Journal 1-2553

Page 1

สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย www.ThaiOrnamentalPlant.org

วารสาร ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน พ.ศ. 2553

ไม้ประดับ Journal of the Society for Ornamental Plants of Thailand

ให้มากกว่าคำว่า...สวน หน้า 10

คุณรู้จัก

หม้อข้าวหม้อแกงลิงดีแค่ไหน หน้า 16

นกนางแอ่น หน้า 18

มารจู้ กั ฎุ ก ง ี ม ้ ม ม ไ ก ดอ 14 หน้า

ราคา 30 บาท samakom-ok.indd 1

3/24/10 1:40:56 PM


ทักทาย:

Open garden… หากจะกล่าวว่า “สวัสดีปีใหม่” คงไม่สายเกินไปนะคะ วันหยุดพักผ่อนในช่วงปลายปี ที่ผ่านมา บางท่านมีโอกาสไปเที่ยวที่ต่างๆ กันตั้งแต่ก่อนวันปีใหม่ เพราะช่วงปลายปีนับเป็น ช่วงแห่งการจัดงาน โดยเฉพาะงานไม้ประดับตามสถานที่หลายแห่ง ซึ่งรวมอยู่ในวารสาร ฉบับนี้ไว้ใน “แวดวงไม้ประดับ” บางท่านก็ไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด ไปสัมผัสอากาศหนาวเย็น ตามอุทยานแห่งชาติทางภาคเหนือ ภาคอีสานกัน ได้รับอากาศบริสุทธิ์ ชมดอกไม้เมืองหนาว กันบ้าง กลับมาจะได้เริ่มงานในปีใหม่กันอย่างมีความสุขกันถ้วนหน้า บางท่านก็อยู่กับบ้านทำงานอดิเรก เก็บกวาดบ้าน ทำความสะอาดบ้านช่องกัน หากมี เวลาว่างลองหันมามองดูว่า ปีใหม่นี้เราเริ่มทำอะไรดีๆ ให้กับคนรอบข้างหรือยัง อาจเริ่มจาก ตื่นแต่เช้าใส่บาตรร่วมกับครอบครัว รับประทานอาหารเช้าร่วมกันก่อนไปทำงาน จอดรถให้ คนข้ามถนนตรงทางม้าลาย ให้เงินขอทาน ให้อาหารสุนัขจรจัด หรืออีกมากมายที่เรา สามารถทำได้ไม่ยาก ลองหันมาดูว่าคนรอบข้างของเราเขามีความสุขหรือยัง หากเรา สามารถ เติมเต็มให้เขาได้รับความสุขได้ไหม หากทำได้ รับรองว่าความสุขก็จะมาสู่ตัวท่าน ทันที โดยไม่ต้องไปหาที่ไหนเลยค่ะ

สำหรับดิฉันช่วงปีใหม่ทุกปีจะอยู่บ้านกับครอบครัว สะสางงานบ้าน แต่ปีนี้เป็นช่วงที่เป็นทุกข์มาก เพราะเจ้าเหมียว “เสือน้อย” ป่วยหนักมาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมต่อเนื่องมาจนถึงปีใหม่ และด้วยสภาพของเขาที่ดูแล้วโอกาสจะรอดชีวิตมีน้อยมาก อีกทั้งเขาต้อง สูญเสียขาหลังไปหนึ่งข้าง ยิ่งทำให้เราต้องดูแลอย่างเต็มที่ เพื่อให้เขากลับมาแข็งแรง มีความสุขเหมือนเดิม...และแล้ววันนี้เสือน้อยก็ กลับมาแข็งแรง กินจุ เดินเหินได้อย่างคล่องแคล่วแม้มีเพียงสามขาก็ตาม ไม่ดื้อ(มาก)แม้ต้องกินยาวันละหลายเม็ด ทุกครั้งที่เห็นเสือน้อยร้องเรียกเสียงดังและคลอเคลียอยู่ข้างๆ ความสุขก็บังเกิดขึ้นอย่างมากมาย นับเป็นความสุขที่เกิดจาก “การให้” อย่างแท้จริง วิฬาร์น้อย u_chira@yahoo.com ป.ล. ฉบับนี้ในหน้า 18 มีคอลัมน์ใหม่ “สัตว์ในสวน : Animal in Garden” มาแนะนำค่ะ

สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ยินดีต้อนรับสมาชิกผู้รักและชื่นชอบการปลูกต้นไม้ทุกท่าน เพื่อร่วมกันพัฒนาและสร้างสีสันให้วงการไม้ประดับเมืองไทย สนใจสมัครสมาชิก คลิกที่ www.ThaiOrnamentalPlant.org หรือติดต่อคุณเทียนชัย เทียนทองถาวร โทรศัพท์ 08-6512-6999 สนับสนุนโดย

TONG EK Ltd., Part. samakom-ok.indd 2

3/24/10 1:40:59 PM


คณะกรรมการสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ บริพัตร ที่ปรึกษา ศ. ดร.ระพี สาคริก ดร.อนันต์ ดาโลดม ศ. ดร.ธีระ สูตะบุตร ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ผศ.ดร. ม.ล.อโณทัย ชุมสาย นางเมตตา อุทกะพันธุ์ นายเกษม จันทรประสงค์ นายโอฬาร พิทักษ์ นายกสมาคมฯ นายอุดม ฐิตวัฒนะสกุล อุปนายก นายสุรัตน์ วัณโณ รศ. ดร.อรดี สหวัชรินทร์ เลขาธิการ นายอภินันท์ บุณยรัตพันธุ์ เหรัญญิก นางอรวรรณ วิชัยลักษณ์ นายทะเบียนพันธุ์ไม้ ผศ. ดร.จิรายุพิน จันทรประสงค์ นายทะเบียนสมาชิก ดร.เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์ บรรณาธิการที่ปรึกษา นายประพันธ์ ประภาสะวัต บรรณาธิการ นางสาวอุไร จิรมงคลการ /เว็บเอดิเตอร์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ นายทศพร บุญศุขะ นายอรรถ ประพันธ์วัฒนะ นางสาววรัปศร อัคนียุทธ กิจกรรม ผศ.สุนทร เล้าเรืองศิลป์ชัย ปฏิคม นายสมพงษ์ ทวีสุข ประชาสัมพันธ์ นายถวิล สุวรรณมณี ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ นายชนะชัย ประไพภูมิ กรรมการกลาง นางสาวมัลลิกา สุคนธรักษ์ นางเนาวรัตน์ ลี้อิสสระนุกูล นางยุพดี เลื่อนฉวี นางสาวประพีร์ วัณโณ นางสลิดา พิเรนทร น.อ.(พิเศษ) ช่อ วาตะ นายสาโรช โสภณางกูร รศ.เอื้อมพร วีสมหมาย รศ.ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ รศ. ดร.พัฒนา สุขประเสริฐ นายวรวิทย์ อังสุหัตถ์ นางทัศนีย์ วัณโณ นายเปรม ณ สงขลา นายต้นวงศ์ คุณะเกษม ดร.ทยา เจนจิตติกุล ดร.ศศิวิมล แสวงผล นางจงวัฒนา พุ่มหิรัญ นายปราโมทย์ โรจน์เรืองแสง ดร.เศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ นายสุเมธ วิริยกิจ นางกมลทิพย์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ผศ. ดร.พัชรียา บุณกอแก้ว ผศ.กนกวรรณ ถนอมจิตร นายวรพันธ์ บำรุงไทยไชยชาญ นางสาวภัทรา แสงดานุช นายวีระ โดแวนเว เจ้าหน้าที่การเงิน นายสุวัฒน์ จินดา เจ้าหน้าที่ธุรการ นายเทียนชัย เทียนทองถาวร ซับเอดิเตอร์ นางสาวพิมพา จิตตประสาทศีล ศิลปกรรม นายพรพัฒน์ วงศ์ตั้นหิ้น

สารบัญ:

Contents

กิจกรรม: Activities แวดวงไม้ประดับ: Plant’s Social เปิดหูเปิดตา: Go Tra vel ในสวน: In the Garden เล่าเรื่องต้นไม้: Plant Gossips ไขปัญหา: Q & A Garden เคล็ดไม่ลับในสวน: Garden’s Tips สัตว์ในสวน: Animal in Garden

4 6 8 10 14 16 17 18

อุดมการ์เด้นกรุ๊ป

ใส่ ใจ ห่วงใยปัญหาภาวะโลกร้อน

พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เจ้าของลิขสิทธิ์ สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ที่อยู่ บ้านก้ามปู เลขที่ 5/6 ซอยสมาคมแพทย์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240 หรือ ตู้ ปณ.1081 ไปรษณีย์เกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10903 โทรศัพท์ 08-6512-6999 ข้อความและรูปภาพทั้งหมดในวารสารเล่มนี้ เจ้าของลิขสิทธิ์สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ การคัดลอกส่วนใดๆในวารสารเล่มนี้ไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ลิขสิทธิ์ก่อน ยกเว้นการอ้างอิงเพื่อการศึกษาและวิจารณ์

www.UdomGarden.com

samakom-ok.indd 3

3/24/10 1:41:08 PM


กิจกรรม: Activities

งานสมาคมไม้ประดับ แห่งประเทศไทยครั้งที่ 34 อีกครั้งกับงานประจำปีของสมาคมฯ ซึ่งจัดขึ้น บริเวณหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประจำทุกปี สำหรับในปีนี้พื้นที่ในงานเต็มไปด้วย ไม้ประดับนานาชนิด และยังมีกิจกรรมดีๆ เช่นเดิม มาชมภาพกันเลยดีกว่าค่ะ

2

3

6 4

7

5

8

เรื่องและภาพ: อุไร จิรมงคลการ

1

1. มุมสวนบริเวณเปิดงาน ฝีมืออาจารย์สาโรช โสภณางกูร 2. ประธานเปิดงาน รศ. ดร.พนิต เข็มทอง รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3. คุณนล อาสนะนันทน์ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านสับปะรดสี ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร 4. ผู้เข้าฟังต่างสนใจกิจกรรมดีๆ ของเรา และได้ของติดมือกลับบ้านไปกันมากมาย 5. คณะกรรมการกำลังคัดเลือกผลงาน กันอย่างขะมักเขม้น 6. หนังสือในเครืออมรินทร์ที่เตรียมไว้ เป็นของรางวัลให้เด็กๆ 7. ผลงานส่วนหนึ่งที่คัดเลือกมาจาก ผลงานทั้งหมดที่มีมากกว่า 100 ชิ้น 8. บริษัท โซตัส ร่วมสนับสนุนกิจกรรมดีๆ จากชมรมคนรักต้นไม้ นิตยสารบ้านและสวน 9. รางวัลยอดเยี่ยม “หม้อข้าวหม้อแกงลิง” ที่วาดได้เหมือนจริง ผลงานของ ด.ญ.สิรีวีร์ ลาวัลย์วิสุทธิ์ ป.6 โรงเรียนราชวินิต กรุงเทพฯ

9

samakom-ok.indd 4

3/24/10 1:41:29 PM


ร่วมหารือเรื่องไม้ประดับกับผู้ว่าฯ เมืองกิฟุ

ภาพ: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 1 ธันวาคม 2552

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คุณอุดม ฐิตวัฒนะสกุล และคณะกรรมกลาง หน่วยงานภาครัฐ คุณฮาจิเมะ ฟุรุตะ ผู้ว่าราชการเมืองกิฟุ และคุณทาคาโยชิ คาโต้ นายกสมาคมไม้กระถาง เมืองกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมหารือเรื่องการผลิต ไม้ประดับ ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมนี้ได้เชิญสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย เยี่ยมชมเมืองกิฟุ เพื่อชมฟาร์มเกษตรกรในอนาคตด้วย

คณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมถ่ายภาพกับคณะผู้ว่าราชการ เมืองกิฟุ (คนกลาง) เป็นที่ระลึก

งานนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน - 10 ธันวาคม 2552 เพื่อเฉลิมพระเกียรติองค์พ่อหลวงของปวงชนชาวไทย นอกจากได้เดิน ชมพรรณไม้และสวนสวยๆ สัมผัสลมหนาวกันแล้ว ภายในงานยังมี การแสดงอีกหลากหลาย ทั้งดนตรี นาฎศิลป์ และการแสดงผลิตผล ด้านการเกษตรอีกด้วย ได้กลับมาเยือนงานนี้อีกครั้ง ความทรงจำ เมื่องานพืชสวนโลกปี 2549 ยังคงอบอวลอยู่ไม่รู้คลายจริงๆ ขอบอกได้คำเดียวว่า ผู้ดูแลสวนแห่งนี้ดูแลดีมากๆ ครับ

2

3

1

เรื่อง: อรรถ ภาพ: ปิยะวุฒิ ศรีสกุล ภาพ 3: ทศพร บุญศุขะ

ราชพฤกษ์ รวมใจภักดิ์ รักพ่อหลวง

1. ซุ้มประตูทางเข้างาน ยังคงมีสีสันของพรรณไม้หลากชนิด ที่ผู้ดูแลหมั่นหมุนเวียนสับเปลี่ยนเพื่อความสวยงามอยู่เสมอ 2. หอคำหลวงยังคงเป็นพระเอกของสถานที่นี้อีกเช่นเคย 3. สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทยก็มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ด้วย

samakom-ok.indd 5

3/24/10 1:41:40 PM


แวดวงไม้ประดับ: Plant’s Social

เรื่องและภาพ: อุไร จิรมงคลการ ภาพ 1,2,4,5: อภิรักษ์ สุขสัย

10 ปีบ้านและสวนแฟร์ 2009

อีกครั้งกับงานบ้านและสวนแฟร์ 2009 ครั้งที่ 10 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Concious Design” ออกแบบอย่างมีจิตสำนึก นอกจากจะได้เลือกซื้อสินค้านานาชนิดกันแล้ว ใน งานยังมีไอเดียในการแต่งบ้านแต่งสวนมาฝากกัน แถมผลงานประกวดสวน และการ ประกวดพรรณไม้ให้ชมกันอีกด้วย ลองชมภาพกันเลยค่ะ 1. Garden Idea อีกมุมหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก 2. สวนนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวด “สวนแนวตั้ง” 3. Tillandsia xerographica สับปะรดสีที่ได้รางวัลยอดเยี่ยมไปครอง 4. ส่วนกล้วยไม้ก็ไม่น้อยหน้า เป็นแวนด้าลูกผสม สีม่วงเข้ม ของคุณประพัฒน์ จิตต์สว่าง 5. แคคตัสและไม้อวบน้ำรางวัลยอดเยี่ยม Dorstenia

2

1

3

4

5

ร้อยพรรณพฤกษา ครั้งที่ 1

1

3

4

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะกรรมการ ของสมาคมฯ 3 ท่าน คือ อาจารย์เกษม - ผศ.จิรายุพิน จันทรประสงค์ และดิฉัน พร้อมกับเซียนต้นไม้อีกท่านคือ คุณชนินทร์ โถรัตน์ ได้รว่ มเป็นกรรมการตัดสินสับปะรดสี

และเฟินในงาน “ร้อยพรรณพฤกษา ครั้งที่ 1 ” ที่ตลาด ใหม่อ่างศิลา จังหวัดชลบุรี บรรยากาศรอบๆ งานเต็มไป ด้วยพรรณไม้นานาชนิดที่นำมาตกแต่งกัน รวมทั้งเฟิน สับปะรดสี กล้วยไม้ที่นำมาประกวด นอกจากนี้ยังมี กล้วยอีกกว่า 100 สายพันธุ์ ไผ่ในเมืองไทยกว่า 20 ชนิด และที่ทำให้ชาวเมืองชลได้ตื่นเต้นกันก็คือ ทิวลิป หลากสีจากเนเธอร์แลนด์ภายในโรงเรือนปรับอากาศ ที่เย็นสบาย ช่วยคลายร้อนได้ดีทีเดียว

2

5

1. สวนหลากสีด้านหน้ามีตุ๊กตาหินที่บอกว่า งานนี้มีกล้วยให้ชมแน่ๆ 2. Neoregelia ‘Hannibal Lector’ (ใบด่าง) ได้รางวัลยอดเยี่ยม 3. ไผ่หางช้าง (เมืองน่าน) เส้นผ่านศูนย์กลางถึง 20 ซม. แต่ละข้อยาวกว่า 30 ซม. หน่อใหญ่และกินได้ 4. กล้วยน้ำว้าดำ จากสวนสมบัติพันธุ์ไม้ นนทบุรี เจ้าของบอกว่าเวลาสุกกลิ่นเหมือนกล้วยเน่า แต่รสหวานอร่อย เหมือนกล้วยตากไม่มีผิด 5. หม้อข้าวหม้อแกงลิงก็มาประกวดกัน ต้นนี้ได้รางวัลยอดเยี่ยมไปครอง 6. ไม่ต้องไปไกลถึงเนเธอร์แลนด์ ก็ได้ชมทิวลิปได้

samakom-ok.indd 6

6

์น้อย

: วิฬาร

ะภาพ เรื่องแล

3/24/10 1:41:58 PM


เรื่อง: อรรถ ภาพ: ปิยะวุฒิ ศรีสกุล

มหัศจรรย์แห่งพรรณไม้ประจำปี 2552

1

2

3

4

1. ใครจะนึกว่าลานจอดรถจะถูกเนรมิตเป็นบึงบัวขนาดใหญ่สวยงามได้ขนาดนี้ 2. บัว “ศรีกิตติยา” 3. ผลงาน “แต้มสีสวยบนปีกไม้” มีการใช้ทั้งจักรยาน ปีกไม้ เรือเก่า มาเป็นองค์ประกอบสวน โดยคุณสุขสันต์ เจียมโฆษิต 4.“มิติของความสดใส” ของคุณธาตรี วัฒนยืนยง นำกำแพงดอกไม้สีสดหลายชิ้นมาวาง ต่อเนื่องในระนาบที่แตกต่างกัน

ถือเป็นงานประจำปีของเซ็นทรัล ชิดลมก็ว่าได้ ปีนผี้ จู้ ดั แปลงโฉมลานมรกตนีใ้ ห้เป็นบึงบัวขนาดใหญ่

สมกับคอนเซ็ปต์ของงานว่า “ดอกบัว เฉลิมพระเกียรติ 77 พรรษามหาราชินี” จัดขึ้น เมื่อ 29 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการสร้างศาลาพักผ่อนที่รายล้อมด้วยบึงบัว นานาชนิด หลากสีสัน ภายในงานมีผลงานของ นักจัดดอกไม้ชื่อดังโชว์ฝีมือไว้อย่างเลิศอลังการ เหมือนเช่นทุกปี เรียกได้ว่าสวยทั้งข้างนอกข้างใน เลยครับ

เรื่อง: สายทิพย์ หลากสุขถม ภาพ: จักรพงษ์ นุตาลัย

มหัศจรรย์พรรณไม้เพื่ออนาคตที่สดใส

งานดอกไม้ประจำปีครั้งที่ 23 ณ โรงแรมสวิสโฮเตล ปาร์ค นายเลิศ เมื่อวันที่ 26 - 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นับเป็นช่วงที่ แสนอิม่ เอมของคนรักดอกไม้ ภายในงานมีการจัดซุม้ ดอกไม้อย่าง 1 อลังการ ทั้งผลงานหมวกดอกไม้ประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์โดยเหล่า เซเลบริตี้ 35 ท่าน เช่น ม.ร.ว.ศรีคำรุ้ง ยุคล คุณเก๋ - ชลลดา เมฆราตรี และคุณแทม - ทิพธิดา สุขุม ฯลฯ ส่วนการประกวด สวนหย่อมคอนเซ็ปต์ “สวนในอนาคตลดมลภาวะ” ผู้เข้าร่วม ประกวดจัดสวนออกมาได้อย่างโดดเด่น ซึ่งรายได้จากการจัดงาน 2 3 ครั้งนี้มอบให้โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม จังหวัดตากอีกด้วย 1. สวนหย่อมชนะเลิศ ออกแบบโดย Tropical Garden ใครพลาดงานนี้ถือว่าอดชมความงามของเหล่าดอกไม้ 2. สวนนี้ได้รางวัลชมเชย มีการใช้แผ่นสังกะสีทำเป็นที่แขวนอุปกรณ์ทำสวน อย่างน่าเสียดายจริงๆ ค่ะ 5. หมวกดอกไม้ประดิษฐ์สีแดงเพลิง ของคุณเก๋-ชลลดา เมฆราตรี

The Garden ครั้งที่ 7

ในชื่อ “มหัศจรรย์ ‘ปรง’ และ ‘ปาล์ม’ ” จัดขึ้น ณ ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ระหว่างวันที่ 20 - 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ถ้าพูดถึง ปาล์มคงนึกถึงใครไม่ออกนอกจาก สวนนงนุชพัทยา ผู้จัดสวนในงานนี้นั่นเอง โดยภายในงานมีการนำปรงและปาล์มมาจัดแสดงไว้มากมาย นอกจากไฮไลท์หลักๆ แล้ว ผู้เข้าชมงานยังได้ร่วมสนุกกับเทคนิคการจัดสวนแบบง่ายอีกด้วย บรรยากาศเป็นอย่างไร ผมนำภาพมาฝาก ครับ

samakom-ok.indd 7

1

2

3

เรื่องและภาพ: อรรถ

1. สวนหย่อมขนาดเล็กด้านหน้า เน้นการใช้สีสันของ พรรณไม้เมืองร้อนนานาชนิด และการประดับด้วยกล้วยไม้ 2. “ชมพูนครินทร์” กล้วยไม้ชื่อหวานได้รับประทานนาม จากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 3. สวนเมืองร้อนทีเ่ นรมิตขึน้ กลางห้าง มีการใช้ตน้ ปาล์ม เป็นหลักโดยมีตน้ “วาเลนไทน์ปาล์ม” หรือคาร์พอ๊ กซิลอน สังเกตง่ายๆ คือ มีทางใบยาวโค้งงอจนบิดมาประกบกัน เป็นรูปหัวใจได้ จนเป็นที่มาของชื่อ 4. ปาล์มใบสวยชื่อ “กะพ้อใบลายเสือ”

4

3/24/10 1:42:21 PM


เปิดหูเปิดตา: Go Tra vel

2

1

4 5

เบญจมาศ อีกมุม

3

เรื่องและภาพ: อรรถ

“เบญจมาศ” ดอกไม้ใกล้ตัวที่ใครๆ ก็น่าจะรู้จัก สำหรับผมแล้ว จะรู้จัก เบญจมาศในฐานะไม้ตัดดอกที่สวยงามใช้ปักแจกัน หรือถ้าจะให้รู้จักมากไปกว่า นั้นสักนิดก็คือ น้ำสมุนไพรที่เรียกกันว่า “น้ำเก๊กฮวย” ซึ่งเป็นเบญจมาศชนิดหนึ่ง ด้วย เมื่อปลายปีที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปเที่ยวชมสวนที่ประเทศญี่ปุ่น กับทาง สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย ที่ชวนร่วมทริปไปในครั้งนี้ ซึ่งผลพวงของการ เดินทางก็คือ ผมได้รู้จักเบญจมาศอีกรูปแบบหนึ่ง ในฐานะไม้ดัด ที่สวยแปลกตา น่าดู ผมไม่รอช้า รีบกดชัตเตอร์เก็บภาพมาฝากสมาชิกเลยครับ 6

1. - 2. ด้านหน้าปราสาทโอซาก้า ใช้ต้นเบญจมาศดัดให้เป็นทรงพัดขนาดใหญ่ เรียกได้ว่า ตื่นตาตื่นใจ รีบกดชัตเตอร์อย่างไวมาฝากกันเลยครับ 3. - 4. อีกหนึ่งมุมด้านหน้าปราสาทเช่นเดียวกัน สีเหลืองได้ใจขนาดใหญ่อย่างนี้ เบื้องหลังมีมาฝากกันด้วย 5. - 6. บอนไซขนาดเล็ก ที่ล้วนดัดจากต้นเบญจมาศทั้งสิ้น สวยอย่างบอกใครเชียว

samakom-ok.indd 8

3/24/10 1:42:43 PM


ร้านนกฮูก

สำหรับท่านที่ชอบตกแต่งสวนใน สไตล์บาหลี ตอนนี้ทางร้านมีคอลเล็คชั่น ใหม่ให้ท่านเลือกมากมาย ทั้งตุ๊กตาหินทราย โคมไฟ น้ำล้น และประติมากรรมรูปแบบต่างๆ สาขา 1 ถนนกาญจนาภิเษก เยื้องปั๊มปตท. สาขา 2 ศูนย์ไม้ดอกไม้ประดับ ซอยช้าง นนทบุรี โทรศัพท์ 0-2525-0107, 08-1890-9324, 08-6101-2995 โทรสาร 0-2968-1808

samakom-ok.indd 9

3/24/10 1:43:01 PM


ในสวน: In the Garden 1

ให้มากกว่าคำว่า...สวน เจ้าของ - จัดสวน คุณสหรัฐ กลมเกลียว, คุณสุเมธ ขุนสวัสดิ์ เรื่อง: “อรรถ” ภาพ: ปิยะวุฒิ ศรีสกุล

2

สวนจะสวยได้นอกจากต้องมีการวางผังทีด่ ี การคำนึงถึงพรรณไม้ทน่ี ำมาใช้ให้เหมาะสมแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ทำอย่างไรให้สวนสมบูรณ์อยู่คู่กับบ้านไปนานๆ นั่นคือการบำรุง ดูแลรักษา เพราะไม่ว่าสวนจะสวยเพียงใด หากเราละเลย สวนก็คงสวยอยู่ได้ไม่นาน แต่สำหรับ คุณสหรัฐ กลมเกลียว และ คุณสุเมธ ขุนสวัสดิ์ ก่อนปลูกต้นไม้แต่ละต้น ทั้งสองท่านคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เป็นสำคัญ จนเป็นสวนสวยอย่างที่เห็น “สวนที่บ้านของผมจะเน้นรูปแบบที่เรียบง่าย ดูแลรักษาได้ด้วยตัวเอง เพราะคิดว่าต้นไม้ เป็นสิง่ มีชวี ติ ทีเ่ ติบโตได้ เราต้องคอยตัดแต่งดูแลอยูอ่ ย่างสม่ำเสมอ ไม่อย่างนัน้ ก็จะรก ยิง่ ทรง พุ่มแตกเร็วแผ่กิ่งก้านให้ร่มเงา อาจทำให้ต้นไม้ระดับล่างมีผลกระทบไปด้วย และถ้าดูแลต้นไม้ ด้วยตัวเอง เราสามารถสังเกตการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้ตลอด หากไม้ใหญ่โตก็จะคอยเปลีย่ น ให้ไม้พุ่มระดับล่างเป็นไม้ที่ทนร่มได้มากขึ้น เช่น คล้า เศรษฐีเรือนนอก บางตำแหน่งที่เป็น สนามหญ้า พอร่มมากก็เปลี่ยนเป็นหญ้ามาเลเซีย หากตรงไหนแดดส่องไม่ถึงก็เปลี่ยนเป็น

10 samakom-ok.indd 10

3/24/10 1:43:09 PM


โรยกรวด หรือใช้อิฐแดงปูพื้นเป็นการแก้ปัญหาในสวน” เพราะการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้สวนแห่งนี้สวยอยู่ตลอดเวลา การหมั่นปรับ เปลี่ยนต้นไม้ก็ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศของสวนให้ไม่นิ่งจนเกินไป นอกจากนี้เจ้าของบ้านก็ขยัน ปรับเปลี่ยนและสลับตำแหน่งของของตกแต่งสวน ซึ่งเป็นของสะสมภายในบ้านด้วยเช่นเดียวกัน

“ของตกแต่งในสวนส่วนใหญ่มาจากตอนไปเที่ยว จะขยันซื้อ ผมพยายามวางของต่างๆ ให้กระจายอยู่ตามมุมสวนตามที่ชอบ โดยไม่มีหลักเกณฑ์ เพียงปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม ที่บ้าน ตั้งแต่มุมเก้าอี้นั่งเล่น บ่อปลา ศาลาหรือเรือนกล้วยไม้” นอกจากของตกแต่งแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าของบ้านมักหามาสะสมภายในสวน และถือเป็นพระเอกก็คือ กล้วยไม้ ไม่ว่าจะเป็น คัทลียา หวาย แวนด้า หรือกล้วยไม้ป่า เช่น ช้างกระ เขาแกะ ไอยเรศ หรือเข็มแสด “เหตุที่ชอบกล้วยไม้ เพราะว่าแม้จะไม่มีดอก แต่ต้นหรือใบเค้าก็ดูสวย ไม่แห้งแล้ง นอกจากกล้วยไม้แล้ว ยังมีไม้แขวน ไม้ห้อยอื่นๆ อีกนะ เช่น เฟินชายผ้าสีดา ริปซาลิส เดป เคราฤๅษี” ด้วยเหตุที่สวนแห่งนี้มีชื่อว่า “ให้มากกว่าคำว่า...สวน” ทำให้คอนเซ็ปต์ของสวนแห่งนี้ มีมากกว่าสวนทั่วไป “สวนแห่งนี้ให้จิตสำนึกต่อส่วนรวม เพราะการปลูกต้นไม้ใบหญ้า ก็เหมือนช่วยลดความร้อน ภายในบ้าน ลดโลกร้อน ทำให้ประหยัด เพราะร่มเงาของต้นไม้ช่วยทำให้บ้านเย็น ก็ลดการใช้ เครื่องปรับอากาศ ให้สุขภาพกายและจิตที่ดี เมื่อเครียดจากการทำงาน การดูแลสวนก็เหมือน การพักผ่อน ให้ความสุข การได้นั่งเล่นนอกบ้านกับครอบครับ สัมผัสธรรมชาติ ให้สังคม เพราะพื้นที่แห่งนี้เป็นที่พบปะสังสรรค์ของญาติมิตร ครอบครัว และเพื่อนฝูง ให้ความอบอุ่น จากการมีสวน มีกิจกรรมในสวน ช่วยให้ครอบครัวใกล้ชิดกันมากขึ้น” เห็นไหมครับว่า สวนแห่งนี้ได้ให้อะไรๆ กับผู้เป็นเจ้าของได้มากมายจริงๆ เหมือนกับอีกหนึ่ง ประโยคที่ว่า “การที่เราทำอะไรให้กับใครโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เราก็จะได้รับสิ่งนั้นกลับมาด้วย เช่นเดียวกัน” ดังเช่นเจ้าของสวนแห่งนี้ที่ให้ความรักความเอาใจใส่สวน จึงได้รับความสุขกลับ มาเฉกเช่นเดียวกัน

1. ทางเดินข้างบ้าน กรุแผ่นกระเบื้องเป็นลวดลายดอกไม้ ขนานไปกับข้างบ้าน บริเวณนี้เป็นที่ร่ม ซึ่งมาจากเงาของตัวบ้าน เจ้าของบ้านแก้ไขปัญหาด้วยการโรยกรวด สลับกับไม้กระถางเพื่อให้ง่าย ต่อการปรับเปลี่ยนและยกต้นไม้ไปรับแสงแดดในบางครั้ง 2. ซุ้มศาลาไม้ข้างบ้าน ถือเป็นอีกหนึ่งมุมโปรดที่เจ้าของบ้านนั่งเล่นพักผ่อนในสวน 3. มุมโอ่งน้ำล้นหน้าบ้านถือเป็นจุดนำสายตาได้ดีทีเดียว ช่วยสร้างเสียงและความชุ่มชื้นอีกด้วย 4. มุมนั่งเล่นหลังบ้านที่ร่มรื่นตลอดวัน สามารถนั่งเล่นได้ทุกเวลาที่ต้องการ

3

4

11 samakom-ok.indd 11

3/24/10 1:43:31 PM


samakom-ok.indd 12

3/24/10 1:43:31 PM


samakom-ok.indd 13

3/24/10 1:43:33 PM


เล่าเรื่องต้นไม้: Plants Gossip

มารู้จัก ดอกไม้มีมงกุฎ เรื่องและภาพ: จิรนันท์ เตชะประสาน ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

ดอกจมูกปลาหลด

ฝักของจมูกปลาหลด

ฉบับนีม้ คี วามรูใ้ หม่มาเล่าให้ฟงั ค่ะ เผอิญไปพบไม้เลือ้ ยชนิดหนึง่ ขึ้นอยู่ริมถนนแถวๆ รังสิต - ปทุมธานี และมีเกสรคล้ายมงกุฎ ดูสวยมาก เลยลองค้นตำรับตำราดูก็ทราบว่า เจ้าไม้เลื้อยต้นนี้ มีชื่อว่า “จมูกปลาหลด” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxystelma esculentum ซึ่งอยู่ในวงศ์ Asclepiadaceae หรือวงศ์ดอกรัก แต่พอค้นรายละเอียดเพิ่มเติมก็พบว่า ปัจจุบันพันธุ์ไม้ในวงศ์นี้ ถูกจัดอยู่ในวงศ์ Apocynaceae หรือวงศ์ชวนชม และกลายเป็น วงศ์ย่อย Asclepiadoideae หลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมถึงมา อยู่ในวงศ์เดียวกับชวนชม…มาอ่านกันต่อค่ะ ลักษณะเด่นของพันธุ์ไม้ในวงศ์ชวนชมก็คือ เนื้อเยื่อทุกส่วน มีน้ำยางสีขาวดูคล้ายน้ำนม จึงมีชื่อสามัญว่า Milkweed Family ซึ่งสมาชิกทุกต้นในวงศ์ดอกรักก็มีน้ำยางสีขาวด้วยเช่นกัน จึงจัด ใหม่ให้อยู่ในวงศ์ชวนชมนั่นเอง แต่เนื่องจากมีลักษณะดอก ที่แตกต่างจากพันธุ์ไม้ชนิดอื่นในวงศ์นี้ คือ มีละอองเรณูรวมกัน เป็นก้อน ที่เรียกว่า กลุ่มเรณู (pollenia) และมีมงกุฎหรือ กะบังรอบ (crown หรือ corona) จึงจัดจำแนกพืชในวงศ์ ดอกรักทั้งหมดให้เป็นวงศ์ย่อย Asclepiadoideae นั่นเอง

พืชหลายชนิดในวงศ์ย่อยนี้ สามารถปลูกเป็นไม้ประดับหรือใช้ รับประทานเป็นผักได้ ขอยกตัวอย่างบางชนิดที่ใกล้ตัวผู้เขียน เช่น ดอกรัก (Calotropis gigantea) ซึ่งส่วนที่นำไปร้อยมาลัยก็คือ มงกุฎหรือกะบังรอบนั่นเอง แต่เวลาเด็ด ก็ต้องระวังน้ำยางสีขาว ทีอ่ าจกระเด็นถูกผิวหนังหรือเข้าตานะคะ เพราะจะทำให้ระคายเคือง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้ แม้ว่าน้ำยางสีขาวในต้นดอกรัก มีอันตราย แต่พืชในวงศ์ย่อยนี้ก็มีบางชนิดที่รับประทานได้ อย่างเช่น ขจรหรือสลิด (Telosma minor) และจมูกปลาหลด (Oxystelma esculentum) ซึ่งสามารถนำยอด ใบอ่อน และดอก รับประทานเป็นผักหรือปรุงเป็นอาหารได้ ไม่ว่าจะเป็นไข่เจียว แกงจืด หรือยำดอกขจร ฝักอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก เป็นต้น อย่างไรก็ตามพืชวงศ์ย่อยนี้ส่วนใหญ่แล้วมักปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอก ใบ หรือผลสวยงาม ดูแปลกตา เช่น นมตำเลีย หรือโฮย่าหลากหลายชนิด (Hoya spp.) เดป (Dischidia spp.) ชะลูดช้าง (Stephanotis floribunda) ไข่หงส์ ปักเป้า หรือบัลลูน (Asclepias fruticosa) บางชนิดเป็นพืชอวบน้ำที่อาจดูคล้ายกับ ต้นกระบองเพชร เช่น ม้าลาย (Huernia zebrina) หรือคางคก

14 samakom-ok.indd 14

3/24/10 1:43:34 PM


1

2

3

(Pseudolithos migiurtinus) ผู้เขียนยังพบไม้เถาในวงศ์ย่อยนี้บางชนิดขึ้นเป็นวัชพืช เช่น คันธุลี (Tylophora indica) บางชนิดพบในป่า เช่น Ceropegia sp. และเมื่อ สังเกตต้นจมูกปลาหลดและคันธุลียังพบว่า ไม้เถา 2 ชนิดนี้น่าจะปลูกเป็นไม้ประดับได้ เพราะให้ดอกดก โตเร็ว แข็งแรง ขยายพันธุ์ง่ายด้วยการเพาะเมล็ด จมูกปลาหลด ให้ดอกช่วงเดือนตุลาคม - มีนาคม ส่วนคันธุลีออกดอกช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม และนอกจากเป็นไม้ประดับแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรอีกด้วยค่ะ 1. 2. 3. 4.

ดอกรักปรากฏส่วนของเกสรชัดเจน ขจรหรือสลิด Ceropegia sp. ไม้ป่าชนิดหนึ่งของเมืองไทย ช่อดอกคันธุลี

4

15 samakom-ok.indd 15

3/24/10 1:43:39 PM


ไขปัญหา: Q & A Garden

คุณรู้จักหม้อข้าวหม้อแกงลิง ดีแค่ไหน “แม่! แม่! ดูสิ นี่ต้นอะไรแปลกจัง” เจ้าหนูวัยเกือบสิบ ขวบร้องอย่างตื่นเต้นขณะเดินผ่านหน้าร้านจำหน่ายพืชกินแมลงใน งานออกร้านของสมาคมไม้ประดับ “อ๋อ ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง อย่าไปจับนะลูก เดี๋ยวมันงับนิ้ว เอา” แม่บอกพลางดึงมือลูกชายให้ถอยออกไปห่างๆ ราวกับกลัว ว่าเจ้าต้นไม้หน้าตาประหลาดจะกระโดดงับนิ้วซะจริงๆ ยังงั้นแหละ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ฉันได้ยินคำพูดทำนองนี้ ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมคนไทยส่วนมากจึงคิดว่าฝาของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง จะหุบงับได้ จนกระทั่งวันหนึ่งลูกชายซึ่งเติบโตมากับสวนต้นไม้และ พืชกินแมลงหลากหลายชนิดมาบอกว่า “แม่ วันนี้ครูสอนว่า หม้อข้าวหม้อแกงลิงหุบงับ แมลงได้” ซึ่งเขารู้ดีว่าไม่เป็นความจริง “อ้าว...แล้วลูกบอกครูรึเปล่าล่ะว่ามันหุบไม่ได้” ฉันถาม ซึ่งก็ แน่อยู่แล้วว่าเด็กเล็กๆ ที่ไหนจะไปกล้าโต้แย้งครู ดังนั้นฉันจึงฝาก หนังสือเรื่อง “พืชกินแมลง” ที่เขียนขึ้นเองให้ลูกนำไปมอบให้ครู ในวันรุ่งขึ้น หวังในใจว่าเมื่อได้อ่านแล้วคุณครูคงจะให้ความรู้ ที่ถูกต้องแก่เด็กๆ แต่ปรากฏว่าหลังจากนั้นไม่นานมีการสอบ และในเฉลยข้อสอบของทางโรงเรียนก็ยังบอกว่าต้นหม้อข้าว- หม้อแกงลิงหุบงับแมลงอยู่ดี! แล้วอย่างนี้จะไม่ให้เด็กไทยฉลาดน้อยได้ยังไง! ฉันคิดด้วยความหงุดหงิด หลังจากนั้นได้ทราบว่าข้อสอบที่ทางโรงเรียนใช้นำมาจากส่วน กลาง เอ...ชักคลับคล้ายคลับคลาว่าตอนเล็กๆ เราก็เคยถูกสอนมา แบบนี้เหมือนกัน แต่นั่นตั้งสามสิบปีมาแล้วนี่นา! ถ้าตอนนั้นยัง ไม่มีใครรู้จักพืชชนิดนี้ดีพอ ในปัจจุบันก็น่าจะรู้แล้วเพราะมีผู้เขียน หนังสือให้ความรู้เกี่ยวกับพืชกินแมลงออกมามากมาย อีกทั้งใน ตลาดไม้ประดับยังมีต้นจริงจำหน่ายให้เห็นกันชัดๆ ยังไม่ถึงเวลาที่ ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กไทยจะออกมาจับไก่ที่ปล่อย ไว้หลายสิบปีกลับเข้าเล้ากันอีกหรือ...

เอาละ ถ้าคุณเริ่มสนใจต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ข้อมูลเบื้องต้น ที่ควรรู้ ได้แก่ หม้อ ลักษณะคล้ายกระบอก หรือกระเปาะ คือส่วนของใบ ไม่ใช่ดอก เมื่อฝาหม้อเปิดออกแล้ว จะไม่สามารถหุบลงได้อีก ในบรรดา พืชกินแมลงทั้งหมด มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่สามารถหุบงับเหยื่อได้ คือ กาบหอยแครง (Dionaea muscipula) และ Aldrovanda vesiculosa ซึ่งเป็นพืชน้ำจึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก หม้อข้าวหม้อแกงลิงมีดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน (dioecious) หากต้องการขยายพันธุ์ ผู้ปลูกต้องมีทั้งต้นเพศผู้และเพศเมีย หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้เลื้อย เมื่อต้นโตขึ้นควรมีโครง ให้ยดึ เกาะได้ มิเช่นนัน้ จะรกรุงรังไม่นา่ ดู ถ้าไม่ตอ้ งการให้เลือ้ ยไปไกล ต้องหมั่นตัดแต่งกิ่ง ซึ่งช่วยให้ต้นแตกหน่อที่โคนเป็นพุ่มสวย พืชชนิดนี้ส่วนมากมีถิ่นกำเนิดในป่าเขตร้อนชื้นของทวีปเอเชีย จึงต้องการสภาพแวดล้อมที่มีความชุ่มชื้น และควรได้รับแสงแดด อย่างน้อย 50% ตลอดวัน เพื่อให้ผลิหม้อสม่ำเสมอ อย่าคิดที่จะซื้อต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงไปจับยุง เพราะเคยพบ ตัวอ่อนของยุงบางชนิดอาศัยในแอ่งน้ำภายในหม้อ! พืชชนิดนีล้ อ่ แมลง ด้วยกลิ่นน้ำหวานที่ขับจากต่อมบริเวณปาก เหยื่อส่วนมากเป็นมด ที่พบบ้างได้แก่ แมลงปีกแข็ง ต่อ ฯลฯ แต่พบยุงน้อยมาก ข้อมูลพอสังเขปเหล่านี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจวิธีการปลูกเลี้ย งหม้อข้าวหม้อแกงลิงมากขึ้น  เมื่อคุณมาถูกทางและมีต้น หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่งดงามประดับสวนแล้ว  หลายคนคง เริ่มคิดไปไกลถึงวิธีขยายพันธุ์พืชชนิดนี้  อ่านในเคล็ดไม่ลับ ในสวนหน้าถัดไปค่ะ ภัทรา  แสงดานุช

samakom-ok.indd 16

3/24/10 1:43:47 PM


เคล็ดไม่ลับในสวน: Garden’s Tips

มาขยายพันธุ์ หม้อข้าวหม้อแกงลิงกัน มีคนจำนวนไม่นอ้ ยเข้าใจว่า หม้อหรือกระเปาะทีห่ อ้ ยอยูป่ ลายใบของต้น หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นดอก อันที่จริงหม้อคือส่วนของใบ ความเข้าใจผิด เช่นนี้อาจเกิดจากคนส่วนมากไม่ค่อยมีโอกาสเห็นดอกของพืชชนิดนี้ เพราะต้นที่นำมาจำหน่ายเป็นไม้ประดับมักเป็นไม้วัยอ่อนซึ่งมีขนาด กะทัดรัดงดงาม และกว่าจะเติบโตจนให้ดอกได้ก็ต้องปล่อยให้เลื้อยไปไกล จนยากที่จะมองเห็น หม้อข้าวหม้อแกงลิงมีดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ต้นที่ให้ดอกเพศผู้ มีมากกว่าต้นเพศเมียประมาณร้อยละ 70 บางชนิดที่ได้รับความนิยม เช่น N. ‘Miranda’ แทบไม่พบต้นเพศเมียเลย ผู้ปลูกหลายท่านสงสัยว่าจะ ทราบเพศได้อย่างไร ถ้าเป็นต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด วิธีเดียวคือต้องรอ จนกว่าจะออกดอก ส่วนกิ่งชำจะให้ดอกเพศเดียวกับต้นพ่อแม่พันธุ์เสมอ ส่วนดอกเป็นช่อกระจะหรือช่อแยกแขนง ดอกเพศเมียยอดเกสรมีสเี ขียว อยู่บนรังไข่รูปรี ดอกเพศผู้มีอับเรณูอยู่ที่ส่วนปลาย เมื่อแตกออกจะมี ละอองเรณูสีเหลือง ซึ่งผู้ปลูกสามารถนำไปผสมกับเกสรเพศเมีย หากมีต้นพ่อแม่พันธุ์หลายต้นอยู่ในบริเวณเดียวกันและออกดอกพร้อมกัน แมลงจะช่วยผสมเกสรจนติดเมล็ดได้เองตามธรรมชาติ มาลองผสมเกสรและเพาะเมล็ดกันค่ะ 1. หลังจากดอกเพศผู้บาน อับเรณูแตกออกเป็นผงสีเหลือง ใช้พู่กันขนอ่อน เขี่ยละอองเกสร 2. ดอกเพศเมียที่พร้อมผสมจะมีน้ำหวานเหนียวใสที่ยอดเกสรสีเขียว 3. นำละอองเกสรเพศผู้มาแตะเบาๆ ที่ยอดเกสรเพศเมีย เกสรเพศผู้ดอก หนึ่งดอกสามารถผสมกับดอกเพศเมียได้ 7-10 ดอก 4. หากผสมเกสรสำเร็จ ฝักจะใหญ่ขึ้น ประมาณ 2 เดือนจึงเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาล และเริ่มแตกจากส่วนล่างของช่อ 5. เมื่อฝักเริ่มแตกให้ตัดทั้งช่อ วางในกล่องที่แห้งสะอาดไว้ในที่อับลม ไม่นานฝักจะทยอยแตกทั้งหมด มีเมล็ดลักษณะเป็นเส้นร่วงหล่นมากมาย 6. นำเมล็ดที่ได้หว่านในตะกร้าหรือกระถาง วัสดุเพาะเลือกใช้ได้หลายแบบ เช่น พีตมอส สแฟกนัมมอส กาบมะพร้าวสับชิ้นเล็กแช่น้ำจนชุ่ม สำหรับผู้เขียนนิยมใช้สแฟกนัมมอสเพราะได้ผลดีที่สุด 7. รดน้ำให้ชุ่ม วางในที่ร่มรำไร ต้นอ่อนจะงอกภายใน 1 เดือน เมื่อต้นแข็งแรงจึงย้ายไปวางในที่ได้รับแสงแดดมากขึ้น 8. เมื่อต้นมีขนาดประมาณ 2-3 ซม. ก็แข็งแรงพอที่จะแยกปลูกลงกระถาง

ขนาดเล็กได้ หวังว่าจะช่วยให้ท่านที่สนใจเพลิดเพลินกับการปลูกเลี้ยงพืชชนิดนี้ มากขึ้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้จากหนังสือ “พืชกินแมลง” ของสำนักพิมพ์บ้านและสวนค่ะ ภัทรา แสงดานุช

1

2

3

4

5

6

7

8

Tips

• หากดอกบานไม่พร้อมกัน ให้ใช้พกู่ นั ขนอ่อนเขีย่ เกสรใส่กล่องปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ รอจนดอกเพศเมียบานจึงค่อยนำ มาผสม • เมล็ดหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีอายุค่อนข้างสั้น ควรนำไปเพาะให้เร็วที่สุด • หากความชื ้ น ในอากาศไม่ เ พี ย งพอ  หลั ง จากหว่ า นเมล็ ด  ควรใส่ ใ น ถุงพลาสติกปิดปากถุงให้สนิท จนกว่าต้นงอกค่อยย้ายออกจากถุง • ควรแยกปลูกต้นอ่อนด้วยความระมัดระวัง  เพราะรากมักขาดง่าย  ทำให้ ต้นตายได้

17 samakom-ok.indd 17

3/24/10 1:44:00 PM


สัตว์ในสวน: Animals in Garden

นกนางแอ่นบ้าน

นกนางแอ่ น (Swallow)

เรื่องและภาพ: วิชญนันท์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ

แม้ว่าประเทศทางซีกโลกเหนือจะประสบปัญหาหิมะตกหนัก คนไทยอย่างเรายังคงได้แต่บ่นอุบว่า ไม่รู้สึกถึงความเย็นของ ฤดูหนาวที่กำลังจะผ่านไปเลย ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็นของ ประเทศเหล่านั้นเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต สัตว์หลายชนิด จึงต้องปรับตัวเข้าสู่ภาวะจำศีลหรืออพยพไปสู่แหล่งอาศัยอื่น ที่อบอุ่นกว่า รู้ไหมครับว่า ราวครึ่งหนึ่งของนกในเมืองร้อนอย่างบ้านเรา เป็นนกอพยพที่มาจากประเทศอื่น ซึ่งจะได้เจอเฉพาะช่วงฤดูหนาว และเชื่อว่า นกนางแอ่น (Swallow) ต้องเป็นชื่อหนึ่งที่หลายคน ต้องนึกถึงอย่างแน่นอน เพราะเมื่อฤดูหนาวเริ่มย่างกรายเข้ามา เราจะพบพวกมันรวมฝูงกันเกาะเรียงรายตามสายไฟฟ้าริมถนน บินฉวัดเฉวียนจับแมลงกินกลางอากาศอยู่เหนือศีรษะคุณทุกที่ ผมขออาสานำนกนางแอ่นชนิดทีเ่ ราพบได้บอ่ ยตามบ้านและสวน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมาแนะนำให้รู้จักหน้าตา

กันชัดๆ ไปเลยครับ นกนางแอ่นที่คุ้นเคยกันดีที่สุดคือ นกนางแอ่นบ้าน (Barn Swallow / ชื่อวิทยาศาสตร์ Hirundo rustica) พบเห็นได้ทั่วไป ตามบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา ตลอดจนป่าเขาที่ไม่รกทึบนัก ลำตัวด้านหลังมีสีเหลือบน้ำเงินสะท้อนแสง มีแถบสีดำคาดที่ ด้านข้างอก คอและหน้าผากเป็นสีแดง เพศผู้มีขนหางคู่นอก ยื่นยาวมาก มี 2 ชนิดย่อยที่อพยพมาบ้านเรา คือ H. rustica var. guttularis ที่มีท้องสีขาวโพลน และ H. rustica var. tytleri มีท้องสีส้ม นกนางแอ่นบ้านที่ยังเด็ก ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาล มีแถบสี น้ำตาลพาดที่อก คอสีขาว และหางเป็นแฉกตื้นๆ ดูเผินๆ อาจ สับสนกับ นกนางแอ่นทรายสร้อยคอดำ (Common Sand-Martin / ชื่อวิทยาศาสตร์ Riparia riparia) ที่มีลำตัวเล็กกว่า แต่นกนางแอ่นบ้านมีแต้มสีขาวที่ขนหางและมักมีสีน้ำเงินเข้มแซม ตามปีกและหลังด้วย นกนางแอ่นทรายสร้อยคอดำชอบอยู่ใกล้ น้ำมาก บ้านใครอยู่ใกล้บึงน้ำก็ลองสังเกตหานกนางแอ่นหลัง สีน้ำตาล ตัวเล็กๆ ชนิดนี้ดูนะครับ แถบชานเมืองที่พอมีทุ่งหญ้าโล่งๆ อยู่บ้าง มักพบ นกนางแอ่น ตะโพกแดง (Red-rumped Swallow / ชื่อวิทยาศาสตร์

3

4

1. H. rustica var. guttularis มีท้องสีขาวโพลน 2. H. rustica var. tytleri มีท้องสีส้ม 3. - 4. วัยเด็กนกนางแอ่นบ้านมีท้องสีขาว คล้ายกับนกนางแอ่นทรายสร้อยคอดำ แต่มีขนเหลือบสีน้ำเงิน 5. นกนางแอ่นสร้อยคอดำ

1

2

5

18 samakom-ok.indd 18

3/24/10 1:44:05 PM


Cecropis daurica) พบได้ทวั่ ประเทศเช่นเดียวกับนกนางแอ่นบ้าน

แต่ในเมืองมักไม่เห็นเท่าไหร่ ลำตัวใหญ่กว่านกนางแอ่นบ้าน

เล็กน้อย ท้องสีขาวนวล มีลายขีดเล็กๆ ที่ใต้ท้องแต่สังเกตเห็นยาก ขณะบิน ก้นสีดำ มีตะโพกสีส้มแดงอันเป็นที่มาของชื่อ และไม่มี แถบคาดอกเหมือนชนิดอื่น มีท่าบินเป็นเอกลักษณ์ คือ อาการ ตีปีกสลับกับการร่อนยาวเป็นจังหวะสม่ำเสมอ มีนกอีกกลุ่มหนึ่งที่บินฉวัดเฉวียนกินแมลงกลางอากาศเช่นกัน เรียกว่า นกแอ่น (Swift) ส่วนใหญ่เป็นนกประจำถิน่ เราจึงพบเห็น ตลอดทั้งปี ลักษณะเด่นคือรูปทรงปีกเรียวโค้งคล้ายบูมเมอแรง พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำต่างจากนกนางแอ่นที่มักมีลำตัว ด้านบนเป็นสีเข้ม ด้านล่างเป็นสีออ่ น บางชนิดมีหางแฉกแต่ขนหาง คู่นอกไม่ยื่นยาวมากเหมือนนกนางแอ่น เวลาเกาะนิ้วทั้ง 4 ของนกแอ่นจะชี้ไปด้านหน้า เพื่อช่วยในการ เกาะแนวตั้ง เช่น ตามผนังถ้ำ เราจึงไม่พบนกแอ่นเกาะสายไฟฟ้า นกแอ่นใช้น้ำลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในสร้างรัง ต่างจาก นกนางแอ่นที่มักใช้ดินโคลน รังนกที่เรานำมารับประทานกันนั้น ก็เป็นของ นกแอ่นกินรัง (Germain’s Swiftlet / ชื่อวิทยาศาสตร์ Collocalia germani) ซึ่งเป็นนกแอ่นชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ของ นกนางแอ่นอย่างที่มักเข้าใจกันนะครับ

à¡ÉµÃ¡Œ Ò Ç˹Œ Ò ¾ÒªÒµÔ½†ÒÇԡĵ

7

6 6. - 7. นกนางแอ่นตะโพกแดง ท้องสีขาว  มีลายขัดเล็กๆ ที่ท้อง 8. นกแอ่นกินรัง

8

³ ³¤ ¤¹ ¾ ² ³ u¾ ª ¤ n³¨¬ n³ ³ ³ µ ³h ¨µ ¥ v ¤± ´ d ¾ ¸®Æ ¾ £¿ ¤m ¦ ¦µ ® ¦º n³¾ ª ¤ ¤ n³¨¬ n³ ¶Æ«³¢³¤ ² ³ ¨³¢¤ºn ©² £¡³ ¾ µĀ¢ º ¹ ¡³ «µ n³ Á¬n¢¶ ¹ ¡³ ¢³ ¤ ³ «m ®® ¢³¿« Á¬n¾¬Å · ©² £¡³ ¿¦± ¨³¢ n³¨¬ n³ ® À ¤ ³¤Á¬n ² ¤± ³ ²Ā¨Â  n¾¬Å · ¨³¢«´¾¤Å ¶¢Æ ¢¶ ³®£m³ m®¾ ü®Ā ¹ d ¡³£Á ³ ³ ³¤Â n¾ µè¦º n³¾ ª ¤ ¤ ¶Æ¾ | ¦º n³ ® ³ ³¤ ¤¹ ¾ ³ À ¤ ³¤¾ ª ¤ n³¨¬ n³ ¶Æ ² ¾¦¸® ³ ³¤¾ | ¾ ª ¤ ¤ ¶¢Æ ¶ ¨³¢¤º n ¨³¢«³¢³¤ ¢¶ ³¤ ¤µ¬³¤ ² ³¤ ¶ Æ ¶ ¢¶ ¨² ¤¤¢ ¤¨¢ · ¢¶ ³¤ ² ³ ¦µ ¡² q®£m³ m®¾ ÿ®Ā ¢³¤m¨¢®® º À £ ² ¦µ ¦ ¶¾Æ | «µ n³ ¶«Æ m ³£ ² Ç Á ¿¦± m³ ¤±¾ ©¢³ ´¬ m³£Á¬n ² º n ¢Æ¶ ³¤m¨¢ ³ Á ¤³ ³£m®¢¾£³¨q ®³ µ ¾¬Å ¢²« · ³¾ ± ¦µ ¡² q ³ ¦³¿ ¤¤º ² ¦® «³¤ µª ¢±¢m¨ Ç´ ® ¢n ¿¢ ³¾ ¾¢¶£ ² «n¢«³£ Ç´ · Ç ¢±¦± ® ² ¹¾q ³ µ ¦µ ¡² q ³ ¬¢m® ¬¢ Ç´ · Ç ¿¦± ¦µ ¡² q ¢± ¤n³¨ Ç´¬®¢ ¢ º m ¹ ¡³ ¦n¨£Â¢n«³£ ² ¹ q ³m Ä ¾ | n «´¬¤² Á d Çþ ¦ ³¤ ´¾ µ ³ ® À ¤ ³¤¾ ª ¤ n³¨¬ n³ ² Ç ³ ³¤ ¤¹ ¾ «³¢³¤ £³£¾ ¤¸® m³£¾ ª ¤ ¤ n³¨¬ n³  n ´ ¨ ¤³£ ¿¦±Â n® ¹¢ ² «µ ² « ¹ ¾ µ ¦ ¹ Á¬n¿ m ¾ ª ¤ ¤ n³¨¬ n³ ¶ Æ ®n ³¤¦ ¹ Á ¾ À À¦£¶ ³¤¾ ª ¤ n³ m³ Ä Â ¿¦n¨ ¨m³ ¦n³ ³

gÀ ¤ ³¤ ¶Ä ¬ ·Ā d¢¶ ¤²Ç ¾ ¶£¨ ² À £À ¤ ³¤¾ ª ¤ n³¨¬ n³ 19 samakom-ok.indd 19

3/24/10 1:44:07 PM


สนับสนุนโดย

นิตยสาร

เต็มอิ่มกับพื้นที่สีเขียว คนรัก ต้นไม้ รักสวน ไม่ควรพลาด อบอุ่น เป็นกันเองกับ กิจกรรมของชมรมคนรักต้นไม้ ครั้งที่ 7

395.

“รับลมยามบ่าย ชมกล้วยไม้ คลายร้อน”

395.

สวนหลากสไตล์ 2

ทิพาพรรณ  ศิริเวชฎารักษ์ ความชอบของคนเรามักมีมากกว่า หนึ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของสไตล์และ การออกแบบ หลายคนจึงมักเก็บข้อดี ในแต่ละสไตล์มาหาจุดที่พอเหมาะ พอดีกับตนเอง สวนหลากสไตล์ 2 เล่มนี้ เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้ที่คิดจะ จัดสวน และกำลังมองหารูปแบบสวน ที่เหมาะกับตัวเอง เนื้อหานำเสนอ สวนขนาดกลางและขนาดใหญ่ หลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่เป็นบ้าน เดี่ยวและรีสอร์ท สำหรับให้ผู้สนใจ นำตัวอย่างในแต่ละมุมไปประยุกต์ใช้ ในพื้นที่ของตัวเอง ตัวอย่างสวนที่นำมาเสนอ เช่น รูปแบบสวนของบ้านไทย สวนป่า สวนเมืองร้อน สวนสมัยใหม่ สวน กลิ่นอายโมร็อกโก และสวนญี่ปุ่น ประยุกต์ ฯลฯ ซึ่งแต่ละรูปแบบล้วนมี เอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างกันออกไป นอกจากความกลมกลืนเข้ากันกับ ตัวสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบชัดเจน แล้ว พรรณไม้และของตกแต่งยังเป็น ตัวบ่งบอกและสร้างกลิ่นอายให้กับ สวนรูปแบบนั้นได้อย่างเด่นชัดขึ้น สำหรับผูท้ ชี่ นื่ ชอบสวนหลากหลาย รูปแบบ แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะจัดสวน รูปแบบไหนดี ลองพลิกหนังสือเล่มนีด้ ู จะได้ตอบที่ดีแน่นอน

สวนบ้านนักจัดสวน

มนูญ  ทองนพรัตน์ นำเสนอสวนสวยรูปแบบต่างๆ ในบ้านนักจัดสวนชั้นนำของเมืองไทย รวม 10 ท่าน อาทิ สวนบ้าน อาจารย์ยุพดี เลื่อนฉวี, คุณมณฑล จิโรภาส, คุณศิริวิทย์ ริ้วบำรุง, คุณบิล เบนสเลย์, คุณอำนาจ คีตพรรณา และคุณปรีดาพนธ์ บัณฑิตยานนท์ ฯลฯ เนื้อหาในเล่มนอกจากนำเสนอ ไอเดียผ่านรูปภาพสวนสวยแล้ว นักจัดสวนแต่ละท่านยังเล่าให้ฟังถึง แนวคิด และประสบการณ์การทำสวน ที่บ้านของตนเอง รวมทั้งข้อควรระวัง ตลอดจนข้อดีข้อเสียของพรรณไม้ ชนิดต่างๆ ที่เลือกใช้ รวมถึงมุมโปรด และกิจกรรมในสวนของนักจัดสวน แต่ละท่าน เช่น การปลูกและขยาย พันธุ์ไม้จิ๋วของอาจารย์ยุพดี เลื่อนฉวี การถ่ายภาพธรรมชาติของช่างภาพ สมัครเล่นอย่างคุณมณฑล จิโรภาส เวลาที่หมดไปในสวนกับแจ๊ครัสเซลล์ สองตัวของคุณบิล เบนสเลย์ และคุณ ปรีดาพนธ์ บัณฑิตยานนท์ กับต้นไม้ ในเนิร์สเซอรี่เล็กๆ บนดาดฟ้าของเขา ภาพและเรื่องราวต่างๆ ในหนังสือ เล่มนี้ไม่ใช่เป็นเพียงภาพถ่ายสวยๆ แต่ยังบอกได้ถึงไอเดียในการออกแบบ และเลือกใช้วัสดุกับพรรณไม้ของ นักจัดสวนท่านนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

กลับมาอีกแล้วค่ะสำหรับกิจกรรมชมรมคนรักต้นไม้ ครั้งที่ 7 ครั้งนี้เราจะพาทุกท่านไปพบกับเรื่องราวของ กล้วยไม้นานาพรรณ เรียนรู้การปลูกเลี้ยงและขยายพันธุ์ กล้วยไม้อย่างง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง รวมทั้งเกร็ดความรู้ดีๆ ที่จะช่วยให้กล้วยไม้ของคุณออกดอกสวยงาม ผ่านกิจกรรม เวิร์คชอป ด้วยเคล็ดลับและขั้นตอนง่ายๆ จากเซียนกล้วยไม้ ตัวจริง ที่จะพาคุณไปค้นหาความน่าอัศจรรย์ใจของ “กล้วยไม้” ดอกไม้ที่ใครต่อใครต่างพากันหลงใหล นัดรวมพลร่วมกิจกรรมในวันที่ 20 มีนาคมนี้ 2553 ณ อมรินทร์คอร์เปอเรทปาร์ค รับจำนวนจำกัดเพียง 100 ท่านเท่านั้น สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเพียงส่งชื่อ ที่อยู่ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ อีเมลมาที่ plantloverclub@amarin.co.th กิจกรรมครั้งนี้ขอเก็บค่าอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับ สมาชิกนิตยสารบ้านและสวน 150 บาท ผู้อ่านทั่วไป ท่านละ 250 บาท เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2553

กติกาการร่วมกิจกรรม

1. โทร.สำรองที่นั่งด่วน! พร้อมยืนยันการเข้าร่วม กิจกรรมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2422-9999 ต่อ 4135, 4278 2. หากได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่แล้วว่าท่านได้เข้า ร่วมกิจกรรม ให้ชำระเงินโดยโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) - ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางลำพู เลขที่บัญชี 116-0-71464-6 - ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางยี่ขัน เลขที่บัญชี 047-2-83918-7 - ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาราชดำเนินกลาง เลขที่บัญชี 030-2-47249-0 3. ส่งหลักฐานการโอนเงินระบุ “กิจกรรมชมรมคนรัก ต้นไม้” *** ชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม (หมายเลขสมาชิก นิตยสารบ้านและสวน) เบอร์โทรศัพท์ สาขาธนาคาร และวัน/เดือน/ปีที่โอนเงิน (หากไม่ระบุข้อมูลมา จะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ์)*** และส่งมาที่โทรสาร 0-2422-9999 ต่อ 4078, 4130 ทางเจ้าหน้าที่ จะติดต่อกลับเพื่อยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรมอีกครั้ง

samakom-ok.indd 20

3/24/10 1:44:11 PM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.