ทักทาย บรรณาธิการ : ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ nithimar_or@yahoo.com จากเหตุการณ์นํ้าท่วมใหญ่ปี 2554 นี้ พี่น้องทันตภูธรหลายจังหวัดคงได้รับผลกระทบกัน โดยทั่วหน้า ไม่เว้นแม้แต่วารสารทันตภูธรค่ะ เพราะโรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี เป็นผู้ประสบภัยทำ�ให้ต้องพักแท่นพิมพ์เพื่อ เฝ้าระวังนํ้าท่วมระดับเอวดีที่พักการพิมพ์ไม่นานและไม่เกิดความเสียหายต่อแท่นพิมพ์แต่อย่างใดค่ะ ตัวดิฉันเองก็เสี่ยงอย่างยิ่งที่จะ กลายเป็นผู้ประสบภัยไปด้วย หลังจากที่ดิฉันเครียด ลุ้นนํ้า อพยพหลบนํ้า และแล้วนํ้าก็ผ่านไปด้วยดี สรุปว่านํ้าล้นท่อมาท่วมแค่ถนนแต่ เข้าไม่ถึงรั้วบ้าน นํ้าท่วมไม่ผ่านคลินิก ทั้งบ้านทั้งคลินิกตั้งอยู่ภายในพื้นที่แห้งที่เหลืออยู่ประมาณ 13% ของจังหวัดนนทบุรี ขอขอบคุณ การบริหารจัดการนํ้าอย่างจริงจังตั้งใจของเทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลนครปากเกร็ดมา ณ.ที่นี้ค่ะ ^^ (เสียงปรบมือ แปะๆๆๆ) นํา้ ท่วมคราวนีฝ้ ากอะไรไว้ในใจเราบ้าง นอกจากการตระหนักถึงความไม่แน่นอนของชีวติ การตัง้ ตนในความไม่ประมาทและการใช้ชวี ติ อย่างมีสติแล้ว การมองโลกในแง่ดี การเลือกใช้มมุ ทีด่ ชี องชีวติ ก็จะช่วยให้เราผ่านเหตุการณ์รา้ ยๆไปอย่างง่ายดายขึน้ นะคะ จากสถานการณ์ นํ้าท่วมครั้งใหญ่นี้ ภาพผ่านสื่อต่างๆทำ�ให้รู้สึกได้ว่า นํ้าท่วมอาจทำ�ให้มีผู้ประสบภัยอีกหลายชีวิตที่หาเช้ากินค่ำ�ต้องลำ�บากยิ่งกว่าเดิม แต่มีครอบครัวหนึ่งซึ่งดิฉันได้ทราบเรื่องราวของพวกเขาผ่านรายการ “ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร” ทางช่อง Thai PBS ชวนให้คิดและเปิดมุมมอง ทีแ่ ตกต่างออกไปค่ะ รายการ “ชีวติ จริงยิง่ กว่าละคร” ตอนนีเ้ ป็นเรือ่ งราวของคนขับรถแท็กซีร่ นุ่ คุณตา ทีบ่ า้ นถูกนํา้ ท่วมมากจนจำ�เป็นต้องมา ใช้ชีวิตในศูนย์อพยพทั้งครอบครัวซึ่งประกอบไปด้วยคุณยาย(ภรรยา), แม่ยาย, ลูกสาว, ลูกเขย และหลานๆอีก 3 คน คุณตาคนขับแท็กซี่คน นี้มีเป้าหมายในชีวิตที่น่าทึ่งว่า ก่อนจะขับรถแท็กซี่ไม่ไหวจะส่งหลาน(ตอนนี้อายุประมาณ 3-5 ขวบ) ให้เรียนจบปริญญาตรีอย่างน้อย 2 คน แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำ�บาก คุณตาต้องพาครอบครัวพลัดบ้านหนีนํ้ามาอยู่ศูนย์อพยพนี้ แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ชีวิตที่ไม่ยอม จำ�นนก็เรียนรู้ที่จะปรับตัวและเดินหน้าต่อไป ดังนั้นท่ามกลางระดับนํ้าที่ขึ้นสูงมากขึ้นเรื่อยๆในหลายพื้นที่ทั้งกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่ง เป็นพื้นที่ทำ�มาหากินของรถแท็กซี่ คุณตาก็ยังออกรถเพื่อรับส่งผู้โดยสารทุกวัน (โดยใช้วิธีโทรศัพท์สอบถามเส้นทางที่ไม่มีนํ้าท่วมกับศูนย์ แท็กซี่เพื่อพาผู้โดยสารให้ไปถึงที่หมายโดยเจอนํ้าน้อยที่สุด) คุณตากล่าวว่าการขับรถแท็กซี่ในช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาทอง นํ้าขึ้นให้รีบ ตัก(เงิน) เพราะช่วงนี้ชาวกรุงเทพและปริมณฑลกลัวนํ้าท่วมรถยนต์ จึงมักจะอพยพรถไปจอดบริเวณที่สูง เช่นทางด่วน โทลเวย์ และสะพาน ข้ามแยกต่างๆ ทำ�ให้ไม่มรี ถใช้ จำ�เป็นต้องเรียกใช้บริการรถแท็กซีม่ ากกว่าปกติ รายได้จงึ ดีมากกว่าปกติ 2 ถึง 3 เท่า และการอพยพครอบครัว มาอยู่ศูนย์อพยพของคุณตาทั้งครอบครัว ทำ�ให้ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรมาก นํ้าฟรี ไฟฟรี บ้านก็ไม่ต้องเช่า ข้าวก็ไม่ต้องซื้อ มีเพียงแสดงนํ้าใจ เล็กๆน้อยๆซื้ออาหารสดมาให้ผู้ดูแลศูนย์อพยพไว้ปรุงอาหารแบ่งปันผู้ประสบภัยครอบครัวอื่นๆที่มาอยู่รวมกันบ้างเท่านั้น หลังจากขับรถ แท็กซี่รับส่งผู้โดยสารจนเหนื่อยล้าในแต่ละวัน คุณตาก็กลับศูนย์อพยพมาเล่นกับหลานๆตัวน้อยๆ ซึ่งเจ้าตัวซนเหล่านี้ไม่รู้ตัวเลยว่าเป็นทั้ง กำ�ลังใจ เป็นทั้งเครื่องชุบชูใจ และยังเป็นเป้าหมายในชีวิตที่เหลืออยู่ของคุณตาวัยชราอีกด้วย ท้ายรายการคุณตากล่าวอย่างภาคภูมิใจ ว่า หลังนํ้าลดคาดว่าจะเก็บเงินได้ไม่น้อยกว่า 5 หมื่นบาทเลยทีเดียว ในขณะที่คุณตามองว่านํ้าท่วมทำ�ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและเป็นโอกาส ทองท่ามกลางวิกฤตใหญ่ของชีวิต แต่คนขับรถแท็กซี่ในซอยที่แห้งกริบของดิฉันกลับบ่นอุบบ่นอิบกับคุณป้าเจ้าของร้านกาแฟเจ้าประจำ�ว่า เพราะนํา้ ท่วมถนน ขับแท็กซีไ่ ม่ได้ จึงเสียรายได้ไปเยอะ ........นํา้ ท่วมยังฝากไว้ให้คดิ ต่อว่าการมองต่างมุมกัน ก็ทำ�ให้มรี ายได้ตา่ งกันด้วยนะคะ นํา้ ท่วมอาจทำ�ให้หลายคนไม่ได้ไปทำ�งานตามปกติแต่กท็ ำ�ให้บางคนมีเวลาอยูก่ ับครอบครัวมากขึน้ ทำ�ให้เราได้พูดคุยกับเพือ่ นบ้านมาก ขึ้น นํ้าท่วมอาจทำ�ให้เดินทางยากลำ�บากแต่การนั่งรถทหารหรือการนั่งเรือกลางเมืองก็เป็นประสบการณ์ที่เล่าต่อได้ชั่วลูกชั่วหลาน บางที เฟอร์นเิ จอร์อาจถึงเวลาเปลีย่ น บ้านอาจจะได้เวลาชะล้าง มีขอ้ ดีอนื่ ๆ เช่นนํา้ ท่วมอาจจะช่วยให้คนไทยตระหนักถึงการมีจติ สาธารณะ การมีนาํ้ ใจ และให้ความสำ�คัญกับการรักษาสิง่ แวดล้อมมากขึน้ รวมทัง้ จริงจังกับการเลือกนักการเมืองมาบริหารประเทศมากขึน้ ด้วย ภัยธรรมชาติหาก มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจะทำ�ให้เกิดความเสียหายน้อยลงนะคะ อย่างไรก็ตามสิ่งใดเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นย่อมดีเสมอ ตั้งสติให้ ดีแล้วเดินหน้าต่อไปด้วยใจอันเข้มแข็ง ทุกอย่างจะผ่านไปตามวาระเวลา ทั้งความทุกข์และความสุขไม่มีอะไรอยู่กับเรานาน หวังว่านํ้าท่วม คราวนี้จะฝากมุมงามๆแง่คิดดีๆให้ชีวิตได้เรียนรู้ไว้ในใจทุกท่านนะคะ ..ชีวิตที่พานพบ..มีลบย่อมมีเพิ่ม..ขอเพียงให้เหมือนเดิม..กำ�ลังใจ 1
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
สารบัญ ทันตภูธร 1 ทักทายบรรณาธิการ
โดย : ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ 3 พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 4 สถานการณ์กองทุนทันตกรรม โดย : ทพญ.สุณี วงศ์คงคาเทพ สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย 11 1 ปีกองทุนทันตกรรมเราทำ�อะไรกัน โดย : ทพญ.วิโรชา เพียรเจริญ รพช.ป่าบอน จ.พัทลุง 12 เรื่องเล่าช้างน้อย : กองทุนทันตกรรม 13 ปรากฏการคันหู and You’ll never walk alone by Iherebic 16 ปฏิบัติการเล่าฝัน โดย หมอจุ้มจิ้ม 17 ความแตกต่างระหว่างญี่ปุ่นไทย โดย : ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 21 คิดไม่ถึง โดย: ทพ.สมชาย กิจสนาโยธิน ทันตแพทยสภา 25 คนสารคามอ่อนหวาน โดย : ทพญ.นวลนิตย์ บุตรดีสุวรรณ สสจ.มหาสารคาม 27 SNOW RAIN AND DENTAL : JAY-AC 28 SWEET ENOUGH @ PHUKET โดย: ทพ.เสถียร สุรวิศาลกุล สสจ.ภูเก็ต จ.ภูเก็ต 30 ทางผ่านที่สวยงาม โดย : ทพ.อรรถวัชร์ สนธิชัย รพช.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย 32 มองช่องปาก เห็นชีวิต โดย : ทพญ.สุจิตตรา ชาตา รพช.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น 36 ไกลเกินช่องปาก ลึกกว่าคอหอย : ทันตแพทย์ใช้ทุน ค่าปรับไฉนต้องสัก 20 ล้าน โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ชมรมแพทย์ชนบท
39 คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก
โดย : ทพญ.ดร.สุดาดวง กฤษฎาพงษ์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 41 เชียงคานกับวิถีทางเลือก โดย “ กินเยอะ อยู่ง่าย เดอะแก็งค์ @CHK#1 นิสิต ทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” 43 ตามล่าหาผู้ป่วยเบาหวาน โดย ชิวเหรียญ 45 สุขสร้างสรรค์กับสสส. โดย ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ 47 เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัย โดย รศ.ดร.ทพญ.พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ 50 ศรัทธาและความวางใจ โดย ทพญ.มยุเรศ เกษตรสินสมบัติ รพช.ปัว จ.น่าน 51 จุดประกายความคิด ในเหตุการณ์น้ำ�ท่วมใหญ่ โดย ทพญ.ดร. มัทนา เกษตระทัต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 52 เครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ 54 Routine to Research โดย สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ 56 วันนี้ป้อนข้าวน้อยๆหน่อยก็ได้มั้ง โดย ทพญ.เพียงเพ็ญ สุขุตมตันติ รพช.ปากท่อ จ.ราชบุรี 57 คุยกับพี่เจน : “บ้านสนุก” โรงงานของมูลนิธิสมานใจ 59 ทันตแพทย์ผู้นำ�ใต้ ภาคพิเศษ โดย Jitty^^กับพี่ปูน ทันตภูธร 62 ใบสั่งซื้อแปรงสีฟัน สั่งซื้อเสื้อ สนับสนุนวารสารทันตภูธร 63 แบบฟอร์มสมัครสมาชิกชมรมทันตสาธารณสุขภูธร 64 กรองใจท้ายเล่ม โดย ทพญ. บานเย็น ศิริกุลเวโรจน์ สสจ.สงขลา/ประธาน ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร
ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร ● ประธานชมรมฯ : ทพญ. บานเย็น ศิริกุลเวโรจน์ สสจ. สงขลา เลขที่ 161/1 ถนนรามวิถี ตำ�บลบ่อยาง อำ�เภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000 โทรศัพท์ 074 - 326091 ต่อ 107 , 105 โทรสาร 074 – 311386 ● วารสารทันตภูธร ที่อยู่ 42/198 ซ.ติวานนท์ 38 ถ. ติวานนท์ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 083 – 4934543 ruralmax2007@ gmail.com ● บรรณาธิการ : ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ ● กองบรรณาธิการ : ทพญ.แพร จิตตินันทน์, ทพญ.วิโรชา เพียรเจริญ, ทพญ.สุรีรัตน์ สูงสว่าง , ทพญ.รจิต จันทร์ประสิทธิ์, ผู้ช่วยทันตแพทย์ ปิยะดา แซ่โง้ว ● ภาพปกโดย : ทพญ.มยุรฉัตร ฉายอรุณ / นางแบบในภาพปก : ทพญ. ศิรพิ ร พงษ์ตานี ● นักเขียนประจำ� : นพ.สุภทั ร ฮาสุวรรณกิจ, ทพญ.ศันสณี รัชชกูล, ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ, ทพญ.มยุเรศ เกษตรสินสมบัติ , ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล, ทพญ.ดร. มัทนา เกษตระทัต, ทพญ.ดร.สุดาดวง กฤษฎาพงษ์, นายอาจผจญ โชติรักษ์, ชิวเหรียญ, หมอจุ้มจิ้ม ● นักเขียนรับเชิญ : ทพ.สมชาย กิจสนาโยธิน , ทพญ.สุณี วงศ์คงคาเทพ, รศ.ดร.ทพญ.พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์, ทพญ.นวลนิตย์ บุตรดีสุวรรณ, ทพ.เสถียร สุรวิศาลกุล, ทพ.อรรถวัชร์ สนธิชัย, ทพญ.สุจิตตรา ชาตา, ทพญ.เพียงเพ็ญ สุขุตมตันติ ●
วารสารทันตภูธร เป็นเวทีสาธารณะในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ข้อเขียนทั้งหมดรับผิดชอบโดยผู้เขียนข้อเขียนนั้นๆ มิได้เกี่ยวข้องกับชมรมทันตสาธารณสุขภูธร หรือ วารสารทันตภูธร 2
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
“การทำ�งานร่วมกับผู้อื่นนั้น ที่จะให้เป็นไปโดยราบรื่นปราศจากปัญหาข้อขัดแย้งย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะคนจำ�นวนมากย่อมมีความคิดความต้องการที่แตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง ท่านจะต้องรู้จักอดทนและอดกลั้น ใช้ปัญญา ไม่ใช้อารมณ์ ปรึกษากัน และโอนอ่อนผ่อนตามกันด้วยเหตุผล โดยถือว่าความคิดที่แตกต่างกันนั้น มิใช่เหตุที่จะทำ�ให้เป็นข้อขัดแย้ง โต้เถียง เพื่อเอาแพ้เอาชนะกัน แต่เป็นเหตุสำ�คัญที่จะช่วยให้เกิดความกระจ่างแจ้ง ทั้งในวิถีทาง และวิธีการปฏิบัติงาน ” พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๑
3
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
สถานการณ์การดำ�เนินงาน
กองทุนทันตกรรม ของหน่วยบริการในส่วนภูมิภาค ทพญ.สุณี วงศ์คงคาเทพ สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ความเป็นมาของนโยบายกองทุนทันตกรรมในระบบประกัน สุขภาพถ้วนหน้าปี 2554 สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ประกาศจัดตั้งกองทุนทันตกรรมขึ้น มีทิศทางและเจตนารมณ์ เพื่อพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และควบคุมโรคในช่อง ปากให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการกำ�หนดกิจกรรมพื้นฐาน ที่ควรดำ�เนินการในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่เน้นสร้างความร่วม มือการทำ�งานในเครือข่ายบริการสุขภาพ ร่วมกับการขับเคลื่อน และรณรงค์ในวงกว้าง โดยมีหลักการสำ�คัญในการดำ�เนินการ ดังนี้ 1. กำ�หนดกลุม่ เป้าหมายหลักในการควบคุมสภาวะสุขภาพ ช่ อ งปากอย่ า งจริ ง จั ง และสามารถส่ ง ผลต่ อ การมี สุ ข ภาพ ดีในระยะยาว กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนและวัยเรียนเป็นกลุ่ม เป้าหมายที่สามารถจัดรูปแบบการบริการได้อย่างเป็นระบบ สร้างความร่วมมือกับองค์กรหน่วยงานต่างๆได้ง่าย โดยบูรณา การงานสร้างเสริมทันตสุขภาพและบริการทันตกรรม ในรูปแบบ การดูแลสุขภาพช่องปากอย่างผสมผสาน (comprehensive care) นอกเหนือจากการกลุ่มเด็กแล้ว สามารถขยายการดูแล ไปในกลุ่มหญิงมีครรภ์และกลุ่มผู้สูงอายุด้วย 2. เพิม่ สมรรถนะการให้บริกาทันตกรรมในภาครัฐให้มากขึน้ มีการกำ�หนดภาระงานทีเ่ หมาะสม และสร้างกลไกการจ่ายเงินที่ สามารถกระตุ้ น ให้ เ กิ ด การจั ด บริ ก ารตามเป้ า หมายและมี คุณภาพด้วย 3. สร้างกลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพือ่ ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการได้มากขึ้น 4. พัฒนาการจ่ายชดเชยบริการทันตกรรมอย่างเป็นระบบ 4
และเป็นธรรม ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การสร้างความร่วมมือกับ ภาคเอกชนในอนาคต 5. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางทันตกรรมที่เอื้อต่อ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลการจัดบริการสุขภาพช่อง ปากของประชาชน 6. เร่งรัดการเพิม่ ผลิตและบริหารจัดการให้เกิดการกระจาย ทันตาภิบาลในระดับโรงพยาบาลตำ�บลและศูนย์สุขภาพชุมชน อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
กระบวนการดำ�เนินการกองทุนทันตกรรม
ด้ ว ยการจั ด สรรงบประมาณกองทุ น ทั น ตกรรม 17.33 บาท/ประชากรทุกสิทธิ ให้ทุกจังหวัดจัดบริการส่งเสริมและ ป้องกันโรคในช่องปาก ตามสภาพปัญหาและความจำ�เป็น ของประชาชนในกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ของพื้นที่ จำ�แนกเป็น โครงการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและบริการทันต กรรมระดับจังหวัด (ส่วนร้อยละ 30) และ โครงการจัดบริการ สร้างเสริมสุขภาพช่องปากและบริการทันตกรรมระดับเครือข่าย (ส่วนร้อยละ 70) เพื่อให้ผู้มีสิทธิทุกสิทธิสามารถได้รับบริการ ทันตกรรมได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจังหวัด ต่างๆได้รับงบประมาณจาก สปสช.ครบทุกเขตในช่วงเดือน มีนาคม 2554 คือเวลาผ่านไปครึ่งปีงบประมาณ ทุกจังหวัดมีกระบวนการหลักในการดำ�เนินการคือ 1) มี การแต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการพั ฒ นาระบบบริ ก ารทั น ตสุ ข ภาพ จังหวัด เพื่อพิจารณาและติดตามผลการดำ�เนินงานกองทุน ทันตกรรมระดับจังหวัดและอำ�เภอ 2) จัดทำ�แผนงานโครงการ ภายใต้งบประมาณกองทุนทันตกรรมปี 2554 ทั้งระดับจังหวัด และระดับเครือข่ายบริการ โดยให้อิสระจังหวัดและเครือข่าย
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
บริการ สามารถกำ�หนดทิศทางและนํ้าหนักการดำ�เนินการใน กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ตามสภาพปัญหาและบริบทพื้นที่ 3) มี การติดตามการใช้จ่ายงบประมาณกองทุนทันตกรรมทั้งระดับ จังหวัดและระดับอำ�เภอเป็นระบบอย่างชัดเจน 4) พัฒนาระบบ ข้อมูลทันตสาธารณสุขระดับจังหวัดและเขตเป็นระบบทีช่ ดั เจน ซึ่งแต่ละจังหวัดมีความพร้อมในการดำ�เนินการต่างกัน โดย วางจังหวะก้าวให้ปี 2554-2555 เป็นระยะเตรียมระบบข้อมูล ทันตสาธารณสุขใหม่ในลักษณะจังหวัดนำ�ร่อง และ กำ�หนด ให้ทุกจังหวัดใช้ระบบข้อมูลทันตสาธารณสุขใหม่ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป จากการติดตามตามขั้นตอนการดำ�เนินการพบว่า จังหวัดกว่าร้อยละ 65 สามารถดำ�เนินการตามกระบวนการ หลักข้อ 1-3 (ตารางที่ 1) ตารางที่ 1 ผลการดำ�เนินการขั้นตอนดำ�เนินการต่างๆของจังหวัด ขั้นตอนการดำ�เนินการ
จำ�นวนจังหวัด
ร้อยละของจังหวัด
การแต่งตั้งคณะกรรมการ
66
88.0
มีแผนปฏิบัติการระดับจังหวัดและเครือข่ายชัดเจน
58
77.3
มีการประชุมคณะกรรมการตามเกณฑ์
54
72.0
มีโครงการแก้ไขปัญหาในพื้นที่
51
68.0
มีระบบการนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ
49
65.3
มีระบบติดตามกำ�กับงบประมาณอย่างชัดเจน
48
64.0
มีการพัฒนาระบบข้อมูลระดับจังหวัดและเครือข่ายบริการ
39
52.0
มีการสนับสนุนการจัดบริการของ รพ.สต.
40
53.3
มีแผน/โครงการดำ�เนินการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้า หมายหลักและรอง
32
42.7
มีแผนกระจายกำ�ลังคนและครุภัณฑ์ทันตกรรม
30
40.0
มีการนำ�เสนอผลงานเครือข่ายบริการ
31
41.3
มีการจัดบริการบูรณาการการจัดบริการ
24
32.0
เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม
23
30.7
สนับสนุนให้ รพ.สต.มีระบบเฝ้าระวังช่องปากในกลุ่มวัย
22
29.3
มีโครงการพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากรระดับจังหวัด
17
5
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
22.7
ผลลัพธ์การจัดทำ�แผนงาน/โครงการรองรับ งบประมาณที่ได้รับ จากการสรุปแผนงาน/โครงการการจัดบริการสร้างเสริมสุข ภาพช่องปากและบริการทันตกรรมระดับจังหวัด และ ระดับ เครือข่าย ในภาพรวมของประเทศ ได้ขอ้ สรุปดังประเด็นต่อไปนี้ แผนงานระดับจังหวัด ข้อมูลจาก 75 จังหวัด รวมโครงการทั้งหมด 860 โครงการ จำ�นวนโครงการแต่ละจังหวัดอยู่ระหว่าง 1-37 โครงการเฉลี่ย จำ�นวนโครงการต่อจังหวัด 12 โครงการ ดูรายละเอียดการจัด ทำ�โครงการพบว่า งบประมาณมี อิ ส ระในการกำ � หนดแผน ทำ � ให้ เ ห็ น ศักยภาพในการคิดและพัฒนาโครงการ : แผน 30 มีรายละเอียด ที่แตกต่างหลากหลาย ลักษณะโครงการมีหลายลักษณะเช่น : หนึ่งโครงการ ครอบคลุมทุกกิจกรรมทีใ่ ห้นาํ้ หนัก มีโครงการย่อยๆตามกลุม่ วัย ต่างๆ มีโครงการย่อย ๆ มากมายเสมือน 1 โครงการเท่ากับ 1 กิจกรรม มีโครงการดำ�เนินการแก้ปัญหาตามพื้นที่ ลักษณะโครงการส่วนที่เหมือนกัน คือสนับสนุนการ จัดบริการ/บริหารจัดการในกลุ่มเป้าหมายหลัก บางจังหวัด
ล้อแนวงานปี 2553 หลายจังหวัดคิดต่อยอดเพิม่ จากงานปี 2553 บางจังหวัดพยายามคิดแก้ปัญหาในพื้นที่ • การบูรณาการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับ จังหวัด มีบางจังหวัดดำ�เนินการเป็นรูปธรรม เน้น กลุม่ เป้าหมาย MCH, หลายจังหวัดทำ�โครงการในลักษณะอำ�เภอต้นแบบ • หลายจังหวัดได้ดำ�เนินการสนับสนุนบทบาท อสม. ในการดูแลสุขภาพช่องปาก • หลายจั ง หวั ด มี แ ผนการสนั บ สนุ น การจั ด บริ ก ารใน รพ.สต. มีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อเทียบปี2553 • หลายจังหวัดมีแผนพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่อง ปากในกลุ่มรอง เช่น พิการ DM ภิกษุ ผู้ป่วยมะเร็งที่ฉายแสง • หลายจังหวัดให้นํ้าหนักในการสำ�รวจข้อมูลในระดับ จังหวัด และ อำ�เภอ สรุปโครงการระดับจังหวัด 860 โครงการ รวมงบประมาณ ทั้งหมด 304.7 ล้านบาท จำ�แนกตามวัตถุประสงค์ จะเห็นว่าใน ภาพรวมงบประมาณใช้สูงสุด 5 อันดับ คือ โครงการแก้ปัญหา ทันตสาธารณสุข/จัดบริการทันตฯระดับจังหวัด พัฒนาศักยภาพ บุคลากร พัฒนาระบบบริการ การพัฒนาบริการทันตสุขภาพ ช่องปากใน รพ.สต. และ รณรงค์ระดับจังหวัด รวมร้อยละ 61.8 เป็นงบประมาณจำ�นวน 188.3 ล้านบาท ในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แผนงานการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและบริการทันตกรรมระดับจังหวัด จำ�แนกตามวัตถุประสงค์ กลุ่มวัตถุประสงค์ 1. การศึกษาสถานการณ์ปัญหาสุขภาพช่องปากของจังหวัด 2. การพัฒนาระบบข้อมูล 3. การนิเทศ ติดตาม กำ�กับ / จัดประชุมแลกเปลี่ยน 4. การจัดบริการบูรณาการ 5. การจัดบริการเชิงรุก 6. การพัฒนาบริการทันตสุขภาพช่องปากใน รพ.สต. 7. การทำ�งานส่งเสริมสุขภาพช่องปากกับ อสม. / ท้องถิ่น 8. โครงการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุข/จัดบริการทันตฯระดับจังหวัด 9. พัฒนาระบบบริการ 10. พัฒนาระบบบริหารจัดการ 11. พัฒนาศักยภาพบุคลากร 12. ประเมินผลโครงการ 13. รณรงค์ระดับจังหวัด รวม 13 กลุ่มวัตถุประสงค์ 6
งบประมาณ (ล้านบาท) 6.7 13.9 19.5 12.7 29.5 34.7 13.8 43.1 37.5 17.7 40.8 2.5 32.2 304.7
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ร้อยละ 2.2 4.6 6.4 4.2 9.7 11.4 4.5 14.1 12.3 5.8 13.4 0.8 10.6 100.0
แผนงานระดับเครือข่ายบริการ
จากข้อมูล 73 จังหวัด (ขาด จังหวัดพิจิตร และจังหวัด สุรินทร์) รวมแผนงานจาก 856 เครือข่ายบริการ มีจำ�นวน โครงการทั้งหมด 5,826 โครงการ เฉลี่ยโครงการ/ เครือข่าย
บริการเท่ากับ 7 โครงการ รวมงบประมาณทั้งหมด 631.2 ล้าน บาท ในภาพรวมงบประมาณใช้เพื่อจัดบริการในกลุ่มนักเรียน ประถมร้อยละ 39.1 รองลงมาคือ กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์ เด็กร้อยละ 13.3 (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 สรุปสรุปแผนงานการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและบริการทันตกรรมระดับเครือข่ายบริการจำ�แนกตาม กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย 1. หญิงตั้งครรภ์ 2. คลินิกเด็กดี 3. เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์เด็ก 4. นักเรียนประถม 5. นักเรียนมัธยม 6. ผู้สูงอายุ 7. สอ./รพ.สต. 8. อื่นๆ รวม 8 กลุ่มเป้าหมาย
งบประมาณ (ล้านบาท)
ร้อยละ
62.2 62.7 84.0 246.9 13.9 45.2 49.6 66.7 631.2
9.9 9.9 13.3 39.1 2.2 7.2 7.9 10.6 100.0
ปัญหาอุปสรรคในการดำ�เนินแผนงานโครงการ เนื่องจากการดำ�เนินกองทุนทันตกรรมเป็นปีแรก จึงพบ ปัญหาอุปสรรคในการดำ�เนินการหลายด้าน ปัญหาหลักทีพ่ บคือ ขาดแคลนทันตบุคลากรทั้งทันตาภิบาลและทันตแพทย์ในการ จัดบริการ งบประมาณกองทุนทันตกรรมโอนงบมาล่าช้าทำ�ให้
ช่วง %งบประมาณในแต่ละกลุ่ม เป้าหมายของจังหวัด 3.5 - 26.8 0.0 - 28.8 0.0 - 26.1 18.2 - 68.2 0.0 - 40.0 0.0 - 20.0 0.0 - 36.3 0.0 - 43.8
เริ่มทำ�โครงการช้า บุคลากรขาดความรู้และประสบการณ์ด้าน การบริหารจัดการ หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายงบกองทุนไม่ชัดเจน และความจำ � กั ด ของระยะเวลาในการดำ � เนิ น งานโครงการ ดังรายละเอียดในตารางที่ 4
ตารางที่ 4 สรุปปัญหาอุปสรรคในการดำ�เนินการกองทุนทันตกรรม ประเด็นปัญหา ขาดแคลนทันตบุคลากรทั้งทันตาภิบาลและทันตแพทย์ในการจัดบริการ งบประมาณกองทุนทันตกรรมโอนงบมาล่าช้าทำ�ให้เริ่มทำ�โครงการช้า บุคลากรขาดความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการ หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายงบกองทุนไม่ชัดเจน ความจำ�กัดของระยะเวลาในการดำ�เนินงานโครงการ 7
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
จำ�นวนจังหวัด 18 14 13 13 12
อนุมัติโครงการล่าช้า ความไม่ชัดเจน ในเรื่องหลักเกณฑ์การใช้เงินกองทุนทันตกรรม ปัญหาการบริหารจัดการงบประมาณและการติดตามประเมินผลการใช้งบประมาณ ระบบติดตามประเมินผลโครงการตามตัวชี้วัดไม่ชัดเจน ขาดระบบข้อมูลทันตสาธารณสุขระดับจังหวัด ความไม่ชัดเจนของรูปแบบการจัดบริการเชิงรุกและการมีส่วนร่วมของชุมชนไม่ชัดเจน โปรแกรมบันทึกข้อมูลยิ้มสดใสไม่ชัดเจนและแก้ไขบ่อย ความไม่ชัดเจนของรายละเอียดตัวชี้วัด ขาดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ขาดการประสานงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ขาดการบูรณาการการดำ�เนินงาน การขยายบริการสุขภาพช่องปากสู่ รพ.สต.ไม่ครอบคลุม ขาดแผนงานโครงการในระยะยาว การโยกย้าย/ขาดแคลนทันตแพทย์ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนล่วงเวลาให้กับเจ้าหน้าที่ไม่เป็นแนวเดียวกัน ขาดโครงการแก้ปัญหาในพื้นที่ แนวทางการดำ�เนินงานในเด็กปฐมวัยไม่ชัดเจน
8
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
10 10 6 5 6 5 5 3 3 3 3 3 3 3 1 1 1
ผลลัพธ์การเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนราย จังหวัด
ผลลั พ ธ์ ก ารเบิ ก จ่ า ยงบประมาณตามแผนในภาพรวม (ข้อมูล 64 จังหวัด ณ วันที่ 15 กันยายน) มีจำ�นวนจังหวัดที่ เบิกจ่ายงบประมาณระดับจังหวัดมากกว่าร้อยละ 50 ของงบ ประมาณที่ได้จัดสรรเท่ากับ 40 จังหวัดคิดเป็นร้อยละ 75 และ จำ�นวนจังหวัดที่เบิกจ่ายงบประมาณระดับเครือข่ายมากกว่า ร้อยละ 50 เท่ากับ 40 จังหวัดคิดเป็นร้อยละ 75
ผลลัพธ์การดำ�เนินงานตัวชี้วัดสำ�คัญ
ตัวชี้วัดผลงานที่สำ�คัญที่กำ�หนดตามเกณฑ์กองทุนทันต กรรมและผลงาน ณ 31 สิงหาคม 2554 (58 จังหวัด) ร้อยละ 70 นักเรียนชั้น ป. 1 ได้รับการตรวจสุขภาพช่อง ปาก ผลงาน ร้อยละ 77.4 ร้อยละ 20 นักเรียนชั้น ป. 1 ได้รับบริการ complete case ผลงาน ร้อยละ 36.1 ผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่ฟันเทียมเทียบเป้าหมาย ผลงาน ร้อยละ 92.7. ตัวชีว้ ดั ผลงานทีส่ �ำ คัญระดับกระทรวงสาธารณสุข คือ ผูส้ งู อายุที่ได้รับบริการฝังรากฟันเทียมเทียบเป้าหมาย ผลงาน ร้อย ละ 110.1 (ผลงานเกินเป้าหมายที่ตั้ง)
9
ข้อเสนอแนะในดำ�เนินการต่อไป
จากข้อเสนอแนะที่รวบรวมจากการตรวจราชการกองทุนทันต กรรม ที่ทีมผู้นิเทศตรวจราชการได้ให้ข้อเสนอในประเด็นต่างๆ พบว่า 6 อันดับแรกที่เป็นประเด็นเสนอแนะ คือ สนับสนุนการ จัดทำ�แผนยุทธศาสตร์ระดับเขตให้สอดคล้องกับระดับประเทศ การจัดทำ�คูม่ อื แนวทางการปฏิบตั ิ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ในการจัดทำ�แผนแก้ปญ ั หาพืน้ ที่ การพัฒนาแผนงาน/โครงการ การบูรณาการจัดบริการ/การทำ�งานเชิงรุก การบริหารจัดการ กระจายกำ�ลังคนสูช่ นบท (ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล ลูกจ้างช่วย งานทันตกรรม) และ การพัฒนางานสุขภาพช่องปากใน รพ.สต. ให้ครอบคลุมและมีคณ ุ ภาพ (ตารางที่ 5) โดยมีประเด็นทีผ่ นู้ เิ ทศ งานรับไว้เพื่อดำ�เนินการต่อ ประเด็นส่วนใหญ่คือ การประสาน การจัดทำ�ยุทธศาสตร์ระดับเขตให้เป็นแนวทางเดียวกัน กำ�หนด หลักเกณฑ์การใช้งบประมาณกองทุนทันตกรรมให้ชดั เจน และ เร่งรัดกระบวนการอนุมตั งิ บประมาณ การจัดประชุมแลกเปลีย่ น เรียนรู้ให้ผู้ปฏิบัติงานกองทุนทันตกรรม การพัฒนาโปรแกรม บันทึกข้อมูลให้เป็นภาพรวมจังหวัดให้ชัดเจน จัดทำ�คู่มือ/ อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรรองรับการดำ�เนินงานในพื้นที่ สนับสนุนงบส่วนจังหวัดเพื่อจัดหาทันตบุคลากรเพิ่ม และ การ บรรจุทันตาภิบาลให้เป็นข้าราชการประจำ�
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ตารางที่ 5 สรุปประเด็นข้อเสนอแนะจากทีมนิเทศตรวจราชการ ประเด็นข้อเสนอแนะจากทีมนิเทศตรวจราชการ สนับสนุนการจัดทำ�แผนยุทธศาสตร์ระดับเขตให้สอดคล้องกับระดับประเทศ จัดทำ�คู่มือแนวทางการปฏิบัติงาน พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดทำ�แผนแก้ปัญหาพื้นที่ พัฒนาการบูรณาการจัดบริการ/การทำ�งานเชิงรุก การบริหารจัดการกระจายกำ�ลังคน (ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล ลูกจ้างช่วยงานทันตกรรม) พัฒนางานสุขภาพช่องปากใน รพ.สต. พัฒนารูปแบบการหมุนเวียนทันตบุคลากร ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะองค์กรท้องถิ่น จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในทุกระดับ/นำ�เสนอผลงาน/ชี้แจงหลักเกณฑ์ มาตรการแก้ไขปัญหาขาดแคลนทันตบุคลากร พัฒนารูปแบบการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ เช่น แยกบัญชีงบจากกองทุนทันตกรรมกับงบบำ�รุง ส่งเสริมการรณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อม พัฒนามาตรการจัดทำ�แผนให้ทันเพื่อเสนอ สปสช.ในต้นปีงบประมาณ จัดกลุ่มกิจกรรมที่คล้ายคลึงกัน/จัดชุดโครงการ เสนอให้ สปสช. กำ�หนดผลสำ�เร็จของงานในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน ตามปีการศึกษา สนับสนุนทันตบุคลากรให้เพียงพอ เช่น ให้ทุนเรียนต่อ จัดทำ�แผนการผลิตทันตบุคลากร ส่งเสริมการดำ�เนินงานเชิงคุณภาพเป็น Best Practice/นวัตกรรม ในการแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ พัฒนาระบบบันทึกข้อมูลให้ชัดเจนเป็นปัจจุบัน ขยายเวลาดำ�เนินงาน ควรเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้ทันภายในปีงบประมาณ ขยายและให้นํ้าหนักดำ�เนินการในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนและปฐมวัยในแผน ๕ ปีของจังหวัด ประเมิน กำ�กับ ติดตาม ตามยุทธศาสตร์ที่กำ�หนด สนับสนุนให้ทันตแพทย์มีบทบาทในการบริการเชิงรุก ควรนำ�ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาปฏิบัติงาน พัฒนารูปแบบรายงานผล เช่น เพิ่มรูปแบบรายงาน รายบุคคล พัฒนาโปรแกรมให้ชัดเจน พัฒนาระบบติดตามผลให้ชัดเจน เช่น ผลดำ�เนินงาน การประชุมคณะกรรมการ จัดทำ�แผนโดยบูรณาการความคิดจากทุกภาคส่วนและสนับสนุนการทำ�งานเป็นทีม ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานทันตฯ พัฒนาการดำ�เนินงานในกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น ควรมีมาตรการที่ทำ�ให้เกิดมาตรฐานระหว่างผู้เก็บข้อมูล ระดับ outcome และ impact กำ�หนดรูปแบบจ่ายค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจน 10
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
จำ�นวนจังหวัด 21 18 18 15 15 15 11 11 10 11 8 8 6 5 5 4 4 4 3 2 2 2 2 2 2 2 1 1 1 1 1
1 ปีกองทุนทันตกรรม เราทำ�อะไรกัน??? โดย : ทพญ.วิโรชา เพียรเจริญ รพช.ป่าบอน จ.พัทลุง ก่อนพูดถึงกองทุนทันตกรรม คงต้องเล่าถึงบริบทการทำ�งาน ในอำ�เภอของเราก่อนนะคะ อำ�เภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง มีประชา กรราวๆ 47,000+ คนเป็นประชากร UC ประมาณ 38,000+ คน แบ่งพื้นที่เป็น 5 ตำ�บล 11 สถานีอนามัย 1 โรงพยาบาล มีทันต บุคลากรปฏิบัติงานในอำ�เภอซึ่งสังกัดโรงพยาบาลทั้งหมดแบ่งเป็น ทันตแพทย์ 3 คน ทันตาภิบาล 5 คน ผู้ช่วยทันตแพทย์ 2 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 1 คน เดิมนั้นใช้ระบบบริหารจัดการภายในกลุ่ม งานทันตกรรมคือ แบ่งงานหลักให้แต่ละคนรับผิดชอบไปคนละงาน สองงาน แต่เมือ่ ปีงบประมาณ 2552 เราได้ทดลองเปลีย่ นระบบเป็น ทันตาภิบาล 1 คนดูแล 1 ตำ�บล และมีทนั ตแพทย์รบั ผิดชอบอีกชัน้ โดยแบ่งพื้นที่กันไปเช่นกัน งานหลักของทันตาภิบาลจะเน้นตาม กรอบงานทีก่ ฎหมายรองรับ (พรบ.ปี 2539) และสนับสนุนแนวทาง การดำ�เนินงานในรูปแบบ “รพ.สต” ทีเ่ น้นงานส่งเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรค ภายใต้แนวคิด ใกล้บา้ นใกล้ใจ และเพิม่ การเข้าถึงบริการ ของผู้ด้อยโอกาส เช่น เด็ก คนพิการ และผู้สูงอายุ โดยจัดสรร ครุภณ ั ฑ์ทนั ตกรรมและวัสดุอปุ กรณ์สำ�หรับการตัง้ คลินกิ ทันตกรรม ประจำ�ตำ�บลให้ทั้ง 5 ตำ�บลผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคป สอ.ในการคัดเลือกสถานีอนามัยที่จะเป็นแม่ข่ายทั้ง 5 แห่ง เพื่อ รองรับการทำ�งานเชิงรุกและประชาชนในเขตตำ�บลนั้นๆ 1 ปีผา่ นไปกับการทำ�งานแบบงงๆ กองทุนทันตกรรมก็เข้ามา สูร่ ะบบ ทำ�ให้เรามีกรอบการทำ�งานทีช่ ดั เจนขึน้ กรอบงบประมาณ ที่เป็นกอบเป็นกำ� ดังนั้นปีงบประมาณ 2553 ที่เพิ่งผ่านไป กองทุน ทันตกรรมช่วยให้เราทำ�อะไรไปบ้าง?? 1. เพิ่มความคล่องตัวในการทำ�งานประจำ� เป็นโชคดีของ ทีมที่เราต่างมุ่งเป้าไปที่งานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่อง ปากมากกว่างานด้านการรักษามาตั้งแต่แรก ดังนั้น ไม่ว่าจะมีเงิน หรือไม่ก็ตาม ภารกิจนี้จึงเป็นงานประจำ�ของเราที่ตั้งใจจะทำ�ต่อ ไปโดยไม่ขึ้นกับงบประมาณสนับสนุน แต่กองทุนทันตกรรมก็เข้า มาช่วยให้การทำ�งานง่ายขึ้นมากเนื่องจากเรามีแหล่งงบประมาณ ของตนเอง 2. สร้างทีมทำ�งาน เราต่างก็รอู้ ยูว่ า่ ภาระงานทันตสาธารณสุข 11
ทีต่ อ้ งแบกรับในระดับอำ�เภอเมือ่ เทียบกับกรอบอัตรากำ�ลังทีม่ อี ยูน่ นั้ ช่างหนักอึง้ กองทุนทันตกรรมช่วยให้เราสามารถเพิม่ อัตรากำ�ลังใน การทำ�งานได้ในตำ�แหน่งนักวิชาการสาธารณสุข(โครงการ)เพือ่ ช่วย ดำ�เนินงานทั้งในสถานพยาบาลและเชิงรุกในชุมชน อย่างน้อยก็ใน 1 ปีแรกของการทำ�งานภายใต้งบประมาณของกองทุน นอกจาก นัน้ แล้ว จากผลประกอบการทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างมากมายภายในเวลาอัน จำ�กัดตามเงื่อนเวลากองทุนทำ�ให้ระดับผู้บริหารอนุมัติกรอบอัตรา เจ้าหน้าทีบ่ นั ทึกข้อมูลของกลุม่ งานฯทีเ่ คยบรรจุอยูใ่ นแผนเงินบำ�รุง ได้รวดเร็วขึน้ จากการทีเ่ ราไม่สามารถบันทึกข้อมูลการทำ�งานเพือ่ รับ เงินสนับสนุนได้ทัน 3. ช่วยพัฒนาเครือข่าย งานทันตสาธารณสุขเป็นงานที่ไม่ สามารถทำ�ได้สำ�เร็จเพียงลำ�พัง ต้องอาศัยเครือข่ายช่วยทำ�งาน เรา ได้งบประมาณจากกองทุนมาจัดการด้านพัฒนาศักยภาพตนเอง และเครือข่าย และยังสามารถกันบางส่วนไว้ให้พนื้ ทีส่ ามารถดำ�เนิน โครงการ/กิจกรรมที่เขาคิดว่าเหมาะสมกับบริบทที่มีอยู่โดยเขียน โครงการมาขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนทันตกรรม รวม ไปถึงความร่วมมือในการจัดทำ�แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ด้านทันต สาธารณสุขระดับอำ�เภอของเครือข่าย 4. ช่วยพัฒนาระบบกลไก/โครงสร้างการทำ�งานที่รองรับอยู่ นั่นหมายถึงโรงพยาบาล รพ.สต.ทั้งที่มีเก้าอี้ทันตกรรม และรพ.สต. ที่ดำ�เนินงานทันตสาธารณสุขอื่นๆที่ไม่มีคลินิกทันตกรรม ซึ่งต้องมี การพัฒนาไปพร้อมๆกับการพัฒนาบุคลากร เรากันงบประมาณส่วน หนึ่งของกองทุนให้เป็นงบบริหารจัดการโดยมีเกณฑ์จัดสรรตามผล งานเพือ่ ให้แต่ละพืน้ ทีเ่ กิดความคล่องตัวในการใช้งบประมาณภายใต้ ข้อตกลงในการสนับสนุนการดำ�เนินงานด้านทันตสาธารณสุขของ พื้นที่รับผิดชอบของตนเอง 5. เพิ่มความร่วมมือ กองทุนทันตกรรมช่วยให้เราหาแหล่ง งบประมาณสนับสนุนจากภายนอกได้ง่ายขึ้น โดยปกตินอกจาก เราใช้งบ PPexpress. ในการดำ�เนินงานแล้ว ยังต้องอาศัยแหล่งงบ ประมาณอื่นๆเพิ่มเติม โดยเฉพาะกองทุนตำ�บล (PP area based) ที่ผ่านมาเราได้รับสนับสนุนงบประมาณจากการเขียนโครงการ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ราว ๆ 30,000-50,000 บาท แต่ในปีที่ผ่านมาเราได้งบประมาณสนับสนุน 50,000+ ถึง 120,000+ จากแต่ละกองทุน ด้วยเหตุผลทีท่ างท้องถิน่ บอกเราว่า “ก็ทางสาธารณสุข เองก็ลงงบเพื่อพื้นที่มาตั้งมาก เราก็ต้องให้สมทบไปเหมือนกันเพื่อประโยชน์ของคนใน ชุมชนเรา เค้าไม่ได้ขอเราฝ่ายเดียวสักหน่อย” รวมทัง้ งบประมาณจากกองทุนทันตกรรม ส่วน 30% ที่ช่วยสนับสนุนการแปลงโฉมรถ refer คันเก่าของโรงพยาบาลให้เป็นรถ ทันตกรรมเคลือ่ นทีเ่ พือ่ ให้บริการเชิงรุกในชุมชน นอกเหนือไปจากรถทันตกรรมเคลือ่ นที่ ของอบจ.พัทลุงทีม่ าร่วมออกหน่วยในโครงการ “อำ�เภอยิม้ ..เคลือ่ นที”่ ของทางอำ�เภอให้ เราได้ขนเด็กๆประถมศึกษาขึน้ ไปทำ�ฟันบนรถทีแ่ ล่นมาเทียบถึงรัว้ โรงเรียนกันเลยทีเดียว 1 ปีทผี่ า่ นมา หลายๆคนรูส้ กึ คล้ายกับว่างานเราเพิม่ ขึน้ อย่างมากมาย แต่หากพิจารณา กันอย่างถีถ่ ว้ นแล้ว เป้าหมายและแนวทางการทำ�งานเรายังคงไม่ตา่ งจากเดิม แต่การเข้า มาของกองทุนทันตกรรมกับตัวชีว้ ดั ทีม่ บี นพืน้ ฐานของการค้นคว้าและสรุปข้อมูลจากงาน วิจัยอย่างเป็นระบบ ช่วยให้เราสามารถลำ�ดับความสำ�คัญของงานที่จะทำ� และเป็นแหล่งงบประมาณสนับสนุนการทำ�งานให้สะดวกง่ายดาย ยิ่งขึ้น ภายใต้ข้อจำ�กัดที่มีอยู่มิใช่หรือ
เรื่องเล่าจากช้างน้อย @ พระนครศรีอยุธยา
เ
มื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ทีมงานทันตฯ พระนครศรีอยุธยา ได้รับงบประมาณกองทุนทันตกรรมกว่า ๑๔ ล้านบาท ทำ� ให้รพช.ต่างตื่นเต้นกันมากว่าจะใช้งบประมาณอย่างไร ประชุมกัน หลายต่อหลายครั้ง เพื่อช่วยกันคิดและแลกเปลี่ยนโครงการของ แต่ละ CUP นอกจากนี้ทีมงานทันตฯต่างช่วยกันคิดโครงการในส่วนร้อยละ ๓๐ ทีส่ สจ.จะต้องดำ�เนินการด้วย สุดท้ายก็ส�ำ เร็จเป็นโครงการทีพ่ วกเราพึงพอใจและเริม่ สนุกสนานกับการ ทำ�งานทีม่ งี บประมาณให้เราสร้างสรรค์อย่างมากมาย เช่น การจัดมหกรรมรวมพลคนอยุธยารักษ์สขุ ภาพ การประกวด โรงเรียนประถมส่งเสริมทันตสุขภาพ การทำ�สื่อต่างๆ ตลอดจนการจัดประชุมเพื่อพัฒนาเครือข่ายทันตบุคลากร เป็นต้น การดำ�เนินงานในระยะแรกก็เหนื่อยหนักหนากันอยู่ เพราะเราไม่คล่องงานด้านธุรการและการเงินเท่าไรนัก นอกจาก นี้แปรงสีฟัน ยาสีฟันที่เราต้องการอย่างมากยังขาดตลาดอีกด้วย (เหมือนแย่งซื้อมาม่าตอนช่วงน้ำ�ท่วมนั่นแหละค่ะ) พอสรุปงานรอบแรกไปก็มีปัญหาเยอะแยะมากมายมาเล่าสู่กันฟัง ได้ระบายแล้วก็ดีใจ มีคนที่มีชะตากรรมเหมือนเราด้วย ^_^ หลังจากนั้นเราก็ดำ�เนินการในช่วงที่สอง แต่อุปสรรคทางธรรมชาติก็คือ “น้ำ�ท่วม” ทำ�ให้เราต้องทำ�งานยากขึ้น แต่ เมื่อสรุปงานปลายปีงบประมาณ ทุกCUPก็ทำ�งานได้อย่างดี ส่วนใหญ่จะบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีการสร้างนวตกรรม สร้างเครือข่ายการทำ�งานด้านทันตสาธารณสุข และที่สำ�คัญยังสามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการทันตกรรมในกลุ่มเป้าหมาย หลักและกลุ่มเป้าหมายรองของกองทุนอีกด้วย เครือข่ายของเราทำ�งานกันเก่งจริงๆค่ะ ขอชื่นชมทุกท่านที่ทำ�งานอย่าง เข้มแข็งเพื่อพี่น้องประชาชนของเรามีสุขภาพช่องปากที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปค่ะ ขอบคุณกองทุนทันตกรรมที่ทำ�ให้ เราได้ทำ�งานเพิ่มมากขึ้นอย่างมีความสุขค่ะ 12
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ปรากฏการณ์ “คันหู” and you’ll never walk alone !!!!
“คั
นหูไม่รเู้ ป็นอะไร เอาสำ�ลีมาปัน่ ก็ไม่หาย ...... อร๊ายยยย โอ๊ยยย” เสียงเพลงปลุกเร้าเคล้าท่าเกาหูของนัก ร้องโนเนมสาวไทยวัยยี่สิบ ยิ่งกระตุ้นทำ�ให้คนเข้าไปค้นหาดูท่า เต้นคันหูในยูทูป ปาเขาไปแล้ว 16 ล้านสองแสนกว่าครั้งในวันที่ กระผมเขียนต้นฉบับนี้ ทำ�ให้ผมนึกถึงเรื่องคันหูภายในกระทรวง สาธารณสุขมั่ง สืบเนื่องด้วยได้ไปร่วมงานการประชุมวิชาการโรง พยาบาลชุมชนประจำ�ปี 2554 ด้วย Theme : ความเป็นธรรมด้าน สุขภาพ ความหวังของมนุษย์ชาติ เรือ่ งทีย่ งั คันหูและยังไม่รวู้ า่ จะตก เทรนด์เมื่อไหร่แถมยังคงยืดเยื้อไป ก็รู้ว่ามันเริ่มจากตรงไหน แต่ ไม่รู้ว่าจะจบลงเช่นไร คือ “เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย” อร๊ายยยย!!!! โอ๊ยยยย!!!! คันหูอีกแล้ว !!!! หลังจากมีการส่งสัญญาณจาก ผู้ บ ริ ห ารระดั บ กระทรวงจะยกเลิ ก ระเบี ย บค่ า ตอบแทนเบี้ ย เลี้ ย งเหมาจ่ า ย ฉบั บ ที่ 4, 6 เนื่ อ งจากความไม่ เ ป็ น ธรรม ต่อบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขในภาพรวมตั้งแต่กลาง ปี 2553 โดยมอบหมายให้ทาง สวรส. ศึกษารูปแบบการจ่ายเงิน ค่าตอบแทนเพื่อจะให้ทันใช้ในปีงบประมาณ 2554 ผ่านไปแล้ว 1 ปีก็ยังไม่เห็นรูปแบบที่ชัดเจนเพียงแต่รู้ว่าจะปรับให้เป็น P4P หรือ Pay for Performance โดยใช้หลักการคิด งาน คือเงิน อารมณ์คือ ๆ กับ car for cash ประมาณนั้น จริง ๆ รูปแบบแต่ละรูปแบบมีทั้งข้อดีข้อเสีย P4P ก็เป็นระบบ ที่ดีระบบหนึ่งแต่จะเหมาะกับบริบทไหนก็ต้องดูมิติปัจจัย ที่เกี่ยวข้องอีก เพราะหลังจากที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำ�รุง รองนายกรัฐมนตรี ในขณะเป็น รมว.สาธารณสุข ได้ลงนาม ประกาศใช้หลักเกณฑ์ค่าตอบแทน ฉบับที่ 4 และ 6 (ไปหา อ่านเอาเองนะครับ จะไม่กล่าวถึงรายละเอียด) นี้เพียงแค่ 10 เดือน เกิดปรากฏการณ์แลนด์สไลด์ ทำ�ให้มแี พทย์เกือบ 100 คน 13
by iherebic
ไหลกลับเข้าทำ�งานในโรงพยาบาลชุมชน โดยเฉพาะแพทย์ จากเอกชนที่ลาออกไป รวมไปถึงทันตแพทย์ 50 คน และ เภสัชกรอีก 60 คน ที่ขอย้ายมาเช่นกัน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ ไม่เคยมีมาก่อน จากเดิมที่มีแต่ไหลออก เพราะช่วยลดช่อง ว่างรายได้ระหว่างเอกชนและภาครัฐได้บ้าง เรียกว่าช่วย แก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์และบุคลากรของโรงพยาบาล ชุมชนอย่างได้ผล ต้องบอกก่อนว่าเงินค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยง เหมาจ่ายในส่วนนี้เป็นงบกลาง หลังจากนั้นทาง รพท, รพศ จึงได้รา่ งระเบียบฉบับ 7 ออกมาเพือ่ เป็นระเบียบค่าตอบแทน ให้แก่บุคลากรส่วนของ รพท, รพศ เช่นเดียวกัน แต่ปัญหาที่
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
เกิดขึ้นคือ เงินไม่พอจะจ่าย !!! เนื่องจากชมรมแพทย์ชนบท ของบประมาณในส่วนงบกลางเพือ่ จ่ายให้บคุ ลากรในส่วนของ โรงพยาบาลชุมชนเท่านั้น อีกปัญหาที่เจอก็คือ ระเบียบการ จ่ายค่าตอบแทนในส่วนของฉบับ 4,6 ได้ผ่านการตรวจสอบ กลัน่ กรองของสำ�นักงานตรวจเงินแผ่นดินและกรมบัญชีกลาง ซึง่ เป็นคนออกระเบียบ 2 ฉบับนี้ จึงยืนยันได้วา่ กระบวนการ ออกระเบียบถูกต้อง 100 % แต่ฉบับที่ 7 ถูกสำ�นักงานตรวจ เงินแผ่นดินทำ�หนังสือที่ ตผ. 0020.1/5978 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 “สำ�นักงานการตรวจเงินแผ่นดินพิจารณา แล้วเห็นว่า การกำ�หนดหลักเกณฑ์ฯ การจ่ายค่าตอบแทนให้ แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค ต่าง ๆ ทัว่ ประเทศทีม่ คี วามแตกต่างกันในทางกายภาพ และ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ หรือ ลักษณะของพื้นที่ บางแห่งเป็น พืน้ ทีท่ มี่ คี วามทุรกันดารมาก บางแห่งมีความทุรกันดารน้อย มาก หรือ ไม่มีเลย การกำ�หนดอัตราเหมาจ่ายในลักษณะดัง กล่าว จึงอาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ที่มีคำ�สั่งให้ ไปปฏิบตั งิ านประจำ�ในหน่วยบริการทีม่ คี วามทุรกันดารมาก แต่ได้รบั ค่าตอบแทนเท่ากันกับหน่วยบริการทีต่ งั้ อยูใ่ นพืน้ ที่ ทุรกันดารน้อย หรือน้อยกว่า เป็นต้น หลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงไม่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงือ่ นไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวง สาธารณสุข พ.ศ.2554 และทีแ่ ก้ไขเพิม่ เติม (ฉบับที่ 4 ) ข้อ 6 พ.ศ.2551 และ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 ซึ่งการกำ�หนดการ จ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานสำ�หรับแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงานใน พื้นที่ทุรกันดาร และขาดแคลนบุคลากร และแก้ปัญหาความ ขาดแคลนบุคลากรในหน่วยบริการได้” ส่วนฉบับ 8 ของ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด ก็ตกไปเพราะไม่ใช่หน่วยบริการ มีแต่เพียงข่าวหลุดออกมาก่อนว่าได้ แล้วก็มีข่าวตามมาว่า ยกเลิก ความจริงทางกระทรวงไม่ได้ยกเลิก แต่เพราะทาง กระทรวงสาธารณสุขยังไม่แจ้งเวียนหนังสือออกมา จึงไม่จ�ำ เป็น ต้องยกเลิก งงไหมครับ!!! สำ�หรับค่าตอบแทนที่ถูกระงับจ่ายมา 1 ปีเนื่องจาก ทางกระทรวงไม่สามารถสรุปรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทน 14
ใหม่สำ�หรับปีงบประมาณ 2553 ได้ ทั้ง ๆ ที่งบกลางได้ถูก อนุมัติจากคณะรัฐมนตรีมาแล้วก่อนหน้านี้ 4,200 ล้านบาท และด้วยการจัดสรรเงินที่ไม่ลงตัวของระเบียบ 4,6 และฉบับ 7 (ทีถ่ กู แย้งโดย สตง) ทำ�ให้เงินก้อนนีย้ งั ไม่ได้มกี ารเบิกจ่าย ประกอบกับเกิดอุทกภัยทำ�ให้ตอ้ งโยกเงินไปช่วยน้�ำ ท่วม แต่ก็ เหลือเงิน 1,600 ล้านบาท สมทบกับเงินบำ�รุงอีก 170 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 1,770 เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนที่ติดค้างตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2554 ก้อนแรกให้กบั บรรดาแพทย์ และบุคลากร ทางการแพทย์ทที่ �ำ งานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทัว่ ประเทศ ซึ่งจะเป็นค่าตอบแทนได้ประมาณ 4-5 เดือน ส่วนที่เหลือ ต้องรอตกเบิกไปในปีงบประมาณ 2555 ซึง่ จะขอจากงบกลาง เหมือนเดิม ซึ่งน่าจะได้ถ้างบประมาณภาครัฐยังพอมีเหลือ อยู่ แต่เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลแต่ละนโยบายใช้งบ ประมาณค่อนข้างสูง ตอนนีก้ องทุนน้�ำ มันก็เหมือนจะต้องกูเ้ งิน มาชดเชยแล้ว และทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ คือการนำ�งบประมาณไปซ่อมแซม สาธารณูปโภค สิ่งก่อสร้างและช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุกทภัย ครั้งที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยซึ่งเสียหายซึ่งไม่สามารถ ประเมินเป็นตัวเงินได้ ก็ต้องรอลุ้นกันต่อไปนะครับว่าจะได้ หรือไม่ได้ อย่าลืมเผือ่ ใจไว้ดว้ ยนะครับ .... แต่ถา้ โรงพยาบาล ชุมชนไหนทีม่ เี งินบำ�รุงเยอะ (ซึง่ มีนอ้ ยมาก) สภาพคล่องดีก็ สามารถจ่ายขาดจากเงินบำ�รุงได้ตลอดเวลา เพราะ ระเบียบฉบับ 4,6 ถูกต้องตามระเบียบ หลายข้อเสนอที่ได้ผ่านหูผ่านตามาจากหลายความคิด ส่วนใหญ่กพ็ ดู กันว่า รพช. ควรจะใช้เบีย้ เลีย้ งเหมาจ่าย รพท./ รพศ. ก็ใช้ workpoint ไป มันก็เป็นทางออกทีด่ แี ละลงตัว แต่ ก็คิดว่าคงติดปัญหาเรื่องระเบียบ แหล่งงบประมาณ และ มี การวิเคราะห์กันว่า ลึก ๆ แล้วคงมีเรื่องการเมืองภายในเข้า มาเกี่ยวข้องด้วย เราเป็นผู้น้อยก็ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่จริง ก็คงต้องคันหูไว้หูไป สำ�หรับยุทธศาสตร์ของชมรมแพทย์ชนบทที่กล่าวใน งานประชุมวิชาการโรงพยาบาลชุมชนประจำ�ปี 2554 ก็จะ ยังคงสนับสนุนให้มีระเบียบฉบับที่ 4,6 ในระเบียบเงินบำ�รุง ส่วนงบประมาณนัน้ จะไม่ของบกลางเพิม่ เติมจากรัฐบาล แต่ จะใช้เงินบำ�รุงโรงพยาบาลที่ได้มาจากงบเหมาจ่ายรายหัวที่
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 200 บาทต่อหัวประชากร ในปี 2555 นี้ โดยจะแบ่งใช้มาจ่ายค่าตอบแทน 100 บาทต่อหัวประชากร กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งคณะทำ�งาน เพื่อร่วมกัน หาทางออกในการแก้ไขปัญหาซึ่งส่วนใหญ่มาจากกลุ่มโรง พยาบาลทัว่ ไปและโรงพยาบาลศูนย์ ถ้าจำ�ไม่ผดิ ตัวแทนจาก โรงพยาบาลชุมชนเหมือนจะมีประธานชมรมแพทย์ชนบท เพียงคนเดียว โดยจัดทำ�ข้อสรุปการจัดสรรค่าตอบแทนทีน่ อก เหนือจากเงินเดือน ซึง่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการ จ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเติม ในส่วนพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกล และพื้นที่พิเศษ เพื่อดึงให้แพทย์อยู่และทำ�งานในพื้นที่เหล่า นี้ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลตากใบ จ.นราธิวาส ที่เป็น พื้นที่เสี่ยงความรุนแรง และโรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก ที่อยู่ ในแนวชายแดน เป็นพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น และอีกส่วนนั้น เป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงานและผลงาน เป็นเงิน เพิม่ เติมให้กบั แพทย์ทตี่ อ้ งทำ�งานหนัก เพือ่ เป็นขวัญกำ�ลังใจ ทัง้ นี้ เพือ่ ไม่ให้แพทย์เหล่านีไ้ ม่ไหลออกจากระบบ โดยจะจ่าย ทัง้ ในกลุม่ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาล ทั่วไป แต่อัตราการจ่ายค่าตอบแทนอาจแตกต่างกันไป จนถึงวันนีใ้ น social network ได้พดู ถึงเรือ่ งนีก้ นั อย่าง กว้างขวาง ในหน้าเพจ มั่นใจแพทย์รพช.เกิน 1000 คน คิดที่ จะลาออกจากการถูกตัดเบีย้ เลีย้ งเหมาจ่าย มีการแลกเปลีย่ น ความคิดต่าง ๆ อาทิเช่น “ ไม่ถึงเดือน 2000 กว่าคน เยอะเนอะ แต่เราเริ่มหมด ศรัทธาในระบบราชการแล้วล่ะ อยู่แบบเอาแน่เอานอนไม่ได้ อนาคตเราไม่ใช่ของเล่น ต้องมีการวางแผนชีวติ ไม่ใช่มาหวัง ลมๆแล้งๆ” “ทางกพ.ก็ไม่รู้ทำ�ไง บอกว่ามีให้แค่นี้ไปเคลียร์กันเอง ก็เคลียร์กนั ไม่ได้ซกั ที เลยตกเบิกจนมาเอางบไปช่วยน้ำ�ท่วม ก่อนเรียบร้อยแล้วครับ ทางชมรมแพทย์ชนบทก็เคยบอกว่า ให้ทางรพศ.ไปขอเงินส่วนนีเ้ องเบิกงบเอง แยกกันไม่ตอ้ งเอา มาปนกันแบบนี้ แต่ทางรพศ.ก็ไม่ยอมอีก (คิดว่าคงขอไม่ไป ก็ไม่ได้มั้งครับเพราะไม่มีกฏหมายมารองรับครับ)” “ ใครอยากฟ้องศาลปกครองบ้างครับ ผมมีตัวอย่างที่ เคยเขียนคำ�ฟ้องไปแล้ว เผื่อว่างๆจะได้ส่งแฟกซ์ไปให้ดูครับ 15
หรือจะนัดรวมตัวกันที่ศาลปกครองก็ได้ครับ เมื่อไหร่ได้เลย พร้อมไปร่วมด้วยครับ (จะขอลากิจไปเพือ่ การนีโ้ ดยเฉพาะ)” “ต่อไป p4p ก็คือ รีบมาใช้ทุนแล้วรีบไปเรียนต่อเป็น สเปกดีกว่าแล้วรีบย้ายเข้า รพท รพศ ไปหางานที่ point เยอะๆ ทำ� งานGPที่ รพช point มันน้อยก็รีบย้ายเข้าไป เมืองดีกว่าใช่ปะ ถูกป่าว ก็คืองานศัลยกรรมสำ�คัญมากเลย point เยอะ งานอื่นๆสำ�คัญน้อย เลย point น้อย ถูกมั้ยๆ” เห็นไหมครับว่า “เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย” ก็เป็นหนึ่งใน “ปรากฏการณ์คันหู” เพราะในแวดวงสาธารณสุขก็เป็น talk of ทัง้ the town, hospital, webboard , facebook !!! ได้ยนิ แล้วยิ่งคันอยากรู้ว่ามันจะจบลงอย่างไร โดยเฉพาะแพทย์ และทันตแพทย์อีกมากมายจะได้เกาชีวิตลิขิตอนาคตของ ตัวเองซะใหม่ ว่าจะไปทางไหนดี ดีกว่าคาราคาซังอยู่อย่างนี้ ในส่วนของแพทย์กไ็ ด้ขา่ วว่าก็มคี ลีนคิ ผิวหนังชือ่ ดังหลายสำ�นัก ก็เปิดรอรับจำ�นวนไม่อนั้ ด้วยค่าตอบแทนทีเ่ ห็นแล้วยิง่ กว่าใส่ big eyes !!! ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็อย่ามัวแต่เอาสำ�ลีมาปั่นหู ก็ไม่รหู้ ายอยูอ่ ย่างนี้ ต้องรีบแก้ไขให้จบโดยเร็ว มิเช่นนัน้ เรือ่ ง การลาออกของแพทย์ทันตแพทย์ก็คงอยู่ในวังเวียนเดิม ๆ แต่แนวโน้มไปแน่ ๆ คงเยอะอยู่ ก็คงต้องรอดูกันต่อไป แต่ได้ยนิ พี่ ๆ จากทีป่ ระชุมวิชาการชมรมแพทย์ชนบทเล่าให้ฟงั ว่า “รองนายกรัฐมนตรี เฉลิม อยูบ่ �ำ รุง ได้พดู ว่า “ผมเข้าใจพวกหมอนะ ถ้าตัดเบี้ยเลี้ยง หมอก็ไม่มีใครอยู่โรงพยาบาลชุมชนสิ” ในส่วนของพวกเราและชมรมทันตภูธรก็คงต้องช่วยกัน สนับสนุนและให้กำ�ลังใจการทำ�งานของชมรมแพทย์ชนบท ซึง่ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกลู เกียรติ ผูอ้ �ำ นวยการโรงพยาบาล ชุมแพ ก็ได้รบั เสียงสนับสนุนอย่างล้นหลามทัง้ ห้องประชุมให้ รับตำ�แหน่งประธานชมรมแพทย์ชนบทต่ออีกหนึ่งสมัย ท่าน เป็นคนทีเ่ ก่งมาก ๆ และก็เหมาะสมแล้วจริง ๆ ในสถานการณ์ ปัจจุบัน สุดท้ายนี้ขอไว้อาลัยให้แก่ สตีฟ จ๊อป อดีต CEO Apple. ผู้สร้างนวตกรรมที่สุดแสนมหัศจรรย์ให้แก่โลกใบนี้ และสาวกหงส์แดงโปรดจำ�ไว้ว่า You’ll never walk alone !!!! แอร๊ยยยย ....คำ�นี้มันช่างคันหูซะเหลือเกิ้น !!!
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ปฏิบัติการเล่าฝัน ตอน
มาถูกลอตเตอรี่กันเถอะ!!! By JoomJim
เ
ห็นชือ่ ตอนนีแ้ ล้วอย่าพึง่ เข้าใจไปว่า จุม้ จิม้ จะมาบอก
เลขเด็ดนะค้า เพียงแต่จุ้มจิ้มได้ไปอ่านบทความ หนึ่งรู้สึกว่าดีมากๆเลยแล้วก็อยากให้ทุกคนได้อ่านและได้ ถูก ลอตเตอรีก่ นั ค่ะ ซึง่ พูดถึงงานวิจยั หนึง่ ในประเทศอังกฤษ ทีเ่ ค้าได้ให้คนมาจัดลำ�ดับเหตุการณ์ในชีวติ ทีท่ �ำ ให้มคี วามสุข แล้วเอามาเทียบกับการถูกลอตเตอรี่ว่าจะเป็นเงินเท่าไหร่ เพื่อให้เห็นว่า ชีวิตยังมีอะไรอย่างอื่นนอกเหนือจากเรื่องเงิน ผลงานวิจัยปรากฏว่า อันดับ 1 นั้นก็คือคนต้องการ มีสขุ ภาพดีและคิดเทียบเท่ากับการถูกรางวัลเป็นเงินประมาณ เกือบ 10 ล้าน! โอ้โห...เห็นไหมคะว่าการมีสุขภาพดีมันมีค่า ขนาดไหน แต่เอาจริงๆนะคะ ต่อให้เรามีเงิน 10 ล้านบาทจริง ๆ ถ้าเราป่วยเงินเท่านี้อาจจะหมดในเวลาไม่นานเพราะใช้ใน การรักษาตัว ดังนัน้ ถ้าสุขภาพดีกเ็ หมือนมี 10 ล้านจริง ๆ ด้วย ผลงานวิจัยปรากฏว่า อันดับ 2 นั้นก็คือการที่มีคนๆ นึงมาบอกว่า “ฉันรักเธอ” และมีความสัมพันธ์ที่อบอุ่นมั่นคง ต่อกัน คือเทียบเท่ากับการถูกรางวัลเป็นเงินประมาณเกือบ 9 ล้าน! ที่รองลงมาคือการ ได้อยู่ในที่สงบๆ, การมีลูก และการ
16
ได้ใช้ชวี ติ กับครอบครัว และแม้แต่การหัวเราะ คือเทียบเท่ากับ การถูกรางวัลเป็นเงินประมาณเกือบ 6 ล้าน! อื่นๆที่รองๆต่อมาจากนั้นก็ การท่องเที่ยว การอ่าน หนังสือ...และอีกเยอะแยะมากมาย ซึ่งการวิจัยนี้เค้าทำ�ขึ้นมาในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เพื่อ ให้คนได้มีรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และเห็น ค่าของสิ่งอื่นๆนอกจากเงิน และยังมีอะไร ที่มีค่าน่าทำ�อีก ตั้งหลายอย่าง แทนที่จะมานั่งเครียดเรื่องเงินอย่างเดียว ดีจัง เลยค่ะ ฟังดูแล้วมันทำ�ให้ผ่อนคลายกว่าตั้งเยอะ จะได้ไม่ต้อง เครียดกับปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลก ผลงานวิจัยสรุปและให้ความเห็นว่า เมื่อถึงวันหนึ่งแล้ว คนจะพูดถึงเรื่องเงินกันน้อยลง แล้วหันไปให้ความสำ�คัญกับ คนมากขึน้ กับทัง้ คนในครอบครัว ออกไปเทีย่ วกับเพือ่ นๆ ไป ยังสถานที่ๆไม่เคยไปมาก่อน รวมถึงการใช้เวลาอยู่กับตัวเอง เงียบๆ และนี่ก็คือความสุขของชีวิตแล้วล่ะค่ะ ถึงตรงนี้แล้ว ตอบตัวเองได้รึยังคะว่าเราถูกลอตเตอรี่ไปเท่าไหร่แล้ว ยังไง ก็ถือว่าเป็นกำ�ลังใจให้กับทุกๆคนนะคะ และผู้ที่ได้รับผลกระ ทบจากอุทกภัยทุกท่านด้วยค่ะ ....สู้ๆค่า
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ความแตกต่าง
ย ท ไ ะ ล แ น ่ ุ ป ่ ี ญ ง ระหว่า ่วาด้วยข้อมูลตัวเลข
ผมเพงิ่ กลบั จ สัมมนา Asian ากการบรรยายวชิ าการในการ on Oral Hea Perspectives and Evidence Medical and Delth Promotion ที่ Tokyo เมื่อกลางเดือนมิถ ntal University ประเทศญปี่ นุ่ ศึกษาดูงานหน่ว ุนายนทผี่ า่ นมา และไดม้ ีโอกาส Association of Sยงานต่างๆ เช่น Japanese Association, โรงเรchool Dentist, Japan Dental อนามยั Chiyoda ยี นประถม Kaminumata, สถานี ผอู้ �ำ นวยการส�ำ น ในโตเกยี ว โดยรว่ มทมี กบั พสี่ ทุ ธา กระทรวงสาธาร กั ทนั ตสาธารณสขุ กรมอนามยั ญี่ปุ่นกับไทยมาเล ณสุข ผมมีข้อมูลเปรียบเทียบ ่าให้ฟังสนุกๆครับ ชาเขียวเป็นเครือ่ งดืม่ ประจำ�ชาติ ของญี่ปุ่น มีชาเขียวมากมายหลายรส ชาตวางจำ�หน่ายตั้งแต่ในร้านนํ้าชา หรูๆที่มีพิธีชงชาไปจนถึงตู้กดอัตโนมัติ (vending machine) มีทงั้ แบบร้อนแบบเย็น แต่ไม่มีชาเขียวแบบหวาน (ที่ใส่นํ้าตาล) ขายในประเทศ ญี่ปุ่นเลย หาไม่ได้จริงๆ ไม่มีใครทำ�ขาย คนไทยจะรู้หรือ ไม่ว่า ชาเขียวสารพัดยี่ห้อที่ขายในไทยนั้น คนญี่ปุ่นเขาไม่ ดื่มกัน เขาบอกว่า “ประหลาดใจมากที่คนไทยดื่มชาเขียว ใส่นํ้าตาล” หรือบอกว่า “แล้วจะรู้รสชาได้อย่างไรล่ะ” 17
ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล
นม ข้อมูลคล้ายๆ กับชาเขียว คนญี่ปุ่นดื่ม “นมรสจืด” ที่เป็นนม พลาสเจอร์ ไ รด์ ห รื อ นํ้านมสดแท้ เป็นหลัก จะหาซื้ อ นมหวานรส ช็อกโกเลตหรือรสสตอร์เบอร์รไี่ ด้ยากมาก ต้องไปซือ้ ตามห้าง สรรพสินค้าขนาดใหญ่ แต่ถา้ เป็นร้านสะดวกซือ้ และร้านค้าทัว่ ไป แล้วมีแต่นมรสจืดขายเท่านัน้ ส่วนคนไทยเราดืม่ นมรสจืดกัน เพียงร้อยละ ทีเ่ หลือเป็นนมรสหวานและนมเปรีย้ ว (ทีม่ นี ํา้ ตาล มากกว่านมรสหวานเสียอีก) หมากฝรั่งที่จำ�หน่ายในญี่ปุ่นกว่าร้อยละ 79 เป็น หมากฝรั่งที่ปราศจากนํ้าตาล หรือใช้นํ้าตาลแอลกอฮอล์ และสารทดแทนความหวาน ส่วนในไทยหมากฝรั่งที่ปราศ จากนํ้าตาลเป็นที่นิยมมากขึ้นกว่าในอดีตแต่ยังมีสัดส่วน การตลาดอยู่ที่ร้อยละ 20 เท่านั้น และดูเหมือนว่าจะมี ข้อจำ�กัดเรื่องราคาที่สูงและกลุ่มคนที่เคี้ยวหมากฝรั่งที่ ปราศจากนํ้าตาลมีเฉพาะกลุ่ม ทำ�ให้อัตราการเพิ่มของ หมากฝรั่งปราศจากนํ้าตาลในไทยเพิ่มได้เพียงร้อยละ 1 ในปีสองปีที่ผ่านมา
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ลูกอมที่ปราศจากนํ้าตาลในไทยมีสัดส่วนอยู่แค่ร้อย ละ 8.5 ในขณะที่ในญี่ปุ่นมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 การเพิม่ สัดส่วนลูกอมทีป่ ราศจากนํ้าตาลทำ�ได้ยากเพราะ ความหวานจากนํ้าตาลแอลกอฮอล์และสารทดแทนความ หวานมีรสชาตต่างกับนํ้าตาลซูโครส น้ำ�ตาลซองที่ใส่ในชาหรือกาแฟ ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่นจะมี ขนาดเดียวคือ ซองละ 3 กรัมและเวลาดื่มชาหรือกาแฟก็ จะใส่หมดซองเพียงซองเดียว ส่วนในไทยนํ้าตาลซองจะมี หลายขนาด เล็กสุดคือ 5 กรัมและใหญ่สดุ คือ 8 กรัม เวลา ทีใ่ ส่ในชาหรือกาแฟก็จะใส่หมดซองเช่นกัน (เป็นพฤติกรรรม ปกติของคนที่จะเทนํ้าตาลหมดซองลงในชาหรือกาแฟ) ถ้าย้อนกลับมาดูปริมาณนํ้าตาลที่บริโภคต่อคนต่อปี เชื่อหรือไม่ว่า คนไทยบริโภคนํ้าตาลมากกว่าคนญี่ปุ่น เกือบสองเท่า คนไทยบริโภคนํ้าตาล 38 กิโลกรัมต่อคน ต่อปี ในขณะที่ญี่ปุ่นบริโภคเพียง 20 กิโลกรัมต่อคนต่อปี คนญี่ปุ่นถามคนไทยว่า “ทำ�ไมเวลากินก๋วยเตี๋ยว (ราเมน อุดง้ หรือ โซบะ) ทำ�ไมต้องใส่นํ้าตาลลงไปด้วย??? ก๋วยเตีย๋ วไม่ใช่ของหวาน ทำ�ไมต้องใส่ให้หวานด้วย” และก็ ยังสงสัยอีกว่า “ทำ�ไมเวลากินผลไม้สดๆ ทำ�ไมต้องจิม้ นํ้า ตาลด้วย แล้วจะรูร้ สผลไม้ได้อย่างไร” ยิง่ ไปกว่านัน้ ยังถาม ว่า “ผลไม้เป็นของหวาน จิ้มนํ้าตาลให้หวานขึ้นแล้ว แต่ ทำ�ไมต้องใส่พริกให้เผ็ดอีกด้วยละ (ฮา)”
โรงเรียนประถมในญี่ปุ่นไม่มีการขายขนม นํ้า
หวาน ของว่างในโรงเรียน และไม่มีร้านค้าหรือรถเข็นมา ขายขนมที่หน้าโรงเรียน ทางโรงเรียนจะให้เด็กนักเรียน กินอาหารกลางวันตามที่โรงเรียนจัดให้เท่านั้น อาจารย์ ญี่ปุ่นท่านหนึ่งที่มาที่เมืองไทยเล่าให้ฟังว่า “แทบไม่น่า เชือ่ ทีโ่ รงเรียนประถมในไทย มีการขายขนม นํ้าหวานและ 18
นํ้าอัดลมในโรงเรียนได้ ทัง้ ทีร่ วู้ า่ ขนม นํ้าหวานและนํ้าอัดลม ไม่ได้ดีต่อสุขภาพเด็ก และที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ก็คือ คนที่ ขายขนมในโรงเรียนเป็นครูในโรงเรียนนั่นเอง” ส่วนเคล็ด ลับที่ไม่มีขายขนมหน้าโรงเรียนในญี่ปุ่นก็คือ เด็กประถม ศึกษาไม่มีการพกเงินมาโรงเรียน ไม่ได้เป็นข้อห้าม แต่ เป็นวัฒนธรรม เพราะว่าโรงเรียนประถมฯที่เด็กจะเข้าเรียน ได้นั้นจะต้องเป็นโรงเรียนใกล้บ้าน (บังคับตามเขตหรือ บล๊อกที่อยู่) และเด็กส่วนใหญ่จะเดินไปโรงเรียนตอน เช้าและเดินกลับเองตอนเย็น ในโรงเรียนมีอาหารกลาง วันและนํ้าดื่มให้ ไม่มีอาหารว่างตอนบ่าย ผมได้ถาม เด็กประถมที่ 4 คนหนึ่งว่า “ถ้าหนูเอาเงินมาโรงเรียนจะ เกิดอะไรขึ้น” เด็กตอบว่า “ไม่ดี ถ้าครูรู้ครูจะโกรธเอา” คำ�ตอบนีอ้ าจคิดได้วา่ ไม่ได้เป็นการห้ามปราบหรือขูล่ งโทษ แต่เป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่นั่น ในอาหารกลางวันที่โรงเรียนประถมจัดให้นักเรียน ไม่ มีนํ้าดืม่ หรือนํ้าชา แต่จะมีนมกล่องให้ 1 กล่อง ทีจ่ ะดืม่ หลัง จากกินอาหารกลางวันแล้วเท่านั้น ใช้ดื่มแทนนํ้า ทันตแพทย์ในญี่ปุ่นมีอยู่ประมาณ 96,000 คน มี มากกว่าทันตแพทย์ไทยประมาณ 10 เท่า (ทันตแพทย์ ไทยมีประมาณ 9,600 คน) ทั้งที่ประชากรญี่ปุ่นมีประมาณ 127 ล้านคน มากกว่าประชากรไทยเพียง 2 เท่าเท่านั้น (ประชากรไทยประมาณ 65 ล้านคน) โดยทันตแพทย์ญี่ปุ่น ที่ทำ�งานด้านสาธารณสุขมีเพียงร้อยละ 0.2 หรือ 240 คน เท่านัน้ ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 เป็นทันตแพทย์ภาคเอกชน ในขณะที่ไทยมีทันตแพทย์ในภาครัฐอยู่มากกว่าร้อยละ 50 ของทันตแพทย์หรือคิดเป็นทันตแพทย์ภาครัฐประมาณ 5,000 คน อาจารย์ทางญีป่ นุ่ สนใจตัวเลขนีม้ าก เพราะถือว่า มีทันตแพทย์ในภาครัฐมากมายมหาศาล เพศของทันตแพทย์ก็น่าสนใจเช่นกัน ทันตแพทย์ญี่ปุ่น
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ร้อยละ 78 เป็นเพศชาย ซึ่งตรงกันข้ามกับไทยที่ร้อยละ 70-80 เป็นเพศหญิง การสำ�รวจสภาวะทันตสุขภาพของประเทศญี่ปุ่น ที่ทำ�โดยภาครัฐ (ที่มีจำ�นวนทันตแพทย์ภาครัฐน้อยมาก) ใช้กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มอายุรวมประมาณ 4,000 คน น้อยกว่าจำ�นวนตัวอย่างของการสำ�รวจสภาวะทันตสุขภาพ ของไทยที่มีกลุ่มตัวอย่างรวมมากกว่าเกือบ 3 เท่า
นักศึกษาทันตแพทย์ ราคาค่ารักษาอาจต่างกันมาก เช่น ถอนฟันในไทย (ซึ่งมักไม่มีเอ็กซเรย์และการนัดตรวจดูแผล) จะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 100 จนถึง 2,000 บาท หรืออาจไม่มี ค่าใช่จ่ายเลยเมื่อมีบัตรทอง (เปลี่ยนเป็นบัตรประชาชน ใบเดียวแล้ว ฮา)
คลินิกทันตกรรมจากจำ�นวนทันตแพทย์ในญี่ปุ่น
ค่าบริการทันตกรรม ในญี่ปุ่นไม่ว่าผู้ป่วยจะไปรับ
230,000 คน แต่ มี ที่ ทำ�งานจริ ง ประมาณเท่ า ๆกั บ ทันตแทพย์คือ 96,000 คน โดยที่เหตุผลหลักในการไม่ ทำ�งานต่อในอาชีพทันตานามัยคือ การแต่งงานมีครอบครัว ผู้หญิงจะต้องดูแลลูก ดูแลสามี และดูแลบ้านเป็นหลัก ส่วน ในไทยไม่มีทันตานามัย มีแต่ทันตาภิบาลซึ่งบทบาทต่างกัน กับทันตานามัย โดยไทยเรามีทนั ตาภิบาลทีก่ ำ�ลังทำ�งานอยู่ ประมาณ 4,000 คน คำ�ถามที่อาจารย์ญี่ปุ่นสงสัยคือ ทำ�ไมบทบาทการ รักษาทางทันตกรรมของทันตแพทย์และทันตาภิบาลของ ไทยถึงซ้อนกัน ผมได้อธิบายถึงปัญหาการกระจายของ ทันตแพทย์ที่ผ่านมาว่า มีไม่ครบทุกพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ ทีห่ า่ งไกล ทีต่ อ้ งอาศัยทันตาภิบาลช่วยให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งทันตาภิบาลก็ทำ�งานรักษาทางทันตกรรมได้ดี และ ยังทำ�งานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและการป้องกันโรค อีกด้วย แต่คำ�ถามที่สองอยากให้ช่วยกันตอบครับ อาจารย์ ญี่ปุ่นสงสัยว่า “ในอนาคตอีกสัก 10 กว่าปีทันตแพทย์ ไทยจะเพิ่มเป็นสองเท่า การกระจายของทันตแพทย์ดีขึ้น ถึงตอนนั้นถ้าทันตแพทย์กับทันตาภิบาลทำ�งานซ้อนกันอยู่ จะทำ�งานกันอย่างไร”
96,000 คน มีคลินิกทันตกรรมกระจายอยู่ทั่วประเทศ มากกว่า 70,000 คลินิก โดยทั่วไปจะเป็นคลินิกแบบ เป็นเจ้าของคลินิกเองคนเดียว ส่วนในไทยข้อมูลจาก กองประกอบโรคศิลปะ เรามีคลินิกทันตกรรม 2,373 แห่งทั่วประเทศ คลินิกประมาณครึ่งหนึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ (1,237 แห่ง) และ อีกครึง่ หนึง่ อยูต่ า่ งจังหวัด (1,136 แห่ง) บริการที่คลินิกเอกชน โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาล เอกชน หรือ คลินกิ ทันตกรรมมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน ไม่วา่ จะรักษากับนิสติ นักศึกษาทันตแพทย์หรือศาสตราจารย์ ในมหาวิทยาลัยก็จะจ่ายค่ารักษาทางทันตกรรมในอัตรา เดียวกันทั่วประเทศ คือตามระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ผูป้ ว่ ยจะจ่ายค่ารักษาทางทันตกรรมร้อยละ 20-30 ส่วนที่ เหลือทันตแพทย์จะไปเบิกกับกองทุนทันตกรรมเอง เช่น ถอนฟันกรามแท้ปกติทมี่ กี ารเอ็กซเรย์กอ่ นทำ� จ่ายยา และ ตรวจดูแผลหลังถอน จะมีค่าใช้จ่าย 3,600 บาท ผู้ป่วยจะ จ่าย 720-1,080 บาท ส่วนในประเทศไทยไม่มีค่ารักษา กลางทางทันตกรรม ขึ้นกับว่าไปรักษาที่ไหน ของภาค รัฐหรือเอกชน คลินิกหรูหราระดับไหน หรือรับบริการกับ ใคร ทันตแพทย์ทั่วไป ทันตแพทย์เฉพาะทาง หรือ นิสิต 19
ทั น ตนามั ย ในญี่ปุ่นมีตัวเลขที่เรียนจบมามากกว่า
ช่างทันตกรรมในญี่ปุ่นไม่มีโรงเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์
คลินิกทันตกรรมเล็กๆจะไม่มีผู้ช่วยทันตแพทย์ ทันตแพทย์
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ต้องทำ�งานเองทัง้ หมดโดยใช้เทคโนโลยีชว่ ย เช่น ตอบแบบ สัมภาษณ์ซกั ประวัตผิ า่ นหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่จะมีทนั ตา นามัยทำ�หน้าทีผ่ ชู้ ว่ ยทันตแพทย์แทน ในประเทศไทยมีผชู้ ว่ ย ทันตแพทย์ในระบบฐานข้อมูลอยู่ 1,796 คน ซึ่งทางญี่ปุ่น ก็สงสัยอีกว่า มีทนั ตแพทย์กบั ทันตาภิบาลจำ�นวนมากรวม กันหมืน่ กว่าคน ทำ�ไมมีผชู้ ว่ ยทันตแพทย์อยูแ่ ค่นเี้ อง ผมตอบ ไปว่า ผู้ช่วยทันตแพทย์ที่มีตัวเลขอยู่เป็นผู้ช่วยทันตแพทย์ ในภาครัฐ ส่วนในภาคเอกชนไม่มีฐานข้อมูลและมักจะไม่ ได้เป็นผู้ช่วยทันตแพทย์ที่เรียนตามระบบ เป็นการฝึกสอน กันเอง ช่างทันตกรรม ในญี่ปุ่นช่างทันตกรรมจะต้องเรียนใน ระบบอย่างน้อย 2 ปี มีหลักสูตรช่างทันตกรรมที่เปิดเป็น 4 ปี เมื่อเรียนจบจะต้องมีการสอบ license เพื่อรับรองให้ ทำ�งานได้ ปัจจุบันมีช่างทันตกรรมในระบบ 35,000 คน ร้อยละ 68 ของช่างทันตกรรมจะทำ�งานในบริษัทแลปทันต กรรมของเอกชน ส่วนในประเทศไทย ช่างทันตกรรมทีส่ ำ�รวจ ได้จากกระทรวงสาธารณสุขมีอยู่ 96 คน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า ตัวเลขนี้เป็นช่างทันตกรรมทีทำ�งานอยู่ที่ใด ต้องอธิบายให้ ทางญี่ปุ่นฟังว่า ช่างทันตกรรมของไทยไม่ต้องมีการสอบ license ไม่มีการควบคุมดูแลจากหน่วยงานใดๆ และส่วน ใหญ่จะเป็นการฝึกอบรมกันเอง
ค่าใช้จ่ายในการเรียนทันตแพทย์ ถ้าเป็นโรงเรียน
แผ่นดินไหว และ Tusnami ที่ Fukushima เมื่อ
ทันตแพทย์ของรัฐในญีป่ นุ่ ค่าเล่าเรียน (ค่าลงทะเบียนเรียน) ที่นิสิตนักศึกษาจะต้องจ่าย ตลอดหลักสูตร 6 ปี จะอยู่ที่ ประมาณ 1 ล้านบาท ส่วนในโรงเรียนทันตแพทย์เอกชน ค่า ใช้จ่ายในการเรียนจะเป็น 10 เท่าของโรงเรียนทันตแพทย์ ภาครัฐ คือประมาณ 10 ล้าน ในประเทศไทยถ้าเป็นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค่าลงทะเบียนเรียนของนิสิตอยู่ ที่เทอมละ 18,000 บาท หรือรวมตลอดหลักสูตรจะเป็น 200,000 กว่าบาท ส่วนโรงเรียนทันตแพทย์เอกชนในไทย อยู่ที่ประมาณ 4.5 ล้านบาทตลอดหลักสูตร วันที่ 12 เดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีทันตแพทย์ญี่ปุ่นที่อาศัย อยู่ในบริเวณนั้นเสียชีวิต 8 คนและหายสาบสูญ 4 คน มี คลินกิ ทันตกรรมถูกทำ�ลาย 107 แห่งและต้องปิดให้บริการ 20
ในคลินิกเนื่องจากผลของรังสีจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ อีก 43 แห่ง และ คลินิกที่เสียหายบางส่วนมี 1,524 แห่ง สมาคมทันตแพทย์ญี่ปุ่นได้ส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ต่างๆ รวมทั้ง แปรงสีฟัน ยาสีฟัน นํ้ายาบ้วนปาก ไหมขัดฟัน ยา บรรเทาปวด ยาปฎิชวี นะจำ�นวนมากไปช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย มีทันตแพทย์อาสาสมัครกว่า 2,000 คนเข้าไปช่วยในพื้นที่ เกิดเหตุใน 5 วันแรก โดยเป็นการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูง อายุตามศูนย์อพยพและการตรวจศพเพือ่ พิสจู น์ตวั บุคคล แต่ ปัญหาทีพ่ บคือ ข้อมูลการทำ�ฟัน ฟิลม์เอ็กซเรย์ทอี่ ยูใ่ นคลินกิ ทันตกรรมต่างๆถูกทำ�ลายไปพร้อมกับคลินกิ ด้วย และได้สง่ อาสาสมัครทันตแพทย์ ทันตานามัย และช่างทันตกรรมกว่า 1,000 คนไปให้บริการรักษาทางทันตกรรม ทำ�ฟันเทียมให้ ผู้สูงอายุ ในเดือนเมษายน โดยปฎิบัติงานอยู่หนึ่งสัปดาห์
สุดท้าย ผมนั่งรถไฟชินกันเซ็นจากเมือง Okayama
มาที่ Tokyo เพื่อเข้าร่วมสัมมนาวิชาการและดูงาน ระยะ ทางกว่า 732 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 15 นาทีเท่านั้น (ถ้านั่งรถไฟชินกันเซ็น Nozomi จะใช้เวลาแค่ 3 ชั่วโมงครึ่ง แต่ตั๋ว JR Rail Pass ใช้ขึ้นไม่ได้ครับ) เคย อ่านบทความหนึ่งบอกว่า ไทยกับญี่ปุ่นเริ่มสร้างทางรถไฟ พร้อมกันในสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทย ตอนนี้รถไฟญี่ปุ่นวิ่ง ได้มากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง ส่วนรถไฟไทยยังคงวิง่ ด้วยความเร็วเท่าเดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 คือได้ประมาณ 60-70 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง แถมยังต้องจอดหลบทีส่ ถานีเพือ่ สลับรางกันอีก น่าจะเหลือประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง ได้ ยังจำ�ได้ว่า เคยนั่งรถไฟไปเชียงใหม่เมื่อหลายปีมาแล้ว ระยะทางน่าจะประมาณ 700 กิโลเมตร จะต้องใช้เวลานั่ง รถไฟนาน 12-14 ชั่วโมง สรุปแล้วเราเดินทางด้วยรถไฟช้า กว่าญี่ปุ่น 3 เท่าครับ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
คิดไม่ถึง อย่างไรกันแน่? “เมื่อทันตาภิบาล ต้องประกอบวิชาชีพทันตกรรม ในความควบคุมดูแลของทันตแพทย์” ทพ.สมชาย กิจสนาโยธิน
ม
กุมภาพันธ์ 2553 ความเศร้าโศกเกิดขึน้ กับครอบครัว “เกิดมาดี” ทีต่ อ้ งสูญเสียหัวหน้า ครอบครัว ด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี ด้วยภาวะ ฝีในสมองและได้รบั การผ่าตัดในโรงพยาบาล แห่งหนึง่ ในจังหวัดทางภาคใต้ จากเหตุการณ์ นี้ทำ�ให้ภรรยาของ ด.ต.กล้าหาญเกิดมาดี ปักใจเชือ่ ว่าสามีของตนเสียชีวิตไม่ธรรมดา น่าจะมาจากการพบทันตแพทย์เพื่อถอนฟัน และอุดคอฟันเมื่อ 2 ปีที่แล้ว 21
กราคม 2551 ด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี มาโรงพยาบาลชุมชนเพื่อต้องการที่จะถอนฟันกราม น้อยบนที่ปวด ”ฟันกรามบนที่ขุดหินปูนและอุดคอฟัน ไปให้ผมไม่หาย ปวดมากเลยครับ ผมอยากถอนออก เลย” ด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี บอกกับเจ้าหน้าที่ห้องฟัน แสดงประสงค์ทจี่ ะถอนฟันทีเ่ ค้าอุดไปเมือ่ สัปดาห์ทแี่ ล้ว “ปกติหากคนไข้ตอ้ งการพบทันตแพทย์กจ็ ะแจ้งให้ทราบ ในกรณีผู้ป่วยและญาติไม่แจ้งให้ทราบว่าต้องการพบ ทันตแพทย์ ทันตาภิบาลจะเป็นผู้ให้บริการ” ทันตแพทย์หญิง สมส่วน ยิ้มงามกล่าวกับคณะอนุกรรมการสอบสวนถึงหน้าที่ ที่รับผิดชอบระหว่างทันตแพทย์กับทันตาภิบาลในโรงพยาบาล ชุมชน “คนไข้ปวดฟันมาก ดิฉนั ให้ยารักษาก่อนแล้วได้ขดู หินปูน และอุดคอฟันไปให้ หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ เค้ากลับมาอีก บอกว่าปวดมากไม่หายต้องการถอน ดิฉันส่งเอกซเรย์ก่อนแล้ว จึงถอนฟัน” คุณญาใจ ใจดี ทันตาภิบาลประจำ�โรงพยาบาล ชุมชนอธิบายขั้นตอนการรักษากับคณะอนุกรรมการจรรณยา บรรณ “สงสัยจะถอนฟันผิดซีท่ ยี่ งั ปวดอยู่ สามีดฉิ นั บอกกับดิฉนั และอีกปีหนึ่งสามีดิฉันปวดหัวมากต้องเข้าโรงพยาบาล ถูกส่ง
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
เข้าห้องผ่าตัด เพื่อผ่าตัดสมองด่วน หมอว่ามีฝีในสมองสาเหตุ มาจากฟันอักเสบและหูน�้ำ หนวก สามีดฉิ นั ไม่เคยเป็นหูน�้ำ หนวก มีแต่ฟนั อักเสบเท่านัน้ ดิฉนั จึงขอร้องเรียนเพือ่ ความเป็นธรรม” ข้อความดังกล่าวเป็นคำ�ร้องเรียนทีน่ างเหมาะสม เกิดมาดี เขียน ถึงทันตแพทยสภาและสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดในเวลา ต่อมา
วิเคราะห์
มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537” ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันต กรรมทำ�การประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือแสดงด้วยวิธใี ดๆให้ ผูอ้ นื่ เข้าใจว่าตนเป็นผูม้ สี ทิ ธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว โดยมิได้ขนึ้ ทะเบียนและรับใบอนุญาต เว้นแต่อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (4) บุคคลซึง่ กระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมือง พัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การ บริหารส่วนท้องถิน่ อืน่ ทีร่ ฐั มนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ 22
ทันตกรรม ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำ�หนดโดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ 7 หมวด 2 ข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วย จรรยาบรรณวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2538 “ผู้ประกอบ วิชาชีพทันตกรรมต้องรักษามาตรฐานของการประกอบ วิชาชีพทันตกรรมในระดับทีด่ ที สี่ ดุ แก่ผปู้ ว่ ย โดยไม่เรียกร้อง สินจ้าง รางวัลพิเศษนอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้ รับตามปกติ” คุณ ญาใจ ใจดี ทันตาภิบาลประจำ�โรงพยาบาล ชุมชน ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ผู้ให้การ รักษาทางทันตกรรม แก่ ด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี ภายใต้ การควบคุมดูแลของทันตแพทย์หญิงสมส่วน ยิ้มงาม ใน ฐานะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ที่ปฏิบัติงานรับ ราชการตำ�แหน่งทันตแพทย์ชำ�นาญการในโรงพยาบาล ชุมชน ในขณะนั้น การปฏิบัติงานของทันตแพทย์และ ทันตาภิบาลเกี่ยวกับการให้บริการทางทันตกรรม โดย ปกติทางโรงพยาบาลได้กำ�หนดระเบียบปฏิบัติเรื่องการ บริการทางทันตกรรมของทันตาภิบาลและทันตแพทย์ ในโรงพยาบาล ซึ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ มิถุนายน 2546 ได้กำ�หนด ขั้นตอนการรักษาทางทันตกรรม เมื่อผู้ป่วยแจ้งความจำ�นง ขอรับบริการทันตกรรมแล้ว จุดคัดกรองจะคัดกรองประเภท การรักษาตามความต้องการของผู้ป่วยหรืออาการเบื้องต้นเพื่อ แยกประเภทการรักษาในเบือ้ งต้น หลังจากนัน้ ผูใ้ ห้การรักษาจะ วางแผนการรักษาร่วมกับผูป้ ว่ ยเพือ่ ตกลงการรักษาและเลือกวิธี การรักษากรณีมหี ลายทางเลือกอีกครัง้ ซึง่ อาจมีการเปลีย่ นแปลง ประเภทการรักษาต่างจากจุดคัดครองได้ โดยการรักษาที่เกิน ขอบเขตการให้บริการทันตกรรมของทันตาภิบาล ทันตาภิบาล จะปรึกษาทันตแพทย์เพื่อส่งต่อการรักษาให้กับทันตแพทย์ ซึ่ง ขั้นตอนข้างต้นนี้เป็นการบริหารระบบบริการทันตกรรมตาม ความเป็นจริงภายใต้บริบทของโรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่ ของกระทรวงสาธารณสุข ที่มีศักยภาพของทันตแพทย์ประจำ� 1 คน ในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง รับผิดชอบประชากร ประมาณ 28,000 คน ในขณะนั้น สำ�หรับกรณี ด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี ได้รับการรักษา กับคุณญาใจ ใจดี ทันตาภิบาล ทุกครั้งที่มารับการรักษา โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของทันตแพทย์หญิง สมส่วน
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ยิม้ งาม โดยพิจารณาหลักฐานเวชระเบียนประวัตกิ ารรักษาพบ ว่า ด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี เคยเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม เมื่อวันที่ กรกฎาคม 2550 ด้วยอาการปวดฟันและ มีฟัน โยก คุณญาใจ ใจดี ทันตาภิบาล ได้จ่ายยา Ibuprofen และ Amoxycilin เพือ่ บรรเทาอาการปวด โดยทีไ่ ม่ได้ให้การรักษา ใด ๆ ในวันดังกล่าว พร้อมนัดขูดหินปูน และนัด X-ray เพือ่ ตรวจ ช่องปากอย่างละเอียดในการรักษาครัง้ ถัดไปแต่ผปู้ ว่ ยไม่มาตามนัด ต่อมาใน มกราคม 2551 ด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี กลับมาด้วยอาการ ปวดและเสียวฟันคุณ ญาใจ ใจดี ทันตาภิบาล ได้ทำ�การ ขูดหินปูน และส่งเอ็กเรย์ ฟันซี่ 14 และ 15 และนัดอุดฟัน หลังจากอุดฟันแล้วด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี กลับมาโรงพยาบาล อีกครั้งในวันที่ 10 มกราคม 2551 เนื่องจากอาการไม่ดี ขึ้น แจ้งวัตถุประสงค์ว่าต้องการถอนฟันซี่ที่อุดและโยก ซึ่งสอดคล้องกับให้ถ้อยคำ�ของนางเหมาะสม เกิดมาดี ว่าสามี ต้องการถอนฟัน หลังจากทำ�การตรวจและซักประวัติแล้ว คุณญาใจ ใจดี ทันตาภิบาล จึงทำ�การถอนฟันให้แก่ผู้ป่วย คือฟันซี่ 14 และ 15 ทั้งนี้ จากภาพถ่ายรังสีและอาการฟัน มีพยาธิสภาพอันซึง่ เป็นข้อบ่งชีท้ สี่ ามารถเลือกวิธกี ารรักษาโดย การถอนฟันได้ ส่วนการถอนฟันทั้งสองซี่ดังกล่าวเป็นการถอน ฟันผิดซี่หรือไม่ ต้องตรวจดูจากช่องปากและต้องรับการยืนยัน จาก ด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี ซึ่งเสียชีวิตแล้ว หากพิจารณาการให้บริการทางทันตกรรมของ คุณญาใจ ใจดีทันตาภิบาล ดังกล่าว เป็นการให้บริการทางทันตกรรม เป็นไปอย่างมีขั้นตอน มีการให้ยา การเอ็กซเรย์ฟันก่อนกรณี สงสัยตำ�แหน่งฟันช่วยการวินิจฉัยย่อมเป็นไปตามมาตรฐาน การประกอบวิชาชีพทันตกรรมภายใต้การควบคุมของทันตแพทย์ และ อยูใ่ นขอบเขตหน้าทีข่ องตนตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารราชการส่วน จังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิน่ หรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมใน ความควบคุมของเจ้าหน้าทีซ่ งึ่ เป็นผูป้ ระกอบวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. ๒๕๓๙ และเป็นไปตามระเบียบปฏิบตั เิ รือ่ งการบริการทันตกรรม ของทันตาภิบาลและทันตแพทย์ของโรงพยาบาลทีบ่ งั คับใช้เมือ่ วันที่ 26 มิถุนายน 2546 การที่ ด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี กลับมาประสงค์จะถอนฟัน 23
ในสัปดาห์ต่อมาหลังการอุดฟัน เพราะการอุดฟันที่ คุณญาใจ ใจดีทันตาภิบาล ให้การรักษาไปไม่ทำ�ให้การอาการปวดและ เสียวฟันดีขนึ้ ประเด็นนีม้ อิ าจพิสจู น์ได้วา่ ด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี ได้แจ้งขอพบหรือรักษากับทันตแพทย์หรือไม่ และ ด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี ก็ไม่ได้ปฏิเสธที่จะรักษากับคุณญาใจ ใจดีทันตาภิบาล แต่อย่างไร ในเวลาเดียวกัน ก่อนการถอนฟัน คุณญาใจ ใจดี ทันตาภิบาล ได้นำ�ภาพถ่ายรังสีเรียนปรึกษาทันตแพทย์หญิง สมส่วน ยิ้มงาม แล้วโดยได้รับคำ�แนะนำ�ให้รักษารากฟัน แต่ได้รบั การปฏิเสธและยืนยันทีจ่ ะถอนฟันซีท่ อี่ ดุ และมีอาการโยก ดังกล่าว ดังนัน้ จึงมิใช่ประเด็นปัญหาเกีย่ วกับการรักษาทีท่ นั ตาภิบาล จะต้องส่งผู้ป่วยพบทันตแพทย์หรือนำ�ปรึกษาทันตแพทย์ เพราะด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี ตัดสินใจที่จะถอนฟันออก และ การถอนฟันดังกล่าว ที่ คุณญาใจ ใจดีทันตาภิบาล สามารถให้ การรักษาได้ภายใต้ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขฯ พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนัน้ การทำ�หน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของทันตแพทย์ หญิง สมส่วน ยิ้มงาม จึงไม่ขัดกับกฎหมายตามมาตรา 28 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 การทีท่ นั ตแพทย์หญิงสมส่วน ยิม้ งาม ไม่ได้พบและให้การ รักษาทางทันตกรรมในกรณีนี้ เนือ่ งจากการรักษาด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดี รายนี้อยู่ในขอบเขตหน้าที่ของทันตาภิบาลที่สามารถ ให้บริการทางทันตกรรมได้ และมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับการรักษา หากแต่การรักษาที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการให้บริการของ ทันตาภิบาล หรือเป็นกรณีผปู้ ว่ ยมีปญั หาเรือ่ งการรักษา ทันตาภิบาล
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
จะต้องส่งต่อผู้ป่วยพบทันตแพทย์ แต่ ด.ต.กล้าหาญ เกิดมา ดี ยินยอมรับการรักษาและมิได้มีปัญหาใด ๆ หลังการรักษา ไม่มีข้อมูลว่า ด.ต.กล้าหาญ เกิดมาดีกลับมาร้องเรียนเรื่องการ ให้บริการทางทันตกรรม อีกทั้งนางเหมาะสม เกิดมาดี และ บุตรสาว ยังมารับบริการทางทันตกรรมกับคุณญาใจ ใจดีทนั ตาภิบาล และ ทันตแพทย์หญิงสมส่วน ยิม้ งาม อย่างไรก็ตาม การปฏิบตั ิ ดังกล่าวเป็นไปตามแนวปฏิบัติของโรงพยาบาลซึ่งได้ออกเป็น ระเบียบปฏิบตั เิ รือ่ งการบริการทางทันตกรรมของทันตาภิบาล และทันตแพทย์ในโรงพยาบาลเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในด้าน ทันตกรรมแก่ผู้รับบริการ โดยเป็นการบริหารระบบบริการ ทันตกรรมตามความเป็นจริงภายใต้บริบทของโรงพยาบาลชุมชน
ส่วนใหญ่ ทีม่ ศี กั ยภาพของทันตแพทย์ประจำ� 1 คน ในโรงพยาบาล ชุมชนขนาด 30 เตียง รับผิดชอบประชากรประมาณ 28,000 คน โดยระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2546 และปัจจุบนั มีฉบับปรับปรุงใหม่ แก้ไขครัง้ ที่ 10 บังคับใช้ เมือ่ วันที่ 8 ตุลาคม 2553 ดังนัน้ การประกอบวิชาชีพทันตกรรม ของทันตแพทย์หญิง สมส่วน ยิม้ งาม จึงอยูใ่ นฐานะเป็นผูค้ วบคุม ดูแลการปฏิบตั งิ านของ ทันตาภิบาล ถือเป็นการปฏิบตั ติ อ่ ผูป้ ว่ ย ตามมาตรฐานของทันตแพทย์ ที่ควรปฏิบัติแล้ว จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเอกสารและบุคคล คณะกรรมการทันตแพทยสภาจึงมีมติ”ยกข้อกล่าวหา” แก่ ทันตแพทย์หญิงสมส่วน ยิ้มงาม
ad 4 สี
24
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
การลงนามบันทึกความร่วมมือร่วม ระหว่างศึกษากับสาธารณสุข
“ลดหวาน ลดฟันผุ” ทพญ.นวลนิตย์ บุตรดีสุวรรณ สสจ.มหาสารคาม ข่าว/พิมพ์ นายแพทย์สุริยา รัตนปริญญา นายแพทย์ ส าธารณสุ ข จั ง หวั ด มหาสารคามเปิดเผยว่า ปี ๒๕๕๐ จังหวัดมหาสารคาม มีผปู้ ว่ ยด้วยโรค เบาหวานมากทีส่ ดุ เป็นอันดับ ๑ ของ ประเทศ ด้วยอัตราป่วย ๖,๗๑๓.๕๙ ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยด้วยโรค ความดันโลหิตสูงและหัวใจขาดเลือด เป็นอันดับ ๒ ของประเทศ ด้วยอัตรา ป่วย ๕,๖๒๗.๗๑ และ ๘๓๕.๗๙ ต่อแสนประชากร ในปี ๒๕๕๑ มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน เป็นอันดับ ๔ ของประเทศ (เรียงลำ�ดับ ๑−๕ ดังนี้คือ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด สกลนคร มหาสารคาม และ เพชรบูรณ์) ปี ๒๕๕๓ จังหวัดมหาสารคาม พบผูม้ ภี าวะเสีย่ งสูงต่อ โรคเบาหวานร้อยละ ๙.๑๓ โดยผูม้ ภี าวะเสีย่ งสูงต่อโรคเบาหวานของ ปี ๒๕๕๓ เป็นผู้ป่วยเบาหวานปี๒๕๕๔ ร้อยละ ๒.๗๙ (ข้อมูล ณ มีนาคม ๒๕๕๔) บ่อยครัง้ ชนิดของอาหารทีก่ นิ ความถีแ่ ละคุณภาพของการ จากการสุ่มสำ�รวจในจังหวัดมหาสารคามเมื่อปี ๒๕๕๓ ทำ�ความสะอาดช่องปาก (ยิง่ ถีย่ งิ่ หวานเหนียวมากยิง่ ผุมาก) พบว่าเด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมกินขนมกรุบกรอบ (มากกว่า รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้มีพฤติกรรมเช่นนั้น ๓ วัน/สัปดาห์)ร้อยละ๓๐.๓๒ โรงเรียนประถมศึกษาร้อย กลุม่ งานทันตสาธารณสุข สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด ละ ๖๖.๔ มีการจำ�หน่ายอาหาร/เครื่องดื่มที่เสี่ยงต่อฟันผุ มหาสารคาม จึงได้จัดทำ� โครงการคนมหาสารคามอ่อน ร้อยละ ๖๔.๓ มีการจำ�หน่ายนํ้าอัดลมในโรงเรียน ปี๒๕๓๐ หวาน ขึ้น โดยในวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ นายสม เด็กอายุ ๑๒ ปี (ป.๖ ) มีฟันแท้ผุร้อยละ ๒๑ ในขณะที่ หมาย วงศ์บุตร นักวิชาการสาธารณสุขชำ�นาญการพิเศษ ปี๒๕๕๔ เด็กอายุ ๑๒ ปีมีฟันแท้ผุร้อยละ๕๔.๘๔ ซึ่งอัตรา รักษาการในตำ�แหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขอาวุโส สสจ. การผุเพิ่มสูงขึ้นนี้มีสาเหตุมาจาก ความถี่ในการกินอาหารที่ 25
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
มหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติ การ โครงการคนมหาสารคามอ่อนหวาน ณ ห้องสันตรัตน์ โรงแรมตักสิลา จังหวัดมหาสารคาม ในวันดังกล่าวมีการ ลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างสำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม กับ ประธานเครือข่ายโรงเรียนลด หวาน ลดฟันผุ จำ�นวน ๒๙ เครือข่ายจากทุกอำ�เภอ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากท่านผู้แทนผู้อำ�นวยการเขตพื้นที่การศึกษา มหาสารคาม ลงนามเป็นสักขีพยานด้วย โดยโครงการ คนมหาสารคามอ่อนหวานมีวตั ถุประสงค์ เพือ่ สร้างความตระหนัก ให้นักเรียน ประชาชนรู้เท่าทันปัญหาสุขภาพในช่องปาก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกต้อง เหมาะสม กินหวานให้พอดีกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน รวมถึงการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ในชุมชน อันจะ ส่งผลทำ�ให้ลดโรคฟันผุ โรคเบาหวานต่อไป ซึ่งมีวิทยากร มาให้ความรูเ้ รือ่ ง โรคและภัยสุขภาพทีเ่ กิดจากการกินหวาน โดย แพทย์หญิง จิราพร พิลัยกุล อายุรแพทย์จากโรง พยาบาลมหาสารคาม และเรือ่ ง กินหวาน เบาหวานกับโรคใน ช่องปาก โดย ทันตแพทย์หญิงอัญญารัตน์ โชควิริยะจิตต์ จากโรงพยาบาลวาปีปทุม ส่วนในช่วงบ่าย ท่านประธานเครือ ข่ายหรือผู้แทนได้นำ�เสนอแผนการดำ�เนินงานให้ที่ประชุมได้ รับทราบด้วย ขั้นตอนการดำ�เนินงานโครงการ คือ ๑. ประชุมจัดทำ� แผนแบบมีส่วนร่วม ระหว่างเครือข่ายโรงเรียนลดหวาน ลด ฟันผุ อำ�เภอละประมาณ ๒ เครือข่าย (เครือข่ายละ ๘−๑๒ โรงเรียน ) กับทีมสุขภาพจากแต่ละอำ�เภอ โดยมีงบประมาณ สนับสนุนเครือข่ายละประมาณ ๑๓,๐๐๐ บาท 26
๒. แต่ละเครือข่ายดำ�เนินกิจกรรมในโรงเรียนและในชุมชน โดยมีเป้าหมายคือลดการบริโภคหวาน (แต่ละคนไม่ควร บริโภคนาํ้ ตาลเกินวันละ ๖ ช้อนชา) ลดฟันผุ (ควรกินอาหาร ๓ มื้อให้ครบ ๕ หมู่ เน้น ผัก ผลไม้แทนขนมหวาน ขนม กรุบกรอบ ขนมถุง ไม่ควรกินลูกอม ทอฟฟี่ แปรงฟันอย่าง ถูกวิธี แปรงฟันหลังอาหารทุกครั้ง ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออ ไรด์ อาจใช้อุปกรณ์ช่วยเสริมทำ�ความสะอาดช่องปาก เช่น ไหมขัดฟัน ตรวจฟันด้วยตนเองทุกวัน พบหมอตรวจฟันทุก ๖ เดือน ) สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น รร.ปลอด นํ้าอัดลม ปลอดลูกอม ขนมกรุบกรอบ ๓. จัดรณรงค์ในแต่ละอำ�เภอ ภายใน พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ๔. จัดรณรงค์ในระดับจังหวัด ภายใน ธันวาคม ๒๕๕๔ ในงานจะมีการประกวด วิธีการปฏิบัติที่ดีเยี่ยม (Best Practice) ของเครือข่ายโรงเรียนจากทุกอำ�เภอ อำ�เภอละ ๒ เครือข่าย ทั้งนี้เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป นักเรียนระดับ มัธยมศึกษา ส่งผลงาน “ผญา” ประกวด และนักเรียนระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ส่งผลงาน หนังสือเล่มเล็ก, ภาพวาด, คำ�ขวัญ เข้าประกวด โดยเกณฑ์การประกวด ทางสำ�นักงาน สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามได้ประชาสัมพันธ์ผ่าน สำ � นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา สื่ อ มวลชนแขนงต่ า งๆ รายละเอียดดูได้ใน http://mkho.moph.go.th/dent/ หัวข้อ หนังสือเวียน เรือ่ งขอความร่วมมือประชาสัมพันธ์การประกวด คนมหาสารคามอ่อนหวาน ก็ฝากความหวังไว้ว่า การทำ�งานร่วมกันนี้จะทำ�ให้เกิด “ลดหวาน ลดฟันผุ” ได้ในอนาคต
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
Snow Rain and Dental ผมจะขอไซโคไปเรือ่ ยๆ ครับ ทำ�งานมาจะ 6 ปีแล้ว ครับ ยังไมได้รับการบรรจุเลย เหนื่อยใจครับ เพราะจาก การสอบถามเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ สิ่งเดียวที่ยึดเราไว้ในงาน ทันตาภิบาล นอกจากหน้าตาในสังคม หน้าตาของพ่อแม่ มันคือ การบรรจุรบั ราชการ เพราะ เงินทีไ่ ม่มากนัก ตำ�แหน่ง ที่ไม่สูง อาจดูแล้วผมพูดเหมือนคนที่เห็นแก่ตัว ลองสังเกต นะครับ ทันตาภิบาลเป็นกลุ่มงานที่ปรับเปลี่ยนงานมาก ที่สุด ลองถ้าไม่มีการบรรจุครับ รับรองได้อย่างหนึ่งเลย ครับว่า กำ�ลังคนจะหายไปแบบก้าวกระโดดเลยทีเดียวครับ นี่ขนาดร่ำ�ๆ ว่า ถึงแม้นเป็นข้าราชการแล้วก็ไม่ได้บำ�นาญ แบบนี้แล้วก็ยังมีคนอีกจำ�นวนมากครับ ที่ยอมรับราชการ เนื่องจาก เป็นค่านิยมกันมาตั้งแต่เด็กว่า เป็นข้าราชการ แล้วดี ที่ผมพูดนี้คือความกลัวว่า เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ร่วม สายเลือดจะลดน้อยลงไป ต่อให้ไม่มีใครรัก ปล่อยเขาไป เถอะครับ ปล่อยให้พัดลมส่ายหน้าไปเถอะ ขอแค่เพียง เรา เพียงทันตาภิบาล รักกันก็เพียงพอแล้วครับ (ตรงนี้ พี่ เพื่อนๆ น้องๆ เขาฝากมาครับ) ช่วงก่อนฝนตกหนักมากครับ มีข่าวน้ำ�ท่วมเกือบ ทุกจังหวัด ทั้งที่มีดินโคลน ถล่ม พัดบ้านเรือนหลายไปเป็น หลังๆ ก็ทำ�ได้แค่นั่งร้องไห้ครับ ยังไง คนไทยก็ไม่ทิ้งกัน อยู่แล้วครับ ถ้าไป ถอนฟันฟรี ให้กับผู้ประสบภัยจะมีใคร มีอารมณ์มาถอนบ้างไหมเนี่ย 27
ผมเคยพูดไว้เมื่อ 2 ปี ที่แล้วครับว่า หนังเรื่อง 2012 ผมไม่ กลัวเท่า the day after tomorrow เรื่องนี้ชักจะจริงซะแล้ว ครับ ถ้าหนาวนี้ ภาคเหนือพื้นราบแตะ ที่ 5−9 องศา ผมว่า อีก ไม่เกิน 5 ปี หิมะ ตกที่ไทยแลนด์แดนสยามแน่ๆ ครับ หนาวมากๆ ไม่ค่อยจะดีนะครับ เวลาทำ�ฟันมือมันก็แข็งๆ ครับ คนไข้เองก็ อนุมานเอาว่า เวลาอากาศหนาวจะถอน ฟันได้ยากและเจ็บเพิ่มมากขึ้น อีกลุ่มหนึ่งคือ ผู้พิการ ที่ กำ�ลังเป็นที่นิยมมากใน ขณะ นี้ รับรองได้ว่าความหนาว ต้องเข้าแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังแน่ๆ ครับ เวลาทำ�ฟันก็ต้อง ลงกันไปทำ�กลางแดด คงเป็นภาพทีส่ วยงาม ชวนยิม้ ได้เลย ทีเดียวเชียวครับ ผมเคยไปช่วยทำ�ฟันปลอมให้ผพู้ กิ ารกับทันตแพทย์ คนหนึ่งครับ ตอนทำ�ก็ต้องนั่งบนพื้นขูดหินน้ำ�ลาย เหยียบ กันจนเป็นตะคริวเลย แต่เมือ่ เสร็จสมบูรณ์แล้ว ผูพ้ กิ ารท่าน นั้นได้ใส่ฟันปลอม ผ่านไปไม่นาน เมื่อกลับเข้าไปเยี่ยมผู้ พิการผู้นั้นอีกครั้งปรากฏว่า คุณลุงอ้วนขึ้น โดยสามารถ สังเกตได้จากสายตา ได้แต่รอ้ งว้าวและพูดออกมาว่า “เรือ่ ง ฟันนี่มีความสำ�คัญกับชีวิตเราจริงๆ” Jay-ac ผมจะทำ�งานเพื่อชาติ เพื่อประชาชน และเพื่อในหลวง Jay.ac@hotmail.com
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
SWEET ENOUGH@PHUKET โดย ทพ. เสถียร สุรวิศาลกุล สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 ที่ผ่านมาฝ่ายทันตสาธารณสุข สำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัดภูเก็ตได้เชิญโรงเรียนต่างๆจากทัว่ เกาะภูเก็ตร่วมงานมหกรรมเครือข่ายเด็กไทยฟันดี และแข่งขันโต้วาทีเด็กไทยไม่กนิ หวานขึน้ ทีโ่ รงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ งานนีม้ บี รรดาเหล่าเซเลบิตี้ จากโรงเรียนต่างๆ อย.น้อย คาราวานนักเรียนให้ความสนใจเข้าร่วมงานกันอย่างคับคัง่ ท่าน นพ.ศักดิ์ แท่นชัยกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตได้ให้เกียรติตัดริบบิ้นเปิดงาน ภายในงานประกอบด้วย การนำ�เสนอผลงานนวัตกรรมเครือข่ายเด็กไทยฟันดี การนำ�เสนอผลงานของ โรงเรียนเครือข่ายทั้งจากสามอำ�เภอในจังหวัดภูเก็ต...
28
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
Highlight ภายในงานคือการแข่งขันโต้วาทีอ่อนหวานระดับประถมศึกษาซึ่ง แต่ละโรงเรียนเครือข่ายก็ได้งัดนักเรียนฝีปากกล้าเข้ามาปะทะคารมกันชนิดที่เรียกว่า ซี๊ดดดดดครบรสกันเลยทีเดียว...ว้าววววว!!! งานนีไ้ ด้รบั เกียรติจาก กรรมการตัดสินการโต้วาทีรว่ ม 5 ท่าน ได้แก่ ทพญ.ดร. วราภรณ์ บุญแก้ววรรณ จากศูนย์เขต 11, อาจารย์ทฤษฎา ชาญยนต์, อาจารย์วภิ าภรณ์ สกุลทัพ จากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, ดีเจ สาวสุนิสา วรดีจากคลื่น 106.25 MHz และทพ. ปวีณทัศน์ วงศ์สุวรรณ จากสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ร่วม ตัดสินการแข่งขันโต้วาทีภายใต้ญัตติเก๋ๆที่ว่า “อิทธิพลของ สือ่ โฆษณากับการเลีย้ งดูของผูป้ กครอง อย่างไหนมีบทบาท ต่อการบริโภคของเด็กมากกว่ากัน และ ทุกข์จากฟันผุหรือ จะเท่าโศกจากโรคอ้วน” ในรอบคัดเลือก และญัตติในรอบ ตัดสินทีว่ า่ “ ไม่กนิ หวานก็ดี แต่ชวี ติ จะมีรสชาดได้อย่างไร” หลังจากผ่านการรับฝีปากแรงๆกันเป็นทีเ่ รียบร้อยผลการตัดสินรางวัลชนะเลิศตกเป็นของทีมเครือข่ายเด็กไทยฟันดี อำ�เภอเมือง > ด.ช. ศุภณัฐ เลิศรักษ์กลุ จากโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว , ด.ญ.ปนัทดา วรรณวิจติ ร จากโรงเรียนอบจ.บ้านตลาดเหนือ ,ด.ช. ธนพล บัวแก้ว จากโรงเรียนอบจ.บ้านตลาดเหนือ รางวัลรองชนะเลิศได้แก่ ทีมเครือข่ายเด็กไทยฟันดีอำ�เภอกะทู้ > ด.ญ. กนกพร ศรีจ�ำ นง โรงเรียนประชานุเคราะห์ ,ด.ญ. มุทติ า มัน่ คง โรงเรียนประชานุเคราะห์, ด.ญ. อารียา สะอาดโรงเรียนประชานุเคราะห์ รางวัลชมเชยได้แก่ ทีมเครือข่ายเด็กไทยฟันดีอำ�เภอเมืองและถลาง > ด.ญ. ณัฐณิชา จิตต์ซื่อ โรงเรียนดาราสมุทร, ด.ญ. ณฐวรรณ พึง่ แต่ตวั โรงเรียนดาราสมุทร ,ด.ช. พัชรวุฒิ อาํ่ เจริญ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ,ด.ญ. ช่อผกา วรรธนะประทีป โรงเรียนถลางพระนางสร้าง ,ด.ญ. อภิรดา สาคร โรงเรียนถลางพระนางสร้าง , ด.ญ. ณัฏฐณิชา เหล่าจันทร์ โรงเรียนถลางพระนางสร้าง , ด.ญ. อาทิตยา อาจเส็ง โรงเรียนถลางพระนางสร้าง หากฝ่ายทันตสาธารณสุข สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตจัดกิจกรรมเก๋ๆในโอกาสต่อไป คงได้นำ�มาเล่าสู่กันฟัง อีกนะครับ
29
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
...ทางผ่าน
ที่สวยงาม ทพ.อรรควัชร์ สนธิชัย
“ ทำ�งานที่ไหน????” คำ�ถามยอดฮิตที่ผมมักโดนถาม “ เวียงป่าเป้า..ครับ” ผมตอบตามความจริง และไม่แปลกใจเลยที่มากคนจะทำ�หน้านิ่วแล้วถามกลับ “ อยู่ที่ไหนหละ???????????”(เพิ่มเครื่องหมายคำ�ถามแสดงความงุนงงมาก) “ จังหวัดเชียงราย...ครับ” ผมตอบตามความจริง “ อ๋อออออออออ “ คู่สนทนาชิงร้องในลำ�คอ เชิงว่ามันติดอยู่ที่ปลายประสาทส่วยปลายของเส้นใยสมอง “ แล้วมันอยู่ตรงไหนของเชียงรายหละ????????????????????????????” “ .......” แล้วคุณพี่จะร้อง อ๋อ หาพระแสงปีนข้ามแม่น้ำ�สะแกกรังทำ�ไมครับ....ผมคิดในใจ จากสวนสัตว์ดุสิตโพล ถ้าพูดถึงเชียงราย ร้อยละ 43.2749821 มักคิดถึง อำ�เภอแม่สาย สืบเนื่องจากนิยมไปอุดหนุนสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับแรงส่งจากพี่ เที่ยรี่ เมฆวัฒนาที่ขับกล่อม “แม่สายจากเมืองเจียงฮาย ต้องไปสู่สังคมทราม” ร้อยละ 32.5362240 ตามมาติดๆด้วย อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง และดอยตุง สืบเนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า ร้อยละ 28.4823344 น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์อย่าง อำ�เภอเชียงของ ที่มาแรงในช่วงหลัง สืบเนื่องจาก คนในเมืองย่ำ�ยีเมืองปายและ เชียงคานจนสาแก่ใจแล้ว ทีนี้ก็มาถึงคิดของ เชียงของ แล้ว.... เมื่อหักลบจากสามอำ�เภอด้านบนแล้ว อำ�เภอเวียงป่าเป้า ก็ เอ่อ ....มันเกินร้อยเปอร์เซนต์ไปแล้วนี่หว่าเอาเป็นว่า น้อยคนที่จะนึกถึง ละกัน “ คุณพี่เคยไปเชียงใหม่มั๊ยครับ” ผมยิงคำ�ถาม “ แหมคุณน้องคะ เชียงใหม่ใครๆก็ต้องเคยไปสิคร้า วอร์มอัพ มังกี้ หมีแพนด้า พี่ไปมาหมดแล้ว” เธอบอก “ คุณพี่เคยไปเชียงรายมั๊ยครับ” ผมยิงซํ้า 30
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
“ อูย พี่ไปถึงวัดร่องขุ่น ภูชี้ฟ้า นู่นแหละคร่าาาา” เธอเอ่ย “ นั่นแหละครับทางระหว่างเชียงใหม่-เชียงราย เวียงป่าเป้าเป็นทางผ่านอยู่ตรงกลางพอดีครับ” ผมชี้ชัด “ อ่อ ค่ะ ค่ะ พี่เคยผ่านอยู่ค่ะ “ จากจุดเริ่มต้น ถึง จุดหมายปลายทาง ย่อมมีทางผ่าน ในมิติของระยะทาง....จากเชียงใหม่ไปเชียงราย เราอาจเดินทางผ่านเวียงป่าเป้า อ้อมไปทางแม่อาย หรือวกไปทางลำ�ปาง อาจ ทะลึ่งติดคอปเตอร์ไม้ไผ่ข้ามภูเขา สัปดนลงไปถึงอ่าวไทยนั่งเรือสำ�เภามาขึ้นที่อ่าวตังเกี๋ยผ่านเวียดนามแลลาวเข้าทางชายแดน ถ้า ให้หนักก็ขึ้นจรวดทะยานขึ้นฟ้าอ้อมดาวพระศุกร์แล้วลงจอดที่ห้าแยกพ่อขุน มีหลายแสนล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้าน... วิธีสำ�หรับการเดินทางจากจุดสองจุด เปรียบดั่งชีวิต บางครั้งเราชัดเจนในจุดหมาย บางคราวจุดหมายดูเลือนราง บางเวลากลับไร้ซึ่งจุดมุ่งหมาย ดังนั้นวิธีการเดินเข้าไป หามันไม่ได้เป็นเส้นตรงเสมอไป บางบริบทเราเลือกได้ บางปัจจัยก็เป็นเรื่องของจังหวะ ชะตา ฟ้าดิน ในมิติของเวลา...จากเชียงใหม่ไปเชียงรายผ่านเวียงป่าเป้า เราอาจเร่งรีบเหยียบคันเร่งมองเพียงทางเบื้องหน้าหรือกันขนท้ายของ รถค้นหน้าเพื่อสบช่องในการแซง หรือเราอาจเดินทางด้วยความเร็วปานกลางไปเรื่อยเปื่อยเพื่อประหยัดน้ำ�มันและลดความเสี่ยง ของอุบัติเหตุ หรือในทางกลับกันเราอาจค่อยๆเดินไปทีละก้าว ทีละฝีเท้า สังเกตลมหายใจเข้าออก จนถึงปลายทาง เปรียบดั่งชีวิต บางครั้งทุกอย่างดูจะรวดเร็วดุจสายฟ้าไม่มีเวลาให้เตรียมรับมือ บางคราวเราพอมีเวลาใช้สติคิดทบทวนในสิ่งต่างๆ บางเวลามีเหลือเฟือจนใช้มันอย่างไม่รู้ค่า ในมิติของคุณภาพ....จากเชียงใหม่ไปเชียงรายผ่านเวียงป่าเป้า เราอาจไม่ได้เมียงมองสองข้างทาง หรืออาจลดกระจกรับลมหนาว ชมทิวเขาเขียวชอุ่ม หรือจอดแวะน้ำ�อิงที่ไหลเอื่อยๆข้างทาง หรือแวะน้ำ�พุร้อนนั่งแช่เท้าละเลียดพายจิบกาแฟดอยวาวี เปรียบดั่งชีวิต บางครั้งเราใช้ชีวิตไปอย่างไร้สีสัน บางคราวเราทำ�ตัวสุขสบายกับสิ่งแวดล้อม รอบกาย บางเวลาเราดำ�เนินไปด้วยความสุขสำ�ราญ เวียงป่าเป้า สำ�หรับบางคน............เป็นจุดหมายปลายทาง เวียงป่าเป้า สำ�หรับบางคน............เป็นทางผ่านไปยังจุดหมายต่อไป เวียงป่าเป้า สำ�หรับบางคน............ยังไม่รู้จะอยู่ในสถานะอะไร ขอให้ใช้ชีวิตให้สวยงามนะครับแม้จะอยู่ ณ จุดไหนก็ตาม “คุณน้องคะ” เสียงเรียกปลุกผมจากภวังค์ “แล้วคุณน้องจะอยู่เวียงป่าเป้าอีกนานแค่ไหน?????” เธอ ถามเป็นคำ�ถามสุดท้าย “.........................” ผมได้แต่อมยิ้มแล้วเดินจากมา
31
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
มองช่องปาก... เห็นชีวิต โดย : ทพญ.สุจิตตรา ชาตา รพช.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น
โดยปกติแล้วข้าพเจ้าเองก็ท�ำ งานเหมือนๆ กับทันตแพทย์โรงพยาบาลชุมชนทั่วๆไป (คิดเองว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น) คือตั้งแต่เช้า ยันเย็นเลิกงาน มีชีวิตอยู่ในคลินิก หรือ ไม่กเ็ ข้าร่วมประชุมคณะกรรมกรรมต่างๆ ของโรงพยาบาลบ้างประปราย
32
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
จนกระทั่งข้าพเจ้าได้มีโอกาสมาเรียน ทันตแพทย์เฉพาะทางในหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตสาธารณสุข (อาจารย์ นิยมเรียกขำ�ๆว่า ปวช.) ซึ่งทำ�ให้ได้มีโอกาส ทำ�งานวิจัย และหนึง่ ในการทำ�วิจยั คือการออก ตรวจฟันเด็กอายุ 1-3 ปี เพือ่ หากลุม่ ตัวอย่าง ใน การออกตรวจครัง้ แรกนัน้ ข้าพเจ้าก็ท�ำ ตามขัน้ ตอน ทีเ่ คยชิน คือแจ้งพีๆ่ นักวิชาการที่ รพสต. ให้แจ้ง อสม.ช่วยนัดหมายกลุม่ เป้าหมาย มารวมกัน เมือ่ ไปถึงข้าพเจ้าก็ตรวจ และพูดคุยกับผูป้ กครองไปด้วย ได้ขอ้ มูลเบือ้ งต้น แล้วก็กลับ แต่เมือ่ กลุม่ ทีต่ รวจยัง ไม่ครบ จึงนัดหมายกับพี่นักวิชาการอีกครั้ง ครั้งนี้ไม่แน่ใจ ว่าผีเข้า หรือผีออก บอกกับพีไ่ ปว่า “พีค่ ะไม่ตอ้ งนัดรวมกัน ก็ได้คะ่ เราไปตรวจทีบ่ า้ นเลย อยากดูดว้ ยว่าทีบ่ า้ นเป็นยังไง” พีน่ กั วิชาการก็ถามว่า “แน่ใจนะ” “แน่ใจค่ะ” ข้าพเจ้าตอบ เมือ่ ถึงบ่ายวันนัดหมาย ข้าพเจ้าพร้อมพีน่ กั วิชาการ ก็ไปบ้านแม่วิเชียร อสม.ประจำ�หมู่บ้าน แม่วิเชียรบอกเรา ว่าจอดรถไว้บ้านแกนี่แหละ เดี๋ยวจะพาเดินไป บ้านปูนชัน้ เดียว ขนาดเล็ก ไม่เปิดประตู หน้าต่าง หน้าบ้านเป็นลานปูน มีตุ่มและกะละมังซักผ้าวางอยู่ มีรองเท้าเด็กวางระเกะระกะสองสามคู่ มีหมานอนอยู่ เสียง เรียกของแม่อสม.ข้าพเจ้าและคณะ รวมกับเสียงหมาเห่า ดังทีเดียวแต่ก็ไม่มีเจ้าของบ้านออกมาเปิดประตู แต่เมื่อ กำ�ลังจะกลับก็มเี สียงเปิดประตูดงั ขึน้ เผยให้เห็นผูห้ ญิงร่างอวบ คนหนึ่ง กับเด็กชายตัวเล็กๆ ผอมๆ แลดูปวกเปียก (คือไม่ใช่ ไม่สบายนะ แต่ดูอ่อนๆนุ่มๆ ไม่ค่อยปึ๋งปั๋งประมาณนั้น) เนื่องจากฝนพรำ�ๆเล็กน้อย ข้างนอกบ้านไม่มีพื้นที่สำ�หรับ นั่งเราจึงเข้าไปในบ้าน ในบ้านเป็นห้องโถงโล่งห้องเดียว พื้นปูด้วยเสื่อนํ้ามัน ใช้ตู้วางทีวี และตู้เสื้อผ้ากั้นแยกเป็นห้อง นอน 1 ห้อง ห้องดูทีวี ห้องกินข้าวรวมกัน ด้านหลังมีห้อง ครัวห้องนํ้า ในห้องมีแคร่เตี้ยๆทำ�จากไม้ไผ่วางอยู่ข้างๆประตู 33
ห้องครัวฝัง่ ด้านในห้องโถง บนแคร่มฝี าชีปดิ อยู่ และมีกระติบ ข้าวเหนียวขนาดใหญ่วางไว้ด้วย น้องวัย 20 ปีเป็นแม่ของน้องวัฒน์วัย 2 ขวบ ตอน เข้ามากำ�ลังมีรายการมวยไทยในทีวี ซึ่งจากภาพแวดล้อม แล้ว ข้าพเจ้าคิดเองว่า คุณแม่กำ�ลังนอนหลับและน้องก็ดู ทีวี หรือไม่ก็หลับทั้งคู่ จึงไม่ได้ยินเสียงเรียกของทั้งคนและ สุนัข การตรวจฟันพบว่าฟันน้อง....ไม่ผุ จากการพูดคุย ได้ข้อมูลว่า น้องแยกทางกับพ่อของน้องตั้งแต่คลอดใหม่ๆ น้องเคยทำ�งานที่คลับในโรงแรมในเมือง ออกจากบ้าน
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ประมาณ 6 โมงเย็นถึง 1 ทุ่ม แล้วกลับถึงบ้านประมาณตี 4 ตอนนี้เลิกทำ�งานได้ประมาณ 1 อาทิตย์ เพราะแต่ก่อนฝาก ให้ยายทวดช่วยดูแล เห็นว่ายายทวดพูดจาไม่ดี จึงออกมาจาก งาน คุณยายกับคุณตาก็ท�ำ งานโรงแรมเช่นกัน คุณยายทำ�งาน เป็นแม่บ้านจะออกจากบ้าน 6 โมงเช้า กลับบ้านประมาณ 2 ทุม่ ส่วนคุณตาทำ�งานเป็น รปภ.ก็จะออกจากบ้านประมาณ 6 โมงเย็นกลับบ้านประมาณ ตีหนึ่ง หรือบางวันก็ไม่ได้กลับ กลางวันคุณตาไม่อยู่เพราะออกไปทำ�นา ข้าพเจ้าจึงถามว่าแล้วน้องอยูก่ บั แม่ยงั ไงล่ะ “ตืน่ เช้า มายายก็อาบนํ้าให้ บางวันก็ไม่ได้อาบให้ ป้อนข้าว แล้วก็ไป ทำ�งาน” คุณแม่น้องวัฒน์ตอบ ข้าพเจ้า “แล้วน้องวัฒน์ท�ำ ยังไงล่ะ เรากลับบ้านมาตี 4 ก็ต้องนอน” คุณแม่น้องวัฒน์ “เขาก็นอนตามหนูนี่แหละ” ข้าพเจ้า “อ้าวแล้วเราตื่นตอนไหนล่ะจ๊ะ” คุณแม่ “ตื่นบ่าย 2 บ่าย 3 แล้วแต่ค่ะ” ข้าพเจ้า “แล้วน้องไม่หวิ ข้าวเหรอคะ ตอนเทีย่ งๆน่ะ” คุณแม่ “เขาไม่คอ่ ยกินข้าวเป็นมือ้ ดอก กินน้อยๆ หิว ก็ไปเปิดกระติบกินเอง เล่นไปเล่นมาหิวก็ไปกินเอง” ระหว่าง แม่พดู น้องวัฒน์กเ็ ดินไปเปิดฝาชี ในฝาชีมจี านไข่เจียวอยู่ 1 ใบ “อย่าไปเล่นสิ” คุณแม่บอกน้องจึงปิดฝาชีแล้วเดินกลับมานัง่ ตักแม่ ข้าพเจ้า “แล้วน้องก็นอนกับแม่อย่างนี้ทุกวันเหรอ จ๊ะ” คุณแม่ “ค่ะ” เราพูดคุยกันต่อสักพักข้าพเจ้าก็ขอตัวกลับ ก่อนกลับ ข้าพเจ้าหันมาดูนอ้ งวัฒน์อกี ที.....เด็กน้อยยิม้ แต่เกาะขาแม่ไว้ แน่น “ทุกวันศุกร์จะมีหมอจากโรงพยาบาลมาทำ�ฟันทีอ่ นามัย น้องพาลูกไปตรวจฟันหน่อยนะ เขามีฟลูออไรด์มาทาให้ดว้ ย” “จ้ะ” น้องรับคำ�สั้นๆ เราเดินต่ออกมาตามซอยดินเล็กมายัง ถนนใหญ่เพื่อไปยังบ้านน้องคนต่อไป 34
ในรั้วซึ่งสูงประมาณหัวไหล่ของข้าพเจ้า ประตูรั้วปิด ล็อคอยู่ เป็นบ้านปูนชั้นเดียว หลังคาสังกะสี ผนังปูนเปลือย เปล่าไม่ได้ทาสีใดๆ หน้าบ้านเป็นลานปูนทีม่ งุ หลังคาเชือ่ มต่อ จากตัวบ้านออกมา กว้างพอสมควร มีเด็กหญิง 3 คน เป็นเด็ก หญิงวัย 2 ขวบ 1 คน วัย 4 ขวบ 1 คน และอีกคนวัย 12 ขวบ เด็กเล็ก 2 คน ไม่สวมกางเกง คนหนึ่งเดินเล่นไปมา อีกคน ถือขันนํ้าเดินไปเดินมา ราดนํ้าเล่นที่หน้าบ้าน ส่วนคนโต นั่งเฉยๆอยู่ที่พื้น บนแค่ไม้หน้าบ้านมีผู้หญิงคนหนึ่งนอนหัน หลังให้เด็กๆอยู่ คุณแม่วิเชียรก็ตะโกนเรียกอยู่สักพักก็ไม่ตื่น ไม่ขยับเลย (ระหว่างนั้นข้าพเจ้าก็มองเด็กคนโตแล้วคิดในใจ ว่าทำ�ไมไม่ลุกมาเปิดประตูให้นะ ซึ่งภายหลังออกจากบ้าน นั้นมา ก็ทำ�ให้ทราบว่าพี่นักวิชาการก็คิดเหมือนกัน แต่อาจ จะออกแนวตำ�หนิมากกว่าข้าพเจ้าสักหน่อย) แล้วในที่สุด คุณยายทีน่ อนอยูก่ ล็ กุ ขึน้ มาเปิดประตูให้ คุณยายใส่เสือ้ กล้าม สีดำ�กับผ้าถุง ผมเผ้ารกรุงรัง คงเพราะเพิ่งตื่น อ้อคุณยายทำ� คิ้วถาวรด้วย แต่ไม่ได้แต่งหน้าใดๆ พอเปิดประตู คุณยายก็ เดินหันหลังกลับไปนัง่ ทีแ่ คร่ ขณะทีท่ กุ คนเดินไปนัง่ ทีแ่ คร่นนั้ ข้าพเจ้าก็เห็นว่านํ้าที่หนูน้อยตักใส่ขันเดินไปเดินมานั้น ไม่ได้ ตักเล่นเฉยๆ หนูนอ้ ยตักมาราดกองอุจจาระทีอ่ ยูข่ อบของลาน ปูนหน้าบ้าน “โอย....คุณยายนี่ช่างไม่ดูแลหลานเอาเสียเลย ปล่อยให้อุจจาระหน้าบ้าน แล้วยังนอนหลับหันหลังให้อีก ด้วย” ข้าพเจ้าคิด “คุณยายคะน้องอึที่หน้าบ้านค่ะ เก่งด้วย ดูสิราดนํ้าเองด้วย” ข้าพเจ้าบอกคุณยาย คุณยายพอได้ยินก็ รีบลุกไปเอาขันมาราดนํ้าหน้าบ้าน พลางพูดว่า “รู้ว่าใคร...... เพราะไม่ใส่กางเกงทัง้ คู”่ พีน่ กั วิชาการจึงบอกว่า “หากางเกง มาใส่ให้หลานหน่อยยาย” ล้างหน้าบ้านเสร็จคุณยายก็เข้าไป ในบ้านเอากางเกงมาใส่ให้เด็กๆ จากนั้นคุณแม่ อสม.ก็แนะนำ�ภารกิจของข้าพเจ้าให้ คุณยายฟัง ขณะนั้นก็มีผู้หญิงกับผู้ชายคนหนึ่งขับรถมาจอด หน้าบ้าน แล้วก็เอาขนมนางเล็ดให้เด็กน้อยทั้ง 2 คน คนละ แผ่น แล้วเดินมาหาเด็กคนโต “ผูกไว้ มันเฮ็ดน้องตกโต๊ะ”
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
คุณยายพูดด้วยนํ้าเสียงเรียบเฉย ผู้หญิงคนนั้นก็เอาห่วงผ้าที่ คล้องทีข่ าออกแล้วก็จงู เด็กไปทางหลังบ้าน ไม่ได้วา่ อะไร “น้อง ยายเองเอาลูกมาฝากไว้ยาม(เวลา)ไปธุระ ไม่ค่อยเต็ม เมื่อกี้ก็ ไล่ตีน้องจนตกแคร่” ข้าพเจ้าคิดว่าพี่นักวิชาการคงถึงบางอ้อ เหมือนข้าพเจ้า ว่าทำ�ไมน้องไม่มาเปิดประตูรั้วให้ แล้วทำ�ไม ไม่เอาห่วงผ้าที่ยายผูกออก อืม...ควรต้องใช้คำ�ว่าคล้องจะดี กว่าเพราะ แค่ทำ�เป็นห่วงหลวมๆคล้องไว้ที่ข้อเท้าข้างหนึ่ง เอาออกได้โดยไม่ต้องแก้เชือก หลังตรวจฟันเด็กทัง้ 2 คนก็พบว่ามีฟนั ผุ แล้วข้าพเจ้า ก็ถามเรือ่ งพ่อแม่ของเด็กน้อยทัง้ สองคน คุณยายก็เล่าอย่างพรัง่ พรูว่า “ยายมีลูก3 คน แม่ของเด็กน้อย 2 คนนี่เป็นลูกคนที่ 3 ยังมีพขี่ อง 2 คนนีอ้ กี แต่ตอนนีไ้ ปโรงเรียนแล้ว แม่ของเด็กน้อย มีลูกตอนอายุ 17 ปี พอคลอดลูกก็เลิกกัน ยายก็ช่วยเลี้ยงสัก พักแม่เด็กก็ไปทำ�งาน แล้วก็คืนดีกับพ่อเด็ก ท้องก็กลับมาอยู่ บ้าน ยายก็ดูแล คลอดก็เลิกกัน ออกไปทำ�งาน เชื่อไหมมันก็ คืนดีกนั อีก คราวนีพ้ อท้องก็เลิกกัน แม่เด็กก็โทรมาบอกว่าขอ เงินจะเอาไปทำ�แท้ง ยายก็เลยบอกว่า ไม่ต้องทำ�ให้กลับบ้าน ออกมายายจะเลีย้ งเอง ครัง้ นีพ้ อคลอดแล้วก็โทรมาบ้าง แต่นี่ หายไปเป็นปีแล้วไม่กลับมาเลย” ฟังถึงตอนนีข้ า้ พเจ้ารูส้ กึ ตำ�หนิ ตัวเองที่ไปคิดไม่ดีกับคุณยายตอนแรก เฮ้อ.......ต้องเลี้ยงเด็ก 3 คน คนหนึ่งก็ไม่ค่อยรู้เรื่องคงเหนื่อยมากเลยหลับสนิทไป คุณยายเล่าต่อว่า “แต่กอ่ นคุณยายมีอาชีพซือ้ เครือ่ ง ใช้ไฟฟ้ามาแล้วเร่ขายเงินผ่อนกับตา มีรายได้ดี แต่พอต้องเลีย้ ง หลานก็ไม่ได้ไปไหน ไปหาเงินก็ไม่ได้ คุณตาต้องไปทำ�งานใน เมืองคนเดียวเป็นช่างไฟทีโ่ รงแรม เช้ามาก็อาบนาํ้ แต่งตัวให้พี่ ที่ไปโรงเรียนก่อน ทำ�กับข้าวให้กิน ไม่ทันก็ซื้อเอา โอ๊ยจริงๆ ยายเลี้ยงน่ะ 5 คนนะ พอดีอีก 2 คนลูกลูกชายเขาเพิ่งมาเอา กลับไปเลี้ยงเอง พอพี่ไปโรงเรียนก็อยู่กับ 2 คนนี้ กับหลาน ลูกน้องสาว นี่ก็เพิ่งพากินข้าวยายกะนอนเล่นเลยหลับตอน ไหนไม่รู้” 35
ตอนกลั บ จากบ้ า นคุ ณ ยาย เราเดิ น กั น เงี ย บๆ “ไม่มาเดินวันนี้ก็ไม่รู้นะเนี่ยว่าบ้านเรามันมีอะไรเยอะแยะ” พี่นักวิชาการเปรย คำ�พูดและความคิดต่างๆเหล่านีแ้ ละอืน่ ๆอีกมากมาย ผุดมาในห้วงความคิดของข้าพเจ้า ขณะขับรถกลับบ้าน “คุณยายทำ�ไม่พาหลานมา ตั้งแต่มันเริ่มผุ” “การแปรงฟันน่ะเป็นการดูแลฟันที่ดีที่สุด ทำ�ไม ไม่แปรงล่ะยาย เด็กน่ะเขาร้องไห้งอแงกันทุกคนแหละค่ะ “ “ยายต้องแปรงซาํ้ นะคะ เด็กเขาแปรงเองไม่ได้หรอก ค่ะ” “ อ้าว..ยายฟันน่ะปวดก็จริงอยู่แต่ที่ดูนี่น่าจะรักษา รากฟันเด็กเก็บไว้กนั ทีใ่ ห้ฟนั แท้นะคะ (คิดในใจ...ทำ�ไมขีเ้ กียจ พามา ) “ทำ�ไมไม่พามาตอนไม่ปวดหนอ????” “เด็กเล็ก ฟันเพิ่งขึ้นดูแลยังไงน้อ...ฟันถึงผุ” สิง่ ทีข่ า้ พเจ้าเห็นว่าเป็นเรือ่ งสำ�คัญ และทำ�ง่ายๆ รวม ถึงที่เคยมองว่าการไม่ดูแลฟันลูกหลานเป็นเรื่องของความ ขี้เกียจนั้น ช่างเป็นมุมมองของกบน้อยตัวสีม่วงๆที่อยู่ใน โลกของช่องปากเท่านั้นเอง โลกแห่งความจริงของชีวิตคน แต่ละคนนั้น......มันกว้างกว่ามาก .....หรือจะว่าไปโลกของ ช่องปากนั้นจะเป็นอย่างไรก็เพราะโลกของชีวิตเขาที่เป็นอยู่ นั่นเอง
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ไกลเกินช่องปาก ลึกกว่าคอหอย เงินบริจาค VS จริยธรรม ในยุคสมัยอันซับซ้อน นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
กรุณาตอบคำ�ถามต่อไปนี้ โดยสมมุตวิ า่ ท่านเป็นหัวหน้า ฝ่ายทันตสาธารณสุข และผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลซึ่งอ่อน อาวุโสกว่ายกอำ�นาจในการตัดสินให้กับท่าน เอาไงเอากัน ประมาณนั้น ลองถามตัวเอง คิดให้นานนาน ว่าท่านจะ ตัดสินใจอย่างไร หากมีบริษัทนํ้าอัดลมชื่อดัง แสดงความประสงค์จะ บริจาคเงินให้ทา่ นเพือ่ ปรับปรุงห้องทันตกรรม ตามนโยบาย CSR ของบริษทั แต่เงือ่ นไขมีเพียงข้อเดียวคือ ขอให้ขนึ้ ป้าย ถาวรพร้อมโลโก้ของผลิตภัณฑ์นาํ้ อัดลมนัน้ ขนาดก็ไม่ได้ใหญ่ โตอะไรแค่ฟุตเดียวที่หน้าห้องฟันด้วย ท่านคิดอย่างไร ดอกไม้ สายลม แสงแดด ทะเล ภู เ ขา แม่ นํ้ า ต้นหญ้า ผู้คน ขอทาน ตึกสูง ร้านค้า รถไฟ ถนน บ้านเรือน กองขยะ ธนาคาร ทั้งหมดนี้เขียนมาไม่ใช่ให้อ่านครับ แต่ถ่วงเวลาในการคิด ก่อนจะถึงคำ�ถามต่อไป หากบริษทั ทีว่ า่ นีเ้ สนอว่าให้เงิน 1 แสนบาท ท่านจะรับไหม หากบริษทั ทีว่ า่ นีเ้ สนอเงิน 5 ล้านบาท เพือ่ สร้างอาคาร ใหม่ ขยายห้องฟัน พร้อมอุปกรณ์ ให้คณ ุ หมอช่วยออกแบบ การแบ่งห้องแบ่งพืน้ ทีใ่ ช้สอยภายใน นายช่างทีบ่ ริษทั จ้างมา พร้อมจะดำ�เนินการให้เสร็จในเวลา 9 เดือน คุณหมอและ ทีมงานก็สามารถย้ายเข้ามาอยู่ได้เลย ท่านจะรับไหม หากบริษทั ทีว่ า่ นีใ้ จดีอย่างทีส่ ดุ ป้ายโลโก้กไ็ ม่ได้เรียกร้อง ให้ใหญ่ขนึ้ เสนอเงินบริจาคให้ทา่ น 20 ล้านบาท ท่านจะรับไหม 36
ทำ�ไมจึงตัดสินใจเช่นนั้นหากรับก็อาจถูกกระแนะกระแหน จากคุณครูหรือ อสม.ว่า ไหนรณรงค์เด็กไทยไม่กินหวาน ไม่ กินนํ้าอัดลม แต่ไฉนรับเงินบริษัทเล่า ....... หากไม่รบั ก็ยอ่ มถูกมองว่า ไม่ฉลาด กินอุดมการณ์ไม่เข้า เรื่อง โอกาสแบบนี้ไม่มาง่ายๆ เงินตั้ง 20 ล้าน ไม่รับเขาก็ เอาไปให้โรงพยาบาลอื่น มีที่ที่อยากรับเยอะแยะ รับไปแล้ว ก็ใช่ว่าจะทำ�ให้เด็กฟันผุมากขึ้น ยอดขายของเขาก็เท่าเดิม เขาเพียงอยากช่วยเหลือสังคม แค่ตดิ โลโก้ขนาดแค่ฟตุ เดียว ก็ใช่ว่าจะเรียกร้องป้ายใหญ่โต ...... อันนีเ้ ป็นทางสองแพร่งทีท่ า่ นต้องตัดสินใจ หากท่านอยู่ ในสถานการณ์เช่นนี้ ท่านจะตัดสินอย่างไร คิดดูสักนิดนะครับ สำ�หรับคนที่ไม่ใช่ทันตแพทย์เป็น ทันตาภิบาลหรือวิชาชีพก็ได้ หรือแม้แต่พนักงานทำ�ความ สะอาดลงข้อมูลประจำ�ห้องฟัน หากหัวหน้าฝ่ายมาถาม มา ขอความเห็น ท่านจะให้ความเห็นอย่างไร โจทย์นี้สะท้อนกระบวนทัศน์ จุดยืนและการมองของ แต่ละคนครับ ไม่มถี กู ไม่หมดหรือผิดหมด เหรียญมีสองด้าน เสมอ และเชื่อว่าหลายๆโรงพยาบาลก็ได้ประสบเหตุการณ์ แบบนี้มาบ้างแล้ว เพียงแต่เม็ดเงินอาจไม่เท่านี้ หากท่านตอบว่า 20 ล้านก็ไม่เอา ถ้าอย่างนั้นบริษัท ที่ว่านี้ เสนอว่า ท่านและทีมงานทำ�งานได้ดีอย่างน่านับถือ และเขาอยากช่วยท่านให้มคี วามสะดวกในการทำ�งานของทัง้
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
โรงพยาบาล เสนอวงเงินบริจาคให้ทา่ น 100 ล้านบาท โดย ให้ทา่ นเสนอมาว่า โรงพยาบาลจะทำ�อะไรก็ได้ในวงเงินนี้ จะ นำ�ไปจ่ายหนี้ก็ไม่ว่ากัน ท่านจะรับไหม โดยขอแค่ป้ายโลโก้ ขนาดเพียง 1 ฟุต พร้อมข้อความว่าได้บริจาคเงิน 100 ล้าน บาท ติดในพืน้ ทีท่ ปี่ ระชาชนผูม้ ารับบริการมองเห็นได้โดยง่าย คิดดีๆนะครับ ว่า เงิน 100 ล้านบาทนะครับ ท่านจะ รับไหม หากรับก็ดูจะไม่น่าเป็นอะไรเพราะเงินมาก พัฒนา โรงพยาบาลไปได้ไกลโข ชาวบ้านร้านตลาดคงเข้าใจ หากไม่ รับคงถูกตัง้ คำ�ถามจากเจ้าหน้าทีแ่ ละคนใกล้เคียงพอสมควร โจทย์แบบนี้ ศิรริ าช เสาหลักสุขภาพของสังคมไทย ประสบ พบเจอมาแล้ว วันมหิดลเป็นวันสำ�คัญของบุคลากรสายสุขภาพ ซึง่ ตรง กับวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช วิกรม พระบรมราชชนก คือวันที่ 24 กันยายน ของทุกปี แต่ในปี 2554 นี้ เช่นเดียวกับปีที่แล้ว ป้ายประชาสัมพันธ์ งานวันมหิดลของศิริราชพยาบาลนั้น มีสิ่งหนึ่งที่สะดุดตา ซึง่ ขัดแย้งอย่างยิง่ กับอุดมการณ์ทางสุขภาพของทุกสถาบัน การแพทย์การสาธารณสุขนัน่ คือ การมีโลโก้ “ไทยเบฟ” หรือ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า นี่คือสัญลักษณ์ของบริษัทไทย เบฟเวอเรจ จำ�กัด (มหาชน) หรือ บริษัทผู้ผลิต “เบียร์ ช้าง” ปรากฏอยู่ในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ด้วย “ไทยเบฟ” ไม่ได้ผลิตแต่เบียร์ชา้ งเท่านัน้ ยังเป็นเจ้าของ สิ่งมึนเมาที่มอมเมาประชาชนมายาวนานหลายยี่ห้อ เช่น เหล้าแม่โขง เหล้าแสงโสม เหล้าขาว เหล้าหงส์ทอง เหล้า คราวน์99 เหล้าเบรน285 เบียร์อาชา และเหล้าเบียร์อีก หลายยี่ห้อ มินับนํ้าดื่มตราช้างที่เจตนาผลิตขึ้นมาเพื่อการ โฆษณาแฝง ซึ่งเป็นเทคนิคในการหลีกเลี่ยงกฎหมายห้าม การโฆษณาเครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ทปี่ จั จุบนั ห้ามโฆษณาก่อน เวลา 4 ทุ่ม ด้วยความเป็นอุตสาหกรรมที่มอมเมาประชาชน การ สร้างภาพลักษณ์จึงเป็นหัวใจสำ�คัญของบริษัทนํ้าเมา ไทย เบฟซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บริจาครายใหญ่ให้กับศิริราชพยาบาล จึงทำ�ให้ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี (ภรรยาของคุณ เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของบริษัทไทยเบฟฯ) ได้เป็นคณะ 37
กรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิด้วย กรณีการมีโลโก้ของไทยเบฟในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ งานวันมหิดลประจำ�ปี 2554 ก็คงเพราะความเคยชินกับ การรับเงินบริจาคโดยไม่ได้แยกแยะใส่ใจอย่างลึกซึ้งต่อผล กระทบในระยะยาว จนวันนี้อาจเรียกได้ว่า ศิริราชพยาบาล สถาบันการแพทย์ชั้นหนึ่งของประเทศไทย ได้ตกเป็นเครื่อง มือของการโฆษณาสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทนํ้าเมาอันดับ หนึง่ ของประเทศไทยไปแล้ว ไม่วา่ จะโดยรูต้ วั หรือลืมตัวก็ตาม แต่เชือ่ ว่ารูต้ วั เพียงแต่ ขนาดของเม็ดเงินเข้ามาบดบังอุดมคติ ให้เก็บเข้าลิ้นชักไป ทุกคนล้วนทราบดีว่า การดื่มและการขายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ล้วนไม่สอดคล้องกับทั้งศีลธรรมและสุขภาพ ทั้งในมิติทางศาสนาและมิติทางสังคม วงการแพทย์เองก็ เผชิญกับความทุกข์ของผู้ป่วยที่ป่วยเพราะเหล้า เช่นเป็น โรคตับแข็งหรือประสบอุบัติเหตุจราจรเพราะความมึนเมา การชกต่อย การสร้างความรุนแรงในครอบครัว และการ สูญเสียทั้งชีวิต จิตใจและทรัพย์สิน สร้างปัญหาเพิ่มความ แออัดแก่ห้องฉุกเฉินทุกค่ำ�คืนโดยไม่จำ�เป็น สร้างภาระและ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ความเอือมระอาให้กับโรงพยาบาลทุกแห่ง ไม่เว้นแม้แต่ ศิริราชพยาบาล พอย้ อ นไปมองความเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ลคื อ มหาวิทยาลัยด้านสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่ง ประกาศพัน ธกิจ ว่า “สร้า งความเป็น เลิศ ทางด้า นสุข ภาพ ... บนพืน้ ฐานของคุณธรรม เพือ่ สังคมไทย และประโยชน์ สุขแก่มวลมนุษยชาติ” ในขณะที่ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศ วัฒนธรรม มหิดล ซึง่ หนึง่ ในจำ�นวนนัน้ คือ “มัน่ คงยิง่ ในคุณธรรม” และ “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ซึง่ อธิบายไว้วา่ คือการรักษาผล ประโยชน์ของส่วนรวม และสังคม ในขณะที่ คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล ระบุในพันธกิจ ว่าหนึ่งในนั้นคือ “ชี้นำ�สังคมไทยในด้านสุขภาพอนามัยและ คุณภาพชีวิต” แต่น่าเสียดายที่ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงเจตนารมณ์และ คำ�ขวัญที่สวยงามเท่านั้น การยอมรับให้ใส่สัญลักษณ์ของ บริษัทไทยเบฟในป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยอ้างว่า เป็นเงื่อนไขที่ระบุไว้สัญญาการรับเงินบริจาคช่วยกิจกรรม นัน้ ย่อมเป็นสิง่ ทีส่ ะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า “เงินนัน้ สามารถ สร้างวัฒนธรรมมหิดลได้” ที่สำ�คัญ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก นั้นสูงส่งและมุ่งมั่นในยกระดับมาตรฐาน 38
ทางวิชาการแพทย์ และต่อสู้เพื่อการสร้างสุขภาพของ ประชาชน ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมีโลโก้ของไทยเบฟใน ป้ายประชาสัมพันธ์วันมหิดล เพียงใช้สามัญสำ�นึกก็รับรู้ได้ ว่า “ไม่สมควร” ดังนัน้ จึงมีขอ้ เสนอจากหลายฝ่ายให้มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลไม่เพียงแต่ควรปลด โลโก้ของไทยเบฟออกจากโปสเตอร์เท่านั้น แต่ควรทบทวน แนวทางการรับบริจาคจากธุรกิจที่มีส่วนในทำ�ลายสุขภาพ ของประชาชนเช่นบริษัทนํ้าเมาด้วย เพื่อเป็นแบบอย่าง ต่อนักศึกษาทุกสาขาวิชา ที่ควรเรียนรู้ถึงความเข้มแข็งใน การปฏิเสธเงินจากธุรกิจที่มอมเมาและทำ�ลายสุขภาพของ ประชาชน ครับ ศิริราชยังเมาเบียร์ สถาบันที่เป็นเสาหลักด้าน สุขภาพยังโอนเอนได้ อำ�นาจเงินรุนแรงกว่าที่ทุกท่านคิด ไม่วา่ คำ�ตอบของท่านเป็นอย่างไร คำ�ตอบของผมชัดเจน ว่า “ หากบริจาคเงินแบบที่มีสิ่งแอบแฝงนั้น กี่ร้อยล้านพัน ล้านก็ไม่รบั ครับ แม้หากบริจาคแบบไม่หวังการโฆษณาสร้าง ภาพลักษณ์องค์กร แต่ให้มากจนน่าตกใจ คงต้องนัง่ พิจารณา นานนานว่า ควรรับหรือไม่ เพราะอาจเป็นการซื้อแบบหวัง ผลทางอ้อมในระยะยาว ” จริยธรรมในยุคสมัยทีซ่ บั ซ้อนนี้ ข่าวชวนให้สบั สนจริงๆ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (Oral health-related quality of life: OHRQoL): ตอนที่ 3
รศ.ทญ.ดร. สุดาดวง กฤษฎาพงษ์
ใน
ปัจจุบัน หลักการเรื่องสุขภาพได้ขยายขอบเขต และความหมายออกกว้างกว่าการไม่มีโรค โดยคร่าว ๆ นะ คะ “โรค” เป็นสิ่งที่ชี้วัดโดยแพทย์ ตายตัว แน่นอน ใน ขณะที่ “สุขภาพ”เป็นเรื่องของความรู้สึกของตัวบุคคล ที่แตก ต่างกันไป เปลีย่ นแปลง ไม่แน่นอน ขึน้ กับปัจจัยหลายอย่างของ บุคคลนั้น ซึ่งการมี/ไม่มีอยู่ของโรคก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อ สุขภาพ เห็นได้ชัดเจนนะคะ ว่าทั้งสองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน แต่ อาจมีสว่ นทับซ้อนกัน ด้วยความตระหนักเช่นนี้ การทำ�งานของ วิชาชีพทันตแพทย์ในนานาชาติจึงกำ�ลังมีการเปลี่ยนแปลงค่ะ เพราะการตรวจหาแต่ “โรค” แล้วสรุปว่าเป็น “สุขภาพ” ของ ประชาชนก็เห็นจะไม่ใช่ ในหลายประเทศจึงได้ท�ำ การวัดคุณภาพ ชีวติ ในมิตสิ ขุ ภาพช่องปาก (Oral health-related quality of life: OHRQoL) ของประชาชนของตนขึน้ เพราะสามารถสะท้อน ให้เห็นสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรมได้ โดยใช้ดัชนีต่าง ๆ กันไป บางประเทศได้เพิ่มการวัดคุณภาพชีวิตฯ เข้าไปในการสำ�รวจ แห่งชาติ นอกจากการตรวจโรคที่ทำ�กันตามปกติ เช่น สหราช อาณาจักร, ออสเตรเลีย, เยอรมัน, ฟินแลนด์, เกาหลี เป็นต้น สำ�หรับประเทศไทยนะคะ ในการสำ�รวจแห่งชาติครั้งที่ 6 (ครัง้ ล่าสุด) เมือ่ ปีพ.ศ. 2550 ได้มกี ารวัดคุณภาพชีวติ ฯ ในกลุม่ อายุ 12 และ 15 ปี ใช้ดัชนี Child-OIDP และ OIDP (หาชื่อ เต็มได้จากตอนที่แล้ว) ตามลำ�ดับ ทำ�การสัมภาษณ์เด็ก 12 ปี จำ�นวน 1,066 คน และ 15 ปี จำ�นวน 815 คน ซึ่งเป็นจำ�นวน ครึ่งหนึ่งและเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างของการสำ�รวจโรค ขอนำ�ผลสรุปคร่าว ๆ มาเล่าให้ฟังดังนี้ค่ะ 39
เด็กไทยส่วนมากมีปัญหาคุณภาพชีวิตเพราะช่องปากค่ะ ตัวเลขสูงถึง 85% ในกลุ่ม 12 ปี และ 83% ในกลุ่ม 15 ปี เรา วัดปัญหาในการดำ�เนินชีวติ ประจำ�วันแยกเป็น 8 ข้อ (ดังกราฟ) ซึ่งถือเป็นมิติทางกาย ใจ และสังคม ของสุขภาพช่องปาก โดย มากปากทีเ่ ป็นโรคจะสร้างปัญหาในเรือ่ ง การกิน การบ้วนปาก ปากแปรงฟัน และการคงสภาพอารมณ์ให้เป็นปกติ ปัญหาด้าน การศึกษาแม้ตัวเลขจะน้อยที่สุด (5-6 %) เมื่อเปรียบเทียบกับ ข้ออื่น ๆ แต่ถ้าคิดกลับเป็นจำ�นวนเด็กที่ขาดเรียน ไม่มีสมาธิ ในการเรียน เรียนหนังสือ ทำ�การบ้านไม่รู้เรื่อง เพราะปากตัว เองเป็นเหตุ 50,000 – 60,000 คน ทั้งประเทศแต่ละช่วงอายุ (แต่ละช่วงอายุมีประมาณหนึ่งล้านคน) ก็ไม่ใช่เรื่องจิ๊บ ๆ นะ คะ ส่วนเรื่องกินที่เป็นปัญหาสูงที่สุด เด็กไทย 640,000 คน ในแต่ละช่วงอายุ ไม่สามารถกินได้ตามปกติเพราะปากเป็น เหตุค่ะ ปัญหาเรื่องการบ้วนปากแปรงฟันที่สูงเป็นอันดับสอง (52% ในกลุ่ม 12 ปี และ 55% ในกลุ่ม 15 ปี) ก็น่าคิดนะคะ ว่าจะนำ�ไปสู่วงจรอุบาทว์ของโรคในช่องปาก เพราะโรคที่เป็น อยู่แล้วและกำ�ลังสร้างปัญหาอยู่นี้ก็น่าจะยิ่งเป็นหนักขึ้น เมื่อ เด็กไม่สามารถทำ�ความสะอาดช่องปากได้ตามปกติ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
อย่างไรก็ดี แม้เด็กส่วนมากจะมีปญ ั หา แต่ปญ ั หาส่วนใหญ่ อยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางค่ะ มีเพียง 16% ของกลุ่ม 12 ปี และ 9% ของกลุ่ม 15 ปี ที่ช่องปากส่งผลต่อคุณภาพชีวิตใน ระดับรุนแรง ส่วนสาเหตุของปัญหาตามที่เด็ก ๆ บอก (ตาราง) ก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะหลายอย่างแตกต่างจากความคาดเดา ของทันตแพทย์ที่มักจะคิดถึงเรื่องโรคค่ะ เช่น แผลร้อนใน มา เป็นอันดับหนึง่ ในกลุม่ 15 ปี นะคะ และอันดับสองในกลุม่ 12 ปี ในขณะทีเ่ รือ่ งหินปูนและเหงือกเป็นปัญหาอันดับรอง ๆ ลงไป สาเหตุหลักของปัญหา ตามความรู้สึกของเด็ก
% 12 ปี
15 ปี
ปวดฟัน
39
34
ฟันเป็นรู เจ็บเหงือก หินปูน กลิ่นปาก แผลร้อนใน ฟันเก สีฟัน ฟันนํ้านมโยกหลุด
17 20 4 8 25 12 8 7
14 20 6 8 36 13 8 1 40
ข้อมูลทีไ่ ด้จากการสำ�รวจแห่งชาติครัง้ นี้ จะเป็นข้อมูลพืน้ ฐานทีส่ �ำ คัญต่อไปในการทำ�งานทันตสาธารณสุข หากการทำ�งาน ทันตสาธารณสุขจะพัฒนาไปในทิศทางของการพัฒนาคุณภาพ ชีวิต ไม่จำ�กัดเฉพาะแค่การลดหรือรักษาโรคเท่านั้น อย่างไรก็ ดี คำ�ตอบเด็กเชือ่ ได้หรือไม่ ผลทีไ่ ด้เมือ่ เทียบเคียงกับโรคในช่อง ปากแล้วเป็นอย่างไร และจะนำ�ผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร ร่วมกับการรักษาโรคแบบเดิม ๆ ก็เป็นโจทย์ทที่ า้ ทายและจะต้อง ช่วยกันไขปริศนาต่อไปค่ะ อย่างน้อยที่สุด ประโยชน์ แรก ๆ ทีไ่ ด้ คือ การสือ่ สารกับคนต่างวิชาชีพเพือ่ ให้เห็นถึงความสำ�คัญ ของช่องปาก และการขยายขอบเขตและมุมมองของการ ทำ�งานของวิชาชีพไม่ให้จำ�กัดอยู่เฉพาะเรื่องของโรคในปาก แต่ความตระหนักถึงการดำ�เนินชีวิตของประชาชนเป็นสำ�คัญ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
เชียงคาน วิถีกับทางเลือก เขียนโดย “กินเยอะ อยู่ง่าย เดอะแก็งค์ @CHK#1 นิสิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
เชียงคาน
มีประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ มายาวนาน จึงเป็นชุมชนทีม่ ปี ระเพณีและวัฒนธรรมที่ น่าสนใจทีค่ วรค่าแก่การศึกษาและอนุรกั ษ์ บ้านไม้รมิ ฝัง่ โขงประกอบกับวิถชี วี ติ ประจำ�วันทีเ่ รียบง่าย แต่ละเช้าชาว บ้านจะตื่นมานึ่งข้าว ทำ�กับข้าว ใส่บาตรข้าวเหนียวหน้า บ้าน ถวายจังหันและรับพรจากพระทีว่ ดั ก่อนทีจ่ ะแยกย้ายไป ทำ�ภาระกิจอื่น ๆ เทศกาลงานบุญต่าง ๆ จะรวมนํ้าใจของ ผูท้ มี่ าช่วยงาน แสดงถึงความสำ�คัญของวัดและพระพุทธศาสนา ซึง่ เป็นศูนย์รวมจิตใจและผูกพันกับผูค้ นในชุมชนตัง้ แต่เกิดจนตาย ของใช้ในชีวติ ประจำ�วันประดิษฐ์ขนึ้ จากภูมปิ ญ ั ญาชาวบ้าน ใช้วสั ดุ ธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นโดยฝีมือของผู้เฒ่านั่งทำ�บนแคร่หน้า บ้านที่มีเพื่อนบ้านนั่งคุยกัน ตกเย็นล้อมวงกินข้าวกับสมาชิกใน ครอบครัวพร้อมหน้า แสงไฟมืดลงตัง้ แต่หวั ค่�ำ ถนนว่างเปล่าราวกับ เมืองร้าง ทิง้ ไว้แต่หน้าบ้านทีป่ ดิ ประตูไม้เป็นแถวยาว มิตรภาพที่ มอบให้กบั คนต่างถิน่ ทำ�ให้ผมู้ าเยือนจากเมืองใหญ่ทหี่ า่ งไกลจาก ความสงบได้สมั ผัสกับวิถีชนบทที่ด�ำ เนินไปอย่างช้า ๆ พร้อม ๆ กับแม่นํ้าโขงที่ไหลหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน การท่องเที่ยวในอดีตเป็น กลุม่ นักท่องเทีย่ วชาวตะวันตกทีเ่ ข้ามาพักผ่อนในเชียงคานทีเ่ ป็น 41
แบบฉบับของ คนท้องถิ่น แต่ปัจจุบัน การท่องเที่ยวแบบทุนนิยม นักลงทุน ต้องรีบตักตวงผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวที่ตอบ สนองความต้องการเทีย่ วแบบคนเมือง ปรับเปลีย่ นเชียงคานเป็น สตูดิโอกลางแจ้งผสานกับบรรยากาศริมโขง หรือถ่ายรูปกับวลี ที่ล้อเลียนสถานภาพโสดที่สอดคล้องกับชื่อเชียงคานโดยไม่รู้ถึง ประวัตคิ วามเป็นมา ประเพณี วัฒนธรรมชุมชน เดินเลือกซือ้ ของ ทีร่ ะลึกบนถนนคนเดินทีถ่ งึ แม้จะมีราคาสูงและซาํ้ กันหลายร้านแต่ ก็ท�ำ ให้คนซือ้ รูส้ กึ ว่าได้มาเชียงคานตามกระแสแล้ว เชียงคานถูก สะท้อนผ่านลวดลายบนเข็มกลัด โปสการ์ด เสื้อผ้า ที่มีให้เลือก ซื้อมากมายแทนการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น จาก บ้านธรรมดาก็เปิดเป็น homestay guest house เพื่อรองรับ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
นักท่องเที่ยวจนไม่หลงเหลือเมืองที่เงียบสงบ ผู้คนที่เคยเช่าบ้านอยู่มานับสิบปี ต้องย้ายออกเพราะเจ้าของต้องการพื้นที่ไว้ทำ�ธุรกิจเอง การตักบาตรข้าวเหนียว กลายเป็นธุรกิจที่แทรกวิถีคนเมืองที่ต้องการทำ�บุญแบบสะดวกใส่ “นักท่องเที่ยวมาเยอะ คึกคักดี ขายของได้มากขึ้น สำ�หรับป้าชอบเพราะ ป้ามีอาชีพค้าขาย แรงงานเริ่มกลับมาทำ�งานที่เชียงคานมากขึ้น แต่กับชาวบ้าน ทีเ่ มือ่ ก่อนตกเย็นเคยมานัง่ คุยกัน แต่ตอนนีต้ า่ งคนต่างอยู่ คนก็เห็นแก่ตวั มากขึน้ ถ้าจะขายของก็ให้คนแก่มาขายหน้าบ้าน จะขายได้เยอะ” คำ�กล่าวของเจ้าของ โรงแรมสุขสมบูรณ์สะท้อนวิถชี วี ติ ของชาวเชียงคานทีเ่ ปลีย่ นไป หรือ “คนมาเยอะ เสียงดัง วุ่นวาย ขยะมาก แต่งกายไม่สุภาพ แสดงพฤติกรรม เป็นมาเมืองเชียงคานก็ไม่พ้นวัฏจักรนี้เช่นกัน การร่วมมือกันแก้ ไม่เหมาะสม ของแพง นักท่องเที่ยวมาไม่นานก็กลับ กระทบกับ ปัญหาภายในชุมชนจะมีส่วนสำ�คัญในตัดสินอนาคตของชุมชน ป้าทีซ่ อื้ ของแพงทุกวัน” เสียงบ่นของผูส้ งู อายุคนในชุมชน แสดง ว่าจะกำ�หนดทิศทางการท่องเทีย่ วว่าจะพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทัศนคติแง่ลบจากการพัฒนาเชียงคานเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือการท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรมชุมชนท้องถิน่ หรือผสานพัฒนา “การท่องเที่ยวในเชียงคานเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีทิศทางไร้ ควบคู่กันไป การควบคุม เชียงคานควรมีแผนการพัฒนาทัง้ ระยะสัน้ และระยะ การเปลีย่ นแปลงมิตทิ างสังคมของเชียงคานส่งผลต่อสุขภาพ ยาว รวมทั้งมีผู้นำ�ที่รอบรู้และเสียสละ มีองค์กรและเทศบัญญัติ ของประชาชน ยกตัวอย่างเช่นผูป้ ระกอบธุรกิจทีพ่ กั มีความจำ�เป็น ควบคุมการขยายตัวของเมืองและการท่องเที่ยวเพื่อให้มีทิศทาง ที่ต้องนอนดึกและตื่นเช้ากว่าเดิม อีกทั้งต้องทำ�ความสะอาด การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ชัดเจน” วิสัยทัศน์ของอาจารย์จงรัก ที่พักบ่อยขึ้น หรือลูกค้าที่มาพักเสียงดังตอนดึกจนเจ้าของบ้าน ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนโดยการมีส่วน นอนไม่หลับ ทำ�ให้ร่างกายได้พักผ่อนและออกกำ�ลังกายน้อยลง ร่วมของชุมชน เช่น การรักษาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและ รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การแข่งขันทางธุรกิจซึ่งทำ�ให้ บ้านเมืองให้สะอาดเรียบร้อยอยูเ่ สมอ จำ�กัดปริมาณนักท่องเทีย่ ว คนในชุมชนเกิดความขัดแย้งมากขึ้น สาเหตุเหล่านี้ทำ�ให้ ให้เหมาะสมกับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว กำ�หนดผังเมืองสิ่ง เกิดความเครียดซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำ�ให้เกิดการเจ็บป่วยได้ ก่อสร้างและกิจกรรมที่รบกวนทัศนียภาพและวิถีชุมชน อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำ�นวยให้ประชาชนออกกำ�ลังกาย เช่น พื้นที่ ชุมชนโบราณและวิถีชีวิตริมฝั่งโขง อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น วิง่ ริมโขงทีเ่ คยมีให้ประชาชนวิง่ หรือเดินออกกำ�ลังกายกลายเป็น โบราณสถานและโบราณวัตถุให้คนในชุมชนเกิดความภูมิใจและ ทีป่ นั่ จักรยานสำ�หรับนักท่องเทีย่ วหรือโต๊ะของร้านอาหารริมโขง เผยแพร่เป็นข้อมูลในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวต่อไป แทน แม้ว่าเศรษฐกิจในเชียงคานจะดีขึ้น แต่กลับทำ�ให้ความสุข มนุษย์มคี วามต้องการทีจ่ ะพัฒนาให้ชวี ติ ตนมีความเป็นอยู่ ของคนเชียงคานลดลงซึ่งสวนทางกับส่งเสริมสุขภาพของระบบ ที่ดีขึ้น ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม นำ�ไปสู่ยุคที่รุ่งเรือง บริการสาธารณสุขที่ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกาย แต่เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันจะมีปัญหาตามมา จากการศึกษาความ ใจ สังคมและจิตวิญญาณ 42
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ตามล่า หา
ผู้ป่วย เบาหวาน ชิวเหรียญ
เริม่ ต้นทีป่ งี บประมาณ 2553 หนองบัวลำ�ภูมนี โยบายหลักเกีย่ วกับ โรคเบาหวาน หมอฟันหนองบัวก็พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย โดย ใช้เหตุผลว่าผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะเป็นโรคปริทันต์มากกว่าและ รุนแรงกว่าคนทั่วไป ในทางกลับกันโรคปริทันต์มีผลทำ�ให้นํ้าตาล ในกระแสเลือดเพิม่ ขึน้ เป็นผลให้การควบคุมนาํ้ ตาลในผูป้ ว่ ยเบา หวานยากยิ่งขึ้น การรักษาจึงควรทำ�ควบคู่กันไปทั้งสองโรคคือ โรคปริทันต์และโรคเบาหวาน ในปีแรกนี้ฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.นากลาง เลือกทำ�กิจกรรมออกตรวจสุขภาพช่องปากผู้ป่วย เบาหวานที่คลินิกเบาหวานของโรงพยาบาล โดยตรวจสุขภาพ ช่องปาก แนะนำ�แนวทางการรักษา นัดทำ�การรักษาทันตกรรม ทำ�ให้ได้ขอ้ มูลของผูป้ ว่ ยเบาหวานจำ�นวนหนึง่ ส่วนใหญ่เป็นผูป้ ว่ ย เบาหวานที่ควบคุมระดับนํ้าตาลไม่ได้ ในปีงบประมาณถัดมา ก็เพิ่มกิจกรรมการให้บริการขูดหินปูน เข้าไปอีก เจ้าหน้าทีท่ นั ตสาธารณสุขก็ลงตรวจทีค่ ลินกิ เบาหวานเหมือนเดิม และนัดผูป้ ว่ ยมาขูดหินปูนทีห่ อ้ งทันตกรรม แต่พบปัญหาว่าผูป้ ว่ ยเบาหวาน มาให้ตรวจช่องปากน้อยลง โดยผู้ป่วยเข้าใจว่าเคยตรวจแล้วเมื่อปีงบประมาณ ก่อนและแพทย์ลงตรวจเบาหวานเร็วขึ้น ทำ�ให้หมอฟันโดนแย่งซีนเนื่องจากมีแต่คน อยากตรวจและรับยาเบาหวานเร็ว ๆ ส่วนการนัดมาขูดหินปูนยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะพวกเราหมอฟันออกไปทำ�โพล เช็คเรทติ้ง ถามความคิดเห็นผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน คุณตาคุณยายบอกว่าอยากมาขูดหินปูนตามที่หมอนัดอยู่ แต่ติดที่ เดินทางไม่สะดวก ไม่มีค่ารถ ไม่มีลูกหลานพามา ผลงานเบาหวานของเราปีนี้เลยเพิ่มขึ้นทีละน้อยนิด 43
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
คุณหมอฟันทั้งหลายเลยต้องแปลงร่างออกปฏิบัติการตามล่าหา คนไข้แทน โดยเพิ่มรูปแบบกิจกรรมออกหน่วยเคลื่อนที่ตามรพสต. ทีไ่ ม่มที นั ตาภิบาลประจำ� และตามหมูบ่ า้ นส่วนรับผิดชอบตำ�บลนากลาง ส่วนผูป้ ว่ ยนอกเขตรับผิดชอบรพ. ก็ให้นอ้ ง ๆ ทันตาภิบาลช่วยอีกแรงนึง สรุปผลการดำ�เนินโครงการสำ�รวจสภาวะปริทนั ต์และบริการทันตกรรม แก่ผปู้ ว่ ยเบาหวาน ในปีงบประมาณ 2554 พบว่าผูป้ ว่ ยเบาหวานได้รบั การตรวจฟัน ร้อยละ 69.23 เป็นโรคปริทันต์อักเสบ ร้อยละ 63.72 ของผู้ป่วยที่ตรวจ และได้รับการขูดหินปูน ร้อยละ 21.38 ของผู้ป่วย ทีต่ รวจ ผลงานทีไ่ ด้ดดู กี ว่าช่วงต้นปีงบประมาณ แต่สงิ่ ทีเ่ ราได้เรียนรูเ้ พิม่ เติมก็คือ การทำ�งานแบบ PDCA (plan-do-check-act) ทำ�ให้เราเห็น ปัญหาและปรับปรุงแก้ไขงานได้ดขี นึ้ โดยในโครงการนี้ เราเปรียบเทียบ กิจกรรมระหว่างการลงไปตรวจทีค่ ลินกิ เบาหวาน โรงพยาบาลนากลาง กับการออกสำ�รวจ, ขูดหินปูนตามรพสต.และหมูบ่ า้ น พบว่าการลงออก สำ�รวจตามพืน้ ที่ โดยออกเวียนตามรพสต. สามารถให้บริการทางทันตกรรม ได้ครอบคลุมปริมาณผู้ป่วยเบาหวานเกือบทั้งหมดของจำ�นวนผู้ป่วย เบาหวานทีร่ พสต.แต่ละแห่งรับผิดชอบ โดยใช้เวลาในการบริการแต่ละ พื้นที่ ไม่เกินพื้นที่ละ 1-2 วัน ซึ่งมีความคุ้มทุนและมีประสิทธิภาพ ต่อการให้บริการของฝ่ายทันตกรรม มากกว่าการลงไปรอตรวจผู้ป่วย ที่คลินิกเบาหวาน ปีงบประมาณหน้า ผูเ้ ขียนคิดว่าจะเปลีย่ นจากโครงการสำ�รวจ สภาวะปริทนั ต์และบริการทันตกรรมแก่ผปู้ ว่ ยเบาหวาน เป็นโครงการ ตามล่าหาผู้ป่วยเบาหวาน ดีกว่า 44
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
สุขสร้างสรรค์กับสสส. “หนึ่งคนยืนหยัด หนึ่งศตวรรษ เสม พริ้งพวงแก้ว” โดย ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ เชือ่ ว่า น้องๆ ทันตบุคลากรจำ�นวนไม่นอ้ ย อาจไม่เคยได้ยนิ ชือ่ นายแพทย์เสม พริง้ พวงแก้ว เพราะผูท้ คี่ น ุ้ เคยกับชือ่ ของ ปูชนียบุคคลทีส่ �ำ คัญมากทีส่ ดุ ท่านหนึง่ ของวงการแพทย์และ สาธารณสุขไทยท่านนี้ น่าจะเกิดมานานกว่า 40 ปีขึ้นไป ในโอกาสทีท่ า่ นอาจารย์หมอเสม มีอายุครบ 1 ศตวรรษเมือ่ วันที่ 31 พฤษภาคม 2554 หลายหน่วยงานได้รว่ มกันจัดงาน รำ�ลึกถึงคุณูปการมากมายที่ท่านได้สร้างไว้ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ได้ช่วยสร้างระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนต่อยอดที่ได้จาก การปรับปรุงและจัดวางรากฐานระบบสาธารณสุขไว้เป็นอย่างดี ของอาจารย์หมอเสม ผมจะขอคัดลอกและเรียบเรียงเรื่องราว ที่มีผู้เขียนไว้แล้วเกี่ยวกับเกียรติประวัติของอาจารย์หมอเสม มาเขียนไว้แบบกระชับ เพื่อให้ชาวทันต’ภูธร ได้เรียนรู้เป็นเบื้องต้น อาจารย์หมอเสม จบแพทยศาสตร์บณ ั ฑิตรุน่ ที่ 8 จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราช จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2478 ในช่วงยุคสมัย ที่วิชาชีพแพทย์ยังไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากตำ�แหน่งหน้าที่ในราชการ ยังมีน้อย และเงินเดือนก็ไม่สูง เมื่อเทียบกับสาขาทางกฎหมายและ การปกครอง ในปีนั้นมีอหิวาต์ระบาด ‘อาจารย์หมอเสม ได้อาสา ออกไปตั้ง “โรงพยาบาลเอกเทศ” (มีหมอคนเดียว จัดดำ�เนินการ ทุกเรือ่ ง) ทีอ่ มั พวา เพือ่ ช่วยเหลือป้องกันอหิวาตกโรคทีร่ ะบาดในพืน้ ที่ ใช้ศาลาวัดเป็นเสมือนโรงพยาบาลสนาม คนไข้รายแรกที่หามเข้าวัด ไปให้ท่านดีใจว่าจะได้ใช้วิชาที่ร่ำ�เรียนมา ปรากฏว่าท่านไม่มีโอกาส ได้แตะต้องตัวคนไข้รายนั้น เพราะแทนที่ญาติจะพาขึ้นศาลาไปให้ ท่านดูแลรักษา กลับเลี้ยวไปป่าช้าแทนเพราะตายเสียแล้ว’ (นพ.วิชัย 45
โชควิวัฒน์ เขียนในโพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554) อัมพวาในเวลานัน้ มีคดีอกุ ฉกรรจ์บอ่ ยมากเพราะเป็นถิน่ นักเลง การเดินทางต้องนั่งเรือไปตามนํ้าแม่กลองใช้เวลาบนเรือ 2 ชั่วโมง จากตัวจังหวัด และในช่วงนั้น ทางการบังคับให้ทุกคนไปฉีดวัคซีน ป้องกันอหิวาต์ ใครไม่ฉีดจะถูกปรับ ชาวบ้านหลายคนถูกปรับ ทำ�ให้ เกิดความโกรธแค้นเจ้าหน้าที่ทางการมาก การไปตั้ง “โรงพยาบาล เอกเทศ” ใน 10 วันแรก จึงไม่มีคนไข้ไปรับการรักษาเลย ทั้งที่มีคนไข้ อยู่มาก “...พอวันที่ 11ก็มีคนหามคนไข้ร่องแร่งๆมา เราก็นึกว่า เอ..ถ้าจะมาฝังอีก แต่คราวนี้ ยังไม่ฝัง เขาบอก ‘หมอรักษาให้ที’ เราก็รบี ให้นาํ้ เกลือ คนไข้อายุราว 50 กว่า หน้าซีด ชีพจรไม่มแี ล้ว เขาก็นกึ ว่า ตายแล้ว จะเอาไปฝัง แต่เอามาให้หมอดูกอ่ น ว่าหมอเก่งหรือเปล่า ให้ นํ้าเกลือตลอดวันตลอดคืน วันรุ่งขึ้นคนป่วยลุกขึ้นขอนํ้ากิน ไอ้ญาติก็ ตกใจมาก นึกว่าคงตายแน่แต่แกฟื้นขึ้นมาได้ หลังจากนั้นแกก็หาย” ปรากฏว่า คนไข้รายนัน้ เป็นหัวหน้านักเลงในอัมพวา จึงป่าวประกาศ ไปทั่วว่า “หมอคนนี้ รักษาชีวิตฉันไว้ ห้ามใครแตะต้องหมอคนนี้ เด็ดขาด ถ้าพวกเราคนไหนเป็นโรคอหิวาต์ไปหาเขาให้หมด” หลังจากนั้น คนไข้จึงเพิ่มมากขึ้นๆ จนต้องขอกำ�ลังเสริมจาก นั ก เรี ย นแพทย์ ศิ ริ ร าช แต่ ก็ เ กิ ด ปั ญ หาขาดแคลนนํ้ า เกลื อ อี ก อาจารย์หมอเสมจึงได้หาวิธีผลิตนํ้าเกลือขึ้นใช้เอง โดยประยุกต์ จากหม้อต้มกลั่นเหล้าพื้นบ้าน เอามาต้มนํ้าฝนทำ�เป็นนํ้ากลั่น แล้วผสมเกลือและนํ้าตาล ผลิตนํ้าเกลือขึ้นใช้เองเป็นครั้งแรก บนศาลาวัดนั้นเอง ทั้งนี้นอกจากการรักษาที่ช่วยลดอัตราการตาย ลงได้มากแล้ว อาจารย์หมอเสมยังได้คิดค้นวิธีการป้องกันโรคอหิวาต์ จากการที่รู้ว่าเชื้อนี้จะอยู่ในนํ้าได้นาน และติดต่อจากการดื่มนํ้า จึง
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
แนะนำ�ผ่านเครือข่ายชาวบ้านให้ต้มนํ้าดื่มและใช้นํ้าฝนล้างภาชนะ ประสบการณ์ จากการทำ�งานกับเครือข่ายชาวบ้านที่อัมพวา ช่วยให้ อาจารย์หมอเสมตระหนักว่า การทำ�งานสาธารณสุขให้ได้ผลนั้น งาน กว่าร้อยละ 90 ต้องให้ชาวบ้านช่วย มีเพียงร้อยละ 10 ที่บุคลาการ ทางสุขภาพจะทำ�ได้ โดยต้องทำ�ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกันด้วย จากการทีอ่ าจารย์หมอเสม ศึกษาใฝ่เรียนรูอ้ ยูต่ ลอดเวลา ทัง้ จากตำ�ราและ จากการทำ�งานจริง เป็นผูท้ มี่ งุ่ มัน่ ทุม่ เททำ�งานในความรับผิดชอบอย่าง แน่วแน่ และคิดหาวิธเี อาชนะอุปสรรคทีเ่ กิดขึน้ โดยไม่ยอ่ ท้อ ส่งผลให้ทา่ น ได้สร้างรากฐานทีส่ �ำ คัญของวงการสาธารณสุขไทยหลายเรือ่ ง อันได้แก่ -การสร้างโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ “จังหวัดทีท่ า่ น ได้สร้างตำ�นานแพทย์ผบู้ กุ เบิกในชนบทอยูอ่ ย่างยาวนานคือ จ.เชียงราย ดินแดนอันไกลโพ้นเหนือสุดแดนสยาม ที่ก่อนไปมีผู้แนะนำ�ให้เอา หม้อดินติดตัวไปด้วยใบหนึ่ง “เผื่อจะได้ใส่กระดูกกลับมา” ท่านเป็น แพทย์คนเดียวที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใหญ่ให้ไปบริหารการจัด ตั้งโรงพยาบาล(ในปี 2480) ซึ่งชาวบ้านบริจาคเงินคนละบาท สร้าง โรงพยาบาลขึ้นเป็นผลสำ�เร็จ และเพราะเป็นเงินที่ประชาชนบริจาค สร้างขึ้น โรงพยาบาลแห่งนี้จึงมีชื่อว่า”โรงพยาบาลเชียงรายประชา นุเคราะห์” สืบมาจนปัจจุบันนี้ ยิ่งกว่านั้นเพราะเป็นเงินประชาชนที่ สร้างโรงพยาบาลขึน้ เมือ่ เก็บเงินค่ารักษาพยาบาล ท่านจึงไม่ยอมส่งเงิน “เข้าหลวง” แต่ใช้หมุนเวียน ซื้อยา อุปกรณ์ และพัฒนาโรงพยาบาล เมือ่ กระทรวงการคลังรูเ้ ข้า จึงมีค�ำ ถามว่าท่าน”ถือดี” อย่างไรไม่ปฏิบตั ิ ตามระเบียบ ท่านก็ชี้แจงความจริงไปตามประสาซื่อ และนับเป็นโชค ดีของวงการสาธารณสุขไทยและประชาชนชาวไทยทัง้ มวล ทีผ่ ใู้ หญ่ใน กระทรวงการคลังสมัยนัน้ คือพระยาไชยยศสมบัติ เป็นผูม้ เี มตตาธรรม อันสูงและมีปัญญายิ่ง แทนที่จะลงโทษแพทย์หนุ่มที่ไม่สนใจระเบียบ กลับออกระเบียบให้เงินรายได้โรงพยาบาลไม่ต้องนำ�ส่งคลังกลายมา เป็นระบบเงินบำ�รุง ซึ่งเป็นหัวใจสำ�คัญที่ทำ�ให้โรงพยาบาลของรัฐทั่ว ประเทศ” (นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ เขียนในโพสต์ทูเดย์ 24 พ.ค.2554)
46
-ในช่วงทีท่ า่ นได้รบั แต่งตัง้ เป็น รมช.สาธารณสุข (2517-2518) ได้ ผลักดันการปรับปรุงส่วนราชการของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2517 ที่ ช่วยให้เกิดการกระจายอำ�นาจไปสูส่ ว่ นภูมภิ าค โดยกรมต่างๆ ลดบทบาท การบริหารโดยกรมเป็นศูนย์กลางลง โรงพยาบาลในแต่ละจังหวัดขึ้น ตรงกับสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด และรายงานตรงต่อสำ�นักงานปลัด กระทรวง (จากเดิมที่ทุกโรงพยาบาลขึ้นตรงกับกรมการแพทย์) ซึ่งถูก ต่อต้านอย่างมากจากแพทย์ในโรงพยาบาลจังหวัดต่างๆ และส่วนกลาง -ในโอกาสทีไ่ ด้รบั แต่งตัง้ เป็น รมช.สาธารณสุขอีกครัง้ ในปี 2520 ได้ สนับสนุนการจัดทำ�แผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับแรกขึน้ โดยผนวกเข้า ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4(2520-2524) ซึง่ เริม่ กล่าวถึงบริการสาธารณสุขแบบผสมผสาน ระหว่างบทบาทของบุคลากร ด้านสาธารณสุข กับบทบาทของชุมชน กระทัง่ ได้พฒั นาให้เกิดระบบ อสม. และ ผสส. ขึน้ ในระยะต่อมา กระทัง่ เป็นระบบอาสาสมัครทีก่ ว้างขวาง และส่งผลให้การสาธารณสุขมูลฐานของไทยมีพฒั นาการอย่างก้าวกระโดด -ในปี 2523 เมื่อ พลเอกเปรม ได้รับโปรดเกล้าฯเป็นนายก รัฐมนตรี อาจารย์หมอเสมได้รับแต่งตั้งเป็นรมว.สาธารณสุข และใน ปี 2524 ได้ผลักดันให้มีการประกาศใช้บัญชียาหลักขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้ รพ.ของกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง ต้องใช้ยาตามบัญชีนี้ ผลงานของอาจารย์หมอเสม ยังมีอีกมากมาย ทั้งเรื่องการพัฒนา โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนพยาบาล โรงเรียนเทคนิคการแพทย์ การผลักดันให้มโี รงพยาบาลประจำ�จังหวัดในทุกจังหวัดภายในปี 2500 และต่อมาได้จัดทำ�แผนพัฒนาให้มีโรงพยาบาลชุมชนทุกอำ�เภอ และ การสร้างสถานีอนามัยในระดับตำ�บล เพื่อให้คนไข้สามารถเข้าถึง บริการได้มากขึน้ ผลงานและเกียรติปะวัตเิ หล่านี้ รวมถึงเกร็ดชีวติ ของ อาจารย์หมอเสม ทีเ่ กีย่ วพันกับหลายเหตุการณ์ส�ำ คัญในประวัตศิ าสตร์ ผมอยากเชิญชวนให้ชาวทันต’ภูธรได้ศกึ ษาจากหนังสือ “เกียรติประวัติ แพทย์ไทย ฝากไว้ให้คนรุน่ หลัง ชีวติ และงานของศาสตราจารย์ นายแพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว” เรียบเรียงโดยสันติสุข โสภณศิริ เป็นที่น่าเสียดาย แทนคนไทยทั้งประเทศ ที่หลังจากอาจารย์หมอเสมได้มีอายุครบหนึ่ง ศตวรรษได้เพียง เดือนเศษ ท่านก็ได้จากพวกเราไปเมือ่ วันที่ 8 กรกฎาคม 2554 “ศาสตราจารย์ นายแพทย เสม พริง้ พวงแก้ว ได้จากไปอย่างสงบ เหมือนใบไม้ทปี่ ลิดจากขัว้ แต่อดุ มคติของท่านยังดังกังวานในหัวใจของ ผูค้ นจำ�นวนไม่นอ้ ย เช่นเดียวกับคุณปู การของท่านยังส่งผลสะเทือนอยูจ่ น ทุกวันนี้ ขณะเดียวกัน ชีวติ และงานของท่านหากศึกษาอย่างใคร่ครวญ ก็สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เราในการดำ�เนินชีวิตอย่างมีคุณค่า และความสุข ก่อทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านได้อย่างยั่งยืน” (พระไพศาล วิสาโล ในมติชน ฉบับวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ผู้สูงวัย เครือข่ายน้องใหม่ ภายใต้แ ผนงาน
โรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข โดย รศ.ดร.ทพญ.พัชราวรรณ ศรีศิบปนันท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานเครือข่ายฯ แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข (ทพ.สส.) ชือ่ นีท้ กุ ท่านคงจะคุน้ เคยกันดี โดยเป็นแผนงานหนึง่ ของ สสส. ทีไ่ ด้ด�ำ เนินการระยะแรกตัง้ แต่ ปี 2548 และขยาย เป็นระยะทีส่ อง เริม่ ตัง้ แต่มถิ นุ ายน 2551 กำ�หนดสิน้ สุด เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ช่วงท้ายๆ ของโครงการฯ ทางแผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข ได้ขอเพิ่ม เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพผูส้ งู วัยขึน้ มา ถึงจะเพิง่ เกิด และไม่แน่ใจว่าจะอยู่ได้นานเท่าไร เพราะทาง ทพ สส มีโครงการจะปิดโปรเจ็คแน่นอน ปลายปี 2554 นี้ แต่ในหนึ่งปีที่ได้แจ้งเกิด ทางเครือข่ายฯก็ได้ทำ�งานที่ ท้าทายและแข่งกับเวลา ได้พอสมควร
เริ่มจากหาแนวร่วมสร้างเครือข่าย
เนือ่ งจากชือ่ โครงการ คือ โรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข โจทย์งานนี้คือ ในส่วนโรงเรียนทันตแพทย์จะเข้ามา ร่วมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยอย่างไร ไม่นับช่วงเวลา ที่อาจารย์จากทุกคณะ ได้เข้ามาร่วมมือร่วมใจกับทาง สำ�นักทันตสาธารณสุขในโครงการฟันเทียมพระราชทาน เฉลิมพระเกียรติฯ มาโดยตลอด ในส่วนของเครือข่าย สร้างเสริมสุขภาพช่องปากผูส้ งู วัย งานสร้างเสริมสุขภาพ ช่องปากในปี 2554 มีเวลาให้ทำ�งานน้อยมากจึงขอเริ่ม ต้นจากต้นทุนที่มีอยู่แล้ว โดยแสวงหาอาจารย์ที่มีความ สนใจและมีการทำ�งานกับกลุม่ ผูส้ งู อายุอยูแ่ ล้ว มาทำ�งาน ร่วมกัน ได้การตอบรับจากอาจารย์จาก ม เชียงใหม่ ม ขอนแก่น ม ธรรมศาสตร์ ม นเรศวร และ จุฬาลงกรณ์ 47
มาร่วมในเครือข่าย นอกจากนีท้ างคณะพยาบาลศาสตร์ ที่ ม เชียงใหม่ กำ�ลังสนใจการดูแลช่องปากผู้ป่วยสูงวัย ที่เป็นโรคเรื้อรัง ทำ�ให้ได้เครือข่ายสหสาขาวิชามาเพิ่ม สำ�หรับทางกระทรวงสาธารณสุข ทางทีมจากสำ�นักสาธารณสุข ทำ�งานร่วมกันมานานหลายปี พีแ่ หวว พีน่ น น้องอ้อย รวมทัง้ น้องในโรงพยาบาลบางแห่งทีท่ �ำ งานร่วมกับทางอาจารย์ โรงเรียนทันตแพทย์ เราก็ขอเชิญร่วมในเครือข่าย เช่น ทันตแพทย์โรงพยาบาลสระบุรี โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ พยาบาลจากโรงพยาบาลแจ้หม่ นักวิชาการสาธารณสุขจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลทาปลาดุก อำ�เภอแม่ทา จังหวัดลำ�พูน กลุม่ งานทันตสาธารณสุข เทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ นอกจากนีไ้ ด้ขยาย เครือข่ายไปยังองค์กรพัฒนาเอกชนทีส่ นใจงานด้านผูส้ งู อายุ ได้แก่ มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ สมาคมวาย เอ็ม ซี เอ สาขาเชียงราย สาขาสันป่าตอง สาขาลำ�พูน และมูลนิธิ พัฒนาสตรีภาคเหนือ
วัตถุประสงค์ และขอบเขต จะทำ�อะไร
ความหวังสูงสุดของเครือข่ายนี้ต้องการที่จะระดม ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ ผู้ที่สนใจ ในการร่วมกัน พัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปาก อย่างเป็นองค์รวม ตลอดจนร่วมกันสร้างความตระหนัก ในความสำ�คัญของการมีสขุ ภาพช่องปากทีด่ ตี ลอดชีวติ ใน ประชาชน เพือ่ เป็นการเตรียมการรองรับการเปลีย่ นแปลง ของการเป็นสังคมผู้สูงอายุที่กำ�ลังเกิดขึ้น
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
รูปที่ 2 โครงการอบรมเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็ง แก่อาสาสมัครในการเฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก ในผูส้ ูงอายุ
รูปที่ 1 โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ โครงการสร้างความ ตระหนักในวัยหนุ่มสาวในการดูแลสุขภาพ ช่องปากผูส้ ูงวัย
ทำ�อะไรไปแล้วบ้าง…
เชิญชวนทีมงานในเครือข่ายร่วมกันพัฒนาต้นแบบ การสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่างๆเพือ่ เป็นโครงการ นำ�ร่อง สร้างองค์ความรูแ้ ละเป็นการสร้างภาคีเครือข่าย ผู้ดำ�เนินงานสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ทำ�ให้เกิดโครงการต่างๆดังนี้ 1 โครงการการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศสุขภาพ ช่องปากผู้สูงอายุระดับตำ�บล โดยเน้น การศึกษาความ สัมพันธ์สขุ ภาพช่องปากกับโรคเบาหวานเชิงพืน้ ที่ จัดทำ� เป็นข้อมูลภูมิสารสนเทศที่แสดงถึงความสัมพันธ์นี้เพื่อ ใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาสุขภาพช่องปากและ สุขภาพในระดับตำ�บล โดยเป็นโครงการของคณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับนักพัฒนา ระบบข้อมูลสารสนเทศ และ นักวิชาการสาธารณสุข 48
ศูนย์สง่ เสริมสุขภาพตำ�บลทาปลาดุก อำ�เภอแม่ทา จังหวัดลำ�พูน 2. โครงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผล ทางคลินกิ กับคุณภาพชีวติ ของผูส้ งู วัยทีม่ รี อยโรคช่องปาก เป็นโครงการของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ร่วมกับแผนกทันตกรรม โรงพยาบาลสระบุรี คาดว่า จะได้แนวปฎิบัติในการดูแลผู้สูงวัยที่มีรอยโรคช่องปาก โดยใช้เลเซอร์โดยเฉพาะอย่างยิง่ รอยโรคก่อนมะเร็ง โดย ใช้ข้อมูลทางคลินิก และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก เพือ่ สะท้อนความพึงพอใจในการรักษา และปัจจัยต่างๆที่ เกี่ยวข้อง 3. โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปาก ของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้บางส่วนหรือช่วยเหลือ ตนเองไม่ได้ โดย ทีมอาจารย์จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 4. โครงการ การดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนือ่ งใน กลุม่ ผูส้ งู อายุทรี่ กั ษาโรคเรือ้ รัง โดย ทีมงานจาก ภาควิชาการ พยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ โดยทำ�การพัฒนาแนวปฏิบัติสำ�หรับพยาบาล ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ (Clinical Nursing Practice Guideline, CPG) นำ� CPG ไปทดลองใช้ในผูป้ ว่ ย สูงอายุโรคเรือ้ รัง ทีเ่ ข้ารับการรักษาในหอผูป้ ว่ ยอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ พัฒนาระบบการ สือ่ สาร เพือ่ ให้ผสู้ งู อายุน�ำ กลับไปปฏิบตั ทิ บี่ า้ น และจัดการ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ฝึกอบรมพยาบาลในหอผู้ป่วยเพื่อให้เข้าใจแนวปฏิบัติ สำ�หรับพยาบาลในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
มีอะไรที่เป็นความแตกต่าง
เครือข่ายนี้อยากสร้างกระแสเพื่อสร้างความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงวัยแก่วัยหนุ่มสาวผ่าน กิจกรรมต่างๆ เพราะต่อไปผูส้ งู วัยจะมีจ�ำ นวนมากขึน้ และ คนทีก่ ำ�ลังทำ�งานดูแลผูส้ งู วัยอยูใ่ นปัจจุบนั ก็กำ�ลังทยอย เปลีย่ นสถานะเป็นผูส้ งู วัยเสียเอง จึงต้องสร้างคนรุน่ ใหม่ ให้เกิดความตระหนักและมาช่วยกันดูแลสุขภาพช่องปาก แก่ผู้สูงวัย จึงเกิดโครงการนำ�ร่องในกลุ่มเยาวชนได้แก่ 1. โครงการนำ�ร่อง โครงการประกวดหนังสัน้ ภายใต้ หัวข้อ “ยิ้มต่างวัย หัวใจเดียวกัน” ระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ในสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ของ กลุ่มนักศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ ม เชียงใหม่ 2. โครงการ “เยาวชนจิตอาสา ร่วมใจพัฒนา สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ” กิจกรรมในกลุ่มเยาวชนใน ชุมชน เทศบาลตำ�บลบ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย 3. โครงการ “ชุมชน...คนปากดี” กิจกรรมในกลุ่ม เยาวชนและผูส้ งู อายุในชุมชน สันดอนรอง อ.เมือง จ.ลำ�พูน 4.โครงการ “สองวัยฝัน สร้างสรรค์ความอบอุ่น” กิ จ กรรมในกลุ่ ม เยาวชนในชุ ม ชน เทศบาลตำ � บล อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
จัดประชุมวิชาการ เน้นสหสาขาวิชาชีพ และนำ� เสนอประเด็นใหม่
เครือข่ายฯจะจัด symposium ในการประชุมวิชาการ ชมรมทันตสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ประจำ�ปี 2554 ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 เพือ่ ระดมสมองผูเ้ ชีย่ วชาญ คณะทำ�งานเครือข่ายฯ ทีมสหสาขาวิชาชีพเพือ่ จุดประกาย แนวคิดงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากผูส้ งู อายุ เรือ่ ง “บูรณาการ การดูแลสุขภาพช่องปากในระบบการดูแลผูส้ งู อายุระยะยาว” ผูร้ ่วมเสวนาได้แก่ รศ.ดร.ดวงฤดี ลาศุขะ นายกสมาคม พยาบาลผูส้ งู อายุ อ.ทพญ.ดร. มัทนา เกษตระทัต คณะ ทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทพญ.ชนม์ วรินทร์ ใจเอือ้ กลุม่ งานทันตกรรม โรงพยาบาลประสาท
49
รูปที่ 3 โครงการพั ฒ นารู ป แบบการดู แ ลสุ ข ภาพ ช่องปากของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ บางส่วนหรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เชียงใหม่ และวิทยากรรับเชิญพิเศษ จาก University of British Columbia ประเทศแคนาดา ดำ�เนินการโดย รศ..ดร.ทพญ.พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์ คณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจะมีการนำ� เสนอผลการศึกษาจากโครงการต้นแบบทั้ง 4 โครงการ
สื่อถึงประชาชน
เครือข่ายฯสนใจที่จะพัฒนากระบวนการสื่อสาร เพื่อสร้างกระแสสร้างความตระหนักในความสำ�คัญของ สุขภาพช่องปากผู้สูงวัยในประชาชน จะจัดทำ�สารคดีสั้น ความยาวไม่เกิน 2 นาที แบ่งออกเป็น 4 ตอน โดยเน้น สื่อสารด้วยภาษา และภาพที่เข้าใจง่าย ประชาชนทั่วไป ทุกระดับสามารถเข้าใจได้ สามารถนำ�ไปปรับใช้เป็นสื่อ การสอน สื่อประชาสัมพันธ์ สารคดีความรู้ที่สามารถ Download หรือชมได้ทางอินเตอร์เน็ต
จะทำ�งานไปอีกนานแค่ไหน
ทัง้ หมดทีเ่ ล่ามา จะดำ�เนินการให้เสร็จภายในธันวาคม นี้ อนาคตต่อไปยังไม่ทราบว่า จะได้งบประมาณส่วนใดมา สานต่อ แต่โครงการนำ�ร่องต่างๆ น่าจะสามารถสื่อสาร ไปยังผู้สนใจเพื่อนำ�ไปดำ�เนินการ หรือพัฒนาต่อไป เพื่อ สร้างเสริมให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดี เพื่อนำ�ไปสู่ สุขภาพกาย สุขภาพใจและคุณภาพชีวิตที่ดี
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
และ
น้
ความไว้วางใจ
โดย ทพญ.มยุเรศ เกษตรสินสมบัติ รพช.ปัว จ.น่าน
องๆทันตบุคลากรหลายคนไปทำ�งานแล้วเครียด ไม่มคี วามสุข บางคนมีเรือ่ งกับผูร้ ว่ มงาน บางคนมีเรือ่ งกับผูป้ ว่ ย และญาติ บางคนเบาหน่อยก็แล้วๆกันไป แต่บางคนถึงขนาดชุมชนยื่นคำ�ขาดกับแพทย์ใหญ่ที่สสจ. ถ้าไม่ย้าย หมอคนนี้ออกจากพื้นที่ จะเดินขบวนไล่ ทำ�ไมละ! สิ่งที่จะนำ�มาเล่าสู่กันฟังนี้มาจากคำ�บรรยายของท่านอาจารย์นพ. บุญยงค์ วงค์รกั มิตร อดีตผูอ้ �ำ นวยการโรงพยาบาลน่าน หรือท่านผูใ้ หญ่ใจดีมเี มตตาต่อพวกเราชาวสาธารณสุขและชาวน่าน ตลอดมา ท่านกล่าวไว้วา่ เป็นเพราะปัจจุบนั นี้ ความสัมพันธ์ระหว่างผูป้ ระกอบวิชาชีพกับผูร้ บั บริการได้มกี ารเปลีย่ นแปลงไป จากความสัมพันธ์เชิงไว้วางใจ มาเป็นความสัมพันธ์ทางกฏหมายหรือ Contract จากแต่เดิมฝากผีฝากไข้ไว้กบั หมอ แต่เดีย๋ วนี้ หมอทำ�ตามแนวทางปฏิบตั ทิ เี่ รียนมา แต่ผลออกมาไม่เป็นไปอย่างทีค่ นไข้หวัง ก็อาจถูกพิพากษาทางกฎหมายได้ ท่านอาจารย์ บุญยงค์ทา่ นได้แนะนำ�”คาถา “ทีผ่ ใู้ ห้บริการด้านสุขภาพในโรงพยาบาลทุกระดับควรจะยึดถือ จริงๆแล้วเป็นของทีม่ มี าแต่ดงั้ เดิม ซึ่ง เพราะ ดี และเรียบง่าย นั่นคือ กฎเสนาบดีว่าด้วยข้อปฏิบัติ สำ�หรับผู้ประกอบโรคศิลป์ ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติ การแพทย์ เมือ่ พ.ศ 2472 ซึง่ ระบุไว้วา่ 1.ปฏิบตั หิ น้าทีอ่ ย่างเต็มความสามารถ 2.ปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ยความระมัดระวัง ไม่ประมาท 3. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความหวังดีต่อคนไข้และญาติ ถ้าท่านทำ�สามอย่างนี้ ยังมองไม่ออกว่าจะเกิดข้อฟ้อง ร้องได้อย่างไร เราต้องสร้างความสัมพันธ์ให้ผปู้ ว่ ยชอบ แล้ว จะเชื่อ เมื่อเชื่อแล้วจะทำ�ตาม ขอให้เราทบทวนว่าพฤติกรรม สีหน้าท่าทาง และวาจาที่พวกเราใช้กันอยู่นั้น ทำ�ให้เขาชอบ หรือไม่ หรือเป็นไปในทางตรงกันข้าม ถ้าเขาไม่ชอบแล้วจะ ทำ�ให้เขาเชื่อและทำ�ตามได้อย่างไร เราทันตบุคลากรเรามี โอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนไข้ได้ตลอดกระบวนการ รักษาตั้งแต่การตรวจคัดกรอง จนกระทั่งอธิบายก่อนผู้ป่วย กลับบ้าน อยากตระหนี่คำ�พูด การพูดคุย สร้างบรรยากาศ เป็นกันเอง ทำ�ให้ผปู้ ว่ ยรูส้ กึ เป็นพวกเดียวกัน เคยสังเกตไหมว่า “ทำ�ไม คุณหมอท่านนี้ถึงมีคนไข้ติดเยอะจัง” แต่บางคนก็ไม่ ค่อยมีคนค่อยอยากไปรักษาด้วย เคยได้ยนิ ไหม “หมอคนนัน้ เก่งนะแต่ไม่มีใครชอบเขา” นอกจากนี้ ท่านอาจารย์บุญยงค์ ท่านยังได้แนะนำ�ให้ เรามองผู้ป่วยเป็น “ครู” และเป็น “คน” มองว่าผู้ป่วยเป็นคนเหมือนเรา มีความรู้สึกหิว รู้สึกโกรธ เหมือนเรา ธรรมบทที่ว่า “อัตตานัง อุปมัง กเร” เขามนุษย์ เรามนุษย์ ถ้าเป็นพ่อเรา พี่เรา น้องเรา เราควรปฏิบัติต่อ เขาอย่างไร เรามักมองเพื่อนมนุษย์เป็นคนป่วย เหมือน ข้าราชการมองเพื่อนมนุษย์เป็นประชาชน ทำ�ให้ระดับความ เป็นมนุษย์แตกต่างกัน 50
มนุษย์ไม่อยากถูกดูถกู ดูแคลน ถูกข่มเหงรังแก อยากให้ เพื่อนมนุษย์มองเราในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ถ้ามองเขา เป็นคนก็ได้ชยั ชนะมาครึง่ หนึง่ ถ้ามองเขาเป็นครูกไ็ ด้ชยั ชนะ มาเต็ม ถ้าเรามองเห็นผูป้ ว่ ยเป็นคนและครู วิธปี ฏิบตั ติ อ่ ผูป้ ว่ ย จะเปลี่ยนไป เปลี่ยนเป็นดูแบบองค์รวมมากขึ้น มีความสุข มากขึ้นเพราะผู้ป่วยแต่ละคนก็จะสอนบทเรียนที่แตกต่าง กันให้เรา เราก็จะเก่งขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยแต่ละคนมีพระคุณ ต่อเรา ด้วยสัมมาทิฐิเหล่านี้ :ทำ�หน้าที่ให้สมกับที่เราได้รับ ความไว้วางใจจากผูป้ ว่ ย, ปฏิบตั ติ ามกฏเสนาบดี, สร้างความ สัมพันธ์ให้เกิดความชอบ เชื่อ และทำ�ตาม, มองผู้ป่วยเป็น ทั้ง”คน” และ”ครู” หากทำ�ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และนำ�ไป สู่การปฏิบัติ เราจะได้มากกว่าสิ่งที่ให้มากมาย และจะผ่อน บรรเทาเหตุการณ์จากหนักเป็นเบาได้เสมอ ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอบุญยงค์ ที่ท่านได้ให้ ข้อคิดดีๆแก่ผเู้ ขียนเสมอมาตัง้ แต่จบการศึกษามาทำ�งานทีน่ า่ น จนถึงปัจจุบนั เวลาไม่สบายใจอะไรได้ฟงั หรือได้อา่ นข้อคิดจาก ท่านอาจารย์มักจะมีทางออกเสมอ บทความนี้เห็นว่าเข้ากับ สถานการณ์พวกเราชาวทันตสาธาณสุขจึงขออนุญาตมาเผยแพร่ ต่อคะ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
จุดประกายความคิด:ในเหตุการณ์นํ้าท่วมใหญ่ ปี 2554 โดย ทพญ.ดร.มัทนา เกษตระทัต หมอและพยาบาลอาสาประจำ�อยูท่ หี่ น่วยปฐมพยาบาล.......เภสัชกรอาสาช่วยกันผสมยาแก้โรค นํา้ กัดผิวหนัง วิศวกรช่วยกันสร้างและซ่อมทีก่ นั้ นํา้ ........สถาปนิกออกแบบอุปกรณ์ยงั ชีพและแนะนำ�วิธปี อ้ งกัน นาํ้ เข้าบ้าน นักวิทยาศาสตร์ประกาศสอนทำ�ทีช่ าร์ตแบตเตอร์รจี่ ากพลังงานแสงอาทิตย์...สัตวแพทย์ ออกช่วยดูแลสัตว์เล็กใหญ่ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา ออกปลอบขวัญผู้ประสบภัย นักศึกษาทันตแพทย์กลุม่ หนึง่ เข้าไปทีห่ น่วยปฐมพยาบาลของ ศูนย์ดแู ลผูป้ ระสบภัยเพือ่ อาสา เข้าช่วย แต่กลับพบว่าไม่ได้ช่วยอะไรเลย ทั้งกลุ่มตัดสินใจออกเดินทางเข้าพื้นที่ไปบรรจุและขน กระสอบทราย เพื่อนๆพี่เหลือกระจายตัวกันช่วยอำ�นวยความสะดวกผู้ประสบภัยในโรงครัวและ จัดการกับของบริจาค บ้างก็ชว่ ยออกเรีย่ ไรเงินเพือ่ มาทำ�ส้วม ชัว่ คราว อาจารย์ทนั ตแพทย์เองก็ออกไปเย็บกระสอบและขน หนังสือออกจากห้องสมุด เหตุการณ์นี้ทำ�ให้เห็นได้ชัดว่า หมอฟันที่อาจทะนงตน ตลอดมาว่าฉันเป็น “หมอ” เมื่อถึงเวลาเช่นนี้หมอฟันก็คือ คนธรรมดา คนธรรมดาที่เลือกจะทำ�เพื่อส่วนรวม หรือคน ธรรมดาที่จะมีตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลกต่อไป ส่วนตัวเชื่อว่าในหลายๆพื้นที่ ทันตบุคลากรของเราก็ เข้าไปช่วยเหลืออย่างเต็มกำ�ลัง แต่กอ็ ดคิดไม่ได้วา่ แล้วเราสามารถทำ�อะไรได้ในฐานะทีเ่ ป็นทันตบุคลากร หรือไม่ เอาแปรงสีฟนั ยาสีฟนั ไปแจก ……ทำ�อะไรได้อกี …. ถ้ามีคนตายเราพิสจู น์ศพได้ … แล้วทำ�อะไรได้ อีก [แล้วความคิดก็เงียบไป] แต่เมือ่ คิดอีกทีถา้ เรามีความสัมพันธ์อนั ดีกบั บุคลากรสายสุขภาพสาขาอืน่ ๆ ทำ�งานกันเป็นทีม มาอยู่แล้ว เราน่าจะทำ�อะไรที่เกี่ยวกับสุขภาพได้ดีทีเดียว...อะ … ประสานงาน … จัดระบบ .....ว่า แต่สมรรถนะที่จ�ำ เป็นเหล่านี้เราได้สอนกันในโรงเรียนทันตแพทย์หรือทันตาภิบาลหรือไม่ ....หรือว่า ทำ�ฟันเป็นอย่างเดียว อย่างมากก็วัดความดันได้ ทำ� CPR ได้ (ได้จริงมั้ย).....อันนี้น่าคิด หรือว่าไม่เป็นไร ให้ไปเรียนกันดาบหน้าเมื่อทำ�งานในพื้นที่กันเอง แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่ามีทันตบุคคลากรสักเท่าไหร่ที่วันๆมา ทำ�งานในห้องฟัน แบบตั้งรับไปวันๆแล้วก็กลับบ้านไม่ได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะการประสานงานหรือ จัดระบบเท่าไหร่ เหล่านี่ล้วนเป็นคำ�ถามที่เกิดขึ้นในใจช่วงสองสามวันแรกที่เกิดวิกฤตนํ้าท่วม ขณะเดียวกันที่ รพ.ก็ยังคงเปิดให้บริการ ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดในช่องปากและต้องการได้รับการรักษากรณีฉุกเฉิน ก็ยังมา กันแน่นคลินิก ทำ�ฟันก็สำ�คัญ …แต่สิ่งที่จะทำ�ให้ “หมอ” เป็น “คนเต็ม” รึเปล่านั้น มันคืออะไร และคุณได้ทำ�สิ่งนั้นแล้วหรือยัง... มันก็คงเท่านั้นเอง คิดเอาเองเป็นการสรุปว่า เราจงทำ�หน้าที่ของเราให้ดีที่สุด โดยมีคำ�ตอบสองทางคือ 1. ทำ�ให้ได้อย่างที่ใจต้องการ จะเป็น “หมอ” เป็นแพทย์ช่องปาก เป็นนักบริหารสายสุขภาพ ก็จงเป็นให้ได้ดี และ เป็นที่รัก ของคนรอบข้าง หรือไม่ก็ 2. รู้ตัวเองว่าไอ้เรามันก็ตัวเล็กๆ มีหน้าที่เป็นจิกซอว์ตัวหนึ่งในสังคม เรามีค่าและสำ�คัญ เราทำ�ประโยชน์ได้ แต่อย่าทะนงตน หลงระเริงในศักดิ์ศรีของตน อย่าไปเบียดเบียนข่มคนอื่นไม่ว่าจะคนไข้หรือผู้ร่วมงาน เหตุการณ์นี้ทำ�ให้เราเห็นได้เลยว่า จริงๆแล้ว … ตกลงเราคือใครทำ�อะไรได้บ้างกันแน่ 51
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
โปรดติดตาม...ฉบับหน้า
52
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
เครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ www.oha-th.com @ เชียงใหม่
โปรดติดตาม...ฉบับหน้า
53
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
กิจกรรมแผนงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ www.oha-th.com
...Routine to Research Excellence... วันที่ 29-30 กันยายน 2554 ที่โรงแรมริชมอนด์ ทันตแพทย์ตัวน้อยๆอย่างเราได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรม ที่น่าสนใจมาก จัดโดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพผู้พิการ และเป็นการจุดประกายจาก ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ ผู้ช่วยบริหารยุทธศาสตร์ สสพ. เพื่อพัฒนาศักยภาพ ของเครือข่าย นั่นคือหัวข้อ R2R2E โดย รศ.นพ.สมชาติ โตรักษา จากม.มหิดล มีเครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ มาจากหลากหลายหัวเมืองของประเทศ มองไปทางซ้ายจะ เห็นทัพเมืองเชียงราย นำ�ทัพโดย ทพญ.รพินท์ อบสุวรรณ, ด้ า นหน้ า เป็ นด่ า นเมื อ งน่ า น ทพญ.สุ รีรั ต น์ สู ง สว่ า ง, ทพ.ขวัญชัย เทพหล้าเมืองละปูน, ออกไปทางทิศเฉียงๆ เป็นทพญ.มัณฑนา ฉวรรณกุล ราชบุร,ี ข้างๆประชิดตัวด้วย ทพญ.เยาวพา จันทรบุตร จากร้อยเอ็ด, คุณสิรกันยา สิงห์ศรี จากธาตุพนม กระจายล้อมรอบด้วยภาคใต้ ทพญ.พรทิพย์ แก้วประดิษฐ์ สงขลา ,คุณฑัณฑิกา สุขจันทร์ จากระโนดและ อีกหลายท่านที่ยังไม่ได้เอ่ยนาม รวมๆแล้วมากกว่า 50 คน ในห้องเรียน แบบนี้เนื้อหาวันนี้คงจะเข้มข้นน่าดู ทุกคนดูมี ความมุ่งมั่น มาพร้อมข้อมูลเต็มมือกับความตั้งใจเต็มร้อยที่ จะมาเขียนผลงานวิชาการ โดยอาศัยหลักการทำ�งานประจำ� ให้เป็นงานวิจัยที่อาจารย์จะถ่ายทอดให้กับพวกเราในวันนี้ เห็นแบบนี้เราต้องตั้งใจเรียนซะแล้ว เพื่อจะได้รับวิชากลับ ไปพัฒนางานตนเอง 54
ตอนช่วงแรกนั่งเกร็งน่าดู เพราะคิดว่าเนื้อหาคงจะ ละเอียดและวิชาการมาก แต่จริงๆแล้ว รศ.นพ.สมชาติ โตรักษา วิทยากรของเรานั่น ท่านเป็นผู้มีอารมณ์ขันมาก และสามารถมองภาพรวมของทุกคนว่ามีพื้นฐานไม่เท่ากัน จึงเป็นการสร้างทัศนคติท่ีดีให้กับการสร้างสรรค์ผลงาน วิชาการ ใจความสำ�คัญขององค์ความรูเ้ รือ่ ง R2R นัน่ มีหลัก การหลายเรื่อง แต่ท่านวิทยากรก็ได้เน้นว่า ลักษณะของ R2R แท้และดี มี 5 ประการ 1. เป็นงานในอ้อมแขน คนอื่นทำ�แทนไม่ได้ (ตั๊กแตน ชลดา) คือเป็นที่เราทำ�เองและเป็นความจริง (Routine & Fact)
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
2. เกิดการพัฒนาที่มีหลักฐานยืนยัน (Evident Based Development / Improvement) 3. ใช้ระยะเวลาการดำ�เนินงานอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 1 ปี (Long time Continuous Implement) 4. เป็นผลงานวิจัยที่มีคุณค่ากับทุกฝ่าย (Valuable Research For All) 5. ถูกต้องตามหลักของกระบวนการวิจัย (Correct to Research Methodology) ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นสุดท้าย ที่ให้ความสำ�คัญ (ไม่งั้นก็ขาดความน่าเชื่อถือนะสิ) งานประจำ�สำ�คัญที่สุด เพราะเป็นงานที่เราทำ�มา ต่อเนื่องยาวนาน เป็นงานที่ทำ�ให้เรามีงานทำ� คำ�ถาม: ท่านทราบหรือไม่ว่าตนเองทำ�งานใน 1 ปี ทั้งหมดประมาณกี่งาน คำ�ตอบ: ทุกคนอาจจะไม่เคยนับแต่วทิ ยากรได้ศกึ ษา หาข้อมูลแล้วพบว่างานทันตกรรม1 ปีที่เราทำ�นั่น หากเป็น โรงพยาบาลขนาดเล็กนั้น มีมากกว่าหมื่นงาน (โอ้โห) การหยิบจับงานไหนขึน้ มาทำ�นัน้ แนะนำ�ว่าการทำ�วิจยั อาจจะยากในครั้งแรก แต่จะยากน้อยลงในการทำ�ครั้งต่อๆ มา ดังนั้นการเลือกเรื่องที่จะเขียนเป็นผลงานวิจัย R2R เรื่องแรกๆ ของเรา จึงควรเลือกงานที่เราที่ได้ทำ�ไปแล้วมี ความสุขและภาคภูมิใจทุกครั้งที่นึกถึง นำ�มาเขียนก่อน เพื่อให้เกิดพลังใจในการที่เขียนงานวิจัย แล้วค่อยพัฒนา งานประจำ�ที่มีอยู่ไปสู่การพัฒนาให้ดีกว่าเดิมในอนาคต... 55
ความสุขอยู่ที่ไหน ความสำ�เร็จอยู่ที่นั่น เย้! ท่านวิทยากรยังได้กล่าวว่า พวกเราทำ�วิจยั มาแล้วหลายเรือ่ ง ในแต่ละวันของการทำ�งาน เพียงแต่ไม่ได้หยิบมาเขียนผลงาน วิจยั ทีเ่ ปีย่ มไปด้วยคุณภาพ หากยังไม่ทราบว่าจะเขียนอะไร ให้ตั้งคำ�ถามกับตนเองไว้ว่า “เราจะทำ�งานประจำ�ของเรา ให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไรภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่” หรือ “ผลการดำ�เนินงานของเราที่ผ่านมายังมีเรื่องใดที่ไม่ดีเท่าที่ ผู้เกี่ยวข้องคาดหวังและต้องการ” ซึง่ ผลสุดท้ายแล้วบรรยากาศของการอบรมเต็มไปด้วย เสียงหัวเราะและรอยยิม้ ขำ�ขันฮาเฮ ทัง้ ตัววิทยากร ผูจ้ ดั และ ผูเ้ ข้าร่วมได้รว่ มกันสร้างบรรยากาศแห่งความสุข เป็นจุดเริม่ ต้นสร้างความสุขในการทำ� R2R ซึง่ สิง่ ทีท่ กุ คนได้รบั ในวันนี้ ก็จะกลับไปส่งต่อให้กบั ผูร้ บั บริการและองค์กรต่อไปแน่นอน ค่ะ (รายงานโดย เด็กเส้น )
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
“วันนี้ ป้อนข้าว
น้อยๆ ก็ได้มั้ง”
วั
นแรกทีฉ่ นั ได้ไปเยีย่ มบ้านคนพิการในเขตอำ�เภอปากท่อ ภาพแรกทีเ่ ห็นจากบ้านของหนุม่ เสกทำ�ให้ฉนั อึง้ ไปเล็กน้อย หนุม่ ไทยวัยคะนองตัวหงิกงอไถไปมาตามพืน้ บ้าน ดูเป็นภาระทีห่ นัก อึ้งของพ่อแม่ที่นับวันจะเฒ่าชะแลแก่ชราขึ้น ทุกวัน แม่เล่าว่า ต้องพลิกตัวลูกเข้าเสื่อแล้วลากออกมาอาบน้ำ�นอกบ้านทุกวัน เหนื่อยมากนะ บางครั้งก็ลากไม่ไหว นึกในใจว่าวันนี้ป้อนข้าว น้อยๆก็ได้มั้ง ตัวจะได้เบาขึ้นหน่อย จึงให้ลูกกินข้าวนิดเดียว แต่พ่อมันรู้ มองหน้าลูกแล้วถามแม่ว่าทำ�ไมลูกหน้าจ๋อยๆ ดู จืดจริงวะ แม่กลัวโดนเอ็ดก็รีบบอกพ่อว่าลูกกินข้าวอิ่มแล้ว นะ เธอเล่าไปก็หัวเราะไป ทำ�ให้คณะเยี่ยมบ้านอย่างพวก เราหัวเราะไปด้วย.... ฉันรู้สึกได้ถึงความรักอันยิ่งใหญ่ของ พ่อแม่ แม้ลูกจะพิการแค่ไหน อย่างไรก็เป็นลูกรัก ....ฉันขอให้แม่สาธิตการเคลื่อนย้ายลูกให้ดูเผื่อมีอะไรที่ ฉันพอจะช่วยได้บ้าง แม้ฉันยังไม่มีวิธีจะช่วยได้ในเวลานั้น แต่ เชือ่ ว่าอย่างน้อยรูปทีฉ่ นั ใช้เครือ่ งหยุดเวลาเก็บภาพมาน่าจะทำ� ประโยชน์แก่ครอบครัวของหนุม่ เสกได้บา้ ง แม่สาธิตการเคลือ่ นย้าย ลูกให้ดดู ว้ ยความเต็มใจ ฉันขอลองทำ�ดูบา้ ง โอ เป็นงานทีห่ นักจริงๆ ฉันลากไม่ไป ฉันถามแม่วา่ แปรงฟันให้หนุม่ เสกอย่างไร แม่ตอบว่า หมอที่
อนามัยก็ให้แปรงมา แต่ไม่ได้ใช้เพราะลูกสำ�ลัก ฉันจึงขออนุญาต ตรวจฟัน พบว่ามีฟนั ผุมากมาย ถ้าหนุม่ เสกพูดได้ คงบอกไปแล้ว ว่าปวดฟัน ฉันชีใ้ ห้แม่และทันตาภิบาลทีร่ บั ผิดชอบพืน้ ทีน่ นั้ ดูฟนั ของหนุ่มเสก แล้วขอสาธิตวิธีแปรงฟันแบบไม่ต้องบ้วนปากให้ดู แม้หนุม่ เสกจะมีรา่ งกายทีเ่ กร็งโยกไปมา แต่กใ็ ห้ความร่วมมือเป็น อย่างดี เมื่อฉันให้แม่มาลองทำ�ดู ฉันจับมือแม่ทำ� ฉันได้พบภาพ ที่ประทับใจอีกครั้ง หนุ่มเสกโยกหัวไปซุกตักแม่ เมื่อฉันหยุดแปรง เขาก็เอามือมาเขี่ยๆ คล้ายจะบอกว่าเอาอีก แปรงฟันให้อีกสิ ฉันแอบคิดในใจว่าถ้าฉันไม่ได้มาเยี่ยมบ้าน หนุ่มเสกคงจะไม่ได้แปรงฟันเลย ต่อไปก็จะปวด โชคร้ายก็จะบวม ทรมานแย่ แม่อาจจะคิดว่าป้อนข้าวลูกน้อยๆเพื่อลูกจะได้ไม่ปวดเวลากินข้าว แทนที่จะคิดป้อนข้าวให้น้อยลงเพื่อลดน้ำ�หนักของลูก ...... คุณล่ะ คิดอยากให้แม่ควรป้อนข้าวลูกอย่างไรดี ? 56
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
คุยกับพี่เจน
ตอน
“บ้านสนุก”
โรงงานของมูลนิธิบ้านสมานใจ ในโอกาสทีเ่ ครือ่ ข่ายทันตบุคลการทีท่ �ำ งานกับผูพ้ กิ าร หลายๆท่าน จะไปเยีย่ ม’บ้านสนุก’ ระหว่างการประชุมวิชาการ ของชมรมทันตสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ในเดือนพฤศจิกายน นี้ พีเ่ จนเลยอยากจะขอประชาสัมพันธ์ เกีย่ วกับ “บ้านสนุก” ให้พวกเราได้เข้าใจไว้เป็นเบื้องต้น ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง คำ�กล่าวของหลายๆท่านที่ได้เคยไปเยี่ยมเยือน ผู้คุ้นเคย ผู้ทำ�งาน หรือเป็นอาสาสมัคร ที่พูดถึง “บ้านสนุก” ไว้ “บ้านสนุกดำ�เนินงานเพือ่ ให้สงั คมได้ตระหนักในคุณค่าของ ผูพ้ กิ าร ได้พยายามให้สงั คมเห็นว่า หากสังคมให้โอกาสผูพ้ กิ าร เขาสามารถสร้างงานได้เหมือนกับบุคคลธรรมดาทั่วไป” ประธานมูลนิธิบ้านสมานใจ “บ้านหลังหนึง่ ทีม่ หี ลายคน หลายครอบครัว แม้จะอยูค่ นละ บ้านก็ตาม บ้านนี้ชื่อ มูลนิธิบ้านสมานใจ เพราะว่าบ้านนี้มีรัก และความหมายของบ้านนี้ คือ ความรักกับผูกพัน” พี่ตู่หนึ่งในศิลปินบ้านสนุก “มีแขกทีแ่ วะมาเยีย่ มเยียนเราแต่ละเดือนเป็นจำ�นวนไม่นอ้ ย ทั้งที่มา เป็นประจำ�อย่างสมํ่าเสมอ เช่น นักเรียนจากโรงเรียน และทีม่ าโดยการบอกเล่าต่อ ๆ กันเพือ่ สนับสนุน ช่วยซือ้ ผลงาน ของศิลปินของเรา ส่วนที่เราอยากต้อนรับเป็นพิเศษนอกเหนือ จากคณะนักเรียนแล้วก็คือ คณะบุคคลหรือองค์กรที่ประสงค์ มาดูงานของเรา แม้วา่ มูลนิธฯิ เราจะมิหาญกล้าทีจ่ ะกล่าวว่าเป็น องค์กรสาธิตให้องค์กรอื่น ๆ ดูเป็นตัวอย่างเพื่อนำ�ไปทำ�งาน เพื่อคนพิการในที่ต่าง ๆ แต่นี่คือ ความปรารถนาที่เป็นแรงดล บันดาลใจของเรา มิใช่ดว้ ยเหตุผลว่างานทีเ่ ราทำ�อยูน่ นั้ วิเศษเลิศ 57
ประเสริฐศรี ตรงกันข้ามมีขอ้ บกพร่องอยูม่ ากมาย แต่เราขอปวารณา ทีจ่ ะเป็นคูส่ นทนา แลกเปลีย่ นประสบการณ์และข้อคิดในงานเพือ่ คนพิการ” พ่อของศิลปิน “ในบางโอกาส บางคนก็อาจจะลองเลียบๆเคียงๆถามว่า “ทำ�ไมถึงมาเป็นอาสาสมัครอยู่ที่นี่?” “ทำ�งานที่นี่ไปเพื่ออะไร?” “คุณคิดว่าคุณช่วยเด็กพวกนี้ได้จริงๆหรือ?”เราคงไม่สามารถมี คำ�ตอบที่น่าพอใจต่อคำ�ถามเหล่านี้ได้ทั้งหมด และบางคำ�ตอบ ก็คงไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำ�พูด แต่เรามักจะตอบง่ายๆ ว่า “เราไม่อยากเรียกเขาว่าผู้พิการแต่เรียกว่าศิลปินต่างหาก” “เราเชือ่ ในการแบ่งปันความสุขแก่กนั ” “เราสนุกมากทีไ่ ด้ท�ำ งาน กับเหล่าศิลปินเหล่านี”้ นีค่ อื เหตุผลทีเ่ ราเรียกทีท่ �ำ งานของเราว่า “บ้านสนุก” และชื่อของมูลนิธิฯก็มาจากแนวคิดทำ�นองเดียวกัน คือ เรามาช่วยกันบรรเทาทุกข์ และความทุกข์นั้นสร่างซาได้เมื่อ เรามาร่วมใจกัน” อาสาสมัครชาวญี่ปุ่น “ห้าปีที่ลูกได้เรียนรู้และสร้างสรรค์ศิลปะบนผืนผ้านามว่า ซาโอริ (ทอผ้าแบบไร้พรมแดน) เป็นชิ้นงานที่พิเศษและมีคุณค่า ทุกผืนทีป่ รากฏออกมาคือความสมบูรณ์แบบในตัวมันเอง สิง่ ทีล่ กู และศิลปินน้อยใหญ่สร้างสรรค์คืองานที่ทำ�ด้วยใจ ทำ�ด้วยความ สุข สนุกสนานไปพร้อมกับเสียงเพลง ลีลาที่ทุกคนได้ช่วยกัน แต่งเติมสีสันลงไปบนผืนผ้า เรียงร้อยแต้มแต่งด้วยสีที่พึงพอใจ จะในรูปแบบไหนไม่จำ�กัด เพราะนั่นคือ สิ่งที่ศิลปินทุกคนได้ สรรค์สร้างขึ้น” แม่ของศิลปิน
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
“มูลนิธิบ้านสมานใจเป็นแบบอย่างการรวมพลัง ของพ่อแม่ ซึ่งหายากมากในปัจจุบัน” ศาสตราจารย์แพทย์หญิงที่ทำ�งาน กับผู้ปกครองเด็กพิการ “บ้านสมานใจไม่เป็นเพียงตัวอย่างให้แค่สงั คม แต่ เป็นตัวอย่างให้กบั สังคมทัง้ ประเทศ ทัง้ โลก ซึง่ สามารถ มารถศึกษาดูงานและเป็นตัวอย่างได้” ข้าราชการผู้รับผิดชอบเรื่องเด็กพิการ “บ้านสมานใจ เป็นบ้านที่มีความอบอุ่น รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ทุกคนเอื้ออาทรต่อกัน ส่งเสริมผู้พิการ ให้มีงานทำ�หรือได้ร่วมทำ�กิจกรรมต่างๆด้วยกัน ดึง ศักยภาพทีซ่ อ้ นอยูใ่ นแต่ละบุคคลออกมากับสีสนั บนผืนผ้าทีง่ ดงาม ทุกคนอยูร่ ว่ มกันด้วยความเป็นสุขใจ แม้บา้ นสมานใจจะเป็นเพียง บ้านหลัง เล็กๆหลังหนึ่งในสังคม แต่บ้านหลังเล็กหลังนี้ก็สร้าง คุณค่าอย่างมหาศาลให้เกิดกับทุกครอบครัวของผู้พิการและ ทุกคนทีร่ ว่ มงานกัน เพือ่ สานฝันคนพิการให้ปรากฏแก่สงั คมต่อไป” ครูผู้สอนในโรงเรียนเด็กพิการ “เมือ่ ไปถึงฉันเดินเข้าไปในบ้าน ฉันได้ยนิ เสียงทักทายสวัสดี และท่าทีที่ยิ้มแย้มจาก “ศิลปิน” ทุกคน ราวกับว่าฉันไม่ใช่คน แปลกหน้าสำ�หรับพวกเขา ทั้งๆที่ฉันเพิ่งมาที่นี่เป็นครั้งแรก” ผู้มาเยือน “สำ�หรับฉันแล้วบ้านสมานใจไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่ที่ ต้องการรับหรือให้เท่านั้น แต่ที่นี่เป็นสถานที่ที่ให้โอกาสฉันใน การเรียนรู้ที่จะ “แบ่งปัน” ความสุขให้แก่กันและกัน” อีกหนึ่งผู้มาเยือน “วันหนึ่ง ดิฉันอยากจะทอผ้าก็เลยขอร้องให้ศิลปินคนหนึ่ง ช่วยสอนวิธีทอผ้าให้ ทีแรกดิฉันคิดว่าไม่ยาก เพราะว่าแม้แต่คน พิการก็ทำ�ได้ แต่พบว่าลำ�บากกว่าที่คิด ดิฉันก็เลยไปดูศิลปินคน ที่ทอผ้าเก่งที่สุด หลังจากสังเกตสักพัก ดิฉันก็ลองทำ�ตามอย่าง เขาบ้าง โดยทอผ้าลายและสีเดียวกับคนนั้น ผ้าของดิฉันสวยค่ะ แต่เมื่อดูของคนอื่น ไม่มีใครที่ใช้สีเหมือนกันและลายเดียวกันเลย สักคน แสดงว่าทุกคนมีลกั ษณะเฉพาะของตัวเอง คือ ทุกคนเลือก สีเองและคิดลายเอง แต่ดฉิ นั เลียนแบบคนทีเ่ ก่ง ผ้าทีด่ ฉิ นั ทอก็เลย สวยแต่กลับรู้สึกว่าอายมาก”... นักศึกษาการศึกษาพิเศษชาวญี่ปุ่น 58
“ทุกๆครัง้ ทีด่ ฉิ นั เบือ่ ความวุน่ วายในกรุงเทพฯ ท้อแท้ เหงา เศร้า อะไรก็ตามที่อารมณ์และความวุ่นวายจะพาไปในด้านมืด และเมื่อมีโอกาสมาที่นี่ คุณเชื่อไหมว่าอัศจรรย์เกิดขึ้นจริงที่บ้าน หลังนี้ ที่เรียกว่า “บ้านสนุก” ใครหนอช่างตั้งชื่อได้เหมาะเจาะ และได้ใจเพียงนี้” ผู้มาเยือนประจำ� มูลนิธิบ้านสมานใจหรือบ้านสนุก บ้านแห่งนี้มีความรัก ความสนุก ความห่วงใยกันและกัน เป็นสังคมเล็กๆที่สำ�คัญมาก ของน้องๆทุกคน ขอให้มูลนิธิบ้านสมานใจอยู่เพื่อน้องๆทุกคน ตลอดไป พี่ใหม่ขอเล่าต่อค่ะ… พี่ตู่...เป็นพี่ใหญ่ทำ�หน้าที่คอยดูแลทุกคน เมื่อครั้งที่ติงลี่ไม่สบาย อาเจียนเต็มพื้น พี่ตู่รีบไปลูบหลังและนั่งลงเช็ดอ้วกให้ติงลี่ พี่ตู่... ใจดีมากค่ะ เจ้าหน้าที่ประจำ�บ้านสนุก โครงการ“ซาโอริครีเอทีฟเซ็นเตอร์” เป็นโครงการที่ให้ โอกาสแก่ผพู้ กิ าร หรือผูท้ เี่ ราอยากเรียกว่า “ศิลปิน” โครงการนี้ ได้รบั การสนับสนุนจาก “Japan International Cooperation Agency (JICA) Partnership Program” และดำ�เนินการที่ เชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2545 ถึง เดือนตุลาคม 2548 เมื่อโครงการนี้ครบวาระการทำ�งาน “มูลนิธิบ้านสมานใจ” ก็ได้ ถือกำ�เนิดต่อมา นับได้ว่าเป็นองค์กรช่วยเหลือตัวเอง จัดตั้งโดย กลุ่มผู้ปกครองของเหล่าศิลปิน ชาวญี่ปุ่นที่มาช่วยก่อตั้งมูลนิธิฯ พี่คิดว่าพี่คงไม่ต้องเล่าอะไรเกี่ยวกับบ้านสนุกมากไปกว่านี้ แล้วนะคะ ขอให้ทุกท่านไปหาคำ�ตอบด้วยตนเองว่า’บ้านสนุก’ เป็นเช่นไร พบกันที่บ้านสนุกนะคะ
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ทันตแพทย์ผู้นำ�ใต้. . ภาคพิเศษ
รายงานโดย ป้าปูน ป่าบอน
15-17 กันยายน 2554 ที่ ผ่านมา เรามีโอกาสได้ไปร่วมกิจกรรม เล็กๆแต่อบอุน่ อีกกิจกรรมหนึง่ ที่ ขนอม คือ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ทันตแพทย์ผนู้ �ำ ภาคใต้ จริงๆตอน นีภ้ าคอืน่ ๆเสร็จสิน้ การจัดกิจกรรม กันไปแล้ว แต่เป็นโชคดีของภาค ใต้ที่เรายังพอมีงบเหลือมาให้จัดได้อีกครั้ง และก็ถือเป็น”ภาค พิเศษ” จริงๆเพราะได้วทิ ยากรทีม่ าร่วมแบ่งปันประสบการณ์จาก ทุกภาค ไม่วา่ จะเป็นหมอเอ๋ จากภาคกลาง หมอทอมมีจ่ ากภาค เหนือ และหมอจิตตี้จากภาคอีสาน (คนหลังปัจจุบันย้ายมาอยู่ เหนือแล้วแต่ยังคงมีประสบการณ์และกลิ่นอายความเป็นอีสาน พกใส่กระเป๋ามาฝากพวกเรามากมาย) โครงการนี้เกิดขึ้นเมื่อ ประมาณ 3 ปีก่อน สปสช.ได้มีงบประมาณมาให้กลุ่มคนที่ต้อง ทำ�งานบริหารทันตสาธารณสุขในการพัฒนาตนเองเพือ่ เตรียมรับ ความเปลีย่ นแปลงของระบบบริการ คือโครงการพัฒนาศักยภาพ ทันตแพทย์ผนู้ � ำ โดยคัดเลือกทันตแพทย์ในเฟสแรกเพือ่ พัฒนาให้ เป็น(รุน่ )พีเ่ ลีย้ ง จากนัน้ แยกย้ายกันไปพัฒนาทันตแพทย์ผนู้ �ำ ใน แต่ละภาค ที่เรียกตามโครงการว่า รุ่นพัฒนา โดยอาศัยความรู้ จากประสบการณ์และการแลกเปลีย่ นเรียนรูแ้ ละพัฒนาศักยภาพ ในการอบรมของรุน่ แรก เมือ่ ดำ�เนินงานไปได้ระยะหนึง่ ก็จะกลับ มารวมกันเพื่อถอดบทเรียนการพัฒนาและเติมเต็มส่วนขาดที่ จำ�เป็นต้องใช้ในการทำ�งาน เมือ่ หมอรองและทีมนครศรีธรรมราช และคณะวิทยากรไป ถึงทีจ่ ดั ประชุม เราพบหมอจูนและทีมจากระนองซึง่ มาถึงก่อนวัน ประชุมหนึง่ วัน หมอจูนขับรถส่วนตัวมาเองพร้อมกับน้องใหม่อกี สองคน ทีมของหมอบานเย็นท่านประธานชมรมทันตสาธารณสุข 59
ภูธรจากสงขลา หมอหยามาเดี่ยวๆจากตรังด้วยเหตุผลว่าตรง กับการจัดประชุมทำ�แผนงานทันตฯระดับจังหวัดพอดีเลยปลีก มาได้แค่คนเดียว เหมือนกับเพื่อนบ้านคือจังหวัดพัทลุงเลย นับ ไปนับมาจากตอนแรกทีท่ �ำ ท่าว่าคนจะน้อยก็ดไู ม่นอ้ ยอย่างทีก่ ลัว หลังจากจัดเก็บข้าวของเข้าที่พัก และในส่วนของทีมวิทยากร เตรียมตัวแล้ว กิจกรรมก็เริ่มไปตามลำ�ดับที่วางแผนไว้ เริ่มจาก การแนะนำ�ตัว ประสบการณ์ทำ�งาน ความคาดหวัง รอบนี้เรา มีทั้งคนเก่าและคนใหม่เข้ามาร่วมกิจกรรม ซึ่งลักษณะกิจกรรม ในช่วงแรกเป็นแนวๆการรู้จักตนเอง ปรับปรุงข้อบกพร่อง สร้าง ทัศนคติเชิงบวกต่อชีวติ การทำ�งาน การสร้างทีมและเรียนรูเ้ ข้าใจ การทำ�งานเป็นทีม ช่วงเย็นก็มีการยืดเส้นยืดสายด้วยการแข่ง กีฬา แต่กเ็ ก็บคะแนนเป็นทีมด้วยเหมือนกัน รายการหลังนีผ่ เู้ ข้า ร่วมกิจกรรมต่างก็สนุกสนานและยิ่งประทับใจเมื่อท่านประธาน ชมรมเข้าร่วมทุกกิจกรรมแบบเต็มที่ไม่มียั้ง เสร็จจากกิจกรรมยามเย็น เราก็รับประทานอาหารกันริม ทะเล บรรยากาศดีมากๆ แต่รไู้ หมว่าประเด็นสนทนาในวงอาหาร กลับกลายเป็นเรื่องราวต่อยอดจากกิจกรรมกลางวันทั้งสิ้น ยัง คงมีการทำ�ความรูจ้ กั กับสมาชิกใหม่ในแง่มมุ ของการทำ�งานและ เพิ่มเติมในส่วนของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากที่ทำ�งาน กันต่อ เมื่อเห็นว่าสมาชิกยังคงมีอารมณ์ต่อเนื่อง ทีมวิทยากร จึงได้นดั หมายให้มกี จิ กรรมในห้องประชุมต่อหลังจากมือ้ อาหาร จากโต๊ะอาหารที่เลิกกันราวๆสองทุ่มครึ่ง เรานัดเจอกันที่ห้อง ประชุมต่อตอนสามทุม่ เผือ่ เวลาให้สมาชิกทีย่ งั ไม่ได้อาบนํา้ อาบ ท่า (กินกันทั้งเปียกๆ..กลัวขาดตอน..ขนาดนั้น!!)ไปอาบนํ้าแต่ง ตัวกันก่อนแล้วค่อยมาเจอกัน รอบกลางคืน..เราได้พูดคุยกันถึง เรื่องชีวิตการทำ�งาน การบริหารจัดการชีวิตที่ทำ�ให้แต่ละคนยัง คงอยู่ในระบบราชการได้ อย่างเช่น หมอจูน ที่เมื่อสามปีก่อน
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ตอนพบกันครั้งแรก มีสัญญานบอกว่าน่าจะลาออกจากระบบ หลังจากประชุมกัน แต่หลังจากนั้น เรากลับพบหมอจูนในการ จัดงานพัฒนาครัง้ ต่อๆมา และในครัง้ นีก้ ลายเป็นพีท่ พี่ าน้องใหม่ มาเข้าร่วมโครงการ หรือแม้กระทัง่ หมอท่านอืน่ ๆทีเ่ ป็นล้วนแล้ว แต่สมาชิกใหม่ ซึ่งเพิ่งเข้ามาทำ�งานในระบบราชการไม่นาน พี่ๆ วิทยากรพยายามให้เกิดการแลกเปลีย่ นวิธกี ารแก้ปญ ั หาและมุม มอง หรือจุดเปลี่ยนที่ทำ�ให้แต่ละคนเกิดความสุขในการทำ�งาน ได้ต่อ กว่าเราจะแยกย้ายกันในค่ำ�คืนแรกก็ดูเหมือนจะดึกมาก แล้ว เช้าวันรุง่ ขึน้ กิจกรรมทีจ่ ดั คือการสร้างความไว้วางใจให้เกิด ขึน้ ในทีมงาน ดูเหมือนหลายๆคนยังคงติดใจการแลกเปลีย่ นกันต่อ วิทยากรเลยจัดให้ตามขอ จากการพูดคุยแลกเปลีย่ นทำ�ให้รสู้ กึ ว่า พีส่ ามารถช่วยน้องในเรือ่ งการเรียนรูว้ ธิ ลี ดั ผ่านประสบการณ์รนุ่ พี่ แต่นอ้ งๆก็ชว่ ยพีใ่ นเรือ่ งมุมมองและทัศนคติเชิงบวก ซึง่ น้องๆ มีอยู่เต็มเปี่ยม เราใช้เวลาจนถึงบ่ายโมงในการแลกเปลี่ยนมุมมองและ ประสบการณ์ หลังจากนั้นจึงออกไปรับประทานอาหารกลางวัน กันที่ร้านอาหารระหว่างทางและเดินทางต่อไปยัง “บ้านสิชล” ที่ที่เราตั้งใจไปทำ�กิจกรรม “ทันตภูธรแชริตี้” ที่หมอรองได้มา ติดต่อไว้ก่อนแล้ว บ้านสิชลเป็นที่พักพิงของผู้ที่มีปัญหาด้าน สภาพจิตใจ บางคนญาติพามาฝากไว้ แต่บางคนชาวบ้านพามา จากข้างถนน ที่นี่พวกเขาอยู่กันร่วมสามร้อยคน งบประมาณ จากทางการไม่สามารถให้การสนับสนุนได้อย่างเพียงพอ เราจัด กิจกรรมเยี่ยมเยียนและสร้างความบันเทิง รวมทั้งเลี้ยงอาหาร ว่าง 1 มื้อ กระแสความสุขที่เกิดขึ้นแผ่ไปทั่วทั้งในจิตใจผู้ให้และ ผู้รับในกิจกรรมแบ่งปันดีๆครั้งนี้ หากใครสนใจช่วยเหลือติดต่อ ผ่านหมอรอง สสจ.นครศรีธรรมราชได้คะ่ เราจะมีกจิ กรรมทันต ภูธรแชริตี้นี้เรื่อยๆผ่านเฟสบุคหมอรองนะคะ ค่ำ�คืนสุดท้าย ทีมวิทยากรใช้เวลาช่วงหนึ่งกับการสรุปบท เรียนกิจกรรมรอบนี้ มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ธรรมชาติ และบริบทของการทำ�งานในแต่ละภาค อย่างทีบ่ อก..ครัง้ นีพ้ เิ ศษ เพราะวิทยากรมาจากทั้ง 4 ภาค การแลกเปลี่ยนจึงค่อนข้าง เห็นประสบการณ์ภายใต้บริบทที่หลากหลาย และสามารถนำ� ไปปรับใช้ได้ในอนาคต ก่อนเลิก หมอจิตตี้ถามคำ�ถามหนึ่งว่า 60
“ผู้บริหารจะรับได้ไหมหากบอกว่าผลลัพธ์ของกิจกรรมนี้คือ “ความสุข” น่ะ” ใช่ล่ะ ในมุมมองของผู้บริหารเราเข้าใจเค้าได้ เหมือนกับที่ได้ยินคำ�เปรยเมื่อเช้าว่า “เสียดายที่มากันได้น้อย” คำ�ตอบที่สามารถให้หมอจิตตี้ไปในวันนั้นคือ ความสุขและแรง บันดาลใจนี่แหละที่ทำ�ให้เรายังคงอยู่ในระบบ ความเป็นพี่น้อง ที่ได้มีเวที มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นครั้งคราว ทำ�ให้ เราได้พัฒนาตนเองทั้งทักษะการทำ�งาน กระบวนการคิด และ มุมมองเชิงบวก กลุ่มเล็กๆ ทำ�ให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจ มีเวลา ใคร่ครวญไตร่ตรองได้อย่างลึกซึ้ง นี่แหละ ที่สำ�คัญมากไปกว่า ปริมาณผู้เข้าร่วมกิจกรรม โครงการพัฒนาศักยภาพทันตแพทย์ ผูน้ � ำ ของภาคใต้ ทีต่ อนแรกเราสรุปประเด็นความสนใจของกลุม่ ได้ 3 อย่าง คือ งานบริการ งานวิชาการ และเรื่องราวความ สุขในชีวิตการทำ�งาน สุดท้ายสามปีผ่านไปสิ่งที่พวกเราต่อยอด กันจริงๆคือ ความสุขและแรงบันดาลใจในการทำ�งาน ความ รู้และทักษะทั้งหลายเราสามารถหาโอกาสในการฝึกฝนได้ไม่ ยากนัก แต่สิ่งที่จะนำ�มาช่วยผลักดันให้เรายังคงทำ�งานดูแล ทันตสุขภาพของประชาชนที่แสนยากนี้ต่อไปได้คือความสุขของ คนทำ�งานต่างหาก ยํ้าความสุขและแรงบันดาลใจผ่านกิจกรรมดีๆของชมรมทันต สาธารณสุขภูธร บันทึกสั้นๆจาก ทพญ.Jitty^^ ผู้เข้าร่วม กิจกรรมค่ะ
เรื่องเล่า...THE KEYWORD…by Jitty^^
ณ.ขนอม ซันไรซ์ ในวันที่ 15-17 กย.54 เพือ่ นพีน่ อ้ งชมรม ทันตภูธร ร่วมกับชมรมทันตสาธารณสุขภาคใต้ ร่วมใจสรรค์สร้าง กิจกรรมดีๆ ทันตแพทย์ผู้นำ� ภาคใต้ วิทยากรหลักคือทีมงาน นครศรีธรรมราชทีข่ นึ้ ชือ่ เรือ่ งไอเดียล�ํ้ำ เลิศ งานนี้ ทันตแพทย์ธนัฏฐนนท์ หนุ่มหน้ามนเป็นผู้นำ�กิจกรรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งพอเราไปถึงก็ได้ เริม่ กิจกรรม วันเพือ่ การเรียนรูพ้ ลังแห่งความรูส้ กึ การหยัง่ รูต้ นเอง และปรับสมดุลชีวติ : ทุกคนได้มกี ารทำ�ความรูจ้ กั กัน โดยมีการสร้าง FACEBOOKจำ�ลองกระดานของตนเองขึน้ รอบๆห้อง เพือ่ นแสดง แลก เปลีย่ นความเห็นกันได้ตลอดระยะเวลา 3 วันทีอ่ ยูร่ ว่ มกัน ก่อนจะ ผลัดกันถ่ายทอดพลังในการทำ�งาน บรรยากาศในห้องเปรียบได้กบั สุด
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ยอดเซียนกระบีว่ ชิ าทันตะ ประทะดาบกันอย่างเมามันส์ ขอสรุปเป็น KEYWORD ตัวอย่างง่ายๆของ บางท่าน สักประโยคก็แล้วกัน พี่ทอม แม่ระมาด คล้ายกับผู้สร้าง เป็นคนจุดประเด็นน่าคิด สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ตลอดเวลา “น้องๆรู้ไหมว่า ความรักในช่วงชีวิตคนเรามี 3 แบบ รักแบบ puppy love รักแบบ ideal และ รักแบบ fact” เป็นเนือ้ หาวิชาการทีเ่ ข้มข้น หากใครอยากขยายความต้องติดต่อกันหลังไมค์ เพื่อเข้าถึง ทฤษฎีที่ลึกซึ้งตราตรึงใจ (--‘) พี่ปูน ป่าบอน เป็นเหมือนกับหนังสือเล่มใหญ่ๆ เป็น ผู้ ต อบคำ � ถาม เป็ น ความเข้ า ใจ “บทเรี ย นที่ เ ราได้ รั บ บางทีก็ไม่ต้องสรุปเป็นคำ�พูด หรือเขียนอธิบาย ให้คนอื่น เขาเห็นจากท่าทาง การกระทำ� คนอื่นเขาก็รับรู้ได้ ว่าเราได้ อะไรมา” พีห่ ยา ตรัง เป็นเหมือนกับมิลลิเมตรแมน ละเอียดอ่อน ในทุก point “พี่ชอบความใส่ใจ อย่างเช่นในต่างประเทศมีสื่อ ให้ความรู้ สอนแปรงฟันติดตามทางขึ้นรถไฟฟ้า ไม่ใช่ขององค์กร ใดๆรับผิดชอบ มันบอกถึงสิ่งที่คนเห็นความสำ�คัญ” พี่เอ๋ ภาชี คล้ายๆสตรีอภินิหาร ของอยุธยา “วันนึง พี่ก็ได้มีโอกาสทำ�งานใหญ่ที่ไม่ได้อยู่ในสายงานของพี่ แต่พี่ก็ ไม่ได้มองมันเป็นปัญหา พี่ลองทำ�ดู ได้ก็คือได้ ไม่ได้ก็คือไม่ได้ ผลที่เกิดที่การฝึกฝนตัวเราเอง” น้องจูน ระนอง หนักแน่นและพลังใจเหลือล้น ฐานะน้องใหม่ ของวงการ “บางทีการขอความร่วมมือจากคนอื่น ลองมองในฐานะทันตแพทย์ มันยากจัง ให้ลองทำ�ในฐานะเพื่อน ญาติมิตร มันง่ายขึ้น” ปิดท้ายด้วยวาทะของท่านประธานชมรมทันตภูธร พี่บานเย็น “พี่ดูเป็นคนทำ�งาน แล้วดุ แต่ลกึ ๆแล้วพีใ่ จดี” ฟังแล้วเหมือนสิง่ ทีฉ่ นั คุน้ เคย หัวหน้าฉันไม่ได้ดุ แต่ทเี่ ข้มงวดเพราะกลัว ลูกน้องเดินทางพลาด เป็นความรักที่ลึกซึ้งจริงๆ ขณะทีท่ กุ คนกำ�ลังจะเคลือ่ นขบวนไปมอบความสุขให้กบั ผูด้ อ้ ยโอกาสทีบ่ า้ นสิชล พีต่ ี้ หัวหน้า สสจ.นครศรีฯ ก็เข้ามาเสริมท้ายตอนจบได้อย่างสวยงามด้วย “การเป็นหัวหน้าคนหลายคน ที่ต่างกัน ความนิ่ง ไม่ขัดแย้ง เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความมั่นใจให้กับทีม ว่าพี่เชื่อ เราทำ�ได้ ไม่ต้องกลัว แสดงศักยภาพของคุณออกมาให้เต็มที่” สรุปบทความนี้ได้ 3 คำ� “แรงบันดาลใจ รอยยิ้ม ฉันอิ่มใจ” นอกจากได้รับการแบ่งปัน แล้วก็ยังได้แบ่งปันเพื่อสังคม จิตอาสา สถานสงเคราะห์บ้านสิชล บริจาคของ สอนแปรงฟัน ตรวจสุขภาพช่องปาก เลี้ยงอาหารว่าง สร้างกำ�ลังใจอีกทอดนึง 61
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
สังซื ง ่ ้อแป ปรงสีฟนทั ฟ นตภู ต ธรโท ทรดวน หมอห หนุย 0 083-03 33992 25 ตองกา ารสัง ่ แปรง งสีฟน ราคาใหม (เริมตั ม ่ ง ้ แต เดื ดือน กันยา ายน 2554 4) ดังรายการตอไปนี้
รายการ ร 1.แ แปรงสีฟนเด็ เ กอายุ 2.แ แปรงสีฟนเด็ เ กอายุ 3.แ แปรงสีฟนเด็ เ กอายุ 4.แ แปรงสีฟนผู ผใหญ
0-3 ป 3-6 ป 6-12 ป
จําน ราคา นวน รวมเงิน าษีมูลคาเพิ เ ่ม 7%) (รวมภา 7 7.00 บาท ดาม บาท 7 7.50 บาท ดาม บาท 8 8.00 บาท ดาม บาท 9 9.00 บาท ดาม บาท รวมเงิน _____ ________ ________ _____ บาท บ
สั่งซื ซ้อแปรงสี สฟนเพื่อสน นับสนุนจัดพิ ด มพวาร รสารทันตภ ภูธรโทรดวน ว หมอหนุย 083-0 0339925 5
1) โอนเงินเข ขาบัญชี หรืรือ โอนผานตู า เอทีเอ็ม เขาบัญชี ญ “ ชมรม มทันตสาธ ธารณสุขภูธร ” พาณิชย สาขาสนาม ส มบินน้ํา บัญชีออมท ทรัพย เลข ขที่ 313 – 258671 1–8 ธนาาคารไทยพ 2) สงใบสั่งซ้ ซือ ้ และสําเน นาการโอน นเงินมาที่ผู ผแทนจําหน ห ายแปรงงสีฟนทันต ตภูธร ทพ พญ.สุรีรัตน สูงสวาง (หมอหนุย) ย กลุมงาานทันตกรรรม โรงพ พยาบาลนาาน อ.เมือง อ จ.นาน 550 000 โทรส สายดวนสั สัง่ แปรงกับหมอหนุย สุรีรัตน 083-0339 0 9925 , 054 4-771620 0 ตอ 3131 1 Faxx รพ.นาน 054 -71 10977 หรืรือ โทรสั่งแปรงกับคุณนฤมล 083-5689 9055 อีเมลติ ม ดตอสั่งซื้อแปรงง nui_95 5@hotma ail.com , nui_95@ @yahoo.co om
โทรดวน สมัครสม มาชิก สัง ่ ซื้อเสือทั อ ้ นตภูธร ธ กับ นองขวัญ 080-9 907588 84 62
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
ถายเอกสาร แลวสงกลับมาที่ “ วารสารทันตภูธร ” หากมีหลักฐานการโอนเงินกรุณาสงไปรษณียลงทะเบียน ขอเชิญสมาชิกชมรมทันตสาธารณสุขภูธรทุกทาน กรุณากรอกขอมูลปจจุบันเพื่อแจง ชื่อ-ที่อยู สําหรับจัดสง วารสารทันตภูธร c สมาชิกชมรมทันตสาธารณสุขภูธรทุกทาน กรุณากรอกขอมูลปจจุบัน ชื่อ (นาย / นาง / นางสาว) ................................นามสกุล...................................................................................................................... ที่ทํางาน............................................................................................................................................................................................. ที่อยูสําหรับจัดสงวารสารทันตภูธร........................................................................................................................................................ Email address................................เบอรโทรศัพท.............................................................................................................................. วิชาชีพ ทันตแพทย ท.............. ทันตาภิบาล
ผูชวยทันตแพทย
d ยังไมไดเปนสมาชิกชมรมทันตสาธารณสุขภูธร และตองการสมัครสมาชิกชมรมฯ ทันตแพทย
ท._______
คาสมัครตลอดชีพ 500 บาท
ทันตาภิบาล / ผูชวยทันตแพทย
คาสมัครตลอดชีพ 200 บาท
กรุณากรอก ขอ c ขอมูลที่อยูปจจุบันเพื่อจัดสง “ วารสารทันตภูธร ” ใหชัดเจน และ กรอกขอ h ระบุจํานวนเงินคาสมัครสมาชิกที่โอนเขาบัญชี “ ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร ” ใหชัดเจน e ยินดีบริจาคเงินเพื่อชวยสมทบทุน “ จัดพิมพวารสารทันตภูธร ” เปนจํานวนเงิน....................................บาท f สั่งซื้อเสื้อ “ทันตภูธรออนหวาน” ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร ราคาตัวละ 260 บาท (รวมคาสง) ดูสีจากFacebook ทันตภูธรจะ รายไดเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของชมรมทันตสาธารณสุขภูธร ดูแบบและสั่งทันทีในเฟสบุค www.facebook.com/ruraldentmagazine เสื้อผูชาย S38 สี........../.......... ตัว y M40 สี........./......... ตัว y L42 สี......../......... ตัว y XL44 สี........../......... ตัว เสื้อผูหญิง S33 สี........../.......... ตัว y M35 สี......../........ตัว y L37 สี......../.........ตัว y XL39 สี........../.......... ตัว สั่งซื้อเสื้อผูชายจํานวน..........ตัว สั่งซื้อเสื้อผูหญิงจํานวน..........ตัว รวมสั่งเสื้อทั้งสิ้นจํานวน .....................ตัว สั่งซื้อเสื้อ “ทันตภูธรออนหวาน”…………………………………………………….. คิดเปนเงินทั้งหมด....................... บาท ระบุ ชื่อ / นามสกุล......................................................................................ที่อยูที่ใหจัดสงเสื้อใหชัดเจน / หมายเลขโทรศัพทที่ติดตอได g โอนเงินเขาบัญชี หรือ โอนผานตูเอทีเอ็ม เขาบัญชี “ ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร ” ธนาคารไทยพาณิชย สาขาสนามบินน้ํา บัญชีออมทรัพย เลขที่ 313 – 258671 – 8 โอนจากธนาคาร.................................................สาขา ............................................. วันที่......... /........./......... สรุปจํานวนเงินโอนเขาบัญชีทั้งสิ้น =...............................บาท ดังมีรายละเอียดตอไปนี้คือ จากขอ d คาสมัครสมาชิก “ ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร ”.......................บาท จากขอ e ยินดีบริจาคเพิ่มเติมเปนจํานวนเงิน .........................................บาท จากขอ f สั่งซื้อเสื้อ “ทันตภูธรออนหวาน” คิดเปนเงินทั้งหมด........................................บาท 63
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554
กรองใจท้ายเล่ม ทพญ.บานเย็น ศิริสกุลเวโรจน์ ประธานชมรมทันตสาธารณสุขภูธร ฉบับนีเ้ ป็นฉบับช่วงกันยายนอีกแล้ว ซึง่ ก็เป็นช่วงเทศกาลงานสาร์ทเดือนสิบบ้าง ช่วงแห่งเทศกาล ไหว้พระจันทร์บ้าง ซึ่งหลายๆคนรวมทั้งข้าพเจ้าจะนึกขึ้นได้ก็เพราะเห็นเขาขายขนมไหว้พระจันทร์ กันนะสิ (ถึงจะได้ทานขนมไหว้พระจันทร์ปีละครั้ง ก็ยังอ้วนเลย! ) และก็เป็นช่วงจัดงานเกษียณ ของข้าราชการของผู้มีอายุครบ60 ปี โดยเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2554 สำ�นักทันตสาธารณสุข กรม อนามัย ร่วมกับ ชมรมทันตแพทย์สสจ. / ชมรมทันตแพทย์โรงพยาบาล / ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร และสมาคมทันตาภิบาลแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดงานเลี้ยงและมุทิตาจิต เกษียณอายุราชการ แก่ ทันตแทย์และทันตบุคลากร ทั่วประเทศ ณ ห้อง ทิพาวรรณ บอลรูม ชั้นL โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรีในชื่องานว่า “ฟ.ฟัน−ฟันฝ่า ฝ่าฟัน ฝากฝัน วันเกษียณ − ฟันร่วง 54 ” ซึ่งจัดได้สนุก และประทับใจกันมาก ท่านที่ไม่ได้มาร่วมงานในปีนี้ปีหน้าต่อๆไปไม่ควรพลาดนะคะ ปีนี้มีพี่ๆท่านเกษียณกันครบชุดจริงๆ ที่ว่าครบชุด ก็หมายความว่า มีทั้ง พี่ทันตแพทย์ (ทั้งส่วน กลาง , รพศ/รพท.,รพช และกทม.) พี่ทันตาภิบาล และพี่ผู้ช่วยทันตแพทย์ (ครบชุดไหมล่ะคะ) สำ�หรับปีนี้มีรายนามผู้เกษียณ ดังต่อไปนี้ 1. ทพ.ธีระศักด์ ชาวสวนเจริญ ผอ.กองทันตสาธารณสุข สำ�นักอนามัย กทม. 2. ทพ.บุญฤทธิ์ สุวรรณโนภาส สำ�นักบริหารการสาธารณสุข 3. ทพ.อนุชา วรพันธุ์พงศ์ รพ.พระยุพราชสระแก้ว จ.สระแก้ว 4. ทพญ.ยุพิน ทองกำ�ผลา สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย 5. ทพ.ไพรัช ตั้งยิ่งยง รพ.โพธาราม จ.ราชบุรี 6. ทพ.พงศธร ศรีปุงวิวัฒน์ รพ.แม่สอด จ.ตาก 7. ทพญ.สุพรรณี ธงทอง รพ.อ่างทอง จ.อ่างทอง 8. ทพญ.ฉวีลักษณ์ บูรณารมย์ รพ.พหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี 9. ทพญ.สุพร ประเทืองธรรม รพ.สุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี 10. ทพญ.บุญนะ บัวศรี รพ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี 11. ทพญ.รจนา โชติวุฒิมนตรี รพ.มุกดาหาร จ.มุกดาหาร 12. นางขนกพร ศรีแดง รพ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ 13. นางบุญลา มูลสถาน รพ.ลำ�ปาง จ.ลำ�ปาง 14. นางสาวนวลศรี ประทีป ณ ถลาง รพ.พังงา จ.พังงา 15. นางสาววิไลลักษณ์ บังเกิดสิงห์ สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ชาวทันต’ภูธร ต้องขอแสดงความยินดีและขอแสดงมุทติ าจิตกับพีท่ กุ ท่าน ทีท่ า่ นสามารถ ยืนหยัดรับราชการจนครบเกษียณอายุราชการได้ ทุกท่านเยี่ยมจริงๆ ขอปรบมือให้ด้วย
64
ทั น ต ภู ธ ร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554