4 ทศวรรษ ทันตาภิบาล ไทย

Page 1

บันทึกทันตาภิบาลไทย

สมาคมทันตาภิบาลแห่งประเทศไทย

ทศวรรษทันตาภิบาลไทย ทันตาภิบาล หรือชื่อตามตำแหน่งที่บรรจุเป็นข้าราชการ คือ “เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข” เป็นบุคลากรด้านสาธารณสุข เดิม ดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ตามข้อกำหนดเมื่อมี มติให้ผลิตทันตาภิบาลเนื่องจากการขาดแคลนทันตแพทย์ในการดูแล สุขภาพช่องปากประชาชน กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางทันตสาธารณสุข ด้วยเหตุผลที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับทันตสาธารณสุขได้เสนอว่า โรคต่าง ๆ ภายในช่องปากนั้นเป็นโรคสำคัญ ที่จะทำให้ สุขภาพของประชาชนดีหรือเสื่อมได้ และการ บริหารงานที่เกี่ยวกับช่องปากและฟันของ ประชาชนนี ้ ต้ อ งดำเนิ น การทั ้ ง ในด้ า น การส่ ง เสริ ม ป้ อ งกั น และบำบั ด ซึ ่ ง มี

ส่ ว นราชการทั ้ ง ภายในและภายนอก กระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องหลาย หน่วยงานด้วยกัน โดยร่วมกันดำเนินงาน เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี ของประชาชน

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2553  17


โรงเรียนทันตาภิบาลได้เปิดสอนนักเรียนรุ่นแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2511 ณ ศูนย์ฝึกอบรมอนามัยภาคกลาง จังหวัดชลบุรี (วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ. ชลบุรี ในปัจจุบัน) มีหลักการที่คล้ายคลึงกับโรงเรียน Dental Nurse ของ ประเทศนิวซีแลนด์ และปี 2521 ได้เปิดสอนที่วิทยาลัยการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น เพิ่มอีกหนึ่งแห่ง ต่อมาในช่วง ปี 2527 - ปัจจุบัน เปิดสอนอีก 5 แห่ง คือ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัด ยะลา จังหวัดตรัง จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดรับนักศึกษา ประมาณปีละ 300 คน ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมจากเดิมในการรับสมัครเข้าเรียน คือ กำหนดให้เป็นคนในพื้นที่เพื่อป้องกันการโยกย้าย และเมื่อจบการศึกษาไปแล้ว ได้กำหนดบทบาทหน้าที่เพื่อดูแลทันตสุขภาพของเด็กวัยก่อนเรียนและเด็กชั้น ประถมศึกษาอายุไม่เกิน 14 ปี ภายในคลินิกทันตกรรมของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีขอบเขตในการปฏิบัติงาน คือ ตรวจและบันทึกภาวะผิดปกติของฟัน ทำความสะอาดฟัน อุดฟันถาวรและฟันน้ำนมที่ผุ ถอนฟันน้ำนมและฟันถาวรโดย ใช้ยาชาเฉพาะตำแหน่ง การทายาเพื่อป้องกันฟันผุ พิจารณาจัดส่งเด็กที่มีการสบฟันผิดปกติหรือความพิการอื่น ๆ ที่นอกเหนือขอบเขตการปฏิบัติงานของตนไป รับการบำบัดจากทันตแพทย์ และให้ทันตสุขศึกษา ต่อมาในปี 2539 กระทรวงสาธารณสุ ข มี ป ระกาศเป็ น กฎกระทรวง กำหนดให้ ท ั น ตาภิ บ าลสามารถดู แ ล สุขภาพช่องปากผู้ใหญ่ได้ในระดับหนึ่ง (ดูในล้อมกรอบ) ทั น ตาภิ บ าลเมื ่ อ เรี ย นจบหลั ก สู ต รจะได้ ร ั บ การบรรจุ เ ป็ น ข้ า ราชการใน ตำแหน่งเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขระดับ 2 ตามที่จังหวัดจัดสรร ทั้งในสำนัก- งานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลชุมชน (ตั้งแต่ปี 2545 - ปัจจุบัน ไม่มี ตำแหน่งบรรจุ ต้องใช้อัตราจ้าง) ต่อมาในปี 2535 ได้มีการขยายกรอบทันตาภิบาลไปที่ สถานีอนามัย ขนาดใหญ่ ซึ ่ ง มี ค วามพร้ อ มที ่ จ ะให้ ก ารดู แ ลและส่ ง เสริมสุขภาพช่องปากได้ ตามโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนา สถานีอนามัย (ทสอ.) และการปฏิบัติงานในพื้นที่มีการดำเนินงานร่วมกับองค์กรอื่น ๆ เพื่อร่วมกันค้นหาและแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับทันตสุขภาพ โดยต้องอาศัยองค์ความรู้ที่เป็นระบบ มากยิ่งขึ้น ซึ่งความรู้จากหลักสูตร 2 ปีที่เคยเล่าเรียนมา ประกอบกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้ ทันตาภิบาลต้องหาทางพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง เพราะหน่วยงานต้นสังกัดไม่สามารถจัดการให้ได้ ทั้ง ๆ ที่ใน อดีตที่ผ่านมา ได้มีความพยายามที่จะให้มีการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อให้ได้วุฒิปริญญาตรี โดยในปี 2529 กระทรวงสาธารณสุขได้

ขอความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อขอให้จัด หลั ก สู ต รต่ อ เนื ่ อ งให้ ท ั น ตาภิ บ าล ซึ ่ ง ได้ ร ั บ ความร่ ว มมื อ เป็ น อย่ า งดี จ าก 18

ปีที่ 20 ฉบับที่ 1


มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในการเปิดหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิชาเอกทันตสาธารณสุข และเริ ่ ม มี ก ารศึ ก ษาในปี 2535 ซึ ่ ง ใช้ เ วลาในการ ประสานหลักสูตรรวม 6 ปี แต่ต่อมาปี 2542 หลักสูตรนี้ต้องปิดการเรียนการสอน เนื่องจากผู้ที่จบการ ศึกษาไปแล้วไม่สามารถปรับตำแหน่งได้ ทั้ง ๆ ที่ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งกองฝึกอบรม ซึ่งเป็นหน่วยงาน- ผู้ผลิตในขณะนั้น กองสาธารณสุขภูมิภาค เป็นหน่วยงานดูแลการปฏิบัติงาน กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เป็นหน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการและจัดทำแผนฯ และกองการเจ้ า หน้ า ที ่ สำนั ก งานปลั ด กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานบรรจุแต่งตั้งและ กำหนดกรอบอั ต รากำลั ง ได้ พ ยายามที ่ จ ะพั ฒ นา บุคลากรกลุ่มนี้ในเรื่องการศึกษาต่อเนื่องทุกวิถีทาง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในขณะเดียวกันชมรมทันตาภิบาล (จากการ รวมตัวกันของศิษย์เก่าก่อตั้งเป็นชมรมขึ้นในปี 2530) ได้ชักชวนผลักดันให้ทันตาภิบาลใช้เวลาว่างในการ ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีโดยเน้นด้านสาธารณสุข จนในปัจจุบันมีทันตาภิบาลที่เรียนจบแล้ว ร้อยละ 90 ในระดับปริญญาตรี และมีการศึกษาต่อเนื่องทั้ง ในระดับปริญญาโทและเอกอีกจำนวนมาก

จะเห็นว่า ด้านการศึกษาต่อเนื่องจึงเป็นเรื่อง ของความพยายามที่ต่างคนต่างทำ แต่ไม่ได้มีการ ติดตามอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการประสานงานกัน ในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อ สภาพเช่นนี้มากที่สุด คือ “ทั น ตาภิ บ าล” เพราะ ตลอดเวลาเกื อ บ 40 ปี ท ี ่ ผ ่ า นมา อาจกล่ า วได้ ว ่ า ทันตาภิบาลเป็นผู้แบกรับภาระการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท เพราะแม้จะมีการแก้ปัญหาการกระจายทันตแพทย์ ออกสู ่ ช นบทโดยโครงการทั น ตแพทย์ คู ่ ส ั ญ ญาเริ ่ ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 แต่ทันตแพทย์รุ่นแรกเพิ่งจบออก มาทำงานเมื่อ พ.ศ. 2532 ในขณะที่ทันตาภิบาลรุ่น แรกจบมาปฏิบัติงานตั้งแต่ พ.ศ. 2512 และต้องให้ บริการบำบัดรักษาทางทันตกรรมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานที่เกินหน้าที่ความรับผิดชอบ และความรู ้ ท ี ่ เ รี ย นมา แน่ น อนว่ า ความไม่ ม ั ่ น ใจ หวาดหวั่น และความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นตามมา เป็นลำดับ ทันตาภิบาลจึงได้พยายามขอให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือในด้านของความรู้เพื่อจะได้นำ ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งหน่วยงานที่เข้าใจปัญหาก็ได้สนองตอบ แต่ไม่ สามารถแก้ปัญหาในระยะยาวได้ /กรกฎาคม - สิงหาคม 2553  19


ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 40 ปี (ปี พ.ศ. 2511 - 2553) ของการก่อเกิดทันตาภิบาล และไปปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนกลุ่มนักเรียนเป็น ส่วนใหญ่ มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานถึง ระดั บ 6 (ปั จ จุ บ ั น บรรจุ ใ นแท่ ง ระดั บ O2 ตามระบบ ข้าราชการใหม่) ยังไม่สามารถเติบโตในหน้าที่การงานได้ สูงกว่านี้ ถ้าต้องการความก้าวหน้าต้องไปสอบปรับเปลี่ยนตำแหน่งอื่น ๆ เช่น นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่บริหาร หรือเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ตามวุฒิปริญญาตรีที่ขวนขวายเรียนมาด้วยตัวเอง ขณะ นี้ทันตาภิบาลที่มีอายุราชการเกินกว่า 25 ปี ก็จะตัน

อยู่แค่ระดับ 6 เงินเดือนก็เต็มเพดานมาหลายปีแล้ว และไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ ให้เลย แม้จะมีการปรับค่าตอบแทนของกระทรวงสาธารณสุขหลายต่อหลายครั้งก็ ไม่อยู่ในข่ายที่จะพิจารณา มีการเรียกร้องค่าตอบแทน และสวัสดิการรวมทั้งการทำงานในภาคเอกชนภายใต้ การควบคุ ม ของทั น ตแพทย์ ใ ห้ แ ก่ ท ั น ตาภิ บ าลที ่ เ ป็ น ลูกจ้าง เตรียมการเสนอเรื่องการปรับเป็นนักวิชาการโดย การใช้วุฒิการศึกษาที่จบปริญญาตรี เพื่อเข้าสู่ระบบการ จำแนกตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด เสนอรัฐมนตรีลงนาม เรื่องการศึกษาต่อเนื่อง 4 ปี และการเติบโตในสายงาน ทันตาภิบาลเพื่อให้มีการคงอยู่ของผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการนั้น ๆ (เนื่องจากมีการเปลี่ยนสายงานเพิ่มมากขึ้น เรื่อย ๆ) โดยเฉพาะในหน่วยบริการปฐมภูมิหรือ PCU

เป็นหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพช่องปากประชาชนใน ระดับรากหญ้า เพื่อให้รัฐมนตรีได้ลงนามสั่งการให้

ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป โดยภาพรวมแล้ว การปฏิบัติงานในสถานบริการแต่ละระดับค่อนข้างชัดเจนและใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะเน้น เรื่องการบริหารจัดการด้านวิชาการร่วมด้วย แต่ สถานบริการที่มีความแตกต่างไปโดยสิ้นเชิงคือใน ระดับสถานีอนามัย นอกจากจะต้องดูแลส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากแล้ว ทันตาภิบาลยังต้องรับผิดชอบงานอื่น ๆ ของสถานีอนามัย รวมทั้งการอยู่เวรบริการนอกเวลาด้วย ซึ่งเป็นอีกประเด็นหนึ่งของ ความไม่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ จึงทำให้เกิดปัญหา ในการปฏิบัติงานของทันตาภิบาล และในปัจจุบัน มี น โยบายปรั บ สถานี อ นามั ย ที ่ ม ี ค วามพร้ อ มเป็ น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ. สต.) จึงเป็น เรื่องที่ต้องน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ภาระความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ของทันตาภิบาล ประกอบกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้รุมเร้า ทำให้ทันตาภิบาลต้องใช้ความอดทนอย่างสูง โดยเฉพาะทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยที่ ขาดแรงจูงใจทำให้มีการเคลื่อนย้ายของบุคลากร กลุ่มนี้มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การสอบปรับเปลี่ยนตำแหน่งหรือสายงาน ลาออกไปประกอบอาชีพอื่น ดังข้อมูลในปี 2548 มีผู้ออกจากสายงาน ไปแล้ว 348 คน คิดเป็นร้อยละ 11 ของทันตาภิบาล ทั้งหมด และจากการสำรวจในปี 2549 มีผู้เปลี่ยน สายงานเพิ่มขึ้น 190 คน และเกือบร้อยละ 80 เป็น ทั น ตาภิ บ าลที ่ ป ฏิ บ ั ต ิ ง านอยู ่ ส ถานี อ นามั ย เป็ น สถานการณ์ที่บ่งบอกถึงการสูญสลายของงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในระดับปฐมภูมิที่มีแนวโน้ม มากขึ้น ๆ เป็นลำดับ (มีต่อฉบับหน้า)

ขอเชิญชวนพี่น้องทันตาภิบาล ส่งข้อเสนอแนะ/ซักถาม/เรื่องราวหรือประสบการณ์ทำงานเพื่อเผยแพร่ ได้ที่...คุณรัชนี ลิ้มสวัสดิ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายทันตาภิบาล 08 6567 1627 หรือ iamtanta@gmail.com 20

ปีที่ 20 ฉบับที่ 1


ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นหรือสภากาชาดไทย มอบหมาย ให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2539

.........................................

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 28 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกระเบียบไว้ ดังนี้ ข้อที่ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นหรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่ง เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2539” ข้อที่ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อที่ 3 ในระเบียบนี้ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างสังกัดกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นหรือสภากาชาดไทย “องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น” หมายความว่า ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา “ควบคุม” หมายความว่า การดูแลหรือการกำกับดูแล ข้อที่ 4 บุคคลที่ กระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นหรือสภากาชาดไทย จะมอบหมายให้ ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ต้องเป็นบุคคลซึ่งระเบียบนี้กำหนด

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2553  21


ข้อที่ 5 ให้บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำการประกอบวิชาชีพทันตกรรมได้เฉพาะ 5.1 ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่ระเบียบนี้กำหนด 5.2 เป็นการปฏิบัติราชการหรืออยู่ในระหว่างการปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตามที่ ได้รับมอบหมาย และ 5.3 ต้องอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ข้อที่ 6 ให้บุคคลที่มีวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพทันตาภิบาล ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตกรรม) ทำการประกอบวิชาชีพทันตกรรมได้ดังต่อไปนี้ 6.1 ด้านทันตกรรมป้องกัน 6.1.1 ใช้สารฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันโรคฟันผุ 6.1.2 ใช้สารเคลือบหลุมร่องฟัน เพื่อป้องกันโรคฟันผุ 6.1.3 ขูดหินน้ำลายและทำความสะอาดฟันเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ 6.2 ด้านทันตกรรมบำบัดฉุกเฉิน 6.2.1 บำบัดฉุกเฉินด้านทันตกรรมเบื้องต้น เพื่อลดความเจ็บปวด การกรอฟันเพื่อ ระบายหนอง 6.2.2 ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น ก่อน ระหว่าง และหลังการรักษาทาง ทันตกรรม เช่น ภาวะเลือดออกมาก 6.2.3 คัดแยกโรคและส่งต่อผู้ป่วยด้านทันตกรรม เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ (systemic disease) 6.3 ด้านทันตกรรมบำบัด 6.3.1 ตรวจวินิจฉัยและคัดแยกโรคภายในช่องปาก 6.3.2 อุดฟันชนิดไม่ซับซ้อนด้วยวัสดุอุดฟัน 6.3.3 ถอนฟันที่ขึ้นปกติที่ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้และไม่มีภาวะแทรกซ้อน 6.4 รักษาโรคเหงือกอักเสบโดยการขูดหินน้ำลาย ข้อที่ 7 ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นสอง ผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลและผดุงครรภ์ ประกาศนียบัตรพนักงานอนามัย ประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานสาธารณสุข (พนักงานอนามัย) ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ และประกาศนียบัตรพนักงานสาธารณสุขชุมชน ทำการจ่ายยาเพื่อ บำบัดฉุกเฉินด้านทันตกรรมเบื้องต้น หรือลดความเจ็บป่วยและการอักเสบ

22

ปีที่ 20 ฉบับที่ 1


ข้อที่ 8 ให้บุคคลตามข้อ 7 ที่ได้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรทันตกรรมป้องกันที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดแล้ว ทำการประกอบวิชาชีพทันตกรรมได้ ดังนี้ 8.1 ขูดหินน้ำลายและทำความสะอาดฟันเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ 8.2 ใช้สารเคลือบหลุมร่องฟัน เพื่อป้องกันโรคฟันผุ 8.3 อุดฟันเริ่มแรกชั่วคราวด้วยวัสดุอุดฟันชนิดที่มีสารป้องกันโรคฟันผุ ข้อที่ 9 ให้บุคคลที่ได้รับมอบหมายทำการประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามระเบียบนี้ สามารถ ทำการประกอบวิชาชีพทันตกรรมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ได้เป็นการเฉพาะรายหรือกรณี โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา ซึ่งได้มอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อที่ 10 ในกรณีที่มีปัญหาตามระเบียบนี้ ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ข้อที่ 11 ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2539 เสนาะ เทียนทอง (นายเสนาะ เทียนทอง) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สำเนาถูกต้อง ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ (นายศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ) ทันตแพทย์ 8

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2553  23


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.