Exchange Student

Page 1

ราคา 220 บาท

Want to be ¹Ñ¡àÃÕ¹áÅ¡à»ÅÕ่¹

แนะแนวการศึกษา

Want to be

¹Ñ¡àÃÕ¹áÅ¡à»ÅÕ่¹ ¨Ô à ÞÒ ·Ô ¾ ÂÍÓ¹Ò¨

ä»áÅ¡à»ÅÕè¹ ä»à»ÅÕ蹪ÕÇÔµ

220


ลิขสิทธิ์ Author Publish#1 ISBN Pages Price

จิรญา ทิพยอ�ำนาจ มีนาคม 2016 978-616-7720-16-6 240 หน้า 220 บาท

Published by ส�ำนักพิมพ์บายยัวร์เซลฟ์ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด บายเนเจอร์ พับลิชชิ่ง เลขที่ 46 ซ.รัตนาธิเบศร์ 28 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02 965 7433 แฟกซ์ 02 965 7434 facebook : Born to be Publishing Print บริษัท ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์ จ�ำกัด Distribution บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถ.บางนา-ตราด แขวง/เขต บางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0-2739-8222 Fax. 0-2739-8356-9 http://www.se-ed.com Credit font : Book_Akhanake, Desyrel vector : www.freepik.com, picture : www.all-free-download.com Copyright เนือ้ หาและภาพประกอบในเล่ม ห้ามลอกเลียน ท�ำซ�ำ้ ไม่วา่ ส่วนหนึง่ ส่วนใดหรือทัง้ หมดของหนังสือเล่มนี้ นอกจาก จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากส�ำนักพิมพ์ บายยัวร์เซลฟ์


Contents HOW TO : Planning your Student Exchange Student Exchange พาชีวิตสู่อินเตอร์ 13 เลือกโครงการที่ใช่ ประเทศที่ชอบ 22 อังกฤษ is โอกาส 28 เลือกประเทศ เตรียมตัวบิน 38 SURVIVAL STUDY GUIDE : Student Exchange in Norway จุดหมาย ณ จุดเริ่ม 63 เรื่องเล่าใน High School 72 รวมเรื่องเล่า เม๊าท์เรื่องทริป 90 เทศกาล กิจกรรม และงานพิเศษ 106 คิดทบทวน…มาที่นี่ได้อะไร 132 บ๊ายบายนอร์เวย์ 146 IMPORTANT DOCUMENTS : In different European countries บทสัมภาษณ์นักเรียนแลกเปลี่ยนโซนยุโรป 157


Contents

INFORMATION : High School Exchange Programs AFS 201 AYC 204 BWK 208 DEN 210 EduWorld 211 EF 212 GEP 214 GJ 216 IEE 218 IEO 219 IES 221 iStudy 222 MJES 223 MPLC 225 OEG 226 SEA 228 TEXT 230 Worantex 231 YES 233 YFU 236


Student Exchange พาชีวิตสู่อินเตอร์

ในเรื่องแรกนี้ . . . พี่จะอธิบายภาพรวมให้น้องๆ ได้ทราบว่า กว่าที่จะมาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนได้เนี่ย ต้องรู้จักอะไรบ้างและเมื่อเข้าใจภาพรวมแล้ว พี่จะค่อยๆ ขยายความลงรายละเอียด แต่ละเรื่องอีกที ลุยเลย!

โซนยุโรป 13


ณ จุดเริ่มต้นก่อนโกอินเตอร์

ก่อนอื่นเลย การจะไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนนั้น น้องๆ จะต้องเริ่ม ท�ำความรู้จักกับ 4 ส่วน ที่จะเกี่ยวข้องกับเรานับจากนี้เป็นต้นไป ได้แก่ 1. องค์กรนักเรียนแลกเปลี่ยน (Student Exchange Organization) 2. ครอบครัวอุปถัมภ์ (Volunteer Host Family) 3. โรงเรียนที่รับนักเรียนแลกเปลี่ยน (High School Exchange) 4. นักเรียนแลกเปลี่ยน (Exchange Student) องค์กรนักเรียนแลกเปลี่ยน (Student Exchange Organization) ก็คือ องค์กรที่จะคอยช่วยดูแลเราในทุกๆ เรื่อง เริ่มตั้งแต่เตรียมความพร้อม ให้เรา เป็นที่ปรึกษาเมื่อเราอาศัยอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ หากมีปัญหาก็ช่วย คลี่คลายให้ ไปจนกระทั่งพาเรากลับบ้านอย่างปลอดภัย ต้องบอกว่าองค์กร ที่ก�ำลังพูดถึงนี้ เป็นหัวใจของการไปแลกเปลี่ยนเลยละ ซึ่งองค์กรที่ว่านี้ก็มี อยู่หลายค่ายเลย อย่างเช่น AFS, YFU, YES, IEO, SEA เป็นต้น ส�ำหรับ รายละเอียดขององค์กรแลกเปลีย่ นเหล่านี้ พีร่ วบรวมไว้ ให้แล้วใน Part สุดท้าย หน้า 200 14 Want to be นักเรียนแลกเปลีย ่ น


ครอบครัวอุปถัมภ์ (Volunteer Host Family) พี่ขอเรียก สั้นๆ ว่า “โฮสต์” ละกัน ก็คือครอบครัวที่อาสาดูแลเราทั้งเรื่องกิน อยู่ หลับ นอน (เที่ยว) ระหว่างที่เราอาศัยอยู่ต่างประเทศนั่นเอง เค้าจะ ให้การดูแลเสมือนว่าเราคือหนึ่งในสมาชิกในครอบครัวเลยทีเดียว ซึ่ง ครอบครัวโฮสต์ที่ว่านี้ก็จะถูกคัดเลือกโดยองค์กรนักเรียนแลกเปลี่ยน นั่นเอง ฉะนั้นน้องก็สบายใจไปได้ระดับหนึ่ง โฮสต์ดีๆ มีมาก แต่ โฮสต์ ไม่ดีก็มีเหมือนกัน อย่างเพื่อนพี่ที่ ไปแลกเปลี่ยนด้วยกันบางคนก็มี ปัญหากับครอบครัวจนต้องเปลี่ยนโฮสต์ แต่ โฮสต์ที่ ใจดีและพร้อมที่จะ อุปถัมภ์เราก็มี พี่เลยอยากให้น้องเปิดใจตัวเองก่อน อย่าไปคาดหวังว่า เราต้องได้เจอโฮสต์ดๆี พาเราไปเทีย่ วบ่อยๆ แทนทีเ่ ราจะคิดว่าเราจะได้ อะไรจากโฮสต์ ทางที่ดีพี่แนะน�ำว่าให้น้องคิดในมุมกลับกัน แบบใจเขา ใจเราว่า เขาอยากได้อะไรจากการอุปถัมภ์เรา เราก็ท�ำหน้าที่ตัวเอง ให้ดีที่สุด โรงเรียนทีร่ บั นักเรียนแลกเปลีย่ น (High School Exchange) เราไปแลกเปลีย่ นไม่ ได้หมายความว่าเราไปเทีย่ วเล่นไปวันๆ นะ แต่เรา ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนด้วย ถ้าให้พเี่ ล่าตอนพีม่ าถึงนอร์เวย์ ได้สามสีว่ นั โฮสต์แม่ก็พาพี่มาโรงเรียนที่ทาง AFS ติดต่อไว้เรียบร้อยแล้ว โชคดีที่ โรงเรียนไม่ ไกลจากบ้านเท่าไหร่ แค่นั่งบัสมาไม่ถึง 10 นาที แล้วเดิน ต่ออีกนิดเดียวก็ถงึ แต่เพือ่ นพีบ่ างคนต้องนัง่ บัสสองสามชัว่ โมง เหนือ่ ย แทนเลย พอมาถึงโรงเรียนก็เข้าไปติดต่อกับคุณครูทหี่ อ้ งวิชาการ แล้ว ก็ ได้พบครูทปี่ รึกษาและได้รบั ตารางเรียนมา พอได้เห็นเวลาเลิกเรียนนี่ แทบเก็บอาการดีใจไม่อยู่ ฮ่าๆ เลิกเร็วสุดคือ 13.30 น. ช้าสุด 15.30 น. ส�ำหรับวิชาที่ลงเรียนก็จะมีทั้งวิชาที่เขาบังคับว่าต้องเรียนนะ คือ คณิตศาสตร์ ภาษานอร์วีเจียน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม พลศึกษา และวิชาที่เราเลือกเรียนเพิ่มเติมได้ พี่ก็ลงเรียนชีววิทยาไป แอบเสียดายที่คลาสฟิสิกส์กับเคมีเต็มแล้ว โซนยุโรป 15


เทคนิคฝ

ึกภาษา สูตรแพรรี่

ฝึกฟัง : ฟัง CD ภาษาอังกฤษจะแบบไหนก็แล้วแต่ ขอให้ฟงั ไปเรือ่ ยๆ จับใจความได้บา้ งไม่ ได้บา้ ง ก็ฟงั ต่อไป แนะน�ำซื้อพวกหนังสือ TOEFL, IELTS มา ก็ ได้ เล่มที่แถม CD MP3 เปิดฟังกรอกหูไปทุกวัน ฟังไม่ออกให้มันรู้ ไป คือเราจะค่อยๆ เข้าใจมัน มากขึน้ เรือ่ ยๆ เอง ช่วงแรกๆ อย่าเพิง่ ท้อละ ภาษา มันต้องใช้เวลาในการฝึกฝน ไม่ ใช่ว่าวันเดียวจะ ฟังเจ้าของภาษาเข้าใจหมดเลย เป็นไปไม่ ได้

ฝึกพูด : ให้ถอื คติ “ด้านได้ อายอด” พูดผิด พูดถูก ขอให้พูดไปเถอะ ค่อยๆ ขยับ Level ของตัวเอง โดยการฝึกพูดกับชาวต่างชาติ หรือจะฝึกพูด ฝึกคิดกับตัวเองเป็นภาษาอังกฤษก็ ได้ พี่ขอย�้ำ ว่าถ้าอยากพูดภาษาอังกฤษให้ ได้น้องต้องอย่า ไปอาย

30 Want to be นักเรียนแลกเปลีย ่ น


ฝึกอ่าน : อ่านทุกสิ่งที่เป็นภาษาอังกฤษ เก็บออมไปวันละนิด อ่านหนังสือพิมพ์ Bangkok post อ่านหนังสือนิยายที่เป็น อังกฤษ อ่านฉลากที่มีค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษข้างขวดน�้ำ แล้ว ดูว่าค�ำนั้นมันอยู่ตรงส่วนไหนของประโยค ท�ำหน้าที่อะไร เช่น noun หรือ adjective เป็นต้น ความหมายอะไร (ไม่ ใช่ แค่แปลได้อย่างเดียว) แล้วก็แนะน�ำให้อ่าน passage ตาม นิตยสารภาษาอังกฤษทัว่ ไป หรือจะอ่านข่าวภาษาอังกฤษก็ ได้ อ่านทุกวัน วันละครึ่งชั่วโมง พยายามท�ำความเข้าใจเนื้อหา โดยรวม แนะน�ำว่าอย่าแปลทุกตัวอักษร แต่ ให้เราดูศพั ท์ที่ ไม่รู้ จริงๆ เปิด Dictionary จดค�ำศัพท์พร้อมหน้าที่ค�ำลงสมุด ศัพท์เรา ท�ำอย่างนี้ทุกวันเราก็จะเข้าใจมากขึ้นๆ ฝึกเขียน : พี่เคยเขียนไดอารีเป็นภาษา ไทยสองปี แล้วก็เริ่มเปลี่ยนเป็นเขียน ภาษาอังกฤษ ตอนนี้ย้อนกลับไปอ่าน ไดอารีพวกนั้น ยอมรับเลยว่าแกรมม่า มัว่ ซัว่ มาก เหมือนแค่เอาศัพท์มาต่อๆ กัน แปลออก…จบ! แต่การลงมือท�ำ การฝึกฝน เหล่านั้น ก็ท�ำให้พี่เริ่มเขียนภาษาอังกฤษ ได้ดขี นึ้ เรือ่ ยๆ และยังต้องพัฒนาต่อไปอีก แต่ ไม่อยากจะบอกว่า พอไปอยู่ที่นอร์เวย์ พี่เปลี่ยนไป เขียนไดอารีเป็นภาษานอร์วีเจียนแทน แรกๆ ก็แกรมม่าเละเทะ มาก พอเขียนไปเรื่อยๆ ก็ติดใจ เขียนทุกวันที่อยู่ที่นั่น พอกลับ ไทยมาก็ยังเขียนเป็นภาษานอร์วีเจียนอยู่ จะได้ ไม่ลืมภาษาเขา โซนยุโรป 31


เรื่องเล่าใน High School ในที่สุดก็ถึงวันที่รอคอย โรงเรียนนอร์เวย์จะเป็นยังไงนะ

ไปโรงเรียนวันแรก

โฮสต์ แ ม่ พ าพี่ ม าที่ โ รงเรี ย น ลักเซวก วิเดเรโกเอนเด (Laksevåg videregående skole) ตามเอกสารที่ AFS แจกให้วา่ นักเรียนแลกเปลีย่ นทีม่ า อยู่ด้วยจะได้ ไปอยู่ โรงเรียนไหน วันนี้ พี่มาลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่างๆ และได้ พ บกั บ ครู ที่ ป รึ ก ษาสองท่ า น หน้าตาท่าทางใจดีทั้งคู่เลย

พี่ลงเรียนไปทั้งหมด 7 วิชาคือ คณิต (matematikk) ชีววิทยา (biologi) ภูมิศาสตร์ (geofag) สังคม (sosiologi) ภาษานอร์วเี จียน (norsk) ประวัตศิ าสตร์ (historie) และพลศึกษา (kroppsøving) ฟังดูไม่เยอะเลยเนาะ ส่วนเพื่อนๆ ในโรงเรียนก็อาจจะเลือก วิชาที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ความถนัด หรือสาขาอาชีพที่ตัวเองจะเรียนต่อไป ในอนาคต

72 Want to be นักเรียนแลกเปลีย ่ น


แอบเสี ย ดายที่ ค ลาสเคมี กั บ ฟิสิกส์เต็มแล้ว พี่เลยได้ลงเรียนแค่ ชีววิทยา จากเด็กวิทย์เต็ม 100% เลยได้ เรียนชีวะอย่างเดียวแบบชิวๆ ก็ดีเนาะ ไม่ต้องเครียดมาก เรียนทุกวิชาเป็น ภาษานอร์วเี จียนแค่นกี้ จ็ ะไม่ ไหวอยูแ่ ล้ว ขืนเรียนวิชายากๆ เป็นภาษานี้ด้วย ยิ่งไม่รู้เรื่องแน่ๆ

ไท๊ยไทย: ค�ำแม่สอนลูกสาววัยรุ่น “ส�ำหรับเรื่องแต่งหน้านะ เราต้องดูความเหมาะสมนะจ๊ะ ไม่ต้องไปตามเพื่อน เพราะการแต่งหน้า หากเราแต่งทุกวัน จะติดนิสัยและไม่มีความมั่นใจหากวัน ไหนไม่ ได้แต่งหน้า... เชื่อแม่ซิว่า คนจะงาม งามน�้ำใจ ใช่ ใบหน้า คนจะสวย สวยจรรยาใช่ตาหวาน คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน... น้องแพรมีรอยยิ้ม และน�้ำใจอยู่แล้ว นี่ละคือเครื่องส�ำอางที่เป็นอุปกรณ์ส�ำคัญที่ท�ำให้น้องแพร สวยที่สุด โดยไม่ต้องเสียตังค์ซื้อ” ต้องขอบคุณมากๆ แม่ที่สอนเพื่อเตือนสติวัยรุ่นสาวอย่างพี่เรื่องการ แต่งหน้า พอแม่สอนอย่างนีแ้ ล้วสุดท้ายก็ ไม่ ได้แต่งหน้าไปโรงเรียนเลยยกเว้น งานส�ำคัญๆ จริงๆ เพือ่ นสาวชาวนอร์วเี จียนแทบทุกคนจะแต่งหน้ามาโรงเรียน ทีน่ ี่ ไม่มกี ฎ ห้ามเรือ่ งการแต่งหน้าหรือเรือ่ งเสือ้ ผ้า จะแต่งหน้าแต่งตัวยังไงก็ ได้ตามสบาย พีอ่ ยูๆ่ ไปได้สกั พักก็เริม่ อยากลองท�ำตามบ้าง เข้าเมืองตาหลิวต้องหลิว่ ตาตาม จริงๆ ส�ำนวนนี้เราก็ต้องดูเรื่องความเหมาะสมด้วยนะ โซนยุโรป 73


เรื่องเล่าในห้องเรียน

พีอ่ ยากจะเล่าเพิม่ เติมเกีย่ วกับบรรยากาศการเรียนในห้องเรียนของทีน่ ี่ ให้นอ้ งๆ ได้เห็นความแตกต่างกับในบ้านเรา ทัง้ เรือ่ งของรูปแบบการสอนและ สังคมเพื่อนฝูง พี่ขอเล่าผ่านคาบเรียนในวิชาต่างๆ ก็แล้วกัน คาบ Geofag (ภู มิ ศ าสตร์ ) คาบแรกที่ ได้เรียนคือวิชาภูมิศาสตร์ ครูผู้สอนใจดีมากมาย พี่เพิ่งจะมานั่ง เรียนกับเพื่อนๆ เป็นวันแรกเลยต้อง แนะน�ำตัวเองเป็นภาษานอร์วเี จียนแบบ ง้องแง้ง (ก็พเี่ พิง่ มาอยูน่ ี่ ได้ ไม่กวี่ นั เอง) พอได้ลองนั่งเรียนเท่านั้นแหละ เขาคุย ภาษาอะไรกันเนี่ย รู้สึกเริ่มท้อตั้งแต่ คาบแรก นั่งเอ๋อ ฟังไม่เข้าใจเลย แล้วพี่จะเรียนรู้เรื่องไหมเนี่ย ค� ำ ถามมากมายประดั ง เข้ า มาในหั ว สมองแต่พี่ก็พยายามบอกตัวเองนะว่า เดี๋ยวอยู่ๆ ไปก็คงค่อยๆซึมซับภาษา เขาได้เองแหละ สู้ๆ ละกัน คาบนี้พี่ ได้รู้จักเพื่อนสาวอายุมากกว่าพี่สามปี คนหนึ่งน่ารักมากและคอยช่วยอธิบาย สิ่งที่พี่ ไม่เข้าใจจนเข้าใจได้ดีขึ้น

ช่วงบ่ายวันหนึ่งหลังเลิกเรียน วิชานี้ พีก่ เ็ ดินไปเก็บหนังสือทีล่ อ็ กเกอร์ หลังจากนั้นก็เดินไปที่ห้องสมุดเพื่อจะ โทรถามพี่ๆ โครงการ ENT3R (เป็น โครงการติวคณิตศาสตร์ฟรี) ว่าวันนี้ เย็นจะติวกันที่ ไหน ขณะก� ำ ลั ง จะหยิ บ มื อ ถื อ ใน กระเป๋า เพื่อนสาวคนหนึ่งที่เรียนคาบ Sosiologi (สังคม) ด้วยกัน ก็เดินผ่าน บริเวณที่พี่นั่งพอดี เธอทักทายพี่พลาง บอกว่า “Vi skal gå til sosiologi klasse.” (เราก� ำ ลั ง จะไปเรี ย นคาบสั ง คมนะ) พี่ แ ทบไม่ เ ชื่ อ หู ตั ว เอง เลยถามย�้ ำ ว่ า “Vi?” (เราเหรอ?) เธอพยั ก หน้ายืนยันก่อนจะเดิน ออกจากห้องสมุดไป

76 Want to be นักเรียนแลกเปลีย ่ น


พีง่ งอยูพ่ กั หนึง่ แต่กเ็ ดินไปหยิบ หนังสือวิชาสังคมทีต่ เู้ ก็บหนังสืออีกครัง้ แล้วเดินเข้าห้องเรียนอย่างงงๆ เมื่อพี่ ลองเข้าไปเช็คตารางเรียน (Timeplan) ในเว็บโรงเรียนอีกทีจงึ ได้หตู าสว่างว่าพี่ เข้าใจผิด พี่หัวเราะเบาๆ คนเดียวกับ ความผิดพลาดของตัวเองทีเ่ ข้าใจผิดคิด ว่าบ่ายวันนีเ้ รียน Biologi (ชีววิทยา) แต่ เมื่อคาบแรกพี่ก็ถามครูไปแล้ว ครูเขาก็ ตอบว่าไม่มีคาบนี้ช่วงบ่ายนะ พี่ก็งงๆ กับค�ำตอบแต่ก็ ไม่ ได้สงสัยอะไร ก็คดิ ว่า แสดงว่าหลังเรียนภูมศิ าสตร์เสร็จก็กลับ บ้านได้ แต่ที่ไหนได้ละ พีด่ ตู ารางเรียนผิด จริงๆ ช่วงบ่ายต้องเรียนสังคม นี่ถ้าพี่ เดินกลับบ้านเลย พี่คงได้ โดดเรียนโดย ไม่ ได้เจตนาแน่ๆ ต้องขอบคุณเพือ่ นคน นั้นที่เตือนพี่ ซึ้งเลย

ช่ ว งบ่ า ยวั น หนึ่ ง พี่ มี ส อบเก็ บ คะแนนวิชานี้แหละ พี่ ได้อ่านหนังสือ มารอบหนึ่งและสรุปเข้มที่ท�ำไว้อีกสอง รอบ ช่วงพักทานมื้อเที่ยงก็นั่งติวกับ เพือ่ นสนิททีห่ อ้ งสมุด ผลัดกันถามตอบ ปรากฏว่ า บั ง เอิ ญ ตรงกั บ จุ ด ที่ อ อก ข้อสอบพอดี ครูท�ำข้อสอบเป็นแบบ ออนไลน์ มีการจับเวลา มีหลายรูปแบบ ในการตอบค�ำถาม รูส้ กึ เหมือนเล่นเกม สนุกดี เมือ่ ท�ำข้อสอบเสร็จก็สง่ ค�ำตอบไป จะได้รับค�ำเฉลยในทันทีแล้วจึงท�ำข้อ ต่ อ ไป หลั ง สอบเสร็ จ พี่ รู ้ สึ ก ภู มิ ใ จที่ ทักษะภาษาที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ท�ำให้เริ่มท�ำ ข้อสอบภาษานอร์วีเจียนได้อย่างเข้าใจ ขึ้นมากและมั่นใจขึ้นกว่าช่วงที่มาเรียน ที่นี่แรกๆ โซนยุโรป 77


บริกเก้น (Bryggen)

96 Want to be นักเรียนแลกเปลีย ่ น


ทริปเมืองเบอร์เก้น

เสาร์ที่ 11 มกราคม 2557… พูดถึง เบอร์เก้น (Bergen) พีช่ อบนึกถึงบีทาเก้น (Betagen) หิวทุกที วันนี้ เอมและมิน (เพื่อน AFS คนไทยที่อยู่อีกเมืองหนึ่ง) มา เที่ยวที่เมืองที่พี่อยู่ก็เลยพากันเที่ยว Bergen แบบจัดเต็ม เช่น ตลาดปลา (Fisketorget) บริกเก้น (Bryggen เมือง ท่าเก่าแก่ ที่ ได้รับการยกย่องว่าเป็นมรดกโลก UNESCO) และ ภูเขาที่ชื่อ เฟลยยึน (Fløien) ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดภูเขา ส�ำคัญในเมือง Bergen

บนยอดเขา Fløien

โซนยุโรป 97


เล่นสกีครั้งแรก

อาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2557… ในที่ สุ ด วั น นี้ ที่ ร อคอยก็ ม าถึ ง วั น นี้ พี่ ได้ ไปเล่นสกีครั้งแรกในชีวิต ตื่นเต้น มากๆ ครอบครัวของครูที่ปรึกษาพาพี่ ไปเที่ยวที่เขาแห่งหนึ่งไม่ ไกลจากบ้าน พีน่ กั ทีผ่ า่ นมาเคยเห็นแต่ ในเน็ต ในทีวี วันนี้ ได้ ใส่เอง พอก้มลงไปใส่รองเท้า ล็อกกับตัวสกียาวๆ แล้วก็คอ่ ยๆ ลุกขึน้ ทรงตัว มือสองข้างถือไม้ค�้ำสกี เอาไว้ ใช้ผลัก ส่งแรงเสริมขณะเล่นสกี แรกๆ ตอนเดินก็ ไม่ค่อยถนัด กลัวล้ม แต่พอ เดินๆ ไปก็เริ่มชิน สนุก พีช่ อบเสียงตัวสกีเสียดสีกบั หิมะ เรียบบนทางทีเ่ ดินไป พอถึงจุดทีม่ นั เริม่ ชันขึ้น ครูสอนให้พี่ค่อยๆ เดินขึ้นไป เป็นแนวขวางกับทางเดิน แต่จุดที่ยาก ที่สุดคือตอนจะลงจากเขานี่แหละ คือ ตอนทีพ่ เี่ ห็นคนนอร์วเี จียนเขาสกีกนั ลง เขานีด่ งู า่ ยมากเลย แต่พอจะลองสกีเอง ก็แอบเสียวอยูเ่ หมือนกัน แถวนี้ ไม่มีโรง พยาบาลด้วยสิ เกิดกลิ้งขลุกๆ ลงไป เป็นอะไรขึ้นมาจะเป็นยังไง

118 Want to be นักเรียนแลกเปลีย ่ น


แต่พกี่ ต็ ดั สินใจลองดูสกั ตัง้ เอ้า ฮึบ ค่อยๆ ไถลสกี ลงไปอย่างกล้าๆ กลัวๆ แล้วก็ล้มคะม�ำลงใกล้ๆ กับจุด ที่เพิ่งลงมา แป้ก... ตอนแรกก็ถอดใจไปแล้วว่าไม่เอาละ ถอดสกีเดินลงเขาดีๆ ก็ ได้ง่ายกว่าตั้งเยอะ แต่พอคิดดู อีกทีแล้ว เฮ้ย...ถอดใจกับเรือ่ งแค่นอี้ ะนะ? ก็เลยลองใหม่ คราวนี้สกีลงเขาได้ดีข้ึน เริ่มติดลม มันส์มาก สนุกกว่า ตอนเดินขึ้นอีก ช่วงที่พักเหนื่อยจากการเล่นสกี น�้ำในกระติกที่พี่ เตรียมมาเกลี้ยงแล้ว ครูเลยแนะน�ำให้ละลายหิมะมากิน แทนน�้ำไปก่อน พี่ก็ โกยหิมะลงกระติกแล้วรอให้ ไอร้อน จากแสงอาทิตย์ทำ� ให้มนั ค่อยๆ ละลาย จนในทีส่ ดุ ก็ ได้ดมื่ น�ำ้ สมใจ รสชาตินำ�้ ก็ ไม่เลวนะ จืดๆ อร่อย ไม่กร่อย รู้ ไหม วันรุ่งขึ้นพี่ป่วยเลย ไม่กล้าบอกโฮสต์แม่ว่าท�ำไมถึงป่วย เชื้อโรคทั้งนั้นน่ะในหิมะ เห็นขาวๆ สะอาดตาอย่างนั้น ไว้ ใจไม่ ได้จริงๆ โซนยุโรป 119


ความแตกต่างของการใช้ชีวิต ไทย-นอร์เวย์

ก่อนอืน่ ขอบอกก่อนว่าพี่ ไม่ ได้ตอ้ งการเปรียบเทียบว่าประเทศไหนดีกว่า ประเทศไหน แต่ต้องการแสดงให้เห็นความแตกต่างของรูปแบบการใช้ชีวิตใน ประเทศไทยและนอร์เวย์เท่านั้น ขณะที่เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ในนอร์เวย์ พี่เห็นว่าส่วนใหญ่แล้วคน นอร์วีเจียนมีชีวิตที่เรียบง่าย สบายๆ ถ้าเป็นเพื่อนๆ รุ่นเดียวกัน เวลาพี่ ไป ถามว่าอยากเรียนต่ออะไร หลายคนก็ ตอบว่ายังไม่รเู้ หมือนกัน เพือ่ นคนหนึง่ บอกว่าเราคิดถึงแค่อนาคตใกล้ๆ เช่น วันนี้จะกินอะไร พรุ่งนี้จะท�ำอะไร แต่ ไม่ค่อยวางแผนการใช้ชีวิตจริงจังนัก

นี่ ก็ ส ะท้ อ นบางอย่ า งให้ เ ห็ น ว่าเมื่อชีวิตไม่ ได้ตกทุกข์ ได้ยากอะไร ครอบครัวก็มีความมั่นคงในปัจจุบันอยู่ แล้ว ก็เลยไม่ ได้กระตือรือร้นต่อการ วางแผนชีวิตนัก การศึกษาในนอร์เวย์ ถือว่าอยู่ ในระดับดีทีเดียว เด็กๆ เกือบ ทุกคนได้รับการศึกษาที่ดี ไม่ว่าจะอยู่ ในเขตไหนๆ ก็ตามของประเทศ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะเหตุผลที่ว่าประชากรใน นอร์เวย์ ไม่ ได้มากมายนัก ดูแลง่าย

150 Want to be นักเรียนแลกเปลีย ่ น


ในขณะที่ประเทศไทย เด็กๆ จ�ำนวนมากไม่มี โอกาสได้รับการศึกษา ที่ ดีเ พราะอยู ่ ใ นเขตชนบทหรื อ เขต ทุ ร กั น ดารต่ า งๆ หลายคนล� ำ บาก ต้องดิ้นรนในเรื่องต่างๆ การแก่งแย่ง แข่งขันเพื่อให้มีชีวิตรอดในแต่ละวัน ซึ่งตรงนี้พี่ก็เข้าใจว่าประชากรไทยเรา เยอะ แต่การศึกษานั้นก็ส�ำคัญเพราะ เป็นการวางรากฐานชีวิตในขั้นต้นเพื่อ เด็กๆ ที่เติบโตไปเป็นอนาคตของชาติ จะได้ประกอบอาชีพที่สุจริต หากเด็กๆ เหล่านัน้ ได้รบั การศึกษาทัง้ ด้านวิชาการ และคุณธรรมที่ถูกที่ควร

พี่ อ าจเป็ น เพี ย งเด็ ก นั ก เรี ย น ที่เคยไปแลกเปลี่ยนคนหนึ่งที่ ไม่ ได้มี อ�ำนาจอะไรมากมายในสังคม ณ ตอนนี้ แต่พี่คิดว่าประเทศไทยสามารถก้าวไป ไกลกว่านี้ ได้มาก ถ้าคุณภาพของคนใน ประเทศชาติสูงขึ้นๆ สิ่งที่พี่สามารถ ท�ำได้ ในตอนนี้คือการตั้งใจท�ำหน้าที่ ของตั ว เองให้ ดีที่ สุ ดเพื่ อ ในอนาคต อั น ใกล้ พี่ จ ะได้ เ ติ บ โตมาช่ ว ยพั ฒ นา ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของพี่ ให้ดี ยิ่งขึ้นอีกแรงหนึ่งและหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าเด็กๆ ที่ก�ำลังเติบโตก็จะมาช่วยกัน พัฒนาประเทศชาติของเราเช่นกัน

ข้อระวัง! เตือนใจน้อง ความเป็นส่วนตัว (Privacy): เรือ่ ง Facebook ท�ำให้พมี่ ปี ญั หากับโฮสต์ มาแล้ว เราต้องขออนุญาตโฮสต์ “ทุกครัง้ ” ว่าเราจะลงรูปไหนในครอบครัวเขา สู่สาธารณชนในโลกออนไลน์ ข้อความสเตตัสก็ต้องระวัง ไม่ควรพิมพ์ระบาย ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับโฮสต์ลงใน Facebook ต้องคิดดีๆ ทุกครั้ง ก่อนจะ ลงมือท�ำอะไรนะน้อง ค่าโทรศัพท์: น้องต้องเช็คค่าโทรศัพท์ ค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน มือถือดีๆ นะ พี่ ไม่ ได้เช็คค่าเน็ตตอนมาอยูช่ ว่ งแรกๆ ก็เลยเข้าเน็ตไปฟังเพลง บ่อยๆ พอเช็คเงินคงเหลือในมือถือก็ ไม่ ได้เอะใจอะไรเพราะคิดว่าคงเป็นเพราะ โทรออกกับส่งข้อความบ่อย พี่คิดว่าเน็ตคงใช้ฟรี... ที่ ไหนได้กลับถึงไทยถึงได้ ย้อนคิด ที่แท้เงินค่าโทรศัพท์พุ่งเพราะใช้เน็ตโดยไม่รู้อิ โหน่อิเหน่นี่เอง โซนยุโรป 151


IMPORTANT DOCUMENTS: In different European countries


บทสัมภาษณ์ นักเรียนแลกเปลี่ยนโซนยุโรป สำ�หรับบทนี้พี่ได้รวบรวมประสบการณ์ จากพี่ๆ เพื่อนๆ ที่เคยไปแลกเปลี่ยนตาม ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปมาเพื่อให้น้องๆ ได้เห็นความหลากหลายของแต่ละประเทศ จะได้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของน้องๆ ว่าจะไปแลกเปลี่ยนที่ไหนดีไงละ

โซนยุโรป 157


Belgium-เบลเยียม

ชื่อ-สกุล: อัญชิสา เตชะลิขิตกุล ชื่อเล่น: ฟ้า ไปแลกเปลี่ยนที่ประเทศ: เบลเยียม ฟลานเดอร์ (BFL) AFS รุ่นที่: 52 ปัจจุบันเรียนอยู่ที่: โรงเรียนอัสสัมชัญ ศึกษา สภาพอากาศ: สภาพอากาศที่เบลเยียมก็เหมือนอากาศยุโรปทางตอนเหนือ ทั่วไป โดยมีทั้ง 4 ฤดู คือฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลิ ซึ่ง ในฤดูรอ้ นเวลาจะช้ากว่าไทย 5 ชัว่ โมง ส่วนฤดูหนาวจะช้ากว่าไทยอยู่ 6 ชัว่ โมง และมีฝนตกตลอดทั้งปี แต่ความจริงแล้วอากาศที่นี่เอาแน่เอานอนไม่ ได้จริงๆ บางวันเรา อาจสามารถเจออากาศหลายรูปแบบ ตอนเช้าฝนตก กลางวันร้อนมาก พอช่วง เย็นอากาศกลับหนาว ฝนตกปรอยๆ กลางคืนลูกเห็บตกซะงั้น แต่ที่ส�ำคัญคือ ฝนตกทัง้ ปีจริงๆ ค่ะ จนถ้าหากเราไปเทีย่ วทีบ่ รัสเซลล์เราก็จะเจอเสือ้ ยืดสกรีน ว่า “Belgium where rain is typical” อยู่เกลื่อนไปหมด ภาษาราชการ: เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง เพราะ เบลเยียมแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งที่พูดภาษาฝรั่งเศส (ฟลานเดอร์) และฝั่งที่ พูดภาษาดัชต์ (เฟลมมิช) ดังนั้นคนที่นี่จะพูดกันถึง 2 ภาษา (บางพื้นที่ก็จะพูด ภาษาเยอรมันด้วย) และเป็นเรือ่ งปกติมากทีเ่ ราอาจจะเห็นคนทีบ่ รัสเซลล์ (เมือง หลวง) จะพูดภาษาดัชต์กบั อีกคน แต่ดนั ไปพูดกับอีกคนเป็นภาษาฝรัง่ เศสซะงัน้ เพราะที่นี่เมืองหลวงเป็นเขตทวิภาษา แต่ส่วนใหญ่แล้วทุกคนก็จะพูด ภาษาของอีกฝั่งได้และพูดได้ดีด้วย เพราะมีเรียนในโรงเรียน ส่วนตัวคิดว่ามัน เป็นอะไรที่อะเมซิ่งเบลเยียมมากๆ 160 Want to be นักเรียนแลกเปลีย ่ น


อัตราแลกเปลี่ยน: เบลเยียมใช้เงินยูโร และตอนที่ ไปอยู่ที่น่ัน ปี56-57 เงินยูโรขึ้นค่อนข้างจะสูงมาก ประมาณ 45 บาท ต่อ1 ยูโร แต่พอกลับมา เงินยูโรดันตกลงมา เหลือประมาณ 40 บาท/1ยูโร (แค้นมาก ฮ่าๆ) ค่าใช้จ่ายส่วนตัวประมาณเดือนละ 200-300 ยูโรต่อเดือน (แบบ เหลือๆ) ซึง่ ค่าใช้จา่ ยส่วนใหญ่จะเป็นค่าเดินทางรถไฟไปเมืองอืน่ ๆ ค่าซือ้ ของใช้ ส่วนตัว เสือ้ ผ้า และสารพัดของกุก๊ กิก๊ ซะมากกว่า ถ้าตัดรายการฟุม่ เฟือยเหล่านี้ ออกไป 100 ยูโร ต่อเดือนก็สามารถมีชีวิตอยู่ ได้อย่างสบาย อาหาร: ต้องขอบอกเลยว่าอาหารเบลเยียมนี่มันเยี่ยมสมชื่อจริงๆ ถ้าพูดถึง เบลเยียมก็ต้องนึกถึงช็อกโกแลตเบลเยียม วาฟเฟิล เฟรนฟรายส์ และสารพัด อาหารที่สามารถขุนร่างน้อยๆ ให้เพิ่มปริมาณไขมันได้อย่างรวดเร็ว ทีน่ เี่ ราสามารถหาร้านอาหารเอเชียได้ ไม่ยากค่ะ ราคาก็มตี งั้ แต่คอ่ นข้าง แพงจนถึงแพงมากทีส่ ดุ แต่คนทีน่ กี่ นิ ขนมปังเป็นหลัก จะกินคูก่ บั ของสารพัดค่ะ ทั้งแฮม แยม ชีส ช็อกโกแลต สลัดนู่นนี่ และที่พลาดไม่ ได้คือ Speculoos พีก่ นิ แบบนีท้ งั้ ในมือ้ เช้าและกลางวัน (แต่ละครอบครัวอาจจะไม่เหมือนกัน) ส่วน มื้อเย็นก็จะเป็นอาหารร้อน เช่น พวกสปาเก็ตตี้ ซุปต่างๆ หรือสเต็ก

โซนยุโรป 161


INFORMATION : High School Exchange Programs

200 Want to be นักเรียนแลกเปลีย ่ น


AFS

AFS ย่อมาจากค�ำว่า “American Field Service” ปัจจุบัน “เอเอฟเอส” คือโครงการแลกเปลี่ยนระหว่าง ประเทศที่เน้นการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม มีประเทศสมาชิกมากกว่า 50 ประเทศทัว่ โลกแถมยังเป็นโครงการแลกเปลีย่ น ทีม่ ปี ระวัตยิ าวนานถึง 90 ปีอกี ด้วย … โอ้ โหแค่อา่ นประวัติ AFS พีก่ ร็ สู้ กึ อยาก เข้าไปเป็นสมาชิกอีกคนหนึ่งแล้ว AFS แบ่งกลุ่มประเทศและการเดินทางไปแลกเปลี่ยนออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ • ภาคพื้นทวีป ใต้ เดินทางไปเดือนมกราคม - มีนาคม เดินทางกลับ เดือนธันวาคมปีเดียวกัน - กุมภาพันธ์ปีถัดไป • ภาคพื้นทวีปเหนือ เดินทางไปเดือนสิงหาคม - กันยายน เดินทาง กลับเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ปีถัดไป โดยแต่ละประเทศมีข้อก�ำหนดเรื่องเกรดเฉลี่ย อายุ สภาพร่างกาย โรคประจ�ำตัว แตกต่างกัน จึงควรศึกษาที่เว็บ AFS ก่อนเลือกประเทศ ส�ำหรับ คนที่เลือกจะไปอเมริกาจะต้องมีสมุดบันทึกประวัติการฉีดวัคซีนตั้งแต่เด็ก เนื่องจากเป็นข้อก�ำหนดของโรงเรียนอุปถัมภ์ และบางประเทศไม่อนุญาตให้ น�ำ Notebook/Tablet ส่วนตัวไปใช้นะ ใครที่จะไปกับ AFS ก็เตรียมตัวเรื่อง การเผยแพร่วัฒนธรรมไว้ ได้เลย เค้าเน้นมาก ค่าใช้จ่ายสมทบทุนโครงการ • 24,800 ดอลลาร์สหรัฐ ส�ำหรับประเทศเดนมาร์ก (อยู่หอพัก) • 18,500 ดอลล่าร์สหรัฐ ส�ำหรับประเทศแคนาดา • 13,600 ดอลล่าร์สหรัฐ ส�ำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โซนยุโรป 201


• 11,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ส�ำหรับประเทศอาร์เจนตินา อุรุกวัย

ออสเตรีย เบลเยียม (เขตพืน้ ทีท่ สี่ อื่ สารด้วยภาษาฝรัง่ เศส) บราซิล ชิลี เดนมาร์ก สเปน ฟินแลนด์ ฝรัง่ เศส เยอรมนี ไอซ์แลนด์ อิตาลี ญีป่ นุ่ เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ รัสเซีย สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และจีน (อยู่หอพัก) • 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ส�ำหรับประเทศเบลเยียม (เขตพื้นที่ ที่สื่อสารด้วยภาษาดัทช์) โบลิเวีย โคลอมเบีย โดมินิกัน สาธารณ รัฐเชค ฮังการี ลัตเวีย ปานามา ปารากวัย เปรู โปรตุเกส และ สโลวาเกีย • 9,100 ดอลล่าร์สหรัฐ ส�ำหรับประเทศเซอร์เบีย ตุรกี โปแลนด์ และบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา • 7,900 ดอลล่าร์สหรัฐ ส�ำหรับประเทศอินเดีย และฟิลิปปินส์ • 7,200 ดอลล่าร์สหรัฐ ส�ำหรับประเทศฮ่องกง อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย • ประเทศทีน่ อกเหนือจากประเทศในข้อ 1-8 และอินเดีย (อยูห่ อพัก) จะแจ้งให้ทราบภายหลัง ทุนเต็มจ�ำนวนและทุนสมทบบางส่วนของ AFS AFS ประเทศไทยแบ่งทุนการศึกษาเป็นหลายประเภท แต่ละประเภทมี ลักษณะทุน ระดับความช่วยเหลือ และคุณสมบัตขิ องผูม้ สี ทิ ธิขอรับทุนทีแ่ ตกต่าง กัน ดังนัน้ เวลาสมัครจะต้องอ่านรายละเอียดให้เข้าใจก่อนตัดสินใจสมัครขอรับ ทุนนั้นๆ เพราะเมื่อสมัครแล้วไม่อาจขอเปลีย่ นประเภทของการสมัครได้ ผูท้ ี่ ผ่านการคัดเลือกในแต่ละทุนจะต้องไปแลกเปลีย่ นที่ประเทศทีเ่ จ้าของทุนเลือก ให้เท่านัน้

202 Want to be นักเรียนแลกเปลีย ่ น


1. ประเภททุน Corporate Scholar Program (CSP) เป็นทุนการศึกษาจากบริษัททั้งภาครัฐและเอกชน จะเป็นผู้จ่ายเงิน สมทบทุนส�ำหรับผู้ผ่านการคัดเลือกให้กับ AFS เรียกง่ายๆ ว่าทุน CSP ใครที่ อยากได้ทนุ นีก้ ล็ องถามผูป้ กครองดูวา่ บริษทั ทีท่ า่ นท�ำงานอยูม่ ที นุ ประเภทนี้ ให้ หรือไม่ ตัวอย่างบริษัทที่ ให้ทุน CSP เช่น Esso, Kimberly Clark, ศรี ไทย Superware, Chevron, ธนาคารกสิกรไทย, BigC ฯลฯ ผู้ที่ ได้ทุนนี้จะไม่มี สิทธิ์เลือกประเทศ ต้องไปตามที่บริษัทที่ ให้ทุนและ AFS ก�ำหนดไว้ 2. ทุนเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ (Financial Aid Scholarships/ FAS) ทุนประเภทนี้นอกจากผู้รับทุนไม่ต้องจ่ายสมทบทุนแล้ว ทาง AFS ยัง รับผิดชอบค่าใช้จา่ ยส่วนตัวและค่าใช้จา่ ยในการเตรียมตัวไปแลกเปลีย่ นอีกด้วย ผู้รับทุนไม่มีสิทธิ์ ในการเลือกประเทศ คนที่จะสมัครขอทุนนี้ต้องมี GPA เฉลี่ย สะสมสุดท้ายไม่ต�่ำกว่า 2.80 แล้วก็ผู้ปกครองมีรายได้รวมกันเฉลี่ยไม่เกิน 25,000 บาท ต่อเดือน AFS ยังก�ำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมอีกว่า ต้องเป็น ผู้มีความสามารถพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ดนตรี กีฬา ศิลปะหรืออื่นๆ แล้วก็ต้องมีผลงานทางด้านการช่วยเหลือชุมชนหรือการเป็นผู้น�ำในโรงเรียน 3. ทุนรัฐบาลสหรัฐอเมริกา (Kennedy-Lugar Youth Exchange and Study/KLYES) ทุนนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง AFS อเมริกากับ AFS ประเทศไทย คัดเลือกนักเรียนไทยมุสลิมไปแลกเปลีย่ นทีส่ หรัฐอเมริกา เพือ่ สร้างความเข้าใจ อันดีระหว่างเยาวชนมุสลิมกับคนอเมริกนั ผู้ ได้รบั ทุนไม่ตอ้ งจ่ายเงินสมทบและ จะได้ค่าใช้จ่ายส่วนตัวตามที่เจ้าของทุนก�ำหนด คนที่จะสมัครขอทุนนี้จะต้องมี GPA เฉลี่ยสะสมสุดท้ายไม่ต�่ำกว่า 3.00 ผู้ปกครองต้องมีรายได้รวมกันเฉลี่ย ต่อเดือนไม่เกิน 25,000 บาท และจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมทีท่ าง AFS ก�ำหนด ให้ครบถ้วน โซนยุโรป 203



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.