2. การสูญเสียฟันนํ้านมจากฟันผุอาจส่งผลเสียมากกว่าที่ท่านคิด • ฟันนํ้านมมีประโยชน์ไม่น้อยกว่าฟันแท้: การมีฟันนํ้านมก่อให้เกิดประโยชน์ไม่น้อยกว่าการมีฟันแท้ ทั้งในเรื่องการบดเคี้ยว การออกเสียง ความสวยงาม รวมถึงบุคลิกภาพ และยังมีผลต่อการทำ�ให้ฟันแท้ขึ้นได้ตรงทิศทางที่ควรจะเป็นในเวลาที่เหมาะสม ทำ�ให้ลดปัญหาที่ต้องมีการจัดฟัน ช่วยทำ�ให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในอนาคตอีกทางหนึ่ง • ฟันผุมีผลทั้งต่อการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์ของเด็ก: หากเด็กเล็กมีฟนั ผุในระดับที่ก่อให้เกิดความเจ็บ ปวดหรือมีการติดเชือ้ ของฟัน จะมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็ก อาทิ การมีนาํ้ หนักและส่วนสูงต่�ำ กว่าปกติ เพราะในภาวะที่ เด็กมีความเจ็บปวดและอยูใ่ นระหว่างการติดเชือ้ ของฟัน เด็กจะรับประทานอาหารได้นอ้ ยลง รวมถึงการมีความเจ็บปวดทำ�ให้รบกวน การนอน ส่งผลต่อการหลัง่ ฮอร์โมนทีค่ วบคุมการเติบโตของร่างกาย ทำ�ให้มผี ลต่อพัฒนาการของเด็กในทีส่ ดุ นอกจากนี้ โรคฟันผุยงั ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก ทำ�ให้ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ดี ทำ�ให้เลือกกินอาหารที่นิ่ม หรือเลือกอาหารได้น้อยลง ทำ�ให้ได้รับ สารอาหารที่ไม่ครบถ้วน หรือเลือกอาหารที่มีลักษณะให้พลังงานเร็ว เช่น อาหารประเภทนํ้าตาล ทำ�ให้มีผลต่อการเจริญเติบโตโดย รวม หรืออาจมีความเสีย่ งต่อการเกิดโรคอืน่ ๆ ในอนาคต นอกจากนี้ เด็กทีม่ กี ารสูญเสียฟันนาํ้ นมด้านหน้าบนไปตัง้ แต่อายุนอ้ ยๆ จะ ส่งผลต่อพัฒนาการในการพูดและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กอีกด้วย • ฟันผุส่งผลต่อฟันนํ้านมและฟันแท้ซี่อื่นๆในอนาคต: มีหลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเกิดโรคฟันผุในฟันนํ้านมตั้งแต่เล็กๆ จะมีการผุลุกลามในซี่อื่นๆ ได้มากกว่าและมีจำ�นวนรอยผุเกิดใหม่สูงกว่าเด็กที่ไม่ผุ • ฟันผุในเด็กเล็ก มีผลต่อครอบครัว: ในครอบครัวที่มีเด็กฟันผุที่มีอาการปวด จะส่งผลทำ�ให้เด็กโยเย และต้องการการดูแลมากกว่า ปกติ รวมถึงการลางานของผูป้ กครองเพือ่ นำ�เด็กไปรับการรักษา ทำ�ให้เกิดการสูญเสียรายได้ของครอบครัวทัง้ จากการลางานและ ในแง่ค่ารักษา เพราะถึงแม้ว่าจะมีพระราชบัญญัติประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ก็ไม่ครอบคลุมได้ในทุกการรักษา • การรักษาฟันในเด็กเล็กมีความยุ่งยาก ทำ�ให้มีโอกาสสูญเสียฟันเร็วกว่ากำ�หนด: พบว่าครึ่งหนึ่งของทันตแพทย์ทั่วไปไม่สามารถ ให้การรักษาที่ซับซ้อนแก่ผู้ป่วยเด็กเล็กได้ นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมสำ�หรับเด็กก็ยังมีจำ�นวน ไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยเด็กซึ่งมีอยู่จำ�นวนมาก ในเด็กบางรายที่ไม่ให้ความร่วมมืออาจจำ�เป็นต้องให้ยาสลบเพื่อการรักษา ทำ�ให้ผู้ปกครองมีความกังวลใจได้มาก 3. การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ช่วยแก้ไขปัญหาฟันผุในเด็กเล็ก • การแปรงฟันน้อยกว่าวันละ 1 ครั้ง และการรับประทานอาหารหวาน เหนียวติดฟันบ่อยๆ เป็นความเสี่ยงอย่างมากต่อการเกิดฟัน ผุ เนื่องจากมีการสะสมของแผ่นคราบจุลินทรีย์ หรือ “พลั้ก” จากการศึกษาระยะยาวในต่างประเทศ พบว่าการมีแผ่นคราบ จุลินทรีย์สะสมที่ฟันตัดบนในทารกอายุ 19 เดือน สามารถทำ�นายได้อย่างค่อนข้างมั่นใจว่าเด็กจะมีฟันผุใน 18 เดือนข้างหน้า 26
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
• การติดตามศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองต่อสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนในประเทศไทย ชี้ชัดว่าพฤติกรรม การเลี้ยงดูในกลุ่มเด็กฟันผุแตกต่างจากในกลุ่มเด็กฟันไม่ผุโดยสิ้นเชิง กลุ่มที่ฟันไม่ผุจะหย่านมแม่หรือนมขวดก่อนอายุ 1 ขวบครึ่ง และผูป้ กครองให้ความสำ�คัญกับอาหารมือ้ หลัก (เช้า กลางวัน เย็น) ของเด็ก นอกจากนีผ้ ปู้ กครองจะให้เด็กดืม่ นํา้ ตามหรือล้างปาก ทุกครั้งหลังดื่มนม ที่สำ�คัญผู้ปกครองแปรงฟันให้ลูกตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น 2-4 ซี่ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง • มีเหตุผลทางวิชาการหลายอย่างที่สนับสนุนการแปรงฟันลูกรักตั้งแต่ฟันซี่แรก เช่น o การศึกษาในหลายประเทศสนับสนุนว่าการแปรงฟันตัง้ แต่อายุยงั น้อยจะลดโอกาสการเกิดฟันผุในเวลาต่อมาได้ เป็นทีย่ อมรับ กันมาเป็นระยะเวลานานว่า การแปรงฟันด้วยการใช้ยาสีฟนั ผสมฟลูออไรด์จะมีผลลดฟันผุในเด็กมากกว่าการไม่ใช้ยาสีฟนั ผสม ฟลูออไรด์ได้ถึงร้อยละ15-30 o เด็กที่รับประทานขนมบ่อยๆ แต่มีการแปรงฟันสม่ำ�เสมอ กลับมีฟันผุน้อยกว่าเด็กที่ไม่ค่อยรับประทานขนมแต่มีการทำ�ความ สะอาดช่องปากทีไ่ ม่ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่า จะละเลยการควบคุมการรับประทานอาหารหวาน หากแต่เป็นสิง่ ทีต่ อ้ ง ทำ�ควบคู่กันไป o เริม่ แปรงฟันได้เร็ว สร้างสุขนิสยั ทีด่ ไี ด้งา่ ย: การแปรงฟันตัง้ แต่ฟนั ซีแ่ รก เป็นการสร้างวินยั ให้แก่เด็กในการมีความคุน้ ชินต่อการ มีชอ่ งปากทีส่ ะอาด และยังช่วยให้ผปู้ กครองได้มโี อกาสสังเกตพัฒนาการในช่องปากรวมถึงการเกิดฟันผุตงั้ แต่ในระยะเริม่ แรก การฝึกแปรงฟันตั้งแต่เล็กจะช่วยให้เด็กยอมรับการทำ�ความสะอาดช่องปากเมื่อเด็กโต ทำ�ให้ลดโอกาสการเสี่ยงต่อการเกิดฟัน ผุได้มากขึ้น 4. ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันลูกรักตั้งแต่ซี่แรกอย่างถูกวิธีได้ไม่ยาก • แปรงฟันตั้งแต่ฟันนํ้านมซี่แรก ด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 500 ppm ใช้ยาสีฟันเพียงเล็กน้อย ปริมาณขนาด แตะปลายขนแปรงพอชื้น • เลือกแปรงสีฟันที่มีลักษณะขนแปรงนุ่ม หน้าตัดเรียบ หัวเล็กที่สามารถครอบคลุมฟันประมาณ 3 ซี่ และมีด้ามจับที่ใหญ่ • แปรงฟันให้แก่เด็กวันละ 2 คร้ง โดยอาจแปรงฟันในช่วงก่อนหรือหลังอาบนํ้าให้แก่เด็กเพื่อฝึกให้เป็นกิจวัตร • การแปรงฟันควรให้เด็กอยู่ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนหรืออาจให้เด็กนอนบนตัก โดยที่สามารถแปรงฟันได้ครอบคลุมทุกซี่ จากนั้น ต้องไม่ลืมเช็ดฟองที่เกิดขึ้นออก เพื่อให้ง่ายควรใช้มืออีกข้างที่ไม่ได้จับแปรงสีฟัน ช่วยประคองคางเด็ก ใช้นิ้วช่วยดันแก้ม และริมฝีปากออก เพื่อให้เห็นบริเวณที่จะแปรง วิธีนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้แปรงสีฟัน กระแทกถูกริมฝีปาก หรือกระพุ้งแก้ม ของเด็ก • ผู้ปกครองควรแปรงฟันให้เด็กอย่างต่อเนื่องจนถึงอายุประมาณ 7-8 ขวบ ซึ่งจะเป็นช่วงอายุที่เด็กมีการพัฒนาของกล้ามเนื้อ ได้ดีแล้ว หรืออาจสังเกตจากที่เด็กผูกเชือกรองเท้าได้ด้วยตัวเอง
ขอเชิญร่วมกันสร้างเด็กไทยยุคใหม่ไร้ฟันผุ กับ เครือข่ายลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรก เครือข่ายจะฝึกอบรมให้ทา่ นสร้างแรงจูงใจให้ผปู้ กครองและสาธิตวิธกี ารแปรงฟันในเด็ก 9-18 เดือน โดยการจัดกิจกรรมกลุ่มกับผู้ปกครองให้เกิดแรงขับเคลื่อนในชุมชน เครือข่ายมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้ปกครองทำ�งานกับเด็กง่ายขึ้น อาทิ เช่น ผ้าห่อตัวเด็ก แปรงสีฟันเด็กเล็ก ยาสีฟัน ผ้าเช็ดฟองยาสีฟัน
ติดต่อที่ : รศ.ทญ. ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล 02-218-8906, 081-648-5756 trairatchu@gmail.com หรือ รศ.ทพ. จรินทร์ ปภังกรกิจ 081-717-3515 jarinaod@gmail.com 27
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
เรื่องมากมากเรื่องจากเมืองน่าน :
การสอนแปรงฟันในเด็กเล็ก โดย ศุนฤพรจิตรา รายงาน & หมอเป้ ถ่ายภาพ
ส
วัสดีเจ้า คราวนี้ข้าเจ้าก็มีเรื่องเล่าดีๆมาเล่าสู่กันฟังอีกแล้ว เริ่มจาก รศ ทพญ ชุ ติ ม า ไตรรั ต น์ ว รกุ ล อาจารย์ ป ระจำ � ภาควิ ช าทั น ตกรรมสำ � หรั บ เด็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กับคนทำ�งาน ที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงเช่นพวกเรา ตอนแรกที่คุยกันว่าอยากจะได้กลุ่มเล็กๆ ฟังสบายๆ บรรยากาศไม่เคร่งเครียด สักประมาณ 10-20 คน แต่พอประกาศ ในที่ ป ระชุ ม ของทั น ตบุ ค ลากร จ น่ า นเท่ า นั้ น แหละว่ า อจ.ชุ ติ ม าจะมาสอน การแปรงฟันในเด็กเล็ก ไม่น่าเชื่อว่าคนจะขอมาร่วม 100 คน แต่ ก็ มี โ จทย์ ใ ห้ คิ ด ว่ า จะทำ � กลุ่ ม ยั ง ไง ให้ บ รรยากาศที่ ไ ม่ ใ ช่ เ หมื อ น ห้องเลคเชอร์ ในที่สุดก็ได้ห้องที่ปูเสื่อ นั่งกับพื้น แล้วเราก็เหมือนมานั่งคุยกันว่า แต่ละพื้นที่ได้มีกิจกรรมใดๆให้เด็กกลุ่มก่อนที่จะเข้าศูนย์เด็กเล็กมาก เพราะ ขณะนี้ ณ ปัจจุบัน สถานการณ์ฟันผุได้ลุกลามไปในเด็กเล็กที่ยังไม่ทันพูดคำ�ว่า แม่ ไ ด้ ก็ ผุ ซ ะแล้ ว คื อ เด็ ก ไม่ ถึ ง ขวบก็ ผุ ซ ะแล้ ว แล้ ว ถ้ า ถามพวกเราว่ า ถ้ า มี แม่อุ้มเด็กไม่ถึงขวบมาหาเรา ว่าฟันผุแล้ว เราจะทำ�อะไรให้เค้าได้บ้าง ให้เวลาคิด 1 นาที..............หมดเวลา ถ้าท่านเป็นทันตบุคลากรที่ทำ�ฟันเด็กบ่อย ไม่กลัวเด็กร้อง อาจจะบอกว่าก็อุดสิ แต่ถา้ ท่านเป็นทันตบุคลากรส่วนใหญ่ทก่ี ลัวเด็ก ท่านก็อาจจะโบ้ยให้ไปหาหมอฟัน เฉพาะทาง (ถ้ า มี ) หรื อ ไม่ งั้ น ก็ บ อกไปเลยแบบกล้ า หาญว่ า ไม่ เ ป็ น ไรหรอก ฟันนํ้านมเดี๋ยวก็หลุด เชื่อแน่ว่าต้องมี มันจะหลุดก็จริง แต่เมื่อไหร่ละ อยากจะ เชิญ ชวนทุกท่า นให้มาสนใจกับฟันนํ้านม เผื่อที่ว่าในอนาคตเราจะได้ ไ ม่ ต้ อ ง นั่งหลังขดหลังแข็งทำ�งานเป็นกรรมกรเยี่ยงนี้ อาจารย์ชุติมาเน้นว่าอาจารย์ทำ�งานนี้เพราะเชื่อในพื้นฐานที่ว่าพ่อแม่ ทุ ก คนรั ก ลู ก อยากจะให้ สิ่ ง ที่ ดี ที่ สุ ด กั บ ลู ก ถ้ า เราสามารถจู ง ใจให้ ผู้ ป กครอง แปรงฟันให้ลกู ตัง้ แต่ซแี่ รกได้กเ็ ท่ากับเราจะได้ชว่ ยโลก ช่วยชาติได้ อ่านแล้วอาจจะ คิดว่าบ้าไปแล้ว กะอีแค่ให้ผปู้ กครองแปรงฟันให้เด็กจะไปช่วยชาติยงั ไงฟะ อ่านไป ก่อนนะท่านแล้วคิดตาม ถ้าเราจูงใจให้ผปู้ กครองแปรงฟันได้ ต้องแปรงด้วยยาสีฟนั ผสมฟลูออไรด์ด้วยนะ แปรงกันเป็นกิจวัตรเลย เหมือนที่เค้าต้องอาบนํ้าให้ลูก จาก งานวิจัยของอาจารย์ชุติมาที่ทำ�ร่วมกับ อจ วุฒิกุล ไปทำ�ที่อำ�เภอนํ้าพอง ขอนแก่น 28
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
โดยเน้นทีท่ �ำ เป็นกลุม่ เพราะจะได้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ บ้าน โน้น บ้านนีก้ แ็ ปรงฟัน ให้ลกู แล้วบ้านเราละ ถ้าไม่แปรงให้เดีย๋ ว อีกหน่อยลูกจะต้องกลายเป็นเด็กมีปัญหาแน่ๆ จากการติ ด ตามผลที่ 1 ปี มี ผ ลที่ แ ตกต่ า งกั น มาก ระหว่ า งเด็ ก ที่ ป กครองแปรงและไม่ แ ปรงให้ เ ด็ ก ส่ ว นใคร อยากรู้รายละเอียดจะต้องไปค้นหาเอาเองนะจ๊ะ คิดว่าหาไม่ ยากเพราะได้ ตี พิ ม พ์ ใ นวารสารทั น ตแพทยสมาคมด้ ว ยนะ ไม่ใช่วิจัยที่ทำ�เล่นๆ อันดับแรกเราจะต้องเสริมสร้างความรู้ให้ ผู้ ป กครองได้ รู้ ก่ อ นว่ า ถ้ า ไม่ แ ปรงฟั น ให้ ลู ก ลู ก ก็ จ ะฟั น ผุ การจะปล่อยให้ลูกแปรงฟันเองได้ก็ประมาณเอาว่าผูกเชือก รองเท้าได้เองเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นแหละถึงจะแปรงเองได้สะอาด ทีนี้ลูกฟันผุก็เป็นไง ปวดฟัน ต้องหยุดเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน พ่ อ แม่ ก็ เ สี ย เวลาพาไปหาหมอ ต้ อ งหยุ ด งาน เสี ย เงิ น อี ก ถ้าเป็นมาก ต้องได้นอน รพ ต้องกลายเป็นเรื่องใหญ่ต้องมา เฝ้ า กั น อี ก ไม่ แ ปรงฟั น นะลู ก ก็ จ ะสุ ข ภาพฟั น ไม่ แ ข็ ง แรง ทานอะไรก็ไม่ค่อยได้ ทีนี้จะมีอะไรไปกันบำ�รุงสมองละนั่น ลู ก ก็ จ ะกลายเป็ น เด็ ก ไม่ ค่ อ ยฉลาด แล้ ว พ่ อ แม่ อ ยากให้ ลู ก ฉลาดมั๊ยจ๊ะ.......... พูดมาขนาดนี้คิดว่าพอจะทำ�ให้ผู้ปกครอง เห็นความสำ�คัญของการแปรงแล้วน้า ใครที่คิดว่ามีอะไรเด็ดๆ ที่มาโน้มน้าวได้ก็มาเล่าๆให้กันฟังบ้างเด้อ ทีนี้การแปรงฟันตั้งแต่ซี่แรก ช่วยโลกได้อย่างไร ก็ถ้า แปรงก็น่าจะลดอัตราการเกิดฟันผุได้นะ ฟันไม่ผุเราก็ไม่ต้อง อุดฟัน ท่านลองคิดดูว่าการอุดฟัน 1 ซี่ เราเพิ่มปริมาณขยะแค่ 29
ไหน อย่างน้อยก็ต้องถุงมือ ของหมอ 1 คู่ ผู้ช่วยอีก 1 คู่ (อันนี้ คิ ด ในมาตรฐานทั่ ว ไปว่ า ทุ ก คนใช้ ทุ ก มื อ ที่ ใ ช้ แ ล้ ว ทิ้ ง ) แล้วถุงมือเนี่ยมันจะย่อยสลายเมื่อไหร่ไม่รู้ ไหนจะวัสดุอุดที่ ใช้อีก นํ้าที่ต้องเอามาล้างเครื่องมืออีกเล่า เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่ง หนึ่งที่น่าจะกระตุ้นให้โลกร้อนขึ้นใด้อีกนิดทั้งนั้น แล้วเครื่อง มือเครื่องใช้เหล่านี้รัฐก็ลงทุน แล้วเอาเงินจากไหน ก็มาจาก พวกเรานี่แหละ บรรยากาศที่อาจารย์มาน่านเราก็ได้แบ่งเป็น 12 กลุ่ม แล้วแต่ละกลุ่มก็มีเด็กที่อายุ 9 ด-18 ด ที่เน้นที่อายุขนาดนี้คือ มันจะได้ไม่สายเกินไป ถ้าเกินกว่านีเ่ ด็กอาจจะเริม่ ฟันผุแล้ว แล้ว อาจารย์กล็ งมือปฏิบตั ใิ ห้เห็นเลยว่า จะล็อคเด็กยังไงถึงจะแปรง ฟันได้ อีกทั้งจับมือผู้ปกครองให้ลงมือปฏิบัติจริง ถ้าไม่ได้ยังไง จะได้ช่วยแก้ไข บรรยากาศก็ชุลมุนวุ่นวายพอควร เพราะเรื่อง เด็กร้องนี่เราห้ามไม่ได้อยู่แล้ว จากผลตอบรับ ผู้เข้าร่วมประชุม ก็ชอบใจที่ได้ลองปฏิบัติจริง แล้วก็บอกว่าน่าจะไปลองในพื้นที่ แต่ละคน อาจารย์จะมีเทคนิคในการปฏิบัติและเคล็ดลับต่างๆ ที่พร้อมจะนำ�ไปเผยแพร่โดยไม่สงวนลิขสิทธ์ พื้นที่ใดสนใจ ติดต่อ อาจารย์ได้เลยนะคะ. น่านลองมาแล้วค่ะ ต้องชูนิ้วโป้ง ให้ อาจารย์ 2 นิ้วเลยคะ ไม่ได้แปลว่าโกรธกันนะคะ แปลว่า ยอดเยี่ยมคะ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
การสื่อสารภายในเครือข่ายทันตบุคลากร งานกองทุนทันตกรรม ทพญ.ศันสณี รัชชกูล (กว่า) 1 ปีกองทุนทันตกรรมผ่านไปไวเหมือนโกหก ชีวิต และการทำ�งานคงไม่ได้จบแค่ 1 ปี ก้าวเข้าปีที่ 2 มีอะไรใหม่ๆ บ้างมาลองดูกัน จากการประเมินผลการทำ�งานในปีที่ผ่านมาเราพบว่า อุปสรรคสำ�คัญของการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากภายใต้กองทุนทันตกรรม ก็คือการสื่อสารระหว่างพวกเราชาวทันตบุคลากรนี้แหละคะ ที่เป็นปัญหาสำ�คัญ ถ้าเราจะ ขับเคลื่อนสังคมไปด้วยกัน พวกเราต้องรู้เหมือนกันก่อนจะได้เดินไปในทิศทางเดียวกัน ทำ�ให้เกิดพลังในสังคม ระบบการสื่อสาร คณะกรรมการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพช่องปากภายใต้กองทุนทันตกรรม จึงได้วางระบบการสื่อสารภายในเครือ ข่ายทันตบุคลากรไว้ โดย 1. สื่ อ สารผ่ า น facebook เราจะใช้ social media ที่ ค นนิ ย มใช้ กั น มากที่ สุ ด คื อ facebook ภายใต้ ชื่ อ http:// www.facebook.com/pages/ลูกรักฟันดีเริ่มที่ซึ่แรก/ เป็นช่องทางสื่อสารสองทางระหว่างพวกเรา 2. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมทาง website facebook คงเป็นเพียงช่องทาง หนึ่งในการสื่อสาร ระหว่างกลุ่มสนใจ ในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เนื้อหาที่จำ�เป็น จะต้องบรรจุในเว็บไซต์ ที่เป็นทางการ และ สามารถใช้ ความสามารถในการเชื่อมโยง ระหว่างเว็บไซต์ กับ facebook นั้น Website ที่เปิดใหม่ มี URL ว่า www.ลูกรักฟันดี.net ทันตบุคลากรจะต้องทำ�อย่างไรบ้าง 1. ท่านใดมี facebook อยู่แล้วก็เข้าไปเป็นสมาชิกกลุ่ม ลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรก ได้เลย แล้วหมั่นเปิดดูความคืบหน้า 2. ใครไม่คุ้นเคยกับสิ่งเหล่านี้หาตัวช่วยด่วน (วันรุ่นทั้งหลายรู้เรื่องเหล่านี้ดี) เพื่อจะได้ทราบข่าวคราว 3. สมั ค รเข้ า เป็ น สมาชิ ก ใน website www.ลู ก รั ก ฟั น ดี . net ขอความกรุ ณ าอย่ า งรั ง เกี ย จการสมั ค รเป็ น สมาชิ ก ก่ อ น เข้าอ่านข้อมูลเพราะทางเราต้องมีการประเมินผล จะได้ทราบว่าผลการตอบรับการสือ่ สารด้วยวิธกี ารนีม้ ผี ลอย่างไร 4. ถ้ามี e mail จากที่ไม่เคยเห็นขอเชิญเข้ากลุ่ม e mail group กรุณาเปิดอ่านด้วยอย่าลบทิ้ง เพราะ e mail ก็ยัง เป็นช่องทางการสื่อสารที่พวกเราคุ้นเคยกันดี 5. ใครไม่เคยได้รับ e mail แจ้งเรื่องอะไรเลยโปรดส่ง e mail address ของท่านมาที่ wuttichai@wuttichai.net (เว็บ มาสเตอร์ ทพ.วุฒิชัย ชุมพลกุล ศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ) ตัวอย่างข้อมูลที่น่าสนใจ ที่อยู่ใน website ผลการประเมินการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพช่องปากภายใต้กองทุนทันตกรรม ปี 2554 โดย ABAC ที่สุ่มสำ�รวจผู้ ปกครองเด็กเล็ก จำ�นวน 2,432 คนจากทั่วประเทศ กำ�หนดการ kick off การรณรงค์ของปี 2555 พร้อม theme การรณรงค์ และอื่นๆอีกมากมาย เข้าไปศึกษาด่วน ! facebook: http://www.facebook.com/pages/ลูกรักฟันดีเริ่มที่ซึ่แรก/ website: www.ลูกรักฟันดี.net e mail ติดต่อ: wuttichai@wuttichai.net
30
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
Air War VS
Ground War ตอนที่ 1
เล่าเรื่องโดย หมอแพร บางใหญ่
เรื่องนี้มิใช่ Star War แต่เป็นเรื่องของ Air war และ Ground war เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ของเด็กก่อนวัยเรียน ชุดแดร๊กคูล่าฟันผุ
ช่
วงท้ายปีที่แล้ว มีการสัมมนากลุ่มเล็กๆ ริมนํ้าแม่กลอง เพือ่ ตัง้ หลักประเมินงานนี้ โดยแดร๊กคูลา่ นีเ้ ป็นการเปิดการทำ�งาน ส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ ซึง่ เป็นการทำ�งานร่วม 3 องค์กร ระหว่าง สปสช. สสส. และกระทรวง งานชิ้นนี้ใช้งบประมาณจากสปสช. และสสส. มีการทำ� Spot โฆษณา แดร๊กคูล่าฟันนํ้านมผุ ที่ยิง ออกตามโทรทัศน์ทั้งสิ้นประมาณ 340 ครั้ง มีการยิง Spot วิทยุ หนังสือพิมพ์ แจกสคริป ไปตามจังหวัดต่างๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา แผนที่ตั้งกันไว้นั้น กะกันว่าช่วงเดือนตุลา เราจะมีกิจกรรมเพื่อเปิดงาน ทำ�การ แถลงข่าว เพื่อเรียกให้มีการถ่ายทอดในสื่อต่างๆ แล้วเริ่มยิง Spot โฆษณา หวังว่าจะสร้างกระแสให้ผู้คนหันมาสนใจการดูแลสุขภาพ เด็ก และหากสงสัยหลังจากดู Air war ก็สามารถพาเด็กไปรับคำ�ปรึกษากับทันตบุคลากรในพืน้ ที่ ส่วนในพืน้ ทีก่ ว็ างแผนจะให้จดั กิจกรรม รับลูกจาก Air war เรียกว่าเป็นทหารราบหลังยิงปืนใหญ่ โดยมีการตรวจ แจกแปรง จับไม้จับมือสอนแม่แปรงฟันให้ลูก และเสริมด้วย กิจกรรมรณรงค์เน้นเด็กก่อนวัยเรียนต่างๆ ตามจริตของแต่ละพื้นที่ และตั้งเป้าหมาย(แบบกล้าฝัน) ว่า มันคงจะเป็นการตอบโจทย์ฟัน ผุหากเราจะสามารถสร้างค่านิยมให้พ่อแม่แปรงฟันนํ้านมให้ลูกของตัวเอง ให้สนใจและใส่ใจกับฟันลูกตัวเอง ไม่พึ่งพิงครูและหมอ... ดังที่เป็นอยู่ โดยหากเราทำ�เรื่องนี้ได้เด็กรุ่นวัยก่อนเรียนในอนาคตก็จะได้รับการดูแลดี ไม่ต้องวิ่งหนีหมอเช่นดังปัจจุบัน เรื่องใหม่ๆ ก็ต้องมีความขลุกขลัก ด้วยการทำ�งานข้ามองค์กรมีการประสานเพื่อใช้งบประมาณร่วมเป็น Ideal ในการทำ�งาน แต่ ในความเป็นจริงมีขั้นตอนราชการที่ซับซ้อนทำ�ให้มีความล่าช้าเมื่อจะเริ่มดำ�เนินการ และส่วนหนึ่งของเวลาก็ใช้ไปกับการออกแบบ สื่อหรือ Spot โทรทัศน์ที่นักประชาสัมพันธ์ท่านว่า สารของเราซับซ้อนมาก ต้องทำ�เป็นสองจังหวะ จังหวะแรกให้เขาสนใจ แล้วไปหา ข้อมูลจากหมอใกล้บ้านในจังหวะที่สอง กว่าจะได้น้องแดร๊กคูล่ามาได้ก็ใช้เวลามิใช่น้อย เรือ่ งการกระจายนโยบายสูผ่ ปู้ ฏิบตั กิ แ็ จ้งกันแต่เดือนกรกฎาคม โดยจังหวัดทราบว่าแล้วจะทำ�จดหมายแจ้งให้สญ ั ญาณกันต่อไป 31
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ว่าจะให้เดินเรือ่ งเมื่อไร มีการแจ้งเลื่อนพิธเี ปิดเมื่อน้องนํา้ รุกหนักในเดือนตุลาคม ซึง่ การเลือ่ นพิธเี ปิด ไม่เกีย่ วกับการยิง Spot โฆษณา ซึ่งได้ซื้อเวลาไว้แล้ว ดังนั้นพวกเราหลายท่านอาจงงว่าดูปลาวาฬสีนํ้าเงินอยู่และพบว่ามี Spot แดร๊กคูล่ามากับเขาด้วย หลายท่านไม่ ทราบว่านี้เป็น Spot ของเราเอง นึกว่าคอลเกตออกโฆษณาใหม่ (แสดงว่า Spot นี้ดูฉีกแนวทันสมัย เพราะปกติ Spot ของเรามักเป็น แบบ classic มีหมอฟันออกมาให้ความรู้ แบบนี้เราไม่เคยทำ�มาก่อน) ค่าที่ Spot ออกและประชาชนรับสาร เกิดมีแดร๊กคูล่าตัวน้อยไปโผล่แพลมๆ ที่โรงพยาบาล และหากแม่ลูกแดร๊กคูล่าพากันไป เขาก็ คงงงว่า ที่โรงพยาบาลไหงหมอไม่ทำ�ท่าหืออือเลย มาถึงก็ตรวจฟันอุดฟัน ไม่ได้สอนแปรงฟันดังทีวีแจ้งและไม่มีแปรงแถมสักหน่อย เรียกว่าเล่นหนังกันคนละเรื่อง เรื่องของเรื่องก็เนื่องจากเป็นการดำ�เนินการในปีแรก และสื่อสิ่งสนับสนุน สำ�นักทันตฯ จัดทำ�ไม่ทันจึงแจกรายละเอียดให้จังหวัด ไปทำ�ต่อกันในรูปแบบ DVD จังหวัดสามารถเอา Spot โทรทัศน์ไปออกโทรทัศน์ท้องถิ่น เอา Spot วิทยุไปออกวิทยุท้องถิ่น และมี เนื้อหาเผื่อเสียงตามสาย มีโลโก้ที่พื้นที่สามารถเอาไปพิมพ์ออกเพื่อตกแต่งหน้าคลินิกให้สอดรับกับ Air war แต่การกระจายข้อมูล ส่วนพื้นที่เราทำ�กันไม่ทัน Spot โทรทัศน์ที่เมื่อเขาจะออกสื่อแล้วเขาก็ยิงออกมาต่อเนื่อง ดังนัน้ ตัวแทนระดับอำ�เภอ ทีเ่ ข้าร่วมประชุมพากันทำ�ท่าพัดลม(ส่ายหน้าไปมา) เมือ่ ถูกถามถึงสือ่ ทีไ่ ด้รบั และกิจกรรมทีท่ �ำ (ground war ยังไม่ได้เริม่ รับลูกแดร๊กคูลา่ แต่ air war พากันมาแล้ว) ส่วนตัวแทนระดับจังหวัดก็เล่าให้ฟงั ว่า เมือ่ ทราบว่าปีนจี้ ะเน้นกลุม่ เด็กก่อน วัยเรียนช่วงกรกฎาคมนั้น หลายจังหวัดได้ตั้ง Theme รณรงค์และจัดสรรงบประมาณไปแล้ว หลายที่เอาเรื่องนี้ไปรวมกับกิจกรรมที่มี อยูเ่ ดิม ราชบุรที ำ�โลโก้ตดิ รถของ สสอ. ทำ�พิธปี ล่อยขบวนรถ นครปฐมนำ�กิจกรรมไปรวมกับการรณรงค์สง่ เสริมทันตสุขภาพทีท่ ำ�กันอยู่ เดิม (รณรงค์วนั ที่ 19 ตุลา ก่อนนาํ้ มาไม่นาน) จังหวัดทีม่ ที นุ หรือโชคดีเพราะตัง้ ท่าจะรณรงค์ในเรือ่ งนีพ้ อดีกค็ อ่ ยยังชัว่ เช่น พิษณุโลกมี โครงการ Healthy mom healthy baby จังหวัดที่ไม่ได้ตั้งธงรณรงค์เรื่องนี้ไว้แต่ต้นปีก็ขลุกขลักเล็กน้อยเพราะงบเกลี่ยไปแล้ว สระแก้ว หมอแอนเธอบอกว่าของเธอจนตานี้ จะเอาแปรงที่ไหนแจกให้ลูกแดร๊กคูล่าที่มาขอรับบริการ ต้องบอกว่า “หนูมาช้า ของหมดแล้ว” เราได้กำ�ลังใจจาก อ. สุปรีดาที่ท่านมาเล่าสถิติการดื่มสุราของคนไทยในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาว่า จะพบการดื่มลดลงอย่าง เด่น ชัดทุกช่วงไตรมาสที่สาม เนื่องจากผลของ Spot งดเหล้าเข้าพรรษา และ Spot ให้เหล้า=แช่ง ที่ทำ�ให้กระเช้าปีใหม่ไม่มีเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นตัวอย่างของการสร้างค่านิยมใหม่ด้วยการใช้ Spot โฆษณาที่โดนใจ อ.เล่าว่ากว่าจะได้ถึงตอนนี้ก็มี Spot 2-3 spot ที่เราจำ�กันไม่ได้แล้วเพราะมันยังไม่โดน เรารับฟังข้อมูลจากคุณหมอกิตติที่ท่านเป็นผู้ดูแลกองทุนทันตกรรมว่า ปีนี้ สปสช.เปลี่ยนกรรมการบริหารกองทุน และมีความ เป็นไปได้อาจมีการว่าจะรวบกองทุนเล็กน้อยทั้งหลายเพื่อใช้งบเป็นงบจ่ายรายหัวลงไปที่ CUP เพื่อความสะดวกในการบริหาร จัดการ การยุบรวมกองทุนนี้ รวมถึงกองทุนทันตกรรมด้วย เรามีเวลาพิสูจน์ความสามารถในการบริหารงบประมาณของเราอีกไม่ นาน (ซึ่งหากเราทำ�ได้เห็นผลชัดเจน กองทุนของเราก็อาจยืนยงคงอยู่ได้) เมื่อทราบที่มาที่ไปปัญหาอุปสรรคแล้ว เราก็พากันฟันธงว่า “ต้องทำ�ต่อ” งานเด็กก่อนวัยเรียนของเราก็มาถูกทางแล้ว ยุทธวิธีเก๋ขึ้นตั้งมาก หากการทำ�งานช่วงต้นมันจะขลุกขลักมั่ง สารยังไม่โดนมั่ง ก็ เป็นปกติของการทำ�งานด้วยวิธีใหม่ๆ ยังไงๆ อีกไม่นานนี้ท่านๆ ก็ติดตามชมแดร๊กคูล่าตอนสอง (หรืออาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ทีม ทำ�งานกำ�ลังคิดกันอย่างขะมักขะเม่น) แล้วอย่าลืมช่วยกันทำ� Ground war
32
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
Air War VS
Ground War ตอนที่ 2
ทพญ.ธิรัมภา ลุพรหมมา ทันตแพทย์โรงพยาบาลสระใคร จ.หนองคาย
สั ง คม (Shift norms) .....คิ ด ถึ ง ครู ใ น ดวงใจขึ้นมาทันใด
บ
รรยากาศสงบยามเย็นริมฝัง่ แม่นา้ํ นครชัยศรี นกหลายสี หลายพันธุ์บินว่อนไปมา ร้องเรียกกันกลับรังนอน แต่เรายังนอน ไม่ได้ หิวนิดหน่อย โทรศัพท์ดังพอดี....รับสายด้วยความดีใจ หมอวัฒน์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย เจ้าของนามปากกา “หมอฟันไทด่าน” แห่งวารสารทันตภูธร ฉบับเมื่อครั้งเป็นกระดาษ ขับรถมาเอง ชวนไปกินข้าวร้านอาหาร ของชาวนครปฐม พร้อมกับหมอบิ๊ก โรงพยาบาลนาหมื่น จังหวัด น่าน ชายหนุ่มผู้ทันสมัยเรื่อง IT ทั้งการทำ�งานและอำ�นวยความ สะดวกชีวิตคน Generation Z ด้วยคำ�เชิญจากพี่นา ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ สำ�นักทันต สาธารณสุข กรมอนามัย และการสนับสนุนของกองทุนทันตกรรม สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พวกเราเหล่า ทันตแพทย์ ทันตาภิบาลหัวเมืองไกลและปริมณฑล จึงมาร่วมประชุม เชิงปฏิบัติการกับพี่ ๆ ทันตแพทย์ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร หลังผู้ชนะเล่นเกมส์หาเพื่อนได้มากที่สุด พี่ปิ ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม รับมอบรางวัลจากพีน่ าแล้ว ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถามคำ�ถาม สำ�คัญ ย้อนถึงคำ�กล่าวของ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ จากการ ประชุมครั้งที่ผ่านมา พวกเราจะทำ�งานรายบุคล เปลี่ยนแปลง กลุ่มเสี่ยง หรือจะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานของ 33
จริง ๆ ก็คิดถึงตั้งแต่เห็นภาพกราฟที่แสดงการเคลื่อนค่า กลางของทั้งสังคมแล้วล่ะ สมัยที่อาจารย์สุปรีดาให้การบ้านอ่าน หนังสือของ Dr.Rose จากนั้ น แบ่ ง ๓ กลุ่ ม แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ป ระสบการณ์ การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากเด็ ก ปฐมวั ย ของแต่ ล ะพื้ น ที่ แนวทางการขั บ เคลื่ อ นให้ ส อดคล้ อ งประสานกั น ระหว่างส่วน กลางและพืน้ ที่ แล้วจึงถึงเวลานัง่ รถชมสวนสวย สนามหญ้าเขียวขจี ดอกไม้งามสดชื่น ร่มรื่น และรับประทานอาหารกลางวันริมนํ้า ภาคบ่ า ยแต่ ล ะกลุ่ ม นำ � เสนอและอภิ ป รายเพิ่ ม เติ ม กว้ า ง ขวาง ใน Theme “ลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรก” หลังอาหารเย็น ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและลดปัจจัยเสี่ยง ผู้ สนับสนุนงบประมาณการสื่อสารสาธารณะจาก สสส. มาร่วมรับ ฟั ง การบรรยายของคุ ณ ไอ๋ คุ ณ สุ พั ฒ นุ ช สอนดำ � ริ ห์ จาก สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เช่นกัน เปิ ด โลกทั ศ น์ ข องเราจากมุ ม มองนั ก สื่ อ สารมวลชน โอ โฮ...กว่าจะมาเป็น Spot โทรทัศน์ ๑๕ วินาที ๓๐ วินาที ๔๕ วินาที ๙๐ วินาที กระบวนการคิดและขั้นตอนผลิตสื่อสาธารณะ ช่างมากมาย ซับซ้อน เพื่อให้หยั่งเข้าไปถึงกลางใจผู้รับสาร เราที่มาจากบ้านนอก จึงต้องทำ�ความเข้าใจและสื่อสารกัน ให้เข้าใจไปทางเดียวกับพี่ ๆ ที่อยู่ใจกลางเมืองหลวง ก่อนที่จะ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
บอกนั ก สร้ า งสื่ อ ว่ า ต้ อ งการขั บ เคลื่ อ นการเปลี่ ย นแปลงของ สังคมเรื่องอะไร ประเด็นใดสำ�คัญ ที่มีโอกาสสำ�เร็จ จังหวะการ วางแผนให้เหมาะสมทันท่วงทีกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้ง ฉลาดในการใช้เงิน ออกจากห้องประชุมเกือบ ๔ ทุ่ม ยังมีกลุ่มอึดอยู่คุยกันต่อที่ Lobby ถึง ๕ ทุ่ม....๕๕๕๕ ไม่รวมข้าพเจ้าแน่นอน....ประเดี๋ยว พรุ่งนี้แววตาจะไม่สดใส เช้าวันใหม่เริ่มวันดี ด้วยการอวยพรวันคล้ายวันเกิดพี่ที่น่ารักทั้ง สอง พี่นาและพี่ก้อย สสจ.ราชบุรี แห่งชมรมคนรักฟัน จากนั้น อาจารย์หน่อง ดร.วีรศักดิ์ พุทราศรี รองผู้อำ�นวยการ สำ�นักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ บรรยายแบบถาม โต้ตอบกันได้ทุกเมื่อ หากต้องการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก ปฐมวั ย ผ่ า นสมั ช ชาสุ ข ภาพแห่ ง ชาติ จะเริ่ ม อย่ า งไร กำ � หนด ประเด็น ขอบเขต ขั้นตอน ระยะเวลา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะมี บทบาทอย่างไรบ้าง เป็นทางเลือกไว้ให้พวกเราคิดกันต่อว่าจะใช้ ช่องทางนี้ดีหรือไม่ ใกล้หมดเวลา ผู้อำ�นวยการสำ�นักทันตสาธารณสุข ทพ.สุธา เ จี ย ร ม ณี โ ช ติ ชั ย ด ร . วิ รั ต น์ เ อื้ อ ง พู ล ส วั ส ดิ์ ส ป ส ช . เขต ๑๒ สงขลา พี่ปิ พี่ก้อย พี่มาลี (ลำ�ลูกกา) พี่จินดา (จอมพระ) หมอบิ๊ก พี่ เจน (ศู น ย์ ทั น ตสาธารณสุ ข ระหว่ า งประเทศ เชี ย งใหม่ ) พี่แพร (บางใหญ่) พี่รัชนี (สสจ.พิษณุโลก) พี่จิ๋ม (สสจ.แพร่) หมอวั ฒ น์ หมอจิ ง (แก้ ง คร้ อ ) อ้ อ (สระใคร) โอ (นํ้ า พอง) ดา (ขอนแก่น) ซิม (สูงเนิน) รัตน์ (ธาตุพนม) พี่แจ๋ว (นาโยง) แอน (สระแก้ว) เป็นต้น ช่วย ๆ กันเพิ่มเติมจากที่ทีมนักลิขิตและพี่นาสรุปไว้ ได้ ความว่า ๑. นัด Kick off ใช้ Theme เดิมต่อเนือ่ ง “ลูกรักฟันดีเริม่ ทีซ่ แ่ี รก” - เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ และจังหวัดดำ�เนินการต่อเนือ่ ง - ใช้การสื่อสารสาธารณะ - ปรับแผนจังหวัด ปรับการใช้งบประมาณ - มีช่วงโหมโรงก่อน Kick off เช่น จัด Event รูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง ให้สัมภาษณ์โดยผู้ให้ข่าวลงลึกรายละเอียดหลัก การ เหตุผลที่ทำ� สิ่งที่ต้องการสื่อสารจริง ๆ 34
๒. พัฒนาสื่อ - พัฒนาสื่อเก่า ธีมเดียวกัน ใช้ Logo เดียวกันทุกสื่อ มีคลัง สื่ อไว้แ จกจ่ าย เช่ น คลิป แปรงฟัน หนังสือ มอบให้ผู้ป กครอง Spot สั้น ๆ และให้ดูเป็นต้นแบบสำ�หรับการผลิตเองของพื้นที่ที่ สนใจ - พัฒนาสื่อใหม่ รับสมัครทีมทำ�งานที่จะมาร่วมคิด มีหลักฐาน เชิงประจักษ์ ข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ (Fact finding) ก่อนที่จะมี กระบวนการตัดสินใจ ส่งแนวคิดให้นักสื่อสารมวลชนทำ�งานต่อ จัดทำ�สื่อต้นแบบ กระจาย Mass media ร่วมกับใช้ช่องทางสื่อ ในแต่ละพื้นที่เผยแพร่ เช่น DJ ที่ดังที่สุดในจังหวัด วิทยุชุมชน เป็นต้น ๓. พัฒนาเครือข่ายการทำ�งาน ๓.๑ เป้าหมายร่วม เด็กไทยฟันดี สุขภาพดี ๓.๒ การสร้างเครือข่าย - ทาง Facebook โดยพี่เจนและหมอบิ๊ก หมอวัฒน์ พี่ แพร อ้อเป็นหน้าม้าทัพเสริม - สำ�นักทันตฯ รับหน้าที่จัดประชุมปีละ ๒ ครั้ง การเตรี ยมแต่ละจังหวัดให้พร้อมขับเคลื่อน .อาวุธทางราชการ หากคม ใช้เป็นก็จะดี (การประสานแนวดิ่ง) ๓.๓ พัฒนาการทำ�งานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - แลกเปลี่ยนในสมาชิกเครือข่าย จากใจถึงใจ ใช้ความ เป็นเพื่อน (การประสานแนวราบ) ชวนคนที่สนใจมาพบปะกัน เข้าได้ออกได้ “ทำ�ด้วยใจพลังเกิด” (พี่มาลีพูดได้คมมาก) ระดับ จังหวัด พี่ก้อยรับสื่อถึงสมาชิกชมรมทันตแพทย์ สสจ. กลุ่มทันต บุคลากรอื่น ชมรมทันตภูธร - พัฒนาคนในเครือข่าย เช่น การดูงาน ข้อมูลวิชาการ - สมาชิกเครือข่ายช่วยกันเป็นสื่อ เป็นส่วนหนึ่งของการ สร้างกระแส ต้องมีการ Design Information plan .ในแต่ละ ระดับ ถึง CUP (อำ�เภอ) จนถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย - ทำ�งานวิชาการร่วมกัน พัฒนาและประเมินผล แล้วก็ปิดการประชุมจบด้วยดี อ่ะ.... ต่อจากปีที่แล้วถึง Rose garden trip นี้ ถือว่าลงเรือ ลำ�เดียวกันแล้ว ไม่ว่าจะทางเรือลอยนํ้า เรือบิน ทางรถถัง รถเก๋ง มอเตอร์ไซด์ จักรยาน หรือแม้แต่เดินเท้า เหล่าทหารอากาศทำ�ศึก Air war พร้อมด้วยทหารไพร่รบทางพืน้ ดิน มีจดุ หมายเดียวกัน ด้วย แผนยุทธวิธีและการสนับสนุนที่ดี กลุ่ ม ผู้ ก่ อ การดี . ..พร้ อ มแล้ ว เพื่ อ ลู ก หลานของเรา..... อนาคตสังคมไทย
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
เรื่องเล่าจากภูอังลัง
ไกลบ้าน (แต่) ใกล้ใจ หมอฟันไทด่าน dansaiqmr@gmail.com
เ
ข้าใจว่าพื้นที่การทำ�งานทันตฯ ของเรานั้นส่วนใหญ่ มักครอบคลุมพื้นที่ทั้งอำ�เภอ มากไปกว่าเขตรับผิดชอบของ ฝ่ายส่งเสริมฯ หรือกลุม่ งานเวชปฏิบตั คิ รอบครัว ทีม่ กั รับผิดชอบ เฉพาะตำ�บลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือเกินเลยไปกว่านั้นก็ ไม่มาก ที่เหลือก็ปล่อยเป็นความรับผิดชอบ (หลักๆ ในส่วน primary care) ให้แก่ สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน หรือ รพ.สต แล้วแต่จะเรียก ซึ่งคำ�เรียกขานยุคหลังๆ ของหน่วย งานนี้ มั ก สั ม พั น ธ์ อ ย่ า งยิ่ ง กั บ พรรคการเมื อ งหลั ก ที่ เ ถลิ ง อำ�นาจอยู่ในขณะนั้น คุ้นๆ ว่าแนวคิด “ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” น่าจะถูกพูดกันมาก พร้อมๆ กับการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) ในช่วง แรกๆ ของโครงการ 30 บาท ซึ่งตอนนั้นหลักคิดคือการรวม กลุ่ ม สอ.เดิ ม เข้ า เป็ น กลุ่ ม ในการดู แ ลชาวบ้ า นประมาณ 10,000 คนบวกลบ (ต่างจากแนวคิดยุคหลังที่ปรับให้ทุกสอ. เป็น PCU หรือ แม้แต่ รพ.สต.ในรัฐบาลประชาธิปัตย์) แบบ ไหนดีกว่ากัน ในแง่วิชาการน่าจะมีการศึกษาวิจัยกันแล้ว รวมทั้งแต่ละพื้นที่ก็น่าจะพอบอกได้ ส่วนการขยายให้ดูมี 35
การพัฒนามากๆ ในแง่ปริมาณนั้น คงสวมหมวกสีดำ�คิดใน แง่ร้ายในเชิงการเมืองได้ว่า ทำ�ให้ดูหวือหวาในตอนแถลงผล งานได้เป็นอย่างดี (เหมือนสร้างโรงพยาบาลใหม่นับหมื่น แห่งได้ภายในพริบตา ภายใต้กิจกรรมหลักคือการทำ�ป้าย และเปลี่ยนชื่อ...) ส่วนจะนำ�ไปสู่การมีสุขภาพดีของชาวบ้าน จริงหรือไม่ อันนั้นค่อยว่ากันอีกที 2-3 เดือนก่อน ผมได้เดินตามอาจารย์หมอท่านหนึ่ง ท่านเป็นผอ.โรงพยาบาลจังหวัด (ในขณะนั้น ปัจจุบันท่าน เพิ่งเกษียณ) และเป็น surveyor อันดับต้นๆ ของ สรพ. ท่าน มาเยี่ยมสำ�รวจเพื่อ reaccredit รอบที่ 2 ของระบบคุณภาพ HA ของโรงพยาบาล เพราะภูมิรู้อันกว้างขวาง กับข้อมูล ตลอด 30 กว่าปีที่ทำ�งาน เห็นอะไรมามาก ทั้งในและต่าง ประเทศ ท่านเล่าเรื่องการจัดระบบบริการในหลายประเทศ ท่านว่ามีความเสี่ยงสูงมาก หากจัดวิชาชีพใดๆ ลงไปเพียง คนเดียว ในสถานบริการหนึ่งๆ เพราะจะมีความเสี่ยงสูงใน หลายๆ เรื่อง เช่น การหย่อนยานในเชิงวิชาการ เพราะขาด การตรวจสอบ ตรวจทานกั น และกั น ขาดคู่ คิ ด คู่ คุ ย ที่ ปรึกษา เวลามีปัญหาต่างๆ เพราะทำ�อะไรอยู่คนเดียว ย่อม สามารถดุ่ยๆ ตามใจฉัน นั่นคือ “มั่ว” ไปได้ รวมๆ เหล่าที่ ท่านเรียกว่า “peer review” เลยนึกขึ้นได้ตอนไปดูงานที่ เดนมาร์ก การจัดระบบของแพทย์ในศูนย์บริการลักษณะ คล้ายๆ PCU ของเรา จะมีแพทย์อยู่ 4-5 คน พยาบาลอีก ส่วนหนึ่ง รวมทั้งอาจมีนักเทคนิคการแพทย์อยู่ด้วย เข้าใจว่า คงคิดบนฐานคิดการมี peer review นี้ ส่วนทันตแพทย์นั้น ส่ ว นใหญ่ อ ยู่ ใ นภาคเอกชนเปิ ด เป็ น คลิ นิ ก ส่ ว นตั ว เพราะ แม้แต่ในโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางๆ ที่ได้ไปดู ก็ไม่มี งานทันตกรรมในโรงพยาบาล
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
2-3 ปีก่อน ก่อนมีนโยบาย รพ.สต. ผู้บริหารระดับสูง ของสปสช.ท่านหนึ่งเคยพูดในทำ�นองที่ว่า วิชาชีพเรานั้น “กั๊ก” และ “กลัว” มากเกินไปในการกระจายทันตาภิบาลลง สอ. ท่ า นไม่ ไ ด้ ใ ห้ ร ายละเอี ย ดมาก แต่ ผ มเดาๆ เหตุ ข อง อาการเหล่านี้เอาเองว่าคงเกิด “กั๊ก” จากการเกรงว่าจะเอา คนในวิชาชีพเรา ที่มีอยู่อย่างน้อยนิดอยู่แล้ว ไปทำ�อะไรๆ ที่ เกิ น ขอบเขตและเรามองว่ า นอกลู่ นอกทาง ส่ ว นอาการ “กลัว” คงเกิดจากการกลัวเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่างๆ อัน เกิดจากการรักษา ประเภท complication อันเคยเกิดอยู่บ้าง ประปราย (แต่ อ าจไม่ เ ป็ น ข่ า ว) ประเด็ น นี้ ท่ า นพู ด ถึ ง อยู่ หน่อยนึงว่า โอกาสเกิดมันน้อยมาก จนไม่อาจนับได้ว่ามีนัย สำ�คัญ แต่แล้วเมื่อการมาถึงของนโยบายรพ.สต. การยัก ย้ายถ่ายเททันตาภิบาลไปสู่สอ.ขนานใหญ่ก็เกิดขึ้น ทั้งคน เก่าที่อาจไม่พึงใจในการทำ�งานในโรงพยาบาลอยากเป็นไท แก่ตัวเอง อยากออกไปอยู่ใกล้บ้าน ไม่อยากไปแต่ถูกบังคับ จากนโยบาย หรือทั้งคนใหม่ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ จบมาให้ไปอยู่ ที่ ไหนก็ ไ ปฯ การกระจายทั น ตาภิ บาลภายใต้ ค วามหลาก หลายของการเตรียมความพร้อมที่เพียงพอ ความคุ้มค่าคุ้ม ทุน การจัดระบบเพื่อรองรับความปลอดภัยทั้งแก่ผู้รับและผู้ ให้บริการ ถูกตั้งคำ�ถามและแต่ละพื้นที่ก็ต้องช่วยกันหาคำ� ตอบกันเอาเอง (ผมไม่แน่ใจว่าเราได้ทบทวนบทเรียนจาก การส่งทันตาไปอยู่สอ. ล๊อตใหญ่ๆ สมัยทศวรรษแห่งการ พัฒนาสถานีอนามัยอย่างเพียงพอหรือไม่ เพราะเคยเห็น งานวิจัยในหัวข้อทำ�นองนี้อยู่) ในยุคกระแส PCU มาแรง ที่โรงพยาบาลเคยคิดๆ กัน 36
และตั ด สิ น ใจส่ ง น้ อ งทั น ตา รุ่ น ใหม่ ไฟแรง ไปประจำ � ที่ PCU แห่งหนึ่ง ผ่านไป 5-6 เดือน เราลองมานั่งประเมินกัน กั บ คุ ณ ค่ า ของทั น ตาภิ บ าล 1 คน ต่ อ ภารกิ จ การดู แ ล สุขภาพช่องปากของคนทั้งอำ�เภอ เทียบกับ productivity ที่ เกิดที่นั่น สรุปกันแบบฟันธงว่า ไม่ work และไม่คุ้ม ส่วน สาเหตุพอวิเคราะห์ได้จากวัฒนธรรมการทำ�งานแตกต่าง กันมากของ 2 องค์กร รวมทั้งเราขาดการลงไปเยี่ยมติดตาม ที่มากเพียงพอ ซึ่งเราก็มีข้ออ้างของเราว่า...ไม่มีเวลา ฉะนั้น กับพื้นที่ของเรา (ที่อื่นเราไม่รู้) เราจะไม่ส่งใครไปประจำ�ที่ สอ.อีก จนบริบทอะไรๆ จะเปลี่ยนไปมากกว่านี้ ซึ่งมาถึง ตอนนี้ คิ ด ว่ า เหตุ ปั จ จั ย รอบข้ า งยั ง ไม่ ต่ า งจากเดิ ม มาก นั ก ...แต่ ก็ นั่ น แหล่ ะ เรากระจุ ก ตั ว ที่ โ รงพยาบาล ออกไป ทำ � งานในพื้ น ที่ แ บบ mobile team บนความเชื่ อ ว่ า มี ประสิทธิภาพสูง มี productivity มาก แต่ทว่า “ไกลบ้าน” เขา เราจะไป “ใกล้ใจ” ชาวบ้านได้อย่างไร เมือ่ ไกลใจ ไม่เข้า ถึง โอกาสการนำ�ไปสู่การมีสุขภาพช่ อ งปากที่ ดี ข องคนทั้ ง อำ�เภอที่เรามุ่งหวัง...ก็ออกจะเป็นเรื่องที่ยาก ผมรู้สึกมาตลอดว่า ใกล้บ้านกับใกล้ใจมันผูกติดกันเป็น แฝดสยามที่ยังไม่ได้ผ่าตัดแยกร่าง ประเภทไปไหนไปกัน แยกออกจากกันไม่ได้ ใกล้บ้านเป็นเหตุ และใกล้ใจเป็นผล จนเมื่ อ สั ก เดื อ นที่ ผ่ า นมา เราเอาแผนยุ ท ธศาสตร์ โรงพยาบาลในส่วนงานชุมชนไปปรึกษาอาจารย์หมอบุษกร อาจารย์ เ ป็ น อาจารย์ แ พทย์ ร ามาฯ ภาคชุ ม ชน เคยมี ประสบการณ์ ย าวนานตั้ ง แต่ เ ป็ น แพทย์ ป ระจำ � จนถึ ง ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลที่ชุมพวง โคราช ใครเคยอ่านงานอ. หมอโกมาตร อาจเคยได้ยินชื่อ เพราะอาจารย์เป็นแพทย์รุ่น พี่ร่วมโรงพยาบาลกันมาก่อน อาจารย์บุษกรเป็นพหูสูตใน เรื่องงานสาธารณสุขโดยแท้ รู้ลึก รู้จริง รู้กว้าง คุยได้ทุกเรื่อง และเห็นว่าทุกเรื่อง(ในโลกนี้) มันเชื่อมโยงเกี่ยวพันกันหมด อาจารย์แนะนำ�ว่าการทำ�งานในภาพอำ�เภอนั้น อาจต้อง ออกไปจากกรอบเดิ ม ๆ เช่ น โครงสร้ า งความสั ม พั น ธ์ โ รง พยาบาล ส่าธารณสุขอำ�เภอ สอ. ที่ประสานกันผ่าน คปสอ. เพราะบางทีภายใต้โครงสร้างเดิมๆ มัน “ตัน” และไปต่อไม่ ค่อยได้ หรือได้ ก็เหนื่อยเกินไป ใช้ทรัพยากรมากเกินไป ถือว่าได้ไม่คุ้มเสีย การทำ�งานกับพื้นที่ปัจจุบันเลยมุ่งไปที่
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
การแสวงหาความร่วมมือกับภาคส่วนใหม่ๆ แบบ by pass เช่น ท้องถิ่น(อปท.) ภาคเอกชน ฯ กับท้องถิ่นอาจารย์ให้ข้อ สังเกตว่า 3 กลุ่มที่เขามัก “ซื้อ” เพราะเขาทำ�แล้วได้ “เสียง” คือ เด็ก คนแก่และผู้พิการ ยกตัวอย่างอำ�เภอหนึ่งแถวๆ ลพบุ รี ที่ ท้ อ งถิ่ น จ้ า ง super care team มาดู แ ลผู้ พิ ก าร ครอบคลุมทั้งอำ�เภอ ดูแลใกล้ชิดได้อย่างดี มีคุณภาพ ซึ่ง โจทย์อย่างนี้ ภายใต้โครงสร้างอำ�นาจแบบเดิมๆ ตอบสนอง ให้ไม่ได้ ส่วนภาคเอกชน อาจารย์ยกตัวอย่างการเน้นการ พึ่งตนเองของรพ.อุบลรัตน์ที่ขอนแก่น ซึ่งวิเคราะห์ว่าปัจจัย สำ�คัญอย่างหนึ่ง คือการเข้าถึงยาที่สะดวกและมีคุณภาพ จึง ได้ ป ระสานงานกั บ ร้ า นชำ � ทั้ ง อำ � เภอในการกระจายยา ซึ่งปกติเขาก็ขายกันอยู่แล้วตามมีตามเกิด การใช้เครือข่ายนี้ ชาวบ้านมั่นใจว่าได้ยาดีเพราะประกาศชัดว่าเป็นยาโรงพยาบาล ร้านชำ�ได้กำ�ไรที่ดึงดูดใจ งานคุ้มครองก็ได้โอกาสในการลง ไปดูความปลอดภัยในร้านชำ�ทั้งหมด ทำ�ให้ยาหมดอายุ ยา ชุดค่อยๆ หายไป อาจารย์วิเคราะห์ว่าถ้าผ่านโครงสร้างเดิม คือ ศสมช.ที่ให้อสม.มาดูแล มันก็ไม่ work เท่า เพราะเขาก็มี ภารกิ จ ในชี วิ ต ที่ ต้ อ งทำ � มาหากิ น -ดู แ ลครอบครั ว ถื อ เป็ น โครงสร้างจัดตั้งของราชการ ส่วนร้านชำ�ถือเป็นโครงสร้างที่มี อยู่แล้วตามธรรมชาติ โครงสร้างแบบนี้จะพัฒนาได้อย่าง มั่นคงยั่งยืนกว่า อาจารย์ชวนคิดเรื่องการเปลี่ยนไปของชนบทที่เราต้อง จับให้ได้ไล่ให้ทัน การสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือที่เข้าถึงตัว ชาวบ้านแบบตรงๆ และสัญญาณก็ครอบคลุมกว้างขวางขึ้น จนแทบจะทั้งหมดของพื้นที่ ตรงนี้สามารถสร้างช่องทางใน การเข้าถึงตัวชาวบ้านได้...โดยระยะทาง แม้เราไม่ได้อยู่ ใกล้ๆ กัน ตรงนี้ในรูปธรรม อาจารย์เสนอเรื่อง hotline การมี ช่องทางสื่อสารกับโรงพยาบาลที่เข้าถึงง่าย ถามได้ทุกเรื่อง ทั้ ง ข้ อ มู ล สุ ข ภาพ ข้ อ มู ล บริ ก าร ถามอาการป่ ว ยญาติ ที่ โรงพยาบาล ช่วยประสานต่างๆ ที่คับข้องติดขัดฯ ถึงตอนนี้ ผมก็เกิดพุทธิปัญญาน้อยๆ ขึ้นแล้วว่า ถึงไกลบ้าน แต่ก็ใกล้ ใจได้ กลั บ มาเอาแนวคิ ด นี้ ท าบกั บ สิ่ ง ที่ พ ยายามทำ � อยู่ ใ น ฝ่ า ยฯ ด้ ว ยพื้ น ที่ อำ � เภอเรากว้ า งใหญ่ (ใหญ่ ก ว่ า กรุ ง เทพ มหานคร) การจะทำ�งานให้สำ�เร็จที่ต้องรู้จักตัวละครหลักๆ 37
(key persons) ในพื้นที่ของเราอย่างลึกซึ้ง เพียงพอย่อมเป็น ไปได้ยาก เมื่อ 6 ปีที่แล้วเราเลยทำ� zoning แบ่งพื้นที่อำ�เภอ เป็น 3 โซน จัดผู้รับผิดชอบประจำ�โซน คือ ทันตาภิบาลหนึ่ง และทันตแพทย์อีกหนึ่ง รับผิดชอบการจัดบริการทันตกรรม หรือกิจกรรมส่งเสริมป้องกันทั้งหมดในพื้นที่อย่างเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด เช่น การออกหน่วยโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็ก การออกบริการทันตกรรมที่สอ. การจัดกิจกรรมกับผู้ปกครอง และเด็กใน WBC ที่สอ. ฯ ความยาวนานของการทำ�งานใน พื้นที่ที่ถูกซอยย่อยลงมา ไม่กว้างใหญ่เกินไป ทำ�ให้เกิดความ สนิทสนมคุ้นเคย เขยิบเข้าไป...ใกล้ใจ กับคนสำ�คัญในพื้นที่ ได้ เช่น ครูอนามัย ผอ.โรงเรียน ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่สอ.ฯ ไม่น่าแปลกใจหากครูปวดฟันแล้วจะโทรสายตรงเข้ามือถือ หมออย่ า งสนิ ท คุ้ น เคย หรื อ แม้ แ ต่ นั ก เรี ย นบางคนที่ มี ลักษณะเฉพาะ (เช่น อ้วนพิเศษ เด็กแฝดฯ) เราก็มักจำ�ได้ ใน โรงเรียนขยายโอกาสบางโรง นักเรียนชั้นม.ต้นที่เคยคุ้นเคย กั น สมั ย ประถมฯ ตอนมาออกหน่ ว ย ก็ ม าช่ ว ยเหลื อ ดู แ ล อำ�นวยความสะดวกตอนเรากลับไปออกหน่วยที่โรงเรียนใน ปี ต่ อ ๆ มา นั่ น แสดงว่ า เราน่ า จะมาถู ก ทาง เดิ น ทางไปสู่ ทิศทางแห่งการใกล้ใจมากขึ้นๆ เรื่อยๆ การขยับต่อน่าจะลง ลึกไปสู่ตัวละครสำ�คัญอื่นๆ เช่น อสม. ผู้นำ�ชุมชน/ท้องถิ่น หรือแม้แต่ชาวบ้านในชุมชน ถึงบรรทัดนี้เห็นต้องกลับไป แบ่งหมู่บ้านกันดูแล ใช้โซนเดิมเป็นตัวตั้ง แล้วซอยย่อยลง ไปอีกว่าให้ใครดูแลหมู่บ้านอะไร คนนึงดูสัก 10 กว่าหมู่บ้าน แรกๆ อาจไม่ต้องลึกซึ่งนัก แต่คนหลักๆ ในชุมชนอย่างน้อย ที่สุด เราควรมีเบอร์มือถือเขาในมือ และความที่เราเป็นฝ่าย เดียวในโรงพยาบาลที่ทำ�งานครอบคลุมพื้นที่ทั้งอำ�เภอ ฝ่าย อื่นๆ ก็อาจใช้บริการประสานงานเครือข่ายต่างๆ ในชุมชน ผ่านฝ่ายเราได้อีกช่องทางหนึ่ง ที่ ช วนคุ ย มาทั้ ง หมดต้ อ งเชื่ อ ร่ ว มกั น ก่ อ นนะครั บ ว่ า การพัฒนาเปลี่ยนแปลงใดๆ ในสังคมไทยนั้นย่อมอาศัยฐาน ความสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่ มิฉะนั้นแล้วก็ต้องมานั่งเถียงกัน อี ก ว่ า พอ “ใกล้ ใ จ” แล้ ว มั น จะมี ป ระโยชน์ โ ภชน์ ผ ล กับเราอย่างไร และมันเกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปากอย่างไร (ว่ะ) ขอบคุณภาพประกอบจาก google
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ไกลเกินช่องปาก ลึกกว่าคอหอย
: Demand, Need และ Supply โดย นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
ก
ารจัดบริการด้านสุขภาพที่ผ่านมาของประเทศไทยนั้น มักจะจัดบริการ ด้านสุขภาพตามมาตรฐานที่กำ�หนดมาจากส่วนกลาง ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของการ ปกครองแบบไทยๆที่รวมศูนย์อำ�นาจและการสั่งการทั้งหมดไว้ที่กรงเทพมหานคร ในเชิงการบริหารจัดการ เมื่อองค์กรต่างๆจัดบริการแก่ประชาชนเป็นระยะ เวลาหนึ่ง ซึ่งนานพอสมควร ก็ควรที่จะมีการทบทวนการจัดบริการนั้นว่า ปัจจุบัน การจัดบริการนั้นสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนสอดคล้องกับความรู้ ทางสุขภาพที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วได้มากน้อยเพียง ซึ่งสามารถทำ�ได้ โดยที่ไม่ต้องรอให้ส่วนกลางมาสั่งการ บทความชิ้นนี้ แม้จะมีสาระไปในทางวิชาการมากหน่อย แต่ก็ไม่ใช่วิชาการที่ไกลตัว โดยเฉพาะชาวทันตะภูธร ผมขอนำ�เสนอ เครื่องมือ ( tool ) ง่ายๆที่นำ�มาใช้ในการวิเคราะห์ ความต้องการและการตอบสนองความต้องการของประชาชนทั้งในมุมมองของ ผู้รับบริการ วิชาชีพ นั้น ขณะนี้อยู่ในสถานการณ์แบบใด ซึ่งในทางวิชาการแล้ว เราสามารถใช้กรอบการมองแบบ demand-need-supply มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และปรับ ระบบบริการที่เป็นอยู่ให้ตอบสนองต่อทุกส่วนมากขึ้น ก่อนอื่นมาดูนิยามกันก่อนครับ Demand หมายถึง ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ หรือภาษาง่ายๆ ก็คือ want คือสิ่งที่คาดหวัง อยากได้ อยากให้มี ในมุม มองของประชาชน ในความรู้ สึ ก นึ ก คิ ด ด้ ว ยเหตุ ผ ลแบบประชาชน เช่ น ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้มีหมอลงมาดูแลคนไข้ที่สถานีอนามัยทุกวัน หรือต้องการให้คิวการทำ�ฟันปลอมไม่ยาวเกิน 1 สัปดาห์ เหมือนที่ไปคลินิก ไปปุ๊ปก็เตรียมช่องปาก พร้อมก็ทำ�ต่อได้เลยอย่างรวดเร็วทันใจ Need หมายถึง ความจำ�เป็นในการมีบริการนั้นๆ เป็นเหตุผลทางวิชา การในมุมมองของวิชาชีพ หากไม่มีบริการนั้น ซึ่งจำ�เป็นต่อสุขภาพ ก็จะทำ�ให้ เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ บางครั้งที่ความจำ�เป็นเช่นนี้ ไม่ได้เป็นความต้องการ ของประชาชน เช่น การเคลือบหลุมร่องฟัน ประชาชนอาจจะไม่อยากได้ เพราะไม่รู้ว่าดี แต่สำ�หรับวิชาชีพทันตกรรมแล้ว สำ�คัญอย่างยิ่ง Supply หมายถึง บริการที่ทางสถานบริการสามารถจัดให้มีได้ ซึ่งอาจ ตอบสนองต่อความต้องการ (demand) หรือ ความจำ�เป็น (need) หรือไม่ก็ได้ บางครั้งมีบริการโดยที่ไม่มีทั้งความต้องการของประชาชนและความจำ�เป็น ทางวิชาการก็มี เช่น การมีบริการฝังรากเทียมสำ�หรับผู้ยากไร้ เขาก็ไม่ได้ แผนภาพแสดง การวิ เ คราะห์ ค วามเหมาะสม ก าร (supply) เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ ต้องการ ความจำ�เป็นทางวิชาชีพและความเหมาะสมก็อาจขอเพียงฟันปลอม ของบริ ความต้องการประชาชน (demand) และความ ก็เพียงพอแล้ว และเรามีบริการ เป็นต้น จำ � เป็ น ทางวิ ช าชี พ (need) ซึ่ ง จะได้ พื้ น ที่ ที่ เมื่อเอาทั้ง 3 องค์ประกอบมาวิเคราะห์ร่วมกัน ก็จะได้แผนภาพที่สำ�คัญ ทับซ้อนเป็น 7 ส่วนดังแสดงในภาพ ที่สุดดังแสดง 38
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
หากวิเคราะห์รายพื้นที่จะพบว่า พื้นที่หมายเลข 1 หมายถึง ประชาขนมีความต้องการ แต่ไม่มีความจำ�เป็นทางวิชาการ และไม่มีบริการเช่นที่ประชาชนต้องการ ด้วย เช่น ประชาชนต้องการให้มีแพทย์ทันตแพทย์ประจำ�ที่สถานีอนามัย เช่นนี้เป็นเพียงความต้องการที่เกินจำ�เป็นในมุมมองนักวิชา การ และไม่สามารถ supply สนับสนุนให้เกิดตามที่ต้องการได้ พื้นที่หมายเลข 2 หมายถึง มีความจำ�เป็นทางวิชาการที่จะมีบริการนั้นๆ แต่ประชาชนไม่ตระหนักและปัจจุบันก็ยังไม่มีบริการ นั้นๆให้ไปใช้บริการ เช่น ในบางพื้นที่ที่ยังมีการใช้ tetracycline สูง ก็มีความจำ�เป็นในแง่วิชาการที่จะต้องให้ความรู้ทางวิชาการแก่ ประชาชน แต่ก็ไม่มีการจัดบริการนี้ เป็นต้น พื้นที่หมาเลข 3 หมายถึง มีบริการจัดไว้ให้แก่ประชาชน ทั้งๆที่ไม่มีความจำ�เป็นทางวิชาการและไม่ได้มีความต้องการของ ประชาชนเลย หากกล่าวตลกๆก็เช่น มีบริการป้ายสถานีอนามัย โรงพยาบาลที่ใหญ่โตเกินกว่าเหตุ ประหนึ่งกลัวว่าประชาชนจะหา สถานบริการไม่เจอ เป็นต้น พื้นที่หมายเลข 4 และ 7 รวมกันเรียกพื้นที่นี่ว่า เป็นจุดที่บรรจบระหว่างความต้องการบริการของประชาชนและความจำ�เป็นใน การดูแลสุขภาพในมุมมองของวิชาชีพ หรือภาษาอังกฤษรียกว่า felt need เช่น การถอนฟัน การอุดฟัน การทำ�ฟันปลอม เพียงแต่ พื้นที่หมายเลข 4 นั้น มีความต้องการร่วมของทั้งประชาชนและวิชาชีพ แต่ยังไม่มีบริการ ซึ่งในการบริหารจัดการก็ควรจัดบริการเพิ่ม เติมเพื่อตอบสนองตรงนั้น ส่วนพื้นที่หมายเลข 7 นั้น คือมีการจัดบริการรองรับอยู่แล้ว พื้นที่หมายเลข 5 หมายถึง มีการจัดบริการ ตามมาตรฐานหรือความจำ�เป็นทางวิชาชีพ แต่ไม่ได้สอดคล้องตามความต้องการ ของประชาชน หรือประชาชนยังไม่ตระหนัก เช่น การจัดบริการรักษารากฟันในชุมชนยากจน ที่ประชาชนส่วนใหญ่หาเช้ากินค่ำ� หวัง เพียงมีบริการถอนฟันก็พอใจแล้ว อย่างไรก็ตาม การมีบริการก็สามารถชักนำ�ให้เกิดการสร้างความตื่นตัวหรือความสนใจที่จะมาใช้ บริการได้ เรียกว่า supply created demand หน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพก็คือ การสร้างความเข้าใจและความตระหนักแก่ ประชาชน และเมื่อประชาชนสนใจและตระหนักในบริการรักษารากฟันแล้ว การรักษารากฟันก็จะย้ายจากพื้นที่หมายเลข 5 ไปสู่ พื้นที่หมายเลข 7 พื้นที่หมายเลข 6 หมายถึง การจัดบริการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่มีความจำ�เป็นต้องจัดบริการก็ได้ตาม มาตรฐานวิชาชีพ เช่น หากเราจัดให้มีบริการดัดฟันแฟชั่นตามใจวัยรุ่น เป็นความต้องการของกลุ่มวัยรุ่น แต่ไม่ได้มีความจำ�เป็น เหมาะสมทางวิชาชีพเลย ก็จะถูกวิเคราะห์และใส่ในช่องนี้ บางครั้งในพื้นที่หมายเลข 6 ก็เหมือนการตามใจประชาชน ซึ่งอาจตามใจ บ้างในบางเรื่องที่ไม่มีผลกระทบในเชิงลบต่อระบบและสุขภาพ เพื่อเสมือนการสร้างการยอมรับต่อชุมชน ก็เป็นสิ่งที่ทำ�ได้ เช่น การมี ลานเด็กเล่นเล็กๆหน้าห้องฟัน ให้เด็กที่รอนานได้เล่นให้เพลิดเพลิน ก็สามารถจัดอยู่ในพื้นที่หมายเลข 6 ได้ พื้นที่หมายเลข 7 หมายถึง การจัดบริการที่สอดคล้องกับทั้งความต้องการของประชาชนและหลักวิชาการของวิชาชีพ อย่างสม เหตุสมผล ในมุมของการพัฒนา เมื่อมีการจัดบริการในเชิงปริมาณแล้ว ก็ให้กลับมาวิเคราะห์ในว่าจะสามารถเพิ่มมิติคุณภาพในการ จัดบริการนั้นๆได้อย่างไร การวิเคราะห์ ความต้องการทั้งในมุมของประชาชน วิชาชีพ และบริการที่ได้จัดไว้ให้ เป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบบบริการให้ ตอบสนองอย่างรอบด้าน มากกว่าเพียงการจัดบริการตามความคำ�สั่งหรือการสนับสนุนจากส่วนกลางเท่านั้น หัวใจสำ�คัญของการวิเคราะห์ก็อยู่ที่การเชิญผู้เกี่ยวข้องจากทั้งส่วนของตัวแทนประชาชน ส่วนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาจจะ มีนักวิชาการสุขภาพ มาร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันในพื้นที่ทั้ง 7 ส่วน เพียงแต่ว่าต้องระวัง อย่ามองมุม demand ของประชาชนในมุมมองของวิชาชีพ เพราะนั่นควรเป็นมุมมองของประชาชน ซึ่งควร มาจากประชาชน แต่ก็อาจมาจากวิชาชีพด้วยก็ได้ เพราะด้วยประสบการณ์ที่เราทำ�งานมา เราเองก็พอจะทราบความต้องการ demand ของประชาชนอยู่พอสมควร เชิญชวนทันตะบุคลากรทุกท่าน ลองเอาเครื่องมือง่ายๆนี้ไปใช้ดูนะครับ เป็นการออกกำ�ลังกายสมอง และอาจจะช่วยให้ท่าน สามารถใช้เครื่องมือที่เสมือนแว่นขยายนี้ เห็นความครอบคลุมเหมาะสมในการจัดบริการมากขึ้น ทำ�งานไปก็อย่าลืมหมั่นทบทวน demand - need – supply 39
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
มาเป็นเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ
เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบกันดีกว่า โดย ทพ.ญ.วิกุล วิสาลเสสถ์ สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
ว่
ากันตามจริงแล้ว ทันตบุคลากรทุกคนต้องถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครือ ข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบอยู่แล้ว เนื่องจากภาระรับผิดชอบต่อสุขภาพช่อง ปากของประชาชน และคงไม่จำ�เป็นต้องถามทันตบุคลากรว่าการสูบบุหรี่ส่งผล กระทบต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร เพราะแม้แต่ประชาชนทั่วไปก็ยังทราบดี การสำ�รวจของเอแบคโพล ปี 2553 พบว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 80 ทราบว่าบุหรี่ทำ�ให้ปากเหม็น ฟันเหลือง เหงือกสีคล้ำ�ขึ้น เสี่ยงต่อการต้องสูญ เสียฟัน เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งช่องปาก และหากต้องถอนฟัน แผลถอนฟันจะ หายช้า...... ตอบถูกเหมือนกันทั้งผู้สูบและไม่สูบบุหรี่ ยกเว้น ผู้สูบบุหรี่ทราบว่า เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งช่องปาก น้อยกว่าคนไม่สูบ แล้วสมาชิกเครือข่ายฯ ต้องทำ�อะไรบ้าง ??? ทำ� 3 A ซึ่งง่ายมาก ใช้เวลาครั้งละไม่เกิน 5 -10 นาที และทำ�ได้ในงานปกติ ของคลินิกทันตกรรม ดังนี้ 1. Ask ซักประวัติการสูบบุหรี่ผู้มารับบริการทันตกรรมทุกราย ที่มีอายุ 12 ปีขึ้น ไป ถามเองหรือให้ผู้ช่วยฯ ถามก็ได้ วัตถุประสงค์ เพื่อให้คำ�แนะนำ�สั้น ๆ ( Brief Advice ) สำ�หรับผู้สูบบุหรี่ให้เลิก ส่วนผู้ที่ตอบว่าไม่สูบบุหรี่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ควรให้คำ�ชมเชย เพื่อสนับสนุนไม่ให้เกิดผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่ และนับเป็นการ ประกาศจุดยืนว่าทันตบุคลากรไม่สนับสนุนการสูบบุหรี่เพราะมีผลเสียต่อสุขภาพช่องปาก 2. Advice การให้คำ�แนะนำ�อย่างสั้นแก่ผู้สูบบุหรี่ ควรใช้กระจกส่องปากสะท้อนสภาพในช่องปากให้คนไข้ที่สูบบุหรี่ดู ในคนที่สภาพช่องปากยังไม่ย่ำ�แย่มากนัก อาจใช้ภาพพลิกแสดงให้เห็นถึงอาการผิดปกติที่จะตามมาได้ในอนาคต และชี้ ชวนให้เลิกบุหรี่ 3. Assist ช่วยเหลือคนที่อยากเลิกบุหรี่หลังจากที่จูงใจสำ�เร็จ สามารถช่วยได้ตั้งแต่ 3.1 ส่งต่อ โดยแนะนำ�ให้คนไข้ใช้บริการโทรศัพท์สายด่วนช่วยเลิกบุหรี่ ( Quit line 1600 ) หรือไปคลินิกบำ�บัดอาการติด บุหรี่ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง หรือปรึกษาเภสัชกรร้านขายยาทั่วไปและหากเป็นร้านที่มีป้ายเภสัชกรอาสาพาเลิกบุหรี่ คนไข้จะได้รับการดูแลอย่างดี หรือ 3.2 ทันตบุคลากรให้ค�ำ แนะนำ�เองเบือ้ งต้น และแจกเอกสารคูม่ อื ช่วยเลิกบุหรี่ เพือ่ ให้คนไข้กลับไปเลิกด้วยตนเองทีบ่ า้ น หรือ 40
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
3.3 ทันตบุคลากรช่วยคนไข้เลิกบุหรี่ โดยช่วยคนไข้ กำ�หนดวันเลิกบุหรี่ ( Quit date) ให้คำ�แนะนำ�วิธีปฏิบัติ ตัว นัดคนไข้มาติดตามและให้กำ�ลังใจอย่างต่อเนื่อง ทันต บุคลากรบางท่านช่วยขูดหินนํ้าลายและขัดฟันเพื่อให้ปาก สะอาด นับเป็นการเริ่มต้นที่ดี สำ � หรั บ ผู้ ที่ ยั ง ไม่ ส นใจจะเลิ ก บุ ห รี่ ควรยอมรั บ การ
ตัดสินใจของคนไข้แต่โดยดี อาจจะแจกแผ่นพับผลเสีย ของบุหรี่ต่อสุขภาพช่องปากให้กลับไปพิจารณาต่อที่บ้าน และทิ้งท้ายว่ายินดีจะให้คำ�แนะนำ�เสมอเมื่อคนไข้พร้อม หรือต้องการเลิกบุหรี่ เท่านี้ก็ถือว่าสอบผ่านเป็นสมาชิก เครือข่ายฯ อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว
ขอรับสื่อ ได้ที่ไหน
คู่มือ แผ่นพับ 2 แบบ ภาพพลิก
โครงการกลยุทธ์วิชาชีพทันตแพทย์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข อ.เมือง นนทบุรี 11000 การประชุมวิชาการทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ ประจำ�ปี ปีละ 2 ครั้ง ที่บูธโครงการกลยุทธ์วิชาชีพ ทันตแพทย์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ สถิติที่น่าสนใจ ปี 2553 ผู้รับบริการทันตกรรมที่คลินิกเอกชน มีอัตราการสูบบุหรี่ ร้อยละ 17.1 ต่ำ�กว่าผู้รับบริการทันตกรรมในรพ.ของรัฐ และรพ.เอกชน ซึ่งพบผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 22.1 และ 25.6 ตามลำ�ดับ ประชาชนร้อยละ 55.1 เห็นด้วยว่าหมอฟันสามารถช่วยให้คนเลิกบุหรี่ได้ ร้อยละ 27.6 ไม่แน่ใจ ผู้ สู บ บุ ห รี่ ร้ อ ยละ 89.7 ยิ น ดี รั บ ฟั ง คำ � แนะนำ � จากทั น ตแพทย์ ใ ห้ เ ลิ ก บุ ห รี่ ใ นขณะที่ กำ � ลั ง ทำ � ฟั น อยู่ ผู้ สู บ บุ ห รี่ เพศชายยินดีรับฟังมากกว่าเพศหญิง ภาพคำ�เตือนบนซองบุหรี่ “สูบบุหรี่แล้วปากเหม็น” และ “สูบบุหรี่แล้วเป็นมะเร็งช่องปาก” ผู้สูบบุหรี่ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 51) เห็นว่าทำ�ให้คนไม่อยากสูบบุหรี่ 41
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
คุณภาพชีวิตในมิติ
สุขภาพช่องปาก
ตอนที่ 4
(Oral health-related quality of life: OHRQoL): รศ.ทญ.ดร. สุดาดวง กฤษฎาพงษ์
ใ
นช่วงที่ผ่านมา มีกระแสการทำ�ฟันเทียมเกิดขึ้นมากใน วงการวิชาชีพ ประชาชนที่มีสันเหงือกว่างนั้นมีมากหลาย (สัก 4 ล้าน เห็นจะได้ เป็น complete denture ไปสัก 4 แสน) และคิวผู้ ป่วยที่รอทำ�ฟันเทียมนั้นก็ยาวเหยียดขึ้นเรื่อย ๆ ทันตแพทย์หลาย ที่หลายท่านจึงต้องหันเห มาทำ�ฟันเทียมกันมากขึ้น การอบรม ฝึกฝนวิทยายุทธในการทำ�ฟันเทียมก็มีมากขึ้นตามลำ�ดับ เมื่อนึก ได้เช่นนี้ ฉบับนี้จึงใคร่ขอนำ�งานวิจัยบางชิ้นที่เกี่ยวข้องกับการใส่ ฟันเทียมในคนไทย และการวัดคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่อง ปาก มาเล่าให้ฟังสนุก ๆ เพื่อสะกิดความคิดค่ะ ดังที่บอกไปแล้วว่า ผู้มีสันเหงือกว่างสมควรใส่ฟันเทียม (ตามแบบที่หมอคิด)นั้นมีมากหลาย และเป็นความจริงที่วิชาชีพ ไม่สามารถให้การบริการได้ครบหมด ประกอบกับอีกความจริงที่ 42
ว่าไปแล้วในฉบับก่อน ๆ ว่า โรคและสุขภาพเป็นสองเรื่องที่ไม่ เหมือนกัน จึงได้มีงานวิจัยที่ทดลองนำ�เอาหลักการเรื่องคุณภาพ ชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากมาใช้กับการตัดสินใจทำ�/ไม่ทำ� ฟัน เทียมในคนไทย โดยอาจารย์ พัชร์ ม. เชียงใหม่ (รศ. ทญ. ดร. พัชราวรรณ ศรีศิลปนันท์) อาจารย์เริ่มต้นจากการตรวจช่องปาก แล้วประเมินตามแบบฉบับทันตแพทย์ว่าควรใส่ฟัน จากนั้นได้มี การนำ � เสนอว่ า นอกจากการตรวจปากแล้ ว ควรจะพิ จ ารณา ปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยในการจะสรุปว่าคนนั้น ๆ สมควรจะได้รับ ฟันเทียมหรือไม่ ได้แก่ คุณภาพชีวิตฯ สภาพร่างกายทั่วไป การ เข้าถึงบริการ ปัจจัยเรื่องเงินทองของคน ๆ นั้น ผลโดยคร่าว เฉพาะในส่วนที่มีการนำ�เรื่องคุณภาพชีวิตฯ มาใช้ร่วมกับการ ตรวจปาก โดยคิดจุดเริ่มต้นจากการตรวจปากให้เป็น 100% ตามภาพ งานวิจัยเล็ก ๆ อีกสองชิ้น เป็นการเปรียบเทียบระหว่างการ มี สั น เหงื อ กว่ า งที่ ทั น ตแพทย์ แ นะนำ � ว่ า ควรใส่ ฟั น ความรู้ สึ ก ต้องการของผู้ป่วยเอง และปัญหาที่เกิดกับคุณภาพชีวิต
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
100 คน ที่หมอบอก ว่าควรใส่ CD
60 คน ร่างกาย ปกติ นํ้าหนักปกติ
100 คน ที่หมอบอก ว่าควรใส่ RPD
40 คน ร่างกายไม่ เเข็งเเรง นํ้าหนักน้อย
87 คน ร่างกาย ปกติ นํ้าหนักปกติ
36 คน มีปัญหา คุณภาพชีวิตฯ เพราะไม่มีฟัน
13 คน ร่างกายไม่ เเข็งเเรง นํ้าหนักน้อย
44 คน มีปัญหา คุณภาพชีวิตฯ เพราะไม่มีฟัน
ควรได้รับฟันเทียมก่อน
a
ควรได้รับฟันเทียมก่อน
100 คน ที่หมอบอก ว่าควรใส่ฟัน
100 คน ที่หมอบอก ตนเองอยากใส่ฟัน
100 คน ที่หมอบอก ว่าควรใส่ฟัน
100 คน ที่ไปเข้าคิว ใส่ฟันเเล้ว
46 คน มีปัญหา คุณภาพชีวิตฯ เพราะไม่มีฟัน
75 คน มีปัญหา คุณภาพชีวิตฯ เพราะไม่มีฟัน
53 คน มีปัญหา คุณภาพชีวิตฯ เพราะ ไม่มีฟัน 25 คน ปัญหามาก 28 คน ปัญหาน้อย
64 คน มีปัญหา คุณภาพชีวิตฯ เพราะ ไม่มีฟัน 29 คน ปัญหามาก 36 คน ปัญหาน้อย
c
b
d
ข้อค้นพบข้างต้น เป็นตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงแสดงถึงความไม่ตรงกันของโรคและสุขภาพ และเป็นเรือ่ งทีน่ า่ คิดนะคะ สำ�หรับผูใ้ ห้บริการ ทางการแพทย์ ในสถานการณ์ที่การรักษาทุกคนที่เป็นโรคเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และเป้าหมายจริง ๆ ที่เราต้องการคือ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ของประชาชน a: Srisilapanan P, Korwanich N, Sheiham A. Assessing prosthetic dental treatment needs in older adults in Thailand: normative vs. sociodental approaches. Spec Care Dent 2003; 23: 131-134. b: Srisilapanan P, Sheiham. The prevalence of dental impacts on daily performances in older people in Northern Thailand. Gerodontology 2001; 18: 102-108. c: สุดาดวง เกรันพงษ์ กัณฒพร ลักษณา ธีรดา วรกาญจนา พธู สุระประเสริฐ พรทิพา ศิรวิ นิชสุนทร. การเปรียบเทียบระหว่างความจำ�เป็น ทางวิชาชีพ คุณภาพชีวติ ในมิตสิ ขุ ภาพช่องปาก และความรูส้ กึ จำ�เป็นต่อการใส่ฟนั เทียมของผูส้ งู อายุไทยกลุม่ หนึง่ . ว. ทันต 2550; 57: 98-106. d: สุดาดวง เกรันพงษ์ ญาดา พวงสอาด พรรณปพร นิมศรีสุขกุล พัชชา วรรณจารุรัตน์ ศิริณา พฤฒิวรวงศ์ สุปรีดา สุภนันตชาติ. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและความรู้สึกจำ�เป็นต่อการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุไทยกลุ่มหนึ่งที่มีความจำ�เป็นทางวิชาชีพต่อการ ใส่ฟันเทียม. ว. ทันต 2550; 57: 13-22. 43
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
“OHI ง่ายๆสไตล์หมอตุม้ ” ทพญ.วิชชุดา โอทกานนท์
ส
วั ส ดี ปี ใ หม่ ค ะ ไม่ รู้ ว่ า กว่ า วารสารจะออก อาจจะเชยไปแล้ ว สำ � หรั บ ประโยคนี้ แต่เนื่องจากว่าขณะปั่นต้นฉบับเป็นเทศกาลปีใหม่จริงๆ เลยจะนำ�เสนอคอลัมภ์ใหม่ๆ อั น เนื่ อ งมาจากงาน สื่ อ สร้ า งสรรค์ วิ ถี ใ หม่ งานทั น ตสาธารณสุ ข ไทย ของชมรม ทันตสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ซึง่ จัดทีเ่ ชียงใหม่ แล้วมีการจัดบอร์ดนำ�เสนอโปสเตอร์ ไปสะดุดตา อยู่ที่บอร์ดๆ นึงที่มีคนมุงดูอยู่ พร้อมทั้งคุณหมอประจำ�บอร์ดที่เชิญชวนผู้สนใจทั้งหลายว่าผู้ใด อยากได้รูป ซึ่งเจ้าของบอร์ดเป็นผู้ผลิตขั้นเอง ให้บอกเบอร์เมล และรูปต่างๆ ที่ท่านอยากได้ จะจัดส่งไปให้ถึงที่ ซึ่งแต่ละรูปจะสื่อ 44
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ถึงทันตสุขภาพในหลายๆ มิติ ผู้ใช้สามารถนำ�ไปใช้ได้ หลายๆ งาน เออ...น่าสนใจแฮะ แล้วดูใจดีมากไม่ต้องมี พิ ธี รี ต องอะไร แค่ บ อกเบอร์ เ มลเท่ า นั้ น หลั ง จากนั้ น คล้อยหลังได้ 1 อาทิตย์ เวลา 5 ทุ่มกว่า มี sms เข้ามือถือ บอกว่าส่งรูปให้แล้วนะคะ ขอโทษที่ส่งช้า โอ้โห อะไรจะ ขยั น ขั น แข็ ง ขนาดนี้ นี่ พอไปเปิ ด เมล ยิ่ ง ทึ่ ง เข้ า ไปใหญ่ เพราะมีค�ำ บรรยายด้วยว่าแต่ละรูปเราจะไปใช้ยงั ไงตอนไหน เลยอยากจะรู้จักกับคุณหมอเจ้าของรูปภาพเหล่านั้น
Q* สวัสดีค่ะแนะนำ�ตัวเองหน่อยนะคะ A ** ชื่อพี่ตุ้ม หรือ ทพญ.วิชชุดา โอทกานนท์ อยู่ศูนย์ บริการสาธารณสุข 57 กทม.ค่ะ จบมช.ปี2526 (รุ่นพี่โคสิต เชี ย งราย) เป็ น นั ก ศึ ก ษา ยุ ค 6ตค.2519 ซึ่ ง ยุ ค นั้ น จะ ปลู ก ฝั ง ว่ า ที่ เ ราเรี ย นอยู่ นี้ ใช้ เ งิ น ภาษี ข องประชาชน ทั้งประเทศ เขาตั้งความหวังให้เรากลับไปช่วยเหลือเขา จบแล้วพี่จึงรับราชการมาตลอด ทั้งที่ไม่ใช่รุ่นใช้ทุนหลวง เริ่ ม ทำ � งานที่ ศู น ย์ ทั น ตสาธารณสุ ข ระหว่ า งประเทศ จ.เชียงใหม่ 2 ปี แล้วย้ายไปอยู่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ 5ปี ระหว่ า ง นั้ น ก็ เรี ย นป.โท (M.P.H.) (รุ่นเดียวกับพี่จันทนา) พอทำ�เรื่องตั้งภาควิชา ทันตกรรมทัว่ ไปเสร็จ ก็ตอ้ งโอนไปอยูศ่ นู ย์บริการสาธารณสุข 57 กทม.ตั้งแต่ปี 2536 จนถึงบัดนี้เลยค่ะ 45
Q* อยากทราบถึ ง แรงบั น ดาลใจในการทำ � งาน ทันตกรรมป้องกัน A ** พี่เริ่มทำ�งานระดับโลก(WHO-ศทป.) และพัฒนา เล็กลงเรื่อยๆจนมาอยู่ศูนย์อนามัยของกทม. แต่ก็ไม่เคยทิ้ง แนวทางการทำ�งานด้านป้องกันมาโดยตลอด เพราะสมเด็จ พระราชบิดาท่านเน้นด้านสาธารณสุขมาก และ กระทรวง สาธารณสุขเคยทำ� workshop กับ WHO เรื่อง Health for All by the Year 2000 มีก ารคำ � นวณอั ตรากำ � ลั ง ทั น ต บุ ค ลากรที่ จ ะทำ � ให้ บ รรลุ เ ป้ า หมาย ภายใน15ปี ซึ่ ง ถ้ า เน้ น ไปที่ ก ารรั ก ษาจะ ต้องใช้บุคลากรมากมาย ทำ�ไม่ได้แน่ ทาง รอดคือต้องเน้นป้องกัน และให้ความรู้ แก่ประชาชน WHO ให้งบทำ�การทดลอง Community Care Model ของ Dr.Beach ที่ได้ผลดีมากเลย แต่ในทางปฏิบัติยังไม่ เป็นที่ยอมรับในสังคมไทย พี่ รู้ สึ ก ว่ า งานสาธารณสุ ข เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของความคิดและชีวิตพี่ไปแล้ว เพราะเรารู้ แล้วว่าแนวทางไหนที่จะทำ�ให้บรรลุเป้า หมายประชาชนฟันดีได้ หากทำ�งานแบบ ตั้งเป้าให้อุดถอนเยอะๆละก็ ชีวิตนี้คงตาย เปล่าเพราะผลิตหมอไม่พอกับการเพิ่มของประชากร และ หมอที่ผลิตมาก็อยากทำ�แต่งาน High tech, Specialist ซึ่ง Specialist จำ�เป็นต้องมีแน่นอน แต่ในด้านปริมาณควร เป็ น ยอดของ 3 เหลี่ ย ม คื อ ไม่ ต้ อ งมี จำ � นวนมาก และ ข้อสำ�คัญคือ ทุกคนสำ�คัญหมด ไม่ใช่ Specialist สำ�คัญ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
กว่า GP. หรือทันตาภิบาล เครื่องจักรใหญ่จะทำ�งานได้ก็ด้วยอาศัยเฟืองตัวเล็กๆ ทุกตัวร่วมกันหมุนนั่นเอง **ทีน่ �ำ รูปต่างๆมาเผยแพร่ เพราะรูส้ กึ ว่า ยิง่ ใช้ยง่ิ คุม้ ค่ากับการทำ�สือ่ นีข้ น้ึ มา ถ้าเก็บไว้ใช้คนเดียวก็น่าเสียดาย เพราะพี่เก็บภาพต่างๆ มา 9 ปี ประมาณ 1,700 ภาพ เลือกที่สื่อความหมายได้ชัดเจนที่สุดมาสอน ในอนาคตถ้ามีภาพอื่น ชัดกว่านี้ ก็จะเปลี่ยนให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ ขอให้แจ้งชื่อ เบอร์โทร อีเมลไว้ว่าต้องการ ภาพที่ ใ ช้ ส อนเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งอะไร ภาพๆ เดี ย วสื่ อ ความหมายได้ ม ากกว่ า คำ�1000คำ� โดยเฉพาะภาพสามารถสื่อความหมายไปกระทบจิตใต้สำ�นึกได้ ทำ�ให้คนเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมได้ พี่มีหลายเทคนิคที่ใช้อยู่ เช่น วิธกี ารสอนทันตสุขศึกษาอสร.ป.4ให้สนุกสนาน เฮฮามาก เด็กๆจำ�เนือ้ หาได้ เร็ว (แต่ไม่รู้จำ�ได้นานแค่ไหน) วิ ธี ส อนสว. (อะไรจำ � เป็ น ต้ อ งสอน อะไรไม่ จำ � เป็ น นั ก เพราะสว.จำ�มากไม่ไหว) เนื้อหาการสอนWell Baby Clinic คือเด็กที่มาฉีดวัคซีน ทุกกลุ่มอายุ (ประมาณ 10 นาที) วิธีการทำ�แผ่นพับให้คนทั่วไปอ่านรู้เรื่อง (บางอันทำ�มา ให้ทพ.อ่านมากกว่าให้ชาวบ้านอ่าน) วิธีหลอกล่อ ให้เด็ ก(+ผู้ป กครอง) ตายใจ เป็นมิตรกับ เรา ไม่กลัวหมอ วิธีสร้างทัศนคติที่ดีในการทำ�ฟันให้เด็ก (ไม่ได้หมายถึง วิธีอุดฟันเด็ก) First impression สำ�คัญที่สุดค่ะ รูปอื่นๆอีกหลายเรื่อง หลายรูป ที่ถ่ายไว้ 9 ปี แล้วค่ะ วิธีถอนฟันด้วย Luxator ทำ�ได้ง่ายมาก แทบไม่มีราก หักเลย ถ้างอมากจริงๆถึงหักก็หลวมแล้ว แคะง่าย *** ทุกอย่างทำ�เพราะใจรักคนไข้ อยากหาวิธีช่วยให้คนไทยฟันผุน้อยลง *** ในฉบับต่อไปพบกับคอลัมภ์ “OHI ง่ายๆสไตล์หมอตุ้ม” นะคะ หรือ ถ้าใครไม่อยากรอ เชิญขอรูปหรือเทคนิค ต่างๆก่อนได้ที่ Email: wichuda904@hotmail.com หรือที่อยู่ ทพญ.วิชชุดา โอทกานนท์ ศูนย์บริการสาธารณสุข 57 (บุญเรือง ล้ำ�เลิศ) 226 ม.5 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม.10250 โทร. 081-6677944 , 02-3961866 Email: wichuda904@hotmail.com ***อย่าลืม SMS บอกพี่ตุ้มที่ 081-6677944 ด้วยนะคะว่าส่ง email มาให้ในชื่ออะไร ส่งมาเมื่อไร*** 46
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
คิดไม่ถึง คนทำ�ถูกร้อง
คนถูกฟ้องเป็นทันตแพทย์
ทันตแพทย์สมชาย กิจสนาโยธิน
“ผ
มอยากให้หมอช่วยดูฟันกรามผมหน่อย มัน ปวด และเมื่อกัดอาหารแรงๆ จะปวด ไม่รู้ผุหรือไม่” คุณวิตก ห่อหมก กล่าวกับคุณสวย ยิ้มมาก ทันตาภิ บาลโรงพยาบาลชุมชนบ้านห่าง เพื่อให้ตรวจฟันกรามน้อย ล่างซ้ายที่เมื่อคืนปวด หลังจากที่แสดงสิทธิ์การใช้บัตรทอง ของหลักประกันสุขภาพ “ไม่มีฟันผุนะค่ะ” คุณ สวย ยิ้มมาก ตอบ แต่คุณวิตก ห่อหมก ยังไม่แล้ว คุณสวย ยิ้มมาก ได้ให้ผู้ช่วยนำ�กระจก มาดูฟันด้วยกัน “ฟันซี่นี่นะครับ มันเป็นร่อง ไม่ใช่ด้านบน” คุณสวย ยิ้มมาก ตรวจอีกกครั้งและกล่าวว่า “ไม่ผุ แต่เอาอย่างนี้ละกันนะค่ะ จะขัดฟันที่อดเก่าให้ ใหม่ ” ดู แ ล้ ว น่ า จะไม่ มี อ ะไร แต่ 3 วั น ต่ อ มา คุ ณ วิ ต ก ห่ อ หมก มาที่โรงพยาบาลบ้ า นห่ า งอี กครั้ ง พร้ อ มกล่าว “คุณสวย คุณทำ�อะไรกับฟันผม ฟันกรามล่างซ้ายมันมีรู ด้ า นหลั ง และผลเจ็ บ ลิ้ น มาก” แค่ นั้ น ยั ง ไม่ คุ ณ วิ ต กยั ง กล่าวว่า “ไม่ใช่ซี่เดียวนะ หลายซี่ที่เป็นใครจะรับผิดชอบ” เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คิดว่าจะเกิด คุณสวย ยิ้มมาก จึง เรียกทันตแพทย์กุหลาบ สีแดง มาช่วยตรวจ “หมอว่า มันเป็นลักษณะของฟันสึกค่ะ คุณวิตก ไม่ได้ เป็นอะไร” ทันตแพทย์กุหลาบ สีแดงอธิบาย คุณวิตก ดูจะ ไม่พอใจและไม่ไปตามนัดในวันรุ่งขึ้นเพื่อพบทันตแพทย์ ทานตะวั น สี เ หลื อ ง หั ว หน้ า ฝ่ า ยทั น ตสาธารณสุ ข โรง 47
พยาบาลบ้านห่างเพื่ออธิบายเรื่องที่เกิดขึ้นอีก กลับนั่งรถ มาที่ทันตแพทยสภา แล้วร้องเรียน วิเคราะห์ ตามข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยจรรยา บรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2538 หมวด 2 ข้อ 7 ซึ่งกำ�หนดไว้ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพ ทั น ตกรรมต้ อ งรั ก ษามาตรฐานของการประกอบ วิชาชีพทันตกรรมในระดับที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย โดยไม่ เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษนอกเหนือจากค่าบริการ ที่ควรได้รับตามปกติ ข้ อ 8 ซึ่ ง กำ � หนดไว้ ว่ า ผู้ ป ระกอบวิ ช าชี พ ทั น ต กรรมต้ อ งประกอบวิ ช าชี พ ทั น ตกรรมโดยคำ � นึ ง ถึ ง ความปลอดภัยและความสิ้นเปลืองของผู้ป่วย นั้น ระเบี ย บกระทรวงสาธารณสุ ข ว่ า ด้ ว ยบุ ค คลซึ่ ง กระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด เทศบาล สุ ข าภิ บ าล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น หรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ ป ระกอบวิ ช าชี พ ทั น ตกรรมในความ ควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันต กรรม พ.ศ. 2538 เมื่ อ วั น ที่ กั น ยายน 2552 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา คุณวิตก ห่อหมก สังเกตเห็นว่าตนมีฟันผุและฟัน
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
เป็นร่องที่ฟันซี่ 35 และมีอาการปวดเมื่อกัดอาหารแรง จึง ไปพบทั น ตแพทย์ ที่ โ รงพยาบาลชุ ม ชนบ้ า นห่ า งโดยพบ ทันตาภิบาล สวย ยิ้มมาก แล้ว เล่าอาการดังกล่าวให้ ทราบ ทันตาภิบาลได้ทำ�การตรวจสภาพช่องปากแล้ว แจ้ง ว่า ฟันซี่ดังกล่าวไม่ผุ และถามผู้ป่วยว่าจะอุดฟันซี่ดังกล่าว หรือไม่โดยชี้ฟันซี่ที่จะอุดให้ดูในกระจกด้วย ผู้ป่วยยืนยัน ว่าใช่ ทันตภิบาลแจ้งว่าถ้าจะให้อุดเมื่ออุดเสร็จแล้วต้องให้ คุณวิตก ห่อหมก เซ็นยินยอมด้วย แต่ไม่ได้อุดฟันให้ในวัน ดังกล่าวโดยบอกให้คุณวิตก ห่อหมก ไปอุดที่คลินิกเพราะ ฟันดูดีมาก แต่จะขัดอมัลกัมฟันซี่ 36 ให้ขาวขึ้นเพราะว่า อุดไว้นานแล้ว คุณวิตก ห่อหมก ไม่ได้ตอบอะไร คุณ สวย ยิ้มมาก จึงทำ�การขัดอมัลกัมฟันซี่ที่อุดไว้ และฟันซี่อื่น ๆ ด้วย ขณะขัดฟันเครื่องมือขัดฟันไปโดนลิ้นทำ�ให้คุณวิตก ห่อหมก รู้สึกเจ็บ คุณ สวย ยิ้มมาก ให้คุณวิตก ห่อหมก กระดกลิ้นและอดทนใช้เวลาทำ�ประมาณ 2-3 นาทีจึงเสร็จ การรั ก ษาดั ง กล่ า วไม่ ไ ด้ คิ ด ค่ า ใช้ จ่ า ย แต่ ใ ห้ คุ ณ วิ ต ก ห่อหมก ชำ�ระเงินเฉพาะค่าบริการตามบัตรทอง หลังจาก กลับถึงบ้านคุณวิตก ห่อหมก ได้ส่องไฟฉายเพื่อดูฟันของ ตัวเองในกระจก สังเกตเห็นว่าฟันซี่ 36 บริเวณมุมด้านหลัง ที่ติดด้านลิ้นมีรู เป็นร่องที่เห็นได้ชัด และมีเนื้อฟันหายไป บางส่วนหลายซี่ ซึ่งก่อนหน้านี้ฟันที่ถูกขัดก็ไม่ได้มีปัญหา ใด ๆ จากการสืบสวนผู้ให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ คุณ วิตก ห่อหมก กันยายน 2552 คือ คุณ สวย ยิ้มมาก เป็นเจ้า พนักงานทันตสาธารณสุข ณ วันเกิดเหตุปฏิบัติงานที่สถานี 48
อนามัยหนองนํ้า โดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาให้ ไปปฏิบัติงานคลินิกนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลชุมชน บ้านห่าง มีทันตแพทย์กุหลาบ สีแดงทำ�หน้าที่ควบคุมดูแล การประกอบวิชาชีพทันตกรรมของทันตาภิบาลในวันนั้น กระบวนการทำ�งานของแผนกทันตกรรมโรงพยาบาลชุมชน บ้านห่าง เมื่อผู้ป่วยมารับบริการก็จะต้องทำ�บัตร โดยมีเจ้า หน้าที่คัดกรองผู้ป่วย วัดความดัน วัดชีพจร ซักประวัติเจ็บ ป่วยเบื้องต้น จากนั้นก็จะทำ�บัตรคิวให้ไปรับการรักษาตาม แผนกต่าง ๆ สำ�หรับการให้บริการทันตกรรมในวันและเวลา ทำ�การปกติ จะมีทันตแพทย์และทันตาภิบาลปฏิบัติงาน หลายคน ซึ่งจะเฉลี่ยผู้ป่วยกันทำ� โดยทันตาภิบาลจะได้ รับมอบหมายงานจากทันตแพทย์ ให้ทำ�หัตถการ ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และงานอื่น ๆ ตามขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ ของทันตาภิบาล ทั้งนี้ ในช่วงนอกเวลาทำ�การทันตแพทย์ จะให้การรักษาผู้ป่วยที่นัดไว้ ส่วนทันตาภิบาลจะให้การ รักษาผูป้ ว่ ยทัว่ ไปตามขอบเขตอำ�นาจหน้าทีข่ องทันตาภิบาล การควบคุมและดูแลการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของทัน ตาภิบาลคือ เมื่อการให้การรักษาผู้ป่วยของทันตาภิบาลมี ปัญหา ทันตาภิบาลจะนำ�เรือ่ งหรือปัญหาปรึกษาทันตแพทย์ ที่ปฏิบัติงานในขณะนั้นกรณีนี้คุณวิตก ห่อหมก มีความ ประสงค์จะอุดฟันล่างด้านซ้าย เนื่องจากมีอาการปวดฟัน และสังเกตเห็นฟันเป็นร่อง เคี้ยว อาหารแรง ๆ จะมีอาการ ปวด จึงคิดว่าตนเองน่าจะมีฟันผุจากฟันด้านคุณ สวย ยิ้ม มาก ได้ตรวจดูสภาพช่องปากแล้วเห็นว่าฟันซี่ 35 ไม่ผุ โดย ให้คุณวิตก ห่อหมก ดูในกระจกด้วย แล้วจึงไม่ได้อุดฟันให้ และได้แจ้งให้คุณวิตก ห่อหมก ทราบแล้ว แต่เนื่องจากวัน ดังกล่าวเป็นวันหยุด และเห็นว่าอมัลกัมที่อุดฟันอยู่มีสภาพ เก่าแล้ว จึงแจ้งคุณวิตก ห่อหมก ว่าจะขัดอมัลกัมให้ใหม่ ซึ่งคุณวิตก ห่อหมก ก็ยินยอมรับการรักษา และขัดอมัลกัม จำ�นวน 4 ซี่ ใช้เวลาประมาณ 2 – 3 นาที คุณวิตก ห่อหมก ได้ชำ�ระค่าบริการทางการแพทย์ 50 บาทและกลับไปโดย ไม่มีปัญหาใด ๆ อีก 3 วันต่อมากลับมาโรงพยาบาลชุมชน บ้านห่าง แจ้งว่าฟันของคุณวิตก ห่อหมก เป็นรู ซึ่งน่าจะมา
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
จากการทำ�ฟันของ คุณ สวย ยิ้มมาก จึงได้นำ�เรื่องดังกล่าว ปรึกษากับทันตแพทย์กุหลาบ สีแดง ทันตแพทย์ที่ปฎิบัติ งานในวัน้ นัน้ ด้วย แต่คณ ุ วิตก ห่อหมก ไม่ พอใจคำ�ตอบและ ไม่ตามนัดทีจ่ ะพบหัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุข เพือ่ อธิบาย กลับร้องเรียนที่ทันตแพทยสภา ส่วนผลการตรวจสภาพช่องปากของคุณวิตก ห่อหมก โดยคณะอนุ กรรมการจรรยาบรรณไม่พ บความผิดปกติ ของฟันและช่องปาก กรณี มาตรฐานการรักษา จากการตรวจสภาพในช่ อ งปากและฟั น คุ ณ วิ ต ก ห่อหมก ที่อ้างว่าทำ�ให้เกิดความเสียหายนั้น พบเพียงการ เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของฟันตามปกติ และไม่พบ ความเสียหายใด ๆ จากการให้บริการของ ทันตาภิบาล สวย ยิ้ ม มาก อย่ างไรก็ตาม ทั้งคุณวิตก ห่อหมก และ ทันตาภิบาล สวย ยิ้มมาก ให้ถ้อยคำ�สอดคล้องกันว่า ก่อน ให้การรักษา ทันตาภิบาล สวย ยิ้มมาก ได้แจ้ง ให้คุณวิตก ห่อหมก ทราบแล้วว่าจะขัดอมัลกัมที่อุดฟันให้ใหม่ คุณ วิตก ห่อหมก ซึ่งรับทราบและยินยอมให้ทันตาภิบาล สวย ยิ้มมาก ขัดอมัลกัมให้จนเสร็จโดยมิได้มีการทักท้วงหรือมี ปัญหาใด ๆและภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ระเบียบ กระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น หรือ สภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ทันตกรรม พ.ศ. 2538 การรักษาจึงจึงไม่มีมูลเหตุอันควร สงสัยได้ว่ามีการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันต กรรมตามข้อบังคับทันตแพทยสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2538 ข้อ 7และ 8 กรณีข้อกล่าวโทษทันตแพทย์ ทานตะวัน สีเหลือง
หั ว หน้ า ฝ่ า ยทั น ตสาธารณสุ ข โรงพยาบาลบ้านห่าง ทันตแพทย์ ทานตะวัน สีเหลือง หั ว หน้ า ฝ่ า ยทั น ตสาธารณสุ ข โรงพยาบาลบ้านห่างในฐานะเป็น ทันตแพทย์ผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแล การประกอบวิ ช าชี พ ทั น ตกรรม ของทันตาภิบาลสวย ยิ้มมาก ในการให้การรักษาทางทันต กรรมแก่ คุณวิตก ห่อหมก เนื่องจากตามระบบการปฏิบัติ ของทันตแพทย์ทโี่ รงพยาบาลบ้านห่าง ทันตแพทย์จะทำ�การ ควบคุมและดูแลการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของทันตาภิ บาล เมือ่ การให้การรักษาผูป้ ว่ ยของทันตาภิบาลมีปญ ั หา ทัน ตาภิบาลจะนำ�เรื่องหรือปัญหาปรึกษาทันตแพทย์ที่ปฏิบัติ งานในขณะนัน้ ซึง่ ในวันนัน้ คุณวิตก ห่อหมก ก็มไิ ด้มปี ญ ั หา ใด ๆ แม้ตอ่ มาภายหลังการรักษา 3 วัน จะได้กลับมาพบทัน ตาภิบาล สวย ยิ้มมาก เพราะเห็นว่าฟันของตนเกิดความ เสียหายและมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น ทันตาภิบาล สวย ยิ้มมาก ก็ได้นำ�เรื่องปรึกษากับทันตแพทย์ กุหลาบ สีแดง ซึ่งเป็น ทันตแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในขณะนั้นและนัดผู้ป่วยให้มา พบกับทันตแพทย์ ทานตะวัน สีเหลือง ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนก ทันตกรรมของโรงพยาบาล ชุมชนบ้านห่าง ในวันรุ่งขึ้น แต่ คุณวิตก ห่อหมก ก็ไม่ได้มาพบตามนัด การปฏิบตั หิ น้าทีข่ อง ทันตแพทย์ทานตะวัน สีเหลือง ดังกล่าว จึงไม่มีมูลเหตุอัน ควรสงสัยได้ว่ามีการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ทันตกรรมตามข้อบังคับทันตแพทยสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2538 แต่อย่างใด คณะกรรมการทันตแพทยสภาพิจารณาแล้วมีมติ ข้อร้อง เรียนดังกล่าวไม่มีมูล
“40 ปีกำ�ลังแจ๋ว
“ขอเชิญศิษย์เก่าทันตแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คืนสู่เหย้าชาวลูกช้างวาระครบรอบสี่สิบ การก่อตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ธันวาคม 2555” งานช้างครับ” 49
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ส่งเสริมสุขภาพ
เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังปัญหา สุขภาพเด็ก โดยชุมชน ชิวเหรียญ
เ
นื่องจากทางเครือข่ายบริการสุขภาพอำ�เภอนากลางได้จัดให้มีโครงการ “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอ่อน หวาน” ซึ่งมีการดำ�เนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 แต่ฟันผุเด็ก 3 ปี ก็ยังเพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ โดยปีงบประมาณ 2553 พบว่าภาวะฟันผุเด็ก 3 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5 จาก ปีงบประมาณ 2552 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหลายแห่งยังไม่มีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน บางแห่งมี แต่ไม่ต่อเนื่อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอ่อนหวานหลายแห่งไม่ได้สานต่อกิจกรรมนี้ จากการสอบถามพบว่าเจ้า หน้าที่ทันตสาธารณสุข ครูพี่เลี้ยงเด็ก และผู้ปกครองมีความเข้าใจในตัวโครงการแตกต่างกัน ยังไม่มีความ ตระหนักในการดูแลสุขภาพเด็กอย่างจริงจัง และให้ความสำ�คัญเรื่องทันตสุขภาพน้อยกว่าสุขภาพทาง ร่างกาย
50
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ปี ง บประมาณ 2554 ฝ่ า ยทั น ตสาธารณสุ ข โรง พยาบาลนากลาง จึงดัดแปลงจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอ่อน หวานมาเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้ เกิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไม่เน้นแค่ลดการ บริโภคขนมหวานเพียงอย่างเดียว โดยเริ่มนำ�ร่องในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลนากลางที่ มี ภ าวะฟั น ผุ สู ง กว่ า เกณฑ์ ที่ ท างจั ง หวั ด หนองบั ว ลำ � ภู กำ�หนดไว้ เพื่อหวังผลให้เกิดการลดลงของภาพรวมสภาวะ ฟั น ผุ ข องอำ � เภอนากลาง และเกิ ด ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก ต้นแบบในการขยายผลสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่นต่อไป รู ป แบบกิ จ กรรมเริ่ ม จากถามความสมั ค รใจศู น ย์ พัฒนาเด็กเล็กที่คัดเลือกเข้าร่วมโครงการ และจัดประชุม ในรูปแบบเชิงปฏิบัติการ 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นการประชุม เชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพ ช่องปากในชุมชน ในรูปแบบกิจกรรมกลุ่มระหว่างครูพี่ เลี้ยงเด็ก ผู้ปกครอง อสม. และเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข โดยวิ ท ยากรตั้ ง โจทย์ เ พื่ อ ระดมความคิ ด ด้ า นงานส่ ง เสริมสุขภาพเด็ก ช่วงที่สองเป็นการติดตามความก้าวหน้า การพัฒนาระบบเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพเด็กในชุมชน โดย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินผลการดำ�เนินงาน ของแต่ละพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขออกสำ�รวจ สภาวะสุขภาพช่องปาก ติดตามงานส่งเสริมทันตสุขภาพ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปิดท้ายปีงบประมาณนี้ด้วยการจัด 51
เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำ�งานส่งเสริมสุขภาพใน ศพด.ของอำ�เภอนากลาง ผลที่ ไ ด้ จ ากโครงการพบว่ า ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก จำ�นวน 6 ใน 7 ศูนย์ที่เข้าร่วมโครงการ มีภาวะฟันผุในเด็ก อายุ 3 ปี ในปีงบประมาณ 2554 ลดลงกว่าปีงบประมาณ 2553 และลดลงน้อยกว่าร้อยละ 60 ของเด็กในศูนย์ที่ได้ รับการตรวจฟันทั้งหมด ส่วนครูพี่เลี้ยงเด็ก 7 ศูนย์ที่เข้าร่วม โครงการ มี ค วามรู้ ใ นงานส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพเด็ ก เพิ่ ม ขึ้ น สามารถเป็นผู้นำ�กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำ�งานส่งเสริมสุขภาพเด็กให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อื่น ๆ ในอำ�เภอนากลางได้ จากการทำ�งานส่งเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มาหลายปี ผู้ เ ขี ย นคิ ด ว่ า ครู พี่ เ ลี้ ย งเด็ ก ในปั จ จุ บั น มี ศักยภาพ มีความรู้ด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพเด็กกันทุก คน จะแตกต่ า งกั น ตรงที่ ค วามตั้ ง ใจในการทำ � งานเพื่ อ เด็ก ๆ ในศูนย์ ซึ่งอาจท้อแท้ ถอดใจกันไปบ้าง เมื่อฝ่าย ทั น ตสาธารณสุ ข เข้ า มาเป็ น ตั ว เชื่ อ มให้ ค รู ไ ด้ พ บปะ แลกเปลี่ยนกัน ก็เหมือนเป็นการเติมกำ�ลังใจให้กันได้ทาง หนึ่ง แต่ปัญหาที่ครูพี่เลี้ยงบอกว่าแก้ไขยากที่สุดก็คือเรื่อง เกี่ยวกับงบประมาณ หรือการสนับสนุนจากเทศบาลและ องค์การบริหารส่วนตำ�บล ซึ่งฝ่ายทันตสาธารณสุขก็คง ต้องเป็นตัวเชื่อมภาคส่วนนี้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำ�งาน ส่งเสริมสุขภาพเด็กให้มากขึ้น หวังให้เกิดภาคีเครือข่ายที่ เข้มแข็งต่อไปในอนาคต
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
เรื่องเล่า
ส
จากเวียดนาม
โดย นาง สุรารักษ์ ชุมภูชนะภัย ผู้ช่วยทันตแพทย์ โรงพยาบาลบ้านหลวง จังหวัดน่าน
วัสดีจ้า….ชาวทันตภูธรที่น่ารักทุกๆคน ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณคุณหมอหนุ่ยมากๆเลยค่ะ ที่แนะนำ�ให้มีโอกาสมาเล่าเรื่องราว ลงในวารสารทันตภูธร ทุกครั้งจะได้อ่านเรื่องราวดีๆจากที่อื่น แต่ครั้งนี้ จะได้เล่าเรื่องของเราให้คนอื่นได้รู้บ้าง ….อิอิอิ…..เอาล่ะค่ะมาเริ่มกันเลยดีกว่านะคะ เมื่อเร็วๆนี้มีโอกาส ได้ไปนำ�ผลงานโปสเตอร์ที่ประเทศเวียดนามมาค่ะ และประเทศไทยเราก็ได้มีผลงานเด่นมากมายไปโชว์ ต่างประเทศและกิจกรรมโครงการเยาวชนป่าคาพาสร้างสุขภาพ ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้ไปในครั้งนี้ด้วย ค่ะ ก่อนที่เราจะเล่าความประทับใจในครั้งนี้ก็ขอเล่าโครงการแบบย่อๆเรียกนํ้าย่อยก่อนนะคะ (เดี๋ยวคนอื่น เค้าจะไม่รู้ว่าเราทำ�อะไรบ้าง ) เริ่มจากได้ทำ�งานในโครงการหนูน้อยบ้านพี้ ร่วมกันอ่อนหวาน กับพี่ทันตาภิบาล (พี่ไหมคนสวย) ทำ�ให้ได้เรียนรู้งาน แนวคิดในการทำ�งานร่วมกับชุมชนหลายๆ อย่าง จึงเกิดความอยาก อยากในที่นี้ก็คือ อยากลองทำ�โครงการขึ้นมาสักอย่าง ก็ในเมื่อเรายังไปพัฒนาที่อื่น ตำ�บลอื่นๆ ได้ แล้วทำ�ไมเราไม่ทำ�ใน บ้านเราดูบ้างล่ะทั้งๆ ที่เราอยู่บ้านตลอดไม่ได้ไปไหน และ ก็เป็นคนในพื้นที่ ชาวบ้านส่วนมากเป็นญาติ กัน ทุกคนจะรู้จักกันเพราะเป็นชุมชนเล็กๆ จะได้พัฒนาชุมชนของตนเอง และตอบแทนความมีนํ้าใจของ คนในชุมชนด้วย (จากส่วนลึกๆ ในใจตั้งแต่เด็กค่ะ) เมือ่ เกิดความคิดทีอ่ ยาก และความท้าทายขึน้ มาคิดว่าจะทำ�งานจริงๆ จึงได้สอบถามความคิดเห็น ของหัวหน้าฝ่ายก่อนเพราะว่าเรามันก็แค่ผู้ช่วยข้างเก้าอี้ กลัวจะทำ�ให้เสียงานเค้าว่างั้นเถอะแต่ว่าคำ� ตอบที่ได้นั้นเกินคาดจริง …. เย้ …… ผลก็คือ ok ผ่านฉลุยเลยงานนี้ พร้อมทั้งยังเป็นที่ปรึกษาให้ ซึ่งสิ่งนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่ ทำ�ให้สามารถทำ�งานตรงนี้ได้ขอบคุณมากๆนะคะหัวหน้า (ทพ.วันเฉลิม บัวบาน สุดหล่อ) แถมใจดีอีกต่างหาก ขอบคุณสำ�หรับ การเปิดโอกาสให้ลูกน้องทำ�ในสิ่งที่ตนเองรัก สนับสนุนชี้แนะ แนวทางในการทำ�งาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ภูมิใจมาก จริงๆ แล้วในความคิดในความคิดของเราลึกๆนั้นคิดว่า ผู้ ช่วยในห้องฟันไม่จำ�เป็นที่จะต้องทำ�งานแต่ในห้องฟันหรือ คอยที่จะอยู่ข้างเก้าอี้ตลอด เมื่อได้โอกาสแล้ว ก็ลุยเลย แต่ก็ต้องมีสิ่งหนึ่งที่เตือนใจเราอยู่เสมอ คือ เราคือผู้ช่วยทันตแพทย์ บทบาทหน้าที่ของผู้ช่วยและงานในฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย ก็ ไม่ควรทิ้ง เพราะผู้ช่วยใน ฝ่ายทันตกรรมไม่ได้มีแค่เราเพียงคนเดียว ส่วนงานโครงการเป็นงานที่ทำ�ในเวลาว่างของเรา กิจกรรมในโครงการเป็นการพัฒนากลุ่มเยาวชนให้มีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยใช้แต้มเป็นตัวกระตุ้นในการทำ�งาน เราคิดว่าเด็ก ยังไงก็คือเด็กต้องมีสิ่งล่อหูล่อตาบ้าง เป็นบางครั้งเพื่อเป็นกำ�ลังใจในการทำ�งาน ผลของงานที่ได้เด็กๆ ช่วยให้ชุมชนบ้าน ป่าคา หมู่ 1 ตำ�บลป่าคาหลวง อำ�เภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน เกิดมาตรการชุมชนขึ้นโดยผ่านเวทีประชาคมของหมู่บ้าน ว่า ในงานเลี้ยง งานแต่ง งานบุญ ไม่มีนํ้าอัดลมขนมหวาน ขนมปี๊บ ขึ้นโต๊ะ จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของเด็กๆ และการตวงปริมาณนํ้าตาลของ เด็กๆ ทำ�ให้ชุมชนรู้ถึงผลเสีย ที่ได้รับมากกว่าประโยชน์ ชุมชนจะใช้ขนมไทยที่ชาวบ้านช่วยกันทำ�เองหรือนํ้าสมุนไพร ผลไม้ตามฤดูกาล ทดแทนแถมยังหาง่าย ประหยัด อีกด้วยซึง่ เมือ่ เปรียบเทียบกับหมูบ่ า้ นใกล้เคียงทีใ่ ช้นา้ํ อัดลมนัน้ จะหมดค่าใช้จา่ ย เป็นเงินจำ�นวน 3,000 บาทต่อ 1 งานเลยนะคะ และจากกิจกรรมโครงการนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากเด็กไทยไม่กินหวานทำ�ให้ได้ไปนำ�เสนอโปสเตอร์ที่ประเทศเวียดนาม ก่อนที่จะได้ไปเวียดนามนี่ก็เจอ ปัญหาอุปสรรคมากมายเหลือเกิน ที่เน้นๆ ก็คือเรื่องภาษา และการแปลบทคัดย่อ ที่เป็นแบบวิชา การ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยากจะบอกว่าไม่เคยได้ทำ�เลย ขนาดภาษาไทย นี่ภาษาอังกฤษซะด้วย ตายแล้ว ตายแน่ๆ แต่ก็มีที่ ปรึกษาที่ดีมากๆเข้ามาช่วยเหลือชี้แนะค่ะ ทำ�ให้เราได้เรียนรู้ไปด้วย (กลับจากเวียดนามจึงบอกลูกบอกหลานว่าอย่าขี้เกียจเรียนภาษา 52
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
อังกฤษ.....เหมือนใครก็ไม่รู้...อิอิ...) การเดินทางไปเวียดนามในครั้งนี้รู้สึกว่าประเทศไทยได้เข้าร่วม มากที่สุด และคิดว่าถ้าไม่มีกรุ๊ปไทยห้องประชุมคงจะโหรงเหลงน่าดูค่ะ ทุกครั้งที่ผู้นำ�ประเทศไทยขึ้น ไปนำ�เสนอ ธงชาติไทยก็จะโบกสะบัดพร้อมกับเสียงปรบมือให้กำ�ลังใจกันกึกก้องห้องประชุมเลยค่ะ พอวันที่ 2 ของการประชุมเป็นการชมโปสเตอร์ของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมจัดแสดง ประเทศไทยก็มี โปสเตอร์เข้าร่วมมากอีกเช่นเคยและก็เป็นที่สนใจของต่างประเทศมากอีกเช่นกันค่ะ การไปครั้งนี้ได้ แบ่งรถกันเป็น รถคันที่ 1 และคันที่ 2 สำ�หรับเรา ได้อยู่ คันที่ 2 รู้สึกว่าจะใช้รถเปลืองมากๆเลยเพราะ ว่าวันแรกนั้น คนขับถอยไปชนประตู กระจกแตกต้องเปลี่ยนรถ ต่อมาหัวเทียนบอด ก็ต้องเปลี่ยนอีก แต่ช่วงเวลาที่รอรถเปลี่ยนนั้นทุกคนก็ไม่ได้รู้สึกเครียดอะไรเลย และน่าตลกมากๆตรงที่ทีแรกเราจะ ให้คันที่ 1 และคันที่ 2 รวมกัน ทุกคนก็พากันไปอัดที่ คัน1 แบบว่ารถแน่นมากๆ จนคนขับบอกว่าไป ไม่ไหว พวกเราจึงพากันลงมารวมกันข้างล่างอีก ยกกระเป๋า ขึ้นๆลงๆรอจนมีรถมาเปลี่ยนใช้เวลารอ เกือบชั่วโมง จึงได้ไปกันต่อค่ะ สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้ไปนั้น ไป เกาะฮาลองเบย์ เป็นเกาะที่สวยงามมากๆ วันที่ไปนั้น ตรงกับวัน ที่ 11 เดือน 11 ปี 2011 ซึ่งชาวเวียดนามรอลุ้นผลประกาศให้เกาะนี้เป็น 1ใน7 สิ่งมหัศจรรย์ทาง ธรรมชาติของโลก และแล้วอ่าวฮาลองเบย์ ก็ได้ลำ�ดับที่ 2 ต่อจากป่าอเมซอน และได้เป็น 1 ใน 7 สิ่ง มหัศจรรย์ทางธรรมชาติของโลก ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ การเยือนเวียดนามครั้งนี้เราก็ได้ความลับ บางอย่างมาว่า ทำ�ไมสาวเวียดนามแต่ละคน ถึงหน้าอกสวยๆทั้งนั้นเลยเวลาที่เค้าใส่ชุด อาวหย่าย จน ทำ�ให้สาวไทยหลายๆคนอิจฉาเลยค่ะ พอดีว่าคุณหมอท่านหนึ่งได้ไปซื้อชุดมาใส่ อาม่าที่ขายชุดบอก ความลับมาค่ะ ก็เลย ถึงบางอ้อกัน….. (ขนาดอ่าม่ายังใส่เลยค่ะ…555) การไปในครัง้ นีไ้ ด้รบั ความอบอุน่ จากคณะมากเลยเพราะรูส้ กึ ว่ากรุป๊ ไทยเป็นกรุป๊ ทีด่ แู ลกันไม่มชี อ่ งว่าง ระหว่างส่วนกลางและทีมงานเลย วันสุดท้ายมีงานเลี้ยงพวกเราก็ร่วมกันใส่ชุดไทยเข้าไปในงานร้องเพลง วันลอยกระทงกันสนุกสนานเพราะว่าตรงกับเทศการวันลอยกระทงของไทยเราพอดีสว่ นเวียดนามก็รอ้ งเพลง ของประเทศเค้าแต่จับใจความว่า ….. เวียดนามโฮจิมิน ……เวียดนามโฮจิมิน ….. เพราะชาวเวียดนามนั้น รักลุงโฮของพวกเขามาก ลุงโฮเป็นวีรบุรษุ ของชาวเวียดนาม ทราบได้จากไกด์คะ่ ซึง่ ไกด์คนั ที่ 2 นัน้ เก่งภาษาไทย มากค่ะและเรียนรูเ้ รือ่ งประวัตศิ าสตร์ได้ดจี ะชอบตรงสายตาของเขามากเวลาทีพ่ ดู ถึงชาติ หรือลุงโฮของพวกเขา เห็นความรักชาติ ของเค้า จึงทำ�ให้เราก็หลงรักลุงโฮของชาวเวียดนาม ไปด้วย และ มีคำ�สอนของลุงโฮที่สั่งสอน ชาวเวียดนามทำ�ให้รู้สึกว่าสามารถนำ�ไปใช้ในชีวิตประจำ�วันของเราได้ “ ชาวเวียดนามเค้าบอกว่า ให้ประเทศ เปรียบได้กับนํ้า เพราะนํ้านั้นสามารถอยู่ในภาชนะใดก็ได้ ”คำ�สอนนี้มันทำ�ให้เราสามารถนำ�ไปปรับตัวเข้ากับ สถานการณ์ต่างๆได้ ก็เหมือนกับนํ้าอยู่ได้ทุกๆที่ อยากให้ชาวไทยทุกคนมีสายตา หรือความรู้สึกรักชาติของเรา แบบนี้ทุกๆคนจังเลยค่ะ สำ�หรับการไปเวียดนามของผู้ช่วยห้องฟันคนหนึ่งในครั้งนี้สิ่งที่จะลืมไม่ได้ และเป็นสิ่งกระตุ้นการทำ�งาน เป็นแรงบันดารใจในการทำ�งานอยู่ตลอดไปก็คือ ขอขอบพระคุณ คุณหมอ ปิยะดา ประเสริฐสม , คุณหมอกมล เศรษฐชั ย ยั น ต์ , คุ ณ หมอวั น เฉลิ ม บั ว บาน, คุ ณ หมอสุ น ทรี ดี ปิ น ตา ,คุ ณ หมอมยุ เ รศ เกษตรสิ น สมบั ติ รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว ,คุณหมอ สมเกียรติ กาญจนสินิทธิ์ รพ.ท่าวังผา และคุณหมอฟัน จังหวัดน่านทุกท่าน ต้องกราบขออภัยด้วยนะ คะที่ไม่ได้เอ่ยนามขอบคุณที่ได้สนับสนุนโอกาสในครั้งนี้ค่ะ
53
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
การจัดบริการที่มีคุณภาพ โดย ทพญ.มยุเรศ เกษตรสินสมบัติ รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว น่าน
ปั
จจุบันนี้อะไรๆก็ต้องมีคุณภาพ หรือมีอะไรมารับรองว่ามีคุณภาพไม่ว่า จะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ หรืองานบริการต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ดังเช่น การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนก็ต้องมีคุณภาพโรงเรียนไหนได้รับการรับรองคุณภาพด้านต่างๆก็จะเป็นที่สนใจของผู้ปกครอง บางคนต้องข้ามนํ้าข้ามทะเลเพื่อที่จะนำ�บุตรหลานไปเข้าเรียน งานบริการด้านสาธารณสุขก็เหมือนกันนับวันการบริการที่มอบให้แก่ ผู้มารับบริการจะเป็นที่คาดหวังของประชาชนและสังคมมากขึ้นว่าต้องมีคุณภาพ เพราะงานบริการของเรา(ด้านสุขภาพ)เป็นเรื่องเกี่ยว กับชีวิต ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการภาครัฐหรือเอกชน ไม่ว่าจะเป็นคลินิกเล็กๆที่จัดบริการทันตกรรมเพียงยูนิตเดียว เปิดเป็นบางวัน หรือจะเป็นโรงพยาบาลที่มีการจัดบริการครบทุกแผนกก็มีความจำ�เป็นที่จะจัดบริการที่มีคุณภาพแล้วคุณภาพของงานบริการมันเป็น อย่างไรล่ะ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 1ให้ความหมายของ คุณภาพบริการสาธารณสุข ไว้ว่า คุณลักษณะของบริการ สาธารณสุขที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ ทั้งด้านมนุษย์ สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และด้านอื่นๆ และพื้นฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมแห่งวิชาชีพตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของประชาชนและสังคมได้อย่างเหมาะสม ในขณะที่อาจารย์ จรัส สุวรรณเวลา (2541) ได้กล่าวไว้ว่า คุณภาพของการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยและญาติ พึงประสงค์ เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลก็หวังว่าจะได้รับบริการที่ดีที่สุด ได้ผลดีที่สุด หายจากโรค ไม่มีความพิการหรือความทุกข์ ทรมาน ทั้งมีความสบายใจ เชื่อใจ และวางใจในขณะที่ประสบความทุกข์จากการป่วย Parasuraman(1985)กล่าวไว้ว่า คุณภาพการบริการแตกต่างจากคุณภาพของสินค้าเพราะ การบริการสัมผัสไม่ได้ (Intangible) ไม่ เหมือนกัน (Heterogeneity) และไม่สามารถแบ่งแยกจากกันได้ (Inseparability)สินค้าเป็นสิ่งที่จับต้องได้ มีความคงทนสูง และโดย ทั่วไปผลิตขึ้นภายใต้การผลิต เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่แน่นอน ในขณะที่การบริการเป็นเรื่องที่มีความผันแปรมากกว่าสินค้า เพราะ การบริการมีคณ ุ ลักษณะสำ�คัญทีจ่ บั ต้องไม่ได้ มีความหลากหลาย และไม่สามารถแบ่งแยกได้จากการผลิตและการบริโภค (inseparability of production and consumption) จะเห็นว่าการจัดบริการที่มีคุณภาพแตกต่างจากการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพเป็นอย่างมากเราไม่สามารถจัดบริการเป็น Lot ๆ ที่ เหมือนกันเหมือนการผลิตสินค้าได้ เพราะความต้องการ หรือความเจ็บป่วยแต่ละคนแตกต่างกันนอกจากนี้กระบวนการผลิตสินค้า ถ้าสินค้าผลิตเสร็จก็มกี ระบวนการตรวจเช็คถ้าไม่สมบรูณห์ รือไม่ได้ตามแบบการผลิตก็คดั ออก หรือถูกลดเกรดสินค้า งานบริการไม่สามารถ ทำ�ได้อย่างสินค้า เพราะเมื่องานบริการไม่เป็นที่พึงพอใจของผู้มารับบริการหรือให้บริการที่ผิดพลาดไปแล้ว นั่นหมายถึงชีวิตหรือผลข้าง เคียงที่ไม่สามารถคัดทิ้งได้ ดังนั้นงานบริการด้านสุขภาพมีความจำ�เป็นอย่างมากที่ผู้ให้บริการต้องเพิ่มเติมจาการเป็นผู้ผลิตก็คือการให้ บริการการผลิตบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ ในการให้บริการแก่ผู้มารับบริการแต่ละราย เพราะเป็นการบริการที่มีผลกระทบต่อ ชีวิต เลือดเนื้อของมนุษย์เช่นเดียวกับเราผู้ให้บริการ ต้องรู้จักสังเกตุเพราะผู้มารับบริการบางคนไม่ได้แสดงออกถึงความต้องการที่แท้จริง ซึง่ หากผูใ้ ห้บริการสามารถให้บริการทีส่ อดคล้องตรงตามความต้องการของผูร้ บั บริการหรือสร้างการบริการทีม่ รี ะดับสูงกว่าทีผ่ รู้ บั บริการได้ คาดหวัง จะส่งผลให้การบริการดังกล่าวเกิดคุณภาพการให้บริการซึง่ จะทำ�ให้ผรู้ บั บริการเกิดความพึงพอใจจากบริการทีไ่ ด้รบั เป็นอย่างมาก ดังนั้นพวกเราทุกคนในฐานะที่มีบทบาทเป็นผู้ให้บริการที่ต้องจัดบริการที่มีคุณภาพให้กับผู้มารับบริการ แล้วทำ�อย่างไรละ ไม่ยาก อย่างที่คิดแค่ลองเปลี่ยนบทบาทของเรามาเป็นผู้รับบริการ ว่าเราต้องการรับบริการอย่างไร ก็นั่นแหล่ะค่ะบริการคุณภาพที่เราควรจัดให้ แก่ผู้มารับบริการ 54
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
จุดประกายความคิด : ความจริงที่สังคมสร้างขึ้น และ ความ (ไม่) มีเหตุผลของคน โดย ทพญ.ดร. มัทนา เกษตระทัต
ก่
อนที่จะศึกษาปรัชญาเซ็น ภูเขาก็คือภูเขา แม่นํ้าก็คือแม่นํ้าเมื่อศึกษาไปได้ซักพัก ภูเขาไม่ใช่ภูเขา แม่นํ้าไม่ใช่แม่นํ้า อีกต่อไป และเมื่อเข้าใจเซ็นแล้ว ภูเขาก็จะเป็นภูเขา และแม่นํ้าก็คือแม่นํ้าอย่างที่มันเป็น ภูเขาและแม่นํ้าจะเป็นอย่างอื่นไปได้อย่างไร ก็ไอ้เส้นแบ่งเขตแดนนี่ไง ภูเขาและแม่นํ้ากลายเป็นสิ่งที่ถูกมนุษย์ให้ความ หมายมีหน้าที่แบ่งว่าฝากนี้ของเราฝากโน้นของเขา มนุษย์เก่งมากในการช่วยกันกำ�หนดว่าสิ่งของสิ่งนึงมันกลายเป็นอะไรที่มีค่าอย่างอื่น กระดาษแผ่นเท่าฝ่ามือ พิมพ์สีสัน ต่างกัน ก็กลายเป็นเงินเอามาแลกซือ้ ของได้ โลหะวงๆใส่ทนี่ วิ้ นางข้างซ้ายก็ท�ำ ให้คนรูว้ า่ คนนีม้ เี จ้าของแล้วนะ ทะเบียนสมรส บ่งบอกการแต่งงาน ที่ทะเลาะกันจะเป็นจะตายในหลายประเทศ ว่าต้องเป็นหญิงแต่งกับชายเท่านั้นนะ เกย์แต่งงานกันไม่ได้ แล้วใครกำ�หนด แล้วอะไรคือสิ่งที่ถูกที่ผิด ทำ�ได้ทำ�ไม่ได้…รู้ได้อย่างไร เมื่อเช้านั่งรถผ่านวินมอเตอร์ไซด์ ก็คุยกันกับคนอื่นๆในรถว่า วินพวกนี้ต้องจ่ายเป็นแสนให้หัวคิวเพื่อจองว่าจะรับส่งคน จากหน้าปากซอย แล้วก็ห้ามไปล้ำ�เส้นวินที่อยู่กลางซอยด้วย … ในใจก็คิดว่า พวกหัวคิวนี้มันจ่ายเงินค่าที่รึก็ไม่ใช่ แล้วมัน เสียค่าใช้จ่ายอะไรถึงมีสิทธิมาเก็บค่าหัวคิว ถนนมันก็ที่สาธารณะ … งง ใครกำ�หนด แล้วทำ�ไมคนทำ�ตาม จริงเหรอทีเ่ ป็น “คนไทย” ต้องรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แล้วไอ้รกั ไม่รกั นีท่ �ำ ยังไง รูไ้ ด้ยงั ไง (หาเรือ่ งแล้วมัย้ ตรู เห่อๆ) แล้วจริงเหรอที่เขมรกับเรานี่คนละชาติพันธุ์กันโดยสิ้นเชิง แล้วจริงๆไอ้เขตแดนนี้มันทำ�หน้าที่อะไร มีไปทำ�ไม มีจริง ไม่จริง เขียนมาทั้งหมดไม่ได้บอกว่าไม่ให้แบ่ง ไม่ให้รัก แต่ให้ฉุกคิดเท่านั้นเองว่า อะไรมันมีมายังไง จะได้ไม่เป็นคนคิดหรือทำ� อะไรอัตโนมัติตามสูตรสำ�เร็จที่คนอื่นกำ�หนดมาให้ นักปรัชญาชาวอเมริกันชื่อ Searle เขียนไว้ว่า ไอ้สิ่งต่างๆในสังคมนี้หน่ะ มันประกอบด้วย “กฎหรือข้อตกลง” ว่าไอ้สิ่งๆนึงนั้นมันมีหน้าที่อะไร มีค่ามากน้อย ดีหรือไม่ดี และ ที่สำ�คัญมากคือ “กลไก” ที่จะทำ�ให้คนในสังคมรู้จักและยอมรับข้อตกลงนั้นๆ … ยอมรับว่า ภูเขากลายเป็นเส้นแบ่งเขต ยอมรับว่ากระดาษแผ่นสีแดง มีค่า 100 บาท แล้วเค้าทำ�กันยังไงให้เรามารู้ว่า สิ่งมายาเหล่านี้มันกลายเป็นโน่น เป็นนี่ ไอ้นี้ดี ไอ้โน่นเลว …. นี่แหละคือประเด็น โดยมากแล้วเราสามารถค้นคว้าหาคำ�ตอบได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์ “อย่างจริงจัง” (เพราะประวัติศาสตร์เองก็ขึ้น อยู่กับคนเขียนคนแต่ง) คำ�ตอบคงไม่มีให้ในบทความนี้จะมีก็แต่ การฉุกให้เราคิดว่า ไอ้ความเชื่อ ความเข้าใจของเรา ว่าอะไร เป็นอะไร อะไรมันต้องเป็นอย่างนั้น อะไรมันต้องเป็นอย่างนี้นั้น มันมี “กลไก” ที่คนอื่นทำ�ให้เราคิดอย่างนั้นด้วย ไม่ใช่ว่าเรา ตัดสินใจคิดของเรามาเองทั้งหมด นักจิตวิทยา นักการตลาด เก่งนักในการคิดคำ� คิดสถานการณ์ หรือ บรรยากาศ ที่จะทำ�ให้ เรา ยอมรับ หรือ ไม่ยอมรับ ไอ้ข้อตกลงพวกนั้น เราไม่ได้ฉลาดหรือมีเหตุผลอย่างที่เราคิด เราได้รับอิทธพลจากกลไกพวกนี้มา ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว 55
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าอะไรจริง อะไรถูกต้อง การที ่ เ ราไม ่ แ น ่ ใ จไม ่ ใ ช ่ ส ิ ่ ง เลวร ้ า ย อาจจะกลายเป็นสิ่งที่อันตรายน้อยกว่าการ ที่เรายึดว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกชัวร์ๆก็ได้ เรามี จุดยืนของเราที่ผ่านจากการตรึกตรองได้ แต่ การที่สามารถเตือนใจตัวเองได้ว่า “เราอาจ จะผิดก็ได้” อาจทำ�ให้เราเป็นคนใจดีขึ้น และ ยอมรั บ ฟั ง คนอื่ น ๆมากขึ้ น ก็ ไ ด้ เพราะสิ่ ง ๆ ต่างๆในโลกนี้โดยมากมันก็เป็นสิ่งที่สังคม สร้างขึน้ อย่างทีเ่ ขียนมา สิง่ ทีเ่ ราคิดว่าจริงอาจ เป็นเพียงสมมติฐาน เป็นเพียงทฤษฎี ส่วนสิ่ง ที่มีอยู่แน่ๆพร้อมลมหายใจเข้าออกก็คือตัว อีโก้ ตัวตนของเราที่ต้องการให้คนอื่นเข้าใจ ต้องการอธิบาย ต้องการให้คนอื่นเห็นเหมือน เรา ต้องการโน่น นั่นเต็มไปหมด คิดอะไรมี เหตุผลไปหมด ลองดูดีๆสิเหตุผลเหล่านั้นมักจะเข้าข้างตัวเองเสมอ แล้วดูให้ลึกลงอีกขึ้น … เราแน่ใจได้อย่างไรว่าเรามีเหตุ มีผล มีตรรกะที่ไม่วิบัติ เอางี้ ถ้ามีบัตรกำ�นัลแทนเงินสด 100 บาทใบนึงแจกให้ฟรีๆเลย กับ อีกใบนึงเป็นบัตรกำ�นัลแทนเงินสด 200 บาท แต่คุณ ต้องจ่าย 50 บาทแลกซื้อมานะ คุณจะเลือกเอาแบบไหน … ใครเลือกแบบไหนก็เชิญอีโก้แต่ละคนพยายามอธิบายเหตุผลของตัวเองกันต่อได้อกี พักใหญ่ (มีคนเคยทำ�การทดลองนี้มาแล้วและพบว่าคนส่วนใหญ่ ยังไงก็เอาของฟรี ทั้งๆที่จริงๆแบบที่สองทำ�ให้คุณได้กำ�ไร 150 บาท เยอะกว่า 100 บาทในแบบแรก) นี่แหละ … กระดาษแผ่นนี้ มันไม่ได้เป็นแค่ เส้นใยร้อยเรียงสานกันแล้วโดนพิมพ์ด้วยหมึกที่อ่านได้ว่าบัตรกำ�นัล และ เหตุผลของคนที่ เถียงคุณมา มันก็ไม่ได้เป็นแค่ คลื่นเสียงมากระทบโสตประสาท… ชิมิ * ตัวอย่างเรื่องภูเขา แม่นํ้า ธนบัตร แหวนแต่งงาน และ การอธิบาย social constructed reality โดย Prof. Searle ได้มา จากหนังสือ A Beginner’s Guide to Reality ของ Jim Baggot ส่วนการทดลองเรือ่ งบัครกำ�นัลเอามาจากหนังสือ Predictably Irrational ของ Dan Ariely
56
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
นกน้อยปีกหักชีวิต ทันตาภิบาลไทย ห
ลายคนเคยฝันไว้วา่ อยากมีชวี ติ อิสระ อยากโลดแล่นไป ไหนก็ได้ตามความฝัน อยากบินสูงแค่ไหนก็ได้ตามใจนึก บินไป ยิ้มไปทักทายให้กับคนรอบข้างอย่างมีความสุข ก็เหมือนกับชีวิต ของนกน้อยที่มีความฝันและอยากบินออกจากรัง ผมเองก็อยาก มีอิสระแบบนกบ้างสักครั้ง แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อ วันหนึ่งนกน้อยเริ่มมีขนปีกที่แข็งแรง มันได้ฝึกการบิน มีตกบ้าง ล้มลงบ้างเจ็บบ้างเป็นของธรรมาดา แต่ความเจ็บปวดที่ผ่านมา เป็นเหมือนครูที่คอยสอนลูกนกให้บินได้ถูกต้องและเร็วยิ่งขึ้น จน กระทั่งเช้าวันหนึ่งลูกนกสามารถบินออกจากรังได้ มันดีใจมากจึง บินไกลออกไป ยิ่งไกลนกน้อยก็ได้เห็นสิ่งที่สวยงามลายล้อมรอบ ตัว แต่ทันใดนั้นเองก็ได้ยินเสียงดัง พรึบ..โป๊ะ !! พร้อมกับอาการ ชา ทีป่ กี ด้านซ้าย การทรงตัวเริม่ ไม่ไหวตกลงมาสูพ่ นื้ ดินกระแทรก อย่างจัง ตอนนีน้ กตัวน้อยรูส้ กึ ว่าตัวเองเจ็บปวดไปทัง้ ตัว เหมือนตัว เองไม่มีปีกอีกแล้วทั้งๆที่เพิ่งจะฝึกบินได้ และนั้นก็คงไม่ต่างอะไร กับชีวิตผมและพี่น้องทันตาภิบาลทั่วประเทศไทย ที่ผมบอกว่าไม่ ต่างก็เพราะว่า พวกเราก็เหมือนนกตัวน้อยมีความฝัน อยากบิน ออกไปเจอโลกกว้างภายนอกแต่แล้วด้วยคุณค่าทีไ่ ม่มใี ครมองเห็น ปล่อยชีวิตไปตามยะถากรรม โดนลูกหินยิงตกมาบ้างก็ไม่มีใคร สนใจ พร้อมรอเวลาให้สตั ว์ใหญ่ทมี่ แี รงมากกว่ามากัดกินหรือแห้ง ตายเพราะไม่มีใครเหลียวแลกว่า 40 ปีที่ผ่านมา มีตัวแทนของทัน ตาภิบาลมากมายที่เป็นเหมือนนักสู้เพื่อวิชาชีพ ทั้งที่เป็นทันตาภิ บาลเองและอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องเพราะพวกเขาเห็นความสำ�คัญ ในอาชีพนีท้ คี่ อยส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากของชาวบ้านและ เด็กน้อยในพืน้ ทีห่ า่ งไกลให้มสี ขุ ภาพช่องปากทีด่ ขี นึ้ พวกท่านเหล่า นี้พยายามหาหนทางความก้าวหน้าให้แก่อาชีพทันตาภิบาล ทุก ครั้งที่เริ่มจุดประเด็นก็เหมือนจะมีผู้หลักผู้ใหญ่สนใจแต่เรื่องก็มัก เงียบหายไปทุกครั้ง พร้อมกับนโยบายที่ผลิตทันตาภิบาลออกมา อย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่กลับไม่มองถึงอนาคตของนก น้อยเหล่านี้ เมือ่ รุน่ เก่าตายจากไปก็มองเพียงว่าผลิตลูกนกตัวใหม่ ออกมา ให้โบยบินไปตามยะถากรรมของมัน ย่อมไม่แปลกทีล่ กู นก เหล่านีจ้ ะตกลงสูพ่ นื้ ดินและรอวันตายต่อไป แล้วท่านก็คดิ จะผลิต ลูกนกรุน่ ใหม่มาทดแทนแบบนีท้ กุ ปีไม่จบไม่สนิ้ อย่างนัน้ หรือ หาก ท่านทีม่ อี �ำ นาจหวนกลับมาคิดสักหน่อยเห็นใจลูกนกเหล่านัน้ บ้าง วัฏจักรทีน่ า่ เศร้าเหล่านีค้ งไม่เกิดขึน้ ทุกๆ ปี ลูกนกเหล่านีจ้ ะเติบโต 57
ได้อย่างไรในเมือ่ เราไม่เคยให้อาหาร ที่ดีกับมัน ปีกจะแข็งแรงได้อย่างไร ในเมื่อเราไม่เคยคิดจะฝึกและสอน นกเหล่านั้นให้บินได้อย่างถูกต้อง และสง่างาม สิ่งที่พวกเราเรียกร้องตลอด 40 ปีนี้ ไม่เคยหวังจะโดดเด่น กว่าใครในสังคม พวกเรารู้ตัวดีในความเป็นนกน้อย แต่ 40 ปีที่ ผ่านมาประเทศไทยพัฒนาไปหลายด้านมากจนเป็นที่รู้จักของทั่ว โลก แต่อาชีพทันตาภิบาลกลับหยุดนิ่งมาตลอด หลายคนถามว่า “ถ้าไม่ดี ถ้าไม่ก้าวหน้า แล้วทนอยู่ทำ�ไม?” แต่อยากให้ท่านกลับ มาคิดสักนิดว่า ชีวิตคนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน ความพร้อมของที่ บ้านในการส่งเสียเล่าเรียนของเราไม่เหมือนกัน พื้นฐานการเรียน รู้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และพวกเราเองมีพ่อแม่ที่ต้องเลี้ยงดู เช่นกัน การเห็นใจเพื่อนมนุษย์เป็นสิ่งที่ดีมิใช่หรือ มิหนำ�ซ้ำ�พวก เค้าเหล่านี้ยังอุทิศตัวทำ�ดีเพื่อสุขภาพช่องปากของคนไทย เมื่อไป ดูข้อมูลย้อนหลังสุขภาพช่องปากของคนไทยเมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา เทียบกับปัจจุบันนี้มันไม่ดีขึ้นหรือ ไม่ใช่เป็นเพราะอาชีพที่ชื่อว่า ทันตาภิบาลหรือ ที่เป็นส่วนหนึ่งของความสำ�เร็จนี้ น่าน้อยใจอยู่ ไม่น้อยที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้างเมืองมองข้ามอาชีพนี้ มีแต่เพียง นโยบายมุ่งสร้างสุขภาพช่องปากของคนไทย แต่ไม่เหลียวแลคน ทำ�งาน ขาดเมื่อไหร่ก็ผลิตเพิ่ม ท่านรู้ไหมทำ�ไมถึงขาดแคลน ทันตาภิบาลเองก็เป็นมนุษย์มีเลือดมีเนื้อมีจิตใจ ขอเพียงอย่า มองพวกเราเป็นเพียงสิ่งของเมื่อขาดก็เติมให้ครบเลย ขอบคุณทุกท่านทีช่ ว่ ยเหลือและเห็นใจนกน้อยอย่างพวกเรา ตลอดมา และขอโทษหากพวกเราผิดพลั้งและล่วงเกิน ด้วยความ ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ขอบคุณอย่างสุดซึ้งครับ Ns. นกน้อยจากไร่สับปะรด
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ข่าว จากติวานนท์ หมอแพร บางใหญ่
ท้
ายปีบางใหญ่จมนํ้า มัวแต่ซ่อมครุภัณฑ์คอลัมน์เลยหายไป ปีนี้ ก็โผล่พ้นนํ้าแล้วมาพบกันใหม่ค่ะ มหากาพย์ – ทันตาสี่ปี เรื่องทันตาตอนนี้คล้ายๆ กับรถไฟฟ้า คือเรื่องมันจะมาทุกรอบที่ มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารกระทรวง เดิมที่เราทำ�ไว้นั้นเรื่องไปดองอยู่ที่ สำ�นักงาน กพ. คือเขาไม่เอาไปเทียบวุฒิให้ ทีมงานของเรานำ�โดยพี่ ศิริชัย พี่โขงก็พยายามเข้าไปติดตาม โดยเข้าไปเล่าเรื่องให้ท่านรอง ปลักนิทัศน์ รายวาทราบเรื่องทันตา ท่านนิทัศน์ท่านมีประสบการณ์ การผลิตพยาบาลเวชปฏิบัติที่ละเป็น 1000 คน(ซึ่งเป็นการผลิตต่อย อด) ท่านคิดว่าหากจำ�นวนผู้เสียหายมากพอ จะเกิดการเคลื่อนไหว เพื่อแก้ไขปัญหาได้ ทันตาที่จบเพียง 50 คน ร้องไม่ดังพอ ท่านบอกให้ ใจเย็นๆ รอคลื่นลูกใหม่(ลูกใหญ่) อย่างไรก็ตาม ระยะสั้นนั้นท่านนิทัศน์ว่า “ไม่ต้องห่วง ผมตามให้ เเน่ เดี๋ยวต้นปีหน้าผมจะพากพ.ไปดูงานรพสต.เเถวอิสาน ว่าเขา ทำ � งานกั น ยั ง ไง” เข้ า ใจว่ า ท่ า นนิ ทั ศ น์ ม าจากพื้ น ที่ อิ ส าน พี่ น้ อ ง ทันตฯเเถวนั้นคงได้ทำ�ความประทับใจให้ท่านอย่างดี ท่านจึงจริงใจ ตั้งใจกับการนี้มากค่ะ สรุปมหากาพย์เรื่องนี้ นางเอกของเรายังต้อง ฝ่าฟันอีกมาก ตอนนี้พี่น้องทันตาก็พยายามทุกวิถีทางที่จะเข้าหาทาง นักการเมือง เพื่อดันเรื่องนี้ หากไม่ได้ก็จะต้องเดิน เรียกว่าไม่ดันก็เดิน กันล่ะค่ะ ส่วนนี้ขอให้ความเห็นส่วนตัว – ไม่ใช่ข้อเท็จจริงนะคะ- ใน ฐานะทันตบุคคลากรในพื้นที่เราร่วมรับรู้รับทราบปัญหาของพี่น้อง ทันตา และเข้าใจความกังวลใจของสบช.ที่ไม่อยากลิตทันตา 2 ปีออก มาทีละมากๆ เพราะหากไม่มี career ladder ที่ดี อาชีพทันตาจะ กลายเป็นอาชีพชั่วคราวที่เรียนไปเพื่อทำ�งานและรอปรับสายงานเป็น อาชีพอื่นที่มั่นคงและเติบโตได้มากกว่า ในขณะที่การส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ เราก็อยากให้มีทันตาที่เป็น มืออาชีพ ที่มีวุฒิปัญญามาช่วยกันทำ� เพราะการปรับพฤติกรรม การ 58
ปรับค่านิยมของสังคมแต่ละที่มันไม่ใช่ง่ายๆ จะให้ทันตา 2 ปี ที่ยัง เด็กมากๆ ไปทำ�ก็เหมือนให้ทันตแพทย์ปี 3 ไปทำ�งานเชิงรุก มันโหด กับ น้อ งมากอยู่ อี กทั้งสั งคมเองก็ใ ห้ค่าวุฒิการศึกษามากขึ้นทุ กที บทบาทของทันตาในฐานะผู้รักษานับวันจะต้องค่อยๆ ลดทอนลงไป (เหมือนการทำ�คลอดที่สอ. สมัยก่อนเจ้าหน้าที่สอ.ก็ทำ�กันเป็นกิจวัตร เดี๋ยวนี้แทบไม่มีทำ�กันแล้ว เพราะมีแพทย์และพยาบาลมากพอ เจ้า หน้าที่สอ. เขาก็ลงไปคัดกรองโรค ป้องกันโรค มีความก้าวหน้าเป็น นวก.ได้ สังคมก็เข้มแข็ง(ความเห็นนี้ได้เรียนท่านรองปลัดไปแล้วเช่น กันในวันที่เข้าไปเล่าปัญหาทันตาให้ท่านทราบ) กองทุนทันตกรรม – จะอยู่หรือจะยุบ ทางสปสช.ก็ไม่น้อยหน้ามีการผลัดใบ เปลี่ยนตัวผู้บริหารสปสช. อ. อัมมาร์ท่านเลิกดูแลด้านการเงินการคลังให้ และมีกรรมการที่มา จากการะทรวงสาธารณสุขเข้าไปในบอร์ดเพิ่มถึง 4 คน การตรวจสอบ การบริหารงบของสปสช.ถูกท้วงติงจากสำ�นักงบอยู่หลายรายการ วันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา นพ. กิตติ ปรมัตถผล ผู้เข้ามาดูแล กองทุนทันตกรรม เล่าให้เราฟังว่าสไตล์การทำ�งานของท่านให้เกียรติ ทันตบุคคลากรในการทำ�งานและไม่ก้าวก่ายงานทันตกรรม ท่านเล่า ว่าทันตฯเราสามารถแสดงให้เห็นว่าเราทำ�งานได้ตามตัวชี้วัด อย่างไร ก็ ต าม หากมี ก ารเปลี่ ย นแปลงผู้ บ ริ ห ารหรื อ ทิ ศ ทางนโยบายการ ทำ�งานจาก คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯ ก็มีความเป็นไปได้ สูงมากว่า กองทุนเล็กน้อยที่เดิมถูกแบ่งแยกและใช้งานแลกเงิน จะ ถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อส่งเงินก้อนให้ CUP บริหาร(ด้วยผู้บริหารของ กระทรวงกังวลเรื่องการนำ�งบการรักษาส่วนบุคคล ไปแตกเป็นกองทุน ต่างๆ ที่มีกิจกรรมนอกเหนือจากงานรักษาทำ�ให้งบรักษาไม่เพียงพอ) และกองทุนทันตกรรม 1,500 ล้านของเราก็นับเป็นกองทุนขนาดเล็กที่ มี ค วามเสี่ ย งในการถู ก ยุ บ สู ง ดั ง นั้ น งบประมาณในการทำ �งานส่ ง เสริมสุขภาพที่เคยขอยากขอเย็น และเปลี่ยนเป็นสามล้อถูกหวยในปี ที่ผ่านมานั้น ปีหน้าเราอาจต้องกลับมาปั่นสามล้อขอตังค์เช่นเดิม อย่างไรก็ตามการทำ�งานของสปสช. ต้องถูกตรวจสอบ และที่ผ่านมา โครงการที่ได้ผลสัมฤทธ์เป็นที่เชิดหน้าชูตาของสปสช.ได้แก่ โครงการ ที่เกี่ยวกับทันตกรรมทั้งหลายเพราะเราสามารถแสดงการประเมินผล โครงการของเราได้อย่างเป็นรูปธรรม นับเป็นที่ได้หน้าได้ตาของสปสช . ทั้งการรักษาแบบcomprehensive care ในเด็กป.1เกินเป้าร้อยละ 20 การทำ�ฟันเทียมได้มากกว่า 40,000 ปาก เกินเป่า 30,000 ปาก (ปี 2556เลยได้ปรับเป้ามาเป็น 45,000 ปาก) ส่วนเป้าการตรวจฟันป.1 เราทำ�ได้ร้อยละ 49 (เป้าร้อยละ70)
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ดังนั้นปี 2556 ก็ไม่แน่นอนว่ากองทุนทันตฯเราจะถูกยุบหรือไม่ (อาจ ต้องเก็บเพื่อไว้แสดงผลการทำ�งานกับสำ�นักงบ) เรื่องนี้ก็แสดงว่าเรา ต้องช่วยกันพิสูจน์ตนเอง ในขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมตังเผื่อๆ ด้วย ว่าหากไม่มีงบกองทุน กิจกรรมเชิงรุกที่เดินหน้าไปแล้ว จะทำ�ต่อกัน อย่างไร ไปใช้งบก้อนไหน สรุ ป เรื่ อ งนี้ อ ยู่ ที่ ฝี ไ ม้ ล ายมื อ ของเราทุ ก คน จะไปจะอยู่ ก็ ต้ อ ง พิสูจน์ฝีมือ หากเรามีความสามารถไม่มีงบก็ไปล้วงกระเป๋าคนอื่นมา ทำ�งานได้ แต่หากมีงบทำ�ไม่เป็น เงินก็ถูกงานอื่นช่วยใช้ทันตสุขภาพก็ ไม่ได้ดีขึ้น (ท่านกิตติว่า จากการศึกษาต่างประเทศนั้นหากจะให้ ทันตฯได้ผลดี งบด้านทันตกรรมน่าจะเป็นร้อยละ 7 ของงบกองทุน ทั้งหมด ดังนั้น งบเราที่ว่ามาก อาจไม่ได้มากไป แต่ปีแรกเราอาจยัง ไม่พร้อม ไม่คน้ ุ กับการใช้งบทำ�งานเชิงรุก พอจะพร้อมงบไม่มพี อดี อ้าว!) การปรับรหัสหัตถการ กระแสการประเมินผลสัมฤทธ์ในการทำ�งาน ทำ�ให้เป็นภาระของ พวกรในการเก็บข้อมูล ดังนั้น การออกแบบข้อมูลกลางเพื่อใช้เปรียบ เทียบการทำ�งานจะเป็นประโยชน์กับเราทุกคนในอนาคต โดยหากเรา ทำ�คนไข้ Key in ข้อมูล 1 ครั้งมีข้อมูลทั่วไป รหัสวินิจฉัย รหัสหัตถการ มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศแล้วไซร้ – เมื่อส่งรายงาน 18 แฟ้ม 21 แฟ้มที่ตอนนี้ไม่รู้จะเปลี่ยนเป็นกี่แฟ้ม ส่วนกลางก็สามารถนำ� data set ที่ได้ไปผูกรายงานเอกเอง ไปวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดโรค การ รักษาโรคได้เอง ลดภาระการแจงนับ การขอข้อมูลด่วนที่เป็นที่อ่อนใจ ของเราทุกคน(ทั้งคนขอข้อมูลและคนส่งข้อมูล) งานนี้จะเริ่มได้ก็ต้องมีการตั้งชุดรหัสการรักษาที่ได้มาตรฐาน กลาง เดิมทันตกรรมส่วนโรงพยาบาลเราใช่รหัสการรักษาได้แก่ ICD 9 CM (สอใช้ JHCIS เป็น 10 TM มานานแล้ว) ขอเดิม 9 CM ไม่ค่อย ละเอียด รหัสเดียวแทนการรักษาหลายชนิด ดังนั้นเราต้องมีการ key ทวนในโปรแกรมทันตฯต่างๆ เพื่อเตรียมข้อมูลทำ�ผลงาน ทำ�อวช. ปลายปี 2554 นี้ท่านจารุวัฒน์ได้เรียกประชุมเพื่อจัดกลุ่มรหัสหัตการ ICD 10 TM (Thai modified) มีจุดเด่นคือละเอียดละออยาวถึง 7 หลัก เล่าทัง้ โรค ทีต่ ง้ั โรค ข้อมูลชุดนีเ้ ราออกแบบกันมานานหลายปีแล้ว ปลายปีที่ผ่านมามีการนำ�ข้อมูล 10 TM เทียบกับ 9 CM เทียบ กับรหัสเลข 5 ตัวของกรมบัญชีกลาง จัดกลุ่มตามสาจาเฉพาะทาง เตรียมรองรับการประเมินผลการทำ�งานแบบใหม่และรายงานทันตฯอืน่ ๆ เดื อ นพย. 2554 มี ก ารเวี ย นจดหมายแจ้ ง พื้ น ที่ ว่ า นั บ แต่ 1 มกราคม รพ. สามารถส่ง 10 TM ไปที่สปสชได้แล้ว สปสช.ได้ปรับ โปรแกรมเพื่อรับ 10 TM แล้ว (แปลว่า 10TM ก็เบิกได้เช่นเดียวกับ 9 CM แต่ข้อดีคือรายงานทันตฯตัวอื่น จะค่อยๆ ลดลงๆ ไปในที่สุด) เริ่ม ปีงบ 2556
เรื่องข้อมูลนี้มีจังหวัดนำ�ร่องทั้งหมด 23 จังหวัด ดังนี้
ภาคเหนือ ได้แก่ น่าน ลำ�ปาง พะเยา เชียงใหม่ ภาคอิสาน ได้แก่ ชัยภูมิ อุบล ขอนแก่นกาฬสินธุ์ หนองคาย บึงกาฬ บุรีรัมย์ สุรินทร์ 59
ภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ภาคกลาง ได้แก่ นนทบุรี ราชบุรี นครปฐม สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราชฯ ปัตตานี ระนอง สงขลา พี่น้องทันตแพทย์ที่ทำ�งานในจังหวัดนำ�ร่อง ขอให้ทราบและ เตรียมนำ�ร่องกันดีๆ อย่าได้ตามร่อง ผิดร่อง หรือตกร่องไปเชียวนะคะ เบี้ยเลี้ยงเหมา (แล้วไม่) จ่าย และ P4P ว่ากันว่า “ เงินไม่ใช่เรื่องสำ�คัญ ไม่ได้เงินต่างหากที่สำ�คัญ” ตอนนี้พี่ น้ อ งเราหลายที่ ค งไม่ ไ ด้ รั บ เบี้ ย เลี้ ย ง เหมาจ่าย ส่วนพี่น้องที่รพศ. รทพ. ยิ่ง ไม่ได้เลยสักที่ ด้วยมีจดหมายท้วงติง เรื่องการจ่ายเงิน 15,000 ที่รพท. รพศ. เพราะเดิมไม่มีการจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมา จ่ายในกลุ่มนี้ แต่การจ่ายเกิดขึ้นหลังมี การปรับอัตราการจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมา จ่ายที่รพช. เพื่อให้ไม่เกิดความแตก ต่ า งกั น มากจนเกิ น ไปในการทำ � งาน ส่ ว นนี้ ผู้ บ ริ ห ารรพท.รพศ. ก็ มิ ไ ด้ นิ่ ง นอนใจ ก็ได้พยายามหามาตรการ P4P เพื่อให้สามารถจ่ายเงินให้คนทำ�งานได้ โดยมีแนวคิดว่าทำ�มากได้มาก ทำ�น้อย ได้น้อย เพราะสมมติฐานคือการทำ�งาน ใน ระดับ อ.เมือง มีคนไข้มากกว่า มี ภาระงานมากกว่าในเขตอำ�เภอ การทำ� P4P น่าจะอยู่ในวิสัยที่จะ ทำ�ได้โดยไม่ยาก เกณฑ์การจ่าย P4P ของรพศ. โปรดตามอ่านได้ใน คอลัมน์ P4P โดยตรงนะคะ แล้วส่วนรพช.เล่า ทำ�ไมได้บางที่ยังไม่ได้บางที่ได้รับแล้ว ส่วนนี้ เกิ ด จากสถานะเงิ น บำ � รุ ง และความไม่ มั่ น ใจในกระบวนการงบ ประมาณ ค่าที่เดิมเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายจะมีงบประมาณมาช่วยจำ�นวน หนึ่ง ซึ่งหากรพ.ตัดจ่ายไปก่อน ก็จะอดได้งบประมาณส่วนนี้ เป็นการ เสียโอกาสหน่วยงาน(จ่ายไปแล้ว ไปเอางบมาไม่ได้) ผู้บริหารหลายที่ จึงเลือกที่จะรองบประมาณว่าจะตกมาจริงไหม เมื่อไร และมีบาง รพช.ที่ ห ากจ่ า ยเบี้ ย เลี้ ย งเหมาจ่ า ยจากเงิ น บำ � รุ ง จะเกิ ด “สภาพ ฝืด”แทน “สภาพคล่อง” อาจต้องมีการดึงจ่ายค่ายา ซึ่งเป็นการนำ�เอา ค่ายามาจ่ายเป็นค่าตอบแทนไปเสีย นอกจากนี้เพื่อความเป็นธรรมก็มีการเสนอให้ปรับรพช. ตามที่ ตั้งโดยมีรพช.เขตปริมณฑลจำ�นวนหนึ่งซึ่งจะต้องถูกปรับลดเบี้ยเลี้ยง เหมาจ่าย ซึ่งเป็นการจ่ายชดเชยการเสียโอกาสของการดำ�รงชีพ เช่น บางใหญ่ที่ติดกรุงเทพ ก็จะโดนลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย และหากจะ ปรั บ เพิ่ ม การจ่ า ยจะต้ อ งจ่ า ยจาก P4P ซึ่ ง ก็ ต้ อ งไปเร่ ง ศึ ก ษา เร่ ง ดำ�เนินการกันต่อไป
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
เครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ
สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สสพ. www.oha-th.com
วันที่ 21-22 กุมพาพันธ์ 2555 ตัวแทนเครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ นำ�ทีมโดย ทพญ.ภัตติมา บุรพลกุล,ทพญ.มาละศรี ปัญญาสกุลวงศ์, คุณอัญชลี วิมล จาก สถาบันราชานุกูล, ทพญ.พรทิพย์ แก้วประดิษฐ์ จาก รพท.สงขลา จ.สงขลา , ทพญ.สุรีรัตน์ สูงสว่าง รพท.น่าน จ.น่าน, นางศศิธร ไชยพลงาม รพช.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด เข้าร่วมจัด นิทรรศการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการในเด็กวัยเรียน ในงานประชุมวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายโรงเรียน เด็กไทยฟันดี จัดโดยสำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ณ.โรงแรมมณฑียรริเวอร์ กรุงเทพ
60
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
วั น ที่ 16 มี น าคม 2555 ทพญ.เยาวพา จั น ทรบุ ต ร ตัวแทนเครือข่ายโรงพยาบาล โพนทอง นำ�เสนอผลงาน “การ พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ ช่ อ งปากผู้ พิ ก าร เครื อ ข่ า ย บริการสุขภาพโพนทอง จังหวัด ร้อยเอ็ด” ที่ห้องย่อย สร้างเครือ ข่ายชุมชนสร้างหนทางสู่ความ สำ�เร็จในงานประชุม HA Forum ครัง้ ที่ 13 เรียนรูบ้ รู ณาการ งานกับชีวิต ทพญ.เยาวพาเล่า ว่า “ไม่กปี่ ที แี่ ล้ว ทีร่ บั เงิน อ.ทรง วุฒิ มาทำ�งาน ยังไม่รู้จักงาน เชิงรุกคืออะไร ทำ�งานกับชุมชน ทำ�ยังไง วันนีไ้ ด้ไปเล่าให้คนอืน่ ฟัง การสร้างเครือข่ายชุมชน เป็นการสร้างความสำ�เร็จของโพนทองจริงๆ การเห็นตัวตนของเรา เห็นบริบททุกผูค้ น เห็นความดีของคน เห็นความดีของชุมชน เป็นกำ�ลังใจในชีวติ ของพีจ่ ริงๆ “ ขอบคุณพีเ่ ยานะคะ ความสำ�เร็จ ของพี่เยาก็เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเราทุกคนด้วยเช่นกันคะ
61
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
ข่าววงใน
จากใจหมอกมล
โดย ทันตแพทย์กมล เศรษฐ์ชัยยันต์ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
“น่
านนี่อยู่อีสานตอนไหน” เป็นคำ�ถามที่ผมเคยได้ รับจากเพื่อนๆ ยามทราบว่าผมย้ายมาอยู่น่านเมื่อสิบกว่าปี ก่อน คำ�ถามนี้ทำ�ให้ผมอึ้งไปพักใหญ่เพราะไม่ทราบว่าจะ ตอบอย่างไรดี แต่ทำ�ให้ผมทราบว่าน่านไม่เป็นที่รู้จักแม้แต่ คนที่เคยอยู่ภาคเหนือด้วยกันมาก็ตาม เวลาผ่านไปเร็วดัง โกหกผู้คน มาบัดนี้ชื่อเสียงของเมืองน่านเริ่มเป็นที่รู้จักใน ฐานะเมืองท่องเที่ยวน้องใหม่ที่มีความบริสุทธิ์อยู่มาก หรือ บางท่ า นก็ ท ราบจากข่ า วเหตุ ก ารณ์ ส ดเฮลิ ค อปเตอร์ ข อง ปลัดกระทรวงตก หรือ รถตกเขาเพราะเชื่อเครื่องจีพีเอส สารพัดเหตุการณ์ที่บอกเรื่องราวของที่นี่เมืองน่าน สำ�หรับในวงการวิชาชีพทันตกรรมก็มีข่าวเกิดขึ้นเช่นกัน เมื่อกลางปีที่แล้วตัวแทนวิชาชีพทั่วประเทศได้ลงมติเลือกให้ ทันตแพทย์กมล เศรษฐ์ชัยยันต์ จากสำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัดน่านเป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมเข้าเป็น กรรมการใน คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน บริการสาธารณสุข ของสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ นับเป็นทันตแพทย์ชายขอบท่านแรกที่ถูกเลือกเข้ามา ในกรรมการชุดนี้แสดงให้เห็นว่าวิชาชีพของเราเปิดกว้างให้ ทันตแพทย์จากชนบทได้มีโอกาสในการทำ�งานเป็นตัวแทน วิชาชีพเช่นกัน ในวันที่เลือกตั้งผมได้ให้คำ�มั่นต่อที่ประชุมว่า ผมจะพยายามทุ่มเทในการทำ�งานและรายงานการทำ�งาน ของผมให้วงการวิชาชีพของเราทราบเป็นระยะ ก่อนอื่นต้อง ขอขอบคุณหลายท่านทีไ่ ด้สอบถามเข้ามาว่าผ่านมาหกเดือน แล้วผมเป็นอย่างไรบ้าง ผมยังสบายมากครับ เพราะคณะ กรรมการยังไม่ได้เรียกประชุมเลยทั้งๆที่จริงต้องประชุมทุก เดือนเนื่องจากในระยะแรกวิชาชีพต่างๆต้องเลือกตัวแทน 62
เข้ามาเป็นกรรมการ แต่บางวิชาชีพเลือกได้แล้วต้องทำ�เรื่อง ขออนุมัติหน่วยงานต้นสังกัดให้อนุญาตอีก กว่าจะครบก็พบ ว่านา้ํ ท่วมสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอกี ผมเลยจะได้เริ่มประชุมนัดแรกเดือนมกราคม ๒๕๕๕ แทน ผมเลยคิดว่าฉบับหน้าผมจะนำ�บรรยากาศการประชุม รวมถึงเรื่องที่น่าสนใจมานำ�เสนอ ส่วนฉบับนี้ผมขอเก็บตก สิ่งที่สะท้อนจากในวันที่เลือกตั้งมากล่าวแทน บางท่านอาจ ยังไม่ทราบว่ากรรมการชุดนี้คือใครมีหน้าที่อย่างไร ผมขอ ย้อนกล่าวถึงพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ ได้กำ�หนดให้มีคณะกรรมการ ๒ ชุดที่บางท่าน ชอบเรียกว่า บอร์ด สป.สช. โดยคณะแรกคือคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาจเรียกว่าเป็นบอร์ดบริหารมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในชุดนี้มีผู้ แทนทั น ตแพทยสภาเป็ น กรรมการท่ า นหนึ่ ง ซึ่ ง ในชุ ด ปัจจุบันคือ ทพ.ศิริชัย ชูประวัติ อีกชุดหนึ่งคือคณะกรรมการ ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข อาจเรียก ว่ า เป็ น บอร์ ด วิ ช าการ ที่ มี ตั ว แทนจากวิ ช าชี พ ต่ า งๆเป็ น กรรมการสำ � หรั บ วิ ช าชี พ ทั น ตกรรมจะมี ตั ว แทนจากทั น ต แพทยสภาหนึ่ ง คนและตั ว แทนที่ ไ ด้ รั บ การเลื อ กตั้ ง จากผู้ ประกอบวิชาชีพทันตกรรมอีกหนึ่งคน สำ�หรับในกรรมการ ชุ ด นี้ ตั ว แทนจากทั น ตแพทยสภาได้ แ ก่ ผศ.(พิ เ ศษ) ทพ.ไพศาล กั ง วลกิ จ ในการประชุ ม เพื่ อ เลื อ กตั ว แทนผู้ ประกอบวิ ช าชี พ ทั น ตกรรมได้ มี ส มาชิ ก บาง่ า นสงสั ย ว่ า กรรมการชุดนี้มีหน้าที่อย่างไรบ้าง ผมเลยขอถือโอกาสนี้ กล่าวถึงอำ�นาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
(๑) ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและ เครือข่ายหน่วยบริการตาม มาตรา ๔๕ (๒) กำ � กั บ ดู แ ลการให้ บ ริ ก ารสาธารณสุ ข ของหน่ ว ย บริการให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ในกรณีที่หน่วยบริการ นั้น ๆ มีการให้บริการในส่วนที่สูงกว่าบริการสาธารณสุข ตามมาตรา ๕ (๓) กำ�หนดมาตรการควบคุมและส่งเสริมคุณภาพและ มาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ (๔) เสนอแนะอัตราราคากลางของโรคทุกโรคต่อคณะ กรรมการเพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์กำ�หนดค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการตามมาตรา ๔๖ (๕) กำ�หนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการร้อง เรี ย นของผู้ ซึ่ ง ถู ก ละเมิ ด สิ ท ธิ จ ากการใช้ บ ริ ก าร และวิ ธี พิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าว รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธี การให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ แก่ ผู้ ซึ่ ง ถู ก ละเมิ ด สิ ท ธิ จ ากการใช้ บริการ และกำ�หนดหน่วยรับเรื่องร้องเรียนเพื่อให้ประชาชน สามารถเสนอเรื่องร้องเรียนได้โดยสะดวกและเป็นอิสระจาก ผู้ถูกร้องเรียน (๖) รายงานผลการตรวจตราและการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการต่อ คณะกรรมการ พร้อมทั้งแจ้งหน่วยบริการและหน่วยงานต้น สังกัดเพื่อปรับปรุงแก้ไขและติดตามประเมินผลในเรื่องการ ปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐาน (๗) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจ ตราและการควบคุมกำ�กับหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วย บริการ (๘) จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ในกรณีที่ผู้รับบริการได้ รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลโดยหาผู้ กระทำ�ผิดมิได้ หรือหาผู้กระทำ�ผิดได้แต่ผู้รับบริการไม่ได้รับ ค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามหลักเกณฑ์ วิธี การ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำ�หนด (๙) สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบการเผยแพร่ข้อมูล แก่ ป ระชาชนเพื่ อ ใช้ ป ระกอบการตั ด สิ น ใจในการเข้ า รั บ บริการสาธารณสุข (๑๐) ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อื่ น ตามที่ พ ระราชบั ญ ญั ติ นี้ ห รื อ กฎหมายอื่นกำ�หนด ให้เป็นอำ�นาจหน้าที่ของคณะกรรมการ 63
ควบคุ ม คุ ณ ภาพและมาตรฐานหรื อตามที่ ค ณะกรรมการ มอบหมาย หลังอ่านอำ�นาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้บางท่าน อาจยังสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับวิชาชีพทันตกรรมอย่างไรบ้าง ผมขอยกตัวอย่างซักสองเรื่องที่เกี่ยวข้องเช่นกรณีที่สถาน บริการใดจะขอขึ้นทะเบียนเป็นเครือข่ายบริการสุขภาพของ สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต้องผ่านการตรวจ คุณภาพและมาตรฐานตามที่คณะกรรมการได้กำ�หนดไว้ ใน เรื่องนี้มีบงท่านให้ความเห็นว่ามาตรฐานทันตกรรมยังมีน้อย ไม่เพียงพอ ขอให้กำ�หนดหลักเกณฑ์มากยิ่งขึ้น สิ่งนี้ผมขอ นำ � ไปศึ ก ษาดู ก่ อ นเนื่ อ งจากถ้ า มี ห ลั ก เกณฑ์ ม าก สถาน บริ ก ารที่ จ ะผ่ า นการประเมิ น ก็ จ ะยากยิ่ ง ขึ้ น ถ้ า ท่ า นใดมี ประเด็ น ใดที่ อ ยากเปลี่ ย นก็ เ สนอเข้ า มาได้ เ พื่ อ ผมจะได้ ทำ�การหยั่งเสียงในผู้ประกอบวิชาชีพว่าเห็นด้วยเพียงใด แต่ ในความคิดของผมหลักเกณฑ์ที่จะออกมาไม่ควรมากกินไป หรือน้อยเกินควร เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนที่มาก ขึ้น อีกกรณีหนึ่งคือมาตรา ๔๑ ที่เรียกกันเป็นเงินช่วยเหลือ เบื้ อ งต้ น แก่ ผู้ รั บ บริ ก ารที่ ไ ด้ รั บ ความเสี ย หายจากบริ ก าร สาธารณสุข โดยไม่ต้องรอผลพิจารณาผิดหรือถูก แต่ต้องไม่ เป็นตามพยาธิสภาพของโรค หรือเหตุแทรกซ้อนที่เป็นไป ตามปกติ ข องโรคนั้ น และได้ มี ก ารวิ นิ จ ฉั ย และรั ก ษาตาม มาตรฐานแล้ ว โดยคณะกรรมการควบคุ ม คุ ณ ภาพและ มาตรฐานบริการสาธารณสุขได้แต่งตั้งอนุกรรมการประจำ� จังหวัดเพื่อรับเรื่องและวินิจฉัยเบื้องต้นภายใน ๓๐ วันหลัง ได้รับคำ�ร้อง ถ้าผู้เสียหายไม่พอใจสามารถยื่นอุทธรณ์มาที่ คณะกรรมการชุดใหญ่ได้ ซึ่งขณะนี้เรื่องร้องเรียนทางทันต กรรมกำ�ลังเพิ่มมากขึ้นก็เป็นอีกทางเลือกของผู้รับบริการ ไว้ ในฉบับต่อไปผมจะได้นำ�ตัวอย่างหรือข้อสังเกตที่น่าสนใจ มาเขียนให้ทราบอีกครั้ง ท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้โอกาสผมเข้ามา ทำ�งานในคณะกรรมการชุดนี้ ผมจะพยายามทำ�อย่างเต็ม ความสามารถ ยามเกิดปัญหาหรือต้องตัดสินใจใดๆผมจะ ใช้มุมมองระดับทุกท่าน รักษาผลประโยชน์ที่สมดุลระหว่าง วิชาชีพทันตกรรมกับผู้รับบริการทันตกรรม พยายามให้ทุก ฝ่ายพึงพอใจสูงสุเท่าที่จะทำ�ได้รับ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า ครับ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555
กรองใจท้ายเล่ม
ฉ
บับนี้เป็นฉบับส่งท้ายปีเก่าพ.ศ.2554และต้อนรับ ปีใหม่พ.ศ.2555 ซึ่งปีเก่าที่ผ่านไปช่างเป็นปีที่ชุ่มฉ่ำ� (ทั้งนํ้า ที่ท่วมและนํ้าตา) ของชาวไทย ด้วยเหตุการณ์มหาอุทกภัย ครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่เกิดขึ้นระหว่างฤดู มรสุมในประเทศไทย พ.ศ.2554 เกิดผลกระทบต่อ บริเวณ ลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาและลุ่มนํ้าโขง เริ่มตั้งแต่ปลายเดือน กรกฎาคมและยั ง คงดำ � เนิ น มาจนถึ ง ปั จ จุ บั น มี ร าษฎร ได้รับผลกระทบแล้วมากกว่า 12.8 ล้านคน ธนาคารโลก ประเมิ นมู ลค่ าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้า นล้า นบาท เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 และจัดให้เป็นภัยพิบัติครั้ง สร้างความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก อุทกภัย ดังกล่าวทำ�ให้พื้นดินกว่า 150 ล้านไร่ ซึ่งในจำ�นวนนี้เป็น ทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมใน 63 จังหวัด 641 อำ�เภอ และที่สำ�คัญยิ่งคือท่วมกรุงเทพมหานคร เมือง หลวงของประเทศไทย ด้วยอุทกภัยครั้งนี้ถูกกล่าวขาน ว่าเป็น “อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดทั้งในแง่ของปริมาณนํ้า และจำ � นวนผู้ ไ ด้ รั บ ผลกระทบ” ผลกระทบและความ เสียหายที่เกิดขึ้น ได้แก่ ความเสียหายแก่ทรัพย์สินและ ชีวิตของประชาชน โบราณวัตถุ และโบราณสถาน ถนน หนทางการคมนาคม ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม การศึกษา การท่องเที่ยว ปัญหาทางสังคม เช่น การขัด แย้งเรื่องการกั้น-ระบายนํ้า การประท้วงปิดถนน ปัญหา ทางสาธารณสุข ได้แก่ สุขภาพจิตของผู้ประสพภัย การ เจ็บป่วย การควบคุมโรคระบาด การสุขาภิบาลอาหารและ นํ้า สิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ นํ้าเน่าเสีย เป็นต้น แต่ในด้าน บวก ก็จะเห็นความมีนํ้าใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนไทย ทั้งประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ระดมความช่วยเหลือ กันอย่างน่าซึ้งใจยิ่งนัก ว่าจะเป็นคนไทยภาคไหน เชื้อชาติ ใด นั่นย่อมแสดงให้ชาวโลกได้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่ 64
รักกัน ห่วงใยและเอื้ออาทรกัน นอกจากนี้ไทยเรายังได้รับ การช่ ว ยเหลื อ จาก ต่ า งประเทศ เช่ น จี น ญี่ ปุ่ น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในโอกาสขึน้ ปีใหม่ 2555 นี้ ขอให้เป็นปีทคี่ นไทยทุกคน ประสบความสุข อย่าได้มีภัยพิบัติใดๆเลย (แต่ก็ต้องระวัง และป้องกันด้วย) ขอให้ทกุ คนเข้มแข็งและต่อสูก้ บั ชีวติ อย่าง มีสติ ดัง่ เพลง Live and Learn จุดเปลีย่ นของชีวติ ทีม่ เี นือ้ ร้อง “เมือ่ วันทีช่ วี ติ เดินเข้ามาถึงจุดเปลีย่ น จนบางครัง้ คนเรา ไม่ทนั ได้ตระเตรียมหัวใจ ความสุขความทุกข์ ไม่มใี ครรูว้ า่ จะ มาเมื่อไหร่ จะยอมรับความจริงที่เจอได้แค่ไหน เพราะชีวิต คือชีวิต เมื่อมีเข้ามาก็มีเลิกไป มีสุขสม มีผิดหวัง หัวเราะ หรือหวัน่ ไหว เกิดขึน้ ได้ทกุ วัน อยูท่ เี่ รียนรู้ อยูท่ ยี่ อมรับ มัน ตามความคิดสติ เราให้ทนั อยูก่ บั สิง่ ทีม่ ี ไม่ใช่สงิ่ ทีฝ่ นั และ ทำ�สิ่งนั้นให้ดี..ที่สุด สุขก็เตรียมไว้ ว่าความทุกข์คงตาม มาอีกไม่ไกล จะได้รับความจริง เมื่อต้องเจ็บปวดไหว “ เมื่อ อ่านหรือร้องเพลงนีก้ ค็ ง สะท้อนความจริงของชีวติ คนเราได้ ดีมาก สรุปความว่า ชีวติ คนเราทุกคนล้วน มีทงั้ สุขได้ มีทกุ ข์ ได้ เราต้องมีสติ รับมือกับเหตุการณ์ให้ได้บนความเป็นจริง ซึง่ มันเป็นสัจธรรมของชีวติ (ท่านสามารถดาวน์โหลด/รับ ชมรับฟังได้ที่ Youtube ค่ะ) เพลงนีด้ จี ริงๆ ต้องขอขอบคุณผู้ แต่งเนือ้ ร้องนี้ คือบอย โกสิยพงศ์ และผูข้ บั ร้องคือ คุณกมลา สุโกศล ไว้ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ ทพญ.บานเย็น ศิริสกุลเวโรจน์ ประธานชมรมทันตสาธารณสุขภูธร
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2555