Nakornchaisrimeeting

Page 1


ประชุมเรือ่ งเมืองนครไชยศรี เอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรี ต นเหตุของนามวานครชะยศรี จดหมายเหตุเรื่องส มโอเมืองนครชะยศรี นิราศเมืองนครชะยศรี

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล (บรรณาธิการ)

โครงการเผยแพร่เอกสารความรู้ด้านไทยศึกษา ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พุทธศักราช ๒๕๕๕


| ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี อภิลักษณ์ เกษมผลกูล (บรรณาธิการ) ISBN 978-616-279-116-1

พิมพ์ครั้งที่ ๑ จํานวน ๕๐๐ เล่ม พ.ศ. ๒๕๕๕ โครงการเผยแพร่เอกสารความรู้ด้านไทยศึกษา ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล อาจารย์วกิ ัลย์ พงศ์พนิตตานนท์

ที่ปรึกษาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ที่ปรึกษาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา

บรรณาธิการ อาจารย์ ดร.อภิลกั ษณ์ เกษมผลกูล

ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา

กองบรรณาธิการ นายดรณ์ แก้วนัย นางสาวปภัสรา เลผล

นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว นางสาวพิกุล ชมภูศรี

ออกแบบปก นายกานต์ พฤกษ์ธรานนท์ (www.2digitalstudio.com) ปกหน้า - ปกหลัง ปกหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้ง ประพาสสวนส้มโอของขุนภักดี ที่เมืองนครไชยศรี ส่วน ปกหลัง เป็นภาพท่าน้ําสวนส้มโอของ ขุนภักดี และเจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายในที่ตามเสด็จฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

ถ้อยแถลง เมืองนครไชยศรี นับเป็นเมืองเก่าที่ปรากฏหลักฐานมาแต่ครั้งอาณาจักร ทวารวดี นักวิชาการเรียกเมืองเก่าในครั้งนั้นว่า “เมืองโบราณนครไชยศรี” มีความ เจริ ญรุ่ ง เรื อ งอยู่ ในราวพุ ทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ ภายหลั งได้ ก ลายเป็ น เมื อ งร้ า ง จนกระทั่งราว พ.ศ. ๒๑๐๔ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “เมืองนครไชยศรี” ขึ้น (ปัจจุบันคือ ตําบล ท่า นา อํา เภอนครชั ย ศรี จัง หวั ด นครปฐม) ต่ อ มาในสมัย รั ชกาลที่ ๓ พระภิ ก ษุ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่ ๔) ทรงค้นพบพระปฐมเจดีย์ ครั้นเมื่อเสด็จขึ้นเถลิง ราชย์จึงโปรดให้ย้ายศูนย์กลางของเมืองนครไชยศรีมาตั้งอยู่บริเวณพระปฐมเจดีย์ และยังคงเรียกว่า “เมืองนครไชยศรี” ภายหลังเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “เมืองนครปฐม”และใช้สืบมาจนปัจจุบัน การที่ได้พรรณนาถึงประวัติเมืองนครไชยศรีมาข้างต้นนั้น เพื่อจะแสดงให้ เห็นว่า “เมืองนครไชยศรี” ในที่นี้มีความหมายกว้างขวางมากกว่าเพียงพื้นที่ของ อําเภอนครชัยศรี หากแต่ครอบคลุมทั้งจังหวัดนครปฐม ฉะนั้น ประชุมเรื่องเมือง นครไชยศรี เล่มนี้จึงหมายรวมถึงการประชุมเอกสารประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับ เมือ งนครปฐม เมื่อ ครั้ง ที่ยั งมี นามว่า เมื องนครไชยศรี โดยการจั ดพิม พ์ค รั้ง นี้ไ ด้ คัดสรรเอกสารหายากจํานวน ๔ เรื่อง ได้แก่ เอกสารตรวจราชการเมืองนครไชย ศรี พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ต้นเหตุ ของนามนครชัยศรี พระนิพนธ์ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร จดหมายเหตุเรื่องส้มโอเมืองนครไชยศรี เป็นเอกสารราชการระหว่างรัฐบาลไทย กั บ รั ฐ บาลอเมริ กั น เรื่ อ งขอพั น ธุ์ ส้ ม โอเมื อ งนครไชยศรี ไ ปปลู ก ที่ ป ระเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเอกสารที่ยังมิได้เคยจัดพิมพ์มาก่อน และเอกสารเรื่องสุดท้าย คือ นิราศเมืองนครไชยศรี ของกวีนิรนามจากวังหลวงที่กล่าวถึงการเดินทางจาก พระนครมายังเมืองนครไชยศรี


| ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

เอกสารดังได้คัดสรรมาล้วนเป็นเอกสารที่มีคุณค่าด้านไทยศึกษา และเป็น ข้อมูลสําคัญในการพัฒนาชุมชนด้วยข้อมูลประวัติศาสตร์สู่มิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่ อ ความยั่ ง ยื น ของชุ ม ชนต่ อ ไป ด้ ว ยเหตุ นี้ ศู น ย์ ส ยามทรรศน์ ศึ ก ษา คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะศูนย์วิจัยที่มุ่งศึกษาและค้นคว้าองค์ความรู้ ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย และเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านไทยศึกษาทั้ง ในระดับภูมิภาคและระดับชาติ จึงได้รวบรวมและจัดพิมพ์เผยแพร่แก่ผู้สนใจ หวัง เป็นอย่างยิ่งว่า ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี เล่มนี้จะยังประโยชน์แก่นักวิชาการ และผู้สนใจได้ไม่น้อย

(อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล) รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ และ ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ บรรณาธิการ


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

สารบัญ เรื่อง

หน้า

ถ้อยแถลงจากบรรณาธิการ .... ..............................................................................ค เอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ.... ................... ๑ ต้นเหตุของนามนครชัยศรี พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร.....................................๒๕ จดหมายเหตุเรื่องส้มโอเมืองนครไชยศรี สายป่าน ปุริวรรณชนะ อภิลักษณ์ เกษมผลกูล..........................................................................๔๑ นิราศเมืองนครไชยศรี นิธิอร พรอําไพสกุล อภิลักษณ์ เกษมผลกูล..........................................................................๖๑ ภาคผนวก ประวัติและความเป็นมาของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา .... ....................................๙๓ รายนามคณะกรรมการบริหารศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา .... .................................๙๕ เอกสารวิชาการของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา .... .................................................๙๖


| ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


เอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เมื่อ เดือนสิงหาคม ร.ศ. ๑๑๗


| ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

คํานําในการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒๑ หม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ ดิศกุล มีพระประสงค์จะจัดพิมพ์เอกสารตรวจ ราชการเมื อ งนครไชยศรี ของ สมเด็ จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระยาดํ า รงราชานุภาพ เพื่อแจกในงานฌาปานกิจศพหม่อมลําดวน ดิศกุล ณ อยุธยา พ.ศ ๒๕๑๑ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส เอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรี นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยาดํารงราชานุภาพ เมื่อครั้งทรงพระยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดํารง ราชานุ ภาพ เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ได้เสด็ จตรวจหัวเมือ งมณฑลกรุงเก่ า มณฑลนครไชยศรี และมณฑลราชบุรี เมื่อปี ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) เสด็จออก จากกรุงเทพ ฯ โดยรถไฟ ตั้งแต่วันที่ ๗ สิงหาคม เริ่มทรงตรวจราชการที่มณฑลกรุง เก่า และประทับแรมตามรายทางจนถึงวันที่ ๑๒ สิงหาคม เสด็จไปตรวจราชการที่ มณฑลนครไชยศรีจนถึงวันที่ ๑๗ สิงหาคม แล้วเสด็จตรวจราชการที่มณฑลราชบุรี ต่อไป จนถึงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ในการเสด็จตรวจราชการครั้งนั้น ได้ทรงประมวล รายงานส่งมาให้พระยาสฤษดิพจนกร (เส็ง วิรยศิริ) ซึ่งภายหลังเป็นพระยามหาอํา มาตยาธิบดี นําขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงทราบ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เคยโปรดให้จัดพิมพ์เรื่องนี้ขึ้นไว้ สําหรับใช้ในราชการครั้งหนึ่งแล้ว ให้ชื่อว่า “จดหมายเหตุระยะทาง พระเจ้าน้อง ยาเธอ กรมหมื่น ดํ า รงราชานุ ภาพ เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย เสด็ จตรวจ ราชการมณฑลหั ว เมื อ งกรุ ง เก่ า มณฑลนครไชยศรี มณฑลราชบุ รี ใน รัตนโกสินทร์ ศก ๑๑๗” หนังสือที่พิมพ์ในครั้งนั้น ได้รวมเรื่องเสด็จตรวจราชการ มณฑลปราจีนบุรี ในเดือนมกราคม ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ไว้ด้วย แต่มิได้โปรด

พิมพ์ครั้งที่ ๑ สมเด็จฯ กรมพระดํารงราชานุภาพ โปรดให้พิมพ์สําหรับใช้ในราชการ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ในงานฌาปานกิจศพ หม่อมลําดวน ดิศกุล ณ อยุธยา พ.ศ ๒๕๑๑


| ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ให้แจกจ่ายเผยแพร่ทั่วไป คงให้ใช้แต่เฉพาะในราชการเท่านนั้น ดังมีคํานําแจ้งไว้ ตอนต้นของหนังสือที่พิมพ์ครั้งนั้นว่า “เจ้าพระยาน้องเธอ กรมหมื่นดํารงราชานุภาพ เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ทรงดําริเห็นว่า หนังสือราชการบางอย่าง เช่น รายงานตรวจราชการตามหัวเมืองและข้อบังคับต่างๆ ซึ่งได้ตั้งขึ้นใน เมืองหนึ่งเมืองใดเหล่านี้เป็นต้น ควรจะลงพิมพ์ให้ข้าราชการผู้ใหญ่ ซึ่งมีหน้าที่บังคับบัญชาตามหัวเมืองได้อ่านทราบความไว้ จะเป็น ประโยชน์แก่ราชการได้มาก จึงได้มีรับสั่งให้เลือกหนังสือราชการที่ จะเป็นประโยชน์เหล่านี้ลงพิมพ์ไว้ในกระทรวงสําหรับแจกไปไว้ใน สถานที่ว่าราชการในที่นั้นๆ หนังสือเหล่านี้เป็นหนังสือซึ่งพิมพ์ขึ้นใช้ในราชการ ห้ามมิให้ ขายให้ ปั น หรื อ ให้ คั ด ลอกต่ อ ออกไปจากที่ ใ ช้ ใ นราชการของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ส่วนเอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรี ที่นํามาตีพิมพ์คราวนี้ คัดจาก ตันฉบับพิมพ์ดีดเก็บรักษาอยู่ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เมื่อได้นํามา เปรียบเทียบกับหนังสือที่ตีพิมพ์แล้ว ปรากฏว่า ในการจัดพิมพ์ครั้งนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลง ตัดทอนข้อความบางตอน ออกจากต้นฉบับเดิมเล็กน้อย ตามที่ทรงเห็นว่าเหมาะสม แด่ฉบับที่หม่อมเจ้าหญิง พัฒนายุ ดิศกุล โปรดให้พิมพ์ในงานฌาปานกิจศพ หม่อมลําดวน ดิศกุล ณ อยุธยา นี้ เป็นฉบับที่ทรงขอรับสําเนาเอกสารซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ โดยที่สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพได้ทรงเรียบเรียงเอกสารตรวจ ราชการนี้ไว้อย่างละเอียด ทั้งในด้านภูมิสถานบ้านเมือง การคมนาคม การค้าขาย การเกษตร การปกครอง การศาสนา การศาล และอื่นๆ ทั้งเมื่อทรงพบข้อบกพร่อง ในราชการที่ควรแก้ไข ก็ได้ทรงบันทึกชีแจงข้อแก้ไขไว้ในรายงานนี้ด้วย การจัดพิมพ์


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

เออกสารเรื่องนี้ออกเผยแพร่ จึงนับว่าเป็นประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าทั้งในด้าน ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตลอดจนการปกครองและการบริหารราชการบ้านเมือง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นอันมาก กรมศิลปากรขอถวายอนุโมทนากุศลราศีทักษิณานุปทาน ซึ่งหม่อมเจ้า หญิงพัฒนายุ ดิศกุล ได้ทรงบําเพ็ญอุทิศแด่ หม่อมลําดวน ดิศกุล ณ อยุธยา ผู้เป็น หม่อมมารดา และโปรดให้พิมพ์หนังสือนี้แจกจ่ายเป็นกุศลวิทยาทาน ขอกุศลทั้ง ปวงนี้จงเป็นพลวปัจจัยส่งเสริมให้ หม่อมลําดวน ดิศกุล ณ อยุธยา ประสบแต่อิฏฐ คุณมนุญผลในสัมปรายภพ สมดังมโนปณิธานทุกประการ เทอญ. กรมศิลปากร ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๑๑


| ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ที่ ๒๐๗ /๑๖๒๐๒

ศาลาว่าการ วันที่ ๒๑ เดือนสิงหาคม ร.ศ. ๑๑๗

ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ขอพระทานกราบทู ล พระเจ้ า น้ อ งยาเธอ กรมหมื่ น สมมตอมรพันธุ์ ราชเลขานุการ ทรงทราบฝ่าพระบาท ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์พระเจ้าน้องยาเธอ ฯ เสนาบดี กระทรวงมหาดไทยฉบับ ๑ ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๗ เปนรายงานตรวจ ราชการเมื อ งนครไชยศรี มี ค วามพิ ส ดารแจ้ ง อยู่ ใ นสํ า เนาลายพระหั ต ถ์ ซึ่ ง ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ได้ คั ด สอดซองถวายมาพร้ อ มกั บ จดหมายฉบั บ นี้ ด้ ว ยแล้ ว แล ข้ า พร ะพุ ทธ เจ้ าไ ด้ รั บ โทรเ ลข จา กพระ เจ้ า น้ อ งย าเ ธอฯ เส นา บ ดี กระทรวงมหาดไทย อิกฉบับหนึ่งจากเมืองราชบุรี มีความว่า ทรงสบายดีแลจะได้ เสด็จออกจากเมืองราชบุรีไ ปเมืองเพชร์บุ รีวันนี้ ขอฝ่าพระบาทได้นําทู ลเกล้า ฯ ถวายด้วย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ข้าพระพุทธเจ้า พระยาสฤษดิ์พจนกร

หนังสือนี้ ได้พิมพ์ตามต้นฉบับ มิได้แก้ไขอักขรวิธี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ


| ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

สําเนาที่ ๑๖๑๔๙ รับวันที่ ๒๑ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๗ ที่พักเมืองราชบุรี วันที่ ๑๙ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๗ ถึง พระยาสฤษดิ์ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เวลาเช้าออกเรือจากบ้านบางลี่ ล่องตามคลองสองพี่ น้องแลลําน้ําสุพรรณ์ เข้าเขตรแดนเมืองนครไชยศรีต่อลงมาแวะตรวจที่ว่าการ อําเภอไผ่นาด การอําเภอเรียบร้อยพอเปนปานกลาง จัดยังไม่ได้เตมตามแบบแต่ เปรียบเทียบถ้อยความพอใช้ อําเภอไผ่นาดนี้เปนอําเภอคนน้อย ด้วยที่ทางนี้เปนที่ เปลี่ยวโดยมากแต่ก่อนโจรผู้ร้ายชุกชม เปนทางโจรผู้ร้ายไปมา ในระหว่างมณฑล กรุงเทพ ฯ มณฑลนครไชยศรีแลมณฑลราชบุรี มีท่าที่โจรผู้ร้ายพาสัตว์ข้ามเปนที่ขึ้น ชื่อลือนาม คือที่ไผ่อ้ายแบ้ ที่บางขโมย แลที่บางไผ่ขนาดนี้ พระยาสุนทรบุรีจึงเอา ที่ว่าการอําเภอมาตั้งลงในที่เปลี่ยว แลยังจะจัดพลตระเวนขึ้นไปตั้งสะเตชั่นที่ไผ่อ้าย แบ้อิกแห่งหนึ่ง แต่เวลานี้ฟังดูก็ว่าโจรผู้ร้ายสงบเรียบร้อยดี ถ้าคลองบริสัทซึ่งขุดแต่ ลานเทมาทะลุไ ผ่อ้ายแบ้สําเร็จเมื่อใด ท้องที่ในอําเภอนี้คงจะบริบูรณ์ขึ้นอิกมาก ออกจาบางไผ่นาดล่องลงมาตามลําน้ํา เวลาบ่าย ๒ โมงเสศถึงปากคลองมหาสวัสดิ์ จอดพักนอนคืนหนึ่งคลองมหาสวัสดิ์เวลานี้พอเรือไฟเล็กไปมาได้ ในคราวน้ํา มีเรือ เมล์เดินแต่กรุงเทพ ฯ ถึงพระปฐมเจดีย์ ๓ ลํา เรือแจวเรือพายพ่อค้าไปมาได้ทุก เวลา มีเรือบรรทุกเข้าแลน้อยหน่าเข้าไปกรุงเทพ ฯ มากที่ปากคลองเจดีย์บูชาแง่ ข้างเหนือเปนที่หลวง เดิมเจ้าพระยาภาณุวงษ์มาสร้างสระบัวแลมีเรือนแพเปนที่พัก อยู่ ที่นี้มอบให้ขุนด่านรักษา แต่ทอดทิ้งมาเสียช้านาน สระบัวสูญหายหลายเปนนา กันเสียหมด แลเรือนแพนั้นก็หักพัง พระยาสุนทรบุรีพึ่งซ่อมขึ้นใหม่ เปนที่จอดพัก สบายพอใช้ ด้วยเปนท่าลมพัดเย็นอยู่เสมอ


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |

วั น ที่ ๑๓ เวลาเช้ า ออกเรื อ ออกจากคลองมหาสวั ส ดิ์ ม าจอดที่ ที่ ว่ า การเมือง ขึ้นตรวจออฟฟิตที่ว่าการเมือง อยู่การที่จัดเรียบร้อยพอใช้พอสมควรแก่ที่ จะเปนได้ในเวลานี้ เสียแต่พื้นที่ที่ตั้งที่ว่าการเมืองซึ่งเปนที่ว่าการเมืองมาแต่เดิมเปน ที่เลวทรามคับแคบยาวตามลําน้ําไม่ถึง ๒ เส้น ยืนขึ้นไปก็ไม่ถึง ๒ เส้น มีวัดแลบ้าน ล้อมรอบขยายไม่ออก ซ้ําเป็นที่ลุ่มระดูนี้น้ําขึ้นท่วมถึงกันด้วย ที่ใช้ได้มีแต่เรือนฝา กระแชงอ่อน ๓ ห้อง ๒ ชั้นเฉลียงรอบ ซึ่งพระยาทิพโกษาทําไว้แต่ก่อนหลังหนึ่ง ได้ อาไศรย์เปนออฟฟิตอยู่ชั้นล่าง ผู้รักษาเมืองอาไศรย์อยู่ชั้นบน แลมีศาลาโถงเปน ศาลาแอบอยู่อิกหลังหนึ่ง ได้แวะไปดูชําระความที่ศาลเมือง หลวงอินทร์จ่าเมืองเป นอธิบดีผู้พิพากษา ดูกระบวนพิจารณาก็เปนอย่างตั้งใจจะให้เปนอย่างใหม่ ถามสา รบบดูการที่ได้ทําก็พอเปนไม่เลวเพราะจํานวนความที่แล้วทันกับความที่เกิดใหม่ไม่ คั่งค้างรุงรัง ได้ไ ปตรวจตรางที่ขังนักโทษด้วย ตรางนี้อยู่หลังจวนข้ามฝากถนนที่ ใหญ่โตพอแก่การ แต่เปนที่ลุ่มน้ําขัง ตัวตะรางนั้นพระยาธิปโกษาได้สร้างไว้พื้นสูง แลแขงแรงพอใช้ได้ แต่เวลานี้คนโทษอยู่ข้างจะมากเยียดกันอยู่ มีจํานวนนักโทษ ๑๕๒ คน ตัดสินแล้ว ๗๒ คน ระหว่างพิจารณา๗๔ คน เพราะมีท้องตราสั่งไม่ให้ส่ง นักโทษเข้ากรุงเทพ ฯ คนจึงเยียดกันในตะรางนี้มาก มีนักโทษยื่นเรื่องราว ๓ ฉบับ ไม่เปนเรื่องสําคัญอันใด ได้สั่งให้ปล่อยนักโทษซึ่งพิเคราะห์เห็นว่าติดพอแก่โทษแล้ว ชาย ๕ หญิง ๒ ที่ว่าการเมืองนครไชยศรีถ้าจะตั้งอยู่ที่นี้ เห็นว่าจะทําอย่างไรให้งดงามนั้น ไม่ได้ พระยาสุนทรบุรีได้เลือกที่ไว้ข้างเหนือซึ่งอยู่ในหว่างปากคลองเจดีย์บูชากับ เมืองเดี๋ยวนี้แห่งหนึ่ง เปนที่ว่างมีเจ้าของ จะต้องซื้อ แต่เห็นว่าเปนที่ดีแลพอแก่การ จึงได้สั่งให้คิดย้ายที่ว่าการเมืองไปตั้งที่ใหม่ในศกน่า เมืองนครไชยศรีเวลานี้หลวงบรมบาทบํารุงข้าหลวงมหาดไทยเปนผู้รักษา เมืองมาได้ยังงไม่ถึงเดือน แต่ไล่เลียงราชการเมืองดูเข้าใจน่าที่แลเอาใจใส่มาก ได้ ข่าวว่าผู้คนอยู่ข้างจะนิยม ด้วยเปนคนหมั่นแลอาชาไสยซื่อตรง ต่อไปคนนี้เห็นจะเป นราชการได้คนหนึ่ง ออกจากที่ว่าการเมืองไปแวะตรวจที่ว่าการอําเภอเมือง ซึ่ง อาไศรย์ แ พจอดอยู่ ห น้ า ที่ ว่ า การเมื อ ง แพหบั ง นี้ ท ราบว่ า ได้ ม าใช้ ร าชการโดย


๑๐ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ประหลาด เปนแพดีราคาซื้อขายกว่า ๑๐ ชั่ง ทราบว่าเจ้าของแพเปนหนี้สินเขามาก ทิ้งแพไว้ตัวอพยบหลบหนีไป อําเภอต้องเอามารักษาไว้จนบัดนี้ก็ยังไม่มีเจ้าเบี้ยนาย เงินคนใดมาว่ากล่าว คงได้ใช้แพกลางนี้เปนที่ว่าการอําเภอ แลจะได้ใช้ต่อไปอิกสัก เท่าใดยังทราบไม่ได้ อําเภอนี้ก็จัดว่าเปนเรียบร้อยโจรผู้ร้ายอุกฉกรรจ์ไม่มี การลอบ ลักโคกระเบือหรือย่องเบามีบ้างแต่ห่างๆ ความแพ่งดูคําที่เปรียบเทียบก็พอใช้ แต่ ปลาดอยู่ไม่ค่อยจะตกลงต้องส่งไปศาลเมืองเสียมากกว่าที่จะแล้วได้ ที่อําเภอเห็น เปนเช่นนี้ได้ด้วยเหตุผล ๒ อย่าง เพราะศาลอําเภออยู่ห่างศาลเมืองไม่ถึงเส้น จะไป ว่าที่ศาลเมืองไม่ลําบากอันใด ข้างแพ้จึงไม่ใคร่ยินยอมในชั้นเปรียบเทียบ หรืออิก อย่างหนึ่งคนจะไม่ใคร่ไว้ใจผู้นายอําเภอ จึงไม่ใคร่ยินยอมตกลง แต่ข้อความข้อนี้รู้ ไม่ได้แน่ ด้วยสารบบที่ทํา ทําแต่ความที่ตกลง ทางเมืองนี้ยังหาเข้าใจในการที่ทําสาร บบอย่างกรุงเก่าไม่ ถ้ามีสารบบที่ความไม่ตกลงอยู่แล้วก็พอจะตรวจคําเปรียบเทียบ พิเคราะห์เอาความจริงได้ ออกจากที่ว่าการเมืองไปเข้าคลองเจดีย์บูชา ถึงพระปฐมเจดีย์ เวลาบ่าย ๒ โมง ขึ้นพักอยู่ที่พระราชวัง วังนี้ชํารุดทรุดโทรมาก ทั้งวังงแลบริเวณยังใช้ได้แต่ พระที่นั่ง ๒ ชั้นหลังหนึ่ง กับเพิงพลด้านตะวันตกแลด้านเหนือ พระที่นั่งแลพระ ตําหนักรักษานอกจากนี้เสาขาดเซซานร้าวรานจวนจะพังหมดทุกหลังไม่มีเว้น ถ้าจะ ซ่อมแซม จะต้องรื้นลงทําใหม่ทั้งนั้น พิเคราะห์ดูเห็นว่าวังนี้โดยหากว่าจะกล้าลงทุน ซว่อมแซมขึ้นใหม่ก็หาประโยชน์อันใดมิได้ ด้วยเป็นที่คับแคบซุกซิกโดยจะประทับก็ ไม่เปนที่ทรงพระราชทานสําราญได้ ที่วังนี้ควรรื้อพระที่นั่งแลตําหนักบันดาที่ชํารุด หักพังออกให้หมด แลปลูกสร้างเพิ่มเติมขึ้นเล็กน้อยทําเปนที่ว่าการมณฑลนครไชย ศรีเปนดีกว่าใช้ทําเปนอย่างอื่น ถ้าหากว่าเสด็จพระราชดําเนินประพาศพระปฐม เจดีย์ในภายน่า คิดว่าจะปลูกพลับพลารับเสด็จ ฉันได้ไปเลือกที่ไว้ข้างหลังพระปฐม ซึ่งเปนที่บริเวณวังดบราณของกษัตริย์ซึ่งสร้างพระปฐมเจดียื แลได้สั่งให้พระยา สุนทรให้ปักไม้หมายกรุยไว้เปนที่พลับพลารับเสด็จ อย่าให้ราษฎรจับจองทําการอื่น ถ้าทําพลับพลารับเสด็จในที่ที่เลือกใหม่นี้ เข้าใจว่าจะทรงพระสําราญกว่าประทับที่ พระราชวังเก่า ด้วยเปนที่กว้างใหญ่มีคลองมีโคกแลเป็นป่าละเมาะทั่วไป แม้ที่สุดจะ


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๑

สร้างวังในที่นั้นก็สร้างได้ที่วังเก่าในเวลานี้ตอนพระที่นั่ง พระนาสุนทรบุรีได้ ปลูก เรือนไม้แซกขั้นหลังหนึ่ง แลกันไว้เป็นที่รับผู้มีบันดาศักดิ์ไปมา ตอนข้างตําหนักกอง ทหารอาไศรย์ที่ว่าการมณฑลแลว่าการอําเภอพระปฐมอาไศรย์ตั้งทําการอยู่ที่พระ ระเบียงชั้นในพระปฐมเจดีย์ ดูเปนการเบียดเบียนพระปฐม ไม่สมควรจะต้องคิดจัด เรื่องที่ว่าการมญฑลนี้โดยเร็วสักหน่อย ได้ไปตรวจที่ว่าการมณฑลแลที่ว่าการอําเภอพระปฐมเจดีย์ในวันที่ไปถึง นั้น ที่ว่าการมณฑลจัดการเป็นหมวดหมู่แลการเรียบเรียงเก็บจดหมายเรียบร้อยดี เพราะขอคนในกระทรวงมาไว้ ห ลายคน แลเห็ น ได้ ว่ า ถ่ า ยแบบในศาลา กระทรวงมหาดไทยมาจัดแทบทุกอย่างที่จะทําได้ บางอย่างเกินต้องการในที่นี้ก็มี บ้าง เช่นเข้าใบบันทึดจดหมายบันทึกตลอดจนรายการตีพิมพ์ซึ่งมีกําหนดฉบับแล เวลายื่น ไม่จําเปนเลยจะต้องเข้าบันทึก ดูเหมือนที่กรุงเก่าก็ยังเปนเช่นนี้ ได้ชี้แจงให้ เข้าใจว่า การที่จะเอาอย่างนั้นควรเอาอย่างแต่ที่จําเปน ที่ไม่จําเปนไปเอาอย่างให้ เหนื่อยไม่มีประโยชน์อันใด ที่ว่าการมณฑลนี้กระบวนจัดทางก็สอาดสอ้านเสียแต่ไป ตั้งในที่วัดเท่านั้น ในเวลานี้การคลังมณฑลกําลังข้าหลวงคลังคนใหม่มารับการจาก พระสรรค์ ส่งกันยังไม่เสร็จ ดูเหมือนจะมีการยุ่งเหยิงบ้างเล็กน้อย การคลังมณฑลนี้ คงยังเลวกว่ามณฑลกรุงเก่ามาก เพราะยังเป็นอย่างเก่าพึ่งจะเปลี่ยนเข้าแบบใหม่ ที่พระปฐมเจดีย์นี้จัดการปกครองเปนท้องที่อําเภอหนึ่งในเมืองนครไชย ศรี หม่อมราชวงษ์เล็กเปนนยอําเภอ มีจํานวนราษฎรในท้องที่อําเภอนี้ ๒๓๗๕๒ คน เหตุการณ์โจรผู้ร้ายสงบ มีแต่การย่องเบาลักเล็กน้อยห่าง ๆ หม่อมราชวงษ์เล็ก นี้เปนนายอําเภอเมืองนครไชยศรี ทําการดีพระยาสุนทรบุรีเห็นว่าอําเภอพระปฐม เปนอําเภอสําคัญกว่าอําเภออื่นในเมืองนครไชยศรี จึงย้ายมาว่าอําเภอพระปฐม ฟัง ดูผู้คนก็นิยมมากอยู่ วันที่ ๑๕ เวลาเช้าไปเที่ยวดูตลาด ตลาดพระปฐมเจดีย์นี้ตั้งอยู่ ๒ ฝาก คลองเจดีย์บูชา ตั้งแต่บริเวณวัดพระปฐมตลอดลงไปยาวตามลําคลองประมาณ ๑๐ เส้น ปลูกเปนโรงหลังคามุงจากเครื่องผูกบ้างเครื่องสับบ้างฝั่งละ ๒ แถว มีทางเดิน กลางกว้างประมาณ ๔ ศอกมีทั้งโรงบ่อนแลโรงสุรา ตลาดของสดเบ็ดเสร็ดอยู่ในนั้น


๑๒ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

นับว่าเปนตลาดสําคัญในหัวเมืองแห่งหนึ่ง เหตุว่าเปนที่มีการค้าขายมาก สิ่งสินค้าที่ จําหน่ายออกจากพระปฐมเจดีย์ไปจําหน่ายในกรุงเทพ ฯ แลหัวเมืองอื่น ๆ นั้น ที่ เปนสินค้าใหญ่ คือ เข้าเปลือก เข้าสาร เข้าโภช น้ําตาลทราย น้ําอ้อย ยาสูบ แลผัก ผลไม้ต่าง ๆ คือ คราม มะเกลือ หน่อไม้ น้อยหน่า สรรพรศ เผือกมัน กล้วย แลอื่น ๆ จํา หน่ ายในที่ นี้ คือ เครื่ องทองเหลือ ง ทองขาว ผ้า พรรณนุ่ งห่ ม แลผัก ผลไม้ เครื่องบริโภค คือ หมาก พลู ทุเรียน มังคุด มะพร้าว เปนต้น ลักษณะสินค้าทั้งปวงนี้ มีเรือใหญ่น้อยหลายร้อยลํารับสินค้าแต่กรุงเทพ ฯ แลที่อื่น ๆ มาจําหน่ายแก่พวกที่ตั้งร้านอยู่ในตลาดรับไว้ขายแก่ชาวบ้านนอก ถึง เวลาเช้าพวกชาวบ้านนอกต่างหาบหามบรรทุกสิ่งสินค้าเข้ามาตั้งขายที่ลานพระ ปฐมเจดีย์ แลตามบริเวณตลาด พวกชาวเรือพากันไปว่าซื้อ เมื่อตกลงราคากันแล้ว ก็ขนส่งลงเรือที่ริมตลาดนั้นบ้าง ต่ําลงมาบ้าง ตามเรือเล็กเรือใหญ่ที่จะขค้นไปได้ถึง เพียงใด พวกชาวบ้านนอกขายของได้แล้ว ภอใจต้องการของสิ่งใดก็เที่ยวซื้อหาตาม ร้านในตลาด หาบหามพากลลับออกไปบ้านเปนประเพณีดังนี้ เวลาเช้า ๆ คนแน่น หนาคับคั่งตลอดตลาด ประมาณได้หลายพันคนทุก ๆ วัน พระยาสุนทรบุรีได้ให้ลอง เก็บจํานวนแลราคาสิน ค้าเพียงผลไม้ที่ซื้อขายกันที่ตลาดในเดือนกรกฎาคม ได้ จํานวนสินค้าที่จําหน่ายไปจากพระปฐมเจดีย์ คือ น้อยหน่า ๗๓๗๔๑๕ ผล เปนเงิน ๕๕๓๐ บาท ๓๒ อัฐ สรรพรศ ๒๒๐๓๑ ผล เปนเงิน ๘๒๖ บาท ๑๐ อัฐ กล้วย ๓๖๘๙๐๐ ผล เปนเงิน ๘๒๒ บาท ๑๖ อัฐ ขนุน ๖๑๕ ผล เปนเงิน ๑๕๓ บาท ๔๐ อัฐ ข้าโภช ๔๘๐๒๐ ผล เปนเงิน ๒๑๑ บาท ๔ อัฐ ฟัหทอง ๓๔๖ ผล เปนเงิน ๕๙ บาท ๔๘ อัฐ ฟักเขียว ๗๖๐๐ ผล เปนเงิน ๓๙ บาท รวามเปนเงิน ๗๗๔๒ บาท ๒๒ อัฐ สินค้ากรุงเทพ ฯ ที่เอามาจําหน่ายในพระปฐม คือ


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๓

ทุเรียน ๑๙๕๖ ผล เปนเงิน ๑๙๙๓ แมงคุด ๕๗๖๑๑ ผล เปนเงิน ๗๒๐ หมาก ๑๑๔๓๕๐ ผล เปนเงิน ๕๗๑ พลู ๔๖๔๔๐ ผล เปนเงิน ๑๖๒๘ มะนาว ๘๖๕๐ ผล เปนเงิน ๒๖ กระท้อน ๒๕๑๑ ผล เปนเงิน ๔๘ แตงโม ๓๐๐ ผล เปนเงิน ๓๙ มะพร้าว ๖๓๐๐ ผล เปนเงิน ๔๗๐ เงาะ ๔๐๕๐ ผล เปนเงิน ๔๙ ส้มโอ ๔ ๐๐ ผล เปนเงิน ๑๒ ลําไย ๑๗๐๐ ผล เปนเงิน ๔ รวมเปนเงิน ๕๕๖๓ บาท ๑๖ อัฐ

บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท

๔๐ ๘ ๔๘ ๔๑ ๓๒

อัฐ อัฐ อัฐ อัฐ อัฐ

๒๓ อัฐ ๑๖ อัฐ

ยังเครื่องทองเหลืองทองขาวผ้าพรรณนุ่งห่มที่ชาวร้านในตลาดจําหน่ายได้ ในเดือนหนึ่งนั้นเปนเงินถึง ๑๓๗๒๓ บาท ๑๐ อัฐ เพราะเหตุที่การค้าขายในตลาดพระปฐมเจดีย์ดังว่ามานี้พาให้คนต้องการ ที่ทําโรงร้านขายของมาก ที่ริมคลองฝั่งใต้เปนที่หลวง ก็เป็นตลาดไปแต่มุมด้านน่า พระราชวัง คือ มีผู้เข้าอยู่แลต่อพะเพิงที่เพิงพลพระราชวังเอาเปนร้านค้าตลาด ตลอด ที่ถนนตรงริมฝั่งคลองตรงพระราชวังออกมา ก็มีผู้ปลูกเปนร้านชําทํานองที่ น่าวัดสุทัศน์ ขายของบริโภคต่าง ๆ อิกแถว ๑ แต่มุมพระราชวังลงไปตามคลอง ราษฎรปลูกเปนเรือนจาก ทําเปนร้านขายของตลอด ร้าน ๑ ยาวประมาณ ๘ ศอก เช่ากันถึงเดือนละ ๑๐ บาท ๑๒ บาท อย่างต่ําเพียง ๕ บาท ราคาขายเสงโรงจาก แถวนี้ขายกันถึงร้านละ ๑๐ ชั่ง ๑๕ ชั่ง ข้างฝั่งคลองภาคเหนือตอนบนเป็นที่วัด ท่านพระปฐมเจติยานุรักษ์ยอมให้ราษฎรอาไศรย์ปลูกโรงขายของตลอดลงมาจน ตะพานช้าง พ้นนั้นลงมาเป็นที่พระยาพิพัฒ (ทับ) แลที่ท่านผู้หญิงหนูในพระยา ทิพากรวงษ์ ซึ่งตกเปนของกรมหมื่นมรุพงษ์ก็ทําเปนโรงจากให้เช่าเปนร้านเปน


๑๔ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ตลาดแลโรงบ่อนตลอดลงไป แต่ราคาค่าเช่าห้องหนึ่งเพียง ๕ บาท ไม่แรงเท่าฝั่งใต้ ที่ตลาดพระปฐมเจดีย์นี้ถึงเปนตลาดใหญ่ก็ดูรุงรังแลโสโครกเพราะปลูกเบียดเสียด เยียดยัดกันไม่เปนท่าทางงดงาท แล้วแต่ใครจะทําก็ทําได้ ไม่มีผู้ใดในรัฐบาลที่จะได้ เอาเปนธุระ โดยทางที่ชอบมาแต่แรกจึงเปนได้เช่นนี้ แต่จะจัดการแก้ไขอย่างไรใน เวลานี้ คิดดูก็เห็นว่าไม่มีประโยชน์ เพราะการค้าขายในตลาดที่นี้กําลังเจริญ ถ้าไป ขับไล่รบกวนน่าที่จะเกิดความเดือดร้อนพาให้คนท้อถอยในการค้าขายไปได้ ทาง อย่ า งดี ที่ ค วรจะทํ า เห็ น ว่ า ควรจะคิ ด อ่ า นสร้ า งที่ แ ทนขึ้ น แลกั น ให้ ต ลาดขยาย ออกไปภอหลวมตัวกันก่อน แล้วจึงจัดการก่อสร้างแก้ไขในตอนนี้จึงจะไม่เปนการ กีดกั้นความเจริญในที่นี้ การที่จะจัดเรื่องตลาดพระปฐมเจดีย์นี้ เวลานี้เจ้าพนักงานทําแผนที่ซึ่งได้ ส่งออกมาทําการร่วมเข้าแล้ว ได้แล้ว ได้เรียกแผนที่ที่เขาทํามาตรวจดูประมาณอิก สัก ๒ เดือนถึงจะแล้ว จะต้องรอเอาแผนที่นี้เปนหลักะถนนที่จะตัดในบริเวณพระ ปฐมเจดีย์ แลกะตลาดที่ควรจะอยู่ในที่ใด การทําถนนไม่ต้องลงทุนอันใดนัก เพราะ ใช้แรงคนโทษทําได้ ฉันได้สั่งพระยาสุนทรบุรีให้รีบคดทําตะรางขึ้นที่ปฐมเจดีย์ แล ให้ส่งคนโทษเมืองสุพรรณ เมืองนครไชยศรีที่มีกําหนดโทษเกิน ๓ เดือน เอาขึ้นมา ไว้ใช้ที่พระปฐมเจดีย์นี้ ในการก่อสร้างตลาดนั้นเห็นว่าจะต้องคิดย้ายบบ่อนก่อน ถ้า กะในแผนที่เห็นที่ใดเหมาะควรย้ายบ่อนไปตั้งที่นั้น การที่จะสร้างบ่อน ถ้าทําสัญญา ให้เขาเก็บสัก ๑๐ ปี จะหาคนลงทุนทําก็เห็นจะหาได้ง่ายไม่ต้องออกเงินหลวง ถ้า บ่อนไปอยู่ไหนตลาดของสดแลร้านชําคงจะตามไป การที่จะสร้างตลาดของสดแล ร้านชํานั้นหาผู้มีทุนทําได้ง่าย เพราะค่าเช่าคงจะเป็นดอกเบี้ยไม่ต่ํากว่าช่างละบาท การที่ย้ายบ่อนไปคงจะพาให้ร้านที่มีอยู่ในตลาดเดี๋ยวนี้ลดลงพอหายเยียดยัดกัน แบ่งที่สร้างตึกหรือโรงที่มั่นคงขึ้นในที่หลวงแห่งนี้ไ ด้ การที่จะทํา จะทําเปนการ หลวงหรือจะขายที่หลวงให้ราษฎรทําก็ได้ทุกอย่าง ถ้าได้กะแผนที่แล้วอย่างช้าอิก ๓ ปีที่ นี้ คงเปนเมื อง ด้ วยรถไฟจะเปนกํา ลั งใหญ่ ที่จ ะช่ วยบํ ารุ ง เวลานี้ ไ ด้ พบพวก มิสเตอร์กิงกําลังปั์กกรุยรถไฟเข้ามาในตอนคลองเจดีย์บูชาแล้ว ฟังเสียงพ่อค้ารา ษฏรในที่นี้อยู่ข้างจะพากันนิยมเรื่องรถไฟเปนอันมาก มีคนมาขอให้ฉันบอกว่ารถไฟ


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๕

จะแล้วเมื่อใดหลายคน ตามความเห็นของพวกพ่อค้าเห็นว่าถ้ารถไฟสายนี้แลล้ว พวกเขาจะได้ความบริบูรณ์ขึ้นอิกมาก เพราะทุกวันนี้การทําไร่ขายสินค้ามีความ ขัดข้องอยู่หลายอย่าง คือต้องหาบขนสินค้ามาขายที่พระปฐมเปนความลําบากแล เปลื อ งโสหุ้ ย บางที่ใ นระดูฝ นเหมื อ นอย่า งเดี ยวนี้ ที่ไ ร่ อ ยู่ ไ กลก็ มาค้ า ขายไม่ ไ ด้ เพราะฝนชุกหนทางเปนหล่ มเปนโคลน ใช้เกวียนหรื อพาหนะอย่างใดไม่ไ ด้ อิ ก ประการหนึ่งสินค้าที่เอามาขายที่ตลาดพระปฐมราคายังต่ําเปนต้นว่าน้อยหน่า บาง วันถ้ามาขายกันมากด้วยกันขายได้เพียง ๑๐๐ ละ ๒ สลึง ต่อบางวันมีเรือมารับมาก หรือคนมาขายน้อย จึงขึ้นราคาถึงกว่า ๑๐๐ ละ ๓ สลึง เพราะพวกที่รับคิดเพื่อ เสียหายในระหว่างทางที่จะพาไปขาย น่านี้ภอค่อยยังชั่ว ถ้าน่าแลลงบางทีถึง ๔ วัน ๕ วันจึงจะไปถึงกรุงเทพ ฯ ถ้ามีรถไฟความลําบากเหล่านี้จะหมดไปคงจะขายสินค้า ได้ราคาดีขึ้นกว่าเดี๋ยวนี้ คนจึงหวังใจในรถไฟมากกลับมาจากตรวจตลาดได้มีการ ประชุมพวกหลงจู๊โรงหีบ แลพวกทําไร่ ในการที่เรียกประชุมเรื่องโรงหีบนั้น เพราะ การที่จะเลิกด่านภาษายังติดอยู่ด้วยเก็บภาษีน้ําตาลทราย ในท้องที่อําเภอพระปฐม เจดีย์มีโรงหีบในเวลานี้ ๑๗ โรง เงินภาษีปีหนึ่งกว่า ๑๐๐ ชั่ง อิกประการหนึ่งความ ขัดข้องในมณฑลนี้มีอยู้ด้วยเรื่องงภาษีอ้อย จะจัดการตามอย่างหัวเมืองฝ่ายเหนือ ไม่ได้ คือ ข้างหัวเมืองในมณฑลกรุงเก่า มณฑลนครสวรรค์ แลมณฑลพิศณุโลกย์ ราษฎรปลูกอ้อยแล้วเขี้ยวน้ําอ้อยขายเอง จัดการเก็บภาษาเรียกจากผู้ปลูกอ้อย คิด ตามเนื้อที่ไร่ละ ๔ บาท ๒ สลึงเปนการเรียบร้อย แต่ทางนี้ราษฎรที่ปลูกอ้อยปลูก ขายโรงหีบทั้งสิ้น ไม่ได้เขี้ยวเองอย่างหัวเมืองข้างเหนือ โรงหีบต้องเสียภาษีน้ําตาล ทรายน้ําอ้อยยอยู่แล้ว ถ้าจะเอาแบบหัวเมืองข้างเหนือ มาเก็บไร่อ้อยอิกชั้นหนึ่งก็ เป็นภาษี ๒ ซ้ํา อิกประการหนึ่งพระยาสุนทรบุรี ได้ลองทําบาญชีน้ําตาลที่ทําได้ตาม โรงหีบเทียบกับจํานวนน้ําตาลที่ได้เสียภาษี จํานวนน้ําตาลที่เสียภาษีต่ําอยู่กว่าครึ่ง เห็นเปนการรั่วไหลรัฐบาลเสียเปรียบอยู่ จําต้องคิดจัดการแก้ไขวิธีเก็บภาษีน้ําตาล ทรายทางนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง แลวิธีที่จะจัดใหม่นั้น ได้ปฤกษากับพระยาสุนทรบุรี เห็นว่ามีอยู่ ๒ อย่าง คือ เก็บตามเนื้อที่ปลูกอ้อยอย่างหัวเมืองฝ่ายเหนือ แต่เลิก ภาษีน้ําตาลทรายน้ําอ้อยเสียทีเดียวอย่างนี้จะเก็บได้ง่ายแลไม่มีทางรั่วไหล แต่มีที่


๑๖ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

เสียอยู่อย่างหนึ่งด้วยเป็นการเก็บจากคนจน คือราษฎรผู้ปลูกอ้อย บางทีเห็นต้อง เสียภาษีแรงขึ้นจะย้อท้อในการที่จะปลูกอ้อยก็จะเสียประโยชน์ได้ อิกอย่างหนึ่งนั้น เก็บภาษาน้ําตาลน้ําอ้อยแต่ไปเก็บที่โรงหีบเอาตามจํานวนน้ําตาลน้ําอ้อยที่จําหน่าย จากโรงหีบ อย่างนี้ไม่มีใครได้ความเดือดร้อนหรือท้อถอย แต่บางทีจะยากอยู่ในการ ที่จะตรวจจึงเห็นว่าการเรื่องนี้ควรจะเรียกหลงจู๊โรงหีบมาฟังความเห็นคนพวกนั้นดู เขาจะเห็นประการใด เมื่อพร้อมกันฉันจึงได้ชี้แจงความคิดที่จะแก้ไขวิธีเก็บภาษี น้ําตาลน้ําอ้อยให้ง่ายแลสดวกแก่การค้าขายขึ้นโดยที่จะไม่ให้ต้องมีการตรวจตราที่ ด่านดังแต่ก่อน แต่เห็นว่าการนี้เกี่ยวกับผลประโยชน์ของพวกทําโรงหีบ แลเห็นว่า พวกโรงหีบเปนผู้ชํานาญในการนี้จึงเรียกมาปฤกษาว่ารัฐบาลควรจะจัดการเก็บฉัน ใด ที่จ ะได้ประโยชน์ เงินภาษีอากรตามสมควรจะได้ แลไม่ลําบากเดือ ดร้อนแก่ การค้าขายดังนี้ พวกหลงจู๊โรงหีบได้ปฤกษากันโดยความเอื้อเฝื้อช้านานตกลงเนื้อ เห็นว่า การที่เก็บจากราษฎรที่ปลูกอ้อยแลเลิกภาษีน้ําตาลทรายน้ําอ้อยเสียนั้นเปน การสะดวกแก่โรงสีจริงอยู่ แต่เห็นว่าราษฎรจะพากันท้อถอย ถ้าราษฎรไม่ปลูกอ้อย ให้พอต่อการของโรงหีบ ๆก็จะเสียประโยชน์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเห็นพร้อมกัน ว่าไปเก็บภาษีน้ําตาลทรายน้ําอ้อยตามโรงหีบดีกว่า พวกหลงจู๊โรงหีบจะรับอุดหนุน ในการที่เจ้าพนักงานจะไปตรวจแลเก็บภาษีโดยเต็มกําลัง ในการเรื่องนี้ยังจะต้องคิด วิธีที่จะเก็บและจะตรวจ แต่ไม่มีเวลาพอที่จะคิดให้ตลอดในเวลานี้จึงได้มอบไว้แก่ พระยาสุนทรบุรีให้ทําเนื้อเห็นเข้าไปยื่นในเวลาประชุมเทศาภิบาลปีนี้ แต่การคงจะ ตลอดได้ ด้วยได้ปฤกษาเห็นทางอยู่โดยมากแล้ว ได้ไต่ถามพวกหลงจู๊โรงหีบต่อไป ได้ความว่าในศก ๑๑๖ โรงหีบมีกําไร แทบทุกโรง การทําโรงหีบมีเครื่องท้อถอยอยู่บัดนี้ แต่ด้วยเรื่องหากระบือได้ไม่พอ เทียมหีบด้วยโคกระบือเป็นโรคล้มตายเสียปีกลายนี้มาก คนที่เคยรับไปหาโคกระบือ หาไม่ใคร่ได้ ความข้อนี้จะต้องเติมอัตโนมัตว่าเพราะเดี๋ยวนี้ขะโมยยากกว่าแต่ก่อน ด้วย แต่อย่างไรก็ดีเห็นเปนการที่น่าจะต้องช่วยคิดแก้ไข เพราะความต้องการโค กระบือทําไร่นาทุกวันนี้มากขึ้นทุกที เรื่องหาโคกระบือยาก น่าจะเป็นเครื่องทําให้ เสื่อ มสิ้ นการทํ าน้ํ าตาลทรายได้ เรื่อ งนี้แ ต่ก่ อนได้มี ความคิดอยู่ว่ าจะชัก ชวนให้


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๗

เปลี่ยนเครื่องมือทําด้วยเครื่องจักร ได้หาแบบอย่างเข้ามา แลได้ให้กับตันคาตอง ออกมาตรวจทํารายงานก็ว่าจะใช้ได้ เปนแต่ยังไม่ได้สั่งเครื่องจักรเข้ามาทดสอบ เท่านั้น แต่ครั้นมาไต่สวนฟังถึงท้องที่แลได้ไปตรวจดูโรงหีบด้วยตนเองในคร้งนี้ กลับ ความเห็นเปนอย่างอื่น เห็นว่าที่จะให้ทําด้วยเครื่องสมิตนั้นไม่ได้ เพราะคนเหล่านี้ ไม่มีทุนพอจะซื้อเครื่องสมิตอย่างหนึ่ง ถึงจะมีทุนพอซื้อก็ได้ไม่คุ้มดอกเบี้ยทุนที่ลง เพราะการหีบอ้อยทําแต่เพียงปีละ ๓ เดือน จะต้องทิ้งเครื่องสมิตป่วยการอยู่ถึงปีละ ๙ เดือน การโรงหีบทางนี้ไม่ได้ทําเป็นการใหญ่ ถึงแก่จะปลูกอ้อยให้ทําตลอดปี แล้ว ยังซ้ําต้องอาไศรย์ขึ้นอ้อยสุดแต่ราษฎรจะทํามาขายด้วย สังเกตดูโรงหีบซึ่งได้ไปดูถึง ๒ โรง ในเวลานี้ ทิ้งให้รุงรังจนถึงหลังคาเปนรูโหว่ทั่วไป แต่แรกเห็น ถึงแก่ถามว่า โรงร้างหรือมีเจ้ าของทําอยู่ ได้ ความว่าเปนของที่ทําอยู่ แต่เปนเวลาระดูว่างจึ ง ทอดทิ้ งไว้ ดั ง นี้ แต่ ถึง ระดู แ ล้ ง จึ ง พอจะลงมื อ ซ่ อ มแซมเมื่ อจะลงมื อ หี บ อ้ อ ย ได้ พิเคราะห์ดูเครื่องหีบที่ใช้อยู่ทุกวันนี้เปนอย่างจีน ซึ่งคิดใช้มานานับด้วยร้อยปี หนัก แลไม่สนิทสนม ถ้าคิดทําลูกหีบด้วยเหล็แลให้มีจักรขบช่วยแรงจะเบอแรงขึ้นได้อิก มาก พิเคราะห์เห็นถึงคิดใช้แรงคนหมุนนอย่างเครื่องตีพิมพ์หรือเครื่องทําน้ํามะเน็ด ไม่ต้องใช้แรงสัตว์ได้ โดยจะไม่ถึงเช่นนั้น แต่เพียงคิดทําลูกหีบให้เบาแลให้มีจักรช่วย แรงมากขึ้น ก็จะใช้สัตว์น้อยตัวลงได้ดว่าที่ใช้อยู่เปนอันมาก แต่จนใจเปนการเหลือ ความรู้ จะต้องเอาไว้ปฤกษาอินชะเนียดูต่อไป ได้ปฤกษากับพวกทําไร่ถึงเรื่องวิธีเก็บภาษีสมพักสรแลเรื่องออกใบจองใน เรื่องสมพักศรนั้น ความเห็นของพวกทําไร่ยุติเปนอันเดียวกันหมดว่า ถ้าเก็บตาม เนื้อที่ดินเสอมไร่ละสลึงเฟื้อง แล้วแต่ราษฎรจะปลูกผลไม้อยย่างใด ๆ ไม่ว่า อย่างนี้ จะเปนการสะดวก แลจะเปนที่มีน้ําใจแก่คนทําไร่มากด้วยไม่มีการที่จะต้องนําตรวจ ต้นผลไม้ แลไม่ลําบากที่จะต้องต่อล้อต่อเถียงกับเจ้าพนักงาน ว่าโดยอัตราที่เก็บทุก วันนี้ ซึ่งเก็บอยู่เป็น ๒ อย่าง คือ เก็บตามที่ดินบ้าง เก็บตามต้นไม้บ้าง ถ้าคิดถัวตาม เงินภาษีที่เก็บก็ลงกัน กล่าวคือ ที่นับต้นบางที่ก็เกินไร่ละสลึงเฟื้อง บางทีก็ไม่ถึง ถ้า เห็นเป็นที่ดินสะดวกกว่า แต่การที่จะให้จองที่นั้นพวกชาวไร่ร้องว่า ถ้าให้จองเปน การเดือดร้อน เพราะที่ดินที่ทําไร่ทํา ๗ ปี ๘ ปี แล้วดินเค็ม หรือหญ้าคาขึ้น ต้องทิ้ง


๑๘ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ที่ไปถางป่าหาที่ทําใหม่ มีที่ซึ่งทิ้งร้างอยู่ในเวลานี้หลายพันไร่ แลไม่ใคร่มีการที่จะ แย่งชิงที่ดินกัน เพราะที่ป่าเปล่ายังมีมาก ถ้าหากว่าให้จองที่ก็จะต้องเสียค่าจองร่ํา ไป เปนความเดือดร้อน ถ้าหากว่าจะจัดให้เปนหลักถานในการเก็บภาษี จัดเช่นนี้ เห็นว่าจะเรียบร้อยตลอดได้ คือ ถ้าผู้ใดจะถางป่าทําไร่ ให้ขออนุญาตต่อนายอําเภอ นายอําเภอรางวัดแลกําหนดที่ให้ แลเก็บภาษีแก่คนนั้นตามพระราชบัญญัติต่อไปทุก ๆ ปี กว่าคนนั้นจะทิ้งที่เมื่อใดก็ให้บอกคืนแลอนุญาตใหม่ดังนี้ ที่ว่านี้ว่าโดยการทําไร่ โดยมาก แต่ที่ไร่ซึ่งเจ้าของหวงห้ามตั้งประจําอยู่ เพราะเปนที่อยู่ริมคลองริมหนอง ปลูกหมากมะพร้าววแลทํานาได้ก็มีบ้าง แต่ไม่มากนัก ท้องที่อําเภอพระปฐมนี้ ข้าง ทิ ศ ตะวั น ออกเปนที่ ต่ํ า ทํ า ได้ ทั้ งไร่ แ ลนา มี ค นหวงห้ า มอยู่ ป ระจํ า โดยมาก ทาง ตะวันตกเปนที่ดอน ระดูแล้งเหือดแห้งหาน้ําใช้โดยยาก แต่เดิมที่ดินอุดม ที่ดอน ปลูกผักผลไม้ต่าง ๆ ไม่ต้องรดน้ํามีผลบริบูรณ์จนกว่าดินจะเค็ม ต้นไม่เหล่านั้นจึง ตายแลปลู ก ไม่ ง อกงามได้ ใ นที่ เ ช่ น นี้ ปลู ก ได้ แ ต่ น้ อ ยหน่ า สั ป รศ เผื อ กมั น แล ไม้ล้มลุกอย่างอื่น ๆ ซึ่งงอกงามในระดูฝน แต่ต้นไม้ซึ่งอยู่ได้นาน เช่น มะม่วง หมาก มะพร้าว ปลูกในที่ดอนเช่นนี้ ทนความเหือดแห้งในระดูร้อนไม่ได้ปลูกได้แต่ในที่ลาด ปากหนอง ขึ้นงามแลมีราคาดี ที่ว่าที่เค็มนั้นเปนการประหลาด พึ่งรู้ใคราวนี้ว่าที่ พระปฐมนี้เปนที่มีเกลือสินเทาอย่างเมืองนครราชสิมา ว้นแต่น้อยกว่า บ่อน้ําที่ขุด บางบ่อก็จืด บางบ่อก็เคค็มแลมีส่าห์เกลือขึ้นตามแผ่นดินด้วย การทําไร่ในเวลานี้ได้ความว่ามากขึ้นกว่าแต่ก่อนอันมาก ที่ป่าถางเปนไร่ ตลอดออกไปจนหนองแขม คงจะถึงห้วยกระบอกไม่ช้านัก ที่ทําไร่มากขึ้นได้ความ ว่า เพราะโจรผู้ร้ายสงบลง คนกล้าออกไปอยู่ที่เปลี่ยวไม่กลัวโจรไภย ประการหนึ่ง เพราะมีจีนออกมาจากกรุงเทพ ฯ เปนอันมาก เนือง ๆ ทําได้กําไรดี ในว่าจีนใหม่ ออกมาทําการเปนลูกจ้างไม่ถึง ๒ ปี ก็ตั้งตัวทําการของตนเองได้ ได้ความดังนี้ ใน การทําไร่ในอําเภอพระปฐมนี้ เห็นว่าเพราะเหตุที่ดินมีมากกว่าคนเท่านั้นเอง จึงได้ ทิ้งไร่เที่ยวเลือกที่ทําเอาใหม่ ไม่มีใครหวงแหนที่ดังที่นา ได้ลองถามพวกทําไร่ว่า เมื่อ ที่ไร่เก่าไปเสียแล้ว ทําไมไม่ใช้ปุ๋ย์ช่วยกําลังดิน พวกเหล่านั้นพากันหัวเราะว่าใช้ปุ๋ย์ ต้องเปลืองโสหุ้ยมาก แต่น้ํายังไม่รด ถ้าไปลงทุนทําปุ๋ย์ จะเอาการไร่ที่ไหนมา สู้ถาง


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๙

ป่าเอาใหม่ไม่ได้ดังนี้ เห็นว่าเมื่อรถไฟแล้วสินค้าจําหน่ายได้มากขึ้น ราคาดีขึ้น คงจะ มีคนเท่าไร่มากขขึ้น เมื่อคนพอแก่ที่เมื่อไรเมื่อนั้นจึงจะเกิดหวงที่ถึงจะจัดเรื่องการ จับจองที่ดินในที่นี้ได้ตลอดไป แต่เรื่องเก็บสมพักศรนั้น ควรต้องคิดเก็บตามเนื้อ ที่ดินไม่ว่าที่พรปฐมนี้หรือที่ใด ๆ ทั่วไป จึงจะเปนการเรียบร้อยแลเชื่อว่าจะได้เงิน มากขึ้นด้วย เวลาบ่ายโมงเสศ พระองค์จีระเสด็จมาถึงได้จัดให้ประทับอยู่ที่วัง ส่วนฉัน ย้ายขึ้นไปอยู่ที่ระเบียงพระปฐม เวลาบ่ายได้ขี่ม้าออกไปเที่ยวดูพื้นที่ทางหลังพระปฐมจนถึงตําบลอุหล่ม ระยะทางประมาณ ๓๐ เส้น ที่ข้างหลังพระปฐมนี้เปนที่ป่าละเมาะทิ้งร้างว่าเปล่าอยู่ โดยมาก ทีจะเปนที่เค็มอย่างเขาว่า มีไร่แลสวนอยู่ห่าง ๆ ที่เหลล่านี้ เปนชานเมือง โบราณยังมีคูและเชิงเทินทั้งสระที่ขุดเอาดินขึ้นทําพระปฐมหรืออย่างไร ดูทําเลใน ระดูนี้เขียวสดแลมีน้ําเต็มทุก ๆ ห้วย แลสระงามน่าเที่ยวเล่น แต่ระดูแล้งจัดน่ากลัว น้ําแลใบไม้แห้ง ด้วยทางนี้เปนป่าแดงตลอดจนพระแท่น แต่ก็แล้งอยู่เพียงปีละ ๒ เดือนหรือ ๓ เดือน เปนออย่างมาก เวลาเย็นได้นิมต์พระสวดมนต์ในพระวิหารเปนการสมโภชพระปฐมเจดีย์ แลมีละครเมื่อสวดมนต์จบแล้ว จนถึง ๕ ทุ่มเลิก วันที่ ๑๖ เวลาเช้า เลี้ยงพระแล้วลงเรือไปนมัศการพระปโทน กลางวันมี ละคร เวลาบ่ายเวียนเทียนสมโภชพระปฐมเจดีย์ เวลาค่ําจุดดอกไม้เพลิง ซึ่งพรสงฆ์ มีพระปฐมเจติยานุรักษ์เปนต้นทํามาช่วยบูชาพระปฐมเจดีย์ เป็นเสร็จการสมโภช ซึ่งได้กระทําโดยตั้งใจอุ ทิศถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็ จพระจอมเกล้ า เจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์แลเฉลิมพระเกียรติยศพระบาทสมเด็พ ระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐซึ่งทรงตั้งพระราชหฤไทยหวังจะ ทํานุบํารุงพระราชอาณาจักรแลไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้อยู่เย็นเปนศุขแลเจริญรุ่งเรือง ขึ้นจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการบ้านเมืองแลโปรดให้ตัวฉันออกมา ตรวจจัดราชการสนองพระเดชพระคุณในครั้งนี้ ของอานิสงษ์จงเปนผลอันสําเร็จดัง พระบรมราชประสงค์จงทุกประการ


๒๐ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ข้าราชการฝ่ายหน้า - ฝ่ายใน เมื่อครั้งตามเสด็จรัชกาลที่ ๕ มานมัสการพระปฐมเจดีย์ มาพระปฐมเจดีย์คราวนี้ ได้เอาเปนธุระสืบค้นของโบราณได้พระพิมพ์ หลายรูป พิเคราะห์ดูรูปพระพิมพ์เปนทํานองฮินดูคล้ายกับที่ได้ในแหลมมลายู แลได้ ไปพิจารณาดูศิลจําหลักที่ตั้งไว้ในลานพระปฐม ท่วงทีฝีมือคล้ายกับที่มีในเกาะชะวา ดูพอเปนพยานในความสันนิถานได้อย่างหนึ่งว่าพระปฐมเจดีย์นี้ชาวมัชฌิชประเทศ คงจะเปนผู้ส้รางหรือเปนครูให้สร้าง แต่เทวรูปที่ขุดได้เปนเทวรูปอย่างเดียวกับเขมร เหมือนกับที่มีในเมื่องสวรรค์ เมืองสิงห์ แลเมืองนครราชชสิมา ตลอดจนเมืองเขมร นึก ๆ ดูเห็นว่าบางทีเมื่อครั้งยังถือสาสนาพราหม เมืองเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องกับเมือง เขมรอย่ า งใดอย่ างหนึ่ ง มาต่า งกั นเมื่ อ ชั้ นถื อ พระพุ ท ธสาสนา เหตุ ว่ า พระพุ ท ธ สาสนาแพร่หลายมาทางบกลงทางเมืองพม่า เช่นนี้บางทีจะเปนได้ ได้พบของสําคัญ คราวนี้อย่างหนึ่ง คือ เงินเหรียญโบราณ พวกจีนขุดได้ทางคลองพระปโทน จีนพุก ผู้ใหญ่บ้านนํามาให้ดูตราเปนทํานองปราสาทมีรูปปลาอยู่ใต้นั้นด้านหนึ่ง เปนอุณา


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๑

โลมกับลายรูปอะไรไม่รู้อิกด้านหนึ่ง ไม่เคยเห็นเงินอย่างนี้มาแต่ก่อน ได้สั่งให้จีนพุก ผู้ใหญ่บ้านผู้เปนเจ้าของ พาเข้าไปคอยอยู่ที่กรุงเทพ ฯ เพื่อจะได้นําเข้าทูลเกล้า ฯ ถวาย พระปฐมเจดีย์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์ ขึ้นนี้ ยิ่งเที่ยงแลยิ่งดูก็ยิ่งแลเห็นว่าทําดีแลทํางามมาก งามทั้งแบบอย่างแลท่วงทีที่ จะปลูกสร้างโบถวิหารแลสิ่งอื่น ๆ นึกว่าใคร ๆ มาดูที่จะไม่ชมว่างามเห็นจะไม่ได้ ในเวลานี้การปฏิสังขรณ์ได้ทอดทิ้งมาช้านาน พระปฐมเจติยานุรักษ์มีความอุสาหะ เรี่ยรายปฏิสังขรณ์ได้บ้างเล็กน้อย เพียงงปิดทองพระประทานแลพระพุทธรูปตาม พระวิหารทิศเกือบสําเร็จไปได้หมด แต่ไม่พอจะป้องกันความซุดโซม ที่สําคัญนั้นคือ กระเบื้องที่ประดับองค์พระปฐม ที่ระฆังร่วงลงมาเสียกว่าครึ่ง มีต้นไม้ขึ้น เลขวัดได้ ขึ้นแผ้วถางในการเตรียมรับฉันคราวนี้แต่ก็พอแลเห็นได้ว่า เวลาปรกติตามระฆังคง จะมี ต้ น ไม้ ม าก สิ่ ง ที่ ชํ า รุ ดสํ า คั ญ นอกจากนี้ คื อ พระระเบี ย งที่ ส ร้ า งในแผ่ น ดิ น ปัจจุบันนี้ ข้างด้านตะวันตกฉัยงใต้หลังคาพังลงแถวหนึ่ง ประมาณหนึ่งในแปดส่วน ของพระระเบียงโดยรอบ นอกจากนี้เปนแต่ชํารุดซุดโซมเล็กน้อยทั่วไป พอแก้ไข เยี ย วยาได้ ไ ม่ย าก คิ ด ดู ก ารที่ จ ะรั ก ษาพระปฐมเจดี ย์ไ ม่ ใ ห้ชํ า รุ ด ซุด โซมหนั ก ไป กล่าวคือให้มีคนคอยซ่อมอยู่เสมออย่างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถ้าหากว่าจ่ายเงิน หลวงเสมอปีละ ๕๐ ชั่งเห็นจะพอแก่การ ยังจะเรี่ยรายได้ตามเทศการอิกสักปีละ ๓๐๐๐ บาท แต่เงินเท่านี้ยังไม่พอที่จะประคับประดับกระเบื้ององค์พระปฐมเจดีย์ ให้ดีได้ดังเก่า เพราะจะหนักในค่านั่งร้านมาก ในวันที่ ๑๗ เวลา ๒ โมงเช้าพร้อมกันนมัศการลาพระปฐมเจดีย์ลงเรือ กลับออกจากคลองเจดีย์บูชาล่องลําน้ํานครไชยศรีมาแวะดูที่ว่าการอําเภอตลาดใหม่ ซึ่งหลวงบํารุงจีนประชาเปนนายอําเภอ ที่ว่าการอําเภอนี้นายอําเภอได้ปลูกเรือนไม้ เปนที่ว่าการอําเภอดูงดงามพอแก่การ การในอําเภอก็เรียบร้อย โจรผู้ร้าย แม้การ ล้วงลักเล็กน้อยก็วว่าน้อยกว่าอําเภออื่น ๆ ถ้อยความก็เปรียบเทียบว่าแล้วไปได้ มากกว่าต้องส่ง จัดว่าเปนดีกว่าอําเภออื่นในเมืองนครไชยศรี ยังเสียแต่เขียนแบบ พิมพ์พลาดอยู่บ้าง ตรวจที่ว่าการอําเภอแล้วเดินไปดูตลาดซึ่งหลวงบํารุงจีนประชา


๒๒ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

สร้างขึ้นในที่นี้เก็บค่าเช่าได้ปีละกว่า ๔๐ ชั่ง แล้วไปดูโรงหีบแลบ้านของหลวงบํารุง แล้วจึงลงเรือล่องน้ําต่อมา เวลาบ่าย ๔ โมงเสศ ถึงปากคลองดําเนินสะดวก อยุด พัก ที่ นี่ คืน หนึ่ ง เจ้ าพระยาสุ ร พัน ธ์ พิ สุท ธิ ข้า หลวงภิ บ าลมณฑลราชบุ รี พระยา อมรินทร์ฤาไชย ผู้ว่าราชการเมืองราชบุรี หลวงวิเสศภักดี ว่าที่ปลัดเมืองสมุทรสาคร มาคอยรับอยู่ที่นี้ ลําแม่น้ําในเขตรเมืองนครไชยศรี ดูไม่สู้ครึกครื้นเหมือนในเขตรสุพรรณ์ เห็นจะเปนเพราะกว้างกว่า แลบ้านเมืองมักจะตั้งลึกเข้าไป การทํามาค้าขายตามลํา น้ําตอนนี้ ได้ความว่าทํานาเปนพื้น เพราะเข้าเมืองนครไชยศรีมีน้ําหนักมาก ขาย ตามโรงสีไ ฟในกรุงเทพ ฯ ได้ราคาดีกว่าเข้านาเมือง คนจึงพากันมาทํานาแลมา รับซื้เข้าทางเมืองนครไชยศรีมากขึ้น ในเวลานี้ได้ทราบว่ากําลังคอนอพยบเข้ามาหา นาทําในเมืองนครไชยศรีเปนอันมาก ความในศาลมีแต่เรื่องแย่งที่นากันเปนพื้น นอกจากทํานามีการทําสวนทําไร่ ได้เห็นไร่งาม ๆ หลายแห่ง แต่พวกที่ทําสวนทําไร่ ร้องว่าไม่ดีเหมือนแต่ก่อน ด้วยทุกวันนี้น้ํากัดคลองลัดท่าจีนโตออกไป ในระดูแล้ง น้ําเค็มขึ้นแรงทําให้ที่สวนที่ไร่เสียไปมาก แต่น้ําเค็มทําให้เกิดสวนจากขึ้นเปนสินค้า ในลําน้ํานี้ได้อิกอย่างหนึ่ง การทํามาค้าขายอย่างอื่นมี โรงหีบ ทําน้ําตาลทรายตั้งอยู่ ตามลําน้ํา ๓ โรง มีโรงปั้นโอ่งอ่างเครื่องปั้นดินเผาประมาณ ๓ แห่ง เพราะมะเกลือ ป่ามีอยู่ข้างหลังพระปฐมเจดีย์ต่อพรมแดนเมืองกาญจนบุรี พวกชาวบ้านนอกเก็บ บันทุกเกวียนลงมาขายซื้ อได้ราคาถูกจึ งมีผู้ตั้งย้ อมแพรดํา มะเกลือไปจําหน่า ย ต่างประเทศได้กําไรราคาดี ในการย้อมครามก็ทํานองเดียวกัน ด้วยอาไศรย์ซื้อคราม ตามไร่ในคอลงเจดีย์บูชาแลในที่เหล่านี้ได้ราคาถูก รวบรวมเนื้อเห็นการที่ได้ตรวจเมืองนครไชยศรีครั้งนี้เห็นว่า ในส่วนการ โจรผู้ร้าย การปราบปรามกรมการ แลจัดกํานันผู้ใหญ่บ้านเรียบร้อยเปนอย่างดีได้ จริงดังคําเล่าลือเข้าไปถึงกรุงเทพ ฯ ฉันได้ตั้งใจไต่ถามอําเภอกํานันแลราษฎรบันดา ที่ได้พบปะทุก ๆ แห่ง มีเสียงเปนอย่างเดียวกันว่าเมืองนครไชยศรีใน ๓ ปีมานี้ การ โจรผู้ร้ายเรียบร้อยขึ้นทุกที ราษฎรได้ทํามาหากินได้เปนศุข กํานันผู้ใหญ่บ้านไม่มี ความเดือดร้อนอย่างใด การที่เลือกด่านภาษีเปนที่พอใจของราษฎร พากันยินดี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๓

ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยมาก ความหยุกหยิกในราษฎรเวลานี้ มีแต่เรื่องแย่งที่นากันทํา เพราะคนอพยพแต่ที่อื่นเข้ามาทํานาในแขวงเมืองนครไชย ศรีเปนอันมาก การออกใบจองยังห้ามไว้ คนจึงเกิดทุ่งเถียงกันด้วยเรื่องแย่งที่นา เรื่องนี้เปนเรื่องสําคัญที่จะต้องคิดรีบจัดเสียโดยเร็ว ช้าไปการวิวาทจะเกิดมากขึ้น คนในเมืองนครไชยศรีไม่ว่าพระ คฤหัศ จีน ไทย ฟังเสียงดูพากันนิยมต่อ พระยาสุนทรบุรีทั่วน่า ไม่มีใครได้กล่าวโทษหรือติเตียนอย่างใด ที่จริงกระบวนความ เอื้อเฟื้อต่อผู้น้อย แลการที่ไหวพริบระวังรักษาการตามคําสั่งแลน่าที่พระยาสุนทร บุรีจัดว่าดีได้จริง ดีกว่าเทศาบางคน ขาดอยู่แต่ความรู้ที่จะคิดอ่านจัดการด้วยลําพัง ปัญญาตนหรือจะแก้ไขสดร้อนโดยทางดิโปลมาซี ดเช่นกระบวนที่จะเล่นกับพวก บาทหลวงยังไม่สู้ สันทัด จํ าต้องสั่ง ต้องสอนจึงทําได้ แต่กระนั้นเห็นว่ าที่จะหาผุ้ ใดเปนเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีในเวลานี้ ได้ดียิ่งกว่าพระยาสุนทรบุรีเห็นว่าหา ไม่ได้ ด้วยทรงคุณวุฒิอันสําคัญ กล่าวคือ ที่คนในมณฑลนับถือทั่วไปอย่างเดียวกับ พระยาพิไ ชย แลพระยาสุ ขุ ม ถึง กระบวนความสามารถในบางอย่ า งจะต่ํ า กว่ า ข้าหลวง เทศาภิบาลทั้ง ๒ นั้นก็เล่นที่อยู่ในกรุงเทพ ฯ วิ่งไต่วิ่งถามได้ง่าย จึงเห็นว่า ควรเปนที่พอใจอยู่แล้ว (เซนพระนาม) ดํารงราชานุภาพ


๒๔ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๕

ตนเหตุของนามนครชัยศรี พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร


๒๖ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๗

อารัมภ์ (คํานําในการจัดพิมพ์ครั้งแรก)๓ ในวาระที่ จ ะได้รั บ พระราชทานเพลิ งศพหม่ อมเจ้ า หญิ ง วิ ม ลปั ท มราช จิรประวัติ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสนี้ พวกน้าๆ โสณกุลใคร่จะได้มีส่วนช่วยเหลือ โดยญาติสังคหะจึ่งเห็นกันว่าถ้าได้พิมพ์หนังสือช่วยเป็นที่ระลึกแห่งงานนี้ก็จะดี และ ได้ตกลงจะใช้เรื่องที่ข้าพเจ้าเคยเขียนไว้ครั้ง ๑ ว่าด้วยชื่อ “นครชัยศรี” เพราะเป็น พระนามกรมของเสด็จพ่อของเธอผู้ล่วงลับไป เรื่องที่ว่านี้ข้าพเจ้าได้เขียนให้ลงใน วารสารภาษาไทยของสยามสมาคมเล่ม ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ และได้ให้ชื่อเรื่องว่า “พระเจ้ า ชยวรมั น ที่ ๗” ต่ อ มาเมื่ อ ข้ า พเจ้ า ต้ อ งไปปฏิ บั ติ พ ระราชกรณี ย แทน พระองค์ในงานพระกฐินหลวงที่วัดพระปฐมเจดีย์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๔ นายสนั่น บุณยศิริพันธุ์ เจ้าของโรงพิมพ์พระจันทร์ได้พิมพ์มาช่วยโดยเสด็จพระราชกุศลใน ครั้งนั้นอีก ในการที่จะพิมพ์คราวนี้นับได้ว่าเป็นการพิมพ์ลําดับ ๓ แต่ข้อความแม้ สารจะมิได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ก็มีแก้ไขเพิ่มเติมไม่น้อย จึ่งได้เปลี่ยนชื่อเรื่อง เสียใหม่ว่า เรื่อง “นครชัยศรี” พวกโสณกุลหวังว่า เรื่องนี้จะเป็นเรื่องเหมาะพอที่จะใช้ชําร่วยเพื่อเกียรติ ของเธอผู้ล่วงลับไป หากหญิงใหญ่ วิมลปัทมราช ได้ทราบเหตุผลที่เลือกเรื่องนี้ก็ น่าจะอนุโมทนา. กรมหมื่นพิทยาลากพฤฒิยากร ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๐๘

ราชสกุล โสณกุล พิมพ์ช่วยในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงวิมลปัทมราช จิรประวัติ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส พ.ศ.๒๕๐๘


๒๘ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๒๙

เรื่อง นครชัยศรี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร ต้นเหตุของนามว่านครชัยศรี นครชัยศรีของไทย คําว่านครชัยศรี ในสมัยรัชการที่ ๕ เป็นชื่อเมือง ๆ หนึ่งซึ่งตั้งอยู่ที่พระ ปฐมเจดีย์ มีท้องที่จดลําน้ํานามเดียวกัน อันไหลแต่เหนือลงสู่อ่าวไทยระหว่างแม่น้ํา เจ้าพระยากับแม่น้ําราชบุรี ลําน้ํานครชัยศรีนี้ไหลผ่านสุพรรณบุรี(ตอนนี้มักเรียกกัน ว่าแม่น้ําสุพรรณ) ตรงลงมาทางใต้ผ่านอําเภอนครชัยศรีซึ่งเดิมเรียกว่าตลาดใหม่ (ตอนนี้แหละที่เรียกว่าแม่น้ํานครชัยศรี) แล้วไหลต่อลงมาทางใต้ผ่านท่าจีน จังหวัด สมุทรสาคร (ตอนนี้เรียกแม่น้ําท่าจีน) ในพุทธศักราช ๒๔๓๕ เมื่อจัดการปกครอง ท้ อ งที่ เ ป็ น มณฑล โปรดเกล้ า ฯให้ เ มื อ งนครชั ย ศรี เ ป็ น ที่ ตั้ ง ศาลารั ฐ บาลมณฑล นครชัยศรี เท่าที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ครั้งนั้นก็ว่าในรัชกาลสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ พอเสร็จศึกพม่าครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๐๙๑ ก็ทรงจัดการปกครอง ท้องที่เบื้องใต้พระนครศรีอยุธยาไว้เพื่อป้องกันพระราชอาณาจักรหลายอย่าง เช่น ยกบ้านท่าจีนตั้งแต่เป็นเมืองชื่อสมุทรสาคร บ้านตลาดขวัญเป็นเมืองชื่อนนทบุรี แบ่งเอาเขตราชบุรีกับเขตสุพรรณบุรีมารวมกันตั้งเป็นเมืองนครชัยศรี เป็นต้น แต่ ความหาปรากฏไม่ว่า สํานักงานบัญชาการของเจ้าเมืองนครชัยศรีใหม่นี้อยู่แห่งใด ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ โดยเหตุที่บริเวณพระปฐมเจดีย์ในเขตเมืองนครชัยศรี เต็มไปด้วยซากเมืองโบราณ แต่ไม่มีใครยืนยันได้ว่าเมืองโบราณนี้คือเมืองอะไร และ โดยเหตุที่ชื่อ “นครชัยศรี” นี้ ดังละม้ายคล้ายคลึงกันกับชื่ออาณาเขตศรีวิชัยโบราณ จึง อนุ มานกั น ว่า ชะรอยนครชั ยศรี นี้เ องจะตรงกับ ชื่อ ศรี วิ ชัย โบราณนั้น แต่ก าร สอบสวนของนักปราชญ์ทางโบราณคดีต่อมาได้พิสูจน์ให้ปรากฏว่า อาณาเขตศรี


๓๐ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

วิชัยโบราณนั้นส่วนใหญ่อยู่ต่อลงไปทางใต้ ในแหลมมลายูจนถึงชวา สุมาตรา และ ราชธานี ข องอาณาเขตศรี วิ ชั ย นั้ น เล่ า ถึ ง แม้ ยั ง ไม่ มี ใ ครรู้ แ น่ ว่ า ตั้ ง อยู่ ที่ ไ หน แต่ ความเห็นที่มีเหตุผลพอฟังได้นั้นยุติลงว่าจะอยู่ในบริเวณเมืองปาเลมบังทางภาคใต้ ของสุมาตรา จริงอยู่ ดร.ควอริตช์ เวลส์ แย้งว่าราชธานีของศรีวิชัยอยู่ที่ไ ชยาใน ประเทศไทย แต่นั่นก็ยังไกลจากพระปฐมเจดีย์อยู่มาก และถึงอย่างไร ๆ ความเห็น อันนี้ก็ไม่มีหลักฐานสนับสนุนเท่ากับความเห็นว่า อยู่ทางปาเลมบัง อย่างไรก็ดีการ ค้นคว้าทั้งนี้ได้ลบล้างมติที่ว่า “นครชัยศรี” คือ “ศรีวิชัย” ในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ขนาน นามเมืองที่ตั้งสํานักบัญชาการมณฑลเสียใหม่ว่า นครปฐม ส่วนชื่อนครชัยศรีใช้ เรี ย กอํ า เภอตลาดใหม่ ที่ ตั้ ง อยู่ ข้ า งแม่ น้ํ า ทั้ ง นี้ มิ ไ ด้ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ ทางอนุ ม านใน โบราณคดีประการใด และมิได้มีพระราชประสงค์อย่างอื่นใดนอกจากว่าเมืองนี้ยัง ไม่ได้ชื่อที่เหมาะ จึ่งทรงขนานนามพระราชทานใหม่เท่านั้น ปัญหาว่าเหตุใดครั้งโบราณ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึ่งทรงขนานนาม เมืองนี้ว่า เมืองนครชัยศรี จึ่งยังไม่มีคํ าตอบที่เป็นหลักฐานอย่างใด ความจริง มี นิทานของท้องที่อยู่หลายสํานวน๔ ซึ่งกล่าวถึงเจ้านายมีพระนามว่าสิริชัยแห่งเชียง แสน ซึ่ ง ทิ้ ง เชี ย งแสนอพยพผู้ ค นลงมาสร้ า งบ้ า นเมื อ งอยู่ แ ถบนี้ อาจถ่ า ยนาม เนื่องมาจากพระนามเจ้านายพระนามนี้ก็ได้ นครชัยศรีของกัมพูชา นอกจากนี้ นามนครชั ย ศรี ยั งได้ ใ ช้ เ ป็ น หลั ก ฐานของประเทศกั ม พู ช า โบราณ จะเกี่ยวข้องกับที่ไทยเพียงไรหรือไม่ ข้าพเจ้าไม่สามารถจะชี้ขาดลงไปได้ แต่ ๔

เช่นเรื่องพระปฐมเจดีย์ที่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ รวบรวมไว้และพิมพ์เป็นเล่มขึ้น กับ เรื่อง “พระปฐมเจดีย์” ของกรมศิลปากร (โรงพิมพ์ ศิวพร ๒๕๐๖) ซึ่งได้วิจารณ์เทียบเคียงความ ไว้ในวารสารสยามสมาคม เล่ม ๕๒ ภาค ๑ น.๑๒๕ อีกทั้ง Dhami : Phra Pathom in mediaeval tradition (Artibus Asiae,Special no Vol.XIX,3/4)


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๑

ได้นําความมาลงไว้ต่อไปนี้ เพราะน่าสังเกต ศาสตราจารย์เซเดส์แห่งวิทยสถาน ฝรั่ ง เศส สํ า หรั บ ภาคตะวั น ออกไกล ซึ่ ง ตั้ ง สํ า นั ก อยู่ ณ เมื อ งฮานอย ได้ แ สดง ปาฐกถาเมื่ อวันที่ ๔ ธั นวาคม ๒๔๘๒ ว่าด้วยผลใหม่ ๆ แห่งการค้น คว้าในทาง โบราณคดีแก่สมาคมสหายของวิทยสถานที่ออกนามมาแล้วนั้น ใจความว่าเจ้าหน้าที่ ได้ค้นพบศิลาจารึกใหม่ที่ปราสาทพระขรรค์ในบริเวณนครหลวงอีกแห่งหนึ่ง ได้ ความจากศิลาจารึกนั้นว่า พระเจ้าชยวรมันที่ ๗ ซึ่งเป็นพระองค์ท้ายของกษัตริย์ “นักก่อสร้าง” ในเขมรโบราณ (ประมาณเวลารัชกาล พ.ศ. ๑๗๒๕-๑๗๖๕) ได้ทรง สร้างเมืองใหม่ขึ้น พระราชทานนามว่า นครชัยศรี เพื่อฉลองชัยชนะที่ได้แก่ข้าศึก ณ ที่นั้น กล่าวเทียบนครชัยศรีนี้กับนครประยาค๕ โบราณในมัชฌิมประเทศว่าเป็นนคร ศักดิ์สิทธิ์ดุจกันเพราะประยาคนั้นตั้งอยู่ระหว่างอุภัยนที คือแม่น้ําคงคาและแม่น้ําย มุนา ส่วนนครชัยศรีนี้มีบริ เวณจดน้ําถึง สามห้วง อัน เป็นน้ําศักดิ์สิ ทธิ์อุทิศถวาย พระพุทธเจ้า พระอิศวรเจ้า และพระนารายณ์เจ้า ศาสตราจารย์เซเดส์เห็นว่า เมืองใหม่ที่กล่าวถึงในจารึกพระขรรค์นี้ไ ม่ น่าจะใช่อื่นไกลไหนเลย คือ บริเวณปราสาทพระขรรค์ซึ่งได้จารึกมานั้นเอง เพราะ การสร้างนครชัยศรีนี้เป็นเรื่องใหญ่ในจารึกเป็นตัวความ และเป็นเหตุให้สร้างศิลา จารึกนี้ขึ้น ทั้งนี้อนุมานจากเหตุว่า จารึกนี้ขึ้นต้นด้วยคํานมัสการต่าง ๆ และคํายอ พระเกียรติพระเจ้าชยวรมันที่ ๗ พอเสร็จตอนนี้แล้วก็เริ่มกล่าวถึงการสร้างเมือง ใหม่ทีเดียว ทําให้เห็นประหนึ่งว่า เรื่องนี้แหละเป็นข้อความที่ท่านต้องหารจะจารึก ไว้ให้ปรากฏในที่นี้ นอกจากนี้ยังมีเหตุประกอบอันจะทําให้เชื่อได้ว่านครชัยศรีตรงกันกับ บริเวณปราสาทพระขรรค์อีกสองข้อคือชื่อที่เรียกกันทุกวันนี้ว่า พระขรรค์ นั้น ย่อม หมายถึงพระแสงราชูปโภคของโบราณ ซึ่งยังรักษาไว้ในพระราชวังที่พนมเพ็ญ ซึ่ง ศาสตราจารย์เซเดส์เข้าใจว่า ในโบราณกาลคงจะได้เรียกกันอย่างพระแสงขรรค์อัน เป็นราชูปโภคในประเทศไทยว่า พระแสงขรรค์ชัยศรี นั้นข้อหนึ่งและอีกข้อหนึ่งก็คือ ๕

คือเมืองอัลลากะบัดทุกวันนี้


๓๒ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ลัก ษณะที่ เ รีย กบริ เ วณนี้ ใ นจารึ กว่ า นคร นั้ น ทํ า ให้บ ริ เวณนี้ ต่า งกัน กั บ บริ เ วณ โบราณสถานใหญ่ ๆ ซึ่งร่วมสมัยกันอีกสองแห่ง คือบริเวณบันทายกุฎี โบราณสถาน อันเป็นนครคล้าย ๆ กันกับบริเวณพระขรรค์ก็คือบริเวณนครธม และบริเวณบัน ทายฉมาร๖ ทางที่จะเข้าบริเวณพระขรรค์นี้ก็มีเครื่องประดับอันแสดงให้เห็นว่าเป็น ทางเข้าราชธานีกล่าวคือ สะพานที่มีพนักเป็นตัวนาคมีเทวดาฉุดข้างหนึ่ง อสูรอีก ข้างหนึ่ง อันเป็นเรื่องกวนน้ําทิพย์ ลวดลายสะพานเช่นนี้มีที่ทางเข้านครหลวง (นคร ธม) เหมือนกัน แต่ได้พิสูจน์มาแล้วว่าเป็นของใหม่กว่าที่พระขรรค์ ส่ว นข้ อที่ ว่ าไว้ว่ า นครชัย ศรี นี้ พึง เปรีย บด้ว ยนครประยาคของอิ นเดี ย โบราณ ด้วยเหตุที่ต่างแห่งก็มีลําน้ําศักดิ์สิทธิ์แวดล้อมอยู่ทําให้ตัวเมืองศักดิ์สิทธิ์ขึ้น นั้น หากนครชัยศรี คือบริเวณปราสาทพระขรรค์จริงแล้ว เราจะต้องหาห้วงน้ําสาม ห้วงที่กล่าวถึงในศิลาจารึกนั้นมาให้จงได้ และจะต้องแสดงหลักฐานด้วยว่าห้วงหนึ่ง ของพระพุทธเจ้า ห้วงหนึ่งของพระอิศวรเป็นเจ้า ห้วงหนึ่งของพระนารายณ์เป็นเจ้า แต่ ทั้ ง นี้ ห าเป็ น การเหลื อ ปั ญ ญาความรู้ ข องศาสตราจารย์ เ ซเดส์ ไ ม่ ท่ า น ศาสตราจารย์ พิ สู จ น์ อ ย่ า งที่ เ ราผู้ อ่ า นจะพึ ง เชื่ อ ตามได้ ส นิ ท ขอยกคํ า ของท่ า น ศาสตราจารย์มาแปลลงตรงในที่นี้ ดั่งต่อไปนี้ “ในข้อนี้ข้าพเจ้าคิดว่า เราอาจชี้ลงไปได้แน่ ๆ โดยไม่ต้องวิตกว่าจะผิด ว่า ห้วงน้ําที่กล่าวถึงในที่นี้ได้แก่ห้วงน้ําใหญ่ ๆ สามห้วง ซึ่งล้อมรอบพระนครหลวงอยู่ ในเวลานี้คือ สระตะวันออก (Baray oriental) ซึ่งมีเทวาลัยที่เรียกกันทุกวันนี้ว่า แม่ บน เป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์นั้นได้แก่ห้วงน้ําของพระอิศวรเป็นเจ้า สระตะวันตก (Baray occidental) ซึ่งนายเกลซพนักงานโบราณคดีได้รับพระนารายณ์บรรทม สินธุ์องค์ใหญ่ ทําด้วยทองคําสัมฤทธิ์ขึ้นมาจากใต้น้ําเมื่อ ๑๙๓๖ (พ.ศ.๒๔๗๙) และ ๖

ชื่อหลังนี้ปรากฏทางไทยในสร้อยราชทินนามเจ้าเมืองสุรินทร์ว่า พระยาสุรินทรภักดี ศรีไผทสมัน ชื่อนี้เข้าใจว่าเกิดขึ้นเมื่อไม่มีใครใคร่ได้นึกถึงบันทายฉมารแล้ว ดูเหมือนรัชกาลที่สี่ กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางดินแดนจังหวัดสุรินทร์คงจะยังปกครองเลยเทือกเขาดงรักลงไป จนถึงบันทายฉมารโดยผ่านช่องเสม็ด


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๓

บัดนี้ได้ตั้งไว้ให้มหาชนเข้าชมได้ในสํานักงานของกองโบราณคดีนครหลวงนั้น คือ ห้วงน้ําของพระนารายณ์เป็นเจ้า๗ ส่วนอีกแห่งหนึ่งซึ่งอุทิศถวายพระพุทธเจ้านั้น คือ สระที่อยู่ด้านตะวันออกของบริเวณปราสาทพระขรรค์ อันมีพุทธวิหารที่เรียกกันทุก วันนี้ว่านาคพัน” ตามที่ศาสตราจารย์เซเดส์อ้างเหตุผลมาพิสูจน์ว่านครชัยศรีคือบริเวณ ปราสาทพระขรรค์นี้ ข้าพเจ้าเห็นชอบด้วยทุกประการ ยังตะขิดตะขวงใจอยู่แต่ข้อ เดียวว่า นครชัยศรีนี้ทรงสร้างเป็นเมือง เพราะบริเวณพระขรรค์นี้เล็กนัก มีเนื้อที่ ทั้งหมดเกินกว่าหนึ่งพันตารางเมตรหน่อยเดียวเท่านั้น ทั้งภายในเนื้อที่นั้นก็เป็น บริเวณวิหารหมดเนื้อที่ อย่าว่าแต่บ้านผู้คนพลเมืองเลย แม้แต่บ้านข้าราชการก็จะ ไม่พอเสียแล้ว ยังพระราชวังจะตั้งอยู่ที่ไหนเล่า หากจะสมมตว่าตัววิหารเป็นวังก็ ไม่ได้ เพราะศิลาจารึกบ่งความชัดเจนว่า สร้างขึ้นไว้รูปพระโลเกศวรดั่งนี้ จริงอยู่ ศิลาจารึกเรียกบริเวณนี้ว่า นคร แต่ความอื่น ๆ ในจารึกเดียวกันไม่ส่อให้เห็นว่าเป็น เมืองประการใดเลย จึ่งอยากจะอวดรู้แนะว่า นคร อาจใช้สําหรับเรียกพระมหา วิหาร โดยอุปมาว่าเป็นนครของพระโลเกศวรโพธิสัตว์ดั่งนี้จะได้หรือไม่๘ ความปรากฏในจารึกด้วยว่า ในนครชัยศรีนี้หาได้ประดิษฐานแต่รูปพระ โลเกศวรโพธิสัตว์องค์เดียวไม่ หากยังมีรูปอื่น ๆ อีกตั้ง ๕๑๕ รูป คือแวดล้อมพระ โลเกศวรอยู่ ๒๘๓ รู ป ในวิ ห ารกลาง นอกจากนั้ น ไว้ ใ นวิ ห ารใหญ่ น้ อ ยรอบ ๆ ตลอดจนในศาลาพักในซุ้มประตู ในโรงพยาบาลของวิหาร และแม้ในฉางข้าวของ พระมหาวิหารนี้ รูปเหล่านี้ศูนย์หายไปเสียจนตามไม่พบแล้ว แต่ปรากฏว่ามีนาม

เทวรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์องค์นี้ นายเกลซได้พาข้าพเจ้าไปดูเมื่อคราวตาม เสด็จพระพันวัสสาอัยิกาเจ้าใน พ.ศ.๒๔๘๐ คะเนด้วยตาว่า เห็นจะได้ขนาดสักกว่าสองเท่าคน ธรรมดา ดูเหมือนว่ายาว ๔ เมตร ๘ ในประเทศไทยมีพระนครคีรีอยู่บนเขาวังที่เพชรบุรี ซึ่งก็ไม่ใช่เมืองเหมือนกันหาก เป็นพระราชวังอันมีพระวิหาร อันได้ชื่อว่า พระที่นั่งเวชยันตวิเชียรปราสาท แต่ความจริงกรณี พระนครคีรีหาตรงกันกับที่ข้าพเจ้าแนะไม่ เพราะเป็นชื่อวังมิใช่ชื่อวิหาร


๓๔ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ขนานไว้ทั้งนั้น นามเหล่านี้ยังสลักอยู่กับที่ ๆ ประดิษฐาน และเป็นนามของเจ้านาย และข้าราชการในสมัยนั้น เข้าใจกันว่าล้วนเป็นรูปสนองพระองค์ สนองตนของ เจ้านาย และข้าราชการนั้น ๆ ในนครชัยศรีนี้มีเจ้าหน้าที่ทั้งพระทั้งคฤหัสถ์เป็นจํานวนตั้งพัน ซึ่งเลี้ยง อาหารด้ ว ยพระราชทรั พ ย์ ทั้ ง นั้ น จารึ ก กล่ า วว่ า อาหารส่ ว นมากที่ จ่ า ยจาก ท้องพระคลัง คือ ข้าวและงาเป็นต้น และยังจ่ายของเครื่องใช้อีกหลายอย่าง มีระบุ คือ เสื้อผ้า แพรพรรณ น้ําหอม กระแจะ พิมเสน ขี้ผึ้ง ฯลฯ สิ่งก่อสร้างมีรายการ ละเอียดว่า ปรางค์ ๑๐๒ ปรางค์ เรือนหิน ๔๘๕ หลัง กําแพงแลง ๒๒๓๘ วา ฯลฯ จํานวนปรางค์ ๑๐๒ นี้ ศาสตราจารย์เซเดส์ว่ามีเหลือไม่ถึง จึงแนะว่าบางทีจะได้ สร้างอย่างไม่ถาวรไว้บ้างกระมัง บัดนี้จึ่งพังไปเสียบ้าง ในศิลาจารึกอันอื่น เราได้ทราบความว่า เมื่อปีตรงกับพ.ศ.๑๗๒๐ พวก จามได้ยกทัพมาตีเขมร ได้เผาผลาญพระนครหลวงลงเสียมาก แต่ภายหลังถูกตีแตก พ่ายไป ผู้นําทัพฝ่ายเขมรซึ่งออกตีทัพจาม คือ ชยวรมันที่ ๗ ผู้ซึ่งได้สร้างวิหารพระ ขรรค์นี้เอง ในขณะนั้นพระองค์ยังมิได้เสวยราชย์ แต่ต่อมาอีก ๔ ปีก็ได้รับราชสมบัติ ได้ลงมือบูรณะพระนครหลวงอย่างใหญ่โต ได้สร้างวัดที่บัดนี้เรียกกันว่า บันทายกุฎี ได้สร้างอาวาสอันมโหฬารซึ่งบัดนี้เรียกกันว่า ตาพรหม และฉลองในค.ศ.๑๗๒๙ เป็นที่ประดิษฐานพระปฏิมาสนองพระองค์พระชนนี เป็นรูปนางปรัชญาปารมิตา (คือ “นางปัญญาบารมี”) ตามคติมหายานพุทธศาสนา ได้สร้างกําแพงเมืองและ สะพานนาคข้ามคูเมืองเสียใหม่ด้วย บัดนี้ปรากฏความจากศิลาจารึกที่พอใหม่ที่วิหารพระขรรค์ ดั่งได้กล่าวง มาแล้วว่า ยังได้สร้างพระมหาวิหารนามนครชัยศรีนี้ขึ้นอีกเมื่อ พ.ศ.๑๗๓๔ แล้วในนี้ ได้ไว้รูปพระโพธิสัตว์โลเกศวรสนองพระองค์พระเจ้าธรณินทรวรมันผู้เป็นพระชนก ของพระองค์ ในที่สุดได้ทรงสร้างกําแพงและสะพานข้ามคูเมืองแห่งพระนครหลวง ซึ่งได้ถูกพวกจามเผาผลาญเสียนั้นขึ้นใหม่ แล้วจึงสร้างวิหารขึ้นกลางเมืองซึ่งบัดนี้ เรียกว่าบายน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสนองพระองค์พระองค์เอง ซึ่งขุดพบ แล้วที่ใต้หอกลางของสถานบายน บัดนี้ก็ตั้งพักไว้ ณ ใกล้ๆ กันกับบายนนั้น นัยว่า


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๕

พระพุทธรูปองค์นี้ก็ดี ปรางค์ของบายนเป็นหลายยอดซึ่งแทนที่จะทําเป็นรูปลึงค์ อย่างปรางค์แต่ก่อน ๆ ได้ทําเป็นหน้าพระโลเกศวรปรางค์ละ ๔ หน้านั้นก็ดี ทําโดย มีลักษณะให้เหมือนพระสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าชยวรมันที่ ๗ ทั้งนั้น ที่ระเบียง บายนก็ยังมีภาพสลักนูนแสดงการรบพุ่งกับจามปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ศาสตราจารย์ เซเดส์ อ ธิ บ ายว่ า พระเจ้ า ทั้ ง สามของลั ท ธิ ม หายานนั้ น ได้ แ ก่ พ ระพุ ท ธเจ้ า พระ โลเกศวรโพธิสัตว์ และนางปรัชญาปารมิตา การค้นคว้าก็ได้พบสถานที่ของพระเป็น เจ้าทั้งสามครบแล้วด้วยประการฉะนี้ คือ บายนของพระพุทธเจ้า พระขรรค์ของ พระโพธิสัตว์โลเกศวร ตามพรหมของนางปรัชญาปารมิตา ศิลาจารึกตาพรหมได้บรรยายกิจการซึ่งพระเจ้าชยวรมันที่ ๗ ได้ทรงทํา เป็นการส่งเสริมพระเกียรติ เช่นได้ทรงสร้างโรงพยาบาลเช่นเดียวกันกับที่สร้างไว้ใน นครชัยศรีนี้ รวมทั้งสิ้นทั่วพระราชอาณาเขตถึง ๑๐๒ แห่ง แต่ศาสตราจารย์เซเดส์ เข้าใจว่าคงจะใช้วัตถุชนิดไม่ทนทานจึ่งไม่มีซากเหลืออยู่ในเวลานี้สักแห่งเดียว แต่ ศิลาจารึกพระขรรค์บรรยายเพิ่มเติมไว้อีกหลายอย่าง คือได้ทรงสร้างรูป “ชยพุทธ มหานาถ” สําหรับพระราชทานไปประดิษฐานไว้ตามหัวเมืองใหญ่ ๆ รวม ๒๓ แห่ง เข้าใจกันว่าพระชยพุทธมหานาถนี้คงจะเป็นพระพุทธรูปสนองพระองค์พระเจ้า ชยวรมันที่ ๗ และคงจะสร้างให้มีพระสาทิสลักษณ์ จารึกที่พบที่วิหารพระขรรค์ระบุชื่อหัวเมืองต่าง ๆ ที่พระเจ้าชยวรมัน พระราชทานพระพุทธรูปพระชยพุทธมหานาถอันเป็นพระพุทธรูปสนองพระองค์ รายชื่อหัวเมืองเหล่านี้น่ารู้อยู่บ้าง เพราะแสดงให้เห็นว่าท้องที่เหล่านี้ได้มีอยู่แล้วใน สมัยพระเจ้าชยวรมันที่เจ็ดซึ่งเสวยราชสมบัติที่กรุงศรียโศธร ระหว่าง ปีพ.ศ.๑๗๒๔ ถึง ๑๗๔๓ นั้นจึ่งขอแปลจารึกภาษาสํสกฤตนั้นมาลงไว้ต่อไปนี้ บันทัดที่ ๑๑๒ ทรงพระราชอุทิศสร้าง พระสุคตศรีวีรศักดิ์ และสร้าง .......(ความขาด) บันทัดที่ ๑๑๓ ทรงสร้างพระสุดตศรีราชปตีศฺวรและพระชยมํคลารฺถ จุฑามณีอันมีนามว่าสิกฏาและ


๓๖ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

บันทัดที่ ๑๑๔ ที่เมืองศรีชยนฺตบนวินฺธยาบรรฺพตและที่มรฺขัลปุระ แต่ละแห่งทรงประดิษฐานพระรัตนตรัย (กับทั้ง) บันทัดที่ ๑๑๕ ที่ศรีชยราชธานี (พระนครหลวง) ศรีชยนฺตรครี ชยสิง หวดี ศรีชยวีรวตี บันทัดที่ ๑๑๖ ที่ลโวทยปุระ (ละโว้) สวรฺ ณปุร (?สุพ รรณ) ศั ม์ภู ก ปัฏฏน ชยราชปุรี (ราชบุรี) ศรีชยสิงหปุรี (?เมืองสิงห์ในแควน้อย) บันทัดที่ ๑๑๗ ศรีชยวชฺรปุรี (เพชรบุรี) ศรีชยสตมฺภปุรี ศรีชยราชคีรี ศรีชยวีรปุรี บันทัดที่ ๑๑๘ ศรีชยวชฺรวตี ศรีชยกีรฺติปุรี ศรีชยฺกฺษมปุรี ศรีวิชยาทิ ปุรี บันทัดที่ ๑๑๙ ศรีชยสิงหคฺราม มธฺยมคฺราม สมเรนฺทรคราม ศรีชยปุ รี บันทัดที่ ๑๒๐ วิหาโรตฺตก บูรฺวาวาส แต่ละแห่งทั้ง ๒๓ นี้ บันทัดที่ ๑๒๑ ทรงประดิษฐาน พระศรีชยพุทธมหานาถ จารึกกล่าวต่อไปถึงการสร้างหอน้ํามนต์ ๑๐ แห่งที่ฝั่งสระยโศธร กับสร้าง ที่พักผู้เดีรทาง บันทัดที่ ๑๒๒ ระหว่างทางจากยโศธรปุระไปจัมปานคร ๕๗ แห่ง บันทัดที่ ๑๒๓ จากพระนครหลวง (ยโศธร) ไปวิมายปุระ (พิมาย) ๑๗ แห่ง จากพระนครหลวงไปชยวตีจากนั้นไปชยสิงหวตี บันทัดที่ ๑๒๔ จากนั้นไปชยวีรวตี จากเมืองนี้ไปชยราชคีรี จากชย ราชคีรีไปศรีสุวีรปุรี บันทัดที่ ๑๒๕ จากเมืองนี้ไปยโศธรปุรี มี ๑๔ แห่ง ท่านผู้อ่านคงจะสังเกตได้ว่าชื่อเหล่านี้มีอยู่มากด้วยกันที่เราอาจชี้ลงไปได้ ว่าอยู่ ไ กลออกไปถึ งเบื้อ งตะวันตกของแม่น้ํ าเจ้ าพระยาในปัจ จุบัน เช่ น ราชบุ รี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๗

สุพรรณบุรี สิงห์บุรี เพชรบุรี ย่อมแสดงว่าเมืองเหล่านี้เป็นเมืองโบราณ ส่วนที่ระบุ เรื่องสร้างทางหลวงเชื่อมกรุงศรียโศธรอันเป็นราชธานีให้ติดต่อกับจัมปานคร และวิ มายปุระ ฯลฯ นั้น ต่อไปภายหน้าหากจะมีการค้นหาเมืองต่างๆ เหล่านี้ให้พบได้ก็ จะเป็นประโยชน์แก่ความรู้ทางประวัติศาสตร์หาน้อยไม่ แล้วยังได้ทรงสร้างที่พักรายทางหรือธรรมศาลา ซึ่งระบุไว้โดยละเอียดว่า ตามถนนจากพระนครหลวงไปยังราชธานีของประเทศจัมปา มี ๕๗ แห่ง ตามถนน จากพระนครหลวงไปพิมาย ๑๗ แห่ง ตามถนนเวียนไประหว่างท้องที่มีชื่อระบุ จํานวนซึ่งศาสตรจารย์เซเดส์ยังไม่ทราบว่าหมายถึงท้องที่แถบไหนมี ๔๔ แห่ง ถนน จากนครหลวงไปพิมายที่ว่ามี ๑๗ แห่งนั้น ได้ค้นพบแล้ว ๘ ตําบล แต่นอกนั้นเข้าใจ กันว่าอยู่ในจังหวัดสุรินทร์หรือบุรีรัมย์ ซึ่งยังค้นไม่พบ ได้ลองถามนายพันตรีไซเด็น ฟาเด็น ผู้เคยแก่ท้องที่แถบนั้นมามากโดยได้เป็นผู้บังคับการตํารวจภูธรแถบนั้นมา นาน และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีดั่งได้ทราบกันอยู่แล้ว แต่ก็บอกว่าไม่รู้จัก แห่งใดนอกเหนือไปกว่าที่ศาสตราจารย์เซเดส์ระบุไว้แล้ว เมื่อภายหลังรัชสมัยพระ เจ้าชยวรมันพระองค์นี้มาสัก ๑๐๐ ปี ท่านราชทูตจีน เจียวตากวน ได้มายังประเทศ กัมพูชาและบันทึกไว้ว่า “ ณ ถนนสายใหญ่ ๆ เหล่านั้นมีที่พักรายทางเหมือนกับที่ พักผู้สื่อราชการหลวงในประเทศจีนเป็นระยะ ๆ ไป” ที่พักของจีนที่กล่าวถึงนี้ มาร์ โคโปโล ได้เคยพิศวงว่าเป็นความคิดที่ดีน่าชม เราย่อมเห็นได้ว่าความคิดของจีนนี้ได้ เกิดภายหลังที่พักรายทางของพระเจ้าชยวรมันที่ ๗ เสียด้วยซ้ํา ศิลาจารึกบรรยายตัวเลขอย่างละเอียด ศาสตราจารย์เซเดส์ว่าไม่มีเวลา จะนําไปกล่าวในโอกาสที่แสดงปาฐกถานั้นทั้งหมด แต่สรุปความสั้น ๆ ว่า พระราชา พระองค์นั้นได้ทรงสร้างพระรูปปฏิมารวมทั้งสิ้นถึง ๒๐,๔๐๐ รูปด้วยโลหะต่าง ๆ ได้ทรงพระราชอุทิศผลประโยชน์อันเกิดแต่หมู่บ้าน ๘,๑๗๖ หมู่ถวายเป็นกัลปนา ได้ถวายข้าพระไว้ดูแลและปฏิบัติตามสถานที่เหล่านั้น ๒๐๘,๕๓๒ คน ในจํานวนนี้ รวมนักรําด้วย ๑,๖๒๒ คน สถานที่บรรดาที่ทรงสร้างไว้ (เพียงเวลาที่ทําจารึกแท่ง นี้) รวมทั้งหมดมีปรางค์ถึง ๕๑๔ ยอด มีกําแพงล้อมรอบบริเวณต่าง ๆ ๑๖,๕๐๐


๓๘ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

วา มีคูทั้งหมด ๒๔,๖๑๘ วา มีสระน้ําทุกแห่ง รวม ๙๓,๕๐๗ วา ทรงวิงวอนผู้จะ เป็นใหญ่ต่อไปภายหน้าให้ช่วยดูแลรักษาสถานที่เหล่านี้ไว้มิให้ปรักหักพังไปได้ ทีนี้กล่าวถึงข้อความเบ็ดเตล็ดเล็กน้อยที่น่ารู้อยู่บ้างสําหรับทางพิจารณา ประเพณีและประวัติศาสตร์ จารึกนี้กล่าวว่า น้ําสรงที่พราหมณ์ถวาย (ในเวลาพิธี) พระเจ้าชยวรมันนั้ น ได้มาโดยนานากษัตริย์ จัดมาถวาย คือ พระราชาแห่งชวา พระราชาจามทั้งสองภาค พระราชาแห่งยวนเทศ (?เวียตนามหรือโยนก) ดังนี้จะ เห็นได้ว่าแม้พระองค์จะเป็นพุทธศาสนิกชนที่แข็งแรง แต่ก็ยังหาได้ละทิ้งประเพณี รับน้ํามูรธาภิเษกจากพราหมณ์ไม่ การที่กล่าวว่ากษัตริย์จัดน้ํามาถวายนี้ เรารู้กันอยู่ ว่าเป็นการเคลมว่ากษัตริย์ที่ระบุพระนามมานั้นเป็นเมืองขึ้น เรื่องทางไทยก็มีว่าพระ ร่วงไม่ยอมส่งน้ําส่วย จารึกอันนี้เป็นหลักฐานรองรับ เพราะไม่มีกล่าวถึงกษัตริย์ สุโขทัยถวายส่วยน้ําเลย ศาสตราจารย์เซเดส์เห็นว่าสําหรับพระราชาจัมปาทั้งสอง ภาคนั้นจริงแล้ว แต่สงสัยว่าชวาจะยอมส่งส่วยน้ําดังนั้นหรือ เพราะพระราชาชวา เวลานั้ น คื อ พระเจ้ า กาเมศวรก็ มี ชื่ อ เสี ย งว่ า มี อ านุ ภ าพอยู่ แต่ ไ ม่ เ ห็ น ท่ า น ศาสตราจารย์กล่าวถึงชวา ซึ่งเป็นนามของนครหลวงพระบาง ส่วนพระราชายวน นั้นยิ่งไม่น่าจะจริงได้เลย นอกจาก “ยวน”จะหมายถึงโยนก เช่น เชียงแสน พเยา ฯลฯ แต่ข้อนี้ท่านศาสตราจารย์ก็มิได้ตั้งข้อสงสัยไว้ แต่แล้วก็ปรารภว่าบูรพทิศครั้ง กระนั้นก็ดูเ หมือนจะไม่ สู้รังเกียจการที่จะถวายน้ํากันง่าย ๆ (เห็นจะทํานองซื้ อ รําคาญ เพราะพระราชาธิราชผู้เป็นนายก็คงไม่มาวุ่นวายมากนัก) ความอีกข้อหนึ่งน่ารู้สําหรับโบราณคดี คือที่กล่าวว่า พระเจ้าชยวรมันทรง สร้างสระของปราสาทพระขรรค์กับเกาะนาคพันในกลางสระนั้น และน้ําในสระเป็น น้ําศักดิ์สิทธิ์ด้วย ศาสตราจารย์เซเดส์กล่าวสรุปความตอนท้าย เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา ทางประวัติศาสตร์ ได้เก็บมาลงไว้ดั่งต่อไปนี้


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๓๙

“ศิลาจารึกพระขรรค์นี้ ถ้าเราศึกษาเทียบเคียงกับศิลาจารึกที่ ตาพรหม๙ เราจะได้รู้จักพระมหากษัตริย์ผู้เป็นองค์สุดท้ายที่ปรากฏ พระนามในจารึกเขมรโบราณ๑๐ ว่าเป็นบุคคลที่มีลักษณะเรื่องราว อันเป็นสองแง่ตรงกันข้ามแก่กัน ด้านหนึ่งเป็นนักหารเมืองที่เฉียบ แหลม ได้ กู้ อิ ส รภาพของบ้ า นเมื อ งมาจากการรุ ก รานของข้ า ศึ ก ต่ า งชาติ กิ น ตลอดจนทั่ ว ประเทศจาม เป็ น ผู้ มี อุ บ ายโกศลในวิ ธี จัดการบ้านเมือง ได้สร้างถนนหนทางอันเดียรดาษไปด้วยศาลาที่พัก และโรงพยาบาล ได้กู้พระนครหลวงราชธานีที่ถูกข้าศึกเผาผลาญให้ กลั บ งดงามได้ ดั่ ง เดิ ม แต่ อี ก ด้ า นหนึ่ ง นั้ น เล่ า เป็ น ผู้ ท รงอํ า นาจ สิทธิ์ขาด กระหายแต่จะไว้ยศแก่วงศ์สกุลของพระองค์ ทะยานแต่ จะไว้พระเกียรติด้วยอาการอันผิดวิสัยผู้ที่มีสติสมบูรณ์จนเป็นผล ทําลายทรัพย์สินของบ้านเมืองให้ศูนย์สิ้นไปด้วยการก่อสร้างมฤตก เทวาลัยอันไร้ประโยชน์ ดุจได้สูบเลือดของราษฎรจนซีดผอม ดุลได้ นําประชาชนของพระองค์มุ่งตรงไปสู่ปากเหวอันลึก ซึ่งในรอบร้อย ปีต่อมาประชาชนนั้นก็ได้เริ่มกลิ้งพลัดตกลงไปด้วย”

พิมพ์เมื่อ ค.ศ.๑๙๐๖ จดหมายเหตุเขมรปัจจุบัน เช่น พระราชพงศาวดารกัมพูชาก็เริ่มภายหลังพระเจ้า ชยวรมันที่ ๗ เป็นเวลา ๑๐๐ ปีกว่า เข้าใจกันว่าระหว่างนั้นไม่ได้ขาดลําดับกษัตริย์ แต่เป็นเวลา บ้านเมืองทรุดโทรมไม่ได้จารึกกันอีก หลักฐานจดหมายเหตุเขมรเองก็หามีต่อกันไม่ ๑๐


๔๐ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๑

จดหมายเหตุเรือ ่ งสมโอเมืองนครไชยศรี สายป่าน ปุริวรรณชนะ อภิลักษณ์ เกษมผลกูล


๔๒ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๓

บทนํา จดหมายเหตุเรื่องส้มโอเมืองนครไชยศรี ๑๑

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

“ส้มโอ” นับเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดนครปฐมมาตั้งแต่อดีต ดังปรากฏ อยู่ในคําขวัญเก่าของจังหวัดนครปฐม “ข้าวสารขาว ลูกสาวแพง ผ้าดําดี ส้มโอไม่มี เม็ด” แม้ภายหลังจะมีการเปลี่ยนแปลงคําขวัญใหม่แต่ชื่อของส้มโอก็ยังคงมีปรากฏ อยู่ในคําขวัญด้วยคือ “ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ําท่า จีน” ในหนังสือปฐมสาร (พ.ศ.๒๔๙๓) ของสโมสรข้าราชการจังหวัดนครปฐม ไมตรี มณีเลิศ ได้อธิบายถึงเรื่องส้มโอไม่มีเม็ดไว้ว่าที่ได้ผลดีนั้นอยู่ที่หมู่บ้านอ้อม ริม แม่น้ําท่าจีน ในพื้นที่อําเภอสามพราน ทําให้บางครั้งเรียกกันว่า “ส้มอ้อม” เล่ากัน ว่าชาวสวนส้มโอบริเวณนี้เคยนําส้มโอไม่มีเม็ดขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในหลวงรัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ ทุกปีมา แม้เมื่อในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาส หัวหิน เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ ชาวนครปฐมยังได้นําส้มโอชนิดนี้ไปทูลเกล้าฯ ถวายบน ขบวนรถไฟพระที่ นั่ ง ณ สถานี ร ถไฟนครปฐมด้ ว ย นอกจากนี้ ยั ง ได้ ก ล่ า วถึ ง ประวัติศาสตร์บอกเล่าเรื่องที่มาของพันธุ์ส้มโอไม่มีเม็ดของนครชัยศรีว่ามีที่มาจาก ชาวสวน ๒ คน ชื่อนายเม้ากับนายเน้ย ซึ่งเป็นคนบ้านอ้อม ตําบลบ้านใหม่ อําเภอ สามพราน จังหวัดนครปฐม ไปนํากิ่งตอนส้มโอจากตําบลบางขุนนนท์ และตําบล ราษฎร์บูรณะ ฝั่งธนบุรีมาลองปลูก ผลปรากฏว่าได้ผลดีกว่าผลที่ปลูกที่แหล่งเดิม ๑๑

ประธานศูนย์สยามทรรศน์ ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อนึ่ ง ขอขอบคุณคุณดรณ์ แก้วนั ย เจ้ าหน้ าที่วิจั ยประจํา ศูนย์สยามทรรศน์ศึก ษา คณะศิ ลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ช่วยค้นคว้าเอกสารจนสําเร็จเรียบร้อย


๔๔ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ส้มโอไม่มีเม็ดแบ่งเป็น ๒ ชนิดคือผลมีจุก เรียกว่า “ขาวพวง” กับผลกลม แป้นไม่มีจุกเรียกว่า “ขาวแป้น” เฉพาะชนิดขาวพวงนั้นยังแบ่งออกเป็นอีก ๓ ชนิด ได้แก่ ขาวหอม ขาวนนท์ และจําปาดะ ข้อมูลดังกล่าวมาข้างต้นเป็นหลักฐานประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นความ เป็นมาและเสียงร่ําลือของส้มโอนครชัยศรีที่มีมาแต่อดีต อย่างไรก็ดี ศูนย์สยาม ทรรศน์ศึกษาได้พบเอกสารจดหมายเหตุเรื่องเกี่ยวกับส้มโอนครชัยศรีที่เก็บรักษาไว้ ณ สํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จึงได้นํามาจัดพิมพ์เผยแพร่ในครั้งนี้ด้วย เอกสารที่กล่าวถึงเป็นเอกสารจดหมายเหตุชุด “กงสุลอเมริกันแจ้งว่า กรมเพาะปลู ก อเมริ กั น ขอกิ่ ง ส้ ม โอนครไชยศรี ” เมื่ อ ร.ศ.๑๒๙ (พ.ศ.๒๔๕๓) เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือราชการที่มีไปมาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอเมริกา ว่าด้วยเรื่องกรมเพาะปลูกอเมริกันขอกิ่งส้มโอนครไชยศรีไปปลูกที่ประเทศอเมริกา ซึ่งเอกสารฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความนิยมชมชอบเรื่องพันธุ์ส้มโอนครไชยศรีได้เป็น อย่างดี กระนั้นก็ตาม ภายหลังเมื่อกรมเพาะปลูกอเมริกันได้รับกิ่งส้มโอนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๕

ไปปลูกแล้วได้ให้นักวิทยาศาสตร์หาสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่ใกล้เคียงกับ เมืองนครไชยศรีให้ มากที่ สุดแล้ว นํากิ่ง ส้มโอนครชัย ศรี ผลปรากฏว่าไม่ ประสบ ผลสําเร็จ และต้องล้มเลิกโครงการไปในที่สุด อนึ่ง ในตอนท้ายของเอกสารจดหมายเหตุที่รวบรวมมาจัดพิมพ์ในครั้งนี้ ได้รวบรวมภาพจดหมายเหตุเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวนส้มโอของขุนภักดี ที่เมืองนครไชยศรี ไว้ด้วย เพื่อจะได้เป็นหลักฐานอ้างอิง ต่อไป


๔๖ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๗


๔๘ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี ๑๒

(คําแปล)

หนังสือหมายเลขที่. ๒๒/๘๗๒๓. / รับมาเมื่อวันที่ ๑๖ เดือนดิซัมเบอร์ ๑๙๑๐ -----------------------------------------------------------------------------สถานกงสุลเยเนราลอเมริกัน บางกอก, ราชอาณาจักรสยาม หมายเลขที่. ๑๐/๓๑ วันที่ ๑๖ เดือนดิซัมเบอร์ พระพุทธศักราช ๑๙๑๐ เรียนใต้เท้าทราบ, เป็นเกียรติยิ่งของกระผมที่ได้มีโอกาสกราบเรียนขอความช่วยเหลือจากใต้เท้ากรุณา และจากทางกระทรวงเกษตราธิการอีกหนหนึ่ง ในกิจอันเกี่ยวข้องด้วยการนําพันธุ์ส้มโอไปแนะนํา ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางในประเทศสหปาลีรัฐอเมริกา กระผมเสียใจนักที่จักต้องเรียนว่า หน่อพันธุ์ส้มโอชนิดพันธุ์นครไชยศรี ชมพู่ และขนุน ซึ่งพระยาอัครราช๑๓ นําไปส่งมอบไว้ที่สถานกงสุล และกระผมเองเป็นผู้ดูแลการบรรจุขึ้นเรือเดิน สมุ ทรไปยั งกระทรวงเกษตราธิ ก ารแห่ งสหปาลี รัฐ ฯ เมื่ อ ต้ นปี นั้น หาได้ เหลื อ รอดไม่ พั นธุ์ไ ม้ เหล่า นั้นไปถึงกรุ งวอชิ งตันด้วยสภาพอั นบอบเต็มทน จากนั้นจึงตายลงในเวลามิช้า แน่ แท้ว่ า การณ์อันเป็นไปฉะนี้นํามาซึ่งความผิดหวังแก่กระผมและผู้เกี่ยวข้องในการนี้ทั้งปวง ด้วยว่าเป็น ความประมาทพลาดพลั้งอันเกิดขึ้นซ้ําสองในเวลาไม่นานปีที่ผ่านมา กระนั้นข้างฝ่ายกระผมยังปรารถนายิ่งนักในการจักแนะนําพันธุ์ส้มโออันกล่าวกันว่า หามีเมล็ดไม่ให้เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวเกษตรกรอเมริกัน และด้วยการเสริมส่งกันเช่นดังนี้ ข้างฝ่าย กระผมก็เชื่อเป็นหนักหนาว่า หากในคราก่อนหน่อพันธุ์นํามาจากไม้แม่ซึ่งมีวัยอันจําเริญพอ ทั้งได้ ปักชําและบรรจุสมตามวิธีที่กระผมได้รับมาแต่แรกแล้ว ไม้นั้นจักต้องไปถึงกรุงวอชิงตันโดยสวัสดี เป็นแน่ กล่าวโดยแท้ว่าข้อขัดข้องอันบังเกิดแก่ความอุตสาหะเรียนใต้เท้า, พระยาพิพัฒน์โกษา

๑๒ ๑๓

คนแรก

จดหมายฉบับภาษาอังกฤษนี้ แปลโดย อาจารย์สายป่าน ปุริวรรณชนะ หมายถึง พระยาอัครราชวรากร เอกอัครราชทูตไทยประจําประเทศสหรัฐอเมริกา


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๔๙


๕๐ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี (คําแปล) (ความอุตสาหะ) ประการเดียวกันนี้ซึ่งได้เป็นไปเมื่อปีกลายประการหนึ่งอาจเป็นด้วยได้หน่อพันธุ์ มาจากต้นที่ยังอ่อนและมีเนื้อไม้นิ่มนัก อย่างไรเสีย กระผมก็ยังคงยินดีหาที่สุดมิได้ หากใต้เท้าและทางกระทรวงเกษตราธิ การจักมาช่วยบํารุงหน่อพันธุ์เปนบางส่วน และกระผมเองก็ได้รับหีบตะกั่ว ๔ หีบ ขี้เลื่อยบรรจุ กระป๋องอย่างพิเศษ ๒ กระป๋อง และตะไคร่สปากฮัม๑๔บรรจุกระป๋อง ๒ กระป๋อง เมื่อใดที่กระผม วางใจได้สนิทว่าสิ่งเหล่านี้จักช่วยยังหน่อพันธุ์ได้แน่แล้ว กระผมจักส่งหีบเหล็กพร้อมด้วยวิธีการ บรรจุขี้เลื่อยและตะไคร่ลงในหีบให้ด้วยความยินดียิ่งโดยเร็วที่สุด ด้วยการปักชําหน่อพันธุ์จักคอย ท่าช้ามิได้เลยภายหลังตัดออกจากไม้แม่ กระผมขอใช้โอกาสนี้แสดงความคารวะเป็นอย่างยิ่งมายังใต้เท้าด้วยเช่นกัน พล อ. คอแนลล์ ทาร์เลอร์ กงสุลเยเนราลอเมริกัน

๑๔

Spaghum moss


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๕๑


๕๒ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๕๓


๕๔ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๕๕

(คําแปล) หนังสือหมายเลขที่. ๑๒/๙๗๕๔

กระทรวงการต่างประเทศ, บางกอก, วันที่ ๑๑ เดือนแยนยุวารี ๑๙๑๑.

ท่านกงสุลเยเนราล, ข้า พเจ้ า รู้ สึก เป็ นเกี ย รติ ยิ่ งนั ก ที่ ท่า นได้ อุตส่ า ห์ มีจ ดหมายถึ งข้ า พเจ้ า เมื่ อ วั นที่ ๑๖ เดื อ นดิ ซัมเบอร์ ปี ก ลาย ว่ า ด้ ว ยคํ า ขอเอาหน่ อพั นธุ์ ส้มโออั นกล่ า วกั นว่ า หามี เมล็ ดไม่ เพื่ อ จั ก ดําเนินการขนส่งไปยังกระทรวงเกษตราธิการแห่งสหปาลีรัฐอเมริกา ข้อซึ่งท่านแสดงความจํานง มานั้น ทางกระทรวงเกษตราธิการได้รับทราบเป็นอย่างดี และได้แจ้งกิจนี้ไปยังมิสเตอร์บาร์เนตต์ ซึ่งกระทําราชการอยู่ในกระทรวงเกษตราธิการนี้เอง เพื่ออํานวยการณ์อันท่านประสงค์ไว้ให้แล้ว เสร็จ เพลานี้มิสเตอร์บาร์เนตต์ได้รับข้าวของอันจําเป็นแก่การปักชํา และได้ดําเนินการบรรจุหน่อ พันธุ์ส่งมาจากมณฑลนครไชยศรีตามที่ท่านเคยแจ้งการณ์ไว้เมื่อก่อนหน้านี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หีบตะกั่วบรรจุหน่อพันธุ์ทั้ง ๔ หีบเพิ่งส่งไปถึงยังสถานกงสุลเยเนราลอเมริกันเมื่อวันที่ ๒ ในเดือน นี้เอง ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างที่สุดว่า หน่อพันธุ์ทั้งหลายจักจําเริญงอกงามและการขนส่งจัก ดําเนินไปด้วยดี ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าใคร่ขอแสดงคารวะยิ่งมายังท่าน (ลงนาม) พระยาพิพัฒน์โกษา. รองเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ถึง พลเอก คอร์แนลล์ ทาร์เลอร์, กงสุลเยเนราลอเมริกัน, บางกอก.


๕๖ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๕๗

(คําแปล) หนังสือหมายเลขที่. ๒๖/๙๙๐๒

รับมาเมื่อวันที่ ๑๔ เดือนแยนยุวารี ๑๙๑๑ กงสุลเยเนราลอเมริกัน บางกอก, ราชอาณาจักรสยาม เดือนแยนยุวารี วันที่ ๑๔ ๑๙๑๑.

แอฟ. โอ. หมายเลขที่. ๑๑/๓. เรียนใต้เท้าทราบ: เป็นเกียรติยิ่งที่กระผมได้รับจดหมายซึ่งลงว่าเขียนมาเมื่อวันที่ ๑๑ เดือนแยนยุวารี จากใต้ เท้ า และเพื่ อ เป็ นการตอบความในจดหมายนั้ น กระผมใคร่ข อแจ้ งว่า บั ดนี้ กระผมได้ อํานวยการขนส่งหน่อ พันธุ์ ส้มโอลงเรือเดินสมุ ทรไปยั งกรุ งวอชิงตันเป็นที่เรียบร้อ ยดีแ ล้ว อี ก กระผมยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การครั้งนี้จักดําเนินไปได้โดยสวัสดี ทั้งนี้กระผมใคร่ขอถ่ายเทเอาน้ํา จิตอันปรารถนาดีของกระผมนี้ผ่านไปยังใต้เท้า เพื่อส่งทอดไปยังทางกระทรวงเกษตราธิการ และ ผู้ซึ่งได้เอื้อเฟื้อเกื้อกูลในกิจอันเพิ่งจักลุล่วงไปแล้วนี้ทุกผู้ไปพร้อมกัน กระผมหมายเอาโอกาสนี้เป็นการแสดงคารวะอย่างสูงแก่ใต้เท้าด้วย (ลงนาม) พล อ. คอร์แนลล์ ทาร์เลอร์. กงสุลเยเนราล เรียนใต้เท้า, พระยาพิพัฒน์โกษา, รองเสนาบดี ก ระทรวงการต่ า งประเทศ ราชอาณาจั ก รสยาม ในพระ ปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


๕๘ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

รัชกาลที่ ๕ พร้อมด้วยเจ้านายที่ตามเสด็จ ที่สวนส้มโอขุนภักดี เมืองนครไชยศรี

สวนส้มโอขุนภักดี เมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๕๙

ท่าน้ําบ้านขุนภักดี เมืองนครไชยศรี

ราษฎรชาวเมืองนครไชยศรีที่มารอรับเสด็จรัชกาลที่ ๕


๖๐ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๖๑

นิราศเมืองนครไชยศรี นิธิอร พรอําไพสกุล อภิลักษณ์ เกษมผลกูล


๖๒ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๖๓

บทนํา นิราศเมืองนครไชยศรี นิธิอร พรอําไพสกุล นิราศเมืองนครไชยศรีเป็นนิราศสํานวนที่ค้นพบใหม่ ยังไม่เคยจัดพิมพ์ ที่ใ ดมาก่อ น ปรากฏที่ม าว่า หอพระสมุดซื้อจากหม่อมหลวงแดง สุประดิษฐ์ เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๗๙ จัดทําไมโครฟิลม์เพื่อเก็บรักษาเมื่อวันที่ ๔ – ๑๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔ เลขที่ ๑ มัดที่ ๓ ตู้ ๑๑๕ ชั้น ๕/๑ ปัจจุบันนิราศเมืองนคร ไชยศรีเก็บรักษาไว้ที่ฝ่ายเอกสารโบราณ สํานักหอสมุดแห่งชาติ ประวัตินิราศเมืองนครไชยศรี นิราศเมืองนครไชยศรีสํานวนนี้ไม่ปรากฏผู้แต่งแน่ชัด ทราบเพียงว่าหอ พระสมุ ด ซื้ อ มาจาก “หม่ อ มหลวงแดง สุ ป ระดิ ษ ฐ์ ” เมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๗๙ ราชสกุลสุประดิษฐ์จึงเป็นผู้ครอบครองนิราศเรื่องนี้ อนึ่งต้นราชสกุล “สุประดิษฐ์” คือ “พระองค์เจ้าชายสุประดิษฐวรฤทธิ ราชมหามกุฏบุรุษยรัตนราชวโรรส” พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ ต่อมาภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น “พระองค์เจ้า สุประดิษฐ กรมหมื่นวิษณุนาถ นิ ภ าธร” รั ช กาลที่ ๔ ทรงแต่ ง ตั้ ง เป็ น เจ้ า กรมด้ ว ยทรงเห็ น ว่ า มี อ ายุ ส มควร มีสติปัญญาและความเพียร พระนามของกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ปรากฏในพระนามเจ้าของที่ดิน แขวงเมืองนครไชยศรี ได้แก่ “ที่ดินฝั่งเหนือ แปลงที่ ๔๔ เจ้าของนาคือกรมหมื่น


๖๔ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

วิษณุนาถนิภาธร จํานวน ๔๖๖ ไร่ ๒ งาน ๑๖ วา”๑๕ ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับเหตุผลที่ หม่อมหลวงแดง สุประดิษฐ์ เป็นผู้ครอบครองนิราศเรื่องนี้ได้ว่าอาจเป็นนิราศของ ราชสกุลสุประดิษฐ์ที่ตกทอดกันมา นิราศเมืองนครไชยศรี : จดหมายเหตุของนักสํารวจ นิราศเมืองนครไชยศรีมีเนื้อหาเป็นการพิลาปรําพันคร่ําครวญถึงนางอัน เป็ น ที่ รั ก อั น เนื่ อ งจากความทุ ก ข์ ข องกวี ที่ ต้ อ งเดิ น ทางจากนาง มี ลั ก ษณะคํ า ประพันธ์เป็นกลอนนิราศขึ้นต้นด้วยวรรครับดังเช่นนิราศทั่วไป ความในนิราศเมือง นครไชยศรีเริ่มเรื่องด้วยการคร่ําครวญของกวีว่าต้องจําจากถิ่นฐานไปไกล ต้องไร้ เพื่อน อีกทั้งต้องจากนางผู้เป็นที่รัก ดังความว่า

ร้างไร้ไกลเรือนเพื่อนสําราญ อั้นอัดกลัดทรวงดวงสวาดิ

แสนวิบากจําจากที่ถิ่นฐาน สะท้านอ่อนใจระทดกําสรดครวญ จนแรมร้างไปห่างสงวน

จากนั้นจึงขึ้นบทฝากนางก่อนออกเดินทาง กวีพรรณนาฝากนางคนรักไว้กับ สิ่งที่กวีคิดว่าเป็น “ข้าศึก” ที่หมายปองนางได้แก่ พระอินทร์ กษัตริย์ และนาค แล้ว กวีจึงฝากนางไว้กับใจนางเอง โดยกวีอ้างถึงตัวละครในวรรณคดี ๔ ตัว ได้แก่ พระอนิรุทธ์ พระสุธนู พระรถ และขุนแผน เพื่อนํามาเปรียบเทียบกับตนเองที่ต้อง พลัดพรากจากนางผู้เป็นที่รัก กวีคร่ําครวญรําพันถึงความรักที่มีต่อนางผ่านสถานที่ต่างๆ ตามลําดับได้แก่ วัดขิงหรือวัดไร่ขิง ศาลเจ้าจีน วัดท่าพูด คลองบางซื่อ คลองบางยาง และท่าโคก ๑๕

อภิลัก ษณ์ เกษมผลกูล (บรรณาธิก าร), เล่า ขานตํานานศาลายา (นครปฐม: คณะกรรมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๕๐).


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๖๕

ยายหอม การรําพันถึงนางผ่านสถานที่ต่างๆ ทําให้สันนิษฐานได้ว่ากวีใช้เส้นทางน้ํา เริ่มต้นที่คลองบางกอกใหญ่ ผ่านคลองภาษีเจริญ แล้วจึงผ่านอําเภอสามพราน และ ผ่านสถานที่ต่างๆ ตามที่กวีกล่าวถึงตามลําดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าในตอนจบนิราศเมืองนครไชยศรีกวีระบุเวลาที่แต่งว่า แต่งขึ้นเมื่อ “เดือนสิบเบดแรมสี่คํ่าเวลามืด” เชื่อมโยงกับการปรากฏความในพระ ราชพงศาวดารกรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ รั ช กาลที่ ๔ ฉบั บ เจ้ า พระยาทิ พ ากรวงศ์ (ขํา บุนนาค) ว่าเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มหาโกษาธิบดี (ขํา บุนนาค) เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าพระยารวิวงษมหาโกษาธิบดี เป็นแม่กองขุดคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่ง เป็นระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้ ในปีนั้นโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เจ้าพระยา รวิ วงษมหาโกษาธิบดี พระศิริสมบัติ จ้างจีนขุดคลองขึ้นตําบลหนึ่ง ตั้งแต่วัดไชยพฤกษมาลาตลอดออกริมศาลเจ้าสุบินตกแม่น้ํา เมืองนครไชยศรี ได้ลงมือขุดขึ้นเมื่อ ณ วันพุฒเดือนสิบแรมหก ค่ํา๑๖ ระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันคือ “เดือนสิบเบดแรมสี่คํ่าเวลามืด” และ “วัน พุฒเดือนสิบแรมหกค่ํา” หากสันนิษฐานจากเวลาที่ระบุไว้ในท้ายนิราศเมืองนคร ไชยศรี กับเรื่องการขุดคลองมหาสวัสดิ์ในพระราชพงศาวดารนี้ อาจกล่า วได้ว่า นิราศเรื่องนี้น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเดินทางมาเมืองนครไชยศรีครั้งนี้ด้วยก็ อาจเป็นได้

๑๖

เจ้ า พระยาทิ พ ากรวงศ์ , พระราชพงศาวดารรั ช กาลที่ ๔ (พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๖) (กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี, ๒๕๔๗), หน้า ๑๕๑.


๖๖ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ต่อ มากวี กล่ า วถึ ง วัด ไร่ ขิง ซึ่ง เป็น วั ดที่ อ ยู่ใ นอํ าเภอสามพราน จัง หวั ด นครปฐม ถึงวัดขิงนิ่งนึกคํานึงดวง ไม่เห็นขิงยิ่งง่วงชะแงงง ปีเถาะเป็นเคราะห์ต้นไม้ร้าย น้ําท่วมขิงตายไม่เหลือหลง ถ้าขิงมีพี่จะกินสิ้นดง จะได้ทรงเสียงครางให้ดังครัน วัดขิงหรือวัดไร่ขิงเป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่อําเภอสามพราน จังหวัด นครปฐม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก ป.ธ.๓) อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นชาวนครชัยศรี เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๔ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ “พระธรรมรา ชานุวัตร” และโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองวัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี นั้นเองได้กลับมาสร้างวัดไร่ขิงและได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์หนึ่งมาจากวัดศาลา ปูน เมื่อมาถึงได้ทําพิธีอัญเชิญเข้าสู่อุโบสถวัดไร่ขิง ซึ่งตรงกับวันพระขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๕ ทางวัดจึงถือเอากลางเดือนห้าเป็นวันสําคัญจัดงานเทศกาลปิดทองหลวง พ่อมาจนทุกวันนี้๑๗ และเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” ตามที่เล่า กันมาเป็นตํานานเกี่ยวกับหลวงพ่อวัดไร่ขิงมี ๓ ตํานาน ดังนี้ ตํานานที่ ๑ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก ป.ธ.๓) เป็น ชาวเมืองนครชัยศรีได้เสด็จมาตรวจเยี่ยมวัดต่างๆ ในเขตอําเภอ

๑๗

วัฒนธรรม พั ฒนาการทางประวัติ ศาสตร์ เอกลั กษณ์แ ละภู มิปั ญญา จั งหวั ด นครปฐม. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอํานวยการจัด งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิ มพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธั นวาคม ๒๕๔๒. (กรุ งเทพฯ: โรงพิ ม พ์ คุรุส ภาลาดพร้ า ว, ๒๕๔๔).


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๖๗

สามพราน ได้เข้าไปในอุโบสถวัดไร่ขิง กราบพระประธานแล้ว เห็นว่า พระประธานมีขนาดเล็กจึงได้บอกท่านเจ้าอาวาสและ ชาวบ้านไร่ขิงให้ไปอัญเชิญพระจากศาลาวัดปูน อยุธยา โดยวาง ลงบนแพไม้ไผ่แล้วล่องมาตามลําน้ํา พอถึงวัดไร่ขิงก็อัญเชิญเข้า สู่อุโบสถ ซึ่งตรงกับวัดพระขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๕ และเป็นวัน สงกรานต์พอดี ตํานานที่ ๒ วั ดไร่ ขิงสร้ างขึ้ นเมื่ อปี กุ น พุ ทธศั กราช ๒๓๙๔ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก ป.ธ.๓) ซึ่งเป็น ชาวนครชัยศรีในขณะที่ดํารงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่ “พระ ธรรมราชานุวัตร” ได้ชักชวนพุทธศาสนิกชนช่วยกันสร้างวัดไร่ ขิง เมื่อสร้างอุโบสถเสร็จแล้วได้อัญเชิญพระพุทธรูปสําคัญองค์ หนึ่ งมาจากกรุ ง เก่ า มาประดิ ษ ฐานเป็ น พระประธานในพระ อุโบสถ แต่การก่อสร้างวัดไร่ขิงยังไม่ทันเสร็จสมบูรณ์ สมเด็จฯ ได้ถึงแก่มรณภาพ ก่อนมรณภาพท่านได้มอบหมายให้พระธรรมา นุวัตร (อาจ จนฺทโชติ) หลานชายของท่านให้ช่วยดําเนินการ ต่อไปจนแล้วเสร็จ ตํานานที่ ๓ เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่ามีพระพุทธรูป ลอยน้ํามา บ้างก็ว่า ๓ องค์ บ้างก็ว่า ๕ องค์ โดยเฉพาะที่เล่าว่า ๕ องค์ตรงกับคําว่าปัญจะภาคี ปาฏิหาริยะกระสินธุ์โน ได้เล่าไว้ เป็นนิทานว่าในกาลครั้งหนึ่งมีพี่น้องชาวเมืองเหนือห้าคน บวช เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้สําเร็จเป็นพระอริยบุคคล ชั้ น โสดาบั น มี ฤ ทธิ์ อํ า นาจทางจิ ต มาก ได้ พ ร้ อ มใจกั น ตั้ ง สั จ อธิษฐานว่า เกิดมาชาตินี้จะขอบําเพ็ญบารมีช่วยให้สัตว์โลกได้ พ้นทุกข์ แม้จะตายไปแล้วก็จะขอสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกได้พ้น ทุกข์ต่อไปกว่าจะถึงพระนิพพาน ครั้นพระอริยบุคคลทั้งห้าองค์


๖๘ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ได้ ดั บ ขั น ธ์ ไ ปแล้ ว ก็ เ ข้ า สถิ ต ในพระพุ ท ธรู ป ๕ องค์ มี ค วาม ปรารถนาจะช่วยทุกข์ของคนทั้งเมืองใต้ จึงพากันแสดงฤทธิ์ พระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์นั้น ลอยน้ําไปทางใต้ตามแม่น้ําทั้ง ๕ สาย ชาวบ้านชาวเมืองตามริมแม่น้ําเห็นพระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์ ลอยน้ํามาก็พากันเลื่อมใส จึงพากันอาราธนาให้ขึ้นสถิตอยู่ตาม วัดต่างๆ พระพุ ท ธรู ป องค์ แ รกลอยไปตามแม่ น้ํ า บางปะกง แล้วขึ้นสถิตอยู่ที่วัดโสธร เมืองแปดริ้ว เรียกกันว่าหลวงพ่อโสธร พระพุ ทธรู ปองค์ ที่ สอง ลอยไปตามแม่ น้ํ านครชั ยศรี (ท่าจีน) แล้วขึ้นสถิตอยู่ที่วัดไร่ขิง เมืองนครชัยศรี เรียกกันว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง พระพุทธรูปองค์ที่สาม ลอยไปตามแม่น้ําเจ้ าพระยา แล้วขึ้นที่วัดบางพลี ปากน้ําเจ้าพระยา เรียกว่าหลวงพ่อวัดบาง พลี พระพุ ท ธรู ป องค์ ที่ สี่ ลอยไปตามแม่ น้ํ า แม่ ก ลอง แล้วขึ้นสถิตอยู่ที่วีดบ้านแหลม เมืองแม่กลอง เรียกว่าหลวงพ่อ วัดบ้านแหลม พระพุ ท ธรู ป องค์ ที่ ห้ า ลอยไปตามแม่ น้ํ า เพชรบุ รี แล้วขึ้นสถิตอยู่ที่วัดเขาตะเครา เมืองเพชรบุรี เรียกว่าหลวงพ่อ วัดเขาตะเครา ตํานานที่เล่าว่ามีพระพุทธรูปลอยน้ํามา ๓ องค์ เป็น ตํา นานของชาวนครปฐมเล่า ว่า หลวงพ่ อวั ดไร่ขิ งลอยน้ํา มา พร้อมกัน ๓ องค์ แสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปยังบ้านศรีมหาโพธิ์ ซึ่งมีต้นโพธิ์ใหญ่ จึงเรียกตําบลนั้นว่า บางพระ พระพุทธรูป สามองค์นี้ลอยไปจนถึงปากน้ํ าท่าจีน แล้วกลับลอยทวนน้ํ า ขึ้ น มาจึ ง เรี ย กตํ า บลนั้ น ว่ า สามประทวน หรื อ สั ม ประทวน


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๖๙

ตํ า บลที่ ช าวบ้ า นชวนกั น ลงไปชั ก พระขึ้ น ฝั่ ง แต่ ไ ม่ สํ า เร็ จ ชาวบ้านเปียกหนาวขึ้นตากแดดตากลมก็เรียกว่า ลานตากฟ้า และบ้านตากแดด เรื่องต่างๆ เหล่านี้อาจผูกให้เข้ากับชื่อตําบล หรือหมู่บ้านก็ได้เพราะเป็นความเชื่อที่เล่าสืบต่อกันมา ครั้นถึง ตําบลไร่ขิง พระพุทธรูปองค์แรกก็ยอมรับอาราธนาขึ้นประทับ อยู่ที่ วัดไร่ขิ ง เรียกว่า หลวงพ่ อวัด ไร่ขิ ง องค์ ที่สองลอยน้ํ าไป จนถึงแม่กลองขึ้นสถิตที่วัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม เรียกว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลม องค์ที่สามลอยไปตามแม่น้ําเพชรบุรี แล้วขึ้นสถิต ที่วัด เขาตะเครา เพชรบุรี เรีย กว่า หลวงพ่อ วัด เขาตะเครา๑๘ ต่อมาเมื่ อพระธรรมราชานุ วั ตรถึ งแก่ มรณภาพ “พระธรรมราชานุ วั ตร” (อาจ จนฺทโชติ) หลายชายของท่านได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๕๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จมาตรวจเยี่ยมวัด ในเขตอําเภอสามพราน จึงทรงตั้งชื่อวัดไร่ขิงให้ใหม่ว่า “วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง)” แต่ชาวบ้านยังคงเรียกกันว่า “วัดไร่ขิง” ตามเดิม จากนั้นกวีกล่าวถึงศาลเจ้า ซึ่งในนิราศเมืองนครไชยศรีไม่ปรากฏแน่ชัด ว่าเป็ นศาลเจ้ าใด แต่ สั นนิ ษฐานได้ ว่ าน่ าจะเป็ นศาลเจ้ าจี น และกวี ประสงค์ ที่ จ ะ “อภิวันท์เทวดาภาษาจีน” ศาลเจ้าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านโดยเฉพาะชาวจีน เคารพบูชา เป็นที่พึ่งทางจิตใจยามชาวบ้านเกิดความทุกข์ ซึ่งไม่สามารถล่วงรู้และ แก้ปัญหานั้นได้ จะต้องไปจุดธูปบอกหรือบนบานศาลกล่าว และเสี่ยงทายด้วยการ

๑๘

เรื่องเดิม, หน้า ๑๔๒ -๑๔๓.


๗๐ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

โยนไม้กระจับให้คว่ําและหงาย หรือเขย่าติ้วที่มีตัวเลขแล้วนําไปแลกคําทํานาย๑๙ ดังนี้ ถึงศาลเจ้าเห็นจีนเขาจุดธูป ยืนประนมกรน้อมพร้อมกัน คิดจะคํานับเจ้าถามข่าวน้อง ทั้งไตรสารนาคมจะราคิน

ไหว้รูปเทวราชรังสรรค์ อภิวันท์เทวาภาษาจีน แล้วกรองกรึกนึกขยาดจะขาดศีล เปนมลทินมัวหมองไม่ต้องการ

ต่อมากวีกล่าวถึงวัดท่าพูด ในนิราศปรากฏเนื้อความที่กล่าวถึงวัดท่า พูด ดังนี้ สู้เมินหน้าโศกไปตามกระแส ชื่อท่าพูดถิ่นฐานน่าสําราญ ไม่เห็นใครพูดกันที่นั่นบ้าง เงียบสงัดวัดเยนเปนสาคร

ชําเลืองแลเห็นวัดรโหฐาน พื้นตะพานศาลาน่าหลับนอน จะฟังร่างเรื่องราวที่ข่าวสมร แต่หมู่นิกรปักษายังพาที

วัดท่าพูด เป็นวัดที่ ตั้งอยู่ที่อํ าเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สร้างขึ้ น ตั้งแต่สมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อพุทธศักราช ๒๒๘๑ ในวัดนี้มีหลักฐานสําคัญทางโบราณคดีหลายอย่าง ได้แก่ ใบเสมาหินทรายแดง (ปัก คู่) ตู้พระธรรม หีบใส่พระธรรมและฐานธรรมมาสน์ เป็นต้น๒๐

๑๙ ๒๐

เรื่องเดิม, หน้า ๑๗๓. เรื่องเดิม, หน้า ๙๗.


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๗๑

คลองบางซื่อ เป็นคลองอยู่ในเขตอําเภอสามพราน ปัจจุบันมีประโยชน์ต่อ การเกษตรอย่างมาก ช่วยเรื่องการระบายน้ําและชักน้ําเข้าสวนเข้านา ในนิราศ เมืองนครไชยศรีกล่าวถึงดังนี้ บางซื่อชื่อคลองเห็นช่องคด เรียกบ้างอื้ออิงทั้งหญิงชาย อันใจพี่นี้รักษ์ก็สุจริต จะสู่คลองโศกตายไว้ลายงาม

ช่างกําหนดชื่อไว้ไม่รู้หาย แต่คลองคดใจหายไม่สมนาม ซื่อต่อมิตรยิ่งช้างที่กลางสนาม ให้ความปรากฏลือว่าซื่อครัน

ถึงบางยาง กวีกล่าวถึงต้น “ยางนา” ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่สําคัญของจังหวัด นครปฐม นํามาใช้ประโยชน์ในการสร้างบ้าน ต่อเรือ และทําน้ํามันยาง พิไรคร่ําครวญมาตามทาง ถ้ายางมีพี่จะพิฆาตฟัน

ถึงบางยางไม่เหนยางยิ่งโศกศัลย์ ทําเรือให้ขวัญตาเจ้าขี่ตาม

ท่าโคกยายหอมเป็นสถานที่สุดท้ายที่กวีกล่าวถึง ในนิราศเมืองนคร-ไชย ศรีปรากฏข้อความที่กล่าวถึงท่าโคกยายหอม ดังนี้

จากมาถึงท่าชื่อโคกยายหอม เจ้าจอมยายหลานเอยฉันจะถาม ถึงโฉมนุชสุดสวาสดิ์สะอาดงาม จะตามมาหาฉันเมื่อวันไร โคกยายหอม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเนินพระ ตั้งอยู่ที่ตําบลดอน- ยาย หอม อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ได้มีการขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีหลาย อย่ า ง ได้ แ ก่ ธรรมจั ก รศิ ล า เสาศิ ล าทรงแปดเหลี่ ย ม และกวางหมอบศิ ล า ซึ่ ง


๗๒ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

นอกจากเนินพระ หรือโคกยายหอมจะมีความสําคัญทางด้านโบราณคดีแล้ว ยังมี ตํานานเกี่ยวกับยายหอมมาอธิบายสถานที่นี้ไว้ด้วย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ กรมศิลปากรร่วมกับสํานักฝรั่งเศส แห่งปลายบูรพาทิศ ได้ร่วมกันดําเนินงานขุดแต่งทางโบราณคดี ที่เนินพระซึ่งมีความสูงของเนินประมาณ ๙ เมตร โดยพบว่า เนิน พระเป็ นซากฐาน องค์เจดีย์ท รงสี่เหลี่ย มจัตุ รัส มีมุ ขยื่ น ออกมาทั้งสี่ทิศ โดยองค์เจดีย์ล้มไปทางทิศตะวันออก มีรูปแบบ ศิลปกรรมแบบทวารวดี ปัจจุบันเนินพระได้รับการบูรณะแล้ว แต่ได้มีชาวบ้านไปสร้างศาลยายหอมบนยอดเนิน และทําทาง ซีเมนต์ขึ้นสู่ยอดเนิน เหตุที่มีการสร้างศาลยายหอมที่เนินพระ เพราะชาวบ้านมีความเชื่อตามตํานานที่เล่าสืบมาว่า ยายหอม ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้ เป็นผู้เลี้ยงพระยาพานมาตั้งแต่ยัง เล็ก ต่อมาเมื่อพระยาพานได้กระทําปิตุฆาตเกิดความเสียใจ และกล่าวโทษยายหอมว่าไม่ได้บอกตนเองว่าพระยากงเป็น บิดา จึงสั่งให้ประหารยายหอม แต่เมื่อยายหอมเสียชีวิตแล้ว ก็ให้สร้างเจดีย์ขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ยายหอม ซึ่งชาวบ้าน เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์ที่เนินพระนี้ นอกจากนั้นบริเวณวัดและ พื้นที่ทั่วไปเคยพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี สมัยลพบุรี และ สมัยอยุธยาตอนต้นอีกด้วย๒๑ ตอนท้ายกวีระบุว่าแต่ง นิราศเรื่องนี้เ พื่อ “น้อ มนําถวาย” ในแง่นี้ห าก พิจารณาจากราชสกุล “สุประดิษฐ์” ที่ครอบครอง ซึ่งต้นราชสกุลเป็นพระราช

๒๑

เรื่องเดิม, หน้า ๖๑ - ๖๒.


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๗๓

โอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงน่าจะสันนิษฐานว่ากวีแต่งเพื่อ ถวายเจ้านาย ดังปรากฏจุดมุ่งหมายการแต่งในโคลงส่วนท้ายของนิราศ ๏ จบเสร็จสําเร็จเบื้อง ชลมารควิถีธาร ภูมิแผนกล่าวพิศดาร แห่งเรื่องนิราศข้า

บรรหาร ถิ่นถ้า โดยเหตุ บาทน้อมนําถวายฯ

นอกจากนี้ ใ นโคลงข้ า งต้ น ยั งใส่ ห มายเหตุ เ พิ่ ม เติ ม ว่ า “ภู มิ แ ผนกล่ า ว พิศดาร” เพื่อแสดงความยากลําบากในการหาข้อมูล ในตอนนี้แสดงชัดเจนว่า เจ้านายใช้ให้ไปสํารวจที่นา สํารวจพื้นที่ของท่านก่อนจะมีการขุดคลองตามมา ซึ่ง เป็นนโยบายสําคัญในสมัยรัชกาลที่ ๔ นิราศเมืองนครไชยศรีจึงอาจเป็นบันทึกการ สํารวจเส้นการเดินทางของกวี อันเนื่องมาจากพระราชดําริสําคัญในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่โปรดเกล้าฯ ให้มีการขุดคลองขึ้นหลายสาย เพื่อความสะดวกในการเดินทางไป ปฏิสังขรณ์และนมัสการพระปฐมเจดีย์ได้สะดวกขึ้น ดังในพระราชพงศาวดารกล่าว ว่า จึ ง โปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ ช่ า วทหารใน ต่ อ ตัวอย่างถวายเป็นรูปพระเจดีย์กลม ฐานทักษิน ไม่มี ก่อเป็ น หน้ า กระดานและช่ อ งกระจกขึ้ น ไปจนถึ ง บั ว กลม แล้ ว ชั ก ลูกแก้วเข้าไปทั้งสามชั้น จึงตั้งบัวกลม ปากระฆังตัวอย่างพระ เจดี ย์ตามรู ปเดิ มเสร็จ แล้ว จึ งโปรดเกล้ าโปรดกระหม่อ มให้ สมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ คือสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ เป็ นแม่ กองเจ้ า ของการ ให้ พระศิริ ส มบั ติ หลวงพิ ทัก ษโยธา หลวงนราเรืองเดช เจ้ากรมไพร่หลวงอาสาใหม่ หลวงโยธา


๗๔ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ไพจิตรช่างทหารให้ออกไปเป็นนายงานทํา ได้ลงมือถางต้นไม้ บนองค์พระและถางที่ขุดคลอง๒๒ การสํารวจเส้นทางนี้ อาจเป็นเช่นเดียวกับโคลงนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ก็ อาจเป็นได้ ๏ โคลงแทนแผนที่ข้าง เที่ยวเล่นเป็นสําคัญ ไร้นาป่าปลายจรร เขาถ้ําลําธารถุ้ง

ทางสุพรรณ เขตคุ้ง ทประเทศ ทุเรศเอย ถิ่นลว้าป่าโขลงฯ๒๓

อีกประการหนึ่งที่น่าสนใจคือโคลงสองบทที่ปรากฏท้ายนิราศเมืองนคร ไชยศรี ดังนี้ ๏ ครองความเพียงพลิกฟื้น เชาว์บ่ปรีชาฉงน อั้นอัดกลัดใจตน ยิ่งกว่าราษตรีกล้า ๏ กรองความตามผู้เฒ่า เชาวน์ก็ยิ่งปรีชา ชวน…(เลือน)… …(เลือน)…ภายแก้ ๒๒

ภูวดล เงื่องช้า เต็มมืด กล่าวเบื้องนามบางฯ กล่าวมา ยิ่งแท้ ชีพชื่น กล่าวแง่งอมความฯ

เจ้ า พระยาทิ พ ากรวงศ์ , พระราชพงศาวดารรั ช กาลที่ ๔ (พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๖) (กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี, ๒๕๔๗), หน้า ๔๐๘. ๒๓ กรมศิลปากร, ชีวิตและงานของสุนทรภู่ (กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๘), หน้า ๓๖๖.


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๗๕

ในเนื้อความของโคลงแสดงว่า กวี ยังมี ข้อฉงนและยังขาดความรู้ใ นชื่ อ สถานที่ประวัติต่างๆ รวมถึงมีความยากลําบากในการเดินทาง ทําให้ “อั้นอัดกลัดใจ ตน เต็มมืด” แต่ได้ตามผู้เฒ่าจึงทําให้รู้เส้นทาง สามารถเดินทางสํารวจได้คล่องขึ้น อย่างไรก็ดีในบทที่สองกวีกล่าวว่านิราศเรื่องนี้เขียนตามคําผู้เฒ่า ยิ่งแต่งก็ยิ่งทําให้ งานนั้นดีขึ้น “เชาวน์ก็ยิ่งปรีชา ยิ่งแท้” บทสรุป แม้ว่านิราศเมืองนครไชยศรีจะยังไม่ชัดเจนในด้านประวัติ เพราะทราบ เพี ย งที่ มาว่ า หอพระสมุ ด ซื้ อ จากหม่ อ มหลวงแดง สุ ป ระดิ ษ ฐ์ เมื่ อ พุ ทธศั ก ราช ๒๔๗๙ มีเนื้อหาค่อนข้างสั้นและบางแห่งตัวอักษรเลือน แต่มีลักษณะดีเด่นด้าน เนื้อหาของนิราศเมืองนครไชยศรีที่อาจเป็น “บันทึกการสํารวจเส้นทาง” ของกวี ผ่านสถานที่ต่างๆ ในเมืองนครไชยศรี เชื่อมโยงกับเรื่องการขุดคลองสําคัญหลาย สาย อันเป็นทางไปยังพระปฐมเจดีย์ได้สะดวกขึ้น ซึ่งเป็นพระราชดําริที่สําคัญใน สมัยรัชกาลที่ ๔ อย่างไรก็ตามการศึกษาเชิงประวัติของนิราศเรื่องนี้ยังคงเป็นความ ท้าทายของนักวรรณคดีต่อไป บรรณานุกรม ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (๒๕๔๗). วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น : ลักษณะร่วมและ อิทธิพล. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชวนพิศ อิฐรัตน์, บรรณาธิการ. (๒๕๔๖). โคลงนิราศหริภุญไชย ศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร สอบกับต้นฉบับเชียงใหม่. หนังสือที่ระลึกงานถวาย ผ้าพระกฐินพระราชทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจําปี พุทธศักราช ๒๕๔๖ ณ วัดพระธาตุหริภญ ุ ไชยวรมหาวิหาร อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน วันอาทิตย์ที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๖. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.


๗๖ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ณัฐกานต์ นาคนวล. (๒๕๔๗). นิราศสมัยใหม่ในกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์และ ไพวรินทร์ ขาวงาม. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. (๒๕๔๗). พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: พิมพ์ด.ี ธเนศ เวศร์ภาดา. (๒๕๔๙). หอมโลกวรรณศิลป์ การสร้างรสสุนทรีย์ในวรรณคดี ไทย. กรุงเทพฯ: ปาเจรา. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, ม.ล. (๒๕๔๓). วิเคราะห์รสวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: ศยาม. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๕). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ – ไทย. กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถาน. รื่นฤทัย สัจจพันธุ.์ (๒๕๔๒). “นิราศบทพิลาปรําพันรักและบันทึกประสบการณ์ของ กวี” ใน สีสันวรรณศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปญ ั ญา จังหวัด นครปฐม. (๒๕๔๔). คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมาย เหตุในคณะกรรมการอํานวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ ัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว. ศิลปากร, กรม. (๒๕๑๘). ชีวิตและงานของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา. ศิลปากร, กรม. (๒๕๔๕). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ:สํานักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (๒๕๔๘). เจิมจันทน์กังสดาล : ภาษาวรรณศิลป์ใน วรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษร ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๗๗

เสาวภา พรสิริพงษ์ และคณะ. (๒๕๔๘). วิถีชมุ ชนลุม่ น้ํานครชัยศรี. กรุงเทพฯ: บริษัทเอกพิมพ์ไทจํากัด. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (บรรณาธิการ). (๒๕๕๐). เล่าขานตํานานศาลายา. นครปฐม: คณะกรรมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.


๗๘ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

นิราศเมืองนครไชยศรี นิราศเมืองนครไชยศรี สํานวนนี้เป็นสํานวนที่ค้นพบใหม่ ยังมิได้จัดพิมพ์ มาก่อน กลอนนิราศเรื่องนี้แต่งเป็นกลอนนิราศ เลขที่ ๑ มัดที่ ๓ ตู้ ๑๑๕ ชั้น ๕/๑ หอพระสมุดซื้อจากหม่อมหลวงแดง สุประดิษฐ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ จัดทําไมโครฟิล์ม เมื่อ ๔ – ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๔ ปัจจุบันเก็บรักษาที่ฝ่ายเอกสารโบราณ สํานักหอสมุด แห่งชาติ ปริวรรตต้นฉบับโดยอาจารย์อภิลักษณ์ เกษมผลกูล และอาจารย์สายป่าน ปุริวรรณชนะ เนื้อความในนิราศพรรณนาถึงการจากคนรักทําให้เป็นห่วง จะฝากใครก็ เกรงจะถูกลอบชม สู้ฝากไว้กับใจนางเองไม่ได้ กวีออกเดินทางโดยทางเรือผ่านวัดชิง (ไร่ขิง) วัดท่าพูด ถึงท่าโคกยายหอม (ดอนยายหอม) ในตอนท้ายของนิราศมีเพลง ยาวแทรกอยู่ ความไม่ต่อกับนิราศ แต่ก็ได้นําลงมาพิมพ์ไว้ด้วยกัน เพื่อประโยชน์ ในทางวิชาการ

ร้างไร้ไกลเรือนเพื่อนสําราญ อั้นอัดกลัดทรวงดวงสวาดิ โฉมเจ้าฝากใครก็ไม่ควร คิดจะฝากโฉมน้องไว้ท้องสมุทร จะฝากไว้ในดินนรินทร์ครอง จะฝากเจ้าไว้เขาชื่อไตรลาส โฉมมิ่งยิ่งยวดยอดนารี รุ่งแจ้งแสงศรีอุทัยทอง ได้พิชัยฤกษ์ตามดําเนินทาง ก็เดินตามเวลาพระราเมศร ไม่ตามเหมือนสีดายิ่งอาวรณ์

แสนวิบากจําจากที่ถิ่นฐาน สะท้านอ่อนใจระทดกําสรดครวญ จนแรมร้างไปห่างสงวน เป็นแต่ล้วนข้าศึกที่นึกปอง นาคจะผุดพบพาไปสมสอง เกรงเจ้าของแผ่นดินจะยินดี อินศวรเทวราชจะสมศรี ควรที่จะฝากไว้กับใจนาง สอดส่องทั่วจังหวัดไม่ขัดขวาง เมื่อนํานางสีดาเสด็จจร ชําเลืองเนตรเพ่งพิศมิตรสมร แต่ตั้งถอนใจสลดระทดทรวง


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๗๙

นาวาคลาเคลื่อนออกจากที่ ถึงวัดขิงนิ่งนึกคํานึงดวง ปีเถาะเป็นเคราะห์ต้นไม้ร้าย ถ้าขิงมีพี่จะกินสิ้นดง ถึงศาลเจ้าเห็นจีนเขาจุดธูป ยืนประนมกรน้อมพร้อมกัน คิดจะคํานับเจ้าถามข่าวน้อง ทั้งไตรสารนาคมจะราคิน สู้เมินหน้าโศกไปตามกระแส ชื่อท่าพูดถิ่นท่าน่าสําราญ ไม่เห็นใครพูดกันที่นั่นบ้าง เงียบสงัดวัดเยนเปนสาคร ซ้อแซ้แส้เสียงสนั่นก้อง ไม่ได้ความแยบคายว่าร้ายดี แม้นพี่มีฤทธิ์จะรีบเหาะ ชวนยุพินลินลาศมานาวา แต่กรองกรึกนึกไปไม่สมคิด สิ้นสุขทุกข์ทับคับอุรัง อนิรุทธ์ร้างศรีสดุ าลักษณ์ สุชนูพลัดคู่จริ ประภา พระรถน้องห่างห้องจากเมรี พลายแก้วจากพิมเพื่อนภิรมย์ อกพี่อาภัพดูลับลี้ เมื่อไรจะคืนเคียงคู่ไม่รู้เลย บางซื่อชื่อคลองเห็นช่องคด เรียกบ้างซื่ออื้ออิงทั้งหญิงชาย

ยิ่งทวีเทวษไห้เปนใหญ่หลวง ไม่เห็นขิงยิ่งง่วงชะแงงง น้ําท่วมขิงตายไม่เหลือหลง จะได้ทรงเสียงครางให้ดังครัน ไหว้รูปเทวราชรังสรรค์ อภิวันท์เทวาภาษาจีน แล้วกรองกรึกนึกขยาดจะขาดศีล เปนมลทินมัวหมองไม่ต้องการ ชําเลืองแลเห็นวัดรโหฐาน พื้นตะพานศาลาน่าหลับนอน จะฟังร่างเรื่องราวที่ข่าวสมร แต่หมู่นิกรปักษายังพาที พูดตามทํานองของปักษี ยิ่งทวีโศกศัลย์ถึงขวัญตา ไปปะเหลาะโลมนุชเสน่หา แปลภาษาปักษีให้พี่ฟัง เปนสิ้นรูส้ ินฤทธิ์จะคืนหลัง ใครจะตั้งปลอบใจให้ปรีดา เทพารักษ์อุ้มชมสมอุษา ก็ได้น้องอสุราภิรมย์ชม ได้โฉมศรีขนิษฐามาสูส่ ม ก็ได้ชมลาวทองประคองเชย ไม่มีที่อุปถัมภ์แล้วน้องเอ๋ย อกเอ๋ยเวทนาเอกากาย ช่างกําหนดชื่อไว้ไม่รหู้ าย แต่คลองคดใจหายไม่สมนาม


๘๐ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

อันใจพี่นี้รักษ์ก็สุจริต จะสู่คลองโศกตายไว้ลายงาม พิไรร่ําคร่ําครวญมาตามทาง ถ้ายางมีพี่จะพิฆาตฟัน จากมาถึงท่าชื่อโคกยายหอม ถึงโฉมนุชสุดสวาสดิส์ ะอาดงาม คลองฉางไม่เห็นฉางมีแต่ชื่อ ที่นี่ฉางตั้งแต่ปางใด ลูกแล้วหลานเล่ามาซ้าํ เหลน รักษ์ฉางใจหายไม่วายคํานึง แสนวิตกจนอกไม่มสี ุข ฉาง ชาวบ้านรู้คดีที่พี่คราง สืบต่อข้อความเจ็ดนามโคตร ปากนกที่ยางเราว่ายัง ...............(เลือน)................................ ...............(เลือน)................................ อุณรุทสมพาสกินนรนาง ...(เลือน)...พิศดูนางยิ่งครางครวญ สม...(เลือน)...หนามยอกเอาหอกบ่ง เมินเนตรเสียไม่ดรู ูปสุดา เป็นกรรมสําหรับอกมาตกอับ ตั้งแต่แลมืดทุกวันวาร

ซื่อต่อมิตรยิ่งช้างที่กลางสนาม ให้ความปรากฏลือว่าซื่อครัน ถึงบางยางไม่เหนยางยิ่งโศกศัลย์ ทําเรือให้ขวัญตาเจ้าขี่ตาม เจ้าจอมยายหลานเอยฉันจะถาม จะตามมาหาฉันเมื่อวันไร เขาล่ําลือเรียกมาน่าสงสัย จึงตั้งใจเรียกชื่ออื้ออึง จนไม่เห็นรูปฉางยังครางถึง เหมือนหนึ่งเรื่องพี่ที่รักษ์นาง ประมาณทุกข์มากครันสักพัน จะช่างเล่านิทานให้หลานฟัง เป็นหน้าโคตรตัวตายยังลายหลัง ปากคนโด่งดังกว่าสัตว์..(เลือน)... ................(เลือน)........................ ................(เลือน)........................ ...(เลือน)...พี่เศร้ากําสรดสรวล เหมือนางชวนโสกศัลย์ถึงขวัญตา เหมือนอสงไขยทวีที่หนักหนา จะทําชู้อยู่ด้วยตาไม่ต้องการ ดังเดือนดับลับสิ้นทุกถิ่นฐาน จะกลับสถานวันใดไม่รู้เอย ฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๘๑

๏ จบเสร็จสําเร็จเบื้อง ชลมารควิถีธาร ภูมิแผนกล่าวพิสดาร แห่งเรื่องนิราศข้า

บรรหาร ถิ่นถ้า โดยเหตุ บาทน้อมนําถวายฯ

๏ กรองความเพียงพลิกฟื้น เชาวน์บ่ปรีชาฉงน อั้นอัดกลัดใจตน ยิ่งกว่าราษตรีกล้า

ภูวดล เงื่องช้า เต็มมืด กล่าวเบื้องนามบางฯ

๏ กรองความตามผูเ้ ฒ่า เชาวน์ก็ยิ่งปรีชา ชวน...(เลือน)... ...(เลือน)...ภายแก้

กล่าวมา ยิ่งแท้ ชีพชื่น กล่าวแง่งอมความฯ

เดือนสิบเบดแรมสี่คา่ํ เวลามืด (สิ้นฉบับเพียงเท่านี้)


๘๒ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

(เพลงยาวท้ายนิราศเมืองนครไชยศรี)

สาวสุรางค์นางฟ้ามาแปลกปลอม ประโลมโลกให้หลงลานสวาท ควรจะแผ่สุวรรณวาดไว้ชมทรง พี่หวังน้องเหมือนปองมฤคชาติ นิเวศน์สุราลัยสิไกลกัน แต่ความรักหักให้แสนวิตก คะนึงเกรงศักดาท้าวมัฆวาน อันหนึ่งองค์ที่เป็นจอมอสุรภพ ก่นแต่รอนรณรงค์กับองค์อินทร์ พี่นี้เรืองเดชไกรดังไพจิตร คงม้วยชีพลงด้วยจักรกําจัดพร เป็นมนุษย์สุดจนแต่ต่ําพื้น แม้นพระเมรุเอนหามาเห็นใจ เขาพระเมรุหมื่นโยชน์อันโกรดกรึง เห็นเกินศักดิ์หักสวาทไปมาดทรวง พี่โหยหวงถึงแม่ดวงมณฑาทิพย์ คะนึงโปรดท่าคอยขอพระพาย ภุมรินบินว่อนระวังไว เชิญแก้วพี่ประกอบให้ชอบชม อย่าถือยศเลยว่ายังประยูรศักดิ์ อย่าแหนงรักเลยว่ารักจะแรมราน ขอฝากโอษฐ์ตอบโอษฐ์องค์เอมอร ขอฝากเนื้อแนบเนื้อแม่ดวงจันทร์

ฉมสุคนธ์ทบประทมหอม ฤๅนางจอมกษัตริย์จะพลัดลง ประหลาดบาดตาแลตะลึงหลง เกลือกจะคงคืนจรวิมานจันทร์ มณฑาไทเทวราชในสวนสวรรค์ จะผายผันดอกฟ้าสุมามาลย์ ที่สุดอกที่จะเอื้อมอาจหาญ เหมือนนิมมานที่สถิตของเทวินทร์ หวังประสบมณฑาทองปองถวิล อมรินทร์ยังไม่อัปรารอน ถึงสิ้นฤทธิ์ไม่สิ้นรักในสมร สักแสนท่อนก็ไม่ถอยถึงทับไชย สุดจะยื่นเมฆมุ่งหมายไฉน พอใกล้ได้ก็จะเด็ดมาชมดวง อนึ่งองค์อมรแมนยังแหนหวง คิดถึงดวงชีพที่ระกํากาย ลอยละลิบแล้วก็ลับเวหาหาย ชวยชายรสมาให้ชื่นในอารมณ์ เดชะไปจะได้พบเกสรสม ถึงโลกล่มก็ไม่ล่มอาลัยลาญ อย่าถือพักตร์เลยว่าพักตร์ไม่เทียมสมาน อย่าเนิ่นนานหวงเสน่ห์ไว้ให้นานวัน ขอฝากกลอนเชยชมโฉมสวรรค์ ขอเชิญขวัญพี่มอบขวัญนัยนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๘๓

ขอเชิญโปรดสบเนตรสักหน่อยบ้าง ขอฝากใจรวมใจจอมสุดา ขอฝากงามให้งามเพียงไว้เคียงพักตร์ จึงรินรสวาจามายาเยียว กรุณาหน่อยเถิดแม่วิมลโฉม ประการใดที่ในรสรักแรง เอกอนงค์แม่จงโดยอารมณ์ด้วย ให้เบาทรวงเถิดแม่ดวงสุดาจอม สมุดบางต่างแผ่นสุวรรณบัตร กับทั้งรอยหัตถ์ให้ทัศนา อันความรักหนักหนาสุธาสมุทร ไม่สูญใจจากจอมกษัตรีย์ พี่รับขวัญขวัยเนตรไว้ในสาร จะนิ่งนึกมโนนองหมองฤทัย จะนับทุ่มโมงขวาสารารส ไม่ยากโดยยากคอยคดีดล ..................(เลือน)........................ ที่เรื่องรักอันจะชักให้ยืดยาว

ขอเชิญปรางแม่มามอบที่นาสา ฝากชีวาไว้เป็นคู่ชีวิตเดียว ให้งามศักดิ์เสมอศักดิ์แสนเฉลียว ที่ทรวงเสียวสะท้อนสวาทแทง คําประโลมเลื่อนล้ําคําแถลง มิควรแจ้งแต่ว่าใจพี่จงจอม เหมือนชูช่วยชีพพี่ที่ปองถนอม ประนอมจิตมาดหมายใจมา บรรจงจัดเขียนเล่ห์เสน่หา ต่างพักตราสนองตอบไมตรีมี ถึงจะสุดสิ้นจันทร์สุรังสี นําคดีมาสนองให้แน่ใจ พอประมาณมิควรที่คําไหน ขออภัยเถิดอย่าผิดติดระคน กําหนดไว้แต่ล้วนสักพันหน ......(เลือน)................................. .......(เลือน)................................. อุระผ่าวเพียงพิษปืนยายิง

(สิ้นฉบับเพียงเท่านี้)


๘๔ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

แผนที่อําเภอนครไชยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๔๕๗ แสดงเส้นทางในนิราศเมืองนครไชยศรี จากวัดไร่ขิง ถึง คลองฉาง


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๘๕


๘๖ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๘๗


๘๘ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๘๙


๙๐ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๙๑

ภาคผนวก


๙๒ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๙๓

ประวัติและความเป็นมาของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา (Center of Thai Studies) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นองค์กรที่ มุ่งศึกษาและค้นคว้าองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย และเป็น ศูนย์กลางข้อมูลด้านไทยศึกษาทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ ทั้งยังส่งเสริมการ ค้นคว้า วิจัย และสร้างเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ด้านไทยศึกษา รวมถึง เผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านไทยศึกษา ผลิตงานวิจัยและโครงการด้านไทยศึกษาที่ เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิชาการในศาสตร์แขนงต่างๆ ทั้งภายในและ ภายนอกมหาวิทยาลัยที่สนใจศึกษาเรื่องเกี่ยวกับประเทศไทยได้ทํางานร่วมกันเพื่อ สร้างสรรค์และพัฒนาองค์ความรู้ด้านไทยศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปั จ จุ บั น ศู น ย์ ส ยามทรรศน์ ศึ ก ษา มี โ ครงการและกิ จ กรรมต่ า งๆ เป็ น จํานวนมาก โดยมีแผนการจัดทําฐานข้อมูลงานวิจัยด้านไทยศึกษา เพื่อเป็นคลัง ความรู้ในการศึกษาวิจัยและสร้างความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของงานวิจัยและ โครงการต่างๆ ด้านไทยศึกษา จัดบรรยายและสัมมนาวิชาการ ตลอดจนการประชุม วิชาการ เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านไทยศึกษาของนักวิชาการ ศาสตร์แขนงต่างๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึก ทักษะเกี่ยวกับองค์ความรู้ในสังคมไทยในด้านต่างๆ แก่ผู้สนใจ อันจะนํามาสู่การสืบ ทอดและอนุรักษ์องค์ความรู้ของศาสตร์แขนงต่างๆ ในสังคมไทย เพื่อกระตุ้นความ สนใจแก่นักวิชาการให้เกิดการเรียนรู้และนํามาสู่การศึกษาวิจัยต่อไป นอกจากนี้ยัง มีการปริวรรตเอกสารโบราณ จัดพิมพ์ และเผยแพร่เอกสาร งานวิจัย ตํารา และ ผลงานต่างๆ ด้านไทยศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ ที่ เกี่ยวกับสังคมไทยที่อยู่ในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะข้อมูลที่ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์


๙๔ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

เผยแพร่มาก่อน ตลอดจนบริการให้คําปรึกษาเกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องศาสตร์แขนง ต่างๆ ในสังคมไทยแก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาตั้งอยู่ที่ห้อง ๒๐๓ ชั้น ๒ อาคารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๔๔๐๑-๔ ต่อ ๒๐๒ โทรสาร ๐๒-๔๔๑๔๒๑๘ เปิดให้บริการค้นคว้าคลังข้อมูลเพลงพื้นบ้านไทย คลังข้อมูลเอกสารโบราณ และคลังข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับชุมชนศาลายาและจังหวัดนครปฐม ในวันและ เวลาราชการ


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๙๕

รายนามคณะกรรมการบริหารศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ประจําปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ๑. ศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง สุริยา รัตนกุล (ประธานที่ปรึกษา) ๒. อาจารย์วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ (ที่ปรึกษา) ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัตน์ คําศรีจันทร์ (ที่ปรึกษา) ๔. อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล (ประธานศูนย์) ๕. อาจารย์อรวี บุนนาค (รองประธานศูนย์) ๖. อาจารย์ศิธรา จุฑารัตน์ (รองประธานศูนย์) ๗. อาจารย์วิภา งามฉันทกร (กรรมการ) ๘. อาจารย์ชนกพร พัวพัฒนกุล (กรรมการ) ๙. อาจารย์ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา (กรรมการ) ๑๐. อาจารย์ฐิติภา คูประเสริฐ (กรรมการ) ๑๑. อาจารย์วศวรรษ สบายวัน (กรรมการ) ๑๒. อาจารย์วริศรา โกรทินธาคม (กรรมการและเลขานุการ) ๑๓. นายดรณ์ แก้วนัย (กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ) ๑๔. นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว (กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)


๙๖ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

แนะนําเอกสารวิชาการของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา เอกสารวิชาการลําดับที่ ๑ : ปฐมสาร

“ปฐมสาร” เป็ นหนั งสือ สโมสรข้าราชการจั งหวัดนครปฐมที่ จัดพิมพ์ ขึ้นเพื่อเป็นที่ ระลึ ก ในงานเทศกาลนมั ส การพระปฐมเจดี ย์ ข องทุ ก ปี เนื้ อ หาภายในเล่ ม ประกอบด้ ว ย ประวัติศาสตร์จังหวัดนครปฐม “ปฐมสาร” เล่มสําคัญคือฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ คํานมัสการพระปฐมเจดีย์ คาถา เย ธมฺมา ซึ่งพบในจารึกที่พระปฐมเจดีย์ ความเป็นมาของเมือง นครปฐม ประวัติพระประโทณเจดีย์ ประวัติอําเภอสามพราน เรื่องพระราชวังสนามจันทร์และ สุนัขทรงเลี้ยงของรัชกาลที่ ๖ “ย่าเหล” เรื่องคําขวัญประจําจังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ยังมีภาพ และเรื่องโฆษณาต่างๆ ในสมัยนั้นเป็นจํานวนมาก หนังสือ “ปฐมสาร” ฉบับนี้ นอกจากจะบันทึก ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจังหวัดนครปฐมในอดีตแล้ว ยังทําให้ทราบถึงเอกลักษณ์ของ จังหวัดนครปฐมในอดีต ที่ไม่ปรากฏการกล่าวถึงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สะท้อนจากคําขวัญ จังหวั ดนครปฐมในขณะนั้ น หนังสือดังกล่า วมีความสําคัญ และมีคุณค่าอย่างยิ่ งต่อ การศึกษา ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์และต่ออายุ เอกสารให้ยังคงอยู่สืบไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๙๗

เอกสารวิชาการลําดับที่ ๒ สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๑: งานสํารวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง

“สยามปกรณ์ปริวรรต” เป็นหนังสือที่ได้คัดสรรวรรณกรรมจํานวนหนึ่งจากการ สํารวจวรรณกรรมท้องถิ่นภาคสนามในพื้นที่ภาคกลางมาปริวรรต โดยในเล่ม ๑ นี้ ได้คัดเลือก และนํามาจัดพิมพ์จํานวน ๑๐ เรื่อง แบ่งเป็น หมวดวรรณกรรมนิทาน จํานวน ๒ เรื่อง ได้แก่ ษรี เมืองกลอนสวด ฉบั บหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ และ สั งขปัตตชาดก ฉบับวั ดใหญ่พลิ้ ว จังหวัดจันทบุรี หมวดวรรณกรรมคําสอน จํานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ โลกนิติ ฉบับวัดเกาะหงษ์ จังหวัดนครสวรรค์ หมวดวรรณกรรมตํารา จํานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ พระสมุทอธิไทยโพธิบาท ฉบับวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี หมวดวรรณกรรมศาสนา จํานวน ๕ เรื่อง ได้แก่ กาพย์มงคลทีปนี ฉบับวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มหาราช ฉบับวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี พระอานิสงส์การสร้างสะพาน ฉบับวัดเขาชําห้าน จังหวัดจันทบุรี มรณสงคราม ฉบับวัดพลับ จังหวัดจันทบุรี และ พระมาลัยกลอนสวด ฉบับวัดกาญจนบุรีเก่า จังหวัดกาญจนบุรี หมวด พงศาวดารและประวัติศาสตร์ จํ า นวน ๑ เรื่ อ ง ได้ แ ก่ กฏหมายหลั กไชย ฉบั บ วั ด พิกุล ทอง สิงห์บุรี โดยศูนย์ฯ ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรของศูนย์ และเครือข่าย เป็นผู้ปริวรรต และ เขียนบทนําเรื่อง เพื่อจะยังประโยชน์แก่ผู้อ่านให้ทวีมากขึ้น


๙๘ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

เอกสารวิชาการลําดับที่ ๓ ประชุมเพลงทรงเครื่อง: สืบสานตํานานเพลงพื้นบ้านจากวัดเกาะ

หนังสือ ประชุมเพลงทรงเครื่อง: สืบสานตํานานเพลงพื้นบ้านจากโรงพิมพ์วัดเกาะ แบ่งออกเป็น ๒ ภาค ได้แก่ ภาค ๑ แต่งองค์: รวมบทความคัดสรรว่าด้วยเพลงทรงเครื่อง อัน ประกอบไปด้วย บทความเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านและเพลงทรงเครื่องจากนักวิชาการชั้นนําด้าน เพลงพื้นบ้าน อาทิ รศ.สุกัญญา สุจฉายา อาจารย์เอนก นาวิกมูล ผศ.บัวผัน สุพรรณยศ ส่วน ภาค ๒ ทรงเครื่อง: ประชุมเพลงทรงเครื่องจากโรงพิมพ์วัดเกาะ ที่ลงพิมพ์ที่โรงพิมพ์ราษฎร์ เจริญ (วัดเกาะ) รวม ๙ เรื่อง ได้แก่ เรื่องโคบุตร เรื่องจันทะโครบ เรื่องพระรถ เรื่องลิ้นทอง เรื่อง นางมโนราห์ เรื่องขุนช้างขุนแผน เรื่องไกรทอง เรื่องลักษณวงศ์ และเรื่องพระอภัยมณี นอกจากนี้ คณะผู้จัดทําจึงได้นําบทที่ใช้แสดงเพลงทรงเครื่องทั้ง ๓ ครั้ง ที่เคยแสดงในงานเดินตามรอยครู เชิดชูเพลงเก่า น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาแล้ว ได้แก่ เพลงทรงเครื่อง เรื่องพระเวสสันดร เพลงทรงเครื่องเรื่องขุนช้างขุนแผน และเพลงทรงเครื่องเรื่องพระอภัยมณี รวมทั้งยังได้นําบทแสดงเพลงทรงเครื่องที่จะแสดงในครั้งนี้คือ เพลงทรงเครื่องเรื่องหงส์หิน มาลง พิมพ์ไว้ในภาคผนวกของหนังสือด้วย


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๙๙

เอกสารวิชาการลําดับที่ ๔ กระจ่างครูผู้ถวายพระอักษร: ๑๓๐ ปี ครูกระจ่าง แสงจันทร์ บรรพกวีเมืองตราดและปัจจันตคีรเี ขตร

หนังสือ “กระจ่างครูผู้ถวายพระอักษร” จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวาระสําคัญ ที่ครบรอบ ๑๓๐ ปีชาตกาลครูกระจ่าง แสงจันทร์ บรรพกวีเมืองตราดและเมืองปัจจันตคีรีเขตร ท่านได้รังสรรค์ผลงานกวีนิพนธ์ไว้เป็นจํานวนมาก อีกทั้งประวัติชีวิตของกวีท่านนี้ยังเป็นสิ่งที่น่า เรี ย นรู้ แ ละศึก ษา เพราะแสดงให้ เห็ นถึ งความสามารถและโชคชะตาของท่ า นที่ นํา พาให้ เด็ ก ชาวบ้านเกาะกง ชายแดนพระราชอาณาเขตสยามในขณะนั้น ได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กใน สมเด็จ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ภายในหนังสือนี้ประกอบด้วย ประวัติของครูกระจ่าง แสงจันทร์ และมีส่วนที่เป็น ประชุมวรรณคดีนิทาน นิราศและบทร้อยกรองของครูกระจ่าง แสงจันทร์ ไว้อย่างครบถ้วนอีกด้วย ในตอนท้ายเล่มนั้น ได้จัดพิมพ์ รายงานตรวจราชการของ หลวงคิรีเ นมีทวีป ปลัดเมืองปัจจันตคีรี เขตร ร.ศ. ๑๒๑ สงเคราะห์เข้าไว้ในท้ายเล่มซึ่งเป็ น เหตุการณ์ร่วมสมัยกับช่วงชีวิตของครูกระจ่าง แสงจันทร์ เพื่อประโยชน์ในทางวิชาการต่อไป


๑๐๐ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

เอกสารวิชาการลําดับที่ ๕ ลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประทานแก่พระพินิจวรรณกรรม (แสง สาลิตุล)

ปี ๒๕๕๕ นี้ สํานักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ร่วมกับวัดศรีสุดารามวรวิหาร และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กําหนดจัดงานสดุดีกวีสุนทรภู่และอนุรักษ์ ส่งเสริม ศิลปะและวัฒนธรรมไทยขึ้น ณ วัดศรีสุดารามวรวิหาร ในการนี้ คณะกรรมการดําเนินงานเห็น ควรให้มีการจัดพิมพ์วรรณกรรมอันเนื่องกับสุนทรภู่ขึ้น โดยพิจารณาว่าลายพระหัตถ์ของสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ได้ประทานแก่พระพินิจวรรณกรรม (แสง สาลิตุล) เรื่องการตรวจชําระหนังสือพระอภัยมณีและประชุมบทละครดึกดําบรรพ์ เพื่อ จัดพิมพ์ในโอกาสสําคัญต่างๆ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๔๖๘ นั้น เป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ ที่มีการนํามาจัดพิมพ์แล้วหลายครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทั้งข้อความในลายพระหัตถ์ก็มีประโยชน์ ด้านการศึกษาอักษรศาสตร์และวรรณคดี ประการสําคัญ เป็นการจัดพิมพ์วรรณคดีอันเนื่องด้วย ผลงานของสุนทรภู่ กวีเอกของโลก คณะกรรมการดําเนินงานจึงเห็นสมควรให้มีการจัดพิมพ์ลาย พระหัตถ์ดังกล่าวขึ้นโดยคงลักษณะตัวอักษรให้เหมือนกับต้นฉบับเดิมทุกประการ


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๐๑

เอกสารวิชาการลําดับที่ ๖ พลังปัญญาจากวัฒนธรรมวรรณศิลป์ของกวีในเมืองตราด

รายงานวิจัยการสํารวจและปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดตราด: พลังปัญญาจาก วัฒนธรรมวรรณศิลป์ของกวีในเมืองตราดมีวัตถุประสงค์สําคัญ คือมุ่งสํารวจและอนุรักษ์ต้นฉบับ เอกสารโบราณ ตลอดจนปริวรรตข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดตราดเป็นอักขรวิธีปัจจุบัน เพื่อ จัดทําเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ ตลอดจนเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์วรรณกรรมท้องถิ่นของ จังหวัดตราดให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ผลการสํารวจและปริวรรตวรรณคดีท้องถิ่นทําให้ เห็นมุมมองเรื่องเมืองตราดผ่านกวีท้องถิ่น ทั้งในฐานะของความเป็นเมืองเก่าและมีรากฐานทาง วัฒนธรรมที่มั่งคั่งและมั่นคง ความเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนาและชาวเมืองดํารงตนในฐานะ พุทธศาสนิกชน ความเป็นเมืองแห่งนักปราชญ์และแหล่งสั่งสมองค์ความรู้ ความเป็นเมืองท่าและ เมืองแห่งพาณิชย์นาวี ความเป็นเมืองแห่งความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และความเป็นเมืองแห่ง การเพาะปลูกและปศุสัตว์ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าความเจริญรุ่งเรืองของเมืองตราดในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการเรียนรู้ประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และความทุ่มเทอุตสาหะของบรรพชน ชาวตราดได้อย่างชัดเจน


๑๐๒ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

เอกสารวิชาการลําดับที่ ๗

การศึกษาภาษาไทยในสมัยก่อน

ในโอกาสที่ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล ประธานที่ปรึกษาศูนย์สยาม ทรรศน์ศึกษาได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ “รางวัลผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย” เนื่องในโอกาส วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจําปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาจึงจัดพิมพ์หนังสือซึ่ง เป็นผลงานของอาจารย์คุณหญิงเรื่อง “การสอนภาษาไทยในสมัยก่อน” ที่เคยลงพิมพ์ในวารสาร ภาษาและวัฒนธรรมเมื่อ ๓๐ ปีล่วงมาแล้ว (พ.ศ.๒๕๒๕) อนึ่ง การจัดพิมพ์บทความเรื่อง “การ สอนภาษาไทยในสมัยก่อน” ของ ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล เป็นครั้งที่ ๒ นี้ กอง บรรณาธิการได้จัดทําเชิงอรรถเพิ่มเติมเพื่ออธิบายตําแหน่งหรือข้อมูลที่อ้างถึงให้เป็นปัจจุบัน โดย คงเชิงอรรถเดิมของศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล ไว้ ส่วนเชิงอรรถใหม่จะมีข้อความ ข้างท้ายว่า (บรรณาธิการ) นอกจากนี้ กองบรรณาธิการยังได้จัดหาภาพประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้ ผู้อ่านได้เข้าใจข้อมูลได้ชัดเจนมากขึ้นด้วย


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๐๓

เอกสารวิชาการลําดับที่ ๘ กาลครั้งหนึ่ง ... ถึงกาลครั้งนั้น: พิพิธภัณฑ์บ้านวัดมะเกลือ

พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น บ้ า นวั ด มะเกลื อ เป็ น โครงการความร่ ว มมื อ ระหว่ า งชาวบ้ า น วัดมะเกลือกับโครงการศิลปศาสตร์อาสา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มานับตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ การดําเนินงานดังกล่าวเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของพระครูบวรธรรมานุสิฐ เจ้ า อาวาสวัดมะเกลื อ ที่ มุ่งหมายจะให้ เกิ ดแหล่ งเรีย นรู้ ทางวั ฒนธรรมแก่ ชาวชุ มชนวั ด มะเกลื อ เพื่อ ส่งต่อองค์ ความรู้ ของท้อ งถิ่ นสู่อ นุชนรุ่ นหลั งต่ อไป อย่ างไรก็ดี คณะทํา งานได้ พิจ ารณาว่า เพื่ อ ให้พิ พิ ธภั ณฑ์บ้ า นวั ดมะเกลือ เป็ นแหล่ งเรี ย นรู้ ที่สมบู รณ์ นั้น สมควรจะได้ มี เอกสารวิชาการเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงแก่ผู้สนใจ สําหรับใช้ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ วิถี ชีวิต และวัฒนธรรมของชาวบ้านวัดมะเกลือ จึงได้ร่วมกันจัดทําหนังสือ “กาลครั้งหนึ่ง ... ถึง กาลครั้งนั้น: พิพิธภัณฑ์บ้านวัดมะเกลือ” ขึ้น และมอบเป็นอภินันทนาการแก่ผู้ร่วมพิธีเปิด พิพิธภัณฑ์เพื่อจะได้อนุสรณ์ถึงวันแห่งความชื่นชมปีตินั้น


๑๐๔ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

เอกสารวิชาการลําดับที่ ๙ ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี เล่มนี้เป็นการประชุมเอกสารประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับ เมืองนครปฐม เมื่อครั้งที่ยังมีนามว่าเมืองนครไชยศรี โดยการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้คัดสรรเอกสารหา ยากจํานวน ๔ เรื่อง ได้แก่ เอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรี พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ต้นเหตุของนามนครชัยศรี พระนิพนธ์ในพระวรวงศ์ เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิ ยากร จดหมายเหตุเ รื่องส้ม โอเมืองนครไชยศรี เป็นเอกสาร ราชการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอเมริกันเรื่องขอพันธุ์ส้มโอเมืองนครไชยศรีไปปลูกที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเอกสารที่ยังมิได้เคยจัดพิมพ์มาก่อน และเอกสารเรื่องสุดท้ายคือ นิราศเมือง นครไชยศรี ของกวีนิรนามจากวังหลวงที่กล่าวถึงการเดินทางจากพระนครมายังเมืองนครไชยศรี เอกสารดังได้คัดสรรมาล้วนเป็นเอกสารที่มีคุณค่าด้านไทยศึกษา และเป็นข้อมูลสําคัญในการ พัฒนาชุมชนด้วยข้อมูลประวัติศาสตร์สู่มิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อความยั่งยืนของชุมชนต่อไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศกึ ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ๑๐๕

ผู้สนใจเอกสารวิชาการของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยมหิดล ร้านหนังสือ Harmony By MU มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และร้านริมขอบฟ้า หรือติดต่อโดยตรงได้ที่ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ห้อง ๒๐๓ ชั้น ๒ อาคารที่ทําการชั่วคราวคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๔๔๐๑-๔ ต่อ ๒๐๒ โทรสาร ๐๒-๔๔๑-๔๒๑๘ http://www.la.mahidol.ac.th/thaistudies http://www.facebook.com/ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา Email: lats@domain.mahidol.ac.th


๑๐๖ | ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา เลขที่ ๙/๑๒๐๕ หมู่ ๑ ซอยสะแกงาม ๓๕/๓ แยก ๖ ถนนสะแกงาม แขวงแสมดํา เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๕๐ โทรศัพท์ ๐๒-๘๙๕๒๓๐๐-๓, ๐๒-๔๖๒๐๓๘๐ โทรสาร ๐๒-๔๖๒๐๓๐๓, ๐๒-๘๙๕๓๓๑๑


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.