Khunsuwan

Page 1


๒๐๐ ปี “คุณสุวรรณ” (๒๓๕๒ - ๒๕๕๒) : จินตนาการ ความคิดและชีวิตที่ไม่รู้จบของกวีหญิงปริศนาแห่งกรุงสยาม ตอนที่ ๑ อภิลักษณ์ เกษมผลกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ชื่อ “คุณสุวรรณ ” คงไม่เป็นที่คุ้นเคยนักสาหรับผู้ที่มิใช่นักเลงวรรณคดีไทย แต่หาก กล่าวถึงเรื่อง “พระมะเหลเถไถ ” ขึ้นมา ก็คงจะเพิ่มจานวนผู้รู้จักคุณสุวรรณได้อีกไม่น้อย เพราะ ท่านผู้นี้เป็นผู้ประพันธ์บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ เมื่อกว่า ๑๐๐ ปีก่อน ด้วยการเลือกใช้คาที่ไม่ มีความหมาย และการเลือก “เล่น ” กับเสียงของคา ทาให้คาที่ไม่มีความหมายในเรื่องพระมะเหล เถไถสามารถสื่อความหมายได้อย่างน่าอัศจรรย์ และเรื่องนี้ก็สร้างชื่อทาให้คนรู้จัก “คุณสุวรรณ” เป็นจานวนมาก อย่างไรก็ตาม ชีวิตกวีผู้ยิ่งใหญ่ย่อมมีอุปสรรคเสมอ คุณสุวรรณเป็นอีกผู้หนึ่งที่เป็นเช่นนั้น เพราะตามประวัติเชื่อกันว่าภายหลังเธอ “เสียจริต ” และในขณะที่ “เสียจริต ” นั้นเธอก็ได้แต่งบท ละครไว้ ๒ เรื่อง (เท่าที่มีข้อมูล) ได้แก่ บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ และ บทละครเรื่องอุณรุทร้อย เรื่อง ซึ่งเป็นผลงานที่รังสรรค์ขึ้นหลังจากที่เธอได้ประพันธ์เพลงยาวไว้ก่อนหน้า ๒ เรื่อง คือ เพลง ยาวหม่อมเป็ดสวรรค์ และเพลงยาวพระอาการประชวรกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซึ่งดูค่อนข้างจะ ขัดแย้งกับ “ความเสียจริต ” ของเธอ น่าสนใจว่าเรื่อง “การเสียจริต ” ของคุณสุวรรณน่าจะมีเหตุ เป็นมาอย่างไรและสัมพันธ์กับ “ชีวิต ” และ “งาน” ของคุณสุวรรณหรือไม่ บทความนี้จะพยายาม ค้นหาคาตอบนั้นแม้ว่าจะช้าไปกว่า ๑๐๐ ปี ทั้งนี้เพื่อเฉลิมฉลองวาระชาตกาล ๒๐๐ ปี ของคุณ สุวรรณ กวีหญิงคนสาคัญที่ทุกคนต่างหลงลืม “คุณสุวรรณ” กวีหญิงจากราชินิกุล ณ บางช้าง คุณสุวรรณเป็นธิดาของพระยาอุไทยธรรม (กลาง ณ บางช้าง) กับ คุณหญิงน่วม (สกุลเดิม วสุธาร) พระยาอุไทยธรรม (กลาง ณ บางช้าง) นี้ ใน ลาดับราชินิกุลบางช้าง กล่าวว่า เป็นบุตร ลาดับที่ ๒ ของเจ้าคุณหญิงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ท่านเจ้าคุณบางช้างแก้ว ซึ่งเป็นพระขนิษฐาร่วม พระชนกพระชนนีในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๑ (พระราชชนนีใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) มีถิ่นพานักอยู่ในเขตอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม


เจ้าคุณหญิงแก้ว (มีศักดิ์เป็นย่าของคุณสุวรรณ) ต่อมาสมรสกับพระยาสมุทรสงคราม (ศร) ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสงคราม (มีศักดิ์เป็นปู่ของคุณสุวรรณ) มีบุตรธิดา ดังนี้ ๑. คุณชายเลี้ยง เป็นพระราชานุวงศ์ ๒. คุณชายกลาง เป็นพระยาอุไทยธรรม ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสงคราม (บิดาของคุณสุวรรณ) ๓. คุณชายแสง เป็นพระยาวงศาภูษิต ๔. คุณหญิงจับ เป็นภรรยาพระพงศ์นรินทร์ (เจ้าฟ้าทัศพงศ์) พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระยาอุไทยธรรม (กลาง) บุตรของเจ้าคุณหญิงแก้วกับพระยาสมุทรสงคราม (ศร) นัน้ ต่อมาสมรสกับคุณหญิงน่วม (วสุธาร) มีบุตรธิดารวม ๘ คน ดังนี้ ๑. บุตรชื่อกุญ เป็นพระยามหิศรราชสัมพันธ์ ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสงคราม ๒. ธิดาชื่อขา ทาราชการฝ่ายใน เป็นปลัดเจ้าคุณพระตาหนักใหม่ เรียกว่า คุณปลัดใหญ่ ๓. บุตรชื่อ นุช ไม่ปรากฏข้อมูล ๔. บุตรชื่อ ครุฑ ไม่ปรากฏข้อมูล ๕. ธิดาชื่อ ผัน ไม่ปรากฏข้อมูล ๖. ธิดาชื่อ ภาพ เป็นหม่อมห้ามในกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา (ต้นราชสกุล ชุมแสง) ๗. ธิดาชื่อสุวรรณ ทาราชการฝ่ายใน ๘. ธิดาชื่อศรี เป็นภรรยาพระสุริยภักดี (สนิท) บุตรคนที่ ๑ ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต) นอกจากนี้ยังมีบุตรธิดากับภรรยาอื่น คือ กรมศิลปากร. ลาดับราชินิกุลบางช้าง. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.อ. ขุนวารินทรสัญจร (ขาว ณ บางช้าง) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม ,๒๕๐๑. หน้า ๔๘. กรมศิลปากร. ลาดับราชินิกุลบางช้าง. หน้า ๕๐-๕๑. พระสุริยภักดี มีนามว่า สนิท เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๕ เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาพิไชยญาติ (ทัต) กับท่านผู้หญิงน้อย (ธิดาของพระยาสมบัติยาธิบาลกับคุณหญิงม่วง สกุล ชูโต) เข้ารับ ราชการ ในรัชกาลที่ ๓ เป็นนายเล่ห์อาวุธ หุ้มแพรมหาดเล็ก แล้วเป็นจมื่นประทานมณเฑียร ปลัดกรมตารวจ ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระสุริยภักดี เจ้ากรมตารวจ ถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑ อายุ ๒๖ ปี


๙. ธิดาชื่อ หนู ไม่ปรากฏข้อมูล ๑๐. ธิดาชื่อสาปั้น ทาราชการฝ่ายใน ๑๑. บุตรชื่อ สุด เป็นมหาดเล็ก

ภาพ ๑ พระยามหิศรราชสัมพันธ์ ราชินิกุลกุรานุรักษ์ (กุญ ณ บางช้าง) อดีตผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสงคราม พี่ชายร่วมบิดามารดากับคุณสุวรรณ

คุณสุวรรณ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ ซึ่งเป็นปีแรกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยทรงครองสิริราชสมบัติ (พ.ศ.๒๓๕๒-๒๓๖๗) คุณสุวรรณเกิดที่บ้านอัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม เมื่อเจริญวัยขึ้นบิดามารดาจึงได้ถวายตัวให้รับราชการฝ่ายในด้วยเพราะนับเป็น ราชินิกุลสายชิด เนื่องด้วยเจ้าคุณแก้ว ท่านยายของคุณสุวรรณนั้นเป็นถึงพระโสทรขนิษฐภคินีใน สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระราชชนนีในรัชกาลที่ ๒ (พ.ศ.๒๒๘๐-๒๓๖๙) ซึ่งขณะนั้นยังทรงมี พระชนม์อยู่ด้วย และคุณสุวรรณก็ยังมีญาติวงศ์รับราชการฝ่ายในอยู่พระบรมมหาราชวังเป็น จานวนมาก ทั้งพระราชโอรสและพระราชธิดาในสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ รวมถึงพี่สาวแท้ๆ ของ คุณสุวรรณเอง คือ คุณขา และคุณภาพ (หม่อมภาพ) จาก “บางช้างสวนนอก” สู่ “บางกอกสวนใน” สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ คือราว ๔๔ ปี หลังการอนิจกรรมของคุณสุวรรณ ว่าคุณสุวรรณ “มีอุปนิสัยใจรักการแต่งกลอนมาแต่ยังเด็ก ได้

เทียบจากปีที่ถึงแก่อนิจกรรมในข่าวตายที่ลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา


ถวายตัวทาราชการฝ่ายในตามเหล่าสกุล เมื่อในรัชกาลที่ ๓ อยู่ที่ตาหนักพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่น อัปสรสุดาเทพ ”

ภาพ ๓ ตุ๊กตาหญิงชาววังในวัดเทพธิดาราม วัดที่กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เจ้านายของคุณสุวรรณ ทรงอุปถัมภ์

ภาพ ๕ ตาหนักแดงของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพซึ่งย้ายมาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และในพื้นที่เดิมได้สร้างพระตาหนักตึกของ สมเด็จฯ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร แทน นอกจากนี้ในราชกิจจานุเบกษาระบุว่า คุณสุวรรณ “เปนพนักงานพระแสง มาแต่ใน แผ่นดินพระบาทสมเดจพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่งห้าตาลึง ” เข้าใจ ศิลปากร, กรม . “คานา” บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ บทละครเรื่องอุณรุทร้อย เรื่อง กลอนเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ กลอนเพลงยาวเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดา เทพ และบทละครเรื่องระเด่นลันได. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๑๔. กวีหญิงในสมัยเดียวกันกับคุณสุวรรณ อย่างเช่นคุณพุ่ม เดิม ก็เป็นชาววังตาแหน่งพนักงานพระแสง เช่นกัน พนักงานพระแสง นี้มีหน้าที่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน ต้องเป็นคนที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง โดยมากมักเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าหรือหม่อมราชวงศ์ หรือราชินิกุลใกล้ชิด เพราะต้องเชิญพระแสงตาม เสด็จแต่บนที่ (ที่พระบรรทม เรียกกันสั้นๆ ว่า „บนที่ ‟) ไปทรงบาตร เมื่อเสด็จกลับขึ้นหอพระต้องคลานผ่าน


ว่าคงจะเป็นมาตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๒ แล้ว ภายหลังจึงย้ายไปเป็นข้าหลวงในตาหนักกรมหมื่นอัปสร สุดาเทพ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะด้วยเหตุว่า คุณสุวรรณมีกิริยางาม มีความเฉลียวฉลาดหรือเป็น ราชินิกุลสนิท หรือเหตุผลอื่นใดก็ตามที่ทาให้คุณสุวรรณได้มาอยู่ในตาหนักกรมหมื่นอัปสรสุดา เทพ แต่การได้มาอยู่ในตาหนักนี้ย่อมน่าจะได้รับความเกรงใจจากข้าหลวงตาหนักอื่น เพราะถือว่า เป็นตาหนักที่น่าจะมีเกียรติและทรงอิทธิพลมากที่สุดแห่งหนึ่งในฝ่ายใน เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดี ว่ากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงเป็นพระราชธิดาองค์โปรดในสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง โปรดปรานยิ่งกว่าพระราชธิดาพระองค์ใด ทั้งยังทรงยกให้เป็น “นางแก้ว ” ซึ่งเป็น ๑ ใน ๗ รัตนะ ของพระองค์อีกด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวิลาส ทรงเป็น พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๓ กับ เจ้าจอมมารดาบาง ประสูติ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๕๔ มีพระ อนุชาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ

พระสาทิสลักษณ์กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพภายในวัดเทพธิดาราม พระตาหนักของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ คือ พระตาหนักแดง ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นที่ประทับ ของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางพระองค์น้อยในรัชกาลที่ ๑ ตั้งอยู่ในเขต พระราชฐานชั้นใน ภายในพระบรมมหาราชวัง คุณสุวรรณในฐานะข้าหลวงในพระองค์จึงย่อม จะต้องพานักอยู่ในพระตาหนักคอยถวายงานใกล้ชิด เจ้านายฝ่ายใน ซึ่งเฝ้าอยู่ตลอดพระที่นั่งไพศาลทักษิณมาถวายพระแสงให้ทรงถือที่พระทวารา (ในรัชกาลที่ ๔ พระราชทานชื่อพระทวารานี้ว่า „เทวราชมเหศร‟) อ้างใน จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (นามแฝง). “เวียงวัง ” ใน สกุล ไทย ฉบับที่ ๒๔๒๔ ปีที่ ๔๗ ประจาวันอังคารที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๔. พระตาหนักแดง เป็นเรือนหลวง สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ขนาด ๗ ห้อง เครื่องบนประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ แสดงฐานานุศักดิ์ของเรือน ฝาเป็นฝาปะกน มีเสานางเรียงรองรับแนวชายคาด้านหลัง ด้านหน้าเป็นระเบียง ภายในแบ่งเป็น ๒ ห้อง และมีห้องสรงอยู่บนเรือนด้วย ปัจจุบัน อยู่ในบริเวณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร


คุณสุวรรณมีวัยใกล้เคียงกับกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ คืออายุมากกว่าเพียง ๒ ปี น่าจะเป็น เหตุให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงพระเมตตา และขณะเป็นข้าหลวงในพระองค์ในกรมหมื่นอัปสร สุดาเทพ คุณสุวรรณได้แต่งเพลงยาวทานองเป็นจดหมายเหตุบันทึกเหตุการณ์ขึ้น ๒ เรื่อง คือเพลง ยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ และเพลงยาวพระอาการประชวรกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เพลงยาว ๒ เรื่องนี้ได้บันทึกเรื่องราวของหญิงชาววังในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี รวมถึง “การเล่นเพื่อน” ของหญิง ชาววัง อย่างไรก็ตามมีผู้ศึกษาเรื่องเหล่านี้ไว้หลายท่าน จึงจะไม่กล่าวในที่นี้ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๘๘ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์ลง เป็นที่โทมนัสของสมเด็จ พระราชบิดายิ่ง และยังเป็นผลให้ข้าหลวงในพระตาหนักต้องย้ายออกจากพระตาหนักแดงตาม ธรรมเนียม ขณะนั้นคุณสุวรรณอายุได้เพียง ๓๖ ปี สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพทรงพระ นิพนธ์ไว้ว่า “เมื่อกรมหมื่นอัปสรฯ สิ้นพระชนม์แล้วคุณสุวรรณก็อยู่ในพระราชวังต่อมา แต่ไม่ ปรากฏว่าทาราชการในตาแหน่งพนักงานใด” เข้าใจว่าคุณสุวรรณคงจะได้พานักอยู่ในเรือนนอก ในฝ่ายในนั้นเอง และยังคงได้รับ พระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๑ ชั่ง กับ ๕ ตาลึง ครั้นเมื่อถึงในสมัยรัชกาลที่ ๔ คุณสุวรรณป่วยเป็น “พิกลจริต ” ได้ลาออกจากราชการ กระนั้นก็ยังได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๕ ตาลึง และคุณเขียน ธิดาของคุณศรี พี่สาวของคุณ สุวรรณ ได้มารับไปพานักที่บ้าน และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๑๘ ในต้นรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๕ สิริอายุรวม ๖๗ ปี ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ พระราชทานหีบทองทึบใส่ศพเป็นเกียรติยศ คุณสุวรรณคงจะเป็นคนดังไม่น้อยเพราะ “ข่าวตาย” ของคุณสุวรรณได้ลงพิมพ์ใน ราช กิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓ นาเบอร์ ๒๕ วันอาทิตย์ เดือน ๕ แรม ๘ ค่า ปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘ แผ่นที่ ๔ ลงข่าวการถึงแก่อนิจกรรมของคุณสุวรรณไว้ว่า ๏ คุณสุวรรณ เปนบุตรพระยาอุไทยธรรม (กลาง) เดิมคุณสุวรรณได้ ทาราชการ เปนพนักงานพระแสง มาแต่ในแผ่นดินพระบาทสมเดจพระนั่ง กวีหญิงในสมัยเดียวกันกับคุณสุวรรณอย่างคุณพุ่ม เดิมเป็นชาววังตาแหน่งพนักงานพระแสง เช่นกัน พนักงานพระแสง นี้มีหน้าที่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน ต้องเป็นคนที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง โดยมาก มักเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าหรือหม่อมราชวงศ์ หรือราชินิกุลใกล้ชิด เพราะต้องเชิญพระแสงตามเสด็จแต่บน ที่ (ที่พระบรรทม เรียกกันสั้นๆ ว่า „บนที่‟) ไปทรงบาตร เมื่อเสด็จกลับขึ้นหอพระต้องคลานผ่านเจ้านายฝ่ายใน ซึ่งเฝ้าอยู่ตลอดพระที่นั่งไพศาลทักษิณมาถวายพระแสงให้ทรงถือที่พระทวาร า (ในรัชกาลที่ ๔ พระราชทานชื่อ พระทวารานี้ว่า „เทวราชมเหศร ‟) อ้างใน จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (นามแฝง). “เวียงวัง ” ใน สกุลไทย ฉบับที่ ๒๔๒๔ ปีที่ ๔๗ ประจาวันอังคารที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๔.


เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่งห้าตาลึง ครั้นมาถึง แผ่นดินพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ป่วยเปนพิกลจริตออก นอกราชการได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดอยู่ปีละห้าตาลึง คุณเขียน หลานสาว รับออกไปไว้ที่บ้าน ครั้น ณ วันอาทิตย เดือนสี่ แรมสามค่า ปี กุนสัปตศก เวลายามเสศไปนอน ครั้นเวลาสามยามได้ยินเสียงคราง คุณ เขียนจึงไปร้องเรียกก็ไม่มีสติ ถึงเวลา ๑๐ ทุ่มเสศถึงอนิตยกรรม อายุได้ ๖๗ ปี พระราชทานหีบทองทึบให้ใส่ศพเปนเกียรติยศ ฯะ

ลักษณะหีบทองทึบที่พระราชทานให้แก่คุณสุวรรณเพื่อเป็นเกียรติยศ อนึ่ง หีบทองทึบ ที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานนั้น เป็นหีบหลวงชั้นสูงสุดสาหรับ บรรจุศพผู้ที่ มียศไม่ถึงชั้นโกศ ลักษณะจะไม่มีลวดลายอะไรที่ผนังหีบเลย เป็นหีบปิดทองเกลี้ยงแต่ที่เชิงฐาน ของหีบจะมีลวดลายแกะสลัก เป็นลายบัวฐานสิงห์ ปิดทอง โดยมากจะพระราชทานให้แก่บรรดา พระศพหม่อมเจ้า ( ทั้งที่ได้รับพระราชทาน เครื่อง ราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และที่ไม่ได้รับ พระราชทาน )ศพเจ้าจอม หรือศพพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ นั่นจึงย่อมหมายความว่าทรงยกย่อง คุณสุวรรณในฐานะราชินิกุลไม่น้อย

ธิดาของคุณศรี (น้องสาวของคุณสุวรรณ) กับ พระสุริยภักดี (สนิท บุนนาค) ต่อมาคุณเขียนสมรสกับ นายสนิทยศสถาน (พร้อม จาตุรงคกุล) มีบุตรธิดาคือ “เจ้าจอมมิ” ในรัชกาลที่ ๕ พระศรีทิพโภชน์ (ใหญ่ จาตุรงคกุล) สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ สมัยรัชกาลที่ ๖


นอกจากนี้ในข่าวตายของคุณสุวรรณใช้คาว่า “อนิจกรรม” ซึ่งโดยทั่วไปเป็นศัพท์ที่ใช้กับ การตายของผู้มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพานทอง สิ่งเหล่านี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าคุณสุวรรณมี สถานภาพที่สูงกว่าข้าหลวงทั่วไป เพราะหากนับลาดับสายโลหิตกันแล้ว คุณสุวรรณก็เป็นราชินิกุล บางช้างที่มี “สายชิด ” กับพระราชวงศ์ไม่น้อย และด้วยสถานภาพเหล่านี้เองที่พาให้คุณสุวรรณ กลายเป็นคน “พิกลจริต” ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในภายหลัง คุณสุวรรณ: กวีหญิงคนสาคัญแห่งเมืองสยาม ผลงานการประพันธ์ของคุณสุวรรณเท่าที่พบและยอมรับกันในปัจจุบันมีเพียง ๔ เรื่อง ได้แก่ กลอนเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ กลอนเพลงยาวเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่น อัปสรสุดาเทพ บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ และ บทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง เมื่อได้ ตรวจสอบดูจากต้นฉบับพบว่าในตอนท้ายของแต่ละเรื่องยังมีคากลอนเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามาอีก ดังเช่น สักวาพระอภัย ซึ่งอยู่ท้ายเรื่องเพลงยาวหม่อมเป็ดสวรรค์ สักวาพระอภัยอยู่ท้ายรถ ทุกข์ระทดถึงประชวรนวลหงส์ เป็นไฉนไม่ตื่นไม่ฟื้นองค์ ยิ่งคิดสงสารสะอื้นกลืนน้าตา สักวาพระอภัยวิไลลักษณ์ กาลังรักนางวัณฬามารศรี เลียบเชิงเทินเดินดูหมู่โยธี เห็นสุวรรณมาลีที่รถทรง ทั้งสร้อยสุวรรณจันสุดามาพร้อมพรัก นึกจะทักแล้วก็เฟือนเลอะเลือนหลง เห็นวัณฬามาเมียงอยู่เคียงองค์ ชวนอนงค์เดินมาหน้าพลับพลาเอย สักวาฝ่ายสุวรรณมาลี เห็นสามีหมายว่าพวกฝรั่ง มายืนดูอยู่ตรงรถมีตรดบัง ที่ตางหลังล้วนสาวสาวฤๅเจ้านาย แต่สร้อยสุดาว่าพระบิตุเรศ นึกสังเกตจาได้จิตใจหาย น้อยฤๅพระอภัยช่างไม่อาย นางฟูมฟายชลเนตรสมเพชเอย สักวาพระอภัยค่อยคลายคลั่ง คิดความหลังขึ้นได้ปราศรัยถาม ทาไมเล่าเจ้าจึงพาลูกมาตาม พอสงครามเสร็จสรรพจะกลับไป อย่าโศกศัลย์กรรแสงจงแจ้งเรื่อง ฤๅบ้านเมืองเคืองเข็ญเป็นไฉน พระปลอบนางพลางขยับจะกลับไป กลับคลั่งไคล้เคลิ้มสตินิ่งมิเอย สักวาองค์พระมเหสี เห็นสามีตรัสถามทูลความหลัง ปัจจุบันอนุโลมใช้กับผู้ได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย หรือทุติยจุลจอมเกล้า และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ข้าราชการตั้งแต่ ระดับ ๙ ขึ้นไป


เพราะทูลกระหม่อมจอมเกศนิเวศวัง มางงงวยด้วยฝรั่งเมืองลังกา ชาวชมพูบุรีไม่มีสุข ตั้งแต่ทุกเศร้าสร้อยละห้อยหา จึงอตส่าห์พยายามติดตามมา ขอเชิญฝ่าพระบาทไปกรุงไกรเอย สักวานางละเวงเกรงจะกลับ เป่าประทับด้วยพระเวทวิเศษขลัง จึงตอบคาทาเป็นว่าดูหน้าฟัง ว่างงงวยด้วยฝรั่งเห็นอย่างไร ฤๅผัว...................................... ........................................ .............................................. ............................................. นอกจากนี้ในตอนท้ายเรื่องของต้นฉบับสมุดไทยบทละครอุณรุทร้อยเรื่อง ยังพบนิทานคา กลอนเรื่อง พญาแร้งวัดสระเกศ มีเนื้อหาน่าสนใจ ซึ่งผู้เขียนจะกล่าวถึงในตอนท้ายของบทความ นี้ จากผลงาน ๔ เรื่อง ดังกล่าวมา ผลงานสองเรื่องแรกบันทึกเรื่องราวของสาวชาววังและ แต่งในสมัยรัชกาลที่ ๓ ส่วนสองเรื่องหลังเป็นกลอนบทละครที่แต่งขึ้นตามจินตนาการและแต่งใน สมัยรัชกาลที่ ๔ ผลงานสองเรื่องหลังนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่าบทละครทั้ง ๒ เรื่อง “เป็นบทบ้าแต่ง มิใช่บทละครอย่างปรกติ” ดังที่ทรงอธิบายไว้ว่า ...มีผู้ได้ไต่ถามแลเตือนมาเนืองๆ ว่าเหตุใดหอพระสมุดฯ จึงไม่พิมพ์ บทละครของคุณสุวรรณ เหตุนั้นก็บอกได้โดยง่ายว่า เพราะหอพระสมุดฯ หา ฉบับยังไม่ได้จึงมิได้พิมพ์ มาบัดนี้หาฉบับได้ หอพระสมุดฯ จึงพิมพ์บทละคร ของคุณสุวรรณทั้ง ๒ เรื่องไว้ในสมุดเล่มนี้ ให้ได้อ่านกันตามปรารถนา แต่ผู้ที่ยังไม่ทราบเค้าทูลเรื่องบทละครของคุณสุวรรณเห็นจะมีในชั้นนี้ มากด้วยกัน ถ้าไม่อธิบายให้ทราบ น่าจะพากันเห็นเป็นการแปลกประหลาด ที่หอพระสมุดฯ เอาหนังสือเช่นนี้มาพิมพ์ เพราะที่แท้เป็นบทบ้าแต่งมิใช่บท ละครอย่างปรกติ เพราะฉะนั้น จาจะต้องชี้แจงให้ทราบเรื่องเดิมแลข้อขาของ บทละครคุณสุวรรณเสียก่อน บทละครของคุณสุวรรณที่เป็นของแปลกนั้น คือ บทละคอนเรื่องพระ มะเหลเถไถ คุณสุวรรณแต่งเป็นภาษาบ้าง ไม่เป็นภาษาบ้างปะปนกันไปแต่ ต้นจนปลาย แต่ใครอ่านก็เข้าใจความได้ตลอดเรื่อง ความขบขันอยู่ที่ตรงข้อ ศิลปากร, กรม . “คานา” บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ บทละครเรื่องอุณรุทร้อย เรื่อง กลอนเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ กลอนเพลงยาวเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดา เทพ และบทละครเรื่องระเด่นลันได. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๑๔.


๑๐

นี้ ส่วนบทละครอุณรุทร้อยเรื่องนั้น คุณสุวรรณเกณฑ์ให้ตัวบทละครเรื่อง ต่างๆ มารวมกันอยู่ในเรื่องเดียว ถ้าดูโดยกระบวนความอยู่ข้างจะเลอะ แต่ ไปดีทางสานวนกลอนกับแสดงความรู้เรื่องละครต่างๆ กว้างขวางเพราะใน สมัยนั้นบทละครยังมิได้พิมพ์ คุณสุวรรณคงต้องพยายามมากทีเดียวจึงได้รู้ เรื่องละครต่างๆ มากถึงเพียงนั้น แต่มีอยู่บท ๑ ในอุณรุทร้อยเรื่องของคุณ สุวรรณ ซึ่งควรสรรเสริญในกระบวนความว่าเป็นความคิดแปลกดี คือ บท จาแลงตัว ... ความพิเศษของผลงานของคุณสุวรรณจากผลงาน ๒ เรื่องหลังนี้เอง ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ คุณสุวรรณเป็นอย่างมาก จนทาให้เป็นที่รู้จักทั้งในหมู่หญิงชาววังและชนชั้นสูงโดยทั่วไป สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า คุณสุวรรณมามีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อรัชกาลที่ ๔ เหตุด้วยเสียจริต แต่ไม่ คลั่งไคล้อันใด เป็นแต่ฟุ้งไปในกระบวนแต่งกลอน จึงแต่งบทละคร ๒ เรื่อง ที่ พิมพ์ในสมุดเล่มนี้เรียกกันว่า เรื่องพระมะเหลเถไถเรื่อง ๑ กับอุณรุทร้อย เรื่อง อีกเรื่อง ๑ เล่ากันมาว่า คุณสุวรรณอยู่ที่เรือนแถวนอก ใครไปหาถ้า บอกว่าอยากจะฟังบทละครที่แต่งใหม่ คุณสุวรรณก็ว่าบทละคร ๒ เรื่องนี้ให้ ฟังโดยจาไว้ได้แม่นยา ผู้ที่ได้ฟังเห็นขบขันก็พากันชอบ ที่จาได้บ้างก็มาว่าให้ ผู้อื่นฟังต่อๆ มา เพราะฉะนั้นบทละครของคุณสุวรรณจึงแพร่หลาย พวกผู้ดี ชาววังจากันได้มากบ้างน้อยบ้างแทบจะไม่เว้นตัว แต่ที่ได้จดไว้เป็นตัวอักษร นั้นน้อยแห่ง ครั้นนานมาจึงหาฉบับยาก นอกจากความพิเศษในวรรณกรรมของคุณสุวรรณดังกล่าวมาในพระนิพนธ์ข้างต้นแล้ว ยังพบว่า วรรณกรรมของคุณสุวรรณยังเป็นวรรณกรรมที่วิพากษ์งานวรรณกรรมด้วยกัน โดยการ ล้อเลียนวรรณคดีแบบฉบับโดยเฉพาะบทละครใน ซึ่งเป็นบทละครที่สงวนไว้สาหรับ พระมหากษัตริย์ ดังใน บทละครเรื่อง พระมะเหลเถไถ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าคุณสุวรรณเลือกใช้ คาที่ไม่มีความหมายในภาษาไทย มาใส่ไว้ในบทละครเป็นจานวนมาก แต่ผู้อ่านก็ยังคงเข้าใจเนื้อ ศิลปากร, กรม . “คานา” บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ บทละครเรื่องอุณรุทร้อย เรื่อง กลอนเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ กลอนเพลงยาวเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดา เทพ และบทละครเรื่องระเด่นลันได. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๑๔. ศิลปากร, กรม . “คานา” บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ บทละครเรื่องอุณรุทร้อย เรื่อง กลอนเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ กลอนเพลงยาวเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดา เทพ และบทละครเรื่องระเด่นลันได. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๑๔.


๑๑

เรื่องจากบริบทแวดล้อมได้ ในเรื่องนี้น่าจะเป็นการ “วิพากษ์ ” การใช้ภาษาชวามลายูในบทพระ ราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา เนื่องจากในบทพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ รัชกาลที่ ๒ ทรงสรรคาและปรับคา จากภาษาชวามลายูมาใช้ในบทละครเป็นจานวนมาก เข้าใจว่าคนไทยในสมัยนั้นคงยังไม่เข้าใจ ความหมายของศัพท์ชวามลายูที่อยู่ในบทละคร แต่คนไทยก็ยังเข้าใจเนื้อเรื่องอิเหนาเป็นอย่างดี และในบทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง คุณสุวรรณก็ใช้โวหารสั่งลาสิบปากก่อนตาย เลียนแบบ โวหารสั่งลาสิบปากของทศกัณฐ์ในเรื่อง รามเกียรติ์ และของเจ้ากรุงพาณในเรื่อง อุณรุท ซึ่ง บรรยายข้อความทีละปากว่าจากปากแรกถึงปากที่สิบสั่งความอะไรบ้าง สั่งความกับใคร และเมื่อ สั่งลาครบสิบปากแล้วก็สิ้นชีวิต อย่างไรก็ตามสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพยังทรงพระนิพนธ์ไว้ ด้วยว่า “กลอนของคุณสุวรรณคงมีเรื่องอื่นอีกแต่ยังหาพบไม่” จึงย่อมเป็นไปได้ว่าอาจมีผลงานของ คุณสุวรรณพลัดพรายหายสูญไป หรืออาจเป็นวรรณคดีบางเรื่องที่นอนนิ่งอยู่ในหอสมุดแห่งชาติแต่ ไม่ปรากฏว่าผู้แต่งคือใคร ผู้เขียนพบว่าในหอสมุดแห่งชาติปรากฏต้นฉบับสมุดไทยที่หน้าปกเรื่องระบุไว้ว่าผู้แต่งคือ คุณสุวรรณ นอกจากเรื่องที่กล่าวไว้ข้างต้น ๔ เรื่อง แล้ว ยังพบเพิ่มเติมอีก ๒ เรื่อง คือบทละครเรื่อง พระเอ็ดยง และบทละครเรื่อง พระพิรุณ อย่างไรก็ดีก็ยังไม่เป็นที่ยืนยันว่าเป็นผลงานของคุณ สุวรรณโดยแท้หรือไม่คงจะต้องมีการศึกษาโดยละเอียดลึกซึ้งกันต่อไป เพราะอาจเป็นไปได้ว่า อาลักษณ์ที่เคยอยู่ในหอพระสมุดอาจเห็นว่าบทละครใดที่มีเนื้อหาหรือกลวิธีการแต่งแปลกๆ ก็ เข้าใจว่าน่าจะเป็นผลงานของคุณสุวรรณจึงเขียนลงไปที่หน้าปกสมุดไทยในสมัยหลังก็เป็นได้ แต่ อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า หน้าปกของสมุดไทยที่เป็นผลงานของคุณสุวรรณบางครั้ง มีการเขียนชื่อผู้แต่งว่าเป็น “คุณพุ่ม” บ้าง “คุณสุวรรณ” บ้างสลับกัน อาจเป็นไปได้ว่าเป็นกวีหญิงที่ ร่วมสมัยเดียวกันและมีชื่อเสียงในการประพันธ์เช่นกันจึงทาให้เกิดความสับสนขึ้น คุณสุวรรณนอกจากจะมีคารมในทางกวีนิพนธ์เป็นเยี่ยมแล้ว ก็ยังปรากฏว่ามีฝีมือช่างอีก ด้วย ตามเรื่องราชนิกุลบางช้างเล่มหนึ่ง ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณสุวรรณเพิ่มเติมว่ามีฝีมือ ในทางเป็นช่างทองและช่างเขียน “ได้ทาหีบหมาก เขียนเรื่องพระอภัยมณี ๖ เหลี่ยมยาว แล้วตัด กระจกปิดในเนื้อที่ ๖ เหลี่ยม ๔ เหลี่ยม ๓ เหลี่ยม บรรจุในเนื้อที่รูปหีบกว้างยาวและสูง เรื่องย่อมีอยู่ว่า พระเอ็ดยงมีพระมเหสี ๒ องค์ คือนางแหงดี และนางแต่งแวด พระเอ็ดยงไปเลียบ เมือง ได้นางโหตี มาเป็นมเหสี สร้างความไม่พอใจให้แก่โลตึง (เนื้อเรื่องไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นใคร ) จึงขับพระเอ็ด ยงและพระมเหสีทั้งสามออกจากเมือง ขณะที่เดินทางไปกลางป่า ก็ได้พบกับนายเจ็ดโยนเป็นโจรป่า มีสมุนห้า ร้อยคน นายเจ็ดโยนพาสมุนมาสวามิภักดิ์กับพระเอ็ดยง พระเอ็ดยงจึงนาทัพเหล่าโจรป่าไปตีเมืองคีหันบุรี เพื่อ แก้แค้นแก่โลตึง เนื้อเรื่องจบเพียงพระเอ็ดยงไปตั้งค่ายหน้าเมืองคีหัน อ้างใน ชูดาว (นามแฝง). “พระเอ็ดยง: หัสเดียมคดีของคุณสุวรรณ” ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๙. หน้า ๒๑๔ – ๒๑๕.


๑๒

เช่นเดียวกับแบบลวดลายโบสถ์ฝรั่งขอบบนฝาฝังพลอย ” ฝีมือในทางช่างทองนี้ กล่าวกันว่าคุณศรี น้องของคุณสุวรรณเองก็เก่งไม่มีใครเทียมเหมือนกัน “พญาแร้งวัดสระเกศ” ของฝากจากคุณสุวรรณ? ดังที่กล่าวในข้างต้นแล้วว่าในตอนท้ายเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง ของคุณสุวรรณ มีนิทานคา กลอนเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือเรื่อง “พญาแร้งวัดสระเกศ ” เนื้อหากล่าวถึงการทาสงครามระหว่าง พญานกแร้งวัดสระเกศกับพญานกตะกรุม โดยเลียนแบบการทาสงครามตามขนบในวรรณคดีไทย คือ มีบทชมทัพและจัดกระบวนทัพ บทสระสรงทรงเครื่อง ฯลฯ และในตอนท้ายเรื่องได้แสดงให้เห็น ว่าการทาสงครามระหว่างพญานกทั้งสองฝ่าย ทาให้พวกแมลงตัวเล็กๆ เดือดร้อนไปด้วย ดัง ตัวอย่าง ปางพระจอมจักรพงศ์ดารงแร้ง ประจักษ์แจ้ง..........นกกระสา ดีพระทัยดังหนึ่งได้ครองพารา พระราชาตรัสสั่งเสนาใน ว่าบัดนี้เราจะไปประพาสป่า จงจัดแจงโยธาเป็นทัพใหญ่ ฝ่ายเหนือฝ่ายใต้บาตรหมาย ไป แต่ในรุ่งสุริยาเวลาดี ฝ่ายนกเขารับสั่งแล้วบังคม พระบรมอิศราเรืองศรี ออกจากพระโรงคัลทันที มายังที่ศาลาลูกขุนพลัน จึงสั่งให้เสมียนนั้นเขียนหมาย แจกจ่ายไปทุกหมวดกวดขัน จงกระเกรียมโยธามาให้ทัน ได้ฤกษ์รุ่งสุริยันจะไคลคลา อีกทั้งหัวเมืองและภูรัง หมายสั่งให้ไปบอกทุกภาษา ทั้งเมืองเอกโทตรีและจัตวา ก็เข้ามาคับคั่งทั้งวังใน เขาหาท่านนกเขาเป็นมากมาย ก็จัก..................เอามาให้ จัดกระบวนถ้วนครบสมทบไว แร้งวัดทอง.........เป็นปีกซ้าย วัดระฆังตั้งให้เป็นปีกขวา พวกแร้งวัดบางหว้าน่า........ .......................วัดสังข์กระจาย เป็นตัวนายทัพหลังระวังพล วัดสาเพ็ง..................... .................โยธาอยู่สับสน ล้วนฝูงแร้งอัดแออยู่แจจน เหลือล้น........จะประมาณ บางถือทวนถือง้าวยาวรี ถือกระบี่ฟักทองกองทหาร ส.พลายน้อย .กวีสยาม. กรุงเทพฯ : บารุงสาส์น, ๒๕๓๓. หน้า ๑๗๑. บัตรหมาย


๑๓

แต่ละตนอดเนียวทั้งเชี่ยวชาญ บ้างทะยานปีนขึ้นบนเมฆา ลางหมู่ถือธนูแลเกาทัณฑ์ บ้างถือดาบกันฟันกะหลาป๋า บางถือปืนนกสับคาบศิลา เครื่องศาสตราครบถ้วนทุกตัวคน ครั้นเสร็จสรรพกลับเข้าทูลฉลอง ...จัดกองโยธาพวกพต้น ....เสร็จเชิญเสด็จจรดล เคลื่อนพหลพลไกรไคลคลา ปางพระจอมจักรพงศ์ดารงภพ อันเลิศสบสูงศักดิ์กว่าปักษา ทั้งพญานกเขาเสนา ว่าโยธาพร้อมเสร็จสาเร็จการ จึงเสด็จจรลีเข้าที่สรง สาอางองค์ชาระสระสนาน ทรงสุคนธรสรื่นชื่นบาน ทรงสังวาลสายบัวไม่กลัวใคร แล้วเสด็จออกยังที่ข้างหน้า พร้อมพวกโยธาไสว ได้ฤกษ์ก็ให้เรียกพลไกร ลั่นฆ้องชัยสามทีที่สัญญา พวกพหลโห่ร้องอยู่ก้องกึก อึกทึกบินขึ้นบนเวหา มืดมัวทั่วไปในเมฆา ดังหนึ่งว่าพสุธาจะทาลาย แร้งฝรั่งตั้งปืนยืนขยับ ลั่นนกสับตึงตังดังใจหาย แร้งแขกแบกหอกออกเรียงราย แร้งทวายถือดาบสองมือมา แร้งลาวถือ........................... แร้ง.................ถือธงออกนาหน้า แร้งยวนถือทวนยาวห้าวา แร้งพม่า............................ .....ถือเขนกลับกลอกหน้า แร้งข่าถือหน้าไม้อยู่ไสว แร้งจีนถือเกาทัณฑ์เป็นหลั่นไป ยกจากเวียงชัยไคลคลา ทนด่านผ่านดงพงพี ทนคีรีข้ามห้วยเหวผา ด้วยบินคล้อยลอยไปในเมฆา ถึงเวลายกทัพลงจับนอน จะกล่าว(ถึง) นกชาวป่าน่าสังเวช ไม่แจ้งเหตุนึกกลัวหัวสยอน ต่างพาลูกเมียไปในอัมพร บ้างซุกซ่อนนกนุ่นออกวนไป คิดสมเพชเวทนาแต่นกแก้ว เห็นตายแล้วเราจะกนไปหนไหน เมื่อเมียกูก็กาลังยังอยู่ไฟ เพิ่งคลอดลูกอยู่ได้สักสามวัน เอาปีกกอดสอดเมียแล้วเสียจิต ราพึงคิดถึงชีวาจะอาสัญ ทั้งผัวเมียโศกาปรึกษากัน ตัวสั่นระรัวกลัวความตาย กลัวจะต้องกลัดกันจิตพันผูก ข้างฝ่ายเมียนกฮูกนั้นลูกหาย ไอ้พ่อโกรธตบทีตีแทบตาย บ้างพลัดย้ายพลัดป่าหากันซน ด้วยนึกเกรงกองทัพจะจับตัว นกสาวๆ หาผัวอยู่สับสน เหล่าพวกนกเฒ่าแก่ออกแจจน ทุกตัวตนอกใจไม่สมประดี .........................


๑๔

ฝ่ายพระยานกกระทุงได้ฟังตรัส ก็รีบลัดจากพระโรงชัยศรี แล้วขึ้นตีกลองชัยเภรี สกุณีก็บินมาอลวน รู้ว่าบุรีจะมีเหตุ ทุกประเทศรู้แจ้งทุกแห่งหน ต่างๆ พลางจัดรี้พล เผ่นขึ้นเวหนรีบมา เข้าหาท่านนกกระทุงเป็นนายใหญ่ ก็จับจ่ายของไปให้ถ้วนหน้า ปืนนกสับขาบชุดคาบศิลา ทั้งเสื้อผ้าหมวกธงล้วนลงยันต์ แล้วจัดนกกระจาบเป็นสามหอก นกกระจอกเวทมนตร์คนขยัน กับนกกระรอกทองเป็นกองพัน นกอัญชัญเป็นกองส่งลาเลียง นกคิ้งโคลงจะให้เป็นปีกขวา ปีกซ้ายโยธาล้วนนกเอี้ยง นกพิราบนั้นโห่หาบข้าวเสบียง นกเลียงนั้นให้เป็นนายคุม พวกนกกระทุงทองเป็นกองหน้า กองหลัง(นก)เขาชวากับนกคุ้ม ทัพหลวงล้วนแต่นกตะกรุม นกอีลุมนั้นโห่เป็นเกียกกาย นกยางกรอกถือหอกแลแหลนหลาว นกยางขาวถือปืนยืนท้าย เค้าโมงถือมีดตอกออกกรีดกราย กระเราลายถือโล่แลโตมร นกนางนวลถือทวนออกเป็นแถว นกแก้วถือกระบองอยู่สลอน นกกระทาให้ถือคทาธร นกกระสาถือศรฤทธิไกร นกหัวขวานถือขวานชาญณรงค์ นกขุนทองถือธง....ไสว จัดกระบวนถ้วนหน้าแล้วคลาไคล ก็เข้าไปทูลพลันทันที .................................. เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า วัดสระเกศเป็นวัดที่อยู่ใกล้กับประตูผี ซึ่ง เป็นประตูเมืองเพียง ประตูเดียวที่ ทางการอนุญาตให้นา ศพภายในกาแพงเมืองออกมาเผานอกเมืองตามธรรมเนียม ดังนั้นวัดสระเกศจึงเป็นวัดที่ใครๆ ต่างก็พากันเอาศพมาทิ้งไว้ที่วัดนี้ เพราะสะดวกในการไปมาใน ครั้งนั้นยิ่งกว่าวัดอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเหตุโรคระบาดทั้งเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๕ ก็ยิ่งทวีจานวนแร้งวัดสระเกศที่มากินซากศพมากขึ้น จนกระทั่ง มีชาวต่างประเทศ คนหนึ่งเป็นผู้บังคับการเรือโคเมตของฝรั่งเศส ชื่อเรือเอกหลุยส์ คาติส รูเฟอร์เน่ ได้บรรยายและ บันทึกเอาไว้ว่า เมื่อได้เห็นและได้กลิ่นซากศพ ภาพนกอันน่าเกลียดที่เกาะอยู่บนหลังคาวัดผุๆพังๆ เพื่อคอยอาหารของมัน และได้ฟังคาอธิบายของภิกษุรูปร่างพิลึกและน่ากลัวในบริเวณอันน่าสลด ใจก็ทาให้เกิดความรู้สึกอึดอัด ใจเสมือนฝันร้ายและกล่าวได้ว่าสภาพเช่นนี้เป็นนรกอเวจีและเป็น บริเวณที่ประหลาดที่สุดของกรุงเทพมหานคร


๑๕

ภาพแร้งวัดสระเกศกาลังรุมกินซากศพ จากตัวละคร “พญาแร้ง” และ “พญานกตะกรุม ” ที่ทาสงครามกันในนิทานคากลอน ข้างต้น และให้ “พญานกและบริวาร” มีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์และดาเนินเรื่องตามขนบวรรณคดี ไทยนั้น ผู้แต่งน่าจะใช้เรื่องราวข้างต้นเล่าเรื่องเชิงวิพากษ์พฤติกรรมของบุคคลในสังคม หรือ เหตุการณ์สาคัญในบ้านเมืองที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับชนชั้นปกครอง และไม่สามารถเล่าอย่าง ตรงไปตรงมาได้ (ซึ่งชวนให้นึกถึงคดีพญาระกา) ซึ่งรูปลักษณ์และพฤติกรรมของ “พญาแร้ง ” และ “พญานกตะกรุม ” น่าจะสัมพันธ์กับบุคคลที่พาดพิงอยู่บ้าง การกระทาเช่นนี้นับเป็นการการ กระทาที่นับได้ว่าห้าวหาญยิ่ง การวิพากษ์บทละครในของหลวง การวิพากษ์การบริหารงานของชนชั้นสูงทั้งเจ้านายและ ขุนนางด้วยการสร้าง “รหัสนัย ” ในนิทานคากลอนเรื่องพญาแร้งวัดสระเกศ ของคุณสุวรรณ แสดง ให้เห็นถึงการเป็น “สตรีหัวก้าวหน้า ” ของยุคสมัย อย่างไรก็ตามการกระทาของคุณสุวรรณก็น่าจะ คู่ควรแก่การ “ต้องโทษ” สถานหนักเช่นกัน เนื่องจากเป็นการ “วิพากษ์ ” เรื่องต้องห้ามในอดีต แต่ก็ ไม่ปรากฏว่าคุณสุวรรณได้รับโทษแต่อย่างใด ปรากฏเพียงว่า “ป่วยเป็นพิกลจริต ” เป็นไปได้ว่า การให้คนทั่วไปรับรู้เรื่องคุณสุวรรณในฐานะ “ป่วยเป็นพิกลจริต ” อาจเป็นการ “ลงโทษ” อย่างหนึ่ง ของราชสานัก ทั้งนี้เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของ “ข้อวิพากษ์ ” ของคุณสุวรรณ และเหตุที่คุณ สุวรรณไม่ได้รับโทษสถานหนักน่าจะเป็นผลมาจากการที่คุณสุวรรณเป็น “ราชินิกุลบางช้าง ” สาย ชิด เป็นพระญาติสนิทกับเจ้านายเชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่จึงได้รับโทษเพียงสถานเบาเท่านั้น แม้ลมหายใจของคุณสุวรรณจะสิ้นสุดไปเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว แต่ “ชีวิต ” ของคุณ สุวรรณที่เรียบเรียงผ่าน “ความคิด” และ “จิตนาการ” จนเป็นบทกวีไม่ได้สิ้นสุดลงไปด้วย กลับยังคงโลดแล่นอยู่ในวงวิชาการและนักอ่านวรรณคดีอยู่ต่อไปแม้ในปัจจุบัน เรื่องราว การ “วิพากษ์ ” เหตุการณ์ร่วมสมัยของคุณสุวรรณมิได้มีเพียงเท่านี้ ยังมี “เรื่องใหญ่ ” อีก เรื่องหนึ่งที่คุณสุวรรณซ่อน “ความนัย” ไว้ด้วยศิลปะอย่างแยบยล ซึ่งผู้เขียนจะได้นามาไข ปริศนาและเปิดเผย “ความนัย” ในตอนต่อไป

บรรณานุกรม จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (นามแฝง). “เวียงวัง” ใน สกุลไทย ฉบับที่ ๒๔๒๔ ปีที่ ๔๗ ดูเรื่องคดีพญาระกาเพิ่มเติมใน ราม วชิราวุธ (นามแฝง). “คดีพญาระกา” ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ เดือน ตุลาคม และ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕.


๑๖

ประจาวันอังคารที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๔. ชูดาว (นามแฝง). “พระเอ็ดยง: หัสเดียมคดีของคุณสุวรรณ” ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๙. ศิลปากร, กรม . บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ บทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง กลอนเพลง ยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ กลอนเพลงยาวเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่น อัปสรสุดาเทพ และบทละครเรื่องระเด่นลันได. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร , ๒๕๑๔. ศิลปากร, กรม. ลาดับราชินิกุลบางช้าง. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.อ. ขุนวารินทรสัญจร (ขาว ณ บางช้าง) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม ,๒๕๐๑. ส.พลายน้อย .กวีสยาม. กรุงเทพฯ : บารุงสาส์น, ๒๕๓๓.


๒๐๐ ปี “คุณสุวรรณ” (๒๓๕๒ - ๒๕๕๒) : จินตนาการ ความคิดและชีวิตที่ไม่รู้จบของกวีหญิงปริศนาแห่งกรุงสยาม ตอนที่ ๒ (จบ) อภิลักษณ์ เกษมผลกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หลายท่านที่ได้ติดตามอ่านตั้งแต่ตอนที่แล้ว คงจะรับทราบถึงประวัติของคุณสุวรรณโดย ละเอียดแล้วว่า กวีหญิงคนสาคัญผู้นี้มีชีวิตอย่างไร และได้สร้างสรรค์ผลงานที่สาคัญเรื่องใดไว้บ้าง ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่คุณสุวรรณถึงแก่อนิจกรรม คือหลังจาก พ.ศ.๒๔๑๘ รวมทั้งจะได้นาเสนอ มุมมองเกี่ยวกับผลงานของคุณสุวรรณที่สัมพันธ์กับชีวประวัติ ของคุณสุวรรณ คือ “อุณรุทร้อยเรื่อง ” ที่น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทาให้คุณสุวรรณต้อง “ป่วยเป็น พิกลจริต” รวมถึงวรรณกรรมเรื่อง “พระพิรุณ ” ที่รอการพิสูจน์ว่าเป็นผลงานของคุณสุวรรณหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ ๒๐๐ ปีชาตกาลของคุณสุวรรณ จากวรรณกรรม “พิกลจริต” สู่ความคิดในการพินิจพิจารณ์ ก่อนที่จะได้พินิจพิเคราะห์วรรณกรรมที่น่าสนใจของคุณสุวรรณ ผู้เขียนจะได้นาเสนอ มุมมองของสังคมไทยต่อคุณสุวรรณที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป จากทัศนะที่ว่าคุณสุวรรณเป็นหญิง พิกลจริตที่ “ฟุ้งไปในกระบวนกลอน” สู่ความรับรู้ในฐานะ “กวีอัจฉริยะ” ดังปรากฏว่าภายหลังจากการถึงแก่อนิจกรรมของคุณสุวรรณ ๔๕ ปี สมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงเป็นบุคคลพระองค์แรกที่ได้ริเริ่มศึกษาค้นคว้าผลงานของ คุณสุวรรณ และทรงพระนิพนธ์ชีวประวัติของคุณสุวรรณ ทั้งยังทรงนามาตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ โดยทรงอธิบายไว้ว่า ...มีผู้ได้ไต่ถามแลเตือนมาเนืองๆ ว่าเหตุใดหอพระสมุดฯ จึงไม่พิมพ์ บทละครของคุณสุวรรณ เหตุนั้นก็บอกได้โดยง่ายว่า เพราะหอพระสมุดฯ หา ฉบับยังไม่ได้จึงมิได้พิมพ์ มาบัดนี้หาฉบับได้ หอพระสมุดฯ จึงพิมพ์บทละคร ของคุณสุวรรณทั้ง ๒ เรื่องไว้ในสมุดเล่มนี้ ให้ได้อ่านกันตามปรารถนา ... … คุณสุวรรณมามีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อรัชกาลที่ ๔ เหตุด้วยเสียจริต แต่ ไม่คลั่งไคล้อันใด เป็นแต่ฟุ้งไปในกระบวนแต่งกลอน จึงแต่งบทละคร ๒ เรื่อง คุณสุวรรณถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๑๘


ที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้เรียกกันว่า เรื่องพระมะเหลเถไถเรื่อง ๑ กับอุณรุทร้อย เรื่อง อีกเรื่อง ๑ เล่ากันมาว่า คุณสุวรรณอยู่ที่เรือนแถวนอก ใครไปหาถ้า บอกว่าอยากจะฟังบทละครที่แต่งใหม่ คุณสุวรรณก็ว่าบทละคร ๒ เรื่องนี้ให้ ฟังโดยจําไว้ได้แม่นยํา ผู้ที่ได้ฟังเห็นขบขันก็พากันชอบ ที่จําได้บ้างก็มาว่าให้ ผู้อื่นฟังต่อๆ มา เพราะฉะนั้นบทละครของคุณสุวรรณจึงแพร่หลาย พวกผู้ดี ชาววังจํากันได้มากบ้างน้อยบ้างแทบจะไม่เว้นตัว แต่ที่ได้จดไว้เป็นตัวอักษร นั้นน้อยแห่ง ครั้นนานมาจึงหาฉบับยาก จากพระนิพนธ์ข้างต้นทาให้เห็นว่า ผู้ดีชาววังเมืองกรุงในสมัยนั้นคงรู้จักชื่อเสียงในทางการ ประพันธ์ของคุณสุวรรณอยู่ไม่น้อย โดยแพร่หลายด้วยการท่องจาและนามาเล่าสู่กันฟัง มากกว่า การคัดลอกต้นฉบับ เพราะปรากฏว่าหอพระสมุดหาต้นฉบับตัวเขียนผลงานของคุณสุวรรณได้ยาก ต่อมาในเวลาใกล้เคียงกันคือใน พ.ศ. ๒๔๖๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่อง นิราศพระมะเหลเถไถ โดยทรงล้อกับผลงานบทละครของคุณ สุวรรณเรื่อง พระมะเหลเถไถ นั่นเอง

ตามเสด็จบพิตร์อิศโร ที่สิบห้าตุลากะถาถอง เศษหกสิบห้าปีกลีชา จุดธูปเทียนบูชากะบาบง แล้วหมอบราบกราบกรานกะบานบือ ไหว้ทวยเทวะมะลั่กตั้ก ยามเดินทางน่านน้ําชลําโล แล้วตระโบมโลมลูบจูบจะจิ๊ด จงอยู่ดีอย่ามีตะไลไต อย่าวิโยคโศกเศร้ามะเลาฉี จงอยู่เหย้าเฝ้าเรือนมะเลือนโลย อันตัวพี่มีกิจกะมิจเฉ

๏ นิราศร้างห่างเหจากเคโห ประพาศทางชโลนโททา ศกสองพันสี่ร้อยวะสอยสา ตะหลาต๋าตูไหว้ประนมมือ เปิดกะทงดอกไม้ไถลจื๋อ ไหว้พระไตรรัตนือตลมโป ขอให้ช่วยพิทักษ์ซึ่งตูโข้ ขอปวงภัยพาโลมะไลไท ลาเมียคู่ชีวิตมลิจไฉ ทั้งโพยภัยแคล้วคลาดกะด้าดโดย จะทําให้สามีตะโล๋ยโป๋ย อย่าให้โหยมากนักจักจึมงึม ตามเสด็จราเชประพําผึม

ศิลปากร, กรม . “คานา” บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ บทละครเรื่องอุณรุทร้อย เรื่อง กลอนเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ กลอนเพลงยาวเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดา เทพ และบทละครเรื่องระเด่นลันได. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๑๔.


มิใช่หน่ายน้องแก้วกะแมวมึม แม้มิไปไม่พ้นมลนลา เกิดเปนลูกผู้ชายกะตายดี แม้รักน้องต้องคิดกะติ๊กตุ๊ก จะได้มีความชอบกะมอบมม

มิใช้แสร้งจากจึมทลึมลี รับอาญาปี้ป่นมลนฉี ต้องนึกถึงกรณีย์นิยมปม กระทํากิจการทุกถลมถม อีกอุดมยศถากะทาเทือง

นิราศพระมะเหลเถไถ นี้ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์โดยทรงใช้นามปากกาว่า “ศรีอยุธยา” และปลอมพระองค์เป็นข้าราชการในพระองค์และติดตามขบวนเสด็จพระราชดาเนิน ไปเมื่อคราวเสด็จพระราชดาเนินเมืองลพบุรี ลักษณะการปลอมพระองค์เช่นนี้คล้ายกับวิธีการพระ ราชนิพนธ์ นิราศท้าวสุภักติการภักดี ของรัชกาลที่ ๕ ดังปรากฏในตอนท้ายเรื่องว่า ๏ ฃ้าเจ้าศรีอยุธยามะหลาถาด พออ่านเล่นกะเป๋เหลมะเถไล สมมตให้ท่านผู้ใหญ่มะไฮฮัง ที่แท้เจ้าคุณอู๊ดมะฮูดฮาน เพราะถึงท่านตามเสด็จชะเลดล๊อบ ท่านชอบอุดอยู่แต่เรือกะเมือเมียว อย่างเช่นที่ลพบุรีชลีลวน ท่านไม่ไปกับใครชไลโชน เรียกเรือจ้างมาลงกะป๋งหลา ขัดสมาธิ์จ้ําม่ํากะปาลือ ไปถึงไหนไม่ต้องอยากถลากไถ คอยบอกป่วยอยู่เปนนิตย์ทลิดทน เหตุดังนี้ฤาจะมลาดต้าด ฃ้าบอกไว้ตั้งใจมะไลเท แม้บทกลอนตอนใดกะไป๋ปิ๊ด ขออย่าโทษเจ้าคุณอู๊ดกะปู๊ดปาน

แต่งนิราศมะไหลเถมะเหลไถ มะไหลไถมะหลางถางยามว่างงาน ในกรมวังมะแหลงแถงแต่งกลอนสาร มิได้แต่งมะแหลงถานสักกลอนเดียว ท่านไม่ชอบตะไหลไป๋ในการเที่ยว หรือจะเที่ยวท่านกะเที่ยวมะโลนโทน มิตร์ไปชวนเที่ยงท้องชลองโหลน อิมโปไล้ต์ไปอะโลนดังหมูตือ กาน้ําชาตั้งเคียงกะเตี๋ยงตื๋อ ท่องนะทือเที่ยวนะทังลําพังตน ไม่เที่ยวไหนเนาเรือเถลือถน มิตร์ทุกคนคร้านจะชวนทลวนเท แต่งนิราศนี้ได้มะไหลเถ รับผิดชอบทั้งเพมะเลทาน จะขัดจิตกะปิ๊ดปู๋ท่านผู้อ่าน จงโทษศรีอยุธยานี้เถิด เอย ฯ

การพระราชนิพนธ์ นิราศพระมะเหลเถไถ มิได้เพียงสะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพใน การประพันธ์ของรัชกาลที่ ๖ เท่านั้น หากแต่ยังทาให้เห็นว่าทรงศึกษางานของคุณสุวรรณอย่างถ่อง แท้ ศึกษาสานวนและลีลาภาษาของคุณสุวรรณ รวมถึงกรอบการใช้คาที่ไม่มีความหมาย เช่น มะไลเท, กะป๋งหลา ฯลฯ จากนั้นจึงทรงนามาพัฒนาใช้ในการประพันธ์วรรณคดีนิราศของพระองค์


ในแง่นี้ นิราศพระมะเหลเถไถ จึงมิได้เป็นเพียงวรรณคดีนิราศทั่วไป หากแต่ยังมีมิติของการเป็น บทวิจารณ์ผลงานของคุณสุวรรณในแง่ของการสานวนและลีลาภาษาของคุณสุวรรณอีกด้วย อย่างไรก็ตามนับจาก พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นต้นมา ก็มิได้มีผลงานใดๆ ที่กล่าวถึงประวัติและ ผลงานของคุณสุวรรณอีก เป็นแต่เพียงการตีพิมพ์ซ้าผลงานของคุณสุวรรณในวาระโอกาสต่างๆ เท่านั้น จนกระทั่งหลัง พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมา นักวิชาการด้านวรรณคดีไทย รวมถึงศาสตร์อื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องได้เริ่ม “ชุบชีวิต ” ให้กับผลงานของคุณสุวรรณให้กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง โดยเป็น การศึกษาเรื่องราวชีวประวัติและผลงานของคุณสุวรรณที่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นศึกษาในเชิง สุนทรียภาพ กลวิธีทางภาษาและกลวิธีการประพันธ์ในวรรณคดีของคุณสุวรรณเป็นหลัก นอกจากนั้นก็มีการศึกษาในกรอบความคิดของศาสตร์อื่นๆ บ้าง เช่น รัฐศาสตร์ ผลการศึกษาแทบ ทุกเล่มมุ่งสู่ทิศทางเดียวกันคือ คุณสุวรรณ เป็นอัจฉริยะและกวีหญิงที่สาคัญของไทย งานศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับคุณสุวรรณในเชิงวรรณคดีอย่างละเอียดชิ้นแรกๆ ได้แก่งาน ของ อุษณา กาญจนทัต (๒๕๑๕) “บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถเป็นเพียงบทละครชวนขันเท่านั้น หรือ” ความน่าสนใจของบทความนี้อยู่ที่การตีความเรื่อง “การใช้ภาษาที่ไม่เป็นภาษา ” ของคุณ สุวรรณนั้น ว่าเป็นความจงใจที่จะบิดเบือนเฉไฉและปกปิดเงื่อนงาบางประการให้คนไปสนใจ กับสุ้มเสียงแปลกๆ ของคาเหล่านั้นเสีย เงื่อนงาเหล่านั้นคือความเก็บกดและความหวาดกลัวใน สามัญสานึกอันเนื่องมากจาก “กรอบ” ของความเป็นหญิงชาววัง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๗ ยุพิน ธชาศรี เสนอวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิตเรื่อง “วิเคราะห์วรรณกรรมของคุณสุวรรณ ” จุดมุ่งหมายสาคัญของวิทยานิพนธ์เล่มนี้คือ เพื่อทดลองใช้วิธีการทางภาษาศาสตร์มาศึกษา วรรณคดี รวมทั้งเพื่อหาข้อมูลมาสนับสนุน หรือคัดค้านความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับประวัติ ของคุณสุวรรณ คุณูปการสาคัญของวิทยานิพนธ์เล่มนี้อยู่ที่การทาให้เห็นกลวิธีการสร้างคาที่เห็น กันว่า “ไม่เป็นระบบ” ได้อย่าง “เป็นระบบ” และแม้คาที่สร้างขึ้นจะถูกมองว่าไม่มีความหมาย แต่ กลวิธีการสร้างศัพท์ก็ยังคงเดินตามวิธีการสร้างคาตามหลักภาษาไทยได้แก่เรื่อง อุปสรรค วิภัตติ คาผวน คาแผลง คาไวพจน์ ตลอดจนกลอักษรด้วย ผลการศึกษาดังกล่าวช่วยทาให้เห็นว่าคุณ สุวรรณที่ถูกกล่าวหาว่า “บ้า” แท้จริงเป็นกวี “หัวก้าวหน้า” ที่สาคัญคนหนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ เจือ สตะเวทิน เขียนบทความเรื่อง “คุณสุวรรณ - กวีหญิงผู้ริเริ่มกลอน ประหลาด” ใน ภาษาและหนังสือ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประวัติวรรณคดี โดยเจือ พยายามชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลงานกับประวัติของกวี นอกจากการศึกษาในเชิงกลวิธีการแต่ง การสร้างศัพท์ และประวัติวรรณคดีแล้ว เรื่อง “ความขบขัน ” ในวรรณกรรมของคุณสุวรรณมักเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นักวิชาการให้ความสนใจ งาน ศึกษาในลักษณะนี้มี ๒ เล่ม ได้แก่วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตของ นงลักษณ์ แช่มโชติ (๒๕๒๑) เรื่อง “หาสยรสในวรรณกรรมร้อยกรองของไทย ” และวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต


ของ อรธิรา บัวพิมพ์ (๒๕๒๓) เรื่อง “วิเคราะห์วรรณกรรมร้อยกรองประเภทล้อเลียนในสมัย รัตนโกสินทร์ระหว่าง พ.ศ.๒๓๖๗ – พ.ศ.๒๔๖๘” โดยงานของนงลักษณ์ แช่มโชติ ให้ความสาคัญ กับการศึกษาเรื่อง “หาสยรส” ในวรรณกรรมร้อยกรองของไทย โดยมีวรรณกรรมของคุณสุวรรณ เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา นงลักษณ์มองว่าวรรณกรรมของคุณสุวรรณมีลักษณะ เป็นวรรณกรรมล้อเลียน และมีจุดประสงค์เพื่อล้อเลียนทั้งเนื้อหาของวรรณกรรม เพื่อล้อเลียนการ ใช้ภาษา และเพื่อเสียดสีเหน็บแนม จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าคุณสุวรรณมีกลวิธีในการสร้าง หาสยรสที่เด่นชัด ได้แก่ การเลือกใช้คํา สํานวนโวหาร และวิธีการบรรยายให้เกิดอารมณ์ขัน การ สร้างบทบาทที่น่าขบขันให้แก่ตัวละคร และ การเขียนแบบรีวิว (review) คือการนาตัวละครมาจาก วรรณกรรมร้อยกรองหลายเรื่องมาเขียนรวมกันเป็นเรื่องเดียว ซึ่งปรากฏในเรื่อง อุณรุทร้อยเรื่อง ส่วนงานของอรธิรา บัวพิมพ์ ที่มุ่งวิเคราะห์วรรณกรรมล้อเลียนสมัยรัตนโกสินทร์ระหว่าง พ.ศ.๒๓๖๗-พ.ศ.๒๔๖๘ ในแง่ของจุดมุ่งหมายในการแต่ง กลวิธี ลักษณะเฉพาะของวรรณกรรม ร้อยกรองประเภทล้อเลียนตลอดจนสภาพสังคมที่ถูกล้อเลียน อย่างไรก็ตามผลการศึกษาที่ได้ก็ไม่ แตกต่างจากงานของนงลักษณ์เท่าใดนัก กระนั้นก็ดี มีข้อค้นพบใหม่ที่แตกต่างกันและน่าสนใจคือ ข้อสังเกตที่อรธิราได้ตั้งไว้ ดังนี้คือ ในบรรดาตัวละครเอกฝ่ายชายในวรรณกรรมร้อยกรองประเภท ล้อเลียน การสระสรงของพระมะเหลเถไถจะให้อารมณ์ขันแก่ผู้อ่านมากกว่าตัวละครอื่น เนื่องจาก มีความพิถีพิถันมากกว่าในเรื่องอื่นๆ และแม้วรรณกรรมล้อเลียนของคุณสุวรรณจะมุ่งสร้างความ ขบขันแต่ก็ให้ความสาคัญเรื่องเสียงสัมผัสอย่างเคร่งครัดตามแบบแผน รวมถึงในเรื่อง พระมะเหล เถไถที่ดูเหมือนเป็นการใช้ภาษาที่ “ไร้ระเบียบ” แต่หากพิจารณาดูจะพบว่า คุณสุวรรณได้ใช้ “กล บท” มาเป็นกลวิธีหนึ่งในการประพันธ์ ซึ่งเต็มไปด้วย “ระเบียบ” มากมาย และที่น่าสนใจคือ งาน ของคุณสุวรรณเข้าลักษณะ “งานวิจารณ์ ” เนื่องจากนงลักษณ์เห็นว่า กวีมีความมุ่งหมายที่จะ ล้อเลียนความบกพร่องในเรื่องการใช้ภาษาของคนร่วมสมัยกับกวี ทั้งการใช้คาผิดความหมาย การ ใช้คาฟุ่มเฟือย ด้วยเหตุที่ในระยะนี้ได้มีผู้ศึกษาชีวิตของคุณสุวรรณและผลงานเป็นจานวนมากขึ้น และ ส่วนใหญ่มักมุ่งศึกษาในภาพรวมจึงทาให้นักวิชาการส่วนหนึ่งพยายาม “คัดเลือก” ประเด็นบาง ประเด็น จากผลงานเพียงบางเรื่องของคุณสุวรรณมาศึกษา ดังเช่นในงานของ ขวัญดี รักพงศ์ (๒๕๒๕) “ดังมณีเม็ดหนึ่ง ” ใน ภาษาและหนังสือ ที่เลือกเอา “อุณรุทร้อยเรื่อง ” มาศึกษา โดยตั้ง โจทย์ไว้ว่า เรื่องอุณรุทร้อยเรื่องที่ได้ “ยาใหญ่” วรรณคดีกว่าร้อยเรื่องมา “คลุกเคล้า ” กัน เรื่องต่างๆ เหล่านั้นมีเรื่องใดและมีใครบ้าง ผลการศึกษาพบว่ามีชื่อตัวละครฝ่ายหญิงรวม ๕๓ ตัว ชื่อตัวละคร ฝ่ายชาย ๑๑๔ ตัว จากวรรณคดีกว่า ๕๐ เรื่อง ภายหลัง นิยะดา เหล่าสุนทร (๒๕๓๕) ได้ศึกษาใน ประเด็นดังกล่าวอีกครั้งในบทความชื่อ “อุณรุทร้อยเรื่องจริงหรือ ?” ใน พินิจวรรณกรรม ซึ่งมีผล


การศึกษาที่แตกต่างกันโดยพบว่า มีตัวละครต่างๆ รวมทั้งหมด ๑๔๔ ตัว และปรากฏในวรรณคดี เรื่องต่างๆ ๕๑ เรื่อง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๒ ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เสนอบทความเรื่อง “วรรณคดีวิจารณ์ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๔๕๓” ใน ทอไหมในสายน้​้า กล่าวถึงวรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๔ ว่ารับวัฒนธรรมการ แต่งล้อสืบทอดมาจากรัชกาลก่อน คือ คุณสุวรรณแต่งเรื่อง มะเหลเถไถ โดยล้อเรื่องอุ้มสมใน สมุทรโฆษคําฉันท์ และเรื่อง อุณรุท ในเรื่องเดิมรุกขเทวดาอุ้มฝ่ายชายไปสมฝ่ายหญิง แต่ในเรื่อง มะเหลเถไถ คุณสุวรรณกลับกาหนดให้กลับกันเสีย คือ ให้พระอินทร์อุ้มฝ่ายหญิงไปสมฝ่ายชาย ซึ่ง ชลดาได้อ้างอิงจากคากล่าวของนักจิตวิทยาที่อธิบายความ “ผิดแปลก” นี้ว่า เป็นเรื่องของความ ปรารถนาของคุณสุวรรณที่ต้องการมีเสรีภาพเท่าเทียมชาย นอกจากนี้ชลดายังได้ตั้งข้อสังเกตว่า คุณสุวรรณยังล้อเรื่องการใช้คาที่มุ่งให้เกิดสัมผัสในอย่างกลอนสุภาพของสุนทรภู่ ที่เป็นที่นิยมกัน มากของกวีในสมัยนั้นจนมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคาไปจากเดิมเพื่อให้รับสัมผัส หรือใช้คาที่ไม่มี ความหมาย เพื่อประโยชน์ของสัมผัสแต่เพียงอย่างเดียว เรื่อง มะเหลเถไถ นี้คุณสุวรรณจึงจงใจใช้ คาที่มีสัมผัสในต่อเนื่องกันโดยตลอด ทาให้เกิดเสียงไพเราะ แต่ส่วนมากจะเป็นคาที่ไม่มี ความหมายในภาษาไทย แต่ก็น่าสังเกตว่าแม้กระนั้นผู้อ่านก็สามารถเข้าใจเรื่องได้ นอกจากนี้ชล ดายังพบว่า ในวรรณกรรมบทละครของคุณสุวรรณมักแต่งโดยเลียนโวหารเก่าอีกด้วย เช่นเรื่อง มะ เหลเถไถ มีโวหารที่พระมะเหลเถไถชมโฉมนางตะแลงแกง เลียนแบบโวหารชมโฉมของรุกขเทวดา ที่ชมพระสมุทรโฆษใน สมุทรโฆษคําฉันท์ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ พิณทิพย์ ทวยเจริญ เสนอบทความเรื่อง “ภาษาศาสตร์ในวรรณกรรม ไทย” ใน วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ ซึ่งได้อิทธิพลมาจากบทความของพิณทิพย์ ทวยเจริญ (๒๕๒๘) ใน “อัจฉริยะทางภาษาศาสตร์ของ “คุณสุวรรณ” ในบทละครพระมะเหลเถไถและอุณรุ ทร้อยเรื่อง” ใน วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ พิณทิพย์พยายามชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาศาสตร์กับวรรณคดี โดยนา บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ และ อุณรุทร้อยเรื่อง เป็นตัวอย่าง ในการศึกษา โดยใช้วิธีการทดสอบการรับรู้ความหมายตามแนวภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา ผล การศึกษาพบว่า ถ้อยคาที่คุณสุวรรณใช้เป็นคาที่ผนวกกับลักษณะที่ควรจะเป็นไปได้ของข้อความ (sense) และมีการเทียบโยงจากประสบการณ์ทางภาษาที่รับรู้ไว้เดิม นอกจากนี้พิณทิพย์ยังตั้ง ข้อสังเกตว่าแนวทางภาษาศาสตร์ของคุณสุวรรณน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากการบรรยายภาษา ตามแนวดั้งเดิมของอินเดีย ด้วยเหตุนี้จึงทาให้บทละครของคุณสุวรรณมีลักษณะเด่นทางด้านเสียง และโครงสร้างของคา ที่สาคัญคือผลงานของคุณสุวรรณได้ “ล้าหน้า ” ภาษาศาสตร์อินเดียและ

ตัวอย่างเช่นการแปลงคา นคร ให้รับสัมผัสกับคาอื่นๆ เพื่อเพิ่มความแพรวพราวของสัมผัสในโดยทา ให้คาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น นครัง นคเรนทร์ นคริศร เป็นต้น - ผู้เขียน


ภาษาศาสตร์ “แนวใหม่” ในตะวันตกสมัยนั้น ในด้านความหมาย และการใช้ภาษา เพราะก่อนช่วง คริสต์ทศวรรษ ๑๙๓๐ นักภาษาศาสตร์โดยเฉพาะบลูมฟิลด์ในอเมริกาไม่ได้สนใจเรื่องทั้งสองนี้เลย ในปีเดียวกันนั้นเอง สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้นาวรรณกรรมเรื่องนี้มาวิเคราะห์อีกครั้งใน “คา นาเสนอ ” เสียดสีกวีสยาม จักรๆ วงศ์ๆ ของสองผู้ยิ่งใหญ่แห่งวง “วรรณอ้า ” กรุง รัตนโกสินทร์ พระมหามนตรี (ทรัพย์) และคุณสุวรรณ โดยได้ศึกษากลวิธีการ “ยาใหญ่ ” ใน อุณรุทร้อยเรื่องว่ามีดังนี้คือ มีการปนชื่อกันโดยตรงทั้งหญิงและชาย ปนโดยใช้ชื่อหลายๆ ชื่อของ ตัวละครตัวเดียวกัน และปนโดยการหาศัพท์ที่มีความหมายตรงกันมาใช้เข้ากันเป็นคู่ โดย การศึกษาดังกล่าวเป็นความพยายามที่จะรวมรวม ค้นคว้า และวิเคราะห์กลวิธีของคุณสุวรรณ กระทั่งเมื่อ ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต (๒๕๔๙) ได้วิเคราะห์วรรณคดีเรื่องนี้อย่างละเอียดใน “ความหมายใน”บทแปลงกายา”ของกวินีสติ (ไม่) วิปลาส ” ใน วารสารราชบัณฑิตยสถาน จึงได้ พบว่า “ความแปลก” เหล่านี้ล้วนมี “ความหมาย” ซ่อนอยู่ ผลการศึกษาพบว่าใน “บทแปลง กายา” ใน อุณรุทร้อยเรื่อง มีการแปลงกายถึง ๓ ประเภท ได้แก่ การแปลงกายในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน การแปลงกายจากสัตว์เป็นมนุษย์ และ การแปลงกายที่ยังคงร่างเดิมไว้เพียงแต่แปลงกายจากวัยที่ มีอายุน้อยไปสูวัยที่มีอายุมากกว่า ซึ่งยังการแปลงกายในประเภทหลังนี้ยังแบ่งได้เป็นอีก ๔ ชนิด ย่อย คือ การแปลงกายจากวัยที่มีอายุน้อยไปสู่วัยที่มีอายุมากกว่า การแปลงกายจากวัยที่มีอายุ มากไปสู่วัยที่มีอายุน้อยกว่า การแปลงกายจากเพศชายเป็นเพศหญิง และการแปลงกายจากเพศ หญิงเป็นเพศชาย โดยชลดาให้ความเห็นว่าการแปลงกายข้างต้นนี้ปรากฏเด่นชัดในนิทานจักรๆ วงศ์ๆ ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในนิทานดังกล่าวเน้นการแปลงกายที่แปลก ประหลาดและมหัศจรรย์ อาจกล่าวได้ว่าคุณสุวรรณมีส่วนสาคัญที่กระตุ้นให้กวีในสมัยหลังขยาย ขอบเขตของจินตนาการเรื่องการแปลงกายออกไปอย่างกว้างขวาง และสร้างสีสันแปลกใหม่ให้แก่ วรรณคดีนิทานได้อย่างน่าสนใจยิ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ มีผู้ใช้นามปากกว่าว่า “ชูดาว ” เขียนบทความเรื่อง “พระเอ็ดยง : หัสเดียมคดีของคุณสุวรรณ ” ใน ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งได้กล่าวถึงการค้นพบงานเขียนที่เชื่อว่าเป็น งานเขียนอีกชิ้นหนึ่งของคุณสุวรรณคือเรื่อง “พระเอ็ดยง ” ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวรรณกรรมเรื่อง “สรรพลี้หวน” ของภาคใต้ และกล่าวว่าเหตุที่เชื่อว่าเป็นผลงานของคุณสุวรรณนอกจากการเขียนที่ หน้าปกของต้นฉบับสมุดไทยแล้ว ยังเห็นว่าถ้อยคา สานวน และลีลาการประพันธ์ คล้ายกับผลงาน อื่นๆ ของคุณสุวรรณ และในปีเดียวกันนั้น จุมภฏ คาสนอง เสนอวิทยานิพนธ์ระดับปริญญา มหาบัณฑิตเรื่อง “วรรณกรรม อํานาจ และความบ้า : บทวิเคราะห์ทางการเมืองว่าด้วยเรื่องอํานาจ กับวรรณกรรมของคุณสุวรรณ” จุมภฏมองว่าวรรณกรรมของคุณสุวรรณมีลักษณะเป็น “งานเขียน ทางการเมือง ” อันเป็นผลจากการออกมาจากกรอบซึ่งถูกครอบงาโดย “ราชสานัก ” ซึ่งเป็น “ตัวแทน ” แห่งอานาจ และผลจากการก้าวออกมาจากกรอบนี้จึงอาจเป็นผลให้คุณสุวรรณถูก


กระทาให้ “บ้า” โดย “อานาจ” ในขณะนั้น เพื่อป้องปรามจากการ “ท้าทายอานาจ” ในงานเขียนของ คุณสุวรรณ และลดความน่าเชื่อถือของเนื้อหาในงานเขียนดังกล่าว ผลการศึกษาของจุมภฏพบว่า ปัญหาของคุณสุวรรณและวรรณกรรมของคุณสุวรรณที่เกิดขึ้นกับคนในสมัยรัชกาลที่ ๓ – ๔ ก็คือ ความไม่สอดคล้องกับ “วาทกรรม” ซึ่งมีอานาจ และกาเนิดขึ้นมาจนเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ขณะนั้น โดยที่พฤติกรรมของคุณสุวรรณที่ทาให้ต้องถูกกล่าวหาว่า “บ้า” ก็คือ การสร้าง “วาท กรรม” ที่มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากวรรณกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๓ – ๔ การเล่าเรื่อง “ริรกั ร่วมห้อง” ถือเป็นสิ่งผิดปกติ และการสร้างวรรณกรรมที่ “ล้อเลียน” วรรณกรรมแบบฉบับของพระ เจ้าแผ่นดิน กระทั่งล่าสุด พรรณทิภา ชื่นชาติ (๒๕๕๐) เสนอวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตเรื่อง “วรรณกรรมของกวีหญิงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ : ศึกษาด้านมโนทัศน์ กลวิธีการนําเสนอ และอัต ลักษณ์” ซึ่งพบว่า วรรณกรรมของคุณสุวรรณสะท้อนให้เห็นมโนทัศน์ต่อ “ความเป็นหญิง ” ทั้งในแง่ ที่ชื่นชมและภาคภูมิใจใน “ปัญญาหญิง ” และในแง่ที่เสียดสีล้อเลียน “ความวิปริตทางเพศ ” ของ หญิง นอกจากนี้กวียังได้แสดงความเห็นต่อพฤติกรรมของมนุษย์และความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านาย กับข้าราชบริพาร รวมถึงยังสะท้อนมโนทัศน์ต่อความเชื่อทางพระพุทธศาสนา พรรณทิภาพยายาม ใช้ “”ความรู้ ” ที่ได้จากการศึกษามโนทัศน์มาใช้ในการ “ค้นหา ” อัตลักษณ์ของกวีหญิงสมัยต้น รัตนโกสินทร์ซึ่งมีคุณสุวรรณเป็นหนึ่งในจานวนนั้น จากผลการศึกษาพบว่ากวีหญิงในสมัยต้น รัตนโกสินทร์นี้ส่วนใหญ่เป็นชาววังที่มีชีวิตผูกพันกับราชสานักฝ่ายใน พระมหากษัตริย์และเจ้านาย จึงได้เล่าถึงชีวิตในราชสานักฝ่ายในไว้โดยตลอด แต่ส่วนใหญ่จะเล่าเฉพาะเรื่องที่กวีรับรู้หรือพบ เห็น แม้ว่าความรับรู้ดังกล่าวจะอยู่ในวงจากัดก็ตาม กระนั้นก็ดี นอกจากการศึกษาในเชิงกลวิธีทางภาษา และการตีความในเชิงวรรณคดีแล้ว ประเด็นสาคัญอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นที่สนใจของนักวรรณคดีศึกษาที่ศึกษางานของคุณสุวรรณคือ เรื่องภาพสะท้อนของเรื่อง “หญิงรักหญิง ” ในกลุ่มสตรีชาววัง ซึ่งใช้ข้อมูลผลงานกลุ่มที่เป็นเพลง ยาวจดหมายเหตุ งานเขียนที่เขียนในทานองนี้มีผู้เขียนจานวนมาก อาทิเช่น เอนก นาวิกมูล (๒๕๔๒) “หม่อมเป็ด คุณโม่ง : เลสเบี้ยนไทยในประวัติศาสตร์ ” ใน หญิงชาวสยาม , จุลดา ภักดี ภูมินทร์ (๒๕๔๕) “กลอนเพลงยาวหม่อมเป็ดสวรรค์ ” ใน เวียงวัง , อิงอร สุพันธุ์วณิช (๒๕๔๙) “วรรณกรรมของคุณสุวรรณ ” ใน วารสารภาษาและวรรณคดีไทย , Cholada Ruengruglikit (2005) “Khun Suwan: A Reflection of Unusual Life of Court Ladies Through The Eyes of an Exceptional Woman Poet” in The Journal วารสารคณะประจ้าศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


นอกจากนี้ยังมีชาวต่างชาติสนใจศึกษางานของคุณสุวรรณอีกด้วย คือ Émilie TESTARD เขียนบทความเรื่อง Bot Lakhon Rueng Phra Malethai. Meli- mélodrame du Prince Maléthaï Malaîthaï ตีพิมพ์ใน Péninsule. 50, 2005. จากบทความและงานวิจัยทั้งหมดดังเสนอให้เห็นถึงสถานภาพการศึกษาองค์ความรู้ เกี่ยวกับ “คุณสุวรรณ ” ดังนาเสนอข้างต้นจะเห็นได้ว่า งานทั้งหมดเน้นย้าให้เห็นถึงความ อัจฉริยภาพด้านการประพันธ์ของคุณสุวรรณ ผ่านหลักฐานข้อมูลในแง่มุมต่างๆ ด้วยเครื่องมือที่ หลากหลาย ด้วยเหตุดังนี้ความรับรู้ในฐานะ “กวีพิกลจริต ” ของคุณสุวรรณจึงค่อยๆ ลบเลือนไป โดยมีภาพของ “กวีอัจฉริยะ” เข้ามาแทนที่ และด้วยเหตุดังนี้เองที่ทาให้ต่อมา ชื่อคุณสุวรรณ ที่ ใน หนังสือประวัติวรรณคดียุคแรกๆ กล่าวว่าเป็นคนที่ “ฟุ้งไปในกระบวนกลอน” หรือ “คุณสุวรรณบ้า ” ได้รับเกียรติให้บันทึกประวัติและผลงานลงในหนังสือของทางราชการทั้งในหนังสือ นารีผู้มีคุณ (๒๕๒๙) และ ทาเนียบสตรีสาคัญในประวัติศาสตร์ไทย ในหนังสือ สตรีส้าคัญใน ประวัติศาสตร์ไทย (๒๕๔๗) อีกด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง ๒๐๐ ปีชาตกาลของคุณสุวรรณนี้ ผู้เขียนจึงใคร่ ขอนาเสนอมุมมองเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานของคุณสุวรรณ ซึ่งต่อยอดจากองค์ความรู้ข้างต้น และ “ชุบชีวิต ” ผลงานของคุณสุวรรณให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง โดยได้นา อุณรุทร้อยเรื่อง มาปัดฝุ่นมองใน แง่มุมใหม่ และนาวรรณคดีเรื่อง พระพิรุณ ซึ่งอาจเป็นผลงานเรื่องใหม่ที่เพิ่งค้นพบของคุณสุวรรณ มานาเสนอในโอกาสอันสาคัญนี้ ๑ เรื่องหลักของ ๑๐๐ เรื่องใน “อุณรุทร้อยเรื่อง” เมื่อหลายปีก่อนผู้เขียนได้หยิบ “อุณรุทร้อยเรื่อง ” ขึ้นมาอ่านอีกครั้ง ภายหลังจากที่ไม่ได้ อ่านมานาน การนามาอ่านใหม่ในครั้งนี้ทาให้ได้ข้อสังเกตหลายประการที่น่าสนใจ เรื่อง อุณรุทร้อย เรื่อง นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์คานาไว้ ดังนี้

คณะอนุกรรมการจัดทาเอกสารภาษาไทย ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ .นารีผู้มีคุณ . กรุงเทพฯ: สานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, ๒๕๒๙. กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ, คุณหญิง. “คุณสุวรรณ” ใน สตรีส้าคัญในประวัติศาสตร์ไทย .กรุงเทพฯ: คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗, ๒๕๔๗.


๑๐

บทละครอุณรุทร้อยเรื่องนั้น คุณสุวรรณเกณฑ์ให้ตัวบทละครเรื่องต่างๆ มารวมกันอยู่ในเรื่องเดียว ถ้าดูโดยกระบวนความอยู่ข้างจะเลอะ แต่ไปดีทาง สํานวนกลอนกับแสดงความรู้เรื่องละครต่างๆ กว้างขวางเพราะในสมัยนั้นบท ละครยังมิได้พิมพ์ คุณสุวรรณคงต้องพยายามมากทีเดียวจึงได้รู้เรื่องละครต่างๆ มากถึงเพียงนั้น แต่มีอยู่บท๑ ในอุณรุทร้อยเรื่องของคุณสุวรรณ ซึ่งควรสรรเสริญ ในกระบวนความว่าเป็นความคิดแปลกดี คือ บทจําแลงตัว ... ใน “คานา” ข้างต้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพทรงยกย่องบท จาแลงตัว ใน อุณรุทร้อยเรื่อง และความรู้ในเชิงวรรณคดีนิทานอันกว้างขวางของคุณสุวรรณ อย่างไรก็ตามก็ทรงมีน้าเสียง “ตาหนิ” แทรกอยู่ด้วยคือ “กระบวนความอยู่ข้างจะเลอะ ” ข้อความนี้ เองที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เขียนได้เริ่มสนใจศึกษาเรื่อง อุณรุทร้อยเรื่อง อย่างจริงจัง เนื่องจากผล การศึกษาจากงานวิจัยหลายเรื่องดังกล่าวมาข้างต้นต่างก็กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นกลวิธี ที่เฉพาะของคุณสุวรรณในฐานะ “อัจฉริยกวี ” ดังที่มีผู้ศึกษางานเรื่อง พระมะเหลเถไถ ของคุณ สุวรรณ ที่พบว่า “การใช้ภาษาที่ไม่เป็นภาษา ” ของคุณสุวรรณนั้น เป็นความจงใจที่จะบิดเบือน เฉไฉและปกปิดเงื่อนงาบางประการให้คนไปสนใจกับสุ้มเสียงแปลกๆ ของคาเหล่านั้นเสีย ดังนั้น “การใช้ความที่ไม่เป็นความ ” ใน อุณรุทร้อยเรื่อง ก็ย่อมน่าจะเป็นความจงใจที่จะบิดเบือนเฉไฉ และปกปิดเงื่อนงาบางประการเช่นเดียวกัน สิ่งที่น่าสนใจก็คือ สิ่งที่ถูก “ปกปิด” อยู่คืออะไร? ผู้เขียนได้เริ่มต้นถอดรหัส อุณรุทร้อยเรื่อง โดยพยายามจะถอดเรื่องย่อของ อุณรุทร้อย เรื่อง ให้ได้ก่อน เนื่องจากมีสมมติฐานว่า เรื่องที่ “ปกปิด” แต่ต้องการ “ระบาย” ของคุณสุวรรณนั้น น่าจะเป็นเรื่องหลักของ ๑๐๐ เรื่อง นี้ และพยายามเฉไฉให้คนไปสนใจกับตัวละครต่างเรื่องที่รวม เอามาไว้ในเรื่องเดียวและเหตุการณ์ที่ไม่ต่อเนื่องเอามาต่อกันอันจะทาให้ “ความ” ถูกบิดเบือนไป ทั้งนี้ผู้เขียนได้ทดลองใช้วิธีทางคติชนวิทยาเข้ามาประยุกต์ใช้ คือ ทฤษฎีโครงสร้างของนิทาน (Structuralism) ของวลาดิมีร์ พรอพพ์ โดยแบ่งตัวละครหลักตามบทบาทที่ปรากฏในเรื่องได้เป็น ๓ กลุ่มคือ กลุ่มพระเอก กลุ่มนางเอก และกลุ่มผู้ร้าย และได้ใช้คาว่า พระเอก นางเอก และผู้ร้าย แทนลงในตาแหน่งที่เป็นชื่อตัวละคร จากนั้นได้พยายามประมวลเนื้อหาซึ่งสามารถจัดเป็นโครง เรื่องได้ดังนี้

ศิลปากร, กรม . “คานา” บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ บทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง กลอน เพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ กลอนเพลงยาวเรื่องพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ และบทละครเรื่องระเด่นลันได. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๑๔. ศิราพร ณ ถลาง. ทฤษฎีคติชนวิทยา.


๑๑

เหตุการณ์ ๑ พระเอก ( A) ซึ่งอยู่กับชายา แค้นผู้ร้าย (C) ที่จับนางเอก (B) แต่งงาน ซึ่ง เป็น “การแต่งงานที่ไม่เหมาะสม” จึงจัดกองทัพไปสู้ เหตุการณ์ ๒ แต่กองทัพไปทูลบิดาของนางเอกถึงเรื่อง “การแต่งงานที่ไม่เหมาะสม” และบิดาของนางเอกก็มีการราพันเรื่อง “การแต่งงานที่ไม่เหมาะสม” จน สลบไป เหตุการณ์ ๓ ทหารกลับมาทูลพระเอก ( A) แล้วก็กล่าวถึงการจะไปรบเพื่อขัดขวาง ต่อต้าน “การแต่งงานที่ไม่เหมาะสม” เมื่อมีการพูดคัดค้านเรื่อง “การ แต่งงานที่ไม่เหมาะสม” ก็มีการถูกทาร้าย เหตุการณ์ ๔ ต่อมานางเอก ( B) หนีไปไกล พระเอก (A) จึงออกตามหา แต่ก็ยังคงพูด ถึง “การแต่งงานที่ไม่เหมาะสม” อีก ในที่สุดพระเอก (A) พบกับนางเอก (B) และปรับความเข้าใจกันได้ เหตุการณ์ ๕ รุ่งขึ้นพระเอก ( A) ถูกผู้ร้าย (C) ลักพาตัวไป นางเอก (B) จึงยกทัพตาม หา และไปพบกับกองทัพของผู้ร้าย (C) เหตุการณ์ ๖ กองทัพนางเอก ( B) กับผู้ร้าย (C) สู้กัน ในที่สุดนางเอก (B) เป็นฝ่ายชนะ จากโครงเรื่องดังนาเสนอมาข้างต้น เห็นได้ชัดเจนว่ามีการสื่อถึง “การแต่งงานที่ไม่ เหมาะสม” หรือ “รักที่ไม่คู่ควร” อยู่บ่อยครั้ง อาทิ การยก นางจันสุดา (สูงศักดิ์) ให้กับพระสมุทร (ต่าศักดิ)์ การยกนางสุวิญชา นางมณฑา นางบุษบา (สูงศักดิ์) ให้ไปอยู่กับเจ้าเงาะ (ต่าศักดิ์) การ ยกนางจันทา (สูงศักดิ์) ให้กับลันไ ด (ต่าศักดิ)์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบทพรรณนาซึ่งแสดงถึง อัจฉริยภาพทางภาษาของคุณสุวรรณในการให้สิ่งที่ไม่เข้ากันมาอยู่ด้วยกัน ดังนี้ โอ้ว่าพระทูลกระหม่อมแก้ว มิได้สั่งสนทนาพาที จรเข้ยังรู้สั่งอากาศ หัศรังยังรู้สั่งไอยรา เหมราชยังรู้สั่งซึ่งคูหา พยัคฆ์ยังรู้สั่งมฤคิน จําจะยกโยธาคลาไคล

หนีเมียไปแล้วพระโฉมศรี สกุณียังรู้สั่งยมนา สิงหราชยังรู้สั่งมหิงสา นาคายังรู้สั่งสุบรรณบิน แต่มัจฉายังรู้สั่งไพรสินธุ์ พระภูมินทร์ควรฤาไม่อาลัยลา ฯ ตามองค์พระอภัยเชษฐา

จากคาประพันธ์ข้างต้น หากพิจาณาในอีกแง่หนึ่ง โดยมองว่าเป็นการพรรณนาที่เน้นย้าให้ เห็นในสิ่งที่ไม่เข้าและไม่คู่กัน ซึ่งก็คือ ความไม่คู่ควรกัน นั่นเอง ดังนั้นจึงน่าสนใจว่า “รักที่ไม่คู่ควร”


๑๒

นี้ เกี่ยวข้องกับคุณสุวรรณอย่างไร และเหตุใดจึงต้องปกปิด เหตุใดจึงต้องการระบายความรู้สึก และ เหตุใดจึงต้องใช้ “ความที่ไม่เป็นความ” มาบิดเบือนความสนใจ รักที่ไม่คู่ควร : ร้อยรัดเรื่องรักใน “อุณรุทร้อยเรื่อง” ประเด็นเรื่อง “รักที่ไม่คู่ควร ” ดังปรากฏใน อุณรุทร้อยเรื่อง ที่กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อนามา พิจารณาควบคู่กับประวัติของคุณสุวรรณแล้วจะพบว่ามีเรื่องที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับ “รักที่ไม่คู่ควร” อยู่ ๒ เรื่อง ความรักระหว่างพระสุริยภักดี (น้องเขยของคุณสุวรรณ) กับเจ้าจอมอิ่ม ในรัชกาลที่ ๓ และความรักระหว่างคุณสุวรรณกับคนรัก (?) ข้อสันนิษฐานแรก คือ “ความรักไม่คู่ควร ” ระหว่างพระสุริยภักดี กับเจ้าจอมอิ่ม ในรัชกาลที่ ๓ พระสุริยภักดี (สนิท บุนนาค) ผู้นี้มีศักดิ์เป็นน้องเขยแท้ๆ ของคุณสุวรรณ เนื่องจาก เอกภรรยาของพระสุริยภักดี คือ คุณศรี ซึ่งเป็น ธิดาของพระยาอุไทยธรรม (กลาง ณ บางช้าง) และ เป็นน้องสาวแท้ๆ ของคุณสุวรรณ ตามประวัติเล่าว่าพระสุริยภักดี (สนิท บุนนาค) เป็นบุตรของ สมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาพิไชยญาติ(ทัด) กับ เจ้าคุณหญิงน้อยเอกภรรยา (ธิดาของพระยาสมบัติยาธิบาล กับคุณหญิง ม่วง ชูโต) พระสุริยภักดีเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๕ และเข้ารับราชการ ในรัชกาลที่ ๓ เป็นนายเล่ห์อาวุธ หุ้มแพรมหาดเล็ก แล้วเป็นจมื่นประทานมณเฑียร ปลัดกรมพระตารวจ ต่อมาได้ เลื่อนเป็นพระสุริยภักดี เจ้ากรมพระตารวจ ถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑ อายุ ๒๖ ปี ในหนังสือ มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ เล่ม ๑ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔ เล่าว่า คุณสนิท (พระสุริยภักดี) อ่านเขียนภาษาไทยไม่ได้ เพราะบิดามารดาหวงแหนไม่ส่งให้ไปเรียนหนังสือที่วัด เกรงบุตรจะโดนอาจารย์ตีได้รับ ความลาบาก คุณสนิทมีความสามารถทาบัญชีรายงานราชการ อ่านถวายในท้องพระโรงได้เสมอ ใช้วิธีเขียนจุดๆ วงๆ กาๆ แต่พอสัญญาความหมายจาได้ ข้างขึ้น เขียนเป็นวงพระจันทร์แหว่งหงาย ข้างแรมก็เขียนวงพระจันทร์แหว่งคว่า จานวนวันก็เขียนจุดๆ นับตามจุดมากและน้อย ของสิ่งใดก็เขียนรูปร่างคล้ายกับของ สิ่งนั้นทุกอย่าง สังเกตได้ไม่หลงลืม สติปัญญาทรงจาดีหาที่เปรียบมิได้ พระสุริยภักดีเป็นที่ยาเยงเกรงกลัวของข้าราชการ นั่งคานหาม เปลญวนถักไหมคนหามสองคน กั้นร่มผ้าขี้ผึ้งแพรแดง ไปมาทางน้านั่งเรือสัมปั้นเก๋งพั้ง ฝีพายเต็ม ลา ๑๕ คน ส่วนในเชิงกวีนั้นก็ปรากฏว่าพระสุริยภักดีเป็นผู้มีฝีมือผู้หนึ่ง ดังปรากฏว่าในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระสุริภักดี มักเล่นสักวากับเจ้านายฝ่ายหน้าและเพื่อนขุนนาง ประกอบด้วย สมเด็จพระเจ้าลูก ยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์เจ้านวม (สมเด็จพระเจ้า


๑๓

บรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท) พระองค์เจ้าทินกร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง ภูวเนตรนรินทรฤทธิ์) และอีกท่านหนึ่งคือ หลวงนายสิทธิ (ช่วง) (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริ ยวงศ์) บุตรชายใหญ่ของเจ้าพระยาพระคลัง (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ในรัชกาลที่ ๔) รวมถึง คุณพุ่ม กวีคนสาคัญอีกด้วย ซึ่งหลักฐานในเชิงกวีของพระสุริยภักดีก็ได้แก่ เพลงยาวสาม ชาย นั่นเอง พระสุริยภักดี มีบุตรธิดา กับคุณศรี ๓ คน และมีบุตรธิดากับภรรยาอื่น ๑๑ คน ท่านมีธิดา เป็นส่วนใหญ่ ธิดาท่านหนึ่งชื่อ สุด เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๔ ธิดาชื่อ เดิม เป็นคุณหญิงของพระ ยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ต้นสกุล แสง-ชูโต) และเป็นมารดาของจอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ธิดาอีกท่านหนึ่งชื่อ เขียน เป็นภรรยา ของนายสนิทยศสถาน (พร้อม จาตุรง คกุล) คุณเขียนผู้นี้ได้เป็นผู้ดูแลคุณสุวรรณในวาระสุดท้ายของชีวิต ดังปรากฏใน “ข่าวตาย” ของ คุณสุวรรณที่ตีพิมพ์ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓ น้าเบอร์ ๒๕ วันอาทิตย์ เดือน ๕ แรม ๘ ค่้า ปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘ แผ่นที่ ๔ ความว่า ...ครั้นมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ป่วยเปน พิกลจริตออกนอกราชการได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดอยู่ปีละห้าตําลึง คุณ เขียนหลานสาว รับออกไปไว้ที่บ้าน ครั้น ณ วันอาทิตย เดือนสี่ แรมสาม ค่ํา ปีกุนสัปตศก เวลายามเสศไปนอน ครั้นเวลาสามยามได้ยินเสียงคราง คุณเขียนจึงไปร้องเรียกก็ไม่มีสติ ถึงเวลา ๑๐ ทุ่มเสศถึงอนิตยกรรม อายุ ได้ ๖๗ ปี พระราชทานหีบทองทึบให้ใส่ศพเปนเกียรติยศ ฯะ

กล่าวกันว่า พระสุริยภักดี หรือคุณชายสนิท บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ หรือสมเด็จ เจ้าพระยาองค์น้อย อายุไล่เลี่ยกับคุณชายช่วง บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) หรือสมเด็จ เจ้าพระยาองค์ใหญ่ ทั้งสองท่านเป็นผู้ฉลาดเฉลียวและหน้าตาคมสันด้วยกันทั้งคู่ ขณะที่คุณชายช่วงรับราชการ ได้เป็นถึงจมื่นไวยวรนารถ คุณชายสนิท ก็ได้เป็นจมื่นประทานมณเฑียร ปลัดกรมพระตารวจ และได้เป็นพระสุริย ภักดี เจ้ากรมตารวจ ก่อนที่คุณชายช่วงจะได้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ แต่บังเอิญมาเกิดเรื่องส่งเพลงยาวรักใคร่กัน กับเจ้าจอมอิ่มจึงต้องพระราชอาญาถึงประหารชีวิตไปเสียก่อน ผู้สนใจโปรดอ่านเพิ่มเติมได้ใน “เพลงยาวสามชาย ” พระบวรราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พระบวรราชนิพนธ์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมปละประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๕. ต่อมาคุณเขียนสมรสกับ นายสนิทยศสถาน (พร้อม จาตุรงคกุล) มีบุตรธิดาคือ “เจ้าจอมมิ ” ใน รัชกาลที่ ๕ พระศรีทิพโภชน์ (ใหญ่ จาตุ-รงคกุล) สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ สมัยรัชกาลที่ ๖


๑๔

นอกจากนี้พระสุริยภักดียังมีบุตรชายทั้งสิ้น ๕ คน เกิดจาก คุณศรี ณ บางช้าง เอกภริยา ๑ คน คือ คุณแดง (ถือเป็นสายตรง เพราะเกิดจากเอกภริยา) เกิดจาก คุณเอี่ยม ๑ คน คือ คุณฝรั่ง แต่ทั้ง ๒ ท่านนี้ เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก และก็มีบุตรชายที่เสียชีวิตตั้งแต่เกิดอีก ๒ คน เหลือแต่ที่เกิด จาก คุณมอญ ชูโต คือ นายอ๋อย มหาดเล็ก ซึ่งแต่งงานกับ คุณจีน พี่สาวต่างมารดา และมีลูกสาว เพียงคนเดียวเท่านั้น พระสุริยภักดีผู้นี้ ภายหลังเมื่ออายุได้ราว ๒๖-๒๗ ปี (ขณะนั้นได้สมรมกับคุณศรีแล้ว) ได้ ลอบส่งเพลงยาวให้กับเจ้าจอมอิ่มในรัชกาลที่ ๓ จนเกิดเป็นคดีความขึ้น เจ้าจอมอิ่มนี้เป็น ธิดาของ พระยามหาเทพ (ทองปาน) มีพี่ชายคือ พระพิทักษ์ยุทธภัณฑ์ (เทศ ) ต้นสกุล ปาณิกบุตร พระยา มหาเทพผู้นี้ก็เป็นคนเดียวกับที่ถูกพาดพิงในบัตรสนเท่ห์ที่เรียกว่า เพลงยาวว่าพระมหาเทพ ซึ่ง เชื่อกันว่าเป็นผลงานของพระมหามนตรี (ทรัพย์) ผู้แต่งบทละครเรื่อง ระเด่นลันได นั่นเอง เหตุการณ์การลอบส่งเพลงยาวนี้เอง ที่กลายเป็น “คดีดัง ” ใน พ.ศ. ๒๓๘๑ สมัยรัชกาล ที่ ๓ เป็นข่าวดังที่โจษกันไปทั่วทั้งพระนคร มีบันทึกอยู่ใน พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ ฉบับ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ข้า บุนนาค) ความว่า ครั้นมาถึงเดือน ๘ อ้ายพลาย อีทรัพย์ ทาสพระสุริยภักดี บุตรพระยา ศรีพิพัฒนรัตนราชโกษาธิบดี ทําเรื่องราวมายื่นต่อเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ว่า พระสุริยภักดีรักใคร่กับเจ้าจอมอิ่ม บัตรพระมหาเทพ (ปาน) พระสุริยภักดีให้อี ทรัพย์กับอีหนูทาสคน ๑ เข้าไปพูดจาแทะโลมเจ้าจอมอิ่มๆ ก็ยอมว่าจะไม่ทํา ราชการแล้ว จะคิดเดินออกไปอยู่กับบิดาเสียก่อน แล้วจึ่งให้ไปสู่ขอต่อใน ภายหลัง เจ้าจอมอิ่มกับพระสุริยภักดีก็รักใคร่ให้ข้าวของกัน พระสําราญราช หฤทัย อาว นั้นรู้เห็นเป็นใจด้วยจะช่วยสู่ขอต่อพระมหาเทพให้ ครั้นความกราบ ทูลทราบแล้ว โปรดให้กรมหลวงรักษรณเรศรเป็นตุลาการชําระ พิจารณาก็ได้ ความจริงว่าเป็นแต่ให้หนังสือเพลงยาวและข้าวของเท่านั้น หญิงกับชายไม่ได้ พบพูดจากันที่ใดตําบลใด จึ่งโปรดให้ลูกขุนปรึกษาโทษ ลูกขุนเชิญบทพระ กฤษฎีกาปรึกษาโทษว่า ชายใดบังอาจสมัครรักด้วยนางใน ก็ให้ประหารชีวิต เสียทั้งชายหญิง พระสําราญราชหฤทัย อาว เป็นพนักงานกรมวัง การทั้งนี้ก็ เป็นในพระราชฐานรู้แล้วก็นิ่งเสีย กลับเข้าด้วยคนผิด ต้องประหารชีวิตเสียด้วย คุณฝรั่งเป็นพี่น้อง ร่วมมารดากับ คุณหญิงเดิม เอกภริยาของพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ต้นสกุล แสง-ชูโต) และเป็นมารดาของจอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ขณะนั้นคุณสุวรรณมีอายุได้ ๒๙ ปี หมายถึง พระสาราญราชหฤทัย (อ้าว)


๑๕

ยายน้อยของอิ่มคน ๑ กับอีหนูทาสพระสุริยภักดีคน ๑ เป็นคนชักสื่อ นายฟัก นายอ่อนพี่เลี้ยงพระสุริยภักดีรู้ความแล้วก็นิ่งเสียมิได้ห้ามปราม เห็นชอบไป ตามกัน หมอยังเป็นทั้งหมอดูและหมอเสน่ห์โกหกเที่ยวหากิน มาดูพระสุริย ภักดีว่าคงได้การสําเร็จความปรารถนาก็มีความผิด ขอให้เอาคนทั้ง ๘ ไป ประหารชีวิตเสีย แล้วริบราชบาทว์เป็นหลวงให้สิ้น อย่าให้ผู้ใดดูเยี่ยงอย่าง ต่อไป ก็โปรดให้เอาตามคําลูกขุนปรึกษา ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๙ ขึน้ ๑ ค่ํา ก็เอาคนโทษไปประหารชีวิตเสียที่สําเหร่ การตัดสินของคณะลูกขุนข้างต้นสอดคล้อง ตามกฎมณเฑียรบาล ซึ่งกาหนดโทษไว้ว่า „อนึ่ง ข้าเฝ้าทั้งปวงใช้หนังสือกาพย์ โคลงเข้าวัง สื่อชักคบค้ากํานัลสาวใช้ฝ่ายใน โทษถึงตาย อนึ่ง ข้าฝ่ายในคบผู้ชายหมู่นอกใช้หนังสือกาพย์โคลงไปมา โทษถึงตาย ‟ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าขยาย ความไปจากในพระราชพงศาวดารต่อไปอีก โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนเล่าไว้ใน เรื่อง โครงกระดูกในตู้ มีใจความว่า ... เมื่อตุลาการนําความกราบบังคมทูลแล้ว ผู้ใหญ่เล่ากันว่า พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าฯ มีพระกระแสรับสั่งให้สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ธิบดีขึ้นไปเฝ้าฯ แล้วมีพระราช ดํารัสว่า คุณสุริยภักดีนั้นยังเป็นหนุ่มคะนอง ย่อมจะทําอะไรผิดพลาดไปโดยไม่รู้ ผิดรู้ชอบ ตุลาการก็ได้กราบบังคมทูลขึ้นมาแล้วว่า คุณสุริยภักดีมิได้พบปะกับ เจ้าจอมอิ่มเลย จึงมีพระกรุณาจะยกโทษให้ แต่เมื่อเรื่องราวอื้อฉาวมีโจทก์ฟ้อง ขึ้นมาเช่นนี้ จะทรงพระกรุณานิ่งเสียก็ไม่ได้ จึงทรงพระราชดําริเห็นว่า สมเด็จ เจ้าพระยาองค์น้อยควรจะขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นมา และทําทัณฑ์บนไว้ ให้แก่คุณสุริยภักดี ก็จะโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษให้ แต่สมเด็จ เจ้าพระยาองค์น้อย ท่านกราบบังคมทูลว่า ท่านเองเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ เป็นที่ ไว้วางพระราชหฤทัย เมื่อบุตรของท่านเองทําผิดบทพระอัยการร้ายแรงถึงเพียง นั้น หาก ไม่ลงพระราชอาญาไปตามโทษานุโทษแล้ว ก็จะเสียหาย แก่แผ่นดินยิ่ง อย่างไรก็ตาม ใน จดหมายเหตุโหร ให้รายระเอียดว่าต้องโทษประหารชีวิตทั้งสิ้น ๙ คน “ปีจอ จ.ศ. ๑๒๐๐ ณ วัน ๒ ๙ ค่ํา พระสุริยภักดี สําราญ กับ เจ้าจอมอิ่ม เปนโทษถึงประหารชีวิตร ๙ คน ” ตรงกับวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๘๑. พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ข้า บุนนาค) . กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๗. หน้า ๗๖-๗๗.


๑๖

นัก เหมือนกับว่าถ้าเป็นบุตรของท่านแล้วย่อมจะทําอะไรทําได้ไม่เป็นผิด จึงขอ พระราชทานให้ลงพระอาญาตามแต่ลูกขุนจะปรึกษาโทษเถิด พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าฯ จึงโปรดฯ ให้ลูกขุนปรึกษาโทษตามที่ท่านกราบบังคมทูล ลูกขุน เชิญบทพระกฤษฎีกาออกมาดูแล้ว ปรากฏในบทพระกฤษฎีกาว่า ชายใดบังอาจ สมรักด้วยนางใน ก็ให้ประหารชีวิตเสียทั้งชายหญิง ส่วนผู้ที่รู้เห็นเป็นใจ ก็ให้ ประหารชีวิตเสียด้วย ลูกขุนที่กล่าวนี้คือ ลูกขุนศาลา เมื่อในขณะนั้นสมเด็จเจ้าพระยาองค์ น้อย ท่านเป็นถึงตําแหน่งพระยาศรีพิพัฒน์ฯ ท่านก็ต้องอยู่ในคณะลูกขุนนั้นด้วย และเมื่อลูกขุนนําความกราบบังคมทูลแล้ว ก็โปรดฯ ให้เป็นไปตามคําลูกขุน ปรึกษา คุณสุริยภักดี เจ้าจอมอิ่ม และคนที่เกี่ยวข้องอีก ๗ คน ก็ถูกประหารชีวิต ที่ตําบลสําเหร่ การที่สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยมิได้ยอมรับพระมหากรุณาธิคุณ ถึงแม้ว่าผู้ผิดจะเป็นบุตรคนใหญ่ของท่านเอง ซึ่งเกิดแต่ท่านผู้หญิง จึงเป็นการ กระทําเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย เป็นเยี่ยงอย่างอันดีแก่คนในแผ่นดิน และเป็นเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูลของท่านสืบมา คุณสุริยภักดีนั้นถึงจะตายด้วย โทษประหาร และตายแต่ยังเยาว์ก่อนอายุขัย ก็มิได้ตายเปล่า ... เมื่อพิจารณาจากรายละเอียดของคดีข้างต้น จะเห็นว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีรัก ต้องห้ามในลักษณะ “รักที่ไม่คู่ควร” ระหว่างขุนนางกับนางในของพระเจ้าแผ่นดิน และ เป็นขุนนางที่มีศักดิ์เป็นน้องเขยของคุณสุวรรณเสียด้วย นอกจากนี้ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตสักเล็กน้อยถึงคดีพระสุริยภักดีว่า มีความไม่ชอบมาพา กลแฝงอยู่บางประการ เช่น น่าสนใจว่า “อ้ายพลาย อีทรัพย์ ทาสพระสุริยภักดี ” เหตุไฉนจึงมี ความหาญกล้าที่จะ “ทําเรื่องราวมายื่นต่อเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ ” เนื่องจากบิดาของพระสุริย ภักดีก็เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่รับใช้ใกล้ชิดใต้เบื้องพระยุคลบาท อีกทั้งทาสเหล่านี้เหตุไฉนจึงรู้หนังสือ หรือมีเงินจ้างอาลักษณ์เขียนหนังสือสานวนฟ้องดังกล่าว นอกจากนี้ยังปรากฏว่าตัวละครที่ชื่อ “อี ทรัพย์ ” นี้มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะเป็นผู้ที่ร้องต่อเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ ทั้งที่ตัวเป็นสื่อรัก อันเป็นมูลเหตุของคดีนี้ ดังที่ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า “พระสุริยภักดีให้อีทรัพย์กับอีหนูทาส คน ๑ เข้าไปพูดจาแทะโลมเจ้าจอมอิ่ม ” แต่เมื่อพิจารณาโทษแล้วปรากฏโทษเพียง “อีหนู ” เท่านั้น ไม่ปรากฏว่า “อีทรัพย์ ” จะได้รับโทษแต่อย่างใด และไม่มีการกล่าวถึงด้วย ซึ่งหากจะ โต้แย้งว่า “อีทรัพย์ ” ทาคุณไถ่โทษก็ไม่อาจฟังขึ้นเนื่องจากคดีนี้นับเป็นคดีอุกฤษฏ์มิอาจที่จะให้ คดีพระสุริยภักดี กับเจ้าจอมอิ่มนี้ ต่อมา ศรีฟ้า ลดาวัลย์ ได้นามาตีความและเขียนเป็นนวนิยายชื่อ ดังคือเรื่อง “เรือนแรม”


๑๗

อภัยโทษได้ จึงน่าสนใจว่ามีใครอยู่ “เบื้องหลัง” เรื่องนี้หรือไม่ คดีเรื่องการลอบรักระหว่างพระสุริย ภักดีกับเจ้าจอมอิ่มถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อจะกาจัดพระสุริยภักดีในฐานะที่เป็นบุตรชายคนโตที่ กาเนิดแต่เอกภรรยาของสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ผู้จะสืบทอดตรา “จันทรมณฑล” หรือไม่ อนึ่ง ภายหลังจากที่รัชกาลที่ ๓ ทรงสูญเสีย พระสุริยภักดี (สนิท บุนนาค) ไปแล้ว จึงทรง เป็นห่วงญาติผู้พี่ของพระสุริยภักดีที่รับราชการอยู่ด้วยกัน และมีอายุน้อยกว่าพระสุริยภักดีเพียง ๓-๔ ปี คือ จมื่นไวยวรนารถ ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ด้วยจมื่นไวยวรนารถ ผู้นี้ เล่ากันว่าเมื่อยังหนุ่มๆ หน้าตาท่านคมสัน ดังที่หมอบรัดเล บันทึกไว้ ตั้งแต่ท่านยังเป็นหลวงนายสิทธิว่า “ขุนนางหนุ่มผู้นี้พวกมิชชั่นนารีกล่าวว่า ท่าทางคมขํา เฉียบ แหลม พูดจาไพเราะ” จึงทรงเกรงว่าจะเดินตามรอยเดียวกัน ดัง นัน้ เมื่อเกิดเรื่องพระสุริย ภักดี จึงทรงพระราชนิพนธ์ เพลงยาวพระบรมราโชวาทพระราชทาน ความว่า อย่าพิกลจริตให้ผิดผัน ยังกําดัดสันทัดยุพานพา แล้วแหลมหลักในลักษณ์กลเลศ คนรูม้ ากมักได้ยากทรมาน แต่งตอบจะประกอบให้หายหลง กลิ่น เสียง รูปรสวาที อีกทัง้ ดุริยางคดนตรี จะเสียตัวก็เพราะกลั้วรักรส อย่าใหลหลงพะวงว่าสิง่ สุข เพราะเมตตาจึงช่วยว่าให้ดดี ี

เคร่าครองชีวันไว้ดีกว่า ทั้งสักรวา ก็ดีปรีชาชาญ รูจ้ บไตรเภททหารหาญ สดับสารนึกน่าจะปรานี อย่าพะวงในสัมผัสทั้งสี่ กระยาหารอันมีโอชารส ทั้งนี้ให้พร่ําจําอด เป็นเบื้องบทเร้าราคราคี คือกองทุกข์ใหญ่ไม่เอาตัวหนี อย่าจู้จี้ให้พลอยรําคาญเอยฯ

ข้อสันนิษฐานอีกข้อหนึ่ง คือ “ความรักไม่คู่ควร” ระหว่างคุณสุวรรณกับคนรัก (?) ในเรื่องนี้เป็นการใช้องค์ความรู้ที่มีการวิเคราะห์กันมาอย่างกว้างขวางมาก่อนหน้านี้แล้วว่า คุณ ในสกุลบุนนาคมีดวงตราที่สาคัญอยู่ ๒ ดวง คือดวงตราสุริยมณฑล และดวงตราจันทรมณฑล ดวง ตราทั้งสองนี้มอบให้ลูกหลานสองสายตระกูลใหญ่ที่เรียกว่า สายสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ( สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)) และสายสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ( สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัด บุนนาค)) บุตรชายคนโตที่เกิดแต่เอกภรรยาของลูกหลานสายสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่จะได้สืบทอดตราสุ ริยมณฑล บุตรชายคนโตที่เกิดแต่เอกภรรยาของลูกหลานสายสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยจะได้สืบทอดตรา จันทรมณฑล ภายหลังเมื่อพระสุริยภักดี ผู้ที่จะสืบทอดตราจันทรมณฑล ถูกประหารไปในครั้งนี้แล้ว ก็ไม่ปรากฏ ว่ามีใครสืบทอดตรานี้อีก และดวงตราเหล่านี้เองที่เป็นที่มาของเพลง “พระอาทิตย์ชิงดวง ” ของสมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)


๑๘

สุวรรณ น่าจะเป็น “หญิงรักหญิง ” ซึ่งชวนให้คิดกันว่าแล้วคนรักของคุณสุวรรณจะเป็นใคร งานวิจัยส่วนใหญ่ต่างก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังเช่นที่อิงอร สุพันธวณิช ยกตัวอย่างคา ประพันธ์ใน เพลงยาวพระอาการประชวรกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ตัวอย่างเช่น

ซึ่ง

สงสารจิตคิดไปก็ใจหาย พระโรคคลายแต่ใจไม่สุขา เพราะริรักร่วมห้องต้องตํารา อุประมาเหมือนจะสาวเอาดาวเดือน ... ... โอ้วิตกอกร้อนเพราะศรรัก ไม่ประจักษ์น้ําใจคนใหลหลง ... ... ข้อความข้างต้น และข้อความอื่นๆ อีกหลายแห่งทาให้เห็นว่า คุณสุวรรณแต่งเพลงยาว พระอาการประชวรกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ นั้นไม่เพียงบันทึกเหตุการณ์เท่านั้น แต่ยังแฝงความใน ใจ ความรัก ความคิดถึง ความห่วงหาอาทร เหมือนสตรีที่จงรักต่อฝ่ายชายอีกด้วย เพราะถ้าดู ความสัมพันธ์ระหว่างกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพและคุณสุวรรณแล้ว คงไม่ใช่ความสัมพันธ์ฉันเจ้า-ข้า เท่านั้น เพราะลีลาและการใช้คาบ่งบอกถึงการตัดพ้อต่อว่า ทั้งยังปรากฏว่าคุณสุวรรณใช้ความ เปรียบพระบารมีของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพให้เป็นเหมือนฉัตรกั้น ซึ่งก็เปรียบเหมือนผู้เป็นสามีที่ ให้ความสุข ความร่วมเป็นแก่ผู้เป็นภรรยา ความสัมพันธ์ระหว่างคุณสุวรรณกับกรมหมื่นอัปสรสุดา เทพจึงน่าจะมีความหมายมากกว่าความสัมพันธ์ของเจ้า-ข้า น่าจะเป็นความสัมพันธ์แบบรักเร้น หรือรักแอบแฝงที่ใฝ่สูงของคุณสุวรรณที่หมายดาวเดือน ซึ่งนั่นก็คือ “ความรักที่ไม่คู่ควร” นั่นเอง นอกจากนี้ใน อุณรุทร้อยเรื่อง ยังปรากฏความนัยของ “หญิงรักหญิง ” แฝงไว้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ในบทแปลงกายา ที่มีการแปลงศัพท์จากศัพท์หนึ่งไปสู่ศัพท์หนึ่ง แต่คงความหมาย เดิมไว้ ตัวอย่างเช่น รี้พลให้กลายเป็นโยธา พาชีแปลงเป็นอาชาชาญ ไกรสรให้แปลงเป็นสิงหราช พระราเมศแปลงเพศเป็นรามา พญาครุฑแปลงเป็นสุบรรณจร นาคาเป็นพญาวาสุกรี

ไอยราแปลงเป็นคชสาร พระพรหมานแปลงเป็นท้าวธาดา สกุณชาติให้แปลงเป็นปักษา พยัคฆาแปลงเป็นพยัคฆี วานรแปลงเป็นกระบี่ศรี โกสีย์แปลงเป็นท้าวหัสนัยน์

อิงอร สุพันธวณิช. “กลอนเพลงยาวของคุณสุวรรณ : ภาพสะท้อนรักร่วมเพศสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น” ใน วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. ปีที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘. หน้า ๖๔-๖๕.


๑๙

บทแปลงกายาข้างต้นนี้ พิจารณาได้ว่าแม้ตัวละครจะแปลงกายเป็นสิ่งใด แต่ก็ยัง ด้ารงอยู่ในร่างหรือสถานะเดิม ในแง่นี้น่าจะแฝงนัยส้าคัญถึงการเปลี่ยนแปลงภายในร่าง แต่ยังคงรูปอยู่ในสถานะเดิม เสมือนกับความเป็นชายในร่างหญิง แม้แปลงใจเป็นชาย แล้วแต่เพศสภาพก็ยังคงเป็นหญิงอยู่นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอีกตอนหนึ่ง คือ ตอนที่ “สิบโอษฐ์ สั่งสารสุวิญชา” นั้น จะเห็นว่าเป็นจุดจบของฝ่ายผู้ร้ายที่ไปลักพา หรือ ลอบเป็นชู้กับนางเอก ที่จาก การสั่งเสียตั้งแต่ปากที่ ๑ – ๑๐ ชวนให้เข้าใจว่าเป็นชายนั้น ก็มีการเฉลยในตอนท้ายว่า “พราหมณ์ ก็กลายกายาเป็นนารี ” ก็ทาให้รู้แน่ชัดว่าผู้ร้ายที่ไปลักพา หรือ ลักลอบเป็นชู้กับนางเอกที่กาลังจะ จบชีวิตนี้ แท้จริงก็คือผู้หญิงนั่นเอง อนึ่ง ผู้เขียนมีข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกประเด็นหนึ่งว่า นอกจาก “ความรักที่ไม่คู่ควร” ระหว่าง คุณสุวรรณกับสตรีสูงศักดิ์แล้ว ยังอาจเป็นไปได้ว่า “ความรักที่ไม่คู่ควร ” ที่เป็นปริศนาใน อุณรุทร้อยเรื่อง นั้นอาจเป็น “ความรักที่ไม่คู่ควร” ระหว่างสตรีสูงศักดิ์เหนือหัวของคุณสุวรรณ กับ สุนทรภู่ ด้วยก็เป็นได้ ดังที่ปรากฏใน "ร้าพันพิลาป" ซึ่งสุนทรภู่ราพึงราพันถึงความรักความอาลัย ต่อสตรี คนหนึ่งอย่างลึกซึ้ง ซึ่ง ธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่าสุนทรภู่มีความรู้สึก นึกคิดที่ลึกซึ้งต่อกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพซ่อนอยู่ "ในฝัน" เป็นอันมาก ตัวอย่างเช่น ด้วยเกิดเป็นเช่นมนุษย์บุรุษราช ขอษมาการุณพระสุนทร

มาหมายมาตรนางสวรรค์ร่วมบรรจถรณ์ ให้ถาพรภิญโญเดโชชัย

จึงเอื้อนอ้างนางสวรรค์ตามฝันเห็น ไม่รักใครในแผ่นดินถิ่นสุธา

ให้อ่านเล่นเป็นเล่หเสน่หา รักแต่เทพธิดาสุราลัย

โอ้อกเอ๋ยเชยอื่นไม่ชื่นแช่ม แต่หัสนัยน์ตรัยตรึงส์ท่านถึงจอม ได้บุตรีที่รักยักษ์อสูร เราเป็นมนุษย์สุดรักต้องลักพา

เชยที่แย้มยิ้มพรายไม่หายหอม ยังแปลกปลอมเปลื้องปลิดไพจิตรา สืบประยูรอยู่ถึงดาวดึงสา เหมือนอินทราตรึงส์ตรัยเป็นไรมี

... ...

... ...

คาประพันธ์ข้างต้นเป็นเสมือน "ความในใจ" ของสุนทรภู่ ที่บ่งความนัยถึง “ความรักไม่ คู่ควร” ของสุนทรภู่ต่อสตรีสูงศักดิ์ ได้เป็นอย่างดี จากข้อสันนิษฐานดังกล่าวข้างต้นทั้งหมด ทาให้เห็นว่าคุณสุวรรณมีความเกี่ยวข้องกับ “ความรักที่ไม่คู่ควร” ทั้งที่ประสบกับตัวเอง และที่เห็นเป็นประสบการณ์รอบตัว ด้วยเหตุดังนี้เองจึง


๒๐

ทาให้เรื่องเหล่านี้กลายเป็น “วัตถุดิบสาคัญ” ให้คุณสุวรรณนามาใช้แต่ง อุณรุทร้อยเรื่อง และการที่ จะต้อง “ซ่อนเร้น ” ด้วยการ“การใช้ความที่ไม่เป็นความ ” นั้นก็เพื่อจงใจที่จะบิดเบือนเฉไฉและ ปกปิดเงื่อนงา “ความรักที่ไม่คู่ควร ” เนื่องจาก “ความรักที่ไม่คู่ควร ” ดังกล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็น เรื่องต้องห้ามและหมิ่นเหม่ต่อราชภัยทั้งสิ้น แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นความในใจของคุณสุวรรณที่ ต้องการระบายออกมาเช่นกัน “พระพิรุณ”: ผลงานแบบปกติๆ ของคุณสุวรรณ? จากความสามารถในการประพันธ์ของคุณสุวรรณทาให้เชื่อได้ว่า ผลงานของคุณสุวรรณ ไม่น่าที่จะมีเพียงผลงานดังที่มีการรับรู้หรือตีพิมพ์ไปก่อนหน้านี้เท่านั้น น่าจะยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยัง ไม่ได้พบเจอ ดังที่เมื่อราวปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้เขียนพบต้นฉบับสมุดไทยบทละครเรื่องหนึ่งใน หอสมุดแห่งชาติ เป็นสมุดไทยดา จารด้วยเส้นรงค์ บนหน้าปกสมุดไทยเขียนชื่อเรื่องไว้ว่า “พระ พิรุณ เล่ม๑ (พลัด) ” และมีตราประทับของหอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อพลิกเข้าไปด้านในก็ ประหลาดใจยิ่งเมื่อพบข้อความจารด้วยเส้นรงค์ว่า “ต้น เรื่องพระพิรุณ ” และมีข้อความที่จารด้วย เส้นดินสอว่า “(กลอนแปด. สงไสยว่าคุณสุวรรณแต่ง)” ข้อความจากหน้าต้นของสมุดไทยจึงทาให้เป็นจุดเริ่มต้นให้ได้อ่านเนื้อเรื่อง แต่เป็นที่น่า เสียดายว่าฉบับที่พบในหอสมุดแห่งชาตินั้นเป็นฉบับพลัด มีเพียงเล่ม ๑ เท่านั้น ทาให้ไม่อาจทราบ เนื้อเรื่องโดยตลอด ซึ่งเนื้อเรื่องย่อในเล่ม ๑ นี้ มีเนื้อความเริ่มตั้งแต่ท้าวศักรราชธิบดีกับนางจินดา มเหสี ไปขอนางพุดซ้อนจากพระอาจารย์มาเลี้ยงเป็นธิดาบุญธรรม ท้าวศักรราชทรงรักใคร่เอ็นดู นางพุดซ้อนมาก และประสงค์จะให้นางมีสวามีจึงให้ทหารไปเกณฑ์ชายสูงศักดิ์ทั้งร้อยเอ็ดพระนคร มาให้นางพุดซ้อนเลือกเป็นสวามี ๏ แต่ปางหลังยังมีกรุงกระษัตร ภารสมบัติพิภพชมพูศรี นามพระองค์ซึ่งดํารงคธอรนี ชื่อศักรราชธิบดีราชา อันนามองคอัคราชวิไลลัก ชื่อจินดามีศักเรืองษี พรอมทั่งเสนามนตรี โยธีนับแสนแน่นนัล องคท่ารท่าวเจ้ากรุงภารา ร้ายราชธิดาดวงสมร ไปฃอพระอาจารย์ฤทธิรอน ชื่อนางพุดซ้อนกัลยา ทาวเธอยิ่งแสนสวาษหนัก เลียงเปนลูกรักษไว้เคียงสอง ให้อยู่ปราสาทเจ๊ดชั้นอันบวร ภูทรพิศวาษเพียงคาดใจ พระองคตรีตรึกนึกไป ถ้าเกีดเหตุเกีดไภเพราะโฉมศรี


๒๑

ด้วยตัวเราแต่เท่าถึงเพียงนี้ บูรีย์ก็จะเป็นจุลาจล แม้นว่าค่าศึกที่นึกร้าย จะตรีพลสกลไกรมาคุ่มเห่ง เห็นว่าเราแก่เท่าไม่ยําเกรง จะคุ่มเหงเราเล่นเปนมั้นคง จําจะคิดปลูกฝังให้ลูกรักษ ตามศักสูริย์วงษ์เรืองศรี อุบพิเศกให้เปนเอกในธานี ครองกรุงบูรียให้รุ่งเรื่อง คิดแล้วจึ่งสั่งอํามาด นักปราชบันดิดคิดอักษร ให้แจกไปทัวทุกพระนคร ให้ภูทรแต่งพระราชบุตรา .... .... คาประพันธ์ต้นเรื่องข้างต้นนั้น ผู้ที่คุ้นเคยกับวรรณคดีไทยก็คงจะเห็นพ้องว่า ขึ้นต้นได้ คล้ายกับเรื่อง พระอภัยมณี ของสุนทรภู่ เหลือเกิน เนื่องจากใน พระอภัยมณี ขึ้นต้นเรื่องดังนี้

สมมติวงศ์ทรงนามท้าวสุทัศน์

แต่ปางหลังยังมีกรุงกษัตริย์ ผ่านสมบัติรัตนานามธานี

เรื่องพระพิรุณนี้จึงน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากเรื่อง พระอภัยมณีของสุนทรภู่อยู่บ้าง จากนั้น เนื้อเรื่องกล่าวถึงว่าเมื่อถึงในงานพระราชพิธีเลือกคู่ นางพุดซ้อนแลดูเจ้าชายต่างเมืองทั้งหลายก็ มิได้เป็นที่ต้องใจเลยแม้แต่ผู้เดียว ต่อมากล่าวถึงพระพิรุณ เป็นโอรสท้าวกุรังนคร เจ้าเมืองกุศราช พระมารดาชื่อ นางวิภา พระพิรุณนี้มีอายุได้ ๑๘ ปีปลาย วันหนึ่งหลับฝันไปว่า มีพญานาคมารัด ตัว ทุบตีหรือทาประการก็ไม่สามารถให้พญานาคคลายรัดได้ ซ้ายังควักเอาดวงตาของพระพิรุณไป ไว้นอกเมือง แล้วพญานาคก็คายแก้วจากปากออกมามอบให้พระพิรุณ พระพิรุณรับเอามาด้วย ความยินดีแล้วก็สะดุ้งตื่น ก็ใคร่อยากจะได้ดวงมณีที่เห็นในฝัน จึงได้ไปกราบทูลพระราชบิดา คิดแล้วจึงลุกขึ้นลินลาด มาเฝ่าบาทบิดาหาช้าไม พร้อมทั้งชนนีก็ดีใจ บังคมไท้ทั่งสองกระษัตรา สมเดจ์บิตุราชมาตุรงค์ แลเหนองคลูกรักษโอรสา พระภักตร์มัวหมองคร่ําโรยรา กิริยาไม่สบายในฝ่ายใน จึ่งกล่าวรศพชมารสารเฉลย พ่อทรามเชยภูยอดเสนหา เจาเจ็บใขไปฤๅพระลูกยา ภักตราเสร้าสีฉหวีวรรณ์ พระโอรศตอบพชมารสาร อันโรคาหมิได้พานเท่าเกษี เมื่อคืนนี้นิทราในราตรี ลูกฝันว่าได้มณีอันเรืองรอง


๒๒

มาเชยชมสมจิตรที่คิดไว้ ครั้นตื่นขึ้นห่ายไปในเสียที่ ลูกคนคว่าหาทั่วเมื่อราตรี ไม่พบดวงมณีที่หายไป แม้นหมิได้แก้วศรีมณีโชด อันไพรโรดจําหรัจวิเชียนฉาย เหมือนฃองที่ลูกได้ไว้กับกาย ก็คงวายชลชีพไม่ยืนนาน ลูกจะฃอกราบลาฝ่าพระบาท ไปเที่ยวตามปัจทํามราชอันเรืงฉาย ถ้ามิได้ก็ไม่คืนมากรุงไกร ผู้วในจงได้ปรานี จากนั้นพระพิรุณจึงได้ออกเดินทางมาตามหาดวงมณีตามที่พบในความฝัน ต่อมากล่าวถึง พญานาคหรือท้าวภุชงค์แห่งนาคบาดาล มีพระธิดาชื่อนางบรรจงเทวี อายุได้ ๑๔ ปี กาพร้าพระ มารดา วันหนึ่งท้าวภุชงค์ขึ้นมาจากเมืองบาดาล มีประสงค์จะประพาสป่า ขณะที่อยู่ในป่านั้นได้ไป พบพระพิรุณซึ่งนอนหลับอยู่ในป่าก็รู้สึกต้องชะตากัน พระพิรุณได้เล่าถึงเหตุที่ต้องเดินทางมาในป่า นีใ้ ห้ทา้ วภุชงค์ฟงั ท้าวภุชงค์ขอรับเป็นพระโอรสบุญธรรม และรับว่าจะเลีย้ งดูเป็นอย่างดี โดยจะให้ เป็นใหญ่ในนาคพิภพ เมื่อลงไปในนาคพิภพ ได้พบกับธิดาของท้าวภุชงค์ก็เกิดจิตปฏิพัทธ์ต้องกัน ภายหลังทั้ง สอบได้ลักลอบเสพสมกันตลอดระยะเวลากว่า ๓ ปี ฝ่ายพระบิดาของพระพิรุณก็เป็นห่วงพระโอรส จึงให้โหรมาตรวจดวงชะตาของพระพิรุณ โหรทูลว่าทรงปลอดภัยดี และเดินทางไปทางทิศใต้ จะได้ มเหสี ซึ่งจะทาให้พระพิรุณลาบากใจ โดยถึงแม้ว่าท้าวกุรังนครจะติดตามหาพระพิรุณก็จะไม่พบ จนเมื่อเวลาผ่านไป ๑๗ ปีจึงจะกลับคืนสู่พระนคร ฝ่ายท้าวภุชงค์ในนาคพิภพเมื่ออายุได้กว่า ๙,๐๐๐ ปี ก็รู้สึกเบื่อหน่ายในราชสมบัติ คิดจะ ยกแผ่นดินให้กับพระธิดาและพระโอรสบุญธรรม แล้วจึงให้พระธิดาของพระองค์กับพระพิรุณ อภิเษกกันแล้วร่วมกันปกครองนาคพิภพ ภายหลังมีพระโอรสชื่อว่า สิททัตกุมาร ในตอนท้ายเรื่อง กล่าวถึงพระพิรุณคิดถึงพระชนกพระชนนีจึงบอกลาพระมเหสีเพื่อกลับไปเฝ้าพระชนกและ พระชนนี ซึ่งจบเนื้อหาในเล่มที่ ๑ เพียงเท่านี้ เรื่องพระพิรุณนี้ ผู้เขียนนามาเสนอไว้เพื่อเปิดพรมแดนการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ และผลงานของคุณสุวรรณ เพื่อให้นักวิชาการและผู้สนใจได้พิสูจน์ศึกษากันต่อไปว่า เป็นผลงาน วรรณคดีของคุณสุวรรณหรือไม่ ? อนึ่ง ในการพบต้นฉบับเรื่องพระพิรุณนี้ ผู้เขียนก็ได้พบสมุดไทยเรื่อง โคลงเฉลิมพระ เกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วย ซึ่งมีการบันทึกไว้ว่าแต่งโดย “คุณสุวรรณ (พุ่ม)” จึงทาให้เข้าใจว่ามีความรับรู้ว่าคุณสุวรรณกับคุณพุ่มเป็นคนเดียวกันเกิดขึ้น ทั้งนี้อาจเป็น เพราะต่างก็เป็น “กวีหญิงคนสาคัญ ” ของไทยเหมือนกัน ทั้งยังเป็นกวีร่วมสมัยกันอีกด้วยคือสมัย


๒๓

รัชกาลที่ ๓ จึงมีเรื่องให้น่าคิดว่า ผลงานบางเรื่องของกวี ๒ ท่านนี้ อาจเคยมีการสลับชื่อเจ้าของ ผลงานกันบ้างก็เป็นได้ เรื่องราวชีวประวัติและผลงานของคุณสุวรรณยังเป็นที่สนใจของนักวรรณคดีอยู่ไม่ น้อย เนื่องจากผลงานของคุณสุวรรณมีความต่างไปจากวรรณคดีที่ร่วมสมัยเดียวกัน รวมถึงวรรณคดีชั้นก่อนหน้า ขณะที่ตัวกวีคือ คุณสุวรรณ เองก็ถูกกล่าวหาโดยกลุ่มบุคคล ในสมัยนั้นว่า “บ้า” และหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตของคุณสุวรรณก็มีจ้ากัด สิ่งต่างๆ เหล่านี้ แทนที่ท้าให้นักวรรณคดีละเลยหรือมองผ่านเลยไป ในทางตรงกันข้าม “เรื่องบ้าๆ ” ใน งานของคุณสุวรรณทั้งเรื่อง “ถูกท้าให้บ้า” และ “แกล้งบ้า” กลับกลายเป็น “เสน่ห์” ที่ชวน ให้นักวรรณคดีสนใจและเข้ามาศึกษาวิจัย ในโอกาส ๒๐๐ ปี ชาตกาลของ คุณสุวรรณ ผู้เขียนจึงขออุทิศบทความนี้เป็นเครื่องคารวะแด่คุณสุวรรณ เพื่อสะท้อนให้ได้เห็น จินตนาการและความคิด รวมถึง “ปลุก ” ชีวิตที่ไม่รู้จบของกวีหญิงปริศนาแห่งกรุงสยาม ให้ตื่นและฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง บรรณานุกรม จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (นามแฝง). “เวียงวัง” ใน สกุลไทย ฉบับที่ ๒๔๒๔ ปีที่ ๔๗ ประจาวันอังคารที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๔. จุมพฏ คาสนอง. วรรณกรรม อ้านาจ และความบ้า : บทวิเคราะห์ทางการเมือง ว่าด้วยเรื่อง อ้านาจกับวรรณกรรมของคุณสุวรรณ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาการ ปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙. ชูดาว (นามแฝง). “พระเอ็ดยง: หัสเดียมคดีของคุณสุวรรณ” ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๙. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. “ความหมายใน”บทแปลงกายา”ของกวินีสติ (ไม่) วิปลาส”” วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๔๙. นงลักษณ์ แช่มโชติ . หาสยรสในวรรณกรรมร้อยกรองของไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๔๗๕. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, ๒๕๒๑. พิณทิพย์ ทวยเจริญ. “อัจฉริยะทางภาษาศาสตร์ของ “คุณสุวรรณ” ในบทละครพระมเหลเถไถและ อุณรุทร้อย เรื่อง.” ภาษาและภาษาศาสตร์ ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒. ๒๕๒๘. ยุพิน ธชาศรี. วิเคราะห์วรรณกรรมของคุณสุวรรณ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต วิทยาลัยวิชาการศึกษา, ๒๕๑๗. ศิลปากร, กรม . บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ บทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง


๒๔

กลอนเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ กลอนเพลงยาวเรื่องพระอาการประชวร ของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ และบทละครเรื่องระเด่นลันได. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๑๔. ศิลปากร, กรม. ล้าดับราชินิกุลบางช้าง. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.อ. ขุนวารินทร สัญจร (ขาว ณ บางช้าง) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม ,๒๕๐๑. ส. พลายน้อย (นามแฝง). กวีสยาม. กรุงเทพฯ : บารุงสาส์น, ๒๕๓๓. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ).เสียดสี กวีสยาม จักรๆวงศ์ๆ ของสองผู้ยิ่งใหญ่ แห่งวง "วรรณอ้า" กรุงรัตนโกสินทร์ พระมหามนตรี (ทรัพย์) และคุณสุวรรณ . พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๓๗. สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ และสุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา,บรรณาธิการ. ทอไหมในสายน้​้า ๒๐๐ ปี วรรณคดีวิจารณ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาส์น,๒๕๔๑ อิงอร สุพันธุ์วณิช. กลอนเพลงยาวของคุณสุวรรณ: ภาพสะท้อนรักร่วมเพศสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น ใน วารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ ๒๒ (ธันวาคม ๒๕๔๘) เอนก นาวิกมูล. “คุณสุวรรณพระมะเหลเถไถ เกิดและตายเมื่อไร?” ใน ถนนสายอดีต ๑. กรุงเทพฯ: สายธาร, ๒๕๔๗. Cholada Ruengruglikit. “Khun Suwan: A Reflection of Unusual Life of Court Ladies Through The Eyes of an Exceptional Woman Poet” in The Journal Vol.1 2005


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.