Special care dentistry in Thailand

Page 1

ทันตภูธร


สารบัญ ทันตภูธร 2

รูปที่มีที่บ้าน

4

แผนงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ

8

งานนิทรรศการการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ

ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร  ประธานชมรมฯ : ทพญ.บานเย็น ศิริกุลเวโรจน์ สสจ. สงขลา เลขที่ 161/1 ถนนรามวิถี ตาบลบ่อ ยาง อาเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000 โทรศัพท์ 074-326091 ต่อ 105,107 โทรสาร 07-311386 วารสารทันตภูธร ที่อยู่ 42/198 ซ.ติวานนท์38

14 กาลครั้งหนึ่งของคุณหมอฟันพิเศษ

ถ.ติวานนท์ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

16 ถอดบทเรียนเครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ

โทร 083-4934543 ruralmax2007@gmail.com

29 งานทันตสุขภาพคนพิการ งานง่ายๆใครๆก็ทาได้ 32 การให้ทันตสุขศึกษาและงานทันตกรรมป้องกันแก่คนพิการ 42 บทเรียนที่ได้เรียนรู้ งานเยี่ยมบ้านคนพิการ 48 เรื่องเล่าจากเครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริม สุขภาพคนพิการ

https://www.facebook.com/ruraldentmagazine บรรณาธิการ : ทพญ.นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์ กองบรรณาธิการ : ทพญ.แพร จิตตินันทน์, ทพญ.วิโรชา เพียรเจริญ, ทพญ.สุรีรัตน์ สูงสว่าง , ทพญ.รจิต จันทร์ประสิทธิ์ ,ผช. ปิยะดา แซ่โง้ว

แผนงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ

www.oha-th.com


ทักทาย บรรณาธิการ ทพญ.นิ ธิมา เสริ มสุธีอนุวฒ ั น์ nithimar_or@yahoo.com

วารสารทันตภูธรฉบับนีเ้ ป็ นฉบับพิเศษค่ ะ ดิฉันภูมิใจนาเสนอเรื่ องราวหนักๆ แต่ งามๆ และเต็มไปด้ วยแรงบันดาลใจ ของเครือข่ ายทันตบุคลากรสร้ างเสริมสุขภาพคนพิการที่ค่อยๆก่ อร่ างสร้ างตัวมาได้ 2 ปี กว่ าๆแล้ วค่ ะ ขณะนีม้ ีเครือข่ าย 2 รุ่น คือ เครือข่ ายรุ่น1 ปี 2553 และเครือข่ ายรุ่น 2 ปี 2554 ที่ผ่านการฝึ กอบรมจากการจัดกิจกรรมของสถาบันสร้ างเสริมสุขภาพคนพิการ หรือสสพ. ค่ ะ กว่ าจะเป็ นเครือข่ ายทันตบุคลากรที่ดูแลสุขภาพช่ องปากคนพิการอย่ างเข้ มแข็ง และมีผลงานเป็ นที่ประจักษ์ ดังที่ทุกท่ าน จะได้ ร่วมเรียนรู้ในวารสารทันตภูธรเล่ มหนาเป็ นพิเศษและสีทุกหน้ าเล่ มนี ้ ไม่ ใช่ เรื่องง่ ายๆเลยนะคะ ดังนัน้ ไม่ ว่าดิฉันจะสื่อสารถึง เครือข่ ายทันตบุคลากรที่ยึดโยงระหว่ างกันไว้ ด้วยอีเมลบ่ อยๆ สายใยบางๆ และการสนับสนุนจากสถาบันสร้ างเสริมสุขภาพคน พิการ สสพ. ในบทบาทบรรณาธิการวารสารทันตภูธร หรือในบทบาทผู้ประสานงานทันตบุคลากรสร้ างเสริมสุขภาพคนพิการ ดิฉันก็ร้ ูสึกชื่นชมในความสามารถ และประทับใจในความอดทน สนใจใฝ่ เรี ยนรู้ และมีใจเอือ้ เฟื ้ อต่ อเพื่อนมนุษย์ ของทุกๆท่ าน ด้ วยใจจริงค่ ะ เครือข่ ายทุกท่ านเก่ งมากๆ งานทันตสุขภาพคนพิการในประเทศไทยเกิดขึน้ ได้ เพราะทุกท่ านค่ ะ หากมีความ ผิดพลาดประการใด ไม่ ถูกใจบ้ าง อะไรบ้ าง ดิฉันก็ขออภัยเครือข่ ายทันตบุคลากรผู้รับทุนปฏิบัติงานโครงการนาร่ องจากสสพ.ทุก ท่ านทัง้ รุ่ น1,รุ่น2 ด้ วยนะคะ ที่จริงเครือข่ ายส่ วนใหญ่ ก็จะได้ รับเฉพาะอีเมลเท่ านัน้ ล่ ะคะ แต่ ยังมีอีกท่ านที่พเิ ศษสุดๆ ท่ านจะได้ รับ การสื่อสารจากทุกช่ องทางแบบเช้ าสายบ่ ายค่ า (ถ้ าจาเป็ น) ท่ านนัน้ ก็คือ พี่เจน ทพ.ญ.ศันสณี รัชชกูล ผู้อานวยการศูนย์ ทันต สาธารณสุขระหว่ างประเทศ ค่ ะ พี่เจนเปรียบเสมือนแม่ ท่ ชี ่ วยดูแลความเป็ นไปของเครือข่ ายทันตบุคลากรสร้ างเสริมสุขภาพคน พิการในทุกด้ านมาตัง้ แต่ เริ่มต้ นพัฒนาเครือข่ ายฯ ตัง้ แต่ งงๆมึนๆหาตัวเองไม่ ค่อยได้ หาเครือข่ ายฯ ไม่ ค่อยเจอ จนทุกวันนีพ้ อ เป็ นรูปเป็ นร่ างเป็ นเรื่องเป็ นราวบ้ างแล้ ว พี่เจนมักพูดว่ า “ยังมีอะไรให้ ทาอีกตัง้ เยอะ” คานีข้ องพี่เจนช่ วยให้ ดฉิ ันไปต่ อได้ ในทุก สถานการณ์ ท่ สี ะดุดจริงๆค่ ะ ขอขอบพระคุณพี่เจนที่ช่วยดูแลพวกเรามาโดยตลอดนะคะ กลับมาที่งานของสสพ. สถาบันสร้ างเสริมสุขภาพคนพิการ อีกนิด ปี 2555 นี ้ เป็ นปี ที่ 3 การดาเนินงานจึงเปลี่ยนรูปแบบ ไปบ้ าง ปี นีส้ สพ.จะไม่ สนับสนุนทุนปฏิบัตงิ านโครงการนาร่ องเหมือน 2 ปี แรก แต่ จะสนับสนุนทุนด้ านพัฒนาองค์ ความรู้ แลกเปลี่ยนเรี ยนรู้ และสร้ างเครื อข่ ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้ วยการสร้ างเสริมสุขภาพช่ องปาก โดยทีมสหวิชาชีพ ทางานร่ วมกันชุมชนค่ ะ งานท้ าทายมาอีกแล้ ว ทีมสหวิชาชีพและชุมชนกับทันตสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการ ^^ จากการทางานเป็ นผู้หยอดนา้ มันหล่ อลื่นยี่ห้อสสพ. ทาให้ ได้ เรียนรู้ว่าสิ่งสาคัญที่จะสนับสนุนให้ การดูแลสุขภาพช่ อง ปากคนพิการมีความยั่งยืน และเกิดได้ จริงๆนัน้ ไม่ ใช่ เพราะมีตัวชีว้ ัด ไม่ ใช่ เพราะมีงบประมาณ ไม่ ใช่ เพราะมีอีเมลกดดัน แต่ ส่ งิ ที่ จะช่ วยให้ เกิดกระบวนการที่ค่อยๆ ดาเนินไปอย่ างต่ อเนื่องจนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในชุมชนได้ จริงๆนัน้ คือ การที่ทุกคนในชุมชน ทัง้ ทันตบุคลากร ทัง้ สหวิชาชีพ เจ้ าหน้ าที่ท้องถิ่น ชาวบ้ าน อสม.และคนพิการ ต้ องร่ วมรับภารกิจนีด้ ้ วยกัน เมื่อมองเห็นความสาคัญของการทาให้ คนพิการมีสุขภาพช่ องปากที่ดีขึน้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ า จะมีความคิดดีๆที่เ หมาะสมกับ ชุมชนในการทาให้ คนพิการไม่ เป็ นภาระใคร และด้ วยทุกคนในชุมชนเป็ นเจ้ าของ งานจึงพัฒนาต่ อยอดไปได้ อย่ างไม่ หยุดยัง้ ค่ ะ โอกาสนีข้ อขอบพระคุณ ผู้ใหญ่ ใจดี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ , พญ.วัชรา ริว้ ไพบูลย์ ที่ช่วยกาหนดทิศทางและเอ็นดู เครือข่ ายฯ ขอบพระคุณ ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ที่ส่งมอบภารกิจอันแสนท้ าทายนีม้ าให้ ดูแล ขอบพระคุณพี่น้องผองเพื่อน ทุกท่ านที่ช่วยสนับสนุนงาน เครื อข่ ายทันตบุคลากรสร้ างเสริมสุขภาพคนพิการ ขอเชิญชวนทุกท่ านมาเรี ยนรู้งานทันตสุขภาพ คน พิการแล้ วร่ วมด้ วยช่ วยกันพัฒนาต่ อไปนะคะ “ยังมีอะไรให้ ทาอีกตัง้ เยอะ” จริงๆค่ ะ 


2

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


รูปที่มีที่บ้าน “เติบโตมากี่สิบปีที่ผ่าน ภาพที่เห็นคือท่านทำ�งานทุกวัน เมื่อไรเราทำ�อะไรที่เกิดท้อ แค่มองดูรูปบนข้างฝาจะได้กำ�ลังใจ จากรูปนั้น เป็นรูปที่มี “ทุก” บ้าน ด้วยความรัก ด้วยภักดี ด้วยจิตใจ จะขอตามรอยของพ่อ ท่องคำ�ว่าเพียงและพอจากหัวใจ เป็นลูกที่ดีของพ่อ ด้วยความรัก ด้วยภักดี ตลอดไป” วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ได้ยิน ได้เห็น คำ�ว่า “ทรงพระเจริญ” ติดทั่วบ้านทั่วเมือง เสียงตะโกนได้ดังกึกก้องแซ่ซ้องทั่วผืน แผ่นดินไทย และหลายปีแล้วทีไ่ ด้ยนิ เพลงรูปทีม่ อี ยูท่ กุ บ้าน คุณพีด่ ี้ นิตพิ งษ์ ห่อนาค เป็นผูป้ ระพันธ์ถา่ ยทอดผ่านปลายปากกา มีคณุ พีเ่ บิรด์ ธงไชย แมคอินไตยเป็นผู้นำ�มาถ่ายทอดผ่านนํ้าเสียงที่แสนจะไพเราะ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมากลับบ้านไป นั่งเล่นในบ้าน ก็ไปสะดุดภาพ ภาพหนึ่งซึ่งแขวนบนฝาผนังห้องรับแขกมานานแสนนาน “รูปที่มีอยู่ที่บ้าน” รูปที่เห็นตั้งแต่เป็นเด็กซึ่งเป็นรูป ที่คิดว่าเป็นรูปถ่ายเพียงใบหนึ่ง วันนี้มันไม่ใช่แค่เป็นรูปที่มีอยู่ที่บ้าน รูปนี้บ่งบอกเรื่องราวของพ่อของผมซึ่งเป็นข้าราชการบ้าน นอก ๆ คนหนึ่ง และเป็นความทรงจำ�ที่มีคุณค่างดงามและยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตข้าราชการคนนี้ที่ยากจะลืมเลือน เสียงพีเ่ บิรด์ ร้องเพลงนีด้ งั แว่วเข้ามากระทบจินตนาการ เพียงแต่เปลีย่ นคำ�ว่า ทุกบ้าน เป็น ทีบ่ า้ น .....เพราะนีค่ อื บ้านของผม รูปนีแ้ ขวน อยูบ่ นฝาบ้านของผม ผมลุกขึน้ ยืนมองอย่างใกล้ชดิ และถามพ่อว่า จำ�ได้ไหมว่าทีไ่ หน และ เมือ่ ไหร่ ? พ่อผมบอกว่า ในหลวงทรงปล่อยพันธ์ ปลาในบ่อเลีย้ งปลา สำ�หรับสถานทีม่ คี นบอกว่าเป็นภายในไร่สตอเบอรีข่ องในหลวง ทีอ่ �ำ เภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ รูปนีถ้ า่ ยเมือ่ ประมาณ ปี พ.ศ. 2520 ซึ่งปัจจุบันน่าจะเป็นโครงการหลวงแห่งใดแห่งหนึ่งในอำ�เภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ผมเข้าไปค้นมาจาก อินเตอร์เนทผมเดาว่าน่าจะเป็นโครงการหลวงทุ่งเลา ซึ่งก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. ซึ่งแต่เดิมพื้นที่นี้ทำ�การปลูกฝิ่นและทำ�ไร่เลื่อนลอย อันเป็นเหตุให้สูญสียผืนป่าอันเป็นแหล่งกำ�เนิดต้นนํ้าลำ�ธารธรรมชาติ นับจากวันนั้นผ่านมากว่า 30 ปี วิถีชีวิตของชาวไทย ภูเขาได้เปลี่ยนไป การทำ�ไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่นได้ถูกทดแทนด้วยแปลงผักและไม้ผล เป็นที่ทดลองปลูกสตอเบอรี่ ซึ่งปัจจุบัน สตอเบอรี่กลายเป็นผลิตผลที่ทำ�รายได้ให้แก่เกษตรกรในอำ�เภอสะเมิง ทำ�ให้ชิวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมีรายได้ที่ดีในแต่ละเดือน แม้จะไม่มากมายแต่ก็เพียงพอต่อการสร้างความสุขให้แก่ชุมชน เมื่อได้รับรู้เรื่องราวของพ่อ เกิดคำ�ถามในใจแล้วเราล่ะ ...ข้าราชการตำ�แหน่งทันตแพทย์ อยู่บ้านนอก ตัวเล็กๆ คนหนึ่ง จะทำ�อะไรได้มากไหม หรือ อย่างไร ทุกวันนี้ถ้าเราคิดว่าทำ�ดีแล้ว ทำ�เต็มที่แล้ว และ ผมมีพ่อเป็นตัวอย่างที่ดีแล้ว มันก็น่าจะ ทำ�ได้สิ.... “เติบโตมากี่สิบปีที่ผ่าน ภาพที่เห็นคือท่านทำ�งานทุกวัน เมื่อไรเราทำ�อะไรที่เกิดท้อ แค่มองดูรูปบนข้างฝาจะได้กำ�ลังใจ จากรูปนั้น เป็นรูปที่มีอยู่ “ที่” บ้าน ด้วยความรัก ด้วยภักดี ด้วยจิตใจ จะขอตามรอยของพ่อ ท่องคำ�ว่าเพียงและพอจากหัวใจ เป็นลูกที่ดีของพ่อ ด้วยความรัก ด้วยภักดี ตลอดไป” สุขสันติ์วันพ่อครับ.....ขอบคุณครับ สิ่งที่พ่อมอบให้ ความปรารถนาของพ่อ เพียงเพื่อให้ผมเติมโตได้อย่างงดงาม  ทพ.เทอดศักดิ์ อุตศรี รพช.นาหมื่น จ.น่าน 3

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


แผนงานสร้างเสริมสุขภาพ ช่องปากคนพิการ

สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สสพ.

www.oha-th.com

โดย ฝ่ายสื่อสารสาธารณะสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.)

ที่

โ่ รงแรม ฮอลิเดย์ อินน์ จ.เชียงใหม่ สถาบันสร้าง เสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันวิจยั ระบบสาธารสุข (สวรส.) ร่วมกับ เครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพ คนพิการและชมรมทันตสาธารณสุขแห่งประเทศไทย, คณะ ทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และภาคีเครือข่าย หน่วยงานด้านทันตสาธารณสุข จัดประชุมวิชาการ เรื่อง สื่อ สร้างสรรค์ : วิถีใหม่ งานทันตสาธารณสุข ไทย เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ด้านวิชาการการสื่อสาร สุขภาพสำ�หรับทันตบุคลากรและผู้สนใจทั่วประเทศ

4

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


นายแพทย์ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กล่าวเปิดงานว่า กฎเกณฑ์หรือมาตรวัดในการ กำ�หนดเรื่องความพิการนั้นเกิดจากคนทั่วไปในสังคมแทบทั้งสิ้น ทั้งที่คนพิการที่ ถู ก กำ � หนดความพิ ก ารโดยพวกเรานั้ น สามารถจั ด การเรื่ อ งบางเรื่ อ งได้ ดี ก ว่ า พวกเราเสียอีก ทั้งนี้หากนำ�มาตรวัดในรูปแบบอื่นมาวัดเรื่องความพิการเราอาจจะเป็น คนที่พิการเองก็ได้ อย่างไรก็ตามเรื่องทันตสุขภาพของคนพิการนั้นถือเป็นเรื่อง ที่สำ�คัญเพราะคนพิการในหลายประเภทไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ ผู้ ป กครองคนพิ ก ารหรื อ ผู้ ดู แ ลคนพิ ก ารหลายคนก็ ไ ม่ คิ ด ว่ า เรือ่ งสุขภาพช่องปากของคนพิการนัน้ เป็นเรือ่ งใหญ่ ซึง่ ในความเป็น จริงแล้วความเจ็บปวดจากโรคที่เกิดจากฟันนั้นเป็นความเจ็บปวด ที่รุนแรงมาก นพ.สุ วิ ท ย์ ก ล่ า วอี ก ว่ า ถื อ เป็ น เรื่ อ งที่ ดี ที่ เ รามี เ ครื อ ข่ า ย ทันตบุคคลากรสร้างเสริมสุขภาพคนพิการที่ทำ�งานด้วยใจและ ดูแลคนพิการด้วยความเอาใจใส่ นอกจากนีย้ งั มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ เกิ ด ขึ้ น จากการทำ � งานของทั น ตแพทย์ ห ลากหลายภู มิ ภ าค ที่เข้าร่วมในเครือข่ายนี้ทำ�ให้คนพิการจำ�นวนมากได้รับการดูแล การทำ�งานของเครือข่ายทันตบุคคลากรสร้างเสริมสุขภาพ คนพิการในครั้งนี้นั้นถือเป็นการลงทุนทางสังคมที่ยิ่งใหญ่ ทุนที่ จะทำ � ให้ ค นพิ ก ารได้ มี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ขึ้ น และจะไม่ ใ ช่ เ ฉพาะ คนพิการเท่านัน้ ทีจ่ ะมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ คนในชุมชนก็มชี วี ติ ทีด่ ขี นึ้ เช่ น กั น และหากเครื อ ข่ า ยทั น ตบุ ค ลากรสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ คนพิการได้รับการพัฒนาและต่อยอดให้เพิ่มมากขึ้นจะเป็นเรื่อง ที่ดีต่อคนพิการและคนในสังคมเป็นอย่างมาก

5

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ

นายแพทย์ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ


พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์

ด้าน พญ.วัชรา ริว้ ไพบูลย์ ผูอ้ �ำ นวยการสถาบันสร้างเสริม สุขภาพคนพิการ (สสพ.) กล่าวว่า การที่เราเห็นคน พิการจำ�นวนมากต้องทุกข์ทรมานจากการเจ็บปวด ซึ่งเกิด จากโรคในช่องปาก จึงทำ�ให้เกิดเครือข่ายทันตแพทย์ 6

ในนามกลุ่มเครือข่ายทันตสุขภาพคนพิการ ขึ้น ซึ่งเครือข่ายทันตสุขภาพเพื่อคนพิการ นัน้ ประกอบไปด้วยทันตแพทย์ จากหลากหลาย ภูมิภาคที่ทุ่มเททำ�งานเพื่อสุขภาพช่องปาก ของคนพิการ ในอนาคตจะขยายการดูแล โดยร่วมมือกับเครือข่ายสุขภาพอื่นๆ ผู้สื่อข่าวรายงานในการประชุมวิชาการ ครั้งนี้นั้นได้มีการนำ�เสนองานวิจัยซึ่งเป็น การสังเคราะห์องค์ความรูเ้ พือ่ การพัฒนาระบบ บริการและระบบสร้างเสริมสุขภาพสุขภาพ ช่องปากสำ�หรับคนพิการในประเทศไทยด้วย โดย ทพญ.ดร.มัทนา เกษตระทัต หัวหน้าทีม วิจยั กล่าวว่า เพือ่ การพัฒนาระบบบริการและ ระบบสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากสำ � หรั บ คนพิการในประเทศไทยนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำ�คัญ กับงานดูแลสุขภาพช่องปากของคนพิการ ในระดั บ ปฐมภู มิ โ ดยมี ชุ ม ชนเป็ น ฐานและ ควรทำ � งานร่ ว มกั บ สหวิ ช าชี พ พร้ อ มทั้ ง ควรสนับสนุนให้โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาล ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพตำ � บล และอาสาสมั ค ร สาธารณสุขประจำ�หมูบ่ า้ นช่วยเป็นกลไกสำ�คัญ ในการดำ�เนินงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและบริการ ทางทันตกรรมให้กับคนพิการส่วนมากที่ไม่มีความซับซ้อน ในแผนการรักษา ทั้งนี้ควรสนับสนุนให้องค์การบริการ

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทร่วมกำ�หนดนโยบายและดำ�เนินงานด้วย ข้อเสนอในงานวิจัยครั้งนี้นั้นเมื่อเสร็จสมบูรณ์ ในปีพ.ศ.2555 และจะนำ�เสนอให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพในช่องปากสำ�หรับคนพิการให้ดียิ่ง ขึ้นต่อไป นอกจากภายในงานจะมีการนำ�เสนอผลงาน วิจัยซึ่งเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนา ระบบบริการและระบบสร้างเสริมสุขภาพสุขภาพ ช่ อ งปากสำ � หรั บ คนพิ ก ารในประเทศไทยแล้ ว ยังมีการนำ�เสนอผลงานวิชาการแบบโปสเตอร์และ นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ของภาคีเครือข่าย โดย มีห้องประชุมย่อยเพื่อนำ�เสนอผลงานทางวิชาการ และนิทรรศการด้านการพัฒนาระบบสุขภาพช่องปาก สำ�หรับคนพิการในรูปแบบต่าง ๆ อีกด้วย 

7

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


งานนิทรรศการ

สร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ

รายงาน โดย สุนฤภรจิตรา

วัสดีเจ๊า เพื่อนๆทันตบุคลากรที่น่ารักทุกท่าน ข้าพเจ้า สุนฤภรจิตรา สาวน้อยคนงามจากเมืองน่าน ขณะนี้ข้าเจ้าได้มา อยู่ ตี้ เวี ย งเจี ย งใหม่ ด้ ว ยการสนั บ สนุ น อย่ า งเป็ น ทางการ ของ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ได้มาพบกับเครือข่าย ทั น ตบุ ค ลากรสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพคนพิ ก าร มากหน้ า หลายตา ต่างรูจ้ กั คุน้ หน้าคุน้ ตากันเป็นอย่างดี จากการประชุมทีจ่ ดั กันบ่อยๆโดย หมออ๋อ ทพญ.นิธมิ า เสริมสุธอี นุวฒ ั น์ ผูจ้ ดั การ แผนงานสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก คนพิการ สสพ. นอกจากนี้ยังมีเพื่อนพี่น้อง และอาจารย์มาจากหลายเครือข่ายต่างๆทั่ว ฟ้าเมืองไทย ซึง่ ทัง้ หมดทัง้ มวล ต่างก็เป็นชาว ทั นตบุคลากรทั้งนั้นล่ะค่ะ เพื่อความสนุกสนานสดชื่นแจ่มใส เครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุข ภาพคนพิการ ชวนหมอจุ้มจิ้ม AF มา เป็นพิธีกรในงาน มีเด็กๆจากบ้านสนุก มา Dance เปิดงานให้เราได้ทงึ่ กับความ สามารถของเด็กพิเศษเหล่านี้ จากทีพ่ วก เราได้ไปเยีย่ มบ้านสนุกถึงที่ ต้องเปลีย่ น เรียกใหม่เป็น ศิลปิน เพราะ บ้านสนุก ได้รวมคนพิเศษเหล่านีท้ อผ้า ออกมาได้ สีสนั สวยงาม แต่ละผืนไม่มที ใี ดในโลกซํา้ อีกด้วย 8

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ในห้องนิทรรศการเครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ จัดเต็มๆ ด้วย 6 นิทรรศการ น่าสนใจ 1. โปสเตอร์นำ�เสนอผลการดำ�เนินงานและนวตกรรม เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากสำ�หรับคนพิการของเครือข่าย 2. นิทรรศการ สร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ นำ�โดย ทพ.วุฒิพงศ์ ธนะขว้าง รพช.ทุ่งช้าง จ.น่าน 3. นิทรรศการ POP UP MODEL ห้องฟันที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้โดยสถาบันราชานุกูล โดย ทพญ.ภัตติมา บุรพลกุล พร้อมกิจกรรมสาธิตการดูแลคนพิการในคลินิกทันตกรรม 4. นิ ท รรศการของสถาบั น ทั น ตกรรม ร่ ว มกั บ สานั ก งานพั ฒ นาวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีแห่งชาติ (Nectec) และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่ง ชาติ พัฒนา Dental Platform สำ�หรับคนพิการ และผู้สูงอายุที่ใช้ Wheelchair นำ�ทีมโดย ทพญ.วีรนันท์ วิชาไทย 5. นิทรรศการรถเข็นขึ้นบันไดและเตียงเคลื่อนที่ สำ�หรับคนพิการ จากศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ นำ�เสนอตลอดรายการโดย ทพ.แมนสรวง วงศ์อภัย 6. มุมนำ�เสนอวิดิทัศน์ “คุณหมอฟันพิเศษของเด็กชายพิเศษ” โดย ทพ.อติศักดิ์ จึงพัฒนาวดี จากม.เชียงใหม่ และ นิทรรศการที่ 7 หน้าห้องก็มีเด็กๆจากบ้านสนุก มาทอผ้าซาโอริให้ดูถึงที่ นอกจากนี้ยังมีบูธผลิตภัณฑ์ต่าง ของบ้านสนุก และที่ลืมไม่ได้ ก็คือบูธขายเสื้อทันตภูธรเรียกว่างานนี้ได้ชอปมันส์กันไปเลยละค่ะ

9

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ในห้องประชุมช่วงเช้านอกจากได้รับฟังปาฐกถาพิเศษ จากนายแพทย์ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ และ แพทย์หญิง วัชรา ริ้วไพบูลย์ แล้ว ยังมีแขกรับเชิญพิเศษ คือ คุณไหม สุภัทราพร ตันอธิคม ศิษย์เก่านิด้า อดีตแอร์โฮสเตส แจแปนแอร์ไลน์ จบปริ ญ ญาตรี จ ากอั ก ษรศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ประสบอุ บั ติ เ หตุ ทางรถยนต์ ทำ�ให้เป็นอัมพาตระดับสูงมาก (C 4-5) ไม่สามารถขยับมือและแขน ทั้งสองข้าง เป็นผู้เขียนหนังสือ “ไหม...ผู้ไม่ยอมแพ้ในร่างพิการ” คุณไหมบอกว่าอยาก จะมาพูดคุยกับทันตแพทย์ตั้งหลายปีแล้วแต่ไม่เห็นมีหน่วยงานไหนเชิญเลย พึ่งได้ มางานนีเ้ ป็นครัง้ แรก นับว่าเป็นนิมติ หมายทีด่ ี ที่ สสพ.เปิดโอกาสให้พวกเรา ทันตบุคลากร ได้สื่อสารกับตัวแทนกลุ่มคนพิการโดยตรง

10

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ส่วนช่วงบ่ายในห้องประชุมก็ได้รบั การแบ่งปันประสบการณ์จากเครือ ข่ายที่ทำ�แล้วบังเกิดผลสำ�เร็จ ทั้งสำ�เร็จ ด้วยใจ และสำ�เร็จด้วยผลงาน จาก หมอแบ๋ม ทพญ.มณฑลิกานต์ ปาระมี รพช.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และ หมอใหม่ ทพ.พูลพฤกษ์ โสภารัตน์ รพช.วัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรรษา จ.เชียงใหม่ สร้างความประทับใจไปตามๆกัน

11

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


มาจะกล่าวต่อไปถึงห้องโชว์นิทรรศการบทคัดย่อ poster Presentations นี่ก็นับว่าเป็นสุดยอดของความภาคภูมิใจในผลงานเครือข่าย คนพิการ แต่ถ้าตามไปดูเบื้องหลังของไอ้กระดาษกว้าง 120 คูณ 90 เนีย๊ มันไม่ได้มากันแบบง่ายๆเลยนะ แทบจะกลายเป็นพงศาวดาร อันยาวนานกันเลยทีเดียว เว่อร์ป่ะ เริ่มจากที่หมออ๋อ ทั้งขู่ ทั้งปลอบ ทั้งขอร้อง ให้เครือข่าย ส่งผลงานบทคัดย่อให้ อจ.ทรงวุฒิอ่าน เพื่อคัดเลือกผลงาน แต่ก็หาผู้หาญกล้าล็อตแรกได้เพียงไม่กี่ท่าน ก็ไม่ใช่อะไรหรอกนะคะ เจ้าบทคัดย่อไม่ได้นึกอยากจะเสกจะเป่า อะไรก็ได้ ภายใน 10-20 นาทีได้ที่ไหนกันเล่ายะ มันยากตั้งแต่ เริ่มคิดจะทำ�แล้ว ประมาณว่าแค่คิดก็ขยาดอ่ะ (หมออ๋อไม่ใช่คนทำ� เองจะไปรู้อะไร........เอะอะก็จะเอานู่น นี่ นั่น ตลอด......อย่าไปฟ้อง หมออ๋อเชียวนะคะ เดีย๋ วโดนตัดหัว เสียบประจาน....เดีย๊ นก็กลัวเป็นฮ่ะ) เมื่อเวลาเริ่มล่วงเลยล่าช้า ไอ้พวกเราก็ยังมึนๆงงๆอ่านเมลเม้งๆ ของป้าแกแต่ก็ไม่มีใครเขียนได้ซะที ป้าหมออ๋อก็เลยจัดอบรม สอนเขีย นR2R เชิญ อจ.นพ.สมชาติ โตรักษา จาก ม.มหิดล ได้ มาชี้แนะแนวทางให้เรา ได้ปิ๊งไอเดีย ว่าได้ที่เราทำ�ๆอยู่เนี่ยเป็นผล งานระดับชาติได้ทั้งนั้น อั๊ยยะ สร้างแรงบันดาลใจ empow อัดฉีด กันสุดๆละ หลังจากเข้าคอร์สอบรม ได้ 1 วัน กลับบ้านมาพร้อม ไฟในดวงตา และแล้วเครือข่ายเราก็มีบทคัดย่อ เพิ่มมากขึ้น มากขึ้น และมากขึน้ แต่หนทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบฉันใด งานเครือข่าย ของเราก็เป็นเช่นนั้น มันไม่ได้ง่ายขนาดน๊านเพราะก่อนจะส่งไปคัดตัวเอ๊ย ส่งบทคัดย่อให้คณะกรรมการพิจารณา บทคัดย่อเราก็ต้อง ผ่านการขัดเกลาทั้งภาษา กริยา และท่าทาง (อันนี้ไม่น่าเกี่ยว) กลั่นกรองจากคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ 12

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ซึ่งพวกเราก็ต้องขอขอบคุณ พี่เจน ทพญ. ศั น สณี รั ช ชกู ล จากศู น ย์ ทั น ตสาธารณสุ ข ระหว่างประเทศ ที่ดูแลพวกเราประดุจแม่ดูแล ลูกน้อยในอุทร และอจ.มิน้ ทพญ.จุฑารัตน์ ฉิมเรือง จาก ม.นเรศวร ที่อดทนอ่านบทคัดย่อของ พวกเรา ผลั ก ดั น ให้ มั น กลายเป็ น บทคั ด ย่ อ คุณภาพ ที่ผู้จัดงานคัดเลือกมานำ�เสนอ poster Presentations ให้ ไ ด้ จ งได้ ...ได้ ยิ น มาว่ า บางท่านต้องเพียรส่งให้อจ.ทางเมล กลับไปกลับมา แก้ไขอยู่ถึง 6 รอบ กว่าจะได้เป็นบทคัดย่อที่ พอจะผ่านด่าน อจ.ทรงวุฒิมานำ�เสนอในห้อง จัดแสดง poster Presentations เพราะฉะนั้น มากกว่า 30 poster Presentations ของเครือ ข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคน พิการที่ได้นำ�ไปโชว์ จึงเต็มไปด้วยพลังของคนทำ�งานเพื่อคน พิการ โดยแท้จริงนะจ๊ะ โม้นานแล้วเหนื่อยอ่ะค่ะ พบกันใหม่งานหน้านะคะ แว่วๆ ว่า หมออ๋อจะเปลี่ยนแนวทำ�งานไม่เป็นครูไหวใจร้าย (มันกลัว หน้าแก่) แต่จะจัดงาน event ประชาสัมพันธ์และพัฒนา ศักยภาพทันตบุคลากรทั่วไทยในงานสร้างเสริมสุขภาพ ช่องปากคนพิการ อย่างไม่มีเงื่อนไข จัดให้ จ่ายให้ ดูแลกันทุก สรรพสิ่ง จะไม่ทวงถาม ไม่ตามหาอีกต่อไป รับเฉพาะคนรู้ใจ เอ๊ยสมัครใจเรียนรู้ มาร่วมสู้ร่วมฝ่าฟันเพื่อพัฒนาสร้างสรรค์ 13

งานทันตสุขภาพคนพิการในสังคมไทยด้วยกันล้วนๆ สมัคร ด่วนๆๆๆ เน้อเจ้า เค้าว่าแต่ละกิจกรรมรับจำ�นวนจำ�กัด เพราะ สสพ.สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอบรม สัมมนาและดูงาน โดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพ คนพิการ ผู้จัดการแผนงานแกจัดเต็ม จ่ายเต็มจ้า ใจสู้หรือป่าว ไหวไหมบอกมา ข้าเจ้า สุนฤภรจิตรา สาวน้อยคนงามจากเมืองน่าน จะไป สืบเสาะเคาะหัวเอ๊ย เคาะข่าวจากหมออ๋อ มาบอกให้สมัคร กิจกรรมฟรีๆและดีๆ กันให้ทันเวลา รออ่านเน้อ 

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


“กาลครั้งหนึ่งของคุณหมอฟันพิเศษ

..สำ�หรับเด็กพิเศษ”

าลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีเทวดาตัวน้อย ถูกส่งลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อให้ผู้คนได้เรียนรู้บางสิ่งที่พิเศษ พ่อแม่ของเด็กน้อยดีใจมากและตั้งชื่อลูก ของพวกเขาว่า ...เด็กชายพิเศษ เด็กชายพิเศษเติบโตขึ้นพร้อมกับโลกภายใน ที่ไม่มีใครเห็น เขาเติบโตขึ้นในแบบพิเศษ พร้อมกับความรักที่พิเศษของพ่อแม่ ด้วยหวังว่าวันหนึ่งเขาจะพร้อมไปโรงเรียนร่วมกับเด็กธรรมดาคนอื่น” ข้อความนี้ เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของหนังสือนิทานเรื่อง คุณหมอฟันพิเศษ ของเด็กชายพิเศษ ( A SPECIAL DENTIST OF A SPECIAL BOY ) ที่สร้างสรรค์โดย ทพ.นวภูมินทร์ ไชยชมภู ทันตแพทย์และศิลปินอิสระแห่งจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การแนวความคิด เริ่มต้นจากฝ่ายทันตกรรม สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต จ.เชียงใหม่ เนื้อหาในหนังสือนิทานเรื่องคุณหมอฟันพิเศษ ของเด็กชายพิเศษ (A SPECIAL DENTIST OF A SPECIAL BOY) เป็นการบอกเล่าถึงการเดินทางอันแสนงดงาม ของเด็กชายพิเศษ ซึ่งเป็นตัวแทนของเด็กๆ กลุ่มที่เรียกว่าเด็กพิเศษ ที่ต้องผจญภัยไป ในดวงดาวหลายๆ ดวงเพือ่ ทีจ่ ะรักษาฟันของเขาให้หายจากอาการเจ็บปวดได้ เด็กชาย ตัวเล็กในหนังสือนิทานได้เดินทางผ่านดวงดาวอังคาร ดาวพุธ และดาวลูกไก่ ซึ่งดาว แต่ละดวงดูเหมือนจะมีปญ ั หาต่างๆ ทีแ่ ตกต่างกันไปจนไม่มพี นื้ ทีใ่ ห้เด็กชายพิเศษได้เบียด แทรกเข้าไปรักษาฟันเลยแม้แต่นดิ ด้วยเนือ้ หาทีน่ า่ รัก อ่านง่าย แต่แฝงด้วยความหมาย และแนวคิดของการรักษาพยาบาลฟันสำ�หรับเด็กพิเศษ ทำ�ให้หนังสือนิทานเล่มนี้ ถูกนำ�มาเผยแพร่ต่อในรูปแบบการ์ตูนเอนิเมชั่นโดยเครือข่ายทันตสุขภาพคนพิการ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ทั้งนี้ปัญหาหลักที่พบสำ�หรับการรักษาฟันของคนพิการนั้นมีหลายส่วนด้วยกัน ทัง้ ทัศนคติของผูใ้ ห้บริการซึง่ ยังไม่คนุ้ เคยและยังไม่มนั่ ใจในการให้บริการสร้างเสริมสุข ภาพช่องปากคนพิการ จึงจำ�เป็นต้องมีการปรับทัศนคติรวมทัง้ พัฒนาหลักสูตรการเรียน การสอนเพื่อให้ทันตบุคลากรสามารถส่งเสริมป้องกันและรักษาโรคในช่องปากของ คนพิการในระยะเบื้องต้นก่อนที่อาการของโรคจะลุกลามได้ นอกจากนี้แล้วคนพิการ ส่วนมากยังไม่ตระหนักถึงความสำ�คัญในการดูแลสุขภาพช่องปาก จึงจำ�เป็นต้องมีการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ว่าสุขภาพช่องปากที่ดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนพิการดีขึ้นด้วย อาจารย์อติศักดิ์ จึงพัฒนาวดี จากสาขาวิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ดูแลการ จัดทำ�หนังสือนิทานเล่มนี้บอกเล่าให้เราฟังถึงจุดกำ�เนิดของนิทานเรื่องคุณหมอฟันพิเศษ ของเด็กชายพิเศษเล่มนี้ว่า “เริ่มจากการที่ เคยได้ฟังคุณหมอฟันจากสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์เล่าว่า ว่ามีแม่ของเด็กออทิสติกคนหนึ่งที่พาลูกมาทำ�ฟันที่สถาบันบอก กับคุณหมอว่า ตนเองเคยพาลูกไปทำ�ฟันที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งตอนแรกนั้นหมอฟันที่คลีนิคก็รับรักษาอย่างดีพาน้องขึ้นในนั่งที่ 14

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เตียงเพื่อเตรียมทำ�ฟัน แต่พอคุณหมอหันไปเปิดประวัติการแพทย์ของน้องดูพบว่ามีการ วินิจฉัยเขียนเอาไว้ว่าเป็นออทิสติก คุณหมอหันมาปฏิเสธกับคุณแม่ว่าคงจะทำ�ให้ไม่ได้ ทั้งที่คุณแม่ก็ยังไม่เห็นว่าน้องจะแสดงท่าทีต่อต้านหรือดื้ออะไร เรื่องเล่าเรื่องนี้ทำ�ให้ผมอยากทำ�สื่ออะไรสักอย่างเพื่อสื่อสารความเข้าใจในเรื่องนี้ และโชคดีว่ามีเพื่อนที่เป็นทั้งทันตแพทย์และเป็นศิลปินด้วย (ทพ.นวภูมินทร์ ไชยชมภู) เข้ามาช่วยสร้างสรรค์เป็นเรื่องราวขึ้นมา” อาจารย์สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันต แพทยศาสตร ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าว หนังสือนิทานเล่มนีถ้ กู นำ�ไปให้นกั ศึกษาทันตแพทย์อา่ น พร้อมทัง้ ถูกนำ�ไปแจกจ่ายยังสถานพยาบาล และคลินกิ ต่างๆ โดยมีเป้าหมาย หลักเพื่อสร้างความรู้และทัศนคติแบบใหม่ให้แก่ทันตแพทย์ในการให้การรักษาพยาบาลฟันแก่คนพิการ โดยเริ่มต้นด้วยความเข้าอก เข้าใจ ให้ความอบอุ่นและการยอมรับ ทั้งนี้มีเด็กๆ พิการจำ�นวนมากที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องให้เวลากับการเอาใจใส่ปัญหาเรื่องอื่นๆ ของลูก จนทำ�ให้ไม่มีเวลาหรือมองข้ามการดูแลในเรื่องของฟันและสุขภาพช่องปาก ทำ�ให้ปัญหาเรื่องฟันของเด็กๆ เหล่านี้มักจะ มากกว่าเด็กปกติทั่วไป พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำ�นวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) กล่าว ถึงการสนับสนุนการจัดทำ�หนังสือนิทานและการ์ตูนเอนิเมชั่นเรื่องนี้ว่า “เด็ก ๆ ซึ่งเป็นเด็ก พิเศษนัน้ จะมีอารมณ์ทอี่ อ่ นไหว คุณหมอบางท่านก็อาจจะยังไม่เข้าใจอารมณ์หรือจิตใจของ เด็ก ก็อาจะไม่กล้ารักษา หรือรักษาอย่างไม่ถูกวิธีก็อาจสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นกับ เด็กได้ และทำ�ให้เด็กๆ ขยาดไม่กล้ามาหาหมอฟันอีก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่จำ�เป็นที่เราจะ ต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับคุณหมอที่รักษาเด็กๆ เหล่านี้” นิทานและเอนิเมชั่นเรื่องคุณหมอฟันพิเศษ ของเด็กชายพิเศษนี้จะเป็นเครื่องมือหนึ่ง ทีช่ ว่ ยเชือ่ มโลกของหมอฟันและเด็กพิเศษ (ซึง่ หมายรวมถึงเด็กพิการทุกประเภท ทัง้ พิการ ทางทางสติปัญญา หรือพิการทางสมองและร่างกาย) ให้เข้าใจกัน โดยหวังไว้ลึกๆ ว่าจะเป็นสื่อที่ทำ�ให้คุณหมอได้ฉุกคิดและเกิดความ รู้สึกที่จะเป็นคุณหมอฟันเกิดความเข้าใจว่าและเกิดการเตรียมตัวในการรักษาเด็กพิเศษ และหากบุคลากรที่รักษาเรื่องฟันให้กับเด็กๆ เหล่านีไ้ ด้อา่ นหนังสือเรือ่ งนี้ พีเ่ ชือ่ ว่าคุณหมอฟันเหล่านัน้ จะกลายเป็นคุณหมอฟันพิเศษทีส่ ามารถสือ่ สารกับเด็กพิเศษได้ดว้ ยการใช้ใจ เชื่อมใจเข้าหากัน และจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำ�ให้เกิดการเอื้ออาทรระหว่างหมอและคนไข้และจะเกิดการรักษากันด้วยความเข้าใจ”ผู้ อำ�นวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) กล่าว ตอนจบของนิทานเรื่องนี้บอกว่า มีคำ�ตอบที่เด็กชายพิเศษเฝ้าตามหาอยู่ที่สายรุ้ง เด็กชายพิเศษได้พบคุณหมอที่พิเศษ ที่เข้าใจ โลกพิเศษที่มีอยู่ในตัวของเขา เด็กชายพิเศษได้ค้นพบว่า ก็แค่ความอบอุ่นทึ่คุณหมอมีให้ก็คือสิ่งที่ใช่สำ�หรับเขา และการยอมรับคือ สิ่งที่เขาเฝ้าเดินทางตามหา ซึ่งสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งธรรมดาที่มีอยู่ในโลกของเรา และมีอยู่ในใจของทุกคนนั่นเอง  ท่านที่สนใจ แจ้ง ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ทำ�งาน รับซีดี “คุณหมอฟันพิเศษ ของเด็กชายพิเศษ” (A SPECIAL DENTIST OF A SPECIAL BOY) มาที่ ruralmax2007@gmail.com เราจะรีบจัดส่งซีดีนี้ให้ท่านทันที ...แต่เดี๋ยวก่อน ...หากท่านส่งชื่อที่อยู่ มาจริงๆ เราจะแถม ซีดีชุดความรู้สร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ 3 ชุด พร้อมหนังสือจิตอาสาสำ�หรับผู้ไม่พิการในความดี ให้อีก 1 ชุดของขวัญใหญ่ ฟรีๆเลยค่ะ ^^

15

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ถอดบทเรียนเครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริม สุขภาพช่องปากคนพิการในระดับบริการปฐมภูมิ ที่มา : รายงานการถอดบทเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ “สุขภาพช่องปากคนพิการทุกประเภท” ณ. โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี โดย นายจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร และคณะ

นิยามของงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ คือ

งานที่ว่าด้วยการให้ “ความรู้” เรื่องสุขภาพช่องปากต่อคนพิการ  งานทีว ่ ่าด้วยการ “ป้องกันรักษาและฟื้นฟู” สภาพช่องปากคนพิการ  ง า น ที่ ว่ า ด้วยการให้ “ใจ” กับ “เพื่อนมนุษย์” จากประเด็นทีส่ มาชิกได้สะท้อนร่วมกันโดยปราศจากพรมแดน หรือช่องว่างระหว่าง ความเป็น “รุ่นพี่กับรุ่นน้อง” ข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าในสองประเด็น แรกนัน้ ทุกคนมีวิธีคิด มุมมอง หรือมีทัศนคติต่องานที่รับผิดชอบด้วย กรอบสำ�คัญ คือ “การให้บริการ” (บริการคืองานของเรา) อันหมายถึง การให้บริการในเรื่อง “ทันตกรรมในช่องปาก” ต่อผู้พิการเหมือน กันหมด เป็นการให้บริการในมิติของการให้ความรู้เพื่อสร้าง “ภูมิต้านทาน” อันเป็นกลไกสำ�คัญในสร้างสุขภาวะทางช่องปาก แก่ผู้พิการ เพื่อ “ป้องกัน” มิให้ผู้พิการเกิดภาวะปัญหาในช่อง ปาก ตลอดจนเมื่อเกิดปัญหาในช่องปาก ก็นำ�เข้าสู่กระบวนการ ของการ “รักษาและฟื้นฟู” ตามขั้นตอน โดยมีกรอบการปฏิบัติที่ ฝังรากลึกเป็นวัฒนธรรมอยู่สองประการใหญ่ๆ เป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ การให้บริการในสถานพยาบาลและการให้บริการในชุมชน 

16

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


แต่ในประเด็นที่สามนั้น กลับกลายเป็นนิยามที่แฝง นัยสำ�คัญอย่างแน่นหนัก ในทำ�นองว่า “งานทันตกรรมที่ ให้บริการต่อคนพิการนั้น เป็นการงานที่ยึดโยงอยู่กับ ความเป็น “มนุษย์” อย่างสนิทแน่น” คนทำ�งานในสาย วิชาชีพนีจ้ งึ จำ�ต้องมีทศั นคติเชิงบวกว่า “คนพิการก็มสี ถานะ เป็นองค์ประกอบหนึง่ ของสังคม และคนพิการก็มสี ถานะ ความเป็นเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียม จึงควรต้องได้รับ การดูแลเอาใจใส่อย่างเสมอภาค และทีส่ �ำ คัญเลยก็คอื คนทำ�งานในวิชาชีพนี้ต้องไม่มองว่าคนพิการคือภาระ ของสังคม” เพราะในความเป็นจริงนั้น คนพิการทางกาย ก็ไม่ได้หมายความว่าจะพิการทางใจไปด้วย ดังนั้นจึงอาจ สรุปได้วา่ การงานดังกล่าวเป็นยิง่ กว่าการให้บริการตามหน้าที่ หรือภารกิจเท่านั้น หากแต่มีสถานะเป็นเสมือน “พันธกิจ” ที่ต้องใช้ “หัวใจ” (ใจนำ�พา ศรัทธานำ�ทาง) เป็นกลไกใน การหยัดยืนอยู่บนวิชาชีพ

 กระบวนการปฏิบตั กิ ารสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก คนพิการ มีกรอบการดำ�เนินงานหลัก 2 ประเด็น ได้แก่ระบบ การให้บริการในสถานพยาบาล และการให้บริการในชุมชน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (1) การบริการในสถานพยาบาล : การงานใน ประเด็นนี้ ถือเป็นงานหลักที่ทุกคนต้องขับเคลื่อนเป็น กิจวัตร ซึ่งอาจครอบคลุมในเรื่องต่างๆ เช่น เวชศาสตร์ ช่องปาก ทันตกรรมป้องกัน รักษาคลองรากฟัน ทันตกรรม สำ � หรั บ เด็ ก ทั น ตกรรมบู ร ณะ เป็ น งานในเชิ ง รั บ ที่ ไม่ต้องออกหน่วยไปนอกพื้นที่ โดยที่ผ่านมาสมาชิกใน กลุ่มได้สะท้อนเรื่องราวในเชิงปัญหาหลักร่วมกัน กล่าว คือ ปัญหาเกี่ยวกับขาดแคลนอัตรากำ�ลังคน ปริมาณงาน 17

ประจำ�มากเกินกว่ากำ�ลังคนทีม่ อี ยู่ หรือทีเ่ รียกว่า “งานล้น หน้าตัก” จนไม่สามารถทำ�งานเชิงรุกได้อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากในแต่ละวันมักจะมีผู้ป่วยเข้ามาติดต่อ ขอรับคำ�แนะนำ�และรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นที่น่ายินดี ว่าในการงานเหล่านี้ ถือเป็นการงานแห่งชีวิตโดยแท้ เพราะมีสมาชิกทีเ่ ป็นทัง้ รุน่ พีแ่ ละรุน่ น้องได้เปิดเปลือยเรือ่ ง เล่าอันเป็น “ความสุขเล็กๆ” จากการงานของตัวเองสูก่ ัน ฟัง ดังว่า ... “ดี ใจที่ ไ ด้ เ ห็ น คนพิ ก าร มารั ก ษาสุ ข ภาพ ช่องปากแล้วดีขึ้น สามารถดูแลตัวเอง และช่วยเหลือ คนอื่นๆ ได้อย่างน่ายกย่อง มันเหมือนการได้สร้าง เครือข่ายการทำ�งานไปในตัว และการได้เห็นคนป่วย มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ก็เหมือนเป็นความสุขเล็กๆ ที่เราค้นพบได้ในงานที่เราทำ�” (2) การให้บริการในชุมชน : การให้บริการ ในชุมชน หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “การให้บริการนอก สถานบริการ” ถือเป็นงานเชิงรุกที่มุ่งสู่การออกหน่วย ให้บริการต่อประชาชน เป็นงานท้าทายและเต็มไปด้วย บทพิสจู น์การให้ “บริการควบคูไ่ ปกับการเรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ของคนและสังคม” ในบริบทที่ไปออกหน่วย แต่ก็เป็น ที่น่าเสียดายว่า การงานในทำ�นองนี้ ไม่ค่อยได้ขับเคลื่อน กันอย่างต่อเนื่อง เพราะปัญหาหลักคือการขาดแคลน อัตรากำ�ลัง จนเกินภาวะ “งานล้นหน้าตัก” ประกอบ กับนโยบายที่ยังมุ่งเน้นการบริการในสถานพยาบาลเป็น หัวใจหลัก จึงทำ�ให้งานออกหน่วยกลายเป็นงานรองไปโดย ปริยาย เหนือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในสถาน พยาบาล หรือนอกสถานพยาบาลก็ตาม แต่สิ่งหนึ่ง ที่ ค้ น พบในเชิ ง ลั ก ษณะร่ ว มอั น เป็ น “เป้ า หมาย”

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


หรือ “ผลลัพธ์” ทั้งจากคนทำ�งานและคนรับบริการ จากวิชาชีพนี้ ก็ฉายชัดใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การ มุง่ ให้ผรู้ บั บริการได้รบั การบริการตามมาตรฐาน วิชาชีพ มุ่งส่งเสริมและพัฒนาทันตสุขภาพแก่ คนพิการ และมุ่งเสริมสร้างกระบวนการให้คน พิการมีความรู้และทักษะในการป้องกันสุขภาพ ช่องปากของตัวเอง ซึ่งสมาชิกในกลุ่มทุกคน ก็ก�ำ ลังเรียนรู้ “วิธคี ดิ และวิธปี ฏิบตั ”ิ อย่างต่อเนือ่ ง ถึงแม้จะเป็น “งานใหม่” ที่เพิ่งก่อสร้างสร้างตัว ได้ 2 ปี ปี 55 เป็นปีที่ 3 แต่ก็มีความเชื่อร่วมกัน อย่ า งหนั ก แน่ น ว่ า สิ่ ง ที่ กำ � ลั ง ขั บ เคลื่ อ นอยู่ นี้ “เป็นการงานแห่งชีวิต เป็นการทำ�งานในนิยามของการ “ให้” อย่างแท้จริง อย่างน้อยก็เป็นการให้ความรักต่อเพื่อน มนุษย์” นั่นเอง

ข้อค้นพบในการงานแห่งชีวิต จุดเด่นของการทำ�งานทันตกรรมสุขภาพคนพิการ (1) ออกหน่วยบริการ : งานแห่งความท้าทายและการให้ที่ครบวงจร ในวงสนทนาการถอดบทเรียนครัง้ นี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรือ่ งการออกหน่วยให้บริการออกสถานทีก่ ลายเป็น “เรือ่ งเด่น” ไปแบบ ไม่ต้องสงสัย เพราะฉายให้เห็นปฏิบัติการเชิงรุกที่ “ท้าทาย” ต่อการบริหารจัดการ สะท้อนทักษะการลงชุมชนและให้ บริการทางวิชาชีพแก่ชุมชน รวมถึงการสะท้อนให้เห็นภาพการก้าวข้ามงานใน “หน้าตัก” ไปสู่การตัดตอน “เส้นทาง” อันไกลโพ้นจากชุมชนมาสู่โรงพยาบาล ซึ่งการออกหน่วยนั้น ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้งานสุขภาพช่องปาก ของผู้พิการได้รับการดูแล “ครบวงจร” ทั้งในระบบการ “ป้องกัน-รักษา-ฟื้นฟู” ไปพร้อมๆ กับกระบวนการสร้าง “ทีม เครือข่าย” ในชุมชน เพราะเครือข่ายในชุมชน จะเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการทำ�หน้าที่เฝ้าระวังในเรื่องสุขภาพช่องปากของคน พิการในชุมชนนั้นๆ ไปโดยปริยาย จากเรื่องเล่าของสมาชิกท่านหนึ่ง สะท้อนให้เห็นความท้าทายอย่างมหาศาล โดยเริ่มต้นจากการดิ้นรนหาข้อมูล ในระบบของโรงพยาบาลว่ามีพื้นที่ใดบ้าง เพื่อพิจารณาพื้นที่ในชุมชนที่เหมาะสมกับการเริ่มต้นทำ�งานกับคนพิการ ซึ่งก็ 18

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เลือกพื้นที่ที่ในโรงเรียน เมื่อได้ข้อมูลก็ลงสู่โรงเรียน เพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้และ บริการเรื่องสุขภาพฟันแก่นักเรียน รวมถึงการประสานเครือข่ายอย่างหลากหลาย ทั้งในระดับโรงพยาบาลและเครือข่ายอื่นๆและเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมแล้ว ยังไม่ละเลย ที่จะจัดกิจกรรมลงพื้นที่อีกครั้ง เป็นการติดตาม และประเมินผลอีกรอบ ดังว่า “หลังจาก ได้ข้อมูลแล้ว ก็ลงสำ�รวจพื้นที่เอง เอารถส่วนตัวไปเอง โดยไม่ยุ่งกับระบบราชการ โรงเรียนที่ไปยัไม่เคยได้จัดกิจกรรมทำ�นองนี้ พอกลับมาก็ทำ�การวิเคราะห์ข้อมูล ความเป็นไปได้ในเชิงการขับเคลื่อน รวมถึงการวิเคราะห์รูปแบบกิจกรรมที่จะเป็น ประโยชน์ต่อผู้รับบริการเสร็จแล้วก็เสนอโครงการต่อหัวหน้า ซึ่งเมื่อรับการอนุมัติ ก็ประสานเครือข่ายเพือ่ นฝูง หรือเจ้าหน้าทีใ่ นสายวิชาชีพอืน่ ๆ เช่น กลุม่ กายภาพบำ�บัด หรือแม้แต่การขอความร่วมมือจากครูในโรงเรียน ผู้ปกครองให้เข้ามาช่วยเหลือใน กระบวนการที่จะมีขึ้น” จากคำ�บอกเล่าข้างต้น สะท้อนนัยสำ�คัญอันเป็น “ความท้าทาย” ในการทำ�งานอยูห่ ลาย ประเด็น คือ ท้าทายต่อ “ระบบข้อมูล” ทีเ่ ป็นมาตรฐานและสามารถนำ�มาใช้ได้จริงและใช้ได้อย่างทันท่วงทีในระบบโรงพยาบาล และสำ�นักงานสาธารณสุข ท้าทายต่อระบบคิดอันเป็น “ความรู้และทักษะการลงสู่ชุมชน” เพราะในเวทีครั้งนี้พบว่า เจ้าหน้าที่บางคนลงพื้นที่ครั้งถึงสองครั้ง แต่ไม่สามารถสังเคราะห์ข้อมูลจากบริบทนั้นๆ ออกมาเป็นโครงการ หรือกิจกรรมได้เลย นอกจากนี้ยังหมายถึงความท้าทายที่มีต่อการ “ประสานและสร้างเครือข่าย” ในภาคชุมชน ซึง่ ถือว่าเป็นจุดอ่อนในงานทันตกรรม เพราะทีผ่ า่ นมายังไม่ได้ขบั เคลือ่ นเชิงรุกลงสูช่ มุ ชนอย่างแท้จริงก็วา่ ได้ และเครือข่ายทีว่ า่ นัน้ ก็ อาจหมายถึงเครือข่ายในระบบการศึกษา เครือข่ายในสถานีอนามัย เครือข่ายกลุม่ จิตอาสา เช่น อสม. ผูใ้ หญ่บา้ น กำ�นัน รวมถึงความ ท้าทายในเรื่อง “ศรัทธาของชาวบ้าน” ที่มีต่อทันตบุคลากรด้วยเช่นกัน นอกจากการออกหน่วยให้บริการผ่านสถานศึกษาแล้ว ยังพบงานเชิงรุกเกีย่ วกับการออกหน่วยให้บริการนอกสถานทีอ่ กี กิจกรรมหนึง่ ทีท่ รงพลังอย่างมหาศาล เป็นงานเชิงรุกทีเ่ ข้าถึงตัวบุคคล หรือผูพ้ กิ ารโดยตรง นัน่ ก็คอื กิจกรรมการ “เยีย่ มบ้าน” นัน่ เอง กิจกรรมการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย หรือผู้พิการที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปาก กลายเป็นกลยุทธที่ทุกคนยอมรับว่ามี ประสิทธิภาพมากทีส่ ดุ เกีย่ วกับงานภาคสนามเพราะเป็นงาน “เข้าถึง...เข้าใจ..ใส่ใจ” อย่างจริงแท้ สามารถสร้างองค์ความรู้ หรือให้ การรักษาฟื้นฟูในทางสุขศึกษาได้โดยตรงต่อผู้ป่วยและญาติมิตร และที่สำ�คัญก็คือเป็นความท้าทายในการ “เสริมพลังใจ” ให้เพื่อนมนุษย์อย่างใกล้ชิดด้วยตนเอง เพราะในบางรายแทบไม่มีความพร้อมในการมาบำ�บัดรักษาที่โรงพยาบาลเลยก็มี ดัง เรื่องเล่าสั้นๆ จากสมาชิกท่านหนึ่งว่า... “คนพิการบอกกับเราในตอนไปเยี่ยมบ้านว่า เขาอยากไปรักษาที่โรงพยาบาลมาก แต่ไม่มีเงินและไม่มีคนพา ไป เลยจำ�ต้องทุกข์ทนอยู่แบบนี้ ดีใจและมีกำ�ลังใจที่เห็นเจ้าหน้าที่ลงมาดูแลอย่างใกล้ชิดถึงหมู่บ้าน” 19

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


(2) เครือข่ายภายใน : หัวใจที่ไร้พรมแดน เป็นเรื่องชวนประทับใจมากที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง เพราะการเกิดกิจกรรมเชิงรุกที่มุ่ง การขับเคลื่อนออกสู่ชุมชน หรือนอกสถานพยาบาลนั้น ล้วนเกิดจากแรงบันดาลใจ ที่อัดแน่นและทรงพลังในตัวตนของบุคลากรแต่ละคนอย่างเห็นได้ชัดสิ่งเหล่านี้ได้ ยืนยันความเป็นเนื้อในอันแก่นแท้ว่ามนุษย์เป็นผู้มีจิตใจอันดีงามเสมอ และไม่มีใคร เยือกเย็นพอที่จะไม่สะทกสะท้านต่อชะตากรรมของเพื่อนมนุษย์ ถึงแม้งานบริการทันตกรรมต่อผู้พิการจะยังไม่โดดเด่นในเชิงเครือข่ายภายนอก ซึ่งเป็นเครือข่ายในระดับท้องถิ่น หรือชุมชน แต่จากข้อมูลเรื่องเล่าที่สะท้อน ออกมานั้น เห็นได้ชัดว่าเครือข่ายระบบองค์กร หรือเครือข่ายในระบบ สายงานตามโครงสร้างนัน้ มีความเป็น “ทีม” หรือมี “หัวใจ” ของการเป็น “ผู้ให้” อย่างน่ายกย่อง ดังจะเห็นได้จากกรณีที่ทันตบุคลากรพยายาม ขอ “แทรกตัว” ไปลงพื้นทีก่ ับหน่วยอื่นๆ ซึง่ เป็นการลงพืน้ ที่ภายใต้บริบท ข้อจำ�กัดที่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนเรื่องนี้ได้ด้วยตัวเองอย่างเต็มรูปแบบ การแทรกตัวไปในเวทีต่างๆ จึงเป็นการไปในฐานะ “พระรอง” ที่คอย สังเกตการณ์รูปแบบ วิธีคิดและวิธีปฏิบัติของสายงานอื่นๆ ที่ให้บริการ แก่ชาวบ้าน พร้อมๆ กับการช่วยเหลือเรื่องต่างๆ อย่างไม่เกี่ยงงอน รวมถึง การหาพื้นที่และเวลาอันเหมาะสม เพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องสุขภาพ ในช่องปากไปสู่ชาวบ้านอย่างค่อยเป็นค่อยไป แล้วนำ�ข้อมูลที่ค้นพบ ในพื้นที่มาประมวลผลและสังเคราะห์ผลเป็นฐานข้อมูล เพื่อจัดวาง เป็ น แผนเชิ ง รุ ก กลั บ ไปขั บ เคลื่ อ นเรื่ อ งทั น ตกรรมในพื้ น ที่ ดั ง กล่ า ว อีกครั้ง โดยครั้งใหม่เป็นการไปในสถานะ “พระเอก” ไม่ใช่ “พระรอง” เหมือนครั้งที่ผ่านมา และทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ก็คอื การบอกเล่าถึงกลยุทธ์การขับเคลือ่ นงานทันตกรรม ทั้งในสถานพยาบาลและนอกสถานพยาบาลของกลุ่มคนในสายงาน 20

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


สาธารณสุข ต้องถือได้ว่าได้รับความร่วมใจ จาก ทีมสหวิชาชีพของแต่ละโรงพยาบาล อย่างไม่อดิ ออดถือเป็น “จุดแข็ง” ในระบบที่ ควรสร้างเป็น “ค่านิยม” หรือ “วัฒนธรรม ในการทำ�งานสร้างสุขภาพ” ให้ได้มากทีส่ ดุ เพราะสิ่งเหล่านี้คือการยืนยันในจุดร่วม การทำ�งานที่ยึดประโยชน์ของผู้รับบริการ เป็นทีต่ งั้ เป็นการทำ�งานทีร่ วมเอา “จุดแข็ง ของแต่ละสาขาวิชาชีพ” มาผนึกให้เป็นพลัง ที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพเสริมการ เรียนรู้ร่วมกันไปโดยไม่ยึดติดกับภารกิจ ในโครงสร้ า งขององค์ ก รเสี ย ทั้ ง หมด นั่ น คื อ อี ก มุ ม หนึ่ ง ของการสะท้ อ นภาพ “สุขภาวะทางจิตวิญญาณขององค์กร” ที่ทำ�งานร่วมกันด้วยใจและไร้พรมแดนของการเป็นองค์กรและสายงาน ดังเรื่องเล่าที่สมาชิกท่านหนึ่งได้บอกเล่าผ่าน รูปแบบการทำ�งานในทำ�นองว่า ... “... ขอข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ ได้รวดเร็ว ไม่มีการปิดบังข้อมูล มีการส่งต่อข้อมูลเป็นระบบ ทั้งโดยส่วนตัว และในระบบสายงาน ยกตัวอย่างเช่นใครลงพื้นที่ มีข้อมูลเกี่ยวกับสายงานใด ก็จะส่งต่อให้สายงานนั้น ได้รับรู้เพื่อนำ�ไปสู่การช่วยเหลือผู้ป่วย รวมถึงในยามที่ต้องขอแรงไปช่วยทำ�งานในโครงการต่างๆ เพียงยกหู พูดคุยกัน ก็มีการสั่งการตามระบบ สามารถช่วยเหลือกันได้ทั้งในทางข้อมูลและกำ�ลังคน เป็นการทำ�งานด้วยใจ ไม่ติดยึดกรอบและยึดระบบโครงสร้างจนทำ�อะไรไม่ได้...” (3) หัวหน้าเปิดไฟเขียว : งานเชิงรุก คือ “ลุกมาพูดและทำ�ด้วยตัวเอง” เป็นอีกประเด็นที่ถือเป็นจุดเด่นที่ไม่อาจละข้ามไปได้ เพราะมีไม่น้อยที่สมาชิกเปิดประเด็นกันอย่างถึงลูกถึงคน กล่าวคือ ในบางคนมองว่ากิจกรรมเชิงรุกในหลายเรื่องไม่ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้า หรือผู้บริหาร หรือแม้แต่ ส่วนราชการที่มีหน้าที่กำ�กับดูแลเชิงนโยบายอย่างสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด เพราะส่วนใหญ่ก็มักยึดโยงกับตัวชี้วัด ตามนโยบายกระแสหลักมากเป็นพิเศษ แถมยังมุ่งเน้นการให้บริการในสถานพยาบาลเป็นสำ�คัญ จนพลอยให้งานเชิงรุก ที่เน้นเรื่องจิตอาสาออกสู่ชุมชนไม่ถูกหยิบมาเป็น “แผน” หรือ “วาระ” แต่จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีเล็กๆ ครั้งนี้ พบว่ามีสมาชิกบางท่านไม่จำ�นนต่อทัศนคติที่ว่า “หัวหน้าไม่นำ�พา” หรือภาวะทีห่ วั หน้างานล้นมือจนไม่มเี วลามามอบนโยบาย หรือมาดูแลมากำ�กับ จนเกิดภาวะเปรียบเปรยในทำ�นองว่า “กว่าหัวจะขยับ หางก็ถทู บั จนขาด” ซึง่ สมาชิกทีว่ า่ นัน้ มองในมุมกลับว่า “...งานเชิงรุกคืองานทีผ่ รู้ บั ผิดชอบต้อง “ลุก” ขึน้ มาเสนองานด้วย วิธีคิดและวิธีปฏิบัติของตัวเอง ไม่ใช่รอให้ถูกสั่งจากเบื้องบนเสมอไป...”ดังจะเห็นได้จากสมาชิกอย่างน้อย สองคนในกลุ่มประสบความสำ�เร็จด้วยการหยิบเอางานประจำ� หรือข้อมูลอันเป็นบริบทองค์กรและพื้นที่ที่ตนเอง รับผิดชอบขึ้นมา “บูรณาการ” เป็นงานวิจัย และขับเคลื่อนเป็นโครงการ “เชิงรุก” ไปสู่ชุมชนได้ซึ่งได้รับการ สนับสนุนจากหัวหน้าและส่วนราชการอย่างสำ�นักงานจังหวัดสาธารณสุขอย่างไม่กังขา โดยสมาชิกที่ว่านั้นได้สะท้อน 21

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ให้เห็นหลักคิดที่สำ�คัญคือการทำ�งานด้วย “หัวใจและ จิตวิญญาณ” ผ่านการเรียนรูก้ ระบวนการอันเป็น “ศาสตร์ และศิลป์”ในการ “นำ�เสนองาน” ต่อผู้บริหารให้ท่าน เห็นชอบและมองว่างานใหม่ทคี่ ดิ ขึน้ มานัน้ เป็นโจทย์หนึง่ หรือเป็นนวัตกรรมหนึ่งของทางออกที่จะขับเคลื่อนงาน สุขภาพช่องปากคนพิการบนพื้นฐานของการ “ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่สมาชิก ท่านหนึ่ง ได้ทิ้งปมชวนคิดเชิงบวกไว้อย่างน่าสนใจว่า “... ขอให้เริ่มต้นจากการคิดเชิงบวกต่อองค์กร ด้วยการมองผู้ป่วยหรือคนพิการเป็นศูนย์กลาง หรือมองเป็นเป้าหมายสูงสุด การที่หัวหน้าไม่ถาม หรือไม่ตดิ ตามงานในแต่ละครัง้ ให้คดิ ว่าหัวหน้าเชือ่ มัน่ ในตัว เรา เชือ่ ว่าคิดได้ และทำ�ได้เป็นอย่างดี จึงให้อสิ ระในการทำ�งาน ตามความถนัด หรือตามความคิดและวิธกี ารทีเ่ ราคิดว่าใช่...” รวมถึงการสะท้อนแนวทางของการทำ�งานอย่างกว้างๆ ไว้ให้ ชวนคิด ดังว่า... “...ควรเริ่มต้นจากการจัดเก็บข้อมูลอันเป็นปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นจริงในงาน หรือในองค์กรที่รับผิดชอบมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อหาแนวทางการขับเคลื่อนตามองค์ความรู้ ของตัวเอง และการแสวงหาความรูจ้ ากเครือข่ายและแหล่งต่างๆ สำ�คัญเมื่อได้รับโอกาสในการทำ�งาน ก็ต้องทำ�งานด้วยระบบของความเป็นทีมให้ได้มากที่สุด...” (4) ชูวาทกรรมนำ�การขับเคลื่อน... จากเวทีการถอดบทเรียนครั้งนี้ เกิดเสียงสะท้อนปนความน้อยใจเล็กๆ ในปรากฏการณ์ของการขับเคลื่อนงานของ คนในกระทรวงสาธารณสุขอย่างน่าสนใจ กล่าวคือสมาชิกมองในมุมเดียวกันว่า งาน ทันตกรรมสุขภาพปากคนพิการ ยังไม่เป็นวาระที่สำ�คัญ หรือเป็นกระแสหลักของสังคมไทย เพราะเมื่อศึกษาข้อมูลย้อนหลัง เรื่องดังกล่าวนี้ก็ยังถูกจัดลำ�ดับ ความสำ�คัญไว้ท้ายเสมอมา กระทั่งงานเรื่องดังกล่าวได้หยิบขึ้นมาขับเคลื่อนเพียงไม่นาน จนเริ่มมีกระแสเบาๆในการพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการที่สะกิดให้ทุกภาคฝ่ายได้บูรณาการร่วมกัน ไม่ใช่ปล่อยวางให้เรื่อง “ทันตกรรมในช่องปากคนพิการ” เป็นเรื่องแยกส่วน และปลายสายของการสร้างสุขภาวะอีกต่อไป งานด้ า นสุ ข ภาพในช่ อ งปากเป็ น เรื่ อ งหลั ก ของการสร้ า งภู มิ ต้ า นทานที่ ดี ใ ห้ กั บ ชี วิ ต ของคนในสั ง คมว่ า “ปากเป็นประตูสุขภาพ” โดยตอกย้ำ�ให้เห็นบทบาทและสถานะความสำ�คัญของเรื่องช่องปากที่ต้องได้รับการดูแล เอาใส่ใจจากระบบการพัฒนาสังคม ไม่ว่าสังคมนั้นจะพัฒนาหรือด้อยพัฒนาก็ควรให้ความสำ�คัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมถึ ง การผู ก โยงเข้ า สู่ ต รรกะว่ า “การเคี้ ย วมี ผ ลต่ อ I.Qและ E.Q เด็ ก ปฐมวั ย ” ซึ่ ง ทั้ ง สองวาทกรรมนั้ น ได้สื่อให้เห็นว่าระบบในช่องปากคือรากฐานอันสำ�คัญของการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนและสร้างสุขภาวะที่ดี ให้กับสังคม เพราะระบบช่องปาก อันหมายถึงเหงือกฟันลิ้น ฯลฯ ล้วนส่งผลต่อระบบพัฒนาการของชีวิตเสมอ 22

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ดังนัน้ หากปรารถนาให้สงั คมมีทรัพยากรบุคคลทีพ่ งึ ประสงค์ เป็นคนเก่ง (M.Q) คนดี (I.Q) และมี ค วามสุ ข (E.Q) ก็ จำ � ต้ อ งนำ � หลั ก คิ ด เรื่ อ งสุ ข ภาพ ในช่องปากไปขับเคลื่อนเป็นวาระอย่างเป็นรูปธรรม โดยวางระบบให้หยั่งรากลึก สืบมาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งควรตระหนักถึงเด็กที่พิการด้วย ทั้งนี้งานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ เริ่มได้รับความสนใจและให้ความ สำ � คั ญ มากขึ้ น กว่ า อดี ต บ้ า งแล้ ว และนั บ เป็ น ความสำ � เร็ จ ในอี ก ก้ า วหนึ่ ง ที่ ยั ง ต้องลงแรงอย่างไม่ลดละกับการช่วยกัน “เขย่า” เพื่อไม่ให้นอนนิ่งจมเป็นตะกอน อยู่ก้นขวด (ใบเก่า) เหมือนเช่นที่เคยมา (5) สสจ. : บทบาทและสถานะการเป็นเสมือน “หูเรดาร์ สายตาพระเจ้า” อาจนับได้ว่าสำ�นักงานสาธารณสุขเป็นเหมือนกัปตันเรือที่นำ �เรือแล่นลิ่วไป สู่ธงอันเป็นยุทธศาสตร์ที่ปักไว้ในอีกฟากหนึ่งฝั่งนํ้า หรือในอีกมิติหนึ่งสำ�นักงาน สาธารณสุขก็เป็น “ผูร้ อบรู”้ มีคณ ุ ลักษณะพิเศษของการเป็นผูน้ �ำ คือ “หูเรดาร์ สายตา พระเจ้า” นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ผู้เข้าร่วมถอดบทเรียนในเวทีดังกล่าว จึงสะท้อนข้อมูลว่าสำ�นักงาน สาธารณสุขจังหวัดคือกลไกสำ�คัญของการขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพช่องปาก คนพิการ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ทุนอันเป็นข้อมูลในมือทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว สามารถมององค์ ร วมเชิ ง บู ร ณาการได้ พร้ อ มๆ กั บ การมี บ ทบาทที่ จ ะนำ � ทรัพยากร หรือบุคลากรในพื้นที่ต่างๆ ที่เกิดจากการสังเคราะห์เป้าหมายมาร่วม มาเป็นภาคในการขับเคลื่อน ซึ่งอาจทำ�ได้ทั้งการมอบหมายภารกิจเจาะจงลงสู่ สถานพยาบาลใดสถานหนึ่ง หรือการมอบภารกิจเชิงรุกลงสู่ชุมชนใดชุมชนหนึ่งอย่างจริงจัง สร้างเป็นแผนงานเชิงรุก หรือแผนแม่บท จัดสรรงบประมาณลงสู่การปฏิบัติเพื่อปักธงเป็นพื้นที่นำ�ร่อง หรือไม่ก็กำ�หนดนโยบายให้เป็นรูปธรรม ให้ค่าความสำ�คัญของเรื่องนี้ไม่น้อยไปกว่าการทำ�งานตาม “นโยบายกระแสหลัก” เช่น กำ�หนดให้มีการเสนอ แผนงานเรื่องสุขภาพช่องปากคนพิการล่วงหน้าในต้นปีงบประมาณ จัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำ�เสมอ สร้างเครือ ข่ายเชิงรุกลงสูพ่ นื้ ทีอ่ ย่างจริงจัง รวมถึงการประสานงบประมาณจากภาคีอนื่ ๆ มาช่วยในการขับเคลือ่ นอย่างต่อเนือ่ งและเป็น รูปธรรม เฉกเช่นกับความสำ�เร็จที่เกิดขึ้นจากการนำ�พาของ “สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย” ดังปรากฏเป็นภาพ สะท้อนเชิงทัศนะจากสมาชิกในกลุ่มว่า... 23

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


“... สสจ.มีบทบาทในการชักชวนให้น้องทันตแพทย์จาก รพ.ชุมชนได้เข้ามาทำ�งานเกี่ยวกับการดูแลคนพิการ โดยชักชวนทุกๆ อำ�เภอและเขียนโครงการไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ปีงบประมาณ 53 และติดตามโครงการมาโดยตลอด ซึ่งถือว่าช่วยได้เยอะมาก...” หรือในอีกมุมมองหนึ่งที่สะท้อนบทบาทและสถานะของสำ�นักงานสาธารณสุขที่มีต่อการขับเคลื่อนเรื่องคนพิการหรือ เรือ่ งสุขภาพช่องปากคนพิการในเชิงโมเดลทีเ่ ป็นยิง่ กว่า “นายใหญ่และพีเ่ ลีย้ ง” แต่เป็นเสมือน “ศูนย์รวม หรือ ครอบครัว” เดียวกันที่ยืนอยู่บนฐานคิดและฐานการปฏิบัติที่มั่นคงด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการพัฒนาคน พัฒนางานและพัฒนาองค์กรอย่างมีทิศทาง

จุดอ่อนของการทำ�งานทันตกรรมสุขภาพช่องปากคนพิการ

(1) ขาดแคลนบุคลากร : งานล้นมือ...ล้นหน้าตัก สมาชิกที่เข้าร่วมการถอดบทเรียน ได้นำ�เสนอข้อมูลในทิศทางเดียวกันว่า ปัญหาหลักที่พบเจอในองค์กรก็คืองานบริการ สุขภาพช่องปากคนพิการเป็น “งานใหม่” ที่เกิดขึ้นเพียง 2 ปี เป็นงานเชิงรุกที่กำ�ลังถูกเฝ้ามองและคาดหวัง จากสังคม ดังนั้นการทำ�งานจึงอยู่ในระยะเริ่มต้น ลองผิดลองถูกในทางการขับเคลื่อน ทั้งเรื่องนโยบาย แผน และงบประมาณ ตลอดจนอยู่ระหว่างการผสานบทเรียนจากสหวิชาชีพจากภาคีเครือข่ายทั้งในสถานพยาบาลและภาคีเครือข่ายระดับชุมชน ขณะเดียวกันก็ยังต้องเผชิญกับปัจจุบันประวัติศาสตร์เดิมๆ คือ ขาดแคลนอัตรากำ�ลังในสายวิชาชีพทันตกรรม หรือ ทันตแพทย์ ทั้งในมิติของผู้เป็น “หมอ” และ “เจ้าหน้าที่” ที่รับผิดชอบงานประจำ�ในด้านนี้โดยตรง ดังนั้นการทำ�งาน จึงยังมุง่ ใช้กลยุทธ์สกู่ ารให้บริการในสถานพยาบาล มากกว่าการทำ�กิจกรรม เชิงรุกด้วยการบริการนอกสถานพยาบาล เพราะ งานประจำ�ที่ว่านั้นก็อยู่ในสภาวะที่ไม่ต่างจาก “งานล้นมือ...ล้นหน้าตัก” ไปแล้วก็ว่าได้ (2) ขาดเครือข่ายระดับชุมชน การขาดแคลนเครือข่ายในระดับชุมชน เป็นผลพวงที่มาจากการเป็น “งานใหม่” ที่เพิ่งก่อเกิดและสร้างตัวในระยะเวลา อันไม่นาน กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงยังเป็นเสมือนการ“โยนหินถามทาง” ไปในตัว กอปรกับภาวะขาดแคลนกำ�ลังคน จนต้องขับเคลือ่ นนโยบายการให้บริการในสถานพยาบาลเป็นกระแสหลัก อีกทัง้ ตลอดเวลาทีผ่ า่ นมา ก็มคี วามจำ�เป็นทีจ่ ะต้อง มุ่งสร้างเครือข่ายในระดับส่วนกลางให้เป็นรูปธรรมและเข้มแข็งเสียก่อน จึงยังไม่สามารถสร้างเครือข่ายระดับชุมชนเฉพาะ ทางในเรื่องดังกล่าวได้ รวมถึงปัญหาการไม่ทำ�งานแบบบูรณาการเครือข่ายจากทุนเดิมที่มีเครือข่ายอยู่ในชุมชนด้วยเช่นกัน แต่ ใ นเวที ก ารถอดบทเรี ย นครั้ ง นี้ ก็ เ ห็ น ได้ ชั ด ว่ า ในแต่ ล ะองค์ ก รมี ค วามพยายามที่ จ ะค้ น หาพื้ น ที่ อั น เป็ น ความสมดุ ล ของการขั บ เคลื่ อ นเชิ ง รุ ก ด้ ว ยการ “ออกหน่ ว ย” ซึ่ ง เป็ น ทั้ ง แรงผลั ก จากภายในตั ว ตนของบุ ค คล และเกิ ด จากการกระตุ้ น เชิ ง นโยบายจากระดั บ บริ ห ารด้ ว ยเหมื อ นกั น ดั ง นั้ น ปั ญ หาที่ พ บจึ ง ไม่ แ ปลกที่ 24

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


งานสุขภาพช่องปากคนพิการยังขาดเครือข่ายแนวร่วมขับเคลื่อนในระดับชุมชน ทัง้ ทีเ่ ป็นกลุม่ สถานอนามัย กลุม่ อสม. กลุม่ ผูป้ ว่ ย คนพิการ กลุม่ จิตอาสา กลุม่ ผูน้ �ำ ท้องถิ่น ผู้นำ�คณะสงฆ์ กลุ่มสตรีแม่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ องค์การบริหาร ส่วนตำ�บล เป็นต้น แต่ก็เป็นที่น่ายินดีว่า บัดนี้ในบางจังหวัด เริ่มมีทิศทาง การสร้างเครือข่ายในระดับชุมชนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมบ้างแล้ว (3) ขาดนโยบายเชิงรุกและการบูรณาการการเรียนรู้ของหลักสูตรใน สถานศึกษา การขาดแคลนนโยบายเชิงรุก แต่กเ็ ป็นทีน่ า่ ยินดีวา่ บุคลากรในสายงานนีส้ ามารถทำ�งานแบบ “บูรณาการเชิงรุก” ได้อย่างง่ายงาม ด้วยการขอแทรกตัวเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการออกหน่วยสู่ชุมชนเป็นระยะๆ จนในบางพื้นที่พัฒนาตัวเองสู่การออกหน่วย ให้บริการได้เต็มรูปแบบเป็นครั้งคราวแล้วก็มี ขณะเดียวกันยังพบว่า การผลิตบัณฑิตทันตบุคลากรออกสูส่ งั คมของระบบการศึกษาก็เป็นปัจจัยสำ�คัญ เพราะใน หลายแห่ง ไม่มีกระบวนการของการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการในสาขาที่ใกล้เคียงกันอย่างที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับคนพิการนั้น กลายเป็นการเรียนรู้เฉพาะทาง หรือเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นหลักจนเกินไป ทำ�ให้เมื่อจบมาแล้วไม่สามารถบูรณาการการดูแล หรือการช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ซึ่งรวมถึงระบบการเรียนการสอนที่ เน้นการเรียนในห้องเรียน มากกว่าการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงนอกห้องเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนขาดทักษะในการลงชุมชน ขาดทักษะในการคิดแบบองค์รวมของความเป็นสังคม ขาดทักษะการวิเคราะห์ปัจจัยชุมชนที่มีผลต่อการกำ�หนดพฤติกรรม ของผู้คนในสังคมนั้นๆ หรือแม้แต่การเรียนรู้ที่ไม่เปิดพื้นที่ให้ผู้เรียนได้สัมผัสจริงกับการปฏิบัติงานร่วมกับภาคีในระดับ ชุมชน ก็ส่งผลให้ขาดความเข้าใจและทักษะในการติดต่อประสานงานภาคส่วนต่างๆ ไปโดยปริยาย ทั้งนี้ท้งั นั้นยัง รวมถึงปัญหาการ “ออกแบบเครือ่ งมือ” เพื่อใช้เก็บข้อมูลภาคสนามที่สอดรับกับสถานการณ์ ซึ่งพบว่าเป็นอีกปัจจัย ที่ยังไม่มีการพัฒนาในเชิงบูรณาการเท่าที่ควร จากเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนเรื่อง “ระบบทันตสุขภาพคนพิการในระดับบริการปฐมภูมิ” สิ่งที่ ค้นพบร่วมกันมาอย่างยาวนานแล้วก็คือ การมองว่างานทันตกรรมที่ให้บริการต่อคนพิการนั้น เป็นการงานที่ยึดโยงอยู่กับ ความเป็น “มนุษย์” อย่างสนิทแน่น คนทำ�งานเป็นกลุ่มคนที่มีฐานคิดจากความเป็นคน “จิตอาสา” หรือ “จิตสำ�นึก สาธารณะ” ค่อนข้างสูง เพราะต้องเสียสละและอุทิศตนเพื่อคนพิการที่มีข้อจำ�กัดในการดูแลตัวเอง รวมถึงเป็นการงาน ทีส่ ร้างตัวขึน้ ใหม่ แต่กลับต้องแบกรับภารกิจและพันธกิจทีส่ งั คมคาดหวังไว้สงู อย่างเลีย่ งไม่ได้ ซึง่ ปัจจุบนั ก็ยงั ถือว่าเป็นสายงาน ที่ขาดกำ�ลังคนอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงท้ายของเวทีการถอดบทเรียนในครั้งนี้ บรรดาสมาชิกต่างก็ได้ระดมความคิดผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเสนอ แนะแนวทางการแก้ปญ ั หา หรือการกำ�หนดทิศทางการขับเคลือ่ นเรือ่ งการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากสำ�หรับคนพิการ ไว้หลาย ประเด็น อาทิ ● การสร้างความรูแ้ ละความตระหนักให้สงั คมได้เห็นความสำ�คัญของงาน “ทันตกรรม” ในฐานะของการเป็นรากฐานของ การสร้างคุณภาพชีวิตของคนและสังคม ไม่ใช่เรื่อง “ชายขอบ” เหมือนเช่นที่เคยเป็นมา ● กำ�หนดนโยบาย หรือยุทธศาสตร์เชิงรุกอย่างเป็นรูปธรรม สร้างคุณค่าให้งานและคนทำ�งาน เช่น มีวาทกรรมทีเ่ ป็นเป้าหมาย ของงานอย่างชัดเจน มีแผนและงบประมาณต่อเนื่องทั้งในระดับส่วนกลางและพื้นที่ อันหมายถึงระดับอำ�เภอ และตำ�บล 25

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


● มีกิจกรรมเชิงรุกที่ทำ�ในรูปเครือข่าย เช่น การออกเยี่ยมบ้านคนพิการร่วมกับงาน หรือแผนกอื่นๆ รวมถึงการสอด แทรกเรื่องสุขภาพในช่องปากคนพิการให้กลมกลืนอยู่ในการออกหน่วยบริการชุมชนในแต่ละเดือนของสถานพยาบาล ● ผลิตอัตรากำ�ลังด้านทันตกรรม หรือทันตแพทย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในสายปฏิบัติเกี่ยวกับงานสุขภาพในช่องปากคน พิการให้มากขึ้น เพื่อให้มีอัตรากำ�ลังเพียงพอต่อการทำ�งานเชิงรุกนอกสถานพยาบาล ● ผลิตชุดความรู้ หรือนวัตกรรมให้หลากหลาย และเหมาะต่อการเรียนรู้ในภาคีต่างๆ โดยมีรูปลักษณ์ที่น่าสนใจและ เข้าถึงได้ในทุกกลุ่มคนอย่างรวดเร็ว ทั้งที่เป็นกลุ่มสถาบันครอบครัว สถานศึกษา องค์กรท้องถิ่น และสถานพยาบาล ● สร้างระบบการดูแลตนเองผ่านระบบชุมชน เช่น โรงเรียน และครอบครัว ● ผลักดันให้เกิดแผนเชิงรุกบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง หรือบริบทของงาน มากกว่ากระแสหลัก เช่น การนำ�ข้อเท็จจริง หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชนมาเป็นงานเชิงรุก ทั้งที่เป็นกิจกรรม และงานวิจัย ● สร้างภาคีเครือข่ายให้เกิดขึน้ ในระดับชุมชน เพือ่ ให้ชมุ ชนได้ลกุ ขึน้ มาดูแลและสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชนด้วยตัวเอง โดยการสร้างแกนนำ�ให้หลากหลายสถานะ ● มีการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องการกินการอยู่มาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเรื่องสุขภาวะช่องปากไปในตัว รายชื่อเครือข่ายปฏิบัติการรุ่นที่1 (14พื้นที่) “การพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปากระดับปฐมภูมิในกลุ่มคน พิการทุกประเภท” ลำ�ดับ

ชื่อ - นามสกุล

สถานที่ทำ�งาน

1.

ทพญ.รพินท์ อบสุวรรณ

สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

2.

ทพญ.พจนา พงษ์พานิช

โรงพยาบาล เวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

3.

ทพญ.มณฑลิกานต์ ปาระมี

โรงพยาบาล เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

4.

ทพญ.ศรินทิพย์ ปิติวัฒน์สกุล

รพศ.เชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย

5.

ทพญ.สุรีรัตน์ สูงสว่าง

โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน

6.

ทพ.พูลพฤกษ์ โสภารัตน์

โรงพยาบาล วัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดเชียงใหม่

7.

ทพ. ชูเกียรติ พุทธานันทเดช

โรงพยาบาลท่าโรงช้าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

8.

นางทัณฑิกา สุขจันทร์

โรงพยาบาลระโนด จังหวัดสงขลา

9.

ทพญ. พรทิพย์ แก้วประดิษฐ์

โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา

10.

ทพญ.พรพิมล วิทยวีรศักดิ์

โรงพยาบาลป่าบอน จังหวัดพัทลุง

11.

ทพญ.ศศิธร ตาลอำ�ไพ

โรงพยาบาล จังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

12.

ทพญ.เยาวพา จันทรบุตร

โรงพยาบาล โพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

13.

ทพญ.รจิต จันทร์ประสิทธิ์

โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

14.

ทพญ.มยุรฉัตร ฉายอรุณ

โรงพยาบาลภาชี จังหวัด 26

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


รายชือ่ เครือข่ายปฏิบตั กิ ารรุน่ ที2่ ( 30พืน้ ที่ ) “การพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปากระดับปฐมภูมใิ นกลุม่ คนพิการทุกประเภท” ลำ�ดับ 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44.

ชื่อ - นามสกุล ทพ.พสธร ฉันทแดนสุวรรณ นายปิยะพงศ์ ปวงคำ� ทพญ.ภาสวรรณ กุลเศรษฐ ทพ.ชัยพัฒน์ สุกิจจวนิช ทพ.ปกรณ์ ชื่นจิตต์ ทพ.ฑวัต บุญญประภา ทพญ.อารีย์ แก้วมะคำ� นางสุวิภรณ์ ฉายาพงศ์ ทพญ.มัณฑนา ฉวรรณกุล ทพญ.สุรัสวดี เมธาบดี ทพญ.เพียงเพ็ญ สุขุตมตันติ ทพ.วุฒิพงศ์ ธนะขว้าง นางมุกดา สุทธิแสน นางกัลยา ใจจะดี นางเบญจวรรณ พรหมพา นางกมลฉัตร จันทร์ดี นางสาวศุภลักษณ์ เสนนันตา นางสาวกัตติกา มงคล นายสิทธิพงศ์ อุปจักร์ นาง ดาเรศ สินสกุลวิวัฒน์ ทพญ.อำ�มา ปัทมสัตยาสนธิ ทพญ.สุวิชชา ไมตรี ทพญ. วิลาวัณย์ วิบูลย์จันทร์ นางสาว สิรกันยา สิงห์ศรี ทพญ.เบญจมาส สือพัฒธิมา ทพญ.วิโรชา เพียรเจริญ นางฑัณฑิกา สุขจันทร์ ทพญ.รพินท์ อบสุวรรณ ทพญ.ศศิธร ตาลอำ�ไพ ทพญ.เยาวพา จันทรบุตร

สถานที่ทำ�งาน โรงพยาบาล แม่ลาว จังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลป่าแดด จังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลนางแล จังหวัดเชียงราย สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โรงพยาบาลปากท่อ จังหวัดราชบุรี โรงพยาบาลทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลนํ้าแก่น จังหวัดน่าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลบ่อสวก จังหวัดน่าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลจอมพระ จังหวัดน่าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลบ้านบุปผาราม จังหวัดน่าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลม่วงตึ๊ด จังหวัดน่าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลบ้านเมืองจัง จังหวัดน่าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลสะเนียน จังหวัดน่าน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำ�บลทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โรงพยาบาล สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัด ลำ�พูน โรงพยาบาลวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จังหวัดนครพนม โรงพยาบาลโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาล ป่าบอน จังหวัดพัทลุง โรงพยาบาลระโนด จังหวัดสงขลา สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย โรงพยาบาล จังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด โรงพยาบาล โพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

*** 41-44 เครือข่ายรุ่น 1 รับทุนทำ�โครงการเพิ่มขยายในรุ่น 2 ด้วย 27

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


✧ สรุปกิจกรรมดำ�เนินการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ

ของเครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการทั้งรุ่น 1 และรุ่น 2 ปฏิบัติการโดยสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด กิจกรรมที่ 1 กำ�หนดทิศทางและนโยบายการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในคนพิการ ชี้แจงแนวการดำ�เนินการ กำ�หนดเป้าหมาย และการใช้งบประมาณในการดำ�เนินงาน กิจกรรมที่ 2 สนับสนุน/ผลักดัน/พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้หน่วยบริการสามารถดำ�เนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมที่ 3 พัฒนาระบบกลไก การบริหารจัดการ ประสาน รวบรวมผลการดำ�เนินงาน วิเคราะห์ผลการดำ�เนินงาน กิจกรรมที่ 4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างกระแสให้มีการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในคนพิการในพื้นที่

ปฏิบัติการนำ�ร่องในชุมชน

ปฏิบัติการนำ�ร่องในโรงเรียน

กิจกรรมที่ 1. สร้างทีมสหวิชาชีพในการดูแลสุขภาพช่องปากคน พิการ กิจกรรมที่ 2. การออกเยี่ยมบ้านผู้พิการโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ การ สำ�รวจสภาวะสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากผู้พิการ กิจกรรมที่ 3. การให้ความรู้และทักษะในการดูแลทันตสุขภาพของผู้ พิการและผู้ดูแลผู้พิการ กิจกรรมที่ 4. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้พิการ ผู้ดูแลผู้พิการ ทีมสหวิชาชีพ และตัวแทนภาคชุมชน กิจกรรมที่ 5 การให้บริการทันตกรรมแก่ผู้พิการ ผู้พิการที่มีปัญหา ช่องปากที่ควรได้รับการรักษา จะมีการนัดหมายเพื่อรับบริการทันต กรรม ตามความสะดวกในการเดินทางมารับบริการของผู้พิการ ซึ่งมี จุดการจัดบริการ กิจกรรมที่ 6 การส่งสถานพยาบาลในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิเพื่อ รักษาต่อ

กิจกรรมที่ 1. การสร้างทีมงานในการดูแล สุขภาพช่องปากเด็กพิการ กิจกรรมที่ 2. การประชุมผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก เด็กกลุ่มเป้าหมาย และครูในโรงเรียน กิจกรรม 3. ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กพิการ, สอนคุณครตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากเด็ก กิจกรรมที่ 4. พัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพช่อง ปากเด็กพิการ กิจกรรมที่ 5. ให้บริการทันตกรรมแก่เด็กพิการ ทั้งในสถานพยาบาลและสถานศึกษา กิจกรรม 6. กิจกรรมเยี่ยมบ้านเด็กพิการ เพื่อให้ ทันตสุขศึกษาผู้ปกครอง ให้ดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กพิการได้อย่างต่อเนื่อง

28

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


งานทันตสุขภาพคนพิการ

งานง่ายๆใครๆก็ทำ�ได้?! สราชานุถาบักนูลสร้กรมสุ างเสริมสุขภาพคนพิการ(สสพ.) ร่วมกับสถาบัน ขภาพจิต จัดอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ

เด็กพิเศษและคนพิการ ภาคทฤษฎีเพือ่ การดูแลและสร้างเสริมสุข ภาพช่องปากแก่ผบู้ กพร่องด้านพัฒนาการและสติปญ ั ญา สำ�หรับ สหวิชาชีพ หน่วยงานละ 3 คน ในวันอังคาร ที่ 1 และ วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2555 ขอเชิญผูส้ นใจสมัครเข้าร่วมอบรมเป็นทีม

สหวิชาชีพ รับจำ�นวนจำ�กัด สมัครด่วน !

สนับสนุนงบประมาณโดย สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สสพ.(เฉพาะค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าลงทะเบียน)

ติดต่อสอบถามและขอใบสมัคร

ได้ที่ ทพญ.ภัตติมา บุรพลกุล โทรที่ทำ�งาน 02-248-8941 ต่อ 70924 หรือ คุณอัญชลี วิมล โทรที่ทำ�งาน 02-248-8941 ต่อ 70365 ผู้ประสานงานแผนงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ สสพ.

29

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ติดต่อสอบถามและขอใบสมัคร

ได้ที่ ทพญ.ภัตติมา บุรพลกุล โทรที่ทำ�งาน 02-248-8941 ต่อ 70924 หรือ คุณอัญชลี วิมล โทรที่ทำ�งาน 02-248-8941 ต่อ 70365 ผู้ประสานงานแผนงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ สสพ.

วัน เวลา และรายละเอียดการจัดอบรม วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2555

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเด็กพิเศษและคนพิการโดย แพทย์เฉพาะทางด้าน พัฒนาการเด็ก/เทคนิคในการให้บริการทันตกรรมแก่เด็กพิเศษและคนพิการ โดย รศ.ทพญ.มาลี อรุณากูร จากมหิดล/บทบาทของสหวิชาชีพในการให้บริการทันตกรรมแก่เด็กพิเศษและคนพิการ โดยนักกายภาพบำ�บัดและนักกิจกรรมบำ�บัด

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2555

เป็นการดูงานภายในสถาบันราชานุกลู เพือ่ เรียนรูก้ ารคัดกรองเบือ้ งต้นและแนวทางการดูแลทันต สุขภาพร่วมกับผูป้ กครองของเด็กพิเศษกลุม่ ต่างๆ เช่น เด็กเล็กทีม่ ปี ญั หาพัฒนาการเด็กออทิสติก การดูงาน เพือ่ ศึกษาแนวคิดในการทำ�นวตกรรมทีเ่ กีย่ วข้อง เป็นต้น ช่วงบ่าย จะเป็นการสาธิตเทคนิคการแปรงฟันในเด็กทีไ่ ม่รว่ มมือเพือ่ ให้สามารถนำ�กลับไป เผยแพร่และสอนผู้ปกครองได้

โครงการจัดอบรมทีมสหวิชาชีพภาคทฤษฎีเพื่อการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก แก่ผู้บกพร่องด้านพัฒนาการและสติปัญญา โดย สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต หลักการและเหตุผล โรคในช่องปาก เป็นปัญหาที่สำ�คัญอย่างหนึ่ง ในกลุ่มคนพิการ/ผู้บกพร่องฯ ซึ่งการดูแลสุขภาพช่องปากในบุคคลเหล่านี้ มีวิธีการที่ แตกต่างหลากหลาย จากสถานการณ์พบว่าคนพิการประเภทต่างๆ ไม่สามารถรับบริการทันตกรรมได้จากสถานบริการใกล้บ้าน แม้ว่าจะ เป็นการรักษาทางทันตกรรมแบบง่ายๆ ข้อจำ�กัดทีส่ ่งผลต่อความพร้อมในการให้บริการทันตกรรมส่วนหนึง่ ได้แก่ ขาดความมั่นใจในความ รู้และประสบการณ์ในการให้บริการ และในการทำ�งานต้องอาศัยความรู้ร่วมกับสหวิชาชีพ 30

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ถาบันราชานุกูลได้รับการสนับสนุนทุนดำ�เนินการจากสำ�นักสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) จัดอบรมเพือ่ พัฒนาทันตบุคลากรมาแล้ว 2 ปี จำ�นวน 10 รุน่ โดยในปีแรกเป็นการจัด อบรมผู้ช่วยทันตแพทย์ และในปีที่ 2 จัดการอบรมทันตแพทย์และทันตาภิบาลและผู้ช่วยทันตแพทย์ พบว่าได้ผลดี มีการให้บริการเพื่อดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่องในพื้นที่ นอกจากนี้ได้เกิดการทำ�งานร่วมกับสหวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสุขภาพคนพิการแบบองค์รวม ทางสถาบันราชานุกูลจึงเห็นความสำ�คัญของการทำ�งานร่วมกันในสหวิชาชีพ จึงได้จัดการอบรม ขึ้นโดยเบื้องต้นเป็นการสนับสนุนด้านวิชาการทั้งด้านการจัดอบรมและจัดทำ�คู่มือในการทำ�งาน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาความรู้ของทันตบุคลากรและสหวิชาชีพในการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ /ผู้บกพร่องด้านพัฒนาการและสติปัญญา 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมสหวิชาชีพในงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ กลุ่มเป้าหมาย 1. ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ และพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำ�นวน 80 คน 2. หน่วยงานที่สนใจจะพัฒนาการให้บริการทันตกรรมสำ�หรับเด็กพิเศษและคนพิการ ถ้าจะให้ ทำ�งานได้ดีน่าจะมาอบรมร่วมกันทั้งสามวิชาชีพเพื่อทำ�งานร่วมกันในพื้นที่ (สามารถสมัคร มาพร้อมกันทั้งทีมสหวิชาชีพประกอบด้วย ทันตบุคลากร 2 คน และ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข อีก 1 คน) วัน เวลาจัดอบรม วันอังคารที่ 1-พุธที่ 2 พฤษภาคม 2555 สถานที่ดำ�เนินการ สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กรอบเนื้อหาในการอบรม 1. ความรู้ พื้ น ฐานเกี่ ย วกั บ เด็ ก พิ เ ศษและคนพิ ก าร (วิทยากรแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก) 2. การให้บริการทันตกรรมแก่เด็กพิเศษ/ คนพิการ (วิทยากร ทันตแพทย์สาขาทันตกรรมเด็ก) 3. บทบาทของทีมสหวิชาชีพในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก แก่เด็กพิเศษ/คนพิการ (วิทยากร นักกายภาพบำ�บัด นักกิจกรรมบำ�บัด และนักฝึกพูด) 4. การศึกษาดูงานตามหน่วยให้บริการผู้บกพร่องด้านพัฒนาการและสติปัญญา 5. เทคนิคการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กพิเศษ/คนพิการ  31

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


การให้ทันตสุขศึกษาและงานทันตกรรมป้องกัน แก่คนพิการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ โดย ทพญ.มณฑลิกานต์ ปาระมี โรงพยาบาลเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ขอขอบคุณ ภาพประกอบ จาก รศ.ทพญ.มาลี อรุณากูร คณะทันตแพทย์ศาสตร์ ม.มหิดล Download เอกสารฉบับเต็มจาก www.oha-th.com เวบไซต์สร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ

การสื่อสารกับคนพิการแต่ละประเภทในหน่วยงานระดับปฐมภูมิ งานทันตกรรมป้องกันในคนพิการในหน่วยงานระดับปฐมภูมิ 1. การให้ทันตสุขศึกษา 2. ฝึกทักษะการแปรงฟัน 3. การปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง 4. การใช้ฟลูออไรด์เสริม 5. การเคลือบหลุมร่องฟัน 6. การตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ�

● ●

การสือ่ สารกับคนพิการแต่ละประเภทในหน่วยงานระดับปฐมภูมิ

1. คนพิการทางสายตา ปั ญ หาของทั น ตบุ ค ลากรที่ ทำ�งานในคนพิ ก ารทางสายตา คือการสื่อสาร แต่ก็ถือว่าไม่ยากนัก โดยเฉพาะคนพิการที่เคยเห็น และเรียนรู้มาก่อน เนื่องจากคนพิการทางมองเห็นยังสามารถได้ยิน เสียงอยู่ เราสามารถสื่อสารด้วยการพูด นอกจากนั้นคนพิการ กลุ่มนี้ยังสามารถรัรู้จากประสาทสัมผัสอื่น เช่น การสัมผัสทางกาย การดม หรือการรับรสทางลิ้น ถ้าเป็นเด็กพิการเราก็สามารถสร้าง ความคุน้ เคยทำ�ความรูจ้ กั กับเขาก่อน อาจจะให้เด็กพิการทางการมองเห็น คลำ�หน้ า เพื่ อ ทำ�ความรู้ จั ก กั น สร้ า งมิ ต รภาพ ทำ�ให้ เ ด็ ก มีความไว้วางใจสามารถยอมรับหรือให้ความร่วมมือในสิ่งที่เราทำ�ได้ โดยง่าย

32

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


กรณีที่คนพิการทางการมองเห็นมารับบริการที่คลินิก ทันตกรรม หรือสถานีอนามัย การนำ�พาผู้ป่วยถือว่าเป็นเรื่อง สำ�คัญ โดยเฉพาะกรณีคนพิการที่ไม่ได้ใช้ไม้เท้านำ�ทาง เราต้อง เป็นผู้นำ�ทางคนพิการไปยังยูนิตทำ�ฟัน หรือเตียงสนาม อย่าง ปลอดภัย โดยเราจะเดินนำ�คนพิการเพียงเล็กน้อย เดินช้าๆ ให้คนพิการทางสายตาคล้องแขนไว้ รวมถึงต้องอธิบาย ลักษณะสถานที่ เช่น มีทางต่างระดับหรือไม่ นอกจากนั้น ก่อนขึน้ ยูนติ ทำ�ฟัน ให้คลำ�ดูวา่ ความสูงขนาดไหน ลักษณะยูนติ ทำ�ฟันเป็นอย่างไร เพื่อป้องกันคนพิการพลัดตกหกล้มเมื่อมา รับบริการ 2. คนพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย คนพิการกลุ่มนี้จะสื่อสารยากมากกว่าคนพิการทางการ มองเห็น ดังนั้นเราจะต้องถามผู้ดูแลถึงระดับการได้ยิน และช่องทางสื่อสารกับคนพิการทุกราย เนื่องจากผู้พิการ แต่ละคนมีระดับความบกพร่องทางการได้ยิน และวิธีการสื่อสารต่างกัน บางคนสื่อสารโดยการสะกดคำ�ด้วยนิ้วมือ ต้องใช้นิ้วมือทำ� เป็นสัญลักษณ์แทนพยัญชนะแต่ละตัว ซึ่งค่อนข้างยาก ดังนั้นอาจจะต้องให้ผู้ดูแลช่วยในการสื่อสาร 33

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ผู้พิการบางคนอาจใช้ภาษามือ โดยการขยับมือเป็นท่าทาง เพื่อสื่อสารอย่างเช่น ถ้าเราบอกว่า “ไม่ปวดฟัน” ก็ยกมือ ขึ้น ส่ายมือไปมาหมายถึงไม่ การใช้นิ้วสีกันหมายถึงปวดฟัน ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการสื่อสาร อาจต้องถามภาษามือ ผู้ดูแล ในประโยคง่ายๆ และเราใช้บ่อย เช่น ขอให้อ้าปาก ขอให้กัดฟัน เป็นต้น ผู้พิการทางการได้ยินบางคนสามารถอ่านริมฝีปากได้ ก็จะ สื่อสารได้ง่ายมากขึ้น โดยที่เราต้องหันหน้าเข้าหา และสบตา คนพิการระยะห่างประมาณ 2-3 ฟุต ไม่ใส่ผา้ ปิดปากเวลาสือ่ สาร พูด ปกติไม่ตอ้ งตะโกน และไม่ตอ้ งเน้นคำ�มากเกินไป เพราะการเน้นคำ� ทำ�ให้ริมฝีปากเราเปลี่ยนรูปไปจากการออกคำ�ปกติ ผู้พิการจะอ่านริม ฝีปากเราได้ยากมากกว่าเดิม ดังนั้นเราควรพูดปกติ ภายใต้แสงสว่าง พอเพียง คนพิการก็จะอ่านริมฝีปากได้ง่าย ถ้าเป็นเด็กเล็กต้องให้ผู้ ดูแลเป็นผู้ช่วยในสื่อสาร นอกจากนั้นเราอาจต้องใช้ภาษากายในการ ช่วยสื่อสารเพิ่มเติม เช่นการยิ้มแสดงความเป็นมิตร การโอบกอดเด็ก เป็นต้น และถ้าเป็นคนพิการที่สามารถอ่านออกเขียนได้ก็ต้องเตรียม กระดาษดินสอสำ�หรับใช้ในการสื่อสารกับคนพิการให้พร้อม 3. คนพิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว คือกลุ่มคนพิการที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องของร่างกายที่เห็น ได้อย่างชัดเจน และไม่สามารถประกอบกิจวัตรหลักในชีวิตประจำ� วันได้ หรือคนที่มีการสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวมือ แขน ขา หรือ ลำ�ตัวอันเนื่องมาจากแขนหรือขาขาด อัมพาต หรืออ่อนแรง โรคข้อ หรืออาการ ปวดเรื้อรัง รวมทั้งโรคเรื้อรังของระบบการทำ�งานของร่างกายอื่นๆ ที่ทำ�ให้ ไม่สามารถประกอบกิจวัตรหลักในชีวิตประจำ�วันหรือดำ�รงชีวิตในสังคมเยี่ยง คนปกติได้ คนพิการกลุม่ นี้สว่ นใหญ่ ไม่มปี ัญหาในการสื่อสาร เพราะได้ยนิ เสียง และ มองเห็นได้ด้วยตาเหมือนคนปกติ และพบว่าคนพิการทางร่างกายบางกลุ่มสามารถ ช่วยเหลือตนเองได้ดี เนื่องจากมีการปรับตัวเองหรือปรับเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิต ประจำ�วันเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองตามสมรรถนะที่มีอยู่ เมื่อพบคนที่มีมือ พิการ อาจต้องประเมินทักษะการใช้มือ เนื่องจากคนพิการสามารถปรับตัวใช้มือที่พิการทำ�งานได้ตามปกติ เช่นอาจใช้ข้อศอก หรือ นิ้วที่เหลือในการหนีบปากกา แปรงฟันได้ หรือบางคนสามารถปรับตัวใช้นิ้วเท้าหนีบแปรงสีฟันเวลาแปรงฟัน โดยไม่ต้องอาศัยผู้ดูแล ช่วยเหลือเลยก็ได้ 4. คนพิการทางด้านสติปัญญาหรือการเรียนรู้ คือคนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องทางสติปัญญาหรือสมองจนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาปกติได้ เช่นในผู้ป่วยที่มี ภาวะปัญญาอ่อนที่เกิดจากการที่สมองหยุดพัฒนา หรือมีการพัฒนาที่ไม่สมบูรณ์ทำ�ให้มีความบกพร่องของทักษะในพัฒนาการด้าน 34

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ต่างๆ กลุ่มนี้ก็จะบกพร่องทางการเรียนรู้ พฤติกรรมรวมถึง การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมในสังคมซึ่งก็มีหลายกลุ่มอาการ โรคที่มีภาวะ การสือ่ สารกับคนกลุม่ นีต้ อ้ งประเมินระดับความรุนแรงของภาวะ ความพกพร่องทางสติปญ ั ญาของคนพิการแต่ละราย โดยควรซัก ประวัตจิ ากผูด้ แู ลเกีย่ วกับความสามารถในการเรียนรู้ การสือ่ สาร และ การช่วยเหลือตนเองของคนพิการ เพือ่ ทีเ่ ราจะได้สามารถปรับวิธี การสือ่ สารให้เหมาะสมกับคนพิการแต่ละราย สร้างความคุน้ เคย พูดช้าๆซํา้ ๆ ใช้คำ�ง่ายๆ ถ้าคนพิการสามารถทำ�ตามคำ�แนะนำ�ได้ อาจจะชมเชยให้กำ�ลังใจและต้องตัง้ ใจฟังสิง่ ทีค่ นพิการต้องการ สือ่ สารกับเรา เพราะเขาต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการพูด ออกมา ดังนั้นเราจึงต้องตั้งใจฟังเขาและให้ผู้ดูแลช่วยสื่อสาร ร่วมด้วย ถ้าเป็นคนพิการกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ส่วนใหญ่ จะมีระดับสติปัญญาไม่ตํ่าเกินไป ไม่ค่อยก้าวร้าว อารมณ์ดี ยิม้ ง่าย สามารถให้ความร่วมมือในระยะเวลาสัน้ ๆ ได้ ดังนัน้ เราก็ สามารถใช้จติ วิทยาในการจัดการพฤติกรรมได้โดยไม่ยากจนเกินไป โดยในกลุ่มที่บกพร่องทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ เป็นกลุ่มที่ทันตบุคลากร ควรรีบให้การดูแลทันตสุขภาพ เนือ่ งจากถ้าปล่อยให้ฟนั ผุลกุ ลามและคนพิการไม่สามารถให้ ความร่วมมือในการรักษาแล้ว สุดท้ายคนพิการต้องได้รบั การ รักษาภายใต้การดมยาสลบซึง่ ก็เป็นการเพิม่ ความเสีย่ งให้กบั คนพิการมากยิ่งขึ้น 5. คนพิการทางด้านจิตใจหรือพฤติกรรม คือคนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องทางจิตใจ หรือ สมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถ

35

ควบคุมพฤติกรรมที่จำ�เป็นในการดูแลตนเองหรืออยู่ร่วม กับผู้อื่น ซึ่งกลุ่มนี้เราต้องทำ�ความเข้าใจผู้ป่วยเป็นรายๆไป ควรอดทนและให้ ค วามเห็ น อกเห็ น ใจผู้ ป่ ว ย จะขอยก ตัวอย่างโรคออทิสติก หรือ ออทิสซึม ซึ่งกลุ่มนี้ไม่ได้มีความ ผิดปกติทางด้านพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว ยังพบความผิดปกติ ของพัฒนาการด้านสังคม การใช้ภาษาและการสื่อความ หมายด้วย ซึ่งถ้าจำ�แนกคนพิการตามกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มนี้จะถูกแยกประเภทออกมาเป็นกลุ่มบุคคลออทิสติก การผิดปกติทางการสื่อความหมาย พบว่า เด็กจะพูด ได้ช้า หรือไม่พูดเมื่อถึงวัยที่ควรจะพูด, โต้ตอบยาวๆไม่ได้, พูดซํา้ ๆหรือพูดแบบนกแก้ว และเล่นสมมุตไิ ม่ได้ สำ�หรับความ ผิดปกติด้านพฤติกรรมและความสนใจ จะพบลักษณะมีพฤติ กรรมซํ้าๆ ทำ�อยู่สิ่งเดียว ทำ�ตามขั้นตอน และไม่ยอมให้เปลี่ยน กิจวัตร หรืออาจมีพฤติกรรมต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ต้องการ

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


คงสภาพเดิม ทำ�กิจกรรมซํ้าๆ เป็นแบบแผน ซึ่งส่งผล ต่อการวางแผนการรักษาทางทันตกรรม ควรนัดหมายเวลา เดียวกันเป็นประจำ� คงสภาพสิ่งแวดล้อมในคลินิกให้เหมือน เดิมรวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น ทันตแพทย์ ผู้ช่วย ทันตแพทย์ ต้องเป็นบุคคลเดิม ห้องทำ�ฟันต้องเป็นห้องเดิม ถ้าเปลี่ยนสภาพแวดล้อมไปจากเดิม เด็กออทิสติกก็อาจ จะไม่ให้ร่วมมือในการทำ�ฟันครั้งนั้น เด็กออทิสติก จะหมกมุ่นในวัตถุ สนใจบางส่วนของ ของเล่น เช่นล้อรถ บางทีชอบเคลื่อนไหวแปลกๆ เช่นหมุนตัว โยกตัวเขย่งปลายเท้า เคลื่อนไหวซํ้าๆ อาจเป็นการเล่นกับ ตัวเอง โดยที่ไม่สนใจคนอื่น เห็นคนอื่นเหมือนเห็นสิ่งของ บางคนอาจมีความผิดปกติในการรับประทาน เช่น เด็กบางคน อาจจะกินของดิบ กินดิน หรือว่าดึงผมม ากิน แต่วา่ พฤติกรรม เหล่านี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นในเด็กออทิสติกทุกราย ปัญหาทางทันตกรรมส่วนใหญ่ คือ ปัญหาทางด้าน 36

การสื่อสาร เพราะว่าเราสื่อสารกับ เด็กออทิสติกได้ยาก เด็กมีความวิตกกังวลและมีการกลัวในการทำ�ฟันมากกว่า เด็กปกติ รวมถึงผู้ปกครองเองก็มีความวิตกกังวลสูงคือ กลัวว่า ลูกเขาจะไม่สามารถให้ความร่วมมือกับหมอได้ใน ขณะเดียวกันผู้ปกครองก็กังวลว่าเราจะไม่สามารถรักษา ลูกเขาได้เช่นกัน ดังนั้นในการรักษาเด็กออทิสติก เรียก ได้ว่ายากในการจัดการพฤติกรรมทั้งเด็กและผู้ปกครอง แต่ ถ้ า เรารู้ แ ละเข้ า ใจถึ ง ลั ก ษณะพฤติ ก รรมของเด็ ก ออทิสติกแล้ว เราก็จะสามารถหาวิถีทางในการทำ�ให้เด็ก ออทิสติกร่วมมือในการทำ�ตามคำ�แนะนำ� หรือให้ความ ร่ ว มมื อ ในการทำ�ฟั น ได้ หากแต่ เราต้ อ งพยายามและ อดทน เนื่ อ งจากต้ อ งใช้ เวลาในการรั ก ษาเด็ ก ออทิ ส ติ ก ค่อนข้างมาก โดยก่อนที่ให้การรักษาแก่เด็กออทิสติก หรือแม้แต่ คนพิ ก ารประเภทอื่ น เราต้ อ งรู้ ถึ ง ประวั ติ ทั่ ว ไป ประวั ติ ทางการแพทย์ มีโรคประจำ�ตัวหรือไม่ รับประทานยาอะไร อยู่ เคยรักษาทางทันตกรรมมาก่อนหรือไม่ พฤติกรรมเป็น อย่างไร มีประวัติทำ�ร้ายตัวเองหรือทำ�ร้ายคนอื่นหรือไม่ มีอารมณ์แปรปรวนหรือไม่ รวมถึงเทคนิคที่ผู้ปกครองใช้ใน การจัดการพฤติกรรม เนื่องจากเราสามารถนำ�มาปรับใช้ ในการรักษาทางทันตกรรมได้ จากพฤติกรรมเด็กออทิสติก ที่ชอบอะไรซํ้าๆ การซักซ้อมพฤติกรรมที่บ้านโดยพ่อแม่ หรือผู้ดูแลก่อนพบทันตแพทย์จริงๆจะทำ�ให้เด็กสามารถ ให้ความร่วมมือได้ เช่น ในการตรวจฟันเด็กออทิสติกต้อง

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


จากปัญหาด้านพฤติกรรมของเด็กออทิสติกจึงมีการ สร้างสือ่ การสอนเด็กออทิสติกขึน้ มา เรียกว่า Visual pedagogy ซึง่ เป็นสือ่ การสอนแบบใช้รปู ภาพ สอนลำ�ดับขัน้ ตอน ว่าเด็ก ต้องทำ�อะไรบ้างในชีวติ ประจำ�วัน ตัง้ แต่ตนื่ นอนจนถึงเข้านอน ดังนัน้ รูปภาพก็จะแสดง รูปตัง้ แต่ตนื่ นอน แปรงฟัน อาบนํา้่ กินข้าว ไปโรงเรียนเป็นลำ�ดับ จนถึงรูปเข้านอน เด็กทีผ่ า่ น ซักซ้อมก็จะสามารถปฏิบตั กิ จิ วัตรประจำ�วันตามรูปภาพได้

งานทันตกรรมป้องกันในคนพิการ 1. 2. 3. 4. 5.

การให้ทันตสุขศึกษา ฝึกทักษาะการแปรงฟัน การปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง การใช้ฟลูออไรด์เสริม การเคลือบหลุมร่องฟัน

งานทันตกรรมป้องกันสำ�หรับคนพิการในหน่วยงาน ระดับปฐมภูมิ ควรมีการจัดบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ คนพิการ ควบคู่ไปกับการให้บริการทันตกรรมในคลินิก โดยทันตบุคลากรควรแนะนำ�ให้คนพิการและผู้ดูแล มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากร่วมกัน และ ต้ อ งมี ก ารปรั บ เปลี่ ย นวิ ธี ก ารดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากให้ เหมาะสมกับสภาวะของคนพิการแต่ละราย แต่โดยทั่วไป แล้วคนพิการควรได้รับบริการทันตกรรมป้องกันดังนี้ 1. การให้ทันตสุขศึกษา การให้ทันตสุขศึกษาเป็น กิจกรรมที่ควรให้บริการแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ทุกราย โดยควรอธิบายเรื่องโรคในช่องปาก สาเหตุและ วิ ธี ก ารป้ อ งกั น การเกิ ด โรค เพื่ อ ให้ ค นพิ ก ารเกิ ด ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำ�คัญของการดูแลสุขภาพ ช่ อ งปาก และสามารถดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากขั้ น พื้ น ฐาน ให้ดีที่สุดตามความสามารถของตนเอง ●

ให้ ผู้ ป กครองซ้ อ มตรวจฟั น กั บ เด็ ก ที่ บ้ า นก่ อ น โดยให้ แม่ลองเอากระจกส่องปากเข้าไปใตรวจช่องปาก เมื่อเวลาที่ ทันตแพทย์ตรวจฟันจริง และเป็นไปตามที่ซ้อมไว้ เด็กก็ จะสามารถยอมรับการตรวจฟันได้ แต่ไม่ได้หมายความ ว่าจะประสบความสำ�เร็จทุกราย หรือบางทีอาจจะต้องใช้ ความพยายามมากกว่า 1 ครั้ง การออกไปเยี่ยมบ้านเด็ก ออทิ ส ติ ก ไม่ ไ ด้ เข้ า ไปจั บ อ้ า ปากตรวจฟั น เลย กว่ า จะ ตรวจฟันได้ต้องสร้างความคุ้นเคยกับเด็ก และแนะนำ�ให้ ญาติซักซ้อมให้เด็กอ้าปาก ลองใช้ไฟฉายส่องช่องปากก่อน เราจึงจะสามารถตรวจฟันเองได้ 37

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


2. ฝึกทักษะการแปรงฟัน เราต้องอธิบายให้คนพิการ และผู้ดูแลทราบถึงความสำ�คัญของการแปรงฟันท่าทาง ในการแปรงฟัน รวมถึงให้คนพิการและผู้ดูแลได้มีโอกาส 38

ฝึกทักษะการทำ�ความสะอาดช่องปากที่ถูกต้องและเหมาะสม กั บ สภาวะของคนพิ ก าร ซึ่ ง ทั น ตบุ ค ลากรอาจแนะนำ� อุปกรณ์ช่วยทำ�ความสะอาดเพิ่มเติม เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า แปรงซอกฟั น ไหมขั ด ฟั น เป็ น ต้ น นอกจากนั้ น อาจมี การดัดแปลงลักษณะของแปรงสีฟันให้เหมาะสมกับความ ผิดปกติของคนพิการแต่ละคน โดยเฉพาะคนที่บกพร่อง ทักษะด้านการใช้มือ เพื่อให้คนพิการสามารถแปรงฟันได้ ด้วยตนเองตามสมรรถนะที่มีอยู่ เช่น ถ้าคนพิการนิ้วมือไม่มีกำ�ลัง เราควรเพิ่มขนาดด้าม แปรงให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อช่วยให้คนพิการที่มือแข็งเกร็ง หรือนิ้วมือไม่มีกำ�ลัง สามารถจับยึดแปรงได้ถนัดขึ้น และ เพิ่มแรงเคลื่อนแปรงสีฟันได้ดีกว่าแปรงสีฟันด้ามเล็กที่ไม่ พอดีกับการกำ� และการจับของนิ้วมือทำ�ให้หลุดง่ายขณะแปรง

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


สำ�หรับคนพิการทีใ่ ช้เท้าแปรงฟัน ขนาดของ ด้ามแปรงก็ยงั คงมีความสำ�คัญอยู่ โดยต้องมี ขนาดพอเหมาะ ทีน่ วิ้ หัวแม่เท้า และนิว้ ถัดไปจะ หนีบจับได้ และด้ามแปรงควรจะโค้งงอเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ทำ�ความสะอาดฟันซี่ในสุดได้ สะอาดขึ้น

รูปนี้เป็นด้ามแปรงที่ใช้สอนแปรงฟันในโรงพยาบาล ซึ่งใช้ putty ที่หมดอายุ เอามาปั้นแล้วจับเป็นรอย นิ้วมือ หุ้มด้ามให้ใหญ่ขึ้น ก็จะทำ�ให้คนพิการสามารถ จั บ แปรงได้ ถ นั ด มื อ หรื อ อาจจะประยุ ก ต์ โ ดย การหุ้ ม ด้ า มแปรงด้ ว ยวั ส ดุ เ หลื อ ใช้ เช่ น ฟองนํ้่ า ลูกปิงปอง ท่อเอสลอน กระบอกไม่ไผ่ หลอดยา ที่ใช้แล้ว หลอดด้าย ด้ามมือรถจักรยานยนต์เป็นต้น ที่สำ�คัญควรเลือกให้ขนาดพอดกับการงอของนิ้วมือ เพื่อให้นิ้วมือสัมผัสกับด้ามแปรงได้ทุกนิ้ว ถ้าใหญ่ เกินไปคนพิการก็จะจับไม่ถนัดเหมือนกัน อาจจะประยุ ก ต์ โ ดยการใช้ ด้ า มร่ ม ที่ เ สี ย แล้ ว มา พันเทปกาว หรือดัดด้ามแปรงสีฟันให้โค้งงอ เพื่อให้คนพิการ ยึดจับแปรงสีฟันได้ถนัดมือมากขึ้น หรือจะใช้สายรัดอุ้งมือ ก็เป็นตัวรัดด้าม แปรงเข้ากับมือได้ซึ่งสามารถปรับขนาดได้ ทำ�ให้คนพิการจับแปรงสีฟันได้แน่นขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถซื้อ หาได้ เราก็อาจจะใช้หนังยาง หรือแผ่นยางขนาดใหญ่ช่วยรัด ยึดด้ามแปรงให้ติดแน่นกับมือแทนได้ นอกจากนั้นอาจเลือกใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า ซึ่งจะช่วย ให้คนพิการแปรงฟันได้สะดวกมากขึ้น แต่มีราคาค่อนข้างสูง กรณี ค นพิ ก ารที่ ง อพั บ ข้ อ ศอกหรื อ ไหล่ ไ ม่ ป กติคน พิการกลุ่มนี้งอพับแขนเข้ามาเพื่อแปรงฟันได้ลำ�บาก ดังนั้น เราควรเพิ่มความยาวของด้ามแปรง โดยใช้ ไม้ไผ่ ตะเกียบ หรื อ ด้ า มพลาสติ ก พั น กั บ ด้ า มแปรงสี ฟั น ซึ่ ง การทำ�ให้ แปรงสี ฟั น มี ด้ า มยาวมากขึ้ น ก็ เ หมื อ นการเพิ่ ม วงแขน ให้กว้างขึ้นทำ�ให้คนพิการสามารถนำ�แปรงเข้าปาก และแปรง ฟันให้ตัวเองได้ 39

ลักษณะแปรงสีฟัน สำ�หรับคนใช้เท้าแปรงฟัน

สำ�หรับสถานที่แปรงฟัน ถ้าคนพิการสามารถแปรงฟัน ได้ ด้ ว ยตนเอง ก็ แ นะนำ�ให้ แ ปรงฟั น หน้ า กระจกเพื่ อ ให้ คนพิ ก ารได้ เ ห็ น ว่ า แปรงฟั น สะอาดทั่ ว ถึ ง หรื อ ไม่ แต่ ถ้ า มีผู้ดูแลช่วยแปรงให้สามารถแปรงฟันที่ไหนก็ได้ โดยใช้ หลักการ 3 ส คือ สะดวก, สบาย, สว่าง หมายความว่า ผู้ดูแลสามารถแปรงฟันได้อย่างสะดวก คนพิการอยู่ใน ท่ า ทางที่ ส บาย ที่ สำ � คั ญ คื อ ควรสว่ า งเพี ย งพอที่ ค น พิการหรือผูด้ แู ลเห็นฟันชัดเจน และแปรงฟันได้สะอาดจนถึง ด้านในสุด 3. การปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง ควรให้ คำ�แนะนำ�แก่ ค นพิ ก ารและผู้ ดู แ ลในเรื่ อ งพฤติ ก รรมที่ เสีย่ งต่อการเกิดโรคในช่องปาก โดยควรแนะนำ�เรือ่ งโภชนาการ ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และไม่เสี่ยงต่อการเกิด โรคฟันผุ ที่สำ�คัญต้องให้คำ�แนะนำ�ที่เหมาะสมเป็นราย บุคคลเช่นผู้ป่วยพิการทางสมองที่จำ�เป็นต้องรับประทาน

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


อ่ อ นนิ่ ม อาจไม่ จำ�เป็ น ต้ อ งแนะนำ�ให้ เ ปลี่ ย นลั ก ษณะของอาหาร แต่ต้องเน้นการทำ�ความสะอาดช่องปากให้มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง ในการเกิ ด ฟั น ผุ นอกจากนั้ น ต้ อ งแนะนำ�ให้ ล ดพฤติ ก รรมที่ เ สี่ ย ง ต่ อ การเกิ ด โรคในช่ อ งปากอื่น ๆ เช่ น ควบคุ ม โรคเบาหวาน ควบคุ ม พฤติกรรมการสูบบุหรี่ แนะนำ�ให้ผู้ดูแลป้องกันคนพิการเกิดอุบัติเหตุ หกล้ม เนื่องจากคนพิการบางกลุ่มอาจมีความบกพร่องในการเคลื่อนไหว ทำ�ให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หกล้ม ฟันหักได้ง่าย 4 การใช้ฟลูออไรด์เสริม การใช้ฟลูออไรด์จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผิวฟัน ให้ทนทาน ต่ อ การเกิ ด โรคฟั น ผุ โดยควรพิ จ ารณาเลื อ กใช้ ฟ ลู อ อไรด์ เ สริ ม ให้ เหมาะสมกับสภาวะคนพิการแต่ละรายเช่นถ้าคนพิการไม่สามารถควบคุม การกลืนได้อย่างปกติ ไม่ควรใช้นํ้่ายาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ เนื่องจาก คนพิการอาจกลืนนํ้่ายาบ้วนปากจนเกิดผลเสียได้ และต้องคำ�นึงถึง ปริมาณฟลูออไรด์ในนํ้่าดื่มที่คนพิการได้รับในแต่ละวันด้วย 5 การเคลือบหลุมร่องฟัน การเคลือบหลุมร่องฟันบนด้านบดเคี้ยว มีประโยชน์มากในการ ป้ อ งกั น ฟั น ผุ โดยเฉพาะคนพิ ก ารที่ ช่ ว ยเหลื อ ตนเองไม่ ไ ด้ ดั ง นั้ น ควรพิ จ ารณาเคลื อ บหลุ ม ร่ อ งฟั น กรณี ที่ มี ห ลุ ม ร่ อ งฟั น ลึ ก และควร ทำ�การตรวจการยึ ด ติ ด ของวั ส ดุ เ คลื อ บหลุ ม ร่ อ งฟั น เป็ น ระยะ ถ้ า พบว่ า วั ส ดุ มี ก ารหลุ ด หรื อ สึ ก กร่ อ นไปควรทำ�การเคลื อ บหลุ ม ร่องฟันให้คนพิการใหม่ 40

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


6 การตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ� คนพิ ก ารถู ก จั ด ว่ า อยู่ ใ นกลุ่ ม ที่ มี ค วามเสี่ ย ง ในการเกิดฟันผุสูง ดังนั้นควรได้รับกาตรวจสุขภาพ ช่องปากเป็นประจำ�ทุก 3-6 เดือน โดยในเด็กพิการ ควรพบทั น ตแพทย์ ตั้ ง แต่ ฟั น ซี่ แรกขึ้ น เพื่ อ รั บ คำ�แนะนำ�เกี่ ย วกั บ การดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากที่ ถู ก ต้ อ งซึ่ ง การตรวจสุ ข ภาพช่ อ งปากเป็ น ประจำ� จะช่วยเพิ่มสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างคนพิการ และทั น ตแพทย์ โดยเฉพาะเด็ ก พิ ก าร และทำ�ให้ ทันตแพทย์ตรวจพบโรคและรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรก ของการเกิดโรคเป็นวิธีการป้องกันและควบคุมโรค ฟั น ผุ ไ ด้ เ ป็ น อย่ า งดี และทำ�ให้ ค นพิ ก ารมี สุ ข ภาพ ช่องปากดีตลอดไป  41

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


บทเรียนที่ได้เรียนรู้

“งานเยี่ยมบ้านคนพิการ” จากโครงการสร้างเสริมทันตสุขภาพคนพิการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนใน อำ�เภอเวียงแก่น โดย ทพญ. พจนา พงษ์พานิช รพช.เวียงแก่น จ.เชียงราย

งค์รวม หมายถึงว่า คุณเข้าใจตัวเองและ คุณไม่เห็นแก่ตัว คุณไม่มีตัวตน รู้ว่าตัวเองคือใคร และเข้าใจชุมชนของคุณ คุณรักตัวเองและสรรพสิ่ง อื่นๆ และยอมรับว่าเราต่างสัมพันธ์กันและกัน และ ทุกอย่างมีความหมาย (ส. ศิวรักษ์) ทีมสุขภาพอำ�เภอเวียงแก่น ประกอบด้วย แพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร พยาบาลหมออนามัย และลูกจ้าง รวมกว่ า ร้ อ ยชี วิ ต พวกเราทำ � งานในพื้ น ที่ ที่ มี ค วาม หลากหลายทาง ภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่ อ ชาวไทยภู เขาแต่ ล ะชนเผ่ า มี วิถีชีวติ ที่แตกต่างกันออกไป ทีผ่ ่านมางานทันตสาธารณสุข ยังไม่ได้ก้าวเข้าไปดูแลสุขภาพช่องปากของคนพิการ มากนัก จุดเริ่มต้นของงานดูแลคนพิการเริ่มมาจากนักกาย ภาพบำ�บัดของโรงพยาบาลเวียงแก่น และหมออนามัย ของสถานีอนามัยม่วงยาย พยาบาลวิชาชีพ ที่ช่วยกัน ดูแลตุ๊อุ๊ย อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านม่วง ถึงแม้ปัจจุบันตุ๊อุ๊ย จะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ภาพและความประทับใจในทีมงาน ทีช่ ว่ ยกันดูแล เอาใจใส่ตอุ๊ ยุ๊ จนวินาทีสดุ ท้ายของชีวติ โดย พืน้ ฐานหมออนามัย นีแ่ หละทีใ่ กล้ชดิ ชีวติ ชาวบ้าน ประชาชน มากกว่า หมออนามัยจะรู้จัก เข้าใจ อธิบายถึงที่มา ที่ไป 42

มีมุมมองให้เราอย่างน่าทึ่ง โดยมีเครื่องมือ “การออก เยี่ยมบ้าน” การเยี่ ย มบ้ า นทำ � ให้ เราลุกออกจากโต๊ะมาเห็น ชีวติ ของผูค้ น ญาติ คนพิการ วิถีชีวิตตามความเป็นจริง มากขึน้ แต่การออกเยีย่ มบ้าน อย่างเดียวคงไม่พอ --- หัวใจ มันสมอง แนวคิดที่ถูกต้อง การลงมือทำ� องค์ความรู้ การบริหารจัดการสูร่ ะบบบริการ พลังการขับเคลือ่ น ของสังคม การเห็นคุณค่าของคนพิการ และความสำ�คัญ จากผูบ้ ริหารโรงพยาบาล หัวหน้างาน และหรือนักการเมืองใน พื้นที่ก็มีส่วนสำ�คัญ อยู่ที่ว่าพวกเราคนทำ�งานจะใช้ศาสตร์ และ ศิลป์ อย่างไรให้ลงตัวแล้วการทำ�งานดูแลคนการก็จะ เป็นไปตามธรรมชาติ มีความสมดุลมุง่ สูค่ วามยัง่ ยืนเพือ่ เป็น หนึ่งในงานประจำ�ของเราเช่นเดียวกับงานอื่นๆ จากการที่เป็นตัวแทนฝ่ายทันตสาธารณสุข รพช. เวียงแก่นได้มโี อกาสเข้าร่วมเรียนรูก้ บั เครือข่ายทันตบุคลากร สร้างเสริมสุขภาพคนพิการ โดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพ

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจากการทำ�งานในชุมชน พบว่า ประชาชนในอำ�เภอเวียงแก่น มีภาวะ เสี่ยงต่อสุขภาพที่หลากหลายที่อาจนำ�ไปสู่ ความพิการในทีส่ ดุ เช่น คนไข้เบาหวาน ความดัน ที่เพิ่มขึ้น หนึ่งในนั้นมีปัญหา จากพฤติกรรม การกินด้วย ทำ�อย่างไร เราถึงจะพาผู้คนใน ชุ ม ชนมามี ส่ ว นร่ ว มในการสร้ า งกลไก เฝ้าระวัง และพัฒนาระบบการดูแลคนพิการ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนให้ได้ คนพิการ (สสพ.) ทำ�ให้มีโอกาสทำ�งาน เรือ่ งคนพิการร่วมกับทีมสหวิชาชีพ แต่ก็ ไม่ ลื ม ที่ จ ะให้ โ อกาสกั บ น้ อ งๆ เจ้ า พนักงานทันตสาธารณสุข (ทันตาภิบาล) และผู้ ช่ ว ยทั น ตแพทย์ ด้ ว ย เพราะ ถ้าเขาได้มีโอกาส ลงมือทำ� เขาจะเข้าใจ เนื้องาน อารมณ์ ความรู้สึกของกัน และกัน มีเวทีการเรียนรู้ร่วมกัน การทำ � งานมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ตั ว เราจะได้ รู้ จั ก ตั ว เราเองมากขึ้ น เห็นตัวเอง เห็นชีวิตผู้คนในชุมชนมาก ขึ้น เห็นคุณค่าของกันและกัน มอง เครือข่ายที่เกี่ยวข้องในชุมชน “มองกันแบบเพื่อนมากกว่า ผู้ให้เงิน หรือแค่ผู้ให้ความร่วมมือ” จากนั้นร่วมกันสร้าง สิ่งที่จะทำ�ให้การใช้ชีวิตประจำ�วันของคนพิการในชุมชน ดีขึ้น คุณภาพชีวิตของคนพิการหรือญาติก็จะดีขึ้นด้วย ทีมเราเลือกพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ในเขตพื้นที่ตำ�บล ม่วงยาย เน้น คนพิการและผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น เราปลาบปลืม้ การดูแล เอาใจใส่ผคู้ น คนพิการ และญาติของกลุม่ งานกายภาพบำ�บัด เราขอมาทำ�งานร่วมกับเขาด้วย จำ�นวน คนพิการของเรา เพิ่มขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มจะไม่หยุดอยู่แค่นี้ น่าจะ 43

แต่ในช่วงแรกสิง่ ทีเ่ ริม่ ต้น ก็คอื ใส่แนวคิดให้คนทำ�งาน ทำ�อย่างไรคนทำ�งานจะ เข้าถึงคน เข้าใจคน เข้าใจพื้นที่ รู้จักตัวเอง เพื่อที่เวลาการทำ�งานจะส่งผลในการเรียนรู้ ให้กับเขาอย่างมากมาย และที่สำ�คัญเกิดการพัฒนา ระบบการออกเยี่ยมบ้านโดยมีแกนนำ�ชุมชน เช่น อาสา สมัครสาธารณสุข เทศบาล กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ให้ความสำ�คัญ และมามีส่วนร่วมมากกว่าที่เป็นอยู่ และ เกิดจิตอาสาในชุมชนอำ�เภอเวียงแก่น

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เพื่อศึกษาเรียนรู้พฤติกรรมคนพิการ ญาติ ครอบครัว ชุมชน คนทำ�งานยังต้องขยาย เครือข่ายสู่การดูแลผู้พิการโรคเรื้อรังในชุมชน และนำ�เครือข่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ป่วยร่วมกัน จนถึงการสร้างเสริมศักยภาพ ของผู้พิการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และญาติในชุมชน แบบ “ เพื่อน ช่วยเพื่อน ”

การทำ�งานนี้พวกเราร่วมกันวางเป้าหมาย --- หนึง่ การยอมรับในคุณค่าของระบบบริการปฐมภูมิ และ ทุ ติ ย ภู มิ ใ นการดู แ ลผู้ พิ ก ารและผู้ ป่ ว ยโรคเรื้ อ รั ง ในชุมชน “คนทำ�งานระบบบริการของเรา สามารถมีสว่ นร่วม ในการช่วยให้คนพิการดูแลตัวเองเยียวยาตัวเองได้” --- สอง การยอมรับในคุณค่าและศักดิ์ศรี “คน ทำ�งานเครือข่ายในชุมชน ผู้พิการและญาติ” รวมถึง การ “รู้จักตนเอง รู้จักเพื่อน = รู้ว่าใครเป็นใคร แล้วเราจะ เปลี่ยนท่าทีในการทำ�งาน” นอกจากนั้นยังเป็นการทำ�งาน 44

คนทำ�งานทีม่ ารวมกลุม่ กันออกเยีย่ มบ้าน นอกจากภาระหน้าทีจ่ ากงานประจำ�แล้ว ทีมงาน ยังให้ความสำ�คัญกับ Heart Head Hand -- หนึ่ง หัวใจของคนทำ�งาน (Heart) ทีมงาน ชวนกันทำ� (Snow ball) ส่วนใหญ่คนทำ�งาน ทีม่ าร่วมกันมีความชอบ ใส่ใจในผูป้ ว่ ย อาสาสมัคร ใจเข้ามาทำ�งานร่วมกัน -- สอง Head การวางแผน การบริหารจัดการ ทีมงานมีการประสานงาน ติดต่อกันแบบไม่เป็นทางการระหว่างสมาชิก ในทีม ต่างคนต่างช่วยกันตระเตรียมพื้นที่ และการแจ้ ง ข่ า วกั บ ผู้ ป่ ว ย ข้ อ มู ล ผู้ ป่ ว ย การบันทึกข้อมูลผู้ป่วย การเตรียมรถออก เยี่ ย มบ้ า น ระยะแรกมี ปั ญ หาอุ ป สรรค การเชื่ อ มโยงข้ อ มู ล กั น ของสถานี อ นามั ย และสหวิชาชีพด้วยกัน การวางแผนออก เยี่ ย มบ้ า นยั ง ไม่ ค รอบคลุ ม เจ้ า หน้ า ที่ ยั ง ขาดองค์ ค วามรู้ และทั ก ษะการจั ด การปั ญ หา เฉพาะหน้า ทีมงานปรับปรุงและแก้ไขด้วยการพูดคุย กันมากขึ้น ปรับทัศนคติ ถอดประสบการณ์ บทเรียน การทำ � งานทุ ก ครั้ ง หลั ง การออกเยี่ ย มบ้ า นเสร็ จ ใน แต่ละครั้ง ควบคู่กันไปกับ -- สาม การลงมือทำ� (Hand) ลงออกเยีย่ มบ้านแต่ละครัง้ ทีมงาน เดิมมีปญ ั หาการบันทึก ข้อมูล และการส่งต่อข้อมูลระหว่างสหวิชาชีพ และ สถานี อ นามั ย แต่ ล ะตำ � บล ที ม งานทำ � การปรั บ ปรุ ง แบบบันทึกข้อมูลให้สหวิชาชีพลงข้อมูลไว้ใน OPD card และแบบบันทึกของแต่ละวิชาชีพ เพื่อการวิเคราะห์

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ผลงานต่อไปกลับมาตรงการถอดบทเรียน ทีมงานได้ มอบหมายให้สมาชิก 1 ท่านทำ�การบันทึกผลการ ถอดบทเรียนในแต่ละครั้ง และสมาชิกที่เหลือ ทำ�การเขียนบรรยายความรู้สึก เห็นอะไรจากการ เยี่ยมบ้านแล้วอยากทำ�อะไรต่อไป อาจจะเป็น ความฝัน หรือสิง่ ทีย่ งั ทำ�ไม่ได้ในตอนนีก้ ไ็ ด้ ประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4 เพื่อเป็นการ การทบทวน บท เรียนในการออกเยี่ยมบ้าน “หาเพื่อน” เครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการดูแล คนพิการในชุมชน เริม่ ด้วย นักกายภาพบำ�บัด และ เมื่อได้ทำ�ดี คนทำ�ดีไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เขาก็จะมา เจอกัน มาร่วมกันทำ�ดีๆ ๆ ส่งต่อกันไป ดึงดูดทีมงาน ที่เป็นเครือข่ายเข้ามาในกลุ่มพวกเรามากมาย เช่น หมออนามัยเจ้าของในพื้นที่ อาสาสมัคร สาธารณสุขชุมชนประจำ�หมูบ่ า้ น กิง่ สภากาชาดไทย อ.เวียงแก่น นำ�โดยภรรยานายอำ�เภอ วัฒนธรรม อำ�เภอเวียงแก่น ญาติคนพิการ ทหารพราน เข้ามา ร่วมในการทำ�งานออกเยี่ยมบ้าน เครื่ อ งมื อ คื อ กระบวนการเรี ย นรู้ ที่ หลากหลาย ที ม งานเยี่ ย มบ้ า นเรามี ค วาม หลากหลายในความเป็ น สหวิ ช าชี พ การถู ก เลี้ ย งดู ต่ า งที่ ต่ า งทาง แล้ ว ยั ง จะ ต้องมาทำ�งานในพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ทาง ภาษา วั ฒ นธรรมประเพณี วิ ถี ชี วิ ต เป็นต้น ทำ�ให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเอื้อให้คน ทำ � งานเกิ ด การใคร่ ค รวญชี วิ ต ของตั ว เอง รู้ จั ก ตัวเอง เข้าใจผู้อื่นกระบวนการเอื้อให้คนทำ�งานได้แสดง ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ทีมงานเราสนใจ การเรียนรู้ที่หลากหลายเราเลือกใช้เทคนิค วิธีการต่างๆ เช่น สุนทรียสนทนา มุ่งเน้นการฟังอย่างลึกซึ้ง เกิดการ ใคร่ครวญ เกิดมณฑลแห่งพลัง คนทำ�งานเกิดการสันดาป ภายในของตัวเอง 45

เทคนิค/องค์ความรูข้ องสหวิชาชีพก็มสี ว่ น เพราะ ทีมงาน ถูกบ่มเพาะมาจากโรงเรียนแพทย์ โรงเรียนทันตแพทย์ โรงเรียนเภสัช โรงเรียนพยาบาล โรงเรียนหมออนามัย เป็นต้น Outcome mapping หรือ แผนที่ผลลัพธ์อย่าง ไม่เป็นทางการ คิดหาภาคีหนุ้ ส่วน ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย ศิลปะ บำ�บัด (การวาดภาพ) เราลองให้สมาชิกกลุ่มเบาหวาน ความดันลองวาดภาพหน้าตาเอง สิง่ ทีค่ ดิ หา พะวงหา “ทำ�ไม หมอไม่ให้เขียนมือขวาให้รู้แล้วรู้รอดไปนะ ให้เขียนมือซ้าย

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ก็ไม่สวยซิ” แม่อุ๊ยสม วัย 68 ปี พูดพร้อมกับ รอยยิ้มบนใบหน้า นอกจากนั้นการเลือก Case ลงที่น่าสนใจหรือมีความเร่งด่วน เช่น ใครกำ�ลังมี ปั ญ หาอยู่ ใครเป็ น คนอาสา การจั ด สถานที่ บ้านอาสาสมัครก็สำ�คัญทำ�ให้เราได้เห็นสภาพบ้าน วิถคี วามเป็นอยู่ และเห็นความสัมพันธ์ใน ครอบครัว ญาติ เพื่อนบ้าน การเรียนรู้กับเครือข่ายในพื้นที่ “ทุนทางสังคม” เช่ น วั ฒ นธรรมอำ � เภอ สนใจวั ฒ นธรรม เขา ทำ�งานกับปราชญ์ชาวบ้าน พระภิกษุ เด็ก และ เยาวชน เขาให้มุมมอง “ถ้าผมมีเวลาหรือติดต่อ เครื อ ข่ า ย เช่ น โรงเรี ย นผู้ นำ � ชุ ม ชนในหมู่ บ้ า น ผมจะทำ�โครงการที่เป็นลักษณะในการสอน เรื่องการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น การดูแลการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ปู่ ย่า ตายาย มาสอนลูกหลานทำ�ขนม มารยาทไทยในวันอาทิตย์ โดยใช้สถานที่ในวัด ผมอาจจะช่วยของบบางส่วนจาก กศน.เวียงแก่น มาช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สัมพันธภาพ ที่ดีกับผู้สูงอายุ วิทยากรอาจจะมาจากส่วนของ พวกเรา หรื อ หาที่ อื่ น ก็ ไ ด้ ใ นชุ ม ชน อย่ า งน้ อ ย เราไม่ต้องมาวิ่งแก้ไข เรื่องสุขภาพทีหลัง ถึงแม้ จะใช้เวลาบ้างแต่มันก็คุ้มค่า ”

--- กิ่งสภากาชาดไทย นำ�โดย คุณนาย นวลยงค์ หงษ์ทอง และคณะ ท่านเอื้ออำ�นวยความสะดวกในการ ลงพื้ น ที่ แ ละ สนั บ สนุ น อาหารกลางวั น ให้ ที ม งาน บ่อยครั้ง --- หมออนามั ย และพยาบาลวิ ช าชี พ ประจำ � สถานี อ นามั ย มี มุ ม มอง “พี่ ว่ า เราตั้ ง ที ม ออกเยี่ ย ม บ้ า น แบบหลากหลายวิ ช าชี พ แบบนี้ ดี ม ากเลย บางที พี่ ไ ปเยี่ ย มบ้ า นคนพิ ก ารเอง พอเจอปั ญ หา แล้ ว แก้ ไขปั ญ หาให้ เขาไม่ ไ ด้ รู้ สึ ก เสี ย ใจ และสงสาร เขามาก แต่ไม่รู้จะช่วยอย่างไรจริงๆ บางที่เป็นปัญหาเรื่องเงิน เรื่องสวัสดิการก็ไม่รู้จะติดต่อใครดี” การทำ�งาน ก็พบปัญหาระหว่างทาง คอยปรับปรุงไป เช่น มีปัญหาการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ : พบว่าแบบบันทึก การเชือ่ ม 46

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


คนพิการ ข้อมูลคนพิการรวมถึ ง องค์ ค วามรู้ ของคนทำ�งานยังแยกส่วน ยังมองบริบทของ คนพิการไม่ทะลุสง่ ผลถึง แนวคิด และการวางแผน การทำ�งานที่ไม่เข้าถึง ไม่ถูกเป้าหมายของ บริบทชุมชน การเรียนรู้ที่ได้จากการทำ�งาน การทำ�งาน คือ การขัดเกลาตัวเอง การเห็นตัวเราเอง รู้จักตัวเอง เข้าใจผู้อื่น ปรับท่าทีในการทำ�งาน การใช้ชีวิต นอกจากนั้นยังพบว่า ความสัมพันธ์ มิตรภาพ ระหว่างคนทำ�งาน (สหวิชาชีพ) เครือข่ายภาค ประชาสังคมในพื้นที่ “ทุนทางสังคมดีขึ้น” --- มิตรภาพ ระหว่างคนพิการ ญาติ คนทำ�งานดี “ผู้บริหารให้กำ�ลังใจ” ลงมาออกเยี่ ย มกั บ พื้ น ที่ --- พยาบาลพี่ เ ลี้ ย งตำ � บล อื่นๆ ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมออกเยี่ยม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีโอกาสได้เข้ามาร่วมออกเยี่ยมบ้าน และร่วมเวทีถอด บทเรียนด้วย---เกิดความเข้าใจในตัวคนพิการมากขึ้น ตระหนั ก รู้ สิ่ ง แวดล้ อ มอื่ น ๆที่ มี ผ ลต่ อ พฤติ ก รรมของ ผู้ดูแลคนพิการ เช่นปัญหาครอบครัว เกิดกลุ่มจิตอาสา ในกลุ่มคนพิการที่จะคอยช่วยดูแลกันและกัน ปัจจัยความสำ�เร็จ หนึง่ การเรียนรูร้ ว่ มกัน ความร่วมมือ --- สอง การสื่อสาร/ประสานงานแนวราบกับ เครือข่าย หมออนามัย ลูกจ้าง วัฒนธรรมอำ�เภอ สาม-- การบูรณการ องค์ ค วามรู้ ความเข้ า ใจให้ เข้ า กั บ วิ ถี ง านประจำ � 47

--- สี่ กระบวนการเรียนรูร้ ว่ มกันเอือ้ ให้เกิดการเสริมพลังอำ�นาจ กับคนทำ�งานและเครือข่าย “เอื้อให้เกิดการใคร่ครวญ ตัวเองอย่างลึกซึ้ง” การฟังอย่างลึกซึ้ง จะนำ�ไปสู่ความจริง ความดี ความงาม การทำ�งานในกลุม่ คนพิการทำ�ให้เราได้เรียนรูม้ ากมาย แต่เดิมเราคิดว่าเราเป็นผู้ให้ แต่จริงๆ แล้วเราเป็นผู้รับ ต่างหาก .... ไม่หรอกแท้จริงแล้วเราต่างได้ดูแลซึ่งกัน และกันต่างหาก ...และงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก คนพิการก็ควรจะเป็นงานหนึง่ ในหลายๆกลุม่ อายุทเี่ ราควร จะทำ�ไปตลอดไม่ใช่แค่ช่วงใดช่วงหนึ่งเท่านั้น ขอบคุณสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ และ ผู้ที่มีโอกาสทำ�ให้เกิดงานนี้ขึ้น รวมทั้งทีมสหวิชาชีพ เยี่ยมบ้านอำ�เภอเวียงแก่น และประชาชนอำ�เภอเวียงแก่น ทุกคน 

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เรื่อง “เล่าสู่กันฟัง.....

บทเรียนนอกรั้ว โดย ทพญ.ภาสวรรณ กุลเศรษฐ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

นชี วิ ต การทำ � งานของผู้ ที่ ไ ด้ รั บ การเรี ย กขานว่ า ผู้ เ ชี่ ย วชาญด้ า น ทั น ตกรรม ทั น ตแพทย์ ห ลายๆท่ า นคงได้ มี โ อกาสทำ � งานส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากในชุ ม ชนกั น มาบ้ า งไม่ ม ากก็ น้ อ ย แต่ สำ � หรั บ ข้ า พเจ้ า “โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากนักเรียนโรงเรียนเชียงรายปัญญานุกูล ปี 2554” ถือเป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสทำ�งานในชุมชน และเป็นครั้งแรก ที่ ไ ด้ เ ป็ น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการ ซึ่ งในช่ ว งแรกที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายงานก็ มี ความกั ง วลอยู่ ว่ า จะทำ � งานได้ ไ ม่ ดี เ นื่ อ งจากไม่ เ คยมี ป ระสบการณ์ ม าก่ อ น และบุ ค ลิ ก ส่ ว นตั ว ก็ เ ป็ น คนไม่ ช อบทำ � อะไรที่ ต นเองไม่ ถ นั ด ไม่ ช อบการเปลี่ ย นแปลง 48

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ถ้าเลือกได้ก็จะเลือกการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลมากกว่า การออกไปทำ�งานชุมชนข้างนอก แต่เป็นความโชคดีของ ข้ า พเจ้ า ที่ มี โ อกาสเข้ า ประชุ ม ในเวที แ ลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ เครือข่ายทันตบุคลากรพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก ระดับปฐมภูมิในกลุ่มคนพิการ ที่ทางสถาบันสร้างเสริมสุขภาพ คนพิการ (สสพ.) จัดขึ้น จากเวทีนี้ข้าพเจ้าได้ความรู้ความ เข้าใจในคนพิการมากขึ้น ได้เรียนรู้การทำ�งานของเครือข่าย ทันตบุคลากรซึ่งสามารถเป็นแนวทางในการทำ�งานให้ข้าพเจ้า ได้ และสิ่งสำ�คัญคือการได้เห็นผลงานของเพื่อนร่วมวิชาชีพ ที่ทำ�ประโยชน์ให้กับคนพิการซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้า รู้ สึ ก อยากเป็ น อี ก คนหนึ่ ง ที่ ร่ ว มสร้ า งสิ่ ง ดี ๆ นี้ “ใจ” ของคนเราช่ า งอั ศ จรรย์ จากแรงบั น ดาลใจที่ เ กิ ด ขึ้ น ทำ �ให้ ความรู้สึกกังวลของข้าพเจ้าหมดไป และมีมุมมองใหม่ในการทำ�งานโดยไม่กลัวว่าการทำ�งานจะเจอปัญหาหรืออุปสรรคใด ถ้ า เกิ ด ปั ญ หาขึ้ น ก็ เ รี ย นรู้ ห าทางแก้ ไ ขให้ ค ลี่ ค ลายไป ด้ ว ยความคิ ด นี้ ทำ �ให้ ข้ า พเจ้ า ทำ � งานอย่ า งมี ค วามสุ ข และ สำ � เร็ จได้ ด้ ว ยดี การทำ � งานกั บ เด็ ก นั ก เรี ย นที่ มี ค วามบกพร่ อ งทางสติ ปั ญ ญาไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งง่ า ยนั ก ต้ อ งทำ � ความเข้ าใจ ธรรมชาติ แ ละความสามารถในการเรี ย นรู้ ข องเด็ ก ๆ ต้ อ งอาศั ย ความช่ ว ยเหลื อ จากคุ ณ ครู ซึ่ ง เป็ น ผู้ ใ กล้ ชิ ด และ รู้จักบุคลิกภาพของเด็กนักเรียนแต่ละคนเป็นอย่างดี ดังนั้นในการทำ�งานครั้งนี้นอกจากข้าพเจ้าและผู้ช่วยทันตแพทย์คู่หูแล้ว ผู้ที่มีบทบาทสำ�คัญที่ทำ�ให้งานนี้สำ�เร็จด้วยคือคณะครูโรงเรียนเชียงรายปัญญานุกูลทุกท่านซึ่งให้ความร่วมมือและการ สนั บ สนุ น อย่ า งดี ต ลอดการทำ �โครงการ แม้ จ ะเป็ น ช่ ว งเวลาสั้ น ๆไม่ กี่ เ ดื อ นที่ ข้ า พเจ้ า ลงพื้ น ที่ ทำ � งานแต่ ไ ด้ รั บ สิ่ ง ดี ๆ กลับมามากมาย คือ การได้ทำ� ตามที่ตั้งใจไว้ว่าจะเป็นคนหนึ่งที่ร่วมสร้างสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นเพื่อคนพิการ นอกจากนี้ ยั ง ได้ รั บ มิ ต รไมตรี ที่ ดี จ ากทั้ ง คุ ณ ครู ใ นการทำ � งานที่ โ รงเรี ย น และจากผู้ ป กครองนั ก เรี ย นในการไปเยี่ ย มบ้ า น ที่ สำ � คั ญ คื อ การได้ รั บ การแบ่ ง ปั น ความสุ ข จากเด็ ก ๆ โดยทุ ก ครั้ ง ที่ ไ ด้ พ บกั น ความใสและบริ สุ ท ธิ์ ข องเด็ ก ๆ ทำ �ให้ ข้ า พเจ้ า ยิ้ ม ออกมาได้ ทุ ก ครั้ ง เวลาทำ � งานเหนื่ อ ยๆหั น หน้ า มาเห็ น รอยยิ้ ม บนใบหน้ า เด็ ก ๆ ก็ ทำ �ให้ ข้ า พเจ้ า มี 49

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


แรงทำ � งานต่ อ ไปได้ โครงการนี้ เ ป็ น ผลงานแรกของ ข้าพเจ้าซึ่งเริ่มต้นด้วยดีและสำ�เร็จลงด้วยความสวยงาม เป็นความภาคภูมิใจและเป็นแรงพลักให้ข้าพเจ้าก้าวต่อไป ในเส้ น ทางของการทำ � งานเพื่ อ ชุ ม ชน เพื่ อ สั ง คม เพื่ อ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ โดยจะใช้ ค วามรู้ ค วามสามารถทางด้ า น ทั น ตกรรมที่ มี ใ ห้ เ ป็ น ประโยชน์ ม ากที่ สุ ด หลายปี ที่ ผ่านมาข้าพเจ้าได้ใช้เวลาแต่ละวันหมดไปกับการให้บริการ รั ก ษาผู้ ป่ ว ยบนยู นิ ต ทั น ตกรรมในโรงพยาบาลโดย ไม่ ส นใจที่ จ ะเปลี่ ย นแปลงรู ป แบบการทำ � งานหรื อ ลอง ทำ�อะไรที่ต่างไปจากเดิม การได้มาทำ�โครงการนี้เปิดโอกาส ให้ข้าพเจ้าได้สัมผัสและเรียนรู้สิ่งใหม่นอกรั้วโรงพยาบาล เกิดเป็นบทเรียนในชีวิตของข้าพเจ้าว่าการเปิดใจยอมรับ การเปลี่ยนแปลงทำ�ให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่และเป็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเองซึ่งศักยภาพของเรานั้นสามารถ ทำ�สิ่งดีๆเพื่อเพื่อนมนุษย์ได้อีกมากมาย โดยข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนก็สามารถทำ�ได้ ขอเพียงแค่มีใจคิดที่จะทำ�เท่านั้นก็เพียงพอ 

50

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เรื่องเล่าที่ประทับใจเรื่อง

“เด็กตัวน้อยผู้เป็นดวงใจยาย” นางสาวลักขณา มีฤาการณ์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เล่าเรื่อง

ที

มงานออกเดินทางออกจากโรงพยาบาล พร้ อ มทั้ ง อุ ป กรณ์ ต่ า งที่ นำ �ไปฝากกั บ กลุ่ ม ผู้ พิ ก าร ทั้ ง ร่ า งกายและจิ ตใจที่ เ ต็ ม เปี่ ย มพร้ อ มที่ จ ะดู แ ล และให้คำ�แนะนำ�ที่ดีกับผู้พิการในชุมชน พอไปถึงสถานนี อนามัยทักทาย พี่เจ้าหน้าที่ที่นั่นด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้ม และพร้อมทีท่ �ำ งาน พีเ่ จ้าหน้าทีบ่ อกว่าต้องรอซักครูน่ ะคะ ทางทีมงาน จึงนั่งรออยู่ซักครู่ ได้ยินเสียงรถยนต์ขับ เข้ามาเป็นรถของพี่เจ้าหน้าที ข้าพเจ้าเดินออกไปดูเห็น ยายวัย 60 ปี จูงมือหลานเดินลงจากท้ายกระบะรถ ของพี่เจ้าหน้าที่ เป็นเด็กชายร่างกายอวบอั๋น หน้าตา น่ารัก วัยประมาณ 10 ปี เห็นจะได้ “สวัสดีค่ะ” เป็นคำ�ทักทายแรกที่ทางทีมงานของ โรงพยาบาลวังน้อยทักทายกับยายและเด็กชายผู้นั้น เดินเข้ามาที่สถานีอนามัย ด้วยอาการกระหืดกระหอบ และเร่งรีบ ยายของเด็กผู้นั้นกล่าว “ขอโทษ” ด้วยวาจา ที่ นอบน้อมและสายตาที่ขอโทษ ที่พาหลานของตนเอง มาผิดเวลานัดกันไว้ คุณหมอพร้อมพรรณจึงถามถึง เหตุผล ด้วยนํ้่าเสียงทีไพเราะ คุณยายให้คำ�ตอบทันที่ ว่าจริงๆอยากมาตั้งแต่เช้า แต่ขับรถมอเตอร์ไซด์ไม่เป็น ตาต้องออกไปทำ�นาตัง้ แต่เช้าไม่มคี นพามา จึงต้องรอให้ ตากลับมาจากนาก่อน แต่คณ ุ หมอยุ (พีพ่ ยาบาล รพ.สต.) 51

ไปรับมาก่อน เป็นคำ�กล่าวจากยายที่ชราภาพมากแล้ว ซึง่ ทีจ่ ริงต้องเป็นฝ่ายทีล่ กู หลานต้องดูแลแต่กลับต้องดูแล หลานแทน คุยกันซักพัก จึงเริม่ สัมภาษณ์คณ ุ ยายว่าน้องมี ความผิดปกติอะไรบ้างคะ คุณยายวัย 60 จึงเริม่ ถ่ายทอด เรื่องราวน้องให้ฟัง ซึ่งตอนแรกเวลาถามคุณยายจะตอบ แบบตะกุกตะกัก แต่พอคุยกันซักพักแสดงให้ยายเห็นว่า เรามีความตัง้ ใจจริงทีจ่ ะช่วยคุณยายดูแลแลน้อง คุณยาย จึงเริม่ เล่าเรือ่ งอย่างไว้วางใจให้ทางเราฟังว่าตอนเกิดมา นั้นเด็กนั้นปกติดี ไม่มีอะไรผิดปกติ แต่มาทราบว่าเป็น ออทิสติกตอนเด็กอายุประมาณ 2 ขวบ เพราะหลาน ไม่ยอมพูดจึง พาไปหาหมอที่อนามัย แม่ของเด็กทิ้งไป

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ตัง้ แต่เด็ก พ่อแต่งงานใหม่ไม่ได้สง่ เงินเลีย้ งดู จึงต้องอยูก่ นั 3 คน มี ตา ยาย และหลาน ตามีอาชีพทำ�นา ยายบางครัง้ ต้องออกไปรับจ้างทัว่ ไป ต้องปล่อยให้หลานชายอยูเ่ พียงลำ�พัง กับ คนข้างบ้าน ยายเล่าให้ฟังว่าแต่ก่อนนั้นตาเคยพาไป โรงพยาบาลจังหวัดและรับยาเป็นประจำ� แต่ปัจจุบันตา ไม่สะดวกเรือ่ งการเดินทางทีจ่ ะพาหลานไปจึงไม่ได้รบั ยา ต่อเนื่อง น้องจะชอบพูดตามคำ�สุดท้ายที่เราพูด ไม่มี อาการ ที่ทำ�ร้ายผู้อื่น ชอบเล่นคนเดียว ยายเล่าเรื่องกิจกรรมประจำ�วันให้ฟังว่าตื่นเช้ามา ยายต้องพาน้องไปแปรงฟันทุกวัน และตอนนี้ยายกำ�ลัง เริ่มฝึกให้น้องแปรงฟัน อาบนํ้า เข้าห้องนํ้า แต่งตัวเอง ยายเล่าให้ฟังว่าน้องชอบแปรงฟันแต่ทำ�ได้แค่เพียงช่วง เวลาสั้นๆ เท่านั้นจึงแปรงฟันไม่สะอาดเท่าที่ควร ยาย เป็นคนอาหารให้หลานรับประทาน อาหารที่หลาน ชอบทานคือ ไก่ทอด หมูทอด ไข่ทอด แต่ไม่ชอบกินผัก และผลไม้ ยายจึงมักจะทำ�อาหารประเภททอดให้หลาน รับประทาน ไม่ค่อยรับประทาขนมกรุบกรอบเนื่องยาย ไม่ ไ ด้ ซื้ อ ให้ รั บ ประทาน แต่ รั บ ประทานข้ า วครั้ ง ละ หลายจานคุณหมอพร้อมพรรณจึงถามยายว่าเด็กฟันผุ ไหม ยายบอกไม่รู้ซิฉันไม่เคยพาไปหาหมอฟันเลยค่ะ แต่ 52

ฉันก็พยายามแปรงฟันให้กบั หลานทุกวันค่ะ คุณหมอจึงบอกกับยายว่าไม่เป็นไรนะคะ คุณยาย คุณหมอจึงเริ่มบอกกับยายว่าวันนี้หมอ จะมาตรวจฟันให้ หลังจากนั้นจึงทำ�แบบ ทดสอบสอบ แต่ยายอ่านหนังสือไม่ออก ข้าพเจ้าจึงเป็นผูอ้ า่ นให้ คุณยายมีความรูท้ ี่ ไม่ถูกต้องในเรื่องการเลือกอาหาร โรคฟัน ผุ คุณหมอจึงตรวจฟันให้เด็ก และชี้ให้ยาย ดูขี้ฟันที่เกาะบนตัวฟันเป็นคราบเหลือง น้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่บางครัง้ ก็ จ ะแย่ ง ของในมื อ บ้ า งเป็ น บางครั้ ง แต่ ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี คุณหมอบอกยาย ว่าเด็กมีฟันผุหลายซี่เป็นฟันแท้ก็มีต้อง พาไปทำ�ฟันที่โรงพยาบาลแต่ยายต้องขอ ปรึ ก ษาคุ ณ ตาก่ อ น แล้ ว จะโทรกลั บ มาบอกอี ก ที หลังจากนั้น คุณหมอจึงสอนแปรงฟัน หลัง จากนั้น ให้คณ ุ ยายทำ�ให้ดู คุณยายยังทำ�ไม่ถกู คุณหมอจึงต้องจับมือ คุณยายแปรงฟันให้กับหลาน ยายเริ่มเห็นความแตกต่าง เนื่องจากหลานฟันขาวขึ้น นอกจากนั้นยังพูดเรื่อง อาหารว่างสำ�หรับเด็ก ยายบอกว่าจะพยายามทำ�ให้ได้ ตามที่หมอบอกยายนะ คุณหมอและทีมงานจึงพูดให้ กำ�ลังใจคุณยาย ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เจอยายหลานคู่นี้เพียงครั้งเดียว แต่ก็ทำ�ให้ทราบถึงความรักอันยิ่งใหญ่จากสายโลหิต เดียวกัน ที่ไม่ทอดทิ้งกัน “ยากดีมีจนก็ต้องเลี้ยงดู หลานอันเป็นที่รักยิ่งต่อไป ตราบเท่าที่มีลมหายใจ” เป็นคำ�กล่าวของยายวัย 60 ปี ข้าพเจ้าและทีมงานจะต้อง ลงเยีย่ มบ้านคุณยายและหลานอีก เพือ่ ติดตามดูพฒ ั นาการ เรือ่ งการดูแลสุขภาพช่องปาก และเรือ่ งอืน่ ๆทีพ่ อช่วยเหลือ เด็กชายผู้นี้ได้ ทางทีมงานขอขอบคุณสถาบันสร้างเสริม สุขภาพคนพิการที่ให้การสนับสนุนทำ�งานที่ดีแก่สังคม อีกสังคมหนึ่งที่ข้าพเจ้าไม่เคยได้สัมผัส 

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ความประทับใจ

ในงานสร้างเสริมสุขภาพ ช่องปากคนพิการ โดย น.ส. สิรกันยา สิงห์ศรี นักวิชาการสาธารณสุขชำ�นาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จ.นครพนม

ก่

อนจะเล่าถึงความประทับใจในการทำ�งานส่งเสริม ทันตสุขภาพคนพิการ ดิฉันขอกล่าวย้อนกลับไปเมื่อ ปี 2552 ดิฉันเคยส่งผลงานการเขียนบทความ เรื่อง แนวคิดระบบการดูแลผู้พิการให้มีสุขภาพช่องปากที่ ดี ได้รับรางวัลที่ 2 จากทันตแพทยสภา และต่อมา ดิฉันก็พบเด็กที่มีความพิการทางสมองและแขนขาลีบ มารับบริการทันตกรรม แล้วดิฉันก็ได้นำ�กรณีศึกษา ของเด็กคนนีม้ าเขียนเพือ่ นำ�ไปเสนอในงานประชุมวิชาการ ที่จังหวัดกระบี่ ได้รับรางวัลชมเชยอันดับ 1 (ที่ 4) จาก จำ�นวนผลงาน 14 ชิ้น อาจารย์ทันตแพทย์ที่มาวิพากย์ ให้คะแนนในวันนั้นได้บอกกับดิฉันว่า “ขอให้ทำ�ต่อไป นะอย่าทิ้ง” เพราะคนกลุ่มนี้ยังเข้าถึงการบริการทาง สุขภาพน้อยมาก ซึง่ นัน่ ก็เป็นความภาคภูมใิ จและเป็นแรงผลักดันให้ดฉิ นั คิดอยูเ่ สมอว่า ก่อนทีด่ ฉิ นั จะได้ไปทำ�งานวิชาการตามตำ�แหน่งของดิฉนั ถ้ามีโอกาสดิฉันจะทำ�โครงการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในคน พิการให้ได้ เนือ่ งจากว่าดิฉนั จะย้ายกลับไปอยูบ่ า้ นตัวเอง ย้ายไปทำ�งาน ที่โรงพยาบาลนครพนม ดิฉันอาจไม่ได้ทำ�งานทางด้านทันตสาธารณสุข อีก หลังจากกลับมาจากการประชุมไม่นาน ทพญ. รจิต จันทร์ประสิทธิ์ รพ. ศรีสงคราม จ. นครพนม ผู้ซึ่งไปร่วมเป็นพิธีกรและแสดงกิจกรรม บนเวทีในงานประชุมวิชาการ เห็นว่าดิฉันสนใจในงานด้านคนพิการอยู่ จึงได้โทรศัพท์มาหาแล้วบอกว่า สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สสพ. 53

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


มีงบประมาณสนับสนุน ขอให้ทำ�โครงการเข้าไปขอทุน ต่อมาปลายปี 2553 (ปีงบ 2554) ดิฉันทราบว่ามีการอบรม จากสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) จัดโดยวารสาร ทันตภูธร ในวันที่ 29 พ.ย. 53 – 1 ธ.ค. 53 ตามจริงปิดรับสมัคร ไปแล้ว แต่ดิฉันขอโอกาสเข้ารับการอบรมด้วย ทางผู้จัด จึงส่งแฟกซ์มาให้ดิฉันพร้อมกับสามารถเบิกค่าใช้จ่าย จากทางผู้จัด ให้ดิฉันเข้าร่วมอบรม หลังอบรมทาง สสพ. มีงบประมาณสนันสนุน ดิฉนั จึงรีบเขียนโครงการส่งไปขอทันที งานนี้เป็นงานใหม่ดิฉันจึงต้องทำ�งานหนักเป็นเท่าตัว เนื่องจากงานประจำ�ก็มีมากอยู่แล้ว อีกทั้งในปี 2554 นี้ มีงานที่เพิ่มเข้ามา คือต้องทำ� Completed cased ใน เด็ก ป. 1 ต้องเยี่ยมบ้านหญิงมีครรภ์ ดิฉันต้องทำ�งาน นอกเวลาคือการศึกษาหาข้อมูลเกีย่ วกับคนพิการ หาข้อมูล พื้นฐานของคนพิการในอำ�เภอ ตำ�บล โดยประสานงานกับ นักกายภาพบำ�บัด งานสุขภาพจิต เทศบาลธาตุพนม และ ได้ทำ�โครงการของบออกเยี่ยมบ้านจากเทศบาลธาตุพนม ซึง่ ก็ได้รบั การอนุมตั ใิ ห้โครงการของดิฉนั ผ่านและสนับสนุน งบมาให้อีก แต่ขอให้ขยายการทำ�งานจาก 1 ตำ�บล เป็น 54

2 ตำ�บล เพราะเทศบาลธาตุพนมรับผิดชอบ 2 ตำ�บล 14 หมู่บ้าน นอกจากนี้ก็หาข้อมูลของ อสม. โดยประสานงาน กับฝ่ายสุขาภิบาล จัดเตรียมเอกสารและจัดทำ�แฟ้มประวัติ คนพิการ เชิญประชุมทีมทำ�งาน ดำ�เนินการอบรมคนพิการ ผู้ดูแล และอสม. ดิฉันบอกพวกเขาว่าเขาไม่ใช่คนพิการนะ แต่เขาคือบุคคลพิเศษ และดิฉันก็ให้ทีมงานทุกคนเรียก เขาว่าคนพิเศษ วันอบรมดิฉันเห็นคนที่ต้องนั่งรถเข็นมาลำ�บากแต่ เขาก็มา ขณะอบรมได้เห็นรอยยิ้มบนใบหน้าของเขา เหล่านัน้ มีคนชมว่าสนุกมากเสียดายแทนคนทีไ่ ม่มา หลังจาก การอบรมได้ขอให้ อสม. ช่วยเหลือในการเก็บข้อมูล ทั่วไป จากนั้นทีมสหวิชาชีพและ อสม. ก็ออกเยี่ยม บ้าน ให้บริการตรวจสุขภาพร่างกาย คัดกรองสุขภาพจิต และตรวจฟัน ในการออกเยี่ยมบ้านบางบ้านดิฉันต้อง ไปหลายครั้ง เพราะไม่พบคนพิการ หรือคนพิการไม่ให้ ความร่วมมือในครั้งแรกที่ไป มีหลายครั้งที่ดิฉันจำ�เป็นต้อง ไปเยี่ยมนอกเวลา เช่น วันปกติช่วงเลิกงานตอนเย็น และ วันเสาร์ - อาทิตย์ เมือ่ ได้ขอ้ มูลคนพิการครบแล้ว จึงได้จดั ทำ� แผนออกให้บริการทันตกรรมในชุมชน โดยใช้สถานทีท่ บี่ า้ น คนพิการเอง ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำ�หมูบ่ า้ น หรือบ้าน อสม. แล้วแต่ความสะดวกและความพร้อมของแต่ละหมูบ่ า้ น ในการปฏิบัติงานดิฉันประทับใจทีมงานทุกคน นับ ตั้งแต่ทีมทันตบุคลากร ที่มีความเห็นอกเห็นใจคนพิการ หลังจากกลับมาจากเยี่ยมบ้าน และเห็นถึงความยาก ลำ�บากของคนพิการในการที่จะมารับบริการ ทันตกรรม ประทับใจนักกายภาพบำ�บัด และพยาบาลวิชาชีพจากงาน สุขภาพจิตและเวชปฏิบตั คิ รอบครัว ทีถ่ งึ แม้จะมีงานประจำ�

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


มากอยู่แล้วแต่ก็พักงานตนเองไว้ก่อนและยินดีที่จะออกเยี่ยมบ้านร่วม กับดิฉัน ประทับใจ อสม. ที่ยินดีและเต็มใจในการพาออกเยี่ยมบ้าน คอยบริการติดตามและอำ�นวยความสะดวกในด้านสถานที่ หรือรับส่ง คนพิการให้มารับบริการทันตกรรม ประทับใจคนพิการส่วนใหญ่ทไี่ ม่ยอ่ ท้อ ต่ออุปสรรคที่กำ�ลังประสบอยู่ ทำ�ให้ดิฉันมีแรงและกำ�ลังใจในยามที่ท้อ คนพิการบางคนดีใจที่มีหมอมาเยี่ยม ถึงกับออกปากชื่นชมว่า คุณหมอดีจังที่มาเยี่ยมถึงบ้าน อยากให้มาเยี่ยมบ่อย ๆ อยาก ให้หมอหรือใครก็ได้มาพูดมาคุย ไต่ถามสารทุกข์สุกดิบและให้ คำ�แนะนำ�ในด้านต่าง ๆ ดิฉันได้ค้นพบศักยภาพบางอย่างที่มีอยู่ ในตัวคนพิการบางคนด้วย เช่น บางคนแขนขาลีบ แต่สามารถใช้ คอมพิวเตอร์ได้ บางคนนิ้วมือข้างหนึ่งขาดทุกนิ้วแต่สามารถทำ�งาน หนัก หาเลี้ยงครอบครัวได้ เช่น ทำ�งานในที่สูง ซ่อมรถ ทำ�การ เกษตร ฯลฯ บางคนพิการทางการเคลื่อนไหว ต้องใช้เหล็กคํ้ายัน ช่วยพยุงเดินแต่ออกไปขายของทุกวัน คนพิการบางคนเครียด ที่ไม่มีงานทำ�ต้องเป็นภาระให้กับครอบครัว ต้องการให้ฝึกอาชีพ และหางานให้ท�ำ แสดงให้เห็นว่าหากเขามีโอกาสและสามารถทำ�ได้ เขาก็ต้องการยืนอยู่ด้วยลำ�แข้งของตัวเอง โดยไม่เป็นภาระของใคร หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการเยี่ยมบ้านและออกให้บริการ ดิฉันได้ รวบรวมข้อมูลทัง้ หมด 14 แฟ้ม 14 หมูบ่ า้ น รายงานเทศบาล 14 หมูบ่ า้ น แต่รายงาน สสพ. เพียง 8 หมู่บ้าน คือรายงานตามงบที่ได้รับการ สนับสนุนในแต่ละแห่ง การทำ�งานครั้งนี้ดิฉันได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ค้นพบศักยภาพที่มีอยู่ในคนพิเศษเหล่านี้ เพียงแค่เราเข้าใจให้กำ�ลังใจ และให้เวลากับเขา เขาก็จะอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ในทางกลับกัน เขาเหล่านั้นก็เป็นแรงผลักดันให้ดิฉันมีกำ�ลังใจ มีความสุขในการทำ�งาน หรือแม้กระทั่งดำ�เนินชีวิต ด้วยความระมัดระวังมากขึ้น เพราะมีคนพิการบางส่วนที่พิการเนื่องจากการดำ�เนินชีวิตด้วย ความประมาท เวลาที่ดิฉันท้อใจดิฉันก็มักจะหวนกลับไปนึกถึงวันที่ดิฉันได้ไปเยี่ยมไปพูดคุยกับคนพิเศษเหล่านั้น ดิฉันก็จะมีพลังใจกลับคืนมา  55

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ม ร ป เ ง ุ ล ง อ ข า ้ ฟ นาง

โดย...นางทัณฑิกา สุขจันทร์ โรงพยาบาลระโนด จังหวัดสงขลา

ไม่

เคยคิดว่าจะมีวนั นีอ้ กี ครัง้ ลุงเหมือน ตายแล้วเกิดใหม่ เป็นคำ�พูดของลุงเปรม หลังจากที่ ได้รับการผ่าตัดต้อกะจก ทำ�ให้ตากลับมา มองเห็นอีกครั้ง “บ้านโน้นมีคนตาบอด ไม่เคยได้ออกไปไหน มาหลายปีแล้ว” ป้าจัดพูดพร้อมกับชี้ ไปทางทิศ ใต้ มองเห็นบ้านหลังเล็กๆอยู่ห่างออกไปประมาณ 200 เมตร จากคำ�บอกเล่าของป้าจัดแม้ค้าขนมจีน ในหมู่บ้าน ทำ�ให้ทีมเยี่ยมบ้านต้องแวะเยี่ยมโดยไม่ตั้งใจ เพราะไม่มีชื่อในทะเบียนคนพิการ 56

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ประตูบ้านแง้มอยู่เล็กน้อย เราจึงเดินเข้าไปมองเห็นผู้ชาย แก่ รูปร่างผอม ผิวขาว นอนมือก่ายหน้าผากอยู่บนแคร่ในบ้าน “สวัสดีค่ะลุง หนูเป็นทีมเยี่ยมบ้านคนพิการค่ะ ป้าจัดบอกว่า ลุงตาบอด เลยแวะมาเยี่ยม” ลุงลุกขึ้นนั่ง หลังจากที่ได้คุยกัน ทำ�ให้ทราบว่าลุงชื่อ “นายเปรม เพชรมณี” อายุ 75 ปี บ้านที่อยู่ เลขที่ 56 หมู่ที่ 2 ตำ�บลพังยาง อาศัยอยู่กับลูกสะใภ้และหลาน ชาย ภรรยาเสียชีวิตแล้ว ลุงเปรมมีลูกชายคนเดียวไปทำ�งานอยู่ ที่ อ.หาดใหญ่ นานๆกลับ จึงไม่ค่อยมีเวลาดูแล ลุงเปรมมีพี่น้อง 7 คน ยังมีชีวิตอยู่เพียงคนเดียวเป็นพี่สาวชื่อนางแปลก อาศัยอยู่ กับลูกที่ อ.สะเดา ลุงเปรมไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ไม่มีบัตรประชาชน ไม่มีบัตรทอง ตาบอดทั้งสองข้างมองไม่เห็นอะไรเลยมา ประมาณ 3 ปี ไม่เคยไปหาหมอ จึงไม่ทราบสาเหตุว่าเป็นอะไร ปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆไม่มี ในตอนกลางวันลุงเปรมอยู่บ้าน คนเดียว ลูกสะใภ้ไปทำ�งานโรงงานกลับบ้านเกือบค่ำ� หลานชายไปเรียนหนังสือ ลุงจึงนั่งกับนอนอยู่บนแคร่แห่งนี้ โดยมีเสียง ทีวีเป็นเพื่อนคลายเหงา มีเพื่อนบ้านแวะมาคุยบ้างเป็นครั้งคราว ลุงเปรมเล่าว่าตอนยังเป็นหนุ่มเคยทำ�บัตรประชาชนมาเพียงครั้งเดียว หลังจากที่ทำ�บัตรหาย ก็ไม่เคยติดต่อทำ� บัตรใหม่ อีกเลย การช่วยให้ลุงเปรมมีบัตรประชาชน ในตอนแรกยุ่งยากพอสมควร เพราะไม่รู้จะเริ่มต้นจากขั้นตอนไหน ก่อน แต่ด้วยความตั้งใจจริงของทีมสหวิชาชีพ ได้ช่วยกันประสานงานทราบว่าก่อนแต่งงานลุงเปรมอาศัยอยู่ที่บ้านเถรแก้ว หมู่ที่ 1 ต.ระวะ เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดเถรแก้ว จึงเริ่มต้นจากการค้นหาชื่อจากทะเบียนนักเรียน การเก็บข้อมูล ที่ดีของโรงเรียนทำ�ให้ยังมีชื่อ “เด็กชายเปรม พุทธคง” เรียนหนังสือชั้น ป.1 เกิดเมื่อ 1 เมษายน 2472 จากข้อมูลใน ทะเบียนนักเรียนแสดงว่าลุงเปรมอายุ 82 ปี ลุงเปรมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตอนยังเด็กใช้นามสกุล “พุดคง” แต่สะกดไม่ถูก ตอนแจ้งเกิดลูกชาย ญาติแจ้งให้ในใบแจ้งเกิดลูกว่า พ่อชื่อ “นายเปรม เพชรมณี” ลุงจึงใช้นามสกุล “เพชรมณี” ตลอดมา หลังจากนั้นจึงได้ประสานงานปลัดอำ�เภอถึงขั้นตอนการทำ�บัตรประชาชน 57

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ซึ่งได้รับคำ�แนะนำ�ว่า จะต้องมีการสอบปากคำ�พยานบุคคลด้วย ได้แก่ 1. พ่อ แม่หรือ พี่น้องสายตรงของลุงเปรม 2. กำ�นันหรือ ผู้ใหญ่บ้านที่รู้จัก 3. ข้าราชการที่รู้จัก จนในที่สุดลุงเปรมก็ได้ทำ�บัตร ประชาชน ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ในเวลาต่อมาก็มกี ารประสานงานรถโรงพยาบาลเพือ่ พาลุงเปรมมาพบ หมอทีศ่ นู ย์แพทย์ชมุ ชนวัดเบิกซึง่ เป็นเครือข่ายของโรงพยาบาลระโนด เพือ่ ทำ�บัตรคนพิการ เมือ่ ตรวจร่างกายเสร็จคุณหมอบอกว่า ลุงเปรม เป็นต้อกระจก ไม่ตอ้ งทำ�บัตรคนพิการ คุณหมอได้เขียนหนังสือส่งตัว เพื่อส่งลุงเปรมไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลสงขลา ถือว่าเป็นข่าวดี ลุงเปรมและทุกคนรูส้ กึ ดีใจมาก แต่ลงุ เปรมก็ไม่สามารถไปรับการรักษาได้ในตอนนี้ เนือ่ งจากลุงเปรมยังไม่มบี ตั รทอง ไม่มเี งิน ค่ารักษา จึงต้องรอจนกว่าสิทธิบัตรทองจะใช้ได้ วันหนึ่งในโรงพยาบาลระโนดก็มีการประชาสัมพันธ์ว่าจะมีโครงการผ่าตัดต้อกระจกเคลื่อนที่ โดยสำ�นักงานหลักประกัน สุขภาพ เขต 12 ร่วมกับโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ซึ่งจะออกมาให้บริการที่โรงพยาบาลระโนดในวันที่ 25-26 มีนาคม 2554 จึง ได้มีการประสานงานให้ลุงเปรมทราบ และนัดพบคุณหมอเพื่อมาคัดกรองก่อนการผ่าตัด ลุงเปรมผ่านการคัดกรอง และได้ รับการนัดหมายเพื่อเข้ารับการผ่าตัดในวันที่ 25 มีนาคม 2554 ด้วยควมร่วมมือของเจ้าหน้าที่แผนกตรวจสอบสิทธิ์ของโรง พยาบาลระโนด ทำ�ให้สิทธิ์บัตรทองของลุงเปรมออกได้ทันใช้ในวันผ่าตัด ในวันผ่าตัดลูกชายลุงเปรมและหลาน พาลุงเปรมมาตามนัด ด้วยความตืน่ ต้นทำ�ให้เมือ่ คืนลุงเปรมนอนไม่หลับ มีผลทำ�ให้ ความดันสูงในระดับที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ แต่หลังจากที่มีการแนะนำ�ให้ลุงเปรมทำ�ใจให้สบาย นอนพักครึ่งชั่วโมง วัดความดัน อีกครั้ง ลุงเปรมความดันปกติ จึงสามารถผ่าตัดได้ โดยในวันนี้ลุงเปรมจะได้รับการผ่าตัดตาข้างขวาก่อน หลังผ่าตัดลุงเปรม ต้องนอนพักในห้องประชุมใหญ่ของโรงพยาบาลที่ถูกจัดขึ้นเป็นที่พักฟื้นหลังการผ่าตัด ตอนเช้าคุณหมอเปิดตาเพื่อหยอดยา จึงอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน ระหว่างนั้นก็ยังมีการปิดตาอยู่ จนกระทั่ง 1 เดือน คุณหมอนัดเปิดตา ในที่สุดวันที่ลุง เปรมรอคอยก็มาถึง ตามองเห็น สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติอีกครั้งหนึ่ง ลุงเปรมสามารถเดินจากบ้านไปรับบริการขูดหินปูน ที่ศูนย์แพทย์ชุมชนวัดเบิก ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร พร้อมกับคำ�ขอบคุณ พวกเราทุกคนได้รับการยกย่องให้ เป็นนางฟ้า ที่ช่วยชุบชีวิตใหม่ลุงเปรม  58

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


จากช่องปากสู่หัวใจ กับเครื่องมือคัดกรอง

สุขภาพช่องปากสี่สี

โดย กลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

ากประสบการณ์ทผี่ า่ นมาพบว่า เมือ่ คน พิการปวดฟัน บางคนจะร้องไห้ปวดฟันทั้งวัน เป็นๆ หายๆ ทุกข์ทรมานอยู่นาน ตั้งแต่เด็ก จนโต จะไปหาหมอฟันก็ลำ�บาก ที่พอทำ�ได้ คือ แม่หายาแก้ปวดมาให้กินตามมีตามเกิด หรือ อี ก รายที่ เ จอคื อ มี ค วามพิ ก ารทางจิ ต และ สื่อสารด้วยการพูดไม่ได้ เขานั่งร้องให้อยู่ใน ชุมชน จนใครๆ ก็คิดว่ามีอาการทางจิตจึงไม่มี ใครสนใจ แต่มีเจ้าหน้าที่ห้องคลอดคนหนึ่งที่เห็น เด็ ก คนนี้ ร้ อ งไห้ อ ยู่ น านเลยเขาไปชวนคุ ย เห็นชี้ๆ ที่ปาก ก็เดาว่าน่าจะปวดฟันจึงพามา ทำ�ฟันทีโ่ รงพยาบาล นีเ่ ป็นเพียงปัญหาส่วนหนึง่ ทีผ่ ปู้ ว่ ย ไม่ได้รับการรักษาและเกิดขึ้นซ้ำ �ซาก” ทพญ.เยาวพา จันทรบุตร ทันตแพทย์ชำ�นาญการพิเศษ โรงพยาบาล โพนทอง อ.โพนทอง สะท้อนภาพความเจ็บป่วยของ คนพิการจากปัญหาสุขภาพในช่องปาก จากข้ อ มู ล การจั ด ระบบบริ ก ารด้ า นสุ ข ภาพ ช่องปากเครือข่ายบริการสุขภาพ อ.โพนทอง ในรอบ 15 ปี ที่ ผ่ า นมา พบว่ า เกิ ด ปั ญ หาการเข้ า ถึ ง บริ ก าร สุขภาพมากที่สุด เนื่องจากการบริการด้านทันตกรรม ไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยปัจจุบันมีทันตบุคลากร ประจำ � โรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพตำ � บล (รพ.สต.) เพียง 4 แห่ง จาก 21 แห่ง ขณะที่มีประชาชนได้รับบริการ การรักษา เพียงร้อยละ 3.9 ของประชากรทั้งหมด ในปี 2552 จึงได้มีการเริ่มปรับรูปแบบให้มีบริการ ในหน่ ว ยปฐมภู มิ ใ ห้ ค รบทั้ ง 21 แห่ ง โดยมี ก ารจั ด 59

ทันตาภิบาลรับผิดชอบทุกพื้นที่ ที่แม้ไม่ได้อยู่ประจำ� แต่สามารถดำ�เนินงานงานแบบบูรณาการได้ครอบคลุมเข้า ถึงเพิ่มขึ้น ทพญ.เยาวพา กล่าวว่า แม้ใน อ.โพนทอง จะมีชาวบ้านประสบ ปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปากเป็นจำ�นวนมาก แต่เนื่องด้วย การจำ�นวนทันตกรรมบุคลากรทีม่ อี ย่างจำ�กัด ทัง้ ทีโ่ รงพยาบาล โพนทองและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล (รพ.สต.) จึงไม่สามารถดูแลรักษาผูป้ ว่ ยได้ทวั่ ถึงทุกราย นอกจากจำ�นวน บุคลากรทีม่ อี ย่างจำ�กัดแล้ว การเดินทางมารักษาทีโ่ รงพยาบาล ก็เป็นอุปสรรคสำ�คัญเช่นกัน อาทิ ค่าใช้จ่าย การเดินทาง ด้วยระยะทางทีไ่ กล ไม่มคี นพามา และบางคนมีสภาพร่างกาย ที่ไม่เอื้อต่อการมารับบริการ ทางโรงพยาบาลจึงพยายาม หาช่องทางในการรักษาผู้ป่วยให้ทันและทั่วถึงให้มากที่สุด และเนือ่ งด้วยโรงพยาบาลมีการพัฒนาคลินกิ การดูแล

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ผูป้ ว่ ยเบาหวาน ซึง่ มีการตรวจระดับนาํ้ ตาลเป็นสีส่ ี เพือ่ แยก ระดับความรุนแรงของการควบคุมระดับนํ้าตาล ทางโรง พยาบาลจึงได้ทดลองพัฒนาเครือ่ งมือตรวจคัดกรองสุขภาพ ช่องปากสี่สี แบ่งเป็น เขียว เหลือง ส้ม แดง ที่สุดก็ได้นำ�มา ปรับใช้กับกลุ่มผู้พิการใน “โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้พิการจากช่องปากสู่หัวใจ “ เริ่มต้นในปี 2553 ซึ่งได้รับ การสนับสนุนจากสถาบันสร้างเสริมสุขภาพผู้พิการ (สสพ.) โดยในโครงการได้ดำ�เนินการสำ�รวจ เพื่อคัดกรองปัญหา สุขภาพช่องปาก โดยจำ�แนกระดับเป็น เขียว เหลือง ส้ม แดง ตามระดับความรุนแรง เครื่องมือคัดกรองสุขภาพช่องปากฟันสี่สี จะพิจารณา จากระดับความแข็งแรงของสุขภาพช่องปาก ฟันสีเขียว คือ สุขภาพช่องปากดี ตรวจไม่พบความผิดปกติ ซึ่งคนพิการ รวมถึงชาวบ้านพบน้อยมาก ซึ่งถ้าพบก็จะใช้มาตรการ ชื่นชม ให้กำ�ลังใจว่ารักษาฟันได้ดีมาก ค้นหาว่าทำ�ไมถึงดี 60

พยายามต่อยอดความดี ฟันสีเหลือง คือ เริ่มมีปัญหา เน้น มาตรการให้แปรงฟัน แปรงให้ถูกวิธี และและแนะนำ� พฤติกรรมการบริโภค ฟันสีส้ม คือ ปัญหาเริ่มมาก มีปัญหา ฟัน ผุหลาย ซี่ หินปูนเยอะมากเป็นกำ�แพง ช่องปากสกปรก ต้องเน้น ให้ทราบว่า ผลเสียอันตรายของโรค หากไม่รีบรักษาจะ เกิดอันตรายในช่องปาก เช่น เกิดโรคปริทันต์ซึ่งจะมีความ เกี่ยวพันกับโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และ ฟันสีแดง ต้องส่งต่อทันทีเนื่องจากช่องปากมีอาการฉุกเฉิน เช่น ปวด บวม มีหนองในช่องปาก ขณะที่อาการฉุกเฉิน นอกจากจะตัดสินด้วยฟันสีแดงแล้ว แต่หากผู้ป่วยรู้สึกว่า ตัวเองมีภาวะฉุกเฉิน เช่น ทรมานกินข้าวไม่ได้ กลุ้มใจมาก เรือ่ งช่องปากตนเอง ก็สามารถส่งต่อเพือ่ ทำ�การรักษาได้ทนั ที เช่นกัน โครงการดังกล่าว นอกจากดูแลสุขภาพช่องปากทั้ง อำ�เภอโพนทองในภาพรวมแล้ว ยังได้เลือกพืน้ ทีโ่ รงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำ�บล (รพ.สต.) อุ่มเม่า ต.อุ่มเม่า เป็นพื้นที่ นำ�ร่อง เพือ่ เป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งในการดูแล ผู้พิการ มุ่งเน้นที่การแก้ปัญหาผู้พิการแบบองค์รวม สังคม โดยทีมสหวิชาชีพ ทัง้ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล ทันตบุคลากร ร่วมกับคนในชุมชนเอง ทัง้ ผูพ้ กิ ารและครอบครัว อาสาสมัคร ผู้พิการ ผู้นำ�ท้องถิ่น ผู้นำ�ชุมชนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ซึ่งมี การ ออกไปเยี่ยมบ้าน ไปดูแลผู้พิการ “การตรวจสุขภาพในช่องปากคนพิการ ในพื้นที่ ต.อุ่ม เม่า ในปัจจุบันมีกว่า 100 คน นอกจากจะมีเจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้องแล้ว ยังมีอาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญ ทันตสุขภาพ (อสม.เชีย่ วชาญทันตฯ) และทันตบุคลากร เป็น

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ผู้ตรวจสุขภาพช่องปากให้ด้วยระดับ 4 สี โดยมี ตัวแทนอสม.จาก 8 หมูบ่ า้ น ใน ต.อุม่ เม่า และตัวแทน อสม.อีก 3 หมู่บ้านใน ต.ใกล้เคียง เข้าอบรมทักษะ เมื่ออบรมและฝึกฝนจนเชี่ยวชาญแล้วก็จะเป็น ผู้ดำ�เนินการตรวจสุขภาพในช่องปากของคนใน ชุมชนด้วยตนเอง” พี่เลื่อน-มลชญา เวียงสมุทร ประธาน อสม. เขตรพ.สต.บ้านอุ่มเม่า เล่าถึงการ ทำ�งานตรวจสุขภาพช่องปากคนพิการด้วยอสม. ประธาน อสม. เขตรพ.สต.บ้านอุม่ เม่า เล่าว่า จาก การอบรมทีผ่ า่ นมาเกือบ 1 ปีนนั้ ก็มอี ปุ สรรคเกิดขึน้ เป็น เรือ่ งธรรมดา ซึง่ ในช่วงแรกอสม. จะมีปญ ั หาเรือ่ งการ อธิบายการคัดกรองฟันระหว่างสีเหลือง ทีเ่ ริม่ มีปญ ั หา ในช่องปาก กับสีส้มที่มีปัญหาในช่องปากค่อนข้างมาก ซึ่ง อสม.เองอยากให้มีการคัดกรองฟันเพียง 2 ระดับ คือ ฟันดี กับฟันไม่ได้ แต่ทางทันตบุคลากรก็อธิบาย ว่า หากมีเพียง 2 ระดับ จะทำ�ให้มีผลต่อการวัดระดับ การรั ก ษา แต่ ห ากเป็ น คั ด กรองฟั น สี่ สี จ ะทำ � ให้ ง่ า ย และสะดวกในการรักษามากขึ้น “ผลจากการรักษาสุขภาพฟัน ผ่านเครื่องมือคัดกรอง สุขภาพฟันสี่สี ถือเป็นแรงจูงใจที่ให้ชาวบ้าน ทั้งผู้เฒ่า ผู้แก่ คนพิการ รวมถึงคนในชุมชนที่เข้ารักษามีความ กระตือรือร้นในการรักษาสุขภาพฟันมากขึ้น คือถ้าเขา รู้ว่าฟันอยู่ในระดับสีเหลือ หรือสีส้ม เขาก็อยากดูแลรักษา สุขภาพฟันให้มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้สุขภาพฟันอยู่ใน ระดับสีแดง นอกจากนี้ในอนาคตทางรพ.สต.มีแนวคิด จะทำ�ภาพฟันทั้งสี่สีขนาดเท่าเอสี่ เพื่อเอามาประกอบใน 61

การตรวจสุขภาพในช่องปากให้กับคนในชุมชน เพื่อเพิ่ม ความเข้าใจและง่ายต่อการอธิบายมากขึ้น” ประธานอสม. เขตรพ.สต.บ้านอุ่มเม่า กล่าว เมื่ อ ชุ ม ชนมี ค วามตื่ น ตั ว และพั ฒนาศั ก ยภาพใน การดูแลผู้พิการ โดยเฉพาะด้านสุขภาพช่องปากการ โดยใช้เครื่องมือคัดกรองสุขภาพช่องปากฟันสี่สี ส่งผลให้ การปฏิ บั ติ ง านที่ ผ่ า นมาทำ � ให้ ผู้ พิ ก ารได้ รั บ การตรวจ คัดกรองด้านสุขภาพช่องปากอ.โพนทอง ได้ทั่วถึงมากขึ้น สามารถตรวจคั ด กรองผู้ พิ ก ารที่ จำ � เป็ น ต้ อ งพบ ทันตบุคลากรเร่งด่วนได้ และง่ายในการสื่อสารกับผู้ป่วย ถื อ เป็ น โครงการที่ ค วรต่ อ ยอดและนำ � ไปปรั บ ใช้ ใ น พื้นที่อื่นๆ เป็นอย่างยิ่ง 

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ความในใจจากอสม.ที่เข้าร่วมโครงการดูแลทันตสุขภาพคนพิการ “เยี่ยมบ้านเยี่ยมใจ” ต.ดงมหาวัน อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย โดย น.ส.สายสมร พรหมเทพ อสม. หมู่ 7 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

น.ส. สายสมร พรมเทพ อสม. หมู่ 7 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

ารออกเยีย่ มบ้านผูพ้ กิ ารมีความประทับใจหลายๆอย่าง เพราะคำ�ว่า “ผูพ้ กิ าร” มีความหมายในตัวเองอยู่แล้ว บางคนอาจจะพิการมาตั้งแต่เกิด บางคนอาจจะ พิการเพราะอุบัติเหตุ การเข้าหาผู้พิการเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องใช้ความสามารถ และความพยายามในระดับหนึ่งถึงจะเข้าถึงตัวและคุยกันรู้เรื่อง รวมทั้งบางครั้งต้องสื่อสาร ด้วยการใช้ภาษามือ แสดงว่าเราก็มคี วามสามารถนะ ทีส่ ามารถคุยกับคนใบ้รเู้ รือ่ ง (หลงตัวเอง) สิ่งที่ประทับใจมากคือ ผู้พิการให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมและปฏิบัติตามคำ�แนะนำ� เป็นอย่างดี ดูผู้พิการมีความต้องการมีความสนใจอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมทั้ง พยายามที่จะช่วยเหลือตัวเองให้ได้ ถึงแม้จะยากต่อการปฏิบัติหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ก็สามารถปฏิบัติได้บ้างในระดับหนึ่ง การออกเยี่ยมบ้านผู้พิการแต่ละหลัง สิ่งแรก ที่ต้องคำ�นึงถึงคือการทำ�ใจ การสร้างความคุ้นเคย สร้างความเชื่อใจความไว้วางใจ เพราะผู้พิการแต่ละคนมีสภาวะต่างกันทั้งวัยและสภาพความพิการ ต้องศึกษาหาข้อมูล แต่ด้วยความที่เราเป็นอสม.ในพื้นที่ย่อมรู้ดีและรู้ถึงปัญหาเชิงลึกของครอบครัวผู้พิการ เหตุผลนี้ทำ�ให้เข้าหาถึงตัวผู้พิการได้บ้าง โดยให้ญาติเป็นสื่อระหว่างหมอกับผู้พิการ และอสม.กับญาติผู้พิการ เป็นการประสานงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ถึงแม้ว่าบางครั้งญาติผู้พิการจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าที่ควร แต่ก็ผ่านเกณฑ์การ ปฏิบัติงานได้ด้วยดี ความดีตา่ งๆต้องยกให้คณุ หมอ ทพ.ฑวัต บุญญประภา เพราะเป็นเจ้าของโครงการ โครงการ นี้ดีมากและสมควรทำ�ต่อเนื่องเป็นการสร้างขวัญและกำ�ลังใจให้ผู้พิการโดยตรง สังคมในยุค ปัจจุบันนี้ผ้พิการถูกมองว่าเป็น “ภาระ” จะถูกทอดทิ้ง การออกเยี่ยมและดูแลสุขภาพในช่องปาก ทำ�ให้ผู้พิการรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีความสำ�คัญและไม่ถูกมองข้าม จากการสอบถาม ผู้พิการผู้พิการมีความรู้สึกดีและพึงพอใจมาก และได้รับคำ�ชมมากมายจากการออกเยี่ยมบ้าน ก่อนจะจบ ขอชมเชยคุณหมอ (หมอตัว้ ) อีกครัง้ ทีม่ คี วามจริงใจกับผูพ้ กิ าร และจริงใจเป็นกันเองกับทุกคน สังเกตจาก การตรวจและปฏิบัติต่อผู้พิการเสมือนญาติมิตร แปรงฟันให้ผู้พิการ ลุยปฏิบัติการจริงถึงห้องนํ้า พยายาม แนะนำ�ถึงจะไม่ได้ทั้งหมดแต่คุณหมอก็มีความพยายาม และสิ่งที่ประทับใจคุณหมอมากที่สุดคือการ ออกเยี่ยมบ้านทั้งที่นํ้าท่วม ดินโคลนเฉอะแฉะ หมอยังลุยเข้าไปโดยไม่พะวงว่าเสื้อผ้า รองเท้าจะ เลอะ ขนาดตัวอสม.เองยังแขยงเท้าไม่อยากที่จะลุยเลย คุณหมอทำ�ด้วยใจ ไปด้วยใจจริงๆ ยกนิ้ว ให้ เ ลย(สุ ด ยอด) โครงการนี้ ดี แ ละอยากให้ ทำ � ต่ อ เนื่ อ งเพื่ อ ให้ ผู้ พิ ก ารพอที่ จ ะช่ ว ยเหลื อ ตั ว เอง (รักษาสุขภาพในช่องปาก)ได้ในระดับหนึ่ง และยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของทีมทันตสุขภาพผู้พิการ ให้บรรลุตามความคาดหวังไว้ โดยอสม.จะเป็นตัวช่วยในการออกเยี่ยมค่ะ  62

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


บันทึก การร่วมงานกีฬาคนพิการ โดย นาง ดาเรศ สินสกุลวิวัฒน์ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำ�บลทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

วัดทุ่งผึ้ง ศูนย์ฝึกอบรมภาคประชาชน ตำ�บลทุ่งช้าง วันนี้เป็นวันที่น่าตื่นเต้นอีกวันหนึ่ง ที่ฉันจะได้พบเจอเรื่องใหม่ ๆหลังจากเมื่อวานตื่นเต้น จนจำ�วันผิดเข้าไปที่จัดอบรมมารอบหนึ่งแล้ว วัน นี้ไม่พลาดแน่ๆ ฉันหิ้วถุงแป้งฝุ่นมา 2 โหล, สบู่, ผ้าขนหนู, ยาสีฟัน, ขนม, ที่เลือกสรรมาอย่างดี นำ�ไป วางรวมกับของอืน่ ๆทีท่ างผูจ้ ดั นำ�มาเป็นของรางวัลให้ ผู้เข้าแข่งขัน คุยกับรองสุพรรณ พลวิเวก รองนายก เทศมนตรีตำ�บลทุ่งช้างที่ฉันชวนไปด้วยปรากฏว่า แกลืมของ ฉันเลยไปส่งแกซื้อขนมมาแจกอีก 4 โหล น่าจะพอสำ�หรับผู้เข้าร่วมงานวันนี้ ตอนแรกๆ ดูด้วยตากะว่า 10กว่าคน พอสายๆค่อยทยอยมา 20 กว่าคน พอเด็กๆป.6 โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งช้างที่ทำ�กิจกรรม จิตอาสา ช่วยเหลือคนพิการที่นำ�ทีมโดยครูหนุ่มมาร่วมด้วย เลยทำ�ให้บรรยากาศครึกครื้นสนุกสนานขึ้นเยอะ พิธเี ปิดแบบง่ายๆโดยนิมนต์พระคุณเจ้า เจ้าอาวาสวัดทุง่ ผึง้ เจ้าของสถานที่เป็นองค์ประธานให้โอวาทพร้อมให้กำ�ลังใจ ตามด้วยการประพรมนํ้ามนต์ให้เกิดสิริมงคล ผู้เข้าร่วม กิจกรรมทุกคนก็พออกพอใจและมีความสุข หลังจากนั้น กลุ่ม งานเวชปฏิบัติและครอบครัวโรงพยาบาลทุ่งช้างผู้เป็นแกน นำ�จัดกิจกรรมในครั้งนี้ก็ได้กล่าวขอบคุณพวกเราและให้พวก เราอันมีรองนายกเทศมนตรีตำ�บลทุ่งช้าง ฉันในนามหัวหน้า กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมและพัฒนาชุมชนของเทศบาล 63

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ตำ�บลทุ่งช้าง ก็กล่าวแสดงความรู้สึกที่ได้มาวันนี้ พร้อมทั้งมอบ ของที่ พ วกเราเตรี ย มมาร่ ว มงานด้ ว ยทุ ก คนปรบมื อ ยิ น ดี กันใหญ่ โดยเฉพาะ 2 คนที่นั่งหน้าสุดเหมือนเป็นคู่แฝด เพราะเป็นเด็กดาวน์ซินโดรมเหมือนกันมีรอยผ่าสมองคนหนึ่ง อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน หลังจากนั้นผู้จัดได้ให้ยกเก้าอี้ล้อมเป็นวงกลม เพื่อเล่น เกมส์ เกมส์ แรกนี้ เ ป็ น เกมส์ ส่ ง แป้ ง กระป๋ อ ง(ใช้ แ ป้ ง ที่ ฉั น เอามาสมทบได้เป็นประโยชน์จริงๆ) โดยให้เด็กๆนั่งสลับกับ ผู้พิการฉันก็ลงเล่นด้วย เพราะดูน่าสนุกดี นั่งติดกับเด็กดาวน์ คนหนึ่งคุยรู้มั่งไม่รู้มั่ง แต่ก็ทำ�ถูกนะให้ส่งแป้งซ้ายเราชี้ซ้าย เค้าก็ส่งตาม ชี้ขวาเขาก็ขวาตาม แต่เวลาฉันถือกล้องละก็ 64

เป็นแอ๊คท่าให้ถ่ายชะ เล่นแป้งจนหน้าผ่องไป ตามๆกันแล้ว ต่อมาก็เป็นการเล่นเกมส์เหยียบ ลูกโป่งร่วมกับเด็กๆเช่นเคย ให้เฉพาะคนพิการ ที่ แข็ ง แรงทรงตั ว ดี ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น คนพิ ก าร หูและแขนก็สนุกสนานรับรางวัลกันไปต่อมาเกมส์ สุดท้ายทีเ่ ล่นได้นานทีส่ ดุ ก็คอื การร้องคาราโอเกะ และแดนเซอร์ อั น นี้ ทั้ ง เด็ ก และคนพิ ก าร สนุกกันใหญ่ คนพิการเสียงดีมีหลายคน มีคนหนึง่ ฝันจะเป็นดีเจ จบ ม.6 จากโรงเรียน น่านปัญญานุกูลแล้ว ความรู้ดี เสียงหล่อมาก พูดเป็น ร้องเพลงเก่ง เค้าพิการโปลิโอครึ่งซีก แต่เกิด พอรู้มาว่าอยากเป็นดีเจ พระที่วัดทุ่งผึ้ง ซึง่ ท่านมีสถานีวทิ ยุเองเลยเปิดไฟเขียวให้มาทีว่ ดั ได้เลย แต่บ้านเค้าไกลหน่อยอาจต้องให้คนพามาลำ�บาก นิดหนึ่งและสำ�หรับเรื่องร้องเพลงแล้วแม้แต่เด็กดาวน์ คู่ แ ฝดเมื่ อ กี้ ก็ ช อบมากสนุ ก สนานกั บ การร้ อ งเพลง เสนอตัวทุกครั้งที่เจอเพลงโปรดสนุกสนาน ล่วงเลยมาจนถึงเกือบเทีย่ ง ดูทา่ ทางทุกคนคงไม่อยาก ให้หมดเวลาลง เพราะโอกาสทีพ่ วกเค้าจะได้แสดงออกอย่าง เต็มที่จะหมดแล้ว คงต้องรอต่อไปจนถึงเดือนหน้าค่อย มาเจอกันและทำ�กิจกรรมอืน่ ๆร่วมกันใหม่ ตอนเทีย่ งเด็กๆ ยกสำ�รับอาหารมาเสริฟช่วยกันปูเสือ่ พยุงกันมารับประทาน อาหารล้วนเป็นภาพที่น่าจดจำ�ทั้งสิ้น ความรักเอื้ออาทร ที่มีต่อกันเองในกลุ่มและที่เด็กๆทำ�ให้บรรยากาศวันนี้ น่าจะเป็นความสุขที่ติดอยู่ในใจผู้จัดและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทุกคนสังเกตได้จากเวลาที่ฉันเอาของรางวัลไปแจกไม่มากมาย เลยแค่ แป้ง สบู่ ยาสีฟัน ผ้าขนหนู นมขนม แต่ทุกๆคนไหว้ ขอบคุณฉัน แถมเวลาจะแยกย้ายกันกลับบ้านมีลุงแก่ๆที่พิการ ขาใช้วิธีเลื่อนมือแทนการเดิน แกมาไหว้ลาฉันอีกทำ�เอาฉัน รู้สึกว่า ความสุขจากการให้ยิ่งใหญ่กว่าการรับจริงๆ วันนี้คง นอนหลับฝันดีแล้วเรา ขอบคุณ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สสพ. ที่จุดประกายทำ�ให้ฉันได้มาทำ�งานนี้ โอกาสข้างหน้าฉันยังหวัง จะได้ทำ�อะไรดีๆเพื่อทุกคนอีกครั้งฉันสัญญากับตัวเอง...

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


้ ู ส ็ ก า ร เ ลุงสู้....

ทพ.พสธร ฉันทแดนสุวรรณ โรงพยาบาลแม่ลาว จ.เชียงราย

รั้งแรกที่ได้ทราบข่าวจากทาง สสจ.เชียงราย ว่ามี พี่ๆในจังหวัดหลายท่านได้ดำ�เนินโครงการเกี่ยวกับฟันใน กลุ่มคนพิการ ตอนนั้นตัวผมเองก็ได้คิดไปถึงโครงการ ออกเยี่ยมบ้านของทางโรงพยาบาลแม่ลาวที่ผมทำ�งานอยู่ ซึ่งได้มีการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรัง รวมถึงคนพิการ มานานหลายปีแล้วทางฝ่ายทันตฯเองก็ได้ร่วมออกเยี่ยม บ้านกับทีมบ้างในโอกาสที่เหมาะสม แต่ก็ยังไม่มีการลง ไปทำ�งานแบบจริงจังสักที ดังนั้นพอทราบข่าวจากคุณหมอ รพินทร์ อบสุวรรณ สสจ.เชียงราย เกีย่ วกับโครงการของสสพ. (สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ) ตัวผมเองก็มคี วามสนใจ ทันที เพราะโดยพืน้ ฐานของรพ.แม่ลาว มุง่ เน้นในเกีย่ วกับการ ดูแลสุขภาพองค์รวมอยู่แล้ว อีกทัง้ ยังมีพๆี่ ทีมงานด้านนีแ้ ละ ชมรมผูพ้ กิ ารทีเ่ ก่งและมีประสบการณ์มายาวนาน ฉะนัน้ หาก ทางฝ่ายทันตฯจะดำ�เนินงานเกีย่ วกับคนพิการก็จะเรียกได้วา่ มี ต้นทุนทีด่ กี ว่าพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ซึง่ โครงการของทางสสพ.ทีจ่ ดั ขึน้ นัน้ มีระยะเวลาดำ�เนินการ 1 ปี ตั้งแต่โครงการดูแลทันตสุขภาพในคนพิการของ อ.แม่ ลาวได้เริ่มขึ้น มีเรื่องราวที่ดีดีเกิดขึ้นมากมาย แต่เรื่องที่ผม ประทับใจที่สุดคือเรื่องราวของ คุณลุงคนพิการใจสู้คนหนึ่งที่ ชื่อ “ประทิน แก้วเจริญ” ครับ คุณลุงคนนี้ ท่านพักอยู่กับภรรยา และหลานทารก คนหนึง่ โดยมีภมู ลิ ำ�เนาอยูใ่ นตำ�บลป่าก่อดำ� อ.แม่ลาว แม้วา่ จะเป็นตำ�บลที่ไม่ไกลโรงพยาบาล แต่จากความพิการของ คุณลุงก็ทำ�ให้แม้แต่การเดินทางออกจากตัวบ้านก็มีความ ยากลำ�บากเต็มที ในครั้งแรกๆที่ทางทีมงานเดินทางเข้าไป 65

เยี่ยมบ้านคุณลุงนั้น ผมจำ�ความรู้สึกครั้งแรกที่เห็นบ้าน คุณลุงได้ว่า เป็นบ้านคนพิการที่แปลกกว่าบ้านอื่นๆที่เคยไป มา เพราะบริเวณบ้านมีทั้งนาข้าว เล้าไก่ บ่อปลา และบ้าน พักแบบโฮมสเตย์ ซึ่งความแปลกใจนี้ยิ่งมากขึ้นไปอีกเมื่อได้ พบคุณลุงเจ้าของบ้านที่เป็นคนพิการอัมพาตช่วงล่างและ มือสองข้างก็เกร็งแข็ง ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


คนพิ ก ารคนหนึ่ ง จะมี ค วามสู้ ชี วิ ต และสามารถทำ � งาน ได้มากมายขนาดนี้ เมื่อชีวิตวันหนึ่งพลิกผันมาเป็นคน พิ ก ารเพี ย งชั่ ว ข้ า มคื น จากอุ บั ติ เ หตุ ร ถจั ก รยานยนต์ ล้ ม เมื่ อได้ ทั ก ทายกั น แล้ ว พวกเราที ม งานประทั บใจ ในตัวคุณลุงมากจนอดสอบถามเกี่ยวกับรอบๆบ้านคุณลุง ไม่ได้ คุณลุงก็ใจดีตอบคำ�ถามพวกเราและให้ข้อคิดต่างๆ มากมายซึ่ ง ทำ �ให้ พ วกเราประทั บใจในตั ว คุ ณ ลุ ง กั น มาก หลังจากนั้นพวกเราก็ตรวจสุขภาพร่างกายและสุขภาพฟัน คุ ณ ลุ ง พบว่ า คุ ณ ลุ ง มี ปั ญ หาในช่ อ งปากหลายอย่ า ง โดยเฉพาะเรื่องปวดฟันและปัญหาในการใช้แปรงสีฟัน ไม่ถนัดเพราะมือที่พิการของคุณลุง ทางทีมงานเห็นแล้ว ตัดสินใจกันว่าจะเข้ามาช่วยเหลือคุณลุงอีกครั้งในเรื่องใหญ่ สองเรื่องที่คุณลุงบ่นถึง 66

หลั ง จากที่ ท างที ม งานได้ ว างแผนกั น แล้ ว ก็ ไ ด้ อ อกเดิ น ทางไปหาคุ ณ ลุ ง ประทิ น อีกครั้ง แต่ช่วงหลังๆมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ถนนบริ เ วณหมู่ บ้ า นแถวนั้ น กลายเป็ น โคลนเลนจนมองแทบไม่ อ อกว่ า เป็ น ถนน เส้ น เดิ ม กั บ ที่ พ วกเราเคยได้ ไ ปเยี่ ย มคุ ณ ลุ ง มาก่ อ น แม้ แ ต่ ร ถตู้ ที่ พ วกเรานั่ ง ไปก็ ต้ อ ง จอดค้ า งอยู่ บ ริ เ วณปากทางเข้ า บ้ า นเพราะ ไม่ ส ามารถลุ ย เข้ า ไปได้ ทางที ม งานจึ ง ต้ อ งเดิ น เท้ า ต่ อ อี ก ประมาณ 300 เมตร เพื่ อ เข้ า สู่ ตั ว บ้ า น แม้ ก ระนั้ น ทางคุ ณ ลุ ง ก็ได้ออกมาต้อนรับด้วยอารมณ์ดีเหมือนเดิม แต่ แ อบบ่ น เล็ ก น้ อ ยเรื่ อ งที่ ไ ม่ ส ามารถออก จากบ้านไปไหนได้ อย่างไรก็ตามคุณป้าภรรยา คุณลุงได้ให้ข้อมูลว่าทางหมู่บ้านจะเอาหินมา ลงให้ ใ นอี กไม่ กี่ วั น นี้ พวกเราก็ ยิ น ดี ไ ปกั บ คุณลุงด้วย และสุดท้ายก็ได้มอบแปรงสีฟัน ที่ ท างที ม งานได้ ดั ด แปลงมาให้ ห มาะกั บ คนพิการที่ใช้มือได้ไม่สะดวก คุณลุงเห็นแปรง แล้ ว ชอบใจมาก พวกเราก็ ส อนวิ ธี ใ ช้ แ ปรง ใหม่นี้และให้คุณลุงได้ลองใช้ให้ดูกันตอนนั้นเลย หลั ง จากแปรงฟั น สะอาดแล้ ว ก็ ไ ด้ ถ อนฟั น ที่ มี ปั ญ หา ให้คุณลุง รวมทั้งให้คำ�แนะนำ�ในการดูแลแผลถอนฟัน เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่บ้านคุณลุงแล้ว ก่อนเดินทางกลับ ทางทีมงานก็ได้มอบของที่ระลึกซึ่งเป็นถุงยังชีพพร้อมอาหาร แห้งให้แก่คุณลุงด้วย หลังจบงานนี้ทีมงานทุกคนมีความ ประทับใจและมีความสุขที่ได้ดูแลคนพิการที่เรียกได้ว่าเป็น ผูด้ อ้ ยโอกาสในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจริงๆ ถึงจะเป็นงาน ที่ยากลำ�บากแต่เมื่อคนพิการทุกคนใจสู้ แล้วทำ�ไมคนที่มี โอกาสทีด่ กี ว่าอย่างพวกเราจะไม่สเู้ พือ่ คนเหล่านัน้ บ้าง ขณะนีแ้ ม้วา่ โครงการจะสำ�เร็จลงไปด้วยดีแล้ว แต่ผมเชือ่ ว่าความประทับ ใจจะยังคงอยู่ในใจของทีมงานทุกคนครับ...

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เรื่องของน้อย ที่ไม่น้อยเลย นางรวิภา สุวรรณศรี จพง.ทันตสาธารณสุขชำ�นาญงาน กลุ่มงานทันตกรรม รพ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด

น้

อยทำ�หน้าที่เป็นทั้งแม่ที่ดูแลลูกพิการทาง สติปัญญาและการเคลื่อนไหว ทั้งยังเป็นลูกที่ดูแลแม่ที่ พิการทางสายตาและการได้ยนิ อีกทัง้ แม่ยงั เป็นเบาหวาน อีกด้วย น้อยเป็นอสม.ทีด่ แู ลชุมชนของตนเอง ในคนปกติ ทั่วไปการดูแลคนพิการ 1 คน ก็ลำ�บากพออยู่แล้ว แต่เธอ ต้องดูแลคนพิการทั้ง 2 คน และเธอสามารถดูแลได้เป็น อย่างดีอีกด้วย ถ้าเป็นเราคงไม่ไหว ทำ�ไมเธอถึงเก่งจัง ทำ�ได้ตั้งหลายอย่างแถมยังเป็นแม่ที่สวยอีกด้วย เมื่อทีมเยี่ยมบ้านของเราซึ่งทันตแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำ�บัด จพ.ทันตสาธารณสุขและ จพ.สาธารณสุข ชุมชน ได้มีโอกาสไปเยี่ยมบ้านคนพิการตามโครงการ ส่งเสริมทันตสุขภาพคนพิการ ต.จังหาร ก้าวแรกทีไ่ ด้เข้าไป ในบ้านของน้อย ทีม่ ลี กั ษณะกึง่ ไม้กงึ่ ปูน 2 ชัน้ สภาพบ้าน เก่า ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านหัวงัว ต.จังหาร ข้าพเจ้ารู้สึก สดชื่น หอมกลิ่นไอดิน บริเวณหน้าบ้านปลูกต้นไม้มี ทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ ให้ความร่มรื่นแก่ผู้มาเยี่ยมเยือน ไม่เหมือนบ้านทีม่ คี นพิการอยูเ่ ลย สิง่ แวดล้อมทัง้ ภายนอก และภายในดูสะอาดสะอ้านและถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ บ้านของน้อยมีอยู่ด้วยกัน 5 คน มี คุณยายศรีวัย 71 ปี ที่พิการทางการได้ยิน และเป็นเบาหวาน ตาพร่ามัว น้อย สามี และ ลูกชาย 2 คน คือน้อง โก้ อายุ 14 ปี หนุ่มน้อย ซึ่งช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และน้องเก้ง อายุ 11 ปี เรียนอยู่ ชัน้ ป.5 เธอเล่าว่า ส่วนใหญ่จะอยูก่ นั แค่ 4 คน เพราะสามี 67

ของเธอไปขับรถแท็กซี่ที่กรุงเทพฯ 1−2 เดือน จะกลับมา เยี่ยมบ้าน คุณยายศรีนงั่ กินหมากอย่างมีความสุข และสามารถ พูดคุยกับทีมเยีย่ มบ้านได้บา้ ง ส่วนน้องโก้จะอยูใ่ นห้องโล่ง ทีถ่ กู จัดไว้อย่างปลอดภัย ดูทา่ ทางน้องโก้มคี วามสุข สายตา เหมือนมีค�ำ ถามว่าใครมาเหรอ หลังจากทีน่ อ้ ยต้อนรับทีม เยี่ยมบ้าน น้อยจะกุลีกุจอเข้าไปพยุงน้องโก้และบอกว่า หมอมาเยี่ยมให้น้องโก้สวัสดีครับทุกคน เธอเล่าให้ฟังว่า น้องโก้มอี าการชักช่วงอายุได้เพียงเดือนครึง่ หลังจากนัน้ ก็ มีอาการมาเรือ่ ยๆ จนถึงขัน้ ได้ไปดูดนาํ้ ในสมอง อาการก็ไม่ ดีขนึ้ น้อยและสามีพาน้องโก้ไปรักษาทุกวิถที าง หมอทีไ่ หน ดีก็พาลูกไปรักษา จนคุณหมอบอกว่าน้องโก้ไม่มีโอกาส กลับมาเป็นปกติได้ แต่ก็ยังต้องไปหาหมอที่โรงพยาบาล จังหารและโรงพยาบาลร้อยเอ็ดทุกเดือนตามที่หมอนัด บางครั้งก็เอาน้องโก้ไปด้วยบางครั้งน้อยก็ไปรับแค่ยา หลังจากนั้นข้าพเจ้าจึงขอตรวจฟันน้องโก้ โอ้โห..... ฟันน้องโก้ไม่มผี เุ ลย ไม่มหี นิ ปูน และเหงือกไม่มอี กั เสบด้วย ซึง่ ปกติคนพิการทีช่ ว่ ยเหลือตัวเองไม่ได้ยงั ไงก็จะมีปญ ั หา เหงือกอักเสบบ้างละนะและตั้งแต่ไปเยี่ยมและตรวจฟัน คนพิการก็จะมีปญ ั หาสุขภาพช่องปากแทบทุกราย ข้าพเจ้า อดที่จะถามน้อยไม่ได้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำ�วันของ เธอว่าเธอทำ�อย่างไรถึงได้จัดการได้ดีเช่นนี้ เธอเล่าว่า ตื่นนอนประมาณ ตี 4−5 เตรียมอาหารสำ�หรับไปวัด

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


น้องโก้นอนหนุนตักพ่อ เตรียมอาหารให้ครอบครัวให้น้องโก้และให้ยาย กลับจาก วัดประมาณ 7 โมงเช้า ก็จะอาบนํ้า แปรงฟัน เธอบอกว่า แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน หลังจาก นั้นก็จะป้อนข้าวน้องโก้ จัดอาหารให้แม่และน้องเก้งทาน อาหารที่จัดให้น้องโก้จะเป็นอาหารอ่อนๆ และต้องมีผัก ทุกมื้อน้องโก้ชอบทานผัก ส่วนของยาย น้องเก้งและตัว เองก็จะทานร่วมกันจะเป็นอาหารพื้นบ้าน เวลามีงานบุญ งานอสม.หรืองานอื่นๆที่ต้องไปร่วมและช่วยงานน้อยก็ จะให้น้องโก้อยู่ในห้องโล่งที่จัดไว้เป็นพิเศษ และทุก 1−2 ชั่วโมงเธอก็จะแวะเวียนมาดู คุณตาใบอยูข่ า้ งบ้านของน้อยก็เป็นอีกคนหนึง่ ทีเ่ ห็น น้อยปฏิบัติกับแม่กับลูกและครอบครัวของเธอคุณตาใบ 68

บอกว่า เห็นน้อยดูแลลูก ป้อนข้าวป้อนนํ้า แปรงฟัน ปรนนิบตั แิ ม่ ถึงเวลาทำ�นาก็ตอ้ งไปทุง่ นาแล้วยังช่วยงาน ในหมู่บ้านได้อีกซึ่งถือว่าหายากที่จะสละเวลามาช่วยงาน ส่วนรวมได้ก็รู้สึกชื่นชมเป็นอย่างมาก ฟังจากคุณตาใบ เล่าแล้วข้าพเจ้าอดที่จะถามเธอไม่ได้ว่าเธอได้กำ�ลังใจมา จากใครในช่วงเวลาที่เหนื่อยท้อแท้ เธอเล่าว่าถึงแม้เธอ จะมีภาระหนักแต่เธอก็มีความสุขในการทำ� เธอคิดว่าคน อื่นที่แย่กว่าเรามีอีกมาก เราสร้างเขาขึ้นมาเราต้องรัก และให้ความรักกับเขา ช่วงเย็นถ้าสามีอยู่กรุงเทพฯ ก็จะ โทรศัพท์มาให้ก�ำ ลังใจทุกวันและบอกให้อดทน ส่วนน้องเก้ง ก็จะคอยช่วยงานบ้านเท่าทีจ่ ะทำ�ได้ สำ�หรับน้องโก้ถงึ แม้วา่ จะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แต่ก็ยังแสดงความรักโดยการ หอมแก้มแม่ เมื่อเวลาแม่ถามว่ารักแม่มั๊ย......รักแม่แล้ว ทำ�อย่างไร (เธอเล่าไปพร้อมกับหัวเราะนิดๆ) และเวลาที่ พ่อน้องโก้กลับมาจากกรุงเทพฯ พ่อก็จะพาลูกๆไปเที่ยว ในยามทีส่ ามีไม่อยูก่ จ็ ะมีเพือ่ นบ้านทีค่ อยให้ความช่วยเหลือ มีหมอมาเยี่ยมและให้คำ�แนะนำ�อยู่เสมอ มีเบี้ยคนพิการ และเงินเดือนของอสม.ทีพ่ อเป็นรายได้เสริมเลีย้ งครอบครัว ดีกว่าแต่กอ่ นเยอะ สิง่ เหล่านีล้ ว้ นเป็นกำ�ลังใจทีด่ ี แต่ทสี่ �ำ คัญ ที่สุดเธอบอกว่า ครอบครัวของเธออบอุ่นมาก มีสามีที่ รับผิดชอบและเป็นห่วงเป็นใยเธอมาตลอด ข้าพเจ้าไม่ แปลกใจเลย เพราะข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปบ้านน้อยอีกครั้ง เพื่อไปเยี่ยมน้องโก้ เห็นน้องโก้นอนหนุนตักพ่ออย่าง มีความสุข สำ�หรับข้าพเจ้าแล้วน้อยคือแม่ทใี่ จแกร่ง แม่ทอี่ ดทน แม่ทชี่ อื่ น้อยแต่ท�ำ อะไรได้ตงั้ มากมาย แม่ทเี่ ต็มเปีย่ มไปด้วย ความรักและการเป็นลูกที่กตัญญู จนถึงวาระสุดท้ายของ คุณยายศรีทเี่ พิง่ เสียชีวติ ไปเมือ่ ไม่กวี่ นั นีเ้ อง ทีมเยีย่ มบ้าน ของเราขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของคุณยายศรี ขอขอบคุณน้อยและครอบครัวรวมถึงคุณตาใบเพือ่ นบ้าน ทีไ่ ด้เล่าเรือ่ งราวให้ฟงั ทำ�ให้ขา้ พเจ้ามีก�ำ ลังใจทีจ่ ะทำ�งาน เพื่ อ ประชาชนและผู้ เ ข้ า ไม่ ถึ ง โอกาสอย่ า งเต็ ม ความ สามารถและขอเป็ น อี ก หนึ่ ง กำ � ลั ง ใจให้ แ ก่ น้ อ ยและ คนอื่นๆที่กำ�ลังท้อ...

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


… ย า ล ห ก า ล ห ม า ว ค น ใ น ั ก ว ย ี ีมหนึ่งเด

เรื่องเล่าโดย คุณ สุขสันต์ จงภักดี พยาบาลวิชาชีพงานผู้พิการ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง

ช้ า วั น นี้ อ ากาศเย็ น สบายครึ้ ม ๆเหมื อ นฝนจะตก สภาพอากาศช่วงนี้แปลกๆช่วงกลางเดือนพฤษภาคมเช่น นี้ไม่น่าจะมีฝนมาก แต่อย่างที่เห็นแหละ ตกเอาๆยังกับ กลางพรรษา หาความแน่นอนไม่ได้เลย ทำ�เอาทั้งต้นไม้ คน สับสนหลงฤดูไปหมด ชาวบ้านบางกลุ่มก็ลงข้าวโพด แต่บางกลุ่มเตรียมดินจะทำ�นา ก็ไม่รู้ว่าใครถูกกันแน่ แต่ที่แน่ๆ เมือ่ ได้เวลานัดหมาย พนักงานขับรถคนเก่งของเรา คุณชายสาม ก็มาจอดรอรับพวกเรา…แต๋นแต่น!!!! “ไปกันเร็ว...ขึ้นรถก่อนเลย’ หมอเก่งให้สัญญาณ ซึ่งวันนี้ คณะของเรามีแผนจะไปเยี่ยมผู้พิการโซนเหนือโดยงาน ทันตกรรมก็จะดูเรื่องฟันและงานผู้พิการก็จะติดตามพัฒนา การ …นับว่ายิงปืนครั้งเดียวได้นกสองสามตัว “ไม่เอาเสื้อแขน ยาวไปเหรอ…” อาเตาร้องทักตามประสาผู้หญิงที่ห่วงสุขภาพ “ไม่เป็นไรพวกนี้เขาขาลุย หนังเหนียว ” เสียงใครคนหนึ่งตอบ ก่อน อืน่ ขอแนะนำ�สมาชิกทีมก่อน หัวหน้าทีมคือหมอเก่ง ทพ.ปิยะพงศ์ ปวงคำ� หมอหนุม่ ไฟแรง สูงยาวเข่าดี นอกจากจะเก่งสมชือ่ แล้วยัง โสดด้วย สาวใดได้ครองไม่ผิดหวัง และที่ขาดไม่ได้ก็ต้องมีผู้ช่วยคืออาเตา คนนี้ไม่โสดแต่ก็มากด้วยความสามารถ นอกจากงานที่รับ ผิดชอบแล้วความรู้รอบดอยก็มากโข ส่วนตัวผมก็มีอาโซ๊ะไปด้วย เพราะเก่งรู้ภาษา และรู้เส้นทางดีเหลือบดอยไหนไม่รู้จักไม่มี เมื่อ ออกจากโรงพยาบาลเราก็มุ่งตรงไปหาเจ้าของพื้นที่เลย คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลเล่าลิ่ว (มี รร.หนึ่งชื่อเย๋ายาว) ออกจาก รพ.สต.ไม่นานก็ถึงบ้านผู้พิการ ดช.พงษ์ (นามสมมติ) วัย 9 ปี แต่เนื่องจากบริเวณบ้านเป็นพื้นที่ลาดชัน และตาม ประสาถนนบนดอยมักจะแคบๆ ตอนแรกพวกเราก็คิดอยู่ว่าอาสามจะทำ�อย่างไร … แต่ด้วยความสามารถหลังจากถอยเข้าถอยออก อยู่สักพัก ในที่สุดสีข้างรถก็ไม่ติดเสารั้วบ้าน (เสียววววว) เมื่อเข้าไปก็พบเลย ที่ประตูหน้าบ้าน เด็กคนหนึ่งค่อนข้างจะสมบูรณ์ ที่ใบหน้าแววตาไม่มีความผิดปกติใด เขานอนบนเสื่อดู โทรทัศน์ หากแค่ดผู วิ เผินใครจะคิดว่านีห่ รือเด็กสมองพิการ ทีไ่ ม่สามารถอาบนํา้ กินข้าวได้ดว้ ยตนเอง เมือ่ เห็นพวกเราก็ยมิ้ คงจะรูจ้ ำ� ได้แต่ก็ไม่ได้พูดอะไร หลังจากพูดคุยแนะนำ�ตัวให้ญาติพี่น้องรับทราบแล้ว หมอเก่งไม่รอช้า “ไหนขอดูหน่อย อ้าอีกๆ อ้ากว้างๆ ….” สิ่งที่ปรากฎนับว่าผิดคาดเล็กน้อย ฟันของพงษ์ค่อนข้างดี จึงได้ให้คำ�แนะนำ�ในการดูแลสุขภาพเหงือกและฟัน ขณะเดียวกันอาเตา เอาแปรงฟันมาแล้วสาธิต “ นี่นะทำ�อย่างนี้นะๆ ไม่ต้องแรงมาก ไหนอากงมาลองทำ�ดู” ญาติๆที่รุมล้อมดูอยู่ก็ช่วยเหลีกทางจัดแจง 69

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ให้อากงมาฝึกทำ� อากงที่ดูแลหลานแทนพ่อแม่ก็ทำ�ตามอย่างตั้งใจและ นับว่าเป็นความโชคดีของพงษ์เอง ที่ส่วนหนึ่งมีความไว้ใจ และรู้ถึงความ ตั้งใจดีของหมอ จึงไม่ได้ดิ้นรนขัดขืน “แช๊ะ แช๊ะ …มองทางนี้” อาสามรีบ บันทึกภาพ ดูแล้วก็หดหู่ค่อนข้างทุลักทุเล หลานก็สั่นๆคนแก่ก็งกๆเงิ่นๆ ……. แทนทีค่ นหนุม่ จะดูแลคนแก่แต่นคี่ นแก่ตอ้ งมาดูแลคนหนุม่ หลังจาก นั้นมีการดูแลการบริหารร่างกาย จัดท่าผ่อนคลายกล้ามเนื้อ มือขวาและ กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ เท้าทั้งสองข้างยังคงบิดเกร็ง มือซ้ายพอหยิบจับสิ่งของได้บ้าง นอกจากนี้ ได้สอบถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ หมอเก่งสนใจเกี่ยวกับพ่อแม่ “พ่อแม่เขาอยู่ที่ไหนเหรอครับ…? “อากงซึ่งปกติสีหน้าหม่นหมองอยู่แล้ว พูดเป็นภาษาจีนสั้นๆพอได้ความ ว่า พ่อแม่ไปทำ�งานต่างประเทศนานๆจึงจะมาเยี่ยมก็มีการส่งเงินมาช่วย เหลือเป็นบางครั้ง…. แม้อยากจะถามต่อ แต่หมอเก่งก็พอจะรู้ความรู้สึก ของอากงและญาติๆ ก็พลอยทำ�ให้พวกเรานิ่งเงียบ บางคนก็ถอนหายใจ เป็นชีวิตหนึ่งที่น่าสงสารเกิดมาพ่อแม่ไม่รัก ไม่ต้องการ ผลักไสไล่ส่งไป ให้คนอื่น แขนขาที่มีก็เหมือนกับไม่มี แววตาอันใสซื่อแต่ละวันได้เห็น แต่จอโทรทัศน์กับฝ้าเพดาน เสียงเด็กที่เล่นอยู่หน้าบ้านก็ได้แค่เหลือก รูปทีมงานส่งเสริมทันตสุขภาพผู้พิการ ตาแลดู หิวนํ้าอยากกินข้าวก็แล้วแต่คนอื่นจะเมตตา เหมือนกับเป็น รพ.แม่ฟ้าหลวงจ.เชียงราย เพียงก้อนกองเนื้อหนึ่งหรือเปล่า ? ไม่ใช่.. เขาเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีชีวิต จิตใจ มีวิญญาณความรู้สึกเหมือนเราท่าน … แม้จะไม่สามารถช่วยอะไรได้มากแต่พวกเราก็มีความจริงใจตั้งใจที่จะให้ความรู้คำ�แนะนำ�ดีๆ และสนใจที่จะซักถามสารทุกข์สุข ดิบ การเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งผู้พิการและญาติๆ และก็มีของติดไม้ติดมือเล็กน้อยเป็นนมกล่อง แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ของเด็กเล่น ซึ่งแม้ไม่มี ค่ามากมายอะไร แต่อย่างน้อยก็ส่งสัญญาณบอกให้รู้ว่าครอบครัวของพวกเขาที่เหมือนกำ�ลังอยู่ในความทุกข์นี้ อย่างน้อยก็มีพวกเรา ที่ยังเป็นห่วง เป็นกำ�ลังใจ และก่อนกลับเราก็ไม่ลืมที่จะนัดหมายให้ผู้ปกครองนำ�พงษ์มาร่วมกิจกรรมอบรมการฟื้นฟูผู้พิการที่ อบต. แม่สองในอาทิตย์หน้า ซึ่งปกติที่ผ่านมาญาติก็พาพงษ์มาร่วมกิจกรรมทุกครั้งไม่ขาด ด้วยความรักและต้องการให้พงษ์พึ่งตัวเองให้ ได้มากที่สุด หากสังเกตดูจะพบว่าพงษ์แปลกจากเด็กพิการส่วนมาก คือจะมีร่างกายที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ เหมือนกับได้รับการดูแล เรื่องการอยู่การกินที่ดี เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องจากพงษ์น่ารักถึงแม้จะพิการร่างกาย แต่มีจิตใจที่ดีร่าเริง เขาสามารถพูดจา ปัญญา นึกคิดเหมือนกับเด็กวัยเดียวกัน ชอบเล่น มีเสียงหัวเราะ ไม่มีความเก็บกดก้าวร้าวแต่อย่างใด และญาติสนิทเล่าให้ฟังว่า พงษ์มีความ พิเศษกว่าเด็กคนอืน่ คือ ไม่ชอบให้มกี ารฆ่า การทำ�ร้ายรังแกสัตว์ หากเขาไม่พกิ ารเช่นนีก้ ค็ งจะมีสตั ว์เลีย้ งทีน่ า่ รักกระมัง และโดยปกติ ก็ไม่นิยมการกินเนื้อสัตว์ด้วย ก็ไม่รู้เป็นเพราะประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า หรือเพราะเวรกรรมอันใดที่มาลงโทษกันเช่นนี้ ไม่ฆ่าให้ตายแต่ก็ไม่ทำ�ให้โต ให้หูตายังคงรับรู้แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ได้อย่างที่ต้องการ มีพ่อแม่ให้คิดถึงแต่ไม่มีวันได้ไออุ่น เวลาที่ผ่านไปแต่ละวันเหมือนกับเดินขึ้นภูเขา มันเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า ช่างยาวนานเหลือเกิน ทำ�ลายทั้งร่างกายบั่นทอนจิตใจให้ทุกข์ทรมานต้องตรอมตรมจมอยู่กับกองทุกข์อัน ใหญ่หลวงนี้ ไม่รู้วันใดจึงจะปลดเปลื้องหลุดพ้นออกไปได้ ขอความเมตตาทั้งหมดทั้งมวลอวยพรให้เขาจงได้รับความสุขพบแสงสว่าง และไม่ว่าใครที่ไหนก็จงอย่าได้ประสบ พบเป็น เช่นนี้เลย... 70

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ง ่ ก เ น ค . . . ร ูผ้พิกา

โดย นางกรรณิการ์ รัตนประยูร ผู้ช่วยทันตกรรม ร.พ.ร.เชียงของ จ.เชียงราย

ากประสบการณ์ ที่ ไ ด้ รั บ จากโครงการตรวจเยี่ ย มผู้ พิ ก าร ร่ ว มกั บ ทพญ.อารีย์ แก้วมะคำ� ที่ผ่านมาก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวมีความเข้าใจว่า ผู้พิการก็คือ คนที่มีความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ แต่ไม่เข้าใจความหมายของ การสื่ อ สารของผู้ พิ ก ารที่ ใ ช้ กั น พอได้ ร่ ว มโครงการได้ รู้ จั ก พู ด คุ ย กั บ ผู้ พิ ก ารและ ผู้ดูแลผู้พิการเป็นผู้ที่มีจิตใจที่ประเสริฐ มีความจริงใจ มีความอดทนสูง เป็นบุคคลที่ ควรดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

71

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ทพญ.อารีย์ แก้วมะค่า (หมออุ๊)

นางกรรณิการ์ รัตนประยูร เรื่องของผู้พิการโดยปรกติแล้ว ดิฉันให้ความสำ�คัญ มาโดยตลอด พอเข้ามาสัมผัสจริง ๆ การเข้าหาก็ยาก สื่อสารก็ไม่รู้เรื่อง เราจะสื่อสาร เขาจะเข้าใจเราไหม...? แต่ พ อได้ เ ข้ าโครงการ ได้ ไ ปอบรมที่ ส ถาบั น ราชานุ กุ ล ทีก่ รุงเทพ ฯ ก็รเู้ กีย่ วกับแผนการรักษา และนัดรักษาเกีย่ วกับ ทั น ตกรรม ตั้ ง แต่ ก ารให้ สุ ข ศึ ก ษา ฝึ ก แปรงฟั น และ ให้การรักษาที่ดี เขาก็จะไม่เจ็บปวด โดยดำ�เนินโครงการ นำ�ร่องที่ ตำ�บลสถาน อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำ�นวน 16 หมู่บ้าน เพราะการเดินทางอาจจะเข้าถึงง่าย โดยจะมีคุณ ทพญ. อารีย์ แก้วมะคำ� (หมออุ๊) จะเป็น คนแนะนำ �ให้ แ นวทางการปฏิ บั ติ ง านในทุ ก ขั้ น ตอนใน การเข้าถึงผู้พิการ ว่าเราควรจะทำ�อย่างไร..? โดยปรกติ 72

ผู้พิการจะกลัว คนแปลกหน้า ไม่สบตา ไม่สนใจ และ ไม่ยอมพูดคุยด้วย จะคุ้นเคยกับคนที่รู้จัก แต่การ เข้าหา แต่ละครั้ง ก็จะมีคนดูแลที่อยู่ด้วยตลอด เพื่อให้ รายละเอียดและเป็นคนเชือ่ มระหว่างผูพ้ กิ ารกับตัวดิฉนั ซึ่งดิฉันก็คิดว่าเป็นความโชคดีของพวกเขา ที่มีการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ผู้พิการก็จะมีความรู้เกี่ยวกับ การแปรงฟันดีขึ้น ไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก สังคมยัง ให้ความสำ�คัญและเอาใจใส่ไม่ทอดทิ้งผู้พิการ แต่...? ดิฉันมีอยู่เรื่องหนึ่งที่ ดิฉันจะเล่าให้ฟัง ตอนนัน้ ไปอบรมเกีย่ วกับ การเข้าพบปะและดูแลผูพ้ กิ าร ทางด้านทันตกรรม (การรักษาทันตกรรม) ที่ สถาบัน ราชานุกุล กรุงเทพฯ บ่ายของ วันที่ 5 ก.ค. 2554 วันนั้นเป็นวันที่ทาง สถาบันราชานุกุล ได้นัดผู้พิการให้ มารักษา ดิฉันได้เห็นผู้พิการคนหนึ่งตัวใหญ่มาก จะนั่ง กับพื้นใช้มือตัวเองทุบพื้นปูน พูดเสียงดังไม่เป็นคำ� ดิฉัน ก็คดิ ในใจว่าคงไม่ใช่คนนีแ้ น่นอน ทีค่ ลินกิ ผูพ้ กิ ารจะนัง่ รอ หน้าห้อง หลังจากนั้นประมาณ 20 นาที ดิฉันเตรียม พร้อมเริ่มที่จะปฏิบัติงานคลินิก มีการเรียกชื่อ คนไข้เข้า มารับบริการ ดิฉนั ตกใจแทบแย่ ? ทีเ่ ห็นผูพ้ กิ ารทีเ่ ข้ามา เป็นคนที่ ดิฉันเห็นร้องโวยวายอยู่หน้าห้องเมื่อสักครู่ ดิฉันไม่กล้าที่จะรักษาเขา เพราะดูเหมือนจะพูดกัน ไม่รู้เรื่อง แต่พอพาเขาขึ้นนอนบน เก้าอี้ทำ�ฟันบนแผ่น รองห่อหุ้มด้วยผ้า สำ�หรับมัด ก่อนที่จะทำ�การรักษา เขากลับให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีแต่นํ้าตาไหลเป็น บางครัง้ ทุกคนในคลินกิ ต่างให้ก�ำ ลังใจพวกเขาจนทำ�การ รักษาจนสำ�เร็จ ดิฉันรู้สึกประทับใจ และ ภูมิใจมากที่ ได้เข้าร่วมโครงการตรวจเยี่ยมผู้พิการในครั้งนี้ ทำ�ให้ได้ เข้าใจถึงการให้บริการกับผูป้ ว่ ยทีเ่ ป็นผูพ้ กิ าร การได้สมั ผัส กับผู้พิการและการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าอกเข้าใจกัน อย่างมีความสุข ซึ่งต่อนี้ไปผู้พิการในความรู้สึกของดิฉัน คือ ผู้ที่น่ารัก น่าสงสาร และน่าจะเอาใจใส่เป็นอย่างดี ในทุก ๆ ด้าน ขอขอบคุณ สถาบันเสริมสร้างสุขภาพคนพิการ สสพ. 

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ ในศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดสุโขทัย โดย ทพญ.อำ�มา ปัทมสัตยาสนธิ รพ.สุโขทัย

ารร่วมทำ�งานกับ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สสพ. เพือ่ คนพิการ เป็นความอยากทำ�เพือ่ ผูพ้ กิ ารจริงๆ แต่เมือ่ เริม่ ทำ�งาน ก็รสู้ กึ เครียด ทุกข์มาก เมือ่ ได้พดู คุยกับผูบ้ ริหารศูนย์ การพิเศษ จ.สุโขทัยและทีมงานโรงพยาบาลรูส้ กึ เห็นแนวทาง การทำ�งานและมีก�ำ ลังใจในการคิดทำ�โครงการ คณะครูทศี่ นู ย์ ผูป้ กครองและเด็กพิการน่ารักมาก ให้ความร่วมมือในการดำ�เนิน งานอย่างดี ส่งผลให้ผู้พิการมีสภาวะทันตสุขภาพดีขึ้น ปรับ เปลีย่ นพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก การบริโภคอาหาร ทีเ่ หมาะสมมากขึน้ ทำ�ให้มแี รงใจทำ�งานเพือ่ พวกเขาต่อไป 

73

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เรื่องเล่า…

ความประทับใจในการทำ�งาน ร า ก ิ พ น ค พ า ภ ข ุ ส ม ิ ร เส ง ่ ส ร า ก ง โคร โรงพยาบาลบ้านโป่ง โดย ทพญ.สุรัสวดี เมธาบดี ชบุรี โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดรา

พี่เบียร์ ป้ำ�สุดๆ) จ ใ ่ ี ท ม ร ร ก ต ัน น้ากลุ่มงานท

(หัวห

่คนพิการที่โรงพยาบาล ากเดิมเคยทำ�งานให้บริการเชิงรับแก งรุกให้แก่ผู้รับบริการ ชิ นเ งา � ทำ าร ก ี ม ่ ไม ปี 6 า เวล น ็ เป มา เพียงอย่างเดียว ขภาพคนพิการ ให้แนวทาง สุ ม ริ งเส า ้ สร น ั าบ สถ ง ทา อ ่ มื เ ่ แต กลุ่มนี้เลย รมทั้งเชิงทฤษฎี และปฏิบัติ อบ า ้ รเข กา ดู � ทำ อง ล ้ าให นม งา น ิ เน � ำ ในการด ดำ�เนินงานจริง ก็รู้สึกว่าหนักใจ ม ่ ิ งเร อ ต้ อ ่ ื เม ว ้ แล ล ู ก นุ ชา รา น บั ถา จากส นที่ต้องให้บริการการรักษาแก่คน งา าะ ฉพ ยเ โด น ั นก อ มื เห ใจ วล ง ั ะก แล ้วผู้ดูแลจะให้ความ แล ่ ไม อ รื ห ้ ได � ำ ะท าจ เร า ว่ งๆ า ต่ พิการในประเภท การทำ�งาน ก็ค่อนข้างสูง ใน ง ั หว าด มค วา ะค รา เพ หน ไ ่ แค ร่วมมือกับเรา ณ มิ ต รจ าก ทา งก ลุ่ ม งา นเ อง ยา ล ั ก ด้ ไ ่ ที าก ม ดี ชค โ ่ แต น ั นก อ ื อยู่ เ หม สังคม หรือกลุ่มงานเวชศาสตร์ รม กร วช ยเ ว ่ หน น ็ เป จะ า ่ ว ม่ นไ งา ม ่ ลุ นอกก ให้ความร่วมมือในการทำ�งานทุกๆ ฟื้นฟูที่ทั้งให้กำ�ลังใจในการทำ�งาน เทศบาลเมอื งบา้ นโป่ง าก ยจ มา มห ่ ส พี ็ น เป คง ๆ ง ริ จ ด้ ่ ไ ไม ึ ง วถ า ล่ อยา่ ง และทไี่ ม่ก ้าน และเตรียมพื้นที่ให้กับ บ ่ ู หม � ำ ะจ ปร ข ุ ณส าร าธ รส ค ั สม สา อา ที่ช่วยจัดหา ยี่ มบา้ นได้รบั ความสะดวกทสี่ ดุ เย อก นอ งา ิ น เน � ดำ าร ้ ก ให ่ ื อ เพ เรา อง ทีมงานข เยีย่ มบา้ น การจดั มหกรรมส่งเสรมิ อก นอ งา ็ น เป จะ ่ า ่ ว ไม ื อ มม ว ร่ าม คว ขอ เรา เมอื่ า่ งๆ อีกมากมาย เรามักจะไดร้ บั ความมี สุขภาพให้แก่คนพกิ าร หรอื งานจิปาถะต �ำ งาน ช่วยใหก้ �ำ ลังใจให้ รท กา ใน บ ลั ด ล็ กเค บอ ้ ง ทั คน ก ทุ ่ ี ๆ กพ จา ก รั นาํ้ จิตนาํ้ ใจทนี่ า่ ก).... ต่าย (ผู้ช่วย ช่วยทุกๆ รั า ่ น ่ ที าล บ ภิ ตา น ั (ท า ๋ จ ่ พี น ็ เป จะ า ่ ว ่ สู้ต่อไป ไม ช่วยทกุ งาน)..... พีต่ ู่ (หวั หนา้ ฝ่าย ้ ื อ เฟ ้ อ อื ่ ี เ ท ย์ พท ตแ ั น (ท ต รั ) นะ ๆ ง ริ อยา่ งจ วั หนา้ กลมุ่ งานทนั ตกรรมทใี่ จป�้ำ สุดๆ) (ห ร์ ย บี ่ เ พี ... ๆ). ุ ด ี ส จด ่ ใ ที คม ง สั รม กร เวช ที่มีให้หมดใจจริงๆ.... ก ั ร ่ แต ... ..... มด ห ่ ไม ง ึ วถ า ล่ งก ค ่ ที คน และอีกหลาย ๆ 74

-พี่จ๋า หมอโอ๋-ต่าย ผู้พิการ น า ้ บ ม ย ่ ี เย น ิ ทีมแกนนำ�เด

งาน).....

ื้อช่วยทุก เฟ อ ้ ื อ เ ่ ี ท ์ ย ท พ รัต(ทนั ตแ

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


การทำ�งานโครงการให้กับคนพิการในครั้งนี้ถือเป็น งานใหม่ สำ�หรับเราทุกคนที่กลุ่มงานทันตกรรมจริงๆ เราได้รับการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนสู่เพื่อน พี่สู่น้อง น้องสู่พี่ สร้างเครือข่ายการทำ�งาน และองค์ ความรู้ใหม่ๆ (สำ�หรับเราๆ ทุกคน) ทำ�ให้ตัวเราเองคิด ต่อไปว่าต่อไปไม่ว่าจะอีกกี่ปีข้างหน้า ไม่ว่าจะมีเราอยู่ที่นี่ อี ก หรื อไม่ หรื อ เราจะไปยื น อยู่ ที่ จุ ดไหน เราทุ ก คน คงอยากให้ประสบการณ์ในการทำ�งานครั้งนี้ที่เรามีได้ ถ่ายทอดให้แก่ เพื่อนๆ น้อง ๆ และทุกคนที่ได้มาทำ�งาน ณ จุดนี้ต่อไป ได้เรียนรู้กันไป และได้ต่อยอดในสิ่งใหม่ๆ ทีมเจ้าหน้าที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง มากขึ้ น เพื่ อ คนพิ ก ารคนอี ก กลุ่ ม ที่ เ ราอาจไม่ ไ ด้ ม อง ที่ช่วยให้งานสำ�เร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ข้ามเขา แต่เราไม่ได้นึกถึงเขาเลยในการทำ�งานที่แสน จะวุ่นวายในแต่ละวัน และด้วยแรงผลักดันจากการทำ�งานร่วมกันในครั้งนี้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การให้กำ�ลังใจซึ่งกันและ กันไม่ว่าจะเป็นจากทีมงานเอง หรือจากคนพิการที่เราได้ทำ�งานด้วยทำ�ให้ทุกคนร่วมใจกันทำ�งานอย่างมีเพื่อนร่วมทาง ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือย่อท้อในการทำ�งาน เราเชื่อว่าคนพิการยังรอการให้โอกาสจากเราเสมอ ทุกสิ่งในโลกเป็นจริงดังที่ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง” ทุกสิ่งอย่างนานวันไปมักเปลี่ยนตามกาลเวลา แตสิ่งที่ยังทรงคุณค่า แม้เวลา จะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตามนั่นคือ การปันนํ้าใจให้กันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นั่นคือ สิ่งจรรโลงใจ และสังคมให้มีความ สุขอย่างยั่งยืน 

ทีมผู้จัดจากกลุ่มงานทันตกรรมกลุ่มงานเวชกรรมสังคมกลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกลุ่มงานจิตเวช พร้อมทีมอสม.และกลุ่มผู้พิการที่เข้าร่วมอบรม 75

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เรื่องเล่า

จากการเยี่ยมบ้านผู้พิการ

โดย ทพ.ชัยพัฒน์ สุกิจจวนิช โรงพยาบาลป่าแดด จังหวัดเชียงราย

มหมออุ้ย ทันตแพทย์ รพ.ป่าแดด ขอมาเล่า ประสบการณ์การเยี่ยมบ้านผู้พิการ โดยเริ่มจากการที่พี่ นา (ทพญ.รพินท์ อบสุวรรณ สสจ.เชียงราย) ได้ให้เข้าร่วม ฟังการสัมมนาผู้พิการปีที่ผ่านมาที่จัดขึ้นที่เชียงราย ซึ่งหลัง จากนั้นพี่นาก็ได้ลองแนะนำ�ให้ทำ�โครงการดูครับโดยผม และพี่กิ่ง (ผู้ช่วยทันตแพทย์) ได้เข้าไปขอความร่วมมือ จากอสม.ที่มีพร้อมในเรื่องเวลาในการช่วยเยี่ยมบ้านใน ช่วงระยะเวลาทำ�โครงการ เนื่องจากอสม.เป็นคนในพื้นที่ ผู้พิการและครอบครัวของผู้พิการจะไม่กลัว เวลาเราไปเยี่ยม นอกจากนี้ยังเข้าใจสถานะบ้านของผู้พิการในด้านต่างๆที่ทาง ครอบครัวอาจไม่กล้าเล่าให้เราฟังด้วย และอสม.ยังสามารถ เล่าประสบการณ์ การทำ�ฟันว่าเป็นอย่างไร ความประทับใจที่ ได้มาห้องฟันป่าแดดครับ โดยได้ให้ทางอสม. จัดการวางแผน เยี่ยมบ้านในแต่ละวันให้เยี่ยมบ้านได้ครบทุกความพิการ โดยจะเยี่ยมบ้านให้ได้มากที่สุดตามเวลาที่เอื้ออำ�นวยบ้านที่ เยี่ยมแล้วประทับใจมีหลายๆบ้านขอเล่าในบางบ้านนะครับ

“ขอตรวจปากหน่อยนะครับ”

ได้ไปตรวจฟันกับอผส.แล้ว พบว่ามีฟันสึกมาก เลยให้ป้าฐาหนึ่งในอผส.สอนยายป้อแปรงฟัน โดยเน้นให้แปรงถูกวิธี ใช้แปรงขนนุ่มและแปรงเบาๆ 76

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ก่อนไปเยี่ยมบ้านผู้พิการคนอื่นคนยายได้ให้คุณตาไปเอา ส้มโอมาให้ที่สวนซึ่งได้กลับมาเยอะมากๆ บ้านสุดท้ายของวันแรกที่ไปเยี่ยมเป็นบ้านน้องโอเล่ที่เป็น โรคสมองพิการ (cerebral palsy) อายุ17ปี ซึ่งคุณพ่อและ คุณแม่ของผู้พิการให้การดูแลคนไข้ได้เป็นอย่างดี คุณแม่ จะคอยสอนรูปภาพต่างๆซึ่งได้รับจากศูนย์สอนคนพิการใน เชียงรายให้กับน้อง สุขภาพร่างกายน้องดูแข็งแรงดี แต่คนไข้ ไม่ได้พบหมอหอฟันมานานแล้ว คุณแม่บอกว่าเพราะน้องดู ไม่เป็นอะไร และไม่สะดวกพาน้องไปพบหมอฟัน ซึง่ จากการตรวจ พบว่าน้องมีฟันผุมาก เป็นหนอง มีตอฟันเหลือ หินปูนมาก จึงได้บอกคุณแม่และแนะนำ�ให้คุณแม่พาน้องไปหาหมอฟัน ที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งหลังจากอธิบาย เรื่องฟันผุมีผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง คุณแม่ได้มีความสนใจ และอยากรีบพาน้องไปหาทันตแพทย์ที่โรงพยาบาลศูนย์ ทางผมจึงเขียนใบส่งตัวไปที่โรงพยาบาลศูนย์ และนัดพบ กับพี่นกซึ่งเป็นหมอฟันเด็ก เพื่อให้คนไข้ไปที่โรงพยาบาลศูนย์ อี ก รายคื อ คุ ณ ยายป้ อ ที่ ข าขาดซึ่ ง เมื่ อ ก่ อ นคุ ณ ยาย จะมาโรงพยาบาลเพื่อทำ�กายภาพบำ�บัดเนื่องจากปวดเอว หลังจากตรวจฟันพบว่าคอฟันคุณยายสึกมากจึงได้แนะนำ� ให้คณ ุ ยายรีบมาอุดฟัน ซึง่ หลังจากทีไ่ ด้ทำ�ฟันให้คณ ุ ยาย คุณยาย บอกว่าเดี๋ยวจะแนะนำ�ให้คุณตามาทำ�ฟันด้วย เพราะคุณตา ไม่ได้ทำ�ฟันมาหลายปีแล้วเหมือนกัน ในการไปเยี่ยมบ้านผู้พิการในโครงการครั้งนี้ทำ�ให้ผม 77

พบว่า ผู้พิการมีสุขภาพที่ช่องปากที่ไม่ดี แต่ตัวของผู้พิการ ละคนดูและกลับไม่ให้ความสนใจในเรื่องนี้มากนัก เนื่องจาก ในหลายๆเรื่อง เช่น อสม.หรืออผส. และหน่วยเยี่ยมบ้านไม่มี ความรู้ในการไปตรวจฟัน เพราะผมเคยไปเยี่ยมกับหน่วยเยี่ยม บ้านพบว่า จะตรวจเพียงแค่ร่างกายเท่านั้น ซึ่งทำ�ให้ทางผม และทีมต้องอธิบายว่าร่างกายและช่องปากสัมพันธ์กันอย่าง มาก ถ้ากินข้าวไม่อร่อยเพราะเวลากินไปแล้วปวดฟันร่างกาย จะโตไม่ได้ ซึง่ ก็ทำ�ให้คนพิการสนใจมาทำ�ฟันมากขึน้ พอสมควร นอกจากนี้จากการไปเยี่ยมบ้านพบว่าคนพิการหลายคนและ ผู้ดูแลหลายคนรู้สึกว่ามีความทุกข์ใจหรือเหงาเพราะไม่ค่อย มี ค นดู แ ล หรื อ คนดู แ ลที่ ไ ม่ ส ามารถไปไหนได้ เ พราะว่ า ต้องคอยดูแลคนพิการ ซึ่งเมื่อทางทีมงานไปเยี่ยมพบว่าคนพิการหรือคนดูแล ต่างมีความสุข ยิ้มแย้มที่มีคนมาคุยด้วย บางคนเมื่อเราถามว่า อยากให้ทำ�อะไรให้บ้าง อยากได้อะไรไหม ผู้พิการหรือ ผู้ดูแลบางคนก็ขอแค่มาเยี่ยมมาคุยกันไม่ให้เหงาก็พอแล้ว ซึ่งจากการไปเยี่ยมทำ�ให้ผมรู้สึกว่าเราโชคดีมากที่ถึงแม้ จะเกิดมาไม่สมบูรณ์แบบ แต่เราก็มีร่างกายครบ มีพ่อแม่ คอยดูแลเรา ซึ่งผมก็อยากให้คนพิการและคนดูแลเหล่านั้น ที่ ถึ ง แม้ จ ะพิ ก ารทางกายแต่ ก็ ไ ม่ อ ยากให้ เ ค้ า พิ ก าร ทางใจครับ 

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เรื่องเล่า

จากการประชุมตัวแทนอสม. โดย ทพ.ปกรณ์ ชื่นจิตต์ โรงพยาบาลพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย คุณชัยวุธวิลัยนักเวชสถิติ

วันนี้ผมได้เชิญ ตัวแทน อสม. จากทั่วทั้งอำ�เภอ มาหมู่บ้านละ 1 คน รวมๆแล้ว 70 กว่าคน เพื่อเชิญชวน ให้มาร่วมทำ�งานเรื่องผู้พิการกับผม วัตถุประสงค์ของการประชุมในวันนี้ ผมตั้งเอาไว้ หลายประเด็นคือ ให้อสม.ได้เรียนรู้ วิธีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง และ รู้จักความพิการในแบบ ต่างๆให้อสม.ได้รบั ทราบถึง ระบบการดูแลผูพ้ กิ ารทัง้ ด้านสุขภาพ และด้านสิทธิ ทีเ่ ป็นผลิตผล ของการหารือร่วมกันของสหวิชาชีพ เมื่อการประชุมครั้งก่อนให้อสม.ได้ช่วยออกสำ�รวจ ผูพ้ กิ ารทุกๆคนในอำ�เภอ เพือ่ เก็บข้อมูลพืน้ ฐานๆ จนถึง สภาวะสุขภาพช่องปากแบบคร่าวๆ ดังนั้นกิจกรรมของวันนี้ จึงมีตั้งแต่รับฟังผมบรรยายทันตสุขศึกษา, ทดลองใช้แบบสอบถาม, และทำ�ความรู้จักกับความพิการ โดยพี่ทม นักกายภาพบำ�บัด น้องตำ� นักกิจกรรมบำ�บัด มีเอกสารมากมายทีผ่ ม เตรียมให้แก่อสม.ในวันนี้ ไ่มว่ า่ จะเป็น คูม่ อื การดูแลสุขภาพช่องปาก คุณปกรณ์ชื่นจิตต์ทันตแพทย์ สำ�หรับอสม. , คู่มือทันตกรรมป้องกันสำ�หรับผู้พิการ สำ�เนาจากเอกสารที่ได้รับแจกเมื่อครั้งไป อบรม และ บทความเรื่องการส่งเสริมทันตสุขภาพในผู้พิการ ของพี่แบ๋ม รพช.เวียงป่าเป้า เชียงราย เริ่มแรก ผมอธิบายถึงที่มาที่ไปของการออกสำ�รวจข้อมูลของผู้พิการในครั้งนี้ ว่าเกิดขึ้นเนื่องมาจากเราต้องการรู้ให้ได้ก่อนว่า ผู้พิการคน ใดที่มีปัญหามาก เราจะได้พุ่งตรงเข้าไปหาผู้ที่มีความเร่งด่วนก่อน แต่ทีนี้ การที่ผู้พิการจะเข้าถึงเรา ก็ยาก เพราะมักจะมีปัญหาในการเดิน ทาง และเราก็เข้าถึงผู้พิการยากเช่นกัน เพราะเค้าไม่ได้อยู่รวมกัน เฉกเช่นนักเรียนในศูนย์เด็กเล็ก หรือ โรงเรียนประถมเพราะต้องใช้เวลามาก ที่จะออกไปหาผู้พิการทีละรายๆ ตามบ้าน ดังนัน้ หากเรามีขอ้ มูลของผูพ้ กิ ารทัง้ หมดก่อน ก็จะสามารถวางแผนได้เหมาะสม ถูกต้อง และ ง่ายกว่าจึงต้องมีการออกสำ�รวจทัว่ ทัง้ อำ�เภอ โดยใช้แบบสอบถาม โดยแบบสอบถามชุดนี้ สหวิชาชีพ ได้ร่วมกันออกแบบขึ้นมา สามารถเก็บข้อมูลของผู้พิการได้ครอบคลุมทุกด้านใช้งาน ได้ง่าย ไม่ยากจนเกินไปสำ�หรับอสม.ที่จะนำ�ไปใช้สำ�รวจแบบสอบถาม ผมให้อสม.ลองจับคู่กันทำ�แบบสอบถาม เพื่อจะได้ค้นหาปัญหาในการทำ�แบบสอบถาม และก็ได้แลกเปลี่ยน พูดคุยตกลงทำ�ความเข้าใจ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อที่ผลการสำ�รวจออกมาเป็นเนื้อเดียวกันตัวแทน อสม. หมู่บ้านละหนึ่งคน ทั่วอำ�เภอพญาเม็งราย ในวันนี้ผมก็บรรยายทันตสุขศึกษาด้วย ซึ่งได้รับความสนใจจากพี่ๆอสม.เป็นอย่างดี ทุกคนตั้งใจฟัง และยกมือถามทุกครั้งที่ผมเปิดโอกาส ให้ซักถาม การให้ทันตสุขศึกษา ผมสอนแปรงฟันแบบ Modified Bass’s technique โดยใช้วีดิโอ ที่ผมเคยถ่ายไว้ใช้สอนเด็กๆมัธยม ผมคิดว่าช่วยให้เห็นภาพชัดเจน เข้าใจง่ายดี ผมอธิบายเพิ่มเติมถึงการ ปรับเปลี่ยนด้านแปรงสีฟันให้เหมาะสมแก่ผู้พิการที่ใช้มือไม่ได้ แต่น่าเสียดายตรงที่ ผมไม่มีตัวอย่างแปรงสีฟันให้ดู บ่ายพี่ทม นักกายภาพบำ�บัด และน้องต๋ำ� นักกิจกรรมบำ�บัด ก็เข้ามาพบปะพี่อสม. และให้ความรู้เกี่ยวกับความพิการแบบต่างๆเพื่อให้อสม. สามารถคัดกรองผู้พิการได้คร่าวๆ, การฟื้นฟู และการทำ�กายภาพบำ�บัดสำ�หรับผู้พิการ ซึ่งการบรรยายเป็นลักษณะพูดคุยเรียกเสียงหัวเราะ จากพี่ๆอสม ได้ตลอดเวลา ทำ�ให้ช่วงบ่ายที่แสนจะอิ่มและง่วง กลับกลายเป็นสนุกและได้ความรู้อย่างเต็มที่ วันนี้เบื้องหน้าของการอบรม ผ่านไปไปอย่างราบรื่น สนุกสนาน และได้ความรู้ พี่ๆอสม.ก็พร้อมจะออกไปรวบรวมข้อมูลผู้พิการมาให้ผม แต่เบื้องหลังการจัดงาน นั้น ยุ่งวุ่นวายมาก เพราะเราต้องแจกเอกสาร เก็บหลักฐานการจ่ายเงิน กันวุ่ยวาย หูดับตับไหม้ โชคดีเหลือเกิน ที่ได้รับความช่วยเหลือจาก พี่ยิ ผช.ทพ.ของผม และยังมีพี่ลัดดา ที่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือตอนที่วุ่นวายถึงขีดสุดซึ่งก็คือ ตอนที่แจกแบบสอบ ถามให้อสม.และจ่ายเงินค่าเดินทางเข้าร่วมประชุม แล้วทุกอย่างก็ผ่านพ้นไปด้วยดี ต้องขอขอบคุณ พี่ๆอสม. และ ทุกๆคนที่กล่าวถึงมาทั้งหมดด้วยนะครับ  78

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เต็มใจ ใช่เลย

(ประสบการณ์การณ์เยี่ยมบ้านคนพิการ) โดย นางสุนันทา ชุ่มสา ผู้ช่วยทันตแพทย์กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

วัสดีค่ะ ดิฉันนางสุนันทา ชุ่มสาหรือป้าแต๋ม ทำ�งานเป็นผู้ทันตแพทย์ที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาล เชียงรายประชานุเคราะห์ อาชีพหลักของป้าแต๋มคือช่วย คุณหมอทำ�ฟันอยูข่ า้ งๆ เก้าอีท้ ำ�ฟันมานานเป็นเวลากว่า 30 ปี ได้รับมอบหมายแกมบังคับบวกการไหว้วานจากหัวหน้า คือทันตแพทย์หญิงศรินทิพย์ ปิติวัฒน์สกุล หรือหมอตุ๊บ ติ๊บ ให้ป้าแต๋มเขียนเล่าถึงงานโครงการผู้พิการซึ่งป้าแต๋ม ถนัดด้านการพูดมากกว่าการเขียนแต่ก็จะพยายาม สู้ค่ะ แรกเริ่มที่หมอตุ๊บติ๊บมาชวนให้ช่วยงานผู้พิการนี้ก็เป็น กังวลว่าเราจะทำ�ได้ไหม แต่กอ็ นุ่ ใจทีเ่ ราไม่ได้ท�ำ เพียงลำ�พังมี 79

ผู้ใหญ่ใจดีคือคุณหมอโคสิต และคุณหมอรพินท์ อบสุวรรณ คอยนำ�ทางชี้แนะให้กำ�ลังใจและยังมีบุคลากรจากหน่วย งานต่างๆ ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เช่น นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ คุณหมอกายภาพ พร้อม ทั้งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลแม่กรณ์ อสม.เจ้าหน้าที่ อบต.แม่กรณ์ ร่วมด้วยช่วยกันทำ�งานนี้ เป้าหมายของโครงการนี้อยู่ที่ตำ�บลแม่กรณ์ ซึ่งมี ประชากรผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ประมาณ 105 ราย กระจายกันอยู่ใน 13 หมู่บ้าน ปัญหาแรกคือการที่เราจะเข้า ถึงผู้พิการทั้งหมดได้อย่างไร ได้บทสรุปว่าเราจะทำ�เหมือน

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


การออกเยี่ยมบ้านและให้ครอบคลุมถึงการตรวจรักษาด้วย ถ้าทำ�ได้ โดยเราจะออกไปทุกวันพุธ ครั้งแรกที่ออกไปคือ เช้าวันที่ 6 มกราคม 2553 ในวันนั้นบรรยากาศดีมากเป็น ยามเช้าที่เหน็บหนาว เราบุกตรวจกันข้างๆ กองไฟผิงหนาว บ้าง ใต้ผ้าห่มกันหนาวบ้าง พอถึงเดือนเมษายนถึงเดือน มิถุนายน ร้อนสุดขั้วหัวใจไปถึงบ้านไหนมองหาแต่พัดลม และน้ำ�เย็น พอถึงหน้าฝนก็ไปกันแบบชุ่มฉ่ำ�มาก บางที่ เป็นดอยสูงถนนดินโคลนจะลื่นมากต้องลงเดินลุยโคลนกัน เป็นระยะถึงแม้จะเจอกับอุปสรรคแค่ไหนเราก็ไม่ถอยอยูแ่ ล้ว งานตรวจเยี่ยมผู้พิการนี้ถือเป็นงานแปลกใหม่จากงาน ประจำ�เดิมๆ ที่เราทำ�อยู่ กล่าวคือเราให้บริการคนไข้แบบ ตั้งรับอยู่กับที่ แต่งานตรวจเยี่ยมผู้พิการเราต้องออกไปหา คนไข้ถึงบ้านเป็นรายๆ ไป โดยมีการเตรียมชุดตรวจฟัน ชุดถอนฟันไปด้วย ซึ่งการไปแต่ละครั้งเราไม่ได้มีจุดหมาย แค่การตรวจฟัน หรือถอนฟันเท่านั้น เราไปเหมือนการเยี่ยม ญาติของเราที่เขาไม่สบายพิการอยู่ ไปพบปะพูดคุยแนะนำ� ให้กำ�ลังใจทั้งผู้พิการ ผู้ดูแลและญาติพี่น้องของผู้พิการด้วย ยอมรับว่าครั้งแรกๆ ที่หมอตุ๊บติ๊บและป้าแต๋มออกไป พบเจอผู้พิการนั้นกลับมามองหน้ากันพูดประโยคเดียวกัน ว่า “เศร้าใจ หดหู่” เช่นรายของผู้พิการรายหนึ่งเป็นชาย 80

หนุ่มอายุ 43 ปี ประสบอุบัติเหตุพิการตั้งแต่ ช่วงเอวลงไป เขาต้องใช้ชีวิตทุกอย่างบนเตียง ตลอดเวลา 24 ปี ไม่สามารถนัง่ ล้อเข็นได้ ลุกนัง่ ไม่ได้ มีผู้ดูแลเป็นคุณตาที่อายุ 74 ปีซึ่งเป็นญาติ สภาพแวดล้ อ มในบ้ า นของเขาไม่ ค่ อ ยถู ก สุขลักษณะเนือ่ งจากมีถงั พลาสติกขนาด 5 ลิตร จำ�นวน 3 ใบ สำ�หรับใส่ปัสสาวะ เนือ่ งจากเขา ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เอง จึงต้องใส่สาย ปัสสาวะไว้ตลอดเวลา จากกลิ่นของปัสสาวะ ความเปียกชื้นของพื้นซึ่งเกิดจากการล้างหน้า แปรงฟัน แล้วเทน้�ำ ลงในกาละมังพลาสติกขนาด เล็ก เมือ่ ทำ�ธุระเสร็จแล้วก็เอากาละมังสอดไว้ใต้ เตียง รอคุณตามาเก็บไปเททิง้ ด้วยสภาวะอย่างนี้ ทำ�ให้มแี มลงหวีภ่ ายในบ้านมาก จึงได้แนะนำ�ให้เ

ขาติดตัง้ อ่างล้าง พร้อมท่อน้�ำ ทิง้ โดยให้ตดิ ตัง้ อ่างไว้ขา้ งเตียง เพือ่ จะได้สระผม ล้างหน้าแปรงฟันได้โดยไม่รบกวนคุณตามาก นัก หากหมอตุบ๊ ติ๊บมีเวลาเหลือจากการเยีย่ มทีบ่ า้ นอืน่ ก็จะ เข้ามาดูบา้ นหลังนีเ้ พือ่ ดูวา่ ได้แก้ไขไปหรือยัง พบว่ามีการแก้ไข

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


โดยติดตัง้ อ่างอลูมเิ นียมพร้อมท่อน้�ำ ทิง้ เรียบร้อย ถามเขาๆก็บอกว่ารู้สึกสบายขึ้น พื้นไม่แฉะแล้ว และพบว่าหลังจากนั้นก็มีการติดตั้งก๊อกน้ำ�เพิ่ม เติม โดยที่หมอไม่ได้แนะนำ� นั่นย่อมแสดงว่า เขาเริ่มเรียนรู้ที่จะปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ ตอนตรวจฟันก็ให้คุณตาช่วยขยับตัวเขา มาทางข้างเตียงแล้วเอาหมอนรองตักหมอ ให้ เขานอนบนหมอนอีกที เพื่อให้ตรวจได้สะดวก ไม่เมื่อยมือ ส่วนไฟที่ใช้ส่องในปากก็เอาไฟส่อง กบมาใส่หวั หมอไว้ แล้วหมอก็ตอ้ งปรับระดับโดย การก้มเงยให้ไฟตรงกับช่องปากเขา ป้าแต๋มก็จะ จดข้อมูลในปากตามทีค่ ณ ุ หมอบอก โดยไม่ตอ้ ง ส่องไฟฉายให้ ประหยัดมือไปอีก 1 ข้างแต่คอ คุณหมออาจเคล็ดได้ ไม่เป็นไรมีคุณหมอกายภาพคอยดูให้ อยู่แล้ว และเหมือนธรรมชาติจะสร้างสมดุลให้ชีวิตจากการ ตรวจพบว่ามีหนิ ปูนเล็กน้อย ไม่มฟี ันผุ ต้องหาทางให้บริการ ขูดหินปูนให้เขาต่อไป และในระหว่างนี้ป้าแต๋มก็ได้ให้คำ� แนะนำ�เรือ่ งการดูแลความสะอาดช่องปาก คุณหมอตุบ๊ ติบ๊ ได้ แนะนำ�และติดตามให้เจ้าหน้าทีโ่ รงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำ�บลแม่กรณ์เข้าไปดูแลเรื่องสุขอนามัย พวกเราเวียนเข้าออกบ้านนี้อยู่หลายครั้ง จนสภาพความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น อีกรายหนึง่ เป็นหนุม่ น้อยอายุประมาณ 2 ขวบ มือพิการ และ เดินไม่ได้ ทัง้ ทีเ่ ราควรจะเห็นเด็กเดินเล่นได้สนุกสนานตามวัย ซึง่ ในรายนีไ้ ด้ปรึกษาคุณหมอมารยาท แผนกกายภาพบำ�บัด เพือ่ หาทางช่วยเหลือหนุม่ น้อยคนนีต้ อ่ ไป จากเหตุการณ์เหล่า นี้ ทำ�ให้เราได้คิดว่าเรามีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง ต้องไม่ ท้อแท้ไม่กลัวกับปัญหาและอุปสรรคพร้อมที่จะทำ�งานที่เป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวมให้มากๆ ยิ่งขึ้นไป มีบ้างในบางรายที่ เราไปเยี่ยมแล้วมีความสุข เช่นคุณยาย อายุ 75 ปี ร่างกาย แข็งแรง แต่ตาบอดทั้งสองข้างมาแต่กำ�เนิด เจอกันทุกครั้ง คุณยายจะจำ�เสียงพูดของเราได้ คุณยายก็จะรีบทักทายและ สวมกอดกันตลอด พบว่าฟันคุณยายเหลือ 3 ซี่ซึ่งโยกมาก แล้ว แต่คุณยายยังเคี้ยวอาหารอ่อนได้ เมื่อถามคุณยายว่า อยากใส่ฟนั ปลอมไหม คุณยายบอกว่าไม่ใส่แล้วจ้า แค่นยี้ าย 81

ก็เคี้ยวอาหารได้แล้ว ครั้น ถามว่าคุณยายมีอะไรให้ช่วยบ้าง คุณยายก็จะบอกว่าให้คณ ุ หมอมาเยีย่ มบ่อยๆ ก็ดใี จอย่างมากแล้ว ป้าแต๋มรู้สึกโชคดีที่คุณหมอตุ๊บติ๊บได้ให้โอกาสมีส่วน ร่วมในงานนี้ ซึ่งเป็นประสบการณ์ในการทำ�งานที่น่าประทับ ใจ ทำ�ให้ตระหนักในคุณค่าของการมีชีวิตมากยิ่งขึ้น ทำ�ให้ เรารักและภูมิใจในอาชีพของตนเอง เชื่อว่าไม่มีความสุขใด จะยิ่งใหญ่เท่ากับการเอาใจใส่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยการแบ่ง ปันความรัก แบ่งปันโอกาสและเกื้อกูลกัน หากรู้จักรักและ ให้ ไม่ว่ากับคนใกล้ตัว คนร่วมสังคม จิตใจของเราจะอิ่ม เอิบ สดใส ภาคภูมิใจ มีความสุข ป้าแต๋มได้ยินหมอตุ๊บ ติ๊บบอกว่าจะจัดกิจกรรมในเด็กนักเรียน ม.1-3 เพื่อให้เด็ก นักเรียนในเขตตำ�บลแม่กรณ์ได้เรียนรู้ประสบการณ์จาก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ให้เขาได้เล่ากำ�บะเก่าให้เด็กฟัง ให้เด็กได้ รู้สึกผูกพันกับเขา ส่งเสริมความรัก ความเอาใจใส่ในชุมชน แบ่งปันประสบการณ์กัน ท่าทางงานนี้ป้าแต๋มจะได้มีเรื่อง เล่าแห๋มแล้ว คราวนีป้ า้ แต๋มจะจดบันทึกไว้ในสมุดแห่งความ รักให้ละเอียดเลยค่ะ เผื่อจะเอามาเล่าสู่กันอ่านอีกค่ะ  สุดท้ายขอขอบคุณสถาบันส่ร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) และทุกชีวิตที่มีส่วนร่วมในโครงการดีๆ นี้ ขอบคุณ และดีใจที่ได้ทำ�งานที่นี่ “โฮงยาไทย” ขอบคุณค่ะ ป้าแต๋ม ณ ห้องฟัน 035-271033 ต่อ110

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ความประทับใจในการดำ�เนินกิจกรรม ทันตสุขภาพในกลุ่มผู้พิการ โดย ทพ.พูลพฤกษ์ โสภารัตน์ บ้านวัดจันทร์ รพ.วัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดเชียงใหม่

“ผูพ้ กิ าร”สำ�หรับพวกเราทีเ่ ป็นทันตแพทย์ และทันตบุคลากรดูเหมือนเป็นเรือ่ งห่างไกล โดย

เฉพาะหากเราตัง้ รับจัดให้บริการอยูเ่ ฉพาะในคลินกิ ทีโ่ รงพยาบาล ซึง่ ก็อาจจะมีโอกาสพบเจอได้ ต่อเมื่อ ผู้พิการสามารถไปหาเราที่ห้องฟันได้แล้ว ผู้ที่มีอุปสรรคในการเดินทางทั้งจากสภาพ ร่างกายทีเ่ ดินทางยาก และสภาพเศรษฐกิจ,สังคมทีม่ ผี ลต่อการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข

บ้านวัดจันทร์ ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี ที่ได้มีการพัฒนางานทันตสุขภาพในผู้พิการ ทำ�ให้ทีมงาน ทีประกอบด้วย ทันตบุคลากร พยาบาล แพทย์แผนไทย นักกายภาพบำ�บัด คุณครูและอสม. ได้เรียนรู้และเข้าใจ ถึ ง ความหมายของ “ผู้ พิ ก าร” การใช้ ชี วิ ต บนสภาพ สังคมที่ยังไม่ได้มีการสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อ ผู้พิการมากนัก งานทั น ตสาธารณสุ ขในกลุ่ ม ผู้ พิ ก ารคงไม่ ไ ด้ เ ป็ น เฉพาะเรื่องของช่องปาก แต่เป็นเรื่องของคุณภาพชีวิต ที่เรากำ�ลังช่วยกันทำ�ให้ดีขึ้น หลายครั้งพบว่าผู้พิการ ไม่ ส ามารถบอกเราได้ ว่ า กำ � ลั ง ปวดฟั น อยู่ ต้ อ งทนเจ็ บ ปวดจากโรคในช่ อ งปาก อั น ส่ ง ผลโดยตรงต่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต ดังนั้นงานทันตกรรม ตั้งแต่การส่งเสริมการแปรงฟันโดยผู้ดูแล,การพัฒนาทักษะการแปรงฟันของผู้พิการเอง และการ ให้บริการทันตกรรมบำ�บัดรักษา ล้วนเป็นงานที่เราสามารถทำ�ได้ เพียงแต่ “ใช้ใจ” และความปรารถนาดีที่มุ่งหวังให้ผู้พิการมี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังคำ�ที่ว่า “เมื่อเราหลงลืมใครบางคน คนเหล่านั้นก็จะถูกทอดทิ้ง”  82

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


หนึ่งในดวงใจ โดย ทพญ.รจิต จันทร์ประสิทธิ์ โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

นนซี่ เอย แนนลูก คุณหมอมาเยี่ยมจากโรงพยาบาล สวัสดีคณุ หมอหน่อยลูก” เป็นเสียงแรกข้าพเจ้าทีไ่ ด้ยนิ พร้อมภาพทีม่ อง เห็นคุณยายวัย 50 ปี ทีก่ มุ มือหลานสาววัยประมาณ 4 ขวบ พลางพยุง หลังลุกขึน้ ไหว้ อดไม่ได้ทจี่ ะถามว่าอยูก่ นั สองคนเหรอยาย สัมภาษณ์ไป มาพบว่ า แนนซี่ เ ป็ น ลู ก ของลู ก สาวที่ ไ ปทำ�งานกรุ ง เทพ ตอนกลับมาคลอดพบว่าวันที่คลอด คลอดไม่ได้เอง ด้วย ระยะเวลาคลอดที่ยาวนาน ทำ�ให้แนนซี่ขาดอากาศหายใจ ในครรภ์ ตอนคลอดออกมาจึงมีสมองพิการ แต่ยังดีที่ครบ สามสิบสองและหน้าตาน่ารัก เป็นคำ�ถ่ายทอดเรื่องราวน้อง แนนซี่ให้พวกเราฟังจากปากยายวัน ซึ่งตอนนี้ครอบครัว อยู่กัน 3 คน คือแม่ของยายวันที่อายุ 80 ปี ตัวยายวันเอง และแนนซี่ ยายวันมีอาชีพขายนํ้ามันเบนซินที่พอเลี้ยงปากท้องให้อยู่กันได้ ส่วนลูกๆมีงานมีการทำ�ที่กรุงเทพ ส่งเงินมาบ้างแต่ไม่ มาก เพราะต้องดูแลครอบครัวตนเอง ยายวันเล่าถึงกิจกรรมประจำ�วันของตนเองให้พวกเราฟังอย่างกระตือรือล้นว่า ตื่นเช้ามาก็ดูแลหาข้าวปลาอาหารให้แม่ ให้แนน หลังจากนั้นก็ไปซื้อนํ้ามันที่ตัวอำ�เภอ ไม่ได้ไปทุกวัน บางทีก็ฝากเขาไป เดิมก็ให้แนนนอนดูทีวีอยู่กะยาย จนกลับมา ถ้าว่างก็ทำ�กายภาพบำ�บัดให้แนน ตกเย็นก็จะพาแนนไปสถานีอนามัยให้ยายวิ (อาสาสมัครแพทย์แผนไทยที่ทำ�งานที่ รพ.สต. บ้านข่า) ช่วยนวดประคบให้ ยายไม่รู้ว่าจะต้องทำ�ยังไงบ้าง ก็ทำ�ให้ดีที่สุดเป็นห่วงก็แต่หลาน ถ้ายายตายไปใครจะดูแล 83

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


หลังจากฟังคำ�บอกเล่า ทีมเยีย่ มบ้านของโรงพยาบาล จึงได้ช่วยกันวางแผนว่าจะช่วยยายวันกะน้องแนนซี่ ได้ อย่างไรบ้าง ทั้งทันตาภิบาลสมจิตรก็ได้ให้ข้อมูลกับทีมว่า ยายวันแกรักหลาน ดูแลหลานดีจริงๆ คุณหมอดูฟันของ น้องแนนซิ ไม่ผุเลย ขึ้นครบทุกซี่แล้ว ซึ่งตัวข้าพเจ้า เองได้สังเกตตั้งแต่ตอนที่ให้ยายสาธิตวิธีการแปรงฟัน ให้น้องแนนแล้ว พบว่ามีความละเอียดอ่อน ใช้ขวดนม ในการให้บ้วนปาก ทำ�ให้ทุกคนในทีมเกิดความเชื่อมั่น ได้ว่ายายกะหลานคู่นี้สามารถที่จะมีคุณภาพ ชีวิตดีกว่าเดิม ได้ ทางน้องโต้งนักกายภาพบำ�บัด จึงสอนยายใช้อุปกรณ์ ช่วยเหลือในการทำ�กายภาพบำ�บัด อันได้แก่ ห่วงหัดเดิน กายมั ด ร่ า งกายกั บ เสาเพื่ อ ฝึ ก ความแข็ ง แรงของขา การตัดกล่องเพื่อทำ�เก้าอี้หัดนั่ง ส่วนทางเทศบาลก็ได้ประสานงานกับทางจังหวัด ทำ�ให้น้องแนนซี่ได้เข้าเรียนโรงเรียนการศึกษาพิเศษ เดิมที่ ยายวันไม่กล้าส่งหลานเรียน ห่วงค่าใช้จ่าย ห่วงการ เดินทาง แต่ทางโรงเรียนการศึกษา พิ เ ศษได้ ส นั บ สนุ น ให้ ทุ น การศึ ก ษา มีรถส่งพร้อมคนดูแล มารับถึงบ้าน ยายวันถึงกับนํ้าตาไหล พร้อมพูดว่า แบบนี้ ย ายก็ มี ค วามหวั ง นอนตาย ตาหลับได้ว่าแนนไม่ถูกทอดทิ้ง นับว่า เป็นโอกาสครั้งยิ่งใหญ่ของน้องแนน ที่ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีแทนอนาคตของ น้ อ งแนน จุ ด เริ่ ม ต้ น ของจุ ด เปลี่ ย น อาจเป็ น แค่ จุ ด เริ่ ม แรกของชี วิ ต น้องแนนแต่ก็ทำ�ให้มั่นใจได้ว่า ยายวัน และครอบครัวน้องแนน จะมีคุณภาพ ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ไปเยี่ยมน้องแนนเดือนละครั้งหลังจากจัดทำ�โครงการพัฒนา ระบบการดูแลทันตสุขภาพกลุ่มผู้พิการ เริ่ ม ต้ น ที่ ช่ อ งปาก สู่ ภ าพองค์ ร วม ได้ เ ห็ น พั ฒ นาการของน้ อ งแนนและการเรี ย นรู้ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น จากครั้ ง แรกที่ เจอกั น อย่างเห็นได้ชัด จึงขอขอบคุณสถาบันส่งเสริมสุขภาพผู้พิการที่ส่งเสริมให้เกิดโอกาสแก่ตัว ข้าพเจ้าได้ทำ�งานเพื่อสร้างโอกาส ที่ดีอีกหลายร้อยโอกาสให้กับคนอื่นๆ ต่อไป  84

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ความประทับใจจากการทำ�งาน โครงการสร้างเสริมสุขภาพเด็กพิเศษ ก

โดย ทพญ.พรทิพย์ แก้วประดิษฐ์ โรงพยาบาลสงขลา

ารทำ�งานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กพิการทางสติปัญญา ในโรงเรี ย นสงขลาพั ฒ นาปั ญ ญา จ.สงขลา ช่ ว งแรกค่ อ นข้ า งยาก เนื่ อ งจากไม่ เ คยทำ � งานด้ า นนี้ ม าก่ อ น และตั ว เองก็ เ ป็ น หมอ prosthodontic ไม่ ถ นั ด งานเด็ ก และงานชุ ม ชนอี ก อย่ า งที่ หน่วยงานยังไม่เคยทำ�ฟันกับเด็กพิการมาก่อน แต่เมื่อเข้าไปทำ�งาน ที่ โ รงเรี ย นสงขลาพั ฒ นาปั ญ ญา ผู้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นให้ ค วามร่ ว มมื อ เป็ น อย่ า งดี และเห็ น ความสำ � คั ญ กั บ ทั น ตสุ ข ภาพของเด็ ก ๆ งานจึ ง สามารถเดินไปได้เรื่อยๆ โดยไม่สะดุด ทำ�งานนี้มาสองปี ประทับใจ ในตัวของเด็กๆ ซึ่งเขาเป็นเด็กๆ ที่ด้อ ยโอกาสที่จ ะได้รับการทำ�ฟัน บางคน ม.6 อายุ ป ระมาณยี่ สิ บ กว่ า ๆ ไม่ เ คยเจอหมอฟั น มาก่ อ น การมาทำ�ฟัน ครั้งแรกเด็ก ระแวง และหวาดกลัว จนต้องหนีกลับก่อน แต่ เ มื่ อ เราจั ด ห้ อ งเป็ น สั ด ส่ ว น และมี ส่ ว นนั่ ง เล่ น ระหว่ า งรอทำ � ฟั น ทำ �ให้ เ ขารู้ สึ ก ผ่ อ นคลาย จนชอบที่ จ ะมาทำ � ฟั น และ สามารถให้กำ�ลังใจเพื่อนๆด้วยกันได้ อี ก ความประทั บใจหนึ่ ง คื อ การออกเยี่ ย มบ้ า น การเยี่ยมบ้านแต่ละครั้งจะเกิดความรู้สึกดราม่า และ มี ค วามสุ ข กั บ การเยี่ ย มทุ ก ครั้ ง เนื่ อ งด้ ว ย เด็ ก พิ ก าร ส่ ว นใหญ่ ม าจากครอบครั ว ที่ มี ค วามแตกแยกของพ่ อ และแม่ และส่ ว นใหญ่ อ ยู่ ใ นความดู แ ลของผู้ สู ง อายุ การไปแต่ ล ะครั้ ง กลายเป็ น ว่ า เรามี เ ป้ า หมายเป็ น สองกลุ่ม คือเด็กพิการ และผู้สูงอายุ ทำ�ให้เกิดการพูดคุย ร่วมกันระหว่าง ทันตบุคลากรผู้ปกครอง และครูผู้ดูแล ทำ�ให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ลดช่องว่างระหว่างกัน และมีการฝากฝังการดูแลเด็กอย่างต่อเนื่องค่ะ 85

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เรื่องเล่า

ความพิการเป็นเรื่อง ของธรรมชาติ โดย ทพญ.เบญจมาส สือพัฒธิมา รพ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์

วั

นนีด้ ฉิ นั ได้ออกเยีย่ มบ้านทีต่ �ำ บลบางมะฝ่อร่วมกับ เจ้าหน้าทีข่ องรพ.สต.บางมะฝ่อ การเยีย่ มบ้านของทีมเยีย่ ม บ้านนอกจากจะเป็นการเยีย่ มคนพิการ แนะนำ�เรือ่ งสุขภาพ ทัว่ ไป และสิง่ แวดล้อมแล้ว ยังจำ�เป็นต้องมีกจิ กรรมตรวจฟัน ของคนพิการร่วมด้วย (เพราะมิฉะนัน้ กิจกรรมตรวจฟันจะไม่ได้ เป้าหมายที่กำ�หนดค่ะ) การออกเยีย่ มบ้านของคนพิการนอกจากจะเข้าใจ เห็นใจใน สภาพความเจ็บป่วยแล้ว ยังทราบสภาพการดำ�รงชีวิต วิถี ชีวิตและปัญหาของคนพิการ ที่มีจริงๆ อย่างเช่น กรณีนี้ บ้านที่ดิฉันไปเยี่ยมเป็นบ้าน 2 ชั้น ครึ่งไม้-ปูน ฐานะปาน กลาง เจ้าของบ้านเป็นคนพิการชายอายุประมาณ 50 ปี เป็นอัมพาตครึง่ ท่อนล่างมานาน 14 ปี สาเหตุเพราะตกจาก หลังคาโบสถ์ที่ไปสร้างให้วัด คนไข้ให้ประวัติว่าตกลงมา สลบค่ะ มารูต้ วั อีกทีล�ำ ตัวครึง่ ท่อนล่างก็ขยับไม่ได้ซะแล้ว จึง ต้องใช้ชวี ติ บนเตียงไม้ปรับระดับทีส่ ร้างกันเองมาอย่างยาวนาน โชคดี ค่ ะ ที่ ค นไข้ มี ภ รรยาและหลานชายช่ ว ยกั น ดูแลอย่างดี คนไข้มีกำ�ลังใจดี เนื้อตัวของคนไข้สะอาด ไม่มีกลิ่นอับของที่อยู่อาศัย วันที่ดิฉันและทีมไปเยี่ยม ได้คุยกันหลายเรื่อง คนไข้สามารถทำ�กิจวัตรประจำ�วัน 86

หลายอย่างได้เอง เช่น กินข้าว แปรงฟัน และที่สำ�คัญ ท่าดูทีวีค่ะ วันที่ไปเยี่ยมทางทีมได้แนะนำ�ให้ขยับเตียงนอนให้ คนไข้เพื่อให้ได้รับลมจากหน้าบ้านบ้าง คนไข้จะได้สดชื่น แต่ก็ติดที่ขนาดประตูเล็กกว่าขนาดของเตียง จึงแนะนำ� ให้ปรับขนาดประตูค่ะดูเหมือนจะเป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน พอคุยกันเรือ่ งฟัน คนไข้เล่าให้ฟงั ว่า “ครัง้ หนึง่ เคยปวดฟันมาก พอหายปวดได้ให้ภรรยาไปตามหมอมาถอนฟันให้ที่บ้าน” แต่อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเป็นหมอฟันนะคะ เป็นผู้ช่วยของ หมอฟันทหารค่ะ มาถอนให้ที่บ้านและฝากผลงานไว้ให้ค่ะ เนื่องจากถอนรากค้างไว้ วันที่ดิฉันไปเยี่ยมคนไข้ขอให้ดิฉัน เอารากทีค่ า้ งออกให้ และด้วยความขยันของผูช้ ว่ ยทันตแพทย์ ที่ได้เตรียมชุดถอนฟันไปด้วยทุกครั้ง ทำ�สามารถช่วยเหลือ คนไข้ได้ แต่ในปากของคนไข้ยังมีฟันที่ผุอีกดิฉันยังไม่รู้จะ ช่วยเหลือคนไข้ได้อย่างไรเลยค่ะ เนือ่ งจากมีปญ ั หาเรือ่ งการ โยกย้ายคนไข้เพราะตัวคนไข้ใหญ่มาก ขณะที่ดิฉันเขียน เรื่องเล่านี้ทราบว่านํ้าได้ท่วมบ้านคนไข้แล้วต้องใช้ผ้าผืน ใหญ่ทำ�เป็นเปลหามคนไข้ขึ้นไปอยู่บนเรือนค่ะ คนไข้ชื่อคุณธรรมชาติ 

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เรื่องเล่า..เล่าเรื่อง..เรา..

ชาวป่าบอน

โดย หมอปูน ทพญ.วิโรชา เพียรเจริญ รพช.ป่าบอน จ.พัทลุง

ยั

งงงว่า ป่าบอนจะมีอะไรเร้าพลังใครได้หว่าตอนนี้มีแค่ความตั้งใจดีที่จะ ทำ�งานเท่านั้นแหละ..หรือเธอเห็นสิ่งอื่นใดในเนื้องานของที่นี่ โปรดเสนอแนะมาหน่อยจิ นะๆๆๆๆๆ แต่ถา้ ถามความพอใจส่วนตัว ลองดูเพือ่ นๆร่วมเครือข่ายคนพิการด้วยกันจากพืน้ ทีต่ า่ งๆว่าใครๆเค้าทำ�อะไรกันบ้าง เราว่า เราก้อ ยังพอใจในลักษณะงานที่ทำ�อยู่นะ ทั้งเรื่องการดูแลเป็นรายบุคคล พัฒนาศักยภาพผู้ดูแล สร้างความตระหนักในชุมชน ผลักดัน และสนับสนุนองค์ความรูด้ า้ นการจัดสิง่ แวดล้อม (universal design : UD) เพือ่ การเข้าถึงบริการในฐานะองค์กรสาธารณะทีต่ อ้ งจัดให้มี รวมถึงการเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยง ไม่ว่ากลุ่มผู้สูงอายุ หรือวัยรุ่นสิงห์นักบิด งานนีเ้ ราไม่ได้ทำ�เพราะว่าเค้าต่างจากเรา เค้าควรได้รบั การช่วยเหลือ หรือเค้าเป็นกลุม่ คนทีด่ อ้ ยกว่า แต่ท�ำ เพราะเค้าและเรา ไม่เคยเข้าถึง ..อาจเพราะขาดความเข้าใจ หรือลืมไปทีจ่ ะเปิดโอกาสให้เกิดความเท่าเทียมบนความแตกต่างเหล่านัน้ เท่านัน้ เอง... ทีเ่ รามุง่ ไป พร้อมๆกับอาจต้องผ่านอุปสรรคและมีความท้าทายในการเข้าถึง ซึง่ ก็คงไม่ตา่ งไปจากคนกลุม่ อืน่ ๆมากนัก นึกถึงครัง้ แรก ทีต่ อ้ งเข้าไปทำ�งานในโรงเรียนปอเนาะ..โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ทีเ่ ราเคยจินตนาการว่าเป็นแดนสนธยานัน่ ไง เพียงแต่ในฐานะ หัวหน้าต้องยอมลดระดับความคาดหวังลงอีกนิด หมายถึง จริงๆ ตัง้ ใจจะให้งานไปไกลกว่านีอ้ กี หน่อยแต่มนั กระเถิบๆๆ อยูน่ นั่ แล้ว คงด้วยเป็นสิ่งใหม่สำ�หรับพวกเรา ปี 55 นี้เริ่มต้นปีงบด้วยการทำ�แผนๆๆๆและก็แผน แต่พอ วิเคราะห์ซํ้าๆก็เริ่มเห็นว่า เราอาจต้องเน้นที่พัฒนาทักษะ ทีมงานเรา กับสร้างทักษะและความตระหนักให้เกิดขึน้ ในเครือข่าย คนพิการและผู้ดูแลในพื้นที่ เพื่อให้เครือข่ายเดินงานในชุมชน แทนเรา เพราะเชื่อมั่นในความเป็น “พื้นที่ของเขาเอง” ว่าเขา ต้องรู้จักและรักมันมากกว่าใครๆรวมทั้งคนที่สวมเครื่องแบบ เจ้าหน้าทีอ่ ย่างเรา หลังจากนัน้ ทันตบุคลากรของป่าบอนจะถอย ออกมา ปฏิบัติงานวิชาชีพบริการอย่างที่ควรจะเป็นและควรจะทำ� เพราะงานชุมชนและการดูแล เค้าและเครือข่ายสามารถทำ�ได้ ด้วยต้นทุนเดิมที่เค้ามีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ส่วนเราจะคอย support professional care ให้ ช่วยหน่อยจิ...มองจากที่ไกลๆตรงนั้น เห็นอะไรตรงนี้บ้าง...^ ^ 

“จริงๆแล้วความพิการไม่ใช่อุปสรรค แต่อุปสรรคคือการไม่มีสิ่งอำ�นวยความสะดวกมารองรับ ทำ�ให้คนพิการขาดโอกาสในการใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปในสังคม” Credit : คุณสุรีพร ยุพา จนท.ประสานงานโครงการ ประจำ�สำ�นักงานองค์การคนพิการสากล ประจำ�ภูมิภาคเอชียแปซิฟิก 87

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


การเคลือบฟลูออไรด์คนพิการ รพสต.สะเนียน อ.เมือง จ.น่าน เรื่องเล่าและภาพ โดย คุณ สิทธิพงศ์ อุปจักร์ รพสต.สะเนียน อ.เมือง จ.น่าน

รับ..สำ�หรับงานส่งเสริมสุขภาพคนพิการของ พื้นที่ถือว่าเป็นงานใหม่ของงานทันตฯ ซึ่งจริงๆแล้วคน พิการกับเราก็อยู่มาด้วยกันตลอด เคยคุยกัน เคยเล่น ด้วยกัน เลยสนิทคุ้นเคยกัน เคยซื้อหวยจากเขา เห็น เขามีความสุขดี แต่ไม่เคยถามว่าเขาเป็นอย่างไรบ้างใน การดำ�เนินชีวิต ผมมาทำ�งานในพืน้ ทีป่ จั จุบนั เป็นเวลา 3ปี แล้วครับ รับ ผิดชอบงานทันตสาธารณสุขทัง้ ตำ�บลประชากร 12,000 กว่าๆ รับผิดชอบงานระบาดวิทยา รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้ บริโภคด้านสาธารณสุข รู้จักอสม. แทบทุกคน เห็นคนพิการแล้วสงสารหลายคนพาไปส่งเป็นคนไข้ ราชานุเคราะห์เพือ่ วางแผนการรักษา บางคนไปรักษาหาย บางคนไม่ไปรักษา บางคนมีปัญหาในการเดินทางเพราะ ไม่มีค่ารถไปรักษาใน รพ.ในตัวเมืองน่าน (ค่ารถที่ทาง เจ้าหน้าที่เอาให้ครั้งละประมาณ 500 บาท กว่าจะถึงวัน นัดทางครอบครัวเอาไปใช้หมดซะแล้ว ) ..สำ�หรับน้องคนนี้ชื่อเด็กชายสิริ มาชมพู อายุ 5 ปี ฟันแท้ยังไม่ขึ้นเลย ฟันน้ำ�นมขึ้นครบ 20 ซี่ บางซี่เริ่มผุ ระยะที่ 1 ได้รบั การเคลือบฟลูออไรด์/สอนการแปรงฟันทีถ่ กู วิธใี ห้ตาและยาย การเลือกรับประทานอาหารทีม่ ปี ระโยชน์ แก่หลาน ตาเป็น อสม.เป็นคนดูแลคนพิการด้วยเข้าออกสถานีอนามัยเป็นประจำ� บิดา มารดา แยกกัน น้องเขาเกิดมาในขณะที่ผู้ให้กำ�เนิดอยู่ในช่วงวัยเรียน น้องเขาคลอดมาผิดปกติแต่กำ�เนิดเด็กหัวโต วันที่มาเคลือบฟลูออไรด์รู้สึกว่าเขาชอบกับการได้มีคนอื่นแปรงฟันให้ ให้ความร่วมมือดี  88

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


แสงที่ลอดผ่านผนังไม้ไผ่ ทันตาภิบาล กรติกา ปันไชย (แอม) โรงพยาบาลเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

ก่

อ นหน้ า นี้ ฉั น ก็ เ ป็ น คนหนึ่ ง ที่ รู้ สึ ก ว่ า ผู้ พิ ก าร เป็นคนที่น่าสงสาร ต้องการความช่วยเหลือจากสังคม พึ่งพา ตัวเองไม่ได้ เป็นคนมีกรรม ที่เกิดมามีร่างกายไม่ปกติ โอกาส ต่างๆที่ผู้พิการได้รับนั้นจึงด้อยกว่าคนปกติทั่วไป จนกระทั่ง วันหนึ่งได้เข้าร่วมในโครงการดูแลทันตสุขภาพผู้พิการกับ คุณหมอมณฑลิกานต์ หัวหน้าฝ่ายทันตกรรม ซึ่งเป็นโครงการ ที่ออกตรวจสุขภาพ ช่องปาก เยี่ยมบ้าน ออกไปพบปะ พูดคุยให้เกิดความคุ้นเคย ซึ่งผู้ปกครองเองให้ความสนใจ ในสิ่งที่คุณหมอแนะนำ�เป็นอย่างดี เหตุผลหนึ่งคงเป็น เพราะหน้าตาที่น่ารักและเป็นมิตรของทั้งคุณหมอ น้อง ทันตาภิบาลและพี่ผู้ช่วย งานของเราไม่ใช่แค่การออกไป ตรวจแล้วบันทึกผลเท่านั้น พวกเรายังออกไปเห็นวิถีจริง ของชีวิตผู้พิการและครอบครัว ซึ่งเรื่องราวของเด็กพิการ คนหนึ่งที่ทำ�ให้เราเรียนรู้ถึงคุณค่าของเวลาและการมีชีวิต อยู่ บ่ายวันพฤหัสบดีอันร้อนระอุ ผู้คนใช้ชีวิตอย่างรีบเร่ง เปี่ยมด้วยความหวังและเป้าหมายในชีวิต พวกเราเอง ก็เช่นกัน จุดหมายในวันนี้คือหมู่บ้ านชาวเขาแห่งหนึ่ง สภาพหมู่บ้านร่มรื่นโอบล้อมไปด้วยภูเขาเขียวขจี บ้าน แต่ ล ะหลั ง ตอนรั บ และให้ ค วามร่ ว มมื อ ในการตรวจ เป็นอย่างดีเนื่องจากมีหลายชนเผ่าหลายภาษา เราจึง ฝึกพูดได้เป็นบางคำ� สำ�เนียงอาจแปลกๆน่าขันไปบ้างก็ พอเดากั น ไป ทำ � ให้ ง านทุ ก อย่ า งเป็ น ไปอย่ า งราบรื่ น จนกระทั่ ง เราเดิ น ตามเจ้ า หน้ า ที่ รพ.สต.ไปเยี่ ย มบ้ า น หลังหนึ่ง ซึ่งเป็นบ้านไม้หลังเล็กๆ ไม้ไผ่ ผ่าซีกสานเก่าๆ บ่งบอกกาลเวลาที่ผ่านมาลมฝนลมหนาวมาอย่างยาวนาน มุงหลังคาด้วยใบไม้แห้งกรอบ ภาพที่เห็นทำ�ให้รู้สึกห่างไกล คำ�ว่าบ้านที่เรารู้จัก เมื่อเรียกหาผู้ที่อยู่ภายใน เราได้รับความ 89

เงี ย บงั น เป็ น คำ � ตอบ เราจึ ง ตั ด สิ น ใจกลั บ แต่ ร ะหว่ า ง ทางเราได้พบหญิงชราที่เป็นเพื่อนบ้านเดินเข้ามาทักทาย และบอกกั บ เราว่ า มี ค นอยู่ ใ นบ้ า น อาสาพาไปเยี่ ย ม นาทีนั้นเราก็ไม่ได้คิดหรือสงสัยอะไร ได้แต่เดินตามหญิงชรา ผู้นี้ไป การเดินลัดเลาะหมู่บ้านที่มีภูมิประเทศสูงชัน หนทาง อาจไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่ด้วยศรัทธาและหน้าที่ของมนุษย์ ที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ดูแลสุขภาพของประชาชน ย่อมเปี่ยมไป ด้วยพลังที่จะก้าวไปสู่จุดหมาย เมื่อเดินมาถึงหญิงชรา เปิดประตูกว้าง แสงสว่างจ้าสาดส่องเข้าไปในบ้าน ภาพแรก ที่ปรากฎตรงหน้าคือ เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่มีร่างกาย แขน ขาลี บ นอนขยั บ ไปมาไม่ พู ด จา อยู่ บ นเสื่ อ ผื น บางๆ ที่

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ภายใต้ นั้ น มี ท่ อ นไม้ เ ล็ ก ๆหนุ น หลั ง ไม่ ใ ห้ ก ลิ้ ง เกลื อ กไปยั ง พื้ น ดิ น อาหารและ นํ้าวางอยู่ มีพัดลมหมุนวนพอให้คลายความร้อน ผ้าห่มเก่าๆขาดรุ่ยกองอยู่ข้างกาย เพียงลำ�พัง แสงสว่างที่ลอดจากซีกไม้ไผ่ของผนังบ้าน ดุจดั่งโอกาสและความหวัง ที่ส่องมายังเด็กหญิง ที่เขาไม่อาจไขว่คว้าไว้ได้ ทำ�ได้เพียงรอคอยให้แสงสาดส่องเข้ามา ถึ ง ตั ว ได้ บ างเวลา ด้ ว ยแสงนี้ เ องอาจทำ � ให้ เ ธอรั บ รู้ ว่ า เวลานี้ คื อ กลางวั น เวลา ที่พ่อและแม่จำ�เป็นต้องออกไปทำ�งาน เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว และสิ่งที่เราอดสงสัย ไม่ได้คือ เด็กจะกินข้าวยังไง? เข้าห้องนํ้ายังไง? แล้วทำ�ไมถึงไม่มีคนดูแล? มีคำ�ถาม ในใจฉันมากมายและอาจจะเป็นคำ�ถามที่เด็กหญิงคนนี้สงสัยอยู่ก็เป็นได้ แต่ด้วยจำ�เป็น ที่ต้องยอมรับชะตาชีวิตที่เกิดมาบนความยากลำ�บาก จึงจำ�เป็นจะต้องทิ้งลูกไว้ที่บ้านเพื่อ เป็นที่หลบแดดฝน ในวั น นั้ น พวกเราจึ ง ขอเป็ น เพี ย งแสงที่ ล อดผ่ า นซี ก ไม้ ไ ผ่ เ ข้ า ไปหาเด็ ก น้ อ ย ความอบอุ่นเล็กๆก็อาจทำ�ให้เธอรู้สึกว่าไม่ได้อยู่เพียงลำ�พังบนโลกเบี้ยวๆใบนี้ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ทำ�ให้พวกเราสะเทือนใจไม่น้อย คือพื้นของบ้านไม่ได้ปูด้วยแผ่นไม้หรือกระเบื้อง แต่อย่างใด เป็นเพียงแผ่นดินที่พวกเราเหยียบย่ำ�กันทั่วไป แผ่นดินขรุขระ ก้อนดินก้อนเล็กกระจัดกระจาย ภายในบ้านเต็มไปด้วยรอยเท้าของผู้เป็นพ่อและแม่ เมื่อมองไปโดยรอบ จะเห็นข้าวของ เครื่องใช้กองกันอยู่ สิ่งหนึ่งในนั้นทำ�ใจฉันรู้สึกถึงความรัก ความเอาใจใส่ต่อลูก คือรถเข็สำ�หรับเด็กพร้อมกับร่มสีสดใสวางคู่กัน ซึ่งนั่นคงเป็นความสุขเล็กๆที่จะพาเด็กหญิงออกไปสัมผัสโลกภายนอกห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆที่เรียกว่าบ้านคงเป็นทั้งห้องรับแขก ห้องนอน ห้องครัวของพวกเขา แต่แม้คนทั่วไปรวมถึงพวกเราเองมองว่าอาจอยู่ได้ไม่สบายนัก แต่นี่ก็ทำ�ให้พวกเขาได้พังพิง และอบอุ่นภายใต้ชายคาที่ผุพัง หญิงชราตอบข้อสงสัยคลายความกังวลของพวกเราได้เล็กน้อย เมื่อเขาบอกว่าจะคอยมาดู ให้เป็นระยะ หรือเมื่อถึงเวลากินข้าว ที่เหลือก็ปล่อยให้นอนอยู่เพียงลำ�พัง รอคอยแสงสว่างที่พ่อและแม่ที่จะเปิดเข้ามาเมื่อเสร็จ จากงาน หลังจากทีท่ กุ คนเงียบไปสักพัก คงเป็นเพราะพิจารณาคุณค่าของชีวติ ในใจของตัวเอง คุณหมอและพวกเราก็ชว่ ยกันประคองน้อง ด้วยความระมัดระวังเพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก พบว่ามีฟันผุและเหงือกอักเสบ จึงได้ให้ใบนัดกับเจ้าหน้าที่ เพื่อนัดหมาย กับผู้ปกครองในการพาไปรักษาต่อไป หลังจากที่พวกเรากลับมาใช้ชีวิตและทำ�งานตามปกติได้ไม่นาน วันนัดของผู้พิการก็มาถึง พี่ผู้ช่วยเตรียมเครื่องมืออย่า งครบครัน ใบนัดแรกก็มาถึงมือคุณหมอด้วยรอยยิ้มของผู้เป็นแม่ ตามมาด้วยอ้อมกอด ของพ่อที่อุ้มลูกมาตามนัดหมาย นั่นคือการถอนฟันและขูดหินปูนให้“คนพิเศษ” รอยยิ้มของทุกคนในฝ่ายและคนไข้ที่นั่งรอ ก็เกิดขึ้นมากมายในบ่ายวันนั้นคำ�ขอบคุณที่สองสามีภรรยากล่าวให้พวกเรา ทำ�ให้ฉันคิดทบทวนอยู่ในใจปนกับรอยยิ้มเล็กๆว่า พวกเราต่างหากที่ต้องขอบคุณทั้งคู่ที่เห็นแสงที่ส่องลอดผ่านซีกผนังไม้ไผ่ในวันนั้น ครอบครัวจึงเป็นจุดเล็กๆของสังคมที่ต้องใช้ความรักและความอดทนในการดูแล “คนพิเศษ” ผู้ที่ต้องได้รับการดูแลทั้ง ร่างกายและจิตใจเป็นอย่างดี ทั้งนี้ไม่ใช่แค่ครอบครัวที่จะเป็นแรงพลักดันในชีวิตให้พวกเขาก้าวเดินในสังคมอย่างเท่าเทียม สังคมเองก็ต้องให้โอกาสและมองเห็นศักยภาพในครอบครัวและตัวผู้พิการ มีคำ�กล่าวจากผู้พิการท่านหนึ่งว่า “คงไม่แปลกอะไรที่ความสำ�เร็จในชีวิต จะเป็นหมุดหมายหนึ่งของหนุ่มสาวที่มี ร่างกายปกติ แต่สำ�หรับผู้พิการแล้วนั้น เส้นทางนี้คงไม่ต่างอะไรกับการว่ายนํ้าข้ามมหาสมุทร ท่ามกลางมรสุมใหญ่ที่โหมกระหน่ำ� ที่ต้องใช้พละกำ�ลังทั้งหมดรวมทั้งกำ�ลังใจจากครอบครัว พาตัวเองข้ามไปให้ได้” พวกเราเองเป็นทันตบุคลากรที่เปรียบตัวเองเป็นแสงสว่างเล็กๆ ขอขอบคุณผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่ช่วยกันนำ� กำ�ลังแรงกายและใจทำ�งานเพื่อให้เกิดแสงสว่างในหัวใจของ “ คนพิเศษ” ทุกคน  90

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


น ั ฉ อ ่ ื พ เ อ ธ เ ื อ ่ เพ สู่กันและกัน โดย ผู้ช่วยทันตแพทย์ แสงนาง แสงงาม : รพช.เวียงแก่น

ปี

พ.ศ. 2544 เป็นปีแรกที่ได้ก้าวเข้ามาทำ�งานที่โรงพยาบาล เวียงแก่นในตำ�แหน่ง พนักงานทำ�ความสะอาดและเข้าเป็นสมาชิกใน ทีมงานทันตสาธารณสุขในตำ�แหน่ง ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานผู้ช่วย ทันตกรรม ในปีพ.ศ. 2546 ต่อมาได้เข้ารับศึกษาต่อหลักสูตร ประกาศนียบัตร ผู้ช่วยทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นระยะเวลา 1 ปี ด้วยทุน ส่ วนตัว ภายหลังจากจบการศึกษาก็กลับมาพัฒนางาน ช่วยงานใน ฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลเวียงแก่นซึ่งเป็นพื้นที่บ้านเกิดเมืองนอน และในปีพ.ศ. 2553 ได้รับโอกาส และความไว้วางใจจากหัวหน้าฝ่าย ทันตสาธารณสุข และเพื่อนๆ ในทีมงานอีกครั้ง ด้วยการเข้าร่วมอบรม หลักสูตร “ผูช้ ว่ ยทันตแพทย์เพือ่ เด็กบกพร่องทางสติปญ ั ญา” เป็นระยะเวลา 5 วัน จากสถาบันราชานุกุล กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันเสริมสร้างสุขภาพผู้พิการ (สสพ.) ครัง้ แรกทีไ่ ด้ไปออกเยีย่ มบ้านก็กลัวเพราะเราไม่ใช่หมอและไม่เคยออก เลย และต่อมาพอได้ไปออกกับทีมโดยเป็นตัวแทนห้องฟันคนเดียวก็มนั่ ใจขึน้ ก่อนวันออกเยี่ยมบ้านแต่ละครั้ง 1 วัน พยาบาลวิชาชีพ และหรือวิชาชีพ อืน่ ช่วยกันทำ�การประสานงานกับคุณหมออนามัย และทีมงานในพืน้ ทีแ่ ต่ละ สถานีอนามัย เพื่อเตรียมข้อมูลผู้ป่วย พื้นที่ที่ลงเยี่ยม รู้สึกดีที่ได้ช่วยในทีมพูดคุยภาษาไทลื้อ ได้ เช่นในกรณีของ เด็กชายวัย 9 ขวบ บ้านปางหัด ต.ปอ สมองพิการแต่กำ�เนิดลุกเดินไม่ได้ได้แต่นอนกับนั่งบนรถเข็น อาศัยอยู่กับ ยายสองคน พ่อ-แม่ ทำ�งานอยู่ต่างจังหวัด ไม่เคยมาโรงพยาบาล เพราะยายเขาบอกพามาไม่ได้ เพราะไม่มีรถยนต์ ถ้าเอามอเตอร์ไซค์มาก็ต้องช่วยกันสองคนลำ�บากมาก ก็ความเป็น “คนใน” ชาวไทลื้อด้วยกันทำ�ให้การสื่อสารระหว่างญาติของผู้ป่วยดีขึ้น เข้าใจกัน มั่นอกมั่นใจใน กันและกัน บวกกับ ผ่านการอบรมความรูเ้ รือ่ งการช่วยเหลือผูม้ คี วามบกพร่องทางสมองมา ส่งผลทำ�ให้มคี วามมัน่ ใจ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ คำ�แนะนำ�ในการให้ทันตสุขศึกษา ตรวจฟัน สอนแปรงฟัน สอนดูแลเรื่องการสุขภาพปากและฟัน และยัง ได้ช่วยสอนผู้ดูแล ผู้พิการ เด็กบกพร่องทางสมอง เหยียดขา นวดขา นวดแขน บริหารร่างกาย สอนท่ากายภาพบำ�บัด ในกระเป๋าเยี่ยมบ้านคู่ใน จะมีอุปกรณ์แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สื่อทันตสุขศึกษา ชุดตรวจฟัน แปรงสีฟันเด็กพิการ หนังสือคู่มือ ทันตกรรม ด้ามแปรงสีฟันของเด็กผู้พิการ โดยได้นำ�ความรู้ที่เคยไปอบรมที่ราชานุกูลมาบอกพ่ออุ๊ย* ทำ�ให้ เป็นสิ่งที่ภูมิใจมาก “เด็กบางคนชอบ ผู้ใหญ่ก็ชอบ อย่างนางสาว..นี้ชอบมากเลย แปรงใหญ่เลย แปรงไปยิ้มไป เล่นไป พ่อ แม่ของน้องก็ยิ้ม น่ารักกันดี เขาดูแลกันดีนะ เขาบอกว่าไม่ค่อยได้ทำ�ให้บ่อย อย่างมากก็แค่ถูๆ ให้ แต่ตอนนี้น้องจะได้แปรงฟันเองได้แล้ว”  *พ่ออุย๊ คุณพ่อของพีแ่ สงนางเป็นหมอเมืองล้านนา หมอสูข่ วัญ มีความเชีย่ วชาญด้านตัวอักษรล้านนา มีความสามารถทางด้านจักสาน เป็นผู้สูงอายุที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านคนหนี่งของอำ�เภอเวียงแก่น 91

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ความประทั บ ใจจากการทำ�งานเครื อ ข่ า ย เลา่ เร่อื ง ทันตสุขภาพคนพิการโดยชุมชน โดย ชุมชนเครือข่ายอำ�เภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

วัสดีค่ะ ถ้าหากเราจะพูดถึงการทำ�งานทันตสุขภาพของ คนพิ ก ารจริ ง ๆแล้ ว นั้ น หากว่ า จะทำ � กั น แต่ ทั น ตบุ ค ลากรใน ห้ อ งทั น ตกรรมแล้ ว คงจะเป็ นไปได้ ย าก เพราะมี ขี ด จำ � กั ด หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาพภูมิประเทศในการเดิน ทางมารับบริการทันตกรรม, อุปสรรคในด้านร่างกายเนื่องจาก ความพิ ก ารทำ �ให้ ก ารเข้ า ถึ ง การรั บ บริ ก ารทั น ตกรรมได้ ย าก ลำ � บาก เป็ น ต้ น สิ่ ง เหล่ า นี้ ทำ �ให้ เ กิ ด การรวมตั ว กั น ของ เครื อ ข่ า ยสายงานที่ ห ลากหลาย เพื่ อ ช่ ว ยกั น ผลั ก ดั น งาน ทันตสุขภาพคนพิการโดยที่มีชุมชนมีส่วนร่วม เกิดเป็นภาคี เครือข่ายทันตสุขภาพของอำ�เภอทุ่งช้างเกิดขึ้นเพื่อทำ�งานร่วม กัน โดยมีหัวใจหลัก คือ ทำ�งานเพื่อคนพิการ โดยที่ชุมชน ที่คนพิการอาศัยอยู่มีส่วนร่วมในการดูแล ที่สำ�คัญคือ คนใน ครอบครั ว ก็ มี ส่ ว นได้ ดู แ ลทั น ตสุ ข ภาพคนพิ ก ารด้ ว ย เพราะ คนพิการก็เป็นหนึ่งในสังคมและต้องการรับโอกาสด้วยเช่นกัน เราได้ เ ชิ ญ วิ ท ยาการมื อ อาชี พ จากศู น ย์ การดำ�รงชีวิตอิสระของคนพิการ กทม. มาช่วย เราสร้างทัศนคติที่ดีกันคนพิการมากยิ่งขึ้น ครั้งนี้ ซึ่งมีตำ�แหน่งเป็นถึงผู้อำ�นวยการศูนย์ ที่น่าสนใจ มากก็คือ วิทยากรเป็นคนพิการเดินไม่ได้ มือก็ ใช้ได้ไม่ถนัดนัก ไปไหนมาไหนด้วยวีลแชร์ตลอด เวลา วิทยากรชื่อ คุณณธกมล รุ่งทิม หรือคุณเอิร์ธ ได้มาเล่าเรื่องราวชีวิตของเธอ ความอดทนและ ตัง้ ใจของเธอ ทำ�ให้อดทึง่ และชืน่ ชมเธอไม่ได้ เพราะ เธอเรียนรู้และพูดภาษาอังกฤษเอง ขนาดคนปกติ บางคนยังพูดและเขียนได้แบบงูๆปลาๆเลย 92

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ที่อำ�เภอทุ่งช้างได้จัดตั้งชมรมผู้พิการแล้ว โดยแรงทั้งผลักและดัน ของคุณผกาพรรณ์ จอมเมือง หรือพี่เอื้อง พยาบาลวิชาชีพ จากกลุ่ม งานเวชปฏิบตั คิ รอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลทุง่ ช้าง (เสือ้ สีฟา้ ซ้ายมือ) เป็นทัง้ ผูใ้ ห้ค�ำ แนะนำ� คำ�ปรึกษา ซ้�ำ ยังคอยช่วยเหลือในการประสานงาน กับประธานชมรมผู้พิการ , คุณครู ,ผู้นำ�องค์กรท้องถิ่น ผลักดันให้มีการ รวมกลุม่ กันของสมาชิกชมรมผูพ้ กิ ารในวันพฤหัสบดีแรกของทุกเดือน เพือ่ รวมกลุ่มกันทำ�อาชีพ ได้แก่ การทำ�ที่รองเขียง พรมเช็ดเท้า ถักไม้กวาด เป็นต้น ซึง่ ฝ่ายทันตกรรมก็ได้ถอื โอกาสนีต้ รวจฟันและให้ความรูท้ างทันต สุขภาพแก่คนพิการในชมรมด้วย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี มี การพูดคุย เฮฮากันในกลุ่ม เหมือนกับว่า พวกเขาได้รวมกัน ได้มีโอกาส คุยกัน ถามสารทุกข์สุกดิบ เข้าอกเข้าใจกัน โดยมีการทำ�กิจกรรมร่มกัน เห็นแล้วก็รู้สึกดีใจที่มีชมรมนี้ขึ้นมา เพราะอย่างน้อยคนพิการก็จะไม่ได้ รูส้ กึ เดียวดาย แถมยังได้มอี าชีพ หารายได้เลีย้ งตนเอง ไม่ตอ้ งพึง่ พึงคนอืน่ แล้วก็ยังมีนักกายภาพคนสวย นางสาวปวีณา เสนนันตา หรือพี่ แพท ที่ออกเยี่ยมบ้านคนพิการทุกๆวันพฤหัส – ศุกร์ เพื่อทำ�การฝึกทำ� กายภาพบำ�บัดและสอนผู้ดูแลคนพิการให้ดูแลและทำ�กายภาพบำ�บัดแก่ คนพิการ โดยมีฝ่ายทันตกรรมของเราออกตรวจฟันด้วย เพราะเราต่างมี จุดประสงค์เดียวกันคือ สุขภาพที่ดีของคนพิการไม่ว่าจะเป็นด้านไหนๆ เห็นแววตาพี่แพทที่ดูจริงจังและอ่อนโยนไปในเวลาเดียวกันแล้วเวลาทำ� กายภาพและอธิบายให้คนพิการเข้าใจถึงการทำ�กายภาพแล้ว น่าชื่นชม เพราะแม้อากาศจะร้อน หรือต้องเดินทางไกลเพื่อไปหาคนไข้ที่อยู่ไกลๆ บนดอย พี่แกก็ไม่หวั่น ก็จะเดินทางไปให้ถึง ทำ�ให้ความประทับใจ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำ�เนินงานผู้พิการ ประทับใจอย่างที่สุดก็คือ ความร่วมมือร่วมใจของเครือข่ายทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลทั้ง 4 ตำ�บล ,คุณครูจากโรงเรียนเครือข่ายเด็กพิเศษ, น้องนักเรียน จากโรงเรียนมัธยมทุง่ ช้าง , ประธานชมรมผูพ้ กิ ารทัง้ ระดับตำ�บลและอำ�เภอ ,เจ้าหน้าทีโ่ รงพยาบาลทุง่ ช้าง ทีไ่ ด้ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือและทำ�งานส่งเสริมกันเป็นเครือข่ายทันตสุขภาพผู้พิการอำ�เภอทุ่งช้าง โดยมีหัวใจหลักอยู่ที่ คนพิการ เพื่อจะทำ�ให้ เขาได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อาศัยทั้งชุมชนมีส่วนร่วมดูแลและความร่วมมือของครอบครัวคนพิการเองด้วย  93

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ก้าวแรกของการทำ�งานส่งเสริม

สุขภาพช่องปากผูพ้ กิ ารจังหวัดราชบุรี โดย ทพญ.มัณฑนา ฉวรรณกุล สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี

ากการเชิญชวนของสถาบันสร้างเสริมสุขภาพ คนพิ ก าร (สสพ.) ให้ ทั น ตบุ ค ลากรราชบุ รี หั น มาดู แ ล กลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนพิการ ในการพัฒนาสุขภาพช่องปาก จากวันนั้นก็ได้พยายามชักชวนน้องๆโรงพยาบาลว่า ที่ไหนจะสนใจขอรับทุนจาก สสพ.เพื่อมาพัฒนางานด้านนี้ โดยในเบื้ อ งแรกจะให้ พ วกเราได้ ไ ปแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ กั บ จั ง หวั ด ที่ ทำ�เรื่ อ งนี้ ใ นรุ่ น 1 ซึ่ ง ราชบุ รี พ าที ม ไปร่ ว ม แลกเปลี่ยนได้ 5 แห่ง เมื่อ 29 พย.- 1 ธค. 53 แต่ ด้ ว ยภารกิ จ งานด้ า นอื่ น ๆและร่ ว มกั บ ความ ไม่ แ นใจที่ จ ะดำ�เนิ น กิ จ กรรมได้ ต ามกำ�หนดระยะเวลา ที่ต้องตกลงกับ สสพ.หรือไม่ทำ�ให้ เหลือเพียง รพ.บ้านโป่ง รพ.ปากท่อ และสสจ.ราชบุรี เท่านั้นที่ยังคงยืนยันที่จะเดิน ตามข้อกำ�หนดของทาง สสพ. ทำ�ให้สามารถที่จะจัดเวที แลกเปลี่ยนเล่าประสบการณ์การทำ�งานซึ่งเดิมตั้งใจว่า จะมีการแลกเปลี่ยนกันทุก รพ.แต่ในระยะเริ่มต้นจำ�เป็น ต้องปรับทัศนคติคนทำ�งานและผู้ที่จะต้องมีส่วนในการ ค้นหาและให้การช่วยเหลือผู้พิการได้มีทัศนคติเชิงบวก และเข้ า ใจความรู้ สึ ก นึ ก คิ ด ของกลุ่ ม คนพิ ก ารในแต่ ล ะ

94

ประเภท เป็นการเปิดมุมมองในการคำ�นึงถึงการจัดการด้าน สิ่งแวดล้อมที่จะเอื้อต่อการดำ�รงชีวิตเช่นคนปกติ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนในส่วนของสำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัดจึงเป็นบทบาทสำ�คัญในการกระตุ้นให้เกิดการดูแล สุขภาพช่องปากในกลุ่มคนพิการในแต่ละอำ�เภอ โดยคำ�นึง ถึงหลักความจริงในการดำ�รงชีวิตที่ต้องพึ่งพาตนเอง ดังนั้น การช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้จำ�เป็นต้องอาศัยทุกภาคส่วน ที่ เ กี่ ย วข้ อ งร่ ว มกั น เอื้ อ อำ�นวยและจั ด การให้ ค นพิ ก าร สามารถดำ�รงชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีโดยสามารถ ดูแลสุขภาพทั่วไปรวมถึงสุขภาพช่องปากให้อยู่ในระดับ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในการจัดเวทีครั้งนี้ได้เปลี่ยน กลุ่ ม เป้ า หมายจากทั น ตบุ ค ลากรเป็ น กลุ่ ม อาสาสมั ค ร สาธารณสุขที่สมัครเป็นอาสาสมัครรักฟันซึ่งถูกมอบภารกิจ ให้ช่วยงานทันตสาธารณสุขในชุมชน ซึ่งจะเป็นกำ�ลังสำ�คัญ ในการแนะนำ�การดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากให้ กั บ ผู้ พิ ก าร ในครอบครัวหรือชุมชนของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของโรงพยาบาลที่มีการดำ�เนินการในกลุ่มเหล่านี้ ได้มีโอกาสถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำ�งานด้านการ

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


รั ก ษาทางทั น ตกรรมซึ่ ง มี ค วามยากลำ�บากกว่ า คนปกติทั่วไป เพื่อให้สถานบริการอื่นๆเกิดการ จัดการในการรองรับเพราะต้องถือว่าทุกคนมีสิทธิ์ ในการเข้าถึงบริการเช่นกัน และจำ�เป็นอย่างยิ่ง ทีต่ อ้ งช่วยกันคิดค้นอุปกรณ์ชว่ ยเหลือเพือ่ สร้างโอกาส ในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองหรือผู้ดูแลให้ ได้อย่างสมํ่าเสมอ เพื่อเป็นการลดระดับความรุนแรง ของโรคในช่องปากและลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิด โรคทางระบบอีกด้วย

ประเมินความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับคนพิการก่อนเลย

ช่วยแปรงฟัน

ต้องตาบอดแถมแขนขาดอีกด้วย

้า แขนด้วนพยายามใช้เท

ทุกคนตั้งอกตั้งใจให้ข้อ

ประเมินความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับคนพิการก่อนเลย

สมมุติว่าแขนขาด 2 ข้าง ให้เป็นคนขาขาดหนึ่งข้าง

มูล

โฉมหน้า วิทยากรช่วยกันสร้างกระบวนการ “ลองเป็นเขาดูบ้าง” แบ่งกลุ่มและขออาสาสมัครเป็นผู้พิการ 95

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ถ่ายทอดประสบการณ์

ทพญ.เพียงเพ็ญ สุขุตมตันติ รพ.ปากท่อ ถ่ายทอดประสบการณ์ในการสัมผัสชีวิตผู้พิการ

ทพญ.สุรัสวดี เมธาบดี รพ.บ้านโป่ง นำ�เสนอโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการของอำ�เภอบ้านโป่ง และเล่าประสบการณ์ในการจัดบริการทันตกรรมสำ�หรับคนกลุ่มนี้

อุปกรณ์ที่เอื้อต่อคนพิการ ในการทำ�ความสะอาดช่องปาก

96

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


เสียงสะท้อนคนทำ�งาน ในการทำ�งานในกลุ่มเป้าหมายคนพิการ จะเป็นกลุ่มที่เข้าถึงได้ยากเพราะไม่อยู่ในกลุ่ม เป้าหมายหลักในการดำ�เนินงาน และต้องอาศัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนในการสนับสนุน และช่วยเหลือผู้พิการตามภาระกิจหลัก ทำ�ให้ เป็นความยากลำ�บากของทันตบุคลากรที่จะไป บริ ห ารจั ด การได้ ต ามลำ�พั ง ในขณะที่ ปั ญ หา ทันตสุขภาพมีในทุกกลุ่มวัย การดำ�เนินงานด้าน ทันตสาธารณสุขจึงต้องดำ�เนินการในทุกกลุ่มวัย กลุ่ ม คนพิ ก ารเป็ น บุ ค คลที่ อ ยู่ ใ นกลุ่ ม วั ย ต่ า งๆ ที่ จ ะต้ อ งได้ รั บ การดู แ ลและส่ ง เสริ ม ป้ อ งกั น ทั น ตสุ ข ภาพเช่ น กั น แต่ อ ยู่ ใ นสภาวะที่ ย าก ลำ�บากในการดูแลตนเอง แต่ด้วยข้อจำ�กัดของ อัตรากำ�ลังทันตบุคคลากรที่มีอยู่ปัจจุบันยังไม่สามารถ จัดบริการได้คลอบคลุม ดังนั้นบุคคลรอบข้างต้องมีส่วน ช่ ว ยในการจั ด การปั ญ หาให้ ผู้ พิ ก ารสามารถช่ ว ยเหลื อ ตนเองได้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพจึงเป็น สิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการดำ�เนินการควบคู่กันไป ซึ่งยัง คงเป็นปัญหาในการจัดการเชิงระบบ ในการดำ�เนินงาน ระยะแรกจำ�เป็ น ต้ อ งอาศั ย ความตระหนั ก ของทั น ต บุ ค ลากรในแต่ ล ะพื้ น ที่ ที่ จ ะเป็ น ผู้ ขั บ เคลื่ อ นและ ประสานงานกับหน่วยอื่นที่รับผิดชอบในการดูแลกลุ่ม เป้าหมายนี้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพแต่เนื่องจาก เป็นปีแรกที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำ�หนดตัวชี้วัดผลผลิต ในการดำ�เนินงานทันตสาธารณสุขในกลุ่มเป้าหมายหลัก เน้นให้นักเรียนชั้น ป.1 ได้รับการบริการทันตกรรมผสม ผสานอย่างสมบูรณ์ (complete treatment) ไม่น้อย กว่าร้อยละ 20 ของเด็ก ป. 1 ที่ได้รับการตรวจสุขภาพ ช่ อ งปาก และเพิ่ ม การดำ�เนิ น การให้ บ ริ ก ารในกลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ ทั้ ง ในส่ ว นโครงการฟั น เที ย มพระราชทานและ โครงการเร่ ง รั ด ฝั ง รากฟั น เที ย ม ทำ�ให้ ไ ม่ ส ามารถให้ ทุกหน่วยบริการจัดทำ�โครงการในกลุ่มเป้าหมายคนพิการได้ 97

ทุกแห่ง เนื่องจากข้อจำ�กัดของระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะ ดังนั้นก่อนที่จะมุ่งการจัดบริการทันตกรรมให้กับ กลุ่ ม ผู้ พิ ก าร จำ�เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะต้ อ งเข้ า ไปสั ม ผั ส ชี วิ ต ของผู้พิการเพื่อวางแผนและศึกษาความเป็นไปได้ พร้อม หาแนวทางในการดำ�เนิ น งานที่ ถู ก ต้ อ งและเหมาะสม ต่อไป 

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


โครงการ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

“สุขภาพช่องปาก”

คนพิการทุกประเภทจังหวัดเชียงราย โดย ทพญ.รพินท์ อบสุวรรณ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย จ.เชียงราย

ป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายเครือข่ายและพัฒนาต้นแบบ การบริการทันตสุขภาพสำ�หรับกลุ่มคนพิการในระดับ ปฐมภูมิ สร้างองค์ความรู้ผ่านเวทีเรียนรู้ จัดการความรู้ เรือ่ งการส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุม่ คนพิการ สือ่ สารสร้าง ความตระหนักถึง “ทันตสุขภาพในกลุ่มคนพิการ” ในเครือ ข่ายทันตบุคลากร พัฒนากลไกการเข้าถึงบริการทันตสุขภาพ ของกลุม่ คนพิการทุกประเภท ทุกวัย และพัฒนาข้อเสนอเชิง นโยบายด้านทันตสุขภาพเสนอระยะเวลาในการทำ�งาน 1 ปี (ต.ค.53-ก.ย.54) โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ครั้ง/ปี จำ�นวนผู้เข้ารับการอบรม 30 คน และออกนิเทศ กลุ่มทันตบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในแต่ละอำ�เภอที่เข้าร่วม

98

โครงการ พร้อมมอบวัสดุอุปกรณ์เพื่อเป็นกำ �ลังใจให้ ผูป้ ฏิบตั งิ านจำ�นวน 9 อำ�เภอ อำ�เภอละ 5 คน รวม 45 คน ผลจากการทำ�โครงการฯโดยผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้แก่ การ มี Cup ที่สมัครใจ เข้าเครือข่าย สามารถพัฒนาเป็นต้นแบบได้ 9 อำ�เภอ จาก 18 อำ�เภอ ประกอบด้วย 1. โรงพยาบาลศูนย์เชียงราย ประชานุเคราะห์ 8 โรงพยาบาลชุมชน และ 2 โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำ�บล ทัง้ 18 Cup มีการสร้างองค์ความรูโ้ ดย ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร้อยละ 100 ของทันตบุคลากร จังหวัดเชียงราย ได้รับการสื่อสารสร้างความตระหนักเรื่อง ทันตสุขภาพในกลุ่มคนพิการผ่านทุกเวทีที่มีการประชุม ทันตบุคลากรทุกระดับ มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงบริการ ตลอดจนจัดช่องทางพิเศษและการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ของโรงพยาบาลทุกระดับ ผลกระทบทำ�ให้เกิดการนำ�ภูมิปัญญาพื้นบ้านและสร้างนวัตกรรมเพื่อผู้พิการ การสร้างจิตสำ�นึก และความตระหนักในกลุม่ ทันตบุคลากร และนักศึกษาทันตแพทย์ชนั้ ปีที่ 6 ทีม่ าฝึกงานทีจ่ งั หวัดเชียงราย สร้างความสัมพันธ์ และเชือ่ มโยงการทำ�งานของทันตบุคลากรกับสหวิชาชีพ องค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท) อาสาสมัครสาธารณสุข มูลฐาน (อสม.) อาสาสมัครดูแลผูส้ งู อายุ (อผส.) ครู พระภิกษุสงฆ์ ผูพ้ กิ าร ผูด้ แู ลผูพ้ กิ ารตลอดจนสังคมข้างเคียง อันก่อให้เกิด วัฒนธรรมองค์กรที่ดีนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมในเชิงสร้างสรรค์เพื่อผู้พิการ ด้วยความคาดหวังให้เกิดความยั่งยืนที่เกิด จากภายในชุมชนต่อไป ข้าพเจ้าได้เริม่ ชักชวนน้องๆเข้าร่วมโครงการของสสพ.จากเดิมทีมเี พียง 3 อำ�เภอ (อ.เมือง เวียงป่าเป้า และเวียงแก่น) เพิม่ อีก 6 อำ�เภอ 2 รพ.สต.ได้แก่ อ.เวียงเชียงรุ้ง ป่าแดด พญาเม็งราย เชียงของ แม่ลาว แม่ฟ้าหลวง รพ.สต.แม่กรณ์ และ รพ.สต นางแล ขณะที่ข้าพเจ้าออกนิเทศการทำ�งานกองทุนทันตกรรม เยี่ยม Oral Health Promotion Team ในแต่ละโซน ออก ประเมินโรงเรียนคู่หูทันตสุขภาพ และงานอื่นๆ ข้าพเจ้าได้บูรณาการงานของ สสพ.ร่วมด้วย ทุกครั้งที่ออกปฎิบัติงาน

อ.ป่าแดด

ข้าพเจ้าได้ลง รพ.สต.ป่าแงะ และได้ร่วม พู ด คุ ย กั บ เจ้ า หน้ า ที่ ต ลอดจนถามไถ่ ก าร่ ว ม ปฏิบตั งิ านของทันตบุคลากรและ อผส.(อาสาสมัคร ดูแลผู้สูงอายุ)เพื่อแสดงความขอบคุณในการ ให้คำ�แนะนำ� ตลอดจนการอำ�นวยความสะดวก ให้ แ ก่ ค ณะทั น ตบุ ค ลากรของโรงพยาบาล ป่าแดด นอกเหนือจากยานพาหนะพร้อมคน ขับรถทีแ่ สนดี ซึง่ ทางท่านผูอ้ �ำ นวยการโรงพยาบาล ป่าแดดเป็นผู้อนุมัติการใช้รถดังกล่าวให้พวกเรา ได้ออกปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านผู้พิการ ข้าพเจ้าได้ร่วมออกปฏิบัติงานกับน้องๆด้วย ความสุขสนุกสนาน แม้แดดจะร้อนจัดสมชือ่ อำ�เภอป่าแดดก็ตาม แต่ละหลังคาเรือนยินดีตอ้ นรับ โดยมี อผส. 2 ท่านนำ�ทาง บทเรียนในวันนี้ เป็นการถ่ายทอดจิตสำ�นึกแนวทางการทำ�งานในอนาคตให้นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัย มหิดล จำ�นวน 5 คนที่มาฝึกงานที่อ.ป่าแดด ซึ่งกำ�ลังจะจบออกไปทำ�งานในไม่กี่วันข้างหน้านี้ การทำ�งานภาคสนาม ณ วันนี้ ไม่มีในตำ�ราเรียนของมหาวิทยาลัยอย่างแน่นอน หากนักศึกษาได้เริ่มเรียนรู้ ได้สัมผัสชีวิตจริงมากขึ้น ย่อมมี แนวทางคิดเพื่อวางแผนการดูแลรักษา ให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ หากได้ผนวกกับการมี แผนการรักษาที่ชัดเจน เข้าใจง่ายด้วย จะเกิดเป็นฐานข้อมูล สื่อสารกับคนไข้ ญาติ ผู้ดูแล ให้มีส่วนร่วม เข้าใจและสามารถ ปฎิบัติตามได้ ซึ่งได้แก่ การดูแลเรื่องอาหาร สิ่งแวดล้อมภายในและนอกบ้าน เพื่อมิให้เกิดอุบัติเหตุทำ�ให้เกิดความพิการ ซํ้าซ้อน การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยและอื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการคิดวางแผนและใช้เทคโนโลยีเพื่อ เชื่อมกับฐานข้อมูลบริการสุขภาพอื่นๆ ไม่แยกออกไปต่างหาก เพื่อการทำ�งานที่สอดคล้องประสานกับทีมสุขภาพอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี 99

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ข้าพเจ้าได้ตอบรับให้การสนับสนุนและอำ�นวยความสะดวก อย่างเต็มที่ และดีใจทีน่ อ้ งได้เปิดช่องทางสูโ่ รงเรียนเด็กพิการ ซึ่งมีเด็กเป็นกลุ่มอยู่แล้ว โดยผ่านแกนนำ�นักเรียน จึงเป็น อีกรูปแบบหนึ่งของการส่งเสริมทันตสุขภาพที่น่าสนับสนุน

อ.เวียงเชียงรุ้ง

อ.เชียงของ

ข้าพเจ้าได้ออกประเมินโรงเรียนคูห่ สู ง่ เสริมทันตสุขภาพที่ อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ได้มโี อกาสพูดคุยกับหัวหน้า ฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ ท่านผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียน รองนายกอบต.ตำ�บลสถาน เรือ่ ง สุขภาพของนักเรียนและต่อเนื่องถึงเรื่องผู้พิการ ซึ่งท่าน รองนายกฯเป็นผู้กล่าวสนับสนุนอย่างมาก พร้อมเชิญชวน ให้ทันตแพทย์มาร่วมงานด้วย เพราะทางอบต.มีนโยบาย และดำ�เนินการมานานพอสมควรแล้ว ทำ�ให้ขา้ พเจ้าเห็นทาง ที่จะแนะนำ�ให้น้องสานงานต่อ จึงได้ชี้แนะคุณหมอสุเทียน (หัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.เชียงของ) ให้ด�ำ เนิน การต่อ โดยบูรณาการงานทันตกรรมร่วมกับทาง อบต. หลังจากนัน้ ทาง รพ.เชียงของ จึงได้สมัครเข้า ทำ�งานกับทางสสพ.และร่วมทำ�งานกับอบต.สถาน ต่อเนื่องเรื่อยมา โดยได้รับความร่วมมือจากทุก หน่วยงานอย่างดียิ่ง

โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ อ.เมือง

ภาพเหล่านีเ้ ป็นการปฏิบตั งิ านของ ทพญ.ภาสวรรณ กุลเศรษฐ รพศ.เชียงรายประชานุเคราะห์การจัดอบรม แกนนำ�นักเรียนทางด้านทันตสุขภาพของโรงเรียน ปัญญานุกูล โดยอาศัยสถานที่ของศูนย์ส่งเสริม ทันตสุขภาพ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย 100

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


อ.แม่ลาว ข้าพเจ้าได้ออกนิเทศงานกองทุนทันตกรรมและบูรณการงาน

ผูพ้ กิ ารให้กบั ในฝ่ายแต่ละแห่งให้เข้าใจตรงกัน และรับรูก้ ารทำ�งานของ บุคลากรในฝ่ายดียิ่งขึ้น พร้อมกับเป็นตัวแทนขอขอบคุณแทนผู้พิการ ทั้งหลายและสสพ.ที่ทันตบุคลากรของทั้ง 2 อำ�เภอนี้เป็นผู้ขับเคลื่อน งานผู้พิการด้วยความตั้งใจ ความประทับใจทีข่ า้ พเจ้าได้พบคือ ทันตบุคลากรทุกคนในแต่ละแห่ง ที่ปฎิบัติงานด้านนี้มีความสุข และเป็นความสุขที่ไม่ได้เรียกร้อง เอาจากใคร แต่พวกเรากำ�ลังช่วยกันสร้างและเติมเต็มสังคมด้วยการทำ�งาน การสอนและฝึกปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากให้ทั้งผู้พิการและผู้ดูแลเป็น สิ่งที่ควรกระทำ�อย่างยิ่ง เพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องเกิดจากการตอก ยํ้า ซํ้าๆหลายครั้งหลายหน จนเกิดเป็นสุขนิสัยติดตัวของทั้งผู้พิการและผู้ดูแล

รพ.สต.แม่กรณ์ อ.เมือง

ภาพการอบรมผูน้ �ำ นักเรียนระดับมัธยมต้น.ของรพสต.แม่กรณ์ การอบรมผูน้ �ำ นักเรียนระดับมัธยมต้นในเรือ่ งเกีย่ วกับผูพ้ กิ าร เพือ่ ช่วยให้นกั เรียนเหล่านีเ้ ข้าใจ เข้าถึงผูพ้ กิ ารมากขึน้ ผูพ้ กิ ารจะได้ไม่ถกู แปลกแยกออกจากสังคม เป็นช่องทางทีน่ า่ สนใจมาก ซืง่ เป็นแนวคิด ของคุณหมอศรินทิพย์ ปิตวิ ฒ ั น์สกุล จากกลุม่ งานทันตกรรม รพศ. เชียงรายฯ ให้กจิ กรรมนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของการช่วยขัดเกลาสังคมให้ เริม่ เข้าใจกัน หาทางหรือนำ�เสนอแนวทางทีจ่ ะช่วยเหลือเกือ้ กูลกัน เพราะความพิการคือ ความไม่สะดวก ไม่ใช่ไม่สบาย ดังนั้นสังคม ต้องร่วมหาทางบรรเทาความไม่สะดวกทัง้ หลาย เพือ่ ให้การใช้ชวี ติ ในสังคมร่วมกันตลอดจนการเดินทางที่สะดวกต่อผู้พิการมากขึ้น กระบวนการต่างๆเหล่านี้ ไม่เพียงแต่เพือ่ ตอบสนองวัตถุประสงค์ ของโครงการฯเท่านั้และน่าจะตอบสนองวัตถุประสงค์ของ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สสพ.ทั้ง 5 ข้อดังนี้ คือ 1. สร้าง (เครือข่ายผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง)ที่เข้มแข็ง ยั่งยืน 2. สร้าง/จัดการ/ความรู้ เรื่อง “ความพิการ””คนพิการ”และ “การฟื้นฟูสมรรถภาพ-สุขภาวะ”ในสังคมไทย 3. จัดกระบวนการสื่อสารสังคม เพื่อการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง 4. สนับสนุนปฎิบตั กิ ารทางสังคมเพือ่ สร้างรูปธรรม การสร้างเสริมสุขภาพผูพ้ กิ ารทัง้ ในระดับปัจเจกและระดับโครงสร้าง 5. สร้างการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของผู้พิการในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ข้าพเจ้าเชือ่ ว่า จากแรงบันดาลใจผนวกเข้าถึงความตัง้ ใจของน้องๆทุกอำ�เภอ แม้บางอำ�เภอยังไม่ได้เข้าร่วมมืออย่างจริงจังกับทาง สสพ. ก็ตาม จึงเปรียบเหมือน การยืน่ มือเพือ่ มาแตะกับเวลาในอนาคต ทีส่ งั คมไทยต้องมีทางเลือกเพิม่ ขึน้ สำ�หรับการทำ�งาน ด้านความพิการ เพือ่ ทำ�หน้าทีส่ ร้างความรู้ ความเข้าใจชุดใหม่ๆ ทีม่ ตี อ่ ความพิการและผูพ้ กิ ารอย่างสร้างสรรค์กว่าทีผ่ า่ นมา 101

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ร้อยเอ็ดรวมใจ เติมรอยยิ้มคนพิการ 2555

มื่อวันที่ 25-27 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา คณะทำ�งานของ สสพ.หลายท่าน ไปร่วมกิจกรรมโครงการ ร้อยเอ็ดรวมน้ำ�ใจ เติมรอยยิ้มคนพิการ ปี 2555 ที่จังหวัดร้อยเอ็ดค่ะ มีการจัดกิจกรรมที่แตกต่างกัน 3 วัน น่าสนใจทั้ง 3 วันเลยค่ะ ในวันที่ 25 มค 55 จัดงานที่ โรงแรมเพรชรัชต์ การ์เดน จ.ร้อยเอ็ด สถาบันสร้างเสริมสุขภาพ คนพิการ สสพ.ร่วมกับ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด จัดประชุมบรรยายทางวิชาการงานสร้างเสริม สุขภาพคนพิการ และฝึกปฏิบตั บิ รู ณะฟันคนพิการด้วยเทคนิคการอุดฟันแบบมีคณ ุ ภาพ สำ�หรับทันตบุคลากร ทุกอำ�เภอในจังหวัดร้อยเอ็ด มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 120 คน ในการบรรยายทางวิชาการและฝึกปฏิบัติ โดยคณาจารย์ผเู้ ชีย่ วชาญ กิจกรรมในช่วงเช้าเริม่ ต้นด้วย นายแพทย์ภาสกร ไชยเศรษฐ นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดร้อยเอ็ดให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน ทพญ.สุชาดา ฑีฆายุพนั ธ์ ทันตแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวรายงานการประชุม หลังจากพิธเี ปิดงานเสร็จสิน้ ผูร้ ว่ มประชุมก็ได้รบั ฟังการบรรยายจากพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด เสนอแนวคิดในการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการโดยสหวิชาชีพ จากนัน้ พีเ่ มย์ ทพญ.ภัตติมา บุรพลกุล จากสถาบันราชานุกลู คนคุน้ เคยของเราก็มาร่วมบรรยายทางวิชาการเรือ่ งการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในช่องปากคนพิการด้วย ลำ�ดับต่อไปก็ถงึ คิว Hilight ของงานในวันนีค้ อื การบรรยายทางวิชาการและฝึกปฏิบตั กิ ารที่ พีเ่ จน ตัง้ ชือ่ ให้วา่ “อุดฟันคุณภาพเพือ่ คนพิการ” เช้าฟังบรรยายโดย รศ.ทพญ.ดร.อารยา พงษ์หาญยุทธ จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.ทพ. ประทีป พันธุมวนิช จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และบ่ายก็ฝึกปฏิบัติ “อุดฟันคุณภาพเพื่อคน พิการ”ในฟันทดลองกันค่ะ ทันตบุคลากรหนุม่ สาวชาวร้อยเอ็ดให้ ความสนใจกันเป็นอย่างมาก คณาจารย์ก็สอนด้วยความเต็มใจ ให้ความรู้กันจริงๆ รออ่านฉบับหน้าพี่เจนจะเล่ารายละเอียด เรื่องนี้ให้ฟังจ้ะ แอบบบอกว่า งานนี้สำ�เร็จได้ด้วย แม่งานใหญ่ 2 ท่ า นค่ ะ คือพี่น้อย ทพญ.สุชาดา สจจ.ร้อยเอ็ด คนสวย และพี่เยา ทพญ. เยาวพา จันทร บุตร คนเก่งแห่งรพช.โพนทองค่ะ

102

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ต่อมาในวันที่ วันที่ 26 มค 55 ช่วงเช้าพวกเราชาวคณะจากสสพ.และทันตบุคลากรชาวร้อยเอ็ด ก็ อ อกหน่ ว ยทั น ตกรรมเคลื่ อ นที่ ใ ห้ บ ริ ก ารสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากคนพิ ก ารในชุ ม ชนหนองพอก ที่รพช. หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด มีเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขและสหวิชาชีพเข้าร่วมกิจกรรม 62 คน มีคนพิการ 58 คน คนพิการจะได้รับบริการอุดฟันด้วยเทคนิค “อุดฟันคุณภาพเพื่อคนพิการ” ถอนฟัน,ขูดหินปูน และสอน แปรงฟันแก่ผู้ดูแลและคนพิการ นายแพทย์สุพัชร์ศักย์ พันธุ์ศิลา ผอ.รพช.หนองพอกให้การต้อนรับ กล่าวเปิด งาน ท่านให้ความสำ�คัญดูแลการออกหน่วยด้วยตนเองค่ะ ช่วงบ่ายยังมีบางส่วนออกหน่วยทันตกรรมทำ�คนไข้ ต่อ แต่ชาวคณะกลุ่มใหญ่กว่ามากๆ เดินทางไปเยี่ยมบ้านคนพิการ และเป็นสักขีพยานในการมอบรถให้แก่คน พิการด้วยค่ะ อ๋อไม่ได้อยู่ในพิธีมอบอะไร นั่งเมาส์กับน้องๆอยู่ข้างนอกค่ะ

วันสุดท้ายของ trip นี้ คือวันที่ 27 มค 55 เป็นงานใหญ่ทสี่ ว่ นตัว ประทับใจมากๆค่ะ ขอขอบพระคุณ พีเ่ ยาวพาและทีมงานโรงพยาบาลโพนทอง ทุกท่านทีป่ ระสานงานได้อย่างยอดเยีย่ ม ทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง กับคนพิการในจังหวัดร้อยเอ็ดมาร่วมการเสวนาสหวิชาชีพเพือ่ หาแนวทาง พัฒนาระบบการดูแลสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ มีผเู้ ข้าร่วมประชุมจาก ภาคส่วนต่างๆจำ�นวน 80 คน ผูเ้ ข้าร่วมประชุมให้ความสนใจงานพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการเป็นอย่างมาก โดยมีข้อสรุปจากการเสวนาในวัน นั้นคือ นพ.ประกาศ เจริญราษฎร์ รองผู้อำ�นวยการ รพช.โพนทองรับ เป็นผูป้ ระสานงานหลักภายในจังหวัด และสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคน พิการ สสพ. จะสนับสนุนในประเด็นพัฒนาศักยภาพสหวิชาชีพในงาน สร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ และสนับสนุนการสร้างเครือข่าย สหวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการค่ะ ช่วงบ่ายชาวคณะจากสสพ.ได้ไปเยี่ยมชมตำ�บลอุ่มเม่า ตำ�บลที่ คุณหมอเยาวพา เลือกเป็นพื้นที่นำ�ร่องในการทำ�โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการกับสสพ.ค่ะ ทีมงานประทับใจมากกับการต้อนรับของท่านนายกอบต.และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทุกภาคส่วน รวมทั้งชาวบ้านในตำ�บลอุ่มเม่าทุกคน มีการนำ�เสนอผลการดำ�เนินงานเด่นจากหลายหน่วยงานระดับตำ�บล โดยเฉพาะพี่เลื่อนแกนนำ�อสพ.ผู้ที่ได้รับการฝึกสอนให้สามารถ ตรวจคัดกรองฟันคนพิการในชุมชนได้ด้วยแบบคัดกรองฟัน 4 สี เขียว เหลือง ส้ม แดง ของคุณหมอเยาวพา พี่เลื่อนนำ�เสนอได้อย่าง ฉาดฉานและมั่นใจอย่างยิ่งในการตรวจคัดกรองฟันคนพิการในชุมชน (น่าประทับใจมากๆ) คุณหมอประกาศ รองผู้อำ�นวยการรพช. โพนทอง กล่าวชื่นชมว่าคุณหมอเยาวพาสอนอสพ.ตรวจฟันได้จนเก่งกว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแล้ว หลังจากเดินชมนิทรรศการที่ชาว บ้านช่วยกันจัดไว้ ต้อนรับได้ไม่นาน พวกเราก็รีบเดินทางกลับกรุงเทพค่ะ ขอขอบคุณคุณหมอเยาวพา จันทรบุตร และทีมงานทุกคน ที่ให้การต้อนรับชาวคณะวิทยากรจากสสพ.ด้วยดี มีความประทับใจอย่างยิ่งค่ะ ติดตามข่าวสารกันต่อได้ที่ www.oha-th.com  103

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ทพญ. เพียงเพ็ญ สุขุตมตันติ รพ.ปากท่อ จ.ราชบุรี

สวัสดีจ้า อ๋อ

เมื่อวาน พี่ไปนำ�เสนองานทันตสุขภาพคนพิการที่เวทีประชุมวิชาการ ทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 1 มาค่ะคนฟังไม่เยอะ ได้พูดตอนสี่โมงเย็นเป็นคนที่ 11 จาก 14 คน คนลุกกลับบ้านไปเยอะแล้วเนื้อหาของพี่สู้หลายๆคนไม่ได้ เพราะเนื้องานยังเป็นระดับ เตรียมอนุบาลที่อื่นๆเขาทำ�กันระดับมัธยมแล้ว แต่ก็ดีใจ เพราะมีคนปรบมือให้ด้วย (ขอโม้หน่อย ว่าปรบเสียงดังที่สุดใน 14 คน..... 555 เข้าข้างตัวเอง) เลยส่งผลงานมาให้ดูจ้า (มีรูปที่แอบถ่ายอ๋อไปโชว์ให้คนอื่นรู้จักด้วยล่ะ)ไปเล่าให้เขาฟังว่า แบ่งเวลาให้เพื่อนคนพิการแล้วได้ผล เป็นความสุข (แต่กำ�ลังหาทาง จะทำ�ไงให้ต่อเนื่อง ยั่งยืน) คิดถึงอ๋อนะ จาก พี่งิ้ม

พี่งิ้มคะ ดีใจด้วยสำ�หรับความสำ�เร็จของพี่งิ้มและทุกๆท่าน ที่นำ�เสนอค่ะ ชื่นชมทุกๆท่านเสมอค่ะ ทุกท่านเก่งจริงๆ ดีใจที่คิดถึงกันนะคะ ขอบคุณมากๆที่ส่งเรื่องราวดีๆ ที่ส่ง email มาเล่าสู่กันฟังนะคะ งานสร้างเสริมทันตสุขภาพคนพิการ เป็นงานของทันตบุคลากรทุกๆคนค่ะ องค์ความรู้มีมากขึ้นแล้ว ต้นแบบก็มีหลายพื้นที่แล้ว ต่อไปคนพิการควรได้รับ การดูแลฟันกันอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้นนะคะ นึกว่าทุกๆคน จะเบื่อคนจุกจิกจู้จี้กันแล้วน๊า ^^ คิดถึงพี่งิ้มเช่นกันค่ะ จากอ๋อจ้ะ ปล.น้องคนนี้เป็นเด็กพิเศษที่หล่อที่สุด ในวันที่ไปออกหน่วยที่ รพช.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด / เสื้อส้ม น้องจิตตี้ รพช.นาหมื่น จ้ะ  104

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ที่มา ทันตสุขภาพคนพิการ ราวเกือบ 3 ปี ที่แล้ ว คุณหมอวัชรา ริ ้วไพบูลย์ ผู้อานวยการสร้ างเสริมสุขภาพคนพิการ สสพ.ที่ได้ รับการสนับสนุนจาก สสส. ขอให้ ผมช่วยหาทีมงานรุ่นใหม่เข้ าไปช่วยบุกเบิกงานสุขภาพคนพิการ ซึง่ ยังมีอีกหลายด้ านที่คนพิการจานวนมากเข้ าไม่ถงึ เป็ นช่วงจังหวะเดียวกับที่น้องทันตแพทย์ คนหนึง่ ที่ร่วมทางานทันต’ภูธรมาอย่างเข้ มแข็ง เข้ ามาปรึกษาว่า กาลังคิดว่าจะไปเรี ยน ต่อเพื่อหาความรู้ -ดูโลกกว้ าง เผื่อจะเห็นทางเลือกของชีวิตมากขึ ้น ...หวนนึกถึงครั ้งนั ้นแล้ ว ก็ให้ ระลึกถึงคาว่า “ธรรมะจัดสรร” ที่คณ ุ แม่ชีศนั สนีย์เคยพูดอยู่เสมอๆ คือเมื่อมีคนตั ้งใจทาดีโคจรมาพบกัน มักจะมีเหตุให้ ได้ ทางานส่งเสริมกันและกัน กระทัง่ ได้ ผลสาเร็ จที่ยิ่งใหญ่ ... คุณหมอนิธิมา เป็ นน้ องทันตแพทย์คนนั ้น ที่ธรรมมะจัดสรรให้ เข้ ามาใช้ พลังอันมหาศาลของผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึง่ ช่วยขับเคลือ่ นร่ วมกับชาวทันตฯรุ่นบุกเบิกมากหน้ า ได้ ร่วมกันทาบุญกุศลอันมหาศาล ในการแง้ มประตูให้ คนพิการกว่า ล้ านคนเริ่มเห็นแสงสว่างในการเข้ าถึงบริ การสุขภาพช่องปาก ที่แม้ คนปกติทวั่ ไปก็ยงั เข้ าถึงได้ ไม่ง่ายนัก 2 ขวบปี ของการตั ้งไข่งานทันตสุขภาพคนพิการ เป็ นที่น่ายินดีอย่างมากที่ได้ เห็นความมุ่งมัน่ ตั ้งใจ และได้ ปรากฏ ผลลัพธ์ เป็ นความสุข ที่คนพิการและคนรอบข้ างสามารถสัมผัสได้ จากการได้ เรียนรู้และลงมือดูแลสุขภาพด้ วยตนเองหรือโดย บุคคลในครอบครัว และจากการดูแลรักษาทางกาย ทั ้งโดยทันตบุคลากรและสหวิชาชีพสาขาต่างๆ ที่สง่ ผลต่อเนื่องถึงสุขภาพใจ สุขภาพสังคม และจิตวิญญาณ ทั ้งผู้รับและผู้ให้ ดังปรากฏในหลากหลายเรื่องเล่าในทันต’ภูธรฉบับพิเศษเล่มนี ้ จากผู้สงั เกตการณ์ การขับเคลือ่ นเรื่องใหญ่ๆ ของชาวทันตฯ มา 2 เรื่อง คือเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน และต่อด้ วย เครือข่ายทันตสุขภาพคนพิการ ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านบอกตรงกันว่า เครือข่ายชาวทันตฯเป็ นเครือข่ายที่โยงใยกันเหนียวแน่น และประเด็นงานที่ขบั เคลือ่ นก็สอดคล้ องกับภารกิจของวิชาชีพ รวมถึงความมี “ใจ” ของชาวทันตฯจานวนมาก พ่วงกับ“วัย”ที่ยงั มี เรี่ยวแรง มีความใฝ่ ฝั น สานเข้ าด้ วยกันทาให้ งานที่ขบั เคลือ่ นมีพลังอย่างมาก หากวิเคราะห์ตามหลัก “สามเหลีย่ มเขยื ้อนภูเขา” แล้ ว(การขับเคลือ่ นด้ วยพลังความรู้ พลังภาคประชาสังคม และพลังนโยบาย) ผมคิดว่า จากนี ้ไป เครือข่ายทันตสุขภาพคนพิการ ซึง่ ขณะนี ้มีความเข้ มแข็งมากด้ านพลังประชาสังคม ควรขับเคลือ่ นต่อไปข้ างหน้ าโดยเน้ นหนักด้ านพลังปั ญญา (มีข้อมูล องค์ ความรู้ชดั เจน เพื่อส่อง-ชี ้นาทิศทาง) เพื่อก้ าวไปสู้การปั กธงด้ านนโยบาย ที่จะช่วยเปิ ดประตูการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ ให้ เปิ ดกว้ างมากขึ ้นจากที่เพิ่งได้ แง้ มออกมาบ้ างแล้ วในวันนี ้ ซึง่ จะส่งผลให้ เกิดความยัง่ ยืนในการเข้ าถึงบริ การสุขภาพช่องปาก ของคนพิเศษทั ้งหลายอย่างยัง่ ยืน และลดช่องว่างความเหลือ่ มล ้าด้ านสุขภาพลงได้ อีกระดับหนึง่ ขอเป็ นกาลังใจให้ ชาวทันตฯ และเพื่อนสหวิชาชีพ ทุกๆท่าน และหวังว่าเราจะช่วยเสริมแรงกันและกันเพื่อ เดินหน้ าอย่าง ไม่หยุดยั ้ง จนกว่าคนพิการคนสุดท้ ายในแผ่นดินนี ้ จะมีความสามารถ และมีระบบ ที่ช่วยให้ เขาดูแลสุขภาพช่องปากตัวเองได้ ดี ใกล้ เคียงกับคนทัว่ ไป ขอปิ ติ และสันติ สขุ จงมีแด่ทุกท่าน ทพ. ศิ ริเกี ยรติ เหลียงกอบกิ จ 17 ก.พ. 55


กรองใจท้ายเล่ม ฉบับนี้เป็นกรองใจท้ายเล่มฉบับร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธมี หามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา (7 รอบ) 5 ธันวาคม 2554 ซึ่งพสกนิกรชาวไทยต่างยินดี มีความสุขกันถ้วนทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเรา เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ทรงมีพระราชดำ�รัส ขอบใจ ในไมตรีจิตของทุกฝ่ายที่มา ร่วมถวายพระพรและทรงมีพระราชดำ�รัสว่า “ท่านทั้งหลาย ที่ได้อยู่ ณ ที่นี้ ผู้อยู่ในหน้าที่ทั้งฝ่ายพลเรือน และทหารย่อม ทราบแก่ ใจอยู่ทั่วกันว่า ความมั่นคงของประเทศชาติจะเกิดมีขึ้นได้ ก็ด้วยประชาชนในชาติอยู่ดี มีสุข ไม่มีทุกข์ยากเข็ญดังนั้น การสิ่งใดที่เป็นความทุกข์ เดือดร้อนของประชาชน ทุกคน ทุกฝ่าย จึงต้องถือเป็นหน้าที่จะต้องร่วมมือกันปฏิบัติแก้ไขให้เต็มกำ�ลัง โดยเฉพาะขณะนี้ประชาชน กำ�ลังเดือดร้อนลำ�บากจากน้ำ�ท่วม จึงชอบที่จะร่วมมือกันปัดเป่าแก้ไข ให้ผ่านพ้นไปโดยเร็ว และจัดทำ�โครงการบริหารจัดการน้ำ�อย่างยั่งยืน อย่างเช่น โครงการต่างๆที่เคยพูดไปนั้น ก็เป็นการแนะนำ�ไม่ใช่สั่งการ แต่ถ้าเป็นการปรึกษากันแล้วเห็นว่า เป็นประโยชน์คุ้มค่า และทำ�ได้ก็ทำ� ข้อสำ�คัญจะต้องไม่ขัดแย้งแตกแยกกัน อาจจะต้องให้กำ�ลังใจซึ่งกันและ กัน เพื่อให้งานที่ทำ�บรรลุผลที่มีประโยชน์ เพื่อความผาสุขของประชาชนและความมั่นคง ปลอดภัยของประเทศชาติ ขออำ�นาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จงคุ้มครอง รักษาท่านให้ปราศจาก ทุกข์ ปราศจากภัย และอำ�นวยความสุขความเจริญแก่ท่านทั่วกัน”

106

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


พระทันตธาตุ จากภูฎาน เนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 นั บ เป็ น โอกาสที่ ดี ยิ่ ง อี ก ครั้ ง ที่ ป ระเทศภู ฎ าน และไทยจะได้ ก ระชั บ ความสั ม พั นธ์ ต่ อ กั น ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในฐานะที่ทั้งสองประเทศต่างมีสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพ เปรียบเสมือนดั่งศูนย์รวมจิตใจของประชาชนมาอย่างยาวนานเช่นกัน โดยภูฎานได้มอบ พระทันตธาตุซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุ ในส่วน “ฟัน” ของพระกัสสปะพุทธเจ้า ซึ่งเป็น พระพุทธเจ้าองค์ท่ี 3 ที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นชิ้นเดียวในโลก และได้รับการเก็บรักษา มาอย่างดี ไม่เคยมีการนำ�ออกนอกประเทศภูฏานมาก่อน สถานที่ประดิษฐานพระทันตธาตุ ในยามปกติ คือ “ทาชิโชซอง” ป้อมปราการกลางเมืองทิมพู เมืองหลวงแห่งภูฏาน พระทันตธาตุน้ี แม้คนภูฏานเองก็ไม่สามารถที่จะเข้าสักการะได้โดยง่าย เนื่องจากมีการประดิษฐานไว้ใน สถานที่เฉพาะ แต่เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสดังกล่าว ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรก ในโลกที่จะได้รับมอบพระทันตธาตุดังกล่าวมาประดิษฐานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะและ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสสำ�คัญดังกล่าว โดยจะประดิษฐานในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม2554 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555 จึงเป็นโอกาสอันดีท่ีประชาชนชาวไทยจะได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งจะมีการอัญเชิไปในหลาย ๆ จังหวัด ดังนี้ (1.) ช่วงวันที่ 8-19 มกราคม 2555 ประดิษฐาน ณ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ (2.) ช่วงวันที่ 20-26 มกราคม 2555 ประดิษฐาน ณ วัดโคกสมานคุณ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (3.)ช่วงวันที่ 29 มกราคม- 9 กุมภาพันธ์ 2555 ประดิษฐาน ณ ศาลากลาง จังหวัดขอนแก่น และ(4.) ช่วงวันที่ 10-17 กุมภาพันธ์ 2555 ประดิษฐาน ณ มณฑลพิธที ้องสนามหลวง จึงขอเชิญชวนทันตภูธร และ ชาวพุทธทุกท่าน ได้ไปสักการะ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ท่านและครอบครัว (สักครั้งหนึ่งหรืออาจเป็นเพียงครั้งเดียวในชีวิต) ซึ่งเรา จะหาโอกาสดีๆเช่นนี้ได้น้อยมาก เพราะ ดิฉันเองได้ไปประเทศภูฎานเมื่อสงกรานต์ปีท่ีแล้วก็ยังไม่มีโอกาสได้เข้านมัสการ พระธาตุนี้เลยค่ะ ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ คุณหมออ๋อ( ทพญ.นิธิมา บรรณาธิการคนเก่ง แห่งวารสารทันต’ภูธร) ผู้จัดการเครือข่าย ทันตสุขภาพคนพิการ ได้จัดงานการนำ�เสนอผลงานและนิทรรศการทันตสุขภาพคนพิการ ในงานประชุมชมรมทันตสาธารณสุข แห่งประเทศไทย วันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2554 โดยได้รับเกียรติจากอ.หมอสุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ มาเป็นประธาน และ พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำ�นวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ(สสพ.) กล่าวรายงาน โดยมีพ่ีน้องทันตภูธรที่เป็นเครือ ข่ายทันตสุขภาพคนพิการ มาร่วมนำ�เสนอผลงานกันอย่างครึกคัก ต้องขอชื่นชม ทพญ.นิธิมา อย่างมาก ที่สามารถผลักดันงาน ส่งเสริมทันตสุขภาพในเครือข่ายทันตสุขภาพคนพิการ และพี่ๆน้องๆหลายพื้นที่ ที่สามารถดำ�เนินงานได้เป็นอย่างดี (ขอปรบมือให้ หมออ๋อและ เครือข่ายทุกคนค่ะ) หวังว่า ทันตบุคลากรจะได้เห็นอกเห็นใจกลุ่ม คนพิการและสนใจช่วยเหลือเขาเหล่านั้นให้มาก ซึ่ง คงไม่ใช่แต่ทำ�ฟันให้ ต้องทำ�ให้เขาหรือญาติ ดูแลสุขภาพช่องปากของคนพิการให้ได้ด้วย ตลอดจนพัฒนา คุณภาพชีวิตอื่นๆ เช่น บางท่านช่วยพัฒนาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่บ้านของคนพิการให้ดีขึ้นได้แก่ การสร้างส้วมให้เหมาะสม การจัดอ่างน้ำ�สำ�หรับล้างมือ ล้าง หน้าและแปรงฟัน การสนับสนุนให้คนพิการได้ขึ้นทะเบียน UC ขึ้นทะเบียนคนพิการ เป็นต้น ซึ่งมองดีๆ จะเห็นว่าเป็นการช่วยเหลือ คนทั้งคน ไม่ใช่แต่เพียงช่องปาก ซึ่งนับได้ว่าเป็นการบริการแบบมีหัวใจเป็นมนุษย์ ด้วยความเมตตากรุณาโดยแท้ ผู้สนใจสามารถหา ข้อมูลรายละเอียดได้ท่ี http://www.oha-th.com/joomla/ ก่อนจบฉบับนี้ ดิฉันขอเรียนว่า คำ�ที่ถูกต้องสำ�หรับการเรียกคนพิการคือ คนพิการ ไม่ใช่ผู้พิการค่ะ (ซึ่งมักมีผู้ใช้ผิดอยู่บ่อยๆค่ะ รวมทั้งดิฉันด้วย) และหวังว่ากองทุนทันตกรรมปี2555 พื้นที่คงจะมีโครงการ หรือกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มคนพิการมากขึ้นนะคะ ขอขอบคุณแทนคนพิการค่ะ ด้วยความปรารถนาดี ทพญ.บานเย็น ศิริสกุลเวโรจน์ ประธานชมรมทันตสาธารณสุขภูธร 107

ทั น ต ภู ธ ร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4/54 พิเศษ


ท้าทาย ท้ายเล่ม

โดย พีเ่ จน

“ เป็ นทันตแพทย์เหรอ ดีนะ รวยดี ” คากล่าวทานองนี้คนในวงการทันตแพทย์คนุ้ เคยกันเป็ นอย่างดี เพราะคงต้อง ยอมรับว่า นี่คอื ภาพพจน์ ของวิชาชีพเราในสังคม เราถูกสังคมมองว่าไม่ค่อยจะทาอะไรเพื่อสังคม ซึง่ เป็ นภาพพจน์ทไ่ี ม่สวยงามนัก พวกเราคงไม่รวู้ ่าการทีใ่ ครก็ตามที่ส่งเงินลงมาก้อนหนึ่งมาให้วงการทันตสาธารณสุข เพื่อให้ทางานกับ คนพิการเป็ น กระบวนการทีท่ า้ ทายวงการเราอย่างสูง คนพิการนะ ไหนจะทายาก ไหนจะอุปสรรคมากมายกว่าจะม าถึงเก้าอี้ทาฟนั ั ง้ น่ากลัว ทัง้ เสียงดัง ทัง้ ทานาน ทางด้านทันตบุคลากร ก็ไม่มที งั ้ สิง่ จูงใจ เช่น ตัวชีว้ ดั หรือ เงินค่าตอบแทนรายหัว ทาฟนทั (555 หมอฟนั มันจะทาไหมเนี่ย) พี่ว่าคนทีท่ า้ ทายเรามาก็คงไม่เคยคาดคิดว่าพวกเราจะรับคาท้าอย่างหน้ าชื่นตาบาน ขนาดนี้ ลองคิดดูสวิ ่าในเวลาเพียงสองปี ทีเ่ ครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ เริม่ ต้นจากไม่มอี ะไรเลย จะ ขยายใหญ่โตมีผลงานเป็ นเรือ่ งเล่า เป็ นรูปธรรมชัดเจนดังทีป่ รากฏอยูใ่ นหนังสือเล่มนี้ ความสาเร็จจากการท้าทายนี้คงไม่ได้มาจากใครคนใดคนหนึ่ง แต่มาจากทันตบุคลากรกลุ่มหนึ่ง (จะรูต้ วั หรือไม่ก็ ตาม) ทีช่ อบความท้าทาย เขาเหล่านี้มจี ติ ใจดี เอือ้ เฟื้ อต่อคนอื่นๆอยากทาอะไรใหม่ๆด้วยตัวเอง อยากได้เรียนรู้ อยาก ลองผิดลองถูกจากประสบการณ์ตวั เอง เป็ นคนมีความสามารถ และก็รตู้ วั ว่าตนเองมีความสามารถจึงอยากเป็ นอิสระใน ั แต่พวกเขามีจุดอ่อนอยูอ่ ย่างคือ ใครท้าทายไม่ได้ ต้องลบ การคิดงานใหม่ๆ และก็มมุ านะทามันให้สาเร็จตามทีว่ าดฝนไว้ ล้างความท้าทายนัน้ ๆ ลงให้ได้ เขาจึงต้องทางานหนัก ต้องแก้ไขปญั หาทีเ่ กิดขึน้ อยู่เสมอ เมื่อเขาทางานอะไรสาเร็จเขาก็ จะได้เรียนรูอ้ ะไรใหม่ๆมากมาย และเขาก็ตอ้ งการคาชืน่ ชมกับผลสาเร็จของเขา เพื่อให้เขามีความมันใจเพิ ่ ม่ ขึน้ เขาอยาก ได้ขอ้ เสนอแนะจากคนทีย่ อมรับในตัวเขา ฟงั เขาว่าเขาคิดอย่างไร เพียงแค่น้ีเขาก็พร้อมจะลุกมาทาอะไรใหม่ๆต่อไปโดย ไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย คนทีอ่ ยู่ในเครือข่ายลองคิดดูนะคะว่าเราเป็ นเช่นนี้จริงหรือไม่ คนทีไ่ ด้อ่านมาถึงตรงนี้แต่ยงั ไม่ได้เข้าร่วมในเครือข่ายฯ พีว่ ่า “เครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริ มสุขภาพคนพิ การ” ยังเปิ ดรับสมาชิกอยู่เสมอ เพราะเขาใจกว้าง และอยากได้สมาชิกจากคนทีห่ ลากหลาย ไม่เฉพาะแค่คนทีอ่ ยูใ่ นกระทรวงสาธารณสุขเท่านัน้ เขาอยาก ั แบ่งปนประสบการณ์ ของเขากับภาคเอกชน หรือแม้แต่กบั อาจารย์มหาวิทยาลัย และไม่เฉพาะแค่ทนั ตบุคลากรแต่คนอื่นๆ ไม่ว่าอาชีพใดๆ โดยเฉพาะท่านทีเ่ ป็ นคนพิการ (ทีจ่ ริงเราทุกคนก็ disable ด้วยกันทัง้ นัน้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ) ถ้าท่าน ต้องการทาเพื่อให้คนพิการมีสุขภาพดีได้รบั บริการที่มคี ุณภาพอย่างเท่ าเทียมแล้วละก็ ขอเชิญมาร่วมเครือข่ายได้เลย รับรองไม่ผดิ หวังแน่ อย่างทีบ่ รรณาธิการกล่าวไว้ในบทบรรณาธิการว่า “เรายังมีอะไรให้ทาอีกตัง้ เยอะ” ความท้าทายยังรอเราอยูอ่ กี มากมาย ขอให้พวกเราสนุกสนานกับความท้าทายเหล่านี้อย่างไม่มสี น้ิ สุด แม้วา่ ความท้าทายจะแปรเปลีย่ นไปตามเวลาที่ เปลีย่ นไป พวกเราคงต้องทาจนกว่าคนในสังคมจะพร้อมใจกันพูดว่า

“เป็ นทันตแพทย์เหรอ ดีนะ ได้ทางานเพือ่ สังคม ได้ทางานเพือ่ คนอืน่ ” 


ื้ แปรงสฟ ี น สง่ ั ซอ ั ท ันตภูธรโทรด่วน หมอหนุย ่ 083-0339925 ่ั ี น ต้องการสงแปรงส ฟ ั ราคาใหม่ (เริม ่ ตงแต่ ั้ เดือน ก ันยายน 2554) ด ังรายการต่อไปนี้

รายการ ี ั นเด็กอายุ 1.แปรงสฟ ี ั นเด็กอายุ 2.แปรงสฟ ี ั นเด็กอายุ 3.แปรงสฟ ี ั นผู ้ใหญ่ 4.แปรงสฟ

0-3 ปี 3-6 ปี 6-12 ปี

ราคา จานวน รวมเงิน (รวมภาษีมล ู ค่าเพิม ่ 7%) 7.00 บาท ด ้าม บาท 7.50 บาท ด ้าม บาท 8.00 บาท ด ้าม บาท 9.00 บาท ด ้าม บาท รวมเงิน ______________________ บาท

่ั อ ี น ื้ แปรงสฟ ั เพือ ่ สน ับสนุนจ ัดพิมพ์วารสารท ันตภูธรโทรด่วน หมอหนุย ่ 083-0339925 สงซ

1) โอนเงินเข ้าบัญช ี หรือ โอนผ่านตู ้เอทีเอ็ม เข ้าบัญช ี “ ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร ” ี อมทรัพย์ เลขที่ 313 – 258671 – 8 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสนามบินน้ า บัญชอ ื้ และสาเนาการโอนเงินมาทีผ ี ั นทันตภูธร 2) สง่ ใบสงั่ ซอ ่ ู ้แทนจาหน่ายแปรงสฟ ทพญ.สุรรี ัตน์ สูงสว่าง (หมอหนุ่ย) กลุม ่ งานทันตกรรม รพท.น่าน อ.เมือง จ.น่าน 55000 โทรสายด่วนสงั่ แปรงกับหมอหนุ่ย สุรรี ัตน์ 083-0339925 , 054-771620 ต่อ 3131 Fax รพ.น่าน 054 -710977 หรือ โทรสงั่ แปรงกับคุณนฤมล 083-5689055 ื้ แปรง nui_95@hotmail.com , nui_95@yahoo.com อีเมลติดต่อสงั่ ซอ

ิ สง่ ั ซอ ื้ เสอ ื้ ท ันตภูธร ก ับ น้องขว ัญ 080-9075884 โทรด่วน สม ัครสมาชก



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.