Community

Page 1

รวมรางหลักสูตรสาระการเรียนรูทองถิ่นคัดสรรจากโครงการ “หลักสูตรทองถิ่น: การบูรณาการความรูสูชุมชน” ศูนยสยามทรรศนศึกษา คณะศิลปศาสตร รวมกับ กลุมภารกิจวิจัยและพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล พุทธศักราช ๒๕๕๗


ท้องถิ่นนิทรรศน์ รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นคัดสรรจากโครงการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน”

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล (บรรณาธิการ)

ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา และหน่วยวิชาการเชิงสร้างสรรค์และชุมชนสัมพันธ์ คณะศิลปศาสตร์ ร่วมกับกลุ่มภารกิจวิจัยและพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล โครงการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน” วันที่ ๗ – ๙ และ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล


 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นคัดสรรฯ

ท้องถิ่นนิทรรศน์ รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นคัดสรรจากโครงการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน” ISBN 978-616-279-549-7 พิมพ์ครั้งแรก ๕๐๐ เล่ม พ.ศ. ๒๕๕๗ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา และหน่วยวิชาการเชิงสร้างสรรค์และชุมชนสัมพันธ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกลุ่มภารกิจวิจัยและพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล โครงการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน” วันที่ ๗ – ๙ และ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล อาจารย์วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เนตร หงษ์ไกรเลิศ นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม

ประธานที่ปรึกษาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ที่ปรึกษาศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ผู้อานวยการกลุ่มภารกิจวิจัยและ พัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อานวยการโรงพยาบาลพุทธมณฑล และประธานสภาวัฒนธรรม อาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

คณบดีคณะศิลปศาสตร์

หัวหน้ากองบรรณาธิการ อาจารย์ศิธรา จุฑารัตน์

ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา

กองบรรณาธิการ นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว นายอนุชิต นิธิมงคลทรัพย์

นายธนภัทร พิริยโ์ ยธินกุล นางสาวฤทัย ชุมเปีย

ออกแบบปก: นายสุทธิพงษ์ ตะเภาทอง

หน่วยศิลปกรรม คณะศิลปศาสตร์

พิมพ์ท:ี่ ห้างหุ้นส่วนจากัด สามลดา


คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

คำนำ ปัจจัยสาคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมของประเทศเกิดขึ้นจากการ ตระหนักรู้ในคุณค่าของทรัพยากร วัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตน ซึ่ง ควรปลูกฝังความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นกับคนรุ่นหลัง โดยการให้การศึกษาที่บอกเล่าที่มาที่ไป คุณค่า และความสาคัญของทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความเข้าใจและเกิดความรักและภาคภูมิใจใน สมบัติของชาติ ซึ่งจะนาไปสู่การหาแนวทางในการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ศู น ย์ ส ยามทรรศน์ ศึ ก ษา และหน่ ว ยวิ ช าการเชิ ง สร้ า งสรรค์ แ ละชุ ม ชนสั ม พั น ธ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักถึงความสาคัญของการให้การศึกษาแก่เยาวชน เพื่อปลูกฝังจิตสานึกในการตระหนักถึงความสาคัญของท้องถิ่นอันจะนาไปสูก่ ารอนุรักษ์ รวมถึงการ พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อนามาพัฒนาท้องถิ่น จึงได้ ร่วมกับกลุ่มภารกิจวิจัยและพัฒนา ชุ ม ชนของมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล จั ด โครงการอบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารเรื่ อ ง “หลั ก สู ต รท้ อ งถิ่ น : การบูรณาการความรู้ สู่ชุมชน” ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ ครูในสถานศึกษาจังหวัดนครปฐมในการ จัดทาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น สามารถนาไปประยุกต์ใช้กับการจัด การเรียน การสอนที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนได้ รวมทั้งได้จัดทาหนังสือ “ท้องถิ่นนิทรรศน์” ขึ้น เพื่อ สรุป ตลอดจนรวบรวมเนื้อหาที่ เกี่ย วกับการอบรมในครั้งนี้ ซึ่ ง ประกอบด้ว ย การบรรยายของ วิทยากรที่มีประสบการณ์ในการจัดทาหลักสูตรท้องถิ่นและการทาวิจัยชุมชน และตัวอย่างหลักสูตร สถานศึกษาที่จัดทาขึ้นโดยผู้เข้ารับการอบรมซึ่งเป็นครูจากสถานศึกษาต่างๆ รวมถึงบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางของผู้เริ่มต้นศึกษาการจัดทาหลักสูตร สถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นต่อไป “ท้องถิ่นนิทรรศน์ ” เป็นการบันทึกส่วนหนึ่งของพลังจากประสบการณ์ ความรู้ และ ความคิดของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดนครปฐม ที่ เห็นความสาคัญของ ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ตลอดจนทรัพยากรอันมีค่าของจัง หวัด และต่างมี ความตั้งใจที่จะมอบความรู้ ปลูกฝังความตระหนักรูแ้ ละสร้างความภูมิใจในท้องถิ่นให้แก่เยาวชนซึ่ง จะเติบโตขึ้นเป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม และเป็น กลไกสาคัญในการ พัฒนาประเทศต่อไป ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา และหน่วยวิชาการเชิงสร้างสรรค์และชุมชนสัมพันธ์ ขอขอบคุณ วิทยากรทุกท่าน ได้แก่ นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม ผู้อานวยการโรงพยาบาลพุทธมณฑลและ ประธานสภาวัฒนธรรมอาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐชัย สุ ข สะอาด อาจารย์ ป ระจ าคณะมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล และ


 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นคัดสรรฯ

อาจารย์จริยา ศรีเพชร อาจารย์ประจาโรงเรียนพระตาหนักสวนกุหลาบ มหามงคล ผู้เชี่ยวชาญการ จัดทาหลักสูตรสถานศึกษา ที่ให้แนวคิดในการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา และขอขอบคุณผู้เข้าร่วม อบรมทุกคนที่ร่วมกันต่อยอดแนวคิดจนเกิดเป็นร่างหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จังหวัดนครปฐมอย่างยั่งยืนต่อไป

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล) คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

สำรบัญ คานา ............................................................................................................................................... ค ภาค ๑ : สารัตถะลิขติ : องค์ความรู้เบื้องต้นในการจัดทาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น บทนา ศิธรา จุฑารัตน์ ................................................................................................... ๕ จาก “แนวคิด” สู่ “วิธีการ” ในการจัดทาหลักสูตรท้องถิ่น ประเสริฐชัย สุขสอาด ....................................................................................... ๙ ภูมิหลังของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อการจัดทาหลักสูตรท้องถิ่น นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม .............................................................................๒๓ วิธีการ และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทาหลักสูตรท้องถิ่น อภิลักษณ์ เกษมผลกูล......................................................................................๕๕ แนวทางการนาหลักสูตรท้องถิน่ ไปใช้ในการเรียนการสอน จริยา ศรีเพชร ..................................................................................................๖๓ ภาค ๒ : พิพิธศาสตร์นิพนธ์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นคัดสรร บทนา ศิธรา จุฑารัตน์ .................................................................................................๗๑ กลุ่มที่ ๑ เรื่อง องค์พระปฐมเจดีย์ ...............................................................................๗๗ กลุ่มที่ ๒ เรื่อง นิทานพื้นบ้าน ......................................................................................๙๕ กลุ่มที่ ๓ เรื่อง ลาวครั่ง ............................................................................................. ๑๒๑ กลุ่มที่ ๔ เรื่อง โรงคราม ........................................................................................... ๑๕๗ กลุ่มที่ ๕ เรื่อง สมุนไพรน่ารู้ ..................................................................................... ๑๗๑


 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นคัดสรรฯ

สำรบัญ (ต่อ) ภาคผนวก กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน” ......................................... ๑๘๗ ประมวลภาพผลงานจากกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน” .......................................... ๒๐๑ ทาเนียบผู้เข้าอบรมหลักสูตรท้องถิ่น รุ่นที่ ๑ ................................................................. ๒๑๓ โครงการ หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สชู่ ุมชน ............................................ ๒๑๗ คาสั่งแต่งตัง้ คณะกรรมการจัดโครงการฯ ...................................................................... ๒๒๑ ประวัติและความเป็นมาของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา .................................................... ๒๒๓ แนะนาเอกสารวิชาการของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ..................................................... ๒๒๕


ท้องถิ่นนิทรรศน์ รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรร จากโครงการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน”


 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๓

ภาค ๑ สารัตถะลิขิต: องค์ความรู้เบื้องต้นในการจัดทา หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น


 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๕

บทนำ ศิธรา จุฑารัตน์๑ การพัฒนาประเทศจาเป็นต้องให้ความสาคัญกับการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น ซึ่ง จาเป็ น ต้ องเริ่ม ต้ น ที่ การจั ด การศึกษาให้ เยาวชนเห็ น คุณ ค่าของภูมิ ปั ญ ญาและมรดกของ ท้ อ งถิ่ น การจั ด การศึ ก ษาโดยเน้ น ความสอดคล้ อ งกั บ ท้ อ งถิ่ น เพื่ อ ให้ ผู้ เรี ย นได้ เรี ย นรู้ ประสบการณ์ที่จาเป็นต่อการดาเนินชีวิตอย่างแท้จริงจึงเป็นสิ่งสาคัญ เพราะการจัดการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพนั้น ควรเริ่มจากให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งใกล้ตัวก่อน เพื่อเรียนรู้สภาพชีวิตจริง และเพื่อปลูกฝังให้เห็นความสาคัญและคุณค่าของสิ่งรอบตัว อันจะนาไปสู่การสร้างสานึกของ ความรัก ความภูมิใจ และความหวงแหนมรดกของชุมชนและประเทศชาติต่อไป หนังสือ “ท้องถิ่นนิทรรศน์” ได้รวบรวมความรู้และประสบการณ์ของวิทยากรจาก การบรรยายในโครงการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน” ซึ่งมีการบรรยาย ทั้ ง หมด ๔ หั ว ข้ อ คื อ จาก “แนวคิ ด ” สู่ “วิ ธี ก าร” ในการจั ด ท าหลั ก สู ต รท้ อ งถิ่ น โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐชัย สุขสอาด ภูมิหลังของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น อาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดย นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม วิธีการ และเครื่องมือในการ เก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล เพื่ อ จั ด ท าหลั ก สู ต รท้ อ งถิ่ น โดย ผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ ดร.อภิ ลั ก ษณ์ เกษมผลกูล และ แนวทางการนาหลักสูตรท้องถิ่นไปใช้ในการเรียนการสอน โดย อาจารย์ จริยา ศรีเพชร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐชัย สุขสอาด ได้กล่าวถึงประสบการณ์ ในการทา วิจัยที่ตาบลบางเลน เกี่ยวกับการสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชน โดยใช้หลักการ “บวร” คือ บ้าน วั ด โรงเรี ย น มาเป็ น ฐานในการจั ด ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ ซึ่ ง อาศั ย การฟั ง ความคิ ด เห็ น และ แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับโรงเรียน วัด และชุมชน การสร้างศูนย์การ เรียนรู้ชุมชนแตกต่างจากการจัดทาหลักสูตรท้องถิ่นที่ไม่มีการจัดการเรียนการสอน แต่เป็น การจัดกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน ซึ่งนักเรียนและคนในชุมชนสามารถเข้า ไปศึกษาด้วยตนเองได้ ส่วนหลักสูตรท้องถิ่นนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐชัย ได้ให้หลักการของการ จัดทาหลักสูตรไว้ว่า ๑

อาจารย์ประจาสาขาวิชาภาษาไทย และประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

๑) เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ ๒) จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติจริงๆ ๓) เป็นการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน ๔) เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน นอกจากนี้ยังให้แนวทางในการจัดทาหลักสูตรท้องถิ่นว่าควรมีองค์ประกอบ ๑๐ ประการ คือ ๑) ชื่อหลักสูตร ๒) ความสาคัญ ๓) จุดมุ่งหมาย ๔) วัตถุประสงค์ ๕) เนื้อหาหลักสูตร ๖) เวลาเรียน ๗) แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน ๘) การวัดและประเมินผลการเรียน ๙) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑๐) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร สิ่ ง ส าคั ญ คื อ ผู้ ส อนต้ องมี แ นวคิ ด ของการจั ด ท าหลั ก สู ต รที่ ชั ด เจนเพื่ อ จะน าผู้ เรีย นไปถึ ง จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวข้อถัดไปเป็นการกล่าวถึงแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ที่มีอยู่ในจังหวัดนครปฐม ซึ่ง นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม ผู้อานวยการโรงพยาบาลพุทธมณฑล ได้ตระหนักถึงความสาคัญ ของมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเหล่านี้ จึงได้จัดทาฐานข้อมูลเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ และการค้ น คว้ า ให้ กั บ ผู้ ส นใจศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ประเพณี แ ละวั ฒ นธรรมของจั ง หวั ด นครปฐม นายแพทย์วัฒนาได้ยกตัวอย่างกิจกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ ยวเชิงวัฒนธรรมและ การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง เกษตรที่ เคยจั ด มา ได้ แ ก่ การล่ อ งเรื อ เที่ ย วชมคลองมหาสวั ส ดิ์ ซึ่ ง นั ก ท่ อ งเที่ ย วจะได้ สั ม ผั ส บรรยาการของวิ ถีชี วิ ต ริม คลองไปพร้อมๆ กั บ การบรรยายของ วิทยากรเกี่ยวกับประวัติศาตร์และวัฒนธรรมประเพณีของผู้คนในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ เช่น ประเพณีการตักบาตรท้องน้า การทานาบัว การทาเกษตรอินทรีย์ และการทาสวนกล้วยไม้ เป็นต้น กิจกรรมการล่องเรือเที่ยวชมคลองมหาสวัสดิ์นี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจานวน มาก และจัดขึ้นอย่างสม่าเสมอในวันสาคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคลองมหาสวัสดิ์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๗

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมกาจัดสวะ กิจกรรมปลูกต้นไม้ริมคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งได้รับ ความร่วมมือจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นานักศึกษามาร่วมปลูกต้นไม้พร้อม กับได้เรียนรู้เรื่องราวของชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ไปด้วย กิจกรรมต่างๆ นี้มีการบันทึกภาพเก็บไว้อยู่ในฐานข้อมูลของสภาวัฒนธรรมอาเภอ พุ ท ธมณฑล ซึ่ ง ผู้ ส นใจสามารถขอข้ อ มู ล ทั้ ง รู ป ภาพและเอกสารต่ า งๆ ที่ เกี่ ย วข้ อ งได้ ที่ โรงพยาบาลพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม นอกจากแหล่งข้อมู ลเกี่ยวกับท้ องถิ่นแล้ว กระบวนการได้ม าซึ่งข้อมู ลก็เป็น เรื่อง สาคัญ ครูผู้สอนหรือนักวิจัยชุมชน ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและวิธีการในการเก็บข้อมูล ของชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพที่จะสามารถนาไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ให้แก่ ผู้เรียนต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลั กษณ์ เกษมผลกูล ได้ เสนอแนะแนวทางในการเก็บ ข้อมูลของชุมชน โดยได้ให้หลักในการเตรียมตัว การเก็บข้อมูล การสัมภาษณ์ การสังเกต และ การจดบันทึกข้อมูล รวมถึงข้อสังเกตและข้อควรระวังในการเก็บข้อมูลอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การทาแผนที่เดิน ดิน การทาปฏิทินชุมชน การทาผังเครือญาติ การทาประวัติชุมชน และการทาประวัติชีวิตคน ในชุมชน หลั งจากได้ ท ราบถึง หลั ก การของการจั ด ท าหลั กสู ต รท้ องถิ่น แหล่ งค้ น คว้ า และ แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดนครปฐม และกระบวนการและเครื่องมือในการเก็บข้อมูลชุมชน แล้ว ลาดับต่อไปคือการนาข้อมูลเหล่านั้นมาสู่การลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้หลักสูตรท้องถิ่นที่ เป็นรูปเป็นร่างเพื่อนาไปใช้กับสถานศึกษาแต่ละแห่งได้ แนวทางในการนาหลักสูตรท้องถิ่นไปใช้ในการเรียนการสอน อาจารย์จริยา ศรีเพชร ได้ให้คาแนะนาจากประสบการณ์จริงที่เป็นผู้ออกแบบหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง คลองมหาสวัสดิ์ โดยอาจารย์ได้กล่าวถึงหลักการในการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาว่าควรเริ่มต้นจาก การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางและวิเคราะห์ข้อมูลสาระสนเทศที่จัดระบบไว้แล้วในท้องถิ่น ชุมชน เพื่อนาข้อมูลมาใช้ประโยชน์ การนาหลักสูต รท้ องถิ่น มาใช้ในสถานศึกษา สามารถท าได้ ๓ วิธีการ ได้แก่ การ สอดแทรกเรื่องท้องถิ่นเข้าไปในรายวิชาพื้นฐาน การจัดเป็นรายวิชาเพิ่ มเติม และกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน


 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

สิ่งสาคัญ อย่างหนึ่งในการเขียนหลักสูตรท้องถิ่น คือ การเขียนคาอธิบายรายวิชา การกาหนดโครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร การเขียนผลการเรียนรู้ และการเขียนวัตถุประสงค์การ เรีย นรู้ ซึ่ งผู้ส อนต้องกาหนดให้ชั ดเจนเพื่ อเป็ นแนวทางในการจัด การเรียนการสอนให้ แก่ ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันผู้สอนไม่ให้หลุดจากจุดประสงค์หลักที่ต้องการสอน นอกจากนี้ ผู้สอนสามารถขอความร่วมมือจากนักเรียน ใช้เด็กเป็นสื่อกลางระหว่าง ผู้ส อนกับ ท้ องถิ่น เนื่ อ งจากนั กเรีย นส่ วนใหญ่ จะเป็ น เด็ กในพื้ น ที่ และจะรู้จั กข้อมู ล ต่ างๆ ภายในชุมชนดีกว่าผู้สอน สุดท้าย อาจาย์จริยาได้ยกตัวอย่างกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่อาจารย์ได้ สอนให้นักเรียนโรงเรียนพระตาหนักสวนกุหลาบ โดยการพานักเรียนลงพื้นที่ไปเรียนรู้และทา กิจกรรมร่วมกับชาวบ้านในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ การจัดกิจกรรมแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ซึ่ ง ประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ เช่น นาบัว สวนกล้วยไม้ การทาข้าวตัง และการเรียนรู้ประวัติของ ชุมชนผ่านวิทยากรซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้าน การจัดกิจกรรมลักษณะนี้กระตุ้นให้นักเรียนอยาก เรียนรู้ และยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทดลองฝึกทากิจกรรมต่างๆ ของชุมชนอีกด้วย การบรรยายทั้ ง ๔ หั ว ข้อนี้ ถือ เป็ น แนวทางหลั ก ที่ ส าคั ญ ในการจั ด ท าหลั ก สู ต ร สถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นให้แก่ครูในสถานศึกษาจังหวัดนครปฐม และเป็นแนวทาง ที่สถานศึกษาต่างๆ สามารถนาไปใช้เป็นแบบอย่างในการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาของ ตนเองได้ โดยหัวใจหลักของการจัดทาหลักสูตรท้องถิ่นที่ผู้สอนควรคานึงถึงก็คือความต้องการ ของชุมชนและความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชนนั่นเอง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๙

จำก “แนวคิด” สู่ “วิธีกำร” ในกำรจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ประเสริฐชัย สุขสอาด๒ เรียนท่านผู้ร่วมอบรมและผู้จัดทาหลักสูตร เข้าใจว่าส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ที่ตอนนี้ ปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์อยู่ใช่ไหมครับ จริงๆ แล้วอยากบอกว่าการพูดคุยครั้งนี้เป็นการเอา ประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนดีกว่า เพราะว่าเราสามารถที่จะหาความหมายความสาคัญ ของ หลักสูตรท้องถิ่นตามเว็บไซต์อย่าง Google ได้ไม่ยาก แต่ถ้าเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยน กันผมก็มีประสบการณ์อยู่ส่วนหนึ่ง วันนี้ได้นาโครงการวิจัยในบางเลนมาให้เพราะว่าในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๖ – ๒๕๕๑ เป็ น ระยะเวลารวมเกื อ บหกปี ผมและคณะ รวมถึ ง หั ว หน้ า โครงการวิจัยไปทางานวิจัยที่บางเลน ผลลัพท์ที่เราได้มา เราใช้คาว่า “บวร” บวรก็คือ บ้าน วัด โรงเรียน ก็ตรงกับแนวคิดของหลักสูตรท้องถิ่นแน่นอน เพราะหลักสูตรท้องถิ่นจะเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีคาว่า “นักเรียน” แล้วก็ “บ้าน” และตัว “ครู” ด้วย เพราะฉะนั้นมันตรงกับ แนวคิด แต่ต่างกันนิดหนึ่งตรงแนวคิดที่ผมได้ไปทางานวิจัยแล้วได้ผลลัพท์คือศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ตามเอกสารแล้ว ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนจะมีการทางานของครู จริงๆ แล้วปฏิบัติการ อันนี้เราไปทาที่โรงเรียน ชื่อโครงการว่า “พัฒนานักเรียนโรงเรียนในสังกัดที่บางเลน โดยใช้ กระบวนการการมีส่วนร่วมทางด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา” เราไปในลักษณะสิ่งแวดล้อมศึกษา แต่พอไป เราได้ไปจัดกิจกรรมร่วม ตอนแรกต่างฝ่ายต่างตกใจไม่พูดไม่จากัน ต้องทาความ เข้าใจ ทุกคนไม่เข้าใจว่ามหิดลมาทาอะไรที่นี่ แต่พอเข้าใจแล้วง่ายเลย หกปีที่เราเข้าไปแล้ว แทบจะได้ ของกลับ มาทุกวัน อั นนี้เป็ นน้าใจไม่ได้เป็ นสิน จ้าง เพราะเราช่วยเขาขับรถจาก มหิดลไปบางเลนใช้เวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงทุกวัน เราไปอยู่กับเขาประมาณครึ่งวันแล้วก็กลับมา เราจะมีกิจกรรม ในระยะที่สอง เราจะให้เขาทา ศูนย์การเรียนรู้ก็จะมี ในปี ๒๕๔๙, ๒๕๕๐ และ ๒๕๕๑ เดี๋ยวผมจะบอกว่าศูนย์การเรียนรู้ต่างจากหลักสูตรท้องถิ่นอย่างไร ศูนย์การเรียนรู้โดยหลักการง่ายๆ คือเขาต้องการอะไร เขาก็ไปศึกษาความต้องการ ของแต่ละที่ ผมไปทากับโรงเรียนก็ศึกษาว่าโรงเรียนต้องการอะไรไปคุยกันก่อน เมื่อคุยกับ โรงเรียนได้แล้วลองไปคุยกับชุมชนของตัวเองว่าต้องการอะไร ในชุมชนต้องมาคุย รวมถึงวัด ด้วย เปิดเวทีคุยกันเลย ปรากฏว่าในส่วนของชุมชนจะมีปราชญ์หรือมีภูมิปัญญาอยู่ก้อนหนึ่ง แต่ไม่เคยหยิบมาใช้เลย ส่วนโรงเรียนก็มีความสามารถในการสอน ส่วนวัดก็มีทั้งเรื่องของเป็น ๒

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจาคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


๑๐

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ปราชญ์ด้วยและเป็นผู้สนับสนุนด้วยกับโรงเรียนทุกโรงเรียน เพราะฉะนั้นเราจะนาสามที่นี้เข้า มาร่ ว มกั บ “บวร” บ้ า น วั ด โรงเรี ย นได้ อ ย่ า งไร เลยครุ่ น คิ ด ว่ า จะไปคุ ย กั บ เขาโดยใช้ งบประมาณ ที่ไปใช้งบประมาณของมหาวิทยาลัย ๖ ปี เกือบ ๑๒ ล้าน ไปจัดกิจกรรม สุดท้าย โรงเรียนก็ได้กิจกรรมที่เป็นต้นแบบซึ่งสามารถทาให้ตัวเองอยู่ยั่งยืนได้ เอกสารเล่ ม สี น้ าเงิ น ที่ แ จกไปเป็ น โครงการ ทั้งหมด ๖ ปี ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เราต้องสรุปมา แต่ภายใน งานวิจัยก็จะมีเล่ม “ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน” ซึ่งต้องมีใน แต่ละปี แล้วก็มีเล่มนี้ที่ให้ไปเป็นเรื่องของการประเมิน โครงการ ในเล่มเล็กก็จะมีกิจกรรมและทาการประเมิน นักวิจัยของเราก็จะเขียนเล่มเล็กๆ เล่มนั้น ส่วนผมจะ เขี ย นเล่ ม “ศู น ย์ ก ารเรีย นรู้กั บ กระบวนการบริห ารจัดการการมีส่วนร่วม” ทุกคนก็จะทาเล่มเล็กเต็มไปหมด เพราะฉะนั้นผลลัพท์จะไม่ได้แค่หนังสือเล่มเดียว มันได้ หนังสือออกมาหลายเล่ม ได้กิจกรรมที่นักเรียนมีส่วนร่วม วัดมี ส่วนร่วม โรงเรียนมีส่ วนร่วม ท่านคงจะรู้ว่าศูน ย์การเรียนรู้เป็ น กิจกรรมที่ อยู่ใน โรงเรียน อาจจะอยู่ น อกโรงเรีย นก็ได้ แล้ วแต่ เราตกลงว่าจะตั้ งที่ ไหน เช่ น ไปตั้ งที่ วัด ตั้ งที่ โรงเรียน ตั้งที่ชุมชนที่มีภูมิปัญญาทั้งหลาย เราก็เรียกศูนย์การเรียนรู้ หลักสูตรท้องถิ่นเป็นตัวหลักสูตรที่มีระบบการเขียนและมีเนื้อหาของเรื่องที่จะสอน ด้วย ส่วนศูนย์การเรียนรู้เราสนใจอะไร เราก็เอากิจกรรมเข้ามาใส่ แล้วก็จัดให้มันเป็นระบบ และมีการประเมิน ตัวหลักสูตรจะมีการสอนนักเรียนว่าก่อนจะได้ตัวนี้ต้องมีการทาอะไร ต้อง อบรมอย่างไร เพราะฉะนั้นตัวหลักสูตรจะมีรายละเอียดมากกว่าศูนย์การเรียนรู้นิดเดียว เป็น รายละเอียดในเรื่องของโครงสร้างเนื้อหา แต่ศูนย์นั้นเป็น กิจกรรม จะไม่มีเรื่องของการอบรม การเรียน การสอน มีแต่นักเรียนสามารถเข้าไปเลือกได้ คือเข้าไปดูว่าเขาทาอะไร และเอา ความรู้ที่ได้จากเนื้อหาที่ติดไว้ในศูนย์มาใช้ บางทีอาจจะมีวิทยากรมาสอน แต่ไม่เป็นระบบ ระเบียบเหมือนกับหลักสูตร เราอยากจะเรียนอะไรเข้าไปเลือกอย่างเดียว ในตัวศูนย์การเรียนรู้จะเป็นสิ่งที่เราตั้งขึ้นมา เราสนใจศูนย์นี้ก็วิ่งเข้าไปโรงเรียนนี้ เราอยากไปดูว่าเขาทาธนาคารขยะอย่างไร เราก็ไปช็อปปิ้งว่าเขามีกิจกรรมอะไรบ้าง แต่มันไม่ มี ห ลั ก สู ต ร เพราะฉะนั้ น ตั ว หลั ก สู ต รก่ อ นจะท าเรามี ก ารเรี ย นรู้ ม าว่ า ตั ว หลั ก สู ต รต้ อ งมี เครื่องต้น ตั้งแต่ตัวหลักการและเหตุ ผล หาเรื่องของความสาคัญ และปัญ หา หาว่าตัวที่เรา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๑

จะทามันมีปัญหาอะไร แล้วดูว่ามันเป็นความต้องการหรือไม่ของตัวเรา ถ้าเราไม่ต้องการหรือ เราต้องการระดับสูงก็หยิบขึ้นมาอ้างอิงใส่ แล้วก็มาดูตัวที่สองคือจุดมุ่งหมาย เรามีจุดมุ่งหมาย ที่จ ะไปถึงนั้ น อย่ างไรแล้วก็มาสร้างวัต ถุป ระสงค์ จุด มุ่ งหมายจะเป็ น จุด หลักๆ ที่ จ ะบรรลุ เป้ าหมาย แล้ วเราก็ม าสร้างวั ต ถุป ระสงค์ เช่ น ท าศูน ย์ เกี่ย วกับ โฮมสเตย์ วัต ถุป ระสงค์ก็ เพื่อที่จะพัฒนาโฮมสเตย์ในโรงเรียนนั่นเอง แต่วัตถุประสงค์จะเป็นข้อย่อยๆ ลงมา เป็นเรื่อง ของเฉพาะด้านว่าโฮมสเตย์จะต้องทาอะไรบ้าง เช่น เราต้องฝึกนักเรียนให้รู้จักการบริหาร จัดการ ฝึกให้นักเรียนรู้จักเรื่องของการใช้ภาษา ก็มีการบูรณาการเกิดขึ้น อันนี้จะเป็นเรื่อง ของเนื้อหาเข้ามา เพราะฉะนั้นศูนย์เป็นเรื่องของกิจกรรมที่เราไปเลือก หลักสูตรนั้นเป็นเรื่อง ของชั่วโมงนี้เราไปทาอะไร ได้จุดมุ่งหมายอะไร บรรลุเป้าหมายหรือไม่ มันต่างกันนิดเดียว ที่ ผมหยิบมาตรงนี้นี่คือศูนย์การเรียนรู้ เรายังทาไม่ถึงหลักสูตรท้องถิ่นเพราะโครงการสิ้นสุดลง ก่อน แต่บางโรงเรียนก็ไปพัฒ นาเป็นหลักสูตรท้องถิ่น มีการสอนแบบบูรณาการจริงจังเลย เพราะฉะนั้นประเด็นนี้จะได้เป็นไอเดียเล็กๆ เกี่ยวกับการทางานของเขา มาดูความหมายของหลักสู ตรท้องถิ่น เราจะหมายถึงเรื่องของประสบการณ์ การ เรียนรู้ที่จัดให้กับกลุ่มผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จัดตามสภาพปัญหาของผู้เรียนในท้องถิ่น นั้นๆ นี่คือความหมายสั้นๆ เพราะฉะนั้นเราต้องมีคีย์เวิร์ดคาว่า “ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ เราอยากจะให้เขา” ตัวต่อไปความสาคัญมันเป็นหลักสูตรลักษณะของบูรณาการ อย่างหลักสูตรโฮมสเตย์ คงไม่ ได้ เกี่ ย วข้ อ งเฉพาะการจั ด การโฮมสเตย์ มั น ต้ อ งไปเกี่ ย วข้ อ งกั บ เรื่อ งคณิ ต ศาสตร์ การคิดเงิน ภาษาอังกฤษ การพูด ในเรื่องของสังคม ในเรื่องของการทายังไงให้เกิดการบริการ ที่ดี มันบูรณาการเนื้อหาพวกนี้เข้ามา โดยที่เด็กไม่ต้องไปนั่งจาว่าโฮมสเตย์มันมีกระบวนการ อะไรเยอะแยะแบบที่เราเรียนกันในสมัยอดีตว่าวิธีการของการทาโฮมสเตย์จะต้องมี หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ...แล้วก็ท่องจาออกไป อันนี้ไม่ พอดีเรียนโฮมสเตย์ไป ใช้ดู งานไป ศึกษาภาษาอังกฤษ คิดเป็นตัวเลขได้เลย อะไรทานองนั้น อันนี้เป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่ เป็นบูรณาการที่ผู้เรียน ชุมชน แล้วก็ครู ผมใช้คาว่า “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมกันสร้าง ขึ้น เน้นให้ผู้เรียนเรียนจากชีวิตจริง และเกิดการเรียนรู้ สามารถนาความรู้ไปใช้ในชีวิตของ ผู้ เรีย นได้ ตั ว ความส าคัญ ของหลั กสู ต รท้ อ งถิ่น มั น เป็ น เนื้ อหาสาระที่ ส อดคล้ องกับ ความ ต้ อ งการของผู้ เรี ย นแน่ น อน เพราะกว่ า เราจะท าได้ เราต้ อ งรู้ ต้ อ งวิ เคราะห์ แ ล้ ว ว่ า มั น สอดคล้องกับของผู้เรียน ของชุมชน ของครูด้วย ไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ ง แต่นักเรียนต้อง สนใจ สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็อย่าทา ถ้าได้ลองดูว่าสิ่งไหน


๑๒

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

เป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุด ที่เราอยากให้ แล้วผู้เรียนก็จะเกิดความอยากแสวงหาการเรียนรู้แบบ ไม่ต้องมานั่งเปิดตาราอย่างเดียว อาจจะเข้าไปเลือกตามศูนย์นู้นศูนย์นี้ที่เป็นจิ๊กซอว์มาต่อกัน แล้วก็ได้เป็นตัวหลักสูตร และที่สาคัญถ้าเราค้นหาไปเยอะๆ เราจะพบว่าชุมชนและภูมิปัญญา สามารถจะช่วยเราได้ เพราะในชุมชนจะมีที่เขาเรียกว่าปราชญ์ชาวบ้าน ตัวอย่างนี้ผมเห็น อย่างเช่นการแกล้งดิน ต่อให้เราเปิดตาราไปเถอะ สู้ชุมชนคิดแป๊บเดียวก็สามารถแก้ปัญหา ของดิ น ที่ เปรี้ยวดิน ที่ เค็ม ได้ เร็วกว่ าเราเยอะแต่ เราเปิ ด ต าราแทบตาย พวกชุ ม ชนเขาจะรู้ เพราะฉะนั้นเขามีปราชญ์ชาวบ้านในการที่จะมาช่ วยเรา เราต้องค้นหาตรงนี้ให้ได้ หลักการ พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นก็คือเราจะทาอย่างไรเพื่อจะสร้างองค์ความรู้และเกิดการเรียนรู้เ พื่อ พั ฒ นาความสามารถในการปฏิ บั ติ จ ริง เรีย นรู้เรื่องการมี ส่ ว นร่วมอยู่ ร่ว มกัน และพั ฒ นา ศักยภาพ เรามาดูกระบวนการสร้างหลักสูตรว่ามีอะไรบ้าง ผมปูพื้นฐานนิดหนึ่งก่อนที่ท่านจะ ลงมือทา เรื่องสารวจปัญหาเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว ถ้าเป็นวิจัยเราเรียกว่าความสาคัญและ ความเป็นมาของปัญหา ต้องสารวจว่าทาไมเราถึงอยากทาเรื่องหลักสูตรท้องถิ่น หรือเรื่องนี้ เรื่องนั้น เราก็สารวจ สารวจแล้วเรามาวิเคราะห์ว่าปัญหาไหนเป็นปัญหาเร่งด่วนที่เราอยากจะ ให้นักเรียนเราได้ เป็นเรื่องด่วนที่นักเรียนเราจะบรรลุเป้าหมาย แล้วค่อยมาเขียนผังหลักสูตร และมาเขียนหลักสูตร ผังหลักสูตรก็จะประกอบไปด้วยหัวข้อหลัก กับหัวข้อย่อย เช่น อันนี้เป็นหลักสูตร อาชีพโฮมสเตย์ หัวข้อเราก็เขียนมาเองว่าอยากให้อะไรมันต้องเกี่ยวข้องกับการบริการที่พัก และสิ่ งอ านวยความสะดวก หั ว ข้อ ย่ อยก็ต้ อ งมี ก ารจั ด การ ลองคิ ด ขึ้น มาว่ า มี หั ว ข้ อย่ อ ย อะไรบ้าง มีเรื่องของคุณภาพหรือไม่ มีเรื่องของการพัฒนาโฮมสเตย์หรือไม่ มีหัวข้อหลักอะไร อีก เรื่องเกี่ยวกับอาหารไหม เกี่ยวกับความปลอดภัย ไหม นี่เราคิดขึ้นมาเอง ยังเขียนเป็นผัง ความคิดของเราอยู่ ยังไม่ได้เขียนเป็นเนื้อหาหลักสูตร การบริการอย่างไรถึงจะประทับใจ และ ก็เป็นเรื่องของการบริการเสริมอย่างไรถึงจะเพิ่มรายได้ให้กับโฮมสเตย์เรา ยังมีอีกอย่างเช่น ภาษาที่ ใช้ มี อีกเยอะแยะอั น นี้ เป็ น ตั วอย่างว่าเราจะใส่ เนื้ อหาอะไร เราบอกอยู่ แล้ว ว่าจะ จัดเป็นหลักสูตร ความสาคัญของหลักสูตรจะต้องมีระบบมากกว่าศูนย์การเรียนรู้แน่นอน องค์ประกอบการเขียนหลักสูตรคือ ชื่อว่าหลักสูตรอะไร ความสาคัญอย่างไร รวมถึง จุ ด มุ่ ง หมายอย่ า งไร จุ ด มุ่ ง หมายกั บ วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลายคน ยั ง งงว่ า มั น ต่ า งกั น อย่ า งไร จุดมุ่งหมายเป็นตัวที่สะท้อนให้เห็นภาพรวมทั่วๆ ไป ที่เราตั้งไว้ อย่างเช่น เราจะทาอาชีพ โฮมสเตย์ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้ชุมชนท้ องถิ่นได้พัฒนาคุณภาพชีวิต ถ้าเรามีอาชีพตรงนี้แล้ว


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๓

คุณภาพชีวิตของท้องถิ่นเราก็อาจจะดีขึ้น เพราะเราจะมีเรื่องของคนที่มาหาเราตลอดเวลา เงินทองก็ไหลมาเทมา หรือเพื่อให้ท้องถิ่นนั้นเกิดความรู้ในการจัดการการท่องเที่ยว ไม่ได้พูด ถึงโฮมสเตย์เลยเป็นเรื่องทั่วๆ ไป แต่ถ้าเป็นวัตถุประสงค์จะเจาะจงรายละเอียดลงไปอีกนิด หนึ่ ง เจาะจงลงไปที่ จุ ด มุ่ งหมายปลายทาง เช่ น วัต ถุป ระสงค์เพื่ อให้ มี ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการโฮมสเตย์ ตัวจุดมุ่งหมายนั้นเป็นเรื่องทั่วๆไปที่ทาให้เราเห็นภาพรวมว่า ทาไมเขาถึงทาโฮมสเตย์ เราต้องการอะไรพัฒนาคุณภาพชีวิตเขา แต่โดยจุดมุ่งหมายของโฮมส เตย์แล้วเพื่ อให้ เราเรีย นรู้ ความรู้ความเข้าใจเกี่ย วกับ การจั ดการโฮมสเตย์ หรือต้ องการให้ นักเรียนนั้นสามารถบูรณาการวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ เพื่อที่จะเอาไปสู่การ ปฏิบัติจริงได้ นี่เป็นวัตถุประสงค์ในการนาไปใช้ในการปฏิบัติในอาชีพโฮมสเตย์ได้ เป็นต้น ตัวต่อไปคือเนื้อหาของหลักสูตร เวลาเรียน และแหล่งการเรียนรู้ ส่วนเนื้อหาของ หลักสูตรบางอันผมขอข้ามเพราะเป็นการเขียนที่ผมเชื่อว่าครูมีประสบการณ์มาก ผมเชื่อว่าทา ได้แน่นอนในเรื่องหลักการเหตุผล ผมคิดว่าน่าจะเขียนได้ เพราะท่านต้องเขียนโครงการเยอะ มาก ถ้า ท่ านจะท าอะไรท่ า นต้ องมี เหตุ ผ ลแน่ น อน ท่ านเขีย นจุ ด มุ่ ง หมายเป็ น แล้ ว เขีย น วัตถุป ระสงค์ เป็ น แล้ ว ตอนนี้ เนื้ อหา เมื่ อกี้เราท าผั งความคิด ใช่ ไหมครับ ผังความคิดก็จ ะ นาไปสู่ความคิดจะนาไปสู่เนื้อหาว่าความคิดที่ได้ตรงกับที่เราต้องการหรือไม่ ถ้ายั งไม่ตรงเรา มาคิดกันใหม่ ชุมชนมาช่วยกันคิดด้วย แล้วนาไปสู่การจัดเนื้อหานั้น เราก็จะมี เนื้อหาของ หลักสูตร มีเวลาเรียน เรื่องแหล่งการเรียนรู้เดี๋ยวว่ากันนะครับ วัดประเมินผล เรามาดูตัวอย่างว่าถ้าเราจะใส่เนื้อหาอาชีพโฮมสเตย์เราจะใส่อะไรบ้าง เราต้องดูว่า โฮมสเตย์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวก็ต้องปูพื้นฐานการท่องเที่ยว สถานการณ์การท่องเที่ยวทั้งใน อดีต ปัจจุบัน และในอนาคตให้กับนักเรียนด้วยว่ามันสาคัญ อย่างไร แล้วดูว่านโยบายการ ท่องเที่ยวของประเทศไทยในปี ๒๕๕๖ เป็นอย่างไร และมาดูพื้นความรู้เกี่ยวกับโฮมสเตย์ โดยเฉพาะ เราอาจจะใส่กิจกรรมการนาเที่ยวของเราก็ได้ว่ามันควรจะมีอะไรบ้าง แล้วใส่เรื่อง ของเทคนิคการบริการ อันนี้ก็เป็นความรู้ หรือเทคนิคการบริการเสริมเพิ่มรายได้ อันนี้ก็อยู่ใน ผังความคิดของเรา ถ้าเกิดมีความจาเป็นต้องมีมีมัคคุเทศก์ด้วย อยากให้เด็กเป็นมัคคุเทศก์ก็ใส่ ความรู้พื้นฐานของมัคคุเทศก์ลงไป เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น เราทาผังความคิดแล้วก็ใส่เนื้อหาเข้า ไป การสร้ า งเครื อ ข่ า ย แล้ ว ก็ เรื่ อ งของอาหารและความปลอดภั ย แล้ ว มาเรื่ อ งของ ภาษาอังกฤษ การปฐมพยาบาล สุดท้ายเราอาจจะบอกว่าอยากให้เด็กมีประสบการณ์ จริงๆ ชั่วโมงสุดท้ายก็ใส่ไปดูงาน มันก็จะเป็ นเวลา ๑๒ เนื้อหาที่เราจัดมาอาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่


๑๔

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

กับชุมชน ไม่จาเป็นต้องเหมือนแบบนี้แต่ต้องมีพื้นฐานขององค์ความรู้นั้นอยู่ อันนี้อาจารย์ พอจะเห็นภาพไหมครับ หลักสูตรต้องมีรายละเอียด มีเนื้อหาแล้ว บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ที่สาคัญ ต้องมีเวลาเรียนด้วย เวลาเรียน ๔๘ ชั่วโมง เฉลี่ยคาบละ ๔ ชั่วโมง แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ อัน ไหนมันเป็นเนื้อหาที่เราคิดว่าเป็นเชิงทฤษฎีก็ใส่ไปน้อยหน่อย อันไหนที่เป็นปฏิบัติก็มากหน่อย อย่างเช่น ภาษาอังกฤษ เราจะพูดภาษาอังกฤษใส่ไปสัก ๗ - ๘ ชั่วโมง ก็แล้วแต่เรา โครงสร้ำงของเนื้อหำ สมมติว่าเรื่องที่หนึ่งเป็นเรื่องของสถานการณ์การท่องเที่ยว อดีต ปัจจุบัน อนาคต เราใส่แค่ ๓ ชั่วโมง พอบรรยาย ๓ ชั่วโมง เด็กก็เบื่อแล้ว ๓ ชั่วโมง นั้นบรรลุเป้าหมายหรือไม่ เรื่องของสถานการณ์การท่องเที่ยวเป็นอย่างไร บทบาทการท่องเที่ยวของไทยจะเพิ่มเติมอะไร แล้วแต่อาจารย์ พอมาเรื่องที่สองเป็นเรื่องของแผนการท่องเที่ยวของไทยในปี ๒๕๕๖ อันนี้ไปสืบค้น ได้เลยว่ามีแผนการอะไรบ้างต้องให้เด็กรู้ก่อน ก่อนที่เราจะไปทาอาชีพนี้เราก็ต้องรู้ถูกไหมครับ และนโยบายการบริการและการท่องเที่ยวเป็นอย่างไร เราบริการเป็นอย่างไรและส่งเสริม นี่ก็ อย่างละสามชั่วโมง ตัวอื่นอาจจะเพิ่มเทคนิคการเป็นผู้บริการหรือ ผู้ประกอบโฮมสเตย์จานวน ๔ ชั่วโมง ถึงจะโอเค ประกอบไปด้วยเทคนิคการบริการ เรื่องของคุณสมบัติของผู้ให้บริการ วิธีการบริการที่เป็นเลิศ ส่ วนเรื่องเนื้ อหาที่ เกี่ย วกับ การประกอบอาหาร เราก็คิด ว่าเป็ น พื้ น ฐานของด้ า น สุขศึกษา เด็กก็พอเข้าใจแล้วเอาไปทบทวนหน่อยก็อาจมีเรื่องของความหมายสารอาหารหลัก ๕ หมู่ และเคล็ดลับในการปรุงอาหาร อาจจะเพิ่ มชั่วโมงเคล็ดลับในการปรุงอาหารมากกว่า เรื่องของสองเนื้อหานั้น สองเนื้อหานี้บรรยายอย่างละชั่วโมงก็จบ แต่เคล็ดลับการปรุง อาหาร อาจจะต้องมีการปฏิบัติเพิ่มเติม เราพูดถึงภาษาอังกฤษสาหรับการท่องเที่ยว ถ้าเราลิงก์ไปกับวิชาภาษาอังกฤษว่า ถ้า เราอยากจะสอนโฮมสเตย์ มีหลักสูตรท้องถิ่นก็ไปบอกอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ การสื่อสาร อย่างแรกที่ จะให้รู้คือการรู้คาศัพท์เกี่ยวกับการทักทายทั่วไป วันวันหนึ่งก็จะทั กทายทั่วไป อย่างเดียวก่อน เพราะเด็กไม่จาเป็นต้องรู้ทุกอย่างหรืออาจารย์ไม่ต้องใส่ภาษาอังกฤษทั้งหมด ใส่ให้เป็นพื้นฐาน เราจะเห็นได้ว่าทาไมคนที่มีอาชีพตามพัทยาเขาพูดภาษาอังกฤษกันเก่งมาก เขารู้ศัพท์แค่นี้แล้วเขาก็ไปขยาย ถ้าไม่ รู้ก็ถาม จนเขาจาได้ก็เอาตรงนั้น มาประยุกต์ใช้ แต่


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๕

เบื้องต้นเขาก็ทักทายธรรมดา ถ้าเราใส่ไปเป็นไวยากรณ์ เด็กก็ลาบาก ที่เราเรียนภาษาอังกฤษ แล้วเราไม่ได้อะไรเพราะเป็นแบบนี้ เราใส่เป็นบทสนทนาเยอะเหลือเกิน ไม่รู้ว่าตัวนี้จะไปใช้ อย่างไร อันนี้เป็นเฉพาะแล้ว เป็นเรื่องของโฮมสเตย์ของการท่องเที่ยวเพราะฉะนั้ นเป็นการ ทักทายเมื่อมีคนมา แล้วเราจะบริการเขาอย่างไร ไม่ต้องออกเสียงให้ถูกต้องแต่สื่อสารให้รู้ เรื่อง เพราะหลักสูตรนี้ ไม่จาเป็นที่จะต้องเป็นภาษาอังกฤษมากหรืออะไรเพื่อให้เด็กใช้ได้ เท่านั้น เรื่องของจานวนนับเป็นภาษาอังกฤษ ทาไมเราต้องศึกษา เพราะว่าเราต้องคิดเงินและ ท่านจะต้องจ่ายเงินเรามาเท่าไหร่ เด็กจะต้อ งรู้ทักษะในการโต้ตอบตรงนี้ด้วย และก็เรื่องของ ศัพ ท์เกี่ย วกับ อาหาร นั่น เป็น เรื่องเฉพาะส่วน เราใส่เนื้อหาเฉพาะเข้าไป ไม่ ต้องใส่เนื้ อหา ภาษาอังกฤษแบบให้ครูภาษาอังกฤษไปออกแบบมันจะเยอะเกินไป เราดี ไซน์ให้เลยว่าเรา อยากรู้อะไรให้ ๖ ชั่วโมง ต้องรู้เรื่องนี้ ต้องท่องให้ได้ ทักทายให้ได้เป็นไดอะล็อกของเขาเลย ส่วนเขาไปใช้ชีวิตประจาวันพบเห็นอะไรมากขึ้นเดี๋ยวเขาก็จะเพิ่มคาศัพท์เขามาเอง ส่วนตัวสุดท้ายเป็นเรื่องของการศึกษาดูงานให้ตั้ง ๗ ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับ ความสาคัญ ตัวนี้สามารถปรับได้ ไม่ต้องกาหนดตายตัวว่าต้องสองชั่วโมง ตัวนี้ต้องหนึ่งชั่วโมง ขึ้นอยู่กับ ความสาคัญว่าตัวไหนจะไปตอบสนองกับวัตถุประสงค์ของเรามากที่สุด อันนี้อาจารย์พอจะ เข้าใจไอเดียเบื้องต้นหรือยังครับ เพราะฉะนั้นเราจะได้โครงสร้างแบบนี้ เมื่อเราได้โครงสร้าง เราเรียกเป็นภาษาทางการว่า ประมวลรายวิชา หรือ Course Syllabus และเราก็ต้องมีการวัดและประเมิน แต่ละหัวข้อต้องได้แหล่งการเรียนรู้ เราก็เขียนไป ว่าแหล่งการเรียนรู้มาจากที่ไหนบ้าง แต่ละข้อไม่เหมือนกัน บางหัวข้อดูวิดีโอก็ได้แหล่งการ เรียนรู้ บางหัวข้อไปศึกษาในสภาพการณ์จริงก็ได้แหล่งการเรียนรู้ ส่วนตัวต่อไปก็เป็นเรื่องของ การวัดและประเมินผลในแต่ละหัวข้อ เราวัดอะไร วัตถุประสงค์เราคืออะไรในหัวข้อนั้น เราก็ วัดตรงนั้น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคืออะไร ก็คือเนื้อหาโครงสร้างหลักสูตร เห็นไหมครับ หลักการเขียนเรื่องของหลักสูตรท้องถิ่นมันไม่ เหมือนกับหลักสูตรที่มา ใช้ในหลักสูตรปริญญาโท ปริญญาเอก ปริญญาตรีพวกนี้จะต้องผ่านมาตรฐานเยอะมาก แต่ หลักสูตรท้องถิ่นคุณสนใจอะไร ใช้ชุมชนของคุณเป็นที่ตั้ง แล้วใช้เด็ก สนใจอะไรก็ลงไปสู่การ ทาชั่วโมงการสอนเพิ่ มเติ มเข้าไปเลย เห็ น ไหมครับ มัน จะต่ างกับ หลักสู ตรที่เป็ น หลักสูต ร เฉพาะทาง ถ้าเป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัย กว่าจะพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาใช้เวลาเป็นปี แต่ หลักสูตรท้องถิ่นใช้เวลาไม่กี่เดือนก็น่าจะเสร็จ พอเห็นภาพสั้นๆ ว่าหลักสูตรท้องถิ่นก็คือสิ่งที่เราสนใจและก็คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็น “บวร” สนใจแล้วมาคุยกัน คุณจะช่วยอะไรเราได้บ้าง ไม่ใช่เราจัดเอง หรือบูรณาการวิชานั้น


๑๖

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

จะช่ ว ยท าอะไรได้ บ้ า ง ไม่ ใช่ ให้ เราท าเองทั้ ง หมด แต่ ถ้ า เป็ น วิ ช าที่ เรารั บ ผิ ด ชอบ วิ ช า สังคมศาสตร์นั่นแหละต้องรู้ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์รวมไปถึงเบื้องลึกเบื้องหลังอันนั้น คือวิชาเฉพาะไม่ใช่หลักสูตรท้องถิ่น หรือภาษาอังกฤษต้องรู้ไวยากรณ์ต่างๆ เต็มไปหมดอันนั้น เขาต้องวางเนื้อหามา แต่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษสาหรับหลักสูตรท้องถิ่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เรา บูรณาการมาหลอมรวมกันเข้า พอเห็นภาพสั้นๆ หรือไม่ครับ ตอนนี้เป็นเรื่องของการช่วยกันคุยว่ามีอะไรที่คิดว่ายัง ไม่ได้คอนเซปต์ตรงนี้บ้าง เมื่อเราปูพื้นฐานตรงนี้แล้วไม่ได้คอนเซปต์ เราจะได้แลกเปลี่ยนซึ่ง กันและกัน ตรงนี้ไม่มีถูกไม่มีผิด เดี๋ยวอาจารย์ ต้องไปฝึกปฏิบัติการ ถ้าหลักการอาจารย์ไม่ชัด อาจารย์ก็จะสงสัย ก็จะทายาก แล้วก็จะเป็นภาระ อย่าปล่อยให้เป็นภาระนะครับ ต้องรีบทา ให้หลักการชัดโดยเร็ว อย่าปล่อยให้เป็นภาระ ถ้าเราเข้าใจแล้วเราจะสนุกไปด้วย ค าถาม: การจั ด ท าหลั กสู ต รท้ องถิ่น จะต้ องจั ด รายวิ ช าแยกออกมาต่ างหากจาก รายวิชาที่สอนหรือไม่ ตอบ: หลักสูตรของอาจารย์อยู่ระดับมัธยมใช่ไหมครับ ถ้าประถมจะมีวิชาที่เลือกไหม (สาระเพิ่ ม เติ ม ) คือหลั กสูต รท้ องถิ่น ได้ แต่ อาจจะได้ สั ป ดาห์ ล ะไม่ เท่ า ไหร่ ต้ องไปบริหาร จั ด การเอาว่ า สั ป ดาห์ ห นึ่ งเราต้ อ งท าทั้ งหมดกี่ ชั่ ว โมง สาระเพิ่ ม ๔๐ ชั่ ว โมง แล้ ว ก็ เขี ย น หลักการและเหตุผลประมาณ ๔ - ๕ หน้า ก็เขียนเป็นหลักสูตรนี้ได้แล้ว ตามหัวข้อเหล่านี้ เริ่มต้นด้วยหลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมาย เราอยากให้เขาได้อะไรในปลายทาง แล้วก็มาวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรากาลังศึกษาอยู่ แล้วก็มาเนื้อหา ต่อมาก็กระจาย เนื้อหา เรามีจานวนกี่ชั่วโมงก็กระจายเนื้อหาเข้าไป บางครั้งเราอยู่ในห้องเรียนมี เวลาเรียน ชั่วโมงสาระเพิ่มแค่ชั่วโมงสุดท้าย แล้วแต่เ ราจัดไว้เลย อันนี้อาจารย์อาจจะใช้วิธีการร่วมมือ กับอาจารย์ในแผนกมัธยมหรือแผนกประถมด้วยกัน เช่น ถ้าเป็นในกรณีที่เราบูรณาการวิชา บางอย่างเราไม่ต้องสอนเอง อย่างเช่น เราจัดเรื่องของโฮมสเตย์ เราสอนเรื่องสังคมศาสตร์ เรื่องของการท่องเที่ ยว เราก็ให้ อาจารย์ วิชาสังคมลองพู ด ถึงเรื่ องนี้ ได้ ส่วนกิจกรรมที่ เป็ น ปฏิ บั ติ ก็ ต้ อ งมาดู อาจจะไม่ จ าเป็ น ที่ ต้ อ งเป็ น เนื้ อ หาที่ เป็ น ทฤษฎี อาจจะมี เนื้ อ หาที่ เป็ น ภาคปฏิบัติ ภาคทฤษฎีต้องไปแจงว่าอยากให้กี่ชั่วโมง ภาคปฏิบัติกี่ชั่วโมง แล้วอาจจะเข้าไป ศึกษาสาหรับ เด็กที เดียวเลย อาจจะ ๖ ชั่วโมง พาเด็กไปที่ไหนหนึ่ งวัน พาไปศึกษาดูงาน อะไรบ้างต้องมีจุดมุ่งหมาย และให้เด็กกลับมาเขียนงานว่าได้องค์ความรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่ เราต้องการนั้น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๗

ส่วนในเรื่องของวิชาความรู้ที่คาบเกี่ยวกันก็ต้องไปรบกวนบูรณาการกับวิชานั้นๆ เช่นภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ เราคงไม่เชี่ยวชาญสอนทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นเวลาจัดหลักสูตร ท้องถิ่น เราต้องอาศัยเพื่อนร่วมงานมาช่วยกันด้วย แล้วต้องมาคุยกับเพื่อนร่วมงานที่อยู่ใน กลุ่มสาระด้วย โยงไปถึงนอกสาระด้วย พอยุ่งดีเนอะ เพราะถ้าจัดคนเดียวจะกลายเป็นวิชาตัว ใหม่ ขึ้ น มา ซึ่ งเป็ น วิ ช าที่ อ าจารย์ ต้ อ งรับ ผิ ด ชอบหมด อาจารย์ จ ะไม่ ส นุ ก อั น นี้ ขึ้ น อยู่ กั บ ผู้บริหารว่าจะให้รับผิดชอบทั้งหมดหรือไม่ ถ้าทาคนเดียวคงทาหลักสูตรท้องถิ่นนี้ไม่ได้ แต่ถ้า เกิด ส่งเพื่ อนมาช่วยรับผิด ชอบด้วย สมมติปั ญ หาเรื่องโฮมสเตย์เป็น ปั ญ หาท้ องถิ่นของเรา เพราะว่าเดี๋ยวนี้จัดโฮมสเตย์กันเต็มไปหมด เพราะฉะนั้นเด็กออกไปก็ ได้ตรงนี้ ภาษาอังกฤษ ต้องเพิ่มความรู้ในการทักทาย สุขศึกษาว่าต้องเพิ่มอะไร การงานต้องสอนปรุงอาหารให้เด็ก เป็นภาคปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างเราต้องทาเองหมด ถ้าเราทาเองหมดจะไม่รอด ถ้าอาจารย์ ปล่อยให้เป็นภาระก็ไม่รอด อาจารย์ต้องไปคุยกับทางโรงเรียนว่าอบรมแล้วมันต้องบูรณาการ เพราะเดี๋ยวนี้ทางสพฐ. หรืออะไรก็แล้วแต่เน้นบูรณาการวิชาความรู้มากกว่าเรียนเป็นส่วนๆ ตั ว นี้ เป็ น ตั ว ที่ ส าคั ญ มากที่ สุ ด ส าคั ญ กว่ า วิ ช าสั ง คมศาสตร์ หรื อ วิ ช าด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ เพราะว่าวิชาเหล่านี้จะมีพื้นฐานว่าเรารู้ประวัติศาสตร์ตั้งแต่เล็กจนโต เราก็จดจาและซาบซึ้ง รู้ ว่าเราเคยเป็นอะไร เรียนให้เกิดความรักชาติ แต่วิชาพวกนี้เอาไปใช้ในชีวิตประจาวันไม่ได้ ไม่ใช่วิชาพวกนั้นสาคัญหมดเลย วิชาบูรณาการเราเอาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ และอีกหน่อย น่าจะเป็นแบบนี้มากกว่า หลักสูตรท้องถิ่นเป็นเหมือนหลักสูตรที่เราจัดเป็นสาระหนึ่ งขึ้นมา เพียงแต่เราต้อง จัดออกมาแล้วเราไปขอความร่วมมือ เริ่มยากแล้วใช่ไหมครับ ผมพูดยากไปหรือเปล่า ทายาก เหรอ นี่คือครูในอดีต เพราะงั้นทุกคนต้องมาอบรมถึงจะเปลี่ยนความคิดใหม่ ครูในอดีต จบ อะไรมาก็จะสอนแต่เรื่องนั้นโดยไม่คิดถึงบูรณาการ แต่เราทาหลักสูตรท้องถิ่นผู้ บริหารจะต้อง เห็นความสาคัญ ต้องจบที่ผู้บริหารมีความสาคัญ แต่เราไม่ได้คิดคนเดียว ถ้าคิดคนเดียวก็จบ เหมือนกัน เพราะต้องไปเพิ่มภาระให้กับครูคนอื่น ถ้าทุกคนไปคิดร่วมกันมันไม่เป็นภาระ มัน เป็นผลงานร่วม เราจะต้องไม่คิดคนเดียว หลักสูตรนี้ไม่ได้เกิดจากคนคนเดียวคิดและไม่ใช่เป็น เจ้าของวิชาด้วย ถ้าอาจารย์คิดจะเป็นเจ้าของวิชาหลักสูตรนี้ อาจารย์คิดผิด มันต้องคุยกัน แต่ เราเหมือนเป็นตัวสร้างตุ๊กตาให้เขา ร่างให้เขา แล้วไปประชุม แล้วเขาก็อยากจะปรับเนื้อหาให้ เหมาะสมก็แล้วแต่เขา แต่เพิ่มให้ได้แล้วกัน เราเป็นผู้บริหารจัดการ เราไม่ ได้เป็นเจ้าของ เรา สร้างตุ๊กตาแล้ วให้เขาไปดู ถ้าเกิดคิด คนเดีย วทางานได้ แต่จ ะเหนื่ อย อาจารย์ก็ต้องสร้าง ทีมงานขึ้นมา คิดได้ไหมก็ได้ แต่จะเหนื่อยเพราะว่านอกจะสอนวิชาของตัวเองแล้ว ยังต้อง


๑๘

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

สอนหลักสูตรท้องถิ่นนี้ด้วย เพราะเท่าที่ดูมันไม่ใช่วิชาเดียวมาประกบกันแล้ว เกิด นอกจากนี้ ยังต้องเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยด้วย ถ้าแค่นี้ไม่ได้เพราะเราต้องดึงภูมิปัญญามา เราก็ต้อง ดีไซน์ให้เป็นคาบด้วยเวลาให้เขามาบรรยาย มาปฏิบัติด้วย แต่หลักสูตรนี้ต้องอาศัยภูมิปัญญา ท้องถิ่น ชุมชน แล้วก็ตัว “บวร” มาช่วยกัน ผมเคยเป็นประธานเครือข่ายของโรงเรียนลูกที่หนึ่ง เคยบอกเขาว่าเห็นปัญหาเด็กที่ เกี่ยวกับภาษาอังกฤษไม่ดี แล้วโรงเรียนเอกชนจาเป็นต้องเน้นเรื่องภาษาอังกฤษเพื่อจุดขาย เพราะฉะนั้ นภูมิปัญ ญา คุณ ไม่ต้องไปหาครูสอนภาษาอังกฤษ เราจะเอาผู้ปกครองมาช่วย ผู้ปกครองจบทางด้านต่างๆ เอามาช่วยเด็กในชั่วโมงนั้ น นี่ผมกาลังเริ่มหลักสูตรท้องถิ่นโดยไม่ ต้องอาศัยครูภาษาอังกฤษด้วย แต่อาศัยภูมิปัญญา เพราะภาษาอังกฤษทุกคนเห็นว่าสาคัญ ภูมิปัญญาก็คือผู้ปกครองจะเข้ามา พอพูดแค่นั้นผู้บริหารบอกว่าไม่ได้ อย่ามายุ่ง จบ หลักสูตร นี้ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นผู้บริหารสาคัญนะ ต้องให้เขาเห็นด้วย นโยบายผู้บริหารก็ขึ้นอยู่กับ นโยบายของเบื้องบนด้วยว่าเขามีนโยบายให้เราทาหลักสูตรท้องถิ่นขนาดไหน ถ้าให้ทาด้วย เต็มที่ อาจารย์ลุยไปเลย ถ้าเป็นไปได้การเอาไปบูรณาการรวมกับรายวิชาหลักอย่างนี้น่าจะเกิดประโยชน์ เช่น ครูภาษาอังกฤษแทนที่จะสอนตามประมวลรายวิชาของเขา เขาอาจจะเอาสิ่งนี้เพิ่มเข้าไป เพื่อ จะได้ไม่ต้องสอนเพิ่มเกี่ยวกับสิ่งนี้แล้วก็ได้ หรือเราอาจจะมาเทสต์เด็กว่าเด็กได้หรือยัง ถ้ายังก็ อาจจะเพิ่มเข้าไปอีกก็ได้ การบริหารจัดการหลักสูตรจะต้องขึ้นอยู่กับโรงเรียน สุดท้ายแล้วเราจะต้องมีการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ อาจารย์ต้องไปวัดผลประเมินการเรียนรู้ ถ้าเขาได้ แสดงว่าเราไม่จาเป็น ที่จะสอนในชั่วโมงก็ได้ ไปเลือกเรียนเพิ่มได้ ถ้าเขาไปค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ตมา สอบกับเรา แล้วสอบผ่านก็ถือว่าได้ เช่น เขาเรียนภาษาอังกฤษในอินเตอร์เน็ตแล้วมาคุยกับ เราเป็ น ภาษาอั งกฤษ คุยกับ เราได้ เขาก็ผ่ าน ขึ้น อยู่กับ การบริหารจัด การ ไม่ ใช่วิ ชานี้ ต้ อง บรรยายสามชั่วโมง คือต้องมีแหล่งการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่ง บอกไว้เลยว่าชั่วโมงนี้ไปเอาได้ที่ ไหนบ้ าง ที นี้ก็จะง่ายขึ้นแล้วนะ เพราะงั้นอาจารย์ต้องช่วยด้วย หลักสูตรท้องถิ่นนั้น เรามี วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ส่วนจะไปอ้างอิงกับอะไรขึ้นอยู่กับการบูรณาการ ตัวอย่างการบูรณาการ เช่น ที่นครปฐมเรามีจุดเด่นเรื่องของส้มโอ ถ้าเราจะบูรณา การตรงนี้ต้องให้เนื้อหาสาระอื่นๆ เพิ่มคาว่า “ส้มโอ” เข้าไป เวลาสอนวิทยาศาสตร์มองไปถึง ส้มโออย่างไร ขึ้นอยู่กับอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์บูรณาการอย่างไร สุดแล้วเราตั้งเป็นเนื้อหา ขึ้นมาแล้วไปวัดเขา ถ้าเด็กเกิดการเรียนรู้เรื่องนี้ก็แสดงว่าหลักสูตรนี้ผ่าน ถ้าวัดแล้วเด็กไม่ เกิด


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๙

การเรียนรู้นี้ก็ต้องมาสอนเพิ่มเติมในเนื้อหาที่เด็กติดขัด เพราะมันมีเรื่องของการเรียนรู้และ ส่วนอื่นๆ ประกอบกันอยู่ ไม่จาเป็นที่จะต้องเอาวิชาใหม่ เอาวิชาที่อยู่ในชุมชนของเรา ไปบูรณาการเป็นสาระ ต่างๆ แล้วไม่ต้องสอนเพิ่มเติมด้วย ถ้าสอนเพิ่มเติมอาจจะเป็นกิจกรรมให้เด็ก เป็นศูนย์อย่างที่ บอก ให้เด็กเข้าไปศึกษา แต่วิชาอื่นๆ นั้นเอาไปบูรณาการได้ เราไม่ใช่ผู้บริหาร แต่ เราเป็นคน จัดการ แล้วให้คนอื่นรับรู้ด้วย อย่างภาษาอังกฤษสอนเรื่องนี้ จะสอนอย่างไรก็แล้วแต่ คุณ ต้องได้เรื่องนี้เพราะเดี๋ยววัดแล้วเด็กไม่ได้ คุณก็ต้องมาสอนเพิ่มเติมอีก อะไรทานองนั้น เรา ต้องเป็นเจ้าภาพ ต้องคุยกันในทุกสาระแล้วมันจะเกิดเจ้าภาพในแต่ละเนื้อหา วิช าพวกนี้ไม่ใช่ เป็นภาระของคนคนเดียว ถ้าอาจารย์มองเห็นประโยชน์ของชุมชน ประโยชน์ที่อ้างอิงไว้แล้ว อย่างนี้ เพราะยังไงก็หนีไม่พ้นส้มโอแน่ นครปฐม อาจารย์เห็นประโยชน์แล้วเอาไปใช้ถือว่า เยี่ยมแล้วครับ แล้วไปใช้ได้ถือว่าใช้ได้ ถ้าเรื่องผลงานในระดับมหาวิทยาลัยสามารถเอาไปเป็น ผลงานได้เลย คาถาม: การทาหลักสูตรท้องถิ่นจาเป็นต้องมีเกณฑ์ในการชี้วัดเรื่องการประเมินผล เพื่อนาไปอ้างอิงกับการทาผลงานของอาจารย์หรือไม่ คาตอบ: เรื่องผลงานเอาไปใช้ได้นะ ถ้าในระดับมหาวิทยาลัยเราไปช่วยอะไรเอาไป เขียนเป็ น ผลงานได้เลยนะ แต่ระดั บ ประถมมั ธยมผมไม่ แน่ ใจ อาจารย์หมอถ้าเกิด มีอะไร แนะนาได้เลยนะครับ นายแพทย์วัฒนา: อาจจะลองขอคาแนะนาจากอาจารย์จริยา อาจารย์เชี่ยวชาญการ นาเสนอผลงานวิชาการ อาจารย์ จ ริย า: สวั ส ดี เพื่ อ นครูทุ ก คนนะคะ มองไปมองมาเจอพุ ท ธมณฑลอยู่ ที่ โรงเรียนพระตาหนักกับโรงเรียนกาญจนา มีใครอีก ไหมคะที่อยู่พุทธมณฑล...เดี๋ยวขอทวน คาถามเมื่อครู่อีกครั้งนะคะ คาถาม: กรณีของอาจารย์หลายๆ ท่านที่เข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบนาใน เรื่องของหลักสูตรท้องถิ่น เอาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปบูรณาการกับวิชาของตนเอง อย่างนี้ อาจารย์ต่างๆ เอาเนื้อหาเหล่านี้ไปทาตัวผลงาน สามารถเอาไปใช้เป็ นเกณฑ์ในการวัดค่า น้าหนักประเมินผลงานได้หรือไม่ อาจารย์จริยา: มีสองคาถามนะคะ คาถามที่หนึ่งบอกว่าคุณครูแต่ละท่านสามารถที่ จะนาสาระของตัวเองบูรณาการเข้าไปจัดการเรียนการสอนได้หรือไม่ บอกได้เลยว่า การทา หลักสูตรปัจจุบันเรียกว่าหลักสูตรสาระท้องถิ่นเป็นคาใหม่ ของสพฐ. เลยนะคะ หลักสูตรนี้


๒๐

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

เวลาจะจัดทาต้องรู้ทั้งระบบ ทางโรงเรียนต้องรู้ นักวิชาการต้องรู้ ผู้บริหารต้องรู้ อาจารย์ทุก คนต้องทราบว่าโรงเรียนเราจัดทาหลักสูตรอะไร ไม่ใช่ว่าทาคนเดียว ถามว่าการบูรณาการทา ได้แน่นอนโดยเฉพาะโรงเรียนที่มีหลายๆ ห้อง บูรณาการหลายๆ ห้องแล้วก็สอน โดยเฉพาะ มัธยม ทุกวิชาสาระสามารถบูรณาการได้ในหลักสูตรตัวเดียวกัน สมมติว่าเราจะจัดหลักสูตร ขึ้นมาเรื่องหนึ่งเรื่องคลองมหาสวัสดิ์ อาจารย์ก็ตั้งตัวเรื่องของคลองมหาสวัสดิ์ ในคลองมหา สวัสดิ์มีทุกสิ่งทุกอย่างมีทุกสาระ เพราะฉะนั้นแต่ละคนที่รับผิดชอบในวิชาตัวเองต้องมาคุยกัน โดยหาเจ้าภาพซึ่งจะเป็นวิชาที่เป็นหลัก โดยเฉพาะวิชาสังคมศึกษา ในสาระท้องถิ่นส่วนใหญ่ จะเป็นสังคม บางคนอาจเอาวิชาพื้นฐานอาชีพเป็นหลักเพราะส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับอาชีพเยอะ แล้วแตกไปที่วิชาอื่นในการเรียนหนึ่งครั้ง ถามว่าแต่ละวิชาได้อะไร ก็ต้องดู ว่าเรียนเรื่องอะไร สมมติว่าพี่เรียนวิชาสังคมเรียนเรื่องประวัติคลองมหาสวัสดิ์ ถ้าน้องเป็นภาษาไทยจะเรียนเรื่อง อะไร ภาษาไทยเน้นการฟังพูดอ่านเขียนใช่ไหมได้ไหม เช่น เขียนเรียงความ วิทยาศาสตร์ต้อง สารวจดูสถานที่ต้องสัมผัสกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ก็ต้องจั บในกระบวนการ เรียนของวิทยาศาสตร์ว่าเราจะใช้กระบวนการอะไร กระบวนการสังเกต กระบวนการสืบค้น ข้อมูล คือสามารถเข้าไปจับได้ ถามว่าภาษาอังกฤษได้หรือไม่ เช่น พูดคาศัพท์คลองมหาสวัสดิ์ เป็ น ภาษาอั งกฤษ สถานที่ เป็ น ภาษาอั งกฤษ ถ้า เป็ น การงานยิ่ งง่ายใหญ่ เพราะส่ วนใหญ่ หลักสูตรท้องถิ่นจะเกี่ยวกับการดารงชีวิตมักจะประกอบด้วยอาชีพ ซึ่งมันจะจับได้หมด ถ้า อาจารย์สงสัยถามได้ในวันที่สาม เพราะอาจารย์จะต้องทา และอาจารย์สามารถจะถามได้ จริงๆ เพราะว่าจากประสบการณ์ ทาจริง จะเล่าประสบการณ์ ที่เคยทามา อาจารย์ต้องไป ประยุกต์ใช้เอง สาระท้องถิ่น บอกเลยว่าตอนนี้ ถ้าอาจารย์จะนาเสนอเป็นผลงานขั้นได้หรือ เปล่า ตามที่ ถามข้อสอง จริงๆ มั น ไม่ ใช่ แค่ขั้น ถ้าเป็ น ระดั บ ตั้ งแต่ คศ. ๑ ถึง คศ. ๓ อยู่ ที่ ผู้บริหาร ถ้าอาจารย์ทาแล้วผู้บริหารไม่เห็นก็ไม่ได้ แต่ก็สามารถนาเสนอผลงานได้ ระยะหลังถ้าจะพูดจริงๆ คนที่จุดประกายในจังหวัดนครปฐม ก็น่าจะเป็น พี่เป็นคน แรกๆ เลยที่ เริ่ม น าหลั กสู ต รท้ อ งถิ่ น มาใช้ เราเป็ น คนที่ อยู่ โรงเรีย นเล็ ก ๆ แต่ โชคดี ที่ ท าง ศึ กษานิ เทศก์ม องเห็ น ว่า เราท างานในท้ องถิ่น เข้า ไปคลุ กคลี กับ ชุ ม ชน เพราะฉะนั้ น เป็ น โรงเรียนเล็กก็จริง แต่ได้ไปศึกษา ได้ไปเข้ารับการอบรมพัฒนาให้มาเป็น วิทยากรหลักในการ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือหลักสูตรสาระท้องถิ่น แล้วก็เอาไปถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียนปฏิรูป เพราะคาว่าปฏิรูปก็คือการเปลี่ยนวิธีการ ตอนนั้นเป็นโรงเรียนเล็กซึ่งไม่ได้อยู่ในเป้าหมายของ เขตพื้นที่หรือระดับเบื้องบน เป้าหมายของเขามักจะเป็นลักษณะโรงเรียนใหญ่ ๆ ที่มีความ พร้ อ ม ผู้ บ ริ ห ารพร้ อ ม บุ ค ลากรพร้ อ ม โรงเรี ย นเล็ ก ๆ เขาแทบไม่ อ ยากจะมองเลย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๑

เพราะฉะนั้นตัวเองไปรับมาแล้วก็กลับมาทา กลับมาเดิน เราก็เดินได้ ส่วนโรงเรียนที่นาเรา เป็นวิทยากรพาเขาเดิน ครั้งที่หนึ่งเขาไปก็เปลี่ยน พอไปครั้งที่สอง คนแรกถ่ายทอดไม่ได้ก็ เปลี่ ยนคนอีก ตามโรงเรีย นเปลี่ยนคนเข้าไปรับ การพั ฒ นาคือก็ล้ มเหลว ปฏิรูป ในช่ วงนั้ น ล้มเหลว แต่ถามว่าคนที่ทาให้หลักสูตรสาระท้องถิ่นมาใช้ได้จริงก็คือพวกเรา คนที่ทางานและ ตั้งใจนาเรื่องของท้องถิ่นมาสู่การสอนเท่านั้นที่จะทาให้หลักสูตรนี้ประสบความสาเร็จ ไม่ใช่ ใครเลย แต่คือพวกเราทุกคน ก็น่าจะตอบได้สองคาถามแล้วนะว่าไม่ใช่แค่ขอขั้น ขอเลื่อนวิทย ฐานะได้ตั้งแต่ระดับชานาญการพิเศษจนถึงเชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษเลยนะคะ คงตอบ แค่นี้ก่อนนะคะ ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์ประเสริฐชัย: ขอบคุณมากครับ เพราะฉะนั้นเราเห็นประโยชน์ค่อนข้างมาก สาหรับตัวผู้ทาเองและกลุ่มผู้ทาด้วย สองคือเดี๋ยวนี้เราเรียนรู้โดยไม่ใช่เรียนรู้จากการบรรยาย อย่างเดียว ในชั่วโมงสอนในแต่ละวิชาจาเป็นต้องสอนเพราะมันเป็นวิชาพื้นฐาน แต่เราต้องฝึก ให้เด็กได้ไปปฏิบัติจริงได้ด้วย เพราะฉะนั้นหลักสูตรท้องถิ่นก็จะไปแทรกอยู่ในรายวิชา พอไป แทรกแล้วถ้าใครสามารถเห็นเป็นประโยชน์มากกว่านั้นก็เขียนผลงานได้ เพราะท่านสามารถ เลื่อนวิทยฐานะได้ด้วย เพราะเราต้องมีผลงานว่าเราทาอะไร เราก็เขียนมา แล้วเอาผลงานนั้น ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจได้ ไม่แค่ขั้นนะ มันสูงกว่านั้น วันนี้เรามาทาหลักสูตรท้องถิ่นไม่ได้แค่ พัฒนาตัวเด็กอย่างเดียว พัฒนาตัวเราด้วย โดยเฉพาะทาให้เราสามารถที่จะโยงวิชาความรู้ไป ใช้กับกลุ่มสาระอื่นๆ ได้จนกระทั่งเอาไปใช้เลื่อนวิทยฐานะได้ด้วย คาถาม: โรงเรียนที่มีหลักสูตรเวิลด์คลาสแสตนดาร์ด เป็นลักษณะว่าต้องมีวิชา IS1 IS2 และ IS3 วิชา IS1 เป็นวิชาค้นคว้าอิสระของนักเรียน IS2 เป็นการนาเสนอความเรียง และ IS3 เป็นการนาเสนอสู่สาธารณะจิตสาธารณะ ตัวเองสอนวิชา IS1 กับ IS3 ที่โรงเรียนเป็น โรงเรียนที่นากระบวนการวิจัยเข้ามาใช้กับเด็กนักเรียน พอเราสอนวิชา IS1ก็จะให้เด็กสารวจ ปัญ หาค้นคว้า เด็กจะจัดกัน เป็ นกลุ่มแล้วสารวจค้นคว้ า ลักษณะคล้ายกับเรานาหลักสูต ร ท้องถิ่นมาใช้ แล้วเด็กก็จะไปเขียนตามการเขียนหลักสูตรมานาเสนอ พอนาเสนอก็ไปศึกษาไป เขีย นเป็ น รูป ของงานวิ จัย เมื่ อถึงเวลาที่ โรงเรีย นจะมี วิธีเรียกว่ าเวที งานวิจั ย เด็ กก็จ ะเอา หลักสูตรพวกนี้มานาประกวดกัน ซึ่งเด็กเอาไปใช้จริงไปทาประโยชน์จริงและไปสารวจ จนพบ กระบวนการวิจัย พอสิ้นปีการศึกษาก็จะมีเวทีประกวดผลงานจะไปประกวดกันว่าในเขตภาค กลางกับภาคตะวันออกมีผลงานอะไรที่จะไปแข่งขันกันอีกรอบ เด็กนักเรียนที่โรงเรียนก็ทา ลักษณะเหมื อนเป็ น หลั กสู ต รท้ องถิ่น แล้ว ต่อยอดไปจนเขียนกระบวนการวิจั ยส าเร็จ และ


๒๒

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

นาไปใช้จริง ส่งเข้าประกวดซึ่งทากันมาปีนี้เป็นปีที่สี่แล้ว เราจด MOU กับมหาวิทยาลัยมหิดล ไว้ด้วย ผลงานเลยออกมาเป็นที่ยอมรับค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ อาจารย์ประเสริฐชัย: เป็นการใช้ความรู้ เห็นไหมครับว่าประโยชน์ที่ได้ได้มากกว่าที่ เราคิ ด ถ้ า เราท าเป็ น กระบวนการ เราจะได้ ลั ก ษณะ นี้ เด็ ก ก็ จ ะเกิ ด การเรี ย นรู้ โ ดยใช้ กระบวนการวิจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง จนถึงกับนาเสนอผลต่อสาธารณะ และเดี๋ยวนี้ประเทศเรา เน้นเรื่องของการแข่งขันในระดับเวิลด์คลาสแบบนี้ด้วย ที่ล่าสุดที่เมืองทองธานีที่เอาแต่ละ ชุมชนมาแข่งขันกัน เด็กก็อาจจะเสียใจที่บางผลงานไปไม่ถึง แต่ บางอันก็สุดยอดเลย นี่ก็เป็น การสร้างสรรค์ให้เด็กมีความรู้ คิดสร้างสรรค์ด้วย แต่อันนี้เนื่องมาจากที่ว่าเราไปจุดประกาย เรื่องหลักสูตรท้องถิ่นแล้วก็นาไปสู่ให้เด็กค้นคว้าเองจนได้ไปนาเสนอต่อสาธารณะ ต้องบอกว่า หลักสูตรท้องถิ่นมันไม่มีข้อจากัดแน่นอนขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายว่าต้องการอะไร แต่อย่างน้อยที่ ได้คือถ้ารวบรวมบูรณาการวิชาสาระต่างๆเข้าด้วยกันแล้ว ท่านจะไม่ได้สอนอย่างโดดเดี่ยว และโดดเด่น ท่านเริ่มจะไปแนวทางกว้างได้ ท่านเรียนทางคณิตศาสตร์มาสูงที่สุดจบแค่นั้น แต่ ท่านไปนับค่าไม่ได้ หลักสูตรท้องถิ่นนี้ก็จะนาท่านไปหาเพื่ อนข้างๆ ใกล้เคียงได้ ไปนาเสนอ ผลงานใกล้เคียง เพราะเป็นนักคณิตศาสตร์ระดับประเทศหาวิทยฐานะค่อนข้างยากเพราะต้อง เก่ง ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ เพราะฉะนั้นไปสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่เป็นวิธีการคิดแบบนี้ ดีกว่าหรือไม่ ตรงนี้คือประโยชน์ของมัน ความสาคัญคือเราจะเอามันไปบูรณาการอย่างไร ถ้า ถามก็ เป็ น นโยบายระดั บ สพฐ. ซึ่ ง โรงเรี ย นทุ ก โรงเรี ย นจะต้ อ งมี วิ ช านี้ เกิ ด ขึ้ น แต่ ก าร ประยุกต์ใช้มันขึ้นอยู่กับทุกคน คงไม่มีใครบอกว่าวิชานี้เป็นวิชาของฉัน ถ้าเป็นแบบนั้นก็จบ เป็นภาระ แต่ถ้าช่วยกัน วิชานี้สร้างด้วยกันไปด้วยกัน จุดมุ่งหมายก็คือให้เด็กได้เรียนรู้ต่อยอด ไปถึงเรื่องของการประกวดด้วย เด็กก็จะมีการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด อันนี้ก็ได้แนวคิด ผมคิดว่าของผมน่าจะได้สรุปแนวคิดพื้นฐาน พยายามให้มันตรงกับ แนวคิดที่มันเป็นไปได้ แล้วก็ดูแล้วว่า หลักสูตรท้องถิ่นก็คือหลักสูตรบูรณาการทั่วๆ ไป ไม่ใช่ เป็นเรื่องใหม่ เราพูดกันบ่อยว่าบูรณาการกันอย่างไร เขาเลยสร้างตัวหลักสูตรท้องถิ่นออกมา เพื่อให้ท่านบอกว่ามันยากเกินความคิด แต่ตรงนี้เริ่มง่ายขึ้น สาหรับช่วงนี้น่าจะพอเท่านี้ก่อน ครับ ขอบคุณครับ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๓

ภูมิหลังของประวัติศำสตร์ท้องถิ่นอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อกำรจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม๓ ตอนทางานมีคนถามว่าอยากกลับบ้านเกิดไหม ผมก็ตอบทันทีว่าอยากครับ ผมคิดว่า เรากลับมาทางานบ้านเกิด อย่างน้อยเวลาที่เหลือเราก็ ยังทาความรู้จักกับคนอื่นได้เยอะ เมื่อ ยามเกษียณแล้วจะได้ไม่เหงาก็จะมีงานทา ตอนนี้อีกสี่เดือนกว่าจะเกษียณแล้ว

ภาพนี้เป็นเหตุการณ์ในวันแรกที่มารับงานในตาแหน่งผู้อานวยการโรงพยาบาลพุทธมณฑล เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๓๙ ตอนนั้นทางเข้าโรงพยาบาลยังเป็นถนนดินอยู่ แยกจาก ถนนศาลายา นครชัยศรีที่ตอนนี้กาลังทาเป็นคันกั้นน้าอยู่ประมาณ ๗๐๐ เมตร รถที่เข้ามาส่ง เป็นรถบัสที่เข้ามาไม่ได้เลยจอดปากทางแล้วก็เดินกันเข้ามา บางคนก็หลงไปบ้างเพราะไม่รู้จัก ที่ตรงนี้ นี่ก็เป็นภาพแรกนะครับ คิดว่าการมาทางานในบ้านเกิดดีอย่างคือเราก็มีญาติพี่น้องอยู่ ได้รู้จักกับคนที่จะเข้ามาช่วยก็คือทางวัดสุวรรณาราม

ประธานสภาวัฒนธรรมอาเภอพุทธมณฑล และผู้อานวยการโรงพยาบาลพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม


๒๔

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ตอนนั้นมีพระครูสังฆรักษ์จรูญเป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อดี สุวรรณโณ มีอีกท่าน ก็คือคุณพ่อผมที่อยู่ด้านหลังซึ่งเป็นไวยาวัจกรของวัดสุวรรณาราม ตอนนั้นที่ย้ายมาพ่อก็อายุ ๘๒ ปี แล้ว แต่สุขภาพตอนนั้นยังแข็งแรงดีอยู่ รู้สึกว่าตอนที่มาอยู่นี่ได้ทางวัดสุวรรณมาช่วย เยอะ ในเจ็ ด วัน แรกถนนทางเข้าโรงพยาบาลซึ่ งมื ด อยู่ก็ ติ ด ไฟเข้าเรีย บร้อย อุ ป กรณ์ ท าง การแพทย์ที่ขาดก็ได้รับการสนับสนุน แอร์ที่ไม่มีก็ไปติดมาก่อนจากไทยวัฒนาที่นครปฐมแล้ว ไปเก็บเงินกับวัด เรารู้สึกว่าทางานสนุก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าปี ๒๕๔๐ พระครูสังฆรักษ์จรูญ ก็ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่อเมริกา ท่านมรณภาพก็เป็นจุดสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เฉพาะ วัดสุวรรณ รวมทั้งโรงพยาบาลพุทธมณฑล โรงเรียนวัดสุวรรณ และโรงเรียนในพื้นที่อื่นๆ ด้วย เพราะว่าพระครูสังฆรักษ์จรูญ ท่านเป็นพระนักพัฒนา ในช่วงนั้นวัดสุวรรณเจริญถึงจุดสูงสุด แล้ว สิ่งก็สร้างต่างๆสร้างหมดแล้ว เพราะฉะนั้นเงินวัดจะเหลือมาช่วยสาธารณประโยชน์ จานวนมาก ในการทาหนังสือ อนุสรณ์งานศพของพระครูสังฆรักษ์จรูญ ผมได้รับมอบหมายให้ เขียนเนื้อหาที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ทาไปสองเรื่องคือประวัติของหลวงพ่อดีสุวรรณโณ และอีกเรื่องคือประวัติของวัดสุวรรณ สาหรับประวัติของหลวงพ่อดีส่วนใหญ่ก็จะได้คาเล่าจากพ่อผมซึ่งรู้จักกับท่านมานาน ในฐานะเป็นไวยาวัจกร อีกส่วนหนึ่งคือหลักฐานที่ปรากฏในเจดีย์ซึ่งพระครูสังฆรักษ์จรูญสร้าง ไว้เป็นอนุสรณ์หลวงพ่อดี จะมีตราตั้ง ใบแต่งตั้งอะไรต่างๆ จะได้ข้อมูลจากส่วนนั้นมาเป็นส่วน ใหญ่และอย่างอื่นจากคาบอกเล่ามาประกอบ อีกส่วนจะถามจากญาติของท่านซึ่งส่วนมากเป็น เรื่องที่เก่า เช่นความเป็นมา ท่านคือใครอะไรอย่างนั้น แต่เรื่องที่ท่านทาไว้ที่วัดสุวรรณส่วน ใหญ่พ่อผมจะเป็นคนรู้แล้วก็เล่า


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๕

อีกส่วนหนึ่งประวัติวัดสุวรรณก็เป็นส่วนที่ได้มาจากกระดาษใบหนึ่งของหลวงพ่อดี ที่ เขียนไว้เกี่ยวกับลาดับเจ้าอาวาสวัดสุวรรณตั้งแต่เริ่มต้นวัดมามีเจ้าอาวาสกี่รูป แต่ละรูปเป็น เจ้าอาวาสอยู่กี่ปี ได้ข้อมูลเหล่านั้นเป็นหลัก อีกส่วนหนึ่งมาจากคาบอกเล่าของพ่อผมซึ่งย้าย มาวัดสุวรรณและได้ร่วมมาเป็นกรรมการวัดมายาวนานตั้งแต่ท่านอายุ ๒๐ กว่าจนกระทั่งถึง ตอนนั้นอายุประมาณ ๘๒ – ๘๓ ปี ส่วนใหญ่จะได้ในเนื้อหา สาหรับการบรรยายวัด ก็อาศัย ช่างสิบหมู่ที่ถนนพุทธมณฑลสาย ๕ เชิญเขามาอธิบายลักษณะของพระอุโบสถ ลักษณะของ ศาลาการเปรี ย ญ เขาบรรยายแล้ ว เราก็ จ ดๆๆๆ จดเสร็ จ ก็ ม ารวบรวม นี่ คื อ เนื้ อ หาทาง ประวัติศาสตร์สองชิ้นที่ผมได้เริ่มทา จะทาเป็นต้นฉบับของเนื้อหาของหลวงพ่อดีกับวัดสุวรรณ ตอนนี้ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทาให้เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งจริงๆ ก่อนหน้านั้น ช่วงที่ผมเป็นแพทย์ฝึกหัดก็มีโอกาสได้ออกไปหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่จังหวัดต่างๆ เป็นแพทย์ อาสาของสโมสรไลออนโรตารีประมาณ ๒๐ ปี ได้ไปเที่ยวจังหวัดต่างๆ หลายสิบจังหวัด เขา พาไปดูของดีๆ ไปดูวัด พิพิธภัณฑ์ ดูการบูรณะโบราณสถานต่างๆ อันนั้นถือว่าเป็นต้นทุน อย่างหนึ่ง

ในพื้นที่พุทธมณฑลมีสิ่งที่สาคัญอีกอย่างคือมหาวิทยาลัยมหิดล สถานที่ที่เป็นที่รวม ของผู้มีความรู้และความรู้ต่างๆ มหาวิทยาลัยมหิดลมีทีมอาจารย์อยู่ส่วนหนึ่งที่สนใจทางด้าน ท้องถิ่น ในปี ๒๕๔๒ อาจารย์ ดร.เนาวรัตน์ พลายน้ อย ซึ่งอยู่คณะสังคมฯ ก็ริเริ่มการจัดท า ประชาคมพุ ท ธมณฑล มี การเชิ ญ ผู้ที่ ส นใจมาท างานวิจัย เรื่องของทุ น ทางด้ านต่ างๆ ของ พุ ท ธมณฑล ทั้ ง อาจารย์ คนที่ อ ยู่ ข้ า งนอก ชาวบ้ าน หมอ อยู่ เยอะ หลายคนเข้า มารวม


๒๖

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

อาจารย์จริยาก็เป็นคนหนึ่งที่เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่อาจารย์ทาเรื่องคลองและสิ่งแวดล้อม ผมได้รับทาในเรื่องของคลังประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในเรื่องของทุนของสาธารณสุข อีกเรื่องคือ สันทนาการและการท่องเที่ยวของอาเภอพุทธมณฑล งานวิจั ยนี้เป็นงานวิจัยที่ทาหลากหลาย รูป แบบ แบบฟรีส ไตล์ เลย ใครอยากค้ น คว้ า ท าตามหลั ก วิ ท ยาศาสตร์ก็ ไ ด้ ท าทางด้ า น ประวัติศาสตร์หรือไปนั่งสัมภาษณ์คนก็มารวบรวมเป็นเนื้อหาทางด้านองค์ความรู้ เรื่องพวกนี้ ซึ่งมีหลายเรื่องมาก นอกจากเรื่องคลอง ก็มีเรื่องศาสนา เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องอาชีพนาบัว อาชีพต่างๆ ของอาเภอพุทธมณฑล ก็ถือว่าเป็นการรวบรวมในเนื้อหาความรู้ของท้องถิ่น และ มีการตีพิมพ์เป็นหนังสือ อันนี้เป็นหนังสือของคณะสังคมซึ่งเผยแพร่เฉพาะนักวิชาการและ คณะวิจัยคนอื่นๆ

ในปี ๒๕๔๒ กาลังหลักในเรื่องงานวิจัยท้องถิ่นจะเป็นของพ่อผม ท่ านเป็นคนเก่าแก่ ของพื้นที่ มีความรู้หลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเรื่องศาสนา การประกอบอาชีพ ประวัติศาสตร์ ต่างๆ ถ้าเปรียบในตอนนี้ก็เหมือนกับเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ท่านเป็นคนริเริ่มทาสวนเป็นคน แรกของอาเภอพุทธมณฑล เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่ แม้น้าท่วมปี ๒๕๕๔ จะจม ถือว่าเป็นส่วนแรกและ มีการจะทาสวนต่อ ในเรื่องของวัดท่านก็ช่วยมาเยอะทั้งวัดสุวรรณและวัดอื่นๆ ในเรื่องศาสนา ท่านก็คุยได้ ประวัติศาสตร์ ความรู้เรื่องช่าง โดยเฉพาะเรื่องของการขุดคลอง ผลงานที่ท่านทิ้ง ไว้ก็คือ “คลองตาหลี” ชื่อเล่นของท่านคือหลี ถ้าคนแถวพุทธมณฑลและศาลายาจะรู้จักว่ามี คลองตาหลีอยู่ เป็นคลองที่ท่านขุดขึ้นเชื่อม คลองมหาสวัสดิ์กับคลองโยง ศาลาการเปรียญ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๗

วัดสุวรรณก็เป็นฝีมือการออกแบบ การคัดเลือกไม้ การหาเงินบริจาคร่วมกับหลวงพ่อดี หลวง พ่อดีท่านสมถะ จะไม่ชอบขอเงินจากคนอื่น แต่กรรมการก็นิมนต์ท่านไป เพื่อไปร่วมแต่เวลา เจรจาจะเป็นกรรมการมากกว่า

จากรู ป เป็ น ประเพณี ท้ อ งถิ่ น อย่ า งหนึ่ ง ของอ าเภอพุ ท ธมณฑลที่ วั ด สุ ว รรณคื อ ประเพณี ตั ก บาตรท้ อ งน้ า ในวั น เพ็ ญ กลางเดื อ นสิ บ สอง จะมี ช าวบ้ า นน าเรื อ ที่ ใ ช้ ใ น ชีวิตประจาวันมารับพระไปบิณฑบาต ปกติพระวัดสุวรรณจะใช้เรือ ถือเป็นประเพณีสาคัญ


๒๘

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ประเพณีหนึ่งซึ่งพ่อผมเป็นคนริเริ่มเมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีแล้ว ต่อมาเรือเริ่มร่อยหรอ อีกทั้ง คนเริ่มไปประกอบอาชีพที่อื่น ทาให้มีผู้มาร่วมงานน้อย ตอนหลังจึงมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ในการทางานวิจัยเรื่องสัน ทนาการและการท่ องเที่ ยวคลองมหาสวัสดิ์ ตอนนั้ น มี ข้อเสนอในการจัดสถานที่ต่างๆ ที่น่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือศึกษาได้ในพื้นที่อาเภอพุทธ มณฑล แน่นอนจุดหลักจุดแรกคือพุทธมณฑลซึ่งมี พระศรีศากยะทศพลญาณเป็นประธานอยู่ อีกส่วนคือภายในมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งช่วงนั้นสวนสมุนไพรเปิด อยู่ศูนย์สิรีรุกขชาติเป็นศูนย์ สมุ น ไพรชั้ น น าของประเทศ นอกจากนั้ น จะเป็ น พวกวั ด วาอารามต่ างๆ อี กจุ ด หนึ่ งที่ เรา ประเมินว่าน่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้คือการท่องเที่ยวธรรมชาติในคลองมหาสวัสดิ์ ในช่วง นั้นนายอาเภอธวัชชัยท่านสนใจเรื่องการท่องเที่ยว จึงได้มีการเริ่มทาโครงการท่องเที่ยวโดยใช้ เรือ ในช่วงแรกการบริหารจัดการยังไม่ค่อยเป็นรูปแบบจนกระทั่งทางเกษตรอาเภอมาจัดการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร มี สวนผลไม้ นาบัว กลุ่มแม่บ้าน สวนกล้วยไม้ ผนวกกับวัดสุวรรณและ คลองมหาสวัสดิ์ ในช่วงนั้นเป็นการท่องเที่ยวทีไ่ ด้รับรางวัลระดับชาติในเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ภาพนี้เป็นกลุ่มแม่บ้านที่ทาข้าวตังหน้าหมูที่บ้านศาลาดิน ตาบลมหาสวัสดิ์ ที่นี่จะ อาศัยแม่บ้านยามว่างมาทาข้าวตัง มีข้าวตังหน้าหมูและหน้าธัญพืช เจ้าของคือป้าแหม่ม ใช้ หลักเอาแม่บ้านที่ว่างงานที่อยู่ใกล้ๆ มาช่วยกันทา ว่างเมื่อไหร่ก็มาช่วยกันทา นับเป็นชั่วโมง ชั่ ว โมงละ ๒๕ บาท มาท ากี่ ชั่ ว โมงก็ ได้ ธุ รกิ จ นี้ ท ารายได้ ปี ล ะเป็ น ล้ า น มี ค นเสนอให้ ใช้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๙

เครื่องจักรมาช่วยเพื่อเพิ่มผลผลิต แต่ป้าบอกว่าถ้าเอาเครื่องจักรมาคนจะตกงานกันเยอะ ตัว ป้าเองไม่เห็นชอบกับส่วนนั้น ใช้คนดีกว่าเพราะเป็นการเลี้ยงคนให้คนสามารถมีรายได้อยู่ได้ นอกจากนั้นยังต่อยอดไปเรื่องของผลไม้แปรรูปซึ่งสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีได้

อีกจุดหนึ่งคือสวนผลไม้เป็ นสวนของลุงบุญเลิศที่อยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ตรงข้ามกับ วัดสุวรรณ จะมีส้มโอ เป็นหลัก ขนุน มะม่วง มีไร่นาสวนผสม ระยะแรกคนมาดูแต่สวนเฉยๆ แต่ตอนหลังเจ้าของพัฒนาโดยนารถอีแต๋นมารับนักท่องเที่ยวไปชมสวน ปรากฏว่าเด็กๆ ชอบ มาก แต่ก่อนเที่ยวละ ๕๐ บาท เดี๋ยวนี้ราคา ๑๐๐ บาท นั่งได้สิบคน เป็นการนั่งรถชมสวน ที่นี่ใครไม่หัวเราะไม่เก็บเงิน ตอนนี้เป็นช่วงฟื้นฟูเพราะช่วงน้าท่วมต้นส้มโอตายหมด ตอนนี้ เพิ่งได้รับเงินเยียวยามา


๓๐

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

จุดต่อมาคือสวนกล้วยไม้ พุทธมณฑลเป็นแหล่งกล้วยไม้สาคัญแห่งหนึ่ง ของประเทศ ถ้ารวมแถวบางเลน เมืองนนท์ หนองแขม ถือว่าแถวนี้ปลูกกล้วยไม้มากที่สุดของประเทศ สมัยก่อนมีสวนป้าจุกสาหรับเที่ยวดูสวนกล้วยไม้ ป้าจุกจะมีความรู้เรื่องกล้วยไม้เยอะมาก ใคร มีปัญหาสามารถปรึกษาได้ บางคนสงสัยเวลาซื้อกล้วยไม้กลับไปที่บ้าน แล้วไม่ค่อยออกดอก ป้ า จะบอกว่า อาจจะมี ช่ ว งเว้ น ระยะใส่ ปุ๋ ย ไม่ รดน้ าทุ กวัน ฯลฯ เพราะฉะนั้ น คนมาเที่ ย ว คลองมหาสวัสดิ์จะได้ความรู้เยอะ นอกจากเรื่องของประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ ยังมีเรื่องของ ต้นไม้ต่างๆ ที่สามารถปรึกษาได้ เพราะเจ้าของเป็นคนที่มีความรู้และความชอบในเรื่องพวกนี้ แต่หลังน้าท่วมเงินเยียวยาจะสูงมาก ถ้ากล้วยไม้ก ระถางจะได้ค่าเยียวยาประมาณแสนกว่า บาท ถ้าไม่ใส่กระถางได้ประมาณไร่ละแปดหมื่นบาท หลังจากได้รับเงินเยียวยา ป้าจุกจึงขาย กิจการ ในช่วงที่ทาส่วนของการท่องเที่ยว เป็นช่วงก่อน ๑๕๐ ปี คลองมหาสวัสดิ์เล็กน้อย เราเริ่มจัดกิจกรรมการล่องเรือเพื่ อชมวิถีชีวิตของมหาสวัสดิ์ซึ่ งตอนนั้นผมทาเรื่องเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมระดับหนึ่ง คนแถวนี้เลยให้ผมรับหน้าที่เป็นประธานสภาวัฒนธรรม อาเภอ และจัดให้มีกิจกรรมล่องเรือเนื่องในโอกาสสาคัญ เช่น วันที่ ๑๗ พฤษภาคม เป็นวัน ครบรอบการขุดคลองมหาสวัสดิ์ วันลอยกระทงซึ่งทางวัดสุวรรณมีพิธีตักบาตรท้องน้า บางที จะเพิ่ ม เดื อ นมกราคม ซึ่ งเป็ น วั น ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ าอยู่ หั ว ท่ า นเสด็ จ ประพาสไทรโยค


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๓๑

วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นวันครบรอบที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ ขุดคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นโดยให้ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขา บุนนาค) เป็นแม่กลองในการขุดคลอง โดยจ้างชาวจีนที่อพยพมาขุด ได้จัดกิจกรรมฉลอง ๑๕๐ ปี คลองมหาสวัสดิ์ขึ้น มีหน่วยงานต่างๆ มาร่วมหลายหน่วยงาน เช่น องค์การบริหาร ส่วนตาบลศาลายาเป็น เจ้าภาพเรื่องของสถานที่ร่วมกับวัดสุวรรณ มหาวิทยาลัยมหิดลก็มี หลายหน่ ว ยงานไปร่วม ไม่ ว่ าจะเป็ น คณะศิล ปศาสตร์ สถาบั น วิจั ย ภาษาและวั ฒ นธรรม สถาบันวิจัยอาเซียน สถาบันโภชนาการต่างๆ ถือเป็นงานเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง ในส่วน นี้เรามีกิจกรรมร่วม ส่วนหนึ่งเราได้นามาสรุปและมีนิทรรศการความรู้คลองมหาสวัสดิ์ มีแผน ที่โบราณสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่มาสารวจพื้นที่แถวนี้ ซึ่งตอนนั้น สถานีรถไฟนครชัยศรียังใช้ชื่อว่า สถานีบ้ านเขมรอยู่ ตาแหน่งคลองมหาสวัสดิ์ซึ่งเริ่มจากคลองบางกอกน้อยไปจนถึงแม่น้ า นครชัยศรี กิจกรรมภาพถ่าย กิจกรรมการประกวดต่างๆ จัดแสดงที่ใต้ถุนศาลาการเปรียญ ของวัดสุวรรณาราม ใช้วัดสุวรรณารามเป็นหลักเพราะสถานที่เอื้ออานวยและรถเข้าสะดวกถ้า เทียบกับวัดสาละวัน


๓๒

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

มีการประกวดภาพวาดของเด็กในหัวข้อความฝันของนักเรียนอยากเห็นคลองมหา สวัสดิ์เป็นอย่างไร ก็วาดรูป จริงๆ เรามีอยู่หลายรูปในส่วนนี้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๓๓

มีการประกวดคาขวัญ เรื่องของคลองมหาสวัสดิ์ ผู้ที่ ช นะเลิศแต่ งว่า “คลองมหา สวัสดิ์ยืนหยัดร้อยห้าสิบปี คือความดีของประชาชน”

มีกิจ กรรมของสถาบั น โภชนาการได้ น าเด็ กประถมจากโรงเรีย นที่ อยู่ ในเขตพุ ท ธ มณฑล เจตนาส่วนใหญ่ต้องการเด็กโรงเรียนวัดสุวรรณเพราะอยู่ตาแหน่งที่จัดงาน แต่ปรากฏ ว่าโรงเรียนวัดสุวรรณไม่มี โรงเรียนบ้านคลองโยงมาเยอะ และโรงเรียนวัดสาละวัน โรงเรียน รัตนโกสินทร์ เพราะตอนนั้นจากัดอายุ

ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของเด็กชั้นประถม เด็กนักเรียนมาถึงเขาจะแจกกล้องให้นักเรียน ไปถ่ายรูป ถ่ายรูปเสร็จมาสอนทฤษฎีการถ่ายรูปและนารูปที่ถ่ายมาวิจารณ์กัน หลังจากสอน เสร็ จ จึ ง แจกกล้ อ งให้ เด็ ก ออกไปถ่ า ยรู ป อี ก ครั้ ง ภาพนี้ เป็ น ภาพที่ ไม่ ไ ด้ ร างวั ล ชนะเลิ ศ


๓๔

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

แต่เป็นภาพที่ให้ความรู้สึกของคลองค่อนข้างดี ถือว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งที่ถ่าย โดยนักเรียน ผู้จัดทาโครงการนี้ได้ทาเป็ นอัลบั้มรวมรูปของนักเรียนขาย ชุดละ ๖๐ บาท แต่ หมดไปแล้ว ในส่วนของดุริยางคศิลป์เอารูปนี้เป็นหน้าปกซีดีเพลง เพลงพุทธมณฑลบ้านเรา

ภาพนี้เป็นภาพประวัติศาสตร์หนึ่งซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ถ้าคนอยู่แถวคลองมหาสวัสดิ์ จะเห็นว่าสมัยก่อน สะพานตรงนี้จะแคบ รถหลีกให้กันไม่ได้ เป็นสะพานเดาใจที่คนคนหนึ่งขับ รถไปต้องเสี่ยงดวงเอา ถ้าวิ่งไปถึงกลางสะพานก่อนแล้วอีกข้างหนึ่งยังมาไม่ถึง ข้างที่มาไม่ถึงก็ ต้องถอยหลัง จนกระทั่งมีลุงคนหนึ่งเป็นจิตอาสาคอยโบกธงให้สัญญาณ แรกๆ เป็นจิตอาสา แต่ระยะหลังมีเป็นทิป ซึ่งลุงสามารถรวบรวมเงินเหล่านี้ ไปทาบุญได้เยอะ ปีหนึ่งหลายพั น เวลาลุงไม่อยู่นักเรียนจะขึ้นไปนั่งแทน ภาพถ่ายเหล่านี้ถ่ายโดยนักถ่ายภาพระดับโลกที่ทางมหาวิทยาลัยมหิดลเชิญมาถ่าย ในโอกาส ๑๕๐ ปี จะมี ภ าพถ่ า ยสวยๆ เยอะ จริ ง ๆ ข้ อ มู ล รู ป ภาพเหล่ า นี้ จ ะเก็ บ ไว้ ที่ โรงพยาบาลเป็นศูนย์ข้อมูล ใครสนใจเรื่องพุทธมณฑลหรือคลองมหาสวัสดิ์สามารถไปขอภาพ ได้ที่โรงพยาบาลพุทธมณฑล


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๓๕

แล้วก็มีกิจกรรมล่องเรือ ๑๕๐ ปี แต่ช่วงนั้นประตูน้าฉิมพลีซ่อม ไม่สามารถเปิดได้ ตอนนั้นได้รับความอนุเคราะห์จากโรงเรียนกาญจนาภิเษกขอรถบัสจากวัดสุวรรณไปส่งที่วัด ศรีประวัติและเอาเรือไปรอที่วัดศรีประวัติ เราล่องวันที่ ๑๘ – ๑๙ พฤษภาคม สองวัน วันที่ ๑๙ ไปถึงวัดศรีประวัติเป็นช่วงที่เขากาลังเผาเมืองกันพอดี เราขึ้นไปบนศาลาการเปรียญวัด ชัยพฤกษ์มาลาก็เห็นเขาเผาควันขึ้นอยู่ ถ้าคนอยากตายก็ไปราชประสงค์ ถ้าอยากสนุกต้องมา ล่องเรือกับเรา ไปทีหนึ่งก็ได้ถ่ายรูปมาเยอะ เพราะบางคนไม่ชอบนั่ง ชอบไปอยู่หัวเรือถ่ายรูป อย่างอาจารย์สุริยพงศ์ท่านรู้สึกจะจองทีน่ ั่งข้างหน้าประจาก็ต้องจัดที่ให้ท่าน ท่านจะไปถ่ายรูป บางคนก็จองถ่ายรูป เพราะฉะนั้น แต่ละทริปจะมีรูปเยอะ รูปทั้งประตูน้า ภาพเรือกาลังผ่าน ภาพเด็ก ฯลฯ วิถีชีวิตสองฝั่งคลองซึ่งต่างกันมาก ตาบลมหาสวัสดิ์บ้านเรือนจะสวย มีด้านหน้าริม คลองที่กว้าง เดี๋ยวนี้มีค นต่างถิ่นมาปลูกบ้านกันเยอะ พอเริ่มมาถึงศาลายาจะลักษณะของ สลัมอยู่ฝั่งเหนือ พอเป็นฝั่งกรุงเทพฯ คือฝั่งใต้จะเห็นกาแพงกั้นน้าเหมือนอยู่ในคุก อีกฝั่งหนึ่ง ฝั่งเหนือเป็นของนนทบุรีเป็นเนินดิน พอผ่านประตูน้าฉิมพลีไปจะเห็นบ้านคนที่อยู่ในน้าซึ่ง เป็นบ้านดั้งเดิมของคนที่อยู่ริมคลอง สมัยก่อนคลองกว้างไม่มากนัก พอมีเรือหางยาว คลื่นจะ ใหญ่ ม ากจะกวาดดิ น ออกไปเรื่อยๆ จนบ้ า นลอยอยู่ ในน้ าเป็ น แถว แต่ ไม่ ใช่ เรือนแพแบบ พิษณุโลกหรืออุทัยธานีซึ่งอันนั้นน้าขึ้นก็ขึ้น น้าลงก็ลง อันนี้เป็นบ้านที่ตั้งบนเสา เพราะฉะนั้น น้าขึ้นก็ท่วมน้าลงก็ลงยาก บ้านพวกนี้ด้านหลังจะมีกาแพงของหมู่บ้านกันอีกชั้น ขึ้นฝั่งไม่ค่อย ได้ต้องมีเรือประจาบ้าน เป็นเรื่องที่เราล่องเรือแล้วดูความเปลี่ยนแปลงว่าสามารถจะมาพัฒนา ได้อย่างไร


๓๖

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

กิ จ กรรมต่ า งๆ เราจะรวบรวมข้ อ มู ล และเก็ บ ไว้ เป็ น หลั ก ฐาน เผยแพร่ ใ ห้ กั บ ประชาชนในพื้นที่ เมื่อปี ๒๕๕๔ พี่สาวของผมเสียเลยทาหนังสืออนุสรณ์งานศพ ในเล่มจะมี เรื่องของวั ด สุ ว รรณาราม ประเพณี ตั ก บาตรท้ องน้ า กิจ กรรม ๑๕๐ ปี คลองมหาสวั ส ดิ์ ด้านหลังคือรูปหนังสือปฐมสารซึ่งพ่อของผมได้เก็บไว้นานแล้ว จะมีรวบรวมความรู้เรื่องของ เมืองนครปฐมเมื่อปี ๒๔๙๓ ซึ่งตอนนี้อาจารย์อภิลักษณ์เอามาจัดทาใหม่ให้อ่านง่ายขึ้น

หนังสืออนุสรณ์งานศพของพ่อผม จริงๆ เป็นหนังสือที่รวบรวมประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งพิ มพ์เมื่อปี ๒๕๔๕ ถือว่าเป็ นหนั งสือประวัติศาสตร์เล่ม แรกของพุท ธมณฑล ผู้ที่สนใจ อยากศึกษาประวัติศาสตร์ของพุทธมณฑลต้องใช้ เล่มนี้อ้างอิงเยอะ เพราะมีทั้งประวัติศาสตร์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๓๗

การขุดคลองมหาสวัสดิ์จากพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๔ และประชุมพงศาวดาร ของกรมพระยาดารงราชานุภาพซึ่งเป็ นที่มาของการขุดคลองมหาสวัสดิ์ หลายคนมีความ เข้าใจผิดว่าคนมหาสวัสดิ์เป็นคนขุด แต่ไม่ใช่ เป็นของรัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระองค์โปรดฯ ให้ขุด และการจับจองที่ดิน รายชื่อพระนาม จานวนไร่จะอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ความเป็นมาของอาเภอ นี้คร่าวๆ ถึงเดี๋ยวนี้ยังถือว่าเป็นหนังสือที่ยังทันสมัยอยู่ เพราะประวัติศาสตร์ไม่เปลี่ยนแปลงใน ส่วนนี้ เป็นหนังสือที่ใช้อ้างอิงพอสมควรนะครับ น อก เห นื อ จ าก ก ารท าข้ อ มู ล แ ล้ ว เราจ ะท าอ ย่ างไรให้ บ้ าน เราน่ าอ ยู่ มหาวิทยาลัยมหิ ดลโดยกลุ่มวิจัยธุรกิจชุมชนได้เชิญ ผู้ที่ เกี่ยวข้องในพื้น ที่ม าดู ว่าอาเภอนี้ มี ปัญหาเร่งด่วนคืออะไร ปัญหาคือสิ่งแวดล้อมหลักคือคลองมหาสวั สดิ์จะเป็นที่รวมของน้าเสีย ต่างๆ ผักตบชวา เราจะแก้ปัญหานี้


๓๘

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

คาขวัญส่วนหนึ่งที่ทากันมาก่อนน้าท่วมใหญ่ปี ๒๕๕๔ คือ “ตลิ่งสวยน้าใส” ของผม น่าจะมีเรื่องใช้สัญจรได้ในช่วงนั้นก็จะช่วงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพุทธมณฑลมาช่วยกันพัฒนา คลอง ภาพนี้เป็นการปัดสวะหน้าบ้านผม เพราะคลองนี้จะมีจุดที่มีเครื่องจักรปัดสวะแถววัด ปุรณาวาสในเขตกรุงเทพฯ คือทายังไงก็ได้ให้ลอยไปถึงที่ที่จะขึ้น ตอนแรกเราพยายามที่จะ เอาขึ้นแต่ไม่ไหว หนึ่งก็คือสถานที่ที่เอาขึ้นไม่ค่อยมี สองคือ มันหนัก กว่าจะหมดใช้เวลานาน แต่วิธีปัดสวะใช้เวลาไม่นานก็จะลอยไปถึงที่ นั่น ส่วนนี้เราได้ดาเนินการกัน หลังจากนั้นมีการ วางทุ่นเป็นขวดสาหรับกันสวะที่จะมาลอยติดใหม่

รูปนี้เป็นรูปของเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลพุทธมณฑลเข้าไปปลูกต้นไม้ริมคลอง ส่วน หนึ่งเป็นไม้ยืนต้นคือมะขาม มะขามนี้ ประมาณ ๕๐ ปี ได้ เป็ นมะขามรุ่นแม่ผมมาปลูกไว้ สมัยก่อนเป็นมะขามกระดาน จุดประสงค์ในการปลูกคือใช้ไม้มาทาเป็นไม้กระดาน ฝักแบน หน่อยแต่ใช้ทาอาหารได้ นอกจากไม้ยืนต้นก็ปลูกไม้ดอก เช่นพุทธรักษา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๓๙

ภาพนี้เป็นส่วนของการปลูกต้นไม้ของคณะศิลปศาสตร์ซึ่งอาจารย์อภิลักษณ์พาไป ช่วยกันปลูก ในวันนั้นมีการพาไปเรียนรู้เรื่องประวั ติศาสตร์ท้องถิ่น ความเป็นมาของคลอง มหาสวัสดิ์ คลองตาหลี วัดตาหลี พาไปชมบ้านตาหลีซึ่งเป็นเรือนปั้นหยาสองชั้นขนาดใหญ่ มี ครัวแยกออกมา มียุ้งข้าวซึ่งสมัยก่อนทานาไว้สามร้อยกว่าไร่ไว้เก็บข้าวเปลือก (แต่เดี๋ยวนี้ไม่ ค่อยได้ใช้) มีอู่เรือขนาดใหญ่ ซึ่งมีเรือชะล่า เรือหางยาวในส่วนของหน้าบ้าน ในหลังบ้านมีเรือ ไว้ใช้ในสวนอย่างเรือรดน้าต้นไม้ หรือคือเรือชะล่าเดิมนามาแบ่งเพราะมันผุชารุด ส่วนไหนใช้ ไม่ได้ก็เก็บไว้ ส่วนไหนใช้ได้ก็เอามาใช้ มีเรือสแตนเลส เรือฉีดยาพร้อมอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นตัว บ้านที่มีของต่างๆพอสมควร ส่วนบ้านจะไม่เปิดกรณีปกติยกเว้นมีคนสนใจมาขอชม กิจ กรรมมี การปลู กต้น ไม้ กัน ดอกไม้ เป็ น ส่ วนใหญ่ ปลู ก พวกนี้ จะใช้ เวลาไม่ น าน ชั่วโมงสองชั่วโมงก็เสร็จ แต่จะเดือดร้อนคนที่อยู่รดน้าต้นไม้เพราะหน้าแล้งตลิ่งสูงต้องปีนแล้ว ใช้ แ ปลงรดหรือกระป๋ องหิ้ ว ตอนนี้ ต้ องต่ อท่ อเอาสปิ งเกอร์รด กาลั งคิ ด ว่ าจะต่ อยอดเอา จั ก รยานพั ง ๆ ของมหาวิ ท ยาลั ย มาติ ด ปั๊ ม ใช้ อ อกก าลั ง กายรดน้ าต้ น ไม้ ตอนนี้ รู้ สึ ก ว่ า มหาวิทยาลัยกาลังทาต้นแบบอยู่ ถ้าเสร็จเมื่อไหร่คงได้นามาติดตั้งกัน หลังเราพัฒนาคลองก็ดูสะอาดขึ้น ในวันนี้บริเวณที่ว่างในส่วนแถวๆนี้มีบัวแดงขึ้น ทาให้สร้างสีสันให้สมกับว่าคลองมหาสวัสดิ์เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีการเอาผักบุ้งมาทาเป็นแพๆ ทาให้มีผักบุ้งกินโดยไม่ต้องซื้อ เป็นผักบุ้งที่ไม่ต้องทาอะไรมาก ลากเข้ามาแล้วเอาไม้ปัก ปุ๋ยก็ ไม่ต้องใส่ ยาก็ไม่ต้องฉีด เพียงลากเอามาแล้วเอาไม้ปัก เอาตะขอชักประมาณสิบกว่ายอดก็พอ กินมื้อหนึ่ง มันก็รู้สึกว่าหน้าบ้านก็ได้ประโยชน์เยอะ


๔๐

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ภาพนี้เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เรียกว่าภาพกระซิบปู่ม่านย่าม่าน ที่วัดภูมินทร์ อ.เมือง จังหวัดน่าน ต้นฉบับอยู่ที่นี่ แต่ที่เอาไปหากินคือเชียงใหม่เอาภาพนี้ไปขายฝรั่งเป็น ส่วนใหญ่ เวลาคนไปมักจะถ่ายรูปนี้นอกเหนือจากพระประธานสี่องค์หันหลังชนกันแล้ว โบสถ์ จัตุรมุข คนก็ต้องไปเลียนแบบ ไปกระซิบ อันนี้เพิ่งถ่ายเมื่อเดือนมกรา ผมไปน่านหลายครั้ง แล้ว ไปกับหน่วยแพทย์ ไปเองบ้างอะไรบ้าง เคลื่อนที่ เราไปดูแล้วรู้สึกว่าช่างมีฝีมือในการวาด การถ่ายทอดในจิตรกรรมพวกนี้ เราก็ดูพื้นที่อาเภอพุทธมณฑลเราว่ามีที่ไหนที่มีจิตรกรรม สวยๆ พวกนี้ที่สื่ออะไรพวกนี้บ้าง ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมี ที่วัดสุวรรณก็เป็นช่างจากทางเหนือ มาวาดฝีมือใช้ได้ ที่นครปฐมถ้าของเดิมคือในวิหารหลวงที่เป็นรูปเทพชุมนุม เขียนไว้ตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๖ ก่อนที่ช่างจะมาวาดที่วิหารหลวงจะไปวาดที่พระราชวังสนามจันทร์ก่อน พอวาด คล่ อ งแล้ ว ก็ ม าวาดที่ วิ ห ารหลวงต่ อ ปั จ จุ บั น ยั ง มี จิ ต รกรรมฝาผนั ง ที่ วิ ห ารด้ า นใต้ ที่ เป็ น จิตรกรรมคล้ายๆ วัดพระแก้วที่แสดงถึงประกาศพระศาสนาตั้งแต่พระเจ้าอโศกจนมาถึงพระ ปฐมอย่างไร ประวัติการสร้างพระปฐม ประวัติการอัญ เชิญ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ขึ้น รถไฟมา ประดิษฐานที่องค์พระปฐม ซึ่งเป็นองค์ความรู้อย่างหนึ่งที่คนสนใจประวัติพระปฐมไปดูได้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๔๑

และท าไมพระร่ว งโรจนฤทธิ์ ถ้ า สั ง เกตดี ๆ ท่ านจะลงพุ ง นิ ด ๆ ผมเพิ่ ง รู้ไม่ น านมานี้ เองว่ า รัชกาลที่ ๖ เมื่อเป็นพระบรมโอรสาธิราชท่านเสด็จไปเมืองศรีสัชนาลัย ท่านเห็นพระเศียร พระพุทธรูป พระกร พระบาท ท่านชอบเพราะสวย ท่านนากลับมากรุงเทพฯ โปรดให้บูรณะ ขึ้นมาใหม่ ทาครั้งแรกออกมาสวยงามเหมือนพระสุโขทัย แต่ท่านทอดพระเนตรแล้วไม่โปรด ท่านอยากได้ท้องใหญ่ๆ เหมือนท่านเลยทาใหม่ คนกราบไหว้พระร่วงจะได้นึกถึงพระองค์ท่าน แล้วเป็นพินัยกรรมของท่านว่าหากท่านสวรรคตให้นาพระอัฐิ ไปประดิษฐานที่พระร่วงโรจน ฤทธิ์ เพราะฉะนั้ น พระร่ ว งโรจนฤทธิ์ เป็ น พระพุ ท ธรู ป ที่ มี อั ฐิ พ ระมหากษั ต ริ ย์ อ ยู่ เป็ น พระพุ ท ธรูป ที่ ท างวั ด ไม่ ท าฉัต ร ถ้า ท าฉัต รจะมี ฉั ต รเก้า ชั้ น มี ในเมื อ งไทยไม่ กี่อ งค์ ที่ มี อั ฐิ พระมหากษัตริย์

ที่วัดภูมินทร์จะประทับใจนักเรียนสองคน ตอนนายแพทย์วัฒนาไปเป็นเวลาเย็นเลย สี่โมง เวลาเรียนนักเรียนไปเรียนตามปกติ แต่หลังจากเลิกเรียนจะแต่งตัวเป็นยุวมัคคุเทศก์ แล้วพานักท่องเที่ยวชมวัดภูมินทร์ จะอธิบายวัด พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง เป็นตัวกระตุ้น ท าให้ เขาสนใจประวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น ศิ ล ปะต่ า งๆ อี ก ส่ ว นคื อ ในการบรรยายส่ ว นใหญ่ นักท่องเที่ยวจะให้รางวัลเป็นทุนการศึกษาซึ่งแต่ละรอบบางคนได้หลายร้อย ทาให้นักเรียน รู้สึกรักบ้านของตน ถึงเพราะว่ามีคนอื่นมาดู มีคนอื่นมาให้ทุนการศึกษาเขา


๔๒

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ภาพนี้เป็นภาพของปราสาทพนมรุ้ง เป็นโบราณสถานสาคัญแห่งหนึ่ง เป็ นปราสาท หินที่สวยที่สุดในประเทศไทย บางคนไปดูพนมรุ้งต้องไปดูปราสาทเมืองต่าที่อยู่ใกล้กัน บางคน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๔๓

ไปรถบัสก็ต้องย้อนไปด้านประโคนชัยของบุรีรัมย์ไปดูปราสาทเมืองต่าก่อน แล้วค่อยขึ้นเขาไป พนมรุ้งซึ่งความชันน้อยกว่า ที่นี่จะมีนักเรียนมาดู ส่วนหนึ่งก็จะมี ยุวมัคคุเทศก์ในการแนะนา สถานที่ต่างๆ พวกนี้ โรงเรียนหลายแห่งที่อยู่ในเขตซึ่งมีโบราณสถานหรือสถานที่สาคัญทาง ประวัติศาสตร์จะเป็นโอกาสทาให้นักเรียนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และนามาแนะนาคนอื่นต่อ ได้ ผมคิดว่าข้อมูลที่มีอยู่ของพุทธมณฑลและนครปฐมน่าจะนามาเป็นประโยชน์ได้

ภาพนี้ตัวหนังสือจะอยู่ด้านบนคือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่อาเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นที่ที่รวบรวมประวัติเมืองด่านซ้าย ประเพณีแห่ผีตาโขน เราพาเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไปดู งานที่ด่านซ้ายซึ่งมีผลงานดี เป็นต้นแบบหลายๆ อย่าง


๔๔

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ภาพนี้เป็ น ผี ตาโขนซึ่งเป็ น วัฒ นธรรมท้ องถิ่น ของอาเภอด่ านซ้ าย จั งหวัด เลย ซึ่ ง พิพิธภัณฑ์ด่านซ้าย โรงพยาบาลด่านซ้ายก็มีส่วนในการจัดทาด้วย ก็เป็นเรื่องของวัฒนธรรม ท้องถิ่นนะครับ ในการลงพื้ น ที่ บ างครั้ ง จะมี อ งค์ ค วามรู้ ที่ สาคั ญ บางอย่ างเก็บ ไว้โดยเจ้าของ อาจจะเก็บไว้ใน ตอนนั้นยังไม่ได้ถ่ายทอดให้คนอื่นซึ่งหลายๆ อย่างจะ มีคุณค่า เช่น หนังสือปฐมสารซึ่งเป็นหนังสือที่สโมสร ข้าราชการของจังหวัดนครปฐมพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาส นมั ส การพระปฐมเจดี ย์ เมื่ อ ปี พ.ศ.๒๔๙๓ มาถึ ง ตอนนี้ก็หกสิบกว่าปีแล้ว เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่อง ค าขวั ญ ต่ า งๆ ลองสั ง เกต คาขวั ญ จั ง หวั ด นครปฐม ในช่วงปี ๒๔๙๓ คือ “ข้าวสารขาว ลูกสาวแพง ผ้าคา ดี ส้มโอไม่มีเม็ด” จะมีความรู้เรื่องพระปฐมเจดีย์ พระ ประโทณ ซึ่งสมัยก่อนจะเขียน ประโฑรณ แต่ปัจจุบัน เขียนพระประโทณ พระที่นั่งและพระตาหนักในพระราชวังในสนามจันทร์ พระคเนศร์ ย่าเหล และเรื่องของเย ธัมมา ถ้าอ่านในเล่มนี้จะเข้าใจเรื่องทั้งหมดว่าทาไมที่มาของข้าวสารขาวใน นครปฐม เป็นอย่างไร ทาไมสมัยก่อนใช้ลูกสาวแพง ไม่ใช่ลูกสาวงาม ผ้าดาดีหายไปไหน เป็น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๔๕

ประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งของเมืองนครปฐมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา หนั งสือเล่มนี้เป็น หนังสือที่พ่อผมเก็บไว้ในตู้ ซึ่งมีอยู่วันนึงบ้านผมเวลาครบรอบวันคล้ายวัน เสียชีวิต ลูกหลานก็ จะท าบุ ญ ครบรอบวัน คล้ ายวัน เสีย ชีวิต พ่ อผมก็ทา ปู่ ผ มที่ ปั จจุ บั นประมาณเจ็ดสิ บ ปี ก็ยั ง ทาบุญทุกปี คิดว่าเป็นประโยชน์จึงนาไปให้อาจารย์อภิลักษณ์ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้เป็นคณบดี คณะศิลปศาสตร์ ท่านก็สนใจ ดูแล้วเป็นหนังสือที่มีคุณค่าจึงนามาทาใหม่พันเล่มแล้วแจกจ่าย จะมีโฆษณาเก่าๆ อยู่ ตอนนี้ไม่รู้ทางคณะมีแจกหรือเปล่า ก็ เป็นหลักฐานทางด้านความรู้ที่ดี อย่างหนึ่ง พุทธมณฑลยังมีของดีอีกหลายอย่าง ในภาพเป็นนกกระจาบทองซึ่งเป็นนกท้องถิ่น ประจาภาคกลาง สิบเอ็ดปีที่แล้วผมเริ่มสังเกตว่าเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลพุทธมณฑลซึ่งเราไม่ รู้จักว่าเป็นนกอะไร ตัวผู้ปากและรอบตาจะเป็นสีดาคล้ายใส่หน้ากาก ที่คอ กระหม่อม ท้อง จะเป็ น สี ท อง ตัวเมี ย จะเป็ น สี น้าตาลคล้ายนกกระจอก ตัว ใกล้เคียงกัน อันนี้มาแล้วศึกษา ดูว่าเขาอยู่อย่างนี้ เวลาคนไปดู ระยะแรกมั น จะหลบไปก่ อ น พอเห็ น ว่ า ปลอดภั ย แล้ ว จะ กลับมาโชว์ รายการสะเก็ดข่าวเคยเอาไปออกรายการ พื้นที่ในพุทธมณฑลถ้าย้อนกลับไปสมัยสุนทรภู่ผ่านคลองโยงเมื่อปี ๒๓๘๕ เพื่อไป นมั ส การพระปฐมเจดี ย์ ที่ พุ ท ธมณฑลก็มี น กอยู่ ห ลายชนิ ด เป็ น แหล่ งแสดงถึง ความอุ ด ม สมบูรณ์ เมื่อมหาฤกษ์ ผ่ านคลองมหาสวัสดิ์ไปพระปฐมเมื่อขุดคลองมหาสวัสดิ์เสร็จใหม่ ๆ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๐ ต้นๆ เพราะขุดคลองเสร็จ พ.ศ. ๒๔๐๓ ก็บรรยายว่าพื้นที่แถวนี้มี นก อยู่พอสมควร นกกระจาบเป็น นกที่น่าสนใจ กระจาบทองตัวสวยแต่รังไม่สวย รังเป็นกลมๆ จะ สร้างบนต้นไม้เตี้ยๆ ในบึง ในบ่อ สูงจากพื้นน้าประมาณ ๑ เมตร สาหรับกระจาบทองตัว คล้ายๆ กันแต่จะเหลืองที่หัวเฉยๆ ท้องจะเป็นสีน้าตาล จะสร้างรังอยู่สูง รังจะสวย อีกชนิด หนึ่งคือกระจาบอกลาย หัวจะเป็นสีทอง ท้องเป็นขีดสีน้าตาลดาๆ รังจะสวยกว่ากระจาบทอง นิดหนึ่งแต่สร้างระดับเดียวกัน พอดูเรื่องนกจะเป็นเรื่องที่สนุก หลายแห่งเอาไปต่อยอดได้ ทีนี้ผมก็ย้อนกลับมาอีกที ว่ามหาวิทยาลัยมหิดลเคยมีการศึกษาเรื่องนกเมื่อคราวที่ เพิง่ เปิดวิทยาเขตศาลายาประมาณปี ๒๕๒๕ มีนกอยู่ประมาณร้อยกว่าชนิด เรื่องนกเป็นเรื่อง


๔๖

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

น่าสนใจที่สามารถเป็นองค์ความรู้ท้องถิ่นได้ เผื่อคนสนุกไปส่องดูนกตามจุดต่างๆ แล้วบันทึก ว่าพื้นที่แถวนี้มีนกอยู่เท่าไหร่ เหมือนพื้นที่แถบชานทะเลแถวบ้านแหลมมีจุดดูนกทะเลอยู่จุด หนึ่ง หรือที่ป่าเขาก็มี อย่างดอยอินทนนท์ก็มี ในส่วนของผมเองเป็นส่วนรวบรวมข้อมูล เพราะผมเป็น แพทย์ เป็ น ผู้อานวยการ โรงพยาบาล เราก็ไม่ได้เอาผลงานทางด้านนี้มาทาวิชาการอะไรได้ แต่เราถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ ได้รวบรวมข้อมูลเหล่านี้เพื่อกระจายให้กับชุมชนและคนที่สนใจ มีทั้งอาจารย์ทั้งนักศึกษาที่มา ศึกษาในพื้นที่ เวลาก่อนจะทาวิจัยอะไรต่างก็ต้องว่าถึงเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน ส่วนมากจะ มาขอ ไปที่อาเภอหรือไปจุดท่องเที่ยว เวลาเขาจะขอประวัติจะแนะนามาหาผม ก็จะมีข้อมูล อยู่เยอะ ใหม่ๆ ก็จะให้เป็นหนังสือ บางทีก็ให้ยืมไปแต่ไม่ได้กลับคืนมาก็มีอยู่เยอะ เลยทาเป็น ไฟล์ให้ โดยเฉพาะเล่มนี้เป็นไฟล์หนังสือทั้งเล่ม ถ้าใครสนใจคลองมหาสวัสดิ์ก็ดึงเอาไป ใคร สนใจประเพณีตักบาตรท้องน้าก็ดึงไป ใครจะเอารูปสวยๆ ก็ดึงเอาไปได้ เราก็เป็นศูนย์ข้อมูล ในส่วนนี้อยู่ ปัจจุบันก็มีการต่อยอดไป ทางมหาวิทยาลัยก็มีหลายส่วนที่ได้ต่อยอดองค์ความรู้ โดยเฉพาะสถาบันวิจัยภาษาส่วนหนึ่ ง ส่วนหนึ่งคือคณะศิลปศาสตร์ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ ทาง อาจารย์อภิลักษณ์ทาเรื่องของตานานศาลายา เป็นการรวบรวมของดีของอาเภอพุทธมณฑล ด้านต่างๆ ครั้งที่หนึ่งเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ของอาเภอ ของคลองศาลายา มีเรื่องของอาหาร ดีๆ เรื่องหมอทาขวัญ เรื่องลาตัดแม่ประยูร สมัยก่อนก็อยู่ก้ากึ่งระหว่างศาลายากับเมืองนนท์ เรื่องยาสมุนไพรต่างๆ ซึ่งเรื่องพวกนี้เรารวบรวมเป็นองค์ความรู้อยู่ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ต่ างๆ ต่ อยอด รู้สึ ก ว่า การท างานเรื่องของวั ฒ นธรรมในระยะหลั งจะมี คนรุ่น ลู กมาเยอะ โดยเฉพาะทางมหาวิทยาลัย เรามีแหล่งต่างๆ ที่สามารถค้นคว้าได้ ส่วนหนึ่งที่คิดว่าสาคัญคือ โรงเรียนในพื้นที่น่าจะเป็นส่วนที่รวบรวมความรู้เหล่านี้ ในเรื่องของรูปในอาเภอพุทธมณฑลที่ มีรูปมากที่สุดคือ อาจารย์ สาเริง ของโรงเรียนกาญจนาภิเษก มีอยู่หลายหมื่นรูป เพราะว่า อาจารย์ร่วมกิจกรรมกับอาเภอพุทธมณฑลและเป็นตากล้องประจาอาเภอซึ่งมีข้อมูลอยู่เยอะ เป็นส่วนที่คิดว่าในการศึกษาในพื้นที่บางครั้งผมคิดว่าเรามีข้อมูลอยู่ แต่เราไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหน อย่างกรณีของพุทธมณฑลคนจะพยายามมาศึกษาถามชาวบ้าน แต่ปรากฏว่าชาวบ้านอพยพ จากที่อื่นมา ทาให้ไม่ค่อยรู้เรื่องแถวนี้สักเท่าไหร่ บางทีถามคลองมหาสวัสดิ์ใครเป็นคนขุด แต่ บางคนกลั บ บอกว่ า คนมหาสวั ส ดิ์ เป็ น คนขุ ด ซึ่ ง เป็ น การให้ ข้อ มู ล ที่ ไม่ ถู ก ต้ อ ง เพราะการ ขุดคลองขนาดใหญ่ต้องเป็นคนที่มีเงินมาก เพราะค่าขุดคลองไม่ใช่น้อยและเป็นคนมี อานาจ มี บ ารมี การจะขุ ด คลองผ่ า นที่ ต รงไหนต้ อ งมี ก ารขออนุ ญ าต ถ้ า เป็ น พระมหากษั ต ริ ย์


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๔๗

สมัยรัชกาลที่ ๔ ก็ไม่ต้องขอใคร เพราะถือว่าแผ่นดินทั้งหมดในราชอาณาจักรสยามเป็นของ พระเจ้าแผ่นดินทั้งหมด เงินขุดคลองมหาสวัสดิ์ได้ม าจากรัชกาลที่ ๔ ท่านยึด มาจากทายาทของท้ าวเทพ อากรซึ่งเป็นเจ้าของตลาดเมืองนนท์ สมัยก่อนได้เงินสัมปทานเก็บภาษี ปรากฏว่าท้าวเทพ อากรซึ่งชื่อเดิมของท่านคือยายเงิน เสียชีวิต ท่านมีเงินอยู่เยอะแต่ลูกหลานทะเลาะแย่งชิงกัน รัชกาลที่ ๔ จึงให้คนไปริบเงินมาหนึ่งพันชั่ง ประมาณแปดหมื่นบาท สมัยเมื่อก่อนปี ๒๔๐๐ เมื่อขุดคลองมหาสวัสดิ์รัชกาลที่ ๔ ก็เอาเงินก้อนนี้มาเป็นทุนในการขุดคลองร่วมกับเงินของ ท้องพระคลังอีกร้อยชั่ง นายกองขุดคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ต้องสมทบอีกหนึ่งชั่งกับสิบตาลึง เพราะเงินไม่พอ และมี เหตุการณ์สาคัญกับพื้นที่แถวนี้ช่วงที่ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มาขุดคือ หลังจากขุดคลองเสร็จ โปรดให้สร้างศาลาทุกร้อยเส้นหรือสี่กิโล ศาลาหลังหนึ่งจารึกตารายา เป็นที่มาของ “ศาลายา” อีกศาลาใช้ปลงศพคนของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ที่เสียชีวิตระหว่าง การขุดคลองซึ่งตอนนั้นไม่มีวัดก็ให้ทาศพที่ศาลาหลังที่สี่ ศาลานั้นเรี ยกว่า “ศาลาทาศพ” ภายหลังเปลี่ยนมาเป็น “ศาลาธรรมสพน์” เป็นที่มาของประวัติศาสตร์นครปฐม เวลาเราดูจะ สนุกและมีคาถามต่อไปว่าศาลายาอยู่ตรงไหน ศาลาธรรมสพน์อยู่ตรงไหนซึ่งเราสามารถคิด ง่ายๆ โดยเอาแผนที่ละเอียดมาแล้ววัดสี่กิโลจากปากคลองมา อยู่ตรงไหนก็ตรงนั้น จะทาให้ ประวัติศาสตร์มีน้าหนักขึ้นเมื่อสามารถตรวจสอบบางส่วนได้ ข้อมูลในส่วนของโรงเรียนจะมีประโยชน์มากเพราะอย่างน้อยโรงเรียนน่าจะเป็นศูนย์ รวมของความรู้ต่างๆ ในท้องถิ่นที่เราอยู่ ถ้าเราสนใจศึกษาเรื่องต้นทุนต่างๆ ความเป็นมาของ ประวัติศาสตร์ เรื่องของคน เรื่องอาชีพต่างๆ ประเพณีสาคัญที่รวบรวมไว้ ต่อมาก็รายการที่จะ ถ่ายทอดสาหรับนักเรียนและชุมชน สาหรับตัวผมเองช่วงก่อนฉลอง ๑๕๐ ปี คลองมหาสวัสดิ์ พบว่าตามหน้าวัดต่างๆ มี คนชอบมาหาปลากันเยอะ อย่างวัดสุวรรณมาตกปลากันใต้ป้ายเขตอภัยทาน บางคนบอกว่า ไม่เห็นป้ายเพราะป้ายหันไปทางคลองเลยตกปลาหลังป้าย กรณี นี้เราได้ทาประชาคมที่วัด สาละวันกาหนดเป็นเขตรักษาพืชพันธุ์ซึ่งเคยไปดูที่วัดพระนอนจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นแหล่ง แรกๆ ที่ทาอุทยานมัจฉาและประกาศเป็นเขตรักษาพืชพันธุ์ ซึ่งมีบทลงโทษตามกฎหมายของ กรมประมงว่าในเขตรักษาพืชพันธุ์ถ้าใครมาหาปลาในส่วนนี้จะโดนปรับไม่เกินหมื่นบาทและ ยึดอุปกรณ์ในการหาปลา เพราะฉะนั้นเราก็ทาเรื่องขอเป็นเขตรักษาพืชพันธุ์ซึ่งจะมีผลตาม กฎหมายมาก เพราะฉะนั้น ถ้าไปดูที่วัดสาละวันจะไม่ค่อยมีคนตกปลา แต่วัดสุวรรณจะมีคน มาตกปลาค่อนข้างเยอะ


๔๘

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ส่วนหนึ่งคือข้อมูลได้นาไปใช้ในการต่อยอดนะครับ ส่วนงานด้านวิชาการโดยเฉพาะ ในสายของอาจารย์ก็สามารถต่อยอดไปได้ พอดีอ าจารย์จริยาได้เป็นระดับเชี่ยวชาญหลายปี แล้ ว ตอนนี้ ก็ได้ ส ายสามไปแล้ ว อั น นี้ ถือ ว่า ความรู้ท้ อ งถิ่น สามารถใช้ ในการต่ อยอดและ ประเมินผลงานด้านวิชาการได้ นอกเหนือจากนั้นผมว่าเป็นความภาคภูมิใจของท้องถิ่นในการ ที่ว่าเรามีประวัติความเป็นมา มีของดีที่โชว์คนอื่นได้ เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ สาหรับองค์ความรู้ของเมืองนครปฐมจะมีคนศึกษาไว้เยอะตั้งแต่ประวัติศาสตร์ของ เมืองนครปฐมสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มหาโกษาธิบดี ซึ่งเป็นแม่กลองขุด คลองมหาสวัสดิ์และบูรณะพระปฐมเจดีย์ ท่านเป็นคนเขียนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยได้ เขียนประวัติเมืองนครปฐม ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ พระยากง พระยาพานซึ่งสามารถไป ค้นคว้าดูได้ หรือจะดูสารคดีในเรื่องของพินิจนครเมื่อหลายปีมาแล้วมีคนทาเมืองนครปฐมซึ่งมี ประมาณสี่ตอนจะมีองค์ความรู้อยู่เยอะในส่วนนั้น เรื่องเมืองนครปฐมสมัยก่อนจะมีคุณอุษาที่ เป็นหัวหน้าพิพิธภัณ ฑ์ ทาไว้เยอะพอสมควร มีของราชภัฏนครปฐม และก่อนหน้านี้มี ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผมว่าการแลกเปลี่ย นข้อมูล ของสถานศึกษาต่ างๆ น่ าจะมีป ระโยชน์อยู่เยอะ ถ้า สถานศึกษาต่างๆ มีโอกาสได้พานักเรียนลงพื้นที่เพราะปัจจุบันมีงบที่จะพาไปทัศนศึกษา บาง คนพาไปดูงานไกลแต่บ้านตัวเองไม่รู้ กรณีของพุทธมณฑลผมว่าอย่างน้อยนักเรียนมัธยมน่าจะ ได้มาล่องคลองมหาสวัสดิ์ดู เผื่อว่าจะได้เห็นสภาพ ความเป็นมาประวัติศาสตร์ต่างๆ ขอยกตัวอย่างเรื่องผ้าดา ว่าสมัยก่อนผ้าดาจะย้อมจากมะเกลือ จะมี ที่ไม่ค่อยมีสีจะ อยู่แถวตลาดพระนามซึ่งมีคนขายอยู่จะเอาผ้าย้อมด้วยมะเกลือจากสีขาวเป็นสีดา ตอนหลัง พอมีครามเข้ามาสีสวยกว่าและสีตกน้อยกว่ามะเกลือ ความนิย มเลยน้อยลงไป หลังจากมี โรงงานโทเรที่นครชัยศรีก็ทั้งผ้าดาจากมะเกลือและย้อมครามเลยจบ เดี๋ยวนี้เลย หาไม่ค่อยได้ ถ้าดูในหนังสือเล่มเมื่อสักครู่จะเห็นประวัติเรื่องผ้าดาอยู่ หรือเย ธัมมาความหมายว่าอะไร ของเมืองนครปฐมหมด อาจารย์ประเสริฐชัย: ผมฟังเรื่องราวของอาจารย์แล้วรู้สึกว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก ในเรื่องของประวัติศาสตร์สามารถนาไปสร้างหลักสูตรที่เราจะไปต่อยอดได้ ต้องอาศัยการ แลกเปลี่ยนนะครับ อีกสักนิดนึงก่อนจบ ในช่วงเช้าเป็นเรื่องของความเข้าใจ เรื่องของการทา หลักสูตร แต่ช่วงต่อไปจะเป็นเรื่องของการปฏิบัติจริง ถ้าเราไม่เข้าใจ เวลาปฏิบัติจริง ก็จะเกิด คาถามเยอะ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดมีอะไรที่เป็นข้อสงสัย เพราะข้อมูลดีๆ อย่างนี้ผมว่าน่าสนใจ นะ ถ้าอาจารย์จะทาเรื่องเกี่ยวกับพวกนี้น่าจะเอาไปศึกษา เพราะมีทั้งรูปและเนื้อหาที่เป็น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๔๙

ประโยชน์ เยอะมาก โรงพยาบาลพุ ท ธมณฑลให้ ข้ อมู ล นี้ ได้ เต็ ม ที่ น ะครับ มี อาจารย์ ที่ ท า เกี่ย วกับ เรื่องพวกนี้ ไหมครับ รู้สึ ก ว่า ฟั งอาจารย์ หมอแล้ วเข้าใจดี เข้า ใจอย่ า งซาบซึ้ ง แต่ อาจารย์หมออธิบายแล้วซาบซึ้งเพราะมีภาพสวยงาม นายแพทย์วัฒนา: ยังคิดว่าอีกสี่เดือนกว่าจะเกษียณ แต่ใจจริงอยากทาทิ้งไว้สาหรับ ชุมชนก่อนจะเกษียณคือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านกับศูนย์ศึกษาข้อมูลท้องถิ่น โรงพยาบาลไม่เหมาะ หรอก จริงๆ อยากจัดที่วัดสุวรรณาราม แต่ยังไม่ได้โอกาส อยู่ที่วัดมีข้อดีคือวัดเป็นศูนย์กลาง ของชุมชน เป็นตัวที่มาประวัติศาสตร์ของชุมชน แต่เราไม่ต้องการแสดงพิพิธภัณฑ์แบบเอา ของมีค่า ของเก่ามาแสดงเพราะเดือดร้อนคนที่มานั่งเฝ้า ส่วนใหญ่จะแสดงด้วยข้อมูลเป็นภาพ เพราะจะได้ประโยชน์ ถ้าเป็นไปได้เอาสมาชิกชมรมผู้สูงอายุมานั่งเฝ้าเผื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามา เพราะจากประสบการณ์ ที่ ผ่ า นมาผู้ สู ง อายุ น่ า จะรู้เรื่อ งราวที่ ผ่ า นมาพอสมควรเห็ น การ เปลี่ยนแปลงที่จะเล่าได้ด้วยตัวเอง เอามาศึกษาข้อมูลอีกนิดหน่อย อีกส่วนคือนักเรียนชั้น ประถมปลายที่น่าจะมีส่วนร่วมในส่วนนี้ และในวัดหลายแห่งมีของดีๆ เยอะ อาทิเช่นกิจกรรม ฝาผนังซึ่งเล่าเรื่องราวของคน เมื่อนามารวบรวมแล้วสามารถเล่าอะไรได้ค่อนข้างเยอะ แม้แต่ วัดสุวรรณ สิงโตหน้าวัดอยู่สองตัว ตัวหนึ่งดูออกว่าเป็นตัวผู้ อีกตัวดูไม่ออก อย่างนี้ก็เริ่มสนุก แล้วเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือคนไปดูพนมรุ้งต้องไปดูฤาษีนั่งสบายนอกจากไปดูนารายณ์บรรทม ศิลป์ ซึ่งเกล็ดจากตรงนี้คนไปดูแล้วก็สนุกนะครับ อาจารย์ประเสริฐชัย: แต่มันเป็นปัญหาอยู่นิดหนึ่งนะครับ ตรงที่ข้อมูลทั้งหลายจะ เป็นของอาจารย์และทางวัด แต่ในส่วนของชุมชนยังไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมเท่าที่ควร ผมอยากให้ ชุมชนมีส่วนกับข้อมูลเหล่านี้และบริหารจัดการจะเป็นประโยชน์อย่างมาก อย่างที่อาจารย์พูด ว่าเวลาเราจะไปดูงาน เราไปดูข้างนอกไม่ดูที่บ้านเรา อันนี้เป็นปัญหานิดหนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้ว เรามีข้อมูลแต่เราไม่แสดงออกมา เพราะไม่มีข้อมูลต่างๆ เพราะฉะนั้น ผมเห็นว่าอาจารย์บาง ท่านให้ความสนใจในการศึกษาหลักสูตรท้องถิ่นเกี่ยวกับประวัติในเรื่องของข้อมูลพุทธมณฑล ซึ่งมีหลายมิติ สามารถเล่นได้เลย ที่สาคัญคือข้อมูลจะไม่ตาย ถ้าเราไม่ ให้ความสาคัญ ข้อมูล เหล่านั้น ก็จะหายไปตามกาลเวลา ตอนนี้ เรายังมีผู้ที่บ อกเล่าได้ซึ่งก็คืออาจารย์ นายแพทย์ วัฒนานี่แหละ เพราะฉะนั้นเราต้ องไปเก็บเกี่ยวมาบริหารจัดการข้อมูลตรงนี้ ผมแนะนานิด หนึ่งว่าถ้าเราใช้ข้อมูลตรงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพุทธมณฑลอย่างมาก ข้อมูลจะได้ไม่ตาย ที่ สาคัญเด็กบ้านเราจะได้ไม่ ไปรับวัฒนธรรมผิดๆ จากที่อื่นด้วย เพราะเราไปเรียนรู้จากที่อื่น อยากเช่นคลองมหาสวัส ดิ์ขุดโดยคนมหาสวั สดิ์ เพราะเขาบั น ทึกไว้แบบนั้ นแต่ จริงๆ แล้ ว ประวัติศาสตร์บอกแบบนี้ แต่คนที่อยู่ในพุทธมณฑลเองกลับไม่รู้เรื่อง เพราะเรายังไม่ให้ความ


๕๐

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

สนใจ เพราะฉะนั้นในเมื่อนายแพทย์วัฒนาบอกว่าทาไว้เยอะแล้ว เราน่าจะไปบริหารจัดการ ข้อมูลตรงนี้ ผมว่าเป็นการเรียนรู้ท้องถิ่นที่ดี ก็ฝ ากไว้แล้วกันถ้าเกิดใครคิดอะไรไม่ออก แวะ เข้าไปคุยกับอาจารย์หมอ แล้วพยายามลองดูว่าเราจะทาอะไรในเรื่องของหลักสูตรท้องถิ่นได้ บ้างเกี่ยวกับข้อมูลตรงนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเรามาก เพราะผมนั่งฟังผมก็เพลินนะ ได้คา ดี ๆ มากมาย โดยเฉพาะที่ มี รู ป พระปฐมเจดี ย์ อ ย่ า งค าที่ เ ขี ย นในสโลแกนเก่ า ๆ ใช้ ค าไม่ เหมือนกับภาษาในปัจจุบัน ตัวจริงต้องเป็นแบบนี้แต่เพี้ยนมาเป็นอีกแบบ จะทาให้เราบอกได้ สามารถบอกได้ว่าเรา ไม่เหมือนกับสากลเช่นกัน ถ้าเราไม่ยืนยันด้วยข้อมูล เราจะเชื่อข้อมูล ของสากล เพราะสากลจะใช้ ลั ก ษณะของรูป คาที่ ถู กตามภาษา แต่ นี่ คือค าโบราณซึ่ ง เรา เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็น ภาษาไทยที่ เราต้องอนุ รักษ์ ไว้ด้วย อัน นี้ก็เป็น ส่วนดีๆ อาจารย์เขา ปวารณาตัวเองไว้แล้วว่าจะพยายามเก็บข้อมูลตรงนี้ แต่พวกเราก็ไปช็อปปิ้งสักหน่อย บางที การช็อปจะทาให้เราเกิดปัญญาคิดอะไรได้เยอะขึ้น ฝากไว้นิดหนึ่ง ตอนนี้เรามองไปที่ต่างๆ ใน ส่วนใกล้ตัวเรา แต่ไม่ใช่เราเล่นคนละหนึ่งเรื่องแล้วก็จบกัน เราอยากได้สายสะพายระดับสาม ไหมล่ะครับ เราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีเล่นให้เยอะขึ้นจนเป็นความเชี่ยวชาญ เมื่อกี้เห็นอาจารย์ จริยาบอกว่าการได้วิทยฐานะเพิ่มขึ้นต้องสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน เราต้องดูด้วยว่า ถ้าเราเล่นแล้วจะเป็นข้อมูลที่จะสามารถทาให้นักเรียนโดดเด่นกว่าใครนี่ก็คือผลสัมฤทธิ์นะ โดยเฉพาะรู้จักพุทธมณฑลดีมาก พระโรจนฤทธิ์ทาไมต้องมีพุง พวกนี้เป็นบทบาทสาคัญถ้าเรา ฟังแล้วเราจะเคลิ้มตาม แต่เราต้องจดไว้ด้วย อยากเชิญชวนให้อาจารย์อย่าเล่นแค่หลักสูตร เดียวแล้วจบกัน ไปพัฒนาอย่างอื่นโดยเฉพาะข้อมูลดีๆ ที่อาจารย์หมอเอามาให้ไป ขุดคุ้ยหรือ พามาท่ องเที่ย วบ้ างก็ได้ อาจารย์หมอบรรยายเก่งมาก ท าให้เราเห็ นประวัติศาสตร์และมี หลั กฐานที่ บั น ทึ ก ไว้ ด้ ว ย ถ้า ใครบอกไม่ จ ริง ก็ม าโต้ เถี ย งกัน เพราะนี่ เป็ น หลั ก ฐานบั น ทึ ก โต้เถียงกันในเชิง แล้วคุณก็ต้องเอาหลักฐานบันทึกมาบอกด้วยว่าคุณได้หลักฐานบันทึกนั้นมา จากที่ไหน ใครจะจริงหรือเท็จค่อยว่ากัน แค่มีหลักฐานก็บอกว่าพูดจริงแล้ว ในส่วนของประเด็นของหลักสูตรท้องถิ่นยังมีอะไรติดค้างในใจอยู่ ไหมครับ เกี่ยวกับ เรื่องแรกๆ ยังไม่ต้องถึงเชิงปฏิบัตินะครับ เชิงปฏิบัติรอไปถึงอาจารย์จริยาแล้วกัน เรามีหน้าที่ แค่นี้นะครับ ถ้ามีติดค้างคุยได้นะก่อนที่ผมกับอาจารย์ นายแพทย์วัฒนาไม่อยู่ ณ เวลานี้นะ ครับ ต้องไปติดต่อผมที่คณะสังคมกับโรงพยาบาลพุทธมณฑลนะ เพราะว่าเราจะไม่ได้อยู่ทั้ง สามวันนะครับ เชิญคุยได้เลย ถ้าเราสามารถตอบได้ก็ยินดีทุกคาถามในฐานะที่มีประสบการณ์ ถ้าไม่มีแสดงว่าเคลียร์ อาจารย์มีอะไรเสริมอีกไหมครับ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๕๑

นายแพทย์วัฒนา: ก็อยากจะฝากไว้นะครับว่าไปอยู่ที่ไหน เราน่าจะมีความรู้เรื่องที่ นั่นน่าจะดี เราอยู่โรงเรียนไหน สอนทางด้านไหนก็น่าจะมีความรู้ของที่นั่นมากกว่าที่อื่ น มี หลายแห่งที่ยังไม่มีแหล่งข้อมูล ผมว่าน่าสนใจในส่วนนี้ ทาไว้ตั้งแต่วันนี้ดีกว่าคนข้างหลังที่จะ มาเขียนต่อซึ่งบางทีอาจจะได้ข้อมูลที่ผิดๆ หรือข้อมูลที่ไม่ได้มาจากแหล่งจริงๆ เพราะเรารู้ว่า เดี๋ยวนี้การคัดลอกข้อมูลมีอยู่สูงมาก แล้วก็ข้อมูลบางทีเป็นข้อมูลที่เก่าคนที่มาอยู่จะไม่รู้เรื่อง บางทีจะแต่งนิยายขึ้นมาใหม่ อาจารย์ประเสริฐชัย: มีอาจารย์ท่านไหนสอนทางด้านประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ ช่วยยกมือหน่อยได้ไหมครับ อันนี้น่าจะยกมือได้นะ เราไม่ได้ทาอะไร เพียงแต่จะแนะนาดีๆ อันนี้คือแหล่งข้อมูลแล้วนะ เอานามบัตรท่านไปเลย อยากได้อะไรเอาเครื่องมือไปดูดข้อมูลมา ให้หมด อย่าให้ข้อมูลมันตาย นายแพทย์วัฒนา: ถ้าอยากได้ข้อมูลต้องเอาฮาร์ดดิสก์ไปด้วย เพราะข้อมูลบางทีก็มี ขนาดใหญ่มาก อาจารย์ประเสริฐชัย: อาจารย์ที่จะทาวิทยฐานะทางประวัติศาสตร์ เราจะต้องเรียนรู้ ตรงนี้ให้โดดเด่นกว่าคนอื่น อย่างเช่นถ้าเด็กของเรารู้พุทธมณฑลอย่างดี สัมฤทธิผลของเราคือ เด็กจะเก่ง เพราะฉะนั้นเวลามีการแข่งขันเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พุทธมณฑลเราชนะแน่นอน เพราะว่ า ไม่ มี ที่ ไ หนรู้ ลึ ก เท่ า ตรงนี้ อี ก แล้ ว เราต้ อ งมี จุ ด เด่ น ตรงนี้ ด้ ว ย อาจารย์ ที่ ส อน ประวัติศาสตร์ก็อย่าลืมนะครับ มีข้อมู ลดีๆ อยู่ตรงนี้ด้วย ถ้าผมสอนประวัติศาสตร์ ผมไปละ เดี๋ยวผมก็อาจจะไป เพราะฟังดูแล้วเป็นเรื่องที่น่าจะเล่าสู่ลูกหลานได้ ผมก็อยู่ที่นี่นะแต่ไม่ได้ เป็นคนที่นี่ นายแพทย์วัฒนา: ส่วนหนึ่งอาจารย์ก็มาจากโรงเรียนพระแม่มารีย์ใช่ ไหม มาจาก สามพรานด้วย ในเล่มปฐมสารจะมีความเป็นมาของอาเภอสามพราน ที่มาของชื่อสามพราน จริงๆนี่เป็นหนังสืองานประจาปีวัดไร่ขิง เป็นงานประจาปีวัดไร่ขิง วัดดอนหวายก็มาพร้อมๆ กัน อาจารย์ ป ระเสริฐชั ย : อาจารย์ อาจจะใช้ วิ ธีการแบบอาจารย์ หมอในการน าองค์ ความรู้นั้ น ขึ้น มาเก็บ รวบรวมข้อมู ลขึ้น มาเป็ น วิท ยฐานะที่ ดี ถ้ าไปทางลั กษณะนั้ น ก็จ ะได้ ผลงานที่เป็นนวตกรรมขึ้นมาด้วย ทางมหาวิทยาลัยจะใช้วิธีเก็บข้อมูลและมีหลักฐานมาจัด ทางมหาวิ ท ยาลั ย จะใช้ แต่ ไม่ รู้ว่ า ระดั บ สพฐ.ท ายั งไงก็ไม่ ท ราบ ราชภัฏ ก็น่ าจะใช้ วิธี การ เดียวกับมหาวิทยาลัยนะ ผมคิดว่าสามารถรวบรวมแล้วเขียนข้อมูลเป็นหนังสือได้ อีกหน่อยนี่ อาจารย์อภิลักษณ์คาดว่าจะได้เป็นศาสตราจารย์แน่ เพราะรวบรวมข้อมูลไว้เยอะมาก ในแต่


๕๒

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ละช่ ว งของการเป็ น ผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ ดร. เป็ น รองศาสตราจารย์ ดร. และเป็ น ศาสตราจารย์ ขึ้นอยู่กับว่ามีการรวบรวมข้อมูลแต่ละระดับเป็นที่ประจักษ์อย่างไร อาจารย์ รวบรวมตั้งแต่เยาว์วัยมาหลายเวอร์ชั่นแล้ว อาจารย์มีโอกาสเยอะมาก ผมช้าไปแล้ว เพราะคิด เมื่อสายไปแล้ว อย่างดีอาจได้แค่ รศ. แล้วจบ คาถาม: บุ คลากรส่วนใหญ่ ที่ ใช้ทาฐานข้อมูลนี้ เป็ นบุคลากรของโรงพยาบาลหรือ เครือข่ายชุมชนคะ นายแพทย์วัฒ นา: เราก็มีหมดแหละครับ เครือข่ายข้อมู ลว่าใช้ ทั้งข้อมูลในชุมชน เครือข่ายมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลก็มีใช้รวมกันหมด ผมเองบางทีจะไม่ค่อยชอบเขียน จะมี ทีมชอบเขียน จะมีคนรวบรวมข้อมูลของผมไว้ รูปหรือเนื้อหาต่างๆจะมีคนเก็บไว้ เวลาคนมา หาข้อมูลก็จะบอกให้ไปหาคุณนิเวศน์ แล้วบอกจะเอาข้อมูลเรื่องอะไร ซึ่งเขาก็จะไปดึงมาให้ ว่าเป็นข้อมูลจากส่วนไหน ซึ่งเขาจะพร้อมตลอด คาถาม: อยากให้เล่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมในชุมชนเรื่องการกาจัดสวะ เป็นส่วน หนึ่งของกิจกรรมในชุมชนด้วยหรือเปล่า นายแพทย์วัฒนา: เริ่มจากหน้าบ้านผม ตอนนี้จะเริ่มขยับมาอยู่แถวหมู่ที่สามซึ่งเป็น เขตของโรงพยาบาล เราจะเริ่มจากหน้าบ้านผมก่อนแล้วจะถามฝั่งตรงข้ามว่าจะเอาหรือไม่ เอา ถ้าไม่เอาก็จะข้าม ตอนนี้เรามีจุดมุ่งหมายว่าไม่เอาสว่านมาติดคันคลองริมตลิ่งบ้านเรา ต่อไปคือดอกบัวขึ้นมา ก็สวยนะ นักท่องเที่ยวมาจะได้เห็น ต่อมาคือมีแหล่งอาหารมีผักบุ้ง แล้วมีปลา พอมีปลามากขึ้นปัญหาก็จะคือคนอีสานจะมาหาปลาจะมาเยอะ เขาจะไม่สนใจว่า ที่ใครจะมาหาอย่างเดียว ทาให้ดอกบัวและผักบุ้งเราเสียหาย กาลังคิดว่าถ้ามีปัญหามากต่อไป จะประกาศว่าหน้าบ้านเราเป็นเขตรักษาพืชพันธุ์ เรื่องปลูกต้นไม้ส่วนหนึ่งต้องใช้เวลาเยอะ กาลังคิดว่าในส่วนหน้าบ้าน ถ้าเป็นไปได้ จะเอารูปเก่าๆ ของหน้าบ้านริมคลองอย่างมีงานศพ งานบวชที่มีการเปลี่ยนแปลงของฝั่งตรงข้ามจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของบ้านที่แต่ก่อนเป็น หลั งคามุ งจากมี เข่งเป็ ด อยู่ งานศพย่ าของนายแพทย์ วัฒ นาเมื่ อปี ๒๕๑๑ ตอนนั้ นจั งหวั ด นครปฐม นครชัยศรี เลี้ยงเป็ดไข่กันเยอะ ภาพนั้นจะสื่อว่าขณะนั้นนิยมเลี้ยงเป็ดซึ่งเป็นภาพที่มี คุณค่าที่อาจจะบอกได้ว่านอกเหนือจากประเพณีงานศพแล้ว พอทาเรื่อยๆแล้วจะสนุก หยิบ ภาพมาดูพอได้ข้อมูลแล้วบันทึกไว้ ถ้าทาได้ต้องรวมเป็นรูปเล่ม ของโรงเรียนต่างๆ ซึ่งอาจจะ ไม่มีทุน ทาในคอมพิวเตอร์แล้วน่าจะพิมพ์เก็บเป็นเล่มเอาไว้ เพราะเกิดคอมมีปัญหาจะได้มี สารอง ของผมดีกว่านั้นพ่อของผมสั่งไว้ว่าถ้าท่านเสียแล้วให้ทาเป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพไว้ แต่ไม่ได้บอกว่าเรื่องอะไรซึ่งมีก็มีทุนให้ไว้ ก็เอาข้อมูลรวบรวมและเอางานวิจัยมาใส่เข้าไป ก็


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๕๓

เป็นงานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งเล่มนี้บรรณาธิการอาจารย์จากสถาบันวิจัยภาษาก็รู้สึก ภูมิใจ ในงานแจกประมาณหนึ่งพันหกร้อยเล่มแถวพุทธมณฑล ต้นทุนทาทีประมาณหนึ่งแสน บาท แต่เล่มนี้มากกว่าแสนเพราะพิมพ์เยอะ คาถาม: อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับต้นไม้ประจาจังหวัดนครปฐม (ต้นจันทน์) ว่ามี ที่มาอย่างไร นายแพทย์วัฒนา: ที่มาคือในทับขวัญที่เป็นเรือนไทยจะมีต้นจันทน์อยู่ต้นหนึ่งจะเอา ต้นนี้มาเป็นสัญลักษณ์คือที่มาของต้นจันทน์ แต่ปรากฏว่าเมื่อคราวสมเด็จพระราชินีทรงจัดทา หนังสือต้นไม้ประจาจังหวัดเหมือนกับว่าต้นจันทน์ของจังหวัดนครปฐมไปสลับกับต้นจันทน์ หอมของจันทบุ รีเลยเป็ น ปัญ หา ผมเลยสงสั ยว่าท าไมถึงกลายเป็ นต้ นจัน ทน์หอมไป สลั บ ดอกไม้เป็นดอกแก้วเพราะจังหวัดนครปฐมเป็นเมืองพระ พระรัตนตรัยก็คือแก้วสามประการ คาถาม : เห็นว่าจังหวัดนครปฐมน่าจะมีนโยบายปลูกต้นไม้ประจาจังหวัดไว้ตามริม ทาง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด นายแพทย์วัฒนา: ต้นจันทน์มันโตยาก ปลูกในโรงพยาบาลไม่ค่อยยอมจะโตเลย มัน ไม่เหมือนต้นโพธิ์ ต้นไทร ปลูกทิ้งๆ ขว้างๆ โตแล้วโตอีก ที่งามมากๆ คือที่องค์พระปฐมที่ใน หลวงทรงปลูกตรงหน้าวิหารหลวง สองต้นนั้นงามจริงๆ ดอกอร่ามเต็มต้น ผมว่าสาหรับคน นครปฐมมีอะไรดีๆ เยอะ อย่างต้น ไม้ร้อยปี ซึ่งมีการบั น ทึ กวัน ปลูกไว้เลย ต้น ลั่น ทมก็เป็ น ลั่นทมจริงๆ เพราะมาก่อนลีลาวดีห้าสิบกว่าปีเกือบหกสิบปีมีต้นขนาดไหน มีสีต่าง มีกลิ่น ต่างๆ หอมโดยเฉพาะตอนกลางคืน ตอนกลางคืนไม่มีอะไรหรอก นี่องค์นครปฐมถือว่าสุดยอด อยู่ที่นั่นแล้วยังกลัวอะไร ขนาดพระมหากษัตริย์ยังนับถือ ต้องมั่นใจว่าเป็นของดีมากๆ เลย ไม่อย่างนั้นรัชกาลที่ ๔ ท่านไม่ศรัทธา รัชกาลที่ ๔ – ๖ นะครับ ที่ศรัทธาในองค์พระปฐม มี ปาฏิหาริย์ต่างๆ อาจารย์ประเสริฐชัย: เพื่อไม่ให้ลืมอาจารย์ก็ไปปลูกในโรงเรียนไว้ก่อนสิครับ จะได้ เป็นส่วนหนึ่งเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียนว่านี่คือประวัติศาสตร์ข องโรงเรียนเราด้วย ใครไม่ทา เราทาก่อน นายแพทย์วัฒนา: เหมือนคลองมหาสวัสดิ์เหมือนกันนะ สมัยขุดใหม่ๆ คนก็ยังไม่ตั้ง ชื่อ คนก็เรียกว่าคลองขุดชัยพฤกษ์ บ้าง สองปีหลังจากนั้ นถึงจะพระราชทานชื่อ ชื่อคลอง มหาสวัสดิ์ใช้ชื่อเพื่อให้คล้องกับคลองเจดีย์บูชาที่มีมาก่อนหน้านี้ รัชกาลที่ ๔ โปรดให้ขุดคลอง เจดีย์บูชาก่อน “เจดีย์บูชา” “มหาสวัสดี” แล้วขุดคลองที่สามสี่ คือ “ภาษีเจริญ ” “ดาเนิน สะดวก” คล้องกันไป ทาให้จาได้ง่าย พอขึ้นเจดีย์บูชาของรัชกาลที่สี่ก็มีอีกสามคลองตามมา


๕๔

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

พอรัช กาลที่ ๕ มาขุด คลอง “ทวีวั ฒ นา” “นราภิรมย์ ” ตั้ งชื่ ออิ งกั บ แม่ คือ “พระองค์เจ้ า โสมนัสวัฒนาวดี” กับ “พระองค์เจ้าราเพยภมราภิรมย์” ซึ่งเป็นมเหสีรัชกาลที่ ๔ เรื่องพวกนี้ ศึกษาแล้วสนุก มีที่มาของประวัติศาสตร์ อาจารย์ประเสริฐชัย: โดยเฉพาะอาจารย์ท่านใดที่ทาเรื่องเกี่ยวกับคลองมหาสวัสดิ์ เชิ ญ อาจารย์ ห มอไปบรรยายได้ เลยนะครั บ จะชั ด มากเกี่ ย วกั บ ประวั ติ ศ าสตร์ จะได้ รายละเอี ย ด และเด็ กก็จ ะอิน ไปกับ ความรู้ที่ ได้ ด้ วย หรือไม่ ก็ให้ เด็ กมาค้น หาข้อมู ล จากที่ โรงพยาบาลก่อน นายแพทย์ วั ฒ นา: ที่ โ รงพยาบาลก็ มี ที่ ค ณะศิ ล ปศาสตร์ ก็ ไ ม่ น้ อ ยนะ หอสมุ ด มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยภาษาก็มีข้อมูลอยู่ เพราะเราแลกเปลี่ ยนข้อมูลกัน อาจารย์สาเริง ของโรงเรียนกาญจนาภิเษกก็มีข้อมูลไม่น้อยเพราะเป็นผู้ร่วมวิจัยข้อมูลเรื่องประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นกันมา พิธีกร: ต้องขอขอบคุณวิทยากรทั้งสองท่านเป็นอย่างมากค่ะ ทั้งอาจารย์ประเสริฐชัย และนายแพทย์วัฒนา วันนี้เราได้รับความรู้ต่างๆ และประเด็นที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของแนวทางในการจัดทาหนังสือ ทั้งในเรื่องของตัวเกร็ ดประเด็นต่างๆ ที่เราสามารถใช้ เป็ น เนื้ อหาประกอบการจัด การเรียนการสอนได้ ไม่ ว่าจะเป็ นเรื่องของประวัติ ศาสตร์ ภูมิ ปั ญ ญาท้ องถิ่น สถานที่ ท่ องเที่ ย วต่ างๆ ประเพณี วั ฒ นธรรมที่ คุณ หมอได้ บ อกไว้ จริงๆ มี กิจกรรมต่างๆ อีกไม่ว่าจะเป็นการล่องเรือซึ่งน่าสนใจมากเลยถ้าจะพานักเรียนไปร่วมกิจกรรม กัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๕๕

วิธีกำร และเครื่องมือในกำรเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น อภิลักษณ์ เกษมผลกูล๔ การเก็บข้อมูลท้องถิ่นมีประเด็นสาคัญที่ควรคานึงถึงประการแรกคือ “การเป็นคนใน พื้นที่” ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ ผู้เก็บข้อมูลจะรู้จักและคุ้นเคยกับชุมชน ผู้คน และ เข้าใจวิถีชีวิ ต ของคนในชุ ม ชน ในขณะที่ ข้อเสี ย ของการเป็ น คนในพื้ น ที่ คือ การไม่ รู้สึ กถึง ความสาคัญหรือคุณค่าของสิ่งที่เห็น เนื่องจากรู้สึกว่าเป็ นเรื่องปกติที่พบเห็นอยู่เป็นประจาใน ชีวิตประจาวันอยู่แล้ว จนบางครั้งทาให้ผู้เก็บข้อมูลมองข้ามข้อมูลที่สาคัญบางอย่างไป สิ่งที่ผู้เก็บ ข้อมูลควรทาเพื่ อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วนของการเก็บ ข้อมูลคือ ผู้เก็บข้อมูลที่เป็นคนในพื้นที่ ควรปรับมุมมองของตนให้เหมือนกับว่าตนเป็นคนนอก พื้นที่ ต้องสังเกตและให้ความสาคัญกับสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็นในพื้นที่ของตน ในขณะเดียวกัน ควรจดบันทึกสิ่งที่สังเกตได้เพื่อเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลต่อไป กำรเตรียมตัวเพื่อเก็บข้อมูลชุมชน ผู้เก็บข้อมูลควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของชุมชนให้ชัดเจนเพื่อใช้เป็นกรอบของการทา วิจัย เช่น การศึกษาชื่อสถานที่ (ภูมินาม) ว่ามีที่มาอย่างไร ประวัติการก่อตั้งชุมชน ประเพณีที่ สาคัญ ผู้นาชุมชนทั้งเชิงโครงสร้างการปกครองและผู้นาทางจิตวิญญาณ เช่น พระ เจ้าอาวาส หมอขวัญ เป็นต้น สิ่งสาคัญอีกประการหนึ่งคือ ควรทราบเกี่ย วกับความสัมพันธ์ของคนใน ชุมชนว่าแต่ละคนมีความสันพันธ์กันอย่างไร มีใครมีปัญหาหรือขัดแย้งกับใครบ้างหรือไม่ เพื่อ หลีกเลี่ยงการปะทะกันทางความคิด หรือหลีกเลี่ยงประเด็นอ่อนไหวของชุมชนนั้น ดังนั้น สิ่ง ที่ผู้เก็บข้อมูลควรเตรียมพร้อมไว้เบื้องต้นคือ การติดต่อประสานงานเพื่อหาคนที่สามารถเป็นผู้ ประสานกับชุมชนที่มีประสิทธิภาพ เช่น เป็นบุคคลที่คนในชุมชนให้ความเคารพ ซึ่งผู้ประสาน นี้จะเป็นผู้ให้ข้อมูลและเป็นผู้นาเข้าไปในชุมชนเพื่อการเก็บข้อมูลที่สะดวกและได้ข้อมูลที่มี คุณภาพ ประเด็นที่สาคัญต่อมาคือการออกภาคสนามเพื่อทาการสัม ภาษณ์ การเตรียมตัวของ ผู้เก็บข้อมูลเริ่มต้นตั้งแต่การแต่งกายให้เข้ากับสถานที่ แต่งกายให้กลมกลืน ไม่ดูเป็นคนนอก จนเกินไป จะทาให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้เก็บข้อมูลกับคนในชุมชน นอกจากนี้ ผู้เก็บข้อมูลยัง ๔

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจาสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ และคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


๕๖

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ต้องคานึงถึงระดับมนุษยสัมพันธ์ของแต่ละบุคคลด้วย บางคนเราสามารถสอบถามข้อมูลได้ ง่าย และพร้อมจะให้ข้อมูล ต่างๆ แก่ผู้สั มภาษณ์ ในขณะที่ บางคนอาจไม่ถนัดในการตอบ คาถาม หรือไม่คุ้นเคยเวลามีคนแปลกหน้าเข้ามาพูดคุยด้วย ซึ่งผู้สัมภาษณ์ต้องหาเทคนิควิธีที่ จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึก การเตรีย มตั วอี กอย่ างหนึ่ งคื อการเตรีย มอุ ป กรณ์ ส าหรับ สั ม ภาษณ์ เช่ น เครื่อ ง บันทึกเสียง หรือสมัยนี้สามารถใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องบันทึกเสียงได้ทาให้สะดวกในการ ท างานมากขึ้น นอกจากนี้ ควรจั ด จานวนคนให้ พ อเหมาะในการเก็บ ข้อมู ล คือ ประมาณ ๓ – ๕ คน โดยแต่ละคนแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน ได้แก่ คนสัมภาษณ์ คนถ่ายภาพ คนดูแล เครื่องบันทึกเสียง ซึ่งอาจจะมีหน้าที่ละคนหรือสองคนช่วยเหลือกัน แต่ไม่ควรให้คนเดียวทา หลายหน้าที่ เพราะจะทาให้สับสนและอาจทาให้ข้อมูลเสียหายได้ ข้อควรคานึงถึงอีกเรื่องหนึ่ง คือ การถ่ายรูป ควรเลือกมุมที่เห็นปราชญ์ชาวบ้านหรือสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้ของ ท้องถิ่นได้ชัดเจน สิ่งสาคัญคือต้องตรวจดูความพร้อมของอุปกรณ์ให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้ ในระยะเวลาที่คาดหมายไว้ เตรียมแบตเตอรี่สารอง อุปกรณ์เก็บข้อมูลควรมีหน่วยความจา เหลือมากเพียงพอในการบันทึกข้อมูลในแต่ละครั้ง ความพร้อมของผู้เก็บข้อมูลเป็นสิ่งสาคัญที่จะต้องมีอยู่ตลอดเวลา ความพร้อมในที่นี้ หมายรวมถึงการพร้อมที่จะลงพื้นที่เมื่อได้รับคาเชื้อเชิญจากชุมชน เช่น เมื่อชุมชนมีงาน คน ในชุมชนอาจจะให้เราไปร่วมงานด้วย แต่บอกอย่างกะทันหัน ซึ่งผู้เก็บข้อมูลก็ต้องพร้อมที่จะ ออกเดินทางไปในชุมชนทันที นี่เท่ากับเป็นการแสดงถึงการให้ความสาคัญกับชุมชนซึ่งจะ ส่งผลถึงชื่อเสียงของหน่วยงานในภาพรวมด้วย กำรเก็บข้อมูลภำคสนำม เมื่อผู้เก็บข้อมู ลเตรียมตัวและเตรียมอุป กรณ์ เรียบร้อยแล้ว ขั้น ตอนต่อไปคือการ สัมภาษณ์ การสัมภาษณ์มีทั้งการสัมภาษณ์โดยตรง สัมภาษณ์โดยอ้อม การสัมภาษณ์โดยตรง จะใช้กับผู้ที่เรามีความสนิทชิดเชื้อในระดับหนึ่งแล้วและสามารถถามคาถามต่างๆ ได้โดยตรง ส่วนการสัมภาษณ์โดยอ้อมเป็นการเริ่มต้นพูดคุยในเรื่องต่างๆ ก่อน แล้วค่อยโยงเข้าสู่สิ่งที่ ต้องการถาม วิธีการถามคือผู้สัมภาษณ์ต้องตั้งคาถามเตรียมไปก่อนในประเด็นต่างๆ เพื่อไม่ให้ เกิดช่องว่างในการสนทนา การทาบทสนทนาให้ต่อเนื่องจะช่วยสร้างความคุ้นเคยกับคู่สนทนา ได้ และควรมีความยืดหยุ่นในการถาม แม้จะเตรียมคาถามมาแล้วก็ตาม แต่หากผู้ให้ข้อมูลเล่า นอกเรื่อง หรือเล่าส่วนที่เกี่ยวกับคาถามข้ออื่นๆ ก่อนก็ควรยืดหยุ่นไปตามนั้น แล้วค่อยนา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๕๗

ข้อมูลดิบมาเรียบเรียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปัญหาข้อหนึ่งของการสอบถามประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คือการไม่ได้ วัน ที่ หรือปี พ.ศ. ที่ แน่ ชัด บางครั้งผู้ให้ ข้อมู ลจะใช้การประมาณการ ซึ่งผู้ เก็บ ข้อมูลต้องจดบันทึกแล้วนาไปเทียบเคียงกับปี พ.ศ. ที่เป็นไปได้อีกครั้งหนึ่ง ข้อควรระวังอีกข้อ คือผู้สัมภาษณ์ ต้องศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์หรือข้อมูลของพื้นที่มาแล้วในระดับหนึ่ง เพื่อป้องกันการบิดเบือนข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนในท้องถิ่น เช่น การประมาณการที่ เกินเลยไปจากความจริง หรือการแต่งเรื่องขึ้นเองเพื่อสร้างความสาคัญให้กับสถานที่ หรือใน กรณี ที่ ผู้สั ม ภาษณ์ เป็ น ผู้ มีความรู้สู งกว่า เช่น เป็ น ครู อาจารย์ จะท าให้ คนในท้ องถิ่น รู้สึ ก เกรงใจหากถามแล้ วไม่ ได้ ข้อมู ล กลั บ ไป เป็ น เหตุ ให้ ผู้ให้ ข้อมู ล สร้างข้อมู ล ขึ้น เองเพื่ อตอบ คาถาม หรือจะยึดคาถามของผู้สัมภาษณ์เป็นหลักแล้วตอบตามนั้นโดยไม่ตอบข้อมูลที่เป็นจริง ผู้เก็บข้อมูลสามารถป้องกันความผิดพลาดของข้อมูลจากกรณี ดังกล่าวได้โดยการ สัมภาษณ์ หลายๆ คนเป็ นการสอบทานข้อมูลซึ่งกันและกันประมาณ ๓ – ๕ คน และต้อง กลับไปตรวจสอบข้อมูลกับเอกสารหรือแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้อีกครั้ง กำรบันทึกข้อมูลจำกกำรสัมภำษณ์ การบั นทึ กข้อมูลจะมีแ บบเก็บ ข้อมูลชุม ชนอยู่ ซึ่งผู้บั นทึ กข้อมูลควรบั นทึ กอย่าง ละเอียด ไม่ว่าจะเป็นชื่อผู้สัมภาษณ์ ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ วัน เวลา สถานที่สัมภาษณ์ ที่อยู่ผู้ให้ สัมภาษณ์ รวมถึงข้อสังเกตปลีกย่อยที่สาคัญ ใส่ไว้ด้วย เพื่อผู้ที่มาอ่านภายหลังจะได้ทราบ ข้อมูลและสามารถตรวจสอบข้อมูลหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ตัวอย่างข้อสังเกตปลีกย่อยที่สาคัญในแบบบันทึกข้อมูลได้แก่ บริบทในการสัมภาษณ์ เช่ น หากผู้ ให้ สั ม ภาษณ์ อยู่ ในที่ ที่ มี ผู้ มี อิท ธิ พ ลทางความคิด หรือจิ ต ใจอยู่ ด้ วย ก็อาจจะไม่ สะดวกใจที่จะบอกเล่าข้อมูล หรืออาจให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เพื่อไม่ให้ตนเองต้องเสียหาย ในส่วนความคิดเห็นของผู้เก็บข้อมูลให้เขียนลงในส่วนที่เป็นความคิดเห็นแยกออกมา ไม่ควรนาไปปนกับตัวข้อมูลเพราะจะทาให้เกิดความสับสนว่าตอนใดเป็นข้อมูลที่ได้จากการ สอบถาม ตอนใดเป็ น ความคิด เห็ น ส่ วนตั ว ของผู้ สั ม ภาษณ์ ความคิด เห็ น ของผู้ เก็บ ข้อมู ล สามารถเขียนได้ทั้งข้อสังเกตที่มีต่อบริบทในการสนทนา สภาพแวดล้อมระหว่างการสนทนา หรือบุคลิกลักษณะของผู้ให้สัมภาษณ์และผู้เกี่ยวข้องก็ได้


๕๘

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

กำรสังเกต การสังเกตคือการที่ผู้เก็บข้อมูลเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือพิธีกรรมต่างๆ ที่ ชุมชนจัดขึ้น การสังเกตแบ่งได้เป็น การสังเกตแบบมีส่วนร่วม คือการเข้าไปร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ของกิจกรรมนั้น กับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม คือการสังเกตการณ์อยู่ภายนอก ในการจัด พิธีกรรมครั้งหนึ่งๆ ผู้รับหน้าที่เป็นผู้สังเกตแบบมีส่วนร่วมจะต้องสามารถวาดผังพิธีกรรมได้ เช่น การวางเครื่องบูชา การจัดสารับอาหาร การจัดที่นั่งของคนในพิธี ลาดับการแสดง และ จดบันทึกลาดับพิธีกรรม การแสดงต่างๆ ให้ชัดเจน ผู้สังเกตแบบมีส่วนร่วมต้องทาตัวกลมกลืน เป็น ส่วนหนึ่งของกิจกรรมนั้น เช่น การร้อง เล่น เต้นรา หรือการรับประทานอาหาร หาก เจ้าของบ้านเชื้อเชิญให้ร่วมรับประทานอาหารหรือร่วมกิจกรรมก็ต้องรับเชิญตามนั้นเพื่อไม่ให้ เกิดความแปลกแยก การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตนี้ ไม่จาเป็นต้องตั้งคาถามระหว่างการทา พิธีกรรม ถือว่าเป็นการขัดจังหวะหรือขัดขวางพิธีกรรมซึ่งบางครั้งอาจส่งผลต่อความเชื่อหรือ ความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมได้ นอกจากนั้นต้องระวังการเดิน ล่วงล้าเข้าไปในสถานที่ต่างๆ ที่ จัดไว้เฉพาะ เช่น ทางเดินสาหรับผีหรือเทวดาในการทาพิธี เป็นต้น หลังจากการเก็บข้อมูลอย่างมีส่วนร่วมแล้ว สิ่งที่ต้องทาต่อมาคือลาดับของพิธีกรรม ว่าใครขึ้นก่อน ใครพูดก่อน จากนั้นต่อด้วยอะไร ขั้นตอนที่สาคัญที่สุดคืออะไร นั่นคือวิธีก าร นาเสนอหรือเล่าเรื่อง ฉะนั้นถ้าเรามองพิธีกรรมเหมือนเป็นหนังหนึ่งเรื่อง เราจะอ่านมันได้ง่าย ขึ้นและจะเก็บข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้แล้วอาจจะต้องดูด้วยว่าบทบาทของแต่ละคนเคย เป็ น อะไรมาก่อน เช่ น เคยเป็ น พระเอกลิ เก เคยบวชเรียนมา เคยเป็ น เจ้ าอาวาส ภูมิ หลั ง เหล่านี้จะทาให้เห็นว่าแต่ละคนมีลูกเล่นในการสวดหรือการทาพิธีที่ต่างกัน จากนั้นผู้เก็บข้อมูลกลับมาทบทวนตัวข้อมูลที่บันทึกไว้ ว่ายังมีประเด็นใดขาดหายไป หรือไม่ ถ้ามีก็กลับไปเก็บให้ครบ และไม่ควรทิ้งเวลาไว้นานเพราะจะทาให้ทั้งผู้เก็บข้อมูลและ ผู้ให้ข้อมูลลืม เนื่องจากเราจะเห็นว่าบางพิธีกรรมจะจัดขึ้นเพียงปีละครั้ง ซึ่งถ้าปล่อยเวลานาน ไปคนในชุมชนก็จะจาไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง การบันทึกข้อมูลสามารถบันทึกในบัตรรายการที่เป็นบัตรแข็งเหมือนบัตรรายการใน ห้องสมุดสมัยก่อน การบันทึกข้อมูลแล้วทาเลขที่ ทาบัญชี และแยกประเภทไว้ด้วยว่าเป็ น ประวัติศาสตร์ชุมชน นิทานพื้นบ้าน พิธีกรรม สมุนไพร เป็นต้น เวลาค้นข้อมูลกลับมาจะทาได้ ง่าย มีค าถามว่ าสั มภาษณ์ คนอายุ เท่ า ไรจึ งจะน่ าเชื่ อถือ คาตอบคือขึ้น อยู่กับ ข้อมู ล ที่ ต้องการ เช่น ถ้าต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเพลงร้องเล่นของเด็ก ก็ควรสัมภาษณ์เด็ก


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๕๙

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่เป็นเอกสารโบราณ เช่น สมุดข่อย ใบลาน เป็นข้อมูลที่สาคัญ ซึ่งคนรุ่นเก่าได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ เอกสารโบราณนี้มีตั้งแต่โจทย์เลข ซึ่งสามารถนามา เป็นตัวอย่างให้นักเรียนศึกษาและลองทาดูได้ หรือแม้กระทั่งเรื่องเพศที่ปัจจุบันคิดว่าเป็นเรื่อง ต้องห้าม จริงๆ แล้วเรื่องเพศเป็นเรื่องปกติซึ่งเห็นได้จากเพลงลาตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เรื่องเพศในสมัยก่อนนั้นเป็นเรื่องสาคัญในท้องถิ่น แต่มีขอบเขตของมัน เนื่องจากเรื่องเพศเป็น เรื่องของความอุดมสมบูรณ์ เรื่องเพศในหมู่ชาวบ้านเป็นเรื่องของการสร้างความสมดุลทาง ธรรมชาติ เป็นเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ เราจะเห็นพิธีกรรมหลายๆ พิธีกรรมพูดถึงเรื่องเพศ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่น การปั้นเมฆขอฝน ในสมัยโบราณใช้วิธีปั้นเมฆคือเอาดินมาปั้นเป็น อวัยวะเพศชาย เพื่อที่จะให้ฝนตกลงมา แม้กระทั่งเวลาปลูกต้นไม้ ถ้าผู้สูงอายุ เวลาปลูกต้นไม้ ปลูกมะละกอ ขุดหลุมก่อน แล้วให้ผู้ชายปัสสาวะรด บางคนให้นุ่งผ้าขาวม้าแล้วกระโดดข้าม เหมือนเรียกแขก เหมือนยั่ว แล้วค่อยเอามะละกอไปลง มันให้ลูกมาก ข้อควรคานึงที่จะให้ตระหนักถึงคือ ผู้เก็บข้อมูลอาจจะไม่ได้ข้อมูลในวันแรก ฉะนั้น เราต้องเตรียมตัวเตรียมใจ เผื่อเวลาไว้พอสมควร แล้วต้องใช้ความพยายาม นอกจากนี้แล้ว ควรใช้ภาษาง่ายๆ ไม่ซับซ้อนในการตั้งคาถาม แล้วจึงนามาเรียบเรียงเป็นภาษาวิชาการอีก ครั้ง นอกจากนี้ควรคานึงถึงความสุภาพเป็นหลัก ไม่ควรถามเรื่องส่วนตัวของวิทยากร ในกรณี ที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลต้องขออนุญาตก่อน อีกประเด็นหนึ่งที่ควรย้าอีกครั้งคือต้องระวังเรื่องความขัดแย้งในชุมชน ผู้เก็บข้อมูล ควรวางตัวเป็นกลาง และระมัดระวังการแสดงออกทางความคิดหรือความนิยมชนชอบต่างๆ ที่เกี่ยวกับคนในชุมชน เพื่อกันความขัดแย้งและประเด็นละเอียดอ่อนในชุมชน เอกสารโบราณที่อยู่ในชุมชนเป็นข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่สมควรเก็บไว้ เนื่องจากใน ปัจจุบันเอกสารโบราณต่างๆ ไม่ได้รับความสนใจในเชิงความรู้และวิทยาการ เพราะส่วนมาก บันทึกไว้ด้วยภาษาโบราณซึ่งไม่ค่อยมีใครอ่านออก ทาให้ถูกละทิ้ง หรือถูกนาไปใช้ทางอื่น เช่น น าไปผลิตเป็นมวลสารของพระเครื่อ ง ซึ่งน่าเสียดายที่องค์ความรู้ของประเทศจะสูญ หายไป สิ่งที่นักวิชาการสามารถทาได้เพื่อช่วยอนุรักษ์และสืบทอดความรู้เหล่านี้ก็คือการ บันทึก อาจจะเป็นการบันทึกภาพเก็บไว้ที่ละหน้า แล้วนามาให้ผู้เชี่ยวชาญอ่านแล้วแปลเป็น ภาษาปัจจุบัน หรือเราจะนามาศึกษาในภายหลัง ก็ได้


๖๐

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ประเภทของเอกสารโบราณก็มีแตกต่างกันไป ทั้งใบลานที่เขียนด้วยอักษรขอม เขียน ด้วยอักษรไทยซึ่งแบบหลังนี้หายาก มักจะเป็นตาราหรือเอกสารสาคัญ ถ้าลงไปทางใต้จะมี ใบลานสั้น เรียกว่าบทแทงศาสตรา เป็นคาทานายผ่านตัวละครในวรรณคดี นอกจากนี้ยังมี สมุดไทยขาวกับสมุดไทยดา ทางใต้เรียกหนังสือบุต ตะวันออกเรียกหนังสือปุ๊น การแบ่งประเภทของใบลานสามารถดูได้จากสีด้านข้างของพับ ถ้าไม่ทาสีเลยเป็นใบ ลานดิบจะเป็นของชาวบ้าน ถ้าทาสีแดงหัวท้าย ตรงกลางเป็นสีทองเรียกว่าร่องชาดจะเป็น ของคนทั่วๆ ไป ถ้าเป็นทองทึบหมดจะเป็นของขุนนางหรือเจ้านาย เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นเราจะ เห็นวิถีชีวิตในสมุดไทยโบราณว่าผู้ชายเป็นผู้เขียนหนังสือ ผู้หญิงจะเขียนไม่ได้ ผู้หญิงจึงทอผ้า ห่อคัมภีร์ เพื่อนามาห่อใบลานถวายเป็นพุทธบูชา เรื่อ งราวที่ น่ า สนใจมากเรื่อ งหนึ่ งในเอกสารโบราณคื อ มหาชาติ มหาชาติ เป็ น วรรณคดีที่ใกล้ชิดกับเรามากที่สุด และเป็นตัวแทนของท้องถิ่นได้ดี เนื่องจากคนไทยนับถือ พระชาติที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรมากที่สุด เรื่อง ทาน จึงเป็นเรื่องสาคัญ และมีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับมหาชาติ เช่น เชื่อว่าหากผู้ใดฟังเทศน์คาถาพันจบภายในวัน เดี ย วจะได้ ขึ้ น สวรรค์ หรือหากถวายของพั น สิ่ ง จะได้ ไปเกิด ในยุ ค พระศรีอ าริย์ เรื่องราว รายละเอียดปลีกย่อยในมหาชาติ เช่น กัณฑ์ชูชกจะบรรยายเรื่องอาหาร ซึ่งจะแตกต่างกันไป ตามแต่ละภาค มหาชาติทางภาคเหนือจะกล่าวถึงอาหารพื้นเมืองของเขา ทางใต้ก็จะมีอาหาร ปักษ์ใต้ กัณ ฑ์ จุลพน มหาพนจะบรรยายป่ าเขาตามสภาพที่เห็ นในท้ องถิ่น ซึ่งครูส ามารถ เชื่อมโยงกับเรื่องการเกษตรหรือพฤกษศาสตร์ได้ เครื่องมือในกำรเก็บข้อมูลชุมชน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลชุมชนช่วยให้ผู้เก็บข้อมูลเห็นกรอบและแนวทางในการ เก็บข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น ประกอบด้วย แผนที่เดินดิน ทาปฏิทินชุมชน ผังเครือญาติ ประวัติ ชุมชน และประวัติบุคคลคนในชุมชน ซึ่งครูสามารถให้นักเรียนหาข้อมูลมาสร้างเป็นความรู้ เล่านี้ได้ด้วยตัวเองหรือผ่านการทากิจกรรมกลุ่ม แผนที่เดินดิน คือ การทาแผนที่เดินดิน คือการศึกษาพื้นที่ของตนภายในท้องถิ่นว่ามี สถานที่สาคัญ หรือแหล่งเรียนรู้ที่สาคัญของชุมชนอยู่ในบริเวณใดบ้าง โดยเริ่มจากการกาหนด พื้นที่ที่จะศึกษาแล้วออกสารวจไปตามเส้นทางต่างๆ จากนั้นจดบันทึกสถานที่สาคัญไว้บน แผนที่ ผู้เรียนสามารถเลือกสิ่งที่สนใจศึกษาแล้วกาหนดลงไปในแผนที่ได้ เช่น สนใจศึกษา พันธุ์ไม้เฉพาะอย่าง ก็สามารถวาดแผนที่แล้วสารวจข้อมูลว่าในชุมชนนั้นมีต้นไม้ชนิดนีข้ ึ้นอยู่ที่


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๖๑

ใดบ้าง จากนั้นจึงกาหนดจุดที่มาต้นไม้ที่สนใจศึกษาลงไปในแผนที่ หรือสามารถใส่สถานที่ สาคัญต่างๆ ของชุมชนในมุมมองของผู้เรียนลงไปในแผนที่ได้ด้วย การทาแผนที่เดินดินจะทา ให้ผู้สอนและผู้เรียนได้รับทราบข้อมูลที่หลากหลายตามมุมมองที่แตกต่างกันไปของผู้สารวจ บางครั้งอาจเป็นมุมมองที่แปลกใหม่ หรือเป็นสถานที่ที่น่าสนใจซึ่งครูหรือคนในชุมชนอาจไม่ เคยทราบมาก่อนว่ามีอยู่ในชุมชน ถัดมาคือปฏิทินชุมชน เป็นเครื่องมือชิ้นสาคัญในการบันทึกวันสาคัญที่สัมพันธ์กับอัต ลักษณ์ ชุมชน เพื่อให้ทราบว่าในแต่ละปี ชุมชนของตนนั้นมีประเพณี ที่สาคัญอะไรบ้าง การ จัดทาปฏิทินชุมชมเริ่มต้นจากการอ้างอิงประเพณี ๑๒ เดือน แล้วไล่เรียงไปว่าในแต่ละเดือน นั้นมีวันสาคัญ หรือกิจกรรมที่สาคัญใดเกิดขึ้นในชุมชนบ้าง สิ่งนี้จะทาให้เห็นวิถีชีวิตของชุมชน ว่ามีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับวันเวลาและความเชื่ออย่างไร เช่น เทศกาลเทศน์มหาชาติที่ จัดขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยว นาผลผลิตแรกถวายพระเพื่อเป็นศิริมงคลในการทาการเกษตร การทา ขวัญสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เช่น การทาขวัญเกวียน การทาขวัญข้าว การทาขวัญนา การทาขวัญควาย เป็นต้น การทาขวัญข้าวนั้นมีที่มาที่เ กี่ยวโยงกับพระแม่โพสพและตานาน พระพุ ท ธเจ้ า ๕ พระองค์ การท าขวัญ ข้าวจึ งมี การปั กเฉลวซึ่ งมี ๕ แฉก เป็ น ตั วแทนของ พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ ด้วย ในขณะที่การทาขวัญควายก็สะท้อนให้เห็นความผูกพันกับ สัตว์เลี้ยงที่ใช้เพื่อการทามาหากิน ในฤดูน้ าหลากจะเห็ น ความสัม พั นธ์ของคนกั บ น้ าในเทศกาลลอยกระทง และยั ง สัมพันธ์กับตานานแม่กาเผือกกับพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ เทศกาลแข่งเรือซึ่งในสมัยก่อนจะ เป็นการทานายความอุดมสมบูรณ์ของน้า โดยมีความเชื่อว่าเรือของสตรีจะต้องชนะเรือของ บุรุษจึงจะทาให้น้าท่าบริบูรณ์ นอกจากนี้ ปฏิทินชุมชนยังสัมพันธ์กับวิถี เกษตรทั้งชาวนาและชาวสวน ซึ่งมีความ แตกต่ า งกัน ในรายละเอี ย ดของประเพณี เช่ น การท าสลากภัต ซึ่ งจะแสดงถึงความอุ ด ม สมบูรณ์ของพื้นที่สวน และทาให้เห็นที่มาของวัฒนธรรมประเพณีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การ ทาเครื่องดนตรีที่มักจะเกิดขึ้นในหมู่ของชาวสวน ส่วนการร้องเพลงเป็นวง เช่น เพลงฉ่อย ลา ตัด จะเกิดขึ้นในหมู่ของชาวนา ล าดั บ ต่ อ มาคื อ ผั ง เครื อ ญาติ คื อ การเก็ บ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ ภ ายใน ครอบครัว และขยายไปถึงความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เพื่อให้รู้ที่มาที่ไปและต้นกาเนิดของ ตนเอง รู้จักตัวเอง รู้จักประวัติศาสตร์ รู้จักความสัมพันธ์ในชุมชน การเก็บข้อมูลทาได้จากการ สอบถามผู้ใหญ่ในบ้าน แล้วนับย้อนขึ้นไปจากรุ่นสู่รุ่น การเก็บข้อมูลลักษณะนี้อาจทาให้เห็น


๖๒

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างคนในชุมชนที่ลึกซึ้งและสืบย้อนไปได้ไกล รวมถึงอาจทาให้เกิด การค้นพบความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับคนในชุมชนอื่นได้อีกด้วย การทาผังเครือญาติจะทาให้ผู้ ศึกษาต่อยอดในการทาประวัติศาสตร์ชุมชนได้ง่ายมากขึ้น สิ่งที่ควรสังเกตคือนามสกุลเก่าแก่ ของคนในชุมชนที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชน ถั ด มาคื อ การท าประวั ติ ศ าสตร์ ชุ ม ชน ได้ แ ก่ ก ารเก็ บ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ภู มิ น าม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติวัด สถานที่สาคัญต่างๆ ในท้องถิ่น รวมถึงการศึกษารวบรวม เกี่ยวกับถิ่นกาเนิด ที่มา และชาติพันธุ์ของคนในชุมชน การให้นักเรียนลองทาประวัติศาสตร์ ชุมชนจะทาให้ได้ศึกษาและทราบเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนมากขึ้น รวมถึงได้ศึกษาเกี่ยวกับ นิทานหรือตานานประจาถิ่น นอกจากนี้ยังได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุในชุมชนด้วย สุดท้ายคือประวัติบุคคล คือการรวบรวมชีวประวัติบุคคลสาคัญในท้องถิ่น ประวัติ ของคนเฒ่าคนแก่ในครอบครัว พระ เจ้าอาวาส หรือบุคคลสาคัญที่ทาคุณประโยชน์ต่อชุมชน จะทาให้เห็นมุมมองและทัศนคติของบุคคลเหล่านั้นที่มีต่อชุมชนด้วย เครื่องมือเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ทาวิจัยเกี่ยวกับชุมชนได้เห็นภาพของชุมชน ได้ชัดเจนมากขึ้น และสามารถนาข้อมูลที่ได้ไปต่อยอดในการศึกษา วิเคราะห์ และเชื่อมโยง กับข้อมูลอื่นเพื่อจัดทาหลักสูตรท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๖๓

แนวทำงกำรนำหลักสูตรท้องถิ่นไปใช้ในกำรเรียนกำรสอน จริยา ศรีเพชร๕ ก่อ นอื่ น ขอกล่ า วสวั ส ดี น้ อ งๆ ทุ กคน พี่ คือ ครูที่ อ ยู่ ในพื้ น ที่ พุ ท ธมณฑลตั้ ง แต่ รับ ราชการที่นครชัยศรี ปัจจุบันนี้แนวโน้มคุณครูจะถูกส่งมาอบรมก็จะเป็นน้องนี้แหละ เพราะรุ่น พี่เริ่มจะหมดไป ภายในห้าปีรุ่นนี้จะไม่มีแล้ว เพราะนโยบายในช่วยหนึ่งเขาไม่ได้รับครู ทาให้ ครูขาดแคลนและต้องบริหารจัดการกันเอง ระยะหลังก็เริ่มรับ คุณครูเข้ามาใหม่ รุ่นพี่จึงต้อง ถ่ายทอดความรู้งานให้ ซึ่งวันนี้พี่จะมาพูดถึงการทาหลักสูตรท้องถิ่น ที่น้องๆ จะต้องนาไป ประยุกต์ใช้กับที่โรงเรียนของตัวเอง ก่อนอื่นต้ องท าความเข้าใจว่าหลักสูตรคือ มวลประสบการณ์ ทั้งหลายที่ จัดให้ กับ ผู้เรีย น โดยหลั กสูต รแกนกลางคือหลั กสูต รที่ บั งคับ ส่ วนสาระท้ องถิ่น หลักสู ตรจะต้ องมี ส่วนประกอบหลายๆ อย่างซึ่งต้องมีคุณลักษณะและสมรรถนะ ถามว่าสมรรถนะที่ต้องการให้ เกิดเรื่องที่หนึ่งคือ กระบวนการสื่อสารที่ทาได้อย่างเหมาะสม สองคือทักษะในการคิด สามคือ การแก้ปัญหา สี่คือทักษะชีวิต ขั้นตอนก่อนที่จะมาถึงหลักสูตรมีอย่างไร โดยขั้นแรกกระทรวงศึกษาธิการคือ ต้น สังกัดของโรงเรียนและสถาบันศึกษาทั้งหมด ซึ่งเป็นผู้ที่กาหนดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือหลักสูตรแกนกลาง แล้วส่งนโยบายหลักสูตรมาให้เขตพื้นที่การศึกษา มีส่วนที่จะ ท าหลั ก สู ต รมาสู่ แ นวนโยบายการปฏิ บั ติ แ ละน ามาสู่ โ รงเรี ย น ซึ่ ง เราเรี ย กว่ า หลั ก สู ต ร สถานศึกษา นี้คือเครือข่ายของหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรขั้นพื้นฐานจะเริ่มตั้งแต่หลักสูตรแกนกลาง ซึ่งมีหน้าที่กาหนด มาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหมด แปดกลุ่มสาระ โดยกาหนดให้ทุกโรงเรียนต้องบังคับใช้หลัก สูตร แกนกลางเหมือนกันทั่วประเทศ ซึ่งหลักสูตรจะถูกกาหนดโครงสร้างและกาหนดเกณฑ์การวัด และประเมินผลไปในทิศทางเดียวกัน เช่นการวัดผลระดับ O-Net, NT เป็นต้น ซึ่งหลักสูตร แกนกลางนี้จะถูกส่งต่อไปยังเขตพื้นที่การศึกษาที่อยู่ในแต่ละจังหวัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา จะกาหนดจากหลักสูตรแกนกลางของสานักงานเขต พื้นที่การศึกษา และกาหนดหลักสูตรสาระท้องถิ่น โดยสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะเป็นผู้

ครูเชี่ยวชาญ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนพระตาหนักสวนกุหลาบมหามงคล


๖๔

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

กาหนดเป้าหมายหรือจุดเน้นของพื้นที่โดยใช้ข้อมูลสาระท้องถิ่นที่เป็นตั วสาระในการสอน เพื่อให้เด็กรู้และเข้าใจท้องถิ่นของตัวเอง หลักสูตรแกนกลางกับหลักสูตรท้ องถิ่นต่างกัน ที่ สาระความรู้ หมายถึง หลักสูตรสถานศึกษาคือ สาระจากหลักสูตรแกนกลางที่ทุกโรงเรียน ต้องมีสอน ส่วนหลักสูตรท้องถิ่นจะใช้สาระจากท้องถิ่นนัน้ ๆ ตามแต่พื้นที่ของสถานศึกษา โดย มีเป้าหมายคือตัวชี้วัดความสาเร็จของการศึกษา ภาระหลักในระดับท้องถิ่น คือการกาหนด จุ ด เน้ น ในการพั ฒ นาผู้ เรี ย นในระดั บ ท้ อ งถิ่ น พั ฒ นาสาระการเรี ย นรู้ ท้ อ งถิ่ น และการ ประเมินผล โดยโรงเรียนจะต้องร่วมงานกับหน่วยงานท้องถิ่น การจัดทากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นก็ต้องมี การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางและ วิเคราะห์ข้อมูลสาระสนเทศที่จัดระบบไว้แล้วในท้องถิ่นชุมชน เพื่อนาข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการออกแบบหลักสูตร การนาหลักสูตรท้องถิ่นเข้าสู่สถานศึกษา ก็ใช้ด้วยกันสาม วิธีการ หนึ่งคือสอดแทรกเรื่องท้องถิ่นเข้าไปในรายวิชาพื้นฐาน (หลักสูตรแกนกลาง) สองคือ จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม โดยสอนเป็นวิชาที่แยกออกจากหลักสูตรแกนกลาง โดยมีการวัดผลที่ เน้นรายวิชานั้นๆ ไป สามคือ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยอาจจัดเป็นชุมนุมหรือกิจกรรม ถ้าเป็ นวิชาเพิ่ มเติมจะใช้คาว่า ผลการเรียนรู้ แล้วเราจะย่อยเป็น จุดประสงค์ก าร เรียนรู้ได้ โดยผลการเรียนรู้คือ สิ่งที่เขตพื้นที่กาหนดร่วมกันหรือสิ่งที่อยากให้เกิดกับเด็ก โดย มีคาอธิบายรายวิชา และเขียนโครงสร้างรายวิชา โดยจุดประสงค์หลายข้อจะรวมเป็นผลการ เรียนรู้ ซึ่งการเขียนคาอธิบายรายวิชาจะต้องประกอบด้วย กระบวนการ เนื้อหาสาระ และผล การเรียนรู้ แต่ละข้ออาจมีข้อย่อยได้อีก ส่ ว นการวางแผนโครงสร้ า งเราต้ อ งระบุ ไ ด้ ว่ า มี กี่ ห น่ ว ย มี จุ ด ประสงค์ อ ะไร สาระสาคัญหรือมโนทัศน์คืออะไร ใช้เวลาเรียนเท่าไหร่ และให้น้าหนักคะแนนเท่าไหร่ ดังนั้น การวางแผนจึ ง เป็ น ส่ ว นช่ ว ยสร้า งหลั ก สู ต รและจุ ด ประสงค์ ห ลั ก ที่ ต้ องการสอนให้ บ รรลุ เป้าหมาย “บำงครั้งเรำต้องใช้เด็กเป็นสื่อกลำงระหว่ำงตัวเรำกับเนื้อหำสำระจำกท้องถิ่น เพรำะบำงครั้งเด็กรู้จักพื้นที่มำกกว่ำเรำ”


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๖๕

ภาพนี้ เป็นเรื่องการรณรงค์ที่คลองมหาสวัสดิ์ คนที่จะทาหลักสูตรท้องถิ่นได้ดีจะต้อง เข้าใจข้อมูลพื้นที่กับคนในชุมชนให้เป็นหนึ่งอันเดียวกัน

ภาพนี้คือสวนกล้วยไม้ ซึ่งจะสอนการขยายพันธุ์กล้วยไม้ นอกจากนี้ยังมีนาบัว ถ้าอยู่ รวมกันเขาใช้ที่นาปลูกดอกบัว เราจึงเรียกนาบัว บัวปลูกง่ายและใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง


๖๖

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

เกสรก็ใช้ได้ รากก็ใช้ได้ บัวมีหลายชนิดและมีหลายสี ซึ่งที่มหาวิทยาลัยมหิด ลมีการศึกษาไว้ ลึกมาก เราจึงพาเด็กมาศึกษานาบัว ต่อไปอาจจะเป็นอาชีพได้

ภาพนี้เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์เรื่อง การทาข้าวตัง ซึ่งเด็กๆ มีการฝึกปฏิบัติจริง มี การฝึกทาและชิมรสข้าวตังประเภทต่างๆ เด็กจะได้ฝึกสัมภาษณ์และเก็บข้อมูล ซึ่งครูจะคอยดู อยู่ใกล้ๆ และให้คาแนะนา เด็กทากิจกรรมร่วมมือกับผู้ปกครองและคุณครู ผู้ท่องเที่ยวจะมา เที่ยวแล้วมหาวิทยาลัยมหิดลก็สังเกตการณ์ อันนี้เป็นกิจกรรมโครงงาน ซึ่งเป็นโรงเรียนมหา สวัสดิ์ ที่เด็กช่วยกันกิจกรรมที่ทาให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เด็กไม่จาเป็นต้องเป็นเด็กเก่ง แต่ต้อง พร้อมจะเรียนรูพ้ ร้อมจะทากิจกรรม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๖๗

ภาพนี้เป็นนักเรียนจากโรงเรียนพระตาหนักสวนกุหลาบ ซึ่งอยู่ในแถวเดียวกันกับ คลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งสามารถใช้หลักสูตรแบบเดียวกับโรงเรียนมหาสวัสดิ์ได้แต่ต้องปรับให้เข้า กับบริบท อันนี้ถ้าคนที่รู้พื้นที่เพราะมีน้าไหลเข้าออกไปที่ลานตากฟ้า ซึ่งเด็ก จะเดินทางไป เรียนรู้เรื่องของสวนผลไม้ปลอดสารเคมีและผลิตภัณฑ์แปรรูป โดยได้เรียนรู้ข้อมูลจากคุณลุง ปทุม สวัสดิ์นา ซึ่งคุณลุงจะเป็นแกนนาในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ นี้คือคุณจงดี เศรษฐ์ อานวย เด็กทุกกลุ่มจะเรียนรู้เป็นฐานที่มีกิจกรรมต่างกัน โดยแต่ละฐานแบบหมุนเวียนกัน คือ แต่ละกลุ่มจะได้เรียนกันคนละฐานเมื่อจบกิจกรรมจะเปลี่ยนไปอีกฐานหนึ่ง เด็กทุกกลุ่มจะ ได้วนเรียนรู้ครบทุกฐาน นี้คือนาบัว เด็กสามารถพายเรือและเก็บบัวได้ ครูต้องวางแผนให้เด็ก ว่าจะเรียนรู้อะไรบ้าง ต่อไปเป็นฐานสุดท้ายจะมีข้อมูลที่จัดไว้ให้ เด็กสามารถจดได้ อันนี้เป็น การการรวมกลุ่มของชาวบ้าน เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ ชาวบ้านได้นาข้าว นากล้วย มาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP เรียกเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีการให้เด็กลองฝึกทาเองโดยให้เด็กฝึก ทาก่อน ภาพนี้จะเป็นสินค้าจากชุมชนมหาสวัสดิ์ มีการเปลี่ยนรูปร่างของข้าวตังจากกลมๆ เป็นเหลี่ยม มีไข่เค็มไอโอดีน มีการนาผลไม้มาทาเป็นผลไม้หยี ภาพนี้เป็นเรื่องการทาสมุนไพร โดยเด็กจะรู้ว่าในชุมชนของตัวเองมีสมุนไพรอะไรบ้างและสามารถนาไปทาลูกประคบได้ ซึ่ง อันนี้เป็นโครงงานระดับภาค ซึ่งได้รับรางวัลระดับภาค


๖๘

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

จากการที่เราเรียนโดยใช้หลักสูตรสาระท้องถิ่นเข้าไปเรียนในชุมชน มันเป็นการเรียน ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงด้วย มีแหล่งความรู้ที่มาจากบุคคล ภูมิปัญญา และทรัพยากร ซึ่งเด็กสามารถนาไปขยายองค์ความรู้ได้และเด็กจะสามารถทาโครงงานที่ไปสู่ระดับประเทศได้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๖๙

ภาค ๒ พิพิธศาสตร์นิพนธ์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นคัดสรร


๗๐

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๗๑

บทนำ ศิธรา จุฑารัตน์๖ ประเทศไทยถือเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทั้งทางภูมิศาสตร์ ระบบนิเวศวิทยา รวมไปจนถึงความหลากหลายทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งมี อิทธิพลต่อการดาเนินชีวิต ของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น ความหลากหลายนี้หล่อหลอมให้คนที่ อาศั ย ในแต่ ล ะพื้ น ที่ แต่ ล ะท้ องถิ่น มี วิ ถีชี วิ ต ที่ ต่ า งกัน ซึ่ งผู้ คนในท้ องถิ่น นั้ น ต่ างได้ รับ การ ถ่ายทอดประสบการณ์ในการใช้ชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ในท้องถิ่นของตนจาก บรรพบุรุษ ซึ่งเรียกว่า “ภูมิปัญญา” ของแต่ละท้องถิ่น เมื่อประเทศไทยมีเริ่มใช้แนวคิดเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี เพื่อเข้ามาสนับสนุนการผลิตในภาคต่างๆ ให้เป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่งผลต่อวิถีชีวิตแบบ ดั้งเดิมของคนในท้องถิ่น ทาให้ค นจานวนมากหลั่งไหลเข้าไปท างานในเมืองใหญ่ และเห็ น ความสาคัญของภูมิปัญญาของชุมชนลดลง โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาใน ระบบโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศซึ่งเน้นการให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ความรู้ทางสังคมและวัฒนธรรมกระแสหลัก โดยละเลยความรู้ในท้องถิ่นของตน ทาให้ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาในแต่ละท้องถิ่นถูกลืมจนเกือบสูญหายไป จนกระทั่ ง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ แนวคิ ด เรื่อ งการให้ ส ถานศึ ก ษาจั ด ท าหลั ก สู ต รที่ เกี่ยวข้อ งกับสภาพปั ญ หาของท้ องถิ่น ได้ ปรากฏเป็ นครั้งแรกในพระราชบั ญ ญั ติ การศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยระบุไว้ในมาตรา ๒๗ ว่า มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกาหนดหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดารงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทาสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ใน วรรคหนึ่ ง ในส่ ว นที่ เกี่ ย วกั บ สภาพปั ญ หาในชุ ม ชนและสั ง คม ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น คุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์ เพื่ อ เป็ น สมาชิ ก ที่ ดี ข องครอบครั ว ชุ ม ชน สั ง คม และ ประเทศชาติ

อาจารย์ประจาสาขาวิชาภาษาไทย และประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


๗๒

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

จากข้อกาหนดดั งกล่ าว เป็ น ผลให้ กระทรวงศึกษาธิการได้ มี คาสั่งให้ ใช้ หลักสู ต ร สถานศึกษา ซึ่งกาหนดให้สถานศึกษาจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของ ตนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในโรงเรียน จังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายในด้านสังคมและวัฒนธรรม อีก ทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานน่าศึกษา เป็นแหล่งของภูมิปัญญาทั้งด้านอาหาร การเกษตร ศิลปหัตถกรรม รวมถึงศิลปะพื้นบ้านที่สาคัญ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่สถานศึกษา หลายแห่งในจังหวัดนครปฐมให้ความสนใจและได้จัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้ เยาวชนได้ เรีย นรู้เรื่อ งราวที่ เกี่ ย วกับ ท้ องถิ่น ของตน และได้ ต ระหนั ก ถึงความส าคัญ ของ ภูมิปัญญาท้องถิ่น อันนาไปสู่ความรู้สึกภาคภูมิใจและต้องการรักษาไว้ให้คงอยู่สืบไป ในภาคที่ ๒ ของหนังสือท้องถิ่นนิทรรศน์ ได้รวบรวมตัวอย่างหลักสูตรสถานศึกษา และแผนการจั ด การเรีย นรู้ จ ากสถานศึ ก ษาที่ เข้ า ร่ว มกิ จ กรรมการอบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน” ที่จัดขึ้นโดยคณะศิลปศาสตร์ ร่วมกับกลุ่ม ภารกิจวิจัยชุมชน เมื่อวันที่ ๗ – ๙ และ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ มหาวิท ยาลั ยมหิ ด ล ร่างหลั กสู ตรสถานศึกษาและแผนการจัด การเรีย นรู้ที่ น ามารวมไว้ นี้ เกิดขึ้นจากการระดมความคิดของครูจากสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดนครปฐมที่ร่วมกันจัดทา ขึ้น เพื่ อ เป็ น แนวทางในการจั ด ท าหลั กสู ต รสถานศึกษาที่ ส อดคล้ องกั บ บริบ ทของจั งหวั ด นครปฐมและสามารถนาไปใช้ได้จริง เนื้อหาของร่างหลักสูตร แบ่งเป็น ๕ ประเด็น ตามความ สนใจและบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ดังนี้ หลั กสู ต รสาระการเรีย นรู้ท้ อ งถิ่ น เรื่อง โรงคราม ของโรงเรีย นวั ด สั ม ปทวนและ โรงเรียนเดชอนุสรณ์ มีที่มาจากความสนใจของครูที่ต้องการศึกษาประวัติความเป็นมาของโรง ครามและการย้อมครามในอาเภอนครชัยศรี ซึ่งเป็นที่มาของคาขวัญ “ข้าวสารขาว ลูกสาว แพง ผ้าดาดี ส้มโอไม่มีเม็ด ” เนื้อหาหลักสูตรอิงกับมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒ นธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของโรงคราม วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตผ้าดา ขั้นตอนในการผลิตผ้าดา และ การนาความรู้ที่ได้รับจากการเรียนไปประยุกต์ในการทาโครงงาน รวมถึงสอดแทรกเรื่องการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอนด้วย หลั กสู ต รสาระการเรียนรู้ท้ องถิ่น เรื่อง โรงคราม มี วั ต ถุป ระสงค์เพื่ อให้ ผู้ เรีย นมี ความรู้ความเข้าใจในประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น คือ อาเภอนครชัยศรี เพื่อให้เกิดทักษะ กระบวนการในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความตระหนักรักท้องถิ่น ร่วม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๗๓

สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมในชุมชน และเพื่อให้เกิดทักษะกระบวนการในการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ลาวครั่ง ของโรงเรียนบ้านหลวงวิทยา เกิด จากการระดมความคิดของครูในโรงเรียนบ้านหลวงซึ่งอยู่ในชุมชนของลาวครั่งซึ่งเป็นกลุ่มชาติ พันธุ์ที่มีประวัติความเป็นมาและมีวิถีชีวิตที่น่าสนใจ ปัจจุบันวิถีชีวิตของลาวครั่งได้แปรเปลี่ยน ไปตามเวลาและความเจริญที่เข้ามาสู่พื้นที่และได้เข้ามากลืนกินวิถีชีวิตดั้งเดิมไป ด้วยเหตุนี้ ครูโรงเรียนบ้านหลวงวิทยาจึงจัดทาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ลาวครั่ง ขึ้นเพื่อให้ นักเรียนทราบประวัติความเป็นมาและวิถีชีวิตของชาวลาวครั่ง อี กทั้งเป็นการอนุรักษ์และสืบ ทอดให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทราบและดาเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เนื้ อหาของหลั กสู ต รประกอบด้ ว ย ประวั ติ ความเป็ น มาและวิถีชี วิต ของลาวครั่ง การศึกษาเกี่ยวกับภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย อาหาร การประกอบ อาชีพ รวมถึงวรรณกรรมและเรื่องเล่าต่างๆ ของชาวลาวครั่ง โดยอ้างอิงมาตรฐานการเรียนรู้ ในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลักสู ต รสาระการเรีย นรู้ท้ องถิ่น เรื่อง สมุ น ไพรน่ ารู้ ของโรงเรีย นพระแม่ม ารีย์ อุปถัมภ์ เป็นการบูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเข้ากับรายวิชาในกลุ่มสาระต่างๆ ได้แก่ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เนื้อหาของหลักสูตรเป็นการศึกษา วิเคราะห์ และสารวจ เกี่ยวกับพืชสมุนไพรในท้องถิ่น ความสาคัญของพืชสมุนไพร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากพื ช สมุ น ไพรเพื่ อ เป็ น การสร้ างรายได้ ให้ กับ ผู้ เรีย นและชุ ม ชน การใช้ ท รัพ ยากรอย่ า ง เหมาะสม และการร่วมกันอนุรักษ์ดูแลรักษาพืชสมุนไพร ผ่านการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิด การแก้ปัญหา การสืบค้นข้อมูล และการทางานเป็นกลุ่ม รวมถึงการทดลองปฏิบัติจริงเพื่อให้ เกิดความเข้าใจ และสามารถนาไปใช้ในการดาเนินชีวิตได้ หลั ก สู ต รสาระการเรี ย นรู้ ท้ อ งถิ่ น เรื่ อ ง นิ ท านพื้ น บ้ า น ของคณาจารย์ จ าก สถาบันการศึกษาต่างๆ หลักสูตรนี้เป็นการระดมความคิดร่วมกันของคณาจารย์จากหลาย สถาบัน รวมถึงนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัย ศิลปากร การนาเรื่องนิทานพื้นบ้านมาสอนในหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นนั้นเนื่องมาจาก นิทานพื้นบ้านเป็นเรื่องราวที่เล่าขานกันทั่วไปในแต่ละท้องถิ่น และสามารถนาไปบูรณาการ กับรายวิชาต่างๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวรรณคดี วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์


๗๔

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ศิลปะ ดนตรี หรือการแสดงและการละเล่นพื้นบ้าน อีกทั้งยังเป็นเนื้อหาที่สร้างสีสันและสร้าง ความน่าสนใจให้กับผู้เรียนได้ตลอดเวลา เนื้ อหาของหลักสู ต รเป็ น การศึกษาเกี่ยวกับ ประวัติ ความเป็ น มา ที่ ม าของนิ ท าน พื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น และวิเคราะห์เนื้อหาในด้านคุณธรรม จริยธรรม ประวัติศาสตร์ ความ เชื่อ วัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนแง่มุมด้านศิลปะแขนงอื่นๆ และทาให้ผู้เรียนเชื่อมโยงเรื่อง เล่า ตานาน เข้ากับสถานที่หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้เข้าใจถึงกุศโลบายในการเล่าเรื่อง และการถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทานและเรื่องเล่าต่างๆ ของชุมชน หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่ อง องค์พระปฐมเจดีย์ ของโรงเรียนเทศบาล ๓ เกิดขึ้นจากการเห็นความสาคัญของสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สาคัญของจังหวัดนครปฐมซึ่ง อยู่ใกล้กับที่ตั้งของโรงเรียน เรื่องราวขององค์พระปฐมเจดีย์แม้จะเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปทั้งใน ท้ องถิ่นและในหมู่ นั กท่ องเที่ ย ว แต่ กลับ ไม่มี โ รงเรีย นในจังหวัด นครปฐมจัด ท าหลั กสู ตรที่ ถ่ายทอดเรื่องราวโดยละเอียดขององค์พระปฐมเจดีย์ให้กับนักเรียน ดังนั้น ครูจากโรงเรียน เทศบาล ๓ จึงใช้โอกาสนี้ในการทดลองทาร่างหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง องค์พระ ปฐมเจดีย์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนในโรงเรียน เนื้อหาของหลักสูตรเรื่อง องค์พระปฐมเจดีย์ เริ่มตั้งแต่ การอธิบายความเป็นมาและ สาเหตุ ข องการก่ อ สร้ า ง พั ฒ นาการรู ป แบบขององค์ พ ระปฐมเจดี ย์ ใ นสมั ย ต่ า งๆ พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ รวมถึงวรรณกรรมที่ เกี่ยวข้องกับองค์พระปฐมเจดีย์อย่างตานานพญากง-พญาพาน และนิราศ พระประธม เป็นต้น หลั กสูต รสาระการเรีย นรู้ท้ องถิ่น เรื่อง องค์พ ระปฐมเจดี ย์ มี จุ ด มุ่ งหมายเพื่ อให้ ผู้เรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์พระปฐมเจดีย์ และสามารถถ่ายทอดความรู้นั้น ให้กับผู้อื่นได้ ในขณะเดียวกันก็ปลูกฝังให้เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รวมถึง การตระหนักถึงความสาคัญ และการอนุรักษ์โบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญ ของ ชุมชนด้วย จากตัวอย่างร่างหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัด นครปฐมที่ได้รวบรวมมานี้ แสดงให้เห็นถึ งการให้ความสาคัญของโรงเรียนและครูในการนา องค์ความรู้และภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียน เพื่อสร้างความตื่นตัวและการ ตระหนักถึงความสาคัญและคุณค่าของท้องถิ่นของตนเองผ่านการบอกเล่าของครูซึ่งเป็นคนใน พื้นที่ และการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของปราชญ์ในชุมชน ผ่ านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ ให้ ผู้ เรีย นได้ ท ากิ จ กรรมต่ า งๆ เช่ น การลงพื้ น ที่ จ ริง การตั้ ง คาถาม การท าโครงงานเพื่ อ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๗๕

แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างให้ผู้เรียนเกิดความรักและผูกพันกับท้องถิ่น และนาไปสู่การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งภายใต้การร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและชุมชนในที่สุด


๗๖

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๗๗

กลุ่มที่ ๑ เรื่อง องค์พระปฐมเจดีย์


๗๘

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

หลักสูตรสถำนศึกษำ สำระกำรเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง องค์พระปฐมเจดีย์ ควำมสำคัญ องค์พระปฐมเจดีย์เป็นปูชนียสถานที่สาคัญที่สุดในประเทศไทย เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา ของพุ ท ธศาสนิ ก ชน นั บ ตั้ ง แต่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ ล งมาจนถึ ง สามั ญ ชน การก่ อ สร้ า งและ บูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียสถานแห่งนี้ไว้ตามกาลเวลาแสดงให้เห็นได้จากฝีมือช่างตั้งแต่ธรรมดา สามั ญ จนกระทั่ งถึงขั้น ประณี ตชั้ น สูง เป็ น การเพิ่ ม พู น ศิล ปกรรม เป็ น ศูน ย์ รวมแห่ งศิล ปะ วิทยาการอันทรงคุณค่า เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศิลปะและโบราณคดี รวมทั้ งเป็น สถานที่ ก่อเกิดให้ กวีได้รับ แรงบั น ดาลใจ สร้างบทกวีอัน ไพเราะเป็นสมบัติในแวดวงวรรณกรรมของไทย นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประวัติการสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มสร้างขึ้นในสมัยใด ใคร เป็นผู้สร้าง มีเพียงการศึกษาแล้วสันนิษฐานจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วรรณกรรม เรื่อง เล่ า ต านาน หนั ง สื อ บั น ทึ ก การเดิ น ทาง หนั ง สื อ บั น ทึ ก รายงาน คั ม ภี ร์ต่ า งๆ ที่ ก ล่ า วถึ ง ตลอดจนศึกษาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของโบราณสถานและรูปแบบศิลปะจากโบราณวัตถุ ที่ค้นพบในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์และในบริเวณใกล้เคียง จุดมุ่งหมำยของหลักสูตร มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี รักท้องถิ่นและแหล่งการเรียนรู้ ปลูกฝังคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ ดังนี้ ๑. รู้และเข้าใจประวัติความเป็นมาขององค์พระปฐมเจดีย์ ๒. มีจิตสานึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์โบราณสถานในท้องถิ่น วัตถุประสงค์ ๑. นักเรียนสามารถบอกความเป็นมาขององค์พระปฐมเจดีย์ได้ ๒. นักเรียนสามารถเล่าถึงตานานที่เกี่ยวข้องกับองค์พระปฐมเจดีย์ได้ ๓. นักเรียนอธิบายรูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ได้ ๔. นักเรียนศึกษาค้นคว้าและอธิบายเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวข้องกับการ บูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ได้ ๕. นักเรียนจิตสานึกในการอนุรักษ์โบราณสถานที่สาคัญได้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๗๙

เนื้อหำหลักสูตร องค์พระปฐมเจดีย์ - ความเป็นมาขององค์พระปฐมเจดีย์ - ตานานที่เกี่ยวข้องกับองค์พระปฐมเจดีย์ - รูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ - พระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวข้องกับการบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ เวลำเรียน เวลาเรียน เรียน ทดสอบ

๒๐ ๑๘ ๒

ชั่วโมง ชั่วโมง ชั่วโมง

แหล่งกำรเรียนรู้และสื่อประกอบกำรเรียน - องค์พระปฐมเจดีย์ของจริง - ปราชญ์ชาวบ้าน - ใบความรู้ ใบกิจกรรม - สื่ออิเล็กทรอนิกส์และมัลติมิเดีย - หนังสือเพิ่มเติม - เอกสารการท่องเที่ยว กำรวัดผลและประเมินผลกำรเรียนรู้ เน้นการประเมินสภาพจริง ประเมินด้ วยการมีส่วนร่วมทั้งครูผู้สอน ผู้รู้ในท้องถิ่น และนักเรียนในด้าน - ด้านความรู้ความเข้าใจ ใบกิจกรรม ตอบคาถาม - ด้านกระบวนการ ประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม - ด้านเจตคติ ประเมินความคิดเห็น


๘๐

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ ๑. นักเรียนบอกความเป็นมาขององค์พระปฐมเจดีย์ ๒. นักเรียนเล่าถึงตานานที่เกี่ยวข้องกับองค์พระปฐมเจดีย์ ๓. นักเรียนอธิบายรูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ ๔. นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวข้องกับการบูรณะองค์พระปฐม เจดีย์ ๕. มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์โบราณสถานที่สาคัญ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๘๑

โครงสร้ำงหลักสูตรท้องถิ่น “ องค์พระปฐมเจดีย์ “ แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ สำระกำรเรียนรู้ ชั่วโมง ๑. มารู้ จั ก องค์ พ ระปฐม ควำมเป็นมำขององค์พระปฐมเจดีย์ ๖ เจดีย์กันเถอะ - การเผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนาของพระโสณะเถระ ๑ และพระอุตตระเถระ - ชุมชนข้างเคียงที่อพยพเข้ามาอยู่บริเวณองค์พระ ๑ ปฐมเจดีย์ - เมืองนครชัยศรี ๒ - สาเหตุของการบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ ๒ ๒. รู ป แบบขององค์ พ ระ รูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ ๔ ปฐมเจดีย์ - แบบทรงสาญจิ แบบคุปตะ ๑ - แบบทรงระฆังคว่า แบบปาละ ๑ - แบบทรงปรางค์ ๑ - แบบทรงระฆังคว่า แบบทรงลังกา ๑ ๓. องค์ พ ระปฐมเจดี ย์ กับ พระมหำกษัตริย์ที่เกี่ยวข้องกับกำรบูรณะองค์พระ ๖ พระมหากษัตริย์ ปฐมเจดีย์ - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒ - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒ - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒ ๔. ตานานนั้นสาคัญไฉน ตำนำนที่เกี่ยวข้องกับองค์พระปฐมเจดีย์ ๒ - ตานานพระยากงพระยาพาน ๑ - นิราศพระประธม ( สุนทรภู่ ) ๑ เวลำเรียน ๑๘ ทดสอบ ๒ รวมเวลำเรียน ๒๐


๘๒

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ตัวอย่ำงหลักสูตรสถำนศึกษำ สำระกำรเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง องค์พระปฐมเจดีย์ แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ ๒ รูปแบบองค์พระปฐมเจดีย์ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ สังคมศึกษำ ศำสนำ และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษำปีที่ ๕ เรือ่ ง รูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ เวลำ ๔ ชั่วโมง สำระสำคัญ องค์พระปฐมเจดีย์ จาแนกรูปแบบออกเป็น ๔ แบบ ดังนี้ ๑. แบบทรงสาญจิ แบบคุปตะ ๒. แบบทรงระฆังคว่า แบบปาละ ๓. แบบทรงปรางค์ ๔. แบบทรงระฆังคว่า แบบทรงลังกา ผลกำรเรียนรู้ อธิบายรูปแบบองค์พระปฐมเจดีย์ในรูปแบบต่าง ๆ จุดประสงค์กำรเรียนรู้ ๑. นักเรียนสืบค้นรูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ได้ ๒. นักเรียนอธิบายรูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ได้ ๓. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของรูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ ได้ สำระกำรเรียนรู้ องค์พระปฐมเจดีย์ จาแนกรูปแบบออกเป็น ๔ แบบ ดังนี้ ๑. แบบทรงสาญจิ แบบคุปตะ ๒. แบบทรงระฆังคว่า แบบปาละ ๓. แบบทรงปรางค์ ๔. แบบทรงระฆังคว่า แบบทรงลังกา สมรรถนะ ๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๒. ความสามารถในการคิด ๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๘๓

๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒) ซื่อสัตย์สุจริต ๓) มีวินัย ๔) ใฝ่เรียนรู้ ๕) อยู่อย่างพอเพียง ๖) มุ่งมั่นในการทางาน ๗) รักความเป็นไทย ๘) มีจิตสาธารณะ กิจกรรมกำรเรียนรู้ ขั้นนำเข้ำสู่บทเรียน ๑. สนทนาถึงเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับองค์พระปฐมเจดีย์ ขั้นกิจกรรมกำรเรียนรู้ ๒. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความสมัครใจกลุ่มละ ๓ คน ให้นกั เรียน เขียนสิ่งที่นักเรียนรู้เกี่ยวกับองค์พระปฐมเจดีย์ลงบนกระดาษ A ๔ และให้แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ๓. ครูให้นักเรียนดูองค์พระปฐมเจดีย์ของจริงแล้วให้นักเรียนบอกมาว่า องค์พระปฐมเจดีย์มีทั้งหมดกี่แบบ ๔. ครูให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง รูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ พร้อมกับสังเกตรูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ว่ามีความแตกต่างกัน อย่างไร ๕. ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบรูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์วา่ มีความ แตกต่างกันอย่างไร ๖. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ขั้นสรุปผลกำรเรียนรู้ ๗. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปรูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ ๘. ครูให้นักเรียนทาใบกิจกรรมเพื่อเป็นการทบทวนความรู้


๘๔

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

๙. ครูให้นักเรียนทาแบบฝึกหัดเพื่อเป็นการทดสอบความเข้าใจในเนื้อหา ที่เรียนมา ครูสังเกตและตรวจสอบผลอีกครั้ง สื่อ / แหล่งกำรเรียนรู้ ๑. องค์พระปฐมเจดีย์ของจริง ๒. ใบความรู้ ๓. ใบกิจกรรม ๔. ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต กำรวัดผลและประเมินผล วิธีกำร ๑. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ๒. ตรวจผลงานจาก - ใบกิจกรรม - แบบฝึกหัด เครื่องมือ ๑. แบบสังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม ๒. แบบประเมินใบกิจกรรม ๓. แบบฝึกหัด เกณฑ์กำรประเมิน ๑. แบบฝึกหัด ตอบถูกได้ ๑ คะแนน ตอบผิดได้ ๐ ได้ ๘ – ๑๐ คะแนน อยู่ในระดับ ๓ หมายถึง ดี ได้ ๕ - ๗ คะแนน อยู่ในระดับ ๒ หมายถึง พอใช้ ได้น้อยกว่า ๕ คะแนน อยู่ในระดับ ๑ หมายถึง ปรับปรุง กิจกรรมเสนอแนะ แบ่งกลุ่มนักเรียนสารวจ สัมภาษณ์ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของท้องถิ่น นามาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๘๕

บันทึกผลกำรตรวจแผนกำรจัดกำรเรียนรู้ เรื่อง รูปแบบองค์พระปฐมเจดีย์ ข้อเสนอแนะของผู้บริหำร ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................. ลงชื่อ ..................................................... ( นายสุนทร เขียวทรัพย์ ) ผู้อานวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๓ ( สระกระเทียม )


๘๖

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

บันทึกผลหลังกำรจัดกำรเรียนรู้ ผลกำรจัดกำรเรียนรู้ ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ปัญหำและอุปสรรค ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ข้อเสนอแนะ / แนวทำงแก้ไข ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ลงชื่อ....................................................................... (ว่าที่ ร.ต.หญิงณัฐธพร เปล่งเจริญศิริชัย ) ครู ค.ศ. ๑ โรงเรียนเทศบาล ๓ ( สระกระเทียม )


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๘๗

แบบสังเกตพฤติกรรมกำรทำงำนกลุ่ม โรงเรียน.......................................................................................ชั้น......................................... ภาคเรียนที่.............................ประเมินครั้งที่..............................กลุ่มที่...................................... สมาชิกในกลุ่ม ๑............................................................................................................................... ๒................................................................................................................................ ๓................................................................................................................................ คำชี้แจง ครูสังเกตพฤติกรรมการทางานของกลุ่มแล้วทาเครื่องหมาย √ ในรายการที่กลุ่ม ปฏิบัติ รำยกำร พฤติกรรม ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติ ๑. การเลือกผู้นากลุ่ม ๒. การกาหนดวัตถุประสงค์ ๓. การกาหนดขั้นตอนและวิธีการทางาน ๔. การสร้างข้อตกลงในการทางาน ๕. การรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกใน กลุ่ม ๖. การแบ่งงานกันรับผิดชอบ ๗. การปฏิบัติตามทีไ่ ด้รับมอบหมาย ๘. การประเมินผลงาน ๙. การปรับปรุงงาน ๑๐. ความรับผิดชอบของกลุ่ม สรุป ระดับคุณภำพ แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ

ระดับ ๓ ระดับ ๒ ระดับ ๑

หมายถึง หมายถึง หมายถึง

ดี พอใช้ ปรับปรุง


๘๘

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

เกณฑ์กำรประเมิน ปฏิบัติ ๗ – ๑๐ รายการ พฤติกรรมอยู่ในระดับดี ปฏิบัติ ๔ – ๖ รายการ พฤติกรรมอยู่ในระดับพอใช้ ปฏิบัติ ๑ – ๓ รายการ พฤติกรรมอยู่ในระดับปรับปรุง ลงชื่อ....................................................................... (ว่าที่ ร.ต.หญิงณัฐธพร เปล่งเจริญศิริชัย ) ผู้ประเมิน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๘๙

ใบควำมรู้ รูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ รูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์

องค์พระปฐมเจดีย์รูปแบบที่ ๑ น่าจะเกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๓๐๐ – ๑๐๐๐ ซึ่งมี ข้อมูลประกอบ ดังนี้ ๑. ระยะนี้อินเดียกาลังนิยมศิลปะแบบคุปตะ สถูปที่เมือ งสาญจิมีชื่อเสียงมาก เมื่อ พระพุ ท ธศาสนาจากอิ น เดี ย เผยแผ่ เข้ า มาในสุ ว รรณภู มิ มี ก ารสร้า งสถู ป บรรจุ พ ระบรม สารีริกธาตุขึ้น แบบสถูปก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกับของอินเดียสมัยนั้นด้วย ๒. หินและอิฐเป็นวัสดุที่นิยมนามาก่อสร้างกัน แต่ที่นครปฐมเป็นภูมิประเทศที่ไม่มี ภูเขาหิน วัสดุที่สร้างเป็นองค์เจดีย์ส่วนใหญ่จึงเป็นอิฐดินเผา ๓. การเคารพสถูปหรือพระธาตุ นิยมกระทาการเดินเวียนรอบ หรือ ทักษิณาวัตร สถูปแบบสาญจิจึงมีที่เดินเวียนรอบได้ทั้งตอนล่างและตอนบน รูปร่างจึงง่ายๆไม่ซับซ้อน เป็น ทรงฟองน้ารูปครึ่งวงกลมเป็นหลัก พระเจดีย์องค์แรกที่ นครปฐมจึงควรมีลักษณะเดียวกันกับ สถูปที่เมืองสาญจิ ในอินเดีย เมื่อมีอายุประมาณ ๕๐๐ ปี ก็พังลง


๙๐

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

องค์พระปฐมเจดีย์แบบที่ ๒ น่าจะเกิดขึ้นในราว พ.ศ. ๑,๐๐๐ - ๑,๖๐๐ หลังจาก องค์แรกได้พังทลายลงแล้ว พุทธศาสนิกชนกลุ่มถัดมาได้มาสร้างเจดีย์ตรงที่เดิม ในช่วงนี้ กษัตริย์ราชวงศ์ปาละ แห่งอินเดียรุ่งเรืองรูปแบบศิลปกรรมใดๆ ไม่ว่าพระพุทธรูปและสถูป เจดีย์จะมีลักษณะต่างจากราชวงศ์คุปตะที่แล้วมาบ้าง สมัยนี้เริ่มมีเรื่องของดอกบัว ซึ่งเป็นฐาน ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งและเดินตามพุทธประวัติเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการก่อสร้างเจดีย์ ฐานเจดี ย์กลมและแปดเหลี่ ยมทึ บเป็ น ผนั งหรือหน้ ากระดานเป็ น ช่วงๆ แต่ล ะช่องอาจจะ ประดับด้วยภาพปั้นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูปสลับกับฐานรูปกลีบบัวหรือ "บัววลัย" เป็นชั้นๆ ถัดขึ้นไปเป็นลานทักษิณาวัตรได้รอบองค์สถูป ตัวสถูปเป็นองค์ระฆังคว่ามี บัลลังก์สี่เหลี่ยมเป็นส่วนถัดไป ต่อด้วยส่วนยอดเป็ นก้านฉัตรและตัวฉัตรทาเป็นชั้นๆ ลดหลั่น กันขึ้นไปจรดยอดดอกบัวตูม และอาจมีเจดีย์ขนาดเล็กรายรอบเจดีย์ประธานด้วย เมื่อเวลา ผ่านไปประมาณ ๕๐๐ ปี เจดีย์แบบนี้ก็พังลงทับถมที่เดิมทาให้มีกองดินกองอิฐขนาดใหญ่โต ขึ้น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๙๑

องค์พระปฐมเจดีย์แบบที่ ๓ น่าจะเกิดขึ้นในราว พ.ศ. ๑,๖๐๐ - ๒,๐๐๐ ในยุคนี้มี อารยธรรมของเขมรซึ่งมีศาสนาพราหมณ์เป็นพื้นฐานในความเชื่อเรื่องเทพเจ้าเข้ามามีอิทธิพล ต่อ อาณาจักรทวารวดี ซึ่งนิยมพุทธศาสนาลัทธิหินยานเถรวาทอยู่ จึงเกิดการปรับปรนความ เชื่อทางศาสนาและสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่ต่างไปจากเดิมอยู่ระยะหนึ่งทาให้มีความนิยม ก่อสร้างเจดีย์เป็นปรางค์เกิดขึ้นทั่วไปซึ่งอยู่ในสมัยอโยธยา (ก่อนกรุงศรีอยุธยา) องค์พระปฐม เจดีย์ก่อนหน้านี้ คาดว่าเป็นเจดีย์ยอดแหลม (แบบที่ ๒) เมื่อนานเข้ายอดหักลง ผู้มาบูรณะ ยุคนี้ มีค วามนิยมเจดีย์ย อดปรางค์จึง ได้บู รณะโดยต่ อยอดจากฐานเดิม ให้ เป็ น ปรางค์ ดังที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพบครั้งแรกในป่าห่างจากพระประโทนเจดีย์ ๒ กิโลเมตร


๙๒

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

องค์พระปฐมเจดีย์แบบที่ ๔ เกิดขึ้นเพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบเจดีย์ขนาดใหญ่มียอดเป็นปรางค์ก่อขึ้นไปบนเนินดินอยู่กลางป่า พิเคราะห์ดูแล้วว่า เป็นของโบราณ ชาวบ้านนับถือสักการะกันมาเป็นเวลายาวนาน เรียกว่า "พระธม" มีพระบรม สารีริกธาตุบรรจุอยู่ภายใน ทรงเลื่อมใสศรัทธาแล้วทาการบูรณะให้มีความใหญ่โตถาวร เป็น การสืบพระพุทธศาสนาให้คู่กับชาติไทยสืบไป พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเป็นเจดีย์ทรง ลังกากลม สูง ๑๒๐.๔๕ เมตร นับว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสูงที่สุดในโลก ให้ชื่อว่า "พระปฐม เจดีย์" ตามหนังสือเก่าๆ ที่พระองค์ทรงทอดพระเนตรพบ ห่อหุ้มเจดีย์ทั้งสามสมัยดังกล่าวไว้ ถ้าเดินเข้าไปในช่องบัวใบเทศจะพบที่ว่างภายในเป็นทางให้เดินทักษิณ าวัตรรอบพระปฐม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๙๓

เจดีย์องค์เดิมได้แต่จะไม่เห็นผิวของเจดีย์องค์เดิมมากนักเพราะมีการก่ออิฐหุ้มไว้มีช่องขนาด ๑๗๕ x ๗๕ เซนติเมตร อยู่ทั้ง ๔ ทิศ เปิดผิวเจดีย์องค์เดิมให้เห็นได้เล็กน้อย เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๔๔ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามราชกุมาร เสด็จมาทา พิธีบรรจุพระพุทธรูปของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ลงในช่องทิศตะวันออกพระปฐมเจดีย์ราช วรมหาวิหารเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย ที่ สาคัญและเชิดหน้าชูตานั่น คือ องค์พระปฐม เจดีย์ ปูชนียสถานสาคัญทางพระพุทธศาสนาเจดีย์องค์แรกในสุวรรณภูมิก่อนแห่งใดในโลก จึง เป็ น ที่ เชิ ด หน้ า ชู ต าของชาวไทยทั้ งชาติ แทบทุ กวั น จะมี นั กทั ศนาจรทั้ งชาวไทยและชาว ต่างประเทศมานมัสการอยู่เสมอ เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ เนื่องจากรวบรวม โบราณวัตถุไว้มากมาย เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จากหนังสือเรื่องพระปฐมเจดีย์ กับนาเที่ยวของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงนิพนธ์ไว้ ท่านให้ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างพระ ปฐมเจดีย์ว่า การที่จะทราบว่าพระปฐมเจดีย์สร้างขึ้น เมื่อใด และใครเป็นผู้สร้างนั้น จะต้อง ย้อนกล่าวตั้งแต่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธนิพพาน พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายอยู่ในมัชฌิม ประเทศคืออินเดียตอนกลาง แต่ยังหาได้เป็นศาสนาประธานของประเทศไม่


๙๔

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

ชื่อ......................................นามสกุล...............................ชั้น...................เลขที่.......................... แบบฝึกหัด เรื่อง รูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ คำชี้แจง จงเติมคาหรือข้อความลงในช่องว่างให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ ๑. รูปแบบองค์พระปฐมเจดีย์รูปแบบที่ ๑ ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศ........................... เป็นศิลปะแบบสมัย.................................เป็นสถูปที่มีชื่อเสียงมาจากเมือง................................. ๒ . อิ ฐ และหิ น ที่ น าม าสร้ า งองค์ พ ระป ฐม เจดี ย์ ใ น รู ป แบ บ แรก นั้ น เป็ น อิ ฐ แ บ บ ................................................................................................................................................ ๓. การเคารพสถูปหรือพระธาตุนิยมกระทาการเดิน............................หรือ............................. ๔. องค์พระปฐมเจดีย์รูปแบบแรกมีข้อสังเกตง่ายๆ คือมีรูปทรงเหมือน..................................

๕. เป็นองค์พระปฐมเจดีย์แบบที่................................................................ ๖. ศิลปะแบบคุปตะและศิลปะแบบปาละแตกต่างกันอย่างไร ................................................................................................................................................... ๗. รูปแบบองค์พระปฐมเจดีย์แบบที่ ๓ ได้รับอารยธรรมมาจาก..............................มีพื้นฐาน มาจากศาสนา.........................................ซึ่งเชื่อในเรื่องของ................................มีอิทธิพลต่อ อาณ าจั ก ร...................................................ท าให้ นิ ย มสร้ า งเจดี ย์ เ ป็ น แบบ ทรง .............................................. ๘. รูปแบบองค์พระปฐมเจดีย์แบบที่ ๔ เป็นเจดีย์ทรง........................................หรือเรียกอีก อย่างว่า..............................................มีความสูง............................................เมตร ๙. พระมหากษัตริย์พระองค์ใดเป็นผู้ค้นพบองค์พระปฐมเจดีย์ ................................................................................................................................................... ๑๐. ข้ อ สั ง เก ต ข อ ง อ ง ค์ พ ร ะ ป ฐ ม เจ ดี ย์ ทั้ ง ๔ แ บ บ คื อ ....................................................................................................


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๙๕

กลุ่มที่ ๒ เรื่อง นิทานพื้นบ้าน


๙๖

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

หลักสูตรสถำนศึกษำ สำระกำรเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง นิทำนพื้นบ้ำน ควำมสำคัญ ๑. นักเรียนควรรู้เรื่องราวในท้องถิ่นของตนเอง ๒. ในนิทานพื้นบ้านมีคุณค่าในแง่ต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ บุคคลสาคัญ คติความ เชื่อของท้องถิ่นนั้นๆ ๓. เป็นจุดเริ่มต้นให้นักเรียนสนใจเรื่องราวในท้องถิ่น ซึ่งเด็กๆ สามารถหาความรู้ เพิ่มเติมต่อยอดขึ้นไปได้ จุดมุ่งหมำย เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องราวในท้องถิ่นผ่านนิทานพื้นบ้าน วัตถุประสงค์ ๑. สามารถวิเคราะห์คุณธรรม จริยธรรม จากนิทานพื้นบ้านแต่ละท้องถิ่นได้ ๒. สร้างสรรค์ผลงานทีไ่ ด้จากการศึกษานิทานพืน้ บ้าน เนื้อหำหลักสูตร ๑. กิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสาคัญ ๒. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม สืบค้นความรู้นิทานพืน้ บ้านที่มีในท้องถิ่นของตนเอง ๓. ให้นักเรียนระดมสมองภายในกลุ่มของตนเอง และประมวลความรู้ ออกแบบ และนาเสนอผลงานผ่านกิจกรรมตามความคิดสร้างสรรค์ ๔. ประเมินผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เวลำเรียน ๒ คาบต่อสัปดาห์ (๑ หน่วยการเรียน) แหล่งกำรเรียนรู้และสื่อประกอบกำรเรียน ๑. บุคคลในท้องถิ่น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๙๗

๒. แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ๓. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย ๔. ใบความรู้ ๕. หนังสืออ่านเพิ่มเติม ๖. ใบกิจกรรม กำรวัดและประเมินผลกำรเรียน ๑. ด้านความรู้ความเข้าใจ จากการตรวจแบบฝึกหัด สังเกตการตอบคาถาม ๒. ด้านกระบวนการ ประเมินจากการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รบั ๑. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม จากการศึกษานิทานพืน้ บ้านประจาท้องถิ่น ๒. นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานจากนิทานพืน้ บ้านได้


๙๘

 ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน ่ คัดสรรฯ

โครงสร้ำงเนื้อหำของหลักสูตร แผนกำรจัดกำรเรียนรู้

สำระกำรเรียนรู้

๑. มารู้จักนิทานพื้นบ้านกัน เถอะ

๑. ประวัติความเป็นมาของนิทาน พื้นบ้าน - ที่มาของนิทานพื้นบ้าน - นิทานพื้นบ้านในท้องถิ่น

๒. เล่าสู่กันฟังนิทานบ้านเธอ ๒ . นิ ท าน พื้ น บ้ าน ที่ นั ก เรี ย น ค้นคว้าหาความรู้มา - จัดกลุ่มตามความสมัครใจ - เล่ า เรื่ อ งของตนเองให้ ส มาชิ ก ในกลุ่มฟัง - วิ เคราะห์ คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม จากนิทานพื้นบ้าน ๓. เถียงกันจนได้เรื่อง ๓. เลื อ กนิ ท านพื้ น บ้ า นเรื่ อ งที่ สนใจและชื่ น ชอบมากที่ สุ ด มา ๑ เรื่อง - อภิ ป รายกั น ภายในกลุ่ ม และ ลงมติ - เลือกเรื่องที่ชอบที่สุด ๔. สร้างเรื่องจนได้ ๔ . คิ ด สร้ า งสรรค์ ผ ลงาน เพื่ อ น าเสนอจากการศึ ก ษานิ ท าน พื้นบ้าน - อภิ ป รายและตกลงกั น ว่ า จะ นาเสนอผลงานในรูปแบบใด - แบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่ม - ปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม

จำนวนชั่วโมง ควำมรู้ ปฏิบัติ ๔ -

-

-

๑๔


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๙๙

แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ ๕. สนุกกับนิทานพืน้ บ้าน

สำระกำรเรียนรู้ ๕. ผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ ของกลุ่ ม น าเสนอสู่ เพื่ อ นในชั้ น เรียน - นั กเรี ย น น าเสน อผลงาน ใน รูปแบบที่ตนเองเลือก รวมจำนวนชั่วโมง

จำนวนชั่วโมง ควำมรู้ ปฏิบัติ ๑ ๘

๓๔


๑๐๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ตัวอย่ำงหลักสูตรสถำนศึกษำ สำระกำรเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง นิทำนพื้นบ้ำน แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ ๑ หน่วยกำรเรียนรู้เรียนที่ ๑ เรื่องรู้จักนิทำนพื้นบ้ำน ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ ๑ เรื่องรู้จักนิทำนพื้นบ้ำน เวลำ ๔ ชั่วโมง สำระสำคัญ นิทานพื้นบ้านเป็นเรื่องราวที่เล่าขานกับสืบมา แม้ยากที่จะเชื่อว่าเป็นความจริง แต่ถ้าได้พิจารณาเนื้อหาอย่างถ่องแท้แล้วจะพบว่าแฝงเร้นไว้ด้วยสาระที่เป็นประโยชน์และยัง สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาและทัศนคติของมนุษย์ในแต่ละสังคมแต่ละด้านได้เป็นอย่างดี ตัวชี้วัด/จุดประสงค์กำรเรียนรู้ ๑. สร้างความเข้าใจเรื่องนิทานพื้นบ้าน ๒. ยกตัวอย่างนิทานพืน้ บ้านในท้องถิ่นต่างๆ ๓. เล่าที่มาของนิทานพืน้ บ้านในท้องถิ่นต่างๆ ๔. ประโยชน์ของนิทานพืน้ บ้าน ๕. จาแนกประเภทของนิทานพืน้ บ้านได้ ๖. วิเคราะห์คุณค่าของนิทานพืน้ บ้าน สำระกำรเรียนรู้ ๑. นิทานพืน้ บ้านในท้องถิ่นต่างๆ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๒. ความสามารถในการคิด ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณ ๓. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต กระบวนการทางานกลุ่ม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑. ใฝ่เรียนรู้ ๒. รักความเป็นไทย กิจกรรมกำรเรียนรู้(วิธีสอนแบบบูรณำกำร) นักเรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๐๑

คำบที่ ๑ - ๒ ๑. ครูให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ของนักเรียนเกี่ยวกับการรับฟังนิทานพื้นบ้าน โดยให้นักเรียนเล่าว่านท้องถิ่นในชุมชนของนักเรียนมีนิทานอะไรบ้าง ครูขออาสาสมัครที่กล้า แสดงออกในทางที่สร้างสรรค์ พร้อมทั้งอธิบายให้นักเรียนทราบว่าในท้องถิ่นมีนิทานพื้นบ้าน แต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไป มีหลากหลายประเภท ซึ่งล้วนแต่สนุกสนานและให้ความรู้ควบคู่ ไปด้วย ๒. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ ๓. ครูเล่าถึงประสบการณ์การศึกษานิทานพื้นบ้ าน การฟังนิทานพื้นบ้าน เช่นใน จังหวัดนครปฐมมีความเชื่อในการเกิดปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ราหูอมจันทร์ เมขลา กับรามสูร เป็นต้น ๔. ให้นักเรียนผลัดกันออกมาเล่านิทานพื้นบ้านในท้องถิ่นของนักเรียน คนละ ๑ เรื่อง ตามความเชื่อ ธรรมชาติ หรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ๕. ครูสรุปความรู้เกียวกับนิทานพื้นบ้านโดยบอกนักเรียนว่าประเภทของนิทาน พื้นบ้านไทย สามารถแบ่งประเภทออกได้เป็น ๗ ประเภทคือ ๑.นิทานมหัศจรรย์ ๒.นิทาน วีรบุรุษ ๓. นิทานประจาถิ่น ๔. นิทานอธิบายเหตุผล ๕.นิทานเทพนิยาย ๖. นิทานคติธรรม ๗.นิทานมุขตลก ๖. ครูยกตัวอย่างนิทานพื้นบ้านของภาคต่างๆ ของประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวั นออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก ว่า มีความเชื่อ ความแตกต่าง มีประเภทต่างๆ ให้นักเรียนไปศึกษาโดยการถามผู้ปกครอง ผู้นา หรือคนใน ชุมชนของนักเรียนเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านในท้องถิ่น โดยครูจะให้นักเรียนออกมาผลัดกันเล่า ให้เพื่อนๆ ฟังในครั้งต่อไปโดยให้บอกว่าประเภทของนิทานที่ไปศึกษาเป็นนิทานประเภทใด ลักษณะนิสัยของตัวละคร และข้อคิดที่ได้ คำบที่ ๓ - ๔ ๗. นักเรียนเล่าประสบการณ์ที่ได้รับในการไปศึกษา นิทานพื้นบ้านในท้องถิ่น ของนักเรียนโดยให้เล่าว่า นักเรียนได้รับฟัง หรือได้รับรู้จากใคร วิธีการรับรู้อย่างไร เล่า นิทาน ที่ มาของนิ ท านพื้ น บ้ านนั้ น ๆ ประโยชน์ ที่ นั กเรียนได้รับ จากนิ ท านพื้ น บ้ านที่ ได้ รับ ฟั งมามี อะไรบ้าง ๘. เมื่อนักเรียนเล่านิทานพื้นบ้านจากประสบการณ์ที่ได้รับฟังมาครบทุกคนแล้ว ครูให้นักเรียนจัดประเภทของนิทานพื้นบ้านว่า นิทานของนักเรียนเป็นนิทานประเภทใด ใน ๗


๑๐๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ประเภท นี้ คือ ๑.นิทานมหัศจรรย์ ๒.นิทานวีรบุรุษ ๓. นิทานประจาถิ่น ๔. นิทานอธิบาย เหตุผล ๕.นิทานเทพนิยาย ๖. นิทานคติธรรม ๗.นิทานมุขตลก ให้ตัวแทนของนักเรียนออกมา เขียนแยกประเภทในกระดานหน้าชั้นเรียน ๙. เมื่อนักเรียนแยกประเภทนิทานพื้นบ้านได้แล้ว ครู ให้นักเรียนบอกตัวละคร เด่นของนิทาน ลักษณะนิสัยตัวละคร ข้อคิดที่ได้รับ ๑๐. เมื่อนักเรียนสามารถแยกประเภทของนิทานพื้นบ้าน ลักษณะเด่นของตัว ละครและข้อคิดที่ได้รับแล้ว ครูให้นักเรียนบันทึก ลงให้สมุดของนักเรียนเพื่อเป็นหลักฐานใน การนาไปศึกษาในบทเรียนต่อไป ๑๑. ครูมอบหมายงานให้นักเรียนไปสืบค้นนิทานพื้นบ้านในท้องถิ่นของนักเรียน โดยให้บันทึกหรือศึกษาในประเด็นดังนี้ ๑) ที่มาของนิทานพืน้ บ้าน ประเภทของนิทาน ๒) ลักษณะเด่นของตัวละคร ๓) คุณค่า และคุณธรรมที่นักเรียนได้รับจากนิทานพื้นบ้าน ๔) ประโยชน์ ความสาคัญที่ได้รบั จากนิทานพื้นบ้าน ๑๒. นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๐๓

กำรวัดและประเมินผล วิธีกำร นักเรียนทาแบบทดสอบ นักเรียนบันทึกสรุปองค์ ความรู้ที่ได้รับ นักเรียนเล่านิทาน นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมใน ชั้นเรียน

เครื่องมือ แบบทดสอบ แบบบันทึก

เกณฑ์ ร้อยละ ๖๐ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๖๐ ผ่านเกณฑ์

นิทานที่นักเรียนสืบค้นมา แบบประเมินตามสภาพจริง

ร้อยละ ๖๐ ผ่านเกณฑ์ ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์

สื่อและแหล่งเรียนรู้ ๑. ใบความรู้ ตัวอย่างนิทานพื้นบ้านเรื่องพระยากงพระยาพาน ๒. ภูมิปัญญาหรือผู้ปกครองนักเรียน ๓. การสืบค้นข้อมูลของนักเรียนจากผู้รู้หรืออินเทอร์เน็ต


๑๐๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

แบบประเมินตำมสภำพจริง ลำดับที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕

รำยกำรประเมิน

ระดับคะแนน ๔ ๓ ๒ ๑

ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา กระบวนการคิดวิเคราะห์ ประเมินค่า การแสดงความคิดเห็น ความมีน้าใจกับเพื่อนร่วมงาน ความรับผิดชอบต่อหน้าทีท่ ี่ได้รบั มอบหมาย รวม ลงชื่อ.......................................................ผู้ประเมิน ( ) ....................../......................./.................

เกณฑ์การให้คะแนน ปฎิบัติสมบูรณ์ชัดเจน ปฏิบัติยังมีข้อบกพร่องในจุดทีไ่ ม่สาคัญ ปฏิบัติยังมีข้อบกพร่องเป็นส่วนใหญ่ ปฏิบัติไม่ได้เลย

ให้ ให้ ให้ ให้

เกณฑ์กำรตัดสินคุณภำพ ช่วงคะแนน ๑๗-๒๐ ๑๓-๑๖ ๙-๑๒ ๕-๘

ระดับคุณภาพ ๔ หมายถึง ดีมาก ๓ หมายถึง ดี ๒ หมายถึง พอใช้ ๑ หมายถึง ปรับปรุง

๔ ๓ ๒ ๑

คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๐๕

แบบทดสอบ เรื่อง นิทำนพื้นบ้ำน คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกตอบคาตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว ๑. นิทานพืน้ บ้านมีลักษณะอย่างไร ก. เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา ข. เป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ ค. เป็นต้นกาเนิดของประวัติศาสตร์ ง. เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ๒. นิทานเรื่องใดเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมาจากทางภาคใต้ ก. สาวเครือฟ้า ข. ตาม่องล่าย ค. ผาแดง – นางไอ่ ง. ท้าวก่ากาดา ๓. นิทานเรื่องใดเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมาจากทางภาคอีสาน ก. สาวเครือฟ้า ข. ตาม่องล่าย ค. ผาแดง – นางไอ่ ง. ท้าวก่ากาดา ๔. ศรีธนญชัย เป็นเรื่องราวประเภทใด ก. คนฉลาดเฉียบแหลม ข. ความเชื่อโชคลาง ค. เป็นเรื่องเทพเจ้า ง. เป็นเรื่องของคนฉลาดแกมโกง ๕. เรื่อง พญาคันคาก เป็นเรื่องราวที่ทาให้เกิดประเพณีใดในเวลาต่อมา ก. ประเพณีแห่นางแมว ข. ประเพณีบญ ุ บั้งไฟ ค. ประเพณีลอยกระทง ง. ประเพณีสงกรานต์ ๖. คาว่า “ คันคาก ”ในข้อ ๕ หมายถึงอะไร ก. สุนัข ข. กิ้งก่า ค. แมว ง. คางคก ๗. เกาะหนูเกาะแมว เป็นนิทานพื้นบ้านภาคใด ก. ภาคเหนือ ข. ภาคใต้ ค. ภาคกลาง ง. ภาคอีสาน ๘. พญากงพญาพาน เป็นตานานเกี่ยวกับเรื่องใด ก. การสร้างภูเขาทอง ข. การสร้างพระปฐมเจดีย์ ค. การสร้างวัด ง. การสร้างธาตุก่องข้าวน้อย ๙. ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องใด ก. ลูกฆ่าพ่อ ข. แม่ฆ่าลูก ค. ลูกฆ่าแม่ ง. สามีฆ่าภรรยา


๑๐๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

๑๐. ข้อใดคือคุณค่าทางอารมณ์ของนิทานพื้นบ้าน ก. ผู้อ่านเกิดความสนุกสนาน ข. เกิดประเพณีสาคัญ ค. ผู้อ่านหรือผู้ฟังนาไปเป็นข้อคิด ง. เป็นแนวทางดาเนินชีวิต ๑๑. เรื่องปลาบู่ทอง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งใด ก. เรื่องของวีรบุรุษ ข. เรื่องการทาความดี ค. เรื่องเกี่ยวกับเทวดา ง. เรื่องเกี่ยวกับประเพณีขอฝน ๑๒. ผาแดง – นางไอ่ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีใด ก. ประเพณีแห่นางแมว ข. ประเพณีบญ ุ บั้งไฟ ค. ประเพณีลอยกระทง ง. ประเพณีสงกรานต์ ๑๓. ข้อใดเป็นนิทานเกี่ยวกับมนุษย์และยักษ์ ก. ตาม่องล่าย ข. ศรีธนญชัย ค. นางสิบสอง ง. โสนน้อยเรือนงาม ๑๔. ข้อใดเป็นนิทานตลก ก. ไกรทอง ข. สังข์ทอง ค. ศรีธนญชัย ง. พญากงพญาพาน ๑๕. นิทานที่เล่าจากปากต่อปากเรียกว่าอย่างไร ก. นิทานท้องถิน่ ข. นิทานมุขปาฐะ ค. นิทานลายลักษณ์ ง. นิทานราชสานัก ๑๖. สังข์ทอง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งใด ก. คนเกิดในหอย ข. คนเกิดในกระบอกไม้ไผ่ ค. คนเกิดจากกบ ง. คนเกิดจากปลา ๑๗. นิทานแตกต่างจากนิยายในเรื่องใด ก. ระบุชื่อผู้แต่งไว้ ข. ไม่มีชื่อผู้แต่ง ค. เป็นเรื่องจักรๆวงศ์ๆ ง. มีหลักฐานอ้างอิง ๑๘. เรื่องราวเกี่ยวกับชาติตา่ งๆของพระพุทธเจ้าเรียกว่าอย่างไร ก. นิทานพืน้ บ้าน ข. นิทานปรัมปรา ค. นิทานชาดก ง. นิทานทศชาติ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๐๗

๑๙. ข้อใดเป็นชื่อของนิทาน ก. เกิดที่วังปารุสก์ ก. สุภาษิตพระร่วง ค. นางสิบสอง ง. สาวเครือฟ้า ๒๐. นิทานเรื่องใดเป็นแบบอย่างของความอดทนทาความดี ก. พญากงพญาพาน ข. โสนน้อยเรือนงาม ค. เกาะหนูเกาะแมว ง. พญาคางคก


๑๐๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ใบควำมรู้ที่ ๑ เรื่อง นิทำนพื้นบ้ำนพื้นบ้ำน นิทำนพื้นบ้ำน นิทำน หมายถึง เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปาก ผ่านยุคหนึ่งสู่ อีกยุค หนึ่ง ผ่านคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง จนถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เรื่องที่เล่านี้อาจจะเรียก "นิทานพื้นบ้าน" หรือ "นิทานชาวบ้าน" หลักสังเกตนิทานพื้นบ้าน มีดังนี้ ๑. เป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคาธรรมดา มีลักษณะเป็นร้อยเเก้ว ๒. เล่าด้วยปากสืบต่อกันมา แต่ในระยะหลังมีการเขียนบันทึกตามเค้าเรื่องที่เคยเล่า ๓. นิทานพื้นบ้านมักจะไม่ปรากฏผู้เล่าดั้งเดิมว่าเป็นใคร ประโยชน์ของกำรศึกษำนิทำนพื้นบ้ำน นิทานพื้นบ้านได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่น้อยมาก อาจเพราะเห็นว่าเป็น เรื่องล้าหลังไม่ทันสมัย เนื่องจากมีสิ่งบันเทิงในรูปแบบต่ างๆ ที่รวดเร็วสะดวกสบายกว่า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น อาจทาให้มองไม่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ที่มีส่วนจรรโลงสังคมไทยให้อยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะนิทานพื้นบ้านนั้น นอกจากจะ ให้ความบันเทิงใจ แล้วยังช่วยให้ความรู้เชิงประวัติศาสตร์ แบบแผนสังคม ประเพณี พิธีกรรม ศาสนา และบทเรี ย นทางคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมแก่ ผู้ ฟั ง เพราะใช้ ห ลั ก ธรรมเป็ น เเนวคิ ด สาคัญ รวมทั้งสร้างความผูกพัน ความรัก ความเข้าใจระหว่างบุคคล และเครือญาติอีกด้วย เนื้อหำของนิทำนพื้นบ้ำนไทย เนื้อหาของนิทานพื้นบ้านทุกภาค มักจะมีลักษณะร่วมกัน อยู่มาก ได้แก่ อุปนิสัย ของตัวเอกที่จะยึดมั่นในคุณธรรม มีความประพฤติอันดีงาม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยใช้ นิทานพื้นบ้านเป็นสื่อในการสอนจริยธรรม และแบบแผนสังคม ๑. ลักษณะของเนื้อเรื่องที่นิยมเล่ำต่อกันมำ ๑.๑ พระราชามีพระมเหสี ๒ พระองค์ - มเหสีเอกและพระโอรสถูกกลั่นเเกล้ง – ถูก เนรเทศ ๑.๒ พระโอรสรอดพ้นจากอุปสรรค หรือภัยพิบัติ ๑.๓ พระโอรสเดินทางกลับบ้านเมือง - ประสบเหตุการณ์ต่างๆ – ได้ครองเมือง ๑.๔ พระโอรสกลับไปบ้านเกิดเมืองนอน - บ้านเมืองเกิดยุคเข็ญพระโอรสเข้าปราบ – พระบิดาสั่งประหารพวกที่คิดร้าย ๑.๕ พระโอรสได้ครองเมือง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๐๙

๒. ตัวละคร และฉำก ๒.๑ ตัวละครในนิทานพื้นบ้านมักจะมีบุคลิกคล้ายกัน ตัวเอกของเรื่องมีบุญญาธิการ หรื อ เป็ น พระโพธิ สั ต ว์ เสวยชาติ ม าเพื่ อ บ าเพ็ ญ บารมี เกิ ด มาพร้ อ มกั บ ของวิ เศษหรื อ ความสามารถพิเศษ ๒.๒ ตัวประกอบอื่นๆ เช่น พระบิดา พระมารดา เสนา อามาตย์ เทวดา ยักษ์ ซึ่งจะ เป็นตัวเสริมตัวละครเอกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ๒.๓ ตัวประกอบฝ่ายอธรรม เช่น มารดาเลี้ยง โหร เสนา อามาตย์ ยักษ์ มีบทบาท เป็นศัตรูกับพระเอกหรือนางเอกในตอนต้นเรื่อง ทาให้ต้องตกระกาลาบาก แต่เเล้วพระเอก หรือนางเอกก็เอาชนะอุปสรรค ส่วนฝ่ายอธรรมก็ได้รับโทษ ๒.๔ มักนิยมพรรณาฉากในเรื่องอย่างวิจิตร เช่น เมืองมนุษย์ เมืองยักษ์ ป่าหิมพานต์ สวรรค์ เมืองบาดาล เพื่อให้เห็นอิทธิฤทธิ์ของตัวเอกในการผจญภัย ๓.ประเภทของนิทำนพื้นบ้ำน นิทานพื้นบ้าน เเบ่งเป็น ๗ ประเภท ดังนี้ ๑. นิทานมหัศจรรย์ นิทานจักรๆ วงศ์ๆ เนื้อหาจะมีการเผชิญโชคในดินแดนมหัศจรรย์ของตัว เอก และมีการปราบอธรรมให้สังคมมีสันติสุข ๒. นิ ท านวี ร บุ รุ ษ นิ ท านที่ มี โ ครงเรื่ อ งตามเเนวปาฏิ ห าริ ย์ แต่ ไ ด้ อ้ า งอิ ง ชื่ อ บุ ค คลใน ประวัติศาสตร์ หรือบุคคลสาคัญต่างๆ ๓. นิทานประจาถิ่น อธิบายความเป็นมาของท้องถิ่นต่างๆ มักมีปาฏิหาริย์ปรากฏด้วย ๔. นิทานอธิบายเหตุผล นิทานที่อธิบายเรื่องต่างๆ ตามความเชื่อ และทัศนะของคนไทย ๕. เทพนิยาย นิทานที่เล่าความเป็นมาของโลกตามทัศนะ และความเชื่อ ๖. นิ ทานสอนใจ หรือนิท านคติธรรม นิท านที่ยึดคุณ ธรรม จริยธรรม ความกตัญ ญู ความ ซื่อสัตย์ของตัวเอกโดยมักนาเค้าเรื่องมาจากชาดก ๗. นิทานมุขตลก นิทานที่มุ่งให้ความขบขันแก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน


๑๑๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยกำรเรียนรู้เรื่อง เล่ำสู่กันฟังนิทำนบ้ำนเธอ รหัส ท ๒๑๑๐๑ รำยวิชำ ภำษำไทย ผู้สอน นำงสอำดชนม์ ชมดอกไม้

ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ ๑ จำนวน ๙ ชั่วโมง โรงเรียนวัดอินทำรำม

สำระสำคัญ นิทานพื้นบ้านเป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะในนิทานพื้นบ้านประจาท้องถิ่นแต่ละเรื่องมี คุณค่าในแง่ต่างๆ อาทิ ประวัติศาสตร์ บุคคลสาคัญ คติความเชือ่ ของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งเป็น จุดเริ่มต้นให้นักเรียนสนใจในท้องถิ่นของตนเอง มำตรฐำนกำรเรียนรู้ ท ๑.๑ ใช้ ก ระบวนการอ่ า นสร้ า งความรู้ แ ละความคิ ด เพื่ อ น าไปใช้ ตั ด สิ น ใจ แก้ปัญหาในการดาเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน ท ๓.๑ สามารถฟั ง และดู อ ย่ า งมี วิ จ ารณญาณ และพู ด แสดงความรู้ ความคิ ด ความรู้สึก ในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดี และวรรณกรรมไทยอย่างเห็น คุณค่า และนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ผลกำรเรียนรู้ที่คำดหวัง ๑. นักเรียนค้นคว้าหาข้อมูลได้ ๒. นักเรียนสามารถถ่ายทอดเรื่องราวโดยใช้ทักษะการฟัง การพูด ๓. นักเรียนสามารถวิเคราะห์คุณธรรม จริยธรรม และคุณค่าจากเรื่องได้ ๔. นักเรียนมีทักษะการทางานเป็นกลุ่ม ๕. นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงาน และนาเสนอได้ จุดประสงค์กำรเรียนรู้ ด้ำนพุทธพิสัย (ควำมรู้) นิทานพื้นบ้าน การพิจารณาคุณค่า


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๑๑

ด้ำนทักษะพิสัย (กระบวนกำรและสมรรถนะสำคัญ) ๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๑.๑ กระบวนการอ่าน ๑.๒ กระบวนการฟัง ๑.๓ กระบวนการพูด ๑.๔ กระบวนการเขียน ๒. ความสามารถในการคิด ๒.๑ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ๒.๒ ทักษะการจาแนก ๒.๓ ทักษะการรวบรวมข้อมูล ๒.๔ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ๓. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๓.๑ กระบวนการทางานกลุ่ม ๓.๒ ทักษะทางภาษา ด้ำนจิตพิสัย (เจตคติ) ๑. มีไหวพริบปฏิภาณ ๒. มีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑. มีวินัย ๒. ใฝ่เรียนรู้ ๓. มุ่งมั่นในการทางาน ร่องรอยกำรเรียนรู้ ๑. เอกสารประกอบการเรียนและแบบฝึกหัดเรื่อง “นิทานพื้นบ้าน” ๒. สมุดบันทึกประจากลุ่ม


๑๑๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

กิจกรรมกำรเรียนรู้ ชั่วโมงที่ ๑ ขั้นนำ ครูทบทวนความรู้ของนักเรียนในชั่วโมงที่แล้ว โดยถามคาถามกระตุ้นและ ให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง นิทานพื้นบ้าน ในคาบเรียนที่แล้ว ขั้นสอน ๑. ครูให้นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ ๕ คน ตามความสมัครใจ ๒. ครูให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มเลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการ ๓. นักเรียนเล่านิทานพื้นบ้านที่ค้นคว้ามาให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง ๔. นักเรียนในกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์แนวคิดคุณธรรม จริยธรรม ที่ได้รับจากเรื่อง ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกัน สรุปความรู้จากกิจกรรมที่ท า และเปิ ดโอกาสให้ นักเรียนซักถาม ชั่วโมงที่ ๒ – ๘ ขั้นนำ ครูทบทวนความรู้ของนักเรียนในชั่วโมงที่แล้ว และเน้นย้าการทากิจกรรม ต่อเนื่องจากคาบเรียนที่แล้ว ขั้นสอน ๑. ครูให้นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๕ คน ๒. ประธาน ทาหน้าที่ดาเนินการอภิปรายต่อเนื่องจากคาบที่แล้ว ๓. นักเรียนเล่านิทานพื้นบ้านที่ค้นคว้ามาให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง ๔. นักเรียนในกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์แนวคิดคุณธรรม จริยธรรม ที่ได้รับจากเรื่อง ขั้นสรุป ครูให้นักเรียนเขียนสรุปความรู้จากเรื่องที่ฟัง ลงสมุดบันทึกของกลุ่มตนเอง และให้ตัวแทนรวบรวมส่ง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๑๓

ชั่วโมงที่ ๙ ขั้นนำ ครูแจกสมุดบันทึกประจากลุ่มคืนให้กับนักเรียนแต่ละกลุ่ม ขั้นสอน ๑. ครูให้นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๕ คน ๒. ครูวิจารณ์การบันทึกความรู้ของนักเรียน เป็นรายกลุ่ม และให้นักเรียนแก้ไขให้ ครบถ้วนสมบูรณ์ ขั้นสรุป ครูเน้ น ย้ าให้ นั ก เรีย นแก้ ไขสมุ ด บั น ทึ ก ของกลุ่ ม ตนเอง และให้ ตั ว แทน รวบรวมส่งอีกครั้ง สื่อ / แหล่งกำรเรียนรู้ ๑. บุคคลในท้องถิ่น ๒. แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ๓. หนังสือเพิ่มเติม ๔. ใบงาน แบบฝึกหัด กำรประเมินชิ้นงำน


๑๑๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

แบบประเมินผลกำรจัดทำชิ้นงำนแผนภำพควำมคิด เรื่อง “เล่ำสู่กันฟังนิทำนบ้ำนเธอ” รำยกำร ประเมิน ๑ .ก ำ ร เล่ ำ เรื่องจำกกำร ค้นคว้ำ ๒.กิ จ กรรม กลุ่ม

ดีมำก (๔) เล่าเรื่องได้ชัดเจน ถูกต้องทั้งหมด

อภิ ป รายแลกเปลี่ ย น ความคิดเห็น ให้ความร่วมมือทุกคน ตลอดเวลา ๓ . ค ว ำ ม ส่งชิ้นงานภายในเวลา ตรงต่อเวลำ ที่กาหนด

คำอธิบำยระดับคุณภำพ / ระดับคะแนน ดี (๓) พอใช้ (๒) ปรับปรุง (๑) เล่ า เรื่ อ งได้ ถู ก ต้ อ ง เล่ า เรื่ อ งได้ ถู ก ต้ อ ง เล่ า เรื่ อ งได้ ถู ก ต้ อ ง เป็นส่วนใหญ่ เป็นบางส่วน เพียงส่วนน้อย อภิ ป รายแลกเปลี่ ย น ความคิดเห็น ให้ความร่วมมือทุกคน ขาดสมาธิบางเวลา ส่ ง ชิ้ น ง า น ช้ า ก ว่ า กาหนด ๑ - ๒ วัน

อภิ ป รายแลกเปลี่ ย น ความคิดเห็น ให้ความร่วมมือบางคน ตลอดเวลา ส่ ง ชิ้ น ง า น ช้ า ก ว่ า กาหนด ๓ - ๔ วัน

อภิ ป รายแลกเปลี่ ย น ความคิดเห็น ให้ความร่วมมือบางคน ขาดสมาธิบางเวลา ส่ ง ชิ้ น ง า น ช้ า ก ว่ า กาหนดเกิน ๔ วัน ขึ้นไป

เกณฑ์กำรตัดสินคุณภำพ ช่วงคะแนน ๑๑ – ๑๒ ๘ – ๑๐ ๕-๗ ต่ากว่า ๕

ระดับคุณภำพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง

ลงชื่อ ............................................................................... ครูประจำวิชำ ลงชื่อ ........................................................................ หัวหน้ำกลุ่มสำระฯ ลงชื่อ ............................................. รองผู้อำนวยกำรกลุ่มบริหำรวิชำกำร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๑๕

แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ ๓ วิชำนิทำนพื้นบ้ำน กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำ และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ ๔ เรื่อง โครงงำนที่เกี่ยวกับนิทำนพื้นบ้ำน เวลำ ๒ ชั่วโมง สำระสำคัญ วิชาโครงงานเป็นกิจกรรมอิสระที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาตามความสนใจโดยใช้ ทักษะและประสบการณ์ของผู้เรียนในด้านต่างๆ ที่ผู้เรียนมีความรู้หรือใช้ทักษะของตน และ ความสามารถน าความรู้ในกลุ่ ม สาระต่ างๆ มาบู รณาการก่อให้ เกิด องค์ความรู้ใหม่ อย่ า ง สร้างสรรค์ มำตรฐำนกำรเรียนรู้ตำมหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน มาตรฐาน ส ๕.๒ เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสานึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลกำรเรียนรู้ สามารถเข้าใจหลักการทาโครงงานและจินตนาการหรือสามารถสร้างการสร้างสรรค์ ผลงานอย่างมีจิตสานึกและความรับผิดชอบ จุดประสงค์กำรเรียนรู้ ๑. เข้ า ใจหลั ก การท าโครงงานที่ เกี่ ย วกั บ เนื้ อ หานิ ท านพื้ น บ้ า นก่ อ ให้ เกิ ด การ สร้างสรรค์ ๒. ใช้เนื้อหานิทานพื้นบ้านนามาสร้างชิ้นงานหรือโครงงานจากจินตนาการหรืองาน ที่ทาในชีวิตประจาวัน สำระกำรเรียนรู้ เข้าใจประเภทของโครงงานและขั้นตอนการทาโครงงาน โดยการนาความรู้จากการ หาความรู้ในเรื่องนิทานพื้นบ้านเข้ามาผนวกในการทาโครงงานโดยใช้จินตนาการและความคิด สร้างสรรค์


๑๑๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

กิจกรรมกำรเรียนรู้ นำเข้ำสู่บทเรียน ๑. ขั้นนา (๓๐ นาที) ครูเสนอสถานการณ์โดยให้นักเรียนตอบคาถาม ดังนี้ ๑. นักเรียนเคยเรียนเรื่องโครงงานหรือไม่ ๒. นักเรียนทาโครงงานเพราะอะไร ทาไมจึงต้องทาโครงงาน ๓. โครงงานที่นักเรียนเคยทา ทาอย่างไร ๔. ทาอย่างไรนักเรียนจะทาโครงงานได้ดีและถูกต้อง จากนั้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อเร้าความสนใจและกระตุ้นผู้เรียน ให้ผู้เรียนเกิดความต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน ๒. อธิบายขั้นตอนในการทาโครงงาน มี ๖ ขั้นตอน ประกอบด้วย ๑) การคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทา ๒) การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ๓) การจัดทาเค้าโครงของโครงงานที่จะทาเพื่อเสนอครูที่ปรึกษา ๔) การลงมือทาโครงงาน ๕) การเขียนรายงาน ๖) การนาเสนอและแสดงโครงงาน ๓. ขั้นตอนกิจกรรม - นักเรียนแบ่งกลุ่มและกาหนดหัวข้อการเรียนรู้เรื่องโครงงานที่กลุ่มสนใจ - นาเสนอหัวข้อโครงงานที่สนใจเป็นรายกลุ่ม - นักเรียนและครูร่วมกันสรุปองค์ความรู้ “การเขียนเค้าโครงงาน” ๔. ขั้นตอนดาเนินการโครงงานอย่างสร้างสรรค์ - ดาเนินโครงงานตามเค้าโครงงานที่เขียนไว้ ๕. ขั้นตอนการสรุปผลการเรียนรู้ - นาเสนอผลจากการทาโครงงานที่สนใจ เสนอเป็นรายกลุ่ม - นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลงาน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๑๗

สื่อ/แหล่งกำรเรียนรู้ ๑) เอกสารที่ห้องสมุดโรงเรียน ๒) ความทรงจาของผู้ให้สัมภาษณ์จากท้องถิ่น ๓) ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ๔) ครูที่ปรึกษา กำรวัดผลและประเมินผล - ประเมินกระบวนการกลุ่ม - ประเมินชิ้นงานที่มีความสร้างสรรค์อย่างมีคุณธรรม


๑๑๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ ๔ สนุกกับนิทำนพื้นบ้ำน กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำ และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ ๑ เรื่อง โครงงำนที่เกี่ยวกับนิทำนพื้นบ้ำน เวลำ ๒ ชั่วโมง สำระสำคัญ องค์ความรู้ที่นักเรียนได้จากการทาโครงงานนิทานพื้นบ้าน สามารถนามาคิดต่อยอด ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยนักเรียนนาองค์ความรู้จากนิ ทานพื้นบ้านมานาเสนอ ให้ แ ก่เพื่ อนๆ ในชั้ น เรีย นได้ หลากหลายรูป แบบ ได้ แก่ เสนอเป็ น ละครสั้ น หนั งสือท ามื อ จัดเป็นเกมให้ นักเรียนคนอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องราวและการตีความนิท านพื้ นบ้าน นิทรรศการ เป็นต้น มำตรฐำนกำรเรียนรู้ตำมหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน มาตรฐาน ส ๕.๒ เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสานึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลกำรเรียนรู้ สามารถนาองค์ความรู้ที่ได้รับจากการทาโครงงานนิทานพื้นบ้านมาต่อยอดให้เป็น รูปธรรมที่ชัดเจนได้หลากหลายรูปแบบ จุดประสงค์กำรเรียนรู้ นาองค์ความรู้นิทานพื้นบ้านมาต่อยอดให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน สำระกำรเรียนรู้ เข้าใจองค์ความรู้นิทานพื้นบ้านที่นามาต่อยอดให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน โดยการต่อ ยอดนิทานพื้นบ้านให้เป็นรูปธรรมที่หลากหลายรูปแบบนั้น นักเรียนต้องเข้าใจกระบวนการที่ จะนาองค์ความรู้นั้นมาต่อยอดในแต่ละรูปแบบได้อย่างไร และจะสามารถทางานร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างไร งานจึงจะสาเร็จ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๑๙

กิจกรรมกำรเรียนรู้ นำเข้ำสู่บทเรียน ๑. ขั้นนา (๓๐ นาที) ครูเสนอสถานการณ์โดยให้นักเรียนตอบคาถาม ดังนี้ ๑) นักเรียนเคยมีประสบการณ์การนาองค์ความรู้นิทานพื้นบ้ านมาต่อยอด เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนโดยวิธีการหลากหลายหรือไม่ และเคยทาอย่างไร ๒) นักเรียนนาองค์ความรู้มาต่อยอดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนได้หลากหลาย รูปแบบเพราะอะไร ทาไมจึงเลือกการต่อยอดรูปแบบนั้น ๓) ทาอย่างไรจึงจะได้ผลลัพ ธ์ที่ส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อนักเรียนมาก ที่สุด จากนั้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อเร้าความสนใจและ กระตุ้นผู้เรียนให้ผู้เรียนเกิดความต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน ๒. อธิบายขั้นตอนในการต่อยอดองค์ความรู้จากโครงงานนิทานพื้นบ้าน ได้หลากหลาย วิธี มี ๕ ขั้นตอน ประกอบด้วย ๑) การคัดเลือกหัวข้อองค์ความรู้ที่สนใจจะทา ๒) การสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่นักเรียนต้องการนาเสนอการ ต่อยอดองค์ความรู้นิทานพื้นบ้าน ๓) การประชุมเพื่อเลือกรูปแบบวิธีการต่อยอดองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับ พฤติกรรมตามข้อ ๒. ๔) การลงมือเตรียมงาน ๕) การนาเสนอรูปแบบการต่อยอดองค์ความรู้ ๓. ขั้นตอนดาเนินการโครงงานอย่างสร้างสรรค์ ดาเนินงานตามข้อ ๒. ๔. ขั้นตอนการสรุปผลการเรียนรู้ ๕. นาเสนอผลจากการนาเสนอรูปแบบการต่อยอดองค์ความรู้จากนิทานพื้นบ้าน เสนอ เป็นรายกลุ่ม ๖. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลงาน


๑๒๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

สื่อ/แหล่งกำรเรียนรู้ ๑) เอกสารที่ห้องสมุดโรงเรียน ๒) ความทรงจาของผู้ให้สัมภาษณ์จากท้องถิ่น ๓) ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ๔) ครูที่ปรึกษา กำรวัดผลและประเมินผล - ประเมินกระบวนการกลุ่ม - ประเมินชิ้นงานที่มีความสร้างสรรค์อย่างมีคุณธรรม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๒๑

กลุ่มที่ ๓ เรื่อง ลาวครั่ง


๑๒๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

หลักสูตรสถำนศึกษำ สำระกำรเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ลำวครั่ง ชุมชนตำบลบ้ำนหลวง ควำมสำคัญ เนื่องจากชุมชนตาบลบ้านหลวงมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันมีการ เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิมของชนเผ่าลาวครั่งในตาบลบ้าน หลวง ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ มีความภาคภูมิใจ ตระหนักถึงความสาคัญในชาติ พันธุ์ของตนเอง โรงเรียนจึงจัดทาหลักสูตรสาระท้องถิ่น เรื่อง ลาวครั่ง ชุมชนตาบลบ้านหลวง โดยมุ่งหวังให้นักเรียนทราบประวัติความเป็นมาและวิถีชีวิตของชาวลาวครั่ง อีกทั้งเป็นการ อนุรักษ์และสืบทอดให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทราบและดาเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข จุดมุ่งหมำย หลักสูตรสาระท้องถิ่นนี้มีจุดหมายมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความรู้ มีความสุข อยู่บนพื้นฐานความเป็นไทย มีความสามารถในการประกอบอาชีพต่างๆ ได้ปลูกฝังให้ผู้เรียนมี สมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้ ๑. สามารถสื่อสารจนเกิดการเรียนรู้เรื่องลาวครั่ง เกิดการรักถิ่นฐานบ้านเกิดของ ตนเอง ๒. สามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนาไปสู่การสร้างองค์ความรู้ ๓. สามารถใช้ทักษะชีวิต อยู่ในสังคมลาวครั่งได้อย่างมีความสุข ๔. สามารถใฝ่เรียนรู้โดยการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลของลาวครั่ง ๕. เข้าใจประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นลาวครั่ง และมีความภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง ๖. มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามในการดาเนินชีวิต มุ่งมั่นพัฒนาตนเองและชุมชน ตาบลบ้านหลวง ๗. มี จิ ต ส านึ กในการอนุ รักษ์ ภู มิ ปั ญ ญาไทย รัก ประเทศชาติ และท้ องถิ่น มุ่ ง ท า ประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้แก่สังคม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๒๓

วัตถุประสงค์ ๑. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลาวครั่งในชุมชนตาบลบ้านหลวง ๒. นักเรียนมีความรู้ ความสามารถนาวิถีชีวติ ของลาวครั่งไปปรับใช้ใน ชีวิตประจาวันได้ ๓. ชุมชนลาวครั่งในตาบลบ้านหลวงมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียน ๔. นักเรียนมีจิตสานึกในการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาไทยของลาวครั่ง ตลอดจน ทรัพยากรในชุมชนตาบลบ้านหลวง เนื้อหำหลักสูตร ๑. ประวัติความเป็นมาของลาวครั่ง ๑.๑ ประวัติของลาวครั่งชุมชนตาบลบ้านหลวง ๑.๒ การตั้งถิ่นฐานทีล่ าวครั่งอาศัยอยู่ ๑.๓ ลักษณะทั่วไปของลาวครั่ง ๒. วิถีชีวิตลาวครั่ง ๒.๑ ภาษา และวัฒนธรรมของลาวครั่ง ๒.๑.๑ ภาษาไท-กะได ๒.๑.๒ อาชีพของลาวครั่ง - อาชีพปลูกมะพร้าว - อาชีพปลูกผัก - อาชีพทานา - อาชีพเลี้ยงสัตว์ - อาชีพทอผ้า ๒.๑.๓ การแต่งกายของลาวครั่ง - ชนิดของวัสดุธรรมชาติในการแต่งกาย - สิ่งทอจากวัสดุธรรมชาติ


๑๒๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

- ลวดลายของผ้าทอ - สีจากวัสดุธรรมชาติ ๒.๑.๔ อาหารของลาวครั่ง - แกงเปรอะ - แกงหา - แกงป่าหอยจุ๊บ ๒.๒ ประเพณี ๒.๒.๑ พิธีทาบุญกลางบ้าน ๒.๒.๒ ผีบรรพบุรุษ ๒.๓ พิธีกรรม/ความเชื่อ ๒.๓.๑ การเรียกขวัญข้าว ๒.๓.๒ นับถือเทวดา ๒.๓.๓ บวงสรวงแม่ธรณีและแม่โพสพ ๒.๔ วรรณกรรมของลาวครั่ง ๒.๔.๑ ตานานพระแม่ธรณี ๒.๔.๒ ตานานพระแม่โพสพ ๒.๔.๓ นิทานพื้นบ้านลาวครั่ง เวลำเรียน หลักสูตรลาวครั่งชุมชนตาบลบ้านหลวง ใช้เวลาเรียนทั้งหมด ๔๐ ชั่วโมง ภาคทฤษฎี ๑๒ ชั่วโมง ภาคปฏิบัติ ๒๖ ชั่วโมง สอบ ๒ ชัว่ โมง รวมทั้งสิ้น ๔๐ ชั่วโมง แหล่งกำรเรียนรู้และสื่อประกอบกำรเรียน ๑. ผู้รู้ในท้องถิ่น (วิทยากรในท้องถิน่ ) ๒. แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ๓. ของจริง ๔. ใบความรู้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๒๕

๕. ใบกิจกรรม ๖. เกม/กิจกรรม ๗. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และมัลติมิเดีย ๘. หนังสืออ่านเพิ่มเติม ๙. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับลาวครั่ง กำรวัดและประเมินผลกำรเรียน การวัดและประเมินผลเน้นการประเมินผลตามสภาพจริง ประเมินด้านการมีส่วน ร่วม ทั้งครูผู้สอน ผู้รู้ในท้องถิน่ และนักเรียน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ด้านความรู้ ความเข้าใจ - ตรวจแบบฝึกหัด ใบกิจกรรม สังเกตการตอบคาถาม การรายงาน ด้านกระบวนการ - ประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม การทาโครงงาน ด้านเจตคติ - ประเมินความคิดเห็นต่อหลักสูตรท้องถิ่นลาวครั่ง ชุมชนตาบลบ้านหลวง ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ ๑. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลาวครั่งในชุมชนตาบลบ้านหลวง ๒. นั ก เรี ย นมี ค วามรู้ ความสามารถน าวิ ถี ชี วิ ต ของลาวครั่ ง ไปปรั บ ใช้ ใ น ชีวิตประจาวันได้ ๓. ชุม ชนลาวครั่งในต าบลบ้ านหลวงมีส่ วนร่วมในการพั ฒ นาการจั ดการเรีย นรู้ ให้กับผู้เรียน ๔. นั ก เรี ย นมี จิ ต ส านึ ก ในการอนุ รั ก ษ์ ภู มิ ปั ญ ญาไทยของลาวครั่ ง ตลอดจน ทรัพยากรในชุมชนตาบลบ้านหลวง


๑๒๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

โครงสร้ำงเนื้อหำของหลักสูตร หน่วยกำรจัดกำรเรียนรู้ สำระกำรเรียนรู้ ๑. รู้จักกลุ่มชาติพันธุ์ ลาวครั่ง

๒. นาทางสู่วิถีชีวติ ลาวครั่ง

๑.๑ ประวัติความเป็นมาของลาวครั่ง ๑.๑.๑ ประวัติของลาวครั่งชุมชน ตาบลบ้านหลวง ๑.๑.๒ การตั้งถิ่นฐานที่ลาวครั่ง อาศัยอยู่ ๑.๑.๓ ลักษณะทั่วไปของลาวครั่ง ๒.๑ ภาษา และวัฒนธรรมของ ลาวครั่ง ๒.๑.๑ ภาษาไท-กะได ๒.๑.๒ อาชีพของลาวครั่ง - อาชีพปลูกมะพร้าว - อาชีพปลูกผัก - อาชีพทานา - อาชีพเลี้ยงสัตว์ - อาชีพทอผ้า ๒.๑.๓ การแต่งกายของลาวครั่ง - ชนิดของวัสดุธรรมชาติ ในการแต่งกาย - สิ่งทอจากวัสดุธรรมชาติ - ลวดลายของผ้าทอ - สีจากวัสดุธรรมชาติ ๒.๑.๔ อาหารของลาวครั่ง - แกงเปรอะ - แกงหา - แกงป่าหอยจุ๊บ

จำนวนชั่วโมง ทฤษฎี ปฏิบัติ ๒ -

๒ ๒

๔ ๖


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๒๗

หน่วยกำรจัดกำรเรียนรู้ ๒. นาทางสู่วิถีชีวติ ลาวครั่ง

สำระกำรเรียนรู้ ๒.๒ ประเพณี ๒.๒.๑ พิธีทาบุญกลางบ้าน ๒.๒.๒ ผีบรรพบุรุษ

จำนวนชั่วโมง ทฤษฎี ปฏิบัติ ๑ ๒

๒.๓ พิธีกรรม/ความเชื่อ ๒.๓.๑ การเรียกขวัญข้าว ๒.๓.๒ นับถือเทวดา ๒.๓.๓ บวงสรวงแม่ธรณีและ แม่โพสพ

๒.๔ วรรณกรรม ๒.๔.๑ ตานานแม่ธรณี ๒.๔.๒ ตานานแม่โพสพ ๒.๔.๓ นิทานพื้นบ้านของลาวครั่ง

รวมเวลำเรียน

๑๒

๒๖

เวลำในกำรสอบ

รวมเวลำทั้งสิ้น

๔๐


๑๒๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ตัวอย่ำงหลักสูตรสถำนศึกษำ สำระกำรเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ลำวครั่ง แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ ๑ วิถีชีวิตลำวครั่ง วิชำภำษำไทย สำระกำรเรียนรู้ท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ ๑ เรื่องประเพณีลำวครั่ง ชุมชนตำบลบ้ำนหลวง จำนวน ๔ ชั่วโมง สำระสำคัญ ประเพณีของลาวครั่ง ถือเป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสิบเนื่องกันมาเป็นเอกลักษณ์ และมี ความส าคัญ ต่ อสั งคมและวิถีชีวิ ต ของลาวครั่ง ประเพณี ของลาวครั่ง เช่น ประเพณี ต้ อ นฮั บ สั ง ขาร (สงกรานต์ ) เข้ า พรรษา ออกพรรษา ท าบุ ญ กลางบ้ า น ลอยกระทง ผีบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ สิ่งแวดล้อมและบริบทต่างๆ ของ ชุมชนลาวครั่ง มำตรฐำนกำรเรียนรู้ สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม มาตรฐาน ท ๕.๑: เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย อย่างเห็นคุณค่าและนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ผลกำรเรียนรู้ อธิบายประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ ของลาวครั่งได้ จุดประสงค์กำรเรียนรู้ ๑. สรุปความรู้และข้อคิดจากประเพณีของลาวครั่งและนาไปประยุกต์ใช้ได้ ๒. อธิบายคุณค่าของประเพณีของลาวครั่งได้ สมรรถนะสำคัญ ๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๒. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ๓. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ๔. ความสามารถในการแก้ปัญหา


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๒๙

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑. ซื่อสัตย์สุจริต ๒. ใฝ่เรียนรู้ ๓. มุ่งมั่นในการทางาน ทักษะ/กระบวนกำร ๑. ทักษะการคิดวิเคราะห์ ๒. กระบวนการกลุ่ม ชิ้นงำน/ภำระงำน ๑. รายงานเกี่ยวกับประเพณีของลาวครั่ง ๒. หนังสือเล่มเล็ก กำรวัดและประเมินผล ๑. วิธีการวัด - ตรวจรายงาน - ประเมินการทาหนังสือเล่มเล็ก ๒. เครื่องมือวัดและประเมินผล - แบบประเมินการตรวจรายงาน - แบบประเมินการทาหนังสือเล่มเล็ก ๓. เกณฑ์การวัดและประเมินผล - เกณฑ์การประเมินการตรวจรายงานตามองค์ประกอบคะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน ได้ ๑๕ คะแนน ขึ้นไปถือว่าผ่าน - การประเมินการทาหนังสือเล่มเล็กได้คะแนน ๘ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐ คะแนนถือว่าผ่าน


๑๓๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

กิจกรรมกำรเรียนรู้ ชั่วโมงที่ ๑ ขั้นนำเข้ำสู่บทเรียน ๑. ครูซักถามนักเรียนว่าใครเคยไปร่วมงานประเพณีของหมู่บ้านตนเองบ้างและเป็น งานประเภทใด ๒. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และผลการเรียนรู้ ขั้นสอน ๓. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น ๖ กลุ่มๆ ละ ๓ - ๔ คน ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ ศึกษาค้นคว้าประเพณีต้อนฮับสังขาร กลุ่มที่ ๒ ศึกษาประเพณีวนั เข้าพรรษา กลุ่มที่ ๓ ศึกษาประเพณีวนั ออกพรรษา กลุ่มที่ ๔ ศึกษาประเพณีการทาบุญกลางบ้าน กลุ่มที่ ๕ ศึกษาประเพณีการลอยกระทง กลุ่มที่ ๖ ศึกษาประเพณีผบี รรพบุรุษ ๕. ให้นักเรียนศึกษาประเพณีต่างๆ ของลาวครั่ง จาก youtube ขั้นสรุป ๕. ให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มออกมาแสดงความคิดเห็นจากการดูประเพณีต่างๆ ของลาวครั่ง ๖. ให้นักเรียนจัดทาเป็นรายงานโดยทาตามรูปแบบการเขียนรายงาน ชั่วโมงที่ ๒ ขั้นนำเข้ำสู่บทเรียน ๑. ครูซักถามนักเรียนพบประเพณีใดบ้างในสังคมปัจจุบนั ขั้นสอน ๒. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเปรียบเทียบประเพณีของลาวครั่งในอดีตกับปัจจุบนั โดย ทาเป็นผังความคิด ๓. ครูสุมนักเรียนออกมาบอกคุณค่าของประเพณีของลาวครั่งหน้าชัน้ เรียน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๓๑

ขั้นสรุป ๔. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานาเสนอเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ ประเพณีของลาวครั่งในอดีต กับปัจจุบันหน้าชัน้ เรียน ชั่วโมงที่ ๓ ขั้นนำเข้ำสู่บทเรียน ๑. ครูนาตัวอย่างหนังสือเล่มเล็กให้นักเรียนดู ๒. ให้แต่ละกลุ่มศึกษาการทาหนังสือเล่ม ขั้นสอน ๓. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนาประเพณีของลาวครั่งที่กลุ่มไปศึกษาค้นคว้ามาทาเป็น หนังสือเล่มเล็ก ๔. ครูแนะนาการทาหนังสือเล่มเล็ก ๕. ให้แต่ละกลุ่มเขียนโครงร่างประเพณีลาวครั่งมาให้ครูตรวจดูความถูกต้อง ๖. นักเรียนตกแต่งออกแบบหนังสือเล่มเล็กอย่างสร้างสรรค์ ขั้นสรุป ๗. ให้นักเรียนนาเสนอผลงานหน้าชัน้ เรียน ชั่วโมงที่ ๔ ขั้นนำเข้ำสู่บทเรียน ๑. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับประเพณีต่างๆ ในชุมชนของนักเรียนว่าคล้ายกับ ประเพณีลาวครั่งหรือไม่ ๒. ครูสอบถามนักเรียนถึงปัญหาอุปสรรคในการไปศึกษาค้นคว้าประเพณีของลาวครั่ง ขั้นสอน ๓. ให้นักเรียนบอกสิ่งที่นักเรียนสามารถนาไปปฏิบัติในชีวิตจริงได้เกี่ยวกับประเพณี ของลาวครั่ง ขั้นสรุป ๔. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปคุณค่าของประเพณีของลาวครั่งและร่วมกันสนทนา เกี่ยวกับประเพณีของ ลาวครั่งในตาบลบ้านหลวง ๕. นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน


๑๓๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

สื่อกำรเรียนรู้ ๑. ใบความรู้/ใบกิจกรรมเรื่องประเพณีของลาวครั่ง ๒. youtube เรื่องประเพณีของลาวครั่ง ๓. กระดาษ เอ 4 สีไม้ กระดาษทาปก ๔. สมุดรายงาน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๓๓

บันทึกหลังกำรสอน ผลการจัดการเรียนรู้ ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ปัญหา ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อเสนอแนะ ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ

(ผู้สอน) (นางธิติยา กวินเอกวรา) วันที่ …….../…………/ ……………

ความคิดเห็นของผู้บริหาร ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ (นางลัดดาวัลย์ ศานตินิรันดร) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านหลวงวิทยา


๑๓๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ระดับคะแนน ๓ (ดี)

๒ (ผ่าน)

๑ (ต้องปรับปรุง)

๐ เนื้อหำ

กำรใช้ภำษำ

เกณฑ์กำรประเมินทักษะกำรเขียน ลักษณะของงำน - เขียนได้ตรงประเด็นตามที่กาหนดไว้ - มีการจัดระบบการเขียน เช่น มีคานา เนื้อหา และบทสรุป อย่างชัดเจน - ภาษาที่ใช้เช่นตัวสะกดและไวยากรณ์มีความถูกต้องสมบูรณ์ ทาให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย - มีแนวคิดที่นา่ สนใจ ใช้ภาษาสละสลวย - เขียนได้ตรงประเด็นตามที่กาหนดไว้ - มีการจัดระบบการเขียน เช่น มีคานา เนื้อหา และบทสรุป - ภาษาที่ใช้ทาให้ผู้อ่านเกิดความสับสน - ใช้ศัพท์ที่เหมาะสม - เขียนไม่ตรงประเด็น - ไม่มีการจัดระบบการเขียน - ภาษาที่ใช้ทาให้ผู้อ่านเกิดความสับสน - ใช้ศัพท์ที่เหมาะสม - ไม่มีผลงาน ระดับ ๑ สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ๒ ลาดับเนื้อเรื่องชัดเจน ๓ เรื่องน่าสนใจ ๔ มีจินตนาการ ระดับ ๑ ผิดพลาดมากสื่อความหมายได้ ๒ ถูกต้องส่วนมากและสื่อความหมายได้ ๓ ผิดพลาดน้อย เชื่อมโยงภาษาได้ดี ๔ ถูกต้องเกือบทั้งหมด สละสลวยงดงาม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๓๕

แบบประเมินผลชิ้นงำน วิชา........................รหัสวิชา.................. ระดับชั้น........ ภาคเรียนที่....... ปีการศึกษา...............

ข้อที่ ๑ ๒ ๓ ๔

หัวข้อกำรประเมิน รูปแบบชิ้นงาน ภาษา เนื้อหา เวลา รวม

ระดับคุณภำพ คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน

๑๖ – ๒๐ ๑๑ – ๑๕ ๖ – ๑๐ ๑ - ๕

หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง

เกณฑ์กำรให้คะแนน ๔ ๓ ๒

ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง

รวม (๒๐)


๑๓๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

รำยละเอียดเกณฑ์กำรให้คะแนนแบบประเมินผลชิ้นงำน ประเด็น กำรประเมิน ๕ ๑. รูปแบบ -รูปแบบชิ้นงาน ชิ้นงาน ถูกต้องตามที่ กาหนด -รูปแบบ แปลกใหม่ น่าสนใจ -มีขนาด เหมาะสม -รูปภาพมีสีสนั สวยงาม -รูปภาพสัมพันธ์ กับเนื้อหา ๒. ภาษา -มีการใช้ภาษา อย่างถูกต้อง -ประโยค สอดคล้องกับ เนื้อหา -สะกดคาถูกต้อง -มีการเว้นวรรค โดยไม่ฉีกคา -มีการใช้ภาษา อย่างสร้างสรรค์ ๓. เนื้อหา -เนื้อหาถูกต้อง -เนื้อหาตรงตาม หัวข้อเรื่อง

เกณฑ์กำรให้คะแนน ๔ ๓ -รูปแบบ -มีขนาด แปลกใหม่ เหมาะสม น่าสนใจ -รูปภาพมี -มีขนาด สีสันสวยงาม เหมาะสม -รูปภาพ -รูปภาพมีสีสนั สัมพันธ์ สวยงาม กับเนื้อหา -รูปภาพสัมพันธ์ กับเนื้อหา

๒ ๑ -รูปภาพมี -รูปภาพ สีสันสวยงาม สัมพันธ์ -รูปภาพ กับเนือ้ หา สัมพันธ์ กับเนื้อหา

-ประโยค สอดคล้องกับ เนื้อหา -สะกดคาถูกต้อง -มีการเว้นวรรค โดยไม่ฉีกคา -มีการใช้ภาษา อย่างสร้างสรรค์

-สะกดคา ถูกต้อง -มีการ เว้นวรรคโดย ไม่ฉีกคา -มีการใช้ ภาษาอย่าง สร้างสรรค์

-มีการ -มีการใช้ เว้นวรรคโดย ภาษาอย่าง ไม่ฉีกคา สร้างสรรค์ -มีการใช้ ภาษาอย่าง สร้างสรรค์

-เนื้อหาตรงตาม หัวข้อเรื่อง

-เนื้อหา เป็นไปตามที่ กาหนด

-รายละเอียด -เนื้อหา ครอบคลุม สอดคล้อง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๓๗

ประเด็น กำรประเมิน

๔. เวลา

เกณฑ์กำรให้คะแนน ๕ ๔ ๓ -เนื้อหาเป็นไป -เนื้อหาเป็นไป -รายละเอียด ตามที่กาหนด ตามที่กาหนด ครอบคลุม -รายละเอียด -รายละเอียด -เนื้อหา ครอบคลุม ครอบคลุม สอดคล้อง -เนื้อหา -เนื้อหา สอดคล้อง สอดคล้อง ส่งชิน้ งานภายใน ส่งชิน้ งาน ส่งชิน้ งานช้า เวลาที่กาหนด ช้ากว่ากาหนด กว่ากาหนด ๑ วัน ๒ วัน

๒ -เนื้อหา สอดคล้อง

ส่งชิน้ งานช้า กว่ากาหนด ๓ วัน

ส่งชิน้ งาน ช้ากว่า กาหนดเกิน ๓ วัน ขึ้นไป


๑๓๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

แบบประเมินผลกำรทำงำนเป็นกลุ่ม วิชา.....................รหัสวิชา.................ระดับชั้น............ภาคเรียนที่.........ปีการศึกษา..................

ข้อที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕

หัวข้อกำรประเมิน คณะทางาน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ขั้นตอนการทางาน เวลา ความร่วมมือในการทางาน รวม

ระดับคุณภำพ คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน

๑๖ – ๒๐ ๑๑ – ๑๕ ๖ – ๑๐ ๑ - ๕

หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง

เกณฑ์กำรให้คะแนน ๔ ๓ ๒ ๑

ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง

รวม (๒๐)


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๓๙

รำยละเอียดเกณฑ์กำรให้คะแนนแบบประเมินผลกำรทำงำนเป็นกลุ่ม ประเด็น เกณฑ์กำรให้คะแนน กำร ๔ ๓ ๒ ๑ ประเมิน ๑.คณะ มีประธาน ขาด ขาด ขาด ทางาน เลขานุการ องค์ประกอบ องค์ประกอบ องค์ประกอบ ผู้นาเสนอ ๑ อย่าง ๒ อย่าง ๒ อย่างขึ้น ผู้ร่วมงาน ไป ๒. ความ ทุกคนมี มีผู้มีหน้าที่แต่ มีผู้มีหน้าที่แต่ มีผู้มีหน้าที่แต่ รับผิดชอบ หน้าที่และ ไม่รับผิดชอบ ไม่รับผิดชอบ ไม่รับผิดชอบ ต่อหน้าที่ ความ ๑ คน ๒ คน ๒ คน รับผิดชอบ ขึ้นไป ต่อหน้าที่ ของตนเอง ๓. ขั้นตอน - คัดเลือก ขาด ๑ ขาด ๒ ขาดมากกว่า การทางาน และ ขั้นตอน ขั้นตอน ๒ ขั้นตอน เตรียม หรือไม่ชัดเจน หรือไม่ชัดเจน ขึ้นไป ข้อมูลได้ เหมาะสม - มีการ วางแผน การทางาน - มีการ เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ - มีการ ปฏิบัติตาม แผนและ พัฒนางาน


๑๔๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

๔. เวลา

๕. ความ ร่วมมือ ในการ ทางาน

เสร็จก่อน กาหนดและ งานมี คุณภาพ ทุกคนมีส่วน ร่วมและให้ ความ ร่วมมืออย่าง เต็มที่

เสร็จตาม เสร็จไม่ทัน เสร็จไม่ทัน กาหนดและ กาหนด แต่ กาหนด และ งานมีคุณภาพ งานมีคุณภาพ งานไม่มี คุณภาพ ๘๐% ของ ๖๐% ของ ๔๐% ของ กลุ่มมีส่วน กลุ่มมีส่วน กลุ่มมีส่วน ร่วมและให้ ร่วมและให้ ร่วมและให้ ความร่วมมือ ความร่วมมือ ความร่วมมือ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๔๑

เกณฑ์กำรให้คะแนน กำรจัดทำหนังสือเล่มเล็ก กำร ควำม เนื้อหำ ขนำด ภำพประกอบ ภำษำ ชื่อเรื่อง ควำมคิด รวม วำงแผน สวยงำม สำระ ตัวอักษร สวยงำมและ และ สัมพันธ์ สร้ำงสรรค์ คะแนน ทำโครง ของเล่ม (๒๐) (๑๐) เหมำะกับ ฉันท กับเนือ้ ( ๑๐) ( ๑๐๐) ร่ำงงำน (๑๕) เรื่อง ลักษณ์ เรื่อง เขียนได้ (๑๕) ถูกต้อง (๑๐) เหมำะสม (๑๐) เป็น ระบบ (๑๐)


๑๔๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ตัวอย่ำงหลักสูตรสถำนศึกษำ สำระกำรเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ลำวครั่ง แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง อาหารของลาวครั่ง รหัส/รำยวิชำ ท๒๐๑๐๑ ลำวครั่ง ชุมชนตำบลบ้ำนหลวง ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ ๑ จำนวนเวลำ ๔ ชั่วโมง ผู้สอน นำงสำวเฉลำ ม่วงทรัพย์ โรงเรียนบ้ำนหลวงวิทยำ อ. ดอนตูม จ. นครปฐม สำระสำคัญ อาหารลาวครั่งมีหลายชนิ ด และมี ประโยชน์ ต่อร่างกาย มีสารอาหารซึ่งสามารถ ทดสอบได้ด้วยสารเคมีชนิดต่างๆ มำตรฐำนกำรเรียนรู้ สำระที่ ๑ สิ่งมีชีวิตและกระบวนการดารงชีวิต มำตรฐำน ว ๑.๑ เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้ าง และหน้าที่ ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทางานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่ง ที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ในการดารงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต ผลกำรเรียนรู้ สารวจ ทดลอง วิเคราะห์ และอธิบายสารอาหารในอาหารของลาวครั่งชนิดต่างๆ ได้ จุดประสงค์กำรเรียนรู้ สารวจอาหารลาวครั่ง และทดสอบสารอาหารมาอย่างน้อย ๑ ชนิด ได้ สำระกำรเรียนรู้ - อาหารลาวครั่ง - การทดสอบสารอาหารของลาวครั่ง สมรรถนะสำคัญ ๑. ความสามารถในการสื่อสาร


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๔๓

๒. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ๓. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ๔. ความสามารถในการแก้ปัญหา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑. ซื่อสัตย์สุจริต ๒. ใฝ่เรียนรู้ ๓. มุ่งมั่นในการทางาน ทักษะ/กระบวนกำร ๑. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ๒. กระบวนการสร้างความรู้ ชิ้นงำนหรือภำระงำน ๑. ผังมโนทัศน์ เรื่อง อาหารของลาวครั่ง ชุมชนตาบลบ้านหลวง ๒. รายงานการทดลอง เรื่อง การทดสอบสารอาหารในอาหารลาวครั่งชนิดต่างๆ กำรวัดและประเมินผล ๑. วิธีการวัด ๑. ตรวจผังมโนทัศน์ ๒. ตรวจรายงานการทดลอง ๒. เครื่องมือวัดผลและประเมินผล ๑. แบบประเมินผังมโนทัศน์ ๒. แบบประเมินรายงานการทดลอง ๓. เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล ๑. ปฏิบัติตามรายการที่พิจารณาจากแบบประเมินแผนผังมโนทัศน์ ต้องได้คะแนน ๗ ขึ้นไป จึงจะถือว่าผ่าน ๒. ปฏิบัติตามรายการที่พิจารณาจากแบบประเมินรายงานการทดลอง ต้องได้คะแนน ๘ ขึ้นไป จึงจะถือว่าผ่าน


๑๔๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

กิจกรรมกำรเรียนรู้ ชั่วโมงที่ ๑ อาหารของลาวครั่ง ชุมชนตาบลบ้านหลวง ๑. ครู แ จ้ ง จุ ด ประสงค์ ก ารเรี ย นรู้ ได้ แ ก่ ส ารวจอาหารลาวครั่ ง และทดสอบ สารอาหารมาอย่างน้อย ๑ ชนิด ได้ ๒. นักเรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียน ๑๐ ข้อ ๓. กิจกรรมการเรียนการสอน ให้นักเรียนจัดกลุ่มคละกันระหว่างเด็กเก่ง ปานกลาง อ่อน จานวน ๔ - ๕ คน ขั้นนำเข้ำสู่บทเรียน นักเรียนดู YOUTUBE วิถีชีวิตของลาวครั่ง เรื่องอาหารการกิน อาหารของชาวลาวครั่ง ชั่วโมงที่ ๒ ขั้นกิจกรรมสร้ำงควำมรู้ วิธีสอนแบบ Think-Pair-Share ๑. กำหนดหัวเรื่อง อาหารของลาวครั่ง ๒. คิดคนเดียว ครูกระตุ้นให้นักเรียนแต่ละคนคิด (Think) หัวข้อ “อาหารของลาวครั่ง” จาก YOUTUBE ในเวลา ๓ นาที จดใส่สมุดไว้ ๓. คิดคู่ ให้จับคู่กับเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนในสิ่งที่ตนเองคิด (Pair) และสรุปประเด็นที่ ตนเองคิดเหมือนหรือต่างกันในสมุดที่ได้จดไว้ ๔. คิดกลุ่มย่อยหรือทั้งชั้นเรียน นาความรู้ที่คิดได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มย่อย ในชั้นเรียน และทั้งชั้นเรียน ครูเพิ่มเติมในสิ่งที่ยังบกพร่อง ขั้นสรุป นักเรียนสามารถสรุปได้ว่า อาหารของลาวครั่ง ได้แก่ แกงเปรอะ แกงหา แกงป่ า หอยจุ๊ บ ข้ า วเจ้ า ขนมจี น โบราณ ข้ า วต้ ม (ขึ้ น อยู่ กั บ การชม YOUTUBE และ ประสบการณ์ที่พบเห็น) ให้นักเรียนช่วยกันจัดทาผังมโนทัศน์อาหารของลาวครั่ง ชั่วโมงที่ ๓ กำรทดสอบสำรอำหำรของลำวครั่ง ขั้นนำเข้ำสู่บทเรียน ศึกษาอาหารที่ให้นักเรียนเตรียมมาโดยนักเรียนเดาว่าในอาหารแต่ละชนิดน่าจะมี สารอาหารอะไรบ้างเป็นองค์ประกอบ ขั้นกิจกรรมสร้ำงควำมรู้ วิธีสอนแบบแก้ปัญหา ให้นักเรียนทดสอบสารอาหารในอาหารของลาวครั่งชนิดต่างๆ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๔๕

๑. ขั้นตั้งปัญ หำ ครูนาอาหาร และอุปกรณ์ และสารเคมีที่ใช้ทดสอบอาหาร เช่น หลอดทดลอง หลอดหยด บิกเกอร์ใส่สารอาหาร ไอโอดีน คอปเปอร์ซัลเฟต โซเดียมไฮดรอกไซด์ กระดาษ แท่งแก้วไปให้นักเรียนศึกษาว่าในอาหารของลาวครั่ งจะมีสารอาหารอะไรบ้าง นักเรียนศึ กษาวิธีการทดลองในกิจกรรมการทดลองที่ ๑ เรื่อง การทดสอบสารอาหารใน อาหารของลาวครั่งชนิดต่างๆ หลังจากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์กิจกรรมการทดลอง ในหัวข้อ ปัญหาการทดลอง และเขียนลงในใบกิจกรรมที่ ๑ เรื่อง การทดสอบสารอาหารใน อาหารชนิดต่างๆ ในข้อที่ ๑ ๒. ขั้ นตั้ งสมมติ ฐำนและวำงแผนในกำรแก้ ปัญ หำ นักเรียนภายในกลุ่มช่ วยกัน วิเคราะห์หัวข้อการตั้งสมมติฐาน รวมทั้งตัวแปรต่างๆ ในการทดลองและนิยามเชิงปฏิบัติการ โดยเขียนในใบงานกิจกรรมที่ ๑ การทดสอบสารอาหารในอาหารชนิดต่างๆ ข้อที่ ๒ - ๖ ให้ ตัวแทน ๒ กลุ่มออกมานาเสนอหน้าชั้นเรียนผลการวิเคราะห์กิจกรรม ครูแนะนาในส่วนที่ยัง บกพร่อง และวิธีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ๓. ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล นักเรียนลงมือปฏิบัติการทดลอง พร้อมทั้งบันทึกผล การทดลอง (ให้นักเรียนออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองเอง) ชั่วโมงที่ ๔ ๔. ขั้นวิเครำะห์ข้อมูล นักเรียนภายในกลุ่มช่วยกันคิดผลการทดลองที่ได้ว่าอาหาร ของลาวครั่ง ที่ ท าการทดสอบมี ส ารอาหารอะไรบ้ า งถ้ า ผลการทดสอบได้ ดั ง นี้ แ สดงว่ า มี สารอาหารเหล่านั้นอยู่ ๔.๑ วิธีการตรวจสอบหาแป้งในอาหารโดยใช้สารละลายไอโอดีน ถ้ามีแป้งจะ เปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มเกือบดา หรือน้าเงิน ปนม่วง ๔.๒ วิธีการตรวจสอบหาน้าตาลในอาหาร โดยใช้สารละลายเบเนดิกต์ ถ้าเกิด ตะกอน สีส้ม สีเหลือง หรือสีอิฐ แสดงว่าอาหารนั้นมีน้าตาลเป็นอยู่ ๔.๓ วิธีการตรวจสอบหาโปรตีนในอาหาร โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และสารประกอบ คอปเปอร์ซัลเฟต ลงในอาหาร ถ้าสีของสารละลายเปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสี ม่วง หรือสีชมพูอมม่วง หรือสีน้าเงิน แสดงว่าอาหารนั้นมีโปรตีนอยู่ ๔.๔ วิธีการตรวจสอบหาไขมันในอาหาร โดยการถูกับกระดาษ ถ้ากระดาษโปร่ง แสงแสดงว่า มีไขมันอยู่


๑๔๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

๕. ขั้นสรุปผล ให้แต่ละกลุ่มออกมานาเสนอหน้าชั้นเรียน และสรุปผลการทดลอง ซึ่งนักเรียนสามารถสรุปผลการทดลองได้ว่า ขั้นสรุป นักเรียนสรุปได้ว่า ในอาหารที่นักเรียนเตรียมมาจะมีสารอาหารแต่ละชนิดแตกต่าง กัน (ขึ้นอยู่กับอาหารเหล่านั้นทาด้วยวัตถุดิบอะไร) ๑. นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมจากใบความรู้ที่ครูจัดทาขึ้น ๒. ให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน ๑๐ ข้อ หลังเรียน ๓. นักเรียนทาใบกิจกรรมต่างๆ เรื่อง อาหารและสารอาหารของลาวครั่ง เพิ่มเติม สื่อกำรเรียนรู้ ๑. ใบความรู้/ใบกิจกรรม เรื่อง อาหารและสารอาหารของลาวครั่ง ๒. อุปกรณ์กิจกรรมทดลอง เรื่อง การทดสอบสารอาหารในอาหารลาวครั่งชนิด ต่างๆ เช่น สารละลายไอโอดีน สารละลายเบเนดิกต์ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ สารละลาย คอปเปอร์ซัลเฟต กระดาษ แท่งแก้ว หลอดทดลอง หลอดหยด อาหารลาวครั่งที่ใช้ทดสอบ ๓. YOUTUBE เรื่อง อาหารของลาวครั่ง ๔. อาหารประเภทต่างๆ ของลาวครั่ง ๕. กระดาษโปสเตอร์ ปากกาเคมี ๖. สีไม้ หรือสีเมจิก ก็ได้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๔๗

บันทึกกำรสอน ผลกำรจัดกำรเรียนรู้ ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ปัญหำ ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ข้อเสนอแนะ ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ลงชื่อ..............................................ผู้สอน (นางสาวเฉลา ม่วงทรัพย์) วันที่.............../..................../................. ควำมคิดเห็นของผู้บริหำร ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ลงชื่อ..............................................ผู้บริหาร (นางลัดดาวัลย์ ศานตินิรันดร)


แบบประเมินกำรเขียนรำยงำนกำรทดลอง วิชำ ท๒๐๑๐ ลำวครั่ง ชุมชนตำบลบ้ำนหลวง ========================================================== เรื่อง ................................................................................................................................. ชั้น ม.๒/……….. กลุ่มที่.............................. ประเด็นการประเมิน

(นางสาวเฉลา ม่วงทรัพย์)

สรุปผลการทดลอง (๒ คะแนน)

ผู้ประเมิน

บันทึกผลการทดลอง (๒ คะแนน)

วิธีการทดลอง (๒ คะแนน)

(ลงชื่อ)

วัสดุอุปกรณ์ (๒ คะแนน)

นิยามเชิงปฏิบัติการ (๑ คะแนน)

ตัวแปรควบคุม (๑ คะแนน)

ตัวแปรตาม (๑ คะแนน)

ตัวแปรต้น (๑ คะแนน)

สมมติฐาน (๑ คะแนน)

จุดมุ่งหมายที่ศึกษา (๑ คะแนน)

กาหนดปัญหา (๑ คะแนน)

กลุ่มที่ ชื่อกลุ่ม

รวม ๑๕ คะแนน


เกณฑ์ในกำรตรวจให้คะแนนกำรเขียนรำยงำนกำรทดลอง รำยกำรประเมิน ๑. การกาหนด ปัญหา (๑ คะแนน) ๒. จุดมุ่งหมาย ที่ศึกษา ( ๑ คะแนน) ๓. สมมติฐาน ( ๑ คะแนน) ๔. ตัวแปรต้น (ตัวแปรอิสระ) (๑ คะแนน) ๕. ตัวแปรตาม (๑ คะแนน) ๖ ตัวแปรควบคุม (๑ คะแนน) ๗. นิยาม เชิงปฏิบัติการ (๑ คะแนน)

เกณฑ์กำรให้คะแนน

คะแนนที่ได้

*ระบุปัญหาได้ชัดเจน *ระบุปัญหาไม่ชัดเจน

๑ ๐.๕

* กาหนดจุดมุ่งหมายได้สอดคล้องกับปัญหา * กาหนดจุดมุ่งหมายได้สอดคล้องกับปัญหาบางส่วน

๑ ๐.๕

* ตั้งสมมติฐานได้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย * ตั้งสมมติฐานได้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายบางส่วน * ระบุตัวแปรอิสระได้ถูกต้อง * ระบุตัวแปรอิสระได้บ้างบางส่วน * ไม่ระบุตัวแปรอิสระ หรือ ระบุไม่ถูกต้อง * ระบุตัวแปรตามได้ถูกต้อง * ระบุตัวแปรตามได้ถูกบ้างบางส่วน * ระบุตัวแปรควบคุมได้ถูกต้อง * ระบุตัวแปรควบคุมได้บ้าง * ระบุนิยามเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการทดลองถูกทั้งหมด * ระบุนิยามเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการทดลองถูก บางส่วน

๑ ๐.๕ ๑ ๐.๕ ๑ ๑ ๐.๕ ๑ ๐.๕ ๑ ๐.๕


๑๕๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เกณฑ์ในกำรตรวจให้คะแนนกำรเขียนรำยงำนกำรทดลอง (ต่อ) รำยกำรประเมิน เกณฑ์กำรให้คะแนน ๘. วัสดุอุปกรณ์ * ระบุวัสดุอุปกรณ์ได้ตั้งแต่ ๗๖-๑๐๐ % (๒ คะแนน) * ระบุวัสดุอุปกรณ์ได้ตั้งแต่ ๕๑-๗๕ % * ระบุวัสดุอุปกรณ์ได้ต่ากว่า ๕๐ % ลงมา ๙. วิธีการทดลอง * ระบุขั้นตอนการดาเนินงานชัดเจน ( ๒ คะแนน) * ระบุขั้นตอนการดาเนินงานค่อนข้างชัดเจน * ระบุขั้นตอนในการดาเนินงานไม่ค่อยชัดเจน ๑๐. ผลการทดลอง * ระบุตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และผลการทดลอง (๒ คะแนน) ครบ๓ ครั้งในตารางผลการทดลอง * ระบุตัวแปรต้นและตัวแปรตามแต่ไม่มีผลการทดลอง ครบทั้ง ๓ ครั้งในตารางผลการทดลอง * ระบุตัวแปรต้น และ ตัวแปรตามเท่านั้นในตารางผลการ ทดลอง ๑๑. สรุปผล * มีการตีความหมายผลการทดลอง และสรุปผลการ การทดลอง ทดลองถูกต้อง ๗๕% ขึ้นไป (๒ คะแนน) * มีการตีความหมายผลการทดลอง และสรุปผลการ ทดลองถูกต้อง ๕๑- ๗๕ % * มีการตีความหมายผลการทดลอง และสรุปผลการ ทดลองถูกต้องต่ากว่า ๕๐ %

เกณฑ์กำรประเมิน คะแนนรวม คะแนนรวม คะแนนรวม

๑๒-๑๕ ๘-๑๑ ต่ากว่า ๘

หมายถึง ดีมาก หมายถึง พอใช้ หมายถึง ปรับปรุง

คะแนนที่ได้ ๒ ๑.๕ ๑ ๒ ๑.๕ ๑ ๒ ๑.๕ ๑ ๒ ๑.๕ ๑


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๕๑

แบบประเมินผังมโนทัศน์ วิชำ ท๒๐๑๐ ลำวครั่ง ชุมชนตำบลบ้ำนหลวง ========================================================== ผังมโนทัศน์เรื่อง................................................................................................................ ชั้น ม.๒/……….. กลุ่มที่..............................

กลุ่ม ที่

ชื่อกลุ่ม

ประเด็นการประเมิน เลือกประเภทของ ระบุเรื่องหลัก ผังมโนทัศน์ และเรื่องรอง (๔ คะแนน) (รายละเอียด เนื้อหา) (๔ คะแนน)

การเชื่อมโยง ความสัมพันธ์

รวม ๑๒ คะแนน

ของผังมโนทัศน์ (๔ คะแนน)

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙

(ลงชื่อ)

ผู้ประเมิน (นางสาวเฉลา ม่วงทรัพย์)


๑๕๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เกณฑ์กำรประเมินพฤติกรรมกำรเรียนรู้ด้ำนกำรสร้ำงควำมรู้ผังมโนทัศน์ รำยกำรประเมิน

ระดับคุณภำพ ดีเยี่ยม (๔)

ดี (๓)

พอใช้ (๒)

ปรับปรุง (๑)

เลื อ กประเภทของ ใช้รูป แบบประเภท ใช้ รูป แบบประเภท ผังมโนทัศน์ มโนทัศน์ถูกต้องกับ มโนทั ศ น์ ส่ ว นใหญ่ ถูกต้องมีผิดบ้าง เรื่องที่ทา ๑ แห่ง ทุกรูปแบบ

ใช้ รู ป แบบ ประเภ ท ใช้รูปแบบประเภทมโน ม โน ทั ศ น์ ส่ วน ให ญ่ ทัศน์ส่วนใหญ่ถูกต้องมี ถูกต้องมีผิดบ้าง ผิดบ้าง ๒ แห่ง ๓ แห่ง ขึ้นไป

ระบุเรื่องหลัก

ตั้งหัวเรื่องหลัก ไม่ถูกต้องสมบูรณ์และ เนื้อหาเรื่องรอง ผิดพลาด ๓ แห่งขึ้นไป

เชื่อมโยงสัมพันธ์

ตั้งหัวเรื่องหลัก ถูกต้องสมบูรณ์ เนื้อหาเรื่องรอง ถูกต้องครบถ้วน ทุกแห่ง

ตั้งหัวเรื่องหลัก ถูกต้องสมบูรณ์ เนื้อหาเรื่องรอง ผิดพลาด ๑ แห่ง

ตั้งหัวเรื่องหลักถูกต้อง สมบูรณ์ เนื้อหาเรื่องรอง ผิดพลาด ๒ แห่ง

การเชื่อมโยง

เชื่อมโยงสัมพันธ์

เชื่อมโยงสัมพันธ์

เชื่อมโยงสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ของ

ระหว่างเรื่องหลัก

ระหว่างเรื่องหลัก

ระหว่างเรื่องหลักและ ระหว่างเรื่องหลักและ

มโนทัศน์

และเรื่องรอง

และเรื่องรอง

เรื่องรองผิดพลาด

เรื่องรองผิดพลาด

ถูกต้องทุกแห่ง

ผิดพลาด ๑ แห่ง

๒ แห่ง

๓ แห่ง ขึ้นไป

และเรื่องรองใน ผังมโนทัศน์ (รายละเอียด เนื้อหา)

เกณฑ์กำรประเมิน คะแนนรวม คะแนนรวม คะแนนรวม

๑๐-๑๒ ๗-๙ ต่ากว่า ๖

หมายถึง ดีมาก หมายถึง พอใช้ หมายถึง ปรับปรุง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๕๓

ใบกิจกรรมที่ ๑ เรื่อง อำหำรของลำวครั่ง จุดประสงค์ เพือ่ ศึกษาอาหารของลาวครั่งชนิดต่างๆ คำชี้แจง ให้นั กเรียนศึกษาอาหารของลาวครั่ง จาก YOUTUBE เรื่องอาหารของลาวครั่ง และสรุปออกมาเป็นผังมโนทัศน์


๑๕๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ใบกิจกรรมที่ ๒ เรื่อง กำรทดสอบสำรอำหำรลำวครั่ง จุดประสงค์ เพื่อปฏิบัติการทดสอบสารอาหารของลาวครั่งประเภท โปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมัน คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาใบกิจกรรมที่ ๒ แล้วฝึกคิดวิเคราะห์กิจกรรมการทดลองต่อไปนี้ วิธีกำรทดลอง ๑. ตวงอาหารลาวครั่งชนิดที่ ๑ ลงในหลอดทดลองขนาดกลาง ๒ ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน ๓ หลอด ๒. นาหลอดที่ ๑ หยดสารละลายไอโอดีน ๑ หยดลงไปในหลอดทดลอง สังเกตสีของ สารละลายและบันทึกผล ๓. นาหลอดที่ ๒ หยดสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต ๕ หยด และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑๐ หยด สังเกตสีของสารละลายและบันทึกผล ๔. นาหลอดที่ ๓ หยดสารละลายเบเนดิกส์ ๓ หยด แล้วต้มนาน ๕ นาที สังเกตสีของ สารละลายและบันทึกผล ๕. นาแท่งแก้วจุ่มในสารละลาย แล้วนามาถูกับกระดาษ สังเกตว่ากระดาษโปร่งแสง หรือไม่


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๕๕

แบบฝึกทักษะกำรคิดวิเครำะห์ กิจกรรมที่ ๒ เรื่อง การทดสอบสารอาหารลาวครั่ง ๑. ปัญหาการทดลอง คือ .................................................................................................................................... .................................................................................................................................... ๒. จุดมุ่งหมาย คือ .................................................................................................................................... .................................................................................................................................... ๓. สมมติฐาน คือ .................................................................................................................................... .................................................................................................................................... ๔. ตัวแปรต้น คือ .................................................................................................................................... .................................................................................................................................... ๕. ตัวแปรตาม คือ .................................................................................................................................... .................................................................................................................................... ๖. ตัวแปรควบคุม คือ .................................................................................................................................... ................................................................................................................................... ๗. นิยามเชิงปฏิบัติการ .................................................................................................................................... .................................................................................................................................... .................................................................................................................................... ..............................................................................................................................


๑๕๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

๘. วัสดุอุปกรณ์ คือ .................................................................................................................................... ................................................................................................................................... ๙. วิธีการทดลอง .................................................................................................................................... .................................................................................................................................... ................................................................................................................................... ๑๐. สรุปผลการทดลอง .................................................................................................................................... .................................................................................................................................... ....................................................................................................................................


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๕๗

กลุ่มที่ ๔ เรื่อง โรงคราม


๑๕๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

หลักสูตรสถำนศึกษำ สำระกำรเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง โรงครำม ควำมสำคัญ เป็นสาระที่มุ่งพัฒนาการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้จาก แหล่งการเรียนรูใ้ นท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใช้เทคโนโลยีและกระบวนการต่างๆ ค้นหาความรู้ เรียนรู้โดยเน้นกระบวนการศึกษาอย่างเป็น ระบบ จุดมุ่งหมำยของหลักสูตร ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นากระบวนการหาความรู้ จ ากแหล่ ง เรี ย นรู้ในท้ อ งถิ่ น โดยใช้ เทคโนโลยีและกระบวนการต่างๆ สามารถนาความรู้ไปใช้ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตนเอง และผู้อื่น ๑. ให้นักเรียนมีความเข้าใจในประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น มีความภูมิใจในท้องถิ่น ๒. ส่งเสริมให้มีความสามารถในการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ สามารถเรียนรู้ จากการค้นคว้า สัมภาษณ์ รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล รู้จักการตัดสินใจและแก้ปั ญหา อย่างรอบคอบ ๓. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีเจตคติ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่จาเป็น ในการดารงชีวิต อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ๔ . มี ส่ ว น ร่ ว ม ใน ก า ร อ นุ รั ก ษ์ ภู มิ ปั ญ ญ า ไท ย ป ร ะ เพ ณี วั ฒ น ธ ร ร ม ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น วัตถุประสงค์ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทย มุ่ง ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ดังนี้ ๑. ส่งเสริมและพั ฒ นากระบวนการหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น โดยใช้ เทคโนโลยีและกระบวนการต่างๆ สามารถนาความรู้ไปใช้ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตนเอง และผู้อื่น ๒. ให้นักเรียนมีความเข้าใจในประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น มีความภูมิใจในท้องถิ่น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๕๙

๓. ส่งเสริมให้มีความสามารถในการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ สามารถเรียนรู้ จากการค้นคว้า สัมภาษณ์ รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล รู้จักการตัดสินใจและแก้ปั ญหา อย่างรอบคอบ ๔. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีเจตคติ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่จาเป็น ในการดารงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ๕ . มี ส่ ว น ร่ ว ม ใน ก า ร อ นุ รั ก ษ์ ภู มิ ปั ญ ญ า ไท ย ป ร ะ เพ ณี วั ฒ น ธ ร ร ม ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น เนื้อหำหลักสูตร ๑. ประวัติความเป็นมาของโรงคราม ๒. วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตผ้าดา ๓. ขั้นตอนการผลิตผ้าดา ๔. การนาความรู้ที่ได้ไปใช้ เวลำเรียน เวลาเรียน

๒๐ คาบ

แหล่งกำรเรียนรู้และสื่อประกอบกำรเรียน ๑. ปราชญ์ชาวบ้าน ๒. แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ๓. การสัมภาษณ์ ๔. การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ๕. แบบเก็บรวบรวมข้อมูล ๖. ใบความรู้ ๗. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับโรงคราม กำรวัดและประเมินผลกำรเรียน ๑. แบบสัมภาษณ์ ๒. ใบงาน


๑๖๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

๓. แบบบันทึกการสังเกต ๔. เอกสารรายงานการค้นคว้า ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รบั ๑. นักเรียนได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น ๒. นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ ใฝ่เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ในถิ่นฐานของตน โครงสร้ำงเนื้อหำของหลักสูตร แผนกำรจัดกำรเรียนรู้เรื่อง ๑. โรงคราม คืออะไร ๒. วัสดุอุปกรณ์ในการผลิต ผ้าดา

๓. ขั้นตอนการผลิตผ้าดา

๔. การนาความรู้ทไี่ ด้ไปใช้ ๕. สนุกกับโครงงาน

สำระกำรเรียนรู้ ๑. ประวัติความเป็นมาของโรงคราม และต้นคราม ๒. บ่อหมักคราม ๓. เตาต้มผ้า ๔. อุปกรณ์ในการตากผ้า ๕. อุปกรณ์ในการรีดผ้าดาให้เรียบ ๖. การเตรียมวัสดุก่อนการย้อม ๗. วิธีการย้อม ๘. ขั้นตอนการรีด ๙. การย้อมผ้าจากสีธรรมชาติ ๑๐. การเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของท้องถิ่น ๑๑. การดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ ท้องถิ่น รวม

จำนวนชั่วโมง ควำมรู้ ปฏิบัติ ๒

๑๒


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๖๑

ตัวอย่ำงหลักสูตรสถำนศึกษำ สำระกำรเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง โรงครำม ชั้นประถมศึกษำปีที่ ๖

เวลำ ๒๐ ชั่วโมง

คำอธิบำยรำยวิชำ ศึกษา วิเคราะห์ อภิปราย รวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของคาขวัญ ประจาอาเภอนครชัยศรี เจาะลึกในเรื่องของโรงคราม สังเกต สารวจ ศึกษา รวบรวมข้อมูล ค้นคว้าเกี่ย วกับภูมิปัญ ญา ความรู้ในท้องถิ่น ประวัติความเป็นมา กรรมวิธีในการผลิตผ้าดา เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานในการใช้ วัสดุทางธรรมชาติในการสร้างผลผลิต ไปใช้เป็นแนวทางในการดาเนินชีวิต อันเป็นแนวทางใน การอนุ รั ก ษ์ แ ละฟื้ น ฟู สิ่ ง แวดล้ อ มในท้ อ งถิ่ น วิ เคราะห์ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ สิ่งแวดล้อม ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดขึ้น แนวการ ใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาเหตุการเสื่อมสลายของโรงคราม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการ ทางสังคม กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนาไปปฏิบัติในการดาเนินชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความภูมิใจ ในท้องถิ่นและร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น


ตำรำงวิเครำะห์มำตรฐำนกำรเรียนรู้ขั้นพื้นฐำน ตัวชี้วัด จุดประสงค์กำรเรียนรู้ และสำระกำรเรียนรู้กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ สังคมศึกษำ ศำสนำและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษำปีที่ ๖ มำตรฐำนกำรเรียนรู้ กำรศึกษำขั้นพื้นฐำน มำตรฐำน ส ๔.๑ : เข้าใจความหมาย ความส าคั ญ ของเวลาและยุ ค สมั ย ทาง ประวั ติ ศ าสตร์ สามารถใช้ วิ ธี ก ารทาง ประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุ เป็นผล มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่าง เป็นระบบ มำตรฐำน ส ๓.๑ : เข้าใจและสามารถ บริหารจัดการทรัพ ยากรในการผลิต และ การบริโภค การใช้ ท รัพ ยากรที่ มี อยู่ อย่ า ง จ ากั ด ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและคุ้ ม ค่ า รวมทั้ ง เข้า ใจหลั ก การเศรษฐกิจ พอเพี ย ง เพื่อการดารงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

ผลกำรเรียนรู้

จุดประสงค์กำรเรียนรู้

สำระกำรเรียนรู้ชั้น ป.๖

เข้าใจวิธีการทางประวัติศาสตร์ใน การศึกษาประวัติความเป็นมาของ จั ง ห วั ด ภ า ค ป ร ะ เท ศ โด ย เป รี ย บ เที ย บ ใ ห้ เห็ น ก า ร เปลี่ ย นแปลงวิ ถี ชี วิ ต ของคนใน ประเทศ

๑. บอกวิ ธี ก ารทางประวั ติ ศ าสตร์ ใน การศึกษาความเป็ นมาของคาขวัญ ของ อาเภอนครชัยศรี

๑. ประวั ติ ค วามเป็ น มาของค าขวั ญ ของอาเภอนครชัยศรี ๒. ประวัติความเป็นมาของโรงคราม และต้นคราม ๓. วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตผ้าดา

เข้ า ใจปั จ จั ย ที่ เ ป็ น แรงจู ง ใจให้ ผู้ ผ ลิ ต และผู้ บ ริ โ ภคตั ด สิ น ใจใช้ ทรั พ ยากรที่ มี อ ยู่ อ ย่ า งจ ากั ด ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

๑. บอกขั้นตอนต่ างๆ ในการผลิตผ้าด า ของอาเภอนครชัยศรีได้ ๒. บอกวิธีการย้อมผ้าสีจากวิธีธรรมชาติ ได้ ๓. เปรียบเที ยบข้อดี ข้อเสี ยจากการใช้ วัสดุทางธรรมชาติกับวัสดุสังเคราะห์ได้

๒. อธิ บ ายประวั ติ ข องผ้ า ด าดี ของ นครชัยศรีได้

๑. ขั้นตอนการผลิตผ้าดา - การเตรียมวัสดุก่อนการย้อม - วิธีการย้อม - ขั้นตอนการรีด ๒. การย้อมผ้าจากสีธรรมชาติ - วัสดุที่ใช้ในการย้อม - วิธีการย้อม - ข้อดีของการใช้วัสดุธรรมชาติ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๑๖๓

มำตรฐำนกำรเรียนรู้ กำรศึกษำขั้นพื้นฐำน มำตรฐำน ส ๕.๒ : เข้าใจปฏิสัม พั น ธ์ ระหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ สภาพแวดล้ อ มทาง กายภ าพ ที่ ก่ อให้ เกิ ด ก ารสร้ า งส รรค์ วั ฒ น ธ รรม แ ล ะ มี จิ ต ส านึ ก อ นุ รั ก ษ์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน

ผลกำรเรียนรู้

จุดประสงค์กำรเรียนรู้

สำระกำรเรียนรู้ชั้น ป.๖

๑. เข้าใจมิติสัมพันธ์ทาเลที่ตั้งทาง กายภาพและกระบวนการของ สิ่งแวดล้ อมทางธรรมชาติที่ ท าให้ เกิ ด ลั ก ษ ณ ะ กิ จ ก ร ร ม แ ล ะ ปรากฏการณ์ในท้องถิ่น ๒.เห็ นคุ ณ ค่ า จั ด ท าแผนที่ แ ละ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ชนิด ต่างๆ ตรวจวั ด ข้ อ มู ล เชิ ง ภู มิ ศ าสตร์ ใ น ท้องถิ่นต่างๆ และชุมชน ๓. รู้และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ทางสังคมในชุมชน ๔. เข้าใจวัฒ นธรรมที่แตกต่างตาม สภาพแวดล้อมของชุมชน

๑. บอกมิติสัมพันธ์ทาเลที่ตั้งทางกายภาพ ของอาเภอนครชัยศรีได้ ๒. อธิบายความสั มพั นธ์ของสิ่ งแวดล้อม ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางสังคม ของท้องถิ่นได้ ๓. จั ด ท าแผนที่ แ ละเครื่ อ งมื อ ท าง ภูมิศาสตร์แบบง่ายๆ เพื่อเก็บข้อมูลเชิง ภูมิศาสตร์ในท้องถิ่นได้ ๔. บอกเหตุ ผ ลความจ าเป็ น ในการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนได้ ๕. ปฏิบัติตนเพื่ อรักษาสิ่งแวดล้อมทาง สังคมและวัฒนธรรมของชุมชนได้ ๖. มี ส่วนร่วมในการอนุ รักษ์ สิ่งแวดล้ อม ของท้องถิ่น

๑. ศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ของอาเภอ นครชัยศรี ๒. การดู แ ลอนุ รักษ์ สิ่ งแวดล้ อมของ ท้องถิ่น

๕. ปฏิบัติตนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ทางสั ง คมและวั ฒ นธรรมของ ชุมชนและประเทศ


แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ ๑ โรงครำมคืออะไร กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษำปีที่ ๖ เรื่อง ประวัติของโรงครำม เวลำ ๒ ชั่วโมง สำระสำคัญ โรงครามเป็นสถานที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ เป็นสถานที่ผลิตผ้าดาในสมัย รัชกาลที่ ๕ และเป็นที่มาของคาขวัญในท้องถิ่นอาเภอนครชัยศรี ซึ่งโรงครามปัจจุบันกาลังจะ สูญพันธุ์ไปจากชุมชนเพราะไม่มีผู้สืบทอดโรงครามเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนจึงต้องรู้ประวัติ ความเป็นมาและถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง มำตรฐำนกำรเรียนรู้ มำตรฐำน ส ๔.๑: เข้ า ใจความหมาย ความส าคั ญ ของเวลาและยุ ค สมั ย ทาง ประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐาน ของความเป็นเหตุเป็นผล มาวิเคราะห์เหตุการณ์ ต่างๆ อย่าง เป็นระบบ ตัวชี้วัด ส ๔.๑:

อธิบายความสาคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษา เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างง่ายๆ

จุดประสงค์กำรเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด ๑. บอกวิธีรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรงครามได้ ๒. อธิบายประวัติของโรงครามได้ สำระกำรเรียนรู้ ๑. ประวัติความเป็นมาของโรงคราม - โรงครามสาคัญไฉน - ที่มาของผ้าดาดี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๖๕

กิจกรรมกำรเรียนรู้ ขั้นนาเข้าสูบ่ ทเรียน ๑. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ ๒. สนทนาเรื่องราวของท้ องถิ่น เช่ น หมู่ บ้ านวั ด แค ทางรถไฟ คลองเจดี ย์ บู ช า วัดสัมปทวน ๓. นักเรียนแบ่งกลุ่มๆ ละ ๕ คน ตามความสมัครใจร่วมกันระดมสมอง เพื่อรวบรวม สิ่งที่รู้เกี่ยวกับโรงคราม ๔. นักเรียนตั้งคาถามที่ต้องการรู้และวิธีหาความรู้เกี่ยวกับโรงคราม เขียนบันทึกลง ในกระดาษ A 4 ๕. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาของโรงคราม และวิธีการสอบถามข้อมูลจากผู้รู้ในท้องถิ่น ๖. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ ประวัติความเป็น มาของโรงคราม ด้วยการสัมภาษณ์ ซักถามผู้รู้ ๗. ตั ว แทนแต่ ล ะกลุ่ ม น าเสนอผลงานหน้ า ชั้ น เรีย น โดยครูให้ ค วามรู้ เพิ่ ม เติ ม เกี่ยวกับประวัติความเป็น มาของโรงครามว่าสาคัญ อย่างไร ที่มาของผ้าดาดีในส่วนที่ ยังไม่ ชัดเจน ไม่สมบูรณ์ ๘. นั กเรียนแต่ละคน เขี ย นเรียงความเกี่ยวกับ “โรงคราม” พร้อมทั้งตั้งชื่อตาม ความสนใจ ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ ๙. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปประวัติความเป็นมาของโรงคราม เป็น ผังความคิดแล้วนามาอธิบายเกี่ยวกับโรงคราม ๑๐. นักเรียนทาแบบฝึกหัด สื่อกำรเรียนรู้ ๑. แผนที่โรงคราม ๒. ผู้รู้ท้องถิ่นเกี่ยวกับโรงคราม ๓. ข่าวในท้องถิ่น ๔. ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต


๑๖๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

กำรวัดและประเมินผลกำรเรียนรู้ ๑. วิธีกำรวัดและประเมินผล ๑.๑ สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มของนักเรียน ๑.๒ ตรวจผลงานของนักเรียน - แบบฝึกหัด - กิจกรรม ๒. เครื่องมือ ๒.๑ แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ๒.๒ แบบฝึกหัด ๒.๓ แบบประเมินใบกิจกรรม ๓. เกณฑ์กำรประเมิน แบบฝึกหัด ตอบถูกได้ ๑ คะแนน ตอบผิดได้ ๐ คะแนน ได้ ๘ – ๑๐ คะแนน อยู่ในระดับ ๓ หมายถึง ดี ได้ ๕ – ๗ คะแนน อยู่ในระดับ ๒ หมายถึง พอใช้ กิจกรรมเสนอแนะ แบ่งกลุ่มนักเรียนสารวจ สัมภาษณ์ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ท้องถิ่น นามาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๖๗

แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ ๑ ประวัติควำมเป็นมำของโรงครำม กลุ่มสำระกำรเรียนรู้กำรงำนอำชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษำปีที่ ๖ เรื่อง กำรใช้คอมพิวเตอร์ค้นหำข้อมูลจำกอินเทอร์เน็ต เวลำ ๒ ชั่วโมง สำระสำคัญ โรงครามจั ด เป็ น วิถีชี วิต ที่ อยู่ คู่อาเภอนครชั ย ศรีม าช้ า นาน ดั งคากล่ าวถึงอาเภอ นครชัย ศรีที่ ว่า “ส้ ม โอหวาน ข้า วสารขาว ลู กสาวงาม ผ้ ำด ำดี ” แต่ ปั จจุ บั น เทคโนโลยี ที่ ทันสมัยทาให้การผลิตผ้าดาแบบดั่งเดิมหายไป การศึกษาประวัติความเป็นมาของโรงคราม กรรมวิธีการผลิตผ้าดา จะช่วยให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น และ เกิดความภาคภูมิใจในถิ่นฐานของตน มำตรฐำนกำรเรียนรู้ ง ๓.๑ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น ข้อมู ล การเรียนรู้ การสื่ อสาร การแก้ปั ญ หา การท างาน และอาชี พ อย่ างมี ป ระสิท ธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม ตัวชี้วัด ง ๓.๑ ป.๖/๒ ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูล จุดประสงค์กำรเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด ๑. อธิบายวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลประวัติความเป็นมาของโรงครามได้ (K) ๒. ใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตได้ (P) ๓. สนใจการใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลต่างๆ จากอินเทอร์เน็ต (A) สำระกำรเรียนรู้ - การใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลประวัติความเป็นมาของโรงครามจาก อินเทอร์เน็ต - ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


๑๖๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

กิจกรรมกำรเรียนรู้ ๑. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์การทารายงานของ นักเรียน โดยครูใช้คาถาม ดังนี้ - นักเรียนเคยทารายงานเรื่องอะไรบ้าง - การทารายงานดังกล่าวนักเรียนหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใดบ้าง จากนั้นให้นักเรียนที่มีประสบการณ์หาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ๒ - ๓ คน ออกมาเล่า ให้เพื่ อนฟังว่าการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีวิธีการอย่างไร และในอินเทอร์เน็ตมีข้อมูล อะไรให้ค้นหาบ้าง ๒. ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาและขั้นตอนการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตแล้วร่วมกัน แสดงความคิดเห็นโดยครูใช้คาถาม ดังนี้ - ในอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลอะไรบ้าง - การใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลดังกล่าวมีขั้นตอนอย่างไร จากนั้ น ให้ นั กเรีย นช่ ว ยกัน เขีย นขั้ น ตอนการค้น หาข้ อมู ล จากอิ น เทอร์เน็ ต ลงใน แผนภาพความคิด - ถ้าปฏิบัติตามขั้นตอนการค้นหาข้อมูลดังกล่าวจะเกิดผลอย่างไร ๓. ครูสาธิตวิธีการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตตามขั้นตอนที่ถูกต้องให้นักเรียนดู จากนั้ น ให้ นักเรีย นแต่ล ะคนฝึ กปฏิบัติ ค้น หาข้อมูล ประวัติ ความเป็น มาของโรงครามจาก อินเทอร์เน็ต โดยมีครูเป็นผู้แนะนา ๔. ให้นักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าการใช้คอมพิวเตอร์ค้นหา ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต พบปัญหาใดบ้างและเมื่อพบปัญหานั้นนักเรียนแก้ไขอย่างไร ๕. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คาถามท้าทาย ดังนี้ - การค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตต้องระมัดระวังเรื่องใดมากที่สุด - หากไม่พบข้อมูลที่ต้องการควรทาอย่างไร - คาสาคัญคืออะไร มีความสาคัญต่อการค้นข้อมูลอย่างไร ๖. ให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๖๙

สื่อกำรเรียนรู้ ๑. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (overhead projector) ๒. คอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ กำรวัดและประเมินผลกำรเรียนรู้ ๑. วิธีกำรวัดและประเมินผล ๑.๑ สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน ๑.๒ ตรวจผลงานการใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตของ นักเรียน ๒. เครื่องมือ ๒.๑ แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ๒.๒ แบบประเมินผลงาน ๓. เกณฑ์กำรประเมิน ๓.๑ การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตัง้ แต่ ๒ รายการ ถือว่า ผ่ำน ผ่าน ๑ รายการ ถือว่า ไม่ผ่ำน ๓.๒ แบบประเมินผลงาน


๑๗๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เกณฑ์กำรประเมินผลงำน ระดับคะแนน ๓ (ดี)

๒ (ผ่าน)

๑ (ต้องปรับปรุง)

ลักษณะของงำน - สืบค้นได้ตรงประเด็นตามที่กาหนดไว้ - มีการจัดระบบงาน เช่น มีคานา เนื้อหา และบทสรุปอย่าง ชัดเจน - ภาษาที่ใช้เช่นตัวสะกดและไวยากรณ์มีความถูกต้องสมบูรณ์ ทาให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย - มีแนวคิดที่นา่ สนใจ ใช้ภาษาสละสลวย - สืบค้นได้ตรงประเด็นตามที่กาหนดไว้ - มีการจัดระบบงาน เช่น มีคานา เนื้อหา และบทสรุป - ภาษาที่ใช้ทาให้ผู้อ่านเกิดความสับสน - ใช้ศัพท์ที่เหมาะสม - สืบค้นไม่ตรงประเด็น - ไม่มีการจัดระบบงาน - ภาษาที่ใช้ทาให้ผู้อ่านเกิดความสับสน - ใช้ศัพท์ที่เหมาะสม - ไม่มีผลงาน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๗๑

กลุ่มที่ ๕ เรื่อง สมุนไพรน่ารู้


๑๗๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ตัวอย่ำงกำรบูรณำกำรสำระท้องถิ่นกับรำยวิชำหลัก กลุ่มสำระกำรเรียนรู้สังคมศึกษำ ศำสนำ และวัฒนธรรม แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ ๑ สมุนไพรน่ำรู้ สำระกำรเรียนรูส้ ังคมศึกษำ ศำสนำ และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษำปีที่ ๕ เรื่อง กำรสำรวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่น เวลำ ๓ ชั่วโมง สำระสำคัญ การคิดวิเคราะห์พืชสมุนไพรมีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อใช้ในการรักษา และป้องกันสุขภาพของคนเรา ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในฐานะที่เป็นคนไทย จึงควรเห็นคุณค่า และสามารถนามาแปรรูปเป็นแบบต่างๆ จึงควรอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรให้ อนุชนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไปโดยไม่สูญหาย มำตรฐำนกำรเรียนรู้ มาตรฐาน ส ๒.๑ เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ ดีงามและดารงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดารงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคม โลกอย่างสันติสุข ตัวชี้วัด ป.๕/๔ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น จุดประสงค์กำรเรียนรู้ ๑. สารวจและยกตัวอย่างพืชสมุนไพรในท้องถิ่นได้ (K) ๒. วิเคราะห์ประโยชน์ของพืชสมุนไพรในท้องถิ่นได้ (P) ๓. นักเรียนร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรได้ (A) สำระกำรเรียนรู้ ๑. สารวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่น - ชื่อพืชสมุนไพร - ประโยชน์ของพืชสมุนไพร กิจกรรมกำรเรียนรู้ ๑. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ ๒. สนทนาและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อพืชต่างๆ ที่นักเรียนรู้จักบริเวณที่บ้าน / โรงเรียน / สวนสาธารณะและอื่นๆ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๗๓

๓. นาชื่อพืชที่นักเรียนสนทนามาเขียนบนกระดานดา ๔. นักเรียนแบ่งกลุ่มเก่ง ปานกลาง อ่อน ระดมความคิดรวบรวมสารวจชื่อสมุนไพร ในท้องถิ่น ๕. นักเรียนแบ่งประเภทของพืชสมุนไพร (ยืนต้น / ล้มลุก) , (บนบก / ในน้า) ๖. ให้ นั ก เรี ย นวิ เคราะห์ ป ระโยชน์ ข องพื ช สมุ น ไพรที่ นั ก เรีย นส ารวจและแบ่ ง ประเภท โดยศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากห้องสมุด / อินเทอร์เน็ต และเอกสาร ประกอบการเรียน ๗. นักเรียนแต่ละกลุ่มนาชื่อพืชสมุนไพร / ประโยชน์ของพืชสมุนไพรมาเขียนเป็น แผนผังรากไม้ ๘. ตัวแทนกลุ่มนาเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ครูผู้สอนให้ความรู้เพิ่มเติม ๙. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปพืชสมุนไพรในท้องถิ่น / ประโยชน์ของพืชสมุนไพร น าผลงานแผนผั ง รากไม้ ม าเปรีย บเที ย บพื ช สมุ น ไพร / ประโยชน์ ข องพื ช สมุนไพรมีความเหมือนและความแตกต่างของแต่ละกลุ่ม และชมเชยนักเรียนที่ มีความรับผิดชอบงานที่มอบหมาย ๑๐. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปลูกพืชสมุนไพรกลุ่มละ ๑ ชนิด ๑๑. นักเรียนทาแบบทดสอบ จานวน ๒๐ ข้อ เรื่อง สมุนไพรน่ารู้ สื่อกำรเรียนรู้ ๑. ภาพพืชสมุนไพร และของจริง ๒. หนังสือแบบเรียน ๓. ข้อมูลจากห้องสมุด / อินเทอร์เน็ต ๔. ผู้รู้ / ผูป้ กครอง แหล่งกำรเรียนรู้ สวนสมุนไพรในโรงเรียน


๑๗๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

โครงสร้ำงหลักสูตร / เวลำเรียน แผนกำรจัดกำรเรียนรู้เรื่อง สำระกำรเรียนรู้

จำนวนชั่วโมง ควำมรู้ ปฏิบัติ ๓ ๕

๑. รอบรู้สมุนไพร

สารวจพืชสมุนไพร - ชื่อพืชสมุนไพร - ประโยชน์พืชสมุนไพร - การปลูกพืชสมุนไพร - แหล่งปลูกพืชสมุนไพร ๒. ความสาคัญของพืช โครงสร้างและหน้าที่ สมุนไพร - ส่วนประกอบของพืชสมุนไพร - ลักษณะของพืชสมุนไพร - ประเภทของพืชสมุนไพร ๓. รูปลักษณ์เปลี่ยนแปลง ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร - การแปรรูปพืชสมุนไพร ๔. ร่วมใจกันทา การบรรจุผลิตภัณฑ์ - การออกแบบบรรจุผลิตภัณฑ์ - การใช้ภูมิปัญญา / เทคโนโลยี ๕. หนึ่ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ห นึ่ ง ชั้ น การตลาด เรียน - ประชาสัมพันธ์การขาย - จาหน่ายผลิตภัณฑ์ ๖. ใส่ใจสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พืชสมุนไพร - จัดสวนสมุนไพร - บันทึกการเปลี่ยนแปลง รวม

๑๖

๒๔


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๗๕

กำรวัดและประเมินผล วิธีกำร สังเกตจากการร่วม กิจกรรมกลุ่ม ตรวจงานจาก - ชิ้นงาน

- แบบทดสอบ

เครื่องมือ แบบสังเกตพฤติกรรมการ ทางานกลุ่ม - แบบประเมินชิน้ งาน

- แบบทดสอบ

เกณฑ์ คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน

- ชิ้นงาน ๑๗-๒๐ คะแนน – ดีมาก ๑๓-๑๖ คะแนน – ดี ๙-๑๒ คะแนน – พอใช้ ๕-๘ คะแนน – ควรปรับปรุง - ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐

ลงชื่อ ............................................... ลงชื่อ ............................................... สาระลงชื่อ ....................................... ลงชื่อ ............................................... วันที่ส่ง ..............................................

ครูผู้สอน หัวหน้ากลุ่ม ฝ่ายวิชาการ ผู้อานวยการ


๑๗๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

แบบสังเกตพฤติกรรมกำรทำงำนกลุ่ม ชั้น / ห้อง............................... กลุ่มที่....................................................................... หน่วยการเรียนรู้ที่ ................. กิจกรรม.................................................................... คำชี้แจง : ให้ผู้สอนประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่มในระหว่างเรียน ขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ระดับคะแนนลงในตารางที่ตรงกับพฤติกรรม ของผู้เรียน เกณฑ์กำรให้คะแนน ๓ = ดี ๒ = พอใช้ ๑ = ควรปรับปรุง

ข้อที่ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐.

พฤติกรรมที่สังเกต

คุณภำพกำรปฏิบัติ ๓

มีการปรึกษาและวางแผนร่วมกันก่อนทางาน มีการแบ่งหน้าที่อย่างเหมาะสม และสมาชิกทางานตามหน้าที่ มีการปฏิบัติงานตามขั้นตอน มีการให้ความช่วยเหลือกัน มีการเคารพกติกาของกลุ่ม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น แสดงความคิดเห็นที่มีประโยชน์ต่อกลุ่ม มีความเป็นผู้นาและผู้ตามที่ดี ร่วมมือกันทางานจนงานสาเร็จ ผลงานมีความถูกต้องและเสร็จทันเวลาที่กาหนด ลงชื่อ .......................................................................... ผู้ประเมิน ……… / …….….. / ……..


คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ชั้น/ห้อง ............................................................................. วิชา ………….……………………………………………….... คำชี้แจง : ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมในระหว่างเรียนและขณะปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนว่ามีการปฏิบัติหรือไม่ ถ้ามีการปฏิบัติในรายการใดให้ขีด  ถ้าไม่มีให้เว้นว่าง คุณธรรม จริยธรรม ค่ำนิยม

รวม

๘. กำรทำงำน ร่วมกับผู้อื่นอย่ำงมี ควำมสุข

๗. กำรร่วมแสดง ควำมคิดเห็น

๖. ควำมรับผิดชอบ

๕. ควำมซื่อสัตย์

๔. ควำมมีเหตุผล

๓. ควำมสนใจใฝ่รู้

ชื่อ - นำมสกุล

๑. ควำม กระตือรือร้น ๒. ควำมมีเมตตำ ต่อสิ่งมีชีวิตอื่น

เลขที่

จิตวิทยำศำสตร์

สรุปผลกำรประเมิน


๑๗๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

คุณธรรม จริยธรรม ค่ำนิยม

รวม

สรุปผลกำรประเมิน

๘. กำรทำงำน ร่วมกับผู้อื่นอย่ำงมี ควำมสุข

๗. กำรร่วมแสดง ควำมคิดเห็น

๖. ควำมรับผิดชอบ

๕. ควำมซื่อสัตย์

๔. ควำมมีเหตุผล

๓. ควำมสนใจใฝ่รู้

ชื่อ - นำมสกุล

๑. ควำม กระตือรือร้น ๒. ควำมมีเมตตำ ต่อสิ่งมีชีวิตอื่น

เลขที่

จิตวิทยำศำสตร์

ลงชื่อ ................................................................................. ผู้ประเมิน เกณฑ์กำรประเมิน : นักเรียนมีการปฏิบัติ ๖ รายการขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์ประเมิน ระดับคะแนน : ผ่าน ๖ รายการ = ๑ คะแนน ผ่าน ๗ รายการ = ๒ คะแนน ผ่าน ๘ รายการ = ๓ คะแนน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๗๙

แบบประเมินผลงำน / ชิ้นงำน ชื่อ……………………………………….. ชั้น………… หน่วยกำรเรียนรู้ที่……………………… กิจกรรม………………………………….………………………. คำชี้ แจง: ให้ ผู้ ป ระเมินขี ด / ลงในช่ องที่ ตรงกั บ ระดั บ คะแนน โดยให้ ศึก ษำเกณฑ์ กำร ให้คะแนนผลงำน ผู้ประเมิน ประเด็นทีป่ ระเมิน ตนเอง เพื่อน ครู ๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑ ๑. ตรงตามจุดประสงค์ที่ กาหนด ๒. มีความถูกต้องสมบูรณ์ และเป็นปัจจุบนั ๓. คิดวิเคราะห์ ๔. มีความเป็นระเบียบ ๕. เสร็จเรียบร้อยตามเวลา ที่กาหนด รวม รวมทุกรายการ เฉลี่ย ผู้ประเมิน……………………………………….. (ตนเอง) ผู้ประเมิน……………………………………….. (เพื่อน) ผู้ประเมิน……………………………………….. (ครู)


๑๘๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เกณฑ์กำรให้คะแนนผลงำน ประเด็นที่ ประเมิน ๔ ๑. ชิ้นงานตรง ชิ้นงาน ตามจุดประสงค์ สอดคล้องกับ ที่กาหนด จุดประสงค์ ทุกประเด็น ๒. ชิ้นงานมี เนื้อหาสาระ ความถูกต้อง ของชิ้นงาน สมบูรณ์และ ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน ๓. ชิ้นงานเกิด ชิ้นงานเกิดจาก จากการคิด การคิด วิเคราะห์ วิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ ๔. ชิ้นงานมี ชิ้นงานมีความ ความเป็น เป็นระเบียบ ระเบียบ แสดงออกถึง ความประณีต ๕. ชิ้นงานเสร็จ ส่งชิน้ งานตาม เรียบร้อยตาม เวลาที่กาหนด เวลาที่กาหนด

คะแนน ๓

๑ ชิ้นงานไม่ สอดคล้องกับ จุดประสงค์

ชิ้นงาน สอดคล้องกับ จุดประสงค์ เป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาสาระของ ชิ้นงานถูกต้อง ครบถ้วนเป็น ส่วนใหญ่

ชิ้นงาน สอดคล้องกับ จุดประสงค์ บางประเด็น เนื้อหาสาระของ ชิ้นงานถูกต้อง ครบถ้วน เป็นบางประเด็น

ชิ้นงานเกิดจาก การคิดวิเคราะห์ แต่ยัง ไม่เป็นระบบ ชิ้นงานส่วนใหญ่ มีความเป็น ระเบียบ แต่มีข้อบกพร่อง บางส่วน ส่งชิน้ งานช้า กว่าเวลาที่ กาหนด ๑ วัน

ชิ้นงานมีความ น่าสนใจแต่ยัง ไม่เป็นระบบ

ชิ้นงานไม่แสดง ถึงการคิด วิเคราะห์

ชิ้นงานมีความ เป็นระเบียบแต่ มีข้อบกพร่อง บางส่วน

ชิ้นงานส่วนใหญ่ ไม่เป็นระเบียบ และมี ข้อบกพร่อง

ส่งชิน้ งานช้า กว่าเวลาที่ กาหนด ๒ วัน

ส่งชิน้ งานช้า กว่าเวลาที่ กาหนด ๓-๕ วัน

เนื้อหาสาระของ ชิ้นงานไม่ ถูกต้อง เป็น ส่วนใหญ่


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๘๑

เกณฑ์กำรตัดสินคุณภำพ คะแนน ระดับคุณภำพ ๑๗ - ๒๐ ดีมาก ๑๓ - ๑๖ ดี ๙ - ๑๒ พอใช้ ๕-๘ ควรปรับปรุง


แบบทดสอบ เรื่อง สมุนไพรน่ำรู้ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ สังคมศึกษำ ศำสนำ และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษำปีที่ ๕ คำชี้แจง ให้นักเรียนทาเครื่องหมาย  ทับตัวอักษรที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว ๑. ข่า เป็นสมุนไพรที่ใช้แก้อาการใด ก. ท้องอืด

ข. ถ่ายพยาธิ

ค. เป็นไข้

ง. อาการท้องผูก

๒. ผลไม้ชนิดใดมีวิตามินซีมากที่สุด ก. กล้วย

ข. ส้ม

ค. ฝรั่ง

ง. ลาไย

๓. ผลไม้ชนิดใดมีกากใยอาหารมากที่สุด ก. ฝรั่ง

ข. กล้วย

ค. ส้ม

ง. แอบเปิ้ล

๔. ฝรั่งเป็นสมุนไพรทีช่ ่วยรักษาโรคอะไรได้บา้ ง ก. ท้องเดิน

ข. ท้องเฟ้อ

ค. ท้องอืด

ง. ท้องร่วง

๕. ข้อใดคือประโยชน์ของพืชสมุนไพร ก. ใช้บาบัดโรค

ข. ใช้เป็นยา

ค. บารุงร่างกาย

ง. ถูกทุกข้อ

๖. สมุนไพร หมายถึง อะไร ก. ยาที่ได้จากพืช

ข. ยาที่ได้จากสัตว์

ค. ผิดทั้งข้อ ก , ข

ง. ถูกทั้งข้อ ก. , ข.

๗. ผลไม้ใดทีช่ ่วยให้การขับถ่ายดีขนึ้ ก. มะละกอ

ข. อ้อย

ค. ฝรั่ง

ง. กล้วย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๘๓

๘. ผลไม้ใดช่วยขับปัสสาวะหรือแก้ปัสสาวะขัด ก. ใบบัวบก

ข. ระกา

ค. ขิง

ง. สับปะรด

๙. เครื่องดื่มชนิดใดแก้ร้อนใน กระหายน้า ก. ใบบัวบก

ข. ระกา

ค. สับปะรด

ง. ขิง

๑๐. เมื่อโดนแมลงมีพิษ จะเลือกใช้สมุนไพรใด ก. ฝรั่ง

ข. พญายอ

ค. ตาลึง

ง. ฟ้าทะลายโจร

๑๑. พืชสมุนไพรใดเป็นยาระบายอ่อนๆ ได้ ก. มะละกอ

ข. ฝรั่ง

ค. มังคุด

ง. อ้อย

๑๒. กระเพราต้มใบกับน้ามีสรรพคุณอย่างไร ก. แก้ไอ

ข. แก้ปวดท้อง

ค. ท้องอืด ท้องเฟ้อ ง. ช่วยระบาย ๑๓. ผลมะเกลือคั้นกินกับกะทิมีสรรพคุณอย่างไร ก. กินแก้ท้องเฟ้อ

ข. ถ่ายพยาธิ

ค. ขับปัสสาวะ

ง. แก้กลากเกลื้อน

๑๔. ขมิ้นชันมีสรรพคุณอย่างไร ก. ฝานขมิน้ ตากแห้งบดเป็นผงปัน้ เป็นลูกกลอนแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ข. บดเหง้าผสมกับน้าทาบ่อยๆ รักษาแผลพุพองและอาการคัน ค. ต้มใบหรือดอกกินกับน้าพริกเป็นยาระบาย ง. ข้อ ก.และข้อ ข .ถูก ๑๕. แก้พิษของแมงกะพรุนไฟ ใช้สมุนไพรใด ก. ต้นผักบุ้งทะเลคั้นเอาน้าทาบริเวณที่เป็น ข. ตาเหง้าสดแช่เหล้าขาวทาบริเวณที่เป็น


๑๘๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ค. ตาใบบัวบกให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็น ง. บดใบฟ้าทะทายโจรผสมน้าทาบริเวณที่เป็น ๑๖. การดื่มน้าตะไคร้สามารถช่วยแก้อาการในข้อใด ก. ท้องอืด ข. ท้องเสีย ค. ปวดหัว ง. ปวดฟัน ๑๗. สมุนไพรทีช่ ่วยบารุงผิวพรรณ รักษาโรคผิวหนังผื่นคัน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ก. เตยหอม ข. ขมิ้นชัน ค. อัญชัน ง. หนอนตายหยาก ๑๘. ข้อใดไม่ใช่สรรคุณของฟ้าทะลายโจร ก. บารุงหัวใจ ข. แก้เจ็บคอ แก้ไอ ค. แก้ไข้ ง. รักษาหลอดลมอักเสบ ๑๙. ใบของสมุนไพรใดที่แก้อาการปวดฟันและฆ่าแมลงได้ ก. เตยหอม ข. มะกรูด ค. หนอนตายหยาก ง. อัญชัน ๒๐. ใบของสมุนไพรใดนาไปทาเป็นชาชงรับประทานเป็นยาระบายได้ ก. ขมิ้นชัน ข. หม่อน ค. มะกรูด ง. อัญชัน


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๘๕

ภาคผนวก


๑๘๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๘๗

กิจกรรมกำรอบรมเชิงปฏิบัติกำร “หลักสูตรท้องถิ่น: กำรบูรณำกำรควำมรู้สู่ชุมชน” ศิธรา จุฑารัตน์๗ “หลักสูตรสถานศึกษา เป็นหลักสูตรที่เน้นเชื่อมโยงองค์ความรู้ ที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น มีเนื้อหาที่เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับบริบทของ สังคม เนื้อหาสามารถเข้าถึงและจับต้องได้ และสามารถบูรณาการกับ การปฏิบัติและเรียนรู้ได้จริง” ผู้ร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรท้องถิ่น : การบูรณาการความรู้สู่ ชุมชน” แสดงความคิดเห็ น เกี่ยวกับหลั กสูต รสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น หรือที่ เรียกขานในชื่อเล่นว่า “หลักสูตรท้องถิ่น” การอบรมครั้งนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่มภารกิจวิจัยชุมชน ที่มีความตั้งใจจะสร้างเวที แลกเปลี่ยนและบูรณาการความรู้จาก งานวิจัยของมหาวิทยาลัยให้กับสถานศึกษาและชุมชนในจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง ให้สามารถนาไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน การอบรมประกอบด้วยการบรรยายจาก วิ ท ยากรที่ มี ค วามรู้ แ ละประสบการณ์ ในการจั ด ท าหลั ก สู ต รสถานศึ ก ษา ได้ แ ก่ ผู้ ช่ ว ย ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐชัย สุขสอาด และอาจารย์จริยา ศรีเพชร วิทยากรผู้มีความรู้ความ เชี่ ย วชาญเกี่ ย วกั บ ประวั ติ ศ าตร์ชุ ม ชน ได้ แ ก่ นายแพทย์ วั ฒ นา เที ย มปฐม และผู้ ช่ ว ย ศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทา วิจัยเกี่ยวกับท้องถิ่นในเชิงคติชนวิทยาและมานุษยวิทยา

อาจารย์ประจาสาขาวิชาภาษาไทย และประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


๑๘๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

อำจำรย์ศิธรำ จุฑำรัตน์ ประธำนศูนย์สยำมทรรศน์ศึกษำ มอบของที่ระลึกแด่วิทยำกร นำยแพทย์วัฒนำ เทียมปฐม

อำจำรย์ศิธรำ จุฑำรัตน์ ประธำนศูนย์สยำมทรรศน์ศึกษำ มอบของที่ระลึกแด่วิทยำกร ผู้ช่วยศำสตรำจำรย์ ดร.ประเสริฐชัย สุขสอำด


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๘๙

ผู้ช่วยศำสตรำจำรย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล มอบของที่ระลึกแด่วิทยำกร อำจำรย์จริยำ ศรีเพชร

หัวข้อการบรรยายประกอบด้วย ๓ ประเด็นหลัก ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการ จัดทาหลักสูตรสถานศึกษา การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของจังหวัดนครปฐม และขั้นตอนและวิธีการเก็บข้อมูลในท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมเชิ งปฏิบั ติการให้ ผู้ร่วมอบรมได้ระดมความคิด และออกแบบหลักสูต ร สถานศึกษาของตนเอง เพื่ อหาแนวทางในการจัดท าหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมและ สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน กิจกรรมในส่วนของการระดมความคิดจัดขึ้นในช่วงบ่าย หลังจากผู้เข้าร่วมอบรมฟัง บรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้กับวิทยากรแล้ว การระดมสมองเป็นกิจกรรมต่อเนื่องที่ใช้เวลา ทั้งสิ้น ๔ วัน (เฉพาะภาคบ่าย) โดยมีจุดหมายปลายทางให้ผู้เข้าอบรมจากสถานศึกษาต่างๆ ผลิตร่างหลักสูตรสถานศึกษาของตนเองเพื่อเป็นต้นแบบในการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา ของโรงเรียนต่อไป


๑๙๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ภำพกำรทำกิจกรรมของผู้เข้ำอบรม

วันแรกของการทากิจกรรมระดมความคิดเป็นการให้ผู้อบรมทากิจกรรมกลุ่มร่วมกัน โดยแบ่งกลุ่มตามสถานศึกษาที่สังกัด จากนั้นให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร สถานศึกษาใน ๓ ประเด็น คือ “ความคิดเห็น” “ความคาดหวัง” และ “ประสบการณ์” ซึ่ง ได้รับคาตอบที่น่าสนใจต่างๆ เช่น “ความคาดหวังต่อการจัดหลักสูตรสถานศึกษา คือ หลักสูตรสถานศึกษาจะสามารถ พั ฒ นาผู้ เรีย นเรีย นรู้อย่ า งมี ค วามสุ ข มี ค วามรู้ความสามารถ มี ทั กษะการเรีย นรู้ที่ ส าคั ญ รวมทั้งมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน” “หลั ก สู ต รสถานศึ ก ษาจะสามารถน าไปใช้ จั ด การเรี ย นการสอนให้ นั ก เรี ย นมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสามารถนาไปประกอบอาชีพในสังคมในอนาคตได้ และมีความ อยู่รอดปลอดภัยในสังคม อยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุข” “จั ด หลั ก สู ต รสถานศึกษาเพื่ อ พั ฒ นาผู้ เรีย นให้ มี ความรู้ ความสามารถ มี ทั กษะ กระบวนการที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ และนักเรียนสามารถดารงชีวิตในสังคมได้อย่างมี ความสุข และมีคุณธรรมจริยธรรม” จากคาตอบของครูที่มองหลักสู ตรสถานศึกษาจะเห็นว่า ครูมีความคาดหวังที่จะให้ หลักสูตรสถานศึกษาเป็นส่วนเติมเต็มการเรียนรู้ของผู้เรียน และเป็นส่วนสนับสนุนให้ผู้เรียนมี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๙๑

ทักษะชีวิตที่นอกเหนือไปจากตาราที่สามารถนาไปใช้ประกอบอาชีพและดารงชีวิตกับคนใน สังคมได้อย่างมีความสุข จากกิจกรรมข้างต้น นามาสู่ การระดมความคิดเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในท้องถิ่น โดยการให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนภาพความคิดเกี่ยวกับแนวทางในการนาเรื่องราวของท้องถิ่น มาจัดการเรียนการสอน จากนั้นร่วมกันวาด “แผนที่เดินดิน” แสดงบริเวณที่มีองค์ความรู้ที่ สามารถนามาบูรณาการกับการเรียนการสอนได้

ภำพกำรทำกิจกรรมของผู้เข้ำอบรม


๑๙๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ภำพกำรทำกิจกรรมของผู้เข้ำอบรม

ภำพกำรทำกิจกรรมของผู้เข้ำอบรม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๙๓

ตัวอย่ำงแผนที่เดินดิน

หลังจากผู้อบรมได้ระดมความคิดและทดลองวางโครงร่างเนื้อหาหลักสูตรที่ตนสนใจ แล้ว กิจกรรมในวันถัดมาจึงเป็นการให้ผู้เข้าอบรมแต่ละกลุ่มกาหนดเนื้อ หาหลักและทดลอง วางโครงสร้า งหลั กสู ต รสถานศึกษาจากแผนภาพความคิด ที่ ได้ เขีย นไว้ ในวั น แรก โดยใช้ แนวทางตามที่วิทยากรให้ไว้ในการบรรยายก่อนหน้านี้ จากนั้นผู้เข้าอบรมจะได้นาเสนอโครง ร่างหลักสูตรของกลุ่มต่อที่ประชุม และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสมาชิกกลุ่ม ต่างๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างการทากิจกรรมและการนาเสนอนี้ทาให้ผู้เข้า อบรมได้รับฟังความคิดเห็นในมุมต่างๆ จากตัวแทนของสถานศึกษาหลายๆ แห่ง ซึ่งอาจมี มุมมองที่แตกต่างออกไป ทาให้ได้รับแง่คิดเพื่อให้ผู้จัดทาหลักสูตรเห็นภาพในมุมกว้างและต่าง มุมมากขึ้น


๑๙๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ภำพกำรทำกิจกรรมของผู้เข้ำอบรม

ภำพกำรทำกิจกรรมของผู้เข้ำอบรม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๙๕

ภำพกำรทำกิจกรรมของผู้เข้ำอบรม

ภำพกำรทำกิจกรรมของผู้เข้ำอบรม


๑๙๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมในแต่ละวัน ผู้เข้าอบรมจะได้รับการบ้านให้กลับไปคิดและต่อ ยอดจากกิจกรรมที่ได้ทา เพื่อเป็นการทบทวนและขยายความคิดให้เป็น ระบบมากยิ่งขึ้น และ นาคาถามหรือการบ้านที่ได้รับนั้นมาใช้ในการทากิจกรรมในวันต่อไป เช่นในวันที่สองของการ อบรม ผู้เข้าอบรมจะได้รับมอบหมายให้กลับไปเขียนโครงสร้างเนื้อหาหลักสูตรและตัวอย่าง แผนการสอนราบคาบ จานวน ๑ แผนการสอน เพื่อเป็นการทบทวนและยืนยันว่าหลักสูตรที่ ได้ระดมความคิดกันในชั้นเรียนนั้นสามารถนาไปใช้ในทางปฏิบัติได้จริง ในวันถัดมา ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสนาเสนอโครงสร้างเนื้อหาหลักสูตรและตัวอย่าง แผนการสอนให้แก่วิทยากร ได้แก่ อาจารย์จริยา ศรีเพชร ครูชานาญการผู้มีประสบการณ์ใน การจัดทาและใช้หลักสูตรสถานศึกษาเรื่องคลองมหาสวัสดิ์ และเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเขียน เอกสารเกี่ย วกับ การจั ด ท าหลั กสู ต รของกระทรวงศึ กษาธิ การ อาจารย์ จ ริย าได้ กรุณ าให้ ค าแนะน าเกี่ ย วกั บ ขั้ น ตอนในการจั ด ท าหลั ก สู ต รสถานศึ ก ษา และให้ ข้ อ เสนอแนะที่ มี ประโยชน์ในการจัดทาหลักสูตรและการเขียนแผนการสอนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ ผู้เข้ารับการ อบรมอีกด้วย

อำจำรย์จริยำ ศรีเพชร ขณะบรรยำยควำมรู้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๙๗

หลักสูตรสถานศึกษาที่แต่ละกลุ่มจัดทาขึ้นและได้รับข้อเสนอแนะจากวิทยากรใน วันนี้ ผู้เข้าอบรมจะต้องนาไปปรับแก้เป็นร่างหลักสูตรที่สมบูรณ์ซึ่งสามารถนาไปต่อยอดหรือ นาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้จริง หลังจากนั้น ผู้เข้าอบรมจะนาหลักสูตรสถานศึกษา ที่ปรับแก้แล้วพร้อมกับแผนการสอนมานาเสนอต่อที่ประชุมในวันสุดท้ายของการอบรม

ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอร่ำงหลักสูตรท้องถิ่น


๑๙๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอร่ำงหลักสูตรท้องถิ่น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๑๙๙

ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอร่ำงหลักสูตรท้องถิ่น

การจัดกิจกรรมทั้ง ๔ วันที่ผ่านมา ประกอบด้วยการให้ความรู้ทั้งเรื่องแนวคิด วิธีการ ขั้น ตอนในการจั ด ท าหลั กสู ต รสถานศึกษา การแลกเปลี่ ยนข้อมู ล ทางประวั ติศาสตร์และ วัฒนธรรม การแนะนาแหล่งค้นคว้าข้อมูลของจังหวัดนครปฐมให้กับครู อาจารย์ และผู้สนใจ การแนะน าวิ ธี การและเครื่องมื อในการเก็บ ข้อมู ล ท้ องถิ่น ตลอดจนการปฏิ บั ติ การจั ด ท า หลักสูต รสถานศึกษาที่ เปิ ด โอกาสให้ ครูแต่ ล ะโรงเรียน แต่ ละกลุ่ ม สาระได้ มี โอกาสพู ด คุย แลกเปลี่ ย นประสบการณ์ รับ ฟั ง ปั ญ หา ข้ อสงสั ย และรับ ค าชี้ แนะระหว่ า งกั น ถื อ ได้ ว่ า กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน” เป็นการ เปิดเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูในแต่ละกลุ่มสาระ กับชุมชนซึ่งเป็นแหล่งข้อมูล ความรู้ และมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้ผลิตงานวิจัยในศาสตร์ต่างๆ การได้พบปะ พูดคุย แสดง ความคิดเห็นอันนาไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานร่วมกันในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้าง ความก้าวหน้าและเข้มแข็งให้กับวงการศึกษาและวงวิชาการเพื่อประโยชน์แก่การเรียนการ สอนต่อไป


๒๐๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

คณบดีคณะศิลปศำสตร์ถ่ำยภำพหมู่ร่วมกับผู้เข้ำร่วมกำรอบรม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๐๑

ประมวลภำพผลงำนจำกกิจกรรมกำรอบรมเชิงปฏิบัติกำร “หลักสูตรท้องถิ่น: กำรบูรณำกำรควำมรู้สู่ชุมชน” ผังมโนทัศน์นำเสนอ “ของดีบำ้ นเรำ”


๒๐๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๐๓


๒๐๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ผังมโนทัศน์กำรออกแบบโครงสร้ำงหลักสูตรท้องถิ่น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๐๕


๒๐๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๐๗

แผนที่เดินดิน


๒๐๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๐๙


๒๑๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

รำยชื่อและสมำชิกกลุ่มผู้เข้ำร่วมอบรมทั้ง ๕ กลุ่ม


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๑๑


๒๑๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๑๓


๒๑๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๑๕


๒๑๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ


โครงกำร หลักสูตรท้องถิ่น: กำรบูรณำกำรควำมรู้สู่ชุมชน ............................................. ๑. หลักกำรและเหตุผล การให้ความสาคัญกับชุมชนหรือท้องถิ่นปรากฏในแนวคิดในการพัฒนาประเทศมา หลายยุคหลายสมัย ดังจะเห็นได้จากข้อกาหนดเชิงนโยบาย ทั้งที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ อีกทั้งหลักสูตรการศึกษาของชาติ ก็ได้กล่าวถึงความสาคัญของการจัดการศึกษาโดย เน้นความสอดคล้องกับท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ เรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่จาเป็นต่อการดาเนิน ชีวิตอย่างแท้จริง เพราะการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั้น ควรเริ่มจากให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ในสิ่งใกล้ตัวก่อน เพื่อเรียนรู้สภาพชีวิตจริง และเพื่อปลูกฝังให้เห็นความสาคัญและคุณค่าของ สิ่งรอบตัว อันจะนาไปสู่การสร้างสานึกของความรัก ความภูมิใจ และความหวงแหนมรดกของ ชุมชนและประเทศชาติต่อไป ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ในฐานะหน่วยงานที่ดาเนินการเก็บรวบรวมองค์ความรู้และ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับไทยศึกษาและท้องถิ่นศึกษาในพื้นที่ภาคกลางและจังหวัดนครปฐม ได้เห็น ความสาคัญของการบูรณาการองค์ ความรู้จากท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และ การแลกเปลี่ ยนองค์ความรู้ ตลอดจนการสร้างเสริมความร่วมมื อระหว่างสถานศึกษากับ ท้องถิ่น จึงจัดโครงการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน” ขึ้น เพื่อเป็นการ แลกเปลี่ยนและบูรณาการความรู้จากงานวิจัย ของศูนย์ให้กับสถานศึกษาและชุมชนในจังหวัด นครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียงสามารถนาไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับพันธกิจของศูนย์ในการเป็นผู้ให้บริการวิชาการ ด้ า นศิ ล ปวั ฒ นธรรม และท้ อ งถิ่ น ศึ ก ษาแก่ ชุ ม ชน และสอดคล้ อ งกั บ พั น ธกิ จ ของคณะ/ มหาวิทยาลัยด้านการสร้างการศึกษาเพื่อความเปลี่ยนแปลง และการให้บริการวิชาการที่ สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ๒. วัตถุประสงค์ ๑) เพื่ อ แลกเปลี่ ย นความรู้ ประสบการณ์ ในการจั ด หลั ก สู ต รท้ อ งถิ่ น ระหว่ า ง สถานศึกษาและมหาวิทยาลัยมหิดล ๒)

เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น สภาพปัญหา และความต้องการปัจจัยสนับสนุนใน การจัดหลักสูตรท้องถิ่นของสถาบันการศึกษาต่างๆ


๒๑๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

๓)

เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดหลักสูตรท้ องถิ่นและการบูรณาการความรู้ด้าน ท้องถิ่นศึกษาให้กับสถานศึกษาต่างๆ

๔)

เพื่อสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่สามารถนาไปใช้จัดการเรียนการสอนได้จริง

๓. กำรดำเนินโครงกำร โครงการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน” เป็นโครงการอบรมเชิง ปฏิบัติการ โดยจัดการอบรมให้กับครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้นาชุมชน และผู้เกี่ยวข้องกับ การจัดทาหลักสูตรท้องถิ่นในหัวข้อที่เกี่ยวกับการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา การเก็บข้อมูล เชิ งวัฒ นธรรม การบู รณาการองค์ความรู้ท้ องถิ่น มาใช้ในการจัด การเรียนการสอน โดยมี เป้าหมายให้สถานศึกษาสามารถสร้างหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น และให้ ครูผลิตเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรเพื่อนาไปใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน ๔. ตำรำงกำรดำเนินงำน โครงการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน” ใช้เวลาในการดาเนิน กิจกรรม ๔ ครั้ง ครั้งละ ๓ ชั่วโมง โดยจัดกิจกรรมในเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ปี ๒๕๕๗ มี รายละเอียด ดังนี้ เดือน/ปี ๒๕๕๗ รำยละเอียดกิจกรรม ๑. เตรียมการดาเนินโครงการ ๑.๑ วางแผนการจัดกิจกรรม ๑.๒ เตรียมเนื้อหากิจกรรม ๑.๓ เชิญวิทยากร ๑.๔ ประชาสัมพันธ์กิจกรรม ๒. ดาเนินกิจกรรม ๓. สรุปผลการจัดกิจกรรม

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๑๙

๕. ระยะเวลำกำรดำเนินกำร กุมภาพันธ์ – มิถุนายน ๒๕๕๗ ๖. ผู้รับผิดชอบโครงกำร ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๗. ผลที่คำดว่ำจะได้รับ ผลที่คำดว่ำจะได้รับ ๑. ได้การรวบรวมองค์ความรู้เพื่อการจัดหลักสูตรท้องถิ่น ของสถานศึกษาและชุมชนที่สอดคล้องกับความต้องการ ของท้องถิ่น ๒. ได้ เครื อ ข่ า ยความรู้ ด้ า นท้ อ งถิ่ น ศึ ก ษา และด้ า นการ จัดทาหลักสูตรท้องถิ่น ๓. ได้หนังสือเกี่ยวกับการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา

ตัวชี้วัด (KPI) ๑ ฉบับ

๕ หน่วยงาน ๑ เล่ม


๒๒๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๒๑

คำสั่ง คณะศิลปศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหิดล ที่ ๑๐๒ / ๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมกำรจัดโครงกำร “หลักสูตรท้องถิ่น: กำรบูรณำกำรควำมรู้สู่ชุมชน” --------------------------------เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการจัดทาหลักสูตรท้องถิ่นระหว่างสถานศึกษากับ มหาวิทยาลัยมหิดล และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น สภาพปัญหา และความต้องการปัจจัยสนับสนุนใน การจัดหลักสูตรท้องถิ่นของสถาบันการศึกษาต่างๆ อีกทั้งเสนอแนะแนวทางการจัดหลักสูตรท้องถิ่น และการบู ร ณาการความรู้ด้ า นท้ อ งถิ่ น ศึ ก ษาให้ กั บ สถานศึ ก ษา รวมถึ งสร้างหลัก สู ต รท้ อ งถิ่น ที่ สามารถนาไปใช้จัดการเรียนการสอนได้จริง ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ร่วมกับกลุ่ม ภารกิจวิจัยชุมชน มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรท้องถิ่น : การบูรณาการความรู้สชู่ ุมชน” ขึ้น และเพื่อให้การดาเนินงานดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ มีประสิทธิภาพ จึงขอแต่งตั้งคณะกรรมการดาเนินงาน ดังมีรายนามต่อไปนี้ ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เนตร ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ ๓. อาจารย์ศิธรา ๔. นาวสาวสรรพารี ๕. นางสาวผกาวดี ๖. นางสาวถนอมศรี ๗. นางสาวพัชรี

หงส์ไกรเลิศ เกษมผลกูล จุฑารัตน์ ยกย่อง พงษ์พิมาย เปลี่ยนสมัย ศรีเพ็ญแก้ว

ที่ปรึกษา ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าการดาเนินงานจะแล้วเสร็จ สั่ง ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลกั ษณ์ เกษมผลกูล) คณบดีคณะศิลปศาสตร์


๒๒๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๒๓

ประวัติและควำมเป็นมำของ ศูนย์สยำมทรรศน์ศึกษำ (Center of Thai Studies) คณะศิลปศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหิดล ศู น ย์ ส ยามทรรศน์ ศึ ก ษา ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น เมื่ อ เดื อ นธั น วาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สั ง กั ด คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นองค์กรที่มุ่งศึกษาและค้นคว้าองค์ความรู้ใน ศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย และเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านไทยศึกษาทั้งในระดับ ภูมิภาคและระดับชาติ ทั้งยังส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย และสร้างเครือข่ายร่วมกับหน่วยงาน ต่างๆ ด้านไทยศึกษา รวมถึงเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านไทยศึกษา ผลิตงานวิจัยและโครงการ ด้านไทยศึกษาที่เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการของ สังคม ตลอดจนส่งเสริมและสนับ สนุ น ให้นั กวิชาการในศาสตร์แขนงต่างๆ ทั้งภายในและ ภายนอกมหาวิทยาลัยที่สนใจศึกษาเรื่องเกี่ยวกับประเทศไทยได้ทางานร่วมกันเพื่ อสร้างสรรค์ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านไทยศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา มีโครงการและกิจกรรมต่างๆ เป็นจานวนมาก โดย มีแผนการจัดทาฐานข้อมูลงานวิจัยด้านไทยศึกษา เพื่อเป็นคลังความรู้ในการศึกษาวิจัยและ สร้ า งความเข้ า ใจสถานการณ์ ปั จ จุ บั น ของงานวิ จั ย และโครงการต่ า งๆ ด้ า นไทยศึ ก ษา จัดบรรยายและสัมมนาวิชาการ ตลอดจนการประชุมวิชาการ เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ด้านไทยศึกษาของนักวิชาการศาสตร์แขนงต่างๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกทักษะเกี่ยวกับองค์ความรู้ในสังคมไทยในด้านต่างๆ แก่ผู้สนใจ อันจะนามาสู่การสืบทอดและอนุรักษ์องค์ความรู้ของศาสตร์แขนงต่างๆ ในสังคมไทย เพื่อ กระตุ้นความสนใจแก่นักวิชาการให้เกิดการเรียนรู้และนามาสู่การศึกษาวิจัยต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการปริวรรตเอกสารโบราณ จัดพิมพ์ และเผยแพร่เอกสาร งานวิจัย ตารา และผลงาน ต่ า งๆ ด้ า นไทยศึ ก ษา เก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล องค์ ค วามรู้ ในศาสตร์ แ ขนงต่ า งๆ ที่ เกี่ ย วกั บ สังคมไทยที่อยู่ในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะข้อมูลที่ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน ตลอดจนบริการให้ คาปรึกษาเกี่ยวกับ องค์ความรู้เรื่องศาสตร์แขนงต่างๆ ในสังคมไทยแก่ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ


๒๒๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

รำยนำมคณะกรรมกำรบริหำรศูนย์สยำมทรรศน์ศึกษำ คณะศิลปศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหิดล ๑. ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล ๒. อาจารย์วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ ๓. อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ๔. อาจารย์ศิธรา จุฑารัตน์ ๕. อาจารย์อรวี บุนนาค ๖. อาจารย์วิภา งามฉันทกร ๗. อาจารย์ ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ๘. อาจารย์วศวรรษ สบายวัน ๙. อาจารย์ยิ่งยศ กันจินะ ๑๐. อาจารย์ ดร.สุธาทิพย์ เหมือนใจ ๑๑. อาจารย์วริศรา โกรทินธาคม ๑๒. นายดรณ์ แก้วนัย ๑๓. นางสาวพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว

ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ประธานศูนย์ฯ รองประธานศูนย์ฯ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๒๕

แนะนำเอกสำรวิชำกำรของศูนย์สยำมทรรศน์ศึกษำ เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑ ปฐมสำร

“ปฐมสำร” เป็นหนังสือสโมสรข้าราชการจังหวัดนครปฐมที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกใน งานเทศกาลนมัสการพระปฐมเจดีย์ ของทุกปี เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยประวัติศาสตร์จังหวัด นครปฐม “ปฐมสาร” เล่มสาคัญคือฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับคานมัสการพระปฐมเจดีย์ คาถา เย ธมฺมา ซึ่งพบในจารึกที่พระปฐมเจดีย์ ความเป็นมาของเมืองนครปฐม ประวัติพระประโทณ เจดีย์ ประวัติอาเภอสามพราน เรื่องพระราชวังสนามจันทร์และสุนัขทรงเลี้ยงของรัชกาลที่ ๖ “ย่า เหล่” คาขวัญประจาจังหวัดนครปฐมสมัยนั้น นอกจากนี้ยังมีภาพและเรื่องโฆษณาต่างๆ ในสมัยนั้น เป็นจานวนมาก หนังสือ “ปฐมสาร” ฉบับนี้ นอกจากจะบันทึกประวัติศาสตร์และวัฒ นธรรมของ จังหวัดนครปฐมในอดีตแล้ว ยังทาให้ทราบถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดนครปฐมในอดีต ที่ไม่ปรากฏการ กล่าวถึงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สะท้อนจากคาขวัญจังหวัดนครปฐมในขณะนั้น หนังสือดังกล่าวมี ความส าคั ญ และมี คุณ ค่า อย่ า งยิ่ งต่ อการศึก ษาประวั ติ ศ าสตร์และวั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่น ของจั ง หวั ด นครปฐม อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์และต่ออายุเอกสารให้คงอยู่สืบไป


๒๒๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๒ สยำมปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๑: งำนสำรวจ ศึกษำ และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภำคกลำง

“สยำมปกรณ์ ปริวรรต เล่ม ๑” เป็น หนังสือที่ ได้คัดสรรวรรณกรรมจานวนหนึ่งจากการ สารวจวรรณกรรมท้องถิ่นภาคสนามในพื้นที่ภาคกลางมาปริวรรต โดยในเล่ม ๑ นี้ ได้คัดเลือกและ นามาจัดพิมพ์จานวน ๑๐ เรื่อง แบ่งเป็น หมวดวรรณกรรมนิทาน จานวน ๒ เรื่อง ได้แก่ ษรีเมือง กลอนสวด ฉบับหอสมุดแห่งชำติ กรุงเทพฯ และ สังขปัตตชำดก ฉบับวัดใหญ่พลิ้ว จังหวัดจันทบุรี หมวดวรรณกรรมคาสอน จ านวน ๑ เรื่อง ได้ แก่ โลกนิติ ฉบั บ วัด เกำะหงษ์ จังหวัด นครสวรรค์ หมวดวรรณกรรมตารา จานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ พระสมุทรอธิไทยโพธิบำท ฉบับวัดตองปุ จังหวัด ลพบุรี หมวดวรรณกรรมศาสนา จานวน ๕ เรื่อง ได้แก่ กำพย์มงคลทีปนี ฉบับวัดตองปุ จังหวัด ลพบุรี มหำเวสสันดรชำดก กัณ ฑ์ มหำรำช ฉบับ วัด ไลย์ จังหวัดลพบุ รี พระอำนิสงส์กำรสร้ำง สะพำน ฉบับวัดเขำชำห้ำน จังหวัดจันทบุรี มรณสงครำม ฉบับวัดพลับ จังหวัดจันทบุรี และ พระ มำลัยกลอนสวด ฉบับวัดกำญจนบุ รีเก่ำ จังหวัดกำญจนบุรี หมวดพงศาวดารและประวัติศาสตร์ จานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ กฎหมำยหลักไชย ฉบับวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี โดยศูนย์ฯ ได้รับความ ร่วมมือจากบุคลากรของศูนย์ฯ และเครือข่าย เป็นผู้ปริวรรตและเขียนบทนาเรื่อง เพื่อจะยังประโยชน์ แก่ผู้อ่านให้ทวีมากขึ้น


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๒๗

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๓ ประชุมเพลงทรงเครื่อง: สืบสำนตำนำนเพลงพื้นบ้ำนจำกโรงพิมพ์วัดเกำะ

“ประชุ ม เพลงทรงเครื่อ ง: สื บ สำนต ำนำนเพลงพื้ น บ้ ำ นจำกโรงพิ ม พ์ วั ด เกำะ” แบ่ ง ออกเป็น ๒ ภาค ได้แก่ ภำค ๑ แต่งองค์: รวมบทควำมคัดสรรว่ำด้วยเพลงทรงเครื่อง อันประกอบ ไปด้วย บทความเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านและเพลงทรงเครื่องจากนักวิชาการชั้นนาด้านเพลงพื้นบ้าน อาทิ รศ.สุกัญญา สุจฉายา อาจารย์เอนก นาวิกมูล ผศ.บัวผัน สุพรรณยศ ส่วน ภำค ๒ ทรงเครื่อง: ประชุมเพลงทรงเครื่องจำกโรงพิมพ์วัดเกำะ ที่ลงพิมพ์ที่โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ (วัดเกาะ) รวม ๙ เรื่อง ได้แก่ เรื่องโคบุตร เรื่องจันทะโครบ เรื่องพระรถ เรื่องลิ้นทอง เรื่องนางมโนราห์ เรื่องขุนช้างขุนแผน เรื่องไกรทอง เรื่องลักษณวงศ์ และเรื่องพระอภัยมณี นอกจากนี้คณะผู้จัดทาจึงได้นาบทที่ใช้แสดง เพลงทรงเครื่องทั้ ง ๓ ครั้ง ที่ เคยแสดงในงานเดิ น ตามรอยครู เชิ ด ชู เพลงเก่า น้ อ มเกล้ าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาแล้ว ได้แก่ เพลงทรงเครื่องเรื่องพระเวสสันดร เพลงทรงเครื่องเรื่อง ขุนช้างขุนแผน และเพลงทรงเครื่องเรื่องพระอภัยมณี รวมทั้งยังได้นาบทแสดงเพลงทรงเครื่องที่จะ แสดงในครั้งนี้ คือ เพลงทรงเครื่องเรื่องหงส์หิน มาลงพิมพ์ไว้ในภาคผนวกของหนังสือด้วย


๒๒๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๔ กระจ่ำงครูผู้ถวำยพระอักษร: ๑๓๐ ปี ครูกระจ่ำง แสงจันทร์ บรรพกวีเมืองตรำดและปัจจันตคีรีเขตร

หนังสือ “กระจ่ำงครูผู้ถวำยพระอักษร” ๑๓๐ ปี ชำตกำล ครูกระจ่ำง แสงจันทร์ บรรพ กวีเมื องตรำดและเมืองปั จ จั นตคี รีเขตร์ เป็ น หนังสื อที่ ศูนย์ สยามทรรศน์ศึกษาร่วมกับ สาขาวิช า ภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๓๐ ปี ชาตกาล ครู กระจ่าง แสงจันทร์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นนักกวีของจังหวัดตราดและจังหวัดปัจจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ประเทศกัมพูชา ท่านได้รังสรรค์ผลงานกวีนิพนธ์ไว้เป็นจานวนมาก อีกทั้งชีวประวัติของท่านยังเป็นสิ่ง ที่น่าเรียนรู้และน่าศึกษา เนื่องจากได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถและด้วยโชคชะตาของท่านที่นาพา ให้เด็กชาวบ้านเกาะกง ชายแดนพระราชอาณาเขตสยามในขณะนั้น ได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กใน สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ภายในหนังสือจึงประกอบด้วยประวัติและผลงานของท่าน และมีส่วนที่เป็น ประชุมวรรณคดีนิทาน นิราศ และบทร้อยกรองของครูกระจ่าง แสงจันทร์ ไว้อย่าง ครบถ้วนอีกด้วย นอกจากนี้ในตอนท้ายเล่มยังได้จัดพิมพ์รายงานตรวจราชการของหลวงคิรีเนมี ทวีป ปลัดเมืองปัจจันตคีรีเขตร์ ร.ศ. ๑๒๑ สงเคราะห์เข้าไว้ซึ่งเป็นเหตุการณ์ร่วมสมัยกับช่วงชีวิตของครู กระจ่าง แสงจันทร์ เพื่อประโยชน์ในทางวิชาการสืบไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๒๙

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๕ ลำยพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้ำฟ้ำ กรมพระยำนริศรำนุวัดติวงศ์ ประทำนแก่พระพินิจวรรณกำร เรื่อง ตรวจชำระหนังสือพระอภัยมณีและประชุมบทละครดึกดำบรรพ์

ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ สานักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ วัดศรีสุดาราม วรวิหาร และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิด ล ได้ กาหนดจัดงานสดุดีกวีสุน ทรภู่และอนุ รักษ์ ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมไทยขึ้น ณ วัดศรีสุดารามวรวิหาร ในการนี้ คณะกรรมการดาเนินงานเห็น ควรให้ มี ก ารจั ด พิ ม พ์ ว รรณกรรมอั น เนื่ อ งด้ ว ยสุ น ทรภู่ ขึ้ น โดยพิ จ ารณาว่ า ลายพระหั ต ถ์ สมเด็ จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ได้ประทานแก่พระพินิจวรรณการ (แสง สาลิตุล) เรื่อง การตรวจชาระหนังสือพระอภัยมณีและประชุมบทละครดึกดาบรรพ์ เพื่อจัดพิมพ์ใน โอกาสสาคัญต่างๆ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๔๖๘ นั้น เป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ที่มีการนามา จัดพิมพ์แล้วหลายครั้งในสมัยรัชกาล ที่ ๖ ทั้งข้อความในลายพระหัตถ์ก็มีประโยชน์ทั้งด้านการศึกษา อักษรศาสตร์และวรรณคดี ประการสาคัญ เป็นการจัดพิมพ์วรรณคดีอันเนื่องด้วยผลงานของสุนทรภู่ ซึ่งเป็นกวีเอกของโลก คณะกรรมการดาเนินงานจึงเห็นสมควรให้มีการจัดพิมพ์ลายพระหัตถ์ดังกล่าว


๒๓๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ขึ้น โดยคงลักษณะตัวอักษรให้ เหมื อนกับ ต้ นฉบั บ เดิ มทุ กประการ จึงนับ ว่าเป็ นหนั งสือที่ ได้บั น ทึ ก กระบวนการชาระวรรณคดีไว้ได้อย่างครบถ้วนของผู้ทรงคุ ณวุฒิด้านวรรณคดีไทยในยุครัตนโกสินทร์ อันจะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อวงวิชาการภาษาและวรรณคดีไทยอย่างมาก


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๓๑

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๖ พลังปัญญำจำกวัฒนธรรมวรรณศิลป์ของกวีในเมืองตรำด

รายงานผลการวิจัยการสารวจและปริวรรตวรรณคดีท้องถิ่นจังหวัดตราด: พลังปัญญาจาก วัฒนธรรมวรรณศิลป์ของกวีในเมืองตราด เป็นผลการวิจัยที่มี วัตถุประสงค์สาคัญคือมุ่งสารวจและ อนุรักษ์ต้นฉบับเอกสารโบราณ ตลอดจนปริวรรตข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดตราด จัดทาเป็น เอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พิมพ์เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์วรรณกรรมท้องถิ่นของจังหวัดตราดให้ เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น ผลการสารวจและปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นนี้จึงทาให้เห็นมุมมองเรื่อง เมื องตราดผ่ า นกวี ท้ องถิ่น ความเป็ น เมื องแห่ ง พระพุ ท ธศาสนาซึ่ ง ชาวเมื อ งด ารงตนอยู่ ในฐานะ พุทธศาสนิกชน ความเป็นเมืองแห่งนักปราชญ์และแหล่งสั่งสมองค์ความรู้ ความเป็นเมืองท่าและเมือง แห่งพาณิ ชย์ นาวี ความเป็น เมื องแห่ งความหลากหลายทางชาติ พัน ธุ์ และความเป็ นเมืองแห่งการ เพาะปลูกและปศุสัตว์ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองตราดในปัจจุบันเป็นผล มาจากการเรียนรู้ประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และความทุ่มเทอุตสาหะของบรรพชนชาวตราด ได้อย่างชัดเจน


๒๓๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๗ กำรศึกษำภำษำไทยในสมัยก่อน

ในโอกาสที่ ศาสตราจารย์ ดร. คุณ หญิ งสุ ริย า รัต นกุล ประธานที่ ป รึกษาของศูน ย์ ส ยาม ทรรศน์ศึกษา ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ “รำงวัลผู้มีคุณูปกำรต่อกำรใช้ภำษำไทย” เนื่องในโอกาสวัน ภาษาไทยแห่งชาติ ประจาปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาจึงได้จัดพิมพ์หนังสือซึ่งเป็น ผลงานของอาจารย์คุณหญิงเรื่อง “การสอนภาษาไทยในสมัยก่อน” ที่เคยลงพิมพ์ในวารสารภาษาและ วัฒ นธรรมเมื่ อ ๓๐ ปี ล่ วงมาแล้ ว (เดื อนกรกฎาคม – ธั น วาคม พ.ศ. ๒๕๒๕) อนึ่ ง การจั ด พิ ม พ์ บทความเรื่อง “การสอนภาษาไทยในสมัยก่อน” ของศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุริยา รัตนกุล เป็น ครั้งที่ ๒ นี้ กองบรรณาธิการได้จัดทาเชิงอรรถเพิ่มเติมเพื่ออธิบายตาแหน่งหรือข้อมูลที่อ้างถึงให้เป็น ปัจจุบัน โดยคงเชิงอรรถเดิมของศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุริยา รัตนกุล ไว้ ส่วนเชิงอรรถใหม่จะมี ข้อความข้างท้ายว่า “บรรณาธิการ” นอกจากนี้ กองบรรณาธิการยังได้จัดหาภาพประกอบเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๓๓

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๘ กำลครั้งหนึ่ง...ถึงกำลครั้งนั้น: พิพิธภัณฑ์บ้ำนวัดมะเกลือ

พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ องถิ่น บ้ า นวัด มะเกลื อ เป็ น โครงการร่ว มมือระหว่างชาวบ้ านวัด มะเกลื อกับ โครงการศิลปศาสตร์-อาสา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มานับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ การดาเนินงานดังกล่าวเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของพระครูบวรธรรมานุสิฐ เจ้าอาวาสวัดมะเกลือ ที่ มุ่งหมายจะให้ เกิด แหล่งเรียนรู้ท างวัฒ นธรรมแก่ ช าวชุม ชนวัด มะเกลือ เพื่ อส่งต่ อองค์ความรู้ของ ท้องถิ่นสู่อนุชนรุ่นหลังต่อไป อย่างไรก็ดี คณะทางานได้พิจารณาว่า เพื่อให้พิพิธภัณฑ์บ้านวัดมะเกลือ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์นั้น สมควรจะได้มีเอกสารวิชาการไว้เป็นข้อมูลอ้างอิงแก่ผู้สนใจสาหรับใช้ใน การศึกษาค้น คว้าประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒ นธรรมของชาวบ้านวัดมะเกลือ จึงร่วมกันจัดท า หนั ง สื อ “กำลครั้ ง หนึ่ ง ...ถึ ง กำลครั้ ง นั้ น : พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ บ้ ำ นวั ด มะเกลื อ ” ขึ้ น และมอบเป็ น อภินันทนาการแก่ผู้เข้าร่วมพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์เพื่อจะได้อนุสรณ์ถึงวันแห่งความชื่นชมปีตินั้น


๒๓๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๙ ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี

ประชุมเรื่องเมืองนครไชยศรี เล่มนี้เป็นการประชุมเอกสารประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับ เมืองนครปฐม เมื่อครั้งที่ยังมีนามว่า “เมืองนครไชยศรี” ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้คัดสรรเอกสารหายาก จานวน ๔ เรื่อง ได้แก่ เอกสำรกำรตรวจรำชกำรเมืองนครไชยศรี พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ต้นเหตุของนำมนครชัยศรี พระนิพนธ์ในพระวรวงศ์เธอ กรม หมื่นพิทยาลาภพฤฒิ ยากร จดหมำยเหตุเรื่องส้มโอเมืองนครไชยศรี เป็นเอกสารราชการระหว่าง รัฐบาลไทยกับรัฐบาลอเมริกันเรื่องขอพันธุ์ส้มโอเมืองนครไชยศรีไปปลูกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่ง เป็นเอกสารที่ยังไม่เคยจัดพิมพ์มาก่อน และเอกสารเรื่องสุดท้าย คือ นิราศเมืองนครไชยศรี ของกวีนิร นามจากวังหลวงที่กล่าวถึงการเดินทางจากพระนครมายังเมืองนครไชยศรี เอกสารดังได้คัดสรรมาล้วน เป็ น เอกสารที่ มี คุ ณ ค่ า ยิ่ ง ด้ า นไทยศึ ก ษา และเป็ น ข้ อ มู ล ส าคั ญ ในการพั ฒ นาชุ ม ชนด้ ว ยข้ อ มู ล ประวัติศาสตร์สู่มิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อความยั่งยืนของชุมชนต่อไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๓๕

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๐ ศิลปศำสตรมหิดล

“ศิ ล ปศำสตรมหิ ด ล” เป็ น หนั ง สื อ ที่ ศู น ย์ ส ยามทรรศน์ ศึ ก ษา คณ ะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติคุณเนื่องในวโรกาส ๑๒๐ ปี วันพระราชสมภพสมเด็จพระ มหิ ต ลาธิเบศร อดุ ลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พุ ท ธศักราช ๒๕๕๕ ตามโครงการพิ นิ จพิ ท ยา เรื่อง สมเด็จพระบรมรำชชนกกับหนังสือ ภำษำ และงำนศิลปะ ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ซึ่ง ได้รับ เกียรติจากอาจารย์ วิกัลย์ พงศ์พนิ ตานนท์ อนุกรรมการวิชาการ มู ลนิธิสมเด็ จพระพั นวัสสา อั ย ยิ ก าเจ้ า และหั ว หน้ า งานจดหมายเหตุ แ ละพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ สถานเทคโนโลยี ท างการศึ กษา คณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติมาเป็นองค์ปาฐกถาพิเศษในวันดังกล่าว ผลการจั ด โครงการจึ ง รวบรวมข้ อ มู ล จั ด พิ ม พ์ เป็ น หนั ง สื อ “ศิ ล ปศาสตรมหิ ด ล” ขึ้ น ซึ่ ง เนื้ อ หา ประกอบด้วยบันทึกปาฐกถาพิเศษในโครงการ ชุมนุมพระราชนิพนธ์ด้านศิลปศาสตร์ของสมเด็จพระ บรมราชชนก พระกรณียกิจเกี่ยวกับหนังสือ ภาษา ศิลปะ รวมทั้งคาขานพระนามและราชาศัพท์ที่ เกี่ยวกับสมเด็จพระบรมราชชนก หนังสือนี้จึงให้คุณค่าทั้งด้านประวัติพระราชวงศ์และพระเกียรติคุณ ด้านศิลปศาสตร์ของพระองค์ ผู้ทรงเป็นคุณูปการต่อการศึกษาและสาธารณสุขของไทย


๒๓๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๑ บรมรำชเทวีชลบุรีสถิต

“บรมรำชเทวีชลบุรีสถิต สมเด็จพระพันวัสสำอัยยิกำเจ้ำกับเมืองชลบุรี ” เป็นหนังสือที่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี เสด็จพระราชดาเนินทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพสมเด็จ พระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื้อหาแสดงพระ ประวัติและบทความอันเนื่องด้วยพระกรณียกิจของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ได้แก่ ปฐมกถำ สมเด็จพระพันวัสสำรำชกำรุณย์สู่ภูมิภำคตะวันออก, บรมชนกนำถ รำชสถำน รัชกำลที่ ๔ กับเมืองชลบุรี: จำกพระบรมชนกนำถสู่พระรำชธิดำ, ศำสนกำรรำชศุภกิจ สมเด็จพระพันวัสสำอัยยิกำเจ้ำกับกำรพระศำสนำในเมืองชลบุรี และพิพิธอำชีวกำรกรณีย์ สมเด็จ พระพันวัสสำอัยยิกำเจ้ำกับกำรสงเครำะห์อำชีพในเมืองชลบุรี และบูรพำสมัยวิถีบรมรำชเทวีสมัย วิถีชีวิตและวัฒ นธรรมชลบุรีในสมัยสมเด็จพระพันวัสสำอัยยิกำเจ้ำ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเกียรติ ประวัติของเมืองชลบุรีอันเกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ที่ทรงมีพระมหากรุณาต่อราษฎรในด้านการสาธารณสุข การสงเคราะห์อาชีพ และการพระศาสนา จน เป็นผลสืบเนื่องให้เมืองชลบุรีเจริญรุ่งเรืองตราบเท่าทุกวันนี้


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๓๗

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๒ สยำมปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๒: งำนสำรวจ ศึกษำ และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภำคกลำง

หนังสือ “สยำมปกรณ์ ป ริวรรต ปริท รรศน์วรรณกรรมท้องถิ่นภำคกลำง เล่ ม ๒” เป็ น รายงานผลการศึกษาตามโครงการ “สยามปกรณ์ ” เพื่ อการสารวจ ศึกษา ปริวรรต และจัดพิ ม พ์ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ระยะที่ ๒ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากระยะที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ ของ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งคณะทางานได้คัดสรรวรรณกรรมที่มี ลักษณะเฉพาะในท้องถิ่นมาจัดพิมพ์ จานวน ๘ เรื่อง แบ่งเป็นวรรณกรรมศาสนา จานวน ๕ เรื่อง ได้แก่ พลเมืองเกำะกง ขับพลท่ำพริก ขับพลมหำรำชหนองโสน ปัจจันตนคโรปมคำถำ และพระ ไตรภู มิ พ ระสั ง ฆะ วรรณกรรมนิ ท าน จ านวน ๒ เรื่อง ได้ แก่ ปลำบู่ ท อง และลั ก ษณวงศ์ และ วรรณกรรมคาสอน จานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ สุภำษิตสอนชำย – หญิง ข้อมูลทั้งหมดได้รับการปริวรรต และบรรณาธิการจากบุคลากรของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาและเป็นข้อมูลที่ยังไม่มีการเผยแพร่มาก่อน ดังนั้น ผลการศึกษาครั้งนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้ข้อมูลอันประโยชน์เกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง และมีส่วนในการเผยแพร่และอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของสังคมไทยให้คงอยู่สืบไป


๒๓๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๓ คุณสุวรรณ (๒๓๕๒ – ๒๔๑๘) จินตนำกำร ควำมคิด และชีวิตที่ไม่รู้จบของกวีหญิงปริศนำแห่งกรุงสยำม

คุณ สุ วรรณ (๒๓๕๒ – ๒๔๑๘) จินตนำกำร ควำมคิด และชี วิต ที่ ไม่รู้จบของกวีห ญิ ง ปริศนำแห่งกรุงสยำม เป็นหนังสือที่กล่าวถึงกวีหญิงคนสาคัญแห่งกรุงสยามชื่อ “คุณสุวรรณ” ด้วย ท่านเป็นคนที่แยบคายในการใช้ภาษาและมีความคิดสร้างสรรค์ที่ล้าหน้าเกินกว่ากวีท่านอื่นในยุค เดียวกัน ทาให้ผลงานของคุณสุวรรณเป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจของผู้เสพกวีในพระนคร และมี ชื่อเสียงข้ามมาในยุคสมัยหลัง ได้แก่ กลอนเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ กลอนเพลงยาวเรื่องพระ อาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ และ บทละครเรื่องอุณรุท ร้อยเรื่อง อย่างไรก็ดี ประวัติของท่านยังคงเป็นปริศนาอยู่หลายเรื่อง ดังนั้น ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิล ปศาสตร์ มหาวิท ยาลั ย มหิ ด ล จึงได้ จัด พิ ม พ์ หนั งสือเล่ มนี้ ขึ้น เพื่ อจะได้ตี แผ่แง่มุ ม ของคุณ สุวรรณผ่านการศึกษาเชิงวิพากษ์ของผู้เขียน โดยสะท้อนจากผลงานของท่านเพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าถึง ความคิดของคุณสุวรรณและของยุคสมัยเพื่อความงอกงามในวงวิชาการต่อไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๓๙

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๔ ประยูรนิทรรศน์: ร้อยเรื่องลำตัดกับชีวประวัติแม่ประยูร ยมเยี่ยม

“ประยูรนิทรรศน์ ” ร้อยเรื่องลำตัดกับชีวประวัติแม่ประยูร ยมเยี่ยม เป็นหนังสือที่ศูนย์ สยามทรรศน์ ศึกษา รวบรวมข้อมู ลจากการจัด งานเล่ าขานต านานศาลายา ครั้งที่ ๕ พุ ท ธศัก ราช ๒๕๕๔ ตอน “คิดถึงแม่ป ระยูร...ลาตัดศาลายา” ซึ่งศูนย์ฯ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลป ศาสตร์ จัดขึ้น เพื่อไว้อาลัยแด่การจากไปของ “แม่ประยูร ยมเยี่ยม” ศิลปินแห่งชาติชาวศาลายา ผู้มี ความสามารถรอบตั ว มี ค วามคิ ด ริเริ่ม สร้างสรรค์ และสื บ ทอดศิ ล ปะการแสดงพื้ น บ้ า นให้ ค งอยู่ สามารถนาการแสดงพื้นบ้านไปแสดงยังต่างประเทศจนได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งยังเป็นครู ถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก่บุคคลและสถาบันต่างๆ อย่างสม่าเสมอ รวมถึงมุ่งมั่ นที่จะสืบทอดการแสดง เพลงพื้นบ้านจนได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ลาตัด) เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๗ หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ได้ รับ เกี ย รติ จ ากคุ ณ ธงไชย แมคอิ น ไตย์ ศิ ล ปิ น ยอดนิ ย มที่ เคยร่ว มแสดง คอนเสิร์ตกับแม่ประยูร และคุณสุกุมล คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในการเขียน คานิยม เนื้อเรื่องบอกเล่าชีวประวัติของแม่ประยูรตั้งแต่เยาว์วั ยจนกระทั่งประสบความสาเร็จเป็น ศิลปินแห่งชาติ รวมทั้งบทความที่ได้จากปาฐกถาพิเศษและการเสวนาในงานเล่าขานตานานศาลายา


๒๔๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ทั้งจากครูชินกร ไกรลาส (ศิลปินแห่งชาติ) อาจารย์เอนก นาวิกมูล แม่ศรีนวล ขาอาจ แม่อุ่นเรือน ยมเยี่ยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัวผัน สุพรรณยศ และคุณต่อ ต้าน นิมา นอกจากนี้ยังรวบรวมผลงาน ของแม่ประยูรที่ใช้แสดงจัดทาเป็นจดหมายเหตุส่วนตัวของท่าน อันจะเป็นมรดกให้แก่ชนรุ่นหลังได้ ศึกษาและเรียนรู้ หนังสือเล่มนี้จึงยังประโยชน์ในเชิงวิชาการและเป็นการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมต่อไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๔๑

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๕ รำยงำนกำรวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง เกำะกูด: กำรศึกษำเชิงประวัตศิ ำสตร์และวัฒนธรรมเพื่อท่องเที่ยวอย่ำงยั่งยืน

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง “เกาะกูด: การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน”เป็นผลการวิจัยที่มุ่งศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ของเกาะกูด จังหวัดตราด และหมู่เกาะใกล้เคียง ทั้งข้อมูลลายลักษณ์จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ ข้อมูลมุขปาฐะจากการสัมภาษณ์นัก วิชาการและปราชญ์ท้องถิ่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยด้านคติชน วิทยา ผลการศึกษาทาให้เห็นถึงความสาคัญและคุณค่าของเกาะกูดและเกาะบริวารด้านประวัติศาสตร์ และวั ฒ นธรรม เพราะประวั ติ ศ าสตร์ เกาะกู ด แม้ จ ะเป็ น ประวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น แต่ เกี่ ย วพั น กั บ ประวัติศาสตร์รัฐชาติอย่างแยกกันไม่ออก ไม่แต่เท่านั้น เกาะเล็ก ๆ และบริวารเหล่านี้ยังมีเรื่องราวที่ งดงามและมรดกทางวั ฒ นธรรมอั น ทรงคุ ณ ค่ า ด้ ว ยเป็ น สถานที่ พ ระเจ้ า แผ่ น ดิ น ไทยและ พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จประพาสแม้จะอยู่ห่างไกลเพียงใดก็ตาม เพื่อให้มิตรประเทศตระหนักถึง ความสาคัญ ของเขตแดนสยาม ดังนั้น ผลการวิจัยนี้จึงเป็น ประจักษ์ พยานที่แสดงถึงรากเหง้าและ พัฒนาการของชาติในอีกแง่มุมหนึ่งซึ่งส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบัน


๒๔๒  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๖ น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้ง (ไม่) โหรงเหรง ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และวัฒนธรรม ว่าด้วยอุทกภัยในบางกอก – ศาลายา

“น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้ง (ไม่) โหรงเหรง” ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และวัฒนธรรม ว่าด้วย อุทกภัยในบางกอก – ศาลายา เป็นหนังสือที่ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาจัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสจัดงาน “เล่าขานตานานศาลายา ครั้งที่ ๗” เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เนื้อหาของหนังสือเป็นการถอด บทเรียนจากการเสวนาเรื่อง “ถ้าอยู่เป็นก็เย็นใจ: บทเรียนจากน้าท่วมใหญ่ ๒๔๘๕ – ๒๕๕๔” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท ภักดีกุล รองศาสตราจารย์ประภาส ปิ่นตบแต่ง นายแพทย์วัฒ นา เที ย มปฐม อาจารย์ ดร.อภิ ลั กษณ์ เกษมผลกูล และอาจารย์ ช นกพร พั ว พั ฒ นกุล ซึ่ งได้ บ อกเล่ า ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับน้าท่วมในกรุงเทพมหานครและตาบลศาลายา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๕๕๔ และ องค์ความรู้ด้านการจัดการน้าของภูมิปัญญาชาวบ้านจากปาฐกถาพิเศษของศาสตราจารย์ พิเศษศรีศักร วัลลิโภดม นอกจากนี้ ยังรวบรวมประวัติศาสตร์ อุทกภัยที่สะท้อนจากวรรณกรรมทั้ง นิราศมหาวารีปี มะเส็ง นิ ราศน้าท่ วมกรุงเทพฯ แหล่เทศน์ น้ าท่ วม และแม้กระทั่ ง การสื่อสารผ่ าน อินเทอร์เน็ตของ “อวสานน้องน้า” เรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็น องค์ความรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้ใน การป้องกันไม่ให้เกิดอุทกภัยและใช้ในการปรับตัวเมื่อต้องอาศัย ร่วมกับน้า และเป็นแนวทางบริหาร จัดการน้าเพื่อแก้ปัญหาให้แก่สังคมเมื่อประสบอุทกภัยหากเกิดขึ้นในอนาคต


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๔๓

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๗ ที่ระลึกเนื่องในโอกำสมหำวิทยำลัยมหิดลได้รบั พระรำชทำนผ้ำพระกฐิน ถวำย ณ วัดเสนหำ พระอำรำมหลวง วันศุกร์ที่ ๘ พฤศจิกำยน พ.ศ. ๒๕๕๖

หนังสือ “ที่ระลึกเนื่องในโอกำสมหำวิทยำลัยมหิดลได้รับพระรำชทำนผ้ำพระกฐิน” ถวาย ณ วัดเสนหา พระอารามหลวง วันศุกร์ที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ ศูน ย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล จั ด พิ ม พ์ ขึ้ น เป็ น หนั ง สื อ ที่ ร ะลึ ก เนื่ อ งในโอกาสส าคั ญ ที่ มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นผู้เชิญ ผ้ า พระกฐิ น พระราชทานไปถวาย ณ วั ด เสนหา ในวั น เวลา ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ตามประเพณี ที่ มหาวิทยาลัยปฏิบัติสืบต่อมา วัดเสนหาเป็นพระอารามหลวงที่มีคุณค่าทั้งในฐานะเป็นศูนย์รวมศรัทธา และปัญญาแห่งพุทธบริษัท และเป็นศาสนสถานซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามประสงค์ของนายเพิ่มเสนหา บุนนาค บุตรพระยาศรีสรราชภักดี (วัน เปรียญ บุนนาค) ซึ่งทรงยกย่องให้เป็น ศาสนสถานคู่กับพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เนื้ อ หาในหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ป ระกอบด้ ว ยประวั ติ ก ารถวายผ้ า พระกฐิ น พระราชทานของ มหาวิทยาลัยมหิดลตั้งแต่ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๐ จนถึงครั้งที่ ๓๗ พ.ศ. ๒๕๕๖ ทั้งยังได้รวบรวมประวัติ วัดเสนหาและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสายสกุลบุนนาคของนายเพิ่มเสนหา บุนนาค ผู้ก่อสร้างวัดเสนหา พระอารามหลวง การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนการบูรณปฏิสังขรณ์วัดในสายสกุล นอกจากนี้ยังได้นาเสนอ


๒๔๔  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

ระยะทางตรวจการณ์คณะสงฆ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อครั้งเสด็จ ยังจังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งเสด็จเริ่มต้นจากจังหวัดนครปฐมทาให้เห็นสภาพแวดล้อม เหตุการณ์ของคณะ สงฆ์ในยุคสมัยที่ใกล้เคียงการสร้างวัดเสนหา พระอารามหลวง ได้เป็นอย่างดี


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๔๕

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๘ ๑๑๐ ปีสถำนีรถไฟศำลำยำ ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และวัฒนธรรม ว่าด้วยวิวฒ ั นาการการเดินทางและการขนส่งจากบางกอก – ศาลายา

หนังสือ ๑๑๐ ปีสถำนีรถไฟศำลำยำ ประวัติศำสตร์ วรรณกรรม และวัฒนธรรม ว่ำด้วย วิวัฒนำกำรกำรเดินทำงและกำรขนส่งจำกบำงกอก – ศำลำยำ นี้ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิ มพ์ เพื่อเป็ นหนั งสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสจัดงาน “เล่าขาน ตานานศาลายา” ครั้งที่ ๘ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหามาจากการบรรยาย และเสวนาในงาน “เล่าขานตานานศาลายา” ครั้งที่ ๗ ตอน “๑๑๐ ปี สถานีรถไฟศาลายา” รวมถึงได้ รวบรวมเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการจัดตั้งสถานีรถไฟ และ “นิราศนราธิป” พระนิพนธ์ในพระ เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงเล่าถึงการเดินทางด้วยรถไฟไปปักษ์ ใต้ซึ่งมีความ ตอนหนึ่งที่ทรงกล่าวถึงพื้นที่ในอาเภอพุทธมณฑลในสมัยนั้น


๒๔๖  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๑๙ สยำมปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓

หนังสือ “สยำมปกรณ์ ปริวรรต” เล่ม ๓ เป็นรายงานผลการศึกษาตามโครงการ “สยาม ปกรณ์” เพื่อการศึกษา สารวจ ปริวรรต และจัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ระยะที่ ๓ ของ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะทางานได้คัดสรรวรรณกรรมซึ่งมี ลักษณะเฉพาะในท้องถิ่นมาจัดพิมพ์ จานวน ๑๐ เรื่อง แบ่งเป็น วรรณกรรมศำสนำ จานวน ๓ เรื่อง ได้แก่ พระมหาเวสสันดรชาดก ฉบับวัดกลางวรวิหาร อาเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ พระศรีอาริย์ เมื องลพบุ รี ฉบั บ หอสมุด แห่ งชาติ และพระสุ ท ธกรรม วรรณกรรมนิท ำน จ านวน ๔ เรื่อง ได้แก่ กลอนสวดเรื่อง นกยูงทอง เล่ม ๑ กลอนสวดเรื่องนางอ้น เล่ม ๒ – ๓ ฉบับหอสมุดแห่งชาติและฉบับ วัดวรุณดิตถาราม ตาบลท่ากุ่ม อาเภอเมือง จังหวัดตราด กลอนสวดเรื่องแตงอ่ อน ฉบับวัดบุปผาราม จังหวั ด ตราด และบทละครร้องเรื่อง ศรกกกระหนากเมื องลพบุ รี วรรณกรรมพรรณนำอำรมณ์ จานวน ๑ เรื่อง ได้แก่ เพลงยาว “คามหาภู่” วรรณกรรมตำรำ จานวน ๒ เรื่อง ได้แก่ ตาราเดินหน (โคลงพระยาสุนทรพิทักษ์) ฉบับวัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี และ ตาราดูดาวดู ฤกษ์ ฉบับวัด บุปผาราม จังหวัดตราด


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๔๗

ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ “สยามปกรณ์ ปริวรรต” เล่ม ๓ นี้ จะ อานวยประโยชน์ในการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นและสร้างแรงบันดาลใจให้คนในท้องถิ่นรักและหวง แหนวรรณกรรมของตน ขวนขวายในการศึกษาและอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่ นอันเป็นมรดกของชาติ ให้คงอยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป


๒๔๘  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ

เอกสำรวิชำกำรลำดับที่ ๒๐ ท้องถิ่นนิทรรศน์ รวมร่างหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นคัดสรรจากโครงการ “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน”

“ท้องถิ่นนิทรรศน์” เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “หลักสูตรท้องถิ่น: การบูรณาการความรู้สู่ชุมชน” จัดโดยศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ร่วมกับกลุ่มภารกิจวิจัยชุมชน มหาวิทยาลัยมหิดล เนื้อหาเป็นการรวบรวมการบรรยายที่เกี่ยวกับ แนวทางในการจัดทาหลักสูตรท้องถิ่น ประกอบด้วย หลักการ แนวคิด วิธีการ ในการจัดทาหลักสูตร ท้ องถิ่น โดย ผู้ ช่ วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ชัย สุ ขสอาด ความส าคัญ ของการจั ด ท าหลักสู ต ร ท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม โดย นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม หลักการ แนวคิด วิธีการ และเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทาหลักสูตรท้องถิ่น โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล และ แนวทางการน าหลั ก สู ต รท้ อ งถิ่ น ไปใช้ ในการเรี ย นการสอน โดย อาจารย์ จ ริ ย า ศรี เพชร นอกจากนี้ยังรวบรวมตัวอย่างโครงร่างหลักสูตรสถานศึกษาและตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้จาก ผู้เข้าร่วมการอบรมเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทาหลักสูตรให้แก่ผู้สนใจต่อไป


ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ๒๔๙

ผู้สนใจเอกสารวิชาการของศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยมหิดล ร้านหนังสือ Hamony มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และร้านริมขอบฟ้า หรือติดต่อโดยตรงได้ที่ ร้านศิลปาธิป อาคารสิริวิทยา ที่ทาการคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ ๐ ๒๔๔๑ ๔๔๐๑ – ๘ ต่อ ๑๑๐๗


๒๕๐  ท้องถิ่นนิทรรศน์: รวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิน่ คัดสรรฯ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.